The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการเรียนการสอน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wisut7942, 2021-03-22 22:10:14

เอกสารประกอบการเรียนการสอน

เอกสารประกอบการเรียนการสอน



คาํ นํา

เอกสารประกอบการเรยี นการสอน เร่ือง การบรรเลงเพลงมอญ รายวิชา ปพาทย 4 รหัสวิชา ศ 32210
ช้ันมัธยมศึกษาปที่ 5 กลุมสาระการเรียนวิชาชีพปพาทย มีมุงหมายในการจัดทําข้ึนเพ่ือใหครูผูสอนนําไปใชใน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใหบรรลุตามวัตถุประสงคตามที่หลักสูตรกําหนดไว ตลอดจนดําเนินการสอนได
อยางมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยที่นักเรียนสามารถศึกษาไดดวยตนเอง และมีครูผูสอนคอยใหคําปรึกษา
แนะนําและตอบขอสงสัยตางๆระหวางที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม เพ่ือพัฒนานักเรียนดานความรู ความเขาใจ
และทกั ษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญไดอยางถูกตองและมีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน ตลอดจนสามารถนําไปปฏิบัติ
ไดจริง และนาํ ไปใชใ นชีวิตประจําวันได ซ่ึงจะสงผลใหนักเรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรูตามมาตรฐาน และผล
การเรยี นรูข องหลักสูตร

นอกจากการสรางนวัตกรรมดานการเรียนการสอนประเภทเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง
การบรรเลงเพลงมอญ แลว ผูจ ัดทําไดผลิตสื่อวีดิทัศนเพื่อการศึกษา เรื่อง แบบฝกทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญ
เพลงประจาํ วดั และเพลงประจําบาน ข้ึนเพื่อนํามาประกอบกับเอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ รวมทั้ง
ยังชว ยเสริมสรา งและพฒั นาทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญของนักเรียนใหม ปี ะสทิ ธภิ าพมากยิ่งขนึ้

ผูจดั ทําหวังเปน อยางยิ่งวา เอกสารประกอบการเรยี นการสอน เร่ือง การบรรเลงเพลงมอญ รายวชิ า ปพ าทย 4
รหัสวิชา ศ 32210 ชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 5 กลุมสาระการเรียนวิชาชีพปพาทย จะเปนประโยชนตอนักเรียน
สามารถพฒั นานกั เรียนใหม ีความรูความสามารถในการบรรเลงฆองมอญวงใหญ และเปนแนวทางในการจัดการเรียน
การสอนของครูผูสอนและผูสนใจ เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ ในรายวิชา ปพาทย 4 รหัสวิชา ศ 32210
ชั้นมัธยมศกึ ษาปท ่ี 5 ใหเ กิดประสิทธิภาพทางการเรยี นรไู ดส บื ไป

วิสุทธ์ิ จุยมา



สารบัญ

เรือ่ ง หนา
คาํ นํา………………………………………………………………………………………....……………………………. ก
สารบญั ………………………………………………………………………………………....…………………………. ข
วัตถปุ ระสงคการใชเ อกสารประกอบการเรียนการสอน........................................................... 1
จดุ ประสงคการเรยี นรู. ............................................................................................................ 2
คาํ แนะนําการใชสําหรับครูผูสอน............................................................................................ 3
คาํ แนะนําการใชสาํ หรบั นกั เรียน............................................................................................. 4
เอกสารประกอบการเรยี นการสอน เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ............................................ 5
หลกั การและเหตุผล............................................................................................... 5
จุดมงุ หมาย............................................................................................................. 6
การประเมินผลกอนเรยี น....................................................................................... 6
กิจกรรมการเรยี น................................................................................................... 7
การประเมินผลหลงั เรียน........................................................................................ 7
กิจกรรมเสรมิ ทักษะ............................................................................................... 7
แบบทดสอบวัดความรูค วามเขาใจในภาคทฤษฎี กอนเรยี น.................................................... 8
บทท่ี 1 ประวตั ปิ พาทยม อญ และเคร่ืองดนตรีในวงปพาทยมอญ………………….……….....……. 14
ประวัติความเปนมาของปพ าทยม อญในประเทศไทย………………………….…..….…… 14
เครื่องดนตรีในวงปพ าทยมอญ............................................................................... 15
การประสมวงปพาทยมอญ..................................................................................... 21
แบบทดสอบระหวางเรียน...................................................................................... 27
บทท่ี 2 เอกลักษณฆ องมอญวงใหญ....................................................................................... 29
หลมุ ....................................................................................................................... 29
คเู สียง……………….………………………………………………………..……………………………. 30
คถู า ง…………………………………………………………………………………..……………………. 34
แบบทดสอบระหวางเรียน...................................................................................... 37
บทท่ี 3 ความรพู ้ืนฐานเก่ยี วกับฆองมอญวงใหญ........................………………..………………...... 39
ประวตั ขิ องฆองมอญวงใหญ................................................................................... 39
สว นประกอบของฆอ งมอญวงใหญ......................................................................... 40
การสํารวจความพรอมและปรับเครื่องดนตรีกอนการบรรเลง................................ 42
ทา น่งั ...................................................................................................................... 43
วิธีการจับไม. ........................................................................................................... 43



เรื่อง หนา
ลกั ษณะวธิ ีการตีฆองมอญวงใหญ........................................................................... 44
การเก็บรักษาฆองมอญวงใหญและไมต ีฆองมอญวงใหญ........................................ 45
การดูแลรักษาฆองมอญวงใหญภายหลงั การบรรเลง.............................................. 45
แบบทดสอบระหวางเรยี น...................................................................................... 47

บทท่ี 4 แบบฝก ทักษะการบรรเลงฆอ งมอญวงใหญ. .............................................................. 49
แบบฝกทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญ............................................................ 49
กิจกรรมการเรยี นการสอน..................................................................................... 57
แบบทดสอบระหวางเรียน...................................................................................... 69

บทที่ 5 เพลงประจําวดั - เพลงประจาํ บาน........................................................................... 72
เพลงประจําวดั ................................................................................................................ 72
ประวตั ิเพลงประจําวัด............................................................................................ 72
ศัพทสงั คีต.............................................................................................................. 72
หนา ทบั เพลงประจาํ วดั ........................................................................................... 74
ทํานองหลกั เพลงประจําวัด.................................................................................... 75
เพลงประจาํ บาน............................................................................................................. 90
ประวัติเพลงประจาํ บาน......................................................................................... 90
ศัพทสังคีต.............................................................................................................. 90
หนาทับเพลงประจําบา น........................................................................................ 90
ทาํ นองหลกั เพลงประจาํ บาน.................................................................................. 91
กจิ กรรมการเรยี นการสอน..................................................................................... 104
แบบทดสอบระหวางเรียน...................................................................................... 158

แบบทดสอบวัดความรคู วามเขา ใจในภาคทฤษฎี หลงั เรยี น.................................................... 165
แบบประเมนิ ผลการเรยี น และการสังเกตพฤตกิ รรมการเรยี น................................................ 171
เกณฑการประเมนิ และการใชแบบประเมินผล....................................................................... 186
แบบประเมินความพึงพอใจของนกั เรียนท่มี ตี อการเรยี นโดยใชเ อกสารประกอบการเรยี น 196

การสอน เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ.............................................................................

บรรณานุกรม.......................................................................................................................... 198

ภาคผนวก............................................................................................................................... 199
ภาคผนวก ก กระดาษคําตอบ และเฉลยแบบทดสอบภาคทฤษฎี กอนเรยี น 200
ระหวางเรียน และหลงั เรียน............................................................



เรื่อง หนา
ภาคผนวก ข โนตสากลแบบฝกทกั ษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญ...................... 207
ภาคผนวก ค โนต สากลเพลงประจาํ วัด................................................................. 211
ภาคผนวก ง โนตสากลเพลงประจาํ บา น............................................................... 219

ประวัตผิ ูจัดทํา......................................................................................................................... 226

1

วัตถุประสงคการใช
เอกสารประกอบการเรียนการสอน

เอกสารประกอบการเรยี นการสอน เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ รายวิชา ปพาทย 4 ชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 5
กลุมสาระการเรียนรวู ิชาชีพปพ าทย ฉบบั นจี้ ัดทาํ ขึน้ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อพัฒนาความรูความสามารถและทักษะ
การบรรเลงฆองมอญวงใหญ ในรายวิชาปฏิบัติเอกปพาทย กลุมสาระการเรียนรูวิชาชีพปพาทย ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปท่ี 5 ซึ่งตรงตามหลักสูตรพื้นฐานวิชาชีพวิทยาลัยนาฏศิลป พุทธศักราช 2551 ระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย ของวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อนักเรียน
ไดศ กึ ษาเรยี นรูและปฏิบัติฆองมอญวงใหญ จากเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ
จบแลวนกั เรยี นมคี วามรู และทกั ษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญ ดงั น้ี

1. มีความรูค วามเขา ใจในภาคทฤษฎี เร่ือง การบรรเลงเพลงมอญ
2. มที ักษะการบรรเลงฆอ งมอญวงใหญ
3. รคู ุณคาและมีเจตคตทิ ่ดี ีตอการใชเ อกสารประกอบการเรยี นการสอน

เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ
4. นําประสบการณทางดานความรูและทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญที่ไดจากเอกสาร
ประกอบการเรียนการสอน เร่ือง การบรรเลงเพลงมอญ ไปใชในการศึกษา และบรรเลงฆองมอญวงใหญไดอยางมี
คณุ ภาพ และมปี ระสทิ ธภิ าพ

2

จุดประสงคการเรียนรู

เมื่อนักเรียนไดศึกษาเรียนรู และปฏิบัติฆองมอญวงใหญ จากเอกสารประกอบการเรียนการสอน เร่ือง
การบรรเลงเพลงมอญ รายวิชา ปพ าทย 4 ชนั้ มัธยมศึกษาปท่ี 5 กลุมสาระการเรยี นรวู ชิ าชพี ปพ าทย จบแลว
นักเรียนมีความสามารถดงั นี้

จดุ ประสงคก ารเรียนรูด านความรคู วามเขาใจภาคทฤษฎี เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ

1. อธบิ ายเกยี่ วกบั ประวตั ปิ พาทยมอญและเครือ่ งดนตรีในวงปพาทยมอญไดถูกตอง
2. อธบิ ายเกยี่ วกบั เอกลักษณของฆองมอญวงใหญไดถูกตอ ง
3. อธบิ ายเกีย่ วกับความรพู ื้นฐานเก่ียวกบั ฆองมอญวงใหญไดถ ูกตอง
4. อธบิ ายวิธกี ารปฏิบัติแบบฝก ทกั ษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญไ ดถูกตอง
5. อธิบายประวัติเพลงประจําวัดไดถ กู ตอง
6. อธบิ ายความหมายของศพั ทสงั คีต คาํ วา จังหวะ กรอ และหนา ทบั ไดถ ูกตอง
7. อธบิ ายเกยี่ วกบั หนาทบั เพลงประจาํ วัดไดถ ูกตอง
8. อธิบายประวตั เิ พลงประจําบา นไดถ กู ตอง
9. อธบิ ายความหมายของศพั ทสังคีต คาํ วา สะบัด ประคบ และคู ไดถูกตอ ง
10. อธิบายเกย่ี วกับหนาทบั เพลงประจาํ บานไดถ กู ตอ ง

จุดประสงคการเรียนรูดานทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญ

1. ปฏบิ ัตแิ บบฝก ทกั ษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญไดถ ูกตอ ง
2. บรรเลงฆอ งมอญวงใหญเ พลงประจําวัดไดถ ูกตอ ง
3. บรรเลงฆองมอญวงใหญเ พลงประจําบานไดถูกตอง

จดุ ประสงคก ารเรยี นรดู า นคุณลักษณะ

1. ความขยนั หมัน่ เพยี ร
2. ความรบั ผิดชอบ
3. การตรงตอ เวลา
4. ความซ่ือสตั ยส จุ ริต
5. มีจิตสาธารณะ

3

คําแนะนําการใชส ําหรบั ครูผสู อน

การใชเ อกสารประกอบการเรยี นการสอน เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ รายวชิ า ปพาทย 4
ช้นั มัธยมศกึ ษาปท ี่ 5 กลุม สาระการเรยี นวิชาชีพปพ าทย ครผู ูส อนตองปฏบิ ัตดิ ังนี้

1. ศึกษาวัตถุประสงคการใชเอกสารประกอบการเรียนการสอน จุดประสงคการเรียนรู และ
คําแนะนําการใชเ อกสารประกอบการเรียนการสอนใหเ ขา ใจอยา งชดั เจน

2. ครูผูสอนจะตองอธิบาย และแนะนาํ วธิ กี ารใชเ อกสารประกอบการเรียนการสอนใหนักเรียน
เขาใจกอนเร่มิ เรียน

3. ครูผสู อนแจกเอกสารประกอบการเรยี นการสอนใหนกั เรยี นเพ่ือทํากจิ กรรมและจะตองคอย
แนะนําเมื่อนักเรียนสงสัยเก่ยี วกับการใชเอกสาร

4. ครูใหนกั เรยี นทาํ แบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในภาคทฤษฎี กอนเรียน เพื่อวัดความรู
พ้นื ฐานกอ นเรียน จาํ นวน 30 ขอ

5. ครูเฉลยคําตอบแบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในภาคทฤษฎี กอนเรียน จากเฉลยใน
ภาคผนวก เพ่อื ทราบความรพู ้ืนฐานกอ นเรียน

6. ครูใหนักเรียนเริ่มทํากิจกรรมการเรียน ซึ่งในเอกสารประกอบการเรียนการสอนมีเนื้อหา
สาระจํานวน 5 บท ควรศึกษาเรียนรเู น้อื หาสาระใหเ ขา ใจ และฝก ปฏบิ ัตเิ รียงตามเรือ่ งทีก่ าํ หนดให

7. ครูผูส อนจะตองสงั เกตอยางใกลชิดขณะนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียน เพื่อประเมินผล
การใชเ อกสารประกอบการเรยี นการสอน

8. เมอ่ื หมดเวลาครูผสู อนมอบหมายใหนกั เรียนเก็บอุปกรณท ุกอยางใหเรียบรอย
9. หลังจากเรียนบทท่ี 5 เสร็จแลว ครูแจกแบบสอบถามความพึงพอใจท่ีมีตอการใชเอกสาร
ประกอบการเรยี นการสอนใหน ักเรียนทาํ
10. ครูใหน กั เรยี นทําแบบทดสอบวัดความรูความเขา ใจในภาคทฤษฎี หลังเรยี น จํานวน 30 ขอ
11. ตรวจคําตอบแบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในภาคทฤษฎี หลังเรียน จากเฉลยใน
ภาคผนวก เพือ่ ทราบผลการเรยี นหลังเรยี น
12. สรุปผลคะแนนที่ไดจากการทดสอบกอนเรียน และหลังเรียน เพื่อใหทราบถึงพัฒนาการ
ของนกั เรียน

4

คําแนะนําการใชส าํ หรบั นกั เรียน

การใชเ อกสารประกอบการเรียนการสอน เรอ่ื ง การบรรเลงเพลงมอญ รายวิชา ปพาทย 4
ชัน้ มัธยมศึกษาปที่ 5 กลมุ สาระการเรียนรูวชิ าชพี ปพ าทย นักเรียนตอ งปฏบิ ตั ิดังนี้

1. ศึกษาวัตถุประสงคการใชเอกสารประกอบการเรียนการสอน จุดประสงคการเรียนรู และ
คาํ แนะนําการใชเ อกสารประกอบการเรียนการสอนใหเ ขาใจอยา งชดั เจน

2. ฟง คาํ แนะนําวธิ ีการใชเ อกสารประกอบการเรยี นการสอนจากครผู ูสอนใหเขาใจกอนเร่ิมเรียน
3. นักเรียนทําแบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในภาคทฤษฎี กอนเรียน เพื่อวัดความรู
พ้ืนฐานกอนเรียน จํานวน 30 ขอ
4. ตรวจคําตอบแบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในภาคทฤษฎี กอนเรียน จากเฉลยใน
ภาคผนวก เพอ่ื นกั เรยี นจะไดท ราบความรูพื้นฐานกอ นเรยี น
5. นักเรียนเริ่มทํากิจกรรมการเรียน ซึ่งในเอกสารประกอบการเรียนการสอนมีเน้ือหาสาระ
จํานวน 5 บท ควรศกึ ษาเรยี นรูเนือ้ หาสาระใหเ ขาใจ และฝกปฏบิ ัตเิ รียงตามเรื่องท่กี าํ หนดให
6. ฝก ปฏบิ ตั ิซํ้ากนั หลายๆคร้ังในแตละกจิ กรรม
7. เมื่อหมดเวลานกั เรียนเก็บอุปกรณในการทํากิจกรรมทุกอยางใหเรียบรอย
8. หลังจากเรียนจบบทที่ 5 แลว นักเรียนตองตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีตอการใช
เอกสารประกอบการเรยี นการสอน
9. นกั เรยี นทําแบบทดสอบวดั ความรูความเขา ใจในภาคทฤษฎี หลังเรยี น จํานวน 30 ขอ
10. ตรวจคําตอบแบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในภาคทฤษฎี หลังเรียน จากเฉลยใน
ภาคผนวก เพอื่ ทราบผลการเรียนหลงั เรียน
11. สรุปผลคะแนนที่ไดจากการทดสอบกอนเรียน และหลังเรียน เพ่ือใหทราบถึงพัฒนาการ
ของนักเรยี น

5

เอกสารประกอบการเรยี นการสอน เรอ่ื ง การบรรเลงเพลงมอญ
รายวิชา ปพาทย 4 ชน้ั มธั ยมศึกษาปที่ 5 กลุมสาระการเรยี นรวู ชิ าชพี ปพาทย

หลักการและเหตผุ ล

ปพ าทยมอญเปนศลิ ปะแขนงหนึ่งที่ชนชาตมิ อญนาํ เขา มาเผยแพรใ นประเทศไทยตั้งแตคร้ังสมัยกรุงศรีอยุธยา
แตไ มปรากฏรปู แบบของวงที่ชดั เจน วงปพ าทยมอญเรม่ิ ปรากฏใหเห็นเปนลักษณะวงชัดเจนเม่ือ นายสี เปนนักดนตรี
ปพ าทยมอญทอี่ พยพเขามาอยูใ นจังหวดั ปทุมธานี ไดนําเอาฆองมอญมาบรรเลงประกอบการรําผีในหมูชุมชนมอญ
จังหวัดปทุมธานี และไดสืบทอดการการบรรเลงเพลงมอญใหกับลูกหลานในตระกูลแตไมไดมีการเผยแพรใหกับ
ผูอ่ืน จนเมื่อนายสีเสียชีวิตนายเจิ้นผูเปนบุตรจึงไดสืบสานการบรรเลงตอมา โดยไดจัดต้ังวงปพาทยมอญข้ึนใน
จังหวดั ปทมุ ธานี ในระยะแรกวงปพาทยม อญประกอบดว ย ฆองมอญ ปมอญ ตะโพนมอญ เปงมาง และฉาบใหญ

ฆองมอญวงใหญ มีเอกลักษณเฉพาะในตัวเองหลายอยาง ทั้งรูปลักษณ รูปแบบการวางที่วางในแนวตั้ง
ไมเหมือนกับฆองไทยที่วางในแนวนอนราบกับพ้ืน อีกท้ังการเรียงเสียงของลูกฆองที่มีการเวนเสียง 2 เสียงท่ีเรียกวา
หลมุ รวมถึงวิธีการตหี รือมอื ฆอ งท่มี ีเอกลักษณเ ฉพาะแตกตา งไปจากฆองไทยอีกเปนจาํ นวนมาก

ผูที่จะเร่ิมฝกหัดฆองมอญวงใหญ จําเปนที่จะตองเรียนรูและฝกหัดตามลําดับขั้นตอนเหมือนกับ
เครื่องดนตรีไทยประเภทอื่นๆ โดยเริ่มตั้งแตความรูขั้นพ้ืนฐานท่ีเปนความรูดานทฤษฎี จนไปถึงดานทักษะ
ที่จะตองใชแบบฝกทักษะต้ังแตเร่ิมตน จนเกิดความคลองแคลวกอนแลวจึงเร่ิมตอเพลงประจําวัด และประจําบาน
ซ่ึงเปน เพลงทน่ี ิยมตอ เปน เพลงแรกๆ และเหมาะสมสําหรับนํามาปฏิบตั เิ ปนขั้นพืน้ ฐานของฆองมอญวงใหญ

จากหลักการและเหตุผลดังกลาว จะเห็นไดวาการเรียนฆองมอญวงใหญทั้งดานทฤษฎี และปฏิบัติ มีขอมูล
และรายละเอยี ดมากมาย โดยถานําเน้ือหาสาระเก่ียวกับความรูพ้ืนฐาน และการฝกหัดฆองมอญวงใหญมาสราง
และพัฒนาเปนเอกสารประกอบการเรียนการสอน เร่ือง การบรรเลงเพลงมอญ ซึ่งเปนนวัตกรรมดานการเรียน
การสอน จะสามารถทําใหนักเรียนที่ศึกษาและฝกตีฆองมอญวงใหญโดยใชเอกสารประกอบการเรียนการสอน
เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ มีความรูและทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญมากย่ิงข้ึน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนสงู ข้นึ ซ่ึงนับไดว าการใชเ อกสารประกอบการเรียนการสอนเปนเครือ่ งมอื ทีค่ นหาวิธีการ รวมถึงกระบวนการ
จดั การเรยี นการสอนดนตรีไทยใหเปน ระบบมากยิ่งข้นึ และเปนการอนุรักษศ ิลปวัฒนธรรมใหเปนแบบแผนในการศึกษา
ที่ถูกตอ ง และไมใ หส ญู หายไป

6

จดุ มงุ หมาย

เพ่อื ใหน ักเรียนสามารถ

ดา นความรู (K)
1. อธิบายเกีย่ วกับประวัติปพ าทยม อญและเครื่องดนตรีในวงปพาทยมอญไดถ ูกตอง
2. อธบิ ายเก่ยี วกับเอกลักษณของฆอ งมอญวงใหญไ ดถ ูกตอง
3. อธบิ ายเกยี่ วกบั ความรูพ้นื ฐานเกย่ี วกบั ฆองมอญวงใหญไดถ ูกตอง
4. อธิบายวธิ กี ารปฏบิ ัติแบบฝกทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญไ ดถูกตอง
5. อธิบายประวัติเพลงประจําวัดไดถูกตอง
6. อธบิ ายความหมายของศัพทส ังคตี คาํ วา จงั หวะ กรอ และหนา ทบั ไดถูกตอง
7. อธบิ ายเก่ยี วกบั หนา ทับเพลงประจําวัดไดถูกตอง
8. อธิบายประวัตเิ พลงประจาํ บานไดถูกตอง
9. อธบิ ายความหมายของศัพทสังคีต คาํ วา สะบัด ประคบ และคู ไดถกู ตอง
10. อธบิ ายเกี่ยวกับหนาทับเพลงประจําบา นไดถกู ตอ ง

ดานทกั ษะ (P)
1. ปฏบิ ตั ิแบบฝกทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญไดถกู ตอง
2. บรรเลงฆองมอญวงใหญเ พลงประจําวดั ไดถูกตอ ง
3. บรรเลงฆองมอญวงใหญเพลงประจาํ บานไดถกู ตอง

ดานคณุ ลักษณะ (A)
1. ความขยันหม่ันเพยี ร
2. ความรับผิดชอบ
3. การตรงตอ เวลา
4. ความซ่อื สัตยส ุจริต
5. มจี ิตสาธารณะ

การประเมินผลกอ นเรยี น

ใชแบบทดสอบวดั ความรคู วามเขาใจในภาคทฤษฎกี อนเรยี น เรอ่ื ง การบรรเลงเพลงมอญ

7

กิจกรรมการเรยี น

ใหนกั เรียนทกุ คนทํากจิ กรรมดงั ตอไปนี้
1. ศกึ ษาและฝก ปฏิบัตฆิ องมอญวงใหญจ ากเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรอื่ ง

การบรรเลงเพลงมอญ บทท่ี 1 - บทท่ี 5
2. ดภู าพประกอบและวีดทิ ัศนประกอบคําบรรยาย ประกอบการเรยี นรู และฝก ปฏิบัติ

ฆองมอญวงใหญ ในเรอ่ื งแบบฝกทกั ษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญ ใหเกิดความคลองแคลว ทกุ แบบฝก
3. บรรเลงเพลงประจําวัดและประจําบาน

การประเมินผลหลงั เรยี น

ใชแบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในภาคทฤษฎีหลังเรียน เรื่อง การบรรเลงเพลงมอญ และแบบประเมิน
ทกั ษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญ ดวยวิธกี ารวดั และประเมินผล ดังนี้

1. แบบทดสอบวัดความรูความเขาใจในภาคทฤษฎี หลงั เรยี น เรือ่ ง การบรรเลงเพลงมอญ
โดยกาํ หนดเกณฑก ารประเมนิ ทีน่ ักเรยี นตองไดค ะแนนเฉล่ยี รอยละ 80 ขน้ึ ไป จึงจะผานเกณฑ

2. แบบประเมินทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญ เพื่อวัดความรู และทักษะการบรรเลง
ฆอ งมอญวงใหญใ นภาคปฏบิ ตั ิ โดยกําหนดเกณฑก ารประเมินทีน่ กั เรยี นตอ งไดคะแนนเฉล่ียรวม 3.20 ข้ึนไป
จึงจะผานเกณฑ

กจิ กรรมเสรมิ ทักษะ

สําหรับนักเรยี นทไี่ มผานเกณฑท รี่ ะบุไว ใหนักเรียนศึกษา และฝกปฏิบัติฆองมอญวงใหญตามจุดประสงค
การเรียนรูท ี่ไมผ า นเกณฑ และทํากิจกรรมตามที่ระบไุ วห ลายๆคร้ัง โดยใหปรึกษาครูผูสอนเพ่ิมเติมในสวนท่ีนักเรียน
ไมเ ขาใจ เพ่ือใหนักเรียนมีความรูและมีทักษะการบรรเลงฆองมอญวงใหญตามจุดมุงหมาย และจุดประสงคการเรียนรู
ที่กําหนดไว โดยนักเรียนจะตองปฏิบัติตนเองมากกวาเพ่ือนคนอื่นๆ คือ ใชเวลาในการเรียนใหมากกวาปกติ
ใหเพอ่ื นในหอ งชว ยใหค ําแนะนํา และใหครูผูสอนอธิบายใหความรูเพ่ิมเติมกับนักเรียนในสวนที่นักเรียนไมเขาใจ
หรอื เขาใจผดิ

8

แบบทดสอบวดั ความรคู วามเขาใจในภาคทฤษฎี กอ นเรียน
เรือ่ ง การบรรเลงเพลงมอญ รายวิชา ปพาทย 4 ช้นั มัธยมศึกษาปท่ี 5

กลุมสาระการเรยี นรูวชิ าชพี ปพาทย

คําช้แี จง 1. แบบทดสอบฉบบั นี้มที ง้ั หมด 30 ขอ

2. ขอสอบแตล ะขอมีคาํ ตอบใหเ ลอื ก 4 คําตอบ
3. ใหนักเรียนทําเคร่ืองหมายกากบาท (X) ลงในชอ ง ก ข ค หรอื ง ท่ีถกู ตอง ที่สดุ เพยี ง

คําตอบเดียวลงในกระดาษคําตอบ

1. ปพ าทยมอญเขามาเผยแพรใ นประเทศไทยต้ังแตสมยั ใด
ก. สมยั กรุงสโุ ขทยั
ข. สมยั กรุงศรอี ยธุ ยา
ค. สมัยกรงุ ธนบรุ ี
ง. สมยั กรุงรตั นโกสินทร

2. วงปพ าทยมอญในระยะแรกประกอบดวยเครื่องดนตรีชิน้ ใดบา ง
ก. ระนาดเอก ปม อญ ตะโพนมอญ เปง มาง ฉาบใหญ
ข. ระนาดเอก ฆอ งมอญ ปม อญ ตะโพนมอญ ฉาบใหญ
ค. ฆอ งมอญ ปมอญ ตะโพนมอญ เปง มาง ฉาบใหญ
ง. ฆอ งมอญ ปมอญ ตะโพนมอญ ฉงิ่ ฉาบใหญ

3. ใครเปนผนู าํ เอาฆองมอญมาบรรเลงประกอบการรําผีในชมุ ชนมอญจังหวดั ปทุมธานี
ก. นายสี (ไมทราบนามสกุล)
ข. นายเจนิ้ ดนตรเี สนาะ
ค. นายสมุ ดนตรีเจริญ
ง. หลวงประดษิ ฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

4. รา นฆองมอญแบบโบราณ ทางหัวโคงดานซา ยมือของผูบรรเลงนยิ มแกะสลกั เปนรูปอะไร
ก. หงส
ข. ครุฑ
ค. กินนร
ง. พระ

9

5. หัวโคง ของรานฆองมอญดานซายมือของผูบ รรเลงมีชื่อเรยี กวาอะไร
ก. หนาพระ
ข. หางหงส
ค. หางแมงปอ ง
ง. หางกินนร

6. ลูกฆอ งมอญวงใหญมีทัง้ หมดกล่ี ูก
ก. 14 ลกู
ข. 15 ลกู
ค. 16 ลกู
ง. 17 ลูก

7. ขอ ใดไมใ ชการประสมวงปพาทยม อญ
ก. วงปพาทยม อญเคร่ืองหา
ข. วงปพ าทยมอญเครื่องหก
ค. วงปพาทยม อญเคร่ืองคู
ง. วงปพ าทยม อญเคร่ืองใหญ

8. ขอ ใดไมใชเ คร่ืองดนตรีในวงปพ าทยม อญเคร่ืองหา
ก. ระนาดเอก
ข. ระนาดทุม
ค. ตะโพนมอญ
ง. เปง มางคอก

9. วงปพ าทยมอญเคร่ืองคู มีเคร่อื งดนตรีช้นิ ใดบา งท่เี พม่ิ ขึ้นมาจากวงปพาทยมอญเครอื่ งหา
ก. ฆอ งมอญวงเลก็ และระนาดทุม
ข. ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุม เหล็ก
ค. เปง มาง และโหมง
ง. ระนาดทุม และเปง มาง

10. การประสมวงปพาทยมอญเครื่องคเู กดิ ข้นึ ในสมยั ใด
ก. รชั กาลท่ี 2
ข. รชั กาลท่ี 3
ค. รัชกาลท่ี 4
ง. รัชกาลที่ 5

10

11. ขอใดไมใ ชพธิ กี รรมของชาวมอญ
ก. พธิ ีรําบายศรี
ข. พิธรี าํ เจา
ค. พธิ รี ําสามถาด
ง. พธิ รี ําผี

12. ลกู ฆองมอญวงใหญมีการขา มเสยี งระหวางลูกท่ีเทาใดบา ง
ก. ระหวางลูกท่ี 1 กับลกู ที่ 2 และลูกที่ 4 กับลูกท่ี 5
ข. ระหวางลกู ท่ี 2 กบั ลกู ท่ี 3 และลกู ท่ี 5 กับลูกท่ี 6
ค. ระหวา งลูกท่ี 3 กบั ลกู ท่ี 4 และลกู ท่ี 6 กับลูกที่ 7
ง. ระหวา งลูกท่ี 4 กบั ลูกท่ี 5 และลูกที่ 7 กบั ลูกที่ 8

13. คเู สียงเดียวกนั (คแู ปด) ของฆองมอญวงใหญมีทั้งหมดกีค่ ู
ก. 4 คู
ข. 6 คู
ค. 8 คู
ง. 10 คู

14. คูเสียงตา งเสยี ง (คหู ก) ของฆองมอญวงใหญมที งั้ หมดก่ีคู
ก. 10 คู
ข. 11 คู
ค. 12 คู
ง. 13 คู

15. คูถางเสยี งเดียวกนั (คู 15) ของฆองมอญวงใหญมที ั้งหมดก่คี ู
ก. 1 คู
ข. 2 คู
ค. 3 คู
ง. 4 คู

16. คถู า งตา งเสียง (คู 10) ของฆองมอญวงใหญมีท้ังหมดก่ีคู
ก. 2 คู
ข. 4 คู
ค. 6 คู
ง. 8 คู

11

17. จากกระแสคาํ บอกเลา บุคคลทานใดทีไ่ มไดเปนผแู บกหามฆองมอญวงแรกเขามาในประเทศไทย
ก. นายสี (ไมทราบนามสกุล)
ข. นายเจิน้ ดนตรีเสนาะ
ค. นายสุม ดนตรเี จรญิ
ง. หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

18. “ฆองมอญ” ภาษามอญเรยี กวาอะไร
ก. ปา ตกาง
ข. ปาตกะลา
ค. ปา ตนาม
ง. ปา ตจยา

19. เสยี งของฆองมอญวงใหญลกู แรก (ลูกทงั่ ) ทางซา ยมอื ของผูต ี ตรงกับโนตเสียงใด
ก. โด
ข. เร
ค. มี
ง. ซอล

20. เสียงของฆองมอญวงใหญล กู สดุ ทาย (ลูกยอด) ทางขวามือของผูตี ตรงกบั โนตเสยี งใด
ก. เร
ข. มี
ค. ซอล
ง. ที

21. ขอ ใดไมใ ชส วนประกอบของฆองมอญ
ก. หูระวงิ
ข. โขนฆอ ง
ค. ลูกมะหวด
ง. เทาฆอง

22. เสียง ซฺ หรอื ซอลตา่ํ หมายถงึ ขอใด
ก. เสยี งของลูกฆอ งมอญลกู ที่ 1 นับจากซา ยมือของผบู รรเลง
ข. เสียงของลกู ฆอ งมอญลกู ที่ 2 นบั จากซา ยมือของผูบรรเลง
ค. เสียงของลกู ฆองมอญลูกท่ี 3 นบั จากซา ยมือของผบู รรเลง
ง. เสียงของลูกฆองมอญลูกที่ 4 นับจากซายมือของผบู รรเลง

12

23. เสยี ง ดํ หรอื โดสงู หมายถงึ ขอใด
ก. เสยี งของลกู ฆอ งมอญลูกท่ี 7 นับจากซา ยมือของผูบรรเลง
ข. เสียงของลกู ฆองมอญลกู ที่ 8 นับจากซา ยมือของผบู รรเลง
ค. เสียงของลกู ฆองมอญลกู ที่ 9 นบั จากซายมือของผูบรรเลง
ง. เสยี งของลูกฆองมอญลูกท่ี 10 นบั จากซายมือของผูบรรเลง

24. ขอ ใดคอื ความหมายของเพลงประจาํ วัด
ก. ความเจรญิ รงุ เรืองในวดั
ข. บรรเลงเพอื่ เปนการประโคมท่วี ดั
ค. การใหค วามเคารพส่งิ ศักดิ์สทิ ธ์ภิ ายในวดั
ง. การเชิญสง่ิ ศักดส์ิ ทิ ธิ์ที่เปนมิ่งขวัญในวดั

25. เพลงประจาํ วดั ใชเ คร่ืองดนตรีชิ้นใดบรรเลงข้ึนนาํ เปนชน้ิ แรก
ก. ฆองมอญวงใหญ
ข. ตะโพนมอญ
ค. โหมง
ง. ระนาดเอก

26. เพลงประจําวดั ใชเ คร่ืองดนตรีช้นิ ใดบา งบรรเลงกาํ กบั จังหวะหนา ทบั
ก. ตะโพนมอญ และเปงมางคอก
ข. ตะโพน และกลองสองหนา
ค. ตะโพน และกลองทัด
ง. กลองแขก

27. เพลงประจาํ บาน ชาวมอญใชบ รรเลงในงานอะไร
ก. งานศพ
ข. งานบวช
ค. งานทาํ บญุ บาน
ง. ถกู ทกุ ขอ

28. ขอ ใดคอื ความหมายของเพลงประจําบาน
ก. การเชญิ ส่ิงศักดิ์สทิ ธท์ิ เ่ี ปนมง่ิ ขวญั
ข. ความเจริญรุงเรือง
ค. การใหค วามเคารพสิง่ ศักด์ิสทิ ธ์ิ
ง. บรรเลงเพ่อื เปน การประโคมทบ่ี า น

13

29. เพลงประจาํ บา นจัดอยใู นเพลงประเภทใด
ก. เพลงพิธีกรรม
ข. เพลงเรื่อง
ค. เพลงโหมโรง
ง. เพลงประกอบการแสดง

30. เนอื้ ของหนาทับท่ีใชต กี าํ กบั ทํานองเพลงประจาํ บา นมีกป่ี ระโยค
ก. 2 ประโยค
ข. 4 ประโยค
ค. 6 ประโยค
ง. 8 ประโยค

14

บทท่ี 1

ประวัติปพาทยมอญ และเครอ่ื งดนตรีในวงปพาทยม อญ

การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีของชาติใดชาติหน่ึง สิ่งสําคัญอยางหนึ่งท่ีควรศึกษาคือประวัติความเปนมา
ของเครื่องดนตรี และวงดนตรีของชาตินั้นๆ ซ่ึงเปนสิ่งจําเปนท่ีจะชวยใหทราบและเขาใจถึงพัฒนาการของ
วัฒนธรรมดนตรีของชาติน้ันๆไดดีย่ิงขึ้น และจากหลักการและเหตุผลดังกลาวเช่ือมโยงมาสูหนวยการเรียนรูนี้
ซึ่งเปน การศึกษาเกยี่ วกับปพาทยม อญ ทําใหผ ูจ ัดทําไดเ ล็งเหน็ ถึงความสําคัญของประวัติความเปน มาของปพาทยมอญ
เครือ่ งดนตรใี นวงปพาทยม อญ และการประสมวงปพาทยมอญ จงึ ไดเ กบ็ รวบรวม เรียบเรียง เน้ือหา และขอมูล
เก่ียวกับปพ าทยม อญไดด งั น้ี

1. ประวตั ิความเปนมาของปพ าทยม อญในประเทศไทย

ปพ าทยมอญเปน ศิลปะแขนงหนึง่ ท่ชี นชาตมิ อญนําเขา มาเผยแพรใ นประเทศไทยตั้งแตครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
แตไ มป รากฏรปู แบบของวงที่ชัดเจน วงปพาทยมอญเร่ิมปรากฏใหเห็นเปนลักษณะวงชัดเจนเมื่อ นายสี เปนนักดนตรี
ปพ าทยมอญทอี่ พยพเขา มาอยูในจงั หวดั ปทุมธานี ไดนําเอาฆองมอญมาบรรเลงประกอบการรําผีในหมูชุมชนมอญ
จังหวดั ปทมุ ธานี และไดสืบทอดการบรรเลงเพลงมอญใหกับลูกหลานในตระกูลแตไมไดมีการเผยแพรใหกับผูอ่ืน
จนเม่อื นายสีเสียชวี ิตนายเจ้ินผูเปนบุตรจึงไดสืบสานการบรรเลงตอมา โดยไดจัดตั้งวงปพาทยมอญขึ้นในจังหวัด
ปทมุ ธานี ในระยะแรกวงปพ าทยมอญประกอบดว ย ฆองมอญ ปมอญ ตะโพนมอญ เปงมาง และฉาบใหญ

วงปพ าทยม อญระยะแรก
ทม่ี า : วสิ ทุ ธ์ิ จุยมา

15

ตอมาปพ าทยม อญไดมีการเผยแพรไ ปสูนักดนตรีในชุมชนอ่ืนๆ จากการที่นายเจิ้นไดไปเปนทหารเรือและ
ไดรับพระราชทานเปนทหารมหาดเล็กประจําพระองคของสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาบริพัตรสุขุมพันธ
กรมพระนครสวรรค วรพินิจ อยูในวังบางขุนพรหม และเมื่อมีการบรรเลงประชันวงปพาทยมอญในวังบางขุนพรหม
นายเจ้ินไดมีโอกาสแสดงฝมือการบรรเลงปพาทยมอญให สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาบริพัตรสุขุมพันธ
กรมพระนครสวรรค วรพินิจ ไดทอดพระเนตร หลังจากน้ันปพาทยมอญของนายเจิ้นจึงไดมีการเผยแพรเปนท่ีรูจัก
ของนกั ดนตรีปพ าทยม อญและคนทัว่ ไป

นอกจากนายเจิ้นทเ่ี ปนผูเผยแพรวงปพาทยมอญใหกับสายวังบางขุนพรหมแลว ครูสุมผูมีความสามารถ
ในการบรรเลงปพาทยมอญอีกทานหนึ่งซึ่งเปนนักดนตรีวงเดียวกับนายเจิ้นเม่ือครั้งที่ไปอยูกับหลวงประดิษฐ
ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ไดมีการแลกเปล่ียนวัฒนธรรมการบรรเลงกับหลวงประดิษฐไพเราะจนเปนท่ีรูจักกัน
ทั่วไปในกรุงเทพฯและปริมณฑลทําใหปพาทยมอญเร่ิมมีบทบาท และเขามามีบทบาทในวัฒนธรรมของไทย
โดยเฉพาะวัฒนธรรมงานศพที่วงปพาทยมอญเขาไปเปนสวนหน่ึงในงานศพมาจนถึงปจจุบัน (สายสุนีย หะหวัง,
2555, หนา 286 - 287)

2. เครื่องดนตรีในวงปพ าทยมอญ

เคร่ืองดนตรีในวงปพ าทยม อญสวนใหญเหมอื นกับเคร่ืองดนตรใี นวงปพาทยข องไทย จะมีเพียงบางชิ้นท่ี
มคี วามแตกตา ง และมคี วามเปนเอกลักษณข องปพาทยม อญ วงปพ าทยม อญประกอบดว ยเคร่อื งดนตรี ดังนี้

2.1 ฆองมอญ
ฆองมอญ เปนฆองวงท่ีตั้งโคงข้ึนไปท้ัง 2 ขาง ไมวางวงราบไปกับพ้ืนเหมือนฆองวงของไทย

รานฆองมอญมักประดิษฐตกแตงอยางสวยงาม เชน แกะสลักเปนลวดลายปดทองประดับกระจก รานฆองมอญ
โบราณทางหัวโคงดานซายมือของผูตีนิยมแกะสลักเปนรูปตัวกินนร เรียกวา “หนาพระ” ทางปลายโคงดานขวา
ของผูตีแกะสลักเปนรูปปลายหางของกินนร เรียกวา “หางหงส” ตรงกลางโคงแกะสลักเปนลายกนกปดทอง
ประดบั กระจก มีเทา (ฐาน) รองตรงกลางโคงเหมือนเทาระนาดเอกและแกะสลักเปนรูปกินนรตัวเล็ก หนาอัดไว
ตรงขาขวาของกินนรตวั ใหญท างซายมือรูปหน่ึง กบั ทางขวามอื อีกรูปหน่งึ ปจจุบันแบบอยางไดเปล่ียนแปลงไปบา ง

ลูกฆองมอญหลอ ดวยทองเหลอื งเปนทรงกระบอกรูปฉัตร มีปุมอยูกลางคลายกับลูกฆองของไทย
ฆอ งมอญมลี กู ฆอง 15 ลูก เจาะรลู ูกฆอ งทางขอบฉัตรลูกละ 4 รู ใชเชือกหนังรอยผูกกับรานฆองใหปุมลูกฆองอยู
ดานนอก ผูกเรียงลําดับจากลูกตนไปหาลูกยอด (ลูกใหญไปหาลูกเล็ก) เรียงตามลําดับเสียงจากเสียงต่ํา (ซายมือ
ของผูบรรเลง) ไปหาเสียงสูง (ขวามือของผูบรรเลง) การเรียงเสียงของฆองมอญวงใหญน้ันมีลักษณะเฉพาะ คือ
มีการเวนเสียงหรอื ขา มระหวา งเสียงสองเสียงท่เี รียกวา “หลุม” โดยหลุมปรากฏข้ึนในฆองมอญวงใหญจํานวน 2 หลุม
หลุมแรกอยูระหวางลูกฆองลูกท่ี 2 และลูกท่ี 3 และหลุมที่สองอยูระหวางลูกฆองลูกท่ี 5 และลูกท่ี 6 ไมตีฆองมอญ
ทําดวยไมเนื้อแข็ง ขนาดกวางประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ปลายไมตีพันดวยเชือก แลวใช

16

ผาหุมเชือกไวอีกชั้นหน่ึงยาวลงมาจากปลายไมประมาณ 12 - 15 เซนติเมตร เพื่อใหเสียงนุม (พิศาล บุญผูก,
2558, หนา 43)

ฆองมอญแตเ ดมิ มีเพียงฆองมอญวงใหญเทานั้น แตเม่ือไดมีการประดิษฐฆองวงของไทยข้ึนเปน
2 ขนาด คือ ฆองวงใหญและฆองวงเล็ก จึงไดมีผูคิดสรางวงฆองมอญข้ึนเปน 2 ขนาดเหมือนกัน คือ ฆองมอญ
วงใหญ และฆอ งมอญวงเลก็ (วีระ พนั ธุเสอื , 2558, หนา 64,92)

ฆอ งมอญวงใหญ
ทีม่ า : วสิ ุทธ์ิ จุยมา

ฆอ งมอญวงเล็ก
ท่มี า : วิสุทธ์ิ จยุ มา
2.2 ระนาดเอก
ระนาดเอก เปนเคร่ืองดนตรีประเภทตี สันนิษฐานวาแตเดิมคงนําไมท่ีทําอยางกรับหลายๆอัน
วางเรียงตีใหเกิดเสียงอยางหยาบๆข้ึนกอน แลวคิดทําไมรองเปนรางวางเรียงไป ตอมาจึงประดิษฐดัดแปลงใหมี
ความลดหลั่นกัน วางบนรางเพ่ือใหอุมเสียงได จากน้ันจึงใชเชือกรอยไมกรับขนาดตางๆนั้นใหติดกัน ขึงแขวนไว
บนราง ใชไ มต ีใหเ กดิ เสียงกงั วานไพเราะย่งิ ขึน้ ใหช อื่ วา “ระนาด”
ตอมามีผูคิดประดิษฐระนาดอีกชนิดหน่ึงใหมีเสียงทุม ฟงนุมไมแกรงกราวเหมือนอยางเกา
จึงเรยี กระนาดอยา งใหมนั้นวา “ระนาดทุม ” และเรียกระนาดอยา งเกา วา “ระนาดเอก”

17

ระนาดเอกถาตอ งการใหเสียงไพเราะนุมนวลมักนิยมทําดวยไมไผบง ถาตองการใหเสียงเกรียวกราว
มักนิยมทําดวยไมแกน เชน ไมมะคา ไมชิงชัน ลูกระนาดเอกมีจํานวน 21 ลูก ลูกทวน (อยูทางซายมือของผูตี)
ขนาดยาวประมาณ 39 เซนติเมตร กวา งประมาณ 5 เซนติเมตร หนา ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ลูกตอมาก็ลดหล่ัน
กันลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอด (อยูทางขวามือของผูตี) มีขนาดยาวประมาณ 29 เซนติเมตร ลูกระนาด
ทัง้ หมดรอยเชือกติดกันเปนผืนแขวนบนราง ซ่ึงทําดวยไมเนื้อแข็งมีรูปคลายลําเรือ ดานหัวและทายโคงข้ึนเพื่อให
อุมเสียงมีแผนไมปดหัวและทายรางระนาดเรียกวา “โขน” วัดจากโขนหัวรางขางหนึ่งถึงโขนอีกขางหน่ึงยาว
ประมาณ 120 เซนตเิ มตร มฐี านรปู ทรงสี่เหล่ยี มรองตรงสวนโคงตอนกลางเรียกวา “เทา”

ไมตีระนาดเอก ในสว นที่ใชม ือจบั เหลาเปนกานใหเล็ก สวนปลายที่ใชตีทําเปน 2 ชนิด ชนิดหน่ึง
พนั ดว ยผา ชบุ ยางรัก บรรเลงใหเสียงดังเกรยี วกราวใชก ับวงปพาทยไ มแ ขง็ ไมตีอีกชนิดหนึ่งคิดทํากันขึ้นในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทําดวยวัสดุซ่ึงนุมกวา โดยใชผาพันแลวถักดายสลับจนนุม บรรเลง
ใหเ สยี งนมุ นวล เมือ่ ผสมเขาวงเรียกวา “ปพ าทยไ มน วม”

ระนาดเอกเปนเครื่องดนตรีหลักในการนําไปประสมวง เชน วงปพาทยเคร่ืองหา วงปพาทย
เครอื่ งคู วงปพาทยดึกดําบรรพ วงปพาทยมอญ หรือแมในวงมโหรีไมวาจะเปนวงเครื่องเล็ก วงเคร่ืองคู หรือ
วงเครอื่ งใหญก็ใชร ะนาดเอกเปนหลกั ทัง้ สน้ิ (วีระ พันธเุ สือ, 2558, หนา 93 - 94)

ระนาดเอก
ท่มี า : วสิ ุทธ์ิ จยุ มา

2.3 ระนาดทุม
ระนาดทุม เปนระนาดชนิดหน่ึง สรางขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว

เลยี นแบบระนาดเอก ลูกระนาดทําดวยไมไผบง แตเหลาใหมีความกวางและยาวกวาลูกระนาดเอก ลูกระนาดทุม
มีจาํ นวน 17 ถึง 18 ลกู ลูกตนยาวประมาณ 42 เซนติเมตร กวางประมาณ 6 เซนติเมตร ลูกตอมาก็ลดหลั่นจนถึง
ลูกยอดมีความยาวประมาณ 34 เซนติเมตร กวางประมาณ 5 เซนติเมตร รางระนาดทุมมีรูปรางตางจาก
รางระนาดเอก คือ คลายหีบไมแตเวากลาง มีโขนปดทางดานหัวและดานทาย วัดจากปลายโขนดานหนึ่งไปยัง
อีกดานหน่ึง ยาวประมาณ 124 เซนติเมตร ปากรางกวางประมาณ 22 เซนติเมตร มีเทาเต้ียๆรอง 4 มุมราง หรือ
อาจติดลูกลอที่เทาทั้ง 4 ขางเพื่อใหเคลื่อนยายไดงาย ไมตีก็ประดิษฐแตกตางออกไปจากไมตีระนาดเอก
โดยสวนปลายไมพ ันดวยผา ใหโตและนุม เพือ่ ตีใหเกิดเสยี งทุมเปนคนละเสยี งกบั ระนาดเอก

18

ระนาดทมุ ใชบรรเลงในวงปพาทยท่ัวไป มีวิธีการบรรเลงที่เปนเอกลักษณแตกตางไปจากระนาดเอก
คือไมไดยึดการบรรเลงคู 8 เปนหลัก แตเปนการดําเนินทํานองท่ีลอขัดกับระนาดเอกทําใหเกิดความสนุกสนาน
นาฟง ยง่ิ ขนึ้ (วรี ะ พันธุเสือ, 2558, หนา 94 - 95)

ระนาดทุม
ทีม่ า : วิสทุ ธ์ิ จยุ มา

2.4 ระนาดเอกเหลก็
ระนาดเอกเหล็ก เปนระนาดชนิดหน่ึง สรางข้ึนภายหลังระนาดเอก แตลูกระนาดทําดวย

ทองเหลือง ระนาดเหล็กนี้สรางข้ึนตามแนวระนาดเอก จึงเรียกวา “ระนาดเอกเหล็ก” ใชบรรเลงผสมในวงปพาทย
เครือ่ งใหญ (วีระ พนั ธเุ สือ, 2558, หนา 95 - 96)

ระนาดเอกเหล็ก
ทมี่ า : วิสุทธิ์ จยุ มา

2.5 ระนาดทุมเหลก็
ระนาดทมุ เหลก็ เปน ระนาดชนิดหนึ่งท่ีพระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวมีพระราชดําริให

สรางขน้ึ ลกู ระนาดทําอยางเดียวกับระนาดเอกเหล็ก แตมีขนาดใหญกวาเพื่อใหเปนเสียงทุมเลียนอยางระนาดทุม
มีจํานวน 16 - 17 ลกู ลูกตนยาวประมาณ 35 เซนติเมตร กวางประมาณ 6 เซนติเมตร ลูกอื่นก็ลดหล่ันกันลงไป
ตามลาํ ดับจนถึงลูกยอดยาวประมาณ 29 เซนติเมตร กวางประมาณ 5.5 เซนติเมตร ตัวรางระนาดยาวประมาณ
1 เมตร ปากรางกวางประมาณ 20 เซนติเมตร มีชานยื่นออกไปท้ัง 2 ขางราง วัดความกวางรวมชานทั้ง 2 ขาง
ดวยประมาณ 36 เซนติเมตร มีเทารองรางเหมือนระนาดทุม 4 เทา ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบน (รวมทั้งเทา)
ประมาณ 26 เซนติเมตร ไมตีระนาดทุมเหล็กมีลักษณะเหมือนไมตีระนาดเอกเหล็ก ตางกันที่วงของแผนหนัง
และดา มถือมขี นาดใหญกวา (วรี ะ พนั ธเุ สอื , 2558, หนา 96)

19

ระนาดทมุ เหลก็
ที่มา : วิสทุ ธิ์ จุยมา
2.6 ปมอญ
ปมอญ เปนปชนิดหน่ึงมีลักษณะเปน 2 ทอน เหมือนปชวา แตขนาดใหญกวาและยาวกวา
ทอนเลาปทําดวยไมจริงกลมเรียว ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ตอจากหัวของเลาปลงมาประมาณ 6 เซนติเมตร
กลึงเปนลูกแกวคั่น ดานหนาเจาะรูเรียงนิ้ว 7 รู ดานหลังเจาะรูนิ้วคํ้า 1 รู สวนทอนลําโพงยาวประมาณ 23
เซนตเิ มตร ทําดว ยทองเหลอื งหรือโลหะอยางอื่น และทําเปนลูกแกวคั่นกลางเหมือนกัน ปากลําโพงกวางประมาณ
10 เซนติเมตร มีใบบานกางออกเปนรัศมีกวางประมาณ 6 เซนติเมตร โดยรอบ ตามปกติเลาปกับลําโพงท่ีสอด
สวมเขา ดว ยกันน้ันหลวมหลดุ ออกจากกันไดง าย จึงตองมีเชือกเสน หน่ึงผูกลําโพงทอนบนแลวโยงมาผูกกับตัวเลาป
ตอนบนเหนือลูกแกว ผกู เคยี นเปนทกั ษิณาวรรตดวยวิธีผกู เชอื กท่ีเรยี กวา “ผกู เง่ือนสบั ปลาชอน” เน่ืองจากปมอญ
ใหญและยาวกวาปไฉนและปชวา กําพวดของปจึงยาวกวาไปดวยตามสวน คือ ยาวประมาณ 8 - 9 เซนติเมตร
และใหญกวากําพวดปชวาเล็กนอย มีแผนกะบังลมสําหรับกันริมฝปากผูเปาเชนเดียวกับปไฉนและปชวา
(วีระ พนั ธเุ สอื , 2558, หนา 97)

ปมอญ
ทีม่ า : วิสทุ ธิ์ จุยมา
2.7 โหมง 3 ใบ
โหมง 3 ใบ เปนเครื่องดนตรีประเภทเคร่ืองตี ประกอบดวยกระจังโหมงเปนเสมือนราวแขวน
ประกอบดวย เสา หนากระจัง และไมถาง โดยใชเชือกรอยเพื่อร้ังใหสวนประกอบตางๆเขาท่ีและต้ังอยูได โดยมี
ลูกโหมง 3 ใบ มีเสียงสูง เสียงกลาง และเสียงต่ํา เสียงสูงและเสียงกลางแขวนไวระดับสูงกวาเสียงต่ํา ใชตีเปน
เครอื่ งประกอบจังหวะ (วีระ พนั ธเุ สือ, 2558, หนา 99)

20

โหมง 3 ใบ
ทม่ี า : วสิ ทุ ธิ์ จยุ มา
2.8 ตะโพนมอญ
ตะโพนมอญ เปน เครือ่ งดนตรปี ระเภทเครื่องหนัง มีลักษณะคลา ยตะโพนของไทยแตขนาดใหญ
กวา มีเสียงดังกังวานกวาตะโพนของไทย หุนตะโพนมอญยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ในภาษามอญหนาใหญ
เรียกวา “เมิกโนก” ขนาดกวางประมาณ 42 เซนติเมตร หนาเล็กเรียกวา “เมิกโดด” ขนาดกวางประมาณ 35
เซนตเิ มตร มีการโยงเรง เสยี งทั้งสองหนา ดวยหนังเรยี ด มหี หู ว้ิ รอ ยถักดว ยหนัง ๒ หู ตัวตะโพนดานลางผูกยึดติด
กบั สะพานของเทาตะโพนมอญที่ทําดวยไมเปนขาต้ังรองรับหุนตะโพนมอญ ท่ีหนากลองมีการติดขาวสุกบดผสม
ขี้เถาหรือวัสดุอื่นเพ่ือถวงเสียง ตะโพนมอญใชบรรเลงผสมในวงปพาทยมอญ มีหนาที่บรรเลงหนาทับกํากับ
จงั หวะตา งๆ บางครงั้ ใชใ นวงปพ าทยไ ทยเม่ือบรรเลงเพลงมอญ (วีระ พันธเุ สอื , 2558, หนา 98)

ตะโพนมอญ
ท่ีมา : วสิ ุทธ์ิ จยุ มา

21

2.9 เปงมางคอก
เปงมางคอก เปนกลองชนิดหน่ึง ใชในวงปพาทยมอญ ลูกเปงมางมีจํานวน 7 ลูก มีขนาด

ลดหลั่นกันลงไป เทียบเสียงสูงต่ําเรียงลําดับดวยการติดที่ถวงเสียงบริเวณหนากลอง แขวนเรียงเสียงท่ีคอก
ซ่ึงทําดวยไมเปนแผงตอกันเปนรูปครึ่งวงกลมลอมตัวผูตีท่ีมีขนาดความสูงประมาณ 66 เซนติเมตร โคงเปนวง
กวา งประมาณ 116 เซนตเิ มตร ใชตีขัดสอดประสานกับตะโพนมอญ (วีระ พันธุเสอื , 2558, หนา 100)

เปงมางคอก
ท่มี า : วสิ ุทธิ์ จุยมา

3. การประสมวงปพาทยมอญ

อาจารยมนตรี ตราโมท อธิบายถึงลักษณะของปพาทยมอญ โดยกลาวถึงเครื่องดนตรีมอญและการ
ประสมวงไวใ นหนงั สอื ศิลปวัฒนธรรมไทยวา

“วงปพ าทยมอญน้เี ปน เคร่อื งดนตรีประจาํ ชาตริ ามญั อยางหน่ึง วงปพาทยมอญที่แทน้ันมีเครื่องบรรเลง
เทยี บไดกับเคร่ืองหาของไทยเทาน้นั ” คือ

1. ปม อญ รูปรา งคลายปช วาแตใหญกวา และมีลาํ โพงทาํ ดว ยทองเหลือง
2. ระนาดเอก รปู รา งเหมือนของไทย
3. ฆองมอญ ลักษณะของวงโคงขึ้นทั้งสองขาง ตัวรานฆองแกะสลักลวดลายปดทองประดับกระจก
งดงาม ทางดานซา ยมอื ของคนตี มักแกะเปนรูปกนิ นรจบั นาค เรียกวา “หนาพระ” (ลักษณะนามของฆองมอญ
เรียกได 2 แบบคอื วง หรอื โคง แตใ นเลมนจี้ ะใชเรยี กวา โคง )
4. ตะโพนมอญ รูปรา งคลา ยตะโพนไทยแตใหญก วา
5. เปงมางคอก มหี ลายลูก (โดยมากมี 7 ลูก) เทียบเสียงสูงตํ่าเรียงลําดับแขวนกับคอกเปนวงลอมตัว
ผตู ี และมีเครอื่ งประกอบจงั หวะคือ ฉงิ่ ฉาบ โหมง เหมือนของไทย มาในสมัยหลังๆน้ี โหมงมักจะเพิ่มเปน
3 ลกู มเี สียงสงู ตํา่ เปน 3 เสยี ง
วงปพ าทยม อญในประเทศไทย ครูอาจารยท างดนตรีของไทยและมอญไดก ําหนดรปู แบบการประสมวง
ปพ าทยมอญใหม ลี ักษณะเชนเดยี วกบั วงปพาทยของไทยเปน 3 ลกั ษณะ ดังนี้

22

1. ปพ าทยม อญเครอื่ งหา ประกอบดวย
ฆองมอญวงใหญ 1 โคง
1 ราง
ระนาดเอก 1 เลา
1 ลูก
ปมอญ 1 ชดุ
ตะโพนมอญ

เปง มางคอก

วงปพ าทยม อญเคร่ืองหา
ท่มี า : วิสุทธ์ิ จุยมา

วงปพาทยมอญท่ีเขามาในประเทศไทยในชวงตน ๆ นั้น เปนการประสมวงท่ีเรียกวา ปพาทยมอญ
เครื่องหา ลักษณะการประสมวงของปพาทยมอญเคร่ืองหาดังกลาวนี้ ท่ีกลาววามีลักษณะคลายการประสมวง
ของวงปพ าทยไทยเครื่องหาน้ัน หมายถึง วงปพาทยเคร่ืองหาอยางหนักที่ประกอบดวยปใน ระนาดเอก ฆองวงใหญ

ตะโพน และกลองทัด

เครื่องประกอบจังหวะ เชน ฉาบใหญ ฉาบเล็ก ฉ่ิง กรับ โหมง ไมไดกําหนดตายตัววาตองมีเครื่องประกอบ

จังหวะอะไรบา ง ทั้งนีข้ ้นึ อยกู ับความเหมาะสมของขนาดวงปพ าทยและโอกาสทบี่ รรเลงเปนสาํ คัญ

2. ปพาทยม อญเครื่องคู ประกอบดวย

ฆองมอญวงใหญ 1 โคง

ระนาดเอก 1 ราง

ระนาดทุม 1 ราง เพิม่ ตามแบบแผนการประสมวงของ

ฆองมอญวงเล็ก 1 โคง วงปพ าทยไทย

ปมอญ 1 เลา

ตะโพนมอญ 1 ลกู

เปงมางคอก 1 ชดุ

เคร่อื งประกอบจังหวะโหมง 3 ใบ (เพ่ิมขนึ้ จากเคร่อื งประกอบจงั หวะท่ีมีในปพาทยมอญเคร่อื งหา )

23

วงปพ าทยมอญเครอื่ งคู
ทมี่ า : วิสุทธ์ิ จยุ มา

การประสมวงปพาทยเคร่ืองคูของไทยท่ีเกิดข้ึนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว
วงปพ าทยม อญไดมีการปรบั ปรุงใหเ พิ่มระนาดทุมและฆอ งวงเล็กเพิ่มข้นึ เชนเดียวกบั วงปพาทยเครื่องคขู องไทย

3. วงปพ าทยมอญเคร่อื งใหญ ประกอบดว ย

ฆองมอญวงใหญ 1 โคง

ระนาดเอก 1 ราง

ระนาดเอกเหล็ก 1 ราง เพ่ิมตามแบบแผนการประสมวงของ
ระนาดทุม 1 ราง วงปพ าทยไทย
ระนาดทมุ เหล็ก 1 ราง

ฆอ งมอญวงเล็ก 1 โคง

ปมอญ 1 เลา

ตะโพนมอญ 1 ลกู

เปงมางคอก 1 ชุด

โหมง 3 ใบ 1 ชุด

เครื่องประกอบจังหวะ เชน ฉิ่ง ฉาบใหญ ฉาบเล็ก กรับ เชนเดียวกับท่ีใชในวงปพาทยเคร่ืองหา

และปพ าทยเ ครื่องคู

24

วงปพ าทยมอญเคร่อื งใหญ
ทม่ี า : วสิ ทุ ธิ์ จยุ มา

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว วงปพาทยไทยไดนําระนาดเอกเหล็กและระนาดทุม
เหล็กมาประสมในวงปพาทยไทย เรียกวา วงปพาทยเคร่ืองใหญ วงปพาทยมอญไดนําระนาดเอกเหล็กและ
ระนาดทุมเหล็กมาประสมวงในวงปพาทยมอญดวย เรียกวา วงปพาทยมอญเคร่ืองใหญ (พิศาล บุญผูก,
2558, หนา 62 - 64)

การประสมวงปพาทยมอญแบบพิเศษ
ปจจุบันการประสมวงปพาทยมอญไดมีการปรับปรุงและพัฒนาเพ่ือใหเปนไปตามความนิยม

ของสังคม และตามความตองการของเจาภาพ ทําใหวงปพาทยมอญมีความยิ่งใหญตระการตามากข้ึน เชน
นําฆองมอญมากกวา 2 โคง (อาจจะถึง 10 - 20 โคง) เปงมางคอกมากกวา 1 คอก ตะโพนมอญมากกวา 1 ใบ
มาประสมในวงปพาทยมอญ เปนตน นอกจากน้ียังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดตําแหนงเคร่ืองดนตรีใน
บางโอกาสอกี ดวย เชน วงปพาทยม อญท่ีใชบ รรเลงประกอบการแสดงลิเก ไดมีการกําหนดที่ตั้งของเครื่องดนตรี
จะต้ังเรียงเปนแถวแบบหนากระดานมีฆองมอญหลายโคงเรียงเปนแถว หัวแถวและทายแถวเปนท่ีต้ังของเปงมางคอก
และตะโพน บางคณะนํากระจังโหมง 3 ใบ มาต้ังประสมวงดวย ทั้งนี้เพ่ือแสดงใหเห็นถึงความสวยงามของ
เคร่ืองดนตรีอยางเต็มที่ การกําหนดท่ีต้ังของเคร่ืองดนตรีแตละประเภทจึงมีแบบแผนท่ีแตกตางจากเดิมที่เคย
ปฏิบัติมาแตโบราณ ซ่ึงเปนปรากฏการณใหมของการประสมวงและการกําหนดตําแหนงท่ีตั้งของเคร่ืองดนตรี
ในวงปพ าทยมอญในปจ จุบนั (พิศาล บุญผกู , 2558, หนา 62 - 68)

25

วงปพ าทยมอญแบบพิเศษ
ท่ีมา : วสิ ทุ ธิ์ จุยมา

การประสมวงปพาทยมอญลักษณะพิเศษในพิธีกรรมของมอญ

การประสมวงปพาทยม อญดังกลา วมาแลว น้นั เปนการประสมวงปพ าทยมอญอนุโลมตามแบบ

การประสมวงปพาทยไทย แตการประสมวงปพาทยมอญสําหรับใชในพิธีกรรมของมอญ ไดแก พิธีรําเจา พิธีรํา

สามถาด และพิธีรําผี จะมกี ารประสมวงเฉพาะของแตล ะพิธีกรรม ดงั น้ี

พิธีราํ เจา เคร่อื งดนตรีในวงปพาทยอยางนอยทส่ี ุดประกอบดวย

ฆอ งมอญ 1 โคง ระนาดเอก 1 ราง

ตะโพนมอญ 1 ลูก ปม อญ 1 เลา

เครอื่ งประกอบจังหวะ เชน ฉาบ กรับ

ถา จะใชเครื่องดนตรมี ากกวาน้ี เชน ใชป พาทยมอญเครื่องคกู ็ไมเปน การผดิ

พธิ รี ําสามถาด เคร่ืองดนตรีในวงปพ าทยมอญคลายกบั การประสมวงปพาทยมอญในพิธีรําเจา

แตสวนมากในพิธีรําสามถาดมักจะมีเครื่องดนตรีมากกวาพิธีรําเจา เนื่องจากการจัดพิธีรําสามถาดมักจัดพรอม

หรือเปนสวนหนงึ่ ในพิธีท่ีตองใชวงปพาทยเคร่ืองคูหรือวงปพาทยมอญเครื่องใหญอยูแลว เชน ในการประกอบ

พิธียกยอดปราสาทหรอื การจดั งานฌาปนกจิ ศพ เปนตน

พธิ รี าํ ผี ปพาทยมอญทใ่ี ชใ นพธิ รี าํ ผีสวนใหญจะประกอบดวยเคร่ืองดนตรีที่ใชในพิธีรําเจาและ

พิธีรําสามถาด เวนแตพธิ รี าํ ผบี างตระกูลทีก่ ําหนดใหใ ชตะโพนมอญคูในกรณีน้ีมีการใชฆองมอญคูดวย เคร่ืองประกอบ

จังหวะที่จะตองมีทุกคร้ังที่จัดพิธีรําผีคือ ไมตะขาบ ท่ีทําจากลําไมไผผาซีก 2 ซีก เวลาตีใชจับมือละซีก ตีให

กระทบกนั เปนจังหวะ

จะเห็นไดว า วงปพาทยม อญทใ่ี ชในพิธีรําเจา ราํ สามถาดและรําผจี ะไมมีเปงมางคอกและโหมงมาประสม

ในวง (พศิ าล บุญผูก, 2558, หนา 68 - 69)

26

สรุป
ปพาทยมอญไดเขามาเผยแพรในประเทศไทยตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยาแตไมปรากฏรูปแบบวงที่ชัดเจน

ตอมานักดนตรีปพาทยมอญที่อพยพเขามาช่ือ นายสี ไดสืบทอดการบรรเลงเพลงมอญใหกับลูกหลาน จนนายสี
เสียชีวติ ก็มีนายเจิน้ ผเู ปนบตุ รทีไ่ ดสืบสานการบรรเลงสบื ตอ มา และไดจัดตัง้ วงปพาทยมอญข้ึนในจังหวัดปทุมธานี
ตอ มาปพาทยมอญไดมีการเผยแพรส ชู ุมชนอน่ื ๆ จากการที่นายเจ้ินไดรับพระราชทานเปนมหาดเล็กประจําพระองค
ของสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาบริพัตรสุขุมพันธ กรมพระนครสวรรค วรพินิจ อยูในวังบางขุนพรหม และ
เปนผูเผยแพรวงปพาทยมอญใหกับสายวังบางขุนพรหม และยังมีครูสุมซ่ึงเปนนักดนตรีวงเดียวกับนายเจ้ินอีก
ทานหน่ึงที่ไดมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการบรรเลงกับหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ทําใหปพาทยมอญ
เร่ิมเขามามีบทบาทในวัฒนธรรมของไทยโดยเฉพาะงานศพที่วงปพาทยมอญเขามาเปนสวนหน่ึงในงานมาจนถึง
ปจ จุบัน

เครื่องดนตรใี นวงปพ าทยมอญ ประกอบดวย ฆอ งมอญวงใหญ ฆองมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุม
ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทมุ เหลก็ ปม อญ โหมง 3 ใบ ตะโพนมอญ เปงมางคอก มีเครื่องประกอบจังหวะ คือ
ฉ่งิ กรบั ฉาบเลก็ ฉาบใหญ และ เมื่อนํามาประสมกันเปนวง ในสมัยกอนจะประสมวงได 3 วง คือ 1. วงปพาทยมอญ
เครื่องหา ประกอบดวย ฆองมอญวงใหญ ระนาดเอก ปม อญ ตะโพนมอญ เปงมางคอก และเคร่ืองประกอบจังหวะ
2. วงปพาทยมอญเคร่ืองคู มีเคร่ืองดนตรีท่ีเพิ่มมาจากวงปพาทยมอญเครื่องหาคือ ฆองมอญวงเล็ก ระนาดทุม
และโหมง 3 ใบ 3. วงปพาทยมอญเครือ่ งใหญ มเี ครือ่ งดนตรีทีเ่ พ่มิ มาจากวงปพ าทยเคร่ืองคู คือ ระนาดเอกเหล็ก
และระนาดทมุ เหล็ก ปจจุบนั การประสมวงปพ าทยมอญมีการพัฒนาไปตามความนิยมของสังคมทําใหวงปพาทยมอญ
มีความย่ิงใหญตระการตามากข้ึนดวยการนําเครื่องดนตรีเขามาเพิ่มใหมีจํานวนมากขึ้นตามความตองการ และ
ยังมีการประสมวงในลักษณะพิเศษสําหรับใชในพิธีกรรมของมอญ คือ พิธีรําเจา พิธีรําสามถาด และพิธีรําผี
ในพิธีรําเจาการประสมวงจะใชเครื่องดนตรีวงปพาทยมอญเคร่ืองหา หรือเคร่ืองคู ในพิธีรําสามถาดใชวงปพาทยมอญ
เคร่ืองคู หรือเคร่ืองใหญ และพิธีรําผีสวนใหญใชวงปพาทยเหมือนกับ 2 พิธี แตมีบางตระกูลที่กําหนดใหใช
ตะโพนมอญคู และฆองมอญคู สวนเครื่องประกอบจังหวะท่ีตองมีทุกคร้ัง คือ ไมตะขาบ วงปพาทยมอญที่ใชใน
ท้งั 3 พิธี จะไมม ีเปง มางคอก และ โหมงเขามาประสมในวง

27

แบบทดสอบระหวางเรยี น
บทที่ 1 เรือ่ ง ประวตั ปิ พ าทยม อญ และเครอื่ งดนตรใี นวงปพ าทยม อญ

ดา นความรู

คําชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบบั น้ีมที ้ังหมด 9 ขอ

2. ขอ สอบแตละขอมีคาํ ตอบใหเลอื ก 4 คําตอบ
3. ใหน กั เรยี นทําเคร่ืองหมายกากบาท (X) ลงในชอ ง ก ข ค หรือ ง ที่ถูกตองที่สดุ เพยี ง

คําตอบเดยี วลงในกระดาษคาํ ตอบ

1. วงปพ าทยม อญในระยะแรกไมปรากฏเคร่ืองดนตรีชนดิ ใด
ก. ระนาดเอก
ข. ตะโพนมอญ
ค. ปม อญ
ง. เปงมาง

2. วงปพาทยมอญเริ่มปรากฏเปน ลกั ษณะวงชัดเจนในระยะแรกอยูในจงั หวดั ใด
ก. นนทบุรี
ข. สมุทรปราการ
ค. ปทุมธานี
ง. กรุงเทพมหานคร

3. วงปพ าทยม อญประเภทใดทปี่ รากฏขึน้ ในสมยั กรงุ ศรีอยธุ ยา
ก. วงปพาทยม อญเครื่องหา
ข. วงปพาทยม อญเคร่ืองคู
ค. วงปพ าทยมอญเครื่องใหญ
ง. ไมพบปรากฏรูปแบบวงท่ีชดั เจน

4. เคร่ืองดนตรีประเภทใด ท่ีมีอยูในวงปพาทยมอญ
ก. ปใน
ข. ปช วา
ค. โหมง 3 ใบ
ง. กลองทัด

28

5. เปง มางคอก 1 คอก มลี ูกเปง ทง้ั หมดก่ลี ูก
ก. 5 ลกู
ข. 6 ลูก
ค. 7 ลกู
ง. 8 ลกู

6. วธิ ผี ูกเชือกทเ่ี รียกวา “ผูกเงื่อนสบั ปลาชอน” เปนวิธที ีใ่ ชกบั เคร่ืองดนตรีชนดิ ใดในวงปพาทยมอญ
ก. ฆองมอญวงใหญ
ข. ปม อญ
ค. ตะโพนมอญ
ง. โหมง 3 ใบ

7. สมยั รัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลา เจาอยูห ัว มกี ารประสมวงปพาทยม อญประเภทใดข้นึ
ก. วงปพ าทยม อญเคร่ืองหา
ข. วงปพ าทยม อญเครื่องหก
ค. วงปพ าทยม อญเครื่องคู
ง. วงปพ าทยมอญเครื่องใหญ

8. วงปพาทยม อญประเภทใดไมมรี ะนาดทุมประสมอยูในวง
ก. วงปพาทยมอญเคร่ืองหา
ข. วงปพาทยมอญเครื่องหก
ค. วงปพ าทยมอญเครื่องคู
ง. วงปพ าทยม อญเครื่องใหญ

9. วงปพ าทยม อญเคร่ืองใหญ มกี ารประสมวงขึ้นในสมยั ใด
ก. สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหลา นภาลยั
ข. สมัยสมเดจ็ พระจอมเกลา เจาอยูหัว
ค. สมยั สมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา จุฬาโลก
ง. สมยั สมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยหู ัว

29

บทท่ี 2
เอกลกั ษณของฆองมอญวงใหญ

ดนตรีของชนชาติตางๆ ลวนมีวัฒนธรรมท่ีเปนเอกลักษณเฉพาะของตนเอง มอญก็เปนอีกชาติหน่ึงท่ีมี
เครอ่ื งดนตรี คอื ฆอ งมอญวงใหญที่มีเอกลักษณเฉพาะในตัวเองหลายอยาง ท้ังรูปลักษณและแบบการวางที่วาง
ในแนวตง้ั ไมเหมือนกบั ฆอ งไทยท่ีวางในแนวนอนราบกับพื้น อีกทั้งการเรียงเสียงของลูกฆองที่มีการเวนเสียง 2 เสียง
ที่เรียกวา หลุม รวมถึงวิธีการตีหรือมือฆองท่ีแตกตางไปจากฆองไทย ซ่ึงที่ยกตัวอยางมานี้สามารถเรียกไดวา
เปน เอกลักษณเ ฉพาะของฆอ งมอญวงใหญ และยังคงมเี อกลักษณอกี หลายๆอยาง ท่ีจะอธิบายดงั นี้

1. หลมุ

หลุม คอื เสียงท่ีเวนหรือขามระหวางเสียงสองเสียงในฆองมอญวงใหญ โดยหลุมปรากฏข้ึนในฆองมอญ
วงใหญ จํานวน 2 หลุม หรือ 2 เสียง โดยนับจากลูกฆองลูกทวนเรียงเสียงมาจํานวน 2 ลูก และเวนเสียง
1 เสียง จากน้ันเรียงเสียงลูกฆองจํานวน 3 ลูก คือลูกท่ี 3 - 5 และเวน 1 เสียง จากนั้นเรียงเสียงตามปรกติใน
ระบบ 7 เสียงเต็ม จากภาพดานลางจะเห็นไดวาหลุมแรกอยูระหวางลูกฆองลูกท่ี 2 และลูกท่ี 3 และหลุมท่ีสอง
อยูระหวางลูกฆองลูกที่ 5 และลูกที่ 6 ซึ่งหลุมนี้เองถือไดวาเปนเอกลักษณในเพลงมอญ ซึ่งเปนลักษณะเดน
ในการจดั รปู แบบโครงสรางของมือฆอ งมอญ และเพลงมอญ หลุมจึงมีอิทธิพลอยางสูงในการผลิตเพลง และเปน
เสียงสําคัญท่ีบงบอกความเปนเพลงมอญ และเพลงไทยสําเนียงมอญไดดีหากแตเสียงท่ีเวนไวทั้งสองเสียงน้ันได
ปรากฏในแถบเสียงสูงทางลูกยอดของฆองมอญ โดยการออกแบบมือฆองมอญน้ันตองพึ่งพาอาศัยการเคลื่อน
ของมือฆองเพ่ือหลบหลกี เสยี งท่เี ปนหลุมนน่ั เอง (วีระ พันธเุ สือ, 2558, หนา 64)

ซฺ หลุมที่ 1 ทํ
ลฺ หลมุ ท่ี 2 ลํ
ด ซํ
ร ม ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟ

หลุมของฆอ งมอญวงใหญ
ที่มา : วิสทุ ธ์ิ จยุ มา

30

2. คเู สยี ง

คูเสียง คือ เสียงที่ผสมกันตั้งแต 2 เสียงข้ึนไป อาจเกิดจากเสียงที่มีความถี่เดียวกันหรือตางความถ่ีกัน
โดยในสวนของฆอ งมอญน้นั คเู สยี งแบง ออกเปน 2 ประเภทคอื

2.1 คูเสียงเดียวกัน (คูแปด) หมายความวา เปนการใชเสียง 2 เสียงพรอมกันในเสียงท่ีมีความถ่ีอยูใน
ระดบั เดยี วกัน เสยี งน้ันกค็ ือ เสยี งที่หางกัน 1 คูแปด (สําหรับปพาทยไทย) สําหรับปพาทยมอญจะเรียกวาเสียงคูแปด
(Octave) เพราะเม่ือกลา วถงึ คูแปด (ฆองไทย) น่ัน หมายถึง เสียงที่เรียงกันจากเสียงหน่ึงนับไปอีก 7 เสียง ก็จะ
เวียนมาเจอเสียงเดิม แตสําหรับฆองมอญ คือ การเวียนมาเจอเสียงเดิมของบางเสียงนั้นตองผานเสียงที่เวนไว
(หลมุ ) จึงไมครบ 8 ลูก หากยกตัวอยาง (ตามทางเพียงออบน) ลูกฆองลูกทวน คือ เสียง ซอล (ลูกท่ี 1) เมื่อนับ
เร่ือยไปทางฝงเสียงสูง ก็จะผานเสียง ลา - โด เร มี - จะไปพบเสียงซอล (ลูกท่ี 6) อีกทีก็นับไดเพียง 6 ลูก
ดังน้ันคูเสียงเดียวกันระหวางเสียงซอล (ตํ่า) ไปถึง ซอล (กลาง) จะนับเปนคูแปดหรือคูหก หากพิจารณาดูตาม
เหตุแลว เสียงทเ่ี ปน หลุมไมใชเสียงทหี่ ายไปจากระบบเสยี งมอญเพียงแตเ วนเสียงไวเ ทานั้น เพราะจะปรากฏเสียง
ที่เปนหลมุ (ทีและฟา) ในทางชวงเสียงกลางและเสียงสูง คือลูกฆองท่ี 8 และ 12 จึงสรุปไดวา แมเสียงท่ีหางกัน
แปดเสยี งแตจ าํ นวนลูกฆองหา งไมถ ึง 8 ลกู กน็ ับวาเปน เสียงคูแปด (วีระ พันธุเ สือ, 2558, หนา 69)

ลกู ฆองลูกที่
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ซฺ ลฺ ด ร ม ซ

ลฺ ด ร ม ซ ล
ด ร ม ซ ล ท ดํ
ร ม ซ ล ท ดํ รํ
ม ซ ล ท ดํ รํ มํ
ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ
ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ
ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

ตารางแสดงคเู สยี งเดียวกนั ประเภทคูแปด

จากตารางแสดงใหเ ห็นวา คูเสยี งเดียวกัน (คูแปด) น้ันมีทั้งหมด 8 คู โดยมี 2 คูท่ีมีจํานวนลูกฆองหางกัน
6 ลูก มี 3 คู ท่ีมีจํานวนลูกฆองหางกัน 7 ลูก และมี 3 คู ที่มีจํานวนลูกฆองหางกัน 8 ลูก โดยคูเสียงท้ัง 8 คูน้ี
จะถูกเลือกใชตามแตกระสวนของทํานองเพลงนําไป โดยสังเกตวา คูเสียง ซอล และเสียง ลา มีทั้ง 2 คูเสียง
เดยี วกนั ดงั นัน้ การเลอื กใชค ูเสยี งจงึ ตอ งพจิ ารณาตามเสยี งของกระสวนทํานองนัน้ ๆเปนหลัก

31

2.2 คเู สยี งตา งเสียง หมายความวา เปน การใชเสียง 2 เสียงพรอมกันในเสียงที่ตางระดับความถี่เสียงกัน
มักพบการใชคูเสียงตางเสียงในความหางเสียงไมเกิน 1 คูแปด (Octave) นั้น ประกอบดวย คูสอง คูสาม คูส่ี

คูหา คูหก และคูเจ็ด ประการสําคัญคือ การเวนเสียง (หลุม) ของลูกฆองมอญวงใหญนั้นทําใหการนับคู

เปนปญหา ดังนั้นจึงขอนับคูตามเหตุผลท่ีพิจารณาตามขอท่ี 1 ใหนับการเรียกคูตามความหางของเสียงเปนหลัก
ไมนับความหางของลูกฆองซ่ึงคูเสียงตางเสียงน้ีในสวนมากพบในการบรรเลงที่ คูสอง คูสาม คูสี่ คูหา และคูหก

ไมปรากฏพบการบรรเลงเปนคูเจด็ (วีระ พันธเุ สอื , 2558, หนา 70)
2.2.1 คูเสียงคูสอง เปนการใชคูเสียงตางเสียง ที่มีเสียงเรียงชิดติดกัน 2 เสียง โดยชวงเสียง

ของลูกฆอ งมอญวงใหญ สามารถกาํ หนดคสู อง ไดทัง้ หมด 12 คู ดงั น้ี

ลกู ฆอ ง 1 2 345 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ลกู ที่ ลฺ หลมุ ด ม หลุม ซ
คทู ี่ ซฺ ร ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

ตารางแสดงคูเ สียงตา งเสียง ประเภทคูส อง

2.2.2 คูเสียงคูสาม เปนการใชคูเสียงตางเสยี ง โดยความหางระหวางคเู สียงมี 1 เสยี งค่ันกลาง
โดยชว งเสยี งของลกู ฆองมอญวงใหญส ามารถกําหนดคสู าม ไดทัง้ หมด 11 คเู สยี ง ดังน้ี

32

ลกู ฆอง 1 2 345 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ลกู ท่ี ลฺ หลุม ด ม หลุม ซ
คทู ี่ ซฺ ร ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

ตารางแสดงคูเสยี งตางเสียง ประเภทคูสาม

2.2.3 คูเสียงคูสี่ เปนการใชคูเสียงตางเสียง โดยความหางระหวางคูเสียงมี 2 เสียงคั่นกลาง
โดยชวงเสยี งของลกู ฆองมอญวงใหญส ามารถกําหนดคสู ่ี ไดท ง้ั หมด 11 คูเสยี ง ดงั น้ี

ลกู ฆอง 1 2 345 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ลูกท่ี ลฺ หลุม ด ม หลมุ ซ
คทู ี่ ซฺ ร ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

ตารางแสดงคเู สยี งตา งเสียง ประเภทคสู ่ี

33

2.2.5 คูเสียงคูหา เปนการใชคูเสียงตางเสียง โดยความหางระหวางคูเสียงมี 3 เสียงค่ันกลาง
โดยชวงเสยี งของลูกฆอ งมอญวงใหญส ามารถกําหนดคหู า ไดท้งั หมด 11 คูเสียง ดงั น้ี

ลกู ฆอง 1 2 345 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ลกู ท่ี ลฺ หลุม ด ม หลุม ซ
คทู ่ี ซฺ ร ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

ตารางแสดงคเู สียงตา งเสยี ง ประเภทคหู า

2.2.5 คูเ สยี งคูหก เปนการใชคูเสียงตางเสียง โดยความหางระหวางคูเสียงมี 4 เสียงค่ันกลาง
โดยชว งเสียงเสยี งของลูกฆอ งมอญวงใหญสามารถกําหนดคหู ก ไดท ง้ั หมด 9 คเู สยี ง ดังนี้

ลูกฆอ ง 1 2 345 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ลกู ที่ ลฺ หลุม ด ม หลมุ ซ
คทู ่ี ซฺ ร ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

ตารางแสดงคเู สยี งตางเสยี ง ประเภทคูหก

34

3. คูถ า ง

คูถาง คือ เสียงที่ผสมกันต้ังแต 2 เสียงขึ้นไป อาจเกิดจากเสียงที่มีความถี่เดียวกันหรือตางความถี่กัน
โดยในสว นของฆองมอญน้ันคถู า งแบงออกเปน 2 ประเภทคอื

3.1 คูถางเสียงเดียวกัน (เกินคูแปด) หมายความวา เปนการใชเสียง 2 เสียงท่ีมีความถี่อยูในระดับ
เดียวกัน เสยี งน้ันกค็ ือเสียงทห่ี างกันเปน คู 15 คู 22 ฯลฯ แตเนื่องจากขอบเขตเสยี งของฆองมอญวงใหญสามารถ
สรางคูถางเสียงเดียวกันไดเพียงคู 15 เทานั้น ดวยขอบเขตเสียงของฆองมอญวงใหญสามารถกําหนดคูถาง
เสยี งเดียวกันไดเพียง 2 คู คือ คู ซฺ กับ ซํ และ คู ลฺ กบั ลํ (วีระ พนั ธเุ สือ, 2558, หนา 76)

ลูกฆองลูกท่ี
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ซฺ ลฺ ด ร ม ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ

ลฺ ด ร ม ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ

ตารางแสดงคูถา งเสียงเดยี วกัน (เกนิ คแู ปด)

3.2 คูถางตางเสียง หมายความวา เปน การใชเสยี ง 2 เสียงพรอ มกันในเสียงทีต่ า งระดับความถี่เสียงกัน
โดยมักพบวาการใชคูถางตางเสียงในความหางเสียงเกิน 1 คูแปด (Octave) นั้น ประกอบดวย คูเกา คูสิบ คูสิบ

เอ็ด คูสิบสอง คูสิบสาม และคูสิบส่ี โดยคูถางตางเสียงนิยมใชมากในวรรคข้ึนเพลงของฆองมอญ และการเด่ียว

และเปน การสรางเสียงทดแทนเสยี งทจี่ ะตกหลมุ (วีระ พันธุเสือ, 2558, หนา 76)

3.2.1 คูถางเสียงคูเกา เปนการใชคูถางตางเสียง โดยความหางระหวางคูเสียงมี 7 เสียง
คน่ั กลาง โดยชวงเสยี งของลกู ฆอ งมอญวงใหญสามารถกําหนดคูเ กา ไดทัง้ หมด 7 คเู สยี ง ดงั น้ี

ลกู ฆอ ง 1 2 345 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ลูกที่ ลฺ หลุม ด ม หลุม ซ
คทู ่ี ซฺ ร ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

1

2

3

4

5

6

7

ตารางแสดงคูถา งตา งเสยี ง ประเภทคเู กา

35

3.2.2 คูถางเสียงคูสิบ เปนการใชคูถางตางเสียง โดยความหางระหวางคูเสียงมี 8 เสียง
คัน่ กลาง โดยชว งเสียงของลกู ฆองมอญวงใหญสามารถกาํ หนดคูสบิ ไดท้งั หมด 6 คเู สยี ง ดังน้ี

ลูกฆอ ง 1 2 345 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ลูกที่ ลฺ หลุม ด ม หลุม ซ
คูท ่ี ซฺ ร ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

1

2

3

4

5

6

ตารางแสดงคูถางตางเสียง ประเภทคสู ิบ

3.2.3 คูถางเสียงคูสิบเอ็ด เปนการใชคูถางตางเสียง โดยความหางระหวางคูเสียงมี 9 เสียง
คนั่ กลาง โดยชว งเสียงของลกู ฆอ งมอญวงใหญสามารถกาํ หนดคูส บิ เอด็ ไดท ้ังหมด 5 คูเสยี ง

ลกู ฆอง 1 2 345 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ลกู ที่ ลฺ หลุม ด ม หลมุ ซ
คทู ี่ ซฺ ร ล ท ดํ รํ มํ ฟ ซํ ลํ ทํ

1

2

3

4

5

ตารางแสดงคูถางตางเสยี ง ประเภทคสู ิบเอ็ด

สรปุ

เอกลกั ษณของฆอ งมอญวงใหญ นอกจากรูปลักษณและแบบการวางที่วางในแนวต้ังแลว ยังคงมีเอกลักษณ
อกี หลายอยาง คือ

หลุม คือ การเรียงเสียงของลูกฆองท่ีมีการเวนเสียง 2 เสียง ซ่ึงถือวาเปนลักษณะเดนในการจัดรูปแบบ
โครงสรางของมือฆองมอญ และเพลงมอญ เปนเสียงสําคัญท่ีบงบอกถึงความเปนเพลงมอญ และเพลงไทย
สาํ เนยี งมอญไดดี

คูเสียง คือ เสียงท่ีผสมกันตั้งแต 2 เสียงขึ้นไป อาจเกิดจากเสียงท่ีมีความถ่ีเดียวกันหรือตางความถี่กัน
โดยในสวนของฆอ งมอญน้นั คูเสียงแบงออกเปน 2 ประเภท คอื คเู สยี งเดียวกัน (คูแปด) และ คูเ สียงตา งเสยี ง

36

คูถาง คือ เสียงท่ีผสมกันตั้งแต 2 เสียงข้ึนไป อาจเกิดจากเสียงท่ีมีความถ่ีเดียวกันหรือตางความถ่ีกัน
โดยในสวนของฆอ งมอญน้นั คถู างแบง ออกเปน 2 ประเภท คือ คูถา งเสยี งเดยี วกนั (เกินคแู ปด) และ คูถ า งตางเสียง

37

แบบทดสอบระหวางเรยี น
บทที่ 2 เร่ือง เอกลกั ษณของฆอ งมอญวงใหญ

ดา นความรู

คําช้แี จง 1. แบบทดสอบฉบับนี้มที ง้ั หมด 9 ขอ

2. ขอสอบแตละขอมีคาํ ตอบใหเลือก 4 คําตอบ
3. ใหน กั เรยี นทําเคร่ืองหมายกากบาท (X) ลงในชอ ง ก ข ค หรอื ง ทีถ่ ูกตองที่สุดเพยี ง

คําตอบเดียวลงในกระดาษคําตอบ

1. หลุมของฆองมอญวงใหญมที ้ังหมดกหี่ ลมุ
ก. 1 หลมุ
ข. 2 หลุม
ค. 3 หลุม
ง. 4 หลุม

2. ถากําหนดใหลกู ทวนของฆองมอญวงใหญตรงกบั โนตเสียง ซฺ แลว โนตตวั ใดคอื หลมุ ของฆองมอญวงใหญ
ก. ลฺ
ข. ทฺ
ค. ด
ง. ร

3. ตําแหนงในขอ ใดคือหลุมของฆองมอญวงใหญ
ก. ระหวา งลกู ฆองลกู ที่ 3 และลกู ที่ 4
ข. ระหวางลกู ฆอ งลกู ท่ี 4 และลกู ที่ 5
ค. ระหวา งลูกฆอ งลกู ที่ 5 และลกู ท่ี 6
ง. ระหวางลูกฆอ งลูกท่ี 6 และลกู ที่ 7

4. ฆองมอญวงใหญม ีคูเ สียงเดียวกนั (คูแ ปด) ท้ังหมดกี่คู
ก. 5 คู
ข. 6 คู
ค. 7 คู
ง. 8 คู

38

5. คเู สยี งของฆองมอญวงใหญท ีม่ ี 3 เสยี งคน่ั กลาง เรียกวาคูเ ทา ไร
ก. คูสาม
ข. คสู ี่
ค. คหู า
ง. คูหก

6. คูเ สียงของฆองมอญวงใหญ “คูหก” มีทัง้ หมดกีค่ ู
ก. 6 คู
ข. 7 คู
ค. 8 คู
ง. 9 คู

7. คูถางเสียงเดียวกนั (เกินคูแปด) ของฆองมอญวงใหญ มีทั้งหมดก่ีคู
ก. 1 คู
ข. 2 คู
ค. 3 คู
ง. 4 คู

8. คูถางตางเสียงของฆอ งมอญวงใหญ นิยมใชมากในโอกาสใด
ก. วรรคขนึ้ ตนเพลงของฆองมอญ
ข. บรรเลงทาํ นองเด่ียว
ค. สรางเสียงทดแทนเสยี งท่จี ะตกหลมุ
ง. ถกู ทุกขอ

9. คูถางตางเสยี งของฆอ งมอญวงใหญ “คสู ิบเอ็ด” มีทง้ั หมดก่คี ู
ก. 2 คู
ข. 3 คู
ค. 4 คู
ง. 5 คู

39

บทท่ี 3

ความรพู น้ื ฐานเกย่ี วกบั ฆองมอญวงใหญ

ฆองมอญวงใหญเปนเคร่ืองดนตรีชนิดหน่ึงที่บงบอกถึงความมีเอกลักษณเฉพาะตัวท้ังทางดานมือฆอง
และการเรยี งลาํ ดบั เสียงของลกู ฆอ ง ผทู ่จี ะเร่มิ ฝกหัดฆองมอญวงใหญจําเปนทจี่ ะตอ งเรยี นรแู ละฝกหัดตามลําดับ
ขั้นตอนเหมือนกับเครื่องดนตรีไทยประเภทอ่ืนๆ โดยเริ่มตั้งแตความรูขั้นพื้นฐานที่เปนความรูดานทฤษฎีตางๆ
ที่เก่ยี วของกับฆองมอญวงใหญ ซงึ่ ผูจดั ทาํ ไดรวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาความรูพ้ืนฐานเก่ียวกับฆองมอญวงใหญ
ดังนี้

1. ประวตั ขิ องฆองมอญวงใหญ

ประวัตขิ องฆองมอญวงใหญ ตามที่ผจู ดั ทําไดศึกษาขอมูลจากการสัมภาษณ คนควาเอกสาร และงานวิจัย
ท่ีเก่ียวของกับประวัติฆองมอญวงใหญ สรุปพอสังเขปไดวา เมื่อคร้ังท่ีชาวมอญอพยพเขามาอยูในประเทศไทยไดมี
ผูแบกหามฆองมอญเขามาดวย ซ่ึงเปนส่ิงที่นักดนตรีไทยเคยไดยินกันมาและคุนหูเปนอยางดี แตสําหรับผูท่ีแบก
เขามาเปนใครนนั้ ไดม ีการบอกเลามาหลายกระแสซง่ึ พอจําแนกไดด ังน้ี

กระแสที่ 1 เลาสืบตอกันมาวา ครูสุม ดนตรีเจริญ เดิมอยูที่ปทุมธานี ภายหลังไดยายไปอยูที่
กรุงเทพมหานคร เปนผูแบกฆองมอญเฉพาะสวน “หนาพระ” และ “หางแมงปอง” จากเมืองมอญอพยพเขามา
ประเทศไทย และไดสรางสวนกลางของรา นฆองข้นึ ในประเทศไทย ครูสุมผูน้ีเปนผูสนิทสนมและถายทอดเพลงมอญ
ใหก บั หลวงประดษิ ฐไพเราะ (ศร ศลิ ปบรรเลง) เปนจํานวนมาก

กระแสท่ี 2 รศ.ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี เลาวา เม่ือคร้ังท่ีไดคลุกคลีอยูกับวงปพาทยในอดีต ไดยินมาวา
ครูเจน้ิ ดนตรเี จรญิ เปน ผูแ บกหามสวน “หนาพระ” และ “หางแมงปอง” โดยแบกใสเขงนําเขามา สวนกลางนั้น
มาสรางขึ้นใหมที่ประเทศไทย ซ่ึงฆองวงดังกลาวนี้ยังหาดูไดท่ีบานนายชะอุม ดนตรีเจริญ ใกลวัดหงสปทุมาวาส
อ.เมือง จ.ปทุมธานี ฆอ งวงน้ีมีขนาดเลก็ เบา และเตี้ยกวาฆองมอญในปจจุบัน ลวดลายโบราณตางจากลายไทย
บริเวณลองชาดจะเจาะเปน รูเกือบทั้งหมดเพอ่ื ใหเ สียงลอดออกมา

กระแสที่ 3 เลา สบื ตอกันมาวา ตน ตระกลู ดนตรีเจริญสามคนพ่ีนองไดชวยกันแบกฆองมอญมาจากเมืองมอญ
เม่ือคร้ังเม่ือคร้ังอพยพเขามาพ่ึงแผนดินไทย โดยท้ังสามคนพี่นองไดชวยกันแยกฆองออกเปน 3 สวน และ
ชวยกันแบกหามเขามาประกอบข้ึนใหมท่ีประเทศไทย ฆองวงท่ีวาน้ีสามารถหาดูไดที่บานปพาทยดนตรีเจริญ
ปากคลองบางโพธิ์ ต.บางโพธิ์ อ.เมือง จ.ปทุมธานี (เฉลมิ ศักดิ์ พิกลุ ศรี, 2539, หนา 133)

กระแสที่ 4 ฆองมอญวงแรกไดเขามาอยูในประเทศไทยเม่ือครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลา
นภาลัย รัชกาลที่ 2 ไดเขามาพรอมกับชาวมอญท่ีอพยพหลบหนีพมามาอยูที่ปทุมธานี โดยมีนักดนตรีปพาทย
มอญช่ือ นายสี (บิดานายเจิ้น) ที่อพยพมาจากเมืองเมาะตะมะไดแบกฆองมอญประจําตระกูลมาดวย ฆองมอญ

40

เกา แกนี้มีชอ่ื วา "จุวา ง" ฆอ งมอญวงนี้สามารถถอดออกไดเปน 3 ทอน ทอนตัว ทอนกลาง ทอนหาง สวนลูกฆอง
ก็ใสกระบุงแบกเขามา ปจจุบันเก็บรักษาอยูกับนายชะอุม ดนตรีเสนาะ ผูเปนทายาทรุนหลานของนายเจิ้น
ดนตรีเสนาะ (รามัญคดี - MON Studies, 2558, ออนไลน)

ฆอ งมอญที่แบกมาจากเมืองมอญ
ท่มี า : ฐิระพล นอยนติ ย

ทง้ั นี้เมอ่ื สมัยสมเดจ็ พระเจา กรุงธนบรุ ี ไดม ีการปรากฏหลักฐานที่สําคัญเก่ียวกับดนตรีมอญในประเทศไทย
คือ ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯให พิณพาทยรามัญ รวมกับดนตรีประเภทอ่ืนๆ เชน พิณพาทยไทย มโหรีไทย
มโหรีแขก ฝร่ัง จีน ญวน และเขมร สลับกันบรรเลงในงานสมโภชพระแกวมรกต ซึ่งเปนหลักฐานท่ีมีท้ังความ
ชัดเจนและเกาแกกวา จึงไมสามารถท่ีจะสรุปไดถึงประวัติของฆองมอญวงใหญท่ีเขามาอยูในประเทศไทย และ
คงตองเปนเรื่องสาํ คญั สาํ หรับผทู ีส่ นใจทจ่ี ะตองศึกษาและเกบ็ ขอมูลในรายละเอียดเพิ่มเติมเพ่ือหาขอสรุปเก่ียวกับ
ประวัตฆิ อ งมอญทเี่ ขามาอยใู นประเทศไทยกันตอไป

2. สว นประกอบของฆอ งมอญวงใหญ

ฆองมอญ มอญเรียกวา ปา ตกาง คอื ฆองมอญวงใหญถือเปนเครื่องดนตรีที่เปนเอกลักษณ

และเปนประธานของวงปพาทยมอญ และเมื่อนํามาตั้งในวงปพาทยทําใหวงปพาทยมอญมีลักษณะเดนข้ึน

ฆอ งมอญมีสวนประกอบที่สาํ คัญ คือ

2.1 รานฆอ ง รานฆองมอญทําจากไมเน้ือแข็งขุดเจาะเปนกลองเสียงมี 3 สวน คือ สวนหัว สวนทาย

และสวนกลาง แลวจึงนํามาประกอบกัน บริเวณดานนอกของรานฆองแกะสลักลวดลายตามท่ีนิยม ลงรักปดทอง

ประดับกระจก สวนหัวแกะเปนรูปกินนรจับนาค เรียกวา “หนาพระ” (อยูดานซายมือของผูบรรเลง) สวนทาย

แกะสลกั เปน รูปปลายหางของกินนร เรียกวา “หางหงส” (อยูดานขวามือของผูตี) ดานลางของสวนหัว (หนาพระ)

และสวนทา ย (หางหงส) ตดิ หว งโลหะทัง้ สองดานเรียกวา “หรู ะวิง” เอาไวส าํ หรบั สอดคานไมเพ่ือความสะดวกใน

การเคล่อื นยา ย สว นกลางของรา นฆองมีแผนไมวางรองรับ เรยี กวา “เทา ฆอง” สวนโคงดานในของรานฆองมีลูก

41

กลมๆเลก็ ๆเรยี งเวน ระยะหางอยางสมาํ่ เสมอเรยี กวา “ลูกมะหวด” ดานบนของลูกมะหวดมเี สนเรียกวา “หวาย”
ทบั อกี ชัน้ หนึง่ เพื่อใชรองรับการผกู ลูกฆอ ง และสว นปลายของหวายมี “เม็ดหมากรกุ ” สวมปดไวท กุ ดาน

เม็ดหมากรุก

หางหงส หวาย หนา พระ
หรู ะวงิ ลกู มะหวด

เทา ฆอง
สว นประกอบของรานฆองมอญวงใหญ

ทม่ี า : วิสุทธิ์ จุย มา

2.2 ลูกฆอง ฆองมอญวงใหญมีลูกฆองจํานวน 15 ลูก ทําจากโลหะที่ตีหรือหลอข้ึนรูปเชนเดียวกับฆองไทย

แตอาจจะมีเน้ือฆองท่ีบางกวา เทียบเสียงโดยการถวงตะก่ัวท่ีใตลูกฆองแลวผูกเขากับรานฆอง ระดับเสียงของ

ฆอ งมอญวงใหญม ีลกั ษณะพิเศษและเปนเอกลักษณส ําคญั คือ การกาํ หนดใหลูกฆองมอญวงใหญมีหลุม หมายถึง

เสียงของฆองมอญที่หายไปในชวงเสียงต่ํา ซึ่งเขียนเปนโนตแทนเสียงลูกฆองจากลูกท่ัง (ลูกตนเสียงต่ํา) ถึง

ลูกยอด (เสยี งสงู สุด) ไดดงั น้ี

ลกู ที่ 1 เสียง ซฺ

ลกู ที่ 2 เสียง ลฺ

ลกู ที่ 3 เสียง ด

ลูกที่ 4 เสยี ง ร

ลกู ที่ 5 เสียง ม

ลกู ท่ี 6 เสยี ง ซ

ลกู ท่ี 7 เสยี ง ล

ลกู ที่ 8 เสยี ง ท

ลกู ที่ 9 เสยี ง ดํ

ลกู ท่ี 10 เสยี ง รํ

ลูกท่ี 11 เสียง มํ

ลกู ที่ 12 เสียง ฟ

42

ลกู ท่ี 13 เสยี ง ซํ
ลูกที่ 14 เสียง ลํ
ลกู ท่ี 15 เสียง ทํ
(พิศาล บุญผูก, 2558 , หนา 55)

ทํ ซ
ลํ ลฺ

ซํ ด
ฟ
มํ รํ ดํ ท ล ซ มร

ลกู ฆองและระดบั เสยี งของลกู ฆองมอญวงใหญ
ที่มา : วสิ ุทธิ์ จุยมา

2.3 ไมตี ไมตีฆองมอญวงใหญทําจากไมเนื้อแข็ง เหลากลึงเปนทอนยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
ปลายไมพ นั ดวยเชอื กเปนแนวยาวแลว พนั ผา ดบิ ทับอีกชัน้ หน่งึ

ไมต ีฆองมอญวงใหญ
ท่ีมา : วิสุทธ์ิ จยุ มา

3. การสํารวจความพรอมและปรบั เครอ่ื งดนตรกี อนการบรรเลง

3.1 รานฆอ ง
3.1.1 ลกู ฆองตองอยูต รงกลางรา นฆอ ง โดยทีฉ่ ัตรของลกู ฆอ งตองไมสัมผัสกับรานฆอง และลูก

ฆองขางเคียง
3.1.2 ลกู ฆอ งเรียงลําดบั ตามตาํ แหนงของระดบั เสยี งไดถกู ตอง
3.1.3 ลูกฆองตองผูกอยูตรงกลางรา นฆองในลักษณะท่ีคอ นขา งตงึ

43

3.1.4 คุณภาพเสียงของลกู ฆองแตล ะลกู ตองอยูในสภาพที่สมบูรณ
3.1.5 ผูบ รรเลงควรมีพืน้ ฐานในการแกไ ขปญ หาเบื้องตนดงั นี้

3.1.5.1 สามารถปรบั ระดับลกู ฆองท่หี ยอนใหต งึ และผูกหนงั ฆองดวยเง่อื นตะกรุดเบ็ด
ไดถกู ตอง

3.1.5.2 สามารถติดตะกั่วทห่ี ลุดกลับเขาท่ี และปรับไดตรงเสียงเดิม
3.2 ไมตี

3.2.1 สวนปลาย หรอื สว นหวั ของไมท่ีพันดว ยเชือกและมีผาดิบพันทบั ตองอยใู นสภาพที่
คอนขางสมบูรณ

3.2.2 วสั ดุทท่ี ําไมต ีฆองตองอยูในสภาพทเี่ หมาะสมกบั การตีใหเกดิ เสียง
(สาํ นักงานปลดั ทบวงมหาวทิ ยาลัย, 2544, หนา 113)

4. ทา นง่ั

นง่ั ขัดสมาธริ าบ หรอื นัง่ พบั เพยี บใหตรงตาํ แหนง ก่งึ กลางของรานฆอง ลําตัวตรง โดยน่ังฝงที่ดานซายมือ
ของผบู รรเลงเปน สวนของหนาพระ

ทา น่ัง
ที่มา : วิสทุ ธิ์ จยุ มา

5. วธิ ีการจบั ไมต ฆี อ งมอญวงใหญ

วธิ กี ารจับไมตฆี องมอญวงใหญจ ะใชห ลกั การเดียวกันกับการจับไมฆองไทย คือ น้ิวทุกนิ้วจะตองจับไมฆอง
ใหแ นนพอประมาณ เมอ่ื เร่ิมจับใหหงายฝามือขึ้นและสังเกตดู คือ ใหกานไมฆองมอญวางพาดกระชับกับรองกลาง
ตรงขอมือและเลยเขาไปใตแขนเล็กนอย นิ้วชี้เหยียดหงายรองรับไมฆองไว นิ้วหัวแมมือบีบกระชับดานขางของ
กา นไม นิว้ กลาง น้วิ นาง และ น้วิ กอ ยรวบจบั กานไมฆ องไวใหแนน เมื่อจับกานไมฆองแนนแลว ใหพลิกฝามือและ

44
แขนควํ่าลง โดยใหกานไมฆองยังคงอยูระหวางตรงกลางรองมือพอดี และใหแนวไมฆองกับแขนของผูบรรเลง
เปน แนวเสนตรงเดียวกัน

การจับไมฆอ งมอญในมุมตา งๆ
ท่ีมา : วิสทุ ธิ์ จยุ มา

6. ลักษณะวธิ กี ารตีฆอ งมอญวงใหญ

6.1 ตีใหหนาไมฆ องตั้งฉากกับลูกฆอง
6.2 ตีใหถกู ตรงกลางปมุ ของลกู ฆอ ง
6.3 ใชข อ มือและกลามเน้ือแขนเปน หลัก
6.4 ยกไมใ หส งู จากลูกฆองที่จะตพี อสมควร (ประมาณ 5 - 6 นิว้ )

ลกั ษณะวธิ กี ารตฆี องมอญวงใหญ
ทม่ี า : วิสทุ ธิ์ จุยมา

45

7. การเกบ็ รกั ษาฆองมอญวงใหญ และไมต ฆี องมอญวงใหญ

การดูแลและเก็บรักษาฆองมอญวงใหญ และไมตี ควรเกบ็ ไวในที่อุณหภูมิพอเหมาะ ไมรอนจัด หรือเย็นจัด
มากเกินไป เพราะจะทําใหตะก่ัวถวงเสียงหลุดได ซ่ึงจะทําใหเสียงเพ้ียน ดังนั้นเมื่อตะกั่วถวงเสียงหลุดใหรีบติด
ทนั ที

การเคลื่อนยายฆองมอญ จะตองใชวิธีการยกเทาน้ัน ไมลากหรือดันไปกับพื้น เพราะจะทําใหรานฆอง
เกิดการชาํ รดุ เสยี หายได

ไมตีฆองมอญวงใหญควรเกบ็ รกั ษาใหถูกวิธี โดยไมนําไมตีฆองมอญวงใหญไปตีเคร่ืองดนตรีประเภทอ่ืนๆ
เชน ตะโพน กลองทัด กลองแขก ระนาดเอก ระนาดทมุ เปนตน ไมวางไมตีไวกับพื้น และเม่ือเรียนเสร็จใหวางไมตี
ไวบนลกู ฆอ งบรเิ วณกึ่งกลางของรานฆอง หรือเสยี บไวใ นรานฆอ งตรงบรเิ วณกึ่งกลางของรานฆอง

วิธกี ารวางไมต ีฆองมอญวงใหญ
ท่ีมา : วสิ ุทธิ์ จุยมา

8. การดแู ลรักษาฆอ งมอญวงใหญ ภายหลงั การบรรเลง

8.1 ทําความสะอาดเพยี งใชผาเช็ด
8.2 ใชผา ซ่ึงเยบ็ ตามรูปแบบของรา นฆองคลมุ ใหเรียบรอย
8.3 หา มใชเครื่องขดั ขัดลูกฆองใหเปนเงางามโดยเด็ดขาด


Click to View FlipBook Version