The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มที่ 3 การเมืองท้องถิ่น ความร่วมมือ ปัญหา อุปสรรค และความขัดแย้ง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by papichaya, 2022-02-09 04:37:14

125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440-2565 เล่มที่ 3

เล่มที่ 3 การเมืองท้องถิ่น ความร่วมมือ ปัญหา อุปสรรค และความขัดแย้ง

๑๒๕ ปี

การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕

เลม่ ๓

การเมืองท้องถิ่น :
ความรว่ มมือ ปัญหา
อุปสรรค และความขัดแย้ง

ประจักษ์ ก้องกีรติ
ธวชั ชยั วรกิตติมาลี

ปฐวี โชติอนันต์
รวี หาญเผชญิ
ชนินทร เพ็ญสูตร
ประเทือง ม่วงออ่ น
ณัฐกร วทิ ิตานนท์
บรรณาธกิ าร: ธเนศวร์ เจรญิ เมือง

๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕

125 Years: Local Government in Thailand, 1897 - 2022

เล่ม ๓ การเมืองท้องถิ่น: ความรว่ มมือ ปัญหา อุปสรรค
และความขัดแยง้

ผเู้ ขยี น ประจักษ์ ก้องกรี ติ ธวชั ชยั วรกติ ติมาลี
ปฐวี โชตอิ นันต์ รวี หาญเผชิญ
ชนินทร เพญ็ สตู ร ประเทือง มว่ งอ่อน
ณฐั กร วทิ ติ านนท์

ISBN (ชดุ ) 978-616-588-850-9

พมิ พค์ ร้งั แรก มกราคม 2565

จำ� นวนพิมพ ์ 500 เล่ม

กองบรรณำธกิ ำร ธเนศวร์ เจรญิ เมือง ปฐมาวดี จงรักษ์
ณัฐกร วิทติ านนท์ สภุ าภรณ์ อาภาวชั รตุ ม์

ออกแบบปก อารยา ฟ้ารุ่งสาง ค�ำอธิบำยปกหนำ้ -หลัง
พมิ พท์ ี ่ หจก. เชยี งใหม่โรงพิมพ์แสงศลิ ป์ ท้ังสองด้านเป็นภาพเดียวกัน
195-197 ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภมู ิ อ.เมือง ในหลวงรชั กาลที่ 5 เสดจ็ ฯ ไปเปดิ
สนบั สนนุ โดย จ.เชียงใหม่ 50200 โทร. 053-221212 “ถนนถวาย” ท่ีท่าฉลอม เมือง
จัดพิมพ์โดย Email : [email protected] สมุทรสาคร เมื่อ 12 มีนาคม
มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) และตอ่ จาก
(สา� นกั งานประเทศไทย) นั้นในปีเดียวกันท่าฉลอมก็ได้รับ
Konrad-Adenauer-stiftung, Office Thailand การยกระดับข้ึนเป็นสุขาภิบาล
ธเนศวร์ เจรญิ เมอื ง แห่งแรกในต่างจังหวัด ต่อจาก
ศนู ยส์ รา้ งสรรคเ์ มอื งเชยี งใหม่: แหลง่ เรยี นรนู้ อกหอ้ งเรยี น สุขาภิบาลกรงุ เทพฯ (พ.ศ. 2440)
65/27 หมทู ่ี 14 ต.สเุ ทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 ทมี่ ำ: หอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ
โทร. 081-952-3322

ข้อมูลทำงบรรณำนกุ รมของหอสมุดแห่งชำติ
ธเนศวร์ เจริญเมือง.

125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440-2565.-- เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์,
2565. 210 หนา้ .

1. การปกครองท้องถิ่น -- ไทย. I. ช่อื เรอ่ื ง.

352.1409593
ISBN 978-616-588-850-9

คำนำ

หนังสือเล่มน้ี “125 ปี กำรปกครองท้องถนิ่ ไทย พ.ศ. 2440-
2565” เปน็ เล่มท่ี 3 ในจำนวน 5 เลม่ เลม่ นวี้ ำ่ ด้วย “กำรเมอื งท้องถ่ิน:
ควำมร่วมมือ ปัญหำ อุปสรรค และควำมขัดแย้ง” มีบทควำมรวม
7 ช้ิน เริ่มจำกกำรเลือกต้ัง, พรรคกำรเมืองในระดับท้องถิ่น, สภำท้องถ่ิน,
กำรพัฒนำเมืองแบบรวมพลัง, บทบำทของภำคประชำชน, ทจุ ริตคอร์รปั ชนั่
ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และควำมขัดแย้งและควำมรุนแรงใน
กำรเมอื งระดบั ท้องถิน่ .

ล่ำสุด ท้องถิ่นไม่มีกำรเลือกต้ังมำ 6 ปี ติดต่อกัน 89 ปีมำนี้
รัฐบำลท่ีมำจำกกำรเลือกต้ังมีเพียงชุดเดียวที่อยู่ครบวำระ รัฐบำลที่
ถูกคว่ำด้วยรัฐประหำรมีถึง 13 ชุด จึงมีคำถำมท้ังต่อกำรเลือกตั้ง,
ต่อสภำ และบทบำทของภำคประชำชน ตอ่ บทบำทของพรรคกำรเมือง
ต่อกำรทุจริตต่ำง ๆ และต่อปัญหำควำมขัดแย้งต่ำงๆในท้องถิ่นว่ำ
แต่ละด้ำนท่ีกล่ำวมำข้ำงบนน้ีสะท้อนให้เห็นสถำนภำพและบทบำท
ของคนทอ้ งถ่ิน, กำรปกครองทอ้ งถน่ิ และสงั คมไทยอยำ่ งไร?

ดว้ ยคำรวะ
กองบรรณำธิกำร
12 พฤศจิกำยน 2564



สารบญั

หน้า

เลม่ ที่ 3 การเมืองท้องถ่ิน: ความรว่ มมือ ปัญหา อุปสรรค
และความขัดแย้ง

ค�ำ น�ำ
บรรณาธิการ.................................................................................ก

12. อดีต ปจั จบุ ัน และอนาคตของการเลือกตงั้ ทอ้ งถน่ิ ไทย
ประจักษ์ กอ้ งกีรต.ิ ................................................................................1

13. พรรคการเมอื งและการเลอื กตง้ั ทอ้ งถ่ิน:
ความสมั พนั ธ์และแนวโนม้ ในอนาคต
ธวชั ชยั วรกิตตมิ าล.ี ............................................................................25

14. สภาท้องถิน่ : ก�ำ เนิด พฒั นาการ ขอ้ สงั เกต อุปสรรค
ความท้าทาย และการกา้ วไปขา้ งหนา้
ปฐวี โชตอิ นันต.์ ..................................................................................53

15. จากวันนนั้ ถึงวันน้ี อนาคตของโมเดลการพัฒนาเมืองขอนแก่น
มมุ มองการวางแผนแบบรวมพลัง
รวี หาญเผชญิ .....................................................................................83

16. การมสี ่วนร่วมของประชาชน: กรณศี ึกษานโยบาย
ของนายกองค์การบริหารส่วนจงั หวดั เชยี งใหม่
เและบทบาทของสภาพลเมืองเชยี งใหม่
ชนินทร เพ็ญสตู ร..............................................................................119

17. ทจุ รติ คอร์รปั ชน่ั ในองคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถ่ิน
กบั ปญั หาระบบการตรวจสอบแบบรวมศูนยอ์ �ำ นาจ
ประเทือง ม่วงอ่อน...........................................................................151

18. ความขัดแย้งและความรนุ แรงในการเมืองท้องถิน่ ไทย
ณัฐกร วทิ ติ านนท์.............................................................................179



1

อดตี ปจั จุบัน และอนาคตของการเลอื กต้ังท้องถ่ินไทย1

ประจักษ์ กอ้ งกรี ติ2

ระบบเลือกตั้งมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพของระบอบ
ประชาธิปไตยเพราะเป็นท่ีมาของตัวแทนของประชาชน สังคมจะได้
ตัวแทนชนิดใด มีภูมิหลังอย่างไร และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดล้วน
ขน้ึ อยูก่ ับระบบเลอื กตั้งเป็นสาคัญ นอกจากน้นั ระบบเลือกตัง้ ทแ่ี ตกต่าง
กันยังมีผลต่อคุณภาพของการเมืองในภาพรวม เป็นที่น่าเสียดายท่ีการ
ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบเลือกต้ังเป็นประเด็นท่ีถูกละเลยในวงวิชาการ
ด้านการเมืองท้องถิ่นและการกระจายอานาจของไทย นอกเหนือไปจาก
การวิจัยทางวิชาการแล้ว ประเด็นนี้ยังถูกละเลยในการถกเถียง
สาธารณะและในเวทีรัฐสภาด้วยเช่นกัน ถึงเวลาแล้วท่ีวงวิชาการและ
สังคมไทยควรหันมาถกเถียงแลกเปลี่ยนเก่ียวกับการออกแบบระบบ
เลือกต้ังท้องถ่ินอย่างจริงจังเพื่อทาให้การเมืองท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ
โปร่งใส และตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนไดด้ ยี ่ิงขน้ึ

11 ปปรระะเเดดน็ น็ หหลลักกั ในในบบททควคาวมาชมิ้นชนนิ้ ้ีมนาม้ี จาาจกากกากรปารรปบั ปรบัรงุปสรงุรปุ สรแปุ ละแแลกะ้ไแขกจไ้าขกจงาานกวงาจิ นัยขวอจิ งยั ของ
ผู้เขียยนนเเรร่ือ่ืองง““ระรบะบกบากราเลรอืเลกือตก้ังทตอ้ังทงถ้อ่ินง:ถสิ่นภ:าสพภปาญั พหปาัญแลหะาขแ้อลเสะนขอ้อใเนสกนาอรใปนฏกริ าูปร”ปฏิรูป”
(กรุงงเเททพพฯฯ::สสถถาบาบันันพพระรปะกปเกเลกา้ ล, า้2,52595)5.9).
2 รรศศ..ดดรร.ป.ปรระะจจักกั ษษ์ ก์ กอ้ อ้ งงกกีรรตี ติ อิ อาาจจารายร์ปยป์ระรจะาจคำ� ณคณะระัฐรศฐั าศสาตสรต์ หรา์ มวิทหยาวาลทิ ยั ยธารลรยั มธศรารสมตศรา์ สตร์

1อดตี ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

2

โจทก์และหลักคิดพ้นื ฐานในการออกแบบระบบการเลอื กต้ังท้องถิ่น

จากสภาพปัญหาและพัฒนาการทางการเมืองและการเลือกต้ัง
ท้องถ่ินของไทยในปัจจุบัน ผู้เขียนเสนอว่าโจทก์ในการออกแบบระบบ
เลอื กต้ังสาหรบั ทอ้ งถิ่นไทยมอี ยู่ 4 ประการดว้ ยกนั คือ หน่งึ จะออกแบบ
อย่างไรเพ่ือลดการใช้อิทธิพลและความรุนแรง สอง เพิ่มโอกาสและ
สัดส่วนให้ผู้สมัครที่มีความสามารถและมีภูมิหลังหลากหลายได้เข้าสู่
สนามแข่งขัน สาม ทาให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหาร
และนิติบัญญัติมากขึ้น และสุดท้าย สร้างอานาจของประชาชนในการ
กากับตรวจสอบนกั การเมือง

หลักการสาคัญท่ีมักถูกมองข้ามในการพิจารณาการออกแบบ
ระบบเลือกต้ัง คือ ในรัฐหนึ่งๆ ระบบเลือกตั้งท่ีใช้ในการเลือกตัวแทน
ระดบั ชาติกับระดับท้องถิน่ ไม่จาเปน็ ต้องเหมอื นกนั เสมอไป เพราะระบบ
เลือกต้ังต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับขอบเขตอานาจ หน้าที่ และ
ชนิดขององค์กรทางการเมืองท่ีต่างระดับกัน ในเม่ือองค์กรปกครองส่วน
ท้องถน่ิ (อปท.) มิได้มขี อบเขตอานาจและภาระหน้าท่ีเหมือนกับสถาบัน
การเมืองระดับชาติ จึงควรที่จะออกแบบระบบเลือกต้ังที่มีความเฉพาะ
สาหรับการเมืองระดับท้องถ่ิน เพื่อให้ได้ตัวแทนที่สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาและการใช้อานาจ (Reynolds, Reilly and Ellis (eds.) 2005, p.139)
กล่าวคือ ระบบเลือกตั้งที่ใช้สาหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร หรือวุฒิสมาชิก (ในกรณีท่ีรัฐธรรมนูญกาหนดให้มีการเลือกต้ัง)
ไม่จาเป็นต้องเป็นระบบเดียวกับที่จะนามาใช้ในการเลือกตั้งผู้บริหาร

2 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

3

และสมาชิกองค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), ผู้บริหารและสมาชิก
เทศบาล, และผู้บริหารและสมาชกิ องค์กรบรหิ ารสว่ นตาบล (อบต.)

ประเด็นแรกที่ควรพิจารณาคือ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน
ประเทศไทยใช้ระบบเลือกต้ังแบบเดียวสาหรับการเมืองท้องถ่ินมาโดย
ตลอด คือ ระบบแบบเสียงข้างมากที่มีผู้แทนเขต โดยไม่เคยพิจารณาถงึ
ความเป็นไปได้ท่ีจะนาระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (ปาร์ตี้ลิสต์) มาใช้
แน่นอนว่า ระบบเสียงข้างมากท่ีมีผู้แทนเขตเลือกต้ังเป็นท่ีนิยมเพราะมี
ความชดั เจนและง่ายในการบริหารจัดการและความเข้าใจของประชาชน
แต่ระบบน้ีก็มีข้อเสียเช่นกันคือ เป็นระบบแบบผู้ชนะได้หมด ผู้แพ้เสีย
หมด ซึ่งอาจทาให้เกิดการแข่งขันรุนแรงและเผชิญหน้ากัน เพราะแพ้
ชนะกันเพียงแค่ 1 คะแนนก็ทาให้ผู้สมัครคนหนึ่งได้เข้าสู่อานาจและ
ทาให้คู่แข่งขันต้องหมดโอกาสได้อานาจไป (ซึ่งการแพ้ชนะกันอย่าง
เฉียดฉิวไม่กี่คะแนนนี้เป็นปรากฏการณ์ท่ีพบบ่อยมากในการเลือกตั้ง
ท้องถิ่นของไทย) การแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครมักไม่มีการแข่งขันเชิง
นโยบาย (Farrell 1997; Baldini and Pappalardo 2009, pp.38-55)
การบรรเทาข้อเสียของระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวเพื่อไม่ให้
เกิดสภาพที่มีผู้แพ้หรือผู้ชนะตลอดกาลคือ การแบ่งเขตเลือกตั้งอย่าง
ระมัดระวัง ให้เขตเลือกตั้งนั้นไม่สร้างให้เกิด “ชนกลุ่มน้อยถาวร”
(permanent minority) คือไม่ให้มีผู้เลือกต้ังท่ีเป็นเสียงข้างน้อยในเขต
เลือกต้ังท้องถ่ินหนึ่งเป็นผู้แพ้ตลอดกาล จนไม่มีโอกาสมีผู้แทนของ
ตัวเองและนาไปสู่ความรู้สึกหมดหวังกับการเมืองในระบบในท่ีสุด

3อดีต ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

4

ยกตัวอย่างเช่น หากเราแบ่งเขตเลือกต้ังในเขตเลือกตั้งที่มีประชากรนับ
ถอื ศาสนาพุทธ 80 เปอรเ์ ซ็นต์ และประชากรท่นี ับถือศาสนาอิสลาม 20
เปอร์เซ็นต์ ย่อมยากอย่างย่ิงที่คนมุสลิมในเขตเลือกต้ังน้ีจะมีโอกาสมี
ผู้แทนเป็นของตนเอง คนมุสลิมในเขตเลือกต้ังดังกล่าวย่อมกลายสภาพ
เป็นชนกลุ่มน้อยถาวรทั้งในแง่ศาสนาและในทางการเมือง (คือไม่มี
ตัวแทนสะท้อนปญั หาของพวกเขา) ซ่ึงในหลายประเทศ ความคบั ข้องใจ
ของการที่ระบบการเมืองการเมืองแบบทางการไม่ตอบสนองชนกลุ่ม
น้อย ก็นาไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงท่ีบานปลาย
(Reynolds, Reilly, and Ellis (eds.) 2005) ซึ่งกรณีนี้สาคัญอย่างย่ิง
สาหรับบริบทของไทยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ท่ีเราควรพิจารณาว่าจะ
ออกแบบระบบเลือกตั้งให้แตกต่างจากพ้ืนท่ีอ่ืนของประเทศอย่างไรเพือ่
บรรเทาปญั หาความขัดแยง้

มีบางประเทศเลือกใช้ระบบเลือกต้ังแบบสัดส่วนโดยใช้ระบบ
ปาร์ตี้ลิสต์ในการเลือกผู้แทนท้องถิ่น โดยมีตั้งแต่การใช้เขตเลือกต้ัง
ขนาดใหญ่ท้ังจังหวัดหรือท้ังเขตเทศบาล หรือใช้เขตเลือกต้ังขนาดเล็ก
โดยการเลือกต้ังแบบสัดส่วนในระบบบัญชีรายช่ือจะเปิดโอกาสให้
ผู้สมัครที่เป็นตัวแทนชนกลุ่มน้อยมีโอกาสได้รับเลือกมากขึ้น เพราะไม่
ถูกปิดกั้นโอกาสด้วยข้อจากัดในเชิงภูมิศาสตร์ของเขตเลือกตั้ง และถ้า
อยากเพิ่มโอกาสการได้รับเลือกต้ังของชนกลุ่มน้อย บางประเทศก็นา
ระบบโควตามาใช้ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นด้วย โดยกาหนดสัดส่วน

4 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

5

ไว้เลยวา่ แต่ละพรรคการเมอื งต้องจัดทาบญั ชรี ายช่อื โดยมีผูส้ มัครจากชน
กลุ่มน้อยในสัดสว่ นตามสัดสว่ นประชากรในพน้ื ที่นั้นๆ

หากจะนาระบบการเลือกต้งั แบบสัดสว่ นแบบบัญชรี ายช่ือมาใช้
ในการเลือกตั้งระดับท้องถ่ิน ย่อมหมายความว่าสังคมไทยต้องเปิดให้มี
การแข่งขันของพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการในการเมืองท้องถิ่น
เพราะพรรคการเมืองจะเป็นผู้จัดทาบัญชีรายชื่อให้ประชาชนเลือก
(Reynolds, Reilly, and Ellis (eds.) 2005, p. 144) ในปัจจุบันสังคมไทย
ยังมีแนวคิดที่ปฏิเสธบทบาทของพรรคการเมืองในการเมืองระดับท้องถ่ิน
ทาให้การเมืองท้องถ่ินเป็นเร่ืองของกลุ่มการเมืองย่อยและการแข่งขัน
เชิงตัวบุคคล ในประเทศอ่ืนที่มีการเมืองท้องถ่ินที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ
ต่างไม่ได้ปฏิเสธบทบาทของพรรคการเมือง ในสังคมไทยการปฏิเสธ
บทบาทของพรรคการเมืองในการเลือกตัง้ ท้องถน่ิ กลบั ทาใหเ้ กิดผลลัพธ์
ทางลบที่ไม่พึงปรารถนา คือ ทาให้พรรคการเมืองเล่นการเมืองอยู่หลัง
ฉากสนับสนุนผ้สู มัครบางคนบางกลุ่มในการแข่งขันเลือกตงั้ มอี ิทธิพลใน
การคัดเลือกตัวแทนลงสมัครรับเลือกต้ัง ในบางเขตพรรคการเมือง
สนับสนุนผู้สมัครมากกว่าหนึ่งฝ่าย จนทาให้เกิดความสับสนในหมู่
ประชาชนผู้เลือกต้ัง ดังนั้น การเมืองท้องถิ่นของไทยจึงควรจะเปิดกว้าง
ให้พรรคการเมืองเข้ามามีบทบาทอย่างเป็นทางการมากขึ้น เพ่ือเพิ่ม
ความโปร่งใสและความพร้อมรับผิด (accountability) ของพรรคการเมือง
ต่อประชาชนในเขตเลือกตงั้

5อดตี ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

6

อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องนามาพิจารณาในการออกแบบระบบ
เลือกต้ังในระดับท้องถ่ิน คือความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่าย
นิติบัญญัติในการเมืองท้องถ่ิน โดยท่ีลักษณะความสัมพันธ์ทางอานาจที่
ดีคอื โครงสร้างอานาจทีม่ ีความสมดุลกนั ระหวา่ งฝ่ายบรหิ ารและฝ่ายนิติ
บัญญัติ มีการตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างอานาจสองฝ่ายนี้ โดยที่ไม่มี
ฝ่ายหนง่ึ ฝา่ ยใดมอี านาจมากจนเกนิ พอดี จนอาจใช้อานาจอยา่ งบดิ เบือน
หรือนาไปสูก่ ารคอรร์ ปั ชนั่ ได้

ในระยะหลังมานี้ ระบบการเลือกตั้งท้องถิ่นที่เลือกฝ่ายบริหาร
โดยตรง (directly elected local executives) โดยแยกขาดจากการ
เลอื กฝ่ายสมาชิกสภาทอ้ งถิ่นไดร้ ับความนิยมท่ัวโลก รวมทัง้ ในทวปี ยุโรป
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศท่ีมีประชาธิปไตยที่ต้ังม่ันแล้ว และมีการ
เลือกต้ังในระดับท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน สาเหตุท่ีระบบการเลือกต้ัง
แบบเลือกฝ่ายบริหารโดยตรงได้รับความนิยมอย่างสูง ก็เนื่องจาก
แนวโน้มของการเมืองท้องถิ่นในประเทศต่างๆ หันมาสู่ทิศทางของการ
สร้างฝ่ายบรหิ ารท่ีเขม้ แข็ง (strong executives) เพ่อื ใหผ้ ู้นาฝ่ายบริหาร
ท่ีมีอานาจเข้มแข็งสามารถใช้อานาจจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
ทันใจมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับวันปัญหาในระดับท้องถ่ินมีความซับซ้อน
มากข้ึนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ท่ีโลกเชื่อมร้อยถึงกันด้วยอัตราเร่งที่
รวดเร็วมากข้ึน บริบทของการบริหารจัดการพื้นท่ีของ อปท. ในแต่ละ
ประเทศจึงเปลี่ยนไปและต่างถูกบีบและกาหนดจากปัจจัยต่างๆ
มากมาย ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง ปัญหาสังคม และปัญหา

6 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

7

ส่ิงแวดล้อมมีความเชื่อมโยงกันทั้งในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค
ระดับชาติ และระดับท้องถน่ิ ทอ้ งถนิ่ ไมไ่ ด้อยูเ่ พยี งลาพงั และตัดขาดจาก
โลกภายนอก ด้วยสภาพแวดล้อมทางการเมืองและการบริหารที่
เปลี่ยนไปเช่นน้ี จึงเกิดกระแสความต้องการผู้นาท่ีมีภาวะการนาท่ี
เข้มแข็งในการตอบสนองปัญหา โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การต่อรองเจรจา
ผลประโยชน์และการควบคุมจากฝ่ายสภามากนัก จึงทาให้เกิดความ
นิยมในการนาระบบเลือกต้ังโดยตรงมาใช้สร้างระบบท่ีฝ่ายบริหาร
เข้มแข็ง เพ่ือให้เกิดการบริหารแบบที่ความชอบธรรมวางอยู่บนการเนน้
ผลลัพธ์ (output legitimacy) คือวัดความชอบธรรมของผู้นาฝ่ายบริหาร
ในระดับท้องถิ่นท่ีความสามารถในการให้บริการประชาชน (delivery
services) และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มากกว่า
ความชอบธรรมในเชิงที่มา (input legitimacy) ท่ีเน้นความชอบธรรม
ผ่านกระบวนการแข่งขันขึ้นสู่อานาจและผ่านการสร้างกระบวนการ
ตัดสินใจทีเ่ ปิดใหป้ ระชาชนมีส่วนร่วมอยา่ งกว้างขวาง3

อิสราเอลเป็นประเทศหนึ่งท่ีมีการนาระบบเลือกต้ังผู้บริหาร
ท้องถ่ินโดยตรงมาใช้ก่อนประเทศหลายประเทศ โดยเร่ิมนามาใช้ต้ังแต่
ช่วงกลางทศวรรษ 2520 ทั้งนี้ ผลการศึกษาจากงานวิจัยจานวนมาก
พบว่า กระแสการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันทาให้บทบาทของฝ่าย
นิติบัญญัติในท้องถ่ินปรับเปล่ียนตามไปด้วย คือ ประชาชนหันไปเลือก

33 ดดบู ูบททคคววาามมขขององMMattaEttvaEnvsa2n0s124;0W14o;llmWaonlnlm20a0n8nแ2ละ00B8orแraลzะanBdorJroahzna2n00d4Jซoึง่hn
อ2ภ0ิป04ราซยปึง่ อระภเดิป็นรนายไ้ี วปอ้ รยะา่ เงดลน็ ะเนอไ้ี ียวด้อถยีถ่ ่าว้งนละเอียดถ่ีถว้ น

7อดตี ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

8

ฝ่ายสภาท้องถ่ินให้เป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์หลากหลาย
ภาคส่วน (representative of sectorial interests) กล่าวคือ ให้สภาท้องถ่ิน
สะท้อนผลประโยชน์ของท้ังผู้สูงอายุ เยาวชน ผู้หญิง ชนกลุ่มน้อย
คนพิการ กลุ่มศาสนา กลุ่มแรงงานอพยพ ฯลฯ ในแง่น้ี กล่าวได้ว่า
สภาท้องถ่ินทาหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนความหลากหลายของชุมชน
และยังทาหน้าท่ีเป็นเวทีของการถกแถลงเสวนาที่คนในชุมชนมา
สามารถมาโต้เถียงแลกเปล่ียนความเห็นกัน (ผลจากแนวโน้มเช่นนี้
ทาให้กลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองขนาดเล็กและขนาดกลางมี
โอกาสได้รับเลือกตั้งเพ่ิมมากขึ้นในสภาท้องถิ่น เพราะผู้เลือกตั้งเน้นใช้
สิทธิเลือกต้ังของตนในการเลือกผู้แทนท่ีสังกัดกลุ่มหรือพรรคท่ีสะท้อน
ผลประโยชน์เฉพาะของพวกเขา มากกว่าท่ีจะเลือกผู้แทนท่ีขาดความ
ชัดเจนว่าทาหน้าท่ีเป็นตัวแทนของใครท้ังในเชิงนโยบายและอัตลักษณ์)
เมื่อประชาชนรู้สึกว่าตัวเองมีตัวแทนเป็นปากเสียงในสภาท้องถิ่นที่ทา
หน้าท่ีสะท้อนผลประโยชน์และอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มให้พวกเขาแล้ว
พวกเขาก็มีความพึงพอใจ ส่วนการบริหารจัดการพ้ืนที่ในภาพรวมและ
การจัดบริการสาธารณะในท้องถิ่น ประชาชนยกให้เป็นหน้าท่ีหลักของ
ฝ่ายบริหารและคาดหวังจากฝ่ายบริหารในมิติน้ีเป็นสาคัญ (Evans,
2014, pp.56-59)

สรุปว่า การออกแบบระบบเลือกตั้งเพื่อสร้างความเข้มแข็งของ
ฝ่ายบริหารเป็นกระแสของการเมืองท้องถ่ินในหลายประเทศตั้งแต่
ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา ระบบเลือกต้ังท้องถ่ินท่ีเน้นความเข้มแข็ง

8 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

9

ของฝ่ายบริหารมิได้มแี ต่ข้อเสียดังที่มักจะเข้าใจกัน เพราะชุมชนท้องถิ่น
ไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม ก็ปรารถนาการบริหารจัดการท่ีเข้มแข็งและ
มีประสิทธิภาพ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าจะทาอย่างไรจึงจะสร้างกลไกและ
สร้างหลักประกันให้สภาท้องถ่ินหรือฝ่ายนิติบัญญัติท้องถ่ินมีบทบาท
ในการเป็นผู้แทนของประชาชนในท้องถิ่นที่มีความแตกต่างหลากหลาย
ให้ได้ รวมท้ังทาอย่างไรท่ีจะทาให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีอานาจในการควบคมุ
ตรวจสอบฝ่ายบรหิ ารที่เข้มแขง็ ไดด้ ้วย

ในการเลือกฝ่ายบริหาร ประเทศที่ใช้ระบบเลือกต้ังฝ่ายบริหาร
โดยตรงส่วนใหญ่ ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นจะใช้ระบบการเลือกตั้ง
แบบสองรอบ (two-round system) เพื่อสร้างหลักประกันว่าผู้ที่ได้รับ
เลือกตั้งคือผู้ที่ได้เสียงข้างมากเด็ดขาดเกิน 50% (absolute majority)
จากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด เพ่ือให้ได้ช่ือว่าเป็นตัวแทนของ
ประชาชนสว่ นใหญ่อยา่ งแทจ้ ริง นอกจากนั้นระบบเลือกต้ังสองรอบยังมี
ข้อดีอีกประการคือ ทาให้เกิดการรอมชอมระหว่างผู้สมัคร และป้องกัน
ไม่ใหม้ ีการหาเสียงโดยใช้แนวนโยบายแบบสดุ โต่งหรือประเด็นหาเสียงท่ี
เกนิ ความเปน็ จรงิ เพราะในการแข่งขนั ทีต่ ้องไดเ้ สียงเกินกง่ึ หนึ่งของผู้มา
ใช้สิทธิท้ังหมด ยอมหมายความว่าผู้สมัครตอ้ งมีนโยบายที่ตอบสนองคน
วงกว้างในท้องถิ่นน้ัน ๆ มากกว่าประชากรกลุ่มแคบ ๆ ผู้สมัครทุกกลุ่ม
ต้องพยายามที่จะผลิตนโยบายในการหาเสียงที่เจาะฐานเสียงส่วนใหญ่
และมีแนวนโยบายท่ีมุ่งเข้าหาคนตรงกลาง มากกว่ากลุ่มประชากรท่ีมี
แนวคดิ สดุ โตง่ หรอื เลอื กข้างชัดเจน

9อดตี ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

10

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของระบบเลือกตั้งแบบสองรอบคือ
มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะหากไม่มีผู้สมัครชนะเสียงเกินครึ่งในรอบแรกก็ตอ้ ง
จัดการเลือกตั้งในรอบท่ีสอง (บางประเทศอย่าง อาร์เจนตินาและ
เอควาดอร์จึงลดเกณฑ์สาหรับผู้ชนะลงเหลือ 45 เปอร์เซ็นต์ และ 40
เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ กล่าวคือ หากในรอบแรก ใครได้เสียงถึงเกณฑ์
ดังกล่าวก็ชนะเลือกต้ังไปเลย โดยไม่ต้องได้คะแนนเสียงถึง 50 เปอร์เซ็นต์
แต่มีเง่ือนไขว่าคะแนนของผู้ชนะต้องท้ิงห่างอันดับสองเกิน 10 เปอร์เซ็นต์
เป็นอย่างน้อย) (Reynolds, Reilly and Ellis (eds.), 2005, p.133)
ซ่ึงรวมถึงภาระในการบริหารจัดการก็ย่อมหนักมากขึ้น ซ่ึงอาจจะ
กระทบตอ่ ทรพั ยากรของหน่วยงานที่ต้องจัดการเลือกต้งั ในระดับท้องถิ่น
ซึ่งโดยธรรมชาติมักจะมีทรัพยากรน้อยกว่าหน่วยงานระดับชาติ
นอกจากน้ัน ประชาชนอาจจะมาใช้สิทธิน้อยลงในการเลือกตั้งรอบที่
สองเพราะรู้สึกว่าเป็นภาระ หรือรู้สึกเบ่ือหน่ายกับการที่ต้องใช้สิทธิ
เลอื กตัง้ หลายรอบ (Reynolds, Reilly and Ellis (eds.), 2005, p.130)

ในกรณขี องไทย ระบบเลือกตงั้ สองรอบอาจจะมคี วามเหมาะสม
กับหน่วยการปกครองท้องถ่ินท่ีมีพ้ืนที่ขนาดใหญ่และมีจานวนผู้มีสิทธิ
เลอื กต้ังจานวนมาก กลา่ วคือ การเลือกตั้งนายก อบจ. เพราะมีตาแหน่ง
แค่หน่ึงตาแหน่งต่อหน่ึงจังหวัด ต้องดูแลงบประมาณจานวนมากและ
มีอานาจหน้าที่มากมาย โดยในแง่พ้ืนท่ีเขตเลือกตั้งแล้ว กล่าวได้ว่าเขต
เลือกต้ังนายก อบจ. เป็นเขตเลือกต้ังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ (ครอบคลุม
พื้นท่ีกว้างขวางกว่าเขตเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียอีก) และ

10 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

11

มีจานวนผู้มีสทิ ธเิ ลอื กต้งั มากกวา่ การเลือกตั้ง ส.ส. การแขง่ ขันมักเป็นไป
อย่างดุเดือดและหลายกรณีแพ้ชนะกันด้วยเสียงไม่มากนักและมี
เปอร์เซ็นต์ผู้มาใชส้ ิทธิน้อย ก่อให้เกิดปัญหาความชอบธรรมในการดารง
ตาแหนง่ ทม่ี ฐี านความชอบธรรมไม่สงู นกั หากผู้มาใช้สิทธิต่า ในแงน่ ี้ จงึ มี
ความเหมาะสมท่ีจะมีการนาระบบเลือกต้ังแบบสองรอบมาใช้กับการ
เลือกตั้งนายก อบจ. เพ่ือทาให้ผู้สมัครที่ได้รับการเลือกต้ังจะต้องพิสูจน์
ตนเองว่าได้รับเสียงข้างมากเด็ดขาดจากประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัด
ทง้ั น้ี ถ้าปรบั ประยุกต์หลกั การและเหตุผลดงั กล่าวนม้ี าใช้กับการเลือกต้ัง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ซ่ึงมีพื้นท่ีเขตเลือกตั้งท่ีใหญ่และจานวนผู้มีสิทธิ
เลือกต้ังจานวนมากเช่นเดียวกับการเลือกตั้งนายก อบจ. ผู้วิจัยขอเสนอ
ว่าควรมีการนาระบบเลือกตั้งแบบสองรอบมาใช้กับการเลือกตั้งผู้ว่า
กทม. เชน่ กัน

นอกจากประเด็นท่ีอภิปรายมาข้างต้นแล้ว มีประเด็นอื่นที่
สาคัญท่ีต้องคานึงถึงในการออกแบบระบบเลือกตั้งท้องถ่ินคือ คุณภาพ
ของการบริการจัดการเลือกตั้ง แม้ว่าจะออกแบบระบบเลือกต้ังอย่าง
รอบคอบเหมาะสมเพียงใด แต่หากคณะกรรมการจัดการเลือกต้ังขาด
ความเป็นกลาง ความโปร่งใส และขาดศักยภาพ ก็ย่อมไม่สามารถทาให้
การเลือกต้ังเป็นกระบวนการทางการเมืองที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันใน
การคดั สรรตวั แทนขนึ้ สอู่ านาจได้ (Schimpp and McKernan, 2001)

11อดตี ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

12

ข้อเสนอเบอื้ งต้นในการปฏริ ปู การเลอื กต้งั ท้องถิ่นไทย

(1.) ท่ีมาของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติท้องถ่ิน: สังคมไทยต้องก้าว
ข้ามการถกเถียงเร่ืองท่ีมาของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติในระดับ
ท้องถ่ินว่าควรจะมาจากการแต่งตั้ง สรรหา หรือเลือกต้ัง เพราะการ
เลือกตั้งคือวิธีในการได้มาซึ่งตัวแทนของประชาชนที่ประชาชนมีส่วน
กาหนดและตรวจสอบได้มากท่ีสุด ผู้นามีความยึดโยงและต้องพร้อม
รับผิดชอบต่อประชาชนมากกว่าเดิม งานศึกษาวิจัยเสนอให้เห็นว่าการ
เลือกตั้งทาให้การเมืองท้องถิ่นแก้ปัญหาและตอบสนองประชาชนได้
รวดเร็วมากข้ึน สามารถดูแลและส่งเริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนได้อย่างดี4 ประเด็นสาคัญจึงอยู่ที่ว่าระบบเลือกตั้งแบบใด
จึงเหมาะสมที่สดุ สาหรับท้องถน่ิ ไทย มิใชถ่ อยหลงั กลับไปส่รู ะบบแต่งตั้ง
ดังในอดตี

(2.) ระบบเลือกฝ่ายบริหารกับเกณฑ์คะแนนเสียงข้างมาก: ระบบ
การเลือกผู้บริหารโดยตรงเป็นระบบที่เหมาะสมกับสภาพการกระจาย
อานาจในปัจจุบันท่ียังต้องการฝ่ายบริหารที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง
แต่ควรมีการปรบั เปลี่ยนให้

4 ดูตัวอย่างการรายงานผลการวิจัยของวีระศักด์ิ เครือเทพ เร่ืองประเมินผลการ
4กดระูตจัวอายย่าอง�ำกนาารจราขยองงาไนทผยลรกะายรวะจิ ัย1ข5องปวี ีรใะนศักAดSิ์ เTคVรอื เผทู้จพัดกเราอื่ รงอปอระนเไมลนิ นผ์,ลก2า7รกกรระกจฎายาคม
อ2า5น5า7จขhองttไpทย:/ร/ะwยะw1w5.mปี ใaนnAagSeTVr.ผcจู้oดั .tกhา/รPออoนliไtลicนs,์ /2V7ieกwรกNฎeาคwมs.2a5s5p7x?NewsID=
h9t5tp7:/0/w0w00w0.m8a4n8a3g5er.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084835

12 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

13

2.1 มีการใช้เกณฑ์คะแนนเสียงข้างมากเกินครึ่งตัดสิน (แบบ
ฝร่ังเศส) (หรืออาจน้อยกว่านี้ เช่น 30% แบบอินโดนีเซีย) ต่อเม่ือไม่มี
ผู้ชนะเด็ดขาดในรอบแรก จึงใช้เกณฑ์คะแนนเสียงข้างมากธรรมดา
(simple majority คือใครได้คะแนนมากที่สุด โดยไม่จาเป็นต้องถึงกึ่ง
หน่ึง) ตัดสินในรอบท่ีสอง5 ระบบเช่นนี้จะป้องกันไม่ให้ผู้ชนะทุ่มเงินซ้ือ
เสียงจากประชาชนเพียงไม่ก่ีคนหรือไม่ก่ีครัวเรือนในราคาที่สูงเกินจริง
เพียงเพ่ือหวังชนะคู่แข่งแค่ 1-2 คะแนนเสียง นอกจากน้ัน ระบบการ
เลือกต้ังท้องถิ่นที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบันท่ีเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่
ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับที่หนึ่ง แม้ว่าจะชนะคู่แข่งลาดับที่สองแค่
1 คะแนนเสยี งก็ชนะเลือกต้ังเลยนน้ั ทาให้การแข่งขันดุเดอื ดและรุนแรง
นาไปสู่ความตึงเครียดและการประท้วงในการนับคะแนนและการ
ประกาศผล การนาเกณฑ์นับคะแนนที่กาหนดให้ผู้ชนะต้องได้เสียงข้าง
มากเด็ดขาดเกินครึ่งมาใชจ้ ะทาให้ผู้สมัครต้องหาเสียงสนับสนุนจากฐาน
เสียงในพน้ื ทที่ ่ีกว้างขวางกว่าเดิมเพ่ือชนะเสียงข้างมากเด็ดขาด มากกว่า
ท่ีจะเจาะฐานเสียงแคบๆ เฉพาะกลุม่ เครือญาติและพรรคพวก

2.2 ต้องแก้กฎหมายบังคับให้ผู้สมัครต้องเสนอรายชอื่ ทีมบรหิ าร
ให้ประชาชนเลือก เพื่อให้ประชาชนทราบว่าหากเลือกผู้สมัครคน
ดังกล่าวเป็นฝ่ายบริหาร ประชาชนจะได้ทีมบริหารที่มีคุณสมบัติหน้าตา
เช่นใด แทนท่ีจะให้เป็นสิทธิขาดของฝ่ายบริหารเมื่อชนะเลือกต้ังไปแลว้
ซึง่ ประชาชนไม่สามารถมีส่วนรว่ มได้

55 ดดรู ูระะบบบบเลเือลกือตกั้งตฝั้ง่าฝยบ่ายรหิบารริหขาอรงปขรอะงเปทศระฝเรทง่ั เศศฝสรแั่งลเะศอสินแโดลนะีเอซินียใโนดนRีเeซyียnใoนldsR, Reyeinllyo,ladnsd,
ERlelisill(ye,dsa.n) d20E0l5l.is (eds.) 2005.

13อดตี ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

14

2.3 ควรมีการแก้กฎหมาย ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลการใช้
งบประมาณและผลงาน (รวมถึงเรื่องร้องเรียนของประชาชน) ของฝ่าย
บริหารท่ีกาลังจะหมดวาระ เพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจก่อนท่ี
จะถึงวันเลือกตั้ง โดยติดประกาศอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ และ
สื่อมวลชนสามารถนาไปเผยแพร่ได้ ซ่ึงจะช่วยทาให้การทางานของ
นักการเมืองมีความพร้อมรับผิดต่อประชาชนมากข้ึน และทาให้
ประชาชนมีข้อมูลท่ีครบถ้วนรอบด้านมากขึ้นในการตัดสินใจในการ
เลอื กตงั้

(3.) ระบบการเลือกฝ่ายนิติบัญญัติและเขตเลือกต้ัง: ในประเด็นน้ี
มีหลายประเดน็ ท่คี วรพิจารณา

3.1 ระยะเวลา: ระยะเวลาในการจัดการเลือกต้ังของฝ่ายนิติ
บัญญัติควรจะเหลื่อมกับการเลือกตั้งฝ่ายบริหาร (หรือมีการเลือก
คร่ึงหนึ่งของสภาตรงกับฝ่ายบริหารและอีกครึ่งหน่ึงในช่วงกลางเทอม
เพ่ือให้มีการหมุนเวียนสบั เปลี่ยนการดารงตาแหน่ง) การจัดการเลือกต้งั
แบบเหล่ือมเวลาน้ี (ซึ่งใช้ในหลายประเทศ) แม้จะมีข้อเสียในแง่การ
บริหารจัดการและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่จะช่วยบรรเทาปัญหาไม่ให้มี
กลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดท่ีมีคะแนนนิยมสูงมากในช่วงที่จัดการ
เลือกต้ังสามารถชนะการเลือกต้ังและยึดกุมอานาจเด็ดขาดท้ังฝ่าย
บริหารและนิติบัญญตั ิในคราวเดียวกันแบบปัจจุบัน เวลาในการเลอื กตั้ง
ท่ีไม่ตรงกัน จะทาให้ประชาชนใช้วิจารณญาณในการเลือกได้มากขึ้น
เช่น เม่ือถึงช่วงกลางเทอมของการบริหารงานของฝ่ายบริหารท้องถ่ิน

14 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

15

หากประชาชนพบว่าฝ่ายบรหิ ารทางานล้มเหลวขาดประสิทธิภาพและมี
ปัญหานา่ เคลอื บแคลงสงสัยในเรอ่ื งความโปร่งใส ประชาชนกจ็ ะสามารถ
เลอื กคนกลุ่มอนื่ เขา้ ไปในสภาเพื่อคานอานาจฝ่ายบรหิ าร

3.2 เขตเลอื กต้ัง: ควรมีการปรับเขตเลอื กตงั้ ท้ังในระดับ สจ. และ
สท. ให้มีความเป็นเอกภาพกัน กล่าวคือ เป็นเขตเดียวคนเดียวทั้งหมด
(มใิ ชเ่ ขตเดยี วหลายคน) เพอ่ื ใหส้ มาชกิ สภาฯ แตล่ ะคนมพี น้ื ที่รับผิดชอบ
ในการทางานท่ีชัดเจน ประชาชนในแต่ละเขตรู้ว่าใครเป็นตัวแทนของตน
หากมีปัญหาในพ้ืนที่ประชาชนจะรู้ว่าควรจะไปเรียกร้องใคร ระบบเขต
เดียวหลายคนยังมีข้อเสียตรงท่ีพื้นท่ีความรับผิดชอบนั้นใหญ่โตเกินไป
ทาใหท้ างานไดไ้ มท่ ว่ั ถึง (Reynolds, Reilly, and Ellis (eds.), 2005)

(4.) การเปิดโอกาสและสัดส่วนให้ผู้สมัครที่มีภูมิหลังหลากหลาย:
ประเด็นนม้ี ีความสาคัญ เพราะในการเมืองท้องถ่ินของไทย ภูมิหลังของ
ผู้ท่ีเข้ามาสู่ตาแหน่งยังขาดความหลากหลาย ถ้าเราคาดหวังให้สภา
ท้องถิ่นทาหน้าที่เป็นกระจกของชุมชนคือ สะท้อนความแตกต่าง
หลากหลายของความคิดและอัตลักษณ์ของผู้คนในชุมชน ก็ควรจะ
คานึงถึงการปรับระบบเลือกตั้งให้บุคคลหลากหลายประเภทเข้ามาสู่
ตาแหน่งได้มากขึ้น ในการบรรลุเป้าหมายนี้ หลายประเทศใช้ระบบโควตา
(quota system) ในการเลือกตั้ง เช่น ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย
กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ฯลฯ โดยกาหนดให้กลุ่มการเมืองหรือพรรค
การเมืองในท้องถิ่นต้องเสนอผู้สมัครที่เป็นชนกลุ่มน้อย (ไม่ว่าจะในมิติ
ทางเพศสภาพ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์) ในสัดส่วนท่ีเหมาะสม ในบาง

15อดีต ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

16

ประเทศมีการกาหนดให้กลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองในท้องถ่ิน
ต้ อ ง เ ส น อ ร า ย ช่ื อ ผู้ ส มั ค ร ที่ เ ป็ น ผู้ ห ญิ ง คิ ด เ ป็ น สั ด ส่ ว น เ ท่ า กั บ ผู้ ช า ย
(เช่นในฝรั่งเศส) นอกจากโควตาชนกลุ่มน้อยในเชิงวัฒนธรรมทาง
ศาสนาและชาติพันธ์ุแล้ว บางประเทศยังกาหนดโควตากลุ่มในทาง
เศรษฐกิจ เช่น กลุ่มอาชีพที่มีความสาคัญต่อเศรษฐกิจในพื้นที่น้ันๆ
เช่น ชาวนา แรงงานรบั จา้ ง6

หากจะนาระบบโควตามาใช้ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบ
เลือกตั้งท้องถ่ินอย่างขนานใหญ่ คือ จาเป็นต้องนาระบบเลือกตั้งแบบ
สดั สว่ นแบบระบบปารต์ ลี้ สิ ตม์ าใช้ในการเลือกต้ังท้องถ่นิ ซ่ึงมีใชใ้ นหลาย
ประเทศ ทั้งน้ี ระบบเลือกตั้งแบบปาร์ตีล้ ิสต์เป็นระบบท่ีต้องอาศัยพรรค
การเมือง ซ่ึงหมายความว่า เราต้องอนุญาตให้พรรคการเมืองเข้ามา
มีส่วนรว่ มในการเลอื กตั้งท้องถ่นิ ได้อย่างเป็นทางการและเปดิ เผย

การทาเช่นนี้มีท้ังข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียคือ ความหว่ันเกรงว่า
พรรคการเมืองจะผูกขาดอานาจได้ท้ังในระดับชาติและท้องถ่ิน แต่ข้อดี
น้ันมีหลายประการ คือ ทาให้พรรคการเมืองมีฐานยึดโยงกับฐานราก
ในระดับท้องถ่ินมากขึ้น และในระยะยาวจะเปิดโอกาสให้สังคมไทย
สามารถสร้างหรือสรรหาผู้นาระดับชาติข้ึนมาจากผู้นาท้องถิ่นได้ ดังที่
หลายประเทศในโลกกระทา เช่น ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอินโดนีเซีย
นายโจโค วิโดโด เป็นตัวอย่างท่ีเด่นชัด ทั้งนี้ เราอาจวิเคราะห์ได้ว่า

66 สสา�ำหหรรับับระรบะบบโบคโวคตวาตดารู าดยูรงาายนงขาอนงขIDอEงAID20E0A5 จ2า0ก0ป5ระจสาบกกปารรณะส์คบวากมาสราณเร์ค็จวในากมาสร�ำเพเริ่ม็จ
สในดั กส่วานรเผพหู้ มิ่ ญสิงัดแสล่วะชนนผกูห้ ลญุ่มิงนแอ้ ลยะในชกนลก่มุ ลปุ่มรนะเ้อทยศใแนอกฟลร่มุกิ าประเทศแอฟรกิ า

16 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

17

ส่วนหนึ่งของวิกฤตการเมืองไทยในปัจจบุ ันนั้นเป็นวกิ ฤตของการนาทาง
การเมือง (crisis of political leadership) คือเราขาดแคลนผู้นาและ
การนาทางการเมืองที่มีคุณภาพในระดับชาติ เราไม่สามารถมีผู้นา
รุ่นใหม่ข้ึนมาแทนที่ได้เพราะพรรคการเมืองขาดความเข้มแข็งและมี
ประสทิ ธภิ าพในการสรา้ งบคุ ลากรของตนเองอยา่ งต่อเน่ือง

ในเร่ืองพรรคการเมือง เราอาจจะพิจารณาถึงการสนับสนุน
พรรคการเมืองให้เติบโตในสองแนวทาง คือ หนึ่ง ให้พรรคการเมือง
ระดับชาติลงมามีบทบาทเชื่อมต่อกับการเมืองท้องถ่ินอย่างชัดเจนเป็น
ระบบ หรอื สอง เนน้ การสร้างพรรคการเมืองท้องถ่ินให้เตบิ โต (ดงั ที่พบ
ในประเทศญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย เป็นต้น) โดยอนุญาตให้มีการจด
ทะเบียนพรรคการเมืองท้องถิ่นท่ีเน้นทากิจกรรมในการเลือกต้ังระดับ
ท้องถ่ินเป็นหลัก ข้อดีคือ ถ้าพรรคการเมืองท้องถ่ินเข้มแข็ง ก็จะเป็น
ทางเลือกให้กับประชาชนและสามารถถ่วงดุลกับพรรคระดับชาติได้
กล่าวคอื ทาให้การตอ่ สู้การเมอื งระดบั ชาติเปน็ เรือ่ งของพรรคระดับชาติ
แตก่ ารแข่งขันในระดบั ท้องถิ่นเป็นเรื่องของพรรคท้องถิ่นที่มีความเข้าใจ
ความผูกพันทางสังคม รู้ปัญหาของท้องถิ่นอย่างลึกซ้ึง และนาเสนอ
นโยบายท่ีตอบสนองปัญหาของท้องถ่ินได้ดี ในระยะยาวแล้ว การมี
พรรคการเมืองท้องถ่ินที่เข้มแข็งจะป้องกันไม่ให้นักการเมืองระดับชาติ
คนใดคนหนง่ึ สามารถเขา้ มาครอบงาการเมืองท้องถ่นิ ได้7

77 สสาำ� หหรรบั บั ปประรเะดเน็ ดค็นวคาวมาสมัมสพัมนั พธร์นั ะธหร์ วะา่ หงพวา่รรงคพกรารรคเมกอืางรเกมาือรงเลือกกาตรเ้ังลแือลกะตก้ังารสแรลา้ ะงการสรา้ ง
ปปรระะชชาาธธิปิปไตไตยยดดูงางู นาขนอขงอDงaDltoanlt,oFna,rrFelal,rraenldl,MacnAdllisMtecrA2l0l1is3t.er 2013.

17อดีต ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

18

ข้อดีของพรรคการเมืองท้องถิ่นคือ จะทาให้การแข่งขันเชิง
นโยบายเกิดได้ง่ายข้ึนและมีความต่อเนื่องมากขึ้น และจะส่งเสริมให้
นักการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัตแิ ละฝ่ายบริหารมีการทางานทปี่ ระสานกนั
อยา่ งเปน็ ระบบมากขน้ึ ประชาชนกจ็ ะมขี อ้ มลู ท่ีชดั เจนโปร่งใสวา่ ผู้สมัคร
ต่างๆ นาเสนอแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่แตกต่างกันอย่างไร ในขณะ
ท่ีสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้เราจะไม่ส่งเสริมให้ผู้สมัครสังกัดพรรค
แต่ในทุกจังหวัดพรรคการเมืองระดับชาติก็เข้ามามีบทบาทอยู่เบ้ืองหลัง
ผู้สมัครต่างๆ อย่างมิอาจปฏิเสธได้ และผู้สมัครจานวนมากต่างก็วิ่งเข้า
หาการสนับสนุนจากพรรคการเมืองในลักษณะที่ไม่เปิดเผยชัดเจนต่อ
ประชาชน อยา่ งไรก็ตาม แม้วา่ จะมีพรรคการเมืองท้องถน่ิ แลว้ กฎหมาย
ก็ควรเปดิ ใหผ้ ู้สมัครอสิ ระสามารถลงสมัครได้เช่นกัน

สรปุ

วงวิชาการไทยด้านการเมืองท้องถิ่นและการกระจายอานาจ
มี ค ว า ม ก้ า ว ห น้ า ไ ป ม า ก ใ น ร อ บ ส อ ง ท ศ ว ร ร ษ ที่ ผ่ า น ม า ใ น ก า ร ผ ลิ ต
องค์ความรู้ใหม่ และเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวสู่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม
ประเด็นสาคัญท่ีขาดหายไปในองค์ความรู้ดังกล่าวน้ันคือ ประเด็น
การศึกษาวิจัยเก่ียวกับการออกแบบกระบวนการและระบบการเลือกตงั้
ท้องถ่ินให้มีความเหมาะสม เพ่ือทาให้ได้ผู้แทนที่หลากหลายและมี
คุณภาพ เพ่ือสร้างการมีส่วนร่วมและเพ่ิมอานาจในการตรวจสอบของ
ประชาชน เพื่อลดการทุจริตคอร์รัปช่ันในระดับท้องถ่ินและทาให้

18 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

19

การเมืองท้องถ่ินตอบสนองประชาชนอย่างแท้จริง การออกแบบ
กระบวนการและระบบการเลือกตั้งที่ดีถือเป็นกลไกสาคัญที่จะบรรลุ
เป้าหมายดังกล่าว เป็นเวลานานแล้วที่สังคมไทยปล่อยให้การเลือกต้ัง
ท้องถ่ินมีสภาพหยุดน่ิงอยู่ที่เดิม และขาดการพัฒนานวัตกรรมการ
ออกแบบเชิงสถาบันในระดับท้องถิ่น (local institutional design)
ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของการเมืองระดับชาติ
และพลวัตของโลก ประเด็นที่ผู้เขียนนาเสนอในบทความช้ินนี้ถือเป็น
เพียงจุดเริ่มต้นเพื่อจุดประกายให้เกิดการถกเถียงและค้นหาแนวทาง
ท่ีเหมาะสมในการปฏิรูปการเลือกตั้งท้องถ่ินของไทยให้ดีย่ิงข้ึนกว่า
ทีเ่ ป็นอยใู่ นสภาพปจั จบุ นั

19อดตี ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

บรรณานุกรม

เกวลี ศรหี ะมงคล. (2556), ธรรมนญู หมบู่ า้ นเรอ่ื งการเลอื กตง้ั กรณศี กึ ษา
หมบู่ า้ นเสยี งแคน อำ� เภอดอกคนู จงั หวดั นครพนม. วทิ ยานพิ นธ์
รฐั ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรฐั ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร.์
ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2556). เลือกต้ังไม่นองเลือด: ความรุนแรง
ประชาธิปไตย กบั การเลือกตง้ั . 3 กรกฎาคม 2554. กรุงเทพฯ:
โครงการจดั พมิ พค์ บไฟ.
ณัฐกร วิทิตานนท์. (2553). การลอบสังหารในการเมืองท้องถิ่นไทย:
บทส�ำรวจ ‘ตัวเลข’ ขั้นต้นในรอบทศวรรษ (พ.ศ. 2543-
พ.ศ. 2552). วารสารสถาบพั ระปกเกล้า 8, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2553):
41-54.
วสันต์ ปัญญาแก้ว. (บก.) (2555), การเมือง-ประชาธิปไตยในท้องถ่ิน
ภาคเหนอื . เชยี งใหม:่ ศนู ยว์ จิ ยั และบรกิ ารวชิ าการ คณะสงั คมศาสตร์
มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม.่
เวียงรัฐ เนติโพธิ.์ (2555). พลวตั รของการเมืองในระบอบการเลือกตั้ง
และผลต่อความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่นไทย. รายงาน
การวิจัยในชดุ โครงการทบทวนภมู ิทัศน์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ:
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),
แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพ่ือการ
พัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.), สถาบันศึกษานโยบาย
สาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (PPSI).

20 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

สุนทรชัย ชอบยศ และรจนา คำ� ดีเกิด. (2556). การเมอื งภาคพลเมอื ง:
การถอดถอนผบู้ รหิ ารทอ้ งถน่ิ ทป่ี ระสบความสำ� เรจ็ ในประเทศไทย.
รัฐสภาสาร 61, 5 (2556): 9-43.
อลงกรณ์ อรรคแสง. (2552). ผลกระทบอนั เกิดจากการเลอื กต้งั นายก
เทศมนตรีทางตรง: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม.
วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 7: 3 (กนั ยายน – ธันวาคม 2552).
อภชิ าต และคณะ. (2556). ทบทวนภูมิทัศนก์ ารเมืองไทย. รายงานการ
วิจัยในชุดโครงการทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ:
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),
แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการ
พัฒนานโยบายสาธารณะท่ีดี (นสธ.), สถาบันศึกษานโยบาย
สาธารณะ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่ (PPSI).
เอนก เหลา่ ธรรมทัศน.์ (2550). สองนคราประชาธปิ ไตย: แนวทางปฏิรปู
การเมอื ง เศรษฐกจิ เพอ่ื ประชาธปิ ไตย. พมิ พค์ รง้ั ที่ 6 .กรงุ เทพฯ:
คบไฟ,
Achakorn Wongpreedee (2007). Decentralization in Thailand,
1992-2006: Its Effect on Local Politics and Administration,
Ph.D. Dissertation, Graduate School of Asian and African
Area Studies, Kyoto University.
Askew, Marc. (2008). Performing Political Identity: The Democrat
Party in Southern Thailand (Chiang Mai: Silkworm
Books, 2008).

21อดีต ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

Baldini, Gianfranco and Adriano Pappalardo. (2009). Elections,
Electoral Systems and Volatile Voters. (Palgrave
Macmillan).
Borraz, O. and John, P. (2004). The transformation of urban
political leadership in Western Europe. International
Journal of Urban and Regional Research 28, 1 (2004):
107–120.
Bowie, Katherine. (2008). Vote Buying and Village Outrage
in an Election in Northern Thailand: Recent Legal
Reforms in Historical Context. The Journal of Asian
Studies 67, 2: 469 – 511.
Cox, Gary W. and Jonathan N. Katz. (2002). Elbridge Gerry’s
Salamander: The Electoral Consequences of the
Reapportionment Revolution. (Cambridge University
Press).
Dalton, Russell, David M. Farrell, and Ian McAllister. (2013).
Political Parties and Democratic Linkage: How Parties
Organize Democracy. (Oxford University Press; Reprint
edition).
Engstrom, Erik J. and Samuel Kernell. (2014). Party Ballots,
Reform, and the Transformation of America’s Electoral
System. (Cambridge University Press).

22 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

Evans, Matt. (2014). Democracy, Legitimacy and Local
Government Electoral Reform. Local Government
Studies 40, 1 (2014): 41–63.
Farrell, David. (1997). Electoral Systems: A Comparative
Introduction. (Palgrave Macmillan).
International Idea. (2005). The Implementation of Quotas:
African Experiences. (International IDEA Quota Reports
series).
Leach, Robert, Bill Coxall, and Lynton Robins. (2011). British
Politics (Palgrave Macmillan; Second edition).
Mana Khunweechuay. (2003), Chum jon haeng lum nam
thalesap songkhla pho so 2437-2465. [Bandit gangs
of the Songkhla lakes basin] M.A. thesis, Silpakorn
University).
Nishizaki, Yoshinori. (2011). Political Authority and Provincial
Identity in Thailand: The Making of Banharn-buri
(Ithaca, N.Y.: Cornell University).
Prajak Kongkirati. 2013. Bosses, Bullets and Ballots: Electoral
Violence and Democracy in Thailand, 1975–2011.
PhD Thesis, Australian National University.http://www.
amazon.com/Andrew-Reynolds/e/B001HCVN3I/ref=dp_
byline_cont_book_1

23อดีต ปัจจุบนั และอนาคตของการเลือกตัง้ ท้องถิ่นไทย

Reynolds, Andrew, Ben Reilly, and Andrew Ellis (eds.). (2005).
Electoral System Design: The New International IDEA
Handbook. (International IDEA).
Saiz, Martin and Hans Geser. (1999), Local Parties In Political
and Organizational Perspective. (Westview Press).
Schimpp, Michele and Aud Frances McKernan. (2001), Election
and Conflict: An Issue Paper. December 5, 2001
(Elections and Political Processes Division DCHA/DG
USAID) (unpublished manuscript).
Steiner, Kurt and Ellis S. Krauss (eds.) (2014), Political Oppo
sition and Local Politics in Japan (Princeton University
Press).
Thomas, M. Ladd. (1975), Political Violence in the Muslim
Provinces of Southern Thailand (Singapore: ISEAS).
Walker, Andrew. (2012). Thailand’s Political Peasants: Power
in the Modern Rural Economy. (Wisconsin: The
University of Wisconsin Press).
Wollmann, H. (2008). Reforming local leadership and local
democracy: the cases of England, Sweden, Germany
and France in comparative perspective, Local
Government Studies 34, 2 (2008): 279–298.

24 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

1

พรรคการเมอื งและการเลือกตั้งทอ้ งถิ่น: ความสมั พันธ์
และแนวโน้มในอนาคต

ธวัชชยั วรกิตตมิ าลี1

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้สร้าง
ปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยท่ีสาคัญหลายประการ ในเหตุการณ์เหล่าน้ัน
มีเหตุการณ์ท่ีถือเป็นแรงกระเพ่ือมและก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงต่อ
การปกครองท้องถิ่น 2 ประการ ประการแรก คือ การส่งเสริมการ
กระจายอานาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน (อปท.) อย่างเป็นรูปธรรม
โดยได้มีการตรา พ.ร.บ. กาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจ
ให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 ภายใต้ พ.ร.บ. ดังกล่าว นอกจากจะมีการวาง
ระบบข้ันตอนการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณสู่ อปท. อย่างชัดเจน
ซ่ึงถือว่าเป็นข้ันตอนหนึ่งในกระบวนการการกระจายอานาจ ในแบบสากล
แล้วการเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถ่ินทางตรงก็เป็นอีกหน่ึง
ความพยายามท่ีจะส่งเสริมให้การปกครองท้องถิ่นของไทยมีกระบวนการ
ท่ีเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ข้อเสนอในการใช้ระบบการเลือกตั้ง
ทางตรง เช่นเดียวกับระบบการเลือกต้ังประธานาธิบดีของสหรัฐฯ

11 ดร. ธธววัชัชชชยั ัยวรวกรติกติ มิตาิมลาี ลอีาอจาจรยาป์รยร์ะปจราะสจา�ำขสาากขาารกราะรหรวะ่าหงปว่ารงะปเทรศะเวทิทศยาวลิทัยยาลัย
นานาชาติ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

25พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถิ่น: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโนม้ ในอนาคต

2

ได้ถูกหยิบยกมาใช้เพ่ือแทนระบบการสรรหาผู้บริหาร อปท. แบบเดิม
ท่ีต้องผ่านการเสนอช่ือของสมาชิกสภา อปท. อีกชั้นหนึ่ง โดยท่ี
ประชาชนในท้องถ่ินไม่มีสิทธิ์เลือกผู้แทนของตนเข้ามาโดยตรง อีกท้ัง
ระบบดังกล่าวยังก่อให้เกิดปัญหาเร่ืองการล็อบบี้ ในกลุ่มพวกพ้องอยู่
บ่อยครั้ง การเลือกต้ังผู้บริหารท้องถ่ินทางตรงจึงเป็นทางออกท่ีคาดว่า
จะช่วยแก้ปัญหาเหล่าน้ีได้ ดังน้ันการเลือกตั้งนายก อบจ. คร้ังแรก
จึงมีข้ึนในปี พ.ศ. 2546 ท่ีจังหวัดบุรีรัมย์ และได้จัดให้มีการเลือกตั้ง
ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2547 ซ่ึงนับว่าเป็นความสาเร็จในอีกขั้นหนึ่ง
ของการกระจายอานาจสอู่ งค์กรปกครองท้องถ่ินของประเทศไทย

ประการที่สอง คือ การเสริมสร้างให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง
มากขน้ึ โดยเปลยี่ นระบบการเลอื กต้ังท่ีให้ความสาคญั กับพรรคการเมือง
(party-based elections) มากกวา่ การเลือกตั้งทเี่ น้นตัวผู้สมัคร (candidate-
based elections) เพียงอย่างเดียว โดยระบบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 ได้มีการนาระบบการเลือกต้ังแบบปาร์ต้ีลสิ ต์ มาใช้ควบคู่กับ
การเลอื กตงั้ แบบแบ่งเขตแบง่ คน (Single-member district) หรอื เรียก
อีกอย่างว่าระบบการเลือกต้ังแบบผสม (mixed system) ซึ่งระบบดังกล่าว
พรรคการเมืองจะต้องมีการแข่งขันเชิงนโยบายในนามของพรรคมากขนึ้
เพื่อได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนท่ัวประเทศ ซ่ึงแตกต่างจากระบบ
เลือกต้ังแบบเดิมที่ผู้สมัคร ส.ส. จะสร้างบารมีในพื้นที่ของตนเพียง
อย่างเดียว นอกจากนี้ภายใต้ระบบพรรคการเมืองที่เข้มแข็งดังกล่าว
ได้ เกิ ดปรากฏการณ์ ที่ ถื อเป็ นหมุ ดหมายท่ี ส า คั ญ ข อ ง ก า ร เ มื อ ง ไ ท ย

26 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

3

คือกระแสความนิยมของพรรคไทยรักไทยที่สามารถกวาดคะแนนเสียง
จากประชาชนในพ้ืนท่ีท่ัวประเทศได้อย่างท่วมท้นเป็นประวัติการณ์
ในการเลอื กตง้ั ทั่วไป พ.ศ. 2544 ความนยิ มในตวั ผนู้ าพรรคและนโยบาย
แบบประชานิยม (Populist policy) ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง
ต้ังแต่การเลือกต้ังครั้งน้ันเป็นต้นมา กระแสความนิยมของพรรค
การเมืองดังกล่าว ไม่เพียงแต่ส่งอิทธิพลต่อการเมืองในระดับชาติ แต่ยัง
ส่งผลมาถึงการเมืองในระดับท้องถิ่น ผ่านการเลือกต้ังผู้บริหารท้องถิ่น
คร้ังแรกของประเทศไทย โดยเฉพาะการเลือกต้ังนายก อบจ. ใน 75
จังหวดั ของประเทศไทย

บทความน้ีผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายท่ีจะชี้ให้เห็นถึงบทบาทของ
พรรคการเมืองต่อการเลือกต้ังท้องถ่ิน ซึ่งวิเคราะห์ผ่านแนวคิดการ
ยึดโยงกับพรรคการเมือง (Partisanship) โดยในส่วนแรก จะเป็นการ
ยกกรณศี ึกษาของตา่ งประเทศ เพอื่ ใหเ้ หน็ บทบาทของพรรคการเมืองใน
บริบทของการเลือกต้ังท้องถ่ิน ซึ่งกรณีศึกษาที่หยิบยกมา คือ ประเทศ
อินโดนีเซียและญ่ีปุ่น ส่วนท่ีสอง จะอธิบายถึงกรณีการเลือกต้ังท้องถิ่น
ของประเทศไทย ซ่ึงมีการเลือกตั้งทางตรงทั้งหมด 4 ครั้ง คือ พ.ศ.
2546-47 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้การอธิบายเร่ือง
การยึดโยงกับพรรคการเมืองในไทย จะใช้กรณีศึกษาเพียงการเลือกตั้ง
นายก อบจ. เทา่ นั้น เนอ่ื งจากเป็น อปท. ระดบั บนสดุ ทมี่ ที รพั ยากรและ
งบประมาณที่จะดึงดูดให้พรรคการเมืองเข้ามามีบทบาทได้ อีกทั้ง
ในส่วนน้ีจะแสดงให้เห็นถึงการเปล่ียนแปลงของบทบาทของพรรคการเมือง

27พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถิ่น: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโนม้ ในอนาคต

4

ท่ีมีต่อการเลือกต้ังท้องถิ่นในแต่ละช่วง และในส่วนสุดท้าย ผู้เขียนจะ
วิเคราะห์แนวโน้มในประเด็นพรรคการเมืองกับการเลือกต้ังท้องถิ่น
เพือ่ ใหเ้ หน็ ถึงทศิ ทางในอนาคตของประเด็นดงั กล่าว

พรรคการเมืองและการเลือกตั้งท้องถิ่น: กรณีศึกษาประเทศ
อินโดนเี ซียและญ่ปี นุ่

การสนับสนุนของพรรคการเมืองต่อการลงสมัครรับเลือกตั้ง
ท้องถ่ินถือเป็นเร่ืองปกติท่ัวไปในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มี
พรรคการเมืองเข้มแข็งและมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น เช่น ในสหรฐั ฯ
และสหราชอาณาจักร พรรคการเมืองต่างช่วงชิงพ้ืนท่ีทั้งการเมืองใน
ระดับชาติและระดับท้องถ่ิน กรณีท่ีน่าสนใจอีกประเทศหนึ่งคือ
อินโดนีเซยี ซ่ึงมกี ารจัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิน่ โดยตรงคร้ังแรก
ในห้วงเวลาเดียวกับในประเทศไทย และถือเป็นกรณีศึกษาท่ีสามารถ
เทียบเคียงกับไทยได้ในประเด็นของการเข้ามามีบทบาทของพรรค
การเมอื งตอ่ การเลอื กต้ังทอ้ งถ่ินในระยะแรก

งานท่ีศึกษาเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถ่ินในอินโดนีเซียหลายชิ้น
เห็นตรงกันว่า ในการเลือกตั้งท้องถิ่นคร้ังแรกที่จัดขึ้นในอินโดนีเซียในปี
ค.ศ. 2001 ซ่ึงถึงแม้จะเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม แต่นับว่ามีการ
เปล่ียนแปลงเครือข่ายทางการเมืองท้องถ่ินผ่านการสนับสนุนการลง
สมัครรับเลือกตั้งท้องถ่ินของพรรคการเมืองหลัก (Choi, 2004; Choi,
2007; Buehler & Tan, 2007 และ Meitzner, 2010) กระบวนการ

28 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

5

กระจายอานาจของอนิ โดนีเซยี พฒั นาอย่างเปน็ รูปธรรมหลังจากท่ีได้โค่น
ล้มอานาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โตลงในปี ค.ศ. 1998 และมีการ
ปฏิรูปในด้านต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยและ
การกระจายอานาจสู่ อปท.

Choi (2004, pp. 280–301) ได้ศึกษาการเลือกต้ังผู้นาท้องถิ่น
ในยุคหลังซูฮาร์โต โดยเฉพาะในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง
ระบบพรรค กบั การเลือกต้งั นายกเทศมนตรีของเมือง Yokyakarta ในปี
ค.ศ. 2001 ซ่ึงได้พบว่าความสัมพันธ์และเครือข่ายทางการเมืองมี
บทบาทอย่างมากในทุกกระบวนของการเลือกตั้งท้องถิ่น นับตั้งแต่
กระบวนการคัดเลอื กผู้ลงสมัคร ซึ่งผู้สมัครใดที่ต้องการจะดารงตาแหนง่
นายกเทศมนตรีหรือรองนายกฯ จะต้องมีความสัมพันธ์ท่ีเข้มแข็งกับ
พรรคการเมือง รวมไปถึงการหาเสียงในพื้นที่ ก็ต้องขอรับการสนับสนุน
จากสมาชิกพรรค เน่ืองจากการจะดารงตาแหน่งนายกเทศมนตรีได้
จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภา ซึ่งล้วนแต่เป็นคนของพรรค
การเมืองหรือกลุ่มการเมือง ท้ังส้ิน ดังนั้นในการเลอื กต้ังผู้นาท้องถิน่ โดย
อ้อมของอินโดนีเซีย จึงหลีกเล่ียงไม่ได้ท่ีจะมีความเกี่ยวโยงกับเรื่องเงิน
หรือสินบนในการได้มาซ่งึ ตาแหน่ง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2005 ซงึ่ ถือเป็น
หมดุ หมายแห่งการเปลี่ยนแปลงการเมืองท้องถ่ินของอินโดนีเซียท่ีสาคัญ
เน่ืองจากมีการใช้ระบบการเลือกตั้งผู้นาท้องถิ่นโดยตรง เป็นคร้ังแรก
และจากการศึกษาของ Choi (2007, pp. 326-345) พบว่าอิทธิพลของ
พรรคการเมืองในการเลือกตั้งท้องถ่ินลดน้อยลง ซึ่งแม้ว่ากระบวนการ

29พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถิ่น: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโน้มในอนาคต

6

ในการคัดเลือกผู้สมัครลงเลือกตั้งท้องถ่ินยังดาเนินการโดยพรรค
การเมืองระดับชาติ แต่บทบาทในการช่วยหาเสียงหรือแม้กระท่ังปัจจัย
ทจี่ ะทาใหต้ ัวผสู้ มคั รชนะการเลอื กตงั้ กลับลดน้อยลง

เช่นเดียวกับ Buehler & Tan (2007, pp. 41–69) ที่เห็นพ้อง
กับข้อค้นพบของ Choi (2007) โดย Buehler & Tan เสนอว่าการเลือกต้ัง
ท้องถ่ินทาให้พรรคการเมืองอ่อนแอลงในบริบทของการเมืองท้องถิ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและผู้ลงสมัคร (Party-candidate
relationship) ท่ีเคยเข้มแข็งในอดีต กลับอ่อนแอลงไปหลังจากที่นา
ระบบการเลือกตั้งโดยตรงมาใชก้ ับท้องถิ่น เนื่องจากผู้สมัครต่างผันตัวท่ี
จะเป็นผู้สมัครอิสระมากกว่าที่จะสังกัดพรรคการเมือง ปรากฏการณ์
ดังกลา่ ว Meitzner (2010) อธิบายว่า เนอ่ื งจากการเลือกต้งั โดยตรงของ
ท้องถิ่น เป็นกระบวนการท่ีมอบอานาจการตัดสินใจไปยังประชาชนผู้มี
สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งมักจะตัดสินใจบนพ้ืนฐานของความน่าเช่ือถือของ
ผู้สมัคร รวมถึงคาม่ันสัญญาท่ีให้ผู้สมัครให้ไว้ อันจะส่งผลต่อความ
เป็นอย่ทู ี่ดขี องประชาชนโดยตรง

จากกรณีศึกษาของอินโดนีเซียจะเห็นได้วา่ การเมืองท้องถ่ินใน
อินโดนีเซียมีการยึดโยงกับพรรคการเมืองสูงในช่วงแรกท่ีมีการเลือกต้ัง
ท้องถ่ินโดยอ้อม เนื่องจากเครือข่ายทางการเมืองมีความสาคัญต่อการ
ได้มาซึ่งตาแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น ดังน้ันความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง
ท้องถ่ินและพรรคการเมืองจึงมีลักษณะที่แน่นแฟ้น อย่างไรก็ตาม

30 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

7

เมื่อมีการนาระบบการเลือกต้ังผู้บริหารทางตรงมาใช้ พบว่าผู้สมัคร
เลือกต้ังท้องถิ่นมีความเป็นอิสระจากการเมืองระดับชาติและพรรค
การเมืองค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ใช้สิทธิ์เลือกต้ังมีแนวโน้มท่ีจะตัดสินใจ
เลือกผู้บริหารท้องถิ่นจากผู้ตัวสมัครเอง มากกว่าท่ีจะเลือกผู้สมัคร
โดยตัดสินใจจากพรรคการเมอื งที่สงั กดั

การเลือกตั้งท้องถ่ินของญี่ปุ่นเองก็เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ในประเด็นที่ว่าพรรคการเมืองมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นทั้งในสนาม
การเลือกตั้งระดับประเทศและสนามในระดับท้องถิ่น การกระจาย
อานาจสู่ อปท. ของญีป่ นุ่ มีความชัดเจนอย่างมากในช่วงหลงั สงครามโลก
ครั้งที่ 2 เนื่องจากการกระจายอานาจเป็นจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งของ
คณะผู้ยึดครองฝ่ายสัมพันธมิตรท่ีเข้ามาปฏิรูป เพ่ือลดการรวมศูนย์
อานาจไว้ท่ีส่วนกลางอันจะเอ้ือให้มีการใช้อานาจโดยมิชอบดังเช่นช่วง
กอ่ นสงครามโลกคร้งั ที่ 2

ดังน้ันประเด็นเร่ืองการกระจายอานาจสู่ อปท. จึงได้บรรจุอยู่
ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ค.ศ. 1947 ซึ่งไม่เคยปรากฎในรัฐธรรมนูญ
ค.ศ. 1889 ทเี่ ร่ิมใชม้ าตั้งแตส่ มยั เมจิ

การปฏิรูปทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 มีเป้าหมาย
สาคญั 2 ประการ ประการแรก มุง่ ลดบทบาทของทหารและฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมลง และประการที่สอง มุ่งเสริมสร้าง
ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในประเทศญ่ีปุ่น ด้วยการคืนอานาจอธิปไตย

31พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถ่ิน: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโนม้ ในอนาคต

8

สู่ปวงชน และลดสถานะของสถาบันจักรพรรดิลงให้เป็นเพียงสัญลักษณ์
และความสามัคคีของคนในชาติ นอกจากน้ี ในกระบวนการสร้าง
ประชาธิปไตยของญี่ปุ่นเอง ยังได้เน้นการกระจายอานาจสู่ อปท. ซึ่งถือ
เป็นหน่วยปกครองขนาดเล็กท่ีสุดท่ีใกล้ชิดกับประชาชน โดยได้บัญญัติ
“หลักการปกครองตนเองของท้องถ่ิน” และการกระจายอานาจสู่ อปท.
ไว้ในหมวดที่ 8 เร่อื งการปกครองตนเองของท้องถ่ิน ในรัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจบุ นั อย่างชัดเจน (ธวชั ชัย, 2561, น.201-214)

ระบบบริหารราชการแผ่นดินของญ่ีปุ่นมีเพียง 2 ระดับ คือ
การบริหารราชการส่วนกลาง และการบริหารราชการส่วนท้องถ่ิน ซ่ึง
กฎหมายปกครองตนเองของท้องถ่ิน ได้บัญญัติให้หน่วยการปกครอง
ท้องถิ่นรูปแบบท่ัวไปมี 2 ระดับ คือ ระดับบน ได้แก่ จังหวัด (Prefectures)
และระดับล่าง ได้แก่ เทศบาล (Municipalities) จังหวัดและเทศบาล
จะมีอานาจหน้าท่ีท่ีเป็นอิสระต่อกัน โดยมีผู้ว่าฯ และ นายกเทศมนตรี
เป็นหัวหนา้ ฝา่ ยบริหารซง่ึ ได้รบั การเลือกตงั้ โดยตรงจากประชาชน

การเลือกต้ังในระดับชาติของญ่ีปุ่นมีลักษณะท่ีโดดเด่นต่างจาก
หลาย ๆ ประเทศ กล่าวคือระบบพรรคการเมืองของญี่ปุ่น เป็นระบบ
แบบพรรคเด่ียวครอบงา ซึ่งพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic
Party: LDP) ถือเป็นพรรคการเมืองเดียวท่ีได้รับเสียงข้างมากมาอย่าง
ยาวนาน โดยพรรคการเมืองคู่แข่งสามารถชนะการเลือกต้ังและจัดตั้ง
รัฐบาลเพียงไม่ก่ีคร้ังในประวัติศาสตร์การเมืองของญ่ีปุ่นนับตั้งแต่หลัง

32 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

9

สงครามโลกครั้งที่สองท่ีมีการปฏิรูปการเมืองเป็นต้นมา นอกจากนั้น
พรรค LDP ก็สามารถชนะการเลือกตั้งเสียงข้างมากและจัดตั้งรัฐบาล
มาได้โดยตลอด เหตุผลสาคัญท่ีทาให้พรรค LDP สามารถเอาชนะใจ
ประชาชนมาตลอดเนื่องจากสมาชิกพรรคที่มีความเข้มแข็ง การกาหนด
และปรับเปลี่ยนนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
ตรงจุด การใช้ข้อได้เปรียบในการเป็นรัฐบาลเพื่อกาหนดยุทธศาสตร์
ในการเลือกตั้งได้ และสุดท้าย การวางเครือข่ายทางการเมืองในทุก
ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจหรือแม้กระท่ัง
เครือข่ายประชาชนอาชพี ต่าง ๆ ในประเทศเอง (ไชยวฒั น์, 2559)

ความสาเร็จของพรรค LDP ในการเมืองระดับชาติ ได้ส่งผลไป
ถึงการแข่งขันในการเลือกต้ังท้องถ่ินด้วยเช่นเดียวกัน พรรค LDP
พยายามวางตัวผู้สมัครในนามของพรรคการเมืองในหลายจังหวัด
เพื่อต้องการท่ีจะช่วงชิงพ้ืนท่ีทางการเมืองในระดับท้องถิ่นให้ได้
เช่นเดียวกับการครองเสยี งข้างมากในการเมืองระดับชาติ อย่างไรก็ตาม
การยึดโยงกับพรรคการเมือง ในการเมืองท้องถิ่นของญี่ปุ่นนั้นค่อนข้าง
แตกต่างจากการเมืองระดับชาติ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กาหนดให้
ผู้สมัครเลือกต้ังต้องสังกัดพรรคการเมือง นอกจากน้ัน Hijino (2013, pp.
63–85) ได้อธิบายว่า อิทธิพลของพรรคการเมืองในการเมืองท้องถ่ิน
จะแตกต่างกันตามขนาดของชุมชน และระดับความเป็นเมือง กล่าวคือ
ชุมชนที่ใหญ่และมีความเป็นเมืองสูง ก็มักจะดึงดูดให้พรรคการเมือง
ลงไปเล่นการเมืองในพ้ืนท่ี ทาให้เกิดความขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่าง

33พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถิ่น: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโน้มในอนาคต

10

พรรคการเมืองค่อนข้างสูง ซ่ึงต่างจากชุมชนขนาดเล็กและความเป็น
ชนบท การแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองในพื้นท่ีก็จะน้อยตามไป
นอกจากนี้ ปัจจัยเร่ืองจานวนผู้ลงสมัครในแต่ละพื้นท่ีเอง ก็เป็นตัว
กาหนดการยึดโยงกับพรรคการเมืองในพื้นท่ี โดยเฉพาะจังหวัดใหญ่
ท่ีเจริญมาก จานวนผู้ลงสมัครรับเลือกต้ังที่หวังผลจะเข้าไปมีบทบาท
ในการจัดการจังหวัดก็มีมากเช่นเดียวกัน ผู้สมัครแต่ละคนจึงหากลยุทธ์
ในการเอาชนะคู่แข่งขัน ด้วยการลงสมัครในนามพรรคการเมือง
เพอ่ื สรา้ งขอ้ ไดเ้ ปรียบต่อคแู่ ขง่ ทางการเมอื งอนื่

ปัจจุบัน แนวโน้มการยึดโยงพรรคการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่น
ในประเทศญ่ีปุน่ ลดลงอยา่ งต่อเน่ือง ซึ่งสะทอ้ นจากจานวนผู้สมัครอิสระ
ที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง มีจานวนเพ่ิมข้ึนเร่ือย ๆ (Steiner et al., 1980)
ปรากฏการณ์ดังกล่าว Kawamura (2008) ได้ให้เหตุผลว่าการแข่งขัน
ในประเด็นทางการเมืองระดบั ชาติ รวมถงึ ความขดั แย้งด้านอุดมการณ์ที่
ฝังรากในการเมืองระดับชาติของญี่ปุ่นน้ัน ไม่ได้ปรากฏในการเมืองท้องถ่ิน
เท่าใดนัก เนื่องจากนักการเมืองท้องถ่ินของญี่ปุ่นเองต่างแสดงจุดยืน
ของตนในฐานะตัวแทนของคนในพื้นท่ี หรือคนท้องถิ่น ดังนั้นการฝักใฝ่
ไปทางพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง อาจส่งผลกระทบในแง่ลบ
ต่อท้องถ่ินเองได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทาให้จานวนผู้สมัครอิสระ
ในการเมืองทอ้ งถนิ่ ญ่ีปนุ่ เพ่มิ มากข้นึ

34 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

11

ดังน้ัน ในการเลือกต้ังท้องถิ่นของญ่ีปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง
ผู้ว่าฯ หรือนายกเทศมนตรี ก็จะมีทั้งผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง
ท้ังพรรคการเมืองใหญ่และพรรคการเมืองเล็กคละกันไป แต่ในปัจจุบัน
ผู้สมัครอิสระท่ีไม่สังกัดพรรคการเมืองมีแนวโน้มท่ีเพ่ิมสูงขึ้นตามเหตผุ ล
ทอี่ ธิบายข้างตน้

บทบาทของพรรคการเมืองในการเลือกต้ังนายก อบจ.

ในกรณีของประเทศไทย อบจ. ซ่ึงเป็น อปท. ระดับบนสุด
ถือเป็นเป้าหมายหลักของพรรคการเมืองในการเลือกต้ังท้องถิ่นใน
ระยะแรก เพื่อที่จะวางเครือข่ายของตนเข้าไปมีบทบาทในการจัดการ
ท้องถ่ินผ่านการสมัครรับเลือกต้ังท้องถ่ิน นอกจากผลประโยชน์เรื่อง
งบประมาณและโครงการของ อบจ. แล้ว เหตุผลท่ีสาคัญอย่างหนึ่งใน
การท่ีพรรคการเมืองต้องการเข้ามามีบทบาทใน อบจ. นั้นเนื่องจาก
ต้องการสร้างเครือข่ายทางการเมืองที่จะส่งผลต่อการหาเสียงของ ส.ส.
ในพนื้ ทีน่ ้ัน ๆ อบจ. เปน็ อปท. ขนาดใหญ่ในเขตจงั หวดั ท่มี ีงบประมาณ
และทรัพยากรเป็นจานวนมาก หน้าที่อย่างหน่ึงของ อบจ. คือให้สนับสนุน
อปท. ขนาดเล็ก เชน่ อบต. หรอื เทศบาลตาบลในพื้นทจ่ี ังหวดั ในกรณีท่ี
ภารกจิ บางอยา่ งเกินขดี ความสามารถของ อปท. น้นั ๆ และรอ้ งขอมายัง
อบจ. ซึ่งในบางครั้งการพิจารณาใช้งบประมาณดังกลา่ วของ อบจ. ก็อยู่
ในรูปแบบการเอ้ือประโยชน์ต่อเครือข่ายการเมืองท้องถ่ินของตน

35พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถิ่น: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโน้มในอนาคต

12

(Achakorn, 2007) ดังนั้น นักการเมืองท้องถิ่นใน อบจ. เองจะสามารถ
สร้างเครือข่ายของตนผ่านกระบวนการนี้ และหากพรรคการเมือง
สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมืองในเครือข่ายน้ีได้ อันจะ
เปน็ ฐานเสียงในการเลือกตั้งท่วั ไปให้กบั ส.ส. ของพรรคในเขตจังหวดั ได้

การเลือกต้ังนายก อบจ. โดยตรงคร้ังแรกของประเทศไทยในปี
พ.ศ. 2547 มีผู้สมัครจากหลากหลายอาชีพลงสมัครรับเลือกต้ังในครั้งน้ี
ในบรรดาผู้สมัครทั้งหมด 314 คนท่ัวประเทศ ผู้สมัคร 142 คน หรือ
ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ ประกอบอาชีพนักธุรกิจ และในกลุ่มนักธุรกิจ
ดังกล่าวมสี ัดสว่ นที่มากกว่าอดตี นกั การเมืองในพื้นท่ีถึง 2 เทา่ (ธรี พรรณ
ใจมั่น, 2547) และหน่ึงในสี่ของผู้สมัครในกลุ่มนี้ได้รับการเลือกตั้ง
เป็นนายก อบจ. ซ่ึงสะท้อนได้ว่าในส่วนของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเอง
ก็ใช้ประโยชน์จากพรรคการเมืองในการสร้างฐานเสียงและการเป็น
ทีร่ ้จู ักกบั คนในพนื้ ท่เี ชน่ เดยี วกนั

ดังที่กล่าวไปข้างต้น ในการเลือกต้ังนายก อบจ. ในครั้งนั้น
พรรคการเมืองหลกั ๆ ในขณะนัน้ ได้แก่ พรรคไทยรกั ไทย พรรคประชาธิปัตย์
พรรคชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา เป็นต้น ได้สนับสนุนผู้ลงสมัคร
ทงั้ ทางตรงและทางออ้ มทวั่ ประเทศ ดงั จะเหน็ ได้จากตารางท่ี 1

36 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

13

ตารางที่ 1 จานวนผู้สมัครรบั เลือกตง้ั นายก อบจ. ในปี พ.ศ. 2547
ที่ไดร้ บั การสนบั สนุนโดยพรรคการเมือง แยกเปน็ ภูมิภาค

ภูมิภาค/ พรรค ไทยรัก ประชาธิปตั ย์ ชาติ ชาติ ผสม ผสู้ มคั ร รวม
การเมือง ไทย ไทย พัฒนา อิสระ
- 36 65
เหนือ 21 6 1 11 58 91
4 -4 72 113
ตะวันออกเฉียงเหนอื 26 2 - 16 14 45
-2 314
กลาง 26 4 5 180
2 13
ใต้ 11 18

รวม 84 30

อ้างอิง: ธีรพรรณ ใจมน่ั , 2547, รวบรวมโดยผูแ้ ตง่

แม้ว่ากฎหมายการเลือกต้ังจะไม่ได้กาหนดว่าผู้สมัครแต่ละคน
จะต้องสังกัดพรรคการเมือง แต่พรรคการเมืองก็ให้การสนับสนุน
การเลือกต้ังนายก อบจ. ในหลายรูปแบบ เช่นการอนุญาตให้ใช้โลโก้
พรรคการเมือง การถ่ายรูปคู่กับนักการเมืองในพรรคการเมืองหรือ ส.ส.
ที่สังกัดพรรคน้ัน ๆ การข้ึนปราศรัยช่วยหาเสียง หรือการส่งหัวคะแนน
ชว่ ยในการหาเสียง เป็นต้น

หากพิจารณาจากตารางที่ 1 พบว่าพรรคการเมืองหลัก ๆ
ให้การสนับสนุนผู้สมัครรายภูมิภาคตามฐานเสียงท่ีตนเองมีอยู่ เช่น
พรรคไทยรักไทยซ่ึงมีฐานเสียงหนาแน่นในพ้ืนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคเหนือ ก็ให้การสนับสนุนผู้สมัครใน 2 ภาคน้ันในสัดส่วนที่สูง

37พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถิ่น: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโนม้ ในอนาคต

14

เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ก็ให้การสนับสนุนผู้ลงสมัครรับเลือกต้ัง
ท้องถ่ินในภาคใต้ในสดั สว่ นที่สูง เนื่องจากพรรคมีฐานคะแนนสูงในพื้นที่
ดังกล่าว และนอกจากการแข่งกันระหว่างพรรคการเมืองแล้ว ในบาง
พื้นที่ก็มีการแข่งขันระหว่างมุ้งต่าง ๆ ในพรรคการเมืองเดียวกันในการ
เลือกตั้งท้องถิ่นด้วย โดยเฉพาะพรรคไทยรักไทยที่เป็นพรรคการเมืองใหญ่
และมีมุ้งต่าง ๆ อยู่ 13 มุ้ง และบางพ้ืนที่ก็มีเป็นการสนับสนุนจาก ส.ส.
ในพืน้ ท่ีนัน้ ๆ

ผลการเลือกต้ังในปี 2547 ก็สะท้อนอย่างชัดเจนว่าผู้ได้รับการ
เลอื กตงั้ สว่ นใหญ่มาจากผู้สมัครที่ไดร้ ับการสนับสนนุ จากพรรคการเมือง
มีเพยี งผู้สมัครอสิ ระ 5 คนเทา่ น้นั ทีไ่ ด้รับการเลือกต้งั ตามตารางท่ี 2

ตารางท่ี 2 จานวนผไู้ ด้รบั เลอื กตั้งให้ดารงตาแหน่งนายก อบจ. ในปี พ.ศ. 2547
ที่ได้รับการสนับสนนุ โดยพรรคการเมือง แยกเป็นภมู ภิ าค

ภมู ภิ าค/ พรรค ไทยรัก ประชาธิปตั ย์ ชาติ ชาติ ผ้สู มัคร รวม
การเมอื ง ไทย ไทย พฒั นา อิสระ
เหนอื 12 3 -
1 - 1 16
ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 17 1 4 - - 19
- 1 4 26
กลาง 16 1 - - 14
5
ใต้ 5 9 1 5 75

รวม 50 14

อ้างองิ : เนช่นั สดุ สปั ดาห,์ ฉบบั ที่ 616, 22–28 มีนาคม 2547, รวบรวมโดยผแู้ ตง่ .

38 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

15

ผลการเลือกตั้งสอดคล้องกับการเลือกตั้งในระดับชาติท่ีพรรค
ไทยรักไทยสามารถครองเสียงส่วนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคเหนือและภาคกลาง ซ่ึงสอดคล้องกับท่ีนิธิ (2553) ได้วิเคราะห์ว่า
พรรคไทยรักไทยประสบความสาเร็จในการเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับ
ท้องถ่ิน ดังน้ันในการเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งแรก บทบาทของพรรค
การเมือง ถอื วา่ มคี วามสาคญั คอ่ นข้างมาก โดยเฉพาะพรรคไทยรกั ไทยที่
มีฐานคะแนนที่สูงในหลายพ้ืนที่ท่ัวประเทศ ซ่ึงวางฐานเสียงทั้งใน
ระดบั ชาติและระดบั ท้องถิ่น

อยา่ งไรก็ตาม การเลือกต้ังนายก อบจ. ในปี พ.ศ. 2551 รวมถึง
ปี พ.ศ. 2555 พบว่าอิทธิพลของพรรคการเมือง รวมถึงการสนับสนุน
ของพรรคการเมืองมีแนวโน้มท่ีลดลง ถึงแม้ว่าในการเมืองระดับชาติ
อิทธิพลของพลังประชาชนที่ได้ก่อต้ังหลังจากที่ได้ยุบพรรคไทยรักไทย
ยังคงมีฐานคะแนนท่ีหนาแน่นในหลายพื้นที่ก็ตาม สาเหตุหลักสามารถ
วเิ คราะหไ์ ด้จากหลายประการ (Thawatchai, 2020) ได้แก่

1. การยุบพรรคไทยรักไทยตามคาตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
ในปี พ.ศ. 2550 ทาให้กลุ่มการเมืองภายในพรรคแยกตัวออกไปตั้งหรือ
เข้าร่วมกับพรรคการเมืองใหม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ กลุ่มวัง
พญานาค ที่นาโดยพินิจ จารุสมบัติ และปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ก็เข้า
ร่วมกับพรรคเพื่อแผ่นดินของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ซ่ึงการเกิดขึ้นของ
พรรคการเมืองใหม่ ๆ ทาให้พรรคการเมืองเหล่านั้นมุ่งไปที่การแข่งขัน

39พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถ่ิน: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโนม้ ในอนาคต

16

ในการเมืองระดับชาติมากกว่าที่จะลงมาแข่งขันในการเมืองท้องถ่ิน
การสนับสนุนผู้สมัครเลือกต้ังท้องถิ่นในช่วงนี้จึงเป็นไปในลักษณะท่ี
นักการเมืองระดับชาติ ให้การสนับสนุนเน่ืองจากมีความสัมพันธส์ ่วนตัว
แทนการสนบั สนุนในนามของพรรค

2. การปรับยุทธศาสตร์การเลือกต้ังของพรรคการเมืองหลักใน
การสนับสนุนผู้สมัครลงเลอื กตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างย่ิง การกาหนด
เงื่อนไขเรื่องการใช้โลโก้ของพรรคในการหาเสียงให้มีความเข้มงวด
มากข้ึน ในการเลือกต้ังท้องถิ่นใน ปี พ.ศ. 2547 มีผู้สมัครหลายคนใช้
โลโก้ของพรรคไทยรักไทยในการหาเสียง ซ่ึงมีทั้งผู้สมัครท่ีพรรคให้การ
สนับสนุนเอง และผู้สมัครท่ี ส.ส. ในพรรคให้การสนับสนุน อย่างไรก็ตาม
การเลือกต้ังท้องถ่ินในปี พ.ศ. 2555 พรรคพลังประชาชนได้ตั้งเง่ือนไข
ที่เข้มงวดมากข้ึน โดยได้มีการกาหนดการใช้โลโก้พรรคตามมติของ
กรรมการบริหารพรรค ซึ่งระบุชัดเจนว่า ผู้สมัครสามารถใช้โลโก้ของ
พรรคในการหาเสียงได้ ในกรณีที่ ส.ส. ท้ังหมดของพรรคในจังหวัดน้ัน
เห็นพ้องตรงกันท่ีจะสนับสนุนผู้สมัครน้ัน แต่หาก ส.ส. รายบุคคล
ต้องการสนับสนุนผู้สมัครเป็นการส่วนบุคคล ก็จะไม่อนุญาตให้ใช้โลโก้
พรรคในการหาเสียงได้ ซ่ึงส่งผลให้จานวนผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุน
จากพรรคลดนอ้ ยลง

40 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

17

กรณีการใช้โลโก้พรรคโดยไม่ผ่านมติของพรรคการเมืองหรือ
กลุ่ม ส.ส. ในจังหวัด มีตัวอย่างที่ชัดเจนคือ กรณีที่ภรรยาของ ส.ส. ท่านหนึ่ง
ในจังหวัดขอนแก่น ลงสมัครรับเลือกต้ังนายก อบจ. ขอนแก่น และใช้
โลโก้ของพรรคพลังประชาชนในการหาเสียง ซึ่งทาให้ ส.ส. ท่านอื่น ๆ
ในพ้ืนท่ีจังหวัดขอนแก่นออกมาคัดค้าน เน่ืองจากไม่ได้รับมติจาก ส.ส.
ในพ้ืนท่ีจังหวัดทั้งหมดท่ีจะสนับสนุนผู้ลงสมัครเลือกตั้งดังกล่าว ดังน้ัน
จึงส่งผลให้ผู้สมัครเลือกตั้งต้องเอาโลโก้พรรคออก และใช้ช่ือสามีท่ีเป็น
ส.ส. เปน็ ผสู้ นับสนนุ การเลือกตงั้ แทน

3. อิทธิพลของ ส.ส. ในพ้ืนท่ี ยังคงเป็นปัจจัยหน่ึงในการกาหนด
ความสาเร็จในการเมืองระดับจังหวัด ในการเลือกตั้งท้องถ่ิน ความสัมพันธ์
และเครือข่ายทางการเมืองยังคงมีความสาคัญ และอิทธิพลของ
พรรคการเมืองไม่สามารถเข้ามาแทนท่ีได้ท้ังหมด เน่ืองจาก ส.ส.
ในจังหวัดมักมีฐานเสียงที่เข้มแข็ง และสามารถช่วยผู้สมัครในการ
หาเสยี ง และชนะการเลอื กตง้ั ได้

4. การก่อต้ังกลุ่มการเมืองท้องถิ่น ซึ่งมีเพิ่มขึ้นในช่วงการ
เลือกต้ังท้องถ่ินตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา กลุ่มการเมืองท้องถิ่น
เหล่าน้ีมักก่อต้ังโดยนักการเมืองท้องถ่ินด้วยกันเอง โดยมีวัตถุประสงคท์ ี่
จะรวมกลุ่มและประสานงานกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม รวมถึงช่วย
สมาชิกในกลุ่มในการหาเสียงในกรณีที่มีการเลือกตั้ง กลุ่มการเมือง
ท้องถิ่นเหล่านี้ยังไม่แพร่หลายนักในการเลือกตั้งท้องถ่ินในครั้งแรก

41พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถิ่น: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโน้มในอนาคต

18

เม่ือปี พ.ศ. 2547 เนื่องจากผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองหน้าใหม่
ที่ยังไม่มีฐานเสียงและการสนับสนุนมากนัก แต่เม่ือนักการเมืองท้องถิ่น
เหล่านี้ได้รับการเลอื กต้ังและเร่มิ มีฐานสนบั สนนุ ก็จะเริ่มสร้างเครือข่าย
กับนักการเมืองท้องถ่ินด้วยกันเอง โดยไม่จากัดเพียงนักการเมืองท่ีลง
สมัครในระดับ อบจ. แต่ยังรวมถึงเทศบาลและองค์การบริหารส่วน
ตาบลในเขตจังหวัดด้วย ซึ่งการสนับสนุนสมาชิกให้ได้รับการเลือกต้ัง
ก็จะยิ่งส่งเสริมให้กลุ่มการเมืองท้องถ่ินมีความเข้มแข็งมากขึ้น
การประสานนโยบายต่าง ๆ ของ อปท. ในระดับต่าง ๆ ก็ทาได้ง่ายข้ึน
ซึ่งปัจจัยเหล่าน้ียังส่งผลไปยังการตัดสินใจเลือกต้ังของประชาชนด้วย
เน่ืองจากประชาชนก็จะเลือกต้ังท่ีเน้นไปท่ีตัวนโยบายมากข้ึน ซ่ึงส่งผล
โดยตรงกับความเป็นอยู่ของประชาชนเหล่าน้ัน และนโยบายของกลุ่ม
การเมืองในระดับท้องถ่ิน ยังสามารถตอบสนองได้ตรงต่อความต้องการ
ของประชาชน ไดม้ ากกว่านโยบายจากพรรคการเมือง เพราะท้องถิ่นแต่
ละแห่งมีความหลากหลายและความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ดังน้ันกลุ่ม
การเมืองท้องถิ่นท่ีเป็นนักการเมืองในท้องที่ จะเข้าใจปัญหาได้มากกว่า
ซึ่งปัจจัยเหล่าน้ีทาให้อิทธิพลของพรรคการเมืองต่อการเลือกต้ังท้องถ่ิน
ลดลง

การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2563 ถือว่าเป็นการเลือกตั้งท้องถ่ินคร้ัง
ท่ีสาคัญคร้ังหนึ่งในประเทศไทย เน่ืองจากเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก
หลังจากท่ีมีการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 และมีการแช่แข็งการเลือกต้ัง
ท้องถิ่นเป็นเวลานานกว่า 8 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นคร้ังแรกท่ีมี

42 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

19

การจัดการเลือกต้ังพร้อมกันทั่วประเทศ และเป็นการเลือกตั้งฝ่าย
บริหารและฝ่ายนิติบัญญัติในเวลาเดียวกัน ในการเลือกตั้งครั้งนี้
ผู้ลงสมัครเลอื กตั้งกลับมายดึ โยงกับพรรคการเมืองมากข้ึนในหลายพื้นท่ี
โดยเฉพาะพรรคการเมืองใหญ่ ๆ อย่างเช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรค
เพ่อื ไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคก้าวไกล

สาเหตุที่ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและผู้สมัคร
เลือกตัง้ ทอ้ งถ่ินกลบั มาแนน่ แฟน้ อีกคร้ัง สามารถอธิบายไดด้ งั นี้ ประการ
แรก การเลือกตั้งท้องถิ่นถูกแช่แข็งไปเป็นเวลาหลายปี ทาให้ฐาน
การเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นหลายคนเปลี่ยนไปด้วย การยึดโยงกับ
พรรคการเมืองอาจจะช่วยให้นักการเมอื งทอ้ งถ่นิ เหลา่ น้ันไดร้ ับฐานเสียง
กลับมาได้อย่างรวดเร็ว ประการที่สอง การเลือกตั้งท้องถิ่นคร้ังน้ีจัดขึ้น
ในห้วงเวลาที่เพิ่งมีการเลือกต้ังในระดับชาติเสร็จส้ิน ฝ่ายค้านอย่างเช่น
พรรคเพ่ือไทยและพรรคก้าวไกลต้องการที่จะถ่วงดุลอานาจกับพรรค
การเมืองฝ่ายรัฐบาลในเวทีท้องถิ่น จึงพยายามช่วงชงิ พ้ืนท่ีทางการเมอื ง
โดยการสนับสนุนเครือข่ายของตนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่งผลให้พรรค
การเมืองอืน่ ๆ ก็ทาในลกั ษณะเดียวกนั ส่งผลใหเ้ ป็นการแข่งขนั ระหว่าง
พรรคการเมืองเองในเวทีการเลือกต้ังท้องถิ่น ประการสุดท้าย
มีพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐและพรรคก้าวไกล
ซึ่งมีฐานสนับสนุนที่ดีในการเมืองระดับชาติ พรรคการเมืองเหล่าน้ี
จึงมองว่าฐานเสียงที่สนับสนุนพรรคตนในการเมืองระดับชาติจะเป็น
กลุ่มเดยี วกนั ทสี่ นบั สนุนในการเมอื งท้องถ่นิ

43พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถ่ิน: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโน้มในอนาคต

20

อย่างไรกต็ าม ผลการเลือกตั้งท้องถ่ินในปี พ.ศ. 2563 มผี สู้ มคั ร
ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองจานวนหน่ึงที่ชนะการเลือกตั้ง
ทั้งนี้หากเทียบสัดส่วนจานวนผู้ที่ได้รับการเลือกต้ังกับจานวนผู้สมัครท่ี
พรรคการเมอื งสง่ ไป พบวา่ ไม่ไดม้ ีสดั สว่ นท่ีสูงนกั ผลการเลอื กตั้งท้องถิ่น
ดังกล่าวไม่อาจสะท้อนได้ทีเดียวว่าพรรคการเมืองมีอิทธิพลต่อการ
เลือกตั้งท้องถ่ินจริง เนื่องจากผู้ที่ชนะการเลือกต้ังส่วนใหญ่ก็เป็น
นักการเมืองท้องถิ่นเดิมที่มีฐานเสียงของตนในพื้นท่ีอยู่แล้ว ซ่ึงนักการเมือง
หน้าใหม่ที่ลงสมัครก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ดังที่เห็นจากกรณีที่พรรค
กา้ วไกลส่งผูส้ มคั รลงเลือกตงั้ ท้องถ่นิ ดงั นัน้ จงึ สะทอ้ นใหเ้ หน็ วา่ การเมือง
ท้องถิ่นค่อนข้างมีอิสระต่อการเมืองในระดับชาติ ซ่ึงนับว่าเป็นแนวโน้ม
ท่ีดีท่ีจะเกิดการทางานเพ่ือท้องถิ่นที่แท้จริงโดยไม่มีอิทธิพลครอบงามา
จากการเมืองในระดับชาติตอ่ ไป

แนวโนม้ ในอนาคต

ผู้เขียนเห็นว่าพรรคการเมืองจะมีบทบาทน้อยลงต่อการเมือง
ท้องถ่ิน ถึงแม้ว่าในการเลือกต้ังท้องถิ่นท่ัวประเทศที่ผ่านมาในปี พ.ศ.
2563 จะมีผู้สมัครที่สวมเสื้อพรรคการเมืองเพ่ือหาเสียงเป็นจานวนมาก
แต่หากพิจารณาจานวนผู้สมัครที่ยึดโยงกับพรรคการเมืองและประสบ
ความสาเร็จและได้รับการเลือกตั้งแล้วกลับมียังสัดส่วนท่ียังน้อยอยู่
ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนครั้งแรกในประวัติศาสตร์
การเมืองแต่อย่างใด หากย้อนไปการเลือกตั้งนายก อบจ. ในปี พ.ศ. 2547

44 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
การเมอื งท้องถิ่น: ความรว่ มมอื ปัญหา อุปสรรค และความขดั แยง้

21

จะพบว่าการยึดโยงพรรคการเมือง และการแข่งขันระหว่างพรรค
การเมืองในการเลือกต้ังท้องถ่ินก็มีความชัดเจนเช่นเดียวกัน อย่างไร
ก็ตาม แนวโน้มการแข่งขันของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่น
ในปี พ.ศ. 2551 และ 2555 ก็ไม่ได้สูงแต่อย่างใด ดังน้ันผู้เขียนเห็นว่า
บทบาทของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งท้องถ่ินจะลดน้อยลงเร่ือย ๆ
ดว้ ยเหตผุ ลดงั นี้

ประการแรก การยึดโยงพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งท้องถิ่น
ท่ีผ่านมา พบแค่ในการเลือกตั้งนายก อบจ. เป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่า
ในระดับเทศบาลและ อบต. จะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
ทางตรง แต่บทบาทของพรรคการเมืองที่เข้าไปในพื้นท่ีกลับมีน้อยมาก
ปรากฏการณ์เช่นนี้สอดคล้องกับคาอธิบายของ Hojino (2013) ที่
อธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าไปมีอิทธิพลของพรรคการเมืองในการ
เลือกตั้งท้องถิ่นของญี่ปุ่น ซึ่งพบว่าพรรคการเมืองจะเข้าไปมีบทบาท
อย่างสูงในพื้นท่ีที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีความเป็นเมืองสูง
ซึ่งเทียบเคียงได้กับพ้ืนท่ีในการดูแลของ อบจ. และเทศบาลนคร
ในประเทศไทย พ้ืนท่ีเหล่านี้จะดึงดูดให้พรรคการเมืองต่าง ๆ เข้ามา
แข่งขันเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งไม่เพียงแต่พรรคการเมืองเอง
ผ้สู มัครลงเลอื กต้งั ท้องถิ่นเองก็พยายามเข้าไปเก่ียวโยงกับพรรคการเมือง
เพื่อให้ได้รับคะแนนเสียงเลือกต้ัง อย่างไรก็ตาม ในกรณีของไทย
หากพิจารณาในแง่ของอานาจและบทบาทของ อบจ. แล้ว ยังถือว่ามี
บทบาทน้อยมากในการปกครองท้องถ่ิน อีกทั้งหน้าที่และภารกิจของ

45พรรคการเมอื งและการเลือกตัง้ ท้องถิ่น: ความสมั พนั ธแ์ ละแนวโนม้ ในอนาคต


Click to View FlipBook Version