The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้เทอม 2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 132 ศรัณย์พร พลดี, 2024-02-06 01:52:40

แผนการจัดการเรียนรู้เทอม 2

แผนการจัดการเรียนรู้เทอม 2

แผนการ จัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา ส21106 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ อำ เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พระพุทธศาสนา 2 รหัสวิชา ส21106 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จัดทำโดย นางสาวศรัณย์พร พลดี นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 รหัสวิชา ED18501 (INTERNSHIP IN SCHOLL 1) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566


คำนำ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา 2 รหัสวิชา ส21106 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ฉบับนี้จัดทำขึ้นตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และหลักสูตร สถานศึกษาโดยวางแผนการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดให้พร้อมทั้ง ดำเนินการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพตามหลักการของหลักสูตรเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตาม เจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาไทย ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฉบับนี้ ได้ศึกษาและนำแผนการ จัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ฉบับอนุญาต) ของบริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด มาประยุกต์และปรับเป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนโดยจัดทำเป็นหน่วยการ เรียนรู้อิงมาตรฐานและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) ที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดและการประกันคุณภาพผู้เรียน ช่วยให้ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ ประเมินคุณภาพการศึกษา สามารถมั่นใจในผลการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียนที่มีหลักฐานตรวจสอบผลการ เรียนรู้อย่างเป็นระบบ ขอขอบคุณคณะผู้บริหารโรงเรียนสตรีราชินูทิศ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้คำแนะนำ จนทำให้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา 2 รหัสวิชา ส21106 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ฉบับนี้สามารถนำไป จัดการเรียนรู้พัฒนาผู้เรียนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรต่อไป นางสาวศรัณย์พร พลดี นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู


คำอธิบายรายวิชา พระพุทธศาสนา 2 รหัสวิชา ส21106 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ 0.5 หน่วยกิต เวลา 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน ศึกษา วิเคราะห์ หลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่กำหนด เห็นคุณค่าและนำไปพัฒนา แก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิต เพื่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต ด้วยวิธีคิด แบบโยนิโสมนสิการคือวิธีคิด แบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม และวิธีคิดแบบคุณ – โทษ และทางออก หรือการ พัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ บำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติ ตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆ ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิด การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข การอภิปราย การวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีศรัทธาที่ ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตระหนักและปฏิบัติตน เป็นศาสนิกชนที่ดีและธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ มาตรฐาน ส 1.1 ตัวชี้วัด ส 1.1 (ม.1/6,7,8,9,10,11) มาตรฐาน ส 1.2 ตัวชี้วัด ส 1.2 (ม.1/1,2,3,4,5) รวม 11 ตัวชี้วัด


โครงสร้างรายวิชา พระพุทธศาสนา 2 รหัสวิชา ส21106 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ 0.5 หน่วยกิต เวลา 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน หน่วยที่ ชื่อหน่วย การเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา(ชั่วโมง) 1 หน้าที่ชาวพุทธ และมารยาทชาวพุทธ ชาวพุทธทุกคนควรบำเพ็ญประโยชน์ต่อ ศาสนสถานของพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตนต่อ สาวกของพระพุทธ-ศาสนาและบุคคลต่างๆ ตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างเหมาะสม โดย ยึดถือพระจริยวัตรของพระสงฆ์สาวกเป็น แบบอย่าง 6 2 วันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา และศาสนพิธี วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีความสำคัญ ต่อศาสนิกชนทุกคน ซึ่งชาวพุทธจะต้องกล่าว คำอาราธนาต่างๆ เข้าร่วมพิธีกรรม และปฏิบัติ ต น ใ น ศ า ส น พ ิ ธี แ ล ะ พ ิ ธ ี ก ร ร ม ข อ ง พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง 5 3 การบริหารจิตและ การเจริญปัญญา การสวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิต และเจริญ ปัญญาด้วยอานาปานสติ และการคิดแบบ คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม และวิธีคิดแบบคุณโทษ และทางออกนั้น เป็นส่วนสำคัญของการ พัฒนาจิตเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง 5 4 ศาสนสัมพันธ์ การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตน นับถือในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตนต่อศาสนิกชน อื่นได้อย่างเหมาะสม การเรียนรู้ศาสนาอื่นๆ และการกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่าง ด้านศาสนสัมพันธ์ ย่อมส่งผลต่อการอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสันติสุข 4 รวม 20


กำหนดการสอนรายวิชา พระพุทธศาสนา 2 รหัสวิชา ส21106 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ 0.5 หน่วยกิต เวลา 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน สัปดาห์ที่ ชั่วโมงที่ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ จำนวน ชั่วโมง 1 1 การบำเพ็ญประโยชน์ต่อ ศาสนสถาน บำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถาน ของศาสนาที่ตนนับถือ 1 2 2 เรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็น แบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม ต่อ สาวกของศาสนาที่ตนนับถือ 1 3 3 การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็น แบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อ สาวกของศาสนาที่ตนนับถือ 1 4 4 การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม ต่อเพื่อนตามหลัก พระพุทธศาสนา ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคล ต่างๆ ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่กำหนด 1 5 5 มารยาทชาวพุทธ อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็น แบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อ สาวกของศาสนาที่ตนนับถือ 1 6 6 มารยาทชาวพุทธ อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็น แบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อ สาวกของศาสนาที่ตนนับถือ 1


สัปดาห์ที่ ชั่วโมงที่ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ จำนวน ชั่วโมง 7 7 วันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา อธิบายประวัติ ความสำคัญ และ ปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนา ที่ ตนนับถือ ตามที่กำหนด ได้ถูกต้อง 1 8 8 วันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา อธิบายประวัติ ความสำคัญ และ ปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนา ที่ตนนับถือ ตามที่กำหนด ได้ถูกต้อง 1 9 9 พิธีกรรมในวันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา จัดพิธีกรรมและปฏิบัติตนในศาสน พิธี พิธีกรรมได้ถูกต้อง 1 10 10 การจัดโต๊ะหมู่บูชา จัดพิธีกรรมและปฏิบัติตนในศาสน พิธี พิธีกรรมได้ถูกต้อง 1 11 11 การกล่าวคำอาราธนาต่างๆ สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิต และ เจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือ ตามแนวทางของศาสนา ที่ตนนับถือ ตามที่กำหนด 1 12 12 การบริหารจิต สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิต และ เจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือ ตามแนวทางของศาสนา ที่ตนนับถือ ตามที่กำหนด 1 13 13 การบริหารจิต สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิต และ เจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือ ตามแนวทางของศาสนา ที่ตนนับถือ ตามที่กำหนด 1 14 14 การพัฒนาการบริหารจิต เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อ การเรียนรู้และการดำเนินชีวิตด้วย วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ วิธี คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม และ วิธีคิดแบบคุณ-โทษ แลทางออก หรือการพัฒนาจิต ตามแนวทางของ ศาสนาที่ตนนับถือ 1


สัปดาห์ที่ ชั่วโมงที่ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ จำนวน ชั่วโมง 15 15 การเจริญปัญญา เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อ การเรียนรู้และการดำเนินชีวิตด้วย วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ วิธี คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม และ วิธีคิดแบบคุณ-โทษ แลทางออก หรือการพัฒนาจิต ตามแนวทางของ ศาสนาที่ตนนับถือ 1 16 16 การเจริญปัญญา เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อ การเรียนรู้และการดำเนินชีวิตด้วย วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ วิธี คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม และ วิธีคิดแบบคุณ-โทษ แลทางออก หรือการพัฒนาจิต ตามแนวทางของ ศาสนาที่ตนนับถือ 1 17 17 ธรรมะกับสังคม 1. วิเคราะห์และปฏิบัติตนตาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือใน การดำรงชีวิตแบบพอเพียง และ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ ร่วมกันได้อย่างสันติสุข 2. วิเคราะห์เหตุผลและความจำเป็น ที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้ศาสนา อื่นๆ 3. ปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอื่นใน สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 1 18 18 ธรรมะกับสังคม 1. วิเคราะห์และปฏิบัติตนตาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือใน การดำรงชีวิตแบบพอเพียง และ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ ร่วมกันได้อย่างสันติสุข 1


สัปดาห์ที่ ชั่วโมงที่ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ จำนวน ชั่วโมง 2. วิเคราะห์เหตุผลและความจำเป็น ที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้ศาสนา อื่นๆ 3. ปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอื่นใน สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 19 19 ตัวอย่างบุคคลที่เป็น แบบอย่าง ทางด้านศาสนสัมพันธ์ วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่ เป็นแบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์ และนำเสนอแนวทางการปฏิบัติของ ตนเอง 1 20 20 ตัวอย่างบุคคลที่เป็น แบบอย่างทาง ด้านศาสนสัมพันธ์ วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่ เป็นแบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์ และนำเสนอแนวทางการปฏิบัติของ ตนเอง 1


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๑ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ เวลา ๕ ชั่วโมง เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถาน เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่ เดือน พ.ศ. ๒๕๖๖ นางสาวศรัณย์พร พลดี ผู้สอน ๑. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา ตัวชี้วัด ส ๑.๒ ม.๑/๑ บำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ ส ๑.๒ ม.๑/๒ อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และปฏิบัติ ตนอย่างเหมาะสม ต่อสาวกของศาสนาที่ตนนับถือ ๒. สาระสำคัญ ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของสังคมและชุมชน ดังนั้นการบำเพ็ญประโยชน์และบำรุงรักษาศาสน สถานจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเป็นการสืบทอดและบำรุงรักษาศาสนาให้สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ในสังคม ซึ่งสามารถทำ ได้โดยการ ร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดี ร่วมกิจกรรมและปกป้องดูแลรักษาศาสนสถาน ในโอกาสต่างๆ ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนเรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถาน นักเรียนสามารถ ๑. อธิบายวิธีการการบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานได้อย่างเหมาะสม (K) ๒. วิเคราะห์แนวทางการบำรุงรักษาศาสนสถานได้อย่างเหมาะสม (P) ๓. อภิปรายคุณค่าของการบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานได้(A) ๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๔.๒ ความสามารถในการคิด ๔.๓ ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔.๔ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๔.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


๕. สาระการเรียนรู้ ๕.๑ ด้านความรู้ (Knowledge) เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถาน ๕.๒ ด้านทักษะ (Process) เรื่อง แนวทางการบำรุงรักษาศาสนสถาน ๕.๓ ด้านเจตคติ (Attitude) เรื่อง การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕.๓.๑ มีความสามัคคี นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสามารถปรับตัวทำงานกับ ผู้อื่นได้ ๕.๓.๒ มีวินัย นักเรียนมีความตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๕.๓.๓ ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนมีความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน ๕.๓.๔ มุ่งมั่นในการทำงาน นักเรียนเอาใจใส่และรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ๕.๓.๕ รักความเป็นไทย นักเรียนเห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบทอด เผยแพร่วัฒนธรรมไทย และใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ๖. จุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียน ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ ๒๑ (๓R ๘C ๒L) R๑-Reading (อ่านออก) R๒-(W)Riting (เขียนได้) R๓-(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) C-๑ Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้ C-๒ Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม C-๓ Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและ กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม C-๔ Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะ ความเป็นผู้นำ C-๕ Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่า ทันสื่อ C-๖ Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี C-๗ Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้ C-๘ Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย L-๑ Learning (ทักษะการเรียนรู้) L-๒ Leadership (ทักษะความเป็นผู้นำ)


๗. กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและทำสมาธิก่อนเรียนทุกชั่วโมง ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๑. ครูให้นักเรียนดูรูปภาพวัดเก่าผุพัง ทรุดโทรม แล้วครูให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นในประเด็น คำถามดังต่อไปนี้ - นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับภาพดังกล่าว (แนวคำตอบ วัดอันเป็นศาสนสถานและเป็นศูนย์กลางของชุมชนไม่ได้รับการดูแลและมีสภาพที่ทรุด โทรม) - ในฐานะพุทธศาสนิกชนนักเรียนคิดว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจากภาพดังกล่าวได้ อย่างไร (แนวคำตอบ ผู้คนในชุมชนสามารถเข้าไป ทำนุบำรุง รักษาความสะอาดและช่วยเหลือในส่วนที่ตนเอง สามารถทำได้) ขั้นสอน ๒. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม “โครงการบำรุงวัด สืบสานพุทธศาสนา” โดยครูแบ่งนักเรียนเป็น ๕ กลุ่ม แล้วให้นักเรียนร่วมกันคิดโปสเตอร์เชิญชวนผู้คนในชุมชนมาร่วมบำเพ็ญประโยชน์และบำรุงรักษาวัดในชุมชน โดยระบุกิจกรรม และตกแต่งให้สวยงาม ออกแบบลงบนกระดาษขนาด เอ ๔ ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ ๓. ครูให้เวลานักเรียนออกแบบ ๑๐ นาที จากนั้นส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงาน ๔. ครูถามนักเรียนถึงแนวทางการบำเพ็ญประโยชน์และบำรุงรักษาวัดวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ นักเรียนได้นำเสนอตามผลงานในกิจกรรม “โครงการบำรุงวัด สืบสานพุทธศาสนา” ๕. ครูให้นักเรียนเขียนบันทึกการเรียนรู้ในประเด็นแนวทางการบำรุงรักษาศาสนสถานลงในแบบ บันทึกกิจกรรม ขั้นสรุป ๖. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้ประเด็นคำถามดังต่อไปนี้ - เหตุใดจึงจำเป็นจะต้องบำเพ็ญประโยชน์และบำรุงรักษาวัด


(แนวคำตอบ เพราะ เป็นแนวทางที่ช่วยสืบทอดและพระพุทธศาสนาได้) - ถ้าหากพุทธศาสนิกชนร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์และบำรุงรักษาวัดจะ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร (แนวคำตอบ ช่วยให้วัดสะอาดและยังคงสภาพเป็นศูนย์รวม จิตใจของพุทธศาสนิกชนในชุมชนสืบ ต่อไปและยังเป็นการส่งเสริมความ เจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาได้อีกด้วย) - พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ และบำรุงรักษาวัด (แนวคำตอบ เข้าไปมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญประโยชน์หรือบำรุงรักษาวัด ในกิจกรรมต่าง ๆ) ๘. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๑. หนังสือเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๒. โปรแกรมสื่อ Power Point เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถาน ๓. กระดาษ เอ ๔ ๔. ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต ๕. ห้องเรียนออนไลน์ Line ๙. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ การวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล ด้านความรู้ (Knowledge) ๑. อธิบายวิธีการการบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อศาสนสถานได้ อย่างเหมาะสม (K) - การตอบคำถาม - ประเมินผลงาน นักเรียน - แบบประเมินผลงาน นักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินร้อยละ ๗๐ ขึ้น ไป ด้านทักษะ (Process) ๒. วิเคราะห์แนวทางการ บำรุงรักษาศาสนสถานได้อย่าง เหมาะสม (P) - ประเมินผลงาน กลุ่ม - แบบประเมินผลงาน นักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับดี ขึ้นไป ด้านเจตคติ (Attitude) ๓. อภิปรายคุณค่าของการ บำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสน สถานได้ (A) - สังเกตพฤติกรรม นักเรียน - แ บ บ ส ั ง เ ก ต พฤติกรรมนักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับดี ขึ้นไป


แบบสังเกตการตอบคำถาม คำชี้แจง : ผู้สอนสังเกตการตอบคำถามของนักเรียนในระหว่างการตอบคำถาม แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับ ระดับคะแนน ลำดับ ที่ พฤติกรรม / ระดับคะแนน สนใจและ ตั้งใจฟัง คำถาม ตอบคำถาม ได้ตรง ประเด็น ความมั่นใจ ในการตอบ คำถาม รวม คะ แนน การ ประ เมิน ผล หมายเหตุ ชื่อสกุล- 3 2 1 3 2 1 3 2 1 ผ่าน ไม่ ผ่าน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ลงชื่อ................................................ (นางสาวศรัณย์พร พลดี) ครูผู้สอน เกณฑ์การให้คะแนน ระดับ 3 หมายถึง แสดงพฤติกรรมให้เห็นมาก ระดับ 2 หมายถึง แสดงพฤติกรรมให้เห็นปานกลาง ระดับ 1 หมายถึง แสดงพฤติกรรมให้เห็นน้อย เกณฑ์การประเมิน ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 8 - 9 ดี 6 - 7 ปานกลาง 4-5 พอใช้ ต่ำกว่า ไม่ผ่านเกณฑ์


แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คำชี้แจง : ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในระหว่างเรียน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน ลงชื่อ................................................ (นางสาวศรัณย์พร พลดี) ครูผู้สอน เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ เกณฑ์การให้คะแนน 7 – 9 คะแนน ระดับดี ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้งให้ 3 คะแนน 4 – 6 คะแนน ระดับพอใช้ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้งให้ 2 คะแนน ต่ำกว่า 4 คะแนน ระดับปรับปรุง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครั้งให้ 1 คะแนน ลำ ดับ ที่ ชื่อ – สกุล ของผู้รับการ ประเมิน พฤติกรรมและการปฏิบัติ คะแน นรวม (15 คะแน น) เกณฑ์ การ ตัดสิน คุณภาพ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นใน การทำงาน รักความ เป็นไทย มีความ สามัคคี 3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๒ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ เวลา ๕ ชั่วโมง เรื่อง เรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่ เดือน พ.ศ. ๒๕๖๖ นางสาวศรัณย์พร พลดี ผู้สอน ๑. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา ตัวชี้วัด ส ๑.๒ ม.๑/๒ อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และปฏิบัติ ตนอย่างเหมาะสม ต่อสาวกของศาสนาที่ตนนับถือ ๒. สาระสำคัญ ชาวพุทธที่ดีต้องปฏิบัติตนต่อบุคคลต่างๆ ตามมารยาทของชาวพุทธอย่างเหมาะสม นักบวชเป็น องค์ประกอบหนึ่งของในหลายศาสนา ซึ่งมีหน้าที่ในการฝึกฝน ปฏิบัติ อย่างไร ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนเรื่อง เรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ นักเรียนสามารถ ๑. อธิบายหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ได้(K) ๒. จำแนกบทบาทหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ได้(P) ๓. ประเมินคุณค่าของการศึกษาบทบาทหน้าที่ของพระภิกษุในการสืบทอดพระพุทธศาสนา (A) ๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๔.๒ ความสามารถในการคิด ๔.๓ ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔.๔ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๔.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


๕. สาระการเรียนรู้ ๕.๑ ด้านความรู้ (Knowledge) เรื่อง เรียนรู้วิถีชีวิตของพระสงฆ์ ๕.๒ ด้านทักษะ (Process) เรื่อง บทบาทหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ ๕.๓ ด้านเจตคติ (Attitude) เรื่อง การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕.๓.๑ มีความสามัคคี นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสามารถปรับตัวทำงานกับ ผู้อื่นได้ ๕.๓.๒ มีวินัย นักเรียนมีความตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๕.๓.๓ ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนมีความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน ๕.๓.๔ มุ่งมั่นในการทำงาน นักเรียนเอาใจใส่และรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ๕.๓.๕ รักความเป็นไทย นักเรียนเห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบทอด เผยแพร่วัฒนธรรมไทย และใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ๖. จุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียน ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ ๒๑ (๓R ๘C ๒L) R๑-Reading (อ่านออก) R๒-(W)Riting (เขียนได้) R๓-(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) C-๑ Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้ C-๒ Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม C-๓ Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและ กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม C-๔ Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะ ความเป็นผู้นำ C-๕ Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่า ทันสื่อ C-๖ Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี C-๗ Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้ C-๘ Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย L-๑ Learning (ทักษะการเรียนรู้) L-๒ Leadership (ทักษะความเป็นผู้นำ) ๗. กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและทำสมาธิก่อนเรียนทุกชั่วโมง


ขั้นนำ ๑. ครูให้นักเรียนดูภาพ พระภิกษุสงฆ์ พร้อมร่วมกันอภิปรายกับนักเรียน - นักเรียนรู้จักพระภิกษุ ท่านใดบ้าง (พระมหาสมปอง ตาล ปุตโต) - พระภิกษุที่นักเรียนรู้จัก มีวิถีชีวิตอย่างไร มีการปฏิบัติตนอย่างไร (ประพฤติตนอย่างสำรวม เรียบง่าย และคอยเผยแผ่ พระพุทธศาสนา) ขั้นสอน ๒. ครูให้นักเรียนรับชมวีดีทัศน์เรื่อง “หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์” ในระหว่างชมให้นักเรียน พิจารณาในประเด็น หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์โดยใช้เวลาประมาณ ๔ นาที ๓. หลังจากนักเรียนรับชมวีดีทัศน์จบ ครูและนักเรียนร่วมกัน อภิปรายในประเด็นหน้าที่ของ พระภิกษุสงฆ์โดยใช้แนวคำถาม ดังต่อไปนี้ - จากวีดีทัศน์ที่ได้รับชมไป พระภิกษุกสงฆ์มีหน้าที่ใดบ้าง (ศึกษาพระธรรมวินัย คำ สอนของพระพุทธเจ้า ฝึกปฏิบัติอบรม จิตใจให้มีสมาธิและเผยแพร่คำสอน) - ในด้านการเผยแผ่ศาสนา การสั่งสอนพระธรรม สอนให้แก่ใครและใช้วิธีการใด (สอนให้แก่พุทธศาสนิกชน เผยแผ่ด้วยการเทศนาธรรม ปาฐกถาธรรม) ๔. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม “เรียนรู้วิถีพระภิกษุผ่านภิกษุต้นแบบ” โดยแบ่งนักเรียน ออกเป็น ๔ กลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ชุด “๔ พระสงฆ์ต้นแบบในปัจจุบัน” โดยแต่ละกลุ่มศึกษาเรื่องราว ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กลุ่มที่ ๒ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต กลุ่มที่ ๓ พระครูวาทีพัชรโสภณ กลุ่มที่ ๔ พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กัลยาโณ) ๕. ครูแจกกระดาษฟลิปชาร์ทให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการสรุปความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาใบ ความรู้ โดยให้สรุป ในประเด็นดังต่อไปนี้ - พระภิกษุต้นแบบที่กลุ่มนักเรียนศึกษามีแนวทางในการเผยแผ่คำสอนอย่างไร - พระภิกษุต้นแบบที่กลุ่มนักเรียนศึกษามีแนวทางในการปฏิบัติตนอย่างไร - พระภิกษุต้นแบบที่กลุ่มนักเรียนศึกษามีแนวทางในการเรียนรู้ - หลักธรรมได้อย่างไรบ้าง - ข้อคิดที่ได้จากกาศึกษาเรื่องราวของพระภิกษุต้นแบบ ๖. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียน โดยใช้ เวลากลุ่มละ ๓ นาที ขั้นสรุป ๗. ครูและนักเรียนร่วมกันบอกถึงความสำคัญของพระสงฆ์โดยใช้ คำถาม ดังนี้ - นักเรียนคิดว่าพระสงฆ์มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาหรือไม่ อย่างไร


(มีความสำคัญพระภิกษุสงฆ์มีความสำคัญในการเผยแผ่คำสอน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการ นำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติใช้) - นักบวชมีความสำคัญกับศาสนาหรือไม่ อย่างไร (นักบวชเป็น องค์ประกอบหนึ่งของ ในหลายศาสนา ซึ่งมีหน้าที่ในการฝึกฝนปฏิบัติ เพื่อที่จะนำเอาคำสอนของศาสนามาเผยแผ่) ๘. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๘.๑ สื่อการเรียนรู้ ๑. หนังสือเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๒. วิดีทัศน์เรื่อง “หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์” ๓. โปรแกรมสื่อ Power Point เรื่อง เรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ ๔. ใบความรู้ชุด “๔ พระสงฆ์ต้นแบบในปัจจุบัน” ๕. กระดาษฟลิปชาร์ท ๘.๒ แหล่งการเรียนรู้ ๑. ห้องเมตตา ๑, ห้องเมตตา ๒ ๒. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ - http://www.aksorn.com/LC/Rel/M๑/๑๐ ๙. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ การวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล ด้านความรู้ (Knowledge) ๑. อธิบายหน้าที่ของพระภิกษุ สงฆ์ได้ (K) - การตอบคำถาม -ประเมินผลงาน นักเรียน - แบบประเมินผลงาน งานนักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินร้อยละ ๗๐ ขึ้น ไป ด้านทักษะ (Process) ๒. จำแนกบทบาทหน้าที่ของ พระภิกษุสงฆ์ได้ (P) -ประเมินผลงาน นักเรียน - แบบประเมินผลงาน งานนักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับดี ขึ้นไป ด้านเจตคติ (Attitude) ๓ . ป ร ะ เ ม ิ น ค ุ ณ ค ่ า ข อ ง การศึกษาบทบาทหน้าที่ของ พ ร ะ ภ ิ ก ษ ุ ใ น ก า ร ส ื บ ท อ ด พระพุทธศาสนา (A) -ประเมินผลงาน นักเรียน - แบบประเมินผลงาน งานนักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับดี ขึ้นไป ๑๐. บันทึกผลหลังสอน


แบบประเมินผลงานนักเรียน เรื่อง เรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุ คำชี้แจง : ให้ครูผู้สอนประเมิน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับระดับ ที่ ชื่อ-สกุล อธิบายหน้าที่ ของพระภิกษุ สงฆ์ได้ จำแนกบทบาท หน้าที่ของ พระภิกษุสงฆ์ ได้ ประเมินคุณค่าของ การศึกษาบทบาท หน้าที่ของพระภิกษุ ในการสืบทอด พระพุทธศาสนา หมาย เหตุ 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22.


ประเด็นการประเมิน เกณฑ์การปะเมิน 3 2 1 1. อธิบายหน้าที่ของพระภิกษุ สงฆ์ได้ (K) อธิบายหน้าที่ของ พระภิกษุสงฆ์ได้ ถูกต้อง ครบถ้วนและ ชัดเจน อธิบายหน้าที่ของ พระภิกษุสงฆ์ได้ ถูกต้อง และ ครบถ้วน อธิบายหน้าที่ของ พระภิกษุสงฆ์ได้ 2. จำแนกบทบาทหน้าที่ของ พระภิกษุสงฆ์ได้ (P) จำแนกบทบาทหน้าที่ ของพระภิกษุสงฆ์ได้ ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน จำแนกบทบาท หน้าที่ของพระภิกษุ สงฆ์ได้ ถูกต้อง และครบถ้วน จำแนกบทบาท หน้าที่ของพระภิกษุ สงฆ์ได้ 3. ประเมินคุณค่าของการศึกษา บทบาทหน้าที่ของพระภิกษุใน การสืบทอดพระพุทธศาสนา ประเมินคุณค่าของ การศึกษาบทบาท หน้าที่ของพระภิกษุ ในการสืบทอด พระพุทธศาสนาได้ ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน ประเมินคุณค่าของ การศึกษาบทบาท หน้าที่ของพระภิกษุ ในการสืบทอด พระพุทธศาสนาได้ ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน ประเมินคุณค่าของ การศึกษาบทบาท หน้าที่ของพระภิกษุ ในการสืบทอด พระพุทธศาสนาได้ ลงชื่อ................................................ (นางสาวศรัณย์พร พลดี) ครูผู้สอน


แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คำชี้แจง : ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในระหว่างเรียน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน ลงชื่อ................................................ผู้สอน (นางสาวศรัณย์พร พลดี) เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ เกณฑ์การให้คะแนน 7 – 9 คะแนน ระดับดี ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้งให้ 3 คะแนน 4 – 6 คะแนน ระดับพอใช้ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้งให้ 2 คะแนน ต่ำกว่า 4 คะแนน ระดับปรับปรุง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครั้งให้ 1 คะแนน ลำ ดับ ที่ ชื่อ – สกุล ของผู้รับการ ประเมิน พฤติกรรมและการปฏิบัติ คะแน นรวม (15 คะแน น) เกณฑ์ การ ตัดสิน คุณภาพ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นใน การทำงาน รักความ เป็นไทย มีความ สามัคคี 3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๓ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ เวลา ๕ ชั่วโมง เรื่อง การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสงฆ์ เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่ เดือน พ.ศ. ๒๕๖๖ นางสาวศรัณย์พร พลดี ผู้สอน ๑. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา ตัวชี้วัด ส ๑.๒ ม.๑/๒ อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และปฏิบัติ ตนอย่างเหมาะสม ต่อสาวกของศาสนาที่ตนนับถือ ๒. สาระสำคัญ นักบวชเป็นองค์ประกอบหนึ่งของในหลายศาสนา ซึ่งมีหน้าที่ในการฝึกฝน ปฏิบัติ เพื่อที่จะนำเอาคำ สอนของศาสนามาเผยแผ่ ทั้งนี้ศาสนิกชนตามศาสนานั้นควรปฏิบัติตนอย่างสุภาพต่อนักบวชของศาสนา ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนเรื่อง การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ นักเรียนสามารถ ๑. อธิบายแนวทางการปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์ได้(K) ๒. จำแนกความเหมาะสมของสิ่งที่ควรปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสงฆ์ได้(P) ๓. อภิปรายถึงคุณค่าของการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างเหมาะสม (A) ๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๔.๒ ความสามารถในการคิด ๔.๓ ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔.๔ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๔.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


๕. สาระการเรียนรู้ ๕.๑ ด้านความรู้ (Knowledge) เรื่อง แนวทางการปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์ ๕.๒ ด้านทักษะ (Process) เรื่อง การปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์ ๕.๓ ด้านเจตคติ (Attitude) เรื่อง การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕.๓.๑ มีความสามัคคี นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสามารถปรับตัวทำงานกับ ผู้อื่นได้ ๕.๓.๒ มีวินัย นักเรียนมีความตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๕.๓.๓ ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนมีความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน ๕.๓.๔ มุ่งมั่นในการทำงาน นักเรียนเอาใจใส่และรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ๕.๓.๕ รักความเป็นไทย นักเรียนเห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบทอด เผยแพร่วัฒนธรรมไทย และใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ๖. จุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียน ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ ๒๑ (๓R ๘C ๒L) R๑-Reading (อ่านออก) R๒-(W)Riting (เขียนได้) R๓-(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) C-๑ Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้ C-๒ Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม C-๓ Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและ กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม C-๔ Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะ ความเป็นผู้นำ C-๕ Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่า ทันสื่อ C-๖ Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี C-๗ Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้ C-๘ Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย L-๑ Learning (ทักษะการเรียนรู้) L-๒ Leadership (ทักษะความเป็นผู้นำ) ๗. กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและทำสมาธิก่อนเรียนทุกชั่วโมง


ขั้นนำ ๑. ครูให้นักเรียนดูภาพการแต่งกายเข้าวัดที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมและให้ นักเรียนร่วมกัน สนทนาเกี่ยวกับมารยาทการปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ โดยครูใช้คำถาม ดังนี้ - นักเรียนคิดว่าการแต่งกายในภาพใดเหมาะสมกับการเข้าพบพระภิกษุ (ภาพทางด้านขวามือ เพราะเป็นการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย) - เมื่อนักเรียนได้มีโอกาสเข้าวัดหรือพบพระภิกษุ นักเรียนจะแต่งกายอย่างไร (แต่งกายสุภาพเรียบน้อยมิดชิดเพื่อแสดงออกซึ่งความสำรวม) ขั้นสอน ๒. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน แล้วให้นักเรียนทุกกลุ่มอภิปราย ร่วมกันกันภายในกลุ่มในประเด็น “หากมีชาวต่างชาติต้องการจะมาศึกษาหลักธรรมกับพระภิกษุสงฆ์ที่วัด นักเรียนจะสามารถแนะนำเขาอย่างไรได้บ้าง” ๓. ครูติดแผ่นป้ายหัวข้อดังต่อไปนี้ - การแต่งกาย ได้ - การติดต่อเข้าพบ - การสนทนา - กิริยาท่าทาง - ระยะเวลาในการเข้าพบ ๔. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาเขียนคำแนะนำแนวทางการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อ พระภิกษุสงฆ์บนกระดานตามป้ายหัวข้อที่ระบุไว้ โดยกำหนดให้แต่ละกลุ่มเลือกแนะนำในหนึ่งประเด็นเท่านั้น ๕. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอธิบายคำแนะนำที่ตนเองออกมาเขียน ๖. ครูให้นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมเป็นแผนผังความคิด ลงในแบบบันทึก กิจกรรม ขั้นสรุป


๗. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงประโยชน์ของการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ พระภิกษุสงฆ์ โดยครูใช้แนวคำถามดังนี้ - เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมต่อภิกษุ (เป็นมารยาทอันดีงามที่ศาสนิก ชนควรกระทำต่อพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นบุคคล ที่มีส่วนสำคัญในทางศาสนา) ๘. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๘.๑ สื่อการเรียนรู้ ๑. หนังสือเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๒. รูปภาพ “การแต่งกายเข้าวัดที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม” ๓. โปรแกรมสื่อ Power Point เรื่อง การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ ๔. แผ่นป้ายหัวข้อ ๕. กระดาษฟลิปชาร์ท ๘.๒ แหล่งการเรียนรู้ ๑. ห้องเมตตา ๑, ห้องเมตตา ๒ ๒. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ - http://www.aksorn.com/LC/Rel/M๑/๑๐ ๙. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ การวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล ด้านความรู้ (Knowledge) ๑. อธิบายแนวทางการ ปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์ได้ (K) - การตอบคำถาม -ประเมินผลงาน นักเรียน (แผนผัง ความคิด) - แบบประเมินผลงาน งานนักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินร้อยละ ๗๐ ขึ้น ไป ด้านทักษะ (Process) ๒. จำแนกความเหมาะสม ของสิ่งที่ควรปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ (P) -ประเมินผลงาน นักเรียน - แบบประเมินผลงาน งานนักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับดี ขึ้นไป ด้านเจตคติ (Attitude) ๓. อภิปรายถึงคุณค่าของการ ปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม (A) -ประเมินผลงาน นักเรียน - แบบประเมินผลงาน งานนักเรียน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับดี ขึ้นไป


๑๐. บันทึกผลหลังสอน


แบบประเมินผลงานนักเรียน เรื่อง การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ คำชี้แจง : ให้ครูผู้สอนประเมิน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับระดับ ที่ ชื่อ-สกุล อธิบาย แนวทางการ ปฏิบัติต่อ พระภิกษุสงฆ์ ได้ จำแนกความ เหมาะสมของ สิ่งที่ควรปฏิบัติ ตนต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ อภิปรายถึงคุณค่า ของการปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม หมาย เหตุ 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22.


ประเด็นการประเมิน เกณฑ์การปะเมิน 3 2 1 1.อธิบายแนวทางการปฏิบัติต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ (K) อธิบายแนวทางการ ปฏิบัติต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ถูกต้อง ครบถ้วนและชัดเจน อธิบายแนวทางการ ปฏิบัติต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ ถูกต้อง และครบถ้วน อธิบายแนวทางการ ปฏิบัติต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ 2. จำแนกความเหมาะสมของ สิ่งที่ควรปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ (P) จำแนกความ เหมาะสมของสิ่งที่ ควรปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน จำแนกความ เหมาะสมของสิ่งที่ ควรปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ ถูกต้อง และ ครบถ้วน จำแนกความ เหมาะสมของสิ่งที่ ควรปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ 3. อภิปรายถึงคุณค่าของการ ปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม (A) อภิปรายถึงคุณค่า ของการปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้อย่าง เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน อภิปรายถึงคุณค่า ของการปฏิบัติตน ต่อพระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน อภิปรายถึงคุณค่า ของการปฏิบัติตน ต่อพระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม ลงชื่อ................................................ (นางสาวศรัณย์พร พลดี) ครูผู้สอน


แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คำชี้แจง : ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในระหว่างเรียน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน ลงชื่อ................................................ผู้สอน (นางสาวศรัณย์พร พลดี) เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ เกณฑ์การให้คะแนน 7 – 9 คะแนน ระดับดี ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้งให้ 3 คะแนน 4 – 6 คะแนน ระดับพอใช้ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้งให้ 2 คะแนน ต่ำกว่า 4 คะแนน ระดับปรับปรุง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครั้งให้ 1 คะแนน ลำ ดับ ที่ ชื่อ – สกุล ของผู้รับการ ประเมิน พฤติกรรมและการปฏิบัติ คะแน นรวม (15 คะแน น) เกณฑ์ การ ตัดสิน คุณภาพ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นใน การทำงาน รักความ เป็นไทย มีความ สามัคคี 3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๔ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ เวลา ๕ ชั่วโมง เรื่อง การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อนตามหลักพระพุทธศาสนา เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่ เดือน พ.ศ. ๒๕๖๖ นางสาวศรัณย์พร พลดี ผู้สอน ๑. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา ตัวชี้วัด ส ๑.๒ ม.๑/๓ ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆ ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือตามที่ กำหนด ๒. สาระสำคัญ การช่วยเหลือเกื้อกูล แนะนำ สิ่งที่ถูก และมีเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่หวังผลประโยชน์ พูดจาไม่ดีต่อกัน และไม่ชักชวนกันไปในทางที่ผิด คือ แนวทางอันเหมาะสมที่บุคคลซึ่งเป็นมิตรกันนั้นควรปฏิบัติต่อกัน ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนเรื่อง การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อนตามหลักพระพุทธศาสนา นักเรียนสามารถ ๑. ระบุหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนต่อเพื่อนได้อย่างมีเหตุผลได้(K) ๒. อธิบายแนวทางการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อนตามหลักพระพุทธศาสนา (P) ๓. อภิปรายคุณค่าของการปฏิบัติตนต่อเพื่อนอย่าง เหมาะสมตามหลักพระพุทธศาสนา (A) ๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๔.๒ ความสามารถในการคิด ๔.๓ ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔.๔ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๔.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


๕. สาระการเรียนรู้ ๕.๑ ด้านความรู้ (Knowledge) เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตนต่อเพื่อนได้อย่างมีเหตุผล ๕.๒ ด้านทักษะ (Process) เรื่อง ปฏิบัติตนต่อเพื่อนได้อย่างมีเหตุผล ๕.๓ ด้านเจตคติ (Attitude) เรื่อง การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕.๓.๑ มีความสามัคคี นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสามารถปรับตัวทำงานกับผู้อื่นได้ ๕.๓.๒ มีวินัย นักเรียนมีความตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๕.๓.๓ ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนมีความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน ๕.๓.๔ มุ่งมั่นในการทำงาน นักเรียนเอาใจใส่และรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ๕.๓.๕ รักความเป็นไทย นักเรียนเห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบทอเผยแพร่ วัฒนธรรมไทย และใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ๖. จุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียน ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ ๒๑ (๓R ๘C ๒L) R๑-Reading (อ่านออก) R๒-(W)Riting (เขียนได้) R๓-(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) C-๑ Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้ C-๒ Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม C-๓ Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและ กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม C-๔ Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะ ความเป็นผู้นำ C-๕ Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่า ทันสื่อ C-๖ Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี C-๗ Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้ C-๘ Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย L-๑ Learning (ทักษะการเรียนรู้) L-๒ Leadership (ทักษะความเป็นผู้นำ)


๗. กระบวนการจัดการเรียนรู้ วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและทำสมาธิก่อนเรียน ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๑. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับหน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ โดยการตั้ง คำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ เช่น - ชาวพุทธมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์และบำรุงรักษาวัดได้โดยวิธีใดบ้าง การกระทำดังกล่าวมี ประโยชน์อย่างไร - พระภิกษุมีหน้าที่อะไร และผลของการทำหน้าที่ของท่านเป็นประโยชน์ต่อใครบ้าง อธิบาย เหตุผล - นักเรียนปฏิบัติตนอย่างไรบ้างที่แสดงถึงการเป็นชาวพุทธที่ดี ขั้นสอน ๒. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด ข้อ ๑ (ชาวพุทธมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์และบำรุงรักษาวัด ได้โดยวิธีใดบ้าง การกระทำดังกล่าวมีประโยชน์อย่างไร) ๓. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า นอกจากการปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธดังที่กล่าวมาแล้วในขั้น นำเข้าสู่บทเรียนนั้น ชาวพุทธควรปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามหลักพระพุทธศาสนา เรื่อง ทิศ ๖ ในหัวข้อ ทิศ เบื้องซ้าย (อุตรทิศหรือทิศเหนือ) และมิตรแท้ มิตรเทียม อีกด้วย ๔. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง การปฏิบัติตน อย่างเหมาะสมต่อเพื่อนตามหลักพระพุทธศาสนา จากหนังสือเรียน และหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม และช่วยกันทำ ใบงานที่ ๒ เรื่อง ผู้ปฏิบัติดี ๕. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด ข้อ ๒ (พระภิกษุมีหน้าที่อะไร และผลของการทำหน้าที่ของ ท่านเป็นประโยชน์ต่อใครบ้าง อธิบายเหตุผล) ๖. สมาชิกแต่ละคู่ผลัดกันอธิบายผลงานในใบงานที่ ๒ ของคู่ตนให้เพื่อนคู่อื่นๆ ในกลุ่มฟัง และ ช่วยกันปรับปรุงแก้ไขคำตอบให้ถูกต้อง ขั้นสรุป ๗. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปผลดีจากการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อน และการเลือกคบ มิตรแท้ ๘. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๑. หนังสือเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๒. ใบงานที่ ๒ เรื่อง ผู้ปฏิบัติดี


๓. โปรแกรมสื่อ Power Point เรื่อง การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อนตามหลักพระพุทธศาสนา ๙. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ การวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล ด้านความรู้ (Knowledge) ๑. ระบุหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติตนต่อเพื่อนได้ อย่างมีเหตุผลได้(K) - ใบงาน - ตรวจใบงาน - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินร้อยละ ๗๐ ขึ้น ไป ด้านทักษะ (Process) ๒. อธิบายแนวทางการปฏิบัติ ตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อนตาม หลักพระพุทธศาสนา (P) - การตอบคำถาม - แบบสังเกตการตอบ คำถาม - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับดี ขึ้นไป ด้านเจตคติ (Attitude) ๓. อภิปรายคุณค่าของการ ปฏิบัติตนต่อเพื่อนอย่าง เหมาะสมตามหลัก พระพุทธศาสนา (A) - การตอบคำถาม - แบบสังเกตการตอบ คำถาม - นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินอยู่ในระดับดี ขึ้นไป


๑๐. บันทึกผลหลังสอน


ใบงานที่ ๒ ผู้ปฏิบัติดี คำชี้แจง ให้นักเรียนวิเคราะห์กรณีตัวอย่าง แล้วตอบคำถาม กรณีตัวอย่างที่ ๑ กุ้งและก้อยเป็นเจ้าของร้านอาหารทะเลชื่อ กุ้งเต้น ซึ่งมีทำเลดีมาก โดยตั้งอยู่ริมทะเล ทำให้ขาย อาหารได้ดีมีลูกค้ามาอุดหนุนตลอดวัน ร้านกุ้งเต้นมีพนักงานเก็บเงินค่าอาหารอยู่หลายคน วันหนึ่งตาลเพื่อนของกุ้งและก้อยแวะมาเยี่ยมที่ร้านกุ้งเต้น ตาลบอกกับกุ้งและก้อยว่า ควรดูแล การเงินให้เป็นระบบ จะไว้ใจลูกจ้างทุกคนไม่ได้และควรนำเงินฝากธนาคารทุกวัน ทำให้กุ้งและก้อยได้ ข้อคิดและปรับปรุงงานทุกอย่างให้มีระบบ ต่อมาตาลถูกโจรปล้นบ้าน เมื่อกุ้งและก้อยรู้ข่าวก็พากันไปช่วยเหลือให้ยืมเงิน และช่วยตำรวจ หาข้อมูลของคนร้าย คำถาม • กุ้ง ก้อย และตาลปฏิบัติตนเป็นมิตรสหายที่ดีต่อกัน ตามหลักเกณฑ์ในทิศเบื้องซ้ายอย่างไรบ้าง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… กรณีตัวอย่างที่ ๒ ไตรและเจนเป็นเพื่อนรักกันมาก ทั้งสองเป็นนักกีฬาของโรงเรียน ไตรชวนเจนไปแข่งขันกรีฑา จังหวัด โดยบอกกับเจนว่าผู้ที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัลเงินสดถึงห้าพันบาท ไตรอยากให้เจนได้เงินใช้เพื่อ เป็นทุนการศึกษา ซึ่งเจนขอเวลาคิด ๓ วัน ก่อนตัดสินใจ คำถาม ๑. ไตรเป็นมิตรแท้ของเจนหรือไม่ ถ้าเป็นจัดอยู่ในมิตรแท้ประเภทใด อธิบายเหตุผล ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………… ๒. ถ้านักเรียนเป็นเจนจะตัดสินใจอย่างไร จงอธิบายเหตุผล ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………


กรณีตัวอย่างที่ ๓ เมื่อเสร็จสิ้นจากการสอบปลายภาคเรียนแล้ว อั๋นชวนอ้นและไก่ ไปเลี้ยงฉลองกันที่ร้านอาหาร แห่งหนึ่ง จากนั้นอั๋นชวนอ้นและไก่ดื่มเบียร์ อ้นเห็นด้วยในการลองดื่มเบียร์ แต่ไก่ห้ามเพราะไม่ เหมาะสมกับวัยเรียน คำถาม ๑. ใครบ้างที่เป็นมิตรแท้ ใครบ้างที่จัดเป็นมิตรเทียม ยกตัวอย่างประกอบ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… ๒. ถ้านักเรียนเป็นอั๋น อ้น และไก่ จะตัดสินใจอย่างไร อธิบายเหตุผล ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………


แบบประเมินผลงานนักเรียน เรื่อง การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ คำชี้แจง : ให้ครูผู้สอนประเมิน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับระดับ ที่ ชื่อ-สกุล อธิบาย แนวทางการ ปฏิบัติต่อ พระภิกษุสงฆ์ ได้ จำแนกความ เหมาะสมของ สิ่งที่ควรปฏิบัติ ตนต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ อภิปรายถึงคุณค่า ของการปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม หมาย เหตุ ๑ ๒ ๓ ๑ ๒ ๓ ๑ ๒ ๓ 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44.


ประเด็นการประเมิน เกณฑ์การปะเมิน ๓ ๒ ๑ ๑.อธิบายแนวทางการปฏิบัติต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ (K) อธิบายแนวทางการ ปฏิบัติต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ถูกต้อง ครบถ้วนและชัดเจน อธิบายแนวทางการ ปฏิบัติต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ ถูกต้อง และครบถ้วน อธิบายแนวทางการ ปฏิบัติต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ ๒. จำแนกความเหมาะสมของ สิ่งที่ควรปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ สงฆ์ได้ (P) จำแนกความ เหมาะสมของสิ่งที่ ควรปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน จำแนกความ เหมาะสมของสิ่งที่ ควรปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ ถูกต้อง และ ครบถ้วน จำแนกความ เหมาะสมของสิ่งที่ ควรปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้ ๓. อภิปรายถึงคุณค่าของการ ปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม (A) อภิปรายถึงคุณค่า ของการปฏิบัติตนต่อ พระภิกษุสงฆ์ได้อย่าง เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน อภิปรายถึงคุณค่า ของการปฏิบัติตน ต่อพระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน อภิปรายถึงคุณค่า ของการปฏิบัติตน ต่อพระภิกษุสงฆ์ได้ อย่างเหมาะสม ลงชื่อ................................................ (นางสาวศรัณย์พร พลดี) ครูผู้สอน


แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คำชี้แจง : ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในระหว่างเรียน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน ลงชื่อ................................................ผู้สอน (นางสาวศรัณย์พร พลดี) ครูผู้สอน เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ เกณฑ์การให้คะแนน ๗ – ๙ คะแนน ระดับดี ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้งให้ ๓ คะแนน ๔ – ๖ คะแนน ระดับพอใช้ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้งให้ ๒ คะแนน ต่ำกว่า ๔ คะแนน ระดับปรับปรุง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครั้งให้ ๑ คะแนน ลำ ดับ ที่ ชื่อ – สกุล ของผู้รับการ ประเมิน พฤติกรรมและการปฏิบัติ คะแน นรวม (๑๕ คะแน น) เกณฑ์ การ ตัดสิน คุณภาพ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นใน การทำงาน รักความ เป็นไทย มีความ สามัคคี ๓ ๒ ๑ ๓ ๒ ๑ ๓ ๒ ๑ ๓ ๒ ๑ ๓ ๒ ๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๕ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ เวลา ๕ ชั่วโมง เรื่อง มารยาทชาวพุทธ เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่ เดือน พ.ศ. ๒๕๖๖ นางสาวศรัณย์พร พลดี ผู้สอน ๑. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา ตัวชี้วัด ส ๑.๒ ม.๑/๒ อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และปฏิบัติ ตนอย่างเหมาะสม ต่อสาวกของศาสนาที่ตนนับถือ ๒. สาระสำคัญ ชาวพุทธที่ดีต้องปฏิบัติตนต่อบุคคลต่างๆ ตามมารยาทของชาวพุทธอย่างเหมาะสม นักบวชเป็น องค์ประกอบหนึ่งของในหลายศาสนา ซึ่งมีหน้าที่ในการฝึกฝน ปฏิบัติ อย่างไร เพื่อที่จะนำเอาคำสอนของ ศาสนามาเผยแผ่ ทั้งนี้ศาสนิกชนตามศาสนานั้นควรปฏิบัติตนอย่างสุภาพต่อนักบวชของศาสนา ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนเรื่อง มารยาทชาวพุทธ นักเรียนสามารถ ๑. อธิบายการปฏิบัติตนในการฟังสวดพระอภิธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ฟังเจริญพระพุทธมนต์ได้ (A) ๒. แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยได้อย่างถูกต้อง (P) ๓. อภิปรายคุณค่าของการฟังธรรมได้ (A) ๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๔.๒ ความสามารถในการคิด ๔.๓ ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔.๔ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๔.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


๕. สาระการเรียนรู้ ๕.๑ ด้านความรู้ (Knowledge) เรื่อง การฟังสวดพระอภิธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ๕.๒ ด้านทักษะ (Process) เรื่อง แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ๕.๓ ด้านเจตคติ (Attitude) เรื่อง การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕.๓.๑ มีความสามัคคี นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสามารถปรับตัวทำงานกับ ผู้อื่นได้ ๕.๓.๒ มีวินัย นักเรียนมีความตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๕.๓.๓ ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนมีความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน ๕.๓.๔ มุ่งมั่นในการทำงาน นักเรียนเอาใจใส่และรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ๕.๓.๕ รักความเป็นไทย นักเรียนเห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบทอด เผยแพร่วัฒนธรรมไทย และใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ๖. จุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียน ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ ๒๑ (๓R ๘C ๒L) R๑-Reading (อ่านออก) R๒-(W)Riting (เขียนได้) R๓-(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) C-๑ Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้ C-๒ Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม C-๓ Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและ กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม C-๔ Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะ ความเป็นผู้นำ C-๕ Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่า ทันสื่อ C-๖ Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี C-๗ Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้ C-๘ Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย L-๑ Learning (ทักษะการเรียนรู้) L-๒ Leadership (ทักษะความเป็นผู้นำ)


๗. กระบวนการจัดการเรียนรู้ วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและทำสมาธิก่อนเรียนทุกชั่วโมง ขั้นเตรียมการ ๑. ครูให้นักเรียนผลัดกันเล่าความประทับใจหรือความภาคภูมิใจในมารยาทของชาวพุทธ พร้อมอธิบายเหตุผล ซึ่งนักเรียน สามารถตอบได้อย่างหลากหลาย ๒. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า มารยาทชาวพุทธนั้น เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามที่ พุทธศาสนิกชนไทยได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนักเรียนควรศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง ๓. ครูให้นักเรียนดูวีซีดี หรือภาพ หรือให้ตัวแทนนักเรียนสาธิตการปฏิบัติตนตามมารยาทชาว พุทธ ในเรื่องที่กำหนดให้ ดังนี้ ๑) การเข้าพบพระภิกษุ และการปฏิบัติตนในเขตวัด ๒) การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย ๓) การฟังสวดพระอภิธรรม ๔) การฟังพระธรรมเทศนา ๕) การฟังเจริญพระพุทธมนต์ ๔. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง มารยาทชาวพุทธ จากหนังสือเรียนหรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ Smart L.O. LMS Lite และแหล่งข้อมูลสารสนเทศ แล้วบันทึกความรู้ที่ได้จากการศึกษาลงในแบบบันทึกการ อ่าน ๕. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของมารยาทชาวพุทธในแต่ละเรื่อง เพื่อ นำไปสู่การแสดงบทบาทสมมติ ๖. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด ขั้นแสดง ๑. ครูตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบในประเด็นสำคัญต่อไปนี้ - การเข้าพบพระภิกษุในเขตวัด ควรปฏิบัติตนอย่างไร - วิธีปฏิบัติตนในการแสดงความเคารพพระรัตนตรัยที่เหมาะสม เป็นอย่างไร - ถ้านักเรียนไปฟังสวดพระอภิธรรม ควรปฏิบัติตนอย่างไร - ในขณะที่ฟังพระธรรมเทศนา ควรปฏิบัติตนอย่างไร - ในการฟังเจริญพระพุทธมนต์มีหลักปฏิบัติตนอย่างไร ๒. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕-๖ คน แล้วให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับสลากหัวข้อที่ใช้ ในการแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มละ ๑ เรื่อง ตามหัวข้อในขั้นที่ ๑ ข้อ ๓


Click to View FlipBook Version