สุธรี ะ ประเสริฐสรรพ์ 199
หนงั สือลำ� ดับท่ี 26 SEEEM: มติ ิใหม่ของการผสานสะเตม็ และปรชั ญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในการศกึ ษา
ในทา่ มกลางโลกทเี่ ปลยี่ นแปลงอยา่ งรวดเรว็ การศกึ ษาถกู ทำ� ให้
หมนุ ตามโลก ในโลกแหง่ การแขง่ ขนั ดว้ ยเศรษฐกจิ ฐานนวตั กรรม
สะเตม็ ศกึ ษากลายเปน็ วาทะกรรมการศกึ ษาทส่ี รา้ งความสบั สน
ให้กับครู ในโลกที่ต้องการการพัฒนาอย่างย่ังยืน การเรียนรู้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวาระของการศึกษาเช่นกัน
สะเต็มเป็นโลกกลไกท่ีมนุษย์ดัดแปลงธรรมชาติเพ่ือพัฒนาการ
ไปข้างหน้า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นโลกอินทรีย์ที่
รกั ษาความสมดุลของการดำ� รงชีวิต การบรู ณาการ “ความคิด
นำ� เขา้ ” คอื สะเตม็ ศกึ ษาและ “ความคดิ ภายนอก” คอื ปรชั ญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นความท้าทายของการจัดการ (มกราคม 2562) 268 หนา้
ศึกษาไทย การเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ เกิดเม่ือนักเรียนท�ำโครงงานที่บูรณาการศาสตร์ของท้ัง 2 โลก
หนงั สอื เลม่ นอ้ี ธบิ ายความกลมกลนื ของสะเตม็ และปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งในชอื่ ใหมท่ เี่ พาะพนั ธ์ุ
ปัญญาเรียก SEEEM ซึ่งเป็นหลักคิดสร้างการเรียนรู้จากการลงมือท�ำโครงงานฐานวิจัย ท่ีให้นักเรียน
เขา้ ใจการอย่รู ่วมกันของ 2 โลก
หนงั สอื ลำ� ดับท่ี 27 กลา้ พันธผุ์ ้กู า้ วพ้น
เรามกั จะหลงเชอ่ื วา่ แผนการสอนคอื หลกั ฐานใชต้ รวจวดั คณุ ภาพ (เมษายน 2562) 128 หนา้
การศึกษาแต่เพาะพันธุ์ปัญญาเชื่อในกระบวนการพัฒนาความ
คดิ และความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งครกู บั นกั เรยี นซง่ึ แสดงผลเปน็ การ
เปล่ียนแปลงท้ังความคิด จิตใจ และทักษะศตวรรษที่ 21 ของ
นักเรียน “กล้าพันธุ์ผู้ก้าวพ้น” เล่มนี้เป็นข้อเขียนเชิงสารคดี
ชีวิตนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงจากการเข้าร่วมโครงการเพาะ
พันธุ์ปัญญา ผู้เขียนคัดจากนักเรียนจ�ำนวนมากให้เหลือ 10
คนท่ีโดดเด่นและมีความหลากหลาย คัดเพ่ือให้แน่ใจว่าการ
เปลี่ยนแปลงน้ันเกิดจากเพาะพันธุ์ปัญญาอย่างแท้จริง ผู้อ่าน
จะเข้าใจกระบวนการเพาะพันธุ์ปัญญาท่ีออกจากปากของผู้ท่ี
“ผกู้ ้าวพ้น” เอง
200 จากรากแกว้ สูผ่ ลของตน้ เพาะพันธุ์ปญั ญา
หนังสอื ลำ� ดับท่ี 28 เขยี นคือคิด (พฤษภาคม 2562) 114 หนา้
“เขียนคือคิด” เป็นคาถาข้อท่ี 3 ของเพาะพันธุ์ปัญญา หลาย (พฤศจิกายน 2561) 142 หนา้
ทา่ นบอกวา่ ถา้ ไมค่ ดิ จะไมม่ อี ะไรเขยี น ดงั นนั้ คนเราคดิ กอ่ นเขยี น
จึงท�ำให้เข้าใจว่าคาถาข้อนี้หมายถึงการเขียนส่ิงท่ีคิดได้ และ
เข้าใจว่าน่นั ทำ� ให้ “เขยี น” และ “คดิ ” มคี วามเป็นเหตเุ ปน็ ผล
ต่อกัน (ซึ่งในความจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น) หนังสือเล่มน้ีอธิบาย
“เขยี นคอื คดิ ” ใน 2 มติ ิ มติ แิ รกคอื การเขยี นทำ� ใหค้ นคดิ เปน็ เหตุ
เป็นผลจากการต้องส่ือสารอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ให้ผู้อ่านเชื่อ
และเข้าใจความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ในความรู้ท่ีผู้เขียนสังเคราะห์
ขึ้นมาจากการท�ำโครงงานฐานวิจัย มิติท่ีสองคือเขียนความคิด
ท่ีถอดความคิดของคนเขียนเอง อธิบายกระบวนการข้ันตอน
การคิดของตนเองให้ผู้อ่ืนเข้าใจได้ หนังสือเล่มน้ีเน้นการเขียน
ในมิติท่ี 1 เพือ่ ใหเ้ กดิ (ผล) ทักษะการคดิ จาก (เหต)ุ การเขียน
งานวชิ าการ โดยมีบางสว่ นทเ่ี ขียนใหเ้ ข้าใจมติ ทิ ่ี 2 เพ่ือใหผ้ ้อู ่าน
เขา้ ใจคาถาข้อท่ี 3 อยา่ งแจม่ แจง้
หนงั สือลำ� ดับที่ 29 นวัตกรรมกง่ึ สำ� เร็จรูป
การสอนโครงงานสิ่งประดิษฐ์ในการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กล่าว
อา้ งวา่ เป็นนวัตกรรมมกั ไมใ่ ชน่ วตั กรรมจรงิ เพราะทำ� โดยเขา้ ใจ
เอาเองว่าควรเป็นอย่างน้ันอย่างนี้โดยปราศจากความรู้อันเป็น
กฎที่แท้จริงของธรรมชาติ ผลงานที่ได้คือการลองผิดลองถูก
สิ่งประดิษฐ์จะต้องท�ำงานตามกฎธรรมชาติ มนุษย์ท�ำวิจัยจนรู้
กฎธรรมชาติแล้วเอามาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เคร่ืองถ่าย
เอกสาร Xerox คือส่ิงประดิษฐ์ที่ใช้กฎธรรมชาติจ�ำนวนมาก
ร่วมกันท�ำงาน ในยุคใกล้เคียงกันเกิดหลักการ TRIZ ในการ
สรา้ งนวตั กรรมของสหภาพโซเวยี ตรสั เซยี หนงั สอื นถ้ี อดบทเรยี น
พฒั นาการเครอื่ ง Xerox วา่ ประกอบดว้ ยวจิ ยั และกฎธรรมชาติ
อย่างไร และอธิบายหลักการ TRIZ ให้เข้าใจว่าพรแสวงสร้าง
นวตั กรรมไดอ้ ยา่ งไร เหมาะสำ� หรบั การเรยี นรขู้ องครวู ทิ ยาศาสตร์
และเปน็ หนงั สอื อา่ นประกอบสาระวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
ของนักเรยี นมัธยม
สธุ รี ะ ประเสรฐิ สรรพ์ 201
หนงั สอื ลำ� ดบั ท่ี 30 คุรุควรคารวะ (ตลุ าคม 2562) 144 หน้า
ปัญญาของมนุษย์เกิดจากความเข้าใจในความเป็นเหตุและ
เป็นผลของสรรพส่ิงเฉกเช่นข้อของสายโซ่ที่คล้องส่งแรงถึงกัน
ปญั ญาของมนษุ ยชาตเิ ตบิ ใหญไ่ ดเ้ พราะทกุ คนเคยเปน็ ศษิ ยแ์ ละ
ครู เป็นทั้งข้อโซ่ที่รับความรู้และส่งผ่านความรู้ โครงการเพาะ
พันธุ์ปัญญาพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยให้เป็นพี่เล้ียงแก่ครู
เพ่ือให้ครูเป็นโค้ชสอนการท�ำโครงงานฐานวิจัยแก่นักเรียน
ความส�ำเร็จของโครงการฯ นอกจากจะเกิดจากความผูกพันที่
สร้างผ่านความสัมพันธ์ในการท�ำงานพัฒนาการศึกษาร่วมกัน
อย่างยาวนานแล้ว ยังเกิดจากสถานภาพของการเป็นทั้งครู
และศิษย์ที่เรียนรู้ไปด้วยกัน หนังสือเล่มนี้บอกเล่าสายสัมพันธ์
การทำ� งานของพเ่ี ลยี้ งและครู ทง้ั ในฐานะศษิ ยก์ บั ครู และครกู บั
ศษิ ย์ เพอื่ บม่ เพาะปญั ญาใหเ้ ยาวชนของชาติ ความเปน็ ครู ศษิ ย์
และมิตรตอ่ กัน คือ “ครุ คุ วรคารวะ”
หนังสอื ล�ำดับที่ 31 ยนื หยดั อย่างย่ังยนื
เปน็ หนงั สอื เขยี นโดยทมี พเ่ี ลย้ี ง ม.พะเยา สะทอ้ นคดิ การจดั การ
ศึกษาแบบเพาะพันธุ์ปัญญาใน 4 โรงเรียนแกนน�ำท่ีมีความ
ตา่ งกนั จากโรงเรยี นทปี่ น้ั เดก็ ไปควา้ รางวลั ระดบั โลก เรอื่ ยมาถงึ
โรงเรียนชายขอบของชนเผ่าท่ีให้เด็กท�ำงานกับบริบทจริงของ
การท�ำมาหากิน เลาะเข้าหาโรงเรียนที่นักเรียนเกาะกลุ่มเก่ียว
สมั พนั ธอ์ ยา่ งแขง็ แกรง่ ในโรงเรยี นจากกจิ กรรมเพาะพนั ธป์ุ ญั ญา
โดยอธิบายว่าโครงการเพาะพันธุ์ปัญญามีบทบาทขับเคลื่อน
ให้เกดิ ผลไดอ้ ยา่ งไร
(ตุลาคม 2562) 40 หน้า
202 จากรากแกว้ สผู่ ลของตน้ เพาะพันธปุ์ ญั ญา
หนังสือลำ� ดับท่ี 32 การสร้างสายสัมพันธก์ ลั ยาณมติ รเพาะพันธปุ์ ัญญา
เพ่อื ความยัง่ ยืนในพ้นื ที่
สายสมั พนั ธก์ ลั ยาณมติ รถกู สรา้ งเปน็ วฒั นธรรมทเี่ ปดิ พน้ื ทเ่ี รยี น
รแู้ บบเพาะพนั ธป์ุ ญั ญาในโรงเรยี น ซงึ่ อธบิ ายดว้ ยการสะทอ้ นคดิ
พลังความรักที่ครูมีต่อศิษย์ท่ีกลายมาเป็นพลังปัญญาท่ีเรียนรู้
ร่วมกัน และเมื่อเกิดผลเชิงประจักษ์จึงเป็นหนทางของศรัทธา
ที่ย่ิงหลอมรวมความเป็นกัลยาณมิตรให้แน่นแฟ้น จนขยายผล
เปน็ เครอื ขา่ ยนอกโรงเรยี น หนงั สอื ของศนู ยพ์ เี่ ลย้ี ง มรภ.ลำ� ปาง
เขยี นแบบถอดบทเรยี นจากขอ้ เขยี นสะทอ้ นคดิ อธบิ ายการเรยี นรู้
และการเปล่ียนแปลงตนเองของครูและนกั เรียน
(ตุลาคม 2562) 78 หน้า
หนังสอื ลำ� ดบั ท่ี 33 จติ ตปัญญาของเพาะพนั ธุป์ ัญญาระดบั ปฏบิ ัติ
ปัญญาทางจติ (จิตตปัญญา) คือเครอ่ื งมือสำ� คญั ของเพาะพันธุ์
ปัญญาในการเปลยี่ นแปลง (transform) ครแู ละนกั เรียน ท�ำให้
เกิดพ้ืนท่ีท่ีทุกคนเปิดใจเพื่อการเรียนรู้ หนังสือเล่มน้ีเขียนโดย
ทีมพี่เล้ียง มรภ.ศรีสะเกษ ที่อธิบายกระบวนการจิตตปัญญา
เพอื่ การสรา้ งปญั ญาภายในของครแู ละนกั เรยี น แมว้ า่ หลายสว่ น
ในเลม่ จะเนน้ หลกั การ แตส่ ว่ นท่ี 4 ของหนงั สอื นอกจากใหผ้ อู้ า่ น
เรียนรู้กจิ กรรมแลว้ ยงั มสี ่วนสำ� คัญคือเร่อื งเล่าทีค่ วรอา่ นอยา่ ง
ตีความให้เหน็ การเปลี่ยนแปลง
(ตุลาคม 2562) 88 หน้า
สธุ ีระ ประเสริฐสรรพ์ 203
หนังสือลำ� ดับท่ี 34 โครงงานฐานวิจัย: การสอนแบบประณตี เพอ่ื การเปลยี่ นแปลง
หนังสือของศูนย์พ่ีเลี้ยง ม.สงขลานครินทร์ให้ข้อมูลถึงการ
พัฒนาครู การออกแบบหลักสูตร การออกแบบแผนการสอน
ที่เรยี กว่า “การสอนโครงงานฐานวิจัยแบบประณีต” การสอบ
แบบประณตี ครตู อ้ งมสี ตริ ตู้ วั ตลอดเวลา การเรยี นรแู้ บบประณตี
ก็ย่อมต้องให้ผู้เรียนมีสติก�ำกับการรับรู้ของตนเอง เพราะ
“ประณีต” หมายถึงการเรียนการสอนที่ใช้สติเห็นโอกาสการ
บูรณาการทุกมิติของการสอนโครงงานฐานวิจัย เพื่อให้เป็น
การศกึ ษาท่ีสรา้ งมนุษย์อยา่ งสมบูรณ์
(ตุลาคม 2562) 47 หน้า
หนงั สือลำ� ดับท่ี 35 ทกั ษะสำ� คญั ของกระบวนกรเพอ่ื การเรียนรู้
ครูต้องเป็นผู้อ�ำนวยการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ อีกนัยหนึ่ง (ตลุ าคม 2562) 109 หน้า
การเรยี นรู้เปน็ กระบวนการทีต่ ้องมี “กระบวนกร” ดำ� เนนิ การ
เล่มน้ีเป็นหนังสือท่ีพี่เลี้ยงศูนย์มูลนิธิปัญญาวุฑฒิเขียน
แบบ “ต้ังใจออกแบบ” ให้เข้าใจการเป็นกระบวนกรเพื่อสร้าง
การเรียนรู้อย่างละเอียด เป็นหนังสือท่ีเขียนผสมผสานการ
ค้นคว้ามาเล่าและการน�ำเสนอแนวคิดหรือหลักการของตนเอง
ท่ีตกผลึกจากปฏิบัติการเพาะพันธุ์ปัญญากว่า 6 ปีได้อย่าง
น่าสนใจ ตลอดเล่มมีข้อชวนคิดเหมือนก�ำลังท�ำหน้าท่ีเป็น
กระบวนกรถามคนอ่าน ให้ผู้อ่านเรียนรู้ไปพร้อมกับค�ำถาม
ชวนคิดเหล่าน้ี จึงไม่เป็นเพียงหนังสือกึ่ง How-to ที่ครูเอา
ไปใช้ได้เท่าน้ัน แต่เป็นหนังสือท่ีต้องอ่านอย่างพินิจเพื่อเข้าใจ
การออกแบบกระบวนการสรา้ งปัญญาแบบชวนคดิ อีกดว้ ย
204 จากรากแกว้ สู่ผลของต้นเพาะพันธปุ์ ัญญา
หนงั สอื ลำ� ดับท่ี 36 รู้จักเด็กจากโครงงาน (ตุลาคม 2562) 116 หนา้
เป็นหนังสือที่ทีมพ่ีเล้ียง ม.มหิดลต้ังใจรวบรวมหลักฐาน
และรายละเอียดเพ่ือให้คนอ่านรู้จัก “วิธีการ” รู้จักเด็กจาก
โครงงานจุดเด่นของหนังสือเล่มน้ี คือ การรวบรวมตัวอย่าง
ที่เป็นแก่นโครงงานนักเรียนมาอธิบายให้ผู้อ่านทราบหลัก
ในการท�ำความรู้จกั ตัวเด็ก ความคิดเด็ก และสามารถประเมนิ
ผลสมั ฤทธกิ์ ารศกึ ษาได้ ผู้เขียนใชค้ วามเขา้ ใจศาสตร์การเรียนรู้
และหลักคิดวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์ผลงานนักเรียนแล้ว
จัดหมวดหมู่ความรู้อย่างเป็นระเบียบ พร้อมตัวอย่างชัดเจน
สามารถแปลงหลักการเพาะพันธุ์ปัญญามาอธิบายสถานการณ์
การเรียนรู้จากการท�ำโครงงานฐานวิจัย (RBL) ได้เป็นอย่างดี
ท�ำให้ผูอ้ า่ นเขา้ ใจแกน่ RBL อยา่ งถอ่ งแท้ เป็นหนงั สือทีเ่ หมาะ
อยา่ งยิง่ สำ� หรับครูสอนโครงงาน
หนังสือลำ� ดบั ท่ี 37 การเขยี นบทความวชิ าการจากปฏิบตั ิการวิจัย
ในชัน้ เรยี นเพาะพนั ธปุ์ ญั ญา
เป็นหนังสือเขียนโดยทีมพี่เล้ียงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
น�ำเสนอภาพรวมของการวิจัยในช้ันเรียนในฐานะที่ครูเป็นโค้ช
การท�ำโครงงานฐานวิจัย และวธิ ีการสร้างชุมชนการเรยี นรทู้ าง
วิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนบทความวิชาการใน
บริบทโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา จนได้ผลงานเป็นบทความ
วชิ าการวิจยั ในช้นั เรยี นของครู แต่ละบทได้แทรกข้อสะทอ้ นคดิ
ของครูท่ีนำ� ทักษะไปใช้กบั นักเรยี น ผ้อู ่านจะเข้าใจกระบวนการ
วิจัยท่ีเป็นฐานในการพัฒนาโครงงานฐานวิจัย และทักษะการ
เขยี นของครู รวมทั้งการถ่ายทอดทักษะดงั กล่าวไปยังนกั เรียน
(พฤศจิกายน 2562) 100 หนา้
สุธรี ะ ประเสรฐิ สรรพ์ 205
หนังสือลำ� ดบั ท่ี 38 เมอ่ื กระบวนทัศนเ์ ปลีย่ น...แรงบนั ดาลใจกเ็ ปล่ยี นแปลงตาม
เป็นหนังสือท่ีพี่เลี้ยง มรภ.สุราษฎร์ธานีระดมครูและนักเรียน
ในโครงการช่วยกนั ถอดร้ือแนวคิด บทเรยี น ประสบการณ์ และ
ความภาคภมู ใิ จ โดยเลา่ การสอนโครงงานฐานวจิ ยั ของ 9 โรงเรยี น
ทั้งจากโรงเรียนที่เป็นแกนหลักการสอนวิทยาศาสตร์จนถึง
โรงเรียนขนาดเล็กในพ้ืนที่ห่างไกล ซ่ึงจะท�ำให้เข้าใจการสร้าง
บทเรียนทเี่ หมาะกับโรงเรยี นท่ีมีบริบทต่าง ๆ
(ตลุ าคม 2562) 80 หน้า
หนงั สือลำ� ดับท่ี 39 นวตั กรรมครเู พาะพันธุ์ปญั ญา (มกราคม 2563) 80 หน้า
หนังสือนวัตกรรมครูเพาะพันธุ์ปัญญาเล่มน้ีเปรียบเสมือนการ
ท�ำวิจัยถอดความคิดและกระบวนการที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีของ
การสอน การบรหิ ารจดั การ และการตอ่ ยอดของครแู ละโรงเรยี น
เด่นในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา นวัตกรรมส่วนใหญ่เกิดจาก
การผสานวิธีการสอนโครงงานฐานวิจัยกับภูมิรู้เดิมของครู
และวฒั นธรรมทด่ี ขี องโรงเรยี น ขอ้ สรปุ สำ� คญั 2 ประการ คอื
การเข้าถึงแก่นจิตวิญญาณของความเป็นครูเพาะพันธุ์ปัญญา
และทักษะการสร้างความรู้ด้วยตัวเอง เป็นรากฐานส�ำคัญ
ในการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดทักษะ
แหง่ ศตวรรษที่ 21 อยา่ งแทจ้ รงิ
206 จากรากแกว้ สผู่ ลของตน้ เพาะพนั ธุ์ปัญญา
หนังสือลำ� ดบั ที่ 40 จากรากแก้วสผู่ ลของตน้ เพาะพนั ธ์ุปญั ญา
(กมุ ภาพนั ธ์ 2563 ) 208 หน้า
ไม้ยืนต้นเติบใหญ่เพราะมี “รากแก้ว” ที่เป็นแกนขยายของรากแขนง
และรากฝอย รากลำ� เลียงนำ�้ และแรธ่ าตุจากดนิ ไปให้ใบสังเคราะห์แสงจาก
ดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเก็บอยู่ในส่วนต่าง ๆ รวมทั้ง “ผล” รากแก้ว
หยั่งลึกลงดินเพ่ือความมั่นคงของต้นไม้ ผลคือความหอมหวานที่ปลายก่ิง
ในขณะท่ีรากเป็นส่วนท่ีมองไม่เห็นแต่ผลคือความคาดหวังของผู้ปลูก
หากส่วนรากไม่ได้รับการบ�ำรุงให้แข็งแรง ต้นไม้ย่อมไม่สามารถสร้างผล
ให้ชื่นชมได้ การเข้าใจความส�ำเร็จของโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาจึงต้อง
รจู้ กั แกน่ อนั เปน็ รากแกว้ ทส่ี มั พนั ธถ์ งึ ผล โครงการเพาะพนั ธป์ุ ญั ญาปดิ ฉาก
ด้วยหนังสือล�ำดับที่ 40 ท่ีร้อยเรียงเร่ืองราว “จากรากแก้วสู่ผลของ
ตน้ เพาะพนั ธป์ุ ญั ญา” ซง่ึ จะทำ� ใหเ้ ขา้ ใจวา่ โครงการนเ้ี พาะตน้ กลา้ ทงั้ ครแู ละ
นักเรยี นใหย้ ืนหยัดเติบโตและออกผลทา่ มกลางพายุการศึกษาได้อยา่ งไร
เพาะพนั ธป์ุ ัญญาม“ี รากแก้ว” คอื
หลกั การสร้างการเรยี นรจู้ ากการท�ำโครงงาน
ฐานวจิ ยั (RBL) เพราะเชื่อว่าการทำ� วจิ ยั คือ
กระบวนการสรา้ งปัญญาใหม้ นษุ ย์ ดงั นั้นวจิ ยั คอื
เครอื่ งมอื ของการศึกษาท่ผี ้ปู ฏบิ ัตคิ อื นกั เรียน
ครเู ปน็ coach การเรยี นรจู้ ากการปฏิบัตขิ องนักเรยี น
“ผล” ของเพาะพนั ธ์ุปญั ญาคอื
การเปลย่ี นแปลงของครูและนกั เรยี น
ส่อื ส�งิ พม� พ เพาะพันธุปญา รวมอนรุ ักษสงิ� แวดลอ ม
ดวยการใชก ระดาษทใ่ี ชพลังงานน้ำในการผลติ
เปน มิตรกบั สิง� แวดลอ ม และถนอมสายตา
ชวยลดการปลดปลอ ยกา ซคารบอนไดออกไซตม ากกวา 40%
หนงั สอื เลมนช้ี วยลดการปลอ ยกา ซคารบ อนไดออกไซด The Best for Recyclable
มากกวา 40% และใชพลังงานน้ำในการผลิต