หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 149 “ภาพแปลงกาญจนา เข็มลาย”
150 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ ผลจากการนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศในแปลงของกาญจนา ส่งผลให้ - พื้นดินเริ่มฟื้นความอุดมสมบูรณ์ เนืองด้วยการทยอยจัดการแปลงการผลิตแบบค่อยเป็น ค่อยไปทำ ให้ไม่เสี่ยงกับโรคและแมลง ทำ ให้มีอาหารบริโภคในครัวเรือน - การปลูกพืชหลายชนิดทำ ให้เมื่อเกิดโรค แมลง ก็ไม่เสียหายหมดทั้งแปลง เป็นการให้ ธรรมชาติช่วยดูแลกัน จึงมีผลผลิตออกมาให้กินอย่างหมุนเวียน หลากหลาย ขายสร้างรายได้ได้ - การปลูกพืช และจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมทำ ให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีมาตรฐาน มีความสมบูรณ์ สามารถนำ ไปเป็นเมล็ดพันธุ์ปลูกขยายต่อได้ 2.8.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - ดินฟื้นฟู มีความอุดมสมบูรณ์ จนสามารถทำ การผลิตที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สมบูรณ์ ไม่มีโรคระบาดรุนแรงในแปลง 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - มีอาหารทางธรรมชาติ ทั้งพืชและสัตว์ - มีอาหารกินอย่างหลากหลาย และปลอดภัย 3) ด้านเศรษฐกิจ - มีรายได้จากผลผลิตทุกอย่างในแปลง - มีรายได้หลักจากการจำ หน่ายเมล็ดพันธุ์ผัก และกล้าพันธุ์ ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ ผักที่กาญจนาสามารถจัดเก็บเองได้ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 4) ด้านสังคม - มีปาร์ตี้เห็ด ที่คนในชุมชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากเห็ดธรรมชาติในแปลงได้ 2.9 “สวัสดิการคนทำ งานพัฒนา : สิ่งที่เราพูด สิ่งที่เราส่งเสริม อยู่ในวิถีชีวิตของเรา” ของคุณนันทวัน หาญดี 2.9.1 การออกแบบฟาร์ม 1) เป้าหมายการทำ ฟาร์ม - ปลูกป่าเพื่อรักษาที่ดิน “รณรงค์ไม่ขายที่ดิน”
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 151 - สร้างพื้นที่ป่าให้คนในชุมชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นวิถี การใช้ชีวิต ร่วมกับป่า ซึ่งมองว่ามันคือ วิถีของความมั่นคง - มีรายได้จากแปลงเดือนละ 15,000 บาท 2) แนวคิดการทำ เกษตร ระบบสวนรอบบ้าน และระบบไม้ยืนต้นผสมพืชผัก นันทวัน มีแนวคิดในการสร้างวิถีของความมั่นคง ทำ ให้เห็นว่าเราสามารถทำ ได้ผ่าน องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจริง สามารถอธิบายให้เห็นภาพที่ชัดเจนได้ โดยเน้นปลูกป่าที่มีทั้ง ไม้ป่า ไม้ผล และพืชอาหารอย่างหลากหลายในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อสร้างสวัสดิการให้กับตนเองใน อนาคต ฟื้นฟูระบบนิเวศ รวมทั้งเก็บเมล็ดพันธุ์ และตอนขยายพันธุ์พืชใช้เอง ด้วยแนวคิดการทำ งานของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการสร้างฐานความมั่นคงทางอาหารของชุมชน คือ การทำ ให้คนในชุมชนสามารถมองความ เชื่อมโยงระหว่างระบบการผลิตในแปลงการเกษตรของตนเองนั้นมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของ ชุมชน ซึ่งระบบนิเวศของชุมชนจะผันแปรตามสภาพการผลิตของแปลงการเกษตรในชุมชน หากคนใน ชุมชนมุ่งเน้นการผลิตแบบทำลายล้าง ก็จะส่งผลให้ระบบนิเวศในชุมชนถูกทำลาย มีสารพิษเจือปน และ ระบบนิเวศของชุมชนต่างๆ ก็มีผลต่อระบบนิเวศรวมของสังคม/ประเทศด้วย จึงเห็นได้ชัดเจนว่ากลุ่มเกษตรกรสมาชิกของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก พื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ต่างมีความต้องการรักษาฐานความมั่งคงทางอาหารของประเทศไว้อย่างยั่งยืน ให้ความ สำ คัญกับการรักษาฐานระบบนิเวศของชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฐานทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีความ หลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัย เพื่อสร้างฐานความมั่นคงทาง อาหารอย่างยั่งยืน 2.9.2 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลฟาร์มทั่วไป นันทวัน ได้ซื้อที่ดินแปลงนี้ตั้งแต่ ปี 2535 ในช่วงนั้นเกิดการปั่นราคาที่ดิน และมีการขายที่ดิน กันมาก นันทวันจึงซื้อที่ดินไว้ และรณรงค์ไม่ให้ชาวบ้านขายที่ พื้นที่การเกษตรขนาด 12 ไร่ มีลักษณะ เป็นพื้นที่ดอน ดินเหนียว 2) หลักในการพิจารณาการวางผังแปลง นันทวัน ได้ทำ เกษตรระบบสวนรอบบ้าน และระบบไม้ยืนต้นผสมพืชผัก ได้ใช้หลักในการ พิจารณาการวางผังแปลง ดังนี้ - เน้น “ปลูกป่า” เพื่อฟื้นฟูทรัพยากร ความหลากลายทางชีวภาพ - พื้นที่ว่างในแปลง ที่ยังไม่มีต้นไม้ใหญ่จัดการพื้นที่ทำสวน ปลูกผักพื้นบ้านเพื่อให้ เชื่อมโยงกับพื้นที่ป่า หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 151
152 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม - ปลูก/อนุรักษ์พืช เฉพาะถิ่น และการรักษาวิถี ประเพณีของชุมชน เช่น อนุรักษ์ต้น กระพ้อ ที่ชุมชนต้องใช้อย่างมากเพื่อใช้ห่อข้าวต้ม แต่ไม่ค่อยมีเหลือมากแล้วในชุมชน หรืออนุรักษ์พืช ป่าดั้งเดิมในพื้นที่ เช่น ประดู่ป่า ยางแดง และนนทรี เป็นต้น - เพิ่มเติม เสริมพันธุ์ไม้ป่าในพื้นที่ป่า ด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยการเก็บลูกไม้ป่าที่ ร่วมหล่นตามธรรมชาติ มายิง หรือมาโยนให้กระจายได้ทั่วแปลง เพื่อให้เกิดลูกไม้ป่าเพิ่มขึ้น - ขุดบ่อขนาด 2 งานในแปลง เพื่อกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ในช่วงแล้ง 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม ความสัมพันธ์ของการผลิตในระบบแปลงของนันทวัน ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยการผลิต และ นิเวศภายในฟาร์มที่เห็นได้ชัดเจนคือ นันทวัน ใช้เวลากว่า 10 ปี กว่าพื้นที่จะฟื้นตัว เป็นพื้นที่ป่า อย่างที่ต้องการ (ปัจจุบันทำ มาแล้วกว่า 30 ปี) แนวทางในการทำ ฟาร์มในช่วงแรก คือ “การปลูกป่า” โดยเริ่มปลูก ยางนา นนทรี ประดูป่า เบิกนำ และค่อยๆ เพิ่มเติมความหลากหลายพันธุ์พืชมากมาย ซึ่งปัจจุบัน พืชที่มีอยู่ในแปลงปัจจุบัน ประกอบด้วย • ไม้ผล ได้แก่ ส้มโอ (พันธุ์ขาวน้ำ ผึ้ง และขาวแตงกวา) มะนาว กระท้อน เงาะ มะไฟ มังคุด สละ ระกำ ส้มเขียวหวาน ขนุน (แดงสุริยา) ทุเรียน กล้วย มะละกอ มะม่วง (ทองดำ แก้มแดง อกร่อง แรด) • ไม้ใช้สอย ได้แก่ ยางนา ยางแดง นนทรี ประดู่ป่า ไผ่ตง ไผ่เลี้ยง • พืชอาหาร/ผักพื้นบ้าน ได้แก่ แค ชะมวง แต้ว ผักกูด มะกรูด ผักหวานป่า ผักหวาน บ้าน ข่า ขจร แค มะระขี้นก บัวบก และย่านาง กระวาน หวาย เต่าร้าง • ผักใบ และผักหมุนเวียนต่างๆ จะปลูกในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด คะน้า ผักกวางตุ้ง ต้นหอม ผักโขม ผักปลัง บัวบก พริกขี้หนู ฟักเขียว ฟักทอง “ภาพแปลงนันทวัน หาญดี (ภาพตัดขวาง)”
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 153 “ภาพแปลงนันทวัน หาญดี”
154 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ ผลจากการนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศในแปลงของนันทวัน ส่งผลให้ - คนในชุมชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ในป่าที่ฟื้นคืนสภาพแล้ว เช่น เข้ามาหาเห็ด มาตัดใบกระพ้อเพื่อนำ ไปห่อข้าวต้ม ทำ ให้เกิดการพึ่งพากันและกัน - ได้พันธุ์ไม้ป่า ที่มีการร่วงหล่นอยู่ในธรรมชาติ มาขยายพันธุ์ เพาะกล้าเพิ่มมากขึ้น - เกิดพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ภายในชุมชน และเป็นพื้นที่การเรียนรู้เรื่องเกษตรนิเวศ ของคนทั่วไปที่สนใจมากมาย - มีน้ำ ใช้เพียงพอตลอดทั้งปี จากการทำ บ่อสำ รองน้ำ และพื้นดินยังคงเก็บกัก ความชุ่มชื้นในดินไว้ได้ - มีรายได้สม่ำ เสมอ ที่เกิดจากการขายผลผลิตภายในแปลงตามฤดูกาล 2.9.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - สามารถบริหารจัดการน้ำ ในแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำ ให้ไม่ได้รับผลกระทบ จากภัยแล้งมากนัก 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร - มีอาหารหมุนเวียนกินอย่างหลากหลาย และปลอดภัย 3) ด้านเศรษฐกิจ - มีรายได้เพียงพอตามที่ต้องการ 4) ด้านสังคม - ได้รักษาพื้นแผ่นดินของชุมชนไว้ - คนในชุมชน ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากการเก็บผลผลิตทางธรรมชาติ และได้เข้ามา เรียนรู้เรื่องการฟื้นตัวของระบบนิเวศป่าใกล้ชุมชน 3. สรุปภาพรวมระบบการผลิตและประโยชน์ที่ได้รับจากการ จัดการฟาร์มของสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา 3.1 ระบบการผลิต นอกจากรูปธรรมการจัดการพื้นที่ของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว สมาคม เกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ยังมีองค์ความรู้ที่สำ คัญดังนี้
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 155 1) การผลิตสารทดแทนเพื่อลดผลกระทบของโรคแมลง ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำ หมักชีวภาพ สารฮอร์โมนเพื่อช่วยการได้ผลผลิต กลุ่มยังได้มีการแบ่งปันความรู้ดังกล่าวให้กับกลุ่มเกษตรกรสมาชิก และกลุ่มเกษตรกรก็ได้นำ องค์ความรู้มาปรับใช้ตามวัตถุดิบที่ตัวเองมี และสอดคล้อง เหมาะสมตาม สภาพพื้นที่ ความต้องการใช้งาน 2) การมีระบบการปลูก การดูแล เช่น การปลูกพืชสลับ การปลูกพืชร่วม ดังจะเห็นได้ จากตารางปฏิทินการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชแต่ละชนิดของกลุ่มเกษตรกรสมาชิกสมาคมเกษตรกรรมทาง เลือกฉะเชิงเทรา ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี และหลากหลายชนิด ปฏิทินการเก็บผลผลิตผักพื้นบ้าน ปฏิทินการเก็บผลไม้
156 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 3) การจัดการน้ำ นอกจากระบบการจัดการน้ำ โดยทั่วไป เช่น การสูบน้ำ จากบ่อขึ้นมา ใช้ ซึ่งยังคงใช้น้ำ มันเหมือนเกษตรกรทั่วไป พบว่ากลุ่มมีการจัดการน้ำ ที่น่าสนใจ 2 ลักษณะ ได้แก่ การขุดน้ำ ตื้น 2 บ่อติดกัน พบที่แปลงคำ พัน และ การผันน้ำ โดยใช้ระความสูงตามธรรมชาติ พบที่ แปลงรัญจวน เป็นต้น 4) การจัดการกลุ่ม/เครือข่าย สมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา มีโครงสร้าง และ การดำ เนินการทั้งดำ เนินการผลิต และตรวจสอบ รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ช่วยประสานทั้งในแนวราบ และ แนวดิ่ง ทำ ให้กลุ่มมีศักยภาพในการขยายตัว เป็นรากฐานในการขยายเกษตรอินทรีย์ เกษตรนิเวศ ที่เสริมความมั่นคงของเกษตรกรผู้ผลิตและเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม การจัดการองค์ความรู้ของกลุ่มนั้นเป็นประโยชน์ ทั้งในด้านการประกันคุณภาพต่อผู้บริโภค ในส่วนของผู้ผลิตเองก็ได้รับข้อมูลในการวางแผนการปลูกที่สอดคล้องกับตลาด ทำ ให้มีความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ เป็นการรับมือกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ นอกจาก นั้นยังได้พัฒนาการใช้ข้อมูล ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบ ในระบบเกษตรกรขนาดย่อย การทำ เกษตรอินทรีย์ เกษตรนิเวศ ไม่สามารถวิเคราะห์เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลอย่างแยกส่วนได้ การ ศึกษาบทเรียนการดำ เนินงานของสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา : ปฏิบัติการเพื่อไปสู่การ รับมือกับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง พบว่า กลุ่มได้มีบทบาทที่เอื้อต่อความยั่งยืนทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจ การรักษาระบบนิเวศ รวมทั้งการกักเก็บคาร์บอน และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ รับมือภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) การวางแผนการจัดการระบบปลูกพืชอายุสั้น (ในสวน) เชื่อมโยงกับเครือข่ายที่มี ความสัมพันธ์กับตลาดโดยตรง 2) การมีข้อมูลความต้องการของตลาดที่แน่นอน ทำ ให้สามารถวางแผนการผลิตได้ สอดคล้องกันทั้งปริมาณและคุณภาพกับตลาด 3) การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมท้องถิ่น ที่สามารถเชื่อมโยง หาวัตถุดิบ และเมล็ดพันธุ์คุณภาพ 4) ระบบติดตาม ตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทำ ให้เกษตรกรรักษาคุณภาพ ทางการผลิตได้ ปฏิทินการเก็บผักหมุนเวียน
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 157 5) การจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว โดยการรวมกลุ่มย่อยเพื่อขนส่งไปจุดศูนย์กลาง ทำ ได้อย่างเป็นระบบ 3.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภาพรวมในการจัดการฟาร์มของกลุ่มสมาชิกสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา ได้รับในด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ - มีพื้นที่ธรรมชาติ หรือมีการฟื้นตัวตามธรรมชาติที่เอื้อให้พันธุ์พืชอื่นๆ ได้เกิด และดำ รงรักษาความหลากหลายตามธรรมชาติ - มีแนวกันชน - ลดของเสียในไร่นา และการถางเผา ไม่สร้างให้เกิดไนตรัสออกไซด์ในระบบ - มีพื้นที่ที่ให้ทั้งผลผลิตทางเศรษฐกิจ และเกื้อกูลระบบนิเวศแบบสวนหลาย ระดับ และสวนรอบบ้าน 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร ภาพรวมในการจัดการฟาร์มของกลุ่มสมาชิกสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา ได้รับ ในด้านความมั่นคงทางอาหาร คือ - ครอบครัว และคนในชุมชนมีอาหารบริโภคอย่างหลากหลาย และปลอดภัย เพียงพอ เข้าถึงง่าย - อาหารทางธรรมชาติ ฟื้นคืนกลับมาอย่างหลากหลาย หากินได้ง่ายมากขึ้น 3) ด้านเศรษฐกิจ ภาพรวมในการจัดการฟาร์มของกลุ่มสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก พื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ที่ได้รับในด้านเศรษฐกิจ คือ - สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตพืชอาหาร เช่น ผักจีนระยะสั้น ไม้ยืนต้นที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แค ชะอม ชะมวง ตลอดจนพืช/ผักพื้นบ้าน - ผู้บริโภคสามารถเชื่อมโยง และเรียนรู้จากผู้ผลิตได้ผ่านชุดอาหาร แหล่งขาย เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ก่อให้เกิดระบบทางเลือกของผู้บริโภคในเมืองหลวง 4) ด้านสังคม ภาพรวมในการจัดการฟาร์มของกลุ่มสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก พื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ที่ได้รับในด้านสังคม คือ
158 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม - รูปธรรมกลไกกลุ่ม ที่จัดการผลผลิต ซึ่งช่วยให้เกษตรกรมีความมั่นคงขึ้น ลด ความเสี่ยง และมีต้นทุนทางสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันได้เป็นพื้นที่ศึกษาดูงานของกลุ่มองค์กร ต่างๆ และหน่วยงานรัฐหลายแห่งให้ความสนใจ - เป็นพื้นที่พัฒนาบุคลากรด้านเกษตรอินทรีย์ และความเป็นผู้นำ การพัฒนา ชุมชน ดังจะเห็นได้จากสมาชิกเครือข่ายได้เขาร่วมเรียนรู้ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำ เสมอ ทำ ให้ สมาชิกส่วนใหญ่มีความสามารถใรการวางแผนการผลิต การผลิต การควบคุมตรวจสอบ และจัดการ ผลผลิตสู่ตลาด - เกิดผู้นำ ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีบทบาทต่อการพัฒนาท้องถิ่นในหลายมิติ ซึ่ง เป็นฐานในการพัฒนายกระดับสำ นึกต่อการจัดการเกษตรอินทรีย์ เพื่อการับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ จากผลการศึกษาบทเรียนการดำ เนินงานของสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา : ปฏิบัติ การเพื่อไปสู่การรับมือกับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง พบว่าแนวทางการรับมือของเกษตรกรใน สมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ คือ 1) การจัดการระบบเกษตรอินทรีย์ในกับฟาร์ม - ปลูกผักพื้นบ้าน ไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้น เพื่อกินและขายในระยะยาว เช่น แต้ว เสม็ด ชะมวง ข่า - ปลูกพืชอย่างหลากหลาย - ปลูกพืชหมุนเวียน (แตกต่างในช่วงเวลา) เป็นข้อบังคับหนึ่งในมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ เกษตรกรที่ปลูกพืชผักอายุสั้น จะไม่ปลูกผักซ้ำ ๆ ในแปลงเดิม การทำ เช่นนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อคุณภาพดิน ช่วยตัววงจรระบาดของโรคแมลง และทำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของธาตุอาหารใน ดิน และการใช้น้ำ เกษตรกรบางรายใช้การหว่าน หรือปลูกหลายช่วง เพื่อลดความเสี่ยงจากความ เสียหายต่อผักทั้งหมดในเวลาเดียวกัน หากมีความแปรปรวนของอากาศ หรือเหตุปัจจัยอื่น (Food and Agriculture Organization, 2008) - ปรับแผนการปลูกพืชตามลักษณะฝนในแต่ละปี - เปลี่ยนสายพันธุ์ เช่น ข้าวนาปี โดยมากเป็นข้าวไวแสง ถ้าอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนมากเกินไป แสงไม่พอ ทำ ให้เมล็ดข้าวลีบ รวงไม่สมบูรณ์ เกษตรกรบางส่วนก็เปลี่ยนปลูก ข้าวเหลืองอ่อน ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง จึงปลูกได้ทั้งปี ในอดีต เคยปลูกข้าวหอมมะลิ 105 แต่ ไม่เหมาะ จึงเปลี่ยนมาปลูกข้าวหอมมะลิแดง ซึ่งส่งออกยุโรป ปลูกข้าวขวัญชัย ข้าวเหลืองปะทิว ซึ่ง เป็นข้าวที่นิยมนำ ไปแปรรูปเป็นแป้งทำ เส้นขนมจีน 158 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 159 - ลดการทำ นาปรัง ลดการทำ เกษตรแบบขยายพื้นที่ แต่เน้นการปลูกพืชที่ใช้ พื้นที่ และการดูแลทั่วถึง - จัดการน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การผันน้ำ ตามระดับพื้นที่ การขุดบ่อน้ำ ตื้น ติดกันสองบ่อ เพื่อชักน้ำ เข้ามาสู่ระบบเพิ่ม กักเก็บน้ำ ได้นานขึ้น รักษาความชื้นหน้าดินโดยซากพืช และพืชคลุมดิน - ไม่เลี้ยงสัตว์แบบเข้มข้น เช่น ทำ ฟาร์มเป็ด ฟาร์มไก่ เพื่อลดความเสี่ยง - ทำ น้ำ หมักชีวภาพสูตรต่างๆ เพื่อให้พืชสามารถต่อสู้กับแมลงศัตรูพืชได้ อย่างไรก็ดี แม้เกษตรกรจะมีมาตรการการปรับตัว และรับมือในระดับหนึ่ง แต่การพัฒนา เศรษฐกิจมหภาค และนโยบายภาครัฐที่ไม่สอดคล้อง ก็ส่งผลกระทบได้ (วัชริน มีรอด) อาทิเช่น - การจัดสร้างโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม โรงน้ำแข็ง (ใช้แอมโมเนียมาก) ที่ส่งผลต่อ ภูมิอากาศในท้องถิ่นให้สูงขึ้น เกิดมลพิษ การทำ ลายพื้นที่ป่าธรรมชาติ และพื้นที่ป่าฟื้นตัว นอกจาก จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรม (โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรอินทรีย์) ยังส่งผลกระทบต่อสังคม ทำ ให้พลังทางสังคมลดลง ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนให้เกิดระบบเกษตรอินทรีย์ เพราะเกษตรอินทรีย์ จำ เป็นต้องอาศัยเครือข่ายทางสังคมที่เป็นมิตรต่อกัน และทัศนคติที่เกื้อกูลธรรมชาติ - การพัฒนาที่ดินในมิติของรัฐ โดยไม่มีส่วนร่วมของประชาชน สร้างผลกระทบทำ ให้ การจัดการพื้นที่ การจัดการน้ำ ของเกษตรกรทำ ได้ยาก เช่น การขุดลอกคูคลอง การทำ คลองชลประทาน ทำ ให้สัตว์น้ำ ธรรมชาติหายไป น้ำ นิ่ง น้ำ เสีย ต้นไม้ริมคูคลองถูกทำ ลาย เป็นโคลน เกษตรกร ไม่สามารถเอาน้ำ ไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าไม่มีเครื่องสูบน้ำ - การจัดการน้ำ มีความสำ คัญสูง เนื่องจากปริมาณน้ำ จืดทั่วโลกมีเพียงร้อยละ 2.5 ของ ปริมาณน้ำ ทั้งหมด ความต้องการใช้น้ำ ที่เพิ่มขึ้น ทำ ให้ทุกประเทศต้องหาวิธีการในการบริหาร จัดการน้ำ เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ พื้นที่รับน้ำ รวมไปถึงระบบ การกักเก็บน้ำ ขนาดเล็กในพื้นที่ของเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้น้ำ ด้วยการให้น้ำ ผ่านทางระบบท่อ/สายยาง เป็นต้น 2) การดำ เนินการเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เกษตรนิเวศ พัฒนาระบบเกษตร อินทรีย์ และการเปลี่ยนแปลง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครือข่ายเป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาเชิงสถาบัน เพื่อให้เกษตรกร เข้าถึงทรัพยากรได้มากขึ้น สร้างความเท่าเทียม ชาย-หญิง และความเป็นธรรมทางสังคม รวมถึงการ สร้างพลังอำ นาจของชุมชนท้องถิ่น - การขยายกลุ่มของสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา ครอบคลุมถึง 6 อำ เภอ ใน 2 จังหวัด ได้แก่ อำ เภอท่าตะเกียบ อำ เภอสนาชัยเขต อำ เภอพนมสารคาม และอำ เภอ
160 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม บางน้ำ เปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำ เภอกบินทร์บุรี อำ เภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ช่วย ให้เกษตรกรรายย่อยไม่ถูกกดดันด้วยปริมาณความต้องการของตลาดขนาดใหญ่ ยังสามารถมีวิถี การผลิตกึ่งยังชีพได้ (บ้างปล่อยให้พื้นที่เป็นป่า หรือปล่อยให้ฟื้นตัวตามธรรมชาติ) ซึ่งระบบนี้ใช้กลไก ตามธรรมชาติ ในการฟื้นฟูดิน ไม่ลงทุนสูง “การจัดการที่ดิน ต้องเน้นใช้อย่างสมดุล การใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น ทำ�ให้ ปริมาณ CO2 สู่บรรยากาศเพิ่มขึ้น เท่ากับเป็นการเร่งให้การเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมิอากาศเกิดขึ้นเร็วขึ้น อย่างไรก็ดี การไม่ไถดิน การปลูกพืชคลุมดิน การกักเก็บ ความชื้นในดิน และการปลูกป่า เป็นวิธีการที่ช่วยในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไชต์” (วัชริน มีรอด) - ความแตกต่างของต้นแบบเกษตรอินทรีย์ที่ปรากฏ พอเพียงต่อการยกระดับองค์ ความรู้ในการปลูกพืช และจัดการผลผลิตที่ลดการใช้สารพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ในขณะ ที่สร้างรายได้ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว แต่การนำ องค์ความรู้ไปใช้ จำ เป็นต้องเชื่อมโยงกับเครือ ข่าย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง การสนับสนุนให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมระยะยาว ในการรวม กลุ่มนั้นทำ ให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้ามา เนื่องจากคิดว่าเสียเวลา ยุ่งยาก ดังนั้นจึงต้องคิดค้น กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น การนำ กิจกรรมเชิงพิธีกรรม เช่น พิธีขอขมา พระแม่ธรณี มาใช้เพื่อให้เกิดการหลอมรวม เป็นประเด็นในการพูดคุยที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป - งานวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะการพิจารณา เกษตรอินทรีย์ในเชิงศักยภาพต่อการรับมือภูมิอากาศเปลี่ยน ที่ทำ ให้เกษตรกรตระหนักว่า ยัง สามารถจัดการพื้นที่ เพิ่มไม้ยืนต้น เพื่อเพิ่มคาร์บอนลงสู่ดิน และได้รับประโยชน์จากพืชยืนต้น ในด้านเศรษฐกิจระยะยาว ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของอากาศ พืชยืนต้นนั้นอาจเป็นได้ ทั้งไม้ป่า และไม้ผลที่ไม่อ่อนไหวต่ออากาศเปลี่ยนแปลง - เป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับเมือง เครือข่าย และสมาชิกลดช่องว่างทางการตลาดได้มาก ไม่เพียงการส่งผลผลิต พืชผัก ตรงยังผู้บริโภค แต่ยังเพิ่มมูลค่าได้อีกมาก เช่น การแปรรูปโดยระบบ อุตสาหกรรมครัวเรือนขนาดย่อม เช่น หน่อไม้ดอง แปรรูปผัก ผลไม้ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้อาจเชื่อม โยงกับกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่น แนวคิดการทำ งานของสมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา ในการสร้างฐานความ มั่นคงทางอาหารของชุมชน คือ การทำ ให้คนในชุมชนสามารถมองความเชื่อมโยงระหว่างระบบการ ผลิตในแปลงการเกษตรของตนเองนั้นมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของชุมชน ซึ่งระบบนิเวศของชุมชน
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 161 จะผันแปรตามสภาพการผลิตของแปลงการเกษตรในชุมชน หากคนในชุมชนมุ่งเน้นการผลิตแบบ ทำ ลายล้าง ก็จะส่งผลให้ระบบนิเวศในชุมชนถูกทำ ลาย มีสารพิษเจือปน และระบบนิเวศของชุมชน ต่างๆ ก็มีผลต่อระบบนิเวศรวมของสังคม/ประเทศด้วย ดังนั้นเมื่อระบบนิเวศแต่ละชุมชนถูกทำ ลาย แหล่งทรัพยากร แหล่งอาหารที่สมบูรณ์ลดน้อยลง ก็ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของสังคมทั้ง ประเทศ เมื่อสังคมยังต้องการรักษาฐานความมั่งคงทางอาหารของประเทศไว้อย่างยั่งยืน ต้องให้ ความสำ คัญกับการรักษาฐานระบบนิเวศของชุมชนแต่ละชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฐานทรัพยากรที่ อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัย หัวใจ สำ คัญของการสร้างฐานความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน คือการสร้างความร่วมมือในการสร้าง ความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาที่สมดุล โดยชุมชนต้องได้รับการพัฒนาเรื่องสิทธิของตนเอง จิตสำ นึกพลเมือง ความรู้เรื่องสิทธิของตนเอง ถือเป็นเครื่องมือสำ คัญที่จะทำ ให้เราสามารถปกป้อง ที่ดิน และทรัพยากรต่างๆ ของชุมชนได้ รูปแบบกิจกรรมการดำ เนินงาน ด้วยการออกแบบการทำ งานในช่วงเริ่มแรก เกิดจากกระบวนการทำ งานโดยการเรียนรู้ ผ่านโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยปัญหาที่พบคือ การขาดแคลนอาหารของชุมชน ซึ่งสาเหตุ ของปัญหาที่พบคือ - การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และพืชเศรษฐกิจ ทำ ให้พื้นที่ในการปลูกอาหารที่หลากหลาย ลดน้อยลงปริมาณการใช้สารเคมีการเกษตรเพิ่มขึ้น - การสูญเสียที่ดิน การสูญเสียที่ดินของคนในชุมชนนั้นมีสาเหตุมาจาก การขายที่ดิน/ ที่ดินหลุดมือ นโยบาย และแผนพัฒนาของรัฐ ที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ (การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน) และการขยายพื้นที่อุตสาหกรรม มาสู่พื้นที่ต้นน้ำ รูปแบบกิจกรรมที่กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ดำ เนินการร่วมกับคนในชุมชน เพื่อการปกป้องฐานทรัพยากร และความมั่นคงทางอาหาร คือ - ร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรของชุมชน โดย ทำ กิจกรรมปลูกป่าอนุรักษ์ โดยการนำ พืชอาหารเข้ามาปลูกอย่างหลากหลายในบ้านเป็นป่าครอบครัวร่วมกันใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะ อย่างยั่งยืน (การหากินอย่างยั่งยืน) ใช้อย่างพอดี ร่วมกันฟื้นฟู และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ - รณรงค์ และสื่อสารให้คนในชุมชนได้รู้ว่า “เขาคือส่วนสำ คัญของการปกป้องฐาน ทรัพยากร” โดยรณรงค์เรื่องการบริโภค เผยแพร่ให้เห็นความสำ คัญของการบริโภคอย่างเข้าใจ “กินอย่างรู้ที่มา กินตามฤดูกาล กินอย่างหลากหลาย สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย ไม่สนับสนุน กระบวนการผลิตที่ไม่เป็นธรรม ทำ ลายสิ่งแวดล้อม” หนุนเสริมชุมชน/สมาชิก ให้เกิดการวิเคราะห์ หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 161
162 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มกับการเคลื่อนไหวในชุมชน เพื่อติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหว ในชุมชน และเกาะเกี่ยวสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมร่วมกับชุมชน ในภาพรวมของพื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ทำ ให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรทางธรรมชาติอย่าง หลากหลายที่เอื้อต่อการสร้างฐานความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน และสังคมไทย มองเห็นภาพ ความร่วมมือของกลุ่มองค์กรภาคีทั้งในชุมชน หน่วยงานต่างๆ จากภายนอก ต่างตระหนักและเห็น ความสำ คัญของการปกป้องฐานทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้ไว้ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ที่อยู่ในภูมินิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรทางธรรมชาติ อย่างหลากหลาย เอื้อต่อการสร้างฐานความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน และสังคมไทย ดังนั้น ความร่วมมือของคนในชุมชนในการปกป้อง และรักษาฐานความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่นี้ไว้ ไม่ให้ภัย คุกคามจากนโยบายรัฐ หรือรูปแบบวิถีการผลิตแบบทำลายล้างเข้ามาทำลาย รวมถึงเพื่อการรับมือกับ เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงเป็นสิ่งสำ คัญเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนอย่างยั่งยืน เอกสารอ้างอิง กลุ่มจัดการและบริการแผนที่และข้อมูลทางแผนที่ สำ นักเทคโนโลยีการสำ รวจและทำ แผนที่ กรมพัฒนาที่ดิน (2562). รายงานโครงการจัดทำ แผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่ เพื่อการพัฒนาที่ดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา. นิตยา กิจติเวชกุล. (มปป.). บทเรียนการดำ เนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต : ปฏิบัติ การเพื่อไปสู่การรับมือกับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Lessons Learned from Sanamchaikhet Organic Agriculture Network and Best Practices for Coping with Climate Changes). มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำ นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2555). รายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ชุมชนจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน กรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 600 เมกะวัตต์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. สำ นักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (มปป). บทสรุป ผู้บริหาร : โครงการจัดทำ ข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ.2559-2560. 162 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดฉะเชิงเทรา 163
164 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 165 1. บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในพื้นที่ จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน ว่าด้วยเมืองแห่งความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Sustainability Phatthalung) สอดคล้อง กับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาในเรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจมูลค่าที่ยั่งยืนจากฐานการเกษตร การอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการเกษตร และผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบนิเวศการเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและสร้างสรรคุณค่าทางเศรษฐกิจที่ ยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาในเรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นหลักประกันการเติบโต บนฐานคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะของพื้นที่ ลักษณะของพื้นที่จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย พื้นที่ภูเขา มีลักษณะเป็นเทือกเขา ที่มียอดสูงๆ ต่ำ ๆ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 800 เมตร และลาดไปทางทิศตะวันออกลงสู่ ทะเลสาบสงขลาในอัตราความลาดชัน 25-30 เปอร์เซ็นต์ เทือกเขานี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขา หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง โดย จุฑาธิป ชูสง เบญจวรรณ เพ็งหนู บทที่5
166 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม นครศรีธรรมราช เรียกกันโดยทั่วไปในท้องถิ่นว่า เขาบรรทัด พื้นที่ภูเขามีเนื้อที่รวมกันประมาณ 835.90 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 24.41 ของพื้นที่ทั้งหมด อยู่ในเขตพื้นที่อำ เภอป่าบอน ตะโหมด กงหรา ศรีนครินทร์ ศรีบรรพต และป่าพะยอม พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเทือกเขาบรรทัด หรือพื้นที่เชิงเขาลักษณะ ภูมิประเทศ เป็นเนินเตี้ยๆ ที่เรียกกันโดยทั่วไปในท้องถิ่นว่า ควน มีเนื้อที่ประมาณ 539.70 ตาราง กิโลเมตร หรือร้อยละ 15.76 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบ มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 1,485.54 ตาราง กิโลเมตรหรือร้อยละ 43.38 ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณะพื้นที่ราบ และเนื่องจากเป็นที่ที่เหมาะแก่การ ทำ การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด จึงนิยมตั้งถิ่นฐานหนาแน่นในบริเวณนี้ พื้นที่ราบติดริมทะเลสาบสงขลาเป็นชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน อำ เภอปากพะยูน อำ เภอ บางแก้ว อำ เภอเขาชัยสน อำ เภอเมือง และอำ เภอควนขนุน และพื้นที่เกาะ เป็นพื้นที่ในบริเวณทะเลสาบ สงขลา ในเขตจังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ในเขตอำ เภอปากพะยูน มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 219.17 ตาราง กิโลเมตร หรือร้อยละ 6.40 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่เกาะเป็นถิ่นที่อยู่ของ นกอีแอ่นกินรังมีเนื้อที่รวม กันประมาณ 1.12 ตารางกิโลเมตร อนึ่ง พื้นน้ำ ในจังหวัดพัทลุงนั้นนับเป็นส่วนสำ คัญของทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยทะเล น้อยและทะเลหลวงหรือทะเลสาบสงขลาตอนใน คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 344.16 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด ทางเกษตร 1,327,270 ไร่ (62%) พื้นที่ป่า 384,438 ไร่ (18%) และ พื้นที่อื่นๆ 428,588 ไร่ (20%) สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่โซนนา นิเวศนา จุดเริ่มต้นสำ คัญคือการรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา ของเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกัน นั่นคือ ประการแรก ปัญหาจากสาเหตุภัยธรรมชาติ เนื่องจากใน ปี 2518 น้ำ ท่วมนาข้าวทำ ให้เกิดความเสียหายมากกับชุมชน ต่อมาในปี 2525 ประสบปัญหาน้ำ เค็ม ไหลเข้าในคลองปากประอย่างหนัก และปี 2535 หอยเชอรี่ระบาดทำ ลายนาข้าว ปี 2548 ประสบ กับปัญหาน้ำ ท่วมอีกครั้งทำ ให้มีน้ำ ท่วมขังในพื้นที่นาข้าวทำ ให้ข้าวเสียหาย และอีกปัญหาที่เป็นจุด เริ่มต้นของการรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา คือ ปัญหาการใช้สารเคมีในการเกษตร ในปี 2518 เช่นกัน เกษตรกรใช้ฟูราดาน และสารเคมีทำ ลายตอยางพาราในพื้นที่ภูเขา ทำ ให้สารพิษไหลลงสู่แหล่งน้ำ ปลาและพืชอาหารในนาข้าวเริ่มลดลง นอกจากนี้สารพิษตกค้างทำ ให้ผลผลิตข้าวลดลง ต่อมา ในปี 2522 เกษตรกรเริ่มทำ นาปรัง โดยใช้รถไถเดินตามและปลูกข้าวพันธุ์ กข7 ข้าวพันธุ์ กข11 และ ข้าวพันธุ์ กข13 ทำ ให้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองสูญหาย วัฒนธรรมข้าวสูญหายไป เช่น การทำ ขวัญข้าว การ แรกเก็บข้าว การกวนข้าวยาคู และสุดท้ายเกิดปัญหาหนี้สินตามมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและ
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 167 การใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอ เพราะการพึ่งตนเองเองค่อยๆ น้อยลง และในปัจจุบันวิถีการผลิตเปลี่ยนจาก ระบบเกษตรแบบดั้งเดิมไปอย่างมาก ชาวนาหลายคนในกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกเมื่อครั้งคุยแลก เปลี่ยนความคิดเรื่อง เวทีทบทวนความรู้ และพัฒนาโจทย์เพื่อการปรับตัวของชาวนาไทยภายใต้การ เปลี่ยนแปลงการผลิตและการตลาดข้าว ได้วิพากษ์เรื่องนี้ความว่า “ความงดงามของวิถีการผลิตที่ สอดคล้องกับธรรมชาติ คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ระหว่างคนในชุมชน และคนกับสิ่งแวดล้อม ถูกเปลี่ยนเป็นระบบเกษตรเพื่อการค้า มีการส่งเสริมการใช้สารเคมีทางการ เกษตร การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และระบบการผลิตที่ทันสมัย เกษตรกรเป็นนักจัดการนา คือจ้างเกือบ ทุกอย่าง หนี้สินตามมา และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเริ่มหายไป” ส่วนของพื้นที่โซนเขา นิเวศควนเขา มีการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตป่ายาง สวนสมรม สวนพ่อแก่ ซึ่งมีความหลากหลาย แหล่งอาหาร ยารักษาโรค ไม้ใช้สอยสำ หรับสร้างบ้าน อุปกรณ์ เกษตร หรืองานจักสาน ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการทำ เกษตรแบบเชิงเดี่ยวทั้งยางพารา ผลไม้ ซึ่งมีราย ได้มาจากพืชเพียงอย่างเดียว ปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ ปุ๋ย ต้องซื้อพึ่งจากภายนอก ประกอบกับมี การใช้สารเคมีเกษตรในการกำ จัดศัตรูพืช ซึ่งปัจจัยการผลิตแต่ละประเภทมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตรง กันข้ามกับราคายางพาราที่มีปัญหาราคาตกต่ำ การพึ่งเพียงยางพาราหรือไม้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งจึง ไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนสูง อันเนื่องมาจากปัญหายางตกต่ำ เกิดโรคระบาด และภัย ธรรมชาติในพื้นที่ปลูก (วิทยา, 2563) นอกจากนี้การทำสวนยางเชิงเดี่ยวควบคู่ไปกับการใช้สารเคมี ทางการเกษตร เป็นที่นิยมของชาวสวนยางส่วนใหญ่ โดยเฉพาะช่วงที่ยางราคาสูงอย่างต่อเนื่อง ก่อ ให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่การเกษตร การเสื่อมโทรม ของหน้าดิน การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเข้าสู่ ระบบเกษตรเชิงเดี่ยวเปรียบเสมือนการทำลายแหล่งผลิตปัจจัยสี่ที่สำ คัญ ทำ ให้ชาวสวนยางต้องพึ่งพา เรื่องอาหารจากภายนอก ภูมิปัญญาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารจากพืชผักพื้นบ้านค่อยๆ หายไป ภูมิปัญญาชาวบ้านในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในอดีตที่เคยมีค่อยๆ เลือนหายไป พื้นที่นิเวศทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ 1,040.24 ตาราง กิโลเมตร ตั้งอยู่ในจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนบน ตอน กลาง และตอนล่าง โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่อำ เภอควนขนุน อำ เภอเมือง และอำ เภอปากพะยูน ด้วยความเป็นนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะ คือ น้ำ จืด น้ำ เค็ม และน้ำ กร่อย ขึ้น อยู่กับช่วงฤดูกาลส่งผลให้ทะเลสาบมีความอุดมสมบูรณ์มีพันธุ์สัตว์น้ำ ถึง 770 ชนิด (ไพโรจน์ และคณะ 2542 อ้างอิงใน อุสัน, 2562) หล่อเลี้ยงชาวประมงที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรในการดำ รง ชีวิตรอบทะเลสาบถึง 169 หมู่บ้าน 8,900 ครัวเรือน (สมาพันธ์ชาวประมงทะเลสาบสงขลา 2558 อ้างอิงใน อุสัน, 2562) หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 167
168 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ในทะเลสาบที่มี 3 น้ำ ทำ ให้สัตว์น้ำ มีรสชาติที่อร่อย แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ซึ่งส่งผลให้สัตว์น้ำ ในทะเลสาบเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำ ให้มีการจับสัตว์น้ำ ที่ขาดการวางแผน เน้นการจับให้ได้ปริมาณมากโดยใช้เครื่องมือทำ ลาย ล้าง และตาอวนขนาดเล็ก ประกอบกับระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาโครงการของ รัฐ เช่น การปิดปากระวะ การสร้างท่าเรือน้ำ ลึกสงขลา ซึ่งเป็นการปิดทางเข้า-ออกของสัตว์น้ำ ใน ทะเลสาบสงขลากับอ่าวไทย การใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย เช่น อวนรุน โพงพาง ในทะเลสาบตอนล่าง การปล่อยน้ำ เสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลต่อความตื้นเขิน การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน การเกิดภัยพิบัติ การเพิ่มขึ้นของประชากรที่ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและหลากหลายขึ้น ไม่มีมาตรการ ในการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้นและจริงจัง ฯลฯ เหล่านี้ส่งผลให้ทะเลสาบมีความเสื่อมโทรม สัตว์น้ำ มีจำ นวนลดลงเห็นได้ชัดในปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2540 ที่ชาวประมงเปลี่ยนอาชีพไปทำ นา รับจ้าง นอกชุมชน เช่น โรงงานถุงมือ จังหวัดสงขลา หรือ ไปเป็นลูกเรือในจังหวัดสตูล ทำ ให้ชุมชนต่าง คนต่างอยู่เกิดความห่างเหินไม่มีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลเหมือนในอดีตและมีแนวโน้มจะนำ ไปสู่ การล่มสลายของชุมชน นอกจากนี้ จากการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดใน ระยะที่ผ่านมาได้มีการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561 พบว่า เกษตรกรร้อยละ 75.87 มีผลเลือดไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างในเลือด จากการที่ รับสารเคมีทั้งทางตรงทางอ้อมไม่ว่าจะผ่านมาทางกระบวนการผลิตเข้าสู่ระบบธรรมชาติ ดิน น้ำ อากาศ หรือการสะสมผ่านการบริโภคอาหารที่ไม่มีความปลอดภัย ความสัมพันธ์ของความมั่นคงทางอาหารและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรรม ความมั่นคงทางอาหารกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศผลกระทบที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็คือ ระบบ ความมั่นคงทางอาหารทั้งที่มีฐานจากธรรมชาติและการผลิตกำ ลังพังทลาย เพราะเกษตรกรรมเป็น วิถีที่พึ่งพาสภาพภูมิอากาศ เมื่ออากาศผันผวนสุดหยั่งคาดส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น ความ แห้งแล้งสลับอุทกภัย ฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล อุณหภูมิเพิ่มสูง ดินเสื่อมสภาพ น้ำ ใต้ดินลดระดับลง วัชพืช โรคและแมลงศัตรูพืชระบาด พันธุกรรมอาหารเสื่อมสูญไม่เติบโต ทั้งหมดนี้กำลังทำ ให้เทคโนโลยี การผลิตอาหารทั้งสมัยใหม่และพื้นบ้านเผชิญแรงกดดันปรับตัวไม่ได้ นั่นจะทำ ให้ปัญหาความมั่นคง ทางอาหารจากการขาดแคลนอาหาร ปัญหาคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกลายเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกรที่ต้องยากจน ทิ้งการผลิต ผู้บริโภคที่ต้องเผชิญความเสี่ยงด้านราคา และคุณภาพอาหาร 168 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 169 นอกเหนือจากในด้านผลกระทบ ภาคเกษตรกรรมยังถูกมองเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ ของภาวะโลกร้อนด้วย ก๊าซมีเทนถูกปลดปล่อยมาจากการเก็บเกี่ยวข้าวและปศุสัตว์ และไนตรัส ออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากปุ๋ยและปัสสาวะของปศุสัตว์มีส่วนสร้างภาวะก๊าซเรือนกระจกยิ่งกว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แม้จะมีปริมาณน้อยกว่า แต่ระบบเกษตรกรรมที่สร้างก๊าซเรือนกระจกหาใช่ เกษตรแปลงย่อยของคนตัวเล็กตัวน้อย แต่เป็นเกษตรอุตสาหกรรมพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำ ปะหลัง ยางพารา ฯลฯ โดยเฉพาะปศุสัตว์ที่ต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ยาฆ่าแมลง เครื่องจักรเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเกษตรอุตสาหกรรมเหล่านี้สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างมหาศาล ทำ ลายดิน น้ำ ป่าที่มีศักยภาพดูดซับก๊าซคาร์บอน อีกทั้งระบบขนส่งอาหารทางไกลที่ใช้การแช่แข็ง การขนส่ง และเมื่อถึงการบริโภคของคนเมือง อาหารเหลือทิ้ง (food waste) ที่มีสัดส่วนสูงก็มีส่วน สร้างก๊าซเรือนกระจกได้มาก เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกพัทลุงจึงได้ร่วมกับชุมชนรอบลุ่มทะเลสาบลุ่มน้ำ จังหวัด พัทลุง และภาคีความร่วมมือเกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนในการสร้างพื้นที่รูปธรรมเกษตรยั่งยืนบนฐานระบบ นิเวศที่เหมาะสมระบบนิเวศเขา นา เล ซึ่งได้มีบทเรียนและประสบการณ์ในการขับเคลื่อนสร้างรูปธรรม พื้นที่เรียนรู้เกษตรยั่งยืน และได้มีการเชื่อมร้อยการจัดการทรัพยากรสมาคมรักษ์ทะเลไทยและสมาคม ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลาในการบริหารจัดการประมงอย่างยั่งยืน เชื่อมร้อย ระบบนิเวศเขา นา เล เพื่อสร้างฐานความมั่นคงทางด้านอาหาร เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงแหล่งอาหาร อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดี จากความร่วมมือในการขับเคลื่อนสร้างพื้นที่ รูปธรรมฯ ภายใต้กรอบคิดเกษตรนิเวศ การทำ เกษตรโดยใช้นิเวศเป็นฐาน (เกษตรที่ไม่มีสารเคมี หรือ GMO ) เป็นแนวทางที่ สามารถดำ เนินการได้ และนำ ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นธรรมต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใน ขณะนี้ หลายประเทศใช้เป็นเป้าหมายสำ คัญการพัฒนาประเทศ เกษตรนิเวศจะเน้นการใช้ทรัพยากร ให้น้อยที่สุดแต่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่เกื้อกูลกันโดยใช้ระบบนิเวศภายในดูแลและกำ จัด ศัตรูพืชกันเองแทนการใช้สารเคมี ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีวิถีปฏิบัติแตกต่างกันไปเพื่อให้สอดคล้องกับ ระบบนิเวศวิถีวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น การทำ เกษตรนิเวศสามารถทำ ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ขนาด เล็กหรือฟาร์มรายย่อย แม้จะดูเหมือนได้ผลผลิตน้อยกว่าอุตสาหกรรมใหญ่ แต่หากมีฟาร์มขนาดเล็ก ที่มากพอก็จะสามารถผลิตปริมาณอาหารที่เทียบเท่าอุตสาหกรรมใหญ่ได้ ส่งผลให้ชุมชนเกษตร มีความมั่นคงทางอาหารและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน จากการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายเกษตรทางเลือกเมืองลุงร่วมกับภาคีความร่วมมือใน ระยะ 6 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีบทเรียนการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดจนเกิดรูปธรรมเกษตรยั่งยืนบน ฐานระบบนิเวศเป็นพื้นที่เรียนรู้และเป็นโมเดลต้นแบบเกษตรนิเวศ ขับเคลื่อนขบวนการเกษตรยั่งยืน
170 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม บนฐานระบบนิเวศ จังหวัดพัทลุง โดยเครือข่ายเกษตรทางเลือกพัทลุงร่วมกับภาคีความร่วมมือมี ความตระหนักและให้ความสำ คัญในการดำ เนินโครงการถอดบทเรียนเกษตรยั่งยืนบนฐานระบบ นิเวศพัทลุง ที่เชื่อมโยงภูมิปัญญา วิถีวัฒนธรรมของคนพัทลุง เพื่อให้ได้บทเรียนการขับเคลื่อน เกษตรยั่งยืนที่ใช้ระบบนิเวศเป็นฐานในการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาหารของ คนพัทลุง และเพื่อให้ได้แนวทาง แผนงาน ความร่วมมือในการขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืนสู่การผลักดัน นโยบายเกษตรยั่งยืนบนฐานนิเวศพัทลุง ซึ่งจะสามารถนำ ไปใช้เป็นกระบวนการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งองค์กรและเครือข่ายฯ พร้อมนำ ชุดความรู้เกษตรนิเวศพัทลุงสู่ขยายผลเกษตรยั่งยืนบน ฐานนิเวศพัทลุงได้อย่างกว้างขวาง 2.การขับเคลื่อนเกษตรนิเวศ : เกษตรยั่งยืน การขับเคลื่อนเกษตรนิเวศ ที่เหมาะสมกับภูมินิเวศเขา นา เล เชื่อมโยงความผูกพันระหว่าง วิถีชีวิต วิถีการผลิตของคนลุ่มน้ำ ระบบการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ ภูมิปัญญา พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ผลผลิต ผูกโยงสายสัมพันธ์ เกลอเขา เกลอเล เกลอนา ซึ่งในแต่ละนิเวศ มีรูปแบบเกษตรนิเวศที่ แตกต่างกันสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความเหมาะสมของพืชที่ปลูกพืชแต่ละชนิดสามารถเจริญ เติบโตได้ดีเป็นพืชเฉพาะถิ่นของแต่ละนิเวศ 2.1 เกษตรนิเวศควนเขา : สวนปันแสง ป่ายางยั่งยืน หรือสวนสมรม ของ นายสหขจร ชุมคช เกษตรกรบ้านขาม ต.ลำ สินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง 2.1.1 ข้อมูลทั่วไป พี่ไก่ สหจร ชุมคช กลับจากการไป ใช้ชีวิตในเมือง (กรุงเทพมหานคร) ด้วยความ รักต้นไม้ จึงรวบรวมพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด มาปลูกในสวนยางพารา ใช้ระยะเวลา 10 ปี สวนยางเชิงเดี่ยวฟื้นคืนชีวิตป่าร่วมยางยั่งยืน หรือป่ายางในอดีต ที่เป็นแหล่งรวบรวมอาหาร สมุนไพรรักษาโรค ไม้ใช้สอยที่จะนำ มาใช้ใน ครัวเรือน สร้างบ้าน เครื่องมือทางการเกษตร หัตถกรรมจักสานไว้ใช้ในครัวเรือน
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 171 2.1.2 การออกแบบระบบเกษตร 1) เป้าหมายในการจัดการแปลงเกษตร - แหล่งรวบรวมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นบ้าน - สร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร มีอาหารที่เพียงพอ แลกเปลี่ยนแบ่งปันในชุมชน - มีรายได้จากพืชผัก พันธุ์ไม้ที่อยู่ในสวนพออยู่พอกิน 2) แนวคิดในการจัดการระบบเกษตร ด้วยความรักต้นไม้ ชอบต้นไม้เป็นทุนเดิม และได้ประสบการณ์จากการเปิดร้านต้นไม้ของ พี่ไก่ เมื่อมาเริ่มต้นใหม่ที่บ้าน พี่ไก่ได้เน้นการปลูกพืชหลากหลายชนิด และมีการคัดเลือกจากการ เรียนรู้ธรรมชาติต้นไม้ ต้นไหนแข็งแรงอยู่ร่วมกับเพื่อนได้ ซึ่งในระยะแรกมีการทดลองผิดทดลองถูก เรียนรู้ธรรมชาติของต้นไม้ที่ปลูกในสวนพืชตัวไหนอยู่ด้วยกันได้ จนได้ความรู้การปลูกพืชร่วมยาง อย่างใร รู้ธรรมชาติพืชตัวใหนเหมาะควรอยู่มุมใด พืชแต่ละตัวมีความต้องการแสงแดดที่ต่างกัน เลือกปลูกและการปลูกให้พืชได้แบ่งปันแสง พืชตัวไหนต้องการแสงน้อย ชอบแดดรำ ไร พืชตัวไหน ต้องการแสงมาก เป็นการอยู่กันอย่างเกื้อกูลแบ่งปันแสงของพืชในป่าร่วมยาง การจัดการฟาร์มของพี่ไก่ ใช้แนวคิดป่าร่วมยางยั่งยืน ที่เน้นการสร้างความหลากหลายพันธุ์ พืช เป็นแหล่งรวมรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นบ้าน “สวนยางส่วนใหญ่จึงจะมีลักษณะโล่งเตียน แต่ เราต้องกล้าที่จะแหกกฎการทำสวนยางเดิมๆ เราถึงจะพบแนวทางใหม่ๆ ทุกวันนี้ผลผลิตต่อไร่ดีกว่า ยางพาราถึง 10 เท่า กลายเป็นรายได้หลัก มากกว่าขายน้ำ ยางที่กรีดได้ 2-3 เท่า โดยการทำ ตลาด ส่วนใหญ่ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย” สหจร กล่าวอย่างเชื่อมั่น 2.1.3.การจัดการแปลงเกษตร 1) ข้อมูลทั่วไปของแปลงเกษตร สำ หรับจุดเริ่มต้นลงทุนพื้นที่สวนยางพาราปลูกต้นดาหลานั้น เป็นหลักคิดที่ไม่มีทิศทาง อะไร จากที่เคยทำ งานอยู่ในโรงงานแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2553 มีครอบครัว ก็ชวนกัน ลาออกจากงานเดินทางกลับบ้าน ตั้งใจว่าจะทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ ทั้งที่ไม่เคยทำสวนมาก่อน แต่ยังโชคดีที่ครอบครัวมีที่ดินอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านจำ นวนหนึ่ง และได้เห็นต้นดาหลาที่ชาวบ้านปลูกไว้ ข้างบ้านออกดอกสวยงาม และเจ้าของไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะเป็นช่วงที่ไม้ดอกประเภท ดาหลาขาลง เจ้าของไม่สนใจ อนุญาตให้ขุดหน่อไปปลูกในสวนยาง พร้อมทั้งปลูกไม้ทุกชนิดที่หยิบ หามาได้ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นพืชจำ พวกเอื้อง ข่า กระทือ และพืชสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งไม้ท้องถิ่น ใช้เวลาปลูกต่อเนื่องนาน 13 ปี พื้นที่สวนยางกลายเป็นสวนป่า แซมด้วยต้นดาหลาที่ให้ดอกสีสวย แปลกตามากกว่า 40 สี และมีพืชชนิดอื่นผสมปนเปกันไป (สำ นักข่าวผู้จัดการออนไลน์:2564) หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 171
172 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม สหจร เริ่มต้นด้วยตัวคนเดียวเพียงลำ พัง โดยการเริ่ม สะสมต้นไม้ที่เขาเคยพบเห็นในสวนยางสมัยเด็กๆ ที่นับวัน จะเริ่มหายากและสูญพันธุ์ จากการที่ใช้สารเคมีอันตราย ในสวน นำ มาเพาะขยายและปลูกในสวนยาง ท่ามกลาง สายตาคนในชุมชนที่มองว่าเขา “บ้า” เพราะสิ่งที่สหจร ทำ นั้นเป็นการ “ฉีกกฎ” การทำ สวนยางแบบเดิมๆ ที่ มีความเชื่อว่า “หากปลูกพืชอื่นในสวนยางยิ่งมากยิ่ง ทำ ให้น้ำ ยางออกไม่ดี” แม้แต่ภรรยาก็ไม่เห็นด้วย เมื่อ สหจรปลูกต้นไม้ ภรรยาก็จะเดินตามและถอนทิ้ง เพราะ ไม่เข้าใจสิ่งที่เขาคิดจะทำ เหนืออื่นใดในการปลูกป่าร่วม ยางของสหจร เป็นแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการใช้สารเคมี ใดๆ ทั้งสิ้นแม้แต่ปุ๋ยเคมี อาศัยระบบธรรมชาติพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน ถึงวันนี้ผ่านมา 10 ปี “สวนปันแสง” เนื้อที่ 7 ไร่ รกครึ้มไปด้วยต้นไม้ 6 ชั้น มีมากกว่า 1,000 ชนิด ทั้งพืชใบ พืชดอก ผัก ผลไม้ และสมุนไพร และพืชแทบทุกชนิดสามารถส่งขายเป็นรายได้ให้ กับครอบครัวไม่ต่ำ กว่าเดือนละ 1-3 หมื่นบาท อย่างเช่นดอกเอื้องหมายนา กิโลกรัมละ 800 บาท หรือต้นตีนตุ๊กแกกิโลกรัมละ 150 บาท ดอกดาหลา ลูกฉิ่ง ว่านสาวหลง และอื่นๆ ซึ่งลูกค้าสำ คัญ ของสหจรเป็นเชฟระดับมิชลินสตาร์ที่ปัจจุบัน นิยมให้ความสำ คัญกับการใช้พืชท้องถิ่นปลอดสาร พิษจากภูมิภาคต่างๆ มาประกอบอาหารหรือประดับจานอาหารมากขึ้น รวมถึงรายได้จากการเพาะ เมล็ดพันธุ์ต้นกล้าขาย ใน 1 ปีได้เงินมาเกือบ 1 แสนบาท จนผลผลิตเฉพาะสวนของสหจร ไม่เพียงพอจึงมีการรวมตัวเป็นเครือข่าย คนในชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนเกษตร ปรับเปลี่ยนการทำสวนยางเชิงเดี่ยวทำ เรื่อง “ป่าร่วมยาง” ซึ่งนอกจาก จะช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่หวังพึ่งเพียงการขายยางพาราเท่านั้น สิ่งสำ คัญยังเป็นการขยาย การลดใช้สารเคมี มุ่งเน้นเกษตรอินทรีย์ เพราะการปลูกพืชร่วมยางต้องเป็นพืชท้องถิ่น ทนต่อสภาพ อากาศ และมีการจัดระบบในสวน ปลูกพืชชั้นนอก เพื่อเป็นเหมือนแนวกำ แพงควบคุมความชุ่มชื้น ภายในสวน ด้วยการใช้ไม้แตกกอ ภายในสวนต้องมีไม้หลักทำ หน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้ร่มเงาและความ ชุ่มชื้น อาจจะใช้ต้นยางเดิม และต้องรู้ว่าพืชที่จะปลูกนั้นชอบแดดมากหรือแดดรำ ไร ต้องดูสภาพพื้นที่ ด้วย ปัจจุบันสวนยางปันแสงเป็น “สวนการเรียนรู้พันธุกรรมพืชตำ บลลำสินธุ์” และเป็นต้นแบบในการ สร้างแหล่งอาหารปลอดภัย
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 173 2) การวางผังแปลงเกษตร การปลูกพืชแซมในสวนยางพารา เป็นการปรับเปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวเข้าสู่เกษตรนิเวศ เกษตรยั่งยืน รูปแบบป่าร่วมยางยั่งยืน เน้นปลูกพืชเพิ่มสร้างความหลากหลายของพันธุกรรมพื้นบ้าน พืชหลากหลายชนิด พืชอาหาร พืชแนวกันสัตว์เข้ามากินพืชที่ปลูก พืชสมุนไพร ไม้ใช้สอย ในการปลูก พืชมีการเลือกช่วงเวลาในการปลูกที่มีสภาพอากาศที่เหมาะสม และในการวางแผนการปลูกพืชใหม่ มี พืชเป็นไม้พี่เลี้ยงที่มีความทนต่อสภาพอากาศแล้ง/ฝนสูง ส่วนใหญ่เป็นตระกูลไม้ตัดใบ ใช้กิ่งปักชำ หรือปักลงในดินเลย การวางแผนการปลูกดูจากธรรมชาติของพืชใช้ช่วงแสงมาก ช่วงแสงน้อย ชอบ แสงรำ ไร ซึ่งสอดคล้องไปกับทรงพุ่มของต้นไม้ ปลูกผสมลงไปในสวนสร้างระบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การปรับปรุงบำ รุงดินด้วยใช้ปุ๋ยหมัก สำ หรับระยะแรกของการปรับเปลี่ยนมีการบำ รุงดินอย่าง ต่อเนื่อง 5 ปี เมื่อความสมดุลเพิ่มขึ้น มีการนำ ขยะเปียกในครัวเรือนมาใส่ในสวน มีพืชหลากหลาย ป้องกันให้การพังทะลายของหน้าดิน กักเก็บธาตุอาหารในดินไว้ได้ ดินในสวนมีชีวิตดินดี ลดการใช้ ปุ๋ยหมักบำ รุงดิน ช่วงระยะเก็บเกี่ยวพืชผลแต่ละชนิด วางแผนการนำ ไปใช้ประโยชน์ พืชบางชนิดมีการแลก เปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มคุณค่าสรรพคุณทางโภชนาการและทางอาหารเพื่อวางแผนและการใช้ประโยชน์ต่อ ทำ บ้านผึ้ง มีผึ้งเข้ามาอยู่ในรัง เป็นเครื่องยืนยันในระบบป่าร่วมยางยั่งยืน การปลูกและการ ดูแลพืชในสวนไม่ใช้สารเคมี ช่วยรักษานิเวศทำ ให้ผึ้งเป็นสัตว์อ่อนไหวสารเคมีอยู่ได้ พื้นที่สวนยางอายุ 1-5 ปี มีพืชล้มลุกอายุสั้น เพื่อเป็นพืชอาหารและส่วนที่เหลือวางแผนใน การแบ่งปันขายสร้างรายได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ถั่วหรั่ง ถั่วลิสง ถั่วเขียว พืชผักสวนครัว ขิง ข่า ตะไคร้ พริกขี้หนู มะเขือ ขมิ้น บางปีเจอปัญหาแล้งทำ ให้ผลผลิตไม่ได้ขนาด ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด จาก การเก็บข้อมูลเรื่องความมั่นคงทางอาหารเครือข่าย พบว่ายังต้องพึ่งพาการทำอาหารซื้อเครื่องแกงที่ไม่ มั่นใจมีความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งปัญหาทั้ง 2 ประเด็นได้หยิกยกขึ้นมาและร่วมกันหาทางออก แผนร่วม ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนเกษตรบ้านขาม นำ พืชผล ขมิ้น ตะไคร้ มีขนาดที่ตรงกับความต้องการของ แม่ค้าที่เข้ามารับซื้อ/ที่ตกเกรดไม่ได้ขนาด นำ มาเป็นวัตถุดิบในการทำ เครืองแกงเพื่อบริโภคกันเองใน กลุ่ม ส่วนที่เหลือแบ่งปันและวางแผนการจัดการตลาดทั้งในและนอกชุมชน ไม้เรือนยอดชั้นบน ได้แก่ ไม้ที่ใช้ประโยชน์จากเนี้อไม้ เช่น ตะเคียนหิน สะเดา และไม้ที่ลำ ต้น สูงให้ผลเป็นอาหาร สะตอ เหรียง เนียง เนียงนก ก่อประ ส้มแขก หมาก ฯลฯ ไม้เรือนยอดชั้นกลาง เพื่อการกิน ขาย เป็นอาหารและสมุนไพร เช่น มังคุด ลองกอง ทุเรียน ละไม ลังแข ชะมวง ฯลฯ พืชคลุมผิวดิน เป็นอาหาร สมุนไพร ไม้ใช้สอย เช่น ผักเหมียง ผักหวานป่า ผักหวาน ขี้พร้า แม่หมก คลุ้ม คล้า ต้นคล้าย หวาย ฯลฯ หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 173
พืชที่ใช้ประโยชน์จากส่วนที่อยู่ใต้ดิน (พืชหัว) ปลูกเพื่อเป็นอาหาร แบ่งปัน สร้างรายได้ นอกจากนี้มีการศึกษาภูมิปัญญาอาหาร การทำ ขนม หรือการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพ หรือการ ใช้ประโยชน์ของไม้ที่มีอยู่ในสวนให้เกิดประโยชน์ และฟื้นฟูระบบนิเวศในสวนให้มีความหลากหลาย ทำ อย่างไรพืชที่ปลูกมีพืชให้ผลผลิตในระยะสั้นสร้างรายได้รายวัน พืชผักกินยอดที่ปลูกครั้งเดียวก็สามารถ เก็บใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน และต่อไปขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติในการเพิ่มจำ นวน แต่ถ้าต้องการ เพิ่มปริมาณการปลูกมีวิธีการเพาะขยายพันธุ์หลากหลาย ไม่ว่าเป็นการเพาะเมล็ด การตอน การติดตา การชำ เช่น ผักเหรียง ต้นขี้พร้าแม่หมก ตาหมัด พาโหมต้น ฯลฯ ซึ่งในการวางแผนการผลิตมีการ วางแผนในการเก็บเมล็ดพันธุ์และการเพาะขยายพันธุ์ ด้วยความรู้ที่พี่ไก่มีทักษะความชำ นาญอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีแผนในการแลกเปลี่ยนความรู้ในการคัดพันธุ์ และเก็บขยายพันธุ์ “การจัดชั้นเรือนยอดของประเภทไม้ร่วมในการสร้างสวนยางแบบผสมผสาน” ที่มา: ดัดแปลงจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (2562) อ้างอิงใน วิทยา (2563) ที่มา : โปสเตอร์โครงการสร้าง การปรับตัวที่เท่าทันต่อการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยระบบ เกษตรยั่งยืน สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ภาพ โดย สินธุ แก้วสินธุ์
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 175 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม จากการศึกษาประโยชน์ของระบบนิเวศป่าร่วมยางยั่งยืนของสวนปันแสง และชุมชนบ้าน ขามที่ได้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่เกษตรนิเวศ เกษตรกรรมยั่งยืนที่เหมาะสมกับนิเวศเขา จากกรณีศึกษาของป่าร่วมยางยั่งยืนของสวนปันแสงแปลงเรียนรู้ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตำ บลลำสินธุ์ จำแนกเป็นแหล่งบริการระบบนิเวศ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ 3.1 ด้านการเป็นแหล่งผลิต/ด้านการจัดหา พื้นที่ป่าร่วมยางเป็นแหล่งผลิตอาหาร พืชผักให้กับครัวเรือน คนในชุมชนและคนนอกชุมชน การเป็นแหล่งพันธุกรรมพืชที่มีความหลากหลาย เปรียบเสมือนคลังสำ รองอาหารของคนในชุมชน คนใน จังหวัดและคนสนใจจากต่างจังหวัด พันธุ์พืชในป่ายางยังเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรสามารถนำ ไปใช้ในการ ปรับปรุงพันธุ์ เป็นแหล่งสมุนไพร แหล่งยารักษาโรค สารแต่งเติมอาหาร เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร จากระบบนิเวศ เพื่อใช้ในครัวเรือน แบ่งปันในชุมชน ใช้เสริมสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนเกษตรกร 3.2 บริการด้านควบคุมกลไก คือการควบคุมปรากฏการณ์และกระบวนการทาง ธรรมชาติของระบบนิเวศป่ายางยั่งยืน ซึ่งคนจะได้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ - การควบคุมคุณภาพของอากาศ โดยป่ายางมีระบบนิเวศที่สมดุลมีความหลากหลาย ทางชีวภาพของพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตจำ นวนมาก จะทำ ให้การทำ หน้าที่ในการดูดซับและแลก เปลี่ยนอากาศ การกรองอากาศ มีพืชเป็นแนวกันชนในการดูดซับกรองสารพิษ การสกัดกั้นเชื้อโรค ทำ ให้การระบาดของเชื้อโรคในสวนมีน้อย บทบาทสำ คัญคือการดูดซับก๊าซเรือนกระจก - การควบคุมสภาพภูมิอากาศ ป่ายาง/สวนสมรม ระบบนิเวศจะทำ หน้าที่ช่วยควบคุม อุณหภูมิของนิเวศเกษตรป่ายาง ให้มีอุณหภูมิลดลง ช่วยปรับสมดุลมีความชื้นในป่ายาง ทำ ให้น้ำ ยาง มีคุณภาพดี และน้ำ ยางเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้พืชร่วมยางให้ผลผลิต เป็นการลดความ เสี่ยง/เปรียบเสมือนฟองน้ำ ป้องกันผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำ ให้ได้รับผลกระทบ เกิดความเสียหายกับผลผลิตในแปลงลดลง -การควบคุมการพังทลายของหน้าดิน นิเวศเกษตรป่ายาง การปลูกพืชหลายชั้น มี พืชคลุมดินในระบบนิเวศมีบทบาทสำ คัญในการเก็บรักษาหน้าดิน ดินมีอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารในดิน และรากของต้นไม้และพืชที่มีความหลากหลายจะทำ หน้าที่ในการยึดหน้าดิน - ช่วยควบคุมโรคในพืชได้ดีขึ้น นิเวศเกษตรป่ายางไม่ใช้สารเคมีมีการเพิ่มจุลินทรีย์ ท้องถิ่น จุลินทรีย์ปุ๋ยหมักน้ำ หมักทำ ใช้กัน เพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ในระบบนิเวศ ซึ่งจุลินทรีย์ ในดินช่วยในจัดการลดความรุนแรง ควบคุมการเกิดโรคไม่รุกลาม มีระบบสร้างเกราะป้องกันตัวเอง
176 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม - ช่วยในการถ่ายละอองเกสร ในระบบนิเวศมีตัวช่วยในการผสมเกสร ผึ้ง พืชผล ต้นไม้ ในสวนมีประสิทธิภาพดีขึ้น - ช่วยในการควบคุมภัยธรรมชาติ นิเวศป่ายางมีความสามารถในการบรรเทา ความเสียหายจากภัยธรรมชาติต่างๆ การเป็นแนวกันลม และป้องกันความเสียหายของพืชผล ในฟาร์ม ช่วยชะลอควบคุมการไหลของน้ำ เมื่อเกิดอุทกภัย ลดความแรงและความเร็วของน้ำ ทั้งยังช่วยในการกับเก็บน้ำ ในแปลงทำ ได้ดีขึ้น พืชต้นไม้ที่มีความหลากหลายสามารถกับ กับน้ำ ไว้ในระบบ 3.3 ด้านการบริการในเชิงวัฒนธรรม เป็นการใช้ประโยชน์ของการดำ รงคุณค่า ทางสังคม และวัฒนธรรม สุนทรียภาพ และนันทนาการ ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ที่คนในชุมชน ได้รับในด้านต่างๆ ดังนี้ - เป็นแหล่งเรียนรู้นิเวศป่ายาง เกษตรนิเวศชุดความรู้ป่ายางยั่งยืนที่สืบต่อภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ความรู้ค้นหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และความรู้ที่ได้จากการลงมือทำ จริง ทดลอง ผิดทดลองถูก สรุปบทเรียนจนเกิดเป็นชุดองค์ความรู้ในการปรับเปลี่ยนยางเชิงเดี่ยวสู่ป่ายางยั่งยืน ความหลากหลายของพันธุกรรม การผลิตที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ยกระดับไปสู่ชุดองค์ความรู้การ ขับเคลื่อนกระบวนการกลุ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างฐานความมั่นคงทางด้านอาหาร ฟื้นคืนนิเวศ คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ลด ละ เลิกการสร้างมลพิษลงในระบบ เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยโดยเฉพาะ ชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 177 - ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ในการยกระดับคุณภาพ ชีวิตที่ดี ช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ เกิดความร่วมไม่ร่วมมือ ความรักความสามัคคีในกลุ่มและชุมชน 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ สรุปได้ว่าเกษตรนิเวศพื้นที่ควนเขา ป่ายาง ป่าร่วมยางยั่งยืน สวนสมรม ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ท้องถิ่นมีการสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ได้นำ หลักคิด ภูมิปัญญาการผลิต การจัดการผลผลิต ที่เป็น ระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เคารพธรรมชาติระบบเกื้อกูลดูแลซึ่งกันและกันหว่างคน กับธรรมชาติ คนกับสิ่งแวดล้อม คนกับคน เป็นระบบนิเวศย่อยที่เป็นพื้นที่บริการในด้านการจัดการ การควบคุม และสนับสนุน เมื่อชุมชนตระหนักถึงความสำ คัญ กระบวนการในการสร้างความร่วม มือการขยายพื้นที่ป่ายางคืนระบบนิเวศ สร้างฐานความมั่นคงทางด้านอาหาร ลดมลพิษ มีพันธุ์ พืชพื้นบ้านแหล่งเรียนรู้โมเดลป่ายางยั่งยืน/สวนสมรม เตรียมความพร้อมในการปรับตัวและลด ความเสี่ยงจากผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนชุมชนรักสามัคคีช่วยเหลือกัน สานพลังเครือข่ายให้ชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตดี 2.1.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1) ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - ป่ายาง/สวนสมรม ระบบนิเวศจะทำ หน้าที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิของนิเวศเกษตร ป่ายาง ให้มีอุณหภูมิลดลง ช่วยปรับสมดุลมีความชื้นในป่ายาง ทำ ให้น้ำ ยางมีคุณภาพดี และ น้ำ ยางเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้พืชร่วมยางให้ผลผลิต เป็นการลดความเสี่ยง/เปรียบ เสมือนฟองน้ำ ป้องกันผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำ ให้ได้รับผลกระทบเกิด ความเสียหายกับผลผลิตในแปลงลดลง - ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชและสิ่งมีชีวิต จะทำ ให้การทำ หน้าที่ ในการดูดซับและแลกเปลี่ยนอากาศ การกรองอากาศ มีพืชเป็นแนวกันชนในการดูดซับกรอง สารพิษ การสกัดกั้นเชื้อโรคที่ช่วยลดการระบาดของเชื้อโรคในสวนให้มีน้อยลง และยังมีบทบาทสำ คัญ ในการช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 177
178 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม - พังทลายของหน้าดิน นิเวศเกษตรป่ายาง การปลูกพืชหลายชั้น มีพืชคลุมดินในระบบ นิเวศมีบทบาทสำ คัญในการเก็บรักษาหน้าดิน ดินมีอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารในดิน และรากของต้นไม้ และพืชที่มีความหลากหลายจะทำ หน้าที่ในการยึดหน้าดิน 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร ครัวเรือนมีพืชผักที่ได้จากป่ายางยั่งยืน สามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องของพืชผัก/อาหารทำ กิน เองเดือนละ 500 บาท และยังมีส่วนที่แบ่งปันให้กันในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนพืชผัก อาหารกันเอง ในชุมชน วิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านแลกเปลี่ยนแบ่งปัน วัฒนธรรมอาหารที่ใช้พืชผักรอบบ้าน อาหาร เป็นยาในการดูแลสุขภาพองค์รวมและการรับรองความสะอาดปลอดภัยยืนยันกันเองในชุมชน ความมั่นใจกันของคนในชุมชน บทเรียนการที่ผ่านมาการแลกเปลี่ยนแบ่งปันพันธุ์ทำ ให้ชุมชนมีพันธุ์พืชเป็นของตนเอง พืชพื้นบ้านหลากหลายตามฤดูกาล เมื่อเกิดวิกฤติโควิด และอากาศเปลี่ยนแปลงทำ ให้ชุมชนมีพืชผัก สัตว์เลี้ยง คลองธรรมชาติคนในชุมชนช่วยกันดูแลเป็นแหล่งอาหารและมีการบริโภคได้อย่างมั่นใจ สร้าง สุขภาพที่ดี ทั้งสุขภาพกายและจิตใจ ทำ ให้มีความสุข 3) ด้านเศรษฐกิจ “สวนยางส่วนใหญ่จึงจะมีลักษณะโล่งเตียน แต่เราต้องกล้าที่จะแหกกฎการ ทำ�สวนยางเดิมๆ เราถึงจะพบแนวทางใหม่ๆ ทุกวันนี้ผลผลิตต่อไร่ดีกว่ายางพารา ถึง 10 เท่า กลายเป็นรายได้หลัก มากกว่าขายน้ำ�ยางที่กรีดได้ 2-3 เท่า โดยการทำ� ตลาดส่วนใหญ่ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย” รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากพืชอื่นในสวนยาง เพิ่มรายได้ เช่น พืชผัก เมล็ดพันธุ์ กล้าพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ ร่วมกันของกลุ่ม สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละอย่างน้อย 10,000 บาท
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 179 ลดต้นทุนทางการผลิต จากการปรับเปลี่ยน ทำ ปุ๋ยหมักใช้เองหรือปุ๋ยหมักของสมาชิก เครือข่าย ไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องสารเคมี 4) ด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนเกษตร มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ การดูแลแบ่งปัน ความรู้ พันธุ์พืช ผลผลิต การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนในชุมชนมีการ แบ่งปันผลผลิตผลิตภัณฑ์ ร่วมกันพัฒนาชุมชน รักสามัคคีเพิ่มขึ้น เกิดเครือข่ายความร่วมมือหลายภาคส่วนในการสนับสนุนพัฒนาระบบเกษตรนิเวศรูปแบบ ป่าร่วมยางยั่งยืน ป่ายาง สวนสมรม เครือข่ายโรงเรียนใต้โคนยาง กองทุนยาใส้ยาใจ เกิดเครือข่ายผู้บริโภคในชุมชน นอกชุมชนผ่านระบบตลาดออนไลน์ เกิดความผูกพัน แลกเปลี่ยนความรู้ และอุดหนุนผลผลิต พืชผัก กล้าไม้ เมล็ดพันธุ์ เครื่องแกง จนกลายเป็นเพื่อน 2.2 เกษตรนิเวศวิถีนา ไร่นาสวนผสม : นาอินทรีย์วิถีท่าช้าง ของนายอำ มร สุขวิน เกษตรกรบ้านท่าช้าง ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 2.2.1 ข้อมูลทั่วไป ชุมชนบ้านท่าช้าง เป็นชุมชนที่ตั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา มีลักษณะพื้นที่มีความ หลากหลายทั้งพื้นที่ราบ ดอน ราบลุ่มและป่าพรุ (วิจิตรา และสมยศ, 2556) ประชาชนนิยมกินผักสด ที่มีอยู่ตามลาห้วย ท้องนา ป่าพรุและบนควนหรืออาจเป็นพืชผักสวนครัวที่มี ชุมชนท่าช้างตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมคลองปากประ คลองปากประเป็นคลองย่อยของคลองท่าแนะ ซึ่งเป็นคลองรองรับน้ำ จากเทือกเขาบรรทัดที่จะไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพเกษตรกร จากพื้นที่เกษตรทั้งหมด 4,175 ไร่ เป็นพื้นที่ทำ นา 3,175 ไร่ และที่เหลือพื้นที่ 1,000 ไร่
180 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เป็นสวนยางพารา นอกจากนี้ชาวบ้านมีวิถีในการปลูกผักกินเอง และมีการปลูกพริก (สด) ขาย ชาวบ้านยังมีอาชีพเสริมการทำ หัตถกรรมจากกระจูด ซึ่งหาได้จากพื้นที่ชุ่มน้ำ รอบทะเลสาบ ชุมชนท่าช้างเป็นที่รอบรับน้ำ จากเทือกเขาบรรทัด ส่งผลให้ชุมชนประสบปัญหาน้ำ ท่วมขังที่ เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งในแต่ละปีจะมีความรุนแรงมากน้อยที่แตกต่างกัน โดยหากในฤดูกาลปกติแม้ว่าจะมี น้ำ ท่วมขังทำ ให้นาข้าวเสียหาย นาล่ม 2.2.2 การออกแบบระบบเกษตร 1) เป้าหมาย - ปลูกพืชไว้กินเองในครัวเรือน แบ่งปัน ขายสร้างรายได้พออยู่พอกิน เป็นพืชเสริมใน ครัวเรือนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ - ชาวนาพึ่งตนเองได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่ดี - คืนระบบนิเวศสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีวิถีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) แนวคิดการทำ เกษตร ระบบนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง คุณอำ มร สุขวิน มีแนวคิดในการทำ เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืน บนฐานชาวนาสามารถ พึ่งตนเอง มีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง มีพันธุ์ข้าว ทำ นาทำ ให้ได้ข้าวไว้กินในครัวเรือน เหลือแบ่ง ปันและขาย ส่วนเกษตรกรมีการปลูกพืชที่หลากหลายเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพที่ดี คืน ระบบนิเวศในนาข้าว และไร่นาสวนผสม มีการเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาปัจจัยจากภายนอกน้อยที่สุด ยกระดับ สร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มแปรรูปจากข้าวพื้นบ้าน หลากกลุ่มวัยได้บริโภคอาหาร ขนม หรือผลิตภัณฑ์ได้ จากวัตถุดิบ กระบวนการผลิตที่ใส่ใจดูแลสะอาดปลอดภัย “ทำ กินเองกับทำ ขายทำ เหมือนกัน เน้น คุณภาพเพื่อสุขภาพของคนทำและคนกิน”
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 181 2.2.3 การจัดการฟาร์ม 1) ข้อมูลทั่วไป คุณอำ มร สุขวิน อาชีหลักทำ นา ได้ปรับเปลี่ยนจากการทำ นาเคมีมาเป็นนาอินทรีย์ ตั้งแต่ ปี 2554 พื้นที่นาเป็นพื้นที่ราบลุ่มทะเลสาบ สลับกับเนินเขาก่อนถึงชายฝั่งทะเลสาบสงขลา การปรับ ไร่นาสวนผสมปรับเปลี่ยนพื้นที่ยกร่องให้สูงขึ้น ปลูกพืชรวมยาง มีการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ 2) การวางผังแปลงเกษตร 2.1) รูปแบบการทำ นา ในพื้นที่มีการทำ นาเป็นหลักเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ อากาศที่ฤดูกาลไม่แน่นอน น้ำ ท่วมหนักมีความถี่ขึ้น ทำ ให้ชาวบ้านมีการปรับตัวเพื่อรับมือเพื่อ ให้ทำ นาแล้วได้ผลผลิตข้าว จึงได้มีการเลือกพื้นที่ตามความเหมาะสม ดังเช่นพื้นที่โคกยังคงมีการ ทำ นาข้าวพื้นบ้าน ชาวนาสามารถทำ นาได้ตามปกติ กล่าวคือชาวนาสามารถทำ นาได้ 2 ครั้ง คือการทำ นาปี ซึ่งจะเลือกปลูกพันธุ์ข้าวพื้นบ้านดังเช่น พันธุ์สังหยด เฉี้ยงพัทลุง และการทำ นาปรังโดยใช้พันธุ์ข้าว ลูกผสม เช่น หอมประทุม ชันนาท เป็นต้น หากแต่ในกรณีที่เกิดความผันผวนของสภาพอากาศเกิด ขึ้น ดังเช่นในปี พ.ศ. 2548 ได้ประสบปัญหาน้ำ ท่วมขังเป็นเวลานาน (ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ทำ ให้ข้าวในทุ่งนาเสียหายเกือบทั้งหมด ทำ ให้ชาวนาต้องปรับการทำ นาไปสู่การทำ นาหลังน้ำ ท่วม (ช่วงเดือนมกราคม) ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวจากพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมาใช้พันธุ์ข้าวลูกผสม (เช่น หอมประทุม ชัยนาท กข43) แทน จากการปรับเปลี่ยนช่วงการปลูกข้าวทำ ให้ลดความเสี่ยงความ เสียหายของข้าว นอกจากนั้นลดต้นทุนการผลิตได้เนื่องจากบางปีที่มีฝนตกมากท่วมปีละ 2- 3 ครั้ง ทำ ให้นาล่ม ชาวนาต้องหว่านข้าวใหม่หลายรอบจึงจะได้ข้าว นอกจากนี้พี่อำ มร รวมกลุ่ม แบ่งงานกันทำ ตามความถนัด กองทุนช่วยเหลือกัน ออมทรัพย์ กองทุนสวัสดิการ เพื่อช่วยกันในการทำ นาอินทรีย์ทั้งระบบ คัดและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว โรงสีชุมชน ข้าวสาร แปรรูปข้าวทำ แป้ง ทำ ขนม เน้นกินเองเป็นหลัก เหลือขาย ระบบการจัดการ ตลาดชุมชน ตลาดเกษตร หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 181
182 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม พี่อำ มร ปรับเปลี่ยนจากการผลิตใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยมีการวางแผนปรับ เปลี่ยนแปลงนา 2 ไร่มาทำ ไร่นาสวนผสม เกษตรยกร่อง ยางพารา ไม้ผล และเน้นการปลูกพืช พืชกินได้เป็นไม้ยืนต้น เช่น มะพร้าว มะขาม มะม่วงหิมพานต์ ไม้ใช้สอย และมีการเลี้ยงสัตว์ในแปลง เลี้ยงปลาในร่องน้ำ เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ เนื่องจากสถานการณ์น้ำ ที่มีปริมาณมากขึ้น ท่วมขังยาวนานขึ้น ทำ ให้มีการแบ่งที่นาอีกส่วน 2 ไร่ แนวคิดโคกหนองนามาใช้ปรับให้เข้ากับสภาพพื้นที่ และออกแบบการปลูกพืชบนคันนาให้ได้ ผลผลิตในช่วงน้ำ ขัง 2.2) รูปแบบการฟื้นฟูผักพื้นบ้านของชุมชนบ้านท่าช้าง ชุมชนได้ฟื้นฟูการปลูก ผักพื้นบ้าน เพื่อความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน โดยมีแนวทางการฟื้นฟู ดังนี้ 1. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระดับครัวเรือน ของชุมชน จำ นวน 5 ครัวเรือน เพื่อเป็น แหล่งรวบรวม ขยาย แบ่งปัน และจำ หน่ายพันธุ์ผักพื้นบ้าน โดยนำ หลักการการทำ เกษตรอินทรีย์ที่เน้น ความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (นาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย และสมใจ สิงห์สา, 2550) พร้อม ทั้งการจัดทำ ป้ายชื่อผักสมุนไพร แผ่นพับ คู่มือสรรพคุณผักพื้นบ้าน เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียน นิสิต เกษตรกร และผู้ที่สนใจ 2. การฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ ความเคารพศรัทธาของชาวนาที่ มีต่อข้าว ได้แก่ การกวนข้าวยาคู ซึ่งจะทำ ในช่วงข้าวระยะน้ำ นมข้าว เป็นการนำ ธัญพืช พืชผัก
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 183 สมุนไพรให้ในการประกอบพิธี ถือเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้านอีกช่องทาง และการจัดพิธีกรรมการ ทำ ขวัญข้าวถือเป็นการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านของชุมชนท่าช้าง ได้แก่ ข้าวสังข์หยด ข้าวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวหน่วยเขือ ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวเหนียวดำ เป็นต้น 3. การรณรงค์การบริโภคผักพื้นบ้านผ่านกิจกรรมการประกวดเมนูอาหารพื้นบ้าน ทำ ให้คนรู้จักการใช้ประโยชน์พืชผักพื้นบ้านของแต่ละเขตนิเวศ โดยกำ หนดเกณฑ์เมนูอาหารจะต้องใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เป็นอาหารพื้นบ้าน มีความหลาก หลายของผักสมุนไพร และสะอาด อาหารที่นำ มาประกวด มีดังนี้ อาหารประเภทแกง แกงคั่วปลา คั่วกลิ้ง แกงเลียง แกงขี้เหล็ก ประเภทยา ได้แก่ ยำ ลูกเขือลน ยำ รวมมิตรผักสด ประเภทน้ำ พริก ได้แก่ น้ำ พริกใบธัมมัง น้ำ พริกปลาทู น้ำ พริกหัวทือ งานรณรงค์การประกวดเมนูอาหารสามารถสร้าง ความตื่นตัวแก่ชุมชนให้หันกลับมาบริโภคอาหารพื้นบ้านที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณะเกี่ยวกับกรรมวิธี การปรุง วัตถุดิบผักพื้นบ้านปลอดสารพิษและมีประโยชน์ต่อร่างกาย (สิทธิศักดิ์, 2552) เกิดเป็น ช่องทางการฟื้นฟูผักพื้นบ้านต่อไป การเพาะปลูกไว้บริเวณบ้าน อาทิ สวนสมรมหลังบ้านเป็นการปลูกพืชที่เห็นได้ทั่วไปใน ชุมชน ด้วยเพราะในทุกครอบครัวจะมีที่ว่างบริเวณรอบบ้าน เกษตรกรจึงนำ ไม้ผล พืชผักสวนครัว ต่างๆ มาปลูกไว้สำ หรับบริโภคในครอบครัวและเป็นยารักษาโรคต่างๆ ซึ่งการปลูกพืชบริเวณบ้าน แม้ว่าจะให้ผลผลิตในเชิงปริมาณและรายได้ไม่มากนัก แต่สามารถช่วยลดรายจ่ายด้านอาหารและ เป็นหลักประกันการมีอาหารบริโภคในครัวเรือน ขณะเดียวกันก็มีภัยคุกคามต่อพืชผัก มีการเปลี่ยน สภาพพื้นที่ป่าซึ่งเป็นแหล่งอาหาร มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยด้าน อาหาร และเผชิญภัยธรรมชาติทำ ให้พืชผักพื้นบ้านของชุมชนลดจำ นวนลงอย่างรวดเร็ว และบางชนิด ใกล้สูญพันธุ์ จึงจำ เป็นที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาการนำ พืชมาใช้ประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขของ ระบบนิเวศและวัฒนธรรมการบริโภค ความเชื่อของชุมชน 3) ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท การนำ หลักการบริการทางนิเวศมาใช้ ระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีระบบการ บริหารจัดการน้ำ ของชุมชน กลุ่มผู้ใช้น้ำ แบ่งปันน้ำ เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวในทุ่งชัยรองเจริญงอกงาม ในแต่ละพื้นที่ในแปลงของพี่อำ มร และสมาชิกและชาวนาที่จะต้องช่วยเหลือแบ่งปัน ช่วยกันดูแล รักษา แม้นมีปัญหาความขัดแย้งกันอยู่บ้างในการดึงน้ำ เข้านาก่อนหลัง แต่กลไกกลุ่มผู้ใช้น้ำสามารถ แก้ปัญหาและหาข้อตกลงร่วมกันได้ ซึ่งจากการมีเขตนิเวศเกษตร ซึ่งแบ่งได้ 4 เขตนิเวศ ทำ ให้ พี่อำ มรและคนในชุมชนมีความผูกพัน ช่วยกันดูแลช่วยเหลือกัน และแลกเปลี่ยนแบ่งปัน เขตนิเวศ เกษตร 4 เขตนิเวศ มีดังนี้ หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 183
184 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เขตนิเวศเกษตรที่ 1 ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ ความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ระดับปานกลาง ถึงสูง ดินค่อนข้างเป็นกรด (pH 4.5-6.0) ลักษณะดินบน (0-30 ซม.) เป็นดินร่วนปนทรายแป้ง หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีสีเทา ดินล่าง (30-100 ซม.) เป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือ ดินร่วนปนดินเหนียว การระบายน้ำ ปานกลางถึงเลว การจัดการน้ำ มีระบบชลประทานสูบน้ำ ไฟฟ้า สูบน้ำ จากแหล่งน้ำ ธรรมชาติที่สำ คัญคลองกระถินและไหลไปบรรจบกับสายคลองปากประ ซึ่งได้รับ การสนับสนุนจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการทำ นาครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 5 ทางทิศตะวันตก (ทุ่งชัยรอง) หมู่ที่ 6,7,8,9 และ หมู่ที่ 11 มีการทำ นาปีละ 2 ครั้ง จากการสอบถาม และสังเกตพบว่าเกิดความเสื่อมโทรมของสภาพนิเวศ พร้อมทั้งเกิดเหตุการณ์น้ำ ท่วมโดยเฉพาะช่วงปลายปี พ.ศ.2553 และเดือนมีนาคม พ.ศ.2554 ส่งผล ต่อการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์พื้นที่การทำ นาเป็นการปลูกผัก ปลูกปาล์มน้ำ มัน และยางพารา เขตนิเวศเกษตรที่ 2 ลักษณะเป็นที่ดอน ความอุดมสมบูรณ์ของดินระดับสูง ความเป็นกรดเป็น ด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ลักษณะดินบน (0-30 ซม.) เป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำ ตาล ดินล่าง (30-100 ซม.) เป็นดินร่วนปนดินเหนียวถึงดินเหนียวปนลูกรังมาก มีสีน้ำ ตาล สีแดงปนเหลือง การระบายน้ำ ดี โอกาสได้รับน้ำ ชลประทานต่ำ การทำ การเกษตรเป็นการทำ สวนยางพารามานาน แล้ว และไม้ผลผสมบริเวณที่อยู่อาศัย ได้มีความพยายามทำ การเกษตรหลายอย่าง แต่ขึ้นอยู่กับ แหล่งน้ำ ซึ่งจะขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้ง มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ หมู วัว เป็นต้น สวนของพี่อำ มรที่อยู่
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 185 ในโซนนี้เป็นพื้นที่บ้าน มีการปลูกสวนผักข้างบ้าน การสร้างตู้เย็นข้างบ้าน อาหารในครัวเรือนส่วน ใหญ่ได้ผักที่ปลูกข้างบ้าน ซึ่งเป็นการปลูกเพื่อกินเองไม่ใช้สารเคมี มั่นใจในความปลอดภัย รสชาติ ผักที่ปลูกอินทรีย์อร่อย นอกจากนี้เพื่อเกิดความมั่นคงทางด้านอาหารเพิ่มขึ้น สร้างหลักประกันความ มั่นคงทางด้านอาหารด้วยการ จัดตั้งธนาคารข้าวและกองทุนยาไส้ยาใจ รวบรวมคัดเลือกและเก็บพันธุ์ พืช ไว้ใช้เองในครัวเรือน แบ่งปันให้เพื่อและสมาชิกในเครือข่าย นอกจากนี้ยังมีการเพาะต้นกล้าผัก พื้นบ้าน เช่น กระเจี๊ยบ พริกขี้หนู มะเขือ ฯลฯ แบ่งขายให้กับคนในชุมชน และนำ ไปตั้งขายตลาดนัด เกษตรในตัวจังหวัด เขตนิเวศเกษตรที่ 3 ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปานกลาง-ต่ำ ดินเป็นกรด pH 4.0-5.0 ลักษณะดินบน (0-30 ซม.) เป็นดินบนมีอินทรียวัตถุ (peat) เป็นดินเหนียว สีดำ มีจุดประสีน้ำ ตาลแก่และสีแดงปนเหลือง ดินล่าง (30-100 ซม.) เป็นดินเลนเป็นตะกอน มีสีน้ำ ตาล ปนเทาหรือสีเทาปนน้ำ ตาล มีจุดประสีเหลืองปนน้ำ ตาลและเหลืองปนแดง การระบายน้ำ เลวถึงเลวมาก เนื่องจากดินเป็นกรดจัดจะมีน้ำ ท่วมในฤดูหน้าฝนช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม และมีน้ำ ทะเลหนุน จากทะเลสาบสงขลา เกิดภาวะน้ำ ท่วมขัง จึงไม่สามารถทำ การเกษตรในฤดูฝน มีการประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้าน ยกยอ จับปลาและกุ้ง เป็นต้น การทำ การเกษตร เดิมมีการทำ นาหว่าน ปีละ 1 ครั้ง เป็นหลัก หลังจากเสร็จจากการทำ นาก็ใช้เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ช้าง แต่ปัจจุบันใน บางพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ ได้มีการขอใช้เป็นวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัย ทักษิณ และส่งผลต่อการเปลี่ยนสภาพพื้นที่นาบางส่วนเป็นการปลูกยางพารา (อายุปลูกไม่เกิน 5 ปี) ปลูกปาล์มน้ำ มัน (อายุปลูกไม่เกิน 5 ปี) และมีการทำ นาข้าวพันธุ์ส่งเสริมในรูปแบบนาปรัง และมีแนว โน้มในการเปลี่ยนสภาพพื้นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะน้ำ ท่วมช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 และเดือนมีนาคม
186 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เขตนิเวศเกษตรที่ 4 ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มป่าพรุ ลักษณะดินเป็นดินเหนียวมี อินทรียวัตถุสูง ดินมีความเป็นกรดสูง pH 3.6 ลักษณะดินบน (0-30 ซม.) เป็นดินบนมีเนื้อดินเป็น ดินร่วน มีสีดำ หรือเทาปนดำ เนื่องจากมีอินทรียวัตถุมาก ดินล่าง (30-100 ซม.) เป็นเนื้อดินเป็นดิน เหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำ ตาลปนเทา มีจุดประสีเหลือง การระบายน้ำ เลว มีน้ำ ท่วมเกือบ ตลอดปี ในอดีตมีการมีการใช้ประโยชน์ในการถอนกระจูดหรือทำ นากระจูด ปัจจุบันนอกจากนั้นใช้ ประโยชน์ในการหาพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน ตีผึ้งหรือจับผี้ง และทำ การประมงพื้นบ้านจับปลา และกุ้ง เป็นต้น เป็นแหล่งอาหารธรรมชาติของคนในชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่ ประกอบด้วย ป่าพรุ ทุ่งหญ้า ป่ากระจูด และป่าเสม็ด การใช้ประโยชน์พื้นที่ ที่สำ คัญ คือการเลี้ยงสัตว์ ทำ นากระจูด และทำ นา ซึ่งปัจจุบันมีความพยายามในการใช้ประโยชน์ของ พื้นที่บางส่วนหลังฤดูฝน โดยการขุดแปลงเป็นร่องยกสูงขึ้นเพื่อใช้ในการปลูกผักระยะสั้น เช่น พริก ขี้หนู มะเขือ แตงโม แตงกวา ข้าวโพด เป็นต้น แต่ภายหลังเกิดภาวะน้ำ ท่วมเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 บางพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ได้มีการเปลี่ยนสภาพพื้นที่เป็นสวนปาล์มน้ำ มัน แหล่งน้ำ ที่สำ คัญ คือคลอง ยวน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำ ตามธรรมชาติ และคลองบ้านกลาง เป็นคลองที่ขุดขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ประโยชน์ของแหล่งน้ำ ทั้งสอง คือ เป็นเส้นทางหลักในการติดต่อระหว่างทะเลน้อยและทะเลหลวง 4) สรุป การนำ ใช้หลักการบริการนิเวศ 1) การรักษาและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ พืช สัตว์และจุลินทรีย์ การ ทำ เกษตรเลือกปลูกพืชที่เหมาะสมกับนิเวศ ซึ่งมีการแบ่งเขตนิเวศ 4 นิเวศ ทำ ให้เกิดความเกื้อกูล ของระบบ และสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และพันธุ์พืชที่ปลูก ทั้งยังเป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ ข้าว/พืชของชุมชน 2) ระบบนิเวศและความหลากลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนและ ผู้บริโภคทั้งในและนอกชุมชน 3) ผลผลิตจากระบบเกษตรนิเวศ ได้สร้างรายได้จากการจัดการผลผลิตในฟาร์ม และ ลดต้นทุนในการผลิตใช้ปัจจัยการผลิตจากในฟาร์มและชุมชน 4) สืบสานวัฒนธรรมอาหารชุมชน ส่งต่อความรู้สู่รุ่นต่อรุ่น ภูมิปัญญาสมุนไพร พื้นบ้านดูแลสุขภาพ อาหารเป็นยา 2.2.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ เกษตรนิเวศ 1) ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1.1)ปรับเปลี่ยนระยะเวลาทำ นา ทำ นาหลังน้ำ ลด ช่วยลดความเสี่ยงจากน้ำ ท่วม ทำ ให้ได้ข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 187 1.2) มีระบบน้ำ รวมของชุมชน มีกลไกคณะทำ งานและสร้างการมีส่วนร่วมของ ชุมชน ทำ ให้แบ่งปันใช้น้ำ ในการทำ นาของทุ่งชัยรองมีประสิทธิภาพ 1.3) มีธนาคารพันธุ์พืช/กองทุนยาไส้ยาใจ มีเมล็ดพันธุ์สำ รองไว้ใช้และแบ่งปันให้ ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ความแปรปรวนกำ หนดการเพาะปลูกได้ยากขึ้น 2) ด้านความมั่นคงทางด้านอาหาร 2.1) มีผักพื้นบ้านหลายชนิดพบได้ทั้งเขตพื้นที่ราบบริเวณทุ่งนามากที่สุด รองลง มาเขตพื้นที่ดอน บนควน และเขตพื้นที่ราบลุ่ม และที่พบน้อยที่สุดเขตพื้นที่ป่าพรุ ในขณะที่บาง ชนิดพบได้ในที่ดอนหรือที่นาเพียงอย่างเดียว การที่ผักพื้นบ้านที่พบได้หลายเขตนิเวศหรือเฉพาะ เขตนิเวศนั้นถือเป็นข้อมูลสำ คัญเพราะจะมีผลต่อการขยายพันธุ์ ทั้งนี้เพราะพื้นที่ที่เป็นที่นา ที่ควน ที่ราบลุ่ม และป่าพรุมีความแตกต่างกันทั้งเรื่องของดิน ความชุ่มชื้นซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของ ผัก และสมุนไพร เช่น ผักพื้นบ้านที่เกิดในป่าพรุลำ เท็ง ขึ้นอยู่ที่มีความชื้นสูง ตามริมห้วย ริมคลอง ป่าพรุที่มีความชื้นตลอดปี ในขณะพืชผักที่เกิดในพื้นที่ราบกับที่นาและที่ควน มีลักษณะที่คล้ายคลึง กัน มีความหลากหลายของพันธุ์ทั้งเป็นพืชล้มลุก ได้แก่ ถั่วพู มะอึก บังบาย และไม้ยืนต้น ได้แก่ กระโดน สะตอ เป็นต้น
188 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 2.2) การใช้ประโยชน์จากผักพื้นบ้าน จากการวิเคราะห์ พบว่ามีการใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ ดังนี้ 2.2.1) ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหารในชีวิตประจำ วันเป็นส่วนใหญ่ที่ค้น พบทั้ง 4 เขตนิเวศ คนในชุมชนมีภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์โดยนาผักพื้นบ้านมาทำอาหารเป็นหลัก ทั้งที่เป็นอาหารหลัก เช่น แกงส้ม แกงคั่ว แกงกะทิ หรือใช้ประกอบเพื่อเป็นผักที่เป็นหนึ่งของการ ปรุงอาหาร ใช้เป็นส่วนประกอบของแกง ซึ่งผักเหล่านี้ได้แก่ ขมิ้น พริกไทย มะกรูด ขี้เหล็ก ชะพลู มะนาว เป็นต้น 2.2.2) ใช้เป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ผักพื้นบ้านหลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นอกจากนำ มาปรุงอาหารแล้วใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาโรค และบำ รุงสุขภาพ เช่น ขี้เหล็ก สรรพคุณ : เปลือก แก้ริดสีดวง, ใบ แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ, ดอกตูม ใบอ่อน เป็นยาระบายอ่อนๆ, ดอก ทำ ให้ นอนหลับ แก้หืด, แก่น แก้ไข้ แก้แสบตา, ราก ใช้แก้ไข้ ขี้เหล็กทั้งห้า แก้กษัย แก้พิษไข้ พิษเสมหะ ขี้พร้าไฟ ใบ แก้ไข้ตัวร้อน ถอนพิษอักเสบ ตาพอกแก้ปวดหลัง แก้กระดูกเดาะ แก้ฝี แก้พิษ, เมล็ด บำ รุงปอด แก้ฝีในปอด แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้ท่อน้ำ ดีอุดตัน, ราก ถอนพิษไข้ ขับเสมหะ แก้ข้อ เข่า ปวดตามข้อ แช่น้ำสระผม แก้ผมร่วง ฆ่าเหา, ผลอ่อน ใบอ่อน ลดน้ำ ตาลในเลือด, เยื่อหุ้มเมล็ด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำ รุงสายตาและป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก กล้วยน้ำ ว้า ผลดิบ ใช้รักษาอาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะ, ผลสุก ช่วยระบายท้อง, หัวปลี แก้ร้อนใน แก้โรคเกี่ยวกับลำ ไส้ แก้โรคโลหิตจาง ผักริ้น ใบขับปัสสาวะ ตาพอกฝี รับประทานช่วยลดความร้อน ในร่างกาย ผักหนาม เหง้า แก้ไอ ขับเสมหะ แก้คันเนื่องจากพิษหัด เหือด, รากและใบ ขับเสมหะ (สิทธิศักดิ์, 2552) เป็นต้น การใช้ประโยชน์จากพืชผักพื้นบ้านที่มีความสัมพันธ์กับเขตภูมินิเวศ พบว่ามีผักพื้นบ้าน ทั้งหมด 94 ชนิด การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ใช้ประกอบเป็นอาหาร และใช้เป็นยาสมุนไพร อีกทั้งมีการ พัฒนารูปแบบการฟื้นฟูและการขยายพันธุ์ผักพื้นบ้าน โดยการแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชพื้นบ้านทั้งภายใน และภายนอกชุมชน การขยายพันธุ์ พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ในระดับครัวเรือน และมีการทำ พิธีกรรม ความเชื่อการทำ ขวัญข้าว และการกวนข้าวยาคูเพื่อปลูกฝังให้เห็นความสำ คัญตื่นตัวในการรักษา พันธุกรรมพืชพื้นบ้านของชุมชนบ้านท่าช้าง 2.2.3) แหล่งเรียนรู้ระดับครัวเรือน ของชุมชน จำ นวน 5 ครัวเรือน เพื่อเป็นแหล่ง รวบรวม ขยาย แบ่งปัน และจำ หน่ายพันธุ์ผักพื้นบ้าน โดยนำ หลักการทำ เกษตรอินทรีย์ที่เน้นความ ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (นาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย และสมใจ สิงห์สา, 2550) พร้อมทั้งการ จัดทำ ป้ายชื่อผักสมุนไพร แผ่นพับ คู่มือสรรพคุณผักพื้นบ้าน เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียน นิสิต เกษตรกร และผู้ที่สนใจ 188 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 189 2.2.4) ฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ ความเคารพศรัทธาของชาวนาที่มีต่อ ข้าว ได้แก่ การกวนข้าวยาคู ซึ่งจะทำ ในช่วงข้าวระยะน้ำ นมข้าว เป็นการนำ ธัญพืช พืชผัก สมุนไพร ให้ในการประกอบพิธี ถือเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้านอีกช่องทาง และการจัดพิธีกรรมการทำ ขวัญ ข้าวถือเป็นการรวบรวม และอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านของชุมชนท่าช้าง ได้แก่ ข้างสังข์หยด ข้าวเฉี้ยง พัทลุง ข้าวหน่วยเขือ ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวเหนียวดำ เป็นต้น 2.2.5) มีเมนูอาหารจะต้องใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เป็นอาหารพื้นบ้าน มีความหลาก หลายของผักสมุนไพร และสะอาด อาหารที่นำ มาประกวด เป็นอาหารประเภทแกง แกงคั่วปลา คั่วกลิ้ง แกงเลียง แกงขี้เหล็ก ประเภทยำ ได้แก่ ยำ ลูกเขือลน ยำ รวมมิตรผักสด ประเภทน้ำ พริก ได้แก่ น้ำ พริกใบธัมมัง น้ำ พริกปลาทู น้ำ พริกหัวทือ งานรณรงค์การประกวดเมนูอาหารสามารถสร้างความ ตื่นตัวแก่ชุมชนให้หันกลับมาบริโภคอาหารพื้นบ้านที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณะเกี่ยวกับกรรมวิธีการปรุง วัตถุดิบผักพื้นบ้านปลอดสารพิษและมีประโยชน์ต่อร่างกาย (สิทธิศักดิ์, 2552) เกิดเป็นช่องทางการ ฟื้นฟูผักพื้นบ้านต่อไป 3) ด้านเศรษฐกิจ 3.1) ลดรายจ่ายค่าอาหารในครัวเรือน จากพืชอาหาร สัตว์เลี้ยง และลดต้นทุนด้าน การเกษตร โดยใช้วัตถุดิบหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต เช่น การนำแกลบ รำ มาเป็นส่วน ผสมของปุ๋ยหมัก ฯลฯ 3.2) มีรายได้เพิ่มขึ้นจากพืชผล และผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่า 4) ด้านสังคม 4.1) ได้มีการรวมกลุ่มช่วยเหลือดูแลแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความรู้ ผลผลิต ในวิถีเกษตร นิเวศก่อให้เกิดความสามัคคี 4.2) ครอบครัวมีความอบอุ่น ได้อยู่ร่วมกัน และช่วยเหลือกัน 4.3) มีกองทุนสวัสดิการชุมชน ดูแลคนในชุมชนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก ได้ดูแลซึ่งกัน และกัน และมีการออมของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ 2.3 เกษตรกรนิเวศพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง : ลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง 2.3.1 ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ชายฝั่ง มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบติดทะเลสาบสงขลาตอนกลางในเขตพื้นที่ ชุมชนชาว ประมงพื้นบ้านอาศัยอยู่ตลอดแนวชายฝั่ง 5 อำ เภอ ประกอบด้วย อำ เภอปากพะยูน อำ เภอบางแก้ว อำ เภอเขาชัยสน อำ เภอเมือง และอำ เภอควนขนุน จากการเพิ่มขึ้นของจำ นวนประชากรในพื้นที่
190 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม รอบทะเลสาบสงขลา ที่ประกอบอาชีพประมงอาศัยฐานทรัพยากรสัตว์น้ำ เป็นอาชีพและรายได้หลัก ในการดำ รงชีวิตถึงจำ นวน 1,800-2,000 ครัวเรือน ส่งผลให้ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ และสัตว์น้ำ ลดปริมาณ ลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมาจากสาเหตุการเพิ่มขึ้นของการใช้เครื่องมือประมงที่ทันสมัยและมีความหลากหลาย รวม ถึงการทำ ประมงที่ผิดกฎหมายทำ ลายล้าง เช่น การใช้ตาอวนขนาดเล็ก ประกอบกับระบบนิเวศมีการ เปลี่ยนแปลงจากโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น การปิดปากระวะ การสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาส่งผลสำ คัญ ต่อการเปลี่ยนทิศทางไหลเวียนเดิมของสายน้ำ ที่ส่งผลทำ ให้เปลี่ยนแปลงทิศทางการเข้าออกของน้ำส่ง ผลต่อการเข้าออกของปลาที่มาวางไข่และเจริญเติบโตจากอ่าวไทยสู่ทะเลสาบ นอกจากนี้การปล่อยน้ำ เสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือครัวเรือนในชุมชนส่งผลให้ทะเลสาบ มีความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ตลอดถึงการขุดลอกปิดกั้นหรือการเปลี่ยน ทิศทางการไหลของน้ำ จากป่าต้นน้ำ ถึงทะเลสาบทั้ง 7 สายในพื้นที่พัทลุง ถูกทำ ลายการเปลี่ยนแปลง เหล่านี้จึงเป็นส่วนสำ คัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนิเวศทะเลสาบทั้งระบบ ทำ ให้สัตว์น้ำ ที่เคย อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร “หม้อข้าวหม้อแกง” ของชาวประมงรอบทะเลสาบ มีจำ นวนลดลงเหลือ เพียง 420 ชนิดเท่านั้น (ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ ชายฝั่งจังหวัดสงขลา 2560 อ้างอิงใน สรุสิทธิ์, 2563) อย่างไร ก็ตามหากทะเลสาบไม่ได้มีการวางแผนในการแก้ปัญหาและฟื้นฟูที่เป็นระบบอย่างจริงจังจะส่งผลให้ ชุมชนชาวประมงต้องเปลี่ยนอาชีพและเกิดการล่มสลายของชุมชนในที่สุด 2.3.2 เป้าหมายการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง 1) เป้าหมายร่วม พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง - มีฐานทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ (เช่น มีการขยายเขตอนุรักษ์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรประมง) - มีการประกอบอาชีพ/การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่พึ่งพิง/สอดคล้องกับฐานทรัพยากร ในพื้นที่ - มีการเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อการจัดการพื้นที่ปลายน้ำ
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 191 2) แนวคิดการทำ เกษตรนิเวศวิถีเล แนวคิดเกษตรนิเวศวิถีนิเวศผสมผสานกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง คือ รักษ์เลหน้าบ้าน สวนผักข้างบ้าน สวนยางยั่งยืน ที่นำ ไปสู่การพึ่งตนเองทางด้านอาหารและทรัพยากรมีความสมบูรณ์ มีการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรชายฝั่งพัทลุงยั่งยืน ช่องฟืนโมเดล ภายใต้ความเชื่อมั่นว่า “ทะเลสาบคือหม้อข้าวหม้อแกง” ถึงแม้ว่าจะไม่ สามารถแก้วิกฤติให้สามารถจับสัตว์น้ำ ทำ การประมงเหมือนในอดีตได้ แต่ก็มีชาวประมงบางส่วนที่ ไม่ยอมจำ นนต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ยังมีชุมชนที่มีแกนนำ ร่วมกับสมาชิกในชุมชนพยายามร่วมคิด ออกแบบหาทางออกในการแก้ไขต่อสู้ด้วยการคิดออกแบบลองผิดลองถูกในหลากหลายวิธีการฟื้นฟูให้ มีสัตว์น้ำ โดยใช้พลังการรวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนมาพูดคุยในการร่วมคิดวางแผนด้วยการทำ กิจกรรมใน รูปแบบการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ของชุมชน เพื่อรวมคนมาพูดคุยแก้ปัญหาเรื่องทะเล เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มน้ำ ยาง กลุ่มแปรรูป กลุ่มประมงอาสา กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี ฯลฯ จนมีการทดลองทำ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ชุมชน มีกติกาข้อตกลงที่ชุมชนยอมรับและ ร่วมปฏิบัติกันและมีประมงอาสาคอยทำ หน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์ด้วยการแบ่งทีมร่วม
192 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ออกแบบลาดตระเวนในแต่ละครั้ง จากปฏิบัติการดังกล่าว จนเกิดการยอมรับ จนเกิดการกำ หนดการ ร่วม ปฏิบัติการร่วมนำ ไปสู่ฟื้นคืนนิเวศทางทะเลและชายฝั่งมีความสมบูรณ์ คุณภาพสิ่งแวดล้อมดี คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เสริมพลังกลุ่มองค์กรชาวประมงพื้นบ้านมีความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะซึ่งเป็นส่วนสำ คัญที่ไปหนุนเสริม ชุมชนใช้สิทธิในการบริหารจัดการ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เกิดกระบวนการทำ งานแบบมีส่วนร่วมได้รับความร่วมมือภาคี ทุกภาคส่วน “พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี” ซึ่งมีความ เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงปี 2565 – 2569 โดยมี 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วย “พัทลุง เมืองคนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็ง เติบโต และมั่งคั่งจากฐานการเกษตร วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน” 2.3.3) การจัดการทรัพยากรหน้าบ้านอย่างยั่งยืนร่วมกับการเพิ่มพื้นที่อาหารสวน ผักข้างบ้านและสวนยางพื้นที่เนินของชุมชน กลยุทธ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน โดยรวมมี 3 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การปกป้องพื้นที่ทำ ประมง เป็นกลยุทธ์ที่เน้นเรื่องการป้องกันและดูแล ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งด้วยการกำ หนด “แนวเขตอนุรักษ์หน้าบ้านช่องฟืน” ทำ ให้เห็นถึง กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการใช้สิทธิของตนเองเพื่อการปกป้องทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง และการใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง จนเกิดผลอย่างเป็น รูปธรรม ซึ่งเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของจำ นวนสัตว์น้ำ ที่มีให้จับกันตลอดทั้งปี ส่งผลต่อรายได้และ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนที่ดีขึ้น ปัจจุบันชาวประมงมีรายได้จากการทำ ประมงเฉลี่ยครัวเรือน วันละ 1,800 บาท ถึง 2,000 บาท จากอดีตช่วงปี 2545 มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพียง 300-1,000 บาท ในขณะเดียวกันพื้นที่อื่นๆ รอบลุ่มน้ำ ทะเลสาบเกิดการยอมรับต่อกลยุทธ์การปกป้องพื้นที่ประมง ของชุมชนบ้านช่องฟืน 2) กลยุทธ์การออม เป็นกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ชุมชนบ้านช่องฟืนประสบปัญหาการ ประกอบอาชีพทำ ประมง คนในชุมชนจึงร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการบ้านช่องฟืน และกลุ่มออมทรัพย์ผู้หญิงเพื่อการพัฒนาบ้านช่องฟืน เพื่อเป็นกองทุนสำ คัญในการบรรเทาทุกข์ของ คนในชุมชน และฝึกนิสัยการออมเงินให้มีเงินทุนสำ รองที่สามารถนำ มาใช้และเป็นการพึ่งพาตนเอง ในยามจำ เป็น มีสวัสดิการการรักษาพยาบาล ได้เงินปันผลจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่วนหนึ่งสามารถ ทำ ประโยชน์ให้แก่ชุมชน ซึ่งปรากฎในรูปแบบของการสมทบทุนเป็นกองทุนฟื้นฟูทะเลและสิ่งแวดล้อม สำ หรับใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟู ดูแล และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งหน้าบ้านช่องฟืน จำ นวนร้อยละ 3 ของการจัดสรรกำ ไร นำ มาปันผลกลุ่มออมทรัพย์ 192 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 193 3) กลยุทธ์การเสริมสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน เป็นกลยุทธ์ของการทำ กิจกรรมกลุ่มที่ นำ ไปสู่รูปแบบการบริหารเชิงเศรษฐกิจชุมชน ลดการถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง เพิ่มราย ได้ให้แก่สมาชิกกลุ่ม ซึ่งกิจกรรมกลุ่มในชุมชนบ้านช่องฟืน ได้แก่ กลุ่มน้ำ ยาง กลุ่มแพปลาชุมชน และ กลุ่มวิสาหกิจ แปรรูปสัตว์น้ำ (นิตยา ศรีพูล, 2565) เกิดการต่อยอดการทำ งานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โรงแปรรูปสัตว์น้ำ ที่ชุมชนลงหุ้นในการทำ ธุรกิจซื้อขายปลาเพื่อเรียนรู้การทำ ธุรกิจที่เชื่อมโยงดูแล สิ่งแวดล้อมมีมาตรฐานสินค้าที่เน้นอาหารปลอดภัยและเป็นธรรมกับผู้บริโภคในแบรนด์ “ร้านคน จับปลาทะเลสาบ” นอกจากนั้นเกิดกลุ่มกิจกรรมที่สร้างพลังชุมชนจำ นวน 11 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี เป้าหมายเดียวกันคือการมีทุนที่มาจากการปันผลกำ ไรจากสมาชิกร่วมฟื้นฟูทะเลสาบ ทำ ให้ทุกคน มีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของการดูแลทะเลสาบ โดยมีสมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบอำ เภอ ปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นองค์กรนิติบุคคลช่วยประสานกับภาคีองค์กรต่างๆ ในการทำ งาน จนทำ ให้ เกิดการยอมรับจากชุมชนใกล้เคียงและภาคีต่างๆ ตลอดถึงสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกพื้นที่ และ ได้มีการพัฒนายกระดับชุมชนช่องฟืนเป็นพื้นที่ต้นแบบหรือแหล่งเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง อย่างยั่งยืนบนฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน จากการดำ เนินการที่ผ่านมา จำ นวนพื้นที่เขตอนุรักษ์เพิ่ม ขึ้น คนในชุมชนบริโภคปลาเพิ่มขึ้น และคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพประมง
194 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนี้มีการสร้างพื้นที่อาหารเพิ่มโดยมีการปลูกผักข้างบ้าน ด้วยชุมชนเป็นพื้นที่ เกาะส่วนพื้นที่การใช้ประโยชน์มีน้อยและจำ กัด จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่เหมาะสมกับ พื้นที่ด้วยการปลูกใส่กระถาง นำ เศษวัสดุเหลือใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกินได้ สำ หรับบริโภคเอง ในครัวเรือนและแบ่งปันให้กับคนในชุมชน ในสวนยางอยู่บนพื้นที่เนินเขา มีการปรับเปลี่ยนปลูกพืชหลากหลาย พืชอาหาร ผลไม้ ไม้ยืนต้น เนื่องจากปี 2553 ได้ประสบภัยจากดีเปรสชันส่งผลกระทบกับพื้นที่ ทำ ให้สวนยาง ล้มนอน หรือหักโค่น จากการแลกเปลี่ยนบทเรียนในเครือข่ายชุมชนคนรักษ์ลุ่มน้ำ ได้บทเรียนว่า สวนสมรม หรือ ป่ายางที่มีความหลากหลายระบบนิเวศในฟาร์มสมดุล ความเสียหายน้อย เนื่องจาก การมีไม้ยืนต้นและรากสานกันแน่นช่วยพยุง ลดความแรงของลมลงได้ และยังเป็นการเพิ่มพืช อาหารในสวนยาง เช่น ผักเหมียง ผักกูด ผักหวาน สะตอ ไม้ไผ่ สำ หรับบริโภคในครัวเรือน แบ่งปัน และขยายสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน นอกจากนี้สิ่งที่สำ คัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่คือ เกิดกลไกการติดตามในการทำ งานร่วมกัน ชาว ประมงในการประสานร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรที่ยั่งยืนซึ่งเป็นการ จัดตั้งองค์กรชาวประมงที่ต้องทำ งานเชื่อมโยงในการผลักดันติดตามนโยบายกับภาคส่วนต่างๆ ทั้ง ระดับการทำ งานเชิงยุทธศาตร์และการทำ งานในระดับพื้นที่ แต่ยังมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงในการขับ เคลื่อนของกลไกเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยังต้องเติมเต็มให้มีเวทีการพูดคุยปรึกษาหารือสรุปทบทวน พร้อมวิเคราะห์การทำ งานอย่างต่อเนื่องพร้อมการทบทวนกติกาข้อตกลงแต่ละพื้นที่ปรับปรุงให้ สอดคล้องปฎิบัติได้จริง เช่น การพูดคุยข้อมูลปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบตอนกลาง การจัดทำ ข้อมูล พันธืชนิดสัตว์น้ำ เครื่องมือ รายได้ ก่อนหลังการทำ เขตอนุรักษ์ เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีความสำ คัญ ของการใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ทำ ให้คนในชุมชนได้กลับมาพูดคุยสะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ ทำ ให้พบความจริงที่เกิดขึ้นชุมชน และพร้อมที่จะร่วมวางแผนที่จะเดินต่อไปข้างหน้าของชุมชน
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 195 บทเรียนจากการอนุรักษ์ฟื้นฟูและการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำ ด้วยเขตอนุรักษ์ ในพื้นที่ดังกล่าว ข้างต้นไม่สามารถประสบผลสำ เร็จได้เนื่องจากการได้มาของกติกาข้อตกลงของชุมชนที่ไม่ได้ ผ่านการพูดคุยจากกลุ่มที่ไม่หลากหลายและไม่ต่อเนื่อง ตลอดถึงการรับรู้ในชุมชนไม่แพร่หลาย ในขณะเดียวกันการทำ งานของประมงอาสาภายใต้บทบาทหน้าที่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ไม่เกิดตัวตนของคน/องค์กรที่ชัดเจน ทำ ให้ไม่เกิดการยอมรับในชุมชนวงกว้าง การไม่มีองค์กร ที่เป็นกลไกหลักมาเชื่อมร้อยให้มีเวทีการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบชมรมหรือสมาคม ที่มีหลาย ภาคียอมรับและเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการทำ งานเป็นอีกส่วนที่มีความสำ คัญของความ เข้มแข็งขององค์กร ในขณะเดียวกันกติกาข้อตกลงชุมชนยังที่ไม่มีการเผยแพร่หรือติดประกาศ ให้คนในชุมชนได้เห็นอย่างทั่วถึง ตลอดถึงกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูยังไม่ได้ทำ อย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ ล้วนส่งผลให้กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูในพื้นที่ดังกล่าวไม่นำ ไปสู่การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม ของคนในชุมชน ส่งผลให้กิจกรรมไม่สามารถดำ เนินการได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้ 2.3.4 ประโยชน์ที่ได้จากการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน 1) ด้านการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นิเวศทะเลสาบตอนกลางมีสัตว์น้ำ อุดมสมบูรณ์ เกิดตัวชี้วัดดังนี้ มีจำ นวนพื้นที่เขตอนุรักษ์ เพิ่มขึ้นพื้นที่ละ 500-1,200 เมตร จำ นวน 31 ชุมชนตามแนวชายฝั่งทะเลสาบสงขลาพัทลุง มีพันธุ์ ปลาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 8 ชนิด จากเดิมมี 4 ชนิด คือปลากระบอก ปลาล้าปัง กุ้งก้ามกราม ปลาดุก ทะเล ปลาชะโด ปลาหัวโม้ง กุ้งลาย นอกจากนั้นชุมชนมีการร่วมดูแลระบบนิเวศป่าชายทะเลเพื่อเป็น ที่หลบภัยป้องกันคลื่นลมของสัตว์น้ำและพาะวางไข่ อนุบาลสัตว์น้ำ วัยอ่อนทำ ให้มีสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้น 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร. ครัวเรือนมีการบริโภคสัตว์น้ำ ที่จับได้จากทะเลสาบเพิ่มขึ้นใน 1 สับดาห์ จำ นวน 7 มื้อ ผลิตภัณพ์อาหารทะเลของชุมชนได้รับรองมาตรฐาน ซึ่งเดิมก่อนจะทำ กิจกรรมฟื้นฟูชาวบ้านไม่มีสัตว์ น้ำ ที่เพียงพอในการบริโภค หาได้ก็นำ ไปขายเพราะราคาแพงจึงนิยมบริโภคเนื้อไก่ เนื้อหมู วัว หรือ ปลาแช่แข็งที่เป็นปลาทะเลนอกฝั่งอ่าวไทย หรืออันดามัน หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 195
196 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 3) ด้านเศรษฐกิจ - ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำ ประมงจากเดิม 300-500 บาท ปัจจุบัน เฉลี่ย 800-1,200 บาท 4) ด้านสังคม เกิดกลไกการทำ งานในการรักษาทะเล จากการขับเคลื่อนการทำ งานที่ผ่านมานับว่า ประสบผลสำ เร็จในตัวกลไกคือประมงอาสา ที่ทำ หน้าที่ในการออกตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์และ การเชื่อมร้อยกลไกกลุ่มภายใต้การขับเคลื่อนกลไกร่วมของชุมชนในนาม “สมาคมชาวประมง
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง 197 รักษ์ทะเลสาบอำ เภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง” ที่เป็นองค์กรกลไกเชื่อมร้อยกลางในการกำ หนด ยุทธศาสตร์การทำ งานของชุมชนที่ตอบโจทย์มิติทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งการประสานภาคยุทธศาสตร์การเชื่อมร้อยการทำ งานในระดับพื้นที่และนโยบาย ครอบครัวมีความอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เนื่องจากเมื่อทะเลสาบสมบูรณ์ไปทำ ประมงระยะ ทางที่ใกล้ ทำ ให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวเพิ่มขึ้น ได้พักผ่อน มีเวลาในการร่วมคิดออกแบบวางแผน การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง นำ ไปสู่ชุมชนเข้มแข็งที่สามารถจัดการตนเองได้ในอนาคต การบริหารชุมชนและภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและเกิดรูปธรรมส่งผลให้เกิดการจัดการ เกษตรนิเวศและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งด้วยการสานพลังในการขับเคลื่อนเกษตรนิเวศ วิถีพัทลุง ยกระดับสู่นโยบายสาธารณะ ใช้กระบวนการเรียนรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจตระหนัก ความสำ คัญ ขยายแนวคิด ยกระดับองค์ความรู้เกษตรนิเวศที่นำ ไปสู่ความยั่งยืน ส่งต่อภูมิปัญหา จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อทำ ให้เกษตรกรรายย่อยและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร สร้าง ฐานความมั่นคงทางอาหาร คืนนิเวศ คืนชีวิต รับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอาการ มีรายได้พออยู่พอกิน มีความสุขกับการร่วมเป็นขบวนในการสร้างสุขภาวะชุมชน และตอบ โจทย์ยุทธศาสต์จังหวัดพัทลุงและยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงว่าด้วยพัทลุง เมืองสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
198 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เอกสารอ้างอิง เบญจวรรณ เพ็งหนู. (2561). บทเรียนการจัดการลุ่มน้ำ พัทลุง บ้านช่องฟืน อำ เภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. สมาคมรักษ์ทะเลไทย พวงชมพู ประเสริฐ. (2562). จากคนที่เขาว่าบ้าสู่ ป่าร่วมยาง เจ้าของต้นแบบอาหารปลอดภัย. สำ นักข่าวคมชัดลึก. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/391182 ไพโรจน์ สิริมนตราภรณ์, เริงชัย ตันสกุล และอังสุนีย์ ชุณหปราณ. (2542). ทะเลสาบสงขลา. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 7. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา นิตยา ศรีพูล และ เบญจวรรณ เพ็งหนู. (2563) นโยบายและกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองสู่ความยั่งยืน. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 วิจิตรา อมรวิริยะชัย และสมยศ ทุ่งหว้า. (2556). พลวัตรของการทำ ฟาร์มในสังคมเกษตรที่มีการ ทำ นาเป็นหลักภาคใต้ กรณีตำ บลพนางตุง อำ เภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสาร แก่นเกษตร, 40 ฉบับพิเศษ, (143-149). วิทยา พรหมมี. (2563). หลักการปลูกสร้างสวนยางแบบผสมผสาน. สถาบันวิจัยยางการยาง แห่งประเทศไทย 198 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม