บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๔ Key Actors คณะกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ งานเด่น ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ แบบบูรณาการ พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ อำเภอปทุมนราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายณัชพล ศิริปีตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์๐๘๙-๙๔๑๕๙๕๐ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลลือ มี๑๔ หมู่บ้าน มีประชากรจำนวน ๘,๒๙๕ คน เป็นชาย จำนวน ๔,๑๒๓ คน หญิง ๔,๑๗๓ คน ครัวเรือน ๒,๔๔๑ ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่รับจ้างทั่วไป ค้าขาย พ.ศ. ๒๕๖๔ เกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ในประเทศไทย พบผู้ป่วยทุกจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อบต. ลือ มีสถานที่กักตัวกลาง Local Quarantine จำนวน ๒๐ เตียง Community Isolation จำนวน ๑๐ เตียง รพ.สต.แสนสุข มีCommunity Isolation จำนวน ๕ เตียง และมีCommunity Isolation ครบทุกหมู่บ้าน เพื่อเป็นการป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ มาตรการที่สำคัญคือ การ ป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับ ผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการทำความสะอาดสถานที่ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (Alcohol gel) การทิ้งหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า ให้ถูกสุขลักษณะ และ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ในการทิ้งหน้ากากอนามัย และหน้ากากผ้า ต่อมา อบต.ลือ ร่วมกับผู้นำชุมชน อสม. รพ.สต. ออกเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์แจกเอกสารให้ความรู้ประชาสัมพันธ์ทางรถ แห่ขอความร่วมมือผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว อบต.ลือมีจุดรวบรวมขยะติดเชื้อ (ถังขยะ ติดเชื้อ) จะออกเก็บทุกเดือนเพื่อรวบรวมกำจัดตามหลักวิชาการ โดยรวบรวมฝากไว้ที่รพ.สต. เพื่อรวบรวม ให้รพ.ปทุมราชวงศานำไปฆ่าเชื้อ การดำเนินการการเฝ้าระวัง ป้องกันโควิดในพื้นที่ตำบลลือ ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนตำบลลือ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นองค์การบริหาร ส่วนตำบลลือ สสส. ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ๒.๒ ผู้ป่วยโควิด ๒.๓ ประชาชนในพื้นที่ตำบลลือ ๒.๔ เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม/อสม./กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ การแต่งตั้งทีมควบคุมโรค Comprehensive Covid-19 Response Team (CCRT) ๓.๒ มีการจัดตั้ง local quarantine ในชุมชน ๓.๓ มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชน ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ มาตรการในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ กระทรวงสาธารณสุข การปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A ของกระทรวงสาธารณสุข ๔.๒ ประกาศจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ๔.๓ ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มติดเชื้อ การได้รับวัคซีน จาก รพ.สต. และ อสม.
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๕ ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ มีมาตรการการดำเนินงานและกิจกรรมเกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อโดยชุมชนท้องถิ่น ในพื้นที่ ภายใต้ธรรมนูญธรรมนูญประชาชนตำบลลือว่าด้วยการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.๒๕๖๔ ๕.๒ รณรงค์เพื่อสร้างการรับรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย อบต.ลือ ร ่วมกับ หน่วยงานราชการและผู้นำชุมชนในพื้นที่ ๕.๓ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนสถานศึกษา โดยใช้งบประมาณจาก ข้อบัญญัติอบต.ลือ กองทุนหลักประกัน สุขภาพท้องถิ่น อบต.ลือ และสสส. ๕.๔ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ จัดให้มีสถานที่กักตัวตามมาตรการควบคุมโรคของกระทรวง สาธารณสุข และข้อกำหนดตามประกาศของจังหวัดอำนาจเจริญ ๕.๕ หมู่บ้านมีHome Isolation ครบทุกหมู่บ้าน ๕.๖ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสนสุข มีCommunity Isolation สำหรับรับผู้ป่วยในพื้นที่ รับผิดชอบ ๕.๗ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มอบวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรค การตรวจคัด กรอง เช่น เครื ่องวัดอุณหภูมิและ แอลกอฮอล์เจล เป็นต้น ให้กับ อสม. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และดำเนินการพ่นฆ่าเชื้อสถานที่กักตัว โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งที่พักอาศัยกรณีมีกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโดยใช้งบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนตำบลลือ กองทุน หลักประกันสุขภาพท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลลือ และ สสส. ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ แต่งตั้งทีมควบคุมโรค Comprehensive Covid-19 Response Team (CCRT) ๖.๒ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T ของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ๑) D (Distancing) = เว้นระยะห่างระหว่างกัน ๒) M (Mask wearing) = สวมหน้ากากอนามัย/ หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ๓) H (Hand washing) = หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ๔) T (Testing) = ตรวจวัด อุณหภูมิร่างกาย ๕) T (Thai Chana) = ติดตั้งแอพพิเคชั่น “ไทยชนะ และ ๖) A แอพพิเคชั่นหมอพร้อม ๖.๓ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ร้านค้า ร้านอาหาร หรือร้านอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ให้บริการต้องจัดให้มี แอลกอฮอล์เจล หรืออ่างล้างมือสำหรับผู้ใช้บริการ ตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้บริเวณ ทางเข้า พร้อมทั้งจัดให้มีป้ายที่ล้างมือให้มองเห็นชัดเจน สำหรับร้านอาหาร ผู้ประกอบการ ผู้ทำอาหารและผู้ ให้บริการ ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือ หน้ากากผ้า สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ในขณะประกอบอาหาร หรือการให้บริการทุกครั้ง ๖.๔ ตลาดนัดชุมชน ควรมีการดูแลเพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ดังนี้๑) จัดให้มี เจ้าหน้าที่คัดกรองและตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายประชาชนก่อนเข้าตลาด ๒) จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่ สำหรับล้างมือ หรือแอลกอฮอล์เจล ๓) จัดให้มีทางเข้า-ออก ตลาดเพียงจุดเดียว และ ๔) ห้ามผู้ที่ไม่สวม หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเข้ามาจำหน่ายหรือซื้ออาหาร และ สินค้า ภายในบริเวณตลาดนัด ๖.๕ กรณีมีบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ เข้ามาในหมู่บ้าน ให้บุคคลนั้นหรือ ญาติต้องไปรายงานตัวกับกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านโดยทันทีและให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรืออาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้คำแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว กักตัว ตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนด และตามประกาศของจังหวัดอำนาจเจริญ ๖.๖ ประชาชนทุกคนในตำบลลือ ต้องไม่เผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 อันเป็นเท็จ ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวล เข้าใจผิด โดยให้ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง ประกาศประชาสัมพันธ์ผ่านทางหอกระจายข่าวหรือที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน ๖.๗ ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือการมั่วสุมเล่นการพนัน การชนไก่งานรื่นเริง ทุกประเภท หรือการทำ กิจกรรมที่เป็นการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้มาตรการประกาศของจังหวัดอำนาจเจริญ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๖ ๖.๘ การจัดพิธีงานศพ งานบุญ ต้องอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และ ข้อกำหนดตามประกาศของจังหวัดอำนาจเจริญ ๖.๙ ประชาชนทุกคนในตำบลลือ ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่าง น้อย ๒ เข็ม ร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนประชากรในพื้นที่ ๖.๑๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องจัดให้มีสถานที่กักตัวกลาง (CI/HI) ตามมาตรการควบคุม โรคของกระทรวงสาธารณสุข และข้อกำหนดตามประกาศของจังหวัดอำนาจเจริญ ๖.๑๑ ประชาชนทุกคนในตำบลลือ ต้องปฏิบัติตามมาตรการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามประกาศของจังหวัดอำนาจเจริญ อย่างเคร่งครัด จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ๖.๑๒ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มอบวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรค การตรวจคัด กรอง (เครื่องวัดอุณหภูมิ,แอลกอฮอล์เจล) ให้กับ อสม. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล และดำเนินการพ่นฆ่าเชื้อสถานที่กักตัว โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งที่พักอาศัยกรณีมี กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโดยใช้งบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนตำบลลือ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลลือ สสส. ฝ่ายปกครอง อพปร. ๖.๑๓ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ดำเนินการติดตั้งถังติดเชื้อสำหรับหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ไว้ครบทุกหมู่บ้าน และสำนักงาน จำนวนรวม ๑๕ ถัง และออกดำเนินเก็บทุกเดือน เพื่อนำมากำจัดให้ถูกวิธี ตามหลักวิชาการ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ มีแนวทางปฏิบัติร่วมกันในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโควิด ๗.๒ มีวัสดุอุปกรณ์วัสดุการแพทย์ใช้ในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ ๗.๓ สามารถเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดของโรคโควิดในพื้นที่ได้ในระดับดี ๗.๔ ประชาชนในพื้นที่ตำบลลือ ชุมชน หมู่บ้าน มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามมาตรการ มี ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ผู้ที่หายจากโควิด กลุ่มเสี่ยง ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการช่วยเหลือในการตรวจคัดกรอง ป้องกันโรค ๒) ผู้ป่วยโควิด ได้รับการรักษาทันท่วงทีได้รับการช่วยเหลือจากชุมชนหลังจากรักษาหาย ๓) ประชาชนในพื้นที่ตำบลลือ มีความรู้ความเข้าใจในการรับมือกับโรคโควิด มีการระบาดของ โรคน้อยในพื้นที่ ๔) เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม/อสม./กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้รับความร่วมมืออย่างดีในการร่วมมือเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโควิด มีวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ ในการดำเนินงาน ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มจิตอาสา ช่วยเหลือกันในชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ มีการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ปลูกผักบริโภคในครัวเรือน และแบ่งปัน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการติดตั้งถังติดเชื้อครบทุกหมู่บ้าน และมีสถานที่กักกันเพื่อสังเกต อาการเริ่มป่วย ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนเข้าอกเข้าใจ ผ่อนคลายความเครียดจากข้อมูลข่าวสารผิดๆ/สื่อผิดๆ มั่นใจในการได้รับวัคซีน ลดความรุนแรงจาการติดเชื้อโควิด ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมป้องกันโรค และกลุ่มเสี่ยง กลุ่มติดเชื้อกักตัวครบตามกำหนดตาม กฎ กติกา ข้อตกลง
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๗ Key Actors พระครูปทุมธรรมคุณ (เจ้าคณะตำบลนาหว้า) งานเด่น การป้องกันโรคโควิด ๑๙ แบบมีส่วนร่วม พื้นที่ เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายสมร ไชโยธา ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์๐๘๑-๕๔๘๗๕๖๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นโรคที่ รุนแรง และ แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จากประสบการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ โดยมีพระครูปทุม ธรรมคุณ ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลนาหว้า เป็นผู้นำในการจัดบริการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ มีผู้ป่วยรายแรกที่มีภูมิลำเนาในเขต เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ได้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากพื้นที่อื่น เดินทางกลับมาภูมิลำเนา เพื่อรับการรักษา แต่โรงพยาบาลปทุมราชวงศา ไม่มีเตียงเพียงพอสำหรับการรักษา จึงมีความจำเป็นต้องรอ รับการรักษา แต่ไม่มีพื้นที่สำหรับการพักรอ ทำให้พระครูปทุมธรรมคุณ แบ่งพื้นที่ภายในบริเวณวัดนาหว้า ออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ส่วนที่ ๑ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อที่ยังรอการรักษา (CCC) ส่วนที่ ๒ สำหรับผู้ที่ผ่านการรักษา (CI) และส่วนที่ ๓ สำหรับผู้ที่มากักตัวเนื่องจากเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง (LQ) ในการบริหารจัดการใน ช่วงแรก ยังไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแล จึงเป็นการบริหารจัดการโดยมีผู้นำหมู่บ้านและ อสม. เป็นผู้ดูแล หลัก ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับความร่วมมือจาก ๔ องค์กรหลัก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา โรงพยาบาลปทุมราชวงศา และกลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน ซึ่งเป็นองค์กรที่มีประสบการณ์ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และภูมิปัญญาของทุนทาง สังคม ในการจัดการกับปัญหา และความต้องการ รวมถึงการนำใช้แนวทางการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง โรคติดต่อ โดยชุมชนท้องถิ่น ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาศักยภาพ ด้านการติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม เสี่ยงสัมผัส และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ด้านการกำหนด กติกา ข้อตกลงในครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล ด้านการ ป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน และพื้นที่สาธารณะ ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของทุนทาง สังคมในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ด้านการฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ มีการบันทึก จำนวนผู้ที่เข้าใช้บริการศูนย์พักคอย จำนวน ๔๔ ราย แบ่งเป็น ผู้ที่ติดเชื้อที่ยังรอการรักษา (CCC) จำนวน ๑๖ ราย ผู้ที่ผ่านการรักษา (CI) จำนวน ๑๒ ราย และผู้ที่มากักตัวเนื่องจากเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง (LQ) จำนวน ๑๒๖ ราย การพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลปทุมราชวงศาได้มี การจัดบริการรับวัคซีนในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่ม ๖๐๘ (ผู้ที่มีอายุ๖๐ ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัว ๗ กลุ่ม โรค และหญิงตั้งครรภ์) กลุ่มประชาชนทั่วไป และในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา วัคซีนที่จัดให้บริการ ได้แก่ Sinovac/Astrazeneca /Sinopharm Pfizer/Moderna มีการตรวจ ATK กลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในพื้นที่ ตรวจ กลุ่มเป้าหมายในนักเรียน ตรวจผู้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาร่วมงานในเขตชุมชนและตรวจผู้ที่จัดงาน และสุ่มตรวจเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเดือนละ ๑ ครั้ง และกลุ่มเสี่ยงสูงที่อยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ จึงเป็นการสะท้อน ศักยภาพของชุมชน ในการจัดการกับสถานการณ์วิกฤต ที่สร้างผลกระทบต่อความเป็นอยู่ วิถีการดำเนิน ชีวิตประจำวัน ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ การสนับสนุนให้ผู้นำขององค์กรหลักในพื้นที่เขต เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ โดยชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนผลลัพธ์ของการดำเนินการในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อโดยชุมชน ท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองในการพัฒนาระบบงานและกลไกเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ อันเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่อื่นในระดับอำเภอ จังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๘ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เด็กอายุ๕-๑๔ ปี ๒.๒ เยาวชนอายุ๑๕-๒๔ ปี ๒.๓ ประชาชน ๒๕-๕๙ ปี ๒.๔ ผู้สูงอายุ๖๐ ปีขึ้นไป ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เกิดระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชน ๓.๒ ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๓.๓ ประชาชนในชุมชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างน้อย เข็มที่ ๑ และ ๒ ร้อยละ ๙๐ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลสถิติกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ๔.๒ ข้อมูลผู้ติดเชื้อจาก รพ.ปทุมราช ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ การจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับอำเภอ และมีการรับ นโยบายการทำงานสู่ระดับตำบล โดยมีผู้นำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. เป็น ผู้ดำเนินการหลัก ๕.๒ ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ๕.๓ สาธารณสุขอำเภอปทุมราชวงศาลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมินศูนย์พักคอย และเยี่ยมให้กำลังใจ สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง จำนวน ๗ ครั้ง ตลอดระยะเวลาจัดตั้งศูนย์พักคอยเป็นเวลาประมาณ ๔ เดือน (กรกฎาคมตุลาคม ๒๕๖๔) ๕.๔ จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ความเข้าใจเรื่องโรคติดต่อ ในชุมชน และมีการแจกแผ่นพับความรู้ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การป้องกัน และการรับวัคซีน ๕.๕ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิดในพื้นที่ เทศบาลตำบล ปทุมราชวงศา ๕.๖ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ป้องกันสำหรับการกักตัวกลุ่มเสี่ยง ๖ ชุมชน โดย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก พระครูปทุมธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดนาหว้า สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนดำเนินกิจกรรมตาม โครงการ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๑ ครั้ง ๖.๒ คณะทำงานลงปฏิบัติการตรวจประเมินกลุ่มกักตัวเยี่ยมให้กำลังใจ สัปดาห์ละครั้ง จำนวน ๗ ครั้ง ๖.๓ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ความเข้าใจเรื่องโรคติดต่อ ในชุมชน โดยการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ แจกใบปลิวตามหลังคาเรือน รณรงค์ร่วมกันในชุมชน ๖.๔ มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิดในพื้นที่ เทศบาลตำบลปทุม ราชวงศา ๖.๕ มีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ป้องกันสำหรับการกักตัวกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่ ๖ ชุมน เขตเทศบาลปทุมราชวงศา ๖.๖ สนับสนุนชุด/อุปกรณ์การดูแลผู้กักตัว (Local Quarantine/Home Quarantine/ Home Isolation) โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ณ วัดนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๙ ๖.๗ สนับสนุนค่าอาหารสำหรับผู้กักตัว (Local Quarantine/Home Quarantine/ Home Isolation) โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา และเจ้าอาวาสวัดนาหว้า ณ วัด นาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือกลุ่มเสี่ยงมีพื้นที่สำหรับกักตัว เพื่อความปลอดภัย ของคนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ๗.๒ ประชาชนปฏิบัติตามมาตราการข้อตกลงการป้องกันควบคุมโรค ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) คนในสังคมยอมรับ สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้ที่หายจากการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๒) ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เข้ารับการรักษาทุกคน ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดการวางแผนเพื่อการรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร่วมกันระหว่างวัดและชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการกักตัวในชุมชน มีการจัดตั้งศูนย์พักคอย ๔) ด้านสุขภาพ ผู้ที่ติดเชื้อได้รับการรักษาทุกคน กลุ่มเสี่ยงให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตาม มาตรการป้องกัน ควบคุมโรค และประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ ๑ และ ๒ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง มีการกำหนดกติการ่วมกันให้ทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อ ออกนอกบ้าน และให้กลุ่มเสี่ยงสูงกักตัว ๑๔ วัน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๐ Key Actors กลุ่มอสม. ตำบลนาหว้า งานเด่น การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคระบาดโควิด-19 พื้นที่ ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางอัจฉรา บัวลา ตำแหน่ง ประธาน อสม. เบอร์โทรศัพท์๐๘๖ - ๐๕๕๔๒๕๑ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคระบาดของตำบลนาหว้ามีหลักการดำเนินงาน ภายใต้การสร้างการ มีส่วนร่วมของ ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน/องค์กร และประชาชน มีการนำใช้ระบบข้อมูล ตำบล (TCNAP) ในการวิเคราะห์สถานการณ์และการวิจัยชุมชน (RECAP) วิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในการ ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ๑) กลุ่มเสี่ยงที่ต้อง กักตัวสังเกตอาการ จำนวน ๔๐ คน ๒) กลุ่มคนที่เดินทางมาจากจังหวัดที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวงกว้าง จำนวน ๑,๑๗๕ คน และ (ข้อมูลการระบาดระลอกที่ ๔ ณ วันที่ ๑๔ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔) ๒) กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน ได้แก่ เด็ก ๐-๕ ปีจำนวน ๘๗ คน (ร้อยละ ๓.๓๑) ผู้สูงอายุ จำนวน ๑๖๑ คน (ร้อยละ ๖.๑๒) ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน ๑๖๑ คน (ร้อยละ ๖.๑๒) ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน ๕๒ คน (ร้อยละ ๓๒.๓๐ ของจำนวนป่วยเรื้อรัง) ความดันโลหิตสูง จำนวน ๓๒.๓๐ คน (ร้อยละ ๓๗.๒๗ ของผู้ป่วยเรื้อรัง) ทุนทางสังคมที่มีศักยภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้๑) องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ๒) หน่วยบริการสุขภาพ ได้แก่ โรงพยาบาล ปทุมราชวงศา ๓) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ๔) สารวัตรกำนัน ๕) แพทย์ประจำตำบล ๖) อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน จำนวน ๘๕ คน (๑ คน: ๑๕ ครัวเรือน) ๗) วัดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า จำนวน ๑๐ แห่ง มีเส้นทางการดำเนินงาน ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้เกิดวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศกระจายถึง ท้องที่ชุมชนอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ พื้นที่ทุกหมู่บ้าน ในตำบลนาหว้า ได้รับผลกระทบ จึงมี การทำงานควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า หน่วยงาน ภาครัฐ เช่น โรงพยาบาลปทุมราชวงศา และสถานีตำรวจปทุมราชวงศา เป็นต้น ผู้นำชุมชนแต่ละหมู่บ้านได้ จัดเตรียมพื้นที่ควบคุมป้องกันกับตัวกลุ่มผู้ติดเชื้อกลุ่มสัมผัสโดยเลือกสถานที่ที่เหมาะสมในหมู่บ้านของแต่ละ หมู่บ้าน เช่น พื้นที่บริเวณวัด และศาลาประชาคม เป็นต้น เป็นศูนย์กลางกักตัวในหมู่บ้าน มีการจัดเวรยามเฝ้า จุดผู้กักตัวตลอดที่มีการกักตัว พ.ศ. ๒๕๖๔ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เริ่มมี วัคซีนป้องกันโรค ทีมคณะทำงาน ผู้นำชุมชน อสม. ยังทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยการรณรงค์ให้ประชาชนใน พื้นที่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค รณรงค์การดำเนินชีวิตตามวิถีใหม่ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออก จากบ้าน เว้นระยะห่างจากผู้อื่น และหลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก ส่วนผู้เดินทางมาจากต่างจังหวัด เข้ามาในพื้นที่ได้มีมาตรการให้กักตัว ๑๔ วัน และจัดเตรียมสถานที่กักตัวเป็นส่วนกลางของหมู่บ้านที่จัดสรรไว้ ตามบริบทพื้นที่ซึ่งผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากโรงพยาบาลปทุมราชวงศาอย่างต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๖๕ มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอมิครอน คณะทำงาน มี การประสานงานยังผู้เดินทางมาจากต่างจังหวัดให้กักตัว ๑๔ วัน และดำเนินการรณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่องผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน ภายใต้วลีที่ชวนจดจำ(สโลแกน) “อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆปลอดภัยทั้งหมู่บ้าน” ประชาสัมพันธ์ให้งดงานเลี้ยง งานสังสรรค์ในหมู่บ้านชุมชน ยกเว้นงานศพ นอกจากนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ไปรับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ผู้ติดเชื้อโควิด จำนวน ๓๐ คน ๒.๒ ผู้ติดเชื้อโควิดที่เข้ารับการรักษา จำนวน ๓๐ คน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๑ ๒.๓ ผู้ที่ต้องกักตัว ๑๔ วัน จำนวน ๔๐ คน ๒.๔ ผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูง(คนที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ) จำนวน ๕๐๐ คน ๒.๕ ผู้ที่สัมผัสเสี่ยงต่ำ(คนที่ใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยงสูง) จำนวน ๘๖๐ คน ๒.๖ ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง จำนวน ๖๙๐ คน ๒.๗ ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่ำ จำนวน ๔๘๕ คน ๒.๘ ผู้สูงอายุ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๗๒๕ คน ๒.๙ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ) จำนวน ๑๘๐ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่ประชาชนในชุมชน ๓.๒ ลดความตื่นตระหนกของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๓.๓ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาด ๓.๔ ประชาชนไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างครอบคลุม ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ฐานข้อมูลจากโรงพยาบาลเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อ ผู้ที่เข้ารับการรักษา ข้อมูลจากอบต.นาหว้า เกี่ยวกับผู้กักตัว ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ให้ผู้นำชุมชน อสม.นำใช้วางแผนดูแลที่เหมาะสม ๔.๒ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เช่น จำนวนผู้สูงอายุ จำนวน ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับแหล่งประโยชน์เช่น สถานที่สาธารณะสำหรับใช้ กักตัวกลุ่มเสี่ยง หอกระจายข่าว ทุนทางสังคมที่ดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยตรง และทุนทางสังคมที่หนุนเสริมการดำเนินงาน ๔.๓ อุปกรณ์ล้างทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคที่พักอาศัยผู้ติดเชื้อ แอลกอฮอล์ล้างมือ หน้ากากอนามัย ถุงขยะติดเชื้อ ถุงขยะทั่วไป ฉากกั้น เวชภัณฑ์ชุดป้องกัน ๔.๔ พระบัญญัติโรคติดต่อ พระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พรบ.องค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗ และแก้ไขเพิ ่มเติม มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาตำบล แผน งบประมาณ ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ อบต.นาหว้า มีหน้าที่ ๑) อำนวยการและบัญชาการเตรียมความพร้อมบริหารและบริการประชาชนในสถานการณ์วิกฤต มี การประชุม วางแผนบริหารความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ติดตาม ๒) ประสานงานกับหน่วยงานในตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ๓) ออกมาตรการแนวทางการบริหาร จัดการการควบคุมป้องกันโรค ๔) สรรหาและแต่งตั้งคณะทำงานจาก ๔ องค์หลักในชุมชน จำนวน ๑๙ ชุด ปฏิบัติการร่วมกับผู้นำชุมชน อสม. ๕) จัดระบบข้อมูล ได้แก่ จัดระเบียบข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และ การวิจัยชุมชน (RECAP) จัดทำทะเบียนข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วย ส่งต่อข้อมูลทุกวัน พร้อมสำรวจ รายชื่อแต่ละหมู่บ้าน ว่ามีคนเข้าออกในพื้นที่กี่คน และรวบรวมรายชื่อแต่ละหมู่บ้านพร้อมมอบถุงยังชีพ ๖) ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดภาพรวมตำบล ๗) สร้างเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดต่อในชุมชน และ ๘) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิดใน พื้นที่ อบต.นาหว้า
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๒ ๕.๒ การสื่อสารและรณรงค์เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ด้วยการ ๑) ให้ความรู้ในเรื่องการ ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ หอกระจายข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประกาศมาตรการของ รัฐบาล จัดทำแผ่นพับ คู่มือการปฏิบัติตัวเมื่อกักตัว ป้ายประชาสัมพันธ์ตามหมู่บ้าน สื่อสารปากต่อปาก โดยมี อสม. ผู้นำชุมชนเป็นผู้สื่อสาร ๒) รณรงค์สร้างความร่วมมือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ ๓) รณรงค์ล้างทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่พักอาศัย ๕.๓ จัดสถานที่กักตัวในชุมชน มีจำนวน ๖ จุด สำหรับกลุ่มกักตัว ได้แก่ ๑) จัดหาสถานที่ เช่น บ้าน วัด โรงเรียน และ ศาลาเอนกประสงค์เป็นต้น เป็นศูนย์พักพิง ๒) จัดเครื่องมือป้องกัน ควบคุมโรคสำหรับทีม ปฏิบัติงานภาคสนาม ๕.๔ จัดตั้งศูนย์พักคอยไว้รองรับสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสำหรับการกักตัว จำนวน ๑ จุด โดย องค์การส่วนตำบลนาหว้าเป็นผู้ดำเนินการ ๕.๕ ลดปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการปลูกฝังการปฏิบัติตัวแบบวิถีใหม่ของ คนในชุมชน เช่น ส่งเสริมการใช้ภาชนะต่าง ๆ เป็นของส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น ล้างมือก่อน-หลังเข้าบ้านหรือ พื้นที่สาธารณะ เว้นระยะห่างทางสังคม ส่งเสริมการกินอาหารปรุงสุกทุกมื้อ ใช้เทคโนโลยีชำระเงินออนไลน์ สังเกตอาการไข้ไอของตนเองเป็นประจำ ๕.๖ การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อขจัด ควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อ ด้วยการ ๑) จัดทำ คำแนะนำ กำหนดมาตรการ จัดระเบียบในการคัดแยกขยะติดเชื้อทุกประเภทสำหรับครอบครัว ชุมชน สถานที่ กักตัว ศูนย์พักคอย ให้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ๒) สร้างจุดล้างมือในชุมชน หน่วยงาน องค์กรชุมชน พื้นที่สาธารณะ สถานประกอบการ สถานบริการประชาชน ๓) ละเว้นการรวมกลุ่มคนจำนวน มากในการประกอบกิจกรรม หากจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และมีการ ตรวจวัดอุณหภูมิเป็นต้น และ ๔) จัดทีมทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสถานที่กักตัว สถานที่พักคอย และ สถานที่สาธารณะ ๕.๗ จัดการผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการ ๑) ปรับการ เรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์เป็นต้น ปรับแผนงบประมาณจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ควบคุมโรค ปรับวิธีการ สื่อสารให้เข้าถึงประชาชนหลายช่องทางหลายแบบ เช่น หอกระจายข่าว ปากต่อปาก ช่องทางไลน์เป็นต้น ๒) ปรับวิธีการทางเศรษฐกิจ เช่น การจำหน่ายสินค้า วิธีส่งผลผลิต การลดค่าใช้จ่าย การจัดสวัสดิการ การพัก ชำระหนี้เป็นต้น ๓) ปรับการจัดการด้านสุขภาพ เช่น การเยี่ยมไข้การส่งยาผู้ป่วยเรื้อรัง การสวมหน้ากาก ตลอดเวลาเมื่อออกจากบ้าน และ ๔) ปรับการเรียนรู้เช่น เดิมเรียนรู้แบบกลุ่ม ปรับเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อ เป็นต้น ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ในพื้นที่ทั้งด้านการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อให้การบริหารจัดการและปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ดังนี้ ๑) ฝ่ายอำนวยการและบัญชาการเหตุการณ์ประกอบด้วย กำนันตำบลนาหว้า ผู้ใหญ่บ้านทุก หมู่บ้าน และอสม. ดำเนินงานดังนี้ (๑) กำหนดวิธีการประสานงานของหน่วยงานทุกระดับในพื้นที่ให้ชัดเจน และมีเอกภาพเพื่อให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๒) ติดต่อสื่อสารรวบรวมข้อมูลรายงานแจ้งเตือนสถานการณ์และประชาสัมพันธ์ในกลุ่มเสี่ยงทุกระดับตั้งแต่ ระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ (๓) อำนวยการสั่งการควบคุมเร่งรัดกำกับและติดตามประเมินแก้ไข ปัญหาในการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดต่อและภัยสุขภาพ (๔) บริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับการ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (๕) ประสานนโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายนอกองค์กร (๖) ตัดสินใจยกระดับลด ระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (๗) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่กลุ่มภารกิจต่าง ๆ (๘) ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามอำนาจหน้าที่ของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตามสถานการณ์(๙) ขอ ความร่วมมือจากองค์กรภาคเอกชน อาสาสมัครในรูปแบบต่าง ๆ และภาคีเครือข่ายให้เข้ามาสนับสนุนการ แก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๓ ๒) ฝ่ายจัดเตรียมศูนย์พักคอยระดับตำบล ประกอบด้วย กำนันตำบลนาหว้า ผู้ใหญ่บ้านทุก หมู่บ้าน อสม. และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าประจำหมู่บ้าน ดังนี้ (๑) กำหนดศูนย์พักคอย ระดับตำบลสำหรับพักคอย หรือเข้ารับการรักษาหรือหลังเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลสำหรับผู้ติดเชื้อที่ ไม่พร้อมที่จะดูแลตัวเองที่บ้านหรือในหมู่บ้าน (๒) จัดเตรียมความพร้อมที่พักอาศัยรวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ จำเป็นให้แล้วเสร็จอย่างน้อยอย่างน้อย ๓ วันก่อนผู้ติดเชื้อมาถึง (๓) ประสานงานให้ความช่วยเหลือระหว่างผู้ ติดเชื้อเข้าพักณศูนย์พักคอยระดับตำบล (๔) รายงานผลการดำเนินงานต่อศูนย์EOC (๕) ประสานเจ้าหน้าที่ ฉีดพ่นฆ่าเชื้อเมื่อผู้ติดเชื้อออกจากศูนย์พักคอย และ (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ๓) ฝ่ายรับ-ส่งผู้ติดเชื้อ ฉีดพ่นฆ่าเชื้อจุดพักคอย ประกอบด้วย โรงพยาบาลปทุมราชวงศา กำนัน ตำบลนาหว้า อสม.ประจำพื้นที่ และผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการดังนี้ (๑) เตรียมรถรับส่งให้พร้อมตลอด ๒๔ ชั่วโมง (๒) เตรียมเวชภัณฑ์ชุดป้องกัน หน้ากากอนามัย เจลล้างมือพร้อมใช้งาน (๓) รับส่งผู้ติดเชื้อต่อเข้า โรงพยาบาลเมื่ออาการหนัก และ (๔) ทำความสะอาดฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหลังจาก ส่งกลุ่มเสี่ยง ๖.๒ ออกปฏิบัติการภาคสนามในศูนย์กักตัวและศูนย์พักคอย ด้วยการตรวจสุขภาพและสังเกต พฤติกรรมประจำวัน ประกอบด้วย โรงพยาบาลปทุมราช กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน อสม. ดำเนินการดังนี้ (๑) ตรวจวัดไข้ประเมินอาการร่วมอื่นและภาวะเครียดตามแบบฟอร์ม (๒) ตรวจสอบพฤติกรรมการปฏิบัติตัว แต่ละวันตามเกณฑ์มาตรฐาน (๓) รายงานผลตรวจสุขภาพต่อศูนย์ตำบลเพื่อที่จะรายงานต่อในระดับอำเภอ รายวัน และ (๔) หากพบพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงไม่ปฏิบัติตามเหตุให้รายงานศูนย์ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับประชาชนในชุมชนและผู้ที่ เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน ๓,๕๔๐ คน ๗.๒ ลดความตื่นตระหนักของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค โดย กลุ่มผู้ที่ต้องกักตัวให้ความร่วมมือในการกักตัวจนครบ ๑๔ วัน ร้อยละ ๑๐๐ ไม่มีผู้หลบหนีขณะกักตัว ๗.๓ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันควบคุมการแพร่การ ระบาดได้เช่น ประชาชนทุกคนที่ออกนอกบ้านสวมหน้ากากอนามัย ร้อยละ ๑๐๐ ร้านค้าทุกร้านมีแอลกอฮอล์ สำหรับล้างมือวางไว้หน้าร้าน ร้อยละ ๑๐๐ เป็นต้น ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ผู้ที่ได้รับการตรวจจากโรงพยาบาล หากผลยืนยันไม่มีเชื้อ ต้องกักตัวอีก ๑๔ วัน ๒) ผู้ติดเชื้อที่กักตัวอยู่แล้ว หากผลตรวจยืนยันไม่พบเชื้อแล้ว กักตัวจนครบ ๑๔วัน ๓) ผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อต้องกักตัว ๑๔ วัน(๗ วันตรวจหาเชื้อ) ๔) งดร่วมกิจกรรมงานประเพณีพักการเรียน ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม ได้แก่ (๑) โรงพยาบาล อสม. ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว ผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง (๒) อปพร อสม. เข้าเวรยามที่สถานที่กักตัว และ (๓) สสส. อบต. อำเภอปทุมราชวงศา สนับสนุนงบประมาณจัด อาหารสำหรับผู้กักตัว ๒) ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดรายจ่ายใน ครัวเรือน และส่งเสริมอาชีพภายในชุมชน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ได้แก่ (๑) ผู้นำชุมชน อสม. โรงพยาบาล ให้คำแนะแนวทางการปฏิบัติ ของบุคคลและครอบครัวทำความสะอาดบ้านเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 (๒) ร้านค้า ร้านอาหาร มีมาตการป้องกันการแพร่เชื้อ ทำความสะอาดสถานที่ที่มีมีคนสัมผัส (๓) สถานที่สาธารณะมีการคัดกรอง อุณหภูมิการใช้หน้ากาก ลดความแออัด เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค และ (๔) งดการจัดกิจกรรมที่มีคน จำนวนมาก ประเพณีต่าง ๆ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๔ ๔) ด้านสุขภาพ ได้แก่ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามแนวทางการป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดได้ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ผู้นำชุมชน อสม. โรงพยาบาล ร่วมกันดำเนินการ (๑) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 รณรงค์ล้างทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคที่พักอาศัยและพื้นที่สาธารณะในชุมชน (๒) ออกมาตรการให้ คนในชุมชนได้ปฏิบัติตามเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (๓) จัดทำแผน ปฏิบัติงาน และแผนงบประมาณสำหรับการดำเนินงาน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๕ Key Actors โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยก งานเด่น ระบบการจัดการโควิด-19 แบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ท้องที่ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางบังอร สุดาชม ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยก เบอร์โทรศัพท์๐๘๗-๒๕๑๖๒๔๔ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ระบบการจัดการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในตำบลคำโพนมีหลักการดำเนินงาน โดย อาศัยการมีส่วนร่วมของ ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน/องค์กร และประชาชน นำใช้ระบบ ข้อมูลตำบล (TCNAP) ในการวิเคราะห์สถานการณ์และการวิจัยชุมชน (RECAP) วิเคราะห์ศักยภาพชุมชนใน การดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลคำโพน พบ ๑) กลุ่มเสี่ยง ที่ต้องกักตัวสังเกตอาการ จำนวน ๑๐๐ คน กลุ่มคนที่เดินทางมาจากจังหวัดที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 เป็นวงกว้าง จำนวน ๓๕ คน และ ๒) กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ได้แก่ เด็ก ๐-๕ ปี จำนวน ๑๑๐ คน ผู้สูงอายุจำนวน ๒๗๑ คน ผู้ป่วยเรื้อรัง ๑๖๘ คน ผู้พิการ จำนวน ๓๑ คน ทุนทางสังคมที่มี ศักยภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้๑) องค์การบริหาร ส่วนตำบลคำโพน ๒) หน่วยบริการสุขภาพ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยก โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพน ๓) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ๔) สารวัตรกำนัน ๕) แพทย์ประจำตำบล ๖) อาสาสมัคร สาธารณสุข จำนวน ๑๔๑ คน อัตราส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขต่อจำนวนครัวเรือน (๑ คน: ๑๕ ครัวเรือน) ๗) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ๓๐ คน (๓ คน: ๑ หมู่บ้าน) ๗) ชุดรักษาความสงบประจำ หมู่บ้าน (ชรบ.) จำนวน ๔๐ คน (๔ คน: ๑ หมู่บ้าน) ๘) กองทุนหมู่บ้าน ๑๐ หมู่บ้าน สภาเด็กและเยาวชน จำนวน ๗๘๙ คน และ ๑๐) วัดในตำบลคำโพน ๘ แห่ง พ.ศ ๒๕๖๓ ตามที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ ๓ และกำลังเข้าสู่ระลอกที่ ๔ ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลได้ออกมาตรการและแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงดังความที่ท่านทราบแล้ว เพื่อ เป็นการรับมือของชุมชนท้องถิ่นในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) พิจารณาเห็นถึง ความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย การปรับแผนปฏิบัติการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ให้ใช้ทุนทางสังคมในชุมชนท้องถิ่นเข้ามามี ส่วนร่วมในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ในชุมชนท้องถิ่นของตนเองนั้น สำนัก ๓ ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์ สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายภาค (ศวภ.) จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับแผนปฏิบัติการและ งบประมาณโครงการเพื่อรับมือการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงมี ข้อตกลงในการปรับแผนปฏิบัติการและงบประมาณในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนัก ๓ (แผนสุขภาวะ ชุมชน) โดย พชต.คำโพน เป็นสมาชิกเครือข่ายของ ศูนย์จัดการเครือข่ายเทศบาลตำบลนาป่าแซง ภายใต้โครงการ โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ตำบลคำโพนได้นำแนวทางจัดการควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเทศบาล ตำบลนาป่าแซงมาสู่การปฏิบัติในพื้นที่และดำเนินการไปพร้อมกัน พ.ศ. ๒๕๖๔-ปัจจุบัน พื้นที่ตำบลคำโพนพบกลุ่มเสี่ยงที่ต้องแยกกักตัวเพื่อสังเกตอาการ จึงจัดตั้ง สถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) จำนวน ๑ แห่ง รองรับผู้ถูกกักกันได้จำนวน ๗๖ คน เพื่อช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๖ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ คณะทำงาน ได้แก่ กำนันตำบล ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกแห่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล หัวหน้างานควบคุมโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๒ คน ผู้ใหญ่บ้าน ๑๐ หมู่บ้าน อสม. ๑๔๑ คน อปพร ๓๐ คน ชรบ. ๔๐ คน ๒.๒ ประชากรทั้งหมด จำนวน ๔,๑๔๒ คน เด็ก ๐-๕ ปีจำนวน ๑๑๐ คน ผู้สูงอายุจำนวน ๒๗๑ คน ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน ๑๖๘ คน และผู้พิการ จำนวน ๓๑ คน ๒.๓ กลุ่มเสี่ยงที่ต้องแยกกักในสถานที่กักตัว จำนวน ๗๖ คน กลุ่มเสี่ยงที่กักตัวที่บ้านของตัวเอง ๓๔๒ คน รวม ๔๑๘ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ตำบลคำโพนมีสถานที่กักกันประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Local Quarantine) ๓.๒ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ในด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรค ๓.๓ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในสถานการณ์การแพร่ระบาด ๓.๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกันได้รับสวัสดิการในการปฏิบัติงาน ๓.๕ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่เข้ารับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ตำบลคำโพนมีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีน จำนวน ๕,๙๒๕ คน ปฏิเสธการฉีดวัคซีน ๒,๐๑๘ คน ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุน สุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ๔.๒ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น รพ.สต. และภาคประชาชนร่วมกันพัฒนา วางแผนในการดูแลการระบาดของ โรคโควิด 2019 ในพื้นที่ และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ๔.๓ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) ทุนทางสังคมเพื่อนำใช้ ในการวางแผนจัดการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๔.๔ แผนพัฒนาตำบล แผนงบประมาณตำบล ๔.๖ พรบ. พรก. ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดตั้งคณะทำงาน และมีการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคในพื้นที่ร่วมกับชุดปฏิบัติการร่วม ของ รพ.สต. ท้องที่ และ อสม.ในการลงปฏิบัติการตรวจประเมินกลุ่มกักตัวเยี่ยมเสริมพลังใจสัปดาห์ละครั้ง ๕.๒ ประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์แผ่นพับ หอกระจายข่าว และรถ ประชาสัมพันธ์เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจในชุมชนทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ๕.๓ จัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสารการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใน พื้นที่ ที่องค์การบริหารตำบล ๑ แห่ง เพื่อรวบรวมข้อมูลและส่งข่าวสารที่ตรงจริง ต่อต้านข่าวลวงที่จะทำให้ ประชาชนสับสน ๕.๔ จัดตั้งศูนย์บัญชาการ เพื่อการวางแผนงานปฏิบัติการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ เป็นศูนย์สั่งการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ๕.๕ จัดสถานที่กักตัวที่ จำนวน ๑๑ แห่ง ๕.๖ จัดศูนย์พักคอยไว้รองรับสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสำหรับการกักตัว ๕.๗ มีกลุ่มไลน์ในการติดต่อประสานงานในระดับหมู่บ้านและระดับตำบล ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดตั้งและประชุมคณะทำงาน ชี้แจงนโยบายแนวทางการจัดการควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ โดยใช้แนวทางเดียวกันกับเทศบาลตำบลนาป่าแซง
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๗ ๖.๒ จัดเตรียมสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วยในระดับท้องที่ (Local Quarantine) ตาม รายละเอียดดังนี้๑) สถานที่ ใช้วัดและบ้านที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยที่อยู่ห่างไกลชุมชนเพื่อใช้เป็นเป็นสถานที่กักตัว และ ๒) จัดหา วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ เวชภัณฑ์ต่างๆรวมทั้งอาหารและน้ำดื่ม เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน ของศูนย์กักกันฯ และวัสดุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ถูกกักกันฯ โดยปฏิบัติตามหนังสือสั่งการ ของกระทรวงมหาดไทยและหนังสือวิธีการปฏิบัติจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๖.๓ จัดแบ่งภารกิจเพื่อบริหารจัดการในบริเวณสถานที่ควบคุม (Quarantine Area) ดังนี้ ๑) ภารกิจด้านอำนวยการ รับผิดชอบการลงทะเบียนและงานธุรการ การสื่อสารภายในพื้นที่ ควบคุม ดูแลองค์ประกอบการใช้ชีวิตต่าง ๆ การบังคับใช้กฎหมาย การดูแลด้านอาหาร อุปโภคและบริโภค รวมถึงการพัสดุและการบัญชี ๒) ภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของศูนย์กักกัน ตลอดจนการเข้าออกสถานที่กักกัน ๓) ภารกิจด้านการควบคุมและป้องกันโรค รับผิดชอบการ ป้องกันและควบคุมโรค ๔) ภารกิจด้านการรักษาพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รับผิดชอบการดูแลรักษาพยาบาล การเจ็บป่วยทั่วไป การคัดกรอง การตรวจสอบอาการประจำวัน พร้อมทั้งการจัดหาอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ใช้ ประกอบในการรักษาพยาบาล การประสานโรงพยาบาลในการเคลื่อนย้ายนำส่งผู้ป่วย ๕) ภารกิจด้านการจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบด้านสุขาภิบาลและ อนามัยสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด การจัดการขยะ การจัดการแมลงนำโรค ๖) ภารกิจด้านการให้คำปรึกษา เพื่อให้คำปรึกษาทั่วไปกับผู้ถูกกักกันในระหว่างการพักอยู่ สถานที่กักกันซึ่งอาจจะเกิดความเครียด ความกังวล หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ๖.๔ ดำเนินการองค์ประกอบทางกายภาพของสถานที่ควบคุม (Quarantine area) ควรต้อง คำนึงถึงดังนี้๑) ห้องนอน ให้มีทางเลือกที่หลากหลาย แบบเดี่ยว แบบรวม ๒) ห้องน้ำ ทั้งแบบห้องน้ำแยก ในห้องนอน หรือห้องน้ำรวม ๓) ครัว หรือ พื้นที่ประกอบอาหารหรือแจกจ่ายอาหาร ๔) พื้นที่ในการจัดการ ขยะ ๕) พื้นที่เหมาะสมกับการรักษาความปลอดภัย ๖) พื้นที่ปฐมพยาบาล ๗) พื้นที่ธุรการและ การประชุม และ ๘) พื้นที่ในการจัดกิจกรรมอเนกประสงค์ ๖.๕ ประกาศระเบียบปฏิบัติการอยู่ในสถานที่กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Quarantine) ดังนี้ ๑) ห้ามออกนอกสถานที่ที่กำหนดไว้หากมีความจำเป็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงาน ๒) ห้ามบ้วนน้ำลาย เสมหะ สั่งน้ำมูก ลงบนพื้น ๓) ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ณ จุดที่กำหนดไว้ทุกวัน ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ มือถือ ๔) เมื่อมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ไข้ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอให้โทรแจ้ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลในพื้นที่ทันที่ล้างมือฟอกสบู่หรือ Alcohol gel ทุกครั้งหลังไอจาม ก่อน รับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ๕) ซักล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าเองทุกวัน หรือนำเสื้อผ้ามาใส่ถังที่จัด ไว้หน้าห้องเพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ซักล้างต่อไป (แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่แยกกักในการบริหารจัดการ ๖) ทิ้งขยะมูลฝอยในถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ให้หน้าห้อง ๗) ถ้ามีความประสงค์ให้ญาติมาเยี่ยมโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ ประสานงาน และ ๘) ทำความสะอาดภายในห้องพักด้วยตนเอง และนำขยะมูลฝอยทิ้งในถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ ให้ (ควรมีผู้ทำความสะอาดให้เป็นส่วนรวมตามวงรอบ เช่น ๒-๓ วัน/ครั้ง เป็นต้น) ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๗.๒ มีสถานที ่ควบค ุมเพื ่อสังเกตการเริ ่มป ่วยในระดับองค์กรปกครองส ่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) ตำบลคำโพน สำหรับการเฝ้าสังเกตอาการผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ๗.๓ มีวัสดุ อุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา วัสดุทางการแพทย์และวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการ จัดสถานที่ ตลอดจนสาธารณูปโภค ที่ใช้ในการดำเนินการภายในสถานที่กักกันตัว
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๘ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคำโพนทุกครัวเรือนได้รับความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อ ไวรัสโคโรนา 2019 ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนในการสร้างเกาะป้องกัน “ไวรัสโคโรนา” ด้วยการล้างมือ ๗ ขั้นตอน เป็นตัวอย่าง ดังนี้ขั้นตอนที่ ๑ ล้างมือด้วยสบู่ถูฝ่ามือให้ทั่ว ขั้นตอนที่ ๒ ถูหลังมือ - ซอกนิ้ว ขั้นตอน ที่ ๓ ฝ่ามือถูฝ่ามือ และถูซอกนิ้วมือ ขั้นตอนที่ ๔ หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ ขั้นตอนที่ ๕ ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่า มือ ขั้นตอนที่ ๖ ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ ขั้นตอนที่ ๗ ถูรอบข้อมือ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ก็สามารถ ป้องกันตนเองจากเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๒) สร้างความตระหนักให้กับประชาชนในชุมชนมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และปลอดภัยห่างไกลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการประชาสัมพันธ์การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อออกจากบ้าน และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดเพื่อป้องกันตนเอง ๓) ช่วงระยะเวลาดำเนินโครงการข้างต้น ได้มีประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลคำโพน เดินทางกลับ ภูมิลำเนาซึ่งมาจากจังหวัดกลุ่มเสี่ยง เช่น จังหวัดกรุงเทพมหานคร และเขตพื้นที่สีแดง ได้ให้คำแนะนำ ดังนี้ (๑) กักตัวในบ้าน ๑๔ วัน เว้นระยะห่างจากทุกคน ๑-๒ เมตร (ป้องกันละอองฝอยที่อาจมาจากลมหายใจ หรือ ติดอยู่ตามเสื้อผ้า ไม่ให้สัมผัสกัน (๒) อสม. เข้าวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน ดูแลสุขอนามัยตัวเอง ไม่ใช้ของ ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ทั้งการล้างมือ ปิดปากด้วยหน้ากากผ้าหาก ไม่ป่วยล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล แยกการ ใช้ช้อนส้อม ก็ช่วยลดการแพร่เชื้อได้มีผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าของตัวเอง ซักและตากแดดจัดๆ เพื่อฆ่าเชื้อ (๓) แยกห้องนอนเมื่ออยู่กับผู้อื่นในบ้านก็ควรแยกห้องนอนเป็นสัดส่วน รวมถึงแยกกันเก็บเสื้อผ้า และของใช้ ส่วนตัว ไม่ให้ปะปนกัน รวมไปถึงควรแยกใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม หลอดดูดน้ำ แก้วน้ำ และแยกฟองน้ำที่ใช้ทำ ความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ และ (๔) แยกขยะของตัวเองทุกขยะที่มาจากการใช้งานส่วนตัว แยกทิ้งคนละถุง พวกขยะที่สามารถติดเชื้อได้อย่างกระดาษทิชชูซับหน้าที่ผ่านการสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย ก็ทิ้งไว้ถุงหนึ่ง ขวด หรือ ถุงพลาสติก ทั่วไปก็แยกทิ้งไว้อีกถุงหนึ่งได้และทำความสะอาดถังขยะด้วยการราดน้ำยาฟอกขาวเพื่อฆ่าเชื้อ (อสม.จะแจ้งให้โรงพยาบาลรับขยะติดเชื้อเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธี) ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม ประชาชนปรับวิถีดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้มีการทำอาชีพเสริม ลดรายจ่ายในครัวเรือน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ประชาชนมีการป้องกันตนเองมากขึ้นสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ก่อนออกจากบ้าน เว้นระยะห่าง ไม่รวมกลุ่มชุมนุม มีการระมัดระวังตนมากขึ้น ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ตำบลคำโพน ได้รับวัคซีนครบ ๓ ครั้ง แล้ว จำนวน ๕,๙๒๕ คน เพื่อป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีมาตราการในการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ อย่างเข้มงวด
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๕๙ Key Actors โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนงาม งานเด่น การจัดการโควิด-19 แบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ท้องที่ตำบลโนนงาม อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายบดินษ์โสมรักษ์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์๐๙๘-๘๕๔๕๑๔๖ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน ๓,๐๖๖,๘๐๐ คน หายป่วยสะสม จำนวน ๒,๘๑๙,๑๐๓ คน เสียชีวิตสะสม จำนวน ๒๓,๓๖๙ คน สถานการณ์ในจังหวัดอำนาจเจริญ มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน ๕,๒๔๘ คน หายป่วยสะสม จำนวน ๔,๗๙๗ คน เสียชีวิตสะสม จำนวน ๓๙ คน อำเภอปทุมาราชวงศา มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน ๒,๖๑๕ คน ตำบลโนนงาม พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน ๒๕ คน แบ่งเป็น เด็ก ๐-๕ ปีจำนวน ๑ คน ผู้สูงอายุจำนวน ๑ คน ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน ๒ คน ประชาชนทั่วไป จำนวน ๒๑ คน กลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องกักตัว สังเกตอาการ จำนวน ๔๘ คน กลุ่มคนที่เดินทางมาจากจังหวัดที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวงกว้างและต้องเฝ้าระวัง จำนวน ๒๖๕ คน ทุนทางสังคมที่มีศักยภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกันและ ควบคุมการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนงาม องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน ๗๒ คน พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ ๓ และกำลังเข้าสู่ระลอกที่ ๔ ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลได้ออกมาตรการและแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น น่าอยู่ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุข ภาวะชุมชน (สำนัก ๓) เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพต่อการระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการปรับแผนปฏิบัติการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ใช้ทุนทางสังคมในชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการเฝ้า ระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ในชุมชนท้องถิ่นของตนเองนั้น สำนัก ๓ ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบ สุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการ เครือข่ายภาค (ศวภ.) จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับแผนปฏิบัติการและงบประมาณโครงการเพื่อรับมือ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ จึงมีข้อตกลงในการปรับแผนปฏิบัติ การและงบประมาณในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนัก ๓ (แผนสุขภาวะชุมชน) โดย พชต.โนนงามเป็น สมาชิกเครือข่ายของศูนย์จัดการเครือข่ายเทศบาลตำบลนาป่าแซง ภายใต้โครงการโครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น น่าอยู่สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ตำบลโนน งามได้นำแนวทางจัดการควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเทศบาลตำบลนาป่าแซงมาสู่การ ปฏิบัติในพื้นที่และดำเนินการไปพร้อมกัน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ดำเนินการ จำนวน ๓ โครงการ ประกอบด้วย ๑) โครงการจัดหาปรอทวัดอุณหภูมิจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ๒) โครงการจัดทำคู่มือเพื่อป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน ๓,๔๕๐ บาท ๓) โครงการติดตามเฝ้า ระวังผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่อื่น (COVID-19) จำนวน ๒๒,๔๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๖๔ สืบเนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังมีการแพร่ระบาด ตำบลโพนงามจึงมีการ ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อเนื่อง โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โนนงาม ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค ป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดในเขต อำเภอ ตำบลและหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ และดำเนินการตามที ่คณะกรรมการโรคติดต ่อแห ่งชาติหรือ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอำนาจเจริญ มอบหมายและแนะนำ นอกจากนี้แล้ว สำนักงานสถิติจังหวัด อำนาจเจริญโดย นางสาวสมใจ มูลสาร สถิติจังหวัดอำนาจเจริญและทีมงานคุณมาดีซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการ สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัด ชุดที่ ๔ ได้ลง พื้นที่ ตำบลโนนงาม อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อสร้างการตระหนักรู้และการปฏิบัติตาม
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๖๐ มาตรการ D-M-H-T-T-A พร้อมมอบเอกสารความรู้และเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ให้แก่ ผู้ กักกันเพื่อสังเกตอาการและผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีกด้วย พ.ศ. ๒๕๖๕ การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนงาม ได้ออกติดตามประเมิน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็ก ตามมาตรการป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทางราชการกำหนดและมาตรการตามประกาศจังหวัดอำนาจเจริญ รวมถึงออกสุ่มตรวจคัดกรองเด็กนักเรียนและออกตรวจเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) คณะทำงาน ได้แก่ กำนันตำบล ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกแห่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล หัวหน้างานควบคุมโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๒ คน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน ๘ คน หมู่บ้าน อสม. จำนวน ๗๒ คน อปพร จำนวน ๓๐ คน ชรบ. จำนวน ๔๐ คน ๒) ประชากรทั้งหมด จำนวน ๔,๒๙๗ คน ๓) กลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องแยกกักในสถานที่กักตัว จำนวน ๑๐ คน กลุ่มเสี่ยงที่กักตัวที่บ้านของตัวเอง จำนวน ๓๐๓ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๓๑๓ คน ๔) กลุ่มผู้ติดเชื้อ จำนวน ๒๕ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๘ มีนาคม๒๕๖๕) ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ตำบลโนนงามมีสถานที่กักกันประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Local Quarantine) จำนวน ๓ แห่ง คือ อาคาร รพ.สต.โนนงาม(หลังเก่า) รองรับผู้ป่วยได้จำนวน ๔ คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านคำไหล(หลังเก่า) รองรับผู้ป่วยได้จำนวน ๖ คน วัดโนนงาม รองรับผู้ป่วย ได้จำนวน ๕ คน รวมทั้งสิ้น ๑๕ คน ๓.๒ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ในด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรค ๓.๓ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในสถานการณ์การแพร่ระบาด ๓.๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกันได้รับสวัสดิการในการปฏิบัติงาน ๓.๕ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่เข้ารับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน โดยใช้งบประมาณจากอบต.โนนงามและการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ๔.๒ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น รพ.สต. และภาคประชาชนร่วมกันพัฒนา วางแผนในการดูแลการระบาดของ โรคโควิด 2019 ในพื้นที่ และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ๔.๓ ข้อมูลประชากร กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อในชุมชนและข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวข้อง กับทุนทางสังคมที่จัดการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๔.๔ แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาท้องถิ่น ๔.๕ พรบ. พรก. ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๔.๖ วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ได้แก่ ๑) เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบมีขาตั้ง จำนวน ๑๐ เครื่อง ๒) ชุด PPE ๓) ถุงมือ Disposable Glove ๔) Surgical face mask ๕) เครื ่องวัด ออกซิเจนปลายนิ้วมือ ๖) ค่าเหมารถให้กลุ่มผู้สูงอายุไปฉีดวัคซีนที่จดฉีดวัคซีนอำเภอปทุมราชวงศา และ ๗) สนับสนุนค่าข้าวกล่องให้กับ จนท.และ อสม.ที่จุดฉีดวัคซีน ตำบลโนนงาม ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดตั้งคณะทำงาน และมีการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคในพื้นที่ร่วมกับชุดปฏิบัติการร่วม ของ รพ.สต. ท้องที่ อสม.ในการลงปฏิบัติการตรวจประเมินกลุ่มกักตัวเยี่ยมเสริมพลังใจสัปดาห์ละครั้ง
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๖๑ ๕.๒ ประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์แผ่นพับ หอกระจายข่าว รถรณรงค์เป็น ต้น เพื่อสร้างความมั่นใจในชุมชนทั้ง ๘ หมู่บ้าน และสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในชุมชนมีการปรับ พฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและปลอดภัยห่างไกลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดเพื่อ ป้องกันตนเอง สร้างกลุ่มไลน์ในการติดต่อประสานงานในระดับหมู่บ้านและระดับตำบล ๕.๓ จัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสารการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิดในพื้นที่ ที่องค์การบริหาร ตำบล ๑ แห่ง เพื่อรวบรวมข้อมูลและส่งข่าวสารที่ตรงจริง ต่อต้านข่าวลวงที่จะทำให้ประชาชนสับสน ๕.๔ จัดตั้งศูนย์บัญชาการ เพื่อการวางแผนงานปฏิบัติการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ เป็นศูนย์สั่งการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ๕.๕ จัดสถานที่กักตัว จำนวน ๓ แห่ง และจัดศูนย์พักคอยไว้รองรับสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสำหรับ การกักตัว ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดตั้งและประชุมคณะทำงาน ชี้แจงนโยบายแนวทางการจัดการควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตามคำสั่งอำเภอปทุมราชวงศา ที่ ๒๔๗/๒๕๖๕ เรื่องแต่งตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ เร็วเพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๑ ชุด คณะปฏิบัติการประจำตำบลโนนงาม ประกอบด้วย ๑) ปลัดอำเภอประจำ ตำบลโนนงาม หัวหน้าชุด ๒) นางสาวนริศรา ทองห่อ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รองหัวหน้าชุด ๓) ตำรวจประจำตำบลโนนงาม ชุดปฏิบัติการ ๔) กำนันตำบลโนนงาม ชุดปฏิบัติการ ๕) ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน ตำบลโนนงาม ชุดปฏิบัติการ และ ๖) นายยุทธศาสตร์สารธิมา ผอ.รพ.สต.โนนงาม เลขานุการ ๖.๒ สร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันและแพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด ๖.๓ ออกติดตามการปฏิบัติตัวในรายที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด ซึ่งได้รับจากรายงานจากของ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ๖.๔ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการควบคุมโรคติดต่อและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในช่วง ระยะเวลาดำเนินโครงการข้างต้น ได้มีประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลโนนงาม เดินทางกลับภูมิลำเนาซึ่งมาจาก จังหวัดกลุ่มเสี่ยง เช่น จังหวัดกรุงเทพมหานคร และเขตพื้นที่สีแดง ได้ให้คำแนะนำ ดังนี้(๑) กักตัวในบ้าน ๑๔ วัน เว้นระยะห่างจากทุกคน ๑-๒ เมตร (ป้องกันละอองฝอยที่อาจมาจากลมหายใจ หรือติดอยู่ตามเสื้อผ้า ไม่ให้สัมผัสกัน (๒) อสม. เข้าวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน ดูแลสุขอนามัยตัวเอง ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ทั้งการล้างมือ ปิดปากด้วยหน้ากากผ้าหาก ไม่ป่วยล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล แยกการใช้ช้อนส้อม ก็ช่วยลด การแพร่เชื้อได้มีผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าของตัวเอง ซักและตากแดดจัดๆ เพื่อฆ่าเชื้อ (๓) แยกห้องนอนเมื่ออยู่ กับผู้อื่นในบ้านก็ควรแยกห้องนอนเป็นสัดส่วน รวมถึงแยกกัน เก็บเสื้อผ้า และของใช้ส่วนตัว ไม่ให้ปะปนกัน รวมไปถึงควรแยกใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม หลอดดูดน้ำ แก้วน้ำ และแยกฟองน้ำที่ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ ต่าง ๆ และ (๔) แยกขยะของตัวเองทุกขยะที่มาจากการใช้งานส่วนตัว แยกทิ้งคนละถุง ส่วนขยะที่สามารถติด เชื้อได้อย่างกระดาษทิชชูซับหน้าที่ผ่านการสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย ให้แยกทิ้งไว้ถุงหนึ่ง ขวด หรือ ถุงพลาสติก ขยะทั่วไปให้แยกทิ้งไว้อีกถุงหนึ่งได้และทำความสะอาดถังขยะด้วยการราดน้ำยาฟอกขาวเพื่อฆ่าเชื้อ (อสม. จะแจ้งให้โรงพยาบาลรับขยะติดเชื้อเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธี) ๖.๕ ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายอำเภอปทุมราชวงศา มอบหมาย ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในพื้นที่ตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๗.๒ มีสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ ่มป ่วยในระดับองค์กรปกครองส ่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) ตำบลโนนงาม สำหรับการเฝ้าสังเกตอาการผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๖๒ ๗.๓ มีวัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา วัสดุทางการแพทย์และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสถานที่ ตลอดจนสาธารณูปโภค ที่ใช้ในการดำเนินการภายในสถานที่กักกันตัว ๗.๔ ผู้ที่ติดเชื้อจำนวน ๒๕ คน มีสถานที่พักรักษาตัวและอาการดีขึ้น ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลโนนงามทุกครัวเรือนได้รับความรู้ในการป้องกันโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนในการสร้างเกาะป้องกัน “ไวรัสโคโรนา” ด้วยการล้างมือ ๗ ขั้นตอน ๒) กลุ่มเสี่ยงสูงถูกกักตัวสังเกตอาการ จำนวน ๔๘ ราย ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม ประชาชนปรับวิถีดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ถูกบีบให้ออกจกงานต้องกลับมาอยู่ที่ภูมิลำเนา มีผลกระทบต่อได้รายลดลง ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ประชาชนมีการป้องกันตนเองมากขึ้นสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ก่อนออกจากบ้าน เว้นระยะห่าง ไม่รวมกลุ่มชุมนุม มีการระมัดระวังตนมากขึ้น ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ตำบลโนนงาม ได้รับวัคซีนครบ ๓ ครั้ง เพื่อป้องกันและสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีมาตราการในการป้องกันการ แพร่ระบาดในพื้นที่ อย่างเข้มงวด
ส่วนที่ ๓ บทเรียนที่เกิดจากการพัฒนา นวัตกรรมและทำให้เกิดการ หนุนเสริม ในประเด็น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา
บทเรียนที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรม...อำเภอปทุมราชวงศา ๑๖๔ ๑. ประเด็นการพัฒนาระบบอาหารชุมชนหนุนเสริมประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เน้นเรื่องการสร้างการตระหนักรู้ในร้านค้าชุมชน มาตรฐาน สินค้า ยา เวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพมีระบบการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัย โดยบทเรียนที่เกิดขึ้นจากการ พัฒนานวัตกรรมประเด็นการพัฒนาระบบอาหารชุมชนหนุนเสริมประเด็นการคุ้มครอง ผู้บริโภคด้าน สาธารณสุขของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้ ๑.๑ มีกลไกคณะทำงานในการดำเนินงานประเด็นคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุข ได้แก่ (๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซงมีการขับเคลื่อนงานผ่านคณะทำงานไทนาป่าแซง และกลุ่มอสม.โทรโข่งในการออก ตรวจร้านค้าไม่ให้มีการจำหน่ายสินค้าหมดอายุห้ามรถขายยาเข้ามาเร่ขายในหมู่บ้าน ห้ามจำหน่ายการขายยา สมุนไพร สเตียรอยด์ ในชุมชน มีการกำหนดมาตรการจับกลุ่มที่มาจำหน่าย และมีการอบรมร้านขายของชำ คุณภาพ การตรวจเยี่ยมและรับรองเป็นร้านขายของชำคุณภาพที่ได้รับมาตรฐาน และการรับรองร้านอาหาร มาตรฐาน เช่น ร้านส้มตำปลาร้าปรุงสุก เป็นต้น การตรวจรถพุ่มพวง เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในรถพุ่ม พวง สุ่มตรวจเดือนละ ๑ ครั้ง เป็นต้น (๒) องค์การบริหารส่วนตำบลลือร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล อบรมอสม.ให้มีความรู้ประเด็นคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุข และทำหน้าที่ในการคัดกรองสารเคมี ตกค้างในเลือดสำหรับเกษตรกร และมีการรณรงค์อาหารปลอดสารพิษ เช่น สารพิษตกค้าง สารบอแร็กซ์ใน อาหาร และเนื้อแดง เป็นต้น มีการตรวจเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ร้านค้า ร้านอาหารและตลาดสด โดย คณะกรรมการพัฒนาตำบลลือมีการจัดทำธรรมนูญตำบลเรื่องอาหารปลอดภัย และ (๓) เทศบาลตำบลห้วย มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเทศบาลตำบลห้วย ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี ตำบลห้วย รองปลัดเทศบาล อสม. หัวหน้าสำนักปลัด หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ และผู้ช่วยนิติกร มีอำนาจ หน้าที่ ดังนี้ (๓.๑) รับและพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคในเขตพื้นที่ ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือ เสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจในเรื่องเกี่ยวกับการถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับค วสามเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ (๓.๒) ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ที่ ละเมิดสิทธิผู้บริโภค (๓.๓) สั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีผู้ร้องทุกข์ หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๓.๔) ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน และสร้างเครือข่าย ความเข้มแข็งของประชาชน เพื่อป้องกันการละสิทธิของผู้บริโภค (๓.๕) ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน และสร้างเครือข่าย (๓.๕) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย และ (๓.๖) รายงานผลการปฏิบัติงานใน รอบเดือนให้คณะกรรมการรับทราบ ๑.๒ มีการกำหนด กติกาข้อตกลงของชุมชนประเด็นคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุข ได้แก่ (๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซงและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวินัยดีทำการประชาคมรายหมู่บ้านทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน มีการกำหนดกติกาชุมชน เรื ่องการเฝ้าระวัง สเตียรอยด์เนื่องจากมีกรณีผู้เสียชีวิตจากการใช้สารสเตียรอยด์ห้ามมิให้รถขายยา ในตำบลนาป่าแซง ๑.๓ มีรูปธรรมการพัฒนาระบบอาหารชุมชนที่เป็นต้นแบบการจัดการอาหารปลอดภัย ได้แก่ (๑) ทต.ห้วย มีการรวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์การลดการใช้สารเคมีการจัดการอาหารปลอดภัยในชุมชน มี โรงงานผลิตวุ้นเส้นอินทรีย์และตลาดสีเขียวในชุมชน (๒)เทศบาลตำบลหนองข่า มีกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ที่ ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสากลภายใต้กลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญอำนาจเจริญตาม โครงการผูกปิ่นโตข้าวอำนาจเจริญ (๒) อบต.ลือ มีการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์หมู่บ้านปลูกผักปลอด สารพิษ หมู่ ๗ บ้านเลิศอุดม และนำผักปลอดสารมาขายในชุมชน ๑.๔ เกิดเครือข่ายการพัฒนาระบบอาหารชุมชน จากการขับเคลื่อนงานร่วมกันของคณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทั้ง ๘ แห่ง ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกัน มีการสรุปบทเรียนงานเด่น ของแต่ละพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นเครือข่ายที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้าน สาธารณสุขในระดับอำเภอ ๒. ประเด็นการจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อนหนุนเสริมประเด็นการบริหารจัดการขยะ บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมประเด็นการจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อนหนุน เสริมประเด็นการบริหารจัดการขยะ ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้
บทเรียนที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรม...อำเภอปทุมราชวงศา ๑๖๕ ๒.๑ มีนโยบายการจัดการขยะทั้งในระดับจังหวัด อำเภอและตำบลที่ชัดเจน ดังนี้๑) ระดับจังหวัด อำนาจเจริญมีนโยบายเรื่อง “อำนาจเจริญเมืองสะอาด” ส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะ เช่น การคัดแยกขยะ เปียกและขยะอินทรีย์การแยกขยะรีไซเคิล การคัดแยกขยะทั่วไป และ การคัดแยกขยะอันตราย และขยะติด เชื้อ และใช้หลักการ ๓ ช. (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่) เช่น การใช้ถุงผ้า ตระกร้าผ้าแทนถุงพลาสติก การ งดใช้โฟมหรือไม่ซื้ออาหารที่ใช้โฟม การใช้แก้วกาแฟหรือเครื่องดื่มที่ใช้ซ้ำ และการใช้ปิ่นโตสำหรับใส่อาหารมา รับประทาน เป็นต้น มีการยกย่องชมเชยมอบรางวัลเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยมีการจัดตั้ง คณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผล ๒) ระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงาน ด้านการจัดการขยะ อำเภอปทุมราชวงศา ประกอบด้วย (๑) ท้องถิ่นอำเภอปทุมราชวงศา (๒)ตัวแทนภาค ประชาชน (๓)ประธานคณะกรรมการจัดการขยะตำบลห้วย (๔)นายกเทศมนตรีตำบลนาป่าแซง (๕)ผอ.กอง สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม/นักวิชาการสาธารณสุขอปท.ทุกแห่ง (๖)นายกสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหาร สถานศึกษาอำเภอปทุมราชวงศา (๗) ผู้อำนวยการโรงเรียนธันยธรณ์พิทยา ๒ (๘) กำนันตำบลนาป่าแซง (๙) ผอ.รพ.สต.ตาดใหญ่ (๑๐) นักวิชาการเกษตรชำนาญการ (๑๑) ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขเทศบาลตำบล ห้วย และ (๑๒) หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปเทศบาลตำบลห้วย โดยมีบทบาทในการดำเนินงาน (๑) ประสานงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๒) กำหนดกลวิธีดำเนินงานการจัดการขยะ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูล ประเมินผล ตามความเหมาะสม เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอปทุมราชวงศา (๓) ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรับทราบถึงการดำเนินการขับเคลื่อนการ ดำเนินงานการจัดการขยะ ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา และ ๓) ระดับ ตำบล โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทุกตำบล ร่วมดำเนินงานการจัดการขยะต้นทาง ๒.๒ มีรูปธรรมการจัดการขยะเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ (๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง มี การจัดการขยะต้นทางโดยมีการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการขยะ และการจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบลไร้ถังขยะ ให้ชุมชนมีการคัดแยกขยะ เกิดธนาคารขยะ จัดทำถังรักษ์โลก จำนวน ๒ หมู่บ้าน คือบ้านสามัคคีและบ้านโคก เจริญ ได้เข้าร่วมโครงการประกวดชุมชนปลอดขยะระดับประเทศ (Zero Waste) ประจำปี๒๕๖๒ ได้รับรางวัล ชนะเลิศ ถวายพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีตามโครงการประกวดชุมชน ปลอดขยะระดับประเทศ (Zero Waste) ประจำปี๒๕๖๒ กลายเป็นชุมชนตัวอย่าง เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดู งานให้กับชุมชนอื่น ๆ และมีการจัดทำเตาเผามาตรฐานเพื่อเผาหน้ากากอนามัยในชุมชน และมีการคัดแยก ขยะอันตรายในแต่ละหมู่บ้านนำการทำลายให้ถูกวิธี(๒) เทศบาลตำบลห้วยมีนโยบายในการจัดการขยะ จัดหาถังรักษ์โลก สำหรับกลุ่มคนที่กักตัวจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใส่เศษอาหาร จำนวน ๒๐ ถัง ในศูนย์พักคอย และ Home Quarantine จัดหาเตาเผาขยะติดเชื้อ จำนวน ๑๑ ชุด กระจายตามจุด ครอบคลุม ๑๓ หมู่บ้าน (๓) เทศบาลตำบลห้วยมีการขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบจัดการขยะ และการจัดตั้ง ธนาคารขยะ (๔) รพ.สต.โนนงาม จัดทำโครงการจัดการขยะ รณรงค์ลดการใช้โฟม และ รพ.สต.โนนงามร่วม เป็น รพ.สต.ต้นแบบจัดการขยะ และรณรงค์การทิ้งขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย และ ชุดตรวจ ATK เป็น ต้น (๕) เทศบาลตำบลลือ สร้างเครือข่ายบริหารจัดการขยะ ประกอบด้วย โรงเรียน จำนวน ๘ แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๗ แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๓ แห่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน และ (๖) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลคำโพน การจัดการ ขยะไปยัง ๑๐ หมู่บ้าน โดยให้แต่ละหมู่บ้านแต่งตั้งคณะกรรมบริหารงานเป็นชุมชนจัดการตนเอง หมู่บ้านละ ๑ ทีม และจัดให้มีจุดตัวอย่างคัดแยกขยะหมู่บ้านละ ๑ แห่ง จัดให้มีการจัดการขยะต้นทาง กลางทาง และ ปลายทาง จัดให้มีจุดรับซื้อขยะ มีตารางรับซื้อขยะแต่ละหมู่บ้าน และมีการจัดการขยะในชุมชนอย่างครบวงจร มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับชาวบ้านเพื่อเป็นเงื่อนไขให้เกิดการเป็นรูปธรรม ๒.๓ มีระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) สามารถนำใช้ข้อมูลประเด็นการ จัดการขยะในการดำเนินงาน โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทั้ง ๘ พื้นที่มีการจัดเก็บ ข้อมูลแบบมีส่วนร่วม และนำใช้ข้อมูลในการดำเนินงานประเด็นการจัดการขยะ เช่น ๑) ร้อยละครัวเรือนที่มี ปัญหาการจัดการขยะ ๒) ร้อยละครัวเรือนมีการจัดการมลพิษหรือมลภาวะ ๓) มีการดักเศษขยะ เศษอาหาร ก่อนปล่อยสู่รางระบายน้ำสาธารณะ ๔) ร้อยละมีการดักเศษขยะ เศษอาหาร ก่อนปล่อยน้ำซึมลงผิวดินและไม่
บทเรียนที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรม...อำเภอปทุมราชวงศา ๑๖๖ มีน้ำขัง ๕) ร้อยละการป้องกันอันตรายจากสารเคมี๖) ร้อยละทำเกษตรอินทรีย์และลดปริมาณการใช้สารเคมี ๗) ร้อยละครัวเรือนที่มีการจัดการน้ำเสีย และ ๘) จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีการทำธนาคารขยะ เป็นต้น ๒.๔ เกิดเครือข่ายการจัดการขยะ จากการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ ตำบลทั้ง ๘ แห่ง ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน สรุปบทเรียนงานเด่นประเด็น การจัดการขยะ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ๓. ประเด็นการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยหนุนเสริมการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมประเด็นการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยหนุนเสริม การดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้ ๓.๑ มีกลไกระดับอำเภอและระดับตำบลในการดูแลเด็กปฐมวัย ได้แก่ ๑) ระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการดูแลกลุ่มเปราะบางอำเภอปทุมราชวงศา ประกอบด้วย (๑) พัฒนาการอำเภอ ปทุมราชวงศา (๒)ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอปทุมราชวงศา (๓)ประธานชมรม อสม.อำเภอปทุมราชวงศา (๓)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง (๔)ตัวแทนภาคประชาชน (๕)พบาบาลวิชาชีพชำนาญการ (๖) นักวิชาการพัฒนาชุมชน และ(๗)เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โดยมีบทบาทในการดำเนินงานประสาน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดเป้าหมายการดูแลกลุ่มเปราะบางตามบริบทของพื้นที่และมีข้อมูลรายชื่อ กลุ่มเปราะบางของอำเภอ มีกำหนดกลวิธีดำเนินงานการดูแลกลุ่มเปราะบาง และ มีการติดตามเยี่ยม กลุ่มเป้าหมายและรายงานผลการดำเนินงาน และ ๒) ระดับตำบล โดยในแต่ละตำบลจะมีการจัดตั้งกลไก คณะกรรมการในการดูแลเด็กปฐมวัยที่ประกอบด้วยอย่างน้อย ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และตัวแทนภาคประชาชน เป็นต้น เช่น เทศบาลตำบลนาป่าแซง มีการสร้างทีมและกำหนดคณะทำงานเพื่อบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างมีส่วน ร ่วมทั้ง ๗ แห ่ง ประกอบด้วย ผู้แทนที ่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชน และองค์กรปกครองส ่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนผู้ดูแลเด็ก ผู้แทนจากลุ่มองค์กรชุมชน และพัฒนา หลักสูตรและจัดทำคู่มือสำหรับฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กปฐมวัย เช่น หลักสูตรและคู่มือการดูแล เด็กปฐมวัย ที่มีความพิการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ออทิสติก และ เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม และร่วมสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาครบทั้ง ๗ ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ทั้งนี้ยังมีการสนับสนุนอาหารปลอดภัยจากกลุ่มเกษตรอาหารปลอดภัยในพื้นที่ มีระบบการรายงาน พัฒนาการเด็กระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับผู้ปกครอง และเทศบาลตำบลนาป่าแซง ๓.๒ มีรูปธรรมการดูแลเด็กปฐมวัยเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการดูแลเด็กปฐมวัย ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง มีการดูแลแบบบูรณาการในการดูแลเด็กปฐมวัยโดยมีคณะทำงานชมรมคนสองแม่ ร่วมกันจัดพื้นที่สร้างสรรค์คือเนอสเซอรีบ้านเฮาครบทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน แบ่งเป็น ๔ ระยะมีรูปธรรมดังนี้(๑) ระยะแรก ตั้งแต่การตั้งครรภ์โดยมีชมรมแม่ฮัก มีการลงทะเบียนครอบครัวที่พร้อมตั้งครรภ์และให้รับยา วิตามินเสริมธาตุเหล็กเพื่อเตรียมความพร้อมตั้งครรภ์และให้ดื่มนมจืดอย่างน้อย ๙๐ วัน จับคู่กับหญิง ตั้งครรภ์๑ คนและให้คำปรึกษาและดูแลให้การช่วยเหลือและพาไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ให้ ความรู้ในเรื่องการโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ตลอดจนคลอด โดยนำนมมาจากกองทุนนมไข่ (๒) ระยะที่ ๒ ทำหน้าที่เป็นแม่คนที่ ๒ ติดตามการได้รับการให้นม ๖ เดือน และดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง กรณีพ่อแม่เด็กไป ทำงานต่างจังหวัดและต้องอาศัยอยู่กับตายาย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อ เติบโตล่าช้า มีการเจ็บป่วย ขาดผู้ดูแล (๓) ระยะที่ ๓ การเข้าสู่เนอสเชอรีโฮมสุขของชุมชน โดยเด็กตั้งแต่อายุ๑-๒ ปีจะได้รับการสอดส่องดูแลและ ประเมินพัฒนาการด้วยเครื่องมือ DSPM กระตุ้นให้เด็กได้มีการพัฒนาการเป็นไปตามวัย มีสติปัญญาที่ เหมาะสม ฝึกให้ผู้ปกครองตรวจดูพัฒนาการของเด็กได้เอง จัดตั้งกองทุนนมไข่สำหรับเด็กปฐมวัย โดยขอ ความร่วมมือให้พี่น้องตักบาตรด้วยนมจืดและนำนมจากการพระมามอบให้เด็กปฐมวัย และ (๔) ระยะที่ ๔ การ เขาสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเล็ก โดยในปีพ.ศ.๒๕๖๓ รพ.สต.นาป่าแซงได้ดำเนินโครงการการดูแลเด็กปฐมวัย มี การสร้างการเรียนรู้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการจัดหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นเด็กปฐมวัยและ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาป่าแซง เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เด็กแบบมีส่วนร่วมโดยนำใช้ภูมิปัญญาจากปราชญ์ และผู้สูงอายุการกิจกรรมทางกาย กิจกรรมนั่งสมาธิกิจกรรมทำขนมพื้นบ้าน การเล่านิทาน การทำของเล่น พื้นบ้าน และการเล่นของเด็กในสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา เป็นต้น และมีกิจกรรมพัฒนาระบบบริการการ
บทเรียนที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรม...อำเภอปทุมราชวงศา ๑๖๗ ดูแลเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ๑) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการใช้เทคนิคในการเล่านิทานที่กระตุ้นทาง อารมณ์๒) จัดกิจกรรมธนาคารเวลา โดยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง อสม.ผู้สูงอายุมาเล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัย ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓) กิจกรรมให้เด็กรู้จักรอคอย เมื่อต้องต่อคิว เข้าแถว หรือทำในสิ่งที่ทำไม่ได้ทันที เช่น การต่อคิวเป็นการปลูกฝังความมีระเบียบ เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยให้กับตัวเด็ก ๔) นักสำรวจน้อย ให้ เด็กสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เพราะสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเป็นเรื่อง แปลกใหม่สำหรับลูก ซึ่งอาจเป็นไปตามที่เขาคิดหรือสงสัย โดยช่วยให้เด็กได้ค้นพบและสำรวจด้วยตัวเอง ซึ่ง อาจไม่ใช่สิ่งที่มีเหตุผล เพียงตอบคำถาม พร้อมกับกระตุ้นให้เด็กได้คิดต่ออย่างสร้างสรรค์๕) ให้เด็กเล่นแป้ง โดว์หรือดินน้ำมัน อาจปั้นผลไม้หรือขนมสีคล้ายของจริง แต่ปล่อยให้เด็กปั้นตามจินตนาการ อาจหลากสี หลายรูปแบบ ๓.๓ มีการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซงการ พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กปฐมวัย มีการดำเนินงานดังนี้มีการจัดทำแผนในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลร่วมกัน ทั้งเทศบาลนาป่าแซง รพ.สต.ทั้ง ๒ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง ๗ แห่ง เช่น (๑)ฝึกอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ปฐมวัยให้เข้าใจ ความจำเป็นของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคการคัดกรองโรคติดต่อในเด็ก การคัดกรองโรค หรือความผิดปกติในเด็ก การประเมินพัฒนาการ การส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการทางปัญญาและอารมณ์ (๓) ฝึกอบรมครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย อาสาสมัคร ให้มีทักษะการช่วยเหลือเด็กที่จมน้ำ (๒) ฝึกอบรมผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กให้เข้าใจ ความจำเป็นของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การประเมินพัฒนาการ การส่งเสริมการ เรียนรู้พัฒนาการทางปัญญาและอารมณ์(๔)ฝึกอบรมผู้ปกครองและผู้ดูแลในการจัดการเรียนและส่งเสริม การเรียนรู้ให้แก่เด็กที่มีภาวะป่วยที่บ้าน เช่น การส่งเสริมการการอ่าน การเล่น การรับประทานอาหาร เป็นต้น (๕)จัดทำสมุดประจำตัวเด็กที่ระบุประวัติการได้รับวัคซีนที่จำเป็น ระดับพัฒนาการทั้งด้านร่างกายสติปัญญา และอารมณ์(IQ EQ) การฝึกใช้กล้ามเนื้อในเด็ก การดูแลเรื่องฟันและช่องปาก และมีการติดตามผลโดยอสม. ร่วมกับชมรมแม่ฮักและรพสต.รวมถึงกองศึกษาของเทศบาลตำบลนาป่าแซง ๒) รพ.สต. สามแยก รพ.สต. คำโพน และคณะกรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลคำโพนมีการอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง เช่น การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โภชนาการสำหรับเด็ก การเล่านิทาน จัดกิจกรรม ส่งเสริมพัฒนาการ Triple p (Preschool Parenting Program) ๓) รพ.สต.นาผาง ร่วมกับเทศบาลตำบล ห้วย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้กับครูผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการคัดกรองพัฒนาการเด็กด้วย DSPM และ จัดอบรมให้ความรู้พ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กเพื่อให้มีทักษะในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้องผ่านกิจกรรม โรงเรียนพ่อแม่ ๓.๔ มีการสนับสนุนและจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบากและการจัด สวัสดิการ ได้แก่ (๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซงมีการสนับสนุนและจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่อยู่ ในภาวะยากลำบากรวมถึง และจัดสวัดิการสำหรับเด็ก ด้านการดูแลสุขภาพ ผู้ดูแลกลุ่มเด็กที่เจ็บป่วย พิการ เช่น กองทุนไทยนาป่าแซงบ่ทิ่มกัน กองทุนสวัสดิการ กองทุนหมู่บ้าน และกองทุนสัจจะออมทรัพย์เป็นต้น เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางในการไปรักษาพยาบาล และประสานหน่วยงานเพื่อจัดสรรงบประมาณ สำหรับครอบครัวเด็กที่ต้องการของใช้สำรับที่อยู่ในภาวะยากลำบาก จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงมนุษย์จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นต้น และมีระบบการขึ้นทะเบียนเด็กแรกเกิดโดย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อให้เด็กสามารถรับสวัสดิการ และติดตามเพื่อรับสิทธิ์สวัสดิการเดือนละ ๖๐๐ บาท โดยเทศบาลตำบลนาป่าแซงเป็นผู้ดำเนินงาน และมีสวัสดิการของชุมชน จัดให้สำหรับการรับขวัญเด็กแรก เกิด เช่น หมู่ ๓ หมู่ หมู่ ๖ รายละ ๑๐๐๐ บาท เป็นต้น ๓.๕ มีระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) สามารถนำใช้ข้อมูลประเด็นเด็ก ปฐมวัยในการดำเนินงาน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทั้ง ๘ พื้นที่ มีการจัดทำระบบข้อมูล โดยชุมชนมีส่วนร่วม ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาครอบครัว รพ.สต. อาสาสมัครและทุนทางสังคมต่าง ๆ ในชุมชนทุกฝ่ายตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บการตรวจสอบความถูกต้องการ วิเคราะห์เพื่อใช้จัดการดูแลและประเมินผลการดูแลมีข้อมูลเด็ก ที่ครบถ้วน ครอบคลุมเพื่อใช้จัดบริการดูแล เช่น ๑) มีข้อมูลพื้นฐานเช่นพัฒนาการการเจริญเติบโต การได้รับภูมิคุ้มกันโรค ๒) ข้อมูลสถานะสุขภาพเด็ก ทั้งที่เป็นกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วย พิการมีแผนที่เด็กจำแนกสถานะสุขภาพ ๓) ข้อมูลทุนและศักยภาพที่ใช้ เพื่อจัดการดูแลตามปัญหาความต้องการและความจำเป็นเช่นข้อมูลกลุ่มอาสาสมัครช่วยเหลือเด็ก กลุ่มอาชีพ
บทเรียนที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรม...อำเภอปทุมราชวงศา ๑๖๘ แหล่งสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือในชีวิตประจำวันเช่นของเล่นเด็กเครื่องฝึกยืน ฝึกเดิน ๔) มีแผนการดูแล เด็กที่มาจากการใช้ข้อมูลและชุมชนจัดทำแบบมีส่วนร่วม ๕)ข้อมูลผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลดูแลเช่นแนวโน้ม ภาวะสุขภาพการเพิ่มขึ้นของความผิดปกติด้านพัฒนาการ ข้อมูลการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ข้อมูลโรค ระบาด เช่น ไข้เลือดออก มือเท้าปาก เป็นต้น ๓.๖ เกิดเครือข่ายการดูแลเด็กปฐมวัยอำเภอปทุมราชวงศา จากการขับเคลื่อนงานร่วมกันของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทั้ง ๘ แห่ง มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาระบบการ ดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชน มีการสรุปบทเรียนงานเด่น และนวัตกรรมการดูแลเด็กปฐมวัย เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน ๔. ประเด็นการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนุนเสริมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน อำเภอปทุมราชมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ ๒ รองจากอำเภอเมือง บทเรียนที่ เกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมประเด็นการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนุนเสริมการป้องกัน อุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้ ๔.๑ มีกลไกการดำเนินงานการป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนนระดับอำเภอ โดยคณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับตำบลทั้ง ๘ ตำบล มีการดำเนินงานกิจกรรม โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกัน อุบัติเหตุจราจรทางถนน อำเภอปทุมราชวงศา ประกอบด้วย (๑)ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงาน ปกครอง (๒) ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอปทุมราชวงศา (๓) ตัวแทนภาคเอกชน (๔) กำนันตำบลลือ (๕) กำนันตำบลลือ (๖) กำนันตำบลโนนงาม (๗) นายกเทศมนตรีตำบลหนองข่า (๘) นักป้องกันบรรเทาสาธารณ ภัยปฏิบัติการ อบต.คำโพน (๙) หัวหน้างานอุบัติเหตุฉุกเฉิน รพ.ปทุมราชวงศา (๑๐) ปลัดอำเภอฝ่ายความ มั่นคงอำเภอปทุมราชวงศา และ (๑๑) สารวัตรจราจรสถานีตำรวจภูธรอำเภอปทุมราชวงศา โดยบทบาท หน้าที่ ดังนี้ (๑)ดำเนินงาน ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๒)ดำเนินงานร่วมกับคณะทำงานตามคำสั่ง อำเภอปทุมราชวงศาขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอปทุมราชวงศา (๓) กำหนดกลวิธี การดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลงานตามความเหมาะสม เพื่อเสนอ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอปทุมราชวงศา และ (๔) ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนทราบการป้องกันอุบัติเหตุและการปฏิบัติตนที่ถูกต้องทั้งก่อนและขณะเกิด อุบัติเหตุ โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีการดำเนินงานและกิจกรรม ดังนี้๑)การประชาสัมพันธ์รณรงค์การลดการเกิดอุบัติเหตุจราจร ๒) การอบรมวินัยจราจร การใส่หมวก กันน็อคในนักเรียน ๓) การจัดตั้งด่านชุมชนในช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์๔) การสำรวจจุดเสี่ยง เช่น ทางโค้ง ทางแยก และจุดอันตรายในชุมชน เป็นต้น ๕)การเพิ่มไฟส่องสว่าง และทางลูกระนาด ๖) การ ซ้อมแผนอุบติเหตุหมู่ระดับอำเภอ ๘)การตัดกิ่งต้นไม้ไม่ให้บดบังทัศนวิสัยบริเวณสองข้างทาง และ ๙) การ รณรงค์และป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่น คนต้นแบบเลิกเหล้า งานศพปลอดเหล้า เป็นต้น ๔.๒ มีรูปธรรมการดำเนินงานการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนน โดยคณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล มีการดำเนินงานและกิจกรรม ดังนี้๑) เทศบาลนาป่าแซงได้ดำเนินการเชิงรุก สำหรับลดปัญหาการดื่มสุราและเน้นสกัดกั้นนักดื่มสุราหน้าใหม่ จึงได้จัดทำโครงการเลิกเหล้ามั่นคง ประชาชนทำได้เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุซึ่งทำให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตโดยประชาชนที่เข้าร่วม โครงการ คือ เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่มีอายุไม่เกิน ๕๐ ปีบริบูรณ์โดยมีการประชาสัมพันธ์ป้องกัน และรณรงค์ลดการดื่มสุรา และคณะทำงานโครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองน่าอยู่ สู่การพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา (พชอ.) จึงได้ร่วมมือกับเทศบาลตำบลนาป่าแซงและหน่วยกู้ชีพ ฉุกเฉินเทศบาลตำบลนาป่าแซง ในการจัดทำโครงการเพื่อขยายผลการดำเนินงานมีบุคคลต้นแบบ ชุมชน ต้นแบบเพิ่มขึ้นและเพื่อรณรงค์ส่งเสริมเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปลด ละ เลิกการดื่มสุรา ๒) ตำบลห้วยยัง มีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ เทศบาลตำบลห้วยจึงมีแผนลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ ประชาชน สร้างความเชื่อมั่นในกับประชาชน โดยใช้หลักผู้นำต้องทำก่อน จึงมีการค้นหา คัดเลือกบุคคลที่เป็น ต้นแบบเลิกเหล้า จากผู้นำฝ่ายปกครอง (ผู้ใหญ่บ้าน) คณะกรรมการหมู่บ้านที่เป็นแกนนำ และบรรจุเรื่อง การลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในธรรมนูญสุขภาพตำบลห้วย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจกรรมการณรงค์ส่งเสริมการลด ละ เลิกการดื่มแอลกอฮอล์การให้ความรู้
บทเรียนที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรม...อำเภอปทุมราชวงศา ๑๖๙ แบบเคาะประตูบ้านเกี่ยวกับอันตรายของการดื่มแอลกอฮอล์การบำบัดผู้ติดสุราเรื้อรัง และการสร้าง เครือข่ายการลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์๓) เทศบาลปทุมราวงศามีนโยบายในการลดปัญหาการดื่ม สุราและสกัดกั้นนักดื่มสุราหน้าใหม่ โดยจัดทำโครงการเลิกเหล้าเท่ากับลดอุบัติเหตุเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุซึ่ง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต มีการประชาสัมพันธ์ป้องกันและรณรงค์ลดการดื่มสุรา และ ร่วมมือกับเทศบาลตำบลปทุมาชวงศาและหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินโรงพยาบาลปทุมราชวงศา ในการจัดทำโครงการ เพื่อขยายผลการดำเนินงานมีบุคคลต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ เพิ่มขึ้นและรณรงค์ส่งเสริมเด็ก เยาวชน ประชาชน ทั่วไป ลด ละ เลิกดื่มสุรา และ ๔) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลโนนงามมีการดำเนินโครงการ ปลอดเหล้า สร้างชุมชนสุขภาพดีโดยจะนำร่องงดเหล้าในงานศพ กฎกติกา ในชุมชน มีการกำหนดมาตรการ ทางสังคมปลอดเหล้าในงานศพ งานไหนที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรับ งานละ ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาทต่องาน มี คนต้นแบบในการเลิกเหล้า ช่วยลดอุบัติเหตุจราจร ๔.๓ มีระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ในการดำเนินงานการป้องกัน อุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลมีการจัดเก็บข้อมูลแบบมีส่วน ร่วม และมีการนำใช้ข้อมูลในประเด็นการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการป้องกันอุบัติเหตุ จราจร เช่น (๑) จำนวนผู้ดื่มสุราเป็นประจำ (๒) จำนวนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย (๓) จำนวนผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย (๔) จำนวนผู้ขับรถเร็ว ประมาท (๕) จำนวนผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง (๖) จำนวนครั้งการจัดกิจกรรมเพื่อลด (๗) พฤติกรรมเสี่ยงเกี่ยวกับบุหรี่/สุรา (๘) ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ที่อายุ น้อยที่สุด (๙) ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อายุมากที่สุด (๑๐) ร้อยละผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำแนกตามอายุ (๑๑) ร้อยละประชาชนที่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ (๑๒) ร้อยละการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ร้อยละจุด เสี่ยงหรือจุดอันตรายในชุมชน (๑๓) ร้อยละจุดอันตรายที่มีการติดป้ายหรือสัญญาณเตือน (๑๔) จำนวน ผู้เสียชีวิตในรอบ ๑ ปีจากสาเหตุอุบัติเหตุจราจร และ (๑๕) จำนวนอุบัติเหตุจราจร เป็นต้น
ส่วนที่ ๔ บทเรียนและ การจัดการความรู้๕ ระดับ
บทเรียนและการจัดการความรู้จะแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ๑๗๑ โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีบทเรียน และการจัดการความรู้แบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ดังนี้ ๑. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับบุคคล บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับบุคคล ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล มี บทเรียนและการจัดการความรู้ในลักษณะของการจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพระดับบุคคล ดังนี้๑) เทศบาล ตำบลนาป่าแซง ได้แก่ (๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ และหน่วยงานพลังงาน จังหวัดอบรมการทำเตาพลังงานเพื่อใช้ในการเผาถ่าน ฝึกอาชีพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เข้าบำบัดและฟื้นฟูสภาพ เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดบุหรี่ (๒) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซง ร่วมกับโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลวินัยดีอบรมพ่อแม่ ผู้ปกครองเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ (๓) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซง อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 เช่น การล้างมือ ๗ ขั้นตอน การสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างอย่างน้อย ๒ เป็นต้น ๒) เทศบาลตำบลห้วย โดยเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๕๐ คน ลงพื้นที่ เคาะประตูบ้านพร้อมให้ คำแนะนำในการ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมีสติ๊กเกอร์ให้กับผู้ที่รับฟังคำแนะนำแล้ว ๓) เทศบาล ตำบลหนองข่า ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไฮ อบรมการป้องกันยาสูบและสารเสพติด สำหรับเด็กและเยาวชน และ ๔) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลปทุมราชวงศา ร ่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจัดอบรมการป้องกันการบริโภค ยาสูบและสารเสพติดสำหรับ เด็ก เยาวชน และ ประชาชนทั่วไป ๒. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับครอบครัว บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับครอบครัว ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล มี บทเรียนและการจัดการความรู้ในลักษณะของการจัดอบรมและการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพระดับ ครอบครัว ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวินัยดีอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ ให้อสม.เคาะประตูบ้านทุกหลังคาเรือน ๒) เทศบาลตำบลห้วย ร่วมกับโรงพยาบาลส ่งเสริม สุขภาพตำบลนาผาง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำลตาดใหญ่ อบรมให้ความรู้การดูแลเด็กปฐมวัยที่ บ้าน อบรมอาชีพให้แก่ผู้ปกครอง และ๓) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาหว้า เช่น ครัวเรือน ต้นแบบการผลิตเห็ด ได้ไปศึกษาดูงานการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ ใน ตำบลปลาค้าว จังหวัดอำนาจเจริญ อำนาจ เขมราช จังหวัดอุบลราชธานีและ อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร จนมีความรู้สามารถเพิ่มรายได้ครัวเรือนกว่า เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท ต่อมาได้ยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ด การจำหน่าย และการแปรรูปเห็ดใน ชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ และ โรงพยาบาลปทุมราชวงศา จัดอบรมครัวเรือนต้นแบบเลิก สูบบุหรี่ และจัดอบรมฝึกอาชีพสำหรับผู้เข้ารับการบำบัด สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ๓. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับองค์กร/หน่วยงาน บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับครอบครัว ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล มี บทเรียนและการจัดการความรู้ในลักษณะของการจัดอบรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพระดับ องค์กร/หน่วยงาน ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซงจัด อบรมครูด้วยแบบพัฒนาความรู้ศักยภาพครูอบรม อบรมการประเมินพัฒนาการเด็กด้วยคู่มือประเมินพัฒนา ระบบ DSPM ให้กับ อสม. อบรมการดูแลภาวะโภชนาการเด็กให้แก่ผู้ปกครอง อบรมพัฒนาอาชีพผู้ปกครอง
บทเรียนและการจัดการความรู้จะแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ๑๗๒ ของโรงเรียนพ่อแม่มืออาชีพ อบรมเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงดูเด็ก การใช้สื่อในเด็กเช่นการเล่านิทาน ๒) เทศบาลตำบลห้วย จัดอบรมการดูแลเด็กใน ศพด. กำหนดข้อตกลงแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ ๓) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลคำโพน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลคำโพน และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยก จัดอบรมส่งเสริมพัฒนาการและสร้าง วินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย (Preschool Parenting Program; Triple-P) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสว่าง บ้านคำโพน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูดานกอย ๔) เทศบาลตำบลลือร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลลืออบรมการประเมินและเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก DSPM สำหรับครูผู้ดูแลเด็กในเขตรับผิดชอบ เทศบาลตำบลลือ และ ๕) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลโนนงาม ร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง ๔ แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลโนนงามจัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการจัดการ เรียนการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบตำบลโนนงาม ๔. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับชุมชน/หมู่บ้าน/สังคม บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับชุมชน/หมู่บ้าน/สังคม ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบล มีบทเรียนและการจัดการความรู้ในลักษณะของการจัดอบรม การศึกษาดูงาน และการเป็นแหล่ง เรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพระดับชุมชน/หมู่บ้าน/สังคม ดังนี้๑) เทศบาลตำบล นาป่าแซง ร่วมกับกลุ่มผักปลอดสาร หมู่ ๓ บ้านโคกพระมีการสนับสนุนให้สามาชิกกลุ่มเข้ารับการอบรบการ ปลูกผักปลอดสาร และจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านโคกพระสำหรับผู้ที่สนใจทั้งภายในและ ภายนอกหมู่บ้าน ๒) เทศบาลตำบลห้วย ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์บ้านนาผาง ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรอบรมให้ความรู้การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์และเข้ารับการอบรมที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ จังหวัดชัยนาทเกี่ยวกับการปลูกพืชถั่วหลังนา และมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตรจากถั่วเขียว ต่อมาได้ส่งตัวแทนกลุ่มไปศึกษาดูงานการผลิตวุ้นเส้น ณ ศูนย์การศึกษาและพัฒนา อาชีพภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร ต่อมาได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนแปรรูป ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากถั่วบ้านนาผาง เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอก ตำบล ๓) เทศบาลตำบลหนองข่า ร่วมกับศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนดงใหญ่ จัดการอบรมเพื่อฝึกอาชีพสำหรับ ผู้ปกครอง นักเรียน ผู้ที่ตกงาน คนยากจน ผู้ที่สูงอายุและผู้ที่สนใจเกี่ยวการปลูกสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพร และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นต้น ๔) องค์การบริหารส่วนตำบลลือ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านหนองลุ มพุก เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการผลิตพันธุ์ข้าวปลอดสารเคมีของจังหวัดอำนาจเจริญ จัดการเรียนรู้ให้ เกษตร ๕) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลปทุมราชวงศา โรงพยาบาลปทุมราชวงศามีการจัด อบรมสำหรับกลุ่มแม่ฮักเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่อาศัยอยู่กับ ปู่ย่า ตา ยาย ๖) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลนาหว้า ร่วมกับศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรฐกิจพอเพียงหมู่ ๘ ได้ร่วมกับพัฒนาชุมชนจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสาร ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้และได้ พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้โคกหนองนาโมเดล ซึ่งเป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรโดยครบวงจร ให้สมาชิก ในหมู่บ้านและผู้ที่สนใจนอกพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้วิธีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์การจัดสรรพื้นที่ การจัดการน้ำเพื่อ การเกษตร การหมักปุ๋ยชีวภาพ และนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตน และศูนย์เรียนรู้การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร แบบผสมผสาน มีการเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน และร่วมเป็นทีมวิจัย โครงการวิจัยแนวทางบริหารพัฒนา แหล่งเรียนรู้การจัดการน้ำในการเกษตรผสมผสาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับทุนวิจัยจาก สำนักงานวิจัยแห่งชาติ(วช.) ปัจจุบันเป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ ทั้งภายในและภายนอกตำบล ๗) กลุ่มปลูกผักอินทรีย์บ้านดอนนกยุง โดยมีการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องปลูกผักกลางมุ้งสำหรับกลุ่มเกษตรกรที่
บทเรียนและการจัดการความรู้จะแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ๑๗๓ สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓ ครั้ง และจัดให้เกษตรกรไปศึกษาดูงานที่ไร่ภูตะวัน ต่อมาได้ตั้งเป็นศูนย์ เรียนรู้เกษตรผสมผสาน ของตำบลคำโพนเพื่อให้ผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกมาเรียนรู้และ ๘) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลโนนงาม กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านสนามชัย เป็นศูนย์ เรียนรู้ชุมชนให้เครือข่ายผู้เลี้ยงแพะอินทรีย์ในภาคอีสาน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ มาศึกษาดูงาน วิธีการเลี้ยงแพะแบบครบวงจร ๕. บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับนโยบาย บทเรียนและการจัดการความรู้ระดับบุคคล ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล มี บทเรียนและการจัดการความรู้ในลักษณะของการจัดอบรม การศึกษาดูงาน การเป็นแหล ่งเรียนรู้เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพระดับนโยบาย ดังนี้๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง ได้แก่ (๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซงมีนโยบายเรื่องการจัดการขยะ จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะต้นทางบ้านโคก เจริญ “นวัตกรรม ๒ ตัด ๔ ต่อ” เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง และ ให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาป่าแซงทั้ง ๑๐ หมู่บ้านมาเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ (๒)ศูนย์จัดการเครือข่ายเทศบาล ตำบลนาป่าแซงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชน ให้กับเครือข่าย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทั้ง ๘ ตำบล มีการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ ขับเคลื่อนระบบการดูแลเด็กปฐมวัยในแต่ละตำบล และ (๓) ชุดปฏิบัติการไทนาป่าแซงบ่ทิ่มกันมีการประชุม ถอดบทเรียนทุกเดือน มีการจัดบูธนิทรรศการนวัตกรรมเด่นประจำปีเช่น การดูแลเด็กปฐมวัย เป็นต้น และมี การรายงานสถานการณ์ขับเคลื่อนงานของคณะกรรมการพัฒนาตำบลให้คณะกรรมการรับทราบทุกเดือน ๒) เทศบาลตำบลห้วย มีนโยบายในการลดขยะ ลดแพร่เชื้อ ด้วยกลไกชุมชน จัดอบรมความรู้การคัดแยกขยะต้น ทาง และสร้างศักยภาพ อสม. ในการเป็นแกนนำควบคุมโรคในชุมชน ๓) เทศบาลตำบลหนองข่ามีแผนพัฒนา ท้องถิ่นเรื่องการอนุรักษ์พันธ์กรรมพืช มีการถอดบทเรียนการดูแลอนุรักษ์ป่า การปลูกสมุนไพร การแปรรูป สมุนไพร และมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนดงใหญ่ ๔) องค์การบริหารส่วนตำบลลือมีนโยบายในการสร้าง เครือข่ายบริหารจัดการขยะ ตามนโยบายอำนาจเจริญเมืองสะอาดจึงได้มีการประชาคมและจัดทำข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ และหลักเกณฑ์การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๔ และมีการจัดอบรมให้ประชาชนทุกหมู่บ้าน ร้านค้า วัด โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และรณรงค์ ลดการใช้กล่องโฟม ๕) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลนาหว้า มีนโยบายเรื่องการจัดการน้ำ แบบมีส่วนร่วม โดยจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาม ที่มีการร่วมมือกัน ๓ ตำบล คือ ตำบลนาหว้า ตำบลห้วย และตำบลคำโพน เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานสำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ และ ๖) พชอ.ปทุมราชวงศา มีการจัดการความรู้ระดับนโยบาย ได้แก่ (๑) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการขยะ อำเภอปทุมราช วงศา โดยมีการดำเนินงานประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดกลวิธีดำเนินงานด้านการจัดการขยะ รวบรวมข้อมูล ประเมินผลงาน และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบด้านการจัดการขยะ (๒) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ จากการจราจรทางถนน อำเภอปทุมราชวงศา โดยมีการดำเนินงานประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนด กลวิธีดำเนินงานด้านการป้องกันอุบัติเหตุรวบรวมข้อมูล ประเมินผลงาน และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน รับทราบการป้องกันอุบัติเหตุ (๓) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา มีการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการดูแลกลุ่มเปราะบาง อำเภอปทุมราชวงศา โดยมีการดำเนินงานประสานงานหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง กำหนดกลวิธีดำเนินงานการดูแลกลุ่มเปราะบาง มีการติดตามเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย และรายงานผล การดำเนินงาน และ (๔) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศามีนโยบายการฝ้าระวัง
บทเรียนและการจัดการความรู้จะแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ๑๗๔ ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชน ให้มีการดำเนินงานจัดตั้ง Local quarantine ทุก ตำบล และมีระบบบริหารจัดการเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และมีการรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีน ร้อย ละ ๑๐๐ โดยมีพื้นที่นำร่อง คือ เทศบาลตำบลนาป่าแซง เทศบาลตำบลลือ และเทศบาลตำบลหนองข่า