The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรแนวทางการเป็นพี่เลี้ยง Vision Zero

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chalikor Pasertadisor, 2022-04-06 02:58:56

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรแนวทางการเป็นพี่เลี้ยง Vision Zero

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรแนวทางการเป็นพี่เลี้ยง Vision Zero

อธิบาย (ต่อ)
เพื่อสนับสนุนว่าความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานสำคัญเสมอ ผู้บริหารจัดทำข้อกำหนดให้

พนักงานรายงานอันตราย หรือสภาพการที่ไม่ปลอดภัย และหยุดกิจกรรมนั้น ๆ จนกว่าจะมีการแก้ไข
ปรับปรุง แมว้ ่าอาจทำให้งานล่าชา้ กต็ าม เช่น

• สั่งให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานโดยไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนด
ในขณะทำงานอนั ตราย หยุดทำงานจนกว่าจะปฏบิ ัติถกู ตอ้ ง

• อุปกรณ์เครื่องมือในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย ชำรุด สึกหรอ หรือไม่ได้
คณุ ภาพ หรอื การใชผ้ ดิ ประเภท ผิดวิธี

• ผู้ปฏิบัติงานฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยในการทำงาน กฎระเบียบการทำงาน หรือไม่ปฏิบัติตาม
วธิ ีการทำงานที่ถกู ต้อง

• สุขภาพร่างกายของผูป้ ฏิบัติงานไมป่ กติ หรือมคี วามเจบ็ ป่วย
• ผู้ปฏิบัติงานหยอกล้อเล่นกันขณะทำงาน หรือทำงานลัดขั้นตอน พนักงานไม่ปฏิบัติตามกฎการ

ทำงาน
• สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย และอื่น ๆ เป็นต้น และมีการดำเนินการ

ตามทีก่ ำหนดจรงิ ๆ
เปดิ สไลดท์ ่ี 14

อธิบาย สิ่งหนึ่งที่จะทำให้พนักงานเห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารในด้านความปลอดภัย
และสุขภาพอนามัย คือ การให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของพนักงานใน
สถานประกอบกิจการ

โดยอาจกำหนด หรือบรรจุเป็นวาระแรกของการประชุมหรือปรึกษาหารือ การแจ้งหรือ
ชี้แจงข้อมูลข่าวสารกฎระเบียบ ข้อบังคับเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้เกี่ยวข้องก่อนการปฏิบัติงาน
หรือเยี่ยมชมสถานประกอบกิจการ การทบทวนความรู้ความเข้าใจหรือสรุปประเด็นความปลอดภัย ฯ
กอ่ นเร่มิ งาน เป็นต้น

147

เปดิ สไลดท์ ่ี 15

อธบิ าย ผู้คนมกั เลยี นแบบพฤตกิ รรมกันโดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ผู้ทเ่ี ป็นหัวหน้าทั้งเรื่องดีและไม่ดี ดังนน้ั การที่
ผู้บรหิ ารหรอื หวั หน้างานประพฤตปิ ฏิบตั ิดใี นเรอื่ งความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามัย กจ็ ะเป็นต้นแบบท่ีดี
ให้กับพนักงาน บูรณาการความปลอดภัยให้เป็นส่วนหนึง่ ของกิจวตั รการทำงาน เช่น สวมรองเท้านิรภัย
และหมวกแข็งเมื่อเข้าไปในพื้นที่ก่อสร้าง ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทุกครั้งทุกเวลา
ไมเ่ พกิ เฉยต่อความไม่ปลอดภยั ที่พบขณะเดนิ ตรวจตรา ตรวจสอบสถานทท่ี ำงาน มีคำสงั่ หยุดการทำงาน
เพอ่ื ใหม้ กี ารแก้ไขเมื่อพบผูก้ ระทำการไม่ปลอดภัยหรือก่อให้เส่ียงต่อการเกดิ อนั ตราย เปน็ ตน้
เปิดสไลด์ที่ 16

อธิบาย ผู้นำหรือผู้บริหารควรรู้เท่าทันเหตุการณ์รอบด้านที่เป็นปัจจุบัน นอกจากเรื่องที่เกี่ยวข้อง
กับการดำเนินธรุ กิจ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือสถานประกอบกิจการ
แลว้ เรอ่ื งความปลอดภยั ตา่ ง ๆ รวมถึงกฎหมายทเี่ กีย่ วขอ้ งก็มคี วามสำคญั ไมน่ อ้ ยกว่ากนั

การท่ผี ู้บริหารหรอื ผนู้ ำของหน่วยงานไดเ้ ขา้ รับการอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยที่
เกย่ี วขอ้ งทกุ ครง้ั ทมี่ โี อกาส ในรปู แบบต่าง ๆ ได้แก่ การสัมมนา การเรยี นบนระบบออนไลน์ การอบรมใน
ชัน้ เรยี น เป็นต้น

148

ตัวอยา่ งเชน่
• การอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมาย เช่น การอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าท่ี
ความปลอดภัยในการทำงานระดบั บริหาร หลักสตู รการป้องกันและระงับอัคคีภยั ฯลฯ
• การอบรมหลักสูตรอ่ืน ๆ เก่ยี วกับการบรหิ ารจัดการความปลอดภัย สุขอนามยั และสิ่งแวดล้อมใน
การทำงาน
• การอบรมมาตรฐานแรงงานไทย ระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
กฎหมายข้อบงั คบั ทเ่ี กี่ยวขอ้ ง กฎเกณฑ์หรือจรรยาบรรณทางธุรกจิ เปน็ ตน้
เพอื่ ให้ผูน้ ำหรือผบู้ ริหารทราบขา่ วสารและนำไปวางแผนจัดการได้

อธบิ าย รายละเอยี ดแนวทาง ข้อ 1.1.1 ถึง 1.1.6 ขอ้ ย่อย เปน็ เรอื่ งการวางมาตรฐาน และขน้ั ตอน
การปฏิบตั ิงานด้านความปลอดภยั และการเปน็ แบบอย่างท่ีดี
เปิดสไลด์ที่ 17

อธิบาย ขอ้ ที่ 1.2 ของกฎทองขอ้ 1 มี 5 ขอ้ ยอ่ ย
ผู้ปฏิบัติงานทุกคนรับทราบว่าความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยเป็นเรื่องสำคัญของสถาน

ประกอบกิจการ พนักงานทุคนสามารถพดู คยุ กันในเรื่องความปลอดภัยและอาชวี อนามัยได้อยา่ งเปิดเผย

149

เปดิ สไลด์ที่ 18

อธิบาย การที่สถานประกอบกิจการหรือหน่วยงานมีข้อกฎระเบียบหรือข้อบังคับด้านความปลอดภัย
และสุขภาพอนามัยที่ชัดเจน (อาจเรียกชื่อเป็น ระเบียบปฏิบัติมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
(SOP) คู่มือปฏิบัติการทำงาน (PI หรือ WI) คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน ข้อบังคับการทำงาน
และวิธีปฏิบัติงาน) ซึ่งแล้วแต่แต่ละหน่วยงาน ได้รับการพัฒนามาจากพื้นฐานของกระบวนการทำงานท่ี
ถูกต้องปลอดภัยตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติทุกคนปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกันได้อย่างปลอดภยั
องค์กรควรได้สื่อสารหรืออบรม กฎระเบียบ ระเบียบปฏิบัติมาตรฐาน คู่มือปฏิบัติงาน ข้อบังคับการ
ทำงาน หรอื วิธกี ารทำงาน เหลา่ นี้ โดยชอ่ งทางการอบรม การสอนงาน การส่ือสาร การติดบอร์ด การติด
ท่บี ริเวณทำงาน และอ่นื ๆ ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านรบั ทราบ และนำไปปฏบิ ตั เิ พ่ือใหเ้ กดิ ประสทิ ธิผลสูงสดุ
เปิดสไลด์ที่ 19

อธบิ าย เพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนรับทราบกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านความปลอดภัยใน
การทำงานอาจทำไดโ้ ดยการบันทึกการอบรม การลงลายมอื ชอื่ ของผู้ปฏบิ ตั งิ านเพอื่ การรับทราบ
สถานประกอบกิจการควรจัดทำระบบจัดการหรอื บนั ทึกสิง่ ที่ดำเนินการ เพอื่ ชว่ ยตรวจสอบภายในองค์กร
หรอื หนว่ ยงาน ตัวอย่างเชน่

• บันทึกหลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
สำหรับพนักงานใหม่ หรือพนักงานทเี่ ปลยี่ นงาน

• บนั ทกึ การอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงานเร่ืองอ่นื ๆ
• บนั ทกึ ท่ผี ู้ปฏบิ ตั ิงานลงลายมือชอื่ รับทราบค1ำ5ช0ีแ้ จง หรือคำสัง่
• บันทกึ การลงลายมือช่ือของผปู้ ฏบิ ตั ิงานเมอ่ื มีการสอนงาน (On the Job Training) เปน็ ต้น

เปิดสไลด์ที่ 20

อธบิ าย การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบ
กิจการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน นอกจากเป็นการสร้าง
สัมพันธภาพที่ดีต่อกันแล้ว ทำให้ผู้บริหารทราบความคิดเห็นหรือมุมมองที่แตกต่างของผู้ปฏิบัติงานซ่ึง
หลายๆ เรอื่ งอาจเปน็ ประโยชนใ์ นการนำไปพัฒนาหรือปรบั ปรุงองค์กร
การพบปะพดู คยุ กับผ้ปู ฏิบตั ิงานทำได้ท้งั แบบที่เปน็ ทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เช่น

• การพูดคุยเรอ่ื งความปลอดภยั ฯ ในการทบทวนประจำวนั กอ่ นเรม่ิ งาน
(Daily Brief, Toolbox Talks)

• การสือ่ สารกิจกรรม หรอื ขอ้ มูลจากการประชมุ ของคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ
• การสื่อสาร แลกเปลี่ยน แบ่งปัน ข้อมูล หรือประสบการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย ฯ ที่เกี่ยวข้อง

กับผ้ปู ฏบิ ตั งิ าน (Learn & Share)
• การแจ้งขอ้ มลู ข่าวสาร และการรับฟังความคิดเห็นทเ่ี กี่ยวข้องกับความปลอดภัย ฯ ภายในองค์กร

หรือหน่วยงานกับผปู้ ฏบิ ตั ิงาน หรอื การพบปะพดู คุยกับผูป้ ฏบิ ัติงาน เป็นต้น
เปิดสไลด์ท่ี 21

อธิบาย สถานประกอบกิจการควรมีการกำหนดให้หน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับความ
ปลอดภัย และสุขภาพอนามยั ขององค์กรเป็นของพนักงานทุกคนทกุ ระดับ ท้ังนี้ขน้ึ กับความเกี่ยวข้องกับ
ปฏิบัตกิ าร เช่น ผู้บรหิ าร พนักงานปฏบิ ตั ิการ วศิ วกร ชา่ งเทคนคิ คณะกรรมการความปลอดภยั ฯ เปน็ ตน้
และจดั ใหม้ ีการส่อื สารการมอบหมายงานแต่ละกจิ 1ก5ร1รมงานรวมถึงหน้าทแ่ี ละความรบั ผิดชอบในงานน้ัน
ๆ ใหพ้ นักงานทุกคนทุกระดับในองคก์ รทราบ

เปิดสไลด์ท่ี 22

อธิบาย การที่ผู้บริหารจะทราบว่าตนเองได้ทำหน้าที่และเป็นแบบอย่างที่ดีเรื่องความปลอดภัย
และอาชวี อนามยั เพยี งพอเหมาะสม หรอื ไม่น้ัน นอกจากการสอบถามจากเพอ่ื นรว่ มงานแล้ว แหล่งขอ้ มูล
ป้อนกลับทีส่ ำคญั คอื ความคดิ เหน็ จากพนักงานผู้ปฏบิ ัติงาน ผา่ นชอ่ งทางต่าง ๆ ไดแ้ ก่

• การสอบถามความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานโดยตรง (Direct interview) กรณีนี้ถ้าผู้บริหารไม่เปดิ
ใจกวา้ ง อาจไมไ่ ดข้ อ้ เท็จจริง

• การเปดิ ใหแ้ สดงความคดิ เห็นอยา่ งกว้างขวาง (Open discussion)
• การให้ผู้ปฏิบัติงานทำแบบสำรวจความคิดเหน็ (Survey)
• การสงั เกตพฤตกิ รรมความปลอดภยั ฯ ของผู้ปฏิบตั งิ านท่ีสะทอ้ นการลอกเลยี นแบบ
• การประชุมกลุ่มยอ่ ยกบั พนักงาน (Skip Level meeting)
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ผู้ปฏิบัติรับทราบและมีการพูดคุยกันภายใน
องค์กรอย่างเปดิ เผย
เปิดสไลดท์ ี่ 23

อธบิ าย ข้อท่ี 1.3 ของกฎทองข้อ 1
การที่ผู้บริหารปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ และแสดงให้ทุกคนได้เหน็ ว่าความปลอดภยั และสุขภาพอนามัย
ในการทำงาน เปน็ เรอื่ งทม่ี คี วามสำคัญ

152

เปิดสไลดท์ ี่ 24

อธิบาย องค์กรหรือสถานประกอบกิจการบางแห่งกำหนดเป็นนโยบายหรือมีมาตรฝึกอบรม
หลักสูตรต่าง ๆ (training matrix) ซึ่งกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับ
พนักงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่องรวมถึงด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยด้วย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใน
ระดับหัวหน้างาน และระดับบรหิ ารไม่วา่ จะเล่ือนตำแหน่งสงู ขึ้น หรือไมก่ ต็ าม
ตัวอยา่ งหลกั สตู รอบรม ได้แก่

• ความรู้เบอ้ื งตน้ เกย่ี วกบั การบริหารจดั การความปลอดภัย และอาชวี อนามัย
• เจ้าหนา้ ทคี่ วามปลอดภัยในการทำงานระดับหวั หนา้ งาน หรือระดับบรหิ าร
• ขอ้ กำหนดในการบริหารจดั การความปลอดภยั และอาชีวอนามัยขององค์กร และระบบมาตรฐาน

การจดั การอาชีวอนามยั และความปลอดภัย เปน็ ตน้
ท้งั นเี้ พ่ือเป็นการเตรียมความพรอ้ มสำหรับพนักงานแต่ละระดบั เมื่อมกี ารรบั ตำแหน่งที่สูงขึน้
เปดิ สไลด์ที่ 25

อธิบาย พนักงานทุกระดับรวมถึงผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงานในสถานประกอบกิจการต้องทราบว่า
ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงานเป็นลำดับต้น ๆ สถาน
ประกอบกิจการควรมีการจัดทำนโยบาย กฎระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน
ผู้บริหารทุกคนรวมถึงพนักงานทุกระดับต้องทราบและตระหนักถึงความปลอดภัย ฯ และปฏิบัติตาม
นโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานเท่าเทียมกันโดยไม่มี
ข้อยกเว้น ตัวผู้บริหารเองต้องไม่กระทำการใดที่ยินยอมให้ผู้ใดผู้หนึ่งละเมิดกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือ
มาตรฐานด้านความปลอดภยั หรือมีการเลอื กปฏิบ1ัต5ิไ3มว่ า่ จะเปน็ พนักงานระดบั ใดก็ตามผบู้ รหิ ารสามารถ
สังเกตได้จากพฤติกรรมพนักงานในองค์กร และไม่มีการกล่าวหาหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่เท่า
เทยี มกนั

เปิดสไลด์ท่ี 26

อธบิ าย นายจ้างหรือผู้บริหาร ก็ต้องปฏิบัติตามกฎกติกาเหล่านั้นอย่างเคร่งครัดด้วยเช่นกัน และ
มั่นใจว่าพนักงานทุกคนได้รบั ทราบกฎระเบียบต่าง ๆ นั้นและถือปฏิบตั ิ การฝ่าฝืนกฎระเบียบตอ้ งได้รับ
การจัดการแก้ไขโดยทันที ผู้ที่ชี้ให้เห็นสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยจะได้รับการชมเชยว่าเป็นการ
กระทำทดี่ ดี ว้ ยเชน่ กนั และการท่นี ายจา้ ง หรอื ผบู้ ริหารเรยี กร้องให้พนักงานปฏิบตั ิการใด ๆ ให้เกิดความ
ปลอดภัยเป็นสิ่งที่ดี เป็นการสร้างบรรทัดฐานให้แก่คนอื่น ๆ ด้วย พนักงานที่ประพฤติปลอดภัย ควร
ได้รับการชมเชย มีการให้รางวัลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เช่นการติดประกาศ การ
ประกาศเกียรติคุณในการประชุมพนักงาน ฯลฯ และกำหนดบทลงโทษผูท้ ี่เพิกเฉยละเลยต่อกฎระเบียบ
ข้อบังคับความปลอดภัยในการทำงาน และเมื่อพบเจอพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยหรือฝ่าฝืนต้องหยุด
พฤตกิ รรมนั้น และบอกกลา่ วตักเตือนทันที
เปิดสไลดท์ ี่ 27

อธบิ าย การให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและอาชวี อนามัยน้ันเปน็ ไม่เพียงแต่เฉพาะพนักงาน
ของสถานประกอบกจิ การเท่าน้ัน แตค่ วรครอบคลุมถึงผ้ทู เ่ี ขา้ มาทำกจิ กรรมต่าง ๆ ภายในสถานประกอบ
กิจการด้วย เช่น ผู้รับเหมา ผู้มาเยี่ยมเยือน คู่ค้า ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้า เป็นต้น เพราะบุคคลเหล่านี้
เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่นเดียวกับพนักงานซึ่งอาจเป็นทั้งผู้รับ และก่อผลกระทบให้กับสถานประกอบ
กจิ การทัง้ ดา้ นบวกและดา้ นลบได้

ดงั นน้ั ในการกำหนดนโยบายดา้ นความปลอดภยั และอาชวี อนามยั ควรคำนึงถึงบุคคลกลุ่ม
น้ดี ้วย การให้ความสำคญั ไม่ใชแ่ คม่ นี โยบายอย่างเดยี ว แต่มกี ารนำไปสูก่ ารปฏบิ ตั ดิ ว้ ย เชน่ มีกฎระเบียบ
ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ฯ มีการสื่อสาร ปฐ1ม54นิเทศ ชี้แจง ให้ความรู้ มีการกำกับดูแลกิจกรรมที่
เกยี่ วข้อง ฯลฯ

เปิดสไลด์ที่ 28

อธิบาย ขอ้ ที่ 1.4 ของกฎทองขอ้ 1
การลงทุนและสนับสนุนทรัพยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของพนักงานใน

สถานประกอบกิจการ เป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของผู้นำหรอื ผู้บริหารองค์กร ที่แสดงออกถึงความมุง่ ม่ัน
ในการทีจ่ ะดำเนนิ การใหส้ ถานทท่ี ำงานมคี วามปลอดภยั และพนกั งานมีสขุ ภาวะทดี่ ี
เปดิ สไลด์ท่ี 29

อธิบาย
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการเร่งให้พนักงานผลิตงานปริมาณมาก ๆ ในเวลาอันจำกัด นอกจาก

องค์กรอาจจะไม่ได้ผลผลิตตามปริมาณที่ตั้งไว้แล้วนั้น ผลผลิตอาจไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการอีก
ด้วย การบรหิ ารจดั การการผลิตทีด่ ี ท่ใี หพ้ นกั งานมีเวลาเพียงพอและเหมาะสมในการทำงาน จะเป็นการ
เพ่ิมประสิทธิผล และความปลอดภัยในการทำงาน
การดำเนินการในเรอื่ งน้ี องคก์ รทำไดโ้ ดย

• จดั ลกั ษณะงาน ชว่ั โมงการทำงาน และเวลาพกั ระหวา่ งการทำงานอย่างเหมาะสมกับผู้ปฏบิ ัตงิ าน
• คำนวณจำนวนชิ้นงานต่อบุคคลที่สมเหตุสมผล ไม่มากเกินไปจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องเร่งรีบทำ

ผลงาน
• ออกแบบวิธีการทำงานและขัน้ ตอนการทำงานท่ีเหมาะสม สอดคลอ้ งกับผลการประเมนิ ความเสี่ยง
• จดั การไหลของงาน (work flow) ทดี่ ี ทำให้ผ1ู้ป5ฏ5บิ ัติงานมีความคล่องตวั และจดั พื้นทใ่ี นการทำงาน
ให้เคลื่อนไหวได้คล่อง และสอดคล้องกับการไหลของงาน รวมถึงการจัดเวลาพักที่เหมาะสมสำหรับ
ผปู้ ฏิบตั ิงานด้วย

เปิดสไลด์ท่ี 30

อธิบาย
ผู้ปฏิบัติงานควรได้ทราบสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

นายจ้างต้องแจ้งให้พนักงานทราบถึงความเสีย่ งและอันตรายของงานก่อนที่จะเข้าทำงาน และพนักงาน
สามารถหยดุ งานหรอื ปฏิเสธการทำงานไดห้ ากงานน้ันเปน็ อนั ตราย

สถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงาน ประกาศสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
และสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบและปฏิบัติตาม ผู้บริหารสามารถ
ตรวจสอบได้จากบันทึกการรับทราบสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างขององค์กร หรือหน่วยงาน
การพดู คุย หรอื สอบถามผู้ปฏิบตั งิ าน

กรณีที่ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมอบหมายงานที่อาจเสี่ยงต่ออันตราย ต้องแจ้งอันตรายให้
พนักงานทราบ พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขปรับปรุง และมีมาตรการความปลอดภัยก่อนให้ลงมือ
ปฏิบตั ิงาน

156

เปดิ สไลดท์ ่ี 31

อธิบาย
การตรวจสอบเฝา้ ระวงั เป็นการที่ผ้บู ริหารจะทำให้แนใ่ จว่าผู้ปฏบิ ัติงานของตนได้ปฏิบัติงานตาม

ขั้นตอนที่ปลอดภัย มีการจัดทำแผนตรวจสอบความปลอดภัยและตรวจประเมินความปลอดภัย และได้
ดำเนนิ การตามแผนงาน ดังน้ี

• ผู้บริหารสูงสุด และหัวหน้าหน่วยงานส่วนต่าง ๆ ร่วมกันเดินตรวจตราความปลอดภัยในพื้นท่ี
ทำงานเปน็ ประจำ และดำเนินการแกไ้ ขปรบั ปรุง หรอื กำหนดมาตรการความปลอดภยั รว่ มกัน

• มีการตรวจประเมนิ ตามข้อกำหนดความปลอดภยั ฯ รว่ มกนั ระหว่างผ้บู ริหารสูงสุด และหัวหน้า
หนว่ ยงานในพ้ืนที่ของหัวหนา้ หน่วยงานคนอ่ืน (ขา้ มสายงาน) และดำเนินการปรบั ปรงุ ร่วมกัน

• มกี ารตรวจตราสภาพการทำงาน และการทำงานของผู้ปฏบิ ัตงิ าน รว่ มกันระหวา่ งผ้บู ริหารสูงสุด
และผบู้ ริหารหน่วยงานทุกหน่วยงาน

• การสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงาน และแก้ไขปรบั ปรุงร่วมกันหากพบปัญหา

157

เปดิ สไลด์ที่ 32

อธบิ าย
ในการบริหารจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจาก

ผู้บริหารสถานประกอบกิจการ การสนับสนุนหมายรวมถึงทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ
และงบประมาณ ทไ่ี ดร้ บั การจัดสรรเพียงพอในการปฏบิ ัติการหรือดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัย ฯ
ไดแ้ ก่ การจดั ต้งั คณะกรรมการความปลอดภยั และอาชีวอนามัยในการทำงาน พรอ้ มกบั มอบหมายหน้าที่
ความรับผิดชอบ การออกระเบียบปฏิบัติงาน หรือขั้นตอน หรือวิธีการทำงานที่ปลอดภัย เช่น การติด
ปา้ ย และปดิ ลอ็ คอปุ กรณ์เพ่ือตัดพลังงานอันตราย ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี การขบั รถยก
เปน็ ตน้
การจดั หาอุปกรณ์ เครอื่ งมอื เคร่ืองจักรทีถ่ กู ประเภท และปลอดภัยตอ่ การใชง้ าน การจดั งบประมาณใน
การฝกึ อบรม การจดั กิจกรรมเพ่อื ส่งเสริมความปลอดภยั ฯ เทคโนโลยสี ารสนเทศ และอนื่ ๆ
เปดิ สไลด์ท่ี 33

อธบิ าย
ทั้งหมดนั้นเป็นรายละเอียด ของกฎทองข้อที่ 1 และคำอธิบายการปฏิบัติต่าง ๆ การมีสถานท่ี

ทำงานท่ปี ลอดภัย และมสี ุขอนามัยที่ดีนนั้ เปน็ สงิ่ ทเี่ ปน็ ไปได้
เรามีแบบประเมินตนเองตามกฎทอง 7 ประการ สำหรับนายจ้าง และผู้บริหารในการปฏิบัติใน

เรื่องความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการ ในขั้นนี้ อยากให้ท่านลองทำแบบ
ประเมนิ ตนเอง ในการปฏบิ ัติตามกฎทองขอ้ ที่ 1 ของกฎทอง 7 ประการ กนั

158

เปิดสไลด์ที่ 34 วิธีการใช้แบบประเมินกฎทอง และอธิบายการใช้ ให้แต่ละท่านใช้แบบประเมิน
ประเมนิ การปฏิบัติจรงิ ของท่านแล้วให้คะแนนตามสี

อธิบาย
ในการใช้แบบประเมนิ กฎทอง ให้กรอกขอ้ มูลของผู้ประเมินในสว่ นบน

ทำแบบประเมินแต่ละข้อโดยพิจารณาสภาพการปฏิบัติ และเลือกสีให้สอดคล้องกับสิ่งที่ปฏิบัติจริงใน
ปัจจบุ นั
สเี ขยี ว หมายถงึ ท่านไดป้ ฏิบตั โิ ดยสมบรู ณ์เต็มที่
สีเหลอื ง หมายถงึ ทา่ นยังมีชอ่ งทางทสี่ ามารถทำใหด้ ีขึ้นไดอ้ กี ปรับปรงุ ได้อกี
สแี ดง หมายถึง ท่านตอ้ งมกี ารดำเนินการเพือ่ แก้ไขและปรับปรงุ
สดี ำ หมายถึง ทา่ นไม่เก่ยี วข้องกับปฏบิ ัตกิ ารหรอื กิจกรรมนน้ั ๆ
อธิบาย

แบบประเมินตนเองตามกฎทอง 7 ประการ ไม่มีถูกหรือผดิ การทผี่ ลลพั ธม์ ีสีเขยี ว สเี หลอื ง หรือ
สีแดง ไม่ได้หมายความว่าสิง่ ทสี่ ถานประกอบกิจการของท่านปฏิบตั ิอยู่ในปัจจุบันมีความบกพร่องหรือไม่
ดี และไม่ได้เป็นการเปรียบเทียบว่าสถานประกอบกิจการหนึ่งดีกว่าอีกสถานประกอบกิจการหนึ่ง แบบ
ประเมินนี้เป็นเครื่องมือช่วยให้ดำเนินกิจกรรมบางอย่างในเชิงป้องกัน เพื่อควบคุมอุบัติการณ์ หรือลด
ความสญู เสีย

159

เปิดสไลด์ท่ี 35 และ สไลดท์ ี่ 36

อธบิ าย
กฎทองข้อที่ 1 มี 4 ข้อใหญ่ อ่าน และประเมินแต่ละข้อโดยใส่คะแนน 1 ในช่องสีตามที่ปฏิบัติ

ปัจจุบัน เมื่อทำครบทั้ง 4 ข้อใหญ่แล้ว รวมคะแนนทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 1.1 ถึง 1.4 ดูว่าแต่ละช่องสีได้
คะแนนเทา่ ไร ใชเ้ วลา 5 นาที เสรจ็ แลว้ คา้ งไว้ พดู กฎทองข้อท่ี 2 ตอ่ แลว้ ดูกฎทองขอ้ ต่อไป
เปิดสไลดท์ ี่ 37

อธบิ าย กฎทองขอ้ ที่ 2 Identify hazards - control risks
ช้ีบง่ อันตราย - ควบคมุ ความเส่ียง

160

เปิดสไลดท์ ี่ 38

อธิบาย
การประเมินความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถชี้บ่งอันตราย และความเสี่ยงต่าง ๆ เพ่ือ

ควบคมุ กอ่ นการเกิดอุบตั ิการณ์และก่อนทสี่ ูญเสียในการผลิต นอกจากนี้ยงั ช่วยในการประเมนิ ความเสี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนด และจัดทำเอกสารเกี่ยวกับมาตรการป้องกันได้ จึง
เป็นเหตผุ ลวา่ เครอ่ื งมือประเมนิ ความเส่ียงน้ถี ูกนำไปใช้กว้างขวางท่ัวโลกในปัจจุบนั
เปดิ สไลดท์ ่ี 39

อธิบาย แจก worksheet กฎข้อท่ี 2
ให้ผู้เรียนเขยี นเปา้ หมายในเร่ืองการประเมินความเสี่ยง วธิ ีดำเนินการ ผู้มสี ว่ นรว่ ม และกำหนดเสร็จ
ลงใน worksheet ท่ีแจกให้ ใชเ้ วลาประมาณ 10 นาที
สุ่มเลือกผู้เรียน 2-3 คน ให้บอกเล่าสิ่งที่เขียนลงใน worksheet มาไล่เรียงแนวทางของ Vision Zero
ทแ่ี นะนำผบู้ รหิ ารสำหรับกฎขอ้ ที่ 2

161

เปิดสไลด์ท่ี 40

อธบิ าย กฎขอ้ ที่ 2 มี 3 ข้อ
ข้อที่ 2.1 ของกฎทองข้อ 2 ผู้บริหารทำให้แน่ใจว่ามีการจัดเตรียมการประเมินความเสี่ยงใน

สถานที่ทำงานภายในสถานประกอบกิจการ มีการจัดทำเป็นเอกสารและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็น
ระยะ ๆ สมำ่ เสมอ
เปิดสไลด์ท่ี 41

อธิบาย
ผู้บริหารหน่วยงานที่รองลงไปของสถานประกอบกิจการควรต้องทราบว่า จะต้องจัดให้มีการ

ประเมินความเสีย่ ง และการควบคุมโดยพจิ ารณาถึงความเสี่ยง และอนั ตรายที่อาจเกดิ ข้ึนทั้งหมด
สถานประกอบกิจการหรือหนว่ ยงานควรมีระเบยี บปฏิบตั ิหรือข้ันตอนในการประเมินความเส่ียง

ซึ่งครอบคลุมทุกกิจกรรมการทำงาน และผลกระทบทั้งภายใน และภายนอกมีการดำเนินการอย่างเป็น
ระบบ มีบันทึกบัญชีความเสี่ยง และการควบคุมอันตราย มีการเฝ้าระวัง และตรวจสอบรวมถึงมีการ
ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ และทำการประเมินใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน
หรือมอี นั ตรายใหม่ ๆ เขา้ มา

162

เปิดสไลด์ที่ 42

อธบิ าย
ในกระบวนการชีบ้ ง่ อันตราย และการประเมินความเส่ยี ง การมีเจ้าหนา้ ทค่ี วามปลอดภัย แพทย์

พยาบาล และผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยอื่น ๆ เข้าร่วมในการชี้บ่งอันตราย และประเมินความ
เสี่ยงกิจกรรมงานในหน่วยงานของตนเอง หรือทำข้ามสายงานครอบคลุมทุกด้าน และร่วมกันทบทวน
รายการประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานอื่นทั้งหมดของสถานประกอบกิจการ จะทำให้มีมุมมอง
หลากหลาย สามารถครอบคลุมความเสี่ยง และลดผลกระทบได้มากขึ้น และในบัญชีการชี้บ่งอันตราย
และประเมินความเสี่ยง ควรมีการระบุข้อมูลคำชี้แนะ หรือความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ไว้
เพ่ือเปน็ ขอ้ มูลในทางเดยี วกัน
เปิดสไลด์ท่ี 43

อธิบาย
การประเมนิ ความเส่ียงควรทำอย่างเปน็ ขน้ั ตอนและเปน็ ระบบ วิธีการไม่ยุง่ ยากซบั ซอ้ น มคี วาม

ชัดเจน เข้าใจง่าย การจดั อบรมใหค้ วามรู้เร่ืองวธิ กี ารช้ีบ่งอนั ตรายและประเมินความเสี่ยงดา้ นอาชีวอนา
มัยและความปลอดภัย มีความจำเป็น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจตรงกันและดำเนินการไปในทิศทาง
เดียวกนั

ในการเตรียมการประเมินนั้น ขั้นตอนแรก ๆ คือ การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น
แผนงาน และกระบวนการทำงานรวมถึงระบบท่อและแบบของเครื่องจักร ปัจจัยป้อนเข้า ผลผลิต
ขนั้ ตอนการทำงาน คู่มอื การใชง้ านหรือปฏิบตั ิงานกบั เครอื่ งจักร สถิติอบุ ัติเหตุ/อุบัตกิ ารณ์ ข้อท่ไี ม่ปฏิบัติ
ตเมาื่อมปข้อรมะเูลมคินวาคมวปามลอเสดี่ยภงัยสสาิ่งรทเคี่ผมู้ปี ฏข้อิบมัตลู ิตก้อางรนตึรกวถจึงว1ไดัด6เ3้แฝก้าร่ หะวลังักเเปก็นณตฑน้ ์ โอกาสเกิด ความถี่ ความรุนแรง
กฎหมาย และผลกระทบต่อธรุ กจิ ขององค์กรด้วย

เปดิ สไลดท์ ี่ 44

อธบิ าย
นอกเหนือจากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโดยตรงของสถานประกอบกิจการ

เพือ่ ช้ีบ่งอันตราย และประเมินความเส่ียงดังกลา่ วมาแล้ว กจิ กรรมงานต่าง ๆ ของผู้รับเหมาไม่ว่าจะเป็น
งานบำรุงรักษา งานทำความสะอาด งานซ่อมแซม รวมกระทั่งถึง ผู้เยี่ยมเยียน บริษัทภายนอก และผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสีย ต้องนำมาพจิ ารณาในการชี้บง่ และประเมนิ ความเส่ียงด้วย

ทั้งนี้ เงื่อนไข หรือสภาวะที่ต้องชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยงนั้น ต้องครอบคลุมปัจจัย
อนื่ ๆ ด้วย ตวั อย่างเชน่ กจิ กรรมงานทั้งที่เปน็ กิจวัตรและไม่เป็นกิจวัตร พฤตกิ รรมมนุษย์ ความสามารถ
ปัจจยั มนุษย์ สภาวะปกตแิ ละสภาวะฉกุ เฉนิ กฎหมายหรอื ข้อกำหนดอน่ื ๆ

เปิดสไลด์ที่ 45

อธิบาย ในการชี้บ่งและประเมินความเสี่ยงไม่ได้ทำเพียงเฉพาะด้านความปลอดภัยเท่านั้นแต่ให้

ครอบคลุมด้านสุขภาพอนามัยทางกายและสุขภาพจิตควบคู่กันไปด้วย ข้อมูลในการชี้บ่ง และประเมิน

ความเส่ียง หรอื ผลกระทบตอ่ สขุ ภาพ ไดม้ าจาก

• แผนงานและกระบวนการทำงาน

• ปัจจัยป้อนเข้า และผลผลิต

• ขน้ั ตอนการทำงานรวมถงึ วธิ กี ารในการจดั เกบ็ เคล่ือนยา้ ย และการจดั การวัสดุ สารเคมี เป็นต้น

• ขอ้ มูลอน่ื ๆ เช่น สถิตอิ บุ ัติการณ์/อุบตั ิเหตุ ขอ้ ที่ไม่ปฏิบัตติ าม ขอ้ มูลการหยดุ งาน เป็นต้น

• คมู่ ือการใชง้ าน หรอื คมู่ อื ปฏิบัตงิ านกบั เคร่อื งจักร

• ข้อมลู ความปลอดภยั ของสารเคมี แสลาะรผเคลมกีา1แร6สต4งรวเจสวียดั งกราังรสสีัมคผวัสาสมาสรั่นเคสมะี เทือน และผลการตรวจ
• ผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม เช่น

เฝา้ ระวัง ด้านกายภาพ

เปิดสไลดท์ ่ี 46

อธิบาย
เพอ่ื ใหแ้ น่ใจวา่ อนั ตรายหรือความเส่ยี งใหม่ไดร้ ับทบทวนและเป็นปจั จุบนั สถานประกอบกิจการ

ควรกำหนดชว่ งเวลาในการทบทวนด้วย การดำเนนิ การนที้ ำไดโ้ ดยอาจระบไุ ว้ในระเบียบปฏิบตั ิ ขนั้ ตอน
หรือ คู่มือการประเมินความเสี่ยง เช่น ดำเนินการเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงครอบคลุมถึง กระบวนการทำงาน เทคโนโลยี สมรรถนะการผลิต การขยายโรงงาน
ผู้รับเหมา และผู้ให้บริการรายใหม่ การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และข้อบังคับด้านความปลอดภัยที่
เกีย่ วข้อง เปน็ ตน้
เปิดสไลด์ท่ี 47

อธิบาย
ข้อที่ 2.2 ของกฎทองข้อ 2 ผู้บริหารได้รับรายงานอุบัติเหตุจากการทำงาน เหตุการณ์เกือบเกิด

อุบัติเหตุ และอุบัติการณ์ที่ร้ายแรง บันทึกรายงานอาจในรูปแบบสถิติ และมีการประเมินเพื่อพิจารณา
โอกาสในการปรับปรงุ แก้ไขตอ่ ไป

165

เปดิ สไลดท์ ่ี 48

อธบิ าย
ในข้อนี้กล่าวถึงการที่ผู้บริหารได้รับการแจ้งทันทีทุกครั้งที่มีอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเกิด

อุบัติเหตุ และเหตุวิกฤตในองค์กร รวมถึงสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานใน
สถานประกอบกิจการ แสดงถงึ ความไว้วางใจตอ่ กนั

การมีระบบระเบียบในการแจ้ง/สื่อสาร/รายงานอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ หรือเหตุวิกฤตต่าง ๆ ท่ี
ชัดเจน ก็จะเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการมีการรายงานชัดเจน ถูกต้องเป็นไปใน
ทิศทางเดียวกนั เชน่ ผรู้ ับรายงาน ขัน้ ตอน วิธีการ และชอ่ งทางการส่ือสารรายงาน ที่สำคัญคอื ผู้บริหาร
ต้องทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกมั่นใจว่าการรายงานอุบัติการณ์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญและ
จำเปน็ ท่ีผ้บู ริหารต้องทราบ รวมถึงการตอบสนองในเชงิ สรา้ งสรรค์ของผู้บริหารดว้ ย และผู้รายงานแน่ใจ
ว่าจะไม่ถกู ตำหนิ หรอื ได้รบั การลงโทษ

เปิดสไลด์ท่ี 49

อธิบาย

อุบัติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย ขั้นปฐม

พยาบาลที่มกี ารจดบนั ทึก เหตุการณ์เกอื บเกิดอบุ ตั เิ หตุ และเหตุวกิ ฤต ควรได้รับการสอบสวนหาสาเหตุ

ทแี่ ทจ้ ริง (real root cause) และมกี ารดำเนนิ การแกไ้ ขเพื่อขจดั รากเหตขุ องปัญหา ป้องกันมใิ ห้เกิดซำ้

สถานประกอบกิจการอาจมีระเบียบปฏิบัติและวิธีการรายงานและการสอบสวนที่เป็นระบบ

มีผู้เกี่ยวข้องร่วมกันทำหน้าที่เพื่อให้ได้หลาย ๆ16ม6ุมมอง และช่วยกันกำหนดแผนงานเพื่อปรับปรุง
และตดิ ตามผลจนเสร็จสมบูรณ์

ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการสื่อสารถึงระเบียบปฏิบัติและวิธีการรายงาน รวมถึงการร่วมในการ

สอบสวนดว้ ย

เปดิ สไลดท์ ่ี 50

อธบิ าย
สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่จะมีการเก็บบันทึกรายงานผู้ใช้บริการพยาบาล หรือห้อง

พยาบาล รวมถึงการบันทึกการประสบอันตรายด้วย การเก็บข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นระบบจะชว่ ยในการ
นำจดั ทำสถิติ วเิ คราะห์แนวโนม้ และประเดน็ สำคญั เพ่ือกำหนดแนวทางในการปรบั ปรงุ

การจัดเก็บสถิติดังกล่าวอาจเก็บในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แยกตามประเภท ลักษณะการประสบ
อันตราย ความรุนแรง สาเหตุ ค่าใช้จา่ ย เปน็ ต้น
เปิดสไลด์ที่ 51

อธบิ าย

ผู้บริหารควรต้องทราบถึงสาเหตุของอุบัติเหตุในการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นมากที่สุด

3 อนั ดบั แรก รวมถึงผลเสยี หายของอบุ ัตเิ หตเุ หลา่ นัน้ ดว้ ย

การจัดการให้มีระบบการรายงานท่ีดีจะทำให้ผูบ้ รหิ ารทราบข้อมูลความปลอดภัยต่าง ๆ ของสถานประกอบ

กจิ การได้เป็นอย่างดี ซง่ึ นอกจากการรายงานทนั ทีแลว้ ระบบการจดั การสอบสวนอบุ ัติเหตุทด่ี ี จะทำให้ทราบ

สาเหตุที่แท้จริง เพอื่ นำไปส่กู ารปรับปรงุ แกไ้ ข และติดตามผล

ผู้บริหารอาจได้รับข้อมูลอุบัติเหตุหรือข้อมูลความปลอดภัยได้จากการประชุมทบทวนผลการ

ปฏิบัติงานหรือสมรรถนะ รายงานการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ รายงานการปฏิบัติงานของ

จป.ว

การรายงานของจป.หัวหน้างาน จป.ผู้บ1ร6ิห7าร และรายงานสมรรถนะด้านความปลอดภัย ฯ ของ
สถานประกอบกิจการ

เปดิ สไลดท์ ่ี 52

อธิบาย
เมื่อได้ผลของการวิเคราะห์สาเหตุ หรือรากแห่งปัญหาของอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์แล้ว สถาน

ประกอบกิจการควรได้มีการนำผลนั้น ๆ รวมเข้าไปพิจารณาในการประเมินความเสี่ยง และกำหนดเป็น
มาตรการควบคุมในแผนงานการปรบั ปรงุ เพือ่ ควบคุม ปอ้ งกันอุบตั ิเหตุ
เปิดสไลดท์ ่ี 53

อธบิ าย
ผู้บริหารควรตระหนักถงึ สาเหตุที่ผูป้ ฏิบัตงิ านหลายคนละเลย ไม่อยากรายงานอบุ ัติการณ์ หรือ

เหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ อาจเพราะประสบการณ์ด้านลบ เช่น ถูกตำหนิ วา่ กลา่ ว หรือเพกิ เฉย ภายหลงั จากการ
รายงานหรือบอกกลา่ วผู้รับผิดชอบเพอ่ื ใหแ้ กไ้ ขหรือปรบั ปรงุ จึงทำให้เลือกทจ่ี ะปกปิดมากกวา่

โดยปกติแล้ว การที่บุคคลหนึ่งยอมบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบกับคนอื่นไม่ว่าจะ
เรื่องดี หรือร้ายก็ตามกับใครสักคน นั่นแสดงว่าบคุ คลผู้นัน้ ต้องได้รับความไว้เน้ือเชื่อใจจรงิ ๆ และได้รับ
การตอบสนองด้านบวก เชน่ คำขอบคณุ หรือ คำชมเชย และมีการดำเนินการ

เช่นเดียวกัน การที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรสามารถรายงานเหตุการณ์ และเหตุวิกฤตที่ถูกต้อง
เหมาะสมต่อผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบได้โดยอิสระ เป็นสิ่งที่แสดงถึงการมีวัฒนธรรมของความไว้วางใจใน
องค์กร
ขอ้ พึงสงั เกต การทมี่ ีรายงานอุบัติการณ์จำนวนมากอยตู่ ลอดเม่ือเวลาผ่านไปอาจไม่ไดเ้ ปน็ เรอ่ื งดี

ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ในช่วงแรกของการรายงาน จำนวนรายงานอาจมีมาก แต่เมื่อได้มี
การจัดการที่ดี และปรับปรุงแก้ไขแล้ว จำนวนอุบ1ัต68ิการณ์ก็ควรลดลงจนแทบจะไม่มีเลยก็ได้ และสิ่งท่ี
รายงานตอ่ ๆ ไปควรเป็นเร่ืองที่มชี ่องทางในการทำใหด้ ีข้ึน หรือปรบั ปรงุ ไดอ้ ีก

เปิดสไลด์ที่ 54

อธบิ าย
ข้อท่ี 2.3 ของกฎทองข้อ 2 ผูบ้ รหิ ารสถานประกอบกิจการมีการนำเอาผลจากการประเมินความ

เส่ียง และการวเิ คราะหอ์ บุ ัติการณ์ ไปใช้เพือ่ ปรบั ปรงุ องคก์ รให้เกดิ ความปลอดภัยในการทำงานยง่ิ ข้นึ
เปิดสไลด์ท่ี 55

อธบิ าย
ผู้บริหารสถานประกอบกิจการควรมีวิธกี ารในการตรวจสอบการดำเนินการเพื่อปรับปรุงให้เกดิ

ความปลอดภยั หรือมาตรการปอ้ งกนั อันตราย มีประสทิ ธภิ าพและประสิทธผิ ลตามท่ีกำหนด หรือไม่
การตรวจสอบอาจทำได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม ตัวอย่างวิธีตรวจสอบ เช่น สุ่มตรวจดูว่า

เครื่องจักรมกี ารด์ ครอบปดิ จุดหมุนจุดหนีบทุกที่หรือไม่ สอบถามจากผ้ปู ฏิบตั ิงานถึงผลการปรบั ปรุง การ
สังเกตพฤตกิ รรมการทำงานของผปู้ ฏิบัตงิ านขณะเดนิ ตรวจ เปน็ ต้น

169

เปดิ สไลด์ท่ี 56

อธบิ าย
การดำเนินการประเมินความเสี่ยงก็เพื่อนำไปกำหนดมาตรการในการควบคุมหรือปรับปรุง

การทำงานให้ปลอดภัย ผู้บริหารควรนำผลการประเมินความเสี่ยงไปใช้เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานใน
สถานประกอบกิจการ

การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอาจทำได้หลายรูปแบบ หลาย
วิธีการ ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละสถานประกอบกิจการ ลักษณะงานและประเภทของความเสี่ยง เช่น การ
ประเมินทางสุขศาสตร์อตุ สาหกรรม (การวดั แสง เสยี ง สารเคมี ฯลฯ) การประเมนิ ทางการยศาสตร์ เป็น
ต้น แล้วนำผลของการประเมินความเสี่ยงด้านนั้น ๆ ไปปรับปรุงการทำงาน เช่น ช่องทางการไหลของ
วัสดุ การจัดพื้นทใ่ี นการทำงาน การปิดก้นั แหล่งกำเนิดเสียง การตดิ ตง้ั แผน่ ลดแสงสะท้อน การปรับความ
เปสดิ งู สขไอลงดสท์ถี่าน5ีท7ำงาน เป็นต้น

อธบิ าย
มกี ารสอนงานให้แก่ผูป้ ฏิบัติงานเปน็ รายบุคคล และวิธปี ฏิบตั งิ านท่ีใช้สอนงานได้มาจากพื้นฐาน

ของการประเมนิ ความเสยี่ ง
ในการประเมินความเสี่ยงจะมีการลำดับขั้นตอนของกระบวนการทำงานเพื่อให้มองเห็นภาพ

กิจกรรมงานความเสี่ยง และวิธีการควบคุมอันตรายเพื่อความปลอดภัย การนำผลที่ได้จากการประเมิน
ความเสี่ยงที่มีการสอดแทรกกิจกรรมหรือการควบคุมความเสี่ยงเข้าไปแต่ละขั้นตอนของวิธีการทำงาน
และนำมาปรับปรุงเป็นวิธีการ/ขั้นตอนที่ปลอดภัยในการทำงาน ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานเป็น
มาตรฐานเดียวกนั ถูกตอ้ ง และปลอดภัย

การติดวิธีการทำงานไว้ ณ บริเวณทำง1า7น0จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทบทวนวิธีการ
ปฏิบัติงานได้ และการสอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน (on the job training) จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจการ
ทำงานมากย่งิ ข้นึ

ทั้งหมดนั้นเป็นรายละเอียด ของกฎทองข้อที่ 2 และแนวทางปฏิบัตติ ่าง ๆในแต่ละข้อย่อย เพื่อ
เป็นตัวอย่าง ซึ่งพอจะเห็นภาพบ้างแล้ว เรามาทำแบบประเมินตนเองตามกฎทอง 7 ประการต่อในส่วน
ของขอ้ ท่ี 2
เปดิ สไลด์ท่ี 58 และ สไลด์ท่ี 59

อธบิ าย กฎทองขอ้ ที่ 2 มี 3 ข้อใหญ่
อ่าน และประเมินแต่ละข้อโดยใส่คะแนน 1 ช่องสีตามที่ปฏิบัติปัจจุบัน เมื่อทำครบทั้ง 3 ข้อใหญ่

แล้วรวมคะแนนทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 2.1 ถึง 2.3 ดูว่าแต่ละช่องสีได้คะแนนเท่าไร ใช้เวลา 5 นาที
เสร็จแล้วค้างไว้ พูดกฎทองข้อท่ี 3 ตอ่
เปิดสไลดท์ ่ี 60

อธบิ าย
การจะทราบว่าสถานประกอบกิจการประสบความสำเร็จในเรื่องความปลอดภัย ฯ หรือไม่

อย่างไร จำเปน็ ต้องมีการกำหนดตวั ชีว้ ัดหรอื เปา้ หมาย และมแี ผนงานทช่ี ัดเจน

171

เปิดสไลด์ที่ 61

อธบิ าย
งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และอาชีวอนามัยมีหลายด้านซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญ

แตกต่างกันไป ผู้บริหารควรจัดลำดับความสำคัญ กำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัย และอาชีวอนา
มัยให้ชดั เจน แล้วจัดทำเป็นแผนงาน หรือโปรแกรม และกำหนดวิธีการ เพอ่ื ดำเนนิ การให้บรรลุผล
การกำหนดเป้าหมาย สถานประกอบกิจการทำได้หลายวิธี อยู่ที่ว่าจะกำหนดอย่างไร ทำเป็นเรื่อง ๆ
หรอื ทำต่อเน่ือง อาจพิจารณาตามความสำคญั หรือความจำเป็นเรง่ ด่วนได้
เปดิ สไลด์ท่ี 62

อธิบาย แจก worksheet กฎขอ้ ที่ 3
ให้ผู้เรียนเขยี นเป้าหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แผนงาน และโครงการที่เปน็

รูปธรรม ผมู้ สี ว่ นร่วม และกำหนดเสร็จลงใน worksheet ที่แจกให้ ใชเ้ วลาประมาณ 10 นาที
สุ่มเลือกผู้เรียน 2-3 คน ให้บอกเล่าสิ่งที่เขียนลงใน worksheet มาไล่เรียงแนวทางของ Vision Zero
ท่แี นะนำผูบ้ รหิ ารสำหรับกฎขอ้ ท่ี 3

172

เปดิ สไลดท์ ี่ 63

อธิบาย กฎขอ้ ท่ี 3 มี 3 ข้อ
ข้อที่ 3.1 ของกฎทองข้อ 3 ผู้บรหิ ารมีการกำหนดเป้าหมายอาชีวอนามัย และความปลอดภัยที่

ชัดเจน
เปดิ สไลดท์ ่ี 64

อธิบาย
โดยทั่วไปแล้วสถานประกอบกิจการหรือองค์กรทุกแห่งจะตั้งเป้าประสงค์ (objectives) ของ

ธุรกิจในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านค่าใช้จ่าย ด้านคุณภาพ ด้านการส่งมอบ รวมถึงด้านความปลอดภัย
และอาชีวอนามยั

ความมุ่งมั่น และให้ความสำคัญเรื่องการคุ้มครองความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของ
คนทำงานของผู้บริหาร สามารถแสดงใหท้ ราบได้โดย การประกาศนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือการประกาศ/การสือ่ สารวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ หรือกลยุทธ์การ
ปฏบิ ัตกิ ารของสถานประกอบกิจการ ใหผ้ ้ปู ฏิบตั ิงาน ผมู้ สี ่วนเกีย่ วข้อง และผูม้ สี ว่ นได้ส่วนเสียท้ังภายใน
และภายนอกทราบดว้ ย

173

เปิดสไลดท์ ี่ 65

อธบิ าย
ในการกำหนดระดับความสำเร็จด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ

หรือองค์กร ผู้บริหารควรกำหนดให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ระบุระยะเวลาของแผนหรือโปรแกรมในการ
ดำเนินการทั้งระยะสั้นและระยะกลาง เช่น บอกชื่อโปรแกรม วัตถุประสงค์ของโปรแกรม เป้าหมาย
และการวัดผล ผูร้ บั ผิดชอบ ระยะเวลา และมีการตดิ ตามผล ตวั อยา่ งเชน่

• อัตราการเกิดอุบัติเหตุขั้นร้ายแรงลดลง 10% เทียบกับอัตราการเกิดอุบัติเหตุปีก่อนหน้า หรือ
อตั ราการเกดิ อุบัติเหตุท้ังปี ไม่เกนิ 0.1 ต่อช่วั โมงทำงาน 200,000 ชัว่ โมง

• % ผู้รับการอบรมด้านความปลอดภัยฯ บนระบบออนไลน์ของแต่ละหน่วยงานมากกว่า 80% ใน
แต่ละหลกั สูตรเทยี บกบั จำนวนทีว่ างแผน/กำหนดไว้

เปิดสไลดท์ ี่ 66

อธิบาย
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของสถานประกอบกิจการหรือองค์กรซึ่งรวมถึงความปลอดภัย

และอาชีวอนามัย เป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายของผู้บริหารในทางธุรกิจด้วย การขับเคลื่อนสถาน
ประกอบกิจการไปสู่เป้าหมายด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยให้ได้ผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้น้ัน
การปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานตอ้ งสอดคล้อง และสอดรับกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของสถาน
ประกอบกจิ การหรือองค์กรดว้ ย ผบู้ ริหาร และผู้ปฏิบตั ิงานทุกคนควรกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติการ
ในวิถีความรับผิดชอบของตนเอง เพื่อสนับสนุน หรือส่งเสริมด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
หรอื หน่วยงานของตน และเพ่อื บรรลุเป้าหมายของ1ส7ถ4านประกอบกจิ การ

เปดิ สไลด์ท่ี 67

อธิบาย
ผู้บริหารควรต้องสื่อสารวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และระดับความสำเร็จด้านความปลอดภัย

และอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมา
บรษิ ัทคู่ค้า และลูกคา้ ท้ังหมด รวมทัง้ สาธารณชนท่วั ไปให้รบั ทราบ ตามโอกาส หรือชว่ งเวลาท่เี หมาะสม
โดยใช้ช่องทางต่าง ๆ ซึ่งอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไป เท่าที่สามารถทำได้ ทั้งนี้ขึ้นกับสภาวการณ์
ความจำเป็น และอืน่ ๆ
เปิดสไลด์ท่ี 68

อธิบาย
ข้อที่ 3.2 ของกฎทองข้อ 3 ผู้บริหารวางแผนการกำหนดกิจกรรมที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เพื่อให้

บรรลเุ ปา้ หมายดา้ นความปลอดภัย และอาชวี อนามัย

175

เปิดสไลดท์ ่ี 69

อธิบาย
ในการวางแผนการปฏิบตั ิงาน ควรประกอบด้วยกิจกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยท่ี

เป็นรูปธรรม ครอบคลุมเรื่องความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย กำหนดมาตรการเพิ่มเติม มอบหมาย
ผ้รู ับผดิ ชอบ และตารางกำหนดเวลาของการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเปน็ ตดิ ตามเฝ้าระวัง และทำ
ให้บรรลุเปา้ หมายตามทก่ี ำหนดได้
เปดิ สไลดท์ ี่ 70

อธิบาย
เพื่อให้การดำเนนิ แผนงานของกิจกรรมด้านความปลอดภัย และอาชวี อนามัย งานสัปดาห์ความ

ปลอดภัย งานวันสุขภาพ และงานอื่น ๆ เป็นไปตามกำหนดการที่วางไว้ ผู้บริหารควรต้องมอบหมาย
ผู้รับผิดชอบโครงการกำหนดกิจกรรม รายละเอียด เป้าหมาย และกำหนดการให้ชัดเจน พร้อมกับการ
ติดตามความคืบหน้า และใหแ้ นใ่ จวา่ บรรลุผลตามท่ีต้ังไว้

176

เปดิ สไลด์ท่ี 71

อธิบาย
การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างการรับรู้สำหรับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ผู้บริหารควรต้องจัดการสื่อสารเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมถึงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้
ผู้บริหารระดับรองลงมา ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า และลูกค้า รวมถึง
สาธารณชนทั่วไปให้ไดร้ ับทราบ ตามระดับความเกี่ยวข้องในแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสม และเชิญชวนให้
ร่วมกจิ กรรมดว้ ย เช่น งานสัปดาห์ความปลอดภัย งานวนั สุขภาพ เป็นตน้ ตามโอกาสอำนวย

สถานประกอบกิจการอาจกำหนดมาตรสื่อสารทั้งภายในและภายนอก ให้ครอบคลุมทุกด้าน
รวมถึงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยด้วย ในกรณีที่สถานประกอบกิจการไม่มีมาตรสื่อสารของ
องค์กร ในการสื่อสารอาจทำได้โดยการประชุม การแนะนำ บัตรเชิญ จดหมาย บอร์ดประชาสัมพันธ์
การพูดคยุ หรอื การเชญิ ด้วยวาจา ทัง้ นี้ข้นึ กบั สถานการณ์ โอกาส และความเหมาะสม

177

เปิดสไลด์ที่ 72

อธบิ าย
การท่ผี ู้บริหารสถานประกอบกจิ การหรือองค์กรมีการจัดกิจกรรมสำหรับพนักงาน และเชิญชวน

ครอบครัวของผู้ปฏิบัติงานให้มาร่วมกิจกรรมด้านต่าง ๆ รวมถึงด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
เป็นเรื่องท่ดี ที ัง้ ต่อผปู้ ฏิบตั ิงาน และสถานประกอบกจิ การเอง

จุดประสงค์ของการเชิญครอบครัวของผู้ปฏิบัติงานเพื่อมาร่วมกิจกรรมต่างๆ รวมถึงงานความ
ปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ก็เพื่อให้ได้ครอบครัวของผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบถึงการจัดการสภาพการ
ทำงานที่ปลอดภยั และมสี ุขอนามยั ของสถานประกอบกิจการใหก้ ับผ้ปู ฏิบัติงาน

สถานประกอบกิจการ หรือองค์กรหลายแห่งยินดีที่จะเชิญครอบครัวผู้ปฏิบัติงานมาร่วมงาน
สำคัญ ๆ แต่อาจมขี ้อจำกดั ในเรอ่ื งสถานที่ งบประมาณ ชว่ งเวลา กะการทำงาน และนโยบายการควบคุม
การเข้าออก เป็นต้น ถ้าเช่นนี้ สถานประกอบกิจการ หรือองค์กรอาจดำเนินการโดยเชิญครอบครัว
พนักงานตามกลุ่มงาน อายงุ านหรอื อ่ืน ๆ หมนุ เวียนกนั เข้าร่วมกิจกรรมงานความปลอดภัย และสุขภาพ
อนามัยของสถานประกอบกิจการก็ได้ อย่างสม่ำเสมอ และตามโอกาสอำนวย
เปิดสไลดท์ ่ี 73

อธิบาย
ข้อที่ 3.3 ของกฎทองข้อ 3 ผู้บริหารกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบ

ประสทิ ธิผลของมาตรการความปลอดภัยและอาชีวอนามยั ท่ีใช้อยู่
178

เปดิ สไลด์ท่ี 74

อธิบาย
ผู้บริหารสถานประกอบกิจการควรตั้งเป้าหมายและมาตรวัดผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

ตา่ งๆ เช่นจำนวน/อตั ราการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนการโครงการความปลอดภัย ฯ จำนวนพฤติกรรมความ
ปลอดภยั ท่ีสังเกตได้ จำนวนรายการปรบั ปรุงแกไ้ ข เป็นตน้

และมีการประเมินผลเพื่อวัดความพึงพอใจและผลของความสำเร็จตามเป้าหมายด้านความ
ปลอดภัย ฯ พร้อมกับมีการสื่อสารเพื่อแจ้งผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของการดำเนินงานให้
ผู้ปฏิบัติงานทุกคน และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ การสื่อสารหรือการแจ้งผู้ปฏิบัติงานอาจทำโดยการ
ประชมุ ส่อื อิเล็กทรอนกิ ส์ บอร์ดประชาสัมพนั ธ์ และอนื่ ๆ
เปดิ สไลดท์ ี่ 75

อธิบาย
เป้าหมายในการดำเนินกจิ กรรมสง่ เสริมความปลอดภยั ฯ ของสถานประกอบกิจการกเ็ พ่อื ลดการ

ประสบอนั ตราย การบาดเจบ็ หรือ การเจบ็ ปว่ ยจากการทำงานและเพ่อื สุขภาวะทีด่ ขี องผูป้ ฏิบัติงาน
การประเมนิ ผลสำเรจ็ ของโครงการต่างๆ สามารถวัดได้จาก

• จำนวนการประสบอันตรายเทียบกับเป้าหมาย อัตราการประสบอันตรายขัน้ รุนแรง หรือหยุด
งานทลี่ ดลง

• บันทึกจำนวนวันที่ปลอดการประสบอันตรายขั้นหยุดงาน
• จำนวนการรายงานอุบัติการณ์ หรือสิ่งท17ี่ไ9ม่ปลอดภัยมากขึ้นในระยะแรก และเมื่อได้รับการ

แกไ้ ขปรบั ปรุงแล้วจำนวนลดน้อยลงเมอ่ื เวลาผา่ นไป

เปิดสไลดท์ ี่ 76

อธิบาย
สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ใช้เดมมิ่งโมเดล (Deming Model) ในการบริหารจัดการด้าน

คณุ ภาพของปฏิบตั ิการผลิต เพ่ือการปรบั ปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Plan-Do-Check-Act) ให้ลูกค้าพึง
พอใจ และความย่ังยนื ของธรุ กจิ

• การบริหารจัดการความปลอดภัยฯ เป็นการบริหารคุณภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งหากผลลัพธ์ไม่เป็นไป
ตามเป้าประสงค์แล้ว ผู้บริหารสถานประกอบกิจการควรบริหารจัดการเช่นเดียวกัน คือปรับ
กิจกรรม หรอื แผนงาน เพือ่ ให้เกดิ ผลสำเร็จและการปรับปรุงอย่างตอ่ เนอ่ื ง

• ผู้บริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงาน สามารถประยุกต์ใช้กระบวนการของเดมมิ่งโมเดลในการ
บรหิ ารจัดการด้านความปลอดภัย ฯ เชน่ เดยี วกบั ระบบบริหารจัดการคุณภาพ

เปิดสไลด์ที่ 77

อธิบาย
นอกจากการวัดสมรรถนะตามเป้าหมายแล้ว บ่อยครั้งท่ีผู้บริหารสถานประกอบกิจการอยาก

ทราบสมรรถนะการบริหารจัดการขององค์กรของตนว่าเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับสถานประกอบกิจการ
อื่น ในการดำเนินการเปรียบเทียบตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน เป้าหมายและความคาดหวังขององค์กร
ทำได้โดยการ benchmarking กบั กิจสถานประกอบกิจการอื่นในอุตสาหกรรมเดยี วกันหรือกลุ่มเดียวกัน
ก็ได้หรือต่างอุตสาหกรรมแต่ขนาดใกล้เคียงกัน ขึ้นกับข้อตกลงหรือวัตถุประสงค์ขององค์กร
หากไม่สามารถเปรียบเทียบกับสถานประกอบกิจการอื่น ๆ ภายนอกได้ อาจเปรียบเทียบกับหน่วยงาน
(ฝ่าย หรือ แผนก) อื่นที่มีกิจกรรมคล้าย ๆ กันภา1ย8ใ0น อย่างน้อยจะได้ทราบว่าหน่วยงานของตนอยู่ท่ี
ระดับใดของอุตสาหกรรม หรือขององคก์ ร

เปดิ สไลดท์ ่ี 78

อธบิ าย
พนักงาน (ผู้ปฏิบัติงาน) ทุกระดับของสถานประกอบกิจการเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญใน

การปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุผลลพั ธ์ที่ตั้งใจไวห้ รือเป้าประสงค์ของด้านต่าง ๆ รวมถึงด้านความปลอดภยั
อาชีวอนามัย ด้วยดังนั้นการสื่อสารพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือที่จำเป็นต้องทราบ
เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ ผู้บริหารควรใช้โอกาสต่าง ๆ ที่มี เช่น การประชุมพนักงาน ประจำสัปดาห์
ประจำเดือน ประจำไตรมาส การประชุมผู้บริหาร การประชุมคณะกรรมการความปลอดภยั ฯ และการ
ประชุมอื่น ๆ หรือการติดบอร์ดประกาศ การโพสต์ลงบนเว็ปไซด์ เป็นต้น เพื่อสื่อสารครอบคลุมผลงาน
ความสำเร็จ ความมุ่งหวัง การปรับปรุงหรือประเด็นหลักในคราวเดียวกัน ให้ผู้ปฏิบัติงาน
หรอื ผูใ้ ต้บงั คบั บัญชาไดร้ บั ทราบ
เปิดสไลดท์ ่ี 79 และ สไลด์ท่ี 80

อธบิ าย กฎทองข้อท่ี 3 มี 3 ขอ้ ใหญ่
อ่าน และประเมินแต่ละข้อโดยใส่คะแนน 1 ชอ่ งสีตามทป่ี ฏบิ ัติปจั จุบนั เมื่อทำครบทัง้ 3 ขอ้ ใหญ่

แล้ว รวมคะแนนทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 3.1 ถึง 3.3 ดูว่าแต่ละช่องสีได้คะแนนเท่าไร ใช้เวลา 5 นาที
เสรจ็ แล้วค้างไว้ พูดกฎทองข้อที่ 4 ตอ่

181

เปดิ สไลดท์ ่ี 81

อธบิ าย
มีระบบการจัดการความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย - ที่ได้มีการจัดการที่ดี การจัดการความ

ปลอดภัย และสุขภาพอนามัยขององค์กรอย่างเป็นระบบ จะทำให้มีระเบียบแบบแผนที่ดีและสามารถ
บริหารจดั การองค์กรไดง้ ่ายขึ้น
เปิดสไลดท์ ่ี 82

อธิบาย
การจัดการเร่ืองความปลอดภยั และอาชีวอนามยั ในสถานประกอบกิจการอย่างเป็นระบบเป็นสิ่ง

ท่ดี ี เป็นเรอื่ งทดี่ ำเนินการไดไ้ ม่ยากและคุม้ คา่ ต่อการลงทุน
สถานประกอบกิจการที่มีการจัดการอาชวี อนามัยและความปลอดภัยในการทำงานที่ดี จะทำให้

กิจการดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย เพราะสามารถลดปัญหาการหยุดชะงักของงาน การติดขัดของงาน
การหยุดการผลิต รวมถึงปัญหาคุณภาพลดลง จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนที่ดีที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าการ
จัดการเรื่องความปลอดภัย และอาชีวอนามัยให้มีประสิทธิผลเป็นเรื่องคุ้มค่า การใช้เครื่องมือ
เช่น checklist สามารถช่วยได้ แต่จะให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นนั้น จะต้องพัฒนา และปรับปรุงระบบ
การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และเมื่อดำเนินการครบถ้วน และผ่านการ
ตรวจประเมินแล้ว กจ็ ะไดร้ บั ใบรบั รองมาตรฐาน และการยกยอ่ งชมเชยด้วย

182
[[

เปดิ สไลด์ที่ 83

อธบิ าย แจก worksheet กฎขอ้ ที่ 4
ให้ผู้เรียนเขียนเปา้ หมายที่ตอ้ งการบรรลุ การพัฒนาแผนงาน หรือโปรแกรมการจดั การอาชี

วอนามยั และความปลอดภัย การสนบั สนนุ /ผู้มสี ่วนร่วม และกำหนดเสร็จลงใน worksheet ท่ีแจก
ให้ ใชเ้ วลาประมาณ 10 นาที

สุ่มเลือกผู้เรียน 2 - 3 คน ให้บอกเล่าสิ่งที่เขียนลงใน worksheet มาไล่เรียงแนวทางของ
Vision Zero ทแี่ นะนำผบู้ รหิ ารสำหรับกฎขอ้ ท่ี 4
เปิดสไลด์ท่ี 84

อธบิ าย กฎขอ้ ที่ 4 มี 3 ข้อ
ข้อที่ 4.1 ของกฎทองข้อ 4 สถานประกอบกิจการของขา้ พเจา้ มีการจัดการท่ดี ีในเร่ืองความ

ปลอดภยั และอาชวี อนามัย โดยการจดั ใหม้ ีโครงสร้างองคก์ ร บทบาท หน้าท่ี ความรบั ผดิ ชอบ สมรรถนะ
ระเบียบปฏิบตั ิงาน และกระบวนการทำงาน

183

เปิดสไลดท์ ี่ 85

อธบิ าย
ในการจัดโครงสร้างองค์กรไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับธุรกิจ และ

สถานการณ์เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ไม่ว่าสถานประกอบกิจการจะจัดตั้งโครงสร้าง
องค์กร โปรแกรมในการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือคณะทำงานด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัยอื่น ๆ รูปแบบใดก็ตาม ต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผดิ ชอบด้านอาชวี อนามัย
และความปลอดภัยให้ชัดเจน

ตัวอยา่ งเชน่ การจดั โครงสร้างตามสายบงั คับบัญชา การกำหนดคณุ สมบัติ ความร้คู วามสามารถ
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการประกาศแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย การประกาศ
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่าง ๆ การประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการความ
ปลอดภัย ฯ เปน็ ต้น
เปิดสไลด์ที่ 86

อธิบาย

ลักษณะงาน บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และสมรรถนะของพนักงานระดับต่าง ๆ ท่ีสถาน

ประกอบกิจการมีอยู่แล้วนั้น กำหนดให้ครอบคลุมงานด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย บูรณาการ

โดยเพิ่มหน้าที่ของ จป.บริหารเข้าไปในการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบงานของแต่ละสายงาน ในการ

มอบหมายงานโครงการหรือโปรแกรมแต่ละด้าน มีการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบชัดเจน

เช่น การแตง่ ตั้งพนักงานระดับบริหารหรือหัวหน้าหน่วยงานให้รับผิดชอบโครงการต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย ฯ

ตวั อยา่ งดังในตาราง 184

เปดิ สไลด์ท่ี 87

อธิบาย
สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ มีบุคลากรด้านความปลอดภัยฯ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมดหรือ

เกือบทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น ตามขนาด และประเภทของสถานประกอบกิจการรวมถึงมีบุคลากรหลาย
สาขาอาชพี ท่ีเก่ียวข้องกับความปลอดภัย ฯ เชน่ เจ้าหนา้ ที่ความปลอดภัยวิชาชีพ วศิ วกรความปลอดภัย
แพทย์ พยาบาล นกั จติ วทิ ยา เปน็ ตน้ ซง่ึ ด้วยพ้นื ฐานความรู้และการศกึ ษาของบุคคลเหล่านี้ นบั ได้ว่าเป็น
ผเู้ ชีย่ วชาญทีเ่ กยี่ วข้องดา้ นความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย ในการทำงานสนบั สนุนและให้คำแนะนำ
แก่ผู้บริหารทุกระดับของสถานประกอบกิจการ และมีการรายงานตามสายการบังคับบัญชาตาม
โครงสรา้ งขององค์กรดว้ ย
เปดิ สไลดท์ ี่ 88

อธบิ าย
โดยทั่วไป การรายงานเรื่องต่าง ๆ ภายในสถานประกอบกิจการรวมถึงด้านความปลอดภัย

และสุขภาพอนามัยเป็นไปโครงสร้างตามสายบังคับบัญชาอยู่แล้ว สถานประกอบกิจการอาจกำหนด
ขั้นตอนหรือระบบการสื่อสาร/รายงานโดยทั่วไป หรือรายงานเฉพาะประเด็นด้านความปลอดภัย ฯ
อุบัติการณ์ อุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ
ตอบสนองตอ่ รายงาน หรอื เหตกุ ารณน์ น้ั ๆ

185

เปิดสไลดท์ ี่ 89

อธบิ าย
การประเมินความเสี่ยง เป็นกระบวนการในการระบุความเสี่ยง แจกแจงอันตรายแฝง เพ่ือ

กำหนดมาตรการควบคุม หรือลดความเสี่ยงในการทำงานของคนทำงาน และจัดทำเป็นมาตรฐานความ
ปลอดภัยในการทำงาน

การประเมนิ ความเสย่ี งมิได้ทำครัง้ แรกเพียงครั้งเดียว เมอ่ื เวลาลว่ งเลยไปอาจมีการเปล่ียนแปลง
ของกระบวนการทำงาน วัตถุดิบ เครื่องมือเครื่องจกั ร วิธีการ และอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อความเสี่ยง/อนั ตราย
ต่อคนทำงาน ผู้บริหารสถานประกอบกิจการควรต้องทำให้แน่ใจว่าได้มีการทบทวนความเสี่ยง และ
ปรับปรงุ วิธกี ารทำงานให้ทนั ต่อการเปลยี่ นแปลง พร้อมทัง้ จดั ใหม้ ีการส่อื สารและการสอนการปฏิบัติงาน
แก่ผทู้ ำงานซ่งึ เป็นผู้ทไ่ี ด้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ

สถานประกอบกิจการที่มีการขอรับรองระบบมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ISO45001 มาตรฐาน
แรงงานไทยและระบบอื่น ๆ มักกำหนดความถี่ และเงื่อนไขในการปรับปรุงบัญชีความเสีย่ ง และวิธีการ
ปฏิบตั ิงานตามความเหมาะสม และมกี ารดำเนินการอยา่ งเปน็ ระบบ

กำหนดให้มีการปรบั ปรุงทกุ ครั้งเฉพาะสว่ นงานท่ีไดร้ บั ผลกระทบ และมกี ารส่อื สารหรือสอนงาน
(On the Job Training) ใหแ้ ก่ผปู้ ฏบิ ัติงานทกุ ครงั้ ทม่ี กี ารปรบั ปรงุ ตามการเปลี่ยนแปลง
ตวั อย่างบันทกึ การเปลี่ยนแปลงดังตาราง

186

เปดิ สไลดท์ ่ี 90

อธบิ าย
สถานประกอบกิจการหลายแห่งมีการจัดทำแผนงานและดำเนินการ ด้านความปลอดภัย

และอาชีวอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัย มีการตั้งหน่วยงาน
คณะทำงาน หรือทีมปฏิบัติฉุกเฉินซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้ปฏิบัติงานจากสายงานฝ่ายต่าง ๆ จำนวนที่
เหมาะสม มกี ารกำหนดคณุ สมบตั ิและบทบาทหน้าท่ีของบุคลากร เพอ่ื ใหก้ ารทำหนา้ ทป่ี ้องกัน และระงับ
อัคคภี ัย การตอบโต้หรอื ระงบั สถานการณ์ฉุกเฉินเรื่องต่าง ๆ ไดอ้ ยา่ งปลอดภัย สถานประกอบกิจการจัด
ให้บุคลากรกลุ่มนี้ได้รับการฝึกอบรมความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรวจตรา ระบบการป้องกัน
และระงบั อัคคีภัยและการจดั การ การปฐมพยาบาล การเคลอ่ื นยา้ ยผู้บาดเจ็บ เปน็ ต้น และมกี ารจัดแผน
ฝกึ อบรม และการฝกึ ซอ้ มประจำปี และใหค้ วามร้ทู บทวนตอ่ เน่ืองเป็นประจำ

** กรณีที่สถานประกอบกิจการ มีแผนปฏิบัติฉุกเฉิน ซึ่งครอบคลุมการแต่งตั้งทีมปฏิบัติการ
ฉุกเฉิน พร้อมกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ และรวมถึงแผนอบรมประจำปีสำหรับทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน
และมกี ารดำเนินการตามแผนสมำ่ เสมอ กลา่ วไดว้ า่ ได้ปฏิบตั คิ รบถ้วน
เปดิ สไลด์ท่ี 91

อธบิ าย
การตรวจสุขภาพประจำปีที่สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่จัดให้กับผู้ปฏิบัติงานนั้น เป็นการ

ตรวจสขุ ภาพทั่วไป ไมใ่ ชก่ ารตรวจสุขภาพตามปัจจัยเส่ยี ง ผูเ้ กย่ี วข้องในสถานประกอบกิจการต้องทราบ
ว่างานที่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในหน่วยงานของตนเองคืออะไร ทำการประเมินความเสี่ยงของกลุ่มผู้สัมผสั
แตล่ ะงานหรือปัจจัยเสี่ยงก่อน แลว้ นำผลการประเ1ม8ิน7ความเสย่ี งนน้ั มาวางแผนตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน
ในเชิงปอ้ งกัน และเม่ือตรวจสุขภาพแล้วควรต้องแจง้ ผลการตรวจสขุ ภาพใหก้ ับผู้ปฏิบัติงานนน้ั ๆ ทราบด้วย

สถานประกอบกิจการควรได้มีการทบทวนโปรแกรม และแผนตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ
และถ้าผู้ปฏิบัติงานมีการหมุนเวียนงาน หรือเปลี่ยนงานซึ่งปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม ต้องทำการ
ประเมินความเสี่ยงใหม่ดว้ ย
เปดิ สไลด์ที่ 92

อธิบาย ตามทก่ี ลา่ วไว้ข้างต้น กฎข้อท่ี 4 มี 3 ข้อ
ข้อที่ 4.2 ของกฎทองข้อ 4 ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการ

พิจารณาบรรจุบคุ ลากรในตำแหน่งผบู้ รหิ าร
เปิดสไลดท์ ี่ 93

อธิบาย
ผู้บริหาร คือผู้นำองค์กร เป็นผู้ที่เป็นตัวอย่าง และแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงานในองค์กรใน

การเคารพ และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับด้านต่าง ๆ ของสถานประกอบกิจการอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้รวมถึงข้อปฏิบัติด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยด้วยเช่นกันโดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น การสวม
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่จำเป็นตามที่กำหนดเมื่อเข้าไปในบริเวณที่มีความเสี่ยง
การไม่เข้าไปในพื้นที่ควบคุมโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ (ถึงแม้ว่าเป็นผู้บริหารสูงสุดก็ตาม) การเดินบน
ชอ่ งทางที่กำหนด เป็นตน้

188

เปิดสไลด์ท่ี 94

อธบิ าย
พนักงานทุกคนทุกระดับอย่างน้อยมีพื้นความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการ

ทำงานจากการอบรมหลักสูตรความปลอดภัย ฯ ตามกฎหมายมาก่อนแล้ว สถานประกอบกิจการหลาย
แห่งมีมาตรฝึกอบรม (Training matrix) และแผนฝึกอบรม ที่กำหนดหลักสูตรเพื่อพัฒนาพนักงานและ
เตรียมความพร้อมในการเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้ายงานในอนาคต หลักสูตรพัฒนาศักยภาพของ
พนกั งานนร้ี วมถึงด้านการบรหิ ารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยดว้ ย ซงึ่ จะไมเ่ ปน็ ประเด็นเม่ือมี
การเลือ่ นตำแหนง่ หรือได้รับแตง่ ต้ังเปน็ ผบู้ รหิ าร

แตส่ ำหรบั บางสถานประกอบกิจการที่ไม่ได้กำหนดหลักสตู รอบรมสำหรบั ผู้บรหิ ารไว้ และเม่ือมี
การประกาศแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร แล้วมีการจัดอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
ระดับบริหาร ภายหลังการแตง่ ต้ัง/เลอ่ื นตำแหนง่ นับได้วา่ ไดด้ ำเนินการตามกฎทองข้อย่อยข้อน้แี ลว้
เปดิ สไลดท์ ่ี 95

อธบิ าย
การสื่อสารภายในสถานประกอบกิจการเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง

เกี่ยวกับความปลอดภัยและชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
สถานประกอบกิจการโดยผู้บริหารอาจออกระเบียบปฏิบัติ หรือระบุหน้าที่ความรับผิดชอบในข้อบังคับ
กทาำรงทานำงใาหน้คกำแำหนนะนดำใหแ้ผลู้บะังจคัดับฝบึกัญอบชารมหอราือชหีวัวอหนนาม้า1หัย8น9แ่วลยะงคานวาในมปองลคอ์กดรภจัยัดใปหร้กะับชผุมู้ปชฏี้แิบจัตงขิงา้อนปขฏอิบงัตติในนกก่อานร
เร่ิมงาน

เปิดสไลด์ท่ี 96

อธิบาย
ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือ 5ส เป็นพื้นฐานของการปรับปรุง

ประสิทธภิ าพการทำงาน และเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานทท่ี ำงาน เปน็ สง่ิ ทีห่ วั หนา้ หนว่ ยงานไม่ว่า
จะอยู่ในระดับบริหาร หรือระดับหัวหน้างานควรต้องให้ความสำคัญ และเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย
ความปลอดภัย ฯ ที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร และระดับหัวหน้างานจะต้องตรวจตราด้าน
ความปลอดภัยในพื้นที่ทำงานที่ตนเองรับผิดชอบโดยสม่ำเสมอ และให้ความสนใจเป็นพิเศษ
สิ่งที่ควรเน้น ตัวอย่างได้แก่ การจัดเก็บสายไฟและสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า การรักษาความสะอาดของ
สถานที่ทำงาน การจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ การไม่มีสิ่งของกีดขวางประตู หรือทางออก
ฉุกเฉนิ การจดั วางวัสดแุ ละสงิ่ ของตา่ ง ๆ เปน็ ตน้
เปิดสไลดท์ ่ี 97

อธบิ าย
ผู้บริหารทุกคนของสถานประกอบกิจการที่ได้รับการอบรมและแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ความ

ปลอดภัยระดบั บริหาร มหี นา้ ท่ีตามกฎหมายในการกำกับ ดแู ลเจา้ หนา้ ทคี่ วามปลอดภยั ในการทำงานทุก
ระดับที่อยู่ในการบังคับบัญชา รวมถึงการพูดคุยและติดตามงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้บริหาร
รองลงมาเกี่ยวกับหน้าที่ และความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้เป็นไปตาม
แผนงานเพิ่มเติมจากการทำหน้าที่ด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยตามกฎหมายแล้วนั้น ผู้บริหาร
สูงสดุ ของบางสถานประกอบกิจการอาจมอบหมายความรับผิดชอบโครงการดา้ นความปลอดภัย ฯ อน่ื ๆ
มใหอ้กบับหผมู้บารยิหไปารดร้วะยดัทบั้รงนองี้เปล็นงมกาารกตาิดรตพาูดมคผุยลนแี้อลาะจกราวร1มใ9ถห0ึง้คกวาารมทสบนทับวสนนคุนวใาหม้มกีก้าาวรหแนก้า้ไขของแงลาะนปโรคับรงปกราุงรอทยี่ไ่าดง้
ต่อเนอื่ ง

เปิดสไลดท์ ี่ 98

อธิบาย กฎขอ้ ท่ี 4 มี 3 ขอ้
ข้อที่ 4.3 เป็นข้อสุดท้ายของกฎทองข้อ 4 สถานประกอบกิจการของข้าพเจ้ามีการดำเนินงาน

ด้านความปลอดภัย และสขุ ภาพอนามัยตามกฎหมายที่เกยี่ วขอ้ ง
เปิดสไลด์ที่ 99

อธิบาย
เป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจขององค์กรคือการปฏิบัติให้ถูกต้อง

และสอดคล้องกับกฎหมายข้อกำหนดหรือข้อบังคับด้านต่าง ๆ ที่องค์กร ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กำหนดให้ดำเนินการ ผู้บริหารในฐานะผู้นำสูงสุดของสถานประกอบกิจการ ควรต้องมีการทบทวน
กฎหมาย ข้อบังคับหรือข้อกำหนดใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ และขณะเดียวกันก็ควรตรวจสอบด้วยว่าได้
ปฏบิ ตั สิ อดคลอ้ งกบั ขอ้ กำหนดเหล่านน้ั หรือไม่

การทบทวนอาจทำในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ หรือการประชุมผู้บริหาร
ประจำเดอื น หรือในการประชมุ เพอื่ ทบทวนระบบการจดั การอาชวี อนามยั และความปลอดภัยกไ็ ด้

191

เปดิ สไลดท์ ี่ 100

อธิบาย
การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยด้านต่าง ๆ ภายนอก บางครั้งอาจส่งผลต่อสถานประกอบกิจการ

และห่วงโซ่ทางธุรกิจได้ หากสถานประกอบกิจการอยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือผลกระทบ
ร่วมก็อาจได้รับเชิญเข้าร่วมสัมมนานั้น ๆ ด้วยมีเหตุผลหลายข้อที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรควร
พิจารณาเข้าร่วมการสัมมนานั้นด้วยตนเอง เช่น เป็นการรับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ ที่เป็นปัจจุบันเพื่อเปดิ
โลกทัศน์ หรือมุมมองใหม่ ๆ ทั้งในเชิงธุรกิจ นวัตกรรม หรือด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของ
องค์กรในอนาคต การมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งไปแทน มีมุมมองแตกต่างกับเรา อาจรับการ
ถ่ายทอด หรือความเข้าใจไม่เท่ากับที่ไปเอง นอกจากนี้การได้พบปะกับบุคคลภายนอกในธุรกิจเดียวกัน
หรอื ต่างธุรกิจทำให้สร้างพันธมติ ร หรือขยายเครือข่ายธุรกจิ ได้
เปดิ สไลดท์ ี่ 101

อธิบาย
สถานประกอบกิจการหนึ่ง ๆ ย่อมมีผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถต่างกัน การ

เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ไม่ได้หมายความว่าจะมีความรู้ความสามารถโดดเด่นทุกด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย ดังนั้นเมื่อมีประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัย
และสุขภาพ ผู้บริหารจึงควรนำผู้เชี่ยวชาญด้านตา่ ง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าทีค่ วามปลอดภยั วิชาชพี
วิศวกรความปลอดภัย นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แพทย์ พยาบาล เป็นต้น เข้าร่วมในกระบวนการ
ทคณบทะวกนรปรมัญกหาารใคหวค้ ารมอปบลคอลดมุ ภทัยกุ ปฯระกเ็ยดิน็่งเกป่อ็นนกกาารรดตีทัด1ี่กส9านิ2รใปจรใะนชกุมรณแีทลี่บะคุกคารลทเหบลท่าวนน้ีไดอ้รยบั ู่ในกาวราแรตะ่งกตา้งัรใปหร้อะยชู่ใุนม
ประจำเดอื นในคราวเดียวกัน

เปดิ สไลด์ท่ี 102

อธิบาย
ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ข้อ 23 ให้สถานประกอบกิจการที่มีพนักงานต้งั แต่ 50 คนขึ้นไป
จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน และวิธีการ
สรรหา และประกาศแต่งตง้ั เปน็ ไปตามทกี่ ำหนด สถานประกอบกจิ การควรตอ้ งดำเนนิ การดังนี้

• มีการสรรหาคณะกรรมการความปลอดภยั ฯ ด้วยวิธีการและจำนวนตามท่กี ฎหมายกำหนด
• มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ กับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

ภายในระยะเวลาท่ี
• กำหนดคณะกรรมการ ฯ ได้รับการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด และมีการประชุมอย่างน้อย

เดอื นละครั้ง
เปิดสไลด์ที่ 103

อธิบาย
กรรมการบริหารสถานประกอบกิจการอาจมอบอำนาจให้ผู้บริหารสูงสุดของหนว่ ยงานเป็นประธาน

คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ (กรณีนิติบคุ คล ตามการจดทะเบียนบริคณฑ์สนธ)ิ หรือ ผู้บริหารสงู สุดของ
สถานประกอบกิจการอาจแต่งตั้งตนเองเป็นประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ หรืออาจแต่งตั้ง
ผูบ้ ริหารระดบั รองลงมาโดยหนังสือมอบอำนาจใหป้ ฏิบัติหน้าทีเ่ ป็นประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ
ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ กรณีใดกรณีหนึ่งข้างต้น เข้าประชุม
และทำหน้าท่ใี นฐานะประธานคณะกรรมการความ1ป9ล3อดภัย ฯ ทกุ คร้ัง

เปิดสไลดท์ ี่ 104

อธบิ าย
คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ตามกฎหมายซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร ผู้แทน

นายจ้างระดับบังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เหล่านี้เข้าประชุมครบองค์ประชุม
นับได้ว่าได้ดำเนินการตามข้อย่อยของกฎทองในข้อนี้แล้ว และอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย
และสุขภาพอนามยั เชน่ แพทย์ พยาบาลอาชีวอนามยั นักสุขศาสตรอ์ ุตสาหกรรม เป็นต้น เขา้ ร่วมประชุมใน
กรณีที่มีประเด็นด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยซึ่งต้องการความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะจาก
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อการป้องกัน และมีการบันทึกประเด็นไว้ในรายงานการ
ประชมุ ด้วย

เปิดสไลดท์ ี่ 105

อธิบาย

สถานประกอบกิจการสว่ นใหญ่มีแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ครอบคลุมเหตุฉุกเฉนิ

ทุกด้านที่เป็นไปได้ตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัคคีภัย ซึ่งก่อความสูญเสียร้ายแรงยิ่ง แผนในการ

ป้องกัน รับมือ และบรรเทาเหตุจากอัคคีภัยเพื่อลดความสูญเสียนั้นประกอบด้วย แผนการอบรม แผน

รณรงค์ แผนตรวจตรา แผนดับเพลิง แผนอพยพหนีไฟ แผนบรรเทาทุกข์ และอาจมีแผนฉุกเฉินกรณีอ่นื

ๆ ที่เกี่ยวข้องเพ่ิมเติม เช่น สารเคมีรั่วหก กัมมันตรังสี ฯลฯ มีการฝึกอบรมสำหรบั ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องท่ี

เกี่ยวข้องให้มีความรู้ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุ มีการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟอย่าง

น้อยปลี ะครง้ั มีการประเมนิ ผล และทบทวนประสทิ ธภิ าพของแผน เพ่ือการแกไ้ ข ปรับปรุงอย่างต่อเน่ือง
194
และมกี ารรายงาน

เปิดสไลดท์ ี่ 106

อธบิ าย
ในการบริหารงานความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ ควรต้องมีการ

ทบทวนประเมิน หรือตรวจสอบ เช่นเดียวกับระบบการจัดการคุณภาพและระบบอ่ืน ๆ เพื่อให้ทราบผล
การดำเนินงานว่าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ความถ่ี และวิธีการ
ตดิ ตามความสำเรจ็ ข้ึนกับนโยบาย และแผนการจดั การของสถานประกอบกจิ การนั้น ๆ
การตรวจประเมินเป็นวิธีการที่ทำให้ทราบว่าประสิทธิภาพหรือสมรรถนะด้านการจัดการอาชีวอนามัย
และความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ หรือองค์กรเป็นอย่างไร เช่นเดียวกับการตรวจประเมิน
ระบบการจัดการคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าสถานประกอบกิจการจะทำระบบการจัดการในรูปแบบ
ใด กส็ ามารถกำหนดใหม้ กี ารตรวจประเมิน ใหเ้ หมาะสมกับสถานะของสถานประกอบกิจการได้ โดยอาจ
กำหนดการตรวจประเมนิ ภายใน (Internal audit) การตรวจประเมินความสอดคล้องตามข้อกำหนดของ
กฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับขององค์กรข้ามสายงานกัน หรือตรวจโดยหน่วยงานภายนอกก็ได้ ทั้งน้ี
สถานประกอบกจิ การควรจดั ทำแผนการตรวจ และบนั ทกึ ผลการตรวจประเมินไว้ด้วย
เปิดสไลดท์ ่ี 107

อธบิ าย
สถานประกอบกิจการที่ดำเนินการระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

เช่น ISO45001 SA8000 TLS8001 และผู้บริหารของสถานประกอบกิจการได้ขอการรับรองโดยรับการ
ตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินภายนอก มีรายงานผลการตรวจประเมิน และเอกสารรับรองการผ่าน
การตรวจประเมินระบบ อนมุ านได้ว่ามกี ารดำเนนิ การตามกฎทองข้อยอ่ ย 4.3.9

195

เปิดสไลด์ที่ 108 และ สไลดท์ ี่ 109

อธบิ าย กฎทองขอ้ ท่ี 4 มี 3 ขอ้ ใหญ่
อ่าน และประเมินแต่ละข้อโดยใส่คะแนน 1 ช่องสีตามที่ปฏิบัติปัจจุบัน เมื่อทำครบทั้ง 3 ข้อ

ใหญ่แล้ว รวมคะแนนทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 4.1 ถึง 4.3 ดูว่าแต่ละช่องสีได้คะแนนเท่าไร ใช้เวลา 5 นาที
เสร็จแลว้ คา้ งไว้ พูดกฎทองขอ้ ท่ี 5 ตอ่
เปดิ สไลดท์ ่ี 110

อธบิ าย
เคร่ืองจักร อปุ กรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน เปน็ ส่งิ สำคัญและจำเปน็ ในการทำงาน

ที่ปราศจากอุบัติเหตุและผลกระทบต่อผู้ทำงาน ต้องแน่ใจและมั่นใจว่าเครื่องจักร อุปกรณ์ สิ่งอำนวย
ความสะดวกในการทำงาน รวมถึงสถานท่ีทำงานมคี วามปลอดภยั และสง่ เสรมิ สุขอนามัยทดี่ ี

196


Click to View FlipBook Version