หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 99 2.4.3 การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ “ป่าสร้างใหม่ สวนครัวสุขภาพ” แห่งนี้ ได้ใช้หลักการบริการทางนิเวศมาออกแบบระบบ เกษตรกรรมในพื้นที่ โดยเฉพาะการทำ แนวกันลม โดยการดูทิศทางของลม และสามารถลดการใช้ ปัจจัยการผลิต และนำ มาซึ่งการพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด โดยมีการคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดิน จากใบไม้ที่ร่วงหล่นโดยธรรมชาติของป่าสร้างใหม่ และผ่านการปรับปรุงบำ รุงดิน โดยการจัดการเติม อินทรียวัตถุและรักษาชีววิทยาของดิน เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช (Soil health) การ รักษาและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ์และพันธุกรรมทั้งพืชและสัตว์ (Biodiversity) ซึ่งได้สร้างความหลากหลายของรายได้จากการจัดการฟาร์ม เพื่อให้เกษตรกรมีอิสระและโอกาสในการ เพิ่มมูลค่าของผลผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ (Economics diversification) 2.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 2.5.1 ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อดิพงษ์ กล่าวว่า ป่าสร้างใหม่ ก็คือการเกื้อกูลธรรมชาติในพื้นที่ เป็นการที่เราเข้าไปเรียน รู้ธรรมชาติ สิ่งที่ได้จากป่า นอกจากเป็นการช่วยลดอุณหภูมิในพื้นที่แล้ว วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ใบไม้ที่ร่วงหล่น นอกจากเป็นอาหารของสัตว์ที่มาช่วยย่อยสลาย เช่น ไส้เดือน ปลวก ทำ ให้ดินมีความ อุดมสมบูรณ์ สร้างการหมุนเวียนของสสารในพื้นที่ ใบไม้ที่เหลือยังนำ มาเป็นส่วนประกอบของการทำ ปุ๋ยชีวภาพได้อีกทอดหนึ่ง สร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมา เช่น ใบลิ้นจี่ ที่ร่วงเยอะประมาณปีละ 2 ครั้ง และใบ มะม่วง จะเป็นใบไม้หลักที่เป็นวัตถุดิบทำ ปุ๋ย ส่วนใบไม้สักร่วงปีละครั้ง และใบไม้สักมันจะย่อยยากกว่า อย่างอื่นเพราะพวกปลวกมันไม่กิน ไม้ตะเคียน ยางนา ก็ย่อยสลายยาก จะปล่อยให้ย่อยสลายเอง ให้ เป็นพื้นที่เห็ด “ตรงนี้ที่ได้เพิ่มมาก็คือวัตถุดิบที่มาจากใบไม้ที่มันร่วงลงมาทำ�ให้ดินดีขึ้น เพราะว่าระบบย่อยสลายก็มีไส้เดือน ปลวก มาย่อยสลายให้ เมื่อระบบนิเวศดีขึ้น เดี๋ยว นี้จึงแทบไม่ได้ใส่ปุ๋ยอะไรเลย มีเพียงการให้ปุ๋ยชีวภาพทางใบคือน้ำ�หมักที่ทำ�ขึ้นมา เอง ผลพ่วงมาก็คือมีเห็ด มีมดแดงเข้ามาอยู่ ที่ว่าผักอยู่กับต้นไม้ บ้านเราเขาบอกว่า มัน “หงำ�” ที่จริงไม่ใช่ มันเกื้อกูลกัน แดดร้อนมาก ถ้าอยู่เดี่ยวๆ อย่างนี้มันก็ไม่ไหว เหมือนกัน มันต้องมีอะไรมาพรางแสง แม้แต่ที่เราลองทำ�ขึ้นมาก็คือแสลน ถ้ามีต้นไม้
100 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม มันก็มีช่วงเวลาที่รับแสงแดด ไม่ใช่ว่ารับ 100% อย่างตอนเช้ามันก็มีต้นไม้พรางแสง ให้มัน คือ พวกผักนี้ส่วนมากมันจะชอบแดดตอนเช้า กับช่วงบ่ายสาม บ่ายสี่” - อดิ พงษ์ บุตสุริย์ 34 อดิพงษ์ กล่าวต่อว่า จากการสังเกตพืชผักที่ปลูกในแปลง พบว่า ถ้าตอนกลางวันพวก ผักแทบไม่ชอบเลย คือ สังเกตได้จากการที่ผักเหี่ยว และรับแสงแดดมากเกินกว่าที่ผักจะรับมา ปรุงคลอโรฟีลได้ ตนจึงใช้การพรางแสงให้ต้นพืช โดยการปลูกพืชไม้ผลบางชนิด เช่น ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว นอกจากนี้ ความเชื่อมโยงของป่าสร้างใหม่กับสวนในการรับมือกับภาวะโลกร้อน อดิพงษ์ บุตสุริย์ กล่าวว่า เวลาลมพัดมา ต้นไม้รับไปก่อนที่จะมาถึงผักเรา ทำ ให้ลมเบาลง เป็นพื้นที่ รับลมฝนจากภูเขา เป็นพื้นที่ต้นลม ลมแรง ก็มีต้นไม้ที่เป็นแนวกันชนรับลมไปก่อน ช่วยลดอุณภูมิ ในสวนด้วย เพราะมีร่มเงา ไม่ได้รับแดดเต็มๆ และ [ป่า] ยังช่วยเติมออกซิเจนในพื้นที่ ทั้งนี้ ต้นไม้ ที่ปลูกเป็นแนวกันลมสามารถรับมือกับแรงลมได้เมื่อต้นสูงมีอายุได้ประมาณ 5 ปี ทั้งนี้พื้นที่สวนของ อดิพงษ์ นอกจากปลูกผักแล้ว ยังมีไม้ผลหลากหลายชนิด เช่น มะนาว กระท้อน กล้วย มะพร้าว ฯลฯ ผสมผสานกันในพื้นที่ 2.5.2 ความมั่นคงทางอาหาร : อาหารเพื่อสุขภาพ ป่าสร้างใหม่แห่งนี้ เกิดจากแนวคิดในเรื่องการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวก่อนเป็นอันดับ แรก ไปพร้อมๆ กับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ให้สอดคล้องกับระบบภูมินิเวศของพื้นที่ องค์ประกอบ เหล่านี้นำ มาสู่การสร้างแหล่งอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีการปลูกพืชผักอินทรีย์ นอกจากเพื่อนำ มา วัตถุดิบในการปรุงเป็นอาหารให้กับคนในครอบครัวแล้ว ยังนำ มาทำ เป็นชุดอาหารสุขภาพจำ หน่ายใน ราคาที่เรียกได้ว่าเป็นการเน้นการแบ่งปันความสุข และความปลอดภัยไปยังผู้บริโภค รัตนา กล่าวว่า จากการที่เป็นคนป่วยแล้วหายป่วย ไม่ได้กินยาและไปหาหมอตั้งแต่ปี 2560 ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การแก้ไขโรค NCDs ไม่ว่าจะเป็นโรคความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง อะไรต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ยังแก้ไม่ถูกจุด คนไข้ไม่ต้องไปโรงพยาบาล ถ้าเข้าใจตรงจุดนี้ และสามารถดูแลตัวเองที่บ้านเหมือนตนได้ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการขายความ คิดทำ ให้คนหันมาดูแลสุขภาพ ในขณะเดียวกันตนก็ได้ช่วยระบบสาธารณสุขทั้งประเทศและโลกที่ให้ ลดค่าใช้จ่าย เมื่อตนเองมีสุขภาพดีขึ้น ไม่ได้กินยาและไปหาหมอ หุ่นเฟิร์มขึ้น ผิวดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ก็เริ่มมีคนสนใจถามว่ากินอะไร 34 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 101 “ตอนหลังมาก็จะเริ่มมีคนสนใจ แรกๆ บูมมากเลยนะ จนทำ�ไม่ทัน ก็จัดชุด อาหารไปให้เพื่อนๆ ในโรงพยาบาล คิดในราคาที่อยู่ได้กันหมด และพี่ต่ายมีกำ�ลังใจ ในการผลิต ราคาชุดละ 75 บาท เก็บเงินอาทิตย์ละครั้ง ... ก็เริ่มมีคนป่วยที่เป็นเบา หวาน มาขอคำ�ปรึกษาและมีคนอื่นๆ เริ่มมีคนมาปรึกษาเช่นกัน ... เพราะฉะนั้นการ ทำ�อาหารตรงนี้ เราทำ�เพื่อให้คนที่เขารักตัวเองจริงๆ เราไม่ได้เน้นขาย เน้นว่าเธอลอง มาเรียนรู้ มาดูฉัน ถ้าคุณทำ�แบบนี้คุณจะเป็นแบบนี้นะ แต่ลึกๆ เป้าหมายสูงสุด คือ ได้ช่วยกระทรวงสาธารณสุขให้ลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ แล้วยังได้ช่วยโลกด้วย เราก็พึ่งพา ตัวเองเป็นอิสระจากทุกอย่าง เป็นความสุขมากๆ” - รัตนา บุตสุริย์ 35 ด้านอดิพงษ์ กล่าวว่า พืชอาหารที่ปลูกได้คือความมั่นคงทางอาหารเป็นหลักก่อน เพื่อ ที่คนในครอบครัวจะสามารถพึ่งพาตนเองได้ และสามารถที่จะผลิตเพื่อเสริมรายได้หากต้องการ มากกว่าที่เป็นอยู่ “พืชอาหารที่เหลือในครอบครัวของเรา ก็ไปให้ครอบครัวพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย แทบไม่ได้ซื้อผักกินเลย นอกจากอยากกินในสิ่งที่ไม่มีในสวน เห็ดก็เช่นเดียวกัน ที่ไม่มีในสวนเรา เพราะเห็ดที่เกิดในพื้นที่เราก็กินได้ตลอดปี โดยเราเก็บที่มันเป็นดอก ตูมอัดช่องแข็งไว้ โควิดก็ไม่กลัว ถ้าไม่ออกไปข้างนอกเป็นอาทิตย์ก็อยู่ได้ เพราะช่วง โควิด ก็มีคนมาเอาจากเราไปกิน เราก็เอาไปแขวนไว้ที่บ้านคนอื่น เรื่องความมั่นคง ทางอาหารเราไม่มีปัญหา นอกจากว่าเราต้องการปริมาณอาหารมากกว่านี้เพื่อเสริม รายได้เพิ่มขึ้น”- อดิพงษ์ บุตสุริย์ 36 2.5.3 ด้านเศรษฐกิจ เมื่อถามว่าป่าสร้างใหม่แห่งนี้สร้างความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง อดิพงษ์ ตอบอย่าง ไม่ลังเลว่า สามารถลดรายจ่าย คือ หนึ่ง ค่าไฟ สอง ค่าอาหาร โดยเฉพาะค่าอาหาร สามารถลดราย จ่ายได้ในระดับหลักหมื่น “ถ้าเฉลี่ยต่อปีก็เป็นหมื่นบาทที่เราไม่ได้ซื้อผัก เพราะว่าผักแต่ละฤดูกาลมี ราคาไม่เท่ากัน หน้าฝนแพงลิบหมดทุกอย่าง เช่น ชีหอมก็เริ่มขึ้นแล้ว เมื่อก่อนถ้าเป็น ฤดูที่เขาผลิตได้เยอะก็ 20-30 บาท แต่เดี๋ยวนี้ 120-200 บาท แต่การขายที่บ้านเรา 35 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 36 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอิสาน 101
102 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ตัวเราเป็นผู้กำ�หนดราคาเอง คือ คุณจะขาย 200 ก็ขายไป แต่เราขายแค่ 100 คุณจะ ขาย 30 บาท เราขาย 100 บาท เป็นราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปีที่เราคิดแล้ว ... สลัด เรา ก็มาประหยัดเรื่องเมล็ดพันธุ์ เพราะเราผลิตเพื่อจะเก็บเมล็ดพันธุ์ เก็บไว้ในตู้เย็น ถ้า ใครมาขอเราก็จะให้ไป” – อดิพงษ์ บุตสุริย์ 37 แม้ว่าในความเป็นจริงสัดส่วนที่ได้จากป่ายังถือว่าน้อย โดยการคาดการณ์ของ อดิพงษ์ คิดว่า ในขณะปัจจุบันได้จากป่าเพียง 2% ในเรื่องการเป็นแหล่งอาหารเป็นหลัก เช่น ไข่มดแดง แต่ในอนาคต ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้น อดิพงษ์ กล่าวว่า “เราจะได้ผลประโยชน์ตอนที่มันโตมากกว่า เพราะเราเพิ่งทำ� มันยังไม่โต เห็ดก็เพิ่งจะออก ออกแล้วเราก็ไม่ได้กินด้วยซ้ำ� เพราะเราจะให้มันขยายเชื้อเห็ดก่อน ห่วงโซ่อาหารเราเพิ่งจะเริ่มขึ้น ทั้งนี้ มีแนวคิดว่าจะทำ�เชื้อเห็ดขายในอนาคต กล่าว คือ เชื้อเห็ดที่ขายตามท้องตลาด ขนาดปริมาณ 350 มิลลิลิตร เท่ากับ 120 บาท ซึ่ง เป็นเชื้อเข้มข้น เติมน้ำ�เพิ่มประมาณ 20 ลิตร เพื่อนำ�มารดในพื้นที่ป่าเพื่อเพิ่มเชื้อเห็ด โดยรดเชื้อเห็ดตามพื้นที่แนวกันลม ตกประมาณ 500 บาท” “เป็นการสร้างใหม่ทั้งหมด แม้แต่เห็ดก็สร้างใหม่ ... สามารถนำ�ใบไม้ในป่า มาเป็นส่วนประกอบของการทำ�ปุ๋ยชีวภาพ ไม้แดงก็เอามาทำ�บ้านได้ ส่วนไม้ยางนา ถ้าต้นมันโตพอ เราสามารถเจาะเอาน้ำ�มันมาทำ�เครื่องสำ�อาง ทำ�น้ำ�มันไบโอดีเซล ก็ได้ และเป็นส่วนประกอบเครื่องสำ�อาง มันมีวิธีเจาะ ... คือมีความเป็นไปได้ทาง เศรษฐกิจ ซึ่งต้นไม้แต่ละต้นมีลักษณะที่สำ�คัญ อย่างต้นยางนา เราจะตัดหรือไม่ตัด ก็ได้ เราสามารถหาเงินกับมันได้ คือ เจาะเอาน้ำ�มันเป็นส่วนผสมของเคมีภัณฑ์ หรือ เครื่องสำ�อาง ถ้ามีมากจริงๆ เราก็เจาะเอาไปทำ�น้ำ�มันไบโอดีเซล ตอนนี้ต้นมันยังเล็ก อยู่ ถ้าจะได้จริงๆ ก็ 18 ปี” – อดิพงษ์ บุตสุริย์ 38 การจัดการฟาร์มในระบบการผลิตนี้ไม่ได้เน้นเรื่องเงิน แต่เน้นเรื่องการแบ่งปันคนอื่น เพื่อให้เขามีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ เป็นการดูแล ตนเองจากภายใน “การตลาดแบบพี่ ไม่ได้ซีเรียส ไม่ได้สนใจว่ามันจะได้กำ�ไรเท่านั้นเท่านี้ แต่พี่สนใจว่าวันนี้พี่จะได้ช่วยคนได้กี่คน แค่นั้นเอง และพี่ก็เชื่อว่าวันหนึ่ง ถ้าผู้คน 37 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 38 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 102 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 103 39 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 40 ที่มา: http://www.tambonsamrong.go.th/files/dynamiccontent/file-327679-1677650834865706259.pdf (น.19) รับรู้เรื่องราวนี้ ไม่มีใครไม่รักตัวเอง เขาต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนผ่านไปรักตัวเอง ใคร ช่วยไม่ได้ มันเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก ถ้าพี่ช่วยได้ตรงนี้มันสะเทือนไปทั้ง แผ่นดิน” – รัตนา บุตสุริย์ 39 3. การเลี้ยงวัวในนาข้าว ของนายประสิทธิ์ โคตรโสภา เกษตรกรบ้านเปรียง ต.สำ โรง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 3.1 บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในแต่ละพื้นที่ เกษตรกรในบ้านเปรียง ตำ บลสำ โรง อำ เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยส่วนใหญ่มีอาชีพทำ นา แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) แก้ไขครั้งที่ 1/2566 องค์การบริหารส่วนตำ บล อ.เมือง จ.สุรินทร์ ระบุว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วน ตำ บลส่วนมากเป็นพื้นที่สำ หรับเพาะปลูกทำ นา ที่อยู่อาศัย ร้านค้า ตามลำ ดับ ทรัพยากรธรรมชาติใน พื้นที่ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ ไม่สามารถเก็บกักน้ำ ได้เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ แห้งแล้ง ที่ต้องอาศัยน้ำ ดิบจากแหล่งอื่น และน้ำ ฝน น้ำสำ หรับการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำ ใช้ ในการเกษตรไม่เพียงพอ ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำ หรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น 40 3.2 เป้าหมายในการจัดการระบบเกษตร ประสิทธิ์ โคตรโสภา ตั้งเป้าหมายการทำ การเกษตร เพื่อการพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร และการอยู่ได้ในเชิงเศรษฐกิจของรูปแบบการเลี้ยงวัวในนาข้าวนั้น เพียงพอต่อการเลี้ยงดูสมาชิก ในครอบครัว สามารถสร้างพื้นที่พืชอาหารหรือพืชที่ปลูกเป็นรายได้เสริม และสามารถจัดการได้ โดยการปรับสัดส่วนพื้นที่นาหรือจำ นวนปศุสัตว์ในอนาคต เช่น ลดปศุสัตว์เพิ่มพื้นที่ข้าวหรือใน ทางกลับกัน เป็นต้น 3.3 รูปแบบแปลงเกษตร ประสิทธิ์ โคตรโสภา มีที่นา 18.5 ไร่ และมีวัว 25 ตัว รูปแบบแปลงเกษตรของประสิทธิ์ เป็นการ ทำ นา และการใช้วัวลงไปเลี้ยงให้ไปกินข้าวและวัชพืชในแปลงนา กล่าวได้ว่า ช่วยประหยัดรายจ่าย และ ประหยัดเวลา กล่าวคือ ไม่ต้องใช้แรงงานคนไปจัดการหญ้า ซึ่งปกติถ้าไม่มีการปล่อยวัวลงไป
104 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องการตัดหญ้าและตัดข้าวด้วย เพราะว่าถ้าหากไม่มีการตัดปลายต้นข้าว ออก ต้นข้าวจะสูงจนเกินไป ทำ ให้ข้าวล้ม และส่งผลต่อการได้ผลผลิตข้าว จึงจำ เป็นต้องตัดออก ในด้าน วัชพืชในนาข้าว เมื่อใช้วัวลงไปก็ไม่ต้องใช้เวลาลงไปถอนเอง เป็นการประหยัดเวลา กล่าวคือ มีเวลา ในช่วงเดือนกว่าๆ ที่ทำ การปล่อยวัว ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารให้วัวได้ส่วนหนึ่ง “สมัยก่อนเราต้องไปขอนาแปลงอื่นเกี่ยวหญ้าแล้วใช้รถขนมา เป็นค่าใช้จ่าย ทั้งนั้น บางทีก็ไปซื้อล่วงหน้าไว้ว่านาแปลงนี้เท่าไหร่ ผมจะเอาหญ้า มันเป็นแบบนี้ใน สมัยก่อน แต่ทุกวันนี้ไม่ต้อง เพราะถ้าข้าวสูงขนาดนี้แล้วไม่ตัดออก มันล้มแน่นอน เมื่อข้าวล้ม ผลผลิตก็ไม่ได้” – ประสิทธิ์ โคตรโสภา 41 3.3.1 ข้อมูลทั่วไปของระบบเกษตร ประสิทธิ์ ทำ การปรับเปลี่ยนจากการทำ นาข้าวที่ใช้สารเคมีมาเป็นนาข้าวอินทรีย์ อันเนื่องมา จากได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอย่างชัดเจนจากการใช้สารเคมีในนาข้าวที่รุ่นพ่อเคยใช้ก่อนหน้านั้น ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สภาพอากาศไม่มีความแน่นอน ทำ ให้การทำ นาโดยวิธีการแบบเดิมทั่วไปไม่ตอบสนองต่อความผันผวนของอากาศ จึงเป็นจุดเปลี่ยนให้ ครอบครัวของประสิทธิ์หันมาทำ นาข้าวอินทรีย์ ประสิทธิ์ เล่าย้อนไปถึงการเปลี่ยนมาทำ นาอินทรีย์ว่า เดิมทีทำ นาเคมี ต่อมาได้สมัครทำ เกษตร อินทรีย์เมื่อปี 2533 และเริ่มลงมือทำ แต่ครอบครัวฝ่ายภรรยานั้นไม่เห็นด้วยในตอนแรก ประสิทธิ์ถูก มองว่าเป็นคนบ้าที่หันมาทำ นาอินทรีย์ จนกระทั่งเขายื่นคำ ขาดกับพ่อตาว่าหากไม่ให้ทำ นาอินทรีย์จะ ย้ายกลับไปอยู่บ้านเดิมที่ จ.มหาสารคาม หลังจากสร้างความเข้าใจกับครอบครัวได้ ประสิทธิ์จึงลงมือ ทำ นาอินทรีย์ โดยเริ่มจากการทดลองทำ 1 ไร่ ช่วงประมาณปี 2533-2544 ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนที่ นาทั้งหมด 18.5 ไร่ เป็นแปลงข้าวอินทรีย์ ในการทำ นาข้าวอินทรีย์ ปัญหาหลักที่เขาต้องเผชิญในการจัดการแปลง คือ วัชพืชในนา เนื่องจากไม่มีการใช้ยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีใดๆ ในการกำ จัดวัชพืชเหล่านั้น เขาเล่าว่า “ทำ�อินทรีย์ก็มีปัญหา คือ หญ้ามันเยอะมาก ผมก็ใช้วิธีเปรียบเทียบกัน สองแปลง เริ่มตั้งแต่ทีแรกเลย ผมอยากรู้ว่ามันจะได้ผลยังไง ตรงที่ 1 ไร่ เท่ากัน ผม ก็วัดเลย 40 x 40 เมตร หนึ่งไร่ ก็ถอนหญ้าทั้งหมดเลยอีกแปลงหนึ่ง ถอนทุกวัน 41 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 105 42 การประชุมให้ความเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) กรณีศึกษารูปแบบเกษตรนิเวศเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศและความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ ณ บ้านสวนซุมแซง วันที่ 24 มิถุนายน 2566 43 การประชุมให้ความเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) กรณีศึกษารูปแบบเกษตรนิเวศเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศและความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ ณ บ้านสวนซุมแซง วันที่ 24 มิถุนายน 2566 หญ้าโผล่ไม่ได้ กับอีกแปลงหนึ่งปล่อย เวลาเกี่ยวข้าวแล้ว ข้าวที่ผมถอนวัชพืชออก ได้ข้าวเกิน 3 กิโลกรัม ต่างกัน 3 กิโลกรัม ผมก็เลยว่า เราจะไปถอนเพื่ออะไร เสีย เวลาเป็นเดือน ก็เลยเปลี่ยนใหม่” – ประสิทธิ์ โคตรโสภา 42 ประสิทธิ์ เล่าต่อว่า อีกอย่างหนึ่งที่ตัดสินใจก็เพราะว่าการกำ จัดวัชพืช เช่น ต้นเช้ง ต้นโสน ทุกชนิด มันกำ จัดยาก ถอนจนคิดว่าหมดแล้ว แต่ก็แตกขึ้นมาไม่รู้เท่าไหร่ มีต้นเล็กๆ ขึ้นมาเยอะมาก งอกใหม่เยอะมาก มันยังไม่ตาย ก็เกิดความสงสัย ตอนแรกใช้วิธีการตัดหญ้าแล้วก็ปล่อยน้ำ ใส่ ก็ได้ผล แต่ก็ไม่มีแรงที่จะไปตัด ไม่มีเวลา ก็เลยสังเกตว่าเวลาวัวควายกินข้าว ทำ ไมข้าวไม่ตาย ทำ ให้ตน แปลกใจ ในขณะที่เมื่อวัวกินหญ้า หญ้าส่วนใหญ่จะตาย เช่น ต้นโสนจะไม่ค่อยโต ต่อมาจึงทดลองใน ปีแรกโดยทำ การปล่อยวัวในลงนา แบ่งปล่อยสองรอบ คือ รอบเช้าและรอบบ่าย โดยในตอนเช้า จะ ปล่อยวัวในช่วงเวลาที่ข้าวมันแห้งแล้ว ไม่มีหมอก ไม่มีน้ำ ค้างแล้ว “ผมก็ทำ�สองอย่างคือ ฝั่งหนึ่งผมจะเอาน้ำ�ออก อีกฝั่งหนึ่งจะเอาน้ำ�ไว้ เพื่อ จะดูว่าถ้าปล่อยในน้ำ�มันจะกระทบมั๊ย เปรียบเทียบกันระหว่างมีน้ำ�กับไม่มีน้ำ� พอทำ� ไป ต้นโสนที่มันเยอะๆ มันไม่ค่อยงอก ก็เลยว่ามันดีนะ ... ด้วยความที่เราจะไปจ้าง เขาตัดก็ตกไร่ละ 300 บาท ก็เป็นต้นทุน ตัดเสร็จเขาก็ขนข้าวของเราออกไป ถือว่า เราเสียปุ๋ย เราอุตส่าห์เอาปุ๋ยลงอย่างดี พอตัดออกเขาเอาปุ๋ยเราออกไป แล้วเราจะเอา ที่ไหนมาใส่ ก็เลยทำ�ให้คิด ทีนี้ก็ใช้วัวลงเลย เช้าปล่อย 15 ตัว บางวัน ฝั่งนี้ก็ปล่อย 10 ตัว ก็สลับกับแบบนี้” – ประสิทธิ์ โคตรโสภา 43 กล่าวย้อนไป ประสิทธิ์ เล่าว่า เมื่อปี 2560 ทีแรกตนไม่ได้ตั้งใจจะเลี้ยงวัว แต่ลองปล่อยดู เพราะว่าเกิดภาวะความแล้งแห้ง ไม่มีน้ำ เลย แห้งแบบมันไม่มีความหวัง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ปล่อย ให้วัวได้กินข้าวดีกว่า จึงตัดสินใจปล่อยวัวลงไปกิน แต่หลังจากนั้นไม่นานมีฝนตกลงมา ปรากฏว่า ข้าวกลับงอกสวยกว่าที่ตนไม่ได้ทำ อะไร ประสิทธิ์จึงเกิดความแปลกใจ และทำ การปล่อยวัวลงในนา ข้าวมาโดยตลอดนับตั้งแต่นั้นมา โดยเขาให้เหตุผลว่า หากไม่ปล่อยให้วัวกิน ก็ต้องไปตัดต้นข้าวอยู่ดี เพราะข้าวจะล้ม แม้ว่าข้าวจะเสียหายนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะได้อาหารวัวมาด้วย เป็นการประหยัด เวลาและรายจ่ายจากการใช้วัวจัดการหญ้า หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอิสาน 105
106 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม รูปแบบการเลี้ยงวัวในนาข้าวของประสิทธิ์ โคตรโสภา สัมพันธ์กับเงื่อนไขและปัจจัยด้านทักษะ การทำ งานและการเปลี่ยนแปลงแรงงานภายในครอบครัว กล่าวคือ เดิมทีเคยประกอบอาชีพเป็นช่าง ก่อสร้างในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสาน เมื่อไม่สามารถทำอาชีพช่าง เป็นหลักด้วยข้อจำ กัดด้านแรงงานของตนในวัยที่สูงขึ้น จึงหันกลับมาทำ งานในภาคการเกษตรเป็นหลัก โดยนำ ทักษะจากการประกอบอาชีพช่างก่อสร้างมาปรับใช้ในการออกแบบรูปแบบระบบเกษตรนิเวศ ของตนเอง เช่น การวางระบบท่อส่งน้ำ ในนาข้าว เพื่อสูบน้ำ จากสระที่เติมปุ๋ยมูลวัวลงไปยังนาข้าว ให้ กลายเป็นอินทรียวัตถุบำ รุงต้นข้าวอ่อน และปล่อยวัวลงไปกินหญ้าในแปลงนาด้วย 3.3.2 เรียนรู้จากปัญหาสู่รูปแบบการเลี้ยงวัวในนาข้าว ประสิทธิ์ กล่าวถึงหลักการในการปล่อยวัวลงนาของตนว่า ทำ การปล่อยในช่วงที่ข้าวมีอายุ ประมาณ 1 เดือน หรือ ต้นข้าวสูงประมาณอย่างน้อยสูง 30 เซนติเมตร เมื่อสังเกตว่ารากต้นข้าวสามารถ เกาะดินได้แล้ว จึงปล่อยวัว แต่ทำ ปีแรกมีปัญหา คือ ข้าวไม่ค่อยสวย เพราะวัวกินแล้วต้นข้าวแคระแกรน จึงใช้วิธีขนปุ๋ยขี้วัวไปใส่ในบ่อน้ำ แล้วอีกบ่อหนึ่งก็ใช้น้ำ หมักลง อีกบ่อหนึ่งไม่ใช้น้ำ หมัก แต่แช่ปุ๋ย เหมือนกัน แล้วก็สูบน้ำ ใส่ในนา ปีนั้นกลับได้ข้าวมากถึง 12 ตัน เพราะใช้วิธีเอาปุ๋ยขี้วัว และน้ำ หมัก ลงบ่อมาใส่ในนาข้าวด้วย ประสิทธิ์ เล่าถึงการทดลองเปรียบเทียบการเอาวัว และควายลงไปกินข้าวและหญ้าวัชพืชใน แปลงนาว่า พบว่าพฤติกรรมของควายต่างจากวัว คือ เมื่อควายกินเสร็จ กินอิ่ม ก็จะนอน ทำ ให้บริเวณ นั้นเป็นหลุม เป็นปัญหาในการเลี้ยงควายในนาข้าว แต่สำ หรับวัวกลับวัวไม่มีปัญหาในการนำ มาลง แปลงนาเพื่อช่วยจัดการวัชพืชไปพร้อมกับการได้อาหารให้สัตว์เลี้ยง “สมัยก่อนเครียดมาก เกณฑ์ทั้งพี่น้อง จ้างมาถอนหญ้าเพราะเราทำ�อินทรีย์ ส่วนการเลี้ยงวัวในนาข้าวนี้เราไม่ต้องลงทุนอะไร เราได้ประโยชน์ เราประหยัดรายจ่าย แทบจะไม่มีเลย นอกจากเรื่องไถ เกี่ยว และเมล็ดพันธุ์ นอกนั้นไม่น่าจะมี เราจัดการ ได้ในส่วนหนึ่ง ซึ่งทุกวันนี้ลงตัวแล้ว ปีนี้ทำ�นาอินทรีย์มาก็ 30 กว่าปีแล้ว ไม่ได้คิด อยากจะไปทำ�เคมีอีกเลย ผมว่าดี ประหยัด สบาย ถ้าปล่อยวัวในนาข้าว มีความสุข วัวก็อ้วน ผมว่าดี” – ประสิทธิ์ โคตรโสภา 44 การเลี้ยงวัวในนาข้าว เกิดขึ้นจากการสังเกตเห็นถึงพฤติกรรมการกินอาหารของวัวในช่วง ปีหนึ่งที่ประสิทธิ์พบว่า สภาพดินฟ้าอากาศมีความแห้งแล้งอย่างมากและส่งผลต่อข้าวที่ปลูก กล่าว 44 การประชุมให้ความเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) กรณีศึกษารูปแบบเกษตรนิเวศเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงขอสภาพ ภูมิอากาศและความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ ณ บ้านสวนซุมแซง วันที่ 24 มิถุนายน 2566 106 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 107 45 การประชุมให้ความเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) กรณีศึกษารูปแบบเกษตรนิเวศเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงขอสภาพ ภูมิอากาศและความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ ณ บ้านสวนซุมแซง วันที่ 24 มิถุนายน 2566 คือ ต้นข้าวไม่เจริญเติบโตดี และดูเหมือนว่าปีนั้นคงจะไม่ได้ผลผลิตข้าวเป็นแน่แท้ จึงตัดสินใจนำ วัวที่เลี้ยงอยู่ลงไปกินข้าวแทน เพื่ออย่างน้อยข้าวที่คาดว่าจะไม่ได้ผลผลิตนั้นจะเป็นอาหารให้กับวัว แต่หลังจากนำ วัวลงไปกินข้าวในแปลงนาที่ดูสิ้นหวังนั้น กลับมีฝนตกลงมา ผลปรากฏว่าข้าวแตกกอ เพิ่มขึ้นแลดูสวยงาม ทำ ให้ประสิทธิ์ตั้งข้อสังเกตถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีความสัมพันธ์กับการ แทะเล็มกินต้นข้าวของวัวอย่างไร และนั่นเป็นการเริ่มต้นทดลองการนำ เอาวัวลงไปเลี้ยงกินหญ้าและ ข้าวในแปลงนา “ปีนั้นแล้งมาก หญ้ามันเยอะ แล้งจนข้าวดูเหมือนว่าจะไม่ได้ข้าวแล้ว ก็ เลยตัดสินใจ ... ประมาณเกือบเดือนกันยายนแล้ว ...หมดหวังไม่น่าจะมีข้าวแล้ว ก็ เลยผูกควาย ผูกวัว เต็มหมดในนาของผม ตอนนั้นทำ�อยู่ 25 ไร่ วัวผมเยอะ ก็ผูกไป เรื่อยๆ ไม่มีความหวังแล้วล่ะปีนั้น พอดีวันที่ 11 กันยายน ฝนตกลงมา โดยที่ไม่ได้ใช้ ปุ๋ย ไม่ได้ใช้อะไรเลย ข้าวผมได้เยอะ แตกกออีกต่างหาก นั่นเป็นข้อสังเกตข้อที่หนึ่ง แล้วก็ทีนี้มาดูอีกอย่างหนึ่ง เวลาเราผูก [วัว ควาย] มันจะเดินวน ข้าวเราจะเสียหาย เยอะ ก็เลยเปลี่ยนมาทดลองใช้วิธีใหม่ดู ก็คิดอยู่นานหลายปี มาเริ่มต้นเมื่อปี 2560 ที่เริ่มตั้งใจทำ�ดู ก็เลยปล่อยวัวกินดีกว่า” - ประสิทธิ์ โคตรโสภา 45 การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่เกิดจากความท้าทายเรื่องสภาพอากาศแปรปรวน และการ ยึดหลักการทำ นาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีการเลี้ยงปศุสัตว์เป็นส่วน เสริมเป็นรายได้ของครอบครัว และใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยธรรมชาติบำ รุงดินในการปลูกข้าว การสังเกตจาก ประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้น เป็นองค์ประกอบที่ทำ ให้ประสิทธิ์ค้นพบวิธีการทำ นาข้าวอินทรีย์ที่ใช้วัวเป็น เครื่องมือในการกำ จัดวัชพืชในนาข้าวที่มีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่ต้องอาศัยการใช้สารเคมีในการกำ จัด วัชพืชในนา นอกจากนี้ ยังเป็นการลดการใช้แรงงานในการถอนวัชพืช ประสิทธิ์ กล่าวว่า ทำ การปล่อยวัวลงเลี้ยงในนาข้าวเข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว สามารถประเมินได้ว่า เมื่อข้าวมีความสูงอย่างน้อย 35 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุต จะทำ การปล่อยวัวลงไปกิน เพราะเคยปล่อย วัวตอนที่ต้นข้าวเตี้ยกว่านี้ สังเกตว่ารากข้าวหลุดเยอะ นอกจากนี้ จากการทดลองด้วยตนเอง พบว่า ปริมาณข้าวหว่านที่เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ที่ตนทำ นา คือ 30 กิโลกรัม ต่อ ไร่ เพราะเมื่อเวลาวัวกิน หรือ เหยียบ จะยังคงมีข้าวเพียงพอในการฟื้นต้นกลับมางอกใหม่ หากทำ การหว่านข้าวในปริมาณ น้อยกว่านั้นอาจจะมีปัญหา แต่ทำ ได้โดยต้องให้ต้นข้าวสูง 60 เซนติเมตร ให้รากข้าวแข็งแรงเกาะดิน
108 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ก่อน จึงจะปล่อยวัวลงไปกินได้ ซึ่งเป็นการเผื่อไว้ในบางปีที่สภาพอกาศแล้งมากจนไม่มีน้ำ วัวจะกิน ข้าวถอนทั้งรากเลย ดังนั้น ถ้ารากข้าวไม่แข็งแรง ก็จะถูกถอนทิ้งจนรากหลุด สำ หรับในปีปกติ ก็ควร จะเปิดน้ำออกจากบ่อใส่ในแปลงนา เพราะช่วยทำ ให้ข้าวแตกกอสวยงาม ทั้งนี้ สิ่งที่ประสิทธิ์สังเกตเห็นได้จากการปล่อยวัวลงไปกินหญ้าในนาข้าว นอกจากจะพบว่าวัว สามารถช่วยควบคุมหญ้าในนาข้าวโดยไม่จำ เป็นต้องใช้แรงงานเกี่ยวหญ้ามาให้วัวกินเองแล้ว ในขณะ เดียวกันต้นข้าวที่วัวกินเป็นอาหารยังแตกกอเยอะมากขึ้น ทำ ให้ได้ปริมาณผลผลิตข้าวมากขึ้น จึงนับ ได้ว่าวิธีการดังกล่าวเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการความรู้ชาวบ้านที่สังเกตจากประสบการณ์ตรง นำ มา สู่รูปแบบเกษตรนิเวศ “การเลี้ยงวัวในนาข้าว” ที่ประสิทธิ์ ทำ มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 3.3.3 ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศในแปลงนา การปล่อยวัวลงกินหญ้าและข้าว รูปแบบการเลี้ยงวัวในนาข้าวนั้นมีการจัดการ คือ กำ หนดช่วงการหว่านเมล็ดข้าวประมาณ เดือนพฤษภาคมของทุกปี และทิ้งระยะเวลาให้เมล็ดข้าวงอกเป็นต้นกล้า 1 เดือน ข้าวจะสูงประมาณ 30 เซนติเมตร จึงเริ่มปล่อยวัวลงในนาข้าว ช่วงต้นเดือนมิถุนายนจนกระทั่งถึงช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม จึงจะหยุดการปล่อยวัวในนาข้าว นำ วัวเข้ามาเลี้ยงในคอก เนื่องจากเป็นช่วงที่ข้าวเริ่มตั้งท้อง “30 สิงหาข้าวยังไม่มีปล้อง [วัว] มันกินหมดแล้วมันเพิ่งงอก เราจะใช้เวลา ส.ค.-ก.ย. ก็เป็น [ข้าว] ต้นใหม่แล้ว พอตุลาคม ระยะเวลา 1 เดือนกว่าๆ ข้าวมะลิ 105 ก็เริ่มสุกแล้ว โดยข้าวมีระยะเวลาสุกประมาณ 33 วัน ก็จะเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน ใช้ข้าวมะลิ 105 ยังไม่ได้ใช้พันธุ์อื่น ตอนนี้ปลูกข้าว 2 สายพันธุ์ คือ มะลิแดง และ มะลิ 105” - ประสิทธิ์ โคตรโสภา 46 ในพื้นที่แปลงนาที่มีประมาณ 18.5 ไร่ ใช้ข้าวเปลือกในการทำ นาหว่าน 30 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากการควบคุมหญ้าด้วยวัว ยังใช้วิธีการใส่ปุ๋ยขี้วัวในนาข้าวโดยนำ ไปเทใส่ในบ่อน้ำ แล้วสูบใส่ แปลงนา ด้วยการลงทุนระบบสูบน้ำ บาดาลและการวางระบบท่อไปยังแปลงนาที่มีระดับความลาดเอียง จากสูงลงต่ำ เพื่อให้น้ำ จากบ่อต้นทางไหลไปตามความชันของพื้นที่ วิธีการดังกล่าวพบว่าเป็นการ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่รวดเร็ว ทำ ให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตมาก โดยผลผลิตข้าวในปี 2565 คือ 7 ตัน หรือเฉลี่ยประมาณไร่ละ 500 กิโลกรัม 46 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 108 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 109 “การจัดระดับแปลงนาตามความลาดเอียงจากสูงลงต่ำ เพื่อให้การให้น้ำ จากบ่อไปถึงแปลงนาได้ทั่วถึง”
110 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม การจัดการปล่อยวัวลงกินหญ้าและข้าวในแปลงนาของประสิทธิ์ สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ มีลักษณะเฉพาะของวัว กล่าวคือ ในช่วงฤดูกาลทำ นา จะไม่มีการปล่อยวัวลูกเล็กลงไปกินหญ้า และข้าวในแปลงนาพร้อมกับวัวแม่พันธุ์ และวัวรุ่น ทั้งนี้เพราะโดยพฤติกรรมของวัวลูกเล็ก คือ มัก จะวิ่งเล่นกันในแปลงนา ทำ ให้ข้าวเสียหาย อย่างไรก็ตาม วิธีการจัดการอาหารให้กับวัวลูกเล็ก คือ ตัดหญ้าในแปลงปลูกหญ้าให้กินในคอก และวัวลูกเล็กจะถูกปล่อยออกจากคอกบ้างอาทิตย์ละครั้งเพื่อ ไม่ให้วัวเกิดความเครียด นอกจากนี้ เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ไม่ทำ การปล่อยวัวลูกเล็กออกจากคอกพร้อมกับ วัวแม่พันธุ์ และวัวรุ่น แต่มีการให้อาหารพืชสดจากแปลงหญ้าเป็นหลักในช่วงฤดูกาลทำ นาแทน เนื่องจากโดยพฤติกรรมของสัตว์ วัวแม่และวัวลูกเล็กจะเดินด้วยกัน วิ่งหยอกล้อ ทำ ให้ต้องใช้เวลามาก ขึ้นในการจัดการนำ วัวเข้าคอก ในขณะที่หากปล่อยเฉพาะวัวแม่พันธุ์และวัวรุ่นไปกินอาหารในแปลงนา การจัดการนำ วัวเข้าคอกจะน้อยลง เพราะวัวแม่พันธุ์จะรู้ได้เมื่อวัวลูกเล็กในคอกส่งเสียงร้องเมื่อถึงเวลา ให้นม วัวแม่พันธุ์ก็จะเดินกลับเข้าคอกเอง ประสิทธิ์ กล่าวว่า ปล่อยวัวให้กินหญ้าและข้าวในแปลงนาประมาณไม่เกิน 4 ชั่วโมง เพราะ หากวัวกินอาหารเกิน 4 ชั่วโมง โดยพฤติกรรมของสัตว์ วัวจะเดินเล่น วิ่งหยอกล้อกันในแปลง ทำ ให้ ข้าวได้รับความเสียหาย ดังนั้น จึงปล่อยวัวชุดแรกในช่วงเช้าประมาณ 9 โมงเช้าถึงเที่ยง จากนั้นจึง จะนำ เข้าคอก และในช่วงบ่าย จึงนำ วัวชุดที่สอง ปล่อยลงในแปลงเดิม เมื่อครบกำ หนดเวลา 4 ชั่วโมงจึงนำ วัวเข้าคอก กล่าวคือ แบ่งสัดส่วนวัว ทั้งหมด 25 ตัว ออกเป็น 2 กลุ่ม ปล่อยรอบเช้า และรอบบ่าย แต่ละรอบที่ปล่อยวัวก็จะปล่อยเต็ม พื้นที่แปลงข้าวทั้งหมด 18.5 ไร่ ซึ่งจากการสังเกต พบว่า วัวจะกินต้นข้าวก่อน เมื่อข้าวเริ่มหมดก็จะ กินวัชพืชเป็นลำ ดับถัดมา “การนําวัวลงไปกินขาวและวัชพืช ในแปลงนาในฤดูกาลทํานา (กรกฎาคม, 2566)”
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 111 การจัดการน้ำ รูปแบบการจัดการแปลงเกษตรและการเลี้ยงวัวในนาข้าวของประสิทธิ์ พบว่า มีระบบการ จัดการน้ำ ในพื้นที่จากบ่อน้ำ ซึ่งมีปริมาณน้ำ ที่เพียงพออย่างทั่วถึงในรอบ 1 ปี เพื่อการปลูกข้าว และ การปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงวัว โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศแล้งจัด ประสิทธิ์ ยืนยันว่าระดับน้ำจากบ่อบาดาล และสระน้ำ ในพื้นที่นั้น แม้จะลดปริมาณลง แต่ก็ไม่เคยแห้งขอด นอกจากนี้ ในการเลี้ยงปศุสัตว์ ยังได้นำ ขี้วัวที่ได้มาเติมลงในสระน้ำ เพื่อให้เป็นอาหาร ปลา และสูบน้ำ จากสระมาลงแปลงนาและแปลงหญ้า เป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพทั้งในแง่ การจัดการแรงงานที่มีจำ กัดและการเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นข้าวและแปลงหญ้าที่ปลูกเพื่อให้เจริญ เติบโตงอกงามดี ประสิทธิ์ กล่าวว่า ตนนำ ปุ๋ยขี้วัวใส่ลงในบ่อประมาณครั้งละ 60 กระสอบ หรือ 1.8 ตัน โดยหนึ่ง กระสอบมีประมาณ 30 กิโลกรัม เทลงไปในบ่อโดยตรง สิ่งที่ได้คือทำ ให้ปลาที่เลี้ยงในบ่อเจริญเติบโต มากกว่าแต่ก่อนที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเทลงในบ่อ “ปลาไม่เคยโตเลย ก็คิดว่าทำ�ไม ทดลองปล่อยตัวเล็ก ตัวใหญ่ มันก็ตัว เท่าเดิม แต่พอปล่อยขี้วัวลงไปในบ่อ ไปปล่อยปลา 3 ตัว 1 กิโลกรัม มันก็กลายเป็น 3 ตัว 4 กิโลครึ่ง เป็นปลานิล และมีปลาซิวตัวขนาดเท่านิ้วมือ เยอะมาก ถ้าจับทีหนึ่ง ก็ได้หลายกิโลกรัม” – ประสิทธิ์ โคตรโสภา 47 การจัดการแปลงหญ้าให้วัว สำ หรับการดูแลจัดการแปลงหญ้าโดยระบบการจัดการน้ำ ประสิทธิ์ อธิบายว่า ในช่วงที่ไม่มีน้ำ จะสูบน้ำ จากบ่อเข้าไปในแปลงปลูกหญ้า น้ำ จากบ่อก็มีปุ๋ย กล่าวคือ เติมปุ๋ยจากบ่อให้หญ้าในช่วงแรก ส่วนหน้าฝนไม่มีปัญหา พอฝนตกก็จะมีไนโตรเจนในอากาศ หญ้าก็จะโตของมันเอง แต่หน้าแล้งจำ เป็น ต้องใช้สปริงเกอร์ ใช้ระบบน้ำ เข้ามาช่วยเพื่อให้หญ้าอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม หญ้าแทงกูล่ามีความทนแล้ง ไม่มีปัญหาในการดูแลในหน้าแล้ง แต่หญ้าเนเปียต้องรดน้ำ ตลอด ซึ่งก็ใช้ระบบน้ำ ที่เชื่อมต่อกันทั่วพื้นที่ ในแปลงเกษตรในการดูแลหญ้า 47 การประชุมให้ความเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) กรณีศึกษารูปแบบเกษตรนิเวศเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศและความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ ณ บ้านสวนซุมแซง วันที่ 24 มิถุนายน 2566
112 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม “หญ้าที่ปลูก 4 ไร่ ก็ไม่ถึงกับว่าเพียงพอต่อวัว 25 ตัว ดังนั้น ต้องเลี้ยงสลับ กันระหว่างฟางกับหญ้า เสริมกันไป เพราะเราทำ�แบบอินทรีย์ ถ้าเป็นแบบเคมีเขาอาจ จะเพียงพอ แต่ของเราไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูก การเจริญเติบโตของหญ้าที่เราปลูก ก็อาจจะช้านิดหน่อย สามารถตัดได้ 1 ครั้งต่อเดือน แต่ถ้าเป็นการปลูกหญ้าแบบเคมี อาจจะได้ตัดทุกๆ 15-20 วัน” – ประสิทธิ์ โคตรโสภา 48 ในด้านการจัดการอาหารในพื้นที่แปลงเกษตรให้เพียงพอต่อจำ นวนวัวที่เลี้ยง มีการแบ่งพื้นที่ จำ นวน 4 ไร่ สำ หรับปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงวัวโดยเฉพาะในฤดูกาลหลังเก็บเกี่ยวข้าวและก่อนเริ่มฤดูกาล ปลูกข้าว สำ หรับหญ้าที่ปลูกมี 2 ชนิด คือ แทงกูล่า และเนเปีย โดยใช้ระบบการจัดการน้ำ จากบ่อน้ำ ที่มีอยู่ในพื้นที่แปลงเกษตรมาดูแลหญ้าให้งอกตลอดทั้งปี ซึ่งน้ำ ในบ่อมีการเติมขี้วัวลงไปและนำ มารด แปลงหญ้าให้เจริญงอกงาม การจัดการหญ้าปลูกเพื่อเป็นอาหารสดให้กับวัวมีดังนี้ - หญ้าที่ปลูกจะถูกตัดให้วัวลูกเล็กกินเป็นหลัก โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลปลูกข้าว คือ ช่วง ปลายเดือนเมษายน หรือกลางเดือนพฤษภาคม ส่วนวัวแม่พันธุ์และวัวรุ่นจะถูกปล่อยให้กินข้าวและ หญ้าในแปลงนาเป็นหลักในช่วงหลังจากหว่านกล้าต้นข้าวและข้าวเริ่มมีอายุได้ประมาณ 1 เดือน จน 48 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 “พื้นที่ปลูกหญา 4 ไร เพื่อเลี้ยงปศุสัตวโดยเฉพาะสําหรับวัวลูกเล็ก และสําหรับวัวอื่นๆ ในชวงที่นําวัวออกจาก การเลี้ยงในนาขาวเพื่อใหขาวออกรวง (เมษายน, 2566)”
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 113 กระทั่งถึงเดือน สิงหาคม เพราะว่าข้าวเริ่มตั้งท้อง จึงจะหยุดปล่อยวัวลงในแปลงนาและเลี้ยงด้วยหญ้า ที่ปลูก จนกว่าจะถึงช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ จึงจะทำ การปล่อยวัว ลงกินอาหารในนาอีกครั้ง - หญ้าที่ปลูกจะถูกตัดมาเป็นอาหารเสริมให้กับวัวอื่นๆ ในช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวด้วย แต่ ไม่ได้ปล่อยให้วัวลงกินในแปลงหญ้าโดยตรง ทั้งนี้ อาหารวัวในช่วงฤดูกาลหลังเก็บเกี่ยวข้าว คือ ฟาง ข้าวจากแปลงนา หญ้าที่ขึ้นในนาข้าว และหญ้าที่ปลูกในพื้นที่เฉพาะจำ นวน 4 ไร่ ดังกล่าวข้างต้น 3.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 3.4.1 ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในปี 2560 ซึ่งทำ ให้ไม่มีน้ำ ขังในนา ทำ ให้เกิดรูปแบบการเลี้ยง วัวในนาข้าวของประสิทธิ์ โคตรโสภา ซึ่งมีต้นทางมาจากการมีประสบการณ์ตรงในการทำ เกษตรและ เลี้ยงปศุสัตว์ และจากการสังเกตการณ์ธรรมชาติและพฤติกรรมของสัตว์ รวมทั้งชุดความรู้ชาวบ้าน ทั่วไปที่ใช้วิธีการกำ จัดวัชพืชคือใช้วิธีการตัด เมื่อต้นหญ้าโตขึ้นมาได้สักระยะ ก็ปล่อยน้ำ ใส่ลงไป ทำ ให้หญ้าจมน้ำ ตายได้ ในขณะที่ข้าวก็จะเจริญเติบโตได้ดี เป็นชุดความรู้ที่นำ มาประยุกต์ใช้ในเรื่อง ของการแทนที่คนลงไปตัด ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าแรงงาน จนกระทั่งนำ มาสู่การลงมือทดลอง กระทั่งได้แนวทางในการเลี้ยงวัวในนาข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ นับว่าเป็นนวัตกรรมชาวบ้านที่ช่วย รับมือกับสภาวะโลกร้อน การหมุนเวียนของสสารในพื้นที่แปลงเกษตรและการเลี้ยงปศุสัตว์ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันของ ประสิทธิ์ ยังเห็นได้จากการใช้พื้นที่แปลงนาในช่วงฤดูกาลหลังนาเป็นที่เลี้ยงวัว กล่าวคือ เมื่อเกี่ยวข้าว
114 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เสร็จแล้ว ไม่มีการไถกลบตอซังข้าว และไม่มีการปลูกพืชหลังนา แต่ปล่อยให้วัวกินฟางข้าวที่อยู่ในนา แทน อาหารที่วัวได้รับจากพื้นที่ก็กลายมาเป็นปุ๋ยขี้วัว แล้วนำ ปุ๋ยขี้วัวนั้นไปใส่ลงในบ่อปลาแล้วสูบน้ำ จากบ่อมาใส่แปลงนาและแปลงหญ้า กลับมาเป็นธาตุอาหารบำ รุงดินต่อไป นอกจากนี้ การปล่อยวัวลง ไปกินตอฟางข้าวในนา ยังเป็นการช่วยบำ รุงดินเพิ่มเติมจากการที่วัวเหยียบย่ำ ที่ดิน และถ่ายมูลลงใน แปลงนา ทำ ให้เป็นปุ๋ยธรรมชาติในนาต่อ ประสิทธิ์ กล่าวย้ำ ว่า น้ำ บ่อไม่ค่อยแห้ง เพราะว่าตนไม่ได้ใช้ในกิจกรรมอื่น จึงสามารถนำ น้ำ จากสระที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ในแปลงได้อย่างทั่วถึง ถ้าปีไหนแล้งถึงจะนำ เข้าบ้าง คือ บ่อบาดาล และ เป็นน้ำ ฝนที่เราจะเอาเข้ามาจากคลองน้ำสารธารณะที่อยู่ข้างแปลงนาเท่านั้น “เอาน้ำ�ฝนจากข้างนอกตามร่องน้ำ�เข้ามาเก็บในพื้นที่เรา แต่บ่อบาดาลที่มีอยู่ กับสระน้ำ�อีก 3 ลูก ก็มีปริมาณน้ำ�ที่ลดลงบ้าง แต่ไม่ถึงกับแห้งจนไม่มีน้ำ� ยังสามารถ นำ�มาใช้ในแปลงนา 18.5 ไร่ และปลูกหญ้า 4 ไร่ ได้อย่างทั่วถึงตลอดปี ยืนยันได้ว่า อยู่ได้ในสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง – ประสิทธิ์ โคตรโสภา 49 3.4.2 ด้านความมั่นคงทางอาหาร รูปแบบการเลี้ยงวัวในนาข้าวของประสิทธิ์ สามารถพึ่งพาในทางเศรษฐกิจได้ อยู่ได้ ไม่เดือด ร้อน เพราะนอกจากการมีผลผลิตข้าวที่เพียงพอต่อการบริโภคของสมาชิกในครอบครัวตลอดระยะ เวลา 1 ปี โดยไม่ต้องซื้อจากข้างนอกแล้ว ยังสร้างรายได้จากการขายข้าวและวัว อีกทั้ง การทำ นา ข้าวอินทรีย์และเลี้ยงปศุสัตว์ร่วมด้วย นอกจากช่วยลดต้นทุนด้านปุ๋ยบำ รุงดินในนาข้าว วัวที่เลี้ยงใน นาข้าวและกินหญ้าวัชพืชในแปลงนายังได้อาหารที่เพียงพอ ไม่จำ เป็นต้องนำ เข้าอาหารจากภายนอก ซึ่งเป็นการหมุนเวียนของสสารในแปลงเกษตรแบบเลี้ยงปศุสัตว์ร่วมด้วย เป็นการหมุนเวียนของสสาร และการถ่ายทอดพลังงานในพื้นที่ “ความต่างของนาเรากับเพื่อนบ้าน คือ ผมไม่มีต้นทุนเรื่องปุ๋ย พวกปู พวก กบ ของเรามี ของเขาไม่มี ปลาเราก็เยอะ ไม่ต้องไปซื้อเขา เป็นปลาธรรมชาติเข้า มา มีอาหารเยอะ คงจะเย็นและไม่ร้อน และระบบจุลินทรีย์ด้วย ...ไม่ได้กลัวว่าจะไม่ ได้ข้าวกิน แล้งขนาดไหนก็ได้ข้าวกิน ได้เยอะกว่าเขาอีก ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้ทำ�อะไร เยอะ แค่ไถ หว่าน เลี้ยงวัวในนาข้าวตัวเอง ปริมาณข้าวที่ได้เพียงพอที่จะเก็บไว้กิน และเหลือขายแน่นอน เราไม่มีปัญหา” – ประสิทธิ์ โคตรโสภา 50 49 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 50 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 114 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 115 3.4.3 ด้านเศรษฐกิจ รายได้จากการปลูกข้าว นอกจากปลูกข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือนแล้วยังแบ่งขายด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในปี การผลิต 2565 ได้ผลผลิตข้าวจากพื้นที่ปลูกทั้งหมด 18.5 ไร่ จำ นวน 7 ตัน แบ่งเก็บไว้บริโภค ประมาณ 2 ตัน (ทั้งเก็บไว้บริโภคและไว้ทำ พันธุ์) และแบ่งขาย 5 ตัน ทั้งนี้ ส่วนข้าวที่แบ่งขาย จำ นวน 5 ตัน นั้นเป็นการขายให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีทมอ ตำ บลทมอ อำ เภอ ปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยขายได้ 15 บาทต่อกิโลกรัม หรือมีรายได้จากการขายข้าวเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. 2565) ประมาณ 9 หมื่นกว่าบาท รายได้จากวัว มีการจัดการขายวัวทุกปี ประสิทธิ์ อธิบายว่า มีแม่พันธุ์ตั้งท้องในรอบหนึ่งปี โดยเมื่อ แม่พันธุ์คลอดลูกจะทำ การแยกลูกออกจากแม่ ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน เมื่อแม่พันธุ์เป็นสัด และผสมใหม่ เมื่อวัวท้องครบ 9 เดือน ก็คลอดลูก ก็จะมีวัวรุ่นใหม่หมุนเวียนเข้ามาในรอบปี จาก การมีแม่พันธุ์ประมาณ 10 ตัว ทำ ให้มีรายได้จากการขายวัวรุ่นปีละประมาณ 5-7 ตัว เฉลี่ยรายได้ อยู่ที่ 120,000 บาท 4. บทสรุป ปัจจัยหลักที่ทำ ให้แปลงเกษตรนิเวศดังตัวอย่างทั้ง 3 กรณีสามารถอยู่ได้ภายใต้ความ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คือ เป็นการทำ เกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศเฉพาะของ แต่ละพื้นที่ ทำ ให้เกิดการเกื้อกูลของระบบทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่หมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ ทั้ง ระบบนิเวศโคก ระหว่างป่า-นา-สวน, ป่าสร้างใหม่-สวนครัวสุขภาพ รวมไปถึงการเลี้ยงปศุสัตว์ ในนาข้าว กรณีตัวอย่างเหล่านี้ เป็นการใช้องค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์จริงมาจัดการ แปลงเกษตรที่ได้ผลจริง ทั้งเพื่อการรับมือกับสภาพอากาศแปรปรวน นอกจากนี้ การสร้าง ความหลากหลายของพืชพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่แปลงเกษตรนิเวศบนฐานของการเลือกปลูกชนิด พืชที่เหมาะสมกับสภาพหรือลักษณะเฉพาะของดิน ทำ ให้เกิดการพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้ มากขึ้น รวมทั้ง สามารถสร้างเศรษฐกิจครัวเรือน มีรายได้จากการจัดการให้เกิดระบบการหมุนเวียน ของสสารและพลังงานในพื้นที่แปลงเกษตรนิเวศนั้น
116 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เอกสารอ้างอิง ทิพย์อักษร มันปาติ. (2566). เอกสารการประชุมให้ความเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) กรณีศึกษารูปแบบ เกษตรนิเวศเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความเป็น อยู่ทางเศรษฐกิจ. ณ บ้านสวนซุมแซง วันที่ 24 มิถุนายน 2566 มัสยา คำแหง, นิรัตน์ ศรีชำ นิ, สมเจตน์ ไชยลาภ และสุกัญญา นามแก้ว. (2551). บทสังเคราะห์ : ทรัพยากรธรรมชาติและเกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำ นักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.), ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำ บลหนองห้าง. (มปป.). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) องค์การบริหาร ส่วนตำ บลหนองห้าง. สืบค้นจาก http://www.nonghang-ksn.go.th/files/dynamic content/file-348781-16825009361534675096.pdf 116 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 117
118 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 119 1.บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย พื้นที่ส่วน ใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และราบลุ่มแม่น้ำ โดยสภาพพื้นที่จะค่อยๆ ลาดสูงขึ้นไปทางทิศตะวันออกของจังหวัด สามารถแบ่งสภาพภูมิประเทศออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) พื้นที่ภูเขาและเนินเขา ลักษณะพื้นที่เป็น ภูเขาสลับกับลูกคลื่นลอนลาด และ 2) พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ โดยเฉพาะ ในพื้นที่อำ เภอสนามชัยเขตนั้นมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีดอนเป็นบางส่วน ถือเป็นพื้นที่ป่าลุ่มต่ำ แห่ง สุดท้ายของประเทศไทย จากการศึกษาข้อมูลลักษณะทางธรณีวิทยาของจังหวัด ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี จัดทำ ไว้เมื่อ ปี พ.ศ.2554 พบว่า พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราประกอบด้วยหินตะกอน หินแปรอัคนี และ ตะกอนร่วน ส่วนข้อมูลของสำ นักการใช้ที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ ปี พ.ศ. 2559-2560 บ่งชี้ว่า ชนิดป่าที่ พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้สำ คัญที่พบส่วนใหญ่ เช่น ไม้ตะแบกแดง ไม้กระบก ไม้ยางแดง ไม้สมพง ไม้ตะเคียนทอง ไม้ปออีเก้ง ไม้ตังตาบอด และไม้นาดำ เป็นต้น อีกทั้ง 1 เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการประมวลข้อมูลจากรายงานบทเรียนการดําเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต : ปฏิบัติการเพื่อไปสู่การรับมือกับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยอาจารย์นิตยา กิจติเวชกุล ซึ่งสนับสนุนการศึกษา บทเรียนโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เรียบเรียงและเพิ่มเติมข้อมูลโดยคุณนภวรรณ งามขํา หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา1 โดย นภวรรณ งามขำ นิตยา กิจติเวชกุล บทที่4
120 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ป่าชุมชนในหลายหมู่บ้าน ก็เป็นเหมือนคลังของพืชหัว จำ พวกมันนก กลอย มันบุง มันตลับ มันเสา มันเลือด มันเทียน มันมือเสือ มันจาว ผักจำ พวกกระเจียว บุก อีรอก ตีนนกยูง เสม็ด แต้ว ผักหนาม หวาย สะเดา ดอกข้าวสาร ฟักข้าว หูปลาช่อน ผักบุ้งนา เห็ดชนิดต่างๆ เป็นพืชผักหมุนเวียนตาม ฤดู และในจังหวัดมีแม่น้ำ สายหลัก และคลองที่สำ คัญ คือ แม่น้ำ บางปะกง และคลองท่าลาด (เป็น คลองธรรมชาติที่เกิดจากคลองสาขาคลองสียัด และคลองระบม) ซึ่งตามชายฝั่งน้ำ ยังคงมีความอุดม สมบูรณ์ประกอบไปด้วยพืชอาหารหลากหลายชนิด เช่น ป่าไผ่ ผักหนาม ผักกูด ต้นคุ่ม ส้มเช้า ผักแว่น ต้นจิกน้ำ ข้าวสาร กระเจียว ในน้ำ ก็มีปลาหลากหลายชนิดเช่นกัน ด้วยลักษณะเฉพาะของจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีลักษณะเป็นที่พื้นที่ลอนเขาสลับระหว่าง ภูเขากับพื้นที่ราบ น้ำ ฝนจากเขาไหลลงสู่แม่น้ำ บางปะกง เมื่อน้ำ เค็มหนุนขึ้นผสมกับน้ำ จืดกลาย เป็นน้ำ กร่อย ทำ ให้ดินดีแร่ธาตุสมบูรณ์ ปลูกพืชผักอะไรก็งาม รสชาติอร่อย สอดคล้องกับข้อมูลของ สำ นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (2555) ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่ที่ค่อน ข้างมีศักยภาพในการผลิตอาหารเพื่อสังคมไทย และส่งออก เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการเป็น พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ที่เป็นที่รู้จักในระดับโลก จังหวัดฉะเชิงเทรามียอดขายขายเห็ดฟางอันดับ 2 ของประเทศ โดยทำแบบเห็ดฟางกองเตี้ย ที่เพาะในที่นาหลังการทำ นา หรือที่ดินว่างเปล่า เป็นพื้นที่ ส่งออกมะม่วง ซึ่งมะม่วงแปดริ้วส่งออกไกลถึงสหภาพยุโรป ในพื้นที่ฉะเชิงเทราเป็น 1 ในแหล่งผลิต มะม่วงที่สำ คัญ 5 อันดับแรกของประเทศ ซึ่งได้ผลิตและรักษามาตรฐานส่งออกของมะม่วงถึงขนาดถูก ขนานนามว่า “มะม่วงแปดริ้วสวยดั่งนางงาม” และเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต มาตรฐานระดับสากล ส่งผลผลิตผัก ผลไม้และข้าวอินทรีย์ ที่ได้รับรองมาตรฐานระดับสากล จำ หน่าย ให้กับร้านค้าต่างๆ ในประเทศ และส่งออกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ กว่า 500 ตัน ต่อปี ซึ่งความมั่นคงใน ชีวิตของคน ลุ่มน้ำ คลองท่าลาด คือการปลูกข้าวกินเอง หมายถึงการไม่ต้องซื้อ การมีกินยามต้องการ และท้ายสุดคงเป็นภาพสะท้อนความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือน หรือชุมชน และภาพนี้ยังเป็น ปัจจุบันของคน ลุ่มน้ำ ที่ทำ การปลูกข้าวไม่ได้เป็นแค่การเกษตร แต่เป็นวัฒนธรรมที่ยังคงต้องปฏิบัติ ต่อกัน ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรได้เก็บรักษา และเพาะปลูกขยายสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่มีหลากหลาย เช่น หอมมะลิ มะลิแดง ข้าวเจ้าแดง ขวัญชัย หอมนิล เจ๊กเชย เหลืองปะทิว หอมอ้ม หอมดง ตะเภา แก้ว ข้าวเจ้าหอม ขาวปราจีน เหตุผลที่ต้องมีข้าวหลายสายพันธุ์ เป็นเพราะข้าวไม่ได้มีไว้หุงกินอย่าง เดียว แต่บางชนิดเหมาะสำ หรับทำ ขนม บางชนิดเหมาะทำแป้งก๋วยเตี๋ยว หรือเส้นขนมจีน และมีทาง เลือกในการบริโภคข้าวตามรสนิยมความชอบ เช่น บางคนชอบข้าวหอมนุ่ม บางคนชอบข้าวร่วน หุงขึ้นหม้อ เป็นต้น ด้วยสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มเกษตรกร ต่างมองเห็นตรงกันว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดว่าสภาพอากาศ 120 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 121 ค่อนข้างแห้ง และร้อนกว่าเดิมมาก ลมที่พัดผ่านก็เป็นลมแห้งๆ ไม่ใช่ลมหนาว ฝนทิ้งช่วงนานจนเกิด ความแห้งแล้ง ทำ ให้ดินแห้งแตก ผักเหี่ยวเร็ว ในช่วงเดือนสิงหาคม ผักกูดลดลง ไม่สวย หน่อไม้มี หนอนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ ข่าก็แห้ง แข็ง ทุเรียนเหี่ยวใบแห้ง เป็นต้น วิถีการเกษตรจะได้รับความ เสียหายจากภัยธรรมชาติ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ทั้งจากภัยแล้งและน้ำ ท่วม สภาพภูมิอากาศที่มีความ แปรปรวนและรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทรัพยากรธรรมชาติทางการเกษตร โดยเฉพาะใน พื้นที่ที่ขาดการจัดการอย่างเป็นระบบ ทั้งในเรื่องของดิน น้ำ และพืชพรรณ การออกแบบ การจัดการ ทรัพยากรในพื้นที่เกษตรจึงมีความสำ คัญเป็นอย่างมากสำ หรับเกษตรกร 2. การจัดการแปลงการผลิตด้วยหลักการเกษตรนิเวศ : กรณีเกษตรกรสมาชิกสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา เกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา ได้ปรับระบบ เกษตรกรรมจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นระบบเกษตรอินทรีย์ และระบบผสมผสานที่มีความ หลากหลายทางชีวภาพ เป็นระบบเกษตรที่เกื้อกูลกับนิเวศของพื้นที่ มีการจัดการแปลงการผลิต ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในแปลง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความ มั่นคงทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรกร รวมทั้งรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การปรับเปลี่ยนระบบเกษตรกรรมไปสู่ระบบที่คำ นึงถึงสิ่ง แวดล้อมและเกื้อกูลกับระบบนิเวศ มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งภายในครัวเรือน เกษตรกร (แรงงาน ทุน ทักษะ ฯลฯ) และปัจจัยจากสภาพทางกายภาพของแปลงเกษตร รวมถึงการ ตั้งเป้าหมายของครัวเรือนเกษตรกร โดยรวม อาจประมวลรูปแบบเกษตรกรรมที่พยายามปรับเปลี่ยนสู่ เกษตรนิเวศของเกษตรกรสมาชิกสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา ดังรายละเอียดกรณีศึกษา ที่จะได้กล่าวต่อไป 2.1 “อยากกิน : กินหมุนเวียน กินตามฤดูกาล” ของคุณมณฑิรา กล้าหาญ 2.1.1 การออกแบบฟาร์ม 1) เป้าหมายการทำ ฟาร์ม - สร้างความมั่นคงทางอาหาร ต้องมีอาหารกินที่ปลอดภัย มีกินตลอดปี - ต้องมีรายได้จากพืชผักทุกอย่างที่ปลูก - ต้องมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น - รับมือกับวิกฤติต่างๆ ได้ เช่น ลดโลกร้อน ทนแล้งได้ ควบคุมหญ้า และโรคแมลงได้
122 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 2) แนวคิดการทำ เกษตร ที่มีระบบนาข้าวเป็นหลัก และทำ ระบบสวนผสม พืชหลายชั้นเรือนยอด ด้วยลักษณะพื้นที่มีลักษณะสูงต่ำ ลาดเอียง จึงคิดออกแบบว่าจะทำอย่างไรเพื่อจัดการพื้นที่ ให้มีอาหารกินที่หลากหลาย (อยากกินหลายอย่าง) เมื่อหิวก็มีกิน หากินได้ง่าย สะดวก ไม่ต้องออก ไปเก็บหากินจากที่ไกลๆ มณฑิราได้ทำ นาอินทรีย์ในพื้นที่กว่า 6 ไร่ ควบคู่ไปกับการรักษาพื้นที่ป่า โคกใกล้นาไว้ คงไม้ใหญ่ไว้ ปลูกพืชอาหารทั้งผัก และผลไม้ พืชป่า พืชเศรษฐกิจอื่นๆ เสริมเพื่อสร้าง ความหลากหลาย รักษาระบบนิเวศให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ และเน้นปลูก ผักพื้นบ้าน เพราะผักพื้นบ้านนั้นแข็งแรง อายุยืนยาว เก็บกินได้ระยะยาว สามารถขยายพันธุ์เองตาม ธรรมชาติได้ ทำ ให้กระจายผลผลิต รายได้ และแรงงานได้ตลอดปี ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศได้ 2.1.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป พื้นที่ของมณฑิรา มีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มและพื้นที่โคก ดินเป็นดินร่วน ปนเหนียว จัดสรรพื้นที่ เป็นพื้นที่นา 6 ไร่ ในช่วงที่แล้ง อากาศแห้ง พื้นดินแตก และอีก 2 ไร่เป็นพื้นที่สวน ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ ป่าโคก ที่ยังคงเก็บรักษาพื้นที่ป่าไว้ และปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชอาหารหมุนเวียนในแปลงเพิ่ม 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง มณฑิรา ได้ทำ การเกษตรในระบบนาข้าวเป็นหลัก และเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนเป็นนา อินทรีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 แต่มีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยการรักษาป่าโคกใกล้ บ้านที่มีไม้ใหญ่เดิม ปลูกเสริมเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อช่วยรักษาระบบนิเวศ ตลอดจน เก็บกักรักษาคาร์บอนในดิน ในการทำ เกษตรระบบสวนผสม ได้ปลูกพืชหลายชั้นเรือนยอด มณฑิรา ใช้หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง ดังนี้ - จัดการพื้นที่โดยใช้พื้นที่ต่ำ ทำ นา และพื้นที่สูงทำสวน - ทำ นาดำ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พอช่วยให้ทำ นาได้ผลผลิต เนื่องจากพื้นนาน้ำแห้งมาก - รักษาพื้นที่ป่าโคกใกล้แปลงนาที่มีไม้ใหญ่เดิม โดยปลูกเสริมเพิ่มความหลากหลาย ทางชีวภาพทั้งทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชผัก ผลไม้ และพืชป่า - รอบแปลงนาปลูกแนวไม้ยืนต้น และพืชอื่นๆ เช่น กล้วย หญ้าคา หญ้าแฝกเพื่อคลุม ดิน และจัดปรับพื้นที่ด้านริมถนนเพื่อเป็นสวนหลายชั้นเรือนยอดที่เป็นการรักษาระบบนิเวศ และความ หลากหลายทางชีวภาพ สร้างรายได้
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 123 - หลักการที่ใช้ในการเลือกพืชมาปลูกในแปลง คือ ปลูกง่าย ดูแลง่าย สร้างรายได้ ยัง กินอยู่ สอดคล้องกับการใช้สอย และประเพณี 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของมณฑิรา ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และ นิเวศภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ - ด้วยสภาพพื้นที่นาน้ำ แห้งมาก จึงใช้วิธีตีดินแล้วเจาะรูเอากล้าข้าวปักลงไปในรู ไม่ต้องกลบดิน (แช่ต้นกล้าไว้ก่อน 2 วัน) และต้นกล้าที่นำ มาปักดำ นั้นต้องมีดินติดรากด้วย ซึ่งการ ปลูกข้าวด้วยวิธีนี้ทำ ให้หญ้าโตไม่ทันข้าว และพันธุ์ข้าวที่เลือกปลูกคือข้าวมะลิแดง เพราะเป็นพันธุ์ ข้าวที่ทนความแล้ง สู้กับหญ้าได้ดี ตลาดต้องการ (มณฑิรากล่าวว่าอ้างอิงจากงานวิจัยของกลุ่มเกษตร อินทรีย์สนามชัยเขต) หลังปลูกข้าว ก็ปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียนกันไป เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในแปลง - ปลูกพืชหลังทำ นา เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด ฯลฯ - รอบแปลงนามีแนวไม้ยืนต้นได้แก่ สะเดา ไผ่ ติ้ว เพกา นุ่น อินทนิล แต้ว เสม็ด ยอ ขี้เหล็ก ชะอม ไม้ผล เช่น มะพร้าว ขนุน ลำ ไย มะเฟือง กล้วย มะขาม มะม่วง ส้มโอ มะไฟ เชอรี่ มะยงชิด มะนาว พืชอื่นๆ เช่น หญ้าคา หญ้าแฝก ข่า ว่านม่วง หวาย หม่อน ผักหนาม บอน ผักกูด ตะไคร้ กะพ้อ เต่าร้าง กระเจียว เป็นต้น - ในเขตพื้นที่สวนป่าโคกได้มีการปรับพื้นที่ ตัดไผ่ป่าริมถนนข้างนาออก แล้วปลูก กล้วยแทน เพราะไผ่ป่าค่อนข้างมีหนามเยอะ รากมีปัญหากับพื้นที่นา (รถเกี่ยวข้าวเข้าไม่ได้) และ เป็นที่อยู่อาศัยของนกจำ นวนมาก ซึ่งนกเหล่านี้จะลงมากินข้าวในนา ทำ ให้ผลผลิตลดลงค่อนข้าง มาก เหตุผลที่เลือกปลูกกล้วยทดแทนนั้น เพราะกล้วยสามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ ทนโรค ทนน้ำ ต้านลมพัดแรงได้ระดับหนึ่ง ไม่หักโค่น - ปลูกพืชอาหารอื่นๆ เสริมลงไปในแปลง เช่น เกาลัด (เพราะอยากกิน) แต่ยังไม่ ปลูกไม้ผลมาก เพราะยังได้รับความเสียหายจากกระรอก กระแตที่เข้ามากินผลผลิตจนเกือบหมดสวน ปลูกมะนาวเพิ่มและทดแทนต้นที่ตายไป หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 123
124 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ระบบสวนผสมเป็นระบบเกษตรแบบดั้งเดิมของชุมชนชนบท มักปลูกพืชที่ใช้บริโภค หรือ ใช้สอยในครัวเรือนไว้รอบบริเวณบ้าน โดยมีทั้งไม้ผล ไม้ล้มลุก พืชผัก โดยเฉพาะเครื่องเทศ และ สมุนไพร ยกตัวอย่างรูปธรรมที่มณฑิราได้ปลูกมะม่วง กระท้อน สะเดา เป็นไม้ชั้นบน มีเพกา และ มะพร้าวเป็นไม้ชั้นรองที่มีเรือนยอดโปร่ง ช่วยให้ไม้ผลต้นเล็ก เช่น ส้มโอ มะนาว หรือไม้พุ่มชั้นต่ำ ลง เช่น แต้ว หม่อน ชะอม สามารถเจริญเติบโตได้ดี ส่วนพืชชั้นล่างเป็นพืชทนร่มมีอีกสองระดับ ระดับ แรกเป็นพวกหวาย กระพ้อ และพวกหัว เช่น กระเจียว ข่า เป็นต้น 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ การรักษาพื้นที่ป่าโคกทำ ให้ช่วยรักษาระบบนิเวศ ตลอดจนรักษาคาร์บอนในดินไว้ได้ ปลูก และปล่อยให้มีหญ้าคา และหญ้าแฝกไว้ในแปลงเพื่อคลุมดิน ช่วยป้องกันมิให้ดินถูกแดดเผา ช่วย รักษาความชุ่มชื้นให้กับดิน ช่วยเติมอินทรียวัตถุให้กับดิน ป้องกันน้ำ ในดินระเหยไปหมดจนดินแห้ง อีกทั้งยังช่วยคลุมดินในช่วงฤดูฝน ทำ ให้หน้าดินไม่ถูกชะล้างโดยฝน ปรับพื้นที่ด้านติดถนน เพื่อเป็นสวนหลายชั้นเรือนยอด เพื่อรักษาระบบนิเวศ ความหลาก หลายทางชีวภาพ และการปลูกกล้วยนอกจากได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แล้วกล้วยยังเป็นพืชที่ทนโรค ทนน้ำ ต้านลมพัดแรงได้ระดับหนึ่ง ไม่หักโค่น จึงปลูกเป็นแนวรั้วรอบแปลง อีกทั้งปลูกพืชหลังทำ นา ทำ ให้พื้นดินในนาได้มีการหมุนเวียนแร่ธาตุ ปรับปรุงบำ รุงทำ ให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น ผลของการจัดการแปลงนา และสวนทำ ให้เห็นการเกื้อกูลกันของพืช พื้นดินความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มมากขึ้น มีกินอย่างหลากหลาย หมุนเวียนตามฤดูกาล “ภาพแปลงมณฑิรา กล้าหาญ” 1.มะม่วง 2.กระทอน 3.มะพราว 4.สะเดา 5.ติว 6.บาน 7.โรงเรือน 8.สับปะรด 9.ส้มโอ 10.ผักหวาน 11.มะนาว 12.กระเจียว 13.ข่า 14.จันทร์กระพอ 15.หวาย 16.เพกา 17.มะเฟือง 18.หมาก 19.ชะอม 20.ลำาไย 21.ผักตบชวา 22.กลวย 23.ไผ่ 24.ไผ่ มะม่วง บาน โรงเรือน สับปะรด ผักหวาน กระเจียว ข่า ข่า กระเจียว ข่า จันทร์กระพอ ผักตบชวา หวาย ชะอม ชะอม ลำาไย กลวยหมาก ไผ่ เพกามะเฟือง ส้มโอ มะนาว กระทอน มะพราว สะเดา สะเดา ติว ติว
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 125 2.1.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - รักษาระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และรักษาคาร์บอนในดิน - สร้างภูมิอากาศเฉพาะถิ่นที่ดี - การปลูกอย่างหลากหลายทำ ให้สามารถกระจายผลผลิตให้หลากหลายได้ ลดความ เสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเกิดการเกื้อกูลกันของพืช - รับมือกับวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้อย่าง โดยในช่วง ที่ปลูกข้าว เกิดภาวะแล้ง ฝนทิ้งช่วง ข้าวในแปลงนาทั่วไปได้รับความเสียหายอย่างมาก แต่แปลงนา มณฑิราได้รับความเสียหายน้อยมาก และยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - มีข้าว ผลไม้ และผักที่ปลอดภัยบริโภคได้ตามต้องการ ตลอดปี “เมื่อหิวก็มีกิน หากิน ได้ง่าย สะดวก ไม่ต้องออกไปเก็บ หากินจากที่ไกลๆ” - ปลูกผักพื้นบ้าน ทำ ให้สามารถเก็บกินได้ระยะยาว 3) ด้านเศรษฐกิจ - สร้างรายได้อย่างหลากหลาย และเพียงพอจากพืชผักทุกอย่างที่ปลูก 4) ด้านสังคม - สามารถจัดการแรงงานในครัวเรือนได้ เพราะปลูกพืชอย่างหลากหลาย ตามฤดูกาล - ในบุญเดือนสาม คนในชุมชนสามารถหาหวาย กับดอกกระเจียว ได้จากแปลงนี้ เพื่อ ทำแกงหวายกับแกงส้มดอกกระเจียว ตามความเชื่อดั้งเดิม 2.2 “ปลูกทุกอย่างให้เกิดรายได้ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ของคุณสมปอง คณากุล 2.2.1 การออกแบบฟาร์ม 1) เป้าหมายการทำ ฟาร์ม - ปรับพื้นที่นา มาเป็นสวนปลูกพืชหลายชั้นเรือนยอด เพื่อสร้างพื้นที่ป่าที่มี ของกินอย่างหลากหลาย - ทำ การผลิตที่ต้องมีรายได้สม่ำ เสมอ - สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี
126 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 2) แนวคิดการทำ เกษตร ระบบนาข้าวเป็นหลัก และระบบพืชหลายชั้นเรือนยอด สมปอง มีแนวคิดในการทำ เกษตรที่ต้องการลดปริมาณการใช้สารเคมี เพราะเห็นว่าสารเคมี นั้นมีอันตราย จึงหยุดใช้สารเคมีเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และปรับพื้นที่จากการทำ นาอย่างเดียว มาเป็นการทำสวนท้องร่องควบคู่ไปด้วย เพราะต้องการลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชอย่างเดียว เพื่อ สร้างรายได้อย่างสม่ำ เสมอ และต้องการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี มีอากาศที่เย็นสบาย ทำแล้วดูสบายตา ภายในแปลง 2.2.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป สมปอง เป็นเกษตรกรที่ทำ นาเป็นหลัก ในพื้นที่ 5 ไร่ พื้นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำ ท่วม ทำ นาไม่ค่อยได้ผลผลิต จึงปรับพื้นที่เป็นสวนยกร่อง ทำ ให้ดินมีสภาพเป็นดินเหนียวปนหิน แข็งตัว มากเนื่องจากเป็นดินก้นบ่อ ดินชั้นล่างไม่อุดมสมบูรณ์ ดินมีความเป็นกรดสูง 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง สมปองได้ทำ การเกษตรในระบบนาข้าวเป็นหลัก และระบบสวนพืชหลายชั้นเรือนยอด ได้ใช้หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง จากปริมาณน้ำ ฝนรายปีโดยเฉลี่ยลดลง และอุณภูมิเฉลี่ยสูง ขึ้น ทำ ให้ปริมาณน้ำ บนดินลดลง น้ำ ไม่พอปลูกข้าว (ข้าวนาปรัง) ในช่วงข้าวออกดอก ทำ ให้ข้าวลีบ ติดรวงลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงลดความเสี่ยงจากการผลิตข้าวอย่าง เดียว ด้วยการปรับพื้นที่นา มาเป็นสวนท้องร่องควบคู่กับการทำ นาไปด้วย เพราะเชื่อในหลักการของ การทำ เกษตรอินทรีย์ ต้องการลดปริมาณการใช้สารเคมีเพราะเห็นว่ามีอันตราย เลยหยุดใช้สารเคมี เพื่อตัวเอง จึงทำ นาอินทรีย์และปลูกพืชอย่างหลากหลายในแปลง 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของสมปอง ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และนิเวศ ภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ - ทำ นาอินทรีย์เป็นหลัก โดยปลูกข้าวมะลิ105, กข48 และข้าวมะลิแดง ข้าวที่ปลูกได้ พอมีกินในครัวเรือน และมีเหลือขายสร้างรายได้บ้างเล็กน้อย แต่ช่วงหลังลงทุนปลูกข้าวนาปรังแล้วไม่ ค่อยได้ผลผลิต จึงทำ นาน้อยลง - เมื่อปรับพื้นที่เป็นสวนท้องร่องแล้ว ในช่วงแรกสมปอง ลงทุนปลูกมะพร้าวเป็นพืช หลักในสวนกว่า 200 ต้น โดยปลูกเป็นแนวล้อมรอบพื้นที่ แต่เจอด้วงลง จึงยังไม่สามารถเก็บผลผลิต 126 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 127 ได้เลย รู้สึกผิดหวังอยู่บ้าง ที่ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้อย่างที่หวัง - ปลูกไม้ผล ไม้ใช้สอย และปลูกผัก เพิ่มแซมในพื้นที่อย่างหลากหลาย ได้แก่ • ไม้ผล จำ พวก มะพร้าว (200 ต้น) กระท้อน ส้มเขียวหวาน (เริ่มได้ผลผลิตดี รสชาติอร่อย จึงขยายพันธุ์เองเพิ่มอีก 20 ต้น) ส้มโอ เงาะ มะม่วง ลองกอง ขนุน กล้วย (ปลูกอีกพื้นที่ 3 งาน สร้างรายได้หลักให้ครอบครัว) ส่วนไม้ผลอื่นๆ ปลูกอย่างละ 4-5 ต้น • ไม้ใช้สอย จำ พวก กระถิน สะเดา นนทรี ปลูกรวมกันทั้งหมดประมาณ 40 ต้น มีไม้ป่าเกิดเองตามธรรมชาติอีกมาก เช่น ไม้กันเกรา ไม้กะบาก • พืชผัก จำ พวก ผักหวานป่า แต้ว เสม็ด ยอ ข่า ตะไคร้ ปลูกกระจายอย่างเต็มพื้นที่ • พืชหมุนเวียน สมปองแบ่งพื้นที่ว่างนิดหน่อย เพื่อปลูกพืชจำ พวก ถั่วฟักยาว แตงกวา กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมาสามารถปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่ปี 65-66 นี้ปลูก ไม่ได้ จึงปรับมาปลูกโหระพา และกะเพรา ที่ยังสามารถเก็บผลผลิตได้บ้าง “ภาพแปลงสมปอง คณากุล” 1.ไผ่ 2.มังคุด 3.ยูคาลิปตัส 4.กระทอน 5.ข่า 6.กระเจียว/ดอกดิน 7.ส้มโอ 8.หวาย 9.นนทรี 10.มะพราว 11.มะนาว 12.มะกรูด 13.กลวย 14.ไพล 15.สะเดา 16.บาน 17.มะยงชิด 18.มะไฟ 19.ฝาง 20.กะพอ บาน ยูคาลิปตัส มังคุด ข่า กระเจียว/ดอกดิน กะพอ หวาย กลวย ไพล ไพล ไผ่ ส้มโอ มะนาว มะนาว มะนาว มะกรูด มะยงชิด มะไฟ ฝาง กระทอน นนทรี มะพราว มะพราว สะเดา สะเดา
128 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ ด้วยสภาพดินก้นบ่อ ที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ และเป็นกรดสูง พร้อมทั้งยังขาดทักษะและ เงินทุนในการดูแลสวน จึงใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน กับการฟื้นฟูสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันนี้ (ผ่านมา 20 ปี) ดินเริ่มมีธาตุอาหาร ไม้ผลหลายชนิดเริ่มมีผลผลิตให้รับประทาน อย่าง หลากหลาย ถึงแม้ยังมีปริมาณไม่พอที่จะขายเป็นรายได้หลักให้กับครอบครัว แต่ก็ทำ ให้ครอบครัวมี ผลไม้กินมากกว่าคนอื่น ไม่ต้องดิ้นรนออกไปหากินจากภายนอก สิ่งแวดล้อมภายในสวนอากาศดี มีความร่มเย็น อุดมด้วยสัตว์นานาพันธุ์ พื้นที่ดูเขียวขจี สบายตา ต้นไม้ไม่เหี่ยวเฉา และการฟื้นฟูของระบบนิเวศภายในแปลงที่เกิดจากการทับถมของใบไม้ ในป่าที่ปลูก ทำ ให้มีเห็ดขม (หากินทั่วไปได้ยากแล้ว) เกิดขึ้นในแปลง 2.2.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - สิ่งแวดล้อมภายในสวนอากาศดี มีความร่มเย็น - อากาศในสวนเย็นกว่า อากาศข้างนอกสวนโดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อนๆ - ปลูกพืชอย่างหลากหลาย ลดความเสี่ยงจากการปลูกชนิดเดียว 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - การทับถมของใบไม้ในป่าที่ปลูก ทำ ให้มีเห็ดขม (หากินทั่วไปได้ยากแล้ว) เกิดขึ้นในแปลง - มีผลไม้ และอาหารกินอย่างหลากหลายและเพียงพอตลอดปี 3) ด้านเศรษฐกิจ - ลดรายจ่ายด้านอาหาร ทั้งผักและผลไม้ เพราะในสวนมีกินทุกฤดูกาล 4) ด้านสังคม - พื้นที่เขียวขจี สวยงาม สบายตา - เกิดการฟื้นฟูของระบบนิเวศภายในแปลง ทำ ให้อาหารธรรมชาติฟื้นกลับมา ก่อเกิดสิ่งแวล้อมที่ดีในชุมชน คนในชุมชนได้เข้ามาร่วมใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่ดี และ ได้กินอาหารทางธรรมชาติ 128 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 129 2.3 “จัดการแปลงให้พึ่งตัวเองให้ได้ ทั้งน้ำ เพื่อการเกษตร ทั้งอาหาร” ของคุณรัญจวน บุญมาก 2.3.1 การออกแบบฟาร์ม 1) เป้าหมายการทำ ฟาร์ม - ทำ ให้ดู ทำ ให้เห็นว่าเราสามารถทำ เกษตรอินทรีย์แล้วได้ผล - ไม่ต้องพึ่งพาใคร ทำ เกษตรกรสวัสดิการ ไม่ต้องรอสวัสดิการจากรัฐ - สามารถรับมือกับวิกฤติปัญหาเรื่องอากาศแปรปรวนได้ - มีอาหารกินอย่างหลากหลาย และเพียงพอ - มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ส่งลูกเรียนได้ - รายจ่ายลดลง 2) แนวคิดการทำ เกษตรระบบนาข้าวเป็นหลัก และระบบพืชยืนต้นหลัก รัญจวน เน้นเรื่องการจัดการน้ำ ให้มีพอใช้ตลอด และสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ (มีแหล่งอาหาร มีแหล่งน้ำ ) ตามหลักคิด “แล้งมีน้ำ ท่วมมีที่กักเก็บน้ำ ” จึงแก้ปัญหาเรื่องน้ำ โดยจัดการให้มีพื้นที่กัก เก็บน้ำ เป็นร่องน้ำ ทำ คันดินกว้างเพื่อให้สามารถปลูกพืชต่างๆ ได้บนคันดิน รัญจวนได้ปลูกไผ่เป็น หลักเพื่อสร้างรายได้ ทำ เป็นแนวเขตป้องกันการเข้ามาของช้างป่า และปลูกพืชอื่นๆ ผสม เช่น มะรุม มะไฟ กล้วย ขนุน พร้อมทั้งจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชล้มลุก ปลูกผักหมุนเวียน และทำ นาด้วย 2.3.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป รัญจวนมีแปลงนา 25 ไร่ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ดินมีลักษณะเป็นดินเหนียว และมีพื้นที่สวน 7 ไร่ เป็นพื้นที่ลุ่มเนิน ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง รัญจวน ได้ทำ เกษตรระบบนาข้าวเป็นหลัก และในระบบพืชยืนต้นหลัก ได้ใช้หลักในการ พิจารณาการวางผังแปลง ดังนี้ - ทำ นาในพื้นที่ลุ่มต่ำ ปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ และเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง เพื่อ ลดความเสี่ยง เตรียมรับมือกับภัยพิบัติ - ขึ้นร่องน้ำ ใหม่ เพื่อเพิ่มพื้นที่การกักเก็บน้ำ ในช่วงน้ำ หลาก และทำ เป็นแนวเขต ป้องกันช้าง
130 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม - ทำ คันดินกันน้ำ กว้าง 4-8 เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกพืช - ปลูกไผ่เป็นหลักในแปลง เพราะไผ่รอดจากน้ำ ในช่วงน้ำ หลาก น้ำ ท่วม และปลูกพืช ยืนต้น อย่างหลากหลายเพื่อทำ เป็นแนวกันชน - รัญจวนจัดการพื้นที่ในแปลงโดยบริเวณพื้นที่เนินเน้นปลูกข่า พื้นที่ลุ่ม ปลูกบัว มะพร้าว ผักบุ้ง พื้นที่ดอน ปลูกไม้ผล 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของรัญจวน ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และ นิเวศภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ - ปลูกข้าวสองรอบ และไถ่หว่านปลูกปอเทืองสลับ โดยรัญจวนปลูกข้าวหลากหลาย สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวมะลิแดง (ขายเพราะตลาดมีความต้องการ) ข้าวมะลิใหญ่ (ไว้กิน) ข้าวดอกมะลิ สูง (เก็บพันธุ์ไว้เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ) และข้าวเหลืองอ่อน (เก็บพันธุ์) - ปลูกผักใบ พืชหมุนเวียนหลังนาในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้าฮ่องเต้ แตงกวา - ปลูกพืชอย่างหลากหลาย ได้แก่ ข่า ไผ่ ผักกูด ผักหนาม สายบัว ผักบุ้งนา ชะมวง พริก ขี้หนู กล้วยน้ำ ว้า สละ มะพร้าวน้ำ หอม มังคุด ทุเรียน ส้มโอ ฝรั่ง ชมพู่ มะม่วงน้ำ ดอกไม้ มะขามเปรี้ยว ขนุน มะขามเทศ เป็นต้น - เน้นปลูกไผ่เป็นหลักเพื่อสร้างรายได้ โดยเลือกปลูกไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่ตง ไผ่ป่า (ทำ หน่อไม้เปรี้ยว) และไผ่กิมซุง เลือกปลูกตามความเหมาะสมกับพื้นที่ เช่น • ไผ่รวก สามารถปลูกทั้งในแปลง (ระยะปลูกห่างราว 2 เมตร) และตามแนวรั้ว ได้ ไม่ขยายกอมาก ทำ ให้ลดความขัดแย้งกับการใช้พื้นที่กับเจ้าของที่ข้างเคียง ออกหน่อปีละ 1 ครั้ง (ช่วงกลางฤดูฝน) มีชาติดี ไม่จำ เป็นต้องดูแลรักษามากนัก ไม่ต้องการน้ำ มาก ปลูกได้ทุกพื้นที่ • ไผ่เลี้ยง มีลำ ต้นตรง ขายลำ ได้ดี หรือนำ มาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นที่ต้องการ ของตลาด และหน่อไผ่เลี้ยงกินได้ ปลูกและดูแลง่าย (ระยะปลูกที่เหมาะสม 2x4 เมตร) • ไผ่ตง หน่อมีน้ำ หนักดี เป็นที่ต้องการของตลาด จำ เป็นต้องดูแล รดน้ำ ใส่ปุ๋ย และหากมีน้ำ เพียงพอ จะออกหน่อให้เก็บได้เมื่ออายุ 5 เดือน สามารถเก็บลำ ขายได้ โดยเหลือไว้ 3 ลำ เพื่อขยายในปีต่อไป (ระยะปลูกที่เหมาะสม 8x8 เมตร) • ไผ่กิมซุง ไม่คาย ตลาดต้องการ ขายได้ทั้งลำและหน่อ ลำ นำ มาใช้ทำ ไม้ค้ำ ยัน ส่วนหน่อออกนานถึง 7 เดือน (ระยะปลูกที่เหมาะสม 5x6 เมตร) 130 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 131 ข้อดีของระบบคือ ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย เหมาะกับทุกสภาพดิน สามารถขยายพันธุ์ได้ ใช้ น้ำ น้อย (รดน้ำ 3 วันต่อครั้งในช่วงฤดูแล้ง) สามารถเลี้ยงไก่ร่วมได้ สามารถปลูกผักยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ผลร่วมในแปลงได้ และพื้นที่ระหว่างแถวไผ่ สามารถปลูกพืชอายุสั้นจำ พวกกระเจียว ฟักทอง ฟักแฟง ข้าวโพดร่วมได้ กำ จัดหญ้าภายในแปลงอย่างสม่ำ เสมอ เพราะรัญจวนเชื่อว่าถ้ากำ จัดหญ้าได้ จะช่วยทำ ให้โรคและแมลงลดลง และเชื่อว่าการแปรรูปจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับไผ่ได้ “ภาพแปลงคุณรัญจวน บุญมาก” 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ ผลจากการนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศในแปลงของรัญจวน ส่งผลให้ - มีพื้นที่กันชน/ป้องกันพ้นที่ ที่เป็นคูน้ำ และแนวต้นไผ่ พร้อมไม้อื่นๆ อย่างหลาก หลาย สามารถป้องกันพื้นที่จากฝุ่นละออง ลม และช้างได้ - มีพืชน้ำ หรือพืชริมน้ำ ช่วยลดทอนสารพิษตกค้างได้ - ไม่ทำ ลายอินทรียวัตถุ และจุลินทรีย์ในดินด้วยการเผาตอซัง ฟางข้าวในนา มีการ ปรับปรุงบำ รุงดิน ด้วยปุ๋ยพืชสด (หลังการเก็บเกี่ยวข้าว) ส่งผลให้สามารถเพิ่มอินทรียวัตถุ เพิ่มความ อุดมสมบูรณ์ให้ดินได้ - ปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ เพื่อให้มีกิน สร้างรายได้ และเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ ขนุน มะอึก มะละกอออย กระทอน ชะมวง เปด ไมลาย หวายโปร่ง ไผกิมซุง ไผกิมซุง มะรุม มะรุม เผือก 1.ขนุน 2.มะอึก 3.มะละกอ 4.อ้อย 5.กระท้อน 6.ชะมวง 7.เป็ด 8.ไม้ลาย 9.หวายโปร่ง 10.ไผ่กิมซุง 11.มะรุม 12.เผือก
132 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 2.3.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - มีน้ำ ใช้เพื่อทำ การผลิตได้อย่างเพียงพอ “แล้งมีน้ำ ท่วมมีที่กักเก็บน้ำ ” - มีแนวเขตธรรมชาติ ที่ช่วยกันลมแรงและช้างที่จะเข้ามาทำ ลาย สร้างความ เสียหายให้กับแปลงได้ - มีพันธุกรรมข้าวสำ รอง ไว้ใช้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - มีอาหารกินอย่างหลากหลายและเพียงพอ ทั้งข้าว ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ไข่ เป็นการพึ่งตนเองด้านอาหารในแปลงเกษตรของครัวเรือน 3) ด้านเศรษฐกิจ - มีรายได้ที่เพียงพอ สามารถเลี้ยงครอบครัว และส่งลูกเรียนได้ - รายจ่ายด้านอาหาร และต้นทุนด้านการเกษตรลดลง 4) ด้านสังคม - สามารถทำ เป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนได้เห็นถึงการสร้างความมั่นคงให้ตัวเองได้ โดยไม่ต้องรอพึ่งพาใคร ดังแนวคิดที่ตั้งไว้ว่า “ทำ เกษตรสวัสดิการ” 2.4 “ปลูกในสิ่งที่กิน พึ่งตนเองได้ เน้นไม่ทำ ลายสิ่งแวดล้อม” ของคุณยุพิน คะเสนา 2.4.1 การออกแบบฟาร์ม 1) เป้าหมายการทำ ฟาร์ม - ทำ การผลิตที่มีอาหารปลอดภัย และหลากหลายบริโภค (ขายได้ แจกได้) - ปลูกพืชหมุนเวียน และหลากหลายเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน - ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก - ปลูกพืชเพื่อสร้างอากาศภายในบ้านดี - ขายข้าวเองได้แบบไม่ต้องพึ่งพาคนกลาง กำ หนดราคาเองได้ 2) แนวคิดการทำ เกษตรระบบนาข้าวเป็นหลัก และระบบสวนรอบบ้านแบบไม้ ยืนต้นผสมพืชผัก ยุพินมีแนวคิดการผลิตที่เน้นการปลูกไว้เพื่อบริโภคที่หลากหลาย ปลอดภัย มีอาหารกินอยู่
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 133 รอบบ้านของตนเอง ทำ เกษตรนาข้าวอินทรีย์โดยลดการพึ่งปัจจัยภายนอก ทำ ปุ๋ยพืชสดในนา ทำ ปุ๋ย หมักเอง ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคก็แบ่งปันเพื่อนๆในชุมชน และนำ ไปจำ หน่ายแบบไม่ต้องพึ่งพา คนกลาง กำ หนดราคาเองได้ ก่อเกิดเป็นรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว 2.4.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป ยุพิน ทำ นาในพื้นที่ 13 ไร่ ซึ่งในพื้นที่นั้นมี 2 ลักษณะคือ เป็นพื้นที่ดอนดินเหนียว และ นาลุ่มดินทราย พร้อมทั้งมีสวนรอบบ้านอีก 1 งาน 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง ยุพิน ได้ทำ เกษตรระบบนาข้าวเป็นหลัก และระบบสวนรอบบ้านแบบไม้ยืนต้นผสมพืชผัก ได้ ใช้หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง โดยมุ่งเน้นทำ เกษตรอินทรีย์ ทำ นาอินทรีย์ และทำ ระบบสวน รอบบ้าน โดยปลูกทุกอย่างที่อยากกิน เน้นการมีบริโภคในครัวเรือนที่หลากหลาย 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของยุพิน ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และนิเวศ ภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ ปลูกข้าวมะลิแดงเป็นหลัก เพราะเป็นข้าวที่เจริญเติบโตได้ดี เหมาะ สมกับพื้นที่ ให้ผลผลิตดี และเป็นที่ต้องการของตลาด ทำ เฉพาะนาปี แล้วปลูกพืชหลังนาจำ พวก ถั่วเขียว และปอเทืองเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน อีกทั้งไม่ปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า หากไม่ทำ การ เพาะปลูกอะไร ก็ปล่อยให้หญ้าขึ้นเพื่อคลุมหน้าดินไว้ เมื่อจะทำ การผลิตจึงค่อยไถ่กลบลดการเผา ตอซังในนา เพราะจะทำ ให้อินทรียวัตถุสูญหายไป การทำสวนรอบบ้าน ก็เพื่อสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และอาศัยซากพืชที่มาจากวัชพืช ใบไม้ที่ร่วงหล่นเป็นปุ๋ยบำ รุงดิน ยุพินใช้น้ำ จากบ่อน้ำ ตื้นเพื่อรดผักกินยอด อย่างเสม็ด แต้ว ชะอม และพืชเหล่านี้จำ เป็นต้องมีการตัดกิ่งสางต้นเสมอเพื่อไม่ให้โตเกิน หรือแตกกิ่งก้านมากเกิน เป็นการ ลดการแข่งขันของพืชในระบบ และได้ปลูกไม้ผลแทรก ซึ่งพืชที่ปลูกในสวนส่วนใหญ่คือ • ไม้ผล เช่น ส้มโอ มังคุด ส้มเขียวหวาน มะนาว มะพร้าว กล้วยน้ำ ว้า มะกอกป่า ฝรั่ง มะละกอ แก้วมังกร • ผัก เช่น มะกรูด เพกา มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือพวง มะอึก พริกขี้หนู ต้นหอม สะระแหน่ ผักกูด ดาหลา ฟักทอง ฟักเขียว ชะอม กุยช่าย พริกไทย ข่า ตะไคร้ ก้านทูน ผักชี ผักชีฝรั่ง • พืชสมุนไพร เช่น ว่านหางจระเข้ ดอกอัญชัน ยอ ขมิ้นชัน ขมิ้นขาว หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 133
134 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ ผลจากการนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศในแปลงของยุพิน ส่งผลให้การเลือกปลูกข้าวที่ เหมาะสมกับพื้นที่ก็ทำ ให้ได้ผลผลิตที่ดี (50 ถัง/ไร่) และการไม่ปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า มีการปลูก พืชคลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน ทำ ให้ในช่วงที่ปลูกข้าว ฝนทิ้งช่วงนานจน ดินแห้ง แต่ข้าวก็ไม่ยืนต้นตาย เพราะยังมีความชุ่มชื้นอยู่ในดิน อีกทั้งการปลูกพืชที่สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างเกื้อกูลกัน ทำ ให้ลดภาระ และต้นทุนในการบำ รุง ดูแลได้เนื่องจากการหมุนเวียนธาตุอาหาร จึง ทำ ให้ได้กินผัก และผลไม้ที่หลากหลาย มีความปลอดภัย มีกินอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี และเหลือพอ ให้แบ่งปันเพื่อนๆ ในชุมชนอีกด้วย 2.4.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - ในช่วงแล้งถึงดินในนาจะแห้ง (หน้าดิน) แต่ข้าวก็ไม่ตาย เพราะยังสามารถกักเก็บ ความชุ่มชื้น กักเก็บน้ำ ในดินพอให้ข้าวใช้ประโยชน์ได้ แบบไม่เสียหาย - อากาศในบ้านเย็นสบายมากกว่า พื้นที่นอกเขตบ้าน 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - มีอาหารกินที่ปลอดภัยอย่างหลากหลาย ใกล้บ้าน มีกินตามที่เราอยากกิน สามารถ พึ่งตนเองได้และมีเหลือแบ่งปันด้วย “ภาพแปลงยุพิน คะเสนา” 1.เสม็ด 2. ติว 3.มะนาว 4.ชะอม 5.ผักหวาน 6.มังคุด 7.ทุเรียน 8.ลองกอง 9.เงาะ 10.บอนำาตืน ผักหวาน บอนำาตืน มังคุด ทุเรียน ทุเรียน ลองกอง มะนาว ชะอม เงาะ เสม็ด ติว
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 135 3) ด้านเศรษฐกิจ - ได้ลดรายจ่ายค่าอาหารในครัวเรือนอย่างมาก - ขายข้าวเองโดยตรง ไม่ผ่านคนกลาง ทำ ให้ขายข้าวได้ในราคาที่ตนเองพอใจ ก่อเกิด รายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว 4) ด้านสังคม - สามารถแบ่งปันผลผลิตในสวนให้กับเพื่อนบ้านในชุมชนได้ 2.5 “ครอบครัวอยู่ด้วยกันได้ : ทำ เกษตรเป็นอาหาร เป็นรายได้ และเป็นยา” ของคุณสะอิ้ง สุริยา 2.5.1 การออกแบบฟาร์ม 1) เป้าหมายการทำ ฟาร์ม - ทำ การผลิตที่ได้ผล โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี และปัจจัยภายนอก - ฉันทำ ได้ ทำ ในสิ่งที่คนเขาบอกว่าทำ ไม่ได้ ปลูกไม่ได้ แต่เราทำ ได้ - มีอาหาร มียา และมีรายได้ - สร้างความยั่งยืนของครอบครัว มีความภูมิใจที่สามารถรองรับการกลับมาอยู่บ้าน ของคนในครอบครัวได้ (โดยเฉพาะลูกหลานที่อยากกลับมาอยู่บ้าน) 2) แนวคิดการทำ เกษตร ระบบสวนผสม และระบบสวนพืชหลายชั้นเรือนยอด ด้วยพื้นที่การเกษตรเดิมนั้นเป็นพื้นที่ป่าดั้งเดิม จึงอยากอนุรักษ์ไม้เดิม เช่น ไม้ยางนา ประดูป่า และลิ้นจี่ป่าไว้บางส่วน แล้วปรับแต่งพื้นที่เพื่อปลูกพืชอาหาร และพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยทำ การผลิตที่หลากหลาย ระบบการปลูกพืชลักษณะนี้เป็นการ เลียนแบบป่า จึงช่วยอนุรักษ์ความชื้นในดิน ดินมีความร่วนซุย ลดการพังทลายกัดเซาะ และสร้าง ระบบหมุนเวียนธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตที่หลากหลาย เก็บเกี่ยวหมุนเวียนได้ ตลอดปี ผลสรุปในภาพรวมคือ มีอาหาร มีรายได้ มียารักษาโรค และมีอากาศที่ดี 2.5.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป พื้นที่ของสะอิ้ง มีลักษณะเป็นพื้นที่โคก ลาดเอียง ดินเป็นดินทรายขี้เป็ด ดินร่วน และพื้นที่ การเกษตรเดิมนั้นเป็นพื้นที่ป่าดั้งเดิมที่มีไม้เดิม เช่น ไม้ยางนา ประดู่ป่า และลิ้นจี่ป่า
136 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง สะอิ้งได้ทำ การเกษตรในระบบสวนผสม และระบบสวนพืชหลายชั้นเรือนยอด ได้ใช้หลักใน การพิจารณาการวางผังแปลง ดังนี้ - ปลูกพืชอย่างหลากหลายไม่ให้แปลงโล่งมาก เพื่อกักความชุ่มชื้นภายใน แปลงให้ได้มากที่สุด - ปรับแต่งพื้นที่เพื่อปลูกพืชอาหาร และพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้าง ความมั่นคงทางอาหาร - เลือกจะปลูกพืชให้สอดคล้องกับฤดูกาล สภาพภูมิอากาศ และสภาพนิเวศ ภายในแปลง - พื้นที่ต้องสร้างมูลค่าทางเศรฐกิจ ในช่วงเริ่มแรกนั้นสะอิ้งต้องการรักษาไม้ป่าดั้งเดิม เช่น ไม้ยางนา ประดูป่า และลิ้นจี่ป่าไว้บาง ส่วน แล้วปรับแต่งพื้นที่เพื่อปลูกพืชอาหาร และพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่งคงทางอาหาร พื้นที่ แต่ต่อมาสะอิ้งต้องการให้พื้นที่สร้างมูลค่าทางเศรฐกิจ จึงได้ปรับปรุงแปลงโดยทำ การตัดพืชป่า บางตัวที่ไม่มีผลตอบแทนทางเศรฐกิจออก แล้วปลูกพืชทดแทนแต่ยังคงแนวคิดเรื่องการปลูกพืชหลาย ชั้นเรือนยอดมากขึ้น และจัดการพื้นที่เพื่อปลูกพืชอายุสั้นอย่างหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของสะอิ้ง ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และนิเวศ ภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ - สะอิ้งปลูกพืชสมุนไพรคลุมหญ้า พืชสมุนไพรจำ พวก ว่านหางจระเข้ กระเจี๊ยบแดง กระชาย ขมิ้นชัน และตัดไม้ป่าที่ไม่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยปรับปรุงพื้นที่ให้ได้ผลตอบแทน เชิงเศรษฐกิจ “ปลูกพืชที่ขายได้ กินได้” แต่ยังคงแนวคิดเรื่องการปลูกพืชหลายชันเรือนยอด - ในพื้นที่แปลงมีบ่อน้ำ ขนาด 2 งาน แต่ระดับน้ำ ในบ่อจะลดลง หรือเพิ่มขึ้นตามปริมาณ น้ำ ในคลองธรรมชาติข้างแปลง ในช่วงแล้ง น้ำ ไม่พอใช้ในการเกษตร น้ำ ในบ่อจะแห้ง สะอิ้งจึงปลูกพืช อย่างหลากหลายไม่ให้แปลงโล่งมาก เพื่อกักความชุ่มชื้นภายในแปลงให้ได้มากที่สุด และปลูกพืชอายุ สั้นเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณอาหาร และสร้างรายได้หมุนเวียนในช่วงที่ยังมีน้ำ ในบ่อเพียงพอ - การแปรรูปผลผลิต คือสิ่งที่สะอิ้งมองเห็นเป็นช่องทางการตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต ได้ เช่น มีมะขาม ก็สามารถแปรรูปเป็นมะขามแช่อิ่ม ตลาดต้องการ ดังเช่น 136 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 137 ตารางข้อมูลจากการสำ รวจแปลงล่าสุดในปี 2566 พบพืชอย่างหลากหลายกว่า 67 ชนิด ได้แก่
138 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ การปลูกพืชในระบบนี้ เป็นการเลียนแบบป่า จึงช่วยอนุรักษ์ความชื้นในดิน ดินมีความร่วนซุย ลดการพังทลายกัดเซาะ และสร้างระบบหมุนเวียนธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตที่หลาก หลาย เก็บเกี่ยวหมุนเวียนได้ตลอดปี 2.5.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - ดินมีความชื้นสูง พืชสามารถทนอยู่รอดได้ในช่วงแล้ง แม้จะมีความเสียหายเกิดขึ้น ในแปลง แต่ก็ยังสามารถเก็บผลผลิตได้แบบปริมาณลดลง - อากาศในแปลงถ่ายเท เย็นสบายดี ดินมีความร่วนซุย ไม่พังทลายหรือถูกน้ำ กัดเซาะ 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - มีอาหารกินอย่างหลากหลาย และมีพืชสมุนไพรใช้เป็นยารักษาโรค 3) ด้านเศรษฐกิจ - สามารถแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเพิ่มมากขึ้น - ผลผลิตในแปลงสามารถจำ หน่ายสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 4)ด้านสังคม - ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน ไม่ต้องออกไปทำ งานไกลบ้าน “ภาพแปลงสะอิ้ง สุริยา” 1.ลำาไย 2.มะพราว 3.ผักหวานบ้าน 4.ทุเรียน 5.มะนาว 6.ติว 7.เพกา 8.มะมวง 9.ประดู 10.ลินจีปา 11.มะขาม 12.บาน 13.ระกำา 14.มะปราง 15.ไพล 16.ชะมวง 17.ไมปา 18.วาน 19.ไผ่ 20.ยางนา ผักหวาน ไพล บาน ระกำาทุเรียน มะปราง มะนาว เพกา ไมปา ติว ชะมวง มะมวง วาน ประดู ไผ่ ลินจีปา ยางนา ยางนา ยางนา ลำาไย มะขาม มะพราว บาน
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 139 - มีความภูมิใจในตนเอง ที่สามารถสร้างฐานความมั่นคงทางอาชีพรองรับการกลับมา อยู่บ้านของคนในครอบครัวได้ - ช่วยอนุรักษ์ รักษาพื้นที่ป่าในชุมชน และยังคงมีพันธุ์ไม้ และผลไม้ดั้งเดิมในท้องถิ่น 2.6 “ต้องมีอาหารกิน เพราะเมื่อเจอวิกฤติถึงมีเงินก็ซื้อไม่ได้ 100 %” ของคุณนุชนาฎ เข็มลาย 2.6.1 การออกแบบฟาร์ม 1) เป้าหมายการทำ ฟาร์ม ยิ่งทำ ยิ่งเพิ่ม ยิ่งสมบูรณ์ - ทำ การผลิตที่มีอาหาร มียารักษาโรค และมีไม้ใช้สอย - มีรายได้จากแปลง หมุนเวียนอย่างเพียงพอ - มีการใช้เครื่องทุนแรงมาช่วยให้ทำ การเกษตรได้ง่ายขึ้น และเป็นการได้มาจากการ หมุนเวียนทุนภายในแปลง เช่น ขายไม้ในสวนมาซื้อที่ปั่นดิน และเลื่อย เป็นต้น 2) แนวคิดการทำ เกษตร ระบบสวนรอบบ้าน และระบบไม้ยืนต้นผสมพืชผัก นุชนาฎ มีแนวคิดในการทำ เกษตรเพื่อให้สามารถสร้างรายได้สม่ำ เสมอจากผลผลิตที่ หลากหลาย ภายใต้สิ่งแวดล้อมรอบบ้านที่ดี มองอะไรก็กินได้ พร้อมทั้งมีแรงงานเป็นของตัวเอง ทำ เองได้โดยไม่ต้องออกไปหาทำ งานข้างนอก ปลูกผักได้อย่างอิสระ มีเวลาเป็นของตัวเอง อยากเที่ยว ได้เที่ยว มีองค์ความรู้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนสมาชิกได้ 2.6.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป พื้นที่นุชนาฎ มีลักษณะเป็นพื้นที่ดอน ดินเหนียว พื้นที่เคยปลูกมันสำ ปะหลังมามากกว่า 30 ปี ในปี 2544 เริ่มปลูกพืชยืนต้นในแปลง ปี 2551 เริ่มเติมอินทรียวัตถุ ทำ ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ดิน และเพิ่ม ความหลากหลายในแปลง 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง นุชนาฎ ได้ทำ เกษตรระบบสวนรอบบ้าน และระบบไม้ยืนต้นผสมพืชผักได้ใช้หลักในการ พิจารณาการวางผังแปลงดังนี้ - ปลูกต้นไม้ตามนิสัยพืช แสง และเงา - ปลูกพืชหมุนเวียน/สลับพืชที่ปลูก ในพื้นที่โล่ง
140 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของนุชนาฎ ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และนิเวศ ภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีการจัดการพื้นที่การเกษตรแบ่งเป็น 2 พื้นที่ ได้แก่ • พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น ที่ปลูกพืชยืนต้นหลากหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง มะกรูด มะนาว มะเฟือง มะละกอ มะยม มะม่วงหาวมะนาวโห่ มะปราง มะขามเปรี้ยว กระท้อน มะม่วงทองดำ ส้มโอ แก้วมังกร หมาก ชะอม สะเดา แต้ว ชะมวง ขี้เหล็ก มะตูมแขก ข่า ไผ่เบตง ไผ่เลี้ยง เป็นต้น • พื้นที่โล่ง ที่ทำ การปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกสลับกันไป โดยใช้การบริหารจัดการร่วม เช่น ปลูกถั่ว แล้วปลูกผักใบ หลังจากนั้นก็ปลูกข้าวโพด ปลูกหมุนเวียนกันไป พืชหมุนเวียนที่นุชนาฎ ปลูก เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู ต้นหอม บวบ ฟักทอง มะเขือเปราะ น้ำ เต้า มะเขือตอแหล มะเขือพวง ผักบุ้ง กะเพรา โหระพา ตำ ลึง พริกขี้หนู เป็นต้น มีการคลุมดินด้วยฟาง หญ้า ใบไม้ ใส่ปุ๋ยคอก โดยทำ ปุ๋ยหมัก และน้ำ หมักใช้เองในแปลง เลือกใช้เครื่องทุ่นแรงมาใช้ในแปลงเกษตร เพื่อช่วยให้สามารถทำ เกษตรได้ง่ายขึ้นอย่างเหมาะสม เช่น เครื่องปั่นดิน เลื่อย เป็นต้น “ภาพแปลงนุชนาฎ เข็มลาย” 1.คลอง 2.กลวย 3.บอนำา 4. ไผ่ตง 5.ติว 6.มะมวง 7.ข่า 8.ส้มโอ 9.โรงปุย 10.กระทอน 11.บอนำาตืน 12.มะเขือ 13.ถั่วฝักยาว 14.ชะอม ไผ่ตง บอนำาข่า โรงปุย ข่า บอนำาตืน ติว มะมวง มะเขือ ถั่วฝักยาว ชะอม คลอง กลวย กลวย ส้มโอ กระทอน
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 141 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ ผลจากการนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศในแปลงของนุชนาฎ ส่งผลให้ - หลังจากใช้เวลากับการเปลี่ยนระบบการผลิต และฟื้นฟูสภาพดินผ่านไปแล้ว 12 ปี ตั้งแต่ปี 2559 ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้สูงสุด ผลผลิตสมบูรณ์เก็บได้อย่างเต็มที่ สร้างรายได้ได้ทุกวัน อย่างสม่ำ เสมอ (มีเงินพอใช้ และสามารถส่งลูก 2 คน เรียนจนจบได้) - การปลูกพืชที่มีระบบรากลึก สามารถดึงธาตุอาหารที่ไหลลงสู่ดินชั้นล่างให้กลับขึ้น มาสู่ดินชั้นบนใหม่ และการใช้ใบไม้ของพืชนั้นคลุมดิน หรือเป็นปุ๋ยพืชสด ตลอดจนการปลูกพืชผสม ผสานหลายชนิด ที่มีระบบรากที่มีความลึกแตกต่างกัน ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยให้ธาตุอาหารในดินหมุนเวียน มีความอุดมสมบูรณ์ ลดการสูญเสียธาตุอาหาร - นุชนาฎสามารถทำ การเกษตรได้อย่างอิสระ อยากออกไปเที่ยว ออกไปแลกเปลี่ยน ประสบการณ์กับเพื่อนสมาชิก หรือไปไหนหลายวันก็ได้ โดยไม่ต้องเป็นห่วงว่า พืชผักที่ปลูกไว้ในแปลง จะตาย ได้รับความเสียหาย เพราะระบบนิเวศภายในแปลงสามารถเกื้อกูล ดูแลกันเองได้ โดยที่นุชนาฎ ไม่ต้องเข้าไปจัดการ และดูแลมากแล้ว - การสร้างความหลากหลายในแปลง ทำ ให้มีวัตถุดิบใช้เองในแปลงได้อย่างครบวงจร เช่น อยากได้ถ่าน ก็มีไม้ทำ ถ่าน อยากได้ใบกระพ้อห่อข้าวต้มก็มี อยากได้ไม้ใช้สอยก็มี เป็นต้น 2.6.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - สิ่งแวดล้อมรอบบ้านดี มีความร่มรื่น - ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เก็บกักความชื่นได้ดี ปลูกพืชได้ผลผลิตดี เสียหายไม่มาก จากสภาพอากาศที่ร้อนเกินไป 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - มีอาหาร มียารักษาโรค และไม้ใช้สอยใช้ได้อย่างเพียงพอ 3) ด้านเศรษฐกิจ - มีรายได้อย่างสม่ำ เสมอ ขายผลผลิตได้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง สามารถส่งลูก เรียนจนจบได้อย่างไม่ขัดสน - มีวัตถุดิบที่ต้องการใช้เองได้อย่างครบวงจร ไม่ต้องออกไปซื้อหาจากข้างนอก เช่น อยากได้ถ่านก็มีถ่านใช้ อยากได้ใบกระพ้อห่อข้าวต้มก็มีในแปลง ทำ ให้ลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 141
142 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 4) ด้านสังคม - ทำ การเกษตรได้ง่ายขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับแปลงเกษตร - มีอิสระเสรีกับการใช้ชีวิต 2.7 “อาหารปลอดภัย ครอบครัวอบอุ่น” ของคุณคำ พัน สุพรม 2.7.1 การออกแบบฟาร์ม 1) เป้าหมายการทำ ฟาร์ม - ทำ การผลิตที่มีอาหารปลอดภัย และมีรายได้มั่นคง - เป็นต้นแบบองค์ความรู้ในการถ่ายทอดวิถีเกษตรอินทรีย์ และมีผู้สืบทอด - เผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการปลูก การจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่า 2) แนวคิดการทำ เกษตร ระบบสวนรอบบ้าน และระบบไม้ยืนต้นผสมพืชผัก คำ พันต้องการสานต่ออาชีพหลักของครอบครัว คือ การทำ การเกษตรในวิถีเกษตร อินทรีย์ ที่สร้างความมั่นคงทางอาหารที่ปลอดภัยให้กับครอบครัว ควบคู่ไปกับการหาความรู้เรื่อง การจัดการแปลงเพิ่มเติม และเรียนรู้ร่วมไปกับเครือข่ายเพื่อพัฒนาแปลงของตัวเอง เพื่อให้สามารถ ออกแบบ/จัดการแปลงของตัวเองได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ และวิถีชีวิตของตนเอง 2.7.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป แปลงคำ พัน เป็นพื้นนาในที่ลุ่ม น้ำ ท่วมขังในช่วงน้ำ หลาก จึงปรับพื้นที่นาเดิมมาทำ สวน โดยขุดร่องน้ำ ในแปลงเพื่อระบายน้ำ และทำ คันดินขึ้นสูงเพื่อปลูกต้นไม้ 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง คำ พัน ได้ทำ เกษตรระบบสวนรอบบ้าน และระบบไม้ยืนต้นผสมพืชผัก ได้ใช้หลักในการ พิจารณาการวางผังแปลงดังนี้ - ทำ บ่อน้ำ ตื้น 2 บ่อติดกันในแปลง เพื่อทดน้ำ เข้ามา ทำ ให้สามารถใช้น้ำ ได้มากกว่า ปกติ และลดความเสี่ยงจากน้ำ ท่วม - ปลูกพืชอย่างหลากหลายในแปลงเพื่อลดความเสี่ยง และจัดการปลูกพืชให้พ้นจาก น้ำ ท่วมขัง ควบคู่กับการจัดการระบบระบายน้ำ ในแปลง เพื่อลดระยะเวลาน้ำ ท่วมขังในแปลง ทำ ให้ พืชสามารถอยู่รอดได้
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 143 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของคำ พัน ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และนิเวศ ภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ - คำ พันปรับพื้นที่นาเป็นสวน และตัดสินใจไม่ทำ นาในปี พ.ศ. 2560 เนื่องจากปลูก พืชหลังนาไม่ทัน มีน้ำ ไม่เพียงพอ และในแปลงยังมีความเสี่ยงในฤดูน้ำ หลาก ได้รับความเสียหายจาก น้ำ ท่วม บางปีทำ นาไม่ได้ผลผลิต เมื่อปรับพื้นที่นาเป็นสวนแล้ว ในปีปลายปี พ.ศ. 2565 คำ พันก็ขุด ร่องสวนเพื่อให้เป็นพื้นที่ระบายน้ำ ในช่วงน้ำ หลาก เพื่อให้ไม้ยืนต้นหลายชนิดได้รอดจากน้ำ ที่จะท่วม ขังในแปลง - พื้นที่ของคำ พัน เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่มีพืชผักผสมไม้ยืนต้น พืชผักมีทั้งที่เป็น ผักอายุสั้น ปลูกสลับกันอย่างมีประสิทธิภาพ และผักเก็บยอด เช่น ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า แต้ว ลด ความเสี่ยงเสียหายจากน้ำ ท่วม โดยปลูกมะนาวในบ่อเหนือระดับหน้าดินปกติ รวมทั้งปลูกพืชท้องถิ่น อย่างผักกูด ไม้ยืนต้นพวกไม้ผลจะปลูกผสมในแปลง ส่วนไม้ป่าอย่างยางนา ตะเคียนจะปลูกขอบแดน เพื่อลดการแก่งแย่งน้ำ และธาตุอาหารกับผักในแปล รายละเอียดของพืชที่ปลูกในแปลงเพิ่มเติมคือ • ไม้ผล จำ พวก แก้วมังกร เงาะ ทุเรียน มังคุด ฝรั่ง มะนาว • ผักและพืชหมุนเวียน จำ พวก กะหล่ำ ปลี ผักหวานป่า มะเขือเทศ แตงกวา พริก ถั่วฝักยาว ต้นหอม ข่า และว่านหางจระเข้ เป็นต้น นอกจากนี้คำ พันยังเลี้ยงวัว ทำ ให้มีปุ๋ยใช้เองอย่าง เพียงพอ และสามารถผลิตปุ๋ยจำ หน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ “ภาพแปลงคำ พัน สุพรม (ภาพตัดขวาง)”
144 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม “ภาพแปลงคำ พัน สุพรม”
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 145 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ ผลจากการนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศในแปลงของคำ พัน ส่งผลให้ - ผลจากการที่คำ พัน เรียนรู้ สังเกต และพัฒนาตนเองจนเชี่ยวชาญในการจัดเก็บเมล็ด พันธุ์ เพาะพันธุ์กล้าผักหวานป่า และปลูกผักหวานในแปลงเก็บขายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว อีกทั้ง ยังสามารถถ่ายทอด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรที่สนใจได้อย่างกว้างขวาง - คำ พันสามารถสร้างรายได้จากการขายผลผลิตผัก และไม้ผลที่หลากหลาย ในขณะ ที่สามารถรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่างดี 2.7.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - มีน้ำ ใช้ในแปลงเกษตรอย่างเพียงพอ และสามารถระบายน้ำ ขังแปลงในช่วงน้ำ หลาก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - พืชที่หลากหลายในแปลง ทำ ให้ไม่เสี่ยงกับวิกฤติปัญหา ฝนแล้ง น้ำ ท่วม 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - มีเมล็ดพันธุ์ที่จัดเก็บเอง ไว้ใช้อย่างเพียงพอ - มีอาหารที่หลากหลาย และปลอดภัยกินอย่างเพียงพอ 3) ด้านเศรษฐกิจ - มีรายได้อย่างมากกับการจำ หน่ายเมล็ด และกล้าพันธุ์ผักหวานป่า ซึ่งเกิดจาก การต่อยอด พัฒนาองค์ความรู้ที่มีจนเชี่ยวชาญ - มีรายได้จากการขายผลผลิตในแปลงอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านสังคม - ได้สานต่ออาชีพการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของครอบครัว และมีลูกหลาน มาสืบทอดต่อ - มีโอกาสได้เพิ่มเติมความรู้ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายได้ 2.8 “มีอาหาร และเมล็ดพันธุ์ที่ดี สร้างรายได้ได้” ของคุณกาญจนา เข็มลาย 2.8.1 เป้าหมายการทำ ฟาร์ม 1) การออกแบบฟาร์ม - ทำ การผลิตที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากมีอาหารกิน โดยรายได้นั้นเกิด
146 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม จากผลผลิตทุกอย่างภายในแปลง เช่น จากต้นไม้ (ไม้ใหญ่ ไม้ใช้สอย) จากพืชสมุนไพร จากพืชอาหาร และจากเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ - ปลูกเห็ดธรรมชาติ เพื่อเป็นอาหารชุมชน มีปาร์ตี้เก็บเห็ดในแปลง 2) แนวคิดการทำ เกษตร ระบบสวนรอบบ้าน และระบบไม้ยืนต้นผสมพืชผัก กาญจนามีแนวคิดในการทำ เกษตรเพื่อสร้างระบบนิเวศรอบบ้านให้ดี มีความหลากหลายของ พืชและสัตว์ สร้างฐานอาหารที่หลากหลาย มีกินเพียงพอ และก่อเกิดรายได้ (ส่วนที่เหลือกิน) สามารถ ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยทำ การคัดเลือก จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ปรับตัว ได้ดีกับสภาพพื้นที่ ปลูกผักพื้นบ้านที่มีอายุยืน เช่น แต้ว ชะมวง เพกา และข่า เป็นต้น 2.8.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป ลักษณะพื้นที่ขนาด 5 ไร่ ของกาญจนาเป็นพื้นที่ดอน ดินในแปลงเป็นดินเหนียว พื้นที่เดิมส่วน หนึ่งเป็นพื้นที่ป่า มีต้นไม้ใหญ่ และเป็นพื้นที่ที่เคยปลูกมันสำ ปะหลังมาก่อนทำ ให้ดินค่อนข้างไม่มีธาตุ อาหาร ไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง กาญจนา ทำ เกษตรในระบบสวนรอบบ้าน และระบบไม้ยืนต้นผสมพืชผัก ได้ใช้หลักในการพิจารณา การวางผังแปลง ดังนี้ ด้วยที่ดินผืนเดิมเป็นไร่มันสำ ปะหลัง เพราะแม่ตัดสวนมะม่วงทิ้งเพราะไม่ได้ราคา ดินจึงค่อน ข้างขาดความอุดมสมบูรณ์ กาญจนาจึงต้องปรับปรุงดินก่อนลงพืช ในพื้นที่ 5 ไร่ ได้ใช้เป็นพื้นที่ปลูก บ้าน ปลูกของกิน และปลูกพืชพันธุ์ท้องถิ่น เป็นสวนผสมผสาน และเลือกพืชที่ปลูกตามที่อยากกิน อยากได้เมล็ดพันธุ์ 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของกาญจนา ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และนิเวศ ภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ - ตอนเริ่มบุกเบิกพื้นที่ทำ เกษตร กาญจนาได้ฝึกเริ่มทยอยทำ ทีละส่วน ไม่ได้วาดผังว่า จะปลูกอะไรตรงไหน ส่วนหนึ่งเพราะทำอะไรไม่เป็นมาก่อน ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ผล จึงทำ ตามกำลัง เช่น ถ้ามีกล้วยก็เอาหน่อไปปลูก และเอาพืชอย่างอื่นแทรกเข้ามา คือ ปลูกพืชอายุสั้นรอ มีการเรียนรู้ 146 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 147 อย่างต่อเนื่อง ถึงแปลงจะไม่สวยเท่าของคนอื่น แต่ก็ไม่เสี่ยงกับโรค และทำ ให้มีของกินหมุนเวียน ตลอด ไม่ต้องซื้อ - ด้วยสภาพดินในแปลงเป็นดินเหนียว จึงฟื้นคืนความสมบูรณ์ดิน ให้มีธาตุอาหาร และร่วนซุยขึ้น ด้วยการปล่อยใบไม้ให้ทับถม และตัดหญ้าให้หมักอยู่ในพื้นดิน เพราะเดิมในแปลงเป็น พื้นที่ป่ามีต้นไม้ใหญ่อยู่ในแปลงหลายต้น จึงยังคงไว้ และเลือกนำ พืชที่อาศัยในร่มเงามาปลูกใต้ต้นไม้ ใหญ่นี้ เช่น พริกไทย ดีปรี กระชาย ข่า ขมิ้น ไพล ผักกูด - สำ หรับพื้นที่โล่ง ที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ก็จัดการปรับพื้นที่ ปลูกพืชผักหมุนเวียนหลาก หลายชนิด ซึ่งเดิมกาญจนาตั้งเป้าไว้ว่าในสวนต้องปลูกพืชที่กินได้อย่างน้อย 15 ชนิด ส่วนใหญ่จะเป็น พืชพันธุ์ท้องถิ่น เช่น ชะมวง เสม็ด ผักไชยา แต้ว มะละกอ ชะอม บวบงูน้ำ เต้า ถั่วฝักยาว มะเขือยาว เสาวรส ฟักข้าว บัวบก กะเพรา โหระพา แมงลัก ผักชี พริก หน่อไม้ไผ่ เป็นต้น เพราะอายุผักไม่เท่า กัน ในช่วงที่เก็บผักขายสดก็เก็บไปขาย และจะจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมสร้างรายได้ให้ ครอบครัวได้เป็นอย่างมาก - กาญจนาเลือกปลูกพืชตามที่อยากกินอยากได้เมล็ดพันธุ์ ปลูกจนเต็มพื้นที่ โดยพืชที่ นำ มาปลูกส่วนใหญ่ได้มาจากเมล็ดและกิ่งพันธุ์ของเพื่อนเกษตรกร หลังจากปลูกจนได้พันธุ์ ได้ผลผลิต แล้ว ก็นำ มาแบ่งปันกัน การแบ่งปันกันก็ได้ทำ ให้ได้พบเจอกัน คุยกัน แบ่งปันกันก่อเกิดเป็นเครือข่าย พันธุกรรม สร้างความมั่นคง และความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน - ปลูกดอกดาวเรือง บานชื่น เพื่อล่อแมลงไม่ให้กินพืชผัก ปลูกแบบผสมผสานเพื่อ กระจายความเสี่ยงเรื่องโรค แมลง และสามารถกระจายรายได้ หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 147
148 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ปฏิทินการเก็บเมล็ดพันธุ์ โดยปกติการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชนั้น กาญจนา จะเก็บในช่วงเดือน ตุลาคม – เมษายน เพื่อ ให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ มีคุณภาพ เหมาะที่จะนำ ไปเป็นพันธุ์ที่ใช้ปลูกต่อได้ในฤดูกาลต่อไป ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้ “ภาพแปลงกาญจนา เข็มลาย (ภาพตัดขวาง)” ตุลาคม โหรพา ยี่หร่า มะเขือพวง มะเขือเปราะม่วง มะเขือเจ้าพระยา มะเขือแม่โจ้ ก้านตง ข้าวโพด เสาวรส แค ผักปลัง ถั่วฝักยาว พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ถั่วพู กะเพรา แมงลัก พริก บวบ น้ำ เต้า ฟักทอง ฟักข้าว