The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรแนวทางการเป็นพี่เลี้ยง Vision Zero

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chalikor Pasertadisor, 2022-04-06 02:58:56

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรแนวทางการเป็นพี่เลี้ยง Vision Zero

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรแนวทางการเป็นพี่เลี้ยง Vision Zero

แนวทางการตรวจประเมนิ
กฎทองขอ้ ที่ 1: Take leadership - demonstrate commitment มีความเปน็ ผู้นำ - แสดงให้เหน็
ถึงความมุง่ มั่น
จงเป็นผู้นำและแสดงให้เห็น เพราะว่าการที่ท่านทำตัวเป็นผู้นำนั้น คือ การชี้ขาดความสำเร็จ หรือความ
ลม้ เหลวเร่ืองความปลอดภัยและสขุ ภาพอนามัยใหแ้ ก่องคก์ รของทา่ น
กฎทองข้อท1่ี แนวทางการประเมนิ /ตรวจสอบ
1.1 ข้าพเจ้า (ในฐานะผู้บริหาร) ได้แสดงให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของ

ขา้ พเจา้ เห็นความเปน็ ผู้นำของข้าพเจา้ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย โดย
ข้าพเจ้าไดม้ กี ารวางมาตรฐานและขน้ั ตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย และได้
ปฏบิ ัตติ นเปน็ แบบอย่างท่ดี ใี ห้แกผ่ ูร้ ่วมงานทุกระดับของขา้ พเจา้
1.1.1 1. มคี ำส่งั แต่งตั้งจป.บริหาร จป.หวั หน้างาน และจป.ระดบั อนื่ ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
พร้อมทง้ั หน้าทีค่ วามรับผดิ ชอบตามกฎหมายครบถว้ น
2. ผูท้ ่ีไดร้ บั การแต่งต้ังทกุ คน รับทราบคำสง่ั แต่งต้ัง
1.1.2 1. มีนโนบายความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่เป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการ
ปรบั ปรงุ ใหท้ นั สมัยอยเู่ สมอ
2. มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยประจำปี (รวมถึง
พนั ธกิจ และหลกั การตา่ ง ๆ ทเี่ ก่ยี วข้อง)
3. มีหลักฐานการสื่อสารนโยบาย วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายด้านความปลอดภัยและ
อาชีวอนามัยไปสู่ผู้บริหารระดับต่าง ๆ (รวมถึงหัวหน้างาน) และผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ส่ือ
ต่าง ๆ ที่มี เช่น บอร์ดประชาสมั พันธ์ ระบบอนิ ทราเนต็ เป็นตน้
1.1.3 1. มีการกำหนดให้ตรวจความปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานและในกรณีที่ไม่แน่ใจว่า
ปลอดภัยหรือไม่ ให้ผู้ปฏิบัติงานแจ้งหัวหน้างานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบก่อนลงมือ
ปฏบิ ัติงาน
2. มีการกำหนดขั้นตอนการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น การชำรุด
บกพร่องของเคร่ืองจกั ร เคร่ืองมือ อปุ กรณ์ เป็นต้น
3. มีการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานหยุดการทำงานถ้าไม่แน่ใจว่าปลอดภัย จนกว่าจะมีการ
ปรับปรุงหรือตรวจสอบ เช่น มีป้ายห้าม หรือกิจกรรม “หยุด เรียก รอ” “Stop and
think” หรอื “4Stops” เปน็ ต้น
1.1.4 มีระเบียบวาระการประชุม หรือบันทึกการประชุมที่ปรากฏเรื่องความปลอดภัย
และอาชีวอนามัยในวาระแรกของการประชุม (ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน) ในสถาน
ประกอบกจิ การเสมอ
1.1.5 1. มีหลกั ฐานหรือสุ่มสอบถามผู้ปฏบิ ัติงานถงึ พฤติกรรมของผู้บริหารว่ามีการปฏิบัติตาม
กฎระเบียบหรือไม่ เช่น ขณะลงตรวจงานในพื้นที่หรือพาลูกค้าเยี่ยมชมกระบวนการ
ผลติ ว่าสวมใส่อปุ กรณ์คมุ้ ครองความปลอดภยั ส่วนบคุ คลถูกตอ้ งเหมาะสมหรือไม่ เดนิ ใน
ช่องทางเดินที่กำหนดไว้หรือไม่ เป็นต้น

97

2. มหี ลกั ฐานหรือสุ่มสอบถามผู้ปฏบิ ัตงิ านถึงพฤติกรรมของผูบ้ ริหารในการให้คำแนะนำ
หรือสั่งการที่เกี่ยวกับความปลอดภัย และอาชีวอนามัย หรือไม่ เมื่อผู้บริหารพบ
สภาพการณห์ รอื การปฏิบตั ทิ ่ีไม่ปลอดภัยของผู้ปฏบิ ตั ิงาน
1.1.6 มีหลักฐานแสดงการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
(Training record) ของผู้ทำแบบประเมิน
1.2 ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยเป็นเรื่องที่รับทราบโดย
ผ้ปู ฏบิ ตั งิ านทกุ คนของขา้ พเจ้า และเรามกี ารพูดคุยเกีย่ วกับเรื่องนีก้ นั อยา่ งเปิดเผย
1.2.1 มกี ฎระเบยี บ/ข้อบังคับ/ค่มู อื หรือขัน้ ตอนการปฏิบตั ิงานท่ีปลอดภัยอย่างชัดเจน
1.2.2 มหี ลักฐานการฝึกอบรม สอนงาน หรือแจ้งผู้ปฏิบตั งิ านตามข้อ 1.2.1
1.2.3 มีหลักฐานหรือสุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานถึงพฤติกรรมของผู้บริหาร เกี่ยวกับการพบปะ
พูดคยุ เรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยกบั ผปู้ ฏิบตั งิ านอยา่ งสมำ่ เสมอ
1.2.4 1.มีการกำหนดโครงสร้างขององค์กร และหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานและ
บคุ ลากรตา่ ง ๆ เป็นลายลกั ษณ์อักษรทช่ี ัดเจน เช่น หน่วยงานความปลอดภัย เจ้าหน้าที่
ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดบั โดยเฉพาะระดับเทคนิค เทคนิคขั้นสูงหรือระดับ
วชิ าชีพ ท้งั นี้ขน้ึ กบั ประเภทและขนาดของสถานประกอบกิจการ
2.มีการปิดประกาศผังองค์กรและบุคลากรตามข้อ1. หรือมีหลักฐานการสื่อสารให้
ผู้ปฏบิ ตั งิ านทราบ
1.2.5 1.มีหลักฐานหรือสุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานถึงพฤติกรรมของผู้บริหาร เกี่ยวกับการทำ
หน้าที่สมกับบทบาทของการเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งนี้ หลักฐานอาจได้จากการมีการ
สื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหาร เช่น ตู้รับความคิดเห็น อินทราเน็ต เฟซบุ๊ก
กลุ่มไลน์ อีเมล์ เป็นต้น
2.มหี ลักฐานการพดู คยุ ของผบู้ ริหารกับผูป้ ฏิบตั งิ านในชอ่ งทางการสื่อสารดังกล่าว
1.3 ข้าพเจ้าปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ และแสดงให้ทุกคนได้เห็นว่าความปลอดภัยและ
สุขภาพอนามยั ในการทำงานเป็นเร่อื งท่มี คี วามสำคัญ
1.3.1 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยกำหนดให้ผู้รับตำแหน่ง
ผบู้ ริหาร ต้องมคี วามรู้ความเข้าใจ เร่อื งความปลอดภยั และอาชวี อนามัยดว้ ย เช่น ผ่าน
การอบรม/สัมมนาเกี่ยวกบั เร่ืองความปลอดภัย และอาชีวอนามยั
1.3.2 1. มกี ฎระเบยี บ/ขอ้ บงั คบั และคูม่ ือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
2. มีการสื่อสารกฎระเบยี บ/ข้อบงั คับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไปยัง
ผู้บริหารและผปู้ ฏิบัติงานทุกระดบั
3. มีหลักฐานการตรวจติดตาม ผลการปฏิบัตติ ามกฎระเบียบ/ข้อบังคับและคู่มือวา่ ด้วย
ความปลอดภยั ในการทำงาน
1.3.3 1. มีการยกย่องชมเชย ประกาศเกียรติคุณ หรือมอบรางวัลให้ผู้ที่ปฏิบัติงานอย่าง
ปลอดภัย

98

2. มีมาตรการลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ/ข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความ
ปลอดภัยในการทำงาน
1. มีกฎระเบียบ/ข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานที่ครอบคลุมถึง
ผรู้ บั เหมา และคู่สัญญา
1.3.4 2. มีการสื่อสารกฎระเบียบ/ข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานของ
สถานประกอบกิจการไปยงั ผูร้ ับเหมาและคู่สญั ญา
3. มีหลักฐานการตรวจติดตาม ผลการปฏบิ ัติตามกฎระเบียบ/ข้อบงั คบั และคู่มอื วา่ ด้วย
ความปลอดภยั ในการทำงาน
1.4 ข้าพเจ้าสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินการด้านความปลอดภัย และสุขภาพ
อนามยั ในการปฏิบัติงาน
1.4.1 1. มขี ้นั ตอนการปฏบิ ตั งิ านทีป่ ลอดภยั อยา่ งชัดเจน
2. มกี ารสุม่ สอบถาม หรือสงั เกตผปู้ ฏิบัติงาน วา่ มกี ารปฏิบัตติ ามขั้นตอนหรอื ไม่
1.4.2 1. มีประกาศ/ระเบียบ/ข้อบงั คบั การทำงานที่กำหนดให้ลูกจ้างสามารถหยดุ ปฏิบัติงานที่
อาจก่อให้เกดิ อนั ตรายได้และต้องรายงานใหผ้ ู้บงั คบั บญั ชาทราบทันที
2. มีการสุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานว่าทราบถึงประกาศ/ระเบียบ/ข้อบังคับการทำงาน
ดังกล่าว หรอื ไม่
1.4.3 1. มีหลกั ฐานหรอื สมุ่ สอบถามผู้ปฏิบัตงิ านว่าหัวหน้างานมีการกำกับดูแลให้ผู้ปฏิบัติงาน
ปฏิบตั ิงานอยา่ งปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร
2. มีหลักฐานผลการสำรวจความปลอดภัยโดยคณะกรรมการความปลอดภยั อาชีวอนา
มัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นประจำทุกเดอื น
3. มีหลักฐานการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบและการป้องกันอันตรายท่ี
อาจจะเกดิ ข้นึ
1.4.4 มีเอกสารแผนงานประจำปีด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รายละเอียดกิจกรรม
ต่าง ๆ ดา้ นความปลอดภยั ในแผนงาน ผูร้ บั ผดิ ชอบและงบประมาณประจำปี

99

กฎทองข้อท่ี 2 : Identify Hazards - Control Risks ชี้บ่งอันตราย - ควบคมุ ความเส่ยี ง
กระบวนการประเมินความเส่ียง เป็นเครอ่ื งมอื ทีจ่ ำเป็น เพ่ือใชใ้ นการชีบ้ ่งอันตรายและความเสี่ยง ในเวลา
ที่เหมาะสมอยา่ งเปน็ ระบบ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกัน ทั้งอุบัตเิ หตุ การบาดเจบ็ และเหตุการณ์เกือบเป็น
อบุ ัติเหตุทเี่ กิดขน้ึ ต้องได้รับการประเมนิ ด้วยเชน่ กัน
กฎทองขอ้ ที่ 2 แนวทางการตรวจประเมิน/ตรวจสอบ
2.1 ข้าพเจ้าทำให้แน่ใจว่า มีการจัดเตรียมการประเมินความเสี่ยงในสถานที่ทำงานของ

ขา้ พเจ้าโดยทำเปน็ เอกสาร และได้รบั การปรับปรงุ แกไ้ ขใหท้ ันสมัยเปน็ ระยะ ๆ อย่าง
สมำ่ เสมอ
2.1.1 มีเอกสารหรือหลักฐานกำหนดให้ผู้บริหารทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีการ
ประเมินความเสี่ยง โดยนำเอาความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมดมา
พจิ ารณา
2.1.2 มีเอกสารหรือหลักฐานกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงาน/คณะกรรมการ/แพทย์/ผู้เชี่ยวชาญและ
เจ้าหนา้ ที่ความปลอดภยั มสี ว่ นเกีย่ วขอ้ งในการประเมนิ ความเสีย่ งตามขอ้ 2.1.1
2.1.3 มเี อกสารขนั้ ตอนการดำเนินการประเมินความเส่ียงอยา่ งเปน็ ระบบ ประกอบดว้ ย
1. ชบี้ ่งอนั ตราย
2. ประเมนิ ความเสีย่ ง
3. ควบคุมความเสี่ยง
2.1.4 มีเอกสารการประเมินความเสี่ยงทุกงานที่มีความเสี่ยงในสถานประกอบกิจการ รวมถึง
งานบำรุงรักษา งานดูแลทำความสะอาด งานซ่อมแซม งานของผู้รับเหมา และการ
ดำเนนิ งานในกรณีเกิดเหตฉุ ุกเฉนิ
2.1.5 1. มีหลักฐานแสดงผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการผลติ
2. มีเอกสารการตรวจสุขภาพประจำปีและตามปจั จยั เสย่ี ง
2.1.6 มีแผนและหลักฐานการทบทวนความเสี่ยงทุกปี ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ และเมื่อมีการ
เปล่ยี นแปลงข้นั ตอนการทำงานหรอื สภาพแวดล้อมในการทำงาน
2.2 อุบัติเหตุจากการทำงาน เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และเหตุการณ์ร้ายแรง มีการ
รายงาน จัดทำเป็นสถิติ และประเมินระดับความเสี่ยงเพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุง
แก้ไข
2.2.1 1. มีขั้นตอนการดำเนินการแจ้งอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ เหตุการณ์
รา้ ยแรง หรือสง่ิ ท่ีมผี ลกระทบต่อสุขภาพ
2. มีหลักฐานการแจ้งอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ เหตุการณ์ร้ายแรง
หรือสง่ิ ทมี่ ผี ลกระทบต่อสุขภาพ
2.2.2 1. มีขั้นตอนการดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ เหตุการณ์
ร้ายแรงเพือ่ หาสาเหตุสำหรับการปอ้ งกัน

100

2. มีหลักฐานการดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเป็นอบุ ัติเหตุ เหตุการณ์
รา้ ยแรง เพือ่ หาสาเหตสุ ำหรับการปอ้ งกัน
2.2.3 1. มีหลักฐานการจัดทำสถิติการเกิดอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ เหตุการณ์
ร้ายแรง
2. มีการนำสถิติดังกล่าวมาวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเป็น
อบุ ัติเหตุ และเหตกุ ารณ์ร้ายแรง
2.2.4 สอบถามผู้บริหารว่าทราบถึงอุบัติเหตุสูงสุด 3 อันดับแรกและผลเสียหายที่เกิดขึ้น
หรือไม่
2.2.5 มีการนำผลการวิเคราะห์ของข้อ 2.2.1 – 2.2.4 มาใช้ในการประเมินความเสี่ยง และ
จัดทำแผนควบคมุ หรอื ลดความเสยี่ ง
2.2.6 1. มีขั้นตอนการดำเนินการรายงานเหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ เหตุการณ์ร้ายแรง
หรือมีรายงานเหตุการณ์เกือบเป็นอบุ ัติเหตุ เหตุการณ์รา้ ยแรงจากผูป้ ฏิบัติงานหรือผู้ที่มี
หน้าที่เก่ียวข้อง
2.3 สถานประกอบกิจการของเราใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราได้รับจากการประเมินความ
เสี่ยง และจากการวิเคราะห์อุบัติเหตุ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงให้เกิดความ
ปลอดภยั ในการทำงาน
2.3.1 สมุ่ สอบถามผู้บรหิ ารเกี่ยวกับการตรวจสอบประสทิ ธผิ ลของมาตรการควบคุมทีม่ ีอยู่
2.3.2 มหี ลกั ฐานการนำผลการประเมินความเสย่ี งไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัตงิ านในสถาน
ประกอบกจิ การ
2.3.3 มีหลักฐานการสอนงาน/ฝกึ อบรมใหผ้ ู้ปฏิบตั งิ านทีเ่ กี่ยวขอ้ งเป็นรายบุคคล ผลที่ได้จาก
กระบวนการประเมินความเสย่ี ง
กฎทองขอ้ ท่ี 3 : Define Targets - Develop Programs. กำหนดเป้าหมาย - พฒั นาแผนงาน
ความสำเร็จในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จำเป็นต้องมีเป้าหมายชัดเจน และขั้นตอนการ
ดำเนนิ งานทเ่ี ป็นรปู ธรรม สามารถนำไปปฏิบตั ไิ ด้ ซงึ่ ควรจดั ทำเปน็ รูปแบบของแผนงาน
กฎทองขอ้ ท่ี 3 แนวทางการตรวจประเมิน/ตรวจสอบ
3.1 ขา้ พเจา้ ได้กำหนดเป้าหมายทช่ี ัดเจนดา้ นความปลอดภัย และอาชวี อนามัย
3.1.1 มนี โยบายท่คี รอบคลุมเรอ่ื งความปลอดภยั และอาชวี อนามยั
3.1.2 1.มีเป้าหมายที่กำหนดระดับความสำเร็จด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เป็น
รปู ธรรมอย่างชดั เจน เช่น ทำงานหนึ่งลา้ นช่วั โมงโดยไม่เกดิ อุบัตเิ หตุถึงข้นั หยุดงาน เป็น
ต้น หรือสุ่มสอบถามผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานว่าทราบเป้าหมายที่กำหนดระดับ
ความสำเร็จด้านความปลอดภยั และอาชวี อนามยั ของสถานประกอบกิจการ หรอื ไม่
3.1.3 1.มีตัวชี้วัดรายบุคคลตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย
และอาชีวอนามยั
2.สมุ่ สอบถามผู้ปฏบิ ัติงานว่าทราบตัวชีว้ ดั ตามบทบาทหนา้ ท่ีความรับผิดชอบด้านความ
ปลอดภัยและอาชวี อนามยั ของตนเอง หรือไม่

101

3.1.4 มีหลักฐานการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้ปฏิบัติงานระดับบริหาร ผู้ปฏิบัติงาน
ผู้รับเหมา/คู่สัญญา และลูกค้า) ให้ทราบเป้าประสงค์ และระดับความสำเร็จด้านความ
ปลอดภยั และอาชวี อนามยั เชน่ การประกาศผ่านชอ่ งทางต่าง ๆ เป็นตน้

3.2 ข้าพเจ้าวางแผนการกำหนดกิจกรรมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายด้านความปลอดภัยและอาชวี อนามยั

3.2.1 มีแผนปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และมาตรการอื่นที่จะช่วยให้
บรรลุเปา้ หมาย (ถ้าม)ี

3.2.2 มีหลกั ฐานท่รี ะบผุ รู้ บั ผิดชอบกจิ กรรมตา่ ง ๆ ตามแผนปฏิบัตงิ านอย่างชดั เจน
3.2.3 1. มีหลักฐานการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ

เชน่ งานสปั ดาหค์ วามปลอดภัย
2. มหี ลักฐานการเชิญชวนมารว่ มงาน
3.2.4 มีหลักฐานการเชิญชวนครอบครัวผู้ปฏิบัติงานมาร่วมกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
หรอื สุม่ สอบถามผปู้ ฏบิ ัตงิ านเก่ียวกบั เรอ่ื งดังกล่าว
3.3 ข้าพเจ้ากำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของมาตรการความ
ปลอดภัย ฯ ทขี่ า้ พเจ้าใช้อยู่
3.3.1 มีหลักฐานแสดงข้อมูล/สถติ ิที่ใช้วดั ผลความสำเร็จในการปฏบิ ัติงานด้านความปลอดภัย ฯ
เช่น จำนวนอุบัติเหตุ จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม เป็นต้น และมีการแจ้ง
ผลใหผ้ ปู้ ฏิบัติงานรับทราบ
3.3.2 มีหลักฐานการประเมินผลสำเร็จที่จะบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กร โดยพิจารณาจาก
อัตราการประสบอันตราย อัตราการเจ็บป่วย ความถี่ และความรุนแรงของการเกิด
อุบตั เิ หตุ หรอื การเจ็บปว่ ย
3.3.3 มีหลักฐานการทบทวนแผนปฏบิ ัติงาน
3.3.4 มีหลักฐานการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยระหว่างหน่วยงาน
ภายในของสถานประกอบกิจการ และเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นในอุตสาหกรรม
ประเภทหรอื ขนาดใกล้เคยี งกัน
3.3.5 มีหลักฐานหรือสุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสื่อสารผลงาน และผลสำเร็จด้าน
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ตัวอย่างเช่น แจ้งในที่ประชุม หรือประกาศบน
กระดานขา่ วในสถานประกอบกจิ การ

102

กฎทองข้อท่ี 4 : Ensure a Safe and Healthy System - Be Well Organized.
มีระบบการจดั การความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามัย - มีการจดั การองค์กรท่ีเหมาะสม
การจัดการเร่ืองความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในสถานประกอบกจิ การอย่างเป็นระบบเป็นส่ิงทีด่ ี เป็น
เร่อื งที่ดำเนนิ การได้ไม่ยากและคุ้มค่าต่อการลงทนุ
กฎทองขอ้ ท่ี 4 แนวทางการตรวจประเมนิ /ตรวจสอบ
4.1 สถานประกอบกิจการมีการจัดการที่ดีในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

โดยการจัดให้มีโครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าท่ีความรบั ผิดชอบ สมรรถนะ ระเบียบ
ปฏิบตั งิ าน และกระบวนการทำงาน
4.1.1 มีโครงสร้างองค์กรที่กำหนดสมรรถนะ และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความ
ปลอดภัยและอาชีวอนามัย
4.1.2 มีการกำหนดลักษณะงาน บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และสมรรถนะด้านความ
ปลอดภัย และสุขภาพอนามยั ของตำแหนง่ ระดบั บรหิ ารเป็นลายลกั ษณ์อกั ษร
4.1.3 มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน/วิศวกรความปลอดภัย/แพทย์/พยาบาล ฯลฯ
ตามที่กฎหมายกำหนด ให้การสนับสนุน และให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยและ
สุขภาพอนามยั พร้อมทัง้ รายงานตรงต่อผู้บรหิ ารระดบั สูง
4.1.4 มีการกำหนดให้รายงานเรื่องความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย ตามสายการบังคับ
บัญชาของโครงสรา้ งองคก์ ร
4.1.5 1. มกี ารทบทวนกระบวนการประเมนิ ความเสีย่ ง และวธิ กี ารปฏบิ ตั ิงานอย่างปลอดภัย
2. สุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานว่ารับทราบถึงวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยที่มีการ
ปรับปรุงใหม่ รวมทง้ั ไดร้ ับการสอนใหป้ ฏบิ ัติหรอื ไม่
4.1.6 1. มแี ผนป้องกัน และระงบั อคั คภี ัย และมบี ุคลากรทีเ่ พยี งพอ
2. มีผู้แทนลกู จ้างด้านความปลอดภยั และอาชีวอนามัย (จป.) ผู้ทำหน้าที่ปฐมพยาบาล
และผทู้ ำหน้าทด่ี า้ นการป้องกัน และระงับอัคคีภยั
3. มีแผนและหลกั ฐานการฝึกอบรมบุคลากรเก่ยี วกับการแผนป้องกัน และระงับอัคคีภัย
การปฐมพยาบาล
4.1.7 1. มแี ผนการตรวจสุขภาพประจำป/ี แผนการตรวจสุขภาพตามปจั จยั เส่ยี ง
2. มีหลักฐานการตรวจสุขภาพ ฯ ตามข้อ1. และมีการทบทวนการตรวจสุขภาพอย่าง
สม่ำเสมอ
4.2 ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเมื่อการพิจารณาบรรจุ
บุคลากรในตำแหน่งผ้บู ริหาร
4.2.1 มีการกำหนดว่าผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารจะต้องมีคุณสมบัติ ในการปฏิบัติตาม
กฎระเบียบด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามยั อย่างสมำ่ เสมอ
4.2.2 มีแผนกำหนดให้ผู้ที่ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารใหม่ ต้องได้รับการอบรม
หลกั สตู รความปลอดภยั และอาชีวอนามัย

103

4.2.3 มีการกำหนด และสุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานว่าผู้บังคับบัญชามีการประชุมชี้แจงเรื่อง
ความปลอดภยั กับผปู้ ฏบิ ตั ิงานก่อนเรม่ิ ปฏิบตั ิงานหรือไม่

4.2.4 มีแผน และตารางที่กำหนดให้ผู้บริหารทำการตรวจด้านความปลอดภัยในพื้นที่ท่ี
รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบ หรือสุ่ม
สอบถามผปู้ ฏิบัติงานว่าผู้บริหารทำการตรวจดังกล่าวหรือไม่

4.2.5 สุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานว่ามีการพูดคุยเป็นประจำระหว่างผู้บังคับบัญชา
และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
และตดิ ตามว่ามกี ารปฏิบตั ติ ามหน้าที่นนั้ หรอื ไม่

4.3 การจัดองค์กรด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการ
เป็นไปตามทกี่ ฎหมายกำหนด

4.3.1 มีหลักฐานแสดงการทบทวนการจัดองค์กรที่เป็นไปตามกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในระดับต่าง ๆ บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อ
ดำเนินการด้านความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามยั ในสถานประกอบกิจการ

4.3.2 มีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมสัมมนาของผู้ประกอบกิจการ หรือผู้บริหารระดับสูง
เชน่ ภาพถ่าย วฒุ ิบตั ร ใบสำคญั รับเงินลงทะเบยี นเขา้ สมั มนา เป็นตน้

4.3.3 มีหลักฐานแสดงการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย
ในกระบวนการตดั สนิ ใจทีเ่ ก่ยี วข้องกับความปลอดภยั และสุขภาพอนามัย เช่น รายงาน
การประชมุ ภาพถา่ ย เป็นตน้

4.3.4 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทำงาน ซึง่ มอี งค์ประกอบครบถ้วนตามท่กี ฎหมายกำหนด

4.3.5 ดูชื่อ และตำแหน่งของประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ตามคำสั่งแต่งต้ัง
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(กรณีผู้ได้รับมอบหมายเป็นประธาน คปอ. ต้องเป็นลูกจ้างระดับบริหารที่มีอำนาจ
หน้าที่กระทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การลดค่าจ้าง การเลิกจ้าง การให้
บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อร้องทุกข์ และได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจาก
นายจ้าง)

4.3.6 1. ดูรายชื่อผู้มาประชุมและผู้เข้าร่วมประชุมในรายงานการประชุมคณะกรรมการความ
ปลอดภยั ฯ
2. มีรายงานการประชุมคณะกรรมการความปลอดภยั ฯ ทกุ เดือน

4.3.7 1. มีแผนฉุกเฉินกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนกรณี
สารเคมีรัว่ ไหล เปน็ ต้น
2. มีหลักฐานแสดงการฝึกซ้อมดับเพลิง ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี และอื่น ๆ เช่น
ภาพถา่ ย VDO รายงานการฝกึ ซ้อม เปน็ ตน้

4.3.8 มีผลการตรวจสอบติดตามระดับความสำเร็จด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของ
สถานประกอบกิจการ

104

4.3.9 1. มีหลกั ฐานแสดงการจดั ทำระบบการจดั การความปลอดภัย และอาชวี อนามยั
2. มรี ายงานผลการตรวจประเมินตามระบบโดยผู้ตรวจประเมินภายนอก
3. มเี อกสารแสดงวา่ ผา่ นการรับรองแลว้

กฎทองข้อที่ 5 : Ensure safety and health in machines, equipment and workplaces จัด
ใหเ้ ครอื่ งจกั ร อปุ กรณ์ และสถานท่ที ำงานมีความปลอดภัยและไม่มผี ลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
ความปลอดภัยของเครื่องจักร อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต และสถานที่ทำงาน เป็น
สง่ิ จำเปน็ ทต่ี ้องนำมาพจิ ารณาเพอ่ื ให้การทำงานปราศจากอุบตั ิเหตุ และผลกระทบตอ่ สุขภาพอนามัย
กฎทองข้อท่ี 5 แนวทางการตรวจประเมนิ /ตรวจสอบ
5.1 สถานประกอบกิจการมีการดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด

เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง รวมทั้งการจัดซื้อ/จัดจ้าง อาคาร สถานท่ี
อุปกรณ์ เครอื่ งมือ เครอื่ งจกั ร และสิง่ อำนวยความสะดวกในการผลิตตา่ ง ๆ
5.1.1 มีการทำเอกสารการจัดซอื้ /จัดจ้าง ท่มี ีขอ้ กำหนดลักษณะเฉพาะโดยมีเง่ือนไขด้านความ
ปลอดภัย ฯ รวมอยดู่ ว้ ย
5.1.2 มีหลกั ฐานการนำผลจากการประเมินความเส่ียงมาเปน็ เงือ่ นไขในการจัดซื้อ/จัดจ้าง
5.1.3 มีเงื่อนไขการจัดซื้อ/จัดจ้างที่กำหนดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมเรื่องความ
ปลอดภัย ฯ
5.1.4 มีการระบุบุคคล หรือคณะบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจด้านความปลอดภัย ฯ ปรากฏ
ชัดเจน ในคณะกรรมการจดั ซอื้ /จัดจา้ ง หรอื มีหลกั ฐานการมสี ่วนรว่ มของบุคคลดังกล่าว
ขา้ งต้นในการจดั ซอ้ื /จดั จา้ ง
5.1.5 1. มีการกำหนดระเบียบปฏิบัติในการจัดซื้อเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับ
กฎระเบยี บและมาตรฐานด้านความปลอดภยั ทเ่ี กีย่ วข้อง
2. มีเอกสารรบั รองมาตรฐานด้านความปลอดภัย ฯ ของเครื่องจกั ร และอุปกรณท์ ่ีจดั ซ้ือ
5.2 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร อุปกรณ์ รวมทั้งสิ่งอำนวยความ
สะดวกในการผลิตตา่ ง ๆ และอปุ กรณ์น้ันคมุ้ ครองความปลอดภัยได้จรงิ
5.2.1 มีคำสั่ง/แผนงาน/สุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทบทวน การตรวจสอบระบบ
ความปลอดภยั ฯ และอุปกรณอ์ ย่างสม่ำเสมอ
5.2.2 1. มีขน้ั ตอน และวธิ ีปฏบิ ัติงานอย่างปลอดภยั (ขอ้ บังคับ)
2. มีหลักฐาน/สุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมตามขั้นตอน และวิธี
ปฏบิ ตั งิ านอย่างปลอดภยั
5.2.3 1. มหี ลกั ฐานการมอบหมายผูร้ ับผิดชอบการตรวจความปลอดภัย ฯ
2. มหี ลักฐานการตรวจความปลอดภัย ฯ
5.2.4 มีข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษา งานซ่อมแซม
และงานแก้ไขปัญหาอย่างชดั เจน
5.2.5 มกี ารกำหนดและจัดทำเส้นทางการจราจรเพือ่ ความปลอดภัย ฯ ใหเ้ ห็นชดั เจน

105

5.2.6 1. มีการกำหนดและจัดทำแผนผังเสน้ ทางหนีไฟ จดุ ติดต้ังอปุ กรณ์แจ้งเหตุ และอุปกรณ์
เตอื นภัยเกี่ยวกับอคั คภี ัย และการระเบิด อุปกรณ์ดับเพลิง ปรากฏใหเ้ ห็นชัดเจน
2. มีหลกั ฐานการตรวจเส้นทางหนไี ฟและอปุ กรณ์ต่าง ๆ ตามขอ้ 1. ใหอ้ ยู่ในสภาพพร้อม
ใช้งาน

5.3 สถานประกอบกิจการมีส่ิงอำนวยความสะดวกในการผลิต เครอื่ งมอื เคร่อื งจกั ร และ
อุปกรณ์ ทีไ่ มเ่ ป็นอนั ตรายตอ่ สขุ ภาพ หรอื มีอันตรายน้อยท่สี ุด

5.3.1 1. มีแผนการตรวจวดั สภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. มีหลักฐานการตรวจวัด มีมาตรการควบคุม และป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อม
ในการทำงานทีช่ ดั เจน
3. มีหลักฐานการทบทวนมาตรการควบคุม และป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมใน
การทำงานทีช่ ดั เจน เชน่ การปรับปรงุ แกไ้ ข การตรวจตดิ ตาม

5.3.2 1. มแี ผนการตรวจสอบมาตรการควบคมุ และป้องกนั อนั ตราย
2. มีหลักฐานการตรวจสอบประสิทธิผลของมาตรการควบคมุ และปอ้ งกันอันตรายอย่าง
สม่ำเสมอ

5.3.3 มีหลักฐาน หรือสุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดสภาพการทำงานให้เป็นไปตาม
หลักการยศาสตร์ เช่น ใช้เครื่องทุ่นแรงในการทำงานแทนการใช้กำลังคน การปรับ
ท่าทางการทำงานใหเ้ หมาะสม

กฎทองข้อที่ 6 : Improve Qualification – Develop Competence ปรับปรุงคุณวุฒิ/คุณสมบัติ
- พัฒนาสมรรถนะของบคุ ลากร
ลงทุนในเรื่องการอบรมและการพัฒนาทักษะเพื่อให้มีองค์ความรู้ตามที่ต้องการในทุกสถานที่ทำงานทุก
แหง่
กฎทองข้อท่ี 6 แนวทางการตรวจประเมนิ /ตรวจสอบ
6.1 กำหนดคุณวุฒิ/คุณสมบัติ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานกับ

เทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่ให้
งานหยดุ ชะงกั
6.1.1 มีหลักฐานการกำหนดคณุ วุฒ/ิ คณุ สมบตั ิของผู้ปฏบิ ัติงานใหเ้ หมาะสมกบั ลักษณะงาน
6.1.2 1. มีหลกั ฐานการจา้ งงานผ้ปู ฏบิ ตั งิ านใหม่ตามคณุ วฒุ /ิ คณุ สมบัติที่กำหนด
2. มีหลกั ฐานการทบทวนการกำหนดคุณวฒุ ิ/คณุ สมบัติตามขอ้ 6.1.1 ของผปู้ ฏิบตั งิ าน
3. มแี ผนการอบรมผูป้ ฏบิ ตั งิ านใหม่
6.1.3 สุ่มสอบถามฝ่ายบุคคล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องว่าผู้ที่จะพ้นหน้าที่ มีการสอนงานและส่งมอบ
งานใหแ้ กผ่ ู้รบั ช่วงงานหรือไม่
6.1.4 1. มีหลกั ฐานการวิเคราะหค์ วามตอ้ งการ และเหน็ ชอบให้มกี ารเรยี นรเู้ พิ่มเตมิ /ตอ่ เนอ่ื ง
2. มีหลกั ฐาน หรือสุ่มสอบถามผู้ปฏบิ ตั ิงานว่าได้รบั โอกาสเรยี นรเู้ พ่มิ เตมิ /ตอ่ เน่ือง

106

6.2 มีการลงทุนการอบรมอย่างเป็นระบบและการศึกษาเพิ่มเติม/ต่อเนื่องของ
ผปู้ ฏิบัติงาน รวมถงึ สนบั สนุนใหผ้ ปู้ ฏบิ ตั ิงานพฒั นาตนเองเพมิ่ เติมด้วย

6.2.1 1. มีหลักฐานหรอื สุ่มสอบถามผู้ปฏบิ ัติงานเกีย่ วกับความต้องการการฝึกอบรม และการ
เรยี นรูเ้ พิ่มเติม/ต่อเนอื่ ง
2. มแี ผนการพฒั นาบคุ ลากร

6.2.2 มีหลักฐานเกี่ยวกับหลักสูตรการอบรม และการเรียนรู้เพิ่มเติม/ต่อเนื่อง ที่จัดโดย
สถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน โดยส่งผู้ปฏิบัติงานไปเข้าอบรม
เป็นประจำ เช่น โบชัวร์ เอกสารหลักสูตรประจำปี แผนการอบรมประจำปีของ
หนว่ ยงานต่าง ๆ หรอื มหี ลักฐานการเข้าอบรม/การเรยี นร้เู พิ่มเติม/ต่อเน่ือง

6.2.3 มีหลักฐานหรือสุม่ สอบถามผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง โดยใช้ประโยชน์จาก
ข้อมูลของผูผ้ ลติ ผู้จำหนา่ ย รวมทง้ั ส่อื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ เพื่อให้ได้ข้อมลู ทท่ี นั สมัย

6.2.4 สอบถามผู้บรหิ ารหรือมหี ลักฐานการอบรม หรอื เรียนรู้เพิม่ เติม/ต่อเนื่อง ที่มีภาคปฏิบัติ
รวมอยู่

6.3 มีการนำสมรรถนะใหม่ที่ได้รับหรือพัฒนาเพิ่มเติมของผู้ปฏิบัติงาน มาพิจารณาเพื่อ
มอบหมายหน้าท่คี วามรับผดิ ชอบใหม่ท่เี หมาะสม

6.3.1 มีหลักฐาน/สุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านการอบรม หรือเรียนรู้เพิ่มเติม/ต่อเนื่องว่า
ผ้บู รหิ ารใหค้ วามสนใจสอบถาม พดู คยุ แลกเปลี่ยนความรู้ท่ีไดร้ บั เพม่ิ เติม หรอื ไม่

6.3.2 มีหลกั ฐาน/สมุ่ สอบถามฝ่ายบุคคล หรือผูท้ ่เี กี่ยวขอ้ งเก่ียวกับการถ่ายทอดความรู้ของผู้ท่ี
ได้รบั การอบรมหรือเรยี นรเู้ พ่มิ เติม/ต่อเนอ่ื ง ให้กับเพ่อื นรว่ มงาน

6.3.3 สุ่มสอบถามผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้
เพิ่มเติม/ตอ่ เนอ่ื งของผู้ปฏิบัติงาน

6.4 ความรูน้ ำไปสคู่ วามปลอดภัย - เปน็ เหตุผลที่สำคญั ในการสอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานให้
มีความรู้ ความเขา้ ใจ เพอ่ื จะได้ปฏิบตั ิงานได้อยา่ งถกู ตอ้ ง และปลอดภัย

6.4.1 มีหลักฐาน/สุ่มสอบถามผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอนงานที่สอดคล้องกับ
งานของผู้เรียน โดยใช้รูปแบบการพูดคุยแลกเปลี่ยนมากกว่าการบรรยายอย่างเดียว
เช่น On the job training

6.4.2 มีหลักฐาน/สุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานว่าในการสอนงาน มีวิธีการสอน และใช้ภาษาที่
เหมาะสมกับผู้ไดร้ ับการสอนงาน หรือไม่

6.4.3 1. ส่มุ สอบถามผ้ปู ฏบิ ตั งิ านเกี่ยวกบั ความเขา้ ใจในเนอื้ หาสาระของการสอนงาน
2. มีเอกสารประกอบการสอน

107

กฎทองข้อที่ 7 : Invest in People - Motivate by Participation สนับสนุนบุคลากร - สร้าง
แรงจงู ใจโดยการให้ทุกคนมีส่วนรว่ ม
สร้างแรงจูงใจผู้ปฏิบัติงาน โดยการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัย และสุขภาพ
อนามัย การสนบั สนนุ น้ใี ห้ผลตอบแทนทคี่ มุ้ ค่า
กฎทองข้อที่ 7 แนวทางการตรวจประเมิน/ตรวจสอบ
7.1 ข้าพเจ้าแสดงความชื่นชมต่อผู้ปฏิบัติงานในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัย

และสุขภาพอนามัย และคาดหวังว่าผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหาร และพนักงาน
อาวุโสทกุ คนจะทำเช่นนน้ั ดว้ ย
7.1.1 1. มีหลักฐานการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ
ความปลอดภัย และสขุ ภาพอนามยั เชน่ รายงานการประชุมคปอ./เอกสารประกอบการ
แสดงการตดั สินใจของผปู้ ฏบิ ตั งิ าน (ถ้ามี)
2. มีหลักฐาน/สุ่มสอบถามผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยกย่องชมเชย/ว่ากล่าว/ตักเตือน
ผ้ทู มี่ ีพฤติกรรมการทำงานทีป่ ลอดภัย/ไมป่ ลอดภัย
7.1.2 สุ่มสอบถามผู้ปฏิบัตงิ านเกีย่ วกบั การเข้าถึงผบู้ ริหารได้
7.1.3 1. มหี ลกั ฐานเกยี่ วกบั การรบั ฟังขอ้ มลู /รายงานปญั หา/ความคดิ เห็นของผู้ปฏิบัติงานจาก
เอกสารที่เกี่ยวข้อง หรอื การสมุ่ สอบถาม หรอื จากการสังเกตการณ์
2. มีหลักฐาน หรือแผนทจี่ ะดำเนินการแกไ้ ขและแจง้ ใหผ้ ปู้ ฏบิ ัติงานที่เกยี่ วข้องทราบ
7.2 ข้าพเจ้าใช้หวั ข้อเรื่องความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยในการทำงาน ในการสรา้ ง
และพัฒนาวัฒนธรรมองคก์ รเชิงบวก
7.2.1 มีหลักฐาน/กิจกรรมที่แสดงถึงความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และความร่วมมือกัน
เชน่ การทำงานเป็นทีม เพอ่ื นเตือนเพ่ือน เป็นตน้
7.2.2 1. มปี ระกาศ/ระเบียบ/ขอ้ บังคบั การทำงานที่กำหนดให้ลูกจ้างสามารถหยุดปฏบิ ัติงานที่
อาจกอ่ ใหเ้ กดิ อนั ตรายได้
2. ส่มุ สอบถามผู้ปฏิบัติงานว่าทราบถงึ ประกาศ/ระเบียบ/ข้อบังคับการทำงานตามข้อ1.
หรือไม่
7.2.3 มหี ลกั ฐานการสอื่ สารไปยังผู้ปฏิบตั งิ าน และครอบครัววา่ ผูป้ ฏบิ ตั งิ านทำงานอยู่ในสถาน
ประกอบกิจการท่ปี ลอดภัย
7.2.4 มีหลักฐาน/สุ่มสอบถามผู้ปฏิบตั ิงานเกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผูป้ ฏิบัตงิ าน
ทกุ คนว่ามีการเฝ้าระวงั และดูแลซงึ่ กันและกัน
7.2.5 มีหลักฐาน/กิจกรรมที่ให้ผู้ปฏิบัติงาน และครอบครัว ลูกค้าและพันธมิตรเข้ามามีส่วน
รว่ มในกิจกรรมสง่ เสรมิ ความปลอดภยั และสุขภาพอนามยั

108

7.3 ในสถานประกอบกิจการของเรา ได้มีการจัดทำโครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการมีส่วน
รว่ มและการสร้างแรงจงู ใจภายในองค์กร

7.3.1 มีหลักฐานการให้รางวัลทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นตัวเงินแก่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงผู้ปฏิบัติงาน
ระดับบรหิ าร (ถ้าม)ี สำหรบั ผลการปฏบิ ัติงานที่สำเร็จ และปลอดภัย

7.3.2 มีหลักฐานการกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัย และ
สขุ ภาพอนามยั เช่น มปี ระกาศหรอื กิจกรรมเชญิ ชวนให้ผปู้ ฏิบัติงานแสดงความคดิ เห็น ฯ

7.3.3 มีหลักฐานการเสนอความคิดเห็น/การร่วมกิจกรรมรณรงค์/การร่วมประกวด ฯลฯ
ในระดบั ชาติ หรอื นานาชาติ

7.3.4 มีหลักฐานการสร้างแรงจูงใจ และมอบรางวัลให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่รายงานเหตุการณ์
เกอื บเป็นอุบัติเหตุ

7.3.5 1. มีการกำหนดใหก้ ารปฏบิ ัตงิ านท่ีปลอดภัยเปน็ พนื้ ฐานการปฏบิ ัตงิ านของทุกคน
2. มกี ารปฏิบตั ติ ามขอ้ 1.

7.3.6 มีหลักฐานการแจ้งใหผ้ ้ปู ฏิบัติงานทราบถงึ ความเสีย่ งดา้ นสุขภาพ และมาตรการป้องกัน
เชน่ ป้ายเตอื น คำเตอื น สัญลักษณ์ ข้อความ เป็นต้น

109

หลกั สูตรท่ี 4: 14 ตวั ช้ีวดั นำเชงิ รกุ ระดับเบ้ืองต้น สำหรับพีเ่ ลีย้ ง
(INTRODUCTION TO 14 PROACTIVE LEADING INDICATORS FOR MENTOR)

คู่มือ ISSA ฉบับนี้ช่วยเสริมคู่มือ ISSA สำหรับ VISION ZERO และกฎทองเจ็ดประการ
(7 Golden Rules) ตัวชี้วัดนำเชิงรุก (Proactive Leading Indicators) ที่นำเสนอนี้ไม่ใช่มาตรฐาน แต่
ISSA นำเสนอเป็นเครื่องมือเสริมสำหรับสถานประกอบกิจการหรือองค์กรทุกแห่งที่มุ่งมั่นพัฒนา
VISION ZERO ในระดับกา้ วหนา้ หรอื ระดับเร่ิมตน้ ขนาดใหญ่ หรอื ขนาดเลก็ ในประเทศหรอื ตา่ งประเทศ

จากการท่ี ISSA ได้ริเริ่มโครงการป้องกันนี้และเผยแพร่ผลลัพธ์สู่สาธารณะ ISSA กำลังติดตาม
ความสำเรจ็ อันยง่ิ ใหญข่ องกลยทุ ธเ์ ชิงป้องกัน และกฎทองเจ็ดประการซึ่งไดเ้ ปิดตวั ในงานประชุมสมั มนาด้าน
ความปลอดภัย และสุขภาพทั่วโลกครั้งที่ 21 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี ค.ศ. 2017 (The XXI World
Congress on Safety and Health in Singapore, 2017) เรามีความยินดีที่จะรายงานการเติบโตอย่าง
ต่อเนื่องของประชาคม VISION ZERO ทั่วโลกในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้นำสถานประกอบกิจการ
กว่า 11,000 แห่ง ผู้ฝึกสอนมืออาชีพ และผู้สนับสนุนมุ่งมั่นเข้าร่วมโครงการ VISION ZERO จำนวนมาก
จากทัว่ โลกในทกุ สาขาอุตสาหกรรม และจากบรษิ ทั ทกุ ขนาด

เพื่อวัด และประเมินคุณภาพ และความสำเร็จของประสิทธิภาพขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความ
ปลอดภัยและสุขภาพ โดยทั่วไปเราจะมุ่งเน้นท่ีสถิติอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน - ที่เรียกว่าตัวชี้วัดตาม
(lagging indicators) อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรพบวา่ แนวทางที่ใช้ตัวชว้ี ัดตามในการวัดผลน้ียังไม่เพียงพอ
พวกเขากำลังมองหาตัวช้ีวัดซึ่งไมเ่ พยี งแต่เน้นข้อมลู ในอดีต (สถิติ) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสถานการณ์ปัจจบุ นั
หรือแม้กระทั่งส่ิงที่ควรทำในอนาคต นี่คือเหตุผลในการริเริ่มโครงการตัวชี้วัดนำเชิงรุก VISION ZERO
(VISION ZERO Proactive Leading Indicators) พร้อมด้วยกฎทอง 7 ประการ ของ VISION ZERO
ซ่งึ เป็นทย่ี อมรับอยา่ งกวา้ งขวาง

โครงการตัวชี้วัดนำเชิงรุก VISION ZERO เป็นโครงการร่วมระหว่าง 7 หน่วยงานของ ISSA เพื่อการ
ปอ้ งกัน และได้รบั การสนับสนุนจาก 14 หน่วยงานภายใต้คณะกรรมาธิการพิเศษด้านการป้องกนั ของ ISSA
(ISSA Special Commission on Prevention) - เพราะว่าตวั ชว้ี ดั ท่ีเสนอแนะน้ีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
กบั ภาคอุตสาหกรรมทง้ั หมด เช่นเดยี วกบั กฎทอง 7 ประการ

ตัวชี้วัดนำเชิงรุก VISION ZERO สามารถใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ ทั้งใช้ภายในองค์กร เพื่อปรับปรุง
ความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก (SHW) ตลอดจนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับองค์กร
ภายนอก เช่น ห่วงโซ่อุปทาน (supply chains) หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบระหว่างกัน
(benchmarking)

เราขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและข้อคิดเห็นที่เราได้รับจากส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการ และ
ขอขอบคุณสำหรับผลงานที่ยอดเยีย่ มของกลุม่ นักวิจัยทั้ง 4 คน และสำหรับข้อเสนอแนะที่เราไดร้ ับระหว่าง
การดำเนินโครงการจากอุตสาหกจิ องค์กร และผเู้ ชยี่ วชาญต่าง ๆ

การจัดพิมพ์ค่มู ือน้ีและตัวชวี้ ัดนำเชงิ รกุ 14 ตวั เป็นเพียงจุดเรม่ิ ต้นเท่านน้ั ซึง่ คู่มือนี้ต้องเปน็ เอกสารท่ี
ไม่หยุดนิ่ง โปรดติดต่อสื่อสารกับเราต่อไปเกี่ยวกับแนวคิด และประสบการณ์ของท่านในการใช้ตัวชี้วัดชดุ นี้
เพอ่ื สร้างกระบวนการปรับปรุงอยา่ งต่อเนอื่ ง

110

Martina Hesse-Spötter
Chair of the ISSA Special Commission on Prevention
Helmut Ehnes
Chair of the VISION ZERO Steering Committee of the ISSA Special Commission on Prevention

ความเปน็ มา

ทำไมจึงมีการพฒั นาตัวช้ีวัด

การพัฒนาตัวชี้วัดนำเชิงรุก ดำเนินการเพื่อตอบสนองคำร้องขอจากบริษัทและองค์กรที่มีความ
เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ ISSA VISION ZERO คู่มือ ISSA “VISION ZERO - กฎทอง 7 ประการเพื่อให้อุบัติเหตุ
เป็นศูนย์ และงานมีสุขภาวะท่ีดี” ต่อมาได้มีการสร้างกรอบสำหรบั ตัวชี้วัดขึน้ โดยกฎทองแต่ละข้อได้มีการ
พฒั นาตัวช้ีวัดข้ึนมากฎละ 2 ข้อ

ตวั ชวี้ ัดพฒั นาข้นึ ไดอ้ ยา่ งไร

กระบวนการพัฒนาเกี่ยวข้องกับการจัดหาข้อมูลและหลักฐานจากองค์กร VISION ZERO ชั้นนำ
วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งพิมพ์จากแหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ (เช่น หน่วยงานระดับชาติ
อตุ สาหกรรม) และความเชี่ยวชาญกบั ประสบการณท์ ี่มีอยูใ่ นทีมงานโครงการ และคณะกรรมการอำนวยการ
นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการนำเสนอ และการอภิปรายในที่ประชุมต่าง ๆ เช่น: การทำงานด้านความ
ปลอดภัย (Austria, September 2019) สุขภาพ และความเครียดจากการทำงานของ APA/NIOSH
(USA, November 2019) VISION ZERO ซัมมิท (Finland, November 2019) ตลอดจนจากการประชุม
ตา่ ง ๆ ของเครอื ขา่ ย ISSA และคณะกรรมการอำนวยการ รา่ งเอกสารข้อเท็จจรงิ (fact sheets) ของตัวชวี้ ัด
เชงิ รกุ 7 ตวั ไดร้ ับการพัฒนาและสื่อสารกันอยา่ งแพร่หลาย และข้อเสนอแนะได้มาจากแบบสำรวจออนไลน์
พร้อมคำตอบจากบริษัท และองค์กรต่าง ๆ ในกว่า 20 ประเทศ และ 20 ภาคส่วนซึ่งตัวชี้วัด และเอกสาร
ข้อเท็จจริงนี้ ได้รับการปรับและแก้ไขให้เหมาะสม และร่างตัวชี้วัดชุดที่สองที่มี 14 ตัวชี้วัด ได้มีการพัฒนา
และหารือกับคณะกรรมการอำนวยการแล้ว ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้รับ คือชุดเอกสารข้อเท็จจริงของตัวชี้วัด
14 ตวั รวมทงั้ คูม่ ือฉบับนี้

ผพู้ ัฒนา

เอกสารข้อเท็จจริง และคู่มือได้พัฒนาขึ้นสำหรับ ISSA โดย Professor Gerard Zwetsloot
(Netherlands), Senior Researcher Pete Kines (Denmark), and Professor Stavroula Leka
(Ireland) ร่วมกับ Associate Professor Aditya Jain (UK) ในระหว่างปี ค.ศ. 2019 ถึง ค.ศ. 2020
ทีมงานชุดนี้ได้มีการผสมผสานประสบการณ์ทั้งทางวิชาการ และการปฏิบัติในด้านความปลอดภัย สุขภาพ
และความผาสุก (SHW)

111

คณะกรรมการจดั หาทุน และอำนวยการ

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนและจัดสรรค่าใช้จ่ายจาก 7 หน่วยงานระหว่างประเทศของ ISSA ท่ี
เก่ยี วกบั การป้องกนั ประกอบดว้ ย:

• ISSA Section on Prevention in the Construction Industry
• ISSA Section on Education and Training for Prevention
• ISSA Section for Electricity, Gas and Water
• ISSA Section on Information for Prevention
• ISSA Section on Prevention in the Mining Industry
• ISSA Section on Prevention in Trade, Goods Logistics and Port Handling
• ISSA Section on Prevention in Transportation

คณะกรรมการอำนวยการโครงการของ ISSA ไดใ้ ห้ความเหน็ และข้อเสนอแนะแก่ทีมงานโครงการใน
ระหว่างการจัดทำโครงการ พร้อมทั้งได้สนับสนุนทีมงานในการรับข้อมูลจากบริษัท และองค์กรต่าง ๆ
คณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากแหล่งทุนของหน่วยงาน ISSA และจากหน่วยงานกองทุนของ ISSA
และจากฝ่ายเลขานุการทั่วไป: Helmut Ehnes (ประธาน), Gisela Derrick, Christian Felten, Martina
Hesse-Spötter, Petra Jackisch, Jens Jühling, Karl-Heinz Noetel, Sigrid Roth, UdoSchöpf, Alan
Stevens, Sven Timm, and Bernd Treichel (ISSA General Secretariat)

VISION ZERO

VISION ZERO ในการทำงาน ตงั้ บนสมมตฐิ านว่าอบุ ัติเหตุ อันตราย และสุขภาพท่ไี ม่ดจี ากการทำงาน
ทั้งหมดสามารถป้องกันได้ VISION ZERO คอื ความใฝฝ่ ันและความมุ่งมั่นท่ีจะสรา้ ง และทำให้มั่นใจว่างานที่
ทำนั้นปลอดภัย และมีสุขภาวะที่ดี โดยการป้องกันอุบัติเหตุ อันตราย และโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน
พร้อมทั้งส่งเสริมความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องในด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ทั้งนี้ควรทำ
ความเข้าใจว่า VISION ZERO เป็นการเดินทาง เป็นกระบวนการไปสู่อุดมคติ นอกจากนี้ยังเป็นวิสัยทัศน์ที่
อิงคณุ คา่ ซง่ึ หมายความวา่ งานไม่ควรสง่ ผลเสยี ตอ่ ความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ของผ้ปู ฏบิ ัติงาน
และถ้าเป็นไปได้ ควรช่วยเหลือพวกเขาธำรงรักษา หรือปรับปรุงความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก
ของพวกเขา และพฒั นาใหเ้ ขามีความมน่ั ใจในตนเอง มคี วามสามารถ และใหไ้ ดร้ ับการจา้ งงาน

องค์กรสามารถมุง่ มัน่ ต่อ VISION ZERO ในระดบั ใด ๆ ของประสิทธิภาพดา้ นความปลอดภยั สขุ ภาพ
และความผาสุกก็ได้ ความมุ่งมั่นอย่างจริงจังต่อ VISION ZERO สามารถทำให้เกิดการริเริ่ม และรักษา
กระบวนการ และการสนับสนุนทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการเดิน ทางของ VISION ZERO ได้
VISION ZERO ไมใ่ ชส่ ิง่ ทคี่ ณุ มี หรือบรรลุแตเ่ ป็นส่ิงที่คุณต้องทำ VISION ZERO ไม่ใชส่ ำหรบั องค์กรที่ดีที่สุด
หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก เป็นของตนเองเท่าน้ัน
แต่ยังเกี่ยวข้องกับองค์กรขนาดเล็กที่ไม่มีประสบการณ์มากนักในการบูรณาการความปลอดภัย สุขภาพ
และความผาสกุ ให้เปน็ สว่ นหนึ่งของกลยทุ ธท์ างธรุ กจิ

112

สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่า วิสัยทัศน์ (ความคิด จินตภาพที่สดใสว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
หรือเป็นเช่นไร) หมายถึง ความใฝ่ฝันในระยะยาว; มันไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายจะต้องเป็น ‘ศูนย์’
หรือควรจะเป็น ‘ศูนย์’ แต่เป็นความทะเยอทะยานบนพื้นฐานของความเข้าใจว่า อุบัติเหตุ อันตราย
และสุขภาพที่ไม่ดีจากการทำงาน สามารถป้องกันได้โดยการออกแบบ การวางแผน การกำหนดขั้นตอน
และการปฏิบตั ทิ เ่ี หมาะสม และทนั ท่วงที

ความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสกุ (Safety, Health and Wellbeing)

ความหมายของความปลอดภยั สุขภาพ และความผาสกุ ทจี่ ะใช้กับตวั ช้วี ัดช้นั นำเชิงรกุ ในคมู่ อื นี้ มีดงั น้ี:

• ความปลอดภัยในการทำงาน (Safety at work) มีลักษณะโดดเด่นด้วยการส่งเสริมให้มีอยู่และ
บำรุงรักษาไว้ หรือมีความยั่งยืนของสภาวะและพฤติกรรมที่ปลอดภัยในที่ทำงาน เพื่อคงไว้ซ่ึง
สถานที่ทำงานที่ปราศจากการบาดเจ็บ และการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างไม่
คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ (accidents) อุบัติการณ์ (incidents) และเหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ
(near misses) ตลอดจนสภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

• สุขภาพ - สุขภาพทางกายในที่ทำงาน (Health - Physical health at work) มีลักษณะโดดเด่น
ด้วยการส่งเสริมให้มีอยู่ และบำรุงรักษาไว้ หรือมีความยั่งยืนของสภาวะทางสุขภาพ และ
พฤติกรรมที่ดีในที่ทำงาน เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพทางกาย และความสามารถในการทำงานของ
ผู้ปฏิบัติงาน (working capacity) และมีการป้องกันสภาวะที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และสภาวะด้านจิต
สงั คมท่ีไม่ดีในการทำงาน (poor psychosocial working conditions)

• ความผาสุก - สุขภาพจิตในที่ทำงาน (Wellbeing - Psychological health at work) มีลักษณะ
โดดเด่นด้วยการส่งเสริมให้มีอยู่และบำรุงรักษาไว้ หรือมีความยั่งยืนของสภาวะจิตสังคมในการ
ทำงานที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพจติ เชิงบวกของบุคคล และความสามารถในการทำงาน
อย่างมีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ (work productively and creatively) และมีการป้องกัน
สภาวะที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และสภาวะด้านจิตสังคมที่ไม่ดีในการทำงาน ปัจจัยทั้งสามด้าน - "ความ
ปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก" - เกี่ยวข้องและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งหมายถึง
โอกาสในการเสริมแรงกัน (synergy) และนั่นคือเหตุผลที่ตัวชี้วัดนำเชิงรุกทั้งหมดสัมพันธ์กับ
ปัจจัยทั้ง 3 ด้านเป็นอย่างดี ดังนั้น จึงขอแนะนำให้จัดการกับปัจจัยทั้ง 3 ด้านดังกล่าวด้วยวิธี
การบูรณาการ และถ้าเป็นไปได้ให้บูรณาการเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เพ่ือ
ประกนั วา่ ในแต่ละด้านของท้ัง 3 ดา้ นจะไดร้ บั ความสนใจอย่างเพียงพอ ดังน้ันตวั ชี้วัดนำเชิงรุกใน
คู่มือนี้ จึงถูกเสนอให้ประเมินแต่ละด้านแยกกัน ในปัจจุบันหลายองค์กรมีนโยบายและระบบที่
ก้าวหน้ามากขึ้นเพื่อให้แน่ใจในด้านความปลอดภัยมากกว่าด้านสุขภาพ และความผาสุก
ความหมายของปฏิสมั พันธ์ระหว่างความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก กค็ ือ แม้ว่าองค์กรจะ
พิจารณาเฉพาะการมุ่งมั่นต่อเป้าหมายระยะยาวในการส่งเสริมความปลอดภัยเท่านั้น แต่ก็ยัง
จำเปน็ ตอ้ งจดั การกับสขุ ภาพและความผาสุกอย่างเพยี งพออีกดว้ ย

113

จาก “ความปลอดภยั ”สู่ “ความปลอดภัย สขุ ภาพ และความผาสกุ ”
(From “Safety” to “Safety, Health & Wellbeing”)

เมอ่ื องค์กรกล่าววา่ "เราดูแลสุขภาพและความปลอดภัย" นนั่ มักจะหมายความว่า มีการดูแลเอาใจใส่
ด้านความปลอดภัยเป็นหลัก และครอบคลุมด้านสุขภาพ ที่จับต้องได้เพียงบางส่วนเท่านั้น หลายองค์กร
ตระหนักดวี า่ ด้านความผาสกุ ของบุคลากรมคี วามสำคญั มากขนึ้ เรอื่ ย ๆ แตก่ ย็ งั ไม่มีวธิ กี ารเชงิ รกุ ทเี่ ป็นระบบ
ในการจัดการเลย

เอาใจใสแ่ บบบูรณาการหรือเฉพาะเจาะจงสำหรบั ดา้ นสขุ ภาพ และความผาสุก
(Integrated or specific attention for health and wellbeing)

ตัวชี้วัดเชิงรุกแต่ละตัว มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัย (Safety)
สุขภาพ (Health) และความผาสุก (Wellbeing) ซึ่งต่อไปจะใช้ตัวย่อ SHW ในคู่มือนี้และในเอกสาร
ข้อเท็จจริง (fact sheets) ทั้ง 14 ชุด โดยขอเสนอแนะให้บูรณาการปัจจัยทั้ง 3 ด้านเข้าด้วยกันและให้
บูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ SHW ลงเอยด้วยการ
จัดการความปลอดภัยเพียงด้านเดียว โดยเอาใจใส่เพียงเล็กน้อยต่อสุขภาพและความผาสุก ดังนั้นจึงขอ
แนะนำให้ใช้ตัวชี้วัดปัจจัยทั้ง 3 ด้านโดยแยกแต่ละด้าน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ได้มองเห็นภาพที่ดีว่า
การจัดการอยา่ งเปน็ ระบบและเชงิ รุกไม่ได้เน้นเฉพาะด้านความปลอดภยั เท่าน้นั แต่ยงั รวมถึงการจัดการด้าน
สุขภาพ และความผาสุกดว้ ยนอกจากนี้ ยงั สามารถกระตุ้นให้องค์กรต่าง ๆ ใชแ้ นวทางการพัฒนาด้านความ
ปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จในการนำมาปรับปรุงด้านสุขภาพ และความผาสุก เมื่อมีการพัฒนาการ
จัดการด้านสุขภาพ และความผาสุกที่ใกล้เคียงกับระดับการจัดการความปลอดภัยในองค์กรแล้ว จึงนับว่า
เปน็ โอกาสที่ดที ี่จะบูรณาการปัจจัยทัง้ 3 ดา้ นเข้าสกู่ ระบวนการทางธุรกจิ เพิ่มเติมข้ึน

114

โอกาสสำหรบั การเสริมกันของกจิ กรรมตา่ ง ๆ (Opportunities for synergies)

มีโอกาสสำคัญและแหล่งที่มาที่เป็นไปได้สำหรับการเสริมกันระหว่างปัจจัยทั้ง 3 ด้าน คือ
ความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ซึ่งแสดงถึงคุณค่าของมนุษย์และสังคมที่เท่าเทียมกัน และแต่ละ
ปจั จัยอยบู่ นพื้นฐานของการใหค้ ุณค่ากับผู้คน นอกจากน้ียังมี "คณุ คา่ สนบั สนุน" ท่วั ไปทเ่ี กย่ี วข้องกับปัจจัย
ทั้ง 3 ด้าน เช่น ความไว้วางใจ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความผาสุก และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวัฒนธรรมที่ผู้คน
สามารถที่จะรายงานอุบัติการณ์ และเหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ หรือปัญหาสุขภาพได้อย่างอิสระ อนึ่ง
‘ความเหมาะสมกับงาน’ ทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคคลนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการบริหารความ
ปลอดภยั ทง้ั การบรหิ ารความปลอดภัยและความผาสกุ แสดงใหเ้ หน็ ถงึ การลดและการควบคุม ‘การเบ่ียงเบน
จากปกติ’ ในกระบวนการทำงาน และในการเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน สุขภาพจิตที่ดีจะช่วยป้องกัน
ขอ้ ผดิ พลาด (ที่ไม่จำเป็น) ของมนุษย์ ซึง่ เป็นส่ิงสำคัญสำหรบั การป้องกันอุบัติการณด์ ว้ ย นอกจากนี้ยังมีการ
เก้อื กลู กนั ที่สำคัญระหวา่ งความปลอดภัยและความผาสุก: ดว้ ยเหตุผลด้านความปลอดภัยทำให้มีความเอาใจ
ใส่เพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยทีด่ ี และการส่งเสริมพฤติกรรมท่ีปลอดภัย ซึ่งทั้งสอง
ส่วนมีหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่แข็งแกร่ง ในเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวกับความผาสุกได้ให้ความเอาใจใส่
เป็นอย่างมากต่อการจัดระบบงาน ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธก์ ับความปลอดภัยดว้ ย สำหรับพฤติกรรมท่ีปลอดภยั
มักใหม้ งุ่ เน้นท่ีแต่ละบุคคล ในขณะทคี่ วามผาสุกนั้นเปน็ กระบวนการทางสงั คม เชน่ การสนบั สนุนทางสังคม
การสื่อสารและการประสานความร่วมมือท่ีดี และความเป็นอสิ ระ ในระดับหนงึ่ ท่ีมีความสำคญั มาก ดังนั้น
การมีเหตุผลที่ดีที่ระบุว่า แม้จุดมุ่งหมายจะมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยเพียงด้านเดียวและมีวิสัยทัศน์ของ
อุบตั ิเหตเุ ปน็ ศูนย์ เพยี งด้านเดียวก็ตาม เปน็ สิง่ จำเป็นสำหรบั องค์กรในการจัดการความผาสกุ อยา่ งเพยี งพอ
เพ่ือใหบ้ รรลุผลการเสริมแรงกันดังท่กี ล่าวไว้ข้างตน้

ความผาสุก (Wellbeing)

ทัง้ สุขภาพกายและสขุ ภาพจิตและความผาสุกในการทำงานไดร้ ับผลกระทบจากอนั ตรายทางจิตสังคม
(psychosocial hazards) ในแง่ของการจัดระบบงาน (เช่น เนื้อหาของงาน ภาระงานสูง ความรีบเร่งของ
งาน ทำงานหนกั เกินไปเปน็ ประจำ ขาดการควบคมุ บทบาทคลุมเครือ ความขัดแย้งของบทบาท ตารางการ
ทำงานที่ไม่ยืดหยุ่น) และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่ทำงาน (เช่น [กลัว] ความขัดแย้ง การล่วงละเมิด
การกลัน่ แกล้ง) สภาพแวดลอ้ มการทำงานทางกายภาพสามารถส่งผลกระทบต่อสขุ ภาพ และความผาสกุ ของ
เราโดยตรงได้อีกด้วย: เช่น ไม่มีใครชอบที่จะทำงานในที่ทำงานที่มีเสียงดัง หรือที่สกปรก หรือทำงานกับ
อปุ กรณท์ ไ่ี ม่ดี อน่งึ ความเส่ยี งท่ีเกิดจากอนั ตรายทางจิตสงั คม ก็สามารถจัดการอย่างเป็นระบบได้เหมือนกับ
ความเส่ยี งประเภทอ่ืน ๆ สำหรับงานสภาพแวดล้อมทางจิตสังคมท่ีดีต่อสุขภาพ ในแงข่ อง ตวั อย่างเช่น การ
สนับสนุนทางสังคมที่เหมาะสมจากผู้นำและเพื่อนร่วมงาน ระดับความเป็นอิสระที่เหมาะสม และโอกาสใน
การเรยี นรูแ้ ละการพัฒนา สามารถสง่ ผลดีตอ่ สขุ ภาพและความผาสุก ตลอดจนความปลอดภยั

ในหลาย ๆ องค์กร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นผู้รับผิดชอบในการสนับสนุนการพัฒนาความผาสุก
ในขณะท่วี ศิ วกรหรือผู้เช่ยี วชาญที่ได้รบั มอบหมายเฉพาะด้านความปลอดภยั และอาชวี อนามัย ส่วนใหญ่จะ
เป็นผู้สนับสนุนงานด้านสุขภาพและความปลอดภัย ขณะที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีประสบการณ์มากมายใน
การติดต่อกบั ผู้คน พวกเขามกั ไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการจัดการอาชวี อนามยั และความปลอดภยั อย่างเป็น

115

ระบบ ในทำนองเดียวกันผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภยั มักจะมีประสบการณ์น้อยในการ
จดั การระบบงาน ดงั น้นั การจัดการปญั หาและอุปสรรคต่าง ๆ ขององคก์ รที่ทำงานแบบแยกส่วน และสร้าง
กลยุทธ์ SHW รว่ มกนั ซึง่ หมายถงึ โอกาสในการเพ่มิ ประสทิ ธผิ ล และการเสรมิ แรงกนั ขององคก์ ร
กฎทอง 7 ประการสำหรบั VISION ZERO (The 7 Golden Rules for VISION ZERO)
กลยุทธ์ VISION ZERO ของ ISSA ครอบคลมุ กฎทอง 7 ประการ

คำแนะนำสำหรับกฎทอง 7 ประการซึ่งกล่าวถึงนายจ้าง และผู้จัดการสามารถดาวน์โหลดได้จาก
เว็บไซต์ ISSA VISION ZERO (visionzero.global) และมีหลายภาษานอกจากนี้คุณยังสามารถดาวน์โหลด
แอพพลิเคชั่นกฎทอง 7 ประการของ ISSA ลงในอุปกรณ์สมาร์ทโฟนได้ หรือหาได้จากอินเทอร์เน็ต
(sevengoldenrules.com)
ตัวชีว้ ัดนำเชงิ รกุ - การอธิบายกฎทอง 7 ประการ
(Proactive leading indicators - Elaborating on the 7 Golden Rules)

คู่มือกฎทอง 7 ประการของประกันสังคมระหว่างประเทศ (ISSA) เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนา
VISION ZERO ในระดับองค์กร คู่มือเสริมฉบับนี้เกี่ยวกับตัวชี้วัดนำเชิงรุก สำหรับ VISION ZERO ได้ถูก
พัฒนาข้นึ เพอื่ อธบิ ายกฎทอง 7 ประการจึงขอแนะนำใหเ้ ริ่มจากการใช้คมู่ ือกฎทอง 7 ประการ เพอื่ ระบุส่วน
ทีเ่ กยี่ วขอ้ งและสำคัญท่ีสุดสำหรับการปรบั ปรุงในองค์กรของคุณ ตวั ช้ีวัดนำเชงิ รุกท่นี ำเสนอในคู่มือน้ีจะช่วย
เน้นกิจกรรมหลักที่เกี่ยวข้องกับกฎทองทง้ั หมด

ตัวชี้วัดทั้งหมดในคู่มือนี้เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก แต่จะดีที่สุดเมื่อได้
บูรณาการ SHW เข้ากับธุรกิจปกติและกระบวนการทำงาน ก้าวแรกสู่อุดมคตินั้นคือการตรวจสอบให้แน่ใจ

116

ว่า SHW ไม่ได้รับการปฏิบัติแยกกัน แต่ได้รับการจัดการและพิจารณาว่าเป็นแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน ซึ่ง
สัมพันธ์กับ SHW ของผู้ปฏิบัติงานเรื่องนี้อาจต้องการการประสานความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและการ
เรียนรู้ร่วมกันของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้าน SHW และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากฝ่ายต่าง ๆ ผู้รับเหมา และ
องคก์ รพันธมติ ร ฯลฯ

ตวั ชีว้ ดั นำ และตัวชวี้ ดั ตาม คืออะไร
(What are leading indicators and lagging indicators?)

ตัวชี้วัดนำและตัวชี้วัดตามสำหรับด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุกสามารถนำมาใช้ใน
รูปแบบเสริมกัน แทนที่จะใช้เป็นใช้เป็นตัวชี้วัด 2 ตัว โดยสามารถเปรียบได้กับการขับรถ ซึ่งเรามองเห็น
ตัวชี้วัดนำได้จากการมองตรงผ่านกระจกหน้า และทิศทางที่คุณกำลังมุ่งหน้าไป ในขณะที่ตัวชี้วัดตาม
เกี่ยวขอ้ งกบั การมองยอ้ นกลับไปในกระจกมองขา้ ง และกระจกมองดา้ นหลังของคุณ

ตัวชี้วัดตาม มักจะเน้นที่ผลลัพธ์ และเกี่ยวข้องกับการสะสมของข้อมูลในอดีตในระยะยาว
ตัวอย่างเชน่ รายงานอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บ การขาดงานจากการเจ็บป่วย (เช่น โรค ปัญหาสุขภาพทาง
กายและทางจิตใจ); การเรียกร้องค่าทดแทน; อุบัติการณ์ หรือเหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ (รวมถึง
เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย หรือการสูญเสีย); การเกษียณก่อนเวลา;
และจำนวนวันที่สูญเสียการผลิตอันเนื่องจากการขาดงานของผู้ปฏิบัติ งานจากการเจ็บป่วยระยะส้ัน
หรือระยะยาว ตัวชี้วัดตามนี้สามารถใช้ในการกำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงงานได้ (เช่น เกิดอุบัติการณ์
น้อยลง หรือ การขาดงานจากการเจ็บป่วยลดลง) แต่มักจะไม่มีการบอกว่าจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้
อย่างไร

ตัวชี้วัดนำมักจะเน้นที่กระบวนการ และเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่คาดว่าจะปรับปรุงด้าน SHW
ตัวชี้วัดนำหลายตวั จะบง่ บอกถงึ กจิ กรรมท่ีโดยทวั่ ไปมักเป็นแนวปฏิบัติทด่ี ี (good practice) เชน่ การบูรณา
การ SHW ใน: บทบาทและความรับผิดชอบของผู้นำ การเข้ารับตำแหน่งและการฝึกอบรม การประชุม
และการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้นำทำหน้าที่ชี้บ่งแนวโน้มของจุดแข็งและจุดอ่อนในกระบวนการด้าน SHW ที่สนใจ
และสามารถใชใ้ นการตัดสนิ ใจเพือ่ ปรบั ปรงุ กระบวนการเฉพาะอีกด้วย

ตัวชี้วัดนำเชิงรุก สะท้อนถึงกระบวนการที่ดำเนินการได้ ทั้งปัจจุบันและที่จะทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง
เป็นกิจกรรมและการดำเนนิ การที่ทำมากกว่าการควบคุมความเสีย่ งท่ีมีอยู่ และการปกป้องสถานะที่เปน็ อยู่
เท่านั้น แต่มุ่งเน้นไปที่การรับรู้ การสร้าง การใช้ และการประเมินโอกาสในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ด้วยวิธีนี้จะมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบมากขึ้น ลักษณะที่เกี่ยวข้องบางประการเกี่ยวข้องกับการใช้
นวตั กรรม และการมีอทิ ธิพลต่อการเปล่ียนแปลงเพ่ือปรบั ปรุง SHW; การคาดการณ์ความเสยี่ งของ SHW ที่
ระยะเริ่มต้น (เช่น ในการออกแบบและการจัดซื้อจัดจ้าง); การพัฒนารูปแบบธุรกิจที่เป็นมิตรกับพนักงาน;
การใช้มาตรการท่ีสูงขึน้ ตามลำดบั ชั้นของมาตรการควบคุม; และส่งเสรมิ การพัฒนาการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิง
ปอ้ งกัน โดยที่การสนับสนุนทางสงั คม) ความไวว้ างใจ (trust) ความยตุ ิธรรม (justice) และการเปิดกว้างเป็น
สง่ิ สำคญั เปน็ ต้น

117

ทำไมตัวชวี้ ดั นำเชิงรุกจงึ นำมาใช้สำหรับ VISION ZERO

(Why progressive leading indicators for VISION ZERO?)

องค์กรขนาดเล็กสามารถใช้ตัวชี้วัดนำเชิงรุกเพื่อเน้นกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยสร้าง SHW ที่ดี (และ
แนวทางปฏบิ ตั ิทด่ี ที ่เี กย่ี วข้อง) องค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่สามารถใช้ตัวชวี้ ดั ในการวัดผล (เชิงปริมาณ)
ว่าทำงานได้ดีเพียงใดเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักที่เกี่ยวข้องกับกฎทอง 7 ประการ นอกจากนี้ยังสามารถใช้
ตัวชี้วัดในการเปรยี บเทียบทั้งภายในองค์กร (เปรียบเทียบระหว่างคนละที่ตั้ง หรือคนละหน่วยงาน) ในภาค
ส่วนเดียวกัน (เปรียบเทียบกับคู่แข่งในภาคส่วนเดียวกัน) และข้ามภาคส่วน (เปรียบเทียบกับองค์กรธุรกิจ
ช้นั นำจากภาคสว่ นอืน่ ๆ)

คำพูดยอดนิยมคือ “อะไรที่วัดได้ - ก็ทำสำเร็จได้” แม้ว่า VISION ZERO หมายถึงการเดินทางที่ไม่
เคย ‘ทำสำเร็จ’ อย่างเต็มที่ก็ตาม แต่ตัวชี้วัดก็สามารถช่วยให้องค์กรมั่นใจได้อย่างแน่นอนว่ากิจกรรมหลัก
เพื่อให้ SHW ที่ดี ‘สำเร็จลุล่วง’ และยั่งยืนได้ ดังนั้นการกำหนดจำนวนกรณีที่จะดำเนินการในแต่ละเดือน
นัน้ จะเห็นว่าแตล่ ะด้านของ SHW กไ็ ด้ถูกบรู ณาการเป็นสว่ นหน่งึ ของกระบวนการอยู่แล้ว ตวั อย่างเช่น การ
เข้ารับตำแหน่ง การฝึกอบรม การจัดซื้อจัดจ้าง การบรรยายสรุปก่อนการทำงาน การวางแผน และการจัด
ระบบงาน และอื่น ๆ ช่วยให้มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย SHW ตัวชี้วัดนี้มีประโยชน์สำหรับ
"การตัดสินใจครั้งใหญ่" ในการบอกทิศทางสำหรับการพัฒนาในปีต่อ ๆ ไปตลอดจนการพัฒนา
การประเมินผล และทบทวนกิจกรรมจากเดือนลา่ สุด และการกำหนดทิศทางสำหรับเดือนตอ่ ๆ ไป เหตุผล
บางประการในการใชต้ ัวชี้วัดนำ (เชิงรกุ ) คือจะชว่ ยในกรณี:

• เน้นกิจกรรมทท่ี ำใหเ้ กดิ SHW ท่ีดี
• การคาดการณป์ ระสทิ ธภิ าพ SHW ในอนาคต
• ระบุจุดแข็งและจุดอ่อน - ในปจั จยั สำคญั และกระบวนการที่กำหนดประสิทธภิ าพของ SHW (เช่น

การสง่ เสรมิ SHW และลดความเสยี่ งของ SHW)
• จัดหากลไกป้อนกลับและข้อเสนอแนะที่ทันเวลา เชิงรุก และตรงประเด็น ให้แก่ผู้นำและ

ผู้ปฏิบัตงิ าน
• ใหม้ ีการเปรยี บเทียบภายใน และระหว่างองคก์ ร และภาคสว่ น ท้ังในประเทศและต่างประเทศ
• แสดงให้เหน็ ถงึ แนวทางปฏิบัตทิ ด่ี ี และวฒั นธรรมเชิงปอ้ งกนั ทแ่ี ท้จรงิ สผู่ มู้ สี ว่ นได้ส่วนเสยี ภายนอก

เช่น ลูกค้า พันธมิตรทาง ธุรกิจ นักลงทุน บริษัทประกัน และหน่วยงานรัฐ และยังเป็นการ
แสดงผลงานที่ดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ธนาคาร ผู้ให้บริการประกันภัย คู่สัญญา และแม้แต่
ลูกคา้ และต่อสงั คมโดยรวม
• ต้องมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดี และวัฒนธรรมเชิงป้องกันที่แท้จริง จากผู้รับเหมาและซัพ
พลายเออร์
• ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในความ
รบั ผิดชอบตอ่ สงั คม และ SHW

118

การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของการใช้ตัวชี้วัดนำเชิงรุกยังไม่ได้สรปุ ผลอย่างไรก็ตาม ตามที่กล่าวไว้ในเอกสาร
VISION ZERO ของ ISSA และได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานที่เพียงพอในปัจจุบันที่ระบุว่าผลตอบแทน
จากการลงทุนด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย อยู่ที่ประมาณ 2.2 เท่า สำหรับทุก ๆ หน่วยการเงิน
(เช่น 1 ดอลลาร์ ยูโร หรือเปโซ) ทีล่ งทนุ

119

หลักสูตรท่ี 5: แนวทางการเปน็ พเี่ ลี้ยง VISION ZERO (VISION ZERO FOR MENTOR)

อุบตั ิเหตใุ นทที่ ำงาน และโรคจากงานอาชีพไม่ได้ถูกกำหนดโดยชะตากรรมหรือหลีกเล่ยี งไม่ได้ - มันมี
สาเหตุเสมอสาเหตุเหล่านี้สามารถขจัดออกไปได้และอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับงานและโรคจากงานอาชีพ
สามารถป้องกนั ไดโ้ ดยการสร้างวฒั นธรรมเชิงปอ้ งกันที่แขง็ แรง

“Vision Zero” เป็นการจัดการด้วยการเปลี่ยนแปลงเพื่อการป้องกัน ซึ่งบูรณาการ 3 มิติ ได้แก่
ดา้ นความปลอดภยั สขุ ภาพ และความผาสกุ ทกุ ระดบั ของการทำงาน

แนวคิด Vision Zero ขององคก์ รสากลดา้ นประกันสังคม (International Social Security Society
Association - ISSA) มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลำดับความสำคัญที่เฉพาะเจาะจง
ดา้ นความปลอดภยั สุขภาพ หรอื ความผาสกุ เพือ่ การปอ้ งกันในบริบทใด ๆ ดว้ ยความยดื หยนุ่ นี้ Vision Zero
จงึ เปน็ ประโยชนต์ ่อสถานทที่ ำงานสถานประกอบการ หรืออตุ สาหกรรมในทกุ ภมู ิภาคของโลก

ค่าใชจ้ ่ายด้านความปลอดภยั และสขุ ภาพ

สภาพการทำงานที่ปลอดภัย และถูกสุขอนามัยไม่ได้เป็นเพียงข้อผูกมัดทางกฎหมายและศีลธรรม
เท่าน้ัน แตย่ งั ใหผ้ ลตอบแทนในเชงิ เศรษฐกิจด้วย การลงทนุ ดา้ นความปลอดภยั และสุขภาพในสถานที่ทำงาน
หลีกเลี่ยงความทุกข์ทรมานของมนุษย์และปกป้องทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของเรา - สุขภาพและความสมบูรณ์
ทางร่างกายและจติ ใจของเราท่ีสำคัญ คือ ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อแรงจงู ใจของพนกั งานในเรื่องคุณภาพของ
การทำงาน และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชื่อเสียงของบริษัท และระดับความพึงพอใจของพนักงาน ผู้จัดการ
และลูกคา้ และทำใหป้ ระสบความสำเร็จเชิงเศรษฐกจิ ดว้ ย

การวิจัยระหว่างประเทศเกี่ยวกับผลตอบแทนจากการลงทุนในการป้องกัน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าทุก ๆ
หนึ่งดอลลาร์ที่ลงทุนในด้านความปลอดภัย และสุขภาพจะสร้างผลประโยชน์ที่เป็นไปได้มากกว่าสอง
ดอลลาร์ในผลกระทบทางเศรษฐกิจเชิงบวก สภาพการทำงานที่ดีต่อสุขภาพมีส่วนสนับสนุนให้ธุรกิจมี
สุขภาพทแ่ี ขง็ แรง

ความปลอดภัยและสุขภาพตอ้ งการภาวะผ้นู ำ

การปรับปรุงความปลอดภัย และสุขภาพในสถานประกอบกิจการไม่ได้หมายความว่าจำเป็นในการ
เพิ่มค่าใช้จ่าย สิ่งที่สำคัญมากกว่า คือผู้บริหารทำหน้าที่ด้วยความตระหนัก เป็นผู้นำองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
และสรา้ งบรรยากาศแหง่ ความไวว้ างใจ และมีการส่ือสารอยา่ งเปิดเผยทุกระดบั ภายในบริษทั การดำเนินการ
กลยุทธ์การป้องกันด้วย Vision Zero ต้องการการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน และการมีส่วนร่วมของผู้ดำเนิน
นโยบายที่แตกต่างกันหลาย ๆ คนในระดับองค์กร หรือบริษัทสิ่งหนึ่งที่ชัดเจน: ความสำเร็จ หรือความ
ล้มเหลวในการดำเนินการกลยุทธ์ Vision Zero ในท้ายที่สุดจะถกู กำหนดโดยนายจ้าง และผู้บริหารทีท่ ุ่มเท
ผู้จัดการทม่ี แี รงจูงใจ และพนกั งานที่มีความเอาใจใส่

คู่มอื นี้ไดร้ บั การพฒั นามาอย่างไร

คู่มือ Vision Zero สำหรับผู้ฝึกสอนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนี้ได้รับการพัฒนาโดย
หน่วยงานการอบรม และการศึกษาเพือ่ การป้องกันและการสนบั สนนุ จากหน่วยงานอื่น ๆ ขององค์กรสากล

120

ด้านประกันสังคม (International Social Security Society Association - ISSA) และสมาคมส่งเสริม
ความปลอดภัย และอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้นำมาปรับปรุงเพ่ือ
ประยกุ ตใ์ ช้ในการดำเนนิ การ Vision Zero ในประเทศไทย

คู่มือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ฝึกสอนและผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) หรือ อำนวยความสะดวกในการสนทนาในบริษัทต่าง ๆ ซึ่งอาจ
สนใจในการทำความเขา้ ใจถึงประโยชน์และนำกลยทุ ธเ์ ชิงป้องกัน Vision Zero นไ้ี ปปฏิบัติ

เครอื่ งมือสำหรับฝึกปฏบิ ัติทใ่ี ช้งานไดจ้ ริงนี้ได้รบั การพัฒนาโดยผู้ฝึกสอนท่ีมีประสบการณ์ท่ีได้รับการ
ฝึกอบรม Vision Zero มาเป็นเวลาหลายปี ในหลายประเทศ นำเสนอวิธีการที่ยืดหยุ่นได้ พร้อมกับการ
เขียนแผนการสอนในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งสามารถปรับให้เหมาะกับความจำเป็นและความ
ต้องการของผู้ฟัง ประเทศ องค์กรและอุตสาหกรรม และสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย และอนามัยในการ
ทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ (SHAWPAT) ได้นำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การดำเนินงานในประเทศไทย

ใชค้ ูม่ อื น้ีอยา่ งไร

คู่มือนี้จัดทำแผนการประชุมเชิงปฏิบัติการขั้นพื้นฐานที่แบ่งออกเป็นสามส่วน (แนะขั้นตอนปฏิบัติ
ก่อน ระหว่าง และหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)) ส่วนที่ 2 รวมถึงแผนการประชุมเชิง
ปฏิบัติการ (workshop plan) ซึ่งแบ่งออกเป็นจำนวนของบทเรียน หรือส่วนที่เสนอภาพรวมโดยย่อท่ี
ครอบคลุมส่วนของการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ และเสนอแนะการสอน และบัญชี
รายการแหล่งข้อมูลหรือเอกสารอ้างอิงซึ่งสามารถเข้าถึงได้บนเว็บไซต์ Vision Zero ผู้ฝึกสอนสามารถใช้
คูม่ ือนเี้ พ่ือเตรียมประชุมเชงิ ปฏิบตั ิการหรือการฝึกอบรมสำหรับการประชุมเชงิ ปฏิบัติการในบริษัท เกี่ยวกับ
ประสิทธภิ าพ และประโยชน์ของการดำเนนิ การ Vision Zero เป็นกลยทุ ธเ์ ชิงป้องกนั

การประชุมเชิงปฏิบัติการ หวังว่าผู้ฝึกสอนรู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่าสามารถอำนวยความสะดวกในการ
ประชุมร่วมกันเกี่ยวกับ Vision Zero ด้วยวิธีการแบบมีส่วนร่วม ที่ผู้เข้าร่วมสามารถเห็นคุณค่าของ
Vision Zero ว่าเป็นกลยุทธ์เชิงป้องกันที่มีประโยชน์สำหรับองค์กรของเขา และเพื่อพัฒนาแผนงาน
Vision Zero ของตนเอง

แนะนำให้เขียนแผนการสอน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการประชุมแบบมี
ส่วนร่วม วิธีการแบบมปี ฏิสัมพนั ธท์ ีผ่ เู้ ข้าอบรมสามารถเข้าใจและอภิปรายในเร่อื งต่อไปนี้:

• Vision Zero เป็นกลยทุ ธ์เชิงปอ้ งกนั และประโยชน์

• กฎทอง 7 ประการของ Vision Zero
• คู่มือ Vision Zero
• ประโยชนข์ อง Vision Zero

• เครื่องมอื Vision Zero ของ ISSA
• การสะท้อนตวั ตน การประเมินตนเอง และแผนปฏิบตั กิ าร

• การดำเนนิ มาตรการ และแนวปฏิบตั ิที่ดีจากองคก์ รจรงิ

121

ขอแนะนำให้ผู้ฝึกสอนมีความเข้าใจที่ชัดเจน และรู้สึกมั่นใจในการอธิบาย Vision Zero ว่าเป็นกลยุทธ์เชิง
ปอ้ งกนั เชน่ เดยี วกบั ตวั อยา่ งแนวปฏิบตั ิจริงท่ดี ี กอ่ นนำเสนอการรว่ มประชุมเกย่ี วกับ Vision Zero
การเข้ารว่ มการรณรงค์

ถ้าคณุ กำลงั ใช้คูม่ ือนี้ คณุ ไดเ้ ป็นสว่ นหนงึ่ ของกลุม่ ผฝู้ กึ สอน Vision Zero ของสังคมโลกแลว้
อีกทางหนึ่ง คุณได้รับการเชื้อเชิญให้ค้นหาข้อมูลที่ www.visionzero.global เพื่อลงชื่อเข้าร่วมบนระบบ
ออนไลน์ และเขา้ ถงึ แหลง่ ข้อมูลและตวั อยา่ งแนวปฏบิ ตั ทิ ดี่ ีเพม่ิ เติม

แผนการประชมุ เชิงปฏบิ ัติการขน้ั พ้นื ฐาน
ในส่วนนี้ของคู่มือผู้ฝึกสอน ท่านจะพบขั้นตอนที่จะแนะนำในการจัดเตรียม และส่งมอบการประชุม

เชิงปฏิบัติการ Vision Zero มีการเสนอแผนการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงร่าง แบ่งออกเป็นสามส่วน:
กอ่ น ระหวา่ ง และหลังการประชุมเชิงปฏิบตั ิการ สว่ นตรงกลางจะถูกนำเสนอเป็นสิบเอ็ดส่วน หรือแผนการ
เรียน ที่ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยท่านในการดึงดูดผู้เข้าร่วม และเพิ่มความเข้าใจในเรื่อง Vision Zero
และกฎทอง 7 ประการให้มากที่สุด โดยการใช้ประโยชน์ของแหล่งข้อมูล Vision Zero ที่มีอยู่แล้วเพื่อให้มี
ความยืดหยุ่นมากขึ้นสามารถส่งมอบส่วนต่าง ๆ ของการฝึกอบรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเชิง
ปฏิบัตกิ ารหนึ่งได้ หรอื แบง่ เปน็ ช่วงสั้น ๆ ทีละคร้งั

สุดท้ายนี้ จำไว้ว่าแผนนี้เป็นเพียงแนวทางการดำเนินการเท่านั้น - ท่านที่เป็นผู้ฝึกสอนที่มี
ประสบการณ์ อาจจำเปน็ ตอ้ งเปล่ียนแปลงหรอื สลับแผนของทา่ นตามความต้องการของกลุ่มที่เฉพาะเจาะจง
ขอแนะนำว่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะถกู บนั ทึกไวใ้ นแผนท่แี กไ้ ข เพือ่ ทา่ น และเพือ่ นร่วมงานของท่านทราบ
สงิ่ ท่ีน่าจะได้ผลดที ี่สุดสำหรับผเู้ ขา้ รว่ มของท่าน
ทรัพยากรการอบรมวสิ ัยทัศน์สูค่ วามปลอดภัย (Vision Zero) และขอ้ มูลอา้ งอิง

คู่มือนี้ยังให้คำแนะนำและลิงค์ไปที่ทรัพยากรที่สนับสนุน ข้อมูลและเอกสารอ้างอิง ซึ่งสามารถใช้ใน
การเตรยี มสำหรับ และระหวา่ งการประชมุ

ทรัพยากรที่ว่านี้รวมถึงแบนเนอร์ โปสเตอร์ จดหมายเชิญชวน ตัวอย่างงานนำเสนอ สำหรับกฎทอง
แตล่ ะขอ้ แผน่ งาน แบบฟอร์มข้อเสนอแนะ ใบรับรองการเข้ารว่ มและเอกสารอา้ งอิงที่มปี ระโยชนจ์ ำนวนหน่ึง
ทั้งหมดนี้สามารถดาวน์โหลดจากเว็ปไซด์วิสัยทัศน์สู่ความปลอดภัย (Vision Zero) www.visionzero.global
website (http://visionzero.global/become-vision-zero-trainer-special-documents) และพิม พ์
ออกมาเพื่อใช้ในการฝึกอบรมวสิ ัยทัศนส์ ่คู วามปลอดภัยเชิงปฏบิ ตั ิการ (workshop)

122

ตอนท่ี 1 - ก่อนเรม่ิ การอบรมเชิงปฏบิ ัตกิ าร (workshop)
การเตรยี มตัวกอ่ นเรมิ่ การอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร (workshop)
พิจารณา/ประเมนิ ผ้เู รียน และประเมนิ ส่ิงตา่ งๆ ต่อไปน้ี :

การจัดเตรยี มเวทีและชนั้ เรียน: แนวทางการปฏบิ ัติท่ีแนะนำ:

• สภาพแวดล้อมในการเรียน: • ระยะเวลาการอบรมเชงิ ปฏบิ ัติกา
แสงสว่าง การระบายอากาศ โดยประมาณ: 2 วนั
จดั ให้พื้นที่ระหว่างผูเ้ ข้าร่วมกว้างพอ
พื้นที่สำหรับนำเสนอเนื้อหาและโปสเตอร์แผ่น • จำนวนผ้เู ขา้ เรยี นทแี่ นะนำ:
ปา้ ยชื่อสำหรบั ผเู้ ข้ารว่ ม ฯลฯ 25-30 คน จดั กลุม่ กลมุ่ ละ 5-6 คน

•การสนับสนนุ ทางเทคนิค :
การจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย
สไลด์ อินเทอร์เนต็ วดิ โี อ ระบบเสียง เป็นต้น

•สิ่งสนบั สนุนอนื่ ๆ :
flipchart ปากกา เทป บัตรภาพ หรือการ์ด
สำหรับนำเสนอ เป็นตน้

แหลง่ ขอ้ มลู :

•อ้างอิงเพิ่มเติม เราเสนอแนะให้เข้าไปที่คู่มือเสริมของ ISSA: “การฝึกอบรมผู้ฝึกสอน วิธีการศึกษา
เพ่มิ เตมิ วิธกี ารฝกึ อบรมสำหรบั การอบรมเชิงปฏบิ ัติการ - เครอ่ื งมอื สำหรบั ผฝู้ ึกสอน”
(http://visionzero.global/sites/default/files/2017-12/2-VZ-Adult-Education-Methods.pdf)

•นอกเหนือจากสื่อการประชุมเชิงปฏิบัติการ Vision Zero คุณอาจต้องการค้นหาข้อมูลสิ่งพิมพ์คู่มือ
เสริมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของ ISSA ในหัวข้อความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ในวง
กวา้ ง (https://www.issa.int/en_GB/topics/occupational-risks/issa-publications)

123

การเชิญชวนเข้าสกู่ ารอบรมเชงิ ปฏบิ ัติการ (workshop)

จุดประสงค์ : แนวทางการปฏิบตั ิท่ีแนะนำ :

• เตรียมผู้เรียนสำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ • สง่ จดหมายเชญิ ผเู้ ข้าร่วมล่วงหน้า (สามารถส่ง
(workshop) โดยนายจ้างหรอื ผู้ฝึกสอนกไ็ ด้)

• ผเู้ รียนทำความคุ้นเคยกบั หวั ขอ้ และเนอ้ื หา • จดั ทำลงิ ค์ ไปท่เี ว็ปไซด์ Vision Zero
• ผู้เรียนได้รับแจ้งเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของการ และส่งิ พมิ พก์ ฎทอง 7 ประการ
(http://visionzero.global/Guides)
อบรมเชิงปฏิบัติการ องค์กร และเงื่อนไข
ทว่ั ไป • ขอให้ผู้เข้าร่วมแสดงให้เห็นเป้าหมายส่วนตัว
ของพวกเขาสำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
โดยมุ่งหมายท:่ี
- การชี้บ่งพร้อมกับการนำความเสี่ยง และ
สถานการณ์ทัว่ ไปทีพ่ วกเขา (หรือเพือ่ ร่วมงาน)
เผชิญในการทำงาน
- การระบุความสนใจ และวัตถุประสงค์หลัก
ของผู้เข้าร่วมในการเข้าร่วมการ อบรมเชิง
ปฏบิ ัตกิ าร

แหล่งข้อมลู :
• รา่ งจดหมายเชญิ (visionzero.global/become-vision-zero-trainer-special-documents)
• สัญลักษณแ์ ละคู่มอื อตั ลักษณผ์ า่ นทางภาพของ Vision Zero (visionzero.global/visual-identity)

124

ตอนท่ี 2 - ระหวา่ งการทำการอบรมเชิงปฏบิ ัติการ (workshop)
Package 1: Introduction Module
ส่วนที่ 1
เปดิ สไลดแ์ รก

จุดประสงค์ ของส่วนนีข้ องการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop):
• การต้อนรับ การนำเข้าสู่บทเรียน ความปรารถนา และวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิง
ปฏบิ ตั กิ ารวัตถุประสงค์ :
• การกลา่ วนำ
• ผเู้ รยี นและผฝู้ กึ สอนทำความรู้จักกนั
• สรา้ งบรรยากาศการมสี ่วนร่วมทีด่ ี
• ผเู้ รียนแบ่งปนั เป้าหมายสว่ นบุคคล

เปดิ สไลด์ท่ี 2 และ 3

อธบิ าย กอ่ นเข้าสเู่ นือ้ หา ให้ผเู้ รยี นแตล่ ะคนแนะนำตวั เองวา่ เป็นใคร ทำงานอะไร จากหน่วยงานใด
ความคดิ เหน็ เกี่ยวกบั ความปลอดภยั ฯ และความคาดหวงั อะไรจากหลักสตู รนี้
ทัง้ หมดใช้เวลา ประมาณไมเ่ กิน 15 นาที ** กล่าวสรุป และนำเข้าส่เู นอ้ื หา

125

เปิดสไลด์ท่ี 4

อธบิ าย เม่อื พูดถงึ “งาน” เรานึกถึงอะไร เราอาจถึงงานหลากหลายอาชีพทุกภาคส่วน
และคนสว่ นใหญ่ทำงาน
การทำงานหรือมงี านทำ นัน่ หมายถงึ ว่า“งาน”มีความหมายต่อชวี ติ ของทุกคน
สำหรับท่านในทีน่ ี้ คิดว่างานคืออะไร มีความหมายตอ่ ท่านอย่างไร
งานในด้านดีและงานในด้านลบ
ให้ผเู้ รียนแตล่ ะกลมุ่ เขียนแสดงความคดิ เห็นเก่ียวกบั “งาน” บน flipchart
ใชเ้ วลาประมาณไม่เกนิ 10 นาที

กล่าวสรปุ ส่ิงทีผ่ เู้ รยี นเขียนลงบน flipchart
เปดิ สไลด์ท่ี 5

อธิบาย
สำหรับคนสว่ นใหญ่ งาน คอื ชีวติ
งานในดา้ นดี เป็นสง่ิ สวยงาม เป็นความน่าประทบั ใจ เป็นการทำงานเปน็ ทีม
สรา้ งโครงสรา้ งพน้ื ฐาน เป็นพลงั งานเพ่ือให้มชี ีวิต และทำเพ่ือชวี ติ ทีด่ ี

126

เปิดสไลด์ท่ี 6

อธบิ าย สรุปถงึ งานในอกี มุมหนึ่งซ่งึ เป็นด้านลบ
ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่ง งานอาจคือความตาย คือความพยายามอย่างหนัก ทำให้
บาดเจ็บ ทำให้เจ็บปวด เจบ็ ปว่ ย และฆ่าเราได้

เปิดสไลดท์ ่ี 7

อธิบาย งานนอกจากเปน็ ท้งั ดา้ นบวกและดา้ นลบแลว้ งานก็ยงั อาจก่อใหเ้ กิดภัยพบิ ตั ติ า่ ง ๆ ดว้ ย
ตัวอย่างของงานที่เกิดภัยพิบัติต่อคนหมู่มาก เช่น เหตุการณ์ท่ีทะเลเหนือปี 1988
เหตุการณ์ท่ีรานาพลาซ่าในบังคลาเทศ ปี 2013 เหมืองถ่านหินถล่มในตุรกีปี 2014
การระเบิดท่าเรือที่เทียนจินปี 2015 ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดของเหตุการณ์
ข้อมูลเพม่ิ เตมิ ทา่ นสามารถเขา้ ไปคน้ หาไดใ้ นกเู กิล

127

เปดิ สไลด์ที่ 8

อธิบาย พูดสรปุ
คนทำงาน มีงานทำทีด่ ี ชวี ติ ก็ดี ครอบครวั มีความสขุ

เปิดสไลดท์ ่ี 9 ฉายคลิป วิดโี อ Glencore Zero Harm - Video 1 ENG Subtitles

อธบิ าย ในคลิป VDO เรื่อง This is Why I work safe (ทำไมฉนั ถึงทำงานดว้ ยความปลอดภยั ) สื่อ
อะไรกบั พวกเรา
คนทุกคนมีครอบครัวรออยู่ น่ีเป็นเหตุผลของการท่ีบคุ คลทำงานด้วยความปลอดภยั
ทา่ นเปน็ หนงึ่ ในนน้ั หรือไม่

128

เปิดสไลดท์ ี่ 10

อธิบาย มาพดู ถึงเรอื่ งของความปลอดภยั และสุขภาพ
• แผนกสถิติขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILOSTAT เป็นศูนย์รวมข้อมูลสถิติ
ด้านแรงงานของสหประชาชาติ ได้พัฒนามาตรฐานสากลในการวัดประเด็นเรื่อง
แรงงาน และจัดทำสถิติด้านแรงงานทั่วโลก ที่เกี่ยวข้องที่สามารถเปรียบเทียบกันได้
และทันเวลา

เปดิ สไลด์ท่ี 11

อธบิ าย ข้อมูลการประสบอันตรายของแรงงานท่ีเกิดขน้ึ ท่ัวโลกทรี่ วบรวมโดยองคก์ รแรงงาน

ระหวา่ ง

ประเทศ หรือ ILO สรุปได้ดังนี้

• มผี ู้เสียชวี ติ จากอุบัตเิ หตุหรือการเจบ็ ปว่ ยจากการทำงานมากกว่า 6,000 รายทุกวัน

หรือ

ประมาณ 2.78 ล้านรายตอ่ ปี

• ผ้ไู ดร้ ับบาดเจ็บและเจบ็ ปว่ ยจากงานอาชีพมปี ระมาณ 374 ล้านรายต่อปี

• คดิ เป็นความสูญเสียทางเศรษฐกจิ ปีละ 4% ของ GDP

สำหรบั ประเทศไทยในปี 2561 เราสูญเสยี ทางเศรษฐกจิ 642,220 ล้านบาทจาก GDP 16.3 ลา้ นลา้ นบาท

ซง่ึ นบั วา่ มหาศาล 129

เปิดสไลดท์ ี่ 12 ฉายคลิป วดิ ีโอ 1Shoelaces

อธิบาย ถามผ้เู รียนว่าดูวดิ โี อจบแลว้ ท่านรสู้ กึ และมีความคิดเห็นอย่างไรกับเร่ืองราวในวดิ โี อน้ี
ถามความคิดเหน็ สน้ั ๆ ใช้เวลา 5 - 10 นาที

สรปุ การแสดงความคิดเห็นจากชัน้ เรยี น
เปิดสไลด์ท่ี 13

อธิบาย ในฐานะที่ท่านเปน็ นายจ้างหรือผ้บู รหิ าร ทา่ นคาดหวังอะไรจากคนทำงานหรือพนักงาน
ของท่าน
ให้แตล่ ะกลุ่มเขียนบน flipchart และแสดงความคิดเห็น ประมาณไม่เกนิ 10 นาที

สรุปขอ้ มูลจากการแสดงความคดิ เหน็ ของผ้เู รยี น
เปิดสไลดท์ ่ี 14

อธบิ าย จากสิ่งทที่ ่านคาดหวังจากคนทำงาน/พนักงานของท่าน ทา่ นจะอะไรและทำอย่างไรเพื่อให้
ทา่ นสามารถดำเนนิ การให้สำเร็จตาม1ท3่คี 0าดหวงั ไว้
ให้แตล่ ะกลุ่มเขียนบน flipchart และแสดงความคิดเหน็ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที

รวบรวมความคดิ เหน็ จากแต่ละกลมุ่ และสรุป

เปิดสไลดท์ ่ี 15

อธิบาย ผบู้ รหิ ารต้องมี Vision หรอื วิสยั ทศั น์
ให้แต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็นว่าวสิ ยั ทัศน์ หรือ Vision หมายถึงอะไร เวลาไม่เกนิ 10 นาที

สรุปวิสัยทัศน์ คือ ความสามารถในการมองเห็น จินตนาการ หรือคาดการณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ โดย
เฉพาะทจ่ี ะเกิดข้นึ ในอนาคต แปลง่าย ๆ กค็ อื สงิ่ ทีเ่ ราอยากจะเป็นในอนาคต

เปดิ สไลด์ท่ี 16

อธิบาย เราได้ยินคำว่า Accident หรือ อุบตั เิ หตุ ในชีวติ ประจำวันอยเู่ นือง ๆ
อบุ ตั ิเหตุ หมายถงึ เหตุการณท์ ี่เกิดขนึ้ อยา่ งไม่คาดหวังและไม่ต้ังใจในเวลา และสถานที่แห่งหนึ่ง

เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า แต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ อุบัติเหตุเป็นผลเชิง
ลบของความเปน็ ไปไดอ้ ยา่ งหนง่ึ ซึ่งควรจะหลกี เลยี่ งหรอื ปอ้ งกันไว้แตแ่ รก โดยพิจารณาจากปัจจยั สาเหตุ
ตา่ ง ๆ อันท่จี ะนำไปสู่การเกิดอุบัตเิ หตุ

อีกความหมายหนึ่ง อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์ทางกายภาพที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้
เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของมนุษย์อาทิ รถชน ตกตึก มีดบาด ไฟลวก ไฟช็อต โดนพิษ ฯลฯ หรือ
หมายถึงเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ทางกายภาพเช่น การลืมของ การลืมนัดหมาย ความเผอเรอ หรือการเปิดเผย
ความลับ เป็นต้นซึ่งทั้งหมดก็ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ดังนั้นเราต้องมีสติเสมอเพื่อป้องกัน
อนั ตรายที่จะเกดิ ข้ึน
ให้แต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็นถึงผลลัพธ์ของ Accident หรือ อุบัติเหตุ ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี
ประมาณไมเ่ กนิ 5 นาที
ผลลัพธ์ของอุบัติเหตุจากที่พวกเราได้แสดงความคิดเห็นกันมานี้มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ซึ่งด้านดีอาจมี
เพยี งแคเ่ ปน็ บทเรยี นเพื่อเปน็ อุทาหรณ์สำหรบั คนอื่น นอกนั้นเปน็ ผลเสียเกอื บท้งั ส้นิ

131

เปิดสไลด์ที่ 17

อธิบาย กอ่ นหนา้ น้เี ราพดู ถึงคำวา่ “Vision หรอื วิสัยทศั น”์ และ “Accident หรือ อุบัติเหตุ”
ถ้าเราเติม Zero ไว้ข้างหลัง Vision เป็น “Vision Zero” และเติม Zero ไว้ข้างหน้า
Accident เป็น “Zero Accident” ท่านคิดว่า Vision Zero กับ Zero Accident
คำ 2 คำนี้ เหมือนหรอื ต่างกนั อย่างไร

แตล่ ะกลุ่ม เขียนบน flipchart และแสดงความคิดเหน็ ประมาณไม่เกิน 10 นาที
• การจะไปถงึ จุดหมายอบุ ัตเิ หตเุ ป็นศนู ย์ หรอื Zero accident จรงิ ๆ ไมใ่ ช่เรอ่ื งง่ายแต่ก็
เปน็ ไปได้ มีขั้นตอนท่ีดที ี่จะช่วยนำทางใหเ้ ราไปถึงเสน้ ทางนน้ั ได้ กค็ อื ผบู้ รหิ ารต้องเป็น
ผูน้ ำและทกุ ๆ คนในองคก์ รม่งุ ม่ันในเรอ่ื งความปลอดภยั มีการดำเนนิ การควบคุมความ
เสี่ยง กำหนดเป้าหมาย และแผนงานที่ชัดเจน มีระบบการจัดการที่เหมาะสม มีการ
ควบคุมปฏิบัติการของเครื่องจักร อุปกรณ์และสถานที่ทำงาน มีการอบรมความรู้ด้าน
ความปลอดภัยเพื่อเพม่ิ ศักยภาพคนทำงาน และสรา้ งแรงจงู ใจให้ทุกคนมสี ว่ นร่วม เป็นต้น
• ส่วน Vision Zero หรือวิสัยทัศน์ความปลอดภัย เป็นกลยุทธ์การป้องกันเพื่อความ
ปลอดภัยในอนาคตที่ยั่งยนื โดยปราศจากการตายหรือโรคจากงานอาชพี อุบัติเหตุจาก
การทำงาน และอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ร้ายแรง โดยบูรณาการ 3 มิติ ได้แก่ ด้านความ
ปลอดภยั สขุ ภาพ และความผาสุกทกุ ระดับของการทำงาน

132

เปดิ สไลด์ท่ี 18

อธิบาย ทำไมต้อง Vision Zero
จากการสถิติโดยเฉลี่ยทั่วโลก มีคนทำงานจำนวน 2.78 ล้านรายเสียชีวิตจากการทำงาน

ได้รับอุบัติเหตุและป่วยจากการงานอาชีพ 374 ล้านราย คิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจประจำปี
ประมาณ 4% GDP
เปิดสไลดท์ ่ี 19

อธิบาย
ในการประชุม World Congress เรื่องความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานครั้งที่ 20 ณ

เมืองแฟรงเฟริต สหพันธรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ 22-27 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2557 มีหน่วยงานความ
ปลอดภัยฯ จากหลายประเทศเข้าร่วมการประชุม ผู้แทนจากประเทศต่างๆ เหล่านั้นได้พูดถึง Vision
Zero และแบ่งปันข้อมูลในการนำ Vision Zero หรือวิสัยทัศน์ความปลอดภัยในการสร้างวัฒนธรรม
ความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน เพราะเชื่อว่าในโลกของคนทำงาน ผู้คนสามารถทำงานได้อย่าง
ปลอดภยั และมสี ุขภาพดี ปราศจากโรครา้ ยแรงและอุบัติเหตุถงึ ชีวติ เป็นไปได้ และ Vision Zero เป็นกล
ยุทธ์เชิงปอ้ งกนั ไปส่คู วามผาสุกอยา่ งยงั่ ยนื ทแ่ี ท้จริง

133

เปิดสไลด์ท่ี 20

อธบิ าย

เพราะชวี ิตต่อรองไม่ได้ ค่าใชจ้ า่ ยต่าง ๆ ท่ีเก่ียวกบั สขุ ภาพและความปลอดภยั ของคนทำงานเป็น
การลงทุน เพื่อให้เป็นไปตามข้อผูกมัดทางกฎหมาย และศีลธรรมหลีกเลี่ยงความทุกข์ทรมานจากความ
เจ็บปวดและปกป้องชีวิต ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของเรา เป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนทำงาน
ผลิตภัณฑ์ และงานมีคุณภาพ เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะของคนทำงาน สร้างความพึงพอใจให้แก่
พนักงาน ผู้จัดการ และลูกค้าส่งผลต่อธุรกิจ และเศรษฐกิจที่ดีขององค์กร และประสบความสำเร็จได้มี
การวิจัยผลตอบแทนจากการลงทุนเชิงป้องกัน พิสูจน์ให้เห็นว่าทุก ๆ บาทที่ลงทุนด้านความปลอดภัย
และสุขภาพจะสร้างรายได้มากกว่าสองบาท

เปิดสไลดท์ ่ี 21

- มหาวิทยาลัยในเยอรมันได้ร่วมกับกลุ่มบริษัท GmbH ทำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบผลตอบแทนจาก

การลงทุนของบรษิ ัท พบว่าคุณค่าของบริษทั ท่ีลงทนุ ในทรัพยากรบุคคลทำให้มีมาตรฐานดีกวา่ บรษิ ัทอื่น

ถงึ 40%

- การลงทุนในเชิงป้องกันของบริษัทเหมืองถ่านหินในเยอรมัน ทำให้จำนวนอุบัติเหตุขั้นสูญเสียชีวิตท่ี

เคยมีมากถงึ 416 รายในปีคศ.1960 ลดลงจนเปน็ ศูนย์รายในปีค.ศ.2010

- การใช้ Zero Harm Programme ซึง่ เปน็ กลยุทธ์เชิงป้องกนั ท่ี Nickel Rim South Mine สามารถทำ

ใหอ้ ันตรายลดลงได้ถงึ 90%

- เงินแตล่ ะยูโรลงทุนในดา้ นความปลอดภัย และอาชวี อนามัยสรา้ งศกั ยภาพในการประสบความสำเร็จใน

เชิงพาณิชย์เพ่ิมขน้ึ 2.20 ยูโร 134

เปิดสไลดท์ ี่ 22 ฉายคลิป วิดีโอ BG RCI - Vision Zero Trailer

อธิบาย คนทำงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะความเสี่ยงของ
งานท่ีตนเองทำ เพอ่ื ป้องกันอันตรายกอ่ นเกิดอุบตั เิ หตุ หรอื ความสญู เสีย
เปดิ สไลดท์ ่ี 23

อธบิ าย เราตอ้ งทำอย่างไรเพื่อจัดการกบั อุบตั เิ หตหุ รือความสูญเสีย มที างใหเ้ ราเลือก 2 ทาง
• เราจะรอใหเ้ กิดปัญหาขึน้ มาก่อนแล้วคอ่ ยแกไ้ ข คอื React หรือ
• เราจะหาทางดำเนินการปอ้ งกนั ล่วงหน้าไว้กอ่ น คือ Prevent

เปดิ สไลดท์ ่ี 24

อธิบาย Prevent เป็นเปา้ หมายของ Vision Zero
Vision Zero ตั้งอยู่บนพ้ืนฐานของก1า3ร5เคารพในความเป็นมนษุ ย์ มีศรัทธาเป็นพ้ืนฐานของ

ปัญญา และเป็นกลยทุ ธ์เชิงป้องกนั เพื่อความปลอดภัย สขุ ภาพและความผาสุกทยี่ ัง่ ยืน

เปิดสไลดท์ ี่ 25

อธิบาย “การเคารพในความเป็นมนุษย์” หลัก 4 ประการของ Vision Zero
1. ชวี ติ ไม่สามารถต่อรองได้ (Life is not negotiable)
ไม่มีสิ่งใดที่มีคุณค่าและสำคัญไปกว่าชีวิตมนุษย์ สิทธิในการมีชีวิตและความสมบูรณ์ทาง
รา่ งกายเปน็ หลกั พ้ืนฐานสำคญั ของกฎหมายของทุกประเทศ
2. ผคู้ นมโี อกาสทำผิดพลาด (People make mistakes)
ข้อผิดพลาดในการทำงานและบนท้องถนนสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่าง
สิ้นเชิง เรื่องทุกเรื่องมีข้อจำกัด ข้อผิดพลาดของมนุษย์เป็นกฎที่ไม่อาจมีข้อยกเว้นได้
เช่นเดียวกับคนทำผิดพลาดเนื่องจากกระบวนการทางอารมณ์ แรงจูงใจ และความเครียดท่ี
เกย่ี วข้อง
3. ความสามารถในการรับมือกบั ความกดดันทางร่างกายและจิตใจเป็นส่ิงสำคัญ
(The ability to cope with physical and mental pressure is crucial.)
การมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหลักการออกแบบและโครงสร้างพื้นฐานที่ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยลด
การความรุนแรงจากการบาดเจ็บ รวมถึงระบบชว่ ยเหลอื และระบบความปลอดภัยต่าง ๆ
4. การปอ้ งกนั ตอ้ งมาก่อน (Situational prevention comes first)
ผู้คน และคนทำงานไม่สามารถสร้างสภาพการทำงาน และระบบจราจรที่ปลอดภัยได้ด้วย
ตัวเอง นั่นหมายความว่าเราตอ้ งคิดคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และปรับให้เหมาะสมกับ
ธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการป้องกัน และต้องตระหนักถึงความเสี่ยง
ตอ่ ตนเอง และผ้อู ่ืนมีความรับผดิ ชอบรว่ มกนั ออกแบบระบบที่มคี วามปลอดภัยต่อผใู้ ชง้ าน

136

เปิดสไลด์ที่ 26

อธบิ าย ศรทั ธาเปน็ พ้นื ฐานของปญั ญา
ศรทั ธา คอื ความเชือ่ ศรทั ธาในพระพทุ ธศาสนาเปน็ ความเชือ่ ที่ประกอบด้วยปญั ญาหรือเหตผุ ล
ต้องผ่านการพจิ ารณาไตรต่ รองใหร้ อบคอบ
ทำให้เราเชื่อวา่ .............

• ความปลอดภัย สุขอนามยั และความผาสกุ เป็นกุญแจสำคัญตอ่ การดำเนินธุรกิจ
• โลกทีป่ ราศจากอบุ ัตเิ หตุ การเจบ็ ปว่ ยจากการทำงาน เป็นส่ิงท่ีเปน็ ไปได้
• การป้องกนั เปน็ วัฒนธรรมความปลอดภยั ของเรา
เปดิ สไลดท์ ี่ 27

อธิบาย เป้าหมายของกลยุทธ์ Vision Zero คือ อนั ตรายเป็นศนู ย์ และมีสุขภาพการทำงานท่ดี ี
แนวคดิ กลยทุ ธเ์ พ่ือความปลอดภยั สุขภาพ และความผาสุก
- อบุ ตั เิ หตทุ ุกกรณี สามารถป้องกนั ได้
- การเจบ็ ปว่ ยในทท่ี ำงานสามารถป้องกันได้
- ไม่มีคนเสียชีวิตในการทำงาน
- ไมม่ ีโรครุนแรงจากการทำงาน อบุ ัติเหตุจากงานหรืออุบัติเหตบุ นท้องถนน

137

เปิดสไลดท์ ี่ 28

อธิบาย ปรชั ญารณรงค์ Vision Zero
อุบตั ิเหตุ และโรคจากการทำงานไม่ไดถ้ ูกกำหนดโดยโชคชะตาหรือหลีกเล่ยี งไมไ่ ด้ - มนั มีสาเหตเุ สมอ

• ดังนั้น อุบัติเหตุ อันตราย และโรคจากการทำงานสามารถป้องกันได้ การสร้าง
วัฒนธรรมเชิงป้องกันที่แข็งแรงจะทำให้สาเหตุเหล่านี้ถูกขจัดให้หมดไป อุบัติเหตุที่
เกีย่ วเนอ่ื งจากการทำงาน อันตราย และโรคจากการทำงานก็จะไดร้ ับการป้องกนั

• ใช้กระบวนการ - มากกวา่ ใชเ้ ป้าหมาย
• วิธกี ารทำให้ถงึ จดุ หมายด้วยการเปล่ยี นแปลง เพื่อการป้องกัน
• บูรณาการด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุกในการทำงานทั้ง 3 มิติเข้าไว้

ด้วยกัน
เปิดสไลดท์ ่ี 29

อธบิ าย การออกแบบรณรงค์ Vision Zero

• วิธีการดำเนินการ Vision Zero ยืดหยุ่นได้ องค์กรจะเน้นด้านความปลอดภัย สุขภาพ หรือ

ความผาสุก ท้ังน้ีขน้ึ อยกู่ บั วา่ ดา้ นใดเกี่ยวขอ้ งมากท่สี ุด

• ด้วยความยืดหยุ่นของ Vision Zero เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรที่หลากหลายทั้งภาครัฐ และ

เอกชน และขนาดใดกไ็ ด้

• กฎทอง 7 ประการของ Vision Zero เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเชิงปฏิบัติเพื่อให้

ประสบผลสำเร็จตามเปา้ หมาย 138

เปิดสไลด์ท่ี 30

อธบิ าย Vision Zero วิสัยทัศน์ความปลอดภัยสู่การสร้างวฒั นธรรมเชิงปอ้ งกันทีย่ ั่งยนื
การสรา้ งวฒั นธรรมเชงิ ปอ้ งกันดว้ ยกฎทอง 7 ประการ (7 Golden Rules)
กฎทองขอ้ ที่ 1 มคี วามเป็นผู้นำ - แสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความม่งุ มั่น
กฎทองข้อท่ี 2 ช้บี ่งอนั ตราย - ควบคมุ ความเส่ยี ง
กฎทองข้อที่ 3 กำหนดเปา้ หมาย - จัดทำแผนงาน
กฎทองขอ้ ที่ 4 มีระบบการจัดการความปลอดภัยและสุขภาพอนามยั - ท่ีได้มกี ารจัดการท่ดี ี
กฎทองข้อท่ี 5 เครอื่ งจกั ร อปุ กรณ์ และสถานทที่ ำงานมคี วามปลอดภยั และไม่มีผลกระทบตอ่ สขุ ภาพอนามยั
กฎทองขอ้ ที่ 6 ปรับปรุงคุณสมบัตขิ องบคุ ลากร - พัฒนาความรคู้ วามสามารถ
กฎทองขอ้ ท่ี 7 การลงทนุ ในดา้ นทรพั ยากรบุคคล - สร้างแรงจงู ใจโดยการให้ทุกคนมสี ่วนรว่ ม
ตอรนายทล่ี ะ3เอ-ยี รดะหหวรา่ ืองวกิธากี ราทรำดำwเนoินrkกsาhรoจpะไดกก้ลลยาุ่ทวธใ์นVตisอiนoตn่อZไปero (กฎทอง 7 ประการ)

139

Package 2: Vision Zero_7 Golden Rules
จดุ ประสงค์ ของ workshop สว่ นนี้:

• กลยุทธ์ Vision Zero
วัตถุประสงค์:

• ผู้เรียนมคี วามคุ้นเคยกบั Vision Zero และสามารถใชเ้ ครื่องมือ Vision Zero หรือ กฎทอง 7
ประการได้

เปิดสไลดท์ ี่ 1

อธิบาย Vision Zero เปน็ กลยทุ ธ์ในการสรา้ งวฒั นธรรมเชิงปอ้ งกนั โดยใช้กระบวนการประเมินกฎ
ทอง 7 ประการ

เปดิ สไลด์ที่ 2

อธิบาย การลงทุนดา้ นความปลอดภัยและสขุ อนามยั เปน็ เรื่องคุ้มคา่ ดงั ท่ไี ด้กลา่ วถึงก่อนหน้าน้ี
Vision Zero หรือวิสัยทัศน์ความปลอดภัย เป็นแนวคิดวิธีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้าง

วฒั นธรรมเชิงปอ้ งกนั รวมกนั ทั้ง 3 มิตขิ องในเรอ่ื งความปลอดภยั สุขภาพอนามัย และความผาสุก ซึ่งเปน็
ผลลพั ธ์ที่คมุ้ ค่า ทง้ั น้ี วสิ ัยทศั น์สคู่ วามปลอดภัย (Vision) จำเปน็ ตอ้ งมีภาวะผนู้ ำ

140

เปิดสไลดท์ ี่ 3

อธบิ าย
Leadership หรือ ภาวะผู้นำ เป็นการลงมือกระทำ ภาวะผู้นำไม่ใช่ตำแหน่งงาน การเป็นผู้นำ

ไมไ่ ด้เปน็ มาโดยกำเนดิ สามารถสร้างขึน้ ได้
ภาวะผู้นำ เป็นสัมพนั ธภาพในเรื่องของการใช้อิทธิพลท่ีมตี ่อกันระหวา่ งผูน้ ำกบั ผตู้ ามที่มุ่งหมายให้

เกดิ การเปลี่ยนแปลง รวมท้งั การสร้างความสัมพันธร์ ะหว่างบุคคลในองค์กร โดยสะท้อนถึงวัตถุประสงค์
ท่มี รี ว่ มกัน เพ่ือให้ปฏบิ ัตกิ ิจกรรมตา่ ง ๆ ตามที่กำหนด
เปิดสไลดท์ ี่ 4

อธบิ าย ถามคำถามผู้เรยี น
ในความคิดเห็น หรือ ความเข้าใจของท่าน บุคคลที่มีภาวะความเป็นผู้นำ หรือมี Leadership

ควรเป็นอย่างไร (พฤติกรรมการแสดงออก ลักษณะท่าทาง ความคิด....) ให้แต่ละกลุ่ม เขียนบน
flipchart และแสดงความคิดเหน็ ประมาณไม่เกนิ 10 นาที

ไลเ่ รยี งดูส่ิงท่แี ตล่ ะกล่มุ เขยี นลงบน flipchart

141

เปดิ สไลด์ท่ี 5

อธิบาย กลา่ วเสริมจาก flipchart ทก่ี ลมุ่ แสดงความคิดเห็น
หลาย ๆ คนมักมีความเห็นกับ "ภาวะความเป็นผู้นำ" แตกต่างกันออกไป ได้มีการรวบรวมถึง

พฤตกิ รรมการแสดงออก ลกั ษณะท่าทาง ความคิด สรุปได้ดังน้ี
ผูน้ ำควรมีความฉลาด รอบรู้ มไี หวพรบิ มีทกั ษะความชำนาญ มอี ิทธพิ ล โน้มน้าวรวมถึงการให้คำแนะนำ
ผู้อื่นได้ มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ ตัดสินใจรวดเร็ว ถูกต้อง แน่นอน มีทางออกให้กับปัญหา
มีเป้าหมายและกลยุทธ์ มีวิสัยทัศน์ นำการเปลี่ยนแปลง มีศิลปะในการสร้างแรงบันดาลใจ การสื่อสาร
อยา่ งเปิดเผย ฯลฯ
เปิดสไลด์ที่ 6

อธบิ าย การปรับปรุงด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการ ไม่ได้
หมายถึงการต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายเสมอไป สิ่งสำคัญคือการที่นายจ้าง ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กรมีความ
ตระหนักและจิตสำนึกของความเปน็ ผูน้ ำสม่ำเสมอตลอดเวลา ความสำเรจ็ หรือความล้มเหลวของการนำ
VISION ZERO ไปใชพ้ ิจารณาไดจ้ ากนายจ้าง ผ้บู ริหารหรือผนู้ ำองค์กร

เพื่อสนับสนุนให้นายจ้าง ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กรสามารถปรับปรุงด้านความปลอดภัยและ
สุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการตามแนวทาง VISION ZERO หน่วยงาน ISSA ได้มีการสำรวจ
และสอบถามเกยี่ วกบั วิธีการปฏิบัติที่ดีท่ีสุด ซง่ึ ผลการวจิ ยั นี้ได้นำมาสู่การพัฒนาเคร่ืองมือการบริหารเชิง
ปฏิบัติขึ้นเพื่อใช้ในการเสริมสร้าง VISION ZERO ในรูปแบบของกฎทอง 7 ประการ
(7 Golden Rules)

ทำไมต้องเรียกว่า “กฎทอง” (Golden R1u4l2es) เพราะ “กฎ” คือความจริงที่แน่แท้แน่นอน
และที่ใช้ “ทอง” ก็เพื่อมาเน้นว่ามีคุณค่ามาก เป็นความจริงที่ทรงคุณค่า เป็น “กฎของคุณธรรม”
(Mindset) ที่ต้องมีเพื่อตัวเองครอบครวั เพ่อื นรว่ มงาน และสังคมโดยรวม กำหนดเปน็ วิสัยทัศน์ส่วนตน

อธิบาย (ตอ่ )
เคร่อื งมอื ทส่ี ามารถจัดการไดแ้ บ่งออกเป็นเจ็ดกล่มุ หวั ข้อเรียกวา่ กฎทอง 7 ประการ:
กฎทองข้อที่ 1 มคี วามเป็นผนู้ ำ - แสดงให้เหน็ ถึงความมุง่ มั่น
กฎทองข้อที่ 2 ชี้บง่ อันตราย - ควบคุมความเสย่ี ง
กฎทองข้อที่ 3 กำหนดเป้าหมาย - จดั ทำแผนงาน
กฎทองขอ้ ที่ 4 มรี ะบบการจัดการความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามัย - ทไี่ ด้มีการจัดการทดี่ ี
กฎทองข้อที่ 5 เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
อนามยั
กฎทองข้อท่ี 6 ปรับปรุงคุณสมบตั ิของบคุ ลากร - พฒั นาความรู้ความสามารถ
กฎทองข้อที่ 7 ลงทุนในดา้ นบคุ ลากร - สร้างแรงจูงใจโดยการให้มีส่วนรว่ ม
กฎทองแตล่ ะข้อในแนวปฏบิ ัตินี้มีคำอธบิ ายภาพรวมโดยย่อ และลำดบั ชุดของหลกั การ รวมถึงคำแนะนำ
กิจกรรมหรือวิธีดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในแต่ละเรื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการนำ VISION ZERO
ไปประยุกต์ใช้หรอื บรู ณาการในปฏบิ ตั กิ าร ซงึ่ ทำใหส้ ามารถทราบได้วา่ แนวปฏบิ ตั ิในกฎทอง 7 ประการ
ข้อใดบ้างที่ได้ดำเนินการแล้วในสถานประกอบกิจการของท่านในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องดำเนินการ
แกไ้ ข หรือยงั สามารถปรบั ปรุงเพม่ิ เตมิ ได้อกี หรือไม่
เปดิ สไลดท์ ่ี 7

อธบิ าย กฎทองขอ้ ท่ี 1 Take leadership - demonstrate commitment
มคี วามเปน็ ผนู้ ำ - แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมน่ั

143

เปดิ สไลด์ที่ 8

อธบิ าย ท่านต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของท่านในด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยใน
การทำงาน ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการบริหารจัดการความปลอดภัยขึ้นอยู่กับผู้นำสูงสุดของ
องค์กร

ถ้าคนที่อยู่แถวบนขององค์กร/หน่วยงานไม่ยอมรับ ไม่เห็นด้วย ไม่ทำเป็นตัวอย่าง การผลักดัน
เป็นไปไดย้ าก

คำถามคือ แล้วทา่ นจะทำอย่างไร
เปดิ สไลดท์ ่ี 9

อธบิ าย แจก worksheet กฎทองขอ้ ที่ 1
ให้ผู้เรียนเขียนเป้าหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย วิธีดำเนินการ ผู้มีส่วนร่วม

และกำหนดเสร็จลงใน worksheet ทแ่ี จกให้ ใชเ้ วลาประมาณ 10 นาที
สุ่มเลือกผู้เรียน 2 - 3 คน ให้บอกเล่าสิ่งที่เขียนลงใน worksheet มาไล่เรียงแนวทางของ Vision Zero
ทีแ่ นะนำผบู้ ริหารสำหรับกฎข้อที่ 1

144

เปดิ สไลด์ที่ 10

อธบิ าย กฎข้อที่ 1 มี 5 ข้อ
ข้อที่ 1.1 ของกฎทองข้อ 1 ผู้นำมีการวางมาตรฐาน และขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความ

ปลอดภัยขององค์กร และประพฤติปฏิบตั ิตนเป็นแบบอยา่ งทีด่ ีดา้ นความปลอดภัย ฯ แสดงให้ผู้ร่วมงาน
และพนักงานทุกระดับเห็นถึงความเป็นผู้นำ รวมถึงพันธกิจและความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย
และอาชวี อนามยั ของทา่ น
เปดิ สไลด์ที่ 11

อธิบาย ลำดับแรก ผบู้ ริหารควรมีความตระหนักถึงความรบั ผิดชอบในเร่ืองความปลอดภัยและสุขภาพ
ของตนเองและพนักงานของตน สามารถดำเนินการให้เป็นรูปธรรมได้ เช่น กำหนดไว้ในระเบียบหรือ
ข้อบังคับการทำงานว่าความปลอดภัยและการมีสุขภาพอนามัยที่ดีเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนทุก
ระดับ ทำหน้าที่โดยสั่งหรืออำนวยการให้มีการจัดสภาพการทำงานหรือสถานที่ทำงานให้เหมาะสม
ปลอดภัย มีการจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ หรือเครื่องมือในการทำงาน
บุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ให้เพียงพอและเหมาะสม มีการทบทวนผลการดำเนินงานด้าน
ความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามยั สมำ่ เสมอเป็นระยะ ๆ ส่งเสรมิ และสนับสนุนให้มกี ารดำเนินการแก้ไข
หรอื ปรับปรุงอย่างตอ่ เนื่อง พร้อมทั้งการตดิ ตามผล

145

เปิดสไลด์ท่ี 12

อธิบาย ลำดับถัดมา ผู้บริหารควรตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
อนามัยและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับหน่วยงานของท่าน โดยเป้าหมายที่ชัดเจน และวัดผลได้ ตัวอย่าง
เช่น จำนวนกิจกรรมส่งเสรมิ ความปลอดภัย ฯ จำนวนการรายงานอบุ ัตกิ ารณ์เพมิ่ ขึ้น 5% ทกุ ไตรมาส
ลดจำนวนรายของอุบัติเหตุทุกกรณี หรือลดจำนวนรายของอุบัติเหตุขั้นหยุดงานลง 10% เทียบกับปี
กอ่ นหน้า รายการแกไ้ ขปรบั ปรุงทุกกรณเี สรจ็ สมบรู ณต์ ามกำหนด เป็นตน้

นอกจากดำเนินการแลว้ ควรได้มีการส่ือสารวัตถุประสงค/์ เป้าหมายด้านความปลอดภัยและอา
ชีวอนามัยขององค์กรหรือหน่วยงานให้ผู้ปฏิบัติงานและ/หรือผู้เกี่ยวข้องทุกคนในหน่วยงานได้รับทราบ
โดยชอ่ งทางตา่ ง ๆ เช่น กระดานขา่ ว บอร์ดประชาสมั พนั ธ์ เว็ปไซด์ การประชมุ พนักงานประจำไตรมาส
เป็นตน้
เปิดสไลดท์ ่ี 13

อธบิ าย ผูบ้ รหิ ารต้องถอื ว่าเร่ืองความปลอดภัยของพนักงานสำคัญและมาก่อนเสมอ กรณที อ่ี าจเกิด
การกระทำหรือเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ท่านในฐานะที่เป็นผู้บริหารองค์กรหรือหน่วยงานจะ หยุด
กิจกรรมนนั้ เพื่อตรวจสอบกอ่ นให้ดำเนินงานต่อไป

ผู้ปฏิบัติงานตอ้ งสามารถหยุดการทำงานไดถ้ ้างานน้ัน ๆ ไม่ปลอดภยั จนกวา่ จะมีการตรวจสอบ
และปรับปรุงก่อน มีป้ายห้าม หรือกิจกรรม “หยุด เรียก รอ” หรือ“Stop and Think” หรือ 4 Stops
เป็นตน้

146


Click to View FlipBook Version