The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔ โดยอำเภอปทุมราชวงศาเป็น ๑ ใน ๗ อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วย ๘ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน ๒) เทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน ๓) เทศบาลตำบลหนองข่า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๔) องค์การบริหารส่วนตำบลลือ จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ๕) พชต.ปทุมราชวงศา จำนวน ๖ ชุมชน ๕) พชต.นาหว้า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๗) พชต.คำโพน จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน และ ๘) พชต.โนนงาม จำนวน ๘ หมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางการทำงานเพื่อคนปทุมราชวงศาอยู่ดีมีสุข (ธรรมนูญคนปทุมราชวงศา)และศูนย์จัดการเครือข่ายตำบลนาป่าแซงเลือกประเด็นเพื่อหนุนเสริมการทำงานได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานที่เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละตำบลโดยทุกภาคส่วนต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จนได้ประเด็นการขับเคลื่อนงาน ๖ ประเด็นในพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้๑) การพัฒนาระบบอาหารชุมชน ๒) การจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อน ๓) การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย ๔) การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ๕) การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดฯ และ ๖) การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tewarat Thipaut, 2023-02-16 04:17:51

การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ ภายใต้ โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา

โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔ โดยอำเภอปทุมราชวงศาเป็น ๑ ใน ๗ อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วย ๘ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน ๒) เทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน ๓) เทศบาลตำบลหนองข่า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๔) องค์การบริหารส่วนตำบลลือ จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ๕) พชต.ปทุมราชวงศา จำนวน ๖ ชุมชน ๕) พชต.นาหว้า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๗) พชต.คำโพน จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน และ ๘) พชต.โนนงาม จำนวน ๘ หมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางการทำงานเพื่อคนปทุมราชวงศาอยู่ดีมีสุข (ธรรมนูญคนปทุมราชวงศา)และศูนย์จัดการเครือข่ายตำบลนาป่าแซงเลือกประเด็นเพื่อหนุนเสริมการทำงานได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานที่เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละตำบลโดยทุกภาคส่วนต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จนได้ประเด็นการขับเคลื่อนงาน ๖ ประเด็นในพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้๑) การพัฒนาระบบอาหารชุมชน ๒) การจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อน ๓) การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย ๔) การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ๕) การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดฯ และ ๖) การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอปทุมราชวงศา


การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์๒๕๖๖ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ จัดทำโดย ดร.ไพรินทร์ยอดสุบัน, ดร.เรืองอุไร อมรไชย, ดร.อรรถพงษ์ฤทธิทิศ, ดร.หนึ่งฤทัย เสนาราษฎร์และ ดร.จุธาลักษณ์แก้วมะไฟ บรรณาธิการ ดร.ไพรินทร์ยอดสุบัน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.เรืองอุไร อมรไชย โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล กองบรรณาธิการ ดร.อรรถพงษ์ฤทธิทิศ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.หนึ่งฤทัย เสนาราษฎร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.จุธาลักษณ์แก้วมะไฟ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ออกแบบปก ปัญญา พงษ์ถาวร สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ ๙๙ ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพฯ ๑๐๑๒๐ โทรศัพท์๐๒๓๔๓๑๕๐๐ www.Thaihealth.or.th การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา.—กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2566. 174 หน้า. 1. การพัฒนาชุมชน. |. ไพรินทร์ยอดสุบัน. ||. ปัญญา พงษ์ถาวร, ผู้วาดภาพประกอบ. |||. ชื่อเรื่อง. 307.14 ISBN 978-616-598-447-8 ISBN (e-book)


ก คำนำ การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ดำเนินการถอดบทเรียน ดังนี้๑) กลไกอำเภอต้นแบบชุมชนท้องถิ่น น่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ในมิติการจัดทำฐานและการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (TCNAP+ RECAP) ๒) บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานนวัตกรรมและจัดการความรู้๓) บทเรียนที่ เกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมและทำให้เกิดการหนุนเสริม ในประเด็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอปทุมราชวงศา และ ๔) บทเรียนและการจัดการความรู้จะแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ดังนี้ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับองค์กร/หน่วยงาน ระดับชุมชน/หมู่บ้าน/สังคม และระดับนโยบาย โดยมีเป้าหมาย ดังนี้ ๑) เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการสร้างระบบการจัดการตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในระดับตำบล โดยสามารถบูรณาการเข้าสู่ระบบงานปกติได้อย่างครบวงจร ๒) เกิดชุดความรู้หรือคู่มือการทำงานร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา และ ๓) อำเภอปทุมราชวงศาเป็นต้นแบบใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่อำเภออื่นสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ หนังสือการถอดบทเรียนละการจัดการความรู้ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ประกอบด้วยเนื้อหา ๔ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ การจัดทำ ฐานข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ส่วนที่ ๒ บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานนวัตกรรมและจัดการความรู้ส่วนที่ ๓ บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา นวัตกรรมและทำให้เกิดการหนุนเสริม ในประเด็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราช และส่วนที่ ๔ บทเรียนและการจัดการความรู้๕ ระดับ ได้แก่ ๑) ระดับบุคคล ๒) ระดับครอบครัว ๓) ระดับ องค์กร/หน่วยงาน ๔) ระดับชุมชน/หมู่บ้าน/สังคม และ ๕) ระดับนโยบาย คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและนำไปต่อยอดและพัฒนา งานในพื้นที่ตนเองในอนาคต ไพรินทร์ยอดสุบัน และคณะ กุมภาพันธ์๒๕๖๖


ข สารบัญ คำนำ ก สารบัญ ข บทนำ ๑ ส่วนที่ ๑ การจัดทำฐานข้อมูลและการนำใช้ประโยชน์จากข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ๒ ๑.การจัดทำฐานข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และ การวิจัยชุมชน (RECAP) ๓ ๒.การนำใช้ประโยชน์จากข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และ การวิจัยชุมชน (RECAP) ๔ ส่วนที่ ๒ บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยงสร้างปัจจัยเสริมสุขภาพและการ จัดการความรู้ ๖ ประเด็นที่ ๑ การพัฒนาระบบอาหารชุมชน ๗ ๑.๑ ปลูกผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย ๘ ๑.๒ จากถั่วเขียวกลายเป็นวุ้นเส้น ๑๒ ๑.๓ ข้าวปิ่นโตอินทรีย์สัจจะธรรม เกษตรครบวงจรบริหารจัดการตนเอง ๑๕ ๑.๔ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ๑๗ ๑.๕ การผลิตเห็ดเพื่อสร้างรายได้เสริมในครัวเรือน ๒๑ ๑.๖ การเกษตรแบบครบวงจร ๒๓ ๑.๗ ปลูกผักอินทรีย์ ๒๖ ๑.๘ การพัฒนาเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะอินทรีย์อำเภอปทุมราชวงศา ๒๙ ประเด็นที่ ๒ การจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อน ๓๓ ๒.๑ การจัดการขยะแบบครบวงจร ๓๔ ๒.๒ ลดขยะ ลดแพร่เชื้อ ด้วยกลไกชุมชน ๓๗ ๒.๓ ป่าดงใหญ่บ้านหนองไฮน้อย (การเรียนรู้สมุนไพรในป่าชุมชน) ๓๙ ๒.๔ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลดโลกร้อนงดใช้กล่องโฟม ๔๓ ๒.๕ การอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านนาหว้าหมู่ ๑ และ ๒ ๔๖ ๒.๖ การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ๔๘ ๒.๗ การบริหารจัดการขยะตำบลคำโพนแบบมีส่วนร่วม ๕๑ ๒.๘ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ๕๔ ประเด็นที่ ๓ การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย ๕๖ ๓.๑ เนอร์สเซอรี่โฮมสุข ๕๗ ๓.๒ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ ๖๑


ค ๓.๓ พัฒนาการคุณภาพเด็กดีที่เนอร์สเซอรี๓ วัย ภูไทหนองข่า ๖๔ ๓.๔ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบมีส่วนร่วม ๖๘ ๓.๕ คลีนิคส่งเสริมสุขภาพเด็กดี ๗๑ ๓.๖ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ ๗๔ ๓.๗ การส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยในพื้นที่ รับผิดชอบรพ.สต.คำโพน (Preschool Parenting Program; Triple-P) ๗๗ ๓.๘ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโนนงามน่าอยู่ บ้านโนนงามหมู่ ๓ ๘๐ ประเด็นที่ ๔ การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๘๒ ๔.๑ ถนนขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลแอลกอฮอล์ ๘๓ ๔.๒ ชุมชนร่วมใจ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๘๖ ๔.๓ ชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๘๙ ๔.๔ การป้องกัน ลดอุบุติเหตุทางถนนและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ ๙๒ ๔.๕ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลแอลกอฮอล์ ๙๕ ๔.๖ ชุมชนต้นแบบ ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๙๘ ๔.๗ ปลอดเหล้าทั้งตำบล สร้างชุมชนสุขภาพดี ๑๐๑ ๔.๘ งานบุญปลอดเหล้าสร้างชุมชนสุขภาพดี ๑๐๕ ประเด็นที่ ๕ การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด ๑๐๘ ๕.๑ ชุมชนเข้มแข็งหมู่บ้านปลอดสารเสพติด ๑๐๙ ๕.๒ ชุมชนร่วมใจ ลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด ๑๑๓ ๕.๓ ชุมชนปลอดบุหรี่ ๑๑๖ ๕.๔ ชุมชนปลอดบุหรี่ ๑๑๙ ๕.๕ ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนปทุมราชวงศา ต้นแบบ ระดับประเทศ ๑๒๒ ๕.๖ ส่งเสริมอาชีพกลุ่มผู้บำบัดยาสูบและสารเสพติด ๑๒๔ ๕.๗ บุคคลต้นแบบ ชุมชนปลอดบุหรี่ ๑๒๗ ๕.๘ หมู่บ้านปลอดบุหรี่ ๑๓๐ ประเด็นที่ ๖ การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๑๓๒ ๖.๑ การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชน ๑๓๓ ๖.๒ สานพลังเครือข่าย ต้านภัยโควิด-19 ๑๓๗ ๖.๓ การสร้างเครือข่าย การช่วยเหลือเกื้อกูล หนองข่าฮักแพงแบ่งปัน ๑๔๐ ๖.๔ ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบบูรณาการ ๑๔๔ ๖.๕ การป้องกันโรคโควิด ๑๙ แบบมีส่วนร่วม ๑๔๗ ๖.๖ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคระบาดโควิด-19 ๑๕๐ ๖.๗ ระบบการจัดการโควิด-19 แบบมีส่วนร่วม ๑๕๕ ๖.๘ การจัดการโควิด-19 แบบมีส่วนร่วม ๑๕๙


ง ส่วนที่ ๓ บทเรียนที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรมและทำให้เกิดการหนุนเสริม ใน ประเด็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ๑๖๓ ๑. ประเด็นการพัฒนาระบบอาหารชุมชนหนุนเสริมประเด็นการคุ้มครอง ผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ๑๖๔ ๒. ประเด็นการจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อนหนุนเสริมประเด็น การบริหารจัดการขยะ ๑๖๕ ๓. ประเด็นการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยหนุนเสริมการดำเนินงาน พัฒนาการเด็กปฐมวัย ๑๖๕ ๔. ประเด็นการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนุนเสริมการ ป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ๑๖๘ ส่วนที่ ๔ บทเรียนและการจัดการความรู้๕ ระดับ ๑๗๐ ๑. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับบุคคล ๑๗๑ ๒. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับครอบครัว ๑๗๑ ๓. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับองค์กร/หน่วยงาน ๑๗๑ ๔. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับชุมชน/หมู่บ้าน/สังคม ๑๗๒ ๕.บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับนโยบาย ๑๗๓


๑ บทนำ โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้รับทุน สนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔ โดยอำเภอปทุมราชวงศาเป็น ๑ ใน ๗ อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วย ๘ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน ๒) เทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน ๓) เทศบาลตำบลหนองข่า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๔) องค์การบริหารส่วนตำบลลือ จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ๕) พชต.ปทุมราชวงศา จำนวน ๖ ชุมชน ๕) พชต.นาหว้า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๗) พชต.คำโพน จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน และ ๘) พชต.โนนงาม จำนวน ๘ หมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ปทุมราชวงศา ได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางการทำงานเพื่อคนปทุมราชวงศาอยู่ดีมีสุข (ธรรมนูญคน ปทุมราชวงศา)และศูนย์จัดการเครือข ่ายตำบลนาป ่าแซงเลือกประเด็นเพื ่อหนุนเสริมการทำงานได้ให้ ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานที่เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละตำบลโดยทุกภาคส่วนต้องบูรณา การทำงานร่วมกัน ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จนได้ประเด็นการ ขับเคลื่อนงาน ๖ ประเด็นในพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้๑) การพัฒนาระบบอาหารชุมชน ๒) การจัดการ ระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อน ๓) การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย ๔) การควบคุมการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ๕) การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดฯ และ ๖) การเฝ้าระวังควบคุมการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ดำเนินการ ถอดบทเรียนและจัดการความรู้ดังนี้๑) กลไกอำเภอต้นแบบชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอปทุมราชวงศา ในมิติการจัดทำฐานข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ๒) บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานนวัตกรรมและจัดการความรู้ การทำงานร่วมกันใน ๒ ระดับ คือ กลไกระดับตำบล และกลไกระดับอำเภอใน ๖ ประเด็น ประกอบด้วย (๑) การพัฒนาระบบอาหารชุมชน (๒) การจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อน (๓) การพัฒนาระบบการดูแล เด็กปฐมวัย (๔) การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ (๕) การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพ ติดฯ และ (๖) การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๓) บทเรียนที่เกิดขึ้นจาก การพัฒนานวัตกรรมและทำให้เกิดการหนุนเสริม ในประเด็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ปทุมราชวงศา ๔ ประเด็น ได้แก่ (๑) การคุ้มครอง ผู้บริโภคด้านสาธารณสุข (๒) การบริหารจัดการขยะ (๓) การดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ (๔) การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน และ ๔) บทเรียนและการ จัดการความรู้จะแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ดังนี้ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับองค์กร/หน่วยงาน ระดับ ชุมชน/หมู่บ้าน/สังคม และระดับนโยบาย โดยมีเป้าหมาย ดังนี้๑) เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการสร้างระบบ การจัดการตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในระดับตำบลโดยสามารถบูรณาการเข้าสู่ระบบงานปกติได้ อย่างครบวงจร ๒) เกิดชุดความรู้หรือคู่มือการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ปทุมราชวงศา และ ๓) อำเภอปทุมราชวงศาเป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่อำเภออื่น สามารถใช้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ประกอบด้วยเนื้อหา ๔ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ การจัดทำ ฐานข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ส่วนที่ ๒ บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานนวัตกรรมและจัดการความรู้ส่วนที่ ๓ บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา นวัตกรรมและทำให้เกิดการหนุนเสริม ในประเด็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราช วงศา และส่วนที่ ๔ บทเรียนและการจัดการความรู้๕ ระดับ ดังรายละเอียด


ส่วนที่ ๑ การจัดทำฐานข้อมูลและการนำใช้ประโยชน์ จากข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และ การวิจัยชุมชน (RECAP)


การจัดทำฐานและการนำใช้ประโยชน์จากข้อมูล...การวิจัยชุมชน (RECAP) ๓ ๑. การจัดทำฐานข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และ การวิจัยชุมชน (RECAP) ลำดับ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล การจัดทำฐานข้อมูล ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) การวิจัยชุมชน (RECAP) ๑ เทศบาลตำบลนาป่าแซง / / ๒ เทศบาลตำบลห้วย / / ๓ เทศบาลตำบลหนองข่า / / ๔ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ / ไม่ได้ดำเนินการ ๕ พชต.ปทุมราชวงศา / / ๖ พชต.นาหว้า / / ๗ พชต.คำโพน / / ๘ พชต.โนนงาม / / คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล ผ่าน กลไกของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) จำนวน ๘ พื้นที่ และมีการจัดทำฐานข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) จำนวน ๗ พื้นที่ (ยกเว้น องค์การบริหารส่วนตำบลลือ) ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานจัดทำฐานข้อมูล ดังนี้ ๑) จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล โดยในโครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีกลไกการขับเคลื่อน ๒ ลักษณะ คือ (๑) คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลนำโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และภาคประชาชน ได้แก่ เทศบาลตำบลนาป่าแซง เทศบาลตำบลห้วย เทศบาลตำบลหนองข่า และองค์การบริหารส่วนตำบลลือ และ (๒) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลนำโดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และภาคประชาชน ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบลปทุมราชวงศา คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลนาหว้า คณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับตำบลคำโพนและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลโนนงาม ๒) ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลในแต่ละตำบลเพื่อจัดตั้งทีมจัดเก็บข้อมูล ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ประกอบด้วย ตัวแทนคณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับตำบล เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้อำนวยการ กองการศึกษา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และประธาน อสม. เป็นต้น ๓) อบรมพัฒนาศักยภาพทีมจัดเก็บข้อมูพื้นที่ละ ๔-๕ คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรม ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ณ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนยาง อำเภอ หนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เป็นระยะเวลา ๕ วัน ๔ คืน จำนวน ๒ รอบ ๔) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลจัดตั้งทีมเก็บข้อมูลรายหมู่บ้าน และทีมบันทึก ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน อสม. แต่ละหมู่บ้าน และตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยตัวแทนที่ ผ่านการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมให้คณะทำงานจัดเก็บข้อมูลรายหมู่บ้าน และ วางแผนการจัดเก็บข้อมูลร่วมกัน โดยมีศูนย์จัดการเครือข่ายตำบลนาป่าแซงเป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา ตลอดกระบวนการจัดเก็บข้อมูล และมีการจัดตั้งกลุ่มไลน์คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุม ราชวงศา เพื่อให้คำปรึกษาคณะทำงานจัดเก็บข้อมูลทุกตำบล ๕) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลร่วมกับคณะทำงานจัดเก็บข้อมูลประชุมรายงานผล การจัดเก็บข้อมูลถึงปัญหา อุปสรรค เพื่อร่วมกันวางแผนแก้ไข พร้อมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องและ สอบทานข้อมูลเป็นระยะ เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ๖) ภายหลังสอบทานและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมบันทึกข้อมูลดำเนินการ บันทึกข้อมูลในระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และมีการตรวจสอบตามระดับของผู้รับผิดชอบในแต่ละระดับ และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์


การจัดทำฐานและการนำใช้ประโยชน์จากข้อมูล...การวิจัยชุมชน (RECAP) ๔ ๒. การนำใช้ประโยชน์จากข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และ การวิจัยชุมชน (RECAP) เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ภายใต้ โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศาในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๕ มีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงทำให้การจัดเก็บข้อมูลค่อนข้าง ล่าช้า อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล และคระกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พบว่ามีการนำใช้ข้อมูลได้ทันทีตั้งแต่ยังจัดเก็บข้อมูลได้ไม่ สมบูรณ์และมีการนำใช้ประโยชน์หลังจากการจัดเก็บข้อมูลได้เสร็จสมบูรณ์จากทั้งบุคคล หน่วยงาน องค์กร ทั้งภายในตำบลและเครือข่ายภายนอกตำบล โดยมีการนำใช้ข้อมูลใน ๗ ลักษณะ ดังนี้ ๑) นำใช้ข้อมูลเพื่อจัดทำโครงการ ได้แก่ (๑) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลโนนงาม นำใช้ ข้อมูลเกี่ยวกับครัวเรือนที่ทำเกษตรอินทรีย์ในการยื่นข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็กในพื้นที่ จังหวัดอำนาจเจริญ ปีพ.ศ. ๒๕๖๕ ประเด็นการผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ภายใต้การ สนับสนุนของสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสร้างโอกาส (สำนัก ๖) (๒) เทศบาล ตำบลห้วย เทศบาลตำบลหนองข่า เทศบาลตำบลนาป่าแซง และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ ตำบลโนนงาม นำใช้ข้อมูลบ้านที่ไม่มั่นคงปลอดภัยและครัวเรือนยากจนในการขอรับทุนโครงการบ้านพอเพียง ชนบท ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) ประมาณปีละ ๖-๑๒ หลังต่อ ตำบล (๓) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล นำใช้ข้อมูลผู้ด้อยโอกาส ครัวเรือน ยากจน และข้อมูลทุนและศักยภาพชุมชนด้านเศรษฐกิจ จากเทศบาลตำบลนาป่าแซงเพื่อขอรับทุนโครงการ ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปีพ.ศ. ๒๕๖๔ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อความ เสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ชื่อโครงการ การพัฒนาระบบการส่งเสริมอาชีพผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และ ผู้ด้อยโอกาสโดยชุมชนเป็นฐาน (๔) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ร ่วมกับ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอำนาจเจริญ (พมจ.) นำใช้ข้อมูลกลุ่มเปราะบางจาก เทศบาลตำบลนาป่าแซงในการพัฒนาข้อเสนอโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการช่วยเหลือ เกื้อกูลกลุ่มเปราะบาง เพื่อขอรับเงินกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ประจำปีพ.ศ. ๒๕๖๔ กรมพัฒนา สังคมและสวัสดิการ (๕) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล นำใช้ข้อมูลจำนวนเด็ก ปฐมวัยอำเภอปทุมราชวงศา จากเทศบาลตำบลนาป่าแซงเพื่อร่วมโครงการวิจัย การเฝ้าระวังภาวะ ประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยและการแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูสุขภาวะเด็กและครอบครัวในช่วง วิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID-19 และหลังวิกฤต ร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและ ครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิสร้างความปลอดภัยในเด็ก (๖) เทศบาลตำบลห้วยนำใช้ข้อมูล ปริมาณขยะต่อวันของพื้นที่ และข้อมูลทุนทางสังคมและศักยภาพในการจัดการขยะ เพื่อจัดทำโครงการ หมู่บ้านต้นแบบจัดการขยะ และธนาคารขยะตำบลห้วย และ (๗) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อำเภอปทุมราชวงศา นำใช้ข้อมูลในการพัฒนาข้อเสนอโครงการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยแบบมีส่วน ร่วมอำเภอปทุมราชวงศา เพื่อรับงบประมาณสนับสนุนจากสำงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ๒) นำใช้ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ได้แก่ (๑) ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อำเภอ นำใช้ข้อมูลทุนทางสังคม ๖ ระดับ ในการจัดตั้ง Local Quarantine ในแต่ละตำบล และหมู่บ้าน เช่น ข้อมูลสถานที่สาธารณประโยชน์ข้อมูลคนเก่ง คนดีคนสำคัญของชุมชน เช่น อสม. อปพร. ชรบ. อพม. จิต อาสา และปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น (๒) องค์การบริหารส่วนตำบลลือนำใช้ข้อมูลประเด็นอุบัติเหตุจราจร เช่น จุดเสี่ยง จุดอันตราย ทางโค้ง ทางแยก และจำนวนอุบัติเหตุเป็นต้น เพื่อมาวางแผนการดำเนินงานแก้ไขและ ลดอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่ (๓) คณะกรรมการพัฒนาตำบลโนนงาม นำใช้ข้อมูลเกี่ยวกับครัวเรือนเกษตรกรที่ ยากจน และสนับสนุนให้เข้ากลุ่มธนาคารโค กระบือเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพสำหรับเกษตรกร และ (๔) ชุด ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและพัฒนาชุมชนตำบลห้วย มีการนำใช้ข้อมูลระบบข้อมูล ตำบล (TCNAP) เพื่อวางแผนงานในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประขาชนในพื้นที่ตำบลห้วย ๓) นำใช้ข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (๑) พชต.โนนงาม นำใช้ข้อมูลจำนวน ผู้ด้อยโอกาสเพื ่อขอรับความช ่วยเหลือจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั ่นคงของมนุษย์จังหวัด


การจัดทำฐานและการนำใช้ประโยชน์จากข้อมูล...การวิจัยชุมชน (RECAP) ๕ อำนาจเจริญ (พมจ.) ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จำนวนหมู่บ้านละ ๑ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๘ คน (๒) เทศบาล ตำบลห้วย นำใช้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ (๒.๑) กรณีพบปัญหาคนไร้ที่พึ่ง จำนวน ๔ ราย ดำเนินการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคงปลอดภัย จำนวน ๔ ราย (๒.๒) กรณีพบผู้ประสบปัญหา หัวหน้าครอบครัวไม่มีรายได้และได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน ๑๕ ราย ดำเนินการขอความช่วยเหลือจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอำนาจเจริญ (พมจ.) เป็นเงิน จำนวน ๓,๐๐๐ บาทต่อราย (๒.๓) กรณีพบคนพิการ จำนวน ๒ คน มีสภาพบ้านไม่มั่นคง ปลอดภัยและไม่มีอาชีพ จึงดำเนินการปรับปรุงบ้านคนพิการและส่งเสริมอาชีพ (๒.๔) กรณีพบข้อมูลกลุ่มคน พิการว่างงานจึงจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และอบรมพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำพรมเช็ดเท้า เป็นต้น และ (๓) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลคำโพน นำใช้ข้อมูล เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมในการดูแลช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่อาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย และมี พัฒนาการสงสัยล่าช้า ๔) นำใช้ข้อมูลเพื่อจัดการเรียนการสอน ได้แก่ (๑) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาผางนำใช้ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และ การวิจัยชุมชน (RECAP) ร่วมกับข้อมูลของหน่วยบริการสุขภาพ เช่น จำนวนและร้อยละเด็ก ๐-๕ ปีในพื้นที่ จำนวนเด็กปฐมวัยจำแนก ตามสถานการณ์อยู่อาศัย จำนวนและร้อยละเด็กคลอดที่น้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัมในรอบปีจำนวนและ ร้อยละของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า และ จำนวนและร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์คุณภาพครบ ๕ ครั้ง เป็นต้น รวมถึงทุนและศักยภาพของชุมชนในการดูแลเด็กปฐมวัยในชุมชน เช่น อสม. กลุ่มแม่ฮัก เนอร์สเซอรี่ โฮมสุข และอาสานมแม่ เป็นต้น เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร บัณฑิต ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ๕) นำใช้ข้อมูลทุนและศักยภาพชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ได้แก่ (๑) พชต.โนนงาม พบว่ามี ทุนทางสังคมที่สำคัญของตำบลคือ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัยเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนระดับ จังหวัดอำนาจเจริญ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มคนที่สนใจสร้างอาชีพ สร้าง รายได้และผู้ที่สนใจมาเรียนรู้และวางแผนขยายกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลโนนงาม (๒) โครงการจัดตั้ง วิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล นำใช้ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ประเด็นผู้สูงอายุจากเทศบาลตำบลนาป่า แซงและเทศบาลตำบลห้วย เพื่อจัดเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้เสริมสร้างสุขภาวะ จังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้ การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) ร่วมมือกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำฐานข้อมูล “แหล่งเรียนรู้เสริมสร้างสุขภาพ” ภาคอีสานด้วยระบบ GIS เพื่อใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่าย และเปิดโอกาสให้บุคคล และหน่วยงาน สืบค้นและเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้เสริมสร้างสุขภาพ และ (๓) เทศบาลตำบลหนองข่านำใช้ ข้อมูลทุนทางสังคม เช่น ข้อมูลศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลหนองข่า และข้อมูลพื้นที่ป่าดงใหญ่ เป็นต้น ๖) นำใช้ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนหมู่บ้าน/ชุมชน และแผนพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้ (๑) พชต. โนนงามนำใช้ ข้อมูลสถานการณ์ปัญหา เช่น ปัญหาขยะ ปัญหาอุบัติเหตุจราจร และปัญหาความยากจน เป็นต้น ในการ จัดทำแผนหมู่บ้านชุมชนในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ (๒) เทศบาลตำบลหนองข่า มีการนำใช้ข้อมูล สถานการณ์ปัญหา ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสภาวะแวดล้อมและด้าน การเมืองการปกครอง ในการจัดทำแผนหมู่บ้าน/ชุมชน แผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลหนองข่าในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ (๓) เทศบาลตำบลห้วยนำใช้ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาล ตำบลห้วย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ๗) การนำใช้ข้อมูลเพื่อนำเสนอผลงาน ดังนี้ (๑) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอนำ ใช้ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ในการนำเสนอปัญหาสถานการณ์และทุน และศักยภาพชุมชน และการสรุปบทเรียนระบบการจัดการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็น โมเดลต้นแบบระดับเขตสุขภาพ และ(๒) รพ.สต.นาป่าแซง ใช้ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการ วิจัยชุมชน (RECAP) ในการนำเสนอปัญหาสถานการณ์และทุนและศักยภาพชุมชน และการสรุปบทเรียน ระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชน


ส่วนที่ ๒ บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัย เสี่ยงสร้างปัจจัยเสริมสุขภาพ และการจัดการความรู้


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗ ประเด็นที่ ๑ การพัฒนาระบบอาหารชุมชน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘ Key Actors กลุ่มผักปลอดสาร งานเด่น ปลูกผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย พื้นที่ บ้านโคกพระ หมู่ที่ ๓ ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายถาวร กันยุตะ ตำแหน่ง ประธานกลุ่มผักปลอดสาร เบอร์โทรศัพท์๐๖๕-๓๐๔๕๑๓๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การพัฒนาระบบอาหารในพื้นที่ตำบลนาป่าแซง มีฐานคิดส่งเสริมระบบเกษตรกรรมปลอดสารเคมี ทำการเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการสนับสนุนโดยชุมชน จากสถานการณ์บ้านโคกพระ หมู่ที่ ๓ มี๒๘๑ ครัวเรือน มีประชากร ๗๕๘ คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร จำนวน ๕๗๐ คน ทำไร่ จำนวน ๑ คน(ร้อยละ ๐.๑๘) ทำนา จำนวน ๔๔๙ คน(ร้อยละ ๗๘.๗๗) ทำสวน จำนวน ๑ คน (ร้อยละ ๐.๑๘) ใช้สารเคมีจำนวน ๘๐ ครัวเรือน ไม่ใช้สารเคมี๒๐๑ ครัวเรือน แหล่งน้ำธรรมชาติจำนวน ๑๒ แหล่ง พึ่งพาน้ำฝนอย่างเดียวในการ ทำเกษตรกรรม จำนวน ๒๐๐ หลังคาเรือน พึ่งพาแหล่งน้ำอื่น ๆ เช่น น้ำจากลำห้วย อ่างเก็บน้ำจำนวน ๑๐ ครัวเรือน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๘ คน (ร้อยละ ๑๐.๑๘) รายได้ครัวเรือนต่อปี๗๐,๖๖๔.๘๘ บาท หนี้สิน ครัวเรือนจากการซื้ออาหารร้อยละ ๘.๖๐ จากการนำใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล TCNAP และ RECAP วิเคราะห์ สถานการณ์ได้พบว่ามีเส้นทางการพัฒนาการปลูกผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย ดังนี้ พ.ศ ๒๕๕๕ สืบเนื่องจากราคาผักในตลาดมีราคาแพงและอาจมีสารเคมีปนเปื้อนมาในผัก แต่ละ ครัวเรือนจึงได้ปลูกผักกินเองและปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว สหกรณ์นาหว้า ได้เห็นว่า ชาวบ้านโคกพระทำเกษตรอยู่แล้ว จึงเสนอโครงการให้ชุมชนผลิตอาหารปลอดภัย โดยเริ่มจากการปลูกผัก ปลอดสารเคมีด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถผลิตขึ้นเองหาได้จากธรรมชาติสมาชิกแรกเริ่ม จำนวน ๒๙ คน จำนวน ๒๓ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๘.๑๙ ของครัวเรือน และสหกรณ์นาหว้าได้ส่งสมาชิกกลุ่มเข้ารับการ อบรมเกี่ยวกับวิธีการปลูกและวิธีดูแลผักปลอดสาร พ.ศ ๒๕๕๙ ก่อตั้งกลุ่มอาหารปลอดภัยด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก สมาชิกได้มีมติตั้ง แต่งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบสวนผักของสมาชิก และมีหน่วยงานจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้ตรวจสารพิษที่ตกค้างในดินและผักเพื่อออกใบรับรองให้กับสมาชิกในกลุ่มว่าเป็นผัก ปลอดสาร อีกหนึ่งช่องทางเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคและมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรให้มี คุณภาพมาตรฐานทางอาหาร ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก ๔๒ ครัวเรือน (๕๔ คน) มีทุนหมุนเวียนในกลุ่ม จำนวน ๕๙,๐๐๐ บาท พ.ศ ๒๕๖๐ เนื่องจากจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น กลุ่มอาหารปลอดภัยบ้านโคกพระ จึงมีการกำหนดกติกา ข้อตกลงกลุ่มให้กับสมาชิกปฏิบัติตามเพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง โดยมีกฎกติกา ดังนี้๑) สมาชิกต้องมีความ จงรักภักดีต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์๒) สมาชิกทุกคนจะต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา ใช้ในการประกอบอาชีพ ๓) สมาชิกต้องเลิกใช้สารเคมีในการผลิต ๔) สมาชิกต้องไม่ใช้ถุงบรรจุสารเคมีมาบรรจุ ปุ๋ยอินทรีย์และพืชผลผลิตของตนเอง ๕)สมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ๖) สมาชิกทุกคนจะต้องไม่นำ ผลผลิตจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกมาจำหน่าย ๗)ห้ามนำป้ายหรือข้อความของกลุ่มหรือทางราชการหรือที่ ทางสหกรณ์ฯ สนับสนุนไปใช้ในการโฆษณาเพื่อจำหน่ายสินค้าจากแหล่งอื่น ๘) สมาชิกทุกคนต้องมีบัตร ประจำตัวกลุ่มสมาชิกผักปลอดสารที่ออกให้โดยสหกรณ์ฯ ๙) สมาชิกต้องสนับสนุนเงินออม ๑๐๐ บาทต่อปี และเงินออมสามารถนำไปใช้ได้ตามมติที่ประชุม ๑๐) คณะกรรมการต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกและ อยู่ในวาระ ๑ ปี๑๑)สมาชิกต้องปฏิบัติตามกฎอย่าเคร่งครัด ๑๒)หากสมาชิกทำผิดกฎข้อบังคับของกลุ่มหรือ จะมีการตักเตือนมาเกิน ๒ ครั้ง หากยังทำผิดอีกให้พ้นจากการเป็นสมาชิก นอกจากนี้กลุ่มอาหารปลอดภัยมี สวัสดิการให้กับสมาชิกในกรณีนอนโรงพยาบาลครั้งละ ๓๐๐ บาท/ราย/ปีไม่เกิน ๒ ครั้งต่อราย และหาก สมาชิกหรือญาติสมาชิกเสียชีวิตจะเก็บค่าฌาปนกิจ ๑๐๐ บาทเพื่อเป็นกำลังใจให้กับครอบครัวสมาชิกในกลุ่ม กลุ่มปลูกผักปลอดสารจึงเห็นความสำคัญในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อดำเนินงานให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่ม และต่อผู้บริโภคต่อไป


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ สมาชิกกลุ่มปลูกปลอดสารพิษ ๔๒ ครัวเรือน ๒.๒ ประชาชนหมู่ ๓ จำนวน ๒๘๑ ครัวเรือน จำนวน ๗๕๘ คน ๒.๓ ประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ๕๕๑ ครัวเรือน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ สร้างการพึ่งพาตนเองด้านอาหารจากการเกษตรในระดับครอบครัว ๓.๒ ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการปลูกผักปลอดสารเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท ๓.๓ จัดทำเมล็ดพันธุ์ให้กลุ่มและในพื้นที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า ๓.๔ เกิดการร่วมมือกับประชาชนในเขตพื้นที่และนอกพื้นที่ที่มีความสนใจในการปลูกผักปลอดสาร สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ต่อยอดเพิ่มเติม ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ กรมส่งเสริมสหกรณ์อบรมให้ความรู้วิธีการปลูกและการดูแล ๔.๒ เทศบาลตำบลนาป่าแซง สนับสนุนงบประมาณ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท ๔.๓ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จังหวัดอุบลราชธานีตรวจสอบสารเคมีที่ตกค้างในดินและผัก ๔.๔ ข้อมูล TCNAP เกี่ยวกับข้อมูลสถานการประกอบอาชีพของประชาชน ข้อมูลการเกษตร ข้อมูล รายได้หนี้สิน ข้อมูลสถานะสุขภาพ การเจ็บป่วยเรื้อรัง การเจ็บป่วยจากสารเคมีข้อมูลทุนทางสังคมที่ ดำเนินการหลัก ดำเนินการรอง สนับสนุนเกี่ยวกับงานการผลิตอาหารปลอดภัย ๔.๕ แผนพัฒนาตำบลที่สนับสนุนการจัดการอาหารปลอดภัย ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดตั้งกลุ่มปลูกผักปลอดสาร โดยการรวบรวมสมาชิกจัดตั้งกลุ่ม แต่งตั้งประธาน กำหนด บทบาทหน้าที่ จัดหาเงินทุนหมุนเวียน กำหนดแผนและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ๕.๒ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านโคกพระ เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการปลูกผักปลอดสารเคมี ๕.๓ การจัดการตลาด โดยออกบูธตามสถานที่ต่าง ๆ และการจัดสถานที่จำหน่ายผักได้รับความ อนุเคราะห์จากนายกเทศมนตรีตำบลปทุมราชวงศาในการจำหน่ายผักปลอดสารในตลาดอำเภอปทุมราชวงศา เปิดเวลา ๐๕.๐๐-๒๑.๐๐ น. ทุกวัน ซึ่งมีผู้บริโภคเข้ามาจับจ่ายมากมาย มีจำหน่ายที่ตลาดนัดสีเขียวบ้านโคก พระ หมู่ ๓ ทุกเช้าวันศุกร์และส่งตลาดนัดสีเขียวจังหวัดอำนาจเจริญ สมาชิกกลุ่มจะรวมกันขาย แยกผักตาม ชนิด แต่ละวันจะมีการจดบันทึกผักของแต่ละคนไว้จากการจำหน่ายผักทำให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มมาก ขึ้นประมาณ ๖,๐๐๐ บาทต่อเดือน เงินที่ได้จากการขายผักจะหักเข้ากลุ่มคนละ ๕ บาทต่อวันเพื่อเป็นทุนสำรอง ของการดำเนินงานของกลุ่ม ๕.๔ รณรงค์การรับประทานผักปลอดสาร โดยการส่งเสริมให้ประชาชนทั ่วไปปลูกผักสวนครัวไว้ รับประทานเองที่บ้าน ๕.๕ จัดสวัสดิการสำหรับสมาชิก โดยกลุ่มอาหารปลอดภัยมีสวัสดิการให้กับสมาชิก สำหรับสมาชิกที่ นอนโรงพยาบาลครั้งละ ๓๐๐ บาทต่อราย ๑ ปีไม่เกิน ๒ ครั้งต่อราย และหากสมาชิกหรือญาติสมาชิกเสียชีวิต จะเก็บค่าฌาปนกิจ ๑๐๐ บาทเพื่อเป็นกำลังใจให้กับครอบครัวสมาชิกในกลุ่ม ๕.๖ การจัดการผลิต โดยสมาชิกมีการดำเนินการปลูกผักตามขั้นตอนดังนี้ ๑) การจัดการดินเตรียมแปลงปลูก เริ่มจากการไถตากดิน ยกแปลง ๒-๓ วัน เพื่อฆ่าเชื้อราต่าง ๆ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักรองพื้นซึ่งปุ๋ยหมักสมาชิกจัดทำขึ้นเอง ๒) การจัดการเมล็ดพันธุ์คัดเลือกเมล็ดพันธ์ที่มีความสมบูรณ์ปลอดแมลง นำไปเตรียมการปลูก ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับเมล็ดพันธุ์พืชแต่ละชนิด โดยมีวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชแต่ละชนิดก่อนบรรจุเก็บใน ถุงหรือภาชนะป้องกันแมลง ดังนี้


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐ ๒.๑) ฟักทอง ฟัก แตงกวา บวบต่าง ๆ การเก็บเกี่ยวต้องเก็บผลแก่ที่มีขนาดใหญ่ และมีสี เหลือง การทำความสะอาดผ่าผลตามยาว ใช้ช้อนตักเมล็ดออกมาหมักไว้๑ คืน ล้างเมล็ดให้สะอาดแล้วตาก แดด ๑ แดด จากนั้นนำมาผึ่งในร่ม ๒ วัน ๒.๒) การเก็บเมล็ดพันธ์ของพริก ต้องเก็บผลสีแดงจัด เก็บเกี่ยวผลทั้งขั้ว บ่มในที่ร่ม ๓-๕ วัน การทำความสะอาด ผ่าเปลือกออกให้เหลือเฉพาะแกนผลแกะเอาเมล็ดไปตากแดด ๓-๔ แดด ๒.๓) ผักตระกูลกะปล่ำ การเก็บเกี่ยวสังเกตว่าผักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีดำ โดยตัด ทั้งต้นมัดรวมกัน ๒-๓ ต้นต่อมัด การเก็บเกี่ยว แขวนตากแดดปมกลางแจ้ง ๗-๑๐ วัน เคาะเอาเมล็ดและทำ ความสะอาด ๒.๔) การเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวโพด เลือกฝักที่ ๒ หรือที่ ๓ ของต้น หรือฝักกลางๆ ปล่อยให้ฝัก แก่และแห้งคาต้นจึงเก็บฝัก การทำความสะอาดให้แขวนฝักข้าวโพดทั้งเปลือก ตากแดด ๒ วัน จากนั้นแกะ เมล็ดออกจากฝัก นำไปฝัดเพื่อทำความสะอาด ๒.๕) การเก็บเมล็ดมะเขือ เลือกเก็บผลสุกมาก ซึ่งจะมีผลสีน้ำตาล บ่มในร่ม ๓ วันเพื่อให้เมล็ด แก่เต็มที่ การทำความสะอาดหั่นส่วนปลายออก แล้วทุบให้เมล็ดแตกออกมา นำเมล็ดหมักไว้๑ คืน จากนั้น นำไปตากแดด ๒-๓ แดด การตากเมล็ดพันธุ์มีความจำเป็นมากต่อเมล็ดพันธุ์เพราะเมล็ดพันธ์มีชีวิต หากมี ความชื้นมากก็จะทำให้เมล็ดขึ้นราได้ง่ายและอ่อนแอต่อแมลงศัตรูพืช การตากแดดจึงช่วยลดความชื้นที่มีอยู่ ในเมล็ดให้เหลืออยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการมีชีวิตแต่ไม่สามารถงอกได้ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้(๑) ปูกระดาษ หรือแผ่นพลาสติกตรงบริเวณที่มีแสงส่องตลอดวัน (๒) เขี่ยเมล็ดพันธุ์กลับไปมา วันละ ๒-๓ ครั้ง (๓) เมื่อถึง ตอนเย็น ควรเก็บเข้าร่มเพื่อป้องกันน้ำค้างในตอนกลางคืน และ (๔) เมื่อเมล็ดแห้งดีจึงเก็บบรรจุในภาชนะ การป้องกันแมลงทำลาย แต่ส่วนมากจะเป็นการปลูกพืชหมุนเวียนกันตลอดไม่ได้เก็บไว้นาน ๓) การเตรียมดินและการจัดการศัตรูพืช ใช้การหมักน้ำหมักชีวภาพเก็บไว้นาน ๑-๓ ปีเมื่อผักเริ่ม ขึ้นก็ดูความเหมาะสม เริ่มฉีดน้ำหมักที่ทำขึ้นเองซึ่งหมักจากเศษอาหาร ในส่วนของการไล่แมลงทางกลุ่มทาง กลุ่มจะใช้วิธีธรรมชาติเช่น การเลี้ยงกบ การนำวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีรสชาติขมจัด หรือ เผ็ดจัด เช่น ขี้เหล็ก สะเดา ตะไคร้ข่า และพริกสุก เป็นต้น หมักกับอีเอ็ม ในการฉีดไล่แมลง ส่วนมากจะใช้กับแตงกวา ถั่วฝักยาว ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมรวมกลุ่มสมาชิกและแต่งตั้งคณะกรรมการปลูกผักหมุนเวียนแบบปลอดสารเคมี ๖.๒ ส่งสมาชิกไปอบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ ๖.๓ จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านโคกพระเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชนใน หมู่บ้านและนอกพื้นที่ โดยเรียนรู้วิธีการปลูกผัก ตั้งแต่การเตรียมดิน การจัดการเมล็ดพันธ์การจัดการ ผลผลิต ๖.๔ หาวิธีการขายผลผลิต โดยมีการจัดการตลาดโดยออกบูธตามสถานที่ต่าง ๆ ๖.๕ สร้างความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจให้กับสมาชิก โดยส่งผลงานเข้าประกวด และได้รับรางวัล รองชนะเลศอันดับ ๑ กลุ่มอาชีพโดยสภาเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญจากกรมวิชาการเกษตร ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ สมาชิกหรือผู้ที่มาเรียนรู้การจัดการแปลงเกษตรลดต้นทุนและปลอดภัย ๗.๒ สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ๒๕,๐๐๐บาท/ปี ๗.๓ มีการขยายผลจากกลุ่มอาหารปลอดภัยสู่กลุ่มอาหารเกษตรอินทรีย์ร้อยละ ๑๐๐ ๗.๔ ประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่มีความเข้าใจถึงวิธีการดำเนินงานและสามารถนำไปปรับใช้ได้ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) นำเมล็ดพันธุ์จำหน่ายและแบ่งบันให้กับสมาชิกในกลุ่มได้นำไปต่อยอด ๒) ลดรายจ่ายเสริมรายได้และมีอาชีพที่ยั่งยืนปลอดภัย


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑ ๓) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนมีแนวทางวิธีการดำเนินการด้านอาหารปลอดภัยมากขึ้น ๔) มีการนำผลผลิตมาช่วยในงานกิจกรรมในชุมชน ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีการจัดตั้งกลุ่มในการปลูกผักปลอดสารเคมีแบบหมุนเวียน และจัดตั้งศูนย์ เรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารเคมี ๒) ด้านเศรษฐกิจ สมาชิกลดรายจ่ายสร้างรายได้บริโภคพืชผักที่ปลูกเองและการจำหน่าย ตลาดชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มและลดรายจ่ายในครอบครัว ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการทำข้อตกลงที่ชัดเจน ไม่ให้ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ที ่เป็น อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม พืช สัตว์ผู้ผลิตและผู้บริโภคช่วยลดมลพิษ ลดการใช้สารเคมีในการปลูกผักปลอด สาร ๔) ด้านสุขภาพ ได้ทานผักปลอดสารเคมีไม่เป็นอัตรายต่อสุขภาพและมีสุขภาพดีไม่มีสารผิดพิษ ตกค้างในร่างกาย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ความเข้าใจในการปลูกหมุนเวียนแบบปลอดสารเคมี


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒ Key Actors เทศบาลตำบลห้วย งานเด่น จากถั่วเขียวกลายเป็นวุ้นเส้น พื้นที่ บ้านนาผาง หมู่ที่ ๒ และ หมู่ ๖ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวักอำนาจเจริญ วิทยากร นายธีรวัฒน์พันธุมาศ ตำแหน่ง รองนายกเทศมนตรีตำบลห้วย เบอร์โทรศัพท์๐๖๖-๑๒๗๒๙๙ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การพัฒนาระบบอาหารเทศบาลตำบลห้วยดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ “เทศบาลตำบลห้วยเป็น องค์กรพัฒนาคุณภาพชีวิต แหล่งผลิตข้าวพันธุ์ดีสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง” ใช้กลไกการมีส่วนร่วมของ ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานรัฐ และภาคประชาชน ขับเคลื่อนงานผ่าน โครงการ “จากถั่วเขียวกลายเป็นวุ้นเส้น” และมีข้อมูลบริบทเทศบาลตำบลห้วย มีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน ๖๑ ตารางกิโลเมตร หรือ จำนวน ๓๘,๑๒๕ ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่เพื่อการเกษตร จำนวน ๒๙,๕๒๐ ไร่ แยกเป็นพื้นที่ทำ นา จำนวน ๒๘,๒๖๒ ไร่ พื้นที่ทำสวน จำนวน ๙๓๕ ไร่ พื้นที่ทำไร่ จำนวน ๓๒๓ ไร่ พื้นที่เพื่ออยู่อาศัย จำนวน ๒,๖๗๖ ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์จำนวน ๗๑๖ ไร่ พื้นที่อื่น ๆ จำนวน ๕,๒๑๓ ไร่ จากข้อมูลพื้นที่การเกษตร และการพัฒนางานเด่นการแปรรูปถั่วเขียวมีเส้นทางการพัฒนาดังนี้ พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙ บ้านนาผางได้เริ่มดำเนินการปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล โดย ได้คิดวิธีการนวัตกรรมในการที่จะปลูกข้าวให้ได้คุณภาพที่ปลอดภัย ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ตั้งกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์บ้านนาผาง โดยมีพ่อจำปา เป็นประธานและสมาชิก ๒๕ คน ได้ร่วมกับมูลนิธิ ไทเยอรมัน และร่วมมือกับสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า(หน่วยขับเคลื่อนมูลนิธิเยอรมันเพื่อการพัฒนา) อบรม ให้ความรู้การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์และร่วมกับวิชาการเกษตรตรวจ GAP ในพื้นที่รับรองแปลงอินทรีย์ จำนวน ๒๕๐ ไร่ พ.ศ. ๒๕๕๐- ๒๕๕๔ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์บ้านนาผาง ร่วมสำนักงานเกษตร จังหวัด มีโครงการส่งเสริมการแปรรูปข้าวอินทรีย์ได้รับงบประมาณสนับสนุน ๑.๒ ล้านบาท (งบพัฒนา จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) สนับสนุนโรงเรือน อุปกรณ์แปรรูปข้าว บรรจุพันธุ์และส่งเสริม การจำหน่าย ภายใต้ชื่อ “Naphang” รายการผลิตภัณฑ์เช่น ข้าวกล้อง ข้าวขาว และข้าวกล้องงอก เป็นต้น จำหน่ายเดือนละ ๑,๐๐๐ กก. มีกำไรประมาณ ๔,๐๐๐ บาท/เดือน พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่านธีระ วงษ์สมุทร ลงเยี่ยมพื้นที่ บ้านนาผาง ตำบลห้วย ได้รับทราบปัญหาภัยแล้งของพื้นที่ ชุมชนมีความต้องการระบบการจัดการน้ำเพื่อ การเกษตร ต่อมาปีพ.ศ.๒๕๕๖ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล สนับสนุนงบประมาณ ๑๕ ล้าน เพื่อทำระบบน้ำ บาดาล วางระบบบาดาลเพื่อการเกษตร ๒,๐๐๐ ไร่ เพื่อแก้ไขปัญหาฝนทิ้งช่วง และสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญสนับสนุนให้ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าว หอมมะลิอินทรีย์บ้านนาผาง จำนวน ๑๐ คน เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลังนา จำนวน ๔ ชนิด เช่น ข้าวโพดเหนียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว เป็นต้น คนละ ๑๐ ไร่ พบว่าถั่วเขียวมีความเหมาะสมกับพื้นที่ ตำบลห้วยมากที่สุด และได้เข้าร่วมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เป็นโครงการในสมเด็จพระกนิษฐาธิ ราชเจ้า ได้รับงบประมาณกองทุนพระราชทาน ๒๐,๐๐๐ บาท มีการเชื่อมโยงการตลาดกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง โดยกองทุนออมเงินในชุมชน ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียน จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท ในพ.ศ. ๒๕๕๘ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญสนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์บ้านนาผาง ขยายเพิ่มการปลูกพืชหลังนา เพิ่มอีกจำนวน ๑๐ คน โดยให้สมาชิกกลุ่มทั้ง ๒๐ คน ปลูกเฉพาะถั่วเขียว รวม จำนวน ๒๐ ไร่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรหลังฤดูการเก็บเกี่ยวและยังเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน และปัจจุบัน มีการรับสมาชิกเพิ่มเป็น จำนวน ๒๐๐ ราย และกรมส่งเสริมกระทรวงเกษตรมีนโยบายสร้างศูนย์การเรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตรประจำอำเภอ จึงคัดเลือกคนต้นแบบเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้โดยมีเป้าหมายว่า จะต้องทำการเกษตรที่แก้ปัญหาในพื้นที่และสามารถถ่ายทอดได้จึงได้คัดเลือก นายธีรวัฒน์พันธุมาศ เป็น คนต้นแบบ พ.ศ. ๒๕๖๐-ปัจจุบัน จากการดำเนินการพบว่า การปลูกถั่วเขียวให้ผลผลิตสูงใช้น้ำน้อยและดูและ รักษาง่ายที่สุด เมื่อเทียบกับพืช ๔ ชนิด ที่ได้ทดลองปลูกตามโครงการส่งเสริมปลูกพืชหลังนา กลุ่มวิสาหกิจ


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓ ชุมชน จึงมีการปลูกเฉพาะถั่วเขียว ในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยวโดยเริ่มจากสมาชิกข้าวอินทรีย์ (กลุ่มข้าวสัจ ธรรมอำนาเจริญ) คนละ ๒ ไร่ เมื่อมีผลผลิตมากขึ้นกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะแปรรูปถั่วเขียว ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ จึงได้นำสมาชิกกลุ่มไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การศึกษาและพัฒนาอาชีพภู พานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร เป็นระยะเวลา ๓ วัน ในปีพ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ก่อตั้งวิสาหกิจ ชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากถั่ว โดยมีสมาชิก จำนวน ๒๐ ราย ร่วมกันต่อยอดจากกิจกรรม ปลูกถั่วเขียวหลังนา และมีแนวความคิดที่ต้องการแปรรูปผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ประกอบกับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์มีโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย โครงการสร้างทักษะและส่งเสริม อาชีพด้านการเกษตร ที่นำเสนอนโยบายเวทีประชาคมให้กลุ่มย่อยได้เสนอแผนงานและโครงการเพื่อขอรับ การสนับสนุนงบประมาณชุมชนละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางเกษตรจาก ถั่ว เป็น ๑ ใน ๑๐ ชุมชนของอำเภอปทุมราชวงศา ที่เสนอโครงการและได้รับการอนุมัติให้ดำเนินกิจกรรมตาม โครงการในปีพ.ศ. ๒๕๖๑ มีทุนเริ่มดำเนินโครงการดังนี้๑) ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกลุ่มปุ๋ยโครงการ ๙๑๐๑ ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท กรม ส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อต่อเติมอาคาร ๒) ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกรม ส่งเสริมการเกษตร ตามโครงการส่งเสริมรายได้ให้แก่เกษตรรายย่อย จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ๓) จากการ ระดมหุ้นจากสมาชิก ๓๐,๖๐๐ บาท ในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้งมีมติปันผลกำไรร้อยละ ๑๐ ของผล กำไร ตามจำนวนหุ้น ปันผลทุก ๖ เดือน แบ่งให้กรรมการและผู้ปฏิบัติงานภายในกลุ่มร้อยละ ๖๐ ส่วนสมาชิก ผู้ถือหุ้น ได้ปันผลร้อยละ ๔๐ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีสมาชิก จำนวน ๕๒ คน มีการอบรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน ประเมินศักยภาพ และจัดแผนพัฒนากิจการ อบรมความรู้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ถั่วชุมชนเพื่อความมั่นคงด้านอาหารโดยสำนักงานเกษตรอำเภอปทุมราชวงศา พ.ศ. ๒๕๖๓ มีสมาชิก จำนวน ๘๔ คน และมีการอบรมปลูกถั่วหลังนาโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และนำสมาชิกศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ ชัยนาท ต่อมา พ.ศ. ๒๕๖๔ เทศบาลตำบลห้วย ได้สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพลังงานแสงอาทิตย์ใน การสร้างโรงอบวุ้นเส้นพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน๒๘๗,๐๐๐ บาท ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มฯ จำนวน ๑๒๘ คน ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชากรบ้านนาผาง หมู่ ๒ และหมู่ ๖ จำนวน ๑๒๘ ครัวเรือน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นวุ้นเส้นที่มีคุณภาพดีลดต้นทุนในการผลิต และสร้างรายได้ เพิ่ม ๓.๒ การพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ๓.๓ รักษาสมดุลของระบบนิเวศในชุมชน ๓.๔ มีการร่วมมือจัดตั้งกลุ่มและกองทุน เช่น กลุ่มข้าวเกษตรอินทรีย์กลุ่มสมุนไพร กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มผลิตขนมจีน และกลุ่มทอผ้า เป็นต้น ๓.๕ มีแปลงสาธิตการปลูกถั่วเขียว อย่างน้อย ๑ แปลง ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูล TCNAP เกี่ยวกับข้อมูล ประชากร พื้นที่การเกษตร แหล่งน้ำสำหรับการเกษตร อุปกรณ์ การเกษตร และข้อมูล RECAP เพื่อค้นหาทุนทางสังคมที่มีความชำนาญด้านเกษตรอินทรีย์หมอดิน ด้านการ ทำปุ๋ยหมัก และด้านการผลิตวุ้นเส้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากถั่ว ๔.๒ แหล่งทุนสนับสนุนโครงการ ๔.๓ แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาท้องถิ่น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔ ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ พัฒนาศักยภาพสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยความร่วมมือของเกษตรอำเภอ จัดอบรมให้ ความรู้ด้านการผลิตถั่วชุมชนเพื่อความมั่นคงด้านอาหารแก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ให้เกิดความเชี่ยวชาญ ๕.๒ จัดหาอุปกรณ์เครื่องจักรการเกษตร สมาชิกกลุ่มมีการพัฒนาเครื่องจักรในการทำงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน ๕.๓ จัดประชุมกลุ่มทุกเดือน โดยสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กำหนดข้อตกลงการประชุมเดือนละครั้ง เพื่อติดตาม วิเคราะห์ประเมินผล การทำงานของกลุ่มให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด ๕.๔ ขยายการตลาด โดยการเพิ่มช่องทางการตลาดมากขึ้น เช่น การขายผ่านแพลตฟอร์ม และเจาะ กลุ่มตลาดคนรักสุขภาพ ๕.๕ สร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์โดยการพัฒนาฉลากบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ทันสมัย ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ แต่งตั้งกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากถั่ว จำนวน ๑๑ คน คณะกรรมการมีบทบาทในการตรวจสอบการผลิตวุ้นเส้น รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และหาช่องทางการ จัดจำหน่าย ๖.๒ ศึกษาดูงานผลิตภัณฑ์วุ้นเส้น ณ ศูนย์การศึกษาและพัฒนาอาชีพภูพานอันเนื่องมาจาก พระราชดำริจังหวัดสกลนคร ๖.๓ จัดอบรมให้ความรู้เกษตรอำเภอปทุมราชวงศา จัดอบรมให้ความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตถั่วชุมชนเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร จำนวน ๒๐ คน อบรมการปลูกถั่วหลังนา โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ จังหวัด ชัยนาท ๖.๔ สร้างโรงเรือน เครื่องจักร สำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์วุ้นเส้น ๖.๕ ดำเนินการผลิต ตรวจสอบคุณภาพวุ้นเส้น หาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ๖.๖ จัดทำบัญชีรายได้วางแผนปันผลกำไรทุก ๖ เดือน ๖.๗ เป็นแหล่งเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่ว ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ สมาชิกกลุ ่มมีรายได้เพิ ่มขึ้น หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยว มีการปันผลจากกำไร ที่ได้จากการ ประกอบกิจกกรมในทุก ๖ เดือน ตามจำนวนหุ้น กรรมการและผู้ปฏิบัติงานภายในกลุ่ม ปันผลกำไร ร้อยละ ๖๐ สมาชิกผู้ถือหุ้นปันผลกำไรร้อยละ ๔๐ ๗.๒ มีช่องทางการจำหน่ายการตลาดมากขึ้น ๗.๓ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจมาศึกษาดูงาน สมาชิกในกลุ่มสามารถเป็นวิทยากรให้ ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่ว ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ประมาณ ๕,๐๐๐ บาท/คน/ปี ๒) สมาชิกสุขภาพดีขึ้น เมื่อบริโภควุ้นเส้นที่ไม่มีสารปรุงแต่ง เพราะเป็นวุ้นเส้นที่ผลิตจากถั่วเขียว ๓) ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ๔) สร้างระบบอาหารปลอดภัยในชุมชน โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม สมาชิกเกิดความสามัคคีเกิดการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ ๒) ด้านเศรษฐกิจ มีรายได้เพิ่มขึ้น ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม สภาพดินดีโดยการไถกลบต้นถั่วเขียวหลังจากเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนมีสุขภาพดีเพราะบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมจากหน่วยงานในพื้นที่


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕ Key Actors กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ งานเด่น ข้าวปิ่นโตอินทรีย์สัจจะธรรม เกษตรครบวงจรบริหารจัดการตนเอง พื้นที่ เทศบาลตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายอำพร บุญมาก ตำแหน่ง ประธานกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ เบอร์โทรศัพท์๐๘๐-๑๔๙๕๑๓๔ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน กลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ จัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๕๕ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจาก ครอบครัวของนายอำพร บุญมาก ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ข้าวปลอดสารเคมีผัก ข้าวโพด พืชผักสวนครัว เนื่องจากมีสมาชิกในครอบครัวประสบปัญหาการเจ็บป่วยและสภาพร่างกายไม่แข็งแรงซึ่งเป็น ผลมาจากการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ได้เคยเข้ารับการอบรมให้ความรู้จากสวนส่างฝัน อำเภอเมือง อำนาจเจริญ มาก่อน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำการเกษตรแบบครบวงจร จึงได้ชักชวนเครือญาติจัดตั้งกลุ่ม ผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ ขึ้น และได้เข้าร่วมกลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญในเวลาต่อมา จึง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมาชิก เริ่มแรกของการจัดตั้งกลุ่มมีทั้งหมด ๗ ครัวเรือน โดยมีนายอำพร บุญมาก เป็นประธานกลุ่ม หลังจากนั้นได้ มีสมาชิกที่เข้ามาร่วมกลุ่มเพิ่มขึ้น จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกลุ่มสูงสุดอยู่ที่ ๑๖ ครัวเรือน ต่ำสุดอยู่ที่ ๑๒ ครัวเรือน ภายใต้เครือข่ายข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ วิสาหกิจชุมชนนี้มีหน้าที่ประสานงานตรวจรับรองการ ผลิตข้าวเป็นหลัก โดยสมาชิกทุกรายต้องได้การรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์โดยจะมีการลงตรวจนา ทุกแปลง รวมถึงสมาชิกที่ทำการเกษตรอย่างอื่น เช่น ปลูกผักผลไม้เลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วย และต้องเป็น เกษตรอินทรีย์ทั้งหมด ห้ามใช้สารเคมียาฆ่าแมลง และยาฆ่าหญ้า ภายในกลุ่มมีระบบควบคุมโดยลงตรวจ พื้นที่แปลงนาปีละสามถึงสี่ครั้ง นอกจากการตรวจคุณภาพภายในกลุ่มแล้วจะต้องได้รับการตรวจจาก สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ด้วยเพื่อออกใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล เช่น สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ซึ่งจะทำให้สามารถส่งสินค้าไปขายในยุโรปและอเมริกาได้ ปีพ.ศ.๒๕๖๒ ประชาชนในตำบลหนองข่าร้อยละ ๗๑.๐๓ (๒,๗๖๘ ครัวเรือน) ประกอบอาชีพทำนา ร้อยละ ๑๔.๕๓ (๔๐๕ ครัวเรือน) ประกอบอาชีพทำสวน ร้อยละ ๑๒.๒๐ (๓๔๐ ครัวเรือน) ประกอบอาชีพเลี้ยง สัตว์ร้อยละ ๑.๕๗ (๑.๕๗ ครัวเรือน) ประกอบอาชีพทำไร่ร้อยละ ๐.๒๕ (๗ ครัวเรือน) ประกอบอาชีพประมง และที่เหลือประกอบอาชีพ อื่น ๆ จากการสำรวจพบข้อมูลครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในภาคการเกษตร เช่น ยาฆ่า หญ้า ยากำจัดแมลง และปุ๋ยเคมีอย่างน้อย ๑ ชนิด จำนวน ๔๗๘ ครัวเรือน ส่วนครัวเรือนที่ไม่ใช่สารเคมีใน ภาคการเกษตรมีเพียง ๒๗ ครัวเรือน การรวมกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ จะช่วยให้ สมาชิกในครอบครัวและคนในชุมชนตำบลหนองข่าได้รับประทานข้าวที่มีคุณภาพและปลอดสารเคมีเป็นการ ลดต้นทุนในการผลิตข้าวอินทรีย์ทำให้ประชาชนในครอบครัวและคนในชุมชนอยู่ดีกินดีและถือเป็นการดำเนิน ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ ๙ ทำนาปลูกพืชที่ปลอดภัยไร้สารเคมีพึ่งตนเอง ได้และพึ่งพากันและกันในกลุ่มสมาชิกผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ สมาชิกกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ ๒.๒ ผู้บริโภคในเขตพื้นที่ และนอกเขตพื้นที่ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัด อำนาจเจริญ ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคในครอบครัวและคนในชุมชนตำบลหนองข่า ได้รับประทานข้าวที่มีคุณภาพและปลอด สารเคมีเป็นการลดต้นทุนในการผลิตข้าวอินทรีย์ของผู้ผลิต และในขณะเดียวกันก็ช่วยทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพ ดีถือเป็นการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรปลอดภัยไร้สารเคมีช่วยให้พึ่งตนเองได้ เกิดการทำงานร่วมกันพึ่งพากันและกันในกลุ่ม และช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ในชุมชน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๖ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลของกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ ๔.๒ ข้อมูลการประกอบอาชีพ การใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของครัวเรือนในพื้นที่ของเทศบาล ตำบลหนองข่า ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ มีศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ ๕.๒ เกิดครัวเรือนเกษตรอินทรีย์และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือน ๕.๓ กลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ เป็นเครือข่ายกลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ ซึ่ง ทำให้เพิ่มอำนาจการต่อรองทางการตลาด ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ รวมกลุ่มสมาชิกผู้ผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ และนำกลุ่มเข้าเป็นเครือข่ายของ กลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ ๖.๒ พัฒนากระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์โดยก่อนถึงฤดูการทำนาสมาชิกจะทำการเตรียมดินและปุ๋ย หมักเพื่อใช้ในแปลงนา ภายในกลุ่มมีระบบควบคุมโดยลงตรวจพื้นที่แปลงนาปีละสามถึงสี่ครั้ง หลังจากตรวจ ภายในกลุ่มแล้วก็จะให้สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) เข้ามาตรวจเพื่อออกใบรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ในระดับสากล เช่น สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ(IFOAM) ซึ ่งจะทำให้สามารถส่ง สินค้าออกไปขายในยุโรปและอเมริกาได้ ๖.๓ พัฒนาการจัดการตลาด การออกบูธเพื่อการจำหน่ายผลผลิตข้าวอินทรีย์ให้กับประชาชน ผู้บริโภคในพื้นที่และนอกพื้นที่ตำบลหนองข่าร่วมกับเครือข่ายข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญตามโครงการผูกปิ่นโต ข้าวอำนาจเจริญ อย่างต่อเนื่อง ๖.๔ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ ขึ้นและมีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ สมาชิกกลุ่ม โดยมีวิทยากรจากสำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้มี การตรวจสอบคุณภาพการผลิตเกษตรอินทรีย์จากระบบควบคุมคุณภาพภายในกลุ่มข้าวสัจธรรม อำนาจเจริญ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ มีสมาชิก ๑๒ ครัวเรือน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ ได้รับการสนับสนุนด้านความรู้จากภาครัฐและ เครือข่ายกลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญเป็นอย่างดี และได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภคเนื่องจากปัจจุบัน ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น และชื่นชอบผลผลิตจากการทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านอาชีพ ๒) ด้านเศรษฐกิจ กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ มีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากมี ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ราคาสินค้าสูงกว่าและขายสินค้าปริมาณมากกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตที่พึ่งพิง สารเคมี ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม การผลิตข้าวอินทรีย์ช่วยรักษาความสมดุลของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เกิดสิ่งแวดล้อมปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์ ๔) ด้านสุขภาพ การผลิตข้าวอินทรีย์ทำให้สุขภาพของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคข้าวปลอดภัย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นตัวเชื่อมการแก้ไขปัญหาของชาวนา สะท้อนกระบวนการจัดการตนเองและเครือข่ายการผลิตข้างอินทรีย์


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๗ Key Actors วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก งานเด่น ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ อำเภอปทุมาชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายแสนยา พิมงคล ตำแหน่ง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เบอร์โทรศัพท์๐๘๗ – ๘๒๑๐๗๓๐ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลลือ มีหมู่บ้าน ๑๔ หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น ๘,๓๕๙ คน จำนวนครัวเครือน ๒,๔๔๑ ครัวเรือน ประชากรที่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก จำนวน ๔,๐๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๓๖ ของประขากรที่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพเสริม จำนวน ๗๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๓๖ ของประขากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวนประชากรที่เป็นเกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีในการเกษตร ๓๓ คน คิดเป็นร้อย ๐.๙๐ ของประขากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มี เป้าหมายในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีสำหรับชุมชน สมาชิกและจำหน่าย เนื่องจาก ประชาชนบ้าน หนอง ลุมพุกเนื่องจากเวลาเพาะปลูกข้าว เกษตรกรจะขาดแคลนพันธุ์ข้าว ต้องไปซื้อหรือหาจากที่อื่น ซึ่ง ราคาสูงและหาซื้อยาก ผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ประกอบกับมีนโยบายภาครัฐมีการรณรงค์ลดใช้ สารเคมีส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชปลอดสาร ชาวบ้านหนองลุมพุก นำโดย นายแสนยา พิมงคล ซึ่งเป็น ผู้ใหญ่บ้านหนองลุมพุก หมู่ที่ ๑๒ ได้มีแนวคิดที่จะรวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมะลิพันธุ์ดีปลอดสารเคมีเพื่อไว้ ใช้เอง และจำหน่ายให้ผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นรายได้ให้กับสามชิกกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก เดิมชื่อศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้าน หนองลุมพุก เริ่มก่อตั้งเมื่อ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ มีสมาชิก จำนวน ๓๐ คน ต ่อมาได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์กข.๖ กข.๑๕ และขาวดอกมะลิ๑๐๕ เอาไว้ใช้เองและจำหน่ายให้กับเกษตรกรในชุมชน ศูนย์วิจัยข้าว อุบลราชธานีและ สกต.ห้วยไร่ ปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับประเทศพร้อมโล่พระราชทานในงานวันพืชมงคล ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับการสนับสนุนงบพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญ และได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าว และสร้างความเข้มแข็งให้ชาวนา เพื่อการรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) จาก กรมการข้าวเพื่อพัฒนากลุ่มให้เกิดความเข้มแข็งและมั่นคง ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ กลุ่มอินทรีย์วิสาหกิจชุมชนศูนย์ ข้าวชุมชนบ้านหนองลุมพุก ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อรับรองการผลิตข้าวที่ดีและ เหมาะสม และในปีพ.ศ. ๒๕๖๐ ได้สมัครเข้าร่วมโครงการข้าวอินทรีย์หนึ่งล้านไร่ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน ๘๓ ราย พื้นที่นาจำนวน ๖๘๒ ไร่ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เกษตรกรที่ทำนา จำนวน ๔,๐๔๙ คน ๒.๒ หน่วยงาน องค์กร หรือผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว - งานพัฒนาชุมชน อบต.ลือ จำนวน ๒ คน - สำนักงานเกษตรอำเภอ จำนวน ๒ คน - ร้านค้า จำนวน ๒ ร้าน - ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี - สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. - กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ตำบลลือ - สหกรณ์การเกษตรอำเภอหัวตะพาน - สหกรณ์ยูเนี่ยนนาดูนสามัคคีจำกัด


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๘ ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ผู้บริโภคและผู้ผลิตปลอดภัยจากใช้สารเคมี ๓.๒ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ๓.๓ ลดรายจ่ายในการผลิตและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ๓.๔ มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีและเมล็ดข้าวที่มีคุณภาพสำหรับเพาะปลูกและจำหน่าย ๓.๕ เพิ่มพื้นที่การผลิตสู่ชมชนปลูกข้าวปลอดสาร ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลการประกอบอาชีพของประชากรในพื้นที่ตำบลลือ ได้แก่ ๑) จำนวนผู้ประกอบกิจการเกี่ยว เมล็ดพันธ์ข้าว ได้แก่ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้าน หนองลุมพุก จำนวน ๘๓ ครัวเรือน ข้อมูลในระบบ ข้อมูลตำบล TCNAP ๒) ข้อมูลสุขภาพ ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ใช้สารเคมี ในการเกษตรโดยป้องกันตนเองไม่เหมาะสม จำนวน ๓๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔.๗๙ ของผู้ประกอบอาชีพ เกษตรกร ข้อมูลในระบบข้อมูลตำบล TCNAP ๔.๒ ข้อมูลทุนทางสังคม ได้แก่ การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก มีทุนทาง สังคมที่เข้ามามีส่วนร่วม ดังนี้องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ผู้นำกลุ่ม โดย นายแสนสยา พิมงคล ศูนย์วิจัย ข้าวอุบลราชธานีและกรมส่งเสริมการเกษตร ๔.๓ แนวทางการประเมินมาตรฐานสินค้าเกษตร การดำเนินวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก มีเจ้าหน้าที่จากกรมการข้าว และกรมส่งเสริมการเกษตร เข้ามาให้ความรู้และร่วมวางแผนการดำเนินงาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การคัดแยกเมล็ดพันธุ์การจัดหาตลาด การบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อพัฒนากลุ่มให้ เกิดความเข้มแข็งและมั่นคง ๕.รูปธรรมงาน ปันจุบันวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก มีความเข้มแข็งและมั่นคง สามารถบริหารจัดการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปธรรมงานที่ดำเนินการ ๕.๑ ผลผลิตผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานเมล็ดพันธ์ข้าวจากกรมการข้าว สามารถจำหน่ายพันธุ ข้าว กข.๖ กข.๑๕ และขาวดอกมะลิ๑๐๕ ๕.๒ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรทั่วไป สกต.ห้วยไร่ ศูนย์วิจัยข้าว อุบลราชธานีและ โรงสีไทยสามัคคี (ทำ MOU กับโครงการขายข้าวอินทรีย์ของ จ.อำนาจเจริญ) ๕.๓ ยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการผลิตพันธุ์ข้าวปลอดสารเคมี ๕.๔ สามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตได้เช่น เดิมขายข้าวเปลือก ได้ราคา ๑๐ บาทต่อกิโลกรัม แต่กลุ่ม สามารถขายพันธุ์ข้าวได้ในราคา ๒๐ บาทต่อกิโลกรัม ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก เริ ่มต้นจากการรวมกลุ ่มเกษตรกรที ่มี แนวความคิดที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีสำหรับชุมชน และสมาชิกไว้เพาะปลูกเอง เนื่องจากขาดแคลน พันธุ์ข้าว ต้องไปซื้อหรือหาจากที่อื่น ซึ่งราคาสูงและหาซื้อยาก ผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน สำหรับทุน ในการดำเนินงานของกลุ่ม ระยะแรก จะให้สมาชิกต้องถือหุ้นอย่างน้อย ๑ หุ้น และไม่เกิน ๕๐๐ หุ้น ละ ๕๐ บาท ระยะที่สอง มีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญเข้ามาก่อสร้างอาคารศูนย์ข้าว มี เจ้าหน้าที่จากกรมการข้าวเข้ามาให้คำแนะนำในการดำเนินงาน และมีองค์การบริหารส่วนตำบลลือ ให้การ สนับสนุนเครื่องเย็บปากกระสอบ จำนวน ๑ เครื่อง ๖.๒ กลไกการจัดตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยคณะกรรมการ ๔ ฝ่าย คือ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการกองทุน คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการฝ่ายจักรกล โดยคณะกรรมการแต่ละ ชุมชนจะมีการประชุมร่วมกัน เดือนละ ๑ ครั้ง สำหรับสมาชิกกลุ่ม จะประชุมร่วมกัน ๓ เดือนต่อ ๑ ครั้ง เพื่อ กำหนดแนวทางหรือแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่ม


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๙ ๖.๓ การสร้างเครือข่ายและการประชาสัมพันธ์วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก ได้เข้าร่วม เป็นเครือข่ายการปลูกข้าวพันธุ์ดีกับกรมการข้าว กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ การร่วมประชุมเกษตรกรนานาชาติ การร่วมเป็นวิทยากร เพื่อขับเคลื่อนการ ดำเนินงาน และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การประชุมประจำเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้าน การ เป็นวิทยากร การประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีวิทยุชุมชนหนองลุมพุก การสร้างเว็ปเพจ เฟสบุ๊ค “วิสาหกิจ ชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก” ๖.๔ การบริหารจัดการด้านงบประมาณ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก มีการบริหาร จัดการผลกำไร แบ่งเป็น ๗ ส่วน ดังนี้๑) สมทบกองทุน ร้อยละ ๕๐ ๒) ปันผลคืนให้กับสมาชิก ร้อยละ ๓๕ ๓) จ่ายเป็นค่าตอบแทนกรรมการ ร้อยละ ๒๐ ๔) สนับสนุนสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน ร้อยละ ๕ ๕) หักค่า เสื่อมเพื่อการดูแลทรัพย์สิน ร้อยละ ๑๐ ๖) สวัสดิการทุนการศึกษาบุตรของสมาชิก ร้อยละ ๕ และ ๗) พัฒนา ศักยภาพศึกษาดูงาน ร้อยละ ๕ ๖.๕ การกำกับติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน พันธุ์ข้าวตั้งต้นวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้าน หนองลุมพุก จะได้รับมาจากกรมการข้าว เพื่อนำไปขยายต่อ โดยจะมีคณะกรรมการตรวจสอบรับผิดชอบการ กำกับติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่ การตรวจติดตามแปลงเพาะปลูก การตรวจ ติดตามการบริหารจัดการพื้นที่ การตรวจติดตามการเพาะปลูก ในส่วนนี้จะต้องไม่มีการตักปนพันธุ์ข้าว หาก ตรวจพบจะตัดสิทธิสมาชิกรายนั้นทันที การตรวจรับรองเมล็ดพันธุ์ข้าว ปีละ ๑ ครั้ง ตามรอบการผลิต และ การติดตามปริมาณการผลิตของสมาชิกแต่ละราย ๖.๗ กลไกการตลาด วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก จะรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสมาชิก เท่านั้น ในราคาที่ตกลงกัน โดยอ้างอิงราคาจากกรมการข้าวซึ่งสูงกว่าราคาในท้องตลาด เช่น ราคาอ้างอิงจาก กรมการข้าว กิโลกรัมละ ๒๐ บาท จะรับซื้อ ราคา ๑๙ บาท เป็นต้น สำหรับการจำหน่ายให้กับเกษตรกรทั่วไป พ่อค้าปลีก หรือองค์กรอื่น ๆ ราคาขายอ้างอิงจากกรมการข้าวเช่นเดียวกัน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพที่ผ่านการับรองมาตรฐานสิ้นค้าทางเกษตร ๓ สายพันธุ์คือ กข.๖ กข.๑๕ และขาวดอกมะลิ๑๐๕ เพื่อใช้เองและจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า “วิสาหกิจชุมชนศูนย์ ข้าวบ้านหนองลุมพุก” ๗.๒ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง และยังสามารถ กำหนดราคาสินค้าเองได้ไม่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ๗.๓ จากการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุมพุก ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้ เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของสมาชิกในกลุ่ม ๗.๔ ประชาชนในพื้นที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการปลูกข้าวปลอดสาร โดยเพิ่มจำนวนกลุ่ม เกษตรกรที่ปลูกข้าวปลอดสารในพื้นที่ได้แก่ กลุ่มนาแปลงใหญ่หมู่ หมู่ ๓ และหมู่ ๑๓ กลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ หมู่ ๔ และหมู่ ๖ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เกษตรกรลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ จำนวน ๘๓ ราย ๒) มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มีพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพไว้เพาะปลูก จำนวน ๘๓ ราย ๓) ผู้จำหน่ายค้าปลีกสินค้าคุณภาพจำหน่าย ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มนาแปลงใหญ่ หมู่ ๓ และหมู่ ๑๓ กลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์หมู่ ๔ และหมู่ ๖ มีการจัดสวัสดิการสำหรับสมาชิก ดังนี้ดังนี้(๑) สมทบกองทุน ร้อยละ ๕๐ (๒) ปันผลคืนให้กับสมาชิก ร้อยละ ๓๕ (๓) จ่ายเป็นค่าตอบแทนกรรมการ ร้อยละ ๒๐ (๔) สนับสนุน สาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน ร้อยละ ๕ (๕) หักค่าเสื่อมเพื่อการดูแลทรัพย์สิน ร้อยละ ๑๐ (๖) สวัสดิการ ทุนการศึกษาบุตรของสมาชิก ร้อยละ ๕ และ (๗) พัฒนาศักยภาพศึกษาดูงาน ร้อยละ ๕


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๐ ๒) ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการจำหน่ายสินค้าหรือการต้อนรับผู้ที่มาศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตพันธุ์ข้าวปลอดสารเคมี ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ประชาชนลดการใช้สารเคมีรักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชนตระหนักถึง อันตรายของสารเคมีหน่วยงาน อบต.ลือ มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบลลือ ๔) ด้านสุขภาพ สามารถลดเสี่ยงสัมผัสสารเคมีจากการปลูกข้าวให้กับสมาชิกในกลุ่ม และ เกษตรกรผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ๕) ด้านการเมืองการปกครอง อบต.ลือ มีการออกประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลลือ ซึ่ง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติหรือข้อตกลง ว่าด้วยการใช้สาสรเคมีไว้ชัดเจน และมีการออกข้อบัญญัติเรื่อง หลักเกณฑ์การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๔


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๑ Key Actors ครัวเรือนต้นแบบเพาะเห็ด งานเด่น การผลิตเห็ดเพื่อสร้างรายได้เสริมในครัวเรือน พื้นที่ บ้านเลขที่ ๕๕/๒ หมู่ ๔ ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายเศรษฐา บ่อแก้ว ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๔ เบอร์โทรศัพท์๐๘๘-๗๖๖๗๖๗๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน นายเศรษฐา บ่อแก้ว ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๔ บ้านสหกรณ์ (ดำรงตำแหน่ง ๒๕๕๙-๒๕๖๔) ประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร เช่น เลี้ยงโคเนื้อ ทำนา ปลูกผลไม้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำ การเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อการมีอยู่มีกิน และสร้างรายได้เสริมจากการเกษตร จึงได้ศึกษาหาความรู้ด้วย ตนเองผ่านการศึกษาดูงาน เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนลงมือปฏิบัติจริง ใน ปีพ.ศ. ๒๕๕๘ เริ่มผลิตเห็ดฟาง แบบกองเตี้ยในนาข้าว จากนั้นได้สนใจศึกษาความรู้และข้อมูล เกี่ยวกับการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว และเห็ดนางรมภูฐาน โดยการออกพื้นที่ศึกษาดู งานการผลิตเห็ดด้วยตนเอง ในพื้นที่ ต.ปลาค้าว จ.อำนาจเจริญ อ.เขมราช จ.อุบลราชธานีและ อ.ป่าติ้ว จ. ยโสธร ทำให้เกิดความมั่นใจถึงวิธีการผลิต และช่องทางการจัดจำหน่าย จึงได้เริ่มทำฟาร์มเห็ดเศรษฐกิจเต็ม รูปแบบ ในปีพ.ศ. ๒๕๖๐ มีการลงทุนโดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตร (ธกส.) เพื่อสร้างโรงเรือน สำหรับการผลิต จำนวน ๕ โรงเรือน (งบประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท/โรงเรือน) ที่มีความจุก้อนเห็ดรวม ๓๖,๐๐๐ ก้อน และซื้อเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการผลิตเห็ด เช่น เครื่องอัดก้อนเห็ด และเครื่องนึ่งก้อนเห็ด เป็นต้น โดยเห็ดที่ผลิต ได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว และเห็ดนางรมภูฐาน ในการผลิตมีภรรยา คือ นางแสงเดือน พึ่งกุศลเป็นผู้ดูแลหลัก และมีการจ้างแรงงานในพื้นที่มาช่วยในกิจกรรมผลิตเห็ดบางกิจกรรม เช่น การอัด ก้อนและนึ่งก้อนเห็ด ครั้งละ ๔-๕ คน ทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ผลผลิตที่ได้มีช่องทางการจัดจำหน่าย คือ ขายปลีกหน้าฟาร์ม ขายส่งโดยมีแม่ค้ามารับที่ฟาร์ม และการส่งที่ตลาดสดอำเภอปทุมราชวงศา นอกจากนี้มีการแปรรูปเห็ดเป็นแหนมเห็ดจำหน่ายทั้งหน้าฟาร์ม ขายส่ง และผ่านระบบออนไลน์ (facebook) โดยจัดส่งทั่วประเทศตามความต้องการของลูกค้า ทำให้มีรายได้เสริมจากการผลิตเห็ดประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท/เดือน ส่งผลให้มีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้การผลิตเห็ดจำนวนมาก ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ครอบครัวผู้ผลิตเห็ด จำนวน ๑ ครัวเรือน ๒.๒ ประชาชนในหมู่บ้านที่ได้รับการจ้างงานจำนวน ๕-๖ คน ๒.๓ ผู้บริโภคในพื้นที่ตลาดสดอำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอใกล้เคียง ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ผู้ผลิตผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี ๓.๒ การลดรายจ่าย และสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว ๓.๓ เป็นแบบอย่างในชุมชนในการทำเกษตรผสมผสานและพึ่งพาตนเอง ๓.๔ ผู้บริโภคได้บริโภคเห็ดที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑. เป็นการดำเนินการส่วนบุคคล และมีการวางแผนการลงทุนโดยการศึกษาดูงาน ๔.๒ การได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนผลิตเห็ดโดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตร (ธกส.) ๔.๓. องค์ความรู้ที่ใช้ในการผลิตเห็ด เกิดจากการศึกษาดูงาน และลงมือทำด้วยตนเอง


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๒ ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑. นายเศรษฐา บ่อแก้ว มีการศึกษาดูงานและวางแผนเพื่อผลิตเห็ดเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็น รายได้เสริมในครัวเรือน โดยมีภรรยา คือ นางแสงเดือน พึ่งกุศล ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลหลักในการผลิตเห็ด ๕.๒ มีการสร้างงานในชุมชน ๔-๕ คน/ครั้ง ๕.๓ ผลผลิตของเห็ดอยู่ที่ประมาณ ๑๐-๒๐ กก./วัน ก่อให้เกิดรายได้๘๐๐-๑,๕๐๐ บาท/วัน หรือ ประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท/เดือน ๕.๔. มีการแปรรูปแหนมเห็ดเพื่อจำหน่าย ๕.๕ มีทักษะในกระบวนการผลิตเห็ดแบบครบวงจร ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑. การศึกษาหาความรู้ด้านการผลิตเห็ดด้วยตนเอง โดยการศึกษาดูงานการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว และเห็ดนางรมภูฐาน ในพื้นที่ ต.ปลาค้าว จ.อำนาจเจริญ อ.เขมราช จ. อุบลราชธานีและ อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เพื่อให้เกิดมีความมั่นใจถึงวิธีการผลิต และช่องทางการจัดจำหน่าย ก่อน เริ่มทำฟาร์มเห็ดเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ ๖.๒. การลงมือปฏิบัติผลิตเห็ดด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การอัดก้อนเชื้อเห็ด การนึ่งฆ่าเชื้อก้อน เห็ด การหยอดเชื้อเห็ด การบ ่มเชื้อเห็ด การเปิดดอกเห็ด การดูแล รดน้ำเห็ด และการเก็บผลผลิตเพื่อ จำหน่าย การแปรรูปเป็นแหนมเห็ด และมีการจ้างงานคนในชุมชนครั้งละ ๔-๕ คน เพื่อช่วยในขั้นตอน การอัด ก้อนเชื้อเห็ด และการนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเห็ด ๖.๓. การป้องกันแมลงและเชื้อรา จะใช้วิธีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติคือ การใช้สมุนไพร ใบยาสูบ และใบสะเดา มาแช่น้ำ เป็นระยะเวลา ๓ วัน จากนั้น นำไปผสมกับน้ำ ๒๐ ลิตร แล้วฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณ โรงเรือนผลิตเห็ด โดยการฉีดพ่นจะต้องระวังไม่ให้โดนปากถุงเห็ด เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเสียหายได้ นอกจากนี้หากพบการเกิดเชื้อราบนปากถุงเห็ด สามารถใช้ปลายช้อนในการเขี่ยออก ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑. ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ๗.๒. เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สนใจทั่วไป เช่น มีผู้สนใจเข้ามาสอบถามข้อมูลการผลิตเห็ดและรายได้ จากการผลิต ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น มีเห็ดปลอดภัยบริโภคในครัวเรือนและมีสุขภาพดีและใช้ผล พลอยได้จากเศษก้อนเห็ดมาทำปุ๋ยหมัก และใช้เป็นอินทรีย์วัตถุเสริมในนาข้าว ๒) ชุมชนมีเห็ดปลอดสารพิษเพื่อการบริโภค ๓) สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนรอบข้าง ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ การสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิต การสร้างงานให้กับชุมชน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการใช้เศษก้อนเห็ดในการทำปุ๋ยหมัก และใช้เป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน ในนาข้าว ช่วยลดปริมาณขยะ ๔) ด้านสุขภาพ ทำให้สมาชิกในครอบครัว และผู้บริโภค มีสุขภาพที่ดี


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๓ Key Actors ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหมู่ ๘ งานเด่น การเกษตรแบบครบวงจร พื้นที่ หมู่ ๘ ตำบลนาหว้า อำเภอประทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายเสนีย์ ศรีบุญ ตำแหน่ง ประธานศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เบอร์โทรศัพท์๐๘๔-๔๗๘๗๙๙๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหมู่ ๘ ดำเนินการภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ๑) ความพอประมาณ ได้แก่ พอประมาณในการหารายได้๒) ความมีเหตุผล จำเป็นต้องมีการตัดสินใจอย่าง รอบคอบ ไต่ตรองถึงเหตุและคำนึงถึงผลที่จะตามมา ๓) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีคือการเตรียมตัวให้พร้อมรับ ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเกษตร บริษัทคู่ค้า การ เลิกจ้างงานในบริษัทใหญ่ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง นำสู่การสร้างระบบ อาหารของชุมชนเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนในพื้นที่ โดยข้อมูลบริบทพื้นที่บ้านโนนสำราญ หมู่ ๘ ตำบล นาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มี๒๔๓ ครัวเรือน ประชากร ๘๖๕ คน ชาย ๔๒๗ คน หญิง ๔๓๘ คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน ๒๘๕ คนหรือครัวเรือน (ร้อยละ ๕๗) ทำไร่ จำนวน ๓ คน (ร้อย ละ ๐.๖๐) ทำนา จำนวน ๒๘๒ คน (ร้อยละ ๕๖.๔๐) แหล่งน้ำธรรมชาติจำนวน ๒ แหล่ง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๑๔ คน (ร้อยละ๖.๖๓) มีเส้นทางพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจร ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้นำชุมชนได้รับนโยบายสนับสนุนโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจากพัฒนาชุมชน โดยพัฒนาชุมชนสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักให้กับสมาชิก เริ่มแรกมีสมาชิกร่วมโครงการจำนวน ๓๐ ครัวเรือน ได้ มีการจัดสรรแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ไปปลูกเพื่อสร้างอาชีพและรายได้จากการขายผัก รวมถึงปลูกเพื่อการบริโภค ในครัวเรือน พ.ศ. ๒๕๖๔ - ปัจจุบัน เกษตรกรมีความสนใจเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น จึง ขยายจำนวนสมาชิกไปทุกครัวเรือน ประกอบกับมีโครงการสนับสนุนการเกษตรแบบโคกหนองนาโมเดลเข้า มาในหมู่บ้าน จึงมีการคัดเลือกครอบครัวต้นแบบโคกหนองนาโมเดล โดยคณะกรรมการหมู่บ้านได้คัดเลือก นายเสนีย์ศรีบุญ เป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรโดยครบวงจร ให้สมาชิกในหมู่บ้านและผู้ที่สนใจ นอกพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้วิธีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์การจัดสรรพื้นที่ การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การหมักปุ๋ย ชีวภาพ และนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตน ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ สมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน ๓๐ ครัวเรือน ๒.๒ ประชาชนหมู่ ๘ จำนวน ๒๔๓ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวน ๘๖๕ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ๓.๒ เพื่อสร้างอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน ๓.๓ สร้างอาหารปลอดภัย โดยนำพืชผลทางการเกษตร มารับประทานอย่างปลอดภัย ไร้สารเคมี ๓.๓ ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในด้านเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีในการเกษตรและไม่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ ๓.๔ เพื่อศึกษาข้อมูลการจัดการความมั่นคงทางอาหารในชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ ที่จะศึกษาข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ พัฒนาชุมชนสนับสนุนเมล็ดพันธ์ ๔.๒ ศูนย์เรียนรู้โคกหนองนาโมเดล


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๔ ๔.๓ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับสถานการประกอบอาชีพ การใช้สารเคมีภาค การเกษตร สถานะสุขภาพของประชาชน และ แหล่งน้ำในพื้นที่ ๔.๔ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) ได้แก่ ทุนทางสังคมที่ดำเนินการหลัก ผู้ดำเนินการรอง ผู้สนับสนุนเกี่ยวกับการเกษตร ๔.๕ หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณโครงการทฤษฎีใหม่ (โคกหนองนาโมเดล) จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท สนับสนุนวิชาการโดยพัฒนาชุมชน จังหวัดอำนาจเจริญ ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ การผลิตปลอดสารเคมีโดยคณะกรรมการหมู่บ้านส่งเสริมให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของการทำ การเกษตรปลอดสารเคมีได้แก่ ๑) ร่วมมือกับพัฒนาชุมชนจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสาร ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้๒) รับสมัครชาวบ้านเข้าร่วมโครงการปลูกผักหมุนเวียนปลอดสารเคมีและ ๓) จัดให้มีตลาดสำหรับจำหน่ายผักปลอดสารเคมีในชุมชน ๕.๒ สร้างแหล่งเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพและการตรวจสอบคุณภาพดิน โดยผู้ใหญ่บ้านได้พัฒนา ทำน้ำหมักชีวภาพ และสอนวิธีทำน้ำหมักให้กับชาวบ้านที่สนใจนำไปทำใช้เองในพื้นที่ของตน เช่น ทำน้ำหมัก ชีวภาพไล่แมลง และแต่งตั้งหมอดินเพื่อตรวจสอบคุณภาพดินในพื้นที่ ๕.๓ พัฒนาศูนย์เรียนรู้โคกหนองนาโมเดล โดย ๑) คณะกรรมการหมู่บ้านคัดเลือกเกษตรกรที่มีความ พร้อมในการเป็นศูนย์เรียนรู้ได้แก่ มีพื้นที่อย่างน้อย ๕ ไร่ มีความสนใจในโครงการ ขยัน มีประสบการณ์การ ทำการเกษตรได้อย่างดี๒) ทำการเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน ด้วย การทำไร่นาสวนผสม เช่น ปลูกมะม่วง ผักสวนครัว พริก มะเขือ เลี้ยงปลา เป็นต้น ๓) ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ สำหรับใช้ในนาและสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง และ ๓) เปิดรับประชาชน และบุคคลที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ การทำเกษตรอินทรีย์และการทำปุ๋ยหมักเป็นต้น ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดประชุมประชาคมในหมู่บ้านรับสมัครครอบครัวเข้าร่วมโครงการจัดตั้งกรรมการสมาชิกร่วม โครงการได้มีการปลูกผักหมุนเวียนแบบปลอดสารเคมีจำนวน ๓๐ คน ผักที่ได้นำมาประกอบอาหารใน ครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชน ๖.๒ มอบหมายผู้ดำเนินการหลัก ได้แก่ นายเสนีย์ศรีบุญ ประธานกลุ่มและนางจันทร์หอม จูบศรี หมอดินหมู่บ้าน มีการติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน พร้อมให้คำแนะนำสมาชิกให้ใช้น้ำหมักชีวภาพบำรุง และไล่ศัตรูพืช เพื่อปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน ๖.๓ คัดเลือกเกษตรต้นแบบเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับชาวบ้านและคนนอกพื้นที่ที่สนใจ ๖.๔ กำหนดกฎ กติกา สมาชิกกลุ่มห้ามใช้สารเคมีในการเกษตร ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชาชนในหมู่บ้าน ๒๔๓ ครัวเรือน มีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้และหันมาใส่ใจสุขภาพมาก ขึ้นและมีความรู้ความเข้าใจในการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษมากขึ้น ๗.๒ ประชาชนมีรายได้จากการขายอาหารหรือพืชผลทางการเกษตร การปลูกผักปลอดสารเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๘๐ ๗.๓ สมาชิกกลุ่มหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีศักยภาพในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์ ให้ผู้ที่สนใจ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) กลุ่มหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง(กลุ่มผู้ผลิต) ๒) มีการนำผลผลิตมาช่วยในงานกิจกรรมในชุมชน ๓) พัฒนาชุมชนสนับสนุนเมล็ดพันธ์


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๕ ๔) เกษตรตำบลปทุมราชวงศา สนับสนุนด้านความรู้ด้านเกษตร ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีการจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง มีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกัน ๒) ด้านเศรษฐกิจ สมาชิกลดรายจ่ายสร้างรายได้บริโภคพืชผักที่ปลูกเองและการจำหน่าย ตลาดชุมชน บ้านโนนสำราญ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการทำข้อตกลงที่ชัดเจน ไม่ให้ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ที ่เป็น อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม พืช สัตว์ผู้ผลิตและผู้บริโภค ๔) ด้านสุขภาพ สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจ ห่วงใย ผู้บริโภคปลูกผักบำรุงด้วยหน้ำหมักชีวภาพ กำจัดศตรูพืชด้วยน้ำหมักสมุนไพร ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต ๕) ด้านการเมืองการปกครอง กลุ่มมีความรู้ความเข้าใจ ในการผลิตพืชผล


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๖ Key Actors กลุ่มปลูกผักอินทรีย์บ้านดอนนกยูง งานเด่น ปลูกผักอินทรีย์ พื้นที่ หมู่ ๘ บ้านดอนนกยูง ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายประยุทธ์จีนวงค์ตำแหน่ง ประธานกลุ่มผักอินทรีย์บ้านดอนนกยูง เบอร์โทรศัพท์๐๙๕-๖๘๙๐๖๙๗ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน บ้านดอนนกยูงเป็นชุมชนชนบท ตั้งอยู่ในเขตตำบลคำโพน อำเภอประทุมราชวงศา จังหวัด อำนาจเจริญ มีครัวเรือนทั้งหมดจำนวน ๑๓๒ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดจำนวน ๔๑๗ คน เพศชาย จำนวน ๒๓๔ คน (ร้อยละ ๕๖.๑๑) เพศหญิง จำนวน ๒๓๗ คน (ร้อยละ ๕๖.๘๓) มีพื้นที่เพื่อทำการเกษตรรวม จำนวน ๒,๐๐๐ ไร่ (ร้อยละ ๙๐) ของพื้นที่ทั้งหมด ได้แก่ ทำนา จำนวน ๓๑๓ คน (ร้อยละ ๗๕.๐๕) เลี้ยงสัตว์จำนวน ๑๓๒ คน (ร้อยละ๓๑.๖๕) ทำสวน จำนวน ๔๒ คน (ร้อยละ ๑๐.๐๗) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีที่ดินเป็น ของตนเอง จำนวน ๓๑๓ คน (ร้อยละ ๑๐๐) มีการรวมกลุ่มปลูกผักอินทรีย์บ้านดอนนกยุง โดยมีแนวคิดการ ดำเนินงานผลิตอาหารปลอดภัย ด้วยการปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมียึดหลักเกษตรพอเพียง มีเป้าหมายผลิตได้ เพียงพอกับความต้องการบริโภคของครัวเรือนและชุมชน สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน รวมทั้งเป็นศูนย์ เรียนรู้เกษตรผสมผสานสำหรับคนในชุมชน และผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ในพื้นที่ของ ตนเอง โดยมีเส้นทางการพัฒนา ดังนี้ พ.ศ ๒๕๖๓ มีนโยบายของเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญสนับสนุนการปลูกผักอินทรีย์โดยมีการจัดทำ โครงการปลูกผักกลางมุ้ง ดังนี้๑) สนับสนุน อุปกรณ์สร้างโรงเรือน และวัสดุสำหรับปลูกผักกลางมุ่ง โดยให้ เกษตรกรรวมกลุ่มกันอย่างน้อยจำนวน ๖ คนเพื่อปลูกผักกลางมุ้ง เกษตรจังหวัดร่วมกับภาคเอกชน “ภู ตะวัน” ได้มอบวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างโรงเรือนและวัสดุสำหรับปลูกผักให้กับทุกครัวเรือน คิดเป็นค่าใช้จ่าย ประมาณครัวเรือนละ ๙๐,๐๐๐ บาท ได้แก่ เหล็ก ผ้ายาง มุ้งลวด ปุ๋ย มูลขี้ไก่ อีเอ็ม ถังขนาด ๒๐๐ ลิตร และ แกลบดำ เป็นต้น ๒) หาตลาดจำหน่าย โดยภาคเอกชน “ไร่ภูตะวัน” จะเป็นผู้รับซื้อผักอินทรีย์ของเกษตรกร ทั้งหมด ๓) พัฒนาศักยภาพเกษตรกร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญได้จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง ปลูกผักกลางมุ้งสำหรับกลุ่มเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓ ครั้ง และจัดให้เกษตรกรไปศึกษาดู งานที่ไร่ภูตะวันก่อนดำเนินการ และ ๔) ดำเนินการปลูกผักและเก็บผลผลิตส่งขายจนถึงปัจจุบัน จำนวน ๑๓ รอบการปลูกผัก พ.ศ ๒๕๖๔ - ปัจจุบัน เนื่องจากความต้องการบริโภคผักอินทรีย์มีมากขึ้น จึงมีขยายการผลิตผัก อินทรีย์ในผักชนิดอื่น ๆ เช่น ถั่วฝักยาว มันสำประหลัง ข้าวโพด ลำไย และกล้วย เป็นต้น และมีการขยาย การตลาดเพิ่มขึ้น เช่น วางขายหน้าบ้าน หรือขายให้พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อประจำ เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่ม เกษตรกรได้เล็งเห็นประโยชน์ของการปลูกผักอินทรีย์ที่สามารถสร้างรายได้สร้างสุขภาพให้กับคนใน ครอบครัวและชุมชน ประกอบกับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอและตำบล จึงได้จัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานเพื่อให้คนในชุมชนและคนที่สนใจได้มาเรียนรู้วิธีการปลูกผักอินทรีย์เพื่อนำ กลับไปประยุกต์ใช้ในที่ดินของตนเองต่อไป ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนในพื้นที่ จำนวน ๔๑๗ คน ๒.๒ เกษตรกร จำนวน ๓๑๓ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ลดการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ๓.๒ เพิ่มรายได้ของเกษตรกร ๓.๓ การสนับสนุนอุปกรณ์วัสดุในการปลูกผักอินทรีย์ ๓.๔ มีตลาดรองรับอย่างยั่งยืน ๓.๕ ประชาชนในพื้นที่มีผักอินทรีย์บริโภคอย่างเพียงพอ และมีสุขภาพที่ดี


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๗ ๓.๖ มีแหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสานจำนวนเพิ่มขึ้น ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูล เช่น ข้อมูลครัวเรือนจากการสำรวจ จปฐ. กชช ๒ค. ข้อมูล TCNAP RECAP ข้อมูลจำนวน ผลผลิต รายรับ-รายจ่าย บัญชีวัสดุเป็นต้น ๔.๒ แผนพัฒนาตำบล สนับสนุนงบประมาณการปลูก ๔.๓ เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ ภาคเอกชน และไร่ภูตะวัน ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดทำฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์โดยสำรวจจำนวนประชากรที่ทำเกษตรทั้งหมดในพื้นที่ จำนวน เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ผู้ที่ใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ข้อมูลคุณภาพดิน แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ พันธ์พืช พันธ์สัตว์ข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มเกษตรผสมผสาน พร้อมวิเคราะห์รายได้จากการจำหน่ายผลผลิต ๕.๒ ปลูกผักกลางมุ้งและผักปลอดสารเคมีโดยการรวมกลุ่มสมาชิกปลูกผักอินทรีย์ได้ทำการปลูก ผักกลางมุ้ง ๓ ชนิด ได้แก่ ผักกรีนคอส เรดโอ๊ค และกรีโอ๊ค ส่วนพืชปลอดสารที่ปลูกนอกมุ้ง เช่น ถั่วฝักยาว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ลำไย มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และกล้วย เป็นต้น จัดพื้นที่ปลูกผักในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อความสะดวกในการช่วยเหลือกันสร้างโรงเรือน การปลูก และการเก็บผลผลิต รวมทั้งสะดวกต่อการ สื่อสารกันในกลุ่ม ๕.๓ สร้างตลาดที่ยั่งยืน โดยการทำพันธะสัญญาการขายผักกลางมุ้งไว้กับไร่ภูตะวัน การสร้าง เครือข่ายกับพ่อค้าคนกลาง เช่น ขณะนี้กำลังปลูกถั่ว เป็นต้น เกษตรกรจะประสานพ่อคนกลางได้ล่วงหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตจะมีตลาดรองรับแน่นอน และวางขายผลผลิตหน้าบ้าน โดยการเก็บผักบางส่วนมา วางขายหน้าบ้านของเกษตรกรให้กับคนในชุมชนได้บริโภคอย่างเพียงพอ ๕.๔ ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน โดยกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ได้พัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจทั้ง ในและนอกพื้นที่ได้มาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา รวมทั้งรองรับคณะศึกษาดูงาน โดยมีประธานกลุ่ม รองประธาน และสมาชิกหมุนเวียนมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน เช่น การปลูกพืชผักสลับไปกับการปลูก ต้นยางพารา เป็นต้น ๕.๕ ติดตามคุณภาพดิน โดยความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร ออกตรวจสอบคุณภาพดินให้ เหมาะสำหรับการปลูกพืช ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมสมาชิกเกษตรกรผสมผสาน โดยเกษตรจังหวัดจัดประชุมชี้แจงโครงการผักกลางมุ้ง วิธี ดำเนินงาน จัดตั้งกลุ่มปลูกผักกลางมุ้ง แต่งตั้งประธาน รองประธาน และกำหนดบทบาทหน้าที่สมาชิกกลุ่ม ๖.๒ จัดอบรมให้ความรู้สมาชิกกลุ่มจำนวน ๓ ครั้ง เกี่ยวกับการปลูกผักกลางมุ้ง ๖.๓ จัดเตรียมอุปกรณ์และสร้างโรงเรือนสำหรับปลูกผักกลางมุ้ง โดยการสนับสนุนของเกษตร จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้งบประมาณครัวเรือนละ ๙๐,๐๐๐ บาท ๖.๔ ติดตั้งระบบน้ำสำหรับใช้ในโรงเรือนผักกลางมุ้งของสมาชิกทั้ง ๖ คน ด้วยงบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเงินทุนร่วมกันของสมาชิกทั้ง ๖ ครัวเรือน ๖.๕ ดำเนินการปลูกผักกลางมุ้งเป็นรอบ ๆ ละ ๓-๔ เดือน โดยการไถดิน การเพาะกล้า การปลูกและ การเก็บผลผลิตจะเวียนปลูกไปทีละโรงเรือน และเมื่อเวลาตัดผักจะทำการตัดผักพร้อมกันทั้งโรงเรือนเพื่อ ส่งผลผลิตให้กับไร่ภูตะวัน ซึ่งสมาชิกจะช่วยกัน ส่วนค่าใช้จ่ายในการไถดินแต่ละรอบประมาณ ๕,๐๐๐ บาทต่อ ๖ โรงเรือน ๖.๖ ประสานความร่วมมือในการตรวจสอบคุณภาพดิน โดยกรมวิชาการเกษตรจะมาตรวจคุณภาพ ของดิน ๓-๔ ครั้งซึ่งดินที่มีคุณภาพคือดินร่วนปนทรายจะเหมาะสำหรับการปลูกผัก ๖.๗ ปลูกผักชนิดอื่นนอกมุ้ง เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ลำไย ข้าวโพด มันสำประหลัง ถั่วฝักยาว เป็นต้น เพื่อขายให้กับพ่อค้า วางขายหน้าบ้านให้กับคนในชุมชน และสำหรับบริโภค ๖.๘ จัดทำข้อตกลงภายในกลุ่มว่า ห้ามนำสารเคมีเข้ามาใช้ในบริเวณที่ปลูกผัก


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๘ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ สร้างรายได้จากการขายผัก ครัวเรือนละ ๑๐๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี ๗.๒ ต่อยอดอาชีพเกษตรกรรม จากเดิมที่ปลูกเพียงข้าว และยางพารา ปัจจุบันมีการปลูกผักอินทรีย์ ร่วมด้วย ๗.๓ ทำให้สภาพแวดล้อมสะอาดไม่มีมลพิษ อากาศบริสุทธิ์ ๗.๔ สร้างความเชื่อมั่น มีความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม มีความยั่งยืน โดยกลุ่มมีการดำเนินการ ปลูกผักมาแล้ว ๑๓ รอบ โดย รอบที่ ๑-๔ ผลผลิตยังไม่มีกำไร และเริ่มมีกำไรตั้งแต่รอบที่ ๕ มาจนถึงปัจจุบัน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพดีได้บริโภคอาหารปลอดภัยจากสารเคมี ๒) สมาชิกกลุ่มมีความเป็นอยู่ที่ดีมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความร่วมมือในการทำงาน ๓) สมาชิกกลุ่มได้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มความเชี่ยวชาญในอาชีพ จากการเป็นวิทยากรถ่ายทอด ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ และเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน สมาชิกกลุ ่มได้พัฒนาศักยภาพด้วยการเป็น วิทยากรถ่ายทอดความรู้เกษตรผสมผสาน ๒) ด้านเศรษฐกิจ รายได้เสริมจากการจำหน่ายผักปลอดสารเคมีและลดรายจ่ายจากการปลูก ผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน และลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ใช้สารเคมี ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนมีผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารเคมีสำหรับบริโภค ลดการเกิด โรคจากสารเคมี ๕) ด้านการเมืองการปกครอง มีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน ในการจัดสรรงบประมาณพัฒนา เกษตรอินทรีย์ลงในแผนพัฒนาท้องถิ่น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๒๙ Key Actors กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัย งานเด่น การพัฒนาเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะอินทรีย์อำเภอปทุมราชวงศา พื้นที่ บ้านสนามชัย หมู่ ๘ ตำบลโนนงาม อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ วิทยากร นายประเสริฐ ทำความชอบ ตำแหน่ง ประธานกลุ่มแพะแปลงใหญ่ตำบลโนนงาม เบอร์โทรศัพท์๐๙๐-๕๘๙๖๖๖๕ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลโนนงามมีจำนวน ๘ หมู่บ้าน มีจำนวนทั้งหมด ๔,๐๐๒ คน จำนวน ๑,๒๘๓ ครัวเรือน มีผู้ที่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน ๓,๙๐๐ คน แบ่งเป็น ทำนา จำนวน ๓,๕๐๐ คน (ร้อยละ ๘๗.๔๗ ) ทำสวน จำนวน ๑,๐๐๐ คน (ร้อยละ ๒๔.๙) ประมง จำนวน ๑,๐๐๐ คน (ร้อยละ ๒๔.๙) เพื่อการบริโภค/อุปโภค จำนวน ๑,๐๐๐ ครัวเรือน (ร้อยละ ๒๔.๙ ) เพื่อการจำหน่าย จำนวน ๑ ครัวเรือน ประเภทกิจกรรมที่ทำเพื่อ ผลิตอาหารปลอดภัยมีการทำปุยหมัก จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน (ร้อยละ ๕) ทำเกษตรอินทรีย์และลดปริมาณ การใช้สารเคมีจำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน (ร้อยละ ๕) ป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี๒๐๐ ครัวเรือน (ร้อย ละ ๕) ประชาชนในพื้นที่ตำบลโนนงามไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูทำนา และประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ พ.ศ. ๒๕๕๗ นายประเสริฐ ทำความชอบ มีความสนใจทำอาชีพเสริมเลี้ยงแพะ โดยเริ่มจากการสร้าง โรงเรือนขนาดเล็กเป็นของตนเอง โดยมีแม่แพะ จำนวน ๒๐ ตัว ต้นทุนตัวละ ๔,๐๐๐ บาท และได้ดำเนินการ ซื้อแม่แพะเพิ่ม จำนวน ๒๐ ตัว และเข้ารับการอบรมการเลี้ยงแพะโดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงแพะ และการฉีดยาแพะ เป็นต้น พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้เข้าร่วมโครงการปศุสัตว์ในการเตรียมที่นาไม่เหมาะสม ได้เชิญชวนกลุ่มผู้ที่สนใจเลี้ยง แพะ จำนวน ๑๐ คน เพื่อกู้ยืมเงินทุนจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๒.๕ ล้าน ในการเลี้ยง แพะ คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๒ บาทต่อปีโดยแบ่งเงินกู้ให้กับสมาชิกคนละ ๒๕๐,๐๐๐ บาท โดยสมาชิกนำเงินไป ซื้อแม่พันธุ์แพะ จำนวน ๓๐ ตัว และพ่อพันธุ์แพะ จำนวน ๑ ตัว และจัดทำโรงเรือนสำหรับเลี้ยงแพะ จำนวน ๑ หลัง ราคาโรงเรือน หลังละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๕๙ นายประเสริฐ ทำความชอบได้เป็นแกนนำจัดตั้งเครือข ่ายผู้เลี้ยง แพะ แกะ จังหวัด อำนาจเจริญ และขยายไปอำเภอลืออำนาจ ชานุมาน ปทุมราช อำเภอละ ๑๐ คน ทั้งสามอำเภอกู้เงินทุน เดียวกัน กลุ่มละ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท มีสมาชิกกลุ่มเพิ่มเป็น จำนวน ๓๕ คน พ.ศ. ๒๕๖๑ จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ “กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้าน สนามชัย” โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนจังหวัดอำนาจเจริญเข้าประกวดระดับเขต ๓ ปศุสัตว์ได้รับรางวัล รองชนะเลิศ พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยจัดซื้อแม่พันธุ์แพะ จำนวน ๒๕๐ ตัว และพ่อพันธุ์จำนวน ๒๐ ตัว เดิมมีต้นทุน แม่พันธุ์ แพะ ตัวละ ๖,๕๐๐ บาท และพ่อพันธุ์แพะ ตัวละ ๑๕,๐๐๐ บาท เงินที่เหลือจากการซื้อแพะมีการจัดซื้อ โปรเจคเตอร์และเครื่องผสมอาหาร TMR มีสมาชิกเพิ่มจากอำเภอปทุมราช จำนวน ๓๕ ราย ได้รับเงินอุดหนุน จากรัฐบาล และจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงแพะตำบลขึ้นมา โดยใช้ชื่อกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัย ร่วมกับ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะในอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัย มีการทำงาน ร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้เลี้ยงแพะในชุมชน ในลักษณะการเชื่อมโยงเป็นการสร้างเครือข่ายกลุ่มเลี้ยงแพะจาก ระดับหมู่บ้านจนไปถึงระดับจังหวัด และ เนื ่องจากการที ่องค์การบริหารส ่วนตำบลโนนงามเล็งเห็น ความสำคัญของการผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนตำบลโนนงาม จึงได้เข้ามาสนับสนุนและกระตุ้นทางกลุ่ม เพื่อให้เกิดพัฒนาตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ในชื่อสภาพพื้นที่ ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับในการเลี้ยง สัตว์เครือข่ายเลี้ยงแพะกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัยเพื่อต่อยอดการทำงานในลักษณะการถ่ายทอด ความรู้เรื่องการเลี้ยงแพะอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังส่งเสริม สนับสนุนให้มีการเลี้ยงแพะแบบ อินทรีย์ที่ดีต่อผู้บริโภค มีอัตราในการรอดที่สูงเป็นการขยายงานไปให้เป็นที่รู้จักจากทั้งภายในและภายนอก เพิ่มมากขึ้นเป็นการสร้างอาชีพ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับคนในชุมชนต่อไป ปัจจุบันมีสมาชิก ๗๕ คนและ เป็นจดสมาชิกแปลงใหญ่ มีการนัดพ่อค้าคนกลางจากจังหวัดอื่น ๆ มาขายรวมกัน โดยจะมีการนัดหมายซื้อ ขายปีละ ๒ ครั้ง สมาชิกขายแพะได้ประมาณ ๒๐๐ ตัวต่อปี หักเข้ากองทุนแพะแปลงใหญ่ ตัวละ ๒๐ บาท


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๐ เพื่อจัดเป็นสวัสดิการกลุ่ม เช่น น้ำดื่ม ค่าอาหาร สวัสดิการช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต ศพละ ๑,๐๐๐ บาท ปัจจุบันมีการแปรรูปแพะ เช่น ส้มแพะ เนื้อฮ่องเต้ต้มซี่โครงแพะ และลูกชิ้นแพะ เป็นต้น ทำให้สมาชิกจะมี รายได้ประมาณปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท/คน นอกจากนี้ปัจจุบันมีเครือข่ายระดับจังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานีศรีสะ เกษ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สุรินทร์ที่มารวมตัวกันเพื่อขายแพะ ณ “กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัย” ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ กลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๔,๐๐๒ คน ๒.๒ กลุ่มผู้ผลิต ได้แก่ ๑) กลุ่มอาชีพทางการเกษตรในชุมชน และ ๒) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะ บ้านสนามชัย จำนวน ๓๕ คน ๒.๓ กลุ่มสนับสนุน ได้แก่ กลุ่มผู้รับซื้อแพะ จำนวน ๔ ราย ๒.๔ กลุ่มสนับสนุนด้านความรู้และเทคโนโลยีได้แก่ ปศุสัตว์อำเภอ เกษตรอำเภอ โรงพยาบาลปทุม ราชวงศา จำนวน ๔ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ มีครัวเรือนเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเพิ่มเป็น ๒๕ ครัวเรือน มีแกนนำทางด้านการผลิตแพะอินทรีย์ เพิ่มขึ้น ๕๐ คน ปัจจุบันการเลี้ยงแพะไม่ได้แพร่หลาย จึงต้องการให้เกิดแกนนำเรื่องการเลี้ยงแพะเพิ่มขึ้น ๓.๒ เกิดแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงแพะอินทรีย์ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั้ง ภายในและภายนอกข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๓.๓ ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ใช้น้ำหมักลูกยอและบอระเพ็ดใส่น้ำให้แพะกิน เพื่อเป็นยาถ่าย และยาบำรุงแพะ ๓.๔ เพิ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จัดตั้งกองทุนและสวัสดิการ การเพิ่มรายได้การลด รายจ่าย การลดปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต เป็นต้น ๓.๕ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีโดยนำขี้แพะมาเป็นปุ๋ยในนา ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลที่เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัยนำมาใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการผลิตและการเข้าถึงและการกระจายอาหาร ได้แก่ จำนวนครัวเรือนที่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมง เป็นต้น ข้อมูลการ ใช้สารเคมีในพื้นที่ จำนวนผู้ต้องการความช่วยเหลือ ที่ไม่สามารถจัดหาอาหาร ปรุงหรือซื้อวัตถุดิบได้จำนวนผู้ จำหน่ายสินค้าทั้งแบบประจำและแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น ๔.๒ แหล่งข้อมูลที่เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัยนำข้อมูลมาจากข้อมูลระบบข้อมูล ตำบล (TCNAP) และข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) ซึ่งเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นจากการถอดบทเรียนจาก วิทยากรแหล่งเรียนรู้และยังมีข้อมูลจาก แหล่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบอาหารชุมชน ข้อมูล จปฐ. กชช.๒ค หน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ เช่น รพ.สต. เป็นต้น ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ การพัฒนากระบวนการผลิต ได้แก่ ๑) สำรวจและจัดทำข้อมูลเกษตรของสมาชิกแพะแปลงใหญ่ เช่น พื้นที่การเกษตร ปัญหา ความต้องการของสมาชิก เป็นต้น ๒) การพัฒนาทักษะและเทคนิคระบบ การเกษตรมีการปลูกหญ้าปลอดสารเคมีใช้น้ำหมักชีวภาพ และขี้แพะในการปลูกหญ้า มีการปรับปรุงบำรุง ดินด้วยการใช้ขี้แพะบำรุงดิน และ ๓) การคัดแยกและพัฒนาพันธุ์สัตว์โดยมีการพัฒนาพันธุ์แพะด้วยการผสม เทียมแพะจากศูนย์ผสมเทียมแพะจังหวัดอุบลราชธานีและศูนย์บำรุงพันธุ์จังหวัดอุบลราชธานีและมีการคัด แยกพันธุ์แพะมีจำนวน ๓ สายพันธุ์มีพันธุ์เนื้อ พันธุ์นม และพันธุ์ผสม ปรับปรุงบำรุงพันธุ์ให้แพะมีความ แข็งแรง ๕.๒ การเข้าถึงและการกระจายอาหาร โดยส ่งเสริมการแปรรูปและการถนอมอาหารในระดับ ครัวเรือน เช่นกลุ่มแปรรูปเนื้อแพะแห้ง (เนื้อฮ่องเต้) และ ส้มแพะ เป็นต้น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๑ ๕.๓ การบริหารจัดการทุนและการจัดระบบสวัสดิการ จัดตั้งกองทุนแพะแปลงใหญ่ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท โดยจัดสวัสดิการสำหรับสมาชิกกรณีเสียชีวิตคนละ ๑,๐๐๐ บาท และจัดทำธนาคารแพะให้ สมาชิกนำแพะไปเลี้ยงและคืนเป็นลูกแพะ ๕.๔ การจัดตั้งกฎระเบียบ กติกาสมาชิก โดยการทำธนาคารแพะ เช่น นำแพะไป ๑๑ ตัว ต้องขุนแพะ คืน จำนวน ๑๕ ตัว เป็นต้น ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ปศุสัตว์อำเภอปทุมราชวงศา ได้สำรวจข้อมูลผู้เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ ได้รับทราบข้อมูลการ เลี้ยงแพะของนายประเสริฐ ทำความชอบ และเล็งเห็นศักยภาพจึงสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มสมาชิก เพื่อการ เข้าถึงแหล่งทุนกู้ยืมเงินจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญในการพัฒนาอาชีพกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ จากนั้นมีการประกาศรับสมัครสมาชิก และพิจารณาคัดเลือกสมาชิกจากคุณสมบัติของผู้สมาชิกแพะแปลง ใหญ่จากความพร้อมของครอบครัว ได้แก่ ความรู้พื้นฐานในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง แรงงาน และความ เหมาะสมของพื้นที่ในการเลี้ยงแพะ เพื่อรับทุนสนับสนุน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท จากโครงการของสำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ ๖.๒ มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่สมาชิก โดยปศุสัตว์อำเภอปทุมราชวงศา ในความรู้ต่าง ๆ เช่น วิธีการ ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์การทำอาหารสัตว์การทำวัคซีน การฉีดยาสัตว์การถ่ายพยาธินอกจากนี้ยังมีศูนย์วิจัย และพัฒนาอาหารสัตว์อำนาจเจริญมาจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำอาหาร TMR ให้กับสมาชิกในกลุ่ม ๖.๓ มีการจัดอบรมโดยสมาชิกในกลุ่มเอง นำโดยประธานกลุ่มและสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ ความรู้เฉพาะด้านที่สมาชิกแต่ละคนยังไม่มีความชำนาญ เช่น การทำอาหาร TMR วิธีการฉีดยา การทำคลอด การวินิจฉัยโรคและการรักษาเมื่อสัตว์ป่วย เป็นต้น ๖.๔ มีการจัดตั้งคณะกรรมการทำงานของกลุ่ม โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางการ ทำงานร่วมกัน ๖.๕ เกิดการบูรณาการความร่วมในการพัฒนาพื้นที่ฟาร์มแพะให้มีประสิทธิภาพ โดย กรมพัฒนา ที่ดิน ให้การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนที่นา เพื่อทำโคกหนองนาในพื้นที่ฟาร์มของเกษตรกร ๖.๖ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ จากสมทบเงินจากการขายแพะตัวละ ๒๐ บาท เพื่อจัดเป็นสวัสดิการกลุ่ม เช่น น้ำดื่ม ค่าอาหาร สวัสดิการช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต ศพละ ๑,๐๐๐ บาท ๖.๗ มีการกระบวนการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในกลุ่มผ่านการ การอบรม การศึกษาดูงาน เรียนรู้ จากการปฏิบัติจริงจากสมาชิกในกลุ่ม และเป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงแพะให้กับผู้สนใจในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น อำนาจเจริญ อุบลราชธานีร้อยเอ็ด เป็นต้น ๖.๘ มีการพัฒนาฟาร์มเลี้ยงแพะที่มีมาตรฐานของสมาชิกในกลุ่มจนได้รับการรับรองมาตรฐาน Good Farming Management (GFM) จากกรมปศุสัตว์และขณะนี้อยู ่ระหว ่างดำเนินการของมาตรฐานฟาร์ม Good Agricultural Practices (GAP) จำนวน ๑๙ ราย ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑. เกิดพื้นที่เลี้ยงแพะขนาด ๓ ไร่ ในตำบลโนนงาม เกิดแกนนำที่มีความรู้ด้านการเลี้ยงแพะ ๑๕ คน จาก ๑๐ ครัวเรือน ๗.๒ เกิดเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานและกิจกรรมการเข้าถึง การแปรรูปและการถนอมอาหารใน ระดับครัวเรือน เช่นกลุ่มแปรรูปเนื้อแพะแห้ง (เนื้อฮ่องเต้) และ ส้มแพะ เป็นต้น ๗.๓ เกิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านอาหารชุมชนและเศรษฐกิจชุมชนขึ้น เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๗.๔ เกิดกลุ่มอาชีพทางการเกษตรในชุมชน เช่น กลุ่มแปรรูป กลุ่มผู้ผลิตในครัวเรือน เป็นต้น ทำให้มี รายได้เพิ่มขึ้น ครัวเรือนละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท/ปีมีสวัสดิการสำหรับสมาชิก ๗.๕ เป็นแหล่งศึกษาดูงานและเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโนนงาม และนโยบายของชุมชน จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นและหลากหลายขึ้น เครือข่ายการทำงาน การขยายพื้นที่ไปทุกหมู่บ้านในตำบลโนนงาม และอำเภอปทุมราชวงศา เป็นต้น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๒ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เกิดพื้นที่เลี้ยงแพะขนาด ๓ ไร่ ในตำบลโนนงาม เกิดแกนนำที่มีความรู้ด้านการเลี้ยงแพะ ๓๕ คน จาก ครัวเรือน เกิดเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานและกิจกรรมในตำบลโนนงาม จำนวน ๑ เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายแพะบ้านสนามชัย ๒) เกิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านอาหารชุมชนและเศรษฐกิจชุมชนขึ้น เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ระหว่างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกต่อไป ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีการรวมกลุ่มเครือข่ายอาหารปลอดภัยตำบลโนนงาม โดยมีการทำงานเป็น ระบบเครือข่าย ๒) ด้านเศรษฐกิจ สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรในพื้นที่โดยขยายผลสู่ตลาด ภายในและภายนอก ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีจนถึงปราศจากสารเคมี ๔) ด้านสุขภาพด้านสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยง ส่งเสริมให้ชุมชนได้มีอาหารปลอดภัยบริโภค ๕) ด้านการเมืองการปกครอง เมื่อแกนนำเกษตรกรในชุมชน ตำบลโนนงามร่วมมือและเข้าร่วม เป็นเครือข่ายอาหารปลอดภัย ทำให้ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วม การกำหนด กฎ กติกา ในการทำงานเพื่อสร้าง แนวคิดใหม่ๆในการขับเคลื่อน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๓ ประเด็นที่ ๒ การจัดการระบบนิเวศชุมชน และลดโลกร้อน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๔ Key Actors กลุ่มธนาคารขยะบ้านโคกเจริญ งานเด่น การจัดการขยะแบบครบวงจร พื้นที่ บ้านโคกเจริญ ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายจำปีเรืองวงศ์ตำแหน่ง ประธานศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะที่ต้นทาง เบอร์โทรศัพท์๐๖๑-๐๕๑๗๖๙๑ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย ด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการใช้แนวทางใหม่ ให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ มีความรู้สึกตระหนักถึง ปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะ ปัญหาสิ่งแวดล้อมใน ชุมชน โดยเฉพาะบทบาทในการบริหารจัดการขยะในชุมชนของตนเองเพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคน ในชุมชน โดยแนวคิดการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน เน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการและแก้ไขปัญหาของชุมชน มีการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ทั้งวัสดุและขยะมูลฝอยอินทรีย์และเหลือขยะมูลฝอยที่นำไปทำลายน้อยลง สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจ พอเพียง เพราะเป็นการส่งเสริมการให้ชุมชนใช้ทรัพยากรที่เกิดขึ้นในชุมชนให้มากที่สุด การจัดการปัญหาขยะ ในครัวเรือนปัจจุบันมีการจัดการหลายวิธีจำแนกได้ดังนี้การจัดให้มีภาชนะรองรับขยะ จำนวน ๑,๑๕๖ ครัวเรือน (ร้อยละ ๗๙.๗๘) การเผาขยะ จำนวน ๙๙๗ ครัวเรือน (ร้อยละ ๖๘.๘๑) การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง จำนวน ๕๖๐ ครัวเรือน (ร้อยละ ๓๘.๖๕) การฝังขยะ จำนวน ๔๑๕ ครัวเรือน (ร้อยละ ๒๘.๖๔) การทำปุ๋ยหมัก จำนวน ๓๕๗ ครัวเรือน (ร้อยละ ๒๔.๖๔) การนำขยะไปทิ้งที่อื่น จำนวน ๓๑๘ ครัวเรือน (ร้อยละ ๒๑.๙๕) การ ใช้บริการเก็บขยะในพื้นที่ ๓๑๗ ครัวเรือน (ร้อยละ ๒๑.๘๘) การทำน้ำหมักชีวภาพ จำนวน ๒๕๙ ครัวเรือน (ร้อยละ ๑๗.๘๗) ลดการใช้ถุงพลาสติก โฟม และวัสดุที่ทำให้เกิดขยะ จำนวน ๒๓๕ ครัวเรือน (ร้อยละ ๑๖.๒๒) การใช้ซ้ำ จำนวน ๒๐๘ ครัวเรือน (ร้อยละ ๑๔.๓๕) และการแปรรูปใช้ใหม่ จำนวน ๑๖๖ ครัวเรือน (ร้อยละ ๑๑.๔๖) ตามลำดับ การจัดการขยะของกลุ่มธนาคารขยะบ้านโคกเจริญ มีเส้นทางพัฒนา ดังนี้ พ.ศ ๒๕๖๐ เนื่องจากในเขตเทศบาลตำบลนาป่าแซงมีขยะล้น มีการกำจัดขยะไม่เหมาะสม ขาดการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ เทศบาลตำบลนาป่าแซงในฐานนะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบต่อ ประชาชน จึงได้จัดประชุมประชาคมเพื่อสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนร่วมกัน พบว่าขยะเป็น ปัญหาที่ถูกยกให้เป็นปัญหาที่ต้องจัดการ ดังนั้นจึงมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดและ คัดแยกขยะมูลฝอย กำหนดกิจกรรมในการจัดการขยะแบบครบวงจร เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนและเพื่อแก้ไขปัญหาขยะนชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและประสบ ผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะประชาชนในชุมชนเองที ่ต้องมี จิตสำนึกร่วมกันในการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามที่คาดหวังได้อย่างเต็มที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ เทศบาลตำบลนาป่าแซงได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการกลุ่มธนาคารขยะบ้านโคกเจริญ เพื่อทำให้ชุมชนปลอดถังขยะ มีทัศนียภาพที่สวยงาม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดโดยการ คัดแยกขยะบ้านเรือนตนเอง ผลปรากฏว่าประชาชนให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะเป็นอย่างดีบริเวณผิว ถนน หน้าบ้านสะอาดมากขึ้น พ.ศ. ๒๕๖๒ เทศบาลตำบลนาป่าแซงเข้าร่วมโครงการประกวดชุมชนปลอดขยะระดับประเทศ (Zero Waste) ประจำปี๒๕๖๒ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ถวายพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารีตามโครงการประกวดชุมชนปลอดขยะระดับประเทศ (Zero Waste) ประจำปี๒๕๖๒ กลายเป็นชุมชน ตัวอย่าง เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานให้กับชุมชนอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๖๓ - ปัจจุบัน มีการขยายผลการจัดการขยะ จึงได้พัฒนานวัตกรรม ๒ ตัด ๔ ต่อ คือ เครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร และคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้ อย่างถูกวิธีโดยให้มีกระบวนการคัดแยก/กระบวนการจัดการ ขยะอินทรีย์ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะ ทั่วไป เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน และให้มีชุมชนนำร่องในการคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อใช้เป็นต้นแบบใน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๕ การขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป ซึ่งนวัตกรรม ๒ ตัด ๔ ต่อ ประกอบด้วย ตัด ๑ ตัดวงจรถุงพลาสติก ตัด ๒ ตัด วงจรขยะอันตราย ต่อ ๑ การคัดแยกขยะรีไซเคิล ต่อ ๒ การจัดการขยะอินทรีย์ต่อ ๓ สิ่งประดิษฐ์จากขยะรี ไซเคิล คือ การแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นของใช้เช่น กระเป๋าจากซองกาแฟ ก่อให้เกิดกลุ่มอาชีพคือ กลุ่มทำ กระเป๋าจากซองกาแฟ ต่อ ๔ การเลี้ยงไส้เดือนดินในคอนโด และนำใช้นวัตกรรมนี้มาจนถึงปัจจุบัน ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาป่าแซง ๑๐ หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด จำนวน ๔,๗๙๒ คน ๒.๒ สมาชิกกลุ่มธนาคารขยะบ้านโคกเจริญ จำนวน ๗๕ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะและนำขยะมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ๓.๒ ประชาชนใส่ใจในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ๓.๓ ประชาชนให้ความสนใจในการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ ๓.๔ สร้างอาชีพเสริมให้กับประชาชน โดยการนำเอาขยะรีไซเคิลมาแปรรูป ๓.๕ มีเครือข่ายครอบครัวต้นแบบอย่างน้อยหมู่บ้านละ ๗ ครอบครัว จำนวน ๗๐ ครอบครัว ๓.๖ ปริมาณขยะในชุมชนลดน้อยลงประมาณร้อยละ ๓๐ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ เงินทุนและงบประมาณ ได้จากกองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกองทุนไทนาป่า แซง ๔.๒ แผนพัฒนากลุ่มธนาคารขยะบ้านโคกเจริญ แผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อของบประมาณจากท้องถิ่น ๔.๓ ทุนทางสังคม ได้แก่ คณะทำงานไทนาป่าแซงบ่ถิ่มกัน กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาป่าแซง ผู้นำท้องที่ ผู้นำถ้องถิ่น อสม. อาสาสมัครคนพิการ ร่วมกันพัฒนาและมีบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ๔.๔ การทำงานร่วมกับหน่วยงานและองค์กรภายนอก ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น มีความร่วมมือในการ ทำงาน มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในพื้นที่ ๔.๕ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลปริมาณขยะ และข้อมูลการจัดการ ขยะ เป็นต้น ๔.๖ ข้อมูลการวิจัยชุชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ดำเนินหลักและทุนทางสังคมที่หนุนเสริม การดำเนินงานจัดการขยะ ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้จัดการขยะที่ต้นทางบ้านโคกเจริญเพื่อเรียนรู้และเพื่อให้ชุมชนปลอดถังขยะ มี ทัศนียภาพที่สวยงาม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาด ๕.๒ พัฒนากระบวนการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนอย่างถูกวิธีมีการนำร่องในการคัดแยกขยะ จากต้นทางเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่ เรียกว่า “นวัตกรรม ๒ ตัด ๔ ต่อ” คือ เครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร และคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้ อย่างถูกวิธีโดยให้มีกระบวนการคัดแยก/กระบวนการจัดการ ขยะอินทรีย์ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะ ทั่วไป เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน และให้มีชุมชนนำร่องในการคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อใช้เป็นต้นแบบใน การขยายผลสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งนวัตกรรม ๒ ตัด ๔ ต่อ ประกอบด้วย ๑) ตัด ๑ ตัดวงจรถุงพลาสติก คือ การลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติกและโฟม ตลอดจนการนำ ถุงพลาสติกที่ใช้แล้วมาล้างทำความสะอาด โดยใช้หลักการที่ว่า “เชือก ๑ วา ไม้หนีบผ้า ๓ อัน” ซึ ่งก็คือ อุปกรณ์ในการตากถุงพลาสติกที่ล้างทำความสะอาดแล้ว และรวบรวมเพื่อจำหน่ายให้กับกองทุนทองคำขาว เทศบาลตำบลพนา


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๖ ๒) ตัด ๒ ตัดวงจรขยะอันตราย คือ การจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายในชุมชน วัด และโรงเรียน เพื่อรวบรวมขยะอันตรายไม่ให้ปะปนกับขยะทั่วไปที่ส่งกำจัด ๓) ต่อ ๑ การคัดแยกขยะรีไซเคิล คือ การคัดแยกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ใหม่ได้เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ และ กระป๋องอะลูมิเนียม เป็นต้น รวบรวมและจำหน่ายให้กับ กลุ่มธนาคารขยะ เพื่อส่งเสริมการออมต่อไป ๓) ต่อ ๒ การจัดการขยะอินทรีย์โดย การผลิตน้ำยาล้างจาน คือ การคัดแยกเอาขยะอินทรีย์มา เป็นส่วนประกอบการทำน้ำยาล้างจาน ผสมหัวเชื้ออีเอ็ม และการทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ใน ครัวเรือน ก่อเกิดเป็นกลุ่มน้ำหมักชีวภาพ ที่นอกจากจะเป็นการกำจัดขยะอินทรีย์แล้ว ยังเป็นการลดรายจ่าย และลดใช้สารเคมีอีกด้วย ๔) ต่อ ๓ สิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล คือ การแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นของใช้เช่น กระเป๋าจาก ซองกาแฟ ก่อให้เกิดกลุ่มอาชีพคือ กลุ่มทำกระเป๋าจากซองกาแฟ ๕) ต่อ ๔ การเลี้ยงไส้เดือนดินในคอนโด คือ การจัดการขยะอินทรีย์โดยการนำไปเลี้ยงไส้เดือน ดิน ในลิ้นชักพลาสติก ปัจจุบันมีหลายครอบครัวที่มีการเลี้ยงไส้เดือนดินในครัวเรือน เพื่อใช้ประโยชน์จาก ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ มูลไส้เดือน น้ำหมัก เป็นต้น ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุม จัดตั้งกลุ่มธนาคารขยะบ้านโคกเจริญ แต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบ และวางแผนการดำเนินงาน ๖.๒ ดำเนินการนำร่องการคัดแยกขยะ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แลกเปลี่ยนแนวคิด กระบวนการ วิธีการคัดแยกขยะและการเพิ่มมูลค่าจากขยะรีไซเคิล สรุปผลการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาขยะภายในชุมชน ๖.๓ ออกแบบและสร้างนวัตกรรมการจัดการขยะ ๒ ตัด ๔ ต่อ และสร้างการเรียนรู้ทุกหมู่บ้าน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ให้ท้องที่ ท้องถิ่นหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนใช้ฐานข้อมูล และนำไปใช้ประกอบการแก้ไข ปัญหาและต่อยอดการพัฒนา ๗.๒ แก้ไขปัญหาเรื่องขยะในชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและประสบความสำเร็จ เพื่อสะท้อน ปัญหาและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา ออกแบบและสร้างแนวทางในการจัดการปัญหาร่วมกัน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ชุมชนสามารถคัดแยกขยะมูลฝอยโดยเริ่มต้นที่ครัวเรือน ซึ่งเกิดการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน และการนำใช้ ประโยชน์จากขยะ จนก่อเกิดรายได้ให้กับครัวเรือนและสมาชิกกลุ่ม ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เกิดการเกื้อกูลในชุมชน เกิดสวัสดิการของคน ในชุมชน เกิดอาสาสมัครด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพคน ๒) ด้านเศรษฐกิจ เกิดรายได้จากการขายขยะ ขายมูลไส้เดือน ลดรายจ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมี/ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพราะมีน้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน และสร้างหลักประกันให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมใน ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ความเป็นเจ้าของอย่างเท่าเทียมกัน ๓) ด้านสุขภาพ ประชาชนรู้วิธีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยจากปัญหาขยะ เช่น ลด อันตรายจากขยะอันตรายจำพวกหลอดไฟ แบตเตอรี่ ฯลฯ ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพในเบื้องต้น และการ จัดการทำความสะอาดชุมชนยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ๔) ด้านสภาวะแวดล้อม เกิดรูปแบบในการบริหารจัดการขยะ ลดปริมาณขยะ ลดต้นทุนในการ บริหารจัดการขยะ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ๕) ด้านการเมืองการปกครอง เกิดการร่วมมือร่วมใจจัดการขยะในชุมชน โดยผ่านกลไกที่เป็นกฎ กติกา และข้อตกลงในการจัดการขยะ


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๗ Key Actors เทศบาลตำบลห้วย งานเด่น ลดขยะ ลดแพร่เชื้อ ด้วยกลไกชุมชน พื้นที่ เทศบาลตำบลห้วย วิทยากร นางสาวสุมาลีผิวเงิน ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายปกครอง เบอร์โทรศัพท์๐๙๕-๖๒๑๗๐๖ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การจัดการขยะของเทศบาลตำบลห้วยดำเนินการภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน อาศัย ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ องค์กรท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน และภาคประชาชน เป็นกลไกขับเคลื่อนงานจัดการขยะต้น ทาง กลางทาง ปลายทาง ข้อมูลบริบทตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ โดยประมาณ ๖๑ ตารางกิโลเมตร จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน ๑,๙๐๘ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวน ๕,๒๔๘ คน มีเส้นทางพัฒนาการจัดการขยะดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้มีนโยบายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน ให้เป็นสังคมที่น่าอยู่ โดยร่วมกับชุมชนในการขับเคลื่อนที่จะพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะครบ ๔ มิติทั้งทางกาย ใจ สังคมและปัญญานั้น เพื่อร่วมสร้างสรรค์ชุมชน และท้องถิ่นให้น่าอยู่โดยพื้นที่เป้าหมายคือ บ้านนาผาง หมู่ ๒ และหมู่ ๖ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ และได้ทำการสำรวจปัญหาในหมู่บ้านจากเวทีประชาคมหมู่บ้านพบว่าปัญหาขยะล้นเป็น ปัญหาอันดับต้น ๆ ที่ชุมชนต้องการแก้ไข จึงมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน สถานศึกษาให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นกลวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะทำ ให้เกิดจิตใต้สำนึกในการแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมจนสามารถเป็นตัวอย่างแก่ในชุมชนได้ซึ่งหากทุก องค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยร่วมกันหน่วยงานของรัฐโดยหาแนวทางแก้ไขกลวิธีที่จะ ใช้เพื่อให้เกิดผลเป็นที่หน้าพอใจก็จะทำให้ประสบผลสำเร็วและการดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือในชุมชน ทำให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น พ.ศ. ๒๕๖๕ เทศบาลตำบลห้วยได้เล็งเห็นปัญหาขยะที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำธนาคารขยะเพื่อพัฒนา ความรู้ในการจัดการขยะ และการรักษาสิ่งแวดล้อม ภายในครัวเรือนและชุมชนอีกทั้งเพื่อเป็นการช่วยลดขยะ มูลฝอย เสริมสร้างความรู้ให้ประชาชนในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและเหมาะสม ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชาชนบ้านนาผาง หมู่ ๒ และ หมู่ ๖ จำนวน ๙๒๑ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ประชาชนสามารถคัดแยกขยะในครัวเรือน ลดขยะต้นทาง สร้างแหล่งอาหารชุมชน สร้างสุขภาพ ทุกคนแข็งแรง ๓.๒ ลดการแพร่กระจาย สร้างเครือข่ายควบคุมโรค โดยชุมชน ๓.๓ สร้างความสมัครสมานสามัคคีสร้างพื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) พ.ศ. ๒๕๖๔ เกี่ยวกับข้อมูล ประชากร ข้อมูลการจัดการ สิ่งแวดล้อม ที่มีปริมาณขยะ ร้อยละ ๙๙.๒๙ ๔.๒ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ดำเนินการจัดการขยะ ๔.๓ แผนพัฒนาตำบล และแผนพัฒนาท้องถิ่น ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดอบรมความรู้การคัดแยกขยะต้นทาง จำนวน ๑ รุ่น เป้าหมายประชาชน หมู่ ๒ และหมู่ ๖ และ สร้างศักยภาพ อสม. ในการเป็นแกนนำควบคุมโรคในชุมชน ๕.๒ จัดตั้งธนาคารขยะ ๑ แห่ง สำหรับรับจัดการขยะพลาสติก และขยะรีไซเคิล


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๘ ๕.๓ ส่งเสริมให้ครัวเรือนปลูกผักหน้าบ้าน จำนวน ๑๐๐ จุด และสร้างพื้นที่จำหน่ายผักที่เหลือกิน ตลาดสีเขียว ตลาด ๓ สุข (สุขกาย สุขใจ สุขเงิน) ๑ แห่ง ๕.๔ จัดหาถังรักษ์โลก สำหรับกลุ่มคนที่กักตัวจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใส่เศษ อาหาร จำนวน ๒๐ ถัง ในศูนย์พักคอย และ Home Quarantine จัดหาเตาเผาขยะติดเชื้อ จำนวน ๑๑ ชุด กระจายตามจุดครอบคลุม ๑๓ หมู่บ้าน ๕.๕ แต่งตั้งคณะทำงาน ระดับตำบลจำนวน ๑๕ คน โดยมีกลไก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงาน และ ชุมชน เข้ามาร่วมทำความเข้าใจและร่วมดำเนินงาน ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ เทศบาลตำบลห้วย จัดงบประมาณในการอบรมพื้นที่ต้นแบบ ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๒ และหมู่ ๖ และตั้งธนาคารขยะขึ้น ๖.๒ สำรวจจัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กำหนดสถานที่กักตัว จัดการระบบการทิ้งและกำจัดขยะติดเชื้อ โดยคณะทำงานระดับตำบล ๖.๓ ออกแบบกลไกการทำงานจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สร้างความเข้าใจในทุกระดับ และคัดเลือกหมู่บ้านนำร่องการจัดการขยะ ๖.๔ จัดชุดปฏิบัติการร่วมของเทศบาลในการตรวจตรา และร่วมจัดการปัญหา เรื่องขยะและจุดเสี่ยง ที่มีขยะ ๒ ข้างทาง จากการสัญจรของคนที่ใช้รถใช้ถนน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ มีปริมาณขยะลดลง ครัวเรือนเข้าร่วม จำนวน ๔๓๕ ครัวเรือน มีการคัดแยกขยะต้นทาง ๗.๒ บริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลห้วยมีประสิทธิภาพ ๗.๓ ประชาชนตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็นในการคัดแยกขยะ และเห็นประโยชน์คุณค่าของขยะที่ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ๗.๔ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะ และแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อม ๗.๕ มีการขยายผลสู ่การสร้างกระบวนการมีส ่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม และบูรณาการการร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อม สอดคล้องหลักการของเมืองน่าอยู่ อย่าง ยั่งยืน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชาชนในชุมชนมีความรู้สามารถคัดแยกขยะในครัวเรือนได้ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ เกิดความร่วมมือของคนในชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ สร้างรายได้จากการคัดแยกขยะ และลดต้นทุนจากการทำปุ๋ยหมัก ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ลดโลกร้อน ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในชุมชน ทัศนียภาพสวยงาม ชุมชนสะอาด ๔) ด้านสุขภาพ สุขภาพแข็งแรง ลดมลพิษจากขยะ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง สร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน เกิดกติกาข้อตกลงชุมชนในการ คัดแยกขยะในครัวเรือน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๓๙ Key Actors นายสุวรรณ ขจัดมลทิน งานเด่น ป่าดงใหญ่บ้านหนองไฮน้อย (การเรียนรู้สมุนไพรในป่าชุมชน) พื้นที่ เทศบาลตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายสุวรรณ ขจัดมลทิน ตำแหน่งประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองข่า เบอร์โทรศัพท์๐๙๒-๒๕๐-๐๐๖๙ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ป่าชุมชนดงใหญ่มีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๒๓๓ ไร่ ครอบคลุม ๔ หมู่บ้านในตำบลหนองข่า ได้แก่ บ้านโคกค่าย หมู่ที่ ๒ บ้านหนองแมงดา หมู่ที่ ๓ บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ และบ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๙ ป่าชุมชนดงใหญ่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงบังอี่ เป็นป่าเบญจพรรณที่มีความอุดมสมบูรณ์มีต้นพะยูง กระจายในพื้นที่ป่า เป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งอาหารพื้นถิ่น รวมถึงพืชสมุนไพร พื้นที่ตั้งป่าดงใหญ่เคยเป็นที่มั่นแห่งหนึ่งของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลังรัฐบาลประกาศยุติสถานการณ์สงครามปฏิวัติของคอมมิวนิสต์จาก ป่าที่เคยใช้เป็นที่หลบภัยและเป็นแหล่งหาอาหารเพื่อยังชีพ เมื่อชาวบ้านพบว่าป่ากำลังถูกบุกรุกและถูก ทำลายเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเพื่ออนุรักษ์ป่าผ่านรูปแบบ ”สภาผู้นำ ชุมชน” ขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๕๑ มีสมาชิกจากหมู่บ้านละ ๕ คนโดยการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการลงทุนทาง สังคม (Social Investment Fund : SIF) สร้างระบบการทำงานด้วยการจัดทำแผนที่ชีวิตเพื่อเพิ่มศักยภาพ ชุมชนในการอนุรักษ์ป่า และแก้ปัญหาความยากจน ต้านทานการเข้ามาของพืชเศรษฐกิจเพื่อรักษาระบบนิเวศ สืบทอดความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีปู่ตาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการรักษาป่า และการถ่ายทอดภูมิปัญญาการดูแล รักษาป่าสู่ลูกหลานด้วยวิธีพ่อสอนลูก เป็นพลังพลิกฟื้นพื้นที่สีเขียวที่ทรงคุณค่าซึ่งจุดเด่นของป่าดงใหญ่ คือ มีบริเวณดงผีเสื้อในฤดูฝน มีบ่อน้ำซับธรรมชาติ แรงบันดาลใจของชุมชนในการดำเนินงานอนุรักษ์ป่าชุมชนดงใหญ่ มาจากเหตุผลดังนี้๑) ป่าชุมชนเป็น ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ ทั้งเป็นแหล่งอาหารและของป่าซึ่งเก็บหาได้ในรอบปีไม้ฟืน ยาสมุนไพร ไม้ ซ่อมแซมบ้านเรือน ซึ่งถ้าไม่มีป่าชุมชนดงใหญ่จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น ๒) ป่าชุมชนดง ใหญ่เป็นปัจจัยหนุนเสริมระบบผลิตและตอบสนองด้านเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและชุมชน ๓) ชุมชนในตำบล หนองข่ามีความตระหนัก ความรัก และความหวงแหนในการปกป้องทรัพยากรท้องถิ่นจากการคุกคามทำลาย จากภายนอก ทั้งจากนายทุน และโครงการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อป่าซึ่งจะมีผลกระทบแบบลูกโซ่ต่อการ พึ่งพิงป่าและระบบการผลิตของชุมชน นอกจากนี้ยังต้องการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไว้เป็นมรดกร่วมกันของชุมชน เพื่อให้เป็นต้นทุนทางธรรมชาติของลูกหลานรุ่นต่อไป ๔) ป่าเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติและรักษาองค์ ความรู้ท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และ ๕) ป่าชุมชนทำหน้าที่ช่วยป้องกันและ บรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๙ มีคำขวัญว่า “หนองไฮน้อยสมุนไพร ป่าดงใหญ่ขึ้นชื่อ เลื่องลือหุ่นลำซิ่ง ท้องถิ่นภูมิปัญญาเล่าขาน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ได้บริหารจัดการป่า ชุมชนโดยการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ชุมชน ลูกหลาน ภาคีเครือข่าย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ร่วมกันไม่ว่าจะเป็น การปลูก การดูแลรักษา การป้องกัน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพหรือการ ปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน โดยยึดหลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลักในการดำเนินงานของชุมชน การจัดการป่าชุมชน โดยการมีส่วนร่วมได้มีการกำหนดการเปิด-ปิด ป่าในแต่ละปีเพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์เก็บหา ของป่าและเว้นช่วงระยะเวลาให้ป่าฟื้นตัวธรรมชาติกำหนดกติกา ข้อตกลงร่วมกัน ในการใช้ประโยชน์จากป่า ดงใหญ่ ดังนี้ ๑) ห้ามนำไม้ออกจากป่า เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการป่า ๒) ห้ามล่าสัตว์ทุกชนิดในเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยเด็ดขาด ๓) ห้ามลักลอบเก็บของป่าทุกชนิด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการป่า ๔) ห้ามฝ่าฝืนหรือกระทำการใด อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผืนป่า ๕) ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าในเขตผืนป่าดงใหญ่ ๖) ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ ๕๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๐ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ นอกจากคณะกรรมการป่า จำนวน ๔๕ คน ทางองค์การ บริหารส่วนตำบลหนองข่ามีชุดเฝ้าระวังในการรักษาป่าอีกจำนวนหนึ่ง การจัดการป่าดงใหญ่บ้านหนองไฮ น้อย ที่ผ่านมาได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภท ชุมชน จากสถาบันลูกโลกสีเขียว เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๕ ได้รับ รางวัลแห่งความยั่งยืน สิปปนนท์เกตุทัศน์เมื่อปีพ.ศ.๒๕๖๒ และได้รับรางวัลกล้ายิ้ม จากกรมป่าไม้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองข่าที่ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนดงใหญ่ทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน จำนวน ๕,๑๑๓ คน ๒.๒ ประชาชนนอกเขตเทศบาลตำบลหนองข่าที่ใช้ประโยชน์จากป่าดงใหญ่บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๙ ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้ในเขตป่าชุมชนดงใหญ่ ตลอดจนพื้นที่ป่าชุมชนให้คงอยู่ต่อไป ๓.๒ เพื่อเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยด้านพืชป่า พืชสมุนไพร พืชอาหาร พืชประดับ และพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ๓.๓ เพื ่อจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ในเขตป ่าชุมชนป ่าดงใหญ่ให้ได้มาตรฐานและเกิดประโยชน์เพื่อ รวบรวมเป็นฐานองค์ความรู้อันจะเป็นประโยชน์ต่อไป ๓.๔ เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติในการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคลากร นักศึกษา และประชาชน ๓.๕ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน นักศึกษา บุคลากร เยาวชน รวมทั้งผู้ที่สนใจทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาต และสิ่งแวดล้อมให้คงความอุดมสมบูรณ์ต่อไป ๓.๖ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืช ๓.๗ เพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชุมชนป่าดงใหญ่ ๓.๘ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและยารักษาโรค ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลจากกรมป่าไม้พื้นที่ของป่าดงใหญ่ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๒๓๓ ไร่ ๔.๒ ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ที่ว่าการอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ๔.๓ ชุดความรู้ความหลากหลายชีวภาพชุมชนป่าดงใหญ่ บ้านหนองไฮน้อย สนับสนุนโดย โครงการ อนุรักษ์พันธุ์พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ๔.๔ เอกสารประกอบการประเมินรางวัลลูกโลกสีเขียว ๒๕๕๕ ๔.๕ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ ป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ สมุนไพร ๕.๒ คุณค่าความเชื่อดั้งเดิมได้รับการสืบทอดต่อเนื่องทำให้ผู้คนมาร่วมกันทำงานเพื่อส่วนรวม และ ส่งเสริมให้เยาวชนรักธรรมชาติป่าของชุมชน ๕.๓ การมีส่วนร่วมกับเครือข่ายภายนอก ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชน ๕.๔ ชุมชนมีการจัดการโดยการกำหนดกติกา ข้อตกลงร่วมกันที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อร่วมทำกิจกรรมดูแลรักษาป่าร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย มีคณะกรรมการป่า จำนวน ๔๕ คน เป็นตัวแทนมาจากชุมชน ๙ ชุมชนในตำบลหนองข่า คณะทำงานแบ่งเป็น ๙ ประเภท ประกอบด้วยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่าง ประกอบด้วย ประธานเครือข่าย ๑ คน รองประธาน ฝ่ายสนับสนุน ๒ คน กรรมการแต่ละฝ่ายๆละ ๗ คน ได้แก่ ฝ่ายป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฝ่าย


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๑ ป้องกันไฟป่า ฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายวิชาชีพ ฝ่ายประสานงาน ฝ่ายประชาสัมพันธ์และทำกิจกรรมดูแลรักษาป่า ร่วมกับหน่วยป้องกันรักษาป่าดงคำเดือย-ฝั่งขวาห้วยทม ๖.๒ ใช้ความเชื่อและประเพณีดั้งเดิม ยึดโยงผู้คนและเยาวชนให้มีจิตใจร่วมกันเพื่อการทำงานอนุรักษ์ เช่น ความเชื่อศาลปู่ตา เป็นต้น ๖.๓ กำหนดการเปิด-ปิด ป่าในแต่ละปีเพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์เก็บหาของป่าและ เว้นช่วงระยะเวลาให้ป่าฟื้นตัวธรรมชาติ ๖.๔ จัดทำตำราสมุนไพรสืบทอดภูมิปัญญาโดยหมอยาพื้นบ้าน ส ่งเสริมการใช้และการปลูกพืช สมุนไพรใช้ในครอบครัว แปรรูปสมุนไพร และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน ๖.๕ จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในป่าชุมชน ๖.๖ ชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน มีข้อตกลงสร้างความร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมด้านป่าไม้เช่น ชุมชน ร่วมกันรณรงค์การรักษาฟื้นฟูป่า จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว วัดช ่วยในการขัดเกลาให้ ประชาชนในพื้นที่เกิดความสนใจหันมาใส่ใจเรื่องป่ามากขึ้นและกิจกรรมร่วมมือบวชป่าเพื่ออนุรักษ์ห้ามตัด หรือทำลาย โรงเรียนช่วยในการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนตระหนักความสำคัญการดูแลรักษาป่าไม้ให้มีความ อุดมสมบูรณ์โดยมีทุนชุมชน ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลหนองข่า ส่งเสริมสนับสนุนด้านบุคลากร ด้านวิชาการ และงบประมาณ ๒) โรงเรียนบ้านหนองไฮ ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนในพื้นที่ได้เข้าใจ ๓) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไฮน้อย สนับสนุนด้านบุคลากร และงบประมาณ ๔) ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน สนับสนุนการเชื่อมประสานงานกับประชาชนในหมู่บ้าน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ป่ามีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารของชุมชนจากการศึกษาวิจัยด้านพืชป่า พบพืชสมุนไพร พืชอาหาร พืชประดับ และพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ๗.๒ เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในรูปแบบ “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกับองค์กรปกครอง ท้องถิ่น ๗.๓ มีองค์กรภาคประชาชนในรูปของสภาองค์กรชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาชุมชน และมีคณะ ดำเนินงานการอนุรักษ์ป่าชุมชน ๗.๔ มีวิทยากรและครูภูมิปัญญารองรับการเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ๗.๕ มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อเป็นสถานที่ ฝึกอบรม ๗.๖ มีชุดความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนป่าดงใหญ่ บ้านหนองไฮน้อย ตำบลหนองข่า ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชาชนในชุมชนป่าดงใหญ่ บ้านหนองไฮน้อย ตำบลหนองข่า และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้ใช้ ประโยชน์จากป่าดงใหญ่เพื่อเป็นแหล่งอาหาร และสมุนไพรจากธรรมชาติ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีการสร้างความร่วมมือกันด้านการดูแลป่าชุมชนในรูปของคณะกรรมการดำเนินงาน การอนุรักษ์ป่าชุมชน และสร้างความร่วมมือกับหน่วยป้องกันรักษาป่าดงคำเดือย-ฝั่งขวาห้วยทม มีผลทำให้ ป่าฟื้นตัวและมีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม ๒) ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนในเขตและนอกเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองข่าได้อาศัยป่าชุมชนดง ใหญ่เป็นสถานที่เก็บหาของป่าและสมุนไพรเพื่อการบริโภคและอุปโภคในครัวเรือน และขายเพิ่มรายได้ศูนย์ การเรียนรู้ชุมชนได้จัดทำตำราสมุนไพรสืบทอดภูมิปัญญาโดยหมอยาพื้นบ้านจำนวน ๓ คนไว้และใช้สำหรับ ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจเกี่ยวกับสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพร พืชอาหาร พืชประดับ และพืช หายากใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากสมุนไพรเพิ่มขึ้น มีการปลูกพืชสมุนไพรไว้ใช้ ในครอบครัวและขายเพิ่มรายได้ของครอบครัว


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๒ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ป่าดงใหญ่เป็นปอดของชุมชน มีต้นไม้จำนวนมากที่ผลิตก๊าซออกซิเจน ให้กับสิ่งมีชีวิต ป่าดงใหญ่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารอันส่งผลดีต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การอุปโภค และการบริโภคน้ำในครัวเรือน เป็นแหล่งป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่าที่คุกคามสุขภาพและทรัพยากรของ ชุมชน การช่วยบรรเทาการกัดเซาะและพังทลายของหน้าดิน การอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่าและความ หลากหลายทางชีวภาพให้มีความอุดมสมบูรณ์ให้คงอยู่ต่อไป ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนในชุมชนป่าดงใหญ่ได้ใช้สมุนไพร และอาหารที่ปลอดภัยที่มาจาก ธรรมชาติ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ชุมชนมีการจัดการโดยการกำหนดกติกา ข้อตกลงร่วมกัน ในการใช้ ประโยชน์จากป่าดงใหญ่ มีการกำหนดกติการการเปิด-ปิดป่า เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าไปเก็บหาของป่า และเว้นช่วงให้ป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติการสร้างความร่วมมือกันดำเนินการจัดการป่าชุมชน ส่งผลต่อความ รักความสามัคคีของคนในชุมชนช่วยให้การดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันในชุมชนได้ดียิ่งขึ้น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๓ Key Actors องค์การบริหารส่วนตำบลลือ งานเด่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลดโลกร้อนงดใช้กล่องโฟม พื้นที่ ตำบลลือ อำเภอปทุมราวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางสาวฐิตินันท์ ศิริปีและ นายณัชพล ศิริปี ตำแหน่ง ผอ.กองการศึกษา และ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์๐๘๔-๔๗๔๕๐๕๐ และ ๐๘๙-๙๔๑๕๙๕๐ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ถนนสว่างใต้–พนา ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๖๙ ตารางกิโลเมตร (๔๙,๘๔๗ ไร่) พื้นที่การเกษตร จำนวน ๒๗,๘๑๖ ไร่ มีหมู่บ้าน จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน มีจำนวน ๒,๔๔๑ ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด จำนวน ๘,๒๙๖ คน มีศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด จำนวน ๗ แห่ง มีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด จำนวน ๑๕๑ คน พ.ศ.๒๕๖๔ กล่องโฟมบรรจุอาหารมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลาสติกโฟม เป็นสารที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ ๑,๐๐๐ ปีกว่าที่จะย่อย สลาย การนำไปฝังต้องใช้พื้นที่มาก สารพิษจากกล่องโฟมจะตกค้างตามกองขยะ การเผาทำลายยังทำให้เกิด มลพิษในอากาศ จากการสำรวจข้อมูลระดับครัวเรือนและชุมชน พบว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที ่ทุก ครัวเรือนและชุมชนประสบปัญหาอยู ่และจำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด้วน ปัญหาเรื ่องขยะ ซึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ไม่มีรถขยะ ไม่มีถังขยะสำหรับบริการประชาชนในพื้นที่ขยะบางส่วนประชาชนจะ นำไปทิ้งในที่สาธารณะ หรือบริเวณป่าช้าของหมู่บ้าน ขยะบางส่วนจะถูกเผาทำลาย โดยไม่มีการคัดแยกขยะ ก่อน องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการทิ้งขยะ หรือกล่องโฟมที่การใส่อาหาร และเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดกิจกรรมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลดโลกร้อนงดใช้กล่อง โฟมขึ้น โดยความร่วมมือทุกภาคส่วน ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการในพื้นที่ตำบลลือทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน ๒.๒ สถานศึกษาในพื้นที่ตำบลลือ ทั้งโรงเรียนมัธยม โรงเรียนประถมศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวม ๑๕ แห่ง ๒.๓ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๓ แห่ง ๒.๔ วัดและสำนักสงฆ์จำนวน ๑๑ แห่ง ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพื่อรณรงค์สร้างการรับรู้ให้ประชาชนมีความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๓.๒ เพื่อปลูกฝังค่านิยมในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กและเยาวชน ๓.๓ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลลือ ๓.๔ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้กล่องข้าว หรือปิ่นโตใส่อาหารแทนกล่องโฟม ๓.๕ เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลในระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) พบว่า ในพื้นที่ตำบลลือมีจำนวน ๑๐ หมู่บ้าน ที่ไม่มีพื้นที่ ทิ้งขยะและไม่มีระบบบริหารจัดการขยะ คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๔๓ และการจัดการขยะ พบว่า ทั้ง ๑๔ หมู่บ้านใน พื้นที่ตำบลลือไม่มีการคัดแยกขยะ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ มีการประกาศใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลือ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔


Click to View FlipBook Version