The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jar_3563.narak, 2021-10-28 04:12:08

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

๑๗๙ ๑๘๐

๑๗๙, ๑๘๐ กระบวนเกยี รติยศรับราชทตู ฝรัง่ เศส ๑๘๑
๑๘๑ ทางเขา้ พระทน่ี ัง่ อนันตสมาคมตัง้ ปืนใหญ่ ๒ ขา้ ง
ในบทพระราชนิพนธพ์ ระราชพธิ ี ๑๒ เดือน เรียกปืนนวี้ ่า ปนื ครกหัน 147

๑๘๒ ๑๘๓

๑๘๔

๑๘๒ สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงวงศาธริ าชสนทิ แมท่ ัพไปราชการทัพเชียงตุง
๑๘๓, ๑๘๔ ศสั ตราวธุ ในสมัยรชั กาลที่ ๔ เขยี นไวใ้ นจิตรกรรมฝาผนงั วดั ปทุมวนาราม

148

รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว สมยั แห่งการปฏิรปู

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ในพ.ศ. ๒๔๑๑ ยังทรงพระเยาวม์ พี ระชนมพรรษาเพยี ง ๑๕ พรรษา มีสมเดจ็ เจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ จนถึง
พ.ศ. ๒๔๑๖ หลังจากทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ จึงทรงบริหาร
ราชการบา้ นเมอื งด้วยพระองค์เอง
ช่วงเวลา ๖ ปี ท่ียังทรงว่างพระราชกจิ น้ี สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพ
ทรงบนั ทกึ ไวใ้ นพระนพิ นธค์ วามทรงจ�ำ วา่ “...เมอ่ื เจา้ พระยาศรสี รุ ยิ วงศแ์ รกไดเ้ ปน็ ผสู้ �ำเรจ็
ราชการแผ่นดนิ พวกกงศุลต่างประเทศ มมี สิ เตอรน์ อกส์ กงศลุ เยเนอราลอังกฤษ เปน็ ต้น
ถามทา่ นวา่ จะคดิ อา่ นใหพ้ ระเจา้ แผน่ ดนิ ทรงศกึ ษาวธิ ปี กครองบา้ นเมอื งดว้ ยประการอยา่ ง
ใด (ระลกึ ถึงพระราชด�ำริของพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอย่หู วั ทยี่ งั ค้างอยู่) ตอบวา่
คิดจะให้เสด็จไปทอดพระเนตรวิธีปกครองบ้านเมืองต่างประเทศท่ีเมืองสิงคโปร์และ
เมอื งบะเตเวยี พวกกงศลุ พากนั ซอ้ งสาธกุ ารและรบั จะบอกไปถงึ รฐั บาลของตนใหร้ บั เสดจ็
ใหส้ มพระเกียรติ...”
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดเ้ สดจ็ ประพาสตา่ งประเทศในตอน
ต้นรชั กาล ๒ คร้ัง คอื สงิ คโปร์ ปัตตาเวยี ใน พ.ศ. ๒๔๑๓ และอินเดยี ในพ.ศ.๒๔๑๔ ภาย
หลงั ไดเ้ สดจ็ ประพาสยโุ รป ในพ.ศ.๒๔๔๐และ พ.ศ.๒๔๕๐ อีกสองคราว
การเสด็จพระราชด�ำเนินไปทอดพระเนตรความเจริญแผนใหม่ที่เกิดข้ึนในชาติ
ตะวนั ตก กจิ การทที่ รงเอาพระราชหฤทยั ใส่ประการหนึ่ง คือ กจิ การทหาร ท้งั การจดั การ
และความก้าวหน้าของอาวุธยุทธภัณฑ์ รวมทั้งการเตรียมพร้อมด้านบุคลากรด้วยการส่ง
พระราชโอรส ขนุ นาง ขา้ ราชการออกไปศกึ ษาในประเทศตา่ งๆ ในชว่ งต้นรชั สมัยจึงเป็น
เวลาที่ทรงเตรียมความพรักพร้อมด้านความมั่นคงของสยามประเทศ ท่ามกลางปัญหา
นานัปการท่จี ะต้องทรงฝ่าฟันอุปสรรคให้ผ่านพน้ ดว้ ยพระวิรยิ อตุ สาหะอยา่ งย่ิง

149

๑๘๕ ๑๘๖

๑๘๗
๑๘๕ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยูห่ ัวเสดจ็ ไปทอดพระเนตรเมอื งสงิ คโปร์ขององั กฤษ
และเมอื งบะเตเวีย (ปตั ตาเวีย) ของฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓
๑๘๖ ศาลาหทยั สมาคมสร้างตามแบบหอคองคอเดีย
๑๘๗ หอคองคอเดยี หรือสโมสรคองคอเดีย ท่เี มอื งปตั ตาเวีย

150

๑๘๘ ๑๘๙

๑๙๐ ๑๙๑
๑๘๘, ๑๘๙ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว เสด็จประพาสอินเดยี ใน พ.ศ. ๒๔๑๔
๑๙๐, ๑๙๑ จติ รกรรมฝาผนงั ในพระท่นี ง่ั ทรงผนวช เขียนพระราชประวตั ิ ตอนเสด็จประพาสอินเดยี

151

๑๙๒ ๑๙๓

๑๙๔ ๑๙๕

๑๙๒ - ๑๙๕ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระทีน่ ง่ั ทรงผนวช
เขียนพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หัว
ภาพตอนนี้เปน็ เหตุการณ์ทรงรบั ทตู ออสเตรีย
มกี องทหารเกยี รตยิ ศแบบใหมถ่ อื อาวุธผสมผสานทั้งอย่างเกา่ และอยา่ งใหม่

152

๑๙๖ ๑๙๗

๑๙๘ ๑๙๙

๑๙๖, ๑๙๗ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระที่นง่ั ทรงผนวช (ปจั จุบนั อยูใ่ นวดั เบญจมบพิตร)
เป็นภาพเหตุการณ์เสด็จพระพทุ ธบาทโดยชา้ งพระทีน่ ั่ง เพอ่ื ทรงสกั การะตามประเพณี
มีกองทหารถวายอารกั ขาแบบใหม่
๑๙๘, ๑๙๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัวโปรดเกล้าฯ ใหจ้ ัดของไปร่วมแสดง
ในงานฉลองรฐั หลยุ ส์เซยี นา สหรัฐอเมรกิ า มศี ัสตราวธุ แบบตา่ งๆ ไปตง้ั แสดงให้ชมในงานด้วย

153

เหตุการณ์ส�ำคัญในสมัยรัชกาลท่ี ๕ ท่ีส่งผลต่อการปฏิรูปการทหารและ
อาวุธทหารราบของไทย

พนั ตำ� รวจโท วรประสิทธ์ิ นยิ มาภา และ ยุทธดนยั เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนโบราณและสมัยใหม่ได้ศึกษาและตั้งข้อสังเกตว่า ความพยายาม
ปฏิรูปการทหารแท้จริงแล้วได้เร่ิมข้ึนต้ังแต่ปลายรัชสมัยรัชกาลท่ี ๔ จนประสบผลส�ำเร็จ
เมอ่ื ปลายสมยั รชั กาลที่ ๕ โดยมสี าเหตุหลักมาจากปัจจัยภายนอกประเทศทงั้ ส้ิน เชน่
ภัยคุกคามจากลัทธิล่าเมืองข้ึน ซ่ึงเดิมยังอยู่ชายพระราชอาณาเขตช้ันนอก
เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เข้ามาประชิดพระราชอาณาเขตช้ันในท้ังด้านตะวันออกและ
ตะวันตก กล่าวคือ ทางตะวันออก หลังจากเสียสิทธิการปกครองเหนือกัมพูชาส่วนใหญ่
ให้แกฝ่ ร่งั เศสๆ ก็ได้ทะยอยเขา้ ครอบครองเวียดนามภาคใต้ จนชว่ งกลางสมัยรชั กาลท่ี ๕
กอ่ นสงครามปราบฮอ่ จงึ ยดึ ครองฮานอยไวไ้ ดแ้ ลว้ กเ็ รมิ่ หาทางครอบครองลาวและดนิ แดน
ทง้ั สองฝัง่ แมน่ ้ำ� โขงจากไทยตอ่ ไป
ทางด้านตะวันตก หลงั จากองั กฤษไดม้ ลายแู ละภาคใต้ของพม่าในสมยั รัชกาลที่
๔ ต่อมาในสมัยรชั กาลที่ ๕ ครั้งมีศกึ ปราบฮ่อ องั กฤษไดร้ บชนะพม่าสว่ นท่ีเหลือทัง้ หมด
และเชิญพระราชวงศ์ของพม่าไปประทับในอินเดีย ดังนั้นเม่ือถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๘ กองทัพ
ชาตยิ โุ รปทท่ี นั สมยั มอี าวธุ เหนอื กวา่ ไดม้ าประชดิ เขตแดนชน้ั ในของไทยทกุ ดา้ น จงึ มคี วาม
จ�ำเปน็ อยา่ งเรง่ ดว่ นทจี่ ะต้องปฏิรูปการปกครองและการทหารใหท้ นั สมยั
วิวัฒนาการอาวุธปืนเล็กทหารราบในโลกเกิดเปลี่ยนแปลงคร้ังใหญ่ ในช่วง
เวลาเพยี ง ๕๐ ปี ระหวา่ งค.ศ. ๑๘๕๐ – ๑๙๐๐ ซึ่งตรงกับปลายรัชสมยั รชั กาลท่ี ๔ และ
รัชกาลท่ี ๕ น้ัน การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ท�ำให้อาวุธปืนเล็กยาว
สามารถยิงได้ไกลขึ้น แม่นย�ำข้ึน และสามารถยิงซ้�ำได้รวดเร็วจนท้ายที่สุดสามารถยิง
กลอัตโนมตั ิได้

154

๒๐๐

๒๐๑

๒๐๐ ปืนปลายหอกชนวนทองแดง
๒๐๑ ปืนชนวนทองแดง แบบ เอน็ ฟลิ ด์ ขนาด .๕๘ นิ้ว

155

๒๐๒
๒๐๓

๒๐๒ ปืนโคลท์ รีวอลเวอร์ คาร์ไบน์
๒๐๓ ปืนโคลท์ ลูกโม่ หกนัด ชนวนทองแดง

156

๒๐๔ ปืนวนิ เชสเตอร์ แบบ ๑๘๗๓ ๒๐๔
๒๐๕ ระบบคานเหวีย่ ง (สบิ สองลน้ิ ทอง)
๒๐๖ ระบบคานเหว่ยี ง (สบิ สองลนิ้ ทอง) ๒๐๕
๒๐๖

157

เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองในอเมริกา อาวุธใหม่ๆ ตั้งแต่ปืนเล็กยาว มีเกลียว
ล�ำกลอ้ ง ปืนประเภทบรรจทุ า้ ย ใช้กระสนุ ปลอกโลหะ และปืนมีแม็กกาซนี ยิงซ�ำ้ ได้ถกู น�ำ
มาทดลองใช้เป็นผลส�ำเร็จ เกิดอาวุธปืนหลายประเภทจากผู้ผลิตท่ีแข่งขันกันเพื่อหวังหา
ตลาด การพฒั นาปืนเล็กน้มี ผี ลตอ่ ยทุ ธวธิ ีมาก จนแม้แต่ปืนใหญ่ซ่ึงหยุดนิง่ ขาดการพฒั นา
มานานกวา่ สองรอ้ ยปกี ย็ งั ตอ้ งเรง่ ปรบั ใหม้ ขี ดี ความสามารถสงู กวา่ เดมิ เพราะปนื เลก็ ยาวท่ี
มเี กลยี วล�ำกลอ้ งไดข้ ยายระยะยงิ มาคกุ คามทตี่ งั้ ปนื ใหญใ่ นสนามรบเสยี แลว้ ดงั นนั้ กองทพั
ชาตติ ะวนั ตกจงึ พากนั พัฒนาเปลีย่ นอาวธุ ประจ�ำกายทหารของตน มใิ หเ้ สียเปรียบแก่ชาติ
ข้างเคียง
จากปัจจัยข้างต้น สยามประเทศจึงจ�ำเป็นเร่งด่วนท่ีจะต้องปรับปรุงกองทัพ
สรรหาอาวุธปืนมาทดแทนปืนแก็ปชะนวนทองแดงล�ำกล้องผิวเรียบท่ีล้าสมัยให้เพียงพอ
หากแตใ่ นช่วงต้นรชั กาลที่ ๕ ยังมอี ปุ สรรคท�ำใหก้ ารปฏริ ปู เกดิ ความล่าชา้ ดังนี้
ระบบการปกครองล้าสมัยไม่สามารถมีกองทัพประจ�ำการ (Standing
Army) จ�ำนวนมากได้
การบริหารระบบจตุสดมภ์ และการควบคุมพลเมืองเพื่อใช้ในราชการด้วย
ระบบไพร่หลวง ไพร่สม โดยให้เลกขึ้นสังกัดส่วนราชการต่างๆ ผลัดเวียนมาท�ำงาน เข้า
รับราชการปีละ ๓ เดือน คนที่ถูกเรียกตัวอาจหลบเลี่ยง หรือเจ้านายต้นสังกัดไม่เต็มใจ
ปล่อยมา หรือจ่ายเงินทดแทนหรือจ้างให้ผู้อื่นมาแทนตน ล้วนเป็นสาเหตุให้กองทัพใน
สมยั รชั กาลที่ ๕ มสี ภาพเปน็ เพียงกองทัพของพลเรอื นทม่ี ีแต่ชอื่ ในบัญชี มีคนไม่ครบและ
ขาดการฝึกฝน ดังน้ันในยุคต้นรัชกาล แม้จะทรงขยายหน่วยรบที่ฝึกอย่างฝร่ัง แต่ก็พบ
ปัญหาส�ำคญั คือ กองทัพไมม่ ีคน
กองทพั ขาดเอกภาพและอาวธุ ไม่มมี าตรฐาน
เน่ืองจากส่วนราชการยังแบ่งงานป้องกันประเทศในความรับผิดชอบของสมุห
กลาโหม และสมหุ นายก โดยแบง่ เขตพนื้ ทกี่ ารปกครองปกปอ้ งอธปิ ไตยจากกนั เปน็ หวั เมอื ง
ฝ่ายเหนอื และหัวเมอื งภาคใต้ชายฝ่งั ทะเล สว่ นราชการเหล่านีม้ ีอิสระในการจดั ฝึก จดั หา
อาวธุ เน่ืองจากสามารถเก็บภาษใี นพ้นื ที่ของตนมาด�ำเนนิ การเองได้ จงึ เป็นธรรมดาทปี่ นื
เล็กยาวของส่วนราชการต่าง ๆ จะถูกจัดหากันโดยอิสระ ไม่มีมาตรฐาน ยากต่อการสับ
เปล่ียน ซ่อมบ�ำรุง และการฝึก จะเห็นได้ชัดว่าปืนแก็ปชะนวนทองแดงคงคลังมีคละกัน
ทง้ั ยาวสองปลอก สามปลอก ปนื หลังมา้ ของเอนฟิลด์จากอังกฤษ สปรงิ ฟลิ ด์จากอเมรกิ า
บางสว่ นจากฝรงั่ เศส หรอื ทผ่ี ลติ กนั ขนึ้ เองมกี ระสนุ หลายขนาด การทข่ี นุ นางมอี �ำนาจจดั หา
อาวธุ ไดเ้ อง ท�ำใหเ้ สยี่ งตอ่ พระราชอ�ำนาจ เชน่ ปนื กลแกต็ ลง่ิ นนั้ ภายหลงั กรณวี งั หนา้ ถงึ กบั
ต้องมีระเบียบหา้ มผ้ใู ดส่งั ซอ้ื เข้ามาอีกตอ่ ไป

158

กองทพั ขาดเงนิ ท่ีจะนำ� ไปสรรหาอาวุธ
ในชว่ งตน้ รชั สมยั นน้ั ยังไมม่ รี ะบบการคลงั ทร่ี วมเงนิ ภาษมี าไว้ยงั สว่ นกลาง ไมม่ ี
การท�ำงบประมาณประจ�ำปวี า่ จะเปน็ งบประมาณทหารสกั กสี่ ว่ น เงนิ ในทอ้ งพระคลงั หลวง
แทบไม่มพี อส�ำหรบั ใชจ้ า่ ยส่วนพระองค์ เพราะจะต้องรอเงินภาษคี งเหลอื จากขนุ นางส่วน
ราชการตา่ ง ๆ ท่เี กบ็ แล้วหักสง่ ดังนนั้ ในตอนตน้ รชั กาลที่ ๕ แมจ้ ะทรงขยายก�ำลงั ทหาร
มหาดเล็กและทหารหน้าใหท้ นั สมยั ขน้ึ แตก่ ย็ งั ไมม่ ีเงนิ พอทีจ่ ะหาซอื้ อาวุธไดเ้ พยี งพอ
อุปสรรคทง้ั สามประการน้ี ทรงแก้ไขด้วยการรวมอ�ำนาจสูส่ ่วนกลางและปฏิรูป
การบรหิ ารแผน่ ดนิ ทกุ ดา้ น กระนนั้ กระแสการตอ่ ตา้ นจากกลมุ่ ขนุ นางทไ่ี ดร้ บั ผลกระทบตอ่
ผลประโยชนแ์ ละอ�ำนาจอาจเสยี่ งทจี่ ะเกดิ ความแตกแยก ความส�ำเรจ็ ในการปฏริ ปู กองทพั
จงึ มใิ ชว่ า่ ท�ำไดอ้ ยา่ งเรว็ แตต่ อ้ งอาศยั จงั หวะและความสขุ มุ ของพระองคเ์ ปน็ หลกั จงึ ส�ำเรจ็
ได้ ซึ่งในระหว่างนนั้ กไ็ ดม้ ีเหตุการณท์ น่ี �ำไปสูก่ ารปฏริ ปู อย่างจรงิ จงั และรวดเร็วขึ้น ดงั นี้
วิกฤตการณว์ ังหนา้ พ.ศ. ๒๔๑๗
กรมพระราชวงั บวรสถานมงคล หรอื วังหน้า เป็นต�ำแหน่งอุปราช และพระเจา้
แผ่นดินพระองค์ท่ีสองในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีข้าราชการในสังกัดกรมกองท�ำหน้าที่เช่น
เดียวกันกับวังหลวงหรือส่วนกลางเป็นอันมาก มีก�ำลังเงินภาษีท่ีได้รับถึง ๑ ใน ๓ ของ
เงินแผ่นดิน ท�ำให้สรรหาอาวุธที่ทันสมัยไว้ใช้ ในส่วนของก�ำลังทหารนับว่ามีมากและ
เขม้ แขง็ กวา่ ทหารหลวงหนว่ ยอนื่ ๆ ซงึ่ เปน็ ผลจากความสนพระทยั ในกจิ การทหารแบบฝรง่ั
ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้าจึงสามารถต่อเรือรบกลไฟใช้เอง
มีทหารปืนใหญท่ ล่ี อื ชื่อ
ดงั นนั้ วงั หนา้ จงึ อาจเปน็ ปญั หาในการปฏริ ปู กองทพั อยบู่ า้ งในเรอ่ื งของการบงั คบั
บัญชา นับเป็นโชคดีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลี่ยงการใช้ก�ำลังจน
คลายความขัดแย้งภายในลงได้ ทรงยบุ เลกิ กรมกองตา่ ง ๆ ลง อาวุธถกู รวบรวบมาไวใ้ นท่ี
เดียวกัน ท�ำให้ลดกระแสคัดคา้ นด้านต่าง ๆ ในช่วงต้น จนสามารถด�ำเนินนโยบายการคลงั
การเลิกทาส และเร่มิ ปรบั ปรงุ กองทพั ไดต้ ามพระราชประสงค์

159

สงครามปราบฮอ่ พ.ศ. ๒๔๑๘ และ พ.ศ. ๒๔๒๘
นับเป็นสงครามคร้ังแรกในรัชสมัยที่ต้องไปท�ำการปราบปรามโจรฮ่อใน
ประเทศราชทห่ี ่างไกล กองทัพทไี่ ปใน พ.ศ. ๒๔๑๘ นน้ั เป็นกองทพั ทยี่ งั มกี ารจดั เช่นเดียว
กบั สมยั ต้นกรุงรัตนโกสนิ ทร์ คอื มีการเกณฑเ์ ลกไพรจ่ ากหวั เมอื ง อาวธุ ท่ใี ชเ้ ปน็ ปนื แก็ปท่ี
ล้าสมัย แม้จะมีปนื แก็ตลง่ิ จากกรงุ เทพฯ ไปด้วย นอกจากนี้ การสง่ ก�ำลงั บ�ำรุง เสบยี งและ
สงิ่ จ�ำเปน็ กย็ งั จดั โดยสว่ นราชการตา่ งๆ ทมี่ ใิ ชท่ หาร จงึ ขาดความพรอ้ มเพรยี งกนั ในขณะที่
ยคุ นนั้ องั กฤษมปี นื แบบมาตนิ ี่ เฮนรอ่ี นั ทนั สมยั มที หารประจ�ำการและทหารพน้ื เมอื งทฝี่ กึ
อยา่ งดใี นอนิ เดยี เปน็ จ�ำนวนมาก สามารถเคลอื่ นพลดว้ ยกองเรอื กลไฟเขา้ ยดึ พมา่ กองทพั
สยามท่ีส่งไปอีกครั้ง ๑๐ ปีให้หลัง โดยจอมพลเจ้าพระยาสุรศักด์ิมนตรี (เจิม แสงชูโต)
เมอื่ ยงั เปน็ เจา้ หมน่ื ไวยวรนาถกย็ งั ประสบปญั หาเชน่ เดยี วกนั เพราะแมจ้ ะมกี องทหารหนา้
ใช้ปืนบรรจุท้ายชไนเดอร์ (Snider) และปืนใหญ่อาร์มสตรองแล้ว แต่ก็เป็นส่วนน้อย
ทหารสว่ นใหญย่ งั ตอ้ งเกณฑไ์ พรส่ มจากหวั เมอื ง ซงึ่ มใิ ชท่ หารประจ�ำการใชร้ บแทบไมไ่ ดเ้ ลย
ถ้าไม่นับความสับสนในสายการบังคับบัญชาของส่วนราชการอ่ืนๆ ในการส่งเสบียงและ
ยารักษาโรค การปราบฮ่อได้สอนบทเรียนให้เห็นว่า จ�ำเป็นจะต้องเปลี่ยนระบบราชการ
จตุสดมภ์ใหม้ ีพระราชบัญญัตเิ กณฑท์ หารและจัดกองทพั ขนาดใหญ่โดยเร็ว
วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)
เป็นเหตุการณ์ท่ีสยามประเทศต้องพบกับทหารฝร่ังเศสที่ใช้อาวุธปืนเล็กยาว
กระสุนไร้ควันมีแม็กกาซีนจุหลายนัดแบบ Label M1886 ท่ีทันสมัยที่สุดในยุโรป
(ขณะนั้นทหารสยามเพิง่ ได้รับปนื แบบใหม่ ปลย. ๓๓ มานนลเิ คอรจ์ ากออสเตรยี ) แม้มี
ปนื ทด่ี แี ตป่ ญั หาก�ำลงั พลยงั มไิ ดถ้ กู แกไ้ ข ยงั คงใชร้ ะบบเลกไพร่ จงึ มกี ำ� ลงั ทหารประจำ� การ
ไม่เพียงพอที่จะรักษาพระนคร จนถึงกับต้องเรียกทหารท่ีเคยไปปราบฮ่อและปลด
ประจ�ำการแล้วมาช่วย เหตุการณ์ครั้งนี้ยังความต่ืนตัวแก่เหล่าขุนนางและน�ำไปสู่การ
ยกเลิกระบบบริหารแบบจตุสดมภ์ โปรดให้เลิกทาส โดยสมบูรณ์ และมีพระราชบัญญัติ
เกณฑท์ หารเพ่ือใหม้ ที หารประจ�ำการ (Standing Army) ไดไ้ มน่ ้อยกวา่ ๕๐,๐๐๐ นาย
พร้อมกบั มงี บประมาณจัดหาปนื รศ. ๑๒๑ หรือ ปลย. ๔๖ (Siamese Mauser M1903)
จากญี่ปุ่น ได้ในจ�ำนวนเดียวกัน ในด้านปืนใหญ่ก็ได้จากพันธมิตรในยุโรป คือ เยอรมนี
เปน็ ปืนใหญ่กร๊ปุ แบบ ๔๙ และแบบ ๕๑ ทท่ี นั สมัยมาไดท้ ันก่อนสิ้นรชั กาล

160

๒๐๗ ๒๐๘

๒๑๐

๒๐๙

๒๐๗ - ๒๑๐ จอมพลเจ้าพระยาสรุ ศักด์ิมนตรี (เจมิ แสงชโู ต) เม่อื ยงั เปน็ นายพนั เอกเจา้ หมื่นไวยวรนารถ
เป็นแมท่ ัพไปปราบฮอ่ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๒๘ ราชการทพั อัญเชญิ ธงชัยเฉลมิ พลไปทกุ แห่ง
แม่ทพั ข่พี ลายนา่ น ท�ำหน้าทีห่ มอควาญถอื ของา้ ว ช้างบรรทกุ ปืนใหญ่ เดนิ เขา้ กระบวนทัพ

161

๒๑๑ ๒๑๒
๒๑๓ ๒๑๔

๒๑๑ แมท่ ัพ นายทหารที่ไปราชการทพั ปราบฮอ่
๒๑๒ พลทหารมโี พลบ่ รรจสุ มั ภาระเสบยี งอาหารในกองทัพ
๒๑๓, ๒๑๔ แหยง่ ชา้ งท่นี ายพันเอกเจ้าหมืน่ ไวยวรนารถคดิ ขึ้นใชบ้ รรทุกของไปในราชการทัพครัง้ น้ี

162

๒๑๕

๒๑๖ ๒๑๗

๒๑๘

๒๑๙

๒๑๕ ปนื ร.ศ. ๑๒๑ แบบเมาเซอร์ ส่งั มาจากญปี่ ุ่น ปจั จบุ ันจดั แสดงทพ่ี พิ ิธภณั ฑ์พระแสงปนื
และปืนโบราณ ชัน้ ใตต้ �ำ่ พระที่น่งั จกั รีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวงั
๒๑๖ ตราของปนื ร.ศ. ๑๒๑
๒๑๗ เลข ๑ แสดงปนื ร.ศ. ๑๒๑ กระบอกทีห่ น่งึ ในรายการผลติ
๒๑๘, ๒๑๙ ศนู ยเ์ ล็งปืนเลขไทย

163

๒๒๐ ๒๒๑ ๒๒๒

๒๒๓

๒๒๐ ทหารถือปืนชไนเดอร์
๒๒๑ ทหารถือปนื กรนี
๒๒๒ ทหารถือปนื กรีน
๒๒๓ หม่ชู ้างบรรทุกปืน คราวปราบฮ่อ

164

๒๒๔ ๒๒๕

๒๒๖
๒๒๔ ทหารถือปืนกรีน
๒๒๕ ช้างตวั ที่ ๒ ทางขวา บรรทกุ ปืนแก๊ตลิ่ง
๒๒๖ ทหารถือปนื กรีน

165



บทสง่ ทา้ ย “รไู้ วใ้ ชว่ า่ ใสบ่ า่ แบกหาม”

ปริญญา สัญญะเดช ผู้เช่ียวชาญอาวุธโบราณให้ความรู้โดยสรุปว่า ในอดีต
ศัสตราวุธเป็นท้ังเครื่องมือต่อสู้ในยามศึก เป็นเครื่องเคียงอาภรณ์ประดับกายในยามสงบ
เพอ่ื เสรมิ ศรสี รา้ งเดชใหแ้ กต่ น เปน็ เครอ่ื งแสดงยศศกั ดห์ิ รอื สถานะทางสงั คมของผปู้ กครอง
อาวธุ จงึ เป็นเสมือนตัวแทนของบคุ คลดว้ ยเชน่ กนั น�ำมาซึ่งธรรมเนียมกฎเกณฑก์ ารปฏบิ ตั ิ
อาทิ พระแสงศัสตราวุธของพระมหากษตั รยิ ์ ผู้รักษาต้องรวู้ ธิ ีอัญเชญิ รับ และถวายอยา่ ง
ถูกวิธี ต้องดูแลรักษา จัดเปลี่ยนทอดพระแสง ณ พระที่น่ังที่ประทับ การพระราชพิธีใด
จะอญั เชญิ พระแสงส�ำคัญองคใ์ ด

๒๒๗

๒๒๗ ประติมากรรมนูนต่�ำศลิ ปะสมยั ทวารวดี แสดงภาพเหล่านกั รบสะพายดาบไวด้ า้ นหลงั

167

๒๒๘ ๒๒๙

๒๓๐ ๒๓๑
๒๒๘ ภาพลายเสน้ รูปเทวดาถือพระขรรค์ ศิลปะสมยั สโุ ขทยั
๒๒๙ ประตมิ ากรรมสมยั สโุ ขทยั รูปขนุ ศกึ ผู้เปน็ หนงึ่ ในจตลุ งั คบาท
รกั ษาเท้าชา้ งยามออกศกึ ในมอื ถอื ดาบและโล่
๒๓๐, ๒๓๑ ภาพการเชญิ อาวุธ “ดาบ” ตามธรรมเนยี มอยา่ งโบราณส�ำหรบั เจา้ นายหรือขุนนางผู้มีศกั ด์สิ งู
มีขอ้ สังเกตุวา่ ผ้เู ชิญหรือผถู้ ือดาบต้องหนั คมอาวธุ เขา้ หาตน

168

เครื่องอาวุธของขุนนาง ข้าราชการ มีธรรมเนียมการเก็บรักษาอย่าให้ต�่ำถึง
ระดบั พน้ื ทางเดนิ ยงิ่ หากเปน็ อาวธุ หลวงหรอื ของพระราชทาน ตอ้ งมพี านรองใหเ้ หมาะสม
กบั ศกั ด์ิศรขี องอาวธุ นัน้ ๆ ตามต�ำแหนง่ ของผคู้ รอบครอง มีแท่นรับประดับอย่างเหมาะสม
ตามต�ำแหนง่ หนา้ ท่ีของตน เมือ่ ตอ้ งเข้ารว่ มงานพระราชพธิ ี การถือ การสะพาย การคาด
การขดั เคร่อื งอาวุธ ต้องประดบั ให้เขา้ กับเครือ่ งแบบอยา่ งถกู วธิ ี ในงานบุญหรอื วนั ส�ำคญั
ทางศาสนา ตอ้ งท�ำพธิ ีอทุ ศิ ส่วนกุศลให้กับเทวดาผูร้ กั ษาอาวธุ เพอ่ื ความเจรญิ รงุ่ เรือง

๒๓๒
๒๓๓

๒๓๔ ๒๓๕
๒๓๒, ๒๓๓ ดาบไทยอยา่ งโบราณ พระราชทานแกผ่ ูท้ ี่มศี กั ดหิ์ รอื ต�ำแหน่งสูง
๒๓๔, ๒๓๕ ศิลปะงานถมทองบนด้ามดาบ บรเิ วณคอดาบและทา้ ยดาบรูปดอกบัว 169
เปน็ สัญลักษณ์มงคลซง่ึ เปน็ ท่นี ยิ มใช้กบั ดาบในราชการ

ในส่วนของชาวบ้าน ก็เน้นท่ีต้องวางอาวุธในที่เหมาะควรอย่าให้ใครข้ามได้
ต้องท�ำพิธีอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลตามสมควร พกพาอาวุธตามกาลเทศะ รู้โทษ รู้ท่ีห้าม
ทไี่ ป เป็นตน้
โดยทว่ั ไปศสั ตราวุธของไทยแบง่ ออกได้เป็นสองกลมุ่ คือ
ศสั ตราวธุ ทำ� ขนึ้ ใชใ้ นราชการ ใชท้ งั้ ในการรกั ษาระเบยี บความมน่ั คงภายใน และ
การศกึ สงคราม รวมถึงการประกอบพระราชพธิ ี ซึง่ มีรปู แบบหลากหลาย อาทิ หอก ดาบ
แหลนหลาว ง้าว ทวน ตรี ส้อมสา้ ว ศรเกาทัณฑ์ บังกรี ปังกก๊ั ชนกั เชลย ขอ เป็นตน้ บาง
ชนิดสง่ั น�ำเขา้ จากตา่ งชาติ เชน่ ปนื ยาว ปนื ใหญ่ ฯลฯ

๒๓๖
๒๓๖ ดาบเชลย (ซ้ายสุด) และงา้ วไทยแบบต่างๆ

170

๒๓๗ ๒๓๘

๒๓๗ ทวนแบบท่ีใชใ้ นสมัยโบราณประดบั ดว้ ยโลหะมีคา่ และอญั มณีสตี า่ งๆ
เพื่อแสดงต�ำแหน่งที่อย่ขู องทวนในเวลาเข้ารูปขบวนและแสดงศักด์ขิ องผู้ถอื
๒๓๘ หอกรปู แบบตา่ งๆ

171

ศัสตราวุธท�ำข้ึนโดยชาวบ้านหรือบุคคลผู้ต้องการท�ำเป็นสมบัติของตนเอง
มีรูปแบบหลากหลายและคุณภาพท่ีไม่แพ้กัน มีเพียงสัญลักษณ์และงานช่างบางประการ
ท่เี ป็นข้อก�ำหนดหา้ ม เชน่ หา้ มท�ำงานดุน งานหลอ่ ลายคร�ำ่ ทองค�ำลงยาตามแบบขนบ
ของราชการ หรอื ท�ำใหเ้ สมอื นเปน็ พระแสงถอื วา่ เปน็ ส่งิ เกินศักดขิ์ องตน
ศสั ตราวธุ โบราณไมว่ า่ จะเปน็ ชนดิ ใด หากสรา้ งขน้ึ ดว้ ยเจตนาทดี่ มี ฝี มี อื พธิ กี รรม
และด้วยใจอนั ประณีตแลว้ จะก่อใหเ้ กิดคุณลักษณะทด่ี ี ๔ ประการ คือ
๑. มีนำ้� หนักพอดเี หมาะสมไมม่ ากไมน่ อ้ ยเกนิ ไปตามความถนัดของผใู้ ช้
๒. ความแขง็ แรง คมดี แหลมดี เมอื่ ใชง้ านไม่หกั เปราะ ยับยู่ บน่ิ งา่ ย
๓. มีสดั สว่ นรูปทรงลงตัว มีองคป์ ระกอบงดงามเปน็ ศรีแกเ่ จ้าของ
๔. เป็นมงคลอาวุธ ใครไดเ้ ห็นไดส้ ัมผสั แล้วเกดิ พลังใจ ชักน�ำจิตผนู้ น้ั ไปสคู่ วาม
เปน็ ธรรม ผดงุ ความดขี ับไลค่ วามช่ัว
มีเร่ืองเล่าถึงความยากล�ำบากในการสร้างอาวุธให้ต้องตามต�ำรา หรือตาม
พธิ ีกรรมโบราณของคนในอดตี วา่ เมอื่ ตอ้ งการจะสร้างดาบประจ�ำตัวขนึ้ สกั เลม่ หน่งึ ตอ้ ง
ออกรวบรวมโลหะและมวลสารประกอบการตีดาบขึ้นให้พร้อมสรรพ นายช่างผู้ตีจึงจะ
ยอมตดี าบใหต้ ามฤกษท์ ค่ี �ำนวณไว้ แลว้ จงึ ผกู ดวงชะตาของคนกบั ดาบใหเ้ ปน็ หนง่ึ เดยี วกนั
เพอ่ื ความเป็นสิรมิ งคลเสริมส่งเจา้ ของดาบ การรวบรวมวัตถุดบิ ส่วนผสมโลหะต่างๆ ที่มี
คณุ สมบตั คิ วามกลา้ แขง็ ยดื หยนุ่ คงทนโดยธรรมชาติ ใหถ้ กู ตอ้ งตามต�ำราโลหะศาสตร(์ แบบ
โบราณ) รวมถึงโลหะต้องมีนามหรือภูมิเกิดอันศักดส์ิ ทิ ธิ์ เป็นเรอื่ งทมี่ ีความซบั ซ้อนมิได้ท�ำ
โดยงา่ ย เชน่
เหล็กเทศ หรอื เหล็กที่ผสมมาเป็นอย่างดี น�ำเข้ามาจากตา่ งประเทศ เช่น เหลก็
ญ่ีปนุ่ เหลก็ ฮอลันดา เหลก็ อังกฤษ ซง่ึ มีคณุ ภาพดี มคี วามบริสุทธใ์ิ นเน้อื สงู
เหลก็ นภากาศ เหลก็ ฟา้ หรอื อกุ กาบาตทมี่ เี นอ้ื โลหะปนอยู่ (Iron meteorite)
เป็นเหลก็ คณุ ภาพดีหายาก ถอื กันวา่ เป็นของเทพเทวดาประทานลงมาให้
เหล็กหลวง หรือเหล็กบ่อเหล็กเถื่อน (ป่า) ท่ีเคยประกอบพิธีบวงสรวงใหญ่
น�ำไปใช้ท�ำราชาอาวุธ หรือพระแสงส�ำคัญของพระมหากษัตริย์ เป็นเหล็กคุณภาพดีโดย
ธรรมชาติ มีฤทธ์มิ าก มเี หล่าเทวดาคอยตามคุ้มครองปกปักรกั ษาเชน่ กนั เชน่ เหล็กนำ้� พี้
บอ่ พระแสง เมอื งพชิ ยั จงั หวดั อตุ รดติ ถ์ เหลก็ นำ้� พเ้ี มอื งกำ� แพงเพชร เหลก็ ทา่ ซงุ เมอื ง
อทุ ยั ธานี
เหล็กสัณฐาน หรือก้อนโลหะท่ีมีรปู รา่ งคลา้ ยสิ่งศกั ด์ิสิทธ์ิ อาทิเป็นแท่งคล้าย
ศวิ ลงึ ค์ เปน็ สามงา่ มคลา้ ยตรศี ลู เปน็ แผน่ กลมแบนคลา้ ยจกั ร ถอื เปน็ ตวั แทนอาวธุ ของเทพ
เหลก็ สถาน หรอื โลหะจากสถานทศี่ กั ดสิ์ ทิ ธิ์ เชน่ ศาสนสถานทส่ี วดมนตป์ ระกอบ
พธิ ีกรรม ปราสาท วัง วดั โลหะทน่ี �ำมาใชต้ อ้ งขอ หรือผาติกรรมมาอยา่ งถกู ตอ้ ง เชอ่ื กนั วา่
มคี วามศักดสิ์ ิทธมิ์ าก สามารถขับไลอ่ ัปมงคลออกจากอาวธุ และผู้ใชไ้ ด้

172

เหล็กคนดง คอื โลหะท่ไี ดม้ าจากผ้มู ีวชิ าคงกระพนั ชาตรี ผูท้ รงศีล อปุ ัชฌาย์ ครู
อาจารย์ เปน็ ตน้ ท�ำใหอ้ าวธุ นน้ั มีฤทธข์ิ องท่านสถิตอยู่
เหล็กน�้ำนมหรือเหล็กแม่ คือโลหะที่ได้มาจากมารดาเจ้าของอาวุธ หรือจาก
หญงิ แมล่ ูกอ่อนซง่ึ ยงั มีน�้ำนมอยู่ มีคณุ ค่าทางเมตตามาก จะคุ้มครองผใู้ ชไ้ ปตลอดดจุ ดังแม่
เปน็ ตน้
ถึงแม้วิชาโลหะศาสตร์โบราณของไทยจะดูไม่สอดคล้องกับหลักวิชาปัจจุบัน
เท่าใดนัก แต่กถ็ อื ไดว้ ่าเป็นภูมปิ ัญญาที่ส่งั สมโดยผ่านการทดลอง สว่ นผสม ชนดิ ปรมิ าณ
อุณหภูมิความร้อนมาอย่างยาวนาน จนได้เน้ือโลหะท่ีมีคุณสมบัติเหมาะกับการใช้ข้ึนรูป
เปน็ อาวธุ ชน้ั ดที ไ่ี มด่ อ้ ยไปกวา่ ดนิ แดนอาณาจกั รใดในยคุ เดยี วกนั การอธบิ ายทมี่ า คณุ วเิ ศษ
ของโลหะชนิดต่างๆ กเ็ ป็นไปตามมูลเหตุแหง่ ลทั ธิความเชือ่ ตา่ งๆ ที่รุ่งเรืองอยู่ในขณะนัน้
เพ่ือสร้างขวัญก�ำลังใจให้แก่ผู้สร้าง เช่นการออกเดินทางด้ันด้นแสวงหามวลสาร เท่ียวไป
ยังดนิ แดนต่างๆ ตามสายทางเหล็กทกุ ทศิ ทุกทางท่มี ี ทง้ั ทางบกและทางนำ้� ท่รี าบป่าเขา
บ้านเก่าเมืองใหม่ ท�ำให้ได้พบปะผู้คนเรียนรู้อุปนิสัย ได้มิตร ได้เพื่อน บ้างได้ศัตรูเป็น
เครื่องทดสอบสตกิ ารยับยงั้ ชั่งใจตน ไดพ้ บครู อาจารย์ ไดเ้ รยี นวิชาไดข้ อ้ คดิ ค�ำสอน ได้พร
มงคลชีวิต ได้รู้คุณมารดาบิดา ความรักความห่วงใย ล้วนเป็นประสบการณ์ท่ีว่า “กว่า
จะได้โลหะครบถ้วนมาหลอมหลอ่ เข่นคมให้สมใจ ก็ละลายตนเปน็ คนไปโดยสมบรู ณ”์
ความเชอื่ ดง้ั เดมิ ในเรอ่ื ง “ผสี างเทวดา” ความเชอ่ื เรอ่ื งเลา่ ในทอ้ งถนิ่ ไดพ้ บวา่
มีการสรา้ งรปู ให้เหน็ อยูใ่ นอาวธุ ด้วย เช่น รปู ดวงตา รูปยักษ์ รปู งู รปู นก เปน็ ความเชือ่
ในอาวุธที่มีความเก่าแก่ดั้งเดิมมากท่ีสุดสืบเน่ืองกันมานับพันปี พบมากในอาวุธของกลุ่ม
ชนชาวเขาและผู้ที่อยู่ลึกเข้าไปในป่าซึ่งปัจจุบันพบได้น้อยลงทุกที บ้างเชื่อในเทพเจ้าฮินดู
ดงั มีภาพหรอื สัญลักษณ์ของเทพในอาวุธ เช่น พระศวิ ะ พระอมุ า และ พระพิฆเนศ ซง่ึ พบ
ได้อย่างเด่นชัดในวัฒนธรรมกรชิ ของทางภาคใต้ ในกลุม่ วฒั นธรรมมลายู ความเชื่อดง้ั เดมิ
ในอดตี หลายรอ้ ยปี ในพระพทุ ธศาสนาแบบมหายาน วัชรยาน (ตันตระ) มสี ัญลกั ษณ์ของ
วัชระหรือสายฟ้า ซ่ึงเป็นอาวุธของพระอินทร์เทพผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา วัชระ
เป็นสัญลักษณ์ท่ีมีปรากฏมากท่ีสุดในกลุ่มเคร่ืองศัสตราวุธของไทยและอีกหลายประเทศ
ในเอเชีย เกิดจากการยอมรับคติธรรมลัทธิเดียวกัน และบ้างก็สะท้อนความเชื่อแบบ
ผสมผสานสร้างสัญลักษณ์ให้สอดคล้องกับคติความเชื่อของท้องถ่ิน เช่นในพ้ืนที่แถบลุ่ม
แม่น�ำ้ โขง นยิ มใสร่ ปู ลวดลายของ พญานาคควบคไู่ ปกบั สัญลกั ษณข์ อง วชั ระ ท�ำลวดลาย
หน้ากาลหรือ ลายราหู เชื่อว่าจะน�ำมาซ่ึงความรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ ความไม่ตาย เป็น
อมตะของผคู้ รอบครอง ลายทเี่ ปน็ เรอ่ื งราว วานรสบิ แปดมงกฎุ หรอื พลพรรคเสนาลงิ ของ
พระรามซ่ึงมีฤทธ์ิมาก เป็นผู้ช่วยพระราม สัญลักษณ์ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเพ่ิมพลังความ
ศักดิส์ ิทธิ์ให้อาวุธมากย่ิงขึ้น
เป็นเจตนาอันบริสุทธิ์ มั่นคง แน่วแน่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรม อยู่ใน
ศสั ตราวุธทง้ั ปวงท่ขี อฝากไว้ใหค้ นรนุ่ หลงั ได้เรยี นรูก้ ันสบื ไป

173

๒๓๙ ๒๔๐

๒๔๑

๒๓๙ นพศลู สว่ นประกอบของยอดพระปรางค์ ศิลปะสมยั อยุธยา
เป็นสัญลักษณอ์ ันแสดงถงึ อาวธุ เทพ “ตรีศูล”ของพระศวิ ะ
๒๔๐ งานจ�ำหลกั ไม้ ชิ้นสว่ นหนา้ บันพระอโุ บสถสมัยอยธุ ยา
แสดงภาพยักษถ์ อื กระบองเพือ่ อารักขาพระนารายณ์ และพระพุทธศาสนา
๒๔๑ พลวานรถืออาวธุ

174

สุดท้ายขอน�ำส�ำนึกทางประวัติศาสตร์เนื่องด้วยพระแสงราชศัสตราของ
สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช ซง่ึ ได้รับการสืบทอดตอ่ เน่ืองมาตง้ั แตส่ มยั กรงุ ศรีอยุธยา
ความทรงจ�ำของชาวกรุงเก่าท่ีสืบเน่ืองมาจนถึงชาวกรุงเทพฯยุคต้นเน่ืองด้วย
พระราชประวตั ิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากมีความปรากฏอยู่ในเอกสาร บันทึก
ความทรงจ�ำ พระราชพงศาวดาร วรรณกรรมยอพระเกยี รตแิ ล้ว ยังมีการสบื ทอดดว้ ยการ
สถาปนาพระแสงราชศสั ตราขนึ้ ใหม่ มนี ามตามพระแสงส�ำคญั ทท่ี รงใชใ้ นวรี กรรมครง้ั ตา่ งๆ
ส�ำหรบั เปน็ เครอื่ งสิริมงคลราชปู โภค ประกอบพระบรมขตั ติยราชอิสรยิ ยศในการพระราช
พธิ บี รมราชาภเิ ษกมาแต่แรกสถาปนากรุงรตั นโกสนิ ทร์ นบั เป็นส�ำนกึ ทางประวัติศาสตรท์ ่ี
กอ่ ใหเ้ กดิ ความภาคภมู ใิ จในเกยี รติภมู ขิ องบรรพชนร่วมกนั แมเ้ วลาจะผา่ นมาเนนิ่ นานนบั
หลายร้อยปี
พระแสงราชศสั ตราและสง่ิ พระบรมราชานสุ รณเ์ นอ่ื งดว้ ยวรี กรรมของสมเดจ็
พระนเรศวรมหาราช ในหนังสอื ค�ำให้การชาวกรงุ เกา่ มีดังน้ี
พระแสง ทท่ี รงฟนั พระมหาอปุ ราชา ไดร้ บั นามพระราชทานวา่ เจา้ พระยาแสน
พลพา่ ยหรอื เจ้าพระยาพระแสง
พระมาลา ซึ่งบน่ิ เรยี กวา่ พระมาลาเบ่ียง
ช้างทรง ได้ชือ่ วา่ เจ้าพระยาไชยานภุ าพ
พระแสง ทรงคาบปนี ค่าย เรยี กว่าพระแสงขนึ้ คา่ ย
มคี วามต่อมาในสมัยรชั กาลที่ ๑ และรชั กาลท่ี ๒ พรรณนาเกีย่ วกบั เคร่อื งมงคล
ราชปู โภคที่ เชิญประดษิ ฐาน ณ เตยี งมณฑล ประกอบด้วย พระแสงของ้าวเจ้าพระยา
แสนพลพา่ ย พระแสงขอตชี า้ งลม้ พระแสงปนื คาบชดุ ขา้ มแมน่ ำ้� สะโตง พระมาลาเบย่ี ง
และพระแสงดาบคาบคา่ ย
นอกจากพระแสงราชศัสตราและสิ่งพระบรมราชานุสรณ์เน่ืองด้วยสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช ตอ่ มาในสมยั รชั กาลที่ ๔ ท่ี ๕ และรชั กาลที่ ๗ ไดม้ กี ารเขยี นเปน็ ภาพ
จติ รกรรมเหตกุ ารณ์ประวตั ศิ าสตร์อยู่ในหอพระราชกรมานสุ ร วัดพระศรรี ตั นศาสดาราม
โคลงภาพพระราชพงศาวดารประดบั ในงานพระเมรุ และภาพพระราชประวตั ใิ นพระวหิ าร
วดั สวุ รรณดาราราม พระนครศรอี ยธุ ยา เปน็ ส�ำนกึ ทางประวตั ศิ าสตรท์ ไ่ี ดร้ บั การสบื ทอดไว้

175

๒๔๒

๒๔๓
๒๔๒ ภาพจิตรกรรมประกอบโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เขยี นในสมัยรชั กาลที่ ๕
ตอนสมเดจ็ พระนเรศวรทรงพระแสงปนื ต้นขา้ มแม่นำ�้ สะโตง (เปน็ พระแสงปนื คาบชุด)
๒๔๓ ประตมิ ากรรมเหตกุ ารณเ์ ดยี วกนั จดั แสดงในพิพิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร (แตเ่ ปน็ พระแสงปืนคาบศลิ า)

176

๒๔๔ ๒๔๕

๒๔๖ ๒๔๗
๒๔๔ ภาพจิตรกรรมทรงพระแสงดาบปีนคา่ ยข้าศกึ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เขียนในสมยั รัชกาลท่ี ๕
๒๔๕ ภาพจิตรกรรมตอนทรงพระแสงทวนสูก้ ับลกั ไวท�ำมู
เขยี นอย่ใู นพระวหิ ารวัดสวุ รรณดาราราม พระนครศรีอยธุ ยา เขียนในสมัยรชั กาลที่ ๗
๒๔๖ ภาพจิตรกรรมเหตกุ ารณท์ รงกระท�ำยุทธหตั ถี ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เขียนในสมยั รชั กาลที่ ๕
๒๔๗ ภาพเขยี นทรงกระท�ำยุทธหัตถี ในพระวิหารวัดสุวรรณดาราราม พระนครศรอี ยธุ ยา เขยี นในสมัยรชั กาลท่ี ๗

177

การศกึ ษาประวตั ศิ าสตรผ์ า่ นศสั ตราวธุ ตงั้ แตส่ มยั โบราณจนเขา้ สสู่ มยั การปฏริ ปู
บา้ นเมืองสมยั รชั กาลที่ ๕ ยงั มีเร่อื งราวควรรู้อกี มากมาย ซึ่งเปน็ ยคุ ของการก้าวเข้าสกู่ าร
พฒั นาแบบใหมอ่ กี หลายระดบั เรอื่ งราวของศสั ตราวธุ ยทุ ธภณั ฑ์ รวมทง้ั ยทุ ธศาสตร์ ยทุ ธวธิ ี
ที่ผู้คนในอดีตได้ใช้ปกป้องรักษาบ้านเมืองสืบมาน้ี อาจเป็นทางเลือกใหม่ๆ ในการศึกษา
การเรยี นรปู้ ระวตั ศิ าสตรอ์ กี แนวทางหนงึ่ หากจะเปน็ แรงบนั ดาลใจใหอ้ นชุ นรนุ่ หลงั คน้ ควา้
ผ่านส่อื การเรยี นรู้อื่นๆ ต่อไป กน็ ับไดว้ ่า เป็นความส�ำเร็จของการจดั ท�ำหนงั สอื เร่ืองนี้
จงึ ขอเชญิ ชวนใหร้ ว่ มกนั ศกึ ษาดว้ ยวธิ ใี หมๆ่ เพอ่ื ใหค้ วามรเู้ หลา่ นย้ี งั ตอบค�ำถาม
แก่คนร่วมสมัยที่ยังต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง
อยา่ งรอบดา้ น

178

ภาคผนวก



ต�ำราพิไชยสงครามไทย

พนั เอก อ�ำนาจ พกุ ศรีสขุ

ต�ำราพิไชยสงคราม มีความหมายตามที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ค�ำอธบิ ายไว้วา่ “พิชย, พชิ ัย, น.ความชนะ (ปส, วิชย) พชิ ยั สงคราม
น.ต�ำราว่าดว้ ยกลยุทธ,์ ต�ำราว่าดว้ ยการเอาชนะในสงคราม”
ส่วนในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ขยายความของต�ำราพิชัย
สงครามไวว้ ่า

“พิชัยสงคราม - ต�ำรา เป็นต�ำราว่าด้วยวิธีการเอาชนะข้าศึก
ในสงคราม ซ่ึงนักปราชญ์ทางทหารสมัยโบราณ ได้แต่งข้ึนจาก
ประสบการณ์ และจากการทดลอง เพอ่ื ใหแ้ มท่ พั นายกองใชศ้ กึ ษา และ
เป็นคู่มอื ในการอ�ำนวยการรบใหห้ นว่ ยทหารมชี ัยชนะแก่ขา้ ศกึ ”
ท่ีมาของต�ำราพิไชยสงคราม กล่าวกันว่า เป็นวิชาท่ีได้รับอิทธิพลทางความคิด
มาจากต้นแบบเดียวกันคือ อินเดีย ต่อมาได้ประสมประสานความเป็นท้องถิ่นโดยอาศัย
ภมู ปิ ญั ญาของปราชญ์ ทกั ษะจากการสรู้ บในการท�ำศกึ สงครามแตล่ ะครง้ั มาประมวลรวมไว้
พัฒนามาเป็นวิชาการรบท่ียิ่งใหญ่เพ่ือเป็นแนวทางในการรักษาเอกราชของบ้านเมือง
พจิ ารณาคมั ภรี พ์ ไิ ชยสงครามอนิ เดยี โบราณทต่ี กทอดมา ไดแ้ ก่ อคั นปี รุ าณะ ปญั จตรนั ตระ
มณธู รรมศาสตร์ ศกุ ระนิตศิ าสตร์ นติ ิประกาศกิ า อรรถศาสตร์ และนติ ิสาระ แลว้ พบว่า
มีคมั ภีร์ทง้ั หลายของอนิ เดียแต่ละเลม่ มเี อกลักษณเ์ ฉพาะตวั ไมไ่ ด้มกี ารพัฒนาการตอ่ เน่ือง
กันมาจึงไม่น่าจะถูกน�ำมาดัดแปลงเป็นต�ำราพิไชยสงครามไทยโดยตรง แต่อาจมีอิทธิพล
ทางอ้อมในวฒั นธรรมการเมอื ง การปกครอง และการสงคราม เพราะต�ำราพไิ ชยสงคราม
ไทยมแี นวคดิ และหลกั การในดา้ นตา่ งๆ ทส่ี อดคลอ้ งกบั สภาพภมู ปิ ระเทศ สภาวะแวดลอ้ ม
ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างย่ิงสอดคล้องกับสภาพจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย
บรรพบุรุษไทยได้ใช้ต�ำราพิไชยสงครามในการบริหารบ้านเมืองท�ำให้ชาติไทยรอดพ้นจาก
หายนะจากการรุกรานทุกรูปแบบมาตลอด มีร่องรอยการใช้ต�ำราพิไชยสงครามมาแล้ว
ต้ังแตส่ มัยทวารวดี สโุ ขทยั และอยธุ ยา ก่อนทีจ่ ะมีการ “แรกท�ำ” ในรชั สมัยสมเดจ็ พระ
รามาธบิ ดีที่ ๒

181

“แรกทำ� ตำ� ราพชิ ยั สงคราม” ในรชั สมยั สมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ี่ ๒ นนั้ นา่ จะใหม้ ี
การรวบรวมขน้ึ จากหลกั การสงครามและวชิ าตา่ งๆ ทใี่ ชอ้ ยกู่ อ่ นหนา้ นน้ั ดงั มคี วามปรากฏใน
ยวนพา่ ยโคลงดนั้ ซง่ึ เปน็ เรอื่ งราวของการท�ำสงคราม ระหวา่ งสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนารถ
แห่งอโยธยา กับพระเจ้าตโิ ลกราชแหง่ อาณาจกั รลา้ นนา ความวา่

“เชิงแกศ้ ึกใหญ่ให้ หายแรง รวจแฮ
เชงิ รายรอบพลซุก ซุ่มไว้
เชิงศกึ สงั่ แสวงเชงิ ลาลาศ ก็ดี
เชงิ ชัง่ เสยี ไดร้ ้ ู รอบการย”์

ความตอนนม้ี คี วามหมายวา่ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนารถ มคี วามช�ำนาญในการ
รบทพั จบั เชลย ทรงช�ำนาญกลการยุทธ์ การลาดตระเวน ยทุ ธวิธีซุม่ โจมตีขา้ ศึก การบงั คับ
บัญชา ตลอดจนการประมาณการประมาณสถานการณ์ ซ่ึงแสดงใหเ้ หน็ วา่ ต�ำราการยทุ ธ์
หรือการรบนั้นมีมานานแลว้ คงมอี ยแู่ ละใชก้ นั อยา่ งกระจดั กระจายอยทู่ วั่ ไป สมเด็จพระ
รามาธบิ ดีท่ี ๒ จงึ โปรดให้ “แรกทำ� ตำ� ราพชิ ยั สงคราม” คอื ทรงให้มีการรวบรวมคัดลอก
ท�ำเป็นต�ำราส�ำหรับศึกษา และใช้ในการราชการ ยังคงเหลือต้นฉบับต�ำราพิไชยสงคราม
(ฉบบั ตวั เขยี น) ท้งั ทเี่ ป็น สมุดไทยด�ำ สมดุ ไทยขาว ใบลาน และสมดุ ฝรง่ั ทเี่ ก็บรกั ษาไวท้ ี่
หอสมุดแห่งชาติ รวมทงั้ สนิ้ ๒๑๒ ฉบบั
ตน้ ก�ำเนดิ ทแี่ ทจ้ รงิ ของต�ำราพไิ ชยสงครามไทย จงึ ยงั ไมส่ ามารถยนื ยนั ไดว้ า่ ใคร
เปน็ คนแตง่ และแตง่ ขนึ้ เมอื่ ใด แตห่ ากพจิ ารณาความในต�ำราพไิ ชยสงครามค�ำกลอน ฉบบั
รัชกาลที่ ๑ ทีถ่ อดความโดยกรมศลิ ปากรมคี วามวา่

“ต�ำราวรวากย์ไว้ วถิ าร
พชิ ัยสงครามการ ศึกส้นิ
จงหาที่พิสดาร เติมต่อ
จงอยา่ ฟงั กลสิ้น เลห่ ์เลีย้ วจ�ำความ
สมเดจ็ จักรพรรดิร ู้ คัมภรี ์
ชื่อว่านามกามมนทก ี กล่าวแก้
พิชยั สงครามศร ี สรู ราช
ยส่ี บิ เบ็ดกลแล ้ เลิศใหเ้ หน็ กล”

182

ข้อสังเกตโคลงสี่สุภาพที่ยกมาจากต�ำราพิไชยสงครามนี้มี “สมเด็จจักรพรรด์ิ”
ซึ่งไมร่ ู้ว่าเปน็ ใครกันแน่ เปน็ ผแู้ ต่งเพอื่ ใช้เป็นหลกั ในการท�ำศึกของพระราชา แกห้ ลักการ
ท�ำศึกของต�ำราพิไชยสงครามฉบับของ “กามันทก”ี โดยเขยี นเปน็ กลศึก ๒๑ ประการ ขอ้
สนั นษิ ฐานนอ้ี าจท�ำใหเ้ กดิ ขอ้ โตแ้ ยง้ ขน้ึ มากมาย เพราะไมป่ รากฏวา่ มใี ครเคยเสนอ หรอื ท�ำ
มาก่อน เพราะช่ือ “กามันทก”ี ซึง่ เขียนเป็นภาษาโบราณว่า “กามมนทก”ี น้ันเปน็ ชือ่ ตน้
ของคมั ภรี ์ “นติ สิ าระ” มชี อื่ เตม็ วา่ “กามนั ทะกะ นติ สิ าระ (The Kamandaka Nitisara)”
เปน็ คมั ภรี พ์ ไิ ชยสงครามทเี่ ขยี นขน้ึ ในสมยั พระเจา้ จนั ทรคปุ ตท์ ่ี ๒ (Chandragupta II) โดย
สิคคารา (Sikhara) มหาเสนาบดีของพระเจ้าจันทรคุปต์ ซึ่งบางท่ีใช้ชื่อหนังสือเล่มน้ีว่า
“Mamandakiya Nitisara” มคี วามหมายวา่ “The Element of Polity”คมั ภีร์เล่มนีม้ ี
ใชอ้ ยใู่ นพมา่ เปน็ ฉบบั แปลเปน็ ภาษาบาลี มชี อ่ื ทแี่ ปลเปน็ ภาษาองั กฤษวา่ “Kamandaki’s
aphorisms” ผู้เขียนจึงเช่ือว่า “ต�ำราพิไชยสงครามไทย” ฉบับที่รู้จักกันอยู่นี้ “สมเด็จ
จักรพรรดิ์” ทรงแต่งขึ้นเพ่ือแก้ต�ำราพิไชยสงครามที่ข้าศึกใช้อยู่ ในขณะเดียวกันก็ได้
รับอิทธิพลโดยตรงจากต�ำราพิไชยสงครามของอินเดียที่ได้แก่มหากาพย์ ๒ เรื่อง คือ
รามายณะ และ มหาภารตะ
ต�ำราพิไชยสงครามไทย เทา่ ที่มอี ยูไ่ มว่ า่ จะเปน็ ฉบบั ไหน เห็นได้ชดั วา่ มีลกั ษณะ
เป็นคัมภีร์ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ ส่วนแรก เป็นต�ำราพิไชยสงครามหลักมีลักษณะ
เป็นคู่มือราชการสนามอันประกอบด้วย บทอาศิรวาท กล่าวถึงความส�ำคัญของต�ำรา
พไิ ชยสงคราม การเตรยี มพล การจดั ทัพ การยกทพั นมิ ิตดีร้ายตา่ งๆ ลมทีพ่ ัดในร่างกาย
ส่วนที่ ๒ เป็นต�ำรากลศึก ๒๑ ประการ และส่วนที่ ๓ เป็นผนวกเรื่องอ่ืนๆ ที่จ�ำเป็น
ตอ้ งใชท้ ้งั หมดซงึ่ เขียนเพมิ่ ข้นึ
การศกึ ษาต�ำราพไิ ชยสงครามภาคสนามนน้ั ไมย่ ากนกั ผศู้ กึ ษาอาจใชว้ ธิ กี ารศกึ ษา
เปรยี บเทยี บกบั การปฏบิ ตั จิ รงิ โดยใชร้ ะเบยี บวธิ วี จิ ยั ทางประวตั ศิ าสตร์ แตส่ ว่ นทย่ี ากทส่ี ดุ
คือการศึกษาและประยุกตใ์ ชก้ ลศกึ ๒๑ ประการ

183

กลศกึ ๒๑ ประการ

กลศกึ ถอื เปน็ หลกั และแนวทางการรบทส่ี �ำคญั ยง่ิ ของต�ำราพไิ ชยสงคราม เพราะ
เป็นท้ังยุทธศาสตร์ยุทธวิธี ทั้งการเมือง การทหารท่ีสามารถน�ำไปใช้ได้อย่างดีย่ิงในทุก
สถานการณ์ กลศึกในต�ำราพไิ ชยสงครามมี ๒๑ กล และกลเสรมิ ชว่ ยอ่ืนๆ ทีใ่ ชเ้ สริมช่วยใน
สถานการณ์ตา่ งๆ กันไป ผู้เป็นแมท่ พั จ�ำเปน็ จะต้องเรียนอยา่ งกระจา่ งแจ้ง แล้วเลอื กปรับ
ใชเ้ หมาะสมกับสถานการณท์ เ่ี ผชิญอย่างรอบคอบ
ผเู้ ขยี นเริม่ ศึกษามาตงั้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ขณะนั้นเปน็ นกั เรียนนายรอ้ ยชัน้ ปีที่ ๑
ในข้ันแรกไดร้ บั การถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์ พันเอก ชอบ ภักดิศ์ รีวงค์ ท่านอาจารย์
ไดบ้ อกว่า คนไทยนับเลขแค่ ๙ แตถ่ ้ามเี ลขทีม่ ากกว่านนั้ เมอ่ื เอาเลขในกลุ่มนั้นรวมกันก็
จะไดเ้ ลขไมเ่ กนิ ๙ ต�ำรา ๒๑ กลศึกนั้น ถ้าพจิ ารณาจริงๆ แลว้ มเี พียง ๙ กลยุทธห์ ลัก มี
กลยุทธท์ ี่เหลอื อกี ๑๒ กลยทุ ธ์ เป็นส่วนทท่ี �ำใหก้ ลยทุ ธท์ งั้ ๙ พลิกแพลงเป็นกลยทุ ธ์ ๑๐๘
ได้ ผเู้ ขยี นจึงเริ่มทดลองเรียงกลศกึ ตามที่ท่านอาจารยบ์ อกไดด้ งั นี้

๑. ฤทธี ๑๐. ฟา้ งำ� ดนิ ๑๙. ฟา้ สนนั่ เสยี ง
๒. สหี จักร ๑๑. อินทพมิ าน ๒๐. เรยี งหลักยืน
๓. ลกั ษณส้อนเงอ่ื น ๑๒. ผลานศรัตร ู ๒๑. ปืนพระราม
๔. เถอ่ื นก�ำบัง ๑๓. ชพู ศิ แสลง
๕. พังภผู า ๑๔. แขงให้อ่อน
๖. ม้ากนิ สวน ๑๕. ยอนภูเขา
๗. พวนเรอื โยง ๑๖. เย้าใหผ้ อม
๘. โพงน้�ำบอ่ ๑๗. จอมปราสาท
๙. ฬ่อช้างปา่ ๑๘. ราชปัญญา

จากการศึกษาอย่างลองผิดลองถูกมาตลอดในที่สุดก็ได้พบว่าการศึกษากลศึก
๒๑ กล ตอ้ งจัดกลมุ่ ใหม่เพื่อการศึกษาออกเป็น ๒ กลุม่ คอื
กลุม่ แรก ได้แก่ กลุ่มการปฏิบตั หิ ลัก คือ ๙ กลยุทธท์ ี่เรยี งอย่ดู ้านบน ไดแ้ ก่

๑. ฤทธี ๑๐. ฟ้าง�ำดิน ๑๙. ฟ้าสน่นั เสยี ง
๒. สหี จักร ๑๑. อินทพมิ าน ๒๐. เรียงหลกั ยนื
๓. ลักษณสอ้ นเง่ือน ๑๒. ผลานศรตั ร ู ๒๑. ปืนพระราม

ในกล่มุ การปฏบิ ตั ิหลักน้ี มีการปฏบิ ัตอิ ยู่ ๓ กลุ่มคอื กลุม่ งานยทุ ธศาสตร์ ความ
เปน็ ผู้น�ำ กลุ่มงานยุทธวธิ ี และลกั ษณะของการปฏิบัตกิ ารสงคราม
กลมุ่ งานแรก ยทุ ธศาสตรแ์ ละความเปน็ ผนู้ ำ� ประกอบดว้ ย ยทุ ธศาสตรช์ าติ คอื
กลที่ ๑ “ฤทธี” ยทุ ธศาสตร์ทหาร คอื กลท่ี ๑๐ “ฟา้ ง�ำดิน”ยุทธศาสตร์ในยุทธบริเวณ คอื
กลท่ี ๒ “สีหจกั ร”และขอ้ ควรปฏิบตั ขิ องผูน้ �ำคือกลท่ี ๒๑ “ปืนพระราม”

184

๑. กลฤทธี
ความเดิม กลศึกอันหน่ึงช่ือว่าฤทธี น้ัน ช้ันทนงองอาจ ผกผาดกล่าวเริงแรง
ส�ำแดงแก่ข้ากล้าหาญ ชวนท�ำการสอนสาตร อาจเอาบ้านเอาเมือง ช�ำนานเนืองณรงค์
ยงใจผู้ใจคน อาษาเจ้าตนทุกค�่ำเช้า จงหม่ันเฝ้าอย่าคลา ภักตราชื่นเทียมจันทร์ ท�ำโดย
ธรรมจ์ งภกั ด์ิ บนั เทงิ ศกั ดจิ งสงู จงู พระยศยงิ่ หลา้ กลศกึ อนั นีช้ ื่อว่า กลช่อื ฤทธี ฯ
ความหมาย กลศึกชื่อฤทธีน้ัน ผู้ใหญ่จะต้อง - มีความองอาจ กล้าหาญ มี
วาทศลิ ป์ - แสดงความกลา้ หาญใหป้ รากฏ - จดั ใหม้ กี ารศกึ ษาศลิ ปศาสตรต์ า่ งๆ - เชยี่ วชาญ
ทางด้านรัฐประศาสน์ - เชยี่ วชาญทางด้านการทหาร - เป็นผู้น�ำในดวงใจผนู้ ้อย - ปฏบิ ตั ิ
โดยธรรม ผนู้ อ้ ยจะตอ้ ง - มีความจงรกั ภักดี - หม่นั เขา้ พบผใู้ หญ่ - ยม้ิ แยม้ แจม่ ใสอยูต่ ลอด
เวลา - เชิดชแู ละยกย่องผใู้ หญ่ ใหม้ ชี ื่อเสียงเกียรติยศ เกรกิ ไกร
สรปุ หลกั การ ยทุ ธศาสตรช์ าติ รฐั ทม่ี ฤี ทธจิ์ ะตอ้ งมผี นู้ �ำหรอื ผปู้ กครองดี มคี วาม
สามคั คกี นั ระหวา่ งผปู้ กครองและประชาราษฎร์ ผนู้ �ำรกั ประชาราษฎร์ ประชาราษฎรเ์ ชดิ ชู
และยกยอ่ งผนู้ �ำ มกี ารจดั การปรกึ ษาทดี่ ภี ายในชาติ มขี า้ ราชการดี มกี องทพั ทเี่ กรยี งไกร มี
การเตรียมพรอ้ มทางดา้ นยทุ ธศาสตร์และยทุ ธวิธี
๑๐. กลฟ้างำ� ดนิ
ความเดมิ กลศกึ อนั นชี้ อ่ื วา่ ฟา้ ง�ำดนิ หมน่ั ส�ำเนยี กพลพฤนทรามาตย์ - ใหใ้ จอาจ
ใจหาญ - ช�ำนาญช้างม้ากลา้ รณรงค์ - หมั้นคงชฉ้ี บั เฉียว - เหลอื บเหลยี วนา่ ซา้ ยขวา - ไป
มาผับฉับไว - ใช้สอยยอดยวดยง จงช�ำนาญแลน่ แว่นไว - ปนื ไฟนา่ ไมพ้ ศิ - สนิทธนดู าบ
ดัง้ แพน - แสนเสโลหโ์ ตมร - กรไวพุ่งเชยี่ วชาญ - ช�ำนาญศิลปท์ ง้ั ปวง - ถลวงฟนั รนั รมุ -
ชุมพลสิบพลรอ้ ย - อย่าให้คลอ้ ยคลายกนั - ท่วั พลพนั พลหมื่น - หื่นพลแสนพลล้าน - จร
เดียวดาลเดด็ มา - แปรงาชา้ งบา่ ยตาม - ฟงั ความตามบังคบั - กับสเบียงเรยี งถุง - ประดงุ
ไพรพ่ ลช้างม้า กลศึกอันนี้ว่า ช่ือฟ้าง�ำดนิ ฯ
ความหมาย กลศึกชื่อฟ้าง�ำดิน ท�ำการจัดเตรียมก�ำลังฝ่ายเรา - ให้มีความ
พรอ้ มรบ ขวัญและก�ำลังใจ - ช�ำนาญการบงั คับช้างมา้ กล้าหาญในการรบ - เคล่ือนไหว
คล่องแคล่วมน่ั คง - ไมว่ ่าจะเปน็ การเหลยี วซ้าย แลขวา - รกุ หน้าถอยหลงั ต้องกระท�ำได้
อย่างคลอ่ งแคลว่ ฉับไว - ปืนไฟ หนา้ ไมพ้ ิษ - ธนู ดาบ ดั้ง แพน - เสโล่ห์ โตมรไว้ใหพ้ รอ้ ม
สรรพ เชย่ี วชาญศลิ ปะในการใชอ้ าวุธทุกประเภท การฝึก - หน่วยทะลวงฟันตอ้ งเขา้ รบพงุ่
อยา่ งเปน็ ปกึ แผน่ อยา่ ใหค้ ลาดกนั ไมว่ า่ จะเปน็ พลสบิ พลรอ้ ย พลพนั พลหมนื่ พลแสนหรอื
พลลา้ น การข่าว - พบก�ำลงั ฝ่ายขา้ ศกึ ใหจ้ ับมาซักขา่ ว - เตรียมเคลือ่ นก�ำลงั ตามขา่ วกรอง
ทีไ่ ด้ - เตรียมเสบียงใสถ่ ุงเรียงรายไว้ - บ�ำรุงไพรพ่ ลชา้ งมา้ ใหส้ มบูรณ์

185

สรุปหลักการยุทธศาสตรท์ หารของชาติ จงึ ไดแ้ ก่
๑. เตรียมก�ำลังพล ควบคุมไม่ให้พบสิ่งที่ช่ัว ฝึกฝนขัดเกลา ฝึกอบรมให้การ
ศึกษา สรา้ งขวัญและก�ำลงั ใจแก่ก�ำลงั พล
๒. เตรียมเครื่องมือรบ เตรยี มอาวุธยทุ โธปกรณ์ และฝึกใหช้ �ำนาญในการรบ -
อาวุธยงิ - อาวุธฟันแทง - เคร่ืองปอ้ งกัน
๓. การฝึก ฝกึ การใชอ้ าวุธยุทโธปกรณ์ การฝึกปฏบิ ตั ิทางยุทธวธิ ี
๔. การบงั คบั บญั ชาและการควบคุม
๕. การขา่ ว
๖. การส่งบ�ำรุง
๒. กลสหี จักร
ความเดมิ กลหนง่ึ ชอื่ วา่ สหี จกั ร - ใหบ้ รริ กั ษพ์ วกพล - ดกู �ำลงั ตนก�ำลงั ทา่ น - คดิ
คะเนการแมน่ หมาย - ยกั ยา้ ยพลเดยี รดาษ - พาษไคลคลก่ี รรกง - ตง้ั พลลงแปดทศิ - สถติ ย
ช้างมา้ อย่าไหว - ต้งงพระพลาไชยจงสรรพ - จงตง้ งทบั โดยสาตร - ฝงั นพบาทตรโี กน - ให้
ฟังโหรอันแมน่ - แกว่นรู้หลกั มีคลาด - ใหผ้ อู้ าจทะลวงฟนั - ให้ศึกผนั แพ้พา่ ย - ยา้ ยพล
ใหญใ่ หไ้ หว - ไสพลศึกให้หนี กลศกึ อันนี้ ชื่อวา่ สีหจกั ร
ความหมาย กลศึกชื่อว่าสหี จกั ร - ใหบ้ �ำรงุ รกั ษาก�ำลงั พล - เปรียบเทียบก�ำลงั
ฝ่ายเรากับข้าศกึ - ท�ำประมาณการและประมาณสถานการณ์ - เคลอ่ื นทพั - จัดก�ำลงั พล
เขา้ ทางการรบ - ตงั้ ทพั โดยระวงั ปอ้ งกนั รอบตวั - ปลงทพั - ตง้ั พลบั พลาชยั ตงั้ ทพั ตามหลกั
นิยม - ฝงั นพบาทตรีโกนเพอื่ กันภยั - คอยฟังโหรให้ฤกษ์ในการยกทัพ - ออกรบให้ถูกต้อง
ตามหลกั วชิ า - ยกทพั ออกรบโดยใชห้ นว่ ยทะลวงฟนั กลา้ ตายเขา้ รบพงุ่ ใหไ้ ดช้ ยั ชนะ - ท�ำให้
ขา้ ศกึ แพ้พา่ ย - โดยเคลอ่ื นทัพหลวง - เพอ่ื ให้ขา้ ศึกเกรงกลวั และถอยไปเอง
หลักการ ของยุทธศาสตร์ในยุทธบริเวณ ๑. เตรียมก�ำลังรบ ๒. ประเมิน
สถานการณ์ (รู้เขารเู้ รา) ๓. ท�ำประมาณการ ๔. เคลื่อนก�ำลัง - จดั ก�ำลังเข้าท�ำการ - ระวัง
ป้องกนั - รักษาความลับ ๕. เลอื กพ้นื ทกี่ ารรบ ๖. หลักนิยม - บ�ำรงุ ขวญั - การข่าว - รุก
๗. เอาชนะข้าศึกโดย - ท�ำลายขวญั - มีก�ำลงั เหนอื กวา่ ณ จุดปะทะ
กลุ่มงานยทุ ธวธิ ี มี ๓ กล ไดแ้ ก่ กลที่ ๑๙ ฟ้าสนั่นเสยี ง กลที่ ๑๑ อินทพมิ าน
ฉ,ธ กลท่ี ๓ ลักษณซอ่ นเง่ือน

186

๑๙. กลฟา้ สนน่ั เสยี ง
ความเดิม กลชอ่ื ฟา้ สนนั่ เสียง เรยี งพลพยุหก�ำหนด กฎประกาศถึงตาย หมาย
ให้รู้ถว้ นตน ปรนปันงานณรงค์ ยวดยงกลา่ วองอาจ ผาดก�ำหนดกดตรา ยามล่าอยา่ ลมื ตน
ท�ำยบุ ลสหี นาท ดจุ ฟา้ ฟาดสายแสง ส�ำแดงการรกุ รน้ ปลน้ ปลอมเอาชงิ ชว่ ง ลวงเอาบรุ รี าช
เสมา ตรารางวนั เงินทอง ปองผา้ ผ่อนแพรพรรณ์ ยศอนนั ตผ์ ายผกู ไว้ชั่วลกู ช่ัวหลาน การ
ชา้ งมา้ พลหาญ ใหช้ �ำนาญการรบ สบไดแ้ ก้จงรอดราศฎร์ ดุจฟ้าฟาดเผาผลาญ แตง่ ทหาร
รั้งรายเรียง สียงคะเครงคะคฤ้าน ทัง้ พน้ื ปา่ คะครัน สนน่ั ฆ้องกลองไชย สรในสรัพแตรสงั ข์
กระดงึ ดงั ฉานฉา่ งอ่ นงาชา้ งรายเรยี ง เสยี งบนั ฦๅครา้ มครน่ั กลา่ วกลศกึ นน้ั ชอื่ ฟา้ สนน่ั เสยี ง
ความหมาย กลศึกช่อื ฟา้ สน่นั เสยี ง - จัดวางขบวนตามรูปพยหู่ ะท่ีก�ำหนดไว้ -
ประกาศอยั การศกึ - แบ่งงานในการท�ำสงครามให้ทุกคนรู้หน้าทก่ี ารงานของตนประกาศ
แผนการ ยำ้� ระเบยี บวนิ ยั เม่ือถอยทัพอย่าลืมตัว - ตอ้ งท�ำใหเ้ กิดแสงแปลบปลาบเหมือน
ดังฟา้ ผ่า - ท�ำใหข้ า้ ศกึ เห็นว่าเราจะท�ำการรุกอย่างหนกั - จดั พลออกปลน้ เมอื งและปลอม
ทัพเขา้ เผาเมือง - ลวงเอาเมืองขา้ ศึก - ก�ำหนดบ�ำเหน็จรางวลั ให้ชัดเจนทงั้ ผ้าผ่อนแพร
พรรณ เงนิ ทอง ยศถาบรรดาศกั ด์ิ ให้กนิ ไปชวั่ ลกู ชั่วหลาน - ฝึกช้างม้าพลใหช้ �ำนาญการ
รบ เมื่อต้องใช้แกศ้ ึก จะไดช้ ่วยใหร้ าษฎรรอดตายดจุ ดังฟ้าผา่ เผาผลาญ - จดั ก�ำลงั ทหาร
ไว้ร้งั หน่วงเป็นระยะ พรอ้ มท�ำใหเ้ กิด - เสยี งคร้นื เครงข้นึ ท้งั ผนื ป่า มีทั้งเสยี งฆ้องกลองชัย
สรนัย แตรสงั ข์ ดังสนนั่ ป่า เสียงกระดึงทีค่ อสัตว์ดงั กระห่ึม - เรียงรายชา้ งงาม - ท�ำใหเ้ กดิ
เสียงเลา่ ลือต่างๆ นานา ใหข้ ้าศกึ คร้ามกลัว ไม่กล้าเข้ามารบแลว้ ถอยหนไี ปเอง
หลกั การนำ� ก�ำลงั เขา้ ท�ำการรบ ๑. จดั กระบวนทพั ๒. ประกาศอยั การศกึ ๓.
ออกค�ำสั่งยุทธการ แผนการ ข้อเน้นย�้ำ แนวความคิดในการปฏิบัติ - การรบเมื่อถอย -
การปล้นเมืองข้าศึก - การลวงเอาเมืองข้าศึก ๔. ก�ำหนดบ�ำเหน็จรางวัล ๕. การแก้ศึก
จัดทหารรั้งศึกเป็นระยะ เตรียมทัพม้า เตรียมทัพช้าง ประโคมดนตรีบ�ำรุงขวัญฝ่ายเรา
และท�ำลายขวัญข้าศึก
๑๑. กลอนิ ทพมิ าน
ความเดิม กลหน่ึงช่ือว่าอินทพิมาน ให้อาจารย์ผู้รู้ เทพยาครูฝังนพบาท แต่ง
สีหนาทข่มนาม ตามโบราณผูแ้ ม่น อนั ชาญแกวน่ เหนประโยชน์ - บนั เทาโทษโดยสาตร -
ยรุ ยาตรโดยอรรถ - ใหป้ ระหยัดซึ่งโทษ - อย่าขง่ึ โกรธหงั กา มนตราคมสิทธ์ศิ ักดิ์ พ�ำนกั น์ิ
ในโบราณ บูรรพาจารยพิไชย โอบเอาใจพลหมู่ ให้ดูสกุณนิมิตร พิศโดยญาณุประเทศ
พเิ ศศราชภกั ดี ศรีสุรยิ ศกั ด์มิ หิมา แกผ่ ูอ้ าษานรนารถ เทพาสาธุการ โดยด�ำนานดังน้ี ชอื่
วา่ อนิ ทพิมาน

187

ความหมาย กลศึกชอื่ อนิ ทพมิ าน ใหบ้ รรดาโหราจารย์ - ฝงั นพบาทเพ่อื กันภัย
- แต่งทพั ขม่ นามทพั ข้าศึก ท�ำตามหลักนยิ ม (แบบอย่างโบราณ) ซงึ่ ก่อให้เกดิ ประโยชน์ -
ใชศ้ าสตรเ์ พอ่ื ลดการสูญเสยี - เคล่อื นไหวเมือ่ เห็นประโยชน์ - ปฏบิ ตั กิ ารใหม้ ีขอ้ เสยี หาย
นอ้ ยทส่ี ดุ - อยา่ ใชโ้ ทสจรติ โกรธแคน้ หรอื หยง่ิ ยโส รกั ษาความศกั ดสิ์ ทิ ธแิ์ ละมนตค์ าถา ตาม
แบบอย่างโบราณ บูรพาจารยม์ ีชัยโดย - รักษาขวญั และก�ำลงั ใจไพร่พล - ดูสกณุ นมิ ติ - ใช้
ประโยชนจ์ ากภูมิประเทศ - จงรกั ภักดตี อ่ พระมหากษัตรยิ ์ - ใหเ้ กยี รติยศแกผ่ ูอ้ าสาศึก -
เทพยาดาสรรเสรญิ
หลกั การน�ำก�ำลงั เข้ารบ ๑. บ�ำรงุ ขวญั และอ�ำนาจการรบทไ่ี ม่มตี วั ตน ๒. เลอื ก
ยุทธภูมทิ ีไ่ ด้เปรยี บข้าศึก ๓. ปฏบิ ัติตามหลักนยิ ม - อ่อนตัวในการด�ำเนินกลยทุ ธ์ - ระวัง
ปอ้ งกนั - ควบคมุ อารมณ์ ๔. ขวญั และอ�ำนาจก�ำลงั รบทไ่ี มม่ ตี วั ตน ๕. หลกั นยิ มแหง่ ชยั ชนะ
- บ�ำรุงขวญั - จงั หวะเวลา - ใชป้ ระโยชนจ์ ากภูมิประเทศ - มีความสมานฉันท์ - ผู้นอ้ ยมี
ความจงรกั ภกั ดี - ผูใ้ หญ่ใหเ้ กียรตินักรบ

๓. กลลกั ษณสอ้ นเง่ือน
ความเดิม กลหน่ึงลักษณส้อนเง่ือน เตือนก�ำหนดกฎหมายตรา แยกปีกกาอยู่
สรรพ นบั ทหารผแู้ กลว้ แลว้ ก�ำหนดจงคง แต่งใหย้ งย่ัวเย้า ลากศกึ เขา้ ในกล แตง่ คนแต่ง
ชา้ งมา้ เรียงหน้าหลังโจเจ รบโยเยแลว้ หนี ศกึ ติดตีตามติด สมความคดิ พาดฆ้องไชย ยก
พลในสองขา้ ง ยกชา้ งมา้ กระทบ ยอหลงั รบสองข้าง จงึ บ่ายชา้ งอันหนี คระวอี าวทุ ธโหร่ ้อง
ส�ำทบั ก้องส�ำคญั ยนื ยันรบทั้งส่ี คลพี่ ลออกโดยสัง่ สตั รตู ง้ งพังฉิบหาย อุบายศกึ อันน้ี ช่อื วา่
ลักษณส้อนเงอื่ น
ความหมาย กลศึกชอ่ื ลกั ษณสอ้ นเงอ่ื น แจ้งเตือนและประกาศอาญาศกึ จัดรปู
ขบวนรบ แยกปกี กาถึงกันท้งั ซา้ ยขวา เข้าท�ำการรบ เลอื กทหารท่แี กล้วกล้าใหอ้ อกไปรบ
ยว่ั เยา้ หลอกลอ่ ขา้ ศกึ โดยเขา้ ตหี ลอกขา้ ศกึ แลว้ ถอยใหข้ า้ ศกึ ตามตี แตง่ ก�ำลงั พลพรอ้ มชา้ ง
ม้า ซุ่มซ่อนไว้ทั้งหน้าและหลัง เมื่อข้าศึกตามตีให้ลั่นฆ้อง สั่งให้ก�ำลังพลท่ีซุ่มซ้อนอยู่น้ัน
ให้โอบทางปีกเข้ามา พร้อมยกก�ำลังทัพช้าง ทัพม้า เข้าปะทะยอศึกท้ังทางด้านหน้าและ
ด้านข้าง ผ่อนไว้เฉพาะด้านหลัง เม่ือข้าศึกบ่ายช้างหนีให้ไพร่พล กวัดแกว่งอาวุธโห่ร้อง
ให้กกึ กอ้ ง เข้ารบทัง้ ส่ีทิศ ท�ำการเป็นเบย้ี บน โดยส่งั เคลอื่ นก�ำลัง ออกด�ำเนนิ กลยทุ ธตาม
สถานการณ์ ให้ศตั รพู ินาศลง
หลักการของยุทธวธิ กี ารรบ ๑. ระเบียบวนิ ยั ๒. จดั รปู ขบวนเขา้ ท�ำการรบ -
ระวงั ป้องกนั ปีก ๓. ยทุ ธวธิ รี ุก - เข้าตลี วงชักนำ� ข้าศกึ มาติดกบั - วางกำ� ลังซุม่ ซ่อนไว้
เปน็ กบั ดกั - เข้าตีโอบ - โอบสองปีก - ลอ้ มตี ๔. ดำ� เนนิ กลยุทธ์
ลักษณะของการปฏิบตั กิ ารสงคราม ประกอบไปด้วย กลที่ ๒๐ เรียงหลกั ยืน
เป็นหลักการปฏบิ ัตกิ ารสงครามพิเศษ และกลท่ี ๑๒ ผลานศรตั รู เป็นหลักการปฏบิ ัติการ
สงครามตามแบบ

188

๒๐. กลเรียงหลักยืน
ความเดิม กลศึกชื่อเรียงหลักยืน ให้ชมชื่นรุกราน ผลาญให้ครอบทั่วพัน ผัน
เอาใจใหช้ ่ืน ห่นื สร้างไร่สร้างนา หาปลาล่วงแดนต่าง โพนเถอ่ื นช้างลว่ งแดนเขา เอาเปน
พเ่ี ปนนอ้ ง พรอ้ งตง้ั คา่ ยตง้ั เวยี ง บา้ นถนิ่ เรยี งรายหมน้ั เรง่ กระชนั้ เขา้ เรยี งราย เกาะเอานาย
เอาไพร่ ไว่ใจไภยใจถงึ ระวังพงึ ใจให้ ใส่ไคล้เอาเปนเพอ่ื น ใครแขงกล่นเกลอ่ื นเสีย ใหเ้ มยี
ผูกรัดรึง ใหเ้ ปนจึงม่ามสาย รายรอบเอาจงหมน้ั จงเอาช้นั เปนกล กลให้เขาลอบปล้น ปล้น
บ้านถิ่นเถ่ือนไปมา ระอาเพศแทบเวียง กลศกึ อันนี้ ชื่อวา่ เรยี งหลักยนื
ความหมาย กลศกึ ชอ่ื เรยี งหลกั ยนื ใหช้ นื่ ชมในการรกุ รานขา้ ศกึ โดย - ลา้ งผลาญ
ข้าศึกให้รอบด้านเพื่อให้แม่ทัพนายกองและนายพลฝ่ายข้าศึกเปล่ียนใจมาเข้ากับฝ่ายเรา
แล้วฝ่ายเราท�ำการเลีย้ งดใู ห้มคี วามสขุ - สรา้ งไร่นา - หาปลาลว่ งแดนขา้ ศึก - จับช้างป่าใน
แดนขา้ ศกึ นบั กนั เปน็ ญาติ รว่ มกนั ตงั้ คา่ ยและตงั้ เมอื ง ตงั้ เวยี งวงั ขนึ้ ใหเ้ ปน็ บา้ นเมอื งมนั่ คง
เรียงรายไว้ เรง่ เขา้ เกาะเพือ่ ชงิ ทง้ั นายไพร่โดย - ต้องใจถงึ ไมก่ ลัวอันตราย - คอยสังเกตผมู้ ี
ใจฝกั ใฝ่ฝ่ายเรา - ใสไ่ คลฝ้ า่ ยขา้ ศกึ บางคน แต่เอาข้าศกึ บางคนเป็นเพอ่ื น - ใครแข็งขนื ให้
ฆ่าเสยี - แตง่ เมียใหเ้ พือ่ ผกู มัดจิตใจ และเปน็ สายใยเช่ือม สร้างสัมพันธ์ใหร้ อบเพ่อื ชงิ บา้ น
เมอื งขา้ ศึก แล้วแต่งกลขึ้นอีกหลายชั้น - ลอบปลน้ บ้านเมอื งขา้ ศกึ - ปล้นบา้ นในถน่ิ ปา่ เขา
ให้คนอพยพมาอยฝู่ า่ ยเรา
หลักการท�ำสงครามนอกแบบในการรุกรานข้าศึก คือกระท�ำโดยท�ำการรุก
รานศรัตรู ดว้ ยการลา้ งผลาญรอบด้าน ทัง้ การรกุ รานทางเศรษฐกิจ การผกู มติ ร (สรา้ ง
พนั ธมติ ร) การทำ� ใหก้ ำ� ลงั พลขา้ ศกึ แปลพรรคการทำ� สงครามกองโจร - ปลน้ บา้ น -โอน
เมอื ง

๑๒. กลผลานศรตั รู
ความเดมิ กลหนง่ึ ชอ่ื วา่ ผลานศรตั รู ขา้ ศกึ ดอู งอาจ บพ่ ลาดราษฎรกระท�ำ น�ำพล
พยคั ฆปะเมือง พลนองเนืองแสนเตา้ แจกเล่าเข้าชาวเรา เอาอาวธุ จงมาก ลากปืนพศิ พาด
ไว้ ขนึ้ น่าไม้ธนู กรูปืนไฟจกุ ชอ่ ง ส่องจงแม่นอยา่ คลา ชกั สารพาบันทกุ อย่าอุกลุกคอยฟัง
อย่าประนังตนเด็ด เล็ดเลงดูท่ีหมน้ั กนั ท่พี ลจงคง คนหนึง่ จงอย่าฉกุ ปลกุ ใจคนให้หื่น ให้
ช่ืนในสงคราม ฟังความสั่งส�ำคัญ ฆ้องกลองพรรณแตรสังข์ ประนังโรมรันรุม เอาจุมพล
ดาศกึ พิฦกคะเปนนาย คร้นั ถกู กระจายพา่ ยพงั พลเสรดิ สงั่ ฤๅอยู่ บ่เปนหมูเ่ ปนการ โดย
สารโสลกด่ังน้ี ชอื่ ว่าผลานศรตั รู
ความหมาย กลศกึ ชอ่ื ผลานศรตั รู หากขา้ ศกึ ดอู งอาจน�ำพลมากมายสกั หา้ หมน่ื
เข้าลอ้ มเมือง โดยมิไดท้ �ำรา้ ยประชาชนฝา่ ยเรา ฝา่ ยเราให้แจกเหล้า ข้าวปลา และเสบยี ง
อาหาร แกก่ �ำลงั พล ใหก้ �ำลังพลอม่ิ หน�ำส�ำราญ น�ำอาวธุ ทกุ ชนดิ มาใช้ให้มากทส่ี ดุ - ลาก
ปืนใหญ่เข้าประจ�ำท่ี - ข้ึนหน้าไม้และธนู - พลแม่นปืนไฟเข้าประจ�ำท่ี ลากรถบรรทุก

189

ยทุ โธปกรณเ์ ขา้ ประจ�ำที่ และบรรทุกสิง่ ของต่างๆ ใหพ้ รอ้ ม อย่าอึกทกึ คอยฟงั เหตกุ ารณ์
อย่าไปออปะนังกันอยู่ท่ีใดๆ ให้เตรียมพร้อมอยู่ในที่มั่นของตนอย่าท�ำฉุกละหุกต่ืนเต้น
ปลกุ ใจไพรพ่ ลฝา่ ยตนให้ฮกึ เหมิ อยากเข้าท�ำการรบ ปฏิบัติตามค�ำส่งั ฆอ้ ง กลอง แตรสงั ข์
เมอ่ื ไดร้ บั ค�ำสงั่ ใหเ้ ขา้ โรมรนั ขา้ ศกึ ใหแ้ ตกกระจายพา่ ยพงั ไป โจมตขี า้ ศกึ อยา่ งไมค่ าดฝนั ให้
เข้ารบพุ่งด้วยชั้นเชงิ ที่พสิ ดารพันลกึ ใหข้ า้ ศกึ พ่ายแพ้ไป

หลักการท�ำสงครามตามแบบในการป้องกันเมือง หากข้าศึกมีก�ำลังมาก
เขา้ ล้อมเมอื งโดยมไิ ด้ท�ำรา้ ยประชาชน ใหต้ ั้งรับโดย - เลี้ยงดไู พร่พล - แจกเสบยี งอาหาร -
แจกอาวธุ ยทุ โธปกรณ์ - เขา้ ทตี่ ง้ั พรอ้ มรบ เตรยี มการดา้ นก�ำลงั สง่ บ�ำรงุ รกั ษาระเบยี บวนิ ยั
รักษาหน้าท่ี บ�ำรุงขวัญและก�ำลังใจไพร่พล การบังคับบัญชา อ่อนตัวและพลิกแพลง
ในการด�ำเนินกลยทุ ธ์

กลุม่ ทีส่ องกลุ่มการปฏิบตั ิเพ่อื พลกิ แพลงกลยทุ ธใ์ นสนามรบ

กล่มุ การปฏบิ ตั เิ พ่อื พลกิ แพลงกลยทุ ธใ์ นสนามรบ มี ๖ กล่มุ ยอ่ ย ๑๒ กลยุทธ์
ดังตารางขา้ งลา่ ง ทัง้ ๑๒ กลยุทธ์ เป็นกลยุทธท์ ่ใี ช้ในการพลกิ แพลงการรบเพอ่ื สนับสนุน
กลมุ่ งานปฏบิ ตั งิ านหลกั ขา้ งตน้ เมอื่ น�ำกลมุ่ งานปฏบิ ตั งิ านหลกั และกลมุ่ การปฏบิ ตั เิ พอื่ พลกิ
แพลงกลยทุ ธเ์ ขา้ มาใชง้ านรว่ มกนั จะกอ่ ใหเ้ กดิ กลยทุ ธพ์ ลกิ แพลงมากมาย ซงึ่ แตล่ ะกลยทุ ธ์
มคี วามหมายและรายละเอยี ดของการปฏบิ ัตริ วมท้งั หลักการดงั นี้

๔. เถื่อนกำ� บัง ๑๓. ชูพิศแสลง
๕. พงั ภูผา ๑๔. แขงให้อ่อน
๖. ม้ากินสวน ๑๕. ยอนภเู ขา
๗. พวนเรอื โยง ๑๖. เย้าให้ผอม
๘. โพงน�้ำบ่อ ๑๗. จอมปราสาท
๙. ฬอ่ ชา้ งปา่ ๑๘. ราชปญั ญา

๔. กลเถ่อื นก�ำบัง
ความเดมิ กลหนึ่งชื่อวา่ เถอ่ื นก�ำบัง รงั้ รบั พลตนน้อย ชกั คนคลอ้ ยแฝงป่า - แตง่
พลหล้าแล่นวง ท้ังกงนอกกงใน - ไว้ชา้ งม้าให้แฝง แทงใหร้ อ้ งทรหงึ - มีอ่ ึงฆ้องกลองไชย
ใหไ้ ว้เสียงส�ำทับ - ปนื ไฟกบั ธนู นา่ ไมก้ รูกนั มา - ดาบทะลวงฟนั ดาหลัง ประดงั ชา้ งมา้ เรี่ย
ชายไพร - ลกู หาบในปา่ โห่ เกราะเสโลหน์ ่ีนัน่ - ใหศ้ กึ งันรา่ ถอย ครัน้ ศึกคล้อยเหนผ้หู ้าว
กลเสอื คราวครึมป่าแล้วออกล่าแล่นฉาว - ท�ำส�ำหาวซอ่ นเลบ็ - เกบแตเ่ ตยี นกินรก - ลอบ
ฉวยฉกเอาจงเนอื ง ใหศ้ กึ เคอื งใจหมอง คล่องยุบนดังน้ี ชื่อวา่ เถอ่ื นก�ำบัง

190

ความหมาย กลศึกช่ือเถ่ือนก�ำบัง ต้ังรับด้วยก�ำลังพลน้อย - ให้ซุ่มซ่อนคนใน
ป่า - จดั ก�ำลังพลให้ออกเคลอ่ื นไหวท้งั ชน้ั นอกและช้ันใน - ซอ่ นช้างม้าไว้ในปา่ แลว้ ตีแทง
ใหร้ อ้ งอกึ ทึกครึกโครม - เม่ือขา้ ศกึ เขา้ มาให้ตฆี อ้ งกลองเปน็ สญั ญาณ - หน่วยปนื ไฟ ธนู
และหน้าไม้กรูกันเข้าที่มั่น - หน่วยทะลวงฟันตั้งไว้หลัง แล้วซุ่มก�ำลังช้างม้าไว้แนวชาย
ปา่ - ใหล้ กู หาบทอ่ี ยู่ในป่าโหร่ ้องพรอ้ มตีเกราะเคาะโล่ขนึ้ ทกุ ที - ข้าศกึ จะตลึงงนั แล้วลา่
ถอย เม่ือข้าศึกถอยให้เร่งแสดงความห้าวหาญประดุจดังเสือแฝงตัวในป่า ยกก�ำลังออก
ตีโต้โดย - ใชก้ ับดักซอ่ นไว้ - ลากขา้ ศกึ เข้าท�ำลายในที่ลับ - ลอบสงั หารท�ำลายข้าศึกอย่าง
เนืองนจิ ท�ำลายขวัญข้าศึก
หลักการต้ังรับใช้ก�ำลังน้อยเอาชนะก�ำลังมาก ๑. ต้ังรับโดย - การวางก�ำลัง
ต้ังรบั - ซอ่ นเรน้ - ลวง ๒. การรบในพ้ืนทต่ี ้ังรับ - การควบคมุ บงั คบั บญั ชา - ใช้อาวุธยิง -
ใช้อาวุธฟันแทง - ใช้อาวธุ ทมี่ ีก�ำลังชน - ท�ำลายขวัญขา้ ศกึ - ท�ำใหข้ า้ ศกึ ตะลงึ งนั ๓. การ
รกุ โตต้ อบ - รกุ - ลิดรอนก�ำลงั - การรบพลิกแพลง ๔. ท�ำลายขวญั
๑๓. กลชูพิศแสลง
ความเดมิ กลหนงึ่ วา่ ชพู ศิ แสลง ขา้ ศกึ แรงเรอื งฤทธิ์ คดิ ไฝไ่ ภยเอาเรา เคยเขามาก
มาก ภาคทีแ่ คบทคี่ ับ สลบั รพ้ี ลชา้ งมา้ เคยคลาปล้นรกุ ราน ผลานฬ่อลวงบ้านเมือง เนอื ง
เนอื งมาเพ่ือนตน ให้ใสก่ ลปราไศรย ฝากของไปฝากรักษ์ ลักลอบใหเ้ งินทอง รงั วันปองขนุ
ใหญ่ หวั เมืองไพรข่ า้ ศกึ ให้ตฤกจงลบั แล้ง แข่งอบุ ายเลห่ ค์ ดิ ไปมาสนิทเปนกล ใหเ้ ขาฉงน
สนเท่ห์ เพราะเปนเล่ห์ภายใน บไว้ใจแกก่ ัน ผันใจออกกินแหนง แยงใหผ้ ดิ ด้วยกนั ชพู ิศ
ผรรแปรพศิ ให้ผิดกนั เองโจกเจก บเปนเอกใจเดียว บเปนเกย่ี วเปนการ เพราะพิศผลาน
ศัตรู กลศกึ อันนี้ ชอื่ วา่ ชูพิศแสลง
ความหมาย กลศกึ ชอ่ื ชพู ศิ แสลง ขา้ ศกึ มกี �ำลงั เขม้ แขง็ ยกมารกุ รานอยเู่ ปน็ ประจ�ำ
- ขา้ ศึกร้ภู มู ิประเทศ วา่ ท่ีใดควรใช้ก�ำลังช้างม้าอย่างไร - ข้าศึกได้เข้าปล้นรุกรานท�ำลาย
บ้านเมืองต่างๆ เป็นเมืองข้ึนอยู่เนืองๆ แต่ฝ่ายเราไม่สามารถรับมือได้ ให้ฝ่ายเราแต่งพล
เข้าเจรจาและน�ำเงนิ ทองของฝากไปให้เจ้าหัวเมอื งและแมท่ ัพนายกองฝา่ ยศัตรู ใหก้ ระท�ำ
งานน้อี ย่างเร้นลบั แตง่ กลอุบายใช้ - ความสนิทสนมเปน็ กล เพอื่ ใหฝ้ ่ายขา้ ศึกไมไ่ วใ้ จกัน
และกินแหนงแคลงใจกัน - ยแุ ยงใหแ้ ตกแยกผดิ ใจกนั ท�ำให้แตกความสามคั คที ะเลาะกัน
ว่นุ วายไมเ่ ปน็ น�้ำหนงึ่ ใจเดียวกัน
หลกั การตง้ั รบั โดยใชก้ ำ� ลงั นอ้ ยเอาชนะกำ� ลงั มาก ขา้ ศกึ มกี �ำลงั มากเขา้ รกุ ราน
และข้าศึกช�ำนาญภูมปิ ระเทศ ใหใ้ ช้การลวงทางการทูตโดย - การเจรจา - การใหส้ นิ บน
- การให้ของฝาก ท�ำการรักษาความลับของแผน และแต่งอุบายหลายอย่าง - ให้ข้าศึก
แตกความสามัคคีกัน - ท�ำใหข้ ้าศกึ แตกจากภายใน

191

๕. กลพังภูผา
ความเดมิ กลนชี้ อ่ื พงั ภผู า แมศ้ กึ มาปะทะ อยา่ เพอ่ ระเรงิ แรง ส�ำแดงดจุ เหนนอ้ ย
ชักมา้ คลอ้ ยแฝงปา่ เขา ศึกเหนเราดถู ูก ผกู ช้างมา้ ออกไล่ ยอพลใหญก่ ระทบ ผิรบเขาบ่ไหว
ให้ชา้ งมา้ โรมรมุ กลุ้มกนั หักอย่าคลา อยา่ ชา้ เรง่ รมุ ตี ศึกแล่นหนตี ามตอ่ ย ใหย้ ับยอ่ ยพราย
พรัด ตดั เอาหวั โหเ่ ลน่ เต้นเรงิ ร�ำส�ำแดงหาร ใหศ้ กึ ครา้ นครา้ มกลัว ระร้วั ระเสิดสงั กลศกึ
อนั นี้ ชอ่ื วา่ พงั ภผู า
ความหมาย กลศกึ ชอ่ื พงั ภูผา เม่อื ขา้ ศึกเข้าประชิด - อยา่ แสดงวา่ มีก�ำลงั มาก
- ใหแ้ สร้งท�ำดุจมีก�ำลังนอ้ ย แยกก�ำลงั เป็นหน่วยย่อยๆ เขา้ ซ่อนตวั ในปา่ เม่อื ศัตรูดูถกู เรา
ยกก�ำลงั ชา้ งมา้ ออกมาไลแ่ ลว้ เคลอื่ นก�ำลงั หลกั เขา้ ตี เมอ่ื เหน็ ทวี า่ รบตรงๆ ไมไ่ หวกใ็ หใ้ ชท้ พั
ชา้ งทพั ม้าเขา้ โรมรันร้องตีเอาชนะศัตรู เม่อื ทัพศึกถอยหนี ก็ให้ตามตีกระหนำ่� ซ้�ำเตมิ - ตัด
เอาหวั ข้าศกึ มาโห่แหเ่ ล่น เต้นร�ำส�ำแดงความกลา้ หาญ ท�ำใหศ้ ตั รเู กรงกลวั และถอยไปเอง
หลักการตั้งรับมีก�ำลังมากแสดงว่ามีก�ำลังน้อย เม่ือข้าศึกเข้าตีด้วยก�ำลังมาก
ตง้ั รบั โดย - ปกปดิ ก�ำลงั และซอ่ นพรางก�ำลงั พลใหข้ า้ ศกึ ประมาทเขา้ ตี - หากก�ำลงั ทพั หนา้
เหน็ ศตั รหู า้ มไมใ่ หใ้ ชก้ �ำลงั ทงั้ หมด ลอ้ มตศี ตั รอู ยา่ งดเุ ดอื ดใหข้ า้ ศกึ ถอยหนี บ�ำรงุ ขวญั ก�ำลงั
ฝ่ายตนแล้วไล่ติดตามไล่ก�ำลงั ศัตรอู ย่างห้าวหาญ ท�ำลายขวัญข้าศึกใหถ้ อยหนีเอง
๑๔. กลแขงให้อ่อน
ความเดมิ กลหนึ่งแขงใหอ้ อ่ น ผอ่ นเมื่อศตั รยู ก ให้ดบู กดนู ำ�้ ซำ�้ ดูเขา้ ยาพิศ พินิต
พศิ จงแหลก ตดั ไมแ้ บกเบอื่ เมา เอาไปทอดในนำ้� ทบั ซำ้� หนามขวาก แตง่ จงมากทา่ ทาง วาง
จาวหา้ วแหลนเล่ห์ บอ่ ด่านทางเข้าทข่ี ัน กนั หลายแหง่ ทค่ี บั แตง่ สนับไวจ้ ่อไฟ ไลเ่ ผาคลอก
ป่าแขม แนมขวากหนามหว่างน�้ำคา่ ม ตามเผาป่าแทบทัพ ยับไม้เผาเปนถ่าน หวา่ นไฟไว้
รายเรยี ง รอเผาเสบยี งจงส้ิน อย่าใหก้ นิ เปนอาหาร แตง่ คนชาญหลอกทพั ใหเ้ สียหับเสีย
หาย ท�ำลายคาบเนืองเนอื ง เปลอื งสเบยี งเปล่าเฉาแรง กลช่อื แขงใหอ้ อ่ น
ความหมาย กลศึกชื่อแขงให้อ่อน เมื่อข้าศึกยกมาให้ท�ำการรบหน่วงเวลา -
ส�ำรวจภูมิประเทศท้ังทางบกและทางน้�ำ - เลือกพ้ืนที่ท่ีจะวางยาพิษ แล้วพิจารณาตัดไม้
เบอ่ื เมาเอาไปวางทดในนำ�้ - ท�ำหลมุ ขวากอยา่ งมากมาย - จดั วางจงั หา้ วแหลนเลห่ ์ ตามบอ่
ดา่ นหรอื ทางคบั ขนั - กนั พนื้ ทค่ี บั ขนั ทเ่ี ปน็ ปา่ แขมหลายแหง่ ไวเ้ พอ่ื จดุ ไฟเผาครอกศตั ร-ู วาง
ขวางหนามตรงทา่ ข้ามนำ้� เมอื่ ขา้ ศกึ ยกมาให้ท�ำการรบหน่วงเวลา - เผาปา่ ทอ่ี ยู่ติดกบั คา่ ย
ศตั รู - ตดั ไมเ้ ผาถา่ นหวา่ นไวใ้ นทตี่ า่ งๆ เพอ่ื จะเผาเสบยี งขา้ ศกึ อนั เปน็ เหตใุ หข้ า้ ศกึ อดอยาก
แต่งผูช้ �ำนาญการหลอกลอ่ ข้าศึกให้ไปติดกับดักอยเู่ นืองๆ จะท�ำใหข้ า้ ศกึ เสียก�ำลงั พลและ
ก�ำลงั รบ

192

หลักการต้ังรับเมื่อมีก�ำลังมากแสดงว่ามีก�ำลังน้อย ๑. อ่อนตัวในการด�ำเนิน
กลยุทธ์ ๒. ใช้ประโยชน์จากภมู ปิ ระเทศ ๓. ใช้เครือ่ งมือทหี่ าง่าย - วางยาพษิ ในนำ้� - ท�ำ
หลุมขวาก - วางจังหา้ ว แหลนหลาว - ใช้ไฟครอกทพั ศึก - เผาเสบียง
๖. กลมา้ กนิ สวน
ความเดิม กลหน่ึงชื่อว่าม้ากินสวน ให้หาผู้ควนหารห้าว ลาดเอาเย่าเอาเรือน
บา้ นถน่ิ เถ่ือนอยู่ใกล้ จับกมุ ได้เอามา นานาเลศเทศกาล ปันพนกั งานจงขาด ปรนไปลาด
เนืองเนือง ให้ศกึ เคืองใจแคน้ แมน้ จะอยู่บ่มสี ุข บกุ ขับกันทกุ เดอื น เตอื นใจต่นื ไปมา กล
ขับปลาใหห้ ้อม ด้อมดักสักส่มุ เอา ให้ศกึ เหงาใจถอย ค่อยเกบนอกเข้ามา ใหร้ ะอาใจออ่ น
ผอ่ นผูค้ นให้หนี กลอนกล่าวกลศึกนี้ ชื่อว่ามา้ กินสวน
ความหมาย กลศึกช่ือว่าม้ากินสวน ให้แต่งคนท่ีมีความห้าวหาญออกลาด
ตระเวนรบตเี อาบา้ นเมอื งขา้ ศกึ ทอ่ี ยใู่ กลแ้ ดนเราอยา่ ใหว้ า่ งเวน้ เมอื่ จบั ประชาชนฝา่ ยขา้ ศกึ
ได้ให้เอามาสอบสวนหาข่าวสารฝ่ายข้าศึก จัดก�ำลังออกไปลาดตระเวนรบอยู่เนืองนิตย์
ในทุกฤดกู าล ท�ำใหข้ า้ ศึกต้องล�ำบากใจอยูไ่ ม่เปน็ สขุ เกดิ ความปัน่ ป่วน ต้องเตรียมรบอยู่
ตลอดเวลา เหมอื นกับกลการจับปลาใหล้ อ้ มวง เขา้ ไปทลี ะนอ้ ยแล้วแทงหรือสุ่มเอา ท�ำให้
ข้าศึกเสียขวญั และก�ำลังใจแลว้ ยึดทลี ะขัน้ ตั้งแตช่ ายขอบเข้าไปท�ำใหป้ ระชาชนของขา้ ศึก
อดิ หนาระอาใจ ยา้ ยครอบครวั ถอยหนไี ป
หลักการรบตามแบบเมื่อรุกรานข้าศึก ๑. การหาข่าว - การลาดตระเวนหา
ขา่ ว - การหาขา่ วจากประชาชน - การซักข่าวจากเชลยศกึ ๒. การเขา้ ตรี บกวนข้าศึกเพื่อ
ลดิ รอนก�ำลงั ขา้ ศกึ ๓. ท�ำใหข้ า้ ศกึ เตรยี มพรอ้ มโดยไมจ่ �ำเปน็ ๔. กลลอ้ มจบั ปลา ๕. ท�ำลาย
ขวัญและก�ำลังใจของขา้ ศกึ ใหถ้ อยหนไี ปเอง
๑๕. กลยอนภูเขา
ความเดมิ กลหนง่ึ ยอนภเู ขา ขา้ ศกึ เนาประชดิ ใหร้ ดิ ชู อ่ งชอบ ทจี่ ะขอบจะขงั แต่
ระวังยกั ยา้ ย ฝ่ายพลเขาเอาสเบยี ง เรียงงานในเมอื งเรา เอาใจไพร่ใจพล คนอยประจ�ำการ
พนักงานใครใครรบ แต่งบนั จบพลแลน่ ใหท้ �ำแกว่นชวนกนั แตง่ ทลวงฟันบุกทพั คอยฟัง
ศัปทส�ำคญั หาที่ยันทอี่ า้ ง เอาม้าชา้ งเปน็ ตนี ปีนคูหักคา่ ยเขา้ รบรุกเรา้ รุมแทง อย่าคลาย
แคลงพรายพรัด ตัดไม้ม้วยด้วยกัน ให้ส�ำคัญจงแม่น แล่นช้างม้าวางขวาก เขาตามยาก
เอาเรา เทา่ ทิศท่ีตนหมาย ฆา่ ให้ตายกลากลาด ตอ้ งบาดเจบป่วยการ ศัตรูดาลระทด ขด
ด้วยเสียงปืนไฟ ในเมอื งเร่งโห่ร้อง ให้มก่ี อ้ งนิรนาท มีป่ีพาทยเ์ สียงสรวญใน ชมช่ืนใจขบั ร�ำ
ซ�ำ้ ทนงองอาจ ปืนไฟพาดประนัง กลช่อื ยอนภเู ขา

193

ความหมาย กลศึกช่ือหน่ึงยอนภูเขา ข้าศึกเข้าประชิดเมือง - พิจารณา
ภูมปิ ระเทศเพื่อทจี่ ะ - เปน็ ทางเคล่ือนยา้ ยของฝา่ ยเรา - เป็นทางตนั ที่จะกกั ขงั ข้าศกึ - ให้
ระวงั การเคลือ่ นยา้ ย ถา้ หากฝ่ายขา้ ศกึ จดั เตรียมเสบียงในเมอื งเราให้ฝา่ ยเรา - บ�ำรงุ ขวญั
ก�ำลงั พล - จดั คนอยปู่ ระจ�ำการ- แบ่งหน้าที่ในการรบ - จดั หน่วยลาดตระเวนหาขา่ วและ
ลาดตระเวนรบ - แต่งหน่วยทะลวงฟันเพ่ือเป็นหน่วยจู่โจม รักษาการบังคับบัญชา หาที่
ต้งั รบใหเ้ หมาะสม ใช้ช้างม้าเขา้ รบหรือปนี เข้าท�ำลายข้าศึกอยา่ งเป็นกลุ่มกอ้ น ข่ีช้างม้าไป
วางขวาก เม่ือขา้ ศึกไล่ติดตามในทิศทางทเ่ี ราคาดไวก้ เ็ ขา้ รบพุ่งฆ่าฟันหรือท�ำใหข้ า้ ศกึ บาด
เจบ็ ใหม้ าก จะท�ำให้ขา้ ศกึ เสียขวัญและก�ำลังใจ ใช้เสยี งข่มขวัญ อนั ประกอบด้วยเสยี งปนื
ไฟ เสยี งคนในเมอื งโหร่ อ้ งอยา่ งกกึ กอ้ งกมั ปานาท เสยี งจากการบรรเลงดนตรปี พ่ี าทย์ และ
มหรสพ และมีความทรนงองอาจ พาดปืนไฟเตรียมพรอ้ มไว้เสมอ
หลกั การรบตามแบบดว้ ยการตงั้ รบั ปอ้ งกนั เมอื งเมอ่ื ขา้ ศกึ รกุ ราน ใหต้ งั้ รบั โดย
- ใช้ประโยชนจ์ ากภมู ิประเทศ - บ�ำรุงขวญั ก�ำลงั พล - เตรยี มพรอ้ มรบ และแบง่ หนา้ ทรี่ บ
โดย - จดั หนว่ ยลาดตระเวนหาขา่ ว - จดั หนว่ ยลาดตระเวนรบ - จดั หนว่ ยทะลวงฟนั เตรยี ม
การบงั คับบัญชา, ใช้ภูมิประเทศที่ไดเ้ ปรยี บ, ปลน้ คา่ ยศตั รู, ใช้ฉากขัดขวาง ชกั น�ำใหข้ ้าศึก
มาตดิ กบั และท�ำลายขา้ ศกึ เสยี , ท�ำลายขวญั ขา้ ศกึ ระวงั ปอ้ งกนั โดยเตรยี มพรอ้ มน�ำอาวธุ ยงิ
เข้าที่ตงั้
๗. กลพวนเรือโยง
ความเดิม กลศึกอันหนึ่งช่ือว่าพวนเรือโยง ประดุจผะโองปีนตาล ท�ำจงหวาน
แช่มชิด ผูกเปนมิตรไมตรี สง่ิ ใดดยี กให้ ละไล่ตอ่ ยา่ เสยี แตง่ ลูกเมียให้สนิจ ตดิ ต่อตง้ งยงั
กล ยุบลช้างเถือ่ นตามโขลง โยงเบ็ดราวคลาวเหยื่อยาม ค่อยลากก้ามเอามา ดว้ ยปญั ญา
พิษฎาร กลการศึกอันน้ี ชือ่ ว่าพวนเรือโยง
ความหมาย กลศึกชื่อวา่ พวนเรอื โยง ท�ำเหมอื นผะอง (บันได) ขน้ึ ต้นตาล ท�ำจง
หวานแชม่ ชดิ ท�ำใจดผี ูกมติ รไมตรี ยกของดีให้ เพือ่ ผูกใจขา้ ศกึ ไว้กับใจเรา จดั หาหญิงฝ่าย
เราไปตบแต่งเป็นเมียข้าศึก เพื่อเป็นคนเกล้ียกล่อม ท�ำกลดั่งการต้อนจ่าโขลงเพื่อจับช้าง
ป่า ท�ำกลเหมอื นการท�ำเบ็ดราว ซง่ึ ต้องค่อยๆ ลากเหยือ่ เอาปลามา ใช้สติปัญญาเอาชนะ
ข้าศกึ โดยพิศดารแยบคาย
หลกั การ ท�ำใหข้ า้ ศกึ พา่ ยแพเ้ อง (เอาชนะดว้ ยการทูต ) ๑. การทตู - ผกู มติ ร -
ใหข้ องรัก - ให้หญิงงาม ๒. กลอุบาย - จับช้างจบั จา่ โขลง - ตกเบ็ด ๓. ใชค้ วามพลิกแพลง

194

๑๖. กลเยา้ ใหผ้ อม
ความเดิม กลหนึ่งเย้าให้ผอมนั้น บั่นเม่ือเธอลีลา พาธาอริราช ให้พินาศศัตรู
หมั่นตรวจดกู �ำลัง ช้างมา้ ทั้งรพี้ ล ปรนกันเปล่ียนไปลาด ผาดจูเ่ อาแตไ่ ด้ หนงั สอื ไวห้ มาย
หมก ว่าจะยกพลหลวง ลวงใสก่ ลเปนเขต ดูในเทศการ ให้ปว่ ยงานท�ำนา แสวงตรวจตรา
พลแกล้ว ใหแ้ ผ้วถางแสง้ ท�ำ คคกึ ค�ำแรงรณ คร้นั หลงกลยกเล่า ลากพลเขา้ เนืองเนอื ง แยง
ใหเ้ ปลืองไปมา ดจุ กลกาลักไข่ จะไลไ่ ล่ก็มีทัน วนั คนื ปีป่วยการ ข้าศึกต้านยนื อยาก ให้เขา้
ยากหมากแพง สิง่ เปนแรงให้แรงถอย ร่อยร้อนไขใ้ จหิว ตีนมอื ปลิวพลดั พราย ไพรห่ นีนาย
นายเปลี่ยว บเปนเร่ียวเปนแรง ใครใครแขงมิได้ ใครใครไม่มีลาภ ถ้ารูปงามเสาวภาพย์
ก็จะเศร้า กลอบุ ายน้ีเลา่ ช่ือว่าเย้าใหผ้ อม
ความหมาย ท�ำลายเมอ่ื ขา้ ศกึ เคลอ่ื นไหว เบยี ดเบยี นปรปกั ษใ์ หพ้ งั พนิ าศลงโดย
- ตรวจดูก�ำลังชา้ งมา้ ล้ีพล - เปลยี่ นกนั ไปลาดตระเวนเข้าไปในแดนขา้ ศกึ โดยซอ่ นเอกสาร
ปลอมว่าจะยกทพั หลวงไปโจมตี - ลวงเป็นพื้นที่ - ลวงในเวลาเพาะปลกู มิให้ราษฎรท�ำนา
ได้ - ท�ำให้ขา้ ศึกหลงกลตรวจพล เกณฑพ์ ล และแผว้ ถางเส้นทางทจ่ี ะยกทัพมารบั ทัพศึก
เราเปน็ จ�ำนวนมากครง้ั สน้ิ เปลอื งก�ำลงั พลไปเปลา่ ๆ กลนเ้ี หมอื นกลกาลกั ไข่ จะไลเ่ อาไขค่ นื
ก็เสียเวลาเปล่า ข้าศึกท่ีมาต้านทัพน้ันต้องยืนอดอยากปากแห้งเพราะเกิดข้าวยากหมาก
แพง เนอื่ งจากมิได้ท�ำนา สง่ิ ท่ีเปน็ พละก�ำลังศกึ ก็จะถดถอยลงเนื่องจากก�ำลงั พลปว่ ยและ
หวิ โหย มอื อ่อน ตนี อ่อน ไพร่จะหนนี ายใหน้ ายเปลีย่ วไมม่ ีก�ำลังทีจ่ ะท�ำส่งิ ใดได้ ไม่มใี คร
แข็งแรงและไดล้ าภ ไดผ้ ลประโยชน์ แมผ้ มู้ ีรปู งามกจ็ ะทรุดโทรมลงอย่างรวดเรว็
หลักการ ท�ำให้ข้าศึกพ่ายแพ้เอง (เอาชนะด้วยการลิดรอนก�ำลัง) ๑. เอาชนะ
ดว้ ยการลิดรอนก�ำลงั ข้าศกึ โดย - เตรยี มก�ำลงั พลและยานพาหนะ (เตรียมก�ำลังรบ) - ลาด
ตระเวนหาข่าว - ลาดตระเวนรบ - ลวงให้ข้าศึกเตรียมพรอ้ มในทุกสถานทท่ี ุกเวลาท�ำให้
เศรษฐกิจข้าศึกเสียหาย ทหารอ่อนแอลง ๒. กลกาลักไข่ ๓. ท�ำลายระบบค้�ำจุลชีพของ
กองทพั ข้าศึก ๔. ท�ำลายก�ำลังรบข้าศึก ๕. ท�ำลายวนิ ัยทัพขา้ ศึก ๖. ท�ำให้ทพั ขา้ ศกึ อ่อน
ก�ำลังโดยสิ้นเชงิ
๘. กลโพงนำ้� บอ่
ความเดมิ กลหนึง่ ชือ่ ว่าโพงนำ้� บ่อ คิดต่ดตอ่ ขา้ ศกึ ฝ่ายเขานกึ ดแู คลน ใครรุก
แดนรกุ ด้าว เลยี บเลียมกล่าวขม่ เหง ชะนะเลงดหู ม่นิ เรา โอนอ่อนเอาอย่าขวาง ข้างเราท�ำ
ดจุ น้อย คอ่ ยเจรจาพาที ลบั คดชี อบไว้ อ่อนคอื ใครตามใจ น้ำ� ไหลลหู่ ลัง่ หลาม พดู งามกา้ น
กง่ิ ใบ อัทยาไศรถ่อมถด อดค�ำกล่าวท่าวเอา ครน้ั ว่าเขาดูหมน่ิ ผินผนั พลดูแคลน แดนพัง
พลดูถูกประดุจลกู หลานตน คร้งั สบสกลเราไซ้ จง่ึ ยกได้เขาคนื เราลกุ ยนื ผูกเอา ไดเ้ ขาท�ำ
สง่าเงย เตยหนา้ ตาโอโถง ดุจหนึ่งโพงไตน้ ้�ำ ค�ำคดตี ิดตอ่ ชอื่ ว่าโพงน้ำ� บ่อแล

195

ความหมาย กลศกึ นี้ชื่อว่าโพงนำ�้ บ่อ - แกล้งติดต่อกบั ขา้ ศึก เปน็ ธรรมชาตขิ อง
ฝา่ ยข้าศึกจะนึกดถู ูกฝ่ายเรา ขา้ ศกึ มักพยายามล�้ำเขตแดนและเจรจาในเชิงข่มเหง อยา่ ถือ
โทษใหย้ อมตามไปเรื่อยๆ อยา่ ขดั ขวาง เหมือนไหลตามนำ้� ไป - ฝา่ ยเราท�ำดจุ มีก�ำลังน้อย
คอ่ ยๆ เจรจาพาทที �ำความดคี วามชอบ โอนออ่ นผอ่ นตามขา้ ศกึ ประดจุ ดงั กงิ่ ไม้ ทตี่ อ้ งลตู่ าม
สายนำ�้ ไปเมอื่ นำ้� หลาก เจรจากบั ขา้ ศกึ อยา่ งเอาอกเอาใจดงั่ ตน้ ไมท้ ก่ี �ำลงั งอกงามมอี ธั ยาศยั
ถ่อมตน แม้อยากจะพูดส่ิงใดก็ต้องอดทนไว้ เมื่อศัตรูดูหม่ินเรา ให้จูงใจไพร่พลให้รู้สึกว่า
ยอมใหเ้ ขาดถู กู หรอื ดดุ า่ วา่ กลา่ วเหมอื นเราเปน็ ลกู หลานของเขาไมไ่ ดอ้ กี แลว้ เมอ่ื สบโอกาส
ใหย้ กทัพไปตขี า้ ศึกคนื เม่อื ยดึ เมอื งขา้ ศกึ ได้แล้วจงึ แสดงความสงา่ ผ่าเผยเชิดหน้าชตู าได้
หลกั การทำ� ใหข้ า้ ศกึ ตกอยใู่ นความประมาท (ลวงทางการทตู ) ลวงทางการทตู
แกล้งอ่อนน้อมถ่อมตนติดต่อกับข้าศึกก่อนโอนอ่อนผ่อนตามข้าศึก มีก�ำลังมากแสดงว่า
มีก�ำลังน้อย ท�ำความชอบให้ข้าศึกพอใจ เจรจา เอาอกเอาใจถ่อมตนอดทนท�ำให้ข้าศึก
ดหู มิน่ ปลกุ ขวญั ทหารฝา่ ยเรา รกุ โตต้ อบ
๑๗. กลจอมปราสาท
ความเดิม กลหนง่ึ ช่ือจอมปราสาท องอาจมงุ่ มาทดู คหู อคอยเวียงวัง ต้งั ไชยภมู
จงผบั รู้ต้งั ทัพพระพลาไชย อยา่ ได้ไหวไดห้ วั่น หมน่ั ดูฉบับธรรมเนียม เตรยี มปนู ปนั้ เปน
กอง น่าหลังสองตราบขา้ ง รอบไว้ชา้ งม้ารถ หว้ ยธารคชโยธา ให้รักษาจงรอบ ทุกคนั ขอบ
นอกใน อยา่ ได้ไหวปน่ั ป่วน อยา่ ได้ด่วนคอ่ ยฟงั คอยดหู ลังดนู ่า จดั ช้างม้ารี้พล ปรนกันกิน
กันนอน อย่ายอหยอ่ นอุส่าห์ ใหห้ ม่ันวา่ หม่ันตรวจตรา ทังกระลากระแลงแกง อยา่ ไดแ้ ฝง
นายไพร่ ไภยรกั ษาจงมาก อย่าให้ยากใจพล อย่าท�ำกลดุจเสอื บกเรือจงช�ำนาญ ชาญท้ัง
ทโี่ ดยกระบวน คดิ ควรรจู้ งผบั นับหนา้ ดูผ้อู าษา หาคนดเี ปนเพือ่ น อย่าเลื่อนถ้อยใหเ้ สียค�ำ
ท�ำอันใดท�ำโดยสาตร์ ตามฉบับราชโบราณ กระท�ำการให้รอมชอม กลศึกน้ีชื่อว่าจอม
ปราสาทฯ
ความหมาย กลศึกชือ่ จอมปราสาท ใหเ้ ตรียมพรอ้ ม ระวงั ปอ้ งกันค่ายครหู อรบ
และเวยี งวงั ใหต้ ง้ั ทพั ณ ชยั ภมู ิ ใหต้ งั้ พลบั พลาชยั อยา่ หวนั่ ไหว ดหู ลกั นยิ ม เตรยี มบ�ำเหนจ็
รางวลั ตงั้ ทพั ในสนามรบ ตงั้ ทพั ทง้ั หนา้ หลงั ซา้ ยขวา ไวช้ า้ งมา้ รถ โดยรอบ ไวช้ า้ งและก�ำลงั
พลใกล้ห้วยธาร จัดการระวังป้องกันโดยรอบ อย่าได้มีความปั่นป่วน อย่าด่วนตัดสินใจ
ตอ้ งคอยฟงั ค�ำสง่ั และดเู หตุการณท์ งั้ หน้าหลัง จัดช้างมา้ ล้พี ลผลดั กนั พกั และเตรียมพร้อม
รักษาวินัยอย่าหย่อนยาน ให้หม่ันตรวจตราท้ังสถานท่ี และถนนหนทางต่างๆ อย่าได้ไป
ซอ่ นเรน้ อยขู่ า้ งในไพร่ ปอ้ งกนั อยา่ ใหเ้ กดิ ภยั อนั ตราย เกดิ ความเสยี หายและความเดอื ดรอ้ น
อันมาก อยา่ ใหไ้ พรพ่ ลล�ำบากใจ ตอ้ งช�ำนาญการรบท้ังทางบกและน้�ำ เชยี่ วชาญท้งั การตง้ั
ทพั และเคลอ่ื นทพั วา่ ทใี่ ดควรปฏบิ ตั อิ ยา่ งไร จดั ท�ำทะเบยี นผอู้ าสาไว้ คบคนดเี ปน็ เพอื่ น อยา่
เสยี ค�ำพดู ท�ำการตา่ งๆ ตามหลักวชิ าการทีม่ ีมาแต่โบราณ ท�ำการทุกอย่างตอ้ งปรองดอง
เขา้ หากันด้วยความสามัคคี

196


Click to View FlipBook Version