40 ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation Phase) ขั้นการประเมินผลประกอบด้วยสองส่วนคือการประเมินผลรูปแบบ (Formative) และการประเมิน ผลในภาพรวม (Summative) การประเมินผลรูปแบบคือการนำเสนอในแต่ละขั้นของ ADDIE Process ซึ่งเป็น การประเมินผลเพื่อพัฒนา และการประเมินผลในภาพรวมจะทำเมื่อการสอนเสร็จสิ้น เพื่อประเมินผลประสิทธิ ผลการสอนทั้งหมดข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบการสอน 4.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการออกแบบของ ADDIE Model 4.2.1 งานวิจัยในประเทศ 1) เพ็ญพนอ พ่วงแพ (Phenphanor Phuangphae) และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์ (OrapinSirisamphan) (2558) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ สังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ใช้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศึกษา - ศาสตร์บัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2556 จำนวน 39 คน การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) การออกแบบและการพัฒนา (Design and Development : D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) การนำไปใช้ (Implementation : I) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) การประเมินผล(Evaluation: E) ผลการวิจัย พบว่านักศึกษาวิชาชีพครูมีคะแนนผลการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สังคมศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษามีพัฒนาสูงขึ้นในช่วงเวลาหลังเรียน และคุณลักษณะของครูสังคมศึกษา การ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ก่อน และหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 2) จิตติมา เขียวพันธุ์ (2563) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาใช้สำหรับ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเตรียม อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 16 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
41 1) รูปแบบและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ และแผนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ 2)แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ 4)แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าการใช้กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ พบว่านักเรียนใช้กลวิธีการอ่านซ้ำ (67.19) มากที่สุด ส่วนการใช้ความรู้ด้านโครงสร้างไวยากรณ์ (16.41) น้อยที่สุดคะแนน ความสามารถด้าน การอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยรูปแบบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2.2 งานวิจัยในต่างประเทศ ทีมบรรณารักษ์จากมหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ (2020) ได้วิจัยใช้รูปแบบการฝึกอบรม ADDIE เป็น กรอบสำหรับการออกแบบหลักสูตรการรู้สารสนเทศออนไลน์และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน (Nichols Hess & Greer) ในบริบทของการสร้างหลักสูตรนี้ พบว่าแบบจำลอง ADDIE มีโครงสร้างที่ บรรณารักษ์สามารถใช้ในการพัฒนาวิธีการสอนที่มีการทำงานร่วมกันและโต้ตอบกันมากขึ้น รูปแบบการ ออกแบบ การเรียนการสอนยังช่วยให้บรรณารักษ์พิจารณาการมีส่วนร่วม ของนักเรียนและการประเมิน อย่างตั้งใจมากขึ้น โดยไม่กระทบต่อมาตรฐานเฉพาะด้านการรู้หนังสือ Eri Widyastuti (2019) ได้ทำการวิจัยในเรื่องการใช้แบบจำลอง ADDIE เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ คณิตศาสตร์คณิตศาสตร์ ผลวิจัยพบว่า การใช้สื่อที่ผ่านตรวจสอบความถูกต้องของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอน มีผลทำให้ค่าเฉลี่ยคะแนนของนักเรียนในชั้นมีแนวโน้มที่สูงขึ้น
42 5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ ประกิจ รัตนสุวรรณ (2525: 200) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะและ ความสามารถของบุคคลที่เกิดจากการเรียนการสอน เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การ เรียนรู้จากการฝึกฝนอบรมหรือสอน อัจฉรา สุขารมณ์ และ อรพินทร์ ชูชม (2530: 10) ได้กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสําเร็จที่ได้จากการทํางานที่ตองอาศัยความพยายามจํานวนหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก การกระทําที่ อาศัยความสามารถทางร่างกายหรือสมอง ดังนั้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงเป็นขนาดของความสําเร็จที่ได้ จากการเรียนที่อาศัยการทดสอบ เช่น จากการสังเกต หรือการตรวจการบ้าน หรืออาจอยูในรูปของเกรดที่ได้ มาจากโรงเรียนซึ่งต้องอาศัย กรรมวิธีที่ซับซ้อนและช่วงเวลาในการประเมินอันยาวนาน หรืออีกวิธีหนึ่งอาจวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดวยแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั่วไป ไพศาล หวังพานิช (2533: 209) ไดใหความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไว้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะและความสามารถของบุคคล อันเกิดจากการเรียน การสอน เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดจากการฝึกอบรม หรือจากการสอน การวัดผลสัมฤทธิ์จึงเป็นการตรวจสอบระดับความสามารถ หรือความสัมฤทธิ์ผลของบุคคลว่าเรียนรู้แล้วเท่าไร มีความสามารถชนิดใด ซึ่งสามารถวัดได้ 2 แบบ ตามจุดมุ่งหมายและลักษณะวิชาที่สอน คือ 1. การวัดด้วยการปฏิบติเป็นการตรวจสอบระดับความสามารถในการปฏิบัติ หรือทักษะของผู้เรียน โดยผู้เรียนได้แสดงความสามารถดังกลาวในรูปการกระทําจริงให้ออกมาเป็นผลงาน เช่น วิชาศิลปศึกษา พลศึกษา การช่าง เป็นต้น การวัดแบบนี้จึงตองวัด โดยใช้ขอสอบปฏิบัติ 2. การวัดด้านเนื้อหา เป็นการตรวจสอบความสามารถเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาอันเป็นประสบการณ์การ เรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึง พฤติกรรมความสามารถในด้านต่างๆสามารถวัดได้โดยใช้ข้อสอบผลสัมฤทธิ์ วรรณี โสมประยูร (2537: 262) ได้ใหความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า หมายถึงความสามารถ หรือพฤติกรรมของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งพัฒนาขึ้นหลังจาการอบรมสั่งสอนและฝึกฝนโดยตรง กูด (Good. 1973: 103 ) ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสถานศึกษาโดยปกติวัดจาก คะแนนท่ีครูเป็นผู้ให้หรือจากแบบ ทดสอบ หรืออาจรวมทั้งคะแนน ที่ครูเป็นผู้ให้และคะแนนที่ได้จากแบบ ทดสอบ จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ หรือ ทักษะซึ่งเกิดจาก การทํางานที่ประสานกัน และต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก ทั้งองค์ประกอบทางด้านสติปญญา
43 และองค์ประกอบที่ไม่ใช่สติปัญญาแสดงออกในรูปของความสําเร็จ สามารถวัดได้โดยการใช้แบบทดสอบ หรือคะแนนที่ครูให้ 5.2 ประเภทของแบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกิจ รัตนสุวรรณ (2525: 210) ได้แบ่งประเภทของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนไว้ ดังนี้ 1. แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น (Teacher-Made Test) ครูผู้สอนจัดสร้างขึ้น เพื่อวัดความก้าวหน้า ของนักเรียน ภายหลังจากได้มีการเรียนการสอนไประยะหนึ่งแล้ว โดย ปกติแบบทดสอบประเภทนี้จะใช้เฉพาะ ภายในกลุ่มนักเรียนที่ครูผู้ออกข้อสอบเป็นผู้สอน จะไม่นําไปใช้กับนักเรียนกลุ่มอ่อน ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตรวจสอบนักเรียนวามีความรู้ ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด และจะนํา ผลสอบนี้ไปใช้ ทั้งปรับปรุงซ่อมเสริมการเรียนการสอน กับนําไปตัดสินผลการเรียนของนักเรียนด้วยตัวอย่าง แบบทดสอบที่ครูใช้ในการสอบกลางภาค หรือปลายภาค หรือเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ในแต่ละบทเรียน นั้นเอง 2. แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Test) เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เช่นเดียวกับแบบ ทดสอบที่ครูสร้างขึ้นใช้เองแต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ การเรียนด้านต่าง ๆ ของนักเรียนที่ต่างกลุ่มกัน บุญชม ศรีสะอาด (2532: 8 – 9) ได้แบ่งลักษณะของแบบทดสอบออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. แบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ หมายถึง แบบทดสอบที่สรางขึ้นตาม จุดประสงคเชิงพฤติกรรม มีคะแนนจุดตัดหรือคะแนนเกณฑที่ใช้ตัดสินว่า ผู้เรียนมีความรู้ตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้หรือไม่ การวัดเพื่อให ้ ตรงตามจุดประสงค์ซึ่งเป็นหัวใจของการทดสอบประเภทนี้ 2. แบบทดสอบแบบอิงกลุ่ม หมายถึง แบบทดสอบที่สร้างเพื่อวัดให้ ครอบคลุมหลักสูตรสร้างตาม ตารางวิเคราะห์หลักสูตร สามารถจําแนกผู้เรียนตามเก่งอ่อนได้การรายงานผลการสอบอาศัยคะแนน มาตรฐานซึ่งเป็นคะแนนมาตรฐานซึ่งเป็นคะแนนที่สามารถ วัดได้ที่แสดงสถานภาพความสามารถของบุคคล เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นที่ใช้กลุ่มเปรียบเทียบ ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ (2536: 146 – 147) ได้แบ่งแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ได้เป็น 2 พวก คือ 1. แบบทดสอบของครู หมายถึง ชุดของคําถามที่ครูเป็นผู้สร้างขึ้น ซึ่งเป็นข้อคําถามเกี่ยวกับความรู้ที่ นักเรียนได้เรียนในหห้องเรียนว่านักเรียนมีความรู้มากแค่ไหน บกพร่องตรงไหนจะได้สอนซ่อมเสริม หรือเป็น การวัดความพร้อมที่จะได้เรียนในบทเรียนใหม่ขึ้นอยู่กับความต้องการของครู
44 2. แบบทดสอบมาตรฐาน แบบทดสอบประเภทนี้สร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาหรือจากครูผู้สอนวิชานั้น แต่ผ่าน การทดลองคุณภาพหลายครั้ง จนกระทั่งมีคุณภาพดีจึงสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบนั้น สามารถใช้เป็น หลักเปรียบเทียบผลเพื่อประเมินค่าของการเรียนการสอนในเรื่องใดก็ได้ แบบทดสอบมาตรฐานจะมีคู่มือ ดําเนินการสอบ บอกวิธีสอนและยังมีมาตรฐานในด้านการแปลคะแนนด้วย ทั้งแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นและ แบบทดสอบมาตรฐาน มีวิธีการสร้างข้อคําถามเหมือนกัน เป็นคําถามที่วัดเนื้อหาและพฤติกรรมที่สอนไปแล้ว จะเป็นพฤติกรรมที่สามารถ ตั้งคําถามวัดได้ซึ่งควรวัดให้ครอบคลุมพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความรู้ความจํา 2. ความเข้าใจ 3. การนําไปใช้ 4. การวิเคราะห์ 5. การสังเคราะห์ 6. การประเมินค่า จากที่กล่าวมาข้างตนสามารถสรุปประเภทของแบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนได้ คือ 1. เป็นแบบทดสอบของครู หรือแบบทดสอบมาตรฐาน 2. เป็นแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ หรือ แบบทดสอบแบบอิงกลุม 3. เป็นลักษณะการวัดด้านปฏิบัติหรือการวัดเนื้อหา 5.3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน องค์ประกอบที่มีอิทธิพลตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีผู้ได้ใหคําอธิบายไว้ ดังนี้ เพรสคอต์ต (Prescott. 1961: 14 – 16) ได้ใช้ความรู้ทางชีววิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา และการแพทย์ ศึกษา เกี่ยวกับการเรียนของนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน สรุปผลการศึกษาว่าองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนมี ดังนี้ 1. องค์ประกอบทางด้านร่างกาย ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของร่างกาย สุขภาพ ข้อบกพร่อง ทางกาย และบุคลิกภาพ ท่าทาง 2. องค์ประกอบทางความรัก ได้แก่ ความสัมพันธ์ของบิดามารดา ความสัมพันธ์ของบิดากับลูก มารดากับลูก ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 3. องค์ประกอบทางวัฒนธรรมและสังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ของครอบครัว สภาพแวดล้อมทางบ้าน และฐานะทางบ้าน
45 4. องค์ประกอบทางการพัฒนาแห่งตน ได้แก่ ปัญหาปรับตัว การแสดงออกทางอารมณ์ขององค์ประกอบต่างๆที่มีผลต่อระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยนําเอาครู นักเรียนและหลักสูตรมาเป็นองค์ประกอบสําคัญ โดยเชื่อวาเวลาและคุณภาพของการสอ น มี อิทธิพลโดยตรงต่อปริมาณความรู้ที่นักเรียนได้รับจากอิทธิพลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังกล่าวมาข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า ผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีหลายองค์ประกอบด้วยกัน แต่ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงนั้น ได้แก่วิธีสอนของครูและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูเป็นผู้จัดขึ้น 5.4 กระบวนการสรางแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2525: 21 – 30) ได้กล่าวถึงขั้นตอนของกระบวนการสร้างแบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวางแผนสร้างแบบทดสอบ พิจารณาถึงจุดประสงค์ของการนําแบบทดสอบไปใช้ การ วางแผนสร้างแบบทดสอบว่าจะสร้างแบบทดสอบอย่างไร หรือทราบ จุดประสงค์ของการนําแบบทดสอบ ไปใช้ ซึ่งแบบทดสอบส่วนใหญจะมีความสัมพันธ์กับการสอน เช่น การสอบเพื่อตรวจสอบความรู้ก่อนทําการเรียน การสอน เพื่อที่ผู้สอนจะสามารถนํามาปรับปรุงวิธีการสอน ดังนั้นจุดประสงค์ของการนําแบบทดสอบไปใช้ อาจจําแนกเป็น 4 จุดประสงค์ คือ 1. ใช้ตรวจสอบความรู้เดิม จะทําการสอบกอนที่จะเริ่มต้นการสอน เพื่อพิจารณาว่านักเรียนมี ความรู้พื้นฐานที่จําเป็นสําหรับเนื้อหาที่จะเรียนเพียงพอหรือไม่และนักเรียนมีความรู้เนื้อหาที่จะสอนหรือไม่ 2. ใช้ตรวจสอบความก้าวหน้าและปรับปรุงการเรียนการสอน 3. ใช้วินิจฉัยผูเรียน 4. ใช้สรุปบทเรียน เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด คือ เนื้อหาและพฤติกรรมที่ทำการสอน การวิเคราะห์หลักสตูร การวิเคราะห์หลักสูตรเป็นกระบวนการในการจําแนกแยกแยะ ในวิชานั้นๆมีหัวขอเนื้อหาสาระที่สําคัญอะไร บ้าง มีจุดประสงค์ที่จะให้เกิดพฤติกรรมอะไรบ้าง ดังนั้นการวิเคราะห์หลักสูตรจึงประกอบดวยการวิเคราะห์ 2 อย่าง คือ 1. การวิเคราะห์เนื้อหาวิชา 2. การวิเคราะห์จุดประสงค์ การวิเคราะหเนื้อหาวิชา เป็นการจําแนก หรือจัดหมวดหมู่เนื้อหาวิชาเป็นหัวข้อสําคัญ โดยคํานึงถึง สิ่งตอไปนี้
46 1. ความสัมพันธ์เกี่ยวของกันของเนื้อหา 2. ความยากง่ายของเนื้อหา 3. ขนาดของเนื้อหา 4. เวลาที่สอน การวิเคราะห์จุดประสงค์ การวิเคราะห์การวิเคราะห์จุดประสงค์ เป็นการจำแนกหรือจัดหมวดหมู่จุดประสงค์เป็นหัวข้อ สําคัญ โดยคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1. รวบรวมจุดประสงค์ของเนื้อหาวิชาทั้งหมด จากหนังสือหลักสูตรและคู่มือครู 2. เขียนพฤติกรรมที่สําคัญของแต่ละจุดประสงค์ทั้งหมด 3. ยุบพฤติกรรมที่สําคัญที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันให้เป็นพฤติกรรมเดียวกัน 4. นิยามความหมายของพฤติกรรมที่ยุบรวมแล้ว ขั้นที่ 2 การเตรียมงานและเขียนข้อสอบ เมื่อวางแผนการสร้างแบบทดสอบโดยการสร้างเป็นตารางวิเคราะห์หลักสูตรเรียบร้อยแล้ว ต้องเตรียมงาน และเขียนข้อสอบต่อไป ขั้นที่ 3 การทดลองสอบ เมื่อเขียนขอสอบและจัดพิมพ์เรียบร้อยแล้ว จึงนําไปทดลองสอบ ขั้นที่ 4 การประเมินผลแบบทดสอบ การประเมินผลแบบทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าแบบทดสอบมีคุณภาพหรือไม่ โดยพิจารณา ตามคุณลักษณะที่ดีของแบบทดสอบ 10 ประการ คือ 1. ความแม่นตรง หมายถึง แบบทดสอบสามารถวัดพฤติกรรมได้ตรงตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์ และตามที่ทำการสอนจริง 2. ความเชื่อมั่น หมายถึง แบบทดสอบให้ผลการสอบสอดคล้องตรงกันทุกครั้ง 3. อํานาจจําแนก หมายถึง ข้อสอบที่แบ่งแยกคนเก่งอ่อนออกจากกันได้ กล่าวคือ คนเก่งจะตอบ ถูก คนอ่อนจะตอบผิด 4. ความเป็นปรนัย หมายถึง ข้อสอบที่มีคําถามชัดเจน และการให้คะแนนชัดเจน 5. ความเฉพาะเจาะจง หมายถึง ข้อสอบที่มีคําถามชัดเจนและการใหคะแนนชัดเจน 6. ประสิทธิภาพ หมายถึง แบบทดสอบที่ใชนั้น ประหยัดเวลาการสร้าง การดําเนินการสอบ การ ตรวจให้คะแนนให้แต่ผลการสอบถูกต้อง
47 7. ความสมดุล หมายถึง แบบทดสอบสามารถวัดได้ครอบคลุมตามจุดประสงค์และเนื้อหา มีสัดส่วนจํานวนข้อสอดคล้องตามตารางวิเคราะห์หลักสตูร 8. ความยุติธรรม หมายถึง แบบทดสอบมีความชัดเจนไม่คลุมเครือ และเปิดโอกาสให้ทุกคน มีโอกาสที่จะตอบถูกได้เท่ากัน 9. ความเหมาะสมของเวลา หมายถึง แบบทดสอบได้กำหนดเวลาให้อยางเพียงพอในการตอบ ข้อสอบจนเสร็จ อุทุมพร จามรมาน (2540: 27) กล่าวถึงการสร้างข้อสอบที่เป็นระบบนั้น มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การระบุจํานวนจุดมุ่งหมายในการทดสอบ 2. การระบุเนื้อหาให้ชัดเจน 3. การทําตารางเนื้อหากับจุดมุ่งหมายในการทดสอบ 4. การทําน้ําหนัก 5. การกําหนดเวลาสอบ 6. การกําหนดจํานวนข้อหรือคะแนน 7. การเขียนข้อสอบ 8. การตรวจสอบข้อเขียนที่เขียนขึ้น 9. การทดลองใช้ แก้ไข ปรับปรุง 5.5 ประโยชน์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สุริยัน แสงแก้ว (2535: 23 ; อางอิงมาจาก Chauncey; & Dobbin. 1963: 63 – 67) กล่าวถึงประโยชน์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ 5 ประการ ดังนี้ 1. เพื่อดูระดับพัฒนาการ 2.ใช้เป็นประโยชน์ในการแนะแนวนักเรียน 3. เพื่อประโยชน์ในด้านการวางแผนสร้างหลักสูตรต่อไป 4. เพื่อใช้ในการสอบคัดเลือกและเลื่อนชั้น 5. เพื่อใช้เปรียบเทียบความสามารถในการสอนของครูในโรงเรียนเดียวกัน หรือเปรียบเทียบ ระหว่างโรงเรียน จากการศึกษาเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณลักษณะเป็น ความรู้ความสามารถของบุคคลที่ได้รับจากการเรียนการสอน ทําใหบุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
48 ในด้านต่างๆ และถือเป็นวิธีการที่จะทราบว่านักเรียนได้บรรลุเป้าหมายของการเรียนหรือไม่ รวมทั้งเพื่อการ แก้ไขปัญหาและปรับปรุงการเรียนการสอน 5.6 งานวิจัยที่เกี่ยวของกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.6.1 งานวิจัยในประเทศ อาทิตยา แสงสุข และคณะ (2558 : บทคัดย่อ) ศึกษาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง สํานวนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียน ดําเนินการทดลองโดยใช้แผนการวิจัย One Group Pre-test Post-test Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะภาษาไทยเรื่อง สํานวนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 3 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง สํานวนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบ คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นันทวัน เหิดขุนทด (2555 : บทคัดย่อ) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สํานวน สุภาษิต และ คำพังเพย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง สํานวนไทย โดยใช้หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สํานวน สุภาษิต และคำพังเพย ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สํานวน สุภาษิต และคำพังเพย พบว่า คะแนนหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เยาวรัตน์ ตรึกตรอง (2557 : บทคัดย่อ) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย โดยใช้ชุดนิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ เรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย โดยใช้ชุดนิทานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
49 5.6.2 งานวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โซนส์ (Sones. 1944: 238 – 239) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านของนักเรียนเกรด 6 และเกรด 9 ระหว่างหนังสือคู่มือธรรมดากับหนังสือการ์ตูน โดยใช้กลุ่มทดลองการ์ตูนเรื่อง วอนเดอร์วูแมน (Wonder Woman) กลุ่มควบคุมใช้หนังสือบทเรียนธรรมดา ผลการวิจัยพบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีผล สัมฤทธิ์ในการอ่านสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุม แสดงว่าการ์ตูนช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีกว่าหนังสือธรรมดา ลอเรย์ (Lowrey. 1978: 817) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการใช้แบบฝึกทักษะกับนักเรียน ระดับ 1 ถึงระดับ 3 จํานวน 87 คน พบว่า นักเรียนที่ได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกทักษะมีคะแนนการทดสอบ หลังการทําแบบฝึกมากกว่าคะแนนทดสอบก่อนทําแบบฝึก แมคพิค (Mc Peake. 1979: 1799 – A) ได้ศึกษาผลการเรียนจากแบบฝึกอย่างมีระบบตั้งแต่เริ่ม ศึกษาจนถึงความสามารถในการอ่าน และเพศที่มีตอความสามารถในการสะกดคําของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จํานวน 129 คน พบว่า ทุกกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ในการสะกดคำสูงขึ้น ยกเว้นนักเรียนชายที่มีความบกพร่อง ในการอ่าน และพบว่าแบบฝึกช่วยในการปรับปรุงความสามารถในการสะกดคําไปสู่คําใหมที่ยังไม่ได้ศึกษา และ คะแนนของนักเรียนหญิงสูงกว่านักเรียนชายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิตินอกจากนี้การอ่านยังมีความสัมพันธ์ กับความสามารถในการสะกดคํา จากการศึกษางานวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวของกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี มีประสิทธิภาพและการตระหนักถึงตัวผู้เรียนเป็นสําคัญ จะส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
50 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการในการดำเนินการวิจัยเป็นขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล และการดำเนินการวิจัย 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัด มหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จํานวน 16 ห้องเรียน รวมนักเรียน 645 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จํานวน 40 คน ได้มาจาก การเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แบ่งการสร้างเครื่องมือออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. สื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งสื่อ ประเภทวัสดุ และสื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และ คำพังเพย วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ ซึ่งเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
51 3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.1 การสร้างสื่อการเรียนรู้ประเภทวัสดุ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 3.1.1 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ และวิธีการสร้างสื่อการเรียนรู้ประเภทวัสดุ รูปแบบ สลากกินแบ่งรัฐบาล ชุด สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย จากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็น แนวทางในการจัดเนื้อหาและสร้างสื่อการเรียนรู้ 3.1.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มการเรียนรู้ภาษาไทยช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน เพื่อกำหนดเนื้อหาของ บทเรียนและกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการ 3.1.3 แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนย่อย แล้วกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลของแต่ละตอน จากนั้นจึงนำมา สร้างเป็นสลากกินแบ่งรัฐบาล ชุด สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 3.1.4 นำสลากกินแบ่งรัฐบาล ชุดสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่สร้างขึ้นนี้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ประเภทวัสดุ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย เพื่อตรวจแก้ไขเกี่ยวกับรายละเอียดของ เนื้อหาให้ชัดเจนและเหมาะสม 3.1.5 นำสลากกินแบ่งรัฐบาล ชุด สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่ตรวจและแก้ไขแล้วตามคำ แนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของสลากกินแบ่งรัฐบาล ชุด สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย แล้วนำมา ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องด้านความเหมาะสมของเนื้อหา ภาษา และเวลา เพื่อจะได้สลากกินแบ่งรัฐบาล ชุด สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่มีประสิทธิภาพ นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป 3.2 การสร้างสื่อการเรียนรู้ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย 3.2.1 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ และวิธีการสร้างสื่อการเรียนรู้ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบ สื่อประกอบการสอนพาวเวอร์พอยต์ จากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทาง ในการจัดเนื้อหาและสร้างสื่อการเรียนรู้ 3.2.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มการเรียนรู้ภาษาไทยช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และหลักสูตรสถานศึกษาของ โรงเรียน เพื่อกำหนดเนื้อหาของบทเรียนและกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการ
52 3.2.3 แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนย่อย ๆ แล้วกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปและจุดประสงค์เชิง พฤติกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลของแต่ละตอน จากนั้นจึงนำมาสร้างเป็นสื่อประกอบการสอนพาวเวอร์พอยต์ 3.2.4 นำสื่อประกอบการสอนพาวเวอร์พอยต์ที่สร้างขึ้นนี้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสื่อ การเรียนรู้ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย เพื่อตรวจแก้ไขเกี่ยวกับรายละเอียดของ เนื้อหาให้ชัดเจนและเหมาะสม 3.2.5 นำสื่อประกอบการสอนพาวเวอร์พอยต์ที่ตรวจและแก้ไขแล้วตามคำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อประกอบการสอนพาวเวอร์พอยต์ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องด้านความ เหมาะสมของเนื้อหา ภาษา และเวลา เพื่อจะได้สื่อประกอบการสอนพาวเวอร์พอยต์ที่มีประสิทธิภาพ นำไปใช้ กับกลุ่มตัวอย่างต่อไปรูปแบบ จากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเนื้อหา และสร้างสื่อการเรียนรู้ 3.3 การสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนบทเรียนสมุดภาพสามมิติ เรื่อง สํานวน สุภาษิต และคําพังเพย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขั้นตอนดําเนินการ ดังนี้ 3.4.1 ศึกษาจุดประสงค์หลักสูตรและคําอธิบายรายวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) แล้ววิเคราะห์จุดประสงค์เนื้อหาที่เกี่ยวกับ สํานวน สุภาษิต และคําพังเพย เพื่อกําหนดเป็นจุดประสงค์เชิงพฤตกรรม 3.4.2 ศึกษาวิธีเขียนข้อสอบจากหนังสือการเขียนข้อสอบวิชาภาษาไทยของ จันทิมา พรหมโชติกุล (2519: 21 – 102) และเทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ของ ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ (2539: 62 – 166) เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.4.3 สร้างแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาไทย จํานวน 3 ท่าน ตรวจสอบเพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาว่า ข้อสอบมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนรู้และเนื้อหาหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์การกำหนดคะแนนความคิดเห็น ดังนี้ (พวงรัตน ทวีรัตน์ . 2540: 117) +1 หมายถึง แน่ใจว่าแบบทดสอบมีความสอดคลองกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าแบบทดสอบมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรูหรือไม่ -1 หมายถึง แน่ใจว่าแบบทดสอบไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
53 บันทึกผลการพิจารณาลงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนในแต่ละข้อจากการประเมินผลของผู้ เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน 3.4.4 นําแบบทดสอบที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดสอบ (Try out) กับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจํานวน 40 คน 3.4.5 ตรวจให้คะแนนแบบทดสอบที่นักเรียนทํา โดยข้อที่ถูกให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิด หรือตอบเกิน 1 คําตอบให้ 0 คะแนน 3.4.6 นําผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์และใช้ตารางวิเคราะห์ของ จุง เตห์ ฟาน (1952: 3 – 23) 3.4.6.1 วิเคราะห์ข้อสอบรายข้อเพื่อหาค่าจําแนก (r) ของแบบทดสอบ 3.4.6.2 วิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ เพื่อหาค่าความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบโดย วิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ เพื่อเลือกข้อที่มีค่าความยากง่าย (p) 3.4.7 เลือกข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 10 ข้อ 3.4.8 นําแบบทดสอบที่ปรับปรุงตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้จํานวน 10 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่เคยเรียนเรื่อง สํานวน สุภาษิต และคําพังเพยมาแล้ว จำนวน 40 คน 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4.1 ขั้นเตรียมการ 4.1.1 ดำเนินการทำหนังสือเพื่อติดต่อกับผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายชั้น และครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการทดลองการพัฒนาสื่อ 4.1.2 จัดตารางเวลาในการทดลองการพัฒนาสื่อ โดยทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 2 วัน จำนวน 5 ชั่วโมง 4.1.3 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง 4.1.4 จัดทำสื่อการเรียนรู้ประเภทวัสดุ ได้แก่ ไม้เมตรสะกดคำ และสื่อการเรียนรู้ประเภท อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เกมการศึกษาออนไลน์ 4.1.5 จัดทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ที่ตรงตามมาตรา จำนวน 50 ข้อ (มาตราแม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว แม่กก แม่กบ มาตราละ 5 ข้อ ยกเว้น มาตราแม่กนและแม่กบ มาตราละ 10 ข้อ) ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก
54 4.1.6 จัดทำแบบตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือของผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาค่า IOC , แบบประเมินแผน การจัดการเรียนรู้ , แบบประเมินสื่อการเรียนรู้ประเภทวัสดุและประเภทร่วมสมัย (สื่อการเรียนรู้ประเภท อิเล็กทรอนิกส์) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบและประเมินก่อนนำไปใช้จริง 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 5.1 วิธีการวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1. วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในชุดกิจกรรมการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด มาตราละ 10 ข้อ เป็นจำนวน 50 ข้อ 2. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะในชุดกิจกรรมการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด 3. วิเคราะห์หาคะแนนเฉลี่ยและร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการประเมินการทำ แบบฝึกทักษะระหว่างเรียน 5.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 5.2.1 สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 1. การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้อง ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในชุดกิจกรรมการเรียน เรื่อง มาตรา ตัวสะกด จำนวน 90 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การใช้สูตรการคำนวณ (สมบูรณ์ สุริยวงศ์ และคณะ, 2544 : 156-157) ดังนี้ รูปภาพที่ 7 สูตรการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) IOC = ค่าดัชนีความสอดคล้อง ΣR = ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N = จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
55 กำหนดเกณฑ์การประเมิน ให้คะแนน = + 1 หมายถึง เหมาะสม สอดคล้องตรงกับวัตถุประสงค์ ให้คะแนน = 0 หมายถึง ไม่แน่ใจ มีความสอดคล้องวัตถุประสงค์ ให้คะแนน = -1 หมายถึง ไม่สอดคล้องไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ เกณฑ์คัดเลือกค่า IOC 1.ค่า IOC = 1.00 เลือกใช้ 2.ค่า IOC = 0.50-0.99 พิจารณาปรับปรุงเน้ือหา 3.ค่า IOC = ต่ำกว่า 0.50 ให้ตัดทิ้ง 2. การหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด E1 /E2 ใช้สูตรการคำนวณ (ดาวรุ่ง วีระกุล,2551 : 45) ดังนี้ เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ ΣX แทน คะแนนรวมของแบบฝึกหัดหรืองาน A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชิ้นรวมกัน N แทน จำนวนนักเรียน เมื่อ E2 แทน ผลลัพธ์ของประสิทธิภาพ ΣY แทน ผลรวมของผลลัพธ์หลังเรียน B แทน คะแนนเต็มของการสอบ N แทน จำนวนนักเรียน รูปภาพที่ 8 สูตรการหาค่าประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้
56 3. การหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก โดยใช้วิธี กลุ่มสูง กลุ่มต่ำ และหาค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบ (สมบูรณ์ สุริยวงศ์และคณะ, 2544 : 151-162) ดังนี้ - วิเคราะห์หาความยากง่าย (P) ของแบบทดสอบ จากสูตร รูปภาพที่ 9 สูตรการหาค่าความยากง่าย เมื่อ P แทน ค่าความยากง่าย Ru แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มสูง RL แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ N แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ - วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบ จากสูตร รูปภาพที่ 10 สูตรการหาค่าอำนาจจำแนก เมื่อ r แทน ค่าอำนาจจำแนก Ru แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มสูง RL แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ N แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ - หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งแบบคำนวณโดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน ดังนี้ รูปภาพที่ 11 สูตรการหาค่าความเชื่อมั่น
57 เมื่อ rtt แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ k แทน จำนวนข้อสอบในแบบทดสอบ p แทน สัดส่วนของผู้ตอบถูกในแต่ละข้อ q แทน สัดส่วนของผู้ตอบผิดในแต่ละข้อ S 2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวมของผู้ตอบทั้งหมด - หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจทั้งฉบับ ใช้สถิติแบบแอลฟาของครอนบัค Coefficient Alpha of Cronbach (ยุทธ์ ไกยวรรณ์ ,2555:96) ดังนี้ รูปภาพที่ 12 สูตรการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจทั้งฉบับ เมื่อ α แทน ความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด n แทน จำนวนข้อคำถามของเครื่องมือวัด (คะแนนแต่ละข้อ) S 2 i แทน ความแปรปรวนเป็นรายข้อ S 1 i แทน ความแปรปรวนของเครื่องมือวัด 5.2.2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติพื้นฐาน หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละเพื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบก่อน เรียนและหลังเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยเอกสารประกอบการเรียน สูตรที่ใช้ใน การคำนวณหาค่าเฉลี่ย (วันทนา สุวรรณอัตถ์, 2548 : 170) คือ รูปภาพที่ 13 สูตรการหาค่าเฉลี่ย
58 เมื่อ μ แทน ค่าเฉลี่ยของประชากร ΣX แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่มประชากร - สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (วันทนา สุวรรณอัตถ์, 2548:188) คือ รูปภาพที่ 14 สูตรการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมื่อ σ แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน X แทน คะแนนของนักเรียนแต่ละคน μ แทน ค่าเฉลี่ยของประชากร N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่มประชากร - สูตรหาค่าร้อยละ (ยุทธ์ ไกยวรรณ์ ,2555:63) รูปภาพที่ 15 สูตรการหาค่าร้อยละ เมื่อ P แทน ร้อยละ f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ n แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
59 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 โดยใช้รูปแบบ ADDIE Model โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการแปล ความหมายและเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้อง ตลอดจนการสื่อความหมายข้อมูลที่ตรงกัน ดังนี้ x̅ แทน ค่าเฉลี่ย S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ΣX แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย E1 แทน ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ E2 แทน ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ E.I. แทน ดัชนีประสิทธิผล 2. ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล การนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัย ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และนำเสนอใน รูปแบบของตารางประกอบคำอธิบาย โดยเรียงลำดับหัวข้อการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ของสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
60 ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ของสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ตารางแสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตามข้อมูลพื้นฐาน ดังนี้ เพศ จำนวน ร้อยละ ชาย 19 47.5 หญิง 21 52.5 รวม 40 100 ตารางที่ 7 ตารางแสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จากตาราง แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มีนักเรียนชายและนักเรียนหญิง จำนวนทั้งหมด 40 คน จำแนกเป็นเพศชายจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5 และเป็นเพศหญิง 21 คน คิดเป็นร้อยละ 52.5
61 ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ของสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เลขที่ ใบงานจำนวน 6 ข้อ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4 ข้อ สมรรถนะผู้เรียน ทักษะการเขียน คะแนน รวม (100) ความ ถูกต้อง (18) ความ เรียบ ร้อย (18) มีวินัย (5) ใฝ่ เรียนรู้ (5) มุ่งมั่น ในการ ทำงาน (5) รักความ เป็น ไทย(5) การ สื่อสาร (9) การคิด (9) การใช้ ทักษะ ชีวิต(6) การใช้ ภาษา (10) เนื้อหา (10) 1 18 15 5 3 5 5 7 8 5 8 7 86 2 18 12 5 5 5 5 7 7 4 9 8 85 3 15 15 5 5 4 5 8 7 4 7 9 84 4 18 18 5 5 5 5 8 9 6 8 7 94 5 15 18 4 5 4 5 8 9 6 9 8 91 6 18 18 5 4 5 5 7 8 5 8 8 91 7 15 12 5 5 4 5 7 8 5 6 7 79 8 18 18 3 5 4 4 9 9 4 8 9 91 9 18 18 5 5 4 5 7 8 5 8 7 90 10 18 18 5 4 5 4 7 8 5 8 8 90 11 15 18 5 4 5 5 8 8 5 7 7 87
62 12 18 15 5 5 5 5 9 7 5 5 8 87 13 12 15 5 3 5 5 8 9 5 8 9 84 14 15 18 4 5 5 5 6 9 4 10 10 91 15 18 15 5 5 4 5 7 8 4 8 9 88 16 18 18 5 5 5 5 7 8 4 8 7 90 17 15 18 5 5 3 5 8 7 4 8 9 87 18 15 18 3 5 3 5 7 7 4 9 9 85 19 18 18 5 4 5 5 7 9 4 10 9 94 20 18 15 5 4 5 5 7 7 5 8 9 88 21 15 12 4 5 4 5 6 7 5 7 9 79 22 15 15 5 5 4 4 7 8 5 8 9 85 23 18 18 5 5 5 5 7 8 5 7 8 91 24 15 18 5 5 5 5 9 7 5 6 9 89 25 18 18 5 4 5 5 9 8 6 7 9 94 26 15 12 5 5 4 5 8 7 5 8 9 83 27 18 15 4 4 5 5 7 8 6 10 8 90
63 28 15 18 5 4 3 5 7 7 6 7 7 84 29 12 15 3 4 3 5 9 7 5 7 8 78 30 18 18 5 5 5 5 7 6 4 6 9 88 31 18 18 5 5 5 5 7 8 5 9 10 95 32 15 18 5 3 5 5 6 8 5 8 10 88 33 15 12 5 5 4 5 6 8 6 7 8 81 34 18 18 3 5 5 5 7 8 5 9 9 92 35 18 18 5 5 5 5 7 9 4 10 10 96 36 18 18 3 5 5 5 9 9 5 7 9 93 37 12 15 5 5 5 5 9 7 6 7 8 84 38 18 15 4 5 5 4 7 8 6 7 7 86 39 18 18 5 5 5 5 7 8 5 10 9 95 40 15 18 5 5 4 5 8 9 5 8 8 90 รวม 1314 747 810 652 3523 16.42 4.66 6.75 8.15 88.07
64 S.D. 2.01 0.60 1.52 1.09 4.51 ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) 88.07 ตารางที่ 8 ตารางวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ของสื่อการเรียนรู้เรื่อง สำนวน สุภาษิต และ คำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากตาราง แสดงให้เห็นว่ามีคะแนนเต็มรวม 100 คะแนน ใบงานจำนวน 6 ข้อ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยได้ 16.42 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 2.01คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4 ข้อ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยได้ 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 0.60 สมรรถนะผู้เรียน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยได้ 6.75 และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ได้ 1.52 ทักษะการเขียน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยได้ 8.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 1.09 ดังนั้น คะแนนรวมเต็ม 100 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยได้ 88.07 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 4.51 จึงมีประสิทธิภาพ ของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 88.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ เกณฑ์ 75
65 ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ของสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็นดังนี้ ตารางแสดงประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ของสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย เลขที่ คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ (10 คะแนน) 1 9 2 9 3 8 4 7 5 10 6 9 7 9 8 9 9 7 10 10
66 11 10 12 9 13 9 14 10 15 7 16 10 17 9 18 10 19 10 20 9 21 10 22 10 23 8
67 24 10 25 10 26 9 27 10 28 9 29 8 30 10 31 9 32 10 33 10 34 8 35 8 36 7
68 37 10 38 9 39 10 40 9 คะแนนรวม 364 คะแนนเฉลี่ย (x̅) 9.1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.96 ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) 91 ตารางที่ 9 ตารางแสดงประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ของสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย จากตารางแสดงให้เห็นว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ คะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยได้ 9.1 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 1.82 จึงมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ เกณฑ์ 75
69 ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็นดังนี้ ตารางแสดงดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เลขที่ คะแนนทดสอบก่อนเรียน (10 คะแนน) คะแนนทดสอบหลังเรียน (10 คะแนน) 1 7 9 2 6 9 3 7 8 4 5 7 5 9 10 6 7 9 7 6 9 8 7 9 9 7 7
70 10 8 10 11 8 10 12 8 9 13 7 9 14 8 10 15 7 7 16 7 10 17 7 9 18 8 10 19 8 10 20 7 9 21 8 10 22 8 10
71 23 6 8 24 8 10 25 8 10 26 7 9 27 8 10 28 6 9 29 5 8 30 7 10 31 7 9 32 7 10 33 8 10 34 6 8 35 6 8
72 36 6 7 37 8 10 38 6 9 39 7 10 40 7 9 คะแนนรวม 283 364 คะแนนเฉลี่ย (x̅) 7.07 9.1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.90 0.96 ค่าประสิทธิภาพของผลลั พธ์ (E2) 0.69 ตารางที่ 10 ตารางแสดงดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากตาราง แสดงให้เห็นว่า คะแนนทดสอบก่อนเรียน คะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยได้ 7.07 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 0.90 และคะแนนทดสอบหลังเรียน คะแนนเต็ม 10 คะแนนคิดเป็น คะแนนเฉลี่ยได้ 9.1 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 0.96 จึงมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.69 หรือ คิดเป็นร้อยละ 69
73 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 โดยใช้รูปแบบ ADDIE Model ผู้วิจัยได้สรุปผลอภิปรายผล และมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. ความมุ่งหมายของการวิจัย 2. สรุปผล 3. อภิปรายผล 4. ข้อเสนอแนะ ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามรูปแบบ ADDIE Model ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ก่อนและหลัง การใช้สื่อการเรียนรู้ตามรูปแบบ ADDIE Model สรุปผล จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 โรงเรียนผดุงนารี ที่ใช้ สื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มีการพัฒนาโดยใช้รูปแบบ ADDIE Model ในการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยสามารถสรุปผลได้ ดังนี้ 1. สื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาตามรูปแบบ ADDIE Model มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.07/91.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย หลังเรียนโดยการ ใช้สื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาตามรูปแบบ ADDIE Model สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
74 อภิปราย จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 ที่ใช้สื่อการเรียนรู้วิชา ภาษาไทยเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มีการพัฒนาโดยใช้รูปแบบ ADDIE Model ในการจัดการ เรียนรู้ผู้วิจัยสามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้ 1. จากผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 ที่ใช้สื่อการ เรียนรู้วิชาภาษาไทยเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มีการพัฒนาโดยใช้รูปแบบ ADDIE Model ใน การจัดการเรียนรู้ ได้ผลการหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเรื่อง สำนวน สุภาษิต และ คำพังเพย ที่มีการพัฒนาโดยใช้รูปแบบ ADDIE Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีคะแนน เฉลี่ยจากการประเมินพฤติกรรม ผลงาน และทักษะการเขียนของนักเรียน เท่ากับ 88.07 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.07 และคะแนนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มี คะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 9.1 คิดเป็นร้อยละ 91.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ แสดงว่าสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่มีการพัฒนาโดย ใช้รูปแบบ ADDIE Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.07 / 91.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2. จากผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาตามรูปแบบ ADDIE Model ในการจัด การเรียนรู้ ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 7.07 คะแนนหลังเรียน เท่ากับ 9.10 ค่า t เท่ากับ 17.464* แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ข้อแนะนำ 1. ข้อเสนอะแนะการนำไปใช้ 1.1 ในระหว่างการดําเนินการจัดกิจกรรม ครูควรสังเกตพฤติกรรมนักเรียนที่อาจจะไม่เข้าใจ หรือเกิดการเรียนรู้ช้า หรือต้องการความช่วยเหลือ ครูควรใช้การจัดการ เรียนรู้แบบเสริมแรงกระตุ้นร่วมกับ การใช้สื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาตามรูปแบบ ADDIE Model เพื่อให้นักเรียนสนใจ หรืออธิบายให้เข้าใจชัดเจน อีกครั้ง
75 2. ข้อเสนอะแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรนำรูปแบบ ADDIE Model ไปพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ 2.2 ควรศึกษาการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการเรียนรู้ เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่พัฒนาตามรูปแบบ ADDIE Model กับการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ รูปแบบอื่น ๆ
76 บรรณานุกรม
77 บรณานุกรม กัญญารัตน์ เจริญจิต. (23 กันยายน 2555). สื่อการสอน. Pnru3Math53. https://pnru3math53. blogspot.com/ กัญณภัทร กำเนิดบุญ. (20 เมษายน 2019). แนวคิดหลักการและการจำแนกสื่อการเรียนการสอนของ ไชยยศ เรืองสุวรรณ.Gotoknow.www.gotoknow.org กัลยวรรธน์ ฉันทจิตปรีชา. (2560). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมเชิงวิชาการระดับชาติ ครั้งที่14 มหาวิทยาลัยราช ภัฏกำแพงเพชร(น.900).นิสิตหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. https://research.kpru.ac.th/ กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551 กฤษฎา ชานนท์เมือง.(19 เมษายน 2562).การจำแนกสื่อของกิดานันท์ มลิทอง.Gotoknow. https://www.gotoknow.org/ ขนิษฐา จิตชินะกุล,สุวิมล โกศลกาญจน์.(2561).สำนวนไทยใหม่ในโซเชียลมีเดีย; ภาพสะท้อนสังคมไทย ในรอบทศวรรษ (2550-2560).วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(2),https://so03.tcithaijo.org ซูไรดา เจะนิ และคณะ.(2556).การพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทย แบบกระตุ้นคิด เพื่อพัฒนาทักษะ การ คิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3.วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ ผลงาน วิจัย จากการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23,23(3)นิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์สาขาวิชาภาษาไทยมหา วิทยา ลัยทักษิณ สงขลา(น.14).https://so05.tci-thaijo.org ณัฐกร สงคราม. 2553. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทิวัตถ์ มณีโชติ. 2549. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. ทิศนา แขมมณี.(2550).ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้ง ที่ 6).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
78 นันทวัน เหิดขุนทด.(2555) การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ. https://dric.nrct.go.th/ บุญชม ศรีสะอาด.(2545).การวิจัยเบื้องต้น.(พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาน์น, เยาวรัตน์ ตรึกตรอง.(21 มกราคม 2559).การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย โดยใช้ชุดนิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.ครูบ้านนอก. https:// kroobannok.com ราชบัณฑิตยสภา.(ม.ป.ป).ความหมายของสุภาษิต. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544. (https://dictionary.orst.go.th) ราชบัณฑิตยสภา.(ม.ป.ป).ความหมายของคำพังเพย. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544. (https://dictionary.orst.go.th) ราชบัณฑิตยสภา.(ม.ป.ป).ความหมายของสำนวน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544. (https://dictionary.orst.go.th) ศวิกา ทองสง.(ม.ป.ป).หลักการออกแบบของ ADDIE model.การเรียนการสอนผ่านเว็บ. https://sites. google.com) ศิวรี วรนิตินันท์, ปราณี สุจิระพันธุ์.(ม.ป.ป).สำนวน โวหาร สุภาษิต คำพังเพย. https://www moomnangsue.com) สุไม บิลไบ.(2557).การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียโดยใช้ ADDIE Model. https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/ อาทิตยา แสงสุข และคณะ.(2558).ผลการใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง สำนวนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,17(3),บทคัดย่อ. https://so06.tci-thaijo.org/ อุทุมพร จามรมาน. 2540. “การสร้างและการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย” ในแบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทาง การศึกษา.(น.328-349). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
79 ภาคผนวก
80 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือและหนังสือขอความอนุเคราะห์
81 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือ 1. อาจารย์เบญจสิริ จันทะวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน 2. นางรัตนาภา เรืองวิเศษ ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนผดุงนารี ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการใช้ภาษา 3. นางอัจฉริยา ธรรมแสง ตำแหน่ง รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนผดุงนารี ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการใช้ภาษา
82 หนังสือขอความอนุเคราะห์
83
84
85
86 ภาคผนวก ข ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
87 แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ รายวิชา ภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท ๒๑๑๐๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ เรื่อง เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม จำนวน ๒ ชั่วโมง ครูผู้สอน : นางสาวจิระนันท์ คำผาย, นางสาวชนิดาภา แก้วจันทร์ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ นางสาวญาณิศา ดวงสุวรรณ , นางสาวบุษกร เดชแพง สาระสำคัญ สำนวน คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเปรียบเทียบที่สั้น กะทัดรัด มีความหมายโดยนัย ต้องอาศัยการตีความจึงจะเข้าใจ สุภาษิต คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่มีความหมายเชิงกล่าวแนะนำ สั่งสอน เตือนสติ รวมถึงคำสั่งสอนทางศาสนาต่าง ๆ คำพังเพย คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มุ่งเน้นการแสดงความคิดเห็น กล่าวกระทบเสียดสี และประชดประชัน ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และบริบทต่าง ๆ เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิผล มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษา ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัดการเรียนรู้ ม.๑/๖ จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต จุดประสงค์การเรียนรู้
88 เมื่อนักเรียนได้ศึกษาและทำกิจกรรม เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยแล้วนักเรียนสามารถ ๑. บอกความหมายและความแตกต่างของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยได้ (K) ๒. จำแนกและเลือกใช้สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยให้ถูกต้องเหมาะสมได้ (P) ๓. เห็นคุณค่าของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ (A) สาระการเรียนรู้ ๑. ความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ๒. ตัวอย่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย พร้อมความหมายและรูปภาพประกอบ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑. มีวินัย หมายถึง ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ของโรงเรียนและสังคมรวมถึงตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ๒. ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง ตั้งใจเรียน เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ สรุปเป็นองค์ความรู้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๓. มุ่งมั่นในการทำงาน หมายถึง เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและตั้งใจรับผิดชอบในการทำงานให้แล้วเสร็จ ๔. รักความเป็นไทย หมายถึง เห็นคุณค่าและนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสมในวิถีชีวิต สมรรถนะผู้เรียน ๑. ความสามารถในการสื่อสาร หมายถึง มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจของตนเอง โดยใช้ภาษาอย่างเหมาะสม ๒. ความสามารถในการคิด หมายถึง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ๓. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต หมายถึง สามารถทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ผลงานที่ต้องการ ๑. ใบกิจกรรมชุดสลากกินแบ่ง เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย (งานเดี่ยว)
89 กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT มีลำดับการจัดการเรียนรู้ ๘ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ ๑ : การสร้างประสบการณ์(๑๐ นาที) ๑. ครูผู้สอนทำการกล่าวทักทายนักเรียนเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างครูกับนักเรียน และบอกกับนักเรียนว่าวันนี้จะมาเรียนเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ๒. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ที่นักเรียนเคยได้ยิน ขั้นที่ ๒ : การวิเคราะห์ประสบการณ์ (๑๕ นาที) ๑. ครูให้นักเรียนบอกเหตุผลว่าทำไมถึงเรียนเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ๒. เมื่อนักเรียนได้บอกถึงเหตุผลว่าทำไมถึงควรเรียนเรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยแล้ว ครูจึงได้ลองถามว่านักเรียนคิดว่าสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย มีความแตกต่างกันอย่างไร ๓. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนชนิดปรนัย ๔ ตัวเลือก เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย จำนวน ๑๐ ข้อ ใช้เวลา ๑๐ นาที ขั้นที่ ๓ : การพัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (๒๐ นาที) ๑. ครูอธิบายเนื้อหาเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย โดยใช้สื่อ PowerPoint ที่นำเอาความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย มาให้นักเรียนได้เกิดความคิดรวบยอดในการเข้าใจถึงความแตกต่างและรูปภาพประกอบมานำเสนอให้นักเรียน ได้เข้าใจหลายตัวอย่าง ๒.ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ถามสิ่งที่เป็นข้อสงสัยและได้ถามความเข้าใจของนักเรียนกลับถึงเนื้อหาที่ ครูได้ทำการอธิบายไป ขั้นที่ ๔ : การพัฒนาความรู้ความคิด (๑๕ นาที) ๑. ครูให้นักเรียนบอกข้อสรุปถึงความแตกต่างระหว่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย จากนั้นครูมีตัวอย่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยมาให้นักเรียนได้แยกกลุ่มอย่างละ ๑ ประเภท ขั้นที่ ๕ : การปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ (๑๕ นาที)