The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เกษตรนิเวศ หลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เกษตรนิเวศ หลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม

เกษตรนิเวศ หลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม

ISBN : 978-616-7828-08-4 บรรณาธิการ : สุภา ใยเมือง เกษศิรินทร์ พิบูลย์ กองบรรณาธิการ : จตุพร เทียรมา ทิพย์อักษร มันปาติ นภวรรณ งามขำ นิตยา กิจติเวชกุล จุฑาธิป ชูสง เบญจวรรณ เพ็งหนู ที่ปรึกษา : อุบล อยู่หว้า สุเมธ ปานจำ ลอง อารัติ แสงอุบล นันทวัน หาญดี พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2566 จำ นวน : 1,000 เล่ม ออกแบบปก/จัดรูปเล่ม : [email protected] พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์เดือนตุลา โทรศัพท์ 02-996-7392-4 จัดพิมพ์โดย : มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) 3/13 หมู่ 6 ซอยบางรักน้อย 18 (บางอ้อ2) ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์/โทรสาร 02-057-3913 E-mail:[email protected] website:www.sathai.org สนับสนุนการจัดพิมพ์ : แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สำ นักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


บทที่ 1 หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) ระบบนิเวศทางธรรมชาติ : องค์ประกอบและการทำ งาน ระบบนิเวศการเกษตร : นิยาม องค์ประกอบ และการจัดการทุนธรรมชาติ บทที่ 2 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 1.“แนวคิดสวนคนขี้เกียจบนพื้นที่สูง” ของนายศิวกร โอโดเชา เกษตรกรบ้านหนองเต่า ตำ บลแม่วิน อำ เภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 2. สวน-ไร่นาผสมผสานบนพื้นที่ดอน ของนายเกียรติพงศ์ ลังกาพินธุ์ เกษตรกรบ้านป่าตึงงาม ตำ บลตะเคียนปม อำ เภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำ พูน 3. “การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบครบวงจร : เกียรติไก่บ้าน” ของ นายเกียรติศักดิ์ ฉัตร์ดี เกษตรกรบ้านปงตำ ตำ บลปงตำ อำ เภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ บทที่ 3 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 1. “โคก-ป่า-นา-สวน” ของนางสาวสิริมา สุดไชยา เกษตรกรบ้านโคกสะอาด ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร 2. “ป่าสร้างใหม่-สวนครัวสุขภาพ” ของนายอดิพงษ์และ นางสาวรัตนา บุตสุริย์ เกษตรกรบ้านหนองห้าง ต.หนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 3. การเลี้ยงวัวในนาข้าว ของนายประสิทธิ์ โคตรโสภา เกษตรกรบ้านเปรียง ต.สำ โรง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 4. บทสรุป บทที่ 4 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 1.บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในพื้นที่ 2.การจัดการแปลงการผลิตด้วยหลักการเกษตรนิเวศ : กรณีเกษตรกรสมาชิกสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา 3.สรุปภาพรวมระบบการผลิตและประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม ของสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา บทที่ 5 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 1.บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในพื้นที่ 2.การขับเคลื่อนเกษตรนิเวศ : เกษตรยั่งยืน 2.1 เกษตรนิเวศควนเขา : สวนปันแสง ป่ายางยั่งยืน หรือสวนสมรม ของ นายสหขจร ชุมคช เกษตรกรบ้านขาม ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง 2.2 เกษตรนิเวศวิถีนา ไร่นาสวนผสม : นาอินทรีย์วิถีท่าช้าง ของนายอำ มร สุขวิน เกษตรกรบ้านท่าช้าง ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 2.3 เกษตรกรนิเวศพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง : ลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง สารบัญ 7 8 13 25 25 37 55 69 69 87 103 115 119 119 121 154 165 165 170 170 179 189


คำ นำ “เกษตรนิเวศ” ได้รับการกล่าวถึงมากขึ้น ในฐานะที่จะช่วยสร้างศักยภาพและอำ นาจการ ต่อรองของเกษตรกรรายย่อย เมื่อภาคเกษตรกรรมต้องเผชิญกับปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ และจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมที่ยังเหลื่อมล้ำ ความผันผวนรุนแรงมากขึ้นของ ธรรมชาติ และสภาพภูมิอากาศ เตือนให้เห็นถึงภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่มีการปรับตัว ของมนุษย์ ซึ่งถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงของ เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นสังคมดิจิตอล ทำ ให้ข้อมูลข่าวสารสื่อสารกันได้มากขึ้น มีการรับรู้มากขึ้น ซึ่ง ส่งผลต่อความต้องการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรกรรม ในการพัฒนายกระดับทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปสู่ทิศทางที่ยั่งยืน มากกว่าการเป็นเพียงแหล่งผลิตอาหารของประเทศ “เกษตรนิเวศ หลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม” เล่มนี้ เป็นความพยายามที่จะบอก เล่าเรื่องราวของเกษตรกรที่มีการปรับตัวไปสู่เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน สร้างความหลากหลาย ทางชีวภาพ หรือระบบเกษตรนิเวศที่คำ นึงถึงลักษณะนิเวศในพื้นที่ และนำ หลักการเกษตรนิเวศ มา อธิบายแปลงเกษตรของเกษตรกรที่มีการปรับตัวในการทำ การเกษตรในรูปแบบต่างๆ ความรู้และ ประสบการณ์ที่ปรากฎในหนังสือเล่มนี้ เป็นความรู้และประสบการณ์ของเกษตรกร และนักวิชาการ ที่ลงมือปฏิบัติการเพื่อปรับระบบเกษตรกรรมไปสู่เกษตรนิเวศ เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติจริงใน แปลงเกษตร หลักการของเกษตรนิเวศ ซึ่งเขียนโดย ดร.จตุพร เทียรมา จึงเป็นทฤษฎีที่มาจากการ


ปฏิบัติจริง และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบเกษตรทั้งพืช สัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ประยุกต์จากหลักการทางนิเวศวิทยา แม้ว่าการพัฒนาไปสู่เกษตรนิเวศของเกษตรกรอาจยังไม่สมบูรณ์ ในเชิงระบบ แต่ก็ถือได้ว่า เป็นการเริ่มต้นที่มีทุนของภูมิปัญญาของชุมชน และความรู้ใหม่ของเกษตรกร เจ้าของแปลง มาปรับประยุกต์ให้แปลงเกษตรของตนเองมีความสมดุลมากพอที่จะรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าว มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ตั้งความหวังว่า หนังสือเล่มนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการ พัฒนาความรู้ “เกษตรนิเวศ” ให้สามารถแก้ปัญหาของเกษตรกรรายย่อยในการทำ การเกษตรซึ่งกำลัง เผชิญกับความไม่แน่นอนของภูมิอากาศ และตอบโจทย์ความยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟู ระบบนิเวศ ด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรและท้องถิ่น และด้านสังคมที่ต้องเพิ่มพูนความรู้ด้านนิเวศวิทยา กับการอยู่รอดของภาคเกษตรกรรมไทย ซึ่งมีความหมายสำ คัญในฐานะเป็นความมั่นคงทางอาหาร ของประเทศ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) กันยายน 2566


6 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) 7 หากสืบค้นความหมายของคำ ว่า “เกษตรนิเวศ (Agroecology)” ในช่องทางการสืบค้น ต่างๆ มักจะได้นิยามที่แตกต่างกันมากมายขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาหรือหน่วยงานที่ให้คำ นิยาม เช่น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO, 2023, เว็ปไซต์) ได้ให้นิยามไว้ว่า “เกษตรนิเวศ เป็นแนวทางแบบองค์รวมและบูรณาการซึ่งนำ แนวคิดและหลักการทางนิเวศวิทยาและ สังคมไปใช้กับการออกแบบและการจัดการเกษตรกรรมและระบบอาหารที่ยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน โดย มุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม....” โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP, 2023, เว็ปไซต์) กล่าวว่า “เกษตรนิเวศ (Agroecology) เป็นแนวทางเชิงนิเวศเพื่อการเกษตร ซึ่งมักถูกอธิบายว่าเป็นการทำ เกษตรกรรมแบบ ใช้ปัจจัยภายนอกต่ำ นอกจากนี้ยังใช้คำ ศัพท์อื่นๆ เช่น เกษตรกรรมฟื้นฟู (regenerative agriculture) หรือ การเกษตรเชิงนิเวศ (eco-agriculture)..” ส่วน Oxford dictionary (2023, เว็ปไซต์) ให้นิยามไว้ว่า “เกษตรนิเวศ คือ การประยุกต์ ใช้หลักการทางนิเวศวิทยากับการเกษตร หรือวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง” ผู้เขียนจึงขอสรุปว่า “เกษตรนิเวศ คือ ระบบเกษตรกรรมที่ประยุกต์ใช้หลักการทาง นิเวศวิทยา โดยการออกแบบและจัดการทรัพยากรการเกษตรที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชพรรณ สัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังระบบอาหารอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกัน....” หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) โดย ดร. จตุพร เทียรมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บทที่1


8 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ในการทำ การเกษตรตามแนวทางเกษตรนิเวศนั้นจึงจำ เป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำ งานของระบบนิเวศ เพื่อใช้ความรู้ดังกล่าวในการออกแบบและจัดการพื้นที่ เกษตรกรรมให้สามารถสร้างผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบนิเวศทางธรรมชาติ : องค์ประกอบและการทำ งาน “ระบบนิเวศ” เป็นคำ ศัพท์ที่ใช้ในการกล่าวถึง “ระบบของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง และมี ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ” จากนิยามดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าระบบนิเวศมีโครงสร้าง หลัก คือ โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต (Biotic component) เช่น พืชพรรณ สัตว์ จุลินทรีย์ และโครงสร้าง ของสิ่งไม่มีชีวิตหรือสิ่งแวดล้อม (Abiotic component) เช่น น้ำ แสงแดด แร่ธาตุ โดยความสัมพันธ์ใน ระบบนิเวศเกิดขึ้นผ่านการทำ งานของระบบนิเวศ (Ecosystem function) 2 รูปแบบ คือ การถ่ายทอด พลังงาน และการหมุนเวียนของสสาร เพื่อสร้างมวลชีวภาพ (Biomass) หรือผลผลิตขั้นปฐมภูมิ (Primary Production) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการดำ รงชีวิตภายในห่วงโซ่อาหาร การถ่ายทอดพลังงาน ผ่านการกินต่อกันเป็นทอดๆ มีจุดเริ่มต้นจากการสังเคราะห์แสง ของพืช โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นจากการที่พืชมีการลำ เลียงแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำ จาก ดินผ่านรากไปส่วนต่างๆ ของพืช การสลายโมเลกุลของน้ำ ทำ ให้ได้ไฮโดรเจนเพื่อนำ ไปทำ ปฏิกิริยา กับคาร์บอนไดออกไซด์ในคลอโรพลาสต์ในเซลล์พืชโดยอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์ ให้กลายเป็น สารประกอบคาร์โบไฮเดรตและมีก๊าซออกซิเจนเกิดขึ้น (ภาพที่ 1) สารประกอบอินทรีย์ประเภท คาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำ ตาล พืชสร้างขึ้นเพื่อนำ ไปใช้ในการหายใจระดับเซลล์ เป็นการทำ ให้โมเลกุล ของอินทรียสารแตกสลายออกเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ แล้วน้ำ ตาลส่วนที่เหลือจะถูกนำ ไป สร้างมวลชีวภาพของพืช จึงเห็นได้ว่าพืชเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับ สิ่งมีชีวิต พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงได้เปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีโดยส่งถ่ายไปยัง สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ผ่านการกินกันเป็นทอดๆ ต่อไป นอกเหนือจากการถ่ายทอดพลังงานแล้ว การทำ งานของระบบนิเวศยังอยู่ในรูปการหมุนเวียน ของสสารหรือสารอาหาร ประกอบด้วย น้ำ คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำ มะถัน ธาตุ เหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ผ่านองค์ประกอบของโลกทั้งที่เป็นพื้นดิน อากาศ และสิ่งมีชีวิต โดยสารอาหารดังกล่าวนั้นมีการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักร (ภาพที่ 1) วัฏจักรน้ำ น้ำ มีความจำ เป็นสำ หรับสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก วัฏจักรน้ำ เป็นการหมุนเวียน ของน้ำ ที่มีแบบรูปซ้ำ เดิมและต่อเนื่อง ระหว่างน้ำ ในบรรยากาศ น้ำ ผิวดิน และน้ำ ใต้ดิน ประกอบไป ด้วยขั้นตอนหลักๆ 4 ขั้นตอน โดยเริ่มต้นจากการที่น้ำ ในแหล่งน้ำ ต่างๆ เช่น มหาสมุทรทะเล แม่น้ำ


หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) 9 ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ กลายเป็นไอน้ำ ไปสู่บรรยากาศ เรียกว่า “การระเหย” เมื่อไอน้ำ ลอยตัวขึ้นในบรรยากาศที่ความสูงระดับหนึ่ง ทำ ให้อุณหภูมิลดลง เกิด “การควบแน่น” ทำ ให้ไอน้ำ เปลี่ยนสถานะเป็นละอองน้ำและเกาะกลุ่มกันในรูปของ “เมฆ” เมื่อการควบแน่นถึงจุดอิ่มตัว เมฆที่มี มวลมาก จะกลั่นตัวออกมาในรูปของหยาดน้ำ ฟ้า เช่น ฝน หรือ หิมะ (ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ) ตกลงมา สู่พื้นดิน ที่เรียกว่า “การเกิดฝน” และในที่สุดน้ำ ไหลกลับไปมาสู่แหล่งน้ำ ต่างๆ อีกครั้ง เช่น น้ำ บน ผิวดินบางส่วน แทรกซึมตามรอยแตกของหินหรือช่องว่างในดินทำ ให้เกิดเป็น “น้ำ ใต้ดิน” วัฏจักรไนโตรเจน ในบรรยากาศมีก๊าซไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบมากถึง 78% แต่พืชชั้นสูง ไม่สามารถเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้มาเป็นโปรตีนได้โดยตรง และก่อนที่พืชหรือสัตว์จะสามารถ ใช้ประโยชน์จากก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศได้ต้องผ่านกระบวนการ “ตรึง” ซึ่งเป็นการเปลี่ยน ก๊าซไนโตรเจนให้เป็นรูปไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ คือ แอมโมเนียม และไนเตรต ซึ่งการตรึง ก๊าซไนโตรเจนมี 2 วิธี คือ การตรึงไนโตรเจนเมื่อเกิดฟ้าแลบตามธรรมชาติ (N2 -fixation in natural lighting) การตรึงไนโตรเจนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างหนึ่งก็คือ การตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพ (biological N2) เป็นการเกิดปฏิกิริยาการรีดิวซ์ก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศให้เป็นแอมโมเนีย โดยอาศัยจุลินทรีย์เฉพาะกลุ่มที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ ไนโตรเจนในสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง และสูญเสียกลับสู่บรรยากาศเป็นก๊าซไนโตรเจน และมีการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักรโดยอาศัย จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง วัฏจักรคาร์บอน คือการหมุนเวียนหรือการแลกเปลี่ยนธาตุคาร์บอน (Carbon) ในสถานะ ต่างๆ ระหว่างดิน หิน แหล่งน้ำ ชั้นบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิต ซึ่งนับเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน (Reservoir) ที่สำ คัญของโลก การหมุนเวียนคาร์บอนในแหล่งกักที่สำ คัญของโลก สามารถจำ แนก ออกเป็น 4 ระบบ คือ 1) คาร์บอนในชั้นบรรยากาศที่อยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นได้ จากการหายใจของสิ่งมีชีวิต และการเผาไหม้ 2) คาร์บอนในแหล่งน้ำ จืดและมหาสมุทร 3) คาร์บอน ในดิน หินแร่ และฟอสซิล และ 4) คาร์บอนในสิ่งมีชีวิต การหมุนเวียนของคาร์บอนจากแหล่งเก็บใน ดิน หิน แร่และสิ่งมีชีวิต ผ่านกลไกการหายใจและการเผาไหม้ และไปเก็บสะสมในบรรยากาศอยู่ในรูป ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เราเผชิญผลกระทบอยู่ในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลที่เกิดจากการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมากกว่าแหล่งอื่นนั่นเอง วัฏจักรฟอสฟอรัส ธาตุฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำ คัญของสิ่งมีชีวิตในระดับ DNA, RNA และการสร้างพลังงาน ฟอสฟอรัสส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของหินฟอสเฟตหรือแร่ฟอสเฟต เมื่อ ถูกกัดกร่อนโดยน้ำ และกระแสลมปะปนอยู่ในดิน แล้วถูกน้ำ ชะล้างให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำ ได้ ซึ่ง


10 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม พืชสามารถนำ ไปใช้และถ่ายทอดไปในระบบนิเวศตามห่วงโซ่อาหาร ซึ่งฟอสฟอรัสจะถูกขับออกมา พร้อมกับมูลสัตว์ เมื่อสัตว์ตายลงฟอสฟอรัสที่สะสมในร่างกายสัตว์ก็จะถูกย่อยสลายด้วยแบคทีเรีย (Phosphatizing Bacteria) ให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำ ได้ เพื่อพืชนำ ไปใช้โดยตรง และบางส่วนอาจถูก กระบวนการชะล้างพัดพาลงสู่ทะเล มหาสมุทร ปะปนอยู่ในดินตะกอนทั้งทะเลลึกและตื้น และถูกสิ่งมี ชีวิตเล็กๆ ในทะเลนำ มาใช้ถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหารจนถึงปลาขนาดใหญ่และนกทะเล เมื่อสัตว์ พวกนี้ตายลงเกิดการสะสมตัวของมูลนกและกระดูกนก เช่น มูลค้างคาว ธาตุไนโตรเจนที่เกิดร่วมอยู่ ด้วยในมูลสัตว์เหล่านี้ละลายน้ำ ได้ดีมากจึงถูกพัดพาไปหมด คงเหลือไว้แต่ธาตุฟอสฟอรัสที่สลายตัว ยาก นำ มาใช้ไม่ได้ จากนั้นจะเริ่มวัฏจักรใหม่อีก วัฏจักรกำ มะถัน กำ มะถันเป็นธาตุที่สำ คัญมากในการสังเคราะห์วิตามิน สารประกอบอื่นๆ และโปรตีนอีกหลายชนิด เนื่องจากกำ มะถันเป็นตัวเชื่อมในสาย Polypeptide ที่เป็นโปรตีนสำ หรับ ในสิ่งมีชีวิต กำ มะถันมีแหล่งสะสมหลักอยู่ในเปลือกโลกมากถึง 95% ที่มาของกำ มะถันในดินมา จากการชะล้าง ผุพัง และจากบรรยากาศ รวมทั้งการใส่ปุ๋ย กำ มะถันในดินจะถูกเปลี่ยนรูปไปทั้ง โดยปฏิกิริยาเคมีและสิ่งมีชีวิต ในดินชั้นบนกำ มะถันจะอยู่ในสารอินทรีย์ ส่วนดินชั้นล่างจะอยู่ในรูป สารอนินทรีย์ ในดินที่มีการระบายอากาศดี กำ มะถันจะอยู่ในรูปของซัลเฟต (SO4 2−) แต่ในดินที่มี การระบายอากาศไม่ดีเช่นมีน้ำ ท่วมขัง กำ มะถันจะอยู่ในรูปซัลไฟด์ (S2−) แต่เมื่อเติมก๊าซออกซิเจนลงไป ซัลไฟด์จะเปลี่ยนเป็นซัลเฟต ซัลเฟตละลายน้ำ ได้ดีจึงถูกชะออกจากดินได้ง่าย การย่อยสลาย สารอินทรีย์ที่มีกำ มะถันเป็นองค์ประกอบ จะได้กำ มะถันในรูปของก๊าซ ส่วนหนึ่งจะระเหยไปสู่ บรรยากาศ ส่วนหนึ่งจะกลับไปอยู่ในรูปของซัลเฟตอีก ทั้งในปฏิกิริยาเคมีและสิ่งมีชีวิต 10 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) 11 จึงกล่าวได้ว่า วัฏจักรของธาตุอาหารทั้งหมดล้วนมีความสัมพันธ์ต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านการ สร้างมวลชีวภาพ การย่อยสลาย และการส่งถ่ายพลังงานไปยังผู้บริโภคลำ ดับต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ต้นไม้เติบโตได้ด้วยการสังเคราะห์แสงสร้างสารประกอบอินทรีย์ จากการนำ ธาตุอาหารจากดินมาใช้ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และธาตุอื่น เพื่อสร้างการเจริญเติบโต ออกดอกออกผลจนถึง การขยายพันธุ์ โดยมีน้ำ เป็นตัวช่วยให้เกิดการลำ เลียงธาตุอาหารจากดินไปยังส่วนต่างๆ ของพืช จึง เห็นได้ว่าพืชมีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นหรือมีการเติบโตขึ้นนั่นเอง (ภาพที่ 1) ส่วนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะได้รับ พลังงานและสร้างชีวมวลผ่านการกินต่อกันเป็นทอดๆ ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในระบบนิเวศธรรมชาติ ที่มา : อาทิตยา (2559)1 โลกของเรา คือ ระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดหรือที่เรียกกันว่า “ชีวมณฑล” (Biosphere) ซึ่งประกอบขึ้นจากระบบนิเวศขนาดเล็กจำ นวนมากที่ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน ผ่านความสัมพันธ์ อันสลับซับซ้อน ดังนั้น ในแต่ละพื้นที่ของโลก ด้วยสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่แตกต่าง จึงก่อ กำ เนิดระบบนิเวศอันหลากหลาย ทั้งป่าไม้ แม่น้ำ ทะเลทราย รวมถึงมหาสมุทร ซึ่งจัดเป็นระบบนิเวศ ในธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังมีระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศต่างๆ ในโลก เช่น ระบบนิเวศเมือง ระบบนิเวศการเกษตร เป็นต้น 1 อาทิตยา พองพรหม. (2561). ความรูเบื้องตนดานนิเวศเกษตรเพื่อการประยุกตใชในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.


12 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ดังนั้น ระบบนิเวศการเกษตร จึงเป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสร้างผลผลิตให้ เป็นไปตามความต้องการของมนุษย์ โดยผลผลิตที่เกิดขึ้นมีส่วนสำ คัญทางเศรษฐกิจ และสร้างการ กินดีอยู่ดีให้แก่มนุษย์ (Human well-being) จากรายงานการประเมินระบบนิเวศแห่งสหัสวรรษ (MEA 2005)2 ได้ระบุว่า การให้บริการของระบบนิเวศที่ส่งผลให้เกิดเป็นการกินดีอยู่ดี ในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ทั้งที่เกิดจากการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และความ สามารถที่จะบรรเทาความเสียหายจากแรงกดดันจากระบบนิเวศ 2) ปัจจัยพื้นฐานสำ หรับความจำ เป็น ในชีวิต รวมถึงการเข้าถึงทรัพยากรที่นำ มาสร้างรายได้และส่งเสริมคุณภาพชีวิต 3) สุขภาพที่เกิดจาก การอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ห่างไกลโรค และมีโภชนาการที่ดี 4) พัฒนาการ ทางสังคม แสดงถึงการที่ประชาชนมีโอกาสในการแสดงออกถึงคุณค่าของการนันทนาการ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ และการสังเกต ศึกษา และเรียนรู้จากระบบนิเวศ 5) สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล Costanza et al. (2017)3 ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยของการเติบโตของเศรษฐกิจประกอบ ด้วยการสะสมทุน 4 ชนิด ได้แก่ ทุนมนุษย์ (Human capital) ทุนกายภาพ (Built capital) ทุนสังคม (Social capital) และทุนธรรมชาติ (Natural capital) ทั้ง 4 ชนิดจำ เป็นต้องเชื่อมโยงกัน เพื่อสร้าง ประโยชน์ให้แก่มนุษย์ได้มีการกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน โดยการให้บริการของระบบนิเวศเป็นส่วนสนับสนุน ทุนธรรมชาติเพื่อให้เกิดการสร้างประโยชน์แก่มนุษย์และสร้างปฏิสัมพันธ์กับทุนอื่นๆ (ภาพที่ 2) 2 Millennium ecosystem assessment, M. E. A. (2005). Ecosystems and human well-being (Vol. 5, p. 563). Washington, DC: Island press. 3 Costanza, R., De Groot, R., Braat, L., Kubiszewski, I., Fioramonti, L., Sutton, P., & Grasso, M. (2017). Twenty years of ecosystem services: how far have we come and how far do we still need to go?. Ecosystem services, 28, 1-16 ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่าง ทุนกายภาพ ทุนสังคม ทุนมนุษย์ และทุนธรรมชาติที่ส่งผล ต่อการกินดีอยู่ดีของมนุษย์ ที่มา : ดัดแปลงจาก Costanza.et al. (2017)


หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) 13 โดยที่การทำ งานระบบนิเวศ (Ecosystem Services) ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การเป็นแหล่งผลิต (Provisioning Services) เป็นการให้บริการวัตถุดิบในการผลิต เช่น น้ำ อาหาร ทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุ พืชพันธุ์และสัตว์ต่างๆ 2.การควบคุมกลไกลทางธรรมชาติ (Regulating Services) การควบคุมปรากฏการณ์ และกระบวนการทางธรรมชาติของระบบนิเวศ เช่น การควบคุมสภาพภูมิอากาศ การป้องกันการ กัดเซาะชายฝั่ง การป้องกันน้ำ ท่วม และการป้องกันการกัดเซาะของดิน 3.การบริการด้านวัฒนธรรม (Cultural Services) ประโยชน์ทางนามธรรมที่ดำ รงคุณค่า ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ประเพณี การพักผ่อนหย่อนใน คุณค่าทางจิตใจ ความเพลิดเพลินจาก ความงดงามของธรรมชาติ สุนทรียภาพ และนันทนาการ 4.บริการด้านการเป็นแหล่งสนับสนุน (Supporting Services) กระบวนการทางธรรมชาติ ที่สนับสนุนการดำ รงอยู่ของบริการอื่นๆ เช่น เป็นแหล่งธาตุอาหารของระบบการผลิตขั้นต้น การทำ ให้ เกิดวัฏจักรของอาหาร การเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์วัยอ่อน ดังนั้นเพื่อให้การบริการของระบบนิเวศทั้ง 4 ด้าน ดำ เนินไปเป็นปกติเพื่อให้มนุษย์มีการ กินดีอยู่ดี การจัดการทุนธรรมชาติให้สนับสนุนกิจกรรมทางการเกษตรและเชื่อมโยงไปยังทุนต่างๆ จึง เป็นหัวใจหลักสำ คัญ ระบบนิเวศการเกษตร : นิยาม องค์ประกอบ และการจัดการทุนธรรมชาติ ระบบนิเวศการเกษตร (Agroecosystem) คือ รูปแบบการเกษตรรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ ที่มีการสร้างผลผลิต จากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับทรัพยากรทุนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ผลิต โดยเน้นให้มีระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์ พืชพรรณ สัตว์ มนุษย์ และสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ทรัพยากรที่สิ่งมีชีวิตนำ ไปใช้ เช่น อากาศ แสงแดด น้ำ และธาตุอาหาร ซึ่งระบบของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตนี้มีความคล้ายคลึง กับระบบนิเวศทางธรรมชาติ คือ การถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนสสาร เพื่อให้ได้ผลผลิต พืช ประมง และป่าไม้ที่จะนำ มาใช้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำ รงชีพ มีส่วนสำ คัญทางเศรษฐกิจ และ สร้างการกินดีอยู่ดีให้แก่มนุษย์ 1. องค์ประกอบของระบบนิเวศการเกษตร หากแยกองค์ประกอบของระบบนิเวศการเกษตร ในการผลิตการเกษตรจึงจำ เป็นต้องอาศัย ทรัพยากร 2 ประเภท คือ 1) ทรัพยากรทางกายภาพ ประกอบด้วย ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ 2) ทรัพยากรทางชีวภาพ ประกอบด้วย ทรัพยากรพืชพรรณ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (ภาพที่ 3)


14 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ทรัพยากรทางกายภาพในระบบนิเวศการเกษตรที่สำ คัญ คือ ทรัพยากรดินและ ทรัพยากรน้ำ เนื่องจาก “ทรัพยากรดิน” เป็นที่ยึดเกาะของรากพืชเพื่อให้พืชทรงตัวอยู่ และในดิน ยังมีอินทรียวัตถุ น้ำ และธาตุอาหารที่จำ เป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนั้นแล้วดินยังเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น จุลินทรีย์ แมลง และไส้เดือน ส่วน “ทรัพยากรน้ำ ” นั้นมี ความสำ คัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ช่วยให้เปลือกของเมล็ดอ่อนนุ่มทำ ให้ต้นอ่อน สามารถงอกออกมาได้ น้ำ ในดินยังเป็นตัวทำ ละลายสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน เพื่อ ช่วยให้รากดูดซึมและลำ เลียงไปยังส่วนต่างๆ ของพืช ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเนื้อเยื่อที่กำ ลังเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำ ก็จะทำ ให้เซลล์ยืดตัวไม่เต็มที่ต้นจะแคระแกร็น และถ้า ขาดน้ำอย่างมากแล้ว พืชจะเหี่ยวและเฉาตายไปในที่สุด ซึ่งพืชบกจะมีน้ำ เป็นส่วนประกอบประมาณ ร้อยละ 60–90 ส่วนพืชน้ำ จะมีน้ำ อยู่ประมาณร้อยละ 95–99 ทรัพยากรดินและน้ำ จึงมีความสำ คัญ ต่อการเติบโตของพืชเป็นอย่างมาก ทรัพยากรทางชีวภาพในระบบนิเวศการเกษตรที่สำ คัญ แบ่งออกเป็นพืชพรรณ และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยที่ “ทรัพยากรพืชพรรณ” นั้นเป็นความต้องการหลักของเกษตรกร สามารถ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) พืชหลัก เป็นกลุ่มพืชเศรษฐกิจที่ทำ รายได้หลัก เช่น ไม้ผล พืชผักเศรษฐกิจ พืชไร่ เศรษฐกิจ ข้าวคุณภาพดี 2) พืชรอง เป็นกลุ่มพืชที่ใช้เป็นอาหารหรือไว้ใช้ประโยชน์ เช่น ข้าว ไผ่ พืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ผลไม้บางชนิด เช่น กล้วย มะละกอ เป็นต้น 3) พืชร่วม เป็นกลุ่มวัชพืช (วัชพืช คือ พืชที่เกิดเองตามธรรมชาติ ที่ผู้ดูแลไม่ต้องการ ให้พืชเหล่านั้นเกิดขึ้น) แต่ในระบบนิเวศพืชทุกชนิดล้วนมีประโยชน์ เช่น ช่วยในการรวบรวมธาตุ อาหารที่จำ เป็นสำ หรับการเพาะปลูก เช่น ผักตบชวา จอก แหน หญ้าชนิดต่าง รวมถึงพืชตระกูลถั่ว ส่วน “ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตอื่นๆ” จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ตามบทบาทหน้าที่ในระบบนิเวศ ประกอบด้วย สิ่งมีชีวิตในดินและจุลินทรีย์ที่ทำ หน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน สัตว์ที่เป็นศัตรู พืช และสัตว์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติ ทำ หน้าที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของทรัพยากรพืชพรรณทั้งใน ด้านการย่อยสลายซากอินทรียวัตถุในดินให้กลายเป็นแร่ธาตุที่จำ เป็นสำ หรับพืช การควบคุมจำ นวน ประชากรศัตรูพืชไม่ให้แพร่ระบาดและทำ ความเสียหายให้แก่พืชโดยศัตรูธรรมชาติ 14 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) 15 หลักการจัดการทุนธรรมชาติ จากที่กล่าวแล้วว่าการให้บริการของระบบนิเวศ คือ ประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากการ สนับสนุนโดยทุนธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการสร้างประโยชน์แก่มนุษย์และสร้างปฏิสัมพันธ์กับ ทุนอื่นๆ ดังนั้น ในพื้นที่เกษตรนิเวศจำ เป็นต้องมีการจัดการทุนธรรมชาติเช่นเดียวกัน โดยที่ทุน ธรรมชาติ คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มาจากคำ ว่า ทรัพย์ + อากร + ธรรมชาติ แปลความได้ว่า “ที่มา แห่งทรัพย์จากธรรมชาติ” หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่มนุษย์ สามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ดิน น้ำ พืชพรรณ แสงแดด เป็นต้น ทรัพยากรเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ ทำ ให้เกิดรวมถึงเอื้ออำ นวยให้เกิดทรัพย์หรือประโยชน์ได้ ที่มีหลักการจัดการดังนี้ 1) การจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อระบบนิเวศการเกษตรนั้น จำ เป็นต้องคำ นึงถึงปริมาณ ของน้ำ ให้มีเพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.1) ปริมาณน้ำ ที่พืชต้องการใช้ หรือการใช้น้ำ ของพืช (Consumptive use) คือ ปริมาณน้ำ ทั้งหมดที่สูญเสียจากพื้นที่เพาะปลูกสู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำ ประกอบขึ้นด้วยส่วนใหญ่ๆ 2 ส่วน คือ ปริมาณน้ำ ที่รากพืชดูดไปจากดินนำ ไปสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อ หรือคายน้ำ นั้นออกทางใบ สู่บรรยากาศ ซึ่งเรียกว่า การคายน้ำ (Transpiration, T) และปริมาณน้ำ ที่ระเหยจากผิวดินบริเวณ รอบต้นพืช จากผิวน้ำ ในขณะให้น้ำ ที่มีน้ำ ขังอยู่ หรือจากผิวน้ำ ในขณะฝนตก และจากน้ำ ที่เกาะอยู่ ตามใบพืชเนื่องจากฝนตก หรือจากการให้น้ำ ซึ่งเรียกว่า การระเหย (Evaporation, E) ค่าทั้งสองรวม เรียกว่า “ค่าการคายระเหย หรือค่า ET (Evapotranspiration, ET)”4 ที่สามารถคำ นวณได้เพื่อทราบ ปริมาณน้ำ ที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ซึ่งค่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำ คัญ ได้แก่ ภาพที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรกายภาพและทรัพยากรชีวภาพในระบบนิเวศการเกษตร 4 ธรรมนูญ แกวคงคา. (2549). เอกสารวิชาการ การให น ํ้าชลประทานกับพืช. กรุงเทพฯ : กลุมวิจัยปฐพีวิทยา ส  านักวิจัย ํ พัฒนาปจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. ทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรทางชีวภาพ ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดิน • ฤดูแล้งไม่ขาดแคลน • ฤดูฝนไม่ท่วม ช่องว่างในดิน ทรัพยากรพืชพรรณ ทรัพยากรสิ่งมีชีวิต พืชหลัก พืชรอง ศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติ พืชร่วม สิ่งมีชีวิตในดิน/จุลินทรีย์ ธาตุอาหารพืช


16 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม • สภาพภูมิอากาศรอบๆ ต้นพืช ได้แก่ พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือรังสีอาทิตย์ อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ และความเร็วลม • พืช ได้แก่ ชนิดและอายุของพืช พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำ ที่แตกต่างกัน สำ หรับ พืชชนิดเดียวกัน การใช้น้ำจะน้อยเมื่อเริ่มปลูกและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากที่สุดเมื่อถึงช่วงเจริญเติบโต เต็มที่ (ออกดอก-ออกผล) จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงเมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว (ช่วงผลสุก-ผลแก่) • ดิน ได้แก่ ความชื้นของดิน ลักษณะเนื้อดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำ ของดิน • องค์ประกอบอื่นๆ เช่น วิธีการให้น้ำแก่พืชและความลึกที่ให้น้ำแต่ละครั้ง ฤดูกาลเพาะ ปลูก การไถพรวนดิน การคลุมดิน เป็นต้น 1.2) ปริมาณน้ำ ต้นทุนในพื้นที่เกษตรนิเวศ หมายถึง ปริมาณน้ำ ที่สามารถกักเก็บ หรือเตรียมไว้สำ หรับพืชเพื่อลดความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำ หลังจากสิ้นสุดฤดูฝน ทั้งนี้ เกษตรกร ต้องคำ นึงถึงปริมาณน้ำ ที่สามารถควบคุมจัดการได้ เช่น การสร้างบ่อกักเก็บน้ำ ผิวดิน ซึ่งการคำ นวณ ปริมาณน้ำ ไหลบ่าผิวดินเพื่อการกักเก็บนั้น ไม่ควรเกินร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำ ฝนที่ตกทั้งปี ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) หากมีปริมาณฝนตกรวมทั้งปีที่ 1,000 มิลลิเมตร จะทำ ให้มีปริมาณน้ำ รวมทั้งสิ้น 1,600 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ จำ นวนนี้จะซึมลงดินประมาณ ร้อยละ 70 หรือราวๆ 1,120 ลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำ ไหลบ่าผิวดินที่เกษตรกรสามารถกักเก็บ ไว้ได้ราวร้อยละ 30 หรือ 480 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ในแถบประเทศไทย น้ำ ฝนคิดเป็นร้อยละ 95 ของของเหลวที่ตกลงมาจากบรรยากาศ น้ำ ฝนจึงเป็นแหล่งหลักของทรัพยากรน้ำ ที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเกษตรและประมง ในรอบ 1 ปี หากวัดปริมาณน้ำ ฝนด้วยเครื่องวัดปริมาณน้ำ ฝน (Rain gauge) ปริมาณฝนรวมตลอดปี เฉลี่ยทั่วประเทศมีค่าประมาณ 1,572.50 มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่ เปลี่ยนแปลงไปตาม ลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งเกษตรกรควรทราบถึงปริมาณน้ำ ฝนในพื้นที่ของตนเอง เพื่อใช้ในการ วางแผนกักเก็บและบริหารจัดการใช้น้ำ การจดบันทึกปริมาณน้ำ ฝนมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอุตุนิยมวิทยา และมีการรายงาน ในเว็ปไซต์ https://www.tmd.go.th/ ที่สามารถสืบค้นได้ โดยในแต่ละจังหวัดจะมีหน่วยตรวจวัด และเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างน้อย 1 สถานี ข้อมูลที่เกษตรกรควรทราบ คือ ข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนสะสม รายปีของพื้นที่ และมีการเก็บข้อมูลน้ำ ฝนในพื้นที่ของตนเพื่อให้ทราบว่ามีปริมาณน้ำ ที่กักเก็บเพียงพอ ต่อความต้องการใช้น้ำ ของพืชแล้วหรือไม่ โดยปริมาณน้ำ ที่กักเก็บร้อยละ 100 จะนำ ไปใช้ในการเกษตร ได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น และที่เหลืออีก ร้อยละ 50 จะเป็นน้ำ ที่ระเหยกลายเป็นไอและน้ำ เก็บไว้เพื่อ รักษาระบบนิเวศของแหล่งกักเก็บน้ำ นั้น และยิ่งไปกว่านั้น การใช้น้ำ ในฐานะ “ทุนธรรมชาติ” แทน “ทุนที่เป็นตัวเงิน” ที่ชัดเจนที่สุด คือ การใช้น้ำ เป็นตัวกลางในการรวบรวมแร่ธาตุ ด้วยการใช้พืชน้ำ เช่น ผักตบชวา จอกหูหนู แหนแดง


หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) 17 ดูดแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำ มาสะสมเอาไว้ในมวลชีวภาพ เมื่อพืชน้ำ เหล่านี้เจริญเติบโตเต็มที่ ให้นำ ขึ้นจากผิวน้ำ มาปกคลุมผิวดินและปล่อยให้ผุพังย่อยสลายปลดปล่อยแร่ธาตุกลับสู่ดิน เพื่อให้พืชหลัก ที่เราต้องการเอาไปเปลี่ยนเป็น “ทรัพย์” อีกทีหนึ่ง ตัวอย่างการบันทึกปริมาณน้ำ ฝนในสวนลุงโหนกนานาพรรณ : จากรายงานการเก็บข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนประจำ ปี 2566 ณ สวนลุงโหนกนานาพรรณ จังหวัด มหาสารคาม (ดังภาพที่ 4) จะพบว่า ในเดือนมกราคม 2566 จนถึงวันที่ 10 กันยายน 2566 มีปริมาณ น้ำ ฝนสะสม เท่ากับ 1,146 มิลลิเมตร ในขณะที่ค่าเฉลี่ยปริมาณฝนสะสมย้อนหลัง 30 ปี (อ้างอิง ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา) ในจังหวัดมหาสารคาม เท่ากับ 1,264 มิลลิเมตร ภาพที่ 4 ตัวอย่างบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำ ฝน ประจำ ปี 2566 เพื่อวางแผนการใช้น้ำ ณ สวนลุงโหนกนานาพรรณ


18 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 2) การจัดการทรัพยากรดิน ดิน (Soil) คือ เทหวัตถุที่เกิดขึ้นจากการผุพังและแปรสภาพของหินและแร่ธาตุใน ธรรมชาติ ร่วมกับอินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย น้ำ และอากาศ ซึ่ง ผสมคลุกเคล้าและเกาะกลุ่มรวมตัวกันจนเกิดเป็นเม็ดดิน (Soil Aggregate) และองค์ประกอบของ ดินเหล่านั้น กลายเป็นผืนดินที่ปกคลุมพื้นผิวชั้นบนของโลกในท้ายที่สุด ดินแต่ละชนิด มีลักษณะ และคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปตามอิทธิพลของภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ แหล่งต้นกำ เนิด และสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตในพื้นที่ดังกล่าว ตลอดจนระยะเวลาของการพัฒนาหรือการสร้างตัวตาม กระบวนการทางธรรมชาติ จึงสรุปได้ว่า ดินมีองค์ประกอบ (Soil forming materials) 4 ชนิด ได้แก่ 1) อนินทรียวัตถุ (Mineral matter) หรือแร่ธาตุ ประมาณร้อยละ 45 เป็นส่วนที่สลายตัว มาจากวัตถุให้กำ เนิดดิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินที่ประกอบด้วยเปลือกโลก 2) อินทรียวัตถุ (Organic matter) เป็นส่วนของซากสิ่งมีชีวิต มีประมาณร้อยละ 5 3) น้ำ (Water) หรือความชื้นในดิน ประมาณ 25% จะอยู่รอบๆ อนุภาคดินมีความสำ คัญ คือ เป็นแหล่งน้ำสำ หรับพืชและจุลินทรีย์ในดิน โดยช่วยในการละลายธาตุต่างๆ ในดินให้พืชสามารถ นำ ไปใช้ได้ 4) อากาศ (Air) มีประมาณ 25% ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และ ออกซิเจน ซึ่งจะแทรกอยู่ในดินในช่องว่างระหว่างอนุภาคดิน ดินที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชจึงควรมีสัดส่วนของวัสดุประกอบดิน คือ อนินทรียวัตถุ : อินทรียวัตถุ : น้ำ : อากาศ เท่ากับร้อยละ 45 : 5 : 25 : 25 ตามลำ ดับ ในการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการเกษตรจึงมีหลักการที่สำ คัญ คือ การจัดให้องค์ประกอบ ของดินมีสัดส่วนตามที่กล่าวแล้ว ในส่วนของแร่ธาตุหรืออนินทรียวัตถุสามารถเกิดขึ้นได้จากการ ผุพังหรือแปรสภาพของวัตถุต้นกำ เนินดิน นอกจากนั้นแล้วยังได้จากแร่ธาตุที่เกษตรกรใส่เพิ่มลงใน พื้นที่เกษตรและการย่อยสลายของอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์และสัตว์ผู้ย่อยสลายในดิน ส่วนอินทรียวัตถุ ที่ย่อยสลายตัวแล้วและอยู่ในสภาพที่เหมาะสม เรียกว่า ฮิวมัส (Humus) อินทรียวัตถุสามารถเก็บ ความชื้นได้ 6-20 เท่าของน้ำ หนัก อากาศและน้ำ ในดินจะแทรกอยู่ระหว่างช่องว่างในดิน ดังนั้น การจัดการให้ดินมีความสามารถเก็บกักความชื้นไว้ได้ อาจเรียกได้ว่าเป็น “การจัดการน้ำ ในดิน” การจัดการความชื้นในดิน สามารถทำ ได้โดยถ้ารู้ความยาวรากพืชก็จะสามารถวางแผน จัดการกับปริมาณน้ำ ที่ต้องการให้กับพืชได้ น้ำ ที่พืชต้องการนำ ไปใช้มี 2 ส่วน คือ น้ำ ในดินที่ละลาย ธาตุอาหารและลำ เลียงเข้าไปในพืช พืชจะดูดน้ำ จากดินโดยรากขนอ่อน ซึ่งอยู่ช่วง 3 – 4 เซนติเมตร นับจากปลายรากขึ้นมา รากขนอ่อนเหล่านี้จะแทรกอยู่ตามช่องระหว่างเม็ดดิน และดูดน้ำ ที่เกาะ


หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) 19 อยู่รอบๆ เม็ดดินหรือช่องว่างระหว่างเม็ดดิน การให้น้ำ แต่ละครั้งก็จะมีผลต่อการแผ่กระจายของ รากพืช ถ้าแบ่งความลึกของดินออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละเท่าๆ กันประมาณร้อยละ 40 ของความชื้นที่พืช ใช้ทั้งหมดจะมาจากดินชั้นแรก นับจากผิวดินลงมาร้อยละ 30 มาจากดินชั้นที่สองร้อยละ 20 จากดินชั้นที่ สาม และร้อยละ 10 จากดินชั้นที่สี่ (ภาพที่ 5) ดังนั้น ถ้าพืชที่เราปลูกมีความยาวรากลึก 1 เมตร เอา 4 หาร ได้ 4 ส่วนๆ ละ 25 เซนติเมตร การให้น้ำ จึงให้จากด้านบน และน้ำ จะไหลลงตามแนวดิ่ง รากด้านบนจะ ดูดน้ำ ไปใช้ก่อน ร้อยละ 40 จากภาพจึงจะเห็นได้ว่า รากพืชที่ความลึก 75 เซนติเมตรใช้น้ำ ทั้งหมดที่ให้ ภาพที่ 5 ความชื้นที่พืชดูดไปจากดินในชั้นต่างๆ (กรมชลประทาน, 2554)5 ดังนั้น ในการจัดการดินโดยการปรับปรุงในเรื่องการเพิ่มช่องว่างในดินเพื่อเพิ่มพื้นที่ สำ หรับอากาศและน้ำ และการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นการช่วยรักษาความชื้นในดินและ ให้กิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดินสามารถทำ งานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การย่อยสลายให้ได้แร่ธาตุที่ เป็นประโยชน์สำ หรับพืชเท่านั้นก็เพียงพอสำ หรับเกษตรกรที่จะปรับปรุงสมบัติของดินให้มีความ เหมาะสมต่อการเพาะปลูก 3) การจัดการทรัพยากรชีวภาพ เมื่อเกษตรกรเพาะปลูกพืช โดยคำ นึงถึงหลักการของทรัพยากรพืชพรรณ 3 ประเภท คือ พืชหลัก พืชรอง และพืชร่วม โดยเกษตรกรต้องให้ความใส่ใจและทุ่มเททรัพยากรที่มี ทั้งทรัพยากร กายภาพและชีวภาพ ให้แก่ “พืชหลัก” เพื่อสนับสนุนการสร้างผลผลิตของพืชหลักให้ไปสร้างราย ได้และเศรษฐกิจของครัวเรือน ส่วน “พืชรอง” ที่เป็นกลุ่มพืชที่ใช้เป็นอาหาร และพืชที่ใช้งานใน วัตถุประสงค์ต่างๆ นั้นจะได้รับการดูแลรองลงมา โดยเฉพาะกรณีที่ต้องพิจารณาการจัดสรรทรัพยากร 5 กรมชลประทาน. (2554). คูมือการหาปริมาณการใช น ํ้าของพืช ปริมาณการใชน ํ้าของพืชอางอิงและค  าสัมประสิทธิ์พืช.  กรุงเทพฯ : สํานักอุทกวิทยาและบริหารนํ้า กรมชลประทาน.


20 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ที่มีอย่างจำ กัด และ “พืชร่วม” จะเป็นพืชที่ปลูกหรือปล่อยให้โตตามธรรมชาติเพื่อสนับสนุนพืชหลัก และพืชรอง โดยเฉพาะในด้านการหมุนเวียนธาตุอาหาร การช่วยรักษาอุณหภูมิและความชื้นในดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน เป็นแหล่งพักหรือที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลง ผสมเกสร เป็นต้น เช่นเดียวกันกับพืชร่วม “ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตอื่นๆ” ก็มีความสำ คัญต่อการผลผลิตของ พืชหลักและพืชรอง โดยมีบทบาทหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติ เช่น สัตว์หรือจุลินทรีย์ที่ทำ หน้าย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ย่อมต้องการปัจจัยที่จะเกื้อหนุนให้ทำ หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม อีกทั้งการเพิ่มความ พรุนของดินยังช่วยเพิ่มที่อยู่อาศัยของสัตว์ในดินด้วย การจัดการทรัพยากรดินและน้ำ ที่กล่าวแล้ว จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของผู้ย่อยสลายได้ ส่วนสัตว์ที่เป็นศัตรูพืช โดยเฉพาะแมลงศัตรูพืช ที่ทำ ให้ผลผลิตทางการเกษตรที่ต้องการลดลง การสนับสนุนให้ศัตรูธรรมชาติเพิ่มความหลาก ชนิดมากขึ้นในพื้นที่ระบบนิเวศการเกษตรจะช่วยควบคุมจำ นวนประชากรศัตรูพืชให้มีจำ นวนที่ ไม่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตเกินกว่าจะรับได้ ซึ่งถ้าหากเลือกใช้สารเคมีทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง จะสร้างผลกระทบต่อแมลงศัตรูธรรมชาติด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมความหลากชนิดแมลง ศัตรูธรรมชาติ การสร้างที่อยู่อาศัยและอาหารจึงมีส่วนสำ คัญ โดยพืชร่วมที่ปลูกจะมาทำ หน้าที่นี้ได้ดี สรุปได้ว่า หัวใจของการจัดการทรัพยากรพืชพรรณที่สำ คัญ คือ การจัดสภาพแวดล้อม ในพื้นที่เกษตรกรรมด้วยการปลูกพืชที่หลากหลาย (ทั้งพันธุกรรมและชนิดพันธุ์) และสนับสนุนให้ มีชนิดพันธุ์สัตว์ต่างๆ ในระบบนิเวศการเกษตรที่จะเอื้อต่อกิจกรรมหรือบทบาทหน้าที่ต่างๆ ทาง นิเวศวิทยา ทั้งในด้านการถ่ายทอดพลังงาน และการหมุนเวียนสารอาหาร ตัวอย่างการใช้พืชร่วมในการจัดการธาตุอาหารพืชของสวนลุงโหนกนานาพรรณ การใช้ผักตบชวาหรือพืชน้ำ ต่างๆ เป็นปุ๋ยพืชสด ซึ่งมีแนวคิดจากการที่ในน้ำ หนักแห้ง ของพืชจะมีธาตุไนโตรเจนราวๆ ร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่สะสมในเนื้อเยื่อของพืชมากที่สุด ที่พืชได้มาจากดิน แต่ธาตุไนโตรเจน กลับมีมากที่สุดในอากาศหรือราวๆ ร้อยละ 78 ในรูปของก๊าซที่พืชส่วน ใหญ่ไม่สามารถนำ มาใช้ประโยชน์ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่ว) และพืชจะสามารถใช้ประโยชน์ธาตุ ไนโตรเจนได้ต้องมาจากดินเท่านั้น กระบวนการทางธรรมชาติที่พืชจะได้ธาตุไนโตรเจนจากดิน โดยการที่ธาตุไนโตรเจนตกลง มากับน้ำ ฝน ซึ่งพบว่าในน้ำ ฝนทุกๆ 1 ลิตรจะมีธาตุไนโตรเจนละลายอยู่ราวๆ 6.3 มิลลิกรัม หรือใน พื้นที่ 1 ไร่ หากฝนตกลงมา 1,000 มิลลิเมตร จะมีไนโตรเจนตกลงมาสู่ดินประมาณ 10 กิโลกรัมให้พืช นำ ไปใช้ประโยชน์


หลักการของเกษตรนิเวศ (Concept of Agroecology) 21 ภาพที่ 6 พืชสำ หรับปรับปรุงสมบัติดินในสวนลุงโหนกนานาพรรณ หากไนโตรเจนที่ตกลงมากับน้ำ ฝนนี้ ไม่มีพืชนำ ไปใช้ประโยชน์จะสูญเสียโดยการซึมลึกลงไป ในดินชั้นล่างที่รากพืชนำ มาใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือไม่ก็ไหลบ่าไปกับน้ำ ผิวดินลงสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติ ในพื้นที่ตามธรรมชาติ เราจะเห็นพืชพรรณนานาชนิดขึ้นปกคลุมผิวดินและดูดธาตุไนโตรเจนสะสม เอาไว้ในเนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโต ทั้งดูดจากน้ำ ฝนที่ตกลงมาในระดับผิวดิน และใช้รากชอนไช ไปดูดขึ้นจากดินในระดับที่รากหยั่งลึกลงไปถึง ซึ่งพืชปกคลุมดินเหล่านี้ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าเป็น พืชอายุสั้น เมื่อถึงวงจรอายุไขก็จะล้มหายตายจากถูกย่อยสลายปลดปล่อยธาตุอาหารที่สะสมไว้ กลับสู่ผิวดินอีกครั้ง รอเวลาให้พืชรุ่นหลังนำ ไปใช้ประโยชน์เจริญเติบโต หมุนเวียนเช่นนี้รุ่นต่อรุ่น ไม่มีที่สิ้นสุด และจะมีธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินเพิ่มขึ้นทุกปีจากการได้ฟรีมากับน้ำ ฝน ในพื้นที่เกษตรกรรม กระบวนการสะสมธาตุไนโตรเจนในดินมักจะถูกแทรกแซงโดยเกษตรกร โดยเฉพาะการพยายามกำ จัดพืชพรรณปกคลุมดินที่ไม่ต้องการ รวมถึงเผาทำ ลายเศษซากพืชที่ หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต ปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ควรจะสะสมอยู่ในดินจึงสูญเสียไปโดย เปล่าประโยชน์ และจะได้มาจากธรรมชาติเฉพาะกับน้ำ ฝนที่ตกลงมาในฤดูกาลถัดไป รวมถึงได้จาก ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์จากร้านขายปุ๋ยในตลาด การจัดการใช้ประโยชน์ธาตุไนโตรเจนในพื้นที่เกษตร จึงควรทำ ให้ธาตุไนโตรเจนเหล่านี้ถูกนำ ไปสะสมในต้นพืชพรรณที่ขึ้นปกคลุมดินให้มากที่สุด ด้วยการไม่กำจัดวัชพืชและไม่เผาทำลายเศษซาก พืชที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต ปล่อยให้ล้มหายตายจากตามอายุไขและย่อยสลายปลดปล่อย ธาตุอาหารที่สะสมไว้ให้กับพืชหลักที่เกษตรกรต้องการ ดังเช่น สวนลุงโหนกนานาพรรณได้มีการใช้ผัก ตบชวา จอกหูหนู และแหนแดงในการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เพื่อปรับปรุงโครงสร้างดินด้านความ พรุน การเก็บรักษาน้ำ ในดิน การสร้างธาตุอาหารพืช ดังภาพที่ 6


22 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เอกสารอ้างอิง กรมชลประทาน. (2554) . คูมือการหาปริมาณการใช น ํ้าของพืช ปริมาณการใชน ํ้าของพืชอางอิง  และคาสัมประสิทธิ์พืช. กรุงเทพฯ : สํานักอุทกวิทยาและบริหารนํ้า กรมชลประทาน. ธรรมนูญ แกวคงคา. (2549). เอกสารวิชาการ การใหนํ้าชลประทานกับพืช. กรุงเทพฯ : กลุมวิจัย ปฐพีวิทยา สํานักวิจัยพัฒนาปจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. อาทิตยา พองพรหม. (2561). ความรูเบื้องตนดานนิเวศเกษตรเพื่อการประยุกตใชในระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. Costanza, R., De Groot, R., Braat, L., Kubiszewski, I., Fioramonti, L., Sutton, P., & Grasso, M. (2017). Twenty years of ecosystem services: how far have we come and how far do we still need to go?. Ecosystem services, 28, 1-16. Millennium ecosystem assessment, M. E. A. (2005). Ecosystems and human well-being (Vol. 5, p. 563). Washington, DC: Island press 22 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


24 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 25 หลักการเกษตรนิเวศ ในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร ภาคเหนือ โดย เกษศิรินทร์ พิบูลย์ บทที่2 1.“แนวคิดสวนคนขี้เกียจบนพื้นที่สูง” ของนายศิวกร โอโดเชา เกษตรกรบ้านหนองเต่า ตำ บลแม่วิน อำ เภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 1.1 บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในพื้นที่ ชุมชนบ้านหนองเต่าเป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง หรือ ‘ปกาเกอะญอ’ ชุมชนตั้งอยู่บนไหล่เขา ค่อนข้างราบ โดยลาดเอียงจากบริเวณหลังหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออก เขตหมู่บ้านตั้งอยู่สูงจาก ระดับน้ำ ทะเล ประมาณ 900-1,800 เมตร มีจำ นวนประชากรประมาณ 900 คน โดยขนาดพื้นที่ของ ชุมชน 8,000 ไร่ แบ่งออกเป็นพื้นที่ทำ ไร่ ทำสวน ทำ นาและพื้นที่อยู่อาศัย 1,500 ไร่ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประมาณ 4,000 ไร่ พื้นที่ป่าใช้สอย ประมาณ 1,500 ไร่ และพื้นที่ป่าความเชื่อ ประมาณ 1,000 ไร่ มี แหล่งต้นน้ำ เป็นป่าขุนน้ำ ขนาดใหญ่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านซึ่งชุมชนแบ่งไว้เป็นป่าอนุรักษ์ โดย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับลำ ห้วย สภาพทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีป่าเบญจพรรณเป็นแหล่งต้นน้ำ ลำ ธาร ชุมชนส่วนใหญ่มีการผลิตแบบไร่หมุนเวียนกับนาขั้นบันไดเป็นหลัก และทำ การเกษตร ปลูก พืชผักเมืองหนาว เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพและจำ หน่าย โดยไร่หมุนเวียนทุกแปลงมีการทำ แนวกันไฟ โดยรอบ เพื่อป้องกันไฟลามเข้าป่า ด้วยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันทำ ให้เวลาเผาไร่จะนิยมเผาจาก ด้านบนลงมาด้านล่างเพื่อไม่ทำ ให้เปลวเพลิงโหมไหม้แรงมากนัก (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, 2565)


26 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ในช่วงประมาณปี 2515 ทางหน่วยงานรัฐได้เข้ามาส่งเสริมให้คนในชุมชนบ้านหนองเต่า และชุมชนใกล้เคียงปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อส่งขาย เช่น กะหล่ำ ปลี มะเขือเทศ ผักสลัดแก้ว เพราะ เป็นกลุ่มพืชที่ตลาดต้องการ แต่การผลิตดังกล่าวต้องใช้ปุ๋ยเคมี และพ่นสารเคมีกำ จัดแมลงอย่าง เข้มข้น เพื่อให้พืชผักที่ปลูกโตไว ผลผลิตสวยงามและขายได้ราคา อย่างไรก็ตาม พืชผักที่ทาง หน่วยงานรัฐเข้ามาส่งเสริมในขณะนั้นได้ส่งผลให้เกิดหนี้สินและผลกระทบต่อสุขภาพของคนใน ชุมชน รวมถึงได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรแหล่งอาหารโดยเฉพาะความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม และเกิดการตกค้างของสารเคมีในพื้นที่ ประกอบกับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ทำ ให้ในพื้นที่เริ่มเผชิญปัญหา เช่น รูปแบบการตกของฝนและ การกระจายตัวของฝนที่เปลี่ยนไปจากเดิม และช่วงอุณภูมิแปรปรวน เช่น ในช่วงฤดูหนาวมีระยะที่ สั้นลงทำ ให้สภาพอากาศเย็นไม่ต่อเนื่อง ซึ่งได้กระทบกับการผลิตในพื้นที่ ดังนี้ 1) เกิดการแข่งขันในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ เนื่องจากระดับน้ำ ในห้วยที่ลดลง จาก สถานการณ์ดังกล่าวทำ ให้คนในชุมชนมีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนให้เข้าถึงน้ำ ที่เพียงพอ ในกระบวนการผลิต 2) ปริมาณผลผลิตในพื้นที่ลดลง เช่น ข้าว กาแฟ และไม้ผลบางชนิด เนื่องจากการระบาดของ โรค-แมลง และการที่มีสภาพอากาศที่เย็นไม่ต่อเนื่องทำ ให้การติดผลของกลุ่มไม้ผลเมืองหนาวลดลง ซึ่งส่งผลต่อความหลากหลายของผลผลิตในพื้นที่ที่สัมพันธ์กับแหล่งอาหารและรายได้ของคนในชุมชน 1.2 การออกแบบฟาร์ม 1.2.1 เป้าหมายการทำ ฟาร์ม 1) เพื่อทำ ให้เกิดการพึ่งตัวเองทางด้านอาหาร 2) เพื่อสร้างรายได้ให้จุนเจือครอบครัวอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง 3) เพื่อสร้างระบบการผลิตที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยไม่เข้าไปทำ ลาย ระบบนิเวศธรรมชาติ 1.2.2 แนวคิดสวนคนขี้เกียจบนพื้นที่สูง “ยิ่งทำ�ไปยิ่งมีหนี้สิน เพราะต้องกู้เงินมาซื้อปุ๋ย ซื้อสารเคมีพ่นกำ�จัดแมลง สุขภาพก็ทรุดโทรมเพราะพืชพวกนี้ต้องปลูกและดูแลตลอดทั้งปี ต้องฉีดพ่นทั้งปี เหมือนกัน ไม่งั้นแมลงจะมากิน แต่ก็ต้องทนทำ�ไปเพื่อใช้หนี้” บทเรียนจากการปลูกพืชผักที่ทางราชการเข้ามาส่งเสริมที่ทำ ให้เกิดหนี้สินและส่งผลร้ายต่อ สุขภาพ นั้นเป็นเหตุผลที่พ่อของศิวกรหยุดปลูกพืชเศรษฐกิจหรือพืชเชิงเดี่ยวเหล่านั้นตลอด 30 ปีที่


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 27 ผ่านมา (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, 2565) และด้วยที่การจัดการแปลงการผลิตของพ่อที่ไม่ใช้สาร เคมีจึงทำ ให้ศิวกรซึมซับและโตมากับเรื่องการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งเป็นเหมือนกับหลักคิดอย่างหนึ่ง ที่มองว่าหากใช้สารเคมีแล้วทำ ให้ดินเสื่อมโทรม แม้ว่าผลผลิตได้ไม่มาก เช่น ปริมาณข้าวต่อไร่ได้น้อย กว่าแปลงการผลิตทั่วไป แต่ศิวกรก็ยืนยันว่าจะไม่ใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณ ผลผลิต โดยหันกลับมาทบทวนวิถีดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอ นั่นคือการทำ ไร่หมุนเวียนที่มีการ ปลูกข้าวหรือพืชไร่สลับกันเพื่อให้ดินได้ฟื้นตัวกลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมไม่ต้องใช้ปุ๋ยหรือสาร เคมี และไม่ทำ ไร่เลื่อนลอยหรือบุกเบิกทำลายป่า เช่น “ปีนี้ปลูกข้าวในที่ดินแปลงนี้ พอปีต่อไปก็จะ เปลี่ยนไปปลูกในแปลงถัดไปเพื่อทำ การปลูกหมุนเวียน พอครบรอบประมาณ 7 ปีก็จะหมุนเวียน กลับมาปลูกในแปลงเดิม” ซึ่งระบบการผลิตนี้เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอ และด้วย แนวคิดนี้พ่อของศิวกรได้ปล่อยให้ที่ดินที่เคยเสื่อมสภาพด้วยการใช้ปุ๋ยและสารเคมีนั้นให้กลับมาฟื้นตัว ด้วยการให้ที่ดินทั้งหมดเป็นพื้นที่รกร้างให้ธรรมชาติดูแล ไม่ถาง ไม่เผา ปล่อยให้หญ้าและไม้ต่างๆ ขึ้น คลุมดิน ที่ธรรมชาติเริ่มฟื้นฟูกลับสู่ความสมดุล มีนก หนู ไก่ป่า สัตว์เล็กสัตว์น้อยเข้ามาอยู่อาศัย “พอดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ พ่อจึงเริ่มปลูกพืชผักต่างๆ แบ่งที่ดินออกเป็น สามแปลง แปลงหนึ่งปลูกพืชระยะสั้นเอาไว้กิน เช่น ฟักทอง ถั่ว แตงกวา มะเขือ หวาย หน่อไม้ พริก ข่า ตะไคร้ ที่เหลือก็จะขาย แปลงที่สองปลูกพืชระยะยาวเป็น ไม้ผลปลูกผสมกันไป เช่น อโวคาโด้ พลับ สาลี่ บ๊วย กาแฟ ใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ เช่น ฟาง ขี้วัว ขี้ควาย เอามาหมักทำ�ปุ๋ย ผลผลิตนำ�มาขายเป็นรายได้เลี้ยงดูครอบครัว ส่วนแปลงที่สามปล่อยให้เป็นป่าธรรมชาติ” 1.3 การจัดการฟาร์ม 1.3.1 ข้อมูลฟาร์ม ศิวกรเริ่มเข้ามาช่วยพ่อเป็นหลักในการจัดการฟาร์มตั้งแต่อายุ 18 ปี เนื่องจากพ่อเป็นแกนนำ ของชุมชนที่ต้องเดินทางตลอดไม่มีเวลาเข้ามาจัดการฟาร์ม ซึ่งในการจัดการฟาร์มนั้นศิวกรยัง คงใช้การจัดการแปลงของพ่อมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติควบคู่กับการทยอยปรับพื้นที่บางส่วน มาทำ นาเพื่อเพิ่มแหล่งอาหารให้กับครอบครัว “พยายามใช้ระบบวัวควายให้ไปอยู่ในนาใส่ขี้วัวขี้ควายไปปีละน้อยๆ ก็ ไม่ได้งามแบบปุ๋ยเคมีแต่ก็ไม่ได้เลวร้าย ทำ�นา 2 แปลงประมาณ 12 ไร่ เฉลี่ยได้ ข้าวเปลือกต่อไร่ประมาณ 10 กระสอบ สภาพดินนาย่ำ�แย่ไม่ค่อยดีทำ�ให้ผลผลิตได้ ไม่ค่อยมากหากเทียบคนทั้งหมู่บ้าน ที่คนไหนปลูกข้าวงามจะได้ไปถึง 50-60 ถัง/ไร่ แต่เราก็พอใจปริมาณข้าวที่ได้ คือเรารู้แล้วว่าไม่งามอยู่แล้วต้องค่อยยาดิน ถ้ายิ่งไป


28 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ซ้ำ�เติมด้วยปุ๋ยเคมีมันก็เหมือนว่าดินที่ไม่ดีอยู่แล้วยิ่งไม่ดีมากขึ้นก็เป็นการยืนยัน ได้ดี เพราะเราไม่ได้มองที่ตัวผลผลิตที่ว่าจะต้องได้คุ้มมากมาย แต่ขึ้นกับดินว่าจะ ให้ผลผลิตได้เท่าไหร่เราก็พอใจแล้วมันก็ง่ายๆ มันจะมีหลักอะไรอีกก็เพียงว่าไม่ใช้ ปุ๋ยเคมีในระบบการผลิตคือใช้แล้วดินจะเสีย” นอกจากนี้ ศิวกรยังสร้างความหลากหลายในการปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่สวน หลังบ้านและบริเวณที่ว่างรอบๆ บ้านให้มีพืชผลที่กินได้ โดยเน้นการจัดการที่เรียบง่ายโดยไม่ต้อง เข้าไปจัดการมากนัก รวมถึงการปลูกกล้วยหลากหลายชนิด และไม้ผล เช่น มะเฟือง อโวคาโด้ พลับ รวมถึงกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกแซมอยู่ใต้ร่มไม้ในสวนหลังบ้านเป็นกาแฟในระบบเกษตรอินทรีย์มี ผลผลิตประมาณปีละ 2 ตัน ส่วนใหญ่ส่งเป็นกาแฟสาร (กาแฟดิบตากแห้งที่สีเอาเปลือกออกแล้ว แต่ยังไม่ได้คั่ว) โดยรวบรวมผลผลิตจากสวนของตนเองและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์บ้าน หนองเต่าไปจำ หน่าย ซึ่งถือเป็นรายได้หลักให้กับครอบครัวและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน “สวนก็มีหลากหลายที่เป็นสวนผสมผสาน เช่น พลับ อโวคาโด กาแฟ สาลี่ หวาย ที่ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นโดยมีไม้ธรรมชาติที่ขึ้นเอง เช่น มะขามป้อม มะเดื่อป่า ลูกหว้า เป็นส่วนใหญ่ ส่วนผักไม่ค่อยปลูกที่มีอยู่เดิมก็เป็นสวนหลังบ้านที่ปลูกบ้าง ที่ส่วนใหญ่เป็นถั่วแปบ ถั่วฝักยาว ซาโยเต้ พืชผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า ที่ ปลูกไว้รอบบ้าน ซึ่งการปลูกพืชผักที่บ้านนี้ก็ไม่ได้ใช้อะไรอยู่แล้วแต่มันก็ได้กินตลอด อย่างเราเป็นคนขี้เกียจเราเลยเน้นผักที่อายุยืนหน่อย เช่น ซาโยเต้ ที่บ้านก็ได้กินทุกปี เพราะมันเกิดใหม่ทุกปีแล้วอายุก็ไม่นาน ฝนมาก็งาม คือปลูกครั้งเดียวก็ได้กินตลอด” “บริเวณพื้นที่สวนหลังบ้านที่ปลูกพืชผสมผสาน”


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 29 1.3.2 หลักในการพิจารณาการวางผังไร่นา และแผนการผลิต การจัดการแปลงการผลิตของเดิมของพ่อศิวกรนั้น เน้นเป็นการจัดการเชิงวนเกษตรที่ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นที่ขึ้นตามธรรมชาติบางส่วนเป็นไม้ผลที่ปลูกไว้ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย แต่ด้วยความ ต้องการเข้าถึงอาหารโดยเฉพาะข้าวให้มีพอเพียงสำ หรับการบริโภคของครอบครัวนั้น ทำ ให้ศิวกร ได้ปรับพื้นที่บางส่วนมาเป็นพื้นที่ทำ นามากกว่าปลูกข้าวไร่เนื่องจากการทำ นามีความมั่นคงมากกว่า ข้าวไร่ที่สามารถจัดการแปลงได้อย่างมีระบบที่สามารถควบคุมได้ (เช่น การควบคุมระดับน้ำ การ ปรับปรุงบำ รุงดินโดยการใส่มูลสัตว์) และสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าข้าวไร่ โดยทั่วไปพื้นที่ทำ นามักตั้งอยู่บริเวณริมลำ ห้วยที่มีการผันน้ำ ในระบบเหมืองฝายและมีระบบ การผันน้ำ ทำ นาจากที่สูงลงมาที่ต่ำ เพื่อทยอยทำ นาให้เสร็จไปทีละแปลง ซึ่งคนในชุมชนจะให้ความ เคารพน้ำ โดยผ่านพิธีกรรมเลี้ยงผีน้ำ เพื่อให้มีน้ำ ใช้ในการทำ นา อย่างไรก็ตามด้วยสถานภาพการใช้ ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปจากการมองบริบทการใช้น้ำ ที่ยั่งยืนเป็นการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ ที่ใครมีทุน มากเข้าถึงน้ำ มากซึ่งเห็นได้ชัดจากการที่เกษตรกรในพื้นที่ทยอยลงทุนขุดเหมืองเพื่อดึงน้ำ จากอีก ลำ ห้วยหนึ่ง รวมถึงการต่อท่อพีวีซีดึงน้ำ จากลำ ห้วยมาใช้ที่แปลงการผลิตโดยตรง จากสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นนี้ได้ส่งผลให้พื้นที่นาที่อยู่ริมห้วยกลายเป็นนาร้าง ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศชุ่มน้ำ ของพื้นที่ที่มี แนวโน้มการลดลงอย่างต่อเนื่อง ศิวกรมีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด 12 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ใกล้กับลำ ห้วย และพื้นที่ไกลจากลำ ห้วย ที่ใช้น้ำ ในการทำ นาจากบ่อน้ำ ซึมขนาดความลึก 1 เมตร โดยเลือกที่จะไม่ขุดสระขนาดใหญ่เก็บกักน้ำ เนื่องจากขนาดของสระไม่ได้ตอบโจทย์ในบริบทพื้นที่ซึ่งหากต้องขุดสระต้องใช้พื้นที่มากและใช้เวลาใน การกักเก็บน้ำ รวมถึงลักษณะพื้นที่สูงส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเก็บน้ำ ได้ไม่ค่อยดีจึงทำ ให้เป็นเหตุผล ที่เลือกขุดบ่อขนาดเล็กในนาข้าวเนื่องจากบริเวณที่ขุดเป็นบ่อน้ำ ที่เป็นร่องลำ ห้วยเดิมที่จะมีน้ำ ซึมอยู่ ตลอดทั้งปี องค์ความรู้นี้ ศิวกร กล่าวว่า เรียนรู้จากธรรมชาติและนำ มาปรับประยุกต์ใช้กับแปลงการ ผลิตตนเอง ซึ่งบ่อน้ำ ตื้นดังกล่าวขุดใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 10 กว่าปี ที่พบว่าระบบนี้ช่วยให้ระบบ นิเวศเกื้อกูลกันที่ส่งผลให้มีน้ำ ใช้ในการทำ นาตลอดฤดูกาลผลิต แม้ว่าบางปีบ่อน้ำ มีระดับน้ำ แห้งก็จะ มีเทคนิคในการจัดการน้ำ ให้พอเพียงต่อการทำ นาแต่ละครั้ง 1.3.3 ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม 1) กรณีการจัดการทำ นาบนพื้นที่สูง การจัดการน้ำ เนื่องด้วยการทำ นาแบบขั้นบันไดในรูปแบบเดิมนั้นใช้น้ำ มาก กล่าวคือ ถ้าไม่มีน้ำ ฝนก็ไม่ สามารถทำ ได้เลย เทคนิคที่ว่านี้คือการใช้ระบบบ่อน้ำ ตื้นเพื่อส่งต่อน้ำ ในแปลงนาโดยบริเวณบ่อน้ำ ตื้น


30 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ดังกล่าวเป็นระบบน้ำ ซึมที่กระจายไปในนาควบคู่กับการขุดบ่อขั้นตรงกลางนาอีกระดับเพื่อรับน้ำ ที่ไหล จากบ่อน้ำ ตื้นที่ขุดไว้ด้านบนแปลง ซึ่งถ้าไม่มีบ่อน้ำ ตรงที่ขุดไว้ก็จะไม่มีน้ำ ให้เก็บไว้ในช่วงฤดูทำ นา หาก น้ำ ไม่พอในช่วงทำ นาก็จะมีระบบเปิด-ปิดน้ำ ผ่านท่อพีวีซีที่เชื่อมต่อเพื่อปล่อยน้ำ ในบ่อให้ไหลเข้าในนา ซึ่งในบ่อดังกล่าวมีการเลี้ยงปลาร่วมในระบบโดย หลักการเรื่องการจัดการน้ำ นี้ใช้แนวคิดการจัดการ เชิงนิเวศของพื้นที่ ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ที่เราเรียนรู้จากธรรมชาติที่ไม่ต้องใช้น้ำ ต้นทุนจากลำ ห้วยใน ปริมาณมากและมีน้ำ ใช้ที่เพียงพอในแต่ละรอบการผลิต โดยหลักคิดการจัดการพื้นที่นาดังกล่าวไปใช้ ในพื้นที่นาที่ลักษณะบริบทคล้ายกัน หรือนำ ไปปรับใช้ในการจัดการสวนได้เช่นกัน “หากปีไหนบ่อน้ำ�และน้ำ�ห้วยแห้ง ก็จะจัดการโดยการใช้วิธีเปิดบ่อน้ำ�เพื่อ ให้น้ำ�มันท่วมเอาน้ำ�มาใช้ทำ�นาแล้วรีบทำ�ให้เสร็จ และพอปลูกได้ก็รีบปิด อันนี้จะเป็น กรณีที่เอาน้ำ�มาใช้ในกรณีที่จำ�เป็นเร่งด่วน ขนาดบ่อสัมพันธ์กับนาหรือสภาพระบบ นิเวศในพื้นที่นั้นว่าแห้งขนาดไหน หรือน้ำ�จะอยู่ได้ขนาดไหน โดยเน้นการจัดการที่ ไม่ต้องรบกวนพื้นที่ทรัพยากรส่วนรวมแต่ว่าเราปรับพื้นที่แต่ละแปลงให้อยู่ได้ด้วย ระบบหมุนเวียนในพื้นที่นั้นเอง หากทำ�แบบนี้ได้ทุกระบบนิเวศลำ�ห้วยก็จะมีระบบ นิเวศที่เกื้อกูลกันได้” การจัดการหญ้าและการปรับปรุงบำ รุงดิน การจัดการหญ้าในแปลงนานั้น ศิวกรมีการจัดการโดยใช้มือถอนร่วมกับการใช้เคียวเกี่ยว เป็นบางครั้ง รวมถึงการใช้เครื่องตัดหญ้าในการตัดบริเวณคันนา ประมาณ 1-2 ครั้ง/รอบการผลิต ซึ่ง วัชพืชที่ถอนหรือตัดแล้วนั้นจะนำ ไปคลุมบริเวณรอบแปลงการผลิต และบางส่วนจะย่ำ ในนาให้เน่าเพื่อ เป็นปุ๋ย ส่วนการปรับปรุงบำ รุงดินนั้นใช้ขี้วัวขี้ควายเป็นหลัก รวมทั้งการนำ เอาจุลินทรีย์จากเศษใบไม้ ที่ทับถมหน้าดินที่เป็นดินดี โดยมีหลักการที่ว่าในธรรมชาติมีจุลินทรีย์ที่ดีและไส้เดือนอยู่แล้ว เพียงแค่ เติมเข้าไปในดินเพื่อปรับดินได้แบบยั่งยืน สำ หรับต้นทุนการปรับพื้นที่เดิมให้เป็นพื้นที่ทำ นานั้นศิวกรมี การทยอยลงทุนประมาณปีละ 10,000-20,000 บาท โดยการลงทุนปรับพื้นที่นี้ไม่ได้ไปกู้ที่ไหนแต่เป็น เงินจากการขายวัวขายควาย ซึ่งรูปแบบการจัดการทำ นานี้ให้ความสำ คัญในการขยายแนวคิดในพื้นที่ แบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรน้ำ ให้มากที่สุด ขั้นตอนการทำ นา ขั้นตอนในการเตรียมแปลงทำ นาเริ่มจากการไถพรวนควบคู่กับการใส่มูลสัตว์ (เช่น ขี้วัว/ ขี้ควายแห้ง) 1 ครั้ง โดยไม่ได้จำ กัดปริมาณการใช้แต่ขึ้นกับปริมาณมูลสัตว์ที่มีในขณะนั้น จากนั้น ไถคราด 1 ครั้ง เพื่อให้มูลสัตว์ที่ใส่ลงไปในช่วงไถพรวนนั้นกระจายไปทั่วในนา จากนั้นลดระดับน้ำ เพื่อ เตรียมปลูกต้นกล้า มีการปรับปรุงบำ รุงดินในนาที่ส่วนใหญ่มีการเติมปุ๋ยโดยมูลสัตว์เป็นหลัก เช่น ใช้ 30 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 31 ขี้วัวขี้ควายประมาณ 1.5 กระสอบ/ไร่ ควบคู่กับการใช้จุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการทับถม ของเศษใบไม้จนกลายเป็นหน้าดินดี จากนั้นทยอยนำ หน้าดินดีดังกล่าวมาหว่านในนาอย่างต่อเนื่อง หลังจากไถพรวนและคราดให้ได้ระดับแล้วจากนั้นเริ่มหว่านกล้า หากอายุกล้าครบ 40 วันก็จะถอน เพื่อนำ มาตัดปลายกล้าข้าวเพื่อเตรียมปลูกกล้าแบบปักดำ การปลูกข้าวจะเริ่มปลูกข้าวช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายนที่ขึ้นกับความสมบูรณ์ของระดับน้ำ ในลำ ห้วยแต่ละพื้นที่ การทำ นาโดยทั่วไปจะ เป็นลักษณะนาดำ โดยอาศัยการลงแขกช่วยกันของเครือญาติเป็นหลักที่ระยะการปลูกจะช้าหรือว่าเร็ว นั้นขึ้นกับปริมาณน้ำ ว่ามีเพียงพอหรือไม่ สำ หรับการดูแลรักษาหลังการปลูกข้าวส่วนใหญ่จะเป็นการจัดการสังเกตการเจริญเติบโตของ ข้าว การเกิดโรคแมลง และการควบคุมวัชพืชที่ใช้วิธีการจัดการแบบเป็นมิตร/ไม่ทำลายระบบนิเวศของ พื้นที่ สำ หรับระยะการเก็บเกี่ยวข้าวจะทยอยเกี่ยวช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน โดย อาศัยแรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนและเครือญาติเป็นหลัก หากเกี่ยวข้าวไม่ทันในช่วงดังกล่าวมักจะ มีการจ้างแรงงานเสริมเพื่อช่วยเกี่ยวเป็นบางครั้ง พันธุ์ข้าว สำ หรับพันธุ์ข้าวที่ปลูกสำ หรับการทำ นานั้น ศิวกรยังคงเลือกใช้พันธุ์ดั้งเดิมของชุมชนเป็น หลัก เนื่องจากเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่มากกว่าพันธุ์ข้าวต่างถิ่นหรือพันธุ์ข้าวจากพื้นที่ราบ พันธุ์ข้าว ดั้งเดิมของชุมชนที่ว่านี้เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่มีการเก็บรุ่นต่อรุ่นไว้ได้เอง โดยการคัดพันธุ์ข้าวสำ หรับทำ นานั้นจะคัดทุกปีเพราะมีการปนกันมากกว่าข้าวไร่ พันธุ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์บือพะโด่ะ (ข้าวหอม พื้นเมืองเมล็ดใหญ่) พันธุ์บือโคคี เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าทั้งสองพันธุ์ สาเหตุที่เลือกปลูกข้าว 2 พันธุ์นี้เพราะ ว่าปลูกแล้วได้ปริมาณข้าวพอสมควร มีความอร่อย หอม ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่เลือกปลูกโดยไม่ได้มอง ถึงความทนโรคแมลงหรือปริมาณผลผลิตที่จะต้องได้ปริมาณมาก การจัดการโรคและแมลง ปัญหาเรื่องโรคและแมลง (เช่น แมลงบั่ว) ในนาข้าวพบมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่ามี การระบาดเป็นอย่างมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลให้ในนามีความชื้นสูงที่เอื้อ ต่อการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช จากประสบการณ์ในการจัดการแมลงที่รบกวนในนาข้าวของศิวกรนั้น ได้ฉีดพ่นน้ำ หมักจากยาสูบผสมกับเหล้าขาวในนาข้าวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดแมลงบั่ว การฉีดพ่น ด้วยน้ำ หมักจากยาสูบน้ำ ถือเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของปกาเกอญอที่ว่า “คนปกาเกอญอสูบยาสูบกัน เพื่อไล่แมลง” และแม้ว่าบางครั้งมีแมลงบั่วระบาดในแปลงนามากก็ยังยึดมั่นที่จะไม่ใช้สารเคมีเพราะ ไม่ต้องการให้ดินเสื่อมและต้องการรักษาระบบนิเวศนาที่สมบูรณ์อยู่แล้วให้คงอยู่เหมือนเดิม


32 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 2) กรณีการจัดการแปลงไม้ผล ในการจัดการแปลงไม้ผลนั้นเน้นปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองและมีความหลากหลายสายพันธุ์ เนื่องด้วยพันธุ์ดั้งเดิมที่มีในพื้นที่สามารถเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตต่อเนื่อง ไม่ต้องดูแลมากนัก ก็จะ เลือกพันธุ์นั้นเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น กาแฟที่นำ พันธุ์อาราบิก้าที่ส่วนใหญ่มีการคัดเลือกกล้าพันธุ์ที่ให้ ผลผลิตดี เกิดโรคน้อย เพื่อนำ มาเพาะกล้าเอง และเลือกที่จะปลูกหลากหลายสายพันธุ์เช่นพันธุ์ผสม ทิปปิก้า เบอร์บอน โดยที่คุณภาพกาแฟจะขึ้นอยู่กับการแปรรูปและสภาพภูมิอากาศมากกว่าสายพันธุ์ ตอนนี้ที่แปลงมีต้นกาแฟที่ทยอยปลูกประมาณ 2,000-3,000 ต้น โดยกระจายไปตามแปลงต่างๆ แต่ เก็บผลผลิตจริงๆ 200-300 ต้น เพราะไม่มีเวลาไปดูแลจัดการมากนัก ซึ่งการจัดการที่ว่านี้คือการ ตัดแต่งกันและเติมธาตุอาหารให้กับดินในแต่ละรอบการผลิต ส่วนโรคแมลงที่กวนต้นกาแฟ เช่น มอด เชื้อโรคราสนิมบางชนิด และโรคเพลี้ย ราดำ (ที่มด นำ ขึ้นไปบนต้นกาแฟ) ในการจัดการเรื่องมอดได้ทดลองใช้ที่กักดักแขวน ส่วนเพลี้ยก็เอายาสูบผสม กับน้ำ หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 วันแล้วไปพ่น ผลที่ใช้พบว่าการระบาดของเพลี้ยและราดำ ลดลงแต่ว่า ไม่ถึงกับหายไปตราบใดที่ยังมีมดนำ ขึ้นต้นอยู่ สำ หรับการเก็บเกี่ยวนั้น ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครอบครัวไปช่วยกันเก็บ โดยเลือกเก็บเฉพาะ ลูกสุกเท่านั้น (ไม่เก็บลูกดิบไม่เก็บลูกแห้งหรือสีซีด) แบบ wash คือเอาไปล้างเพื่อเอาลูกที่ลอยออก จากนั้นนำ ไปกะเทาะเปลือกและแช่น้ำ 2 คืน และนำ ไปตากจนแห้งแล้วเก็บบรรจุไว้ในกระสอบเพื่อ ทยอยนำ จำ หน่ายต่อไป “การเก็บเมล็ดกาแฟ” “การคัดเมล็ดกาแฟ”


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 33 ผังฟาร์มของ ศิวกร โอโดเชา “ภาพแสดงลักษณะเส้นชั้นความสูงของพื้นที่ในมุมด้านข้าง” 1.3.4 สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ การจัดการฟาร์มของศิวกรได้นำ การใช้หลักการบริการทางนิเวศ สรุปได้ดังนี้ 1) การลดการใช้ปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองให้มากที่สุด (Input reduction) 2) การคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินผ่านการปรับปรุงบำ รุงดินโดยการจัดการเติม อินทรียวัตถุและรักษาชีววิทยาของดิน เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช (Soil health) 3) การรักษาและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ์และพันธุกรรมทั้งพืชและ สัตว์ (Biodiversity) 4) การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในระบบเกษตรนิเวศ ทั้งพืช ต้นไม้ สัตว์ ดิน และน้ำ (Synergy) “ผังฟาร์มมุมสูง”


34 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 5) การสร้างความหลากหลายของรายได้จากการจัดการฟาร์ม เพื่อให้เกษตรกรมีอิสระ และโอกาสในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ (Economics diversification) 1.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1.4.1 ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 1) การปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นบนหน้าดินให้กับไม้ยืนต้นในช่วงฤดูร้อน โดยใช้หลักความสัมพันธ์ของธรรมชาติ “ในช่วงฤดูร้อนหากพื้นดินแห้งมันแห้งมันก็แห้งอยู่ดี พอรดน้ำ�ก็ยิ่งไปใหญ่ เหมือนกับว่าพืชได้น้ำ�ก็ดีใจแต่พอไม่มีน้ำ�ก็ยิ่งแย่ไป เพราะฉะนั้นแสดงว่ามันจะต้อง มีระบบร่มเงาหรือว่าระบบต้นไม้ที่ต้องปรับตัวหรือว่าสู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเราต้องไว้วางใจ ว่าธรรมชาติมันปรับตัวได้ มันสู้ได้เหมือนกัน แต่เพียงว่ามันต้องใช้เวลา อย่างแปลง พลับหรืออโวคาโดมันสุดท้ายแล้วอยู่ที่ดิน ถ้าดินดีระดับหนึ่งพอมันโตจากฤดูฝนได้ และมีพืชคลุมดินถึงแม้ว่ามันจะเจอหน้าร้อนอย่างไรมันก็ไม่ตาย แต่เราไปรดน้ำ�ให้ มันอาจจะยากไป ที่พอขาดน้ำ�ก็ตายเลย” 2) การจัดการน้ำ ที่สัมพันธ์กับระบบนิเวศ กล่าวคือ การจัดการน้ำ ที่เข้าใจความสมดุล ของระบบนิเวศ โดยไม่เข้าไปทำ ลายหรือรบกวนการทำ งานของนิเวศ ก็จะทำ ให้พื้นที่นั้นเอื้อต่อการ เจริญเติบโตของต้นไม้ พืช และสัตว์ที่อาศัยในบริเวณนั้นได้ “น้ำ�เป็นทรัพยากรส่วนรวมถ้าเราจะมีแหล่งน้ำ�ของตัวเองอีก อันนี้ก็จะเป็น โจทย์ที่บอกว่าแล้วน้ำ�จะมีตลอดช่วงฤดูแล้งได้ไหม ทีนี้หลักของปกาเกอะญอที่ว่า หน้าร้อนก็คือหน้าร้อนเราจะไปฝืนทำ�ไม คือทุกอย่างก็จะแห้งไป เรื่องแนวคิดขุดสระ เคยมีแนวคิดที่จะทำ�อยู่ แต่สุดท้ายค้นพบอย่างหนึ่งก็คือไม่ว่าจะเป็นการขุดสระหรือ อย่างอื่นจะเอาไปใช้กับพืชหรือต้นไม้สุดท้ายก็เหมือนว่าเราพยายามที่จะไปดัดนิสัย ต้นไม้ต่างๆ ทั้งๆ ที่หน้าแล้งเขาอยู่ได้แต่ว่าเรากลับไปให้น้ำ�แล้วเหมือนกับว่าเราไป ทำ�ให้เขาเสียนิสัยทั้งๆ ที่เขาจะต้องต่อสู้กับหน้าแล้งโดยลำ�พังของเขาและต้องปรับตัว แต่เรากลับไปให้น้ำ� ซึ่งพอเราให้ไม่เต็มที่มันก็จะตายไปเลย ซ้ำ�กลายเป็นพื้นที่อ่อนแอ ไปอีก บ้านเราเป็นแบบนี้ที่ว่าฤดูร้อนนั้นก็จะแห้ง ฤดูฝนก็จะมีน้ำ� ฤดูหนาวก็เย็น ซึ่ง เราต้องล้อให้เป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด”


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 35 3) การจัดการทรัพยากรดินน้ำ ป่าในมิติที่ยั่งยืนทำ ได้หลายระดับ ดังเช่นระดับครัวเรือน นั้นชุมชนจะปรับให้เข้ากับฤดูกาล และระดับชุมชนที่ต้องช่วยกันดูแลทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ให้เกิดความ สมดุลเพราะทรัพยากรทุกอย่างมีชีวิต หากชุมชนไม่ให้ความสำ คัญในการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนแล้ว ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศที่เป็นส่วนสำ คัญในการลดผลกระทบต่อพื้นที่ทาง อาหารและทรัพยากรในพื้นที่ “ทรัพยากรหน้าหมู่หรือสิทธิส่วนรวม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นป่า ดิน น้ำ� ไฟ หรือว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ มันเป็นสิ่งที่มีจิตวิญญาณมันเป็นของสาธารณะหน้าหมู่ เราต้องมอง ว่าพื้นที่ทรัพยากรส่วนรวมมันจะต้องช่วยกันดูแลรักษาไม่ให้เสียสมดุล ดังเช่น ถ้า ทุกคนมองเพียงว่าเอาท่อน้ำ�มาดึงน้ำ�ในลำ�ห้วยในหลายที่แล้ว แล้วปรับเปลี่ยนพื้นที่ ในลำ�ห้วยให้มันถูกใจตัวเองแล้วไม่ได้มองว่าน้ำ�มันเป็นของทุกคน ที่แม้แต่ธรรมชาติ ก็ใช้ร่วมกันโลกจะไม่ร้อนได้อย่างไรมีแต่ร้อนมากขึ้น ในขณะเดียวกันเราก็มองว่าจะ ต้องปรับตัวแบบไหน การปรับตัวแบบใดก็ตามถ้าเราไม่เห็นทรัพยากรตรงนี้แล้วมี การจัดสรรที่เป็นธรรมมันก็จะไม่ยั่งยืน” 4) การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวคือ ระบบการผลิตของปกาเกอะญอ คือฝึกสังเกตธรรมชาติโดยไม่ต้องเหนื่อยกับการทำ ปุ๋ยหรือคิดเรื่องการกำ จัดแมลงแต่ใช้หลักการ หลากหลาย ดังคำ กล่าวที่ว่า “ถ้าเรามีผลผลิตหรือว่าเมล็ดพันธุ์อยู่ 30 ชนิดแม้ว่าแร้นแค้นเราก็ จะมีกิน” ซึ่งหลักการนี้ให้ความสำ คัญกับความหลากหลายที่จะช่วยกระจายในเรื่องของความเสี่ยงโดย เฉพาะช่วงที่เผชิญกับความแปรปรวนของสภาพอากาศ ในระบบธรรมชาติไม่มีพื้นที่ว่างเปล่าเพราะ ธรรมชาติทำ งานอยู่แล้วตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดอย่างจุลินทรีย์รวมถึงสัตว์ขนาดใหญ่ ปกาเกอะญอ จึงมีความเชื่อของเรื่องของขวัญ 37 ขวัญ เพราะเชื่อว่าถ้าสัตว์อยู่ในระบบสัตว์จะเป็นตัวช่วยเพาะปลูก ดูแลและสร้างปุ๋ยในตัวของธรรมชาติเอง “จุลินทรีย์เริ่มทำ�งานตั้งแต่อยู่ในท้องของเราทีนี้พอเด็กเกิดใหม่เขาก็จะเอา สายรกเอามาผูกต้นไม้ ถ้ารกตกลงมามันก็จะกลายเป็นจุลินทรีย์ ตัวจุลินทรีย์ที่ย่อย ที่ดีที่สุดก็มาจากการย่อยในท้องของคนและสัตว์ พอหลักการนี้แสดงว่าจุลินทรีย์อยู่ ในขี้วัวขี้คน เพราะฉะนั้นในระบบธรรมชาติจุลินทรีย์มันจะทำ�งานด้วยกัน” - ความหลากหลายช่วยเกื้อกูลการทำ งานของระบบนิเวศ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการจัดการของ ศิวกรที่ปลูกกล้วยป่าประมาณ 5 สายพันธุ์ที่สามารถแตกหน่อได้ตลอดปี ซึ่งการปลูกกล้วยมีระบบราก ที่ช่วยระเบิดดินและให้ความชื้นกับดินซึ่งมีความสัมพันธ์กับเศษใบไม้ที่หล่นจากต้นไม้มาทับถมช่วย รักษาความชื้นในดินช่วงหน้าแล้ง หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 35


36 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม - การปลูกพืชพี่เลี้ยงเสริมในการปลูกกาแฟ เพราะถ้าไม่มีพืชพี่เลี้ยงให้กับต้นกาแฟ ต้นกาแฟนั้นจะกลายเป็นพืชที่อ่อนแอทันที จึงทำ ให้การจัดการฟาร์มของศิวกรมีการปลูกพืชหลากหลาย กว่า 80 ชนิด ที่สร้างความหลากหลายของผลผลิต และช่วยกระจายความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ 1.4.2 ด้านความมั่นคงทางอาหาร ด้วยระบบการผลิตที่หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศแล้ว ยังช่วยสร้างพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารให้กับครอบครัวทั้งในฟาร์มและบริเวณรอบบ้าน ที่มีพืชอาหารและไม้ผลสำ หรับการบริโภคของครัวเรือนที่เพียงพอโดยไม่ได้มีการลงทุนหรือมีต้นทุนใน การผลิตเนื่องด้วยระบบสมดุลของนิเวศ ซึ่งเห็นชัดจากการจัดการปรับปรุงบำ รุงดินโดยการย่อยสลาย จากซากพืชซากสัตว์ และการเติมธาตุอาหารโดยใช้มูลสัตว์เพิ่มลงไปในดินเพื่อให้ดินมีสภาพโครงสร้าง ดินที่เอื้อต่อการเพาะปลูก ดังคำ กล่าวของศิวกรดังนี้ “ดินสมบูรณ์จากการย่อยสลายจากธรรมชาติที่ใช้เวลาเพียง 1 ปี โดยไม่ต้อง ทำ�อะไร ถ้าหน้าฝนมันก็มีความชื้นอยู่แล้วพอผ่านไปปีแล้วปีเล่าพอนานไปปรากฏว่า ดินก็จะกลายเป็นดินที่ดีมากๆ ทีนี้เราอยากปลูกอะไรเราก็ปลูกโดยคิดง่ายๆ ว่าอยาก กินอะไรก็ปลูก อยากเอาไปใช้อะไรก็ได้ อย่างเช่นที่นี่ในแปลงก็จะเป็นหัวเผือกหัวมัน ที่ปลูกไป 20 กว่าหลุม หลุมหนึ่งเวลาขุดออกมาก็จะได้ประมาณ 50-60 กิโล 20 หลุม ก็เป็นพันโลแล้ว ในสวนก็มีโกโก้ หวาย ชะอม มีอโวคาโดแทรก อันนี้คือหลักการการ ใช้พื้นที่เพื่อสร้างความหลากหลายทางอาหารแบบหนึ่ง” 1.4.3 ด้านเศรษฐกิจ จากการสร้างความหลากหลายของผลผลิตในฟาร์มที่นอกจากให้เข้าถึงความมั่นคงทาง อาหารแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งรายได้หลักของศิวกรมาจากการจำ หน่ายกาแฟ “กาแฟสวนคนขี้เกียจ หรือ Lazy Man Coffee” ได้แนวคิดมาจากความเชื่อที่เป็นนิทานในตำ นาน ของคนปกาเกอะญอที่หากพิจารณาแล้วก็สอดคล้องกับหลักการทำ งานของธรรมชาติที่ว่า ถ้าขยันเกิน ไปจะทำ ให้จุลินทรีย์ทำ งานไม่ทัน เช่นเดียวกันที่คนเรามักเห็นธรรมชาติทำ งานแล้วไม่มีความสุขคนก็ มักจะรีบไปตัดหญ้า/ถางหญ้า จัดการนำ ไปเผา แต่ถ้าคนเราขี้เกียจบ้างควบคู่กับการสังเกตฤดูกาลที่ เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาก็จะทำ ให้คนเราทำ งานสอดคล้องกับธรรมชาติมากขึ้น ดังนั้นแนวคิดการตั้ง แบรนด์กาแฟดังกล่าวเป็นลักษณะการทำ งานที่ทำ น้อยแต่มาก ช่องทางการตลาดกาแฟปัจจุบันจำ หน่าย ผ่านออนไลน์และส่งออกเป็นหลักโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ซื้อผลผลิตกาแฟของกลุ่มทุกปีด้วยได้รับ การตอบรับที่ดีทำ ให้กาแฟเป็นที่ต้องการของตลาด 36 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 37 1.4.4 ด้านสังคม ปัจจุบันศิวกรร่วมกับกลุ่มผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ได้เริ่มขยายฐานการผลิตกาแฟเชื่อมกับชุมชน อื่นเพิ่มขึ้นเพื่อรวบรวมผลผลิตและนำ มาแปรรูป โดยเน้นทำ งานเชื่อมกับชุมชนที่มีการจัดสวนกาแฟ ที่ผลิตตามวิถีของปกาเกอะญอที่ให้ความสำ คัญกับการทำ งานของระบบนิเวศธรรมชาติ 2.1 บริบทของชุมชน บริบทพื้นที่ของชุมชนมีลักษณะพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงต่ำ สลับกัน ร้อยละ 30 และพื้นที่ราบ ร้อยละ 70 อยู่ระดับความสูง 300-700 เมตรจากระดับน้ำ ทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำ ธารที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นป่าไม้เบญจพรรณและไม้สัก และเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าหายาก บางส่วนถูกบุกรุกแผ้วถางถือครองเข้าทำ ประโยชน์ สภาพพื้นดินโดยทั่วไปเป็น ดินปนทรายในแถบบริเวณเชิงเขาที่มีความลาดชัน เวลาฝนตกดินจะถูกชะล้างหน้าดิน พังทลาย สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ได้ง่าย มีประชากรในชุมชนราว 236 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำ การ เกษตรทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ในลักษณะการผลิตมุ่งเพื่อการค้ามากกว่าเพื่อยังชีพ กล่าว คือพื้นที่ปรับเปลี่ยนการผลิตพืชที่พึ่งตนเองเป็นการผลิตพืชที่พึ่งปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นาและ เป็นกลุ่มพืชล้มลุกระยะสั้นเพิ่มขึ้น เช่น กระเทียม หอมแดง กระหล่ำ ปลี เป็นต้น และด้วยระยะเวลา เพียง 10-20 ปี พืชล้มลุกระยะสั้นเริ่มส่งผลกระทบให้กับเกษตรกร คือ เกษตรกรขาดทุนและเป็น หนี้สินเพิ่มมากขึ้น เกียรติพงศ์กล่าวว่า “หลังจากกลับมาอยู่บ้านทำ�ให้เห็นภาพลักษณ์ของเกษตรกรที่อยู่แถวบ้านที่ ต้องทำ�งานหนัก ลำ�บาก จน ขาดทุนมีหนี้สินต่อครัวเรือนมาก โดยแถวบ้านทำ�เกษตร พันธสัญญากันมากด้วย ต้องหาเงินใช้หนี้และต้องส่งลูกเรียน ปลูกพืชตามกระแสแล้ว ไม่ได้ผล ซึ่งตอนที่เรียนกับทำ�งานไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย แต่พอกลับมาได้มาเห็นสภาพ จริงคือ ที่บ้านมีแต่คนแก่รุ่นตายายกับเด็กเกิดใหม่และหลาน ส่วนคนรุ่น 20-30 กว่า ไม่อยู่บ้าน/ชุมชนเลย ถ้าไม่ทำ�งานนิคมก็ทำ�งานรับราชการ หรือทำ�งานเมืองนอกไป กรุงเทพฯ แล้วลูกไม่ได้เลี้ยงเองก็ส่งมาให้ตายายที่บ้านเลี้ยงให้ ส่งแต่เงินมา” โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการใช้สารเคมีฯ ในขณะที่ราคาผลผลิตคงที่และบาง ฤดูกาลกลับลดลงอย่างมาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับหนี้สินและถือว่าเป็นปัญหาที่สำ คัญซึ่ง หากคิดจะแก้ไขก็ต้องอาศัยการฟื้นฟูสภาพที่ยาวนาน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสภาพดินเสื่อมโทรม 2. สวน-ไร่นาผสมผสานบนพื้นที่ดอน ของนายเกียรติพงศ์ ลังกาพินธุ์ เกษตรกรบ้านป่าตึงงาม ตำ บลตะเคียนปม อำ เภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำ พูน


38 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม การปนเปื้อนสารเคมีในแหล่งน้ำสาธารณะ ที่ส่งผลให้อาหารจากแหล่งธรรมเชาติ เช่น กุ้ง หอย ปลา ปู ที่เริ่มหายไปจากพื้นที่ รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ทำ ให้พื้นที่เผชิญกับปัญหา เรื่องการเข้าถึงน้ำ เพียงพอในการเกษตรเนื่องจากแหล่งน้ำ ตามแหล่งธรรมชาติมีระดับที่ลดลงในช่วง ฤดูแล้ง ซึ่งเป็นข้อจำ กัดที่ทำ ให้เกษตรกรในพื้นที่มีการจัดการแปลงการผลิตที่หลากหลายลดลง 2.2 การออกแบบฟาร์ม 2.2.1 เป้าหมายการทำ ฟาร์ม 1) สามารถสร้างรายได้ต่อเนื่องจากการจำ หน่ายผลผลิตและมีรายได้ที่เพียงพอกับค่าใช้ จ่ายในครัวเรือน 2) สมาชิกในครัวเรือนและคนในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง 3) เป็นแปลงตัวอย่างในการจัดการฟาร์มแบบผสมผสานที่ทำ ได้จริงในพื้นที่ 2.2.2 แนวคิดในการจัดการฟาร์ม: เกษตรอินทรีย์ การจัดการฟาร์มของเกียรติพงศ์ใช้แนวคิดเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มี องค์ประกอบหลัก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ระบบนิเวศ ความเป็นธรรม และความดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน โดยให้ชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารอินทรีย์ผ่าน ตรงจากแปลงการผลิตและตลาดนัดในชุมชน “พื้นที่เกษตรที่ชุมชนส่วนใหญ่ทำ�เกษตรเคมีจึงคิดว่าอยากไปทำ�เป็นเกษตร อินทรีย์เพราะตระหนักเรื่องสุขภาพ หนี้สินหากทำ�เหมือนเดิม สภาพแวดล้อมแย่ ดินเสื่อม สัตว์ในแปลงตายหมดทั้งปู ปลา กบ หอย มีแต่หอยเชอร์รี่ ปูพันธุ์อื่น ที่ ปนเปื้อนสารเคมี” ซึ่งการจัดการแปลงการผลิตในช่วงแรกนั้นปลูกผักอินทรีย์เพื่อส่งขึ้นห้างให้กับบริษัทเอกชน ในตัวเมืองลำ พูนเป็นหลักที่รับซื้อผักสลัดตลอดทั้งปี ซึ่งถือเป็นการผลิตพืชอินทรีย์เชิงเดี่ยวที่มีการ จัดการฟาร์มผันไปตามคำ สั่งซื้อในแต่ละรอบการผลิตโดยไม่ได้มีกิจกรรมการผลิตอย่างอื่นมากนัก จากบทเรียนในการปลูกผักสลัดส่งให้กับบริษัทนั้นทำ ให้ชำ นาญเรื่องการปลูกผักสลัดในแต่ละฤดูกาล ว่าควรมีการจัดการอย่างไร แต่ด้วยผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อเทียบกับการจัดการแปลงการผลิตที่มาก ขึ้นโดยเฉพาะการเผชิญกับภัยแล้งนั้นไม่ได้จูงใจให้ทำ การปลูกผักสลัดส่งให้กับบริษัทอีกต่อไป จึงได้ เริ่มมาออกแบบฟาร์มให้หลากหลายมากขึ้นทั้งการทำ นา ปลูกพืชผัก และเลี้ยงสัตว์ โดยการเลือกชนิด พืชหรือสัตว์นั้นได้นำ หลักการการผลิตตามฤดูกาลและมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงแรงงานในครัวเรือนเป็นสำ คัญ การหมุนเวียนกิจกรรมในแปลงการผลิตในแต่ละฤดูกาลที่เหมาะ


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 39 สมเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาร่วมเช่นกัน การจัดการแปลงการผลิตคือกระจายความเสี่ยงไม่ทำ การผลิตเชิงเดี่ยว มีการปลูกพืชเลี้ยง สัตว์ที่มีการสร้างวงจรให้หมุนเวียนข้างในและเน้นการขายตลาดท้องถิ่น (Local Trade) ไม่เน้นขาย ที่ไกล หากทำ นาในช่วงฤดูฝน นั่นแปลว่าพืชที่ปลูกไว้ในฟาร์มต้องเป็นพืชที่อยู่ได้เองโดยไม่ต้องคอย ดูแลจัดการมากเนื่องจากเวลาส่วนใหญ่ได้ทุ่มไปกับการทำ นา ซึ่งถ้าไม่ได้วางแผนกิจกรรมการผลิตให้ สมดุลก็จะกระทบต่อรายได้รายวันที่ได้จากการปลูกผัก และเสริมรายได้โดยการเลี้ยงสัตว์เพราะไม่ได้ ผันไปตามฤดูกาลเหมือนกับการปลูกผัก 2.3 การจัดการฟาร์ม 2.3.1 ข้อมูลฟาร์มทั่วไป เกียรติพงศ์เริ่มกลับมาทำ การเกษตรที่บ้านเมื่อปี 2553 โดยก่อนหน้านี้ทำ งานเป็นครูสอน พิเศษให้กับบริษัทหนึ่งในตัวเมือง แต่เนื่องด้วยเป็นห่วงสุขภาพของแม่ที่อยู่บ้านเพียงคนเดียว จึง ทำ ให้เป็นจุดพลิกผันทำ ให้ลาออกจากงานเพื่อมาดูแลแม่ ซึ่งตอนแรกที่กลับมาบ้านนั้นไม่ได้ตั้งใจ จะมาทำ การเกษตร ถึงแม้ว่าครอบครัวทำ ฟาร์มเลี้ยงไก่ ทำ นาและสวนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามด้วยแม่ เพียงคนเดียวที่ทำ เกษตรในขณะนั้นมีปัญหาสุขภาพ และได้มีการสำ รวจอาชีพของคนในชุมชนก็พบ ว่า การทำ เกษตรถือเป็นอาชีพหลักในพื้นที่ จึงได้เริ่มต้นทำ การเกษตรหลังกลับมาอยู่ดูแลแม่ได้ใน ระยะหนึ่ง ในช่วงแรกในการกลับมาอยู่บ้านนั้น ครอบครัวไม่สนับสนุนให้กลับบ้านมาทำ เกษตรเพราะ คิดว่าอาชีพครูสอนพิเศษที่ทำ อยู่เดิมมีรายได้ที่มั่นคงหากเทียบกับรายได้จากการเกษตรที่ไม่แน่นอน จึงทำ ให้เป็นแรงผลักดันในการพิสูจน์ว่ากลับบ้านแล้วมาทำ การเกษตรนั้นอยู่ได้จริง ในการทำ เกษตรช่วง 6 เดือนแรกนั้นได้มาสานต่อการเกษตรของครอบครัว ที่ยังคงทำ เป็น เกษตรเคมีดังเช่นครอบครัวที่ทำ มา แต่ด้วยรายได้ที่เกิดขึ้นนั้นมีความไม่แน่นอน ความเสี่ยงสูง และ ให้ผลตอบแทนต่ำ ประกอบกับส่งผลต่อสุขภาพ จึงทำ ให้มุ่งมั่นที่จะปรับระบบการผลิตเป็นอินทรีย์ ด้วยการศึกษา/ค้นหาเองผ่านอินเทอร์เนตและขอรับคำ แนะนำ จากหมอดิน รวมถึงเจ้าหน้าที่เกษตร ตำ บล แต่เมื่อนำ ไปปฏิบัติจริงแล้วยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ในขณะนั้นเองเพื่อนได้แนะนำ ให้ไปเรียนรู้ ณ ศูนย์การเรียนรู้การทำ การเกษตรแบบธรรมชาติ นาน 6 เดือน จากนั้นนำ องค์ความรู้ที่ได้รับมา ปรับใช้ในแปลงการผลิตของครอบครัวควบคู่กับการเรียนรู้ทางอินเทอร์เนต โดยปรับการจัดการ แปลงการผลิตให้เป็นระบบและให้มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งการปลูกพืช ทำ นา และการเลี้ยง สัตว์ หลังจากเริ่มมีรายได้จากการปลูกพืช และทำ นาในระบบเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่องก็ทำ ให้ ครอบครัวยอมรับ การจัดการฟาร์มของเกียรติพงศ์ แยกเป็น 3 แปลงหลัก ได้แก่ แปลงทำ นา 3 ไร่ (พันธุ์ข้าว ดอสายัญ 2 ไร่ และพันธุ์ข้าวหอมอุบล 1 ไร่), แปลงลำ ไย 3 ไร่ (150 ต้น), และแปลงปลูกพืชผัก 1.2 ไร่ หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 39


40 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งหมด 7.2 ไร่ ส่วนการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ สุกรแม่พันธุ์ และไก่พันธุ์ไข่นั้นทำ โรงเรือนไว้ในบริเวณ บ้านเพื่อจะได้สะดวกในการดูแลเรื่องอาหารและน้ำ ให้สัตว์ ซึ่งมีรายละเอียดการจัดการ ดังนี้ การทำ นา เนื่องจากปลูกข้าวสำ หรับการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก จึงเลือกที่จะปลูกพันธุ์พื้นบ้านที่นุ่ม และมีความหอมมากกว่าข้าวที่นิยมของตลาดทั่วไป เช่น ข้าว กข6 หรือ ข้าวหอมมะลิ 105 เนื่องจาก พันธุ์ข้าวดังกล่าวเป็นกลุ่มข้าวที่ผลิตมาเพื่อตอบสนองการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีในปริมาณที่สูง ซึ่งที่ ผ่านมาได้ทดลองปลูกข้าว กข6 ในระบบเกษตรอินทรีย์ พบว่า ในปริมาณผลผลิตน้อยมากและเป็น โรคง่าย พอใกล้ถึงช่วงการเก็บเกี่ยวต้นข้าวก็ล้มง่ายและมักมีสัดส่วนข้าวลีบสูง ซึ่งตรงข้ามกับพันธุ์ ข้าวพื้นบ้าน เช่น ข้าวดอสายัญ ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัดเชียงรายที่ได้นำ มาทดลองปลูกในพื้นที่ พบว่า พันธุ์ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดีในระบบเกษตรอินทรีย์ โดยมีลักษณะลำ ต้นข้าวที่แข็งแรง ทนต่อโรค และให้ปริมาณผลผลิตสูง โดยเฉลี่ยที่ 800 กิโลกรัม/ไร่ เป็นต้น การปลูกผัก เน้นการปลูกตามฤดูเป็นหลักไม่มีพืชเด่นหรือเป็นพืชเชิงเดี่ยว เป็นกลุ่มพืชที่เป็นที่ต้องการ ของตลาด โดยมีหลักคิดในการเลือกพืชสำ หรับปลูกในแปลงคือ ปลูกพืชตามฤดูกาล และปลูกครั้งเดียว แต่สามารถทยอยเก็บผลผลิตได้ต่อเนื่อง เช่น ผักกูด ชะอม ผักหวาน ฯลฯ เป็นต้น ส่วนกลุ่มพืชตัวอย่าง ที่มักปลูกช่วงฤดูฝน ได้แก่ ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบเขียว ผักโขม และพืชเก็บยอด/พืชเถา เช่น ฟักทอง ส่วนฤดูหนาวจะเป็นกลุ่มพืชใบ เช่น สลัด ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี เป็นต้น การปลูกลำ ไย ลำ ไยถือเป็นไม้ผลดั้งเดิมที่ปลูกมาตั้งแต่รุ่นแม่มามากกว่า 10 ปี แต่ไม่ได้มีการดูแลจัดการ เท่าใดนัก เนื่องจากในช่วงนั้นครอบครัวทำ ฟาร์มเลี้ยงไก่ทำ ให้ไม่มีเวลามาจัดการในแปลงลำ ไย และ ด้วยดินในพื้นที่ที่ปลูกลำ ไยนั้นเป็นดินถมจากสระน้ำ ที่เป็นดินชั้นดินดานที่ไม่ค่อยมีธาตุอาหารให้กับ พืชจึงทำ ให้ผลผลิตลำ ไยในช่วงนั้นไม่ค่อยมีมากที่บางปีแทบไม่ให้ผลผลิต แต่หลังจากที่เกียรติพงศ์ กลับมาช่วยงานของครอบครัวได้ปรับระบบการผลิตจากที่ไม่ได้มีการจัดการแปลงลำ ไยก็เริ่มเข้ามา ตัดแต่งกิ่ง เติมปุ๋ยหมักให้กับต้นลำ ไย ที่เริ่มทยอยเติมในแต่ละปีจนปัจจุบันเริ่มให้ผลผลิตและรายได้เป็น ที่น่าพอใจ โดยใช้หลักการในการจัดการที่เน้นการผลิตคุณภาพลำ ไยเกรดจัมโบ้ (เกรด AA) มากกว่า เลือกปริมาณผลผลิตจำ นวนมากแต่ลูกเล็ก “การจัดการแปลงลำ�ไยจะปล่อยให้โตแบบธรรมชาติโดยที่ไม่ได้มีสาร เร่งหรือฮอร์โมนใดในการช่วยเร่งการติดดอกออกผล ลำ�ไยในพื้นที่เริ่มออกดอก ประมาณมกราคม ตอนเก็บช่วงปลูกข้าวกลางเดือนสิงหาคม ถ้าเริ่มเก็บก็ก่อนสิงหา 40 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 41 แล้วประมาณต้นเดือนสิงหาคมหรือตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมาที่เริ่มออก กลางสิงหาถือว่าเป็นช่วงพีคของลำ�ไยที่ลูกใหญ่สุด อร่อยที่สุด ถ้าเลยกลางเดือน สิงหาไปก็เริ่มออกหัว” การเลี้ยงหมู-ไก่หลุม การเลี้ยงหมู-ไก่หลุมมีเป้าหมายหลักของการเลี้ยงคือให้สัตว์เป็นพนักงานหมักปุ๋ยให้กับ แปลงการผลิต โดยเศษวัสดุ/ส่วนผสมที่ใส่ลงไปในหลุมนั้นสุดท้ายกลายมาเป็นปุ๋ยหมักที่ใช้ในการ ปลูกผัก/ผลไม้ เพื่อลดต้นทุนเรื่องปัจจัยการผลิตที่ไม่ต้องซื้อจากนอกฟาร์ม และเป็นอีกช่องทางใน การสร้างรายได้เสริมจากการจำ หน่ายปุ๋ยหมูหลุมให้กับคนในชุมชนที่สนใจลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี ทางการเกษตรลง “การจัดการโรงเรือน : แนวคิดคือให้สัตว์เป็นพนักงานหมักปุ๋ยให้เรา สิ่งที่เราใส่ไปในหลุมคือสิ่งที่เราต้องการให้กลับมาปุ๋ยให้กับแปลงการผลิตเรา” 2.3.2 หลักในการพิจารณาการวางผังไร่นา และแผนการผลิต ด้วยหลักการจัดการฟาร์มที่เน้นความหลากหลายของผลผลิตทั้งการทำ นา ปลูกพืช/ไม้ผล และ การเลี้ยงสัตว์ทำ ให้ต้องมีการวางแผนด้านการผลิตที่สอดคล้องในแง่การจัดการตลอดทั้งปี และเอื้อให้ มีอาหารบริโภคในครัวเรือนควบคู่กับการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง การทำ นา ก่อนเลือกพันธุ์ปลูกข้าวในแต่ละรอบการผลิต จะมีแปลงทดสอบสายพันธุ์ข้าวที่แลกเปลี่ยนมา จากเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในแต่ละภาค โดยนำ มาทดสอบสายพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่องประมาณ 13-14 สายพันธุ์ แล้วคัดเลือกพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เพื่อนำ มาขยายพันธุ์เพื่อทดลอง ปลูกในรอบถัดไป พร้อมกับรายงานผลให้กับเครือข่ายฯ รับทราบเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล พันธุกรรมข้าวพื้นถิ่นภายในเครือข่ายผ่านการทดลองปลูกร่วมกัน สำ หรับการเตรียมแปลงนั้นมีการจัดการเช่นเดียวกับนาดำ ทั่วไป คือ เริ่มจากการไถ 1 ครั้ง และคราด 1 ครั้ง จากนั้นเอาน้ำ ในนาออกคล้ายกับการเตรียมนาหว่าน เพราะการทำ นาโยนไม่ต้องการ หมายเหตุ : สัญลักษณ ชวงเวลาปลูก/เลี้ยง ชวงเวลาเก็บเกี่ยว


42 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม น้ำ มากเพื่อที่เวลาโยนกล้าข้าวแล้วกล้าข้าวจะอยู่หน้าดินที่ต้องรอให้รากยืดลงไปสัมผัสกับหน้าดิน 1 คืน หากต้นกล้าตั้งต้นได้ก็จะทยอยเอาน้ำ เข้านา โดยพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกในรอบการผลิตมี 2 สายพันธุ์ที่ เป็นข้าวอายุสั้นประมาณ 110-120 วัน ได้แก่ ข้าวดอสายัญ และข้าวหอมอุบล เหตุที่เลือกพันธุ์ดังกล่าว เนื่องจากข้าวมีความนุ่ม หอม ทนต่อโรค ลำ ต้นแข็งแรง ให้ปริมาณข้าวมาก และสามารถเก็บพันธุ์ไว้ ปลูกในรอบการผลิตถัดไปได้โดยที่ยังคงลักษณะพันธุ์ที่ดี/ไม่กลายพันธุ์ สำ หรับรูปแบบการปลูกข้าว ของเกียรติพงศ์นั้นเลือกการปลูกแบบนาโยน ซึ่งเป็นรูปแบบการปลูกที่ประหยัดเวลา ลดต้นทุนในการ ผลิตด้านแรงงาน และประหยัดเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เพียง 7 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีเทคนิคการเพาะกล้า ดังนี้ • ดินสำ หรับการเพาะกล้านั้นควรเป็นดินดีที่ผ่านการร่อน ไม่ควรปั่นดินให้ละเอียดเพราะจะ ทำ ให้ดินแน่นทำ ให้กดทับน้ำ ไม่ระบาย • ใช้อัตราส่วนดินที่ผ่านการร่อน 11 กิโลกรัม ต่อ พันธุ์ข้าว 1 กก. มาคลุกให้เข้ากันจากนั้นเอา ไปเทลงในถาดเพาะ โดยอัตราส่วนดังกล่าวจะได้ถาดเพาะข้าวประมาณ 7-8 ถาด ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ ดีจะได้กล้าข้าวประมาณ 3-7 เมล็ด/หลุม • หลังจากเพาะกล้า 15 วัน สามารถนำ ไปโยนกล้าได้ สำ หรับการจัดการเรื่องโรคและแมลงในการทำ นานั้น จากประสบการณ์การทำ นาที่ผ่านมา พบว่ามีปัญหาเรื่องโรคและแมลงน้อยมาก เพราะพันธุ์ข้าวที่เลือกไปปลูกในนานั้นเป็นพันธุ์ข้าวที่ผ่าน การทดลองปลูกในแปลงทดลอง โดยมีลักษณะพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ ลักษณะลำ ต้นแข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง ส่วนเรื่องการจัดการวัชพืชนั้นจะสัมพันธ์กับการโยนกล้า คือ ช่วงที่โยนกล้านั้นจะ ทยอยปลูกอาทิตย์ละ 2 งาน เพื่อให้ทันต่อการจัดการหญ้าที่ไม่มากเกินไป ซึ่งการจัดการหญ้าที่ผ่านมา จะเป็นการใช้มือถอนควบคู่กับการใช้เครื่องตัดหญ้า และด้วยสภาพดินในนาข้าวนั้นเป็นดินที่ดีอยู่แล้ว ทำ ให้การดูแลรักษาที่ผ่านมาจะเป็นการจัดการเรื่องวัชพืชเป็นหลัก สำ หรับการเก็บเกี่ยวข้าวที่ผ่านมา จะใช้เครื่องตัดหญ้าที่ดัดแปลงสำ หรับตัดข้าวควบคู่กับการใช้เคียว ด้วยการใช้เครื่องทุ่นแรงในการเก็บ เกี่ยวทำ ให้ไม่ต้องจ้างแรงงานเสริม ส่วนการตีข้าวนั้นใช้เครื่องนวดข้าวที่สามารถย่นเวลาได้มากและทุ่น แรงงานในการจัดการเทียบเท่าแรงงาน 10 คน โดยการใช้เครื่องนวดดังกล่าวทำ ให้ได้ฟางข้าวไว้ใช้และ ลดต้นทุนในการจ้างแรงงาน เพราะที่ผ่านมาทำ ได้ด้วยตนเองเป็นหลักไม่ได้จ้างแรงงานในฟาร์ม การปลูกผัก “การจัดการแปลงผักจะเน้นการปลูกตามฤดูเป็นหลักไม่มีพืชเด่นหรือ เชิงเดี่ยวเหมือนตอนเริ่มต้นแปลงใหม่ๆ แต่ผักกูดนั้นยกเว้นเพราะปลูกเป็นฐานใน พื้นที่เพราะออกให้ผลผลิตตลอดทั้งปี/ทุกฤดูกาล ผักที่ปลูกบ้างช่วงฤดูฝนที่แปลง เช่น หอมแดง ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบเขียว ผักโขมเมืองที่ออกเอง รวมถึงพืชเก็บยอด


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 43 พืชเถา พืชเครือ เช่น ฟักทอง ชะอม อันที่ง่ายที่ไม่ต้องไปดูเพราะต้องทำ�นา เสริม ด้วยไก่ไข่ และเลี้ยงหมูแม่พันธุ์” พันธุ์ผักที่ใช้ในแปลงการผลิตนั้นเป็นเมล็ดพันธุ์ที่เก็บได้เอง 30% อีก 70% จากการแลกเปลี่ยน และซื้อเมล็ดพันธุ์จากเพื่อนสมาชิก/เครือข่าย/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ร้านค้า นอกจากนี้เกียรติพงศ์ มีการผลิตจุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือเชื้อราขาวเพื่อให้ในการจัดการแปลงผลิต ด้วยจุลินทรีย์ท้องถิ่น มีประโยชน์ ดังนี้ - ช่วยย่อยสลายเร็ว (ปุ๋ยหมัก) - ปรับ pH ของดินหรือปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน - ทำ ให้ดินโปร่ง มีช่องว่างในดินเพิ่มออกซิเจน เพื่อเอื้อต่อการทำ งานของจุลินทรีย์ให้มี ประสิทธิภาพ - ทำ ให้พืชต้านทานโรค (เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส) - เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต - พัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นหัวเชื้อกำ จัดขยะ กำ จัดกลิ่นเหม็น กำ จัดมลภาวะ สำ หรับการเพาะกล้าผักที่ผ่านมาแยกเพาะ 2 ส่วน คือ เพาะในถาดเพาะกล้า และหยอด เมล็ดตรงในแปลงการผลิต โดยในส่วนของการเตรียมดินสำ หรับเพาะกล้าในถาดมีเทคนิคการเพาะ โดยใช้อัตราส่วนดินดำและปุ๋ยหมูหลุมอย่างละ 1 ส่วนมาผสมเข้ากันจากนั้นเทลงในถาดเพาะกล้าเพื่อ เตรียมหยอดเมล็ดผัก ส่วนการย้ายต้นกล้าลงแปลงการผลิตนั้นไม่ต้องเพิ่มหรือเติมธาตุอาหารให้กับ ดินเนื่องจากที่ผ่านมามีการหมุนเวียนการปลูกพืชในแปลงการผลิตตลอดไม่ปลูกซ้ำ บริเวณเดิมทำ ให้ สภาพดินยังคงมีธาตุอาหารที่เพียงพอในการปลูกพืชแต่ละรอบการผลิต สำ หรับการปลูกผักถุงนั้นมี สูตรผสมดินปลูกที่มีส่วนผสม ดังนี้ 1) นำ ขุยมะพร้าว 2 ส่วน แกลบเผา 1 ส่วน และปุ๋ยหมูหลุม 1 ส่วน นำ มาร่อนเพื่อแยกกาก/เศษวัสดุเจือปนที่มีขนาดใหญ่ออก และ 2) นำส่วนผสมที่ร่อนแล้วนำ มาคลุก ให้เข้ากันเพื่อเตรียมใส่ในถุงเพาะกล้าเพื่อเตรียมหยอดเมล็ด ตัวอย่างแผนการผลิตผัก


44 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ในการจัดการแหล่งน้ำ ในการจัดการแปลงการผลิตมี 2 แห่ง แห่งแรกคือสระน้ำ สาธารณะ ของชุมชนโดยใช้เครื่องสูบน้ำ ผ่านระบบการวางท่อน้ำ เพื่อต่อตรงมาใช้ในแปลงการผลิตที่ส่วนใหญ่ จะเป็นการสูบน้ำ เข้าร่องแปลงผักที่ต้องการความชื้นสูง แหล่งน้ำ แห่งที่สองคือน้ำ ประปาของหมู่บ้าน เพื่อนำ มารดน้ำ ผักผ่านระบบน้ำ หยด เนื่องจากแหล่งน้ำ ดังกล่าวช่วยลดการอุดตันของหัวน้ำ หยด ได้มากกว่าแหล่งน้ำอื่น โดยเกียรติพงศ์มีการจัดการน้ำ ในแปลงปลูกผักนั้นมี 3 ระบบ คือ 1) ระบบ โดยหน้าฝนจะม้วนเก็บไว้ 2) ระบบสปริงเกอร์ที่จะเปิดใช้เฉพาะพืชบางชนิด เช่น ผักกูดที่ต้องการ ความชื้นในการเจริญเติบโตมากกว่าพืชชนิดอื่น 3) ระบบการสูบน้ำ จากสระน้ำ หมู่บ้านเข้ามาใส่ ร่องผักคล้ายกับการเอาน้ำ เข้าในนาที่กั้นน้ำ เป็นช่องที่ส่วนมากสูบมาใช้ในแปลงที่ปลูกผักกูดที่สลับ การให้น้ำ ผ่านระบบสปริงเกอร์ กรณีระบบน้ำ หยดในแปลงปลูกผักนั้นจะใช้น้ำ ประปาเป็นหลักเพราะ เลี่ยงการอุดตันในหัวน้ำ หยดที่มักมาจากการปนเปื้อนในน้ำ หากเทียบการประหยัดน้ำ ทั้ง 3 ระบบนี้ พบว่าระบบน้ำ หยดประหยัดในการให้น้ำ ได้มาก โดยแผนการจัดการแปลงผักในระยะถัดไปจะขยาย พื้นที่น้ำ หยดเป็นหลัก ในส่วนปัญหาเรื่องศัตรูพืชและโรคไม่ค่อยพบมากนักเนื่องจากเลือกที่จะปลูกพืชผักตาม ฤดูกาล ส่วนการจัดการวัชพืชนั้นมีการควบคุมการเกิดหญ้าจากการคลุมแปลงด้วยฟาง บางส่วนคลุม ด้วยพลาสติก ควบคู่กับการใช้เครื่องตัดหญ้าที่ทยอยตัดในช่วงฤดูฝน เฉลี่ย 1-2 ครั้ง/ปี เกียรติพงศ์ จะวางแผนการเก็บ/ตัดผักจะสัมพันธ์กับรอบการจำ หน่ายผลผลิตในแต่ละครั้ง เช่น หากจำ หน่ายใน ตลาดชุมชนก็จะเตรียมตัดผักที่ซ้ำ ได้ง่ายในช่วงเช้า หากกลุ่มพืชที่ไม่ซ้ำ ง่ายก็จะทยอยตัดในช่วงเย็น เพื่อย่นเวลาในการตัดผักและมัดผักไปขายในตลาด โดยกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวผักสามารถ แยกได้เป็น 2 ระบบคือ ระบบแรกนั้นไม่ต้องมีการจัดการทำ ความสะอาดหรือตัดแต่งพืชผักโดย ขายให้กับพ่อค้ารับซื้อโดยตรง เช่น การรับซื้อตะไคร้ของพ่อค้าที่มักจะซื้อยกกอเพื่อนำ ไปตัดแต่ง ทำ ความสะอาดเอง ส่วนระบบที่สองนั้นจะมีการตัดแต่งพืชผักและมัดเป็นกำ หรือชั่งเป็นถุงพร้อมสำ หรับ การขายที่ส่วนใหญ่ขายให้กับคนในชุมชนและกลุ่มเป็นหลัก 44 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 45 การปลูกลำ ไย การปลูกต้นลำ ไยนั้นมีอยู่เดิมในพื้นที่ตั้งแต่รุ่นแม่ที่ปลูกมานานมากกว่า 10 ปี ในการ จัดการปลูกในช่วงนั้นไม่ได้มีการรองปุ๋ยก้นหลุมโดยจะเว้นระยะห่างของต้นลำ ไยประมาณ 4 เมตร (กว้าง) x 5 เมตร (ยาว) ด้วยการจัดการนี้ทำ ให้ในช่วงนั้นไม่ค่อยได้ผลผลิตมากเนื่องจาก ไม่ได้มีการตัดแต่งกิ่งทำ ให้ทรงพุ่มชิดกันมากที่เป็นเหตุให้โรคและแมลงมารบกวน หลังจากที่ เกียรติพงศ์ได้กลับมาช่วยครอบครัวทำ การเกษตรก็ได้ให้เข้าไปจัดการแปลงลำ ไยมากขึ้นโดยเริ่ม ต้นจากการนำ ความรู้ที่ได้ไปอบรมเรื่องการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงายที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มาปรับใช้ที่ แปลงการผลิตควบคู่กับการทยอยเติมปุ๋ยหมูหลุมให้กับต้นลำ ไยจึงทำ ให้ในระยะหลังเริ่มมีรายได้จาก การจำ หน่ายลำ ไยเพิ่มขึ้น หลังจากนำ องค์ความรู้เรื่องการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงายมาปรับใช้ในแปลง ลำ ไย พบว่า ปัญหาเรื่องโรคและแมลงลดลงมาก เพราะการตัดแต่งกิ่งลำ ไยทรงฝาชีหงายเป็นทรงที่ ลำ ต้นลำ ไยโปร่งมากขึ้นในการเอื้อให้มีช่องถ่ายเทอากาศได้ดี โดยทำ ควบคู่กับการทยอยเติมปุ๋ยหมู หลุมหลังการตัดแต่งกิ่ง (เฉลี่ย 1 กระสอบ/ต้น/ปี) ซึ่งพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจเพราะการตัดแต่งกิ่ง ลำ ไยด้วยวิธีการดังกล่าวทำ ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดสามารถส่องเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วย ลดการระบาดของโรคและแมลง รวมถึงช่วยลดต้นทุนไม้ค้ำ ต้นลำ ไยที่ไม่ต้องใช้ในแปลงการผลิตเพราะ เน้นการผลิตแบบคุณภาพที่ให้ผลผลิตน้อยแต่ผลใหญ่ (เกรด AA) และปัจจุบันไม่ต้องจ้างแรงงานปีน ขึ้นไปเก็บลำ ไยหรือใช้บันไดเก็บลำ ไยแล้วเพราะต้นลำ ไยเป็นทรงพุ่มเตี้ยจากผลของการตัดแต่งกิ่งที่ ทำ ให้คนในครอบครัวสามารถไปช่วยเก็บได้ง่ายขึ้น ส่วนเรื่องการจัดการหญ้าในแปลงนั้นใช้เครื่องตัดหญ้าเป็นหลักโดยเฉลี่ยตัด 1-2 ครั้ง/ปี พันธุ์ลำ ไยที่ปลูกอยู่ในปัจจุบันเป็นพันธุ์อีดอซึ่งถือเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในพื้นที่เนื่องจากมีการเจริญ เติบโตได้ดีในพื้นที่ และเป็นพันธุ์ที่นิยมในตลาดในการนำ มาแปรรูปเป็นลำ ไยอบแห้ง สำ หรับระบบ น้ำ ในแปลงที่ปลูกลำ ไยนั้นพึ่งน้ำ ฝนเป็นหลักเช่นเดียวกับแปลงส่วนใหญ่ของคนในพื้นที่ที่แม้ว่าบาง แปลงใกล้แหล่งน้ำ ก็ตาม มีเพียงการตัดแต่งกิ่งและเติมปุ๋ยให้บางครั้งต้นลำ ไยก็สามารถเจริญเติบโต ได้ดีและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เนื่องจากเวลานำ ไปแปรรูปเป็นลำ ไยอบแห้งแล้วมีสัดส่วนของเนื้อลำ ไย มากกว่าลำ ไยจากพื้นที่อื่น การเลี้ยงหมูหลุมและไก่หลุม ในการสร้างโรงเรือนนั้นควรเลือกที่ตั้งให้แสงแดดส่องเข้าถึงทั้งเช้าและบ่าย สร้างบนพื้นที่ดอน หรือลุ่มก็ได้แต่อย่าให้น้ำ ท่วมขัง โรงเรือนที่เลี้ยงไก่และหมูปัจจุบันมีขนาดคอกขนาดกว้าง 2 เมตร x ยาว 4 เมตร x ลึก 60 เซนติเมตร โดยใช้วัสดุรองก้นหลุม (พงษ์พันธ์, 2555) ดังนี้ ชั้นด้านล่าง (ลึก 45 เซนติเมตร) : เศษวัสดุแห้งทางการเกษตร ใบไม้แห้ง ฟางสับ เศษที่เหลือ จากเพาะเห็ด หญ้า หรือ ขยะที่ย่อยสลายได้ ขี้เลื่อย ฯลฯ **เหยียบส่วนผสมชั้นแรกให้แน่น


46 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ชั้นด้านบน (ลึก 15 เซนติเมตร): ดินแดง 2 กระสอบ ถ่านละเอียด 2 กระสอบ เกลือทะเล 2.5 กิโลกรัม มูลสัตว์แห้ง 2 กระสอบ หัวเชื้อราขาว 1 กระสอบ ราดด้วยน้ำ หมักจุลินทรีย์ 7 ชนิดๆ ละ 2 ช้อน และน้ำ ตาลทรายแดง 2 ช้อนที่ผสมกับน้ำ 10 ลิตร โดยราดพื้นให้ชุ่ม สำ หรับพันธุ์ไก่ที่เลี้ยงปัจจุบันเป็นไก่สาวพร้อมไข่พันธุ์โร๊ดโอร์แลนด์แดง 20 ตัว ปัจจุบันไก่ เริ่มให้ไข่เฉลี่ยที่ 16-17 ฟอง/วัน ส่วนพันธุ์สุกรที่เลี้ยงปัจจุบันเป็นพันธุ์สุกรพื้นเมืองที่ได้มีการปรับปรุง พันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะโครงสร้างสุกรที่ดี ที่ทยอยเลี้ยงครั้งละ 1 ตัว จนกว่าจะปลดระวาง โดยการเลี้ยง ไก่และหมูของเกียรติพงศ์นั้น มีสูตรการผสมอาหารให้สัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ดังต่อไปนี้ - สูตรอาหารไก่ : เป็นสูตรอาหารข้นที่ผสมอาหารไก่สำ เร็จรูปและรำ หยาบเข้าด้วยกัน ใน อัตราส่วน 1:1 โดยให้ไก่ 2 ครั้ง/วัน (เช้าและเย็น) ครั้งละ 4 กิโลกรัม - สูตรอาหารให้สุกรแม่พันธุ์ : สูตรอาหารให้สุกรแม่พันธุ์นั้น ประกอบด้วย อาหารหยาบ และอาหารข้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ สูตรการทำ อาหารหยาบ 1) วัสดุที่ใช้ - ต้นกล้วย หรือ ผักสด เช่น ต้นกล้วย หรือผักสด (ผักตบชวา ต้นบอน /ตูน เผือก ฯลฯ) 50 กิโลกรัม - น้ำ ตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม - เกลือเม็ด/เกลือทะเล 0.5 กิโลกรัม 2) วิธีการทำ - หั่นต้นกล้วยหรือผักสดที่เตรียมไว้เป็นชิ้นเล็กๆ - ในกรณีใช้ถังพลาสติกที่ปริมาตร 30 แกลลอน (ในการหมัก 50 กิโลกรัม) ให้แบ่งถัง ออกเป็น 4 ชั้น โดยเรียงจากชั้นล่างขึ้นชั้นบน ดังนี้ • ชั้นที่ 1 : เทใส่ต้นกล้วยหรือผัก 12.5 กิโลกรัม พร้อมกับขึ้นเหยียบให้แน่น จากนั้นโรย เกลือ 1 กำ มือ และน้ำ ตาล 0.5 กิโลกรัม ให้ทั่ว • ชั้นที่ 2 : ทำ เช่นเดียวกับชั้นที่ 1 • ชั้นที่ 3 : ทำ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 • ชั้นที่ 4 : ทำ เช่นเดียวกับชั้นที่ 3 - จากนั้นให้ปิดฝาให้สนิท (ห้ามเปิดจนกว่าจะครบกำ หนด) - พักทิ้งไว้ 4-5 วัน สามารถนำ ไปเป็นอาหารให้กับสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องกินได้ เช่น ม้า วัว ควาย ฯลฯ - พักทิ้งไว้ 8-12 วัน นำ ไปเป็นอาหารให้กับสัตว์ที่กินสัตว์ได้


หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 47 สูตรอาหารข้น 1) วัสดุที่ใช้ - แกลบกลาง/รำ หยาบ 30 กิโลกรัม - ดินแดง 8 กิโลกรัม - มูลสัตว์แห้ง หรือขี้วัว 8 กิโลกรัม - กระดูกป่น/เปลือกไข่ป่นหรือเปลือกหอยป่น 1.5 กิโลกรัม - กากถั่วเหลืองป่นหรือใบกระถินหรือกากถั่วงอก 5 กิโลกรัม - ปลาป่นหรือขี้ปลาป่นหรือเนื้อหอยป่น 1.5 กิโลกรัม - ข้าวโพดป่นหรือปลายข้าวหรือมันต่างๆ ป่น 13 กิโลกรัม - สูตรอาหารหมัก 50 กิโลกรัม 2) วิธีการทำ - ผสมอาหารแห้ง คลุกเคล้าให้เข้ากัน - นำอาหารหยาบที่หมักไว้มาเทไว้บนกอง จากนั้นราดด้วยน้ำ หมักจุลินทรีย์ 7 ชนิดๆ ละ 2 ช้อน ที่ผสมน้ำ 10 ลิตร ราดบนกองพร้อมกับผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นนำ ไปให้สัตว์กินได้ 3) วิธีการเก็บ - กองไว้บนดินทำ เป็นภูเขาปลายแหลมพร้อมกับคลุมด้วยผ้าที่มีรู/ช่องอากาศถ่ายเท - ใส่ถุงปุ๋ยหรือถุงอาหารสัตว์ที่มีอากาศผ่านได้ - ควรเก็บไว้ในที่ร่ม 4) การให้อาหารสัตว์ (สูตรอาหารหยาบผสมกับอาหารข้น) - ใช้อาหารหยาบหรืออาหารหมักจากต้นกล้วยหรือพืชผัก 1 ส่วน ผสมกับอาหารข้น 1 ส่วน จากนั้นราดด้วยน้ำ จุลินทรีย์ 7 ชนิดๆ ละ 2 ช้อนต่อน้ำ 10 ลิตร โดยคลุกเคล้าให้เข้ากัน จาก นั้นนำ ไปให้สัตว์กิน - วิธีการเก็บอาหารที่ผสมแล้ว • ในกรณีผสมอาหารบนดิน : ให้กองบนพื้นดินเป็นรูปภูเขาปลายแหลมจากนั้นใช้ผ้าหรือ ถุงอาหารสัตว์ที่อากาศผ่านได้คลุมให้ทั่วกอง • ในกรณีผสมบนพื้นซีเมนต์ให้ใส่ถุงที่มีอากาศผ่านได้ โดยให้ตั้งไว้ในที่ร่มบนดิน


48 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 5) การจัดการน้ำ ให้สัตว์ • ผสมน้ำ หมักจุลินทรีย์ 7 ชนิดๆ ละ 2 ช้อน ต่อ น้ำ 10 ลิตรให้สัตว์กิน • ในกรณีที่สัตว์อุ้มท้อง ควรงดให้น้ำ จุลินทรีย์แคลเซียมก่อนคลอด 2 อาทิตย์ • หมั่นตรวจดู อย่าให้น้ำสกปรก และอย่าให้ขาดน้ำ • หากมีการล้างภาชนะที่ให้สัตว์กิน ควรเอาน้ำสาดลงบนพื้นคอก จะทำ ให้จุลินทรีย์ลง ไปช่วยระงับกลิ่นในคอกได้ • หมายเหตุ: พื้นคอกควรโรยด้วยหัวเชื้อราขาวแล้วพ่นด้วยจุลินทรีย์ 7 ชนิดๆ 2 ช้อน ผสมกับน้ำ ตาลทรายแดง 2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง 6) การดูแลรักษา การดูแลรักษาในการเลี้ยงไก่และสุกรแม่พันธุ์ส่วนใหญ่จะเป็นการตักปุ๋ยไก่-หมูหลุมทุกเดือน เพื่อนำ มาใช้ในแปลงการผลิตและแบ่งจำ หน่ายบางส่วน การจัดการน้ำ ในฟาร์ม ในการจัดการฟาร์มมี 3 ระบบ ดังนี้ 1) ระบบน้ำ หยดใช้เฉพาะช่วงฤดูแล้ง โดยแหล่งน้ำสำ หรับระบบนี้จะใช้ระบบน้ำ ประปาเพื่อ ป้องกันการอุดตันของรูน้ำ หยด 2) ระบบสปริงเกอร์ที่เอาไว้เฉพาะบางพืชสลับกับการใช้ระบบน้ำ หยด โดยจะเปิดใช้ในกรณี ที่ระบบน้ำ หยดมีปัญหาจากการอุดตันหลังจากใช้งานมานาน 3) ระบบปล่อยน้ำ ตามร่องแปลง โดยปั๊มน้ำ จากแหล่งน้ำ สาธารณะมาใส่ในร่องแปลงการ ผลิตโดยตรง คล้ายกับการเติมน้ำ เข้านาข้าวที่ทยอยดันน้ำ เข้าเป็นรายแปลง ซึ่งความถี่ในการให้น้ำ ใน ระบบนี้ขึ้นกับความต้องการน้ำ ของพืชนั้นๆ ซึ่งระบบนี้เหมาะสมกับการจัดการน้ำ ในแปลงผักกูดเพราะ เป็นพืชที่ต้องการสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นในการเจริญเติบโต 2.3.3 ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม เกียรติพงศ์เริ่มต้นจากการเลี้ยงหมูหลุมโดยเลี้ยงไว้บริเวณบ้าน เพื่อจะได้ปุ๋ยสำ หรับการ ปลูกพืชเพื่อลดต้นทุนการผลิต และสร้างวงจรการหมุนเวียนปัจจัยการผลิตในฟาร์ม จากนั้นวางแผน การติดตั้งระบบการให้น้ำ ในฟาร์มเนื่องจากพื้นที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ ในช่วงฤดูแล้ง โดยเลือกเป็น ระบบน้ำ หยดซึ่งเดิมใช้ระบบสปริงเกอร์ซึ่งมีปัญหาน้ำ กระจายมากเกินไปและช่วงฤดูแล้งน้ำ ไม่ค่อย ไหล หากแรงดันน้ำ ไม่มากสปริงเกอร์ก็จะไม่หมุน ถ้าใช้น้ำ รดน้ำ มากก็จะดึงน้ำ ใช้มากเกินจำ เป็น หลังจากปรับระบบเป็นระบบน้ำ หยดทำ ให้การจัดการผลผลิตในฟาร์มได้หลากหลาย และแม้ว่าแรงดัน


Click to View FlipBook Version