The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ati002009, 2022-03-23 23:10:43

02 รายงานอุตรดิตถ์2564

รายงานวิชาการ



ฉบับที่ กธส. 10/2564







จังหวัดอุตรดิตถ์: รายงานพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม



UTTARADIT: LANDSLIDE SUSCEPTIBILITY REPORT




































กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม


กรมทรัพยากรธรณี



กันยายน 2564

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

นายสมหมาย เตชวาล



ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม

นายนิมิตร ศรคลัง



ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานและข้อมูลธรณีพิบัติภัย

นายสุวิทย์ โคสุวรรณ



จัดพิมพ์โดย กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี

ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0-2621-9802 โทรสาร 0-2621-9795


พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2564

จำนวน 30 เล่ม









ข้อมลการลงรายการบรรณานุกรม

จังหวัดอุตรดิตถ์: รายงานพื้นที่ออนไหวต่อการเกิดดินถล่ม/-- กรุงเทพมหานคร :

กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี, 2564
201 หน้า : 112 ภาพประกอบ : 23 ตาราง

รายงานวิชาการ ฉบับที่ กธส. 10/2564

สารบัญ




สารบัญ III

สารบัญรูป VII
สารบัญตาราง XVIII
บทคัดย่อ XIX

กิตติกรรมประกาศ XXI
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ความเป็นมา 1
1.2 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย 1
1.2.1 วัตถุประสงค์ 1

1.2.2 เป้าหมาย 2
1.3 ขอบเขตการศึกษา 2
1.3.1 งานวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2

1.3.2 งานสำรวจภาคสนาม 2
1.3.3 งานศึกษาและวิเคราะห์ 2
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 วรรณกรรมปริทัศน์ 5

2.1 นิยามศัพท์ 5
2.2 ดินถล่ม 7
2.2.1 ความหมายของดินถล่ม 7
2.2.2 การจำแนกประเภทของดินถล่ม 7

2.3 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดดินถล่ม 11
2.3.1 สภาพภูมิประเทศ (topography) 11
2.3.2 สภาพธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา (geology and pedology) 12
2.3.3 สภาพพืชพรรณและการใช้ที่ดิน (vegetation and landuse) 13

2.3.4 ปริมาณน้ำฝน (rainfall) 14
2.4 แนวความคิดเกี่ยวกับการทำแผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม 15
2.5 วิธีการศึกษาพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม 16

บทที่ 3 ข้อมูลพื้นฐาน 17
3.1 พื้นที่และอาณาเขตติดต่อ 17
3.2 ลักษณะภูมิประเทศ 17
3.3 ลักษณะภูมิอากาศ 17
3.3.1 ฤดูกาล 19

3.3.2 พายุหมุนเขตร้อน 19
3.3.3 ปริมาณฝน 21

IV


3.4 ลักษณะธรณีวิทยา 21
3.4.1 ลำดับชั้นหิน 21

3.4.2 หินอัคนี 38
3.5 ธรณีวิทยาโครงสร้าง 41
3.5.1 รอยแยกและรอยเลื่อน 41
3.5.2 การวางตัวชั้นหิน 41

3.5.3 ชั้นหินคดโค้ง 43
3.5.4 แนวแตกเรียบ 43
3.5.5 รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง 43
3.6 ธรณีวิทยาประวัติ 43

3.7 กลุ่มวิทยาหิน 44
3.7.1 กลุ่มวิทยาหิน CG3 44
3.7.2 กลุ่มวิทยาหิน SS1 44
3.7.3 กลุ่มวิทยาหิน SS2 44

3.7.4 กลุ่มวิทยาหิน SS3 44
3.7.5 กลุ่มวิทยาหิน SS4 49
3.7.6 กลุ่มวิทยาหิน FS1 49

3.7.7 กลุ่มวิทยาหิน FS2 49
3.7.8 กลุ่มวิทยาหิน CB 49
3.7.9 กลุ่มวิทยาหิน F-MET1 49
3.7.10 กลุ่มวิทยาหิน F-MET2 55
3.7.11 กลุ่มวิทยาหิน MU 55

3.7.12 กลุ่มวิทยาหิน GR 55
3.7.13 กลุ่มวิทยาหิน VOL 55
3.7.14 กลุ่มวิทยาหิน COL 60

3.7.15 กลุ่มวิทยาหิน AL 60
3.7.16 กลุ่มวิทยาหิน TER 60
บทที่ 4 วิธีการศึกษา 65
4.1 ขั้นรวบรวมข้อมูล 65

4.2 การสำรวจลักษณะทางธรณีวิทยา 65
4.2.1 หลักการจำแนกกลุ่มวิทยาหินสำหรับการศึกษาดินถล่ม 66
4.2.2 ปัจจัยที่เป็นเกณฑ์ในการจำแนกหน่วยหิน 66
4.3 การจัดข้อมูล 71

4.4 การทำแผนที่ร่องรอยดินถล่ม 72
4.5 การวิเคราะห์แบบจำลองดินถล่มทางคณิตศาสตร์ 77
4.5.1 Area cross tabulation 81
4.5.2 Frequency ratio (Fr) 81

4.5.3 การให้น้ำหนัก (weighting) 81

V


4.6 การตรวจสอบแบบจำลองดินถล่ม 82
4.6.1 สมมุติฐาน 82

4.6.2 เทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบ 82
บทที่ 5 การวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม 85
5.1 แผนที่ร่องรอยดินถล่ม 85
5.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่ม 85

5.2.1 ระดับความสูง (elevation) 90
5.2.2 วิทยาหิน (lithology) 90
5.2.3 ทิศทางน้ำไหล (flow direction) 90
5.2.4 ความลาดชัน (slope) 91

5.2.5 หน้ารับน้ำฝน (aspect) 91
5.2.6 การใช้ประโยชน์ที่ดิน (landuse) 91
5.2.7 ระยะห่างจากธรณีวิทยาโครงสร้าง
(the distance to structural geology) 92

5.3 การให้น้ำหนักกับปัจจัย 100
5.4 พื้นที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม 101
5.5 การตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลอง 106

บทที่ 6 การสำรวจร่องรอยดินถล่มในพื้นที่สำรวจ 109
6.1 ประเภทดินถล่มชนิดเลื่อนไถล (slides) 111
6.1.1 อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 111
6.1.2 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 115
6.1.3 อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 116

6.2 ประเภทดินถล่มชนิดร่วงหล่น (falls) 117
6.2.1 อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 117
6.2.2 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 118

บทที่ 7 การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของดิน 121
7.1 การเก็บตัวอย่างแบบไม่คงสภาพ (disturbed sampling) 121
7.2 ข้อมูลของตัวอย่างดินแบบไม่คงสภาพ 129
7.2.1 อำเภอทองแสนขัน 129

7.2.2 อำเภอท่าปลา 134
7.2.3 อำเภอน้ำปาด 145
7.2.4 อำเภอบ้านโคก 158
7.2.5 อำเภอพิชัย 159

7.2.6 อำเภอฟากท่า 168
7.2.7 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ 168
7.2.8 อำเภอลับแล 172
7.3 วิธีการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของดิน 180

7.3.1 การหาค่าขีดจำกัดของอัตตะเบิร์ก (Atterberg’s Limits) 180

VI


7.3.2 การวิเคราะห์หาขนาดของเม็ดดิน (Grain size analysis) 181
7.3.3 การทดสอบหาความถ่วงจำเพาะของดิน (Specific Gravity of Soil) 181

7.4 คุณสมบัติทางกายภาพของดินของจังหวัดอุตรดิตถ์ 182
7.4.1 กลุม SM (silty sands) 182
7.4.2 กลุม SC (clayey sands) 182
7.4.3 กลุม MH (inorganic silts) 182

7.4.4 กลุม ML (inorganic silts and very fine sand) gravel) 183
7.4.5 กลุม CH (clay of high plastic) 183
7.4.6 กลุม CL (clay of low to medium plasticity) 184
บทที่ 8 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 193

8.1 บทสรุป 193
8.2 ข้อเสนอแนะ 194
เอกสารอ้างอิง 195

VII


สารบัญรูป





รูปที่ 2.1 ประเภทของดินถล่มจำแนกโดยอาศัยชนิดของการเคลื่อนที่ ชนิดของมวลเคลื่อนที่ธรรมชาติ
ของการเคลื่อนที่ อัตราการเคลื่อนที่ และความชื้น (ดัดแปลงมาจาก Vanes, D.J. 1978) 9
รูปที่ 3.1 แผนที่ภูมิประเทศและขอบเขตการปกครองจังหวัดอุตรดิตถ์ 18
รูปที่ 3.2 แผนที่แสดงร่องความกดอากาศต่ำ ทิศทางลมมรสุม และทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เข้า
สู่ประเทศไทย คาบ 96 ปี 20

รูปที่ 3.3 ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนจังหวัดอุตรดิตถ์ ในช่วง พ.ศ. 2544 – 2563 22
รูปที่ 3.4 แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดอุตรดิตถ์ 23
รูปที่ 3.5 ลักษณะหินฟิลไลต์สีเทาอมเขียว แสดงรอยแตกชัดเจน ยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน

บริเวณบ้านห้วยยาหูช้าง ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 655136E 1957945N 26
รูปที่ 3.6 ลักษณะหินฟิลไลต์ สีเทาอมน้ำตาล เนื้อผุมาก ยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน บริเวณบ้านน้ำสิงห์เหนือ
ตำบล ท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 644430E 1966369N 26

รูปที่ 3.7 ลักษณะหินทรายกึ่งแปรสภาพแทกสลับกับหินดินดาน เนื้อผุมาก หน่วนหิน C
ยุคคาร์บอนิเฟอรัส บริเวณทางหลวงหมายเลข 11 ตำบลนายาง อำเภอพิชัย
จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 631100E 1922822N 28
รูปที่ 3.8 ลักษณะหินทรายสีเทาแทรกสลับกับหินดินดานกึ่งแปรสภาพ หน่วยหิน C1

ยุคคาร์บอนิเฟอรัส บริเวณบ้านสิงห์คอมพัฒนา ตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา
จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 646452E 1965110N 28
รูปที่ 3.9 ลักษณะหินทรายแป้ง สีน้ำตาลแกมแดง หน่วนหิน C2 ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
บริเวณบ้านนาตารอด ตำบลหาดงิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

พิกัด 47P 642584E 1954241N 29
รูปที่ 3.10 ลักษณะหินทรายเนื้อเถ้าภูเขาไฟ สีเทาอมเขียว หมวดหินกิ่วลม ยุคเพอร์เมียน
บริเวณบ้านวังเจริญ ตำบลแสนตอ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

พิกัด 47P 665950E 1957904N 29
รูปที่ 3.11 ลักษณะหินปูนสีเทาขาว บางส่วนถูกแปรสภาพเป็นหินอ่อน หมวดหินผาหวด
ยุคเพอร์เมียน บริเวณเขาขี้นก ตำบลป่าคาย อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 638568E 1935632N 30
รูปที่ 3.12 ลักษณะหินดินดานกึ่งแปรสภาพ สีเทาเขียว แสดงแนวแตกเรียบชัดเจน

หมวดหินลับแล ยุคเพอร์เมียน บริเวณตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 606775E 1956578N 30
รูปที่ 3.13 ลักษณะหินทรายเนื้อทัฟฟ์ แทรกสลับกับหินกรวดมน สีน้ำตาลอมเขียว

หมวดหินพระธาตุยุคไทรแอส ซิก บริเวณตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 653703E 1946113N 32

VIII


รูปที่ 3.14 ลักษณะหินทรายแป้ง สีน้ำตาลอมแดง เนื้อผุปานกลาง หมวดหินฮ่องหอย
ยุคไทรแอสซิก บริเวณตำบลบ่อทองอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

พิกัด 47P 642901E 1935440N 32
รูปที่ 3.15 ลักษณะหินดินดาน สีเทาอมน้ำตาล เนื้อผุมาก หมวดหินเขาพลึง ยุคไทรแอสซิก
บริเวณบ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 602658E 1963850N 33


รูปที่ 3.16 ลักษณะหินทราย สีเทาดำ เนื้อสด หมวดหินแม่เฉย ยุคไทรแอสซิก บริเวณบ้านห้วยฮา ตำบล
บ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 619371E 1968447N 33
รูปที่ 3.17 ลักษณะหินทรายแทรกสลับกับหินดินดาน สีน้ำตาลอมเหลือง หมวดหินชำบอน
ยุคจูแรสซิก บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยกลอง ตำบลนายาง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

พิกัด 47P 632713E 1917138N 35
รูปที่ 3.18 ลักษณะหินทรายแทรกสลับกับหินทรายแป้ง สีน้ำตาลอมม่วง เนื้อค่อนข้างผุ
หมวดหินภูกระดึง ยุคจูแรสซิก บริเวณเขาหัวสามข่อย ตำบลนายาง อำเภอพิชัย
จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 635257E 1909044N 35

รูปที่ 3.19 ลักษณะหินทราย สีน้ำเทาขาว เนื้อหยาบ หมวดหินพระวิหาร ยุคจูแรสซิก
ถึงยุคครีเทเชียส บริเวณเขาปลัง ตำบลบ้านโคง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 623962E 1900571N 36

รูปที่ 3.20 ลักษณะหินทรายแป้ง สีน้ำตาลแดง บางส่วนเนื้อปนปูน หมวดหินเสาขัว
ยุคจูแรสซิกถึงยุคครีเทเชียส บริเวณบ้านวังเบน ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน
จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 649325E 1927337N 36
รูปที่ 3.21 ลักษณะหินทรายแทรกสลับกับหินทรายแป้ง สีน้ำตาลแดง หมวดหินเขาย่าปุก
ยุคครีเทเชียส-ยุคเทอร์เชียรี บริเวณบ้านห้วยเดื่อ ตำบน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด

จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 686502E 1954639N 39
รูปที่ 3.22 ลักษณะหินทราย สีน้ำตาลแดง เนื้อละเอียด หมวดหินภูขัด ยุคครีเทเชียส
ถึงยุคเทอร์เชียรี บริเวณน้ำตกภูสอยดาว ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด

จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 707117E 1958667N 39
รูปที่ 3.23 ลักษณะหินบะซอลต์ เนื้อมีรูพรุน หน่วยหิน CPu ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
ถึงยุคเพอร์เมียน บริเวณบ้านงอมถ้ำ ตำบลท่าแฝก อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 678087E 1989921N 40

รูปที่ 3.24 ลักษณะหินเซอร์เพนทิไนต์ สีเทาเข้มถึงเทาเขียว หน่วยหิน Cb ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
บริเวณบ้านหาดผาผุด ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 648848E 1958130N 40
รูปที่ 3.25 ลักษณะหินแกรนิต สีเทาขาว เนื้อผุ หน่วยหิน TRgr ยุคไทรแอสซิก บริเวณบ้านทรายงาม

ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 637070E 1974315N 42
รูปที่ 3.26 ลักษณะหินแอนดีไซต์ สีเขียวเข้ม หน่วยหิน PTrv ยุคเพอร์เมียน-ยุคไทรแอสซิก
บริเวณบ้านปากปาด ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 664712E 1961179N 42

IX


รูปที่ 3.27 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยตะกอน CG 3 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 45
รูปที่ 3.28 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน SS1 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 46

รูปที่ 3.29 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน SS2 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 47
รูปที่ 3.30 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน SS3 ในจังหวัดอุตรดิตถ์ 48
รูปที่ 3.31 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน SS4 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 50
รูปที่ 3.32 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน FS1 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 51

รูปที่ 3.33 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน FS2 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 52
รูปที่ 3.34 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน CB ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 53
รูปที่ 3.35 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน F-MET1 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 54
รูปที่ 3.36 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน F-MET2 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 56

รูปที่ 3.37 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน MU ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 57
รูปที่ 3.38 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน GR ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 58
รูปที่ 3.39 แสดงลักษณะกลุ่มวิทยาหินหน่วยหิน VOL ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 59
รูปที่ 3.40 แผนที่กลุ่มวิทยาหินจังหวัดอุตรดิตถ์ (กรมทรัพยากรธรณี, 2564) 61

รูปที่ 4.1 ตัวอย่างร่องรอยดินถล่มแสดงสีขาว (บน) และสีแดง (ล่าง) จากภาพ Google earth
จังหวัดนครศรีธรรมราชและพื้นที่ใกล้เคียง ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2556 75
รูปที่ 4.2 (บน) ดินถล่มชนิดไหลของเศษหินและดิน น้ำตกคลองนารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์

อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ตำแหน่ง 48P 0193269E 1392548N (ล่าง) รอยดินถล่ม
ชนิดเลื่อนไถลระนาบโค้ง บ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่
จังหวัดตราด ตำแหน่ง 48P 02771880E 1296422N 76
รูปที่ 4.3 แผนภูมิการวิเคราะห์แบบจำลองดินถล่ม 77
รูปที่ 4.4 ตัวอย่างกราฟแสดงความถูกต้อง (success rate curve) ของแบบจำลอง 84

รูปที่ 5.1 แผนที่ร่องรอยดินถล่มในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา 86
รูปที่ 5.2 แผนที่แสดงระดับความสูง 9 ช่วง ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 93
รูปที่ 5.3 แผนที่แสดงกลุ่มวิทยาหิน 16 กลุ่ม ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 94

รูปที่ 5.4 แผนที่แสดงทิศทางการไหลของน้ำ 8 กลุ่ม ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
มีระยะห่างแต่ละกลุ่ม 45 องศา 95
รูปที่ 5.5 แผนที่แสดงความลาดชัน 8 ช่วง มีระยะห่างแต่ละช่วง 10 องศา 96
รูปที่ 5.6 แผนที่แสดงหน้ารับน้ำฝน 10 กลุ่ม ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 97

รูปที่ 5.7 แผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน 8 กลุ่ม ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 98
รูปที่ 5.8 แผนที่แสดงระยะห่างจากโครงสร้างทางธรณีวิทยา 16 ช่วง
มีระยะห่างแต่ละช่วง 200 เมตร 99
รูปที่ 5.9 แผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มจังหวัดอุตรดิตถ์ 105

รูปที่ 5.10 กราฟ AUC แสดงค่าความถูกต้องของแบบจำลองดินถล่ม 107
รูปที่ 6.1 แผนที่แสดงตำแหน่งร่องรอยดินถล่มในพื้นที่สำรวจ จังหวัดอุตรดิตถ์ 110

X


รูปที่ 6.2 ลักษณะดินถล่มชนิดการเลื่อนไถลของเศษหินและดินบนระนาบเรียบ (debris slide)
ในหินฐานกลุ่ม F-MET2 ของหินฟิลไลต์ หินชนวน และหินดินดาน

บริเวณเนินเขาที่มีการตัดถนนผ่าน บ้านต้นแดง ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา
จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 0645100E 1985797N
ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 427 เมตร. 112
รูปที่ 6.3 ลักษณะดินถล่มชนิดการเลื่อนไถลของเศษหินและดินบนระนาบเรียบ (debris slide)

ในหินฐานกลุ่ม F-MET2 ของหินทรายและหินดินดานกึ่งแปรสภาพ บริเวณเนินเขา
ที่มีการตัดถนนผ่านบริเวณบ้านกิ่วเคียน ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 0645757E 1981520N ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 219 เมตร 113
รูปที่ 6.4 ลักษณะดินถล่มชนิดการเลื่อนไถลของเศษหินและดินบนระนาบเรียบ (debris slide)

ในหินฐานกลุ่ม FS1 ของหินทราย และหินทรายแป้ง บริเวณเนินเขาที่มีการตัดหน้าเขา
เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้านผาลาด ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 0636379E 1972646N ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 219 เมตร 114
รูปที่ 6.5 ลักษณะดินถล่มชนิดการเลื่อนไถลของเศษหินและดินบนระนาบเรียบ (debris slide)

ในหินฐานกลุ่ม FS1 ของหินทรายกึ่งแปรสภาพและหินดินดาน บริเวณเนินเขา
ที่มีการตัดถนนผ่าน บ้านทรายงาม ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 0638354E 1977192N ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 248 เมตร 114

รูปที่ 6.6 ลักษณะดินถล่มชนิดการเลื่อนไถลของหินบนระนาบเรียบ (rock slide) ในหินฐาน
กลุ่ม F-MET2 ของหินฟิลไลต์ หินดินดานกึ่งแปรสภาพ บนเนินเขาที่มีการตัด
ถนนผ่าน บริเวณบ้านกะจัด ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 0652283E 1957796N ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 107 เมตร 115
รูปที่ 6.7 ลักษณะดินถล่มชนิดการเลื่อนไถลของหินบนระนาบเรียบ (rock slide) ในหินฐาน

กลุ่ม SS1 ของหินทราย บริเวณเนินเขาที่มีการตัดหน้าเขาเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย
บ้านขุนฝาง ตำบลขุนฝาง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 0628924E 1965165N ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 158 เมตร 116

รูปที่ 6.8 ลักษณะดินถล่มชนิดการเลื่อนไถลของเศษหินและดินบนระนาบเรียบ (debris slide)
ในหินฐานกลุ่ม FS1 ของหินดินดานกึ่งแปรสภาพ และหินทราย บริเวณเนินเขา
ที่มีการตัดถนนผ่านบ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 0603459E 1964764N ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 462 เมตร 117

รูปที่ 6.9 ลักษณะดินถล่มชนิดร่วงหล่นของหิน (rock fall) ในหินฐานกลุ่ม F-MET2
ของหินดินดานกึ่งแปรสภาพ บริเวณเนินเขาที่มีการตัดถนนผ่าน บริเวณบ้านน้ำพร้า
ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พิกัด 47P 0648302E 1984041N
ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 349 เมตร 118

รูปที่ 6.10 ลักษณะดินถล่มชนิดร่วงหล่นของหิน (rock fall) ในหินฐานกลุ่ม FS1
ของหินดินดาน และหินทรายกึ่งแปรสภาพ บริเวณเนินเขาที่มีการตัดถนนผ่าน
บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด 47P 0605754E 1963593N ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 176 เมตร 119

XI


รูปที่ 7.1 รายละเอียดข้อมูลการเก็บตัวอย่างตะกอนดินบนถุงกระสอบ 122
รูปที่ 7.2 ภาพร่างหน้าตัดการพุผังของหินแกรนิตแสดงระดับการผุพังตั้งแต่ระดับ I-VI กรอบสีแดงคือ

ตำแหน่งที่เลือกเก็บตัวอย่างดิน (ดัดแปลงจาก Ruxton and Berry, 1957) 123
รูปที่ 7.3 ตัวอย่างหน้าตัดดินที่แสดงระดับการผุพังของหินแกรนิต (zone III-VI) กรอบสีแดงแสดง
ตำแหน่งเก็บตัวอย่างดิน 123
รูปที่ 7.4 แผนที่แสดงตำแหน่งการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่สำรวจ 124

รูปที่ 7.5 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้านวังถ้ำ ตำบลน้ำพี้
อำเภอทองแสงขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 50–80 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินฟิลไลต์ กลุ่มวิทยาหิน F-MET1 (ค) หน้าตัดดินของ
ชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินฟิลไลต์ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV)

(ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง สีส้มแกมชมพู เนื้อดินมีลักษณะ
ค่อนข้างหยาบ 130
รูปที่ 7.6 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณบริเวณบ่อขุด บ้านน้ำพี้ ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสงขัน
จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 200–300 ซม. จากผิวดิน (ข) ลักษณะของหินฐาน

เป็นหินแกรนิต กลุ่มวิทยาหิน GR (ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจาก
หินแกรนิตที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่าง
เป็นดินทรายปนทรายแป้ง สีส้มจาง เนื้อดินมีลักษณะละเอียด สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 131

รูปที่ 7.7 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณพื้นที่การเกษตรบ้านแสนขัน ตำบลบ่อทอง
อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 230-290 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินดินดาน กลุ่มวิทยาหิน SS2 (ค) หน้าตัดดินของชั้นดิน
และหินผุที่เกิดจากหินดินดานที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV)
(ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว สีขาวแกมเทา เนื้อดินมีลักษณะละเอียด เหนียว 132

รูปที่ 7.8 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณอ่างเก็บน้ำ บ้านน้ำหมีน้อย ตำบลผักขวง อำเภอทองแสงขัน
จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 200-230 ซม. จากผิวดิน (ข) ลักษณะของหินฐาน
เป็นหินทราย กลุ่มวิทยาหิน SS2 (ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจาก

หินทรายที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่าง
เป็นดินชนิดดินทรายปนทรายแป้ง สีส้มแกมชมพู เนื้อดินมีลักษณะละเอียด เหนียว 133
รูปที่ 7.9 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณพื้นที่การเกษตรบ้านน้ำสิงห์ ตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา
จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 60-80 ซม. จากผิวดิน (ข) ลักษณะของหินฐานหินดินดาน

เนื้อฟิลไลต์ กลุ่มวิทยาหิน F-MET1 (ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจาก
หินฟิลไลต์ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็น
ดินเหนียวปนทรายแป้ง สีส้มแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด เหนียว 136
รูปที่ 7.10 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านห้วยไผ่ ตำบลท่าแฝก

อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 60-70 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินแกบโบร กลุ่มวิทยาหิน MU1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินแกบโบรที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง

สีแดงแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น 137

XII


รูปที่ 7.11 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณพื้นที่การเกษตรบ้านงอมสัก ตำบลท่าแฝก อำเภอท่าปลา

จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 100-140 ซม. จากผิวดิน (ข) ลักษณะของหินฐานหินอัลตราเมฟก
กลุ่มวิทยาหิน MU1 (ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินอัลตราเมฟก

ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว
สีน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น เหนียว 138
รูปที่ 7.12 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านน้ำพร้า ตำบลนางพญา

อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 30-70 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินดินดานเนื้อฟิลไลต์ กลุ่มวิทยาหิน F-MET1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินดินดานเนื้อฟิลไลต์
ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว

สีส้มแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 139
รูปที่ 7.13 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านต้นแดง ตำบลนางพญา
อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 10-30 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินฟิลไลต์ กลุ่มวิทยาหิน SS3

(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินฟิลไลต์ที่มีระดับการผุพัง
ของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง
สีส้มแกมชมพู เนื้อดินมีลักษณะละเอียด สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 140

รูปที่ 7.14 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้านค่าย ตำบลน้ำหมัน
อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 30-60 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแทรกสลับหินดินดาน กลุ่มวิทยาหิน F-MET2
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแทรกสลับหินดินดาน
ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทราย

ปนทรายแป้ง สีเทาแกมเขียว เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด เหนียว 141
รูปที่ 7.15 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้านปางหมิ่น
ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 170–240 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้งแทรกสลับหินดินดาน กลุ่มวิทยาหิน FS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้งแทรกสลับหินดินดานที่มี
ระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้งปนทราย
สีส้มแกมชมพู เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างหยาบ เมื่อสัมผัสรู้สึกสากมือ 142

รูปที่ 7.16 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านต๊ะ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา
จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 170-220 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินแกรนิต กลุ่มวิทยาหิน GR
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินแกรนิตที่มีระดับ

การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทราย
สีส้มแกมเหลือง เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ร่วน 143

XIII


รูปที่ 7.17 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณพื้นที่การเกษตร บ้านผาเลือด ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา
จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 90-170 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานหินฟิลไลต์ กลุ่มวิทยาหิน F-MET1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินฟิลไลต์ที่ มีระดับการผุพังของ
มวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง สีน้ำตาลแกมส้ม
เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 144

รูปที่ 7.18 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้านนาพาย ตำบลเด่นเหล็ก
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 60-80 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน FS2
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้งที่มีระดับการผุพัง

ของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว สีส้มแกมน้ำตาล
เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ชื้น 147
รูปที่ 7.19 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านวังน้ำต้น ตำบลท่าแฝก อำเภอน้ำปาด
จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 60-100 ซม. จากผิวดิน (ข) ลักษณะของหินฐานเป็น

หินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน FS1 (ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจาก
หินทรายแป้งที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่าง
เป็นดินเหนียว สีเหลืองแกมส้ม เนื้อดินมีลักษณะละเอียด สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 148

รูปที่ 7.20 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณบ่อขุดดินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ บ้านน้ำไคร้ ตำบลน้ำไคร้
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 50-80 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแทรกสลับหินดินดาน กลุ่มวิทยาหิน SS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแทรกสลับหินดินดาน
ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทราย

แป้งปนดินเหนียว สีเทาเหลืองแกมเขียว เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด เหนียว 149
รูปที่ 7.21 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านสวน ตำบลแสนตอ
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 80-110 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินโคลน กลุ่มวิทยาหิน FS2
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินโคลนที่มีระดับการ
ผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายปนทรายแป้ง
สีส้มแกมชมพู เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างหยาบ ร่วน 150

รูปที่ 7.22 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านคันนาทุ่ง ตำบลแสนตอ
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 30-70 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินไรโอไลต์ กลุ่มวิทยาหิน VOL1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินไรโอไลต์ ที่มีระดับการผุพัง

ของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทราย สีเหลืองแกมน้ำตาล
เนื้อดินมีลักษณะหยาบ ร่วน เมื่อสัมผัสรู้สึกสากมือ 151

XIV


รูปที่ 7.23 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านคันนาทุ่ง ตำบลแสนตอ
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 130-190 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแทรกสลับหินดินดาน กลุ่มวิทยาหิน FS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแทรกสลับหินดินดานที่มี
ระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง
สีส้มแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ชื้น 152

รูปที่ 7.24 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านคันนาทุ่ง ตำบลแสนตอ
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 80-130 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินดินดาน กลุ่มวิทยาหิน FS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินดินดานที่มีระดับการ

ผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว
สีส้มจางแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะละเอียด เหนียว 153
รูปที่ 7.25 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านคันนาทุ่ง ตำบลแสนตอ
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 50-100 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทราย กลุ่มวิทยาหิน FS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายที่มีระดับการ
ผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทราย สีส้มแกมน้ำตาล

เนื้อดินมีลักษณะหยาบ ร่วน เมื่อสัมผัสรู้สึกสากมือ 154
รูปที่ 7.26 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านคันนาทุ่ง ตำบลแสนตอ
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 170-220 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินไดโอไรต์ กลุ่มวิทยาหิน VOL1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินไดโอไลต์ที่มีระดับ

การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว
สีเหลืองแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ชื้น 155
รูปที่ 7.27 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านหัวนา ตำบลแสนตอ

อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 40–80 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน SS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้ง ที่มีระดับการผุพัง
ของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง

สีแดงแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ชื้น 156
รูปที่ 7.28 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านหัวนา ตำบลแสนตอ
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 40-80 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน SS2

(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้งที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง
สีส้มแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ค่อนข้างชื้น สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 157

XV


รูปที่ 7.29 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านภูต่าง ตำบลบ่อเบี้ย
อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 140-180 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทราย กลุ่มวิทยาหิน SS2 (ค) หน้าตัดดินของชั้นดิน
และหินผุที่เกิดจากหินทรายที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV)
(ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทราย สีส้ม เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างหยาบ ค่อนข้างชื้น 160
รูปที่ 7.30 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านห้วยไผ่ ตำบลบ่อเบี้ย

อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 270-320 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน FS2
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้งที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง

สีแดงแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น 161
รูปที่ 7.31 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้านห้วยไผ่ ตำบลบ่อเบี้ย
อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 150-200 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน SS1

(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้งที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง
สีส้มแกมน้ำตาลจาง เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น 162

รูปที่ 7.32 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านห้วยครั่ง ตำบลบ้านโคก
อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 40-70 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน SS2
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้งที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง

สีแดงแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น 163
รูปที่ 7.33 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้านม่วงเจ็ดต้น
ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 150-250 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน SS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้งที่มีระดับการผุพัง
ของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง สีส้มแกมน้ำตาล
เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น 164

รูปที่ 7.34 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านม่วงเจ็ดต้น ตำบลม่วงเจ็ดต้น
อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 40-70 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทราย กลุ่มวิทยาหิน SS2
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายที่มีระดับการ

ผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง
สีขาวแกมเหลือง เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น 165

XVI


รูปที่ 7.35 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านนาอิน ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย
จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 290-340 ซม. จากผิวดิน (ข) ลักษณะของหินฐาน

เป็นหินดินดาน กลุ่มวิทยาหิน SS3 (ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจาก
หินดินดานที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่าง
เป็นดินเหนียว สีเทา เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ร่วน 166
รูปที่ 7.36 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านนาอิซาง ตำบลนายาง

อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 450-550 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทราย กลุ่มวิทยาหิน SS3
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว


สีเทา เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ร่วน สัมผัสนุ่มมอ 167
รูปที่ 7.37 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณบ่อขุดน้ำเพื่อการเกษตรบ้านเดิ่น ตำบลสองห้อง
อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 180-220 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายแป้ง กลุ่มวิทยาหิน FS2

(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายแป้งที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง
สีเหลืองแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะละเอียด เหนียวร่วน 169

รูปที่ 7.38 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านห้วยก้านเหลือง ตำบลฟากท่า
อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 210-280 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทราย กลุ่มวิทยาหิน FS2
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้ง

สีขาวแกมเหลือง เนื้อดินมีลักษณะละเอียด สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 170
รูปที่ 7.39 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านตานารอด ตำบลหาดงิ้ว
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 120–130 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทัฟฟ์เนื้อฟิลไลต์ กลุ่มวิทยาหิน SS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทัฟฟ์เนื้อฟิลไลต์ที่มีระดับการ
ผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว สีชมพู
เนื้อดินมีลักษณะละเอียด เหนียว 171

รูปที่ 7.40 (ก) เก็บตัวอย่างบ่อขุดดินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์บริเวณ บ้านห้วยฉลอง
ตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ที่ความลึก 180–200 ซม. จากผิวดิน (ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินฟิลไลต์
กลุ่มวิทยาหิน F-MET1 (ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจาก

หินฟิลไลต์ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV)
(ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้งปนดินเหนียว สีน้ำตาลแกมเขียว เนื้อดินมีลักษณะ
ค่อนข้างละเอียด ร่วน 174

XVII


รูปที่ 7.41 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านไฮ่ฮ้า ตำบลบ้านด่านนาขาม
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 60-80 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทราย กลุ่มวิทยาหิน FS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายปนดินเหนียว
สีเหลืองแกมน้ำตาล เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียดร่วน 175

รูปที่ 7.42 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยบ้านนัวตุม ตำบลแม่พลู
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 20-80 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายกึ่งแปรสภาพ กลุ่มวิทยาหิน FS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายกึ่งแปรสภาพ

ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV)
(ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายแป้งปนดินเหนียว สีเหลืองแกมส้ม
เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ร่วน สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 176
รูปที่ 7.43 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านบ่อแก้ว-บ้านผามูบ

ตำบลแม่พลู อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 10-100 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินดินดานเนื้อฟิลไลต์ กลุ่มวิทยาหิน FS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินหินดินดานเนื้อฟิลไลต์

ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV)
(ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง สีส้มแกมแดง
เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ค่อนข้างชื้น สัมผัสรู้สึกนุ่มมือ 177
รูปที่ 7.44 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อทำถนน บ้านบ่อแก้ว-บ้านผามูบ
ตำบลแม่พลู อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 30-90 ซม. จากผิวดิน

(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินดินดานเนื้อฟิลไลต์ กลุ่มวิทยาหิน FS1
(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินดินดานเนื้อฟิลไลต์ที่มีระดับ
การผุพังของมวลหินสูง (zone IV) (ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินเหนียว

สีส้มจาง เนื้อดินมีลักษณะละเอียด ร่วน สัมผัสรุ้สึกนุ่มมือ 178
รูปที่ 7.45 (ก) เก็บตัวอย่างบริเวณเปิดหน้าดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยบ้านนานกกก
ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ความลึก 10-80 ซม. จากผิวดิน
(ข) ลักษณะของหินฐานเป็นหินทรายกึ่งแปรสภาพ กลุ่มวิทยาหิน FS1

(ค) หน้าตัดดินของชั้นดินและหินผุที่เกิดจากหินทรายกึ่งแปรสภาพ
ที่มีระดับการผุพังของมวลหินสูง (zone IV)
(ง) ลักษณะตัวอย่างเป็นดินทรายปนทรายแป้ง สีน้ำตาลอ่อน
เนื้อดินมีลักษณะค่อนข้างละเอียด ชื้น 179

รูปที่ 7.46 แสดงระบบจําแนกดินโดยระบบ Unified Soil Classification 180
รูปที่ 7.47 แสดงระบบจําแนกดินโดยระบบ Unified Soil Classification 181

XVIII


สารบัญตาราง





ตารางที่ 2.1 แสดงการจำแนกชนิดของดินถล่ม (ดัดแปลงจาก Varnes, 1978) 10
ตารางที่ 2.2 แสดงการจำแนกระดับความเร็วในการเคลื่อนที่ของมวลดิน
(Cruden and Varnes, 1996) 11
ตารางที่ 3.1 คำอธิบายแผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดอุตรดิตถ์ 24
ตารางที่ 3.2 คำอธิบายกลุ่มวิทยาหินพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 62

ตารางที่ 4.1 ตารางการจำแนกหินอัคนี (Dearman, 1991) 67
ตารางที่ 4.2 ตารางการจำแนกหินตะกอน (Dearman, 1991) 68
ตารางที่ 4.3 ตารางการจำแนกหินแปร (Dearman, 1991) 69

ตารางที่ 4.4 สรุปชนิดและแหล่งที่มาของข้อมูล 71
ตารางที่ 4.5 หลักการจำแนกลักษณะของดินถล่มจากการแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศ
และภาพดาวเทียม 73
ตารางที่ 4.6 ปัจจัยที่นำมาใช้ในแบบจำลองดินถล่ม 78

ตารางที่ 4.7 ตารางแสดงช่วงค่า AUC ที่ใช้อ้างอิงความถูกต้องของโมเดล
(Hasanat and others, 2010) 83
ตารางที่ 5.1 ความสัมพันธระหวางร่องรอยดินถลมกับปจจัยที่ควบคุมการเกิดดินถลม 87
ตารางที่ 5.2 การให้น้ำหนักด้วยวิธี Reliability weighting เรียงจากมากไปหาน้อย 100

ตารางที่ 5.3 การให้น้ำหนักด้วยวิธี Accountability weighting เรียงจากมากไปหาน้อย 100
ตารางที่ 5.4 การให้น้ำหนักด้วยวิธีเฉลี่ย Average weighting เรียงจากมากไปหาน้อย 101
ตารางที่ 5.5 ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม 5 ระดับ จำแนกตามวิธี STDV 101
ตารางที่ 5.6 พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม 5 ระดับ (ตร.ม.) จำแนกตามตำบล 102

ตารางที่ 5.7 แสดงค่าความถูกต้องของแบบจำลอง 106
ตารางที่ 6.1 ข้อมูลร่องรอยดินถล่มในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 109
ตารางที่ 7.1 เกณฑ์การผุพังของมวลหิน (ดัดแปลงจาก Ruxton and Berry (1957)

Dearman (1976) Fookes (1997) และ Hearn (2016)) 122
ตารางที่ 7.2 แสดงข้อมูลการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่สำรวจ 125
ตารางที่ 7.3 แสดงผลการทดสอบดินขั้นพื้นฐาน (ค่าพิกัดอัตตะเบิร์ก
และความถวงจําเพาะของเม็ดดิน) 186
ตารางที่ 7.4 แสดงผลการทดสอบดินขั้นพื้นฐาน (การหาขนาดเม็ดดินด้วยวิธีร่อนผ่านตะแกรง

และวิธีไฮโดรมิเตอร์) 189

บทคัดย่อ




การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม


ของพื้นที่จังหวัดอตรดิตถ์ ด้วยการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มในอนาคตด้วยแบบจำลองทางสถิติแบบ
สองตัวแปร (Bivariate probability) และการให้ค่าน้ำหนัก (weighting) พิจารณาร่วมกับร่องรอยดินถล่มใน
อดีต ซึ่งได้จากการแปลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Google Image ในช่วงปี พ.ศ. 2520-2564 และการสำรวจ

ภาคสนามเพิ่มเติม จำนวน 2,947 ร่องรอยดินถล่ม ควบคู่กับการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิด
ดินถล่ม (Controlling factors) ทั้ง 7 ปัจจัย ได้แก่ (1) ระดับความสูง (2) ความลาดชัน (3) ระยะห่างจาก
โครงสร้างทางธรณีวิทยา (4) วิทยาหิน (5) ดัชนีพืชพรรณ (6) ทิศทางการไหลของน้ำ และ (7) ทิศทางรับน้ำฝน
จากการศึกษาพบว่าจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่ามีความสัมพันธ์กับการกระจายตัวของร่องรอย
ดินถล่ม เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย 1) การใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) ความลาดชัน 3) วิทยาหิน

4) หน้ารับน้ำฝน 5) ทิศทางกรไหลของน้ำ 6) ระดับความสูง และ 7) ระยะห่างจากโครงสร้าง ตามลำดับ โดย
พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่มที่มีนัยสำคัญกับการกระจายตัวของดินถล่ม คือ การใช้ประโยชน์ของ
พื้นที่ ซึ่งพื้นที่ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่พบการกะจายตัวของร่องรอยดินถล่มมากที่สุด ลำดับถัดมา คือ ความลาดชัน

ตั้งแต่ 30-70 องศา ณ ที่ความสูงตั้งแต่ 600-2,000 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง และ วิทยาหิน กลุ่มหิน
ตะกอนเนื้อละเอียดกึ่งแปรสภาพ (FS1) จำพวก หินทรายแป้ง หินดินดาน และหินโคลน นอกจากนี้ยังขึ้นกับ
ทิศทางมรสุม จากทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้
ผลจากการวิเคราะห์จากแบบจำลองดินถล่มสามารถแบ่งได้เป็น 5 ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม

ได้แก่ 1) ระดับต่ำมาก (Very low) ครอบคลุมพนที่ประมาณ 191 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 3.42 ของ
ื้
พื้นที่ทั้งหมด 2) ระดับต่ำ (Low) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,844.03 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 33.00
ของพื้นที่ทั้งหมด 3) ระดับปานกลาง (Moderate) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ประมาณ 2,673 ตารางกิโลเมตร
ื้
คิดเป็นร้อยละ 47.83 ของพื้นที่ทั้งหมด 4) ระดับสูง (High) ครอบคลุมพนที่ประมาณ 726.20 ตารางกิโลเมตร
คิดเป็นร้อยละ 12.99 ของพื้นที่ทั้งหมด และ 5) ระดับสูงมาก (Very high) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 154.46
ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.76 ของพื้นที่ทั้งหมด ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิด
ดินถล่มสามารถนำไปใช้อธิบายสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ถึงสาเหตุของการเกิดดินถล่มได้อย่างถูกต้อง
และยังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนบริหารจัดการธรณีพิบัติภัยในระดับท้องถิ่น (local

zoning) เพื่อสนับสนุนการลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ทันต่อเหตุการณ ์





คำสำคัญ: ดินถล่ม, แบบจำลองทางสถิติแบบสองตัวแปร (Bivariate probability), การให้ค่าน้ำหนัก
(Weighting), ระดับท้องถิ่น (Local zoning), ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่ม

(Controlling factors)



กิตติกรรมประกาศ




คณะผู้จัดทำขอขอบคุณ ท่านผู้ตรวจราชการกรมทรัพยากรธรณี นางสุรีย์ ธีระรังสิกุล ผู้ที่

พัฒนาโครงการลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย ทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัย
ดินถล่ม ขอขอบคุณ นายนิมิตร ศรคลัง ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และนายสุวิทย์ โคสุวรรณ
ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานและข้อมูลธรณีพิบัติภัย ที่ให้การสนับสนุน ด้านความรู้วิชาการ พร้อม

คำแนะนำ ตลอดจนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งภาคสนามและสำนักงาน นอกจากนี้ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการ
สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 นายสุธี จงอัจฉริยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 3
นายทินกร ทาทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 4 นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา ที่ให้การสนับสนุน
ในด้านต่างๆ ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ขอขอบคุณประชาชนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น เจ้าหน้าที่หน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติที่ให้ความร่วมมือทั้งในเรื่องการให้ข้อมูลดินถล่ม และแบ่งปันประสบการณ์
ที่ประสบรวมถึงการช่วยเหลือในการเข้าพื้นที่สำรวจ และสิ่งที่ประทับใจคือการมีน้ำใจของคนในท้องถิ่น


สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำทุกคนที่ทำงานกันอย่างหนักตลอด 1 ปี ขอขอบคุณสถานที่
5 จังหวัด ที่ให้คณะผู้จัดมีโอกาสได้เรียนรู้หลายๆอย่างทั้งทางวิชาการ และชีวิตการทำงาน นอกจากนี้

ขอขอบคุณทีมงานที่มีความสามัคคี คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เสนอแนวคิด คำแนะนำต่างๆ ทำให้ได้
รายงานวิชาการเล่มนี้ออกมามีประสิทธิภาพและความถูกต้องมากที่สุด และคณะผู้จัดทำคาดหวังอย่างยิ่ง

ว่ารายงานวิชาการเล่มนี้จะสามารถนำไปพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติดินถล่ม และใช้
ประกอบการวางแผนเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติดินถล่มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต





คณะผู้จัดทำ

กันยายน 2564



บทนำ



1.1 ความเป็นมา

ดินถล่มเป็นได้ทั้งภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากมนุษย์ที่สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิต

และทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จะเห็นได้ว่าในระยะเวลา
หลายปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ดินถล่มเกิดขึ้นในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยขึ้น
ี่
เนื่องจากสภาพอากาศโลกทมีความแปรปรวนมากขึ้น รวมทั้งการรบกวนของมนุษย์ เช่น การขยายตัว
ของชุมชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินให้
เป็นไปตามความต้องการ จากปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีส่วนกระตุ้นให้ปัญหาดินถล่มมีความรุนแรง และมี

ความถี่ของการเกิดดินถล่มบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงมีแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อ
การเกิดดินถล่มเพื่อเป็นแนวทางลด และบรรเทาความเสียหายจากพิบัติภัยดินถล่ม ด้วยเทคโนโลยี
สารสนเทศและเทคนิคการสำรวจระยะไกล (geographic information system and remote

sensing techniques) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาพิบัติภัยดินถล่มอย่างแพร่หลาย
ทั้งในการศึกษาในพื้นที่ขนาดใหญ่ (regional zoning) และรายพื้นที่ (local zoning) จัดเป็นเครื่องมือ
ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลในรูปแบบสารสนเทศ
ที่ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนข้อมูลเมื่อมีการสำรวจเพิ่มเติม

กรมทรัพยากรธรณีในฐานะหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหาร

จัดการทรัพยากรธรณีและธรณีพบัติภัยของประเทศ ดำเนินการสำรวจ ศึกษา วิจัย ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผล
ให้เกิดธรณีพบัติภัยและติดตามพฤติกรรมของธรณีพิบัติภัยต่าง ๆ เพื่อประเมินสถานภาพ กำหนด

ขอบเขตพื้นที่เสี่ยงภัย จัดทำแนวทางหรือมาตรการป้องกันบรรเทาผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยต่าง ๆ

ิ่
พัฒนาขีดความสามารถในการคาดการณ์และพยากรณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัย เพื่อเพม
ขีดสมรรถนะในภารกิจหลักนั้น จึงได้เกิดโครงการจัดทำแผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มระดับ
รายละเอียด โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสำรวจระยะไกล ควบคู่กับการสำรวจ
ภาคสนามมาใช้เพื่อทำความเข้าใจกับลักษณะสภาพแวดล้อมของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และใช้ในการ

จัดทำฐานข้อมูลในรูปแบบสารสนเทศที่ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนข้อมูล มีความรวดเร็ว และมี
ประสิทธิภาพ




1.2 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย


1.2.1 วัตถุประสงค์


เพื่อกำหนดขอบเขตระดับความออนไหวต่อการเกิดดินถล่มของพื้นที่ด้วยแบบจำลอง
ทางสถิติ

- 2 -


1.2.2 เป้าหมาย

มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม
ระดับรายละเอียด (landslide susceptibility model) ที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้
ง่าย และแผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม (landslide susceptibility map)


1.3 ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มในระดับจังหวัด เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่มี

ลักษณะเป็นกริด (raster data) มีโครงสร้างเป็นช่องเหลี่ยม เรียกว่า จุดภาพ หรือ grid cell เรียง

ต่อเนื่องกันในแนวราบและแนวดิ่ง ในแต่ละจุดภาพสามารถเก็บค่าได้ 1 ค่า มีความละเอยดของข้อมูล
อยู่ที่ 10 เมตร ซึ่งสามาถแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วนดังนี้


1.3.1 งานวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

1) รวบรวมและเตรียมฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ และภาพดาวเทียม

2) แปลความหมายร่องรอยดินถล่มเบื้องต้น ข้อมูลทางธรณีวิทยา โครงสร้างทาง
ธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา จากข้อมูลสัมผัสไกล ได้แก่ ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพดาวเทียม


1.3.2 งานสำรวจภาคสนาม

1) ดำเนินการสำรวจตรวจสอบข้อมูลร่องรอยดินถล่มที่ได้จากการแปลข้อมูลดาวเทียม
พร้อมสำรวจร่องรอยดินถล่มปัจจุบันในภาคสนาม
ื้
2) สำรวจลักษณะธรณีวิทยาและแบ่งกลุ่มวิทยาหินในพนที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม

1.3.3 งานศึกษาและวิเคราะห์


ศึกษาวิเคราะห์แบบจำลองทางสถิติแบบสองตัวแปร (Bivariate probability) และ
การให้ค่าน้ำหนัก (weighting) เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างรอยดินถล่มในอดีตในรูปแบบ
อัตราส่วนความน่าจะเป็นหรือความหนาแน่นของการกระจายตัวของดินถล่มในแต่ละกลุ่มย่อยใน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับดินถล่ม


1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


1) แบบจำลองในการศึกษาพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มในพื้นที่ต้นแบบที่สามารถ
นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำข้อมูลพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม ในพื้นที่อื่นในแต่ละภูมิภาคของ
ประเทศ
2) ข้อมูลฐานและปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาการเกิดดินถล่มอยู่ในรูปแบบสารสนเทศ
ภูมิศาตร์ (Geographic Information System, GIS) ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ (Spatial

data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS
และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้
3) มีข้อมูลฐานพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มสำหรับใช้ในการเป็นข้อมูลตั้งต้นใน

การกำหนดขอบเขตพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม (landslide risk zoning)

- 3 -



4) แนวทางในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของชั้นดินในพื้นที่ลาดชัน และวิธีการ
เลือกเก็บตัวอย่างดินในชั้นที่อยู่ในแนวศักยภาพเลื่อนไถลเพื่อให้เข้าใจถึงกลไกและกระบวนการทำงาน
ของการเกิดดินถล่ม
5) ข้อมูลทางวิศวกรรมขั้นพื้นฐานของชั้นดินและหินผุของหินฐานในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่ง
เป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิเคราะห์ชนิดของการเกิดดินถล่ม (landslide type) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากใน

การวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่ม
6) ข้อมูลชั้นดินที่อยู่ในแนวศักยภาพเลื่อนไถล และลักษณะดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย
7) ฐานข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษา วิจัย ดินถล่ม ทั้งในเรื่องของการปรับปรุงการ

วิเคราะห์แบบจำลองดินถล่มเพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลที่จะนำไปสู่การพยากรณ์และคาดการณ์ต่อไป



บทที่ 2

วรรณกรรมปริทัศน์




2.1 นิยามศัพท์

คำศัพท์ที่ใช้ในรายงานฉบับนี้ บางส่วนอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2544) คู่มือการทำแผนที่ดินถล่ม (Fell, 2550) และหนังสือคำศัพท์จากคู่มือ
การประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

(United Nations Development Programme: UNDP, 2559) ทั้งนี้ คำศัพท์จะจัดเรียงตามลำดับ
ความสำคัญและความสัมพันธ์ของความหมาย ดังนี้
1) ภัยธรรมชาติ (natural hazard) คือ ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ดินถล่ม

และโคลนถล่ม คลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ การระเบิดของภูเขาไฟ วาตภัย อุทกภัย อื่น ๆ
2) ภัยพิบัติ (hazard) คือ ภัยเหตุการณ์ที่เกิดจากธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์
ที่อาจนำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิตทรัพย์สิน ตลอดจนทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม

3) ความเสี่ยงภัย (risk) คือ ความเสี่ยงที่มีโอกาสหรือความเป็นไปได้ในการได้รับ
ผลกระทบทางลบจากการเกิดภัย โดยผลกระทบสามารถเกิดขึ้นกับชีวิต สุขภาพ การประกอบอาชีพ
ทรัพย์สิน และบริการต่าง ๆ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน สังคม หรือประเทศ
4) ดินถล่ม (landslide) คือ การเคลื่อนที่ของมวลหิน เศษหิน ดิน ตามลาดชัน

5) ดินถล่มมีพลัง (active landslide) คือ ดินถล่มที่ปัจจุบันยังมีการเคลื่อนตัว
สามารถเป็นได้ทั้งการเคลื่อนตัวครั้งแรก (first-time) และการเกิดซ้ำ (reactivation)
6) ดินถล่มอุบัติซ้ำ (reactivated landslide) คือ การเคลื่อนตัวของมวลดินอีกครั้ง
หลังจากมีการหยุดเคลื่อนตัว

7) แผนที่ร่องรอยดินถล่ม (landslide inventory map) คือ แผนที่ดินถล่มที่แสดง
ตำแหน่ง จำแนก ปริมาณ กิจกรรม รวมถึงวันที่เกิดเหตุการณ์ดินถล่มแต่ละพื้นที่ อีกทั้งเป็นพื้นฐานที่
สำคัญมากในการประเมินความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม (landslide susceptibility) โอกาสเกิด

ดินถล่ม (landslide hazard) และความเสี่ยงภัย (landslide risk)
8) แผนที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม (landslide susceptibility map) คือ แผนที่
แสดงความออนไหวต่อการเกิดดินถล่มเป็นการประเมินเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพของการจำแนก

ปริมาณ (หรือพื้นที่) และการกระจายเชิงพื้นที่ของดินถล่มที่มีอยู่หรืออาจเกิดขึ้นในพื้นที่อ่อนไหวต่อ
การเกิดดินถล่ม ยังอาจรวมคำอธิบายของความเร็วและความรุนแรงของดินถล่มที่มีอยู่หรือที่อาจเกิดขึ้น

ความน่าจะเป็นที่อาจจะเกิดดินถล่ม ซึ่งบอกชนิดของดินถล่ม และตำแหน่งที่จะเกิด
ี่
9) แผนที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม (landslide hazard map) คือ แผนที่แสดงพื้นที่ทมี
โอกาสเกิดดินถล่มเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการประเมินแผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มที่มีการ

กำหนดรอบความถี่โดยประมาณ (ความน่าจะเป็นรายปี) ต่อการถล่มที่อาจจะเกิดขึ้น

- 6 -


10) ระดับหรือขอบเขตความรุนแรง (zoning) คือ พื้นที่ที่มีการจัดระดับความไวต่อการ
เกิดดินถล่ม ทั้งของพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
จากดินถล่ม
11) แผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม (landslide risk map) คือ แผนที่แสดงผลการประเมิน
ความเสี่ยงดินถล่ม เป็นผลผลิตที่ได้จากการประเมินพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม ซึ่งบ่งบอกระดับ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อองค์ประกอบที่มีความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภัยในพนที่หนึ่ง ๆ โดยมากแสดงผลเป็น
ื้
ระดับสี
12) ดิน (soil)

ก) ความหมายทางธรณีวิทยา คือมวลวัสดุที่เกิดจากการผุพังของผิวโลกจากหิน
หรือชั้นตะกอนและยังไม่จับตัวกันวางตัวบนหินดาน
ข) ความหมายทางปฐพีศาสตร์ คือเทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมพื้นโลกอยู่เป็น
ชั้นบาง ๆ เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุซึ่งประกอบด้วย

อนทรียวัตถุ อนินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศ

ค) ความหมายทางวิศวกรรม คือวัตถุทางธรรมชาติที่เกิดจากการแปรสภาพหรือ

สลายตัวของหินและแร่ธาตุ ซึ่งทับถมกันในสภาพที่ไม่แน่นอาจจะมีอนทรียวัตถุเป็นส่วนประกอบด้วย
หรือไม่ก็ได้ แต่ “ดิน” หมายถึง กรวด (gravel) ทราย (sand) ทรายแป้ง (silt) และดินเหนียว (clay)

13) ดินกำเนิดโดยการสลายของหิน ณ ที่ตั้ง (residual soil) คือดินที่เกิดจากการ
ผุพังของหินต้นกำเนิดเนื่องจากขบวนการ ปฏิกิริยาต่อดินฟ้าอากาศ และตะกอนทับถมอยู่กับที่
14) ดินกำเนิดโดยการพัดพาไปตกตะกอน (transported soil) คือดินที่เกิดจาก
การถูกพัดพาจากแหล่งกำเนิดโดยตัวกลางและไปทับถมในอีกที่หนึ่ง ตัวกลางที่พัดพาอาจเป็นน้ำ ลม

ธารน้ำแข็ง
15) ตะกอนน้ำพา (alluvium) คือ กรวด หิน ดิน ทราย และสิ่งอื่น ๆ ที่เกิดจากการ
พัดพาของน้ำไปสะสมตัว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่น alluvial ตะกอนรูปพัดบริเวณที่ราบเชิงเขา

16) เศษหินเชิงเขา (colluvium) คือก้อนหินขนาดต่าง ๆ ที่แตกหักกระจัดกระจาย
มากองทับถมระเกะระกะอยู่เชิงเขาซึ่งเป็นการแตกสลายตัวของเขาหินระยะแรก โดยเริ่มผุพังจากที่สูง
ร่วงลงมาไปหาที่ต่ำเพราะแรงดึงดูดของโลก
17) ตัวอย่างแบบถูกรบกวน (disturbed sample) คือ ตัวอย่างดินที่ได้จากการ

ตอก ขุดหรือตักที่ทำให้ตัวอย่างดินเปลี่ยนสภาพเนื่องจากถกรบกวนจากแรงกระทำภายนอก
18) ระบบจำแนกดินเอกภาพ (Unified Soil Classification System, USCS) คือ
ระบบการเรียกชื่อดินจากการจำแนกจากผลการทดสอบขนาดของเม็ดดินและการกระจายตัวของดิน
(grain size distribution) ขีดเหลว (liquid limit) และดัชนีพลาสติก (plastic index)

19) ระนาบการเลื่อนไถล (slip plane) คือ แนวระนาบที่หินผุหรือดินเคลื่อนตัว
ผ่าน โดยปกติแนวระนาบจะประกอบไปด้วยชั้นที่แข็งรองรับด้านล่างชั้นดินที่ออนกว่า

20) วิทยาหิน (lithology) คือวิชาที่ว่าด้วยลักษณะทางกายภาพของหิน โดย
การศึกษาจากหินโผล่หรือหินตัวอย่าง

- 7 -


2.2 ดินถล่ม


2.2.1 ความหมายของดินถล่ม

ดินถล่ม (landslide) เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลดิน มวลหินลงมาตามลาดเขาด้วย
อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก (Cruden and Varnes, 1996) สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมี

ปัจจัยภายนอกเป็นตัวกระตุ้นหรือตัวเร่ง (triggering factors) เช่น ปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักอย่าง
ต่อเนื่องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชั้นน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ชั้นดินและหินเสียสมดุลจนถึงขาด
เสถียรภาพ กล่าวคือกลไกและกระบวนการควบคุมการเคลื่อนที่ของมวลดินที่เป็นผลจากน้ำฝนเป็น
ตัวเร่ง และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดินเป็นสาเหตุ นอกจากนี้ปรากฏการณ์ดินถล่มสามารถ
เกิดขึ้นได้จากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดถนน ตีนเขาถูกทำให้ขาดเสถียรภาพ การตัดไม้


ทำลายป่า ขาดพชพรรณปกคลุมและยึดเกาะดินทำให้ง่ายต่อการเกิดการพงทลายและดินถล่ม

2.2.2 การจำแนกประเภทของดินถล่ม


การจำแนกประเภทของดินถล่ม และการพังทลายของลาดเขา (รูปที่ 1) ซึ่งใช้ในรายงานฉบับนี้
ยึดหลักเกณฑ์การจำแนกของ British Geological Survey (BGS) เป็นแนวทาง โดยหลักเกณฑ์
ดังกล่าว มีพื้นฐานมาจากการจำแนกประเภทดินถล่มของ Varnes (1978) ซึ่งอาศัยหลักการ

พื้นฐาน 2 อย่างในการจำแนก ได้แก่1) ชนิดของการเคลื่อนที่ (type of movement: falls,
topples, slides, spreads, flows) และ 2) ชนิดของมวลเคลื่อนที่ (type of material: rock,
debris, earth) (ตารางที่ 1) และการจำแนกระดับความเร็วในการเคลื่อนที่ของมวลดิน (Cruden
and Varnes, 1996) (ตารางที่ 2) ดินถล่มแต่ละประเภท สามารถอธิบายได้ดังนี้

1) การร่วงหล่น (falls) เป็นการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก (extremely rapid)

เป็นการหลุด ร่วง กระดอน และกลิ้งอย่างเป็นอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกจากหน้าผาหรือ
ื้
พนที่ลาดชันที่มีมุมเอียงเทสูง มักเกิดตามระนาบพื้นผิวที่มีการเคลื่อนที่ด้วยแรงเฉือนน้อยหรือไม่มีเลย
เช่น รอยแตกหรือรอยแยกในชั้นหิน สามารถจำแนกได้เป็น 3 แบบตามชนิดของวัสดุ ได้แก ่

ก) หินร่วง (rock fall) หินที่หลุดร่วง
ข) เศษหินและดิน (debris fall) ตะกอนดินเม็ดหยาบและหินที่หลุดล่วงบริเวณเชิงเขา
ค) ดินร่วง (earth fall) ตะกอนดินเม็ดละเอียดที่หลุดตกลงมา
2) การล้มคว่ำ (topples) เป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะล้มคว่ำมาข้างหน้า (forward
rotation) ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก โดยมีจุดหมุนหรือแกนของการหมุนอยู่ที่ฐานของระนาบรอย

ชั้นความไม่ต่อเนื่อง (basal discontinuities)
3) การเลื่อนไถล (slides) คือการเคลื่อนที่ของมวลบนระนาบการเฉือน (shear
or rupture surfaces) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของระนาบการเคลื่อนที่

ได้แก่ การเลื่อนไถลบนระนาบโค้ง (rotational slide or slump) และการเลื่อนไถลบนระนาบเรียบ
(translational slide) การเลื่อนไถลบนระนาบโค้ง มีจุดเด่นคือ ระนาบของการเคลื่อนที่จะมีลักษณะ
โค้งคล้ายช้อน (spoon-like shape) หรือรูปประทุนหงาย (concave-upward failure surfaces)
ส่วนการเลื่อนไถลบนระนาบเรียบ (planar rupture surface) มวลวัสดุมักจะเคลื่อนที่บนระนาบที่
ค่อนข้างขนานกับความลาดชัน หรือตามระนาบรอยแตก และทิศทางการวางตัวของชั้นหิน

- 8 -


4) การแผ่ออกด้านข้าง (lateral spread) เป็นลักษณะการแตกและยืดออกด้านข้าง
ของชั้นหิน (coherent rocks) หรือชั้นดินที่มีความเชื่อมแน่น (cohesive soils) เนื่องจากแรงดึง
(tension) หรือแรงเฉือน (shear) ส่วนใหญ่มักเกิดสัมพันธ์กับแผ่นดินไหว และปรากฎการณ์ดินไหล
(liquefaction) บนพื้นราบหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย หรือเกิดจากการที่มีหินหรือดินที่แข็งและ
ไม่อุ้มน้ำวางตัวทับอยู่บนชั้นดินที่อุ้มน้ำ เมื่อชั้นดินที่อุ้มน้ำถูกทับด้วยน้ำหนักที่มากก็จะไหลออก

ด้านข้าง ทำให้ชั้นดิน ชั้นหินที่อยู่ด้านบนแตกออกและยุบตัว
5) การไหล (flows) เป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะคล้ายของไหล (flow-like
movement) ของวัสดุแห้งหรือวัสดุที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำลงมาตามความลาดชันและแรงโน้มถ่วงของโลก

สามารถแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้
ก) หินไหล (rock flow: deep creep) หรือ หินถล่ม (rock avalanche) เป็นการไหล
อย่างรวดเร็วที่สุด (extremely rapid) ของเศษหิน (fragmented rocks) จากกองหินที่เลื่อนไถล
(rock slide) หรือถล่ม (rock fall) มาก่อนหน้า

ข) เศษวัสดุธรณีไหล (debris flow) เป็นการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วมาก (very rapid)
ของเศษหินและตะกอนดินที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำบนเส้นทางการไหลที่มีอยู่เดิม (established paths) เช่น
ร่องธาร (gullies) และร่องน้ำลำดับที่หนึ่งหรือสอง (first-or second-order drainage channels) ปกติ
การไหลของเศษดินหินมักจะมาจากดินถล่มประเภทอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นบนทางลาดชัน โดยมีน้ำเป็น

ตัวกลางพัดพาเอาเศษหินและตะกอนดินไหลรวมถึงซากต้นไม้ก่อนที่จะไหลลงมากองทับถมบริเวณที่
ราบเชิงเขาในลักษณะของเนินตะกอนรูปพัดหน้าหุบเขา
ค) การถล่มของเศษวัสดุธรณี (debris avalanche) เป็นการไหลอย่างรวดเร็วมาก
ถึงมากที่สุด (very rapid to extremely rapid) ของเศษหินและตะกอนดินที่มีความชื้นหรืออิ่มตัว

ไปด้วยน้ำ (partially or fully saturated debris) สามารถพบได้ทั่วไปบนพื้นที่ที่มีความลาดชัน
สูง
ง) ดินไหล (earth flow) เป็นการเคลื่อนที่ของชั้นดินหรือชั้นหินที่มีตะกอนขนาด

ละเอียดหรืออนุภาคของดินเหนียวเป็นองค์ประกอบหลัก (fine-grained materials or clay-bearing
rocks) มักเกิดบนพื้นที่ที่มีความลาดชันไม่สูงนัก (moderate slopes) โดยอัตราความเร็วในการไหล
จะแปรผันตรงกับปริมาณความชื้นในดิน
จ) โคลนไหล (mud flow) หรือ ดินไหลแบบเร็วมาก (rapid earth flow) เป็นการ
ไหลอย่างรวดเร็วมากถึงมากที่สุด (very rapid to extremely rapid) ของตะกอนดินที่ประกอบไป

ด้วยอนุภาคของทราย, ทรายแป้ง และดินเหนียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และมีค่าความชื้นใน
สถานภาพพลาสติกของดิน (plastic index) น้อยกว่าร้อยละ 5
ฉ) การคืบตัว (creep) เป็นการคืบหรือไหลคลานอย่างช้า ๆ ด้วยอัตราความเร็วคงที่

ไปตามการเอยงเทของชั้นดินหรือหิน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การคืบตามฤดูกาล (seasonal

creep) การคืบอย่างต่อเนื่อง (continuous creep) และการคืบแบบเร่ง (progressive creep)
6) ดินถล่มแบบซับซ้อน (complex landslide) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลดินมากกว่า
ื่
หนึ่งชนิด ในธรรมชาติมวลดินที่เกิดการเคลื่อนที่ก่อนมักไปกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ในรูปแบบอน
ตามมา เช่นการเลื่อนไถลบนระนาบโค้งของชั้นดินบนไหลเขาสามารถไถลลงมาสู่ตีนเขาและมวลดิน
สามารถไหลต่อไปได้ขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในดิน

- 9 -

































































รูปที่ 2.1 ประเภทของดินถล่มจำแนกโดยอาศัยชนิดของการเคลื่อนที่ ชนิดของมวลเคลื่อนที่ ธรรมชาติของ
การเคลื่อนที่ อัตราการเคลื่อนที่ และความชื้น (คัดลอกและดัดแปลงจาก Varnes, 1978)

- 10 -


ตารางที่ 2.1 แสดงการจำแนกชนิดของดินถล่ม (ดัดแปลงจาก Varnes, 1978)

ชนิดของมวลเคลื่อนที่ (type of Material)

ชนิดการเคลื่อนที่ ดินในเชิงวิศวกรรม (Engineering soils)

(type of Movement) ชั้นหิน (bedrock) predominately coarse predominately fine
> 20 % gravel and < 20 % gravel and
coarse grain coarse grain
การร่วงหล่นของหิน การร่วงหล่นของเศษหน การร่วงหล่นของดิน

การร่วงหล่น (falls) (rock fall) และดิน (debris fall) (earth fall)
การล้มคว่ำของเศษหินและ
การล้มคว่ำของหิน การล้มคว่ำของดิน
การล้มคว่ำ (topples) ดิน
(rock topple) (earth topple)
(debris topple)
ระนาบโค้ง
การเลื่อน (rotational) การเลื่อนไถลของเศษหน

ไถล การเลื่อนไถลของหิน และดิน การเลื่อนไถลของดิน
(slides) ระนาบเรียบ (rock slide) (debris slide) (earth slide)
(translational)


การแผ่กระจายออกด้านข้าง การแผ่กระจายออก การแผ่กระจายออกด้านข้าง การแผ่กระจายออกด้านข้าง
ของเศษหินและดิน
ด้านข้างของหิน
(lateral spreads) ของดิน (earth spread)
(rock spread) (debris spread)
การไหลของเศษหินและดิน การไหลของดิน
(debris flow) (earth flow)


การไหลของหิน โคลนไหล
การไหล (flows) (rock flow: Deep การถล่มของเศษวัสดุธรณี (mud flow หรือ
creep) debris avalanche rapid earth flow




การคืบตวของดิน (soil creep)

การเคลื่อนที่แบบซับซ้อน มีชนิดการเคลื่อนที่ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
(complex) (combination of two or more principle types of movement)

- 11 -


ตารางที่ 2.2 แสดงการจำแนกระดับความเร็วในการเคลื่อนที่ของมวลดิน (Cruden and Varnes, 1996)


ระดับ
ความเร็ว คำอธิบาย ความเร็ว ความเร็วทั่วไป นัยสำคัญของการทำลายที่เป็นไปได ้

7 รวดเร็วที่สุด 5 x 10 5 เมตร/วินาที ความรุนแรงระดับสูงสุด; สิ่งก่อสร้างถูกทำลาย
3
โดยการปะทะกันของวัตถุที่เคลื่อนที่ มีการ
สูญเสียหลายชีวิต การอพยพเป็นไปได้ยาก
1
6 รวดเร็วมาก 5 x 10 3 เมตร/นาที สูญเสียสิ่งมีชีวิตบ้าง; ความเร็วรวดเร็วมาก
จนยากจะทำให้อพยพได้ทุกคน
5 รวดเร็ว 5 x 10 1.8 เมตร/ชั่วโมง การอพยพยังเป็นไปได้; สิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สิน
-1
และเครื่องมือถูกทำลายเสียหาย
-3
4 ปานกลาง 5 x 10 13 เมตร/เดือน สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวและสิ่งปลูกสร้างที่ไวต่อ
ความรู้สึกบางส่วนยังสามารถบำรุงซ่อมแซม
ชั่วคราวได้
-5
3 ช้า 5 x 10 1.6 เมตร/ปี การเยียวยาการก่อสร้างยังสามารถดำเนินต่อได้
ระหว่างการเคลื่อนไหวนี้; สิ่งปลูกสร้างที่ไม่ไว
ต่อความรู้สึกยังสามารถบำรุงซ่อมแซมโดยมี
การทำเป็นประจำถ้าการเคลื่อนไหวโดยรวมไม่
มากเกินไปในระหว่างระยะเร่งความเร็ว
-7
2 ช้ามาก 5 x 10 16 มิลลิเมตร/ปี สิ่งก่อสร้างถาวรบางแห่งยังไม่ได้รับความ
เสียหาย
-7
1 ช้าที่สุด < 5 x 10 < 16 มิลลิเมตร/ปี ยังไม่สามารถตรวจจับได้หากปราศจาก
เครื่องมือวัด; การก่อสร้างยังเป็นไปได้แต่ควร
ระมัดระวัง


2.3 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดดินถล่ม


2.3.1 สภาพภูมิประเทศ (topography)

ลักษณะภูมิประเทศที่มีอิทธิต่อความรุนแรงและโอกาสต่อการเกิดดินถล่ม คือ ความ
ลาดชัน (slope) ความยาวของความลาดชัน (slope length) ทิศทางของความลาดชัน (aspect of
slope) ระดับความสูงของพื้นที่ (elevation) และภูมิสัณฐาน (landform) ว่าเป็นลักษณะสันเขา อาทิ
ยอดเขาแหลม ยอดเขามน หน้าผา เชิงเขา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะมีบทบาทต่อการเคลื่อนที่หรือการเลื่อนไหล

ของมวลดินตามลาดเขา จากหลาย ๆ งานวิจัยพบว่าปัจจัยความลาดชันและความสูงของพื้นที่มีผลต่อ
ระดับความรุนแรงของการเกิดดินถล่ม กล่าวคือ เมื่อพื้นที่มีความลาดชันน้อยกว่า 5 องศา และความสูง
น้อยกว่า 100 เมตร จะให้ความรุนแรงต่อการเกิดดินถล่มต่ำ (Anbalagan, 1992; Kingsbury and
others, 1991) ในขณะที่ระดับความรุนแรงต่อการเกิดดินถล่มจะสูงขึ้นเมื่อพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า

45 องศา และความสูงมากกว่า 300 เมตร อย่างไรก็ตามยังพบว่าพื้นที่ที่มีความลาดชันระหว่าง
21-40 องศา มีโอกาสเกิดดินถล่มมากที่สุด (Lessing and others, 1983; Mehrotra and others, 1991)
สำหรับในกรณีศึกษาที่บ้านกะทูนเหนือ อําเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่ารอยดินถล่มที่ได้จาก

- 12 -


การแปลภาพถ่ายทางอากาศ จำนวน 1,826 รอยดินถล่ม ส่วนมากร้อยละ 70 พบอยู่ในบริเวณที่มีความ
ลาดชันระหว่าง 30 องศา ถึง 60 องศา (วรวุฒิ ตันติวนิช, 2535)
ความสูงของพื้นที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดดินถล่ม เนื่องมาจากพื้นที่ที่มี
ความสูงมากย่อมมีการกัดเซาะพังทลายรุนแรง ตามหลักการของการปรับตัวของพื้นโลก พื้นที่ที่อยู่ในที่สูงก ็
จะมีการกร่อน (erosion) มากตามไปด้วย เช่น การศึกษาของ ได้จําแนกระดับความสูงต่ำของภูมิประเทศตาม

ระดับความรุนแรงที่เกิดดินถล่มเป็น 3 ระดับ คือ ระดับความรุนแรงที่เกิดดินถล่มต่ำ พบที่ระดับความสูง
น้อยกว่า 100 เมตร ระดับความรุนแรงที่เกิดดินถล่มปานกลาง พบที่ระดับความสูง 100-300 เมตร และระดับ
ความรุนแรงที่เกิดดินถล่มสูง พบที่ระดับความสูงมากกว่า 300 เมตร (Anbalagan, 1992) อย่างไร

ก็ตามพื้นที่ที่สูงชันมาก เช่น หน้าผาหินส่วนใหญ่ประกอบด้วยชั้นหินมากกว่าชั้นดิน จึงมีความคงทนมากกว่า
บริเวณที่เป็นไหล่เขาหรือลาดเขา ดังตัวอย่างจากการศึกษาของศูนย์วิจัยป่าไม้ (2537) ได้รายงานผล
การศึกษาการเกิดดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้ว่า ตำแหน่งที่พบดินถล่มในระดับความสูงต่ำกว่า 200 เมตร
พบเพียง 14 แห่ง ที่ระดับความสูง 200-500 เมตร พบ 1,050 แห่ง ระดับความสูง 500-800 เมตร พบ

744 แห่ง และระดับความสูงมากกว่า 800 พบน้อยลงโดยพบเพียง 187 แห่ง อันเนื่องจากบริเวณที่ศึกษาที่
ระดับความสูงขึ้นเป็นชั้นหินมากกว่าชั้นดิน


2.3.2 สภาพธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา (geology and pedology)
สภาพธรณีวิทยาที่แตกต่างกันให้ชั้นดินต่างชนิดกัน และความหนาต่างกัน เช่น หินแกรนิต
แสดงลักษณะไม่มีความเป็นเนื้อเดียวกัน (heterogeneous) มีอัตราการผุพังสูง แร่ที่เป็นองค์ประกอบ

เมื่อผุพังแล้วจะให้ชั้นดินเป็นตะกอนทราย หรือตะกอนทรายปนดินเหนียว (วรวุฒิ ตันติวนิช, 2535)
ส่วนหินภูเขาไฟ มีอัตราการผุพังสูง และให้ชั้นดินทรายปนดินเหนียว หรือดินเหนียว ส่วนหินตะกอน เช่น
หินดินดาน หินโคลน เมื่อผุพังจะให้ชั้นดินเหนียวเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพื้นที่ที่มีลักษณะธรณีวิทยาเป็นหินแปร
เช่น หินชนวน (slate) หินควอตไซต์ (quartzite) มีโอกาสเกิดดินถล่มได้ง่ายกว่าหินตะกอน เช่น

หินปูน (limestone) หินโดโลไมต์ (dolomite) และหินทราย (sandstone) (Mehrotra and others,
1991) นอกจากนี้การพิจารณาจากอัตราการผุพังอาจจะสามารถบ่งบอกถึงโอกาสเกิดดินถล่มได้ เช่น
ปัจจัยการผุพังสลายตัวของหินแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 หินมีการผุพังสลายตัวเร็วแต่โอกาสเกิดดิน

ถล่มต่ำ ได้แก่ หินควอตไซต์ หินปูน หินแกรนิต หินแกบโบร และหินไนส์ กลุ่มที่ 2 หินมีการผุพัง
สลายตัวปานกลาง มีโอกาสเกิดดินถล่มปานกลาง ได้แก่ หินดินดาน หินทรายแป้ง และกลุ่มที่ 3 หินมีการผุ
พังสลายตัวช้าแต่มีโอกาสเกิดดินถล่มสูง ได้แก่ หินชนวน หินฟิลไลต์ และหินชีสต์ นอกจากนี้ยังพบว่า
โครงสร้างทางธรณีวิทยา มีผลต่ออัตราการผุพังของหิน โดยเฉพาะหินที่อยู่ในเขตรอยเลื่อน มีรอยแตก รอย
แยกมาก ส่งผลให้อัตราการผุพังสูงตามมาด้วย เนื่องจากมีช่องว่างให้น้ำและอากาศผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยา

ทางเคมีได้ง่ายขึ้น (Anbalagan, 1992)
การเกิดดินถล่มระดับตื้น (shallow landslide) มีความหลากหลายทางชนิด

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่เป็นผลมาจากการผุพงของชั้นหินต้นกำเนิด พสุทธิ์และคณะ (2533) ได้ศึกษา


ดินที่เกิดจากการผุพงสลายตัวของหินแกรนิต บริเวณที่เกิดดินถล่ม อำเภอพปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

พบว่าดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย สามารถแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ ดินชั้นบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
(sandy clay loam) ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคขนาดทรายร้อยละ 50-65 ดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวปนทราย
(sandy clay) ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคขนาดทรายร้อยละ 30-45 จากข้อมูลนี้จะเห็นว่าดินทรายมีแรงยึด

เหนี่ยวของเม็ดดินมีน้อยทำให้เกิดการพงทลายได้ง่ายโดยปกติแล้วถ้าดินแห้งสนิทจะไม่มีแรงยึดเหนี่ยวเกิดขึ้น


- 13 -


เลย ดินจะมีแรงยึดเหนี่ยวเพิ่มขึ้นเมื่อดินได้รับความชื้นเพิ่มขึ้น และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อดินได้รับความชื้น
มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกินขีดจํากัดพลาสติก (plastic limit: PL) ดินแทบจะไม่มีแรงยึดเหนี่ยวหรือไม่มีเลย
เมื่อดินได้รับความชื้นมากขึ้นจนถึงขีดจํากัดความเหลว (liquid Limit: LL) ดินจะอยู่ในสภาพเหลวและ
ไหลได้ ค่าที่ได้จากผลต่างระหว่างค่าขีดจํากัดความเหลวกับค่าขีดจํากัดพลาสติก เรียกว่า ดัชนีพลาสติก
(plastic Index: PI) ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบปริมาณความชื้นที่สามารถเพิ่มให้ดินได้โดยดินไม่เปลี่ยน

สภาพเป็นของเหลว ซึ่งดินแต่ละชนิดมีค่า ดัชนีพลาสติกไม่เท่ากัน ดินที่มีค่าดัชนีพลาสติกต่ำ (PI = 5) เช่น
ดินทรายแป้ง เมื่อได้รับความชื้นเพียงเล็กน้อย จะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวได้ง่ายกว่าดินที่มีค่าดัชนี
พลาสติกสูง (PI = 20) เช่น ดินเหนียวต้องได้รับความชื้นเข้าไปมากกว่าจึงจะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว

2.3.3 สภาพพืชพรรณและการใช้ที่ดิน (vegetation and land use)


พืชพรรณและสิ่งปกคลุมดินมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ เช่น พื้นที่เกษตรกรรม
พื้นที่ป่าที่มีความหนาแน่นมาก พื้นที่ที่มีพืชพรรณหนาแน่นปานกลาง พื้นที่ที่มีพืชพรรณปกคลุมน้อย และ

พื้นที่ที่ไม่มสิ่งปกคลุม (Anbalagan, 1992) เนื่องจากพชช่วยทำให้ดินร่วนซุย เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนแทรกซึม

และไหลผ่านลงสู่ดินชั้นล่างได้ดี นอกจากนี้รากพืชยังช่วยยึดอนุภาคดินไม่ให้แตกหลุด และเลื่อนไหลได้ง่าย
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2540) ได้รายงานการศึกษาสภาพดินถล่มบริเวณ
ไหล่เขาของเทือกเขาหลวงในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าบริเวณที่เกิดดินถล่มส่วนใหญ่เป็นบริเวณลาด
ไหล่เขาที่มีการถางป่าเพื่อปลูกยางพารา ซึ่งมีระบบรากฝอย ขาดรากแก้วยึดเกาะชั้นดิน เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้
เกิดการขาดเสถียรภาพง่ายขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นด้วยปริมาณน้ำฝน (วรวุฒิ ตันติวนิช, 2535) แม้ว่าบางแห่ง

มีความลาดชันไม่มากนัก แต่รอยแผลที่เกิดดินถล่ม จะเปิดกว้าง ส่วนบริเวณที่เป็นป่าซึ่งมีสภาพค่อนข้าง

สมบูรณ์มีการเกิดดินถล่มบ้าง แต่รอยแผลของการถล่มจะเกิดในบริเวณที่มีความลาดชันสูง นอกจากนี้อตรา
การแทรกซึมของน้ำยังเป็นปัจจัยเสริมในการเกิดดินถล่ม เช่น บริเวณป่าผลัดใบ (deciduous forest)
อัตราการแทรกซึมของน้ำมีค่ามากกว่า 1,270 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง สวนป่าสน (Pine forest) มีค่า


ระหว่าง 36-1,270 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง (Hornbeck and Reinhart, 1964) ยังพบว่าในดินชั้นฮวมัสหรือ
โอ อัตราการแทรกซึมของน้ำมีค่าสูงถึง 5,994 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ดินชั้นเอมีค่าระหว่าง 1,600-3,353
มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และดินชั้นบี (B horizon) มีค่าระหว่าง 230-432 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง (Trimble and

others, 1951)
กรณีศึกษาในประเทศไทยบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำภาคเหนือซึ่งเป็นป่าดิบเขาก็พบ

เช่นเดียวกัน ว่าแทบไม่มีน้ำไหลบ่าบนผิวหน้าดินเลย (นิวัติ เรืองพานิช, 2513) เปรียบเทียบกับพื้นที่ร้าง
ปรากฏว่าปริมาณน้ำไหลบ่า บนผิวหน้าดินมีมากกว่าพื้นที่ป่าดิบเขาถึง 2 เท่า (นิพนธ์ และคณะ, 2516)
โดยภายใต้สภาพป่าที่ปกคลุมด้วยเนื้อดินปนทรายหรือเนื้อดินเหนียวที่ปกคลุมไปด้วยฮิวมัส และเศษซาก

พืชจะมีอัตราการแทรกซึมน้ำไม่แตกต่างกันมากนัก โดยให้เหตุผลว่าช่องว่างของดินในระดับความลึก
ประมาณ 60 เซนติเมตร จากผิวดินแทบจะไม่แตกต่างกัน Hoover (1950) หมายความว่าบริเวณพนที่ลุ่ม
ื้
น้ำที่มีป่าไม้ปกคลุมจะไม่มีน้ำไหลบ่าบนผิวหน้าดิน น้ำในลำธารที่เห็นเป็นน้ำที่ไหลผ่านดินล่าง
(subsurface flow) เท่านั้นที่ลงสู่ลำธาร (นิวัติ เรืองพานิช, 2513; Hoover and Hursh, 1943; Hewlett

and Hibbert, 1967; Tsukamoto, 1966) อีกทั้งประเภทของป่ายังพบความแตกต่างของปริมาณน้ำที่พช

ดูดซับไว้ในดิน เช่น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณผสมไม้สัก และป่าเต็งรัง มีค่าประมาณ

ร้อยละ 30, 9, 19, 39, และร้อยละ 62 ของปริมาณฝน ตามลำดับ จะเห็นว่าพื้นที่ป่าดิบเขามีน้ำที่ถูกพช
ดูดซับไว้น้อยที่สุด เนื่องจากมีลักษณะของใบเป็นมันและมีขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้สภาพของ

- 14 -




ื่
บรรยากาศยังเต็มไปด้วยเมฆหมอกและมีคาความชื้นสัมพทธ์สูง ในขณะที่ป่าชนิดอน ๆ มีน้ำที่ถูกพชดูดซับไว้

ประมาณ 40% ถึง 60% (Tangtham, 1999)
2.3.4 ปริมาณน้ำฝน (rainfall)
จากปัจจัยสำคัญดังที่กล่าวมาแล้ว ปริมาณน้ำฝนยังเป็นปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้นให้
ระบบและกลไกลการพังทลายของดิน หรือการเคลื่อนที่ของมวลดินเกิดขึ้นเร็วขึ้น กล่าวคือ เมื่อมีฝนตก

น้ำฝนจะซึมลงไปในดินด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง ระยะแรกการแทรกซม (infiltration) ของน้ำฝนลงไป
ในดินค่อนข้างเร็ว เนื่องจากความชื้นในดินยังมีน้อย เมื่อมีฝนตกนานขึ้นในดินจะมีความชื้นมากขึ้น



อัตราการแทรกซมจะช้าลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กบประเภทของเนื้อดิน ถ้าเป็นดินเนื้อหยาบอตราการแทรกซึมของ
น้ำลงไปในดินก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว จำพวกดินทราย แต่ถ้าเป็นดินเนื้อละเอียด จำพวกดินเหนียว
การแทรกซึมค่อนข้างช้า ปริมาณน้ำที่แทรกซึมลงไปในดินจะไปกักเก็บไว้ในช่องว่างในดิน (soil pore)
ถ้าปริมาณน้ำมีมากกว่าที่ดินจะเก็บกักไว้ได้ก็จะไหลผ่านลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินหรือชั้นน้ำบาดาล
(groundwater) ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมายังพื้นดินแทรกซึมลงไปในดินขึ้นอยู่กับอัตราการแทรกซึม
(infiltration rate) ถ้าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในอัตราน้อยกว่าอัตราการแทรกซม น้ำฝนจะแทรกซึมลงใน

ดินทั้งหมด แต่ถ้าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในอัตราที่มากกว่าอัตราการแทรกซึม น้ำฝนที่เหลือจากการ
แทรกซึมลงในดินก็จะเกิดการไหลบ่าผิวดิน (surface runoff) ลงสู่ที่ต่ำ กรณีที่มีพืชพรรณหรือป่าไม้ขึ้น
ปกคลุมพื้นดิน ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนจะถูกยึดไวโดยใบกิ่งก้าน และลำต้น จะมีมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชพรรณหรือประเภทของป่าไม้ เมื่อน้ำฝนที่ตกแทรกซึมลงในดิน ดินก็จะได้รับความชื้น

เพิ่มขึ้นทำให้ดินมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีผลทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างมวลดินด้วยกันหรือระหว่างมวลดินกับ
หินลดลงขณะเดียวกันแรงต้านต่อการยึดเหนี่ยวหรือแรงผลักดันมีเพมมากขน ประกอบกับสภาพพนที่ตาม
ิ่
ื้
ึ้
ลาดไหล่เขามีความลาดชัน และมีแรงโน้มถ่วงของโลก จึงเป็นสาเหตุให้ดินและหินแตกหลุดออกจากกัน
และเกิดการถล่มลงมา ดังตัวอย่างของ ปริญญา นุตาลัย และวันชัย โสภณสกุลรัตน์ (2532) พบว่าเมื่อมี
ปริมาณฝนตกตั้งแต่ 260 มิลลิเมตรขึ้นไปภายในเวลา 24 ชั่วโมง จะเกิดดินถล่มตามลาดไหล่เขาหลายแห่ง
อย่างไรก็ตามนอกจากปริมาณน้ำฝนที่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมแล้ว ยังมีปัจจัยจากความสัมพันธ์ของ
ความถี่และปริมาณน้ำฝน พบว่าจำนวนของการเกิดดินถล่มมีความสัมพันธ์กับความถี่และปริมาณน้ำฝน

กล่าวคือ ในระดับรุนแรงมากต้องมีปริมาณฝนตกสะสม มาแล้ว 2 วัน มากกว่า 140 มิลลิเมตร และ
ความหนาแน่น (rainfall intensity) ของฝนมากกว่า 35 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ในระดับรุนแรงต้องมี
ปริมาณฝนตกสะสมมาแล้ว 2 วัน ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 80-140 มิลลิเมตร ความหนาแน่นของฝน
มากกว่า 15 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และระดับรุนแรงน้อยต้องมีปริมาณฝนตกสะสมมาแล้ว 2 วัน ปริมาณ
น้ำฝนมากกว่า 40 มิลลิเมตร ความหนาแน่นของฝนมากกว่า10 มิลลิเมตร ต่อชั่วโมง และการคาดคะเน

ปริมาณและความหนาแน่นของฝนสามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ กล่าวคือระดับรุนแรงน้อย ต้องมีฝนตก
ติดต่อกันมากกว่า 3 วัน มีปริมาณฝนระหว่าง 270-300 มิลลิเมตร และความหนาแน่นของฝนระหว่าง
90-100 มิลลิเมตรต่อวัน ระดับปานกลาง ต้องมีฝนตกติดต่อกันมากกว่า 2 วัน มีปริมาณฝนระหว่าง

280-300 มิลลิเมตร และความหนาแน่นของฝนระหว่าง 140-150 มิลลิเมตรต่อวัน ระดับรุนแรง ต้องมีฝนตก
มากกว่า 6 วัน มีปริมาณฝนระหว่าง 480-500 มิลลิเมตร และความหนาแน่นของฝน ระหว่าง 80-85 มิลลิเมตร
ต่อวัน (Nianxueo and Zhupingo, 1992) อย่างไรก็ตามการศึกษาปริมาณน้ำฝนที่มีผลต่อการเกิด
ดินถล่ม ยังต้องพิจารณาร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งมีวงจรการเปลี่ยนแปลงแตกต่าง

กันในแต่ละฤดูกาลและเป็นสาเหตุหลักในการเคลื่อนตัวของมวลดิน

- 15 -


2.4 แนวความคิดเกี่ยวกับการทำแผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือ “ภัยพิบัติที่มีโอกาสเกิดขึ้น ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ภายในบริเวณที่เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอาจสร้างความเสียหาย” (Varnes, 1984) คำจำกัดความ
รวมถึงขนาดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และคาบอบัติซ้ำของการเกิด (Carrara and Pike, 2008) ซึ่งขนาดจะเป็นตัว

บ่งบอกความรุนแรงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางพฤติกรรมและพลังของการ
ทำลายล้าง ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการระบุสถานที่ที่อาจเกิดปรากฏการณ์ เวลาจะเป็นตัว
บ่งชี้ถึงความถี่ของเหตุการณ์ (temporal frequency)
การประเมินอันตรายจากภัยพิบัติดินถล่มจึงต้องคำนึงถึง ขนาดที่ตั้ง และเวลา

ของทั้งปัจจัยควบคุมและปัจจัยกระตุ้น (Ayalew and Yamagishi, 2005; Dahal and others, 2008)
อย่างไรก็ตามเป็นการยากที่จะทำนายคุณลักษณะที่สำคัญทั้งสามประการดังที่กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ช่วงเวลาที่จะเกิดเหตุการณ์ นอกจากนี้ทั้งตัวแปรภายใน (ปัจจัยควบคุมดินถล่ม) และตัวแปรภายนอก

(ปัจจัยกระตุ้น) ถูกใช้ในการกำหนดการเกิดภัยพิบัติดินถล่มในพื้นที่ (Cevik and Topal, 2003) ตัวแปร
ภายในที่เป็นตัวกำหนดความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม ประกอบด้วย ธรณีวิทยาของชั้นหิน
(bedrock geology) ธรณีสัณฐานวิทยา (geomorphology) ความหนาของชั้นดิน (soil depth) ชนิดของ
ดิน (soil type) ระดับของความลาดชัน (slope gradient) หน้ารับน้ำฝนของความลาดชัน (slope aspect)
ความนูนลาด (slope convexity) ความเว้าโค้งลาด (slope concavity) ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล

ปานกลาง (elevation) คุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุธรณีที่มีความลาดชัน รูปแบบของการใช้
ประโยชน์ที่ดิน (land use pattern) รูปแบบของทางน้ำ (drainage pattern) และอื่น ๆ (Dahal and
others, 2008) ตัวแปรภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดดินถล่มในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว ประกอบด้วย

ฝนตกหนัก แผ่นดินไหว การประทุของภูเขาไฟ (Cevik and Topal, 2003) หรือการละลายของหิมะ
(Malamud and others, 2004)
ความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม (landslide susceptibility) นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง
(Akgün and Bulut, 2007) และใช้แทนที่คำว่า “ความเสี่ยงภัยดินถล่ม (landslide hazard) เนื่องจาก

สามารถกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มได้โดยไม่ต้องอ้างถึงเวลาและขนาด (Dai and Lee, 2001) นอกจากนี้
ความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มคือความเป็นไปได้ที่จะเกิดดินถล่มในอนาคตในพื้นที่ที่กำหนด ขึ้นอยู่กับ
ทั้งสองตัวแปรคือตัวแปรภายในที่เป็นปัจจัยควบคุมการเกิดดินถล่ม และตัวแปรภายนอกที่เข้ามากระตุ้นมี
ความแตกต่างขึ้นอยู่กับเฉพาะพื้นที่ และเกิดขึ้นชั่วคราว

แผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มพิจารณาจากการกระจายตัวของการเกิดดินถล่มใน
อดีตและปัจจัยควบคุมต่าง ๆ (Nandi and Shakoor, 2010) ด้วยเหตุนี้ จึงมีความสำคัญต่อการระบุการ
เกิดดินถล่มในอดีตอย่างแม่นยำ และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงถึงลักษณะทาง
กายภาพและเหตุการณ์ดินถล่มที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดความอ่อนไหวที่เชื่อถือได้ของการเกิดดินถล่มในอนาคต


(Park and Chi, 2008) โดยขั้นตอนสำหรับการประเมินและการทำแผนที่ความออนไหวในการเกิดดินถล่มใน
อดีตที่ผ่านมา มีความยากลำบากและใช้เวลานาน (Dahal and others, 2008) แต่เนื่องจากการพัฒนาของ
ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GIS) และแอพพลิเคชั่นทางคอมพิวเตอร์ ทำให้ในปัจจุบันการวิเคราะห์ความ

อ่อนไหวในการเกิดดินถล่มสามารถทำได้ง่ายขึ้น (Dahal and others, 2008)

- 16 -


2.5 วิธีการศึกษาพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม

วิธีการทางสถิติ คือ การวิเคราะห์ร่วมกันของปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่มในอดีต
ถูกกำหนดในเชิงสถิติและการคาดการณ์เชิงปริมาณจะทำขึ้นสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีดินถล่มในปัจจุบัน
แต่มีสภาพที่คล้ายคลึงกัน (Soeters and van Westen, 1996) ในปัจจุบันแนวทางทางสถิติถือเป็น

เทคนิคที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประเมินความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม (Dai and others, 2001)
เนื่องจากเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ง่ายต่อการปรับปรุง และสามารถทำซ้ำได้ (He and Beighley, 2008)
วิธีการทางสถิติ ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ภัยพิบัติดินถล่มในโครงการนี้คือ วิธีการวิเคราะห์แบบสองตัวแปร
(Bivariate statistical analysis)


การวิเคราะห์ทางสถิติสองตัวแปรหลัก คือ (1) ตัวแปรปัจจัยที่ควบคุมดินถล่ม เช่น สภาพ
ธรณีวิทยา ความลาดชัน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และอื่น ๆ และ (2) แผนที่การกระจายตัวของการเกิดดิน
ถล่ม โดยค่าน้ำหนักจะถูกคำนวณให้แต่ละชั้น (class) ของแผนที่ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ (Soeters and Van
Westen, 1996; Süzen and Doyuran, 2004) มีการจัดอันดับชั้น ของข้อมูลโดยใช้ความหนาแน่นของ

การเกิดดินถล่ม (Ayalew and Yamagishi, 2005) วิธีการนี้จะสมมติว่าปัจจัยทั้งหมดไม่มความสัมพนธ์ซึ่ง

กันและกัน (Suzen and Doyuran, 2004) วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติแบบสองตัวแปรนี้ถือว่าเป็นวิธีที่มี
ประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่น แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ (Thiery and others, 2007) ซึ่ง
ข้อจำกัดอาจรวมถึงการสูญเสียคุณภาพและความถูกต้องของข้อมูลด้วยการลดความซับซ้อนของข้อมูล


เฉพาะเรื่องที่ให้ตัวแปรปัจจัยมากเกินไปจนเกิดข้อผิดพลาดของค่าความออนไหวของข้อมูล การแปลงค่า
ปัจจัยต่อเนื่องให้เป็นแบบไม่ต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการกำหนด
ขอบเขตของชั้นข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติแบบสองตัวแปรมีวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งประกอบด้วย วิธีการอัตราส่วนของความถี่ (Pradhan and Lee, 2010) วิธีการค่าน้ำหนักของหลักฐาน

(Regmi and others, 2010) วิธีการค่าของข้อมูล (information value method) (Süzen and
Doyuran, 2004) แบบจำลองความน่าจะเป็นของ Bayesian และปัจจัยความแน่นอน (certainty
factors) (Soeters and Van Westen, 1996)

บทที่ 3

ขอมูลพื้นฐาน




3.1 ที่ตั้งและอาณาเขต


จังหวัดอุตรดิตถเปนจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยูบริเวณภาคเหนือตอนลาง
ฝงตะวันออก ระหวางเสนละติจูดที่ 17 องศา 8 ลิปดาเหนือ ถึงละติจูดที่ 18 องศา 11 ลิปดาเหนือ และ

ระหวางเสนลองติจูดที่ 99 องศา 54 ลิปดาตะวันออก ถึงลองติจูด 101 องศา 11 ลิปดาตะวันออก อยูหาง
จากกรุงเทพมหานครตามเสนทางรถยนตประมาณ 491 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,838 ตารางกิโลเมตร


อาณาเขตติดกับบริเวณใกลเคียงไดแก ทิศเหนือติดตอกับจังหวัดแพรและจังหวัดนาน ทิศใตติดตอกบ
จังหวัดพิษณุโลก ทิศตะวันออกติดตอกับจังหวัดพิษณุโลกและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตกติดตอกับจังหวัดสุโขทัย



3.2 ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของจังหวัดอุตรดิตถ ทางดานทิศเหนือและทิศตะวันออกมี

สภาพเปนแบบลูกคลื่นลอนลาดถึงแบบลูกคลื่นลอนชั้น บางแหงเปนภูเขาสูงประกอบดวยเทือกเขานอย
ใหญสลับกันไป มีความสูงของพื้นที่ตั้งแต 300-1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง สวนทางทิศใต
และทิศตะวันตกทางอำเภอทองแสงขัน มีสภาพเปนลูกคลื่นสลับที่ราบ และทางทิศตะวันตกทางอำเภอ
พิชัย อำเภอตรอน อำเภอลับแล และบางสวนของอำเภอเมือง จะเปนที่ราบลุมแมน้ำ มีคาความสูงของ

พื้นที่ประมาณ 50-70 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแมน้ำสำคัญของจังหวัด คือ แมน้ำนาน ไหล
ผานเขตจังหวัดเปนระยะทางยาวกวา 160 กิโลเมตร ตั้งแตทางทิศเหนือจรดทิศใตของจังหวัด ไหลผาน
อำเภอทาปลา อำเภอเมือง อำเภอตรอน และอำเภอพิชัย (รูปที่ 3.1)



3.3 ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดอุตรดิตถมีภูมิอากาศแบบรอนชื้นสลับกับรอนแหงแลง หรือฝนเมืองรอนเฉพาะฤดู

เพราะไดรับอิทธิพลจากกระแสลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต มีความชื้นและความ
รอนสูง ในฤดูรอนอากาศจะรอนจัด อุณหภูมิเฉลี่ยอยูที่ 35 องศาเซลเซียส อากาศเย็นสบายในฤดูหนาว
และมีฝนตกชุกในฤดูฝน

- 18 -















































































รูปที่ 3.1 แผนที่ภูมิประเทศและขอบเขตการปกครองจังหวัดอุตรดิตถ

- 19 -


3.3.1 ฤดูกาล

ฤดูกาลของจังหวัดอุตรดิตถ พิจารณาตามลักษณะของลมฟาอากาศของประเทศไทย

สามารถแบงออกไดเปน 3 ฤดู (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2563) ดังนี้
1) ฤดูฝน ซึ่งเปนฤดูที่เริ่มลงมือทำการเพราะปลูกพืชเมืองรอน จะเริ่มประมาณ

กลางเดือนพฤษภาคมและไปสิ้นสุดฤดูในเดือนกันยายนหรือตนเดือนตุลาคม โดยเปนชวงฤดูฝนดานที่ตน
ลมจะไดรับปริมาณฝนมากกวาดานปลายลม ซึ่งฝนที่ตกอยูนั้นเปนลักษณะของฝนภูเขา พื้นที่หนาเขาจะ
ไดรับฝนมากกวาพื้นที่หลังเขา ฝนที่ตกในชวงนั้นเปนฝนที่ไดรับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใตที่พัด
มาจากอาวเบงกอล กับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดมาจากทะเลจีนใต

2) ฤดูหนาว เปนฤดูของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตนประมาณเดือนตุลาคม
และสิ้นสุดประมาณเดือนกุมภาพันธ ฤดูหนาวในภาคเหนือมีลักษณะเห็นเดนชัดกวาภาคกลางและภาคใต 

เพราะอยูใกลแนวเคลื่อนที่ของอากาศหนาวเย็นที่เคลื่อนที่จากเขตความกดอากาศสูงในไซบีเรียและผาน
ประเทศจีน
3) ฤดูรอน เริ่มตนประมาณกลางเดือนกุมภาพันธและไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือน

พฤษภาคม ในเดือนกุมภาพันธมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มออนกำลังลง ทำใหลมตะวันออกเฉียงใตจาก
ทะเลจีนมีกำลังแรงขึ้นเปนผลใหเกิดพายุฤดูรอนขึ้นในภาคเหนือเปนครั้งคราว ในเดือนมนาคมและเมษายน


อุณหภูมิในภาคเหนือขึ้นสูงมาก

3.3.2 พายุหมุนเขตรอน

พายุหมุนที่ผานเขามาในภาคเหนือสวนมากเปนพายุดีเปรสชันมีกําลังออน ซึ่งกอตัวจาก

ทะเลจีนใตอาจทำใหมีลมแรงและฝนตกหนักและอาจเกิดน้ำทวมได สวนที่มีความรุนแรงขนาดพายุ
โซนรอนไมเคยปรากฏโดยเคลื่อนตัวผานเขามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เคยมี
พายุดีเปรสชันออนกำลังลงจากพายุโซนรอน “นาดีน” ซึ่งเคลื่อนตัวผานเขาสูจังหวัดอุตรดิตถ เมื่อวันที่

19 สิงหาคม 2508 และพายุดีเปรสชันซึ่งออนกำลังลงจากพายุโซนรอน “พอลลี่” เมื่อวันที่ 3 กันยายน
2508 พายุทั้งสองนี้ทำใหมีฝนตกหนักใน 24 ชั่วโมง วัดปริมาณน้ำฝนได 79.3 มิลลิเมตร และ
84.5 มิลลิเมตร ตามลำดับ (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2563)

จากสถิติในคาบ 69 ปตั้งแต พ.ศ.2494–2562 มพายุหมุนเขตรอนเคลื่อนเขาสูจังหวัดนี้
28 ลูกชวงเวลาที่เคลื่อนผานเริ่มตั้งแตเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยเคลื่อนเขามาในเดือน
พฤษภาคม 1 ลูก (2525) เดือนมิถุนายน 1 ลูก (2527) เดือนกรกฎาคม 1 ลูก (2521) เดือนสิงหาคม 5 ลูก
(2495 2508 2521 2536 และ 2550) เดือนกันยายน 12 ลูก (2507 2508(2) 2521 2513 2520 252
2523(2) 2525 2535 และ 2539) และเดือนตุลาคม 8 ลูก (2504 2507 2515 2524 2528 2550 2551

และ 2556) (รูปที่ 3.2)

- 20 -


รูปที่ 3.2 แผนที่แสดงรองความกดอากาศต่ำ ทิศทางลมมรสุม และทางเดินพายุหมุนเขตรอนที่เขาสูประเทศไทย คาบ 96 ป (พ.ศ.2494-2562)























































































ในชวงเดือนกันยายน จำนวน 18 ลูก (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2563)

- 21 -


3.3.3 ปริมาณฝน

จังหวัดอุตรดิตถเปนจังหวัดที่มีฝนตกชุกในฤดูฝน เนื่องจากไดรับอิทธิพลจากกระแสลม

มรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใตสงผลใหมีความชื้นและความรอนสูง โดยพื้นที่บริเวณ
อำเภอเมือง อำเภอลับแล และบางสวนของอำเภอทองแสนขัน มีปริมาณฝนมากกวาบริเวณอื่นคือ
ประมาณ 1,300-1,400 มิลลิเมตร สวนบริเวณอำเภอฟากทา มีปริมาณฝนเฉลี่ยนอยกวาบริเวณอื่นคือ
ประมาณ 1,000 มิลลิเมตร โดยบริเวณอำเภอเมืองมีปริมาณฝน ตลอดปประมาณ 1,371.6 มิลลิเมตร มี

ฝนตกเฉลี่ย 116 วัน โดยมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ย 263.4 มิลลิเมตร และมีฝนตก
21 วัน ปริมาณฝนสูงสุดใน 24 ชั่วโมง เคยตรวจได 263.7 มิลลิเมตร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 (กรม
อุตุนิยมวิทยา, 2564) (รูปที่ 3.3)



3.4 ลักษณะธรณีวิทยา

ลักษณะธรณีวิทยาทั่วไปในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ ประกอบดวยหิน 3 ประเภท ไดแก 
หินตะกอน หินแปร และหินอัคนี หินแตละประเภทแยกออกจากกันโดยอาศัยลักษณะทางกายภาพการ

เกิดการสะสมตัว และอายุ เปนสำคัญ ที่ผานมาในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ ไดมีการจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาราย
จังหวัดโดยกรมทรัพยากรธรณี มาตราสวน 1:250,000 (กรมทรัพยากรธรณี, 2551) พบหนวยหินและ
หมวดหินที่มีอายุทางธรณีกาลตั้งแตยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียนถึงยุคเทอรเชียรี (ประมาณ 430 ลานป ถึง 66.4

ลานป) แผนที่ธรณีวิทยาของจังหวัดอุตรดิตถและคำอธิบายแผนที่ (รูปที่ 3.4)


3.4.1 ลำดับชั้นหิน

หินที่พบในจังหวัดอุตรดิตถ ประกอบดวยหินตะกอนและหินแปร อายุแกสุด คือ หินยุค
ไซลูเรียน-ดีโวเนียน ไปจนถึงอายุออน คือชั้นตะกอนรวนในยุคควอเทอรนารี หินอัคนีประกอบดวยหิน

อัคนีแทรกซอนยุคเพอรเมียน-ยุคไทรแอสซิก และหินอัคนีพุเปนหินภูเขาไฟยุคเพอรเมียน-ยุคไทรแอสซิก
และหินภูเขาไฟยุคเทอรเชียรี สามารถอธิบายเรียงลำดับจากหินอายุแกที่สุดไปยังหินที่มีอายุออนกวา
ตามลำดับไดดังนี้



3.4.1.1 หนยคไซลเรยน-ดีโวเนียน (ชวง 360-438 ลานป)




หินยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน (SD) เปนชุดหินที่อยูลำดับลางสุดของจังหวัดอุตรดิตถ พบ
กระจายตัวอยูดานตะวันออกของอำเภอเมืองอุตรดิตถ เขตอำเภอทาปลาใกลอางเก็บน้ำเขื่อนสิริกิตติ์
(แนวดานลางของภูเขาพญาพอที่ดอยหวยจัน และภูเขาขุนหวยหมาใน) ประกอบดวยหินแปรทั้งหมด ไดแก 
หินฟลไลตสีเทา สีเทาแกมเขียวหินชนวนสีดำ หินควอตซ-ชีสต สีเทาแกมเขียว หินควอตไซตสีเทาแกมเขยว

และหินแอคติโนไลท-ควอตซชีสตสลับดวยหินชีสตเนื้อเถาภูเขาไฟ สีเทาเขมและเทาแกมมวง (รูปที่ 3.5

และ 3.6)

- 22 -



300 1600
ปริมาณน้าฝนเฉลี่ยรายเดือน (มิลลิเมตร) ํ 200 1000 ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยสะสม (มิลลิเมตร)
1400
250
1200




150
800
600
100
400
50


0
0



มกราคม กุมภาพัน มีนาคม เมษายน พฤษภาค มถุนายน กรกฎาคม สงหาคม กนยายน ตุลาคม พฤศจิกาย ธันวาคม 200
ธ  ม น
ฝนเฉลี่ยนรายเดือน 12.285 5.21 27.205 67.51 204.095 207.055 189.235 282.05 232.645 108.015 12.96 7.94
ฝนเฉลี่ยสะสม 12.285 17.495 44.7 112.21 316.305 523.36 712.595 994.645 1227.29 1335.305 1348.265 1356.205

รูปที่ 3.3 ปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยของจังหวัดอุตรดิตถ ในชวงป พ.ศ. 2544-2563
(กรมอุตุนิยมวิทยา, 2564)

- 23 -
















































































รูปที่ 3.4 แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดอุตรดิตถ (ดัดแปลงจากฐานขอมูลธรณีวิทยารายจังหวด
กรมทรัพยากรธรณี, 2564)

- 24 -


ตารางที่ 3.1 คำอธิบายแผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดอุตรดิตถ

คำอธิบาย
(EXPLANATION)

ยุค หินตะกอน หินชั้น และหินแปร
PERIOD SEDIMENTARY AND METAMORPHIC ROCKS

Qff ตะกอนที่ราบน้ำทวมถึง: กรวด ทราย ทรายแปง และดินเหนียว







Qfw ตะกอนทลุมนำขง: ชันพท และดนเหนียวปนพท สีดำถงเทาดำ เนือรวน






ควอเทอรนารี Qfc ตะกอนรองน้ำ: ทรายรองน้ำ สันดอนทราย และคันดินธรรมชาติ

QUATERNARY Qa ตะกอนน้ำพา: กรวด ทราย ทรายแปง และดินเหนยว


Qt ตะกอนบนตะพักน้ำ: กรวด ทราย และแมรัง

Qc ตะกอนเศษหินเชิงเขา: กรวดปนทราย ถึงทรายปนดินเหนียวที่เปนพวกตะกอนรวน
เทอรเชียรี T หินเคลย หินทรายแปง หินทราย หินโคลน ดินเบา และถานหินลิกไนต
Tertiary

KTpk หินทราย สีน้ำตาลแกมแดง เนื้อละเอียด การคัดขนาดดี ชั้นหนา สลับดวย
หินทรายแปง สีน้ำตาลแกมแดง
KTky หินทราย สีแดงอิฐ เนื้อละเอียดถึงปานกลาง การคัดขนาดดี เม็ดกลม ชั้นหนาถึง
หนามาก


ครีเทเชียส
CRETACEOUS Kpp หินทรายเนื้อกรวด สีเทา เนื้อปานกลางถึงหยาบ กรวดประกอบดวยแรควอตซ
เชิรต จัสเปอร เม็ดกลม เชื่อมประสานดวยสารประกอบซิลิกา ชั้นปานกลางถึงหนา
มาก แสดงการวางชั้นเฉียงระดับ
Ksk หินทรายแปง สีน้ำตาลแกมแดง สีแดงแกมมวง และสีมวง บางสวนเนื้อปนปูน
สลับชั้นดวยหินทราย
JKpw หินทราย และหินทรายเนื้อกรวดมน สีขาวแกมน้ำตาลถึงน้ำตาลแกมแดง เนื้อปาน
กลางถึงหยาบ
จูแรสซิก Jpk หินทรายแปงสีมารูน สีน้ำตาลแกมแดง เนื้อไมกา หินทราย และหินดินดาน
JURASSIC สีน้ำตาล สีเทา สีเหลือง

Jcb หินทรายแทรกสลับดวยหินดินดาน และหินทรายแปง นอกจากนี้ยังพบหินปูน
ชั้นบางถึงชั้นหนาปานกลาง

Trmc ตอนลางเปนหินกรวดเหลี่ยม สีเทา กรวดประกอบดวยหินแกรนิตและหินทราย สี
ดำ เม็ดเหลี่ยม แทรกดวยหินกรวดมนเปนเลนซ ตอนบนเปนหินทราย สีน้ำตาล
แกมแดง แนวชั้นบางและรอยริ้วคลื่น

Trkhp หินดินดาน สีเทา แสดงแนวชั้นบาง สลับดวยหินทรายเกรยแวก หินโคลน หินโคลน
ไทรแอสซิก สลับหินเชิรต และหินเชิรตชั้นบางพบซากดึกดำบรรพ จำพวก เรดิโอลาเรีย
TRIASSIC Trhh การสลับชั้นของหินดินดาน และหินทราย สีเทาแกมเขียวถึงสีเขียวแกมเทา พบซาก
ดึกดำบรรพพวก Holobia sp แทรกสลับดวยหินซับแกรเวค สีเทาแกมเขียว หินปูน

สีเทาจางถึง สีเทา และสีชมพู ไมแสดงชั้น

Trpt หินทราย หินทรายแปง และหินกรวดมน สีแดง

- 25 -


ตารางที่ 3.1 คำอธิบายแผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดอุตรดิตถ (ตอ)


PTr หินดินดาน หินทรายแปง และหินทราย สีเทาดำถึงสีเทาเขียว แทรกสลับกับหิน
เชิรต ชั้นบาง
หินทรายเกรยแวก สีเทาและเทาแกมเขียว เนื้อละเอียด สลับดวยหินดินดาน แสดง
Pll
แนวแตกเรียบชัดเจน ของหินแอนดีไซต เนื้อบะซอลต หนา 1 - 1.5 เมตร ตอนลาง
เพอรเมียน หินกรวดมนสลับกับหินปูนชั้นบาง และหินเชิรต
PERMIAN Pht หินดินดาน สลับชั้นกับหินโคลน สีเทาดำ มีชั้นหินทราย และหินปูนสีเทาแทรกสลับ

Pph หินปูน สีเทา ชั้นหนา แสดงลักษณะหนาผาหินปูนชัดเจน และหินทรายเนื้อภูเขาไฟ
และหินดินดาน
Pkl หินฟลไลต หินทราย หินทรายแปง หินดินดาน หินเชิรต หินกรวดมน และหินปูน


C2 หินฟลไลตเนื้อกรวดมน หินฟลไลต หินทรายเนื้อทัฟฟถูกแปรสภาพ และหินชนวน

คารบอนิฟอรัส C1 หินทรายเนื้อควอตซ หินดินดานเนื้อทรายแปง หินปูน และหินเชิรต.
CARBONIFEROUS
C หินทรายเนื้ออารโคส และเนื้อควอตซ สลับกับหินดินดาน และหินทรายแปง ถูก
แปรสภาพเล็กนอย แตลักษณะชั้นหินถูกเปลี่ยนรุนแรง

ไซลูเรยน หินแปรขั้นต่ำ หินฟลไลต หินชีสเนื้อฟลไลต สลับดวยหินควอรตไซต
SILURIAN SD
ยุค หินอัคนี
PERIOD IGNEOUS ROCKS
พาลีโอจีน หินบะซอลต สีเทาเขมถึงสีดำ เปนรูพรุน และเปนฟอง มีผลึกของแรโอลีวีน ไพรอก
PALEOGENE bs ซีน และสปเนล
Trdi หินอัคนีชนิดหินไดโอไรต สีเทาเขม เนื้อละเอียด หินฮอรนเบลนไดต สีเทาเขมถึงดำ
ไทรแอสซิก เนื้อหยาบ
TRIASSIC Trgr หินอัคนีชนิดหินไบโอไทตแกรนิต เนื้อปานกลางถึงหยาบ เนื้อเปนดอก หินมัสโคไวต
แกรนิต
เพอรเมียน PTrv หินภูเขาไฟชนิดไรโอไลต แอนดิไซต และหินกรวดมนเหลี่ยมภูเขาไฟ
PERMIAN
หินอัลตราเบสิค: หินเพอริโดไทต หินฮอรนแบลนไดต หินเซอรเพนทิไนต หินไพร
CPu อกซิไนต และหินบะซอลต
คารบอนิฟอรัส
CARBONIFEROUS Cb หินเบสิกถึงอัลตราเบสิก: หินแกบโบร สีเทาออน แสดงลักษณะริ้วขนาน หิน
ฮอรนเบลนไดต สีเทา หินเซอรเพนทิไนต สีเขียว หินแกรโนไดออไรตและหินไดออ
ไรต สีเขียวออน หินฮอรนเฟลส สีเทา

- 26 -


































รูปที่ 3.5 ลักษณะหินฟลไลตสีเทาอมเขียว แสดงรอยแตกชัดเจน ยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน บริเวณบาน




หวยยาหชาง ตำบลผาเลือด อำเภอทาปลา จังหวัดอุตรดตถ พิกัด 47P 655136E 1957945N






























รูปที่ 3.6 ลักษณะหินฟลไลตสีเทาอมน้ำตาล เนื้อผุมาก ยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน บริเวณบานน้ำสิงหเหนือ
ตำบลทาปลา อำเภอทาปลา จังหวัดอุตรดิตถ พิกัด 47P 644430E 1966369N


Click to View FlipBook Version