The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by maw.nfe, 2020-04-21 22:21:48

สังคมศึกษา สค31001 ม.ปลาย

กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

43

2. ในฐานะท่ีทา นเปนสวนหน่ึงของประชากรโลกทานสามารถจะชวยปองกันและแกไขปญหาภาวะ
โลกรอนไดอ ยา งไรใหบอกมา 5 วิธี
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

เรือ่ งท่ี 3 วธิ ีใชเครอื่ งมอื ทางภูมศิ าสตร

เครอ่ื งมือทางภูมิศาสตร
ใชประกอบการเก็บขอมูล เพื่อการบรรยายเชิงปริมาณและคุณภาพของสภาพภูมิอากาศโลก เชน
จพี เี อส หรือระบบกําหนดตําแหนงบนพื้นผิวโลก เข็มทิศ เครือ่ งมอื บางชนดิ ใชป ระกอบการเรียนและการสอน
ในหองเรียนหรอื ในหองปฏิบัตกิ าร และเครอ่ื งมือบางชนิดใชประกอบการศึกษา และเก็บขอมูลเฉพาะในสนาม
เทานั้น บางครั้งการใชเครื่องมือตองใชเคร่ืองคอมพิวเตอรประกอบดวย เชน เคร่ืองมือระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตรหรือท่ีรูจักกันในปจจุบันวา GIS (Geographic Information System) ขอมูลดาวเทียมหรือ SRS
(Satellite Remote Sensing) ระบบกําหนดตําแหนงพื้นผิวโลกหรือ GPS (Global Positioning System)
ซึ่งนกั ภมู ิศาสตรยุคใหมจ ําเปนตอ งรู สําหรบั ในท่ีนี้จะกลาวถึงเครื่องมือ ภูมิศาสตรท่ีสําคัญคือ แผนที่ ลูกโลก
รปู ถา ยทางอากาศและภาพจากดาวเทยี ม และเครอื่ งมอื เทคโนโลยสี ื่อการศึกษาภมู ิศาสตร

44

แผนที่
แผนท่ีเปนส่งิ ท่มี คี วามสาํ คญั มากในการศกึ ษาวชิ าภูมศิ าสตร เพราะครอบคลมุ ท้ังลักษณะภูมิประเทศ
ลกั ษณะภมู อิ ากาศ และทรพั ยากรธรรมชาติ รวมทง้ั สิง่ ทเี่ กดิ ข้ึนจากฝม ือของมนุษยบนพ้ืนผิวโลกดวยการจดั ทํา
แผนทีใ่ นปจจบุ นั ไดมกี ารพฒั นาการขน้ึ เปนลําดบั มกี ารนาํ เอารปู ถา ยทางอากาศและภาพจากดาวเทียมมาชว ย
ในการทาํ แผนทที่ าํ ใหส ามารถสรางแผนที่ไดรวดเรว็ มีความถูกตอ งและทนั สมัยกวา ในอดตี
ความหมายของแผนท่ี
แผนที่ (Map) หมายถึง การแสดงลักษณะพ้ืนผิวโลกลงบนแผนราบ โดยการยอสวนและการใช
สัญลักษณไ มวาเครื่องหมายหรอื สี แทนสิง่ ตาง ๆ บนพ้นื ผวิ โลก แผนที่จงึ ตา งจากลกู โลกและแผนผงั
เครื่องหมายแผนที่ คือ เครือ่ งหมายหรือสัญลักษณที่ใชแทนส่ิงตาง ๆ บนพ้ืนพิภพ ที่เกิดขึ้นเองและ
ตามธรรมชาติ นอกจากเคร่อื งหมายแลว เรายังใชสีเปน การแสดงลกั ษณะภูมปิ ระเทศอีกดว ย คือ
1. สีดํา หมายถึง ภมู ปิ ระเทศสาํ คญั ทางวฒั นธรรมทมี่ นุษยส รา งขนึ้ เชน อาคาร สุสาน วดั สถานท่ี
ราชการตาง ๆ เปนตน
2. สนี ้ําเงิน หมายถงึ ลักษณะภูมิประเทศทเี่ ปนน้ํา เชน ทะเล แมนา้ํ หนอง บึง เปน ตน
3. สีนา้ํ ตาล หมายถงึ ลกั ษณะภมู ิประเทศที่มีความสงู โดยทวั่ ไป เชน เสน ชนั้ ความสูง
4. สีเขยี ว หมายถงึ พชื พนั ธไุ มตางๆ เชน ปา สวน ไร
5. สแี ดง หมายถึง ถนนสายหลัก พนื้ ที่ยานชมุ ชนหนาแนน และลกั ษณะภมู ปิ ระเทศสาํ คัญ

45

ความสาํ คัญของแผนที่

1. ทาํ ใหท ราบลกั ษณะทางธรรมชาตขิ องพนื้ ผิวโลก รวมท้งั กจิ กรรมทางเศรษฐกิจบนพืน้ ผิวโลก
2. ทาํ ใหทราบขอ มลู สถิติตาง ๆ เพอ่ื การเปรยี บเทียบ การพัฒนาการวางแผนในดา นตา ง ๆ

รวมท้ังดานยทุ ธศาสตร

ประโยชนข องแผนที่

1. ในการศึกษาลักษณะภูมิประเทศ แผนที่จะทําใหผูศึกษาทราบวาพื้นที่ใดมีลักษณะภูมิประเทศ
แบบใดบา ง

2. ตอการศกึ ษาธรณีวทิ ยา เพื่อใหท ราบความเปนมาของแหลงทรพั ยากร ดนิ หิน แรธาตุ
3. ดานสมุทรศาสตรแ ละการประมง เพ่ือใหทราบสภาพแวดลอ มชายฝง ทะเล
4. ดา นทรัพยากรนํ้า รขู อ มูลเกีย่ วกับแมน ้าํ และการไหล อา งเกบ็ นาํ้ ระบบการชลประทาน
5. ดานปาไม เพ่อื ใหท ราบคุณลกั ษณะของปา ไมและการเปลีย่ นแปลงพนื้ ท่ีปา
6. ดานการใชท ด่ี นิ เพื่อใหท ราบปจจยั การใชประโยชนท ด่ี นิ ดานตา ง ๆ
7. ดา นการเกษตร การเกษตรมีผลตอ การพฒั นาประเทศ เพ่ือรวู า บรเิ วณใดควรพัฒนา
8. ดา นสิ่งแวดลอม โดยเฉพาะการจัดการทรพั ยากรบรเิ วณตาง ๆ
9. ในการวางผงั เมอื ง เพอื่ ใชข อ มลู ทางธรรมชาติในการจัดวางผังเมืองใหเหมาะสม
10. การศึกษาโบราณคดี เพือ่ คน หาแหลงชมุ ชนโบราณและความรูอ่ืน ๆ
11. ดานอตุ นุ ิยมวิทยา เพ่อื ประโยชนใ นการเพาะปลกู อุตสาหกรรม ประมง การปอ งกนั อทุ กภัย

ลักษณะของสงิ่ ท่แี สดงปรากฏบนแผนท่ีประกอบดวย

1. ลักษณะของสงิ่ ท่เี กิดข้ึนเองตามธรรมชาติ เชน ทะเล มหาสมุทร ทะเลสาบ แมนํา้ ภูเขา ที่ราบ
ที่ราบสงู เกาะ เปน ตน

2. ลักษณะของสงิ่ ทมี่ นุษยส รา งขึน้ เชน เสนก้นั อาณาเขต เมือง หมบู าน สถานที่ราชการ ศาสนสถาน
เสน ทางคมนาคม พ้นื ทเ่ี กษตรกรรม เปนตน

ชนิดของแผนที่

1. แบงตามขนาดของมาตรสวน มี 3 ชนดิ คือ
1.1 แผนทีม่ าตราสวนเล็ก หมายถงึ แผนทีท่ ่ีมาตราสว นเล็กกวา
1 : 1,000,000
1.2 แผนทม่ี าตราสวนกลาง หมายถงึ แผนทีท่ ีม่ มี าตราสวนระหวา ง
1 : 250,000 ถึง 1 : 1,000,000
1.3 แผนทม่ี าตราสว นใหญ หมายถงึ แผนท่ที ี่มีมาตราสวนมากกวา 1 : 250,000

46

2. แบงตามประเภทการใช ไดแก
2.1 แผนท่ีกายภาพ หรือแผนทีล่ กั ษณะภูมปิ ระเทศ (Topographic หรือ Landform หรือ Relief

Map) เปนแผนท่ีแสดงรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เชน ทะเล มหาสมุทร เทือกเขาท่ีราบสูง
ทรี่ าบ ฯลฯ

2.2 แผนที่รัฐกิจ (Political Map) หรือแผนท่ีทั่วไป (General Map) เปนแผนท่ีแสดงขอบเขต
การปกครองของจังหวัด รฐั ประเทศ

2.3 แผนทีป่ ระวตั ศิ าสตร (Historical Map) เปน แผนทแี่ สดงอาณาเขตของอาณาจักรหรอื
จักรวรรดิตา ง ๆ ในสมัยโบราณ

2.4 แผนทโ่ี ครงรา ง (Outline) เปนแผนทีแ่ สดงโครงรางของทวีป ประเทศ โดยไมมีรายละเอียด
ใด ๆ เพื่อใชใ นการศึกษา เชน

2.5 แผนที่เดนิ เรอื (Nautical Map) เปนแผนท่ีแสดงเสน ทางการเดนิ เรือในทองทะเล มหาสมุทร
รวมทง้ั ใชส ญั ลักษณสเี พือ่ แสดงความตื้นลกึ ของพื้นนาํ้

2.6 แผนท่เี ศรษฐกิจ (Economic Map) เปน แผนท่แี สดงเขตกิจกรรมทางเศรษฐกิจตา ง ๆ รวมท้งั
แสดงแหลง ทรัพยากรสาํ คัญ

องคประกอบของแผนท่ี

องคป ระกอบทส่ี าํ คัญ ดังน้ี
1. ช่ือแผนท่เี ปน ส่ิงท่ีมคี วามจาํ เปน สาํ หรบั ใหผ ใู ชไ ดท ราบวาเปนแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียด
อะไรบาง เพอื่ ใหผูใชใชอยางถกู ตอง และตรงความตองการ โดยปกติชือ่ แผนท่ีจะมคี ําอธบิ ายเพิม่ เติมแสดง
ไวด วย เชน แผนทป่ี ระเทศไทยแสดงเน้ือทปี่ าไม แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบงภาคและเขตจงั หวดั เปนตน
2. ขอบระวาง แผนท่ีทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึง่ เปน ขอบเขตของพ้นื ท่ใี นภมู ิประเทศทแ่ี สดงบนแผนที่
แผน นั้นมักจะแสดงดวยเสน ขนานเพ่ือแสดงตําแหนง ละติจูดกับเสน เมริเดยี นเพ่อื แสดงตาํ แหนงลองจจิ ูดและ
จะแสดงตวั เลขเพ่ือบอกคา พกิ ดั ภูมิศาสตรของตาํ แหนงตา ง ๆ
3. ทศิ ทาง มีความสาํ คัญตอ การคน หาตําแหนง ท่ีตงั้ ของส่ิงตาง ๆ โดยในสมยั โบราณใชว ธิ ดี ทู ิศทางตาม
การข้ึนและตกของดวงอาทิตยในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ตอมามีการ
ประดิษฐเขม็ ทศิ ซงึ่ เปน เคร่ืองมือชวยในการหาทศิ ขน้ึ เนื่องจากเข็มของเขม็ ทิศจะชีไ้ ปทางทศิ เหนือตลอดเวลา
การใชทิศทางในแผนท่ีประกอบกับเข็มทิศหรือการสังเกตดวงอาทิตยและดาวเหนือจึงชวยใหเราสามารถ
เดนิ ทางไปยงั สถานทท่ี เ่ี ราตอ งการได ในแผนท่ีจะตองมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรช้ีไปทางทิศเหนือเสมอ ถาหาก
แผนท่ใี ดไมไ ดก าํ หนดภาพเขม็ ทิศหรือลูกศรไวก ็ใหเ ขาใจวาดานบนของแผนทีค่ อื ทิศเหนือ
4. สญั ลกั ษณ เปนเคร่ืองหมายท่ใี ชแ ทนสง่ิ ตาง ๆ ในภมู ิประเทศจริง เพอื่ ชวยใหผ ใู ชสามารถอา น
และแปลความหมายจากแผนทไ่ี ดอ ยา งถกู ตอง ท้งั น้ีในแผนท่ีจะตอ งมีคําอธิบายสญั ลกั ษณป ระกอบไวดวยเสมอ
5. มาตราสวน เปนอัตราสว นระหวางระยะทางทย่ี อ สวนมาลงในแผนที่กบั ระยะทางจรงิ ในภมู ิประเทศ
มาตราสวนชว ยใหผูใชท ราบวาแผนทน่ี ัน้ ๆ ยอ สวนมาจากสภาพในภมู ปิ ระเทศจรงิ ในอตั ราสว นเทา ใด

47

มาตราสว นแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ไดแก มาตราสวนแบบเศษสวน มาตราสวนคําพูดและมาตราสวน
แบบกราฟก มาตราสวนของแผนที่ คือ อัตราสวนระหวางระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ
ความสัมพันธระหวางระยะทางราบบนแผนท่ีกับระยะทางราบในภูมิประเทศ การเขียนมาตราสวนเขียนได
หลายวิธี เชน 50,000 หรอื 1/50,000 หรอื 1 : 50,000

การคํานวณระยะทางบนแผนที่

คาํ นวณไดจ ากสูตร : มาตราสวนของแผนท่ี = ระยะบนแผนที่
ระยะในภูมิประเทศ

6. เสนโคงแผนท่ีเปนระบบของเสนขนานและเสนเมริเดียนท่ีสรางข้ึนเพื่อกําหนดตําแหนงพิกัด
ภูมิศาสตรใหเปนมาตรฐานไวใ ชอ างอิงรวมกนั ซึง่ ประกอบดวย

6.1 เสนขนาน เปน เสน สมมติทลี่ ากจากทศิ ตะวันออก สรา งข้ึนจากการวดั มมุ เรมิ่ จากเสน ศูนยสูตร
ซึ่งมคี ามมุ 0 องศา ไปยงั ขวั้ โลกทั้งสองดา น ๆ ละไมเกิน 90 องศา เสน ขนานท่ีสาํ คญั ประกอบดวย

1. เสน ศูนยส ตู รหรือเสนอิเควเตอร มคี า มุม 0 องศา
2. เสนทรอปกออฟแคนเซอร มีคามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
3. เสน ทรอปก ออฟแคปริคอรน มีคามุม 23 องศา 30 ลปิ ดาใต
4. เสน อารก ตกิ เซอรเคิล มีคา มุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนอื
5. เสนอนั ตารก ติกเซอรเ คลิ มคี า มุม 66 องศา 30 ลิปดาใต
6.2 เสนเมริเดียน เปนเสนสมมติที่ลากจากข้ัวโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต สรางขึ้นจากการสมมติ
เสน เมรเิ ดียนปฐม มคี ามุม 0 องศา ลากผานตําบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักรไปทางทิศ
ตะวันออกและทิศตะวันตกดานละ 180 องศา โดยเสนเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศา
ตะวันตกจะทบั กันเปนเสนเดียวน้ีใหเปนเสนวันท่ีหรือเสนแบงเขตวันระหวางชาติ หรือเสนแบงเขตวันสากล
เสนเมริเดียนแรกหรือเสนเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) คือเสนเมริเดียนที่ลากผานหอดูดาวแหงหนึ่ง
ตาํ บลกรนี ชิ ใกลกรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษ ท้ังนเี้ พอ่ื ใชเปนหลักอา งอิงในการนับเสนเมรเิ ดียนอนื่ ๆ ตอไป
เสนเมริเดียนรอบโลกมี 360 เสน แบงเปนเสนองศา ตะวันออก 180 เสน และเสนองศาตะวันตก 180 เสน
ความสําคัญของเสนเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตําแหนงท่ีตั้งตางๆ บนพื้นผิวโลกโดยใชรวมกับ เสนขนาน
(เสนละตจิ ูด) และใชเ ปนแนวแบงเขตเวลาของโลก

48

7. พิกัดภูมิศาสตรเปนระบบท่ีบอกตําแหนงของส่ิงตาง ๆ บนพ้ืนผิวโลก โดยอาศัยเสนโครงแผนที่
ซง่ึ เสน ขนานและเสน เมริเดยี นตัดกันเปน จุดส่งิ ตาง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยอานคา พิกดั ภมู ศิ าสตรเปนละตจิ ูด
(เสน ขนาน) และลองจิจูด (เสน เมรเิ ดยี น)

ดงั น้ัน ละติจดู เปน พกิ ัดของจดุ หนงึ่ บนเสน ขนาน สว นลองจจิ ูดกเ็ ปนพกิ ัดของจดุ หนึ่งบนเสนเมรเิ ดยี น
ซงึ่ ทัง้ ละติจดู และลองจจิ ดู มคี า ของมุมเปนองศา โดย 1 องศา มคี าเทากับ 60 ลิปดาและ 1 ลิปดา มีคาเทากับ
60 ฟลิปดา

พิกัดภูมิศาสตรเปนระบบท่ีบงบอกตําแหนงท่ีตั้งอยูจุดตําแหนงตาง ๆ บนพ้ืนผิวโลก โดยอาศัย
โครงขายของเสนโครงแผนทีซ่ ง่ึ ประกอบดว ยเสน เมรเิ ดียนกบั เสนขนานตดั กนั เปน “จุด”

1) ละติจดู (Latitude) เปนคา ของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเสนศูนยสูตรไปทางเหนือ
หรอื ใตจนถงึ 90 องศาท่ีข้ัวโลกทัง้ สอง

2) ลองจิจูด (Longitude) เปน คาของระยะทางเชงิ มุม โดยนับ 0 องศา จากเสน เมริเดียนไปทางทิศ
ตะวนั ออกและทศิ ตะวนั ตกจนถึง 180 องศา

ปจจุบันการบงบอกจุดตําแหนงบนพ้ืนผิวโลก สามารถทราบไดงายและถูกตอง โดยใช จีพีเอส
เครื่องมือกําหนดตําแหนงบนพื้นผิวโลก (GPS:Global Positioning System) เคร่ืองมือชนิดนี้ มีขนาดเล็ก
พกพาไดส ะดวก และใหขอมลู ตําแหนงบนพ้ืนผวิ โลกไดต รงกบั ความเปนจริง ดงั น้ันจึงมผี นู ําเครื่องมือน้ีไปใชได
สะดวกสบายในกิจกรรมตาง ๆ ไดแก การเดินเรือ การเดินทาง ทองเที่ยวปา การเดินทางดวยรถยนต
เครื่องบิน เปนตน เมื่อกดปุมสวิตซ เครื่องจะรับสัญญาณจากดาวเทียมแลวบอกคาพิกัดภูมิศาสตรใหทราบ
เครอ่ื งหมายแผนที่

49

ลกู โลก
องคประกอบของลกู โลก องคป ระกอบหลักของลูกโลก
จะประกอบไปดวย
1. เสนเมริเดยี นหรือเสน แวง เปน เสนสมมติที่ลากจาก
ข้ัวโลกเหนือไปจดขั้วโลกใต ซึ่งกําหนดคาเปน 0 องศา ท่ีเมือง
กรีนชิ ประเทศอังกฤษ
2. เสนขนาน หรอื เสนรุง เปนเสนสมมติท่ีลากจากทิศ
ตะวันตกไปทิศตะวันออก ทุกเสนจะขนานกับเสนศูนยสูตร ซึ่งมี
คามมุ เทากับ 0 องศา
การใชลูกโลก ลูกโลกใชประกอบการอธิบายตําแหนงหรือสถานที่ของจุดพ้ืนท่ีของสวนตาง ๆ
ของโลก โดยประมาณ
เข็มทศิ
เข็มทิศเปนเคร่ืองมือสําหรับใชในการหาทิศของจุดหรือวัตถุ
โดยมีหนว ยวดั เปน องศา เปรยี บเทียบกับจดุ เร่มิ ตน เข็มทิศใชในการหา
ทศิ โดยอาศยั แรงดงึ ดดู ระหวา งสนามแมเ หลก็ ขั้วโลก (Magnetic Pole)
กับเข็มแมเหล็ก ซึ่งเปนองคประกอบสําคัญที่สุดของเคร่ืองมือน้ี
เขม็ แมเหล็กจะแกวง ไกวไดโ ดยอสิ ระในแนวนอน เพ่อื ใหแนวเข็มชี้อยใู น
แนวเหนือใต ไปยังข้ัวแมเหล็กโลกตลอดเวลา หนาปดเข็มทิศซ่ึงคลาย
กบั หนาปด นาฬกิ าจะมกี ารแบงโดยรอบเปน 360 องศา ซง่ึ เข็มทิศมีประโยชนในการเดินทาง เชน การเดินเรือ
ทะเล เครือ่ งบิน การใชเ ข็มทศิ จะตองมแี ผนที่ประกอบและตองหาทิศเหนอื กอ นเพอ่ื จะไดรูทศิ อืน่

รปู ถา ยทางอากาศและภาพจากดาวเทียม

รูปถายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมเปน รปู หรือขอมลู ตวั เลขทีไ่ ดจ ากการเกบ็ ขอมลู ภาคพื้นดนิ
จากกลอ งท่ีติดอยูก ับพาหนะ เชน เครื่องบนิ หรอื ดาวเทียม โดยมกี ารบนั ทึกขอ มูลอยางละเอยี ดหรอื หยาบใน
เวลาแตกตา งกนั จึงทําใหเ ห็นภาพรวมของการใชพืน้ ทีแ่ ละการเปล่ียนแปลงตาง ๆ ตามที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก
เชน การเกิดอทุ กภัย ไฟปา การเปลยี่ นแปลง การใชทีด่ ิน การกอสรา งสถานท่ี เปน ตน

ประโยชนข องรปู ถายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ที่นิยมใชกันมากจะเปนรูปหรือภาพถายท่ีได
จากการสะทอนคลื่นแสงของดวงอาทิตยข้ึนไปสูเคร่ืองบันทึกที่ติดอยูบนเครื่องบินหรือดาวเทียม การบันทึก
ขอมูลอาจจะทําโดยใชฟลม เชน รูปถายทางอากาศสีขาวดํา หรือรูปถายทางอากาศสีธรรมชาติ การบันทึก
ขอมลู จากดาวเทียมจะใชสัญญาณเปน ตัวเลขแลว จึงแปลงคา ตวั เลขเปน ภาพจากดาวเทยี มภายหลงั

การใชร ปู ถายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ผูใชจ ะตอ งไดรับการฝกหัดเพื่อแปลความหมายของ
ขอมูล การแปลความหมายอาจจะใชการแปลดวยสายตาตามความสามารถของแตละบุคคลหรือใชเครื่อง
คอมพิวเตอรแ ละโปรแกรมเขามาชว ย

50

เครอื่ งมอื เทคโนโลยีเพอื่ การศกึ ษาภมู ศิ าสตร

ในโลกยคุ ปจจุบันทเี่ ต็มไปดวยขอ มลู ขา วสาร และขอมลู ท่ีเปนตวั เลขจํานวนมาก เทคโนโลยจี ึงเขา มามี
ความสําคญั และจะมีความสาํ คญั มากยิ่งข้นึ ในอนาคต เทคโนโลยที ส่ี ําคัญดา นภูมิศาสตร คือ ระบบสารสนเทศ
ภูมศิ าสตรห รือ GIS (Geographic Information System) และระบบกําหนดตําแหนงพ้ืนผิวโลก หรือ GPS
(Global Positioning System) เครอ่ื งมือทัง้ สองประกอบดว ยคอมพวิ เตอร หรอื ฮารด แวร (Hard ware) ซึง่ มี
ขนาดตา งๆ และโปรแกรมหรือซอฟแวร (Software) เปน หลักในการจัดทาํ ดังนี้

1) ประโยชนของเครื่องมือเทคโนโลยีเพ่อื การศกึ ษาภมู ศิ าสตร จะคลายกับการใชประโยชนจากแผนท่ี
สภาพภูมิประเทศและแผนท่ีเฉพาะเรือ่ ง เชน จะใหค ําตอบวา ถาจะตองเดนิ ทางจากจดุ หนง่ึ ไปยังอกี จุดหนึ่งใน
แผนทจี่ ะมรี ะยะทางเทา ใด และถา ทราบความเร็วของรถจะทราบไดวาจะใชเวลานานเทา ใด

หลังจากการทาํ งานของระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร คือ การจัดหมวดหมขู องขอ มูลตามความตองการ
ที่จะนําไปวิเคราะหการคัดเลือกตัวแปร หรือปจจัยที่เก่ียวของ การจัดลําดับความสําคัญของปจจัยและการ
ซอ นทับขอ มลู ตัวอยางเชน ตองการหาพ้ืนท่ีที่เหมาะสมสําหรับการปลูกขาว โดยแบงออกเปน 3 ระดับ คือ
เหมาะสมดี เหมาะสมปานกลาง และไมเ หมาะสม โดยคัดเลือกขอมลู 2 ประเภท คือ ดินและสภาพภูมิประเทศ

2) การใชเคร่ืองมือเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษาภูมิศาสตร การใชเครื่องมือเทคโนโลยีจําเปนตองมี
เคร่ืองคอมพวิ เตอรและโปรแกรม ผูใ ชจ ะตอ งไดร ับการฝกฝนกอ นทีจ่ ะลงมือปฏบิ ตั ิ

แหลง ขอมลู สารสนเทศของไทย

ปจ จุบนั ไดม ีการคดิ คน และพฒั นาการขอ มลู สารเทศอยางรวดเร็วและไดเผยแพรขอมูลสูสาธารณชน
มาก โดยเฉพาะการนําขอมูลเขาเว็บไซดใหประชาชนและผูสนใจท่ัวไปเขาไปดูขอมูลได ซึ่งเปนประโยชน
อยางมากตามความตองการของผใู ชข อ มูล แตขอมูลบางชนิดอาจตอ งตดิ ตอจากหนวยงานนั้น ๆ โดยตรง
ทั้งจากหนวยงานของรัฐท่ีสําคัญ ๆ คือ กรมอุตุนิยมวิทยาและกรมแผนที่ทหารและเอกชนที่สําคัญ ๆ คือ
เคร่ืองเดินอากาศและเดินเรือ เว็บไซตท่ีนาสนใจ เชน ขอมูลดานสถิติ (www.nso.go.th) ขอมูลประชากร
(www.dola.go.th) ขอมูลดาวเทียม (www.gistda.go.th) ขอมูลดินและการใชที่ดิน (www.dld.go.th)
เปนตน

กลา วโดยสรุป เครื่องมือทางภูมิศาสตรใชประกอบการศึกษา และการเก็บขอมูลเครื่องมือบางชนิด
เหมาะสําหรบั ใชใ นหองเรียน หรือหอ งปฏบิ ัติการ เคร่ืองมือบางชนิดใชไ ดส าํ หรบั ในหอ งเรียนและในภาคสนาม
ผูใ ชจ ะไดร วู า เมือ่ ใดควรใชเ ครอื่ งมือภูมิศาสตรในหองเรียนและเมื่อใดควรใชในภาคสนาม เคร่ืองมือบางชนิด
จะมคี วามซับซอนมาก หรอื ตอ งใชรวมกันระหวางเครอื่ งคอมพิวเตอรและโปรแกรม

เครื่องมือทางภมู ิศาสตรท ี่มคี วามสําคญั มากในปจ จบุ นั คอื ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร (GIS) ซ่ึงแปลง
สารสนเทศทเ่ี กี่ยวกับพื้นท่ี และขอมูลตารางหรือคําอธิบายที่ใหเปนขอมูลเชิงตัวเลขทําใหการจัดเก็บเรียกดู
ขอมูล การปรับปรุงแกไขและการวิเคราะหเปนไปอยางรวดเร็ว และถูกตองและแสดงผลในรูปแบบแผนท่ี
กราฟ หรอื ตารางไดอยางถูกตองอีกดวย สวนระบบ กําหนดตําแหนงบนพ้ืนผิวโลก (GIS) ใชกําหนดจุดพิกัด
ตาํ แหนงของวตั ถตุ าง ๆ บนผวิ โลก โดยอาศัยสัญญาณจากดาวเทียมหลายดวงท่โี คจรอยูรอบโลก

51

กจิ กรรมท่ี 1.3 วธิ ใี ชเ คร่อื งมอื ทางภูมศิ าสตร
1. แผนทีห่ มายถึง

..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................

2. จงบอกประโยชนข องการใชแผนที่มา 5 ขอ
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................

3. ใหบอกวธิ ีการใชเ ข็มทศิ คกู บั การใชแผนที่พอสังเขป
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

52

เร่ืองท่ี 4 ปญหาการทําลายทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอม
ผลการจดั ลําดับความสาํ คญั ของปญ หาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอม

ปญหาทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม น้ันไดมีการสํารวจทัศนคติของประชาชน พบวา ปญหา
สาํ คญั 5 ลาํ ดบั แรก มีดงั นี้ ลาํ ดับท่ี 1 การสูญเสียทรัพยากรปาไม ลําดับที่ 2 อุทกภัยและภัยแลง ลําดับท่ี 3
ความเส่อื มโทรมของทรัพยากรดินและการใชท่ีดิน ลาํ ดับท่ี 4 มลพิษจากขยะ และลาํ ดับที่ 5 มลพิษทางอากาศ
ดังตารางแสดง ผลการจดั ลําดับความสาํ คัญ ดังตอไปน้ี

ผลการ ทรพั ยากรธรรมชาติ ลาํ ดบั ความสําคัญ
จัดลําดบั และสง่ิ แวดลอม (จําแนกตามวธิ ีการจดั ลาํ ดับ)
(ลําดับท่ี)
จดั ลําดบั ดวย จดั ลาํ ดบั ดวย

มลู คา ความเสยี หาย ทัศนคติประชาชน

1 ทรพั ยากรปาไม 12

2 ทรัพยากรนา้ํ 31

3 ทรัพยากรดนิ และการใชท ีด่ ิน 2 6

4 มลพษิ จากขยะ 74

5 มลพิษทางอากาศ 57

6 มลพิษทางน้าํ 85

7 ทรัพยากรพลงั งาน 11 3

8 ทรัพยากรทะเลและชายฝง 4 10

9 มลพิษจากสารอนั ตราย 98

10 มลพิษจากของเสียอันตรายจากชมุ ชน 6 12

11 ทรพั ยากรและแร 10 9

ทม่ี า : สถาบันวิจัยเพอื่ การพฒั นาประเทศไทย 2549

53

ความสาํ คญั ของสงิ่ แวดลอม คือ เอ้ือประโยชนใหสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตวอยูรวมกันอยางมีความสุข
มีการพง่ึ พากันอยา งสมดุล มนุษยดํารงชีพอยไู ดด ว ยอาศัยปจ จยั พ้ืนฐานจากสิ่งแวดลอม ซึง่ ประกอบดวยอาหาร
อากาศ นา้ํ ท่อี ยูอาศัย และยารกั ษาโรค ส่งิ แวดลอ มเปน องคป ระกอบที่สาํ คญั ของสิ่งมชี วี ติ ทุกชนิด แต “ทําไม
สิ่งแวดลอมจึงถูกทําลาย” และเกิดปญหามากมายท่วั ทุกมมุ โลก เมื่อทาํ การศกึ ษาพบวา “มนุษย”เปนผูทําลาย
สิง่ แวดลอมมากที่สุด สาเหตทุ ่มี นุษยท าํ ลายส่ิงแวดลอ มเกิดจากความเหน็ แกต ัวของมนุษยเ อง โดยมงุ เพื่อดาน
วัตถุและเงินมาตอบสนองความตอ งการของตนเอง

เมอ่ื ส่งิ แวดลอ มถูกทาํ ลายมากข้นึ ผลกระทบก็ยอนกับมาทาํ ลายตัวมนุษยเอง เชน เกิดการเปล่ียนแปลง
บรรยากาศของโลก เกิดสภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกรอนตลอดจนเกิดภัยธรรมชาติตาง ๆ เชน นํ้าทวม
แผนดินถลม ควันพิษ น้ําเนาเสีย ขยะมูลฝอย และส่ิงปฏิกูล ซึ่งสิ่งเหลาน้ีมีผลโดยตรงและทางออม และ
ไมส ามารถหลีกเลย่ี งได

ผลกระทบจากการใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับท่ี 4 ของไทยเกิดจากการโดยนํา
นโยบายการปลูกพืชเชิงเดย่ี วเขา มาใชเ พือ่ มุงพัฒนาเศรษฐกจิ เปน หลกั ทําใหป ระชาชนตื่นตัวในการทําไรปลูก
พืชเชิงเดีย่ ว เชน มันสําปะหลงั ออย ปอ จงึ เกดิ การทาํ ลายปา และทรพั ยากรธรรมชาตเิ พ่ือหาพื้นท่ีในการปลูก
พืชเชิงเด่ียวตามนโยบายรัฐบาล มีการใชปุยเคมี ใชยาปราบศัตรูพืช เกิดโรงงานอุตสาหกรรมจํานวนมาก
แตภ าครัฐยังขาดการควบคุมอยางเปนระบบและชัดเจน จงึ ทาํ ใหเ กดิ ผลกระทบมาจนถึงปจจุบัน เชนปาไมถูก
ทําลาย ดินเสื่อมคุณภาพ น้ําเนาเสีย เกิดสารเคมีสะสมในแหลงน้ําและดิน เกิดมลพิษ ซ่ึงส่ิงเหลานี้เกิด
ผลกระทบโดยตรงและโดยออม ตอสขุ ภาพและการดาํ รงชวี ติ ของประชาชน ทําใหเกิดความเสียหายตอประเทศ
โดยรวม

จากการศกึ ษาของนักวิชาการ พบวา การแกไ ขปญ หาสิง่ แวดลอมตอ งแกท่ตี ัว “มนษุ ย” นัน่ คือจะตอง
ใหความรู ความเขาใจธรรมชาติ เจตคติ มีคุณธรรมจริยธรรม และสรางจิตสํานึกใหเกิดความตระหนักตอ
สง่ิ แวดลอม ตอประชาชน โดยเรยี นรูจ ากแหลงเรียนรูใหม ๆ สรางความตระหนักในปญ หาที่เกิดข้ึน และสราง
การมสี ว นรว มในการปอ งกันและแกไขปญ หาทีเ่ กดิ ขนึ้ ปญหาสงิ่ แวดลอ มสาํ คญั ๆ ดังตอไปน้ี คือ

1. ปา ไม

“ปา ไม” เปนศูนยรวมของสรรพ
ชวี ติ เปน ท่ีกอกําเนิดสายน้ํา ชีวิตพืชและ
สัตวท่ีหลากหลายอีกทั้งเปนที่พึ่งพิงและ
ใหประโยชนแกมนุษยมาแตโบราณกาล
เพราะปา ไมชวยรักษาสมดลุ ของธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอม ควบคุมสภาพดินฟา
อากาศ กําบังลมพายุ ปองกันบรรเทา
อทุ กภยั ปองกนั การพังทลายของหนาดิน
เปนเสมือนเขื่อนธรรมชาติท่ีปองกันการ

54

ต้นื เขินของแมนํ้าลําคลอง เปน แหลง ดูดซบั กา ซคารบ อนไดออกไซดและเปนโรงงานผลิตออกซิเจนขนาดใหญ
เปน คลงั อาหารและยาสมนุ ไพร และปาไม ยงั เปนแหลงศึกษาวิจัยและเปน สถานที่พักผอนหยอนใจของมนุษย
นอกจากนี้ในผนื ปา ยงั มสี ตั วปา นานาชนดิ ซ่งึ มีประโยชนตอมนุษยและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในหลายลักษณะ ไดแก
การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ เชน การควบคุมปริมาณสัตวปาใหอยูในภาวะสมดุล การชวยแพรพันธุพืช
การควบคมุ แมลงศัตรพู ชื เปน ปยุ ใหก ับดนิ ในปา เปนตน การเปน แหลงพันธกุ รรมท่หี ลากหลาย การเปน อาหาร
ของมนุษยและสัตวอ่ืน และการสรางรายไดใหแกมนุษย เชน การคาจากชิ้นสวนตาง ๆ ของสัตวปา
การจําหนายสัตวปา และการเปดใหบริการชมสวนสัตว เปนตน ดังนั้น จึงนับวาปาไมใหคุณประโยชน
ทัง้ ทางตรงและทางออ มแกม วลมนษุ ยเ ปนอยางมากมาย หากปา ไมเ สอ่ื มโทรม ชวี ิตความเปน อยขู องมนุษยแ ละ
สัตวอยา งหลกี เลี่ยงไมได

ประเภทของปา ไมในประเทศไทย

ประเภทของปาไมจะแตกตางกันไปขึ้นอยูกับการกระจายของฝน ระยะเวลาท่ีฝนตกรวมท้ังปริมาณ
น้าํ ฝนทําใหป าแตล ะแหง มีความชมุ ชืน้ ตางกนั สามารถจาํ แนกไดเปน 2 ประเภทใหญ ๆ คอื

1. ปาประเภทท่ีไมผลัดใบ (Evergreen)
2. ปาประเภทที่ผลดั ใบ (Deciduous)

ปาประเภทท่ไี มผลดั ใบ (Evergreen)

ปา ประเภทน้มี องดเู ขียวชอมุ ตลอดป เนอ่ื งจากตนไมแทบทั้งหมดทข่ี ึน้ อยเู ปน ประเภทท่ไี มผ ลดั ใบ
ปาชนิดสําคัญซง่ึ จดั อยใู นประเภทนี้ ไดแ ก

1. ปา ดงดบิ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)

ปา ดงดิบท่ีมอี ยูท่วั ในทุกภาคของประเทศ แตท ี่มมี ากท่ีสดุ ไดแก ภาคใตและภาคตะวันออกในบรเิ วณน้ี
มีฝนตกมากและมีความช้ืนมากในทองท่ีภาคอ่ืน ปาดงดิบมักกระจายอยูบริเวณที่มีความชุมช้ืนมาก ๆ เชน
ตามหบุ เขา ริมแมน้าํ ลาํ ธาร หวย แหลงนาํ้ และบนภเู ขา ซ่ึงสามารถแยกออกเปนปา ดงดิบชนดิ ตา ง ๆ ดังน้ี

1.1 ปาดบิ ชนื้ เปนปา รกทึบมองดเู ขียวชอุมตลอดปมีพันธุไมหลายรอยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู
มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแตความสูง 600 เมตร จากระดับนํ้าทะเล ไมที่สําคัญก็คือ ไมตระกูลยางตาง ๆ
เชน ยางนา ยางเสียน สว นไมชั้นรอง คือ พวกไมกอ เชน กอนํา้ กอเดือย

1.2 ปาดิบแลง เปนปาที่อยูในพ้ืนท่ีคอนขางราบมีความชุมชื้นนอย เชน ในแถบภาคเหนือและ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยูสูงจากระดับนํ้าทะเลประมาณ 300-600 เมตร ไมท่ีสําคัญ ไดแก มะคาโมง
ยางนา พะยอม ตะเคยี นแดง กระเบากลกั และตาเสือ

1.3 ปาดิบเขา ปาชนิดน้ีเกิดขึ้นในพ้ืนที่สูง ๆ หรือบนภูเขาต้ัง 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจาก
ระดับนํ้าทะเล ไมสวนมากเปนพวก Gymnosperm ไดแก พวกไมขุนและสนสามพันป นอกจากน้ียังมีไม
ตระกูลกอข้ึนอยู พวกไมช้ันทส่ี องรองลงมา ไดแ ก สะเดาชา ง และขมิ้นชัน

55

2. ปา สนเขา (Pine-Forest)
ปาสนเขามักปรากฏอยูต ามภูเขาสงู สวนใหญเปน พน้ื ท่ีซึง่ มคี วามสูงประมาณ 200 - 1,800 เมตร
ขนึ้ ไปจากระดับนาํ้ ทะเลในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางทีอาจปรากฏในพ้ืนท่ีสูง
200 -300 เมตร จากระดบั นาํ้ ทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต ปาสนเขามีลักษณะเปนปาโปรง ชนิดพันธุไมที่
สําคัญของปาชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ สวนไมชนิดอ่ืนท่ีขึ้นอยูดวยไดแกพันธุไมปาดิบเขา เชน
กอชนิดตาง ๆ หรอื พนั ธไุ มป าแดงบางชนดิ คอื เตง็ รงั เหยี ง พลวง เปนตน

3. ปาชายเลน (Mangrove Forest)
บางทเี รยี กวา “ปา เลนน้ําเค็ม” หรือปาเลน มีตนไมขึ้นหนาแนน แตล ะชนดิ มรี ากคาํ้ ยันและรากหายใจ
ปาชนดิ นีป้ รากฏอยตู ามทด่ี นิ และริมทะเลหรือบริเวณปากนํ้าแมน้ําใหญ ๆ ซ่ึงมีนํ้าเค็มทวมถึงในพื้นที่ภาคใต
มีอยูตามชายฝง ทะเลท้ังสองดา น ตามชายทะเลภาคตะวันออกมอี ยูท กุ จงั หวัดแตท่ีมากทส่ี ดุ คือ บริเวณปากนํ้า
เวฬุ อาํ เภอขลุง จงั หวดั จันทบุรี
พนั ธุไ มท ่ขี นึ้ อยูตามปา ชายเลน สวนมากเปนพนั ธไุ มขนาดเลก็ ใชป ระโยชนสาํ หรบั การเผาถา น และทํา
ฟนไมช นดิ ทสี่ ําคญั คือ โกงกาง ถ่ัวขาว ถว่ั ขาํ โปรง ตะบูน แสมทะเล ลําพูนและลําแพน ฯลฯ สวนไมพื้นลาง
มกั เปน พวก ปรงทะเล เหงือกปลาหมอ และปอทะเล เปนตน

56

4. ปาพรหุ รือปา บึงนา้ํ จืด (Swamp Forest)
ปาชนิดน้ีมักปรากฏในบริเวณที่มีนํ้าจืดทวมมากๆ ดินระบายน้ําไมดี ปาพรุในภาคกลาง มีลักษณะ
โปรงและมตี น ไมข น้ึ อยหู า ง ๆ เชน สนนุ จิก โมกบา น หวายน้าํ หวายโปรง ระกํา ออ และแขม ในภาคใตปาพรุ
มขี ้นึ อยูตามบริเวณทม่ี นี ้ําขังตลอดป ดนิ ปา พรุ ทมี่ ีเน้ือทมี่ ากที่สุดอยูในบริเวณจังหวัดนราธิวาส ดินปาพรุเปน
ซากพชื ผสุ ลายทับถมกนั เปนเวลานาน ปาพรุแบงออกได 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซ่ึงเปนพรุนํ้ากรอยใกล
ชายทะเลตน เสมด็ จะขึน้ อยูหนาแนนพื้นที่มีตนกกชนิดตาง ๆ เรียก“ปาพรุเสม็ด หรือ ปาเสม็ด” อีกลักษณะ
เปนปา ท่มี ีพนั ธไุ มตาง ๆ มากชนดิ ข้ึนปะปนกัน
ชนิดพันธไุ มท ี่สําคญั ของปาพรุ ไดแก อินทนิลนํ้า หวาจกิ โสกนํา้ กระทุม น้าํ กนั เกรา โงงงนั ไมพ นื้ ลาง
ประกอบดวย หวาย ตะคา ทอง หมากแดง และหมากชนดิ อนื่ ๆ
5. ปา ชายหาด (Beach Forest)
เปน ปาโปรง ไมผลดั ใบขึ้นอยูตามบรเิ วณหาดชายทะเล นํา้ ไมทว มตามฝง ดนิ และชายเขารมิ ทะเล ตนไม
สาํ คญั ท่ีขน้ึ อยูตามหาดชายทะเล ตอ งเปน พชื ทนเคม็ และมกั มลี ักษณะไมเปนพุมลักษณะตนคองอ ใบหนาแข็ง
ไดแก สนทะเล หูกวาง โพธ์ทิ ะเล กระทิง ตีนเปด ทะเล หยนี ํ้า มกั มตี นเตยและหญาตาง ๆ ขน้ึ อยู
เปนไมพื้นลาง ตามฝงดินและชายเขา มักพบ มะคาแต กระบองเพชร เสมา และไมหนามชนิดตาง ๆ เชน
ซงิ ซี่ หนามหนั กาํ จาย มะดนั ขอ เปนตน
ปา ประเภทท่ผี ลดั ใบ
ตน ไมทขี่ ้ึนอยูใ นปาประเภทนี้เปน จําพวกผลัดใบแทบท้ังสน้ิ ในฤดูฝนปาประเภทน้ีจะมองดูเขียวชอุม
พอถึงฤดูแลงตนไม สวนใหญจะพากันผลัดใบทําใหปามองดูโปรงขึ้น และมักจะเกิดไฟปาเผาไหมใบไมและ
ตนไมเ ลก็ ๆ ปาสําคญั ซึ่งอยใู นประเภทน้ี ไดแ ก
1. ปา เบญจพรรณ
ปาผลัดใบผสมหรือปาเบญจพรรณมีลักษณะเปนปาโปรงและยังมีไมไผชนิดตาง ๆ ข้ึนอยูกระจัด
กระจายท่วั ไปพ้ืนที่ดินมกั เปนดินรวนปนทราย ปาเบญจพรรณ ในภาคเหนือมักจะมีไมสักขึ้นปะปนอยูท่ัวไป

57

ครอบคลุมลงมาถึงจงั หวัดกาญจนบุรี ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีปาเบญจพรรณ
นอยมากและกระจัดกระจาย พันธุไ มชนิดสําคัญ ไดแก สัก ประดูแดง มะคาโมง ตะแบก เสลา ออยชาง ลาน
ยมหอม ยมหิน มะเกลือ เก็ดดํา เกด็ แดง ฯลฯ นอกจากนมี้ ไี มไผท สี่ ําคัญ เชน ไผป า ไผบง ไผซาง ไผรวก ไผไร
เปน ตน

2. ปาเต็งรงั หรอื ท่ีเรียกกันวา ปาแดง

ปา แพะ ปา โคก ลักษณะทว่ั ไปเปนปา โปรง ตามพื้นปามักจะพบตนปรง และหญาเพ็ก พื้นท่ีแหงแลง
ดินรวนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยูท ่วั ไปในทร่ี าบและท่ีภูเขา ในภาคเหนือสวนมากข้ึนอยูบนเขาที่มีดิน
ตน้ื และแหง แลงมาก ในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื มีปาแดงหรอื ปา เตง็ รงั นีม้ ากที่สดุ ตามเนินเขาหรือที่ราบดิน
ทราย ชนิดของพันธุไมที่สําคัญในปาแดง หรือปาเต็งรัง ไดแก เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ต้ิว แตว
มะคา แต ประดู แดง สมอไทย ตะแบก เลอื ดแสลงใจ รกฟา ฯลฯ สวนไมพ้ืนลา งทีพ่ บมาก ไดแก มะพราวเตา
ปุมแปง หญา เพ็ก ปรงและหญาชนิดอนื่ ๆ

3. ปา หญา (Savannas Forest)

ปา หญา ทอ่ี ยูทุกภาคเกิดจากปาทถี่ ูกแผว ถางทาํ ลายบริเวณพน้ื ดินท่ขี าดความสมบูรณ และถูกทอดท้ิง
หญาชนิดตา ง ๆ จึงเกิดขนึ้ ทดแทนและพอถึงหนา แลง กเ็ กดิ ไฟไหมท าํ ใหต นไมบ รเิ วณขา งเคียงลมตาย พื้นท่ีปา
หญา จึงขยายมากข้ึนทุกป พืชท่ีพบมากท่ีสุดในปาหญาคือ หญาคา หญาขนตาชาง หญาโขมง หญาเพ็กและ
ปุมแปง บริเวณที่พอจะมีความช้ืนอยูบาง และการระบายนํ้าไดดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู และอาจพบ
ตนไมทนไฟขน้ึ อยู เชน ตับเตา รกฟา ตานเหลือ ติว้ และแตว

ประโยชนข องทรัพยากรปา ไม
ปาไมน อกจากเปนที่รวมของพันธุพืชและพันธุสัตวจํานวนมาก ปาไมยังมีประโยชนมากมายตอการ
ดํารงชวี ิตของมนุษยทงั้ ทางตรงและทางออม ดงั น้ี
ประโยชนทางตรง ไดแ ก ปจจัย 4 ประการ
1. จากการนําไมมาสรา งอาคารบานเรอื นและผลิตภัณฑตาง ๆ เชน เฟอรน เิ จอร กระดาษ ไมขดี ไฟ
ฟน เปนตน
2. ใชเปนอาหารจากสวนตางๆ ของพชื ทะเล
3. ใชเ สนใย ที่ไดจ ากเปลือกไมและเถาวัลยมาถักทอ เปนเคร่ืองนงุ หม เชอื กและอ่ืนๆ
4. ใชทํายารักษาโรคตา ง ๆ

ประโยชนทางออม
1. ปาไมเ ปน เปนแหลง กาํ เนดิ ตน นา้ํ ลาํ ธารเพราะตนไมจ ํานวนมากในปาจะทําใหนา้ํ ฝนท่ีตกลงมา
คอ ย ๆ ซมึ ซับลงในดนิ กลายเปนนํา้ ใตดินทซ่ี ึง่ จะไหลซมึ มาหลอ เลี้ยงใหแมน ้ํา ลาํ ธารมนี ํา้ ไหลอยตู ลอดป
2. ปา ไมทําใหเกดิ ความชมุ ชืน้ และควบคุมสภาวะอากาศ ไอนํ้าซ่ึงเกิดจากการหายใจของพืช ซ่ึงเกิด
ขึ้นอยูมากมายในปาทําใหอากาศเหนือปามีความช้ืนสูงเม่ืออุณหภูมิลดตํ่าลงไอนํ้าเหลานั้นก็จะกล่ันตัว

58

กลายเปนเมฆแลวกลายเปน ฝนตกลงมา ทาํ ใหบ รเิ วณทมี่ พี ืน้ ปา ไมมคี วามชุม ชน้ื อยูเสมอ ฝนตกตอ งตามฤดกู าล
และไมเ กดิ ความแหง แลง

3. ปาไมเปนแหลงพักผอนและศึกษาความรู บริเวณปาไมจะมีภูมิประเทศท่ีสวยงามจากธรรมชาติ
รวมทั้งสตั วปา จงึ เปนแหลงพกั ผอ นไดศกึ ษาหาความรู

4. ปาไมช วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุ และปองกันอุทกภัย โดยชวยลดความเร็วของลมพายุ
ท่ีพัดผานไดต้ังแต 11 – 44% ตามลักษณะของปาไมแตละชนิด จึงชวยใหบานเมืองรอดพนจากวาตภัยได
ซ่ึงเปน การปองกันและควบคมุ นํา้ ตามแมน้ําไมใหส งู ขนึ้ มารวดเร็วลน ฝงกลายเปน อทุ กภยั

5. ปาไมชวยปอ งกันการกัดเซาะและพัดพาหนาดิน จากน้ําฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะ ลงการ
หลุดเล่อื นของดนิ จึงเกดิ ขน้ึ นอย และยังเปนการชว ยใหแมน า้ํ ลําธารตาง ๆ ไมต้ืนเขินอีกดวย นอกจากนี้ปาไม
จะเปน เสมอื นเคร่ืองกีดขวางตามธรรมชาติ จงึ นับวา มปี ระโยชนใ นทางยุทธศาสตรด ว ยเชนกนั

สาเหตสุ าํ คัญของวิกฤตการณป า ไมในประเทศไทย
1. การลักลอบตัดไมทําลายปา ตัวการของปญหาน้ีคือ นายทุนพอคาไม เจาของโรงเล่ือย เจาของ
โรงงานแปรรูปไม ผูร ับสมั ปทานทาํ ไมและชาวบา นท่ัวไป ซึ่งการตัดไมเพื่อเอาประโยชนจากเน้ือไมทั้งวิธีที่ถูก
และผดิ กฎหมาย ปรมิ าณปา ไมทถี่ กู ทาํ ลายนนี้ ับวันจะเพมิ่ ขึน้ เรอื่ ยๆ ตามอัตราเพ่ิมของจํานวนประชากร ย่ิงมี
ประชากรเพิ่มข้ึนเทาใด ความตองการในการใชไ มก ็เพิม่ มากข้นึ เชน ใชไมในการปลกู สรา งบา นเรอื น เครอ่ื งมือ
เครอื่ งใชในการเกษตรกรรม เครือ่ งเรอื นและถานในการหุงตม เปนตน
2. การบุกรุกพ้ืนที่ปาไมเพ่ือเขาครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความตองการใชที่ดิน
เพื่อปลกู สรางทอี่ ยูอาศยั และที่ดนิ ทาํ กนิ กอ็ ยูสงู ขึน้ เปน ผลผลักดันใหราษฎรเขา ไปบุกรุกพนื้ ท่ีปาไม แผว ถางปา
หรอื เผาปา ทาํ ไรเล่อื นลอย นอกจากนย้ี ังมนี ายทนุ ท่ีดนิ ทจี่ างวานใหราษฎรเขาไปทําลายปาเพ่ือจับจองท่ีดินไว
ขายตอไป
3. การสงเสริมการปลูกพืชหรือเล้ียงสัตวเศรษฐกิจเพ่ือการสงออก เชน มันสําปะหลัง ปอ เปนตน
โดยไมสงเสริมการใชท่ีดินอยางเต็มประสิทธิภาพท้ัง ๆ ที่พื้นที่ปาบางแหงไมเหมาะสมท่ีจะนํามาใชใน
การเกษตร
4. การกําหนดแนวเขตพ้ืนท่ีปากระทําไมชัดเจนหรือไมกระทําเลยในหลาย ๆ พื้นที่ทําใหเกิดการ
พพิ าทในเร่อื งทด่ี นิ ทาํ กนิ ของราษฎรและทดี่ นิ ปา ไมอ ยูต ลอดเวลา และเกดิ ปญหาในเร่อื งกรรมสทิ ธท์ิ ดี่ นิ
5. การจัดสรา งสาธารณปู โภคของรัฐ เชน เขอื่ น อา งเก็บนํ้า เสน ทางคมนาคม การสรางเข่ือนขวางลํา
น้ําจะทําใหพนื้ ท่ีเก็บนํา้ หนา เขื่อนท่ีอุดมสมบูรณถูกตัดโคนมาใชประโยชน สวนตนไมขนาดเล็กหรือที่ทําการ
ยายออกมาไมทันจะถกู นา้ํ ทวมยนื ตนตาย เชน การสรา งเขอ่ื นรชั ประภาเพื่อก้นั คลองพระแสงอนั เปน สาขาของ
แมน ้ําพุมดวง แมน า้ํ ตาป ทาํ ใหน ้ําทว มบริเวณปาดงดบิ ซึ่งมีพันธุไมหนาแนน และสัตวนานาชนิดเปนบริเวณ
นับแสนไร ตอ มาจึงเกดิ ปญหานํ้าเนาไหลลงลาํ นํา้ พุมดวง
6. ไฟไหมป า มกั จะเกิดขึน้ ในชวงฤดแู ลง ซ่งึ อากาศแหง แลงและรอ นจัด ท้งั โดยธรรมชาติและจากการ
กระทาํ ของมนุษยทอี่ าจลกั ลอบเผาปา หรือเผลอ จดุ ไฟท้งิ ไว

59

7. การทาํ เหมอื งแร แหลงแรท่พี บในบริเวณท่ีมีปาไมปกคลุมอยู มีความจําเปนท่ีจะตองเปดหนาดิน
กอ นจงึ ทําใหป าไมท ่ีขึ้นปกคลมุ ถกู ทําลายลง เสน ทางขนยา ยแรใ นบางครั้งตองทําลายปาไมลงเปนจํานวนมาก
เพือ่ สรางถนนหนทาง การระเบดิ หนา ดนิ เพ่อื ใหไดมาซง่ึ แรธ าตุ สงผลถงึ การทําลายปา

การอนุรักษป าไม
ปาไมถกู ทําลายไปจํานวนมาก จึงทําใหเกิดผลกระทบตอสภาพภูมิอากาศไปท่ัวโลก รวมทั้งความสมดุล
ในแงอ น่ื ดวย ดงั นน้ั การฟนฟสู ภาพปาไมจ งึ ตองดาํ เนินการเรงดวน ทัง้ ภาครฐั ภาคเอกชนและ ประชาชน ซ่ึงมี
แนวทางในการกําหนดแนวนโยบายดา นการจัดการปาไม ดงั นี้
1. นโยบายดา นการกําหนดเขตการใชประโยชนท ีด่ นิ ปา ไม
2. นโยบายดา นการอนุรกั ษทรพั ยากรปา ไมเ กี่ยวกับงานปอ งกันรกั ษาปา การอนุรักษสง่ิ แวดลอม
3. นโยบายดานการจัดการทีด่ ินทํากนิ ใหแกราษฎรผูยากไรในทอ งถ่นิ
4. นโยบายดา นการพฒั นาปาไม เชน การทําไมแ ละการเก็บหาของปา การปลูก และการบํารุงปาไม
การคนควา วิจัย และดา นการอุตสาหกรรม
5. นโยบายการบริหารท่ัวไปจากนโนบายดังกลาวขางตนเปนแนวทางในการพัฒนาและการจัดการ
ทรัพยากรปา ไมข องชาติใหไ ดร บั ผลประโยชน ทงั้ ทางดา นการอนุรักษแ ละดานเศรษฐกิจอยางผสมผสาน ท้ังนี้
เพื่อใหเกดิ ความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรปาไมไ วอ ยา งย่ังยืนตอ ไปในอนาคต

สถานการณทรพั ยากรปาไม

การใชประโยชนจากพน้ื ท่ปี า อยางตอเนือ่ งในชวงสี่ทศวรรษท่ีผานมาทําใหประเทศไทยสูญเสีย พ้ืนท่ี
ปาไมแ ลวประมาณ 67 ลา นไร หรือเฉลย่ี ประมาณ 1.6 ลานไรต อ ป กลา วคอื ป พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมพี ้ืนท่ี
ปาอยูถ งึ รอ ยละ 53.3 ของพน้ื ที่ประเทศ หรอื ประมาณ 171 ลานไร และลดลงมาโดยตลอดจนในป พ.ศ. 2532
ประเทศไทยเหลือพื้นที่ปาเพียงรอยละ 27.95 ของพ้ืนท่ีท้ังหมด หรือประมาณ 90 ลานไร รัฐบาลในอดีตได
พยายามจะรักษาพ้ืนที่ปา โดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทาํ ไมในปาบกท้ังหมด ในป พ.ศ.2532 แตหลังจาก
ยกเลิกสัมปทานปาไม สถานการณดีขึ้นในระยะแรกเทาน้ัน ตอมาการทําลายก็ยังคงเกิดข้ึนไมแตกตางจาก
สถานการณก อ นยกเลิกสมั ปทานปา ไมเ ทาใดนัก โดยพืน้ ที่ปา ท่ีถกู บกุ รกุ กอนการยกเลิกสัมปทาน
(ป พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยตอปเทากับ 1.2 ลานไร และพ้ืนท่ีปาท่ีถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน
(ป พ.ศ. 2532-2541) เฉล่ีย 1.1 ลานไรต อ ป (ตารางที่ 1)

60

ตารางท่ี 1 พืน้ ที่ปากอนและหลังการยกเลิกสมั ปทานปา ไม

รายการ พืน้ ท่ีปา (ลา นไร) พ้ืนที่ถูกทําลายเฉล่ียตอป
(ลานไร)

ป พ.ศ. 2504 171.0 -

ป พ.ศ. 2525 97.8 3.5

ป พ.ศ. 2532 (ประกาศยกเลกิ สมั ปทานปาไม) 89.6 1.2

ป พ.ศ. 2541 81.1 1.1

2. ภูเขาและแรธาตุ
ภเู ขา เปนแหลง ตน กาํ เนิดของแรธาตุ ปา และแหลง นา้ํ ที่สาํ คัญของประเทศไทย
ภาคเหนือเปนภาคที่อุดมดวยทรัพยากรแรธาตุภาคหน่ึงของประเทศไทย เพราะมีภูมิประเทศท่ีมี
โครงสรางเปนภเู ขา เนนิ เขาและแอง แผน ดิน ในยุคกลางเกา กลางใหม ที่บริเวณตอนกลางที่ผานการผุกรอน

และมีการเปล่ียนแปลงของแผนดิน โดยเฉพาะภูเขาทางตะวันตกที่เปนแนวของทิวเขา อุดมดวยแรโลหะ
แรอโลหะและแรเ ชอื้ เพลิง

แรโ ลหะ ทส่ี าํ คญั ทพี่ บตามภูเขาหนิ แกรนิตในภาคเหนอื ไดแ ก

1. แรดีบุก แหลงแรดีบุกที่พบในภาคเหนือ อยูในเขตภูเขาของจังหวัดที่อยูทางเหนือ และทางภาค
ตะวันตกของภาค คือ จังหวดั แมฮ องสอน จังหวัดเชียงใหม จังหวัดลําปาง จังหวัดเชียงราย แตมีปริมาณการ
ผลติ ไมมากเทา กับแหลง ดีบุกสําคัญทางภาคใต

2. ทังสเตนหรอื วุลแฟรม ทีพ่ บมากในภาคเหนือ คอื แหลงแรซไี รท เปน แรท ่ีสําคญั ทางเศรษฐกจิ การคา
และยุทธปจ จัยสาํ คัญ มีการทาํ เหมอื งที่ อําเภอดอยหมอก อําเภอเวียงปาเปา จงั หวดั เชยี งราย และพบ
แถบภูเขาสูงในเขต จังหวัดแมฮองสอนมีเหมืองดําเนินการผลิตถึง 10 เหมือง ท่ีสําคัญคือเหมืองท่ี อําเภอ

แมลานอย เหมืองหวยหลวง และเหมอื งแมสะเรยี ง ทางดา นตะวนั ตกของลมุ นํา้ ยม
3. ตะกั่วและสังกะสี แรต ะก่ัวและสังกะสีมกั จะเกิดรว มกันแตที่พบยังมีปริมาณนอยไมเพียงพอ ที่จะ

นํามาใชในเชิงพาณิชยเหมือนที่พบในภาคตะวันตก ภาคเหนือมีแหลงแรตะกั่วและสังกะสีในแถบจังหวัด

แมฮองสอน จงั หวัดเชียงใหม จังหวดั ลําปางและจงั หวัดแพร
4. ทองแดง แหลงแรท องแดงมีอยหู ลายในแหงประเทศ แตเ ปน แหลงแรที่มีมูลคาทางเศรษฐกิจเพียง

ไมก แี่ หง บริเวณท่พี บ ไดแก ในเขตจงั หวดั ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชน จงั หวัดนครราชสีมา จังหวัดเลย

แตท่ภี าคเหนือพบในเขต จังหวัดอุตรดิตถ จังหวดั แพร จังหวัดนา น และจังหวดั ลําปาง

61

5. เหล็ก แหลง แรเหลก็ ในประเทศไทยมีหลายแหงเชน กัน ท้งั ท่ีกําลงั มกี ารผลติ ท่ีผลติ หมดไปแลว
แตแ หลง ท่ีนา สนใจที่อาจมคี าในอนาคต ไดแกท ่ี อาํ เภอตาคลี จังหวดั นครสวรรค ที่เขาทับควาย จังหวัดลพบุรี
แหลงภูยาง อําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แหลงอึมครึม จังหวัดกาญจนบุรี ในภาคเหนือพบที่อําเภอแมแจม
จังหวัดเชยี งใหม แหลง เดิม อาํ เภอเถิน จงั หวัดลาํ ปาง

6. แมงกานีส แหลง แมงกานีสในภาคเหนอื มีแหลง ผลิตที่สําคัญอยูใน จังหวัดลําพูน จังหวัดเชียงใหม
จงั หวดั ลาํ ปาง จังหวัดแพร จงั หวดั เชยี งราย และจังหวดั นาน

7. นกิ เกลิ และโครเมยี ม พบที่ บา นหว ยยาง อําเภอทา ปลา จงั หวัดอุตรดติ ถ นอกจากนีย้ งั มแี รโครไมต
ท่ใี หโ ลหะโครเมียม ซึ่งเปน แรผ สมเหล็ก

แรอ โลหะ ที่สําคัญทพ่ี บในภาคเหนือ ไดแ ก
1. ฟลูออไรต แหลงแรฟลูออไรตท่ีสําคัญของประเทศพบในภาคเหนือและภาคตะวันตก ไดแก
ท่อี ําเภอบา นโฮง อาํ เภอปาซาง จังหวดั ลําพูน อําเภอฝาง แมแ จม อําเภอฮอด อําเภออมกอย จังหวัดเชียงใหม
อําเภอแมส ะเรยี ง จงั หวัดแมฮอ งสอน นอกจากน้กี ม็ ีท่ีภาคตะวันตก และภาคใตของไทยอีกดวย
2. แบไรต แหลงแรแบไรตท ่สี ําคญั นอกจากจะมีมากในภาคใตท่ีบริเวณเขาหลวง จังหวันครศรีธรรม
ราชและในจังหวดั สรุ าษฏรธานีแลว ยังมีแหลงสําคญั ในภาคเหนืออกี ท่ี บริเวณภไู มตอง อาํ เภอดอยเตา อําเภอ
ฮอด จังหวดั เชยี งใหม นอกจากนีย้ งั มีใน จงั หวัดแมฮอ งสอน จังหวดั ลําพนู ลําปาง อตุ รดติ ถ เชยี งราย และแพร
3. ยิปซัม แหลงยิปซัมที่สําคัญมีที่ จังหวัดนครสวรรคและพิจิตร ในภาคเหนือไดแก แหลงแมเมาะ
อําเภอแมเมาะ จงั หวดั ลาํ ปาง แหลง แมก ั๊วะ อาํ เภอเกาะคา จงั หวัดลําปาง และแหลงสองหอง อําเภอน้ําปาด
จงั หวัดอุตรดิตถ
4. ฟอสเฟต มแี หลงเล็ก ๆ อยทู ี่ ต.นาแกว อาํ เภอเกาะคา จงั หวดั ลําปาง
5. ดนิ ขาวหรอื เกาลิน ไดมกี ารพบและผลิตดินขาวในหลายบรเิ วณทงั้ ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต
ในภาคเหนือมีแหลง ดนิ ขาวท่ี อาํ เภอแจห ม จังหวัดลําปาง นอกจากนีย้ งั มีแรอโลหะอนื่ ๆ ทพ่ี บในภาคเหนอื อกี
เชน แรหนิ มาท่ี จงั หวัดเชยี งใหม แมฮ องสอน แรใ ยหินพบใน จังหวัดอตุ รดติ ถ
แรเ ชอื้ เพลิง ทีส่ าํ คัญทางเศรษฐกจิ คอื มกี ารนํามาใชเ ปนเชือ้ เพลงิ สาํ คัญในโรงงานไฟฟา เคร่ืองจกั รกล
โรงงานอุตสาหกรรมเคมภี ัณฑและในกจิ กรรมขนสงตา ง ๆ เชน ในเคร่ืองบิน รถยนต เรอื ยนต เปน ตน
1. หินน้ํามัน พบที่ บานปาคา อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน แตยังไมไดนํามาใชประโยชนในเชิงพาณิชย
เนอ่ื งจากการแยกนํา้ มนั ออกจากหนิ นํา้ มันตอ งลงทุนสงู
2. ปโ ตรเลยี่ ม น้าํ มนั ดิบ กา ซธรรมชาติเหลว พบท่ี อําเภอฝาง จงั หวัดเชียงใหม นํามาใชเปนนํา้ มันหลอลื่น
นา้ํ มันดีเซลหมนุ เร็วปานกลางและนาํ้ มันเตา
3. ลิกไนต พบท่ี อําเภอแมเมาะ อําเภอแมทะ จังหวัดลําปาง ใชเปนเชื้อเพลิงในโรงงานบมยา
โรงไฟฟา

62

3. แหลง นํา้

ปญ หาเกย่ี วกบั ทรัพยากรนํ้า
จากพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย ซ่ึงมีผลกระทบตอสภาวะแวดลอมในโลก
โดยเฉพาะปญหาเกีย่ วกับทรัพยากรนํ้า ซึ่งเปนปจจัยสําคัญในการดํารงชีวิตของมนุษย เพราะนํ้าไดใชในการ
บริโภคและผลติ เคร่อื งอปุ โภคตาง ๆ ปจ จุบันปญ หาทรัพยากรนํา้ มดี ังน้ี
1. ปญหาทางดา นปรมิ าณ

1) การขาดแคลนน้ําหรือภัยแลง สาเหตุที่สาํ คญั ไดแ ก
1.1 ปาไมถูกทาํ ลายมากโดยเฉพาะปาตน น้ําลาํ ธาร
1.2 ลักษณะพืน้ ท่ไี มเหมาะสม เชน ไมม ีแหลง นา้ํ ดินไมด ูดซับนํา้
1.3 ขาดการวางแผนการใชแ ละอนรุ ักษน ํ้าท่ีเหมาะสม
1.4 ฝนตกนอ ยและฝนทิง้ ชว งเปนเวลานาน

2) การเกิดนํา้ ทว ม อาจเกิดจากสาเหตุหนง่ึ หรือหลายสาเหตรุ วมกัน ดงั ตอไปน้ี
2.1 ฝนตกหนกั ติดตอ กันนาน ๆ
2.2 ปาไมถ กู ทาํ ลายมาก ทาํ ใหไ มมีสง่ิ ใดจะชว ยดดู ซับนาํ้ ไว
2.3 ภมู ปิ ระเทศเปนท่ลี มุ และการระบายนาํ้ ไมดี
2.4 น้ําทะเลหนุนสูงกวา ปกติ ทาํ ใหน ํา้ จากแผนดินระบายลงสทู ะเลไมไ ด
2.5 แหลงเก็บกักนํา้ ตนื้ เขนิ หรือไดรับความเสียหาย จงึ เกบ็ น้ําไดนอยลง

2. ปญหาดานคณุ ภาพของน้ําไมเ หมาะสม สาเหตทุ ี่พบบอ ยไดแก
1) การทิ้งสิ่งของและการระบายน้ําทิ้งลงสูแหลงน้ํา ทําใหแหลงน้ําสกปรกและเนาเหม็นจนไม

สามารถใชป ระโยชนได มักเกิดตามชมุ ชนใหญ ๆ ที่อยูใกลแ หลง นา้ํ หรือทอ งถน่ิ ทีม่ ีโรงงานอตุ สาหกรรม
2) สงิ่ ทป่ี กคลุมผวิ ดนิ ถกู ชะลา งและไหลลงสูแหลง น้ํามากกวาปกติ มีทงั้ สารอินทรีย สารอนินทรีย

และสารเคมีตา งๆ ท่ใี ชในกจิ กรรมตา ง ๆ ซ่งึ ทําใหน าํ้ ขุนไดง า ย โดยเฉพาะในฤดูฝน
3) มีแรธาตุเจอื ปนอยูมากจนไมเหมาะแกก ารใชป ระโยชน นาํ้ ท่ีมแี รธาตุปนอยเู กินกวา 50 พพี ีเอม็

นน้ั เม่ือนํามาดื่มจะทาํ ใหเ กิดโรคน่ิวและโรคอนื่ ได
4) การใชสารเคมีท่ีมีพิษตกคาง เชน สารที่ใชปองกันหรือกําจัดศัตรูพืชหรือสัตว ซ่ึงเมื่อถูกฝน

ชะลางลงสูแหลงนา้ํ จะกอ ใหเ กิดอนั ตรายตอ สิ่งมชี วี ติ
3. ปญหาการใชท รัพยากรนา้ํ อยา งไมเหมาะสม เชน ใชม ากเกินความจาํ เปน โดยเฉพาะเมื่อเกิดภาวะ

ขาดแคลนนํ้า หรือการสูบน้ําใตดินขึ้นมาใชมากจนดินทรุด เปนตน ป พ.ศ. 2541 ธนาคารโลกพยากรณวา
น้ําในโลกลดลง 1 ใน 3 ของปริมาณนํ้าท่ีเคยมีเม่ือ 25 ปกอน และในป ค. ศ. 2525 หรืออีก 25 ปขางหนา
การใชน าํ้ จะเพม่ิ อกี ประมาณรอยละ 65 เนือ่ งจากจํานวนประชากรโลกเพ่ิมขึ้น การใชน้ําอยางไมถูกตองและ
ขาดการดูแลรักษาทรัพยากรนํ้า ซึ่งจะเปนผลใหประชากรโลกกวา 3,000 ลานคน ใน 52 ประเทศประสบ
ปญหาการขาดแคลนน้ํา

63

4. ปญหาความเปล่ียนแปลงของฟา อากาศ เน่ืองจากปรากฏการณ เอล นิโน (EI Nino ) และ
ลา นินา (La Nina) โดยปรากฏการณที่ผิดธรรมชาติจะเกิดข้ึนประมาณ 5 ปตอคร้ัง คร้ังละ 8 -10 เดือน
โดยกระแสนํา้ อนุ ในมหาสมุทรแปซิฟกตะวันตก บริเวณตะวันออกเคล่ือนลงไปถึงชายฝงตะวันตกเฉียงเหนือ
ของทวปี อเมริกาใต (ประเทศเปรู เอกวาดอร และชิลตี อนเหนอื ) ทําใหผ ิวน้ําทเี่ คยเยน็ กลบั อนุ ข้นึ และท่ีเคยอุน
กลบั เย็นลง

เม่อื อุณหภูมิของผวิ นาํ้ เปลีย่ นแปลงไปกจ็ ะสงผลทาํ ใหอณุ หภูมิเหนือน้ําเปลี่ยนไปดวยเชนกัน เปนผล
ใหความรอนและความแหงแลงในบริเวณที่เคยมีฝนชุก และเกิดฝนตกหนักในบริเวณที่เคยแหงแลง ลมและ
พายุเปลี่ยนทิศทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกลาวเกิดเปนบริเวณกวาง จึงสงผลกระทบตอโลกอยาง
กวางขวาง สามารถทาํ ลายระบบนเิ วศในซีกโลกใต รวมทั้งพ้ืนที่บางสวนเหนือเสนศูนยสูตรได สาหรายทะเล
บางแหงตายเพราะอุณหภูมิสูง ปลาท่ีเคยอาศัยน้ําอุนตองวายหนีไปหานํ้าเย็นทําใหมีปลาแปลกชนิดเพิ่มขึ้น
และหลงั การเกิดปรากฎการณ เอล นิโน แลว ก็จะเกิดปรากฎการณลา นินา ซึ่งมีลักษณะตรงกันขามตามมา
โดยจะเกิดกระแสนํ้าอุนและคล่ืนความรอนในมหาสมุทรแปซิฟกตอนใตเคลื่อนยอนไปทางตะวันตกทําให
บริเวณมหาสมุทรแปซิฟกตะวันออกท่ีอุณหภูมิเร่ิมเย็น จะมีการรวมตัวของไอนํ้าปริมาณมาก ทําใหอากาศ
เยน็ ลง เกิดพายุ และฝนตกหนักโดยเฉพาะในกลมุ ประเทศอาเซียน

เอล นิโน เคยกอตัวคร้ังใหญในป พ.ศ. 2525 – 2526 ซึ่งผลทําใหอุณหภูมิผิวน้ําสูงกวาปกติถึง
9 องศา ฟาเรนไฮต ทาํ ลายชวี ติ มนษุ ยทัว่ โลกถึง 2,000 คน คาเสียหายประมาณ 481,000 ลานบาท ปะการัง
ในทะเลแคริบเบยี นเสยี ความสมดลุ ไปรอ ยละ 50 – 97 แตใ นป พ.ศ. 2540 กลบั กอตวั กวางกวา เดิม ซ่งึ คิดเปน
พน้ื ทไี่ ดก วา งใหญกวา ประเทศสหรฐั อเมรกิ า โดยเขตน้ําอนุ นอกชายฝง ประเทศเปรขู ยายออกไปไกลกวา 6,000
ไมล หรอื ประมาณ 1 ใน 4 ของเสน รอบโลก อุณหภูมิผวิ น้าํ วดั ไดเ ทากนั และมีความหนาของนาํ้ ถึง 6 น้ิว สงผล
ใหเ กิดปรากฎการณธ รรมชาติท่ีเลวรายท่สี ุดในรอบ 150 ป โดยเร่มิ แสดงผลตัง้ แตเดอื นเมษายน 2541

นอกจากน้ีปรากฏการณเรือนกระจกและการลดลงของพน้ื ทป่ี า ยังสงเสริมความรุนแรงของปญหาอีก
ดวย ดงั ตัวอยางตอไปน้ี

1) ประเทศไทย ประสบความรอนและแหงแลงรุนแรงท่ัวประเทศ ฝนตกนอยหรือตกลาชากวาปกติ
(ยกเวนภาคใตท่ีกลางเดือนสิงหาคมเกิดฝนตกหนักจนน้ําทวม) ปริมาณนํ้าในแมนํ้า อางเก็บน้ําและเขื่อน
ลดนอยลงมาก รวมท้ังบางจังหวัดมีอุณหภูมิในฤดูรอนสูงมาก และเกิดติดตอกันหลายวัน เชน จังหวัดตาก
มอี ุณหภมู ิในเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 สงู ถึง 43.7 องศาเซลเซยี ส ซง่ึ นบั วาสงู ท่สี ุดในรอบ 67 ป นอกจากนี้
ยังทําใหผลผลติ ทางการเกษตร โดยเฉพาะไมผลลดลง

2) ประเทศอินโดนีเซีย ประสบความแหง แลง ท้ังท่ีอยูใ นเขตมรสุมและมีปาฝน เมื่อฝนไมตกจึงทําให
ไฟไหมปาท่ีเกิดข้ึนในเกาะสุมาตรา และบอรเนียวเผาผลาญปาไปประมาณ 14 ลานไร พรอมทั้งกอปญหา
มลพิษทางอากาศเปน บรเิ วณกวาง มีผคู นปว ยไขน บั หม่ืน ทศั นวิลัยไมด ีจนทําใหเ คร่ืองบินสายการบนิ การดู าตก
และมผี เู สยี ชวี ิต 234 คน อีกทัง้ ยังทาํ ใหผลิตผลการเกษตรตกตาํ่ โดยเฉพาะเมล็ดกาแฟโรบัสตาท่ีสงออกมาก
เปนอนั ดบั หนงึ่ ไดรบั ความเสียหายมากเปน ประวัติการณ

64

3) ประเทศปาปว นวิ กนิ ี ไดร บั ผลกระทบรุนแรงที่สดุ ในภมู ภิ าคเอเชียแปซิฟก มคี นตายจากภยั แลง 80
คนและประสบปญ หาแลง อกี ประมาณ 1,000,000 คน

4) ประเทศออสเตรเลยี อากาศแหงแลงรุนแรงจนตองฆาสัตวเลย้ี งเพราะขาดแคลนนาํ้ และอาหาร
ซึง่ คาดวา ผลผลติ การเกษตรจะเสียหายประมาณ 432 ลานเหรียญ

5) ประเทศเกาหลเี หนอื ปญหาความแหงแลง รุนแรงและอดอยากรุนแรงมาก พืชไรเสียหายมาก
6) ประเทศสหรฐั อเมริกา เกิดพายุเฮอรริเคนทางดานฝงตะวันตกมากข้ึน โดยเฉพาะภาคใตของรัฐ
แคลฟิ อรเนียไดรบั ภยั พบิ ัติมากทส่ี ดุ สว นทางฝง ตะวนั ออกซง่ึ มเี ฮอรร ิเคนคอนขางมาก คล่ืนลมกบั สงบกวาปกติ
7) ประเทศเปรูและซิลี เกิดฝนตกหนักและจับปลาไดนอยลง (เคยเกิดฝนตกหนักและนํ้าทวม
ในทะเลทรายอะตาคามา ประเทศซิลี อยางไมเคยปรากฏมากอน ทั้งๆ ท่ีบริเวณน้ีแหงแลงมากจนประเทศ
สหรฐั อเมริกาขอใชเ ปน สถานท่ีฝกนกั อวกาศ โดยสมมติวา เปนพ้ืนผิวดาวองั คาร)
8) ทวปี แอฟริกา แหง แลงรุนแรง พชื ไรอ าจเสยี หายประมาณครงึ่ หนึ่ง

ปญ หาเกีย่ วกบั ทรัพยากรน้าํ ในประเทศไทย

1. การขาดแคลนนํ้าหรอื ภยั แลง
ในหนาแลง ประชากรไทยจะขาดแคลนน้ําด่ืมน้ําใชจํานวน 13,000 – 24,000 หมูบาน ประชากร
ประมาณ 6 -10 ลานคน ซง่ึ โดยสวนใหญอยูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนลาง การขาดแคลนนํ้าในระดับ
วิกฤตจะเกิดเปนระยะๆ และรุนแรงขึ้น น้ําในเขื่อนสําคัญตางๆ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลมีปริมาณเหลือนอย
จนเกือบจะมีผลกระทบตอการผลิตกระแสไฟฟา และการผลิตน้ําประปาสําหรับใชในหลายจังหวัด การลด
ปริมาณของฝนและน้ําท่ีไหลลงสูอางเก็บนํ้า และการเกิดฝนมีแนวโนมลดลงทุกภาค ประมาณรอยละ 0.42
ตอป เปน สิง่ บอกเหตสุ าํ คัญทแ่ี สดงใหเหน็ ถึงแนวโนม ความรนุ แรงของภัยแลง

ตารางแสดงการเปรยี บเทยี บปริมาณน้ําฝนตอ ปใ นแตละภาค

พ.ศ. ปรมิ าณนา้ํ ฝน 2536 ตางจากปริมาณเฉลย่ี
ภาค (มิลลิเมตร) (มิลลเิ มตร)
2503 – 2536 2535
2535 2536

ทุกภาค (ทวั่ ประเทศ) 1,733 1,430 1,594 -303 -139

ภาคเหนอื 1,232 1,142 931 -301 -301

ภาคกลาง 1,226 1,115 1,075 -111 -151

ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื 1,405 1,241 1,176 -164 -229

ภาคตะวันออก 2,011 1,534 1,732 -477 -279

65

พ.ศ. ปริมาณนํา้ ฝน 2536 ตา งจากปรมิ าณเฉลย่ี
ภาค (มิลลิเมตร) 1,789 (มลิ ลเิ มตร)
2503 – 2536 2535 2,863
ภาคใตฝ ง ตะวนั ออก 1,768 1,457 2535 2536
ภาคใตฝง ตะวนั ตก 2,760 2,088 -307 25
-672 103

สําหรบั ปรมิ าณนํ้าที่ไหลลงสอู างเก็บนา้ํ ของเข่อื นและแมน้ําสําคัญ เชน เข่ือนภูมิพล เข่ือนสิริกิติ์และ
แมนํา้ เจาพระยา ตง้ั แตป  พ.ศ. 2515 เปนตน มา กม็ ปี รมิ าณลดลงเชนกัน เนื่องจากตนน้ําลําธารถูกทําลายทํา
ใหฝนและนํ้านอ ย และขณะเดียวกันความตองการใชน้ํากลับมีมากและเพ่ิมข้ึนเร่ือย ๆ เชน การประปานคร
หลวงใชผลิตนํ้าประปาประมาณ 1,300 ลานลูกบาศกเมตรตอป การผลักดันนํ้าเค็มบริเวณปากแมน้ํา
เจาพระยา และแมนํา้ ทาจีนจะตองใชนาํ้ จดื ประมาณ 2,500 ลา นลกู บาศกเมตรตอป การทํานาปใชประมาณ
4,000 ลา นลูกบาศกเมตร และการทาํ นาปรงั จะใชป ระมาณ 6,000 ลานลกู บาศกเ มตร โดยมีแนวโนมของการ
ใชเพิม่ มากขนึ้ ทุกป

แนวโนม การลดปรมิ าณนาํ้ ในเข่อื นท่ีสาํ คญั และแมน้ําเจาพระยา

แหลงทวี่ ัดปรมิ าณ ชวงปท ่ีวัด ปรมิ าณนํา้ เฉลย่ี ตอ ป
(ลานลูกบาศกเมตร)

ปริมาณนา้ํ ไหลลงสูอางเก็บน้าํ เขอ่ื น พ.ศ. 2515 – 2534 ประมาณ 10,360
ภมู พิ ลและเขอื่ นสิรกิ ิต์ิ พ.ศ. 2525 – 2534 ประมาณ 8,760
พ.ศ. 2530 - 2534 ประมาณ 7,000

ปรมิ าณนาํ้ ในแมน า้ํ เจาพระยาทีไ่ หล พ.ศ. 2515 – 2534 ประมาณ 22,200
ผานจังหวดั นครสวรรค พ.ศ. 2525 – 2534 ประมาณ1 8,700
พ.ศ. 2530 - 2534 ประมาณ16,000

2. ปญ หานา้ํ ทวมหรอื อุทกภยั
เกดิ จากฝนตกหนกั หรือตกตดิ ตอ กันเปนเวลานาน ๆ เน่อื งจากการตัดไมท าํ ลายปา แหลง นาํ้ ตืน้ เขินทาํ
ใหรองรับนํา้ ไดนอยลง การกอ สรา งที่ทาํ ใหน ํ้าไหลไดนอยลง เชน การกอสรางสะพาน นอกจากนี้น้ําทวมอาจ

เกิดจากนํ้าทะเลหนุนสูงขึ้น พื้นดินทรุดตัวเนื่องจากการสูบน้ําใตดินไปใชมากเกินไป พ้ืนที่เปนที่ต่ําและ
การระบายนํา้ ไมด ี และการสูญเสยี พ้ืนที่นํ้าทวมขัง ตัวอยาง ไดแ ก การถมคลองเพ่ือกอสรางที่อยูอาศัย รวมท้ัง
การบุกรุกพน้ื ท่ชี ุมนํา้ เชน กวานพะเยา บึงบอระเพด็ ทะเลสาบสงขลา และหนองหาร จงั หวดั สกลนคร เพือ่ ใช

ประโยชนอ ยางอืน่

66

3. เกิดมลพษิ ทางนํ้าและระบบนเิ วศถูกทาํ ลาย
โดยสวนใหญแ ลว นํ้าจะเกดิ การเนา เสียเพราะการเจือปนของอินทรียสาร สารพิษ ตะกอน สิ่งปฏิกูล
และน้าํ มนั เช้อื เพลงิ ลงสแู หลงน้ํา ซึง่ มผี ลใหพ ืชและสัตวนา้ํ เปน อนั ตราย เชน การท่ีปะการงั ตัวออ นของสตั วน้าํ
และปลาท่เี ล้ียงตามชายฝง บรเิ วณเกาะภูเกต็ ตายหรือเจรญิ เติบโตผดิ ปกติ เพราะถูกตะกอนจากการทําเหมือง
แรท ับถม ไปอดุ ตันชอ งเหงือกทําใหไดรบั ออกซเิ จนไมเ พียงพอ

4. แหลงนา้ํ ตน้ื เขิน
ดินและตะกอนดินที่ถูกชะลางลงสูแหลงนํ้าน้ันทําใหแหลงนํ้าตื้นเขินและเกิดนํ้าทวมไดงาย ซ่ึงเปน
อุปสรรคตอการเดนิ เรือ และยงั เปนผลเสยี ตอการดาํ รงชวี ิตของสัตวน้าํ โดยเฉพาะบรเิ วณอาวไทยตอนบน
โดยในแตละปตะกอนดินถูกพัดพาไปทับถมกันมากถึงประมาณ 1.5 ลานตัน การสูบนํ้าใตดินไปใชมากจน
แผนดนิ ทรดุ ตวั
ชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑลท้ัง 6 จังหวัดใชนํ้าบาดาลจํานวนมาก เม่ือป 2538 พบวาใช
ประมาณวันละ 1.5 ลา นลกู บาศกเ มตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจใชประมาณวันละ 1.2 ลานลูกบาศก
เมตร ทําใหด ินทรดุ ตวั ลงทีละนอย และทําใหเกิดนํา้ ทว มขงั ไดง า ยขึ้น

4. ทรัพยากรดิน

ปญหาการใชที่ดนิ ไมเ หมาะสม และไมค ํานงึ ถงึ ผลกระทบตอ ส่งิ แวดลอม ไดแ ก
1. การใชท ดี่ นิ เพ่อื การเกษตรกรรมอยา งไมถกู หลกั วิชาการ
2. ขาดการบํารงุ รักษาดิน
3. การปลอยใหผ ิวดนิ ปราศจากพชื ปกคลุม ทําใหสญู เสยี ความชมุ ช้นื ในดนิ
4. การเพาะปลูกทที่ าํ ใหด นิ เสีย
5. การใชป ยุ เคมีและยากาํ จดั ศัตรพู ืชเพื่อเรง ผลติ ผล ทาํ ใหด ินเส่ือมคณุ ภาพและสารพิษตกคา ง
อยูในดิน
6. การบกุ รุกเขา ไปใชป ระโยชนท ด่ี นิ ในเขตปา ไมบนพน้ื ทท่ี ่ีมคี วามลาดชนั สูง
7. รวมทงั้ ปญ หาการขยายตวั ของเมอื งท่รี ุกลา้ํ เขา ไปในพน้ื ที่เกษตรกรรม และการนาํ มาใชเปนทอี่ ยู
อาศัย ท่ตี ั้งโรงงานอุตสาหกรรม
8. หรอื การเก็บทีด่ ินไวเพื่อการเกง็ กําไร โดยมิไดม กี ารนํามาใชป ระโยชนแ ตอยา งใด นอกจากน้ี
การเพิ่มขนึ้ ของประชากรประกอบกับความเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกจิ สูงขึ้น ทําใหความตองการใช

ทด่ี ินเพ่ือการขยายเมอื ง และอตุ สาหกรรมเพ่ิมจาํ นวนตามไปดว ยอยา งรวดเรว็ โดยปราศจากการควบคมุ การใช
ท่ีดนิ ภายในเมืองใหเหมาะสม เปนสาเหตใุ หเ กิดปญหาสงิ่ แวดลอ มภายในเมือง หลายประการ เชน ปญหาการ
ต้งั ถิน่ ฐาน ปญหาแหลงเส่ือมโทรม ปญ หาการจราจร ปญหาสาธารณสุข ปญหาขยะมูลฝอย และการบริการ
สาธารณปู โภคไมเพียงพอ

67

นอกจากนน้ั ปญ หาการพังทลายของดินและการสญู เสยี หนาดนิ โดยธรรมชาติ เชน การชะลาง การกัดเซาะของน้ํา
และลม เปน ตน และทสี่ าํ คัญคือ ปญ หาจากการกระทาํ ของมนษุ ย เชน การทําลายปา เผาปา การเพาะปลูกผิดวิธี
เปนตน กอใหเ กิดการสูญเสยี ความอุดมสมบูรณข องดินทาํ ใหใ ชประโยชนจากทดี่ ินไดล ดนอ ยลง ความสามารถ
ในการผลิตทางดานเกษตรลดนอยลงและยังทําใหเกิดการทับถมของตะกอนดินตามแมนํ้าลําคลอง เขื่อน
อา งเกบ็ นา้ํ เปนเหตุใหแหลงน้ําดังกลาวตื้นเขิน รวมท้ังการที่ตะกอนดินอาจจะทับถมอยูในแหลงท่ีอยูอาศัย
และท่วี างไขของสัตวน ํา้ อกี ท้งั ยังเปนตวั ก้นั แสงแดดที่จะสอ งลงสพู น้ื นาํ้ สิง่ เหลานลี้ วนกอใหเกิดผลกระทบตอ
สงิ่ มีชวี ติ ในนา้ํ นอกจากน้ีปญหาความเสือ่ มโทรมของดิน อันเน่ืองมาจากสาเหตุดัง้ เดมิ ตามธรรมชาติ คือ การที่
มีสารเปน พษิ เกดิ ขึน้ มาพรอ มกบั การเกดิ ดิน เชน มีโลหะหนัก มีสารประกอบท่ีเปนพษิ ซ่งึ อาจทาํ ใหด นิ เค็ม
ดินดางดินเปรี้ยวได โดยเฉพาะปญหาการแพรกระจายของดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือการดําเนิน
กิจกรรมเพื่อใชประโยชนจากท่ีดินอยางไมเหมาะสม และขาดการจัดการท่ีดี เชน การสรางอางเก็บน้ํา
ในบริเวณทมี่ ีเกลือหนิ สะสมอยมู าก นา้ํ ในอา งจะซมึ ลงไปละลายเกลือหนิ ใตดิน แลว ไหลกลับขนึ้ สผู วิ ดนิ บริเวณ
รอบ ๆ การผลิตเกลือสินเธาวใ นเชิงพาณิชย โดยการสูบน้ําเกลือใตดินข้ึนมาตมหรือตาก ทําใหปญหาดินเค็ม
แพรข ยายออกไปกวา งขวางยิง่ ขนึ้ ยงั มีสาเหตุท่ีเกิดจากสารพิษและสงิ่ สกปรกจากภายนอกปะปนอยูใ นดิน เชน
ขยะจากบา นเรือน ของเสยี จากโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีตกคางจากการใชป ุย และยากําจดั ศตั รูพชื เปน ตน
ลว นแตสง ผลกระทบตอ ส่งิ แวดลอ ม และกอใหเ กิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ

68

5. สตั วปา

สตั วป า
สาเหตปุ ญ หาของทรพั ยากรสตั วปา สาเหตขุ องการสูญพนั ธุหรือลดจาํ นวนลงของสตั วป า มดี งั นี้
1. การทาํ ลายทอ่ี ยอู าศัย การขยายพืน้ ท่ีเพาะปลกู พื้นที่อยอู าศยั เพ่อื การดาํ รงชพี ของมนุษยไ ดทําลาย
ทอ่ี ยอู าศัยและทดี่ าํ รงชีพ ของสัตวปา ไปอยา งไมรตู วั
2. สภาพธรรมชาติ การลดลงหรอื สูญพันธุไปตามธรรมชาติ ของสัตวป า เนือ่ งจากการปรับตัวของสตั ว
ปา ใหเ ขา กบั การดาํ รงชวี ติ ในสภาพแวดลอมท่ีเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา สัตวปาชนิดที่ปรับตัวไดก็จะมีชีวิต
รอด หากปรับตัวไมไ ดจ ะลมตายไป ทาํ ใหมจี ํานวนลดลงและสญู พันธใุ นท่สี ดุ
3. การลา โดยตรง โดยสัตวป าดว ยกันเอง สตั วปา จะไมลดลงหรือสูญพันธุอยางรวดเร็ว เชน เสือโครง
เสอื ดาว หมาไน หมาจิ้งจอกลากวางและเกง ซึ่งสัตวท่ีถูกลาสองชนิดน้ี อาจจะตายลงไปบางแตจะไมหมดไป
เสยี ทเี ดียว เพราะในธรรมชาติแลว จะเกิดความ สมดลุ อยูเสมอระหวา งผลู าและผูถูกลา แตถาถูกลาโดยมนุษย
ไมว า จะเปน การลา เพื่อเปนอาหาร เพ่ือการกีฬา หรือเพือ่ อาชีพ สัตวป าจะลดลงจาํ นวนมาก
4. เนื่องจากสารพิษ เมื่อเกษตรกรใชสารเคมีในการเพาะปลูก เชน ยาปราบศัตรูพืชจะทําใหเกิด
สารพิษตกคา งในส่ิงแวดลอม นอกจากน้กี ารสาธารณสุขบางครัง้ จําเปน ตองกําจัดหนู และแมลงเชน กัน สารเคมี
ท่ีใชในกิจกรรมตาง ๆ เหลานี้ มีหลายชนิดที่มีพิษตกคาง ซึ่งสัตวปา จะไดรับพิษตามหวงโซอาหาร ทําให
สารพิษไปสะสมในสตั วป า มาก หากสารพิษมีจํานวนมากพออาจจะตายลงไดห รอื มีผลตอลูกหลาน เชน รา งกาย
ไมสมบรู ณ ไมส มประกอบ ประสิทธภิ าพการใหก าํ เนดิ หลานเหลนตอ ไปมจี ํากัดข้ึน ในที่สุดจะมีปริมาณลดลง
และสูญพันธไุ ป
5. การนาํ สัตวจ ากถนิ่ อ่ืนเขามา ตัวอยางนยี้ ังปรากฏไมเ ดน ชดั ในประเทศไทย แตใ นบางประเทศจะพบ
ปญหาน้ี เชน การนาํ พงั พอนเขาไปเพื่อกําจดั หนู ตอมาเมือ่ หนมู จี ํานวนลดลงพงั พอนกลับทําลายพืชผลท่ีปลูก
ไวแ ทน เปนตน

69

6. มลพษิ ทางอากาศ

“มลพิษทางอากาศ” มลพษิ ทางอากาศเปนปญ หาสําคัญปญหาหน่ึงที่เกิดขึ้นในเขตเมือง โดยเฉพาะ
กรุงเทพมหานคร เนอ่ื งจากมลพษิ ทางอากาศกอใหเกิดผลกระทบดานสุขภาพอนามัย ไมวาจะเปนดานกลิ่น
ความรําคาญ ตลอดจนผลกระทบตอ สขุ ภาพทเ่ี กี่ยวกับระบบการหายใจ หัวใจและปอด ดังน้ันการติดตามเฝา
ระวงั ปริมาณมลพษิ ในบรรยากาศจงึ เปนภารกิจหนง่ึ มม่ี คี วามสําคญั กรมควบคุมมลพษิ เปนหนวยงานท่ีทําการ
ตรวจวัดคุณภาพอากาศมาอยางตอเน่ือง โดยทําการตรวจวัดมลพิษทางอากาศท่ีสําคัญ ไดแก ฝุนละออง
ขนาดเลก็ (ฝนุ ละอองขนาดไมเ กิน 10 ไมครอน : PM-10) กา ซซลั เฟอรไ ดออกไซด (SO2) สารตะก่ัว (Pb)
กาซคารบอนมอนอกไซด (CO) ไนไตรเจนไดออกไซด (NO2) และกาซโอโซน (O3)

สถานการณม ลพษิ ทางอากาศ
ผลจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศในชว งเกือบ 20 ปท่ผี า นมาก พบวา คุณภาพทางอากาศในประเทศ
ไทยมคี ณุ ภาพดขี ึ้น โดยพจิ ารณาไดจากคาสูงสุดของความเขม ขนของสารมลพิษสวนใหญอ ยใู นเกณฑมาตรฐาน

70

ยกเวน ฝุนขนาดเล็ก และกาซโอโซน ท้ังนี้การทคี่ ุณภาพอากาศของประเทศไทยมีคุณภาพดีข้นึ มีสาเหตุมาจาก
การลดลงของปรมิ าณการใชเชื้อเพลิงในชว งวกิ ฤตเิ ศรษฐกิจและอกี สว นหนง่ึ มาจากมาตรการของรฐั ที่มีสวนทํา
ใหม ลพษิ ทางอากาศลดลง (ธนาคารโลก 2002) ซงึ่ ไดแก

การรณรงคใ หใชรถจักรยานยนต 4 จงั หวะแทนรถจักรยานยนต 2 จงั หวะ เนื่องจากรถจักรยานยนต
2 จงั หวะเปนแหลง กําเนิดสําคัญของการปลอยฝุนละออกสูบรรยากาศ การปรับเปล่ียนมาใชรถจักรยานยนต
4 จังหวะ จงึ จะชว ยใหม ีการปลอ ยฝุนละอองสบู รรยากาศลดลง

การติดต้ังอุปกรณกําจัดสารซัลเฟอร (Desulfurization) ในโรงไฟฟาแมเมาะในป พ.ศ.2535
เนอ่ื งจากโรงไฟฟาแมเ มาะเปน โรงไฟฟาท่ใี ชถานหินลิกไนตเปน เช้ือเพลงิ เปนแหลง กําเนิดสาํ คัญของการปลอย
กา ซซลั เฟอรไดออกไซด ดังนั้นการติดตง้ั อปุ กรณด งั กลาวทําใหปริมาณกาซซัลเฟอรไดออกไซดในบรรยากาศ
ลดลงอยางตอ เนือ่ งจนอยูในระดบั ท่ีตา่ํ กวามาตรฐาน ตง้ั แตม ีการติดตัง้ อปุ กรณก ําจดั สารซัลเฟอร

การบงั คบั ใชอ ปุ กรณขจัดมลพษิ ในระบบไอเสยี รถยนตป ระเภท Catalytic converter ในรถยนตใหม
ในป พ.ศ. 2536 เนอ่ื งจากยานยนตเ ปนแหลงกําเนิดกา ซคารบ อนมอนอกไซดท ี่สําคญั สง ผลใหระดบั กา ซ
คารบอนมอนอกไซดล ดลงจนอยูใ นระดับทตี่ ํา่ กวา มาตรฐาน

การลดปริมาณสารตะกั่วในนํ้ามัน โดยในป พ.ศ. 2532 รัฐบาลไดมีมาตรการเริ่มลดปริมาณตะกั่ว
ในน้ํามันจาก 0.45 กรัมตอลิตรใหเหลือ 0.4 กรัมตอลิตร และในป พ.ศ. 2535 ไดลดลงมาเหลือ 0.15 กรัม
ตอลติ ร จนกระทั่งปลายป พ.ศ. 2538 รฐั บาลไดยกเลกิ การใชน ้าํ มนั เบนซินท่ีมีสารตะกวั่ ทาํ ใหร ะดบั สารตะกั่ว
ลดลงอยางรวดเร็วจนอยใู นระดบั ท่ีต่าํ กวามาตรฐาน

ฝนุ ละอองขนาดเลก็ และกา ซโอโซน ยงั เปนสารมลพิษท่เี ปนปญ หา ซง่ึ ถึงแมจ ะมีแนวโนม ลดลงเชน กัน
แตม ลพษิ ทงั้ 2 ตัวก็ยงั สงู เกินมาตรฐาน ท้ังนี้อาจเปนเพราะฝุนละอองมีแหลงกําเนิดหลากหลาย ทําใหการ
ออกมาตรการเพื่อลดฝุนละอองทาํ ไดยาก โดยแหลงกําเนิดฝุนละอองที่สําคัญ ไดแก ยานพาหนะ ฝุนละออง
แขวนลอยคงคางในถนน ฝนุ จากการกอ สราง และอุตสาหกรรม สําหรับในพน้ื ที่ชนบท แหลงกาํ เนิดฝนุ ละออง
ท่ีสําคัญ คือ การเผาไหมในภาคเกษตร ขณะที่กาซโอโซนเปนสารพิษทุติยภูมิที่เกิดจากปฏิกิริยาระหวาง
สารประกอบอินทรียระเหยงาย (Volatile organic compound: VOC) และออกไซดของไนโตรเจน โดยมี
ความรอ นและแสงอาทิตยเปนตัวเรงปฏิกิริยา ทําใหกาซโอโซนมีปริมาณสูงสุดในชวงเท่ียงและบาย และถูก
กระแสลมพัดพาไปสะสมในบรเิ วณตา งๆ ซึง่ จะเห็นไดว ามปี จจยั หลายปจจัยท่ียากตอการควบคุมการเกิดของ
กาซโอโซน ทําใหม าตรการตาง ๆ ที่กลาวมาของภาครัฐ ยงั ไมสามารถลดปริมาณกาซโอโซนลงใหอยูในเกณฑ
มาตรฐานได

มลพิษทางอากาศมีแหลงกําเนิดมลพิษและผลกระทบตอสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดลอมแตกตาง
และรุนแรงตา งกันไป ทัง้ นส้ี ามารถสรปุ ได ดงั ตารางท่ี 1

71

ตารางท่ี 1 แหลงกาํ เนดิ ที่สาํ คญั และผลกระทบของมลพษิ ทางอากาศ

มลพษิ แหลงกาํ เนดิ ที่สําคญั ผลกระทบ

ฝุนละออง การเผาไหมข องเครือ่ งยนตดเี ซล PM-10 มีผลกระทบตอ สุขภาพอนามยั
ไมเ กนิ 10 ไมครอน ฝนุ ละออง แขวนลอยคงคา ง ของคนอยา งสงู เพราะมีขนาดเลก็
(PM-10) ในถนน ฝุนจากการกอสรา ง จึงสามารถแทรกตัวเขาไปในปอดได
และจากอุตสาหกรรม

กา ชซลั เฟอร การเผาไหมเ ชอ้ื เพลงิ ทีม่ ี การสะสมของ SO2 จาํ นวนมาก
ไดออกไซด ซลั เฟอรเ ปน องคประกอบ อาจทาํ ใหเ ปนโรคหอบหดื หรือ
(SO2 ) ซง่ึ สวนใหญ คือ ถานหินและ
นํา้ มนั และอาจเกดิ จาก มีปญ หาเกย่ี วกบั ระบบทางเดนิ หายใจ
กระบวนการทางอตุ สาหกรรม นอกจากนก้ี ารรวมตวั กนั ระหวา ง SO2
บางชนิด และ NO2 เปนสาเหตุสาํ คัญท่กี อใหเกิด

ฝนกรด (acid rain) ซ่ึงทําใหเ กิดดนิ
เปรีย้ ว และทําใหนาํ้ ในแหลง นา้ํ
ธรรมชาตติ า ง ๆ มีสภาพเปนกรด

สารตะกว่ั การเผาไหม alkyl lead ที่ผสม สารตะก่วั เปน สารอันตรายทส่ี ง ผล
(Pb) อยูในนา้ํ มันเบนซนิ ทาํ ลายสมอง ไต โลหิต ระบบประสาท
สวนกลาง และระบบสบื พันธุ โดยเดก็
ทีไ่ ดร บั สารตะก่ัวในระดบั สูงอาจมี
พัฒนาการรับรชู ากวา ปกติ และ
การเจรญิ เตบิ โตลดลง

กาชคารบอนได การเผาไหมข องน้ํามนั ท่ีไม CO จะเขา ไปขัดขวางปริมาณกา ซ
ออกไซด สมบรู ณ ออกซเิ จน (O2) ท่ีรา งกาย จําเปน ตอง
(CO) ใช ดงั นั้นผทู ม่ี อี าการโรคระบบหัวใจ
และหลอดเลอื ดจึงมคี วามเส่ยี งสงู จน
อาจถงึ แกชีวติ ได ถา ไดรบั CO
ในระดับสูง

72

มลพษิ แหลงกําเนิดทส่ี ําคัญ ผลกระทบ

ไนโตรเจนออกไซด การเผาไหมเ ชอื้ เพลิงฟอสซิล การรบั NO2 ในระดับตํ่าอาจทาํ ให
NO2 และยงั มบี ทบาทสําคัญ ในการ คนทม่ี โี รคระบบทางเดินหายใจ
กอ ตัวของ O3 และฝนุ ละออง มคี วามผิดปกติของปอด และอาจเพิ่ม
การเจบ็ ปวยของโรคระบบ ทางเดนิ
หายใจในเด็ก ขณะที่การรบั No2
เปนเวลานานอาจเพ่ิมความไวทีจ่ ะตดิ
เชือ้ โรคระบบทางเดนิ หายใจและทาํ ให
ปอดมีความผิดปกตอิ ยา งถาวร

กา ชโอโซน การทาํ ปฏิกริ ิยาระหวา ง O.3 อาจทาํ ใหเกิดอันตรายเฉียบพลัน
O3 สารประกอบอนิ ทรยี ร ะเหยงา ย ตอสขุ ภาพ เชน ความระคายเคืองตอ
(Volatileorganic สายตา จมูก คอ ทรวงอก หรอื อาการ

compound: VOC) และ ไอ ปวดหัว นอกจากนี้ยังอาจทาํ ให
ออกไซดของ ไนโตรเจนโดยมี ผลผลติ ทางการเกษตรตํ่าลง
ความรอ นและแสงอาทติ ยเ ปน
ตวั เรงปฏกิ ริ ิยา

ท่มี า : ธนาคารโลก 2002.

กจิ กรรมบทที่ 4 เร่ือง การทาํ ลายทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ ม

กิจกรรมที่ 1 ผูเรียนคิดวาในชุมชนเกิดปญหาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมในดานใดบาง
ใหเลือก 1 ปญหา แลววิเคราะหหาสาเหตุของการเกิดปญหาและหาสาเหตุของการเกิดปญหาและหาแนว

ทางแกไ ข

กิจกรรมท่ี 2 ใหผูเรียนศึกษาผลกระทบจากการสรางเขื่อนขนาดใหญตอการเปล่ียนแปลงทาง
ธรรมชาติ และจัดทํารายงาน

กจิ กรรมท่ี 3 จงเลือกคาํ ตอบทถ่ี กู ตองท่สี ดุ เพยี งคาํ ตอบเดยี ว

1. ปญ หาการจราจรติดขดั ตามเมอื งใหญ ๆ นอกจากจะทาํ ใหเ กดิ ผลเสียทางเศรษฐกจิ แลว ยงั จะทําให

เกดิ ผลเสียทางใดอีก

ก. ทาํ ใหค นฝาฝน กฎหมาย ข. ทําใหส ิง่ แวดลอมเปนพษิ

ค. ทําใหรถยนตเ สอ่ื มสภาพเร็ว ง. ทาํ ใหสูญเสยี เวลาไปโดยเปลา ประโยชน

73

2. เราจะแกอากาศเปน พิษอยางเชนในกรงุ เทพฯ โดยวิธใี ดจึงจะดที สี่ ุด

ก. ลดจาํ นวนรถยนตล ง ข. ไมส ง เสียงดงั ในโรงภาพยนตร

ข. ปลูกตน ไมใ หมาก ง. ขยายเขตเมอื งใหก วา งออกไปอีก

3. การปอ งกันไมใหเกดิ ปญหามลพษิ ควรปฏิบัติอยางไร

ก. ไมส บู บุหรีใ่ นทีส่ าธารณะ

ข. ไมส งเสยี งดังในโรงภาพยนตร

ค. ขามถนนตรงทางมาลายหรอื สะพานลอย

ง. ติดตัง้ ระบบปอ งกันไอเสียในรถยนต

4. ประเทศไทยขาดดลุ การคา กบั ตางประเทศ เพราะเหตใุ ด

ก. สนิ คา มีจาํ นวนนอยกวา เปาหมาย

ข. ปรมิ าณการผลิตสนิ คานอ ยลง

ค. ไมสนบั สนุนใหเ อกชนสง สินคาออก

ง. มลู คาราคาสินคาสง ออกนอยกวา มลู คาสนิ คา นําเขา

5. สาเหตอุ ะไรที่ทาํ ใหฝ นมสี ภาพเปน กรด

ก. กา ซท่ีมอี อกไซดเปนตวั ประกอบ ข. ซลั เฟอรไ ดออกไซด

ข. ออกไซดของไนโตรเจน ง. คารบ อนมอนนอกไซด

6. มลภาวะเปนพษิ ท่เี กิดผลกระทบตอ ระบบนิเวศหมายถึง

ก. ออกซเิ จนในอากาศมีปรมิ าณเพ่ิมขึ้น

ข. คารบ อนไดออกไซดใ นอากาศมีปริมาณเพ่มิ ขึ้น

ค. ออกซเิ จนในอากาศมีปรมิ าณเทา เดมิ

ง. คารบอนไดออกไซดใ นอากาศมปี ริมาณนอ ยลง

7. ขอ ใดไมใชปญ หาการส้นิ เปลืองพลังงานอันเกิดจากปญหาทรัพยากรและสง่ิ แวดลอม

ก. ปญ หาการขาดแคลนนา้ํ ใช ข. ปญหานาํ้ ทว มกรงุ เทพฯ

ค. ปญ หาการจราจรติดขดั ง. ปญหาการศึกษา

8. ขอใดเปน การใชพลังงานเพอื่ ปอ งกันและแกไขปญหาทรพั ยากรและสงิ่ แวดลอม

ก. การทิ้งขยะมูลฝอย ข. การปลอ ยนํ้าเสีย

ค. การคมุ กาํ เนดิ ของประชากร ง. การควบคมุ หรือปองกนั อากาศเสีย

74

เร่อื งท่ี 5 แนวทางการปอ งกนั แกไ ขปญ หาการทาํ ลายทรัพยากรธรรมชาติและ
สง่ิ แวดลอ ม โดยประชาชน ชุมชน องคกร ภาครฐั ภาคเอกชน

แนวคิดในการอนุรักษท รัพยากรธรรมชาติ
1. การอนรุ ักษทรพั ยากรธรรมชาติ หมายถึง การรูจักใชทรัพยากรธรรมชาติอยางชาญฉลาด เพ่ือให
เกิดประโยชนสงู สดุ ตอ ประชาชนโดยท่ัวถึงกนั ใชไ ดอยา งยาวนาน
2. การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติเกี่ยวของกับประชาชนทุกคน รวมท้ังชุมชน องคกรภาครัฐและ
ภาคเอกชน
3. การอนรุ กั ษห รือการจัดการทรพั ยากร ตอ งคํานงึ ทรัพยากรอยา งอนื่ ในเวลาเดียวกนั ดวย
เพราะทรพั ยากรทุกอยางมีสว นเกย่ี วขอ งและสมั พันธก นั
4. ในการวางแผนการจัดการทรัพยากร ตองไมแยกมนุษยออกจากสภาพแวดลอม ทางสังคมหรือ
วฒั นธรรมหรือสภาพแวดลอมตามธรรมชาติ
5. ผูใชทรัพยากรธรรมชาติตอ งตระหนักถึงความสําคัญของทรัพยากรนั้น ๆ และใชอ ยางชาญฉลาด
ใหเกิดผลดีกบั ทกุ ดาน
6. การอนรุ กั ษทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ ม นอกจากเพอื่ การกินดีอยูดีแลวจาํ เปนตองอนุรักษ
เพอ่ื ความสวยงามของธรรมชาตดิ ว ย

การอนรุ กั ษปา ไม
1. กาํ หนดนโยบายปา ไมแ หงชาติเพื่อเปน แนวทางในการจดั การและพฒั นาปาไมในระยะยาว
2. การปลูกปา สงวน รวมทง้ั ทาํ นุบํารุงดูแล โดยใหประชาชน และชุมชนมีสวนรวมในการรักษาดูแล
ปาไม
3. สรา งจติ สาํ นึกใหประชาชนทกุ คนไดร ูคุณคาของปาไม และผลกระทบทเ่ี กิดจากการตัดไมทําลายปา
การอนุรักษทรัพยากรดนิ เปนวิธกี ารปองกันเรม่ิ แรกที่ดีท่สี ุด ทีจ่ ะทําใหม นุษยไดใชประโยชนของดิน
อยางยาวนาน ซึ่งสามารถทําได ดังน้ี
1. ปรับสภาพดิน หรอื ปลูกพชื ที่สามารถปองกนั การทะลาย การชะลาง และการกัดเซาะ
2. ปกคลมุ ดินใหพนจากการกระทบของฝนและลม
3. การไถพรวนดินใหถูกตอ ง
4. ใชประโยชนใหเ หมาะสมกับลกั ษณะดิน
การอนรุ กั ษท รัพยากรนํ้า วธิ ีการอนรุ กั ษทรพั ยากรนาํ้ สามารถแกไดทีต่ ัวตน เหตุ ซง่ึ ก็คอื มนุษย
1. ไมท ง้ิ เศษขยะมลู ฝอย สิง่ สกปรกโสโครก ลงไปในแมน ้าํ ลาํ คลอง
2. ควรมีมาตรการหา มไมใ หโรงงานอตุ สาหกรรมทงิ้ นํ้าเสยี ลงในแมน้ํา
3. ประชาชนทุกชุมชน องคกรภาครฐั และเอกชนทุกหนว ยงาน ตอ งชว ยกนั รักษาตนน้ําลาํ ธาร

75

การอนุรักษสัตวปา สัตวเปนทรัพยากรธรรมชาติท่ีสามารถทําใหเพิ่มจํานวนมากขึ้นได แตถาหาก
สตั วป า ชนิดใดสญู พันธุ ไปแลว จะไมสามารถสรางพันธุของสัตวปาชนิดนั้น ขึ้นมา ไดอีก การอนุรักษสัตวปา
จึงควรมีหลัก ดงั นี้

1. การใชกฎหมายควบคุม เปน การอนรุ ักษส ตั วป า ทางตรง มีการปอ งกันและปราบปราม ผูกระทําผิด
พระราชบญั ญตั สิ งวน และคุมครองสตั วปา อยา งเขม งวด

2. การสงวนแหลงที่อยู อาศัยของสัตวปา หมายถึงการปองกันรักษาปาไม ท่ีจัดเปนเขตรักษาพันธุ
สัตวป า เขตปาในอุทยานแหง ชาติ เขตวนอทุ ยานตอ งมีการปอ งกัน บํารงุ รักษา และการปลูกพนั ธุไมขึน้ มาใหม

3. การเพาะพันธุเพิม่ เชน ตามสวนสัตวตา ง ๆ เขตรักษาพันธุสัตวหลายแหง เลี้ยงสัตวบางชนิดไวใน
กรงเพือ่ เพาะพันธเุ พิม่ เมอื่ มมี ากแออัด จงึ นําสตั วบ างชนิดไปปลอยไวใ นปา เปด ของอุทยานแหง ชาติ

4. การคนควา วจิ ยั ทางวชิ าการ ถือไดว า เปน พน้ื ฐานของการจัดการสตั วป า ใหม จี าํ นวนเพิม่ ข้ึนในระดบั
ทพี่ อเหมาะกบั อาหารและที่หลบภัยในทองทีน่ นั้ ๆ

5. การใชป ระโยชนจากสตั วต ามหลกั การอนุรักษทรัพยากร โดยไมเ กบ็ ทรัพยากรไว รูจกั นําทรัพยากร
น้ัน ๆ มาใชใหเปนประโยชนมากที่สุด เชน จัดเปนแหลงเรียนรู จัดสถานท่ีชมสัตวปา จัดสวนสัตวใหเปนท่ี
พกั ผอนหยอนใจแกม นุษย เปนตน

การอนุรกั ษท รัพยากรแรธาตุ
1. กาํ หนดแผนการใชทรัพยากรแรเ พอื่ ใหการบริหารทรพั ยากรแรเปน ไปอยางตอเนอื่ ง
2. วางแผนการนาํ แรมาใชป ระโยชนอ ยางมปี ระสิทธภิ าพ ไมทาํ ลายสงิ่ แวดลอมตามธรรมชาติ
3. สงเสริมใหม กี ารใชทรัพยากรแรใ หม ากที่สดุ และครบวงจร ตวั อยางคือมีการนาํ แรธาตุทใี่ ชแ ลวมาใช
ใหม เชน เหล็ก รวมทั้งใหร ฐั เขามามีบทบาทในการควบคุมกลไกการผลติ

แนวทางแกไ ขปญหาวิกฤตการณส่ิงแวดลอม
ปญ หาสิง่ แวดลอ ม เปน ปญ หาของทกุ คนในสงั คม เพราะจะมผี ลกระทบตอทุกคนทอ่ี ยรู วมกัน ทงั้ เรื่อง
มลพษิ ทางอากาศ ทางน้าํ หรอื ขยะมลู ฝอย โดยมีแนวทางการแกไข ดังน้ี

แนวทางการแกไ ขมลพษิ ทางอากาศ
มลพษิ ทางอากาศสวนใหญจะเกิดในชมุ ชนขนาดใหญ เน่ืองจากมีประชากรอาศัยอยูมาก สาเหตุเกิด
จาก ควนั พิษจากรถยนต และจากโรงงานอุตสาหกรรม ซ่งึ มแี นวทางแกไขปญหา ดงั ตอไปนี้
1. จัดหาและพัฒนาระบบการตรวจคณุ ภาพในอากาศ ใหสามารถวิเคราะหปริมาณมลพิษทางอากาศ
ชนดิ ตาง ๆ เพอื่ ประเมินคณุ ภาพในอากาศ
2. หาทางลดปรมิ าณสารมลพิษทางอากาศจากแหลงกาํ เนดิ เพอื่ ใหส ามารถควบคมุ และรักษาคณุ ภาพ
อากาศใหไดต ามมาตรฐาน
3. กระตุนใหผ ใู ชร ถยนตใหความสําคญั ในการดแู ลรกั ษาเคร่อื งยนตใหอ ยูในสภาพดเี พ่อื ลดควันดาํ
4. ออกมาตรการตรวจสอบและตรวจจับรถยนตทม่ี ีควันดํา
5. รณรงคใ หผ ขู บั ขี่รถยนตม วี นิ ัยและเคารพในกฎจราจร

76

แนวทางการแกไขมลพิษทางน้ํา
1. รณรงคใ หประชาชนใชน ํ้าอยา งประหยัด
2. มกี ารจดั การนํา้ แบบบูรณาการใหมีประสิทธิภาพเพื่อเกิดประโยชนสงู สุด
3. มีมาตรการทีเ่ ขมงวดในการควบคมุ นาํ้ ท่อี อกจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. ปรบั ปรงุ ทอ น้ําทิ้ง ไมใ หบานเรอื นทิง้ น้าํ ใชแ ลวสแู มน้าํ ลาํ คลอง

แนวทางการแกไขขยะมลู ฝอย
1. หลีกเลย่ี งการใชโ ฟมหรือพลาสตกิ
2. ซอ มแซมแกไ ขเครื่องใชท ช่ี ํารุดใหน ํากลับมาใชใ หมแ ทนการท้ิงเปน ขยะ
3. ควรนําวัสดุทใ่ี ชแ ลว เชน กระดาษ แกว พลาสตกิ มาแปรรปู กลบั มาใชไ ดใหม
4. นาํ ของที่ใชแ ลว บางชนิดมาดดั แปลงใชใ หมใ หเกดิ ประโยชน
5. ควรแยกขยะตามประเภท เชน ขยะเปยก ขยะแหง ขวดพลาสติก ฯลฯ
ในการปอ งกันแกไ ขปญ หาการทําลายทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอมนั้น ไมเ พียงแตประชาชน
ทุกคนเทา นั้น แตช ุมชน องคก รภาครฐั และภาคเอกชนจะตองรว มมอื รวมใจกนั เพอ่ื การพัฒนาและการอนุรักษ
ทยี่ ่งั ยนื

กิจกรรมที่ 4 แนวทางการปอ งกันแกไ ขปญหาการทําลายทรพั ยากรธรรมชาติและ
สิง่ แวดลอม โดยประชาชน ชมุ ชน องคก รภาครัฐ ภาคเอกชน

1. เหตุใดจงึ กลา ววา “มนุษย” คือตวั การสาํ คัญท่ีเปน ผทู าํ ลายทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอม
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

2. ในชุมชนท่ีผูเรียนอาศัยอยู มีทรัพยากรชนิดใดมากท่ีสุด ผูเรียนจะมีวิธีชวยอนุรักษทรัพยากร
ชนดิ นน้ั ไดอยา งอยางไรบาง

1. .....………………………………………………………………………………......................................................
.....………………………………………………………………………………........................................................................

2. .....………………………………………………………………………………......................................................
.....………………………………………………………………………………........................................................................

3. .....………………………………………………………………………………......................................................
.....………………………………………………………………………………........................................................................

4. .....………………………………………………………………………………......................................................
.....………………………………………………………………………………........................................................................

77

บทท่ี 2 ประวัตศิ าสตร

สาระการเรียนรู

การศึกษาทางประวัติศาสตร เปน กระบวนการหรือข้ันตอนการศึกษา เรื่องราวของมนุษยใ นยุค
ตา ง ๆ เชน ความเปนอยู การปกครอง ศาสนา ศลิ ปะ และวัฒนธรรม ท่เี ปน สภาพเหตกุ ารณในอดีตทถ่ี กู บนั ทกึ
ไวใหศกึ ษา ซ่งึ เหตกุ ารณเ หลา น้ีจะมผี ลกระทบตอความคิดของมนุษยปจจบุ ัน ทั้งดานความเขา ใจพลเมืองชาติ
ตาง ๆ ความสําเร็จ ความประทบั ใจที่มีคุณคา ของบรรพบรุ ษุ มาศึกษาใหเขาใจ สามารถนําไปสรา งองคค วามรู
ใหมในทางประวัตศิ าสตรได

ตวั ชวี้ ดั

1. อธบิ ายเหตกุ ารณส าํ คญั ทางประวัติศาสตรข องประเทศตาง ๆ ในโลก
2. วิเคราะหและเปรียบเทยี บเหตุการณสําคัญทางประวัตศิ าสตรของแตละประเทศในโลกท่มี ผี ล
กระทบตอความเปลีย่ นแปลงของประเทศตาง ๆ ในโลก
3. วิเคราะหเ หตุการณโลกปจจุบันและคาดคะเนเหตุการณท ี่อาจจะเกิดข้ึนกับประเทศตาง ๆ
ในอนาคต

ขอบขา ยเน้ือหา

เรอ่ื งที่ 1 การแบง ชว งเวลาและยุคสมยั ทางประวัติศาสตร
เร่อื งท่ี 2 แหลง อารยธรรมโลก
เรอ่ื งที่ 3 ประวัติศาสตรชาตไิ ทย
เรอื่ งท่ี 4 บคุ คลสําคญั ของไทยและของโลกในดานประวัติศาสตร
เรอ่ื งท่ี 5 เหตุการณส าํ คญั ของโลกทม่ี ีผลตอปจ จุบัน

78

เรือ่ งที่ 1 การแบง ชว งเวลาและยุคสมยั ทางประวัตศิ าสตร

ยุคสมยั ประวัติศาสตรมคี วามสําคญั ตอการศกึ ษาประวัตศิ าสตรเน่ืองจากเปน การแบง ชวงเวลาในอดีต
อยา งเปน ระบบ โดยพจิ ารณาจากหลักฐานท่ีเหลืออยูในปจจุบัน ซึ่งจะนําไปสูการวิเคราะหเหตุการณตาง ๆ
อยางมีเหตุผล โดยตระหนักถึงความสําคัญของความตอเนื่องของชวงเวลา จะทําใหการลําดับเปรียบเทียบ
เรือ่ งราวทางประวตั ิศาสตรม ีความชัดเจนข้นึ ตามเกณฑด ังตอ ไปนี้

1. การแบง ชว งเวลา มีพ้นื ฐานมาจากยุคสมัยทางศาสนาแบงออกเปน
(1) การแบงชวงเวลาตามประวัติศาสตรไ ทย ไดแ ก รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) และ

พทุ ธศักราช (พ.ศ.) ปจจุบันทใ่ี ชกันอยูคือ พทุ ธศักราช (พ.ศ.) ซึ่งเปนศักราชในกลุมผูที่นับถือพระพุทธศาสนา
การนับปของพุทธศาสนา เร่ิมป พ.ศ.1 หลังจากท่ีพระพุทธเจาเสด็จดับขันธปรินิพพานแลว 1 ป คือปแรก
นับเปน พ.ศ. 0 เมื่อครบ 1 ป ของพุทธศาสนาจึงเร่ิมนับ พ.ศ.1 โดยเริ่มใชตั้งแตสมัยสมเด็จพระนารายณ
มหาราช จนมาเปนทแ่ี พรห ลายและระบุใชอยางเปน ทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว
(รัชกาลท่ี 6) ในปพทุ ธศักราช 2455 และบางครง้ั มกี ารแบง เปน ทศวรรษ และศตวรรษ เชน พุทธศตวรรษที่ 25
คอื ป พ.ศ. 2500 เทากับ ครสิ ตศ ตวรรษท่ี 20 คอื ป ค.ศ. 2000

(2) การแบงชวงเวลาตามประวัติศาสตรสากล ไดแก คริสตศักราช (ค.ศ.) เปนการนับเวลาทาง
ศกั ราชของผูท ่ีนบั ถอื ครสิ ตท น่ี ยิ มใชก นั มาทว่ั โลก โดยคริสตศ ักราชที่ 1 เร่ิมนับตั้งแตปท่ีพระเยซูคริสตประสูติ
(ตรงกับ พ.ศ. 543 ) และถอื ระยะเวลาท่อี ยูกอนคริสตศ กั ราชลงไปจะเรียกวา สมัยกอนคริสตศักราชหรือกอน
ครสิ ตกาล และฮจิ เราะหศ กั ราช (ฮ.ศ.) เปนการนับเวลาทางศักราชของผูนับถือศาสนาอิสลามโดยที่อาศัยปที่
ทานนบีมูฮัมหมัดไดอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดินา เปนปเริ่มตนศักราชอิสลามซึ่งตรงกับวันที่
6 กรกฎาคม ค.ศ. 622

2. การแบง ยคุ สมัยทางประวตั ศิ าสตร
การแบงยุคสมัยทางประวัติศาสตรโดยการใชหลักเกณฑการพิจารณารูปแบบและลักษณะของ
หลักฐานท่ีเปนลายลักษณอักษรและไมเปนลายลักษณอักษร สามารถแบงยุคสมัยทางประวัติศาสตรเปน
ยคุ ตา ง ๆ ไดดงั น้ี

ยุคกอนประวตั ศิ าสตร

เปนชวงเวลาที่มนุษยยังไมรูจักการประดิษฐตัวอักษร แตมีความสามารถในการปรับตัวใหเขากับ
สงิ่ แวดลอม ส่งิ ทมี่ นษุ ยสรา งขน้ึ เพ่ือใชประโยชนในชีวิตประจําวันและหลงเหลืออยู จึงเปนหลักฐานแสดงให
เห็นถึงวิวฒั นาการในยุคกอ นประศาสตร ซงึ่ แบง ยอยออกไปตามลักษณะวัสดทุ ีใ่ ชทาํ เคร่อื งมือเครอ่ื งใช ดังนี้

1. ยุคหิน เปนยุคทม่ี นษุ ยร ูจักนําหินมาดดั แปลงเปน เครื่องมือเคร่อื งใช โดยมีววิ ฒั นาการดังน้ี
(1) ยุคหินเกา มนุษยนํากระดูกสัตว นําหินมากะเทาะทําเคร่ืองมืออยางหยาบ ๆ ยังคงใชชีวิต

เรรอ นยา ยท่อี ยูตามฝงู สัตวทล่ี าเปนอาหารโดยอาศยั อยูตามถา้ํ
(2) ยคุ หนิ กลาง มนุษยเ รม่ิ รูจักสรางบานเรือนแทนการอยูถํ้า เร่ิมทําเกษตรและรูจักปนหมอไห

อยางหยาบ ๆ ดวยดนิ เหนยี วตากแหง

79

(3) ยุคหนิ ใหม มนษุ ยอ ยูเ ปนหลกั แหลง สามารถทําการเกษตรและผลิตอาหารไดเอง เครื่องมือ
เครอ่ื งใชทีท่ ําจากหินมกี ารขัดเกลาใหแหลมคม ทําเคร่ืองปน ดนิ เผามาใชใ นบานเรอื นได และเร่ิมรูจ กั การนําเสน
ใยมาทอผา

2. ยุคโลหะ ในยุคนี้มนุษยเร่ิมทําเครื่องมือเคร่ืองใชจากโลหะแทนหินและกระดูกสัตว ยุคโลหะ
สามารถแบง ยอยไปไดอีก 2 ยคุ ตามลกั ษณะโลหะท่ีใชคอื

(1) ยคุ สาํ รดิ เครือ่ งมือเครื่องใชของมนษุ ยใ นยุคนท้ี าํ จากโลหะผสมระหวา งทองแดงและดีบกุ เชน
ขวาน หอก กําไล เปน ตน

(2) ยุคเหลก็ เมอื่ มนุษยรูจักวิธีการถลุงเหลก็ จงึ นาํ มาทําเคร่ืองมือเคร่อื งใชและอาวุธ เชน ใบหอก
ขวาน มดี ซึ่งจะมคี วามแข็งแกรงทนทานกวา สาํ ริดมาก

ยุคประวตั ิศาสตร
เปน ชวงเวลาท่ีมนษุ ยร จู กั ประดิษฐต วั อักษรและบันทึกไวบนวัสดุตาง ๆ เชน แผนหิน แผนดินเหนียว
แผน ผา ยุคประวตั ศิ าสตรแบงออกเปนยุคสมยั ตา ง ๆ ดังน้ี
1. สมัยโบราณ มนุษยเลิกใชชีวิตแบบเรรอนมาตั้งถิ่นฐานบานเรือนอยูรวมกัน สรางระเบียบวินัย
ในการอยูรวมกันข้ึนจนเปนสังคมที่มีความซับซอน อารายธรรมในสมัยน้ี ไดแก อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมอียิปต อารายธรรมอินเดีย อารยธรรมจีนไปจนถงึ จักรวรรดโิ รมนั ลม สลาย
2. สมัยกลาง เม่ือจักรวรรดิโรมันลมสลาย โดยการรุกรานของพวกเตอรก ศิลปะวิทยาการตาง ๆ
จึงหยดุ ชะงักไปดว ย ยคุ สมัยนจ้ี งึ เรยี กอกี ชื่อหนึง่ วา ยคุ มดื
3. สมัยใหมหรือยุคฟนฟูศิลปะวิทยาการ นับวายุคน้ีเปนรากฐานของความเจริญทุก ๆ ดานในยุค
ตอมา ชว งเวลาของยุคนเี้ ร่มิ ตั้งแตก ารออกสํารวจดนิ แดนไปจนถึงสงครามโลกคร้ังท่ี 1
4. สมัยปจ จุบันคอื ชวงเวลาต้งั แตย ตุ ิสงครามโลกครงั้ ท่ี 1 เร่อื ยมาจนถงึ ปจ จบุ ัน

หลกั เกณฑการแบง ยุคสมยั ทางประวัตศิ าสตร มดี ังน้ี
1. การแบงยุคสมยั ทางประวตั ศิ าสตรส ากล
แบงตามความเจริญทางอารยธรรมมนุษย
แบงตามการเร่มิ ตน ของเหตุการณสาํ คญั
แบง ตามช่ือจักรวรรดิหรอื อาณาจกั รทส่ี ําคัญท่เี คยรุงเรอื ง
แบง ตามราชวงศท่ีปกครองประเทศ
แบงตามการตงั้ เมืองหลวง

2. การแบงยคุ สมัยทางประวตั ศิ าสตรไ ทย
สวนใหญยึดถือหลักเกณฑของประวัติศาสตรสากล แบงเปนสมัยกอนประวัติศาสตรไทยและสมัย
ประวัติศาสตรไ ทย

80

สมัยประวัติศาสตรไ ทยแบงตาม
สมยั โบราณหรอื สมัยกอนสุโขทัย ต้งั แต พ.ศ.1180 ถึง พ.ศ. 1792
สมัยสุโขทัย ตั้งแต พ.ศ. 1792 ถงึ พ.ศ. 2006
สมยั อยธุ ยา ตัง้ แต พ.ศ. 1893 ถงึ พ.ศ. 2310
สมัยธนบุรี ตง้ั แต พ.ศ. 2310 ถึง พ.ศ. 2325
สมัยรตั นโกสนิ ทร ตัง้ แต พ.ศ. 2325 ถงึ ปจ จุบนั

การเทยี บยคุ สมยั สาํ คัญระหวางประวตั ิศาสตรส ากลกบั ไทย

ประวตั ิศาสตรส ากล ประวตั ศิ าสตรไ ทย

สมยั โบราณ สมัยโบราณหรอื สมยั กอนสโุ ขทยั
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อาณาจกั รลังกาสุกะ
อารยธรรมอยี ปิ ต อาณาจกั รทวารวดี

อารยธรรมกรีก อาณาจกั รโยนกเชียงแสน
อารยธรรมโรมัน อาณาจกั รตามพรลงิ ค
สน้ิ สุดสมยั โบราณ เม่ือ ค.ศ.476 ( พ.ศ.1019 )

สมัยกลาง สมัยสุโขทยั
จกั รวรรดิโรมันตะวนั ออก สน้ิ สดุ ค.ศ. 1453 สมัยอยธุ ยา
การสรา งอาณาจักรคริสเตียน
การปกครองในระบบฟวดลั สมยั ธนบรุ ี
การฟน ฟเู มอื งและการคา สมัยรัตนโกสนิ ทร
การฟนฟูศิลปะวิทยาการ
การคน พบทวปี อเมรกิ า

สมัยใหม
การสํารวจทางทะเล
การปฏวิ ัตวิ ิทยาศาสตร
การปฏิวัตอิ ุตสาหกรรม
การปฏิวัติฝรง่ั เศส
สงครามโลกครัง้ ท1ี่ -2
สิ้นสุดสมัยใหม ค.ศ. 1945

81

ประวัติศาสตรส ากล ประวตั ิศาสตรไทย

สมยั ปจ จุบัน-รวมสมยั -ปจ จบุ นั พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหา-
ยุคสงครามเย็น ภูมิพลอดลุ ยเดช (2489 – ปจ จบุ นั )
ยคุ เทคโนโลยีการสื่อสาร

ตวั อยางเหตกุ ารณส าํ คัญท่ีแสดงความสัมพันธและความตอเนื่องของกาลเวลา

1. ประวตั ศิ าสตรสากล
เหตุการณส าํ คญั ในประวัติศาสตรสากลนํามาเปนตัวอยางคือ ยุคจักรวรรดินิยมเกิดขึ้นมาจากปจจัย
หลายประการ ท้ังการเมือง เศรษฐกิจและพลังทางสังคม ซึ่งทําใหประเทศในทวีปยุโรปมีอํานาจเขมแข็ง
มีความกาวหนาทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุงเรือง แตการมีอํานาจและความม่ันคงดังกลาวเกิดข้ึนมา
เพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรมและยุคจักรวรรดินิยม ส้ินสุดเมื่อสงครามโลกครั้งท่ี 1 ซ่ึงทําใหมหาอํานาจ
ท้งั หลายหยดุ การลา อาณานคิ ม แตอ าณานิคมทัง้ หลายที่เปน อยกู ็ยังคงเปน อาณานคิ มตอ มาอกี หลายป
หลายชาตเิ ริม่ เรยี กรองเอกราชและสว นใหญไดเ อกราชคนื ภายหลังสงครามโลกครง้ั ท่ี 2

2. ประวัตศิ าสตรไ ทย
เหตุการณสําคัญในประวัติศาสตรไทยที่นํามาเปนตัวอยางคือ ยุคการปรับปรุงประเทศอยูในชวง
พ.ศ. 2394-2475 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกลา
เจา อยูหวั ระหวา งนมี้ กี ารปรับปรงุ และปฏริ ปู ประเทศทุกดานทงั้ การปกครอง สงั คม เศรษฐกจิ วัฒนธรรม ฯลฯ

82

กจิ กรรมท่ี 5 เรื่องที่ 1 การแบง ชวงเวลาและยุคสมยั ทางประวัตศิ าสตร

จงทําเคร่ืองหมาย X หนา คาํ ตอบทถ่ี กู ตองทส่ี ุดเพียงขอเดยี ว
1. ความหมายของคําวา “ประวัตศิ าสตร” ในขอใดถูกตอ งที่สุด
ก. การกลาวถงึ สภาพแวดลอ มทเ่ี ปลย่ี นแปลงไปตามกาลเวลา
ข. เปน เร่ืองของความคิดและการกระทําของมนุษย
ค. การบันทึกเรอื่ งราวในอดตี อยางมหี ลักฐาน
ง. การเลาเร่อื งราวในอดีตท่สี ืบคน มา
2. การศกึ ษาประวัตศิ าสตร หมายถึงขอ ใด
ก. การหาหลักฐานซ่งึ นาํ ไปสกู ารวิเคราะหเหตุการณต า ง ๆ อยา งมเี หตุผล
ข. การศึกษาพฤติกรรมของ
ค. การใชวธิ กี ารทางวิทยาศาสตร
ง. การใหข อมูลจากแหลง ตาง ๆ
3. ประเทศไทยเร่มิ ใชปพ ทุ ธศักราชสมัยใด
ก. พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยหู วั
ข. พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา เจาอยูห ัว
ค. พระพุทธยอดฟาจุฬาโลก
ง. พระนารายณม หาราช
4. มนุษยรูจักประดิษฐต วั อักษรและบันทึกไวบนวัสดตุ า ง ๆ ในยคุ ไหน
ก. ยคุ ประวัติศาสตรส ากล
ข. ยุคกอนประวัติศาสตร
ค. ยคุ ประวัตศิ าสตร
ง. ยคุ สงครามเย็น
5. การแบง ยุคสมัยทางประวตั ิศาสตรไทย
ก. สมัยประวัติศาสตรส ากล
ข. สมัยโบราณและสมยั กรงุ ธนบรุ ี
ค. สมยั อยุธยาและสมัยประวัตศิ าสตรไทย
ง. สมยั กอนประวตั ิศาสตรไ ทยและสมัยประวตั ศิ าสตรไ ทย

83

เรือ่ งที่ 2 แหลง อารยธรรมโลก

ในยคุ กอ นประวตั ศิ าสตร มนษุ ยจ ะไมมีทอี่ ยเู ปน หลักแหลง มที ่ีพกั ชั่วคราวตามถํ้า ตนไมใหญ เพื่อกัน
แดดกนั ฝนและปองกนั สตั วร า ย การอพยพยา ยที่อยูข้ึนอยูกับแหลงอาหาร คือ ฝูงสัตว เมื่อสัตวอพยพไปตาม
ฤดกู าลตาง ๆ มนษุ ยกอ็ พยพตามไปดว ย ตอมาในยคุ หนิ มีการคดิ คนการเพาะปลูก มนุษยตองรอการเก็บเก่ียว
พืชผล ทําใหม นุษยตอ งอยเู ปน หลกั แหลง และพฒั นาเปนชุมชน ในยุคตอมามนุษยประดิษฐตัวอักษรใชในการ
บนั ทึกเร่ืองราว เมื่อมนษุ ยเริม่ รวมตัวกันหนาแนน ตามแหลง อุดมสมบูรณ ลุมแมนํ้าตาง ๆ ของโลกจึงเกิดการ
จัดระเบียบในสังคม มกี ารแบง หนา ที่ความรับผดิ ชอบรว มกัน จงึ ทําใหเ กดิ ความชาํ นาญเฉพาะอยางข้ึน อันเปน
จุดกําเนิดของอารยธรรม ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษวา “Civilization” มีความหมายวา สภาพท่ีพนจาก
ความปาเถื่อน

อารยธรรมของมนษุ ยยุคประวตั ิศาสตร

พฒั นาการของมนษุ ยนน้ั มิใชเ ฉพาะลกั ษณะท่เี ห็นจากภายนอกเทานั้น พัฒนาการทางดานความคิด
ไดม ีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดลอมทางภมู ศิ าสตรแ ละสังคมที่เปล่ียนไปดวย พัฒนาการทางดานภาษา
การสรา งสรรคงานศลิ ปะ และการพัฒนาวถิ กี ารดาํ เนนิ ชวี ิตในดา นตาง ๆ นาํ ไปสกู ารเกิดอารยธรรม ซ่ึงตองใช
เวลาอนั ยาวนานและความเจรญิ ท้งั หลายในปจ จบุ นั ลว นสืบสายมาจากอารยธรรมโบราณ อารยธรรมของมนุษย
ในภมู ภิ าคตาง ๆ ของโลก แบงออกเปน 2 สว น คอื

สวนท่ี 1 อารยธรรมของโลกตะวนั ออก สว นใหญม รี ากฐานมาจากแหลงอารยธรรมท่ีเกาแกของโลก
คอื จีนและอินเดีย

อารยธรรมจีน
ประเทศจีนเปนประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร
ทีส่ ามารถคนควาไดบง ชวี้ า อารยธรรมจนี มอี ายุถึง 5,000 ป รากฐานท่สี าํ คัญของอารยธรรมจีน คือ การสราง
ระบบภาษาเขียนและการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื้อ เมื่อประมาณศตวรรษท่ี 2 กอน ค.ศ. ประวัติศาสตรจีน
มีทั้งชวงที่เปนปกแผนและแตกเปนหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น
วัฒนธรรมของอารยธรรมจนี สมัยกอนประวตั ิศาสตร มีแหลง อารยธรรมทีส่ ําคัญ 2 แหลง คือ
ลมุ แมนา้ํ ฮวงโห พบความเจรญิ ทเ่ี รียกวา วัฒนธรรมหยางเซา (Yang Shao Culture) พบหลกั ฐาน
ทีเ่ ปน เครือ่ งปน ดนิ เผามลี กั ษณะสาํ คัญคือ เคร่ืองปน ดนิ เผาเปนลายเขยี นสี มกั เปน ลายเรขาคณิต พืช นก สตั ว
ตา ง ๆ และพบใบหนามนุษย สีทีใ่ ชเ ปนสีดําหรือสมี วงเขม นอกจากนยี้ งั มกี ารพิมพล ายหรือขดู สลกั ลายเปน
รปู ลายจักสาน ลายเชือกทาบ
ลมุ นา้ํ แยงซี (Yangtze) บรเิ วณมณฑลซานตงุ พบ วัฒนธรรมหลงซาน (Long Shan Culture)
พบหลกั ฐานทเ่ี ปน เครื่องปนดินเผามีลกั ษณะสาํ คัญคอื เครือ่ งปน ดนิ เผามีเนื้อละเอยี ดสดี ําขัดมันเงา คุณภาพดี
เนอื้ บางและแกรง เปน ภาชนะ 3 ขา

84

สมัยประวัตศิ าสตรข องจีนแบงได 4 ยุค
ประวตั ิศาสตรสมัยโบราณ เริม่ ตัง้ แตส มัยราชวงศซาง ส้นิ สุดสมัยราชวงศโ จว
ประวัติศาสตรสมัยจกั รวรรดิ เร่มิ ตง้ั แตส มยั ราชวงศจ น๋ิ จนถงึ ปลายราชวงศซ ิง หรือเชง็
ประวตั ศิ าสตรส มยั ใหม เร่มิ ปลายราชวงศเ ช็งจนถงึ การปฏิวัติเขา สูระบอบสังคมนิยม
ประวัติศาสตรรวมสมัย เริ่มต้ังแตจีนปฏิวัติเปล่ียนแปลงการปกครองเขาสูระบอบสังคมนิยมหรือ
คอมมิวนสิ ตจนถงึ ปจ จุบัน
อารยธรรมจีนไดรบั อิทธพิ ลของศาสนาเตา หรอื ขงจื้อ สถาปตยกรรมทยี่ ง่ิ ใหญเ ปนหนึง่ ในส่งิ มหัศจรรย
ของโลก คอื “กาํ แพงเมืองจนี ” กวีที่สําคัญคอื ซือหมาเชียน ผลงานทีส่ าํ คญั คอื การบันทกึ ประวัตศิ าสตรและ
วรรณกรรมทีส่ าํ คัญ คือ สามกก และความรกั ในหอแดง

การถา ยทอดอารยธรรมจนี สูด ินแดนตาง ๆ
อารยธรรมจนี แผข ยายขอบขายออกไปอยางกวางขวาง ท้ังในเอเชียและยุโรปอันเปนผลมาจากการ
ตดิ ตอทางการฑตู การคา การศึกษา ตลอดจนการเผยแพรศ าสนา อยางไรก็ตามลกั ษณะการถายทอดแตกตาง
กันออกไป ดินแดนท่ีเคยตกอยูภายใตการปกครองของจีนเปนเวลานาน เชน เกาหลีและเวียดนาม จะไดรับ
อารยธรรมจีนอยา งสมบรู ณ ทัง้ ในดานวัฒนธรรม การเมือง ขนมธรรมเนียมประเพณี การสรางสรรคและการ
แสดงออกทางศิลปะทั้งน้ีเพราะราชสํานักจีนจะเปนผูกําหนดนโยบายและบังคับใหประเทศท้ังสองรับ
วฒั นธรรมจนี โดยตรง
ในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต อารยธรรมจนี ไดร ับการยอมรับในขอบเขตจํากดั มากท่ีเห็นอยางชัดเจน คือ
การยอมรับระบบบรรณาการของจีน
ในเอเชียใต ประเทศท่แี ลกเปล่ียนวัฒนธรรมกบั จนี อยางใกลช ิด คือ อินเดีย พระพทุ ธศาสนา มหายาน
ของอินเดียแพรหลายเขามาในจีนจนกระท่ังเปนศาสนาสําคัญท่ีชาวจีนนับถือ นอกจากน้ีศิลปะอินเดียยังมี
อทิ ธิพลตอการสรางสรรคศ ลิ ปะบางอยา งของจนี เชน ประตมิ ากรรมท่เี ปน พระพทุ ธรปู
สวนภูมภิ าคเอเชยี กลางและตะวนั ออกกลางนน้ั เนอื่ งจากบริเวณที่เสนทางการคา สานแพรไหมผาน
จงึ ทําหนาทีเ่ ปน สือ่ กลางนําอารยธรรมตะวนั ตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพรไป เชน การแพทย
การเลี้ยงไหม กระดาษ การพมิ พแ ละดนิ ปน เปนตน ซ่ึงชาวอาหรบั จะนาํ ไปเผยแพรแกช าวยโุ รปอกี ตอหนึง่

อารยธรรมอนิ เดีย

อินเดยี เปนแหลง อารยธรรมที่เกาแกแหงหนึ่งของโลก บางทีเรียกวา แหลงอารยธรรมลุมแมน้ําสินธุ
อาจแบง ยคุ สมยั ทางประวตั ศิ าสตรข องอนิ เดียไดดงั นี้

สมัยกอนประวัติศาสตร พบหลักฐานเปนซากเมืองโบราณ 2 แหง ในบริเวณลุมแมนํ้าสินธุ คือ
เมอื งโมเฮนโจดาโร ทางตอนใตของประเทศปากีสถานเมืองอารับปา ในแควนปนจาป ประเทศปากีสถานใน
ปจ จบุ นั

85

สมัยประวัติศาสตร เร่ิมเม่ือมีการประดิษฐตัวอักษรข้ึนใช โดยชนเผาอินโด – อารยัน ซ่ึงต้ังถิ่นฐาน
บรเิ วณแมน้ําคงคา แบงได 3 ยุค

1. ประวัติศาสตรส มัยโบราณ เรม่ิ ต้งั แตก าํ เนดิ ตัวอกั ษร บรามิ ลปิ  ส้นิ สดุ สมยั ราชวงศคปุ ตะ เปนยุคที่
ศาสนาพราหมณ ฮินดแู ละพุทธศาสนา ไดถ อื กําเนดิ แลว

2. ประวัติศาสตรส มยั กลาง เริ่มตัง้ แตร าชวงศค ุปตะสิ้นสุดลง จนถงึ ราชวงศโมกลุ เขาปกครองอินเดยี
3. ประวตั ิศาสตรส มัยใหม เริม่ ตัง้ แตราชวงศโมกุลจนถึงการไดร บั เอกราชจากอังกฤษ
อารยธรรมลมุ น้าํ สนิ ธุ ชาวอารยันไดสรางปรัชญาโบราณ เร่ิมจากคัมภีรพระเวทอันเปนแมแบบของ
ปรัชญาเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต วรรณกรรมท่ีสําคัญ ไดแก พระเวทอุปนิษัท มหากาพย
มหาภารตะ มหากาพย รามายยะ ปุราณะ เปนตน กวีท่ีมีช่ือเสียงท่ีสุดมี กาลิทาสจากงานศกุณตลา ชัยเทพ
(กวีราช) จากผลงานเร่ือง คีตโควินทและรพนิ ทรนาถ ฐากรู กวสี มัยใหมจากวรรณกรรมเรอื่ ง “คีตาญชลี”
ซงึ่ ไดรับรางวลั โนเบล สาขาวรรณคดี

การแพรขยายและการถา ยทอดอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย แพรขยายออกไปสูภูมิภาคตาง ๆ ทั่วทวีปเอเชียโดยผานทางการคา ศาสนา
การเมอื ง การทหารและไดผสมผสานเขา กบั อารยธรรมของแตละประเทศจนกลายเปนสว นหนึง่ ของอารยธรรม
สังคมนน้ั ๆ
ในเอเชียตะวนั ออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอยางลึกซึ้งตอชาวจีนท้ังในฐานะ
ศาสนาสาํ คัญและในฐานะท่มี ีอิทธพิ ลตอ การสรางสรรคศ ิลปะของจนี
ภูมภิ าคเอเชยี กลาง อารยธรรมอนิ เดียท่ถี ายทอดใหเร่มิ ตั้งแตค ริสตศตวรรษที่ 7 เมอื่ พวกมสุ ลิมอาหรบั
ซ่ึงมีอํานาจในตะวันออกกลาง นําวิทยาการหลายอยางของอินเดียไปใช ไดแก การแพทย คณิตศาสตร
ดาราศาสตร เปนตน ขณะเดียวกนั อินเดียก็รับอารยธรรมบางอยางท้ังของเปอรเซียและกรีก โดยเฉพาะดาน
ศิลปกรรม ประติมากรรม เชน พระพทุ ธ รปู ศิลปะคันธาระซึ่งเปนอิทธิพลจากกรีก สวนอิทธิพลของเปอรเซีย
ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปตยกรรม เชน พระราชวัง การเจาะภูเขาเปนถ้าํ เพือ่ สรางศาสนสถาน
ภูมิภาคทีป่ รากฏอิทธิพลของอนิ เดยี มากทส่ี ดุ คือ เอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต พอคา พราหมณและภิกษุ
สงฆช าวอินเดียเดนิ ทางมาและนําอารยธรรมมาเผยแพร อารยธรรมที่ปรากฏอยูมีแทบทุกดาน โดยเฉพาะใน
ดา นศาสนา ความเชอื่ การปกครอง ศาสนาพราหมณ ฮินดแู ละพุทธ ไดห ลอ หลอมจนกลายเปน รากฐานสําคัญ
ท่สี ุดของประเทศตาง ๆ ในภูมภิ าคนี้

สว นที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตก หมายถึง ดินแดนแถบตะวันตกของทวีปเอเชีย รวมเอเชีย
ไมเนอรและทวปี แอฟริกา อียปิ ต เมโสโปเตเมีย กรีกและโรมนั

อารยธรรมอียปิ ต
อียิปตโบราณหรือไอยคุปต เปนหนึ่งในอารยธรรมที่เกาแกท่ีสุดในโลกแหงหนึ่ง ตั้งอยูทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพ้ืนที่ตั้งแตตอนกลางจนถึงปากแมนํ้าไนล ปจจุบันเปนที่ตั้งของ
ประเทศอียิปต อารยธรรมอียิปตโบราณเร่ิมข้ึนประมาณ 3,150 ป กอนคริสตศักราช โดยการรวมอํานาจ

86

ทางการเมอื งของอยี ิปตต อนเหนือและตอนใต ภายใตฟาโรหองคแรกแหงอียิปต และมีการพัฒนาอารยธรรม
เรอ่ื ยมากวา 3,000 ป ประวตั ิของอียิปตโบราณปรากฏข้นึ ในชว งระยะเวลาหนึง่ หรือที่รจู กั กนั วา “ราชอาณาจักร”
มกี ารแบงยุคสมัยของอียิปตโบราณเปนราชอาณาจักร สวนมากแบงตามราชวงศที่ข้ึนมาปกครองจนกระท่ัง
ราชอาณาจักรสุดทา ยหรอื ทร่ี จู กั กนั ในช่ือวา “ราชอาณาจกั รใหม” อารยธรรมอียิปตอยูในชวงที่มีการพัฒนา
ทน่ี อยมากและสวนมากลดลง ซง่ึ เปนเวลาเดียวกันท่ีอียิปตพายแพตอการทําสงครามจากอํานาจของชาติอื่น
จนกระทัง่ เม่อื กอ นคริสตศ กั ราชก็เปน การสิ้นสดุ อารยธรรมอียปิ ตโ บราณลง เมอ่ื จักรวรรดโิ รมนั สามารถเอาชนะ
อียปิ ตและจัดอยี ปิ ตเ ปนเพยี งจงั หวดั หนึ่งในจกั รวรรดิโรมัน

อารยธรรมอยี ิปตพฒั นาการมาจากสภาพของลุมแมน้ําไนล การควบคุมระบบชลประทาน การควบคมุ
การผลิตพืชผลทางการเกษตร พรอมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคมและวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปตน้ัน
ลอ มรอบดว ยทะเลทรายเสมือนปราการปอ งกนั การรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทําเหมืองแร
และอยี ปิ ตย งั เปน ชนชาตแิ รก ๆ ทมี่ ีการพัฒนาการดวยการเขียน ประดิษฐตัวอักษรขึ้นใช การบริหารอียิปต
เนนไปทางสิ่งปลกู สรางและการเกษตรกรรม พรอ มกันนัน้ ก็มีการพัฒนาการทางทหาร

อยี ิปตท ีเ่ สรมิ สรางความแขง็ แกรง แกราชอาณาจักร โดยประชาชนจะใหความเคารพกษัตริยหรือฟาโรห
เสมือนหนงึ่ เทพเจา ทาํ ใหก ารบรหิ ารราชการบา นเมอื งและการควบคุมอาํ นาจน้นั ทาํ ไดอยา งมปี ระสทิ ธภิ าพ

ชาวอียิปตโบราณไมไดเปนเพียงแตนักเกษตรกรรมและนักสรางสรรคอารยธรรมเทาน้ัน แตยังเปน
นักคิด นักปรัชญา ไดมาซ่ึงความรูในศาสตรตาง ๆ มากมาย พัฒนาอารยธรรมกวา 3,000ป ท้ังในดาน
คณติ ศาสตร เทคนคิ การสรางพีระมิด วัด โอเบลิสก ตัวอักษรและเทคโนโลยีดานกระจก นอกจากน้ียังมีการ
พัฒนาประสิทธิภาพทางดานการแพทย ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปตทิ้งมรดกสุดทายแก
อนุชนรุนหลังไวค ือ ศิลปะและสถาปตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนําไปใชท่ัวโลก อนุสรณ สถานท่ีตาง ๆ ในอียิปต
ตางดึงดดู นักทองเที่ยว กวาหลายศตวรรษทผี่ า นมา ปจ จบุ ันมกี ารคนพบวัตถุใหมๆ ในอียิปตมากมายซ่ึงกําลัง
ตรวจสอบถึงประวตั ิความเปน มาเพอ่ื เปนหลักฐานใหแกอารยธรรมอยี ิปต การสรางสรรคอ ารยธรรมของชาวอยี ิปต
โบราณ เชน อักษรภาพ “เฮียโรกริฟฟค” ถือวาเปนหลักฐานขอมูลของแหลงอารยธรรมอื่น ๆ
“พีรามิด” ใชเปนสุสานเก็บพระศพของฟาโรห ซึ่งใชน้ํายาอาบศพในรูปของมัมมี่ ประติมากรรมรูปคนตัว
เปน สงิ หหมอบเฝา หนาพรี ามดิ ถือวาเปน ประติมากรรมท่ยี ิ่งใหญ

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
กําเนดิ ข้ึนในบรเิ วณลมุ แมน ้ํา 2 สาย คอื แมน ้ําไทกรีสและแมน้ํายูเฟรตีส ปจจุบันอยูในประเทศอิรัก
เปนแหลงอารยธรรมแหงแรกของโลก มนุษยในอารยธรรมนี้มักมองโลกในแงราย เพราะสภาพภูมิประเทศ
ไมเออ้ื ตอการดาํ รงชวี ิต ทาํ ใหเ กรงกลัวเทพเจา คดิ วาตนเองเปน ทาสรบั ใชเทพเจา จงึ สรา งเทวสถานใหใหญโต
นาเกรงขาม เปน สญั ลกั ษณท ่ปี ระทับของเทพเจาตาง ๆ มีชุมชนหลายเผาตง้ั ถน่ิ ฐานในบรเิ วณนี้ที่สําคัญ ไดแ ก
สุเมเรยี น อะมอไรต อัสซีเรียน คาลเดยี และชนชาติอน่ื ๆ
คนกลมุ แรกท่ีสรางอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น คือ สุเมเรีย ผูคิดประดิษฐตัวอักษรขึ้นเปนครั้งแรก
ของโลก อารยธรรมท่ีชาวสุเมเรียนสรางข้ึนเปนพ้ืนฐานสําคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปตยกรรม
ซกั กเู ร็ตประดิษฐค ันไถใชไ ถนา ตัวอักษร ศลิ ปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทศั นคตติ อ ชีวิตและเทพเจา ของชาว

87

สเุ มเรียน ไดดํารงอยแู ละมีอทิ ธพิ ลอยูในลมุ แมน ้ําทัง้ สองตลอดชว งสมัยโบราณ ชนชาติอะบอไรตแหง อาณาจกั ร
บาบโิ ลเนยี ไดประมวลกฎหมายขน้ึ เปน ครัง้ แรกคือ ประมวลกฎหมาย “ฮัมบูราบี” ชนชาตอิ ัสซีเรยี นสรา งภาพ
สลักนนู และชนชาติเปอรเซยี เปนตน แบบสรา งถนนมาตรฐาน

อารยธรรมกรกี
อารยธรรมกรีกโบราณ ไดแก อารยธรรมนครรัฐกรีก คําวา กรีก เปนคําท่ีพวกโรมันใชเปนครั้งแรก
โดยใชเรยี กอารยธรรมเกาตอนใตของแหลมอตี าลี ซ่งึ เจรญิ ขึ้นบนแผนดนิ กรีกในทวีปยุโรป และบริเวณชายฝง
ตะวันออกของทะเลเมดิเตอรเรเนียน ดานเอเชียไมเนอร ซ่ึงในสมัยโบราณเรียกวา ไอโอเนีย (lonia)
อารยธรรมท่ีเจริญขึ้นในนครรัฐกรีกมีศูนยกลางสําคัญที่นครรัฐเอเธนสและนครรัฐสปารตา นครรัฐเอเธนส
เปน แหลงความเจริญในดานตา ง ๆ ทงั้ ดานการปกรอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะ วิทยาการดานตาง ๆ รวมทั้ง
ปรชั ญา สว นนครรัฐสปารตาเจริญในลักษณะที่เปนรัฐทหารในรูปเผด็จการ มีความแข็งแกรงและเกรียงไกร
เปน ผนู ําของรฐั อนื่ ๆ ในแงข องความมรี ะเบยี บวินยั กลา หาญและเดด็ เดยี่ ว การศกึ ษาเกี่ยวกับอารยธรรมกรีก
โบราณ จึงเปน การศึกษาเรอ่ื งราวเกี่ยวกับนครรฐั เอเธนสและนครรัฐสปารตา
ชาวกรกี เรียกตวั เองวา เฮลีนส (Hellenes) เรียกบานเมืองของตนวา เฮลัส(Hellas) และเรียกอารย
ธรรมของตนวา อารยธรรมเฮเลนิค (Hellenic Civilization) (1) ชาวกรีกโบราณเปนชาวอินโตยูโรเปยน
ชาวกรีกตั้งบานเรือนของตนเองอยูทางทิศตะวันออกเฉียงใต ตรงปลายสุดของทวีปยุโรปตรงตําแหนงท่ีมา
บรรจบกนั ของทวปี ยุโรป เอเชยี และแอฟรกิ า เปน ตน เหตุใหก รีกโบราณไดรับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจาก
ทงั้ อยี ิปตแ ละเอเชยี กรกี ไดอ าศัยอิทธิพลดังกลาวพฒั นาอารยธรรมของตนขึ้น โดยคงไว ซึ่งลักษณะท่ีเปนของ
ตนเอง ชาวกรีกสมัยโบราณถือวาตนเองมคี ุณลกั ษณะพเิ ศษบางอยางทีผ่ ิดกับชนชาตอิ ่ืนและมักจะเรียกชนชาติ
อ่ืนวา บาเบเรยี น ซึ่งหมายความวาผทู ่ีใชภาษาผิดไปจากภาษาของพวกกรีก
อารยธรรมกรีกรูจักกันในนามของอารยธรรมคลาสสิก สถาปตยกรรมท่ีเดน คือ วิหารพาเธนอน
ประตมิ ากรรมทีเ่ ดน ทสี่ ดุ คือ รปู ปน เทพซีอุส วรรณกรรมดีเดน คอื อเี ลียดและโอดิสต (I liad and Oelyssay)
ของโอเมอร
อารยธรรมโรมนั
อารยธรรมโรมันเปน อารยธรรมท่ีไดร ับการถา ยทอดมาจากกรกี เพราะชาวโรมันไดรวมอาณาจักรกรีก
และนาํ อารยธรรมกรีกมาเปนแบบแผนในการสรางสรรคใหเหมาะสมกับสภาพความเปนอยูของสังคมโรมัน
สถาปตยกรรมที่เดน ไดแก วิหารพาเธนอน หลังคารูปโมในกรุงโรม โคลอสเซียม อัฒจันทรสําหรับดูกีฬา
ซึง่ จุผูดไู ดถ งึ 4,500 คน วรรณกรรมที่เดนท่ีสุดคือเร่อื ง อเี นียด (Aeneid) ของเวอรว ิล

88

กิจกรรมเรื่องที่ 2 แหลงอารยธรรมโลก

กจิ กรรมท่ี 6 ใหศ ึกษาคนควา และทํารายงานสง
ใหเ ปรยี บเทยี บอารยธรรมของโลกตะวนั ออกและตะวันตก

กจิ กรรมที่ 7 จงทาํ เครอ่ื งหมาย X หนาคําตอบที่ถกู ตองทสี่ ดุ เพยี งขอ เดยี ว

1. ขอ ใดตรงกับความหมายของคาํ วาอารยธรรม
ก. สภาพโบราณ
ข. สภาพประวัตศิ าสตร
ค. การถา ยทอดอดีตสปู จจบุ ัน
ง. สภาพที่พนจากความปาเถื่อน

2. อารยธรรมเมโสโปเตเมียกําเนดิ ในบรเิ วณลมุ แมน ้ําใด
ก. แมน ํ้าไททรสั และแมน้ํายเู ฟรตสี
ข. แมนา้ํ ไทกรสี และแมน ํ้าสเุ มเรยี น
ค. แมนาํ้ ยูเฟรตีสและแมน ํ้าสุเมเรยี น
ง. แมน ํ้ายูเฟรตีสและแมน ้าํ อะมอไรต

3. ประวตั ศิ าสตรข องจนี แบงเปนกย่ี ุค
ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6

4. โคลอสเซียม เปน สถาปต ยกรรมของอารยธรรมประเทศใด
ก. ฝร่ังเศส
ข. อยี ปิ ต
ค. โรมนั
ง. กรกี

5. อารยธรรมของโลกตะวันออก มีรากฐานมาจากแหลง อารยธรรมประเทศอะไร
ก. จีนและกัมพชู า
ข. จีนและอนิ เดีย
ค. อินเดยี และกมั พชู า
ง. จนี และประเทศไทย

89

เรื่องท่ี 3 ประวัตศิ าสตรช าตไิ ทย

ความเปนมาของดินแดนประเทศไทยในสมัยโบราณสวนใหญมาจากหลักฐานดานโบราณคดีและ
เอกสารประวตั ิศาสตรจีนโบราณและภาพถายทางอากาศและเห็นถึงที่ต้ังและสภาพของแหลงชุมชนโบราณ
ในประเทศไทย สภาพคนู ้าํ และคันดินในแหลงโบราณคดีแตละแหงแสดงใหเห็นวาชุมชนนั้นไดเริ่มตั้งถ่ินฐาน
อยางถาวรแลว เชน ชุมชนบงึ คอกชา ง จังหวดั อุทัยธานี มีคนู ้ําและคันดินลอมรอบถึง 3 ชั้นดวยกัน ซ่ึงแสดงวา
ชุมชนดังกลาวมีประชากรต้ังถิ่นฐานอยูอยางตอเนื่อง และมีประชาชนเพิ่มมากข้ึนจนตองขยายเขตชุมชน
ออกไป

ดินแดนในประเทศไทยมีทั้งพัฒนามาจากอาณาจักรเดิมและมีการอพยพยายเขามาของกลุมคนพูด
ภาษาไทย – ลาวจากถนิ่ บรรพบรุ ษุ ซง่ึ อยตู อนใตข องประเทศจนี เดิม เขามายงั ดนิ แดนเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต
ราวคริสตศ ตวรรษที่ 10 รฐั ของชาวไทยมีความสําคญั ตามยุคสมยั ไดแก อาณาจักรโยนกเชียงแสน อาณาจักร
ลา นนา อาณาจักรสโุ ขทยั อาณาจกั รอยธุ ยา และไดพฒั นามาเปนสมัยกรุงรัตนโกสินทร นับตั้งแต พ.ศ. 2325
เปน ตน มา

อาณาจกั รสยามเผชญิ กบั การคกุ คามในสมยั ยุคลาอาณานิคมของประเทศตะวันตก แตสยามสามารถ
รอดพน จากการถูกยึดครองโดยประเทศเจาอาณานิคมได และหลังจากการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการ
ปกครอง ในป พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังคงอยูในชวงท่ีปกครองโดยรัฐบาลทหารเปนสวนใหญ จนกระทั่ง
อีก 60 ปถ ัดมา จงึ ไดมรี ะบบการเลอื กตงั้ ท่ีเปนประชาธิปไตยอยา งแทจรงิ

ประวัติศาสตรท่ีมกี ารคน พบในประเทศไทยที่เกา แกทส่ี ดุ คือท่บี า นเชียง โดยสิ่งของท่ีขุดพบมาจากใน
สมัยยุค 3,600 ปกอนคริสตศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ และมีการปลูกขาว รวมถึงการติดตอ
ระหวางชุมชนและมรี ะบอบการปกครองข้นึ

มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาท่ีมาของชนชาติไทย ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อวาชาวไทยในสมัยกอนเคยมี
ถิ่นอาศัยอยูข้นึ ไปทางตอนเหนอื ถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้น ไดมีการทยอยอพยพเคลื่อนยายลงมาทางใต
สูค าบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเปนเวลาตอ เนอ่ื งกนั หลายพันป โดยเช่ือวาเกิดจากการแสวงหาทรัพยากร
ใหม แตทฤษฎีน้ีขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่นาเช่ือถือได ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีท่ีอธิบายวาเดิม
ชนชาติ ไทย ไดอ าศยั อยเู ปนบรเิ วณกวางขวางในทางตอนใตของจีนจนถึงภาคเหนอื ของไทยและไดมกี ารอพยพ
ลงใตเ ร่ือย ๆ เขา มาอาศัยอยูในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นไดอาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุมชน
ด้ังเดมิ ในพืน้ ที่ โดยไมมีปญ หามากนัก ซง่ึ อาจเนอื่ งดวยดนิ แดนคาบสมุทรอนิ โดจีนในชวงเวลานนั้ ยังมีพืน้ ที่และ
ทรัพยากรธรรมชาติเปนจํานวนมาก ในขณะที่มีกลุมชนอาศัยอยูเบาบาง ปญหาการแยงชิงทรัพยากรจึงไม
รุนแรง รวมทั้งลกั ษณะนสิ ยั ของชาวไทยนั้นเปนผูอ อนนอมและประนีประนอม ความสัมพันธระหวางชาวไทย
กลุมตาง ๆ อาจมกี ารติดตอ อยา งใกลช ดิ อยบู า ง ในฐานะของผูมีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แตการ
รวมตัวเปนนิคมขนาดใหญหรือแวนแควนยังไมปรากฏ ในเวลาตอมาเมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยูใน

90

ดินแดนคาบสมทุ รอินโดจนี เปนจาํ นวนมากขน้ึ ชาวไทยจงึ เรมิ่ มบี ทบาทในภมู ภิ าค แตกย็ งั คงจาํ กดั อยูเพียงการ
เปน กลมุ อํานาจยอ ย ๆ ภายใตอํานาจการปกครองของชาวมอญและขอม กระทง่ั อํานาจของขอมในดนิ แดน
ทีร่ าบลุมแมนาํ้ เจาพระยาเร่ิมออ นกาํ ลังลง กลุมชนที่เคยตกอยภู ายใตอาํ นาจปกครองของขอม รวมท้งั กลุมของ
ชาวไทย

ในชวงตอมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เปนประเทศไทยในปจจุบัน ไดแก
ชาวมาเลย ชาวมอญ ชาวขอม โดยอาณาจกั รท่ีสาํ คญั ไดแก อาณาจกั รทวารวดีในตอนกลาง อาณาจกั รศรีวิชัย
ในตอนใต และอาณาจักรขอมซ่งึ มีศูนยก ลางการปกครองท่ีนครวดั โดยคนไทยมกี ารอพยพมาจากดินแดนทาง
ตะวันตกเฉียงใตและทางใตข องจนี ผานทางประเทศลาว

ภาคกลาง
1. อาณาจกั รทวารวดี
2. อาณาจกั รละโว

ภาคใต
1. อาณาจักรศรีวชิ ยั
2. อาณาจกั รตามพรลิงก

ภาคอสี าน
1. อาณาจักรฟนู าน
2. อาณาจักรขอม
3. อาณาจกั รศรโี คตรบรู ณ

ภาคเหนือ
1. อาณาจักรหรภิ ุญชยั
2. อาณาจกั รโยนกเชียงแสน

ดินแดนในประเทศไทยมีทั้งพฒั นามาจากอาณาจักรเดิมกอ นหนา นั้น เชน ละโว ศรีวชิ ยั ตามพรลงิ ก
ทวารวดี ฯลฯ อาณาจกั รทส่ี ําคญั ของไทยในชวงปลายพทุ ธศตวรรษท่ี 19 ถึงปจจุบนั ไดแ ก อาณาจักรสุโขทัย
อาณาจกั รอยธุ ยา กรงุ ธนบรุ ี และรตั นโกสินทร

กรงุ ธนบุรี พ.ศ. 2310 – 2325

หลงั จากพระเจา ตากสนิ ไดก อบกกู รงุ ศรีอยธุ ยากลับคนื จากพมา ไดแ ลว พระเจา ตากสนิ ทรงเหน็ วา กรุง-
ศรอี ยุธยาถกู พมา เผาผลาญเสยี หายมาก ยากทจี่ ะฟนฟูใหเหมือนเดิม พระองคจึงยายเมืองหลวงมาอยูที่กรุง-
ธนบรุ แี ลว ปราบดาภิเษกข้นึ เปน กษัตรยิ  ทรงพระนามวา “พระบรมราชาธริ าชที่ 4” (แตประชาชนนิยมเรียกวา
สมเดจ็ พระเจาตากสนิ มหาราชหรือสมเด็จพระเจา กรุงธนบรุ ี) ครองกรุงธนบุรอี ยู15 ป นับวาเปนพระมหากษัตริย
พระองคเดียวทปี่ กครองกรุงธนบุรี

91

สมเด็จพระเจา ตากสนิ ทรงยา ยเมืองหลวงมาอยูท่กี รงุ ธนบุรี เนอ่ื งจากสาเหตุดงั ตอ ไปน้ี
1. กรงุ ศรีอยุธยาชํารุดเสียหายมากจนไมสามารถบูรณปฏิสังขรณใหดีเหมือนเดิมได กําลังรี้พลของ

พระองคมนี อ ยจึงไมสามารถรกั ษากรุงศรอี ยธุ ยาเปนเมอื งใหญได
2. ทาํ เลท่ตี ้งั ของกรุงศรีอยธุ ยาทาํ ใหขา ศกึ โจมตีไดงาย
3. ขาศกึ รูเสน ทางการเขา ตกี รงุ ศรอี ยธุ ยาดี
สว นสาเหตุท่ีพระเจา ตากสนิ ทรงเลือกกรุงธนบุรีเปนเมืองหลวงเนื่องจากทําเลที่ตั้งกรุงธนบุรีอยูใกล
ทะเล ถา เกดิ มีศกึ มาแลว ต้ังรบั ไมไ หวก็สามารถหลบหนไี ปตง้ั ม่นั ทางเรือไดกรุงธนบรุ เี ปนเมอื งเลก็ จึงเหมาะกับ
กําลังคนท่ีมีอยูพอจะรักษาเมืองไดกรุงธนบุรีมีปอมปราการที่สรางไว ตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู
ซ่ึงพอจะใชเ ปน เครอ่ื งปองกนั เมืองไดในระยะแรก

ดา นการปกครอง
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียใหแกพมา เม่ือ พ.ศ. 2310 บานเมืองอยูในสภาพไมเรียบรอย มีการ
ปลนสะดมกันบอย ผูคนจึงหาผูคุมครองโดยรวมตัวกันเปนกลุมเรียกวาชุมนุม ชุมนุมใหญ ๆ ไดแก ชุมนุม
เจา พระยาพษิ ณโุ ลก ชุมนมุ เจาพระฝาง ชุมนุมเจาพิมาย ชุมนุมเจานครศรีธรรมราช เปนตน สมเด็จพระเจา
ตากสนิ ทรงใชเวลาภายใน 3 ป ยกกองทัพไปปราบชุมชนตางๆ ท่ีต้ังตนเปนอิสระจนหมดส้ินสําหรับระเบียบ
การปกครองนั้น พระองคทรงยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ตามท่ีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว แตรัดกุมและมีความเด็ดขาดกวา คนไทยในสมัยน้ัน
จงึ นิยมรบั ราชการทหาร เพราะถาผใู ดมีความดีความชอบ ก็จะไดรบั การปูนบาํ เหนจ็ อยางรวดเร็ว
ลักษณะการปกครอง ในสวนกลางมีตาํ แหนง อคั รมหาเสนาบดี 2 ตําแหนง ไดแ ก
สมหุ นายก ควบคุมดแู ลหวั เมอื งฝายเหนอื
สมุหกลาโหม ควบคมุ ดแู ลหวั เมืองฝา ยใต
นอกจากน้ียังมีเสนาบดีอีก 4 ตําแหนง คือ เสนาบดีจตุสดมภ ไดแก เสนาบดีกรมเมือง (นครบาล)
เสนาบดีกรมวงั (ธรรมาธกิ รณ) เสนาบดีกรมคลงั (โกษาธบิ ด)ี และเสนาบดีกรมนา (เกษตราธิการ)
สว นภมู ิภาคแบง เปน หัวเมอื งช้นั ใน คือ เมืองท่ีรายรอบพระนคร และหัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองที่อยู
ไกลพระนคร
ดานเศรษฐกิจและสังคม ตลอดระยะเวลาที่บานเมืองไมสงบ สภาพเศรษฐกิจตกต่ําลงอยางมาก
เพราะพลเมืองไมเปน อันทํามาหากนิ เม่ือกเู อกราชไดแลว ความอดอยากหิวโหยก็ยังคงมีอยู เปนเหตุใหมีโจร
ผูรายชกุ ชุมและเกิดโรคระบาด ผคู นลมตายเปนจํานวนมาก สภาพหวั เมืองตา ง ๆ จึงเหมือนเมืองราง สมเด็จ-
พระเจากรุงธนบุรีไดสละพระราชทรัพยซื้อขาวสารราคาแพงจากพอคาตางเมืองเพื่อนํามาแจกจายราษฎร
นอกจากนน้ั ไดพระราชทานเส้ือผา เครือ่ งนงุ หมดว ย
สมัยกรุงธนบรุ ี ประชาชนทําการขดุ ทรัพยส มบัตจิ ากแหลง ซอ นทรัพยใ นกรงุ ศรีอยธุ ยา ซ่งึ ผูคนนาํ มาฝง
ซอ นไว การขดุ แตล ะครง้ั ผูขุดจะไดท รพั ยส นิ เงนิ ทองมากมาย แตก ท็ าํ ใหโบราณวัตถุถกู ทาํ ลายลง
ดา นศาสนา หลังจากท่พี ระเจาตากสินข้ึนครองกรุงธนบุรีแลว พระองคจึงไดจัดระเบียบสังฆมณฑล
รวบรวมพระไตรปฎ กและบรู ณปฏิสงั ขรณวดั

92

ดานวัฒนธรรมและศิลปกรรม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธรามเกียรต์ิไว 4 ตอน
นอกจากน้นั ก็มีกวที ่ีสําคญั ในสมัยน้ัน คือ หลวงสรวชิ ติ (หน) นายสวนมหาดเลก็ และพระยามหานุภาพ

ดา นศลิ ปกรรม เกดิ ศิลปกรรมหลายแขนง เชน นาฏกรรม จิตรกรรม และสถาปต ยกรรม
หลกั ฐานทางประวัตศิ าสตรก รุงธนบุรี
เน่ืองจากสมัยกรุงธนบุรีเปนราชธานีเปนชวงระยะเวลาส้ัน ๆ และมีพระมหากษัตริยเพียงพระองค
เดียว (สมเด็จพระเจา ตากสินมหาราชเสดจ็ สวรรคตใน พ.ศ. 2325 พระชนมายุได 45 พรรษา) ดงั นนั้ หลักฐาน
ท่ปี รากฏจึงไมม ากนัก ไดแก
1. บนั ทกึ สว นเอกชน เชน จดหมายเหตคุ วามทรงจาํ กรมหลวงนรนิ ทรเทวี
2. เอกสารไทยรว มสมยั ไดแ ก เอกสารราชการ เชน หมายรับสั่ง จดหมายเหตุรายงาน การเดินทัพ
จดหมายเหตุโหร พระราชกําหนด และอีกประเภทหนึ่ง คือ งานวรรณกรรมรวมสมัยอิงประวัติศาสตร เชน
คําโคลงยอพระเกยี รตพิ ระเจา กรงุ ธนบุรีของนายสวนมหาดเลก็ นิราศเมืองกวางตุงของพระยามหานุภาพและ
สงั คตี ยิ วงศ ของสมเด็จพระวนั รัตนว ดั พระเชตพุ น
3. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี
4. เอกสารตางประเทศ ไดแ ก เอกสารจีน เอกสารประเทศเพื่อนบานและเอกสารตะวนั ตก

กรุงรัตนโกสนิ ทร พ.ศ. 2325 – ปจจบุ นั

หลงั จากปราบดาภิเษกข้ึนเปน พระมหากษัตริย ในป พ.ศ. 2325 แลว สมเด็จเจาพระยามหากษัตริย
ศึกทรงใชพระนามวา “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก” และไดยายราชธานีจากกรุงธนบุรีขาม
แมนา้ํ เจาพระยามายังฝง ตรงขาม และต้งั ชอื่ ราชธานใี หมน ว้ี า “กรุงเทพมหานคร” พรอม ๆ กับการสถาปนา-
ราชวงศจ ักรีขึน้ มา โดยกําหนดในวันที่ 6 เมษายน ของทกุ ปเปนวันจักรี

เหตุผลในการยา ยราชธานี
1. พระราชวงั เดมิ ไมเ หมาะสมในแงย ทุ ธศาสตร เพราะมแี มน าํ้ ไหลผานกลางเมอื ง ยากแกก ารปองกัน
รักษา
2. ฝงตะวันออกของแมนํ้าเจาพระยามีชัยภูมิดีกวา เพราะเปนดานหัวแหลม มีลํานํ้าเปนพรมแดน
กวา ครึ่ง
3. เขตพระราชวังเดมิ ขยายไมได เพราะมวี ดั กระหนาบอยทู ัง้ สองขา ง ไดแก วัดแจงและวดั ทา ยตลาด
ลักษณะของราชธานใี หม
ราชธานีใหมท่ีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ ใหสรางข้ึนไดทําพิธียก
เสาหลักเมือง เมื่อวันท่ี 21 เมษายน พ.ศ. 2325 การสรางราชธานีใหมนี้โปรดฯ ใหสรางเลียนแบบกรุงศรี-
อยธุ ยา กลา วคือ กาํ หนดผงั เมืองเปน 3 สวน
1. สวนท่เี ปนบรเิ วณพระบรมมหาราชวงั วังหนา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแกว ) ทุงพระเมรุ
และสถานทส่ี ําคญั อนื่ ๆ มีอาณาบรเิ วณตงั้ แตร ิมฝง แมน้ําเจา พระยามาจนถงึ คูเมืองเดิม สมัยกรงุ ธนบรุ ี


Click to View FlipBook Version