The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

10ชีวิต10แรงบันดาลใจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by keittapong, 2021-04-21 04:27:12

10ชีวิต10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต10แรงบันดาลใจ

“ทแกตร่ี า‹กาŒ รยาตแรารตบงาทอบีส่ดอดุเดปทšนกี่ผเ็ไคมดรเŒสคารยะหาŒ ปงก รโรอะสรกมบาสทด่ี ี 10 ชวี �ต 10 แรงบนั ดาลใจ นายแพทยว�ชัย โชคว�วัฒน
ทีส่ ุดใหŒกับผม”

ศ.ดร.วร� ย� ะ นามศริ �พงศพนั ธุ

170.-

นายแพทยว�ชัย โชคว�วัฒน

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 1

10 ชีวติ 10 แรงบันดาลใจ

2 10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ

ISBN 978-974-299-196-8
ท่ีปรกึ ษา แพทยห์ ญงิ วชั รา ร้ิวไพบูลย์
บรรณาธกิ าร นายแพทยว์ ชิ ยั โชควิวฒั น
ผู้เขยี น นายแพทยว์ ชิ ยั โชคววิ ัฒน
ออกแบบปกและรูปเล่ม สิบเจด็ ธนั วา
พิมพ์ครั้งท่ี 1 มีนาคม 2556 จำ�นวน 1,500 เลม่
พมิ พท์ ี่ บรษิ ัท ต้นเงินการพมิ พ์ จำ�กดั
จัดพิมพแ์ ละเผยแพร่ โดย สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพกิ าร (สสพ.)
88/39 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 3 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวญั
อ.เมอื ง จ.นนทบรุ ี 11000
ราคา 170 บาท
ขอขอบคณุ ภาพจาก http://pongphun.wordpress.com • http://krunongkala.

blogspot.com • http://www.modxtoy.com • http://www.facebook.com/happy2read-
ing/posts/ • http://www.ch7.com/ • http://movie.sanook.com • http://www.dek-d.com
• http://www.matichon.co.th • http://thaigramophone.com • http://forum.02dual.com
• http://4825003.multiply.com • http://4825003.multiply.com • http://astrohamburg.
wordpress.com

ข้อมลู ทางบรรณานกุ รมหนังสอื

วชิ ยั โชควิวัฒน.
10 ชีวติ 10 แรงบันดาลใจ.-- นนทบุรี : สถาบนั สรา้ งเสรมิ สุขภาพคนพิการ (สสพ.),
2556. 280 หน้า.
1. การดำ�เนนิ ชีวติ --แงจ่ ิตวิทยา. II. ชอ่ื เร่อื ง. 158.1

ISBN 978-974-299-196-8

10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ 3

คำ� น�ำ

หนงั สือเล่มนเ้ี ปน็ เรือ่ งราวของบคุ คล 10 คน ทงั้ เทศและไทย เป็น
ชาวต่างประเทศ 7 คน คนไทย 3 คน ทุกคนลว้ นเผชญิ ความยากล�ำบาก
ดว้ ยขอ้ จำ� กดั ของความพกิ ารทางกายหรอื จติ ใจ แตท่ กุ คนสามารถฟนั ฝา่ จน
“รอดปากเหย่ียวปากกา” และประสบความสำ� เรจ็ สามารถสรา้ งผลงานอัน
เป็นประโยชน์ได้มากน้อยแตกต่างกัน หนังสือเล่มน้ีจึงต้ังชื่อว่า “สิบชีวิต
สบิ แรงบนั ดาลใจ” ท้งั นี้ ดว้ ยความหวังว่า ตวั อย่างชวี ติ ของทั้งสิบท่านน้ีจะ
ชว่ ยเปน็ แรงบนั ดาลใจใหท้ กุ ทา่ น โดยเฉพาะผทู้ ม่ี ขี อ้ จำ� กดั ไมว่ า่ ดา้ นรา่ งกาย
หรอื จิตใจก็ตาม

นายแพทยว์ ิชัย โชคววิ ัฒน

4 10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ

ค�ำน�ำเสนอ

ชีวิตท่ีด�ำเนินไปของผู้คน ต้องมีพลังที่จะช่วยขับเคล่ือนให้ชีวิตได้
เคลื่อนไปในทิศทางที่ปรารถนา บางคนสามารถสร้างและสั่งสมพลังใน
ตวั เองได้ แตบ่ างคนอาจมบี างชว่ งเวลาทพี่ ลงั ถกู ลดทอนหรอื มอดไปดว้ ยความ
เหนอ่ื ยลา้ หากในสงั คมเราจะมแี หลง่ เตมิ พลงั ชวี ติ ใหผ้ คู้ นได้ กค็ งเปน็ แหลง่
ที่ “สร้างแรงบนั ดาลใจ” น่นั เอง
แรงบนั ดาลใจทมี่ าจากชวี ติ จรงิ ของเพอ่ื นมนษุ ย์ เปน็ แรงบนั ดาลใจท่ี
มคี ่าและความหมายของความเกยี่ วโยงเกอ้ื กลู กัน
สถาบนั สรา้ งเสรมิ สขุ ภาพคนพกิ าร (สสพ.) ซง่ึ ทำ� งานสรา้ งองคค์ วามรู้
ไปสกู่ ารเปลยี่ นแปลงของระบบสงั คมและสขุ ภาพ ทจี่ ะเออ้ื ตอ่ การมคี ณุ ภาพ
ชวี ติ ของคนทม่ี คี วามพกิ ารหรอื คนทีใ่ กลช้ ดิ กบั ความพกิ าร ไดเ้ หน็ วา่ เรอื่ งราว
ชีวิตของคนที่ผ่านประสบการณ์ความพิการมักสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน
ทั่วไปได้เป็นอย่างมาก จึงขอให้คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน ซึ่งท่านเป็นทั้ง
นกั อา่ นและนกั ถา่ ยทอดชว่ ยเลอื กหนงั สอื ประสบการณช์ วี ติ 10 ชวี ติ ทจี่ ะชว่ ย
สรา้ งแรงบนั ดาลใจใหผ้ คู้ นได้ มาแนะนำ� กบั ทา่ นผอู้ า่ น ดว้ ยลลี าการเลา่ ผา่ น
ตัวอักษรที่จะท�ำให้ท่านทั้งหลายได้รับการจุดติดพลังแห่งชีวิตข้ึนมาอีกครั้ง
แล้วลุกไปหาหนังสือเร่ืองราวชีวิต ทั้ง 10 ชีวิตมาอ่านต่อให้พลังแห่งชีวิต
ทา่ นไดโ้ ชตชิ ว่ งขน้ึ มาอกี คร้ัง

10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ 5

ดว้ ยความหวงั วา่ ทกุ ชวี ติ ในสงั คมเราจะเตม็ เปย่ี มไปดว้ ยพลงั จากแรง
บันดาลใจ ท่มี ิใช่เพียงมงุ่ ไปสู่แค่สิ่งทเี่ ราสนใจ แต่เพ่อื เกือ้ กูลกันและกัน ให้
ทกุ คนไดม้ ชี วี ิตที่เคลอื่ นไปข้างหน้าอย่างเป็นสุ ขด้วยกนั

สถาบนั สรา้ งเสรมิ สุขภาพคนพกิ าร (สสพ.)

6 10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ

ค�ำนยิ ม

แรงบนั ดาลใจ คอื พลงั นิวเคลียร์ในตวั มนษุ ย์
ในอะตอมของสสารมพี ลงั งานมหาศาลซอ่ นเรน้ อยู่ ฉนั ใด ในตวั มนษุ ย์
กเ็ ชน่ เดยี วกนั
แรงบันดาลใจทำ� ใหม้ นษุ ย์ธรรมดากลายเป็นพระพทุ ธเจา้ ก็ได้ และก็
ท�ำใหท้ �ำอะไรอืน่ ๆ ไดท้ ต่ี ามธรรมดาท�ำไมไ่ ด้ ความสามารถพิเศษนบ้ี างทีก็
เรียกว่า อัจฉริยภาพ ทุพพลภาพ-อัจฉริยภาพ เปน็ คูแ่ ฝดกนั
เพราะคนทม่ี คี วามพกิ ารหรอื ทพุ พลภาพของอวยั วะอยา่ งใดอยา่ งหนงึ่
เขาไมไ่ ดพ้ กิ ารทงั้ ตวั เขาไม่ใชค่ นพกิ าร เขามกั จะพกิ ารเฉพาะอยา่ งใดอยา่ ง
หนึง่ อยา่ งเดยี ว แต่อยา่ งอนื่ อีกหลายอยา่ ง นอกจากจะไม่พกิ ารแล้ว ยงั อาจ
จะดีกวา่ คนธรรมดาด้วยซำ้� ไป เพราะธรรมชาตจิ ะเพ่ิมศักยภาพในสว่ นอน่ื ๆ
เหลา่ น้ัน ไปจนกระทงั่ มคี วามสามารถพิเศษบางอยา่ งทค่ี นธรรมดาทำ� ไมไ่ ด้
ท่ีเรียกว่าอัจฉริยภาพ ต้องถือเป็นหลักว่า ทุพพลภาพกับอัจฉริยภาพเป็น
คูแ่ ฝดกนั
ถา้ เขา้ ใจเชน่ นี้ สงั คมควรมองคนพกิ ารดว้ ยสายตาใหม่ แทนทจ่ี ะมอง
ว่าคนพิการเป็นภาระ (Burden) แต่มองว่าคนพิการเป็นประโยชน์ เช่น
สามารถให้ค�ำปรึกษาเพ่ือคลายทุกข์ เพราะคนพิการได้ผ่านความทุกข์มา
แล้ว จึงมีความสามารถท่ีจะเอาชนะทุกข์ คนธรรมดาในสังคมมีทุกข์มาก

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 7

ด้วยประการต่างๆ แต่มีความสามารถน้อยในการเอาชนะทุกข์ คนพิการ
สามารถเป็นที่ปรกึ ษาในการคลายทุกขข์ องคนทั้งหลายไดเ้ ป็นอย่างดี ดงั นี้
เปน็ ตน้
ในหนงั สอื เลม่ นี้ “10 ชีวติ 10 แรงบันดาลใจ ” ท่คี ณุ หมอวิชัย โชควิวฒั น
ไดร้ วบรวมมาจากทตี่ า่ งๆ เปน็ เรอ่ื งราวของคนทมี่ คี วามพกิ ารหรอื ทพุ พลภาพ
อย่างใดอย่างหน่ึง แต่ภายใต้ความทุพพลภาพนั้นกลับมีอัจฉริยภาพอัน
ยงิ่ ใหญท่ ่ีสรา้ งผลงานในด้านตา่ งๆ ใหเ้ ป็นประโยชน์ตอ่ เพื่อนมนุษย์
คณุ หมอวิชยั โชควิวฒั น เปน็ นักเลงหนังสอื ทง้ั ชอบอา่ นชอบเขยี น
และชอบถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์กับผู้อ่ืน ควรจะมีคนไทยแบบนี้แยะๆ
ระบบการศกึ ษาไทยในรอบรอ้ ยปที ผ่ี า่ นมาลม้ เหลวในการสรา้ งบคุ ลกิ คนไทย
ทพ่ี งึ ประสงค์ เพราะไมไ่ ด้มีวตั ถุประสงคเ์ ช่นนน้ั บุคลิกเหยาะๆ แหยะๆ ใน
ปัจจบุ นั ไมส่ ามารถเผชิญสถานการณ์ความเปน็ จรงิ ในศตวรรษท่ี ๒๑ ท่ีสลับ
ซับซอ้ นฉ้อฉลและยาก เราตอ้ งการบุคลกิ คนไทยที่มีความเข้มแข็งในความ
สุจริต ความเห็นแก่ส่วนรวม การเห็นคุณค่าในงาน อดทน รับผิดชอบ
ใฝเ่ รียนรู้ ระบบการศกึ ษาเป็นระบบท่ีใหญม่ าก ถ้าระบบการศึกษาม่งุ สร้าง
บุคลิกคนไทยที่พึงปรารถนา โดยไม่ต้องไปห่วงเน้ือหา เพราคนท่ีมีบุคลิก
ดงั กลา่ วเขาหาเนอื้ หาทจี่ ำ� เปน็ ไดม้ ากกวา่ ทค่ี รสู อน ประเทศไทยกจ็ ะเปลย่ี นแปลง

8 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

จงึ ขอขอบคณุ คณุ หมอวชิ ยั โชคววิ ฒั น และสถาบนั สรา้ งเสรมิ สขุ ภาพ
คนพกิ าร (สสพ.) ทีจ่ ดั พมิ พห์ นังสอื เล่มน้ี รวมทั้งทำ� เรอ่ื งอน่ื อกี นานปั การ
ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์เพื่อสุขภาวะของคนพิการและคนที่คิดว่าไม่
พิการ ขอใหห้ นังสือเรือ่ ง “10 ชีวติ 10 แรงบนั ดาลใจ” กอ่ ใหเ้ กดิ แรงบันดาล
ใจอยา่ งใหญห่ ลวงแกม่ หาชน วา่ ในตวั ของทา่ นแตล่ ะคนมศี กั ยภาพทปี่ ระดจุ
พลังนิวเคลียร์ในมนุษย์ซ่อนเร้นอยู่ ท่ีสามารถ “ระเบิดออกมาจากข้างใน”
แล้วยังประโยชนต์ ่อเพือ่ นมนุษย์ และสรรพสงิ่ อยา่ งมหาศาล

ประเวศ วะสี

10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ 9

สารบญั

ยอดหญิงเฮเลน เคลเลอร.์ ........................................... 10

ศาสตราจารยว์ ริ ิยะ นามศิรพิ งศ์พันธ์ุ 30
นกั สูช้ วี ิต ผเู้ ปลี่ยนเคราะห์เป็นโอกาส...............................

โอโตทาเกะ ฮโิ รทาดะ ผเู้ กดิ มา “ไม่ครบห้า”..................... 42

บรุ ษุ ลึกลบั ผู้อยู่ในฉากซอ่ นเรน้ 66
ของการจดั ทำ�พจนานุกรมออกซฟ์ อรด์ .............................

สจาตกีเฟมน่มุ มฮอองวข์กองิ้ ง:“อคจัชู่ ฉีวิตริย”.ะ.ใ.น..ร..่า.ง..พ..กิ..า..ร. ............. .............. . 94
คตี กวีลกู ทุง่ ไพบูลย์ บุตรขนั ........................................ 116
คริสโตเฟอร์ รฟี ว์ : ยอดซเู ปอร์แมน.............................. 152
สตีเฟน คิง : นกั เขียนดัง นกั สู้ชีวิต............................... 186

ด้านอนื่ ของชีวิต ซิดนีย์ เชลดอน................................... 218

ชดุ ประดาน้ำ�และผเี สื้อ................................................. 274

10 10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ

10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ 11

ยอดหญิงเฮเลน เคลเลอร์

“เราไม่สามารถเรียนรทู้ จ่ี ะกล้าหาญและอดทน
ถา้ โลกนม้ี แี ตค่ วามร่ืนรมย”์

จดหมายลงวนั ที่ 1 มนี าคม 2433 ของเฮเลน เคลเลอร์ วัย 10 ขวบ
ถึง “เพอ่ื นต่างวัย” คนหน่ึงของเธอ

นายแพทย์โอลิเวอร์ เวนเดลล์ โฮล์มส์ วยั 81 ปี
กวี นกั ประพนั ธ์ และนายแพทยผ์ ูม้ ีชือ่ เสยี งของสหรฐั

หลายปีมาแล้ว ผมเดินทางไปญ่ีปนุ่ ผ่านรา้ นหนงั สือทีส่ นามบนิ เหน็
หนงั สืออตั ชวี ประวตั ิของเฮเลน เคลเลอร์ ชือ่ “The Story of My Life” ปก
เป็นรูปเฮเลน เคลเลอร์ในวัยสาวก้มหน้าน้อยๆ มองไม่เห็นดวงตาท้ังสอง
ข้างที่บอดสนทิ ของเธอ ผมพลกิ ดูราคา 840 เยน ลด 5% เหลือ 800 เยน
เทยี บกบั ราคาปก 4.95 ดอลลารส์ หรฐั แลว้ แพงกวา่ ราคาปกราว 70% แตผ่ ม
ตดั สนิ ใจซอื้ ทนั ที เพราะเชอ่ื วา่ หนงั สอื เลม่ นค้ี งไมม่ วี างจำ� หนา่ ยในเมอื งไทย
ซ่ึงคงจะราคาถกู กว่ากันมาก

12 10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ

อนั ทจ่ี รงิ ผมเคยอา่ นอตั ชวี ประวตั ขิ องเฮเลน เคลเลอรเ์ ลม่ นี้ในพากย์
ภาษาไทย ซึ่งเป็นหนังสอื แปลชุด “เสรีภาพ” เลม่ ท่ี 29 แปลโดย “อาภรณ์
ชาตบิ ุรุษ” ซ่ึงปกเป็นภาพวาดฝีมอื จิตรกร ปยุต เงากระจ่าง พมิ พ์ครงั้ แรก
ต้ังแต่ พ.ศ. 2512 แต่เพราะหนังสือเล่มน้ีซึ่งพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ซิกเนต
(Signet) เมอ่ื ปี 2545 เปน็ ฉบบั เฉลมิ ฉลองครบรอบรอ้ ยปขี องฉบบั พมิ พค์ รงั้
แรก เนอื้ หานอกจากสว่ นทเ่ี ปน็ อตั ชวี ประวตั แิ ลว้ ยงั รวบรวมจดหมายจำ� นวน
มากที่เฮเลนเร่ิมหัดเขียนส่งไปเป็นฉบับแรกและฉบับต่อๆ มาอีกมากมาย
หลายฉบับ แสดงใหเ้ ห็นพัฒนาการการเขยี นหนงั สือของเธอ นอกจากนี้ยัง
มภี าพถา่ ยโทรสารฉบบั หนง่ึ จากจดหมายของเฮเลน และฉบบั พมิ พค์ รง้ั นยี้ งั
มีค�ำน�ำโดยจิม คนิปเฟล นักเขียนประจ�ำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์
นวิ ยอรค์ เพรส ซง่ึ เปน็ คนพิการทางสายตาเขียนใหเ้ ปน็ พิเศษด้วย

เฮเลน เคลเลอร์ เป็นบุคคลทน่ี า่ สนใจอย่างยิ่ง เพราะเธอพิการต้ังแต่
ยงั เป็นเด็กเล็กอายแุ ค่ 19 เดือน โดยเชือ่ วา่ สาเหตเุ กดิ จากการล้มปว่ ยด้วย
โรคอีด�ำอีแดง (Scarlet Fever) ซงึ่ ท�ำให้เธอเกอื บเสยี ชีวิต แตร่ อดมาได้โดย
เช้ือไวรัสได้ท�ำลายประสาทตาและหูของเธอท�ำให้เธอตาบอดและหูหนวก
สนทิ แตเ่ ธอสามารถเอาชนะความพกิ ารรา้ ยแรงทง้ั สองนมี้ าได้ เธอไมเ่ พยี ง
สามารถพฒั นาจนอา่ นออกเขยี นไดเ้ ทา่ นน้ั แตย่ งั พดู ได้ โดยเรม่ิ หดั พดู ตง้ั แต่
คนฟังไม่รู้เร่ืองจนกลายเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ สามารถสร้างผลงานที่เป็น

10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ 13

คุณปู การใหแ้ กโ่ ลกได้มากมาย จนนับได้วา่ เธอคอื “ยอดหญิง” โดยแท้ โดย
เป็นท้ังนักพูดและนักเขียนที่มีช่ือเสียง เขียนหนังสือรวม 12 เล่ม และ
บทความอีกมากมาย เป็นนักต่อสู้เพื่อคนพิการ นักต่อสู้เพ่ือสิทธิสตรี
นกั ตอ่ ตา้ นสงคราม นกั ตอ่ สเู้ พอื่ ผใู้ ชแ้ รงงานและคนยากจน เธอมโี อกาสเขา้
พบปะและสนทนากับประธานาธิบดีสหรัฐทุกคนตลอดช่วงชีวิตอันยืนยาว
ของเธอ เธอได้รับปริญญากิตติมศักด์ิจากหลายมหาวิทยาลัย และรางวัล
เกียรติยศต่างๆ มากมาย เชน่ เมือ่ ปี 2507 ประธานาธบิ ดี ลินดอน บ.ี จอหน์
สัน มอบรางวลั เกยี รติยศสงู สดุ ของสหรัฐท่มี อบให้พลเรอื นแก่เธอ ปตี ่อมา
เธอได้รับเลือกให้จารึกชื่อในหอเกียรติยศแห่งชาติในงานแสดงสินค้าโลกที่
กรงุ นวิ ยอรค์ เรอ่ื งราวของเธอปรากฏในภาพยนตรแ์ ละละครหลายเรอ่ื งสรา้ ง
แรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนทั่วโลก เม่ือเธอล่วงลับไปแล้วก็ยังมีผู้ร�ำลึกถึงและ
ยกย่องใหเ้ กยี รติเธอมากมาย เช่น เมื่อพ.ศ. 2542 เธอไดร้ ับการโหวตจาก
สถาบนั หยงั่ เสยี งแกลลปั วา่ เปน็ ผไู้ ดร้ บั การยกยอ่ ง กวา้ งขวางทส่ี ดุ ในศตวรรษ
ที่ 20 ปี 2546 มลรฐั แอละบามาต้ังชื่อจตรุ ัสแหง่ หนึง่ เพือ่ เปน็ เกยี รตยิ ศแก่
เธอในฐานะที่เธอเกิดในมลรัฐแห่งน้ัน และโรงพยาบาลเชฟฟีลด์ ในมลรัฐ
แอละบามาก็ต้ังชื่อเธอเป็นช่ือโรงพยาบาลเพ่ือเป็นเกียรติแก่เธอ ชื่อเสียง
ของเธอยงั ขจรขจายไปทว่ั โลก หลายเมอื งตงั้ ชอ่ื เธอเปน็ ชอ่ื ถนน เชน่ ในเมอื ง
จีนาเฟในสเปน เมอื งลอดในอสิ ราเอล เมอื งลิสบอนในโปรตุเกส และเมือง
คานในฝร่ังเศส โรงเรียนสอนเด็กเล็กท่ีตาบอดและหูหนวกในเมืองไมซอร์

14 10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ

อินเดียก็ต้ังชื่อเธอเป็นชื่อโรงเรียน โดยผู้ก่อต้ังคือ เค.เค. ศรีนิวาสัน
นอกจากน้ยี ังมีอนุสาวรียข์ องเธออกี มากมาย

เฮเลน เคลเลอร์ เกิดเมือ่ เดนิ มิถนุ ายน พ.ศ. 2423 ทเี่ มอื งทสู คมั เบยี
(Tuscumbia) ซ่ึงเป็นเมืองเล็กๆ ทางตอนเหนือของมลรัฐแอละบามาใน
สหรัฐอเมรกิ า พอ่ เปน็ นายทหารยศร้อยเอกแหง่ กองทัพฝ่ายสหพันธรัฐ (ฝา่ ย
เหนอื ) แมเ่ ปน็ ภรรยาคนทสี่ องของพอ่ อายอุ อ่ นกวา่ พอ่ หลายปี พอ่ มลี กู ชาย
กบั ภรรยาคนแรก 2 คน เฮเลนเป็นลูกคนโตของภรรยาคนท่ีสอง มีนอ้ งสาว
1 คน บรรพบุรุษดั้งเดิมเป็นชาวสวิส อพยพมาต้ังหลักแหล่งครั้งแรกที่
มลรัฐแมรแี ลนด์

แมเ้ ธอจะตาบอดและหหู นวกตง้ั แตย่ งั เลก็ แตเ่ พราะเธอมแี มท่ ม่ี คี วาม
รกั และความฉลาดอยา่ งลำ�้ ลกึ ทำ� ใหเ้ ธอผา่ นคนื วนั อนั ยากลำ� บากมาได้ สว่ น
พ่อกเ็ ป็นคนรักครอบครวั มาก คอยดแู ลเอาใจใสท่ กุ คนในครอบครัว และยัง
เป็นนักเล่านิทานที่เก่งมากด้วย เฮเลนพยายามสื่อสารกับคนอ่ืนโดยการ
ท�ำทา่ ทาง เชน่ สน่ั ศีรษะ แปลวา่ ไม่ พยกั หนา้ แปลวา่ ใช่ ท�ำทา่ ดงึ แปลวา่
มา ผลัก แปลว่า ไป ถ้าต้องการขนมปังก็จะท�ำท่าเลียนแบบการตัด
ขนมปงั และทาเนย เวลามแี ขกมาทบ่ี า้ น เธอมกั จะไปรว่ มอย่ใู นการสนทนาดว้ ย

10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ 15

และเมอ่ื แขกจะกลับเธอก็รจู้ ักวิธโี บกมือลา เมอ่ื อายุ 5 ขวบ เธอรู้จักการพับ
เส้ือผา้ และน�ำไปเกบ็ เขา้ ที่ และร้จู ักแยกเสือ้ ผา้ ของตนออกจากของผอู้ ืน่

แต่เพราะการส่ือสารท�ำได้จ�ำกัด ท�ำให้อารมณ์ร้ายถูกเพาะบ่มในตัว
มาโดยล�ำดับ ความซุกซนตามประสาเด็กท�ำให้เธอโดนไฟลวก เคราะห์ดที ี่
พ่ีเล้ียงมาดับได้ทัน เม่ือเธอเร่ิมรู้จักการใช้ลูกกุญแจ เช้าวันหนึ่งเธอล็อค
กญุ แจขังแม่ไวใ้ นหอ้ งเกบ็ อาหารท่ีแม่ชอบเขา้ ไปทำ� งานในนั้น บางทขี งั แม่
ไว้นานถึง 3 ชั่วโมง คนใช้อยู่อีกส่วนหนึ่งของบ้านจึงไม่ได้ยินเสียงแม่ทุบ
ประตเู รยี กใหเ้ ปดิ สว่ นเฮเลนนง่ั เลน่ อยทู่ ขี่ นั้ บนั ไดหนา้ ระเบยี ง หวั เราะชอบใจ
ขณะสมั ผสั กับเหยือกน�ำ้ ซง่ึ สะเทอื นจากแรงกระแทกประตขู องแม่

หลังจากได้ครูมาอยู่ท่ีบ้าน เฮเลนก็แกล้งครูโดยขังเธอไว้ในห้อง
ขณะน�ำของไปให้ครูตามที่แม่มอบหมาย แทนท่ีจะให้ของกลับปิดประตูขัง
ครูไวใ้ นหอ้ งแลว้ เอาลกู กญุ แจไปซอ่ น จนพอ่ ตอ้ งเอาบนั ไดไปพาดหนา้ ตา่ ง
จึงนำ� ครูออกมาได้ หลงั จากน้ันหลายเดือนเฮเลนจงึ บอกทซ่ี อ่ นลกู กญุ แจให้
ครทู ราบ

เมอ่ื มลิ เดรดนอ้ งสาวเกดิ ไมน่ านเฮเลนกร็ สู้ กึ วา่ นอ้ งสาวแยง่ ความรกั

16 10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ

ของแมไ่ ปจากเธอ ตกั แมท่ เี่ ธอเคยนง่ั กเ็ ปน็ มลิ เดรดไดไ้ ปนงั่ แทน เธอเกลยี ด
นอ้ งและอจิ ฉานอ้ ง จนคราวหนง่ึ นอ้ งเขา้ ไปนอนในเปลทเ่ี ธอหวงไวใ้ สำ� หรบั
ตุ๊กตาแสนรักของเธอนอน เฮเลนโกรธมาก ตรงเข้าไปคว่�ำเปลทันทีท�ำให้
น้องเกอื บตายถา้ แม่ไมเ่ ข้าไปช่วยไวก้ ่อน

คราวหน่งึ มแี ขกมาหาท่บี ้าน เฮเลนขึ้นไปแตง่ ตวั เพอื่ มารบั แขก แต่
เธอรู้สึกว่า แขกกับแม่มิได้ส่ือสารโดยใช้ภาษาท่าทางของเธอ แต่ใช้ปาก
เท่าน้ัน เธอรู้สึกไม่พอใจมาก และพาลพาโล เตะของ ร้องกรีดด้วยความ
โกรธจนเหนอ่ื ยและหยดุ ไปเอง ยง่ิ เธอมคี วามตอ้ งการจะตดิ ตอ่ สอื่ สารกบั ผคู้ น
มากเพยี งใด เธอกย็ ิง่ หงุดหงดิ มากขึ้น เพราะภาษาท่าทางท่เี ธอคิดข้นึ มอี ยู่
จ�ำกัด ท�ำให้เธอยิ่งว้าวุ่นและพยายามด้ินรนอย่างสุดแรง แต่ก็ไม่สามารถ
ตอบสนองความปรารถนาภายในทม่ี อี ยอู่ ยา่ งรนุ แรงได้ หลายครงั้ เธอรอ้ งไห้
จนออ่ นใจ ถ้าแม่อยู่ใกลเ้ ธอจะเขา้ ไปซบทีต่ กั แลว้ รอ้ งไห้ ความทุกขข์ องเธอ
ทว่ มทน้ ล้นใจ

เธอสรปุ ไวช้ ดั เจนวา่ “คนเรานนั้ เมอื่ รวู้ า่ ตนเองก�ำลงั เดนิ อยู่ในหบุ เขา
แห่งความอ้างว้างตามล�ำพัง ย่อมรู้จักคุณค่าแห่งความรักอันนุ่มนวลจาก
ค�ำพูด การกระทำ� และมิตรภาพของผูอ้ น่ื ไดน้ อ้ ยมาก”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 17

ในที่สุดพ่อแม่ก็ทนเห็นลูกทุกข์อยู่เช่นน้ันไม่ได้ จึงเริ่มเสาะหาหมอ
เพอ่ื รักษา เมื่อเฮเลนอายุได้ 6 ขวบ พ่อเร่ิมจากเดินทางพาเธอไปหาหมอ
ตาท่ีเมืองบัลติมอร์ แต่หมอก็ช่วยอะไรไม่ได้นอกจากแนะน�ำให้ไปหา
ดอกเตอร์ อเลก็ ซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ทกี่ รงุ วอชงิ ตนั ด.ี ซ.ี เมอื งหลวง ซง่ึ
ทน่ี น่ั เองประตสู ชู่ วี ติ ใหมข่ องเธอกเ็ ปดิ แงม้ ออก ดอกเตอรเ์ บลลป์ ฏบิ ตั ติ อ่ เธอ
อย่างยอดเยยี่ ม อุ้มเธอไว้บนตกั เมือ่ เธอสนใจนาฬิกาพกของทา่ น ท่านก็
เลน่ กบั เธอโดยทำ� ใหน้ าฬกิ าพกมเี สยี งดงั ได้ การพบกนั ครงั้ นนั้ ทำ� ใหเ้ ธอรสู้ กึ
เสมือนพบ “ประตูที่เปิดรับแสงสว่างจากความมืดมน ความอ้างว้าง ไปสู่
มิตรภาพ ความรู้ และความรกั ในที่สุด”


เม่อื เธอเขียนอตั ชวี ประวตั ขิ องเธอ เฮเลนไดเ้ ขียนคำ� อทุ ิศ วา่

แด่
อเล็กซานเดอร์ เกรเเฮม เบลล์

ผูส้ อนคนหหู นวกใหพ้ ดู
และทำ� ใหห้ ทู ี่ก�ำลงั เงย่ี ฟัง
สามารถไดย้ นิ คำ� พดู จากฝงั่ แอตแลนติกถงึ เทอื กเขารอ็ คก้ี

18 10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ

ข้าพเจ้าอุทิศ
เรอื่ งราวชีวติ ของขา้ พเจ้า เล่มน้ีให้แกท่ า่ น

ครูของเฮเลน คือ แอนน์ แมนสฟ์ ิลด์ ซลั ลแิ วน วัยย่าง 21 ปี เกิดใน
ครอบครัวยากจน เมื่ออายไุ ด้ 10 ขวบ เธอและน้องชายก็ตอ้ งถกู ส่งไปอยู่ใน
โรงเล้ียงเด็กอนาถา ซ่ึงมีเด็กอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียดจนแอนน์และน้อง
ชายต้องไปอยู่ในหอ้ ง “เก็บศพ” ท่รี อฝงั เมือ่ อายุได้ 14 ปี ตาเธอเกือบบอด
สนทิ จากโรคทสี่ มัยน้ีไม่ใครพ่ บในบ้านเราแล้ว คือ โรครดิ สีดวงตาและไม่ได้
รับการรักษาจนเธอถูกส่งไปยังสถาบันเพอร์คินส์ ในเมืองบอสตัน ซ่ึงเป็น
โรงเรียนสอนคนตาบอด แตโ่ ชคดี เธอกลับมามองเห็นได้อีก เธอเรยี นอยูท่ ่ี
สถาบนั เพอรค์ นิ สจ์ นอายคุ รบ 20 ปี จงึ ไดง้ านไปเปน็ ครสู อนเฮเลน ครแู อนน์
เขา้ มาส่ชู วี ติ ของเฮเลน เมอื่ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2430 3 เดอื นกอ่ นเฮเลน
อายคุ รบ 7 ขวบ การพบปะครงั้ แรก เป็นความประทับใจของเฮเลนอยา่ งย่ิง
“ขา้ พเจา้ รสู้ กึ วา่ มฝี เี ทา้ ใกลเ้ ขา้ มา จงึ ไดย้ น่ื แขนออกไปโดยคดิ วา่ เปน็ แม่ แต่
ใครก็ไมท่ ราบไดจ้ บั มอื ไว้ และดงึ ขา้ พเจา้ เขา้ ไปกอด ผนู้ นั้ คอื ผซู้ ง่ึ จะเปดิ เผย
ความลลี้ บั ทง้ั มวลแกข่ า้ พเจา้ และเหนอื อน่ื ใดทข่ี า้ พเจา้ ไดร้ บั จากทา่ นผนู้ ค้ี อื
ความรัก”

10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ 19

แอนน์ แมนสฟ์ ลิ ด์ ซัลลิแวน เป็นยอดครู เธอมที ั้งความรู้ และทกั ษะ
อันยอดเย่ียมทีจ่ ะสื่อและสอนคนที่ทงั้ ตาบอดและหูหนวก เหนอื่ สงิ่ อนื่ ใดคอื
เธอมที ั้ง ความรกั ความเมตตา กรณุ า และความมงุ่ ม่ันอดทนอย่างเปี่ยมล้น

เช้าวนั หนงึ่ เธอพาเฮเลนไปทห่ี ้องแลว้ มอบตกุ๊ ตาใหเ้ ฮเลน เป็นตุ๊กตา
ทีเ่ ด็กตาบอดทส่ี ถาบนั เพอร์กนิ ส์ สง่ มาให้ ขณะทีเ่ ฮเลนกำ� ลงั เลน่ กับตุ๊กตา
เธอก็ใช้นิ้วมือเขียนตัวอักษรค�ำว่า “ตุ๊กตา” บนฝ่ามือของเฮเลนอย่างช้าๆ
ทำ� ให้เฮเลนสนใจทนั ที และเร่มิ เลยี นแบบ จนเขียนได้ เฮเลนภมู ิใจมาก วิ่ง
ลงบนั ไดไปหาแมแ่ ละเขยี นอวดทา่ น

อกี วนั หนง่ึ แอนนส์ อนเรอ่ื งตกุ๊ ตาตอ่ เฮเลนไมพ่ อใจตอ่ การสอนทรี่ สู้ กึ
ว่าซ�ำ้ ซาก จึงฉวยเอาตุก๊ ตาตัวนั้นมากระทืบจนเป็นชนิ้ เล็กชิน้ น้อย โดยเธอ
ไมร่ สู้ กึ เสยี ใจตอ่ การกระทำ� นน้ั เลย ตรงกนั ขา้ มกลบั พอใจ เพราะแทจ้ รงิ แลว้
เธอมไิ ด้รกั ตกุ๊ ตาตัวน้ันเลย “ในโลกแห่งความมืดมน ความรูส้ ึกอันนุ่มนวล
อ่อนโยนนัน้ เกิดขึ้นไดย้ าก”

แทนท่จี ะโกรธ ครูแอนนก์ วาดเศษตุ๊กตาไว้ข้างๆ เตาผิง เมอื่ เฮเลนมี
ท่าทางสบายใจขึ้น ครูแอนนก์ ็ไดห้ ยบิ หมวกมาสวมให้เฮเลนแล้วพาออกไป
เดนิ เลน่ ตามทางเดนิ มดี อกไมส้ ง่ กลนิ่ หอมหวลทเ่ี ฮเลนสมั ผสั ได้ มคี นกำ� ลงั

20 10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ

“คนเรานน้ั เม่อื รวู้ ่าตนเอง

ก�ำลังเดินอยู่ในหบุ เขา
แห่งความอ้างวา้ งตามลำ� พงั
ยอ่ มรูจ้ ักคุณค่าแหง่ ความรัก

อนั นมุ่ นวลจาก
ค�ำพดู การกระท�ำ
และมิตรภาพของผู้อน่ื ไดน้ อ้ ยมาก



10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 21

สบู น�ำ้ ขึ้นมาจากบ่อ ครูจึงฉวยมอื เฮเลนไปรองไวใ้ ต้กอ๊ กน้ำ� เม่อื น้�ำไหลผ่าน
มือ ครูก็เขยี นคำ� ว่า “น�ำ้ ” บนมืออกี ขา้ งหนึ่งของเฮเลนอยา่ งชา้ ๆ และตอ่ มา
กเ็ รว็ ขน้ึ เฮเลนยนื นง่ิ สมาธมิ งุ่ ไปอยทู่ กี่ ารเคลอ่ื นไหวของนว้ิ มอื ครบู นมอื ของ
ตนเอง “ทันใดนั้นข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองได้หลุดออกมาจากเมฆหมอกอัน
หนาทบึ และส่งิ น้ีไดห้ ลงลมื มาเป็นเวลาชา้ นานไดก้ ลบั มาสูค่ วามคดิ และสง่ิ
นั้นคอื ความมหัศจรรยข์ องภาษา ซ่ึงไดเ้ ปิดเผยให้ข้าพเจา้ เขา้ ใจแลว้ ” เม่อื
กลบั ถงึ บา้ นเฮเลนคลำ� ทางไปทเ่ี ตาผงิ หยบิ เศษตกุ๊ ตาขน้ึ มาพยายามประกอบ
มันขึน้ มาใหม่ เฮเลนร้องไห้ ส�ำนกึ ผิดในส่งิ ท่ีได้กระท�ำลงไป เธอเขยี นไว้วา่
“เป็นคร้ังแรกที่ข้าพเจา้ รูส้ ึกเสยี ใจในการกระทำ� ของตนเอง”

ต่อมาครูสอนให้เฮเลนเข้าใจเรื่องธรรมชาติ เธอเขียนไว้ว่า “เมื่อมี
ความรมู้ ากขน้ึ ขา้ พเจา้ รสู้ กึ วา่ โลกนนี้ า่ อยู่ ครสู อนใหข้ า้ พเจา้ รวู้ า่ นก ดอกไม้
และตัวข้าพเจ้าน้ันเป็นมิตรต่อกัน” ขณะเดียวกันเธอก็ได้รับประสบการณ์
สอนให้รู้วา่ “ธรรมชาตนิ ้ันไม่ออ่ นโยนและนา่ รักเสมอไป” เพราะบางคร้ังก็มี
ภัยธรรมชาติ เชน่ พายุฝน

จากเรอ่ื งรอบๆ ตัว ครูได้น�ำพาเฮเลน “ก้าวจากความรูใ้ นการเรยี ก
ชอื่ สง่ิ ของตา่ งๆ ไปสคู่ วามคดิ อนั เปรยี บเสมอื นหนทางอนั กวา้ งใหญ่ คอื เมอ่ื
เราเริม่ ท่ีจะเขา้ ใจขอ้ ความบางตอนของเช็คสเปยี ร์”

22 10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ

สองปีต่อมาเธอกลับไปกรุงวอชิงตันอีกครั้ง คราวน้ีเธอสงบข้ึนมาก
บนรถไฟ เธอน่ังข้างๆ ครู สนใจฟังทุกส่งิ ทกุ อยา่ งทคี่ รพู ดู ครมู องออกไป
นอกหนา้ ตา่ ง แลว้ เลา่ ให้เธอฟงั ถึงความสวยงามของแมน่ ำ�้ เทนเนสซี ทงุ่ นา
ปา่ เขา ไรฝ่ า้ ยอนั กวา้ งใหญ่ และชาวนโิ กรทห่ี วั เราะรา่ เรงิ อยตู่ ามสถานรี ถไฟ

ภาษาเขยี นของเธอกา้ วหน้าไปอยา่ งรวดเรว็ สามเดือนครึง่ หลงั จาก
เริ่มเรียนรู้ค�ำค�ำแรก เธอก็ใช้ดินสอเขียนจดหมายสามสี่บรรทัดไปถึงญาติ
ย่สี ิบหา้ วนั ตอ่ มา เธอเขียนจดหมายสามย่อหนา้ สนั้ ๆ ถงึ แม่ จากภาษาที่ยงั
ผิดบา้ งถกู บา้ ง เธอเรมิ่ เรียนรู้ “ส�ำนวน” (idiom)

เมื่อย่างเข้า 10 ขวบ เธอก็กา้ วกระโดดเข้าส่อู ีกโลกหน่ึงคอื เรียนพูด
โดยเหตบุ งั เอญิ จากการรับรู้เรื่องราวของ แรคนลิ ด์ คาทา เด็กตาบอดและ
หหู นวกชาวนอรเ์ วที่ไดร้ บั การสอนใหพ้ ดู ทำ� ใหเ้ ธอเกดิ ความปรารถนาอยา่ ง
แรงกล้าท่ีจะเรียนพูดและครูก็พาเธอไปหานางซารา ฟูลเลอร์ ครูใหญ่
โรงเรียนฮอเรสมาน และเริม่ เรียนพดู เมอื่ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2433

ครฟู ลู เลอร์ใชว้ ิธีให้เฮเลนเอามือลูบไปบนใบหน้าของนางเบาๆ เพ่อื
คล�ำต�ำแหน่งของรมิ ฝปี าก ล้ิน เม่ือครูเปล่งเสียงออกมา ภายในชว่ั โมงแรก
เธอก็เรียนร้ทู ี่มาของการเปลง่ เสียงพยญั ชนะและสระ 6 ตวั เอ็ม พี เอ เอส

10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ 23

ที โอ จากน้นั ครูใหบ้ ทเรยี นเธอ 11 บท และประโยคแรกทีเ่ ธอเปลง่ ออกมา
คอื “อากาศรอ้ น” แนน่ อนยงั เปน็ ประโยคที่ตะกกุ ตะกัก ขาดเปน็ หว้ งๆ ฟงั
แทบไม่รู้เร่ือง แต่ท�ำให้เธอ “รู้สึกชื่นชมยินดีเม่ือรู้ว่าตนเองสามารถเปล่ง
เสยี งพูดค�ำแรกออกมาได้ แนน่ อนเปน็ ความรู้สึกคล้ายๆ กบั ว่าได้เดินออก
จากคกุ แหง่ ความเงยี บทไ่ี มเ่ คยไดย้ นิ สรรพสำ� เนยี งใดๆ แมส้ ำ� เนยี งแหง่ ความ
รกั ก็ไม่เคยไดย้ นิ .....”

จากคำ� พดู ทีต่ ะกุกตะกัก กะท่อนกะแทน่ เธอใช้ความมานะ บากบ่นั
ฝกึ ฝกึ และฝกึ บอ่ ยๆ จนสามารถพดู ใหค้ นใกลช้ ดิ ฟงั รเู้ รอ่ื งมากขน้ึ ๆ แนน่ อน
เธอตอ้ งตอ่ สกู้ บั ความเหนอ่ื ยหนา่ ย ทอ้ ถอย จนในทสี่ ดุ กพ็ ดู ได้ เมอื่ เธอมน่ั ใจ
ว่าพูดได้ก็แทบคอยวันเวลากลับบ้านไม่ไหว จนเมื่อรถไฟมาถึงสถานีใกล้
บา้ น แม่และพ่อมารอรบั อย่แู ล้ว ดวงตาของเธอเต็มไปด้วยน�ำ้ ตาเมื่อแม่ดงึ
เธอเขา้ ไปกอดและพดู อะไรไมอ่ อกเมอื่ ไดฟ้ งั เธอพดู กบั แม่ มลิ เดรดนอ้ งสาว
ฉวยมอื อกี ขา้ งหนงึ่ ของเธอไปจบู และเตน้ อยขู่ า้ งๆ พอ่ แสดงความภาคภมู ิใจ
และความรักด้วยการยืนดูอยู่เงียบๆ ข้างๆ เธอนึกถึงค�ำพยากรณ์ใน
พระคมั ภรี ท์ ว่ี ่า “ภเู ขาและทะเลจะแยกออกตอ่ หนา้ ทา่ นเพอื่ รอ้ งเพลง และ
ต้นไม้ทุกตน้ ในทุ่งนาจะตบมือชน่ื ชมยินดี”

แตช่ วี ิตย่อมไมโ่ รยดว้ ยดอกกหุ ลาบ เมือ่ อายไุ ด้เพียง 11 ขวบ เฮเลน

24 10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ

กป็ ระสบกบั วกิ ฤตในชวี ติ ครง้ั สำ� คญั เมอื่ เธอเขยี นความเรยี งขนึ้ เรอ่ื งหนงึ่ ซงึ่
ต่อมามผี กู้ ลา่ วหาว่างานชิน้ นนั้ เธอลอกเลียนมาจากของผูอ้ นื่ (Plagiarism)
ซง่ึ ถือเปน็ ความผดิ รา้ ยแรง เธอถกู สอบสวนเพอื่ เอาผดิ ทัง้ ๆ ท่ีเธอมไิ ด้ต้ังใจ
ลอกเลียนหรือหลอกลวงผู้ใด แต่คงเป็นเพราะเธอได้ฟังเร่ืองราวมาแล้ว
ประทับอยู่ในความทรงจ�ำของเธอ และเธอก็ลืมไปแล้วว่าฟังจากใครท่ีไหน
เมอ่ื เขียนข้นึ ก็เขียนออกจากใจ และสมองนอ้ ยๆ ของเธอเอง เหตุการณ์ที่
เธอถูกสอบสวนโดย “คณะลกู ขนุ ” ซึง่ มีคนตาบอด 4 คน คนตาดี 4 คน
เปน็ ฝันรา้ ยของเฮเลน ทำ� ให้เธอเกิดอาการหวาดระแวงและเกอื บจะสญู เสยี
ความมน่ั ใจเคราะหย์ ังดีท่ีมคี นจ�ำนวนมากเข้าใจ และเหน็ ใจเธอ โดยเฉพาะ
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ซ่ึงพยายามสืบหาข้อเท็จจริงด้วยความ
เปน็ ธรรม และครูแอนน์ ซลั ลิแวน ซึ่งเช่อื มั่นและให้กำ� ลงั ใจเธออยา่ งมน่ั คง
ท่ีสำ� คัญเพราะ “สจุ ริต คือเกราะบงั ศาสตรพ์ รอ้ ง” ในที่สุดเธอกป็ ระคองตวั
ฝา่ วิกฤต ศกึ ษาเล่าเรยี น และกลา้ ทจี่ ะเขยี นต่อมา

เธอประสบความสูญเสยี ครง้ั ใหญ่ในปี พ.ศ. 2439 ขณะอายไุ ด้ 16 ปี
เธอเสยี ทง้ั พอ่ และนายจอน พ.ี สปอลดงิ ซงึ่ เปน็ ผใู้ หค้ วามเมตตากรณุ าชว่ ย
เหลอื ทงั้ เธอและครแู อนน์ ซลั ลแิ วน อยา่ งมาก แตเ่ ธอก็ไมท่ อ้ ถอย การเรยี น
ของเธอก้าวหน้าขึ้นโดยล�ำดับ เธอได้ไปเรียนในนิวยอร์ค เรียนท้ังภาษา

10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ 25

เยอรมนั ฝรงั่ เศส ละตนิ กรกี รวมทงั้ วชิ าทย่ี ากทเี่ ธอไมช่ อบ คอื คณติ ศาสตร์
เรขาคณิตจนในที่สุดก็สามารถสอบเข้าเรียนในวิทยาลัยแรดคลิฟฟ์ได้
แน่นอนว่าตลอดเส้นทางการศึกษาในฐานะผู้พิการเช่นเธอ ท�ำให้เธอต้อง
เผชิญอุปสรรคขวากหนามมากมาย จนบางคร้ังเธอแทบหมดก�ำลังใจ
โชคดีที่ครูแอนน์ ซัลลิแวน เข้าใจอยูเ่ คียงขา้ ง ใหก้ �ำลงั ใจ และช่วยเธอแก้
ปญั หาฝ่าฟนั อปุ สรรคไปได้จนตลอดรอดฝ่งั

ทวี่ ทิ ยาลยั แรดคลฟิ ฟน์ เ้ี อง ทเ่ี ธอไดเ้ ขยี นอตั ชวี ประวตั ขิ องเธอขนึ้ จน
ส�ำเร็จ และไดต้ ีพิมพ์คร้ังแรกเมือ่ พ.ศ. 2445 ขณะเธออายุได้ 22 ปี

แมจ้ ะเปน็ หนงั สอื เลม่ แรกของเธอซง่ึ เขยี นขน้ึ ขณะศกึ ษาอยา่ งหนกั ใน
วทิ ยาลยั ซง่ึ ขณะน้นั มีอปุ กรณช์ ว่ ยเหลือคนพกิ ารอยา่ งเธอน้อยมาก เธอฟงั
อาจารย์ไมไ่ ดย้ นิ ตอ้ งอาศยั ครแู อนน์ ซลั ลแิ วน ชว่ ยถา่ ยทอดคำ� บรรยายโดย
การใช้นิ้วเขียนบนมือของเธอ ท�ำให้เธอจดเล็คเชอร์ไม่ได้เลย แต่
อตั ชวี ประวตั เิ ลม่ นกี้ เ็ ขยี นขนึ้ ไดอ้ ยา่ งหมดจดงดงามยงิ่ เลา่ เรอ่ื งราวชวี ติ ของ
เธอไวท้ กุ แงท่ กุ มมุ ทงั้ เหตกุ ารณ์ในชวี ติ และความยากลำ� บากในการเอาชนะ
ความพิการ รวมท้ังวิธีการแสวงหาความรู้และความสุขในชีวิตอย่างหลาก
หลาย ตั้งแต่การอ่านหนังสือที่ท�ำส�ำหรับคนตาบอดท่ีมีอยู่แทบทุกเล่มใน

26 10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ

หลายภาษา การดลู ะคร การฟังดนตรี
การออกไปทัศนศึกษา การออกไป
สัมผัสชนบท การดูการแข่งขันกีฬา
เป็นต้น นอกจากน้ันเธอยังเล่าถึงการ
ไปพบบุคคลท่ีส�ำคัญอย่าง โอลิเวอร์
เวนเดลล์ โฮลม์ ส์ ซงึ่ เธอทำ� ใหท้ า่ นผนู้ ี้
ถึงกับหล่ังน�้ำตาเม่ือเธอได้กลิ่น
หนังสือ แล้วเอามือกวาดไปสัมผัส
หนังสือ เม่อื ครแู อนน์บอกวา่ หนงั สอื
เล่มนัน้ คือบทกวีของเทนนิสนั เธอก็
ทอ่ งบทกวขี องเทนนสิ นิ ออกมาบทหนงึ่
ทันที ท�ำให้นำ�้ ตาของโอลเิ วอร์ เวนเดลล์ โฮลม์ ส์ หยดลงบนมือเธอ

หลงั อตั ชวี ประวตั ขิ องเธอตพี มิ พอ์ อกมาไดป้ เี ดยี ว เธอกเ็ ขยี นหนงั สอื
ออกมาอีกหน่งึ เล่ม คือ “มองโลกแง่ด”ี (Optimism)

เฮเลนจบการศึกษาจากแรดคลฟิ ฟ์เมือ่ ปี 2447 ขณะอายไุ ด้ 24 ปี
หลังจากน้ันเธอเขียนหนงั สอื อีก 2 เลม่ คือ “โลกทีฉ่ นั อยู่อาศยั ” (The World
I Live In) เม่อื ปี 2451 ขณะอายุได้ 28 และ “บทเพลงแหง่ กำ� แพงหิน” เมื่อ

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 27

ปี 2453 ขณะอายไุ ด้ 30 ปี ตลอดชวี ติ
เธอเขียนหนังสือรวมทั้งสิ้น 12 เล่ม
และบทความอีกมากมาย

เฮเลนเป็นทั้งนักพูดและ
นกั เขยี นทท่ี รงอทิ ธพิ ล ไดอ้ อกไปแสดง
ปาฐกถาท่ัวทุกรัฐในสหรัฐ เธอสร้าง
ภาพยนตร์และแสดงน�ำในภาพยนตร์
เรื่องซ่ึงคือประวัติชีวิตของเธอเอง
เธอมบี ทบาทมากมายในสงั คม นอกจากใน
สหรฐั แลว้ เธอยงั เดนิ ทางทอ่ งเทยี่ วไปทวั่ ยโุ รป เปน็ ผกู้ อ่ ตง้ั มลู นธิ สิ าธารณกศุ ล
จ�ำนวนมาก ช่ือของเธอปรากฏเป็นช่ือของสถาบันและอาคารมากมาย
เธอถงึ แกก่ รรมท่เี มอื งเวสต์พอร์ต ในมลรฐั คอนเนตติคัต เมื่อ พ.ศ. 2511
สิริรวมอายไุ ด้ 88 ปี ครูแอนน์ ซัลลแิ วน จากเธอไปต้ังแต่ พ.ศ.2479 ขณะ
อายไุ ด้ 70 ปี หลงั จากอยกู่ ับเฮเลนยาวนานถึง 49 ปี เฮเลนจึงอยโู่ ดยไม่มี
ครูแอนนซ์ ัลลิแวนเคียงขา้ งยาวนานถึง 32 ปี

เฮเลน เคลเลอร์ ไดร้ จู้ กั พบปะ และตดิ ตอ่ กบั บคุ คลรว่ มสมยั ของเธอ
มากมาย หนงึ่ ในนั้นคอื มาร์ค ทเวน นักประพันธ์เรืองนามของสหรัฐ เธอ

28 10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ

กลา่ วถงึ มาร์ค ทเวนว่า “ขา้ พเจ้ารกั มาร์ค ทเวน ใครบ้างจะไม่รกั ท่านผ้นู ี้
แม้แต่เทพเจ้าก็อดรักมาร์ค ทเวนไม่ได้” ส่วน มาร์ค ทเวน ได้กล่าวถึง
เฮเลนว่า บุคคลที่น่าสนใจท่ีสุดในรอบศตวรรษเดียวกันกับเขามีอยู่สองคน
คนหนง่ึ คือพระจักรพรรดนิ โปเลยี น โบนาปาร์ต อีกคนหนง่ึ คือ เฮเลน เคลเลอร์

10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ 29

“เมอื่ มคี วามรู้มากขนึ้

ข้าพเจ้ารูส้ ึกวา่ โลกน้นี ่าอยู่
ครูสอนใหข้ ้าพเจา้ รู้วา่

นก ดอกไม้ และตัวข้าพเจา้ นั้น
เปน็ มิตรต่อกัน



30 10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 31

ศนาักสสตู้ชรวี าติ จาผรยเู้ ป์วลิริยยี่ ะนเนคราามะศหริ เ์ พิ ปง็นศโ์พอกนั าธส์ุ

ศาสตราจารยว์ ริ ยิ ะ นามศริ พิ งศพ์ นั ธ์ุ เปน็ ผพู้ กิ ารทางสายตาตวั อยา่ ง
ของไทย ที่สามารถเอาชนะความพิการของตนเอง สู้ชีวิตด้วยความมานะ
บากบั่น จนประสบความส�ำเร็จมาโดยล�ำดับ ตั้งแต่เรียนจบเป็นนิติศาสตร์
บณั ฑติ โดยสอบไดท้ ่ี 1 ในคณะนติ ศิ าสตรม์ หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ชนะคน
ตาดีในรุ่นเดียวกันทั้งหมด และได้สร้างผลงานวิชาการจนได้รับต�ำแหน่ง
ศาสตราจารยท์ แี่ มค้ นตาดกี ท็ ำ� ผลงานจนถงึ ขน้ั น้ีไดไ้ มม่ ากนกั ทงั้ นอี้ าจารย์
วริ ยิ ะตอ้ งเผชญิ ปญั หาอปุ สรรคในชวี ติ มามากมาย นา่ ยนิ ดที อี่ าจารยว์ ริ ยิ ะได้

32 10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ

เขยี นอตั ชวี ประวตั ขิ นึ้ ไว้ หลงั จากทสี่ อบไดท้ ี่1 ทค่ี ณะนติ ศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์
จนเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์เวลาน้ัน ท�ำให้มีคนไปสัมภาษณ์ท่าน
มากมาย ท่านจึงได้เขียนประวัติของท่านข้ึนเป็นกิจลักษณะ ซึ่งหนังสือ
ดังกล่าวได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนจ�ำนวนมากท้ังคนพิการและคนปกติ
ทัว่ ไป

พื้นเพครอบครัวของอาจารย์วิริยะเป็นคนจีนโพ้นทะเลซึ่งอพยพมา
ทำ� มาคา้ ขายอยใู่ นกรงุ เทพฯ จนเกอื บจะซอ้ื หอ้ งแถวเปน็ ของตวั เองแถวสำ� เพง็
ได้ แตเ่ กดิ วบิ ตั กิ รรมไฟไหม้ ทำ� ใหห้ มดเนอ้ื หมดตวั แมอ่ าจารยว์ ริ ยิ ะจงึ กลบั
ไปตั้งหลักที่บ้านพ่อแม่ที่อ�ำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เร่ิมต้ังตัวใหม่ได้
หนง่ึ ปพี อ่ จงึ ยา้ ยตามไป อาจารยว์ ริ ยิ ะจงึ เกดิ ทอ่ี �ำเภอคง มพี นี่ อ้ งทอ้ งเดยี วกนั
รวม 9 คน อาจารยว์ ริ ิยะเปน็ คนที่ 8

อาจารยว์ ริ ยิ ะกเ็ หมอื นเดก็ ผชู้ ายในเมอื งเลก็ ๆ ในชนบท คอื เตบิ โตมา
กับธรรมชาติ ประเพณี และวิถีชีวิตชาวบ้าน และเป็นเด็กซุกซนจนถึงข้ัน
เคยแขนหักถงึ 2 คร้งั การห่วงแตเ่ ลน่ สนกุ ไปวนั ๆ ส่งผลใหเ้ ปน็ คนเดียวใน
หมู่เพ่ือนๆ ที่สอบเข้าเรียนต่อช้ันมัธยมไม่ได้ จนต้องขอให้พ่ีชายไป
ขอครูให้ได้เรียนต่อซ่ึงพ่ีชายรับปากจะช่วยแต่ต้องให้สัญญาว่าจะเอา
ใจใสแ่ ละขยนั เรยี น อาจารยว์ ริ ยิ ะจงึ เปลย่ี นชอ่ื เปน็ วริ ยิ ะ ซง่ึ แปลวา่ ขยนั หมน่ั

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 33

เพียร จากเดิมช่ือเป็นจีน คือ เด็กชายเต็กเช็ง แซ่นา (เต็กเซ็ง แปลว่า
สติปัญญาเป็นเลิศ) อาจารย์วิริยะพยายามตั้งหน้าอุตสาหะจนเรียนดีขึ้น
ตามลำ� ดบั แตแ่ ลว้ ชวี ติ กก็ ลบั ผกผนั เมอ่ื ไปหยบิ “ของ” สงิ่ หนงึ่ มาเลน่ บงั เอญิ
ของชิ้นน้ันเป็นระเบิดส�ำหรับระเบิดหิน จนเกิดระเบิดท�ำให้น้ิวมือซ้ายขาด
ไปสองน้วิ และตาบอดทั้งสองข้าง แม้เตยี่ และพๆี่ จะพาไปรักษาถึงศิริราช
และท่ีอน่ื ๆ แตก่ ส็ ิน้ หวงั ท�ำใหจ้ ติ ใจหดหู่ ทอ้ แท้มาก โชคดีทม่ี ผี แู้ นะนำ� ให้
ไปเขา้ เรยี นท่ีโรงเรยี นสอนคนตาบอดซง่ึ เวลานนั้ มเี พยี งแหง่ เดยี วในประเทศไทย

ปกตโิ รงเรยี นสอนคนตาบอดจะรบั เด็กอายุไมเ่ กนิ 12 ปี แตอ่ านสิ งส์
จากผลการเรียนที่ดีในระยะหลัง แมอ้ ายุจะถงึ 15 ปแี ลว้ แตท่ างโรงเรยี นก็
รับ โดยอาจารยว์ ริ ยิ ะไดม้ โี อกาสพบซสิ เตอร์โรสแมอ่ ธิการ และ มิสเจนนวี ีฟ
คอลฟลิ ด์ หญงิ อเมรกิ นั ตาบอดผกู้ อ่ ตง้ั โรงเรยี นแหง่ นนั้ ดว้ ย และทงั้ สองทา่ น
เปน็ ผ้ตู ดั สนิ ใจรับอาจารยว์ ิริยะเขา้ เป็นนกั เรียนประจ�ำ

เพียงวนั แรก อาจารย์ก็ “เหน็ แสงสวา่ ง” เพราะนอกจากรับเขา้ เรียน
แลว้ แม่อธิการยงั พดู “จับเข้าไปในหัวใจ” สอนอาจารย์วิริยะมิใหต้ ง้ั ค�ำถาม
“ทำ� ไม”ทที่ ำ� ร้ายตัวเอง แต่ให้คิดเสมอวา่ ทกุ คนลว้ นอยตู่ รงกลาง มที ง้ั คนท่ี
ดแี ละดอ้ ยกวา่ เรา ใหต้ งั้ คำ� ถามวา่ “ทำ� อยา่ งไร” เราจะใชเ้ วลาใหเ้ กดิ ประโยชน์
สูงสุด

34 10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ

คำ� พดู ของแมอ่ ธกิ ารท�ำให้อาจารย์วริ ิยะ “ไดด้ วงตาเหน็ ธรรม” เกอื บ
จะในฉบั พลนั จน “ไมอ่ ยากเชอื่ เลยวา่ วธิ คี ดิ ทถ่ี กู ตอ้ งนนั้ สามารถทจ่ี ะชว่ ยให้
ความโศกเศรา้ ความหงดุ หงดิ อดึ อดั ความเสยี ใจของมนษุ ยล์ ดลงไปไดม้ าก
ทีเดยี ว”

ตอ่ จากนน้ั มสิ เจนนวี ฟี ยงั ชวี้ า่ จะตอ้ งเชอ่ื มนั่ วา่ แมต้ าบอดกส็ ามารถ
ทำ� อะไรตอ่ อะไรได้ โดยไดย้ กตวั อยา่ งคนทปี่ ระสบความสำ� เรจ็ มากมาย เชน่
อาจารย์วิรชั ศรีตลุ านนท์ คนตาบอดคนแรกของไทยทีจ่ บปริญญาตรี จาก
คณะอกั ษรศาสตรจ์ ฬุ าฯ ขณะนนั้ เปน็ อาจารยส์ อนหนงั สอื ที่โรงเรยี นสอนคน
ตาบอดทอ่ี าจารยว์ ิริยะจะไดร้ ับการดแู ลจากอาจารยว์ ิรัชดว้ ย ฯลฯ

ระหวา่ งแมอ่ ธกิ ารคยุ กบั อาจารยว์ ริ ยิ ะ ทา่ นมงี านอนื่ แทรกเขา้ มาเปน็
ระยะๆ เชน่ มหี นังสอื มาให้เซ็น มีผศู้ รทั ธามาบรจิ าค มีแขกมาพบ แต่หลงั
เสรจ็ ภารกจิ เฉพาะหนา้ ทา่ นกจ็ ะกลบั มาคยุ กบั อาจารยว์ ริ ยิ ะตอ่ ทำ� ใหอ้ าจารย์
วิริยะยอมรับว่า “ท่านท้ังสองได้เปล่ียนชีวิตของผมจากคนท่ีหมดหวัง ที่
หมดอาลยั ตายอยากในชีวติ ที่โศกเศรา้ หดหทู่ พ่ี รอ้ มจะร้องไห้ไดท้ ุกเมื่อ มา
เปน็ คนท่ีมคี วามหวังและมพี ลังทจ่ี ะต่อสกู้ บั ชีวิตต่อไป”

นอกจากเปลี่ยนทัศนะต่อชีวิตและช้ีให้เห็นศักยภาพของคนพิการ

10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ 35

แม่อธิการและมิสคอลฟิลด์ ยังชี้
หนทางการพฒั นาตนเองใหใ้ ชช้ วี ติ
แบบพอเพียงรักงาน กินอยู่อย่าง
เรยี บงา่ ย รจู้ กั จดั การทรพั ยส์ นิ รจู้ กั
การความสัมพันธ์กับผู้อ่ืนต้องไม่
ทำ� ใหผ้ อู้ นื่ เดอื ดรอ้ น และสดุ ทา้ ยคอื
การฝึกฝนตนเองในส่วนความสัมพันธ์กับพระเจ้า รู้จักการใช้เวลาให้เกิด
ประโยชน์สูงสดุ

อาจารย์วิริยะไม่เชื่อว่าคนพิการสามารถช่วยผู้อ่ืนได้ แม่อธิการก็
ชี้แนะว่า เร่ืองแรกคือให้ย้ิม เพราะ “การย้ิมของคนตาบอดน้ันได้ช่วยให้
หลายคนไม่ฆ่าตวั ตาย และไดช้ ่วยใหห้ ลายคนไมท่ ้อแท้กบั ชวี ติ แตม่ ีพลงั ท่ี
จะต่อสู้กบั ชีวติ ตอ่ ไป...”

การสนทนากบั มสิ คอลฟลิ ดน์ นั้ ภาษาองั กฤษทอี่ าจารยว์ ริ ยิ ะเรยี นมา
หลายปจี าก “บา้ นนอก” แทบไมช่ ่วยอะไรได้เลย ต้องมแี ม่อธกิ ารช่วยแปล
ตลอดแต่ต่อมาอาจารย์วิริยะก็ฟันฝ่าอุปสรรคน้ีจนได้ไปศึกษาต่อในสหรัฐ
และจบมาได้ด้วยดี เร่ืองอักษรเบรลล์ ประสบการณ์แรกของอาจารย์วิริยะ
คอื ไมค่ ดิ วา่ จะเรยี นได้ แตห่ ลงั จากคอ่ ยๆ เปลยี่ นทศั นะการมองชวี ติ และดว้ ย

36 10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ

“การตาบอด

เป็นเคราะห์กรรม ที่รา้ ยแรงทส่ี ดุ
ทผี่ มเคยประสบ

แต่การตาบอด ก็ไดส้ ร้างโอกาสท่ดี ี
ท่สี ุดใหก้ ับผม



10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ 37

การฝกึ ฝนไมน่ านเรอ่ื งนี้ ก็กลายเปน็ เร่ืองงา่ ย เรื่องการใช้พมิ พ์ดดี นิว้ กลาง
และนิ้วนางมือซ้ายที่ขาดไปพร้อมส่วนท่ีเหลือท่ีถูกจ�ำกัดการเคลื่อนไหว
เพราะการยดึ ของแผลเป็น มสิ คอลฟลิ ด์ก็ชว่ ยให้ได้รบั การผา่ ตดั แกไ้ ขจาก
หน่วยแพทย์ในกองทัพสหรฐั ที่มาประจำ� การในประเทศไทย ทำ� ให้สามารถ
พิมพ์ดีดได้อย่างคล่องแคลว่ ในเวลาตอ่ มา

อย่างไรก็ดี หนทางชีวิตย่อมมิได้โรยด้วยดอกกุหลาบอาจารย์วิริยะ
ต้องประสบปญั หาตั้งแตว่ นั แรกๆ เมื่อถูกเพ่ือนคนตาบอดชนจนลม้ ปากเจอ่
เพราะไปกีดขวางทางเขา ไมเ่ ดิน “ชิดซา้ ย” ตามกติกา เรือ่ งนท้ี �ำใหอ้ าจารย์
วริ ยิ ะถงึ กบั ทอ้ ไปพกั หนง่ึ เลย

เพียงเดือนเศษที่อยู่ในโรงเรียนสอนคนตาบอด แม่อธิการก็เรียก
อาจารย์วิริยะไปพบแจ้งว่าจะส่งไปเรียนหนังสือร่วมกับคนตาดีที่โรงเรียน
เซน็ ตค์ าเบรยี ล โดยใหไ้ ปตงั้ ตน้ เรยี นซำ้� ชนั้ มศ.2 แทนทจ่ี ะเปน็ มศ.3 ทเ่ี คย
เรยี นมาแลว้ ท้งั นี้เพราะชั้น มศ. 2 มีคนตาบอดเรียนอยู่ด้วย 4 คนจะได้
ช่วยกนั และจะตอ้ งเดินทางไปกลับเอง และต้องชว่ ยตัวเองแทบทกุ อย่าง

การได้รับเลือกให้ไปเรียนท่ีเซนต์คาเบรียลนี้ถือเป็นรางวัลอย่างดี
เพราะปกตนิ กั เรยี นทจ่ี บ ป.7 ท่ีโรงเรยี นสอนคนตาบอดจะไดร้ บั การพจิ ารณา

38 10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ

แยกเป็น 3 กล่มุ ถ้าเรยี นไม่เกง่ ก็จะใหเ้ รยี นที่โรงเรยี นต่อไป ถา้ เรยี นไม่ดี
และโตแล้วก็จะส่งไปเรยี นฝกึ อาชพี ทศี่ นู ย์ฝกึ อาชพี คนตาบอดปากเกร็ด ถ้า
เรยี นเกง่ จงึ จะสง่ ไปเรยี นรว่ มกบั เดก็ ทวั่ ไป อาจารยว์ ริ ยิ ะจงึ ตอ้ งออกไปเผชญิ
โลกภายนอก ต้องพบเจอปญั หามากมาย เชน่ เดนิ ตกท่อจนบาดเจบ็ ถูก
เพอ่ื นล้อ ไมเ้ ทา้ ขาวไปท�ำใหค้ นตาดสี ดุดจนลม้ ไมเ้ ทา้ หกั เดินคล�ำทางไป
จบั หนา้ อกผหู้ ญงิ เขา้ โดยบงั เอญิ จนถกู ตอ่ วา่ อยา่ งแรง ฯลฯ แตอ่ าจารยว์ ริ ยิ ะ
กฟ็ ันฝ่ามาได้ เทอมแรกสอบได้ 59 % แม้คะแนนไม่ดีแตก่ ผ็ า่ น ขณะที่
เพอื่ นนกั เรยี นทง้ั ตาดตี าบอด สอบตกถงึ ครง่ึ ชนั้ ตอ่ มาสอบไดถ้ งึ 80 % ไดท้ ่ี
3 ของห้อง

ตอ่ มาแมอ่ ธกิ ารและมสิ คอลฟลิ ด์ไดเ้ รยี กอาจารยว์ ริ ยิ ะไปพบ สอนให้
รู้จักตัง้ เปา้ หมายชีวติ และหนทางสูเ่ ปา้ หมายน้นั พร้อมกบั ให้การบ้านไปคิด
ว่า จะตั้งเป้าหมายในชีวิตของตนเองอย่างไร อาจารย์วิริยะกลับมาศึกษา
ใคร่ครวญ พูดคุย ปรกึ ษาหารือ จนในท่สี ุดก็ไดค้ �ำตอบทีแ่ นว่ แนค่ ือ 1) จะ
ประกอบอาชพี ทางดา้ นกฎหมาย ไมไ่ ปขายลอตเตอรเ่ี หมอื นคนตาบอดโดย
มาก 2) จะอทุ ศิ ชวี ติ ตอ่ สใู้ หค้ นตาบอดมศี กั ดศ์ิ รแี ละมสี ทิ ธเ์ิ ทา่ เทยี มกบั บคุ คล
อ่ืน เพ่ือสืบทอดอุดมการณ์ของแม่อธิการและมิสคอลฟิลด์ แม่อธิการและ
มสิ คอลฟิลดฟ์ งั แลว้ กส็ อบถามถึงเหตุผลท่ตี ัดสินใจเช่นนน้ั และได้เตอื นให้
ทราบว่าจะต้องประสบอุปสรรคขวากหนามอีกมาก ดังต่อมามีผู้ใหญ่มา

10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ 39

เตอื นวา่ กฎหมายเมอื งไทยไมอ่ นญุ าตใหค้ นตาบอดมอี าชพี ทางกฎหมาย ทง้ั
เปน็ ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ หรอื แม้แต่รับราชการเปน็ อาจารย์สอน
กฎหมาย จงึ แนะนำ� ใหเ้ รียนทางอกั ษรศาสตร์เหมอื นอาจารยว์ ิรชั แทน แต่
อาจารยว์ ิรยิ ะก็ยืนยันหนกั แนน่ ทจ่ี ะเป็นผบู้ ุกเบิก สานฝนั และตอ่ สู้ตอ่ ไป

เพ่ือให้บรรลุความฝัน อาจารย์วิริยะได้วิเคราะห์ปัญหาและวางแผน
ยทุ ธศาสตรอ์ ยา่ งเปน็ ระบบ เร่ิมจากการต้งั ใจศกึ ษาเลา่ เรยี นให้ดีทีส่ ดุ จนได้
ไปเรยี นต่อชั้น มศ. 4 - 5 ที่โรงเรยี นอสั สมั ชัญ บางรัก แมจ้ ะต้องเจอปญั หา
มากมาย โดยเฉพาะตอ้ งเรมิ่ เรยี นปพู น้ื ภาษาฝรงั่ เศส เพอื่ ใหเ้ ขา้ เรยี นไดโ้ ดย
ทางโรงเรียนกำ� หนดคะแนนสอบผ่านไม่ต�่ำกว่ารอ้ ยละ 80 ซงึ่ นับว่าสูงมาก
แตอ่ าจารยว์ ริ ยิ ะไมท่ อ้ และทำ� คะแนนไดถ้ งึ รอ้ ยละ 88 เมอ่ื เตรยี มซกั ซอ้ มเดนิ
ทางไปโรงเรียน ก่อนโรงเรียนเปิดเทอมก็เจอครูอาวุโสท่ีไม่เห็นด้วยกับการ
รับนักเรียนตาบอดเข้าเรียน มาขัดขวางและประกาศต่อต้านแต่ด้วยความ
ช่วยเหลอื ของแมอ่ ธกิ ารและมสิ คอลฟลิ ด์ รวมทงั้ ความเมตตาและทศั นะอนั
กา้ วหนา้ ของผู้บริหารโรงเรยี นอัสสมั ชัญเอง ในที่สุดอาจารย์วิรยิ ะก็สามารถ
เขา้ เรียนได้ และเมื่อจบ มศ. 5 ก็ทำ� คะแนนได้ดี จน “ติดบอรด์ ” อนั ดบั ที่
24 ของประเทศ เป็นข่าวฮือฮาไปท่ัว ในขณะที่โรงเรียนดังๆ ของรัฐบาล
ปฏิเสธท่ีจะรับคนตาบอดเข้าไปเรียน เพราะไม่ต้องการเป็นภาระและเป็น
“ตวั ถว่ ง” ผลการเรยี นโดยรวมของโรงเรียน

40 10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ

หลังจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อาจารย์วิริยะก็สามารถสอบ
เอนทรานซ์เข้าธรรมศาสตร์ได้ตามเป้าหมาย และผลการเรียนก็ดีเยี่ยมได้
เป็นที่ 2 ของชน้ั แพเ้ พอื่ นสนิทคอื ชัยวัฒน์ สถาอนันต์ ซง่ึ ไดท้ ี่ 1 เพยี ง
คนเดยี วเทา่ น้นั ปีต่อมาจงึ ไดเ้ ขา้ เรยี นในคณะนติ ศิ าสตรส์ มปรารถนา เมอ่ื
เรยี นจบกส็ อบได้ที่ 1 ของคณะ ชนะคนตาดที งั้ หมด ได้รบั พระราชทานทุน
ภูมิพล และต่อมาได้บรรจุเป็นอาจารย์ท่ีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตรส์ มความตง้ั ใจ นบั เปน็ คนพกิ ารทเ่ี ปน็ ขา้ ราชการพลเรอื นคนแรก
ตาม พรบ. ขา้ ราชการพลเรอื น พ.ศ. 2518 ที่ไดแ้ กไ้ ขเปดิ โอกาสใหค้ นพกิ าร
รับราชการได้ โดยก�ำหนดว่า ผทู้ ่จี ะขาดคุณสมบตั จิ ะต้อง “ทพุ พลภาพจน
ไม่สามารถปฏิบตั ิงานได้” เทา่ น้นั

ระหวา่ งเปน็ นกั ศกึ ษาทธ่ี รรมศาสตร์ อยู่ในชว่ งตอ่ สเู้ พอื่ ประชาธปิ ไตย
ตอ่ กับยคุ “ประชาธิปไตยเบ่งบาน” อาจารย์วิริยะได้ร่วมขบวนการนักศกึ ษา
อย่างเขม้ แข็ง เม่ือเขา้ รบั ราชการแล้วก็ไดท้ ำ� งานดว้ ยความตง้ั ใจมงุ่ มัน่ ตาม
เป้าหมายในชีวิตที่ได้ตั้งไว้จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติมากมาย
โดยไดไ้ ปศกึ ษาตอ่ จนจบปรญิ ญาโทสาขากฏหมายภาษอี ากรจากมหาวทิ ยา
ลยั ฮารว์ าร์ด

หนังสืออัตชีวประวัติของอาจารย์วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ เล่มนี้

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 41

นอกจากเลา่ ประสบการณอ์ นั ทรงคณุ คา่ สะทอ้ นถงึ การเอาชนะความสน้ิ หวงั
และความพิการได้ด้วยความมานะบากบ่ัน โดยมีผู้ช้ีทางและสนับสนุนช่วย
เหลอื ทดี่ ี อาจารยว์ ริ ยิ ะไดบ้ นั ทกึ คำ� สอนอนั ทรงคณุ คา่ ของแมอ่ ธกิ ารโรสมวั ร์
และมิสคอลฟลิ ด์ไว้อยา่ งดี และไดส้ รา้ งชีวติ ของตนข้นึ อยา่ งงดงาม จนพูด
ไดว้ า่ “การตาบอดเป็นเคราะห์กรรมท่ีรา้ ยแรงท่ีสดุ ที่ผมเคยประสบ แต่การ
ตาบอดก็ได้สร้างโอกาสที่ดีท่ีสุดให้กับผม” ท�ำให้ผมได้พบคนดีๆ อย่างซิส
เตอร์ โรสมวั ร์ และมสิ เจนนวี ีฟคอลฟลิ ด์ และไดร้ ู้หลกั ธรรมดีๆ จากทา่ นทง้ั
สอง..... สจั ธรรมแทค้ อื เคราะหม์ กั สรา้ งโอกาส แตค่ วามประมาทกอ่ ใหเ้ กดิ
เคราะห์ โอกาสหรือเคราะห์อยู่ที่ตัวเรานั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองพระคุณเจ้า
พระธรรมปฏิ ก (ป.อ.ปยุตโต) จงึ กลา่ วเตือนสตพิ วกเราอยเู่ สมอ ‘คนฉลาด
ทำ� เคราะห์ใหเ้ ป็นโอกาส ส่วนคนประมาทท�ำโอกาสให้เป็นเคราะห์’ ”

42 10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ

10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ 43

โอโตทาเกะ“ไมฮ่ิโครรทบาหดา้ ะ” ผ้เู กิดมา
เรอ่ื โงอเโลพต่ารทจอาานกเกงหะคน์ ังฮนสิโยิ รอื มท“าคด้าไะมแ่คเปขรลยีบนหา้ ”

คำ� วา่ “ไม่ครบห้า” เป็นส�ำนวนญป่ี ุ่น หมายถึงภาวะร่างกาย “ไม่สม
ประกอบ” คล้าย “อาการไม่ครบ 32” ของไทย ญ่ีปุ่นเรียกคนร่างกายไม่
สมประกอบว่า ไมค่ รบหา้ เพราะคนปกตจิ ะมหี า้ สว่ นคอื หัว 1 แขน 2 ขา
2 รวมเปน็ 5

หนงั สอื “ไม่ครบหา้ ” เป็นอัตชวี ประวตั ิของ “โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ”
ซงึ่ มรี า่ งกายไมส่ มประกอบในลกั ษณะ “ไมค่ รบหา้ ” อยา่ งชดั เจน เพราะแขน

44 10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ

ขาทง้ั 4 ขา้ ง “กดุ ” หมด มลี กั ษณะเหมอื น “มนั ฝรงั่ ” ยาวราว 10 เซนตเิ มตร
งอกออกมาจากไหลแ่ ละสะโพก

แม้จะพกิ ารรุนแรงขนาดนี้ แต่โอโตทาเกะ ฮโิ รทาดะ ประกาศอยา่ ง
ชดั เจนว่า “ผมเกดิ มาพกิ าร...แต.่ ..ผมกม็ ีความสขุ สนกุ ทกุ วัน” หนงั สือเล่ม
นี้เขียนขน้ึ อยา่ งสนุกสนานตลอดเลม่ และอยา่ ง “มืออาชีพ” โดยแท้ เพราะ
อา่ นสนกุ เรา้ ใจ ชวนตดิ ตามดว้ ยเนอ้ื หาทกี่ ระชบั ฉบั ไว เตม็ เปย่ี มดว้ ยสาระ
สงู ดว้ ยคุณคา่ อยา่ งแทจ้ รงิ โดยเฉพาะเมอื่ ไดฝ้ มี ือแปลของพรอนงค์ นยิ ม
ค้า นักแปลวรรณกรรมญี่ปุ่นฝีมือเย่ียม ที่งานแปลทุกเล่มสูงด้วยคุณภาพ
ทง้ั ความถกู ตอ้ ง สละสลวย ประณตี งดงาม เพราะแปลทง้ั ดว้ ยใจรกั และดว้ ย
ฝมี อื ที่ “เขา้ ข้ัน” อยา่ งแท้จรงิ

หนังสือเปิดฉากชวี ติ ต้ังแตว่ ยั เดก็ โดยพูดถึงความพิการของตนอยา่ ง
สนกุ สนาน ไมม่ ีกล่นิ อายของความทุกข์หรอื ความนอ้ ยเนื้อต�่ำใจแต่อยา่ งใด
เลย เมือ่ เขา้ โรงเรียนอนบุ าลเพ่ือนๆ พากนั แปลกใจ “เมอื่ เหน็ ผมทไี ร ทกุ
คนจะเขา้ มาตอมเหมือนมด บางคนแตะแขนขาของผมดแู ล้วระดมคำ� ถาม
ไมห่ ยดุ ว่า ‘ทำ� ไม? ท�ำไม?’ ผมกจ็ ะอธิบายวา่ ‘ผมไมส่ บายในทอ้ งแม่ก็เลย
ไม่มแี ขนไมม่ ีขา’ เด็กๆ กจ็ ะพดู ว่า ‘เหรอ’ แลว้ ยอมรับเป็นเพอ่ื นด้วยกัน”

10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ 45

เมอ่ื ยงั เปน็ ทารกเขามปี ญั หาไมย่ อมนอน กลางคนื กเ็ อาแตร่ อ้ ง กลาง
วนั ก็ไมค่ อ่ ยนอน ทำ� ใหแ้ มต่ อ้ งเหนด็ เหนอื่ ยทง้ั กลางวนั กลางคนื และเขาก็ได้
รับฉายาว่า “นโปเลยี น” เพราะพระจกั รพรรดิองคน์ น้ั “นอนเพยี งวนั ละ 3-4
ชัว่ โมงเท่านัน้ ”

ปญั หาแรกทเี่ ขาตอ้ งประสบคอื หาโรงเรยี นประถมรบั เขา้ เรยี นยาก มี
โรงเรยี นหนงึ่ ยอมรบั แต่ “คณะกรรมการการศกึ ษา” ของจงั หวดั ให้ “ทบทวน”
เพราะมองไมอ่ อกวา่ เดก็ จะเรยี นไดอ้ ยา่ งไร จะเขยี นหนงั สอื และรว่ มกจิ กรรม
ตา่ งๆ ไดอ้ ยา่ งไร จนแมต่ อ้ งพาเขาไปแสดงตวั ตอ่ คณะกรรมการ เพอื่ ยนื ยนั
วา่ “เด็กคนนีท้ ำ� อย่างนีไ้ ด้นะคะ” และเขาก็ไดแ้ สดงใหค้ ณะกรรมการดดู ้วย
ความภาคภมู ิใจ “เอาดนิ สอหนบี ไวร้ ะหวา่ งแกม้ กบั แขนสนั้ ๆ แลว้ เขยี นอกั ษร
ใหด้ ู เอาชอ้ นและสอ้ มวางไว้รมิ จาน แลว้ ตักอาหารกนิ โดยใช้กฏของแรงงัด
ใชป้ ากคาบกรรไกรไวข้ า้ งหนง่ึ แลว้ ใชแ้ ขนกดอกี ขา้ งไว้ พรอ้ มกบั ขยบั ใบหนา้
เพอื่ ตดั กระดาษ และแสดงทา่ เดินด้วยขาสนั้ ๆ โดยรา่ งของผมยงั อยู่ในรปู
ตวั L เหมอื นเดิม”

ในท่ีสุดคณะกรรมการก็อนุญาตให้โรงเรียนรับเขาเข้าเรียนโดยครู
ทาคางิ ซึง่ มปี ระสบการณส์ งู จนไดฉ้ ายาว่าคุณครคู ณุ ปู่เสนอตัว “ขอเปน็ ครู
ประจ�ำชั้นใหเ้ อง” ซึง่ ครูทาคางิตอ้ งใช้ประสบการณแ์ ละความพยายามอยา่ ง

46 10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ

สงู ฟนั ฝา่ ปญั หาอุปสรรคมากมายทั้งจากตัวของโอโตทาเกะ และปัญหาจาก
เพ่อื นร่วมช้ัน สง่ิ ทน่ี ับว่ากา้ วหนา้ ท่สี ดุ คอื ความพยายามใหล้ ูกศิษย์พัฒนา
ตัวเองให้ใกล้เคียงเด็กปกติ โดยต้ังกติกา “ห้ามช่วยเหลือ” และต่อมาไม่
อนญุ าตให้ใช้ “เก้าอีล้ อ้ ” ไฟฟ้า เพอื่ ช่วยการเคลอื่ นไหวซง่ึ หลายคนคัดค้าน
แตค่ ณุ ครปู กู่ ็ไมย่ อมฟงั ดว้ ยเหตผุ ลหนกั แนน่ “อยากจะเอน็ ดตู อนนสี้ กั เทา่ ไร
กท็ ำ� ได้ แตว่ นั หนง่ึ เดก็ คนนจี้ ะตอ้ งเผชญิ ชวี ติ ตามลำ� พงั หนา้ ทข่ี องครคู อื จะ
ต้องคิดว่าจำ� เปน็ ตอ้ งทำ� อะไรใหก้ ับเดก็ ในปจั จบุ นั เพ่ืออนาคตในวนั ขา้ งหน้า
ของเขา”

ตอ่ มาโอโตทาเกะยืนยันว่าคณุ ครูปู่ถูกตอ้ ง “หากผมใชเ้ ก้าอ้ีลอ้ ไฟฟา้
ตลอดมาตั้งแต่เร่ิมเข้าโรงเรียนประถม ผมจะต้องกลายเป็นคนพิการท่ีไม่
สามารถแยกจากเกา้ อล้ี อ้ ไฟฟา้ ไดเ้ ลย และถา้ เปน็ เชน่ นนั้ ลองวาดภาพชวี ติ
ประจ�ำวัน คงจะแตกต่างกับชีวิตปัจจุบันมากโข ความรู้สึกสบายใจก็คงจะ
แตกต่างกนั ดว้ ย ดเู หมอื นคณุ ครตู ้ังใจเขม้ งวดกับผม ยอมใหโ้ อโตทาเกะคดิ
ว่าเป็นครูดุ และอยากเป็นครูท่ีลูกศิษย์พูดในภายหลังว่า “ครูดุแต่ดีใจท่ีได้
เปน็ ศษิ ย์ในชน้ั ของคณุ ครทู าคางิ ความเขม้ งวดทแี่ ทจ้ รงิ คอื ความเมตตาทแ่ี ท้
จรงิ พอคดิ ถงึ คุณครทู าคางิ ความหมายของคำ� พดู ประโยคน้ี เสยี ดแทงลึก
เข้าไปในใจ”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 47

ทั้งๆ ท่ีมีข้อจ�ำกัดอย่างมาก แต่วิชาท่ีโอโตทาเกะชอบคือพลศึกษา
เขาพยายามรว่ มท�ำกจิ กรรมกบั เพอื่ นๆ ทกุ อยา่ ง ตง้ั แต่ กายบรหิ าร วง่ิ โหน
บาร์ กระโดดเชอื ก ซง่ึ เพอื่ นๆ กช็ ว่ ยกนั คดิ หาวธิ ใี หเ้ ขารว่ มกจิ กรรมโดยสรา้ ง
“กติกาโอโตจัง” ก�ำหนด “แต้มต่อ” ให้ ซึ่งหลังจากเรียนร่วมกันมาหน่ึงปี
ทกุ คนกเ็ ขา้ ใจเขาและรวู้ ่า “ถ้าก�ำหนดแตม้ ต่อให้ โอโตจังก็จะรว่ มกิจกรรม
ทุกอย่างได้เหมือนทุกคน” เขาท�ำได้แม้กระท่ังร่วมปีนเขาโอโบอันสูงชันใน
กิจกรรมเดินทางไกลร่วมกบั เพอ่ื นๆ ได้ขึน้ ไปจนถึงยอดเขา ไดก้ นิ ขา้ วปนั้
บนยอดเขาโคโบซึ่งโอโตทาเกะเหน็ ว่าเปน็ การกินอาหารทอี่ ร่อยท่ีสดุ

ย่ิงกว่าความพิการรุนแรง ช่วงวัยแห่งการเจริญเติบโต กระดูกแขน
ของโอโตทาเกะเจริญเร็วจนท�ำท่าจะทะลุปลายแขนท�ำให้เกิดอาการปวด
ทรมานมาก ส่ิงที่เคยท�ำได้หดหายไปทีละอย่าง จนต้องเข้ารับการผ่าตัด
หลายครัง้ แตล่ ะครงั้ ตอ้ งอยู่โรงพยาบาลนาน การไมม่ ีแขนขาท�ำใหต้ ัวเลก็
ตอ้ งปรบั ขนาดยาสลบให้เหมาะสม และไม่มหี ลอดเลอื ดตามแขนขาให้แทง
นำ้� เกลอื ตอ้ งไปใหบ้ รเิ วณลำ� คอ เพม่ิ ความหวาดเสยี วมากขนึ้ แมเ้ มอ่ื จะเขา้
ห้องผ่าตัดเขาพยายามจะรกั ษาฟอร์มไม่ร้องไห้ แต่พอบานประตูห้องผา่ ตัด
ปิดพ้นหน้าน้�ำตาพ่อแม่ก็ไหลเป็นทาง หลังผ่าตัดต้องเข้าเฝือกและอยู่ใน
โรงพยาบาลนานแรมเดือน ขณะน้ันเขายังเรียนช้ันอนุบาลและประถม
นอกจากความกลวั การผา่ ตดั และความเจบ็ ปวดทรมานแลว้ ยงั ตอ้ งเผชญิ กบั

48 10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ

ความเหงารนุ แรง คณุ ครทู าคางทิ ราบเรอื่ งจากแมแ่ ละกงั วลใจมาก จงึ ชวนเดก็
นกั เรยี นเขียนจดหมายถึงโอโตทาเกะ ปรากฏวา่ เด็กทกุ คนกร็ ้สู กึ และลงมอื
ท�ำบางอยา่ งไปแลว้ เชน่ เวียนสมดุ โน้ตให้เพอื่ นๆ เขยี นถงึ พับนกกระเรยี น
ใหค้ รบพันตัว เอาขนมปงั ไปฝากเยยี่ มทบ่ี า้ น ซึ่งโอโตทาเกะยอ่ มประทบั ใจ
มาก เพราะ “ความร้สู กึ ของทุกคน คอื ก�ำลงั ใจชุบชีวติ ผมในโรงพยาบาล”

คณุ ครทู าคางเิ ป็นครปู ระจ�ำชั้นของโอโตทาเกะอยู่ 4 ปี กเ็ กษยี ณอายุ
ได้คุณครูโอกะ มาเป็นครูประจ�ำชั้นคนใหม่ คุณครูโอกะเป็นคนร่างใหญ่
สมยั เรยี นหนงั สอื เคยเปน็ นกั กฬี าอเมรกิ นั ฟตุ บอลและเคยอาสาเปน็ ครปู ระจำ�
ชั้นโอโตทาเกะตั้งแต่แรก แต่ครูใหญ่เห็นว่าประสบการณ์ยังน้อยส�ำหรับ
ช้ันเรียนท่ีมีเด็กท่ีต้องการความช่วยเหลือมากอย่างโอโตทาเกะ จึงเลือก
คุณครูทาคางิท�ำหน้าท่ีอยู่จนเกษียณอายุ เมื่อคุณครูโอกะเข้ามาท�ำหน้าท่ี
ครปู ระจ�ำชั้น โอโตทาเกะเริ่มมี “ปัญหา” กบั เพ่ือนๆ มากขนึ้ เพราะเพือ่ นๆ
ทกุ คนพากนั เตบิ โตจนรปู รา่ งแตกตา่ งจากโอโตทาเกะมาก แนวคดิ ของคณุ ครู
ทาคางิท่ีจะให้โอโตทาเกะท�ำเหมือนเด็กคนอ่ืนทุกอย่างจึงเริ่มมีปัญหามาก
ขน้ึ แมจ้ ะใชร้ ะบบ “แตม้ ตอ่ ” กต็ าม คณุ ครูโอกะสงั เกตเหน็ ความลำ� บากของ
โอโตทาเกะทตี่ อ้ งชว่ ยทำ� ความสะอาดหอ้ งเรยี นเหมอื นเพอื่ นๆ แตท่ ำ� ไดเ้ พยี ง
เอาผ้าข้ีริ้วแห้งหนีบไว้ที่ขาแล้วถูห้อง จะใช้ผ้าข้ีริ้วเปียกก็ไม่ได้เพราะขาที่
ส้ันมากจะท�ำให้ก้นเปียกไปด้วย คุณครูโอกะจึงเปล่ียนแนวคิดในการสร้าง


Click to View FlipBook Version