หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 49 น้ำ บางช่วงไม่แรงแต่น้ำ ยังคงหยดต่อเนื่องไม่กระทบกับพืชที่ปลูก ตัวอย่างพืชที่ปลูกในฟาร์ม ได้แก่ ผักกาดขาว แตงกวา พริก มะเขือเปราะ ฯลฯ เพียงแต่ขุดหลุมที่จะใช้ระบบน้ำ หยดควบคู่กับใส่ปุ๋ยคอก โดยไม่ต้องขึ้นแปลงได้ โดยผักที่ปลูกในแต่ละรอบนั้นจะเป็นรายได้ประจำ รายสัปดาห์ ในระหว่างที่ต้น พืชอื่นยังเล็กก็ปลูกพืชอย่างอื่น/พืชระยะสั้นปลูกเสริมลงในแปลงควบคู่กับพืชระยะยาวเพื่อให้สามารถ ทยอยเก็บเกี่ยวได้ เช่น มะเขือเปราะกับผักบุ้ง เป็นต้น รวมถึงการปลูกสตรอเบอร์รี่ในระบบอินทรีย์โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่ทำ เอง ผลผลิตก็ได้ระดับ หนึ่ง โดยเทคนิคการปลูกในระบบอินทรีย์นั้นต้องเด็ดใบบ่อยๆ เพราะตาดอกจะอยู่ที่โคนและหนอน กับศัตรูพืชก็อยู่ที่โคนเช่นกันถ้าปล่อยให้ต้นรกก็จะทำ ให้เกิดดอกช้า แมลงระบาด ในช่วงที่ผ่านมาปลูก ประมาณ 3,000 ต้น โดยเด็ดใบบริเวณโคนต้น 1 ครั้ง/อาทิตย์ หากต้องการทำสตรอเบอร์รี่อินทรีย์แบบ คุณภาพอย่าทำ มากเพราะจะดูแลได้ไม่ทั่วถึง ลูกไหนลูกเล็กให้เด็ดทิ้งด้วยการที่ไม่ใช้สารเคมีต้นจะเลี้ยง ไม่ไหวและเป็นการเพิ่มขนาดลูกสตรอเบอร์รี่ สำ หรับการทำ นานั้น เกียรติพงศ์ได้ปรับระบบการทำ นาที่ไม่ต้องเหนื่อย มีต้นทุนการผลิตต่ำ ให้ผลผลิตสูง และสามารถจัดการด้วยตนเองได้ โดยการปรับการจัดการฟาร์มที่นำ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะ สมกับพื้นที่ โดยการทำ นาโยนซึ่งมีวิธีการจัดการเตรียมเพาะกล้าข้าวดังนี้ 1) ลงทุนเริ่มแรกซื้อถาดเพาะกล้าข้าวราคาประมาณ 8-10 บาท/ถาด ซึ่งสามารถนำ กลับ มาใช้ใหม่ได้ประมาณ 15 ครั้ง (หากใช้เพาะแต่ละครั้งเสร็จก็ล้างแล้วเก็บไว้ที่ร่มไม่ให้โดนแดด/เก็บไว้ ที่ร่ม เพราะตากแดดถาดจะงอ) 2)สูตรการเพาะกล้าข้าวที่ใช้จะใช้พันธุ์ข้าว 7 กิโลกรัม/ไร่ วิธีการคือ ผสมดินร่วนเอามา ร่อน 13 กิโลกรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำ ไปปาดลงถาดเพาะ จากสูตรนี้ จะมีเมล็ดข้าวเฉลี่ย 3-7 เมล็ดต่อหลุม ยิ่งเมล็ดเดียวต่อหลุมยิ่งดีจะมีการแตกกอข้าวได้ดี 3)จากนั้นปรับดินให้เรียบเพื่อนำ ถาดเพาะไปวางคลุมสแลนตามภาพข้างล่าง 4) ก่อนโยนข้าวต้องมีการปรับพื้นนาให้เรียบและเอาน้ำออกไม่อย่างนั้นกล้าข้าวที่โยนจะลอย 5) หลังจากโยนข้าวได้ 5-8 วันให้เอาน้ำ เข้าคลุมหญ้าคล้ายกับนาดำ ถ้าทำ นาหว่านหญ้า จะโตพร้อมข้าว ถ้าทำ นาโยนหญ้าจะโตไม่ทันข้าว
50 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม สำ หรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวจาก วิถีเดิมที่เอามื้อเอาวันช่วยกันเก็บผลผลิต ก็ปรับมานำ ใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีหัวเกี่ยว ดัดแปลงมาเกี่ยวข้าวที่สามารถตัดข้าวคนเดียว ได้ถึง 3-4 ไร่ ไม่ต้องจ้างแรงงานประหยัด ต้นทุนเพียงใช้น้ำ มัน 1 ลิตร ได้ออกกำ ลังกาย ตอนตีข้าวก็ตีคนเดียวโดยใช้เครื่องทุ่นแรงมา เสริมให้เร็วขึ้นที่ไปซื้อเครื่องที่ร้านการเกษตร นำ มาต่อกับเครื่องสูบน้ำ เก่า ส่วนการสีข้าวก็นำ ไปสีข้าวที่โรงสีข้าวอินทรีย์ทั้งกระบวนการแพคทั้งหมด ของสมาชิกเครือข่ายฯ การผลิตข้าวอินทรีย์ได้รับรองมาตรฐานการผลิตโดยกรมการข้าว “ถ้าข้าวไม่ล้มก็เอาเครื่องตัดหญ้าแล้วติดหัวเสริมแล้วก็เกี่ยว ขนาดเลือก พันธุ์ที่ไม่ค่อยล้มแล้วมันก็ยังเอนบ้าง หลังฝนและหากแดดเริ่มมาก็คงจะไปเริ่มเกี่ยว ที่อาจต้องใช้เคียวเป็นส่วนใหญ่ ในชุมชนยังคงช่วยเอาวันกัน แต่นาที่ทำ�อยู่มีจัดการ ด้วยตนเองทั้งหมดโดยไม่ได้เอาวันใครจะทำ�คนเดียวเป็นหลักโดยทยอยตัดไปเรื่อยๆ ใช้อุปกรณ์เสริมในเครื่องทุ่นแรง ส่วนตีข้าวนั้นก็ไปซื้อที่ฟาดข้าวมาเป็นแบบเครื่องที่ รูดข้าวทำ�ให้ย่นเวลาในการตีข้าวปกติ เครื่องที่ว่าติดกับที่สูบน้ำ�เก่าให้เครื่องเดินแล้ว เอาข้าวที่มัดไว้รูดกับเครื่อง เทียบแรงงาน 1 คนที่ทำ�เท่ากับ 10 คนเลยทำ�ให้ย่นเวลา ได้มากเพราะช่วยลดขั้นตอน ทำ�ให้ได้ฟางข้าวไว้ใช้และไม่ต้องเสียเวลาไปลงแขกให้ ใคร เลยทำ�เองดีกว่า” 6) ส่วนพันธุ์ข้าวนั้นได้วิจัย ทดลอง พัฒนาพันธุ์ข้าวเอง โดยร่วมกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ทั้งประเทศที่ทำ พันธุ์ข้าวพื้นบ้านในการผสมพันธุ์ข้าวเอง ที่จะส่งมาแลกเปลี่ยนที่นำ มาทดลอง ปลูกในพื้นที่ มีทั้งข้าวเจ้า ข้าวไร่ ข้าวเหนียว เพราะเห็นปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว ไม่ใช่ว่าพันธุ์ข้าวของ กรมการข้าวไม่ดีแต่พันธุ์ข้าวของกรมฯ มักจะต้องให้เติมปุ๋ยและสารเคมีมาก อย่างเช่นพันธุ์ข้าว กข6 เป็นข้าวเหนียวอร่อยแต่ต้องใส่ปุ๋ยพ่นยามาก และตอนช่วงเก็บเกี่ยวต้นข้าวมักจะล้ม จึงเป็นเหตุให้ เกียรติพงศ์ปรับมาใช้พันธุ์ข้าวที่แลกเปลี่ยนกับสมาชิกเครือข่ายฯ โดยปรับพื้นที่บางส่วนเป็นแปลงวิจัย พันธุ์ข้าวหลากหลายสายพันธุ์จากถาดเพาะกล้าเพื่อสังเกตข้าวพันธุ์ที่เติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมใน พื้นที่ก็จะเก็บไว้ด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศก็จะส่งผลต่อการกลายพันธุ์ของพันธุ์พืชและโรคระบาด ถ้าไม่มีการเก็บพันธุ์เองแต่ไปรอการสนับสนุนหรือพันธุ์ข้าวจากกรมฯ อย่างเดียวถ้าเกิดไม่ได้พันธุ์ข้าว ก็จะเป็นข้อจำ กัดในการปลูกข้าวในแต่ละรอบการผลิต หรือพันธุ์ข้าวที่ดีไปอยู่ใต้การผลิตของบริษัท โดยที่เกษตรกรไม่มีการสำ รองพันธุ์ข้าวก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำ คัญมาก
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 51 “เครื่องเกี่ยวข้าวที่ดัดแปลงจากเครื่องตัดหญ้า” “เครื่องนวดข้าวที่ดัดแปลงจากเครื่องสูบน้ำ เก่า” “ลักษณะเส้นชั้นความสูงของพื้นที่ในมุมด้านข้าง บริเวณโซนแปลงปลูกผัก และแปลงปลูกลำ ไย” ภาพฟาร์มของ เกียรติพงศ์ ลังกาพินธุ์ 1) แปลงปลูกผัก แปลงปลูกลำ ไย และโรงเรือนเลี้ยงไก่-หมูหลุม “ผังฟาร์มมุมสูงของแปลงปลูกผัก และแปลงปลูกลำ ไย”
52 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 2.3.4 สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ 1) การลดการใช้ปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองให้มากที่สุด (Input reduction) 2) การคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินผ่านการปรับปรุงบำ รุงดินโดยการจัดการเติม อินทรียวัตถุและรักษาชีววิทยาของดิน เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช (Soil health) 3) สัตว์มีสุขภาพและมีสวัสดิภาพที่ดีในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Animal health) 4) การรักษาและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ์และพันธุกรรมทั้ง พืชและสัตว์ (Biodiversity) 5) การสร้างความหลากหลายของรายได้จากการจัดการฟาร์ม เพื่อให้เกษตรกรมีอิสระ และโอกาสในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ (Economics diversification) “ลักษณะเส้นชั้นความสูงของพื้นที่ในมุมด้านข้าง บริเวณโซนแปลงปลูกข้าว” “ผังฟาร์มมุมสูงของแปลงปลูกข้าว” 2) แปลงปลูกข้าว
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 53 6) การสร้างระบบอาหารที่อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ประเพณี ความเท่าเทียม ทางสังคม ลักษณะของเพศภาพ และบริบทของชุมชน (Social values and diets) 7) การสร้างความเชื่อมั่นระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคผ่านการสนับสนุนการกระจาย สินค้าที่เป็นธรรมในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างระบบอาหารที่สัมพันธ์ให้เป็นส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ ท้องถิ่น (Fairness) 2.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 2.4.1 ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - จากการที่ให้ความสำ คัญกับการเก็บและคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชทำ ให้เกียรติพงศ์สามารถ ปลูกพืชและพันธุ์ข้าวที่เจริญเติบโตได้ดีและเหมาะสมในนิเวศฟาร์ม ซึ่งหากแม้ว่าสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลงแต่เกียรติพงศ์ยังคงสามารถเก็บพันธุ์พืชในการปลูกต่อในรอบการผลิตต่อไปได้เนื่องจากมี ความทนต่อสภาพอากาศ มีความยืดหยุ่นในการเจริญเติบโต และช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการจัดการ ในลักษณะนี้เป็นการลดความเสี่ยงในการผลิตที่ไม่มีพันธุ์พืชที่ทนทานหรือยืดหยุ่นเท่ากับพันธุ์ที่เก็บได้ ในพื้นที่โดยเฉพาะพันธุ์พืชท้องถิ่นที่มีความทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี - การปรับระบบการผลิตที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่เป็นเรื่องสำ คัญ โดยเฉพาะเรื่องการ จัดการในนาข้าวที่ปรับรูปแบบการผลิตมาเป็นนาโยนที่เป็นระบบไม่ได้ใช้น้ำ มาก ประหยัดแรงงาน และ ให้ผลผลิตข้าวที่ดี ซึ่งเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในระดับพื้นที่ในการจัดการรับมือกับปัญหาภัยแล้งได้ - การสร้างความหลากหลายในแปลงการผลิตที่มีการเชื่อมโยงกันทำ ให้ระบบเกิดความ สมดุลและช่วยลดความเสี่ยงเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2.4.2 ด้านความมั่นคงทางอาหาร - เกียรติพงศ์มีการจัดการฟาร์มที่หลากหลายทั้งพืชผัก ข้าว ไม้ผล และสัตว์ ในการสร้าง พื้นที่อาหารให้กับครอบครัวและคนในชุมชน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับแนวคิดในการจัดการฟาร์มที่ไม่ใช่ เพียงครอบครัวของตนเองที่เข้าถึงอาหารเท่านั้นแต่สัมพันธ์กับชุมชนในมิติการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและ กันในการหนุนเสริมและพัฒนาชุมชนสู่ความหลากหลายของอาหารในมิติของชุมชนพึ่งตนเอง 2.4.3 ด้านเศรษฐกิจ - การเลี้ยงหมูหลุม : สร้างรายได้รายเดือน การเลี้ยงหมูในช่วงแรกนั้นซื้อลูกหมูจากฟาร์มอื่นเพื่อนำ มาขุนและขายให้กับพ่อค้าในชุมชน แต่ด้วยกำ ไรจากการเลี้ยงน้อย ทำ ให้ปรับมาเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นบ้าน “หมูดำ เหมยซาน” ที่เลี้ยงง่าย โตวัย ทนโรคไม่ต้องทำ วัคซีน ช่วยประหยัดค่าซื้อลูกหมูแม้ว่าให้ลูกไม่มากประมาณ 7-8 ตัว/ครั้ง และคนในชุมชนนิยมรับประทาน ปัจจุบันเกียรติพงศ์ทำ คอกเลี้ยงหมูหลุมจำ นวน 4 ห้องโดย
54 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ปล่อยเลี้ยงลูกหมูเพื่อนำ มาขุนเดือนละห้อง ซึ่งจะใช้เวลาในการขุนลูกหมู 4 เดือน หากครบรอบการ เลี้ยงก็จะขายหมูขุนได้กำ ไรตัวละ 1,000 บาท ควบคู่กับมีรายได้เสริมจากการขายปุ๋ยหมูหลุมประมาณ 100 กระสอบ/เดือน โดยขายกระสอบละ 40 บาท รวมเป็นเงิน 4,000 บาท/เดือน - การเลี้ยงไก่หลุม : สร้างรายได้รายวัน ลักษณะการเลี้ยงไก่ของเกียรติพงศ์อยู่ในลักษณะเลี้ยงแบบไก่หลุม ซึ่งมีวิธีการจัดการ คล้ายกับการเลี้ยงหมูหลุมที่ใช้วัสดุรองก้นหลุมสูตรเดียวกัน โดยทั่วไปเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ประมาณ 40 ตัว สามารถเก็บไข่เฉลี่ยวันละ 30 ฟองๆ ละ 4 บาท รวมเป็นเงิน 120 บาท/วัน หรือประมาณ 3,600 บาท/ เดือน โดยไก่ที่นำ มาเลี้ยงเป็นไก่สาวพร้อมไข่ไม่แนะนำ เลี้ยงลูกเจี๊ยบ เพราะถ้าหากไม่ชำ นาญพอก็จะ เสี่ยงกับถูกสุนัขกัด - การปลูกผัก : สร้างรายได้รายวัน จากพื้นที่ปลูกผักทั้งหมด 3 งาน สามารถให้ผลผลิตผักได้ประมาณ 100 กก./สัปดาห์ ขาย กิโลกรัมละ 30 บาท คิดเป็น 3,000/สัปดาห์ รวมรายได้ 12,000 บาท/เดือน - การปลูกสตรอเบอร์รี่ : สร้างรายได้รายปี รายได้จากสตรอเบอร์รี่จำ นวน 3,000 ต้นที่จะออกเฉพาะช่วงฤดูหนาวเท่านั้น โดยผลผลิต ที่คัดจำ หน่ายได้ประมาณ 200 กิโลกรัม เฉลี่ย กก.ๆ ละ 200 บาท (200-400 บาท/กิโลกรัม) คิดเป็น รายได้ 40,000 บาท หักต้นทุน (ค่าพลาสติกคลุมแปลง ค่ากล้าพันธุ์ ฯลฯ) 10,000 บาท จะได้รายได้ สุทธิ 30,000 บาท/รอบการผลิต - การปลูกลำ ไย : สร้างรายได้รายปี รายได้จากการปลูกลำ ไยที่เน้นจำ หน่ายผลผลิตขนาด AA ในพื้นที่แปลง 100 ต้น ที่ให้ ผลผลิตสลับกันปีละ 50 ต้น ประมาณ 2,000 กิโลกรัม/ต่อปี ราคากิโลกรัมละ 25 บาท คิดเป็นรายได้ที่ 50,000 บาท หักต้นทุน 10,000 บาท รายได้สุทธิ 40,000 บาท/ปี 2.4.4 ด้านสังคม - เชื่อมการผลิตกับชุมชนผ่านการจำ หน่ายผลผลิตในตลาดท้องถิ่น โดยเน้นการผลิตผักที่ ชุมชนนิยมรับประทาน เช่น ถั่วฝักยาว ผักกูด ผักโขมบ้าน ฯลฯ เน้นผักตามฤดูกาล ซึ่งที่ผ่านมาได้รับ การตอบรับจากชุมชนที่ดีเนื่องจากการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีทำ ให้พืชผักมีรสชาดกรอบอร่อย เป็นที่นิยมของคนในชุมชน เพราะเคยไปขายที่ไกลๆ มีเงื่อนไขมาก ต้นทุนการจัดการมาก - ช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมาในพื้นที่มีปัญหาเรื่องการเข้าถึงตลาดนั้น คนในชุมชนมีการปรับ ตัวจากไปซื้อที่ตลาดก็มาซื้อผลผลิตในแปลงการผลิตหรือบางครั้งบ้านของเกียรติพงศ์ จากวิกฤติที่เกิด 54 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 55 ขึ้นอาจกล่าวได้ว่าลักษณะการผลิตหรือแนวคิดการผลิตในระบบนี้เป็นพื้นที่อาหารที่สำ คัญของชุมชน ซึ่งหากมีคนจัดการระบบการผลิตแบบนี้กระจายไปแต่ละแห่งชุมชนก็จะทำ ให้เกษตรกรหรือคนในชุมชน สามารถพึ่งตัวเองในด้านอาหาร - ผลจากการทำ เกษตรในระบบนี้ทำ ให้ครอบครัวกลับมาอยู่ด้วยกันไม่ได้แยกกันอยู่ มี คุณค่าทางจิตใจ - ทำ เกษตรแบบนี้เป็นเจ้านายตัวเอง มีเวลามาก ร่วมทำ กิจกรรมกับเยาวชนและชุมชน งานวัฒนธรรมชุมชน ซอ ดนตรีพื้นเมือง การอบรมให้ความรู้กับคนที่สนใจ 3. “การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบครบวงจร : เกียรติไก่บ้าน” ของนายเกียรติศักดิ์ ฉัตร์ดี เกษตรกรบ้านปงตำ ตำ บลปงตำ อำ เภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 3.1 บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในแต่ละพื้นที่ ชุมชนบ้านปงตำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีแนวเขาล้อมรอบมีลักษณะเอียงลาดไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมมีแม่น้ำ และลำ ห้วยไหลลงสู่แม่น้ำ ฝาง ชุมชนอยู่สูงจากระดับน้ำ ทะเล 900-1,000 เมตร มีประชากรในพื้นที่ประมาณ 400-500 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำ การ เกษตรและรับจ้างทั่วไป พื้นที่เดิมของชุมชนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวกับลิ้นจี่เป็นหลักแต่ด้วยการส่งเสริม พืชเศรษฐกิจอื่นที่เข้ามาอย่างหลากหลายทำ ให้ระบบการผลิตของพื้นที่เปลี่ยนเป็นการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน พืชผัก มันเทศ ส่วนไม้ผลเป็นส้มเขียวหวานกับมะม่วงซึ่งมีการใช้สารเคมีฯ และการใช้น้ำ ในการจัดการผลิตอย่างเข้มข้น พื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์บางส่วนโดยเฉพาะการเลี้ยงไก่ชนที่ คนนิยมเลี้ยงในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา แต่ยังขยายการเลี้ยงได้จำ กัดเนื่องจากเป็นการเลี้ยงในลักษณะ การชนไก่เฉพาะกลุ่ม ส่วนการเลี้ยงไก่พื้นบ้านนั้นพบว่ามีความต้องการบริโภคสูง มีพ่อค้านำ ไปขายที่ ตลาดเพียง 4-5 รายๆ ละ 50-60 ตัว/ครั้ง ซึ่งไม่พอกับความต้องการซื้อ เหตุที่มีการเลี้ยงไก่พื้นบ้านที่ มีจำ นวนการเลี้ยงไม่มากนักเพราะไก่โตช้าหากเทียบกับไก่เนื้อทั่วไป ซึ่งการโตช้าที่ว่านี้ทำ ให้คุณภาพ เนื้อเหนียวไม่เป็นที่นิยมของตลาด สำ หรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นเริ่มส่งผลกระทบต่อพื้นที่การผลิตที่เห็นชัดเจนที่สุดใน เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ประมาณปี 2559 อุณหภูมิในพื้นที่เปลี่ยนแปลงมาก จากเดิมที่พื้นที่ ปลูกลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ ก็เริ่มขยับมาปรับพันธุ์เป็นกิมเจง ฮงฮวย ซึ่งปัจจุบันได้ตัดโค่นในหลายพื้นที่ ด้วยพื้นที่เจอปัญหาเรื่องความร้อนที่ส่งผลให้ลิ้นจี่ไม่ติดดอก รวมถึงเรื่องการจัดการน้ำ ที่เริ่มไม่เพียงพอ ในการผลิตในช่วงฤดูแล้ง ช่วงอุณหภูมิที่แปรปรวนส่งผลต่อการเติบโตของพืชในการให้ผลผลิต การ ระบาดของโรคและแมลง กระทบถึงอาการติดสัดของสัตว์ ที่มีสัดส่วนการติดสัดที่ลดลงซึ่งส่งผลต่อการ ขยายพันธุ์สัตว์ของชุมชน รวมถึงลมเปลี่ยนทิศก็จะมีผลกระทบต่อการผสมพันธุ์ไก่ได้เช่นกัน
56 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม “ลมเปลี่ยนทิศมีผลต่อการผสมพันธุ์ไก่ โดยในช่วงห้าปีหลังมานี้พบว่าลม เปลี่ยนในช่วงนี้จะมีลมเหนือเข้ามา แต่ตอนนี้พบว่ามีลมเหนือใต้พัดมาวนกัน ซึ่งมี ผลต่อไก่เพราะว่าไก่เวลาอากาศเย็นเกินไปการผสมพันธุ์จะไม่ดี เวลาไข่ไก่จะข่วน ไข่ของตัวอื่นและมันจะไม่ออกดีเท่าไหร่ บางทีไม่ออกซึ่งจะรู้ตอนที่ไข่ออกมามันจะ อ่อนเยื่อมันจะเข้าไปเหยียบย่ำ� ตัวผู้ที่กด/ผสมอย่างเดียวไม่ดี ทำ�ให้บางช่วงต้องไป หาที่ให้กกแทน ต้องไปสอนให้ไก่ตัวผู้ว่าต้องขึ้นเล้าไปดูไปเขี่ย ตัวเมียก็จะดูลักษณะ และแบ่งให้อยู่แยกกันให้อยู่ด้วยกันได้” 3.2 การออกแบบฟาร์ม 3.2.1 เป้าหมายในการจัดการฟาร์ม 1) การเลี้ยงไก่พื้นบ้านในพื้นที่โดยเฉพาะอำ เภอฝาง แม่อาย ไชยปราการ ถือเป็นพื้นที่ที่ มีผู้เลี้ยงไก่ชน และสนามชนไก่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั้น ทำ ให้เกียรติศักดิ์มีความสนใจและวางเป้าหมาย ที่จะทำ การปรับปรุงพันธุ์ไก่ หรือ “การจับแต่งงานให้ไก่ชน” ด้วยปัญหาของผู้เลี้ยงไก่คือ ไม่สามารถ กำ หนดเพศลูกไก่ได้ ทำ ให้การเลี้ยงไก่ที่เป็นเจ้าของไก่ชนมักจะให้เกษตรกรเอาไปเลี้ยงและรับซื้อคืน (ถ้าเป็นตัวผู้ตัวละ 1,000 บาท ถ้าเป็นตัวเมีย 300-500 บาท) 2) ต้องมีรายได้มากกว่า 150,000 บาท/ ปี ในพื้นที่ฟาร์มขนาด 1.5 ไร่ เพราะสามารถที่ จะเลี้ยงครอบครัวภายใต้รายจ่ายที่สามารถอยู่ได้จริงและมีเงินออม 3.2.2 แนวคิดในการจัดการฟาร์ม เกียรติศักดิ์มีประสบการณ์ทำ งานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนมาก่อนในเรื่องการส่งเสริม เกษตรกรรมยั่งยืน ทำ ให้การกลับไปทำ เกษตรที่บ้านจึงตั้งคำ ถามกับตนเองว่าเกษตรรูปแบบไหนเป็น เกษตรยั่งยืนในรูปแบบธรรมชาติผสมผสาน เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ สามารถจัดการให้เป็นรูปธรรมได้ จริง ตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และคำ ตอบที่ให้กับตนเองคือการใช้วัตถุดิบ/ระบบหมุนเวียนใน พื้นที่ให้มากที่สุด ไม่ว่าเป็นเรื่องการจัดการพืชและสัตว์ต้องอยู่ในฟาร์มตัวเองให้ได้มากที่สุด มีการนำ แนวคิดผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลาย และไปดูว่าต้นทุนของตัวเองมีอะไรในการที่จะเริ่มต้นการผลิตที่ สอดคล้องกับพื้นที่และต้นทุนการผลิตของตนเอง ในทางกลับกันถ้าจะทำ เกษตรในระบบเกษตรกรรม ยั่งยืนแล้วแต่ไปซื้อปัจจัยการผลิตภายนอกมาจะเรียกว่าเกษตรกรรมยั่งยืนได้อย่างไร 3.3 การจัดการฟาร์ม 3.3.1 ข้อมูลทั่วไปของฟาร์ม ก่อนที่เริ่มต้นทำ ฟาร์มเลี้ยงไก่พื้นบ้านเกียรติศักดิ์ได้ศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่เชิงระบบตั้งแต่
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 57 เทคนิคการคัดเลือกพันธุ์ การเลี้ยงไก่ให้มีคุณภาพ การตลาด และผู้บริโภค เพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะตัดสินใจเลี้ยงไก่ เกียรติศักดิ์เริ่มต้นเลี้ยงไก่ ปี 2558 ในพื้นที่ฟาร์มของครอบครัวขนาดพื้นที่ 1.5 ไร่ โดยในช่วงแรกเป็นการทดลองเลี้ยงไก่ที่อาศัยข้อมูลแบบวิชาการในด้านการผลิตแต่พบว่าปรับ ใช้ได้จริงในฟาร์มไม่มากนัก จึงหันมาศึกษาเชิงทดลองเรียนรู้จริงในฟาร์มที่นอกจากเรื่องการเลี้ยงไก่ แล้ว ยังเชื่อมโยงกับการปลูกพืชอาหารสัตว์ว่าจะทำ ให้การเลี้ยงไก่มีความยั่งยืนได้อย่างไร “ในช่วงแรกทำ�ข้อมูลแบบวิชาการเลย แต่รู้สึกว่าข้อมูลทางวิชาการพอเอา ไปปรับใช้บ้านเรานั้นปรับใช้ได้ไม่มากทั้งในส่วนเทคนิคในส่วนการคัดเลือกพันธุ์ ก็เลย มาทำ�ในส่วนของตนเองถ้าเกิดจะมาผลิตในส่วนของการเลี้ยงไก่ ก็ต้องมองในการเลี้ยง ไก่ว่าต้องกินอาหารเท่าไหร่ ต้องมีพื้นที่ขนาดเท่าใด ปลูกพืชอาหารอะไรบ้าง และจะ ทำ�ให้มันยั่งยืนต้องทำ�อย่างไร” ระบบการเลี้ยงไก่ของฟาร์มของเกียรติศักดิ์เป็นการเลี้ยงไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมของพื้นที่ ไชยปราการซึ่งเป็นสายพันธุ์พม่ามีลักษณะหน้าแดงแข้งเหลืองเป็นสายพันธุ์ที่เลี้ยงง่ายและแข็งแรง กว่าไก่พันธุ์ประดู่หางดำ หรือไก่พันธุ์เหล่าป่าก๋อย ปัจจัยหลักที่ทำ ไก่แข็งแรงไม่เป็นโรคหรือไม่ต้องทำ วัคซีนนั้นคือ การผลิตอาหารให้ไก่ด้วยพืชอาหารสัตว์ที่ผลิตในฟาร์ม ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ต้นกล้วย ฯลฯ ที่นำ มาผลิตเป็นอาหารข้นและอาหารหยาบให้ไก่ โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ที่เก็บและคัดเมล็ดพันธุ์ต่อเนื่องที่ลักษณะพันธุ์เริ่มนิ่งและให้ผลผลิตได้ดี ปัจจุบันเลี้ยงไก่เข้าสู่ปีที่ 5 ที่สามารถผสมพันธุ์ไก่ที่สามารถกำ หนดเพศไก่ได้ที่ 68% จาก การทดลองซ้ำ ในการเลี้ยงไก่แต่ละรอบการผลิต ซึ่งปกติไก่ตัวเมียรอบออกไข่ปี 2-3 ครั้ง ใช้วิธีทำสาว ปีหนึ่งประมาณ 45-50 ฟอง ก็จะเพิ่มขึ้น ทำสาวเสร็จไก่ตัวผู้จะตาม เกียรติศักดิ์มีเป้าหมายที่จะรับ ผลิตลูกไก่ให้กับผู้เลี้ยงไก่ชนที่ประมาณอีก 2 ปีถึงจะเปิดตัวเป็นทางการ สำ หรับการจัดการในช่วงนี้ คือต้องสร้างตลาดอาชีพของตัวเองในการสร้างรายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดให้กับเพื่อน/คนที่ สนใจ โดยมีเป้าหมายหลักคือเป็นศูนย์เลี้ยงไก่ให้กับคนที่เลี้ยงไก่ชน เพราะแนวโน้มในช่วง 8 ปี ที่ผ่านมา พบว่ามูลค่าการเลี้ยงไก่ชน และจำ นวนผู้เลี้ยงไก่ชนมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น “การทำ�สาวคือการอาบน้ำ�ทำ�ความสะอาด ให้กินผลไม้ กินหญ้า ให้โดนแดด ประมาณ 3 วันก็จะปล่อยให้ออกไปข้างนอก ในช่วงปล่อยจะสังเกตว่าตัวผู้จะวิ่งหา ตัวเมีย ประมาณปีหนึ่งได้ประมาณ 6 รอบ ถ้าตั้งแต่ไก่จีบกัน ผสม พักฟื้น ประมาณ 2 เดือน ช่วงก่อนใช้เครื่องฟักไข่ 2 ตู้ใหญ่ ตอนนี้ไม่เอาแล้วเพราะว่าเทียบกับเลี้ยง แบบที่สวนไม่ได้ กกในที่ฟักประมาณ 90% ออก สังเกตคือถ้าไก่ไม่กินอาหารแสดง ว่าอีก 2 วันฟักไข่ออกหมด แต่ตู้อัตโนมัติที่ซื้อมาเกือบสองหมื่นประมาณสามพันฟอง แทบไม่ออก ความรู้ที่ได้มาเกิดจากการคิดนอกกรอบและอยากทำ�ด้วยตนเอง” หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 57
58 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 3.3.2 หลักในการพิจารณาการวางผังไร่นา และแผนการผลิต การเลี้ยงไก่ไม่ควรจำ กัดพื้นที่ ควรปล่อยไก่ออกไปทั้งหมด โดยต้องจำ กัดเวลาการออกของ ไก่แต่ละรุ่น ถ้าไม่อย่างนั้นไก่จะออกไปที่อื่น ดังนั้นต้องมีช่วงเวลาในการปล่อยไก่ ทำ อาหารหยาบ จากการหมักหยวกกล้วยและปรับค่าความเป็นกรดด่างให้เหมาะสม และควรให้ไก่ได้รับแสงเพราะ อุณหภูมิมีผลต่อการผสมพันธุ์ เช่น ถ้าต่ำ ว่า 27 องศาเซลเซียส ไก่จะผสมพันธุ์ได้ไม่มีประสิทธิภาพ “ความเข้าใจในการเลี้ยงไก่โดยทั่วไปเราเข้าใจผิดกันหมด หากเรามีพื้นที่ จำ�กัด เราจะต้องควรปล่อยออกไปทั้งหมด แต่ไก่มีนิสัยอย่างหนึ่งมีปีกที่เราไม่สามารถ ไปตัดปีก หรือปาก ต้องมีการจำ�กัดการปล่อยไก่ให้ออกไปกิน ทำ�รั้ว/ที่กั้นไม่ต้อง สูงมันก็จะไม่บิน ที่ใช้อยู่ตอนนี้ใช้แสลนไปล้อมในช่วงปล่อยไก่ ไก่ก็จะไม่ออกไป ข้างนอก เราต้องจำ�กัดเวลาการออกของไก่แต่ละรุ่น ถ้าไม่อย่างนั้นวันนี้ปล่อยไก่ก็ จะออกไปที่อื่น ดังนั้นต้องมีช่วงเวลาในปล่อย และจะทำ�อาหารที่มีหยวกหมักและ ปรับค่าความเป็นกรดด่างเอามาปรับให้เหมาะสมแล้วให้ไก่กิน และปรับค่ากรดด่าง ให้น้ำ�ด้วย หากปรับได้ถ้าเป็นกรดด่างก็จะให้เพศที่ต่างกัน และควรให้มีแสงเพราะ อุณหภูมิมีผล ถ้าต่ำ�ว่า 27 องศา จะผสมพันธุ์ไม่ค่อยดี ตัวเมียต้องพร้อมด้วยเวลา ตัวผู้วนตัวเมียต้องไม่หนี” เริ่มผลิตไก่ในระบบการจัดการแบบนี้เป็นไก่ 2 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์พม่าที่เลี้ยงในชุมชนมา ร้อยกว่าปีที่นำ มาปรับปรุงพันธุ์ไก่ ปัญหาการเลี้ยงไก่ในกลุ่มนี้คือตลาดต้องการแต่ไม่สามารถผลิตให้ ได้ ด้วยผู้บริโภคไม่ต้องการไก่ที่เหนียว แต่เวลาจะซื้อไก่ ถ้าจะเอาไก่ที่ไม่เหนียวจะเป็นไก่ที่เลี้ยงอายุ 120 วัน แต่เวลาเลี้ยงทั่วไปที่ให้ข้าวเพียงอย่างเดียวจะตัวเล็กทำ ให้เวลาถอนขนออกมาจะมีขนบั่วหรือ มีจุดดำ ไม่สวย แต่ถ้าจะให้สวยเนื้อก็จะเหนียว ทำ ให้ที่ผ่านมาปรับเรื่องอาหารให้เลี้ยง 120 วัน จะได้ น้ำ หนักที่ 1.5 กิโลกรัม ที่ถือว่าตอบโจทย์เรื่องคุณภาพและเนื้อสัมผัสและความต้องการของผู้บริโภค ได้ การปรับสูตรอาหารที่ว่านี้คือ การปรับค่าความเป็นกรดด่างของอาหารและน้ำสำ หรับเลี้ยงไก่ที่ต้อง ให้ไก่อย่างต่อเนื่อง ในช่วงก่อนที่จะปลูกพืชอาหารสัตว์นั้น เกียรติศักดิ์ซื้ออาหารสำ เร็จรูปของบริษัท และมาทดลองเลี้ยงก็พบว่าไก่เป็นโรคมาก และต้นทุนอาหารสูงไม่คุ้ม จึงมีการปรับวิธีการจัดการ ซึ่ง ขณะนั้นมีไก่พ่อพันธุ์ 2 ตัว ไก่แม่พันธุ์ 10 ตัว โดยเลี้ยงแบบปล่อยให้กินหญ้าบริเวณโรงเรือนเลี้ยงไก่ บทเรียนเพื่อผลิตไก่ให้มีคุณภาพและสามารถกำ หนดเพศได้นั้นต้องศึกษาและสังเกตไก่ทั้ง วันทั้งคืนเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมไก่ซึ่งมีผลต่อการจับคู่ผสมพันธุ์ในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังต้องมีการ ศึกษาปัจจัยอื่นร่วม ได้แก่ อุณหภูมิที่เหมาะสมและลมเปลี่ยนทิศที่มีความสำ คัญต่อการผสมพันธุ์ไก่ รวมถึงการฟักไข่ที่เลือกให้ไก่กกในที่ฟักไข่ในเล้าแทนเครื่องฟักไข่เพราะไข่ฟักไม่ออกลูก ความรู้ที่ได้ มาเกิดจากการคิดนอกกรอบและอยากทำ ด้วยตนเอง
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 59 สัญลักษณ์ 1.แปลงปลูกข้าวสลับกับ ถั่วเหลืองและข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ 2.แปลงปลูกลำ ไยผสมกับ พืชผัก 3.โรงเรือนเลี้ยงไก่และพื้นที่ ให้ไก่ออกมากินหญ้า 4.บ้านพัก 5.คลองไส้ไก่ที่ขุดรอบบริเวณ ฟาร์มและแนวไม้ยืนต้น/ ต้นกล้วยที่ทำ เป็นแนวกันชน 6.สระน้ำ ผังฟาร์มของ เกียรติศักดิ์ ฉัตร์ดี 3.3.3 ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศภายในฟาร์ม การทำ โรงเรือน พื้นที่ฟาร์มเดิมเป็นสวนลิ้นจี่แซมด้วยลำ ไย ปัจจุบันตัดออกทั้งหมด เพราะมีการปรับผังฟาร์ม ให้เหมาะสมกับการผลิตที่หลากหลายขึ้น เช่น พื้นที่สำ หรับทำ บ้านพัก โรงเรือนเลี้ยงไก่ สระน้ำ และ แปลงปลูกพืชอาหารสัตว์ โดยบริเวณที่ตั้งฟาร์มของเกียรติศักดิ์นั้นตั้งอยู่แอ่งที่ราบภูเขาและมีลำ ห้วย ไหลผ่านทำ ให้มีสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเลี้ยงไก่ ด้วยอยู่ที่ราบภูเขาทำ ให้มีลมถ่ายเทตลอดจากทิศ เหนือไปทิศใต้ซึ่งสัมพันธ์กับที่ตั้งโรงเรือนเลี้ยงไก่เป็นแนวขนานกับทิศทางลม โดยจะได้รับแสงอาทิตย์ สลับทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย พื้นที่โรงเรือนเลี้ยงไก่มีขนาด 120 ตารางวา สำ หรับช่องเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ จำ นวน 7 ช่อง ขนาด 1x2 เมตร/ช่อง, ช่องเลี้ยงลูกไก่ 9 ช่อง ขนาด 2x3 เมตร/ช่อง จำ นวน 5 ช่อง และขนาด 3x4 เมตร/ช่อง จำ นวน 4 ช่อง “ลักษณะโรงเรือนเลี้ยง ไก่ และบริเวณโดยรอบ สำ หรับให้ไก่ออกมา กินหญ้า”
60 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ในการเลี้ยงช่วงแรกนั้นยังไม่มีความรู้การเลี้ยงไก่มากนักโดยการเลือกที่เลี้ยงไก่พ่อพันธุ์แม่ พันธุ์และลูกไก่อยู่ร่วมกัน ซึ่งการเลี้ยงในระบบนี้ทำ ให้ไก่ไม่ผสมพันธุ์และลูกไก่ที่ได้จะไม่แข็งแรงเพราะมี การผสมเลือดชิดกันมากเกินไป หลังจากปรับการเลี้ยงโดยแยกพ่อแม่พันธุ์และลูกไก่ออกจากกัน พบว่า สุขภาพของพ่อแม่พันธุ์และความแข็งแรงของลูกไก่มีคุณภาพมากขึ้น ส่วนปุ๋ยได้จากมูลไก่ที่เลี้ยงเหมือน กับการเลี้ยงไก่หลุมที่ใช้แกลบรองพื้นเพื่อดูดซับความชื้นและกลิ่น สำ หรับการจัดการหญ้านั้นใช้เครื่อง ตัดหญ้าให้ตลอดเพราะไก่ไม่ชอบกินหญ้าสูงแต่ชอบกินหญ้าต่ำ ซึ่งหญ้าที่ว่านี้เป็นหญ้าตระกูลหญ้าขน เพราะเป็นหญ้าที่มีความชื้น และเสริมด้วยการปลูกหญ้าหวานอิสราเอลให้ไก่กินผสมกับอาหารข้น “การปล่อยให้ไก่ให้ออกมา กินหญ้าในช่วงระหว่างวัน” การผลิตอาหารให้ไก่ เกียรติศักดิ์เลือกปลูกพืชอาหารให้ไก่ คือ ข้าว ข้าวโพด และถั่วเหลือง โดยปลูกหมุนเวียน ข้าว ถั่วเหลือง และข้าวโพด ในพื้นที่เดียวกัน 1 ไร่ จากการปลูกพืชอาหารให้ไก่นั้นได้ให้ความสำ คัญ กับการเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ทำ การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมและเติบโตได้ดีกับพื้นที่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา โรคและแมลงในการเข้าทำ ลายผลผลิต ปัจจุบันข้าวที่ปลูกในพื้นที่เป็นพันธุ์ข้าวสันป่าตอง ถั่วเหลือง พันธุ์เชียงใหม่ 60 และข้าวโพดพันธุ์ท้องถิ่น ปริมาณผลผลิตหรือขนาดพื้นที่มีความสัมพันธ์กับจำ นวน ไก่ในฟาร์ม โดยไก่ที่น้ำ หนัก 1 กิโลกรัม นั้นต้องกินอาหารตั้งแต่เกิดจนครบอายุ 120 วันนั้น จะกิน ข้าว 3 กิโลกรัม ข้าวโพด 6 กิโลกรัม ถั่วเหลือง 1.5 กิโลกรัม หญ้า 0.5 กิโลกรัม และหยวกกล้วยหมัก 2 กิโลกรัมก็จะเหมาะสมกับคุณภาพเนื้อได้ดี ขายเป็นไก่เป็นน้ำ หนักอยู่ที่ 1.1-1.5 กิโลกรัม เพราะว่า เลี้ยง 120 วัน จะได้น้ำ หนักประมาณนี้ ถ้าหากน้ำ หนักไก่ต่ำ กว่า 1 กิโลกรัม จะพบว่ามีขนบั่ว คือเวลา ถอนขนไก่จะมีสีดำ ติดหนังไก่คือไม่สวย หนังต้องเรียบ ถ้าน้ำ หนักมากกว่า 1.5 กิโลกรัม ราคาก็จะแพง เกินไป นอกจากนี้มีการปลูกต้นกล้วยรอบฟาร์มควบคู่กับไม้ยืนต้นเพื่อทำ เป็นแนวกันชนในการช่วยลด
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 61 ลมแรงและเป็นพืชอาหารสัตว์ พืชอาหารที่ปลูกในฟาร์มนั้นทำ การปลูก 2 ช่วง คือ ข้าวปลูกช่วง ฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งกับฤดูหนาวจะปลูกข้าวโพดสลับกับถั่วเหลืองเพราะในพื้นที่มีน้ำ ในลำ ห้วยตลอด “ข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง” “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์พื้นเมือง” “ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60”
62 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิตไก่ที่มีคุณภาพ โดยปัจจุบันใช้อาหารหยาบให้ไก่ คือ ใช้หยวกหมักกับการให้อาหารข้นจากการผลิตจากผลผลิตในแปลงของตนเองโดยมาผสม อัดเม็ดให้ไก่กิน ควบคู่กับการปลูกหญ้าหวานอิสลาเอลเสริมให้ไก่กิน “การให้อาหารหมักให้ไก่” “หยวกกล้วยหมักผสมกับอาหารข้น จากวัตถุดิบภายในฟาร์ม” “หญ้าหวานอิสราเอลสดผสมกับอาหารข้น จากวัตถุดิบภายในฟาร์ม” การจัดการน้ำ น้ำ ที่ใช้ในฟาร์มสำ หรับให้ไก่และพืชอาหารสัตว์นั้น เกียรติศักดิ์พึ่งน้ำจากลำ ห้วยและน้ำ ฝนเป็น หลัก โดยขุดสระอยู่บนเนินใกล้กับบ้านพัก ควบคู่กับการขุดคลองไส้ไก่รอบฟาร์มโดยเชื่อมกับสระน้ำ ขนาด 10x15 เมตร ลึก 2 เมตร มีปริมาณน้ำ พอกับการใช้น้ำ ในการทำ ฟาร์ม ซึ่งหากต้องการระบายน้ำ เข้าแปลงการผลิตก็จะเชื่อมระบบท่อน้ำ ในสระกับคลองไส้ไก่บริเวณรอบฟาร์มให้ไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ การเติมธาตุอาหารให้กับการผลิตพืชอาหารสัตว์ สำ หรับธาตุอาหารที่เติมให้กับแปลงการผลิตพืชอาหารสัตว์คือการใช้มูลไก่แห้งที่อยู่ในโรง เรือนเลี้ยงไก่ทยอยหมุนเวียนมาใช้ทุกรอบการเลี้ยงไก่หรือทุก 4 เดือน ก็จะได้มูลไก่แห้งครั้งละ 15-20 กระสอบ (กระสอบละ 13-15 กิโลกรัม) ซึ่งการเลี้ยงไก่ในโรงเรือน นั้นมีการรองพื้นด้วยแกลบเป็นหลัก ที่พื้นขุดลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร ขนาดพื้นที่กว้างxยาว เท่ากับ 2x3 เมตร เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่ ประมาณ 25 ตัว ซึ่งมีทั้งหมด 10 ห้องย่อยในพื้นที่โรงเรือนเลี้ยงไก่
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 63 การผลิตไก่ให้มีคุณภาพ องค์ความรู้ทางวิชาการต้องนำ มาปฏิบัติจริงเพื่อสร้างการเรียนรู้ การเลี้ยงไก่ก็เช่นกันที่มีการนำ เอาหลักวิชาการมาใช้ เช่น สัดส่วนการเลี้ยงไก่ควรมีพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 5-10 ที่ผู้เลี้ยงต้องมี การสังเกตพฤติกรรมไก่ร่วมด้วย กล่าวคือ การผลิตลูกไก่ที่มีคุณภาพควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะ พันธุ์ที่ดี แต่ที่สำ คัญต้องสังเกตพฤติกรรมพ่อแม่พันธุ์มีลักษณะชอบอยู่ร่วมด้วยกันหรือไม่เพราะจะมี ผลต่อคุณภาพไข่ที่จะผลิตลูกไก่ที่มีลักษณะพันธุ์ที่ดีได้ ปัจจุบันฟาร์มสามารถผลิตลูกไก่ได้ประมาณ 70-100 ตัว/เดือน นอกจากเรื่องการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์แล้ว ฟาร์มเกียรติไก่บ้านได้ทำ การศึกษาเรื่อง การกำ หนดเพศไก่ที่ปัจจุบันสามารถกำ หนดเพศได้ความน่าจะเป็นที่ 68% เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้เลี้ยง ไก่ที่ต้องการความจำ เพาะของเพศไก่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาหารและสภาพแวดล้อมในฟาร์ม ดังเช่น การผลิตอาหารไก่ของฟาร์มเกียรติไก่บ้านที่ผลิตอาหารข้นผสมกับอาหารหยาบและอาหารเสริมใน อัตราส่วน 7:2:1 การผลิตอาหารข้นในที่นี้คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว และถั่วเหลืองที่ผสมอัดเป็นเม็ด ส่วนอาหารหยาบคือการหมักหยวกกล้วยในอัตราส่วน ต้นกล้วย 100 ส่วน น้ำ ตาล 4 ส่วน และเกลือ 1 ส่วน ซึ่งอาหารหยาบนี้จะช่วยเพิ่มโปรตีนให้สัตว์ ประมาณ 8% มากกว่าหยวกสดที่มีเพียง 1-2% จาก นั้นให้อาหารเสริมโดยให้ไก่กินหญ้า การให้อาหารไก่ในลักษณะนี้จะช่วยลดช่วงเวลาการเลี้ยงจากปกติ ที่ใช้เวลานานเพื่อให้มีน้ำ หนักมากกว่า 1 กิโลกรัม สำ หรับการบริโภคหรือจำ หน่าย 3.3.4 สรุป การนำ ใช้หลักการบริการทางนิเวศ 1) การลดการใช้ปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองให้มากที่สุด (Input reduction) 2) การคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินผ่านการปรับปรุงบำ รุงดินโดยการจัดการเติม อินทรียวัตถุและรักษาชีววิทยาของดิน เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช (Soil health) “ตักมูลไก่แห้งจากโรงเรือนเลี้ยงไก่หลังจากครบรอบ การเลี้ยงไก่ 4 เดือน เพื่อเตรียมวัสดุรองพื้นให้ไก่ ในรอบการผลิตใหม่” “เติมวัสดุรองพื้นให้ไก่ในรอบการผลิตใหม่ หลังจากตัก มูลไก่แห้งออกจากโรงเรือน หลังจากครบรอบการเลี้ยงไก่ 4 เดือน”
64 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 3)สัตว์มีสุขภาพและมีสวัสดิภาพที่ดีในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Animal health) 4) การรักษาและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ์และพันธุกรรมทั้งพืช และสัตว์ (Biodiversity) 5) การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในระบบเกษตรนิเวศ ทั้งพืช ต้นไม้ สัตว์ ดิน และน้ำ (Synergy) 6) การสร้างความหลากหลายของรายได้จากการจัดการฟาร์ม เพื่อให้เกษตรกรมีอิสระ และโอกาสในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ (Economics diversification) 3.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 3.4.1 ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - การเลือกผลิตโดยใช้พันธุกรรมทั้งพันธุ์ท้องถิ่นทั้งพืชและสัตว์ ทำ ให้ไม่มีปัญหาเรื่อง โรคแมลง เพาะปลูกได้ดีในพื้นที่ และช่วยลดต้นทุนในการผลิต - การควบคุมอุณหภูมิบริเวณฟาร์มไม่ให้แปรปรวน โดยเก็บกักความชื้นให้กับดินโดยการ ปลูกต้นกล้วยรอบบริเวณฟาร์ม และการปลูกพืชคลุมดิน เช่น กลุ่มพืชตระกูลถั่ว ฯลฯ “การปลูกต้นกล้วย หญ้าหวานอิสราเอล และไม้ยืนต้นบริเวณรอบฟาร์มเพื่อทำ เป็นแนวกันชน” - ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ช่วยกระจายความเสี่ยงจากการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 3.4.2 ด้านความมั่นคงทางอาหาร - นอกจากแบ่งโซนพื้นที่ปลูกพืชอาหารให้สัตว์ และโรงเรือนเลี้ยงไก่แล้ว เกียรติศักดิ์
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคเหนือ 65 ยังสร้างความหลากหลายของอาหารในแปลงการผลิตโดยปลูกพืชยืนต้นที่ปลูกครั้งเดียวแต่สามารถ เก็บผลผลิตได้ตลอดปี - ด้วยระบบการผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีความสัมพันธ์กับนิเวศในพื้นที่ ทำ ให้มี การปลูกเสริมพืชอาหารสำ หรับการบริโภคในครัวเรือนและบางส่วนนำ ไปจำ หน่ายเพื่อสร้างรายได้ 3.4.3 ด้านเศรษฐกิจ - การจำ หน่ายไก่มี 2 ช่องทาง คือ ขายไก่เป็นหน้าฟาร์มให้กับพ่อค้าในชุมชน ราคา 90 บาท/กิโลกรัม และขายผ่านออนไลน์ในลักษณะ pre-order ที่ต้องมีการสั่งจองล่วงหน้า 1-3 เดือน เฉลี่ยประมาณ 40 ตัว/เดือน ที่ชำแหละไก่สดและกระจายส่งให้ลูกค้าแบบแช่เย็น ราคา 210 บาท/ตัว โดยการสั่งจองล่วงหน้าผ่าน Facebook page “เกียรติไก่บ้าน” ผู้บริโภคที่สั่งจองส่วนใหญ่เป็น แม่บ้าน และร้านอาหารบางส่วน “การขายไก่ในตลาดท้องถิ่น ถือเป็นรูปแบบการปรับตัวที่เป็นรูปธรรมที่คิดว่าเรา ผลิตในท้องถิ่น ขายในชุมชนท้องถิ่นมันจะช่วยลดช่องว่างในส่วนของความไม่เป็นธรรมใน ส่วนเรื่องของราคาและเรื่องการขนส่ง” - ต้นทุนการผลิตอาหารลดลงจากการเปรียบเทียบต้นทุนก่อนกับหลังที่ผลิตพืชอาหาร สัตว์เอง แม้ว่ายังคงซื้อวัตถุดิบบางอย่าง เช่น ปลาป่น พบว่าต้นทุนการเลี้ยงไก่ปัจจุบันอยู่ที่ 60 บาท/ กิโลกรัม และกรณีต้นทุนการเลี้ยงไก่ที่ซื้ออาหารสำ เร็จจากบริษัทอยู่ที่ 80-90 บาท/กิโลกรัม “รูปแบบบรรจุภัณฑ์ไก่ชำแหละที่จำ หน่ายผ่านตลาดออนไลน์ในชื่อ เกียรติไก่บ้าน” - นอกจากรายได้จากการจำ หน่ายไก่พื้นบ้านแล้ว เกียรติศักดิ์ยังมีรายได้จากการจำ หน่าย เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดพื้นบ้านให้กับเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ในชุมชนและผู้ที่สนใจทั่วไป “เมล็ดพันธุ์ถ้าได้พันธุ์จากข้าวโพดจากบริษัทจะต้องมีการใช้ปุ๋ย ใช้น้ำ� ขนาด นั้นขนาดนี้ ต้องพ่นยา ซึ่งการจัดการนี้เกษตรกรแทบไม่ได้กำ�ไรเลย จึงคิดว่าการคัด เลือกพันธุกรรมท้องถิ่นและมีการปรับปรุงพันธุ์เป็นเรื่องที่สำ�คัญ”
66 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เอกสารอ้างอิง เกียรติพงศ์ ลังกาพินธ์. (2564). รายงานเวทีสัมมนาระบบออนไลน์ “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กับการปรับตัวของภาคเกษตร ภาคเหนือ” โครงการสร้างการปรับตัวที่เท่าทันต่อการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยระบบเกษตรยั่งยืน. วันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 เกียรติศักดิ์ ฉัตร์ดี. (2566). การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การประมวลองค์ความรู้ระบบเกษตร ยั่งยืนที่เท่าทันกำรเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและเป็นธรรมต่อเกษตรกร” ในโครงการ สร้างการปรับตัวที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยระบบเกษตรยั่งยืน. ณ ห้องประชุม มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ต.ไทรม้า อ.เมืองนนทบุรี วันที่ 7 มกราคม 2566 จตุพร เทียรมา. (2566). การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การประมวลองค์ความรู้ระบบเกษตร ยั่งยืนที่เท่าทันกำรเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและเป็นธรรมต่อเกษตรกร” ในโครงการ สร้างการปรับตัวที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยระบบเกษตรยั่งยืน. ณ ห้องประชุม มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ต.ไทรม้า อ.เมืองนนทบุรี วันที่ 7 มกราคม 2566 พงษ์พันธ์ นันทขว้าง. (2555). การทำ เกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง) ฉบับปรับปรุง 2555. ศูนย์การเรียนรู้การทำ การเกษตรแบบธรรมชาติ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำ พูน ศิวกร โอโดเชา. (2564). รายงานเวทีสัมมนาระบบออนไลน์ “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับการ ปรับตัวของภาคเกษตร ภาคเหนือ” โครงการสร้างการปรับตัวที่เท่าทันต่อการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยระบบเกษตรยั่งยืน. วันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 ศิวกร โอโดเชา. (2566). เสวนา “ชีวิตชาวนา : รู้รับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภาวะ เศรษฐกิจ และวิถีใหม่ของผู้บริโภค”. วันที่ 27 มกราคม 2566 ณ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน สำ นักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). 2565. ปรัชญาติดดินของชาวกะเหรี่ยงหนองเต่า จ.เชียงใหม่ และการแก้ไขปัญหา ที่ดิน-ไฟป่าโดยพลังชุมชนท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://web.codi.or.th/20220223-31538/ 3.4.4. ด้านสังคม ปัจจุบันเกียรติศักดิ์ทำ งานเชื่อมกับเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ชนในชุมชนประมาณ 35 ราย ในการ แลกเปลี่ยนพันธุ์ไก่เพื่อคัดเลือกมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ และสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เลี้ยงไก่ชนในการผลิต ไก่ที่ยั่งยืนผ่านระบบการจัดการเลี้ยงไก่แบบครบวงจรตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด 66 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
68 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 69 1 งานศึกษาชิ้นนี้ เป็นงานศึกษาร่วมกันของสถาบันจัดการความรู้เกษตรยั่งยืนภาคอิสาน กับ เครือข่ายเกษตรกรรม ทางเลือกภาคอีสาน และนักวิชาการในภูมิภาค หลักการเกษตรนิเวศ ในพื้นที่เกษตรกรรม ของเกษตรกร ภาคอีสาน1 โดย ทิพย์อักษร มันปาติ บทที่3 1.“โคก-ป่า-นา-สวน” ของนางสาวสิริมา สุดไชยา เกษตรกรบ้านโคกสะอาด ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร 1.1 บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในพื้นที่ บ้านโคกสะอาด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ดอนสูง ประกอบกับเป็นดินดานและดินลูกรัง พื้นที่การเกษตรประมาณร้อยละ 60 เป็นพื้นที่ป่าหัวไร่ปลายนา ประมาณร้อยละ 40 มีป่าสาธารณประโยชน์ประมาณ 80 ไร่ มีป่าเศรษฐกิจครอบครัว 20 แปลง นิเวศในพื้นที่อยู่ในพื้นที่ภูมินิเวศโคก หรือพื้นที่สูงน้ำ ท่วมไม่ถึง ทั้งนี้ คู่มือการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการ : การพัฒนารูปแบบพื้นที่เกษตรกรรมในภูมินิเวศโคกเพื่อรับมือโลกรวน (น. 15) อธิบาย ลักษณะภูมินิเวศโคก หมายถึง พื้นที่ที่อยู่ถัดลงมาจากภูเขา หรือพื้นที่สูงน้ำ ท่วมไม่ถึง เป็นพื้นที่ลาด เอียงต่ำ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่ามาก่อน พื้นที่โคกมี 2 ลักษณะ (มัสยา คำแหง และคณะ, 2551) คือ 1) โคกติดป่า มีลักษณะเป็นที่สูงขนาดใหญ่ ความลาดชันสูง มีระดับความสูง 200-300 เมตรจากระดับ
70 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม น้ำ ทะเลปานกลาง มักอยู่ติดเชิงเชาหรือเขตป่า มีปริมาณน้ำ ดินมีความสามารถเก็บน้ำ ไม่ดี และ 2) โคกกลางนา มีลักษณะเป็นเนินสูงขึ้นมากลางทุ่งนา ความลาดชันไม่มาก มีระดับความสูง 150-200 เมตรจากระดับน้ำ ทะเลปานกลาง นอกจากนี้ยังรวมพื้นที่ดอน พื้นที่โนน และพื้นที่สูงน้ำ ท่วมไม่ถึงด้วย ส่งผลให้รูปแบบเกษตรกรรมในภูมินิเวศโคกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรมอาศัยน้ำ ฝนเป็นหลัก 1.2. เป้าหมายการทำ ฟาร์ม สิริมา กล่าวว่า รูปแบบเกษตรนิเวศ โคก-ป่า-นา-สวน ที่ตนลงมือทำอยู่นี้ หากมองในด้าน การเป็นแหล่งอาหาร ก็เป็นแหล่งอาหารของคนในท้องถิ่นที่มีวิถีชีวิตคุ้นเคยกับการกินอาหารท้องถิ่น แต่อาจไม่ใช่คนทั้งประเทศ เพราะคนที่ไม่เคยกิน เขาก็ไม่กิน เช่น แมงแคงมีกลิ่นเหม็น คนในบาง จังหวัดก็ไม่กิน จึงเป็นอาหารเฉพาะถิ่น แต่ก็มีอาหารบางอย่างที่อาจไปตีตลาดทั่วโลกได้ เช่น กรณี ผักหวาน หรือ พวกหอย เอาเมือกไปทำ ครีมทาหน้าได้ “อาจจะเป็นอาหารทางเลือกสำ�หรับคนที่อยากจะกินของแปลก หรือว่าเป็น ผักที่ไม่เคยกิน เพียงแต่ว่าเราอยากโชว์สตอรี่ของเรา เหมือนกับเหล้าที่เขาดังๆ ที่ นายกฯ ไป เราก็อยากให้เขามาแบบนี้เหมือนกัน ว่าท้องถิ่นเรามีผักอยู่ในป่านะ มีแมลง อยู่ในป่า เหมือนกับเป็นการขายสตอรี่ของท้องถิ่นขึ้นมา” – สิริมา สุดไชยา 2 1.3 แนวคิดการจัดการฟาร์ม แนวคิดการจัดการพื้นที่เกษตร มาจากการเรียนรู้จากคนรุ่นก่อนในการทำ เกษตรนิเวศ “โคก ป่า นา สวน” สิริมา เริ่มต้นจากการกลับมาอยู่บ้านเพื่อดูแลพ่อแม่ผู้สูงวัยซึ่งมีปัญหาด้านสุขภาพ โดยเป็นการสานต่อแนวทางการดูแลรักษาระบบนิเวศป่าครอบครัวที่มีอยู่เป็นทุนเดิมให้เป็นพื้นที่ อาหารหลากหลาย เน้นการมีอาหารเพียงพอเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว และลดรายจ่ายจากการซื้อ อาหารจากข้างนอก โดยมีการเพาะกล้าพันธุ์ไม้ที่นำ มาจากป่าโคกบางชนิดเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกด้วย “... เริ่มต้นมาจากการสืบทอด เราเคยเดินอยู่ในป่า ก็เลยอยากใช้ชีวิตที่กลับ มาเหมือนสมัยเป็นเด็ก ที่เราได้ไปเก็บกินยอดติ้ว ผักหวาน [ที่อยู่ในป่าโคก] เราก็อยาก สร้างแบบนั้น เราก็เลยเอามาปลูกเพิ่มในสวน ส่วนที่เป็นมะนาว เป็นไร่ผสมผสาน เราชอบกิน ชอบกินอะไรก็เอาอันนั้นไปเสริม อยู่ที่ความพอใจของเรา คนในครอบครัว ของเราชอบกิน เช่น ปลูกชะอมเพราะชอบกิน พี่สาวชอบกินลิ้นจี่ ก็หามาปลูกให้ 2 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 3 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 71 ใครชอบอะไรก็พยายามปลูก ท้ายที่สุดเราก็ได้ความสุข ความพอใจของแต่ละคน ถึง เวลาก็ไปชื่นชมความสุขของเราในสวนที่เราสร้างขึ้น และวางแผนไปถึงอนาคตเวลา แก่ด้วย ก็เก็บใบไม้ขายได้ ใบมะกรูด ยอดผักหวาน ใบผักติ้ว ยอดผักขะ ยอดชะอม เราก็ขายได้” – สิริมา สุดไชยา 3 การกลับมาอยู่บ้านเพื่อดูแลสมาชิกในครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของสิริมา ในการมาต่อย อดองค์ความรู้ที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในการทำ เกษตรในระบบนิเวศโคก พร้อมกันนั้น สิริมา ยังนำ ความรู้ของตนเองมาออกแบบและพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำ นวน แรกงานหลักที่มีเพียงตนเพียงคนเดียว ในขณะที่ยังต้องทำ หน้าที่ดูแลพ่อแม่พร้อมกับลูกวัยเล็ก “ก่อนหน้านี้มีคนบอกเราว่ามันปลูกไม่ขึ้นหรอก กล้าไม้ที่เคยกล้าก็ได้ ก็มา เรียนรู้ ลองผิดลองถูก แต่มันลองไปในทางที่ถูกเอง ก็เรียนรู้จากต้นไม้ที่มันร่วงหล่น มา เราก็สังเกตว่ามันเป็นอย่างไร ขนาดเพาะเม็ดผักหวานก็ยังเอาเม็ดกลับหัวกลับ หาง เพาะไม่ถูกมันก็ไม่งอก ปีต่อไปเรารู้แล้วว่ามันงอกทางก้น เราก็ทำ�แบบนั้น ปกติ ต้นไม้ทั่วไปมันจะออกทางหัว แต่ก่อนเราอยู่กับตายายที่พาปลูก บรรพบุรุษเราพาทำ� และมาซึมซับในส่วนที่เราเรียนรู้ด้วย” – สิริมา สุดไชยา 4 1.4 การจัดการฟาร์ม 1.4.1 ข้อมูลทั่วไป หลังจากทำ งานที่กรุงเทพฯ มาหลายปี สิริมา ได้กลับมาบ้านเพื่อดูแลครอบครัวเมื่อปี 2560 และเริ่มเข้ามาจัดการฟาร์มช่วยครอบครัว โดยสิริมาเล่าว่าเดิมพื้นที่ในส่วนที่เป็นสวนเคยเป็นป่าโคก ธรรมชาติ และถูกเบิกทำ เกษตรเชิงเดี่ยว เป็นพื้นที่ปลูกแตงโม ก่อนที่จะกลายเป็นสวนอย่างในปัจจุบัน บริเวณนั้นไม่ได้มีป่าคงเหลือไว้ ไม่มีต้นไม้สักต้น เต็มไปด้วยหินลูกรัง แต่ครอบครัวของสิริมาได้ทำ การ พลิกฟื้นปรับสภาพดินบริเวณนั้นให้กลับคืนมาอุดมสมบูรณ์ที่สามารถปลูกพืชได้อีก โดยในช่วงประมาณ ปี 2557-2558 ได้ทำ การปลูกมะนาว ต้นมะม่วง และทยอยปลูกพืชอื่นๆ จนกระทั่งกลายมาเป็นพื้นที่ สวนที่หลากหลายไปด้วยต้นไม้และพืชผักที่กินได้ โดยมีการดูแลรักษาป่าโคกธรรมชาติเอาไว้เพื่อเป็น พื้นที่อาหารธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการทำ นาโคก หรือการทำ นาในพื้นที่ที่มีระดับความสูงน้ำ ท่วม ไม่ถึงล้อมรอบด้วยป่าโคกและอาศัยน้ำ ฝนธรรมชาติเป็นหลักเพื่อเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว อีกทั้ง มี การแบ่งพื้นที่ทำสวนเพื่อปลูกพืชเสริมเป็นอาหารและลดรายจ่ายในครัวเรือน 4 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2566
72 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม สิริมา เล่าว่า แต่ก่อนยังไม่มีระบบน้ำ ที่ดีพอ การปลูกต้นไม้และพืชผักในสวน ใช้เทคนิคการ ปลูกร่วมกับต้นกล้วย กล่าวคือ อาศัยปลูกกับต้นกล้วยที่มีน้ำ ให้มันหล่อเลี้ยงกันไป โดยในหนึ่งหลุม ปลูกต้นไม้ 3 ชนิด แทรกกัน เช่น ผักหวาน มะนาว กล้วย ยางนา เหตุที่ทำ เช่นนี้เพราะ ในหนึ่งหลุมที่ ปลูกพันธุ์ไม้แทรกกันนั้น ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะรอดทุกต้นหรือไม่ เพราะบางครั้งอาศัยจ้างคนจาก ข้างนอกมาถอนหญ้า เขาอาจถอนต้นผักหวานไปด้วย ทำ ให้มันไม่รอด หรือ หายไป “ถ้าเราลงกล้วย ลงยางนา ลงผักหวาน สามอย่างนี้ คิดว่าอีก 2-3 ปี กล้วย มันจะขึ้นโคน ก็จะยังเหลือไม้หลักคือไม้เศรษฐกิจที่ปลูกคือ ยางนา กับผักหวานที่ใน อนาคตจะได้เก็บยอด ต้นไม้ก็ปล่อยให้มันสูงขึ้นไป อนาคตรุ่นลูกพี่อาจจะได้ไม้ แต่ ผักหวานก็จะยังคงอยู่ คงไม่มีใครมาขุดไปหรอก อย่างน้อยๆ ในความคิดของเราคือ เต็มที่มันต้องเหลืออยู่ 1 อย่าง ภายใน 3 อย่าง อย่างเช่น มะนาว วันดีคืนดีมันตาย ไป แต่ผักหวานก็ยังอยู่ เพราะเราจะไม่ไปขุดมันอยู่แล้ว ก็จะทำ�เป็นสวนผสมผสานไป เรื่อยๆ คืออย่างน้อยๆ หลุมนั้นต้องมีต้นไม้รอด 1 ต้น อาจจะมีมะนาว มีต้นฮัง ต้นผัก หวาน คือ ต้นฮังอาจจะตาย ผักหวานอาจจะตาย จากการถอนหญ้าที่มีคนเข้ามาช่วย ในแต่ละปี มันก็จะเหลือมะนาว ที่ยังอยู่ เป็นต้น คือถ้าไม่มีปีนี้ ปีหน้าเราก็มาหยอด เมล็ดใหม่อีก คือพยายามปลูกไปเรื่อยๆ” – สิริมา สุดไชยา 5 สำ หรับพื้นที่เกษตรนิเวศของครอบครัวสิริมา เป็นพื้นที่ที่ดูแลร่วมกับญาติซึ่งมีประมาณ 80 ไร่ โดยแบ่งออกเป็นพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ 1) พื้นที่ป่าโคกธรรมชาติประมาณ 48 ไร่ 2) พื้นที่นาโคกที่ 25 ไร่ มีสระน้ำ เก็บกักน้ำ ฝนจำ นวน 3 ลูก และบ่อบาดาลไฟฟ้า 1 จุด (ดูรายละเอียดในภาพผังแปลง) ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของครอบครัวสิริมา ที่ผ่านมาทำ การเพาะปลูกข้าว เพื่อทำ บริโภคในครัวเรือน จำ นวน 25 ไร่ อย่างไรก็ตามในฤดูกาลเพาะปลูกปี 2566 ได้ลดจำ นวนพื้นที่ ทำ นาลงเหลือ 9 ไร่ จากพื้นที่นาโคกทั้งหมด เนื่องจากมีแรงงานไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการดูแล พื้นที่และเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตข้าวให้เหมาะสมกับแรงงานที่มีเป็นหลักเพียงแค่ 1 คน ใน ครอบครัว ทั้งนี้ ในพื้นที่ปลูกข้าวจำ นวน 9 ไร่ มีการปลูกข้าวจำ นวน 6 สายพันธุ์ ในระบบนิเวศย่อย ของพื้นที่ปลูกข้าว คือ - ข้าวก่ำ ภูเขียว และ ข้าวแดงเตี้ย (ทั้งสองชนิดเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตในระยะสั้น หรือข้าวดอ เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะกับพื้นที่นาโคก หรือ นาสูง หรือ เหมาะกับระบบนิเวศที่เป็นพื้นที่ 5 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 72 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 73 สูงน้ำ ท่วมไม่ถึง) - ข้าวหอมใบเตย (เหมาะกับนากลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ความสูงระดับปานกลาง) - มะลิ 105, น่าน 59 และข้าวเหนียวแดง (ปลูกในพื้นที่นาลุ่ม หรือพื้นที่นาที่อยู่ใน ระดับต่ำ ที่น้ำสามารถท่วมถึงได้) 3) พื้นที่สวนประมาณ 6-7 ไร่ เจาะบาดาล 1 จุด โดยใช้ระบบสูบน้ำ บาดาลด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ ซึ่งเริ่มติดตั้งเมื่อปลายปี 2565 และมีการขุดสระบริเวณสวน 1 จุด เพื่อรองรับน้ำ บาดาลที่ สูบขึ้นมา 1.4.2 หลักในการพิจารณาการวางผังไร่นา และแผนการผลิต สิริมา เล่าว่าการปลูกข้าวนั้นใช้หลักการความรู้ภูมิปัญญาเรื่องระบบนิเวศโคกไปพร้อมกับ ประสบการณ์การสังเกตธรรมชาติ กล่าวคือ ในพื้นที่นาโคก ยังมีลักษณะนิเวศย่อยลงไปอีก ซึ่งพื้นที่มี ระดับความสูงที่ลดหลั่นกันไป ดังนั้น จึงมีการแบ่งพื้นที่ปลูกข้าวและเลือกสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและ สอดคล้องตามลักษณะทางภูมินิเวศนั้นๆ พื้นที่นาโคกของครอบครัวสิริมา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ภูมินิเวศย่อย คือ 1) นาลุ่ม, 2) นากลาง, และ 3) นาโคก หรือ นาสูง โดยเน้นย้ำ ว่าต้องใช้ข้าวสายพันธุ์ ที่เหมาะสมกับพื้นที่นิเวศ “เราก็ต้องรู้ว่านาเราเป็นนาโคก มีข้าวดอ ซึ่งเป็นข้าวนาปลัง มีความไวแสง ข้าวกลาง และข้าวงัน ซึ่งก็คือข้าวนาลุ่มที่มีอายุยาว ... เราก็เกี่ยวมือ คัดพันธุ์เอง สมมติว่าปีหน้า อยากได้สายพันธุ์อื่นที่เปลี่ยนไปจากที่ตนเองมี ก็ไปถามกับสมาชิก กลุ่มข้าวหอมดอกฮัง เพราะเขาเก็บหลากหลายสายพันธุ์ สมมติว่าเราอยากได้ข้าวดอ เราอยากเปลี่ยนจากข้าวก่ำ�ภูเขียว เป็นข้าวขาว เราก็ไปถามว่าข้าวดอมีพันธุ์อะไรบ้าง เราก็เลือกเอา อยากได้เม็ดสั้น เม็ดยาว เราก็คุยกับเขา” – สิริมา สุดไชยา 6 ในด้านกระบวนการในการปลูกข้าว นอกจากใช้ความรู้เรื่องลักษณะของพื้นที่ภูมินิเวศย่อยแล้ว ยังต้องสังเกตสภาพอากาศในแต่ละปีโดยเฉพาะน้ำ ฝนตามธรรมชาติ แล้วจึงวางแผนเพาะปลูกข้าวให้ สอดคล้องกับธรรมชาติ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) สังเกตการณ์การมาของฝนก่อนที่จะเริ่มตกกล้า 2) ตกกล้าพันธุ์ข้าวแต่ละสายพันธุ์ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน โดยการคาดการณ์ตามจำ นวน แรงงานที่มีอยู่เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการดำ นาได้ กล่าวคือ มีการเว้นระยะการตกกล้าอย่างน้อย 6 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 256
74 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 3 วัน หรือ หนึ่งอาทิตย์ หรือ สองอาทิตย์ ไม่ตกกล้าพร้อมกันทีเดียว เพื่อไม่ให้ต้นกล้าแก่จนเกินไป หรือกลายเป็นกล้า “บั้ง” ซึ่งเป็นต้นกล้าที่เริ่มมีข้อ เมื่อนำ ไปปักดำแล้วข้าวจะไม่ค่อยแตกกอดีนัก 3) แบ่งโซนหรือแยกแปลงในการหว่านข้าวแต่ละสายพันธุ์ 4) ตกกล้าข้าวตามสายพันธุ์ที่เหมาะกับพื้นที่ตามระดับความลาดเอียงจากพื้นที่ต่ำ ไป พื้นที่สูง คือ นาลุ่ม นากลาง และ นาโคก หรือ นาสูง 1.4.3 ความสัมพันธ์/ความเชื่อมโยงของการผลิตในแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิต และนิเวศ ภายในฟาร์ม สิริมาอธิบายเรื่องการทำ นาว่า การตกกล้าข้าว กข ก่อน ในนาลุ่ม เพราะข้าว กข เป็นข้าวงัน หรือข้าวอายุยาว สามารถที่จะทำ การดำ ได้ก่อนอยู่แล้ว เนื่องจากรู้แล้วว่าพื้นที่นาลุ่มจะมีน้ำ ก่อนส่วนอื่น ส่วนข้าวดอ ซึ่งเป็นข้าวอายุสั้น จะตกกล้าทีหลัง เผื่อฝนมาทีหลัง และปลูกข้าวดอบนที่โนน จึงต้องทำ ตามลำ ดับ คือ นาลุ่ม นากลาง และนาโคก หรือ นาสูง กล่าวคือ การหว่านกล้าและปักดำ จะเพาะปลูก พันธุ์ข้าวงันหรือข้าวอายุยาวในพื้นที่นาลุ่มก่อน เช่น ข้าว กข, ข้าวเหนียวแดง หรือ พันธุ์ข้าวอื่นๆ ที่ มีอายุยาว เพราะต้องปักดำ ในที่ลุ่มที่มีน้ำ ก่อน อาศัยตกกล้าข้าวพันธุ์เหล่านี้ก่อน หลังจากนั้น จึงค่อย หว่านกล้าข้าวกลาง และข้าวดอ ตามลำ ดับต่อกันมา “หากอยากตกกล้าพร้อมกันก็ได้ ก็ไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมว่าอายุของต้นกล้า เวลามันแก่มาก มันก็จะไม่แตกกอเยอะ ถึงแม้ว่าอยากจะตกกล้าพร้อมกันก็สามารถ ทำ�ได้ แต่ถ้าน้ำ�ไม่มีก็ไม่ได้ดำ�นา ต้นกล้าก็จะเป็นกล้าบั้ง ซึ่งมันจะเป็นข้อก่อนที่ยังไม่ ได้ลงดำ� ถ้าเป็นข้อแล้วนำ�ไปดำ� มันก็ไม่แตกกอ” – สิริมา สุดไชยยา 7 สำ หรับชนิดพันธุ์ข้าวที่ครอบครัวสิริมาเพาะปลูกในฤดูกาลปี 2566 แบบหว่าน ในพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ แบ่งออกได้ดังนี้คือ - ข้าวดอ หรือ ข้าวอายุสั้น ประกอบด้วย ข้าวก่ำ ภูเขียว แดงเตี้ย - ข้าวกลาง ประกอบด้วย โสมมาลี และ ข้าว กข 20 โดยข้าวกลางจะมีระยะการเก็บเกี่ยวก่อน ข้าวดอประมาณ 2 อาทิตย์ หรือ 1 เดือน “นาโคก แบบหว่าน ในฤดูกาลเพาะปลูก (มิถุนายน, 2566)” 7 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 75 - ข้าวงัน หรือ ข้าวนาลุ่ม หรือ ข้าวอายุยาว ประกอบด้วย ข้าว กข 6, มะลิ 105 และ ข้าวเหนียวแดง ปกติเริ่มตกกล้าช่วงเดือนมิถุนายน การปักดำ ก็จะเริ่มประมาณปลายเดือนมิถุนายน หรือเดือนกรกฎาคม และทำ การเก็บเกี่ยวช่วงเดือนตุลาคม หรือ พฤศจิกายน หรือ เป็นข้าวที่มีอายุ การเก็บเกี่ยวมากกว่า 4 เดือน การบริหารจัดการแรงงานและต้นทุนในการเพาะปลูกข้าว เนื่องด้วยข้อจำ กัดของแรงงานในครอบครัว ซึ่งมีสิริมาเป็นแรงงานหลักเพียงคนเดียว ในขณะ ที่ต้องดูแลสมาชิกที่อยู่ในบ้านจำ นวน 6 คน ซึ่งเป็นผู้สูงวัยและมีปัญหาด้านสุขภาพ และยังมีลูกซึ่งเป็น เด็กเล็ก การทำ นาโคกจึงอาศัยการจ้างเป็นหลักตั้งแต่กระบวนการตกกล้า หลังจากนั้นสิริมา จึงเป็น ผู้ทำ หน้าที่เดินสำ รวจแปลงนา เพื่อดูปริมาณน้ำ ให้พอเพียงต่อข้าว ก่อนหน้านี้ มีการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่นาโคกประมาณ 20-30 ไร่ จากข้อมูลที่สิริมา จดบันทึกไว้เมื่อปี 2565 มีต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวอยู่ที่ประมาณ 50,000-60,000 บาทต่อปี ได้ ข้าวประมาณปีละ 100 กว่ากระสอบ เลี้ยงคนทั้งครอบครัว 6 คน และสามารถแบ่งญาติที่มาเยี่ยมใน ช่วงเทศกาล สิริมา เล่าว่าต้นทุนการไถปั่นอยู่ที่ประมาณ 600-630 บาท สำ หรับการทำ นาดำ แต่ใน ฤดูกาลทำ นาปี 2566 ตนใช้การหว่าน เนื่องจากไม่มีความพร้อมในการทำ นาดำ สมัยก่อนค่าจ้างคน ดำ นาครึ่งวัน คือ 200 บาท หรือ ตกวันละ 400 บาทต่อคน โดยใช้แรงงาน 17-20 คน การทำ นาดำ ใน ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2565) ใช้การจ้างแรงงาน 17 คน ในพื้นที่นาเพียง 2 ไร่ ก็ดำ ไม่เสร็จ นอกจากนี้ ยังมี ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวประมาณ 600 บาท สิริมา กล่าวด้วยความกังวลว่า ปีนี้ (พ.ศ. 2566) ค่าครองชีพ สูงขึ้น ทุกอย่างก็แพงขึ้นตามมา ด้วยข้อจำ กัดด้านแรงงานในครอบครัวของสิริมา ทำ ให้ฤดูกาลเพาะปลูกในปีนี้ ลดพื้นที่การ ทำ นาลงเหลือ 9 ไร่ และเป็นนาหว่าน โดยยังคงลงข้าวหลายสายพันธุ์เหมือนเดิม เพราะทราบว่า พื้นที่นาแปลงไหนที่ใส่ข้าวดอ ข้าวกลาง ข้าวงัน สามารถหว่านพร้อมกันทีเดียว “[ก่อนหน้านี้]...ทำ�นา 20 ไร่ ได้ข้าวประมาณ 100 กว่ากระสอบ ถ้า 9 ไร่ ปี นี้ยังไม่รู้ว่าจะได้เท่าไหร่ เพราะข้าวดำ�กับข้าวหว่านมันต่างกัน แล้วก็ต้องดูฝนปลาย ปีตอนที่จะตกแล้ง พอแล้งมาก็หมดสภาพ มีแต่หญ้า มีแต่ใบ ไม่มีรวงข้าว แต่คิดว่า คงจะได้ซื้อข้าวกินเพิ่ม” – สิริมา สุดไชยา 8 8 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอิสาน 75
76 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม แม้ว่าสิริมา จะมีความกังวลเกี่ยวกับการผลิตได้ข้าวน้อยลง เพราะลดพื้นที่การผลิต เนื่องจากมีปัจจัยด้านแรงงานซึ่งเป็นข้อจำ กัดในการบริหารจัดการนาโคกของตน แต่อย่างน้อยการ เลือกปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อระบบนิเวศย่อยของพื้นที่ ก็เป็นการลดความเสี่ยง ต่อปริมาณผลผลิตที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่คาดการณ์ได้ยากขึ้น “นาโคก แบบหว่าน ในฤดูกาลเพาะปลูก (มิถุนายน, 2566)” การจัดการน้ำ ในส่วนของแหล่งน้ำ ที่ใช้ในแปลงการผลิตพบว่า ระดับน้ำ ในบ่อบาดาลและสระน้ำ ลดลง แต่ก็ ไม่ถึงกับแห้ง ในขณะเดียวกันก็ให้ความเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อาจเป็นปัจจัยส่งผลกระทบให้กับ ระดับน้ำ ให้แปลงเกษตรของครอบครัวตนว่า ถ้าเราใช้กับการเกษตรเต็มที่จริงๆ น้ำอาจจะแห้ง เพราะ ระบบนิเวศก็มีเพียงแค่ป่าครอบครัวของตน ถึงจะมีบ่อบาดาลระบบโซลาร์เซลล์ แต่ระดับน้ำ ก็ลดลงได้ เพราะว่าพื้นที่รอบข้างไม่มีป่าแล้ว อาจส่งผลกระทบเรื่องปริมาณน้ำ ในแปลงของตนได้ ทั้งนี้ ในช่วงที่ ผ่านมา ได้สูบน้ำ จากสระจนแห้ง แล้วรอน้ำ ฝนที่ตกลงมาเติมทดแทน อย่างไรก็ตาม สิริมา อธิบายว่า การมีน้ำ ฝนมาเติมได้นั้นต้องรอเป็นปี แต่น้ำ ในสระนี้ก็ใช้เฉพาะที่นาของตน หลังจากช่วงนาก็จะไม่ ปลูกอะไร ทั้งนี้ สิริมา กล่าวเสริมว่า มีการบริหารจัดการน้ำ จากสระน้ำ มาเติมในนาข้าว กรณีที่ฝนยัง มาไม่ทันช่วงที่จะเริ่มฤดูกาลเพาะปลูก หรือ ช่วงทำ นา กล่าวคือ บางทีฝนยังไม่มา ก็ยังสามารถสูบน้ำ จากสระมาทำ การตกกล้าไว้ เพื่อเตรียมกล้าไว้ดำ ทุกปีจะตกกล้าก่อนเพื่อนบ้านเพราะพื้นที่ของตนมี สระน้ำ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ และฝนตกลงมา น้ำ ก็ขึ้นมาเหมือนเดิม “ในภาพรวมไม่มีป่าก็ไม่มีน้ำ� การใช้น้ำ�ของเราก็อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม การที่ดึงน้ำ�ใต้ดินขึ้นมาใช้ก็จะมีผลกระทบกับเรา ตอนนี้ยังไม่เกิดปัญหามาก เพราะ ว่าเราเพิ่งเจาะน้ำ�บาดาลสูบด้วยโซลาร์เซลล์ เราเพิ่งเริ่มทำ�เกษตรเพิ่มขึ้น ก็เลยยังไม่
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 77 ได้รับผลกระทบอะไร ณ ตอนนี้ แต่มองในอนาคต ป่าก็น้อย โรงงานก็มีการแย่งชิง ทรัพยากรน้ำ�ใต้ดินด้วย ทุกวันนี้ ทุกพื้นที่ก็มีการเจาะน้ำ�ใต้ดินมาใช้ มันก็จะมี ผลกระทบ ในขณะที่พื้นที่ป่าลดลง ไม่มีป่าเพิ่มขึ้น” – สิริมา สุดไชยา 9 สำ หรับการจัดการนาข้าวในช่วงฝนทิ้งช่วงนั้น สิริมา กล่าวว่า จากประสบการณ์การสังเกต ข้าวที่ตนปลูกแบบอินทรีย์ พบว่าต้นข้าวสามารถอยู่รอดได้แม้ฝนจะทิ้งช่วงติดต่อกันมากกว่า 15 วัน กล่าวคือ ข้าวอยู่ได้ เพราะมีพวกตะกอน[จากป่าโคก] ไหลชะล้างลงไปในที่นา ช่วยอุ้มความชุ่มชื้นใน ดิน แม้แต่บริเวณที่เป็นหินลูกรัง ซึ่งดินมีความแห้งแล้งมาก ข้าวก็ไม่ค่อยตาย “ข้าวมันไม่ตายง่าย อยู่ได้เป็นเดือนกว่าจะตายหากไม่มีน้ำ�จริงๆ ที่บอกว่าป่าช่วย ได้มั๊ย ก็ช่วยได้ ข้าวมันจะงามเองเวลาฝนมา มันฟื้นตัวเร็ว เพราะเราไม่ได้ใส่ปุ๋ย ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน มันก็จะมีการสร้างความแข็งแรง ภูมิคุ้มกันขึ้นเองตาม ธรรมชาติ ตามที่สังเกตดู ก็คือยืนยันได้ว่าข้าวอยู่ได้เมื่อเกิดภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง เพราะ เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน ที่มีความแล้ง คนอื่นแล้ง แต่เราไม่ได้รับผลกระทบ มันก็ขึ้น อยู่กับที่นาว่าเป็นที่นาแบบไหน ของเรามันเป็นทางผ่านน้ำ�ด้วย หมายความว่าน้ำ�มัน จะไหลลงไป และ[น้ำ�]ทางนาอื่นๆ ก็ไหลมาทาง นาเราด้วย มันก็เลยเป็นทางผ่านน้ำ� เวลาน้ำ� จะแห้ง นาของเรามันก็เป็นที่แห้งที่สุดท้าย แค่ 2 อาทิตย์ ข้าวคนอื่นตาย แต่ของเรายังอยู่ เพราะ ว่ายังมีความชุ่มชื้นในดิน” – สิริมา สุดไชยา 10 การวางระบบน้ำ ให้พืชที่ปลูกแซมในป่าโคก ซึ่งเป็นบริเวณ “เหล่าเก่า” คือ บริเวณที่มีต้นไม้ห่าง หลังจากถูกตัดลงแล้วปล่อยให้ฟื้นคืนกลับมาเป็นป่า ตามธรรมชาติ สำ หรับเทคนิคการปลูกพืชหลายอย่างในหลุม เดียว สิริมา ได้ทดลองทำ ด้วยตนเองจากประสบการณ์ ตรงที่สังเกตว่าตอนแรกไม่มีน้ำ เพียงพอ กล่าวคือ พืช ทุกชนิดต้องอาศัยน้ำ ในการเจริญเติบโต ในขณะที่ แรงงานหลักมีเพียงคนเดียว จึงหาทางออกโดยการ บริหารจัดการน้ำ ให้ดีขึ้น 9 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 10 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566
78 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม “หากจะมารดน้ำ�ทุกวันๆ มันก็เหนื่อย เราก็มาคิดว่าต้นกล้วยมันมีน้ำ� ก็อาศัย น้ำ�จากต้นกล้วยให้พืชมันดูดกิน เพราะต้นไม้มันพึ่งพากัน ผักหวานมันก็อาศัยราก ต้นไม้อื่นที่มันจะหยั่งรากลงไป จึงคิดว่าอย่างไรมันก็คงจะช่วยเหลือกันไปเรื่อยๆ ใน ความคิดของเรา ก็จะมีที่รอดอยู่สักอย่างหนึ่ง ...เมื่อก่อนพี่สาวใช้ระบบน้ำ�หยด แล้ว มันก็เป็นจุด น้ำ�ก็จะลงแค่เป็นจุด ถ้าไปปลูกตรงนี้ ไม่ได้รดน้ำ� มันก็ตาย กล้วยก็ยัง ตาย เพราะมันเป็นหินแฮ่ ก็เลยคิดว่าไหนๆ ก็เอาน้ำ�ลงที่เดียวเป็นจุดเดียวไปเลย” – สิริมา สุดไชยา 11 สำ หรับพื้นที่สวน ณ ปัจจุบัน สิริมา กล่าวว่า ยังดูแลได้ไม่เต็มที่ แต่ถ้าสามารถบริหารจัดการ โดยมีคนมาช่วยดูแล เช่น หว่านกล้าผัก จัดการหญ้า รายได้ที่สามารถเสริมขึ้นมาจากรูปแบบเกษตร นิเวศโคก-ป่า-นา-สวน นี้ ก็อาจจะเพิ่มขึ้นมาได้อีก 3%-5% 11สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 79 1.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการฟาร์ม 1.5.1 ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การดำ เนินการเก็บและดูแลรักษาป่าโคกธรรมชาติเอาไว้ นอกจากเป็นการรักษาพื้นที่อาหาร ธรรมชาติ ยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำ ให้มีระบบอุณหภูมิที่เกื้อหนุน เอื้อประโยชน์ทางสภาพ แวดล้อม ระบบการหมุนเวียนของอินทรียวัตถุ และการลดอุณหภูมิในพื้นที่ระหว่างป่าโคกและพื้นที่ ปลูกอาหารส่วนอื่นๆ ด้วย คือ นาโคก และพื้นที่สวน อีกทั้งดังได้กล่าวข้างต้น ครอบครัวของสิริมา ทำ การรักษาป่าโคกไปพร้อมๆ กับการสร้างความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวในนาโคก เลือกปลูก ข้าวหลากหลายสายพันธุ์ เป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่ฟ้าฝนมีความแปรปรวนสูงขึ้น ดังนั้น สำ หรับรูปแบบเกษตรนิเวศ “โคก-ป่า-นา-สวน” กล่าวได้ว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์ ภูมิอากาศโลกรวนที่เกิดขึ้นได้ โดยที่เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ได้ใช้ความรู้จากประสบการณ์ที่ได้อยู่อาศัย พึ่งพาโดยตรงกับระบบนิเวศโคก ให้เอื้อต่อการดำ เนินวิถีชีวิต โดยสามารถสรุปได้ดังนี้คือ 1) การรักษาพื้นที่ป่าโคกเพื่อช่วยลดอุณหภูมิและป้องกันพายุลมฝนในพื้นที่ให้เอื้อต่อ การปลูกพืชสวน 2) การรักษาป่าโคกเพื่อเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ เช่น หน่อไม้ เห็ด ไข่มดแดง แมลงกินได้ เป็นต้น
80 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม 3) การรักษาป่าโคกโดยการปล่อยให้ใบไม้ที่ร่วงหล่นตามธรรมชาติย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุ ในดิน สามารถไหลชะล้างลงไปสู่พื้นที่นาข้าวในช่วงที่มีฝนตก 4) การนำ พืชในป่าโคกมาเพาะปลูกเพิ่มเติมในสวนเพื่อเพิ่มปริมาณอาหาร เช่น ดอกติ้ว ผัก หวานป่า ดอกกระเจียว 5) การจัดการระบบน้ำ ในสวนที่ล้อมรอบด้วยป่าโคก โดยการขุดเจาะบาดาลและสูบน้ำ บาดาล ด้วยแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อนำ น้ำ มารดพืชที่ปลูกใหม่ในสวน ทั้งนี้ เน้นการปลูกพืชสวนครัวและพืชใบที่ สามารถเก็บขายได้ เป็นการวางแผนถึงความเป็นอยู่ในอนาคตเมื่อสมาชิกครอบครัวมีอายุมากขึ้น 6) การปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ในนาโคก เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของ ปริมาณฝน เช่น ฝนตกผันผวน ฝนขาดช่วง ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ฝนมาเร็ว เป็นต้น ดังนั้น การปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งมีความสามารถในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในบริมาณ น้ำและสภาพอากาศที่แตกต่างกันจึงตอบโจทย์กับภาวะอากาศแปรปรวน สิริมา กล่าวว่า การทำ เช่นนี้สามารถรับมือกับสถานการณ์อากาศแปรปรวนได้ จะทำ ให้เรา ไม่อดอยาก อย่างน้อยๆ หากเราไม่มีกินอยู่ในเมือง เราก็ยังมีผักในพื้นที่ของเรา แม้ว่าผักขาดตลาด ผักแพง มะนาวแพงก็ตาม เป็นต้น ทั้งนี้ การรับมือ คือ ปลูกเอง ไม่ต้องซื้อ ทำ ไว้ก่อนเป็นการปูพื้น ฐานก่อนที่สถานการณ์จะรุนแรงมากไปกว่านี้ เช่น ไม่ใช่ว่ามะนาวแพง ผักแพงแล้วค่อยมาปลูก หาก ต้องการขายใบไม้ในอนาคต ก็ต้องปลูกไว้ก่อน ไม่ใช่ว่าถึงเวลามันแพงแล้วเราถึงจะปลูก “การมีป่าโคกล้อมรอบแบบนี้ ก็สามารถช่วยลดอุณหภูมิได้ส่วนหนึ่ง ก่อน ที่จะมาอยู่บ้าน วางผังเอาไว้แล้วว่าในอนาคต ถึงรอบข้างเราไม่มีต้นไม้ แต่ของเรา ต้องมีต้นไม้ เราก็ทำ�บล็อกเอาไว้เรียบร้อยแล้ว มีต้นไม้ล้อม คนอื่นอาจจะมองว่ามี ต้นไม้ใกล้บ้านกลัวมันจะล้มทับบ้าน มันอยากล้มก็แล้วแต่ เราก็แค่ซ่อม แต่ว่ามันก็ เป็นกำ�แพงชั้นดีที่ว่าลมมาทิศทางใดมันก็คอยสกัดลมให้เราได้ ยกเว้นทางหน้าบ้าน ที่เป็นที่นา ก็ปล่อยมันโล่ง แต่ถ้าลมมาในสามทิศ เราก็รอดแล้ว 75% อีก 25% ก็ ไม่เป็นไร” – สิริมา สุดไชยา 12 สิริมา ยืนยันว่า การติดดอกติดผลของพืชสวน เช่น มะนาว หรือไม้ผลอื่นๆ ที่มีอยู่นั้น ขึ้นอยู่ กับการดูแลด้วย แม้จะมีระบบน้ำ แต่ก็ต้องให้การดูแลไม้ผลอย่างสม่ำ เสมอ ถ้าหากมีแหล่งน้ำแล้วไม่ ทำ การรดน้ำ ดอกมันก็เหมือนเดิม ดังนั้น จึงเป็นพฤติกรรมของคนที่ต้องควบคู่ไปกับสิ่งที่เรามีคือน้ำ ถ้าเรามีแหล่งน้ำ แต่เราไม่ได้มาจัดการรด มันก็ไม่ได้ผลดี 12 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 80 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 81 “[ผลผลิต] มันก็ดีกว่าแต่ก่อน เพราะเราปรับปรุงดินด้วย ก่อนหน้านั้นปลูก อะไรแล้วมันไม่งาม ทุกวันนี้หญ้าก็เริ่มขึ้น แต่ก่อนหน้านี้หญ้าก็ไม่กล้าขึ้น เราบำ�รุง ทั้งดิน ทั้งน้ำ� ใส่ปุ๋ยมูลวัว ใบไม้ ลงไป และมีการปลูกพืชหลากหลายชนิด ให้มันคลุม หน้าดิน มันช่วยในเรื่องทำ�ให้ต้นไม้มันมีชีวิตชีวาขึ้น พอได้อยู่ได้กินขึ้น ซึ่งก่อนหน้า นี้ก็คือ เปรียบเทียบแค่เรื่องหญ้าก็ยังไม่กล้าขึ้น มะนาวก็ยังติดผลอยู่ ได้ผลผลิตอยู่” – สิริมา สุดไชยา 13 1.5.2 ด้านความมั่นคงทางอาหาร มีการสร้างพื้นที่อาหารเพิ่มโดยการทำสวน ซึ่งนำ พืชจากป่าโคกบางชนิดมาปลูกเพิ่มเติมใน สวน เป็นแนวคิดการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจของครอบครัวเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ เสริม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการลดรายจ่ายจากการซื้ออาหารที่เป็นวัตถุดิบจากภายนอก แม้จะ มีรายได้หลักที่ยังมาจากสมาชิกของครอบครัวบางคนที่ไปทำ งานประจำและไปทำ งานต่างประเทศเพื่อ นำ รายได้มาดูแลความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว “การดูแลป่านั้น เราต้องทำ�เกษตรเสริม ถ้าจับแต่ป่าเพียงอย่างเดียวก็คงจะ ไม่มีเงินหรอก เพราะว่าเราไม่ได้ขายต้นไม้ และการเพาะกล้าไม้ก็ทำ�ตามฤดูกาล ปีนี้ พ่อแม่ไม่สบาย เราก็ไม่ได้สะดวกเพาะ [กล้าพันธุ์ไม้] รายได้เราก็ขาดไปแล้ว สิ่งที่ได้ก็ คือเราอาศัยอาหาร [จากป่าโคก] เช่น เห็ด จักจั่น เล็กๆ น้อยๆ แต่เราก็ไม่ได้กินของ ป่าทุกวัน เราก็ต้องมีรายจ่ายในการซื้อกินเหมือนกัน ก็คือว่ามันก็อาจจะลดได้ ลดราย จ่ายได้ประมาณ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ที่เหลือเราก็มีรายจ่ายจากข้างนอก เป็นการลด รายจ่าย เพราะส่วนมากในสวนเราก็ปลูกผัก ปลูกพริก เพื่อลดรายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ แต่ยังไม่ถึงขั้นที่ว่าจะไปเพิ่มได้มาก เราทำ�โดยเน้นกิน เหลือกินจึงขาย ไม่ได้ทำ�แบบ ธุรกิจ เพราะทำ�คนเดียว แรงงานก็ไม่พอ และเราไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในสวนทั้งวัน มี พ่อแม่ป่วยและเลี้ยงลูก ก็เลยไม่มีความสามารถที่จะแบ่งเวลาไปทำ�คนเดียวได้หลาย อย่างขนาดนั้น” – สิริมา สุดไชยา 14 1.5.3 ด้านเศรษฐกิจ อาหารตามฤดูกาลจากป่าที่นำ มาจำ หน่ายเป็นหลักในตอนนี้ คือ เห็ด และผักหวาน มีรายได้อยู่ ที่ประมาณ 2,000-3,000 บาทต่อปี ส่วนอื่นๆ เช่น ไข่มดแดง จักจั่น หอย ดอกกระเจียว อีลอก อีลาย 13 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 14 สัมภาษณ์ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566
82 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม เน้นนำ มาบริโภคในครอบครัว ซึ่งในส่วนที่นำ มาบริโภคหากประเมินเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถลดลงได้ จะอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อวัน เมื่อคิดประมาณการณ์สัดส่วนรายได้จากสมาชิกในครอบครัวที่มา จากข้างนอกเทียบกับมูลค่าที่มาจาก โคก-ป่า-นา-สวน สิริมา อธิบายว่า หลักๆ ยังเป็นการอาศัยราย ได้จากข้างนอกเพื่อมาจุนเจือสมาชิกในครอบครัว ส่วนที่มาจาก โคก-ป่า-นา-สวน คิดเป็นส่วนเสริม ประมาณ 5-10% ของรายได้ครอบครัว “รายได้จากป่ายังไม่ถึง 50% ถ้าจะมาเฉลี่ยต่อปี เต็มที่ก็ได้แค่ค่าน้ำ�ค่าไฟ ต่อเดือน แต่ถ้าจะมองว่ามาเลี้ยงครอบครัวเลยก็ยังไม่ได้ ยังไม่ถึงขนาดนั้น ค่าไฟ โดยเฉลี่ยต่อเดือน 3 หลัง 2,000 กว่าบาทต่อเดือน ต่อปีก็ประมาณ 20,000 กว่าบาท มันยังไม่ได้มาถึงกึ่งหนึ่ง เราก็ยังไม่ได้ทำ�เต็มที่เพราะเรามีเด็กเล็ก คนป่วยที่ต้องดูแล แต่ถ้าเราทำ�เต็มที่จริงๆ คาดว่าจะได้ เรายังไม่ได้จริงจังกับการดึงของจากป่าเอามา ขาย” – สิริมา สุดไชยยา 15 หากประเมินโดยคร่าวๆ มีรายได้จากป่าอยู่ที่ประมาณ 24,000 ต่อปี สมมติว่าถ้าลงแรง 100% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยเฉพาะการกล้าพันธุ์ไม้ขาย อาจจะได้ผลกลับมา 60-70% กล่าวคือ ถ้าหาก สามารถเพาะ [กล้าพันธุ์ไม้] ได้เยอะ ตัวเลือกที่จะเข้ามาซื้อก็จะเยอะขึ้น ลูกค้าก็จะหลากหลายเพิ่มขึ้น การทำ สวนสามารถช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารในครัวเรือนที่ไม่ต้องซื้อจากข้างนอกได้ประมาณ 2 วัน ต่อสัปดาห์ หรือ 200-300 บาท ต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับการซื้อหมู 2 กิโลกรัม หรืออย่างน้อยที่สุด ผักที่มาจากสวน สามารถลดรายจ่ายได้ 20 บาทต่อวัน “การแบ่งโซนพื้นที่ป่าโคกและ พื้นที่สวนปลูกพืชอาหารเพิ่มเติม” 15 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 83 สิริมา กล่าวว่า การดูแลรักษาระบบนิเวศป่าโคกของครอบครัวตนเพื่อให้เกิดรายได้นั้น ยัง จำ เป็นต้องอาศัยการเกษตรเข้ามาช่วยเสริมการดูแลป่า กล่าวคือ การพึ่งพาป่าอย่างเดียว จะทำ ให้มี เงินในการหมุนเวียนค่อนข้างยาก แม้จะไม่ได้ปฏิเสธว่าพื้นที่แปลงอื่นๆ อาจจะทำ ได้ เช่น การเอาไม้ มาเผาเป็นถ่านขาย หรือบางคนนำ เอาสมุนไพรจากป่าไปสกัด เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่อยู่ในป่า “ยังไม่ได้ดึงมูลค่าจากป่าออกมา อาศัยเพียงว่าให้เขาเป็นระบบนิเวศที่ พึ่งพากับสวนของเรา สวนเราพึ่งพาป่า ให้มันหมุนเวียนกันไป คือ เอาดินกับใบไม้ มาผสมแกลบปลูกผักหวาน ปลูกต้นไม้ ทำ�ให้ต้นไม้งาม ก็เลยอาศัยตรงนี้มากกว่า ส่วนที่นาเราก็มีการชะล้าง[อินทรียวัตถุจากป่า]ลงไปเพราะว่าเราอยู่บนเนิน อาศัย ให้เขาเป็นระบบนิเวศของเรา เราก็ได้พึ่งพาสัตว์ในป่า สัตว์ก็ได้พึ่งพาป่า พวกมดแดง นก ก็อาศัยพึ่งพากันตามที่สังเกตดู” – สิริมา สุดไชยยา 16 ทั้งนี้ มีการเพิ่มปริมาณอาหารในพื้นที่สวน กล่าวคือ นอกจากการปลูกผักสวนครัว เช่น ผัก ชะอม มะนาว กล้วย ยังมีการนำ เอากล้าพันธุ์ต้นไม้บางชนิดจากในป่ามาเพาะเพิ่มเติมในพื้นที่สวน คือ ติ้ว ผักหวานป่า ดอกกระเจียว ดังนั้น เมื่อมีปริมาณที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนจึงสามารถ จำ หน่ายเป็นรายได้อีกด้วย “ส่วนที่เหลือกินเราก็ขาย กล้วยก็ขายทั้งใบและผล ผักติ้วก็อยู่ในป่า ซึ่งเรา เอามาปลูกเพิ่ม ส่วนหนึ่งเราก็ซื้อมาปลูกเพิ่มด้วยในส่วนที่เราปลูกเพิ่ม ขยายเพิ่ม จาก ที่ว่ามันมีอยู่ในป่า แต่ว่ามันไม่เพียงพอ เราก็อยากพัฒนาให้มันเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอ ต่อความต้องการ อย่างเราเอาไปขายในหมู่บ้าน เรามีแค่ชะอม มันก็ไม่หลากหลาย ตัวไหนที่เราสามารถกินได้ด้วย เราก็เอามากินแล้วก็แบ่งขายด้วยถ้ามันแตกยอดเยอะ เราก็มีผักหวานและผักทั่วไปด้วย” – สิริมา สุดไชยา 17 ในแง่ความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจรูปแบบ “โคก-ป่า-นา-สวน” นี้ กล่าวได้ว่าเป็นการรักษา ป่าโคกซึ่งเป็นนิเวศหลักให้เกิดการสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ ที่ไม่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ ให้การทำ นาโคกได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว แต่ระบบนิเวศป่าโคกที่ รักษาไว้ยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ นวยให้เกิดผลผลิตอาหารในพื้นที่สวนที่พึ่งพาได้ โดยเฉพาะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 16 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 17 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอิสาน 83
84 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม “สวนเลี้ยงเราในเรื่องค่าใช้จ่ายการอยู่การกิน แต่ว่าก็ต้องอาศัยระบบอุณหภูมิ ที่เกื้อหนุนกัน ถ้าอุณหภูมิช่วงหน้าร้อนสูงมาก เราก็ไม่ได้ผลผลิต พวกแมลงกับการ อยู่ของสัตว์ ถ้า [ป่าโคก] แห้งจริง สัตว์ก็จะหนีเข้าสวน เพราะสวนเราเย็น มันมีระบบ น้ำ� เป็นจุดที่สัตว์ได้พึ่งพา พวกนก กะปอม วิ่งเข้าไปกินน้ำ�ในสวนเรา แต่ถึงเวลา หลบภัย เวลาเข้านอน สัตว์ก็จะเข้าไปอยู่ในป่า จากที่เราสังเกตดู ถ้าจะพูดถึงเรื่อง นากับป่าว่าเกื้อกูลกันอย่างไร ก็อย่างที่เราพูดไปแล้ว คือ ป่าโคกเป็นต้นน้ำ�ที่มันจะ ชะล้างความอุดมสมบูรณ์ลงไปในนาข้าวของเรา ส่วนข้าวก็เป็นวัฏจักรกลับมาหาเรา ที่ดูแลสวน ได้กินข้าวกินน้ำ� โดยทางเศรษฐกิจป่าไม้ได้ [อาหาร] เป็นหลัก ส่วนเรื่อง ค่าใช้จ่าย เป็นการลดค่าใช้จ่ายที่เราปลูกพืชในการกิน” – สิริมา สุดไชยา 18 “พื้นที่สวนที่รายล้อมด้วยป่าโคก” นอกจากนี้ สิริมาทำ การเพาะกล้าพันธุ์ไม้เพื่อสร้างรายได้ โดยนำ เมล็ดพันธุ์ไม้บางชนิดที่อยู่ ในพื้นที่ป่าโคกมาเพาะจำ หน่าย พันธุ์ไม้ที่เพาะเป็นหลัก คือ ผักหวานป่า กล่าวคือ มีต้นพันธุ์อยู่แล้ว ตรงที่ข้างหน้าบ้าน จึงเก็บมาเพาะ ปกติถ้าไปซื้อเมล็ดมาจากท้องตลาดมีราคาเม็ดละ 50 สตางค์ ถึง 1 บาท แต่เมื่อเพาะขายเอง หนึ่งถุงใช้แค่ 2 เม็ด สามารถขาย 15-20 บาทต่อถุง เป็นการสร้างมูลค่า เพิ่มขึ้นมาจากระบบนิเวศป่าโคกที่ทำ การดูแลรักษาไว้ 18 สัมภาษณ์ครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 85 นอกจากการเพาะผักหวานป่าเป็นหลัก สิริมา ยังเพาะกล้าไม้อย่างอื่นที่มีเมล็ดอยู่ในป่าโคก ของครอบครัวด้วย เช่น ต้นจิก ต้นฮัง ต้นแดง ต้นดู่ นอกจากนี้ ยังมีการเพาะต้นยางนา ทั้งนี้ สำ หรับ ต้นยางนา แม้ว่าจะไม่ได้เป็นไม้เดิมที่ขึ้นอยู่ในป่าโคกของครอบครัวตนเอง แต่เป็นไม้ที่มีอยู่ใกล้ในเขต ชุมชน จึงได้ทดลองนำ ต้นพันธุ์มาปลูกตามคันนา เป็นการเอาไม้เศรษฐกิจอย่างอื่นที่กำ ลังเป็นที่นิยม มาปลูกมาผสมกับไม้ป่าในพื้นที่ของตน เมื่อสามารถปลูกได้ผลจึงเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งด้วย กล่าว คือ เมื่อผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาพบเห็นว่าพื้นที่ของตนก็สามารถปลูกได้ ก็เป็นตัวอย่างว่าสามารถที่จะ เพาะได้ในพื้นที่ตนเอง จึงนำ กล้าพันธุ์ยางนาที่นำ มาจากนอกป่ามาเพาะจำ หน่ายด้วย “เพาะกล้าพันธุ์ไม้ขาย เริ่มต้นตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป 7 บาท 10 บาท แล้วแต่ ขนาดของต้น ถ้าต้นใหญ่ขึ้นไป เคยขายได้สูงสุดต่อต้น 150 บาท อันนั้นคือยางนา เราเทใส่ตะกร้า แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว หมดแล้ว ปีนี้ก็ยังไม่ได้เพาะตัวนั้น เราก็เพาะผัก หวานก็พอ เพราะฝนตกชุกแล้ว มันก็เพาะง่าย ... ยางนาที่ปลูกขาย ก็ต้องมีในพื้นที่ ของตัวเองไว้ หลักๆ คือ พยายามเอาพื้นที่ของเราเป็นตัวอย่าง พอคนมาเห็น เขา อยากปลูกเขาก็ซื้อของเราไปปลูก เห็นเราปลูกได้ ต้นกล้าเรามีคุณภาพ ก็อยากได้ เหมือนเรา แบบนี้ เราเก็บขายได้ เขาก็อยากเก็บขายหรือเก็บกิน คือ เรามีก่อน เพราะ ก่อนหน้านี้ก็เพาะกล้าไม้ในชุมชน คนที่เขาไม่ปลูกต้นไม้ เขามาเห็นเขาก็ซื้อไปปลูก ในคันนา เพราะเขาเห็นตัวอย่างในนาที่เราปลูกตามคันนา คนอื่นเขาเห็นว่ามีกล้าไม้ แบบนี้ เขาก็อยากไปปลูก มันสร้างแรงบันดาลใจให้คนที่เห็นจากหน้ามือเป็นหลังมือ เขาก็ลองซื้อไปปลูก ที่ตายก็มี ที่รอดก็มี เขาก็จะได้เรียนรู้ว่าต้นนี้มันเหมาะกับพื้นที่ ของตัวเองหรือเปล่า เขาก็เลือกต้นไม้อื่นไปปลูก” – สิริมา สุดไชยา 19 ทั้งนี้ ข้อมูลที่สิริมาเคยจดบันทึกไว้เกี่ยวกับรายได้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดต้นไม้ที่อยู่ในป่าโคก เพื่อจำ หน่าย อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นบาทต่อปี ราคาต้นพันธุ์ที่เพาะจากเมล็ดเริ่มที่ 5 บาท บางต้นเลี้ยง ไว้ให้โตก่อนก็จะสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ทั้งนี้ เคยขายต้นพยูงได้ต้นละ 50-70 บาท เป็นต้น “ถ้าทำ�จริงๆ มันก็คงจะอยู่ได้ เพราะว่าคนนิยมปลูกต้นไม้ และเขาก็หาแหล่ง ซื้อ ลูกค้าคนที่เขาเคยซื้อต้นกล้าจากเราไปปลูกแล้วมันฟื้น เขาก็กลับมาซื้ออีก แล้ว มันโต คล้ายๆ กับเราเลือกต้นพันธุ์ ถ้าต้นพันธุ์สวยเราก็เลือกเอาต้นนั้นมาเพาะ เพื่อ 19 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอิสาน 85
86 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ที่คนมาซื้อไปปลูกก็จะได้ต้นพันธุ์ของเรา ปีนี้เพาะแค่ผักหวาน เพราะสถานการณ์ยัง ไม่พร้อม มีคนป่วยอยู่ ส่วนดินก็อาศัยเอามาจากข้างนอกด้วย แต่ตอนเริ่มต้นเป็นดิน ของเราเอง เราก็ขุดเอาตามร่องน้ำ�ที่มันมีสารอาหารจากใบไม้ก็เอาไปผสมปลูก แต่ทุก วันนี้ก็เอาจากในร่องนี่แหละ เราก็ผสมขี้วัว แกลบดำ�” – สิริมา สุดไชยา 20 สำ หรับช่องทางการจำ หน่ายกล้าพันธุ์ไม้ นอกจากขายหน้าบ้านแล้ว ยังขายผ่านช่องทาง เฟสบุ๊คเพจที่สิริมาเป็นผู้ดูแลอยู่ โดยให้ผู้ซื้อเข้ามารับเอง ยังไม่ได้มีการจัดส่งให้ ส่วนมากจะเป็นคนใน ท้องถิ่น คนในชุมชน บางครั้งคนก็เข้ามาซื้อไปปลูกในพื้นที่ของเขาที่ต้องการทำ โคกหนองนา “บางทีก็ซื้อตั้งแต่ 1,000-3,000 บาทต่อคน แต่ว่าเราไม่ได้มีแบบหลาก หลายให้เขาเลือกเหมือนตามที่ซุ้มต้นไม้ แต่ต้นกล้าเรามีคุณภาพกว่า คล้ายๆ กับว่า เพาะจำ�นวนน้อยแต่มีคุณภาพเท่ากับที่เราดูแลได้ ไม่เกินกำ�ลังเรา เช่น วันนี้ทำ�ได้ 10-100 ถุง เราทำ�ได้แค่นี้ ไม่ได้เน้นว่าต้องเพาะกล้าพันธุ์ขนาดนั้น เมื่อเช้าก็ปลูก ผักหวาน เดินลงไปแซมได้ประมาณ 50-60 ถุง ได้ทีละน้อย” – สิริมา สุดไชยา 21 1.5.4 ด้านสังคม ในด้านตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ดีของการทำ รูปแบบเกษตรนิเวศเช่นนี้ สิริมา เน้นย้ำว่าการทำ เช่น นี้เป็นการส่งต่อความยั่งยืนทางธรรมชาติและความหลากหลายของระบบนิเวศเพื่อเป็นต้นทุนต่อเนื่อง ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน กล่าวคือ ความสำ เร็จของบางคน คือ ไม่มีหนี้สิน มีเงินเก็บ เป็นตัวชี้วัดหลัก ใน ขณะที่สิริมามองว่าคุณภาพชีวิตที่ดีของตน คือ ความยั่งยืนที่สามารถส่งต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน เพื่อ ให้พวกเขามีชีวิตที่สะดวกกว่าในรุ่นของตนเอง “เรายังรักษาพื้นที่นี้ไว้เพื่อส่งต่อให้กับรุ่นต่อไปได้ ไม่ใช่ว่าได้เงินแล้วไม่มี ที่ดิน ไม่มีต้นไม้เพิ่ม มันก็ไม่มีคุณค่าในทางธรรมชาติเพิ่มขึ้น ความหลากหลายก็น้อย ลง แต่ของเราสามารถสร้างความหลากหลายทางธรรมชาติได้เพิ่มขึ้น เช่น ธรรมชาติ ในเชิงที่ได้จากต้นไม้ก็คือพวกสัตว์ต่างๆ สร้างความมั่นคงทางอาหารของเราที่เรา เลือกความหลากหลายที่เราอยากกินเองได้ ...เราอยากมีป่า มีต้นไม้ที่เราเคยมีตอนที่ เรายังเป็นเด็ก เราก็เลยเริ่มปลูก ... เราปลูกเพิ่มในสวนที่มันไม่มี เพื่อที่ว่าในอนาคต ของเรา รุ่นแม่ก็คือตัวเองอาจจะไม่ได้ใช้ ก็ถือว่ารุ่นลูกอาจจะได้ใช้ ถ้าไม่ได้ขายต้นไม้ 20 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 21 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 86 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 87 22 สัมภาษณ์ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 23 ข้อมูลจาก แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) องค์การบริหารส่วนตำ บลหนองห้าง, ที่มา http://www.nonghang-ksn.go.th/files/dynamiccontent/file-348781-16825009361534675096.pdf อย่างน้อยๆ ก็ได้เก็บอะไรกิน หรือได้ใช้ประโยชน์ หรือได้ผลผลิตที่เราได้ปลูกฝังใน ดินไว้ให้เขาในช่วงนี้ ... รุ่นลูกเรา ถึงแม้เขาอาจจะไม่ได้เก็บขายเอง เขาอาจจะจ้าง แรงงานมาเก็บ อาจจะเก็บใบไม้ไปขายเป็นปุ๋ย หรือเก็บผักหวาน ผักติ้ว ที่เราปลูก ไว้ไปขาย เห็ดก็อาจจะมีเยอะกว่าเดิมเพราะมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น หรืออยากตัดไม้ขาย ในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า ก็จะเป็นทุนในการเรียนการศึกษา เป็นทุนให้กับรุ่นลูก รุ่นหลาน” – สิริมา สุดไชยา 22 2.“ป่าสร้างใหม่-สวนครัวสุขภาพ” ของนายอดิพงษ์และนางสาวรัตนา บุตสุริย์ เกษตรกรบ้านหนองห้าง ต.หนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 2.1 บริบทของชุมชน การผลิต และนิเวศในแต่ละพื้นที่ ในเขตพื้นที่การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำ บลหนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ มี 9 หมู่บ้าน โดยมีบ้านหนองห้าง ที่ประกอบไปด้วย 4 หมู่ คือ หมู่ 2, หมู่ 6, หมู่ 7 และ หมู่ 8 โดยบ้านหนองห้างอยู่ในพื้นที่หมู่ 6 ทั้งนี้ มีลักษณะทางภูมิประเทศมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและ เนินเขามีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย มีชั้นหิน23 ภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น ซึ่งโดยระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องเกื้อกูลกันจึงทำ ให้มี ผลผลิตจากป่าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แมลง ที่ช่วยรักษาความ สมดุลธรรมชาติไว้ จากบริบทนี้คนในชุมชนมีวิถีชีวิตความผูกพันอยู่กับผืนป่า ไม่ว่าเป็นการนำ ไม้มา เป็นเชื้อเพลิง ฟืน ใช้เป็นแหล่งอาหารจากส่วนต่างๆ ของพืชและผล การใช้เส้นใยมาถักทอย้อมเป็น เครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการนำ พืชบางชนิดมาทำ เป็นยารักษาโรคตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ในส่วนของ การประกอบอาชีพนั้นพบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำ การเกษตรที่ทำ นาเป็นหลักและ รับจ้างทั่วไป 2.2 เป้าหมายในการจัดการฟาร์ม คำ กล่าวที่ว่าอดิพงษ์ เป็น “ราษฎรและเกษตรกรสวนทาง” นั้นไม่เกินจริงเลย เมื่อได้รับฟัง เรื่องราวก่อนที่จะมาเป็นเขา ณ วันนี้ ผู้ทำ งานบนพื้นที่เกษตรนิเวศ “ป่าสร้างใหม่-สวนครัวสุขภาพ” ที่ ทั้งเขาและภรรยาตั้งปณิธานเอาไว้ว่า พื้นที่แห่งนี้จะเป็นที่เรียนรู้ ต้อนรับผู้ที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพ
88 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ด้วยการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งพวกเขาเองจะสามารถพึ่งพาในทางเศรษฐกิจได้ในรูปแบบที่ เน้น “การแบ่งปัน” มากกว่าการขาย เมื่ออยู่ในวัยเกษียณ 2.3 แนวคิดในการจัดการฟาร์ม โดยนิยามของคำว่าป่าสร้างใหม่แห่งนี้ อดิพงษ์ ให้ความหมายว่าที่ครอบคลุมถึงการเป็นความ มั่นคงทางอาหารของครอบครัว เป็นระบบนิเวศที่เกื้อกูล เป็นเศรษฐกิจ และเป็นอนาคต “ป่าสร้างใหม่ คือ ให้ความร่มรื่น เป็นคลังอาหาร อนาคต เศรษฐกิจ เราอยาก ทำ�อะไรก็ตัดใช้สอย อยู่ได้ระยะยาว ป่าตอนแรก 1 ปี อย่าให้ขาดน้ำ� พอมันติดแล้วก็ ปล่อยให้รากมันหากินน้ำ�เอง ไม้ต้องใช้น้ำ�อะไร เพียงแต่เราต้องตัดแต่งกิ่ง ส่วนมาก เน้นยางนามากกว่า รอบนอกเป็นไม้สัก เราสร้าง[ป่า]ใหม่กับมือของเรา เห็ดก็ได้กิน มา 3 ปีแล้ว” – อดิพงษ์ บุตสุริย์ 24 หากมองในแง่เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม อดิพงษ์ กล่าวว่า ป่าสร้างใหม่ที่เขาสร้างมากับมือ แห่งนี้ สามารถทำ ให้ “อยู่รอด” ได้จริง “ภาวะโลกร้อน ลองสังเกต และทำ�ดูแล้ว อยู่กลางแจ้งอุณหภูมิ 40 องศา เซลเซียส ถ้าเข้าไปอยู่ตามต้นไม้ที่เราปลูกอุณหภูมิจะลดลงเป็นประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส หรือลดลงประมาณ 4 องศา เพราะว่าบ้านที่นี่เขาบอกว่าตอนกลาง คืนมันคายอากาศออกมา ส่วนมากมันจะขึ้นข้างบน บ้านนี้ไม่ได้เปิดแอร์มาหลายปี แล้ว เพราะว่าอากาศมันจะเย็น อากาศมันจะบริสุทธิ์มากกว่า ต้นไม้มันจะคายความ เย็น นี่คือผลที่เราได้รับมา แต่ก่อนคล้ายกับว่าเราก็อยู่กลางแจ้ง ตอนเย็น หรือตอน เที่ยงเราก็ต้องเปิดแอร์ เพราะมันอยู่ไม่ได้ ตรงนี้ก็เป็นของขวัญที่ประทานมา ใครจะ บอกว่าโลกร้อนอยู่ไม่ได้ แต่เราอยู่ได้ เพราะว่ามันจะพอเหมาะพอที่เราจะอยู่ได้ เรา ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ประหยัดค่าไฟ ที่อื่นค่าไฟพันบาทขึ้นไป แต่ของเราก็อยู่ที่ 300-400 บาทต่อเดือน ไม่ต้องพึ่งแอร์เลย” – อดิพงษ์ บุตสุริย์ 25 ด้าน รัตนา มองไปไกลถึงการเป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงกับผู้คนให้หันมารักสุขภาพ ซึ่งมี ฐานจากการที่ดูแลรักษาธรรมชาติให้สมดุล เครื่องมือที่ว่านั้น คือ การขอใบรับรองมาตรฐาน Organic Thailand (กรมวิชาการเกษตร) ให้แก่บ้านสวนบุตตะวัน 24 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 25 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 89 “มองว่าถ้าไม่มีใครรู้จักเรา เขาจะหันมาดูได้ยังไง แล้วจะทำ�ยังไงให้คนหัน มาดูเราในวงกว้าง เพื่อที่จะได้ขายแนวคิด สร้างโลกที่เราฝัน อย่างน้อยที่สุดใน 100 คน ได้คนหนึ่งก็ยังดี ไม่ได้สนใจเรื่องของปริมาณ ... แต่ต้องการเป็นเครื่องมือให้คน หันมาดู แล้วมันเป็นความภาคภูมิใจของเราว่าเราได้นำ�ส่งสิ่งที่ดีๆ ให้ผู้คน แม้นว่าวัน นี้แค่คนหนึ่ง แต่ได้ช่วยคนหนึ่งคนแล้ว ... ปวารณาตัวเองว่า แม้นมีใครมาเดิน หรือ ไม่เดินตามเรา เขาจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม เขาได้สร้างโลกแล้วนะ สร้างโลกครอบครัว ของเขาเองในการพึ่งพาตัวเอง สร้างโลกเรื่อง climate change ได้ เราก็ไม่หยุด เรา ก็จะปลูกต่อไปในอนาคต” – รัตนา บุตสุริย์ 26 2.4 การจัดการพื้นที่เกษตร 2.4.1 จุดเริ่มต้นของการทำ การเกษตร รัตนา บุตสุริย์ เล่าให้ฟังว่า ตนเป็นนักเทคนิคการแพทย์ เคยทำ งานเอ็นจีโอกับกาชาดสากล มาก่อนที่จะเข้ามาทำ งานราชการที่โรงพยาบาลของรัฐในภายหลัง ส่วนอดิพงษ์ บุตสุริย์ เมื่อก่อนเป็น ช่างเทคนิค ทำ งานควบคุมระบบไฟฟ้า ประปา แอร์ ให้กับบริษัทเอกชน ทั้งสองสามีภรรยาได้ออก ไปทำ งานที่ จ.ขอนแก่น เป็นเวลาหลายปี ต่อมาหลังจากที่รัตนาคลอดบุตร เริ่มมีอาการป่วยจากการ รับประทานอาหารผิดสำแดงหลังคลอด หรือ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ผิดกะบูน ต้องเข้ารับการรักษา ตัวในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจย้ายกลับมาทำ งานอยู่บ้านเกิด ในขณะเดียวกัน อดิพงษ์ ผู้เป็นสามีก็ค่อยๆ ย้ายกลับมาอยู่บ้านเช่นกันเพื่อดูแลภรรยา “ปี 2539 พี่คลอดลูก เสร็จแล้วกินผิดกะบูน กลายเป็นคนป่วย ต่อมา เมื่อประมาณปี 2542-2543 ย้ายกลับมาทำ�งานที่นี่ ทำ�งานที่โรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราช อ.กุฉินารายณ์ หลังจากนั้นก็ได้มาเป็นผู้บริหารระดับต้น เกิดภาวะ ความเครียดต่างๆ แล้วโรค Non - Communicable Diseases (NCDs) ก็เริ่มรุมเร้า โดยเฉพาะเป็นโรค hypertension ตอนนั้นพี่ต่าย [อดิพงษ์] ก็ยังทำ�งานที่ขอนแก่น อยู่ แต่หลังจากนั้นมาก็ไม่ไหว เลยขอให้พี่ต่ายย้ายกลับมาอยู่ที่บ้าน พอย้ายกลับมา ที่บ้านพี่ต่ายก็ไม่รู้จะทำ�อะไร เพราะเจ้าของเดิมไม่ได้ชอบการเกษตรอะไรเลย ที่ดิน ตรงนี้เป็นที่ที่มันเสียมากแล้ว เพราะเขาทำ�ไร่มันสำ�ปะหลังมาก่อน ก็มีช่วงหนึ่งที่เรา มาปลูกหน่อไม้ฝรั่ง แต่มันไปไม่ได้ สุดท้ายพี่ต่ายก็ต้องมาทำ�นา ซึ่งเขาก็ไม่ค่อยชอบ เท่าไหร่ รู้สึกว่ามันขัดกับตัวเอง” – รัตนา บุตสุริย์ 27 26 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 27 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566
90 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม แม้นว่าฝ่ายสามีจะไม่ได้ชอบการเกษตรในตอนแรกทีเดียว เนื่องจากเขาต้องหันเหทิศทางจาก การเป็นช่างเทคนิคมาสู่การทำ เกษตร ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนเส้นทางใหม่ที่เขาไม่คุ้นเคยมาก่อน แต่ อดิพงษ์ ก็พบจุดเปลี่ยนที่สำ คัญในชีวิตที่ทำ ให้เขาเริ่มรู้สึกชอบการเกษตรขึ้นมา จากการที่ภรรยาได้ ทำ งานในโรงพยาบาลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) และมีโอกาสไปอบรมเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน จึงเกิดความคิดอยากให้ฝ่ายสามีมาเรียนรู้ด้วย เพื่อที่ จะตอบโจทย์ตัวเองว่าการเป็นเกษตรกรนั้น “ใช่” สำ หรับตัวเองหรือไม่ เมื่อประมาณปี 2552-2553 อดิพงษ์ ตัดสินใจเข้าร่วมอบรมกับปราชญ์ชาวบ้าน และได้พบกับ พ่อคำ เดื่อง ภาษี ทำ ให้เขาได้รับแรงบันดาลใจอย่างมาก ภายหลังจากการอบรมนั้น เขากลับมาบ้าน พร้อมด้วยต้นกล้าพันธุ์ไม้เต็มหลังรถ และเริ่มปลูกต้นไม้ในบ้าน จนทำ ให้ใครก็ตามที่ผ่านมาพบเห็น เข้าถึงกับตั้งคำ ถามว่า เหตุใดจึงคิดมาสร้างป่าที่บ้าน ในขณะที่คนอื่นต้องการบ้านที่สะอาดสะอ้าน ด้วย เหตุนี้เองกระมังที่ อดิพงษ์ ได้รับการขานนามว่าเป็น “ราษฎรและเกษตรกรสวนทาง” ตั้งแต่ปี 2553 ต้นไม้ไม่น้อยกว่า 1,000 ต้น ได้ทยอยปลูกลงบนผืนดิน กลายมาเป็นป่าสร้างใหม่ ที่ทั้งสองสามีภรรยา ภาคภูมิใจว่าเป็นที่ดินที่สร้างฟื้นคืนมาด้วยสองมือของพวกเขาเอง อดิพงษ์ เล่าว่า ซื้อที่ดินผืนนี้มาได้ประมาณ 20 ปีแล้ว ในราคา 70,000 บาท ก่อนที่จะมาทำ ป่าสร้างใหม่เมื่อ 8-9 ปีที่ผ่านมา ตอนที่ซื้อมาก็ต้องทำ การปรับปรุงพื้นที่ เพราะมีต้นไม้ยืนต้นตาย เช่น มะม่วง กอไผ่ ก็ให้รถไถมาปรับหน้าดิน ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เมื่อประมาณ 15-16 ปี ราคา น้ำ มันยังไม่ถึงลิตรละ 10 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายถึง 4,000 กว่าบาท สมัยนั้นนับว่าเป็นราคาไม่น้อยกว่า จะได้ที่ผืนนี้มา “ทีแรกก็ไม่คิดว่าจะมาสร้างบ้านที่นี่ เพราะเราก็ซื้อไว้อยู่ 2-3 ที่ อีกที่หนึ่ง เราก็ซื้อไว้ประมาณ 2 งาน เราเขียนแปลนบ้านไว้ เฉพาะบ้านก็ประมาณ 2 งานแล้ว แต่พอเราไปสำ�รวจดูปรากฏว่าที่มันหายไปประมาณครึ่งเมตร เพราะว่าซื้อที่จาก ญาติ ทั้งที่หมุดอะไรก็ปักเรียบร้อย บ้าน 2 งานนี้ก็เท่ากับว่ามันเต็มพื้นที่ ทางเดิน ก็ไม่มี เราก็เลยย้าย ไม่เอาตรงนั้น ไปสร้างกันใหม่บนที่ใหม่ที่ซื้อมาประมาณ 6 ไร่” – อดิพงษ์ บุตสุริย์ 28 เงื่อนไขอีกประการหนึ่งที่ทำ ให้ในท้ายที่สุด อดิพงษ์ ตัดสินใจมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวเมื่อ ประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว ก็คือการกลับมาทำ หน้าที่ของบุตรในการดูแลบิดา-มารดา ที่อายุมากแล้ว ส่วน 28 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 90 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 91 งานช่างเทคนิคก็ยังรับทำ ให้เฉพาะผู้สูงวัยในหมู่บ้าน นอกเหนือจากนั้น หากมีคนติดต่องานช่างเข้ามา เขาก็จะส่งต่อให้กับรุ่นน้องที่เป็นช่างไปทำ หน้าที่แทน “ทีแรก ตอนที่จะมา [อยู่บ้าน] เราก็ไม่ได้คิดว่าจะมาอยู่ถาวร คิดว่า รับงาน ก็ไป-มา ไปดูแล้วก็กลับมาบ้าน แต่ทีนี้ปัจจัยอย่างหนึ่งคือ คนแก่ที่บ้าน คือ พ่อแม่ และพ่อตาและแม่ยาย ไม่มีใครอยู่ด้วย ไม่มีใครดูแล อันนี้คือปัจจัยหลัก เราเป็นลูกคน เล็ก ก็ต้องมาดูแล เพราะตอนนี้ก็แก่กันหมดแล้ว สำ�หรับเรื่องอาหารไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่เวลาเจ็บป่วยก็ต้องมีคนพาไปโรงพยาบาล กลางค่ำ�กลางคืนก็พาไป นี่คือปัจจัย หลัก” – อดิพงษ์ บุตสุริย์ 29 สำ หรับ รัตนา ผู้เป็นภรรยา ซึ่งต้องต่อสู้กับอาการป่วยเรื้อรังอยู่นานหลายปี ก็ได้ค้นคว้าหา แนวทางในการเยียวยา จนกระทั่งได้ค้นพบว่าอาการป่วยนั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตจากการ ไปอบรมกับอาจารย์หมอเขียว เมื่อปี 2557 ทั้งนี้ หลักการสำ คัญที่ได้เรียนรู้มาก็คือการดำ รงชีวิตที่ให้ ความสำ คัญกับ หลัก 3 อ. คือ 1) อาหาร, 2) ออกกำ ลังกาย, และ 3) ขจัดอารมณ์ขุ่นมัว “ก็เลยมาลงลึกในหลัก อ. ที่หนึ่ง คือเรื่องอาหาร แล้วพบว่าอาหารที่ช่วย ชีวิตเราคืออาหารพืชเท่านั้นนะ ต้องกินพืชเป็นหลัก ก็เลยเริ่มกิน แต่เราไปซื้อเขามา แล้วมันจะปลอดภัยได้ยังไง ก็เลยมาดันให้พี่ต่ายปลูกผักต่างๆ เริ่มมาปลูกพืชที่มัน กินได้ พอปลูกก็เริ่มมีความสุข พี่ต่ายก็เริ่มมีความสุข ไม่ได้เน้นเรื่องการขายอะไร เลย ... ปี 2560 พี่หายจากโรค NCDs โดยที่ไม่ต้องกินยา ... บังเอิญว่าโรงพยาบาล ก็มีโครงการที่จะนำ�อาหารปลอดภัยเข้าไปในโรงพยาบาล ก็เลยให้พี่เข้าไปช่วย จึงได้ มีโอกาสไปทำ�งานกับกลุ่มเกษตรกร คือ กลุ่มฮักแพงแบ่งปัน แล้วก็เริ่มค้นคว้าว่าจะ ไปเอาความรู้จากที่ไหน ก็เลยมารู้ว่ามันมีที่ใกล้ๆ ก็คือ วัดป่านาคำ� ที่เขาทำ�หลุมพอ เพียง ก็เลยชวนพี่ต่ายไปเรียน ลงทุนเองเลย 6,000 บาทสองคน พอไปอบรมก็ได้รับรู้ เรื่องราวบันได 9 ขั้น พอมองย้อนกลับมาว่าที่เราเดินมามันคือบันได 9 ขั้น อันดับแรก เป็นเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 ที่ว่าการที่เราจะเอาชีวิตของตัวเองอยู่รอด ได้ อันดับแรกเราต้องพึ่งพาตัวเองโดยการสร้างปัจจัยสี่ให้มันพอเพียงด้วยตัวเราเอง 29 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566
92 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม พอเสร็จแล้วถ้าเรามีมากพอเราก็แบ่งปัน ทำ�บุญ ทำ�ทาน แบ่งปันญาติพี่น้อง พอเหลือ มากพอเราค่อยเอามาทำ�การถนอมอาหารเพื่อทำ�ให้มันอยู่ได้นานขึ้น ก็มาเริ่มสร้าง เครือข่ายเพื่อที่จะเอาไปขายและช่วยเหลือคนอื่น” – รัตนา บุตสุริย์ 30 กล่าวได้ว่า จากปัญหาสุขภาพมาสู่การเดินทางกลับบ้าน เพื่อลงมือสร้างป่าจากผืนดินที่เคย เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ต้นไม้ต่างๆ ยืนต้นตาย ที่ดินถูกปรับแต่งพื้นที่ให้โล่งเตียน ลงทุนดำ เนินการ ปรับปรุงดินโดยการซื้อปุ๋ยชีวภาพมาบำ รุงดินปริมาณ 3 ตัน มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 10,000 กว่าบาท จนเมื่อดินเริ่มปรับสภาพเองตามธรรมชาติ มีหญ้าขึ้น ประกอบกับมีชาวบ้านใกล้เคียงขอเอาวัวเข้ามา เลี้ยงกินหญ้าในพื้นที่ ทำ ให้ได้ปุ๋ยขี้วัวมาเพิ่มในพื้นที่ หลังจากนั้นจึงเริ่มวางแผนการใช้ที่ดินโดยปลูก ไม้ยืนต้นเป็นแนวกำ บังลมที่มาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือทางเทือกเขาภูพาน เช่น ส่วนใหญ่เน้น ปลูกบริเวณขอบแปลงรอบนอกเป็นไม้ยางนาและไม้สัก ชั้นด้านในปลูกไม้แดง ยางนา ไม้พยูง และ อื่นๆ ผสมผสานกันไป นั่นจึงเป็นที่มาของบ้านสวนบุตตะวัน ซึ่งเป็นเจ้าของโดยอดิพงษ์ บุตสุริย์ และ ภรรยา ซึ่งเป็นรูปแบบการทำ เกษตรนิเวศ “ป่าสร้างใหม่-สวนครัวสุขภาพ” ที่เริ่มจากปัจจัยและเงื่อนไข ด้านสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว มาสู่แนวคิดการออกแบบผังแปลงบ้านที่สอดคล้องกับลักษณะทาง นิเวศ การลงมือสร้าง “ป่าใหม่” ปลูกไม้ยืนต้น สร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้กับครอบครัว ทั้งการปลูก ไม้ผลและพืชผักในพื้นที่ของตนเอง นำ มาสู่การสร้างรายได้เสริมจากการทำ ชุดอาหารสุขภาพที่มาจาก พืชผักที่ปลูกเองในพื้นที่ เป็นครัวสุขภาพ อาหารปลอดภัย ขายให้กับกลุ่มผู้รักสุขภาพในตัวอำ เภอ 2.4.2 รูปแบบการจัดการแปลง “ป่าสร้างใหม่-สวนครัวสุขภาพ” “ป่าสร้างใหม่” แห่งนี้ทำ มาแล้วประมาณ 9 ปี มีสัดส่วนการจัดแปลงที่ดิน คือ พื้นที่ป่า ประมาณ 1 ไร่ พื้นที่สวนประมาณ 2 ไร่ คือ สวนมะนาวและสวนผลไม้ และที่เหลือเป็นพื้นที่บ้านอยู่ อาศัย ทั้งนี้ ลักษณะเฉพาะทางภูมินิเวศเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกแบบผังแปลง การออกแบบผัง จึงทำ ให้สอดคล้องกับลักษณะภูมินิเวศของพื้นที่ โดยเฉพาะการเงื่อนไขของที่ตั้งแปลงอยู่ในทิศที่มีลม ภูเขาพัดมาตามธรรมชาติ จึงทำ การปลูกไม้ยืนต้นเพื่อสร้างแนวกันลม กล่าวคือ บริเวณที่ตั้งของแปลงอยู่ในเขตลมภูเขา หรือที่เรียกในภาษาชาวบ้านว่า “ลมตีนภู” ซึ่งที่ตั้งแปลงอยู่ห่างจาก ภูน้อย ตามชื่อที่ชาวบ้านที่นี่เรียกกันซึ่งเป็นแนวเขาของเทือกเขา ภูพาน ประมาณ 1 กิโลเมตร บริเวณแนวเขาภูน้อยจะมีพื้นที่ซึ่งเป็นแอ่ง มีช่องแอ่งภูเขาที่ลมพัดแรง ผ่านเข้ามาบริเวณนั้นจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 30 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 93 อดิพงษ์ กล่าวว่า พื้นที่นี้เป็นการลงมือทำ ใหม่ด้วยตัวเอง เรียนรู้วิธีคิดจากคนรุ่นเก่า เช่น เรื่อง แสง เรื่องลม เรียนรู้ว่าต้นไม้แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน แต่ละชนิดชอบน้ำ ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมาปลูก รวมกันอยู่ก็สามารถสร้างสมดุลกันได้ เช่น ในโคกมีต้นไม้หลายอย่าง ต้นไม้อยู่รวมกันได้ รากก็ไม่ได้ พันกัน จึงได้แนวความคิดมาใช้กับการทำ ป่าสร้างใหม่ของตนเอง ทั้งนี้ ใช้วิธีการปลูกต้นไม้เป็นแถว เป็นแนว เพื่อให้มีการจัดการง่ายหากต้องการปลูกพืชอื่นระหว่างแนวต้นไม้ ทั้งนี้ ก่อนที่จะมาปลูกต้นไม้เป็นแนวกันลม มีแนวคิดตั้งต้นมาจากการสังเกตเห็นว่าที่บ้านพ่อ แม่ ซึ่งอยู่ทางใต้สุด [ของหมู่บ้าน] จะมีกอไผ่ล้อมรอบ และเมื่อถามแม่ว่าปลูกกอไผ่ไว้ทำ ไม ก็ได้คำ ตอบว่ามีไว้กันลมเพราะลมจะแรงมาก จากการสังเกตลม ทำ ให้อดิพงษ์ ทราบว่า ทิศทางลมที่แน่นอน จะมาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 100% ไม่ว่าลมหนาว หรือ ลมฝน ลมจะมาเป็นระยะ ไม่มาประทะ โดยตรง เลี่ยงซ้าย เลี่ยงขวาบ้าง แต่โดยเฉพาะในฤดูฝนลักษณะของลมจะเป็นลมหมุน “ต้นฝน คือช่วงพฤษภาคม ในรอบ 1 ปี ลมจะมาประมาณ 3-4 รอบ เราไม่รู้ ว่ามันจะโดนตอนไหน เพราะว่าที่บ้านนี้ก็โดนแล้ว 2 รอบ เวลามาแรงๆ ทำ�ให้หลังคา ปลิวว่อนเลย ลมจะมา 3 ครั้งแล้วล่ะ ครั้งแรกมันเฉียงออกไปข้างบ้านประมาณ 20 กว่าเมตร มันหมุนต้นไม้ที่เราปลูกไว้ประมาณ 10 กว่าต้น หมุนจนขาดเลย ต้นไม้ อายุ 5 ปี คือเป็นช่วงก่อนที่เราจะปลูก ตอนนั้นเรายังไม่เน้นพวกกันลม เราเน้น พวกผลไม้ที่กินผลได้ แต่ทีนี้เรามาเจออย่างนี้ เราก็หาวิธีที่จะปลูก .... ก็ได้แนวคิด มาจากอาจารย์คำ�เดื่อง แกบอกว่าที่นี่ก็ลมแรงเหมือนกัน พ่อก็เอาต้นไม้นี่แหละเป็น กำ�บัง” – อดิพงษ์ บุตสุริย์ 31 สำ หรับแนวคิดการเลือกต้นไม้ อดิพงษ์ กล่าวว่า ความรู้ที่ได้จากพ่อคำ เดื่อง ภาษี คือการ เรียนรู้ธรรมชาติ เน้นต้นไม้ที่สามารถเพาะได้ เช่น ต้นสัก ต้นแดง ยางนา พยูง แต่อันไหนที่เพาะไม่ ได้ ต้องไปขุดเอาจากป่าก็ย่อมเป็นการทำ ลายธรรมชาติ ทั้งนี้ต้นไม้ที่เป็นแนวกันลมที่ดี คือ ต้องเป็น ไม้ยืนต้น แต่ไม้ผลเวลาโตจะแผ่กิ่งออกด้านข้างหมด ไม่สูงฉลูดขึ้นข้างบนเหมือนไม้ยืนต้น ทำ ให้เป็น แนวกันลมที่ดีไม่ได้ ที่ดีที่สุดก็คือไม้ยางกับไม้สัก ส่วนไม้แดงจะแผ่กิ่งออกด้านข้าง แต่ปลูกเพราะเอา ไว้กันลมระดับสอง ระดับสาม และ ลมล่าง คือ ลมหมุน “[ต้นไม้] 4 อย่างที่ว่านี้ แต่ละอย่างก็ให้ประโยชน์เหมือนๆ กัน ในเรื่องการ ใช้สอย พืชแต่ละอย่างเติบโตไม่เหมือนกัน เรื่องระยะเวลาเติบโตต่างกัน แต่เราเอามา 31 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอิสาน 93
94 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกรวมกันมันก็แย่งกันขึ้น เรียนรู้ธรรมชาติว่า ถ้าไปปลูกเดี่ยวๆ ยังไงมันก็ไม่โต จะ ใช้เวลาเยอะกว่าการเอามาปลูกรวมกัน เราสังเกตจากธรรมชาติที่ป่า ที่เราเคยเข้าไป ในป่าตามธรรมชาติเราก็สังเกตว่า ต้นไม้มันจะอยู่รวมๆ กันหมด เราก็เลยได้แนวคิด นี้มาจากตรงนั้น” – อดิพงษ์ บุตสุริย์ 32 ผลจากการปลูกต้นไม้เป็นแนวกันลม ซึ่งแต่ละชนิดมีความสูงลดหลั่นกัน ทำ ให้ช่วยชะลอแรง ลมต่างระดับ กล่าวคือ มีแนวกันลมชั้นที่หนึ่งเป็นไม้ยืนต้นที่สูงที่สุดในแนวปลูกบริเวณทิศที่ลมมาแรง มาก จากนั้นมีแนวต้นไม้ที่มีความสูงระดับที่สองเป็นแนวกันลมชั้นที่สอง และมีต้นไม้ระดับที่สามเป็น กันลมชั้นที่สาม เพื่อรองรับแรงปะทะจากลม “ใช้ต้นไม้ที่เป็นแนวกันลม ชั้นหนึ่ง สอง สาม สี่ ที่รองรับการปะทะลม กว่า จะถึงบ้าน เพราะต้นไม้มันสูงเตี้ยต่างระดับกัน ลมมันก็จะปะทะข้างบน ส่วนมาก ลมล่างมันจะแรงกว่าลมบน ต้นไม้มันจะมีความสูง 3-4 ระดับ เราจะปลูกยังไงก็ได้ ให้มันทึบไว้ เพราะว่าแนวปะทะก่อนที่จะมาถึงบ้านเรามันก็จะผ่อนลงจากแรงเป็น ปานกลาง” - อดิพงษ์ บุตสุริย์ 33 32 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 33 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 “การปลูกต้นไม้เป็นแนวเขตกำ บังลมจากแนวเขตเทือกเขาภูพาน”
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 95 “ปลูกไม้ยืนต้นหลากหลายสลับกันเป็นแนวที่มีระยะห่างค่อนข้างถี่ เพื่อให้ต้นสูงเป็นแนวกำ บังลมที่ดี” “แนวต้นไม้ยืนต้นด้านซ้ายเป็นแนวกันลมชั้นที่ 2 รองรับแรงปะทะจาก ลมภูเขาซึ่งมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ”
96 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม สำ หรับการจัดการน้ำ ในพื้นที่นั้นไม่มีปัญหา มีน้ำ เพียงพอต่อความต้องการใช้รดพืชผักและ ไม้ผลในพื้นที่สวน ทั้งนี้ ได้เจาะบาดาลในปี 2563 เจอน้ำ ตาใหญ่อยู่ที่ระดับ 40 เมตร แต่ระดับน้ำ จริง ที่สามารถดึงขึ้นมาใช้นั้นอยู่ที่ประมาณ 6-8 เมตร ซึ่งจากการวัดระดับน้ำ ทุกปี ในช่วงเดือนเมษายนพฤษภาคม พบว่าน้ำ บาดาลยังอยู่ที่ระดับเดิมมาตลอด คือ ในระดับ 6-8 เมตร แม้แปลงเกษตรของ ตนจะอยู่บนที่เนินหรือบริเวณที่สูงของหมู่บ้าน นอกจากนี้ อดิพงษ์ กล่าวเสริมว่า การใช้พลังงานแสง อาทิตย์สูบน้ำ บาดาลขึ้นมาใช้ รอบการหมุนของมอเตอร์ของแผงโซลาร์จะน้อยกว่ารอบการหมุนของ ไฟฟ้าทั่วไป นอกจากนี้ ยังมีระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อมอเตอร์เกิดความร้อนสูง ในอีกแง่หนึ่ง หรือ ใน เชิงเทคนิค จึงกล่าวได้ว่า การใช้โซลาร์เซลล์สูบน้ำ บาดาลเป็นการช่วยทำ ให้การดึงน้ำ ขึ้นมาใช้อยู่ใน ระดับที่พอดี ช่วยป้องกันการสูบน้ำ ขึ้นมามากเกินความจำ เป็น ไม่เหมือนกับการใช้ระบบไฟฟ้าทั่วไป ที่การสูบน้ำ มีแรงกระชากน้ำ สูงกว่า การจัดการน้ำ เพื่อนำ มาใช้ในแปลงเกษตรเช่นนี้จึงมีความเหมาะ สมกับปริมาณที่ต้องการใช้ สำ หรับรูปแบบการสร้างเศรษฐกิจจากป่าสร้างใหม่แห่งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) การทำสวนทำ ตลอดทั้งปี โดยเน้นปลูกผัก 2-3 แปลง บนโต๊ะปลูกเพื่อลดการใช้แรงงาน ในการกำ จัดวัชพืช และลดการทำ ลายพืชที่เกิดจากหอยทาก 2) การเน้นปลูกผักบางชนิดในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มาก เช่น เริ่มหน้าฝนก็ปลูกต้น หอมแบ่ง ชีหอม แมงลัก (ผักอีตู่) ปลูกบนโต๊ะปลูก ปลูกครั้งละ 7 เมตร ในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยจะไม่ ปลูกพร้อมกันทีเดียวทั้งหมดเพื่อให้สามารถเก็บได้ตลอดหน้าฝน และเปิดรับพรีออเดอร์ผลผลิตที่มีอยู่ ให้กับกลุ่มลูกค้าที่เน้นอาหารปลอดภัยและเพื่อสุขภาพ 3) การบริหารจัดการน้ำ โดยการเจาะบาดาลความลึกประมาณ 42 เมตร เพื่อสูบน้ำ ด้วย โซลาร์เซลล์เข้ามาใช้รดน้ำ ในสวน โดยมีหลักการในการให้น้ำ พืชแต่ละชนิดแตกต่างกันไป เช่น ไม้ยืนต้นให้น้ำ ในระยะแรก จากนั้นเมื่อต้นโตได้ระยะหนึ่ง ก็ไม่จำ เป็นต้องให้น้ำ เนื่องจากรากต้นไม้สามารถ ชอนไชหาน้ำ ได้เอง สำ หรับพืชที่ต้องการน้ำ เช่น ผัก จำ เป็นต้องให้น้ำ ที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง 4) การพรางแสงให้กับพืชในสวน เช่น นอกจากใช้แสลนกำ บังแล้ว ยังสามารถใช้พืชร่วม คือ การปลูกปอเทืองช่วยพรางแสง นอกจากนี้ปอเทืองก็นำ มาเป็นปุ๋ยพืชสด อีกทั้งช่วยล่อแมลงที่จะมากัด กินใบพืชได้อีกด้วย 5) มีเทคนิคการจัดการน้ำ ในสวนไม้ผล คือ ไม่ใช้สปริงเกอร์ในการให้น้ำ ไม้ผล เพราะต้องไม่ ให้น้ำ โดนเมล็ดของไม้ผล มิฉะนั้นเมล็ดจะฝ่อ จึงใช้วิธีทำ ท่อน้ำ วางไว้ข้างบนสองด้านสลับฟันปลา ให้ ละอองน้ำ โปรยลงมา คล้ายกับการทำ ให้พืชรับฝน พืชจะโตเร็วและเขียวนาน 6) การป้องกันไม่ให้หน้าดินแข็งจากแรงกระแทกของน้ำ โดยใช้ฟางคลุมดิน ความหนาอย่าง น้อย 2 เซนติเมตร และฟางก็จะเป็นปุ๋ยต่อไป เก็บกักความชื้นไว้ในดิน ต้องใช้ฟางเก่า 1 ปีขึ้นไป เพื่อ 96 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม
หลักการเกษตรนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ภาคอีสาน 97 หลีกเลี่ยงเมล็ดหญ้าติดมากับฟาง 7) นำ พืชผักที่ปลูกมาเป็นวัตถุดิบในการทำ ชุดอาหารสุขภาพจำ หน่ายให้กับผู้คนที่สนใจดูแล สุขภาพ รวมถึงผู้มีปัญหาด้านสุขภาพ “การจัดพื้นที่ปลูกผักเพื่อสุขภาพบนโต๊ปลูกเพื่อป้องกันศัตรูพืช” “ปลูกต้นกล้วยและต้นมะพร้าวเพื่อช่วยพรางแสงให้กับพืชผักในสวน”
98 เกษตรนิเวศหลักการทางนิเวศกับพื้นที่เกษตรกรรม