The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สพม นครสวรรค์ รายงานวิจัยเชิงพื้นที่เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์COVID19

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by metta.tha, 2021-10-26 22:47:34

สพม นครสวรรค์ รายงานวิจัยเชิงพื้นที่เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์COVID19

สพม นครสวรรค์ รายงานวิจัยเชิงพื้นที่เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์COVID19

Keywords: ข้อเสนอเชิงนโยบาย การจัดการศึกษาในสถานการณ์ Covid19

36

พร้อมกันนั้น ให้ทุกโรงเรียนและทุกสำนักงานเขตพื้นที่ได้ออกแบบในเรื่องการติดตาม ตรวจสอบ
และรายงานผลสภาพจริงของแต่ละพื้นที่ โดยให้รายงานเป็นรายวัน หรือตามสถานกา รณ์ที่เกิดขึ้นจริง
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและทันต่อสถานการณ์ ส่วนในเรื่องการเผชิญเหตุหรือเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญเหตุ
ในจังหวัดที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดง สีส้ม หรือสีเหลือง หากมีเหตุจำเป็นต้องปิดเรียนทุกโรงเรียน
ในจังหวัดพื้นที่สีแดง ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ใน 5 รูปแบบ ได้แก่ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้นั พ้นื ฐาน 2564)

1) On Site คือให้มาเรียนตามปกติได้ในพื้นที่ที่ไม่ใช่สีแดง แต่ต้องเว้นระยะหรือลดจำนวนนักเรียน
ตอ่ หอ้ งลง สำหรับจังหวดั พน้ื ทส่ี ีเขยี ว สามารถจดั การเรยี นการสอนในโรงเรยี นได้ตามปกติ

2) On Air คือการออกอากาศผ่าน DLTV เป็นตัวหลักในการกระจายการสอน โดยใช้โรงเรียนวังไกลกังวล
เปน็ ฐานในการจดั การเรยี นการสอน สามารถดไู ดท้ ัง้ รายการท่ีออกตามตาราง และรายการท่ดี ูยอ้ นหลงั

3) Online ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านเครื่องมือที่ทางโรงเรียนกระจายไปสู่นักเรียน เป็นรูปแบบ
ทีถ่ ูกใชใ้ นการจัดการเรียนการสอนจำนวนมากที่สุด

4) On Demand เปน็ การใช้งานผา่ นแอปพลิเคช่นั ตา่ งๆ ท่คี รกู บั นักเรยี นใชร้ ่วมกัน
5) On Hand หากจัดในรูปแบบอื่นๆ ที่กล่าวมาไม่ได้ ให้โรงเรียนจัดแบบ On Hand คือจัดใบงานให้กับ
นักเรียน เป็นลักษณะแบบเรียนสำเร็จรูป ให้นักเรียนรับไปเป็นชุดไปเรียนด้วยตัวเองที่บ้าน โดยมีครูออกไปเยี่ยม
เป็นครั้งคราว หรือให้ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นครูคอยช่วยเหลือ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง
ถงึ แมโ้ รงเรียนจะปดิ แต่ตอ้ งไมห่ ยุดการเรยี นรู้

5. ระบบการดแู ลช่วยเหลือนกั เรียน
ระบบการดแู ลช่วยเหลือนักเรียน เป็นระบบที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรยี น เนื่องจากเป็นการส่งเสริม พัฒนา

ป้องกนั และการแกไ้ ขปญั หาให้แกน่ ักเรยี น โดยมรี ายละเอียดดงั น้ี
5.1 ความสำคญั ของระบบการดูแลชว่ ยเหลอื นกั เรยี น
นกั วชิ าการไดก้ ลา่ วถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลอื นักเรียน ดงั น้ี
สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน (2550) ได้กำหนดความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือ

นักเรียนว่า เป็นการพัฒนานักเรียนให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คุณธรรมและ
จรยิ ธรรม และการดำรงชีวิตอยา่ งมีความสขุ ในสงั คม ใหน้ กั เรียนเป็นคนดคี นเก่ง และมีความสุข ดังน้ัน ความจาํ เป็น
ในการสร้างระบบภูมิคุม้ กัน ที่เข้มแข็ง การมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนท่ีชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญโดยดำเนินการ
ควบคู่ ไปกับระบบการจดั การเรียนการสอน

กระทรวงสาธารณสุข (2552) ได้กำหนดความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
จากสภาพปัญหาต่าง ๆ จึงได้มีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทางด้านการสร้างเสริมในส่วนที่ดี

37

ของนักเรียน ด้านการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือลุกลามมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยง และสามารถแก้ ปัญหา
นักเรียนในเบื้องตนได้โดยให้การทางานอย่างเป็นระบบและตรวจสอบได้ ซึ่งแสดงถึงการทางานที่มีคุณภาพ
มีมาตรฐาน ด้วยเหตุนี้การดาเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงเป็นการดําเนินงานที่สอดคล้องกับ
การปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นไปตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542
ที่มุ่งให้ทั้งนักเรียน บุคลากร และปัจจัยที่เกี่ยวของกับนักเรียน รวมทั้งกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล ตรวจสอบได้ เป็นท่ียอมรบั ของชมุ ชน และสงั คม

สรุปได้ว่า ระบบการดูแลช่วยเหลอื นักเรียนนั้นมีความสำคัญโดยครูทีป่ รึกษาหรือครูประจำชั้นจะต้องรู้จกั
นักเรียนเป็นรายบคุ คล และมีข้อมูลทแี่ ทจ้ ริงของนกั เรยี นทกุ ด้านและนำข้อมลู ด้านตา่ ง ๆ มาบรู ณาการเพื่อการรู้จัก
และเข้าใจนักเรียนแต่ละบุคคลอย่างละเอียดรอบด้านรวมทั้งเพื่อการจัดกลุ่มและคัดกรองนักเรียน อันจะนำไปสู่
การวางแผนการดแู ลช่วยเหลอื นกั เรยี นอย่างเหมาะสมต่อไป

5.2 การดําเนินงานระบบการดแู ลช่วยเหลอื นักเรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552) ได้กำหนดไว้ว่า ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เป็นกระบวนการดำเนินงานที่มอี งคป์ ระกอบสำคัญ 5 ประการดังตอ่ ไปนี้
1) การร้จู ักนกั เรียนเป็นรายบคุ คล

เนื่องด้วยนักเรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกันหล่อหลอมให้เกิด
พฤติกรรมหลากหลายรูปแบบทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นการรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียน จึงเป็นสิ่ง
สำคัญที่จะช่วยใหค้ รูที่ปรึกษามีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้นสามารถนำข้อมลู มาวิเคราะห์ เพื่อการคัดกรองนักเรยี น
เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกต้องซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์
ไม่ใช่การใช้ความรู้สึกหรอื การคาดเดา โดยเฉพาะในการแก้ปัญหานักเรยี น โดยพิจารณาขอ้ มูลพืน้ ฐานของนักเรยี น
ดังนี้

1. ดา้ นความสามารถ
1.1 ดา้ นการเรียน รายละเอียดข้อมูลพนื้ ฐานท่ีควรทราบ คอื ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นในแต่ละวิชา

ผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละภาคเรียนและพฤติกรรมการเรียนในห้องเรียนที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
เช่น ไมต่ ้ังใจเรยี น ขาดเรียน เปน็ ต้น

1.2 ด้านความสามารถอื่น ๆ รายละเอียดข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ คือ บทบาทหน้าที่พิเศษ
ในโรงเรียน ความสามารถพิเศษและการร่วมกจิ กรรมต่าง ๆ ทงั้ ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

2. ดา้ นสุขภาพ
2.1 ด้านร่างกายรายละเอียดข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ คือ น้ำหนัก โรคประจำตัว

ความบกพรอ่ งทางร่างกาย เช่น การได้ยนิ และการมองเหน็

38

2.2 ด้านจิตใจ พฤติกรรม รายละเอียดข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ คือ อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล
ความประพฤติ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง สมาธสิ นั้ บุคลกิ ภาพ เกบ็ ตัว ขอี้ าย

3. ดา้ นครอบครัว
3.1 ด้านเศรษฐกิจ รายละเอียดข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ คือ รายได้ของบิดา มารดา ผู้ปกครอง

อาชีพของผู้ปกครองและคา่ ใชจ้ า่ ยทนี่ ักเรียนไดร้ ับในการมาโรงเรยี น
3.2 ด้านการคุ้มครองนักเรียน รายละเอียดข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ คือ จำนวนพี่น้องบุคคล

ในครอบครัว สถานภาพของบิดามารดา บุคคลที่รับผิดชอบนักเรียนความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ลักษณะ
ท่ีอยอู่ าศยั และความเจ็บป่วยของบคุ คลในครอบครัวหรอื การใช้สารเสพตดิ การตดิ สุรา การพนัน เปน็ ตน้

4. ด้านอื่นๆ ที่ครูอาจารย์พบเพิ่มเติมซึ่งมีความสำคัญที่เกี่ยวของกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน วิธีการ
หรือเคร่อื งมอื ในการรู้จกั นักเรยี นเปน็ รายบคุ คล ครทู ี่ปรกึ ษาใช้วธิ กี าร และเครื่องมือที่หลากหลาย

โรงเรียนจฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย (2558) กล่าวคือ เครอื่ งมอื ในการรู้จกั นกั เรยี นรายบคุ คล ได้แก่
1. ระเบียนสะสม เป็นเครื่องมือในรูปแบบของการสื่อสารเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน
โดยนักเรียนเป็นผู้กรอกข้อมูลและครูที่ปรึกษาหาข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาพิจารณา ทำความรู้จักนักเรียนเบื้องต้น
หากขอมูลไม่เพียงพอหรือมีข้อสังเกตบางประการ ก็ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสอบถาม
จากนกั เรียนโดยตรง การสอบถามจากครูหรือเพอ่ื นของนักเรียน
2. แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) เป็นเครื่องมือที่กรมสุขภาพจิตเป็นผู้จัดทำขึ้นโดยพัฒนาจาก
The Strengths and Difficulties Questionnaire (SDQ) ประเทศเยอรมณี เป็นเครื่องมือสำหรับการคัดกรอง
นักเรียนด้านพฤติกรรมการปรับตัวที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับสภาพจิตใจ ซึ่งช่วยให้ครูที่ปรึกษามีแนวการพิจารณา
นักเรียนด้านสุขภาพจิตมากขึ้น ซึ่งแบบประเมินพฤติกรรมเด็กมี 3 ชุด ประกอบด้วย (สำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน, 2552)

2.1 ชดุ ที่ครูเป็นผปู้ ระเมนิ เด็ก
2.2 ชุดทีพ่ อแมผ่ ูป้ กครองเป็นผปู้ ระเมนิ
2.3 ชดุ ทเ่ี ด็กประเมนิ ตนเอง
3. วิธีการและเครื่องมืออื่น ๆ ในกรณีที่ข้อมูลของนักเรียนจากระเบียนสะสมและแบบประเมินพฤติกรรม
เด็กไมพ่ อเพยี งหรอื เกิดกรณที จ่ี ำเป็นตอ้ งมีข้อมลู เพม่ิ เติมข้ึน ครทู ปี่ รึกษาก็อาจใชว้ ิธกี ารและเคร่ืองมืออื่น ๆ เพ่ิมเติม
เช่น การสังเกตพฤติกรรมอื่น ๆ ในห้องเรียนการสัมภาษณ์นักเรียน การศึกษาจากแฟ้มสะสมงาน การเยี่ยมบ้าน
การศกึ ษาขอ้ มูลจากแบบบันทึกการตรวจสขุ ภาพ

39

สรุปได้ว่า การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเป็นการกำหนดความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐาน
ความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกันโดยพิจารณาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน ด้านความสามารถ ด้านสุขภาพ
ดา้ นครอบครัวและดา้ นอื่น ๆ โดยใชว้ ธิ ีการและเคร่อื งมือตา่ ง ๆ ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูลเป็นรายบคุ คล

2) การคดั กรองนักเรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552) ได้กำหนดไว้ว่าการคัดกรองนักเรียน
เปน็ การพิจารณาขอ้ มลู ทเี่ กยี่ วกบั ตวั นกั เรียนเพอื่ จัดกลมุ่ นักเรียนออกเป็น 3 กลมุ่ ดังนี้

1. กลุ่มปกติ หมายถึง นักเรียนทั่วไปไม่มีปัญหารุนแรงใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน
ของตนเองหรือส่วนรวมในด้านลบ แต่อาจมีความยุ่งยากเกิดขึ้นได้เมื่อต้อง เผชิญปัญหาหรือภาวะวิกฤต
ในชวี ติ ประจำวนั

2. กลุ่มเสี่ยง หมายถึง นักเรียนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติ เช่น เก็บตัว แสดงออก
เกินขอบเขต ปรับตวั ทางเพศไมเ่ หมาะสม ทดลองด่มื เสพ สูบ ผลการเรยี นเปลีย่ นแปลงไปในทางลบ

3. กลุ่มมีปัญหา หมายถึง นักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นปญั หาชัดเจน มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
ของตนเองหรอื ตอ่ สงั คมส่วนรวมในด้านลบ การจดั กลมุ่ นกั เรียนนี้มปี ระโยชน์ตอ่ ครู

ท่ีปรกึ ษาในการหาวธิ ีการเพอ่ื ดแู ลช่วยเหลือนักเรียนไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง โดยเฉพาะการแกไ้ ขปัญหา
ให้ตรงกับปัญหาของนักเรียนยิ่งขึ้นและมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาเพราะมีข้อมูลของนักเรียน
ในดา้ นตา่ ง ๆ ซง่ึ มีประเดน็ นการพจิ ารณาการจัดเกณฑ์การคดั กรองนักเรยี น ดงั ต่อไปนี้

3.1 ด้านความสามารถ
3.1.1 ด้านการเรียน ได้แก่ ผลการเรียนที่ได้และความเปลี่ยนแปลงของผลการเรียน

ความเอาใจใส่ความพร้อมในการเรียน ความสามารถในการเรยี น ความสม่ำเสมอในการมาเรยี น
3.1.2 ด้านความสามารถ ได้แก่ การแสดงออกถึงความสามารถพิเศษที่มี ความถนัด

ความสนใจและผลงานในอดีตที่ผ่านมา บทบาทหน้าที่พิเศษในโรงเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ของนักเรยี น

3.2 ด้านสขุ ภาพ
3.2.1 ด้านร่างกาย ได้แก่ ความผิดปกติ ความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย เช่น

การมองเหน็ การได้ยนิ โรคประจำตวั ความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งนำ้ หนักกับสว่ นสงู ความสะอาดของรา่ งกาย
3.2.2 ด้านจิตใจ - พฤติกรรม ได้แก่ สภาพอารมณ์ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

เช่น ความวิตกกังวลหรอื ซึมเศรา้ ความประพฤติ พฤติกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการเรียน ความสามารถพิเศษ
และการปรับตัวของนักเรียน ความสัมพันธ์กับเพื่อน ครู ผู้ปกครอง การใช้สารเสพติด การลักขโมย
การทำรา้ ยตนเอง พฤติกรรมทางเพศท่ไี ม่เหมาะสม เปน็ ต้น

40

3.2.3 ดา้ นครอบครวั ได้แก่ ด้านเศรษฐกจิ คือ ผูห้ ารายได้ ให้ ครอบครวั ฐานะเศรษฐกิจ
ของครอบครวั ภาระหน้ีสนิ ความพอเพียงของรายรับกับรายจา่ ย จำนวนเงินท่ีนักเรียนได้รับและใช้จ่ายในแต่ละวัน
และดา้ นการคุ้มครองนักเรยี น ได้แก่ ความสามารถในการคมุ้ ครองดูแลนักเรยี นไดอ้ ยา่ งปลอดภยั และเหมาะสมของ
ผู้ปกครอง ความเหมาะสมของสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่มักทะเลาะ
เบาะแว้งใช้ความรุนแรงในการตัดสินแก้ไขปัญหา ซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของนักเรียน เช่น ซึม เหม่อลอย
แสดงออกการไม่อยากกลับบา้ น และการใชส้ ารเสพติด การดื่มสุราหรือเล่นการพนัน รวมถงึ ความเจ็บป่วยเรื้อรังรัง
และความรนุ แรงของสมาชกิ ในครอบครัว

สรุปได้ว่า การคัดกรองนักเรียนเป็นการจัดกลุ่มเพื่อหาวิธีการช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างถูกต้อง
แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการคัดกรองนักเรียนนั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของครูที่ปรึกษา และยึดเกณฑ์
การคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนเป็นหลักด้วยซึ่งการคัดกรองนักเรียนมีประเด็นในการพิจารณา
ในดา้ นความสามารถ ดา้ นสุขภาพ และดา้ นครอบครัว

3) การสง่ เสริมนกั เรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552) ได้กำหนดไว้ว่าการส่งเสริมนักเรียนเป็นการ
สนับสนุนให้นักเรียนทุกคนที่อยู่ในความดูแลของครูที่ปรึกษาไม่ว่าจะเป็นนักเรียนในกลุ่มปกติหรือกลุ่มเสี่ยงหรือมี
ปัญหาให้มีคุณภาพมากขึ้น มีความภาคภูมิใจในตนเอง ในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่ม
ปกติกลายเปน็ นกั เรียนกล่มุ เสีย่ งหรือมีปญั หาและเป็นการชว่ ยใหน้ ักเรยี นกลุม่ เส่ียงหรอื มปี ญั หากลบั มาเป็นนักเรียน
กลุ่มปกตแิ ละมคี ณุ ภาพตามที่โรงเรยี นหรอื ชุมชนคาดหวงั ตอ่ ไป ประกอบด้วย

1. กิจกรรมโฮมรูม (Home Room) โฮมรูม หมายถึง ห้องที่กำหนดให้ครูคนใดคนหนึ่ง มีหน้าท่ี
รบั ผดิ ชอบต่อนกั เรยี นชั้นใดชั้นหนึง่ งโดยเฉพาะเพ่ือลงเวลามาเรียนของนักเรียนทั้งในเวลาเช้าและบา่ ยและประกาศ
แจ้งข่าวสารต่าง ๆ ที่นักเรียนควรทราบทั้งอบรม ตักเตือน สั่งสอนให้ความรู้ที่ประโยชน์แก่นักเรียนและเรื่องอื่นๆ
ที่จำเป็น ซึ่งกิจกรรมโฮมรูมเป็นกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตให้แก่นักเรียนเป็นรายบุคคลหรื อเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคม
ปัจจุบนั และอนาคตได้อย่างเป็นสขุ มีคุณค่าและประสบผลสำเร็จตามศักยภาพ รวมทั้งมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของเยาวชนไทย

2. การจัดประชมุ ผู้ปกครองในชั้นเรียน (Classroom Meeting) การประชุมผูป้ กครองในชั้นเรียน
เป็นการพบปะกันระหว่างครูทปี่ รึกษากับผู้ปกครองนักเรยี นทค่ี รูท่ปี รกึ ษาดูแลอยู่ เพ่ือสรา้ งความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ร่วมมือกันดูแลนักเรียนระหว่างบ้าน โรงเรียน และผู้ปกครอง การประชุมผู้ปกครองดังกล่าวจะทำใหน้ ักเรยี นไดร้ ับ
ความเอาใจใส่ดแู ลจากผู้ปกครองมากข้นึ ทัง้ การส่งเสรมิ ใหน้ ักเรียนร่วมมือกับทางโรงเรียน การป้องกัน หรือแก้ไข
ปญั หาของนกั เรียน ครทู ีป่ รกึ ษาควรจดั ประชุมอยางนอ้ ยภาคเรียนละ 1 คร้งั ซ่งึ การประชมุ น้มี ใิ ช่การรายงานส่ิงต่าง

41

ๆ ท่เี กย่ี วข้องกับตัวนักเรยี นใหผ้ ู้ปกครองทราบเพียงอย่างเดียว แตเ่ ปน็ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้ ผู้ปกครอง
มสี ่วนรว่ มในการดูแลชว่ ยเหลือนกั เรียนใหม้ ากขึน้

สรุปได้ว่า การส่งเสริมนักเรียนเป็นการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มปกติหรือกลุ่มเสี่ยงหรือ
มีปัญหามีคุณภาพและความภาคภูมิใจมากขึ้น โดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ เป็นตัวช่วยในการส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรม
โฮมรูมที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริมนักเรียนเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ และการจัดประชุมผู้ปกครองในชั้นเรียน
เปน็ การพบปะกนั ระหวา่ งครูท่ีปรึกษากับผู้ปกครองนักเรียนท่ีครูทปี่ รึกษาดูแลอยู่ เพื่อสรา้ งความสัมพนั ธ์อันดีต่อกัน
ร่วมมือกนั ดูแลนกั เรียนระหว่าง บ้าน โรงเรยี น และผูป้ กครอง

4) การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552) ได้กำหนดไว้ว่าการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ครูที่ปรึกษาควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนทุกคนเท่าเทียมกัน แต่สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง หรือ มีปัญหา
นั้นจำเป็นอย่างมากที่ต้องการป้องกันและแกไ้ ขปัญหาของนักเรียนจึงเปน็ ภาระงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณคา่ อย่างมาก
ในการพัฒนาให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมตอ่ ไป นอกจากนี้ทุกครั้งของการช่วยเหลือนักเรียน
ควรมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานด้วยการป้องกันและการแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนนั้นหลายเทคนิควิธีการ
แตส่ ่ิงท่ีครทู ีป่ รึกษาจำเป็นต้องดำเนนิ การดงั น้ี
การให้คำปรึกษาเบื้องต้น การให้คำปรึกษาเบื้องต้นเป็นการช่วยเหลือทั้งด้านความรู้สึก ความคิด
และการปฏิบัติตนของนักเรียนในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยมุ่งหวังให้นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไปในทาง
ที่ดีงามหรือพึงประสงค์ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คำปรึกษาเบื้องต้นมีประสิทธิภาพ คือ ครูที่ปรึกษาควรมีความรู้
และทักษะพื้นฐานด้านจิตวิทยาวัยรุ่น ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความพร้อม
ในการให้คำปรึกษาช่วยเหลือนักเรียนด้วยความรู้สึกที่ดีต่อนักเรียน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการศึกษาโดยกระบวนการ
ในการให้คำปรึกษาที่จะต้องสร้างสัมพันธภาพพิจารณาความเข้าใจปัญหา กำหนดวิธีการและดำเนินการ
แก้ไขปญั หาและยุติการปรกึ ษา การเป็นผใู้ ห้คำปรกึ ษาทดี่ มี คี ุณภาพเนน้ ครทู ีป่ รึกษาควรจะปฏบิ ตั ิ ดงั นี้

1. รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปรึกษาหรือวิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ
ซึ่งอาจรับการอบรมจากหนว่ ยงานภายนอกหรอื โรงเรยี นจดอบรมให้

2. หมั่นฝึกฝนทักษะการปรกึ ษาและพัฒนาตนอย่างสมำ่ เสมอ
3. ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการหรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรึกษา
การดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552) ได้กำหนดไว้ว่า การจัดกิจกรรมเพื่อการป้องกัน
และช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของนักเรียน นอกจากจะให้การปรึกษาเบื้องต้นแล้ว การจัดกิจกรรม
ต่าง ๆ เพื่อช่วยการช่วยเหลือนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิด

42

ความร่วมมือร่วมใจของครูทุกคนและผู้ปกครอง ซึ่งครูที่ปรึกษาสามารถคิดพิจารณากิจกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหา
ของนกั เรียนได้ 5 แนวทาง ดังนี้

1. กิจกรรมเสรมิ หลักสตู ร เป็นกจิ กรรมนอกเวลาเรยี น ไมใ่ ชใ่ นคาบเรยี นโดยส่วนใหญจ่ งึ เปน็
เวลาเช้าก่อนเข้าแถวหรือเวลาเย็นหลังโรงเรียนเลิกแล้ว การจัดกิจกรรมอาจทำเป็นชมรมเป็นโครงการ
หรือเป็นงานของโรงเรียนโดยมีครูที่ปรึกษาร่วมกันพิจารณาเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับตัวนักเรียน
และความต้องการของนักเรียน

2. กิจกรรมในห้องเรียน เป็นการจัดกิจกรรมในห้องเรียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมกลุ่ม
ท่ีให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมมีบทบาทในกลุ่มและได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมร่วมกับเพ่ื อนมากกว่าเนื้อหาวิชาการ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Centered) หรือการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory
Learning)

3. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (Buddy) ครูที่ปรึกษาต้องพิจารณาจับคู่นักเรียนให้เหมาะสมกัน
ทั้งด้านความสามารถบุคลิกภาพเพ่ือให้สามารถช่วยเหลือกนั ได้จริงและไม่มีปญั หาในการจับคู่หรือถูกข่มขู่ ถูกแกล้ง
จากเพื่อนที่ตนดูแลนักเรียนทั้งคู่ ต้องสมัครใจที่จะจับคู่กันและยินดีให้หรือรับการดูแลช่วยเหลือจากเพื่อน
อกี คนหน่งึ

4. กิจกรรมซ่อมเสริม เป็นการแก้ไขปัญหาด้านการเรียนของนักเรียนซึ่งครูในระดับชั้นเดียวกัน
จำเป็นต้องร่วมมือร่วมใจกันวางแผนสอนซ่อมเสริมให้แก่นักเรียนที่เรียนอ่อน หรือเรียนรู้ช้า

5. กิจกรรมการสื่อสารกับผู้ปกครองเป็นการช่วยเหลือนักเรียนโดยอาศัยความร่วมมือ
จากผู้ปกครอง ซึ่งครูที่ปรึกษาควรมีทักษะการส่ือสารและควรบอกถึงความรู้สึกห่วงใยของครูที่มีต่อนักเรียน
จากพฤติกรรมทส่ี ังเกตเหน็

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552) ได้กำหนดไว้ว่า ข้อควรตระหนักในการป้องกัน
และชว่ ยเหลอื แกไ้ ขปญั หานักเรียนมี ดงั นี้

1. การรักษาความลับ เรื่องราวข้อมูลของนักเรียนที่ต้องช่วยเหลือแก้ไขไม่ควรนำไปเปิดเผย
ยกเว้นเพื่อขอความร่วมมือในการช่วยเหลือนักเรียนกับบุคคล ซึ่งมีการจัดทำบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือนั กเรียน
ควรเก็บไว้ในที่เหมาะสมสะดวกในการเรียกใช้ และรายงานการช่วยเหลือนักเรียนควรรายงานในส่วนที่เปิดเผยได้
โดยให้เกยี รตแิ ละคำนงึ ถงึ ประโยชน์ของนกั เรียนเป็นสำคัญ

2. การแก้ปัญหา การช่วยเหลือแก้ไขปัญหานักเรียนแต่ละคนต้องพิจารณาสาเหตุของปัญหา
ใหค้ รบถว้ นและหาวธิ ีการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับสาเหตุน้นั ๆ เพราะปัญหามิได้เกิดจากมาเหตุ เพียงสาเหตุเดียว
แต่อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกันสัมพันธ์กัน ปัญหาที่เหมือนกันของนักเรียนแต่ละคน ไม่จำเป็น
ต้องเกิดจากสาเหตุ ที่เหมือนกัน และวิธีการช่วยเหลือที่ประสบความสำเร็จกับนักเรียนคนหนึ่งก็อาจไม่เหมาะกับ
นักเรียนอีกคนหน่ึง เนื่องจากความแตกต่างของบุคคล ดังนั้นการช่วยเหลือนักเรียนโดยเฉพาะ การให้คำแนะนำ

43

ปรกึ ษาจึงไม่มสี ตู รการช่วยเหลือสำเรจ็ ตายตวั เพียงแตม่ ีแนวทางกระบวนการหรือทักษะการช่วยเหลือท่ีครูแต่ละคน
สามารถเรยี นรู้ ฝกึ ฝนเพอ่ื การนาไปใชใ้ ห้ เหมาะสมกบั ปัญหาของนักเรยี นแต่ละคน

สรุปได้ว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาเป็นการดูแลให้ความใส่ใจอย่างใกลชิดและหาวิธีการช่วยเหลือ
ทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนจนกลายเป็นปัญหาสังคม ครูที่ปรึกษาจำเป็นต้อง
ดำเนินการเพื่อผ่อนคลายปัญหานักเรียนให้ลดน้อยลงการจัด กิจกรรมเพื่อการป้องกันและช่วยเหลือแก้ ไขปัญหา
ของนักเรียน นอกจากจะให้การปรึกษาเบื้องต้นแล้วการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยการช่วยเหลือนักเรียน
เป็นสงิ่ สำคญั

5) การส่งต่อ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552) ได้กำหนดไว้ว่าในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของ
นักเรียน โดยครูที่ปรึกษาตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนั้น อาจมีบางกรณีที่มีปัญหามีความยาก
ต่อการช่วยเหลือหรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้น ควรดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านต่อไป เพื่อให้ปัญหาของนักเรียนได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกทางและรวดเร็วขึ้น หากปล่อยให้เป็น
บทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ความยุ่งยากของปัญหาอาจมีมากขึ้นหรือลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตจนยากต่อ
การแก้ไข กลุ่มนักเรียนที่ควรได้รับการพิจารณาส่งต่อ คือ นักเรียนมีพฤติกรรมคงเดิมหรือไม่ดีขึ้นหรือ
แยล่ ง นกั เรยี นไม่ใหค้ วามร่วมมอื ในการชว่ ยเหลือของครูทปี่ รึกษาและนักเรยี นท่มี ีปญั หาเฉพาะด้าน แนวดำเนินการ
สง่ ตอ่ นักเรยี น ดังนี้

1. ครทู ป่ี รกึ ษาประสานงานกบั ครูทีจ่ ะชว่ ยเหลอื นักเรียนต่อเพื่อให้ทราบล่วงหนา้
2. สรุปขอ้ มูลส่วนตวั ของนกั เรียนท่เี ก่ียวกบั การชว่ ยเหลือและวิธีการช่วยเหลอื ทผ่ี ่านมา
โดยมีแบบบนั ทกึ การสง่ ตอ่ หรอื ประสานงานขอความรว่ มมอื จากผู้เกย่ี วข้อง
3. ครูทปี่ รกึ ษาควรชแี้ จงให้นักเรยี นเข้าใจถึงความจำเป็นในการส่งต่อโดยใช้คำพูด
ท่ีสรา้ งสรรคใ์ ห้นกั เรียนมีความรูส้ ึกที่ดีจากการส่งต่อและยินดีไปพบครูท่จี ะชว่ ยเหลือตามกรณีทค่ี รูปรึกษาพิจารณา
วา่ เหมาะสม
4. ครทู ป่ี รึกษานัดวนั เวลา สถานทน่ี ัดพบกบั ครทู ร่ี ับช่วยเหลือนักเรยี นและสง่ ต่อ
5. ติดตามผลการช่วยเหลอื นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน (2558) ไดก้ ำหนดการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน
โดยครทู ีป่ รกึ ษา อาจมีกรณที ่บี างปญั หามีความยากต่อการช่วยเหลอื หรือช่วยเหลือแล้ว นักเรียนมีพฤตกิ รรมไม่ดีข้ึน
กค็ วรดาเนินการส่งต่อไปยังผู้เชยี่ วชาญเฉพาะด้านต่อไป เพ่ือใหป้ ญั หาของนักเรยี นได้รบั การช่วยเหลืออย่างถูกทาง
และรวดเร็วขึ้น ซึ่งครูที่ปรึกษาสามารถดำเนินการได้กระบวนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือการคัดกรอง
นักเรียน ทง้ั น้ีขน้ึ อย่กู ับลักษณะปญั หาของนักเรียนในแต่ละกรณี การส่งตอ่ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1.การส่งต่อภายใน
ครูที่ปรึกษาส่งต่อไปยังครูที่สามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหา เช่น ส่งต่อ

44

ครูแนะแนว ครพู ยาบาล ครปู ระจำวิชา หรือฝ่ายปกครอง และ 2. การสง่ ต่อภายนอก ครูแนะแนวหรือฝ่ายปกครอง
เปน็ ผดู้ ำเนินการส่งตอ่ ไปยังผเู้ ชย่ี วชาญภายนอก หากพิจารณาเหน็ ว่าเป็นกรณีปัญหาที่มีความยากเกินกว่าศักยภาพ
ของโรงเรยี นจะดูแลชว่ ยเหลอื ได้

สรุปได้ว่า การสง่ ตอ่ เปน็ การช่วยเหลือนกั เรียนในกรณีทีม่ ปี ัญหายากต่อการช่วยเหลอื จึงดำเนนิ การสง่ ต่อ
ตอ่ ไปยังผู้เชย่ี วชาญเฉพาะด้านตอ่ ไป โดยแบ่งออกเปน็ 2 แบบ คือ การส่งต่อภายในและการส่งตอ่ ภายนอก
เพือ่ ให้ปัญหาของนักเรยี นได้รับการช่วยเหลืออยา่ งถูกทางและรวดเร็วขึน้

จากการสังเคราะห์ข้อมลู การดูแลชว่ ยเหลอื นักเรยี น สามารถพจิ ารณาการดูแลชว่ ยเหลือนกั เรียนในดา้ น
ตา่ งๆ ไดแ้ ก่ 1) ด้านการเรยี นรู้ 2) ด้านการตดิ ตาม 3) ดา้ นการชว่ ยเหลอื สง่ ต่อ และ 4) ดา้ นความปลอดภัย

6. งานวิจยั ทเ่ี กยี่ วข้อง
6.1 งานวจิ ัยในประเทศ
เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ, และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์

(2562) ทำการวิจัย เรื่อง รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานท่ี
ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed method) ทั้งวิธีการวิจัยเชิง
ปรมิ าณ และวธิ กี ารวิจัยเชงิ ซง่ึ ผลการศกึ ษารปู แบบการจัดการเรยี นรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน
ที่มีผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19 พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีการดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร/จัดทำ
โครงสร้างหลักสูตรให้เหมาะสม การปรับแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและรูปแบบการจัดก าร
เรียนรู้ การจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาให้เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การเชื่อมโยงเนื้อหาให้
เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การนิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียน
มีการชี้แจงนโยบายให้ครูรับทราบ มีการอบรมครูเกี่ยวกับการใช้สื่อ เทคโนโลยี และการสำรวจความพร้อมของ
นักเรียน การปรับเนื้อหา/กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีการใช้ใบความรู้/
ใบงานประกอบการเรียนรู้ และสอนเสรมิ ให้กับผูเ้ รียน กรณีการจัดการเรียนรูผ้ า่ นออนไลน์ มีใช้การใช้แพลตฟอรม์
ตา่ ง ๆ เช่น Google Meet, Zoom, MST การใช้สือ่ Social Media นอกจากนผี้ ลการศึกษาผลกระทบทางลบของ
สถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า อินเทอร์เน็ต
และการสื่อสารไม่เพียงพอและสัญญาณไม่เสถียร สถานศึกษาส่วนมากไม่ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจาก
หน่วยงานต้นสังกัด ทั้งที่ช่วงโควิดสถานศึกษามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนรู้ไม่เพียงพอ
หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น ๆ ขอข้อมูลจำนวนมากจากสถานศึกษา ทำให้เป็นภาระงาน
และกระทบต่อเวลาในการจัดการเรียนการสอน ผลกระทบทางลบต่อการปฏิบัติงานของครู พบว่าครูมีภาระงาน
ในการจัดการเรียนรู้และการดูแลนักเรียนมากขึ้น ครูมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน มีวิตกกังวลเกี่ยวกับ
การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ และผลกระทบทางลบต่อผู้เรียน พบว่า นักเรียนต้องปรับเวลา สถานที่

45

และวิธีการเรยี นใหม่ นักเรียนได้รบั การฝึกทักษะการปฏบิ ตั นิ ้อยลงและไม่สามารถทำกจิ กรรมการเรยี นร่วมกับเพื่อน
และเสียโอกาสในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกและการเรียนจากการปฏิบัติจริง การเรียนออนไลน์ ทำให้
นกั เรยี นขาดความกระตอื รอื ร้น ขาดความรบั ผิดชอบ และเหนื่อยลา้ และผลกระทบทางลบต่อผู้ปกครอง และชุมชน
พบวา่ ผปู้ กครองมภี าระในการช่วยเหลือการเรยี นรู้ขอบุตรหลานเพิ่มขนึ้ ผ้ปู กครองตอ้ งเสียค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความ
พร้อมในการเรียนให้กับบุตรหลาน และค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการติดโรคให้กับบุตรหลานเพิ่มขึ้น ผู้ปกครองมีภาวะ
ตงึ เครียดท่ีตอ้ งดแู ลบตุ รหลานและวิตกกงั วลเก่ียวกับการเรียนของบุตรหลาน

จิรกิติ์ ทองปรีชา (2563) ได้ศึกษา การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19
ระดับมัธยมศึกษาพื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พบว่า การบริหารจัดการการเรยี น
การสอนของโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เป็นไปตามนโยบายและแนวทางของรัฐบาล ในการเตรียมความพร้อมในการ
จัดการเรียนการสอนในรปู แบบออนไลนแ์ ละมาตรการการป้องกนั การแพรร่ ะบาดในสถานศึกษาเพ่ือความปลอดภัย
สูงสุดของนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งรูปแบบท่ีได้จากการสมั ภาษณ์ แบ่งนักเรียนทีไ่ ม่มีความพร้อมใน
การเรียนออนไลน์ออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เรียนจาก DLTV กลุ่มที่เรียนจากหนังสือและใบความรู้ และ
กล่มุ ทตี่ ้องเรียนทีโ่ รงเรยี น

พงษ์ศกั ด์ิ ภูกาบขาว (2553) ทำการวิจยั เร่ือง ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายเพอ่ื ความมีประสิทธผิ ลของโรงเรียนเรียน
ร่วมจังหวัดขอนแก่นได้ให้คำนิยามข้อเสนอเชิงนโยบาย หมายถึง สาระเกี่ยวกับนโยบายที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจาก
กระบวนการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการบริหารจัดการเรียนร่วมขอ งสถานศึกษาในจังหวัดขอนแก่น
มีองค์ประกอบสำคัญ คือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์และตัวชี้วัด สรุปได้ว่า ข้อเสนอเชิงนโยบาย
เป็นผลลัพธ์จากการดำเนินการวิจัยเชิงนโยบายโดยมีรูปแบบการนำเสนอในลักษณะของแผนยุทธศาสตร์
หรือแผนเชิงนโยบายของหน่วยงานที่มีมาตรฐาน และข้อเสนอเชิงนโยบายจะนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ
ในการแกป้ ัญหาทม่ี ีประสทิ ธิผล

พริ้มเพรา วราพันธ์พิพิธ (2556) ทำการวิจัยเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้คำนิยาม ข้อเสนอเชิงนโยบายหมายถึง สาระเกี่ยวกับนโยบาย
ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นแนวทางของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพในระดับความเป็นเลิศองค์ประกอบ
คือ วัตถุประสงค์ของนโยบาย (policy objective) แนวทางของนโยบาย (policy means) และกลไกของนโยบาย
(policy mechanism)

พัชราภรณ์ ดวงชื่น (2563) ได้ศึกษาการบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการศึกษาในการเตรียมรับความปกติใหม่ (New Normal)
ทจ่ี ะเกิดขึ้นหลงั วิกฤติโควิด-19 สำหรับผ้บู ริหารสถานศึกษา ท่ีต้องบรหิ ารจดั การศึกษาภายใต้รูปแบบการดำรงชีวิต
อย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต เนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การใส่แมส ฯลฯ

46

เป็นต้น ผู้บริหารจึงต้องมีการบริหารที่สอดคล้องกับความปกติใหม่โดยมีแนวทางในการบริหาร ได้แก่
การเตรียมความพรอ้ มในการเรยี นการสอนออนไลน์ด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี การออกแบบหลักสูตรโดยคำนึงถึง
ความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน การบริหารจัดการโรงเรียนและครูให้ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้
มีการหารือและวางแผนร่วมกันของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ผู้กำหนดนโยบาย
ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม พ่อแม่
ผู้ปกครอง รวมถึงการเตรยี มความพรอ้ มทางดา้ นร่างกายและจิตใจของครแู ละนกั เรียน

วิธิดา พรหมวงศ์ (2563) ได้ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้
ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครพนม เขต 1 พบว่า สภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน
และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินการจัดการศึกษา
แบบ On Site Education ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการดำเนินการจัดการศึกษาแบบ On line Education
เมอื่ พจิ ารณาตามสถานที่ตง้ั พบว่า สถานศึกษาในเขตเทศบาลมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการจดั การเรียนรู้
ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครพนม เขต 1 โดยรวมอยูใ่ นระดับมาก เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า อยูใ่ นระดับมาก 3 ดา้ น และอยูใ่ นระดับปาน
กลาง 1 ดา้ น ดา้ นที่มคี ่าเฉลยี่ สูงสุด คอื ดา้ นการดำเนินการจดั การศกึ ษาแบบ On Site Education ด้านทม่ี ีค่าเฉลี่ย
ต่ำสุดคือ ด้านการดำเนินการจัดการศึกษาแบบ On Air Education ส่วนสถานศึกษานอกเขตเทศบาลมีความ
คิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินการ
จัดการศึกษาแบบ On Site Education ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการดำเนินการจัดการศึกษาแบบ On line
Education และเมอื่ พจิ ารณาตามสถานภาพ พบวา่ ครูผสู้ อนมีความคิดเห็นต่อสภาพปจั จุบันของการจัดการเรียนรู้
ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน
และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินการจัดการศึกษาแบบ On Site
Education ดา้ นท่มี คี ่าเฉล่ียตำ่ สุดคือ ด้านการดำเนนิ การจัดการศกึ ษาแบบ On Air Education

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค (2563) ทำการศึกษาผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบการศึกษาของโลก
และประเทศไทยในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งพบผลกระทบต่อผู้เรียน คือ 1) ผลกระทบจากการปิดเรียน
อันยาวนานพบว่าการที่นักเรียนต้องอยู่บ้านนาน ๆ จะส่งผลทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนถดถอยลง
โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กยากจนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน 2) การวิเคราะห์เรื่องความเหลื่อมล้ำ
ของการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา พบว่าการเรียนรู้ที่เป็นที่นิยมของสถานศึกษาในยุค COVID-19 คือ

47

การเรียนผ่านระบบออนไลน์ แต่ก็มีปัญหาในบางมิติ ในด้านของความเหลื่อมล้าดิจิทัล ( digital divide)
ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต ทักษะความรู้ของครูและผู้ปกครอง
ในการช่วยสนับสนุน 3) การให้เงินอุดหนุนที่สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก และแนวทางการช่วยเหลืออื่น ๆ
ในปัจจุบันหลายประเทศได้เร่งบรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียนและผู้ปกครองในด้านต่างๆ เช่น
การให้เงินอุดหนุนเงินลงไปที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในระดับปฐมวัย โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย การดูแลเรื่องอาหาร
และโภชนาการแก่เด็กท่ตี ้องการ การแจกหรอื ใหย้ มื อุปกรณ์ เช่น เคร่ืองคอมพวิ เตอร์มือถือ เครอื่ งส่งสญั ญาณ WiFi
แบบมือถือ ให้แก่นักเรียนในกลุ่มยากจนที่ไม่มีอุปกรณ์การศึกษา การให้ความช่ วยเหลือในเรื่องของ
การให้คำปรกึ ษาต่าง ๆ หรอื นกั จติ วทิ ยา แก่เด็กหรอื พอ่ แม่

สิริพร อินทสนธิ์ (2563) ได้ศึกษาและอธิบายถึงสถานการณ์โควิดโดยได้ศึกษาเรื่อง โควิด -19 :
กบั การเรยี นการสอนออนไลน์ กรณศี กึ ษา รายวชิ าการเขยี นโปรแกรมเว็บ พบวา่ การระบาดของโควดิ ส่งผลกระทบ
ต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนต้องมีการปรับตัวในการเรียนการสอน
จากการเรียนในห้องเป็นการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งมีการเลือกใช้โปรแกรมในการเรียนออนไลน์โดยมีข้อดีและ
ข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ความพร้อมของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของผู้เรียน รวมถึงความเสถียรของ
สัญญาณอินเทอร์เน็ตทั้งของผู้สอนและผู้เรียนอาจจะเกิดปัญหาได้ในระหว่างเรียน ในรายวิชาการเขียนโปรแกรม
เว็บนั้นอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาได้พูดคุยและปรับกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้เครื่องมือ
แอพพลิเคชั่นในการเรียนออนไลน์หลัก ได้แก่ Line Zoom Youtube และ Google Classroom ส่วนโปรแกรม
Camtasia Studio ผู้สอนใช้สำหรับตัดต่อวิดิโอเพื่อใช้ในการสอน และใช้โปรแกรม TeamViewer เข้าสู่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เมื่อผู้เรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บเกิดปัญหาระหว่างเรียน สามารถแก้ปัญหา
ทขี่ ดั ข้องในระหว่างเรียนได้

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2563) ศึกษาผลของการติดตามสภาพและความเคลื่อนไหว
รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆที่เกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ให้ข้อเสนอว่า “ควรสร้าง
เจตคติใหม่ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้แก่ครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งจากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็น
ความสำคัญของการพัฒนาครู เพราะครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ หากครูมีคุณภาพ
ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพแล้ว ก็จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน คุณภาพของผู้เรียนจึงขึ้นอยู่กับ
คุณภาพของครูเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการทำหน้าที่ครู รวมทั้งการเสริมขวัญกำลังใจให้
ครมู พี ลังบวก

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ, UNICEF (2563) ได้ทำการสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อเด็ก
และเยาวชนในประเทศไทย พบว่า เด็กและเยาวชนกว่า 8 ใน 10 คน มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเงิน
ของครอบครัว ซึ่งเป็นประเด็นที่เด็กและเยาวชนกังวลมากที่สุด เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถ
ทำงานไดต้ ามปกติ อันเป็นผลมาจากการปิดตวั ของธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนการถูกเลิกจา้ ง

48

อำนาจ ชนะวงศ์ (2552) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลเชิงระบบ
ในการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้จำแนกกระบวนการ
จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเปน็ 2 ระยะ โดยมรี ายละเอียดดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นขั้นตอนการร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ( Developing tentative policy
recommendations) จากประชากร และกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามวัตถุประสงค์ การวิจัยแต่ละประเด็นที่แตกต่าง
กัน ดังนี้ 1) การศึกษาความเหมาะสม และข้อเสนอเพื่อปรับปรุงองค์ประกอบ คุณสมบัติ กระบวนการสรรหา
อำนาจหน้าท่ี และบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาและการศึกษา ปัญหาและแนวทางแก้ไขตามอำนาจหน้าที่
และบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา และ 2) การศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพ การบริหาร
และการจดั การของโรงเรยี นในเขตพน้ื ทีก่ ารศึกษา

ระยะที่ 2 เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ ข้อเสนอเชิงนโยบาย (Analysis of recommendations)
ที่ได้รับการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 ไปวิเคราะห์ข้อเสนอแนะโดยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันร่างข้อเสนอแนะ
ใหเ้ ป็นขอ้ เสนอเชิงนโยบาย

6.2 งานวจิ ยั ตา่ งประเทศ
Daniel P. Bennett (2021) ไดศ้ ึกษาการจัดการวิกฤตในสถานการณ์การระบาดของเช้ือไวรัสโคโรน่า 2019
ในระยะเวลาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในปี 2020 : กรณีศึกษาสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง
ในสหรัฐอเมริกา โดยมีคำถามการวิจัยว่าจะสามารถแก้ไขวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
ได้อย่างไร ซึ่งผู้ร่วมศึกษาครั้งนี้เป็นผู้บริหารระดับสูงจำนวน 4 คน 4 คน ใน Midwestern state university
ทำการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า การตัดสินใจของผู้ร่วมวิจัยขึ้นอยู่กับคุณธรรม ค่านิยม
และจรยิ ธรรมท่สี ะทอ้ นคณุ ค่าและจรยิ ธรรมของวทิ ยาลัย
Di Pietro and Others (2020) ได้สังเคราะห์วรรณกรรมและข้อมูลที่อยู่ในฐานของคณะกรรมาธิการยุโรป
เสนอเป็นรายงานเชิงเทคนิคของศูนย์วิจัยร่วม เรื่อง “The likely impact ofCOVID-19 on education:
Reflections based on the existing literature and recent international datasets.” ไ ด ้ ผ ล ก า ร ว ิ จั ย
ที่สรุปให้เห็นถึงผลกระทบหลัก 2 ประการ คือ 1) ผลกระทบต่อความสูญเสียต่อการเรียนรู้ ซึ่งมีเหตุปัจจัยมาจาก
การมีเวลาในการเรียนรู้ทไ่ี ม่เพียงพอ ความเครียดในการเรยี นรู้ วถิ กี ารสรา้ งปฏิสัมพันธ์ของผเู้ รียนที่เปลี่ยนแปลงไป
และการขาดแรงจูงใจในการเรียน และ 2) สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน
ในการเรียนรู้ ซึ่งจำแนกเป็น 2.1) ปัจจัยที่เกิดการสนับสนุนจากผู้ปกครองที่ไม่ใช่เรื่องการเงิน ซึ่งได้แก่
ทักษะการเรียนรู้ของผู้ปกครอง ทักษะของผู้ปกครองที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนรู้ การมีเวลาให้กับลูกๆ
2.2) ปัจจัยเกี่ยวกับทรัพยากรทางการเงินของผู้ปกครองซึ่งได้แก่ การมีอุปกรณ์ดิจิทัลที่บ้าน การจัดให้บ้าน
มีบรรยากาศของการเรียน การให้โภชนาการที่เหมาะสมและการสนับสนุนกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียน

49

ของโรงเรียน 2.3) ปัจจัยเกี่ยวกับการเข้าร่วมของโรงเรียน ซึ่งได้แก่ ความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ดิจิทัลของโรงเรียน
และทกั ษะดา้ นดิจทิ ลั ของครู
2.4) ทักษะดา้ นดิจทิ ลั ของนักเรียน

Ploj Virtic and other (2021) ได้ศึกษาพฤติกรรมการเรียนทางไกลออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยใน
ระหว่างการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 และการกำหนดให้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ โดย
สอบถามนักศึกษามหาวทิ ยาลัยจำนวน 606 คน พบว่า มีการใช้แอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีเพียงการ
ใช้ Microsoft Team เท่านั้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การใช้แอพพลิเคชั่นอื่นๆ เช่น
อเี มล์ มูเดิล อิเทก็ บุ๊ค มคี ่าเฉลยี่ อยู่ในระดบั ตำ่ ถึงปานกลาง

Tartavulea, Cristina Venera and others (2020) ได้ศึกษาการปฏิบัติการสอนออนไลน์และประสิทธิผล
ของกระบวนการทางการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า มหาวิทยาลัยและนักศึกษา
สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าการเปลี่ยนมาใช้
การสอนแบบออนไลนโ์ ดยภาพรวมมผี ลเชงิ บวกต่อกระบวนการศึกษาในระดบั ปานกลางแม้ว่าประสทิ ธิภาพโดยรวม
ของประสบการณ์การศึกษาออนไลน์จะต่ำกว่ากรณีการสอนแบบตัวต่อตัว นอกจากนี้พบว่า การสนับสนุน
สถาบัน ความไว้วางใจในระบบออนไลน์ และการรับรู้ประสิทธิผลของการประเมินเป็นปัจจัยที่มีผลเชิงบวก
กบั ผลกระทบและการศึกษาออนไลน์

50

บทที่ 3
วิธีดำเนนิ การวจิ ยั

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ดำเนินการทำวิจัยเชิงพื้นท่ี
เรอื่ ง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019
มีข้นั ตอนในการดำเนนิ การวจิ ยั 3 ขนั้ ตอน ดงั นี้

ขัน้ ตอนท่ี 1 การวิเคราะห์ SWOT วิเคราะห์สภาพการจัดการศกึ ษาของโรงเรยี นในสังกัด สำนกั งาน
เขตพื้นทก่ี ารศกึ ษามธั ยมศกึ ษานครสวรรค์ ในลักษณะต่างๆ ด้านจุดแขง็ จุดอ่อน โอกาส อปุ สรรค
ในดา้ นการบริหารจัดการ ดา้ นการจดั การเรียนรู้ และด้านการดูแลชว่ ยเหลือนักเรียน

1. ขอบเขตด้านเนือ้ หา
ในการศึกษา วิเคราะห์ SWOT นำข้อมูลของโรงเรียนจากการสัมภาษณ์เชิงลึก มาวิเคราะห์

จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค โดยคณะนักวิจัยร่วมกันวิเคราะห์ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัด
การเรียนรู้ และด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษา
นครสวรรค์ ทุกโรงเรียน โดยจำแนกลักษณะโรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ใหญ่พิเศษ โรงเรียน
ที่ใช้พื้นที่เป็นโรงพยาบาลสนาม และสถานที่พักคอย และวิเคราะห์แบ่งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ
ระดับชน้ั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย

2. ขอบเขตด้านแหลง่ ข้อมลู
1. แหล่งข้อมูลจากเอกสารการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 ของโรงเรียนในสงั กัดสำนกั งานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่
1) ดา้ นการบริหารจดั การ 2) ด้านการจดั การเรยี นรู้ และ 3) ด้านการดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรยี น

2. แหลง่ ข้อมูลจากบุคคล ไดแ้ ก่ ผูบ้ รหิ ารโรงเรยี น และครู จำนวน 37 โรงเรยี น โดยนำข้อมูลจาก
การนำเสนอของทุกโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ที่รายงานผล
การนิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รูปแบบ VDO Conference โปรแกรม Google Meet โดยรายงานผลการจัดการศึกษาต่อผู้อำนวยการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์และคณะติดตามผลการดำเนินงานประกอบด้วย
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามธั ยมศึกษานครสวรรค์ , ผู้อำนวยการโรงเรียนประธานสหวทิ ยา
เขต และผู้อำนวยการโรงเรยี นเลขานกุ าร สหวิทยาเขต และคณะศกึ ษานิเทศก์ทกุ คน ระหวา่ งวันที่ 20, 23 และ
30 สิงหาคม 2564

3. ขอบเขตดา้ นตัวแปร
ตัวแปรทศ่ี กึ ษา คือ สภาพการจดั การศึกษาในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรัส

51

โคโรนา 2019 ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ในลักษณะต่างๆ
โดยวิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ในด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้
และ ด้านการดแู ลชว่ ยเหลือนกั เรยี น

เครื่องมอื การวจิ ยั
1. แบบสมั ภาษณ์เชงิ ลกึ ของครแู ละผู้บรหิ ารด้านการบริหารจัดการ ดา้ นการจัดการเรยี นรู้ และดา้ น
การดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรียนของโรงเรียนลกั ษณะตา่ งๆ
2. แบบวเิ คราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอปุ สรรค ด้านการบรหิ ารจัดการ ดา้ นการจัดการเรียนรู้
และดา้ นการดแู ลชว่ ยเหลือนกั เรยี นของโรงเรยี น
3. แบบบนั ทกึ กรณศี ึกษาของโรงเรยี นท่ีจัดการศึกษาโดดเด่น และโรงเรยี นทม่ี ีปัญหาอปุ สรรคต่อดา้ น
การบริหารจดั การ ดา้ นการจัดการเรียนรู้ และดา้ นการดแู ลชว่ ยเหลอื นักเรียนของโรงเรียน
การวิเคราะห์ข้อมลู แบบวเิ คราะห์เนอ้ื หา (Content Analysis)
1. วิเคราะห์ข้อมูลโรงเรียนจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจัดทำเป็นสารสนเทศการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการดูแลช่วยเหลือ
นกั เรียน
2. วเิ คราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอปุ สรรค ดา้ นการบริหารจัดการ ดา้ นการจดั การเรียนรู้ และ
ดา้ นการดูแลชว่ ยเหลือนกั เรียนของโรงเรียน จากแบบแบบวเิ คราะห์ จดุ แขง็ จดุ ออ่ น โอกาส และอุปสรรค
3. สรุปนำเสนอกรณีศึกษาของโรงเรียนที่จัดการศึกษาโดดเด่น และโรงเรียนที่มีปัญหาอุปสรรค
จากแบบบันทึกกรณศี กึ ษา

ขั้นตอนที่ 2 ประชุมระดมความคิด (Brainstorming) นำผลการวิเคราะห์ SWOT มาประชุม
ระดมความคิดของคณะวจิ ยั นกั วิชาการ ผบู้ ริหาร ครู ผ้เู ก่ยี วขอ้ ง กำหนดแนวทางการจัดการศกึ ษา เพอ่ื พฒั นา
โรงเรียนทุกลักษณะ ในด้านการบริหารจัดการโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน

1. ขอบเขตด้านเนอ้ื หา
ในการประชุมระดมความคิด (Brainstorming) นำผลการวิเคราะห์ SWOT มาประชุม

ระดมความคิดของคณะวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหาร ครู ผู้เกี่ยวข้อง มากำหนดแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อ
พัฒนาโรงเรียนทุกลักษณะ ในด้านการบริหารจัดการโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการดูแล
ชว่ ยเหลือนกั เรียน

2. ขอบเขตดา้ นแหล่งข้อมูล
1. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล ในการประชุมระดมความคิด (Brainstorming) คือ แนวทาง

การจัดการศกึ ษาเพ่ือพฒั นาโรงเรียนทกุ ลักษณะ ในดา้ นการบริหารจัดการโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ และ
ดา้ นการดูแลชว่ ยเหลอื นักเรียน

52

2. แหล่งข้อมูลจากบุคคล ได้แก่ คณะวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้เกี่ยวข้อง กำหนด
แนวทางการจัดการศึกษาเพือ่ พฒั นาโรงเรียนทุกลกั ษณะ ดา้ นการบรหิ ารจดั การโรงเรยี น ดา้ นการจดั การเรียนรู้
และด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียน
นครสวรรค์ 2) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ 3) โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ 4) โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
5) โรงเรียนหนองบัว 6) โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ 7) โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ 8) โรงเรียน
พระบางวิทยา 9) โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม 10) โรงเรียนโกรกพระ 11) โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณ
อนุสรณ์ 12) โรงเรยี นพนมรอกวทิ ยา

ขนาดโรงเรียน ประเภทโรงเรยี น ชือ่ โรงเรยี น
ขนาดเล็ก โรงเรียนทั่วไป 1) โรงเรียนโกรกพระ
2) โรงเรียนจันเสนเอง็ สวุ รรณอนุสรณ์
ขนาดเลก็ สถานท่พี ักคอย โรงเรยี นพนมรอกวิทยา
ขนาดกลาง โรงเรียนทว่ั ไป 1) โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์
2) โรงเรยี นตากฟ้าวิชาประสิทธิ์
ขนาดกลาง โรงพยาบาลสนาม 3) โรงเรียนพระบางวทิ ยา
ขนาดใหญ่ โรงเรียนทว่ั ไป โรงเรียนบรรพตพิสยั พิทยาคม
ขนาดใหญ่ สถานท่ีพักคอย โรงเรียนนวมนิ ทราชทู ิศ มชั ฌิม
ขนาดใหญ่พเิ ศษ โรงเรียนทว่ั ไป โรงเรียนหนองบวั
1) โรงเรียนนครสวรรค์
2) โรงเรยี นสตรนี ครสวรรค์
3) โรงเรยี นตาคลีประชาสรรค์

3. ขอบเขตดา้ นตวั แปร
ตัวแปรทีศ่ ึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรัส

โคโรนา 2019 ของโรงเรยี นในสงั กัด สำนกั งานเขตพืน้ ท่กี ารศกึ ษามธั ยมศึกษานครสวรรค์ เพ่ือพัฒนาโรงเรยี น
ทุกลกั ษณะ ในด้านการบรหิ ารจดั การโรงเรียน ดา้ นการจดั การเรยี นรู้ และดา้ นการดแู ลช่วยเหลอื นักเรยี น

เครื่องมือการวจิ ัย
1. ประเดน็ ประชมุ ระดมความคิดการบรหิ ารจดั การโรงเรยี น การจดั การเรียนรู้ และการดแู ล
ชว่ ยเหลอื นักเรยี น
2. แบบวิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาเพือ่ พฒั นาโรงเรยี นทุกลกั ษณะ ในการบรหิ ารจัดการ
โรงเรยี น การจดั การเรียนรู้ และการดูแลชว่ ยเหลือนักเรยี น

53

การวเิ คราะหข์ อ้ มูล แบบวิเคราะหเ์ นอ้ื หา (Content Analysis)
วิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกลักษณะ ในการบริหารจัดการโรงเรียน
การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรยี น จากแบบวิเคราะหแ์ นวทางการจัดการศึกษา

ขั้นตอนที่ 3 การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) กำหนดข้อเสนอเชิงนโยบาย
การจดั การศกึ ษาในการแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เช้ือไวรสั โคโรนา 2019 ในระดับเขตพ้นื ท่ีการศึกษา

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นโครงการหรือแผนงานย่อย ให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจง
ของหลักการเหตผุ ล วตั ถปุ ระสงค์ กลยทุ ธ์การดำเนนิ งาน งบประมาณ ประกอบด้วย

1. ด้านการจัดทำแผนและนโยบาย แนวทางการบรหิ ารจัดการการศึกษาของโรงเรยี น
2. ด้านหลักสูตรและการจดั การเรียนรู้ (รปู แบบตา่ งๆ 5 On หรอื รูปแบบอื่นๆ)
3. ด้านเทคโนโลยีทางการศกึ ษา
4. ดา้ นการวัดประเมนิ ผล
5. ด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรยี นรู้
6. ดา้ นการดแู ลชว่ ยเหลอื นักเรียน
2. ขอบเขตดา้ นแหลง่ ข้อมูล
แหล่งข้อมูลจากบุคคล ได้แก่ คณะวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้เกี่ยวข้อง กำหนด
แนวทางการจัดการศึกษาเพอ่ื พัฒนาโรงเรียนทุกลกั ษณะ ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้
และดา้ นการดแู ลชว่ ยเหลอื นักเรยี น
3. ขอบเขตด้านตวั แปร
ตัวแปรทศ่ี กึ ษา คือ ข้อเสนอเชงิ นโยบายการจดั การศกึ ษาในการแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 ในระดับเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษา

เครือ่ งมือการวิจัย

1. ประเด็นการสัมมนา จัดทำขอ้ เสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณก์ ารแพร่ระบาด
ของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับเขตพ้นื ท่ีการศึกษา

2. แบบวเิ คราะหผ์ ลการสมั มนาองิ ผู้เชี่ยวชาญ และข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศกึ ษาใน
สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับเขตพ้ืนทก่ี ารศึกษา

การวเิ คราะหข์ ้อมลู แบบวเิ คราะห์เนอื้ หา (Content Analysis)

กำหนดข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นโครงการ หรือแผนงานย่อย ให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงของหลักการเหตุผล
วตั ถปุ ระสงค์ กลยุทธก์ ารดำเนินงาน งบประมาณ ประกอบด้วย

1. ดา้ นการจดั ทำแผนและนโยบาย แนวทางการบริหารจดั การการศกึ ษาของโรงเรยี น

54

2. ดา้ นหลกั สูตรและการจัดการเรยี นรู้ (รปู แบบต่างๆ 5 On หรือรูปแบบอน่ื ๆ)
3. ดา้ นเทคโนโลยีทางการศึกษา
4. ดา้ นการวัดประเมนิ ผล
5. ด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรยี นรู้
6. ด้านการดูแลชว่ ยเหลือนักเรียน
โดยจำแนกตามลกั ษณะโรงเรียน โดยแบง่ เปน็ นโยบายการจดั การศึกษาระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น และระดบั
มธั ยมศึกษาตอนปลาย

55

บทท่ี 4
ผลการวิจัย

สำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศึกษามธั ยมศกึ ษานครสวรรค์ ขอรายงานผลการวิจัยเชิงพน้ื ที่
เรอื่ ง ข้อเสนอเชงิ นโยบายด้านการจดั การศึกษาในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา
2019 สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis) ขอนำเสนอผลการวิจัยแยกตามขนาดโรงเรียน และประเภทของโรงเรียนท่ีเป็น
โรงพยาบาลสนามและสถานท่ีพักคอย โดยรายงานตามหัวข้อ เรยี งตามลำดบั ขนาดโรงเรยี น ไดแ้ ก่ 1) โรงเรียน
ขนาดเล็ก 2) โรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นสถานท่ีพักคอย 3) โรงเรียนขนาดกลาง 4) โรงเรียนขนาดกลางและ
ขนาดใหญ่ท่ีเป็นโรงพยาบาลสนามและสถานที่พักคอย 5) โรงเรียนขนาดใหญ่ และ 6) โรงเรียนขนาดใหญ่
พเิ ศษ ดงั นี้

1. ขอ้ มูลโรงเรยี น สารสนเทศการจัดการศกึ ษาในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรัส
โคโรนา 2019 ของโรงเรียนในสำนกั งานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษามัธยมศึกษานครสวรรค์

2. ผลการวิเคราะห์ SWOT ดา้ นการบรหิ ารจัดการ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคตดิ เชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

3. ผลการวิเคราะห์ SWOT ดา้ นการจัดการเรียนรู้แตล่ ะรปู แบบในสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนในสำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศึกษามธั ยมศึกษานครสวรรค์

4. ผลการวิเคราะห์ SWOT การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานการณ์ การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้ 2) ด้านการติดตาม 3) ด้านการช่วยเหลือส่งต่อ
และ 4) ด้านความปลอดภัย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชนั้ มัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียน
สังกดั สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

5. กรณศี กึ ษาของโรงเรยี นท่จี ัดการศึกษาโดดเด่น และโรงเรยี นทม่ี ีปัญหาอุปสรรคในการจดั
การศกึ ษาในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรัสโคโรนา 2019

6. ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชือ้
ไวรัสโคโรนา 2019 ทจี่ ะนำมาใช้ในปกี ารศึกษา 2565 ประกอบดว้ ย

6.1 ดา้ นการจัดทำแผนและนโยบาย แนวทางการบรหิ ารจัดการการศึกษาของโรงเรยี น
6.2 ด้านหลักสตู รและการจัดการเรยี นรู้ (รูปแบบต่างๆ 5 On หรอื รปู แบบอน่ื ๆ)
6.3 ดา้ นเทคโนโลยีทางการศึกษา
6.4 ดา้ นการวัดประเมนิ ผล
6.5 ดา้ นการพัฒนานวตั กรรมการเรยี นรู้
6.6 ดา้ นการดูแลช่วยเหลอื นักเรยี น

56

ผลการวิเคราะหข์ ้อมูลโรงเรียนขนาดเลก็
1. ข้อมูล สารสนเทศการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

โรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 สงั กัดสำนกั งานเขตพื้นที่การศกึ ษามธั ยมศึกษานครรสวรรค์

ตารางที่ 1 แสดงขอ้ มูลพ้ืนฐานโรงเรยี นขนาดเลก็

จำนว จำนวน จำนวน จำนวน วนั ท่ีเปิด รูปแบบการจัดการเรียนรู้
น ผูบ้ ริหา ครู หอ้ งเรยี น ภาคเรียนท่ี
ที่ โรงเรยี น ร(คน) (คน) ม. ม. 1/2564 On On On On Online
นักเรีย ต้น ปลาย Site
น(คน) Air Demand Hand

1 โกรกพระ 460 2 28 10 7 1 มิ ถุ น า ย น 
1 2564 
1
2 เขากะลาวิทยาคม 102 1 11 3 3 1 มิ ถุ น า ย น 
2564 

3 เขาทองพิทยาคม 300 17 6 4 1 มิ ถุ น า ย น
2564

4 จนั เสนเอง็ สวุ รรณ 317 22 6 5 1 มิ ถุ น า ย น
2564
อนสุ รณ์

5 ชอ่ งแคพทิ ยาคม 243 1 18 6 6 1 มิ ถุ น า ย น 
6 บงึ บอระเพด็ 169 1 13 3 2564  

วิทยา 6 1 มิ ถุ น า ย น
2564

7 หนองโพพทิ ยา 197 1 15 5 3 1 มิ ถุ น า ย น  
8 อุดมธัญญา 206 1 15 6 2564  

ประชานุเคราะห์ 99 1 12 1 3 1 มิ ถุ น า ย น  
9 ลาดทิพรสพิทยา 2564

คม 1 1 มิ ถุ น า ย น
2564

รวม 2093 10 151 46 38 14 49

ร้อยละ 11.11 44.44 44.44 100

จากตารางที่ 1 พบว่า โรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีจำนวนนักเรียน 1-499 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศกึ ษามธั ยมศึกษานครสวรรค์จำนวนทั้งสนิ้ 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนโกรกพระ โรงเรยี นเขากะลาวิทยาคม
โรงเรียนเขาทองพิทยาคม โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์ โรงเรียนช่องแคพิทยาคม โรงเรียนบึงบอระเพ็ด
วทิ ยา โรงเรยี นหนองโพพิทยา โรงเรียนอดุ มธัญญาประชานุเคราะห์ และโรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม มีจำนวน
นกั เรียนรวมท้ังสิ้น 2,093 คน ผู้บรหิ าร 10 คน ครู 151 คน จำนวนห้องเรยี น 84 ห้องเรียน โรงเรียนมีรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ 4 แบบ คือ On Air, On Demand, On Hand และ Online ทุกโรงเรยี นได้ได้จดั การเรียน
การสอนรูปแบบ On Site และทุกโรงเรียนเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ต้ังแต่ วันที่ 1 มิถุนายน
2564 ยกเว้น โรงเรียนอุดมธัญญาประชานุเคราะห์ เปิดภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2564 ในวันท่ี 14 มถิ ุนายน
2564

57

2. ผลการวิเคราะห์ SWOT ดา้ นการบริหารจัดการ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคติดเช้อื ไวรสั โคโรนา 2019 ของโรงเรยี นขนาดเล็ก ในสำนักงานเขตพืน้ ท่กี ารศึกษามัธยมศึกษา
นครสวรรค์ ผูว้ ิจัยขอนำเสนอผลการวิจัยดังนี้

ตารางที่ 2 แสดงผลการวเิ คราะห์ SWOT ด้านการบรหิ ารจดั การของโรงเรยี นขนาดเลก็ ในสถานการณ์

การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชื้อไวรสั โคโรนา 2019

การบรหิ ารจัดการ จดุ แข็ง จดุ ออ่ น โอกาส อุปสรรค

การบรหิ ารจัดการ 1. ครูมที กั ษะในการใช้ 1. ครูบางทา่ นยงั 1. ผู้บริหารมีวสิ ยั ทศั น์ 1. การติดตอ่ สอื่ สาร

ด้านบุคลากร สอื่ การเรียนการสอน ขาดทกั ษะในการนำ สามารถบรหิ ารงานได้ ด้วยรูปแบบ Online

(Man) Online และมคี วาม เทคโนโลยี อย่างเป็นระบบและ ไมม่ ีประสิทธภิ าพ

รอบร้ใู นดา้ นเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ บรรลุ เป้าหมายการจดั เทา่ ที่ควร

มากขน้ึ จัดการเรียนการ การศึกษาในสถานการณ์ 2. ครมู ีภาระ

2. ครเู ข้ารับการฉีด สอนรปู แบบ ของการแพรร่ ะบาดของ ค่าใช้จา่ ยเกย่ี วกับ

วัคซีนป้องกัน COVID- Online โรคตดิ เช้ือไวรสั โคโรนา่ วสั ดุ อปุ กรณ์ และ

19 เพ่ือเสรมิ ภมู ิคมุ้ กนั 2. ครปู ฏบิ ัติการ 2019 สญั ญาณ

สง่ ผลใหส้ ามารถปฏิบตั ิ สอนหลายวิชาทำให้ 2. มีการวางแผนการ อินเทอร์เน็ตในการ

หนา้ ทีไ่ ดอ้ ย่างปลอดภยั มภี าระการตรียม ปฏบิ ตั ิงานอยา่ งเปน็ จัดการเรียนการ

3. ครูมคี วามรู้ การสอนมากข้นึ ระบบ ดำเนินงานตาม สอนออนไลนเ์ พม่ิ

ความสามารถและมี 3. ครูมีภาระงาน แผนและนเิ ทศ กำกบั มากข้ึน

การพัฒนาตนเองอย่าง พเิ ศษนอกเหนือจาก ตดิ ตามอย่างต่อเนอ่ื ง 3. บคุ ลากรบางคนมี

สม่ำเสมอ งานการสอนมาก สง่ ผลใหก้ ารจัด ข้อจำกัดในการ

4. บุคลากรมีความ การศึกษามี Work from Home

รบั ผิดชอบตอ่ การ ประสิทธภิ าพมากยิง่ ขึ้น จึงมีความเปน็ ตอ้ ง

จัดการเรียนการสอน มาปฏิบตั หิ น้าทที่ ี่

Onlineและงานหนา้ ที่ โรงเรียน

พิเศษท่ไี ด้รับมอบหมาย

การบรหิ ารจดั การ ใชเ้ งินงบประมาณตาม 1. โรงเรยี นมี บางโรงเรียนไดร้ บั การ การดำเนินงาน

ดา้ นงบประมาณ แผนปฏบิ ตั ิการท่ีได้มี งบประมาณไม่ สนบั สนุนงบประมาณ เกี่ยวกบั การเบิกจา่ ย

(Money) การปรบั เพือ่ ใช้ใน เพยี งพอ จากหน่วยงานภายนอก งบประมาณล่าชา้

สถานการณ์โรค ในการบรหิ ารจัดการ เนือ่ งจากครูใน

COVID-19 2. บางโรงเรยี นไมไ่ ด้ โรงเรยี นมีการ

รับงบประมาณ ทำงานแบบ Work

สนับสนุนจาก from Home

หนว่ ยงานอน่ื

58

ตารางท่ี 2 ต่อ

การบรหิ ารจัดการ จุดแขง็ จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
การบริหารจัดการ จดั สรรวัสดุอปุ กรณ์เพื่อ วสั ดอุ ุปกรณ์ทาง ไดร้ บั การสนบั สนนุ วสั ดอุ ปุ กรณ์ และสอื่
ดา้ นสื่อ อุปกรณ์ การจัดการเรยี นการ เทคโนโลยไี ม่ อุปกรณป์ ้องกันการเเพร่ สง่ิ อำนวย
(Material) สอนในรปู แบบออนไลน์ ทันสมยั ระบาดโรค COVID-19 ความสะดวกไม่
ทัง้ เคร่ืองพมิ พ์ เครอ่ื ง จากหนว่ ยงานภายนอก เพียงพอ
การบริหารจัดการ คอมพวิ เตอร์ และการ ขอ้ จำกัดด้านการ
ด้านบรหิ ารจัดการ สนับสนุนวสั ดอุ ปุ กรณ์ ประสานงาน และ 1. ประชุม วางแผน การวางแผนรว่ มกัน
(Management) ในการจดั ทำใบงาน การประชาสัมพันธ์ ดำเนินการการทำงาน ต้องวางแผน
สำหรบั คณุ ครูทุกคน การทำงาน ของคณะครู สอบถาม ผ่านทางสอ่ื ออนไลน์
1. โรงเรยี นมีการใช้ เน่ืองจากการ ขอ้ มูลนกั เรยี น และการตดิ ต่อ
เทคโนโลยดี ิจิทลั ชว่ ย ปฏบิ ตั ิงานใน ผู้ปกครอง เพ่ือวางแผน ประสานงาน
จัดการและบรหิ าร รปู แบบ Work ใหเ้ หมาะสมกบั ความ คอ่ นขา้ งลา่ ชา้
สถานศึกษา from home พร้อมของผ้ปู กครอง
2. สร้างความตระหนกั และนักเรียนในการ
ในสถานการณ์ฯในการ จัดการเรียนการสอน
ดูแลตนเองตาม ชว่ งสถานการณโ์ ควดิ -
มาตรการของกรม 19
อนามัย รวมถึงรปู แบบ 2. การนเิ ทศ กำกับ
การจัดการเรยี นการ ติดตามและจดั ประชมุ
สอนในรูปแบบต่างๆ ออนไลน์
ตามความพร้อมของ 3. ชมุ ชนมีความเขม้ แข็ง
ผู้เรยี น มสี ว่ นรว่ มในการบริหาร
3. มีการวางแผนงาน จดั การการศึกษาให้
รว่ มกันของผูบ้ ริหาร บรรลตุ ามวตั ถปุ ระสงค์
หัวหนา้ ฝา่ ยงาน และ ของการพัฒนาผ้เู รยี น
คณะครู เป็นสำคญั
4. จดั สรรวสั ดอุ ปุ กรณ์ 4. ปรบั รูปแบบการ
เพ่ือการจัดการเรยี น ทำงาน และรูปแบบการ
การสอนในรปู แบบ จดั การเรยี นการสอนให้
ออนไลน์ทัง้ เครอื่ งพมิ พ์ เหมาะสม ปลอดภยั
เคร่อื งคอมพวิ เตอร์
และการสนบั สนนุ วสั ดุ
อุปกรณใ์ นการจดั ทำ
ใบงานสำหรับคณุ ครู
ทุกคน

59

ตารางที่ 2 ต่อ

การบริหารจดั การ จดุ แขง็ จุดออ่ น โอกาส อุปสรรค

5. การนิเทศตดิ ตาม

การจดั การเรยี นการ

สอนอย่างเป็นระบบ

6. การพฒั นาหลักสตู ร

สถานศกึ ษาและ

ประเมนิ การใชห้ ลกั สูตร

จากตารางท่ี 2 พบว่า การวิเคราะห์ SWOT ด้านการบรหิ ารจัดการของโรงเรียนขนาดเล็ก ใน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้ง 4 ด้าน ดงั น้ี

ด้านการบริหารจัดการด้านบุคคล (Man) นั้นมี จุดแข็งคือ มีการบริการจัดการอย่างตรงเป้าหมาย
ผบู้ ริหารเอื้อให้ครไู ด้อบรมเรียนรู้ Platform ต่าง ๆ ทำให้ครูสามารถสอนออนไลน์ได้อย่างสะดวก หลากหลาย
วิธี จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดอ่อน คือ ครูบางท่านเรียนรู้เทคโนโลยี
ได้ไม่ทันการณ์ มีรายวิชาที่ต้องสอนจำนวนมาก ทำให้ต้องเตรียมการสอนมากข้ึนใช้เวลามากข้ึน โอกาส คือ
ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารจัดการเพ่ือเตรียมการต่างๆ ได้อย่างรอบ คอบ ครูสามารถเลือก
สือ่ มาประกอบการสอนได้หลากหลาย สว่ นครูได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วน สุขภาพแข็งแรง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ต่างช่วยสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณเต็มท่ี อุปสรรค คือวัสดุอุปกรณ์ของครูและเด็กไม่พร้อม
เทา่ ทค่ี วร ครมู ีข้อจำกดั ด้านการเรียนรู้ มภี าระค่าใชจ้ ่ายดา้ นวัสดุอปุ กรณ์และสัญญาณอินเทอรเ์ น็ตเพิม่ ขึ้น

ด้านงบประมาณ (Money) มีจุดแข็ง คือ สามารถใช้เงินงบประมาณท่ีมีการปรับใช้ให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์โรค COVID-19 จุดอ่อน คือ โรงเรียนขนาดเล็กได้รับงบประมาณไม่เพียงพอและไม่ได้รับ
การสนับสนุนงบจากหน่วยงานอ่ืนเลย โอกาส คือ บางโรงเรียนได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
และอปุ สรรค คือ การเบิกจา่ ยงบประมาณลา่ ชา้ เนื่องจากบุคลากร WFH

ด้านวัสดุอปุ กรณ์ (Material) มีจุดแขง็ คือ ไดร้ บั จดั สรรวัสดุอุปกรณเ์ พ่ือการจัดการเรยี นการสอนใน
รูปแบบออนไลนท์ ้ังเครื่องพิมพ์ เคร่อื งคอมพวิ เตอร์ และการสนบั สนุนวสั ดอุ ปุ กรณใ์ นการจัดทำใบงานสำหรบั
คณุ ครทู ุกคน จุดออ่ น คอื วัสดอุ ุปกรณ์ทางเทคโนโลยไี มท่ ันสมัย โอกาส คอื ไดร้ ับการสนบั สนนุ อปุ กรณป์ ้องกนั
การเเพร่ระบาดโรค COVID-19 จากหน่วยงานภายนอก อุปสรรค คอื วัสดุอปุ กรณ์ และส่ือ สง่ิ อำนวยความ
สะดวกไม่เพยี งพอ

ด้านบริหารจัดการ (Management) มีจุดแข็ง คือโรงเรียนมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยจัดการ
และบริหารสถานศึกษาสามารถสร้างความตระหนักในในสถานการณ์ฯในการดูแลตนเองตามมาตรการของ
กรมอนามัย รวมถงึ มรี ูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆตามความพร้อมของผเู้ รียนมีการวางแผน
งานร่วมกนั ของผูบ้ ริหาร หัวหน้าฝ่ายงาน และคณะครสู ามารถจัดสรรวสั ดอุ ุปกรณเ์ พ่อื การจัดการเรียนการสอน
ในรปู แบบออนไลน์ทั้งเคร่อื งพมิ พ์ เคร่ืองคอมพวิ เตอร์ และการสนบั สนนุ วัสดุอปุ กรณ์ในการจัดทำใบงานสำหรับ

60

คุ ณ ค รู ทุ ก ค น แ ล ะ มี ก า ร นิ เท ศ ติ ด ต า ม ก า ร จั ด ก า ร เรี ย น ก า ร ส อ น อ ย่ า ง เป็ น ร ะ บ บ พ ร้ อ ม ทั้ ง มี ก า ร พั ฒ น า
หลักสูตรสถานศึกษาและประเมินการใช้หลักสูตรอีกด้วย จุดอ่อน คือข้อจำกัดด้านการประสานงาน และ
การประชาสัมพันธ์การทำงาน โอกาส คือ มีการประชุม วางแผนดำเนินการการทำงานของคณะครู
สอบถามข้อมูลนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อวางแผนให้เหมาะสมกับความพร้อมของผู้ปกครองและนักเรียน
ในการจัดการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีการนิเทศ มีการกำกับติดตามและจัดประชุมออนไลน์
พร้อมปรับรูปแบบการทำงาน และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม ชุมชนมีความเข้มแข็ง
มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ
อุปสรรค คือ การวางแผนร่วมกันต้องวางแผนผ่านทางส่ือออนไลน์ ทำให้อาจมีความเข้าใจคลาดเคล่ือน
และการติดตอ่ ประสานงานค่อนขา้ งลา่ ชา้

3. ผลการวเิ คราะห์ SWOT ดา้ นการจดั การเรยี นรูแ้ ต่ละรปู แบบในสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 ของโรงเรยี นขนาดเล็ก ในสำนักงานเขตพื้นทกี่ ารศึกษามธั ยมศึกษา
นครสวรรค์

ตารางท่ี 3 แสดงรปู แบบการจดั การเรยี นแบบ On Site โรงเรยี นขนาดเลก็

ระดับการศกึ ษา จุดแขง็ จุดออ่ น โอกาส อปุ สรรค
Threat
Strength Weakness Opportunity
ไม่มี
มัธยมศึกษาตอนต้น ไม่มี ไมม่ ี ไม่มี ไมม่ ี

มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ไมม่ ี ไม่มี ไม่มี

จากตารางที่ 3 พบวา่ โรงเรยี นขนาดเลก็ ไมม่ ีการจัดการเรียนการสอนแบบ On Site เน่อื งจากการ
แพรร่ ะบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019

ตารางท่ี 4 แสดงรปู แบบการจดั การเรียนแบบ On Air โรงเรียนขนาดเล็ก

ระดบั การศกึ ษา จดุ แข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
Threat
Strength Weakness Opportunity
ไมม่ ี
มธั ยมศกึ ษาตอนต้น ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ไม่มี ไม่มี ไมม่ ี

จากตารางท่ี 4 พบว่า โรงเรยี นขนาดเล็ก ไมไ่ ด้เปน็ สถานทีพ่ กั คอยไม่มกี ารจัดการเรียนการสอนแบบ
On Air เนอ่ื งจากการแพรร่ ะบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019

61

ตารางท่ี 5 แสดงรูปแบบการจัดการเรียนแบบ On Demand โรงเรยี นขนาดเล็ก

ระดับ จดุ แข็ง จุดออ่ น โอกาส อปุ สรรค
Threat
การศกึ ษา Strength Weakness Opportunity อุปกรณไ์ มท่ นั สมัย

มัธยมศึกษา 1. นกั เรียนสามารถเขา้ นกั เรยี นบางคน ลดค่าใชจ้ า่ ยให้กับ อุปกรณไ์ มท่ นั สมัย

ตอนต้น เรยี นร้ใู นช่วงเวลาท่ี ไม่สนใจ นกั เรยี นไมม่ ี ครอบครัวนักเรยี น

ตอ้ งการ ลดการใช้ เคร่อื งมอื

สญั ญาณอินเตอร์เนต็

2. นักเรียนสามารถ

ทบทวนเนื้อหาการเรยี น

ได้ตลอดเวลาตามความ

ตอ้ งการ

3. ครมู ชี ่องทางการสอน

เพมิ่ เตมิ นอกเหนือจาก

รปู แบบ online ประกอบ

กบั การใช้ใบงานและแบบ

ฝึกทักษะ

มัธยมศกึ ษา 1. นกั เรียนสามารถเข้า นกั เรียนบางคน ลดคา่ ใชจ้ ่ายใหก้ บั

ตอนปลาย เรยี นร้ใู นช่วงเวลาท่ี ไม่สนใจ นักเรียนไม่มี ครอบครวั นกั เรียน

ตอ้ งการ ลดการใช้จ่าย เครอ่ื งมือ

สญั ญาณอินเตอร์เนต็

สามารถช่วยเหลอื

นักเรียนท่อี ่อน

2. นักเรียนสามารถ

ทบทวนเนื้อหาการเรยี น

ได้ตลอดเวลาตามความ

ต้องการ

3. ครูมีช่องทางการสอน

เพมิ่ เตมิ นอกเหนือจาก

รูปแบบ Online

ประกอบกบั การใชใ้ บงาน

และแบบฝกึ ทักษะ

จากตารางท่ี 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนแบบ On Demand ของโรงเรียนขนาดเล็ก ท้ังระดับ
การศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจุดแข็ง คือ นักเรียนสามารถเข้าเรียนรู้
ในช่วงเวลาท่ีต้องการ ลดการใช้จ่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยเหลือนักเรียนท่ีอ่อน และครูมีช่องทาง
การสอนเพ่ิมเติม นอกเหนือจากรูปแบบ Online ประกอบกับการใช้ใบงานและแบบฝึกทักษะ จุดอ่อน คือ

62

นักเรียนบางคนไม่สนใจการเรียนรู้แบบ On Demand และนักเรียนไม่มีเคร่ืองมือในการเรียนรู้แบบนี้
ทุกครอบครัว โอกาส คือ ลดค่าใชจ้ า่ ยให้กับครอบครวั นกั เรียน อปุ สรรค คอื อุปกรณ์ไมท่ นั สมยั

ตารางท่ี 6 แสดงรปู แบบการจดั การเรยี นแบบ On Hand โรงเรยี นขนาดเลก็

ระดบั จดุ แข็ง จดุ อ่อน โอกาส อุปสรรค
การศึกษา Strength Weakness Opportunity Threat
มัธยมศกึ ษา 1. เขา้ ถงึ สภาพ 1. ครแู ละนักเรียนมคี วามเส่ียง 1. ครสู ามารถนำรูปแบบ กระบวนการมอบ
ตอนตน้ ปัญหาการจดั การ ในการเดนิ ทางมารับใบงานใน ของใบงานหรือแบบฝกึ เอกสารใบงาน
เรยี นการสอนเเละให้ สถานการณ์การเเพรร่ ะบาด ทกั ษะจากแหล่งอ่นื ๆ มา ให้กบั นักเรียนใน
มัธยมศึกษา ความช่วยเหลอื ได้ ของโรคโควดิ -19 พฒั นาและปรบั ให้ พื้นที่ยังมีปัญหา
ตอนปลาย ตรงวตั ถุประสงค์ 2. นกั เรียนไมส่ ามารถเรียนรู้ เหมาะสมกับการเรยี นการ
2. นักเรยี นใหค้ วาม ไดด้ ว้ ยตนเอง และไมเ่ ข้าใจใน สอนในแต่ละวชิ า กระบวนการมอบ
รว่ มมอื ในการมารับ เน้อื หาตามงานทไี่ ดร้ บั 2. ชุมชนได้มีสว่ นรว่ มใน เอกสารใบงาน
ใบงานหรอื เอกสาร มอบหมาย การดำเนินการเพ่ือตดิ ตาม ให้กบั นักเรยี นใน
เป็นอย่างดี 3. นักเรยี นมารบั ใบงานไมต่ รง การเรยี น และการแจกใบ พนื้ ที่ยังมปี ญั หา
เวลา งาน On Hand
1. เข้าถึงสภาพ 4.นกั เรียนบางคนมารบั ใบงาน 3. นักเรียนสามารถ
ปัญหาการจดั การ แลว้ แต่ไม่ทำงานสง่ ครู ตดิ ตามงานยอ้ นหลังได้
เรียนการสอนเเละให้ 5. ครูมีภาระงานเพมิ่ มากข้ึน เนอื่ งจากมคี วาม
ความชว่ ยเหลือได้ ต้องเตรยี มการสอน Online จำเป็นตอ้ งชว่ ยงาน
ตรงวัตถปุ ระสงค์ และ On Hand ครอบครวั
2. นกั เรยี นใหค้ วาม 4. เป็นการชว่ ยเหลอื
ร่วมมอื ในการมารบั 1. ครแู ละนกั เรียนมคี วามเสย่ี ง นกั เรยี นท่ีมปี ญั หาการเขา้
ใบงานหรอื เอกสาร ในการเดนิ ทางมารับใบงานใน เรยี นในรูปแบบอน่ื
เป็นอยา่ งดี สถานการณ์การเเพรร่ ะบาด 1. ครูสามารถนำรูปแบบ
ของโรคโควดิ -19 ของใบงานหรือแบบฝกึ
2. นักเรียนไมส่ ามารถเรียนรู้ ทักษะจากแหล่งอื่นๆ มา
ไดด้ ว้ ยตนเอง และไมเ่ ขา้ ใจใน พัฒนาและปรบั ให้
เน้อื หาตามงานทไ่ี ดร้ ับ เหมาะสมกบั การเรยี นการ
มอบหมาย สอนในแตล่ ะวิชา
2. ชมุ ชนไดม้ สี ่วนรว่ มใน
การดำเนนิ การเพอ่ื ตดิ ตาม
การเรยี น และการแจกใบ
งาน On Hand

63

ตารางท่ี 6 ต่อ จดุ แขง็ จดุ อ่อน โอกาส อุปสรรค
Strength Weakness Opportunity Threat
ระดบั 3. นักเรียนมารับใบงานไมต่ รง 3. นกั เรียนสามารถ
การศกึ ษา เวลา ติดตามงานย้อนหลงั ได้
มัธยมศึกษา 4.นกั เรยี นบางคนมารบั ใบงาน เนื่องจากมคี วาม
ตอนปลาย แลว้ แต่ไมท่ ำงานสง่ ครู จำเปน็ ต้องชว่ ยงาน
5. ครูมภี าระงานเพม่ิ มากขึน้ ครอบครวั
ต้องเตรียมการสอน Online 4. เป็นการชว่ ยเหลอื
และ On Hand นกั เรยี นท่มี ีปญั หาการเข้า
6. ใชเ้ วลาในการจดั ทำใบงาน เรยี นในรูปแบบอน่ื
และการแจกใบงาน
คอ่ นขา้ งมาก

จากตารางท่ี 6 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนแบบ On Hand โรงเรียนขนาดเล็ก ทั้งระดับการศึกษา
มธั ยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจุดแขง็ คือ สามารถเข้าถึงสภาพปัญหาการจัดการเรียน
การสอนเเละให้ความช่วยเหลือครูและผู้เก่ียวข้องได้ตรงวัตถุประสงค์ นักเรียนให้ความร่วมมือในการมารับ
ใบงานหรือเอกสารเป็นอย่างดี จุดอ่อน คือ ครูและนักเรียนมีความเสี่ยงในการเดินทางมารับใบงาน
ในสถานการณ์การเเพร่ระบาดของโรคโควดิ -19 นักเรียนไม่สามารถเรียนรูไ้ ด้ด้วยตนเอง และไม่เข้าใจในเน้อื หา
ตามงานท่ไี ดร้ ับมอบหมาย นักเรียนมารับใบงานไม่ตรงเวลาหรอื กเรียนบางคนมารับใบงานแลว้ แต่ไมท่ ำงานส่ง
ครู และครูมีภาระงานเพิ่มมากข้ึนต้องเตรียมการสอน Online และ On Hand โอกาส คือ ครูสามารถนำ
รูปแบบของใบงานหรือแบบฝึกทักษะจากแหล่งอื่นๆ มาพัฒนาและปรับให้เหมาะสมกบั การเรยี นการสอนในแต่
ละวิชา ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อติดตามการเรียนและการแจกใบงาน On Hand นักเรียน
สามารถติดตามงานย้อนหลังได้ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องช่วยงานครอบครัว ท้ังยังเป็นการช่วยเหลือ
นักเรียนท่ีมีปัญหาการเข้าเรียนในรูปแบบอื่น อุปสรรค คือ กระบวนการมอบเอกสารใบงานให้กับนักเรียนใน
พื้นทย่ี ังมีปัญหา

ตารางที่ 7 แสดงรูปแบบการจดั การเรยี นแบบ Onlineโรงเรยี นขนาดเลก็

ระดบั จดุ แข็ง จุดออ่ น โอกาส อปุ สรรค
Threat
การศกึ ษา Strength Weakness Opportunity 1. เศรษฐกจิ ฝดื เคืองมี
การเลกิ จ้างงานจำนวน
มธั ยมศกึ ษา 1. ครูและนกั เรยี นมี 1. นักเรียนขาดความ 1. องคก์ ารบรหิ ารสว่ น มาก ทำให้

ตอนตน้ ทักษะการใชเ้ ทคโนโลยี รบั ผดิ ชอบในการเรยี น ตำบล สถานทร่ี าชการใน

ออนไลน์ ชุมชนให้บริการสญั ญาณ

64

ตารางท่ี 7 ต่อ

ระดบั จดุ แข็ง จดุ อ่อน โอกาส อปุ สรรค
Weakness Opportunity Threat
การศกึ ษา Strength 2. ครู และนักเรียนบาง อินเทอร์เน็ตให้กับ 1.1 ผูป้ กครองมภี าระ
คน ไม่ถนดั การใช้ นกั เรียนในการเรียน คา่ ใช้จา่ ยเพ่ิมในการซ้อื
มัธยมศึกษา 2. ครใู ชส้ อื่ เทคโนโลยที ่ี อุปกรณ์ และส่อื จาก 2. นกั เรยี น และครู ได้รบั อปุ กรณ์และสญั ญาณ
การเรยี นการสอน การเรยี นร้/ู การอบรมจาก อินเทอรเ์ น็ตในการเรยี น
ตอนต้น หลากหลายเพื่อสรา้ ง รปู แบบ หน่วยงานต่าง ๆมโี อกาส ออนไลน์
Online ในการพฒั นาทกั ษะการใช้ 1.2 นักเรียนบางคนต้อง
ความสนใจในการเรยี น เทคโนโลยเี พอื่ การศกึ ษา ไปหารายได้ ชว่ ยเหลอื
1. นักเรยี นขาดความ ครอบครวั
ของนกั เรียน รบั ผิดชอบในการเรียน 1. องคก์ ารบรหิ ารสว่ น 1.3 นักเรียนไมม่ ี
ออนไลน์ ตำบล สถานทร่ี าชการใน อปุ กรณใ์ นการเรียน
3. สามารถจดั การเรยี น 2. ครู และนกั เรียนบาง ชุมชนให้บรกิ ารสญั ญาณ ออนไลน์ เช่น โน้ตบคุ๊ มี
คน ไมถ่ นัดการใช้ อินเทอรเ์ น็ตใหก้ บั เพยี งโทรศัพท์ ซึ่งบาง
การสอนท่ีใด เวลาใด ก็ได้ อปุ กรณ์ และสื่อจาก นักเรยี นในการเรยี น ร่นุ ไมร่ องรับโปรแกรม
การเรยี นการสอน 2. นกั เรียน และครู ไดร้ ับ บางอย่าง
เปน็ การเพม่ิ โอกาสในการ รูปแบบ การเรยี นรู/้ การอบรมจาก 2. สัญญาณอินเทอร์เนต็
Online หน่วยงานต่าง ๆมีโอกาส ไมเ่ สถียรทำใหเ้ ป็น
เรียนรู้ ในการพัฒนาทักษะการใช้ ปัญหาในการเขา้ เรียน/
เทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา ในการเรียน และการจัด
มัธยมศึกษา 1. ครแู ละนกั เรียนมี กิจกรรมการเรียนร้ใู น
ตอนปลาย ทักษะการใชเ้ ทคโนโลยี รปู แบบ Online
2. ครูใช้สื่อเทคโนโลยที ่ี 1. เศรษฐกจิ ฝดื เคอื งมี
หลากหลายเพ่อื สร้าง การเลิกจา้ งงานจำนวน
ความสนใจในการเรียน มาก ทำให้
ของนกั เรียน 1.1 ผู้ปกครองมีภาระ
3. สามารถจดั การเรยี น คา่ ใช้จา่ ยเพิ่มในการซื้อ
การสอนท่ใี ด เวลาใด กไ็ ด้ อุปกรณ์และสญั ญาณ
เปน็ การเพ่ิมโอกาสในการ อนิ เทอร์เน็ตในการเรยี น
เรียนรู้ ออนไลน์
1.2 นกั เรียนบางคนต้อง
ไปหารายได้ ชว่ ยเหลอื
ครอบครวั

65

ตารางท่ี 7 ต่อ จุดแข็ง จดุ ออ่ น โอกาส อปุ สรรค
Strength Weakness Opportunity Threat
ระดบั 1.3 นักเรียนไมม่ ี
การศกึ ษา อปุ กรณ์ในการเรียน
มธั ยมศกึ ษา ออนไลน์ เชน่ โนต้ บุ๊ค
ตอนปลาย มเี พยี งโทรศัพท์ ซึ่งบาง
รนุ่ ไมร่ องรับโปรแกรม
บางอยา่ ง
2. สญั ญาณอนิ เทอร์เนต็
ไม่เสถียรทำใหเ้ ป็น
ปัญหาในการเข้าเรยี น/
ในการเรยี น และการจัด
กจิ กรรมการเรียนรูใ้ น
รูปแบบ Online

จากตารางที่ 7 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนแบบ Online โรงเรียนขนาดเล็ก ท้ังระดับการศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจุดแข็ง คือ ครูและนักเรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยี
ครูใช้ส่ือเทคโนโลยีท่ีหลากหลายเพื่อสร้างความสนใจในการเรียนของนักเรียน สามารถจัดการเรียนการสอน
ท่ีใด เวลาใด ก็ได้ เป็นการเพ่ิมโอกาสในการเรียนรู้ จุดอ่อนคือ นักเรียนขาดความรับผิดชอบในการเรียน
ออนไลน์ ครู และนักเรียนบางคนไม่ถนัดในการใช้อุปกรณ์และส่ือจากการเรียนการสอน รูปแบบ Online
โอกาสคือ องค์การบริหารส่วนตำบล สถานที่ราชการในชุมชนให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กับนักเรียน
ในการเรียน นอกจากนี้นักเรียน และครู ได้รับการเรียนรู้/การอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้มีโอกาส
ในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา อุปสรรค คือ เศรษฐกิจฝืดเคืองมีการเลิกจ้างงาน
จำนวนมาก ทำให้ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มในการซ้ืออุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตในการเรียน
ออนไลน์ นักเรียนบางคนต้องไปหารายได้ ช่วยเหลือครอบครัว นักเรียนไม่มีอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์
เช่น โน้ตบุ๊ค มีเพียงโทรศัพท์ ซึ่งบางรุ่นไม่รองรับโปรแกรมบางอย่าง และสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร
ทำใหเ้ ป็นปัญหาในการเข้าเรียน/ในการเรยี น และการจดั กจิ กรรมการเรยี นรใู้ นรูปแบบ Online

ตารางท่ี 8 แสดงแนวทางการจัดการศึกษา ของโรงเรยี นขนาดเล็ก ไม่ไดเ้ ป็นสถานที่พักคอย ในสังกัด
สำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศึกษามธั ยมศกึ ษานครสวรรคจ์ ำแนกตามรปู แบบการจดั การเรยี นรู้ใน
สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019

66

ระดบั รปู แบบการเรียนรู้
การศกึ ษา
มัธยมศกึ ษา Online On Demand On Hand
ตอนต้น
1. จดั การศกึ ษาอยา่ งสอดคล้องกบั 1. จดั การศึกษาอย่าง 1. จดั การศึกษาอยา่ งสอดคล้อง
มัธยมศึกษา
ตอนปลาย หลักสตู ร ครบถ้วน เนน้ ส่งิ ทต่ี ้องรู้ สอดคลอ้ งกบั หลักสตู รอย่าง กบั หลกั สตู ร ครอบคุลม ครบถ้วน

อยา่ งชัดเจน สอดคลอ้ งกบั เวลา ครบถว้ น เนน้ ส่ิงท่ีต้องรูอ้ ยา่ ง เน้นสิ่งทต่ี อ้ งรอู้ ย่างชดั เจนกระชับ

เรียนท่มี ี สอดคล้องกบั บรบิ ทของ ชดั เจนสอดคล้องกบั เวลาเรยี น เรื่องราวทตี่ ้องเรยี นรู้ สอดคล้อง

โรงเรยี นครู นกั เรยี นและชมุ ชน ท่ีมี ตลอดจนบริบทของ กบั บรบิ ทของโรงเรียนครู นักเรยี น

และสถานการณก์ ารระบาดของ โรงเรียนครู นักเรียนและชุมชน และชมุ ชน และสถานการณก์ าร

โรคไวรสั Covid -19 และสถานการณ์การระบาด ระบาดของโรคไวรสั Covid -19

2. ออกแบบกิจกรรมการเรยี นรู้ ของโรคไวรสั Covid -19 2. ออกแบบกจิ กรรมการเรียนรู้

อย่างสร้างสรรค์ เน้นเปน็ แบบ 2. เลอื กส่อื /นวตั กรรมที่ อยา่ งสรา้ งสรรค์ เน้นเป็นแบบ

Active Learning เพื่อใหน้ ักเรียน สอดคล้องกบั การใช้การเรยี นรู้ Active Learning เพอ่ื ให้นักเรียน

ได้ใช้เวลาเรยี นรูส้ ่งิ ท่ตี นเองเป็นผู้ จากการเรียน On Demand ไดใ้ ช้เวลาเรียนรูส้ ่งิ ท่ตี นเองเป็นผู้

ปฏบิ ัติ สอดคลอ้ งกบั การพฒั นา สนับสนุนการออกแบบ ปฏิบัติ สอดคลอ้ งกับการใช้การ

ทกั ษะของครูและนกั เรียนให้ กจิ กรรมการเรยี นรู้อยา่ ง เรียนรจู้ ากการเรียน On Hand

สามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ/ สร้างสรรค์ เนน้ เปน็ แบบ 3. เลอื กประเดน็ การเรียนร้ทู ี่

นวัตกรรมใหค้ ุ้มค่า และตอบสนอง Active Learning เพ่ือให้ สำคญั มาออกแบบนวตั กรรมแบบ

ต่อผลลัพธข์ องการเรยี นรู้อยา่ งมี นกั เรียนได้ใชเ้ วลาเรยี นรสู้ ิ่งที่ “นอ้ ยแตม่ าก(คณุ คา่ )”

ประสทิ ธภิ าพ ตนเองเปน็ ผู้ปฏบิ ัติ

1. จดั การศกึ ษาอย่างสอดคล้องกบั 1. จัดการศึกษาอย่าง 1. จดั การศึกษาอยา่ งสอดคลอ้ ง

หลกั สตู ร ครบถ้วน เนน้ สิง่ ทีต่ อ้ งรู้ สอดคล้องกบั หลักสตู รอย่าง กับหลกั สตู ร ครอบคุลม ครบถว้ น

อย่างชัดเจน สอดคล้องกบั เวลา ครบถ้วน เน้นสิ่งที่ต้องรอู้ ยา่ ง เนน้ สิ่งท่ตี ้องรอู้ ย่างชัดเจนกระชบั

เรียนท่มี ี สอดคล้องกบั บรบิ ทของ ชัดเจนสอดคล้องกับเวลาเรยี น เรื่องราวทต่ี อ้ งเรยี นรู้ สอดคลอ้ ง

โรงเรียนครู นกั เรยี นและชุมชน ท่ีมี ตลอดจนบริบทของ กบั บริบทของโรงเรยี นครู นกั เรยี น

และสถานการณก์ ารระบาดของ โรงเรยี นครู นกั เรียนและชมุ ชน และชมุ ชน และสถานการณก์ าร

โรคไวรัส Covid -19 และสถานการณ์การระบาด ระบาดของโรคไวรัส Covid -19

2. ออกแบบกิจกรรมการเรยี นรู้ ของโรคไวรสั Covid -19 2. ออกแบบกจิ กรรมการเรยี นรู้

อยา่ งสรา้ งสรรค์ เนน้ เป็นแบบ 2. เลอื กสื่อ/นวตั กรรมท่ี อย่างสร้างสรรค์ เน้นเป็นแบบ

Active Learning เพื่อให้นกั เรยี น สอดคลอ้ งกับการใช้การเรยี นรู้ Active Learning เพื่อใหน้ กั เรียน

ไดใ้ ช้เวลาเรยี นรู้สงิ่ ทต่ี นเองเป็นผู้ จากการเรยี น On Demand ไดใ้ ชเ้ วลาเรียนรู้สง่ิ ทีต่ นเองเป็นผู้

ปฏิบัติ สอดคล้องกบั การพฒั นา สนบั สนุนการออกแบบ ปฏิบัติ สอดคล้องกับการใช้การ

ทกั ษะของครูและนักเรยี นให้ กจิ กรรมการเรียนรู้อยา่ ง เรยี นรจู้ ากการเรยี น On Hand

สามารถใช้วสั ดุ อปุ กรณ์ สอ่ื / สรา้ งสรรค์ เน้นเป็นแบบ 3. เลอื กประเดน็ การเรียนรู้ท่ี

นวัตกรรมใหค้ มุ้ คา่ และตอบสนอง Active Learning เพือ่ ให้ สำคญั มาออกแบบนวตั กรรมแบบ

ต่อผลลพั ธข์ องการเรยี นรูอ้ ยา่ งมี นกั เรยี นไดใ้ ช้เวลาเรยี นรู้สิง่ ท่ี “น้อยแตม่ าก (คณุ คา่ )”

ประสิทธภิ าพ ตนเองเปน็ ผู้ปฏิบัติ

67

จากตารางท่ี 8 พบว่า แนวทางการจัดการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์จำแนกตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคตดิ เชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 ท้งั ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ และระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลายน้ัน

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Online นั้นควรจัดการศึกษาอย่างสอดคล้องกับหลักสูตร ครบถ้วน
เน้นสิ่งที่ต้องรู้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับเวลาเรียนที่มี สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนครู นักเรยี นและชุมชน
และสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส Covid -19 และสนับสนุนให้ครูออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
อย่างสร้างสรรค์ เน้นเป็นแบบ Active Learning เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาเรียนรู้สิ่งท่ีตนเองเป็นผู้ปฏิบัติ
สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะของครูและนักเรียนให้สามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ ส่ือ/นวัตกรรมให้คุ้มค่า
และตอบสนองตอ่ ผลลพั ธข์ องการเรยี นรอู้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ On Demand เน้นให้จัดการศึกษาอย่างสอดคล้องกับหลักสูตร
โดยจัดอย่างครบถ้วน เน้นสิ่งที่ต้องรู้อย่างชัดเจนสอดคล้องกับเวลาเรียนที่มี ตลอดจนบริบทของโรงเรียน
ครู นกั เรียนและชุมชนและสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส Covid -19 เลือกส่อื /นวัตกรรมท่ีสอดคล้องกับ
การใช้การเรียนรู้จากการเรียน On Demand สนับสนุนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
เน้นเป็นแบบ Active Learning เพ่ือใหน้ กั เรียนได้ใช้เวลาเรยี นร้สู ิง่ ทตี่ นเองเป็นผูป้ ฏิบตั ิ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ On Hand ควรจัดการศึกษาอย่างสอดคล้องกับหลักสูตร ครอบคุลม
ครบถ้วน เน้นส่ิงท่ีต้องรอู้ ย่างชัดเจนกระชับเรื่องราวที่ต้องเรียนรู้ สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนครู นักเรียน
และชุมชน และสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส Covid -19 ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
เน้นเป็นแบบ Active Learning เพ่ือให้นักเรียนได้ใช้เวลาเรียนรู้ส่ิงท่ีตนเองเป็นผู้ปฏิบัติ สอดคล้องกับ
การใช้การเรียนรู้จากการเรียน On Hand และเลือกประเด็นการเรียนรู้ท่ีสำคัญมาออกแบบนวัตกรรม
แบบ “นอ้ ยแตม่ าก (คุณคา่ )”

4. ผลการวิเคราะห์ SWOT การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้ 2) ดา้ นการติดตาม
3) ด้านการช่วยเหลือส่งต่อ และ 4) ด้านความปลอดภัย ในระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับช้ัน
มัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้เป็นสถานท่ีพักคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษานครสวรรค์ ในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 ดังน้ี

ตารางที่ 9 แสดงผลการวิเคราะหก์ ารดูแลช่วยเหลือนกั เรียน ไดแ้ ก่ 1) ด้านการเรียนรู้ 2) ดา้ นการติดตาม
3) ดา้ นการชว่ ยเหลอื ส่งตอ่ และ 4) ด้านความปลอดภัย ในระดับช้ันมธั ยมศึกษาตอนตน้ และ
ระดับช้ันมธั ยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรยี นขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพ้นื ท่กี ารศึกษา
มัธยมศกึ ษานครสวรรค์

68

การดแู ล จุดแขง็ จดุ อ่อน โอกาส อปุ สรรค
ช่วยเหลือ Strength Weakness Opportunity Threat
นักเรยี น
ดา้ นการ 1.จดั กิจกรรมการเรยี นรู้ท่ี 1. นักเรยี นและครู 1. ผู้ปกครองและ เวลาเรยี นร้ทู ่นี อ้ ยลง
เรยี นรู้ หลากหลายใหส้ อดคลอ้ ง มีโอกาสแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ชมุ ชนมสี ว่ นรว่ มใน กวา่ เดิม สง่ ผลใหก้ ารจัด
กบั สภาพผเู้ รยี น กนั น้อย เนอื่ งดว้ ยเวลา การจัดกจิ กรรมการ กิจกรรมการเรียนรไู้ ม่
ดา้ นการ 2. จัดทำใบงาน ใบความรู้ จำกดั เรียนรหู้ รืออำนวย ครอบคลมุ หลกั สตู ร
ตดิ ตาม ใหก้ บั นกั เรยี นที่ไม่สามารถ 2. การจัดกจิ กรรมการ ความสะดวกในการ รายวชิ า ทำให้การ
เขา้ เรยี นแบบออนไลนไ์ ด้ เรยี นรู้บางแบบ ไม่ จัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ เรียนรมู้ ีประสทิ ธิภาพ
3. จดั กจิ กรรมยกระดับ สอดคล้องกับบริบทของ มากขึ้น น้อยลง
ผลสัมฤทธข์ิ องผูเ้ รยี นพบ นักเรียนทุกคน
นกั เรียนหนง่ึ ชนั้ หน่ึง 3. นกั เรียนบางส่วนไม่ 1. ชุมชนได้ 1. องค์กรปกครองสว่ น
หอ้ งเรยี น รบั ผิดชอบตนเอง ประสานงานกบั ท้องถิน่ /ผู้นำชุมชน บาง
เท่าทีค่ วร โรงเรยี น นกั เรียนและ แห่งมวี สิ ัยทัศน์/นโยบาย
1. การติดตามนกั เรียนเป็น 4. นักเรยี นบางคนไม่ ครอบครัวนกั เรียน ในดา้ นสง่ เสริม
รายคนผ่านแอปพลิเคชัน่ สามารถเขา้ ถึงระบบ มากขนึ้ อาจสง่ ผลให้ การศกึ ษาไมช่ ดั เจน/ไม่
ตา่ ง ๆ โดยครูทปี่ รกึ ษา ออนไลน์ได้ เน่อื งจากไมม่ ี ในอนาคตถ้ามีการจดั ต่อเนื่อง ทำให้การ
และครปู ระจำวิชา และ อปุ กรณ์และไมม่ สี ัญญาณ การศกึ ษาโดยการ ประสานงานด้านการ
จดั ทำรายงานเสนอ อนิ เทอรเ์ นต็ ทำใหก้ าร สนับสนนุ จากชมุ ชน ตดิ ตามนกั เรยี นถกู
ผูบ้ ริหารและผเู้ กยี่ วขอ้ ง ให้ ตดิ ตามดูแลชว่ ยเหลอื และองค์กรของ ละเลย
ความชว่ ยเหลอื นกั เรยี น เป็นไปได้ยาก ท้องถ่ิน นา่ จะทำใหแ้ ต่ 2. กิจกรรมต่าง ๆ ใน
เปน็ รายกรณตี ามสภาพ 1.ครูทีป่ รกึ ษา/ครปู ระจำ ละสถานศึกษามีการ ชมุ ชนทตี่ ้านโควิด ซง่ึ มี
ปัญหาของนักเรียน วิชา ติดตาม สอบถาม จัดการเรยี นรูท้ ่ีมี ผลตอ่ การรอดชีวติ
2. ส่งเสรมิ ใหผ้ ปู้ กครองมี ขอ้ มูลนักเรยี นเป็น ประสิทธภิ าพมากข้ึน โดยตรง ไดร้ บั ความ
สว่ นร่วมในการตดิ ตามการ รายบุคคลไดไ้ ม่ท่ัวถึง สนใจมากกวา่ การจดั
เข้าเรยี นและการส่งงาน เนอ่ื งจากนกั เรียนและ กิจกรรมการเรยี นรู้
การแกป้ ัญหาผเู้ รยี นเพือ่ ครอบครวั บางครอบครวั ใหก้ ับเยาวชนของชมุ ชน
ร่วมกับทางโรงเรยี นแก้ไข อาจเกย่ี วข้องกบั
ปัญหาของนกั เรยี น สถานการณข์ องโรคหรือ
3. นกั เรยี นแกนนำตาม กกั ตัว
2. การสื่อสารระหวา่ งครู
และนักเรยี นอาจน้อยไป
ทำใหค้ วามเขา้ ใจและ
ทกั ษะตา่ ง ๆ ของนกั เรยี น
ขาดการเติมเต็ม

69

ตารางท่ี 9 ต่อ

การดแู ล จดุ แขง็ จุดอ่อน โอกาส อปุ สรรค
ชว่ ยเหลอื Strength Weakness Opportunity Threat
นักเรยี น
3.ในแต่ละชมุ ชนมโี รงเรยี น
โครงการโรงเรยี นคณุ ธรรม หลายระดบั อาจทำให้การ
ดูแลและเขา้ ถึง/การมสี ่วน
สพฐ. จัดทำโครงงาน ร่วมของชมุ ชนในการ
ติดตามนักเรยี นให้เขา้ เรียน
“BUDDY จา๋ อยา่ โดดเรยี น” หรอื มารบั อปุ กรณ์ทผ่ี ู้นำ
ชมุ ชนไม่สะดวกนกั
4. มีการติดตามการเรยี นและ 4. การส่ือสารออนไลนบ์ าง
Platform ไมเ่ หมาะสม
การสง่ งานอยา่ งตอ่ เน่ืองผ่าน ไมส่ อดคลอ้ งกับคร,ู วยั ของ
นกั เรยี นและบรบิ ทของ
ชอ่ งทางตา่ งๆ ไดห้ ลากหลาย ชุมชน
1.เวลาการพบกันของครู
ขึ้น และนกั เรียนมีน้อย ทำให้
เก็บรายละเอยี ดท่ีจำเป็น
ด้านการ 1. การประสานงานผ่านครู 1. จำนวนนักเรยี นมีมาก 1.ชมุ ชนหรือ ตอ่ การชว่ ยเหลือมนี อ้ ย
ช่วยเหลอื สง่ อาจชว่ ยเหลอื ไดไมต่ รงกับ
ตอ่ ประจำวชิ าและครทู ป่ี รึกษา ครูอาจเอาใจใสไ่ ม่ทวั่ ถึง ผเู้ กย่ี วข้อง ความต้องการมากนัก

ดา้ นความ ติดตามการเข้าเรียนการสง่ งาน 2. นกั เรยี นอาจเครียด สนับสนุนส่ือ/ 1. สมาชกิ ในชมุ ชน
ปลอดภยั บางส่วน ประมาทในการ
ของนกั เรยี น จากการเรียนและการมี นวตั กรรม/ ดแู ลรกั ษาสุขภาพ อาจทำ
ให้เกิด Cluster ทแ่ี พร่มา
2. ครูแนะแนวครทู ป่ี รกึ ษา ภาระงานทีม่ ากขนึ้ ทง้ั เทคโนโลยี/ หานักเรยี นได้
2. ในสถานการณโ์ รคโควดิ
คอยชว่ ยเหลือให้คำแนะนำใน จากท่ีโรงเรยี นและ อุปกรณ์ทีเ่ ออ้ื ต่อ 19 ส่งผลให้ลงพืน้ ที่
ชว่ ยเหลือนกั เรยี นไดไ้ ม่
การศกึ ษาต่อระดบั ท่สี งู ขนึ้ ไป ครอบครวั การเรยี นรู้ ท่วั ถึง

1. ครูที่ปรกึ ษาตดิ ตาม 1. การไม่ระมดั ระวังของ 1. ชุมชน รา้ นคา้

สอบถามขอ้ มลู นกั เรียนด้าน นกั เรียนและผเู้ กย่ี วขอ้ ง ต่าง ๆ มีความ

ความ ในด้านความเสีย่ งเรือ่ ง กระตือรือร้นใน

ปลอดภยั ทัง้ ความเป็นอยู่และ สขุ ภาพ ตนเองเทา่ ทค่ี วร การบรกิ ารความ

ด้านการป้องกนั โรคโควดิ -19 จะเปน็ ปลอดภยั พน้ื ฐาน

ของนกั เรียนเป็นรายบคุ คล

2. โรงเรยี นมมี าตรการคดั

กรองและการปอ้ งกัน เชน่

สวมแมสก์ ล้างมอื ด้วย

แอลกอฮอลห์ รอื เจลอยา่ ง

เพียงพอ

3. มกี ารตดิ ตามการเรยี นและ

การสง่ งานอย่างตอ่ เน่อื งผ่าน

ชอ่ งทางตา่ งๆ

70

จากตารางที่ 9 ผลการวิเคราะห์ SWOT ด้านการดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรยี น ในระดับช้นั มัธยมศกึ ษา
ตอนตน้ และระดบั ช้นั มัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนขนาดเล็ก ไม่ได้เป็นสถานทพ่ี ักคอย มดี งั น้ี

ดา้ นการเรียนรู้ มจี ดุ แข็ง คือ ครจู ดั กิจกรรมการเรียนรู้ทหี่ ลากหลายใหส้ อดคลอ้ งกบั สภาพผูเ้ รยี น
จดั ทำใบงาน ใบความร้ใู ห้กบั นกั เรยี นที่ไมส่ ามารถเข้าเรยี นแบบออนไลนไ์ ด้ และจดั กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์
ของผู้เรียนพบนักเรียนหน่ึงช้ันหนึ่งห้องเรียน จุดอ่อน คือ นักเรียนและครูมีโอกาสแลกเปล่ียนเรียนรู้กันน้อย
เนื่องด้วยเวลาจำกัด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บางแบบ ไม่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนทุกคน อีกท้ัง
นักเรียนบางส่วนไม่รับผิดชอบตนเองเท่าที่ควร และนักเรียนบางคนไม่สามารถเข้าถึงระบบออนไลน์ได้
เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์และไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำให้การติดตามดูแลช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก โอกาส คือ
ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรืออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้มากขึ้น อุปสรรค คือ เวลาเรียนรู้ท่ีน้อยลงกว่าเดิม ส่งผลให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่ครอบคลุม
หลกั สูตรรายวิชา ทำใหก้ ารเรียนรู้มีประสิทธภิ าพนอ้ ยลง

ด้านการติดตาม มีจดุ แขง็ คือ การติดตามนักเรียนเป็นรายคนผ่านแอปพลเิ คชั่นตา่ ง ๆ โดยครูที่ปรึกษา
และครูประจำวิชา และจัดทำรายงานเสนอผู้บริหารและผู้เก่ียวข้อง ให้ความช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายกรณี
ตามสภาพปัญหาของนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการติดตามการเข้าเรียนและการส่งงาน
การแก้ปัญหาผู้เรียนเพื่อร่วมกับทางโรงเรียนแก้ไขปัญหาของนักเรียน มีนักเรียนแกนนำตามโครงการโรงเรียน
คุณธรรม สพฐ. จัดทำโครงงาน “BUDDY จ๋าอย่าโดดเรียน” และมีการติดตามการเรียนและการส่งงาน
อย่างต่อเน่ืองผ่านช่องทางต่างๆ ได้หลากหลายขึ้น จุดอ่อน คือ ครูท่ีปรึกษา/ครูประจำวิชา ติดตาม สอบถาม
ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลได้ไม่ท่ัวถึง เน่ืองจากนักเรียนและครอบครัวบางครอบครัวอาจเก่ียวข้อง
กับสถานการณ์ของโรคหรือกักตัว การสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนอาจน้อยไป ทำให้ความเข้าใจและ
ทักษะต่าง ๆ ของนักเรียนขาดการเติมเต็ม โอกาส คือ ชุมชนได้ประสานงานกับโรงเรียน ประสานงาน
กับนักเรียนและครอบครัวของนักเรียนมากข้ึน อาจส่งผลให้ในอนาคตถ้ามีการจัดการศึกษาโดยการสนับสนุน
จากชุมชนและองค์กรของท้องถิ่น น่าจะทำให้แต่ละสถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพมากข้ึน
อุปสรรค คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน/ผู้นำชุมชน บางแห่งมีวิสัยทัศน์/นโยบายในด้านส่งเสริมการศึกษา
ไม่ชัดเจน/ไม่ต่อเนื่อง ทำให้การประสานงานด้านการติดตามนักเรียนถูกละเลย กิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน
ที่ต้านโควิด ซ่ึงมีผลต่อการรอดชีวิตโดยตรง ได้รับความสนใจมากกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเยาวชน
ของชุมชน อีกท้ังในแต่ละชุมชนมีโรงเรียนหลายระดับ อาจทำให้การดูแลและเข้าถึง/การมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการติดตามนักเรียนให้เข้าเรียนหรือมารับอุปกรณ์ที่ผู้นำชุมชนไม่สะดวกนัก และการสื่อสารออนไลน์
บาง Platform ไม่เหมาะสม ไม่สอดคลอ้ งกบั คร,ู วยั ของนกั เรียนและบรบิ ทของชุมชน

ด้านการช่วยเหลือส่งต่อ มีจุดแข็ง คือ สามารถประสานงานผ่านครูประจำวิชาและครูท่ีปรึกษาเพ่ือ
ติดตามการเข้าเรียนการส่งงาน ของนักเรียน และมีครูแนะแนวครูท่ีปรึกษาคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ
ในการศกึ ษาต่อระดบั ทสี่ ูงขนึ้ ไป จุดออ่ น คือ จำนวนนักเรียนมีมาก ครอู าจเอาใจใส่ไม่ท่ัวถึง นักเรียนอาจเครยี ด
จากการเรียนและการมีภาระงานท่ีมากขึ้นทั้งจากที่โรงเรียนและครอบครัว โอกาส คือ ชุมชนหรือผู้เกี่ยวข้อง

71

สนับสนุนสื่อ/นวัตกรรม/เทคโนโลยี/อุปกรณ์ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อุปสรรค คือ เวลาการพบกัน
ของครูและนักเรียนมีน้อย ทำให้เก็บรายละเอียดที่จำเป็นต่อการช่วยเหลือมีน้อย อาจช่วยเหลือไดไม่ตรงกับ
ความต้องการมากนกั

ด้านความปลอดภัย มีจุดแข็ง คือ ครูท่ีปรึกษาติดตาม สอบถามข้อมูลนักเรียนด้านความ ปลอดภัย
ท้ังความเป็นอยู่และด้านการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักเรียนเป็นรายบุคคล โรงเรียนมีมาตรการคัดกรอง
และการป้องกัน เช่น สวมแมสก์ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์หรือเจลอย่างเพียงพอ และมีการติดตามการเรียน
และการส่งงานอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางต่างๆ จุดอ่อน คือ การไม่ระมัดระวังของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง
ในด้านความเสี่ยงเร่ืองสุขภาพ อาจทำให้นักเรียนเส่ียงต่อการติดเชื้อ ด้วยเป็นวัยท่ีสนุกสนาน ไม่ค่อยกังวลเลย
ไม่ป้องกันตนเองเท่าที่ควรจะเป็น โอกาส คือ ชุมชน ร้านค้าต่าง ๆ มีความกระตือรือร้นในการบริการ
ความปลอดภัยพ้ืนฐาน เช่น มีแอลกอฮอล์บริการ มีการลงนามเข้าออก ร้าน มีการเขียนป้ายสื่อความหมาย
ให้สวมแมสด้วยอักษรที่เห็นชัดเจน มีมาตรการคัดกรองและการป้องกัน เช่น สวมแมสก์ ล้างมือ
ด้วยแอลกอฮอล์หรือเจลอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลือ
นักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 และนักเรียนท่ีกักตัว ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายผู้ปกครอง
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ผู้นำชุมชน ในการติดตามดูแลนักเรียน อุปสรรค คือ สมาชิกในชุมชน
บางส่วน ประมาทในการดูแลรักษาสุขภาพ อาจทำให้เกิด Cluster ท่ีแพร่มาหานักเรียนได้ ในสถานการณ์
โรคโควดิ 19 สง่ ผลใหล้ งพน้ื ทชี่ ่วยเหลอื นกั เรียนได้ไม่ทว่ั ถงึ

ตารางที่ 10 แสดงผลการวิเคราะห์แนวทางในการดูแลช่วยเหลอื นกั เรยี น ได้แก่ 1) ดา้ นการเรียนรู้

2) ด้านการติดตาม 3) ด้านการช่วยเหลือสง่ ตอ่ และ 4) ดา้ นความปลอดภยั ในระดับช้นั

มธั ยมศกึ ษาตอนต้นและระดับชนั้ มธั ยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรยี นขนาดเลก็ ไม่ไดเ้ ป็นสถานท่ี

พักคอย สงั กัดสำนักงานเขตพนื้ ท่ีการศึกษามธั ยมศึกษานครสวรรค์

ระดับ แนวทางการดูแลชว่ ยเหลอื นักเรียนในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019

การศึกษา ดา้ นการเรยี นรู้ ด้านการติดตาม ดา้ นการช่วยเหลือสง่ ตอ่ ดา้ นความปลอดภยั

มธั ยมศึกษา 1. สถานศึกษาและ 1. รฐั จัดเตรียมปรับ 1. รัฐประสานงาน 1. รฐั สนบั สนุนให้เกดิ

ตอนตน้ ผเู้ กี่ยวขอ้ งจัดทำ/ประยกุ ต์ ประยกุ ตน์ โยบาย บรู ณาการกันในเรอื่ งของ กระบวนการเรยี นรู้

ใหเ้ กิดหลักสูตร ทางการศกึ ษาให้ชดั เจน ศูนยพ์ กั คอยของแตล่ ะ แบบวจิ ัยให้กับครูและ

สถานศกึ ษา หลกั สตู ร เพอื่ รับสถานการณโ์ รค ชมุ ชนใหม้ มี าตรฐาน นักเรยี นเพอ่ื ตอ่ ยอด

รายวิชาทส่ี อดคล้องกบั ระบาดอน่ื ๆ ท่ีจะเกิดข้นึ สะอาด ปลอดภยั ไวใ้ หเ้ ปน็ ภมู ปิ ญั ญาถ่นิ ในการ

สถานการณ์การแพรข่ อง ในอนาคต ปกติ(ในยามปลอดโรคภยั ก็ ดูแลรักษาสขุ ภาพ

โรคระบาด 2. รฐั จดั บรกิ ารดา้ นการ เป็นสถานทีท่ ี่สนบั สนนุ หรอื พ้นื ฐาน

2. รฐั จัดใหม้ ีวสั ดุ/อุปกรณ/์ สาธารณสุขพืน้ ฐานอย่าง บรกิ ารจดั อบรมใหค้ วามรู้ 2. รฐั ประชาสมั พันธ์

นวตั กรรมตา่ ง ๆ ท่ี พอเพยี งและบูรณาการ แกช่ มุ ชนอยา่ งสมำ่ เสมอ ให้ความรู้ด้านการ

นกั เรียนและผเู้ กยี่ วข้อง ศาสตร์ตา่ ง ๆ ท่ีกี่ยวขอ้ ง โดยใชภ้ มู ิปญั ญาของชมุ ชน รกั ษาสุขภาพให้กบั

เข้าถึงได้อยา่ งสะดวกและมี เพือ่ ใหป้ ระชาชนมี และทรพั ยากรบคุ คลที่มี ประชาชนผ่านสื่อต่าง

ประสิทธภิ าพ คุณค่าของชุมชน เนน้ ภูมิ ๆ อยา่ งหลากหลาย

72

ตารางที่ 10 ต่อ

ระดับ แนวทางการดูแลชว่ ยเหลอื นกั เรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019

การศึกษา ดา้ นการเรียนรู้ ด้านการติดตาม ด้านการชว่ ยเหลอื สง่ ตอ่ ดา้ นความปลอดภยั

มัธยมศึกษา 3. รัฐประสานงานใหเ้ กดิ ภูมิคมุ้ กนั ทางความคดิ ปัญญาไทยของหมอ และทว่ั ถงึ บรู ณาการ

ตอนต้น การ KM เรอื่ งต่าง ๆ ไว้ใน ทด่ี ี บริหารจดั การ พ้ืนบา้ น) ไปกบั งานของทุก

ชุมชน สขุ ภาพของตนเอง 2. รฐั /ผู้นำท้องถิน่ หน่วยงานท่เี ข้าถึง

ตลอดจนใชท้ รัพยากรที่ ประสานงานหาสถานท่ีที่ ประชาชนในทอ้ งถนิ่

มอี ย่ใู นทอ้ งถิน่ มาใชใ้ ห้ เหมาะสมในการจดั ทำศนู ย์ ทุกครอบครวั

เกดิ ประโยชนส์ ูงสุด พกั คอย(อาจใชโ้ รงเรียน/

วดั /สถานประกอบการต่าง

ๆ ที่มคี วามพรอ้ มในชมุ ชน)

มัธยมศกึ ษา 1. สถานศึกษาและ 1. รฐั จัดเตรียมปรบั 1. รฐั ประสานงานบูรณา 1. รฐั สนบั สนนุ ใหเ้ กดิ

ตอนปลาย ผเู้ กี่ยวข้องจดั ทำ/ประยกุ ต์ ประยกุ ตน์ โยบาย การกันในเร่อื งของศูนย์พกั กระบวนการเรียนรู้

ใหเ้ กดิ หลักสูตร ทางการศกึ ษาใหช้ ดั เจน คอยของแตล่ ะชมุ ชนใหม้ ี แบบวิจยั ให้กับครแู ละ

สถานศึกษา หลกั สูตร เพ่อื รับสถานการณโ์ รค มาตรฐาน สะอาด นักเรียนเพ่ือต่อยอด

รายวิชาทส่ี อดคลอ้ งกบั ระบาดอนื่ ๆ ทจี่ ะ ปลอดภัย ไว้ให้เป็นปกติ(ใน ภูมปิ ญั ญาถิน่ ในการ

สถานการณก์ ารแพรข่ อง เกิดขึน้ ในอนาคต ยามปลอดโรคภัยกเ็ ปน็ ดแู ลรักษาสุขภาพ

โรคระบาด 2. รัฐจดั บรกิ ารดา้ นการ สถานท่ีทีส่ นับสนุนหรอื พืน้ ฐาน

2. รฐั จัดให้มวี สั ด/ุ อปุ กรณ/์ สาธารณสขุ พื้นฐานอยา่ ง บรกิ ารจดั อบรมใหค้ วามรู้ 2. รฐั ประชาสมั พนั ธ์

นวตั กรรมตา่ ง ๆ ที่ พอเพียงและบูรณาการ แกช่ ุมชนอย่างสม่ำเสมอ ให้ความรู้ดา้ นการ

นักเรียนและผเู้ ก่ยี วข้อง ศาสตรต์ า่ ง ๆ ที่ โดยใชภ้ มู ิปญั ญาของชุมชน รักษาสขุ ภาพใหก้ ับ

เข้าถึงไดอ้ ย่างสะดวกและมี เกย่ี วขอ้ งเพื่อให้ และทรพั ยากรบคุ คลทีม่ ี ประชาชนผา่ นสื่อต่าง

ประสทิ ธภิ าพ ประชาชนมีภูมคิ ุ้มกนั คุณคา่ ของชุมชน เน้นภมู ิ ๆ อยา่ งหลากหลาย

3. รฐั ประสานงานใหเ้ กดิ ทางความคดิ ที่ดี บรหิ าร ปญั ญาไทยของหมอ และทว่ั ถึง บูรณาการ

การ KM เร่ืองตา่ ง ๆ ไว้ใน จัดการสขุ ภาพของ พ้ืนบา้ น) ไปกบั งานของทุก

ชุมชน ตนเอง ตลอดจนใช้ 2. รัฐ/ผนู้ ำท้องถนิ่ หนว่ ยงานทีเ่ ข้าถึง

ทรพั ยากรที่มีอย่ใู น ประสานงานหาสถานทีท่ ่ี ประชาชนในทอ้ งถ่ิน

ทอ้ งถ่ินมาใชใ้ หเ้ กดิ เหมาะสมในการจดั ทำศนู ย์ ทุกครอบครวั

ประโยชนส์ งู สดุ พักคอย(อาจใชโ้ รงเรยี น/

วัด/สถานประกอบการต่าง

ๆ ที่มีความพร้อมในชมุ ชน)

จากตารางท่ี 10 แสดงผลการวิเคราะห์แนวทางในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับช้ันมัธยมศึกษา
ตอนต้นและระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา
มธั ยมศกึ ษานครสวรรค์ ด้านตา่ ง ๆ ดงั นี้

73

ด้านการเรียนรู้ สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจัดทำ/ประยุกต์ให้ เกิดหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรรายวิชาที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ของโรคระบาด รฐั จัดให้มีวัสดุ/อุปกรณ์/นวัตกรรมต่าง ๆ
ท่ีนักเรยี นและผู้เก่ียวข้องเข้าถึงได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ รัฐประสานงานให้เกิดการ KM เร่ืองต่าง ๆ
ไว้ในชุมชน เช่น อาชีพใหม่ ๆ ในอนาคตท่ีมีการระบาดของโรค, สมุนไพรพ้ืนบ้านที่ใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ
พ้ืนฐานและการปลูกพืชปลอดภัยไวป้ ระกอบอาหารในครวั เรอื น ฯลฯ โดยใหเ้ รยี นรรู้ ่วมกันระหว่าง ครู นักเรยี น
และภูมิปญั ญาของชุมชน

ด้านการติดตาม รัฐจัดเตรียมปรับประยุกต์นโยบายทางการศึกษาให้ชัดเจนเพื่อรับสถานการณ์
โรคระบาดอ่ืน ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และรัฐจัดบริการด้านการสาธารณสุขพื้นฐานอย่างพอเพียง
และบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพ่ือให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันทางความคิดที่ดี บริหารจัดการสุขภาพ
ของตนเอง ตลอดจนใช้ทรัพยากรท่มี ีอย่ใู นท้องถนิ่ มาใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชนส์ ูงสดุ

ด้านการช่วยเหลือส่งต่อ รัฐประสานงานบูรณาการกันในเรื่องของศูนย์พักคอยของแต่ละชุมชน
ให้มีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย ไว้ให้เป็นปกติ(ในยามปลอดโรคภัยก็เป็นสถานที่ที่สนับสนุน หรือ บริการ
จัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ภูมิปัญญาของชุมชนและทรัพยากรบุคคลท่ีมีคุณค่า
ของชุมชน เน้นภูมิปัญญาไทยของหมอพ้ืนบ้าน) และรัฐ/ผู้นำท้องถ่ิน ประสานงานหาสถานท่ีที่เหมาะสม
ในการจดั ทำศนู ยพ์ ักคอย(อาจใช้โรงเรียน/วัด/สถานประกอบการตา่ ง ๆ ที่มคี วามพร้อมในชมุ ชน)

ด้านความปลอดภัย รัฐสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบวิจัยให้กับครูและนักเรียน
เพือ่ ต่อยอดภูมปิ ัญญาถิ่นในการดูแลรักษาสุขภาพพื้นฐานและรฐั ประชาสัมพนั ธใ์ ห้ความรู้ด้านการรักษาสุขภาพ
ให้กับประชาชนผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลายและทั่วถึง บูรณาการไปกับงานของทุกหน่วยงานท่ี
เข้าถงึ ประชาชนในท้องถิ่นทกุ ครอบครัว

5. กรณีศึกษาของโรงเรยี นท่ีจัดการศกึ ษาโดดเดน่ และโรงเรยี นท่ีมีปัญหาอปุ สรรค โรงเรียนขนาด
เล็กไม่ได้เปน็ สถานท่พี ักคอย ท่จี ัดการศกึ ษาโดดเด่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรัส
โคโรนา 2019 ไดแ้ ก่ ไม่มีโรงเรยี น Best practice และไม่มีโรงเรยี นที่ต้องเรง่ ช่วยเหลือ

6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การบรหิ ารจดั การ โรงเรยี นขนาดเล็ก ไมไ่ ดเ้ ปน็ สถานที่พกั คอย ใน
สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 ทีจ่ ะนำมาใชใ้ นปีการศกึ ษา 2565

6.1 ดา้ นการจัดทำแผนและนโยบาย
รัฐ จัดทำแผนการศึกษาทส่ี อดคล้องกับสถานการณโ์ รคระบาดต่าง ๆ ทจี่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต

6.2 ดา้ นหลักสตู รและการจัดการเรียนรู้
ครมู ีการปรับประยุกต์หลกั สูตรสถานศึกษา หลกั สูตรรายวชิ าใหเ้ หมาะสมกับสถานการณ์

โรคระบาดอนื่ ๆ ทตี่ ะเกิดขึ้นในอนาคต
6.3 ดา้ นเทคโนโลยีทางการศกึ ษา
รฐั สง่ เสรมิ งบประมาณ/นวัตกรรม/แนวทางการจัดการเรียนร้ทู ีม่ ีคุณภาพรองรับการเปลี่ยนแปลง

ของเทคโนโลยีใหก้ ับนกั เรยี น ครุ และบคุ ลากรทางการศึกษาทีเ่ กย่ี วข้อง

74

6.4 ดา้ นการวดั ประเมนิ ผล
สง่ เสรมิ การออกแบบการวัดผลประเมินผลทีห่ ลากหลาย สอดคลอ้ งวธิ ีการจดั กจิ กรรมการเรียนรูท้ ่มี ี

คุณภาพ ครอบคลุมทกุ ตัวชว้ี ัด/ทุกผลการเรียนร้ขู องโครงสรา้ งหลักสูตร
6.5 ด้านการพฒั นานวตั กรรมการเรียนรู้
สง่ เสริมใหผ้ บู้ ริหาร ครู จัดทำนวตั กรรมทางการศึกษาที่คุ้มค่า คุ้มเวลา สอดคล้องกบั งบประมาณที่มี

ประหยัดค่าใชจ้ ่ายแตค่ ุม้ ค่าทางการพัฒนาให้เกดิ ผลสัมฤทิ์ทีม่ ปี ระสทิ ธิภาพ
6.6 ด้านการดแู ลชว่ ยเหลือนักเรยี น
รัฐสนับสนุนใหเ้ กิดเครือข่ายท่ชี ่วยกันดแู ลเยาวชนทั้งดา้ นการจดั กิจกรรมการเรียนรู้อย่าง

หลากหลาย ดึงศกั ยภาพของนักเรยี นออกมาใหไ้ ด้มากท่ีสดุ สอดคล้องกบั ศักยภาพรายบุคคลของนกั เรยี น อาจ
ผา่ น Platform ออนไลน์ตา่ ง ๆ โรงเรียน บ้าน วัด สถานประกอบการ ใหน้ ักเรยี นได้เรียนรอู้ ยา่ งอสิ ระ โดย
อาจไม่ต้องมาเรยี นทโ่ี รงเรยี นอีกก็ได้ มีการประเมนิ ผลจากผู้เกย่ี วขอ้ ง(เทยี บความสามารถและทักษะออกมา
เปน็ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน)

ผลการวเิ คราะหข์ อ้ มูลโรงเรยี นขนาดเลก็ เป็นสถานท่พี กั คอย

1. ข้อมูลโรงเรียน สารสนเทศการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนขนาดเล็กเป็นสถานทพ่ี ักคอย ในสำนักงานเขตพื้นที่การศกึ ษามัธยมศึกษา

นครสวรรค์

ตารางที่ 11 แสดงข้อมูลพืน้ ฐานโรงเรยี นขนาดเล็กเป็นสถานท่พี ักคอย

ท่ี โรงเรียน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน วันท่เี ปิดภาค รปู แบบการจดั การเรยี นรู้
นักเรยี น ผู้บริหาร ครู หอ้ งเรียน เรียนท่ี
1 ตะครอ้ พทิ ยา
(คน) (คน) (คน) ม.ตน้ ม.ปลาย 1/2564 On On Air On On On
site Hand line
Demand

346 2 26 6 6 1มิ.ย. 64 

2 ทบั กฤชพัฒนา 381 2 24 8 6 14 มิ.ย. 64 

3 บ้านแก่งชชั วลติ วทิ ยา 323 - 16 6 6 14 ม.ิ ย. 64 

4 พนมรอกวิทยา 328 1 20 6 5 14 ม.ิ ย. 64 

5 รฐั ราษฎรอ์ นุสรณ์ 236 1 18 3 3 1ม.ิ ย. 64 

6 วังขอ่ ยพิทยา 257 1 19 6 3 14 ม.ิ ย.64 

7 วงั บ่อวิทยา 247 1 15 3 6 14 ม.ิ ย. 64 

8 วังเมอื งชนประสทิ ธวิ์ ทิ ยาคม 176 1 12 6 6 14 ม.ิ ย. 64  
9 หวั ดงราชพรหมาภรณ์ 238 1 16 6 3 14 ม.ิ ย. 64  

รวม 2,532 10 166 50 44 01 4 9 9

ร้อยละ 0 11.11 44.44 100 100

75

จากตารางที่ 11 พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กท่ีเป็นสถานท่ีพักคอยซ่ึงประกอบ ด้วย 9 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนตะคร้อพทิ ยา โรงเรยี นทับกฤชพฒั นา โรงเรียนบา้ นแก่งชัชวลติ วิทยา โรงเรียนพนมรอกวิทยา โรงเรียน
รัฐราษฎร์อนุสรณ์ โรงเรียนวังข่อยพิทยา โรงเรียนวังบ่อวิทยา โรงเรียนวังเมืองชนประสิทธ์ิวิทยาคม และ
โรงเรียนหัวดงราชพรหมาภรณ์ มีนักเรียน 2,532 คน ผู้บริหาร 10 คน ครู 166 คน จำนวนห้องเรียน
94 ห้องเรียน โรงเรียนมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4 แบบ คือ On Air, On Demand, On Hand และ
Online ยังไม่มีโรงเรียนใดจัดการเรียนรู้แบบ On Site และทุกโรงเรียนส่วนใหญ่เปิดเรียนภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2564 ต้ังแต่ 14 มิถุนายน 2564 เมื่อพิจารณาจำนวนนักเรียน ผู้บริหาร และครู จะเห็นว่า
มสี ถานศึกษา 1 แห่งท่ีไม่มีผบู้ รหิ าร คอื โรงเรยี นบ้านแก่งชชั วลิตวิทยา

ตารางที่ 12 แสดงข้อมูลโรงเรยี นขนาดเลก็ ในสงั กดั สำนกั งานเขตพ้นื ทกี่ ารศึกษามธั ยมศึกษานครสวรรค์
ทีข่ อให้อาคารสถานทเ่ี ป็นสถานท่ีพกั คอย

ที่ สถานศึกษา ประเภทการขอใช้ หนว่ ยงานท่ีขอใช้ จำนวน ว/ด/ป ทเี่ ร่ิมใช้ ว/ด/ป ทเี่ ลกิ ใช้ จำนวน
อาคารสถานท่ี อาคารสถานท่ี เตยี ง อาคารสถานท่ี อาคารสถานที่ วันขอใช้
อาคาร
1 โรงเรียนตะคร้อพิทยา สถานทพี่ ักคอย อบต.ตะคร้อ 60 27 กรกฎาคม 2564 30 กันยายน 2564 สถานท่ี

2 โรงเรียนวังบอ่ วทิ ยา สถานทีพ่ ักคอย อบต.วังบอ่ 25 6 สิงหาคม 2564 31 สิงหาคม 2564 66
25
3 โรงเรยี นพนมรอกวทิ ยา สถานที่พกั คอย อบต.พนมรอก 30 25 กรกฎาคม 2564 30 กนั ยายน 2564 86
150
4 โรงเรียนวังเมืองชนประสิทธ์ิ สถานที่พักคอย 15 4 สิงหาคม 2564 31ธันวาคม 2564
58
วิทยาคม อบต.วงั เมือง 59
56
5 โรงเรยี นรัฐราษฎร์อนสุ รณ์ สถานทพ่ี ักคอย อบต.บึงปลาทู 6 3 สงิ หาคม 2564 30 กันยายน 2564 118

6 โรงเรียนบ้านแก่งชัชวลิตวทิ ยา สถานที่พักคอย รพสต.บา้ นแกง่ 30 2 สิงหาคม 2564 30 กันยายน 2564

7 โรงเรียนทบั กฤชพฒั นา สถานที่พกั คอย อบต.ทบั กฤช 40 6 สิงหาคม 2564 30 กนั ยายน 2564

8 โรงเรียนหัวดงราชพรหมาภรณ์ สถานที่พักคอย อบต.หัวดง 32 5 สิงหาคม 2564 30 พฤศจกิ ายน 2564

จากตารางที่ 12 พบวา่ โรงเรียนในสงั กดั สำนักงานเขตพ้นื ท่กี ารศึกษามธั ยมศึกษานครสวรรค์ ทข่ี อให้
อาคารสถานทเี่ ป็นสถานทีพ่ ักคอยซึง่ ประกอบ ดว้ ย 8 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรยี นตะครอ้ พิทยา โรงเรยี นทบั กฤช
พฒั นา โรงเรียนบา้ นแก่งชชั วลติ วทิ ยา โรงเรยี นพนมรอกวทิ ยา โรงเรียนรฐั ราษฎร์อนสุ รณ์ โรงเรียนวงั บอ่ วิทยา
โรงเรยี นวังเมอื งชนประสทิ ธ์ิวิทยาคม และโรงเรยี นหวั ดงราชพรหมาภรณ์ มจี ำนวนเตียง 618 เตียง ระยะเวลา
ทใ่ี ชอ้ าคารสถานทเี่ ริ่มต้งั แต่ 25 กรกฏาคม 2564 ถึง 30 พฤศจกิ ายน 2564

2. ผลการวิเคราะห์ SWOT ดา้ นการบรหิ ารจัดการ ในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของ
โรคติดเชอื้ ไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนขนาดเลก็ ท่ีเป็นสถานทพ่ี กั คอย ในสำนกั งานเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษา
มัธยมศึกษานครสวรรค์ ผู้วิจยั ขอนำเสนอผลการวจิ ัยดังนี้

โรงเรียนขนาดเล็ก ท่ีมจี ำนวนนกั เรียน 1- 499 คน ทเ่ี ปน็ สถานทีพ่ ักคอย หรือ โรงพยาบาลสนาม

76

ประเภท มจี ำนวน 9 โรงเรียน ดังน้ี 1) โรงเรียนตะคร้อพิทยา 2) โรงเรียนทับกฤชพัฒนา 3) โรงเรียนบ้านแก่ง
ชัชวลิตวิทยา 4) โรงเรียนพนมรอกวทิ ยา 5) โรงเรียนรฐั ราษฎร์อนสุ รณ์ 6) โรงเรียนวังขอ่ ยพทิ ยา 7) โรงเรียนวัง
บ่อวิทยา 8) โรงเรียนวังเมืองชนประสิทธิ์วิทยาคม และ 9) โรงเรียนหัวดงราชพรหมาภรณ์ ดำเนินการจัดการ
ศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ช่วงระยะเวลา ปีการศึกษา 2564
- สิงหาคม 2564 ดังนี้

ตารางท่ี 13 แสดงผลการวิเคราะห์ SWOT ดา้ นการบรหิ ารจดั การของโรงเรียนขนาดเล็กทีเ่ ปน็ สถานที่พักคอย
ในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019

การบริหารจัดการ จดุ แขง็ จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
การบริหารจัดการ 1. มกี ารอบรมพัฒนา 1. ครูและบคุ ลากร 1. ครูไดร้ ับการอบรม 1. โรงเรยี นเป็นศูนย์
ดา้ นบุคลากร ครูในเร่ืองของการใชส้ ่ือ ปฏิบัตงิ าน การใช้สือ่ การจดั การ พักคอย ทำให้เกดิ
(Man) เทคโนโลยีเข้ามาช่วยใน หลากหลาย เรยี นการสอนในรปู แบบ ความวิตกกงั วลใน
การจัดการเรยี นการ มภี าระงานมาก ทำ ออนไลน์จากหนว่ ยงาน การมาปฏบิ ตั ิหนา้ ที่
สอนในรูปแบบออนไลน์ ให้งานล่าช้า ไมท่ ัน ภายนอก ภายในโรงเรียน
2. ครูมีการพฒั นา กำหนด หรอื 2. หนว่ ยงานภายนอก 2. การจดั สรร
ทกั ษะในการจดั การ บางคร้ังติดภาระงาน สนบั สนนุ การฉีดวัคซีน ตำแหนง่ หรอื อัตรา
เรยี นการสอนใน พิเศษเร่งดว่ น ทำให้ ของครแู ละบคุ ลากร ทดแทนจาก
รปู แบบออนไลนโ์ ดย งานสอนไม่เปน็ ไป ทางการศึกษา หนว่ ยงานต้นสังกดั มี
ม่งุ เน้นการพฒั นาการ ตามแผนท่วี างไว้ ความล่าช้า
เรยี นรขู้ องผเู้ รยี นด้วย 2. ครูบางกล่มุ
วิธที ี่หลายหลาย สาระการเรยี นรไู้ ม่
เพยี งพอ เนอ่ื งจากมี
บคุ ลากรยา้ ยและ
ไมไ่ ด้รบั ตำแหนง่
ทดแทนในกลุ่มสาระ
การเรยี นรู้ทข่ี าด
ผลงานผ้อู ่นื และมี
ความผิดทางวินัย
หรือ อาญาได้

77

ตารางท่ี 13 ต่อ

การบรหิ ารจดั การ จดุ แขง็ จดุ ออ่ น โอกาส อปุ สรรค

การบริหาร ดำเนินโครงการ งบประมาณทไ่ี ด้ ได้รบั งบประมาณ การสนับสนุน

จัดการด้าน กิจกรรม โดยใช้ จดั สรรในโรงเรียนไม่ สนบั สนุนจากหน่วยงาน งบประมาณจากตน้
งบประมาณ งบประมาณตรงตาม เพียงพอตอ่ การ ภายนอก เชน่ องคก์ าร สงั กดั ไมเ่ พียงพอต่อ
(Money) แผนปฏิบตั ิการ ดำเนนิ งานในช่วง บรหิ ารส่วนตำบล หรอื การพัฒนาคณุ ภาพ
ประจำปโี ดยปรบั ให้เขา้ สถานการณ์การแพร่ ชมุ ชนอย่างตอ่ เน่อื ง การจัดการเรยี นรู้

กับสถานการณก์ ารแพร่ ระบาดของโรคติด ในชว่ งถานการณ์

ระบาดของโรคติดเชอ้ื เชื้อไวรัสโคโรนา การแพรร่ ะบาดของ

ไวรัสโคโรนา 2019 2019 โรคตดิ เช้ือไวรสั

โคโรนา 2019

การบรหิ ารจดั การ 1) มอี ปุ กรณ์ท่ใี ชใ้ นการ อุปกรณใ์ นการ ไดร้ บั การสนบั สนุนวสั ดุ สอ่ื การสอนท่ีมีการ

ด้านส่อื อปุ กรณ์ จัดการเรยี นการสอน จัดการเรียนการ อปุ กรณ์ สอื่ และสง่ิ เผยแพร่ในรปู แบบ

(Material) แบบออนไลน์ได้ และมี สอนทางดา้ น อำนวยความสะดวก ออนไลน์ บางสว่ นมี

สือ่ เทคโนโลยที ี่นำไป เทคโนโลยียงั ขาด จากหน่วยงานภายนอก ลิขสิทธิ์ ครูผสู้ อนที่

ประยกุ ตใ์ ชใ้ นการเรียน ความทนั สมัยต่อการ นำมา ใช้โดยไม่

การสอนได้ ใช้งาน อา้ งอิง อาจจะเป็น

2) มีสัญญาน Internet การคดั ลอก

ในโรงเรยี น

การบริหาร มกี ารประกาศนโยบาย 1. การปรับเปล่ยี น 1. สถานการณ์การแพร่ นโยบายจากตน้

จัดการด้าน และแนวปฏบิ ตั ิ การดำเนินงานที่ยงั ระบาดของโรคติดเชื้อ สงั กดั มกี าร
ไมส่ มบูรณใ์ น ไวรสั โคโรนา 2019 ปรบั เปลย่ี นและมาก
บริหารจดั การ กำหนดการปฏิบตั ิงาน รูปแบบออนไลน์ เปน็ เรื่องใหมท่ เี่ กดิ ขนึ้ ใน เกนิ ไป เกินความ
ให้กบั คณะครูและบุ 2. ขาดแคลนปจั จัย ประเทศไทย และทวั่ โลก จำเป็น จนสร้าง
(Management) คลาการทางการศกึ ษา

ในการมาปฏิบตั หิ นา้ ที่ ในการบริหารจดั การ จึงเป็นโอกาสในคดิ ภาระให้แก่

ในโรงเรียน ไดแ้ ก่ บุคลากรไม่ สร้างสรรค์นวตั กรรมใน สถานศึกษา

เพียงพอ การพัฒนา หรือ

งบประมาณไม่ แก้ปัญหา การบรหิ าร

เพยี งพอ วัสดุ จดั การสถานศึกษาได้

อุปกรณ์ และสื่อ ไม่ 2. โรงเรียนมบี ริการชมุ

เพยี งพอและไม่ ชนุ โดยจัดเปน็ ศนู ย์พัก

ทันสมยั คอย ทำใหเ้ กดิ การ

ปรับปรงุ สถานที่ และภมู ิ

ทศั น์ และมมี าตรการ

เฝ้าระวงั อยา่ งเครง่ ครดั

78

จากตารางท่ี 13 พบว่าโรงเรียนขนาดเล็กท่ีเป็นสถานที่พักคอยท้ัง 9 โรงเรียน มีการอบรมพัฒนาครู
ในเร่ืองของการใช้ส่ือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ แต่ครูและบุคลากร
ปฏิบัติงานหลากหลาย มีภาระงานมาก และครูบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่เพียงพอ สำหรับอุปกรณ์ท่ีใช้ในการ
จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ คุณครูมีอุปกรณท์ ่ีสามารถใช้ได้แตย่ งั ขาดความทันสมยั ต่อการใช้งานสำหรับ
การดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆโดยใช้งบประมาณตรงตามแผนปฏิบัติการประจำปี สามารถปรับใช้
งบประมาณให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อ
การดำเนินงานในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว นอกจากน้ีสถานศึกษาส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก
หน่วยงานภายนอก เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือชุมชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรับการสนับสนุน
วัสดุ อุปกรณ์ ส่ือ และสิ่งอำนวยความสะดวก แต่อย่างไรก็ตามนโยบายจากต้นสังกัดมีการปรับเปล่ียนและ
มากเกนิ ไป เกินความจำเปน็ จนสร้างภาระให้แก่สถานศึกษา

3. ผลการวิเคราะห์ SWOT ด้านการจดั การเรียนร้แู ต่ละรปู แบบ โรงเรยี นขนาดเล็กทีเ่ ปน็ สถานท่ี
พกั คอย ดังนี้

โรงเรยี นขนาดเลก็ ท่เี ป็นสถานท่พี ักคอยทั้ง 9 โรงเรียนมีรปู แบบการจัดการเรยี นรู้ 4 แบบ คอื On Air
On Demand On Hand และ Online ยังไม่มีโรงเรียนใดจัดการเรียนรู้แบบ On Site เน่ืองจากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ซ่ึงจะเห็นว่าท้ัง 9 โรงเรียน มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ท่ีเหมือนกันคือ On Hand และ Online และมี 4 โรงเรียนท่ีมีการจัดการเรียนรู้แบบ On Demand ด้วย
ได้แก่ โรงเรียนบ้านแก่งชัชวลิตวิทยา โรงเรียนพนมรอกวิทยา โรงเรียนวังบ่อวิทยา และโรงเรียนหัวดง
ราชพรหมาภรณ์ นอกจากน้ียงั มี 1 โรงเรียนทมี่ ีการจดั การเรยี นรู้แบบ On Air คอื โรงเรียนวังเมืองชนประสิทธิ์
วิทยาคม มรี ายละเอยี ดดงั น้ี

ตารางท่ี 14 แสดงรูปแบบการจดั การเรียนแบบ On Site โรงเรียนขนาดเลก็ ทเี่ ป็นสถานท่ีพักคอย

ระดับ จดุ แขง็ จุดออ่ น โอกาส อุปสรรค

การศึกษา Strength Weakness Opportunity Threat

มัธยมศึกษา - - - -

ตอนตน้

มธั ยมศกึ ษา - - --

ตอนปลาย

จากตารางที่ 14 พบวา่ โรงเรียนขนาดเล็กทเี่ ป็นสถานท่ีพักคอยทง้ั 9 โรงเรียนยงั ไมม่ โี รงเรียนใดจัดการ
เรียนรู้แบบ On Site เนื่องจากจังหวัดนครสวรรค์ เป็นพ้ืนท่ีสีแดง ตามประกาศ ศบค. เสี่ยงต่อติดเชื้อจาก
การแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรสั โคโรนา 2019

79

ตารางที่ 15 แสดงรูปแบบการจัดการเรยี นแบบ On Air โรงเรียนขนาดเลก็ ท่ีเปน็ สถานทพี่ กั คอย

ระดับ จุดแขง็ จดุ อ่อน โอกาส อุปสรรค
Weakness Opportunity Threat
การศึกษา Strength นกั เรยี นบางส่วนไม่ นักเรยี นติดตาม สัญญานดาวเทยี ม
สามารถเข้าถงึ ยอ้ นหลงั ได้ตามตาราง ของชุมชนไมเ่ สถยี ร
มัธยมศกึ ษา นกั เรยี นสามารถ เอกสารประการเรียน DLTV ที่กำหนด
การสอนได้ สญั ญานดาวเทียม
ตอนตน้ เรียนรู้ผ่านสื่อการสอน นักเรยี นบางส่วนไม่ นกั เรยี นติดตาม ของชุมชนไมเ่ สถยี ร
สามารถเขา้ ถงึ ยอ้ นหลังไดต้ ามตาราง
ท่ถี ่ายทอดผา่ น เอกสารประการเรียน DLTV ท่ีกำหนด
การสอนได้
ดาวเทยี ม

มธั ยมศึกษา นกั เรยี นสามารถ

ตอนปลาย เรยี นรผู้ ่านสือ่ การสอน

ที่ถ่ายทอดผ่าน

ดาวเทียม

จากตารางที่ 15 พบวา่ โรงเรียนขนาดเล็กทเี่ ปน็ สถานท่ีพกั คอยมี 1 โรงเรียนท่ีมีการจัดการเรียนรแู้ บบ
On Air คอื โรงเรยี นวังเมอื งชนประสทิ ธิ์วทิ ยาคม ซึ่งตามบริบทของโรงเรยี นพบวา่ นกั เรียนสามารถเรียนรผู้ ่าน
สอื่ การสอนทถี่ ่ายทอดผา่ นดาวเทยี ม และติดตามยอ้ นหลงั ได้ตามตาราง DLTV ที่กำหนดได้แต่ยงั พบปญั หาเร่ือง
สัญญานดาวเทยี มไม่เสถียรและนักเรียนบางส่วนไมส่ ามารถเขา้ ถงึ เอกสารประการเรียนการสอนได้

ตารางที่ 16 แสดงรูปแบบการจัดการเรยี นแบบ Onlineโรงเรยี นขนาดเล็กท่เี ปน็ สถานท่ีพักคอย

ระดับ จุดแขง็ จดุ อ่อน โอกาส อุปสรรค

การศึกษา Strength Weakness Opportunity Threat

มธั ยมศึกษา 1. ครมู คี วามสามารถด้าน 1. ผูเ้ รยี นขาดสมาธิ ไม่ หน่วยงานภายนอกมสี อื่ 1. มภี าระคา่ ใชจ้ ่ายใน

ตอนตน้ การจัดการเรยี นการสอน สามารถเรียนดว้ ยตนเอง ช่วยเหลอื การพัฒนา การจัดหาอุปกรณแ์ ละ

แบบออนไลน์ไดอ้ ย่างดี ได้ เกดิ ความเหน่ือยล้า ทักษะด้านเทคโนโลยี สัญญาณอนิ เตอรเ์ นต็

2. เปน็ รูปแบบท่สี ะดวก เน่ืองจากเรียนตอ่ กนั เป็น ดิจิทลั ของครูและผเู้ รยี น อินเทอรเ์ น็ตไม่เสถยี ร

และไม่เส่ียงต่อการแพร่ เวลานานหลายชว่ั โมง 2. ความเหล่อื มล้ำดา้ น

ระบาดของโรคตดิ เชอื้ 2. นักเรยี นไมส่ ามารถ เศรษฐกจิ และฐานะ

ไวรสั โคโรนา 2019 ทบทวนย้อนหลงั ได้ ทางครอบครวั จะทำให้

3. นักเรยี นและครู 3. นกั เรียนเขา้ เรยี นเป็น นักเรยี นขาดโอกาสใน

สามารถโตต้ อบและมี บางส่วน นักเรยี นทเ่ี ขา้ การเรยี นรู้

ปฏสิ มั พนั ธก์ นั ได้ดี เรยี นมที ้ังท่ีตอบโต้และไม่

4. ครผู ู้สอนและนกั เรียน ตอบโตค้ รูผสู้ อน ทำให้ไม่

สามารถเรยี นรไู้ ดใ้ นทุกท่ี สามารถประเมนิ ความ

เขา้ ใจของนกั เรียนได้

80

ตารางท่ี 16 ต่อ

ระดบั จดุ แข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
การศึกษา Strength Weakness Opportunity Threat
มัธยมศึกษา 1. ครมู ีความสามารถด้าน 1. ผู้เรยี นขาดสมาธิ ไม่ หน่วยงานภายนอกมสี ือ่ 1. มภี าระคา่ ใชจ้ า่ ยใน
ตอนปลาย การจัดการเรยี นการสอน สามารถเรียนดว้ ยตนเอง ชว่ ยเหลอื การพฒั นา การจดั หาอุปกรณ์และ
แบบออนไลนไ์ ด้อย่างดี ได้ เกิดความเหนอ่ื ยล้า ทักษะด้านเทคโนโลยี สัญญาณอนิ เตอรเ์ นต็
2. เป็นรูปแบบทสี่ ะดวก เนื่องจากเรยี นตอ่ กนั เปน็ ดิจิทัลของครแู ละผเู้ รียน อินเทอรเ์ น็ตไมเ่ สถียร
และไม่เสีย่ งตอ่ การแพร่ เวลานานหลายชั่วโมง 2. ความเหลือ่ มลำ้ ดา้ น
ระบาดของโรคตดิ เชอื้ 2. นักเรยี นไมส่ ามารถ เศรษฐกจิ และฐานะ
ไวรัสโคโรนา 2019 ทบทวนยอ้ นหลงั ได้ ทางครอบครัว จะทำให้
3. นกั เรียนและครู 3. นักเรียนเข้าเรยี นเป็น นักเรยี นขาดโอกาสใน
สามารถโตต้ อบและมี บางส่วน นักเรียนที่เข้า การเรยี นรู้
ปฏสิ มั พนั ธ์กันไดด้ ี เรียนมที ั้งทต่ี อบโตแ้ ละไม่
4. ครูผ้สู อนและนักเรียน ตอบโต้ครผู สู้ อน ทำให้ไม่
สามารถเรยี นร้ไู ด้ในทกุ ที่ สามารถประเมินความ
เข้าใจของนกั เรียนได้

จากตารางที่ 16 พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นสถานที่พักคอยทั้ง 9 โรงเรียน มีครูและบุคลากร
ท่ีมีความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Onlineได้เป็นอย่างดีและได้รับสนับสนุนจากหน่วยงาน
ภายนอกเกี่ยวกับส่ือช่วยเหลือการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของครูและผู้เรียน แต่มีจุดอ่อนและ
อุปสรรคท่ีนักเรียนขาดสมาธิ ไม่สามารถเรียนด้วยตนเองได้ และมีปัญหาในเร่ืองภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหา
อุปกรณ์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต รวมท้ังความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ และฐานะทางครอบครัว
ทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการเรยี นรู้

ตารางที่ 17 แสดงรูปแบบการจดั การเรยี นแบบ On Demand โรงเรยี นขนาดเล็กท่ีเปน็ สถานท่พี ักคอย

ระดับ จุดแขง็ จุดอ่อน โอกาส อปุ สรรค
การศกึ ษา Strength Weakness Opportunity Threat

มธั ยมศกึ ษา 1. ครูผ้สู อนมกี ารพฒั นาและ 1. ขาดเทคนคิ การทำสอื่ การ มีเว็ปไซตป์ ระยุกตใ์ ช้ในการ 1. นักเรยี นขาดเครอื่ งมือ
ตอนตน้ ผลิตส่ือการสอนได้อย่าง สอนท่ีนา่ สนใจ สอน โดยไม่เสยี ค่าใชจ้ า่ ย การเรยี นการสอนและ
หลากหลายตามความถนดั 2. นักเรียนบางสว่ นไม่เข้า อินเตอร์เนต็
2. ผ้เู รยี นสามารถเข้าเรียน เรยี น 2. นกั เรยี นขาดความ
ตามความสะดวกและสามารถ รบั ผดิ ชอบ
ทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา
3. คณุ ครสู ามารถตรวจสอบ
ความถูกตอ้ งของการสอนได้

81

ตารางท่ี 17 ต่อ

ระดบั จุดแขง็ จดุ อ่อน โอกาส อปุ สรรค
การศกึ ษา Opportunity Threat
มธั ยมศกึ ษา Strength Weakness มเี ว็ปไซตป์ ระยกุ ตใ์ ชใ้ นการ 1. นกั เรียนขาดเครอื่ งมือ
ตอนปลาย สอน โดยไม่เสยี คา่ ใช้จา่ ย การเรยี นการสอนและ
1. ครูผ้สู อนมีการพัฒนาและ 1. ขาดเทคนคิ การทำส่อื การ อนิ เตอร์เน็ต
2. นักเรียนขาดความ
ผลติ ส่อื การสอนได้อย่าง สอนทนี่ า่ สนใจ รบั ผดิ ชอบ

หลากหลายตามความถนัด 2. นกั เรยี นบางส่วนไมเ่ ขา้ เรียน

2. ผ้เู รียนสามารถเขา้ เรียน

ตามความสะดวกและสามารถ

ทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา

3. คุณครูสามารถตรวจสอบ

ความถูกตอ้ งของการสอนได้

จากตารางที่ 17 พบว่า ครูผู้สอนมีการพัฒนาและผลิตส่ือการสอนได้อย่างหลากหลายตามความถนัด
ตามรูปแบบการจัดการเรียนแบบ On Demand และมีเว็ปไซต์จากภายนอกประยุกต์ใช้ในการสอน
โดยไม่เสียคา่ ใช้จา่ ย ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนตามความสะดวกและสามารถทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา
แต่อย่างไรก็ตามครูผู้สอน ครูผู้สอนขาดเทคนิคการทำสื่อการสอนที่น่าสนใจ และนักเรียนบางส่วน
ยงั ขาดเครื่องมอื การเรยี นการสอนและอนิ เตอรเ์ นต็

ตารางท่ี 18 แสดงรปู แบบการจดั การเรียนแบบ On Hand โรงเรยี นขนาดเล็กท่ีเป็นสถานทีพ่ ักคอย

ระดับการศกึ ษา จุดแขง็ จุดออ่ น โอกาส อุปสรรค

Strength Weakness Opportunity Threat

มัธยมศึกษา ครมู ีหนังสอื เอกสาร ใบ 1. ต้องมกี ารพบกัน ผปู้ กครองการเขา้ ถงึ 1. นกั เรียนมี

ตอนตน้ งาน ใหน้ ักเรยี นสำหรับ ระหว่างครูและนกั เรียน ปัญหาของนักเรยี น ภาระหน้าท่ตี ้อง

ใชใ้ นการเรียนการสอน หรอื ผูป้ กครอง อาจ ช่วยเหลอื ครอบครัว

ซึง่ นกั เรยี นทกุ คน เสีย่ งต่อการแพรร่ ะบาด 2. บา้ นนกั เรียนอยูไ่ กล

สามารถเรียนรูไ้ ด้ ของโรคติดเชอื้ ไวรสั โค ไมส่ ามารถเดนิ ทางมา

ตลอดเวลา โรนา 2019 ได้ รับใบงานได้ ครตู ้อง

2. เมอื่ นกั เรียนเกดิ ข้อ เสยี เวลา และเสีย

สงสัยหรือไมเ่ ขา้ ใจใน คา่ ใชจ้ ่ายในการเอาใบ

บทเรียน จะไม่ งานไปให้นักเรียน

สามารถสอบถามครูได้ 3. ผปู้ กครองไม่

ในทันที สามารถอธิบาย หรอื

3. ครตู ิดตามงานจาก สอนบุตรหลาน ทำใบ

นกั เรียนได้ค่อนขา้ งยาก งานได้ เกดิ

เนื่องจากไมม่ โี อกาสได้ ความเครยี ดท้งั นักเรยี น

ไปพบนักเรียน ผู้ปกครอง ครปู ระจำ

82

ตารางท่ี 18 ต่อ

ระดบั การศึกษา จุดแขง็ จดุ อ่อน โอกาส อปุ สรรค
Strength Threat
มธั ยมศกึ ษา Weakness Opportunity ชนั้ และครผู สู้ อน
ตอนตน้ 4. ผปู้ กครองไม่
4. มผี ู้เรยี นบางสว่ น สามารถคอยอยู่ดแู ลได้

อา่ นไมอ่ อก เขียนไมไ่ ด้ 1. นกั เรียนมี
ภาระหน้าทต่ี ้อง
ไมส่ ามารถทำใบงาน ชว่ ยเหลือครอบครัว
2. บ้านนักเรยี นอยู่ไกล
เองได้ ไมส่ ามารถเดนิ ทางมา
รบั ใบงานได้ ครูต้อง
มัธยมศกึ ษา ครูมหี นังสอื เอกสาร ใบ 1. ตอ้ งมีการพบกนั ผูป้ กครองการเข้าถงึ เสียเวลา และเสยี
ตอนปลาย งาน ให้นักเรียนสำหรับ คา่ ใช้จา่ ยในการเอาใบ
ใชใ้ นการเรียนการสอน ระหวา่ งครแู ละนกั เรยี น ปัญหาของนักเรยี น งานไปให้นกั เรียน
ซง่ึ นักเรียนทกุ คน 3. ผปู้ กครองไม่
สามารถเรียนรู้ได้ หรือผู้ปกครอง อาจ สามารถอธบิ าย หรือ
ตลอดเวลา สอนบุตรหลาน ทำใบ
เสย่ี งต่อการแพรร่ ะบาด งานได้ เกิด
ความเครยี ดท้ังนกั เรยี น
ของโรคตดิ เช้ือไวรัสโค ผปู้ กครอง ครูประจำ
ชน้ั และครูผสู้ อน
โรนา 2019 ได้ 4. ผ้ปู กครองไม่
สามารถคอยอยู่ดแู ลได้
2. เมอ่ื นักเรยี นเกดิ ข้อ

สงสัยหรอื ไมเ่ ขา้ ใจใน

บทเรียน จะไม่

สามารถสอบถามครูได้

ในทันที

3. ครูติดตามงานจาก

นกั เรียนไดค้ ่อนขา้ งยาก

เน่อื งจากไม่มโี อกาสได้

ไปพบนักเรยี น

4. มผี ู้เรยี นบางส่วน

อา่ นไมอ่ อก เขียนไม่ได้

ไมส่ ามารถทำใบงาน

เองได้

จากตารางที่ 18 พบว่า ครูผู้สอนมีหนังสือ เอกสาร ใบงาน ให้นักเรียนสำหรับใช้ในการเรียนการสอน
ซึ่งนักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ตามรูปแบบการจัดการเรียนแบบ On Hand แต่เมื่อนักเรียน
เกิดข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจในบทเรียน จะไม่สามารถสอบถามครูได้ในทันที และครูติดตามงานจากนักเรียนได้
ค่อนข้างยากเน่ืองจากไม่มีโอกาสได้ไปพบนักเรียน และบางกรณีบ้านนักเรียนอยู่ไกลไม่สามารถเดินทาง
มารับใบงานได้ ครูต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการเอาใบงานไปให้นักเรียน อีกทั้งผู้ปกครองไม่สามารถ
อธบิ ายหรือสอนบุตรหลานทำใบงานได้ รวมไปถงึ นักเรยี นมภี าระหนา้ ทต่ี ้องชว่ ยเหลอื ครอบครวั

83

ตารางที่ 19 แสดงแนวทางการจัดการศึกษา ของโรงเรยี นขนาดเลก็ ทเ่ี ปน็ สถานท่ีพักคอยในสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นทกี่ ารศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำแนกตามรปู แบบการจัดการเรียนรูใ้ นสถานการณ์

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ระดับ รูปแบบการจดั การเรยี นรู้

การศึกษา Online On Demand On Hand On Air

มัธยมศกึ ษา สถานศึกษาจดั ทำคมู่ ือ สถานศึกษาหาแนว 1. สถานศกึ ษากำหนด -

ตอนตน้ การจัดการเรยี นการสอน ทางแก้ไขเก่ยี วกับ วธิ กี ารหรือแนวทางการ

และคู่มอื การวดั ผล นกั เรียนขาดเครื่องมอื ดำเนนิ การเกยี่ วกบั การ

ประเมนิ ในสถานการณ์ การเรยี นการสอนและ มอบหมายช้ินงานให้

การแพรร่ ะบาดของโรค อนิ เตอร์เนต็ นกั เรียนที่เหมาะกบั บริบท

ตดิ เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 ของแตล่ ะสถานศกึ ษาเอง

มัธยมศึกษา สถานศึกษาจัดทำคมู่ อื สถานศึกษาหาแนว 1. สถานศกึ ษากำหนด -
ตอนปลาย วิธกี ารหรอื แนวทางการ
การจดั การเรยี นการสอน ทางแก้ไขเกยี่ วกบั ดำเนนิ การเกย่ี วกบั การ
มอบหมายชน้ิ งานให้
และค่มู อื การวัดผล นักเรียนขาดเครอ่ื งมือ นักเรยี นที่เหมาะกบั บริบท
ของแต่ละสถานศึกษาเอง
ประเมนิ ในสถานการณ์ การเรยี นการสอนและ 2. สถานศกึ ษาหาแนวทาง
ในการช่วยเหลือนกั เรยี นท่ี
การแพรร่ ะบาดของโรค อนิ เตอรเ์ นต็ มปี ญั หาเกย่ี วการภาระ
ค่าใชจ้ า่ ยของครอบครวั ท่ี
ติดเชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 เกย่ี วข้องกับการเรียนรู้

จากตารางท่ี 19 พบว่า แนวทางการจัดการศึกษาของของโรงเรียนขนาดเล็กท่ีเป็นสถานที่พักคอย
ในสังกัดสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำแนกตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถจัดได้ 3 รูปแบบคือ On Hand
โดยสถานศกึ ษากำหนดวิธีการหรอื แนวทางการดำเนนิ การเกยี่ วกับการมอบหมายชิ้นงานให้นกั เรียนที่เหมาะกับ
บริบทของแต่ละสถานศึกษาเอง และสถานศึกษาหาแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียนท่ีมีปัญหาเกี่ยวกับภาระ
ค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ On Demand โดยสถานศึกษาหาแนวทางแก้ไขเก่ียวกับ
นักเรียนขาดเคร่ืองมือการเรียนการสอนและอินเตอร์เน็ตและ Onlineโดยสถานศึกษาจัดทำคู่มือการจัดการ
เรียนการสอน และคมู่ อื การวัดผลประเมนิ ในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรสั โคโรนา 2019

84

4. ผลการวเิ คราะห์ SWOT การดแู ลช่วยเหลือนักเรยี น ได้แก่ 1) ด้านการเรยี นรู้ 2) ด้านการ
ติดตาม 3) ด้านการช่วยเหลือส่งต่อ และ 4) ด้านความปลอดภัย ในระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนขนาดเล็กท่ีเป็นสถานท่ีพักคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา
มัธยมศกึ ษานครสวรรค์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคตดิ เชื้อไวรสั โคโรนา 2019 ดังนี้

ตารางที่ 20 แสดงผลการวเิ คราะห์การดูแลช่วยเหลือนกั เรียน ได้แก่ 1) ดา้ นการเรยี นรู้ 2) ดา้ นการติดตาม

3) ด้านการช่วยเหลือสง่ ตอ่ และ 4) ด้านความปลอดภัย ในระดบั ช้ันมธั ยมศึกษาตอนต้นและ

ระดับชน้ั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ของโรงเรยี นขนาดเลก็ ท่เี ปน็ สถานทพี่ ักคอยสงั กดั สำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามธั ยมศกึ ษานครสวรรค์

การดูแล จุดแข็ง จุดออ่ น โอกาส อปุ สรรค
ช่วยเหลือ Strength Weakness Opportunity Threat
นักเรยี น

ดา้ นการ มีการอบรมการจดั ทำ พฤติกรรมการไมเ่ ขา้ ได้สทิ ธิการเข้าถงึ ส่ือ ครอบครวั ของนกั เรยี น

เรียนรู้ หอ้ งเรยี นออนไลน์ ให้กับ เรยี นและไม่สง่ งานของ เทคโนโลยีจากหนว่ ยงาน มฐี านะยากจน ส่งผลต่อ

ครผู สู้ อน เพื่อใช้ นกั เรยี นในรปู แบบการ ต่างๆท่ใี ช้เป็นสอ่ื การเรียน การจดั หาอปุ กรณแ์ ละ

ดำเนนิ การจดั การเรียน เรียนออนไลน์ การสอนใหก้ บั นกั เรียน สัญญาณอินเทอรเ์ น็ต

การสอนในสถานการณ์ มาใชใ้ นการเรยี น

การแพรร่ ะบาดของโรค ออนไลน์

ติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019

ดา้ นการ สามารถตดิ ตามชว่ ยเหลือ น นักเรยี นใหค้ วามร่วมมือ ไดร้ ับการสนบั สนุนจาก นักเรียนบางส่วนอยูใ่ น

ตดิ ตาม นักเรยี นได้เกือบ 100% แตค่ อ่ นขา้ งช้าเพราะให้ ผปู้ กครองและชมุ ชนใน พื้นท่หี า่ งไกล มีปญั หา

เนื่องจากโรงเรยี นเป็น ความสนใจนอ้ ย การตดิ ตามนกั เรยี น ในการตดิ ตามอย่าง

โรงเรียนขนาดเลก็ ใกล้ชดิ

ดา้ นการ มีการอบรมการ ก การดูแลช่วยเหลอื ไดร้ ับความรว่ มมอื จาก ภาระของครอบครวั

ชว่ ยเหลอื ส่ง ดำเนนิ การตามระบบดแู ล นักเรยี นค่อนขา้ งลำบาก ผูป้ กครองและชมุ ชนใน นักเรียนโดยตอ้ ง

ต่อ ช่วยเหลอื นกั เรยี นใน เพราะงบประมาณที่รับ ดแู ลชว่ ยเหลือนกั เรยี น ผ้ปู กครองทำงานซ่ึงอยู่

สถานการณ์การแพร่ จดั สรรไมเ่ พยี งพอ ในเวลาเรยี นของ

ระบาดของโรคติดเชือ้ นกั เรียน

ไวรัสโคโรนา 2019

ด้านความ ทำการสอบถามข้อมลู ท่ี สถานศกึ ษาเกบ็ ข้อมลู ได้รบั การสนบั สนุนจาก นกั เรยี นและผปู้ กครอง

ปลอดภัย เป็นขอ้ มูลจริงจากผนู้ ำ หลายส่วนจงึ ค่อนข้างมี หนว่ ยงานภายนอกใน ปกปิดขอ้ มูลทแี่ ท้จริงใน

ชมุ ชนผู้นำท้องถิน่ เพ่ือ ความซบั ซ้อน เรอื่ งของอุปกรณ์ในการ การเดนิ ทางมาจากพน้ื ที่

นำมาเปน็ ฐานข้อมลู ของ คดั กรอง/ป้องกันการแพร่ เส่ียง

โรงเรยี น ระบาดของโรคติดเชือ้

ไวรสั โคโรนา 2019

85

จากตารางที่ 20 แสดงผลการวิเคราะห์การดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่างๆ ทั้งในระดับ
ช้ันมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศกึ ษาตอนปลาย ของโรงเรียนขนาดเล็กท่ีเป็นสถานท่พี ักคอย พบว่า
โรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นสถานท่ีพักคอยทั้ง 9 โรงเรียนมีการอบรมการจัดทำห้องเรียนออนไลน์ ให้กับครูผู้สอน
เพื่อใช้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รวมทั้งการอบรมการดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการติดตามนักเรียนในสถานการณ์
การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และไดร้ ับการสนบั สนุนจากผ้ปู กครอง ชุมชน และหนว่ ยงาน
ภายนอกในเร่ืองการติดตาม การช่วยเหลือส่งต่อ และความปลอดภัยของนักเรียน รวมท้ังการเข้าถึงสิทธิ
ในการใช้ส่ือเทคโนโลยีจากหน่วยงานต่างๆท่ีใช้เป็นส่ือการเรียนการสอนให้กับนักเรียน แต่มีปัญหาอุปสรรค
ในเรื่องของครอบครัวของนักเรียนท่ีมีฐานะยากจน ส่งผลต่อการจัดหาอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต
มาใช้ในการเรยี นออนไลน์ และภาระของครอบครวั นกั เรียน

ตารางท่ี 21 แสดงผลการวเิ คราะห์แนวทางในการดแู ลชว่ ยเหลอื นักเรียน ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้ 2) ด้านการ
ติดตาม 3) ด้านการชว่ ยเหลือสง่ ตอ่ และ 4) ด้านความปลอดภยั ในระดับช้นั มัธยมศึกษาตอนต้น
และระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนขนาดเลก็ ทเ่ี ปน็ สถานที่พักคอยสังกัดสำนกั งาน
เขตพ้นื ทก่ี ารศึกษามธั ยมศึกษานครสวรรค์

ระดบั แนวทางการดูแลชว่ ยเหลอื นกั เรยี น ในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019
การศึกษา
มธั ยมศึกษา ดา้ นการเรียนรู้ ดา้ นการติดตาม ดา้ นการช่วยเหลอื ส่งต่อ ด้านความปลอดภยั
ตอนตน้
กำหนดมาตรการและแนว จดั สรรงบประมาณใน 1) จัดทำระบบเยยี่ มบา้ น ผ้ปู กครองและ
มัธยมศกึ ษา
ตอนปลาย ทางการแก้ไขพฤตกิ รรม การดแู ลนกั เรียน นกั เรยี นออนไลน์ ชมุ ชนตอ้ งเข้ามามี

การไมเ่ ข้าเรยี นและไม่สง่ บางสว่ นอยใู่ นพนื้ ที่ 2) มีการวางแผนการ บทบาทในการดแู ล

งานของนกั เรียนใน ห่างไกล ชว่ ยเหลือนักเรยี นเป็น ชว่ ยเหลือนกั เรยี นให้

รปู แบบการเรียนออนไลน์ รายบุคคล เพือ่ ให้สามารถ มากขน้ึ

ช่วยเหลือนักเรยี นรายบคุ คล

กำหนดมาตรการและแนว จดั ดสรรงบประมาณใน 1) จัดทำระบบเยยี่ มบา้ น ผปู้ กครองและ

ทางการแกไ้ ขพฤตกิ รรม การดแู ลนักเรยี น นักเรียนออนไลน์ ชุมชนต้องเข้ามามี

การไมเ่ ขา้ เรยี นและไมส่ ่ง บางส่วนอยใู่ นพน้ื ที่ 2) มีการวางแผนการ บทบาทในการดแู ล

งานของนักเรียนใน ห่างไกล ช่วยเหลอื นักเรยี นเปน็ ชว่ ยเหลือนักเรยี นให้

รูปแบบการเรยี นออนไลน์ รายบุคคล เพื่อใหส้ ามารถ มากข้ึน

ชว่ ยเหลอื นกั เรยี นรายบคุ คล

จากตารางที่ 21 แสดงผลการวิเคราะห์แนวทางในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่างๆ
ทง้ั ในระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนขนาดเล็กท่ีเป็นสถานท่ีพัก
คอย พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นสถานที่พักคอยทั้ง 9 โรงเรียน กำหนดมาตรการและแนวทางการแก้ไข


Click to View FlipBook Version