The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chalikor Pasertadisor, 2022-04-07 01:27:49

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

3.2.4 ข้าพเจ้าเชิญชวนครอบครัวของผู้ปฏิบัติงานให้มาร่วมกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย และ
อาชีวอนามัย เช่น งานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย รวมถึงงานวันเพื่อสุขภาพ ด้วยจุดประสงค์ของ
การเชิญครอบครัวของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงงานความปลอดภัย และสุขภาพ
อนามัย เพื่อให้ได้ครอบครัวได้รับทราบถึงการจัดการสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และมีสุขอนามัยของ
ผู้ปฏิบัตงิ าน

• กรณีที่สถานประกอบกิจการมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่จัดงาน เวลาทำงาน และกะทำงานของ
ผู้ปฏิบัติงาน และเงอื่ นไขอื่น ๆ อาจดำเนนิ การโดยเชญิ ครอบครัวพนักงานตามกล่มุ งาน อายุ
งาน หรืออื่น ๆ หมนุ เวยี นกนั เข้ารว่ มกิจกรรมงานความปลอดภัย และสขุ ภาพอนามัย

• บางสถานประกอบกิจการมีการจัดงานวันครอบครัวและเชิญครอบครัวผู้ปฏิบัติงานเข้า
ร่วมงานด้วย อาจควบรวมงานความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยเข้าไว้ด้วยกันในคราว
เดยี ว

3.3 ข้าพเจ้ากำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของมาตรการความปลอดภัย ฯ
ทีข่ า้ พเจา้ ใชอ้ ยู่

3.3.1 ข้าพเจา้ ใชส้ ถิต/ิ ข้อมลู ตา่ ง ๆ ในการวัดผลความสำเร็จตามเปา้ หมายดา้ นความปลอดภยั ฯ ของ
สถานประกอบกจิ การ เช่น จำนวนอุบตั เิ หตุ จำนวนผ้เู ข้ารว่ มอบรม จำนวนผู้มาร่วมกิจกรรมในวนั ท่ีมีการจัด
กจิ กรรมตามโครงการสง่ เสรมิ สขุ ภาพ ฯลฯ และมีการแจ้งผลความสำเร็จให้ผ้ปู ฏบิ ัติงานทุกคนรบั ทราบ

• สถานประกอบกจิ การต้งั เปา้ หมาย และมาตรวดั ผลสำเรจ็ ของการดำเนนิ กจิ กรรมต่าง ๆ เช่น

46

• จัดให้มีการประเมินผลการฝึกอบรม ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
(จำนวนผูอ้ บรม ผ้รู ่วมกิจกรรม ขอ้ คิดเหน็ หรอื ขอ้ เสนอแนะเพ่ือการปรบั ปรุง) ฯลฯ

• ส่อื สาร หรอื แจง้ ผูป้ ฏิบตั งิ านโดยการประชุม สอ่ื อิเล็กทรอนกิ ส์ บอรด์ ประชาสัมพนั ธ์ และอ่นื ๆ

3.3.2 ข้าพเจ้ามีการประเมินผลสำเร็จที่จะบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กร โดยพิจารณาจากอัตราการ
ประสบอนั ตราย อตั ราการเจ็บป่วย ความถ่ีและความรุนแรงของการเกดิ อุบัติเหตหุ รอื การเจ็บปว่ ย

เป้าหมายในการดำเนนิ กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยของสถานประกอบกจิ การกเ็ พือ่ ลดการประสบ
อันตราย การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน และเพ่อื สขุ ภาวะที่ดขี องผ้ปู ฏิบตั ิงานการประเมินผล
สำเร็จของโครงการตา่ ง ๆ สามารถวัดไดจ้ าก

• จำนวนรายอุบตั ิเหตุ หรือการเจ็บปว่ ยลดลง หรือไมเ่ พิ่มขน้ึ เมื่อเทยี บกับเป้าหมาย

• อัตราการประสบอันตรายขัน้ รนุ แรง หรอื หยุดงาน ลดนอ้ ยลง

• บนั ทกึ จำนวนวันทป่ี ลอดการประสบอันตรายข้ันหยดุ งาน
• จำนวนการรายงานอุบัติการณ์ หรือสิ่งที่ไม่ปลอดภัยมากขึ้นในระยะแรก และเมื่อได้รับการ

แก้ไขปรับปรงุ แลว้ จำนวนลดน้อยลงเม่อื เวลาผา่ นไป

3.3.3 ถ้าผลลัพธ์ที่ได้รับไม่เป็นที่น่าพอใจ ข้าพเจ้าจะดำเนินการทบทวนกิจกรรม และแผนงานของ
ข้าพเจา้ ใหม่

สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ใชเ้ ดมม่ิงโมเดล (Deming Model) ในการบรหิ ารจัดการด้านคุณภาพ
ของปฏิบัติการผลิตเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Plan-Do-Check-Act) ให้ลูกค้าพึงพอใจ และ
ความย่ังยืนของธรุ กิจ

• การบริหารจัดการความปลอดภัยฯ เป็นการบริหารคุณภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งหากผลลัพธ์ไม่
เป็นไปตามเป้าประสงค์แล้ว ผู้บริหารสถานประกอบกิจการควรบริหารจัดการเช่นเดียวกัน
คือปรับกิจกรรมหรอื แผนงาน เพอ่ื ให้เกิดผลสำเรจ็ และการปรับปรุงอย่างต่อเนอื่ ง

• ผู้บริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงาน สามารถประยุกต์ใช้กระบวนการของเดมมิ่งโมเดลในการ
บริหารจดั การด้านความปลอดภยั ฯ เช่นเดยี วกบั ระบบบริหารจดั การคุณภาพ

3.3.4 ข้าพเจ้าเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ฯ ในสถานประกอบกิจการของ
ขา้ พเจา้ กับหนว่ ยงานอ่ืนในอุตสาหกรรมประเภทหรอื ขนาดใกลเ้ คยี งกัน เท่าท่จี ะเปน็ ไปได้

สถานประกอบกิจการ หรือองค์กรมีการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการจัดการด้านความปลอดภัย และ
อาชวี อนามัยในการทำงานของตนกบั สถานประกอบกจิ การอื่น ทอ่ี ยู่ในอตุ สาหกรรมคลา้ ยกนั และ
ขนาดใกล้เคียงกัน (ถ้าสามารถทำได้) หรือเทียบกับผู้นำหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ตัวอย่างการ
เปรียบเทียบ เชน่ ในเรื่อง

หลกั เกณฑ์ หรือมาตรวัดผลการปฏิบตั ิงานท่ีใช้ และผลการดำเนนิ งานในแตล่ ะเกณฑ์
• สถติ อิ ุบตั เิ หตหุ รอื การเจ็บป่วย (อตั รา ราย ประเภท อวัยวะ สาเหตุ หรืออืน่ ๆ)
• ประเดน็ เกยี่ วกบั ปัญหาสุขภาพ และการใหบ้ รกิ าร

• ประเดน็ เกยี่ วกบั ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน

47

3.3.5 ขา้ พเจ้าสอ่ื สารผลงาน และผลสำเรจ็ ตามเป้าประสงคด์ า้ นความปลอดภัย ฯ ใหผ้ ้ปู ฏบิ ัตงิ านและ
ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหารของข้าพเจ้ารับทราบอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น แจ้งในที่ประชุม หรือ
ประกาศบนกระดานขา่ วในสถานประกอบกิจการ เปน็ ตน้

ผู้บริหารควรใช้โอกาสที่มีการสื่อสารเรื่องต่างๆ ให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ครอบคลุม
เร่ือง ผลงานและผลสำเรจ็ ด้านความปลอดภยั ฯ ดว้ ยในคราวเดยี วกัน ตวั อยา่ งเช่น

• การประชุมประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำไตรมาสของผู้บริหารสถานประกอบ
กิจการ

• การประชุมชี้แจงผลประกอบการของสถานประกอบกิจการให้กับบุคลากรทุกภาคส่วนของ
องคก์ รทุกไตรมาส

• การประชมุ พนกั งานประจำเดอื น หรือประจำไตรมาส
• การประชุมคณะกรรมการความปลอดภยั
• การตดิ ประกาศบนบอร์ดประชาสมั พันธ์
• การลงเว็บไซตข์ องสถานประกอบกิจการ และการสง่ จดหมายอิเล็กทรอนกิ ส์

กฎทองข้อท่ี 4 : มรี ะบบการจดั การความปลอดภัยและสุขภาพอนามยั - ทไี่ ดม้ กี ารจัดการที่ดี
การจดั การเร่ืองความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการอย่างเปน็ ระบบเปน็ สง่ิ ที่ดี เป็น
เรอ่ื งท่ีดำเนนิ การได้ไม่ยากและคุ้มคา่ ต่อการลงทุน

4.1 สถานประกอบกิจการของข้าพเจ้า มีการจัดการที่ดีในเรื่องความปลอดภยั และอาชีวอนามัย โดยการจัด
ให้มีโครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ สมรรถนะ ระเบียบปฏิบัติงาน และกระบวนการ
ทำงาน

4.1.1 มีการจัดโครงสร้างองค์กรด้านความปลอดภยั และอาชวี อนามัย พร้อมทง้ั กำหนดสมรรถนะและ
บทบาทหนา้ ท่คี วามรบั ผิดชอบ

• สถานประกอบกิจการจัดโครงสร้างองค์กรตามสายบังคับบัญชาโดยตรงหรือหน่วยงาน
สนับสนุนปฏิบัติการ รวมถึงหน่วยงานความปลอดภัย ฯ ซึ่งมีการประกาศแต่งตั้งพร้อมกับ
กำหนดบทบาทหน้าทคี่ วามรับผดิ ชอบดา้ นความปลอดภยั ฯ

• ประกาศ หรือคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร ระดับ
หัวหน้างาน และระดับวิชาชีพ พร้อมกำหนดบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบด้านความ
ปลอดภัย ฯ

• ประกาศ หรอื คำสัง่ แต่งต้ังคณะกรรมการหรือคณะทำงานด้านความปลอดภัย ฯ ตามความรู้
ความสามารถ พรอ้ มกำหนดบทบาท หน้าท่ีความรับผดิ ชอบ

4.1.2 ข้าพเจ้าได้กำหนดให้มีการจัดทำลักษณะงาน บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และสมรรถนะ
ของ ผู้ปฏิบัติงานระดับบรหิ ารในด้านความปลอดภัยและสขุ ภาพอนามยั โดยกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร

48

ลักษณะงาน บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และสมรรถนะของพนักงานระดับต่างๆ ซึ่งสถาน
ประกอบกิจการมีอยู่แล้วนั้น กำหนดให้ครอบคลุมงานด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย บูรณาการ
โดย เพม่ิ หน้าทข่ี องจป.บรหิ ารเขา้ ไป

• มีการประกาศแต่งตั้ง จป.บริหาร ซึ่งรวมถึงบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบด้านความ
ปลอดภัย ฯ

• การแต่งตั้งพนักงานระดับบริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงานให้รับผิดชอบโครงการต่าง ๆ ด้าน
ความปลอดภัย ฯ เช่น ประธานโครงการตรวจประเมินความปลอดภัย ฯ ภายใน ประธาน
โครงการความปลอดภัยของเคร่ืองจักร และอุปกรณ์ ประธานระบบบรหิ ารจัดการอาชีวอนา
มยั และความปลอดภยั เป็นต้น ตัวอยา่ งดงั ตารางด้านลา่ ง

4.1.3 สถานประกอบกิจการ มีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย (เจ้าหน้าที่ความ
ปลอดภยั ในการทำงาน วิศวกรความปลอดภัย แพทย์ พยาบาล นกั จิตวิทยาอตุ สาหกรรม หรอื นักสุขศาสตร์
อุตสาหกรรม และอื่น ๆ) ให้การสนับสนุน และให้คำแนะนำด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย พร้อม
ทั้งรายงานตรงต่อผู้บริหารระดับสูง สถานประกอบกิจการ มีบุคลากรด้านความปลอดภัย ฯ อย่างใดอย่าง
หนึง่ ท้ังหมด หรอื เกอื บทั้งหมด ดังกล่าวข้างต้น บคุ ลากรดา้ นความปลอดภยั ฯ ที่มีอยปู่ ฏิบัติงานโดย

ใช้ความรู้ความสามารถมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยให้การสนับสนุน และคำแนะนำด้านความ
ปลอดภัย ฯ ต่อผ้บู ริหารของสถานประกอบกิจการ หรอื องค์กรได้

• มีการรายงานเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และอาชีวอนามัยต่อผู้บังคับบัญชา
ตามสายงาน หรือตามขอ้ กำหนดขององค์กร

4.1.4 ในองค์กรได้มีการกำหนดว่าเร่ืองความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยน้ัน จะต้องรายงานให้ใคร
ทราบบา้ ง และอยา่ งไร

• โดยทั่วไป สถานประกอบกิจการ หรือองค์กรกำหนดระบบ/ขั้นตอนในการรายงานเรื่องต่าง ๆ
ตอ่ หัวหน้า หรอื ผู้บรหิ ารตามสายงาน หรอื การบงั คบั บัญชา

• เพ่มิ เติมจากทว่ั ไป สถานประกอบกจิ การ หรอื องคก์ รอาจกำหนดขั้นตอนการรายงานเร่ืองอื่น ๆ
เชน่ การรายงานอุบตั ิภยั ร้ายแรง หรอื ภาวะฉกุ เฉิน อาจมรี ะเบยี บปฏบิ ตั ิท่เี ฉพาะเจาะจง
49

4.1.5 กระบวนการประเมนิ ความเสี่ยงและวิธกี ารปฏบิ ตั อิ ยา่ งปลอดภัยได้รบั การปรบั ปรุงอยเู่ สมอ และ
พนักงานทกุ คนของข้าพเจา้ ไดร้ บั การแจ้งให้ทราบ และได้รับการสอนให้ปฏิบตั เิ ปน็ ประจำ
สถานประกอบกิจการที่มีการขอรับรองระบบมาตรฐาน เช่น ISO มาตรฐานแรงงานไทย และ

ระบบอื่น ๆ มักกำหนดความถ่ี และเงื่อนไขในการปรับปรุงบัญชีความเส่ียง และวิธีการปฏบิ ัติงานตามความ
เหมาะสม และมกี ารดำเนนิ การอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างบันทกึ การเปลี่ยนแปลงดังตารางดา้ นลา่ ง

• กำหนดให้มกี ารปรับปรุงทกุ ครั้งเฉพาะสว่ นงานท่ีไดร้ บั ผลกระทบ และมกี ารสอื่ สาร หรือสอน
งาน (On the Job Training) ให้แกผ่ ปู้ ฏบิ ตั ิงานทุกครง้ั ที่มกี ารปรับปรงุ ตามการเปลีย่ นแปลง

• กำหนดให้มีการปรับปรุงปีละครั้งกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีบันทึกการเปลี่ยนแปลง
(Change log) และมีการสื่อสาร หรือการอบรมทบทวน ( Refresher Training) แก่
ผปู้ ฏบิ ตั งิ านเช่นกัน

ตวั อย่างบันทึกการเปลี่ยนแปลง

4.1.6 มีจำนวนผู้แทนลกู จ้างด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ผู้ทำหน้าที่ปฐมพยาบาล และผู้ทำ
หน้าท่ีด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่เพียงพอ และได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องสถานประกอบ
กจิ การหลายแห่ง มีการจดั ต้งั คณะทำงานด้านความปลอดภยั และอาชีวอนามัยตา่ ง ๆ เพ่อื สนบั สนุนกิจกรรม
ด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยงิ่ งานดา้ นการป้องกนั และระงับอัคคีภยั

• สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ได้จัดตั้งทีมปฏิบัติฉุกเฉินซึ่งมาจากผู้ปฏิบัติงานจากสายงาน
ฝ่ายต่าง ๆ จำนวนที่เหมาะสม ทำหน้าที่ในการตอบโต้หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินเรื่องต่าง ๆ
อยา่ งปลอดภยั โดยบคุ ลากรกลุ่มนี้ไดร้ ับการอบรมความร้ทู ี่เกย่ี วข้อง เชน่ การตรวจตรา การ
ป้องกันและระงับอัคคีภยั การปฐมพยาบาล การเคลือ่ นย้ายผ้บู าดเจ็บ และอื่น ๆ

• มีการจดั แผนฝกึ อบรม และการฝึกซอ้ มประจำปี และให้ความรู้ทบทวนตอ่ เน่ืองเปน็ ประจำ

50

** กรณีที่สถานประกอบกิจการ มีแผนปฏิบัติฉุกเฉิน ซึ่งครอบคลุมการแต่งตั้งทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน
พร้อมกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ และรวมถึงแผนอบรมประจำปีสำหรับทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน และมีการ
ดำเนนิ การตามแผนสมำ่ เสมอ กล่าวได้วา่ ได้ปฏิบัติครบถว้ น

4.1.7 มีการวางแผนและดำเนินการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานตามปัจจัยเสี่ยง และมีการทบทวน
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงาน ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าการ
ตรวจสุขภาพประจำปีท่สี ถานประกอบกิจการ จัดใหผ้ ู้ปฏิบตั งิ านท่วั ไปไม่ใช่การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเส่ียง
แต่สถานประกอบกิจการสามารถจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมจากการตรวจสุขภาพ
ประจำปีตามปกติได้

• งานเกีย่ วกบั ปจั จยั เสย่ี ง หมายถงึ งานทสี่ ัมผัสกับ
- สารเคมอี ันตรายตามทรี่ ฐั มนตรีกำหนด
- จุลชพี (ไวรัส แบคทเี รีย รา หรอื สารชีวภาพอื่นตามท่ีรัฐมนตรีกำหนด)
- ความรอ้ น ความเย็น เสยี ง แสง กัมมันตรังสี ความส่นั สะเทอื น
หรืออ่ืน ๆ ทอ่ี าจเป็นอันตรายตามท่ีรฐั มนตรกี ำหนด

• มีการนำผลการประเมินความเสี่ยง และผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานของ
ผู้ปฏิบัติงาน ในแต่ละปฏิบัติการมากำหนดโปรแกรม และแผนตรวจสุขภาพให้ผู้ปฏิบัติงาน
รวมถึงการแจง้ ผลตรวจแก่ผปู้ ฏบิ ตั งิ านทราบดว้ ย

• กรณีที่ผู้ปฏิบัติงานมีการหมุนเวียนงานหรือมีการเปลี่ยนงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างกัน
ตอ้ งมกี ารทบทวนโปรแกรม และแผนตรวจสขุ ภาพสมำ่ เสมอ เปน็ ระยะ ๆ

4.2 ความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามยั เป็นปจั จยั หน่งึ ท่ีสำคญั ในการพจิ ารณาบรรจบุ ุคลากรในตำแหน่งผบู้ รหิ าร
4.2.1 ผ้ทู ี่จะได้รับการแต่งต้ังเป็นผูบ้ ริหารจะต้องมีคุณสมบัติทส่ี ำคัญประการหนง่ึ คือ การปฏิบัติตาม

กฎระเบียบด้านความปลอดภยั และสุขภาพอนามัยอยา่ งสมำ่ เสมอ

• การเคารพ และปฏบิ ตั ิตามกฎระเบียบด้านต่าง ๆ ของสถานประกอบกิจการ เป็นข้อกำหนด
ที่พนกั งานขององคก์ รทุกคนพึงปฏิบตั ิ ไม่มีขอ้ ยกเวน้ สำหรับผู้บริหาร หรอื หัวหน้าหน่วยงาน

• โดยทั่วไปกฎระเบียบ หรือข้อบังคับในการทำงานครอบคลุมด้านแรงงาน รวมถึงด้านความ
ปลอดภัย และอาชีวอนามยั ในการทำงานดว้ ย

• ผู้บริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงานทุกคนในสถานประกอบกิจการ ควรประพฤติปฏิบัติตนตาม
บทบาทหน้าท่ีท่ีรับผดิ ชอบภายใตก้ ฎระเบียบ และข้อบังคับในการทำงาน เป็นแบบอยา่ งที่ดี
ให้กบั พนักงาน ตัวอย่างเชน่
- การสบู บุหรี่ในบรเิ วณทก่ี ำหนดไว้ เชน่ เดยี วกับบุคคลอืน่ ๆ
- การสวมอุปกรณ์คมุ้ ครองความปลอดภยั ท่จี ำเปน็ และเหมาะสม เมอ่ื เข้าไปในบรเิ วณท่ีมีความ
เสย่ี งอนั ตราย ตามที่กำหนด
- การไมเ่ ข้าไปในพนื้ ท่คี วบคุม (Restricted Area) โดยไม่มีอำนาจหน้าท่ี
- การเดนิ บนชอ่ งทางท่กี ำหนด เป็นตน้

51

4.2.2 ก่อนที่ข้าพเจ้าจะแต่งตั้งผู้บริหารคนใหม่ ได้มีแผนกำหนดให้อบรมหลักสูตรความปลอดภัย
และอาชวี อนามัยที่กำหนดสำหรบั ผบู้ ริหาร

• บางสถานประกอบกิจการมีกำหนดไว้ในมาตรฝึกอบรม (Training matrix) หรือความจำเป็น
ในการอบรม (Training needs) เรื่องที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมเรื่องความปลอดภยั และอาชวี อ
นามัยสำหรับพนักงานแต่ละระดับเพื่อเตรียมตัวสำหรับโยกย้ายตำแหน่งเพื่อความก้าวหน้า
ในงานหน้าทหี่ รือการเลือ่ นตำแหน่งงานทส่ี ูงขึ้นในอนาคต (Career Path)

• บางสถานประกอบกิจการอาจไม่มีการจัดอบรมเรื่องความปลอดภยั และอาชวี อนามัยสำหรับ
ผู้บริหาร เพื่อเตรียมตัวสำหรับการเล่ือนตำแหน่งท่ีสูงขึ้น เนื่องจากเหมือนเปน็ การสญั ญาวา่
จะให้ตำแหนง่ ซ่ึงขดั กบั ระเบียบปฏิบัตขิ องสถานประกอบกจิ การ

** การทีผ่ บู้ รหิ ารสถานประกอบกิจการจัดให้บุคคลไดร้ ับการอบรมหลักสูตรเจ้าหนา้ ท่ีความปลอดภัย
ในการทำงานระดับผู้บริหารภายหลังการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารคนใหม่ และแต่งตั้งเป็น จป.บริหารตาม
กฎหมาย นั้นนับไดว้ า่ มกี ารดำเนินการในข้อน้ี

4.2.3 ข้าพเจ้ากำหนดให้ผู้ที่เป็นผู้บังคับบัญชาต้องมีการประชุมชี้แจงเรื่องความปลอดภัยกับ
ผปู้ ฏิบตั งิ านกอ่ น เร่มิ การปฏบิ ตั งิ านการดำเนินการประชุมช้ีแจงเรือ่ งความปลอดภัย ฯ ทำได้ดังน้ี
มีระบุหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ในข้อบังคับการทำงานหรือระเบียบปฏิบัติ ให้ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน
ชี้แจงข้อปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงาน จัดให้มีการแนะนำ และการฝึกอบรมความปลอดภัยอาชีวอนามัย ให้
ผปู้ ฏบิ ัตงิ านของตนกอ่ นที่จะเริ่มปฏบิ ตั งิ าน

• โดยทั่วไปแล้ว สถานประกอบกิจการมักกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานประชุม
ชี้แจงเร่ืองที่เกี่ยวขอ้ งกบั ทำงานต่าง ๆ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกอ่ นเร่ิมปฏิบัติงานอยู่แล้ว ผู้บริหาร
สามารถบูรณาการเรื่องความปลอดภัย และอาชีวอนามัยเข้าไปในการประชุมในคราว
เดียวกนั ได้

4.2.4 ผปู้ ฏิบตั ิงานระดับบริหารของข้าพเจ้าทำการตรวจด้านความปลอดภัยในพน้ื ท่ีที่รบั ผิดชอบอย่าง
สม่ำเสมอ โดยใหค้ วามสนใจเปน็ พเิ ศษในเรอ่ื งความสะอาด และความเป็นระเบยี บ

ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือ 5ส เป็นพื้นฐานของความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องท่ี
ควรเน้นหรือให้ความสนใจเป็นพิเศษในการเดินตรวจตราด้านความปลอดภยั ในพนื้ ทท่ี ี่รับผิดชอบ เชน่

• พื้นที่ทำงาน และทางเดินปราศจากน้ำ หรือสิ่งอันตรายที่เป็นสาเหตุให้เกิดการลื่น สะดุด
หรือ หกลม้

• มีการรกั ษาความสะอาดในพืน้ ท่ี และแยกขยะของเสีย ท้งิ อยา่ งถกู ตอ้ ง

• ประตูของตคู้ วบคมุ ไฟฟ้าปิดเรยี บร้อยตลอดเวลา

• สายไฟไม่ระโยงระยาง มีการมัดรวบให้เรยี บรอ้ ย หรอื เกบ็ ในท่อร้อยสายไฟ

• ไม่วางวัสดุ/อุปกรณ์ในโซนสีแดงที่ห้ามวาง หรือกีดขวางอุปกรณ์ดบั เพลิง ทางเดินของบันได
หนไี ฟรวมถงึ ทางพกั และใต้บนั ได

• ไม่มีสิง่ ของวางกีดขวางประตูทางออกฉุกเฉนิ

• มีการจดั วางวัสดุ และส่งิ ของต่าง ๆ บนชน้ั อย่างเป็นระเบียบ

52

4.2.5 ข้าพเจ้าพูดคุยเป็นประจำกับผู้ปฏิบัติงานระดับบริหารของข้าพเจ้า เกี่ยวกับความรับผิดชอบ
ด้านความปลอดภัย และอาชวี อนามยั และใหม้ ีการติดตามการปฏบิ ตั ิหน้าทผ่ี บู้ รหิ ารในฐานะท่เี ป็นเจ้าหน้าท่ี
ความปลอดภัยระดบั บรหิ าร มีหนา้ ทรี่ ับผดิ ชอบในการกำกับ ดแู ล เจ้าหนา้ ท่คี วามปลอดภัยในการทำงานทุก
ระดับทีอ่ ยู่ในการบงั คบั บญั ชา ซ่ึงครอบคลมุ ถงึ

• การพดู คุยและติดตามการดำเนนิ งานเก่ียวกบั ความปลอดภัย และอาชวี อนามยั ใหเ้ ป็นไปตาม
แผนงาน และโครงการของสถานประกอบกจิ การ

• การกำกับ ดูแล ติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ตามข้อเสนอแนะหรือที่ได้รับ
รายงาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัตงิ าน

ในการพูดคุยเพื่อทบทวนผลการปฏิบัติงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องผลการปฏิบัติงานตาม
เป้าหมายของสถานประกอบกิจการเป็นระยะ ๆ ให้รวมเรื่องการพูดคุยเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบด้าน
ความปลอดภัย และอาชวี อนามยั เข้าไปด้วย

4.3 การจัดองค์กรด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการเป็นไปตามที่กฎหมาย
กำหนด

4.3.1 ข้าพเจา้ ทบทวนในทกุ ดา้ นเพ่อื ดูวา่ มกี ารจัดองค์กรใหเ้ ป็นไปตามท่ีกฎหมายกำหนดแล้วหรอื ไม่
• สถานประกอบกิจการควรมีการทบทวนกฎหมายหรอื ข้อกำหนดใหม่ ๆ อยู่เป็นประจำ (อาจ
กำหนดเป็นทุกสัปดาห์ ทกุ เดือน หรือ ทกุ ไตรมาส)
• มีการตรวจสอบภายในว่าการปฏิบัติของสถานประกอบกิจการสอดคล้องตามข้อกำหนดของ
กฎหมายและขอ้ บังคบั ต่าง ๆ (Legal & Regulatory Compliance Audit) หรือไม่
• ในการทบทวนว่ามีการปฏิบัติสอดคล้องกับกฎหมายหรือไม่ อาจดำเนินการในการประชุม
คปอ. (Safety Committee Meeting) การประชุมผู้บริหาร (Management Staff
Meeting) หรือ การประชุมเพื่อทบทวนการบริหาร (Management Review) ก็ได้ ทั้งนี้
ขึ้นอยกู่ ับว่าสถานประกอบกิจการไดร้ ะบวุ ิธกี าร และการดำเนนิ การไว้อย่างไร

4.3.2 ขา้ พเจ้าเขา้ ร่วมสัมมนาทจี่ ดั ใหแ้ กผ่ ้ปู ระกอบกจิ การ หรอื ผบู้ ริหารระดบั สูงด้วยตนเอง
การที่หน่วยงานภายนอกจัดสมั มนาเรื่องต่าง ๆ และเชิญผู้ประกอบกิจการหรือผูบ้ รหิ ารระดับสูงของ
องค์กร เพื่อให้เข้าร่วมการสัมมนานั้น เมื่อผู้บริหารระดับสูงพิจารณาว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับ
การดำเนินกิจกรรมในสถานประกอบกิจการแล้ว ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรควรที่จะเข้าร่วมการสัมมนา
นั้นด้วยตนเอง ด้วยเหตุผลดังน้ี

• ได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ ที่เป็นปัจจุบนั เป็นการเปิดโลกทัศน์หรือมุมมองใหม่ ๆ ทั้งในเชิง
ธุรกิจ นวัตกรรม หรือเรื่องทั่ว ๆ ไปที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสถานประกอบ
กจิ การ

• ความเข้าใจ และทักษะความสามารถของการถ่ายทอดข้อมูล หรือสาระสำคัญของผู้ได้รับ
มอบหมายหรอื ผแู้ ทนไม่เทา่ กัน

• ผไู้ ด้รบั มอบหมาย หรอื ผู้แทนอาจมมี ุมมองทตี่ ่างออกไป ประเดน็ ที่สนใจไมเ่ หมอื นกัน

53

• ได้เครือข่ายจากการพบปะบุคคลซึ่งอาจอยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หรือต่างธุรกิจกรณีที่ได้รับ
เอกสารการสัมมนาจากช่องทางใด ๆ โดยตรงหรือโดยอ้อม และตอบรับเข้าร่วมการสัมมนา
ดว้ ยตนเอง นบั วา่ ได้ดำเนนิ การในขอ้ นเ้ี ชน่ กนั

4.3.3 ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของข้าพเจ้า มีส่วนร่วมในกระบวนการ
ตัดสินใจทเี่ ก่ยี วข้องกับความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย ในบางครัง้ และหลายครั้งท่ีสถานประกอบกิจการ
มีประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจต้องการข้อเสนอแนะ หรือความ
คิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ฯ วิศวกรรมและด้านอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อใช้ในการ
ตัดสนิ ใจหรือกำหนดแนวทางในการแกไ้ ขปรบั ปรงุ กรณีดังกลา่ วน้ี สถานประกอบกิจการอาจดำเนินการดงั น้ี

• นำเข้าเป็นวาระในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ และเชิญผู้เชี่ยวชาญ หรือ
ผูเ้ ก่ียวข้องเขา้ รว่ มประชุม เพ่ือทบทวน และขอมตจิ ากคณะกรรมการ

• จัดตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานที่ประกอบดว้ ยผู้เช่ียวชาญด้านความปลอดภัย ฯ และ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ จากแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาทบทวนประเด็น และ
รว่ มกันตัดสินใจ

4.3.4 มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานใน
สถานประกอบกิจการของข้าพเจ้ากฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ข้อ 23 สถานประกอบกิจการที่มี
ลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มี ผลใช้
บงั คับ หรอื ภายในสามสิบวนั นบั แต่วันท่ีมลี กู จ้างครบหา้ สบิ คน การดำเนินการในเร่อื งนี้ คอื

• สถานประกอบกิจการมีการสรรหาคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ด้วยวิธีการ และจำนวน
ตามที่กฎหมายกำหนด

• มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ กับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
ภายในระยะเวลาท่ีกำหนด

• คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ได้รบั การอบรมตามทก่ี ฎหมายกำหนด
• คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ มีการจัดประชุมอย่างน้อยเดือนละครัง้ และบันทึกรายงาน

การประชมุ ทุกครั้ง

4.3.5 ข้าพเจ้าเป็นประธานคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทำงานขององค์กรด้วยตนเอง หรอื มอบหมายใหผ้ ู้อนื่ เปน็ ประธานฯ แทน (กรณมี อบอำนาจ)กรรมการบริหาร
สถานประกอบกิจการอาจมอบอำนาจให้ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานเป็นประธานคณะกรรมการความ
ปลอดภัยฯ (กรณนี ิติบุคคล ตามการจดทะเบียนบริคณฑส์ นธ)ิ หรอื ผู้บริหารสงู สดุ ของสถานประกอบกิจการ
อาจแต่งตั้งตนเองเป็นประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ หรืออาจแต่งตั้งผู้บริหารระดับรองลงมาโดย
หนังสือมอบอำนาจให้ปฏบิ ตั ิหน้าท่ีเปน็ ประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ

54

• ผู้ทีไ่ ด้รบั การแตง่ ตง้ั เปน็ ประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ กรณใี ดกรณีหนง่ึ ขา้ งต้น เข้า
ประชมุ และทำหนา้ ทใี่ นฐานะประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ทกุ คร้ัง

4.3.6 การประชมุ คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน ต้องมี
ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และ
สุขภาพอนามยั (ถ้าม)ี เขา้ ร่วมประชมุ ด้วยทกุ ครัง้ โดยมกี ารประชมุ อยา่ งน้อยเดือนละ 1 คร้งั

• กรณีที่สถานประกอบกิจการได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยและอาชี
วอนามัยตามกฎหมายครบองค์รวม เป็นประจำทุกเดือน ยอมรับได้ว่าสอดคล้องกับข้อ
ปฏิบัติน้แี ล้ว

• กรณีที่มีประเด็นเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจต้องการ
ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น หรือแนวทางการป้องกันแก้ไขเฉพาะด้านที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญ
พิเศษ ผู้ชำนาญการ คณะกรรมการความปลอดภยั และอาชีวอนามยั อาจเชญิ บคุ คลดงั กล่าว
เขา้ มาร่วมประชุมหารือดว้ ย มีบันทกึ ไวใ้ นรายงานการประชมุ

4.3.7 สถานประกอบกิจการมีการเตรียมความพร้อมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินโดยมีการฝึกซ้อมดับเพลิง
และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ตามแผนป้องกันและระงับอคั คภี ัยรวมทัง้ แผนฉกุ เฉนิ ท่เี กย่ี วข้องอย่างน้อยปลี ะครงั้

• สถานประกอบกิจการต้องมีแผนป้องกัน และระงับอัคคีภัยตามกฎหมายซึ่งประกอบด้วย
แผนการอบรม แผนรณรงค์ แผนตรวจตรา แผนดับเพลงิ แผนอพยพหนไี ฟ แผนบรรเทาทุกข์
และอาจมีแผนฉกุ เฉนิ กรณีอื่น ๆ ทีเ่ ก่ียวขอ้ งเพมิ่ เตมิ เช่น สารเคมีร่วั หก กัมมนั ตรังสี ฯลฯ

• มีการดำเนนิ การตามแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินตา่ ง ๆ เพ่ือเตรียมพรอ้ มในการป้องกัน และลด
ความสญู เสียจากเหตุภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ จากอัคคภี ัย

• มีการฝึกซ้อมดบั เพลิงและซอ้ มอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละคร้งั
- 40% ของผ้ปู ฏบิ ตั ิงานแต่ละส่วนงานได้รับการอบรมดบั เพลงิ ข้นั ตน้
- สง่ รายงานตามกฎหมาย

• แผนฉุกเฉินควรได้มีการประเมินและทบทวนประสิทธิภาพ เพื่อนำไปดำเนินการแก้ไขและ
ปรบั ปรงุ อยา่ งต่อเนอ่ื ง

4.3.8 มกี ารตรวจสอบตดิ ตามระดบั ความสำเร็จดา้ นความปลอดภัย และอาชวี อนามยั ทมี่ ีอยู่ในองค์กร
ของข้าพเจ้า

• ในการบริหารงานความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ ควรมีการ
ทบทวนประเมิน หรือตรวจสอบ เช่นเดียวกับระบบการจัดการคุณภาพและระบบอื่นๆ
เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานว่าเป็นไปเป้าหมาย หรือแผนงานที่ตั้งไว้ หรือไม่ และนำไป
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องความถี่และวิธีการติดตามความสำเร็จขึ้นกับนโยบายและแผนการ
จัดการของสถานประกอบกิจการ น้นั

• การตรวจประเมินความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการทำได้หลาย
รปู แบบ เช่น

55

- การตรวจประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภายใน (Internal
Audit)
- การตรวจประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยหน่วยงาน
ภายนอก (Second or Third Party Audit or CB)
- การตรวจประเมนิ การจัดการความปลอดภัยและอาชวี อนามัยตามข้อกำหนดของกฎหมาย
(Legal Compliance Audit) หรือ ข้อบงั คับของสถานประกอบกิจการโดยบุคลากรภายใน
(Cross Function Audit)
• สถานประกอบกิจการมีแผนการตรวจประเมิน วิธีตรวจประเมิน และรายงานผลการตรวจ
ประเมิน

4.3.9 สถานประกอบกิจการของข้าพเจ้ามีระบบการจัดการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย มี
การตรวจประเมินตามระบบโดยผู้ตรวจประเมนิ ภายนอกดว้ ย และมเี อกสารผา่ นการรับรองใหด้ ูได้

• สถานประกอบกิจการมีระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมทั้งกำหนด
แผนการจัดการตามระบบ เช่น Vision Zero, QSR, PExA, RBA, TIS, ISO, SA8000,
SMETA เปน็ ตน้

• ได้รับการตรวจประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยหน่วยงาน
ภายนอก (Third Party Auditor หรอื CB)
สถานประกอบกิจการได้รับรายงานผลการตรวจประเมินตามระบบ หรือเอกสารที่แสดงถึง

การผ่านการรับรองระบบการจดั การใด ๆ

กฎทองข้อที่ 5 : เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
อนามัย
ความปลอดภยั ของเคร่อื งจักร และอุปกรณใ์ นการผลติ และสถานท่ีทำงาน เปน็ ส่งิ จำเปน็ ที่ต้องนำมา
พจิ ารณาเพอื่ ใหก้ ารทำงานปราศจากอุบัตเิ หตุ และผลกระทบตอ่ สุขภาพอนามยั

5.1 สถานประกอบกิจการมีการดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดเกี่ยวกับ การออกแบบ
โครงสรา้ งอาคาร สถานท่ี การวางผัง การตดิ ตั้งอปุ กรณ์ เครอ่ื งมือ เครอ่ื งจักร และสงิ่ อำนวยความสะดวกอ่ืน ๆ
รวมทงั้ การจัดซ้ือ/จัดจ้าง

5.1.1 ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อ/จัดจ้าง สถานประกอบกิจการได้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะ
สำหรบั การจัดซื้อ/จดั จา้ ง โดยมเี งอื่ นไขดา้ นความปลอดภยั รวมอยดู่ ว้ ย

• สถานประกอบกิจการ มรี ะเบียบปฏบิ ัติในการจัดซื้อ/จัดจา้ ง ซึ่งระบหุ รือกำหนดคุณลักษณะ
หรอื เงื่อนไขเกี่ยวกบั ความปลอดภัยและสขุ ภาพอนามยั อยดู่ ว้ ย

56

• เอกสารจัดซื้อ/จัดจ้างที่มีข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรือเงื่อนไขด้านความปลอดภัยรวม
ดว้ ย ตวั อย่างเชน่
- สารเคมีอันตรายที่จะจัดซ้ือต้องแนบเอกสารการทบทวน และอนุมัติจากผู้เกี่ยวข้องหรือฝ่าย
ความปลอดภยั ฯ ทุกคร้ัง
- ผู้รับเหมางานไฟฟ้าจะต้องได้รับการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้า
ตามกฎหมาย โดยแสดงหลักฐานการฝกึ อบรมดว้ ย
- บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรต้องจัดทำ และส่งมอบคู่มือปฏิบัติงานกับเครื่องจักรและการ
บำรงุ รักษา เครอ่ื งจักรอย่างปลอดภัยมาพรอ้ มเคร่ืองจกั ร

5.1.2 ขา้ พเจ้านำผลการประเมนิ ความเสย่ี งมาประกอบการพิจารณาในการจัดซื้อ/จัดจ้าง
• สถานประกอบกิจการได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องการประเมินความเสี่ยงไว้ในขั้นตอนการจัดซ้ือ
จดั จ้าง
• มกี ารทำประเมินความเสี่ยงไดร้ ับการทบทวน และอนุมัติโดยฝ่ายทเี่ กี่ยวข้อง หรอื ฝ่ายความ
ปลอดภัย ฯ และนำผลการประเมินความเสย่ี งน้นั มาพจิ ารณาก่อนดำเนินการจัดซื้อ/จดั จา้ ง

5.1.3 ขา้ พเจ้าจะซื้อเครือ่ งจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มคี ู่มอื ปฏิบตั งิ านทีค่ รอบคลุมเร่ืองความปลอดภัยด้วย
กรณเี ครือ่ งจักรใหม่

• กำหนดเป็นเงื่อนไขในใบจัดซื้อจัดจ้างให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักร ต้องจัดทำและส่งมอบคู่มือ
การปฏิบัติงานกับเครื่องจักรและการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างปลอดภัยเครื่องจักร
(Equipment & Maintenance Manual)

• กำหนดเป็นเงื่อนไขในใบจัดซื้อจัดจ้างให้บริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักร ต้องจัดหาและส่ง
มอบคู่มือปฏิบัติงานกับเครื่องจักรและการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างปลอดภัยเครื่องจักร
กรณีเครือ่ งจักรเกา่

• กำหนดเป็นเงื่อนไขในใบจัดซื้อจัดจ้างให้บริษัทผู้จำหน่ายเครื่องจักร ต้องจัดหาและส่งมอบ
คมู่ ือปฏบิ ัติงานกับเคร่ืองจักรและการบำรงุ รักษาเครอ่ื งจักรอยา่ งปลอดภยั เคร่ืองจักร

• หากผู้จำหนา่ ยไมส่ ามารถจดั หาคู่มือแรกเริม่ ท่ีมากับเครื่องจกั รได้ อยา่ งนอ้ ยผู้จำหน่ายควรมี
การให้วิศวกรเครื่องจักรที่มีความรู้ความชำนาญในการทำงานของเครื่องจักรชนิดนั้น ๆ
พฒั นาค่มู ือการปฏิบัติงานข้ึนมาโดยครอบคลมุ ความปลอดภัยในการทำงานด้วย

5.1.4 ข้าพเจ้าให้ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ และผู้เชี่ยวชาญด้าน
ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ วิศวกรความ
ปลอดภยั และแพทย์ประจำบริษัท เป็นตน้ มีส่วนร่วมในการจดั ซ้ือ/จัดจา้ ง

• สถานประกอบกจิ การระบุบคุ คล หรอื คณะบุคคลท่มี ีความรู้ความเข้าใจ หรือผ้เู ชี่ยวชาญด้าน
ความปลอดภัย ฯ ในคณะกรรมการจัดซือ้ /จดั จา้ ง

57

• สถานประกอบกิจการระบุหรือกำหนดบุคคลหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีความรู้ความ
เข้าใจด้านความปลอดภัย ฯ รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ไว้ในระเบียบปฏิบัติเรื่องการ
จดั ซือ้ /จดั จ้าง ตวั อยา่ งเช่น หนา้ ทค่ี วามรับผิดชอบ
1) ฝ่ายจดั ซื้อจดั จา้ ง
- แน่ใจว่าผู้รับเหมา/ซัพพลายเออร์สามารถให้บริการได้ตามข้อกำหนดความปลอดภัย
สุขอนามัย และส่ิงแวดลอ้ มของบริษทั
- แน่ใจว่าใบขอสั่งซื้อที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมได้รับการ
อนมุ ตั จิ ากฝ่ายความปลอดภัย ฯ กอ่ นการจัดซ้อื /จดั จา้ ง
2) ฝ่ายความปลอดภยั ฯ
- ทบทวนว่ามีการชี้บ่งและประเมินความเสยี่ ง และเสนอข้อคดิ เห็นก่อนดำเนนิ กระบวนการ
- สนับสนุนหรือให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยฯ แก่ฝ่ายผู้ใช้
หรือผู้ทีอ่ อกใบจัดซอื้ /จัดจา้ ง
3) ฝา่ ยผ้ใู ช้หรือผู้ขอซ้ือสารเคมี
- แน่ใจว่าใบขอส่ังซ้ือทีเ่ กี่ยวข้องกับความปลอดภัย สุขอนามยั และส่ิงแวดลอ้ ม ถูกส่งให้ฝ่าย
ความปลอดภัยฯ อนมุ ัติ
- ได้รับข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS) ที่ถูกต้องและทันสมัย สามารถอ่านไดช้ ัดจน
จาก ผ้ผู ลติ หรือผู้จัดจำหน่ายสารเคมี
- แน่ใจวา่ วสั ดุหรอื การบริการทรี่ ับมอบเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย สุขอนามัย
และสิ่งแวดลอ้ ม
4) ฝ่ายวศิ วกรรมอำนวยการหรอื ฝา่ ยท่รี ้องขอส่ังซ้ือ
- ทบทวนคุณสมบตั ิของผูร้ บั เหมา/ซัพพลายเออร์ ตามแบบสัมภาษณ์ท่ีแนบในภาคผนวก A
- เฝา้ ระวงั ทบทวน ประเมนิ และรายงานการปฏบิ ัตงิ านของผรู้ บั เหมาดังในภาคผนวก E

5.1.5 การจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้องสอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานด้านความ
ปลอดภัยที่ เกี่ยวข้อง และมีเครื่องหมายหรือเอกสารรับรองด้านความปลอดภัยจากหน่วยงานที่ให้การ
รบั รองดว้ ยสถานประกอบกิจการไดร้ ะบุในระเบียบปฏิบัติการจดั ซ้ือ/จดั จา้ ง ดังนี้

• เครื่องจักรและอุปกรณ์จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน หรือได้รับการรับรองมาตรฐาน
ความปลอดภยั หรอื Safety Test Mark เช่น UL, FM, CE, TUV, VDE, DIN, NEC, JIS, SA,
ETI, ETL, TIS เปน็ ต้น

5.2 การปฏิบัติการประจำวันในหน่วยผลิต หรือกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ ข้าพเจ้าดูแลให้แน่ใจว่ามีการใช้
งานเครื่องปอ้ งกันอันตรายทีท่ ำงานได้อยา่ งน่าเชื่อถือ

5.2.1 มีการทบทวนสถานภาพความปลอดภัยของเทคโนโลยีที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะ ๆ
สถานประกอบกจิ การ ดำเนินการดังน้ี

• มีระเบียบปฏบิ ัตใิ นการทบทวน ตรวจสอบความปลอดภยั และอุปกรณท์ ่ีใช้งานเปน็ ประจำ

58

• มีคำสั่ง/แผนงานในการทบทวน การตรวจสอบระบบความปลอดภัย ฯ และอุปกรณ์
สมำ่ เสมอ

• มแี บบตรวจสอบระบบความปลอดภัย และอปุ กรณท์ ใ่ี ชง้ าน

5.2.2 ข้อมูลในคู่มือการปฏิบัติงานที่จัดทำโดยผู้ผลิต มีการบรรจุขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติงานที่
ปลอดภยั อยา่ งครบถว้ น เพื่อใชใ้ นการอบรมและฝึกปฏบิ ตั ิอยู่เป็นประจำ

• คูม่ อื การทำงานกบั เคร่ืองจักรที่ไดร้ ับจากผผู้ ลติ เมื่อรับมอบเคร่ืองจักรสว่ นใหญ่จะครอบคลุม
วิธีการทำงานอย่างปลอดภัยแล้ว ควรกำหนดให้ผู้รับผิดชอบในการสอนงานหรือฝึกอบรม
และแน่ใจวา่ มีขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัยอยู่ สามารถนำมาใช้ในการฝกึ อบรมและ
ปฏบิ ัตงิ าน

• จดั ทำขอ้ กำหนดและวิธีปฏบิ ัติงานตา่ ง ๆ โดยบรู ณาการความปลอดภยั เขา้ ไปใน PI หรอื WI
• ดำเนินการให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย ตามคู่มือความ

ปลอดภยั ในการ

5.2.3 ขา้ พเจ้ามอบหมายให้มผี ู้รบั ผดิ ชอบในการตรวจความปลอดภยั อย่างสมำ่ เสมอ

• สถานประกอบกิจการมีการกำหนดแผนการตรวจความปลอดภัย (พื้นที่ รายการตรวจ แบบ
ตรวจผู้รับผิดชอบ ความถี่ บันทึกผลการตรวจ รายงานการตรวจ และการแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น)
และ มอบหมายผ้รู บั ผดิ ชอบ ฯ

• จัดให้มีระบบบันทึกผลการตรวจความปลอดภัยฯ และการดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ใน
รปู แบบไฟล์อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ และอน่ื ๆ

5.2.4 ข้าพเจ้าได้จัดทำขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในงานบำรุงรักษา งานซ่อมแซม และ
งานแกไ้ ขปัญหา เน่ืองจากงานเหลา่ นม้ี แี นวโน้มที่จะเกดิ อบุ ตั เิ หตุได้

• สถานประกอบกิจการอาจกำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานบำรุงรักษา งานซ่อมแซม และ
งานแกไ้ ขปญั หา อยา่ งชัดเจน ไว้ในระเบยี บปฏิบัตงิ านเร่ืองต่าง ๆ และมกี ารปฏิบัติ ตัวอย่าง
เช่น
- ระเบียบปฏิบตั กิ ารปิดลอ็ คกญุ แจและแขวนปา้ ย (Lock-out/Tag-out Procedure)
- ระเบียบปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Equipment Maintenance
Procedure)
- ระเบียบปฏิบัติการปิดซ่อม/บำรุงรักษาระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย (Impairment of
Fire Suppression System Procedure)

5.2.5 ขา้ พเจ้าจัดให้มีเสน้ ทางการจราจรที่ปลอดภัยตลอดเวลา ในสถานประกอบกิจการของข้าพเจ้า
• ได้มีการทาสตี ีเส้นเพือ่ กำหนดเสน้ ทางจราจรทีช่ ัดเจนภายในสถานประกอบกิจการ เชน่
- ทางเดนิ เทา้ สำหรบั พนักงาน
- เสน้ ทางวงิ่ ของรถโฟลค์ ลฟิ ตท์

59

- เสน้ ทางเดนิ รถทัว่ ไป
- ชอ่ งจอดรถ
• มีการตดิ ตงั้ ป้ายกำหนดความเรว็ สญั ญาณจราจร และอ่ืน ๆ

5.2.6 เส้นทางหนีไฟ อุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยและการระเบิดอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและ
พร้อมใชง้ านได้ตลอดเวลา

สถานประกอบกจิ การดำเนนิ การด้านความปลอดภัย ฯ ดังนี้

• มกี ารกำหนดเส้นทาง จัดทำแผนผังเส้นทางหนไี ฟ และสอ่ื สารให้พนักงานทราบ
• มีการติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเหตุและอุปกรณ์เตือนภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยและการระเบิดที่ใช้งานได้

สามารถเหน็ ชัดเจน และพนักงานทราบวิธกี ารใชง้ าน
มีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดต่าง ๆ ตามประเภทของอัคคีภัย ใช้การได้และสามารถ
เข้าถึงได้ง่าย ดำเนินการตรวจตราและบำรุงรักษาตามกำหนด และบันทึกการตรวจเส้นทาง
หนีไฟ อุปกรณ์แจ้งเหตุ อุปกรณ์เตือนภัย และอุปกรณ์ดับเพลิงต่าง ๆ อยู่ในสภาพพร้อมใช้
งานตลอดเวลา
• มบี นั ทกึ การตรวจเสน้ ทางหนีไฟ อปุ กรณแ์ จง้ เหตุ อุปกรณเ์ ตอื นไฟ และอุปกรณ์ดบั เพลิงตา่ ง ๆ วา่
อย่ใู นสภาพพรอ้ มใช้งาน

5.3 เราดูแลใหแ้ น่ใจวา่ หนว่ ยผลิตของเรา เครื่องมือ เครื่องจกั รและอุปกรณ์ ไม่กอ่ ให้เกดิ อนั ตรายต่อสุขภาพ
หรือมอี ันตรายนอ้ ยทสี่ ุด

5.3.1 สภาพแวดลอ้ มในการทำงาน เช่น ฝ่นุ สารเคมอี ันตราย เสียงดัง และการสนั่ สะเทอื น ไดร้ ับการ
ตรวจวัด มีมาตรการควบคุม และป้องกัน เพื่อลดอันตรายลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งทบทวน
มาตรการดงั กล่าว เปน็ ระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

สถานประกอบกจิ การดำเนนิ การด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังน้ี

• มีแผนการตรวจวดั สภาพแวดล้อมในการทำงานสอดคล้องกบั ผลการประเมินความเสยี่ ง
• มกี ารตรวจวัดสภาพแวดล้อมตามแผนงาน และบนั ทึกผลการตรวจวัด
• มกี ารวเิ คราะหผ์ ลการตรวจวัดสภาพแวดลอ้ มและดำเนินมาตรการควบคมุ ป้องกัน
• มกี ารทบทวนมาตรการควบคุมป้องกนั อย่างสมำ่ เสมอและมีการตรวจสอบ หรือตรวจตดิ ตาม
• มีการรายงานผลการตรวจสภาพแวดลอ้ มในการทำงานตามกฎหมาย

5.3.2 มีการตรวจสอบประสิทธิผลของหน่วยลดการระบายมลพิษ เช่น ระบบการกำจัดฝุ่นได้รับการ
บำรุงรักษาเปน็ ระยะ ๆ อยา่ งสม่ำเสมอ

สถานประกอบกจิ การมีการดำเนินมาตรการควบคุมและปอ้ งกันอันตราย เช่น
• มแี ผนการบำรุงรักษาระบบควบคุมหรือระบบป้องกันต่าง ๆ

60

• มีวิธีการปฏิบัติหรือมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมและป้องกันอย่าง
สม่ำเสมอ

5.3.3 สถานประกอบกิจการให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกแบบด้านการยศาสตร์ของสถานที่ทำงาน
และอปุ กรณก์ ารทำงาน เชน่ แสงสวา่ งท่เี พียงพอ การเคลอื่ นยา้ ยสิ่งของตามหลกั การยศาสตร์ ทา่ ทางการน่ัง
ท่ถี กู ต้อง และการหลกี เล่ียงทา่ ทางการทำงานทไี่ มเ่ หมาะสม เป็นตน้

สถานประกอบกิจการมีการดำเนินการในเรื่องการจัดสภาพการทำงานให้เปน็ ไปตามหลักการยศาสตร์ เช่น
• จัดหาและใช้เครอ่ื งจักรกลหรอื อุปกรณเ์ พื่อชว่ ยท่นุ แรงในการทำงานยกยา้ ยโดยใชก้ ำลงั คน
• จดั สถานีทำงานที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไมม่ ีแสงจา้ หรือแสงสะท้อน
• จดั สถานท่ีทำงานทส่ี ามารถทำใหผ้ ู้ปฏิบตั ิงานเคล่อื นไหวได้สะดวก
• จัดลักษณะงาน/สถานท่ีทำงานใหเ้ หมาะสมกับผู้ปฏิบัตงิ าน ตัวอยา่ งได้แก่
- ผ้ปู ฏบิ ัติงานไม่ทำงานในท่าทางเดียวซำ้ ๆ เป็นระยะเวลานาน
- ผปู้ ฏิบัติงานสามารถปรบั ความสงู ของสถานที ำงานได้ (โตะ๊ เกา้ อ้ี จอมอนเิ ตอร์ เปน็ ต้น)
- ผู้ปฏิบตั ิงานไม่ต้องเอื้อมมอื เหนือศีรษะ กม้ /เอีย้ ว/บดิ ตัวทำงาน เป็นเวลานาน ๆ

กฎทองขอ้ ท่ี 6 : ปรับปรุงคุณสมบัติของบุคลากร - พัฒนาความรู้ความสามารถ
เราลงทุนในเรื่องการอบรมและการพัฒนาทักษะของบุคลากรเพื่อให้มีองค์ความรู้ตามที่ต้องการในทุก
สถานทท่ี ำงาน

6.1 กำหนดคุณวุฒิ/คุณสมบัติ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีการ
ผลิต เพือ่ ให้มคี วามปลอดภัย ไม่เปน็ อนั ตรายต่อสุขภาพ และไมใ่ ห้งานหยดุ ชะงกั

6.1.1 มีการพิจารณาเป็นประจำเกี่ยวกับการกำหนดด้านคุณวุฒิ/คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานให้
เหมาะสมกบั ลกั ษณะงานในสถานประกอบกจิ การ

สถานประกอบกจิ การมกี ารกำหนดคณุ วฒุ ิ/คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน

• การระบคุ ุณวฒุ ิ/คณุ สมบัติ/ความสามารถของผู้สมัครงานตรงกับงานอาชพี หรือตำแหน่งงาน
ในการประกาศรับสมคั รงานท้งั ภายใน และภายนอก

• คุณวุฒิการศึกษา ความรู้ความสามารถ เทียบกับรายละเอียดและลักษณะของงาน (Job
Details หรือ Job Description)

6.1.2 เมื่อมีการจ้างผู้ปฏิบัติงานใหม่ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านคุณวุฒิ/คุณสมบัติตามข้อ 6.1.1 ซ่ึง
ได้รบั การทบทวนอย่างเป็นระบบ รวมทงั้ มกี ารเตรียมแผนการอบรมให้กบั ผู้ปฏบิ ัตงิ านใหมด่ ว้ ย

• สถานประกอบกจิ การมีระบบในการทบทวนคุณวุฒ/ิ คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน
• มีการจา้ งงานผปู้ ฏิบตั ิงานใหม่ตามคณุ วุฒ/ิ คุณสมบัตขิ องผูป้ ฏิบัติงาน
• จัดให้ผู้ปฏิบตั ิงาน/บคุ ลากรใหม่ได้รบั การฝึกอบรมหลกั สูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวขอ้ ง ตามแผนงาน

หรอื ตามมาตรฝึกอบรม
61

6.1.3 ผู้ปฏิบัติงานที่กำลังจะพ้นหน้าที่มีการสอนงานและส่งมอบงานให้แก่ผู้ที่รับช่วงการปฏิบัติงาน
ตอ่ จากเขา

• สถานประกอบกิจการมีระบบหรือแผนงานในการพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมสู่
การเปล่ียนแปลงในอนาคต (Succession Plan)

• สถานประกอบกจิ การมรี ะบบ บัญชรี ายการ (List of work) หรือแผนงานในการส่งมอบหรือ
สง่ ต่อการรบั ช่วงงานของบุคลากร เมื่อมกี ารเปลย่ี นงาน ทั้งในการดา้ นการเรียนรู้งานโดยตรง
การอบรม และคู่มือหรอื เอกสาร)

• จัดใหม้ กี ารเรียนรู้แบบเงา (shadow) กอ่ นหรอื ระหว่างส่งมอบงาน เพอ่ื ให้แนใ่ จว่างานถูกส่ง
มอบอยา่ งราบรน่ื และมีความตอ่ เนือ่ ง

• มีรายการบัญชสี งิ่ ทตี่ อ้ งทำ กำหนดการงานทีต่ ้องส่งต่อ และการตดิ ตามผล

6.1.4 ข้าพเจ้าวิเคราะห์โอกาสความเป็นไปได้และเสนอให้ผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้าได้รับการเรียนรู้
เพิ่มเตมิ /ตอ่ เนอื่ ง รวมท้งั การเพม่ิ คุณวฒุ คิ ุณสมบตั ิของเขา ใหโ้ อกาสผูป้ ฏิบัติงานของขา้ พเจา้ ได้รับการศึกษา
เพม่ิ เตมิ /ตอ่ เนื่อง

• สถานประกอบกิจการมีโครงการพัฒนาบุคลากรทุกระดับเป็นลายลักษณ์อักษร และมี
แผนงานในการพฒั นาผู้ปฏบิ ัติงาน/บคุ ลากร

• มกี ารดำเนินการพัฒนาบคุ ลากรตามแผนงาน เช่น การศึกษาต่อเนื่อง การศกึ ษาเพ่มิ เติม และอนื่ ๆ

6.2 มีการลงทุนการอบรมอยา่ งเป็นระบบและการศกึ ษาเพิ่มเติม/ต่อเนื่องของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงสนับสนนุ
ใหผ้ ูป้ ฏบิ ัตงิ านพฒั นาตนเองเพมิ่ เติมด้วย

6.2.1 เรามีการสอบถามความต้องการในการฝึกอบรมและการศึกษาเพิ่มเติม/ต่อเน่ื องของ
ผปู้ ฏิบัตงิ านเปน็ ประจำ และนำไปจดั เตรยี มแผนการพฒั นาบุคลากรต่อไป

• สถานประกอบกิจการจัดทำมาตรฝึกอบรม (Training Matrix)
• สถานประกอบกิจการดำเนินการในการสำรวจความต้องการในการฝึกอบรม (Training needs)

เป็นประจำ และนำผลการสำรวจความต้องการในการฝึกอบรมไปจัดทำแผนงานพัฒนา
บุคลากร

6.2.2 ข้าพเจ้าได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรการอบรมและการศึกษาเพิ่มเติม/ต่อเนื่อง ที่จัดโดย
สถาบนั การศึกษา รวมทง้ั หน่วยงานภาครฐั หรือเอกชน โดยสง่ ผู้ปฏิบัตงิ านไปเข้าอบรมเปน็ ประจำ

• สถานประกอบกิจการส่งเสริมใหม้ ีการพฒั นาองค์ความรู้ โดยการส่งผปู้ ฏิบัตงิ านไปเข้าอบรม
หลกั สูตรตา่ ง ๆ เพิม่ เติม หรือการศกึ ษาตอ่ เน่อื ง

• สถานประกอบกจิ การจดั ให้มโี ครงการสง่ เสริมการศึกษาต่อเน่ืองสำหรับผ้ปู ฏบิ ตั งิ าน

62

6.2.3 ข้าพเจ้าได้ใช้ประโยชน์จากข้อเสนอของผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และองค์กรต่าง ๆ ในการศึกษา
เพิ่มเติม/ต่อเนื่อง รวมทั้งข้าพเจ้ายังได้ใช้ช่องทางสื่อใหม่ ๆ (เช่น อินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนกิ ส)์ เพอ่ื ให้ไดข้ อ้ มูลที่ทันสมัยอย่ตู ลอดเวลา

• สถานประกอบกิจการอาจทำข้อตกลงในการแบ่งปันข้อมูลความรู้จากผู้ผลติ ผู้จำหน่าย และ
องคก์ รตา่ ง ๆ เพ่ือใหผ้ ปู้ ฏิบัติงานได้รับความรใู้ หม่ ๆ และเปน็ การศกึ ษาเพมิ่ เตมิ

• สถานประกอบกิจการส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานให้สามารถพัฒนาตนเองโดยการใช้ประโยชน์จาก
สื่อหรือช่องทางใหม่ ๆ ในการรับข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยเพื่อการเรยี นรู้ตลอดเวลา เช่น ส่ือ
อเิ ล็กทรอนิกส์ อนิ ทราเน็ต แอพพลเิ คชั่นตา่ ง ๆ เปน็ ต้น

6.2.4 ผู้บริหารให้ความสำคัญต่อคุณภาพของการอบรมหรือศึกษาเพิ่มเติม/ต่อเนื่อง ซึ่งมีเนื้อหา
หลกั สตู รทีม่ ีภาคปฏิบตั ิรวมอยู่ด้วย

• หลกั สตู รในการเรียนรู้ใหม่ ๆ หรือศึกษาเพ่ิมเติมของผูป้ ฏิบัติงาน ครอบคลุมภาคปฏิบัติ เช่น
การทำ workshop การมอบหมายงานกลุ่ม การทำโครงการ และการนำเสนอ เป็นต้น

6.3 มีการนำสมรรถนะใหม่ที่ได้รับหรือพัฒนาเพิ่มเติมของผู้ปฏิบัติงาน มาพิจารณาเพื่อมอบหมายหน้าที่
ความรบั ผิดชอบใหม่ทีเ่ หมาะสม

6.3.1 หลังจากที่ผูป้ ฏบิ ัติงานของข้าพเจ้าเขา้ รับการอบรม หรือ ศึกษาเพิ่มเติม/ตอ่ เนือ่ งแล้ว ข้าพเจ้า
จะสอบถามเก่ียวกบั ความรู้ และความคิดทไี่ ดร้ ับมาใหม่

สถานประกอบกิจการอาจดำเนนิ การทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดย

• กำหนดแบบแผนหรือระเบียบปฏิบัติให้ผู้ปฏิบัติงานที่ไปรับการอบรม ศึกษาเพิ่มเติมหรือ
ต่อเนอ่ื ง ใหร้ ายงานหรือแบ่งปนั ความรูท้ ี่ไดร้ ับตอ่ ผู้บังคบั บัญชา เมื่อกลบั มาทำงาน

• ผู้บริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงาน มีการดำเนินการ พูดคุย สอบถาม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
ความคดิ เหน็ ที่ผ้ปู ฏบิ ตั ิงานได้รับจากการอบรม

• จัดให้มีช่องทางต่าง ๆ ในการแบ่งปันข้อมูลความรู้กับเพื่อนร่วมงานที่เกี่ยวข้องทราบ เช่น
การจดั เวลาให้นำเสนอ การนำเขา้ ในการประชมุ ฯลฯ

6.3.2 ข้าพเจ้าหาโอกาสให้ผู้ปฏิบตั ิงานทไี่ ด้สำเรจ็ การศกึ ษาเพิ่มเติม/ต่อเน่ืองแลว้ สามารถนำส่ิงที่เขา
ได้เรียนรมู้ าถา่ ยทอดให้กบั เพอื่ นรว่ มงานดว้ ย

สถานประกอบกิจการมีแบบแผนหรือจัดช่วงเวลา (จัด session) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับจากการ
อบรม/ศึกษาเพิม่ เตมิ นำสง่ิ ที่เรียนรู้หรอื ประสบการณม์ าถ่ายทอดให้เพอื่ นร่วมงานได้รบั ทราบ

6.3.3 ข้าพเจ้าเชอ่ื อย่างยิ่งวา่ การศึกษาเพิ่มเติม/ต่อเนื่องน้ัน เปน็ สิ่งทจ่ี ำเป็นเพ่ือทำให้ความปลอดภัย
และสขุ ภาพอนามยั ในสถานประกอบกจิ การยงั ธำรงอยู่ในระดับสูงได้

สถานประกอบกิจการมีโครงการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานให้ไดร้ ับความรู้ด้านต่าง ๆ ท่ี
เกี่ยวข้องรวมถึงด้านความปลอดภัยฯ ที่เป็นการเพิ่มพูนศักยภาพในการปฏบิ ัติงาน อาจดำเนินการโดย การ
ฝึกอบรม การสมั มนา การจดั กจิ กรรมต่าง ๆ ฯลฯ และมกี ารประเมินผลการอบรม/ศึกษา

63

6.4 ความรู้นำไปสู่ความปลอดภัย - เป็นเหตุผลที่สำคัญในการสอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ ความ
เข้าใจ เพ่ือจะไดป้ ฏิบตั ิงานไดอ้ ยา่ งถูกต้องและปลอดภัย

6.4.1 การสอนงานควรจัดใหส้ อดคลอ้ งกบั ผู้เรียน โดยใช้รูปแบบการพูดคุยแลกเปลี่ยน มากกว่าการ
สอนแบบบรรยายอยา่ งเดียว และควรมกี ารจัดอบรมให้แก่ผู้ใต้บังคบั บัญชาระดบั บริหาร ในรูปแบบเดียวกัน
ด้วย การสอนงานที่ได้ผลดีนั้นต้องทำให้ผู้เรียนจดจำพร้อม ๆ กับความเข้าใจซึ่งนอกจากการบรรยายและ
การให้ผู้เรียนอ่านแล้ว ควรให้มีเครื่องมืออื่น ๆ ประกอบการสอนงาน/อบรมด้วย เช่น รูปภาพ การสาธิต
(Demonstration) การแสดงความคิดเห็น (Discussion) และการทบทวนด้วยการใหล้ งมือปฏิบัติ หรือให้มี
การเรยี นระหว่างการปฏิบตั ิงานจริง (On the Job Training) และมกี ารประเมินผล เพอ่ื ให้แนใ่ จว่า
ผูป้ ฏบิ ตั ิงานมีความรู้ ความเข้าใจ ปฏบิ ัติงานไดอ้ ย่างถูกต้องและปลอดภยั

6.4.2 มีการนำความแตกต่างในเรื่องความรู้และทักษะด้านภาษาที่หลากหลายของผู้ปฏิบัติงาน มา
พิจารณาในการสอนงานด้วย

• ในการฝึกอบรมหรือสอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานนั้น สถานประกอบกิจการควรคำนึงถึงความ
แตกต่างของบุคคลในด้านต่าง ๆ (Diversity) ไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อชาติ ศักยภาพในการ
เรยี นรู้ ความสามารถ/ข้อจำกัดทางร่างกาย และข้อจำกดั อ่ืน ๆ

• เพื่อให้การสอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ประโยชน์สูงสุดทั้งต่อสถานประกอบกิจการ และต่อ
ผู้ปฏิบัติงาน

การจดั ทำหลกั สูตรการเรียนรู้และการสอนงานควร
- เหมาะสมกบั ศกั ยภาพในการเรยี นรู้
- มีความหลากหลายทางภาษา ตามภาษาของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
ภาษาพม่า ภาษาจีน ฯลฯ
- วิธีการเหมาะสมกบั สภาพร่างกายหรือข้อจำกัดทางร่างกาย
- สื่อหรือวิธกี ารทีเ่ หมาะสมกบั ความหลากหลายของผู้ปฏบิ ตั งิ านสว่ นใหญ่

6.4.3 ข้าพเจา้ ตรวจสอบวา่ ผูป้ ฏิบัติงานได้เข้าใจในเนอื้ หาสาระของการสอนงาน โดยท่ีการสอนงานมี
การจดั ทำเปน็ รูปแบบเอกสารเชน่ เดียวกับการฝกึ อบรม และการศกึ ษาเพม่ิ เตมิ /ต่อเนื่อง

• สถานประกอบกิจการมีการจัดทำหลักสูตรหรือสาระรายละเอียดของการสอนงาน โดยระบุ
วิธีการที่ใช้ในการอบรม เช่น เอกสารประกอบ (อักษรและภาพ) การสาธิตด้วย
ภาพเคลอื่ นไหว/ภาพน่งิ การลงมือปฏิบัติ ฯลฯ

• สถานประกอบกิจการควรมีเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการประเมินความรู้ และความ
เขา้ ใจของผปู้ ฏิบัติงาน เพ่อื ตรวจสอบ/วดั ระดบั ความรู้ความเขา้ ใจของผปู้ ฏิบตั ิงาน

64

กฎทองข้อท่ี 7 : ลงทนุ ในดา้ นบคุ ลากร - สรา้ งแรงจูงใจโดยการให้มีสว่ นรว่ ม
สร้างแรงจูงใจผปู้ ฏิบัติงาน โดยการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกเร่ืองทีเ่ ก่ียวกบั ความปลอดภยั และ
สุขภาพอนามัย เปน็ การลงทุนทใ่ี ห้ผลตอบแทนท่ีค้มุ ค่า

7.1 ข้าพเจ้าแสดงความชื่นชมต่อผู้ปฏิบัติงานในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย และ
คาดหวงั วา่ ผู้ใต้บังคับบญั ชาระดับบริหาร และพนกั งานอาวโุ สทุกคนจะทำเช่นน้นั ด้วย

7.1.1 ขา้ พเจา้ ให้ผ้ปู ฏบิ ตั งิ านของขา้ พเจา้ มีสว่ นร่วมในการตดั สินใจทีเ่ ก่ียวข้องกับความปลอดภัยและ
สุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการ ข้าพเจ้ายกย่องชมเชยผู้ปฏิบัติงานท่ีมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยและว่า
กล่าวทันทเี ม่ือมีพฤติกรรมทไี่ ม่ปลอดภัย

• สถานประกอบกิจการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือแสดงความ
คดิ เหน็ ดา้ นความปลอดภัยและอาชีวอนามัย อย่างเหมาะสม ผา่ นช่องทางตา่ ง ๆ เชน่
- การประชมุ คณะกรรมการความปลอดภัยฯ
- โครงการการแสดงความคิดเหน็ หรือโครงการสำรวจความคดิ เห็นดา้ นความปลอดภยั ฯ
- กล่องรับความคิดเห็นเว็บไซต์ ผลการตัดสินใจเกี่ยวกับความคิดเห็น และข้อเสนอแนะได้ถูก
รวบรวม และส่อื สารให้ผูป้ ฏบิ ตั ิงานไดร้ ับทราบ

• สถานประกอบกิจการมโี ครงการยกย่องชมเชยผู้ปฏิบัติงานที่ประพฤตปิ ฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดี
ด้านต่าง ๆ ครอบคลุมด้านความปลอดภัย ฯ และมีการดำเนินการ การยกย่องชมเชยอาจ
เป็นทง้ั ทีเ่ ปน็ รางวลั หรอื คำชมเชยก็ได้

• สถานประกอบกิจการมีระเบียบข้อบังคับในการทำงานเป็นขั้นตอน ในการลงโทษกรณีที่
ผู้ปฏิบัติงานฝ่าฝืนกฎระเบียบหรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย และมีการดำเนินการ
ตามระเบียบดงั กล่าว

7.1.2 ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงข้าพเจ้าได้เสมอ และข้าพเจ้าแสดงให้เห็นว่าข้าพเจ้าอยู่กับเขาในที่
ทำงานดว้ ยสถานประกอบกจิ การดำเนินการ ดังน้ี

• มนี โยบายเปดิ กวา้ งให้ผปู้ ฏิบัตงิ านเขา้ พบหรือเข้าถึงได้ (Open door policy)
• มีช่องทางที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงานโดยตรง เช่น ไลน์กลุ่ม

โทรศัพท์ การประชุมกลุ่มย่อย โครงการพบผบู้ ริหาร ฯลฯ
• ผู้บรหิ ารหรือหวั หนา้ งานหนว่ ยงานมกี ารทำกิจกรรมร่วมกับผปู้ ฏิบตั งิ าน

7.1.3 ขา้ พเจ้าถอื ว่าข้อมูลรายงานเกี่ยวกบั ปัญหา และความคิดเหน็ ของผูป้ ฏิบตั ิงานเป็นเรอ่ื งจริงจัง ท่ี
จะนำมาหาวธิ กี ารแก้ไขปัญหา และพรอ้ มท่ีจะใหค้ ำตอบในช่วงเวลาทเี่ หมาะสม

สถานประกอบกจิ การจดั ใหม้ กี ารดำเนินการ ดงั น้ี
• มีระบบในการรับฟัง และรวบรวมข้อมูล/รายงานปัญหา/ข้อขัดข้อง/ความคิดเห็นของ

ผปู้ ฏบิ ัติงาน

65

• มีระบบหรือขั้นตอนในการตอบสนองตอ่ รายงาน/ข้อคดิ เหน็ ของผูป้ ฏิบตั ิงาน (การนำข้อมูล/
รายงานปัญหาไปวเิ คราะห์ เพือ่ จัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปรบั ปรงุ )

• มกี ารตดิ ตามผล และส่ือสารหรือแจง้ ให้ผ้ปู ฏิบตั งิ านทีเ่ กีย่ วขอ้ งทราบ

7.2 ขา้ พเจ้าใชห้ วั ข้อเรอื่ งความปลอดภยั และสุขภาพอนามัยในการทำงาน ในการสรา้ งและพัฒนาวัฒนธรรม
องคก์ รเชงิ บวก

7.2.1 เราธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่อยู่บนพื้นฐานความไว้วางใจ ความเคารพนับถือและความ
ร่วมมือกัน มิตรไมตรี ความมีน้ำใจ และความจริงใจของบุคคล จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเคารพนับ
ถือและความร่วมมือระหว่างกัน สถานประกอบกิจการสามารถพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้จากการทำโครงการหรือ
จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างการทำงานเป็นทีม เช่น การมอบหมายการทำงานเป็นกลุ่ม (Groupwork -
Assignment) การสรา้ งทมี สัมพนั ธ์ (Teamwork Building) โครงการพี่เลีย้ ง (Mentoring Program) เพ่ือน
ช่วยเพือ่ น ฯลฯ

7.2.2 ปญั หาต่าง ๆ ได้รบั การกล่าวถึงอยา่ งเปดิ เผยในสถานประกอบกิจการของข้าพเจ้า ทุกคนมีสิทธิ
และหน้าที่ท่จี ะบอก “หยดุ ” ได้ในกรณที ีม่ ีอันตรายและมสี ภาพการทำงานท่ีไมป่ ลอดภยั

• ผู้บังคับบญั ชามีการบอกกลา่ ว/สื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานทราบปัญหาหรือสภาพการทำงานทีไ่ ม่
ปลอดภัย

• มีประกาศ/ระเบียบ/ข้อบังคับการทำงานที่กำหนดให้ลูกจ้างสามารถหยุดปฏิบัติงานที่อาจ
ก่อใหเ้ กิดอันตรายได้

• ผปู้ ฏบิ ตั งิ านทราบถงึ ประกาศ/ระเบยี บ/ข้อบงั คบั การทำงาน

7.2.3 ข้าพเจ้าแสดงความมุ่งมั่นว่า ผู้ปฏิบัติงาน และครอบครัวของเขาทราบว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคน
ทำงานอยูใ่ นสถานประกอบกจิ การที่มีความปลอดภัย

• สถานประกอบกิจการมีนโยบายในการสง่ เสรมิ ความปลอดภยั และอาชวี อนามัยในการทำงาน
• มีการดำเนินงาน/กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงานของ

ผู้ปฏบิ ัตงิ านอยา่ งแข็งขันจริงจัง
• มีการสื่อสารไปยังผู้ปฏิบัติงานและครอบครัวผู้ปฏิบัติงานทราบถึงนโยบายและการ

ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าสถานประกอบการมีความปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี และมีความ
ผาสุก (Happy workplace)

7.2.4 ผู้ปฏิบตั ิงานในสถานประกอบกิจการของขา้ พเจ้าเฝ้าระวงั และดแู ลซึ่งกันและกัน
• สถานประกอบกิจการมีการกำหนดไว้ในคู่มือการปฏิบัติงานให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีบทบาท
หนา้ ที่ในการเฝ้าระวงั และดแู ลซึง่ กันและกนั

66

7.2.5 ข้าพเจ้าไม่เพียงเชญิ เฉพาะผูป้ ฏิบัตงิ านของข้าพเจ้าเท่านั้น แต่ยังได้เชิญครอบครัวของเขาด้วย
รวมทั้งลูกค้า และพนั ธมติ รของเรา มารว่ มในกจิ กรรมสง่ เสรมิ ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย

เม่ือสถานประกอบกจิ การจดั กจิ กรรมเกี่ยวกบั การสง่ เสรมิ ความปลอดภยั และสุขภาพหรอื กจิ กรรมอ่นื ๆ ที่
เกี่ยวข้องให้กับพนักงาน มีการเชิญชวนครอบครัวผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมาช่วง ลูกค้า และพันธมิตร เข้ามามี
ส่วนรว่ มในกิจกรรมเหล่านี้ ตามนโยบาย ความเกี่ยวขอ้ ง และความเหมาะสมของกจิ กรรม

7.3 ในสถานประกอบกิจการของเรา ได้มีการจัดทำโครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม และการสร้าง
แรงจูงใจภายในองค์กร

7.3.1 ขา้ พเจา้ ใหร้ างวลั ทงั้ ที่เปน็ หรือไม่เป็นตวั เงินแก่ผู้ปฏบิ ัตงิ านรวมถึงผู้ใต้บงั คบั บัญชาระดบั บริหาร (ถ้ามี)
สำหรบั ผลการปฏบิ ตั งิ านทส่ี ำเรจ็ และปลอดภัย

สถานประกอบกิจการมีโครงการให้รางวัลทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงินให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่
ทำงานสำเร็จหรอื ที่มสี ่วนร่วมในงานดา้ นความปลอดภยั ฯ เช่น

- การกล่าวชมเชยในท่ปี ระชมุ หรอื ต่อหนา้ บคุ คลอ่นื
- การประกาศเกียรตคิ ณุ
- การให้รางวัล ของขวญั ของทร่ี ะลึก
- การนำไปพจิ ารณาเพิ่มเติมจากผลการปฏบิ ัติงานตามปกติ

7.3.2 ข้าพเจ้ากระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานออกความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย
เช่น ผ่านทางกล่องรับข้อเสนอแนะ ทางกระดานข่าว หรือทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
(อนิ ทราเน็ต)

• สถานประกอบกิจการมีระบบในการให้ผู้ปฏิบัติงานเสนอแนะความคิดเห็นด้านความ
ปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงาน เชน่
- กลอ่ งรบั ความคิดเหน็
- สายดว่ นความปลอดภัย
- อเี มล์
- เว็ปไซด์ และ แอพพลิเคชนั่ ต่าง ๆ

• มีการประกาศหรือกจิ กรรมเชิญชวนให้ผู้ปฏิบตั ิงานแสดงความคิดเห็น รวมถงึ การตอบสนอง
ต่อความคดิ เห็น/ขอ้ เสนอแนะ และการส่อื สารผลการดำเนนิ การดว้ ย

7.3.3 ในการสร้างการมสี ่วนรว่ ม และจูงใจของผูป้ ฏบิ ัติงาน ขา้ พเจ้าใชเ้ วทีท้งั ในระดับชาติ และระดับ
นานาชาติ เกี่ยวกับการแสดงความคิดใหม่ ๆ การรณรงค์และการประกวดให้รางวัลต่าง ๆ ด้านความ
ปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อนำเสนอผลงานดีเด่นของผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้าอีกด้วยสถานประกอบ
กิจการเขา้ ร่วมกจิ กรรมต่าง ๆ ระดบั ประเทศและระดบั นานาชาติ ตัวอย่างระดับประเทศ เช่น

• การประกวดสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นดา้ นความปลอดภัย ฯ
• การประกวดโครงการอุบตั เิ หตเุ ป็นศนู ย์

• การนำเสนอผลงานด้านความปลอดภยั ฯ ในการสัมมนาระดับประเทศ

67

ตวั อยา่ งระดบั นานาชาติ เชน่
- การนำเสนอผลงานดา้ นความปลอดภยั ฯ ในโกลบอลฟอร่ัม
- การนำเสนอผลงานด้านความปลอดภัย ฯ ในการประชมุ วชิ าการนานาชาติ

7.3.4 ข้าพเจ้าสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้ารายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุอย่าง
เปดิ เผยและมอบรางวัลให้สำหรบั การรายงานดงั กล่าว

• สถานประกอบกิจการจัดให้มีโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงาน
รายงานอุบัติการณ์ เช่น ตั้งเป้าหมายการรายงานอุบัติการณ์แต่ละหน่วยงาน (จำนวนท่ี
รายงาน และจำนวนทด่ี ำเนนิ การแลว้ เสร็จ) เป็นตน้

• มีการสร้างแรงจูงใจ/มอบรางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงานที่รายงานเหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ
ตวั อยา่ ง เช่น
- การเพิ่มคะแนนผลการปฏิบตั งิ านดา้ นความปลอดภัย
- การให้รางวัลหรือของที่ระลกึ เพื่อตอบแทน
- มีการดำเนนิ การแก้ไขปรับปรุงเพื่อลด หรอื ขจัดอันตราย

7.3.5 ข้าพเจ้าต้องการให้พฤติกรรมที่ปลอดภัยเป็นข้อกำหนดพื้นฐานในการปฏิบัติงานของ
ผปู้ ฏิบัติงานทุกคนในสถานประกอบกจิ การของขา้ พเจา้

• สถานประกอบกิจการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่าการปฏิบตั ิงานที่ปลอดภัยเป็นพื้นฐาน
ในการปฏิบัตงิ านของพนกั งานทุกคน

• ประกาศให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทุกสายงานทราบถึงความมุ่งหวังของผู้บริหารในเรื่อง
พฤติกรรมความปลอดภยั ของผูป้ ฏิบัติงาน และกำกับดูแลให้มีการปฏบิ ัติ

• ผู้บริหารประพฤติปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงานหรือมาตรฐานความ
ปลอดภยั ของสถานประกอบกจิ การ เปน็ ตวั อยา่ งที่ดีแก่ผปู้ ฏบิ ตั ิงานทกุ ระดับ เชน่
- สวมอุปกรณค์ มุ้ ครองความปลอดภยั สว่ นบุคคลทรี่ ะบไุ วเ้ มื่อเดินตรวจโรงงาน
- สวมทคี่ รอบหหู รือปลั๊กอุดหูเม่ือเข้าไปในสถานท่ีท่ีมีเสียงดัง เปน็ ต้น พร้อมกับการกำกับดูแล
ให้พนกั งานสวมใส่ด้วยเช่นเดียวกัน

7.3.6 ผู้ปฏบิ ัติงานไดร้ ับทราบถงึ ความเสี่ยงดา้ นสขุ ภาพที่อาจเกดิ ข้นึ และมาตรการป้องกันทไ่ี ด้กำหนดไว้
• สถานประกอบกิจการมีการแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
และมาตรการป้องกัน เช่น สื่อสารโดยการติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ หรือโพสต์บนเว็ปบอร์ด
การแจ้งในการอบรมหรือการประชมุ จดหมายอเิ ล็กทรอนกิ ส์ (อีเมล์) ส่ือสารผา่ นหัวหน้างาน
และลงบนั ทึกรบั ทราบ เปน็ ต้น
• ผปู้ ฏิบัติงานมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่กำหนด เช่น
- สวมใสแ่ ว่นตานิรภัยเพอื่ ปอ้ งกนั วัสดุกระเด็นเข้าตา ที่ครอบหู หรอื ปลั๊กอุดหูเพ่อื ลดการสัมผัส
เสียง สวมถงุ มือป้องกนั สารเคมีของมีคม
- การยกย้ายวสั ดุด้วยทา่ ทางทถี่ ูกต้องปลอดภยั หรือใช้เครือ่ งมอื กลชว่ ย

68

- การต้ังวางวัสดุตามจำนวนทร่ี ะบไุ ว้
- ไม่คากุญแจท่รี ถโฟล์คลฟิ ท์เม่ือไม่ใชง้ าน
- ติดปา้ ยซอ่ มบำรุง หรอื ห้ามใช้งานเมอ่ื เครื่องจกั รชำรดุ /ใชก้ ารไม่ได้
สรปุ
VISION ZERO เป็นกลยุทธ์ในการลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยในการทำงาน และ
เป็นวิธีเปลี่ยนแปลงไปสู่การป้องกันซึ่งครอบคลุมมิติด้านความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และความผาสุก
โดยใช้แนวปฏิบัติตามรูปแบบกฎทอง 7 ประการของ VISION ZERO ซึ่งคู่มือนี้จัดทำคำอธิบายหรือ
คำแนะนำวิธีการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ ก่อนที่สถานประกอบกิจการจะทำการประเมิน
ตนเองด้วยรายการตรวจสอบ (Checklist 110 ขอ้ )

69

หลกั สตู รที่ 3: แบบประเมินตนเอง 110 ข้อ สำหรบั ที่ปรกึ ษา (ASSESSMENT 110 FOR CONSULT)

อุบัติเหตุจากการทำงานรวมทั้งการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดย
บังเอญิ หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จริงแลว้ สง่ิ เหลา่ นี้มีสาเหตุ การสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกนั ท่ีเข้มแข็งจะสามารถ
กำจัดสาเหตุของการเกิดอุบัตเิ หตุ และป้องกนั ไมใ่ ห้อบุ ัตเิ หตุ และการเจ็บป่วยจากการทำงานเกิดขึน้ ได้

การปรับปรุงด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการ แนวปฏิบัติ VISION ZERO
ไม่ได้หมายถึงการต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายเสมอไป สิ่งสำคัญคือการที่นายจ้าง ผู้บริหาร หรือผู้นำองค์กรมีความ
ตระหนัก และจติ สำนึกของความเป็นผู้นำสม่ำเสมอตลอดเวลา สรา้ งบรรยากาศของความไวเ้ น้ือเชื่อใจกัน มี
การสือ่ สารอย่างเปิดเผยทกุ ระดับภายในองคก์ ร การนำกลยทุ ธเ์ ชิงป้องกันของ VISION ZERO ไปดำเนนิ การ
สู่การปฏิบัติต้องการการมีส่วนร่วมจากบุคลากรในองค์กรอย่างมากมายทุกระดับ ความสำเร็ จหรือความ
ล้มเหลวของการนำ VISION ZERO ไปใช้พจิ ารณาได้จากนายจา้ ง ผูบ้ ริหารหรอื ผนู้ ำองค์กร

เพอื่ สนบั สนุนให้นายจ้าง ผ้บู ริหาร หรือผู้นำสามารถปรับปรุงด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย
ในสถานประกอบกจิ การตามแนวทาง VISION ZERO หน่วยงาน ISSA ไดม้ กี ารสำรวจ และสอบถามเกย่ี วกับ
วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด กลุ่มนายจ้าง ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกัน ผู้แทนลูกจ้าง
และเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน รวมกว่า 1,000 ราย ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้นำมาสู่การพัฒนาเครื่องมือการบริหาร
เชงิ ปฏิบตั ิข้นึ เพอื่ ใช้ในการเสรมิ สร้าง VISION ZERO ในรูปแบบของกฎทอง 7 ประการ (7 Golden Rules)

ทำไมต้องเรียกว่า “กฎทอง” (Golden Rules) เพราะ “กฎ” คือความจริงที่แน่แทแ้ น่นอน และที่ใช้
“ทอง” กเ็ พ่ือมาเน้นว่ามีคุณค่ามาก เป็นความจริงท่ีทรงคุณค่า เปน็ “กฎของคณุ ธรรม” (Mindset) ท่ีต้องมี
เพ่ือตวั เองครอบครัว เพอ่ื นร่วมงาน และสังคมโดยรวม กำหนดเป็นวสิ ัยทัศน์สว่ นตน

กฎทองแต่ละข้อในแนวทางการประเมินตนเอง 110 ข้อนี้มีคำอธิบายภาพรวมโดยย่อ รวมถึง
คำแนะนำการประเมินตนเองที่เป็นรูปธรรมในแต่ละเรื่อง ซึ่งทำให้สามารถทราบได้ว่าแนวปฏิบัติในกฎทอง 7
ประการ ข้อใดบ้างที่ท่านได้ดำเนินการแล้วในสถานประกอบกิจการของท่านในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้อง
ดำเนินการแก้ไข หรอื ยังสามารถปรับปรุงเพ่ิมเตมิ ได้อีก หรอื ไม่

การมีสถานที่ทำงานทปี่ ลอดภัย และมีสขุ ภาพอนามัยที่ดีเป็นสงิ่ ทีเ่ ป็นไปได้ ดงั น้นั จึงขึน้ อยู่กบั ตวั ท่านเองแล้ว

การใชค้ ู่มือ

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย และอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ
(SHAWPAT) พัฒนาคู่มือฉบับนี้ขึ้น สอดคล้องกับคู่มือการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ VISION ZERO
เพ่ือเพ่มิ เติมรายละเอยี ดของการปฏิบตั หิ รือดำเนินการขนั้ พ้ืนฐานในแตล่ ะข้อย่อยของกฎทอง 7 ประการ ให้
เขา้ ใจมากขน้ึ เมือ่ ทำการประเมนิ ตนเองตามแบบประเมินกฎทอง 7 ประการของ VISION ZERO เพ่อื ให้บรรลุ
ตามตามเจตนารมณ์ และเป้าหมายของการเป็นผู้นำในการสรา้ งวัฒนธรรมความปลอดภยั ขององคก์ ร

คู่มือการทำแบบประเมินตนเองตามกฎทอง 7 ประการของ SHAWPAT นี้ใช้ควบคู่กับแบบประเมิน
กฎทอง 7 ประการของ VISION ZERO ในแบบประเมินบนระบบซอฟต์แวร์ หรือ ซอฟต์ไฟล์ ให้ถูกต้องตรง
กบั ส่งิ ท่สี ถานประกอบกิจการของท่านปฏบิ ตั อิ ย่ใู นปจั จบุ นั

70

วธิ ีการประเมินกฎทอง (โดยการเลอื กสที ีส่ อดคล้องกับสถานภาพการปฏิบัติการของท่าน)

สเี ขยี ว : ดำเนนิ การครบทุกข้อ
สเี หลอื ง : ดำเนนิ การไมค่ รบแต่ดำเนินการเปน็ ส่วนใหญ่

สีแดง : ดำเนินการเป็นสว่ นนอ้ ย จำเปน็ ตอ้ งมีการดำเนนิ การเพ่ิมเติม

ในการตัดสินผลการประเมินตนเองลงในระบบซอฟต์แวร์ หรือ ซอฟต์ไฟล์ ถ้าท่าน หรือสถาน
ประกอบกิจการของท่านทำครบทุกข้อตามแนวทางที่ให้ไว้ในแต่ละข้อย่อย และมีหลักฐานเชิงประจักษ์เกบ็
ไว้เพื่อแสดงถึงการปฏิบัติของท่านหรือสถานประกอบกิจการของท่าน ให้ท่านบันทึกผลเป็นสีเขียว กรณีท่ี
ท่านหรือสถานประกอบกิจการของท่านมีการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ของแนวทางที่แนะนำแต่ละข้อย่อยแต่ไม่
ครบทั้งหมด และมีหลักฐานเชิงประจักษ์เก็บไว้เพื่อแสดงถึงการปฏิบัติของท่าน หรือสถานประกอบกิจการ
ของท่าน ให้ท่านบันทึกผลเป็นสีเหลือง และกรณีที่ท่านหรือสถานประกอบกิจการของท่านมีการปฏิบัติ
บางส่วนหรือไม่มีการปฏิบตั แิ นวทางทแี่ นะนำดงั กลา่ วเลย ใหท้ ่านบนั ทึกผลเป็นสแี ดง

กฎทองข้อที่ 1 : มีความเป็นผู้นำ - แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น (Take leadership - demonstrate
commitment)

เป็นผู้นำและแสดงให้เห็น การที่ท่านทำตัวเป็นผู้นำนั้น คือ การชี้ขาดความสำเร็จ หรือความล้มเหลวเรื่อง
ความปลอดภยั และสุขภาพอนามยั ใหแ้ ก่องคก์ รของทา่ น

1.1 ข้าพเจ้า (ในฐานะผู้บริหาร) ได้แสดงให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้ ผลการประเมนิ ตนเอง

การบังคับบัญชาของข้าพเจ้า ได้เห็นถึงความเป็นผู้นำของ

ข้าพเจ้าในดา้ นความปลอดภัยและสขุ ภาพอนามัย โดยข้าพเจา้ ได้

มีการวางมาตรฐาน และขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความ

ปลอดภัย และได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้ร่วมงานทุก

ระดบั ของขา้ พเจ้า

1.1.1 ข้าพเจ้ามีหนา้ ท่รี บั ผิดชอบในเรอื่ งความปลอดภยั และสุขภาพ

อนามัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าตระหนักดีใน ปฏิบตั ิ ปฏบิ ตั ิ ปฏิบตั ิ
ครบทุกข้อ 2-4 ขอ้ < 2 ข้อ
เรื่องนี้ และพรอ้ มรับหนา้ ที่ความรบั ผิดชอบดงั กล่าว

• กำหนดหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัย และสุขอนามัย

ในการทำงานของพนักงานทุกระดบั ต้ังแตผ่ ู้บรหิ าร หวั หนา้ งาน

และผู้ปฏิบัติงาน ไว้ในระเบียบปฏิบัติ ข้อปฏิบัติงาน หรือ

ขอ้ บงั คับขององคก์ ร หรอื หน่วยงาน

• มีคำสั่งแต่งตั้ง จป.บริหาร จป.หัวหน้างาน และจป.ระดับอื่น ๆ

ตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบตาม

กฎหมายครบถ้วน และผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งทุกคน รับทราบ

คำสง่ั แตง่ ตงั้

71

• อำนวยการหรือจดั การให้สถานท่ที ำงานหรอื สภาพแวดลอ้ มในการ
ทำงานของหนว่ ยงานใหม้ ีความปลอดภัยเหมาะสมต่อการทำงาน

• จัดสรรและสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ในการบรหิ ารงานด้าน

ความปลอดภัยของหน่วยงานเพียงพอ และเหมาะสม ทั้งด้าน
บุคลากร เทคโนโลยี งบประมาณ และอปุ กรณเ์ คร่ืองมือ

• ทบทวนผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยใน

การทำงาน กับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานเป็นประจำ และ

สนบั สนนุ ใหม้ ีการปรบั ปรุงอย่างตอ่ เนือ่ ง
(อธบิ าย สาธติ หรือ แสดงตัวอย่าง)

1.1.2 ข้าพเจ้าไดจ้ ัดทำเป้าประสงค์ด้านความปลอดภยั และอาชีวอนามัย

(รวมถึงพันธกิจ และหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง) สำหรับหน่วยงาน ปฏิบตั ิ ปฏบิ ตั ิ ไมไ่ ด้
ของขา้ พเจา้ และส่อื สารใหผ้ ้ปู ฏบิ ตั งิ านรบั ทราบ ครบทุกขอ้ 1-2 ข้อ ปฏิบัติเลย

• กำหนดเรื่องความปลอดภัย และอาชีวอนามัยไว้ในวิสัยทัศน์
พันธกจิ หลักการหรือนโยบายขององคก์ ร หรอื หน่วยงาน

• ตั้งวัตถุประสงค์/เป้าหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

ขององค์กรหรือหน่วยงานที่ชัดเจน และวัดผลได้ เช่น จำนวน
กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ จำนวนการรายงาน
อุบตั กิ ารณ์เพ่ิมขึน้ 5% ทุกไตรมาส จำนวนรายของอุบัติเหตุทุก

กรณีลดลง 10% เทียบกบั ปีกอ่ นหนา้ รายการแก้ไขปรับปรุงทุก

กรณเี สรจ็ สมบรู ณต์ ามกำหนด เปน็ ต้น

• ได้มีการสื่อสารวัตถุประสงค์/เป้าหมายด้านความปลอดภัย
และอาชีวอนามยั ขององค์กรหรือหน่วยงานใหผ้ ู้ปฏบิ ัติงานและ/

หรอื ผู้เกย่ี วขอ้ งได้รับทราบโดยช่องทางต่าง ๆ เช่น กระดานข่าว

บอร์ดประชาสมั พนั ธ์ เว็บไซต์ ฯลฯ
(อธบิ าย สาธิต หรอื แสดงตัวอย่าง)

1.1.3 ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าถือว่า

สำคัญและต้องมาก่อนเร่ืองอืน่ เสมอ กรณีที่ไม่แน่ใจว่ามีความปลอดภัย ปฏิบตั ิ ปฏิบตั ิ ปฏิบัติ
หรือไม่ ข้าพเจ้าจะบอกว่า "หยุด" (จนกว่าจะมีการตรวจสอบก่อนที่ ครบทุกขอ้ 2-3 ขอ้ < 2 ขอ้
จะดำเนนิ การต่อไป)

• มีการกำหนดให้ตรวจความปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงาน

และในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าปลอดภัยหรือไม่ ให้ผู้ปฏิบัติงานแจ้ง
หัวหน้างานหรือผทู้ เ่ี กี่ยวข้องตรวจสอบกอ่ นลงมือปฏิบตั ิงาน

72

• มีการกำหนดขั้นตอนการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่

ปลอดภัย เช่น การชำรุดบกพร่องของเครื่องจักร เครื่องมือ

อุปกรณ์ เป็นตน้

• มีการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานหยุดการทำงานถ้าไม่แน่ใจว่า

ปลอดภัย จนกว่าจะมีการปรับปรุงหรือตรวจสอบ เช่น มีป้ายห้าม

หรือมีกิจกรรม “หยุด เรียก รอ” “Stop and think” หรือ “4

Stops” เป็นต้น

• ผู้บรหิ ารหรือหวั หน้างานหยดุ หรือ สง่ั ให้หยดุ ปฏบิ ตั งิ านนน้ั ๆ

ทันทีเมื่อพบพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่

ปลอดภัย เพื่อแก้ไขปรับปรุงก่อน ถึงแม้ว่าการสั่งหยุดงานอาจ

ทำให้การผลิตล่าช้าก็ตาม

(อธบิ าย สาธติ หรือ แสดงตวั อย่าง)

1.1.4 ความปลอดภยั และสุขภาพอนามัยเปน็ เรื่องทอ่ี ยู่ในวาระแรก

ของการประชมุ (ทเ่ี ก่ยี วกับการปฏิบตั งิ าน) ในที่ทำงานของขา้ พเจา้ ปฏิบัติ ปฏบิ ัติ ปฏิบตั ิ
ครบทุกข้อ 2-3 ข้อ < 2 ขอ้
เสมอทุกคร้ัง

• การกำหนดใหห้ รือบรรจปุ ระเด็นความปลอดภยั และ

อาชีวอนามัยในการทำงานเป็นวาระแรกในการประชุม/การ

พูดคุยขององคก์ รหรือหน่วยงาน

• ก่อนเริ่มประชุม มีการแจ้ง ชี้แจง หรือ สื่อสารข้อมูลข่าวสาร

กฎระเบียบ ข้อบังคับเรื่องความปลอดภัย ฯ ขององค์กร หรือ

หน่วยงานในที่ประชุมผู้เก่ียวขอ้ งทง้ั ภายใน และภายนอกเสมอ

• การทบทวนหรือพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัย และ

การดูแลสุขภาพอนามัยในการทำงานก่อนเริ่มงาน หรือ เริ่ม

ประชุมภายในหน่วยงาน

• การเปิดหรือฉายวิดีโอความปลอดภัย และอาชีวอนามัยใน

การทำงานกอ่ นเรม่ิ ประชุมวาระอ่ืน ๆ ของหนว่ ยงาน

(อธบิ าย สาธติ หรือ แสดงตวั อย่าง)

73

1.1.5 ข้าพเจ้าตระหนักดีว่าข้าพเจ้าต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี

ข้าพเจ้าจึงปฏิบัติตามกฎระเบียบ และใช้อุปกรณ์คุ้มครองความ ปฏิบัติ ปฏบิ ตั ิ ปฏิบตั ิ
ปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนด เมื่อข้าพเจ้าเห็นว่ามีการกระทำ ครบทกุ ขอ้ 2-4 ข้อ < 2 ข้อ

ใดที่ไม่ปลอดภัยข้าพเจ้าจะเข้าไปดำเนินการเกี่ยวกับการกระทำนัน้

ทนั ที และพดู กับผทู้ ่เี กยี่ วข้อง

• ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน และข้อปฏิบัติ

เพ่อื ความปลอดภยั ในการทำงานอยา่ งเคร่งครัด

• แสดงความเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ

หน่วยงานโดยพิจารณาเรื่องความปลอดภัย ฯ ผนวกเป็นส่วน

หน่งึ ของปฏิบตั กิ ารทำงาน

• ตรวจสอบสภาพก่อนการสวมใส่ และสวมใส่อปุ กรณ์คุ้มครอง

ความปลอดภัยทุกครั้งเมื่อเข้าไปในสถานที่ทำงานที่กำหนดให้

สวมใส่

• ตรวจตรา และตรวจสอบความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

และส่ังหยดุ งาน

• มีการตักเตือน แนะนำหากพบผปู้ ฏบิ ัตกิ ระทำไม่ปลอดภัย

• ดำเนินการทันทีที่พบสภาพแวดล้อมหรือการกระทำที่ไม่

ปลอดภยั

(อธบิ าย สาธติ หรือแสดงตัวอย่าง)

1.1.6 ขา้ พเจา้ เข้าร่วมในทุกโอกาสท่ีมกี ารอบรมเรื่องความปลอดภยั

และอาชวี อนามยั สำหรบั ผ้นู ำ และผู้ใตบ้ งั คับบัญชาระดบั บรหิ าร ปฏิบัติ ปฏบิ ตั ิ ไมป่ ฏิบตั เิ ลย
เพื่อรับทราบข้อมูลขา่ วสารท่ีมีอยูใ่ นปจั จบุ นั ครบทุกข้อ 1-2 ข้อ

ผู้บริหารสถานประกอบกิจการได้รับการอบรมด้านความ

ปลอดภัยอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องทุกครั้งที่มีโอกาสในรูปแบบ

ต่าง ๆ ได้แก่ การสัมมนา การอบรมในชั้นเรียน หรือ ระบบ

ออนไลน์ การอบรมในชัน้ เรียน เปน็ ต้น ตัวอย่างเชน่

• การอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานตาม

กฎหมาย เช่น การอบรมหลักสูตร จป.ระดับบริหาร หลักสูตร

การปอ้ งกนั และระงบั อคั คภี ยั ฯลฯ

• การฟังบรรยายความรู้หรือร่วมสัมมนาเกี่ยวกับความ

ปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงานในโอกาสตา่ ง ๆ

• การอบรมหลักสูตรเกย่ี วกับการบริหารจดั การความปลอดภัย

อาชวี อนามัย และสงิ่ แวดล้อมในการทำงานอนื่ ๆ เช่น มาตรฐาน

74

แรงงานไทย ISO45001 กฎหมายขอ้ บงั คับท่ีเกี่ยวข้อง กฎเกณฑ์
หรอื จรรยาบรรณทางธุรกจิ เปน็ ตน้
(อธบิ าย สาธิต หรือแสดงตวั อย่าง)

รวมคะแนน 1.1

1.2 ความสำคัญเกีย่ วกบั ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยเปน็ ผลการประเมนิ ตนเอง

เรอื่ งที่รบั ทราบโดยผปู้ ฏิบตั ิงานทกุ คนของขา้ พเจ้า และเรามีการ

พูดคุยเก่ยี วกับเร่ืองนี้กนั อย่างเปิดเผย

1.2.1 สถานประกอบกิจการของเรามีกฎระเบียบ ข้อบังคับด้าน

ความปลอดภัยในการทำงานที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุก ปฏบิ ตั ิ ปฏิบตั ิ ไม่ปฏิบตั ิเลย
ครบทุกข้อ 2-3 ข้อ
คนทำงานไดอ้ ย่างปลอดภัย

• มรี ะเบียบปฏบิ ตั ิมาตรฐานความปลอดภยั ในการทำงาน (หรอื
SOP) ต่าง ๆ เช่น ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
เกี่ยวกับเครือ่ งจักร การทำงานยกย้ายด้วยรถยกหรือเครื่องจักร
หนกั เป็นต้น

• มีคู่มือปฏิบัติงาน (PI หรือ WI) เช่น คู่มือการบำรุงรักษา
เครื่องจักร คู่มือการทำความสะอาดชิ้นงาน คู่มือการบรรจุ
ผลิตภัณฑ์

• มีข้อบังคับการทำงาน (Work Rule & Regulation) หรือวิธี
ปฏิบัติงาน (Work Practices) ผู้ปฏิบัติงานรับทราบระเบียบ
ปฏิบัติมาตรฐาน คู่มือปฏิบัติงาน ข้อบังคับการทำงาน หรือ
วิธีการทำงาน โดยช่องทางการอบรม การสอนงาน การสื่อสาร
การติดบอร์ด การตดิ ทบี่ รเิ วณทำงาน และอน่ื ๆ
(อธิบาย สาธติ หรือ แสดงตัวอยา่ ง)

1.2.2 ข้าพเจ้าทำให้แนใ่ จวา่ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนรบั ทราบกฎระเบียบ ปฏบิ ตั ิ ปฏบิ ัติ ไมป่ ฏิบตั เิ ลย
ครบทุกข้อ 2-3 ขอ้
ขอ้ บังคบั ด้านความปลอดภยั ในการทำงานในสถานที่แห่งนี้

มีระบบจัดการหรือบันทึกสิ่งที่ดำเนินการเพื่อช่วยตรวจสอบ

ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน ตวั อยา่ งเชน่

• บันทึกหลักสูตรการอบรมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ

สภาพแวดลอ้ มในการทำงานสำหรบั พนักงานใหม่ หรือพนกั งาน

ทเ่ี ปล่ยี นงาน

• บันทึกการอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ

สภาพแวดล้อมในการทำงานเรอ่ื งอนื่ ๆ

75

• บันทึกที่ผู้ปฏิบัติงานลงลายมือชื่อรับทราบคำชี้แจง หรือ
คำส่งั

• บันทกึ การลงลายมือช่อื ของผู้ปฏบิ ตั ิงานเมอ่ื รบั การสอนงาน (OJT)
(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตวั อยา่ ง)

1.2.3 ขา้ พเจ้ามีการพดู คยุ เก่ยี วกับเรือ่ งความปลอดภยั และสุขภาพ ปฏิบัติ ปฏบิ ัติ ไม่ปฏบิ ตั ิเลย
อนามัยกบั ผูป้ ฏบิ ตั งิ านของข้าพเจ้า ครบทกุ ขอ้ 2-3 ขอ้

มีโครงการหรือกิจกรรมพบปะ พูดคุย ประชุม กับผู้ปฏิบัติงาน
เพื่อทบทวน และแลกเปลย่ี นความคดิ เห็น เช่น

• การพูดคุยเรื่องความปลอดภัย ฯ ในการทบทวนประจำวัน
ก่อนเรม่ิ งาน (Daily Brief, Toolbox Talks)

• การสื่อสารกิจกรรมหรือข้อมูลจากการประชุมคณะกรรมการ
ความปลอดภัย ฯ

• การสื่อสาร แลกเปลี่ยน แบ่งปัน ข้อมูลหรือประสบการณ์เกี่ยวกับ
ความปลอดภัย ฯ ที่เกีย่ วขอ้ งกับผู้ปฏิบัตงิ าน (Learn & Share)

• การแจ้งข้อมูลขา่ วสาร และการรับฟงั ความคดิ เหน็ ทีเ่ กยี่ วขอ้ งกบั
ความปลอดภัย ฯ ภายในองค์กรหรือหน่วยงานกับผู้ปฏิบัติงาน
หรือ การพบปะพูดคุยกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบทั้งท่ี
เป็นทางการ และท่ีไมเ่ ปน็ ทางการกไ็ ด้
(อธิบาย สาธติ หรือ แสดงตัวอย่าง)

1.2.4 ผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้าทราบเสมอว่า ใครบ้างที่มีหน้าที่ ปฏิบัติ ปฏบิ ตั ิ ไมป่ ฏบิ ตั เิ ลย
รับผิดชอบดา้ นความปลอดภัยในการทำงาน ครบทุกข้อ 1-2 ข้อ

มีการสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ

งาน รวมถึงการมอบหมายงานดา้ นความปลอดภัยในงาน แต่ละ

ด้าน ตัวอยา่ ง เชน่

• ระบคุ วามรบั ผิดชอบด้านความปลอดภยั ไวใ้ นงานภาระหน้าที่

เรื่องทเ่ี ก่ียวข้องในการทำงาน

• ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับทำหน้าที่ และรับผิดชอบด้านความ

ปลอดภยั ในการทำงานของตนเองตามท่ีไดร้ ับมอบหมาย

• ผูป้ ฏบิ ตั งิ านทราบว่าใครเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ มี

บทบาทหนา้ ท่ีอะไร

(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตวั อย่าง)

76

1.2.5 ข้าพเจา้ ตดิ ตามความคิดเหน็ จากผู้ปฏบิ ัติงานของข้าพเจ้า เพ่ือ

ดูว่าขา้ พเจ้าไดท้ ำหนา้ ทสี่ มกบั บทบาทของการเป็นแบบอยา่ งทด่ี ีใน ปฏบิ ัติ ปฏบิ ัติ ไม่ปฏิบตั เิ ลย
ครบทกุ ขอ้ 1-3 ข้อ
เร่อื งความปลอดภยั และอาชีวอนามยั แล้ว หรือไม่

ผู้บริหารต้องใจกว้างมากพอในการรับฟังความคิดเห็นจาก

ผู้ปฏิบัติงาน (Openness) โดยใช้วิธีการหรือช่องทางต่าง ๆ

ตัวอยา่ ง เช่น

• มีการสอบถามความคิดเห็นจากผู้ปฏิบตั ิงานโดยตรง (Direct
interview)

• มีการเปิดให้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง (Open
discussion)

• มีการให้ผปู้ ฏบิ ตั ิงานทำแบบสำรวจความคดิ เห็น (Survey)

• มกี ารสังเกตพฤติกรรมเลียนแบบของผู้ปฏิบัติงาน (Behavior
Observation)
(อธิบาย สาธติ หรือ แสดงตัวอย่าง)

รวมคะแนน 1.2

1.3 ขา้ พเจ้าปฏิบัติตนอย่างสมำ่ เสมอ และแสดงให้ทุกคนไดเ้ ห็น ผลการประเมนิ ตนเอง

ว่าความปลอดภัย และสขุ ภาพอนามัยในการทำงานเปน็ เร่อื งที่มี

ความสำคัญตอ่ ขา้ พเจ้า

1.3.1 กอ่ นทีบ่ ุคลากรใดในสถานประกอบกิจการของข้าพเจ้า จะเข้า

รบั ตำแหน่งผบู้ งั คบั บญั ชา ตอ้ งผ่านการอบรมเกี่ยวกบั ความเป็นผู้นำ ปฏิบัติ ปฏบิ ตั ิ ไม่ปฏบิ ตั ิเลย
ครบทกุ ขอ้ 2-3 ข้อ
ในด้านความปลอดภยั และอาชวี อนามัยด้วย

กำหนดเป็นนโยบายหรือมีมาตรฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับ

ผู้บริหารหรือ ผู้นำโดยหลักสูตรการบริหารจัดการความปลอดภัย

และอาชีวอนามัยเป็นหลักสูตรจำเป็น (Training needs) เพื่อ

เตรยี มพรอ้ มสำหรับการรบั ตำแหนง่ ทส่ี ูงขึ้น ตวั อย่างเชน่

• ความรู้เบอ้ื งต้นเกย่ี วกับการบริหารจดั การความปลอดภัยและ
อาชีวอนามัยในการทำงาน

• หลกั สตู รเจ้าหน้าท่ีความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้า
งาน หรอื บรหิ าร

• ข ้ อ ก ำ ห น ด ใ น ก า ร บ ร ิ ห า ร จ ั ด ก า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย
และอาชีวอนามัย ของสถานประกอบกิจการ องค์กรหรือ
หน่วยงาน

77

• การอบรมระบบมาตรฐานการจัดการดา้ นความปลอดภัยและ ปฏบิ ัติ ปฏิบัติ
อาชีวอนามัยในการทำงาน เช่น ISO45001 มาตรฐานแรงงาน 2-4 ขอ้ 0-1ข้อ
ไทย (มรท.8001) เป็นตน้
(อธบิ าย สาธิต หรอื แสดงตัวอย่าง) ปฏิบตั ิ ไม่ปฏบิ ตั เิ ลย
1.3.2 ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหารของข้าพเจ้าทุกคนทราบดีว่า 1-2 ข้อ
ข้าพเจ้าให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเป็น ปฏิบตั ิ
อย่างย่ิง ดังน้นั ผูใ้ ตบ้ ังคับบัญชาระดับบริหารรวมท้ังผู้ปฏิบัติงานทุก ครบทุกข้อ
คนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานด้านความ
ปลอดภัยในการทำงานอยา่ งเทา่ เทียมกนั โดยไมม่ ีข้อยกเวน้

• มีนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ หรือ กฎระเบียบในเรื่องความ
เสมอภาคหรือความเท่าเทียมของพนักงานทุกคนทุกระดับใน
เร่อื งข้อปฏบิ ัติต่าง ๆ และมีการปฏิบัติ

• มปี ระกาศนโยบายหรอื ระเบยี บข้อบังคับในการทำงานชัดเจน
ในเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและ
อนามัยในการทำงาน

• มีบันทึกการลงลายมือชื่อรับทราบนโยบาย หรือกฎระเบียบ
ในเรอ่ื งความปลอดภัย และอาชีวอนามยั ในการทำงาน

• การสังเกตพฤติกรรมผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นระดับบริหารท่ี
เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนา
มัยในหนว่ ยงานของตนเอง และการติดตามผล

• ไม่มีข้อร้องเรียนจากผู้ปฏิบัติในเรื่องการเลือกปฏิบัติของ
ผู้บริหารในสถานประกอบกจิ การ องคก์ ร หรือ หนว่ ยงาน
(อธิบาย สาธิต หรือ แสดงตัวอย่าง)
1.3.3 ข้าพเจ้ายกย่องชมเชยการกระทำที่ปลอดภัย และบอกกล่าว
พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับการไม่ ปฏิบัติ
ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ เรื่องความปลอดภัยหรือความไม่ ครบทุกขอ้
เป็นระเบยี บในสถานทท่ี ำงานของขา้ พเจา้

• มีนโยบายหรือโครงการในการยกย่องชมเชย ส่งเสริม
ผู้ปฏิบัติงานที่ทำดีด้านความปลอดภัยในการทำงาน และ
กำหนดบทลงโทษผู้ทีล่ ะเลยต่อกฎระเบียบหรือข้อบังคบั ว่าด้วย
ความปลอดภัยในการทำงาน

• มีการชมเชยผู้ปฏิบัติงานที่ประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ความปลอดภัยในการทำงานเป็นวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
บุคคลอื่น การติดประกาศเกียรติคุณ หรือการให้รางวัล เพ่ือ

78

แสดงความขอบคุณผปู้ ฏิบตั ิงานท่ีส่งเสริมความปลอดภัยในการ
ทำงานเป็นประจำ

• การให้หยุดพฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ
เรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน และบอกกล่าวตักเตือน
เพ่อื การปรับปรงุ ทุกครงั้ ท่ีพบ
(อธิบาย สาธติ หรือ แสดงตวั อย่าง)

1.3.4 ข้าพเจ้าให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ปฏิบตั ิ ปฏบิ ัติ ปฏิบัติ
ครบทุกขอ้ 2-4 ขอ้ 0-1ขอ้
ของผรู้ บั เหมา/ค่สู ัญญาดว้ ย

• มีนโยบายด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการ

ทำงานครอบคลมุ ถึงผู้รบั เหมา คู่ค้า ผู้จดั จำหน่าย และลกู ค้า

• มีกฎระเบียบหรือข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับ
ผรู้ ับเหมา ลูกคา้ และผมู้ าเยีย่ มเยยี น

• มกี ารสื่อสาร ปฐมนเิ ทศ ชแี้ จง หรอื แจง้ ขอ้ มลู เกี่ยวกับความ
ปลอดภัย และอาชีวอนามยั ในการทำงานให้แกผ่ รู้ ับเหมา ลูกค้า
และผมู้ าเย่ียมเยยี นรบั ทราบ

• มีการกำกับดูแลความปลอดภัยในการทำงานของผู้รับเหมา
เช่นเดียวกับผูป้ ฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการ องค์กรหรือ
หน่วยงาน

• มรี ะเบียบปฏิบตั ิเก่ยี วกับความปลอดภยั และอาชวี อนามัยใน
การทำงานของผรู้ บั เหมา
(อธบิ าย สาธิต หรือ แสดงตวั อย่าง)

รวมคะแนน 1.3

1.4 ข้าพเจ้าลงทุนเรอื่ งความปลอดภยั และสุขภาพอนามัยในส่วน ผลการประเมนิ ตนเอง
ของการปฏบิ ตั ิการ

1.4.1 ผปู้ ฏิบตั งิ านของข้าพเจ้าไดร้ บั เวลาอยา่ งเพยี งพอ เพ่ือ ปฏิบัติ ปฏบิ ตั ิ ปฏบิ ัติ
ปฏบิ ัตงิ านได้อย่างระมดั ระวงั และปลอดภยั ครบทุกข้อ 2-3 ขอ้ < 2 ขอ้

ดำเนินการเพื่อให้พนักงานทำงานในเวลาที่เหมาะสม
ตัวอยา่ งเช่น
• มกี ารจัดลกั ษณะงาน ชัว่ โมงการทำงาน และเวลาพกั ระหว่าง
การทำงานอย่างเหมาะสมกบั ผู้ปฏบิ ัติงาน
• มีการคำนวณจำนวนชิ้นงานต่อบุคคลที่สมเหตุสมผล ไม่มาก
เกินไปจนทำใหผ้ ปู้ ฏิบัตงิ านต้องเร่งรีบทำผลงาน

79

• มีการออกแบบวิธีการทำงาน และขั้นตอนการทำงานท่ี

เหมาะสม สอดคลอ้ งกบั ผลการประเมินความเสย่ี ง

• จัดการไหลของงาน (work flow) ที่ดี ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมี

ความคล่องตวั และจัดพ้ืนที่ในการทำงานให้เคล่ือนไหวได้คล่อง

และสอดคลอ้ งกับการไหลของงาน

(อธบิ าย สาธิต หรอื แสดงตวั อย่าง)

1.4.2 ผปู้ ฏบิ ตั ิงานของขา้ พเจ้าทราบถงึ สทิ ธิและหนา้ ที่ของเขาท่ี

สามารถหยดุ ทำงานได้ ถา้ หากวา่ ไมส่ ามารถทำงานน้นั ได้อยา่ ง ปฏิบตั ิ ปฏิบัติ ไม่ปฏิบตั ิ
1-3 ขอ้ เลย
ปลอดภยั ครบทกุ ขอ้
ปฏิบตั ิ ปฏิบตั ิ
• มีประกาศสิทธิ และหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง และ 2-4 ขอ้ 0-1ขอ้

สื่อสารผา่ นส่อื ต่าง ๆ

• มีระบบตรวจสอบการรับทราบสิทธิ และหน้าที่ของนายจ้าง

และลูกจ้างขององค์กร หรือหน่วยงาน เพื่อให้แน่ใจว่า

ผูป้ ฏบิ ตั ิงานไดร้ ับทราบแล้ว

• การพดู คยุ หรือ สอบถามผปู้ ฏิบัติงาน

• ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิเสธการทำงานได้ ในกรณีที่ผู้บริหาร

หรือหัวหน้างานมอบหมายงานที่อาจเสี่ยงต่ออันตราย และมี

การดำเนินการแก้ไขปรับปรุง หรือ มีมาตรการความปลอดภัย

กอ่ นให้ลงมอื ปฏบิ ัติงาน

(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตวั อย่าง)

1.4.3 ข้าพเจ้าและผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหารทุกคนทำการ

ตรวจสอบเป็นประจำว่าได้มีการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ปลอดภัยแล้ว ปฏบิ ัติ
เช่น ในช่วงที่มีการตรวจตราหรือการตรวจประเมินความปลอดภัย ครบทกุ ข้อ

และการตรวจประเมินข้ามสายงาน ตามหลักการของการควบคุม

แบบคู่กัน (ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาปัจจุบัน และ

เรยี นรสู้ ่ิงใหมเ่ พื่อทำการป้องกันดว้ ยกัน)

• จดั ทำแผนตรวจสอบความปลอดภัย และตรวจประเมินความ

ปลอดภัย

• มีการเดินตรวจตราความปลอดภัยในพื้นท่ีทำงานร่วมกันของ

ผู้บริหารสูงสุด และหัวหน้าหน่วยงานส่วนต่าง ๆ เป็นประจำ

(รายสัปดาห์ หรือรายเดือน) และดำเนนิ การแก้ไขปรับปรงุ หรือ

กำหนดมาตรการความปลอดภยั ร่วมกนั

• มีการตรวจประเมินตามข้อกำหนดความปลอดภยั ฯ ร่วมกนั

ระหว่างผู้บริหารสูงสุดและหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่ของ

80

หวั หน้าหน่วยงานคนอื่น (ข้ามสายงาน) และดำเนินการปรับปรุง

รว่ มกนั

• มีการตรวจตราสภาพการทำงาน และการทำงานของ

ผู้ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสูงสุด และผู้บริหาร

หนว่ ยงานทกุ หน่วยงาน

• มีการสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงาน และ

แกไ้ ขปรบั ปรุงรว่ มกนั หากพบปัญหา

(อธบิ าย สาธติ หรอื แสดงตัวอยา่ ง)

1.4.4 ข้าพเจ้าทำให้แน่ใจว่าได้มีการจัดให้มีอุปกรณ์ เครื่องมือ

เครอ่ื งจักร และมาตรการต่าง ๆ รวมถงึ งบประมาณอย่างเพียงพอใน ปฏบิ ัติ ปฏิบตั ิ ปฏบิ ตั ิ
ครบทุกขอ้ 2-4 ข้อ 0-1ขอ้
เร่ืองความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย

ได้จัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการบริหาร

จัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานครอบคลุม

ด้านต่าง ๆ

• ด้านบุคลากร มีการจัดสรรจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่เพียงพอต่อ

ปฏิบัติการของหน่วยงาน การจัดตั้งคณะทำงานด้านความ

ปลอดภัย ฯ (เช่น คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ทีมปฏิบัติการ

ฉุกเฉิน ฯลฯ) และมอบหมายหน้าท่ี

• กำหนดระเบียบปฏิบัติงาน ขั้นตอนหรือวิธีการทำงาน เช่น

การติดป้าย และล็อคอุปกรณ์ไฟฟ้า ความปลอดภัยในการ

ทำงานกับสารเคมี ข้อกำหนดในการขบั รถโฟลค์ ลิฟท์ เป็นต้น

• จัดให้มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่ถูกต้องเหมาะสมกับ

งาน สภาพดปี ลอดภัยต่อการใชง้ าน และจัดให้มีการบำรงุ รกั ษา

• เตรียมงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร

การฝกึ อบรม และการจดั กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภยั ฯลฯ

• สนบั สนนุ และสง่ เสรมิ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และอืน่ ๆ

(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตัวอย่าง)

รวมคะแนน 1.4

รวมคะแนน 1.1-1.4

81

กฎทองข้อท่ี 2 : ช้บี ่งอันตราย - ควบคุมความเสี่ยง (Identify Hazards - Control Risks)

การประเมินความเสี่ยง เป็นเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อใช้ในการชี้บ่งอันตราย และความเสี่ยง ในจังหวะเวลาท่ี
เหมาะสมและอยา่ งเป็นระบบ และเพ่อื ปฏิบตั กิ ารปอ้ งกนั ต่าง ๆ ได้ ทง้ั อบุ ัติเหตุ การบาดเจบ็ และเหตุการณ์
เกือบเกิดอบุ ัติเหตุทเี่ กดิ ขึ้น ตอ้ งได้รับการประเมินด้วยเชน่ กัน

2.1 ข้าพเจ้าทำให้แน่ใจว่า มีการจัดเตรียมการประเมินความ ผลการประเมินตนเอง

เสี่ยงในสถานที่ทำงานของข้าพเจ้าโดยทำเป็นเอกสาร และได้รบั

การปรับปรงุ แก้ไขใหท้ นั สมัยเป็นระยะ ๆ อยา่ งสมำ่ เสมอ

2.1.1 ผู้ใต้บังคบั บญั ชาระดบั บรหิ ารของข้าพเจ้าทราบดีว่า พวกเขา

มีหนา้ ทีต่ ้องจดั ให้มกี ารประเมนิ ความเส่ียงโดยนำเอาความเสี่ยงและ ปฏิบตั ิ ปฏบิ ัติ ปฏิบัติ
อนั ตรายทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ ไดท้ ้ังหมดมาพิจารณา ครบทกุ ขอ้ 2-4 ขอ้ 0-1ข้อ

ดำเนินกิจกรรมในการชี้บ่งอันตราย และควบคุมความเสี่ยง

อนั ตราย ดังตอ่ ไปน้ี

• จัดใหม้ รี ะเบียบปฏบิ ัติหรือข้ันตอนในการประเมินความเส่ียง

และอันตรายในการทำงานครอบคลุมทุกกิจกรรม และ

ดำเนนิ การตามระเบียบหรือข้ันตอนดังกล่าว โดยมีการทำบัญชี

และบันทึกความเสี่ยงของทุกกิจกรรมพร้อมการควบคุมและ

การดำเนินการเพือ่ ลดความเสย่ี ง

• การประเมินความเสี่ยงและอนั ตรายท่ีอาจเกิดข้ึนขององค์กร

หรือหน่วยงานครอบคลุมทุกกิจกรรมการทำงาน และ

ผลกระทบท้ังภายใน และภายนอก

• ผ้บู รหิ ารหรือหวั หนา้ หน่วยงานทราบว่าหนว่ ยงานของตนเอง

มีกระบวนการทำงานอย่างไร และดำเนินการประเมินความ

เสี่ยงและอันตรายของแต่ละขั้นตอนการทำงานของทุกงานที่

เกีย่ วขอ้ ง

• มีจัดทำบัญชีความเสี่ยงและการควบคุมอันตราย และการ

เฝา้ ระวัง/ตรวจสอบ

• มกี ารประเมินความเส่ยี งและอันตรายครอบคลมุ ทุกกิจกรรม

และทบทวนสม่ำเสมอ และมีการประเมินเมื่อมีกระบวนการ

ทำงานการเปล่ียนแปลงหรอื เข้ามาใหม่

(อธิบาย สาธติ หรือแสดงตัวอย่าง)

82

2.1.2 ผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้า คณะกรรมการบริหาร เจ้าหน้าที่

ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย แพทย์ในสถานที่ทำงาน และ ปฏิบตั ิ ปฏิบตั ิ ไม่ปฏิบตั ิเลย
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย อื่น ๆ (ถ้ามี) มีส่วน ครบทุกขอ้ ข้อใด
ข้อหน่ึง
เกี่ยวข้องในการประเมินความเสี่ยง

• เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แพทย์ พยาบาล และผู้ชำนาญการ

ดา้ นความปลอดภัยอ่ืน ๆ เข้ารว่ มในการชบี้ ่งอันตรายและประเมิน

ความเสี่ยงกิจกรรมงานในหน่วยงานของตนเอง หรือทำข้ามสาย

งานครอบคลุมทุกด้าน และร่วมกันทบทวนรายการประเมินความ

เส่ียงของหน่วยงานอนื่ ทัง้ หมดขององค์กร

• เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แพทย์ พยาบาล และผู้ชำนาญการ

ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ มีส่วนร่วมให้คำชี้แนะในการชี้บ่ง

อันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ด้านสุขศาสตร์

อตุ สาหกรรมจิตวทิ ยา ปจั จัยมนษุ ย์ ฯลฯ

(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตวั อยา่ ง)

2.1.3 ข้าพเจ้าได้จัดทำวิธีการพื้นฐานเพื่อเตรียมการประเมินความ

เสีย่ ง ดงั น:ี้ ปฏบิ ตั ิ ปฏิบตั ิ ปฏบิ ตั ิ
1. ทำบันทึกโครงสร้างองค์กรการจดั การของธรุ กจิ ครบทกุ ขอ้ 2-3 ข้อ 0-1ขอ้

2. ระบแุ ละกำหนดลักษณะกจิ กรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามโครงสรา้ ง

3. พิจารณาส่งิ ทที่ ำใหเ้ กดิ อนั ตรายและความเสี่ยงต่าง ๆ ท่ีเก่ยี วข้อง

กับกจิ กรรมนนั้

4. ทำการประเมนิ สิง่ ท่ที ำให้เกิดอนั ตราย และความเสี่ยง

5. จดั ทำมาตรการป้องกันตา่ ง ๆ

6. ดำเนนิ การนำมาตรการป้องกนั ไปปฏบิ ัติ

7. ทำการตรวจสอบประสทิ ธผิ ลของมาตรการปอ้ งกันที่นำไปใช้

แนวทางต่อไปนี้เป็นวิธีพื้นฐานในการเตรียมการประเมินความ

เสี่ยง

• มีขั้นตอนหรือวิธีการเพื่อเตรียมการประเมินความเสี่ยงด้าน

ความปลอดภยั และอาชวี อนามยั

• จัดการอบรมหรือให้ความรู้ในการชี้บ่งและประเมินความ

เส่ียงดา้ นความปลอดภยั และอาชวี อนามัย

• มีการรวบรวมข้อมูลต่อไปนี้ เพื่อใช้ประกอบการชี้บ่งและ

ประเมินความเสีย่ ง

- แผนงานและกระบวนการทำงาน รวมถึงระบบท่อ และ

แบบเครื่องจกั ร

83

- ปัจจัยป้อนเข้า เช่น ประเภท และปริมาณของวัตถุดิบ ปฏิบัติ ปฏบิ ัติ ปฏบิ ตั ิ
พลังงานไฟฟ้า และนำ้ ครบทกุ ขอ้ 3-7 ข้อ 0-2 ขอ้
- ผลผลิต เชน่ ประเภทและปรมิ าณของผลติ ภณั ฑ์ ผลิตภัณฑร์ อง
ของเสีย การปล่อยอากาศเสีย น้ำเสยี และเสียงรบกวน ฯลฯ
- ขั้นตอนการทำงานรวมถึงวิธีการในการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย
และการจัดการ วสั ดุ สารเคมี เปน็ ตน้
- ข้อมูลอื่น ๆ เช่น สถิติอุบัติการณ์/อุบัติเหตุ ข้อที่ไม่ปฏิบัติ
ตาม ขอ้ มลู การหยุดงาน เป็นต้น
- คมู่ ือการใช้งาน หรอื คู่มือปฏิบัตงิ านกับเคร่ืองจักร
- ข้อมลู ความปลอดภยั ของสารเคมี
- ข้อมูลการตรวจวัดหรอื เฝ้าระวังด้านความปลอดภยั และ
อาชีวอนามัย

• ในการประเมินความเสยี่ งคำนึงถงึ หลักเกณฑ์ โอกาสทจ่ี ะ
เกิดขน้ึ ความรุนแรง ข้อกฎหมาย และผลกระทบต่อธรุ กิจ
(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตัวอย่าง)
2.1.4 งานบำรุงรักษา งานดูแลทำความสะอาด งานซ่อมแซม
งานของผู้ที่เข้ามารับเหมา และขั้นตอนการดำเนินงานในกรณี
เหตุฉุกเฉินจากงานดังกล่าวต่าง ๆ ได้ถูกนำมาพิจารณาในการ
ประเมนิ ความเส่ยี งด้วย
เงื่อนไขหรือสภาวะที่จะต้องทำการชี้บ่ง และประเมินความเสี่ยง
ดา้ นความปลอดภัย และอาชีวอนามยั ครอบคลมุ เรอ่ื งต่าง ๆ ดงั นี้

• กิจกรรมงานทุกชนิดที่ทำประจำวัน หรือไม่ได้ทำเป็นประจำ
ได้แก่ งานบำรุงรกั ษา งานซ่อมแซม งานทำสะอาด เป็นต้น

• กิจกรรมของบุคคลทั้งหมด (ผู้รับเหมา ผู้เยี่ยมเยือน และผู้มี
ส่วนได้เสียอืน่ ๆ)

• ท่ีเข้าไปในสถานทท่ี ำงาน

• พฤติกรรมมนุษย์ ความสามารถและปจั จัยมนษุ ยอ์ ื่น ๆ

• อันตรายที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกสถานที่ทำงานที่
สามารถส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและสุขภาพของบุคคล
ภายใต้การควบคุมของหนว่ ยงานภายในสถานท่ีทำงาน

• โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุภายในสถานท่ี
ทำงาน การปรับ/เปลี่ยนแปลงองค์กร กิจกรรม วัตถุดิบ
ผลติ ภัณฑ์ ฯลฯ

• ภาวะปกติ และสภาวะเมอื่ เกดิ เหตุฉุกเฉิน

84

• กฎหมายหรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ปฏบิ ตั ิ ปฏิบตั ิ
ความเสย่ี ง และการดำเนินการควบคมุ ที่จำเป็น 3-7 ข้อ 0-2 ข้อ

• การออกแบบสถานที่ทำงาน กระบวนการทำงาน การติดตั้ง
เครื่องจักร/อุปกรณ์ ระเบียบปฏิบัติการและการทำงานของ
องค์กร รวมถงึ การปรบั ใหเ้ ขา้ กับความสามารถของมนุษย์
(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตัวอย่าง)
2.1.5 การประเมินความเสี่ยงของเรา ครอบคลุมเรื่องสุขภาพ
อนามัย รวมทั้งด้านสุขภาพจิตด้วย (ถ้ามี) และมีการตรวจวัด ปฏิบตั ิ
สารเคมีอนั ตราย ความรอ้ น แสง เสียง และความส่ันสะเทือนตามที่ ครบทกุ ข้อ
จำเปน็

• การชบ้ี ่ง และประเมินความเส่ยี งดา้ นความปลอดภยั และอาชี
วอนามัยครอบคลมุ แผนงานและกระบวนการทำงาน รวมถึงระบบ
ท่อ และแบบเครื่องจักร

• ปจั จยั ป้อนเข้า เช่น ประเภทและปริมาณของวัตถุดบิ พลังงาน
ไฟฟา้ และน้ำ

• ผลผลิต เช่น ประเภท และปริมาณของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์
รอง ของเสีย การปล่อยอากาศเสยี น้ำเสีย และเสยี งรบกวน

• ขั้นตอนการทำงานรวมถึง วิธีการในการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย
และการจดั การวัสดุ สารเคมี เป็นต้น

• ขอ้ มูลอื่น ๆ เชน่ สถติ ิอุบัติการณ/์ อบุ ัติเหตุ ข้อท่ีไม่ปฏิบตั ิ
ตาม/ไม่สอดคล้อง ข้อมูลการหยดุ งาน เป็นตน้

• คมู่ ือการใชง้ าน หรือคู่มือปฏิบัติงานกับเครื่องจักร

• ขอ้ มลู ความปลอดภยั ของสารเคมี และผลการตรวจวดั การ
สัมผัสสารเคมี

• ขอ้ มลู การตรวจวัดหรือเฝา้ ระวังความปลอดภัย และอาชวี อนา
มยั ด้านกายภาพ เช่น เสยี ง แสง รังสี ความสน่ั สะเทือน เป็นต้น
(อธบิ าย สาธิต หรือ แสดงตัวอยา่ ง)

85

2.1.6 ข้าพเจ้าได้กำหนดให้มีช่วงเวลาสำหรับการทบทวนการ ปฏิบัติ ปฏิบตั ิ ไมป่ ฏบิ ตั ิเลย
ประเมนิ ความเสี่ยงเป็นระยะ ๆ ครบทุกข้อ บางส่วน

• มีระเบียบปฏิบัติหรือคู่มือขั้นตอนการชี้บ่งและประเมินความ

เสี่ยงซึ่งกำหนด ช่วงเวลาในการทบทวนด้วย (ทุกปีกรณีที่ไม่มีการ

เปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือทบทวนทกุ ครัง้ เมอื่ มกี ารเปลี่ยนแปลง)

• การทบทวนเมือ่ เปลย่ี นแปลงใดครอบคลมุ เร่ืองต่อไปนี้

- การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน และเทคโนโลยี และ

นำกระบวนการทำงานใหม่ ๆ เขา้ มา

- การขยายหรอื เพ่มิ และลดสมรรถนะการผลิต

- มีผูจ้ ัดจำหนา่ ย ผรู้ บั เหมา และผู้ให้บรกิ ารรายใหม่

- ขยายโรงงานเพ่มิ เติม หรอื ยา้ ยตำแหน่งที่ต้ังโรงงาน

- การเปล่ียนแปลงชุมชนแวดลอ้ ม

- การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และข้อบังคับด้านความ

ปลอดภยั ฯ ทเี่ กี่ยวข้อง

- โครงการชั่วคราว เช่น การก่อสร้าง การติดตั้งสายการผลติ

หรือ เคร่อื งจักร และอืน่ ๆ

(อธบิ าย สาธติ หรอื แสดงตวั อยา่ ง)

รวมคะแนน 2.1

2.2 อุบัติเหตุจากการทำงาน เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และ ผลการประเมนิ ตนเอง

อุบัติการณ์ร้ายแรง มีการรายงาน จัดทำเป็นสถิติ และประเมิน

ระดบั ความเส่ยี งเพอื่ นำมาพิจารณาปรับปรงุ แกไ้ ข

2.2.1 ข้าพเจ้าได้รับการแจ้งทันทีทุกครั้งที่มีการเกิดอุบัติเหตุ

เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์ร้ายแรงในสถาน ปฏิบตั ิ ปฏิบตั ิ ปฏิบตั ิ
ประกอบกิจการ รวมถึงสิ่งใดกต็ ามท่ีมผี ลกระทบต่อสุขภาพอนามยั ครบทกุ ขอ้ 2-4 ขอ้ 0-1 ขอ้

ของผู้ปฏบิ ตั ิงานของขา้ พเจา้

• มีระเบียบปฏิบตั ิข้ันตอน หรือ ระบบในการแจ้ง/สื่อสาร/รายงาน

อบุ ัติการณ์ อบุ ตั ิเหตุ หรอื เหตวุ กิ ฤตต่าง ๆ

• มกี ารช้แี จง สอ่ื สารให้พนกั งาน/ผู้ปฏบิ ัตงิ านทราบระเบยี บปฏิบัติ

ขั้นตอน หรือ ระบบในการรายงานว่าเหตุการณ์อะไรบ้างที่ต้อง

รายงาน จะรายงานเม่อื ไร และอย่างไร

• มีการดำเนินการแจ้ง/สื่อสาร/รายงานอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ หรือ

เหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น โดยอาจเป็นวาจา หรือ ไม่เป็นทางการ หรือ

รายงานเป็นลายลักษณ์อักษรโดยช่องทาง หรอื เครอ่ื งมือส่ือสารตา่ ง ๆ

86

• มีการบันทึกการรายงานอุบัติการณ์ อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ปฏบิ ัติ ไม่ปฏิบตั ิเลย
ต่อผู้บริหารทันทีทุกครั้ง ตามขั้นตอน วิธีการ หรือ ช่องทางที่ 1-2 ขอ้
กำหนดให้เพือ่ ให้มีการรบั ทราบ
ปฏบิ ัติ ไมป่ ฏิบตั เิ ลย
• มีการดำเนินการให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกมั่นใจว่าการรายงาน 1-2 ขอ้
อุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นที่
ผู้บริหารต้องทราบ และตอบสนองในเชิงสร้างสรรค์ และผู้รายงาน
จะไม่ถูกตำหนหิ รือได้รบั การลงโทษ
(อธิบาย สาธิต หรอื แสดงตัวอยา่ ง)
2.2.2 อุบัติเหตุจากการทำงาน รวมถึงอุบัติเหตุขั้นปฐมพยาบาลท่มี ี
การจดบันทกึ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบตั เิ หตุ และอุบัติการณ์รา้ ยแรง ปฏบิ ตั ิ
ได้รับการสอบสวนอย่างถี่ถ้วน เพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นต้นเหตุ และ ครบทกุ ขอ้
ให้มีการดำเนินการปอ้ งกนั

• มีระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอน หรือ ระบบในการแจ้ง/สื่อสาร/
รายงานอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ หรือเหตุวิกฤตต่าง ๆ รวมถึงการ
สอบสวน วเิ คราะห์หาสาเหตุ

• การปรับปรุงแก้ไข และการติดตามความคืบหน้าและ
ความสำเร็จ ซึ่งผู้บริหารสามารถทบทวน ให้ความคิดเห็น และ
ขอ้ เสนอแนะได้

• อุบัติการณ์/อุบัติเหตุทุกกรณี ได้มีการรายงานตามขั้นตอน หรือ
ระบบตามท่ีระบไุ ว้ในระเบยี บปฏบิ ัติของสถานประกอบกจิ การ

• อุบัติการณ์ และอุบัติเหตุทุกรายได้รับการบันทึก และรายงาน
ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันสอบสวนเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง วางแผนงาน
แก้ไขปรับปรุงแต่ละสาเหตุ มีการดำเนินการป้องกันตามแผนงาน
และติดตามผลการปรับปรุงจนเสร็จสมบูรณ์
(อธบิ าย สาธิต หรือ แสดงตัวอยา่ ง)
2.2.3 สถานประกอบกิจการของเราได้จัดเก็บสถิติการเกิดอุบัติเหตุ
เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์ร้ายแรง เพื่อชี้บ่ง ปฏบิ ัติ
แนวโน้ม และประเด็นท่ีสำคญั ของการเกดิ อุบัตเิ หตุ เหตกุ ารณ์เกือบ ครบทุกข้อ
เกิดอบุ ตั เิ หตุ และอบุ ตั กิ ารณ์ร้ายแรง

• มีการจัดเก็บสถิติการประสบอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ อาจ
แยกตามประเภท ลักษณะการประสบอันตราย อวัยวะส่วนที่
ประสบอันตราย สาเหตุ จำนวนวันที่หยุดงาน ความเสียหาย
หรอื ค่าใชจ้ ่ายโดยประมาณ

87

• มีการนำข้อมูลหรือสถิติการประสบอันตรายที่รวบรวม และ
บันทึกไว้มาวิเคราะห์ดูแนวโน้ม และประเด็นหรือปัจจัยท่ี
เกี่ยวข้อง โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลหรือสถิติที่ผ่านมาตาม
ช่วงเวลาหนึง่ ๆ

• ใช้ประโยชน์จากสถิติในการกำหนดแนวทางปรับปรุงให้
สถานทท่ี ำงาน และผู้ปฏิบตั งิ านมีความปลอดภัยยง่ิ ขนึ้
(อธบิ าย สาธติ หรอื แสดงตัวอย่าง)

2.2.4 ข้าพเจ้าทราบถึงสาเหตุของอุบัติเหตุในการทำงานที่เกิดขึ้น ปฏิบตั ิ ปฏิบตั ิ ปฏบิ ัติ
มากท่ีสุด 3 อนั ดับแรก รวมถงึ ผลเสยี หายของอุบัตเิ หตเุ หล่านั้น ครบทกุ ข้อ 2-4 ขอ้ 0-1 ข้อ

ผู้บริหารสามารถทราบข้อมูลอุบัติการณ์ การเกิดอุบัติเหตุ และ
สาเหตกุ ารเกดิ อุบตั เิ หตุไดจ้ ากช่องทางต่าง ๆ

• ระบบการรายงานอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ การสอบสวน การ
วิเคราะห์ และการปรับปรุงแก้ไข (Incident Report and
Investigation System)

• การทบทวนผลการปฏิบัติงานประจำเดือน (Management
Review)

• รายงานการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ
ประจำเดือน

• รายงานการปฏิบัติงานของจป.บรหิ าร จป.หวั หน้างาน

• รายงานผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ฯ ของ
หนว่ ยงานตา่ ง ๆ ของสถานประกอบกิจการ
(อธบิ าย สาธิต หรือ แสดงตัวอย่าง)

2.2.5 ผลของการวเิ คราะห์นี้ (ตามขอ้ 2.2.1 - 2.2.4) ไดถ้ ูกนำมาใช้ ปฏิบตั ิ ปฏิบตั ิ ไม่ปฏบิ ตั เิ ลย
ในการประเมินความเสย่ี ง และการจัดทำแผนงานป้องกัน ครบทุกข้อ บางสว่ น

• มีการระบุ หรือกำหนดไว้ในระเบียบวิธีปฏิบัติงานให้นำผล
การวเิ คราะห์

• อุบัติการณ์ และการแก้ไขปรับปรุง ไปพิจารณาในขั้นตอน
การประเมินความเสย่ี งรวมถึงมาตรการควบคมุ เพื่อป้องกัน

• อุบตั ิเหตุหรืออบุ ตั กิ ารณท์ เี่ กิดข้ึนได้ถูกนำไปพจิ ารณาในบัญชี
รายการชี้บ่งและการประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมนั้น ๆ และ
นำแผนการปรับปรุงแก้ไขมาบรรจุไว้ในมาตรการควบคุม
(Control Measures)

88

(อธบิ าย สาธิต หรอื แสดงตวั อยา่ ง) ปฏิบัติ ปฏบิ ตั ิ ไมป่ ฏบิ ตั ิเลย
2.2.6 ขา้ พเจ้าตระหนกั ว่า จำนวนเหตกุ ารณเ์ กอื บเกิดอุบัติเหตุ และ ครบทกุ ข้อ บางส่วน
อุบัติการณ์ร้ายแรง ที่ได้รับการรายงานจากผู้ปฏิบัติงาน แสดงถึง
การมีวัฒนธรรมของความไว้วางใจกันในสถานประกอบกิจการของ ผลการประเมนิ ตนเอง
ขา้ พเจา้
ปฏิบตั ิ ปฏิบตั ิ ไม่ปฏิบตั เิ ลย
• มีขั้นตอนการดำเนินการรายงานเหตุการณ์เกือบเป็น ครบทุกข้อ บางสว่ น
อุบตั ิเหตุ เหตกุ ารณร์ า้ ยแรง

• มีรายงานเหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุ เหตุการณ์ร้ายแรง
จากผูป้ ฏบิ ตั ิงานหรอื ผทู้ ่มี ีหนา้ ที่เก่ียวขอ้ ง

• การรายงานอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นเรื่อง
สำคัญและเป็นสิ่งที่ผู้บริหารชื่นชมผู้ปฏิบัติงานถึงความใส่ใจใน
การดูแลสภาพแวดลอ้ มในการทำงานรว่ มกัน

• ผู้รายงานจะไม่ถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากผู้บริหารหรือ
บุคคลรอบข้าง เมื่อรายงานอุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ
อยา่ งถกู ต้องเหมาะสม

• ผู้บริหาร หรือ หัวหน้าหน่วยงาน ตอบสนองต่อการรายงาน
ของผู้ปฏิบัติงานในเชิงสร้างสรรค์ และการส่งเสริมสนับสนนุ ให้
มีดำเนนิ การแก้ไขปรบั ปรุงจนเสร็จสมบูรณ์
(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตัวอย่าง)

รวมคะแนน 2.2

2.3 สถานประกอบกิจการของเราใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราได้รับ
จากการประเมินความเสี่ยง และจากการวิเคราะห์อุบัติเหตุ เพื่อ
นำไปใชใ้ นการปรับปรงุ ให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
2.3.1 ข้าพเจ้ามีมาตรการตรวจสอบ โดยอาจใชว้ ธิ ีการสุ่มตวั อย่าง
เพ่อื ดวู ่ามาตรการป้องกนั ทีก่ ำหนดไว้น้นั มปี ระสิทธผิ ลหรอื ไม่
มีการตรวจสอบทั้งทางตรง และทางอ้อมว่ามาตรการที่กำหนด
เพอื่ การปรบั ปรงุ หรอื ปอ้ งกนั ได้ประสิทธิผลดหี รือไม่ เช่น

• มีการติดตั้งการ์ดปิดครอบจุดหมุนจุดหนีบเพื่อมิให้
ผู้ปฏิบัติงานยื่นมือหรืออวัยวะส่วนอื่นใดของร่างกายเข้าไป
บรเิ วณอนั ตราย และการ์ดครอบปดิ ตามทกี่ ำหนด

• มีการติดป้ายเตอื นอนั ตรายเร่ืองต่าง ๆ และพนักงานปฏบิ ตั ติ าม

• มกี ารตรวจสอบเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงาน

• มีการสังเกตพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานว่าได้ปฏิบัติตาม
มาตรการปอ้ งกัน

89

(อธิบาย สาธติ หรือ แสดงตัวอย่าง)

2.3.2 ผลของการประเมินความเสีย่ งไดถ้ ูกนำไปใช้ เพ่ือปรบั ปรงุ การ ปฏบิ ตั ิ ปฏบิ ัติ ไม่ปฏบิ ตั ิ
ปฏบิ ัตงิ านในสถานประกอบกิจการ ครบทกุ ข้อ บางสว่ น เลย

• มีการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้าน (ความปลอดภัย ฯ
การยศาสตร์ สุขศาสตร์อุตสาหกรรม จิตวิทยาสังคม ปัจจัยมนุษย์
ฯลฯ)

• มีการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทำงาน
หรือการปฏิบัติงานของพนักงานตามมาตรการที่ได้จากการ
ประเมินความเสย่ี ง
(อธบิ าย สาธิต หรือ แสดงตัวอยา่ ง)

2.3.3 มีการสอนงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล และวิธีปฏิบัติงาน ปฏบิ ตั ิ ปฏิบตั ิ ไมป่ ฏิบตั ิเลย
ท่ีใชส้ อนงานได้มาจากพืน้ ฐานของการประเมนิ ความเสีย่ ง ครบทกุ ข้อ บางส่วน

• มีการนำผลการประเมินความเสี่ยงไปปรับปรุง และจัดทำ
เป็นวิธีการปฏิบัติงาน (Work Instruction หรือ Process
Instruction) และติดไว้บรเิ วณทำงาน

• นำวิธีการ/ขั้นตอนการควบคุมความเสี่ยงในการทำงาน ไป
สอนผู้ปฏิบัติงานแต่ละบุคคลก่อนการมอบหมายงาน (On the
Job Training)
(อธบิ าย สาธติ หรอื แสดงตัวอยา่ ง)

รวมคะแนน 2.3

รวมคะแนน 2.1 - 2.3

90

กฎทองข้อท่ี 3 : กำหนดเป้าหมาย - จดั ทำแผนงาน (Define Targets - Develop Programs)

ความสำเร็จในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จำเป็นต้องมีเป้าหมายชัดเจน และขั้นตอนการ

ดำเนินงานทีเ่ ป็นรูปธรรมสามารถนำไปปฏิบตั ไิ ด้ ซ่งึ ควรจัดทำเปน็ รปู แบบของแผนงานโครงการ

3.1 ข้าพเจ้าได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนดา้ นความปลอดภัยและ ผลการประเมนิ ตนเอง

อาชวี อนามัย

1) สถานประกอบกิจการของเรามีเป้าประสงค์หลายด้าน

โดยรวมถึงความมุ่งมั่นที่ให้ความสำคัญในเรื่องการคุ้มครองด้าน ปฏบิ ตั ิ ปฏิบตั ิ ไม่ปฏิบตั ิ
ความปลอดภยั และอาชีวอนามัยดว้ ย ครบทุกขอ้ บางส่วน เลย

• นโยบายของสถานประกอบกิจการครอบคลุมด้านความ

ปลอดภยั และอาชวี อนามยั

• นโยบายความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมใน

การทำงาน ครอบคลุมผู้ปฏิบัติงานผู้รับเหมา คู่ค้า และลูกค้า

การลด/ควบคุมความเสี่ยง การปฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย ฯลฯ

• มีการกำหนดวัตถปุ ระสงค์ วิสยั ทศั น์ หรอื กลยุทธ์การดำเนิน

ปฏิบตั ิการของสถานประกอบกจิ การ

(อธิบาย สาธิต หรอื แสดงตัวอย่าง)

2) ข้าพเจา้ ได้กำหนดระดับความสำเร็จด้านความปลอดภัย และ ระบุ ระบุ ไมร่ ะบุ
อาชีวอนามัยที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ เป้าหมาย เป้าหมาย เป้าหมาย
ในการปรบั ปรุงงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยทั้งในระยะ
สัน้ และระยะกลาง และ และ และ
ช่วงเวลา ช่วงเวลา ช่วงเวลา
มกี ารกำหนดระดบั ความสำเรจ็ ด้านความปลอดภัยและ ชดั เจนทุก ชัดเจน
อาชวี อนามยั ที่เปน็ รูปธรรมและกำหนดเวลาชดั เจน ตัวอยา่ ง บางเรอื่ ง
• ทำงานหน่ึงลา้ นชว่ั โมงโดยไม่เกดิ อบุ ตั ิเหตุถึงขั้นหยุดงาน เรื่อง
• จำนวนหรือเปอร์เซ็นต์ การลดลงของอัตราการเกิดอุบัติเหตุ
ขัน้ ร้ายแรงทัง้ ปี
• จำนวนหรือเปอร์เซ็นต์ การลดลงของอัตราการเกิดอุบัติเหตุ
ขนั้ ร้ายแรงเทยี บกบั อัตราการเกิดอบุ ัตเิ หตุปกี ่อนหนา้
• อัตราการเกิดอุบัติเหตุทุกกรณีทั้งปี ต่อชั่วโมงทำงาน
200,000 ชว่ั โมง
• จำนวนหรือเปอร์เซ็นต์ ของผู้รับการอบรมด้านความ
ปลอดภัย ฯ ในหน่วยงาน แต่ละหลักสูตรเทียบกับจำนวนท่ี
วางแผน/กำหนดไว้

91

• จำนวนการปิดรายการการแก้ไขที่เสร็จสมบูรณ์ตาม

กำหนดเวลา

(อธบิ าย สาธติ หรอื แสดงตวั อยา่ ง)

3) ข้าพเจ้าได้มีการตกลงเรื่องเป้าหมายรายบุคคลด้านความ

ปลอดภัยและอาชีวอนามัยกับผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหาร และ ปฏิบัติ ปฏบิ ัติ ไม่ปฏิบตั ิเลย
ครบทกุ ขอ้ เพียงข้อใด
ผปู้ ฏบิ ัตงิ านของขา้ พเจา้ ขอ้ หนงึ่
• มกี ารบรู ณาการเป้าหมายดา้ นความปลอดภัย และอาชีวอนา

มัยเปน็ หนึ่งในเป้าหมายทางธุรกจิ ของสถานประกอบกิจการ

• มีตัวชี้วัดรายบุคคลตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบด้าน

ความปลอดภัย และอาชีวอนามยั ทีก่ ำหนดหรอื มอบหมาย

• เป้าหมายรายบุคคลด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย

ของผู้บริหารสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานประกอบกิจการ

และเป้าหมายรายบุคคลของผู้ปฏิบัติงานสอดคล้องกับ

ผู้บังคับบัญชา และมีการบูรณาการในระบบประเมินผลการ

ปฏบิ ัติงานรายบคุ คล

(อธิบาย สาธิต หรอื แสดงตวั อย่าง)

4) ข้าพเจ้าสื่อสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหาร ผู้ปฏิบัติงาน

ผู้รับเหมา/คู่สัญญา และลูกค้าทั้งหมด รวมทั้งสาธารณชนทั่วไปให้ ปฏิบัติ ปฏบิ ัติ ไมป่ ฏิบตั เิ ลย

รับทราบเกี่ยวกับเป้าประสงค์ และระดับความสำเร็จด้านความ ครบทกุ ข้อ ไมค่ รบ
ปลอดภัย และอาชวี อนามัยของสถานประกอบกิจการตามชว่ งเวลาท่ี หรอื เพยี ง
เหมาะสม
ข้อใด
• มีการสื่อสารเป้าหมายด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามยั ข้อหน่ึง

ให้พนักงานทุกคนทุกระดับ ผู้เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสยี

ทราบโดยการพูดคุย ประชุม กระดานข่าว การประชาสัมพันธ์

ทางส่ือสังคมช่องทางตา่ ง ๆ

• มีการสื่อสารผลปฏิบัติการ หรือ ผลสำเร็จด้านความ

ปลอดภัย และอาชีวอนามัยให้พนักงานทุกระดับ ผู้เกี่ยวข้อง

และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทราบโดยการพูดคุย ประชุม กระดาน

ข่าว การประชาสัมพันธ์ทางสื่อสังคมช่องทางต่าง ๆ ตาม

ชว่ งเวลาของกจิ กรรมในรูปแบบตา่ ง ๆ

(อธิบาย สาธติ หรือ แสดงตวั อยา่ ง)

รวมคะแนน 3.1

92

3.2 ข้าพเจ้าวางแผนการกำหนดกจิ กรรมที่ชดั เจน และเปน็ ผลการประเมินตนเอง
รูปธรรม เพ่อื ให้บรรลุเปา้ หมายด้านความปลอดภัย และอาชวี อ
นามัย ครบถว้ น ครบบางขอ้ ไม่มเี ลย
1) ข้าพเจ้ากำหนดให้มีแผนปฏิบัติงานประกอบด้วยกิจกรรมด้านความ ทุกข้อ
ปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่เป็นรูปธรรม และมาตรการอื่น ๆ ที่จะทำ
ใหบ้ รรลเุ ปา้ หมาย พร้อมทั้งจดั ทำตารางเวลาการดำเนินงานด้วย

• มีแผนปฏบิ ัตงิ านด้านความปลอดภยั และอาชีวอนามัยที่เป็น
รูปธรรม

• ในแผนปฏิบัติงานมีการกำหนดกิจกรรมด้านความปลอดภัย
และอาชวี อนามยั ชดั เจน

• ในแผนปฏิบัติงานมีรายละเอียดกิจกรรม หรือ มาตรการ
ดำเนนิ การเพื่อใหบ้ รรลุตามแผนงาน

• มกี ำหนดเวลาของกจิ กรรม และมาตรการดำเนนิ การ
(อธบิ าย สาธิต หรือ แสดงตวั อยา่ ง)

2) ข้าพเจ้ามอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรม ชัดเจน ระบุ ไม่ระบุ
แผนงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เช่น งานสัปดาห์ ครบถ้วน ผู้รับผิดชอบ ชัดเจน

ความปลอดภัย งานวันเพื่อสุขภาพ รวมถึงงานต่าง ๆ ที่วางแผนไว้ ทกุ ขอ้ และเวลา
แต่ไม่
อยา่ งชดั เจน และเปน็ รูปธรรม
ตดิ ตามผล

• มีการระบุผู้รับผิดชอบชดั เจนในแผนงานด้านความปลอดภยั
และอาชวี อนามัยแตล่ ะกจิ กรรม ครบทกุ กจิ กรรม

• มีการกำหนดเวลาเสร็จของผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม ครบ
ทุกกิจกรรม

• มีการเฝ้าระวังติดตามผลความคบื หน้าของแต่ละกิจกรรมจน

บรรลุตามแผน

(อธบิ าย สาธติ หรือ แสดงตัวอยา่ ง)

3) ข้าพเจ้าสื่อสารในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับผู้ใต้บังคับบัญชาระดับ

บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมา/คู่สัญญา ลูกค้าทั้งหมด และ ปฏบิ ัติ ปฏบิ ตั ิ ไมม่ ี

สาธารณชนทั่วไป ให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ครบถ้วน บางข้อ แผนงาน
และอาชีวอนามยั เชน่ งานสปั ดาห์ความปลอดภัย ฯ หรืองานวนั เพื่อ ทุกข้อ สอ่ื สาร

สุขภาพ และเชิญชวนพวกเขาเหลา่ น้ีใหม้ าร่วมงานดว้ ย

• สถานประกอบกิจการมีแผนงานการสื่อสารกิจกรรมด้าน
ความปลอดภัย และอาชีวอนามยั

93

• แผนงานสื่อสารมีการระบุกิจกรรมที่จะสื่อสาร ผู้รับสาร
ชอ่ งทาง วิธกี าร และช่วงเวลาการส่ือสาร

• ดำเนนิ การสอื่ สารตามแผนงาน

• มีการเชิญชวนพนักงาน ผู้รับเหมา/คู่สัญญา ลูกค้าทั้งหมด
และสาธารณชนทว่ั ไป เขา้ รว่ มกจิ กรรมด้านความปลอดภัยและ
อาชีวอนามยั ตามแผนงานหรอื ตามโอกาส
(อธิบาย สาธติ หรอื แสดงตวั อยา่ ง)

4) ข้าพเจ้าเชิญชวนครอบครัวของผู้ปฏิบัติงานให้มาร่วมกิจกรรม ปฏบิ ตั ิ ปฏบิ ตั ิ ไม่มกี าร
ส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เช่น งานความปลอดภัย ครบถว้ น บางขอ้ ดำเนนิ การ
และสุขภาพอนามยั รวมถึงงานวนั เพอ่ื สุขภาพดว้ ย ทุกข้อ

• มกี ารจัดงานวันครอบครัวซง่ึ ครอบคลุมดา้ นความปลอดภัย
และอาชีวอนามัยไว้ดว้ ย และเชญิ ครอบครัวผ้ปู ฏบิ ตั ิงานเข้า
ร่วมงาน

• มีการดำเนินการโดยเชิญครอบครัวพนักงานตามกลุ่มงาน
อายุงาน หรืออื่น ๆ หมุนเวียนกันเข้าร่วมกิจกรรมงานความ
ปลอดภยั และสุขภาพอนามยั เป็นระยะ ๆ สมำ่ เสมอ

• เชิญชวนพนักงาน และครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริม
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เช่น การประกวดโปสเตอร์
บทความเก่ียวกับความปลอดภยั และสุขภาพ การแขง่ ขนั ความคิด
สร้างสรรค์เก่ียวกบั ความปลอดภัย ฯ ตามโอกาสตา่ ง ๆ
(อธบิ าย สาธิต หรอื แสดงตัวอย่าง)

รวมคะแนน 3.2

94

3.3 ขา้ พเจา้ กำหนดตัวช้วี ัดผลการปฏบิ ตั งิ าน เพื่อตรวจสอบ ผลการประเมินตนเอง
ประสทิ ธิผลของมาตรการความปลอดภัย ฯ ทขี่ ้าพเจ้าใช้อยู่
1) ข้าพเจ้าใช้สถิติ/ข้อมูลต่าง ๆ ในการวัดผลความสำเร็จตาม ปฏิบัติ ปฏบิ ัติ ปฏบิ ัติ
เป้าหมายด้านความปลอดภัย ฯ ของสถานประกอบกิจการ เช่น ครบถว้ น บางขอ้ บางขอ้ และ
จำนวนอุบัติเหตุ จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม จำนวนผู้มาร่วมกิจกรรมใน ทกุ ขอ้ และส่อื สาร ไมม่ ีการ
วันที่มีการจัดกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมสุขภาพ ฯลฯ และมีการ บางขอ้ สอื่ สาร
แจง้ ผลความสำเร็จให้ผปู้ ฏิบตั ิงานทุกคนรบั ทราบ

•สถานประกอบกิจการมีการตั้งเป้าหมายและมาตรวัดผล
สำเร็จของการดำเนินกจิ กรรมต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย

•มีการรวบรวม จัดเก็บข้อมูลกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
และสุขภาพอนามัย และมีการประเมินผล รวมถึงการสื่อสาร
ให้ผู้รว่ มกิจกรรมหรอื ผูเ้ กยี่ วข้องทราบ

•มีการรวบรวม จัดเก็บข้อมูล การเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์
ต่างๆ และนำมา ประเมินผล ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อ
เปรียบเทียบผลลัพธ์กับเป้าหมาย และมีการสื่อสารให้ผู้ร่วม
กจิ กรรมหรอื ผู้เกยี่ วข้องทราบ

•มกี ารรวบรวม จัดเกบ็ ขอ้ มูลการจัดฝึกอบรม (หลักสูตรอบรม
ที่เกี่ยวข้อง จำนวนผู้อบรบสัมฤทธิผลข้อคิดเห็น หรือ
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง) และประมวลผลการประเมิน
เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ และมีการสื่อสารให้ผู้รับการ
อบรมและผูเ้ ก่ยี วข้องทราบ

•สื่อสารผลสำเร็จของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และ
อาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการให้ผู้ปฏิบัติงาน และ
ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยการประชุม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บอร์ด
ประชาสมั พันธ์ และอ่ืน ๆ

(อธิบาย สาธิต หรอื แสดงตวั อยา่ ง)

95


Click to View FlipBook Version