The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jar_3563.narak, 2021-10-28 04:12:08

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

กรชิ
กรชิ จดั เป็นอาวุธประเภทมดี สนั้ ใชป้ ้องกนั ตัวระยะใกล้ ใช้กันท่ัวไปในหัวเมือง
ภาคใตค้ รั้งโบราณ รวมถงึ มาเลเซยี ชวา และประเทศใกลเ้ คยี ง ในสารานุกรมวัฒนธรรม
ภาคใต้ อธิบายเร่ือง กริช ไว้โดยละเอียดว่าเป็นส่ิงแสดงความเป็นชายชาตรี ฐานะทาง
สังคม ฐานะของผู้เป็นเจ้าของ หรือตระกูล รูปแบบของกริช พัฒนาตามกลุ่มวัฒนธรรม
จนมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว อาจแบ่งตามลักษณะของรูปด้ามเป็น กริชแบบบาหลีและ
มดรู า แบบชวา แบบคาบสมทุ รส่วนเหนือ แบบบกู สิ แบบสุมาตรา แบบปัตตานี และ
แบบซุนดัง ทง้ั นี้ กรชิ ทใ่ี ช้กนั ในภาคใต้ของไทยเปน็ กรชิ แบบปัตตานี
รปู แบบของตัวกริช มี ๒ ลักษณะ คือ แบบใบปรอื และกริชคด ส่วนประกอบ
ต่างๆ ของตัวกริชล้วนเสริมให้เห็นความมีชีวิต และวิญญาณอยู่ในตัว เช่น ก่ัน คอ ท้อง
หวั จง้ิ จก คาง ลอนช้าง งวง ฟนั หู เครา ตา ทอ้ ง กว่ิ หวาย หาง ปลายหาง โกร่ง เครา แพะ
กระดกู ฯลฯ และยงั มหี วั กรชิ ปลอกสวมกนั่ ฝกั กรชิ ซงึ่ มรี ปู แบบการตกแตง่ ประดบั ประดา
อยา่ งวจิ ติ รสวยงามด้วย

๑๑๗ กรชิ ทีพ่ บในประเทศไทย ๑๑๗

97

๑๑๘
๑๑๙

๑๒๐

๑๑๘ - ๑๒๐ กริชรปู แบบตา่ งๆ ท่พี บในประเทศไทย

98

๑๒๑

พระแสงกรชิ ในประวตั ศิ าสตรอ์ งคห์ นงึ่ มคี วามส�ำคญั ในการชว่ ยกอบกชู้ าตบิ า้ น
เมือง คือ พระแสงกริชประจ�ำพระองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงใช้ในคราว
ท�ำลายประตูเมืองจันทบูร ดังความในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ
บนั ทกึ ไว้ดังน้ี

...ณ วัน ๑ ฯ ๗ คำ่� จลุ ศักราช ๑๑๒๙ ปกี ุร นพศก (พ.ศ. ๒๓๑๐)
เพลา ๓ ยาม เป็นยามเสาร์ปลอดห่วง ตรัสให้ยกทัพบ่ายหน้าเข้าทิศ
อสิ าน แลว้ จดั ทหารไทยจนี ลอบเขา้ ไปประจ�ำดา้ นอยทู่ กุ ดา้ น เพลาจะเขา้
ให้สัญญาณ์กันร้องข้ึนจงทุกด้านว่าด้านนี้เข้าได้แล้ว โห่ร้องข้ึนพร้อมๆ
กัน จึงเสด็จทรงช้างพระท่ีน่ังพังคิรีกุญชรฉัททันต์ เข้าทะลายประตู
ใหญ่ เหล่าทหารซึ่งรักษาประตูและป้อมเชิงเทินนั้นก็ยิงปืนใหญ่น้อย
ดุจห่าฝน แลจะได้ถูกต้องโยธาผู้ใดผู้หน่ึงหามิได้ กระสุนปืนลอดท้อง
ชา้ งพระที่นง่ั ไป ควาญช้างจึงเกยี่ วไวใ้ ห้ช้างพังคริ กี ญุ ชรถอยออกมา
พระเจา้ อยหู่ วั ทรงพระโกรธเงอื้ พระแสงจะลงพระราชอาชญานายควาญ
ช้างขอพระราชทานโทษได้ จึงทรงพระแสงกฤชแทงพังคิรีกุญชรขับ
เข้าทะลายประตพู งั ลง...
เหตกุ ารณต์ อนนเ้ี ปน็ ชว่ งทกี่ รงุ ศรอี ยธุ ยาลม่ และสมเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ มหาราช
ได้ทรงรวมก�ำลังตีฝ่าวงล้อมออกไปทางหัวเมืองตะวันออก จนถึงได้ต้ังมั่นจัดหาอาวุธ
ยุทธภัณฑ์ต่อเรือ รวบรวมก�ำลังผู้คนท่ีเมืองจันทบุรีกลับเข้ากู้กรุงศรีอยุธยา และได้ทรง
สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานที ฝ่ี ง่ั ขวาแมน่ ้�ำเจ้าพระยาภายในเวลาเพยี ง ๗ เดือน ดงั จะ
ไดศ้ ึกษาเรอ่ื งของ ศสั ตราวุธ ในสมัยธนบุรี สมยั รตั นโกสินทรจ์ นถงึ กอ่ นการปฏริ ูปในสมยั
รัชกาลที่ ๕ โดยล�ำดับ

๑๒๑ ภาพจิตรกรรมเทยี บลักษณะกองก�ำลงั สมเดจ็ พระเจ้าตากสินเข้าตีเมืองป้อมปราการท่แี ข็งแรง

99



ศสั ตราวธุ ยทุ ธวธิ ี

นำ้� พระราชหฤทยั นกั รบกอบกบู้ า้ นเมอื งสมยั ธนบรุ ี

ชว่ งเวลา ๑๕ ปี แหง่ รชั สมยั สมเดจ็ พระเจ้าตากสินมหาราช เปน็ ชว่ งแห่งความ
ยากล�ำบากท่ีต้องทรงกอบกู้พลิกฟื้นบ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถของนักรบอย่างสุด
ก�ำลงั พระราชพงศาวดารกรงุ ธนบรุ ี บนั ทกึ เหตุการณ์ที่ทรงรวบรวมก�ำลังไพรพ่ ลไทย จีน
ศสั ตราวุธ ยทุ ธภัณฑ์ และยึดหัวเมอื งชายทะเลตะวันออกเป็นฐานก�ำลงั เตรียมพร้อมกลับ
มากู้กรุงศรีอยุธยา ได้ทรงตั้งพระนครใหม่ที่กรุงธนบุรี เป็นเมืองป้อมขนาดพอเหมาะแก่
ก�ำลังทจี่ ะรกั ษาได้ และยงั ต้องทรงรวบรวมบรรดาหวั เมืองใหญ่นอ้ ยทต่ี ้งั ตัวเป็นอสิ ระเม่อื
เสียกรุงพร้อมกับท�ำศึกให้ข้าศึกเข็ดขยาด ปลุกน้�ำใจทหาร ให้ก�ำลังใจราษฎร ให้กลับมา
ชว่ ยกันสร้างบา้ นรักษาเมืองรว่ มกนั อกี ทัง้ ยงั ตอ้ งทรงดแู ลทกุ ขส์ ุขจดั หาเสบียงใหเ้ พยี งพอ
ในยามก่อร่างสรา้ งตวั อีกด้วย
พระราชกรณียกิจอันหนักยิ่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงท�ำได้ส�ำเร็จ
ลลุ ่วงทุกประการ ในทนี่ ้จี ะขอกลา่ วเฉพาะยทุ ธศาสตร์ ยทุ ธวิธี และน้�ำพระราชหฤทัยแหง่
ความเป็นนกั รบ ดงั น้ี
การรวบรวมจดั หาศสั ตราวธุ ยทุ ธภณั ฑ์ ทรงเรมิ่ ตน้ จากก�ำลงั พลและศสั ตราวธุ
ประจ�ำกายตามหน้าท่ี ตงั้ แต่ออกจากกรงุ ผ่านไปบา้ นเมอื งใด ตไี ด้ชยั ชนะได้ไพร่พล และ
อาวุธมากข้ึน ดังมีความในพระราชพงศาวดารว่า มี ปืนใหญ่น้อย ทรงใช้ตลอดเส้นทาง
เช่น ทรงใช้พระแสงปืนต้นรางแดง ที่บ้านนาเกลือ พระราชทาน ปืนคาบศิลา แก่ผู้รั้ง
เมอื งระยองเป็นบ�ำเหน็จความชอบ เมือ่ ทรงตไี ดเ้ มอื งจนั ทบรุ แี ล้วทรงได้สรรพาวธุ เพ่มิ ขนึ้
จ�ำนวนมาก เชน่ ปนื จา่ รงค์ มณฑก นกสบั และคาบศลิ า

101

๑๒๒

๑๒๒ ภาพเขียนโคลงภาพพระราชพงศาวดารชอื่ “จลาจลสมยั ” สมเดจ็ พระเจา้ ตากสินมหาราช
เม่ือยงั เปน็ พระยาวชริ ปราการ ตฝี า่ วงล้อมขา้ ศกึ ออกไปทางหัวเมอื งตะวันออก

102

๑๒๓
๑๒๔

๑๒๓ พระบรมราชานสุ าวรยี ส์ มเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช ที่ทงุ่ นาเชย จงั หวดั จนั ทบุรี
ตอนทรงรวบรวมก�ำลังพล ศัสตราวุธ ยทุ ธภณั ฑ์ เพือ่ กอบกู้ชาติ
๑๒๔ พระบรมราชานุสาวรยี ท์ วี่ งเวียนใหญ่ ทรงเขา้ โจมตีมชี ัยชนะแล้วสถาปนากรุงธนบุรเี ป็นราชธานแี หง่ ใหม่

103

จะเห็นได้ว่า อาวุธปืนในระยะแรกท่ีทรงรวบรวมได้ เป็นของที่มีอยู่ต้ังแต่สมัย
กรงุ ศรอี ยธุ ยา หลงั จากทรงตงั้ กรงุ ธนบรุ แี ลว้ ไดม้ ผี มู้ าออ่ นนอ้ มน�ำปนื ตา่ งๆ เขา้ มาถวาย เชน่
ในพ.ศ. ๒๓๑๔ แขกเมอื งตรังกานู แขกเมอื งยักกตรา น�ำปนื คาบศิลาเข้ามาถวายถงึ ๒ พนั
กวา่ กระบอก และเม่อื ทรงตไี ด้เมืองต่างๆ เชน่ คราวตเี มืองเชยี งใหม่ ใน พ.ศ. ๒๓๑๗ นัน้
ได้ปืนใหญ่ปืนน้อยกว่า ๒ พันกระบอกอีกเช่นกัน ในครั้งน้ีได้พระราชทานอาวุธท่ียึดมา
ได้พรอ้ มเสื้อผา้ เปน็ บ�ำเหน็จความชอบแก่ท้าวพระยาใหป้ กครองเมืองตา่ งๆ เชน่ พระยา
จา่ บา้ นได้เปน็ พระยาวิเชียรปราการ โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระแสงปืนยาว ปนื สน้ั
หอก เสือ้ ผา้ พระยากาวิละได้ครองนครล�ำปาง โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระแสงปืน
ยาว พระแสงหอก พระยาล�ำพูนได้เป็นพระยาอัยวงศ์ครองนครหริภุญชัย โปรดเกล้าฯ
พระราชทาน พระแสงปืนยาว ปืนสั้น หอก เสื้อผ้า ฯลฯ และพระราชทานพระแสง
ปืนคาบศิลา ๑๐๐ กระบอกไว้ส�ำหรับเมืองระแหงใช้ป้องกันข้าศึกด้วย เสร็จศึกบางกุ้ง
พ.ศ. ๒๓๑๗ ทรงได้ปืน หอก จากฝา่ ยข้าศกึ เพิม่ ขึ้นอกี จ�ำนวนมาก
ในหมายรับสัง่ โปรดเกลา้ ฯ ตัง้ เจ้านครศรีธรรมราช จ.ศ. ๑๑๓๘ (พ.ศ. ๒๓๑๙)
เคร่ืองยศพระราชทานมี พระแสงกระบ่ี พระแสงดาบญี่ปุ่น พระแสงหอกปลอกทอง
พระแสงปนื ยาว พระแสงปนื ส้นั ท้ายหอยโข่งอย่ดู ้วย
อย่างไรก็ดีด้วยพระวิจารณญาณของนักการทหารผู้ผ่านศึกใหญ่น้อย สมเด็จ
พระเจ้าตากสนิ มหาราชก็มิได้ทรงหวังพ่งึ แตเ่ พยี งศสั ตราวธุ จากผอู้ ื่น ซึ่งไมม่ ีความแน่นอน
ทั้งปริมาณและคุณภาพ มีหลักฐานว่าได้โปรดให้จัดหา และหล่อปืนข้ึนใช้หลายชนิด
ดังมีชื่อปืนปรากฏในยุทธภูมิต่างๆ เช่น ในศึกบางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๗ มีรับสั่งให้เตรียมปืน
มหาเศวตรัตน์ ปืนจ่ารงค์ ปืนหน้าเรือ ปืนขวากเหล็ก คราวโปรดให้ยกทัพไปตีเมือง
เหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘ โปรดให้ไปน�ำ ปืนพระราชปักษี ปืนฉัตรชัย ที่เมืองนนทบุรี และ
ปืนใหญ่รางเกวียน ไปในกองทพั และยงั มหี ลักฐานการหลอ่ ปนื พระพริ ุณ ณ สวนมงั คดุ
ซึง่ มชี ่ือเหมอื นกบั ปนื พระพริ ณุ ในสมัยกรงุ ศรีอยธุ ยา สว่ น ปนื มหาเศวตรตั น์ มคี �ำอธบิ าย
อยใู่ นพระราชพงศาวดารกรงุ ธนบรุ วี า่ ทรงพระราชด�ำรใิ หท้ �ำ ปนื มหาเศวตรตั น์ ในปมี ะเมยี
พ.ศ. ๒๓๑๗ ไดเ้ สด็จฯ ออกทอดพระเนตรปน้ั หุ่นปนื บนปอ้ ม มีรับส่งั ใหแ้ กไ้ ขสว่ นตา่ งๆ
จากปืนครูให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดป้อม สันนิษฐานว่ามีจ�ำนวนหลายร้อยกระบอก
เป็นทั้งปืนใหญ่ประจ�ำป้อม และปืนใหญ่สนาม ต่อมาในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ บัญชี
กรมกลาโหมรายงานว่า ได้ย่อยทองปืนมหาเศวตรัตน์ ไปบุหลังคามณฑปพระพุทธบาท
๒๙๐ กระบอก ท�ำการส�ำหรับวัดพระแก้ว คือ หล่อเสาเม็ด ๒๒ กระบอก หล่อเสมา
๖๑ กระบอก หลอ่ เม็ดราวเทยี น ๓ กระบอก หล่อระฆังใหญ่ ๑๔ กระบอก ฐานพระนาก
๖ กระบอก บหุ ลังคาพระมณฑป ๘๐ กระบอก ท�ำเครือ่ งชา้ ง ๔ กระบอก และหล่อครก
สากบานประตูรอบพระราชวัง ๖ กระบอก รวมทัง้ สิน้ ๓๘๖ กระบอก

104

๑๒๕ ๑๒๖

ส�ำหรบั ปนื ขวากเหลก็ ทเี่ พ่ิงปรากฏ ศิริรัจน์ วงั ศพา่ ห์ ศึกษาพบวา่ ขวากเหล็ก
มลี กั ษณะเป็นเหลก็ หลายชนิ้ ๆ ทมี่ ีคมเชือ่ มตดิ กันไว้คลา้ ยหอยเม่น สันนิษฐานวา่ ใชท้ �ำร้าย
ข้าศึก ช้าง มา้ คลา้ ยกบั กระสุนลูกแตก ซ่ึงมีอานุภาพท�ำลายได้ในวงกว้าง ปืนใหญ่ขวาก
เหลก็ อาจเปน็ ปนื ใชใ้ นการยงิ ลกู ขวากเหลก็ แตย่ งั ไมพ่ บปนื ชนดิ น้ี พบเพยี งลกู ขวากเหลก็
เทา่ นัน้
ถึงแม้จะมีศัสตราวุธที่มีอานุภาพจ�ำนวนมากมายเพียงใดก็ตามย่อมไม่ส�ำคัญ
เท่ากับความสามารถน�ำมาใช้ได้ตามหลักยุทธวิธี และจิตใจที่หาญกล้าของผู้ใช้ สมเด็จ
พระเจา้ ตากสินมหาราช นอกจากทรงเช่ียวชาญในการวางแผนการรบ การเลอื กใช้สรรพ
อาวธุ ตามต�ำราพชิ ยั สงครามแล้ว พระคณุ ลักษณะทีส่ �ำคัญยิ่ง คอื การตัดสินพระทัยเฉียบ
ขาดมนั่ คงและแมน่ ย�ำ ดงั พระราชด�ำรสั พระราชทานก�ำลังใจแกแ่ มท่ ัพนายกองคราวรบท่ี
ปากพิง พ.ศ. ๒๓๑๙ เม่อื ฝ่ายขา้ ศกึ ตั้งคา่ ยประชิดถงึ ๔ ค่ายว่า

... มนั ท�ำลวงอยา่ กลวั มนั ตง้ั รบั อยา่ ตงั้ ตรงเขา้ ไป ใหต้ ง้ั รายเรยี ง
ออกไป ถา้ มันตงั้ ตามไป ใหต้ ง้ั รายแผ่กันออกไปจงมาก ให้คนรกั ษา
ค่ายละ ๕๐ คน แล้วอย่าคิดกลัวแตกกลัวเสยี มนั จะตีค่ายไหนให้มัน
ตีเข้า อนั ทหารแล้วองอาจอย่ากลัวตาย ตงั้ ใจอาษาพระรัตนตรยั แล
พระมหากษัตริย์ เดชะผลกตัญญูน้ันจะช่วยอภิบาลรักษา ก็จะหา
อนั ตรายมไิ ด้ ถา้ ใครยอ่ หยอ่ นใหป้ ระหารชวี ติ เสยี สงครามจงึ จะแกก่ ลา้
ข้นึ ได้ชัยช�ำนะ ...

๑๒๕ ภาพทหารก�ำลังยิงปืนครก
ปรากฏอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนงั ในโบสถว์ ดั บวรสถานสทุ ธาวาส หรือวดั พระแกว้ วังหนา้
๑๒๖ ปนื ครก หรอื ปืนมหาเศวตรตั น์ ปัจจุบนั ตง้ั อยูใ่ นกองบญั ชาการทหารเรือ พระราชวงั เดมิ

105



ศกรสั งุตรรตั านวธโุ กอสยนิา่ งทเกรพ์า่ รศะสั นตครราวแธุหอง่ ใยหา่ มงใ่ หม่

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์บนฝั่งตะวันออกของแม่น้�ำเจ้าพระยาแต่เพียงฝั่ง
เดียวแทนอยู่ทั้ง ๒ ฟากฝั่งเหมือนอย่างในสมัยกรุงธนบุรี พระนครแห่งใหม่จึงมีชัยภูมิที่
เหมาะสมขึ้นกว่าเดิม นับเป็นความคิดท่ีถูกต้องของผู้มีประสบการณ์ในการป้องกันดูแล
บ้านเมืองมาแตค่ ร้งั กรงุ เกา่ ดงั มีความในพระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๑
ท่ีควรยกกลา่ วไวเ้ ปน็ หลักฐาน คือ

...ทรงพระราชด�ำรวิ า่ เมอื งธนบรุ นี ฝี้ ง่ั ฟากตะวนั ออกเปน็ ชยั ภมู ิ
ดีกว่าฟากฝั่งตะวันตก โดยเป็นท่ีแหลมมีล�ำแม่น�้ำเป็นขอบเขตอยู่
กว่าครึ่ง ถ้าตั้งพระนครขา้ งฝง่ั ตะวันออก แม้นขา้ ศกึ ยกมาตดิ ถงึ ชาน
พระนครกจ็ ะตอ่ สปู้ อ้ งกนั ไดง้ า่ ยกวา่ อยขู่ า้ งฝง่ั ตะวนั ตก ฝง่ั ตะวนั ออก
นนั้ เสยี แต่เปน็ ทล่ี มุ่ ...
พระนครแหง่ ใหมท่ พ่ี ระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช ทรงเลอื ก
ชยั ภมู ิอย่างเหมาะสมไวใ้ นเบือ้ งตน้ แล้วน้ี ยังโปรดใหส้ ร้างเป็นบา้ นเมอื งทเ่ี จริญมน่ั คงและ
มั่งคั่งโดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นแบบตามอุดมการณ์ของผู้เคยเป็นชาวกรุงเก่ามาแต่ก่อน
ดังนน้ั ในช่วงสมัยตน้ กรุงรัตนโกสินทร์ ยุทธศาสตรก์ ารปอ้ งกนั พระนคร จงึ มที ั้งการร้ือฟ้นื
เสาะหาต�ำรับต�ำราท่ีกระจัดพลัดพรายมารวบรวมช�ำระขึ้นใหม่ ท้ังต�ำราพิชัยสงคราม
กฎหมายเก่า พระไตรปฎิ ก วรรณกรรม ถ่ายทอดทงั้ จากจีน เปอร์เซีย อนิ เดีย มอญ ชวา
ฯลฯ เป็นประโยชน์แก่การรู้เขารู้เราอย่างรอบด้าน นอกเหนือไปจากเพื่อบ�ำรุงสติปัญญา
จิตใจ และศีลธรรมจรรยาของพลเมือง ซ่ึงต้องท�ำไปพรอ้ มกบั การสร้างความม่ันคง ความ
ปลอดภยั ใหร้ าษฎรใหไ้ ดป้ ระกอบชพี ไดต้ ามความช�ำนชิ �ำนาญของแตล่ ะกลมุ่ แตล่ ะชนชาติ
ที่เข้ามาอยู่รว่ มกันเป็นชาวกรงุ เทพฯ

107

กรุงเทพฯ เมืองป้อมปราการ

การสรา้ งพระนครแหง่ ใหมเ่ ปน็ เมอื งปอ้ มปราการ ในสมยั แรกไดใ้ ชป้ ระโยชนจ์ าก
สงิ่ ทมี่ อี ยเู่ ดมิ เชน่ รอ้ื อฐิ ก�ำแพงเมอื งกรงุ เกา่ มาใชร้ วมกบั อฐิ ทท่ี �ำขน้ึ ใหม่ รอื้ ปอ้ มก�ำแพงเมอื ง
ธนบรุ ฝี ง่ั ตะวนั ออกเพอื่ ขยายพนื้ ทพี่ ระนครใหมใ่ หก้ วา้ งขน้ึ ขดุ คลองคพู ระนครโอบลอ้ มไป
บรรจบกบั แม่น้ำ� เจ้าพระยา ขดุ รากกอ่ ก�ำแพงพระนคร ก�ำแพงพระราชวังเชน่ เดียวกับครั้ง
กรุงศรอี ยธุ ยา
ยุทธศาสตร์การปอ้ งกันพระนครดว้ ย คูเมอื ง ก�ำแพงปอ้ มปราการ ประตูหอรบ
เช่นน้ีได้ไช้มาจนถึงสมัยรัชกาลท่ี ๕ ก็มีการปรับเปล่ียนรื้อลง ก�ำแพง ป้อมที่ได้รับการ
อนรุ ักษ์ไว้ต่อมา คอื ป้อมพระสเุ มรุ ที่มุมก�ำแพงเมอื งดา้ นเหนอื เป็นปอ้ มใหญ่ มีหอรบสงู
คล้ายป้อมเพชรที่กรุงศรีอยุธยา และ ป้อมมหากาฬ ที่ก�ำแพงเมืองด้านตะวันออก
หน้าวัดราชนดั ดาราม
การสถาปนาพระนครแห่งใหม่ ประกอบด้วยพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน
ท้ังพระราชวังหลวง พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เป็นวัดในพระราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเช่นเดียวกับวัด
พระศรสี รรเพชญของกรงุ เกา่ โปรดใหบ้ รู ณะและปฏสิ งั ขรณพ์ ระอารามเกา่ ใกลพ้ ระนคร เชน่
วดั สลกั วัดโพธ์ิ วัดสะแก เพอ่ื เปน็ ท่สี ถิตของพระสงฆ์ พระราชาคณะ ฯลฯ เมือ่ แล้วเสรจ็
ไดท้ รงประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษกประดษิ ฐานพระบรมราชวงศจ์ กั รี แลว้ จงึ สมโภช
พระนคร สว่ นการจดั เตรยี มศสั ตราวธุ ยทุ ธภณั ฑ์ การเตรยี มก�ำลงั ไพรพ่ ลใหพ้ รอ้ มเพอ่ื รกั ษา
พระนครแห่งใหม่ ก็เป็นภารกจิ อนั หนักทตี่ ้องด�ำเนินการไปพรอ้ มกัน
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานในจดหมายเหตุ หมายรับส่ัง พระราช
พงศาวดาร ฯลฯ ใหค้ วามรู้ในเรื่อง

การจดั หาศสั ตราวธุ แบบตา่ งๆ สำ� หรบั ไวป้ อ้ งกนั บา้ นเมอื ง ยงั คงทเี่ ปน็

แบบเดียวกบั สมัยกรงุ ศรอี ยุธยา เช่น
ขอความร่วมมือพ่อค้าวานิชที่เข้ามาค้าขาย ให้จัดหาอาวุธเข้ามาจ�ำหน่าย
แก่ทางราชการ (เพราะเป็นของต้องห้าม) พ่อค้าคนส�ำคัญที่เป็นที่รู้จักและยอมรับมาแต่
สมยั ธนบุรี คอื ฟรานซสิ ไลท์ หรือ กปั ตันเหลก็ ท่ีเกาะหมาก (ปีนงั ) ไดร้ บั พระราชทาน
บ�ำเหน็จความชอบเป็นพระยาราชกปิตัน ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ เรียก พระกปิตัน
พบว่ายงั มบี ทบาทส�ำคัญ เช่น ใบบอกพระยานคร จ.ศ. ๑๑๗๑ (พ.ศ. ๒๓๕๒) แจ้งเรอื่ ง
การท่พี ระกปติ นั จดั หาอาวธุ ใหโ้ ดยใหเ้ ช่ือไวก้ ่อน โดยมเี งื่อนไขให้จัดซ้อื สินคา้ ท่ีตอ้ งการไป
ให้เป็นการทดแทน
บัญชีอาวุธท่ีพระกปิตันให้เช่ือ บ้างก็ไม่คิดราคา เช่น ปืนมะเรียมทอง (น่าจะ
เปน็ ปนื บะเรียม) ปนื มะเรียมเหล็ก ปืนจินดาทอง ปนื เหลก็ ทอง ปืนหลกั ทอง ปืนทอง

108

ปรายทอง ปืนทองปรายเหลก็ มดี ปลายปืน กระสนุ ดินเผามีดนิ ใน กระสนุ ดอกศร ที่ไม่
คดิ ราคา คอื กระสุนกลางหลายขนาด เหล็กขาปนื เหล็กท้ายปืน
ในสมยั รัชกาลที่ ๒ ยังมี กัปตันแฮน อีกผหู้ นึง่ ทร่ี ู้ว่าไทยก�ำลังตอ้ งการปืน ได้หา
ปนื คาบศิลาเขา้ มาถวายถงึ ๕๐๐ กระบอก ได้รบั พระราชทานของตอบแทนคุ้มราคาปนื
เชน่ ยกภาษีจังกอบ และยงั โปรดต้ังให้เป็น หลวงภักดีราช ดว้ ย
ยังมีเร่ืองศัสตราวุธท่ีอนุญาตให้จัดหาไว้ใช้ในราชการท่ีเมืองนครศรีธรรมราช
เพราะเป็นหัวเมืองส�ำคัญในภาคใต้มีหน้าท่ีดูแลหัวเมืองตามที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งมี
ท�ำเลทีต่ ้ังสามารถจดั หาอาวุธยุทธภัณฑไ์ ด้สะดวก สมหุ พระกลาโหมซึง่ มหี นา้ ท่กี �ำกับดแู ล
สั่งการให้ดูแลเอาใจใส่ให้มากเพราะเป็นยุทธภัณฑ์ของทางราชการ ดังความในสารตรา
เจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี สมุหพระกลาโหม ถึงพระยานครศรีธรรมราช มีความตอน
หน่ึงว่า

...อนง่ึ เรอื รบไล่ คา่ ยคปู ระตเู มอื ง พว่ งรอหอรบศาลากลาง จวน
ท�ำเนียบคกุ ตะรางส�ำหรับใสผ่ ้รู ้าย โรงปืนใหญน่ ้อยสำ� หรับเมือง สงิ่
ใดไมม่ แี ลช�ำรดุ ปรกั หกั พงั อยู่ กใ็ หพ้ ระยานครศรธี รรมราชวา่ กลา่ วตกั
เตอื นกรมการเจ้าพนักงาน
...คมุ เรอื รบเรอื ไลส่ รรพไปดว้ ยปนื ใหญน่ อ้ ย กระสนุ ดนิ ประสวิ
เคร่ืองศาสตราอาวุธ...ให้พระยานครศรธี รรมราชจดั แจงหา ปนื ใหญ่
น้อย กระสุนดินประสวิ ไว้ส�ำหรับเมอื งให้ได้จงมาก ขกุ มรี าชการมา
ประการใด จะไดเ้ อาจา่ ยราชการทนั ทว่ งทไี มข่ ดั สน แจง้ ใหว้ า่ กลา่ วตกั
เตือนกรมการเจ้าพนักงานให้เอาปืนใหญ่น้อยออกขัดสีโชลมน�้ำมัน
เอาดินประสิวออกตากแดดจงเนอื งๆ อยา่ ให้เป็นสนิมครำ่� คร่า แล
ดนิ อบั ราเสยี ไปได้ ปนื ใหญน่ น้ั ใหม้ รี างลอ้ รางเกวยี นใส่ แลปนื นอ้ ย
น้นั ให้มีบนั ไดแก้ววางจงทกุ บอก...
หากพจิ ารณาท�ำเนยี บขา้ ราชการเมอื งนครศรธี รรมราชแตก่ อ่ นมา จะพบวา่ กรม
การ ขนุ หมน่ื ลว้ นมอี าวธุ เปน็ เครอื่ งประกอบยศตามหนา้ ทท่ี กุ ต�ำแหนง่ โดยเฉพาะอาวธุ ปนื
มีทั้งปนื กระสุนขนาดตา่ งๆ เรยี กช่ือวา่ ปืนนกสับบรรดาศกั ดิ์ ปนื นกสบั เชลยศกั ดิ์ ปนื นก
สับหลังช้าง ฯลฯ
ศัสตราวุธท่ีรวบรวมได้จากการท�ำศึกได้ชัยชนะ เป็นธรรมเนียมท่ีปฏิบัติกัน
ในทุกชาติทุกภาษา ในสมัยรชั กาลที่ ๑ สมเดจ็ พระอนุชาธริ าช กรมพระราชวังบวรสถาน
มงคลได้ปืนใหญ่ ศัสตราวุธต่างๆ จากเมืองตานี น�ำมาน้อมเกล้าฯถวายสมเด็จพระบรม
เชษฐาธิราช โปรดให้แก้ไขปืนใหญ่ตกแต่งลวดลายท้ายสังข์ขัดสีใหม่ จารึกนามไว้บอก
ประวัติท่มี าว่า พระยาตานี แลว้ ท�ำโรงไวท้ หี่ นา้ ศาลาลูกขุน

109

ในสมยั รัชกาลที่ ๓ เมือ่ คร้ังกรมพระราชวงั บวรสถานมงคลไปราชการทพั เมือง
เวียงจันท์ พ.ศ. ๒๓๗๐ ได้ปืนใหญ่เมืองเวียงจันท์ แต่ทรงเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายเทียน
พรรษา บรรทุกช้างลงมาก็ไมไ่ ด้ ชกั ลากก็ไม่สะดวก เพราะเปน็ ฤดูฝนจึงขอพระราชทาน
ยอ่ ยเอาทอง ลงมาเพอ่ื น�ำมาหลอ่ ถวายใหมท่ กี่ รงุ เทพฯ วธิ กี ารยอ่ ยปนื เชน่ นี้ ท�ำใหร้ เู้ หตผุ ล
ว่า เพราะเหตุใดปนื เก่าสมัยกรงุ ศรอี ยธุ ยาท่เี คยใช้กันจึงเหลืออยู่ไม่มากนัก
เร่ืองศัสตราวุธได้จากการท�ำศึกชัยชนะ แต่หากปราชัยก็ต้องถูกยึดไปเช่นเดียว
กบั คราวเสยี กรงุ ในรชั กาลท่ี ๓ มเี หตทุ ก่ี องทพั ไทยแตกทเ่ี มอื งโจฎก ไทยตอ้ งเสยี ปนื คาบ
ศิลา ๑๐๕ กระบอก ปืนหามแล่น ๑๐ กระบอก ปนื กระสนุ ๔ นิว้ ๕ น้ิว ๘ กระบอก
ดาบยาว ๑ เลม่ พร้าประกัด ๑ เล่ม พระบาทสมเดจ็ พระน่งั เกลา้ เจา้ อยู่หวั ทรงกรวิ้ มาก มี
รบั สง่ั วา่ ...การทยี่ กลงไปกไ็ มไ่ ดน้ ดั หมายใหพ้ รกั พรอ้ มกนั ไปท�ำกไ็ มเ่ ปน็ ราชการได้ ตน่ื ขา่ ว
คราวเลกิ ถอนเสยี กอ่ นกองทพั บกมายงั เขา้ ประชดิ ตดิ พนั อยู่ ฝา่ ยทพั บกไพรพ่ ลกม็ มี าก...ไป
ตงั้ เกอ้ ๆ อยไู่ มเ่ ปน็ การ เหมอื นจะคอยแตกคอยวง่ิ เลน่ สนกุ ไมร่ ะวงั รกั ษาตวั หมนิ่ ประมาท
ต่อราชการสงคราม...ทรงเข็ดสติปญั ญานายทัพนายกองเสยี แลว้

๑๒๗ ๑๒๘

๑๒๗, ๑๒๘ ภาพเขียนโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
ตอนได้ปืนใหญ่จากเมอื งตานี ในแผน่ ดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จฬุ าโลก

110

ศัสตราวธุ ทไี่ ด้จากเครื่องบรรณาการ ในสมัยต้นกรุงรตั นโกสินทร์ มีบา้ นเมือง
ใหญน่ ้อยเข้ามาออ่ นน้อมบา้ ง มาเจริญสมั พันธไมตรีบ้าง แต่ละชาตไิ ด้น�ำศัสตราวธุ เขา้ มา
ถวายจ�ำนวนมาก เชน่ สมยั รชั กาลท่ี ๑ ในพ.ศ. ๒๓๔๑ เจา้ อนมั กก๊ จดั ตน้ ไมเ้ งนิ ทอง สงิ่ ของ
มคี ่ามาถวาย พร้อมกับปนื ทองเหลอื ง ๔ กระบอก ปนื กระสุนเหลก็ ๑๖ กระบอก ในปี
ต่อมามีศุภอักษรถวายปืนบาเหร่ียม เข้ามาอีก ๑๐ กระบอก แล้วขอพระราชทานเหล็ก
หล่อกระสุนปนื โปรดเกลา้ ฯ พระราชทานตามทีข่ อ พระราชทานดินประสิวตอบแทนไป
ด้วยอกี ๕๐๐ หาบ
สว่ นชาตติ ะวนั ตกทเ่ี คยจดั หาอาวธุ มาใหแ้ ตส่ มยั กรงุ ศรอี ยธุ ยา ไดก้ ลบั มาอกี เชน่
ในสมยั รชั กาลท่ี ๒ มารค์ วสิ เหสตงิ ส์ ผสู้ �ำเรจ็ ราชการองั กฤษทอ่ี นิ เดยี สง่ จอหน์ ครอวเ์ ฟดิ
เปน็ ทตู เขา้ มาเพอื่ ขอท�ำสญั ญาทางการคา้ ตามทเี่ คยมตี อ่ กนั มาแตก่ อ่ น ครง้ั นนั้ ไดส้ ง่ เครอ่ื ง
ราชบรรณาการเปน็ สง่ิ ประดษิ ฐส์ มยั ใหมม่ าถวายดว้ ย เชน่ เครอ่ื งแตง่ ตวั หญงิ ฝรง่ั เครอ่ื งโตะ๊
แก้วเจยี ระไน หนงั สือพงศาวดารอังกฤษ ฯลฯ รวมท้งั ปนื คาบศลิ าปลายหอก ถงึ ๓๐๐
กระบอก ปนื คาบศิลาแฝด ๑ กระบอก เป็นตน้
ศัสตราวุธท่ีสร้างข้ึนใหม่ แม้การจัดหาศัสตราวุธจากภายนอกจะได้มาจ�ำนวน
มาก แตก่ ย็ งั ไมเ่ ปน็ สงิ่ แสดงเกยี รตยิ ศส�ำหรบั บา้ นเมอื ง เมอ่ื สถาปนาพระนครจงึ ยงั คงรกั ษา
ธรรมเนียมให้สร้างปืนใหญ่ขึ้นใหม่ ต้ังแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เพ่ือแสดงถึงพลานุภาพในการ
รักษาเมืองใหเ้ ปน็ ทป่ี รากฏ เช่น
ในสมยั รชั กาลท่ี ๑ เมื่อไดป้ นื ใหญพ่ ญาตานี มาสูพ่ ระนครในพ.ศ. ๒๓๒๙ ได้
โปรดใหห้ ลอ่ ปนื อกี กระบอกหนง่ึ คกู่ นั มคี วามในพระราชพงศาวดารวา่ โปรดใหเ้ กณฑท์ อง
เหลอื ง ทองแดง จากข้าราชการตามเบย้ี หวัดดงั นี้

...ต้ังกองรับทองส่งทองท่ีโรงละครใหญ่ ท่ีหล่อปืนนั้น หล่อท่ี
หนา้ โรงละครขา้ งทศิ ตะวนั ตก รมิ ถนนประตวู เิ ศษไชยศรี เมอ่ื สมุ พมิ พ์
เวลาบ่ายน้ัน โปรดให้จัดพวกโขนข้าหลวงเดิม กับพวกละครสมทบ
เข้าบ้างให้เล่นโขนละครกลางแปลงต้ังแต่เวลาบ่ายจนค�่ำ เสด็จ
ทอดพระเนตรอยูจ่ นโขนละครเลิก ร่งุ ข้ึนเวลาเชา้ จึงหล่อปนื ครง้ั นั้น
หล่อทีเดียวก็ได้บริสุทธิ์ พระราชทาน ชื่อ นารายณ์สังหาร คู่กับ
พระยาตานี แล้วโปรดให้หล่อข้ึนอีก ๖ บอก ช่ือ มารปะไลย ๑
ไหววรนพ ๑ พิรณุ แสนห่า ๑ พลกิ พสุธาหงาย ๑ พระอิศวรปราบ
จักรวาฬ ๑ พระกาฬผลาญโลก ๑ ท�ำโรงข้ึนไวเ้ ป็นคๆู่ กนั ข้างถนน
ประตูวิเศษไชยศร.ี ..

111

๑๒๙

๑๒๙ ปืนพญาตานี สมเด็จพระบวรราชเจา้ กรมพระราชวงั บวรมหาสุรสิงหนาท ทรงได้มาคราวศกึ หวั เมืองภาคใต้
พทุ ธศกั ราช ๒๓๒๙ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราชโปรดเกลา้ ฯ
ใหข้ ัดแตง่ ท้ายสังขข์ ดั สเี สียใหม่ พระราชทานช่ือว่า พญาตานี พงศาวดารเขียน พระยาตานี

112

๑๓๐

๑๓๐ ปืนพญาตานี ปจั จุบนั ตง้ั อยู่ทหี่ นา้ ศาลาวา่ การกลาโหม

113

๑๓๑

ศริ ิรัจน์ วงั ศพา่ ห์ อธบิ ายถงึ ปนื ใหญ่ที่หลอ่ ในรัชกาลที่ ๑ ท้ัง ๗ กระบอกว่า
กระบอกที่ ๑ ปืนนารายณ์สงั หาร ท้ายปนื รปู สงั ขเ์ ปน็ เอกลกั ษณ์ส�ำคญั ของปืน
ใหญไ่ ทย
กระบอกท่ี ๒ ปืนมารประไลย มีรูปทรงและลายประดับงดงาม มีรูปหน้าคน
สวมเทริดประดับบนปืนคล้ายกับท่ีพบในปืนใหญ่สมัยอยุธยาท่ีเหลือเพียงปากล�ำกล้อง
จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม แสดงถึงพระราชนิยมที่ทรงน�ำศิลปะ
แบบอยธุ ยามาสรา้ งไวบ้ นปนื ใหญส่ มยั รตั นโกสนิ ทร์ สว่ นของรชู นวนรปู หนมุ าน ซงึ่ เหมอื น
กบั รปู หนมุ านทโี่ ครงปนื พระแสงปนื ตน้ ขา้ มแมน่ ำ้� สะโตง (สรา้ งในสมยั รชั กาลที่ ๑) ถอื เปน็
สัญลกั ษณ์ของปืนใหญ่ท่ีหลอ่ ขึ้นในสมยั นี้

๑๓๑ ปืนนารายณ์สงั หาร ท้ายรปู สังข์
พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้หล่อคู่กับปนื พญาตานี
เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจบุ นั ต้ังอยู่ทหี่ นา้ ศาลาวา่ การกลาโหม

114

๑๓๒

๑๓๒ ปนื มารประไลย พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
โปรดเกลา้ ฯ หล่อขน้ึ เมอื่ พทุ ธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยทู่ ี่หนา้ ศาลาวา่ การกลาโหม

115

๑๓๓

๑๓๔
๑๓๓ ลวดลายประดบั บนปืนมารประไลย
๑๓๔ ครอบรชู นวนของปืนมารประไลย หลอ่ เป็นรปู หนุมาน คลา้ ยกบั ทพ่ี บในพระแสงปนื ตน้ ขา้ มแมน่ ้�ำสะโตง
ท่พี ระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราชโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ ร้างขน้ึ ใหม่

116

กระบอกท่ี ๓ ปนื ไหวอรณพ พงศาวดารเขยี นไหววรณพ ลวดลายคลา้ ยกบั ปนื ใหญ่
ฝรั่งเศสชื่อ Le Corisic ท่ีเป็นเช่นนี้ชวนให้คิดว่า อาจมีช่างหล่อชาวฝรั่งเศสเข้ามารับ
ราชการ ดงั ทมี่ ปี นื ฝรง่ั เปดิ หมวกอยา่ งใหญ่ มตี ราราชวงศฝ์ รง่ั เศสและชอ่ื หลวงบรรจงรจนา
นายชา่ งปรากฏอยู่ คดิ วา่ อาจเปน็ ชา่ งชาวฝรง่ั เศสคอื M. Berrenger ควบคมุ การหลอ่ ปนื ได้
รบั ความดคี วามชอบใหม้ บี รรดาศกั ดเ์ิ ปน็ หลวงบรรจงรจนา เปน็ ขอ้ สนั นษิ ฐานทคี่ วรรบั ฟงั
กระบอกท่ี ๔ พลิกพสุธาหงาย มลี �ำกล้องกวา้ ง มีห่วงจบั ยกปนื ๔ หว่ งท้ายปืน
รปู ลกู แก้ว รชู นวนเปน็ รูปขวดเหมอื นปนื ใหญฝ่ รัง่ เศสสมัยอยธุ ยาและปืนบะเรยี ม ฝรั่งเศส
หล่อโดย M. Berrenger

๑๓๕

๑๓๖ ๑๓๗
๑๓๕ ปืนไหวอรณพ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช โปรดเกลา้ ฯ
หล่อขึ้นเมอ่ื พทุ ธศักราช ๒๓๒๙ ปจั จุบันตง้ั อยู่ทหี่ นา้ ศาลาวา่ การกลาโหม
๑๓๖ ปากกระบอกปนื ไหวอรณพ มีลวดลายประดบั คลา้ ยกับท่ีพบในปืนใหญ่ฝรงั่ เศสทีม่ ีชอ่ื Le corisic
๑๓๗ ปากกระบอกปืนใหญฝ่ รง่ั เศสที่มชี ื่อ Le corisic หล่อขึน้ ราวปี พ.ศ. ๒๒๑๓

117

๑๓๘

๑๓๘ ปืนพลกิ พสธุ าหงาย พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช
โปรดเกล้าฯ หลอ่ ขึน้ เมอ่ื พุทธศกั ราช ๒๓๒๙ ปัจจบุ นั ต้งั อยู่ทีห่ น้าศาลาว่าการกลาโหม

118

๑๓๙ ๑๔๐

๑๓๙ รชู นวนรปู ขวดของปนื พลกิ พสุธาหงาย คล้ายกับที่พบในปืนใหญ่สมยั อยธุ ยาของฝรั่งเศส
๑๔๐ รชู นวนรปู ขวดในปนื ใหญส่ มยั อยธุ ยาของฝรง่ั เศส

119

กระบอกท่ี ๕ พิรุณแสนห่า คล้ายกับปืนพลิกพสุธาหงาย มีชื่อเหมือนกับ
ปนื พระพิรณุ ในประวัติศาสตรอ์ ยุธยาและ สมัยธนบรุ ี การหลอ่ ขึ้นมาใหมอ่ กี ครัง้ อาจมี
ความหมายเช่นเดียวกับการสร้างพระแสงปืนข้ามแม่น�้ำสะโตง เพ่ือสืบทอดความส�ำคัญ
ในประวตั ิศาสตรก์ ็เป็นได้
กระบอกท่ี ๖ และกระบอกท่ี ๗ พระอศิ วรปราบจกั รวาล พระกาฬผลาญโลก
มหี จู บั ยกปนื บนล�ำกลอ้ งมลี วดลายหน้าคล้ายคนหรือสิงโต เหมือนปืนฝรง่ั เปดิ หมวกอย่าง
ใหญ่ทเ่ี ปน็ ของฝรัง่ เศส

๑๔๑
๑๔๑ ปนื พิรณุ แสนหา่ พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราช
โปรดเกลา้ ฯ หลอ่ ขึน้ เมอ่ื พทุ ธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจบุ ันตัง้ อยทู่ ห่ี น้าศาลาวา่ การกลาโหม

120

๑๔๒

๑๔๔

๑๔๓

๑๔๒ ปืนพระอศิ วรปราบจกั รวาล พงศาวดารเขียนพระอศิ วรปราบจักรวาฬ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ใหห้ ล่อข้นึ เมื่อพทุ ธศกั ราช ๒๓๒๙
ปัจจบุ นั ต้ังอยทู่ ีห่ น้าศาลาวา่ การกลาโหม
๑๔๓ รปู คล้ายหน้าคนหรือสงิ โต ในปืนใหญ่ พระอิศวรปราบจกั รวาล
๑๔๔ รูปคล้ายหนา้ คนหรอื สิงโต ในปืนใหญ่ พระเพลิงแผ้วราตรี
ซ่ึงมรี ปู ลักษณะคลา้ ยกับปนื พระอิศวรปราบจกั รวาล

121

การหล่อปืนใหญ่ข้ึนใช้ในบ้านเมืองนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หวั โปรดใหส้ ร้างขึ้นอีกจ�ำนวนมาก สอดคลอ้ งกับพระบรมราโชบายในการปอ้ งกัน
พระนครทที่ รงระแวดระวงั และคาดการณว์ า่ อาจมรี าชการศกึ ดา้ นชายทะเล ดงั ทพ่ี ระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระนัง่ เกล้าเจา้ อย่หู วั วา่ ทรงเอาพระราชหฤทยั ใส่มาตั้งแตแ่ รกเสด็จเถลิงถวลั ยราชสมบัติ
จนตลอดรชั กาล คอื การสรา้ งเมืองป้อมปราการท่ีปากน้ำ� ตา่ งๆ เชน่ ทเี่ มืองสมุทรปราการ
ทบี่ างจะเกรง็ ทเี่ มอื งสมทุ รสาคร เมอื งจนั ทบรุ ี เมอื งฉะเชงิ เทรา เมอื งนครเขอ่ื นขนั ธ์ รวมทงั้
เมืองหน้าด่านทางตะวันตกที่กาญจนบุรี เมืองหน้าด่านเขมรท่ีพระตะบองและเสียมราฐ
ป้อมปืนประจ�ำเมืองเหล่าน้ี มีทหารรักษาประจ�ำป้อมอย่างแข็งขัน นอกจากน้ียังโปรดให้
เจา้ พระยานครฯ คิดตอ่ เรือรบเปน็ ตัวอย่าง ซง่ึ เจ้าพระยานครฯ ได้ต่อเรอื ปลาทา้ ยกำ� ปัน่
แปลง ถวาย พระราชทานชอ่ื วา่ เรอื มหาพไิ ชยฤกษ์ พระราชทานทนุ ใหต้ อ่ เพม่ิ ขนึ้ อกี ๓๐ ล�ำ
ต่อมาโปรดให้ต่อเรือป้อมอย่างญวน เพ่ิมอีก ๘๐ ล�ำ ได้ใช้ในราชการป้องกันพระนคร
พร้อมกันอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ
กล่าวเฉพาะปืนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ส�ำราญ
วังศพ่าห์ เขียนไว้ในสารานุกรมพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑ มีความ
โดยสรุป ว่าเป็นปืนใหญ่ส�ำริดและเหล็กท่ีมีมาจากรัชกาลก่อนบ้าง โปรดให้ซ้ือหามาบ้าง
ทโี่ ปรดใหห้ ลอ่ ขน้ึ ใชเ้ อง เฉพาะใน พ.ศ. ๒๓๖๘ ปนื ใหญท่ ใี่ ชใ้ นการรกั ษาพระนครมจี �ำนวน
ถงึ ๒๗๗ กระบอก
ปืนใหญ่ที่โปรดใหห้ ล่อข้ึนใช้เองในรัชกาลที่ ๓ นี้ โปรดให้ช่างชาวจนี ซึง่ มคี วาม
สามารถในการถลงุ เหลก็ และหลอ่ ปนื ใหญใ่ หด้ �ำเนนิ การ จงึ มปี นื ใหญไ่ วใ้ ชใ้ นราชการจ�ำนวน
มาก ทม่ี ชี อื่ ปรากฏต่อมา เชน่
ปนื ใหญเ่ จา้ พระยาสมั มาทษิ ฐิ ปนื ใหญเ่ จา้ พระยารกั ษาพระศาสนา ปนื ใหญ่ ๒
กระบอกน้ี มีลวดลายประดบั สวยงาม ใชก้ ระสนุ ขนาด ๗ นิ้ว เดิมต้งั อยูช่ าลาหนา้ พระท่นี ั่ง
ดสุ ติ มหาปราสาท อกี กระบอกหนึ่งช่อื ปนื ใหญเ่ จ้าพระยาปราบองั วะ และยังมชี ื่อปืนที่
คล้ายกนั หล่อขน้ึ เมอื่ พ.ศ. ๒๓๖๘ คอื ปืนสัมมาทษิ ฐิ และปืนจา่ รงค์รักษาพระศาสนา
ค�ำวา่ จ่ารงค์ สันนษิ ฐานวา่ นา่ จะเปน็ ค�ำเรียกปนื เหลก็ ที่หลอ่ ในเมอื งไทย ใช้กระสนุ ตง้ั แต่
๕ นว้ิ ๔ นว้ิ ๓ นวิ้ ส่วนใหญ่ใช้ดินเพยี ง ๑ ชัง่

122

๑๔๕

๑๔๖
๑๔๕ ปืนใหญ่เจ้าพระยารกั ษาพระศาสนา พระบาทสมเดจ็ พระน่งั เกล้าเจ้าอยูห่ ัวโปรดเกลา้ ฯ ใหช้ ่างชาวจนี หลอ่ ข้ึน
ปจั จุบนั ต้งั อยู่ทก่ี องพลปืนใหญต่ ่อสู้อากาศยาน จงั หวัดลพบุรี
๑๔๖ จารึกอา่ นไดว้ ่า เจา้ พระยารักษาพระศาสนา กระสุน ๗ น้ิว ดนิ หนกั ๔ ช่งั

123

ปนื รกั ษาพระศาสนา เปน็ ปนื หลกั บรรจกุ ระสนุ ทางปากกระบอกประเภทลกู โดด
ใชด้ ินด�ำเปน็ ดนิ ขบั กระสุนขนาด ๔ น้วิ มีลวดลายงดงามแบบไทยทเี่ พลา รังเพลงิ และฝา
ปิดท้าย สว่ นทา้ ยปนื เป็นรูปดอกบัวคว่�ำ เหตผุ ลที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานช่ือปนื ใหญว่ า่
รกั ษาพระศาสนา มคี วามปรากฏอยใู่ นเพลงยาวยอพระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระนงั่ เกลา้
เจ้าอย่หู ัว นา่ ประทับใจยิง่
ศริ ริ จั น์ วงั ศพา่ ห์ ไดศ้ กึ ษาตอ่ มาพบวา่ ปนื เจา้ พระยารกั ษาพระศาสนา มขี นาด
ใหญ่กว่าปืนรักษาพระศาสนา หรือ ปืนจ่ารงค์รักษาพระศาสนา มีความปรากฏคราว
พระยาศรพี ิพัฒน์ (ทัด) คือเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติในเวลาต่อมา ไปราชการหวั เมอื ง
ปกั ษใ์ ต้ หลวงอดุ มสมบตั ผิ รู้ บั หนา้ ทส่ี บื ฟงั ขอ้ ราชการในกรงุ เทพฯ ในเรอื่ งกองทพั บอกไปให้
ทราบ มคี วามแจง้ ไปวา่ กองทพั ทจี่ ะยกตามไปเมอื งสงขลานนั้ พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้
เจ้าอย่หู วั ตรัสถามวา่

...ปนื หนา้ เรอื ปนื ทา้ ยเรอื เอาปนื อะไรไป พระนรนิ ทร์ กราบทลู
วา่ ปืนทองยางไซ รับส่งั ว่า คดิ เอาปนื ใหญจ่ า่ รงคร์ กั ษาพระศาสนา
ออกไปดี การอย่างนีถ้ ึงจะมีร้พี ลนอ้ ย มแี ต่ปืนมากๆ อยแู่ ลว้ มันจะ
เข้ามาท�ำไม่ได้ เอารายๆ กันเขา้ ยงิ ประเคนมันออกไป มันจะอยสู่ ู้ทน
ที่ไหน มันจะมีปืนใหญ่มาก่ีมากน้อยนักหนา มันมามันก็มาทางบก
อย่างน้ี โดยจะมปี ืนใหญม่ าก็มีแตก่ ระสนุ ๒ นิ้ว ๓ นิ้ว เทา่ น้นั มันจะ
สู้ปนื จ่ารงค์ได้ที่ไหน มนั คงพากนั เลกิ ไปสนิ้ ฯ...

๑๔๗
๑๔๗ ปนื รกั ษาพระศาสนา พระบาทสมเดจ็ พระนัง่ เกลา้ เจ้าอยูห่ วั โปรดเกลา้ ฯ ให้ช่างชาวจีนหลอ่ ข้นึ ในพ.ศ. ๒๓๖๘

124

๑๔๘

๑๔๙
๑๔๘ ปนื รกั ษาพระศาสนา ขนาดล�ำกล้องตา่ งๆ กนั ๔ ศอก และ ๓ ศอก
ปจั จุบนั ต้ังทว่ี ัดพระมหาธาตุ จงั หวัดนครศรีธรรมราช
๑๔๙ ลายแบบพรรณพฤกษาประดับด้านทา้ ยล�ำกลอ้ งปนื รกั ษาพระศาสนา ปัจจบุ นั ตั้งอย่ทู พ่ี ระราชวงั บา้ นปนื
(อยใู่ นความดูแลของจงั หวัดทหารบกเพชรบรุ ี กองพนั ที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์)

125

ปืนที่มีใช้ในสมัยรัชกาลท่ี ๓ ยังมีปืนชนิดต่างๆ อีกตามท่ีนายแพทย์ส�ำราญ
วังศพา่ ห์ เขียนไวใ้ นสารานุกรมฯ เช่น
ปืนหามแลน่ ปืนขานกยาง ปืนใหญ่ขนาดเล็ก ใชท้ ้ังทางบก ทางน้ำ� เคลื่อนยา้ ย
งา่ ย โปรดใหห้ ล่อขึน้ ใช้จ�ำนวนมาก
ปนื เลก็ ยาว เชน่ ปนื คาบศลิ าตรามงกฎุ ผลติ ในประเทศองั กฤษ ทตี่ ดิ หอกปลาย
ปนื เรยี ก ปนื ปลายหอก ปนื คาบศลิ าใบโพ เปน็ ของบรษิ ทั อสี ตอ์ นิ เดยี คมั ปะนี มสี �ำนกั งาน
ในอนิ เดีย ใบโพเป็นค�ำท่คี นไทยเรยี กตรารปู หัวใจ หรือเคร่ืองหมายการค้าของบริษทั อีสต์
อนิ เดีย คมั ปะนี

๑๕๐

๑๕๑
๑๕๐ โครงปนื คาบศิลา ตรามงกุฎ และอกั ษรพระปรมาภไิ ธยย่อของพระเจ้ายอรช์ ท่ี ๓ (GR) แหง่ ประเทศองั กฤษ
ช่วงตน้ กรุงรตั นโกสนิ ทร์ ปืนตรามงกุฎ มีราคากระบอกละ ๘ บาท
๑๕๑ โครงปนื คาบศลิ าใบโพ ใบโพ เปน็ ค�ำทใี่ ช้เรยี ก ตรารปู หัวใจ เครอื่ งหมายการคา้ ของ บรษิ ทั อินเดียตะวันออก
ขององั กฤษ หรือ บรษิ ทั อสี ต์ อินเดีย คัมปะนี ของ อังกฤษ

126

ปนื ทองปราย ท�ำจากทองเหลอื ง หรอื เหลก็ ใชส้ �ำหรับยิงลูกปราย คอื ลูกเหลก็
เลก็ ๆ บรรจใุ นหอ่ เวลายงิ ลกู ปรายเลก็ คอ่ ย ๆ กระจายออก เมอ่ื พน้ ล�ำกลอ้ งสามารถท�ำลาย
วตั ถไุ ดใ้ นวงกวา้ ง ในสมยั รชั กาลท่ี ๓ มกี รมรกั ษาพระองคป์ นื ทองปราย ทหารกรมนสี้ ะพาย
ปืนปากมังกร ปนื ปากล�ำโพง ปนื ปากเหมอื นปืนใหญอ่ ย่างฝร่ัง อย่างละคูถ่ วายอารักขา
เวลาเสด็จพระราชด�ำเนนิ เฮนร่ี เบอร์นี ราชทูตอังกฤษท่ีเขา้ มาเจริญทางพระราชไมตรีใน
พ.ศ. ๒๓๖๙ ได้น�ำปืนทองปรายมาถวาย ราว ๕๐ กระบอก

๑๕๒

๑๕๒ ปืนทองปราย ปากมงั กร ประจ�ำกรมรกั ษาพระองค์ปืนทองปราย ๑๕๓
๑๕๓ ปืนทองปราย ปัจจบุ ันจัดแสดงท่ี พพิ ิธภณั ฑสถานแห่งชาติ พระนคร
127

๑๕๔

๑๕๕

๑๕๔ ปืนทองปราย ปากแตร หรือ ปากล�ำโพง ประจ�ำกรมรกั ษาพระองค์ปนื ทองปราย
๑๕๕ ปืนทองปราย ปากเหมอื นปนื ใหญอ่ ย่างฝร่งั

128

ปนื ตับ มีล�ำกลอ้ งวางขนานกันเป็นตบั สามารถท�ำลายเปา้ หมายได้จ�ำนวนมาก
ด้วยการยิงเพียงครั้งเดียว ผลติ โดยบรษิ ทั อสี ต์ อินเดยี คัมปะนี ราว พ.ศ. ๒๓๖๐ เปน็ ปนื ท่ี
เฮนรี่ เบอรน์ ี น�ำมาทลู เกลา้ ฯ ถวายพระบาทสมเดจ็ พระนงั่ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั เชน่ กนั สนั นษิ ฐาน
วา่ หลังจากนนั้ น่าจะไดส้ ่งั มาใชใ้ นราชการอีกจ�ำนวนหน่ึง
นอกจากน้ียังมีปืนท่ีปรากฏชื่อใน บัญชีพระแสงปืนต้นจ�ำหน่ายและคง
จุลศักราช ๑๑๘๗ (พ.ศ. ๒๓๖๘) อีกจ�ำนวนมาก

๑๕๖ ๑๕๗

๑๕๘
๑๕๖ ปืนตบั มลี �ำกลอ้ งวางขนานกนั หลายล�ำกลอ้ ง เปน็ ตน้ แบบของปนื กลและปนื แก๊ตลิง่
ปจั จบุ นั ตัง้ อยู่ทพี่ ิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร
๑๕๗ ตราสงิ ห์อัญเชิญมงกุฎพบท่ีโครงปนื ตบั แสดงว่า ปนื ตบั กระบอกน้ีเปน็ ของ
บริษัท อีสต์อินเดีย คมั ปะนี ของอังกฤษ
๑๕๘ ตราสงิ ห์อัญเชิญมงกุฎพบทโ่ี ครงปืนเลก็ ยาว ปจั จุบนั อยูท่ พ่ี พิ ธิ ภัณฑพ์ ระแสงปนื และปนื โบราณชั้นใตต้ �ำ่
พระท่ีนัง่ จกั รมี หาปราสาท ในพระบรมมหาราชวงั

129

๑๕๙ ๑๖๐

๑๖๑ ๑๖๒

๑๕๙, ๑๖๐ ภาพจิตรกรรมสะทอ้ นการรบสมัยโบราณ
๑๖๑ ภาพลายรดน�้ำศลิ ปะสมยั อยธุ ยา มีภาพขุนศึกสะพายปืนข่มี า้ ในขบวนทพั
๑๖๒ ภาพทหารฝรั่งใชป้ นื ในการออกรบ

130

๑๖๓

ศสั ตราวุธเฉลมิ พระเกียรตยิ ศ พระบรมเดชานภุ าพ และแสนยานุภาพ

สรรพอาวธุ ซง่ึ มใี นสมยั ตน้ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ นอกจากใชเ้ พอ่ื ปอ้ งกนั รกั ษาพระนคร
แลว้ ยงั เปน็ สง่ิ เฉลมิ พระเกยี รตยิ ศ และแสดงซง่ึ พระบรมเดชานภุ าพใหเ้ ปน็ ทป่ี ระจกั ษ์ อาวธุ
เหล่านี้จึงมีการน�ำออกแห่แหนในการเสด็จพระราชด�ำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทาง
ชลมารค ทางสถลมารค เชน่ เม่ือมกี ารพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก เสด็จพระราชด�ำเนนิ
ไปถวายผา้ พระกฐิน การรับแขกเมอื งหรือรับราชทูต และในพระราชพธิ คี เชนทรศั วสนาน
คอื การตระเตรยี มความพรกั พรอ้ มดว้ ยสรรพศสั ตราวธุ และก�ำลงั พลใหพ้ รอ้ ม คลา้ ยกบั การ
สวนสนามของทหารรักษาพระองค์ในเวลาต่อมา ในสมัยรัชกาลท่ี ๑ มีหลักฐานว่าห้าม
น�ำอาวธุ จริงมาใช้แห่ ให้ท�ำไมเ้ ทียมของจริง ตอ่ มาในสมยั รัชกาลท่ี ๓ ทรงพระราชด�ำรใิ ห้
จัดท�ำอาวุธจริง หลังจากแห่เสร็จแล้ว โปรดให้เก็บไว้ที่โรงแสง ถ้ามีการทัพศึกจะได้เอา
ไปใช้ได้ พระบรมราโชบายเช่นน้ีท�ำให้ข้าราชการขุนนางพากันสร้างอาวุธเมื่อเข้าประจ�ำ
กระบวนแหเ่ ปน็ เกียรติยศ ใชแ้ หแ่ หนในงานพระราชพิธีตา่ งๆ เช่น

๑๖๓ พระแสงราชศัตราส�ำคัญเชิญถวายในการพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก เช่น พระแสงอัษฎาวธุ ฯลฯ

131

การเสดจ็ เลยี บพระนครโดยกระบวนพยหุ ยาตราสถลมารคในสมยั รชั กาลท่ี ๒
ศสั ตราวธุ ชนดิ ตา่ งๆ ทนี่ �ำออกใชแ้ หเ่ ปน็ แบบแผนในสมยั ตน้ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ เชน่
ทหารอาสา ๖ เหลา่ ตง้ั กองจกุ ชอ่ งรายทางเสดจ็ ตงั้ ปนื คขู่ านกยางทกุ แพรกถนน
กระบวนหนา้ ปลายรว้ิ ฝรัง่ แม่นปนื ลากปนื จ่ารง รางเกวียน
กระบวนนายมา้ ตน้ ข่มี ้าถอื ธง ขัดดาบ
อาสาเกณฑห์ ัดแต่ละกอง ถอื ปนื คาบศิลาปลายหอก
ถอื ธนู ถือทวน
อาสาญี่ปุ่น ถอื งา้ ว
พลอาสา ถอื ดาบสองมือ ถอื ดาบเขน
พลลอ้ มวง ถอื ดาบโล่ ถอื ด้ังทอง
อาสาจาม ถือหอกซดั คู่ เหนบ็ กรชิ
ขนุ หมน่ื ต�ำรวจ ๘ กรม สะพายดาบ เจา้ กรมปลดั กรม สะพายกระบ่ี
มหาดเล็ก เชิญพระแสงส�ำคญั เดนิ หวา่ งเคร่ือง
มีพระแสงดาบเขน พระแสงหอกชัย
กรมพระต�ำรวจสนมทหารซ้ายขวา ถือปนื
นายควาญช้างพระที่นง่ั ถอื ขอชา้ ง เชญิ พระแสงของา้ ว
ขนุ หม่นื กรมทวนทอง ถอื ทวนผูกพู่
ฝรง่ั โปรตเุ กสเดมิ ถอื หวายเทศ (รกั ษาปนื ลอ้ ประตวู เิ ศษไชยศร)ี
ไพรห่ ลวงกรมวังนอก ถอื ตะบอง
พระแสงดาบคาบคา่ ยพระแสงดาบใจเพชร
พระแสงหอกชวา
คู่เคียงพระราชยาน สะพายดาบ
มหาดเล็ก เชิญพระแสงงา้ ว (พระแสงตรี)
พระแสงหอกงา่ ม พระแสงปืน
พระแสงทวน พระแสงงา้ ว พระแสงหอก
กระบวนอาสาฝรง่ั แมน่ ปนื ลากปืนจ่ารง รางเกวียน ๒ กระบอก
สุดทา้ ยกระบวน

กระบวนคเชนทรศั วสนาน หรือ แห่สระสนานเดมิ

กระบวนคเชนทรศั วสนาน หรือ การแห่สระสนานอยา่ งใหญ่ พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้อาวุธจริงออกแห่แทนอาวุธจ�ำลองของสมัยรัชกาลท่ี ๑
เปน็ คราวแรก ใน พ.ศ. ๒๓๗๒ มจี ดหมายเหตวุ า่ ดว้ ยการจดั รวิ้ กระบวน ซงึ่ พระบาทสมเดจ็
พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงอธบิ ายอยใู่ นบทพระราชนพิ นธเ์ รอ่ื ง พระราชพธิ สี บิ สองเดอื น
ว่า ถือธนูหางไก่ ถือทวนเป็นหลัก ส่วนอาวุธบอกแต่เพียงอาวุธต่างๆ ไม่ได้แจงว่าเป็น
อาวุธประเภทใด

132

๑๖๔

๑๖๔ ภาพลายรดน้ำ� ศลิ ปะสมัยอยุธยา
มีเหล่าขุนนาง แต่งกายในเครื่องแบบพร้อมท้งั เครื่องศตั ราวธุ เข้ารว่ มในขบวนแห่
เป็นแบบแผนมาถึงสมยั รตั นโกสินทร์

133

การรับรองแขกเมือง รับทตู

เม่อื ครง้ั ที่ เอริ ์ล แอมเฮิร์สต์ ผสู้ �ำเรจ็ ราชการขององั กฤษที่อนิ เดียได้แต่งตั้งให้
กปั ตนั หนั ตรีบารนี หรือ เฮนร่ี เบอร์นี (Henry Burney) ทูตองั กฤษเข้ามาท�ำสญั ญาทาง
ไมตรี และการคา้ ใน พ.ศ. ๒๓๖๙ พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดเ้ สดจ็ ออกรบั แขก
เมือง ณ ทอ้ งพระโรงพระที่นง่ั อมรนิ ทรวนิ จิ ฉัยฯ เจ้าพนกั งานเชญิ พระแสงประดิษฐานใน
พระที่น่ังอมรินทรวินิจฉยั ขนุ นางฝา่ ยต่างๆ ประดับอาวธุ ตามยศ รวมทั้งขุนหมื่นผูม้ ีหน้าท่ี
ถืออาวธุ ตามธรรมเนยี ม ดงั ความในพระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของ
เจา้ พระยาทพิ ากรวงศมหาโกษาธบิ ดี เฉพาะอาวธุ ทเ่ี ชญิ ออกตง้ั และแหนแหโ่ ดยสรปุ มดี งั นี้

พระท่นี งั่ เศวตฉัตรที่เสด็จออก ทอดพระแสงง้าว
แนวพระวสิ ตู ร เชิญพระแสงทวนขวา ปนื คาบศิลา
กรมพระต�ำรวจ (เจา้ กรม ปลดั กรม) สะพายดาบตามยศ
กรมเกณฑ์หัดแสงปนื เชิญพระแสงปนื ปลายหอกรางแดง
กรมรกั ษาพระองค ์ ถอื ปนื ทองปราย
ขุนหมน่ื กรมพระต�ำรวจ ถือหอก
กรมเกณฑห์ ดั แสงปนื ถือปืนคาบศลิ านัง่ กลาบาต
ขนุ หมื่นสารวัตร สะพายกระบีฝ่ ักหนงั
กรมพระต�ำรวจในซ้าย ถอื ปืน
กรมพระต�ำรวจสนมทหารซา้ ยขวา ถอื ปืน
นายควาญช้างพระทีน่ ่งั ถอื ขอช้าง เชญิ พระแสงของ้าว
ขนุ หมืน่ กรมทวนทอง ถอื ทวนผกู พู่
ฝรั่งโปรตุเกสเดมิ ถอื หวายเทศ (รกั ษาประตพู มิ านไชยศรี
รกั ษาโรงปนื รกั ษาปนื ลอ้ ประตวู เิ ศษไชยศรี
ไพร่หลวงกรมวังนอก ถอื ตะบอง

134

๑๖๕

๑๖๖ ๑๖๗

๑๖๕ - ๑๖๗ กระบวนเกยี รตยิ ศรับราชทตู ทตู ท่ีเข้ามาเจรญิ สมั พนั ธไมตรสี มัยตน้ กรุงรตั นโกสินทร์
อาวุธท่ีน�ำออกใชแ้ ห่แหนประจ�ำตัวขา้ ราชการฝ่ายตา่ งๆ มที ้งั อยา่ งเก่าและอย่างใหม่

135

ศัสตราวธุ ใช้สำ� หรบั พระราชพิธี เช่น

พระราชพิธตี รุษสงกรานต์ (ใน จ.ศ. ๑๑๔๕ พ.ศ. ๒๓๒๖)
มีหมายรับส่ัง เกณฑป์ ืนใหญน่ อ้ ยยิงอาฏานา ไดแ้ ก่
ปนื คาบชดุ ๘๕ กระบอก ยงิ ทปี่ ระตพู ระราชวงั ประตลู ะ ๕ กระบอก พรอ้ มกนั ๓ นดั
ปืนคาบศลิ า ที่โรงพระราชพิธ ี ๓๐ กระบอก
ปืนคาบชดุ ยงิ ทศี่ าลาลกู ขุน ๕๐๐ กระบอก
ปืนคาบศลิ า ยงิ ที่ศาลาลูกขุน ๓๐ กระบอก
ปืนคาบชดุ ๕๘๕ กระบอก
ปนื ใหญ่ ประตลู ะ ๒ กระบอก รวม ๗๖ กระบอก
ปืนต้ังยิงบนปอ้ ม ป้อมละ ๒ กระบอก ๑๓ ปอ้ ม รวม ๒๖ กระบอก
ยิงท่ีถนนหนา้ โรงช้าง ๒ กระบอก
ยิงท่ีถนนหลงั โรงช้าง ๒ กระบอก
ยิงที่หน้าโรงเส้อื เมืองทรงเมอื ง ๒ กระบอก
ยงิ ท่ีหนา้ บา้ นเจา้ พระยารตั นาพิพธิ (ถนนท้ายวัง) ๒ กระบอก
ยงิ ทห่ี นา้ โรงพระแกว้ (พระราชวังเดมิ ) ปืนคาบชุด ๒๐๐ กระบอก

ปืนใหญ่ ๒ กระบอก
ยิงที่ตะแลงแกง ๒ กระบอก
ยิงที่ต้นสะพานกฎีแขก ๒ กระบอก
ทีฉ่ างเกลอื ๒ กระบอก
ทว่ี ดั บางว้านอ้ ย

รวมปนื ท่ีใชย้ ิงในพธิ นี ้ี ปนื ใหญ่ ๑๑๘ กระบอก ปนื เล็ก ๘๒๕ กระบอก

136

๑๖๘

พระราชพิธีฝังอาถรรพณ์
ในสมยั รชั กาลที่ ๓ โปรดใหต้ งั้ การพระราชพธิ ฝี งั อาถรรพณย์ กเสาประตตู ง้ั ปอ้ ม
ทีป่ ากลดั พ.ศ. ๒๓๕๘ และ ฝังอาถรรพณ์ป้อมประตหู ลักเมอื ง ท่ีเมอื งสมทุ รปราการ พ.ศ.
๒๓๖๕ มหี ลกั ฐานในหมายรบั ส่งั วา่ ให้กรมกลาโหมเอาลูกกระสุนปืนใหญ่ ๔ นว้ิ ๙ ลูก ไป
ส่งโรงพธิ ีพราหมณ์ สว่ นปนื ใหญ่ ท่ใี ช้ยิงตามฤกษ์ ปรากฏชื่อว่า ปืนใหญ่แสงอาทิตย์กลา้
ปืนใหญม่ จั จุราชสงั หาร ปืนใหญ่จ่ารง ปืนเลกมิหลอ (ปืนเหล็กมลี อ้ ) ให้ยิงกระบอกละ
๑ นัด

๑๖๘ ภาพลายรดนำ้� แสดงภาพขบวนทหารและการถอื อาวธุ เข้าร่วมขบวน

137

๑๖๙

๑๗๐

๑๖๙ ปืนลกู ปราย ปราบพระนคร แบบเดียวกบั ปืนมัจจุราชสงั หาร
ปจั จุบนั ตัง้ อยทู่ ี่โรงเรียนนายเรือ จังหวดั สมทุ รปราการ
๑๗๐ ปนื ลกู ปราย ราหูทะลวงขวา้ งจกั ร
ปัจจุบนั ต้งั อยู่ที่โรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ

138

กระบวนแหพ่ ระยาช้าง

ใน พ.ศ. ๒๓๕๕ ได้มกี ารรบั และสมโภชพระยาเศวตกุญชร ช้างเผอื กพบทเ่ี มอื ง
โพธิสัตว์ กรมการเมือง ได้ต้งั กระบวนแห่พระยาชา้ ง จากเมอื งปัตบอง (พระตะบอง) ผ่าน
มาตามเมอื งตา่ งๆ

กระบวนแห่พระยาช้างมีผถู้ อื อาวธุ เรียงล�ำดับกนั ดังนี้

กระบวนหน้า ปนื คาบศิลา ปืนคาบชดุ ๓๐ คู่
ตะบอง ๑๐ คู่
ทวน ๔๐ คู่
ดาบสะพายแลง่ ๘ คู่
กระบวนหลัง ปนื คาบศิลา ปืนคาบชดุ ๑๐ คู่
ดาบสะพายแล่ง ๗ คู่
ทวน ๑๕ คู่
ปนื ๔๐ คู่
ตะบอง ๑๐ คู่

อนึ่ง การมีอาวุธปืนเข้ามาใช้ในราชการบ้านเมืองตั้งแต่โบราณมาจนถึงสมัย
ตน้ รัตนโกสินทร์ จ�ำเปน็ ต้องมกี ารก�ำกบั ดแู ล มีเจ้าหน้าท่ีควบคุม ท้งั การใช้ การดแู ลรักษา
ให้อยู่ในกฎระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพราะเป็นยุทธปัจจัยท่ีมีผลต่อความม่ันคง
ปลอดภยั มอี ุทาหรณเ์ ตอื นใจท่ีได้รับการบันทกึ ไว้ในประวัติศาสตร์เร่อื งหนงึ่ คอื เรื่องการ
ฉลองวดั ประยรุ วงศ์ ของเจา้ พระยาพระคลงั หรือ สมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาประยรุ วงศ์
(ดศิ บนุ นาค) สมเดจ็ เจา้ พระยาองคใ์ หญ่ เมอ่ื วนั ท่ี ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๙ วนั นน้ั พระสงฆ์
ในวดั ไปเก็บไดป้ นื ช�ำรุดทง้ิ อย่ใู นวดั กระบอกหนง่ึ เปน็ ปนื บะเรยี มกระสุน ๕ นิว้ เอามาท�ำ
ไฟพะเนียงจุด ปรากฏวา่ ปืนแตกกระจายถูกพระสงฆ์ ชาวบา้ น ศิษย์วดั แม่ครัว เสียชวี ติ
๗ คน บาดเจบ็ อกี หลายคน พระราชพงศาวดาร กรงุ รตั นโกสนิ ทรร์ ชั กาลที่ ๓ พรรณนาภาพ
เหตุการณ์ไว้วา่ ทหี่ ลุมปักพะเนยี ง ปนื แตกตแี ปลงเปน็ หลมุ กว้างประมาณ ๔ ศอก ในหลุม
ไมม่ เี หลก็ ปนื แตกหลงเหลอื อยเู่ ลย แตม่ เี ศษชน้ิ ใหญ่ ๆ กระจายไปตกไกลถงึ สะพานหนา้ วดั
ราชบรู ณะ ถงึ ปากคลองหลอดกม็ ี แตโ่ ชคดีทไ่ี มถ่ กู ผคู้ นเป็นอนั ตราย

เพื่อเปน็ อนสุ รณเ์ ตือนใจจากอุบัติเหตุครั้งนัน้ วดั ประยุรวงศ์ไดน้ �ำปืนมาตกแตง่
ท�ำเป็นรั้วให้ร�ำลึกถึงด้วยความไม่ประมาทและยังเป็นสิ่งบ่งบอกว่า ถึงเวลาท่ีต้องเรียนรู้
เร่อื งของศิลปวทิ ยาการสมัยใหม่กันอยา่ งจรงิ จัง

139

๑๗๑ ๑๗๒

ในตอนปลายสมยั รัชกาลที่ ๓ จึงมีบคุ คลชน้ั น�ำสนใจศกึ ษาวิชาการใหมๆ่ หลาย
สาขาโดยมี ทูลกระหม่อมพระ วชิรญาณภิกขุ หรือ เจ้าฟ้ามงกุฎ คือพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ซง่ึ ทรงครองสริ ริ าชสมบตั ติ อ่ มา เปน็ ผนู้ �ำทรงสบื สานพระราชภารกจิ
ท่พี ระบาทสมเดจ็ พระน่ังเกลา้ เจ้าอยู่หวั ทรงจัดการไวอ้ ยา่ งเหมาะสมแก่กาลสมัย
พระราชด�ำรัสสุดท้ายท่ีพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใย
บา้ นเมืองและเป็นจรงิ ตามทท่ี รงคาดการณ์ไว้ คอื

...การศึกสงครามข้างญวนขา้ งพม่ากเ็ หน็ จะไม่มแี ล้ว จะมีอยกู่ ็
แต่ข้างพวกฝร่ังให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานส่ิงใดของ
เขาทด่ี ี ควรจะรำ่� เรยี นเอาไว้ กเ็ อาอยา่ งเขา แตอ่ ยา่ ใหน้ บั ถอื เลอ่ื มใส
ไปทเี ดียว...

๑๗๑ อนุสาวรยี ท์ ่ีระลึกแหง่ ปนื ใหญ่ระเบดิ ฯ ท่ีวดั ประยรุ วงศ์ ฯ
๑๗๒ ป้ายจารกึ เลา่ เรือ่ งการสร้างอนสุ าวรยี ์ เปน็ ท่รี ะลกึ ในเหตกุ ารณป์ ืนใหญร่ ะเบิดในงานฉลองพระอาราม

140

ความก้าวหน้าทางศลิ ปวทิ ยาการสมยั ใหม่ ยทุ ธศาสตร์อยา่ งใหม่

ความตนื่ ตวั ในการเรยี นรู้ รบั ความรศู้ ลิ ปวทิ ยาการสมยั ใหมซ่ งึ่ เรม่ิ มาแตป่ ลายรชั
สมยั พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั เปน็ สงิ่ ทสี่ งั คมไทยไดต้ ระหนกั ถงึ ความจ�ำเปน็ วา่
จะต้องปรับเปลยี่ นให้ทันกับเหตกุ ารณท์ ต่ี ้องเผชิญกบั มหาอ�ำนาจตะวนั ตก ทีก่ �ำลงั แข่งขัน
กนั เขา้ มายดึ ครองดว้ ยแสนยานภุ าพทเี่ หนอื กวา่ ในทกุ ดา้ น ผนู้ �ำสยามประเทศยคุ นน้ั ไดเ้ ลอื ก
ท่ีจะใช้วิธีการท่ีผ่อนปรน คือใช้นโยบายการเปิดประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับนานา
ประเทศพร้อมไปกับการพฒั นาบา้ นเมืองภายในให้เจรญิ ทดั เทยี มกัน เพ่ือไมใ่ หถ้ กู คกุ คาม
ด้วยข้ออ้างว่าเป็นชาติที่ยังล้าหลัง ยุทธศาสตร์ในการป้องกันรักษาพระนครอย่างใหม่
จึงใช้ทั้งทางการทูต การเตรียมความพร้อมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และการจัดการฝึกหัด
ทหารตามแบบยุโรป โดยมศี ึกเชยี งตงุ ในตอนต้นรัชกาลท่ี ๔ ซ่ึงเปรียบเสมือนการซ้อมรบ
ครั้งใหญ่ มีบทสรุปให้ต้องตระหนักว่าต้องปรับปรุงในทิศทางใด ดังความในจดหมายเหตุ
เรอ่ื งทพั เชียงตุง พรรณนาไว้ว่า

...ปืนใหญฝ่ า่ ยเราต้องเอาเขา้ ไปยิงพ้นจากน่าคา่ ย ๒๐ เสน้ บา้ ง
๓๐ เส้นบา้ ง แต่กระน้นั กระสนุ กไ็ มใ่ คร่จะตกเขา้ ไปในเมอื งได้ คร้ันใส่
ดนิ ใหม้ ากเหลอื พกิ ดั จะใหข้ บั กระสนุ ใหแ้ รง ปากกระบอกกร็ า้ วออกไป
รางปนื เอาข้ึนบรรทกุ ช้างไป ช้างเขย่านกั เดอื ยก็หลวมโยกคลอนง่อน
แง่นเข้าก็ช�ำรุดต้องเอาไม้ทาบผูกรัดไว้ พอใช้ได้คราวหนึ่งๆ ไม่แน่น
หนา ยงิ สกั ๒ นดั ๓ นดั เพลาก็หกั ตอ้ งเปล่ยี นเพลาใหม่ จะเอาเขา้ ไป
ยงิ ให้ใกล้ให้กระสนุ ปนื ตกเข้าไปในเมืองทกุ นดั ๆ จะอาไศรยรางลากไป
มาวอ่ งไวกไ็ มไ่ ด้ ต้องถอดออกจากรางใหค้ นหามไปหามมาทุกคราว...
ยังมีหลักฐานในพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระ-
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีไปถึงบุคคลต่างๆ เป็นหลักฐานว่า ทรงเข้าพระราชหฤทัย
ความส�ำคญั ในการจดั เตรียมศสั ตราวธุ ท่ีทนั สมัยดว้ ยความระมดั ระวงั อยา่ งย่งิ เช่น
พระราชหัตถเลขาถึงองค์พระนโรดม และองค์พระหริราชดไนยแห่ง
กรุงกมั พชู า
มูลเหตุที่ทรงพระมหากรุณามีพระราชหัตเลขาไปครั้งนั้น เน่ืองจากขณะนั้น
อังกฤษ ฝร่งั เศส เขา้ มาคา้ ขายตามเมืองท่า ทรงเล่าความหลังวา่ ได้ เคยรักใคร่สนิทกันมา
แตก่ อ่ นตัง้ แตส่ มยั พระหริรักษ์รามมหาอศิ ราธบิ ดี พระบดิ า ทรงอธิบายว่า
...ธรรมเนียมมนุษย์ทุกวันน้ีในเมืองใด ปืนใหญ่น้อยกระสุน
ดินดำ� รวบรวมมอี ยมู่ ากเป็นก�ำลังใหญ่แล้ว เมอื งนั้นก็เปน็ เมืองหลวงมี
อ�ำนาจแผท่ ั่วทศิ ไกลไปรอ้ ยโยชน์สองรอ้ ยโยชน์ จนถงึ นานาประเทศท่ี
ใกล้เคยี ง ซึ่งมีก�ำลังนอ้ ยกวา่ ... อนั นเ้ี ป็นธรรมดามนษุ ย์ในแผน่ ดิน...

141

ครงั้ นนั้ ไดท้ รงจดั ของไปพระราชทานเปน็ ก�ำลงั คอื กระสนุ ปนื คาบศลิ า ๑๐,๐๐๐
ศลิ าปากนก ๑,๐๐๐ ชนวนปืนใหญ่ ๒๐๐ แก๊ป ๓,๐๐๐ ดินด�ำเมด็ ใหญ่ ๒ หบี ดนิ ด�ำ
เม็ดเล็ก ๑ หีบ
พระราชหตั ถเลขาถึง Mr. Adamson ผ้จู ัดการสาขาบริษัท บอร์เนียว
จำ� กัด ท่ีสิงคโปร์
ระหวา่ งปี ค.ศ. ๑๘๖๐ - ๑๘๖๓ (พ.ศ. ๒๔๐๔ - ๒๔๐๖) มีความซึง่ ทรงสน
พระทยั และเอาพระราชหฤทยั ใสใ่ หช้ ว่ ยจดั หาอาวธุ ปนื อยา่ งใหม่ เปน็ ตวั อยา่ งใหท้ รงศกึ ษา
ให้ถ่องแท้ก่อนที่จะสั่งเข้ามาใช้ในราชการบ้านเมือง เช่น พระราชหัตถเลขา ลงวันท่ี ๘
สงิ หาคม ค.ศ. ๑๘๖๐

...ข้าพเจ้าก็ได้ความคิดอันถูกต้องเก่ียวกับขนาดของปืนนิด
แดมปาเตน (guns of Needham’s patent) ที่ตอ้ งการ และไดน้ �ำ
เอากระสนุ ปนื ขนาดตา่ งๆ มาตรวจดูอย่างถีถ่ ้วนแล้ว ขา้ พเจา้ ก็สรุปได้
ว่า กระสุนปืนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๒ นิ้วนั้นดูจะใหญ่เกินไป
ปืนท่ีต้องการให้ออกแบบเพื่อจะติดต้ังบนช้ันบนของท่ีประทับ เพ่ือ
ต้องการให้ยิงเป็นสัญญาณมีเสียงต่างกับปืนทั้งส่ีท่ีประจ�ำป้อมภายใน
พระราชวัง ...
นอกจากน้ี ขา้ พเจา้ คดิ วา่ การสรา้ งปนื ขนาดใหญ่ โดยเอาแบบ
เช่นปนื ชนดิ เล็ก ชนิดแดมปาเตน คงจะต้องเป็นงานชนิ้ แรก ถา้ หากวา่
บริษัทผู้ผลติ ยอมรับท�ำโดยไมป่ ฏิเสธ ก็จะเป็นการดีมาก เพราะฉะนน้ั
ถ้าจะส่ังเพียงกระบอกเดียวก่อน เป็นปืนขนาดเล็ก ซ่ึง (ล�ำกล้อง) ใช้
กระสนุ เพยี งขนาด ๑ นิว้ เสน้ ผา่ ศนู ยก์ ลาง ๑ นิ้ว เทา่ นั้น ... ข้าพเจ้า
มีความปรารถนาในขณะนเ้ี พียงกระบอกเดียว ในโอกาสทีส่ ั่งปนื อย่าง
ใหม่เพื่อเอามาเปน็ ตวั อยา่ ง...
พระราชหัตถเลขาฉบับต่อๆ มา ทรงสั่งแก๊ปของปืนใหญ่แบบนิดแดมจ�ำนวน
๔,๐๐๐ อนั (๔,๐๐๐ caps of Needham’s cannon) รายละเอยี ดของปนื ใหญอ่ ามสตรอง
(cannon called Armstrong) เพ่ือทรงศกึ ษารายละเอียดความถกู ต้องของปืนกอ่ นที่จะ
ทรงสงั่ ซอ้ื และทรงสอบถามขอ้ มลู เกยี่ วกบั ปนื ใหญบ่ รรจขุ า้ งทา้ ยแบบอามสตรอง ที่ Rajah
Sir James Brook ประกาศจะขายว่ามรี าคาทุนและราคาที่จะขายเทา่ ใดด้วย
นอกจากทรงหาความรเู้ รอื่ งปนื แบบตา่ งๆ ดว้ ยพระองคเ์ องแลว้ ยงั ทรงไดร้ บั ปนื
ของมงคลราชบรรณาการ เช่น ปืนทองใหญ่ เครอ่ื งใชพ้ ร้อมหบี ปืนหนั ซ่นั (ปืนรีวอลเวอร์
บรรจกุ ระสุนได้ ๕ นดั ) จากพระเจ้านโปเลียนท่ี ๓ แหง่ ฝรงั่ เศส เมอ่ื พ.ศ. ๒๓๙๙ และเจ้า

142

หมนื่ ไวยวรนารถ อุปทตู ทไ่ี ปเจริญทางพระราชไมตรี ณ กรุงลอนดอน เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๐๐
กไ็ ด้เสาะหาซือ้ ปืน อามสตรอง ปนื ใหญบ่ รรจุข้างทา้ ยมาถวายด้วย
การสั่งปืนเข้ามาใช้ในราชการนี้ มีหลักฐานเป็นทางการในพระราชพงศาวดาร
กรุงรตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๔ โปรดให้เปน็ หน้าทข่ี องเจ้าพระยาศรีสรุ ยิ วงศ์ ดังนี้

...จงึ โปรดฯ ใหพ้ ณหวั เจา้ ทา่ นเจา้ พระยาศรสี รุ ยิ วงศส์ งั่ ปนื กระสนุ
๘ นวิ้ ๑๒ นว้ิ เขา้ มาอกี พณหวั เจา้ ทา่ นจงึ สง่ั นายทหารกมุ ปนั นวี า่ ราคา
ตกลงกนั กระสุน ๑๒ นว้ิ บอกละ กระสนุ ๘ นว้ิ ราคาบอกละ กไ็ ดป้ นื
เข้ามาเป็นอนั มาก กับปืนเฟาลิงปิด ๔ บอก มีรปู ช้างคร�ำ่ ทองค�ำราคา
บอกละ ๓ ชงั่ ๑๘ ต�ำลงึ ๒ บาท ปนื อามสตรอง กระสนุ หนกั ๔๐ ปอนด์
๒ บอก คดิ ท้ังเครอ่ื งส�ำหรับปืนแลสง่ ถงึ กรงุ บอกละ ๖๑ ช่งั ๑๕ ต�ำลงึ
๑ สลงึ ปนื อามสตรองกระสนุ หนกั ๔๐ ปอนด์ ๒ บอก คิดท้ังเครอ่ื ง
ส�ำหรบั ปนื แลคา่ สง่ ถงึ กรงุ บอกละ ๔๗ ชงั่ สลงึ ปนื ทองเหลอื ง ๖๐ บอก
บอกละ ๒ ชง่ั ๑๔ ต�ำลึง ๓ บาท สลงึ เฟ้ือง ปืนหลังช้าง ๔๐ บอก
บอกละ ๖ ต�ำลึงบาท แลปืนคาบศิลา ปืนไรเฟล ฉนวนทองแดง
เขา้ มารักษาพระนครอกี เป็นอันมาก...
อน่ึง การติดต่อกับชาติตะวันตกซึ่งส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในรัชกาลน้ี
หลายประเทศได้มธี รรมเนยี มการยิงสลตุ เปน็ เกียรติยศ พระองค์ทรงหว่ งใยเกรงวา่ ราษฎร
จะไมเ่ ขา้ ใจ จึงโปรดใหป้ ระกาศใหท้ ราบทว่ั กัน รวมท้งั ประกาศไม่ใหค้ นตน่ื ข่าวเรอ่ื งเรือรบ
ไปมาและการประพฤตติ ่อฝรงั่ เศส อังกฤษ และอเมริกันท่มี าอยูใ่ นเมอื งไทย ฯลฯ เปน็ ตน้
ความส�ำเรจ็ ในการจดั การปอ้ งกนั รกั ษาบา้ นเมอื งในสมยั รชั กาลท่ี ๔ ทง้ั ทางการทตู
การเตรียมความพร้อมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ลุล่วงด้วยดีน้ัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมี
พระราชวงศานวุ งศเ์ ปน็ ก�ำลงั โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ คอื พระบาทสมเดจ็ พระปน่ิ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั
สมเด็จพระอนุชาธิราช ซึ่งทรงรับราชการมาแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงบัญชาการ
กรมทหารแม่นปืนหน้า แม่นปืนหลัง กองญวนอาสารบ และแขกอาสาจาม ทรงเป็น
แม่ทัพไปราชการศึกด้านหัวเมืองชายทะเล เม่ือถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวจึงทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ทรงบัญชาการและพัฒนาการทหาร
ใหม้ มี าตรฐานเทียบเทา่ สากล ซง่ึ ได้ทรงเอาพระทัยใส่ตอ่ เรอื รบ หล่อปนื ใหญ่ ทรงพระราช
นพิ นธ์แปลต�ำราปืนใหญใ่ ชเ้ ป็นค่มู อื การฝึกทหารร่วมกับครูฝกึ ชาวตะวนั ตก ในตอนปลาย
พระชนมช์ พี โปรดการเสดจ็ ประพาสหวั เมอื ง โดยเฉพาะทบ่ี า้ นสที า สระบรุ ี พระบาทสมเดจ็
พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดม้ พี ระราชหตั ถเลขาถงึ กรมหมน่ื บวรวไิ ชยชาญ พระโอรสซง่ึ ตาม
เสดจ็ พระบาทสมเดจ็ พระปน่ิ เกล้าเจ้าอยู่หวั ไปประทบั ท่พี ระราชวังสที า มคี วามทรงเตอื น
ใหร้ ะวังรักษาศัสตราวุธทท่ี รงสะสมไวท้ ี่วังหนา้ ว่า

143

...อน่ึง ท่ีจะเสด็จไปรักษาพระองค์อยู่ท่ีเขาคอกท่ีบ้านสีทาน้ัน
มีปืนอยู่กี่กระบอก มีหอกอยู่ก่ีเล่ม มีเงินอยู่ก่ีเฟื้องกี่สลึงเล่า ปืนใหญ่
ปืนน้อยสาตราวุธเงินทองกองแก้วท่ีวังทิ้งไว้ท�ำไม เมื่อจะเกิดเหตุ
เภทภัยดังเช่นตื่นกันแล้ว มิเป็นอันตรายเสียหมดฤา จะเอาอะไรเป็น
ทนุ รักษาแผน่ ดินต่อไป...
นับได้ว่าในสมัยรัชกาลท่ี ๔ นั้นพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ คือพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย
เจา้ นาย ขนุ นาง ราษฎร ชาวไทยทกุ ชาตทิ กุ ภาษาทเี่ ขา้ มาอยใู่ ตร้ ม่ พระบรมโพธสิ มภารตา่ ง
ก็ได้ช่วยกันรักษาแผ่นดินไว้โดยไม่พลาดพลั้งเสียทีแก่ชาติมหาอ�ำนาจใด ส่งผ่านต่อมายัง
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีสมรภูมิจริงในเหตุการณ์กระทบ
อธิปไตยของสยามประเทศ น�ำไปสูก่ ารปฏิรูปโครงสรา้ งระบบการบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ
กอ่ เกดิ ความเปน็ รฐั ชาตอิ ยา่ งสมบรู ณ์ รวมทงั้ ไดม้ กี ารปฏริ ปู ยทุ ธศาสตร์ ยทุ ธวธิ กี ารปอ้ งกนั
บา้ นเมอื งครงั้ ส�ำคญั ด้วย

144

๑๗๓ ๑๗๔

๑๗๕

๑๗๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ทรงน�ำสยามประเทศสู่ยคุ สมยั ก้าวหนา้ ทางศิลปวิทยาการ
๑๗๔ พระบาทสมเดจ็ พระปิ่นเกลา้ เจา้ อย่หู ัว พระเจา้ อยู่หัวพระองคท์ สี่ อง
ทรงร่วมน�ำสยามประเทศสู่ยุคสมยั ก้าวหน้าทางศลิ ปวทิ ยาการ
๑๗๕ คณะราชทูตฝร่ังเศสเข้าเฝ้าฯ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอนนั ตสมาคม

145

๑๗๖

๑๗๘

๑๗๗

๑๗๖ - ๑๗๘ คณะทตู ไทยอัญเชญิ พระสาสน์ และเครื่องมงคลราชบรรณาการไป ณ ราชส�ำนักองั กฤษ
เม่อื พ.ศ. ๒๔๐๐

146


Click to View FlipBook Version