The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chalikor Pasertadisor, 2022-04-07 01:27:49

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

เกย่ี วกบั หนังสือ

ชือ่ หนงั สือ : คูม ือการฝก อบรม หลักสตู รแนวทางการเปน ทปี่ รกึ ษา VISION ZERO
(VISION ZERO CONSULTANT GUIDELINES)

เจา ของลิขสทิ ธ์ิ : สมาคมสงเสรมิ ความปลอดภยั และอนามยั ในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ ฯ
141 ถนนบรมราชชนนี แขวงฉมิ พลี เขตตลงิ่ ชัน กรุงเทพฯ 10170

เลขมาตรฐานสากล สำนกั หอสมุดแหงชาติ : ISBN 978-616-8306-02-8

จดั ทำโดย : สมาคมสงเสริมความปลอดภยั และอนามยั ในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชปู ถัมภ ฯ

ท่ีปรกึ ษา : นางสาวนิลวดี เลียงสุนทรสิทธ์ิ

บรรณาธกิ าร : ฝายบริหารโครงการพิเศษ เครอื ขาย และสมาชกิ สัมพนั ธ
นางสาวพรทิพย สุขพลาย
นางสาวธนภรณ ทะศรแี กว
นางสาวนฤมล กลน่ิ ดว ง
นางสาวซินดี้ วี พุฒทาจู

พมิ พที่ : โรงพิมพ วแี คนดู
ติดตอ /รายละเอียดเพมิ่ เติม: สมาคมสง เสรมิ ความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)

ในพระราชูปถัมภ ฯ โทรศัพท 02-884-1852 ตอ 313, 314
E-mail : [email protected]

สารบัญ

หนา้

หลักสูตรที่ 1: VISION ZERO สำหรบั ที่ปรกึ ษา (INTRODUCTION TO VISION ZERO FOR CONSULT)

VISION ZERO (วิสยั ทัศน์ความปลอดภัย) 1

จุดเรม่ิ ต้นของวิสยั ทศั น์ของอุบตั เิ หตุเปน็ ศนู ยแ์ ละอันตรายเป็นศูนย์ 2

VISION ZERO หมายถงึ 2
หลกั 4 ประการ ของ VISION ZERO (THE FOUR PRINCIPLES OF VISION ZERO) 3
การแพร่หลายของ VISION ZERO 5
VISION ZERO อบุ ัติเหตเุ ปน็ ศนู ย์ - การทำงานอย่างมีสุขอนามัยทด่ี ี กลยุทธ์ขององค์กร 7
เปา้ หมาย 7 ประการของ VISION ZERO 8
คู่มอื VISION ZERO แนะนำกฎทอง 7 ประการ สำหรับการนำไปดำเนินการในสถานท่ีทำงาน 11
ทศิ ทางทเี่ รากำลงั จะไป 15
ชวี ิตของฉัน - เครอื่ งชว่ ยชีวิต 12 สง่ิ สำหรับพนกั งาน 16

ความรับผดิ ชอบของฉนั เคร่อื งช่วยชวี ิต 12 ส่งิ สำหรับผ้จู ัดการ (12 LIFESAVERS FOR MANAGERS) 20

หลักสูตรท่ี 2: กฎทอง 7 ประการ สำหรบั ที่ปรกึ ษา (7 GOLDEN RULES FOR CONSULT) 24
ผ้นู ำ (LEADER) 26
27
ภาวะผูน้ ำ (LEADERSHIP) 27
28
แนวปฏบิ ตั ิ VISION ZERO

การใชแ้ นวปฏิบัติตามรปู แบบกฎทอง 7 ประการ

กฎทองขอ้ ท่ี 1-7

หลักสูตรท่ี 3: แบบประเมนิ ตนเอง 110 ข้อ สำหรับที่ปรกึ ษา (ASSESSMENT 110 FOR CONSULT)

การใชค้ ูม่ ือ 70

วิธีการประเมินกฎทอง (โดยการเลือกสีทสี่ อดคล้องกับสถานภาพการปฏบิ ัติการของท่าน) 71

กฎทองขอ้ ท่ี 1 -7 71

หลักสตู รที่ 4: 14 ตวั ชีว้ ดั นำเชิงรกุ สำหรบั ทป่ี รกึ ษา 130
(14 PROACTIVE LEADING INDICATORS FOR CONSULT) 132
ความเป็นมา 134
135
ความปลอดภัย สขุ ภาพ และความผาสกุ (Safety, Health and Wellbeing) 136

ความผาสกุ (Wellbeing) 137

กฎทอง 7 ประการสำหรับ VISION ZERO (The 7 Golden Rules for VISION ZERO) 138
139
ตวั ชี้วัดนำ และตวั ช้ีวดั ตาม คืออะไร (What are leading indicators and lagging indicators?) 140

ทำไมตวั ชีว้ ัดนำเชงิ รุกจึงนำมาใชส้ ำหรบั VISION ZERO

(Why progressive leading indicators for VISION ZERO?)

เกณฑ์ในการเลือกตวั ช้ีวดั นำเชงิ รกุ สำหรบั VISION ZERO
(The criteria for selecting the proactive leading indicators for VISION ZERO)
ตวั ช้ีวดั นำเชงิ รุกเกี่ยวข้องกบั ใครบา้ ง (Who are the proactive leading indicators relevant for?)

ชดุ ตวั ช้ีวดั นำเชิงรกุ 14 ตัว

หลกั สตู รที่ 5: แนวทางการเป็นท่ปี รึกษา VISION ZERO (VISION ZERO FOR CONSULT) 143
ความรทู้ ว่ั ไปเก่ยี วกบั การเปน็ ผ้ใู หค้ ำปรกึ ษา 143
- คุณสมบัติ 7 ประการ ของผู้ใหค้ ำปรกึ ษา 144
กฎ 3 ขอ้ สำหรบั การเปน็ ผูใ้ ห้คำปรกึ ษาทด่ี ี 145
ทกั ษะสำคัญของผ้ใู หค้ ำปรึกษา

ความรคู้ วามสามารถของผู้ให้คำปรกึ ษา (Consultant Competencies) 148
กระบวนการการให้คำปรึกษาแบบมืออาชพี 149
กรอบการให้คำปรึกษา 7 ขั้นตอน (The 7 - Step Framework) 152
รายงานของผู้ใหค้ ำปรึกษา (Consultant Report) 155
การให้คำปรึกษาโครงการ VISION ZERO 156
- มติ ทิ ั้ง 3 ของ VISION ZERO 157
- การให้คำปรกึ ษาครอบคลมุ มิติท้งั 3 ของ VISION ZERO 161
- การเขียนรายงานการให้คำปรกึ ษาโครงการ VISION ZERO 161

หลกั สตู รที่ 1: VISION ZERO สำหรบั ที่ปรกึ ษา
(INTRODUCTION TO VISION ZERO FOR CONSULT)

สภาพการทำงานที่ปลอดภัย และการมีสุขภาพดีของผู้ปฏิบัติงาน ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ
ตามกฎหมายและจริยธรรมเทา่ นั้น แต่ส่งผลถึงด้านเศรษฐกิจด้วย จากผลการวิจัยระดับนานาชาติ เกี่ยวกับ
ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเชิงป้องกันอุบัติเหตุ พิสูจน์ให้เห็นว่า เงินที่ลงทุนในด้านความปลอดภัย
และสุขภาพทุก ๆ หนึ่งดอลลาร์ ได้รับผลตอบแทนมากกว่าสองดอลลาร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจใน
ด้านบวก สภาพการทำงานที่ดีมีส่วนช่วยให้ธุรกิจดีด้วย แนวคิด VISION ZERO ของ ISSA มีความยืดหยุ่น
และสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ และความสำคัญของงานความปลอดภัย
สุขอนามัย และความผาสุก เฉพาะสำหรับแต่ละบริบทขององค์กรนั้น ๆ ความยืดหยุ่นในการนำ
VISION ZERO ไปปรับใช้งาน จึงเป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบกิจการต่าง ๆ วิสาหกิจ หรืออุตสาหกรรม
ในทุกภูมิภาคของโลก

VISION ZERO (วสิ ยั ทศั นค์ วามปลอดภัย)

VISION ZERO ในการทำงาน ต้ังบนสมมติฐานวา่ อบุ ัตเิ หตุ อันตราย และสขุ ภาพทไี่ มด่ จี ากการทำงาน
ท้งั หมดสามารถป้องกันได้ VISION ZERO คือความใฝ่ฝัน และความมุ่งม่ันทจี่ ะสร้างและทำให้มั่นใจว่างานที่
ทำนั้นปลอดภัย และมีสุขภาวะที่ดี โดยการป้องกันอุบัติเหตุ อันตราย และโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน
พร้อมทั้งส่งเสริมความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องในด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ทั้งนี้ควรทำ
ความเข้าใจว่า VISION ZERO เป็นการเดินทาง เป็นกระบวนการไปสู่อุดมคติ นอกจากนี้ยังเป็นวิสัยทัศน์ท่ี
องิ คุณคา่ ซึง่ หมายความวา่ งานไมค่ วรสง่ ผลเสียต่อความปลอดภยั สขุ ภาพ และความผาสกุ ของผู้ปฏบิ ตั ิงาน
และถ้าเป็นไปได้ ควรช่วยเหลือพวกเขาธำรงรักษา หรือปรับปรุงความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก
ของพวกเขา และพัฒนาให้เขามีความม่นั ใจในตนเอง มคี วามสามารถ และให้ได้รบั การจา้ งงาน

องค์กรสามารถมุ่งม่ันต่อ VISION ZERO ในระดบั ใด ๆ ของประสิทธภิ าพด้านความปลอดภยั สขุ ภาพ
และความผาสุกก็ได้ ความมุ่งมั่นอย่างจริงจังต่อ VISION ZERO สามารถทำให้เกิดการริเริ่ม และรักษา
กระบวนการ และการสนับสนุนทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการเดินทางของ VISION ZERO ได้ VISION ZERO ไม่ใช่
สิ่งที่คุณมีหรือบรรลุแต่เป็นสิ่งที่คุณต้องทำ VISION ZERO ไม่ใช่สำหรับองค์กรที่ดีที่สุด หรือองค์กรขนาด
ใหญ่ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุกเป็นของตนเองเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับ
องค์กรขนาดเล็กที่ไม่มีประสบการณ์มากนักในการบูรณาการความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ให้
เป็นสว่ นหนึง่ ของกลยุทธ์ทางธรุ กิจ

สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่า วิสัยทัศน์ (ความคิด จินตภาพที่สดใสวา่ อนาคตจะเปน็ อย่างไร หรือเป็น
เช่นไร) หมายถึง ความใฝ่ฝันในระยะยาว มันไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายจะต้องเป็น ‘ศูนย์’ หรือควรจะ
เป็น ‘ศูนย์’ แต่เป็นความทะเยอทะยานบนพื้นฐานของความเข้าใจว่า อุบัติเหตุ อันตราย และสุขภาพที่ไมด่ ี
จากการทำงาน สามารถป้องกันได้โดยการออกแบบ การวางแผน การกำหนดขั้นตอน และการปฏิบัติที่
เหมาะสม และทันทว่ งที

1

จุดเริ่มตน้ ของวสิ ัยทศั นข์ องอุบัติเหตุเปน็ ศูนย์และอนั ตรายเปน็ ศูนย์

ในปี ค.ศ.1799 Eleuthere Irenee Du Pont de Nemours หรือชือ่ ทร่ี จู้ ักกนั ว่า ดูปองต์ (ค.ศ.1771
- 2377) ได้ออกเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา โดยได้ตั้งรกรากอยู่ในเมืองวิลมิงตัน รัฐเดลาแวร์ ซ่ึงไม่ไกลจาก
เมืองฟิลาเดลเฟยี ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1802 ได้ลงทุน 36,000 ดอลลาร์ เพื่อตั้งโรงงานดินปืนบนฝั่งของ
แม่น้ำแบรนดีไวน์ ได้จ้างพนักงาน 18 คน ดินปืนของดูปองต์ถูกใช้เพื่อระเบิดทางสำหรับสร้างถนนและทาง
รถไฟ และมีบทบาทสำคัญอย่างรวดเร็วในการจัดต้ังและการขยายตัวของชาติใหม่ ในไม่ช้าดูปองตก์ ็พบด้วย
ตัวเองว่า การผลิตดินปืนไม่ใช่กิจกรรมที่ปลอดภัยที่สุด ในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ.1818 เกิดการระเบิดซึ่งได้
สร้างความเสียหายต่อการผลิตดินปืนเป็นอย่างมาก คนงาน 36 คนเสียชีวิต รวมถึงเพื่อนของดูปองต์ด้วย
การดำรงอยู่ของโรงงานของเขาตกอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการประท้วงอย่างอื้ออึงของคน
เก่าแก่และชาวเมืองในวิลมิงตัน การที่พวกเขาไม่อาจทนกับโรงงานที่เป็นอันตรายได้กลายเป็นหนึ่งใน
ความคิดรเิ รมิ่ ครงั้ แรกของชาวเมอื ง

จากผลกระทบท่ีเกิดตามมาของอบุ ัตเิ หตุ ดปู องต์ได้กำหนดปรัชญาความปลอดภัยขนึ้ มาใหม่ซึ่งเป็นส่ิงที่
เรียกว่าวัฒนธรรมองค์กรของเขา เขายืนยันว่าตัวเขาเอง และผู้จัดการฝ่ายผลิตต้องพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ของ
บริษัทใกล้กับโรงงานผลิตดินปืน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นมาตรการที่รุนแรงหากนำมาใช้ในทุกวันนี้ แต่มันก็มี
ประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะตอนนี้พวกเขาได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน จึงทำให้พวกเขาตระหนักถึง
ความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของโรงงาน นอกจากนี้เขายังวางกฎระเบียบด้านความปลอดภัยฉบับแรก
และลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยกว่า และเทคโนโลยีการผลิตที่ปลอดภัย นี่คือเหตุผลที่ถือได้ว่าดูปองต์เป็น
บิดาแห่งปรัชญาความปลอดภยั ทีล่ ายความคิดแบบเดิมลง ซง่ึ ปจั จุบันเรารจู้ กั ในชอื่ กลยุทธ์ VISION ZERO

VISION ZERO หมายถงึ

VISION ZERO ไมใ่ ชอ่ ะไรอื่นไกล แตเ่ ป็นเรอ่ื งเกี่ยวกับชวี ติ และสุขภาพของเรา ซงึ่ ถอื ว่าเป็นทรัพย์สิน
ที่มีค่ามากที่สุดของเรา แต่ไม่เพียงแค่นั้น มันยังเกี่ยวกับความสำเร็จขององค์กร การผลิตที่มีประสิทธิภาพ
และพนักงานที่มีแรงบันดาลใจ และมีประสิทธิผล แม้ว่าบางครั้งจะเรียกว่า วิสัยทัศน์ หรือปรัชญา
VISION ZERO เป็นกลยุทธ์สำหรับการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์และโดดเด่นด้วย
คุณค่า กลยุทธ์นี้ซึง่ กลายเป็นที่รู้จักในนาม VISION ZERO ในช่วงไม่กีท่ ศวรรษท่ีผา่ นมา มีต้นกำเนิดในทวีป
ต่าง ๆ และในยุคต่าง ๆ แต่อย่างทีเ่ ราเห็น ในท้ายทสี่ ุด VISION ZERO กถ็ ูกนำกลับไปใชท้ ีอ่ ุตสาหกรรมเคมี

ความเชื่อที่ว่าทุก ๆ อุบัติเหตุสามารถป้องกันได้นั้น ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวขับเคลื่อนที่มี
ประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างแรงจูงใจสำหรับการป้องกันนับตั้งแต่ต้นกำเนิดที่บริษัทดูปองต์ แม้แต่ใน
วนั นี้ บริษทั ดปู องต์ยังคงถือว่าเปน็ ผนู้ ำระดบั โลกในการดูแลสุขภาพและความปลอดภยั ของพนักงานหน่ึงใน
ความสำคัญของวัฒนธรรมความปลอดภยั น้ี คือไดส้ รา้ งสภาพการทำงานทผ่ี ู้คนสามารถทำผิดพลาดได้โดยไม่
ตอ้ งเส่ียงตอ่ การบาดเจบ็ หรอื เสียชวี ิต VISION ZERO จึงตั้งอย่บู นหลกั การ 4 ประการ

2

หลัก 4 ประการ ของ VISION ZERO (THE FOUR PRINCIPLES OF VISION ZERO)

หลกั การขอ้ ท่ี 1 ชีวิตไมส่ ามารถต่อรองได้ (The first principle: Life is not negotiable.)

ไม่มีสิ่งใดสำคัญและมีคุณค่ามากกว่าชีวิตมนุษย์ สิทธิในการมีชีวิตและความสมบูรณ์ทางรา่ งกายเปน็
หลักพื้นฐานสำคัญของกฎหมายของทกุ ประเทศ และ VISION ZERO เป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทนุ มาก แต่ก่อนอื่น
ต้องมาดูว่าเรายืนอยู่ที่ใดของสิทธิขั้นพื้นฐานนี้ ประเทศไทยมีประชากรที่เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน หรือผู้ท่ี
พร้อมจะทำงานจำนวน 38.41 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 33.63 ล้านคน จากรายงานของกลุ่มงาน
พัฒนามาตรฐานระบบเงินทดแทนในปี พ.ศ. 2563 สำนักประกันสังคมมีผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบจำนวน
11,055,513 คน มีสถานประกอบกิจการจำนวน 485,053 แห่ง มีอุบัติเหตุเนื่องมาจากการทำงาน
จำนวน 85,561 ราย เป็นอุบัติเหตุขั้นเสียชีวิต 589 ราย ทุพพลภาพ 14 ราย สูญเสียอวัยวะบางส่วน
1,000 ราย รา้ ยแรงซง่ึ สง่ ผลใหห้ ยุดงานมากกว่า 3 วนั 25,695 ราย และหยดุ งานไม่เกิน 3 วัน 58,623 ราย
สำหรับอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2563 มีจำนวน 753,823 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต
จำนวน 6,946 ราย บาดเจ็บจำนวน 744,568 ราย และทุพพลภาพ จำนวน 2,309 ราย

ในระดับนานาชาติ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ประมาณการว่ามีอุบัติเหตุร้ายแรงถึง
ชีวิต ประมาณ 360,000 ราย และมากกว่า 19.5 ล้านราย เสียชีวติ จากโรคทเ่ี กิดเน่ืองมาจากสภาพแวดล้อม
การทำงานที่ไม่ดี มีการสัมผัสสารก่อมะเร็งหรือไม่ก็สารที่เป็นอันตราย ดังนั้นเมื่อคำนึงถึงสิทธิมนุษย์ข้ัน
พ้ืนฐานแลว้ พบวา่ ยังห่างไกลกับคำว่ากา้ วหน้าเปน็ อย่างมาก

การปกปอ้ งสทิ ธิขั้นพน้ื ฐานนเ้ี ปน็ หน้าที่ของทุกคน ไมว่ า่ จะเป็นหน่วยงานราชการ เอกชน รฐั วิสาหกิจ
บริษัทประกันอุบัติเหตุ หรือบริษัท ผู้จัดการ และพนักงาน มิสเตอร์วอลเตอร์ ไอเชินดอร์ฟ (Mr. Walter
Eichendof) ประธานสภาความปลอดภัยทางถนน (DVR) ของเยอรมันได้ทำการทดลองทางความคิดซ่ึงเปน็
ที่น่าสนใจ โดยถามคำถามต่อไปนี้ “ลองจินตนาการว่า อีไอ ดูปองต์ (E.I Du Pont) ประกอบธุรกิจจากปี
ค.ศ. 1802 จนถึงปัจจุบัน และสมมติว่าไม่ได้มีการคิดค้นรถยนต์ขึ้นมา จนถึงเวลานี้ดูปองต์พร้อมแล้วและ
บอกกล่าวนักการเมือง สื่อมวลชน และสาธารณชนในประเทศเยอรมนีว่าจากการที่ได้มีการผลิตดินปืนอย่าง
สมบูรณ์แบบ ตอนนี้เขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมซึ่งจะปฏิวัติการเคลื่อนที่ส่วนบุคคลโดยใช้ยานพาหนะ
ส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีใหม่นี้มาใช้จะทำให้ เกิด
อบุ ตั เิ หตอุ กี รปู แบบหนึ่งเกดิ ขึ้น นน่ั คอื อบุ ัติเหตุทางถนน เขาประมาณว่าจะมีการเสยี ชีวติ เฉล่ีย 10 รายตอ่ วนั

แน่นอนว่าเทคโนโลยีนี้จะไม่ถูกให้นำไปใช้ และข้อเสนอของนักประดิษฐ์ก็จะถูกโจมตี หรือต่อต้าน
เพราะ แน่นอนว่าไม่มีใครต้องการที่จะรับผิดชอบสำหรับการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ที่ทำให้ทุกวันมีคนต้อง
เสียชีวิตถึง 10 คน นักการเมือง สังคม และสื่อมวลชนคงจะพร้อมใจกันปฏิเสธการทำให้เกิดการเสียชีวิต
ดังกล่าว นี่คือตัวอย่างที่ยกขึ้นมาประกอบ เพราะแม้แต่ดูปองต์ก็ไม่สามารถจินตนาการได้ว่าการประดิษฐ์
ของเขาจะส่งผลระยะยาวอยา่ งไร อย่างไรกต็ าม แสดงให้เห็นถึงความประนีประนอมที่เราต้องทำ เพ่ือรักษา
สิทธขิ ้ันพนื้ ฐานในการดำรงชวี ติ และความสมบูรณข์ องรา่ งกาย

3

หลักการข้อที่ 2 มนุษย์ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาด (The Second Principle: People makes
mistakes.)

VISION ZERO ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงที่ว่า ความผิดพลาดในการทำงาน และบนท้องถนน
สามารถเกดิ ข้ึนได้ ไม่สามารถท่ีจะหลกี เลีย่ งได้อย่างสิน้ เชิง จากการศกึ ษารถยนตบ์ ังคบั ท่ใี ช้เซ็นเซอร์แสดงให้
เห็นถึงข้อจำกัดของความสามารถในการรับรู้ข้อมูลจากสภาพแวดล้อม การประมวลผล และเปรียบเทียบ
ข้อมูลต่อข้อมูลที่ถูกจดจำ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าปริมาณและความหนาแน่นที่แท้จริงของข้อมูล
หมายความว่าทุกอย่างมีข้อจำกัด ข้อผิดพลาดของมนุษย์นั้นเป็นกฎที่ไม่อาจมีข้อยกเว้นได้ เช่นเดียวกับคน
ทำผิดพลาดเนือ่ งมาจากกระบวนการทางอารมณ์ แรงจงู ใจ และความเครียดที่เกย่ี วขอ้ ง

นนั่ เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่น่าแปลกใจว่า ถ้าทำการวิจัยถึงอบุ ัติเหตุบนท้องถนนและในที่ทำงานก็จะ
ยืนยันว่าสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุสามารถพบได้ในความผิดพลาดของมนุษย์ กล่าวในอีกนัยหนึ่งคือ
การกระทำของพนักงาน แต่เป็นที่แน่ชัดว่านี่เป็นวิธีคิดที่ผิด เพราะถ้ามนุษย์ซึ่งมีทักษะในการเคลื่อนไหว
การประสานงาน ทักษะการรับรู้ และการประมวลผลข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการมา ยังคงไม่สามารถ
รับมือกับความต้องการของสถานที่ทำงานหรือถนนสมัยใหม่ได้ ดังนั้นเราไม่สามารถตำหนิหากทำผิดพลาด
ขึ้น เช่นเดียวกับเรือ่ งนี้ การตระหนักในความรับผดิ ชอบและปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์จริงของวัฒนธรรมเชงิ
ป้องกันของผู้บริหารจำเป็นจะต้องมี มักถูกละเลย การตรวจสอบสาเหตุของอุบัติเหตุอย่างละเอียด มักจะ
แสดงให้เห็นว่ากฎระเบยี บด้านความปลอดภัยทีม่ ีไว้เพื่อช่วยชวี ิตน้ันถูกละเลยโดยเจตนาหรอื จงใจ หรือไม่ก็
ระบบที่มีอยู่ไม่ได้ถูกออกแบบให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัยทั้งสองกรณีนี้ ถ้ามีการจัดการ
แทรกแซงไดท้ นั เวลาก็จะช่วยป้องกันไมใ่ ห้เกดิ อุบตั ิเหตไุ ด้

อย่างไรก็ตาม นี่หมายความว่าด้วยอุบัติเหตุทางจราจรเกือบทั้งหมดและอุบัติเหตุจำนวนมากในท่ี
ทำงาน เราสามารถพบข้อผิดพลาดของมนุษย์ในหลาย ๆ แห่งในห่วงโซ่ของเหตุการณ์ที่นำไปสู่การเกิด
อบุ ตั เิ หตุ ถึงกระนัน้ VISION ZERO กย็ งั ยืนยนั ว่าความผดิ พลาดจะต้องไมท่ ำให้มกี ารเสยี ชีวติ

หลกั การข้อท่ี 3 ความสามารถในการทนต่อแรงกดดนั ทางร่างกายและจติ ใจเปน็ สง่ิ สำคญั

(The Third Principle: The ability to cope with physical and mental pressure is crucial.)

เป็นที่ชัดเจนว่าเรายอมรับว่าผู้คนจะทำผิดพลาดได้ เราต้องมั่นใจว่าเมื่อใดที่อุบัติเหตุเกิดขึ้น ต้องไม่
ก่อให้เกิดการบาดเจ็บข้ันรุนแรง “ทุกคนต้องได้รับความปลอดภัย และมีสุขภาพอนามัยที่ดี” เป็นวิธีที่
สภาความปลอดภยั ทางถนนของเยอรมนี (DVR) กำหนดไว้เมือ่ เลือกใช้กลยุทธ์ VISION ZERO จึงมุ่งมั่นที่จะ
พัฒนาหลักการออกแบบสำหรับยานพาหนะ และโครงสร้างพื้นฐานซึ่งลดการบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึง
ระบบความปลอดภยั และการชว่ ยเหลือ เชน่ ถงุ ลมนิรภยั เป็นตน้

ในสถานที่ทำงาน ระบบความปลอดภัยและการช่วยเหลือมีความสำคัญมากย่ิงขนึ้ เม่ือพิจารณาถึงการ
ที่อุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ
ควบคมุ การใช้งานอุปกรณต์ ่าง ๆ ผา่ นทางเครือข่ายอินเทอรเ์ นต็ (Internet of Things) ตัวอย่างเช่น มนุษย์
และเครือ่ งจกั รอัจฉริยะจะทำงานเคยี งข้างกนั ในสถานท่ที ำงานหลายแห่งโดยไม่มีสิ่งกีดขวางหรือป้องกนั

4

หลักการข้อที่ 4 การป้องกันต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด (The fourth principle: Situational prevention
comes first.)

ผูใ้ ช้ถนนและคนทำงานไม่สามารถสรา้ งสภาพการทำงาน หรอื ระบบการจราจรที่ปลอดภัยด้วยตนเอง
ซึ่งหมายความว่า เราจะต้องคิดต่อไป: สถานที่ทำงาน และระบบการจราจรต้องได้รับการปรับให้เหมาะสม
กับธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใชว่ ิธีตรงขา้ มกัน ในแนวคิดด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภยั แบบดง้ั เดิม เรา
เรยี กสิง่ นว้ี ่า เป็นการใหล้ ำดบั ความสำคญั ต่อการป้องกนั ตามสถานการณ์ อย่างไรกต็ าม มนั ไมไ่ ด้ทำให้บุคคล
อยู่เหนือความรบั ผิดชอบของตนเอง ในทางตรงกนั ข้าม ทุกคนตอ้ งตระหนกั ถึงความเสี่ยงต่อตนเองและผู้อื่น
อันเป็นผลมาจากสิ่งที่ทำและสิ่งที่ไม่ได้ทำ ในประเทศสวีเดน เขาเรียกสิ่งนี้ว่า “ความรับผิดชอบร่วมกัน”
บุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ ขณะที่ผู้ออกแบบระบบต้องมั่นใจว่า
ระบบทั้งหมดปลอดภัย ผู้ออกแบบระบบ สว่ นใหญ่เป็นนายจา้ ง ผ้จู ดั การ ผู้ผลิตเครอ่ื งจกั ร นกั วางแผน และ
เจ้าหนา้ ทร่ี ัฐ

บางครั้งนักวิจารณ์อ้างว่า VISION ZERO ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง แต่มีคำตอบที่ชัดเจนในเรื่องน้ี
ใครบ้างต้องการบอกกับบุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บถาวรจากอุบัติเหตุว่าโศกนาฏกรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
และเหตุการณ์นี้มีโอกาสเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย อย่างนั้นหรือ ถ้าท่านต้องการประสบผลสำเร็จที่ดีที่สุด และ
สามารถทำไดจ้ ริง ทา่ นต้องมเี ป้าหมายสำหรบั สงิ่ ที่ดูเหมือนเปน็ ไปไมไ่ ด้ และเรือ่ งราวของความสำเร็จ ในการ
บินและการขนส่งทางรถไฟ VISION ZERO นับเป็นมาตรฐานทองที่ใช้กันมายาวนาน และผู้คนที่นำไปใช้
บรรลผุ ลสำเรจ็ อยา่ งกว้างขวาง และในการเกิดท่ีไม่บ่อยครงั้ ของอุบัตเิ หตุร้ายแรงจากการเดนิ ทางทางอากาศ
หรือรถไฟ แต่เมื่อเกิดขึ้นจะถูกนักการเมือง สื่อมวลชน และสาธารณชนเรียกร้องให้มีการสอบสวนเพื่อมิให้
อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ในทางตรงกันข้าม ภัยพิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันในที่ทำงานและบนท้อง
ถนนแทบจะไม่ไดร้ บั ความสนใจ

แต่เมื่อนักวิจารณ์หันไปใช้เหตุผลเรื่องค่าใช้จ่าย ก็มักมีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นว่าความ
เสียหาย 30 พนั ลา้ นยูโร ทม่ี ีสาเหตุจากอุบตั ิเหตุบนท้องถนนในแตล่ ะปมี ีผลต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี ความ
เสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุในการทำงานจะน้อยกว่ามาก เนื่องจากการจ่ายเงินโดยบริษัทประกันอุบัติเหตุ
เพียงอย่างเดียวอยู่ที่ประมาณ 10 พันล้านยูโร ในแต่ละปี ในระดับโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ประมาณการว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของโลกประมาณ 4% สูญเสียไปเป็นค่าใช้จ่ายของการ
บาดเจ็บ การเสียชีวิต และโรคภัยไข้เจ็บจากการขาดงาน การรักษาความเจ็บป่วย ความทุพพลภาพ
และประโยชน์ทดแทนสำหรบั ผทู้ ่ยี ังมชี ีวติ อยู่

การแพรห่ ลายของ VISION ZERO

ในยุโรป แนวคิดเรื่อง “อุบัติเหตุเป็นศูนย”์ ไม่ก้าวหน้าขึ้นเลยในการพัฒนากลยุทธ์ทางการเมืองเพื่อ
ความปลอดภัยทางถนนจนถึงปี ค.ศ.1990 ในสวีเดน ที่ซึ่งมีการหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงของอุตสาหกรรม
เคมีอย่างเข้มข้นภายหลังจากพิบัติภัยเซเวโซ (การรั่วไหลของสารเคมีในกลุ่มสารประกอบ dioxin ที่เมือง
เซเวโซ ประเทศอิตาลี ซึ่งมีคนบาดเจ็บกว่า 250 คน) และภัยพิบัติโภปาล (เกิดขึ้นเนื่องจากอุบัติเหตุท่ี
โรงงานผลิตยาฆ่าแมลงของบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองโภปาล เมืองหลวงของรัฐมัธยประเทศ

5

ประเทศอินเดีย เมื่อกลางดึกของวันที่ 2 เดือนธันวาคม ค.ศ.1984 ทำให้ก๊าซเมทิล ไอโซไซยาไนด์
และสารพิษอื่น ๆ รั่วไหลออกจากโรงงาน และส่งผลกระทบถึงประชาชนมากกว่า 500,000 คน) และมีการ
พิจารณาสั้น ๆ ว่าห้ามใช้ในอุตสาหกรรมโดยสิ้นเชิง กระทรวงคมนาคมได้รวมหลักการพื้นฐานของปรัชญา
อุบัติเหตุเป็นศูนย์ไว้ในด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อว่า “VISION ZERO” ตามการ
โฆษณาของสำนักงานกลางของสวีเดนสำหรับการจราจรบนท้องถนน “VISION ZERO คือวิสัยทัศน์แห่ง
อนาคต ณ ที่ซึ่งไม่มีใครเสียชีวิตบนท้องถนนหรือได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาอาการบาดเจ็บไปตลอด
ชีวติ ”

หลังจากเปลี่ยนสหัสวรรษ กลยุทธ์ใหม่ของ VISION ZERO เริ่มต้นในประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย
รวมถึงเดนมาร์ค นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร และ VISION ZERO ยังคงหมุน
เคลื่อนตัวต่อไป: เนื่องในโอกาสที่มี “ฟอรั่ม Sécurité-Santé” เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.2016 ประเทศ
ลักเซมเบิร์กได้ประกาศนำกลยุทธ์การป้องกันของ VISION ZERO ไปปรับใช้ โดยผู้แทนพนักงานและ
กระทรวงแรงงานไดล้ งนามในขอ้ ตกลงต่อหนา้ แกรนด์ดยกุ แห่งลักเซมเบริ ์ก

ภายนอกยุโรป ผู้บุกเบิกในการนำกลยุทธ์ VISION ZERO สำหรับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไป
ใช้ รวมถึงสงิ คโปร์ นิวซแี ลนด์ เกาหลี ออสเตรเลยี และ แคนาดา ตั้งแตป่ ลายปี ค.ศ.2007 สภาความปลอดภัย
ทางถนนของเยอรมัน (DVR) ได้ประชาสัมพนั ธ์ VISION ZERO อย่างจริงจัง และโฆษณากลยุทธ์ กระแสตอบรับ
เชงิ บวกเป็นทีถ่ ูกใจมาก

ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2008 การประชุมรัฐมนตรีคมนาคมของสหพันธรัฐได้ประกาศว่า: “การประชุม
รัฐมนตรีคมนาคมเรื่อง VISION ZERO เป็นพื้นฐานที่เหมาะสมในการตอบสนองเป้าหมายด้านคุณภาพใน
ระยะยาวเพื่อความปลอดภัยทางถนน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ ให้คำม่ัน
สญั ญาอยา่ งชดั เจนต่อ VISION ZERO ในเอกสารสำหรับพ้ืนที่การขนสง่ เดียวในยุโรป

ประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมนี (DGUV) ให้คำมั่นสัญญาที่ชัดเจน ครั้งแรกในปี ค.ศ.2008
โดยการรวม VISION ZERO เข้าไปในในหลักการป้องกัน เมื่อวันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2008 ผู้แทน
คนงานและพนักงานเห็นด้วยเป็นเอกฉันท์ในที่ประชุมใหญ่ของประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันบน
เอกสารนโยบาย ซ่งึ เหตุผลทีม่ อี ยู่นนั้ มีอยู่ในช่ือเรื่อง “การจ่ายเพื่อป้องกนั ” เอกสารนโยบายใหม่น้ีเก่ียวข้อง
กับสถานที่ทำงานตลอดจนสถาบันการศึกษา ในการคำแนะนำได้ส่งข้อความชัดเจน: “สถานที่ทำงานและ
สถาบันการศึกษาต้องได้รับการออกแบบการใช้วิธีการที่เหมะสมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน
ทโ่ี รงเรยี น หรอื เสน้ ทางไปและกลบั จากท่ที ำงานหรือโรงเรยี น เช่นเดยี วกับโรคจากงานอาชีพ และความเส่ียง
ต่อสขุ ภาพท่เี กย่ี วเน่ืองจากการทำงาน (VISION ZERO)”

6

VISION ZERO อุบตั เิ หตุเป็นศูนย์ - การทำงานอยา่ งมสี ุขอนามัยทดี่ ี กลยุทธข์ ององคก์ ร

ตัวอย่างเชิงปฏิบัติที่ดีของการนำกลยุทธ์ VISION ZERO ไปใช้อย่างเป็นระบบ โดยบริษัทประกัน
อุบัติเหตุเป็นการริเริ่มการป้องกันของสถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรม นีสำหรับวัตถุดิบ
และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) ในระหว่างการจัดโครงสร้างใหม่ของส่วนการป้องกัน หลังจากการควบรวม
กิจการของสถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคม 6 แห่ง เพื่อจัดรูปแบบเป็นสถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคม
ของเยอรมนี สำหรับวัตถุดิบและอุตสาหกรรมเคมี ไม่เพียงแต่เป็นการจัดรูปแบบองค์กรใหม่ตามที่กำหนด
เท่านั้นแต่การอภิปรายเชิงกลยุทธ์เกิดขึ้นบนหลักการซึ่งการจัดรูปแบบของโครงสร้างองค์กรต้องสะท้อน
วัตถปุ ระสงคเ์ ชงิ กลยุทธ์ดว้ ย

หลังจากการอภิปรายอย่างเข้มข้น ผู้แทนบริษัทในคณะกรรมการของสถาบันประกันอุบัติเหตุทาง
สังคมของเยอรมนีสำหรับวัตถุดบิ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) และการประชุมของผู้แทนของสถาบนั ได้
ตกลงกันว่า โรคจากงานอาชีพและอุบัติเหตุในที่ทำงานหรือบนท้องถนนไม่ใช่เหตุการณ์บังเอิญ หรือ
หลีกเล่ียงไมไ่ ด้ แต่มีสาเหตุ “หากเราทกุ คนพยายามขจัดสาเหตุเหล่านีแ้ ลว้ อบุ ตั ิเหตุ และโรคจากการทำงาน
สามารถป้องกนั ได้” เป็นคำกล่าวแถลงการณ์ร่วมของนายจ้าง และลูกจ้าง ดังนั้นพวกเขาจงึ ตกลงที่จะทำให้
กลยุทธ์ VISION ZERO เป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติที่สถาบันประกันอุบัตเิ หตุทางสังคมของเยอรมนี สำหรบั
วัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) กลางปี ค.ศ.2014 คณะกรรมการบริหารระดับสูงได้ตกลงกันให้ใช้
กลยุทธ์เชิงป้องกัน “VISION ZERO อุบัติเหตุเป็นศูนย์ - การทำงานอย่างมีสุขอนามัยที่ดี” เป็นการเริ่มต้นของ
ยุคใหมเ่ พื่อการป้องกนั โดยมคี วามเห็นตรงกันวา่ ไม่สามารถขจัดความเสย่ี งในการทำงานได้ท้ังหมด ส่ิงน้ีเป็น
เหตุผลว่าทำไม VISION ZERO จึงมิได้หมายความว่า “ความเสี่ยงเป็นศูนย”์ แต่ตอ้ งใช้มาตรการทีเ่ หมาะสม
เพอ่ื ลด และควบคมุ ความเสีย่ งเพอ่ื ไมใ่ ห้เกิดการบาดเจบ็ หรือโรค

ในคำกล่าวเปิดในงานให้ข้อมูลเกี่ยวกับ VISION ZERO สำหรับสมาคมนายจ้าง เมื่อวันที่ 4 เดือน
พฤศจิกายน ค.ศ.2015 ในเมืองเบอร์ลิน ฮานส์ พอล เฟรย์ (Hans Paul Frey) ประธานคณะกรรมการของ
สถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมนีสำหรับวัตถุดบิ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) ได้อธิบายวา่
เหตุใดจงึ จำเปน็ ต้องมีแนวทางใหม:่ เนอื่ งจากเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของเราในเร่ืองการปอ้ งกัน แต่เหนือสิ่ง
อื่นใดเป็นความเชื่อมั่นส่วนตัวของเราที่มุ่งมั่นจะสร้างความมั่นใจในสภาพการทำงานที่ปลอดภัยในบริษัท
สมาชิกของเราและลดความเส่ยี งจากอุบัตเิ หตุ และโรคอย่างต่อเนอ่ื ง ความสำเรจ็ ของกิจกรรมการป้องกันใน
อดีตตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมุ่งมั่นร่วมกันของทุกคนที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด - นายจ้าง และพนักงาน
สมาคมนายจ้าง สภาพนักงานและสหภาพแรงงาน ร่วมกันลดจำนวนอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน และ
บริษัทสมาชิกของเรามีมาตรฐานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยสูง บางคนอาจถามว่าทำไมเราไม่ทำ
เหมือนเม่อื ก่อน ในการตอบคำถามนี้ นคี่ ือตวั เลขบางส่วน:

• ทุก ๆ ปี 78% ของค่าใช้จ่ายของเรา ซึ่งอยู่ราว 1,000 ล้านยูโร ถูกจ่ายเป็นค่าการดูแลทาง
การแพทย์ การฟืน้ ฟสู มรรถภาพ และเงนิ ชว่ ยเหลือ

• ปีค.ศ.2014 คนจำนวน 94,000 คนรับเงินช่วยเหลือจากสถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของ
เยอรมนี สำหรบั วตั ถุดิบและอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI)

7

• คนเหลา่ นไ้ี ด้รบั เงินสงเคราะห์ รวมทัง้ หมด 64 ล้านยโู ร ทกุ ๆ เดอื น
• ทุก ๆ ปี มีจำนวนอุบัติเหตุราว 65,000 ราย - ซึ่งหมายความว่าหนึ่งในยี่สิบคนที่เป็นผู้เอา

ประกันภยั กับเรา ประสบอบุ ตั ิเหตุในการทำงานหรอื ในการเดนิ ทางไปทำงาน
• ทุก ๆ ปี คนจำนวน 840 คนจากบริษัทของเราได้รับบาดเจ็บสาหัสจนได้รับผลกระทบไปตลอดชีวิตของ

เขา
• ทุก ๆ ปี คนจำนวน 20 คนจากบรษิ ัทของเรา เสียชีวติ จากอุบตั เิ หตุจากการทำงาน
และตอนนี้ผมขอถามคุณว่า “เราพอใจกับสิ่งนี้หรือ เราจะยอมรับมันได้หรือ ผมมั่นใจว่าเราเห็นพ้อง
ต้องกันว่า: ไม่ - เราต้องทำได้ดีกว่านี้ อุบัติเหตุไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น - มันมีสาเหตุ เราสามารถที่จะลดจำนวน
อุบัตเิ หตุ และโรคจากการทำงานไดอ้ ยา่ งตอ่ เนอ่ื ง”

เป้าหมาย 7 ประการของ VISION ZERO

จากที่เปน็ ส่วนหนง่ึ ของการรเิ รม่ิ เมือ่ 10 ปีก่อน สถาบันประกนั อบุ ตั เิ หตทุ างสังคมของเยอรมันสำหรับ
วัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) ได้ตั้งเป้าหมายเฉพาะ 7 ประการสำหรับกลยุทธ์ VISION ZERO
เพื่อให้บรรลุในปี ค.ศ.2024 และเป็นครั้งแรกที่ไม่ได้มีเพียงเป้าหมายเชิงคุณภาพเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเชิง
ปริมาณดว้ ย

เป้าหมาย 1 ลดความเสี่ยงของอบุ ัติเหตุจากการทำงานลง 30% ในปคี .ศ.2014
เป้าหมาย 2 ลดจำนวนของเงินชว่ ยเหลือกรณีอบุ ัตเิ หตจุ ากการทำงานลง 50%
เปา้ หมาย 3 ลดอุบตั เิ หตุจากการทำงานขน้ั เสยี ชวี ิตลงอย่างนอ้ ย 50%
เปา้ หมาย 4 ลดโรคจากการทำงาน
เปา้ หมาย 5 เพิ่มจำนวนบริษัทท่อี ุบัติเหตุเป็นศูนย์
เป้าหมาย 6 จดั แนวทางการบรกิ ารเพื่อการป้องกันให้ใกล้กับความต้องการท่ีแทจ้ ริง
เป้าหมาย 7 เพิ่มการใชบ้ ริการเพื่อการปอ้ งกนั

สำหรับเป้าหมายที่ 4 ต้องมีมาตรการการป้องกัน เพื่อลดจำนวนกรณีที่ได้รับการยืนยัน และชดเชย
กรณีโรคจากการทำงานรายใหม่ เน่อื งจากการสมั ผัสในสถานที่ทำงาน

เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ปรารถนาอย่างแรงกล้าเหล่านี้ภายในปี ค.ศ.2024 สถาบันประกันอุบัติเหตุทาง
สังคมของเยอรมนี

สำหรับวัตถุดิบและอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) ตั้งใจที่จะดำเนินการทั้งหมด 10 มาตรการ หรือการ
รวบรวมมาตรการอย่างแมน่ ยำมากขนึ้ นคี่ อื สกรทู ่เี ราต้องขัน จะพดู เช่นนน้ั ก็ได้

8

มาตรการ 1: วิเคราะห์ให้ดีข้ึนเพอื่ ระบุลำดับความสำคญั

แนวทางในการดูที่ผลลัพธ์ ต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติการเกิดอุบัติเหตุ การวิเคราะห์
อย่างละเอียดมากขึ้น หมายความว่าสามารถระบุรายละเอียดได้มากขึ้นเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนในการ
ป้องกัน โดยต้องคำนึงถงึ ปจั จยั พิเศษ ความเส่ียงใหม่ และการพัฒนาในปัจจบุ ันดว้ ย

ตวั อยา่ งของผลลัพธ์: มาตรการแรกคอื ทำการประเมินผูเ้ สยี ชีวิตจากการทำงาน 303 คนอีกครงั้

(ปคี .ศ.2004 - ค.ศ.2015) ทำให้เกดิ “12 LIFESAVERS” สำหรบั ผจู้ ดั การ และ “12 LIFESAVERS” สำหรบั
พนกั งาน ทง้ั สองขุดครอบคลมุ 12 สาเหตุท่ีพบบ่อยของการเสียชวี ติ และอธิบายขอ้ เท็จจริง ตลอดจนคำแนะนำที่
รัดกมุ ในการป้องกนั

มาตรการ 2: ความต้องการของลกู คา้ เป็นสงิ่ ที่ชข้ี าด

เพื่อให้ระบุไดด้ ขี นึ้ วา่ อะไรคือความต้องการของบริษัททเ่ี ปน็ สมาชิก และเพื่อสอ่ื สารโดยตรงให้มากข้ึน
สถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันสำหรับวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) ดำเนินการ
สำรวจลกู คา้ ตามปกตใิ นบริการเชงิ ปอ้ งกันในเร่อื งความต้องการ และคณุ ภาพ

ตัวอย่างของผลลัพธ์: มาตรการแรกคือ การสำรวจอย่างเป็นระบบได้ถูกดำเนินการเพื่อค้นหาข้อกำหนด
เฉพาะ สำหรบั กล่มุ เปา้ หมายทแี่ ตกต่างกันในบริษัท เช่น พนักงานรุ่นเยาว์

มาตรการ 3: บริการเชงิ ป้องกนั ทมี่ คี ุณภาพท่ดี ีกว่า

บนหลักการการตอบสนองของลูกค้าและการวิเคราะห์อุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน สถาบัน
ประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันสำหรับวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) ตั้งใจที่จะจัดระบบ
เพ่มิ ประสิทธิภาพและและนำเสนอผลติ ภัณฑป์ อ้ งกนั ใหม่ ๆ และเม่ือจำเปน็ ต้องขยาย หรือทำให้เลก็ ลงหากมี
ความต้องการเพยี งเล็กน้อยอย่างชดั เจน สิ่งน้จี ะชว่ ยใหบ้ รษิ ัทเลือกบรกิ ารไดถ้ กู ต้อง

ตัวอย่างของผลลัพธ์: มาตรการแรกคือ โปรแกรมสำเร็จของการป้องกันที่หลากหลาย และช่องทางการ
สื่อสารใหม่ ๆ ได้ถูกสร้างสรรคข์ ึ้นเพื่อปรับปรุงข้อมูลให้มีประสิทธิภาพขึ้นเป็นรูปแบบท่ีต้องการ ตัวอย่าง
คือ สายสื่อสาร “โดยสังเขป” การสรุปข้อเท็จจริงหลักในวิธีที่ง่ายต่อการเข้าใจ และเปิดใช้งานสำหรับการ
ดำเนนิ การตามเปา้ หมายในระยะเวลาอันสน้ั

มาตรการ 4: ต้ังคา่ ลำดับความสำคัญท่ถี กู ต้อง

ลำดับความสำคัญของงานป้องกันในอนาคตระบุได้โดยการวิเคราะห์อุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน
การตอบสนองจากลกู ค้าและความเสี่ยงใหม่ ๆ ทเ่ี กดิ ข้ึน เป็นท่ชี ดั เจนแล้ววา่ หวั ขอ้ สุขภาพในการทำงานและ
การหลีกเลี่ยงหรือลดความเครียดทางจิตใจในการทำงานจะมีความสำคัญมากข้ึนเรื่อย ๆ เพื่อให้บรรลุความ
คบื หน้าเก่ยี วกับอุบัตเิ หตรุ ะหว่างทางไป และกลับจากทีท่ ำงาน โครงการร่วมกบั สภาความปลอดภัยทางถนน
ของเยอรมนี (DVR) ได้จัดทำขึน้ เพ่อื ป้องกันอบุ ัตเิ หตรุ ะหว่างทางไปถึงจุดหมายปลายทาง

9

ตัวอยา่ งของผลลัพธ์: มาตรการแรกคือ โปรแกรมความปลอดภัยบนทอ้ งถนนถูกรวมเขา้ ไปกบั โปรแกรมการ
ป้องกันของสถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันสำหรับวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) อย่าง
เป็นระบบ ชว่ ยให้ผูข้ ับขีส่ ามารถพัฒนาทกั ษะด้านความปลอดภยั ในโปรแกรมการฝึกสอนในการจราจร

มาตรการ 5: ความช่วยเหลือพเิ ศษสำหรบั องคก์ รขนาดเล็กและขนาดกลาง

การสอบสวนได้เผยให้เห็นแนวโน้มว่า ยิ่งบริษัทมีขนาดเล็กมากเท่าใดก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
มากเท่านั้น สถานประกอบกิจการที่มีขนาดกลางและขนาดเล็กยังมีแนวโน้มที่จะขาดดุลมากขึ้น เมื่อพูดถึง
องค์กรภายในด้านอาชวี อนามัยและความปลอดภัย ส่ิงนห้ี มายความว่ากลยุทธ์ VISION ZERO ควรจัดต้ังขึ้น
เป็นลำดบั ต้น ๆ

ตัวอย่างของผลลัพธ์: มาตรการแรกคือ การสื่อสารได้รับการยกระดับ ในส่วนน้ี ได้มีการเปิดตัวสายสื่อเพอ่ื
สอื่ สารประเด็นรอ้ นในรปู แบบท่ีกะทัดรัด และปรบั เปลี่ยนได้ง่าย

มาตรการ 6: พัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญ

ข้อกำหนดสำหรับการป้องกันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ - และเป็นไปตามธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการ
ปอ้ งกนั ของบริษัทประกันอุบตั ิเหตตุ ้องตระหนักถงึ พัฒนาการลา่ สุดอยู่เสมอ น่คี ือเหตุผลท่ีให้ความสำคัญกับ
การตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ปรึกษามีการผสมผสานคุณสมบัติที่ทันสมัยและพัฒนาความเชี่ยวชาญของพวก
เขา ซง่ึ หมายถึงการฝึกอบรมทเ่ี ฉพาะเจาะจงในเรอื่ งทีเ่ ป็นปัจจุบนั และการพัฒนา

ตัวอย่างของผลลัพธ์: มาตรการแรกคือ ทีมป้องกันมากกว่า 500 คนได้รับการจัดแนวทางในขณะที่ข้อมูล
และการสอื่ สารกำลงั ปรับปรงุ ความสามารถในการดำเนินการ

มาตรการ 7: ปรากฏตัว ณ สถานทีท่ ำงาน

งานเอกสารสามารถรอได้ ท้ายที่สุดแล้วการป้องกันจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อที่ปรึกษาไป
เยี่ยมสถานที่ทำงานและแสดงจุดที่สามารถปรับปรุงได้ ในอนาคตจะต้องคำนึงถึงความเสีย่ งที่อาจเกิดขึ้นใน
อตุ สาหกรรมและบริษทั ทแ่ี ตกต่างกันเมื่อตดั สินใจถึงความถใี่ นการเขา้ เย่ยี มชม

ตัวอย่างของผลลัพธ์: มาตรการแรกคือ บริษัทประกันภัยประมาณ 35,000 แห่งได้รับมอบหมายให้อยู่ใน
กลุ่มความเสี่ยงที่แตกต่างกัน กำหนดความถี่ในการตรวจสอบและให้คำปรึกษาตามกลุ่มความเสี่ยงที่ได้รับ
มอบหมาย ความเสย่ี งท่สี ูงขึน้ - การเขา้ ไปเกีย่ วข้องใกลช้ ดิ ขึ้น

มาตรการ 8: คณุ สมบัตติ ามเปา้ หมาย

การฝึกอบรมผู้รับผิดชอบในที่สถานทำงานเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาความเชี่ยวชาญของ
บริษัทในการป้องกัน สถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมนีสำหรับวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี
(BG RCI) กำลังเพิ่มความสามารถในการสัมมนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการจำนวนมาก นอกจากนี้การ
สัมมนาจะเช่ือมต่อกบั การบริการเชิงป้องกันใกล้ชิดมากข้ึน และเพ่ิมเตมิ การสัมมนาในเรื่อง VISION ZERO เข้าไป
ด้วย มุ่งเน้นโดยเฉพาะทผี่ ู้จัดการฝกึ อบรม

10

ตัวอย่างของผลลัพธ์: มาตรการแรกคือ เพิ่มการสัมมนา VISION ZERO สำหรับผู้บริหารระดับสูงขึ้น หรือ
ระดับกลางในบริษัทผู้ประกันตนตลอดจนสภาผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ผลงานการสัมมนาโดยรวมกำลังอยู่
ระหวา่ งการแก้ไขและขยายเวลา

มาตรการ 9: ปรับปรุงการสื่อสาร

การป้องกันที่ประสบความสำเร็จเป็นไปไม่ได้ หากไม่มีการไหลเวียนของข้อมูลที่มปี ระสิทธิภาพ สิ่งนี้
เป็นเหตุผลว่าทำไมการสื่อสารกับสมาชิกของบริษัทและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ได้รับการออกแบบให้เข้มข้นขึ้น เร็ว
ขน้ึ และเน้นมากขึ้น โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงจะตอ้ งขยายชอ่ งทางการสื่อสารทางอิเลก็ ทรอนิกส์

ตัวอยา่ งของผลลพั ธ์: มาตรการแรกคือ จดั ทำจดหมายขา่ ว VISION ZERO ใหไ้ ปถึงสมาชิกหลายพนั คนใน
ฉบบั พมิ พค์ รั้งแรกแล้ว

มาตรการ 10: การขยายความร่วมมือ - ไดม้ าเพ่ิมทวีคณู

เพื่อให้แน่ใจว่า VISION ZERO ได้ถูกปฏิบัติทุก ๆ ที่ สถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมนี
สำหรับวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) อาศัยความร่วมมือกับบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี
ข้อตกลงความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นกับสมาคมนายจ้าง สหภาพการค้า ธุรกิจ กลุ่มผู้สนใจภายในและผู้ที่เพิ่ม
ทวคี ณู อ่นื ๆ ทีจ่ ะตกลงในวัตถปุ ระสงค์ และกจิ กรรมรว่ มกัน

ตัวอย่างของผลลัพธ์: มาตรการแรกคือ มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท 30 แห่งและสมาคม
การค้าและสหภาพแรงงานท่ีเกย่ี วขอ้ ง

คูม่ อื VISION ZERO แนะนำกฎทอง 7 ประการ สำหรับการนำไปดำเนนิ การในสถานทีท่ ำงาน

การนำ VISION ZERO ไปดำเนินการให้เกิดผลสำเรจ็ ในสถานที่ทำงานได้อยา่ งไร อะไรบ้างที่นายจ้าง
ผู้จัดการ ตัวแทนพนักงาน หัวหน้าคนงาน หรือหัวหน้าแผนกสามารถทำได้ คำถามนี้ได้ถูกพูดคุยกันเป็น
ประจำ - ไม่ว่าที่ใดในโลกนี้ ความจำเป็นสำหรับแนวทางใหม่คือจะต้องเข้าใจ และได้รับการยอมรับ
บ่อยคร้งั ส่งิ ท่ีตอ้ งทำคอื การปฏบิ ัตอิ ยา่ งรอบคอบ และการจดั การทีส่ ม่ำเสมอ

คูม่ ือ VISION ZERO ไดถ้ กู พฒั นาข้ึนเพื่อให้ข้อแนะนำและแรงบันดาลใจ วา่ ทกุ คนสามารถทำอะไรได้
บ้างในส่วนงานความรับผิดชอบของตนเอง สิ่งหนึ่งคือความชัดเจนในเบื้องต้น: คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายเงิน
จำนวนมากเสมอไปในการปรับปรุงความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน บ่อยครั้งเพียงแค่ใช้ประโยชน์
จากบริการท่ีเสนอโดยหน่วยงานผใู้ หบ้ ริการประกันสงั คม

ในการพฒั นาคู่มือ VISION ZERO มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดข้นึ มากมาย พนักงาน ผู้จดั การ และผู้เชี่ยวชาญใน
สถานที่ทำงาน 700 คน ถูกถามในการประชุมเชิงปฏิบัติการว่ามีมาตรการง่าย ๆ อะไรที่พวกเขามี
ประสบการณ์เชิงบวก และมาตรการอะไรที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นผูเ้ ช่ียวชาญด้านการป้องกัน 300 คนถูก
ถามว่าจากประสบการณ์ของพวกเขาอะไรเป็นปจั จัยพื้นฐานท่ีสำคญั ที่สุดเพือ่ สถานท่ีทำงานที่ปลอดภัยและ
มีสุขภาพดี คำตอบของพวกเขารวมอยู่ในคู่มือ - ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่ามีผู้เขียนที่หลากหลายจำนวน
1,000 คน จุดมุ่งหมายคือการสร้างเครื่องมือที่ปรับลดหรือตัดกระบวนการที่ไม่จำเป็นหรือสิ้นเปลือง และ

11

สามารถจัดการได้ เพราะมีหนังสือเรียนและเอกสารทางกฎหมายหนาเพียงพออยู่แล้ว เป้าหมายของคู่มือน้ี
อยู่ท่ีนายจ้างและผู้จดั การและแบ่งออกเปน็ เจ็ดกลุ่มหัวข้อเรยี กวา่ กฎทอง 7 ประการ:
กฎทองข้อท่ี 1 มีความเป็นผู้นำ - แสดงใหเ้ ห็นถงึ ความม่งุ มัน่
กฎทองข้อที่ 2 ชีบ้ ง่ อันตราย - ควบคุมความเส่ยี ง
กฎทองขอ้ ที่ 3 กำหนดเปา้ หมาย - จัดทำแผนงาน
กฎทองข้อท่ี 4 มีระบบการจัดการความปลอดภัย และสุขภาพอนามยั - ทไี่ ด้มีการจดั การที่ดี
กฎทองข้อที่ 5 เคร่อื งจักร อปุ กรณ์ และสถานที่ทำงานมคี วามปลอดภยั และไม่มผี ลกระทบตอ่ สขุ ภาพอนามัย
กฎทองข้อท่ี 6 ปรบั ปรุงคุณสมบัตขิ องบุคลากร - พฒั นาความร้คู วามสามารถ
กฎทองขอ้ ท่ี 7 ลงทนุ ในด้านบุคลากร - สรา้ งแรงจงู ใจโดยการให้มสี ว่ นรว่ ม

สำหรบั แต่ละข้อของกฎทอง 7 ประการ ค่มู อื ประกอบด้วยคำนำโดยย่อ ตามดว้ ยเคล็ดลับง่าย ๆ เพ่ือ
ตรวจสอบว่า สิ่งใดนำไปใช้ในสถานที่ทำงานแล้วประสบความสำเร็จ และมีที่สิ่งที่สามารถปรับปรุงได้อีก
จัดทำภาพรวมที่ง่ายและรวดเร็วของสภาพการณ์ ในเรื่องความปลอดภัยของบริษัท ซึ่งนำไปสู่รายการที่จัด
ความสำคัญของมาตรการทข่ี ึ้นอย่กู ับการประเมนิ คำถามต่าง ๆ

กฎทองข้อท่ี 1 มคี วามเป็นผู้นำ - แสดงให้เหน็ ถึงความมงุ่ มั่น
เป็นผู้นำและแสดงให้เห็น การที่ท่านทำตัวเป็นผู้นำนั้น คือการชี้ขาดความสำเร็จหรือความล้มเหลว

เรอื่ งความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยให้แกอ่ งค์กรของท่าน
นายจา้ งทุกคน ผู้บริหารทกุ คน และผู้จดั การทุกคน มหี น้าท่รี ับผดิ ชอบต่อความปลอดภัยและสุขภาพ

ในองค์กรของตน คุณภาพของผู้นำไม่เพียงแต่กำหนดวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัยและสุขภาพในองค์กร
เท่านั้นแต่ยังต้องทำอย่างไรทจี่ ะน่าสนใจ ประสบความสำเร็จ และย่งั ยืน ความเปน็ ผู้นำต้องการการสื่อสารท่ี
เปิดกว้างและวัฒนธรรมการบริหารที่ชัดเจน ความเป็นผู้นำที่ดีแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง โดยความสามารถ
ในการคาดการณ์ ความสม่ำเสมอ และความเอาใจใส่

ผู้บริหารและผู้จัดการเป็นต้นแบบ: นำโดยทำเป็นตัวอย่าง สร้างกฎและปฏิบัติตามกฎ ตรวจสอบให้
แน่ใจว่าทุกคนรู้กฎ และปฏิบัติตามการละเมิดกฎจะต้องได้รับการแก้ไขทันที - สังเกตดูสิ่งต่าง ๆ การ
ชี้ให้เห็นถึงสภาวะทีเ่ ป็นอันตรายจะได้รับรางวัล สิ่งที่ผู้จัดการทำ อดทน และประสงค์ เป็นการตั้งมาตรฐาน
สำหรบั พนักงานคนอนื่ ๆ

12

กฎทองข้อท่ี 2 ช้ีบ่งอนั ตราย - ควบคมุ ความเสยี่ ง

การประเมินความเสี่ยง เป็นเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อใช้ในการชี้บ่งอันตรายและความเสี่ยง ในจังหวะ
เวลาที่เหมาะสมและอย่างเป็นระบบ และเพื่อปฏิบัติการป้องกันต่าง ๆ ได้ ทั้งอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และ
เหตกุ ารณ์เกือบเกดิ อบุ ตั ิเหตทุ เี่ กิดขึ้น ต้องได้รบั การประเมินดว้ ยเชน่ กัน

คุณเป็นคนฉลาด คุณใช้การประเมินความเสี่ยงที่ช่วยคุณในการชี้บ่งอันตราย และความเสี่ยงก่อนที่
อุบตั เิ หตุ และการหยุดทำงานของการผลติ เกดิ ขึน้ และช่วยคณุ ในการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกดิ ขึ้นรวมทั้ง
กำหนดและจัดทำเอกสารมาตรการปอ้ งกันทจ่ี ำเป็น น่นั คอื เหตผุ ลท่ีเครอ่ื งมือนใี้ ชก้ ันทว่ั โลกในปจั จุบัน

เมื่อทำอย่างถูกต้องแล้ว การประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการเรียน
การสอนของพนักงานในองค์กรของคุณ การประเมินอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และเหตุการณ์ที่เกือบเป็น
อุบตั ิเหตุจากการทำงานเป็นสิ่งสำคญั สำหรับการระบจุ ดุ ม่งุ เนน้ หลักหรือการปรับปรุงท่ีเป็นไปได้

กฎทองข้อท่ี 3 กำหนดเป้าหมาย - จดั ทำแผนงาน

ความสำเร็จในเร่ืองความปลอดภัย และอาชีวอนามัย จำเป็นต้องมีเป้าหมายชัดเจน และขั้นตอนการ
ดำเนนิ งานทีเ่ ป็นรูปธรรมสามารถนำไปปฏบิ ตั ไิ ด้ ซ่ึงควรจดั ทำเปน็ รปู แบบของแผนงานโครงการ

ความปลอดภยั และอาชวี อนามยั มีหลายแง่มุม จดั ลำดับความสำคัญกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับ
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการของท่านและมุ่งมั่นที่จะนำไปใช้ในระยะกลาง
ตวั อยา่ ง เช่น ในโปรแกรม 3 ปี

กฎทองข้อที่ 4 มีระบบการจัดการความปลอดภัยและสขุ ภาพอนามัย - ทไ่ี ดม้ กี ารจดั การท่ดี ี

การจัดการเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการอย่างเป็นระบบเป็นสิ่งที่ดี
เป็นเร่ืองทด่ี ำเนินการได้ไมย่ าก และค้มุ คา่ ต่อการลงทุน

ดว้ ยการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอยา่ งดี ทกุ ๆ สถานประกอบกจิ การจะทำงานได้
อย่างราบรน่ื มากขึ้น เพราะการหยุดชะงัก การหยดุ ทำงานของการผลติ และปัญหาคุณภาพลดลง ส่ิงเหล่าน้ี
เป็นเหตุผลที่ดีสำหรับคุณในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์กรด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยมี
ประสิทธิภาพ - เป็นสิ่งคุ้มค่า รายการตรวจสอบสามารถช่วยคุณได้ ผู้ที่ต้องการทำมากขึ้นควรดำเนินการ
ตามระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยท่ีชว่ ยให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เม่ือทุกอย่างเข้า
ท่แี ล้วการตรวจสอบทปี่ ระสบความสำเร็จจะได้รับใบรับรอง และการยอมรบั

กฎทองข้อท่ี 5 เครื่องจกั ร อุปกรณ์ และสถานท่ีทำงานมีความปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อสขุ ภาพ
อนามัย

สิง่ อำนวยความสะดวกในการผลิต เคร่อื งจักร และสถานทีท่ ำงานที่ปลอดภัยเปน็ ส่ิงสำคัญสำหรับการ
ทำงานทป่ี ราศจากอุบตั ิหตุ ผลกระทบต่อสขุ ภาพจะต้องได้รับการพจิ ารณาเช่นกัน

13

กลยุทธ์ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่มีประสิทธิภาพรวมถึง มาตรการทางเทคนิค การจัดการ
องคก์ รและบคุ ลากรทีด่ ี ควรให้ความสำคญั กบั มาตรการทางเทคนิคก่อน ดงั น้ันจำเปน็ อย่างย่ิงท่ีจะต้องทำให้
เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ต่าง ๆ และสถานที่ทำงานเป็นไปตามมาตรฐานด้านความ
ปลอดภัยและอาชีวอนามัยปัจจุบัน อีกทั้งยังกำจัดหรือลดสิ่งที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
โดยธรรมชาตแิ ล้วไมส่ ามารถใช้เทคโนโลยีล่าสดุ ได้เสมอไป นี่คือสิ่งท่ีจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม
การแจ้งฝ่ายจัดซื้อว่าความปลอดภัยมาก่อน และหลักการที่ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าอุปกรณ์ความปลอดภัย
ตอ้ งเป็นส่วนหนงึ่ ของกิจกรรม ควรระลกึ ไวเ้ สมอว่าอบุ ัตเิ หตุสว่ นใหญ่มกั เกิดขึ้นระหว่างการแก้ไขปญั หา เช่น
การซ่อมแซม หรือการบำรุงรักษา เพราะการออกแบบ และการก่อสร้างมักไม่ได้คำนึงถึงในงานเหล่านี้
รวมทั้งอปุ กรณ์ความปลอดภยั มักถูกขา้ มหรือไม่สามารถทำงานได้ การป้องกันนเ้ี ป็นความรับผิดชอบของฝ่าย
บรหิ ารจัดการ

กฎทองข้อท่ี 6 ปรับปรงุ คณุ สมบตั ิของบคุ ลากร - พัฒนาความรูค้ วามสามารถ

ลงทุนในการฝกึ อบรม และทกั ษะของพนกั งานของทา่ น และตรวจสอบให้แน่ใจวา่ ความรูท้ ีจ่ ำเปน็ มีอยู่
ในสถานที่ทำงานทุกแห่ง

หลงั จากเกิดอบุ ัติเหตุใคร ๆ กม็ กั จะถามวา่ : ส่งิ นี้เกิดขน้ึ ได้อย่างไร สง่ิ อำนวยความสะดวกด้านเทคนิค
และเครื่องจักรการผลิตมีประสิทธิผลมากขึ้น และเร็วขึ้นแต่ยังซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะทำงาน
ผิดพลาด สิ่งนี้ทำให้การปรับใช้บุคลากรที่ผ่านการรับรอง และผ่านการฝึกอบรมมาอย่างเป็นระบบมี
ความสำคัญมากขึน้ ในสถานทีท่ ำงาน เป็นความรับผดิ ชอบของผ้บู ริหารสูงสดุ ท่ีจะตรวจสอบให้แน่ว่าได้จัดทำ
คำอธิบายโดยละเอียดของข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับทุกตำแหน่งงานในสถานประกอบกิจการของท่าน
และคนทำงานทกุ คนสามารถที่จะปฏิบตั ิงานในหนา้ ทตี่ ามตำแหน่งได้

สถานที่ทำงานเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ครึ่งชีวิตของความรู้สั้นลงเรื่อย ๆ และทักษะของคนทำงาน
จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูเป็นระยะ ๆ การให้การฝึกอบรม และการศึกษาต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นมากข้ึน
กวา่ เดมิ ในขณะที่ความเป็นผู้นำและการบรหิ ารก็ตอ้ งเรียนรู้เช่นกัน

กฎทองข้อท่ี 7 ลงทนุ ในด้านบุคลากร - สรา้ งแรงจูงใจโดยการให้มสี ่วนร่วม

จงู ใจพนักงานของทา่ นโดยให้มสี ว่ นร่วมในเร่ืองความปลอดภัยและสุขภาพทั้งหมด การลงทุนเช่นน้คี ุ้มค่า

การจูงใจพนักงานของท่านให้ปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ถือเป็นความรับผิดชอบในการเป็น
ผู้นำที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของท่าน สถานประกอบกิจการที่แสดงความขอบคุณพนักงาน และยังมีส่วน
รว่ มกับพนักงานอย่างแข็งขันในด้านความปลอดภัย และสขุ ภาพภายในองค์กรกำลังเข้าถึงศักยภาพท่ีสำคัญ:
ความรู้ ความสามารถ และความคิดของพนกั งาน

เมื่อมีการปรึกษาพนักงาน ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ดำเนินการประเมินความเสี่ยงหรือในการพัฒนา
คำแนะนำการใชง้ าน พนักงานก็จะเต็มใจทีจ่ ะปฏิบตั ิตามกฎ ส่งเสรมิ แรงจูงใจผ่านกจิ กรรมโต้ตอบปกตหิ รอื
วันแหง่ การรบั รู้ที่ซึง่ ความปลอดภัย และสขุ ภาพสามารถ “อยู่” หรือ “ได้ประสบการณ์” ไมเ่ สียค่าใช้จา่ ยใด ๆ
ในการยกย่องพนักงานสำหรับพฤติกรรมที่ปลอดภัย ถามพวกเขาเกี่ยวกับความคิด แสดงความสนใจในงาน

14

ที่ยาก และเพื่อจัดการกับการกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือเหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุทันที สิ่งนี้สามารถ
กำหนดทัศนคตสิ ่วนตวั ของพนกั งานได้ และจงู ใจให้ทำงานอย่างปลอดภยั และมีความตระหนกั และเหนอื สิ่ง
อื่นใดดว้ ยความมั่นใจ

เปา้ หมายคือใหท้ ุกคนดูแลเพ่ือนรว่ มงานและตวั เอง “หน่ึงคนเพ่ือคนท้ังหมด - คนทั้งหมดเพ่ือคนทุกคน”

ทิศทางท่ีเรากำลงั จะไป

โรคจากการทำงาน และอบุ ตั ิเหตุในสถานท่ีทำงานหรอื บนท้องถนนไม่ใช่เกดิ ขนึ้ ด้วยความบังเอิญหรือ
หลีกเลี่ยงไม่ได้ - มันมีสาเหตุเสมอ กลยุทธ์ VISION ZERO เข้าใจข้อเท็จจริงนี้และมุ่งหวังที่จะสร้าง
สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือตาย กลยุทธ์นี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความ
เชือ่ ม่นั ทวี่ า่ ทุกอบุ ัติเหตุสามารถป้องกนั ไดห้ ากทำส่ิงท่ีถูกต้องในเวลาท่ีเหมาะสม ประโยชน์ของการทำงานที่
ปลอดภัย และมีสุขภาพดีนั้นชัดเจน การป้องกันอุบัติเหตทุ ี่ประสบความสำเร็จไมเ่ พียงแต่ป้องกันความทุกข์
ทรมานของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังปกป้องสิ่งที่มีค่าที่สุดที่เรามี: สุขภาพของเรา การป้องกันที่ประสบ
ความสำเร็จยังส่งผลดีต่อแรงจูงใจของพนักงาน คุณภาพของงาน และผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ของบริษัท
ความพึงพอใจของพนักงาน ผูจ้ ดั การ และลูกคา้

VISION ZERO เป็นที่รู้จักกันดีในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ระหว่างประเทศ และในบริษัทที่เป็นสมาชกิ
ของสถาบันประกนั อุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันสำหรับวัตถุดบิ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) เป็นท่ีน่า
ยกย่องอย่างยิ่งในเรื่องความชัดเจนว่าการทำความเข้าใจกลยุทธ์นั้นง่ายเพียงใด และมาตรการที่น่าเชื่อซ่ึง
ประกอบด้วยกฎทอง 7 ประการ เหตุผลหลักสำหรับการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่องของกลยุทธ์ และการใช้
งานโดยบริษัทประกันอื่น ๆ และทุกภาคส่วนของ ISSA คือ สร้างกรอบการทำงานที่ชัดเจนและให้โอกาส
สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อให้พูดเป็นเสียงเดียวกันเมื่อพูดถึงการป้องกัน
สิ่งนจ้ี ะชว่ ยเพิม่ การรับรขู้ า่ วสารของสาธารณชนได้อยา่ งมากอย่างมนี ยั สำคัญ

สำหรับผ้มู ีอำนาจตดั สนิ ใจ - ทำใหง้ า่ ย

ผลในเชิงบวกอีกประการหนึ่งคือผู้มีอำนาจตัดสินใจในบริษัทต่าง ๆ อีกนัยหนึ่งคือผู้รับผิดชอบ
ด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยควรจะเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วยข้อความที่ชัดเจน และสม่ำเสมอ และ
แนวคดิ ในการดำเนินการท่เี รียบง่ายกว่าการใช้กฎระเบียบที่มีรายละเอียดมากมาย อาจกลา่ วไดว้ ่าเม่ือเร็ว ๆ
นเ้ี ราได้ปลอ่ ยให้หัวข้อสุขภาพ และความปลอดภยั ในการทำงานอยูใ่ นมือของผเู้ ช่ียวชาญมากเกินไป และลืม
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายจ้างและผู้จัดการไปเล็กน้อย ในการดำเนินกลยุทธ์ VISION ZERO อย่าง
ต่อเนื่อง เราจึงควรให้ความสำคัญเพื่อเน้นย้ำมากขึ้นของประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เกี่ยวกับการรักษา
ชีวิตและสขุ ภาพ และมุ่งเน้นไปที่เครอ่ื งมือการดำเนนิ การทใ่ี ชง้ านง่าย

การพดู เป็นเสยี งเดยี วกันของทกุ ภาคส่วนการปอ้ งกันของ ISSA

หลังจากที่ VISION ZERO และกฎทอง 7 ประการ ได้รับการปรับใช้อย่างเป็นทางการ โดยทุกภาค
สว่ นการปอ้ งกนั ของ ISSA ในเดอื นมถิ นุ ายน ค.ศ.2015 ISSA ได้พัฒนาเวป็ ไซด์การสัมมนา และ “คูม่ อื ” ข้ึน
มีการเปิดตัววิธีการเข้าถึง VISION ZERO ที่งานชุมนุมด้านความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานทั่วโลก

15

ครั้งที่ 21 ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ.2017 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยแนะนำให้รู้จักกับผู้เชี่ยวชาญด้านการ
ป้องกันหลายพนั คนจากทัว่ โลก
VISION ZERO - ใช่ เราสามารถทำได้

การสรา้ งกลยุทธ์ VISION ZERO เป็นโครงการทม่ี คี วามปรารถนาอยา่ งแรงกลา้ ตอ้ งอาศยั ความมุ่งมั่น
การทำงานหนัก และความร่วมมือระหว่างคนจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนอยู่แล้ว คือท้ายที่สุดแล้วไม่ว่า
จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับนายจ้างทีม่ ุ่งมั่น ผู้จัดการ และผู้บริหารที่มีแรงบันดาลใจ และ
พนักงานที่มีความตื่นตัวในบริษัท เราต้องทำให้ทั่วโลกกระจ่างชัดว่า การป้องกันที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เป็น
เพียงหน้าที่ด้านมนุษยธรรมเท่านั้นแต่ยังเป็นการลงทุนที่สมเหตุสมผลในอนาคตที่มีมนุษยธรรม พร้อมด้วย
สภาพการทำงานที่เหมาะสม และการรับประกันความสำเร็จของบริษั ท โดยส่วนตัวเราเชื่อมั่นว่า
VISION ZERO เป็นไปได้ มาทำใหโ้ ลกของเราดขี ้นึ - มนั อยใู่ นมือของเรา

ชีวติ ของฉัน - เคร่ืองช่วยชีวิต 12 สิ่งสำหรบั พนกั งาน
สถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันสำหรับวัตถุดิบและอุตสาหกรรมเคมี ( BG RCI)

ครอบคลุมบริษัท มากกว่า 30,000 แห่ง โดยมีพนักงานเอาประกันจำนวน 1.4 ล้านคน ถัดจากการประกัน
การฟื้นฟูสมรรถภาพและการชดเชยในกรณีท่ีเกิดอุบัตเิ หตุในที่ทำงาน ขณะเดินทางไป - กลับที่ทำงานหรือ
เนอ่ื งจากโรคจากการทำงาน สถาบันประกนั อบุ ตั ิเหตุทางสงั คมของเยอรมนั สำหรับวัตถดุ ิบ และอตุ สาหกรรม
เคมี (BG RCI) มุ่งเน้นไปที่การป้องกันในบริษัทสมาชิกของตน ความมุ่งมั่นที่มีต่อ VISION ZERO สถาบันประกัน
อุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันสำหรับวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) ทำการศึกษาอุบัติเหตุจาก
การทำงานที่เสยี ชวี ิต 303 คร้ังเพอ่ื พิจารณาความเสีย่ งสูงสุด ได้ผลลัพธ์คอื เคร่ืองช่วยชีวิต 12 ส่ิง สำหรับ
พนักงาน (12 LIFESAVERS FOR EMPLOYEES) และเคร่ืองช่วยชีวิต
12 สง่ิ สำหรับผจู้ ดั การ (12 LIFESAVERS FOR MANAGERS)

เครื่องช่วยชีวิต 12 สง่ิ (12 LIFESAVER)
ความจริงที่เขา้ ใจง่าย: “เครื่องช่วยชวี ิต 12 สิ่ง” สำหรับพนักงานและผู้จัดการ แต่ละสิ่งอธบิ ายอย่าง

กระชับว่าจะต้องทำอะไรเพื่อป้องกันสาเหตุทั่วไปของการเสียชีวิต ซึ่งนี้เป็นผลลัพธ์ของมาตรการเพื่อการ
วเิ คราะห์ทดี่ ขี นึ้

16

เครอ่ื งช่วยชีวิต 12 สิ่ง สำหรับพนกั งาน
(12 LIFESAVERS FOR EMPLOYEES)

ทราบความจรงิ - หลีกเลยี่ งอันตรายต่อชีวิต

ที่ทำงานของฉันมีอันตรายจากอุบัติเหตุที่มีความเสี่ยงสูง
หรอื ไม่
ความจรงิ :
90% ของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิตทั้งหมดเกิด
จากอุบตั เิ หตุ 5 ประเภทเท่าน้นั
ใน 12 ปี อุบตั เิ หตุ 5 ประเภทเหลา่ นี้เพียงอยา่ งเดยี ว ทำให้
มีผู้เสียชีวิต 270 คน

ความประมาททำใหต้ าย คดิ กอ่ น แล้วจึงทำงานอย่างปลอดภัย

ฉันตระหนักหรือไม่ว่าพฤติกรรมที่ประมาทอาจถึงแก่ชีวิต ฉันทำงานอย่างมสี ติ และพิจารณากอ่ นเสมอวา่ อนั ตราย
ได้ ใดบา้ งที่มตี ่อชีวิตของฉันเอง
ฉันจะจำแนกพฤติกรรมของตัวเองและของเพอ่ื นร่วมงานได้ ความจรงิ :
อยา่ งไร 75% ของอุบัติเหตุที่ถึงแก่ชีวิต ผู้ประสบภัยเองได้
ความจริง: ทำงานอย่างไมถ่ ูกต้อง ดงั นนั้ จงึ มีอิทธพิ ลโดยตรงต่อการ
สองในสามครัง้ ของอบุ ตั ิเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิตเกิด เกิดอุบตั ิเหตุ
จากความประมาท อันตรายน้ันชัดเจนมาก ผู้จัดการและผู้
ประสบอบุ ัตเิ หตคุ วรทราบ งานทีท่ ำเป็นกิจวัตรสามารถทำให้ถงึ แกช่ ีวิตได้

ฉันอยู่ในกลุ่มพนักงานที่มีประสบการณ์โดยเฉพาะ
หรือไม่ ฉันได้ตระหนักว่าทั้ง ๆ ที่มีประสบการณ์ ฉัน
จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงใหม่ในทุกสถานการณ์
หรอื ไม่ ฉันตกอยู่ในอนั ตรายโดยไม่จำเปน็ หรอื ไม่
ความจรงิ :
“ผ้เู ช่ยี วชาญ” มีความเสีย่ งสงู สดุ ในการประสบอบุ ัติเหตุ
ถึงแก่ชีวิต ส่วนใหญ่ของผู้ประสบอุบัติเหตุจะอยู่ในช่วง
อายุ 45 - 54 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้มากด้วยประสบการณ์ท่ี
ยาวนานเป็นพิเศษ

17

ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย - ยังมีชีวิตปกติสขุ อุปกรณ์ความปลอดภัย และอุปกรณ์คุ้มครอง
ความปลอดภัยส่วนบคุ คล ปกป้องชวี ติ ของคณุ
ฉันตระหนักถึงกฎของบรษิ ัทเพื่อความปลอดภยั ในที่ทำงาน
ของฉันหรือไม่ ฉันปฏิบัติตามข้อบังคับเหล่านี้เสมอเพ่ือ มีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นหรือไม่ และฉันใช้เพอ่ื
การทำงานทีป่ ลอดภยั หรือไม่ ความปลอดภัยของตัวเองหรือไม่ ฉนั ใชอ้ ุปกรณ์คุ้มครอง
ความจรงิ : ความปลอดภยั สว่ นบุคคลอยา่ งสม่ำเสมอหรือไม่
100 คนอาจยังมชี ีวิตปกตสิ ขุ อยู่หากพวกเขาปฏิบัติตามกฎ ความจริง:
ความปลอดภัยของบริษัทที่ได้ระบุไว้และเป็นที่รบั ทราบใน แม้ว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นหรืออุปกรณ์
ระหวา่ งการทำงาน คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (เช่น เข็มขัดนิรภัยใน
ยานพาหนะ อุปกรณ์ปอ้ งกันการตก อุปกรณล์ อ็ ค) มีอยู่ใน
ยานพาหนะ เคร่ืองขนดิน รถโฟล์คลิฟท์ อันตรายตอ่ สถานที่และใช้งานได้ พบว่าทุก ๆ คนที่ห้าของอุบัติเห
ชวี ิต ตจากการทำงานท่ถี ึงแก่ชวี ิตไมไ่ ด้ใช้อปุ กรณ์เหลา่ นี้

ฉันประพฤติตัวในเชิงป้องกันและมองการณ์ไกลในฐานะผู้ เครื่องจักรทำงานผิดปกติ การทำความสะอาด
ขับขี่และมีสมาธิกับการจราจรหรือไม่ ฉันมักจะใช้สายตา การซ่อมบำรุง มอี นั ตรายสงู สดุ
มองคนขับและหลีกเลี่ยงจุดบอดในฐานะคนเดินถนน
หรอื ไม่ ในระหว่างการทำงาน หากมีความผิดปกติของ
ความจรงิ : เคร่ืองจักรและโรงงาน ฉนั มกั จะปฏบิ ตั ิตามหลักการทจี่ ะ
หนึ่งในสามของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิต ไม่ทำอะไรโดยประมาทเลนิ เล่อ
เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ (เช่น รถตักล้อยาง รถบรรทุก ความจรงิ :
รถเทรลเลอร์ รถโฟล์คลิฟท์ รถยนต์) ในที่นี้มีผู้เสียชีวิต ในระหว่างการทำให้การทำงานผิดปกติของเครื่องจักร
100 คนรวมทงั้ คนเดินถนนเกือบ 30 คน หมดไป การซ่อมแซม และงานทำความสะอาด
เครื่องจักร และโรงงานมีผู้เสียชีวิต 60 คนเนื่องจากไม่
ปฏิบัติตามคำแนะนำในการทำงานหรือโดยไม่ได้
เตรียมการ

18

ปรับแต่งอุปกรณค์ วามปลอดภัย ทำให้ตายได้ การตกทำให้ตายได้
ไมท่ ำงานโดยปราศจากอปุ กรณ์ป้องกนั การตก
ฉันแน่ใจหรือไม่ว่าอุปกรณ์นิรภัยไม่แสดงข้อบกพร่องและ
ทำงานไดอ้ ย่างน่าเชื่อถือ ฉันไดร้ ายงานข้อบกพรอ่ งท่รี ะบุ ฉันตระหนักถงึ อันตรายจากการตกจากขอบ หรอื จากที่
ไว้หรือไม่ ฉันเข้าใจหรอื ไม่ว่าการปรับเปลย่ี นอุปกรณ์ความ สูง ฉันรักษาความปลอดภยั ให้ตัวเองเสมอจากการตก
ปลอดภยั น้นั ฉันไมเ่ พยี งแต่ทำอนั ตรายตอ่ ตวั เองเท่านั้นแต่ ฉันตระหนกั รวู้ า่ แมแ้ ต่การกระโดดลงมาจากท่ีสูงระดับตำ่
ยงั ทำใหเ้ พอ่ื นร่วมงานของฉันไดร้ บั อันตรายถงึ ชวี ิตดว้ ย กอ็ าจสง่ ผลใหเ้ สยี ชีวติ ได้
ความจริง: ความจรงิ :
มีผู้เสียชีวิต 20 คนระหว่างทำงานกับเครื่องจักร และ มีผู้เสียชีวิต 47 คนจากการตกจากการทำงานบนท่ีสูง
โรงงานเนื่องจากอุปกรณ์ความปลอดภัย (เช่น แสงกั้นเพ่อื ความสูงที่ต่ำสุดน้อยกว่าหนึ่งเมตร การทำงานบนบันได
ความปลอดภัย สวิตช์ความปลอดภัย แผงป้องกัน) ได้ถูก และบนหลงั คาราบ (ทำทางผ่านเข้าไป) สามารถส่งผลให้
ปลดออกจากตำแหน่งหรอื ถูกปรบั เปลี่ยน เสียชวี ิตได้

วตั ถตุ ก พลิกควำ่ พงั ทลาย อันตรายถงึ ชีวิต อนั ตรายจากการระเบดิ
ตอ้ งมคี วามระมดั ระวงั เปน็ พิเศษ
ฉันแน่ใจหรือไมว่ ่าฉนั หลกี เลย่ี งไปให้ไกลท่สี ุดจากบริเวณที่
วัตถุอาจตกลงมาได้ ฉันสังเกตการจัดเก็บที่ถูกต้อง ฉันรู้หรือไม่ว่ามีอันตรายจากการระเบิดในพื้นที่ทำงาน
และความมั่นคงของวัตถุ หรือไม่ ฉันใช้เครื่องมือยกท่ี ของฉันฉันแน่ใจว่าฉันปฏิบัติงานในบริเวณที่มีอันตราย
เหมาะสมระหวา่ งการขนส่งหรือไม่ จากไฟไหม้หรอื การระเบดิ หลังจากไดร้ บั การอนุมัติ และ
ความจริง: ด้วยเครอื่ งมือท่เี หมาะสมโดยเฉพาะหรือไม่
มีผู้เสียชีวิต 45 รายจากการพลิกคว่ำของชิ้นส่วนหรือวัตถุ ความจรงิ :
ที่ตกลงมา บ่อยครัง้ ที่ไม่มกี ารยึดวัตถุให้ม่ันคงหรอื นำ้ หนกั 32 คนเสียชีวิตจากการระเบิด และผลที่ตามมาจากการ
บรรทุกไม่ได้ยึดให้ปลอดภัยจากการพลิกคว่ำ หรือหงาย ระเบิด
ท้องได้

19

ความรับผิดชอบของฉนั เครอ่ื งช่วยชีวิต 12 สงิ่ สำหรบั ผู้จัดการ (12 LIFESAVERS FOR MANAGERS)

1 2

ทราบความจรงิ - หลีกเลยี่ งอนั ตรายต่อชีวิต

เป็นความรับผิดชอบของฉันที่จะทำให้พนักงานของฉัน
ตระหนักถงึ อนั ตรายจากอบุ ัติเหตุท่ีมโี อกาสเสย่ี งสูงเป็นพิเศษ
ฉันมัน่ ใจวา่ มกี ารปฏบิ ตั ติ ามข้อกำหนดของบริษัท และงาน
จะสำเร็จอยา่ งปลอดภยั
ความจรงิ :
90% ของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิตทั้งหมดเกิด
จากอุบตั เิ หตุ 5 ประเภทเทา่ นั้น
ใน 12 ปี อุบัติเหตุ 5 ประเภทนี้เพียงอย่างเดียว ทำให้มี
ผ้เู สียชีวิต 270 คน

ความเสี่ยง: บ่งชี้ บรหิ ารจดั การ รกั ษาชวี ิตได้

ฉันรับผิดชอบว่าอันตรายถูกตรวจสอบอย่างเป็นระบบ
สำหรับกิจกรรมทั้งหมด มีการระบุมาตรการป้องกันที่
จำเป็น และความเสี่ยงไดถ้ กู บรหิ ารจดั การ
ความจรงิ :
ทกุ ๆ รายทส่ี ามของอุบตั เิ หตุจากการทำงานท่ถี ึงแก่ชวี ติ
ไม่มีการประเมินความเสี่ยงหรือมีเพียงการประเมิน

3 ความเส่ียงที่ไมเ่ พยี งพอเทา่ นน้ั

ทำตัวเปน็ แบบอย่าง ดู ลงมือทำ

ฉันตระหนักถึงหน้าที่ของฉนั ในฐานะทีเ่ ปน็ แบบอยา่ ง การ
กระทำของฉันสอดคล้อง และคาดการณ์ได้และฉันก็เข้า
แทรกแซงวิธกี ารท่ีไม่ปลอดภยั ทนั ทีด้วย
ความจริง:
สองในสามของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิต
เกี่ยวข้องกับความประมาทเลินเล่อ อันตรายเป็นที่เห็น
ชัดเจนนั้นผู้จัดการ และผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุควร
ทราบ

20

4

5 กจิ วตั รประจำ ประสบการณ์
สามารถทำใหถ้ งึ แก่ชีวติ ได้
ปลอดภัยในการทำงาน: ระบุ แนะนำ ตรวจสอบ
ฉ ั น ส ั ง เ ก ต พ ฤ ต ิ ก ร ร ม ก า ร ท ำ ง า น ข อ ง พ น ั ก ง า น ท ี ่ มี
ฉันระบุวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยสำหรับกิจกรรม ประสบการณโ์ ดยเฉพาะ ฉันสนับสนุนให้พนกั งานทุกคน
ทั้งหมด ฉันมั่นใจว่าได้ให้คำแนะนำท่ีครอบคลุมและเข้าใจ ใหค้ วามสำคัญสงู สุดกับความปลอดภยั เสมอ และในกรณี
ได้ง่าย ตัวฉันเองตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานของฉัน ทม่ี ีข้อสงสยั ทจี่ ะพดู วา่ “หยดุ ”
เขา้ ใจ และปฏบิ ตั ติ ามข้อกำหนด ความจรงิ :
ความจรงิ : “ผู้เชี่ยวชาญ” มีความเสี่ยงสูงสุดในการประสบอบุ ตั เิ หตุ
หนึ่งในสามของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิต ถึงแก่ชีวิต มากกว่าทุก ๆ คนที่สามประสบอุบัติเหตุอยู่
รูปแบบการทำงานที่ปลอดภัยไม่ได้ระบุไว้ หรือระบุไว้ไม่ ในช่วงอายุ 45-54 ปี ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานเป็น
เพียงพอ หรือคำแนะนำไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ประสบอุบัติเหตุ พเิ ศษ
ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงานอย่าง
ปลอดภัย 6

อุปกรณ์ความปลอดภัย และอุปกรณ์คุ้มครอง
ความปลอดภัยส่วนบคุ คล สำคัญสำหรับชีวติ

ฉันมั่นใจว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นของบริษัท
และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลมีพร้อม
ใช้งานและมีการใช้งานอยู่เสมอ ฉันเป็นแบบอย่างที่ดี
และจดั การกบั พฤติกรรมทไ่ี มถ่ กู ต้องได้ทันที
ความจรงิ :
แม้ว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นหรืออุปกรณ์
คมุ้ ครองความปลอดภยั สว่ นบุคคล (เชน่ เขม็ ขัดนิรภัยใน
ยานพาหนะ อุปกรณ์ป้องกันการตก อุปกรณ์ล็อค) มีอยู่
ในสถานที่และใช้งานได้ พบว่าทุก ๆ คนที่ห้าของ
อุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิตไม่ได้ใช้อุปกรณ์
เหล่าน้ี

21

7 8

ยานพาหนะ เคร่ืองขนดนิ รถโฟลค์ ลฟิ ต์ อันตรายตอ่
ชีวติ

เป็นความรับผดิ ชอบของฉันท่ีจะทำให้ความเสี่ยงลดลงด้วย
การใช้ยานพาหนะของเราที่มีมาตรการที่เหมาะสม รวมถึง
แนวคิดเกี่ยวกับการจราจร เส้นทางการจราจรที่ปลอดภัย
ยานพาหนะที่ปราศจากข้อบกพร่องและพฤติกรรมที่
คำนึงถึงของผู้เขา้ รว่ มการจราจรทกุ คน
ความจรงิ :
หนึ่งในสามของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิต
เกยี่ วข้องกบั ยานพาหนะ (เชน่ รถตักล้อยาง รถบรรทุก รถ
เทรลเลอร์ รถโฟล์คลิฟท์ รถยนต์) ในที่นี้มีผู้เสียชีวิต 100
คนรวมท้งั คนเดนิ ถนนเกือบ 30 คน

9 เครื่องจกั รทำงานผดิ ปกติ การทำความสะอาด
การซอ่ มบำรุง มอี นั ตรายสูงสุด
การทำงานของอุปกรณค์ วามปลอดภัย
ชว่ ยชวี ติ ได้ ฉันมีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผนและตรวจสอบ
ขนั้ ตอนการทำงานท่ปี ลอดภยั ดว้ ยการทำใหข้ ้อผิดพลาด
ฉันแน่ใจว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยทั้งหมดทำงานอย่างมี หมดไป การซ่อมแซม และงานทำความสะอาด
ประสทิ ธิภาพ ได้รบั การตรวจเป็นประจำ และข้อบกพร่อง เครื่องจักรและโรงงาน ฉันตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการ
ต่างๆได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ ฉันยังตรวจให้แน่ใจว่า ปฏบิ ตั ติ ามขอ้ กำหนด
อปุ กรณค์ วามปลอดภยั มีการใช้งานตามวัตถปุ ระสงค์ ความจรงิ :
ความจรงิ : ในระหว่างการทำงานเหล่านี้ มีผู้เสียชีวิต 60 คน
มีผู้เสียชีวิต 20 คนระหว่างทำงานกับเครื่องจักรและ เน่ืองจากขาด หรอื ละเลยคำแนะนำในการทำงาน
โรงงานเนือ่ งจากอปุ กรณ์ความปลอดภยั (เช่น แสงกั้นเพ่อื
ความปลอดภัย สวิตช์ความปลอดภัย อุปกรณ์ลอ็ ค) ได้ถกู
ปลดออกจากตำแหน่งหรอื ถกู ปรบั เปลยี่ น

22

10

การตกทำใหต้ ายได้ ป้องกนั ไมใ่ หเ้ กดิ ขน้ึ

ฉันตรวจสอบให้แน่ใจว่าการทำงานบนที่ความสูงนั้น
ดำเนนิ การอยา่ งปลอดภยั โดยใชม้ าตรการทางเทคนคิ และ
มีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่
จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ หลีกเล่ียงการทำงานบนบันไดเท่าท่ี
จะทำได้
ความจริง:
มีผู้เสียชีวิต 47 คนจากการตกลงมาจากที่สูง ความสูงท่ี
ต่ำสุดน้อยกว่าหนึ่งเมตร การทำงานบนบันไดและบน

11 หลงั คาราบ (หลงั คาทะล)ุ สามารถสง่ ผลใหเ้ สยี ชวี ติ ได้

วัตถตุ ก พลิกคว่ำ พังทลาย มีอันตรายถึงชวี ิต 12

ฉันแนะนำให้พนักงานของฉันอยู่นอกพื้นที่ที่อาจมี
อันตรายจากการพลิกคว่ำหรือตกลงมาของวัตถุหรือ
ชน้ิ สว่ นซ่ึงไม่สามารถจะปอ้ งกันไดอ้ ยา่ งสมบูรณ์
ฉันมั่นใจว่าได้ดำเนินการจัดเก็บ และขนส่งด้วยวิธีที่จะ
ไม่มีอะไรตก หรือพลิกคว่ำได้
ความจรงิ :
มี 45 คนเสียชีวิตจากการถูกชิ้นส่วนหรือวัตถุพลิกคว่ำ
หรอื ตกลงมาทบั บอ่ ยครั้งทไ่ี มม่ กี ารยดึ วตั ถุให้มั่นคงหรือ
น้ำหนักบรรทุกไม่ได้ยึดให้ปลอดภัยจากการพลิกคว่ำ
หรือตกลงมาได้

อันตรายจากการระเบดิ ใช้มาตรการ

ฉันประเมินอย่างรอบคอบว่าจะมีอันตรายจากการระเบิด
หรืออัคคีภัยในพื้นที่รับผิดชอบของฉันหรือไม่ และดำเนิน
มาตรการที่จำเป็น ฉันตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงาน
ปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายหลังจากได้รับอนุมัติและด้วย
เคร่ืองมอื ท่เี หมาะสมโดยเฉพาะเท่านัน้
ความจรงิ :
32 คนเสียชีวิตจากการระเบิดและผลที่ตามมาจากการ
ระเบดิ

23

หลักสตู รท่ี 2: กฎทอง 7 ประการ สำหรบั ท่ีปรึกษา (7 GOLDEN RULES FOR CONSULT)

อุบัติเหตุจากการทำงานรวมทั้งการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไม่ได้เกิดจากโชคชะตา ด้วย
ความบังเอิญ หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ แท้จริงแล้วส่ิงเหล่านีล้ ว้ นมีสาเหตุด้วยกันทั้งสิ้น การสร้างวัฒนธรรมเชงิ
ป้องกนั ท่ีเขม้ แขง็ สามารถลดหรือกำจัดสาเหตเุ หลา่ นี้ เพอ่ื ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและการเจบ็ ป่วยจากการ
ทำงานได้

VISION ZERO คือความใฝ่ฝนั และความมงุ่ ม่นั ทจี่ ะสรา้ ง และทำใหม้ ่นั ใจว่างานท่ีทำนัน้ ปลอดภัย และ
มีสขุ ภาวะที่ดี โดยการปอ้ งกันอุบัติเหตุ อันตราย และโรคทเ่ี ก่ยี วเน่ืองจากการทำงาน พร้อมท้ังส่งเสริมความ
เป็นเลิศอย่างต่อเนื่องในด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ทั้งนี้ควรทำความเข้าใจว่า VISION
ZERO เป็นการเดินทาง เป็นกระบวนการไปสู่อุดมคติ นอกจากนี้ยังเปน็ วิสัยทัศน์ที่อิงคณุ ค่า ซึ่งหมายความ
ว่า งานไม่ควรส่งผลเสียต่อความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ของผู้ปฏิบัติงาน และถ้าเป็นไปได้ ควร
ช่วยเหลือพวกเขาธำรงรักษา หรือปรับปรุงความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ของผู้ปฏิบัติงาน และ
พัฒนาใหผ้ ปู้ ฏบิ ตั ิงานมีความมน่ั ใจในตนเอง มีความสามารถ และใหไ้ ดร้ บั การจ้างงาน

VISION ZERO หรือวิสัยทัศน์ความปลอดภัยสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดในการจัดการอาชีวอ
นามัยและความปลอดภยั ท่ีเปน็ ระบบ โดยการเปล่ียนแปลงจากการตัง้ รบั ไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการป้องกัน
ซึ่งรวมทั้ง 3 มิติของความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และความผาสุก ในทุกระดับงาน VISION ZERO มีความ
ยืดหยุ่นสามารถปรับใช้ได้ตามระดับความสำคัญทีเ่ ฉพาะเจาะจงในด้านความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและ
ความผาสุก เพื่อให้เกิดการป้องกันในบริบทต่างๆ ความยืดหยุ่นของ VISION ZERO นี้จึงมีประโยชน์ต่อ
สถานทท่ี ำงาน สถานประกอบกจิ การ องคก์ รทกุ ขนาด ทกุ ประเภทอตุ สาหกรรมท่ีอยใู่ นทกุ ภมู ภิ าคของโลก

ความมุ่งมั่นอย่างจริงจังต่อ VISION ZERO สามารถทำให้เกิดการริเริ่มและรักษากระบวนการ และ
การสนับสนุนทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการเดินทางของ VISION ZERO ได้ VISION ZERO ไม่ใช่สิ่งที่คุณมี
หรือบรรลุแต่เป็นสิ่งที่คุณต้องทำ VISION ZERO ไม่ใช่สำหรับองค์กรที่ดีที่สุด หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่มี
ผู้เชี่ยวชาญดา้ นประสบการณ์มากนักในการบูรณาการความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ให้เป็นส่วน
หนึง่ ของกลยทุ ธ์ทางธรุ กิจ

ผนู้ ำ (LEADER)

ตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 คำว่า “ผู้นำ” เป็นนามหมายถึง “หัวหน้า” ผู้นำ
เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จของสถานประกอบกิจการหรือองค์กร เพราะผู้นำมี
ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงที่ต้องวางแผนงาน สั่งการ ดูแล และควบคุมให้บุคลากรในสถาน
ประกอบกจิ การหรือองค์กรของตนปฏิบตั ิงานตามบทบาทหน้าท่ีท่ีได้รบั มอบหมายให้ประสบความสำเรจ็

ผู้นำเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อผู้อื่นในการชี้นำ ดลใจ หรือกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตาม เกิด
ความผูกพนั กบั งาน ทมุ่ เทความรคู้ วามสามารถ และทำงานสำเรจ็ ตามเป้าหมายขององค์กรท่ีได้วางไว้ร่วมกัน
ด้วยความเตม็ ใจ โดยยดึ หลกั คณุ ธรรม และจริยธรรมในการบริหารจัดการ

24

ผู้บริหารและผู้นำอาจเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ โดยพิจารณาจากคุณลักษณะ
คือ ผู้บริหารจะเกี่ยวข้องกับงานเดิมที่ทำเป็นประจำ และจุดมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่าง
ถูกต้อง (do things right) ความมีประสิทธิภาพ (efficiency) ในการใช้ทรัพยากรให้บรรลุจุดหมายของ
องค์กรได้ดี ในขณะที่ ผู้นำจะมุ่งก่อให้เกิดการเปลยี่ นแปลงเชิงนวัตกรรม ในทิศทางที่ถูกต้อง (do the right
things) ความมีประสิทธิผล (effectiveness) และความสามารถจูงใจให้ผู้ปฏิบัติเกิดแรงบันดาลใจใช้
ความสามารถพเิ ศษได้อยา่ งเตม็ ท่ี
ผู้นำแบง่ ออกเป็น 2 ลกั ษณะทแ่ี ตกต่างกนั คือ

1) ผู้นำแห่งการจัดการ (transactional leader) หมายถึง ผู้นำที่จูงใจให้ผู้ใต้บังคับบญั ชาปฏิบัติงาน
ในระดับที่คาดหวัง โดยให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในงาน ความชัดเจนในจุดหมายการทำงาน ความ
มั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุจุดหมายที่ต้องการ ให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการ และ
รางวลั ท่จี ะไดร้ บั การตอบสนองกับการทำงานใหบ้ รรลผุ ลสำเร็จ

2) ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (transformational leader) เป็นผู้จูงใจให้บุคคลปฏิบัติงานเกินกว่า
ความคาดหวังตามปกติ มุ่งไปที่ภารกิจงานอย่างกว้าง ๆ ด้วยความสนใจที่เกิดขึ้นภายในตน มุ่งบรรลุความ
ต้องการในระดับสูง เช่น ความสำเร็จของงาน มากกว่าความต้องการในระดับต่ำ เช่น ความปลอดภัย หรือ
ความมั่นคง และทำให้พวกเขามีความม่ันใจในการที่จะใช้ความสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จใน
ภารกิจที่เกินปกตินั้น การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มาแทนที่การเป็นผู้นำแห่งการจัดการ แต่จะ
ช่วยเสรมิ หรือกอ่ ใหเ้ กิดผลทเ่ี พิม่ ข้ึน (add-on effect) จากการเป็นผ้นู ำแหง่ การจดั การ

25

ภาวะความเป็นผนู้ ำ (LEADERSHIP)
ภาวะผู้นำ หมายถึงความสามารถของบุคคลในการนำพาผู้ติดตามหรือสมาชิกในองค์กรให้ประสบ

ความสำเร็จ ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่ดี สามารถสร้าง และสื่อสารวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนได้
และสามารถชักจงู ผตู้ ิดตามไปสู่เปา้ หมายร่วมที่ผนู้ ำคนเดียวไม่สามารถทำได้

ทด่ี ตี อ้ งมคี วามมน่ั ใจ รบั ฟังความคิดเห็นของผู้ตดิ ตาม ตัดสนิ ใจไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ มีทักษะในการ
สื่อสารสูง และสามารถชักจูงผู้อื่นได้ ความสำคัญของทักษะเหล่านี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์กร
ความคาดหวงั ของผู้ติดตาม และชนดิ ของงานด้วย

แนวคิดจากบทความของจิม คอลลินส์ เรื่องชัยชนะแห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน และการแก้ไขความ
รนุ แรง ได้จัดลำดบั ช้นั ของผู้นำไว้ 5 ระดบั
ระดับท่ี 1 บุคคลท่มี คี วามสามารถสงู (Highly Capable Individual)

ทำใหเ้ กิดผลงานท่ีมีประสิทธภิ าพดว้ ยความสามารถ ความรู้ ทักษะ และนิสยั การทำงานที่ดี
ระดับท่ี 2 สมาชิกทีมทีส่ รา้ งผลงาน (Contributing Team Member)

มีส่วนช่วยในการบรรลวุ ตั ถุประสงค์ของกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพในการจัดต้งั กลุ่ม
ระดับที่ 3 ผจู้ ดั การทมี่ คี วามร้คู วามสามารถ (Competent Manager)

จัดระเบียบคนและทรัพยากรไปสู่ประสิทธิภาพ การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ล่วงหนา้ อย่างมีประสิทธผิ ล

26

ระดบั ท่ี 4 ผู้นำท่ีมปี ระสทิ ธภิ าพ (Effective Leader)
กระตุ้นใหเ้ กิดความมุ่งม่ันและจริงจังในการดำเนนิ การของวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและผูกมัด กระตุ้นกลุ่ม

นำไปสู่มาตรฐานสมรรถนะสูง
ระดับที่ 5 ผบู้ ริหารระดับ 5 (Level 5 Executive)

สร้างความยิ่งใหญ่ที่ยืนยง สามารถผสมผสานความขัดแย้งกัน ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและ
ปณิธานในวิชาชพี

แนวปฏิบตั ิ VISION ZERO

การปรับปรุงด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการ ไม่ได้หมายถึงการต้อง
เพิ่มคา่ ใชจ้ า่ ยเสมอไป ส่งิ สำคัญคือการท่ีนายจา้ ง ผู้บรหิ ารหรือผ้นู ำองค์กรมีความตระหนักและจิตสำนึกของ
ความเปน็ ผู้นำสม่ำเสมอตลอดเวลา สรา้ งบรรยากาศของความไวเ้ นื้อเชือ่ ใจกนั มีการสอ่ื สารอยา่ งเปิดเผยทุก
ระดับภายในองค์กร การนำกลยุทธ์เชิงป้องกันของ VISION ZERO ไปดำเนินการสู่การปฏิบัติต้องการการมี
ส่วนร่วมจากบุคลากรในองค์กรอย่างมากมายทุกระดับ ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำ VISION
ZERO ไปใช้พิจารณาไดจ้ ากนายจ้าง ผู้บรหิ าร หรือผู้นำองคก์ ร

เพื่อสนับสนุนให้นายจ้าง ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กรสามารถปรับปรุงด้านความปลอดภัย และสุขภาพ
อนามัยในสถานประกอบกิจการตามแนวทาง VISION ZERO หน่วยงาน ISSA ได้มีการสำรวจและสอบถาม
เกี่ยวกับวิธีการปฏิบตั ิที่ดีที่สุด กลุ่มนายจ้าง ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกัน ผู้แทน
ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน รวมกว่า 1,000 ราย ซึ่งผลการวจิ ัยนี้ได้นำมาสูก่ ารพัฒนาเครื่องมือการ
บริหารเชิงปฏิบัติขึ้นเพื่อใช้ในการเสริมสร้าง VISION ZERO ในรูปแบบของกฎทอง 7 ประการ (7 Golden
Rules)

ทำไมต้องเรียกว่า “กฎทอง” (Golden Rules) เพราะ “กฎ” คือความจริงที่แน่แท้แน่นอน และที่ใช้
“ทอง” ก็เพอื่ มาเน้นว่ามีคุณค่ามาก เป็นความจรงิ ทีท่ รงคณุ ค่า เปน็ “กฎของคุณธรรม” (Mindset) ท่ีต้องมี
เพอ่ื ตวั เอง ครอบครวั เพือ่ นร่วมงาน และสงั คมโดยรวม กำหนดเปน็ วสิ ยั ทศั น์ส่วนตน

การใช้แนวปฏิบตั ติ ามรปู แบบกฎทอง 7 ประการ

กฎทองแต่ละข้อในแนวปฏิบัตินี้มีคำอธิบายภาพรวมโดยย่อ และลำดับชุดของหลักการ รวมถึง
คำแนะนำกิจกรรมหรือวิธีดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในแต่ละเรื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการนำ VISION ZERO ไป
ประยุกต์ใช้หรือบูรณาการในปฏิบัติการ ซึ่งทำให้สามารถทราบได้ว่าแนวปฏิบัติในกฎทอง 7 ประการข้อ
ใดบ้างที่ได้ดำเนินการแล้วในสถานประกอบกิจการของท่านในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข
หรือยงั สามารถปรบั ปรงุ เพ่มิ เตมิ ได้อีก หรือไม่

27

กฎทองขอ้ ท่ี 1 : มคี วามเปน็ ผู้นำ - แสดงใหเ้ หน็ ถึงความมุ่งมัน่
เป็นผูน้ ำและแสดงให้เหน็ การที่ทา่ นทำตัวเปน็ ผู้นำนนั้ คือ การชขี้ าดความสำเร็จ หรอื ความล้มเหลวเร่ือง
ความปลอดภยั และสุขภาพอนามยั ให้แกอ่ งคก์ รของทา่ น

1.1 ข้าพเจ้า (ในฐานะผู้บริหาร) ได้แสดงให้ผู้ปฏบิ ัติงานภายใตก้ ารบังคบั บัญชาของข้าพเจ้า ได้เห็นถึงความ
เป็นผู้นำของข้าพเจ้าในด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย โดยข้าพเจ้าได้มีการวางมาตรฐานและ
ขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย และได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้ร่วมงานทุกระดับของ
ข้าพเจ้า

1.1.1 ข้าพเจ้ามีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานของ
ข้าพเจ้า ซง่ึ ข้าพเจ้าตระหนักดใี นเรือ่ งนี้ และพรอ้ มรบั หน้าท่คี วามรับผิดชอบดงั กล่าว

ผู้บริหารแสดงความมุ่งมั่นในความรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการความปลอดภัย สุขอนามัย และ
สภาพแวดลอ้ มในการทำงานของผู้ปฏบิ ตั งิ าน (ลูกจา้ งหรอื คนทำงาน) เพื่อใหท้ ำงานดว้ ยความปลอดภัย และ
มสี ุขอนามยั ที่ดี ตัวอยา่ งเชน่

• กำหนดหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยในการทำงานของพนักงานทุก
ระดับ ตั้งแต่ผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัตงิ าน ไว้ในระเบียบปฏิบัติ ข้อปฏิบัติงาน หรือ
ข้อบังคับขององค์กร หรือหนว่ ยงาน

• อำนวยการ หรอื จัดการใหส้ ถานทท่ี ำงาน หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานให้
มีความปลอดภัยเหมาะสมตอ่ การทำงาน

• จัดสรร และสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ในการบริหารงานด้านความปลอดภัยของหน่วยงาน
เพียงพอ และเหมาะสมท้ังดา้ นบุคลากร เทคโนโลยี งบประมาณ และอุปกรณ์เครื่องมอื

• ทบทวนผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงานกับผู้ปฏิบัติงาน
ในหน่วยงานเปน็ ประจำ และสนบั สนนุ ให้มกี ารปรับปรุงอย่างตอ่ เน่ือง

1.1.2 ข้าพเจ้าได้จัดทำเป้าประสงค์ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (รวมถึงพันธกิจ และ
หลักการตา่ ง ๆ ท่ีเกย่ี วข้อง) สำหรบั หนว่ ยงานของข้าพเจา้ และส่ือสารให้ผู้ปฏิบตั งิ านรับทราบ

ตวั อย่างการดำเนินการของผ้บู รหิ าร ดังน้ี
• กำหนดเรื่องความปลอดภัย และอาชีวอนามัยไว้ในวิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือนโยบายของ
องค์กร หรอื หน่วยงาน
• ตั้งวัตถุประสงค์/เป้าหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยขององค์กรหรือหน่วยงานท่ี
ชัดเจนและวัดผลได้ เช่น จำนวนกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ จำนวนการรายงาน
อุบัติการณ์เพิ่มขึ้น 5% ทุกไตรมาส ลดจำนวนรายของอุบัติเหตุทุกกรณี หรือลดจำนวนราย
ของอุบัติเหตุขั้นหยุดงานลง 10% เทียบกับปีก่อนหน้า รายการแก้ไขปรับปรุงทุกกรณีเสร็จ
สมบรู ณ์ตามกำหนด เป็นตน้

28

• ได้มีการสื่อสารวัตถุประสงค์/เป้าหมายด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยขององค์กร หรือ
หนว่ ยงานให้ผู้ปฏบิ ัติงานและ/หรือผู้เกีย่ วข้องทุกคนในหน่วยงานไดร้ ับทราบโดยช่องทางต่าง ๆ
เชน่ กระดานขา่ ว บอร์ดประชาสมั พนั ธ์ เว็บไซต์ การประชมุ พนักงานประจำไตรมาส ฯลฯ

1.1.3 ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าถือว่าสำคัญและต้องมาก่อนเรื่องอ่ืน
เสมอ กรณที ไี่ มแ่ น่ใจวา่ มีความปลอดภยั หรือไม่ ข้าพเจ้าจะบอกว่า "หยุด" (จนกว่าจะมีการตรวจสอบก่อนที่
จะดำเนินการต่อไป) สถานประกอบกิจการมีข้อกำหนดการรายงานสภาพไม่ปลอดภัย หรือให้ผู้ปฏิบัติงาน
หยุดการทำงานได้ถ้าไม่ปลอดภัย จนกว่ามีการปรับปรุง หรือตรวจสอบ มีป้ายห้าม หรือกิจกรรม “หยุด
เรยี ก รอ” หรือ “Stop and Think” หรอื 4 Stops เปน็ ต้น

ผู้บริหาร หรือหัวหน้างานหยุด หรือสั่งให้หยุดปฏิบัติงานนั้น ๆ ทันทีเมื่อพบเหตุการณ์ต่อไปนี้
ถงึ แม้ว่าการสงั่ หยุดงานอาจทำใหก้ ารผลิตลา่ ชา้ กต็ าม ตวั อยา่ งเชน่

• สั่งให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานโดยไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามท่ี
กำหนดในขณะทำงานอันตราย หยุดทำงานจนกว่าจะปฏิบตั ถิ ูกตอ้ ง

• อปุ กรณ์เครอื่ งมือในการทำงานของผู้ปฏบิ ตั ิงานอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย ชำรดุ สกึ หรอ หรือไมไ่ ด้
คณุ ภาพ หรือการใชผ้ ิดประเภท ผิดวธิ ี

• ผปู้ ฏิบัตงิ านฝา่ ฝนื กฎความปลอดภยั ในการทำงาน กฎระเบียบการทำงาน หรือไม่ปฏิบัติตาม
วิธกี ารทำงานท่ีถกู ตอ้ ง

• ผ้ปู ฏบิ ัติงานหยอกลอ้ เลน่ กันขณะทำงาน หรอื ทำงานลดั ข้นั ตอน
• สขุ ภาพร่างกายของผปู้ ฏิบัติงานไม่ปกติ หรอื เจบ็ ป่วย
• สิง่ แวดลอ้ มในการทำงานไม่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย

1.1.4 ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยเป็นเรื่องที่อยู่ในวาระแรกของการประชุม (ที่เกี่ยวกับการ
ปฏิบัติงาน) ในที่ทำงานของขา้ พเจ้าเสมอ ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยเป็นเรือ่ งที่อยู่ในวาระของการ
ประชุม หรือการคยุ พดู กัน ตัวอยา่ งเช่น

• การกำหนดให้หรือบรรจุประเด็นความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงานเป็นวาระ
แรกในการประชุม/การพดู คยุ ขององค์กร หรือหน่วยงาน

• การแจ้ง ชี้แจง หรือสื่อสารข้อมูลข่าวสาร กฎระเบียบ ข้อบังคับเรื่องความปลอดภัย ฯ ของ
องคก์ ร หรือหนว่ ยงานในทปี่ ระชุมผูเ้ กยี่ วข้องทง้ั ภายใน และภายนอกก่อนเร่มิ ประชุมเสมอ

• การทบทวน หรือพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภยั และการดูแลสุขภาพอนามัยในการ
ทำงานก่อนเริ่มงาน หรือเรมิ่ ประชุมภายในหนว่ ยงาน

• การเปิดหรือฉายวิดีโอความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงานก่อนเริ่มประชุมวาระ
อนื่ ของหน่วยงาน

29

1.1.5 ข้าพเจ้าตระหนักดีว่า ขา้ พเจ้าตอ้ งทำตัวใหเ้ ปน็ แบบอยา่ งที่ดี ข้าพเจา้ จึงปฏิบัติตามกฎระเบียบ
และใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนด เมื่อข้าพเจ้าเห็นว่ามีการกระทำใดที่ไม่
ปลอดภัย ขา้ พเจ้าจะเขา้ ไปดำเนนิ การเก่ียวกับการกระทำนนั้ ทนั ที และพูดกบั ผทู้ ่เี กย่ี วข้องผ้บู ริหารประพฤติ
และปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ หรือเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของสถานประกอบกิจการ
องค์กรหรอื หน่วยงาน ตวั อยา่ งเช่น

• ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน และข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
อย่างเคร่งครัด

• แสดงความเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานโดยพิจารณาเรื่องความ
ปลอดภยั ฯ ผนวกเปน็ ส่วนหน่งึ ของปฏบิ ัตกิ ารทำงาน

• ตรวจสอบสภาพก่อนการสวมใส่ และสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยทุกครั้งเมื่อเข้า
ไปในสถานท่ที ำงานทีก่ ำหนดใหส้ วมใส่

• ตรวจตรา และตรวจสอบความปลอดภัยในสถานท่ีทำงาน และสั่งหยดุ งาน ตักเตือน แนะนำ
หากพบผปู้ ฏิบัติกระทำไมป่ ลอดภยั

• ดำเนินการทันทที ่พี บสภาพแวดล้อม หรอื การกระทำท่ีไมป่ ลอดภยั

1.1.6 ข้าพเจ้าเข้าร่วมในทุกโอกาสที่มีการอบรมเรื่องความปลอดภัย และอาชีวอนามัยสำหรับผู้นำ
และผู้ปฏิบัติงานระดับบริหาร เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่ในปัจจุบันผู้บริหาร หรือผู้นำได้เข้ารับการ
อบรมด้านความปลอดภยั อาชีวอนามยั ท่เี กีย่ วข้องทุกครงั้ ท่ีมีโอกาส ในรปู แบบต่าง ๆ ได้แก่ การสัมมนา การ
เรียนบนระบบออนไลน์ การอบรมในช้นั เรยี น เปน็ ต้น ตัวอย่างเชน่

• การอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมาย เช่น การอบรมหลักสูตร
เจ้าหน้าท่ี ความปลอดภัยในการทำงานระดบั บริหาร หลักสูตรการป้องกนั และระงับอคั คีภยั
ฯลฯ

• การฟังบรรยายความรู้หรือร่วมสัมมนาเกี่ยวกับความปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงาน
ในโอกาสต่าง ๆ

• การอบรมหลักสูตรอื่น ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย สุขอนามัย และ
ส่งิ แวดล้อมในการทำงาน

• การอบรมมาตรฐานแรงงานไทย ระบบการบริหารจดั การความปลอดภยั และอาชีวอนามัย

กฎหมายข้อบงั คับท่เี กย่ี วข้อง กฎเกณฑ์หรือจรรยาบรรณทางธุรกิจ เป็นต้น

1.2 ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยเป็นเรื่องที่รับทราบโดยผู้ปฏบิ ัติงานทุกคนของ
ขา้ พเจา้ และเรามีการพดู คุยเก่ยี วกับเรือ่ งนกี้ นั อย่างเปิดเผย

1.2.1 สถานประกอบกิจการของเรามีกฎระเบยี บ ข้อบงั คับดา้ นความปลอดภัยในการทำงานท่ีชัดเจน
เพอื่ ให้ ผปู้ ฏิบัติงานทุกคนทำงานได้อยา่ งปลอดภัย จดั ให้มเี อกสารกฎระเบยี บ ข้อบงั คับด้านความปลอดภัย
ในการทำงาน เรอื่ งตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่

• ระเบยี บปฏบิ ตั ิมาตรฐานความปลอดภยั ในการทำงาน (Standard Operating Procedure

30

หรือ SOP) เช่น โปรแกรมการบริหารความปลอดภัย สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการ
ทำงาน ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ
เคร่ืองจกั ร ความปลอดภยั ในการทำงานยกย้ายด้วยรถยก เครื่องจักรหนกั เปน็ ต้น

• คู่มือปฏิบัติการในการทำงาน (Process Instruction หรือ PI) หรือ (Work Instruction
หรือ WI) เช่น คมู่ ือการบำรงุ รักษาเครอ่ื งจกั ร คู่มอื การทำความสะอาดชนิ้ งาน คู่มอื การบรรจุ
ผลติ ภัณฑ์

• ข้อบงั คับการทำงาน (Work Rule & Regulation)
• วธิ ปี ฏบิ ัติงาน (Work Practices)

ผู้ปฏิบัติงานรับทราบระเบียบปฏิบัติมาตรฐาน คู่มือปฏิบัติงาน ข้อบังคับการทำงาน หรือวิธีการ
ทำงาน โดยช่องทางการอบรม การสอนงาน การสื่อสาร การติดบอร์ด การติดที่บริเวณทำงาน
และอน่ื ๆ

1.2.2 ข้าพเจ้าทำให้แน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนรับทราบกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านความปลอดภัยใน
การทำงานในสถานที่แห่งนี้ สถานประกอบกิจการจัดทำระบบจัดการหรือบันทึกสิ่งที่ดำเนินการ เพื่อช่วย
ตรวจสอบภายในองค์กร หรือหนว่ ยงาน ตัวอย่างเช่น

• บันทึกหลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน
สำหรบั พนักงานใหมห่ รือพนักงานทเี่ ปลย่ี นงาน

• บันทึกการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเรื่อง
อื่นๆ

• บนั ทึกที่ผปู้ ฏบิ ัตงิ านลงลายมอื ชื่อรบั ทราบคำชีแ้ จงหรอื คำสัง่
• บันทึกการลงลายมอื ชอื่ ของผปู้ ฏิบตั ิงานเมื่อมีการสอนงาน (On the Job Training)

1.2.3 ข้าพเจ้ามีการพดู คยุ เก่ยี วกับเรอื่ งความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยกบั ผูป้ ฏบิ ัติงานของขา้ พเจ้า
สถานประกอบกิจการจดั ทำโครงการหรือกิจกรรมในการพบปะ พูดคยุ ประชุม กับผ้ปู ฏบิ ตั ิงาน เพื่อทบทวน
และแลกเปลยี่ นความคิดเห็น

• การพูดคุยเรื่องความปลอดภัยฯ ในการทบทวนประจำวันก่อนเริ่มงาน (Daily Brief,
Toolbox Talks)

• การสอ่ื สารกิจกรรม หรอื ข้อมลู จากการประชมุ ของคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ
• การสื่อสาร แลกเปลี่ยน แบ่งปัน ข้อมูลหรือประสบการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย ฯ ที่

เกย่ี วข้องกับผปู้ ฏิบัตงิ าน (Learn & Share)
• การแจ้งข้อมูลข่าวสาร และการรับฟังความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ฯ ภายใน

องค์กร หรือหน่วยงานกับผู้ปฏิบัติงาน หรือการพบปะพูดคุยกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจอยู่ใน
รปู แบบทง้ั ทเี่ ปน็ ทางการ และที่ไมเ่ ปน็ ทางการกไ็ ด้

31

1.2.4 ผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้าทราบเสมอว่า ใครบ้างที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการ
ทำงาน สถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงาน มีการสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงกำหนดหน้าท่ี
รับผดิ ชอบงาน และการมอบหมายงานดา้ นความปลอดภัยในงานแตล่ ะดา้ น ตัวอย่างเช่น

• ระบคุ วามรบั ผิดชอบด้านความปลอดภัยไว้ในงานภาระหน้าท่ีเรอ่ื งที่เก่ยี วข้องในการทำงาน
• ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ทำหน้าที่ และรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานของตนเอง

ตามทไ่ี ดร้ ับมอบหมาย
• ผู้ปฏิบัติงานทราบว่าใครเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ มีหน้าที่รับผิดชอบอะไร บน

กระดานขา่ ว
1.2.5 ข้าพเจ้าติดตามความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้า เพื่อดูว่าข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่สมกับ
บทบาทของ การเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ผู้บริหารต้องใจกว้างมากพอใน
การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงาน (Openness) โดยใชว้ ิธกี ารหรอื ช่องทางตา่ งๆ ตวั อย่าง เชน่

• การสอบถามความคิดเหน็ จากผู้ปฏบิ ัติงานโดยตรง (Direct interview)
• การเปิดใหแ้ สดงความคิดเห็นอยา่ งกว้างขวาง (Open discussion)
• การใหผ้ ้ปู ฏิบัตงิ านทำแบบสำรวจความคิดเหน็ (Survey)
• การสงั เกตพฤตกิ รรมการลอกเลยี นแบบของผ้ปู ฏิบัตงิ าน (Behavior Observation)
1.3 ขา้ พเจา้ ปฏิบัตติ นอย่างสม่ำเสมอ และแสดงใหท้ ุกคนได้เหน็ ว่าความปลอดภยั และสุขภาพอนามัยในการ
ทำงานเป็นเรือ่ งท่มี คี วามสำคญั
1.3.1 ก่อนที่บุคลากรใดในสถานประกอบกิจการของข้าพเจ้าจะเข้ารับตำแหน่งผู้บังคับบัญชา ต้อง
ผ่านการอบรมเกี่ยวกับความเป็นผู้นำในด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยด้วย สถานประกอบการ
กำหนดเป็นนโยบายหรือมาตรฝึกอบรมหลักสูตรตา่ งๆ สำหรับผู้นำหรือผู้บริหาร โดยมีหลักสูตรการบริหาร
จัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เป็นหลักสูตรฝึกอบรมที่จำเป็น (Training needs) เพื่อ
เตรียมพรอ้ มสำหรับการรบั ตำแหนง่ ที่สงู ขึน้ ตวั อย่าง
• ความรู้เบื้องต้นเกีย่ วกบั การบริหารจดั การความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงาน
• หลกั สูตรเจา้ หน้าทค่ี วามปลอดภัยในการทำงานระดบั หัวหนา้ งาน หรือระดบั บรหิ าร
• ข้อกำหนดในการบริหารจัดการความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ

องค์กรหรอื หนว่ ยงาน
• การอบรมระบบมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงาน

เชน่ ISO45001 มาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001) เป็นตน้

32

1.3.2 ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหารของข้าพเจ้าทุกคนทราบดีว่า ข้าพเจ้าให้ความสำคัญในเรื่อง
ความปลอดภัย ในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหารรวมทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกคน
ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานด้านความปลอดภยั ในการทำงานอย่างเทา่ เทียมกันโดย
ไม่มียกเว้น

สถานประกอบกจิ การ องค์กร หรือหนว่ ยงาน มีนโยบาย ระเบยี บปฏบิ ตั ิ หรือกฎระเบียบใน
เร่ืองความเสมอภาคหรือความเทา่ เทียมของพนักงานทุกคนทุกระดับในเร่ืองข้อปฏบิ ัตติ า่ ง ๆ

• ประกาศนโยบายหรือระเบียบข้อบังคับในการทำงานชัดเจนใน เรื่องการปฏิบัติตาม
กฎระเบียบดา้ นความปลอดภัย และอนามัยในการทำงาน

• บันทึกการลงลายมือชื่อรับทราบนโยบาย หรือกฎระเบียบในเรื่องความปลอดภัย และ
สขุ อนามยั ในการทำงาน

• การสังเกตพฤติกรรมผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นระดับบริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ
ความปลอดภัย และสุขอนามัยในหนว่ ยงานของตนเอง

• ไม่มีข้อร้องเรียนจากผู้ปฏิบัติในเรื่องการเลือกปฏิบัติของผู้บริหารในสถานประกอบกิจการ
องค์กร หรอื หนว่ ยงาน

1.3.3 ข้าพเจ้ายกย่องชมเชยการกระทำที่ปลอดภัย และว่ากล่าวตักเตือนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย
อย่างสม่ำเสมอ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับการไม่ปฏบิ ัติตามกฎระเบียบ/ข้อบังคับเรื่องความปลอดภัย หรือความไม่
เป็นระเบียบในสถานที่ทำงานของข้าพเจ้า สถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงาน มีนโยบายหรือ
โครงการในการยกย่องชมเชยผู้ปฏิบัติงานที่ทำดี มีการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน และกำหนด
บทลงโทษผทู้ ีล่ ะเลยตอ่ กฎระเบยี บหรือขอ้ บังคบั วา่ ดว้ ยความปลอดภัยในการทำงาน

• ใหก้ ารชมเชยผู้ปฏบิ ัตงิ านที่ประพฤติปฏบิ ัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงานเป็น
วาจาทั้งต่อหน้า และลับหลังบุคคลอื่น การติดประกาศเกียรติคุณ หรือการให้รางวัล เพ่ือ
แสดงความขอบคณุ ผ้ปู ฏิบตั ิงานทสี่ ่งเสรมิ ความปลอดภัยในการทำงานเปน็ ประจำ

• การให้หยุดพฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับเรื่องความปลอดภัยของ
ผ้ปู ฏบิ ัติงาน และบอกกลา่ วตักเตอื นเพอ่ื การปรบั ปรงุ ทกุ คร้ังทพี่ บ

1.3.4 ข้าพเจ้าให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้รับเหมา/คู่สัญญาด้วยมี
นโยบายด้านความปลอดภยั และอาชวี อนามยั ในการทำงานครอบคลุมถึงผรู้ ับเหมา คู่ค้า ผู้จดั จำหน่าย และ
ลกู คา้ หรือดำเนนิ การข้อหน่ึงข้อใดหรือหลายข้อดงั ต่อไปนี้

• มกี ฎระเบียบหรือข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับผูร้ บั เหมา ลกู คา้ และผ้มู าเยยี่ มเยยี น

• มีการสื่อสาร ปฐมนิเทศ ชี้แจง หรือแจ้งเกี่ยวกับความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการ
ทำงานให้แก่ ผรู้ ับเหมา ลูกค้า และผมู้ าเยย่ี มเยยี นให้รบั ทราบ

• มีการกำกับดูแลความปลอดภัยในการทำงานของผู้รับเหมาเช่นเดียวกับผู้ปฏิบัติงานของ
สถานประกอบกจิ การ องคก์ ร หรอื หนว่ ยงาน

• มรี ะเบียบปฏบิ ตั ิเกี่ยวกับความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงานของผู้รับเหมา

33

1.4 ข้าพเจา้ ลงทุนเรื่องความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามัยในสว่ นของการปฏิบัตกิ าร
1.4.1 ผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้าได้รับเวลาอย่างเพียงพอ เพื่อปฏิบัติงานได้อย่างระมัดระวัง

และปลอดภยั
สถานประกอบกิจการมกี ารดำเนนิ การเพื่อให้พนกั งานทำงานในเวลาทีเ่ หมาะสม ตวั อย่างเช่น

• มีการจัดลักษณะงาน ชั่วโมงการทำงาน และเวลาพักระหว่างการทำงานอย่างเหมาะสมกับ
ผ้ปู ฏบิ ัตงิ าน

• มีการคำนวณจำนวนชิ้นงานต่อบุคคลท่สี มเหตุสมผล ไม่มากเกินไปจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้อง
เรง่ รีบทำผลงาน

• มีการออกแบบวิธีการทำงานและขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสม สอดคล้องกับผลการ
ประเมนิ ความเสี่ยง

• จัดการไหลของงาน (work flow) ทีด่ ี ทำให้ผ้ปู ฏิบตั ิงานมีความคล่องตวั และจัดพื้นท่ีในการ
ทำงานให้เคลอ่ื นไหวไดค้ ลอ่ ง และสอดคล้องกับการไหลของงาน

1.4.2 ผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้าทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของเขาที่สามารถหยุดทำงานได้ ถ้าหากว่าไม่
สามารถทำงานนนั้ ไดอ้ ยา่ งปลอดภยั

สถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงาน มีการประกาศสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
และสอ่ื สารผ่านส่ือต่าง ๆ และเพอื่ ใหแ้ นใ่ จวา่ ผู้ปฏบิ ัติงานได้รับทราบ สามารถตรวจสอบได้จากชอ่ งทาง ดงั น้ี

• บันทึกการรับทราบสิทธิ และหน้าที่ของนายจ้าง และลูกจ้างขององค์กร หรือหน่วยงาน
เพอ่ื ให้แน่ใจวา่ ผปู้ ฏบิ ัตงิ านได้รบั ทราบแล้ว

• การพูดคุย หรอื สอบถามผู้ปฏบิ ัติงาน

• ผู้ปฏิบัติงานปฏิเสธการทำงาน กรณีที่ผู้บริหารหรอื หัวหน้างานมอบหมายงานที่อาจเสี่ยงตอ่
อันตราย มีการดำเนินการแก้ไขปรับปรุง และมีมาตรการความปลอดภัยก่อนให้ลงมือ
ปฏบิ ัติงาน

1.4.3 ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานระดับบริหารทุกคนทำการตรวจสอบเป็นประจำว่าได้มีการปฏิบัติ
ตามขั้นตอนที่ปลอดภัยแล้ว เช่น ในช่วงที่มีการตรวจตรา หรือการตรวจประเมินความปลอดภัย และการ
ตรวจประเมนิ ข้ามสายงาน ตามหลักการของการควบคุมแบบคู่กัน (ที่มวี ตั ถุประสงค์เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
ปัจจบุ นั และเรียนรู้สงิ่ ใหม่เพอ่ื ทำการปอ้ งกนั ดว้ ยกัน)

สถานประกอบกิจการ องค์กรหรือหน่วยงานจัดทำแผนตรวจสอบความปลอดภัย และตรวจประเมิน
ความปลอดภัย และได้ดำเนินการตามแผนงาน ดงั นี้

• มีการเดินตรวจตราความปลอดภยั ในพ้นื ท่ีทำงานร่วมกนั ของผูบ้ ริหารสูงสดุ และหวั หน้า
หนว่ ยงานสว่ นต่าง ๆ เปน็ ประจำ (อาจเปน็ รายสัปดาห์ หรือรายเดอื น) และดำเนนิ การ
แกไ้ ขปรับปรงุ หรอื กำหนดมาตรการความปลอดภัยร่วมกัน

• มีการตรวจประเมินตามข้อกำหนดความปลอดภัย ฯ ร่วมกันระหว่างผู้บริหารสูงสุด และ
หัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่ของหัวหน้าหน่วยงานคนอื่น (ข้ามสายงาน) และดำเนินการ
ปรบั ปรุงร่วมกนั

34

• มีการตรวจตราสภาพการทำงาน และการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร
สูงสุด และผูบ้ รหิ ารหนว่ ยงานทุกหน่วยงาน

• การสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงาน และแก้ไขปรับปรุงรว่ มกันหากพบปัญหา

1.4.4 ข้าพเจ้าทำให้แน่ใจว่า ได้มีการจัดให้มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และมาตรการต่าง ๆ
รวมถึงงบประมาณอยา่ งเพยี งพอในเรอ่ื งความปลอดภยั และสุขภาพอนามยั

ผู้บริหารสถานประกอบกิจการ หรือหัวหน้าหน่วยงาน ได้จัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม และ
เพยี งพอต่อการบรหิ ารจัดการความปลอดภัย และอาชวี อนามัยในการทำงานครอบคลุมด้านตา่ ง ๆ ดังน้ี

• ด้านบุคลากร มีการจัดสรรจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่เพียงพอต่อปฏิบัติการของหน่วยงาน การ
จัดต้ังคณะทำงานด้านความปลอดภยั ฯ (เชน่ คณะกรรมการความปลอดภยั ฯ ทมี ปฏิบัติการ
ฉุกเฉนิ ฯลฯ) และมอบหมายหนา้

• กำหนดระเบียบปฏิบัติงาน ขั้นตอนหรือวิธีการทำงาน เช่น การติดป้าย และล็อคอุปกรณ์
ไฟฟ้าความปลอดภยั ในการทำงานกบั สารเคมี ขอ้ กำหนดในการขับรถโฟลค์ ลิฟท์ เปน็ ตน้

• อุปกรณ์ เครอ่ื งมอื เครอื่ งจักร ท่ถี กู ตอ้ งเหมาะสมกับงาน มสี ภาพปลอดภยั ต่อการใช้งานและ
จดั ให้ มกี ารบำรงุ รักษา

• เตรียมงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร การจัดฝึกอบรม และการจัด
กจิ กรรมสง่ เสริมความปลอดภยั เปน็ ต้น

• สนบั สนุน และสง่ เสรมิ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และอืน่ ๆ

กฎทองข้อที่ 2 : ชบี้ ง่ อนั ตราย - ควบคุมความเสีย่ ง
การประเมนิ ความเส่ยี ง เปน็ เครอ่ื งมือท่ีจำเปน็ เพื่อใช้ในการชบ้ี ง่ อันตรายและความเสีย่ งในจังหวะเวลา
ท่เี หมาะสม และอยา่ งเป็นระบบ และเพื่อปฏิบตั ิการป้องกันตา่ ง ๆ ได้ ทง้ั อุบัติเหตุ การบาดเจบ็ และ
เหตกุ ารณเ์ กือบเกดิ อุบัติเหตทุ ี่เกดิ ขน้ึ ต้องไดร้ ับการประเมนิ ด้วยเช่นกนั

2.1 ข้าพเจ้าทำให้แน่ใจว่า มีการจัดเตรียมการประเมินความเสี่ยงในสถานที่ทำงานของข้าพเจ้าโดยทำเป็น
เอกสาร และได้รบั การปรบั ปรงุ แกไ้ ขใหท้ ันสมัยเป็นระยะ ๆ อย่างสมำ่ เสมอ

2.1.1 ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหารของข้าพเจ้าทราบดีว่า พวกเขามีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประเมิน
ความเสี่ยงโดยนำเอาความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมดมาพิจารณาสถานประกอบกิจการ
องค์กร หรือหน่วยงานดำเนินกิจกรรมในการชี้บ่งอันตราย และควบคุมความเสี่ยงอันตราย ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

• สถานประกอบกิจการจัดให้มีระเบียบหรือขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงและอันตรายใน
การทำงานครอบคลุมทุกกิจกรรม และดำเนินการตามระเบียบหรือขั้นตอนดังกล่าว โดยมี
การทำบัญชี และบนั ทึกความเสี่ยงของทุกกิจกรรมพร้อมการควบคุมและการดำเนินการเพื่อ
ลดความเสีย่ ง

35

• การประเมินความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นของสถานประกอบกิจการ องค์กรหรือ
หน่วยงานของตนควรครอบคลุมทุกกิจกรรมการทำงาน และผลกระทบทั้งภายในและ
ภายนอกหนว่ ยงาน

• ผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงานทราบว่าหน่วยงานของตนเองมีกระบวนการทำงานอย่างไร
และดำเนินการประเมินความเสี่ยง และอันตรายของแต่ละขั้นตอนการทำงานของทุกงานท่ี
เกีย่ วขอ้ ง และมจี ดั ทำบัญชคี วามเสีย่ งและการควบคมุ อนั ตราย และการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบ

• สถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงานมีการประเมินความเสี่ยง และอันตราย
ครอบคลุมทุกกิจกรรมในครั้งแรก และมีการทบทวนสม่ำเสมอ และมีการประเมินเมื่อมี
กระบวนการทำงานการเปล่ยี นแปลง หรอื เขา้ มาใหม่

2.1.2 ผู้ปฏิบตั ิงานของข้าพเจ้า คณะกรรมการบริหาร เจ้าหน้าที่ดา้ นความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
แพทย์ในสถานที่ทำงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย อื่น ๆ (ถ้ามี) มีส่วนเกี่ยวข้องใน
การประเมนิ ความเสี่ยง

• เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แพทย์ พยาบาล และผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยอื่น ๆ เข้า
ร่วมในการชีบ้ ่งอันตรายและประเมนิ ความเสี่ยงกิจกรรมงานในหนว่ ยงานของตนเอง หรือทำ
ข้ามสายงานครอบคลุมทุกด้าน และร่วมกันทบทวนรายการประเมินความเสี่ยงของ
หนว่ ยงานอน่ื ทั้งหมดขององค์กร

• เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แพทย์ พยาบาล และผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยอื่นๆ มี
ส่วนร่วมให้ คำชี้แนะในการชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ด้านสุข
ศาสตรอ์ ตุ สาหกรรม จติ วทิ ยา ปจั จยั มนุษย์ ฯลฯ

2.1.3 ข้าพเจ้าได้จดั ทำวธิ ีการพนื้ ฐานเพอ่ื เตรียมการประเมินความเส่ียง ดังน้ี:
1. ทำบันทกึ โครงสร้างองคก์ รการจัดการของธรุ กจิ
2. ระบุ และกำหนดลกั ษณะกิจกรรมต่าง ๆ ท่ดี ำเนินการตามโครงสรา้ ง
3. พจิ ารณาสงิ่ ท่ีทำใหเ้ กดิ อันตราย และความเสี่ยงตา่ ง ๆ ทเ่ี กีย่ วข้องกบั กจิ กรรมน้ัน
4. ทำการประเมนิ ส่งิ ทท่ี ำให้เกดิ อนั ตราย และความเสย่ี ง
5. จดั ทำมาตรการปอ้ งกันต่าง ๆ
6. ดำเนินการนำมาตรการปอ้ งกันไปปฏิบัติ
7. ทำการตรวจสอบประสทิ ธิผลของมาตรการปอ้ งกันท่ีนำไปใช้แนวทางต่อไปน้เี ป็นวิธพี ื้นฐานใน
การเตรยี มการประเมินความเสีย่ ง

36

• สถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงานมีขั้นตอนหรือวธิ ีการเพื่อเตรียมการประเมิน
ความเส่ียงดา้ นความปลอดภัยิและอาชวี อนามัย

• จัดการอบรม หรือให้ความร้ใู นการชีบ้ ่ง และประเมินความเสย่ี งด้านความปลอดภยั และอาชีวอนามัย
• มกี ารรวบรวมข้อมูลตอ่ ไปนี้ เพ่อื ใชป้ ระกอบการชบ้ี ่ง และประเมินความเสยี่ ง

- แผนงานและกระบวนการทำงาน รวมถึงระบบท่อและแบบเครื่องจกั ร
- ปัจจยั ปอ้ นเข้า เชน่ ประเภทและปรมิ าณของวัตถดุ ิบ พลังงานไฟฟ้า และน้ำ
- ผลผลิต เช่น ประเภทและปริมาณของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์รอง ของเสีย การปล่อย
อากาศเสยี น้ำเสีย และเสียงรบกวน ฯลฯ
- ขน้ั ตอนการทำงานรวมถงึ วิธกี ารในการจดั เก็บ เคลื่อนย้าย และการจัดการวสั ดุ สารเคมี
เปน็ ต้น
- ข้อมูลอื่น ๆ เช่น สถิติอุบัติการณ์/อุบัติเหตุ ข้อที่ไม่ปฏิบัติตาม ข้อมูลการหยุดงาน เป็น
ตน้
- คู่มอื การใชง้ าน หรือคมู่ ือปฏิบัตงิ านกับเคร่อื งจักร
- ข้อมูลความปลอดภยั ของสารเคมี
- ข้อมลู การตรวจวดั หรือเฝ้าระวงั ด้านความปลอดภยั และอาชีวอนามยั
• ในการประเมนิ ความเสย่ี งคำนึงถึงหลกั เกณฑ์ โอกาสที่จะเกิดขึ้น ความรนุ แรง ข้อกฎหมาย
และผลกระทบตอ่ ธุรกิจ

2.1.4 งานบำรงุ รักษา งานดูแลทำความสะอาด งานซอ่ มแซม งานของผูท้ ่ีมารับเหมา และข้นั ตอนการ
ดำเนินงาน ในกรณีเหตุฉุกเฉินจากงานดังกล่าวต่าง ๆ ได้ถูกนำมาพิจารณาในการประเมินความเสี่ยงด้วย
เง่อื นไข หรือสภาวะท่ีจะตอ้ งทำการช้บี ่ง และประเมนิ ความเสย่ี งด้านความปลอดภัย และอาชวี อนามัย

ครอบคลุมเร่อื งต่าง ๆ ดังน้ี
• กิจกรรมงานทุกชนิดที่ทำประจำวัน หรือไม่ได้ทำเป็นประจำ เช่น งานบำรุงรักษา งาน
ซอ่ มแซม งานทำสะอาด เป็นตน้
• กิจกรรมของบุคคลทั้งหมด (ผู้รับเหมา ผู้เยี่ยมเยือน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ) ที่เข้าไปใน
สถานทที่ ำงาน
• พฤติกรรมมนษุ ย์ ความสามารถ และปัจจัยมนุษย์อืน่ ๆ
• อันตรายที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกสถานที่ทำงานที่สามารถส่งผลกระทบต่อความ
ปลอดภยั และสุขภาพของบคุ คลภายใตก้ ารควบคมุ ของหน่วยงานภายในสถานทที่ ำงาน

• โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุภายในสถานที่ทำงาน การเปลี่ยนแปลง/การ
ปรบั เปล่ียนองค์กร กจิ กรรม วัตถุดิบ ผลติ ภณั ฑ์ ฯลฯ

• ภาวะปกตแิ ละสภาวะเมื่อเกดิ เหตฉุ ุกเฉนิ

• กฎหมายหรือข้อกำหนดอน่ื ๆ ทีเ่ กี่ยวขอ้ งกบั การประเมนิ ความเสี่ยง
• และการดำเนินการควบคุมทจ่ี ำเปน็

37

• การออกแบบสถานที่ทำงาน กระบวนการทำงาน การติดตั้งเครื่องจักร/อุปกรณ์ ระเบียบ
ปฏบิ ตั กิ ารและการทำงานขององค์กร รวมถงึ การปรบั ให้เข้ากับความสามารถของมนุษย์

2.1.5 การประเมินความเสี่ยงของเรา ครอบคลุมเรื่องสุขภาพอนามัย รวมทั้งด้านสุขภาพจิตด้วย (ถ้ามี)
และมกี ารตรวจวดั สารเคมอี นั ตราย ความรอ้ น แสง เสียง และความสั่นสะเทอื นตามทีจ่ ำเป็น

การช้บี ่ง และประเมนิ ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชวี อนามัย ควรครอบคลมุ ข้อมูลตอ่ ไปนี้
• แผนงานและกระบวนการทำงาน รวมถึงระบบทอ่ และแบบเครือ่ งจกั ร
• ปัจจัยป้อนเขา้ เช่น ประเภท และปริมาณของวตั ถดุ ิบ พลังงานไฟฟ้า และน้ำ
• ผลผลิต เช่น ประเภท และปริมาณของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์รอง ของเสีย การปล่อยอากาศ
เสยี นำ้ เสยี และเสยี งรบกวน
• ขั้นตอนการทำงานรวมถึง วิธีการในการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย และการจัดการวัสดุ สารเคมี
เป็นตน้
• ขอ้ มูลอื่น ๆ เชน่ สถิตอิ บุ ัตกิ ารณ์/อบุ ตั เิ หตุ ขอ้ ทไี่ มป่ ฏบิ ตั ติ าม ข้อมลู การหยดุ งาน เป็นต้น
• คู่มือการใชง้ าน หรอื คู่มือปฏิบัติงานกับเคร่อื งจักร
• ขอ้ มลู ความปลอดภยั ของสารเคมี และผลการตรวจวดั การสมั ผัสสารเคมี
• ข้อมลู การตรวจวัดหรอื เฝ้าระวังความปลอดภยั และอาชีวอนามยั ด้านกายภาพ
เช่น เสียง แสง รังสี ความสัน่ สะเทือน เป็นต้น

2.1.6 ข้าพเจา้ ไดก้ ำหนดใหม้ ชี ว่ งเวลาสำหรับการทบทวนการประเมินความเส่ียงเป็นระยะ ๆ
สถานประกอบกิจการ มีระเบยี บปฏบิ ตั ิหรือคู่มือขนั้ ตอนการช้ีบง่ และประเมินความเส่ียงซ่ึงควร

กำหนดช่วงเวลาในการทบทวนด้วย เชน่
• ระบุว่าทบทวนการชี้บ่ง และประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ทุกปี
กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ระหว่างนั้น หรือทบทวนทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ความเสี่ยง/อันตรายตอ่ ความปลอดภยั และอาชีวอนามยั
• ตัวอยา่ งการเปล่ยี นแปลงใด ๆ ครอบคลุมเร่ืองต่อไปนี้
- การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานและเทคโนโลยี และการนำกระบวนการทำงานใหม่ ๆ
เขา้ มา
- การขยายหรือเพ่มิ และลดสมรรถนะการผลิต
- มีผู้จดั จำหนา่ ย ผรู้ บั เหมา และผู้ใหบ้ ริการรายใหม่
- ขยายโรงงานเพ่มิ เติม หรือ ยา้ ยตำแหน่งทต่ี ้งั โรงงาน
- การเปลยี่ นแปลงชมุ ชนแวดล้อม
- การเปล่ยี นแปลงกฎหมาย และขอ้ บงั คบั ด้านความปลอดภัย ฯ ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง
- โครงการชัว่ คราว เช่น การกอ่ สร้าง การตดิ ต้ังสายการผลิต หรือเครื่องจักร และอื่น ๆ

38

2.2 อุบัติเหตจุ ากการทำงาน เหตุการณ์เกือบเกดิ อุบัติเหตุ และอุบัติการณร์ า้ ยแรง มีการรายงาน จัดทำเปน็
สถติ ิ และประเมินระดบั ความเสย่ี งเพือ่ นำมาพจิ ารณาปรบั ปรุงแก้ไข

2.2.1 ข้าพเจ้าได้รับการแจ้งทันทีทุกครั้งที่มีการเกิดอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และ
อุบัติการณ์ร้ายแรงในสถานประกอบกิจการ รวมถึงสิ่งใดก็ตามที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ
ผูป้ ฏบิ ัติงานของข้าพเจา้

สิง่ ที่ควรดำเนินการเพ่ือให้แน่ใจว่ามีการแจ้งหรือรายงานอบุ ตั ิการณต์ ่าง ๆ ตอ่ ผู้บรหิ าร หรอื หัวหนา้ งาน
• สถานประกอบกิจการ องคก์ รหรอื หน่วยงานมีระเบียบปฏิบัติ ข้ันตอน หรอื ระบบในการแจ้ง/
ส่อื สาร/รายงานอบุ ตั กิ ารณ์ อบุ ัติเหตุ หรอื เหตวุ ิกฤตต่าง ๆ
• ได้ชี้แจง สื่อสารให้พนักงาน/ผู้ปฏิบัติงานทราบระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอน หรือระบบในการ
รายงานว่าเหตกุ ารณ์อะไรบ้างท่ตี ้องรายงาน จะรายงานเมื่อไรและอยา่ งไร
• การแจ้ง/สื่อสาร/รายงานอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น โดยอาจเป็นวาจา
หรอื ไมเ่ ป็นทางการ หรอื รายงานเปน็ ลายลักษณ์อักษรโดยช่องทาง หรือเครือ่ งมือส่ือสารต่าง ๆ
• มีการบันทึกการรายงานอุบัติการณ์ อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อผู้บริหารทันทีทุกครั้ง
ตามข้ันตอน วธิ กี าร หรือช่องทางทก่ี ำหนดให้ เพอื่ ใหม้ ีการรบั ทราบ
• ผู้บริหารตอ้ งทำให้ผ้ปู ฏิบตั ิงานรู้สึกม่ันใจว่าการรายงานอุบัติการณ์ หรอื เหตุการณ์ตา่ งๆ เป็น
เรื่องสำคัญ และจำเป็นที่ผู้บริหารต้องทราบ และตอบสนองในเชิงสร้างสรรค์ และผู้รายงาน
จะไม่ถูกตำหนิ หรอื ได้รับการลงโทษ

2.2.2 อบุ ตั เิ หตุจากการทำงาน รวมถึงอบุ ัตเิ หตขุ นั้ ปฐมพยาบาลทมี่ ีการจดบนั ทกึ เหตกุ ารณ์เกือบเกิด
อบุ ตั เิ หตุ และอุบัติการณ์ร้ายแรง ไดร้ บั การสอบสวนอยา่ งถ่ีถว้ น เพือ่ คน้ หาสาเหตุทีเ่ ป็นต้นเหตุและให้มีการ
ดำเนินการปอ้ งกนั

• สถานประกอบกิจการ องคก์ รหรอื หน่วยงานมรี ะเบียบปฏิบตั ิ ขน้ั ตอน หรอื ระบบในการแจง้ /
สื่อสาร/รายงานอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ หรือเหตุวิกฤตต่าง ๆ รวมถึงการสอบสวน วิเคราะห์
หาสาเหตุ การปรับปรุงแก้ไข และการติดตามความคืบหน้า และความสำเร็จ ซึ่งผู้บริหาร
สามารถทบทวน ใหค้ วามคิดเหน็ และขอ้ เสนอแนะได้

• ผบู้ ริหาร หรอื หวั หน้างาน และบคุ ลากรท่ีเกี่ยวข้องควรแน่ใจว่าอบุ ัติการณ์/อุบัติเหตุทุกกรณี
ได้มีการรายงานตามขั้นตอนหรือระบบตามที่ระบุไว้ในระเบียบปฏิบัติของสถานประกอบ
กิจการ

• อุบตั กิ ารณแ์ ละอุบัติเหตุทุกรายควรได้รับการบันทึกและรายงาน ผู้เกย่ี วข้องร่วมกันสอบสวน
เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง วางแผนงานแก้ไขปรับปรุงแต่ละสาเหตุ ดำเนินการป้องกันตาม
แผนงาน และตดิ ตามผลการปรบั ปรุงจนเสรจ็ สมบรู ณ์

39

2.2.3 สถานประกอบกิจการของเราได้จัดเก็บสถิติการเกิดอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และ
อบุ ัติการณร์ ้ายแรง เพอ่ื ช้บี ง่ แนวโน้มและประเด็นทส่ี ำคญั ของการเกดิ อุบตั เิ หตุ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ
และอบุ ตั ิการณร์ า้ ยแรง

• สถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงานมีการจัดเก็บสถิติการประสบอันตรายใน
รูปแบบต่าง ๆ อาจแยกตามประเภท ลักษณะการประสบอันตราย อวัยวะส่วนที่ประสบ
อันตราย สาเหตุ จำนวนวันที่หยดุ งาน ความเสยี หายหรอื ค่าใช้จา่ ยโดยประมาณ

• สถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงาน นำข้อมูลหรือสถิติการประสบอันตรายท่ี
รวบรวมบนั ทึกไว้มาวเิ คราะห์ดูแนวโน้ม และประเดน็ หรือปัจจยั ที่เก่ียวข้อง โดยเปรียบเทียบ
กับข้อมลู หรือสถิตทผี่ า่ นมาตามช่วงเวลาหนึง่ ๆ

• ใช้ประโยชน์จากสถิติในการกำหนดแนวทางปรับปรุงให้สถานที่ทำงาน และผู้ปฏิบัติงานมี
ความปลอดภัยย่ิงขน้ึ

2.2.4 ข้าพเจ้าทราบถึงสาเหตุของอุบัติเหตุในการทำงานที่เกิดขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก รวมถึงผล
เสียหายของอุบัติเหตุเหล่านั้นผู้บริหารสถานประกอบกิจการ องค์กร หรือหน่วยงาน สามารถทราบข้อมูล
อบุ ัตกิ ารณ์ การเกดิ อบุ ตั เิ หตุ และสาเหตุการเกดิ อุบตั เิ หตไุ ด้จากช่องทางต่าง ๆ เช่น

• ระบบการรายงานอบุ ัติการณ์ อบุ ตั เิ หตุ การสอบสวน การวิเคราะหแ์ ละการปรับปรุงแก้ไข
(Incident Report and Investigation System)

• การทบทวนผลการปฏิบัติงานประจำเดอื น (Management Review)
• รายงานการประชุมคณะกรรมการความปลอดภยั ฯ ประจำเดือน
• รายงานการปฏบิ ัติงานของ จป.บริหาร จป.หวั หนา้ งาน
• รายงานผลการดำเนนิ งานด้านความปลอดภยั ฯ ของหนว่ ยงานต่าง ๆ ของสถานประกอบกิจการ

2.2.5 ผลของการวิเคราะห์นี้ (ตามข้อ 2.2.1-2.2.4) ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงและการ
จดั ทำ แผนงานปอ้ งกัน

• สถานประกอบกิจการ หรือองค์กรได้ระบุ หรือกำหนดไว้ในระเบียบวิธีปฏิบัติงานให้นำผล
การวิเคราะห์อุบัติการณ์ และการแก้ไขปรับปรุง ไปพิจารณาในขั้นตอนการประเมินความ
เสยี่ งรวมถงึ มาตรการควบคมุ เพือ่ ปอ้ งกัน

• ผู้บริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงานทำให้แน่ใจว่าอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกนำไป
พิจารณาในบัญชีรายการชี้บ่งและการประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมนั้น ๆ และนำแผนการ
ปรับปรุงแก้ไขมาบรรจุไว้ในมาตรการควบคุม (Control Measures) ตัวอย่างดังในตาราง
ด้านลา่ ง

40

2.2.6 ข้าพเจ้าตระหนักว่า จำนวนเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์ร้ายแรง ที่ได้รับการ
รายงานจากผปู้ ฏบิ ตั ิงาน แสดงถงึ การมีวัฒนธรรมของความไวว้ างใจกันในสถานประกอบกจิ การของขา้ พเจ้า

ผู้บริหารควรต้องตระหนักถึงสาเหตุที่ผู้ปฏิบัติงานหลายคนละเลย ไม่อยากรายงานอุบัติการณ์ หรือ
อุบัติเหตุ แม้ว่าเล็กน้อย และไม่มีทรัพย์สินเสียหายก็ตาม อาจเป็นเพราะประสบการณ์ด้านลบหลังจากการ
รายงานหรอื บอกกลา่ วผรู้ ับผิดชอบเพื่อใหแ้ ก้ไขหรือปรับปรุง ความไว้วางใจระหว่างกันจะทำให้ผู้ปฏิบัติงาน
รายงานอุบตั กิ ารณ์หรือเหตกุ ารณต์ า่ งๆ ด้วยความเต็มใจทกุ ครั้ง

การสรา้ งวัฒนธรรมความไวว้ างใจเกดิ จาก
• การทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกมั่นใจว่าการรายงานอุบัติการณ์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นเรื่อง
สำคัญ และเป็นสิ่งที่ผู้บริหารชื่นชมผู้ปฏิบัติงานถึงความใส่ใจในการดูแลสภาพแวดล้อมใน
การทำงานรว่ มกนั
• ผู้รายงานจะไม่ถูกตำหนิ หรือได้รับการลงโทษจากผู้บริหารหรือบุคคลรอบข้าง เมื่อรายงาน
อบุ ตั ิการณ์ หรือเหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ อยา่ งถูกตอ้ งเหมาะสม
• ผู้บริหาร หรือหัวหน้าหน่วยงาน ตอบสนองต่อการรายงานของผู้ปฏิบตั งิ านในเชงิ สร้างสรรค์
และการสง่ เสรมิ สนบั สนุนให้มดี ำเนนิ การแกไ้ ขปรบั ปรงุ จนเสร็จสมบูรณ์

2.3 สถานประกอบกิจการของเราใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราได้รับจากการประเมินความเสี่ยง และจากการ
วิเคราะหอ์ บุ ตั ิเหตุ เพ่ือนำไปใชใ้ นการปรับปรงุ ให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

2.3.1 ขา้ พเจา้ มีมาตรการตรวจสอบ โดยอาจใช้วิธกี ารสุ่มตัวอย่าง เพอ่ื ดูวา่ มาตรการป้องกันท่ีกำหนด
ไว้น้ันมีประสทิ ธผิ ล หรอื ไม่

ในการตรวจสอบว่ามาตรการที่กำหนดเพื่อการปรับปรุงหรือป้องกันได้ประสิทธิผลดี หรือไม่
ผบู้ รหิ ารหรอื หวั หนา้ หน่วยงานอาจใชว้ ธิ กี ารตรวจสอบในรูปแบบต่าง ๆ ทงั้ ทางตรง และทางอ้อมได้ เช่น

• การติดตั้งการ์ดปิดครอบจุดหมุนจุดหนีบ เพื่อมิให้ผู้ปฏิบัติงานยื่นมือ หรืออวัยวะส่วนอื่นใด
ของรา่ งกายเขา้ ไปบรเิ วณอนั ตราย ในระหวา่ งเดนิ ตรวจอาจดำเนนิ การดังน้ี
1) สุ่มตรวจสอบดวู ่ามีการ์ดครอบปิดตามที่กำหนด หรือไม่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเอือ้ มมือ หรือ
ยน่ื อวัยวะส่วนหน่งึ สว่ นใดของร่างกายเขา้ ไปได้ หรือไม่
2) สอบถามจากผ้ปู ฏบิ ตั งิ านถงึ ผลภายหลงั การตดิ ต้งั
3) สงั เกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ปฏบิ ตั งิ านวา่ มาตรการติดตง้ั การ์ดปอ้ งกนั ไดผ้ ลดี หรือไม่

2.3.2 ผลของการประเมินความเสี่ยงได้ถูกนำไปใช้ เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานในสถานประกอบ
กจิ การ

การประเมินความเส่ยี งด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามยั ทำได้หลายรูปแบบ หลายวิธีการ ได้แก่
การประเมินทางสุขศาสตรอ์ ุตสาหกรรม การประเมนิ ทางการยศาสตร์ ฯลฯ ตัวอยา่ งการนำผลการ
ประเมนิ ความเสย่ี งไปปรบั ปรงุ การทำงาน ดงั น้ี

• การจัดการไหลของวัสดุ และพื้นที่ทำงานที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงาน หมุนตัว หรือเคลื่อนไหวได้
สะดวกโดยไมต่ อ้ งเอียงตัวหรอื เอ้ยี วตวั ขณะทำงาน

41

• การติดตั้งแผ่นลดแสงสะท้อนบริเวณหน้าจอมอนิเตอร์ของสถานีควบคุม หรือการเพิ่มแสง
สวา่ งบริเวณท่คี วามเขม้ ของการสอ่ งสว่างต่ำกวา่ มาตรฐาน

• การลดเสยี งดงั ของเคร่ืองจักรบริเวณทำงานทเ่ี กินมาตรฐาน ดว้ ยการเพ่มิ การบำรุงรักษาหรือ
การลดเสียงโดยปดิ ก้นั แหลง่ กำเนิดเสยี ง การตดิ ตั้งแผน่ ดูดซบั เสยี ง เปน็ ต้น

• การปรับความสูงของสถานีทำงานให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้สะดวกโดยไม่ต้องก้มตัว
หรือ เขยง่ ตวั ขณะทำงาน

2.3.3 มกี ารสอนงานใหแ้ กผ่ ูป้ ฏิบัตงิ านเปน็ รายบคุ คล และวธิ ปี ฏิบตั ิงานทใ่ี ช้สอนงานไดม้ าจากพนื้ ฐาน
ของกระบวนการประเมนิ ความเสี่ยง

• นำผลการประเมินความเสี่ยงไปปรับปรุง และจัดทำเป็นวิธีการปฏิบัติงาน (Work
Instruction หรอื Process Instruction) ตดิ ไวบ้ ริเวณทำงาน

• นำวิธีการ/ข้ันตอนการควบคมุ ความเส่ยี งในการทำงาน ไปสอนผปู้ ฏิบตั ิงาน แตล่ ะบุคคลก่อน
การมอบหมายงาน (On the Job Training)

กฎทองข้อที่ 3 : กำหนดเปา้ หมาย - จัดทำแผนงาน
ความสำเรจ็ ในเรือ่ งความปลอดภัย และอาชีวอนามัย จำเป็นตอ้ งมีเป้าหมายชัดเจน และขนั้ ตอน
การดำเนินงานทเ่ี ป็นรูปธรรม สามารถนำไปปฏบิ ตั ไิ ด้ ซ่งึ ควรจดั ทำเปน็ รปู แบบของแผนงานโครงการ

3.1 ขา้ พเจา้ ไดก้ ำหนดเป้าหมายทชี่ ัดเจนด้านความปลอดภัย และอาชวี อนามยั
3.1.1 สถานประกอบกจิ การของเรามีเปา้ ประสงค์หลายดา้ นโดยรวมถึงความมุ่งมนั่ ที่ให้ความสำคัญใน

เรื่องการคุ้มครองด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยด้วยความมุ่งมั่น หรือวัตถุประสงค์ของผู้บริหารใน
การคุ้มครองความปลอดภัย และส่งเสริมสุขอนามัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ อาจแสดงให้
ทราบโดย

• นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครอบคลุม
ผู้ปฏิบัติงานผู้รับเหมา คู่ค้า และลูกค้า การลด/ควบคุมความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎหมาย
ฯลฯ

42

• วัตถปุ ระสงค์ วสิ ัยทศั น์ หรือกลยทุ ธ์การดำเนินปฏิบัตกิ ารของสถานประกอบกิจการ

3.1.2 ข้าพเจ้าได้กำหนดระดับความสำเรจ็ ด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่เป็นรปู ธรรมอย่าง
ชัดเจนเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยทั้งในระยะส้ัน
และระยะกลาง

ตวั อย่างการกำหนดระดับความสำเร็จด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เปน็ รปู ธรรมชัดเจน

วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และ มาตรวัด ผรู้ ับผิดชอบ ระยะเวลา
ปี 2564 ทกุ เดอื น
การตรวจตราฝา่ ย/พื้นท่ี 1.เพื่อปฏบิ ตั ติ ามกฎหมายและข้อกาหนดทเ่ี กย่ี วข้อง 1. พ้ืนทไี่ ดร้ ับการตรวจตราครบทกุ พ้ืนที่ (100%) หวั หนา้ หน่วย
ประธานคปอ
2.เพ่ือคน้ หาอันตรายและปอ้ งกนั หรือลดอุบัตกิ ารณ/์ อบุ ตั เิ หตุ 2. รายการปรับปรุงเสร็จ 100% ภายในเวลา 1 เดอื น

• อัตราการเกิดอุบัติเหตุขั้นร้ายแรงลดลง 10% เทียบกับอัตราการเกิดอุบัติเหตุปีก่อนหน้า
หรืออัตราการเกิดอบุ ัตเิ หตทุ ง้ั ปี ไม่เกนิ 0.1 ตอ่ ชัว่ โมงทำงาน 200,000 ชว่ั โมง

• % ผู้รับการอบรมด้านความปลอดภัย ฯ บนระบบออนไลน์ของแต่ละหน่วยงานมากกว่า
80% ในแตล่ ะหลักสูตรเทยี บกบั จำนวนท่วี างแผน/กำหนดไว้

3.1.3 ข้าพเจ้าได้มีการตกลงเรื่องเป้าหมายรายบุคคลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยกับ
ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหาร และผู้ปฏิบัติงานของข้าพเจ้ามีการบูรณาการเป้าหมายด้านความปลอดภัย
และอาชีวอนามัยเป็นหน่งึ ในเปา้ หมายทางธุรกิจของสถานประกอบกจิ การ หรอื องค์กร เช่น

COST ลดค่าใช้จา่ ยและของเสยี ในกระบวนการผลิต = 10%
QUALITY สง่ มอบสินค้าทมี่ ีปญั หาดา้ นคุณภาพให้ลกู คา้ = 0
DELIVERY ส่งมอบสนิ ค้าตรงเวลาและความตอ้ งการของลกู ค้า
SAFETY & SUSTAINABILITY สง่ เสรมิ ความปลอดภัยสขุ ภาพอนามยั และความย่ังยนื ได้ตามมาตรวัด

เป้าหมายรายบุคคลด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของผู้บริหารสอดคล้องกับเป้าหมายของ
สถานประกอบกิจการ และเป้าหมายรายบุคคลของผู้ปฏิบัติงานสอดคลอ้ งกับผู้บังคับบัญชา และบูรณาการ
ในระบบประเมินผลการปฏบิ ตั งิ านรายบคุ คล

43

3.1.4 ข้าพเจ้าสื่อสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับบริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมา /คู่สัญญา และลูกค้า
ทั้งหมด รวมทงั้ สาธารณชนทวั่ ไปใหร้ บั ทราบ เก่ียวกับเป้าประสงค์ และระดบั ความสำเรจ็ ด้านความปลอดภัย
และอาชีวอนามยั ของสถานประกอบกจิ การตามช่วงเวลาทเี่ หมาะสม

ผู้บริหารอาจสื่อสารเป้าหมาย และผลปฏิบัติการของสถานประกอบกิจการให้พนักงาน และ
ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยการประชุม พูดคุย ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสงั คมชอ่ งทางต่าง ๆ ตามช่วงเวลา
ของกจิ กรรมในรูปแบบตา่ ง ๆ เชน่

• มาตรวดั ผลการดำเนนิ งาน ความสำเร็จของกจิ กรรมเทียบกบั เป้าหมายท่ตี งั้ ไว้
• กราฟแสดงเปรยี บเทยี บสถติ ิการเกิดอบุ ัตเิ หตุ
3.2 ข้าพเจ้าวางแผนการกำหนดกิจกรรมที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความ
ปลอดภัย และอาชวี อนามัย
3.2.1 ข้าพเจา้ กำหนดให้มีแผนปฏิบัติงานประกอบด้วยกิจกรรมด้านความปลอดภยั และอาชีวอนามัยที่
เป็นรปู ธรรม และมาตรการอ่ืน ๆ ทจี่ ะทำใหบ้ รรลุเปา้ หมาย พรอ้ มท้ังจัดทำตารางเวลาการดำเนนิ งานด้วย
ตวั อย่างแผนกิจกรรมดา้ นความปลอดภัย และอาชวี อนามยั ผรู้ บั ผิดชอบ และตารางเวลา

44

3.2.2 ข้าพเจ้ามอบหมายให้มีผรู้ บั ผดิ ชอบในการดำเนนิ กจิ กรรมแผนงานดา้ นความปลอดภยั และ
อาชีวอนามัย เช่น งานสัปดาห์ความปลอดภัย งานวันเพื่อสุขภาพ รวมถึงงานต่าง ๆ ที่วางแผนไว้อย่าง
ชดั เจน และเป็นรูปธรรม
ตัวอยา่ งการมอบหมายผรู้ ับผดิ ชอบในการดำเนินการจดั กิจกรรมงานความปลอดภัย และสขุ อนามยั ประจำปี

3.2.3 ขา้ พเจา้ สื่อสารในช่วงเวลาที่เหมาะสมกบั ผู้ใต้บงั คบั บญั ชาระดับบรหิ าร ผปู้ ฏบิ ตั ิงาน ผรู้ บั เหมา/
คู่สัญญา ลูกค้าทั้งหมด และสาธารณชนทัว่ ไป ให้ทราบเกี่ยวกับกจิ กรรมส่งเสริมความปลอดภัย และอาชีวอ
นามัย เช่น งานสัปดาหค์ วามปลอดภัย ฯ หรืองานวนั เพ่อื สุขภาพ และเชิญชวนพวกเขาเหล่าน้ีให้มาร่วมงาน
ด้วย

• สถานประกอบกิจการอาจมีมาตรสื่อสารขององค์กรท้งั ภายในและภายนอก ซ่งึ ครอบคลุมทุก
ดา้ นรวมถึงด้านความปลอดภยั และอาชวี อนามยั ดว้ ย

• กรณีที่สถานประกอบกิจการไม่มีมาตรสื่อสารขององค์กร อาจสื่อสารโดยการประชุม การ
แนะนำ ออกบัตรเชิญ จดหมาย ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ พูดคุย หรือคำเชิญด้วยวาจา
ขึน้ กบั ชว่ งเวลาของกิจกรรม และโอกาส
45


Click to View FlipBook Version