การพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 โดยใช้รูปแบบ ADDIE Model โดย นางสาวจิระนันท์ คำผาย และคณะ งานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ ADDIE Model โดย นางสาวจิระนันท์ คำผาย รหัสนิสิต 63010514007 นางสาวชนิดาภา แก้วจันทร์ รหัสนิสิต 63010514013 นางสาวญาณิศา ดวงสุวรรณ รหัสนิสิต 63010514015 นางสาวบุษกร เดชแพง รหัสนิสิต 63010514025 กลุ่มเรียนที่ 1 งานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ก ชื่อเรื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ ADDIE Model ผู้วิจัย นางสาวจิระนันท์ คำผาย และคณะ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ ปริญญา การศึกษาบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาไทย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2565 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และ คำพังเพย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามรูปแบบ ADDIE Model ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียน รู้ตามรูปแบบ ADDIE Model ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัด มหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ได้มาจาก การเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และ คำพังเพย วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งสื่อประเภทวัสดุ และสื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ 2) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ ซึ่งเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.630 - 0.75 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 – 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.15 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. สื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.07/91 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข TITLE The Development of learning media in Thai language to promote learning achievements on idioms, proverbs and aphorisms of Mathayom Suksa 1 students by using the ADDIE Model AUTHOR Ms.Jiranun Khamphai and team ADVISOR Asst. Prof. Dr.Tatsirin Sawangboon DEGREE Bachelor of Education MAJOR Thai Language UNIVERSITY Mahasarakham University DATE 2022 ABSTRACT This research aims to 1) to create and develop learning media on idioms, proverbs and aphorisms for Grade 1 students according to the ADDIE Model to be effective according to the 75/75 criteria; educational materials on idioms, proverbs and aphorisms before and after the use of learning media according to the ADDIE Model. Mahasarakham Province, first semester of the academic year 2022, 40 students were obtained by selecting a specific sample (Purposive Sampling). Research instruments were 1) learning media on idioms, proverbs and aphorisms in Thai language, Grade 1 both media types and electronic media 2) An achievement test Before and after class on idioms, proverbs and aphorisms in Thai language, Mathayom Suksa 1, 10 items, which is a four-choice criteria-based test with a difficulty value = 0.63 – 0.75 classification power = 0.25 – 0.75 and the confidence value of the whole issue is equal to 0.15 The statistics used in the data analysis were Percentage, Mean (x̅), Standard Deviation (S.D.), Process Efficiency (E1), Outcome Efficiency (E2), and Effectiveness Index (E.I.). The results of the research appeared as follows: 1. Learning materials on idioms, proverbs and aphorisms for grade 1 students were as effective as 88.07/91, meeting the criteria 75/75. 2. The students' learning achievement on idioms, proverbs and aphorisms after studying was significantly higher than before at the .05 level.
ค กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ ที่ประสิทธิ์ประสาทให้ความรู้ ประสบการณ์ และแนะนำแนวทางในการทำการวิจัย ตลอดจนตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณ อาจารย์เบญจสิริ จันทะวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชา ภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , นางรัตนาภา เรืองวิเศษ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย โรงเรียนผดุงนารี และนางอัจฉริยา ธรรมแสง รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียน ผดุงนารี ที่ให้ความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตลอดจนให้คำแนะนำ ปรึกษา และข้อเสนอแนะ จนงานวิจัยสำเร็จได้ด้วยดี ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียนผดุงนารี ตลอดจนคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการทดลองใช้เครื่องมือและเก็บข้อมูล ในการวิจัย ขอขอบใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง คุณค่าและประโยชน์จากงานวิจัยฉบับนี้ คณะผู้วิจัยขออุทิศแด่ผู้มีพระคุณทุกท่าน และเพื่อเป็นตำราทาง การศึกษาต่อไป จิระนันท์คำผาย และคณะ
ง สารบัญ บทที่ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ............................................................................................................................. ............. ก บทคัดย่อภาษาอังกฤษ .......................................................................................................................... ........... ข กิตติกรรมประกาศ ....................................................................................................... .................................... ค สารบัญ ............................................................................................................................. ................................ ง บัญชีตาราง ...................................................................................................................................................... จ บัญชีภาพประกอบ ............................................................................................................................. .............. ฉ บทที่ 1 บทนำ ............................................................................................................................. .................... 1 ที่มาและความสำคัญ ..………………………………………………………………………………………………………............... 1 วัตถุประสงค์ในการวิจัย ……………………………………………………………………………………………………............... 2 สมมุติฐานในการศึกษาค้นคว้า ................…………………………………………………………………………………...…... 2 กรอบความคิดในการวิจัย ..................................................................................................................... ........ 3 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า .................................................................................................................. .... 3 คำนิยามศัพท์เฉพาะ .................................................................................................................. ................... 4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ................................................................................................................... ........ 4 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง .................................................................................................... .......................... 5 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ........................................................... 7 1.1.1 ความนำ ................................................................................................................. ... 7 1.1.2 วิสัยทัศน์.............................................................................................................. ..... 7 1.1.3 หลักการ ................................................................................................................ .... 8 1.1.4 จุดหมาย ............................................................................................................. ....... 8 1.1.5 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์.................................... 9
ง จ จ จ จ จ สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า 1.1.6 มาตรฐานการเรียนรู้.......................................................................................... 10 1.1.7 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย ................................................... 11 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย .................................................. 12 2.1 ความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย .......................................................... 12 21.1.1 ความหมายของสำนวน ................................................................................... 12 2.1.2 ความหมายของสุภาษิต ..................................................................................... 13 2.1.3 ความหมายของคำพังเพย .................................................................................. 14 2.2 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ..................................................................... 15 2.2.1 ที่มาจากธรรมชาติ............................................................................................. 15 2.2.2 ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต ...................................................................... 16 2.2.3 ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม ............................................................................ 17 2.2.4 ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ ............................................................................. 18 2.2.5 ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ ............................................................................ 18 2.2.6 ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์............. 19 2.3 คุณค่าของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ................................................................... 20 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ............................................... 21 2.4.1 งานวิจัยในประเทศ ....................................................................................... 21 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้............................................................................... 22 3.1 ความหมายของสื่อการเรียนรู้...................................................................................... 22 3.2 ประเภทของสื่อการเรียนรู้........................................................................................... 23 3.3 ประโยชน์ของสื่อการเรียนรู้......................................................................................... 26 3.4 หลักการใช้สื่อการเรียนรู้............................................................................................. 30
ง สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า 3.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนรู้........................................................................... 34 3.5.1 งานวิจัยในประเทศ ........................................................................................ 34 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับหลักการออกแบบของ ADDIE Model ........................................ 35 4.1 ความหมายและหลักการของ ADDIE Model ............................................................. 35 4.2 ขั้นตอนของ ADDIE Model ....................................................................................... 35 4.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการออกแบบของ ADDIE Model .................................... 40 4.3.1 งานวิจัยในประเทศ ............................................................................................ 40 4.3.2 งานวิจัยในต่างประเทศ ................................................................................. 41 5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ............................................................... 42 5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ....................................................................... 42 5.2 ประเภทของแบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ............................................. 43 5.3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ..................................................... 44 5.4 กระบวนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ........................................... 45 5.5 ประโยชน์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ......................................................................... 47 5.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ............................................................ 48 5.6.1 งานวิจัยในประเทศ .......................................................................................... 48 5.6.2 งานวิจัยต่างประเทศ ........................................................................................ 49 บทที่ 3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ........................................................................................................................... 50 1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ....................................................................................... 50 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย .............................................................................................................. 50 3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ................................................................ 51
ง สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล และการดำเนินการวิจัย .......................................................................... 53 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ...................................................................................................................... 54 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ..................................................................................................................... 59 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ................................................................... 59 2. ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล .................................................................... 59 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ................................................................................................................. 60 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ............................................................................................. 73 1. ความมุ่งหมายของการวิจัย .......................................................................................................... 73 2. สรุปผล ............................................................................................................................. ........... 73 3. อภิปรายผล ................................................................................................................................. 74 4. ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. .. 74 บรรณานุกรม ................................................................................................................................................. 77 ภาคผนวก ............................................................................................................................. ......................... 79 ภาคผนวก ก ............................................................................................................................. ....... 80 ภาคผนวก ข ............................................................................................................. ....................... 86 ภาคผนวก ค ............................................................................................................................. ..... 117 ภาคผนวก ง .............................................................................................................. ..................... 121 ภาคผนวก จ ............................................................................................................................. ..... 126 ภาคผนวก ฉ .................................................................................................................................. 140 ภาคผนวก ช ............................................................................................................................. ..... 143 ประวัติผู้ทำวิจัย ............................................................................................................................. .............. 146
จ บัญชีตาราง ตาราง หน้า 1. ตารางที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากธรรมชาติ........................................................ 15 2. ตารางที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ............................. 16 3. ตารางที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม ....................................... 17 4. ตารางที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ ....................................... 18 5. ตารางที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ ...................................... 18 6. ตารางที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์............................................................................................... 19 7. ตารางแสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ........................................................... 60 8. ตารางวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ของสื่อการเรียนรู้เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ............................................................................................ 61 9. ตารางแสดงประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ของสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย .... 65 10. ตารางแสดงดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1......................................................... 69
ฉ บัญชีภาพประกอบ ภาพประกอบ หน้า 1. กรอบความคิดในการวิจัย ....................................................................................................................... 3 2. ขั้นตอนของ ADDIE Model ................................................................................................................. 35 3. Brain storm chart ............................................................................................................................. . 37 4. Concept chart .......................................................................................................... .......................... 37 5. Flow chart ............................................................................................................................. ............. 38 6. Story board ............................................................................................................................. ........... 39 7. สูตรการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ............................................................................................. 54 8. สูตรการหาค่าประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้............................................................................................. 55 9. สูตรการหาค่าความยากง่าย .................................................................................................................. 56 10. สูตรการหาค่าอำนาจจำแนก ............................................................................................................... 56 11. สูตรการหาค่าความเชื่อมั่น ........................................................................................................... ....... 56 12. สูตรการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจทั้งฉบับ ................................................... 57 13. สูตรการหาค่าเฉลี่ย ............................................................................................................................. 57 14. สูตรการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ..................................................................................................... 58 15. สูตรการหาค่าร้อยละ ............................................................................................................................ 58
1 บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ได้รับการพัฒนามาจากวิถีชีวิตความ เป็นอยู่ของคนไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อและค่านิยม ด้วยการใช้ภาษาที่สละสลวย แต่มี ความหมายลึกซึ้งคมคาย และให้แง่คิดในการอบรมสั่งสอนสำหรับการดำเนินชีวิต นับเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมที่ควรได้รับการสืบทอด เพื่อที่เยาวชนไทยจะได้รู้ถึงคุณค่าความหมายของสำนวน สุภาษิต และ คำพังเพย สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเป็นการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาที่ดีงามต่อไป (ขนิษฐา จิตชินะสกุล, 2559,หน้า 1) ปัญหาที่พบในการเรียนการสอน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย กล่าวคือ ผู้เรียนยังไม่เกิดความ เข้าใจในความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยอย่างถ่องแท้ ส่งผลให้นำไปใช้ได้ไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุที่ เนื้อหา เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย เป็นข้อความที่มีการเปรียบเปรยหรือแฝงไปด้วยความหมาย โดยนัย จึงยากต่อการจดจำและการทำความเข้าใจ อีกทั้งสื่อการเรียนรู้ยังไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่จะ ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ (นันทวัน เหิดขุนทด, 2555, หน้า 2) จากที่กล่าวมาข้างต้น สื่อการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ในปัจจุบันที่ครูผู้ สอนใช้ในการจัดการเรียนรู้ ส่วนมากยังเป็นสื่อที่เรียบง่าย ไม่มีความหลากหลาย และล้าสมัย ยกตัวอย่างเช่น การทำบัตรภาพสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มีความหมายบรรยายไว้ใต้ภาพติดไว้ตามมุมการเรียนรู้ หรือ บริเวณโดยรอบห้องเรียน ซึ่งไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านไปแล้วก็จำได้เพียงระยะเวลา อันสั้น ทำให้การใช้สื่อการเรียนรู้ในลักษณะนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร (กัลยวรรธน์ฉันทจิตปรีชา, 2560 ,หน้า 900) ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และสาเหตุที่ทางเราต้องการที่จะพัฒนาเนื่องจากปัญหาที่นักเรียน ไม่สามารถเข้าใจความ หมายในสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งส่งผลทำให้นักเรียนนำไปใช้ได้ไม่ถูกต้อง การส่งเสริม ให้นักเรียนใช้สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่ถูกต้อง นอกจากจะช่วยทำให้ผลการเรียนในรายวิชาภาษาไทย ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีทางภาษาอีกด้วย โดยแนวทางแก้ไขโดยพัฒนาสื่อ การเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย สร้างสรรค์ และน่าสนใจมากขึ้นตามรูปแบบ ADDIE Model ซึ่งเหตุผลที่ ผู้วิจัยต้องการใช้รูปแบบนี้เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ได้รับการยอมรับ มีขั้นตอนที่เป็นระบบอย่างชัดเจน โดยการ
2 เข้าใจปัญหาที่ต้องการแก้ไข ซึ่งจะเน้นไปที่การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อนำข้อมูลนั้นมาออกแบบตัวสื่อ หลักสูตร และกิจกรรมให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เรียน ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งการออกแบบสื่อให้ เหมาะสมกับเนื้อหาการสอนเรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ โดยจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของช่วงวัยของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในการใช้สื่อการเรียนรู้และสามารถเข้าถึงได้ง่าย ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ใน เนื้อหาที่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ซูไรดา เจะนิ, 2556, หน้า 14 ) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมกับเนื้อหา ช่วงวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของ ผู้เรียน จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากสื่อการเรียนรู้จะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศ ภายในชั้นเรียน ทำให้การเรียนผ่อนคลายขึ้น จึงมีผลทำให้ผู้เรียนมีอารมณ์ร่วมและสนุกสนานกับการเรียน การสอนได้เป็นอย่างดี ด้วยรูปแบบของสื่อที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม รวมทั้งการมีสื่อการสอนที่ หลากหลายจึงทำให้สามารถกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนเป็นอย่างดี เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนทำ กิจกรรมต่าง ๆ ภายในชั้นเรียนด้วยตนเอง ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนและผู้สอน รวมถึง ผู้เรียนด้วยกัน อีกทั้งมีการยกตัวอย่างการใช้และการมีภาพประกอบสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ช่วยทำให้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว จดจำความหมายได้เร็วขึ้น จึงทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถนำสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยไปใช้ได้อย่างถูกต้อง (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ, 2556, หน้า 348) วัตถุประสงค์ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามรูปแบบ ADDIE Model ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ก่อนและหลัง การใช้สื่อการเรียนรู้ตามรูปแบบ ADDIE Model สมมุติฐานในการศึกษาค้นคว้า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาตามรูปแบบ ADDIE Model ในการจัดการเรียนรู้
3 กรอบความคิดในการวิจัย ภาพประกอบที่ 1 กรอบความคิดในการวิจัย ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัด มหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จํานวน 16 ห้องเรียน รวมนักเรียน 645 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จํานวน 40 คน ได้มาจาก การเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) 3. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่จะศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ 3.1 ตัวแปรอิสระ คือ สื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 3.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หลังการ จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 4. เนื้อหา เนื้อหา เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย โดยค้นคว้าจากแบบเรียนวิชาภาษาไทยระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2551 5. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจะดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการ เก็บข้อมูล จำนวน 2 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 วัน
4 คำนิยามศัพท์เฉพาะ 1. สื่อการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นเครื่องช่วยถ่ายทอดความรู้จากบทเรียนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน มีความหมายไม่ตรงตามตัว หรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ จะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบ และมักจะไม่แปลความหมายตรง ๆ 3. สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นคติสอนใจ มีความหมายสั่งสอนให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี 4. คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อตีความให้เข้ากับเรื่องราวและสื่อความหมาย ได้ชัดเจน 5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า ในเรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยของนักเรียนจากการเรียนด้วย สื่อการเรียนรู้ ประเภทวัสดุ รูปแบบ สลากกินแบ่งรัฐบาล ชุด สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย และสื่อประกอบการสอน พาวเวอร์พอยต์ ซึ่งวัดได้จากคะแนนการทำแบบฝึกหัดระหว่าง เรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน 6. ประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนำสื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นไปทดลอง ใช้และปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 75 ตัวแรก หมายถึง ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ทำแบบทดสอบย่อยระหว่าง เรียนไม่ต่ำกว่า 75 75 ตัวหลัง หมายถึง ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ได้จากการกระทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนไม่ต่ำกว่า 75 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ดังนี้ 1. เป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่สูงขึ้น 3. เป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ ADDIE Model ต่อไป
5 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ค้นคว้าหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ที่ได้พัฒนา เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย วิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 1.1.1 ความนำ 1.1.2 วิสัยทัศน์ 1.1.3 หลักการ 1.1.4 จุดหมาย 1.1.5 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1.1.6 มาตรฐานการเรียนรู้ 1.1.7 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 2.1 ความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 21.1.1 ความหมายของสำนวน 2.1.2 ความหมายของสุภาษิต 2.1.3 ความหมายของคำพังเพย 2.2 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 2.2.1 ที่มาจากธรรมชาติ 2.2.2 ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต 2.2.3 ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม 2.2.4 ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ 2.2.5 ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ 2.2.6 ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์ 2.3 คุณค่าของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 2.4.1 งานวิจัยในประเทศ
6 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ 3.1 ความหมายของสื่อการเรียนรู้ 3.2 ประเภทของสื่อการเรียนรู้ 3.3 ประโยชน์ของสื่อการเรียนรู้ 3.4 หลักการใช้สื่อการเรียนรู้ 3.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนรู้ 3.5.1 งานวิจัยในประเทศ 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับหลักการออกแบบของ ADDIE Model 4.1 ความหมายและหลักการของ ADDIE Model 4.2 ขั้นตอนของ ADDIE Model 4.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการออกแบบของ ADDIE Model 4.3.1 งานวิจัยในประเทศ 4.3.2 งานวิจัยในต่างประเทศ 5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.2 ประเภทของแบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.4 กระบวนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.5 ประโยชน์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.6.1 งานวิจัยในประเทศ 5.6.2 งานวิจัยต่างประเทศ
7 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 1.1.1 ความนำ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้เป็น หลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทาง ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐานพุทธศักราช 2544 ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศโดยกำหนดจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีด ความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้อ กับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาท และมีส่วนร่วมใน การพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 นี้จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่นและ สถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และจัดการเรียนการสอน เพื่อ พัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็น สำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุก ระดับเห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจน ซึ่งจะสามารถช่วยให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำหลักสูตรใน ระดัสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรในทุก ระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษาจะต้องสะท้อนคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.1.2 วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะ พื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้ เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
8 1.1.3 หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติมีจุดมุ่งหมายและมาตรฐานการ เรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรม บนพื้นฐานของ ความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอ ภาคและมีคุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทางด้านสาระการเรียนรู้ เวลา และการจัด การเรียนรู้ 5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบนอกระบบ และตามอัธยาศัยครอบคลุม ทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 1.1.4 จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มี ศักยภาพ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติ ตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะ ชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
9 1.1.5 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการดังนี้ 1.1 ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมใน การใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อ ขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 1.2 ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 1.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความ สัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆในสังคม แสวงหาความรู้ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม 1.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตเป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆไปใช้ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันใน สังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่าง เหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของ สังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยง พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 1.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยี ด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การ สื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
10 2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ไฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้อง ตามบริบท และจุดเน้นของตนเอง 1.1.6 มาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังนี้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนเพิ่งรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เมื่อจบการ ศึกษาขั้นพื้นฐานนอกจากนั้น มาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษา
11 ทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพ ภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบ ระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าว เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการ ศึกษาว่า สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด 1.1.7 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย สาระที่ 1 การอ่าน ท.1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาใน การดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน สาระที่ 2 การเขียน ท.2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว ในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด ท.3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย ท.4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษา และหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ พลังของภาษาภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม ท.5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็น คุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
12 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 2.1 ความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 2.1.1 ความหมายของสำนวน ความหมายของสํานวน มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ สํานวน หมายถึง ถ้อยคํา หรือวลีหรือประโยคที่มีความหมายไม่ตรงตัว หรือมีความหมายอื่น แฝงอยู่ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2554) สํานวน หมายถึง เป็นคํากล่าวที่คมคาย กะทัดรัด งดงาม ฟังดูไพเราะจับใจ (ศิวรี วรนิตินันท. ม.ป.ป.: 1) สํานวน หมายถึง ถ้อยคําหรือคําพูดที่เป็นชั้นเชิง ไม่ตรงไปตรงมาตามตัวอักษร แต่มี ความหมายในคําพูดนั้น ๆ ใช้กันจนแพร่หลาย ผู้ฟังอาจเข้าใจทันที ถ้าคำพูดนั้นยังไม่แพร่หลาย ผู้ฟังอาจ ไม่เข้าใจทันที ต้องคิดก่อนจึงจะเขาใจ (ชัยวัฒน สีแกว. 2542: 46) สํานวน หมายถึง โวหาร คารม ทํานองพูด ถอ้อยคำที่เรียบเรียงมีความหมายไม่ตายตัว แต่เข้าใจกัน (พจนานุกรมไทย. 2520: 975) สํานวน หมายถึง ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมานานแล้ว แต่มีความหมาย ไม่ตรงตามตัว หรือมีความหมายแอบแฝงอยู (นลิน คู. 2548: 5) จากการศึกษาความหมายของสํานวนพอสรุปความหมายได้คือ สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่มีความหมายไม่ตรงความหมาย มีความหมายไปในเชิงเปรียบเทียบ เช่น ก้างขวางคอ หมายถึง ผู้ขัดขวางมิให้ผู้อื่นทําการสะดวก กองพะเนินเทินทึก หมายถึง เยอะมาก ใกล้แค่คืบ หมายถึง ใกล้มาก ไกลสุดลูกหูลูกตา หมายถึง ไกลมาก กาฝาก หมายถึง ผู้ที่เกาะผู้อื่นกิน กาคาบพริก หมายถึง สีที่ตัดกัน กลัวจนตัวสั่น หมายถึง กลัวมาก ไก่อ่อน หมายถึง คนที่ยังไม่ชํานาญในชั้นเชิง กิ่งทองใบหยก หมายถึง เหมาะสมกัน เกลือจิ้มเกลือ หมายถึง ไม่ยอมเสียเปรียบกัน เป็นต้น
13 2.1.2 ความหมายของสุภาษิต ความหมายของสุภาษิต ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ (ราชบัณฑิตสถาน. 2554) สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เป็นคติสั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ สอนให้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม มักจะกล่าวถึงในสิ่งที่เป็นความจริง หรือสัจธรรม สุภาษิตส่วนใหญ่มักมาจากหลักธรรมทางศาสนา นิทาน ชาดก นิทานธรรม หรือคําสอนของบุคคลสําคัญของชาติ (ชัยวัฒน สีแกว. 2542.: 64) สุภาษิต หมายถึง ข้อความที่เป็นคติสอนใจ เป็นคํากล่าวดี คําสอนถ้อยคําที่กล่าวแล้วดี (พจนานุกรมไทย. 2520: 987) สุภาษิต หมายถึง คํากล่าวที่ดีงาม เป็นคติสอนใจที่เป็นความจริงทุกยุคทุกสมัย ซึ่งสอนให้ประพฤติแต่สิ่งดีงาม โดยมากมักเป็นคําสั้น ๆ แตมีความหมายลึกซึ้ง น่าเลื่อมใส สุภาษิตที่คนไทยนิยม คือ พุทธภาษิต (ศิวรี วรนิตินันท์. ม.ป.ป.: 1) สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน มีความหมายเป็นคติสอนใจ (นลิน คู. 2548: 5) จากการศึกษาความหมายของสุภาษิตสรุปความหมายของสุภาษิต คือ ถ้อยคําที่เป็นคติสอนใจมีความหมายสั่งสอนให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี เชน เข็นครกขึ้นภูเขา หมายถึง พยายามทําในสิ่งที่ยากลําบาก ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หมายถึง สอนให้พึ่งตนเองก่อนพึ่งผูอื่น ทําดีได้ดีทําชั่วได้ชั่ว หมายถึง การกระทําทุกอย่างย่อมมีผลเสมอ ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม หมายถึง ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำให้รอบคอบ ไม่รีบร้อน จึงจะสำเร็จด้วยดี บัวไม่ให้ช้ํา น้ำไม่ให้ขุ่น หมายถึง รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี หมายถึง สอนในเรื่องการอบรมเลี้ยงดูลูก รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง หมายถึง ตนเองทำผิดพลาดแต่กลับไปโทษผู้อื่นว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดนั้น รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง หมายถึง รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์
14 เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก หมายถึง เพื่อนที่ไม่หวังผลตอบแทนนั้นหายาก พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตําลึงทอง หมายถึง พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียจะเป็น ประโยชน์มากกว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร หมายถึง เมื่อมีผู้คิดร้ายกับเรา ไม่ควรคิดร้ายตอบ เป็นต้น 2.1.3 ความหมายของคำพังเพย ความหมายของคําพังเพย ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง (ราชบัณฑิตสถาน. 2554) คําพังเพย เป็นคํากลางเพื่อตีความให้เข้ากับเรื่อง เป็นคําที่มีความหมายระหว่างคําสํานวนและสุภาษิต บางคําก็มีลักษณะค่อนข้างเป็นสุภาษิต คําพังเพยเป็นคําที่ใช้แสดงความคิดเห็นหรือติชม (ศิวรี วรนตินันท. ม.ป.ป. : 1) คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคํากล่าวขึ้นมาลอย ๆ เป็นคํากลาง ๆ กล่าวขึ้นเพื่อตีความให้เข้ากับเรื่อง เพื่อให้การสื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คําพังเพยอาจมีลักษณะติชมหรือแสดงความคิดเห็น มีความหมายลึกซึ้งกว่าสํานวนแต่ยังไม่เป็นคติสอนใจอย่างสุภาษิต (ชัยวัฒน สีแกว. 2542 : 61) คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง (นลิน คู. 2548 : 5) จากความหมายของคําพังเพยที่กล่าวมาพอจะสรุปความหมายได้ว่า คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่กล่าวขึ้นมาเพื่อให้เข้ากับเรื่องราว เพื่อสื่อความหมายให้ชัดเจน เช่น เกลือเป็นหนอน หมายถึง คนในพวกเดียวกันคิดทรยศกัน กิ้งก่าได้ทอง หมายถึง ได้ยศศักดิ์เล็กน้อยก็หยิ่งจองหองจนลืมตัว ใกล้เกลือกินด่าง หมายถึง ไม่รู้คุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว กําปั้นทุบดิน หมายถึง การพูดแบบขอไปที แกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว กบเลือกนาย หมายถึง ต้องการเปลี่ยนเจ้านายเรื่อย ๆ ชิงสุกก่อนห่าม หมายถึง ด่วนทำในสิ่งที่ไม่สมควรแก่วัย ตําน้ําพริกละลายแม่น้ํา หมายถึง เสียของโดยไม่เกิดประโยชน์ตอบแทน
15 ปิดทองหลังพระ หมายถึง ทําความดีโดยไม่ให้ใครรู้เห็น ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง การลงทุนมาก แต่ได้ผลน้อย ดินพอกหางหมู หมายถึง การงานคั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ไก่ได้พลอย หมายถึง ได้ของดีแล้วไม่เห็นคุณค่า 2.2 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 2.2.1 ที่มาจากธรรมชาติ เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังตัวอย่าง สำนวน ที่มา ความหมาย กาฝาก ต้นไม้ที่เกาะเบียดเบียนอาศัยอาหารจาก ต้นไม้ใหญ่เลี้ยงตัว แฝงกินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้ ก่อหวอด การวางไข่ของปลา ปลาจะพ่นน้ำเป็นฟอง เรียกว่า หวอด เพื่อให้ไข่ปลาอาศัยจนเป็น ลูกปลา เริ่มจับกลุ่มเพื่อนทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าไต้เข้าไฟ เวลาใกล้ค่ำต้องจุดไต้ ให้แสงสว่าง เวลาพลบค่ำ คลื่นกระทบฝั่ง ทะเลมีคลื่นวิ่งเข้าหาฝั่งตลอดเวลา เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นแล้วกลับเงียบหายไป คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล แสดงถึงความน่ากลัวของทะเล สอนให้อย่าประมาทเพราะทะเล มีอันตรายทุกเมื่อ ต้นไม้ตายเพราะลูก ธรรมชาติของต้นไม้บางชนิดเมื่อออกผล แล้วจะตาย พ่อแม่ยอมเสียสละแม้ชีวิตเพื่อลูก ติดร่างแห เวลาจับปลาด้วยแห ปลาน้อยใหญ่ก็จะติด แหมาด้วย พลอยรับเคราะห์ไปด้วย ตื่นแต่ไก่โห่ ธรรมชาติของไก่ ย่อมขันในเวลาเช้ามืด ตื่นแต่เช้ามืด ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ ฟ้าอยู่สูงแผ่นดินอยู่ที่ต่ำ คนมีทั้งที่สูงและที่ต่ำ สนตะพาย การสนตะพายที่จมูกวัวควาย เพื่อชักจูงไปได้สะดวก ยอมให้ชักจูง ตารางที่ 1 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากจากธรรมชาติ
16 2.2.2 ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต เช่น ปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย พาหนะ เป็นต้น ดังตัวอย่าง สำนวน ที่มา ความหมาย ก้นหม้อไม่ทันดำ การหุงข้าวกว่าก้นหม้อจะติดเขม่าดำ กินเวลานาน เลิกกันง่าย ชุบมือเปิบ การกินข้าวด้วยมือ ก่อนจะกินอาหาร จะเอามือลงชุบน้ำ เพื่อล้างมือให้สะอาด และไม่ให้ข้าวติดมือ คนที่ไม่ช่วยทำพอถึงเวลามารับประทาน คนที่ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ลงทุน ลงแรง นุ่งเจียมห่มเจียม การแต่งกาย แต่งตัวพอสมกับฐานะ จุดไต้ตำตอ เวลาพลบค่ำจะจุดไต้เป็นเครื่องตามไฟ พูดหรือทำสิ่งใดกับเจ้าของเรื่องโดยผู้นั้น ไม่รู้ตัว บ้านเมืองมีขื่อมีแป เรือนต้องมีขื่อสำหรับยึดหัวเสาเรือนตาม ขวาง ส่วนแปเป็นไม้ยึดหัวเสาตามยาว บ้านเมืองมีกฎหมายคุ้มครอง ติเรือทั้งโกลน การทำเรือสมัยโบราณ จะเหลาซุงทั้งต้นไม้ ให้เป็นรูปร่างก่อน เรียกว่า โกลน ตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จ ตารางที่ 2 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากจากวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
17 2.2.3 ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม เช่น การทำมาหากิน การกระทำ ประเพณี การละเล่น การศึกษา การเมืองการปกครอง เป็นต้น ดังตัวอย่าง สำนวน ที่มา ความหมาย ไกลปืนเที่ยง ในรัชกาลที่ 5 เริ่มยิงปืนใหญ่เวลา 12.00 นาฬิกา ในพระนครให้ได้รู้กันว่าเป็นเวลา เที่ยง คนที่อยู่ไกลออกไป คนบ้านนอก ทำนาบนหลังคน อาชีพการทำนา การแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น ฝังรก ฝังราก การทำขวัญทารกที่เกิดได้สามวัน เอารก กับมะพร้าว ตั้งถิ่นฐานประจำ คนตายขายคนเป็น การจัดงานศพ การจัดงานศพใหญ่โตทั้ง ๆ ที่ลูกหลาน ยากจน ต้องไปกู้เงินมาทำศพ หลังงานศพ ต้องใช้หนี้ ได้รับความลำบาก ไม่ดูตาม้าตาเรือ การเล่นหมากรุก ไม่พิจารณาให้รอบคอบ ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด การศึกษา มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ เจ้าถ้อยหมอความ โวหารของนักกฎหมาย หรือหมอความ (ทนายความ) ผู้ที่ใช้โวหารพลิกแพลงเช่นเดียวกับผู้ที่เป็น หมอความ (ทนายความ) นอนหลับทับสิทธิ์ การเมืองการปกครอง ไม่ไปใช้สิทธิ์ที่ตนเองมีอยู่เมื่อถึงคราวที่จะใช้ สู้จนเย็บตา การชนไก่ ไก่ถูกแทงจนหน้าตาฉีก ก็เย็บแล้วให้สู้อีก สู้จนถึงที่สุด สู้อย่างไม่ย่อท้อ สู้ไม่มีถอย ตารางที่ 3 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม
18 2.2.4 ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ เช่น ทางศาสนาและความเชื่อ ดังตัวอย่าง สำนวน ที่มา ความหมาย กรวดน้ำคว่ำขัน เวลาไปทำบุญแล้วกรวดน้ำอุทิศ ส่วนกุศล ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย ผีซ้ำด้ำพลอย การนับถือผีบรรพบุรุษ ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือเมื่อคราวเคราะห์ ร้าย ปิดทองหลังพระ ทำเนียมการปิดทองคำเปลว ที่พระพุทธรูป ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใคร เห็นคุณค่า ขนทรายเข้าวัด การทำบุญก่อพระเจดีย์ทรายที่วัด การหาประโยชน์ให้ส่วนรวม บุญทำกรรมแต่ง การทำบุญสร้างกรรม บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุให้รูปร่าง หน้าตาหรือวิถีชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว ตารางที่ 4 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ 2.2.5 ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ เช่น การแสดง ดนตรี เป็นต้น ดังตัวอย่าง สำนวน ที่มา ความหมาย ประสมโรง การตั้งคณะละครโดยเอาตัวละครจาก ที่ต่าง ๆ มารวมกันเป็นโรง พลอยเข้าร่วมเป็นพวกด้วย ชักใย การเล่นหุ่นและหนังตะลุง บงการอยู่เบื้องหลัง นอกจอ การเล่นหนังใหญ่ ดีแต่เก่งอยู่ข้างนอก คลุกคลีตีโมง การเล่นดนตรีปี่พาทย์ คลุกคลีพัวพันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา โจ๋งครึ่ม สำเนียงการตีตะโพน การกระทำสิ่งใดอย่างเปิดเผย ตารางที่ 5 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ
19 2.2.6 ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์ ดังตัวอย่าง สำนวน ที่มา ความหมาย งอมพระราม เรื่อง รามเกียรติ์พระรามต้องผจญกับความทุกข์ ยากลำบากต่าง ๆ นานา มากมาย มีความทุกข์ลำบากเต็มที่ ชักแม่น้ำทั้งห้า เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ชูชกกล่าวขอสองกุมาร ต่อพระเวสสันดร พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณ เพื่อขอสิ่งที่ประสงค์ เนื้อถ้อยกระทงความ การใช้ภาษา เนื้อความที่แยกแยะออก เป็นข้อ ๆ อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ที่เท่าแมวดิ้นตาย นิทานเรื่องศรีธนญชัย ที่ขอพระราชทานที่เท่า แมวดิ้นตาย โดยเอาแมวมาผูกและใช้ไม้ตีแมวให้ วิ่งไปมาจนแมวตาย ทำให้ได้ที่ดินจำนวนมาก มีที่ดินที่เนื้อที่น้อยเพียงตัวแมวดิ้นตาย ปล่อยม้าอุปการ เรื่องรามเกียรติ์ พระรามทำพิธีปล่อยม้าอุปการ แล้วให้หนุมานตามไป ผู้ใดบังอาจจับม้าขี่ ก็จะถูกปราบ การกระทำที่ใช้คนออกไปเที่ยว พาลหา เรื่องหรือทำให้เกิดเรื่องขึ้นเพื่อประโยชน์ ตนเอง ว่าแต่เขาอิเหนา เป็นเอง วรรณคดีเรื่องอิเหนา ท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมา ประชิดเมืองดาหาเพื่อชิงนางบุษบา อิเหนาก็มา ช่วยปราบศึก และเมื่อได้พบนางบุษบาก็ลุ่มหลง ออกอุบายแต่งทัพปลอมเป็นทัพกะหมังกุหนิง เข้าเผาเมือง แล้วปลอมเป็นจรกาพานางบุษบา ไปซ่อนไว้ในถ้ำ ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำ ในเรื่องนั้นเสียเอง ตารางที่ 6 ที่มาของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์
20 2.3 คุณค่าของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 1) เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนและชี้แนะให้เป็นคนดี ● ในด้านความรัก : คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย, น้ำพึ่งเสือพึ่งป่า ● ในด้านการศึกษาอบรม : ฝนทั่งให้เป็นเข็ม, สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ ● ในการพูดจา : พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย ,พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง 2) สำนวนไทยช่วยสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อในสังคมไทย ● ความเคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ● ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ● ความเชื่อเกี่ยวกับการปกครอง เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป ● ความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ 3) สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความเป็นอยู่ ● เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการครองชีพ เช่น เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ● เกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก 4) ชี้ให้เห็นว่าคนไทยรักธรรมชาติเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก จึงได้นำเอาลักษณะธรรมชาติสัตว์ ต้นไม้ มาตั้งเป็นสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยต่าง ๆ 5) การศึกษาสำนวนต่าง ๆ ช่วยทำให้เราใช้ภาษาได้ถูกต้องและสละสลวย ไม่ต้องใช้คำพูดที่เยิ่นเย้อ ยืดยาว แต่สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่านได้มาก นอกจากนั้นการศึกษาสุภาษิต คำพังเพย และ สำนวนของภาคต่าง ๆ ทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาถิ่นไปด้วยในตัว 6) การเรียนรู้เรื่องสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่าง ๆ เป็นการสืบต่อวัฒนธรรมของชาติเอาไว้มิให้ สูญหาย และเกิดความภูมิใจที่บรรพชนได้คิดสร้างสิ่งเหล่านี้ไว้แก่เรา
21 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 2.4.1 งานวิจัยในประเทศ นันทวัน เหิดขุนทด (2555) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนด่านขุนทด ซึ่งนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย แบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test โดยผลการ วิจัยพบว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี คุณภาพอยู่ในระดับดี และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 รวมทั้งคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ ผู้เรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาทิตยา แสงสุข (2558) ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง สำนวนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลลำปาง ซึ่งนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะภาษา ไทย เรื่อง สำนวนไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การใช้ชุดฝึก ทักษะภาษาไทย เรื่อง สำนวนไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ ชุดฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง สำนวนไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยผลการวิจัยพบว่าชุดฝึกทักษะ เรื่อง สำนวนไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.24/81.19 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ รวมทั้งผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทย พบว่าคะแนนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึก ทักษะในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
22 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ 3.1 ความหมายของสื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน ตรงกับคําภาษาอังกฤษวา “Instructional Media”แปลว่าสื่อการสอนหรือ สื่อการเรียนการสอน ซึ่งได้มีนักการศึกษาหลายท่าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความหมายของสื่อการ เรียนการสอนไว้ ดังนี้ กิดานันท์มลิทอง (2523 : 76) สรุปว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนําและถ่าย ทอดความรู้จากครูผู้สอนหรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนที่ ตั้งไว้ เช่นเดียวกับชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2539 : 13) สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่ ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติและทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533 : 80) สรุปว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ผู้สอนและ ผู้เรียนนํามาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุงหมายของการเรียนการ สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับ มนตรี แย้มกสิกร (2526 : 29) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนํา ความรู้จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมตามที่ต้องการ วาสนา ชาวหา (2525 : 15) สรุปว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนํา ความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทําให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ พิมพ์วรรณ เทพสุมาธานนท์ (2531 : 29) ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ช่วย นําความรู้จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อใหผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตามที่ต้องการ เกอรลัช และอีไล (Gerlach, and Ely, 1982 : 282) อ่างถึงในกิดานันท มลิทอง (2540 : 2) ให้ ความหมายของคําว่า สื่อการเรียนการสอนว่า สื่อการสอนมีบทบาทเป็นกุญแจสําคัญในการวางแผนและการใช้ การสอนเชิงระบบ สื่อมีความหมายมากไม่ว่าจะเป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์วิธีการ หรือเหตุการณ์ที่สร้างเงื่อนไข ซึ่งสามารถทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้ทักษะและทัศนคติต่างๆ ตามความหมายนี้ อาจารย์ ตํารา และสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนเป็นสื่อทั้งสิ้น บราวน์ และคนอื่นๆ (Brown and others. 1977 : 5) ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน คือ อุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งที่มีความหมายรวมถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุ หรือเครื่องมือเท่านั้นจากความหมายสื่อการเรียนการสอน หรือสื่อ การสอนที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอนหมายถึง วัสดุ อุปกรณ วิธีการ และตัวกลางที่สามารถถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้เรื่อง ราวหรือความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
23 3.2 ประเภทของสื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภท แต่ละชนิดจะมีคุณค่าและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุด ก็ต่อเมื่อผู้สอนสามารถเลือกสื่อการเรียนการสอน แต่ละประเภทมาใช้ได้เหมาะสมตรงกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ ของหลักสูตร และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ กิดานันท์ มลิทอง (2531 : 79 -80) ได้จําแนกสื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning resource) เป็น 5 รูปแบบ 1. คน (People) หมายถึง บุคลากรที่อยู่ในระบบของโรงเรียน เช่น ครูผู้บริหารผู้ช่วยสอน ผู้แนะแนวการศึกษาหรือผู้ที่อํานวยความสะดวกในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 2. วัสดุ (Meterials) หมายถึง วัสดุที่บรรจุเนื้อหาในบทเรียน เช่น หนังสือ สไลด์แผนที่ หรือสิ่่งต่างๆ ที่เป็นทรัพยากรในโรงเรียนและได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยอํานวยความสะดวก 3. อาคารสถานที่ (Setting) หมายถึง อาคารที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น อาคารเรียน อาคารเอนกประสงค์ อาคารเฉพาะ สนามกีฬา แปลงเกษตร 4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool and Equipment) เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการ ผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่น 5. กิจกรรม (Activities) เป็นการดําเนินงานที่จัดขึ้นเพื่อกระทํารวมกับทรัพยากรอื่นๆ หรือเป็น เทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน เช่น การออกแบบโปรแกรม เกม และการจําลอง การจัดทัศนศึกษา ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529 : 112) ได้แบ่งสื่อการสอนเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. วัสดุ หมายถึง สิ่งของช่วยสอนที่มีการผุพังสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถายสไลด์ภาพยนตร์ ฯลฯ 2. อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ เช่น กระดานดํา กล้องถ่ายรูป เครื่องฉาย ภาพยนตร์ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ 3. กระบวนการและวิธีการ ได้แก่ การจัดระบบ การสาธิต การทดลองและกิจกรรมต่างๆ โดย เฉพาะกิจรรมที่ครูจัดทําขึ้นและมุ่งให้นักเรียนปฏิบัติ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2547 : ออนไลน์) ได้จําแนกสื่อการสอนซึ้งเรียกว่า “โสตทัศนูปกรณ์” ออกเป็น 6 ประเภท 1. วัสดุลายเส้น มี 9 ชนิด คือ กระดานดํา แผนที่และลูกโลก การ์ตูน โปสเตอร์ แผนภาพ แผนสถิติ แผนภูมิ แผ่นปานสําลี และป้ายนิเทศ
24 2. วัสดุมีทรง มี 6 ชนิด คือ ตู้อันตรทัศน์ พิพิธภัณฑ์โรงเรียน ของเลียนแบบ ของจําลอง ของ ตัวอย่าง และของจริง 3. โสตวัสดุ มี 4 ชนิด คือ ระบบเสียง แผนเสียง และวิทยุ 4. ภาพนิ่ง มี 10 ชนิด คือ ภาพผนัง สมุดภาพ ภาพสามมิติ ภาพเขียน รูปภาพภาพถ่าย ฟิล์ม สตริป สไลด์ ภาพโปร่งแสง และรูปตัดมาจากหนังสือ 5. กิจกรรมร่วม แบ่งเป็น 8 ชนิด ได้แก่ งานที่เป็นโครงการ การเล่นละคร การแสดงบทบาท การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ นิทรรศการ การทดลอง กระบะทราย 6. ภาพยนตรและโทรทัศน์ ชนะ กลิภาร (2530 : 14 -16) ได้จําแนกประเภทสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. สื่ออุปกรณ์หรือสื่อหนัก (Hardware) คือ อุปกรณ์เทคนิคทั้งหลาย เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปรงแสง เครื่องบันทึกเทป/โทรทัศน์ และเครื่องเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ 2. สื่อประเภทวัสดุหรือสื่อเบา (Software) คือ วัสดุในการเรียนรู้ เช่น ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์ แผ่นโปรงแสดง และโปรแกรมสําหรับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น บางชนิดใช้เนื้อหาและใบงาน ไชยยศ์ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะรูปร่างของสื่อไว้ 4ประเภท คือ 1. สื่อประเภทเครื่องมือ เป็นสื่อที่ได้จากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แขนงวิศวกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องฉาย ต่างๆ เครื่องเสียง วิทยุและโทรทัศน์รวมทั้งแผ่นป้ายต่างๆ 2. สื่อประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อที่ได้จากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เป็นวัสดุ ที่มีการผุพัง สิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น แผนที่ แผนสถิติ ภาพโฆษณา แผนภูมิ รูปภาพ หุนจําลองของจริง และอื่นๆ 3. สื่อประเภทวิธีการ หมายถึง สื่อประเภทเทคนิค ระบบกระบวนการต่างๆ เช่น การสาธิต การ ศึกษานอกสถานที่ การทดลอง การแสดงละคร นิทรรศการ 4. สื่อประสม หมายถึง การนําสื่อประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นเครื่องมือวัสดุและวิธีการมาใช้ร่วมกัน อย่างสัมพันธ์กัน ในลักษณะที่สื่อแต่ละอยางส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น บทเรียน โปรแกรม ชุดการ สอน การจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน เอดการ์ เดล (Edgar Dale) อ้างถึงในกิดานันท์ มลิทอง (2540 : 81 -82) ได้จัดแบ่งสื่อการสอน และการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้แต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ โดยพัฒนา ความคิดของนักจิตวิทยา บรุนเนอร์ (Bruner) นํามาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์”(Cone of Experiences)
25 1. ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยการให้ผู้เรียนได้รับ ประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานการณจริง หรือด้วยการกระทําจริงของตนเอง เช่น การจับต้อง การเห็น 2. ประสบการณ์การร้อง เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด เช่น ของจําลอง สถานการณ์จําลอง 3. ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เพื่อ เป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีขอจํากัดด้วยยุคสมัย เวลา สถานที่ เช่น เหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม 4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือการกระทําประกอบคําอธิบาย เพื่อให้เห็นลําดับขั้นตอนของการ กระทํานั้น 5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับและเรียนรู้ประสบการณ์ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หรือการสัมภาษณบุคคลต่างๆ 6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิทรรศการ เพื่อให้สารประโยชน์ และ ความรู้แก่ผู้ชม เป็นการใช้ประสบการณ์แก่ผู้ชมโดยนําประสบการณ์หลากหลายผสมผสานกันมากที่สุด 7. โทรทัศน์ เพื่อให้ขอมูลความรู้แก่ผู้เรียน หรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน การสอน อาจจะเป็นการสอนสด หรือบันทึกลงวีดีทัศน์ก็ได้ 8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ทั้งภาพและเสียง โดยใช้ประสาทตาและหู 9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง ข้อมูลที่อยู่ในสื่อขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน ที่ถึงแม้จะ อ่านหนังสือไ่ม่ออก แต่ก็สามารถจะเข้าใจเนื้อหาเรื่องราวที่สอนได้ 10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่างๆ อันเป็นสัญลักษณ์แทนความ เป็นจริงของสิ่งต่างๆ หรือข้อมูลที่ต้องการให้เรียนรู้ 11. วัจนสัญลักษณ์ เป็น ประสบการณ์ในขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงของคําพูดในภาษาพูด จากกรวยประสบการณ์ เดลได้จําแนกสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. สื่อประเภทวัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเอง ซึ่งจําแนกย้อยเป็น 1.1 วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก รูปภาพหุนจําลอง เป็นต้น
26 1.2 วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่น ช่วย เช่น แผนซีดี ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น 2. สื่อประเภทอุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทําให้ข้อมูล หรือ ความรู้ที่บันทึกในวัสดุ สามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน เช่น เครื่องฉายแผ่นโปรงใส เครื่องเล่นซีดี เป็นต้น 3. อาคารสถานที่ (Setting) ตัวตึก ที่ว่าง สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งมีผลเกี่ยวของกับทรัพยากรรูปแบบ อื่นๆ และผู้เรียน สถานที่สําคัญในการศึกษา ได้แก่ ตึกเรียนและสถานที่อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการ สอนโดยสวนรวม เช่น ห้องสมุด หอประชุม สนามเด็กเล่น เป็นต้น ส่วนสถานที่ต่างๆ ในชุมชนก็สามารถ ประยุกต์ใช้เป็นทรัพยากรสื่อการเรียนการสอนได้เช่นกัน เช่น โรงงาน ตลาด สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น 4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tools and Equipment) เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการ ผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่น เช่น เครื่องมือด้านโสตทัศนูปกรณ์ เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 5. กิจกรรม (Activities) เป็นการดําเนินงานที่จัดทําขึ้น เพื่อกระทํารวมกับทรัพยากรอื่นหรือเป็น เทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบโปรแกรม เกมและการจําลอง การจัดทัศนศึกษา ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่มีการใช้วัสดุการเรียนแต่ละวิชา 3.3 ประโยชน์ของสื่อการเรียนรู้ กิดานันท์ มลิทอง ได้กล่าวถึงคุณค่าของสื่อการสอน โดยแบ่งคุณค่าของสื่อเป็นสื่อกับผู้เรียน และ สื่อกับผู้สอน ดังนี้ สื่อกับผู้เรียน 1. เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อยางมีประสิทธิภาพเพราะช่วยให้เกิดความเข้าใจเนื้อหา บทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะสั้น และสามารถช่วยใหเกิดความคิดรวบยอด ในเรื่องนั้นได้ อย่างรวดเร็ว 2. สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนทําให้ไม่รู้สึกเบื่อหนายในการเรียน 3. การใช้สื่อจะทําให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน และเกิดประสบการณ์ในวิชาที่เรียน 4. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเรียนการสอนมากขึ้น ทําให้ผู้เรียนมีมนุษย์สัมพันธ์อันดี ในระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
27 5. ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ จากการใช้สื่อเหล่านี้ 6. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษา รายบุคคล สื่อกับผู้สอน 1. การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการเรียนการสอนเป็นการสร้างบรรยากาศในการสอน ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ทําให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอน มากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายเพียงอยางเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย 2. สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหา จากสื่อได้เอง 3. เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุเพื่อใช้เป็นการสอน ตลอดจน คิดคนเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สื่อการเรียนการสอนจะมีคุณค่าก็ต่อ เมื่อผู้สอนได้นําไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี ดังนั้นก่อนที่จะนําสื่อแต่ละอย่างไปใช้ ผู้สอนควรจะได้ศึกษาถึง ลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอน ข้อดีและข้อจํากัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตลอดจนการผลิตและการใช้สื่อใหเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ นิพนธ์ สุขปรีดี (2521 : 13 - 16) กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้และความคิด ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นเครื่องช่วยให้บทเรียนง่ายขึ้นเพราะสื่อการสอนจะช่วยให้ครูสามารถถ่ายทอดข้อ เท็จจริง ทักษะ ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งเห็นคุณค่าในเรื่องราวที่สอน ซึ่งจะเป็นรากฐาน ให้เกิดความเข้าใจและความจําอย่างถาวร นักการศึกษาที่มีชื่อเสียงของโลกต่างยอมรับและเห็นพ้องกันว่า สื่อการ สอนนําเป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยให้การสอนได้ผลดีขึ้น ในด้านคุณค่าบางประการจากการใช้สื่อ การสอน ดังนี้ 1. คุณค่าทางด้านวิชาการสรุปได้ดังนี้ ผู้เรียนที่ไดรับการสอนจากการใช้สื่อการสอนประกอบการ สอนจะได้ประสบการณตรง และเรียนได้ดีมากกว่าผู้เรียนที่ไม่มีสื่อการสอนประกอบการเรียนการสอน 1.1 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอนช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆ ได้อย่าง กว้างขวาง เป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้นและยังช่วยส่งเสริมด้านความคิดและการแก้ปัญหาอีกด้วย 1.2 จากการวิจัยสรุปว่า สื่อการสอนให้ประสบการณ์ที่เป็นจริงแก่ผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนเรียน รู้ อย่างถูกต้อง ทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนจดจําเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากและจําได้นาน 1.3 สื่อการสอนโดยเฉพาะภาพยนตร์ จะช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้
28 2. คุณค่าทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้ 2.1 สื่อการสอนทําให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ ทัศนคติ การแก้ปัญหา และความซาบซึ้งในคุณค่า 2.2 ทําให้ผู้เรียนมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องสมบูรณ์ และก่อให้เกิดความคิดรวบยอด เป็นอย่างเดียวกันทั้งมีอิทธิพลต่อเจตคติของผู้เรียนด้วย 2.3 สื่อการสอนเร้าให้ผู้เรียนเกิดความพอใจ และยั่วยุให้ทํากิจกรรมด้วยตนเอง 3. คุณคาทางดานเศรษฐกิจการศึกษา สรุปไดดังนี้ 3.1 สื่อการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าให้เรียนได้เร็วและมากขึ้น ส่วนผู้เรียนฉลาด ก็จะเรียนรู้ได้มากขึ้นไปอีก 3.2 การสอนโดยอธิบายเพียงอย่างเดียว เป็นการสิ้นเปลืองเวลาที่สุดเพราะผู้เรียนลืมง่าย ถ้าใช้ สื่อการสอนจะช่วยขจัดความสิ้นเปลืองนี้และยังช่วยให้ผู้สอนที่สอนดีอยูแล้วสอนดียิ่งขึ้น 3.3 สื่อการสอนช่วยประหยัดคําพูด และเวลาของผู้สอนที่สําคัญยิ่งกวานั้นยังช่วยประหยัดเวลา ของผูเรียน ทําให้มีเวลาที่จะศึกษาบทเรียนอื่นต่อไป 3.4 สื่อการสอนช่วยขจัดปัญหาเรื่องสถานที่ เวลา และระยะทาง ได้ดังนี้ 3.4.1 สามารถนําสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาไ้ด เช่น ภาพยนตร์ 3.4.2 สื่อการสอนช่วยนําสิ่งที่อยู่ไกลเกินไป มาศึกษาได้ 3.4.3 ช่วยทําสิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วได้ และทําสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้ เช่น ภาพยนตร์ สามารถแสดงให้เห็นการเจริญเติบโตของพืชได้ในระยะเวลาสั้นๆ ได้ กมล และมานิต เวียสุวรรณ (2540 : 43) กลาวถึง คิตเตอร์ (Kinder) ให้ความเห็นเกี่ยวกับคุณค่า ของสื่อการสอนว่า 1. สื่อการเรียนการสอน สามารถเอาชนะข้อจํากัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิม ของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้ว จะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน 2. ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณตรงบางอย่างหรือการเรียนรู้ 3. สื่อการเรียนการสอนทําให้เด็กมีความคิดรวบยอดอย่างเดียวกัน 4. ทําให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม 5. ทําให้เด็กมีนโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 6. ทําให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่างๆ มากขึ้น เช่น การอ่าน ทัศนคติ การแก้ ปัญหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
29 7. เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ 8. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529 : 113) กล่าวถึง คุณค่าของสื่อการสอนไว้ว่า 1. การเพิ่มจํานวนผู้เรียนนั้น สื่อการเรียนการสอนมีความสําคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้ เพียงพอแก่ความต้องการของผู้เรียน 2. สื่อการเรียนการสอนช่วยทําให้ผู้สอนสอนได้ดีขึ้นและช่วยให้การสอนบรรลุเป้าหมาย 3. สื่อการเรียนการสอนสําเร็จรูป ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ในสภาพเสียเปรียบ หรือผู้ยากไร้สามารถเรียน ได้ทัดเทียมกับผู้ที่มีฐานะดีกว่า ชัยยงค์ เรืองสุวรรณ (2526 : 139-140) สรุปคุณค่าของสื่อการสอนได้ดังนี้ 1. ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ของผู้เรียน 2. ทําให้เนื้อหาวิชาความรู้ที่สอนมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น 3. เร้าความสนใจของผู้เรียน ทําให้ครูสามารถสอน และทํากิจกรรมการเรียนการสอนได้กว้างขวาง มากขึ้น 4. เป็นเครื่องชี้แนะการตอบสนองของผู้เรียน 5. สามารถเอาชนะขีดจํากัดต่างๆ ทางกายภาพได้ 6. ทําให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ เช่น การแก้ปัญหา 7. เป็นเครื่องมือสําหรับครูในการวินิจฉัยผลการเรียน และช่วยในการซ้อมเสริม นอกจากนี้ยังได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนในด้านกายภาพ ดังนี้ 1. เป็นแหล่งความรู้ 2. เป็นสิ่งที่สามารถจัดใหสัมผัสและรับรู้ได้โดยง่าย 3. เป็นสิ่งที่สามารถเสนอตัวต่อผูเรียนได้ จากทัศนะของนักเทคโนโลยี และนักการศึกษาที่กล่าวขางตน สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน มีคุณค่าและประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้ 1. เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา บทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และสามารถช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 2. สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน ทําใหเกิดความสนุกและไม่เบื่อหน่ายต่อ การเรียน
30 3. การใช้สื่อจะทําให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน และเกิดประสบการณ์รวมกันในวิชาที่เรียน 4. ช่วยให้ผู้เรียนมีสวนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น ทําให้เกิดมนุษย์สัมพันธ์อันดี ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง และกับผู้สอนด้วย 5. ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาคนคว้าหาความรู้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ จากการใช้สื่อเหล่านี้ 6. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล 7. การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอน น่าสนใจยิ่งขึ้น ทําให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกวาวิธีการที่เคยใช้บรรยายแต่เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้มากขึ้นด้วย 8. สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะบางครั้งอาจใหผู้เรียนศึกษา เนื้อหาจากสื่อได้เอง 9. เป็นการกระตุ้นใหผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน 10. คิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อใหการเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น 3.4 หลักการใช้สื่อการเรียนรู้ หลักในการใช้สื่อการเรียนรู้นั้นได้มีนักการศึกษาเสนอแนวคิดไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้ ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 1470) ได้เสนอข้อคิดในการนํากรวยประสบการณ์ของเอดการ์เดล (Edgar Dale) ไปใช้ 5 ประการดังนี้ 1. สื่อประสบการณ์ต่างๆ ในกรวยประสบการณ์นั้น ได้จัดแบ่งตามลําดับประสบการณ์เรียนรู้ ดังนั้นเราจะเริ่มใช้สื่อประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสําคัญ และในบางกรณีอาจใช้สื่อประสบการณ์หลายๆ อย่างพร้อม ๆ กันก็ได้ 2. สื่อประสบการณ์ต่าง ๆ ในกรวยประสบการณ์ไม่อาจนําเสนอโดยแบ่งแยกจากกันได้อย่างเด็ด ขาด ดังนั้นประสบการณ์ทุกขั้นจึงมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ขั้นใดจะเอื้อ ประโยชน์ต่อการเรียนรู้มากที่สุด ย่อมขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเป์นสําคัญ 3. ในการเรียนรู้มโนทัศน์ใหม่ ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน ประสบการณ์ตรงจะช่วยได้มากในเรื่องความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องสมบูรณ์ 4. ในประเด็นที่ต้องพิจารณาตัวผู้เรียนและเนื้อหาเรื่องราวที่จะศึกษาไม่จริงเสมอไปที่ประสบการณ์ ขั้นสูง เหมาะกับผู้ใหญ่ และขั้นล่าง ๆ เหมาะกับเด็ก ๆ
31 5. การใช้กรวยประสบการณ์เพื่อการสอนนั้น เพื่อให้มีทางเลือกแก่ผูสอนในการพิจารณาเลือก ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียน จุดมุ่งหมาย และเนื้อหา ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533 : 88) สรุปว่า หลักการใช้สื่อหรือนําสื่ออาจพิจารณาได้ 3 ลักษณะดังนี้ 1. การใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคําบรรยายและการอธิบาย เป็นต้น 2. การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง เป็นตน 3. การใชสื่อรวมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จําลอง และการสาธิต เป็นต้น กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน จะขึ้นอยู่กับเทคนิคและวิธีการเรียนของผู้เรียนกับวิธีสอน แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้สอนไม่ควรมองข้ามไป ก็คือ การมีส่วนรวมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในกิจกรรมมากที่สุด Brown and other (1985 : 64-69 อ้างถึงใน กิดานันท มลิทอง, 2526 : 89-90) การใช้สื่อ การสอน นั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน หรือจะใช้ในทุกขั้นตอน ก็ได้ ดังนี้ 1. ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กําลังจะเรียนนั้น สื่อที่ใช้ใน ขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่กว้างๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรียนในครั้งก่อน ยังมิใช้สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง เช่น ภาพ บัตรคํา หรือบัตรูปัญหา เป็นต้น 2. ขั้นดําเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นสําคัญในการเรียนเพราะเป็นขั้นที่ จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิธีการสอน หรืออาจจะใช้สื่อประสมก็ได้ ต้องมีการจัดลําดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรม การเรียนการสอน การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อยางละเอียดถูกต้อง และชัดเจนแก่ผู้เรียน เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ แผ่น โปรงแสง แผนภูมิ เทปเสียง หรือชุดการสอน เป็นต้น 3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลอง นําความรู้ดานทฤษฎี หรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก่ปัญหาในขั้นฝึกหัด โดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง สื่อใน ขั้นนี้จะเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนไ้ดขบคิด โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด เช่น ภาพ บัตรคํา เทปเสียง สมุดแบบฝึกหัด หรือชุดการสอน เป็นต้น 4. ขั้นสรุปบทเรียน เป็นขั้นของการเรียนการสอนเพื่อการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ ที่ถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วย ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เช่นเดียวกับขั้นนํา สื่อที่ใช้ สรุปจึงควรครอบคลุมเนื้อหาสําคัญทั้งหมดโดยย่อ และใช้เวลาน้อย เช่น แผนภูมิ แผนโปรงแสง เป็นต้น
32 5. ขั้นประเมินผู้เรียนเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ หรือเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปถูกต้อง มากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม สื่อในขั้นนี้มักจะเป็นคําถามจาก เนื้อหาที่เรียน โดยอาจมีภาพประกอบด้วย ก็ได้ อาจจะนําบัตรคําหรือสิ่งต่างๆ ที่ใชในขั้นกิจกรรมการเรียน ถามอีกครั้ง และอาจเป็นการทดสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อหรือการกระทําของผู้เรียน เพื่อทดสอบดูว่าผู้เรียน สามารถมีทักษะจากการปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ อีริคสันและเคิร์ล (Erickson and Curl, 1972 : 163-170) ได้กล่าวถึง หลักการใช้สื่อการเรียน การสอนโดยทั่วไปไว้ว่า การใช้สื่อเพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ครูควรยึดหลัก การสําคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. หลักการเลือก (Select) ในการเลือกสื่อครูควรมีความสามารถพื้นฐานต่างๆในการเลือกสื่อ ดังนี้ 1.1 สามารถเขียนจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน 1.2 มีความรอบรู้ในเรื่องของแหล่งสื่อการสอนเป็นอย่างดี 1.3 สามารถเลือกหาสื่อที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการสอนที่เขียนขึ้นมา 1.4 สามารถคาดคะเนได้ว่าประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหลายอันเนื่องมาจากสื่อการสอนนั้นๆ จะมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรบ้าง 1.5 สามารถนําสื่อต่างๆ มาสัมพันธ์กับการเรียนการสอนและปัญหาต่าง ๆ ในการเรียน การสอนได้ ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบกลุ่มหรือแบบบุคคลก็ตาม 1.6 สามารถเลือกสื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนและกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง 1.7 สามารถเลือกสื่อต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ได้ 1.8 มีความสามารถในการพิจารณาคุณภาพ และความเหมาะสมของสื่อต่อผู้เรียนได้ 1.9 สามารถเตรียมและวางแผนการใช้สื่อการสอนได้ 1.10 สามารถผลิตสื่อการสอนแบบง่ายได้ 1.11 สามารถผลิตสื่อการสอนที่ซับซ้อน เช่น ชุดการสอน รายการโทรทัศน์เมื่อจําเป็น 2. หลักความพร้อม (Readiness) ความสามารถพื้นฐานในการสร้างความพร้อมให้แก่ผู้นักเรียน มีดังนี้ 2.1 พัฒนาแผนการสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง 2.2 แนะนําผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดความต้องการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา 2.3 สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน 2.4 เลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสม ที่จะนําไปสู่การใชสื่อการเรียนการสอนนั้น
33 2.5 ใช้แหล่งการเรียนอื่นๆ เพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน 3. หลักการควบคุม (Control) ครูควรมีความสามารถและทักษะพื้นฐาน ดังนี้ 3.1 สามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ 3.2 สามารถป้องกันและแก่ไขข้อขัดข้องของเครื่องมือต่างๆ ได้ 3.3 สามารถจัดสภาพของห้องเรียนได้ดี ถ้าเป็นการฉายก็สามารถจัดสภาพการฉายได้ดี 3.4 สามารถติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ ได้ดี 3.5 ติดตั้งวัสดุต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สะดวกต่อการใช้และติดตามผลและเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี 3.6 สามารถวางแผนกําหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้สื่อการเรียนการสอนในห้องเรียน ได้เป็นอย่างดี 4. หลักการปฏิบัติ ครูควรมีความรู้และทักษะพื้นฐาน ดังนี้ 4.1 เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนอยากรู้ ตามจุดมุงหมายของ การเรียนการสอน 4.2 ใช้คําถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ 4.3 ใช้การอภิปรายเพื่อนําไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ 4.4 จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท่าทายในการแก้ปัญหา 4.5 ใช้สื่ออย่างมีลําดับ 4.6 จัดดําเนินการด้านการจัดสภาพการณต่างๆ ในการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ 4.7 สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่างๆ ได้ เช่น จัดป้ายนิเทศ จัดมุมวิชา การและการค้นคว้ารายงานเพิ่มเติม เป็นต้น 5. หลักการประเมินผล (Evaluation) ครูควรประเมินผลทั้งจากตัวสื่อและจากการใชสื่อการสอน ของครูเอง จากหลักการข้อนี้จะทําใหครูทราบว่า สื่อนั้นมีคุณค่าตอการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด และครู มีเทคนิคในการสื่อการสอนนั้นดีพอหรือไม่ ดังนั้น ในเรื่องนี้ครูควรมีความรู้ความสามารถทักษะพื้นฐานในการ วัดและประเมินผลการสอนของตัวเอง และสื่อการสอนตามจุดมุ่งหมายของการสอนเพื่อปรับปรุงในโอกาส ต่อไป
34 3.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนรู้ 3.5.1 งานวิจัยในประเทศ วุฒิภัทร หนูยอด (2555) ได้ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อการสอนแบบ ออนไลน์ วิชาการเขียนโปรแกรมเว็บแบบพลวัต ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนแบบ e-learning โดย ผ่านระบบสร้างสื่อการเรียนการ สอนออนไลน์มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนใน ห้องเรียน ปกติซ่ึงมีค่า t เท่ากบั 2.22 ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียน แบบ elearning โดยผ่านระบบสร้าง สื่อการเรียนการสอนออนไลน์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 ซ่ึงอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ มากที่สุด ดังน้ันจึงสรุปได้ว่า การเรียนแบบ e-learning โดยผ่านระบบสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ สามารถใช้ในการจดัการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จักรกฤษณ์ฮัน ยะลา (2556) ได้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสื่อการสอน ระหว่างประเภทสไลด์กับวีดีโอ ในรายวิชาระบบบริหารและการประกันคุณภาพ ผลจากการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนที่ใช้สื่อการสอนระหว่างสื่อประเภทสไลด์กับวีดีโอ ผลการทดสอบความแตกต่างของคะแนนสอบก่อนและหลังเรียนของสื่อประเภทสไลด์กับวดีโอมีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกบทเรียนและกลุ่มเรียน สรุปได้ว่าประสิทธิภาพของสื่อการสอน ประเภทสไลด์ไ์ด้ผลดีกว่า ประเภทวิดีโอ จากงานวิจัยที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า สภาบันทางการศึกษาต่าง ๆกําลังให้ความสนใจกับการ ศึกษาปัญหาและความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอน เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาอย่างมากและมีแนวโน้มเข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาของไทยในอนาคต หากมีการนํามาใช้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมโดยอาศัยการออกแบบและการวางแผนอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการศึกษา ปัญหาและความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในการทําวิจัย เพื่อได้ให้เห็นถึง ภาพรวมของปัญหาและความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนของครูสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานีโดยเลือกทํา การศึกษากับครูสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนดําเนินงานปรับปรุงและพัฒนาการ ใช้สื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานีให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น
35 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับหลักการออกแบบของ ADDIE Model 4.1 ความหมายและหลักการของ ADDIE Model ADDIE Model เป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนที่นักออกแบบการเรียนการสอน และนัก พัฒนาการฝึกอบรมนิยมใช้กัน ซึ่ง ADDIE Model มีลำดับการพัฒนาเป็น 5 ขั้น ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implemen tation) และ การประเมินผล (Evaluation) ซึ่งแต่ละขั้นตอนเป็นแนวทางที่มีลักษณะที่ยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถนำไปสร้าง เป็นเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ADDIE Model เป็นระบบการออกแบบการสอน การออกแบบรูปแบบการสอนส่วนมากในปัจจุบัน เป็นลักษณะที่เปลี่ยนแปลงมาจาก ADDIE Model รูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็น Dick & Carey, Kemp ISD Model สิ่งหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในการปรับปรุงรูปแบบคือการใช้หรือเริ่มจากรูปแบบดังเดิม ซึ่งนี้เป็น แนวคิดที่ยอมรับกันมาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นข้อมูลสะท้อนที่ได้รับ เพื่อการพัฒนารูปแบบในขณะที่วัสดุการ สอนถูกสร้างขึ้น รูปแบบนี้พยายามทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยการเข้าใจปัญหาที่ต้องการแก้ไข 4.2 ขั้นตอนของ ADDIE Model ภาพประกอบที่ 2 ขั้นตอนของ ADDIE Model ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (Analysis Phase) เป็นขั้นตอนที่เราจะวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ออกแบบ บทเรียน สื่อหรือกิจกรรม โดยข้อมูลที่เราจะต้องวิเคราะห์ประกอบด้วยข้อมูลคร่าวๆดังนี้
36 วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน เป็นการวิเคราะห์ปัญหาของผู้เรียนว่า พวกเขามีปัญหาอะไร ชอบการเรียนรู้แบบใด ไม่ชอบการเรียนรู้ แบบใด วิเคราะห์ความต้องการปัจจุบันของผู้เรียน และของเรา เพื่อหาแนวทางการออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบ วัตถุประสงค์ร่วมกัน วิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน เพื่อนำไปใช้พิจารณาออกแบบ กิจกรรม สื่อ หรือแผนการเรียน โดยข้อมูลสำคัญที่ควรวิเคราะห์ได้แก่ องค์ความรู้ ประสบการณ์ เพศ อายุ แรงจูงใจในการเรียน ไปจนถึง ความถนัด ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สิ่งสำคัญของการออกแบบ แผนการสอน สื่อ และกิจกรรม คือเราจำเป็น ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้เสมอว่าอยากให้เด็กได้อะไร ดังนั้นเพื่อให้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่า เราอยากให้เด็กได้อะไร เช่น ความรู้ ทักษะ และ ทัศนคติ วิเคราะห์ข้อจำกัดและทรัพยากรที่จำเป็น วิเคราะห์ข้อจำกัดเป็นการตรวจสอบผู้เรียน และวิเคราะห์ว่าพวกเขามีข้อจำกัดในการเรียนรู้หรือไม่ เช่น ข้อจำกัดด้าน คุณทรัพย์ หรืออาจเป็นข้อจำกัดด้านร่างกาย เช่น เป็นผู้พิการ ดังนั้นการวิเคราะห์เพื่อให้ ทราบข้อจำกัดเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อที่เราจะได้หาแนวทางจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และ ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากข้อจำกัด แล้วอีกหนึ่งอย่างที่ควร วิเคราะห์คือ แผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมที่เราต้องการจะทำนั้น มีข้อจำกัดพิเศษหรือไม่ เช่น จำเป็น ต้องใช้คอม หรือ Smartphone การระบุให้ชัดเจนจะช่วยให้เราออกแบบการเรียนรู้ได้ครอบคลุม เป็นระบบ มากขึ้น ขั้นที่ 2 การออกแบบ (Design Phase) ขั้นตอนการออกแบบประกอบด้วย การสร้างจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดเครื่องมือวัดประเมินผล แบบฝึกหัด เนื้อหา วางแผนการสอน และเลือกสื่อการสอน ขั้นตอนการออกแบบควรจะทำอย่างเป็นระบบ และมีเฉพาะเจาะจง โดยความเป็นระบบนี้หมายถึงตรรกะ มีระเบียบแบบแผนของการจำแนก การพัฒนา และการประเมินแผนยุทธวิธีที่วางไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สำหรับความเฉพาะเจาะจงหมายถึงแต่ละองค์ ประกอบ ของการออกแบบรูปแบบการสอนจะต้องเอาใจใส่ทุกรายละเอียด โดยในขั้นนี้จะเป็นการนำหัวข้อ ปัญหา ที่เราระบุได้ มาลอง Brain storm หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาจัดทำเป็นสื่อ หรือแผนการเรียน โดยเครื่องมือที่แนะนำให้ใช้ในขั้นนี้คือซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. Brain storm chart
37 เครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้เราเห็นข้อมูลในมุมกว้างของเนื้อหาที่เราหยิบยกมาออกแบบ ภาพประกอบที่ 3 Brain storm chart 2. Concept chart เครื่องมือตัวนี้เป็นการต่อยอดจาก Brain storm chart โดยการนำข้อมูลใน Brain storm chart มาจัดแบ่งประเภทให้ถูกต้องเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปออกแบบ แผนการเรียน กิจกรรม หรือ สื่อ เมื่อกำหนดเนื้อหาและจัดแบ่งประเภทได้แล้ว ก็มาสู่ขั้นต่อไปคือ การจัดทำ Flow Chart ***ตัวอย่างการจัดประเภท เช่น สีแดง คือ การจัดประเภทเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง สีน้ำเงิน คือ การจัดประเภทเรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก ภาพประกอบที่ 4 Concept chart
38 3. Flow chart Flow chart คือ แผนผังแสดงการดำเนินเรื่องราวของ แผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมของเรา การทำ Flow chart จะทำให้เราเห็นกระบวนการทำงานของ สื่อ หรือ แผนการเรียนที่เราออกแบบชัดขึ้น ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการจัดทำ Story board ต่อไป ภาพประกอบที่ 5 Flow chart 4. Story board Story Board คือ ขั้นต่อจาก Flow chart ที่นำเอา แผนผังการดำเนินเรื่องราวนั้น มาทำการลง รายละเอียดให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอาจมีการออกแบบหน้าตาของแผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรม คร่าวๆ ว่า อยากได้ออกมาเป็นประมาณไหน มีการลงรายละเอียดเวลาว่า แต่ละขั้นต้องใช้เวลาเท่าไหร่ หลัง จากทำขั้น ตอนนี้เสร็จจะต้องทำอะไรต่อไป เป็นขั้นตอนการลงรายละเอียดโครงร่างของแผนการสอน สื่อ หรือกิจกรรม ก่อนนำไปพัฒนาจริง
39 ภาพประกอบที่ 6 Story board ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา (Development Phase) ขั้นตอนการพัฒนาคือขั้นที่ผู้ออกแบบสร้างส่วนต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นของการออกแบบ ซึ่งครอบคลุมการ สร้างเครื่องมือวัดประเมินผล สร้างแบบฝึกหัด สร้างเนื้อหา และการพัฒนาโปรแกรม สำหรับสื่อการสอน เมื่อเรียบร้อยทำการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาด เพื่อนำ ผลไปปรับปรุงแก้ไข ขั้นที่ 4 ขั้นการนำดำเนินการ (Implementation Phase) ในขั้นตอนการดำเนินการนี้ หมายถึงขั้นของการสอนโดยอาจจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน การฝึกอบรม หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยจุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือ การสอน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียน สนับสนุนการเรียนรอบรู้ ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ต่างๆที่ตั้งไว้