The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chalikor Pasertadisor, 2022-04-07 01:27:49

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับที่ปรึกษา

กันไป การคน้ คว้าหาข้อมูลท้ังหมดนีต้ ้องทำอย่างมีประสทิ ธภิ าพ และใช้เวลาไม่มากเกินไป เพื่อให้ทัน
ตอ่ การดำเนินการใหค้ ำปรึกษา

1.3 การวเิ คราะห์และการสรุปขอ้ มลู (Data Analysis & Visualization)
หลังจากที่ได้ข้อมูลที่ต้องการมาแล้ว ข้อมูลอาจมีจำนวนมาก และหลากหลาย จึงต้องสามารถ

วิเคราะห์ข้อมูลได้ทั้งในเชิงคุณภาพ และปริมาณ (qualitative and quantitative) ได้ โดยการสรุป
และแสดงข้อมูลออกมาให้อยู่ในรูปของแผนภาพ กราฟ หรือวิดีโอที่อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ
จะแสดง เพือ่ ให้เห็นเป็นภาพทีช่ ดั เจน และเข้าใจง่ายกวา่ เดมิ

2. ความสนใจใฝ่รู้อย่างชาญฉลาด (Intellectual curiosity)
แบ่งความรเู้ ปน็ 3 ด้าน ดงั นี้

2.1 ความร้ดู ้านอตุ สาหกรรม (Industrial Knowledge)
ข้อดีอันดับต้น ๆ ของอาชีพผู้ให้คำปรึกษา คือการได้สัมผัสกับสถานประกอบกิจการหลายๆ

องค์กร ในหลาย ๆ แวดวงธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม (Factory) ธุรกิจโลจิสติกส์ และ
การขนส่ง (Logistics and Transportation) ห่วงโซ่อุปาทาน (Supply Chain) สถาบันการเงิน
(Financial Institution) ธุรกิจโทรคมนาคม (Telecommunication) กลุ่มพลังงาน (Energy &
Utilities) กลมุ่ ค้าปลีก (Retail) และอ่นื ๆ แต่การท่จี ะเขา้ ไปให้คำปรึกษาได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงกับผู้
ที่ทำงานในแวดวงนัน้ มาเป็นเวลานานมาก ๆ เป็น 10 ปีนั้น ผู้ให้คำปรึกษาก็ต้องรู้จักธุรกิจของสถาน
ประกอบกจิ การเป็นอย่างดีดว้ ย เช่น ถา้ เป็นโรงงานผลิตสารเคมี กต็ ้องรู้กระบวนการผลิต วิธีในการ
จดั เกบ็ และการกำจัดอย่างปลอดภัย เป็นตน้

2.2 ความรู้เชิงเทคนิค (Technical Knowledge)
นอกจากความรู้ด้านอุตสาหกรรมแล้ว ความรู้เชิงเทคนิค (Technical Knowledge) ก็สำคัญไม่

หย่อนไปกว่ากัน ความรู้ประเภทนี้ ไม่ได้หมายถึงด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านในศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น Process Improvement, Process Safety Management,
Business Continuity Management, Program Management เป็นต้น การจะได้มาซึ่งความรู้
พวกน้ี คือต้องอ่านและศึกษาให้มาก ๆ การเข้าสัมมนา การเป็นสมาชิกชมรม ฯลฯ ยิ่งถ้าไปสาย
เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว กต็ ้องอ่านและตามขา่ วให้มากขึ้นไปอกี เพราะเทคโนโลยไี ปค่อนข้างไว และ
ตอ้ งปรบั ตัวเองให้ทันกบั ความรใู้ หม่ ๆ อย่เู สมอ

2.3 ความรู้ทางธุรกิจท่ัวไป (General Business Knowledge)
ความรทู้ างธุรกิจทวั่ ไป เชน่ ใครเปน็ เจา้ ของใคร ธรุ กิจใดควบรวมกนั เพราะอะไร อุตสาหกรรมหรอื

ตลาดหุ้นเป็นอย่างไร เป็นต้น ความรู้ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ยิ่งมีติดตัวไว้ยิ่งดี เอาไว้คุยกับสถาน
ประกอบกิจการ หรือใช้วเิ คราะห์ข้อมูล

146

3. ทักษะการมีมนุษยสมั พันธ์ท่ีดี (People skills)
ทักษะด้านคนครอบคลุม 2 ทักษะคือ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (Interpersonal skills) และ

การสื่อสาร (Communication skills)

3.1 ทักษะระหว่างบุคคล (Interpersonal skills)
คือทกั ษะในการสร้างสัมพนั ธ์กับผู้อ่ืน สรา้ งความไว้ใจ (Trust) และความเช่ือถือ (Credibility) ซ่ึง

เป็นสิ่งที่สำคัญมากท่ีต้องใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อตดิ ต่อสื่อสารหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งแบบตัวตอ่
ตัวหรือเป็นกลุ่ม ทักษะระหว่างบุคคลประกอบด้วยทักษะหลายอย่าง แต่โดยหลัก ๆ เกี่ยวข้องกับ
เรื่องของการฟัง การพูด และความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้
โครงการประสบผลสำเร็จ
ทำไมทักษะนี้ถึงจำเป็น อันดับแรก เกือบทุกโครงการบุคคลต้องทำเป็นทีม ซึ่งหมายถึงมีหัวหน้า
เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ที่ต้องช่วยกันทำ ช่วยกันคิด และประสานงานร่วมกันตามระยะเวลาของ
โครงการ รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับสถานประกอบกิจการในโครงการ เพื่อการได้มาของข้อมูลที่
ถูกต้องครบถ้วน ประกอบในโครงการให้คำปรึกษา ความสำเร็จขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ ความ
ไวใ้ จ และความเชอ่ื ถือตอ่ กัน

3.2 ทักษะการสื่อสาร (Communication skills)
ทักษะนี้ครอบคลุมตั้งแต่การพูด (verbal communication) ลักษณะท่าทาง (body language)

การเจรจาต่อรอง (negotiation) และที่สำคัญที่สุดคือทักษะการฟัง (listening skills) ซึ่งเมื่อสถาน
ประกอบกจิ การพดู ต้องตัง้ ใจฟงั วา่ สิง่ ที่ต้องการสื่อคืออะไร และตอบโจทย์ความต้องการนน้ั ได้ถูกต้อง
เหมาะสม

4. ทกั ษะการนำเสนอและทกั ษะการใช้ PowerPoint (Presentation skills & PowerPoint skills)
บุคคลแม้ฉลาดเพียงใด มีความคิดดีขนาดไหน ถ้าไม่สามารถถ่ายทอดความคิดนั้นออกมาได้ก็ไม่มี

ประโยชน์ เช่นเดียวกัน กับการให้คำปรึกษา ผู้ที่ให้คำปรึกษาที่ดี ต้องสามารถสังเคราะห์ข้อมูลที่มีให้
ออกมาอยู่ในการนำเสนอ รายงาน หรืออะไรก็ตามแต่ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่นำเสนอต่อสถานประกอบ
กิจการจะต้องกระชับ ถูกต้องตรงกับความต้องการของผู้ฟัง ต้องวิเคราะห์ด้วยว่านำเสนอให้ใครฟัง และ
สวยงามอ่านง่าย ดังนั้นข้อนี้จึงรวมถึงทักษะการทำ PowerPoint ด้วย นั่นคือการรู้จักใช้สี ใช้รูป รูปแบบ
ตวั อักษรและขนาดตวั อกั ษร กราฟ และไดอะแกรม ใหถ้ ูกกาลเทศะ และเหมาะสมกับขอ้ มลู ทจ่ี ะนำเสนอ

5. ทกั ษะความเปน็ ผนู้ ำและทักษะการขาย (Leadership skills & Sales skills)
ภาวะความเป็นผู้นำมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อไต่เต้าไปถึงระดับสูงๆ ที่จะต้องนำโครงการ

(lead project) และ กระแสงาน (workstream) ด้วยตัวเอง ตัดสินใจวิธีคิด วิธีการทำงานในโครงการนั้นๆ
สำหรับระดับอาวุโสน้อยนั้น ภาวะผู้นำที่จะถูกนำมาใช้คือ นำตัวเอง (lead yourself) ให้สามารถคิดและ
ทำงานไดด้ ว้ ยตัวเอง (work independently) และรู้วา่ จะตอ้ งพฒั นาตัวเองในจุดใด

ในส่วนของทักษะการขาย (Sales skills) อาจไม่จำเปน็ มากสำหรบั การเป็นผใู้ ห้คำปรึกษา อยา่ งไร
ก็ตาม ผู้ให้คำปรึกษาก็ต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับสถานประกอบกิจการหรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อ

147

เช่อื มตอ่ ความสัมพันธ์ (connection) รูว้ ่าควรคยุ เรอ่ื งใดกับใคร อยา่ งไร และใครเปน็ ผู้มีอำนาจตัดสินใจใน
สถานประกอบกิจการหรอื องค์กร และอนื่ ๆ

ที่จริงแล้วยังมีทักษะย่อยอีกมากมายที่ต้องการสำหรับการเป็นผู้ใหค้ ำปรึกษา แต่ทักษะทั้งห้าที่กลา่ ว
ขา้ งตน้ กเ็ พยี งพอในการเป็นผ้ใู ห้คำปรึกษาท่ีดีท่ีมคี ุณภาพแลว้

ความร้คู วามสามารถของผใู้ หค้ ำปรกึ ษา (Consultant Competencies)

ความร้คู วามสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้ให้คำปรึกษา มคี วามสัมพันธแ์ ละสอดคลอ้ งกบั ทักษะสำคัญ
สำหรบั ผู้ใหค้ ำปรึกษา ได้แก่

1. การตลาด (Marketing)
ความสามารถในการวิเคราะห์ประเมิน และมองหาโอกาส (Opportunities) ต่างๆ ที่จะเอื้อต่อ

ผลสำเร็จของโครงการที่เราให้คำปรกึ ษา เพ่ือนำเสนอผู้บรหิ ารหรือสถานประกอบกิจการ เชน่ ต้องประเมิน
วา่ ควรทำอะไร จะเกิดประโยชน์ตอ่ สถานประกอบกจิ การอย่างไร

2. การทำสัญญา (Contracting)
ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายบ่อยๆ เพื่อนำโครงการไปสู่

เป้าหมายให้ได้ และสามารถเสนอ สรุปข้อตกลงกับสถานประกอบกิจการได้ ซึ่งจะทำให้สามารถหา
ผสู้ นบั สนนุ หรอื ผมู้ ีอำนาจตัดสนิ ใจโครงการได้

3. การรวบรวมขอ้ มูล (Data Gathering)
ความสามารถในการออกแบบวิธีการและกระบวนการในการเก็บ/จัดสรรข้อมูลได้ครบถ้วนและ

เพียงพอ โดยเน้นที่ข้อเท็จจริง (Facts) และหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence) เพื่อไม่ให้ผู้ให้คำปรึกษาเกิด
อคตใิ นระหวา่ งการใหค้ ำปรึกษา เช่นใช้ข้อมูลและความคดิ เห็นสว่ นตวั มากเกนิ ไปในการให้คำแนะนำ

4. การวเิ คราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
ความสามารถในการออกแบบวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและสามารถเชื่อมโ ยงข้อมูล

ไปสเู่ ปา้ หมายท่กี ำหนดไว้

5. เปลย่ี นการดำเนนิ การ (Change Implementation)
ความสามารถวิเคราะห์ความพร้อมของสถานประกอบกิจการที่จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง หรือเกิด

โครงการ กรณีที่ไม่พร้อม สิ่งใดคืออุปสรรค หรือเรื่องใดอาจเป็นปัญหาระหว่างการทำโครงการ รวมถึง
ความสามารถในการกำหนดกลยุทธเ์ พ่ือทำใหเ้ กิดการเปล่ยี นแปลงดว้ ย

6. การบรหิ ารโครงการ (Project Management)
ความสามารถในการบริหารโครงการ ทั้งด้านทรัพยากร ทีมงาน ระยะเวลาตามเป้าหมาย และ

สามารถปรบั เปล่ียนวิธกี ารได้เมอ่ื มกี ารเปล่ียนแปลง

148

7. การแกป้ ญั หา (Problem Resolution)
สามารถระบุอุปสรรคทีจ่ ะมีผลตอ่ ความสำเร็จของโครงการ และหาหนทางแกไ้ ขปัญหาน้ันได้

นอกจากนี้ ผู้ให้คำปรึกษายงั ต้องกลา้ นำเสนอวิธกี ารแก้ปญั หาทีอ่ ่อนไหวงา่ ยตา่ ง ๆ ได้ โดยไมก่ ลัวการ
ตัดสินใจทไ่ี ม่ถูกใจคนอื่น (Unpopular Decisions) หากวิธนี ้ันจะนำไปสเู่ ปา้ หมายได้

8. อิทธิพลระหวา่ งบุคคล (Interpersonal Influence)
ผใู้ ห้คำปรึกษาจะต้องทำงานกับคนหลากหลายได้ รบั ฟังมุมมองนำมาผสมผสานความให้เกิดเปน็

ประโยชน์ นอกจากน้ียังต้องสามารถสรา้ งการยอมรบั (Credibility) จากผู้อ่ืนได้อีกดว้ ย

9. การอำนวยความสะดวกในทีม (Team Facilitation)
ความสามารถในการกระตุน้ ใหเ้ กิดการรว่ มมือ กำหนดกลยุทธ์ตา่ งๆ เพื่อให้ชว่ ยกนั สนบั สนนุ ผลงาน

ของทีมให้เกดิ ผลติ ภาพ (Productivity) มคี ำท่ีเก่ยี วข้อง 2 คำ ได้แก่
1) Teamwork คอื การทำงานเป็นทมี หรอื เป็นหมู่คณะ เพื่อไปสู่จดุ ม่งุ หมายท่ีต้องการรว่ มกนั
2) Team Building คือ การสร้างทีมสัมพันธ์ เป็นกระบวนการในการทำให้คนกลุ่มใดกลุ่มหน่ึง
เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสัมพันธ์ร่วมกันท้ัง
กลุ่ม พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจนเกิดการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีเป้าหมายร่วมกัน มี
ทัศนคตทิ ด่ี ใี นการทำงาน ตลอดจนสรา้ งความสามคั คีได้เป็นอยา่ งดี

10. การสื่อสาร (Communication)
ความสามารถในการรับฟังความเห็นหรือมุมมองที่แตกต่าง และตอบสนองกับความเห็นมุมมองนั้นๆ

ได้ โดยไม่ยึดตดิ กับความคดิ ของตัวเอง สามารถสอื่ สารได้อยา่ งชดั เจน โน้มนา้ วใหเ้ กดิ ความเช่ือถือ และปรบั
วิธีการสอื่ สารให้เหมาะกับแตล่ ะบุคคลท่มี ปี ฏิสมั พันธด์ ว้ ยได้

11. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
การมีความรอบรู้ เช่ยี วชาญชำนาญพิเศษในวิชาชีพของตน สามารถปฏบิ ัติงานได้ตามมาตรฐานอย่าง

ถกู ตอ้ ง มีไหวพรบิ ในการจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วแมน่ ยำ และลงมือทำอย่างจริงจัง มุ่งม่ันต้ังใจให้
เกิดผลงานที่ดีที่สุด ความเป็นมืออาชีพของผู้ให้คำปรึกษาเป็นความสามารถทางเทคนิคเฉพาะด้านในงานที่
ให้คำปรกึ ษา

กระบวนการการใหค้ ำปรกึ ษาแบบมืออาชพี

กระบวนการให้คำปรึกษาแบบมืออาชีพที่ผู้ให้คำปรึกษาส่วนใหญ่ใช้เป็นแนวทาง คือ รูปแบบ
ปเี ตอรบ์ ล็อก (Peter Block’s Model) หรือ รูปแบบของบล็อก - การวเิ คราะห์ชอ่ งโหว่ (Block’s Model -
Gap Analysis) มีทั้งหมด 5 เฟส คือ
1. การเข้าและการทำสญั ญา (Entry and Contracting)
ประกอบด้วย

1.1 สถานการณ์: กลยทุ ธ์ ปญั หา แรงภายนอก โอกาส
1.2 ความท้าทาย: มุมมองภาพจากด้านบน (ระบุสถานการณใ์ หช้ ดั เจน) ละเอยี ดรอบคอบ เพอื่
ครอบคลุมประเดน็ ท้าทายต่าง ๆ

149

1.3 ทางออกของการแกป้ ญั หา: ทักษะทางเทคนคิ เพ่ือเลอื กเคร่อื งมอื และวิธีการโดยจะต้องวเิ คราะห์
ให้ครอบคลมุ ระบบ บุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ

ในเฟสแรกนี้เกี่ยวข้องกับการติดต่อครั้งแรกกับลูกค้าเกี่ยวกับโครงการ หากคุณเป็นผู้ให้คำปรึกษา
อิสระคุณกำลังพบปะโดยตรงกับผู้มีโอกาสเป็นลูกค้า หากคุณกำลังทำงานผ่านผู้สรรหาให้คิดว่าช่วงนี้เป็น
การสัมภาษณ์ ภารกจิ รวมถงึ :

- กำหนดการประชมุ ครงั้ แรก
- สำรวจดูว่าอะไรคือปัญหา
- การพจิ ารณาว่าคณุ เป็นที่ปรึกษาท่ีเหมาะสมสำหรบั งาน หรอื ไม่
- ทำรายการความคาดหวงั ของลูกค้า
- ระบุว่าความคาดหวังอะไรท่ีคณุ มี
- ขบคิดว่าจะเร่มิ ต้นอยา่ งไร

เมื่อผู้ใหค้ ำปรึกษาพูดถึงภัยพิบตั ิของพวกเขา ขอ้ สรุปของพวกเขามักจะเป็นวา่ โครงการมีข้อผิดพลาด
ในระยะเรม่ิ ต้นของการทำสญั ญา

2. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลและการวนิ ิจฉัย (Data Collection and Diagnosis)
2.1 กรองขอ้ มลู (Filter): ตดั ขอ้ มูลทไี่ มพ่ ึงประสงคอ์ อก เหลอื ไวแ้ ต่ขอ้ มลู ที่พึงประสงค์
รูปแบบกรอบแนวคิดในการวเิ คราะหภ์ าพรวมของปญั หา (PIPE Model) ประกอบด้วย ระเบียบ

ข้นั ตอน ขอ้ มลู บุคคล อปุ กรณ์
2.2 ตรวจสอบความถูกต้อง (Validate) ของข้อมลู ต้องแน่ใจว่าเป็นขอ้ มูลทีถ่ กู ตอ้ ง
2.3 การวิเคราะห์ (Analysis) ใช้ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking skill) และเข้าใจ

สถานการณ์เป็นอย่างดี
2.4 การสงั เคราะห์ (Synthesis) โดยจดั ลำดบั ความสำคัญ ดังนี้
- ผลกระทบตอ่ ธรุ กจิ
- ความสำคัญ
- ความจำเป็นเร่งดว่ น

ผู้ให้คำปรึกษาต้องเข้าใจปัญหาเป็นอย่างดี มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อที่ได้ให้คำปรึกษา ทำงาน
ร่วมกับลูกค้า เน่ืองจากมีปัจจัยทลี่ ูกคา้ สามารถใหข้ ้อมูลได้

2.5 ข้อเสนอแนะ (Recommendation) การให้ข้อเสนอแนะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการ
เปล่ียนแปลง ซึ่งเปน็ ผลกระทบทจี่ ะทำใหเ้ ปลี่ยนไป โดยไม่เนน้ ปริมาณโครงการอันอาจจะทำให้เสยี เงนิ เวลา
และทรพั ยากร

ส่ิงสำคญั คือผู้ใหค้ ำปรกึ ษาจะต้องรู้สึกนึกคิดปัญหาขึน้ เอง บางคนพิจารณาวา่ ข้ันตอนน้ีเป็นจุดที่ผู้ให้
คำปรึกษาเพิ่มมูลค่ามากที่สุด ออกจากเฟสนี้ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องทราบว่าใครจะมีส่วนร่วมในการ
กำหนด ปญั หา จะใชว้ ิธีการอะไร ข้อมูลประเภทใดที่ควรจะรวบรวม และจะใช้เวลานานเท่าใด

150

ถ้าคุณกำลังปรึกษาผ่านเอเย่นต์คุณน่าจะได้รับการว่าจ้างจากจุดนี้แล้ว ถ้าไม่ใช่ คุณเสี่ยงต่อการ
ทำงานฟรี ดังน้ันให้ระวัง..
3. การให้คำแนะนำและการตัดสนิ ใจดำเนนิ การ (Feedback and the Decision to Act)

หลักการการให้คำแนะนำอย่างมปี ระสิทธภิ าพ (Criteria for effective feedback)
- เลอื กเฉพาะขอ้ มูลท่จี ำเป็นและเก่ียวข้อง
- ใช้ภาษาท่ีผู้ฟงั สามารถเข้าใจไดง้ ่าย
- มตี ัวอยา่ งสนับสนุน แนบตัวอย่างหรือรายละเอยี ดจากการเก็บข้อมูล
- เสนอเฉพาะประเดน็ หลัก และสำคัญเท่านั้น สว่ นขอ้ มลู เพม่ิ เติมอน่ื ๆ สามารถใสใ่ นภาคผนวก
- ประเด็นทีเ่ สนอสามารถสร้างผลกระทบไดห้ รอื ไม่ ผรู้ ับสามารถควบคุมได้ หรือไม่ ไม่ควรเปน็
ประเดน็ ที่เป็นปจั จยั ภายนอก
- เปน็ ขอ้ มูลเชงิ ลกึ ที่สรปุ สุดท้ายหรอื ไม่ เพื่อนำไปตัดสินใจ

ในฐานะผู้ให้คำปรึกษา คณุ จะต้องรายงานส่งิ ทีค่ ุณค้นพบจากเฟสที่ 2 ทส่ี ำคญั คือข้อมูลท่ีกองเท่า
ภูเขาซึ่งได้เกบ็ รวบรวมมา และลดขนาดลงเพื่อใหส้ ามารถจัดการ และเขา้ ใจได้

ผู้ใหค้ ำปรึกษาต้องตดั สินใจว่าจะใหล้ ูกค้าเกี่ยวข้องกบั กระบวนการวเิ คราะห์ข้อมลู ได้อย่างไร เตรียม
พบกับการต่อต้านเมื่อให้ข้อมูลป้อนกลับต่อองค์กร ยิ่งโครงการที่เป็นเป้าสายตาของสาธารณชนมากเท่าใด
ย่งิ มแี นวโน้มทีจ่ ะเผชญิ การต่อต้านมากข้นึ ผู้ให้คำปรกึ ษาต้องจัดการกบั การต่อต้านนี้ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะ
ดำเนินการต่ออย่างไรได้อย่างเหมาะสม ในเฟสนี้ประมาณว่า เป็นอะไรที่ผู้อื่นเรียกว่าเฟสการวางแผน และ
รวมถึงการตง้ั เปา้ หมายสำหรบั โครงการและการเลอื กขนั้ ตอนการดำเนินการทด่ี ีที่สดุ

4. การนำไปปฏบิ ตั ิ (Implementation)

ตามที่ชื่อบอก ขั้นตอนนี้เกีย่ วข้องกับการทำทุกอย่างทีไ่ ด้ตัดสินใจไว้ก่อนหน้าน้ี และดำเนินการแกไ้ ข
ตามทไี่ ดต้ ดั สนิ ใจแล้ว บอ่ ยคร้งั การนำไปปฏิบัตติ กอยู่กับองค์กร แต่บางคร้ังผู้ให้คำปรึกษาจะยงั คงมีส่วนร่วม
อย่างลกึ ซ้ึงในความพยายาม

บางโครงการเริ่มดำเนินการด้วยกิจกรรมการศึกษา กิจกรรมนี้ควรจะเป็นชุดของการประชุมเพ่ือ
แนะนำการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง อาจต้องใช้การประชุมครั้งเดียวเพื่อให้ได้ส่วนที่แตกต่างกันขององค์กร
ร่วมกันในการกำหนดปัญหา อาจเป็นการอบรม ในกรณีเหล่านี้ ผู้ให้คำปรึกษามักจะเกี่ยวข้องกับงาน
ออกแบบทีค่ ่อนขา้ งซบั ซอ้ น และในการดำเนนิ การประชุมหรอื อบรม

โดยทั่วไปผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศยังคงมีส่วนร่วมกับ โครงการจนแล้วเสร็จ
โดยเฉพาะอย่างยงิ่ ผ้นู ำนักพัฒนาระบบหรอื สถาปนิกของคุณ

5. การขยาย การนำมาใชอ้ ีก หรือการยุติ (Extension, Recycle, or Termination)

เริ่มต้นด้วยการประเมินเหตุการณ์หลัก ตามด้วยคือการตัดสินใจว่าจะขยายกระบวนการไปสู่กลุ่ม
ใหญ่ขององค์กร บางครั้งไม่ได้จนกว่าจะมีการดำเนินการบางอย่างเกิดขึ้นที่ภาพชัดของปัญหาที่แท้จริง
เกิดขึ้น ในกรณีที่กระบวนการการนำมาใช้อีก และสัญญาใหม่จำเป็นต้องปรึกษาหารือกัน ถ้าการนำไป
ปฏิบัติเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่หรือความล้มเหลวปานกลางถึงสูง การยุติการมีส่วนร่วมในโครงการนี้อาจ

151

เกิดขึ้นในอนาคตมีหลายทางเลือกในการยุติความสัมพันธ์ และการยกเลิกควรถือเป็นส่วนที่ถูกต้องตาม
กฎหมายและเป็นส่วนสำคัญของการปรึกษาหารือ ถ้าทำได้ดีสามารถให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่สำคัญ
สำหรบั ลูกค้า และผู้ใหค้ ำปรกึ ษา และเปิดประตูสู่การทำงานในอนาคตกบั องค์กร

กรอบการให้คำปรึกษา 7 ข้ันตอน (The 7 - Step Framework)

กรอบในการให้คำปรึกษา 7 ขั้นตอน เป็นวิธีที่ธรรมดาและมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ
ได้รับการออกแบบมาให้ทำซ้ำ และช่วยให้คุณแสดงให้ลูกค้าเห็นถึงความคิดของคุณในแต่ละขั้นตอนของ
กระบวนการ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถรวมความคิดของลูกค้า และข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นได้เช่นนั้น ส่ิง
สำคัญคือตอ้ งมกี ารติดต่อกบั ลกู คา้ ของคุณอยา่ งสม่ำเสมอตลอดโครงการ

สรปุ รายละเอยี ดดงั น้ี

ขั้นตอนที่ 1) ระบุปัญหา: เพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้ให้คำปรึกษาและลูกค้ามีความเข้าใจที่ตรงกันและตอบ
คำถามเหมือนกนั ไตร่ตรองผลกระทบ: คำถามอะไรทีค่ ุณพยายามที่จะตอบ
ในระหว่างขน้ั ตอนท่ี 1 นี้ คณุ พยายามที่จะทำความเข้าใจอย่างแท้จริงว่าปัญหาท่ีลูกค้าเผชิญคืออะไร
โดยปกติแล้ว คุณพยายามที่จะแสดงปัญหาที่เป็นคำพูดเป็นคำถามซึ่งลูกค้าอยากให้คุณหาคำตอบ
สง่ิ นจี้ ะชว่ ยใหค้ ณุ พฒั นาบัญชีรายการข้อมลู ขา่ วสารทคี่ ุณต้องการเพ่ือให้สามารถตอบคำถามได้

ขั้นตอนที่ 2) จัดโครงสร้างปัญหา: พิจารณาปัจจัยซึ่งอาจส่งผลต่อสถานการณ์ แล้วจัดโครงสร้าง
ปัญหาให้เป็นหมวดหมู่ คิดแยกแยะและตั้งสมมติฐานเบื้องต้น: อะไรคือองค์ประกอบหลักของปัญหา
หลังจากการระบุปัญหาแล้ว คุณพยายามจัดโครงสร้าง และแยกแยะ เพื่อที่จะทำให้สามารถจัดการได้
ง่ายในหลังจากการระบุปัญหาแล้ว คุณพยายามจัดโครงสร้างและแยกแยะ เพื่อที่จะทำให้สามารถ
จัดการได้ง่ายในการแก้ปัญหา โดยปกติแล้ว สิ่งนี้ทำได้โดยการตั้งค่าที่เรียกว่าต้นไม้ปัญหาซึ่งแบ่ง
ปัญหาออกเปน็ ส่วนประกอบ ดงั นัน้ จงึ ทำให้ภาพรวมทีด่ ีสำหรบั ทั้งทมี ผู้ใหค้ ำปรึกษา และลกู ค้าของคุณ

ขั้นตอนที่ 3) จัดลำดับความสำคัญของปัญหา: ระบุประเด็นที่สำคัญที่สุด เช่นนี้จะประหยัดเวลาโดย
ไม่ไปพจิ ารณาด้านทไ่ี ม่เกีย่ วขอ้ ง
ความเร็วในการไตรต่ รอง: ส่วนใดของตน้ ไม้ที่มีความสำคญั ต่อปัญหามากทสี่ ุด

หลังจากระบุ และจัดโครงสร้างปัญหาแล้ว ให้คุณจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบต่าง ๆ ของ
ปัญหา (นั่นก็คือ ส่วนของต้นไม้ปัญหา) โดยกำหนดองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดต่อปัญหาหรือที่มักจะ
ให้ความกระจ่างในการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้มีแรงจูงใจส่วนหนึ่งมาจากกฎ 80 - 20 (กฎพาเรโต) ซ่ึง
เปน็ ความคิดวา่ 80% ของผลลัพธน์ นั้ เกดิ ขึน้ มาจากตัวแปร 20% คอื ทำนอ้ ยใหไ้ ด้มาก

ข้ันตอนท่ี 4) แผนการวเิ คราะหแ์ ละแผนงาน:
แผนการวิเคราะห์ - เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิธกี ารจัดโครงสร้างปัญหา วิธีแก้ปัญหาจะกลายเป็นเกณฑ์
หรือมาตรฐานการทำงาน

การวางแผนการทำงาน - เกี่ยวข้องกับการแตกโครงการออกเป็นขั้นตอนซึ่งกำหนดเวลาสุดท้ายที่
แนน่ อนทตี่ ้องทำให้เสรจ็ และจดั สรรคนให้ทำงานทแี่ ตกต่างกัน

ไตรต่ รองถงึ ประสิทธภิ าพ: คุณควรใชเ้ วลากับอะไร

152

ระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะพัฒนาบัญชีรายการของการวิเคราะห์ซึ่งคุณต้องการที่จะจัดทำขึ้นอยู่กับ
ลำดับความสำคัญของปัญหาในขั้นตอนก่อนหน้า แง่มุมเพิ่มเติมของขั้นตอนนี้ คือ เพื่อจัดทำแผนงานเพ่ือ
ตดั สนิ ใจในการกระจายงาน (ซง่ึ สมาชิกในทีมจะทำงานในส่วนใดของการวิเคราะห์) และกำหนดเวลาสุดท้าย
ที่ต้องทำให้เสร็จ สงิ่ นีจ้ ะทำใหแ้ น่ใจว่าโครงการจะถูกส่งมอบตรงเวลา และทำหนา้ ที่เป็นระบบเตือนล่วงหน้า
หากทำไม่ไดต้ ามกำหนดเวลาสดุ ท้ายทต่ี อ้ งทำให้เสรจ็

ขั้นตอนท่ี 5) ดำเนินการวเิ คราะห์: ปรับแตง่ ได้มากข้นึ และข้ึนอยูก่ ับโครงการ
ตอบคำถาม “ฉันจำเปน็ ต้องทำอะไรเพื่อคน้ หาความจริงเพื่อตอบคำถาม”
ไตร่ตรองหลักฐานเชงิ ประจักษ์: คุณกำลงั พยายาม (ไม่) พิสูจน์อะไร

ระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะทำงานพื้นฐานสำหรับโครงการให้คำปรึกษา ใช้ขั้นตอนก่อนหน้านี้ในการ
ตระเตรียมขั้นตอนนี้ ดำเนินการวิเคราะห์หมายความว่าสมาชิกแต่ละคนเริ่มต้นการทำงานในงานของตน
(เชน่ การวิเคราะห์/คำถามที่ตัดสินใจในแผนงาน) ระยะเวลานอี้ าจรวมถงึ การสัมภาษณ์ เวิร์กชอปของลูกค้า
การวเิ คราะห์ข้อมลู การวจิ ัย และอน่ื ๆ

ข้ันตอนท่ี 6) สงั เคราะห์สง่ิ ท่ีพบ:
ตอบคำถาม “สิง่ ทพี่ บทงั้ หมดมคี วามหมายอะไรกับลูกคา้ ”
ผ้เู ปน็ ทป่ี รกึ ษาทดี่ ีสามารถทีจ่ ะสังเคราะห์หลกั ฐานเชิงประจกั ษท์ ้ังหมด และบอกลกู ค้าอยา่ งชัดแจ้งว่า
คน้ พบอะไร และเขาควรทำอะไร
สิ่งนค้ี ือ คำถาม “แลว้ ยังไง”
ไตรต่ รอง “แล้วยงั ไง”: อะไรคอื ความหมายของสิ่งทคี่ ณุ พบ
ขั้นตอนนี้ คุณจะนำผลลัพธ์จากส่วนของบทวิเคราะห์ต่างๆ และพยายามสร้างข้อมูลเชิงลึกโดย
เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ของข้อความแจ้งปัญหาที่ได้รับระหว่างขั้นตอนแรกของกรอบงาน ผลลัพธ์การ
สังเคราะห์ควรแสดงให้ลูกค้าของคุณและตัวคุณว่าคุณได้เรียนอะไรเกี่ยวกับปัญหาและทางออกใน การ
แกป้ ญั หา
ข้ันตอนท่ี 7) พฒั นาข้อเสนอแนะ:
น้คี ือ คำถาม “แล้วยังไง”
ไตร่ตรองทางออกในการแกป้ ัญหา: ส่งิ ท่ีควรทำเพือ่ ตอบสนองตอ่ ปัญหาได้ดีท่สี ุด

ในช่วงสุดท้ายของกรอบงาน 7 ขั้นตอน คุณจะใช้การสังเคราะห์ของคุณจากขั้นตอนก่อนหน้าเพื่อ
พัฒนาข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเหล่านี้ควรตอบคำถามปัญหาที่คุณพัฒนาขึ้นในช่วงการเริ่มต้นของ
โครงการพร้อมกับลูกค้า ยงิ่ ไปกวา่ นนั้ ข้อเสนอแนะควรได้รับการสนบั สนนุ โดยชุดของข้อสรุป แต่ละรายการ
ควรได้รับการสนับสนุนโดยชุดของสิ่งท่ีพบ (ดงึ มาจากการวเิ คราะห์ท่ีคณุ ดำเนินการกอ่ นหนา้ นี้)

153

ท่มี าภาพ : Global Consulting Team: 180 Degree Consulting

การประเมินผล (Evaluation)
การประเมินโครงการ มี 2 รูปแบบคือ
1) Process Evaluation เป็นการประเมินผลระหวา่ งทาง ในกรณที ่ีโครงการมรี ะยะเวลานาน
พอสมควร
2) Result Evaluation เป็นการประเมนิ ผลกระทบกับเปา้ หมายทต่ี ้งั ไว้

การวางแผนประเมนิ ผล (Evaluation Planning)
1. เราตอ้ งการทราบอะไร (What do we want to know?)

โดยใช้รูปแบบการประเมินผล 4 ระดับ ของ ดร. โดแนล เคิร์กแพทริก (Dr. Donald Kirkpatrick’s
four - level evaluation model)

1) ข้อมูลผลลัพธ์ (Result data) ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว
หรือไม่
2) ข้อมลู ปฏกิ ริ ยิ า (Reaction data) ปฏกิ ริ ยิ าจากผู้เกีย่ วขอ้ การสนบั สนุนจากคนรอบข้าง
3) ข้อมูลพฤติกรรม (Behavior data) มีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมบุคคล วัฒนธรรม นโยบาย
กระบวนการท่สี อดคลอ้ งกบั การเปลยี่ นแปลงหรอื ไม่
4) ข้อมลู การเรียนรู้ (Learning data) ชุดข้อมูลท่นี ำไปทำการสอน เป็นประโยชน์ไดใ้ นปจั จบุ ัน และ
อนาคต

154

2. อะไรที่ควรวัดเพื่อตัดสินสิ่งที่เราอยากทำ (What should be measured to determine what we
want to do?)

1) ลกู คา้ พนักงาน - ความพงึ พอใจ
2) สนิ ค้า หรือ บริการ - ปริมาณ คณุ ภาพ ประสิทธิภาพ ระยะเวลา
3) ผลลพั ธ์ดา้ นตัวเงิน - ยอดขาย กำไรขาดทุน ค่าใชจ้ ่าย ต้นทนุ

3. ควรได้ข้อมูลมาจากที่ใด และควรเก็บข้อมูลอย่างไร (What should the data come from, and how
should it be collected?)

ดแู หลง่ ท่ีมาของขอ้ มลู ใช้วิธีการเก็บข้อมลู ตา่ งๆ ให้เหมาะกับขอ้ มลู ที่ต้องการ

4. ควรวัดผลเม่อื ใด (When should we measure?)
จะประเมนิ เมื่อใด ควรกำหนดเวลาในการประเมินใหเ้ หมาะสม ไมเ่ ร็ว หรอื นานจนเกนิ ไป

5. จะทำอย่างไรกบั ผลลัพธ์ที่ได้ (What will be done with the results?)
การนำผลประเมนิ ไปใช้ วางแผนโดยพจิ ารณาจาก 3 ด้าน ดงั นี้
1) จะตอ้ งรายงานผลการประเมนิ ใหใ้ คร
2) ใครจะเป็นผู้ตดั สินใจเก่ยี วกับการประเมนิ น้ี
3) วธิ ที ดี่ ีทสี่ ดุ ในการนำเสนอผลการประเมนิ

รายงานของผู้ใหค้ ำปรกึ ษา (Consultant Report)

องค์ประกอบของการเขียนรายงานของผู้ให้คำปรึกษาโดยท่ัวไป สรุป ดงั นี้

1. บทสรุปผบู้ ริหาร (Executive Summary) ในส่วนแรกนกี้ ล่าวถงึ เป้าหมายของโครงการ วิธกี ารที่ใช้ สิ่งที่
พบ และขอ้ เสนอแนะ โดยสรปุ สั้นๆ คลา้ ยบทคัดย่อ (abstract) ของโครงการ
2. ความนำและภาพรวม (Introduction and Overview) เขียนความนำกว้างๆ เกี่ยวกับโจทย์ของ
โครงการท้งั หมดทไี่ ด้รบั มา และเนอ้ื หาท่ผี ใู้ หค้ ำปรึกษาจะนำเสนอในรายงานฉบับนี้

3. ระเบียบวิธีการ (Methodology) เขียนคำอธิบายวิธีและกระบวนการในการเก็บข้อมูล ผลการวิเคราะห์
พร้อมตัวอย่าง ไม่ต้องละเอียดจนเกินไป เน้นประเด็นหลักๆ ที่ต้องการให้ทราบ ส่วนรายละเอียดแนบไว้
ดา้ นหลงั ของรายงานได้

4. ส่งิ ที่พบ (Finding) ในหวั ข้อน้ีผู้ใหค้ ำปรกึ ษาควรเขียนผล ขอ้ มูล ปญั หา ท่ไี ด้จากการเก็บข้อมลู ซึ่งจะต้อง
เกี่ยวข้องกับเปา้ หมายของโครงการเทา่ นน้ั

5. ข้อเสนอแนะ (Recommendations) การเขียนข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาที่พบที่ดี
นั้นเป็นระบบและกลไกที่กระตุ้น ให้นำความคิดมาเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงงาน โดย
ความคดิ ทเ่ี สนอนนั้ อาจเปน็ เร่ืองเกยี่ วกบั การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การลดต้นทุนการผลติ การบรกิ าร
การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน การปรับปรุงหน้าที่งาน การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และอนื่ ๆ อกี มากมาย เปน็ ต้น

6. ภาคผนวก (Appendices)

155

การใหค้ ำปรึกษาโครงการ VISION ZERO
ขั้นตอนหรือกระบวนการในการให้คำปรึกษาในแต่ละสายงานหรือแต่ละอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่

เหมือนกัน อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องเป้าหมาย และประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพราะเป้าหมายของกลยุทธ์
VISION ZERO คือการสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นความเป็นผู้นำของผู้นำสถาน
ประกอบกิจการหรือองค์กร ดังนั้นการให้คำปรึกษาโครงการ VISION ZERO จึงแตกต่างจากการให้
คำปรกึ ษาโครงการทั่วไปอน่ื ๆ ผใู้ ห้คำปรกึ ษา
VISION ZERO ควรต้องสามารถโนม้ น้าวหรือกระตุ้นให้ผนู้ ำสถานประกอบกจิ การมวี ิสัยทัศนค์ วามปลอดภัย
และใช้ภาวะผนู้ ำของตนนำองคก์ รไปสู่ความปลอดภยั มีสุขภาวะในการทำงานทด่ี ี และมคี วามผาสุกทีย่ งั่ ยืน

เพ่ือสนับสนุนให้นายจ้าง ผู้บริหารหรือผู้นำสามารถปรับปรุงด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย
ในสถานประกอบกิจการตามแนวทาง VISION ZERO หนว่ ยงาน ISSA ได้มีการสำรวจและสอบถามเก่ียวกับ
วธิ ีการปฏิบตั ทิ ี่ดีที่สุดกับกลุ่มนายจ้าง ผบู้ ริหารระดับสูง ผู้จดั การ ผ้เู ช่ียวชาญด้านการป้องกัน ผู้แทนลูกจ้าง
รวมถึงเจา้ หนา้ ท่ตี รวจแรงงาน ซึง่ ผลการวิจัยนี้ได้นำมาสู่การพัฒนาเคร่ืองมือการบริหารเชิงปฏิบัติขึ้นเพ่ือใช้
ในการเสริมสร้าง VISION ZERO ในรูปแบบของกฎทอง 7 ประการ (7 Golden Rules) ที่เรียกว่า
“กฎทอง” (Golden Rules) นั้นเพราะ “กฎ” คือความจริงที่แน่แท้แน่นอน และที่ใช้ “ทอง” ก็เพื่อเน้นว่า
เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก เป็นความจริงที่ทรงคุณค่าเป็น “กฎของคุณธรรม” (Mindset) ที่ต้องมีเพื่อตัวเอง
ครอบครวั เพอื่ นรว่ มงาน และสงั คมโดยรวม กำหนดเปน็ วิสัยทศั นส์ ่วนตน

กฎทองแต่ละขอ้ ในแนวทางการประเมินตนเอง 110 ข้อมีคำอธบิ ายภาพรวมโดยย่อ รวมถงึ คำแนะนำ
การประเมินตนเองท่ีเป็นรูปธรรมในแต่ละเรื่อง ซ่ึงทำให้สามารถทราบไดว้ ่าแนวปฏิบัตใิ นกฎทอง 7 ประการ
ข้อใดบ้างที่สถานประกอบกิจการได้ดำเนินการแล้วในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข หรือยัง
สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้อีกหรือไม่ ในขั้นแรกของการให้คำปรึกษาในโครงการ VISION ZERO นั้น ผู้ให้
คำปรึกษาใช้ผลการประเมินตนเองดว้ ยกฎทอง 7 ประการ เพ่ือให้ทราบสถานภาพของสถานประกอบกิจการ
เบื้องต้น ไปกำหนดแนวทางการใหค้ ำปรึกษา และจัดทำเป็นแผนงานการปรบั ปรงุ โดยบรู ณาการเขา้ กบั สิ่งที่
สถานประกอบการกิจการมีหรือปฏิบัติอยู่ และมีการติดตามผลการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ จึงสามารถ
ดำเนินการอย่างตอ่ เน่อื งจนเกิดเปน็ ความยั่งยนื ได้

156

ตวั อยา่ งแผนการปรบั ปรุง

ช่ือสถานประกอบกจิ การ XXXXXXXX คร้ังที่ 1 คร้ังที่ 2 คร้งั ท่ี 3 คร้งั ที่ 4
วันทตี่ ดิ ตามผล
วันทจ่ี ัดทาแผน xx/xx/25xx

แผนปรับปรุงความปลอดภยั และความผาสุกตามแนวทาง Vision Zero เฉพาะข้อสีแดงและสีเหลือง
ปี งบประมาณ 25xx

ลาดบั กฎทอง ก่อน ผู้รับผดิ ชอบ งบประมาณ ปี 2563 ปี 2564 หลักฐาน หลงั
ที่ ข้อท่ี ปรับปรุง ชื่อ-นามสกลุ การดาเนินการ ปรับปรุง
การดาเนินการ (บาท) มยิ . กค. สค. กย. ตค. พย. ธค. มค. กพ. มคี .

1 1.1.3 Y จดั ทำแบบตรวจควำมปลอดภยั ตำมลกั ษณะงำนแต่ นำยยิ่งยศ ยอดเยี่ยม 0 บำท แบบตรวจควำมปลอดภยั G

ละพ้นื ท่ี ตำมลกั ษณะงำน

2 1.1.3 Y กำหนดหนำ้ ที่ใหพ้ นกั งำนตรวจตำมแบบตรวจ นำยยิ่งยศ ยอดเย่ียม 0 บำท คำสงั่ หรือระเบียบปฏิบตั ิ G

ก่อนลงมือปฏิบตั งิ ำน และแบบตรวจที่ทำแลว้

3 1.1.4 Y พดู เก่ียวกบั ขอ้ มลู ขำ่ วสำรควำมปลอดภยั และ นำยมงั่ มี ศรีสุข 0 บำท วำระกำรประชุม หรือ G

สุขภำพ หรือส่ือสำรเสน้ ทำงหนีไฟและควำม Slide Presentation

ปลอดภยั ก่อนกำรนำเสนอ ฯลฯ เป็ นเรื่องแรก

ก่อนกำรประชมุ ตำ่ งๆ ของบริษทั

4 5.1.1, R ปรับปรุงระเบียบปฏิบตั ใิ นกำรจดั ซ้ือจดั จำ้ งโดย นำยบุญเลิศ เฟื่ องฟู 0 บำท ระเบียบปฏิบตั ิ (SOP) ที่ Y

5.1.2, กำหนดเงื่อนไขดำ้ นควำมปลอดภยั ฯ กำรประเมิน ปรับปรุงแลว้ หรือ TOR

5.1.3 ควำมเส่ียง และกำรจดั ทำคูม่ ือควำมปลอดภยั และ

ดำเนินกำรเมื่อมีกำรจดั ซ้ือจดั จำ้ งใหม่

5 7.2.3 R ส่ือสำรกิจกรรมควำมปลอดภยั และสุขภำพอนำมยั นำงสำวสุขศิริ มีทรัพย์ 0 บำท ภำพถ่ำย สำเนำจดหมำย Y

ใหผ้ ปู้ ฏิบตั ิงำนและครอบครัวทรำบโดยกำรปิ ด โบรชวั ร์

ประกำศบนบอร์ดและหนำ้ โรงงำน ส่งจดหมำย

โบรชวั ร์ ฯลฯ เมื่อมีกำรจดั กิจกรรม

มติ ทิ ัง้ สามของ VISION ZERO
ตามท่ีเราทราบกันมาแล้วว่า VISION ZERO มี 3 มติ ิ ดงั น้ี

1) Safety at workplaces – the “classic approach”
ความปลอดภยั ในสถานทที่ ำงาน - วิธกี ารท่ีเปน็ หลักการพนื้ ฐาน
2) Healthy work - the Undervalued factor
การทำงานทีม่ ีสุขภาพท่ีดี - ปัจจัยท่ีประเมนิ ค่าตำ่ เกินไป
3) Wellbeing by leadership and a prevention culture
ความผาสกุ โดยความเปน็ ผูน้ ำ และวฒั นธรรมเชงิ ปอ้ งกัน
เพิ่มเติมจากการใช้แนวทางประเมินตนเองแล้ว ผู้ให้คำปรึกษาควรทบทวนข้อมูลทั้งหมด และ
รายละเอียดของสถานประกอบกิจการครอบคลมุ ประเด็นตา่ ง ๆ ดังน้ี

157

1. ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน - วิธีการที่เป็นหลักการพื้นฐาน (Safety at workplaces - the
“classic approach”)
ทบทวนประเดน็ ต่อไปน้ี

ข้อเทจ็ จรงิ เกย่ี วกบั อันตราย (Fact of Hazards) กฎหมาย และ ขอ้ กำหนด การจัดการองคก์ ร (Organization)
(Law and Requirements)

1) วัสดแุ ละอุปกรณ์ (Material and equipment) 1) นโยบาย ขอ้ บังคับ คมู่ ือ และระเบยี บปฏบิ ตั ิ 1) การแตง่ ตง้ั บคุ ลากร (Personnel designation)
• เคร่อื งจกั ร และอุปกรณ์ (Machines and equipment) • ครอบคลุมพนกั งาน ผูร้ บั เหมา และผู้มีส่วนได้ • การจัดตั้ง หรือ แต่งตั้งบุคคล และกลุ่มบุคคล
• สารเคมีหรือวัสดุอันตรายอื่นๆ (Chemicals or Other
สว่ นเสยี รวมถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
Hazardous Substances) • เฉพาะเจาะจง ตามกฎหมาย (by law)
• รายละเอียด คุณลักษณะ และคมู่ ือการใช้งาน • ครอบคลุมทุกงานท่ีเส่ยี งตอ่ การเกิดอันตราย • การจัดตั้ง หรือ แต่งตง้ั บคุ คล และกล่มุ บคุ คล
รวมถึงบทบาท หนา้ ท่ี และความรบั ผดิ ชอบ
2) บุคลากร (Personnel) 2) การดำเนินการตามนโยบาย กฎหมาย และ ตามนโยบาย หรอื ลกั ษณะขององค์กร
• ปัจจัยบุคคล (Composition) เช่น เชื้อชาติ ช่วงอายุ ขอ้ บังคับ
2) การสนบั สนนุ และการจดั สรรทรพั ยากร
การศึกษา ฯลฯ • การจัดตั้ง หรือ แต่งตั้ง บุคคลและกลุ่มบุคคล (Resources & Supports)
• การฝึกอบรมและการพัฒนาบคุ ลากร (Training & รวมถึงบทบาทหน้าทค่ี วามรับผิดชอบ • ๐ หน่วยงานสนบั สนุนปฏิบัตกิ าร
(Operation supports)
Development) • การฝึกอบรมที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง (Related • ๐ การจดั ทรพั ยากรและส่ิงอำนวย
and required training) ความสะดวก
3) วิธกี ารบรหิ ารจดั การ (Management Method) • (Resources and facilities
• การประเมินความเสี่ยง และ กระบวนการทำงานที่ • การขออนุญาต (Permit, License) arrangement)
• การสง่ รายงาน (Reporting)
ปลอดภัย • การสื่อสารอันตราย (Hazardous Labeling & 3) ระบบการจดั การ (Management System)
• ระบบการจัดการในการควบคุมและป้องกันอันตราย • ๐ การจดั การตามมาตรฐาน
• การดำเนินการเพื่อตรวจตรา ตรวจสอบ เฝ้าระวัง Communication) เช่น การติดป้าย/ฉลาก/ ข้อกำหนด หรอื
เคร่อื งหมายเตือนอันตราย • ขอ้ บังคับอื่นๆ เชน่ ISO45001,
อันตราย • การเฝ้าระวัง การตรวจสภาพแวดลอ้ ม TLS8000,
• กิจกรรม ตารางเวลาการทำงานชั่วโมงการทำงานต่อ ในการทำงาน และการควบคมุ (Working
Environment Monitoring, Measurementand 4) ระบบการจัดทำเอกสารและการควบคมุ บนั ทึก
วัน หรอื ต่อสปั ดาห์ ฯลฯ Control) (Documentation system and Control)
• ขัน้ ตอนการปฏิบตั เิ ก่ยี วกบั การประเมิน และคัดเลอื ก การตรวจสอบอาคารเครื่องจักร และอุปกรณ์ ครอบคลมุ ถงึ การอนุมตั ิ การแกไ้ ข การชบี้ ่ง
(Building, equipment and tool inspection) การจัดเกบ็ การเรียกกลับคนื การป้องกัน
ผู้ส่งมอบหรือผู้รับเหมาช่วงและควบคุมให้ปฏิบัติตาม การเขา้ ถึง และการทำลาย เอกสารท่เี กี่ยวข้อง
ขนั้ ตอน

4) ส่ิงท่ที กุ คนตอ้ งรู้ (Need-to-Know)
• การรบั รูอ้ ันตรายจากงานทป่ี ฏบิ ตั ิ และวธิ ปี อ้ งกัน

อันตราย
• การสอ่ื สารข้อมูลอนั ตราย และวิธีการป้องกัน

158

2. การทำงานทมี่ ีสุขภาพทด่ี ี – ปจั จยั ท่ีประเมนิ คา่ ตำ่ เกนิ ไป (Healthy work – the Undervalued
factor)

ทบทวนประเด็นต่อไปน้ี

สขุ ภาพกาย (Physical Health) สขุ ภาพจิต (Mental Health) สิทธปิ ระโยชนแ์ ละสวัสดกิ ารทจี่ ัดใหแ้ ก่
พนกั งาน (Benefit & Welfare)

1. การจัดบรกิ ารทางการแพทย์ (Medical Services) 1. การบริหารจดั การสุขภาพจติ (Mental Health 1. การจดั สวัสดกิ ารตามกฎหมายกำหนด (By Law
• ห้องพยาบาล บคุ ลากร และสิ่งอำนวยความสะดวก Management) Requirement)
• ทางการรักษาพยาบาล (Clinic, Medical personnel
• โปรแกรมการจัดการความเครยี ด และภาระงาน • น้ำด่ืม สุขา หอ้ งอาบน้ำ
& Treatment facilities) (Stress & Workload Management) (Water, Toilet, Bathroom)
• โปรแกรมการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน หรอื
• โปรแกรมการใหค้ ำปรกึ ษา (Counseling) • การตรวจสขุ ภาพตามปัจจัยเส่ยี ง
มอบหมายงาน (Pre-employment Physical • โปรแกรมรณรงค์ ส่งเสริมสุขภาพจิต (Mental (Health check - up based on Risk factors)
Check and Physical Job Demanding)
• โปรแกรมการส่งเสริมและดูแลสขุ ภาพทว่ั ไป Health Program Promotion & Campaign) • หอ้ งพยาบาล ยารกั ษาโรค อปุ กรณก์ าร
(General Health Care and Health Promotion รักษาพยาบาล (Clinic, Medicines, Medical
Program) 2. การยศาสตรแ์ ละจิตวทิ ยาสงั คม Treatment facilities)
• โปรแกรมการตรวจสขุ ภาพท่ัวไปประจำปี (Psychosocial and Ergonomics)
(Annual Health Check-up Program) • ประกนั สงั คม (Social Security)
• โปรแกรมการตรวจสุขภาพตามปจั จยั เสย่ี ง • การออกแบบสถานทที่ ำงาน • กองทนุ เงินทดแทน
(Health check-up based on Risk factors) (Workplace Design)
• การจดั สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Workmen Compensation Fund)
2. การจดั การสขุ ภาพในการทำงาน/นอกเวลาทำงาน (Working Condition Arrangement)
(On/Off the Job Health Management) • ปจั จยั มนษุ ย์ (Human Factors) 2. การจัดสวัสดกิ ารท่ีมากกว่ากฎหมายกำหนด
• การมอบหมายงานที่เหมาะสมกับร่างกาย (Job (Exceed Law Requirement)
• การรกั ษาพยาบาลและการสง่ ตอ่ ผู้ปว่ ย/ผบู้ าดเจบ็
(Medical Treatment and Patient Transfer) Physical Fitness) • อาหาร/เครอื่ งดื่ม/รถรบั ส่ง
• ระยะเวลาและความถี่ของการทำงาน (Work (Food/Drink/Transportation)
• การตรวจสอบ Physical Demanding
Frequency and Duration) • ห้องกาแฟ/โรงอาหาร (Pantry/Cafeteria)
3. การบริหารจดั การบนั ทกึ สขุ ภาพ/ทางการแพทย์ • หอ้ งนมแม่ (Lactation Room)
(Medical documentation management) • สถานท่อี อกกำลังกาย/สนามกฬี า

• บนั ทกึ การเจบ็ ปว่ ยและการบาดเจ็บทางกาย (Exercise/Sport Field)
(Injury & Illness Records) • ประกนั สุขภาพ/ประกันอุบตั ิเหต/ุ ประกนั

• การวเิ คราะหข์ อ้ มลู การเจบ็ ป่วยและการบาดเจ็บ ชีวติ หมู่ (Health Insurance/Accident
(Injury & Illness Data Analysis) Insurance/Group Life Insurance)
• กองทนุ สำรองเล้ยี งชพี (Provident Fund)
• การรายงานขอ้ มลู สขุ ภาพและการบาดเจ็บ • การกู้เงนิ ธนาคาร (Bank loan)
(Injury & Health Data Reporting) • สหกรณ์ (Cooperative)

3. การจดั กจิ กรรม สันทนาการประจำปี
(Annual Recreation Activity Arrangement)

4. สขุ ศาสตรอ์ ุตสาหกรรม (Industrial Hygiene)
• การประเมนิ ความเสยี่ งทางสขุ ภาพ

(Health Risk Assessment)

159

3. ความผาสุกโดยความเป็นผู้นำและวัฒนธรรมการป้องกัน (Wellbeing by leadership and a
prevention culture)
ทบทวนประเดน็ ต่อไปนี้

ความเป็นผนู้ ำ (Leadership) คณุ ธรรมและจรยิ ธรรม (Morality and Ethics) ความผาสกุ (Wellbeing)

• การกำหนดพันธกจิ (Commitment) • มีระเบียบปฏิบัติท่ีเกยี่ วข้องกบั การไมเ่ ลือกปฏบิ ัติ • เวลาพัก วันลา วนั หยุดพกั เปน็ ไปตามกฎหมาย
• รบั ทราบและปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ีตามที่ได้รับมอบหมาย และพนกั งานไดร้ ับรูท้ วั่ กัน และขอ้ บังคบั ในการทำงาน
• การสื่อสาร ประกาศและเผยแพร่ นโยบาย และ
• การคดั เลือกเข้าทำงานใช้เกณฑก์ ารศกึ ษา • สถานที่ทำงานมคี วามสะอาดเปน็ ระเบียบ และ
เปา้ หมาย ประสบการณ์ และความสามารถมาตดั สนิ อำนวยความสะดวกในการสง่ เสรมิ สขุ ภาพกาย
• การชีแ้ จงและทำความเข้าใจข้อกำหนดและการปฏิบัติ และใจ
• การตัดสนิ ใจและการสั่งการ (Direction & Decision) • การไมใ่ ชแ้ รงงานบงั คบั ความยินยอมทำงาน
• มแี ผนงาน การทบทวน การตดิ ตามผลการดำเนนิ และ ลว่ งเวลาและทำงานในวันหยดุ ของพนกั งาน • พนักงานมีอิสระในการใชส้ าธารณปู โภค การ
เข้าออกสถานท่ีทำงาน การใช้บรกิ ารสุขภาพ
การปฏบิ ตั กิ าร • ไม่มกี ารเลอื กปฏิบัตใิ นความแตกต่างทางเชื้อชาติ
• หลักเกณฑ์ที่เป็นธรรมเกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคลากร การทำกจิ กรรมสว่ นตวั การเลือกที่พกั อาศัย
ศาสนา ประเพณี และการแสดงออกตามทัศนคติ หรือการพบผ้มู าเยยี่ ม
และการเล่อื นตำแหนง่ สว่ นตัวในเรือ่ งเพศ • มีการจดั สวสั ดกิ ารต่าง ๆ เช่น นำ้ ดม่ื ห้องนำ้
• มีมาตรการจูงใจทีช่ ว่ ยสง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ ความร่วมมือ • ไมม่ กี ารปฏบิ ัติใดๆ ที่แสดงถงึ การบังคบั ทางร่างกาย บรกิ ารทางการแพทย์ หอ้ งนมแม่ สถานที่ออก
หรือจติ ใจของพนกั งาน หรอื การล่วงละเมดิ ต่างๆ กำลงั กาย สนามกีฬา และส่ิงจำเป็นพน้ื ฐาน อน่ื ๆ
- การสนบั สนนุ ให้กำลงั ใจ และ การมสี ่วนรว่ ม • ไมม่ กี ารเรียกเก็บเงินประกันจากพนกั งานยกเว้น • มีแผนการฝกึ อบรมหรือการพฒั นาในรูปแบบ
(Encouragement and Participation) กฎหมายกำหนด ต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความรู้ สร้าง
- การสร้างแรงจูงใจ และ การรณรงค์ • ไม่มีการเก็บบตั รประจำตวั หรือเอกสารประจำตัว จติ สำนกึ และพัฒนาความสามารถ
(Motivation and Campaign) ใด ๆ ของพนกั งาน • มกี ารจัดฝกึ อบรมหรอื การพฒั นาในรปู แบบ
- การสนทนา การสังเกตการณ์ การเยยี่ มเยยี น • การจา่ ยค่าจ้าง ค่าลว่ งเวลา และคา่ ตอบแทนการ ต่าง ๆ และการวดั ผลความรู้ เจตคติ และทกั ษะ
(Dialog, Observation, Visiting) ทำงาน เป็นไปตามขอ้ กำหนดของกฎหมาย มใิ ช่ จากการฝึกอบรม และพฒั นา
• มชี อ่ งทางรับข้อมูลการไม่ปฏบิ ตั ิตาม หรอื ขอ้ รอ้ งเรยี น ตามคุณลกั ษณะบุคคล • ขอ้ มลู การปฏิบตั ทิ ่ีไมเ่ ปน็ ไปตามข้อกำหนดที่
• และตรวจตดิ ตามผล • พนกั งานหญงิ และชายได้รับปฏบิ ตั เิ ทา่ เทียมกัน ได้รับจากช่องทางต่าง ๆ มีการสอบสวน
• การใหพ้ นักงานรบั การฝึกอบรม โยกยา้ ย หมนุ เวียน วิเคราะห์สาเหตุ และเสนอสู่การแก้ไข และ
งาน การเลื่อนหรือลดตำแหน่ง ขึ้นกับ ความดี ปอ้ งกัน
ความชอบ และความรู้ความสามารถ • มีมาตรการ และกจิ กรรมตา่ ง ๆ เพอ่ื สง่ เสริม
ความรว่ มมือและการทำงานเปน็ ทีมในรูปแบบ
ต่าง ๆ
• การให้รางวัลและขอบคุณพนักงานในรูปแบบ
ต่าง ๆ

160

การใหค้ ำปรกึ ษาครอบคลมุ มติ ิทงั้ 3 ของ VISION ZERO

ผใู้ ห้คำปรกึ ษาควรช้ีประเด็นทีส่ ถานประกอบกิจการควรปรับปรุง หรอื ดำเนินการเพิ่มเติม เน่ืองจาก
กลยุทธ์ VISION ZERO เป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารหรือผู้นำ โดยทั่วไปแล้วถ้าผู้บริหารหรือผู้นำมีการ
ปรบั เปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนนิ กจิ กรรมหลายๆ อยา่ ง อาจไม่มีคา่ ใชจ้ ่ายหรืออาจมคี ่าใช้จา่ ยบ้างแต่ใช้ให้
คมุ้ ค่ากับการลงทนุ และสามารถทีจ่ ะบูรณาการความปลอดภัย สขุ ภาพ และความผาสกุ เขา้ ด้วยกนั รวมถึง
สามารถบรู ณาการเขา้ ไปกับปฏิบตั ิการหรือแผนการดำเนินธรุ กิจขององคก์ รด้วย

สิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาพบระหว่างที่ทบทวนประเด็นต่างๆ ทั้ง 3 มิตินั้น บางเรื่องอาจเกี่ยวข้องกับการ
ปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย บางเรื่องเป็นสิ่งที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วแต่อาจทำไม่ประจำหรือไม่
สม่ำเสมอ ในเรื่องการดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายนั้นเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการบริหารจัดการ
ความปลอดภยั และสุขภาพอนามัยให้กับผูท้ ำงาน กรณที ี่สถานประกอบกิจการยังไม่ได้มีการดำเนินการตาม
กฎหมาย ควรพิจารณาให้ดำเนินการเป็นลำดับต้น ๆ ส่วนคำแนะนำในเรื่องที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วแต่ไม่
สม่ำเสมอนั้น ควรชี้แนะว่าทำอย่างไรแล้วจัดทำเป็นแผนงานโดยบูรณาการเข้ากับสิ่งที่สถานประกอบการ
กิจการมีหรือปฏิบัติอยู่ และมีการติดตามการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ จึงสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
จนเกิดเป็นความยงั่ ยืนได้

การจะสามารถให้คำปรึกษาเหล่านี้ได้นั้น ผู้ให้คำปรึกษาต้องมีและใช้ความรู้ความสามารถ รวมถึง
ทักษะความชำนาญ และประสบการณ์ทั้งหมดมาประกอบกัน เพ่ือให้ผู้นำสถานประกอบกิจการสามารถ
ปรับปรุง เปลยี่ นแปลงจนบรรลเุ ป้าหมายของ VISION ZERO

การเขียนรายงานการใหค้ ำปรกึ ษาโครงการ VISION ZERO
การเขียนรายงานการให้คำปรึกษาโครงการ VISION ZERO ควรมอี งคป์ ระกอบดงั น้ี

1. บทสรุปการบรหิ าร (Executive Summary)
เป็นส่วนที่จะสรุปใจความสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนการดำเนินงานในการบริหารจัดการด้านความ

ปลอดภัย สุขภาพอนามัยและความผาสุก ของสถานประกอบกิจการตามแนวทางกลยุทธ์ VISION ZERO
แผนปฏิบัติการนีใ้ นความยาวไม่เกิน 1-2 หน้า ส่วนนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนแรกที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Interested parties) อ่านและตัดสินจากส่วนนี้ถึงสภาวะความเป็นผู้นำของผู้บริหารหรือผู้นำสถาน
ประกอบกิจการดังนั้น บทสรุปการบริหารจึงควรชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ คือ ชี้ให้เห็นว่าผู้นำหรือผู้บริหาร
สถานประกอบกิจการมีวสิ ัยทศั นค์ วามปลอดภัยจริงๆ ได้ดำเนินการและสนับสนุนใหม้ ีการดำเนินการอย่าง
สม่ำเสมออย่างมีระบบ และบูรณาการเข้าเปน็ ส่วนหนงึ่ ของปฏิบัตกิ ารของสถานประกอบกิจการ

บทสรุปการบริหารจงึ ต้องเขียนใหน้ ่าเชื่อถือ ตรงตามความเป็นจรงิ และสามารถเห็นประจักษช์ ัดว่าได้
ดำเนินการตามนั้นจรงิ ผใู้ ห้คำปรึกษาพึงควรระลึกไว้เสมอว่า คณุ ภาพของบทสรุปการบริหารจะสะท้อนถึง
คณุ ภาพของการทำงานของผใู้ หค้ ำปรึกษาและองค์กรของผใู้ ห้คำปรึกษา

161

2. ความนำและภาพรวม (Introduction and Overview)
ความนำนับเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของงานนี้ เพราะความนำประกอบด้วยภาพรวมของแนวโน้มของ

ผลการดำเนินงาน ส่วนภาพรวมก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพราะแสดงให้เห็นถึงว่าผู้ให้คำปรึกษา
เขา้ ใจและสามารถอธิบายขอ้ มลู ท่ีมีความสำคัญมากทีส่ ุดในรายงาน

ในการเขียนความนำผู้ให้คำปรึกษาควรเขียนเพื่อเกริ่นความเป็นมาของการให้คำปรึกษาก่อน แล้ว
โยงเข้าประเด็นเนื้อเรื่องว่าได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอะไร และมีเรื่องอะไรบ้างเฉพาะเรื่องที่สำคัญๆ และปิด
ทา้ ยว่าทำเพอ่ื อะไร มปี ระโยชน์กับใครอย่างไร

3. ระเบียบวิธกี าร (Methodology)
เขียนคำอธิบายวิธีการ ขั้นตอน หรือกระบวนการในการดำเนินการ การเก็บรวบรวมข้อมูล การ

วิเคราะห์ เปรยี บเทยี บหลกั เกณฑ์ พรอ้ มตัวอยา่ ง ไม่ตอ้ งละเอียดจนเกินไป เน้นประเดน็ หลักๆ ท่ีต้องการให้
ทราบ อาจแนบรายละเอยี ดไวด้ า้ นหลงั ของรายงานได้

4. ส่งิ ทพ่ี บ (Finding)
ผู้ให้คำปรึกษาพึงระลึกเสมอว่า การดำเนินการตามแนวทางกลยุทธ์ VISION ZERO ไม่ใช่เป็นการ

ดำเนินการตามระบบการจัดการ สิ่งที่พบจากการทบทวนในการให้คำปรึกษาโครงการ VISION ZERO ไม่
เหมือนกับการให้คำปรึกษาการทำระบบการจัดการเพื่อขอการรับรองที่จะต้องมีการออกในรายงานการ
แก้ไข (Corrective Action Report) แต่ควรยกประเด็นที่พบไปพูดคุยกับสถานประกอบกิจการ เพื่อ
หาทางออกหรือแนวทางในการปรับปรุง

ในหวั ข้อน้ีผใู้ หค้ ำปรึกษาควรเขยี นผล ขอ้ มูล ปญั หา ทไ่ี ดจ้ ากการรวบรวมข้อมลู และการวิเคราะห์ ซ่ึง
จะต้องเกี่ยวข้องกับเป้าหมายของการดำเนินกลยุทธ์ VISION ZERO ผู้ให้คำปรึกษาสามารถให้คำแนะนำ
แนวทางการปรับปรงุ เพ่ือใหส้ ถานประกอบกิจการนำไปพฒั นาเปน็ แผนงานดำเนินการอย่างต่อเน่ือง

5. ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
การเขียนข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาที่พบที่ดีนั้นจะเป็นระบบและกลไกที่กระตุ้น

ให้สถานประกอบกิจการนำความคิดมาเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงงาน โดยความคิดที่เสนอ
น้ันอาจเป็นเรือ่ งเก่ียวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยความปลอดภยั และสุขภาวะท่ดี ี การลดตน้ ทุน
การผลิต การบริการ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน การปรับปรุงหน้าที่งาน การปรับปรุง
ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภณั ฑ์ใหม่ๆ และสร้างความผาสุกท่ยี งั่ ยืน เป็นต้น

6. ภาคผนวก (Appendices)
ภาคผนวกเปน็ ส่วนประกอบท่ีเขยี นเพิม่ เติมในตอนท้ายเพื่อชว่ ยให้เห็นความสมบรู ณ์ในข้อมูลของ

รายงานอาจประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมลู ภาพถา่ ย เป็นตน้

162

163


Click to View FlipBook Version