บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๔ ๕.๒ มีการประกาศใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลือ เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ ๕.๓ สถานศึกษา เข้าร่วมเป็นเครือข่ายบริหารจัดการขยะ จำนวน ๑๕ แห่ง ๕.๔ วัดและสำนักสงฆ์เข้าร่วมเป็นเครือข่ายบริหารจัดการขยะ จำนวน ๑๑ แห่ง ๕.๕ กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลดโลกร้อนงดใช้กล่องโฟม จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ๕.๖ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยใส่ปิ่นโตกลับไปรับประทาน อาหารที่บ้านแทนกล่องโฟม ร้อยละ ๑๐๐ ๕.๗ ชุมชนมีถังขยะสำหรับทิ้งขยะอันตราย ครบทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ การออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลือ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ และเรื่อง หลักเกณฑ์การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ มีการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อ ศึกษาข้อมูลระเบียนบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดทำร่างข้อบัญญัติลงประชาคมหมู่บ้านทั้ง ๑๔ หมู่ เมื่อผ่าน ความเห็นชอบจากประชาคมจึงประกาศใช้ โดยข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลือ เรื่อง การจัดการมูล ฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลือ เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ๖.๒ การสร้างเครือข่ายบริหารจัดการขยะ ประกอบด้วย โรงเรียน จำนวน ๘ แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก จำนวน ๗ แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๓ แห่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ได้ร่วมกันลงนามทึกข้อลง ว่าด้วยอำนาจเจริญเมืองสะอาด จำนวน ๑ ฉบับ โดยแต่ละหน่วยงานมีการ ดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงซึ่งมีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลือเป็นหน่วย กำกับติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการระดับจังหวัดอำนาจเจริญทราบ ๖.๓ วัดและสำนักสงฆ์จำนวน ๑๑ แห่ง เข้าร่วมเป็นเครือข่ายบริหารจัดการขยะ โดยมีการคัดแยก ขยะก่อนทิ้ง เช่น จัดทำถังขยะรักษ์โลกเพื่อทิ้งขยะเปียก เป็นต้น มีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การ บริหารส่วนตำบลลือเป็นหน่วยกำกับติดตามและรายงานผลการดำเนินงานให้จังหวัดอำนาจเจริญทราบ ๖.๔ กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลดโลกร้อนงดใช้กล่องโฟม มีผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์สร้างการ รับรู้และเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้นำหมู่บ้าน และประชาชน ทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน โดยจะมีการร่วมกันทำความสะอาด ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในและภายนอกหมู่บ้าน เดือนละ ๑ ครั้ง มีการร่วมกันปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันพ่อแห่งชาติวันแม่แห่งชาติเป็น ต้น นอกจากนั้น ยังมีประกาศเขตป่าชุมชน โดยคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ จำนวน ๗ แห่ง รวม พื้นที่ ๙,๐๐๐ ไร่ (ข้อมูลจากแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลลือ) และองค์การบริหารส่วนตำบล ลือ ได้มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับอันตรายของถุงพลาสติกและกล่องโฟม รวมทั้งรณรงค์ให้ ประชาชน ร้านค้า ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ขอความร่วมมือให้ร้านประกอบอาหารงดใช้กล่องโฟมในการบรรจุ อาหาร ๖.๕ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยใส่ปิ่นโตกลับไปทานที่บ้านแทน กล่องโฟม การดำเนินงานโดย กองการศึกษา ฯ ร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ลือ ทั้ง ๗ แห่ง ซึ่งมีการประชุมชี้แจง ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองให้รับทราบข้อมูลและแนวทางการ ดำเนินงาน องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ดำเนินการจัดหาปิ่นโตสแตนเลส สำหรับใส่อาหารกลางวันให้กับ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คนละ ๑ เถา รวม ๑๕๓ คน เพื่อสับเปลี่ยนกับปิ่นโตหรือกล่องข้าวที่ ผู้ปกครองจัดเตรียมให้การดำเนินการนี้จะดำเนินการเฉพาะในช่วงที่ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเท่านั้น เมื่อเปิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กปฐมวัยจะรับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเช่นเดิม ๖.๖ การจัดหาถังขยะใส่ขยะอันตราย มีการดำเนินการโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การ บริหารส่วนตำบลลือเป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลลือจัดหาถังขยะให้หมู่บ้านละ ๑ ใบ ผู้นำหมู่บ้านเป็นผู้กำหนดจุดตั้งถังขยะใส่ขยะอันตราย เช่น ขวดสารเคมีถ่านไฟฉาย และหลอดไฟ เป็นต้น และมีเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลลือ บริการรวบรวมขยะอันตรายจากทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน นำส่งจุด กำจัดขยะอันตรายของจังหวัดอำนาจเจริญต่อไป
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๕ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชาชนในพื้นที่ทราบข้อมูลการจัดการมูลฝอย จากข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลือ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ ๕.๒ ประชาชนในพื้นที่มีการบริหารจัดการขยะ ตามแนวทางในข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ลือ เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ ๕.๓ มีการขับเคลื่อนการดำเนินงาน อำนาจเจริญเมืองสะอาด ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ๕.๔ ชุมชน สถานศึกษา วัดและสำนักสงฆ์มีการจัดการขยะ ๕.๕ มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลดโลกร้อนงดใช้กล่องโฟม ๕.๗ ชุมชนมีถังขยะสำหรับทิ้งขยะอันตราย ครบทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการบริหารจัดการขยะ ตามแนวทางในข้อบัญญัติองค์การ บริหารส่วนตำบลลือ เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ.๒๕๖๔ ๒) ชุมชน สถานศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วัดและสำนักสงฆ์มีความสะอาด เพิ่มขึ้น และได้ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน อำนาจเจริญเมืองสะอาด ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดเป็นชุมชนน่าอยู่ เกิดควาวมร่วมมือของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดการใช้จ่ายงบประมาณในการกำจัดขยะให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยลดปัญหาที่ทำให้เกิด ภาวะโลกร้อน ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนลดเสี่ยงปัญหาสุขภาพจากสารพิษในกล่องโฟม หรือจากพิษจาการเผา ทำลายขยะอันตราย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง มีการสร้างข้อตกลงการปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๖ Key Actors ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑ และ หมู่ ๒ บ้านนาหว้า งานเด่น การอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านนาหว้าหมู่ ๑ และ ๒ พื้นที่ หมู่ ๑ และ ๒ ต.นาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายวิชัย ศรีคะเน และนายจันได ศรีสุนนท์ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑ และ หมู่ ๒ เบอร์โทรศัพท์๐๘๓-๒๒๐๔๒๙๔ และ ๐๙๑-๐๑๕๒๘๙๒ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ป่าชุมชนบ้านนาหว้าหมู่ ๑ และ หมู่ ๒ เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านนาหว้า มีพื้นที่ครอบคลุม ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๒ ต.นาหว้า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ มีเนื้อที่ ๑๔๘ ไร่ ป่ามีลักษณะ เหมือนป่าโคก ที่มีพันธุ์ไม้ยืนต้นหลากหลายชนิด เช่น ต้นชาด ต้นสะแบง ต้นพอก เป็นต้น หมู่บ้านดังกล่าวมี จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๑,๔๐๔ หลังคาเรือน พื้นที่ป่าด้านทิศตะวันออกติดกับบ้านนาหว้า หมู่ที่ ๑ ทิศตะวันตก ทิศใต้และทิศเหนือ ติดกับบ้านนาหว้า หมู่ที่ ๒ โดยมีเส้นทางการพัฒนา ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๓๖ มีการแบ่งพื้นที่ป่าชุมชนบ้านนาหว้า จำนวน ๔ ไร่ เพื่อใช้เป็นบ่อทิ้งขยะ สำหรับตำบลนา หว้า ทั้ง ๙ หมู่บ้าน และเป็นที่ทิ้งขยะของตำบลนาหว้ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการลักลอบนำขยะจาก ตำบลไก่คำมาทิ้งในบริเวณดังกล่าว พ.ศ. ๒๕๕๓ มีการจัดตั้งป่าชุมชนบ้านนาหว้าขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้นำในการก่อตั้งและทำ หน้าที่เป็นผู้ดูแลหลัก คือ ผู้ใหญ่บ้าน (นายบุญเลิศ พิลาทอง ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๑ บ้านนาหว้า นาย ประสิทธิ์บุษบาล ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๒ บ้านนาหว้า) ร่วมกับ เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ในปีเดียวกัน ได้รับงบประมาณจากกรมอนุรักษ์ป่าไม้จำนวนเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท เพื่อจัดกิจกรรมปลูกป่าเสริมในพื้นที่ป่า ชุมชน พันธุ์ไม้ที่ปลูก เช่น พะยูง สัก และไผ่ เป็นต้น พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ นิคมสหกรณ์พนา ได้ให้การสนับสนุนการจัดทำถนน และล้อมรั้วรอบพื้นที่ป่า ชุมชน เพื่อเป็นการสร้างเขตแนวกันไฟ การสัญจรที่สะดวก และรั้วบริเวณด้านข้างและด้านหลัง เพื่อป้องกัน สัตว์เลี้ยงเข้ามาบุกรุกทำลายป่า การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนบ้านนาหว้า พบว่า ประชาชนในหมู่บ้านและ หมู่บ้านใกล้เคียง ใช้ป่าในชุมชนเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติเช่น เห็ดระโงก เห็ดโคน เห็ดเผาะ ดอกกระเจียว ไข่ มดแดง ผักติ้ว ผักกระโดน ผักเม็ก กิ้งก่า จั๊กจั่น กระรอก และกระแต เป็นต้น เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่า ให้ รุ่นลูกหลานได้เรียนรู้ในอนาคต เป็นแหล่งไม้ใช้ประโยชน์ทางพลังงาน เช่น ไม้ที่หักโค่น ยืนต้นตาย ผลัดกิ่ง นำมาทำฟืน เผาถ่านเพื่อใช้ในครัวเรือนและสร้างรายได้ปัญหาที่พบภายในป่าชุมชน คือ การลักลอบเผาป่า ในช่วงเดือน มกราคม – เมษายน ของทุกปีมีการทิ้งขยะนอกเหนือจากจุดที่กำหนดให้เป็นบ่อขยะ เช่น ทิ้งใน พื้นที่ทางเข้าป่าชุมชน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดมลภาวะ ทั้งด้านสุขภาพ เช่น ส่งกลิ่นเหม็น และแมลงวันรบกวน เป็นต้น และทางกายภาพ มีความสกปรก ทำให้ทัศนียภาพไม่สวยงาม ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ ๑ และ ๒ ทั้งหมด ๑,๔๐๔ ครัวเรือน ๒.๒ ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ตำบลนาป่าแซง เป็นต้น ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เกิดการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านนาหว้าหมู่ ๑ และ ๒ ๓.๒ การใช้ประโยชน์จากป่า ในด้านต่าง ๆ เช่น แหล่งอาหารธรรมชาติและการสร้างรายได้เสริมจาก ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้น ๓.๓ การตั้งกติการ่วมกันของคนในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่า ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เช่น พื้นที่ป่าชุมชน เป็นต้น ๔.๒ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เช่น ทุนทางสังคมในการจัดการป่า เป็นต้น
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๗ ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ประชาสัมพันธ์กฎกติกาของป่าชุมชนให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบร่วมกัน ๕.๒ การปลูกป่าชดเชยเป็นประจำทุกปีโดย ผู้นำและประชาชนในหมู่ที่ ๑ และ ๒ ๕.๓ ป่าชุมชนเป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ของประชาชน หมู่ ๑ หมู่ ๒ และใกล้เคียง ๕.๔ การเฝ้าระวังไฟป่าโดยประชาชน และมีการจัดทำป้ายแจ้งเตือนบริเวณด้านหน้าทางเข้าป่าชุมชน ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ การรณรงค์เพื่อให้คนในชุมชนเกิดการรับรู้และเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติตามกฎกติกา โดย ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน ๖.๒ มีการสร้างกติการ่วมกันในการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ป่าชุมชน โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ๖.๓ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เป็นประจำทุกปีในพื้นที่ป่าชุมชน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชาชนมีแหล่งอาหารธรรมชาติและมีรายได้เสริมจากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าตามกฎ กติกาที่วางไว้ ๗.๒ ประชาชนใช้ประโยชน์จากป่าเป็นแหล่งพลังงาน ๗.๓ มีความหลากหลายทางธรรมชาติทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนหมู่ ๑ หมู่ ๒ มีแหล่งอาหารธรรมชาติและรายได้เสริม ๒) ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง มีแหล่งอาหารธรรมชาติและรายได้เสริม ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีความรักสามัคคีในการดูแล และหวงแหนผืนป่า ๒) ด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดรายได้และลดรายจ่ายจากทรัพยากรที่มีในป่าชุมชน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม เกิดความชุ่มชื้น ร่มเย็น รักษาสิ่งแวดล้อม ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนมีสุขภาพที ่ดีจากการได้รับอาหารจากธรรมชาติแต ่อาจได้รับ ผลกระทบจากการเป็นแหล่งทิ้งขยะ ที่ส่งผลต่อกลิ่นเหม็นและแมลงรบกวนของบ้านเรือนที่อยู่ใกล้แหล่งขยะ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง การสร้างกติการ่วมกันในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่า
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๘ Key Actors คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำตำบลนาหว้า งานเด่น การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ บ้านหินกอง หมู่ ๙ ตำบลนาหว้า อำเภอประทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายสมพร ป้อมหิน ตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า เบอร์โทรศัพท์๐๙๓-๕๒๘๓๒๙๙ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีจำนวน ๙ หมู่บ้าน มีที่ติดกับพื้นที่แหล่ง น้ำ คือห้วยหินกอง เป็นแหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเซบก ไหลลงสู ่แม่น้ำมูลที ่อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานีแล้วไหลสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีมีความยาวประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร ห้วยหินกองเดิมชื่อว่า “ห้วยตาเทียว” ประชาชนในตำบลนาหว้าและตำบลใกล้เคียงต่างใช้ประโยชน์ จากลำห้วยหินกอง จึงมีการบริหารจัดการน้ำภายใต้หลักการจัดการน้ำแบบบรูณาการ ผู้คนในสังคมทุกชุมชน ยอมรับ และมุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ โดยมีเส้นทางพัฒนาดังนี้ พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๐ ตำบลนาหว้าประสบปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดอุบลราชธานีสังกัดสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและ การเกษตร ชื่อ “อ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง” เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีรูปร่างคล้ายปลากระเบน กว้าง ๒,๕๐๐ เมตร ยาว ๓,๐๐๐ เมตร ลึก ๑๒ เมตร พื้นที่ประมาณ ๑๒๐ ไร่ ความจุน้ำ ๔ ล้านลูกบาศก์เมตร ให้บริการน้ำใน การอุปโภคบริโภคและการเกษตร จำนวน ๓ ตำบล คือ ตำบลคำโพน ตำบลนาหว้า ตำบลห้วย และ ๒ อำเภอ คืออำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ อ่างเก็บน้ำตั้งอยู่ที่ บ้านหินกอง หมู่ที่ ๙ ตำบลนาหว้า ห่างจากอำเภอปทุมราชวงศาไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๖ กิโลเมตร มี ปริมาณน้ำช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนมกราคม มีปริมาณประมาณ ๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ฤดู หนาวปริมาณน้ำในอ่างเริ่มลดลงเล็กน้อยประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ฤดูร้อนปริมาณน้ำในอ่างลดลงช่วงเดือน มีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ระดับน้ำต่ำกว่าทางน้ำล้น (Spillway) ประมาณ ๒ เมตร คงเหลือน้ำในอ่าง ประมาณ ๓๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๖๒ มีการขยายการใช้ประโยชน์จากห้วยหินกองมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ๑) ตำบลนาหว้า ที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพด้านการเกษตร มีการใช้น้ำในการทำนา ทำสวนผักและผลไม้มันเทศ แคนตาลูบ แตงโม เลี้ยงในกระชัง ผลิตสมุนไพร ใช้ในการคมนาคมและการติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ คือ ชุมชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อแลกเปลี่ยนสิ้นค้าและผลผลิต ของชุมชน ๒) ชาวบ้านหินกอง ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำจากอ่างห้วยหินกองไปใช้ประโยชน์มีทั้งเพื่อการอุปโภค บริโภค การพาณิชย์การเกษตรและการเลี้ยงสัตว์๓) การประปาส่วนภูมิภาคเขมราฐนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำ ห้วยหินกองไปผลิตน้ำประปา เพื่อให้บริการในพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ และในอำเภอ กุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานีใช้น้ำเพื่อการเกษตร การปลูกพืช (ข้าว พืชผลไม้) นอกจากนี้ยังมีการจัดสรร งบประมาณซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำทุกปีเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พ.ศ. ๒๕๖๓ - ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำได้มีแนวทางการดำเนินงานขยายการบริหาร จัดการน้ำแหล่งน้ำอื่น ๆ จากการวิเคราะห์พื้นที่พบว่าตำบลนาหว้า มีอ่างเก็บน้ำ ๕ แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้าน หินกอง อ่างเก็บน้ำท้ายหินลับ อ่างเก็บน้ำห้วยยาง อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยงูเหลือม อ่างเก็บน้ำห้วยกำปี้และมี คลองส่งน้ำ ซึ่งมีการกักเก็บน้ำที่สามารถใช้ได้ตลอดปีเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้ให้ เกิดความกินดีอยู่ดีในชุนชน พื้นที่ตำบลนาหว้าจึงเห็นความสำคัญในการรักษาแหล่งน้ำ จึงได้จัดทำระบบการ จัดการน้ำในพื้นที่ขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ประโยชน์และรักษาแหล่งน้ำต่อไป ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชาชนตำบลนาหว้า หมู่ ๑-๙ ตำบลคำโพนหมู่ ๑,๒ ,๙ ตำบลห้วย หมู่ ๗, ๙ ,๑๐
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๔๙ ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ มีคณะกรรมการจัดการน้ำร่วมกันทั้งสามตำบล ๓.๒ ประชาชนในพื้นที่มีน้ำใช้ในสาธารณประโยชน์เพียงพอตลอดปี ๓.๓ เพื่อให้มีแหล่งน้ำสะอาดปลอดภัย ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้น้ำที่สะอาดและปลอดภัย ๓.๔ เป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับข้อมูลประชากร พื้นที่การเกษตร แหล่งน้ำธรรมชาติ และ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ดำเนินการ ๔.๒ เครือข่ายสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ ๑) ชลประธานจังหวัด ช่วยในการบริหารจัดการ น้ำเพื่อการกักเก็บรักษาการควบคุมส่งหรือระบายน้ำเพื่อการเกษตรและสาธารณูปโภค ๒) กรมทรัพยากร ภาค ๑๑ อุบลราชธานีดูแลสภาพพื้นที่ สภาพแหล่งน้ำและการดูแลน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปี๓) กรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติดูแลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบรูณาการตามหลัก ธรรมมาภิบาล เพื่อความมั่นคงยั่งยืน ๔) งานวิจัย วช. (โครงการวิจัย แนวทางบริหารพัฒนาแหล่งเรียนรู้การจัดการน้ำใน การเกษตรผสมผสาน) และ ๕) การผันน้ำโขงมาเติมอ่างเก็บน้ำ โดยการประสานงานจากชลประทานจังหวัด ทรัพยากรภาค ๑๑ อุบลราชธานีและกรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ การดูแลสภาพพื้นที่แหล่งน้ำ จุดประสงค์เพื่อให้มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภค บริโภค และ การเกษตรตลอดปีอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ได้แก่ การขุดลอกอ่าง การดูแลความสะอาด ปรับทัศนียภาพรอบ บริเวณอ่าง และซ่อมแซมประตูน้ำ เป็นต้น ๕.๒ จัดระบบการปล่อยน้ำมี๓ ระดับ โดย ๑) ปล่อยน้ำไปที่ปลายทางก่อน แล้วย้อนมาระดับกลาง ท้ายสุดที่ระดับต้น เพื่อพอเพียงการใช้และ ๒) มีการจัดสรรเวลาปล่อยน้ำเป็น ๓ สาย ๑ เดือนปล่อยน้ำ ๒ ครั้ง ได้แก่ (๑) บ้านหินกอง ปล่อยน้ำระหว่างวันที่ ๑-๕ (รอบแรก) ๑๖ - ๒๐ (รอบสอง) (๒) บ้านดอนชาด ปล่อยส่งน้ำระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๕ (รอบแรก) ๒๖ - ๓๑ (รอบสอง) และ (๓) บ้านตาดใหญ่ ปล่อยส่งน้ำ ระหว่างวันที่ ๖ - ๑๐ (รอบแรก) ๒๑ - ๒๕ (รอบสอง) ๕.๓ การเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยการผันน้ำโขงมาเติมอ่างเก็บน้ำ มีการประสานความร่วมมือจาก ชลประทานจังหวัด ทรัพยากรภาค ๑๑ และกรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ และคณะกรรมการกลุ่มสายน้ำต่าง ๆ วางแผนการ บริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ชี้แจงรายละเอียดและมอบหมายหน้าที่ ๖.๒ กำหนด กติกาการปล่อยน้ำ และประชาสัมพันธ์ชี้แจงทำความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่ถึงการ กระจายน้ำและให้น้ำผ่านสถานีการเกษตร ๖.๓ จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ดูแลแหล่งน้ำให้กับประชาชนได้ใช้น้ำอย่างปลอดภัย ๖.๔ ขยายแนวคิดการกระจายน้ำที่มีความมั่นคง ไปยังอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ทั้ง ๕ แห่ง ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชากรได้รับผลประโยชน์เป็นวงกว้าง เชื่อม ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วย ตำบลนาหว้า และ ตำบลคำโพน ๗.๒ ชุมชนได้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง โดยมีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคและทำ การเกษตรตลอดปี ๗.๓ ได้รับความร่วมมือจากประชาชน และสร้างความเข้มแข็งให้หมู่บ้าน และมีการบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำอย่างเป็นระบบ ๗.๔ เกิดการบริหารจัดการน้ำห้วยหินกองโดยมีส่วนร่วมของประชาชน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๐ ๗.๕ เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบสำหรับคนในชุมชนและผู้ที่สนใจ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เกิดคณะกรรมการดำเนินการโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง(ผู้ผลิต) แบบมีส่วนร่วม ๓ ตำบล และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายหน่วยงานรัฐ ได้แก่ ชลประทานจังหวัด ทรัพยากรภาค ๑๑ อุบลราชธานีและกรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๒) ประชากรทั้ง ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วย ตำบลนาหว้า ตำบลคำโพน มีส่วนร่วมคิด รับบริหาร จัดการ และร่วมรับประโยชน์จากการจัดการโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดคณะกรรมการร่วม ๓ ตำบล มีการประสานงานชลประทานจังหวัด ทรัพยากร ภาค ๑๑ อุบลราชธานีและกรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติเกิดแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำในชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ โครงการอ่างเก็บน้ำทำให้ประชากรในเขตส่งน้ำ ได้รับประโยชน์ด้านการเกษตร สามารถปลูกพืชสวน สร้างอาชีพเสริมในฤดูแล้ง ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม เป็นแหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มีสัตว์น้ำ กุ้งหอย ปูปลา พืชผัก ธรรมชาติที่นำมาบริโภคเป็นอาหารได้ ๔) ด้านสุขภาพ เป็นแหล่งน้ำที่กว้างใหญ่ ใช้ทำการเกษตรและอุปโภค บริโภค ของคนและสัตว์ เลี้ยงเพียงพอตลอดปี ๕) ด้านการเมืองการปกครอง โครงการอ่างเก็บน้ำ มีการตั้งกฎระเบียบในการส่งน้ำเดือนละ ๒ ครั้ง
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๑ Key Actors องค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน งานเด่น การบริหารจัดการขยะตำบลคำโพนแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายทวีชัย ศิรินัย ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์๐๘๓-๓๘๗๓๓๖๙ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน องค์การบริหารส่วนตำบลคำโพนมีแนวคิดการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน จึงเกิดงานและกิจกรรมการบริหารจัดการขยะขึ้น ตำบล คำโพนอยู่ห่างจากอำเภอปทุมราชวงศา ประมาณ ๗ กิโลเมตรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และห่างจาก จังหวัดอำนาจเจริญ ๓๘ กิโลเมตร เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ (ถนนอรุณประเสริฐ) ที่ทำ การองค์การบริหารส่วนตำบลคำโพนตั้งอยู่ที่ หมู่ ๙ บ้านคำโพน ตำบลคำโพน ถนนอรุณประเสริฐ (บ้านสาม แยก - หินเกิ้ง) ระยะทาง ๓.๕ กิโลเมตร ตำบลคำโพนมีเนื้อที่ทั้งสิ้น ประมาณ ๗๓ ตารางกิโลเมตร หรือ จำนวน ๕๘,๑๒๕ แยกเป็น พื้นที่เพื่อการเกษตร จำนวน ๕๐,๔๐๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย จำนวน ๓,๒๐๐ไร่ พื้นที่ สาธารณประโยชน์๔,๕๒๕ ไร่ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๑,๓๓๖ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๔,๑๔๒ คน แบ่งเป็นชาย จำนวน ๒,๐๗๒ คน (ร้อยละ๕๐.๐๒) หญิง จำนวน ๒,๐๗๐ คน(ร้อยละ ๔๙.๙๘) การจัดการขยะ ในครัวเรือนมีหลากหลายวิธีจำแนกได้ดังนี้การจัดให้มีภาชนะรองรับขยะ จำนวน ๑,๓๓๖ ครัวเรือน (ร้อยละ ๑๐๐ ) การเผาขยะ จำนวน ๗๖๘ ครัวเรือน (ร้อยละ ๕๗.๔๘) การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง จำนวน ๘๗๘ ครัวเรือน (ร้อยละ ๖๕.๗๑) การฝังขยะ จำนวน ๙๘๘ ครัวเรือน (ร้อยละ ๗๓.๙๕) การทำปุ๋ยหมัก จำนวน ๗๖๗ ครัวเรือน (ร้อยละ ๕๗.๔๑) การนำขยะไปทิ้งที่อื่น จำนวน ๒๑๔ ครัวเรือน (ร้อยละ ๑๖.๐๐) การใช้บริการเก็บขยะใน พื้นที่ ๕๖๕ ครัวเรือน (ร้อยละ ๔๒.๒๙) การทำน้ำหมักชีวภาพ จำนวน ๘๗๔ ครัวเรือน (ร้อยละ ๖๕.๔๒) ลด การใช้ถุงพลาสติก โฟม และวัสดุที่ทำให้เกิดขยะ จำนวน ๘๘๗ ครัวเรือน (ร้อยละ ๖๖.๓๙) การใช้ซ้ำ จำนวน ๔๕๕ ครัวเรือน (ร้อยละ ๓๔.๐๕) และการแปรรูปใช้ใหม่ จำนวน ๖๗๖ ครัวเรือน (ร้อยละ ๕๐.๖๐) จากแนวคิด การจัดการขยะสู่เส้นทางการพัฒนา ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๕๙ สืบเนื่องจากปัญหาขยะถูกผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกองขยะเก่าที่มิได้ถูกดำเนินการจัดการอย่างถูกต้องในหลาย แห่ง เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ผลกระทบต่อดิน แหล่งน้ำบนดิน น้ำใต้ดิน และอื่น ๆ ตามมา นอกจากนี้เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เห็นชอบกับ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย โดยได้กำหนดให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำรวจ ประเมิน ขยะมูลฝอยเพื่อปิดและฟื้นฟูสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเดิมให้ถูกต้อง ส่วนกรณีสถานที่กำจัดขยะมูล ฝอยเอกชนและดำเนินงานไม่ถูกต้อง ให้บังคับใช้กฎหมายให้ดำเนินการอย่างถูกต้อง ประกอบกับตำบลคำ โพนพบปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งใช้วิธีการเทกองรวมกันกลางแจ้ง ณ บริเวณพื้นที่สาธารณะ องค์การ บริหารส่วนตำบลจึงได้ทำประชาคม นำเสนอข้อมูลปัญหาขยะของตำบลคำโพน มีขยะสะสมประมาณ ๗๐ ตัน ณ บริเวณพื้นที่สาธารณะ บ้านคำโพนหมู่ ๙ ซึ่งอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นระยะทาง ๒ กิโลเมตร สภาพแวดล้อมเป็นพื้นที่ราบ มีหมู่บ้านอยู่ใกล้เคียง จำนวน ๑๕๖ หลังคาเรือน ที่ตั้งอยู่ห่างจาก สถานเก็บขยะเพียงระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร พบว่าพื้นที่กำจัดขยะมีขยะมูลฝอยเพิ่มจำนวนขึ้น และไม่มีการ จัดการขยะ ทำให้ปริมาณขยะสะสมในพื้นที่มีความสูงมากกว่า ๑.๕ เมตร โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ทำให้สัตว์ที่ เป็นพาหะนำโรคเช่น แมลงวัน หนูและสัตว์พาหะอื่น ๆ เข้ามาอาศัยบริเวณพื้นที่ รวมทั้งส่งกลิ่นเหม็นทำให้ เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงและกระทบสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วน ตำบลคำโพนเห็นความจำเป็นที่ต้องลดปริมาณขยะอย่างเร่งดวน พ.ศ. ๒๕๖๐ สืบเนื่องจากมีการนำใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาขยะ องค์การบริหารส่วนตำบลคำ โพนจึงได้จัดประชุมวางแผนการจัดการ การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอยในครอบครัวแก่ประชาชน คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบการดำเนินการจัดการขยะ พ.ศ. ๒๕๖๑ มีแนวคิดขยายพื้นที่การจัดการขยะไปยัง ๑๐ หมู่บ้าน โดยให้แต่ละหมู่บ้านแต่งตั้งคณะ กรรมบริหารงานเป็นชุมชนจัดการตนเอง หมู่บ้านละ ๑ ทีม และจัดให้มีจุดตัวอย่างคัดแยกขยะหมู่บ้านละ ๑
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๒ แห่ง จัดให้มีการจัดการขยะต้นทาง กลางทาง และปลายทาง จัดให้มีจุดรับซื้อขยะ มีตารางรับซื้อขยะแต่ละ หมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์หอกระจายข่าวหมูบ้านเพื่อให้ประชาชนรับทราบวันเวลา ที่ออกรับซื้อขยะและสรุปผล การดำเนินงาน พ.ศ. ๒๕๖๒ - ปัจจุบัน มีการจัดการขยะในชุมชนอย่างครบวงจร มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับ ชาวบ้านเพื่อเป็นเงื่อนไขให้เกิดการเป็นรูปธรรม ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชากรทั้งหมด จำนวน ๔,๑๔๒ คน จำนวน ๑,๓๓๖ ครัวเรือน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยจากชุมชนหมู่บ้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ๓.๒ ให้มีการคัดแยกและกระบวนการจัดการขยะอินทรีย์ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป เพื่อลด ปริมาณขยะในหมู่บ้านเป้าหมาย ๓.๓ ให้มีหมู่บ้าน/กลุ่มเป้าหมาย ในการคัดแยกขยะจากต้นทาง ๓.๔ ให้หมู่บ้านในตำบลคำโพนสามารถลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของ ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มดำเนินโครงการ ๓.๕ ให้มีทีมบริหารจัดการขยะซึ่งบริหารงานโดยชุมชนจัดการตัวเอง หมู่บ้านละ ๑ ทีม ๓.๖ ให้มีจุดตัวอย่างการคัดแยกขยะ หมู่บ้านละ ๑ แห่ง ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ หน้า ๓๕/๕๐ แผนงาน สาธารณสุข งบดำเนินงาน ค่าใช้สอย และ รายจ่ายค่าดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ เป็นต้น ของ อบต.คำโพน ๔.๒ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน และข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่จัดการขยะ เพื่อนำใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการขยะในชุมชน ๔.๓ คณะกรรมการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดตั้งศูนย์จัดการขยะต้นทาง เพื่อเรียนรู้และเพื่อให้ชุมชนปลอดถังขยะมีทัศนียภาพที่สวยงาม โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาด มีกระบวนการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนอย่างถูกวิธี มีการนำร่องในการคัดแยกขยะจากต้นทางเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่ ๕.๒ การบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ได้แก่ ๑) จัดการขยะต้นทาง โดยจัดตั้งแกนนำในการคัด แยกขยะที่ต้นทางทุกหมู่บ้าน มีการใช้ถังขยะอินทรีย์จำนวน ร้อยละ ๕๐ ของครัวเรือน ๒) การจัดการขยะ กลางทาง โดยองค์การบริหารส่วนตำบลจัดหาชุดป้องกันการติดเชื้อของพนักงานเก็บขนขยะ และให้ความรู้ กับพนักงานเก็บขยะ และ ๓) การจัดการขยะปลายทาง มีการฝังกลบขยะเพื่อลดการแพร่ระบาดของสัตว์ พาหนะนำโรค ๕.๓ สร้างต้นแบบบริหารจัดการ ๕ ส. โดยอบต.คำโพน ได้จัดกิจกรรม ๕ ส.ในพื้นที่สำนักงาน มีการ สำรวจและกำจัดผักตบชวาในแหล่งน้ำภายในเขตพื้นที่ ๕.๔ การนำใช้ประโยชน์จากขยะ จนก่อเกิดรายได้ให้กับครัวเรือนและสมาชิกกลุ่ม โดยการนำมา ประดิษฐ์เป็นงานหัตถกรรมต่าง ๆ เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน และ การทำปุ๋ยอินทรีย์เป็นต้น
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๓ ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดประชุมชี้แจงและจัดทำแผนงานเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ตำบลคำโพน ๖.๒ จัดอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แกนนำของแต่ละหมู่บ้านเกี่ยวกับการ คัดแยกขยะ พนักงานเก็บขยะเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการเก็บขยะอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการ เก็บขยะ ๖.๓ จัดตั้งทีมบริหารจัดการขยะในหมู่บ้าน ลดขยะต้นทาง หมู่บ้านละ ๑ ทีม ๖.๔ วิเคราะห์สรุปผลการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะของแต่ละหมู่บ้าน ๖.๕ ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชาชนมีความรู้และทักษะ สามารถคัดแยกและจัดการขยะแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ๗.๒ ช่วยลดปัญหาปริมาณขยะ ปัญหาไม่มีที่กำจัดขยะ และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะของประชาชนใน พื้นที่ ๗.๓ เกิดชุมชนต้นแบบที่มีทักษะในการคัดแยกประเภทขยะ ๗.๔ มีทีมในการบริหารจัดการขยะประจำหมู่บ้านตามนโยบายบริหารจัดการขยะแห่งชาติ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชาชนสามารถคัดแยกขยะมูลฝอยโดยเริ่มต้นที่ครัวเรือน ซึ่งเกิดการบริหารจัดการขยะอย่าง เป็นระบบ สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน และการนำใช้ประโยชน์จากขยะ จนก่อเกิดรายได้ให้กับ ครัวเรือนและสมาชิกกลุ่ม เช่น การนำมาประดิษฐ์เป็นงานหัตถกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เกิดการเกื้อกูลในชุมชน เกิดสวัสดิการของคน ในชุมชน เกิดอาสาสมัครด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคน ในชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ เกิดรายได้จากการจำหน่ายขยะ ขายมูลไส้เดือน ลดรายจ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพราะมีน้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน และสร้างหลักประกันให้ทุกคนมีสิทธิเท่า เทียมในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ความเป็นเจ้าของอย่างเท่าเทียมกัน ๓) ด้านสุขภาพ ประชาชนรู้วิธีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยจากปัญหาขยะ เช่น ลด อันตรายจากขยะอันตรายจำพวกหลอดไฟ แบตเตอรี่ ฯลฯ ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพในเบื้องต้น และการ จัดการทำความสะอาดชุมชนยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ๔) ด้านสภาวะแวดล้อม ได้แก่ (๑) ลดการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายจากขยะอันตรายสู่ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๒) ลดการทำลายทรัพยากรดินและอากาศในพื้นที่จากการกำจัดขยะด้วยวิธีการ เผาทำลายขยะ และ (๓) ลดการปนเปื้อนสิ่งสกปรกลงสู่ทรัพยากรน้ำใต้ดินในพื้นที่จากน้ำชะขยะที่ไม่ได้กำจัด อย่างเหมาะสม ๕) ด้านการเมืองการปกครอง เกิดการร่วมมือร่วมใจจัดการขยะในชุมชน มีการกำหนดกฎ กติกา และข้อตกลงในการจัดการขยะของชุมชน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๔ Key Actors โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนงาม งานเด่น การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ตำบลโนนงาม อำเภอปทุมราช จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายยุทธศาสตร์สารธิมา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โนนงาม เบอร์โทรศัพท์๐๘๕-๗๗๖๘๔๘๘ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลโนนงาม มี๘ หมู่บ้าน มีจำนวน ๔,๐๐๒ คน จำนวนครัวเรือน ๑,๒๔๕ ครัวเรือน มีเนื้อที่ ๔๒.๔๘ ตารางกิโลเมตร พ.ศ.๒๕๖๒ ประชากรในตำบลโนนงามมีการคัดแยกขยะไม่ถูกวิธีนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ สาธารณะ หรือทิ้งในพื้นที่ของคนอื่น รพ.สต.โนนงาม ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำชุมชน จึงมีการ ประชุมหารือร่วมกันแนวคิดร่วมกันโดยมีการประชาคมทั้ง ๘ หมู่บ้าน และจัดทำธรรมนูญประชาคมตำบลโนน งาม จำนวน ๑๘ ข้อ โดยมีข้อ ๔ คือ ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ/ถนน ภายในหมู่บ้านและชุมชน ในปีพ.ศ. ๒๕๖๕ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ มีนโยบายเรื่องอำนาจเจริญเมืองสะอาด เสนอให้ทุกตำบลมีการขับเคลื่อน การบริหารจัดการขยะมูลฝอย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลวางแผนในการจัดการประกวด ครัวเรือนจัดการขยะต้นแบบและหมู่บ้านต้นแบบ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชาชนตำบลโนนงาม จำนวน ๔,๐๐๒ คน จำนวนครัวเรือน ๑,๒๔๕ ครัวเรือน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของตำบลโนนงาม ๓.๒ เพิ่มครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ ๕.รูปธรรมงาน ธรรมนูญจัดการขยะตำบลโนนงาม และคณะทำงานจัดการขยะตำบลโนนงาม ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตำบลโนนงาม จำนวน ๒๐ คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ๖.๒ คณะกรรมการดำเนินการประชาคมรายหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน เพื่อจัดทำธรรมนูญประชาคมตำบล โนนงาม ประจำปีพ.ศ.๒๕๖๒ มีจำนวน ๑๘ ข้อ โดยมีธรรมนูญข้อที่ ๔ คือการก้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ/ถนน ภายในหมู่บ้านและชุมชน โดยมีมาตรการ คือ ๑) ให้คัดแยกขยะและกำจัดให้เรียบร้อยภายในครัวเรือน ๒) ว่า กล่าวตักเตือนโดยผู้นำชุมชน/ผู้เคารพนับถือ และ ๓) หากไม่ปฏิบัติตามให้ปรับครั้งละ ๕๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ๖.๓ อบต.โนนงามกำหนดจุดทิ้งขยะอันตรายในแต่ละหมู่บ้าน และดำเนินการจัดเก็บทุกสัปดาห์ ๖.๔ อบรมพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะต้นทางสำหรับคณะทำงาน และครัวเรือนต้นแบบ ๖.๕ รับสมัครร้านค้าในตลาดนัดเข้าร่วมกิจกรรมตลาดนัดจัดการขยะ จำนวน ๓๐ ร้านค้า โดยให้แต่ ละร้านมีการคัดแยกขยะ และลดการใช้โฟม ๖.๖ รพ.สต.โนนงามร่วมเป็น รพ.สต.ต้นแบบจัดการขยะ และรณรงค์การทิ้งขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย และ ชุดตรวจ ATK เป็นต้น
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๕ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะต้นทาง จำนวน ๘๐ ครัวเรือน ๗.๒ หมู่บ้านต้นแบบจัดการขยะ จำนวน ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านม่วงโป้หมู่ที่ ๑ และ ๒ หมู่บ้าน อพป. ๗.๓ ร้านค้าในตลาดนัดโนนงามเข้าร่วมโครงการรณรงค์จัดการขยะ จำนวน ๓๕ ร้านค้า ๗.๔ โรงเรียนต้นแบบจัดการขยะ จำนวน ๒ โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านโนนงาม และโรงเรียนม่วงโป้ ๗.๕ ศูนย์เด็กต้นแบบจัดการขยะ จำนวน ๔ แห่ง ๗.๖ ร้านค้าต้นแบบคัดแยกขยะ จำนวน ๑๐ ร้าน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของตำบลโนนงามอย่างมีประสิทธิภาพ ๒)สามารถลดปริมาณขยะจากแหล่งต้นกำเนิน ลดภาระการกำจัดขยะ และสามารถลด งบประมาณในการกำจัดขยะมูลฝอยได้ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม สร้างกลไกการคัดแยกขยะจากต้นทาง สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงของกลุ่มของคน หรือกลุ่มองค์กร สร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนโดยใช้พื้นที่หลักเป็นตัวตั้ง สนับสนุนให้ภาคประชาชนมี ส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะ ผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน กำหนดให้ปัญหา ขยะเป็นปัญหาสำคัญ ๒) ด้านสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดโรค ๓) ด้านเศรษฐกิจ การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพิ่มรายได้ ๔) ด้านสภาวะแวดล้อม ลดปริมาณขยะในชุมชน มีการจัดการขยะชุมชนที ่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ๕) ด้านการเมือง การปกครอง ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานการจัดการ ขยะในพื้นที่
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๖ ประเด็นที่ ๓ การพัฒนาระบบการดูแล เด็กปฐมวัย
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๗ Key Actors กลุ่มอสม.ตำบลนาป่าแซง งานเด่น เนอร์สเซอรี่โฮมสุข พื้นที่ เทศบาลตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางคำกอง โพธิ์ชัยทอง ตำแหน่ง ประธาน อสม.หมู่ที่ ๗ บ้านยางเครือพัฒนา เบอร์โทรศัพท์๐๙๒-๓๘๐๘๔๐๐ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การดูแลเด็กปฐมวัยโดยเทศบาลตำบลนาป่าแซง ยึดหลักการทำงานอย่างน้อย ๔ หลักการ คือ ๑) การใช้พื้นที่เป็นฐานการพัฒนา ๒) การคำนึงถึงสุขภาพในทุกนโยบายของชุมชน ๓) การสร้างการมีส่วนร่วม และ ๔) การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ ่งขับเคลื ่อนโดยการทำงานร ่วมกันของทุนทางสังคมในพื้นที่ ประกอบด้วย ๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒) กลุ่ม องค์กรภาคประชาชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และ อาสาสมัครอื่น เป็นต้น ๓) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและกรรมการพัฒนาหมู่บ้านและตำบล ๔) หน่วยงานรัฐ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน เป็นต้น เพื่อให้ครอบคลุมการจัดการ ดูแลเด็กปฐมวัย ทั้งกลุ่มเด็กที่มีสุขภาพปกติกลุ่มเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ และมีความเสี่ยง กลุ่มเด็กที่มีปัญหา เร่ืองโรคและการเจ็บป่วย และกลุ่มเด็กที่มีความเปราะบางและมีความต้องการพิเศษ ในการดำเนินการ ดังกล่าวได้มีการนำใช้ข้อมูลจากระบบข้อมูลสถานะตำบลและข้อมูลการวิจัยชุมชนมาวิเคราะห์ดังนี้ สถานการณ์เด็กปฐมวัย เด็ก ๐-๖ ปีจำนวน ๒๙๙ คน (ร้อยละ ๖.๒๔) เพศชาย จำนวน๑๘๗ คน (ร้อยละ ๖๒.๕๔) เพศหญิง จำนวน ๑๑๒ คน (ร้อยละ๓๗.๔๙) เด็ก ๐-๒ ปีจำนวน ๖๐ คน (ร้อยละ ๒๐.๐๗) เด็ก ๓-๖ ปีจำนวน ๒๓๙ (ร้อยละ๗๙.๙๓) อาศัยอยู่พ่อหรือแม่ จำนวน ๔๐ คน (ร้อยละ ๑๓.๓๘) อาศัยอยู่กับ ปู่ย่าตายาย จำนวน ๔๐ คน (ร้อยละ๑๓.๓๘) อาศัยอยู่กับบุคคลอื่น จำนวน ๒๐ คน (ร้อยละ ๖.๖๙) เด็ก ๐-๖ ปีได้รับเงินอุดหนุนของรัฐ จำนวน ๑๙๐ คน (ร้อยละ๖๓.๕๕) ครัวเรือนที่มีเด็กปฐมวัยที่มีหนี้สิน จำนวน ๒๒๖ ครัวเรือน (ร้อยละ ๗๕.๕๙) ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม จำนวน ๑๓ คน (ร้อยละ๔.๓๕) เด็ก พิการ จำนวน ๒ คน (ร้อยละ ๐.๖๙) เด็กยากจน จำนวน ๑๒๘ คน (ร้อยละ ๔๒.๘๑) เด็กพัฒนาการล่าช้า จำนวน ๒๐ คน (ร้อยละ ๖.๖๙) เด็กที่มีปัญหาช่องปาก จำนวน ๑๐ คน (ร้อยละ ๓.๓๔) เด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน ๒๙ คน (ร้อยละ ๙.๗๐) เด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๑ คน (ร้อยละ ๓.๖๘) เด็ก ๒-๖ ปีที่ เข้าข่ายเรียนในศพด. จำนวน ๒๓๙ คน (ร้อยละ ๗๙.๙๓) ไม่ได้เข้าเรียน จำนวน ๙ คน (ร้อยละ ๓.๐๑) เรียนใน ศพด.ในพื้นที่ จำนวน ๑๓๓ คน (ร้อยละ ๓๗.๘๐) เรียนในศพด.นอกพื้นที่ จำนวน ๕๒ คน (ร้อยละ ๑๗.๔๐) จากสถานการณ์เด็กปฐมวัยในพื้นที่เทศบาลตำบลนาป่าแซง มีเส้นทางการพัฒนาการดูแล ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๑ มีการลงสำรวจข้อมูลพื้นที่พบเด็กมีปัญหา เด็กที่อาศัยอยู่กับตา-ยาย จำนวน ๔๐ คน เด็กที่อาศัยอยู่กับญาติอีก จำนวน ๒๐ คน จากจำนวนเด็ก ๐-๒ มีทั้งหมด จำนวน ๖๐ คน และเด็กที ่มี พัฒนาการล่าช้า จำนวน ๒๐ คน รวมเด็ก ๐-๕ มีทั้งหมด จำนวน ๒๑๙ คน ได้เกิดชมรมแม่ฝึกขึ้น ซึ่งการทำงาน ของชมรมแม่ฝึกตำบลนาป่าแซง มีจุดเริ่มต้นจากปัญหาการดูแลเด็กปฐมวัยในพื้นที่ คือพ่อแม่เด็กไปทำงาน ต่างจังหวัด เด็ก ๑-๒ ปีเกือบครึ่งต้องอาศัยอยู่กับตายาย ทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมา เช่น เติบโตล่าช้า มี การเจ็บป่วย และขาดผู้ดูแล เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเนอร์สเซอรี่โฮมสุขขึ้น พ.ศ.๒๕๖๒ ชมรมแม่ฮักได้ดำเนินโครงการการดูแลเด็กปฐมวัยใส่ใจชุมชน ได้รับสนับสนุน งบประมาณจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงมีการดำเนินโครงการร่วมกับ ศ.ม.ด ๗ แห่ง รพ.สต. ๒ แห่ง กลุ่ม อสม. ศูนย์พัฒนาครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำ ท้องที่ กลุ่มสตรีวัด ผู้ปกครองและชาวบ้านเพื่อสร้างงานและกิจกรรมดูแลเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๓ - ปัจจุบัน รพ.สต.นาป่าแซงได้ดำเนินโครงการการดูแลเด็กปฐมวัย มีการสร้างการ เรียนรู้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการจัดหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นเด็กปฐมวัยและโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลนาป่าแซง จัดการเรียนรู้ได้แก่ กิจกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น กิจกรรมนั่งสมาธิกิจกรรมทำ ขนมพื้นบ้าน เช่น ข้าวต้มมัดของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น มีการส่งเสริมการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้สูงอายุผ่านการเล่น เช่น การทำของเล่นพื้นบ้าน การเล่านิทาน การเล่นใน สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา และการส่งเสริมการออม เป็นต้น ซึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวส่งผลต่อการ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๘ พัฒนาเด็กด้านภูมิปัญญา ด้านสุขภาพ ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครดูแลเด็ก เช่น อสม.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง จึงมีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมการมีโภชนาการในเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เด็ก ๐-๖ ปีจำนวน ๒๙๙ คน ๒.๒ เด็ก ๐-๒ ปีจำนวน ๖๐ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น กลุ่มเด็ก ๐-๕ ปีเนอร์สเชอรี่บ้านเฮาคอยสอดส่องดูแลและประเมินพัฒนาการด้วยเครื่องมือ คู่มือ เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) กระตุ้นให้เด็กได้มีการพัฒนาการเป็นไปตามวัย มี สติปัญญาที่เหมาะสม ฝึกให้ผู้ปกครองตรวจดูพัฒนาการของเด็กได้เอง ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ การใช้ทุนและงบประมาณ ได้แก่ กองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกองทุนไทนาป่า แซง นำแผนพัฒนาของเด็กปฐมวัยบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อของบประมาณจากท้องถิ่น ๔.๒ การใช้ทุนทางสังคม ได้แก่ คณะทำงานไทนาป่าแซงบ่ถิ่มกัน กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาป่า แซง ผู้นำท้องที่ ผู้นำถ้องถิ่น อสม. ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน และ อาสาสมัครคนพิการ ร่วมกันพัฒนาและมี บทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ๔.๓ การทำงานร่วมกับหน่วยงาน และองค์กรภายนอก ได้แก่ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น รพ.สต. ผู้นำ ชุมชน อสม. อปพร. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล ๔.๔ มีแผนพัฒนาตำบล แผนงานพัฒนาการศึกษา เพื่อจัดทำโครงการรับเงินสนับสนุนงบประมาณ ของอปท. การจัดทำหลักสูตรของเด็กปฐมวัย การจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๔.๕ ข้อมูล ที่มาจากหลายแหล่ง เช่น ระบบข้อมูลตำบล การวิจัยชุมชน ระบบบริการสุขภาพของ โรงพยาบาล ข้อมูล จปฐ. กชช ๒ค. บริการสาธารณะของอปท. และจากการวิจัย โดยเป็นข้อมูลที่แสดงปัญหา และผลกระทบต่อเด็ก ๐-๓ ปี ๔.๖ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ สร้างการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่เด็กปฐมวัย ให้เด็กมีจิตสำนึกรักท้องถิ่นของตนเอง การเรียนรู้อนุรักษ์ป่าชุมชน ผู้สูงอายุเล่านิทานให้เด็กฟัง พาเด็ก ๆ เล่นและแสดงภาพประกอบของนิทาน อาทิตย์ละครั้ง กลุ่มแม่ฮักอาสานำเด็กไปเรียนที่บ้าน หรือกลุ่มต่าง ๆ เช่น การไปเรียนรู้การทำพานไหว้พระ การพาเด็กไปทำของเล่นจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น ทำรถด้วยผลไม้ป่า เป็นต้น ๕.๒ ส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก ให้มีพัฒนาการที่ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาและการเคลื่อนไหวทางร่างกาย โดย ๐-๒ ปีจะเป็นการดูแลของคุณแม่หรือผู้ที่ดูแล และ อสม.จะ เข้าไปให้ความรู้ทุกสัปดาห์ในการตรวจวัดดัชนีมวลกายของเด็ก การรับประทานอาหารให้เหมาะสมตามวัย และเพื่อตรวจดูว่าเด็กมีพัฒนาการตามวัยหรือไม่ เช่น เด็กพูด เล่น เดินตามวัย และมองเห็นภาพ สีถูกต้อง หรือไม่ และทางรพ.สต.นาป่าแซงจะเข้ามาร่วมกิจกรรมทุกวันที่ ๒๐ ของทุกเดือน ๕.๓ จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก ๐-๕ ปีผ่านสนามเด็กเล่น และการละเล่นพื้นบ้าน ๕.๔ เรียนรู้การป้องกันอุบัติเหตุและรู้วิธีช่วยตนเองหรือเพื่อนๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ๕.๕ ส่งเสริมภาวะโภชนาการ โดยมีกลุ่มอาสาสมัครดูแลเด็ก เช่น อสม.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเป็น ต้น ผู้ปกครองมีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมการมีโภชนาการในเด็กปฐมวัย การติดตามเยี่ยมบ้านดูแล อย่างต่อเนื่องตลอด ๕.๖ พัฒนาศักยภาพ ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ อสม. รพ.สต. ผู้ปกครองและคณะกรรมการพัฒนาศูนย์ เด็กเล็ก โดยมีงานและกิจกรรม คือแบบพัฒนาความรู้ศักยภาพครูผู้ปกครอง อสม. ทำสื่อพื้นบ้านเพื่อการ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๕๙ พัฒนาเด็กปฐมวัย การตรวจประเมินพัฒนาการเด็กด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ๕.๗ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย อบรมพัฒนาอาชีพผู้ปกครองของโรงเรียนพ่อแม่มือ อาชีพ อบรมเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงดูเด็ก การใช้สื่อในเด็กเช่นการเล่านิทาน ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุม ๔ องค์กรหลักในพื้นที่ ได้แก่รพ.สต. อสม. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ครูศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุคณะทำงาน โดยนำใช้ข้อมูลด้านสุขภาพจากรพ.สต. ข้อมูล TCNAP RECAP เพื่อวางแผนในการทำงาน และจัดหางบประมาณ ให้ดำเนินงานไปได้ทั้งระบบ และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ ดูแลเด็ก และเฝ้าระวังตามสถานการณ์ต่าง ๆ ๖.๒ จัดอบรมครูด้วยแบบพัฒนาความรู้ศักยภาพครูอบรม อบรมการประเมินพัฒนาการเด็กด้วย คู่มือประเมินพัฒนาระบบ DSPM ให้กับอสม. และอบรมการดูแลภาวะโภชนาการเด็กให้แก่ผู้ปกครอง ๖.๓ จัดการเรียนรู้จากผู้สูงอายุภายในบ้าน โดยนำเด็กไปเรียนที่บ้าน หรือกลุ่มต่าง ๆ เช่น การไป เรียนรู้การทำพานไหว้พระ การพาเด็กไปทำของเล่นจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น ทำรถด้วยผลไม้ป่า เป็นต้น ๖.๔ ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ อสม. รพ.สต. ผู้ปกครองและคณะกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก จัดทำสื่อ พื้นบ้านเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย และจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย ๖.๕ อบรมพัฒนาอาชีพผู้ปกครองของโรงเรียนพ่อแม่มืออาชีพ อบรมเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงดูเด็ก การใช้สื่อในเด็ก เช่น การเล่านิทาน โดยความร่วมมือของ อปท. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รพ.สต. ผู้สูงอายุผู้นำ ท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ อสม. อปพร. กลุ่มสตรีครูผู้ดูแล ผู้ปกครองเด็ก และ ผู้สูงอายุเป็นต้น ๖.๖ หน่วยงาน พมจ.มีการฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้ดูแลเด็ก รพ.สต. อสม. และภาคีเครือข่าย ร่วม เรียนรู้จากหน่วยงาน โรงพยาบาลลืออำนาจ เกี่ยวกับโภชนาการดูแลเด็กปฐมวัย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ เขต ๑๐ อุบลราชธานีเกี่ยวกับการดูแลเด็กปฐมวัยของเนอร์สเชอรี่บ้านเฮา ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนให้ใช้ฐานข้อมูลนำไปใช้ประกอบการแก้ไข ปัญหาและต่อยอดการพัฒนาการดูแลเด็กปฐมวัย ๗.๒ รพ.สต. ในพื้นที่เป็นคนรับผิดชอบในการทำข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลด้าน สุขภาพของคนในตำบลได้รับรู้เพื่อมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานดูแลเด็กปฐมวัยในพื้นที่ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เด็ก ๐-๕ ปีมีพัฒนาการที่ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สติปัญญาและการเคลื่อนไหวทาง ร่างกาย โดย ๐-๒ ปีจะเป็นการดูแลของคุณแม่หรือผู้ที่ดูแล และ อสม.จะเข้าไปให้ความรู้ทุกสัปดาห์ในการ ตรวจวัดดัชนีมวลกายของเด็ก และการรับประทานอาหารให้เหมาะสมตามวัย และเพื ่อตรวจดูว ่าเด็กมี พัฒนาการตามวัย ๒) สร้างการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่เด็กปฐมวัย ให้เด็กมีจิตสำนึกรักท้องถิ่นของ ตนเอง ๓) จัดสิ่งแวดล้อมทีเอื้อต่อเด็ก ๐-๕ ปีผ่านสนามเด็กเล่น และการละเล่นพื้นบ้าน ๔) เด็กเรียนรู้ในการการป้องกันอุบัติเหตุและรู้วิธีช่วยตนเองหรือเพื่อนๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม การสร้างการเรียนรู้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการจัดหลักสูตรภูมิปัญญา ท้องถิ่นเด็กปฐมวัยและโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาป่าแซง ๒) ด้านเศรษฐกิจ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประกอบอาชีพ สร้าง รายได้ให้กับครอบครัว
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๐ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อยต่อเด็ก ๐-๕ ปีผ ่านสนามเด็กเล่น การละเล่นพื้นบ้าน ๔) ด้านสุขภาพ กลุ่มเด็ก ๐-๕ ปีเนอสเชอรี่บ้านเฮาคอยสอดส่องดูแลและประเมินพัฒนาการ ด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) กระตุ้นให้เด็กได้มีการพัฒนาการเป็นไปตามวัย มีสติปัญญาที่เหมาะสม ฝึกให้ผู้ปกครองตรวจดูพัฒนาการของเด็กได้เอง ๕) ด้านการเมืองการปกครอง แผนพัฒนาตำบล แผนงานพัฒนาการศึกษา เพื่อจัดทำโครงการ รับเงินสนับสนุนงบประมาณของอปท.การจัดทำหลักสูตรของเด็กปฐมวัย และการจัดทำโครงการตาม แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๑ Key Actors เทศบาลตำบลห้วย งานเด่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ พื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางชบาไพร ยาทอง ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.๓) เบอร์โทรศัพท์๐๖๒-๑๙๓๐๔๕๖ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยของเทศบาลตำบลมีหลักการทำงานอย่างน้อย ๓ หลักการ คือ ๑) การใช้พื้นที่เป็นฐานการพัฒนา ๒) การคำนึงถึงสุขภาพในทุกนโยบายของชุมชน และ ๓) การมีส่วนร่วม ของคนในชุมชน โดยอาศัย ๔ องค์กรหลักเป็นกลไกขับเคลื่อนงานและกิจกรรม การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นการทำงานและเกื้อหนุนกัน ชุมชนเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาด้านต่าง ๆ และชุมชนจะเข้าใจ ปัญหา สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถ่องแท้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่สอนให้เด็กได้เรียนรู้บริบทต่าง ๆ ของชุมชน เด็กรู้สึกผูกพันและห่วงแหนวิถีชุมชน รักในถิ่นเกิด ซึ่งข้อมูลสถานการณ์เด็กปฐมวัยในตำบลห้วย มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๗ แห่ง มีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๑๐๐ คน เพศชาย ๕๒ คน เพศหญิง ๔๘ คน มีครูและผู้ดูแลเด็ก จำนวน ๑๗ คน สำหรับดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดแทนพ่อแม่ผู้ปกครอง พ.ศ ๒๕๖๐ - ปัจจุบัน สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า เด็กไม่มีประสบการณ์เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จริง ชุมชนเข้ามาร่วมในกิจกรรมพัฒนาเด็ก และร่วมการเรียน การสอนค่อนข้างน้อย ประกอบกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพื้นที่คับแคบไม่เพียงพอกับจำนวนเด็ก ซึ่งมีผลต่อ การจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นผู้บริหารเทศบาลตำบลห้วย ร่วมกับครูและผู้ดูแลเด็กคิดหา วิธีการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเริ่มจากแหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ จริง จึงมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาและยกระดับการศึกษา ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลห้วยให้ได้รับ การศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อพัฒนาทักษะตั้งแต่ยังเล็ก เพื ่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนที ่มี ประสิทธิภาพ ผลิตนักเรียนสู่สังคม เป็นคนที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๑๗ คน ๒.๒ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๑๐๐ คน ๒.๓ ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๗ แห่ง ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้ก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาตนเองได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยมีทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันได้แก่ ความสามารถให้การอ่าน การคิด การ วิเคราะห์การเขียน และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขณะเดียวกันกระบวนการเรียนรู้ที่จัดจำเป็นต้องสอดคล้อง กับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการ ปฏิบัติคิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ๓.๒ ผู้สอน และผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ๓.๓ พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนร่วมกันจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลรพ.สต. เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ได้แก่ข้อมูลภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย การได้รับวัคซีน การ ประเมินพัฒนาการ ๔.๒ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับข้อมูลทุนทางสังคมและศักยภาพชุมชนในการดูแลเด็ก ปฐมวัย ได้แก่ ครอบครัวหรือผู้ดูแล กลุ่มองค์กรชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลในระบบ CCIS ๔.๓ แผนพัฒนาท้องถิ่น
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๒ ๔.๔ คู่มือมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของสำนักงานส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยและคู่มือการ ประเมินศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ ๔.๕ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ มีทะเบียนเด็กที่ได้รับการประเมินพัฒนาการ กระตุ้นพัฒนาการ และการส่งต่อเด็กในพื้นที่ ๕.๒ มีสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชน จำนวน ๑ แห่ง (ศพด.บ้านห้วย) ๕.๓ สื่อของเล่นภูมิปัญญาจำนวนมาก ที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง และปราชญ์ในชุมชน ๕.๔ แนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพและปลอดโรค ๕.๕ การพัฒนาสื่อการสอน โดยการค้นหาทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อนำมาสร้างสื่อการเรียนการสอน และคิดค้นสื่อการบูรณาการการทำงานร่วมกันของครูผู้ดูแลเด็กใน ศพด. ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน เทศบาล และ กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ๕.๖ หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมคณะทำงาน จำนวน ๔๐ คน ประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น เจ้าหน้าที่เทศบาล อสม. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้แทนผู้ปกครองเด็ก กำหนดบทบาทหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำเสนอ วิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ๖.๒ การจัดทำหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพของคนในท้องถิ ่น การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและ ปราชญ์ชาวบ้าน การผลิตสื่อของเล่นภูมิปัญญา ๖.๓ จัดสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่เอื้อต่อการดูแลเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น มีการจัดมุมเรียนรู้ทั้งใน และนอกห้องเรียน ๖.๔ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้กับครูผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการคัดกรองพัฒนาการเด็กด้วย คู่มือ เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) โดยความร่วมมือของ รพ.สต. ๖.๕ จัดอบรมให้ความรู้พ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กเพื่อให้มีทักษะในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้องผ่าน กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ๖.๖ จัดแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ ด้วยการการเชื่อมโยงและบูรณาการ การทำงานร่วมกันของครูศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง ผู้นำ อปท. ตามแหล่งเรียนรู้และทุนทางสังคมในพื้นที่ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๗ แห่ง ในเขตเทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๑๐๐ คน ได้รับการ คัดกรองพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง โดยเด็ก ๙๙ คน มีสุขภาพดีและมีพัฒนาการ ที่สมวัย ส่วนเด็กอีก ๑ คน (Down Syndrome) มีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตร ประจำวันได้เพิ่มขึ้น ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับการดำเนินงานของ ศพด. เป็นอย่างดี ๗.๒ ครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๑๗ คน ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดูแล เด็กปฐมวัย ๗.๓ ผู้ปกครองและทุนทางสังคมในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กปฐมวัย จำนวน ๔๐ คน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๑๗ คน มีทักษะในการดูแลเด็กปฐมวัย และจัดประสบการณ์ ให้เด็ก ๒) เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ตามวัย ๓) ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดูแลเด็กปฐมวัย
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๓ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำกิจกรรม สร้างการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัยในพื้นที่ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดภาระผู้ปกครอง ด้านรายจ่ายการดูแลเด็ก ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็กปฐมวัยให้มีความปลอดภัย และ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ๔) ด้านสุขภาพ เด็กมีพัฒนาการ และได้รับการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่สมวัย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง สร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก และมีจิตอาสาช่วยเหลือกัน มี การกำหนดกติการ่วมกัน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๔ Key Actors เทศบาลตำบลหนองข่า/รพ.สต.หนองข่า งานเด่น พัฒนาการคุณภาพเด็กดีที่เนอร์สเซอรี่ ๓ วัย ภูไทหนองข่า พื้นที่ เทศบาลตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางสาวฐิตาชญา โสมรักษ์และนางเยาว์วเรศ กลางประพันธ์ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ สำนักปลัดเทศบาลตำบลหนองข่า และผู้อำนวยการ กองการศึกษา เบอร์โทรศัพท์๐๘๔-๙๖๒๒๖๘๙ และ ๐๖๒-๕๑๖๖๔๖๘ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน สถานการณ์เด็กปฐมวัยในตำบลหนองข่า มีจำนวนเด็กปฐมวัย ๐-๖ ปีทั้งหมด จำนวน ๓๖๑ คน (ร้อย ละ ๕.๒๗ ของประชากรทั้งหมด) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๔ แห่ง จำนวนเด็กปฐมวัยอายุ๒-๖ ปีที่เข้า เรียนใน ศพด. ในพื้นที่มีจำนวนทั้งหมด ๑๔๓ คน (เด็กพิการ ๑ คน) จาก ๑๔๓ ครัวเรือน อาศัยอยู่กับพ่อแม่ จำนวน ๖๙ คน (ร้อยละ ๔๘.๒๕) อาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย จำนวน ๗๔ คน (ร้อยละ ๕๑.๗๕) อาชีพหลักของ ครัวเรือนที่เด็กพักอาศัยอยู่ด้วยส่วนใหญ่คืออาชีพเกษตรกรรม การดำเนินงานเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปี๒๕๖๔ ตำบลหนองข่า ในเด็กช่วงอายุ ๙, ๑๒, ๓๐ และ ๔๒ เดือน ที่ผ่านมา เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจคัดกรองครอบคลุมร้อยละ ๙๐ พบพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ ๓๐.๓๔ หลังได้รับการกระตุ้นพัฒนาการและการติดตาม ๑ เดือน พบเด็กมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นแต่ ยังคงเหลือเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าประมาณร้อยละ ๕ ส่งผลให้เด็กสูญเสียโอกาสที่จะได้รับการพัฒนา อย่างเต็มศักยภาพ ประกอบกับมีจำนวนเด็กปฐมวัยที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางมีมาก บางคนอยู่ในครอบครัว ยากจน ครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวพ่อเลี้ยงเดี่ยว เกิดจากแม่วัยใส อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย ผู้ปกครอง มีความรู้ไม่เพียงพอและไม่ค่อยเอาใจใส่ในการดูแลลูก และได้รับสวัสดิการของรัฐไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ดังนั้น ในปีพ.ศ.๒๕๖๔ รพ.สต.หนองข่า ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองข่า จึง ได้จัดทำโครงการคุณภาพเด็กดีที่เนอร์สเซอรี่ ๓ วัย ภูไทหนองข่า ตำบลหนองข่า ขึ้นเพื่อให้ความรู้และเพิ่ม ทักษะด้านการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้กับชมรมคน ๒ แม่ และผู้ปกครองเด็ก ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ ประโยชน์ที่พึงได้รับจากสวัสดิการภาครัฐ และสิทธิประโยชน์จากสวัสดิการของชุมชน ผ่านภาคีเครือข่าย คณะทำงาน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพง อบรมให้ผู้ปกครองได้ฝึกทักษะ เรื ่องการเฝ้าระวังและส ่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัย และเป็นแบบอย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีตามวิถีพอเพียง (ลด ละ เลิก สุรา บุหรี่ ลดหวาน มันเค็ม) ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ กลุ่มแกนนำขับเคลื่อนการดูแลเด็กปฐมวัย ๙ หมู่บ้าน ของตำบลหนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ. อำนาจเจริญ ประกอบด้วย ๑) ชมรม คน ๒ แม่ จำนวน ๓๖ คน ๒) อสม. ตำบลหนองข่า จำนวน ๑๒๐ คน ๓) คณะทำงาน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพง จำนวน ๕๐ คน และ ๔) ทีมหมอครอบครัว จำนวน ๖ คน ๒.๒ กลุ่มผู้รับการดูแล ประกอบด้วย ๑) ผู้ปกครองเด็ก ๐-๓ ปีตำบลหนองข่า จำนวน ๑๔๓ คน ๒) เด็ก ๐-๓ ปีตำบลหนองข่า จำนวน ๑๔๓ คน และ ๓) คู่แต่งงาน จำนวน ๑๐ คน รวมจำนวนทั้งหมด ๔๙๘ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพื่อให้ชมรมคน ๒ แม่ ฟื้นฟูความรู้และทักษะการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยร่วมกับ ผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายให้มีความเชี่ยวชาญ ๓.๒ เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความตระหนักรู้มีความตื่นรู้มีทักษะในการเฝ้าระวังและส่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ ๓.๓ เพื่อให้ภาคีเครือข่ายคณะทำงาน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพงมีความรู้เข้าใจในชุดสิทธิประโยชน์ สวัสดิการภาครัฐและสวัสดิการของชุมชนที่เด็กปฐมวัยควรได้รับ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๕ ๓.๔ เพื่อให้ชมรมคน ๒ แม่ และภาคีเครือข่าย ๓ วัย ภูไทหนองข ่าฮักแพงสามารถแยกกลุ ่มเด็ก ปฐมวัยได้ได้แก่ กลุ่มที่มีความพร้อมครบทุกมิติหรือกลุ่มดีสามารถเป็นแบบอย่างได้ และกลุ่มด้อยโอกาสที่ ต้องได้รับการช่วยเหลือในแต่ละด้าน ๓.๕ เพื่อให้ชมรมคน ๒ แม่และภาคีเครือข่ายสามารถบูรณาการเข้าดูแลช่วยเหลือเด็กปฐมวัยและ ครอบครัวได้ครอบคลุมครบทุกมิติจากสวัสดิการกองทุน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพง ๓.๖ เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กสามารถคัดกรองพัฒนาการเด็กและประเมินความล่าช้าในแต่ละ ช่วงวัยได้ ๓.๗ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขจากประสบการณ์และสถานการณ์จริง ๓.๘ เพื่อให้ชมรมคน ๒ แม่ ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายคณะทำงาน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพง สามารถ จัดทำอุปกรณ์กระตุ้นพัฒนาการ และอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุของเด็กปฐมวัยได้ ๓.๙ เพื่อให้ชมรมคน ๒ แม่จัดเวรเล่านิทานให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กสัปดาห์ละ ๕ วัน ๓.๑๐ เพื่อให้คู่แต่งงานใหม่ได้รับคำแนะนำเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ ๓.๑๑ เพื่อให้เด็กได้กินนมแม่อย่างเดียวไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ๓.๑๒ เพื่อให้คนในครอบครัวเด็กปฐมวัยเข้าโครงการธรรมะอยู่ที่ใจ เหล้าบุหรี่เลิกได้ด้วยตัวเรา ๓.๑๓ เพื่อให้ครอบครัวเด็กปฐมวัยเข้าร่วมเครือข่ายกลุ่มผักอินทรีย์ ๓.๑๔ เพื่อจัดให้มีมินิมาร์ทนมแม่ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลเด็กปฐมวัยในระบบข้อมูลคำบล (TCNAP) ๔.๒ ข้อมูลเด็กปฐมวัยของ ศพด.ในพื้นที่ ตำบลหนองข่า ๔.๓ ข้อมูลเด็กปฐมวัยของ รพ.สต.ในพื้นที่ ตำบลหนองข่า ๔.๔ ข้อมูลเด็กเปราะบาง ครอบครัวยากจน เทศบาลตำบลหนองข่า ๔.๕ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ มีแผนการดำเนินงานดูแลเด็กปฐมวัยที่ชัดเจน ประกอบด้วย ๔ แผนย่อย ได้แก่ ๑) แผนสนับสนุน การเล่นและกิจกรรมทางกาย ๒) แผนการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต ๓) แผนการควบคุมโรค และบริการสุขภาพ ๔) แผนการจัดการโภชนาการแม่และเด็ก และ๕) การจัดสวัสดิการทางสังคมสำหรับเด็ก ๐-๓ ปี ๕.๒ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ในรูปแบบของอาสาสมัครแม่ฮักในหญิงตั้งครรภ์ (หญิง ตั้งครรภ์๑ คน ต่อแม่ฮัก ๑ คน) แม่ฮักในเด็ก ๐-๓ ปี (เด็ก ๐-๓ ปี๑ คนต่อแม่ฮัก ๑ คน) และเป็นพี่เลี้ยงแม่ วัยใสในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ๕.๓ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการเชื่อมงานกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลหนองข่า เพื่อสร้าง อาชีพให้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูลูก ๕.๔ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ผสมผสานระหว่างการ จัดการเรียนรู้จากสภาพจริงของชุมชน วิถีชีวิตของชาวภูไทหนองข่า และการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ๕.๕ เด็กในกลุ่มเปราะบาง และเด็กในกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยติดเตียงในครอบครัว ได้รับสวัสดิการและการดูแลที่มากกว่าเด็กทั่วไปเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับการติดตามดูแลอย่าง ต่อเนื่อง อย่างน้อย ๒ ครั้งต่อเดือน ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดตั้งแกนนำคณะทำงาน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพง ชมรม คน ๒ แม่ จากตัวแทนหมู่บ้านของ ทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๒ คน รวมเป็น ๑๘ คน ๖.๒ จัดทำแผนการการดำเนินงานดูแลเด็กปฐมวัยตำบลหนองข่า โดยมีการดำเนินงานร ่วมกัน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลหนองข่า รพ.สต. แกนนำคณะทำงาน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพง
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๖ ชมรมคน ๒ แม่ ประกอบด้วย ๔ แผนย่อย ได้แก่ ๑.๑) แผนสนับสนุนการเล่นและกิจกรรมทางกาย ๑.๒) แผนการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต ๑.๓) แผนการควบคุมโรคและบริการสุขภาพ ๑.๔) แผนการ จัดการโภชนาการแม่และเด็ก และ ๑.๕) การจัดสวัสดิการทางสังคมสำหรับเด็ก ๐-๓ ปี ๖.๓ จัดทำโครงการคุณภาพเด็กดีที่เนอร์สเซอรี่ ๓ วัย ภูไทหนองข่า ดังนี้๑) ประชุมชี้แจงแนว ทางการดำเนินกิจกรรมแก่แกนนำคณะทำงาน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพง ชมรม คน ๒ แม่ ทีมหมอครอบครัว ๒) แบ่งทีมรับผิดชอบการดูแลเด็กปฐมวัย จำนวน ๑๔๓ คน ๓) จัดทำทะเบียนเด็กปฐมวัยและชื่อสมาชิก ชมรมที่รับผิดชอบ โดยชมรมคน ๒ แม่ ๔) แบ่งทีมรับผิดชอบในการตรวจพัฒนาการเด็กเป็นรายหมู่บ้านโดย ทีมหมอครอบครัวและ อสม. ๕) คัดกรองกลุ่มเด็กเป็น ๒ กลุ่ม ทำข้อตกลงเพื่อดูแลสวัสดิการทั้งจากภาครัฐ และจากชุมชนโดยคณะทำงาน ๓ วัยภูไทหนองข่าฮักแพง ๖) รับสมัครแม่เข้ากลุ่มหนูน้อยนมแม่เดลิเวอรี่โดย อสม. ๗) อบรมฟื้นฟูเพิ่มทักษะการดูแลพัฒนาการเด็กแก่ชมรมคน ๒ แม่ และ อสม. หลักสูตร ๑ วัน จำนวน ๑๔๓ คน ๘) อบรมผู้ปกครองเด็กและคู่แต่งงานใหม่ให้ฝึกทักษะการตรวจพัฒนาการเด็กตามคู่มือ (DSPM) จำนวน ๑๔๓ คน ๙) ติดตามดูแลแด็กปฐมวัยตามช่วงวัยและติดตามการช่วยเหลือเด็กเดือนละ ๑ ครั้ง ๑๐) จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ๑๑) จัดทำสื่อภาพพลิกการดูแลความเจ็บป่วยเบื้องต้นที่บ้าน ๑๒) จัดทำสื่อพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยไว้ที่เนอร์สเซอรี่บ้านเฮา ๑๓) จัดทำแผ่นพับเมนูอาหารลูกรักแก่ ผู้ปกครองเด็ก ๑๔) จัดทำกรงไม้ให้เด็ก ๐-๓ ปีเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ๑๕) ติดตามครอบครัวเด็ก ปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการผู้ปกครองลดละเลิกบุหรี่ สุรา ๑๖) ติดตามเด็กที่ได้รับนมแม่จากเดลิเวอรี่ และจาก มิมาร์ทนมแม่ และ ๑๗) สรุปและประเมินผล ๖.๔ ศพด. จัดทำหลักสูตรที่สนับสนุนให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้บริบทชุมชน การเรียนรู้จากแหล่ง เรียนรู้ตามธรรมชาติในชุมชน โครงการผู้เฒ่าเล่านิทาน ๒ ภาษา (ภาษาภูไท และภาษาไทยภาคกลาง ภาค อีสาน) โครงการเรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีภูไทและประเพณีพื้นบ้าน การจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนโดยเน้นเนื้อหาป่าชุมชน ๖.๕ จัดประชุมเพื่อประเมินผลการดำเนินงานดูแลเด็กปฐมวัยตำบลหนองข่า รอบปี๒๕๖๔ และ วางแผนการดำเนินงานในปี๒๕๖๕ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ มีอาสาสมัครแม่ฮักในหญิงตั้งครรภ์ (หญิงตั้งครรภ์๑ คน ต่อแม่ฮัก ๑ คน) ที่ผ่านการอบรมและมี คู่มือในการปฏิบัติงาน ๗.๒ มีอาสาสมัครแม่ฮักในเด็ก ๐-๓ ปี (เด็ก ๐-๓ ปี๑ คนต่อแม่ฮัก ๑ คน) ที่ผ่านการอบรมและมีคู่มือ ในการปฏิบัติงาน ๗.๓ เด็ก ๐-๓ ปีได้รับการตรวจพัฒนาการครบ ร้อยละ ๑๐๐ และหากผลการตรวจพบพัฒนาการ สงสัยล่าช้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและได้รับการส่งต่อครบ ร้อยละ ๑๐๐ ๗.๔ เด็ก ๐-๓ ปีได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ครบ ร้อยละ ๑๐๐ มีคู่มือการส่งเสริมและแก้ไขปัญหา เด็กอ้วน เด็กผอม เด็กเตี้ย ๗.๕ เด็ก ๐-๓ ปีได้รับการหยอดยาเสริมธาตุเหล็ก ตรวจความเข้มข้นของเลือด (HCT) ร้อยละ ๑๐๐ หากผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมและรักษาต่อครบ ร้อยละ ๑๐๐ และ เพื่อป้องกันภาวะซีด เด็ก ๐-๓ ปีทุกคน จะได้รับประทานไข่วันละ ๑ ฟอง ๗.๖ มีป้ายเตือนและวิธีช่วยเหลือเด็กจมน้ำ จัดทำแนวกั้นขอบบ่อ และมีอุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ เช่น ห่วงยาง แกลลอนพลาสติก ไม้ยาว เชือก ๗.๗ มีกรงไม้หรือคอกเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก ๐-๓ ปีที่ทำเป็นแนวตั้งบนพื้นที่เรียบทุกบ้านที่มีเด็ก และที่รพ.สต. อีกอย่างน้อย ๒ อัน ๗.๘ เด็ก ๐-๓ ปีได้รับสวัสดิการจากภาครัฐ ร้อยละ ๑๐๐ สำหรับเด็กในกลุ่มเปราะบาง และเด็กในกลุ่ม เปราะบางที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยติดเตียงในครอบครัว ได้รับสวัสดิการเพิ่มเติมจากภาคเครือข่าย (โดย ชุมชน) ร้อยละ ๑๐๐ เช่น การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณรอบบ้านที่มีความปลอดภัย และ การช่วยเหลือตามความจำเป็นอื่น ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๗ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เมื่อคลอดมาแล้วได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง จากแม่ฮัก และเครือข่ายคณะทำงาน ๓ วัย ภูไทหนองข่าฮักแพง และหากพบว่ามีพัฒนาสงสัยล่าช้าก็ได้รับ การส่งต่อเพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ๒) แม่ฮักมีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็ก ๐-๓ ปีเพิ่มขึ้น ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดจิตอาสาในชุมชนเพิ่มขึ้น ในชุมชนมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย มีศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กที่เน้นการพัฒนาเด็กตามอัตลักษณ์ของชุมชน และมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้นอก ห้องเรียนที่จับต้องได้และวางพื้นฐานในการประกอบอาชีพในอนาคต ๒) ด้านเศรษฐกิจ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมอาชีพจากศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ชุมชนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยสำหรับเด็ก ๔) ด้านสุขภาพ เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ เด็กปฐมวัยในกลุ่มเปราะบาง และ เด็กในกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยติดเตียงในครอบครัว ได้รับสวัสดิการเพิ่มเติมจากภาคเครือข่าย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทัดเทียมกับเด็กทั่วไป ๕) ด้านการเมืองการปกครอง เกิดความร่วมมือกันในชุมชน มีเครือข่ายคณะทำงาน ๓ วัย ภูไท หนองข่าฮักแพง แม่ฮักจิตอาสาดูแลหญิงตั้งครรภ์เด็กปฐมวัยและครอบครัว
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๘ Key Actors องค์การบริหารส่วนตำบลลือ งานเด่น การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด ๗ แห่ง วิทยากร นางสาวฐิตินันท์ ศิริปีและ นางสาวประกายแก้ว สันลักษณ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองการศึกษาและครู เบอร์โทรศัพท์๐๘๔ ๔๗๔๕๐๕๐ และ ๐๙๒ - ๘๓๖๘๐๗๗ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ตั้งอยู ่ที ่เลขที ่ ๑๑๓ หมู ่ ๗ ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา มีพื้นที่ ทั้งหมด ๖๙ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ให้บริการ จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน มีประชากร รวมจำนวน ๘,๒๙๖ คน ประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๕ พบว่ามีประชากรช่วงอายุ๐ - ๕ ปีจำนวน ๒๖๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๕๑ ของประชากร ทั้งหมด โดยมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด จำนวน ๗ แห่ง ให้บริการการอบรมเลี้ยงดูการจัดประสบการณ์ และส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ให้เด็กเล็กพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป การพัฒนาคุณภาพ เด็กปฐมวัยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและดำเนินการอย่างจริงจัง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจัด อยู่ในระยะวัยทองของชีวิต โดยเฉพาะ ๓ ปีแรก เป็นจังหวะทองของการสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นการ วางรากฐานของการพัฒนาความเจริญเติบโตทุกด้านโดยเฉพาะทางด้านสมอง เพราะสมองเติบโตและพัฒนา เร็วที่สุด ดังนั้น การอบรมเลี้ยงดูในช่วงระยะนี้มีผลต่อคุณภาพของคนตลอดชีวิต ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย เด็กปฐมวัย อายุ๒ – ๕ ปีที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง ๗ แห่ง จำนวน ๑๕๓ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมที่หลากหลาย ๓.๒ เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม รู้จักอดออม มี ความซื่อสัตย์สุจริต ๓.๓ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและสร้างเครือข่ายทางการศึกษา ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลจำนวนเด็กปฐมวัย จาก ศพด. ได้แก่ จำนวนเด็กที่เข้าเรียนใน ศพด. ข้อมูลภาวะสุขภาพ เด็กปฐมวัย ข้อมูลการเจ็บป่วย ข้อมูลการได้รับสวัสดิการ ข้อมูลการได้รับวัคซีน ข้อมูลผลการประเมิน พัฒนาการและการเติบโต และข้อมูลการตรวจสุขภาพฟัน เป็นต้น ๔.๒ ข้อมูลการดำเนินงานจากครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากผู้ปกครองและชุมชน ๔.๓ คู่มือมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของสำนักงานส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยและคู่มือการ ประเมินศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ ๔.๔ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง ๗ แห่ง มีแผนการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ๕.๒ ครูและผู้ดูแลเด็กจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแผนการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรม ที่หลากหลาย มีการปลูกฝังความมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ๕.๓ การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยรู้จักอดออม โดยมีกิจกรรมออมวันละบาท
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๖๙ ๕.๔ การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยรู้จักและมีความซื่อสัตย์สุจริต โดยจัดทำหลักสูตรต้านทุจริตและสอน ตามหลักสูตร สัปดาห์ละ ๑ วัน ๕.๔ การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย จำนวน ๑๕๓ คน ตามช่วงอายุ ๕.๖ มีทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น มีปราชญ์ชาวบ้าน เล่านิทานให้เด็กฟังทุกวันพระ มาเล่นดนตรีให้เด็กดูและร่วมกิจกรรมเข้าจังหวะ เดือนละ ๑ ครั้ง และมีสื่อการ เรียนการสอนจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น ๖.๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัน พ.ศ.๒๕๖๐ หลักสูตรต้านทุจริต ๖.๒ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วย แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา และแผนจัดประสบการณ์ที่ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบริบทของท้องถิ่น ๖.๓ มีการประเมินพัฒนาการเด็กครบทั้ง ๔ ด้าน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หากสงสัยมี พัฒนาการล่าช้าจะจัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการตามความเหมาะสม กรณีพบมีพัฒนาการล่าช้าจะส่งต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๖.๔ อบต.ลือให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ประกอบด้วย ค่าอาหารกลางวัน ค่าวัสดุ สื่อการเรียนการสอน ค่าอาหารเสริมนมนักเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าหนังสือเสริมประสบการณ์สำหรับ เด็กปฐมวัย ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ค่าใช้จ่ายในการ ปรับปรุงอาคารเรียนและสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ๖.๕ มีการระดมทรัพยากรจากชุมชน องค์กร หรือหน่วยงานอื่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ๖.๖ มีการประเมินผล ได้แก่ การติดตาม ประเมินผลความสำเร็จของโครงการ และการรวบรวม สรุป รายงาน ผลการดำเนินงานประจำปี ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ เด็กปฐมวัย จำนวน ๑๕๓ คน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย มี พัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม มีความพร้อมเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ต่อไป ๗.๒ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ๗.๓ มีจิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้านและเครือข่ายทางการศึกษา ๗.๔ ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย จากการดำเนินงานการจัดประสบการสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ๒ – ๕ ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง ๗ แห่ง เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีมาก ทุกแห่ง ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รับการส่งเสริมความมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดภาระค่าใช้จ่ายของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการจัดหาสื่อประกอบการจัดการ เรียนรู้สำหรับเด็ก ได้แก่ของใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และหนังสือนิทาน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ส่งเสริมให้เด็กอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๐ ๔) ด้านสุขภาพ เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย มีการเฝ้าระวังด้านสุขภาวะ หากพบ ความผิดปกติก็ดำเนินการส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๕) ด้านการเมืองการปกครอง อบต.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยนำเข้าสู่แผน และกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการศึกษาของ อบต.
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๑ Key Actors นางคนึงนิจ โสมรักษ์ งานเด่น คลีนิคส่งเสริมสุขภาพเด็กดี พื้นที่ เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางคนึงนิจ โสมรักษ์ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข เบอร์โทรศัพท์๐๙๐-๑๔๓๑๐๗๐ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ในปีพ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เกิดชมรมแม่ฮัก ที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ชมรมแม่ฮัก เกิดขึ้นจากลงสำรวจข้อมูลพื้นที่ของโรงพยาบาลปทุมราชวงศา ทำให้พบปัญหาเกี่ยวกับเด็ก เช่น เด็กไม่ได้ อาศัยอยู่กับบิดา มารดา เนื่องจากบิดา มารดาต้องไปทำงานต่างจังหวัด ทำให้เด็กต้องอาศัยอยู่กับตา-ยาย อาศัยอยู่กับบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า มีการเจ็บป่วย จากรายงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลปทุมราชวงศา ได้สรุปประเด็นข้อมูลเด็กอายุ๐-๓ ปีจำนวน ๗๒ คน เด็ก ๐-๕ จำนวน ๑๑๓ คน พบว่า มีเด็กที่อาศัยอยู่กับตา-ยาย และเด็กที่อาศัยอยู่กับญาติหรือบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง จำนวน ๑๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๐๔ และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๗.๐๘ ปีพ.ศ ๒๕๕๖ ได้จัดตั้งคลีนิคส่งเสริมสุขภาพเด็กดีเกิดจากการได้รับนโยบายจากกระทรวง สาธารณสุข ตั้งอยู่ที่หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลปทุมราชวงศา ซึ่งมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมราช วงศาเป็นผู้ดูแล มีการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก โดยมีแม่ฮัก และครูพี่เลี้ยงทำการคัดกรองพัฒนาการ เบื้องต้น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง มีการประเมิน พัฒนาการเด็ก ๐-๕ ปีโดยแม่ฮัก จะประเมินเด็กอายุ๐-๒ ปีที่บ้าน และคุณครูประจำโรงเรียนจะประเมินเด็ก อายุ๒-๕ ปีที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา โครงการชมรมแม่ฮักคำนึงถึงสุขภาพในทุก นโยบายและการมีส่วนร่วมของชุมชน ในปีพ.ศ.๒๕๖๔ และ พ.ศ.๒๕๖๕ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมราชวงศา ได้ร่วมมือกับ อสม. เขตเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา และผู้ปกครองเด็กสุ่มตรวจพัฒนาการเด็ก และคัดกรอง ความเสี่ยงภาวะออทิสติก เด็กอายุ๒-๕ ปีและมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ Triple p (Preschool Parenting Program) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปทุมราชวงศาทุกเดือน จากการดำเนินกิจกรรม จะส่งผลต่อการพัฒนาเด็กด้านภูมิปัญญา และด้านสุขภาพ มีกลุ่มอาสาสมัครดูแลเด็ก เช่น แม่ฮัก (กลุ่ม อาสาสมัครที่มีจิตอาสาอยากดูแลเด็ก) เป็นต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครองมีบทบาทในการดูแลและ ส่งเสริมการมีโภชนาการในเด็กปฐมวัย การติดตามเยี่ยมบ้านดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดทุกปี ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เด็กปฐมวัย อายุ๐-๕ ปีจำนวน ๑๑๓ คน ๒.๒ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กปฐมวัย ๒.๓ กลุ่มแม่ฮัก ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการตามเกณฑ์และร่างกายที่สมบูรณ์ ๓.๒ ครอบครัวหันมาสนใจบุตรหลาน และเข้าใจการเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็ก ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ นำข้อมูลจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมราชวงศา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอปทุมราชวงศา อสม. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุคณะทำงาน มีการจัดประชุม เพื่อวางแผนในการทำงาน และจัดหางบประมาณ เพื่อดำเนินงานไปได้ทั้งระบบ ๔.๒ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๒ ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ การส่งเสริมเด็ก ๐-๕ ปีให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สติปัญญาและการเคลื่อนไหว ทางร่างกาย ๕.๒ การสร้างการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่เด็กปฐมวัย ให้เด็กมีจิตสำนึกรักท้องถิ่นของ ตนเอง การเรียนรู้อนุรักษ์ป่าชุมชน ผู้สูงอายุเล่านิทานให้เด็กฟัง พาเด็ก ๆ เล่นและแสดงภาพประกอบของ นิทานอาทิตย์ละครั้ง ๕.๓ การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก ๐-๕ ปีผ่านสนามเด็กเล่น การละเล่นพื้นบ้าน และกิจกรรม กลางแจ้ง ๕.๔ การจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ในการป้องกันอุบัติเหตุและรู้วิธีช่วยเหลือตนเองหรือเพื่อนๆ เมื่อ เกิดอุบัติเหตุ ๕.๖ การจัดอบรมแม่ฮัก รายเก่าและรายใหม่ เพื่อฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ โรงพยาบาลปทุมราชวงศาเป็นผู้นำในการจัดประชุมเพื่อวางแผนในการทำงาน และจัดหา งบประมาณ เพื่อดำเนินงานไปได้ทั้งระบบ โดยผู้มีส่วนร่วมในการประชุมวางแผน ๖.๒ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมราชวงศา ร่วมมือกับเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา และ ครูพี่เลี้ยง จัด กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ ๐-๕ ปีครบ ๔ ด้าน (ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สติปัญญาและการ เคลื่อนไหวทางร่างกาย) มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจสุขภาพ และกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการ ได้แก่ กิจกรรม การเล่น ศิลปะและการสร้างสรรค์การออกกำลังกาย กิจกรรมการเข้าจังหวะ มีการอบรมให้ความรู้ แก่ผู้ดูแลเด็ก (บิดา มารดา ญาติผู้ปกครอง) ของคุณแม่หรือผู้ที่ดูแล และ อสม.จะเข้าไปให้ความรู้ทุกสัปดาห์ ในการตรวจวัดดัชนีมวลกายของเด็ก และการรับประทานอาหารให้เหมาะสมตามวัย และเพื่อตรวจดูว่าเด็กมี พัฒนาการตามวัยที่สมบูรณ์เช่น เด็กพูด เล่น เดิน เหมาะสมตามวัย และมองเห็นภาพสีถูกต้อง ทาง โรงพยาบาลปทุมราชวงศาจะมีการประเมินพัฒนาการเด็กนำข้อมูลจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมราชวงศา อสม. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุคณะทำงาน จัดประชุมเพื่อ วางแผนในการทำงาน และจัดหางบประมาณ เพื่อดำเนินงานไปได้ทั้งระบบ ๖.๒ จัดตั้งคลีนิคส่งเสริมสุขภาพเด็กดีโดยโรงพยาบาลปทุมราชวงศา ร่วมมือกับเทศบาตำบลปทุม ราชวงศา คอยสอดส่องดูแลและประเมินพัฒนาการ เด็กอายุ๐-๕ ปีว่ามีสติปัญญาที่เหมาะสม ๖.๓ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมราชวงศา ใช้เครื่องมือคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM กระตุ้นให้เด็กได้มีการพัฒนาการเป็นไปตามวัย เดือนละ ๑ ครั้ง ๖.๔ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมราชวงศาได้อบรมให้ผู้ปกครองตรวจดูพัฒนาการของเด็กได้เอง ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ เด็กปฐมวัย อายุ๐-๕ ปีมีพัฒนาการที่ตรงตามเกณฑ์จำนวน ๑๑๓ คน ๗.๒ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้นและเข้าสู่ระบบรักษาในโรงพยาบาลปทุมราชวงศา ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เด็กพัฒนาการล่าช้า ได้รับการคัดกรอง และได้รับการพัฒนาการโดยครูพี่เลี้ยง และ อสม. ๒) เด็กได้เรียนรู้เรื่องการป้องกันตัวเอง และช่วยเหลือเพื่อนได้เมื่อได้รับอุบัติเหตุ ๓) แม่ฮัก มีความรู้ความสามารถในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และการพัฒนาเด็กปฐมวัย ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม การสร้างการเรียนรู้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการจัดหลักสูตรภูมิปัญญา ท้องถิ่นเด็กปฐมวัย
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๓ ๒) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก ๐-๕ ปีผ่านสนามเด็กเล่น และพาทำ กิจกรรมกลางแจ้งเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ๓) ด้านสุขภาพ มีการกระตุ้นให้เด็กได้มีการพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ถ้าพบว่าผิดปกติจะ นัดกระตุ้น แต่ถ้ายังพัฒนากรล่าช้าอยู่ จะส่งต่อโรงพยาบาลปทุมราวงศา เพื่อกระตุ้นและเข้าสู่ระบบการรักษา ๔) ด้านการเมืองการปกครอง มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลเด็กปฐมวัย ในระดับอำเภอปทุม ราชวงศา โดยมีนายอำเภอปทุมราชวงศาเป็นประธาน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๔ Key Actors ศูนย์พัฒนาเด็กวัดบ้านโนนสำราญ งานเด่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ พื้นที่ วัดบ้านโนนสำราญ หมู่ ๘ ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางมณเทียร แก้วสิงห์ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เบอร์โทรศัพท์๐๘๔-๔๗๑๑๙๕๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การดูแลเด็กปฐมวัยในตำบลนาหว้า ยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรม ด้านบริการสุขภาพ ส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรค บริการสังคม ส่งเสริมพัฒนาการ การมีสวัสดิการ เพื่อให้ครอบคลุม การจัดการดูแลเด็กปฐมวัย ทั้งกลุ่มเด็กที่มีสุขภาพปกติกลุ่มเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ และมีความเสี่ยง กลุ่มเด็ก ที่มีปัญหาเร่ืองโรคและการเจ็บป่วย และกลุ่มเด็กที่มีความเปราะบางและมีความต้องการพิเศษ ศูนย์พัฒนา เด็กเล็กมีกิจกรรมที่เชื่อมร้อยการดูแลเด็กปฐมวัยให้เด็กทุกคนเข้าถึงบริการทุกด้านอย่างเท่าเทียม ในการ ดำเนินการดังกล่าวได้มีการนำใช้ข้อมูลจากระบบข้อมูลสถานะตำบลและข้อมูลการวิจัยชุมชนมาวิเคราะห์ สถานการณ์เด็กปฐมวัย ดังนี้ตำบลนาหว้ามีเด็กอายุ๐-๖ ปีจำนวน ๓๙๔ คน (ร้อยละ ๑๕) เพศชาย จำนวน ๑๘๒ คน(ร้อยละ ๖.๙๒) เพศหญิง จำนวน ๒๑๒ คน (ร้อยละ ๘.๐๗) เด็ก ๒-๖ ปีที่เข้าเรียนในศพด.วัดบ้าน โนนสำราญ จำนวน ๒๐ คน จากสถานการณ์เด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลนาหว้า มีเส้นทางการพัฒนา ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๖๑ จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตั้งชื่อตามสถานที่ตั้ง คือ “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโนนสำราญ” ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ รับดูแลเด็กอายุ๓-๕ ปีจัดการ เรียนการสอนตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ ประกอบด้วย ๑) ด้านบุคลากร ๒) ด้านการ เจริญเติบโต การดูแลสุขภาพช่องปาก และการจัดอาหาร ๓) ด้านพัฒนาการเรียนรู้ตามช่วงวัย ๔) ด้านการจัด สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกศพด. ๕) ด้านการป้องกันและควบคุมโรค ๖)ด้านการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการพัฒนาเด็กปฐมวัย จะต้องอาศัยปัจจัยสภาพแวดล้อม และการเรียนรู้การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูที่ดีเพื่อการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และ สติปัญญา พ.ศ.๒๕๖๒-ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีนโยบายส่งเสริมการเจริญเติบโตและส่งเสริมพัฒนาการ ด้วยการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมาตรฐานและได้รับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนตำบล นาหว้า ผู้นำชุมชน กองทุนหลักประกันสุขาภาพตำบลนาหว้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาค ประชาชน ผู้ปกครอง ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น ที่จัดให้ทุกแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นพื้นที่สำหรับ เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย พัฒนาสื่อการเรียนการสอนจากภูมิปัญญา ใช้ปราชญ์ชุมชนเป็นผู้สอนและสร้างเสริม ประสบการณ์ให้กับเด็ก รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็ก นอกจากนี้ยังมีการ ฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็ก และฝึกอาชีพสำหรับผู้ปกครองเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัยด้วย ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย จำนวน ๒ คน ๒.๒ เด็กในศพด. ๒๐ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น เด็ก ๒ - ๕ ปีมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์สังคม สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูล TCNAP เกี่ยวกับจำนวนประชากรเด็ก การอยู่อาศัยของเด็ก การเจ็บป่วย เด็กพิการ ข้อมูล RECAP เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาหว้า องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กรรมการ ศพด. ผู้ปกครอง และชุมชน อสม. เป็น ต้น ข้อมูลพัฒนาการ ภาวะโภชนาการ ในศพด. และข้อมูลจากรพ.สต. ๔.๒ แผนพัฒนาตำบล แผนยุทธศาสตร์อบต.นาหว้า
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๕ ๔.๓ หลักสูตรการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๔.๔ สื่อการสอน เช่น หนังสือนิทาน ภาพประกอบการเล่านิทาน แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตในชุมชน เป็นต้น ๔.๕ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ กลุ่มอาสาสมัครดูแลเด็กในศูนย์เช่น อสม. ศพด. ผู้ปกครอง โดยมีบทบาทในการดูแลส่งเสริม ทาง โภชนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กปฐมวัยส่งเสริมเด็กด้านพัฒนาทางร่างกาย เติบโตตาม มาตรฐานดัชนีมวลกาย ๕.๒ สร้างการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เล่านิทานให้เด็กฟัง แสดงภาพประกอบนิทาน ๕.๓ เรียนรู้วิถีชีวิตในชุมชน เช่น การทอผ้า การปลูกผัก ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ นำใช้ข้อมูลจาก ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) ข้อมูลจาก โรงพยาบาล อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปราชญ์ชาวบ้าน คณะกรรมการศูนย์มา ประชุมวางแผนงาน จัดหางบประมาณเพื่อดำเนินงานดูแลเด็กปฐมวัยทั้งระบบ ๖.๒ ประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดหน้าที่ กำหนดวิธีการประสานงานของหน่วยงานทุกระดับใน ตำบล และการกำหนดจำนวนครูผู้ดูแลเด็กหรือผู้ดูแลเด็กให้เป็นไปตามความเหมาะของจำนวนเด็ก ๖.๓ จัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาเป็นต้นแบบพฤติกรรมที่ดีแก่ เด็ก จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและกิจกรรมเข้าจังหวะ กิจกรรมการเล่านิทาน กิจกรรมกลางแจ้ง สวดมนต์ ล้างหน้า แปรงฟัน ๖.๔ จัดกิจกรรมการเล่นและการมีกิจกรรมทางกาย ด้วยการจัดให้มีสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ๖.๕ จัดทําหลักสูตรท้องถิ่น ด้วยการพาเด็กออกเรียนรู้นอกสถานที่ เรียนรู้วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ เช่น การทอเสื่อกก และการทําไม้กวาดทางมะพร้าวของโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นต้น ๖.๖ จัดทำสื่อ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กเล็กมีมีความพร้อมด้านร่างกายอารมณ์สังคมและ สติปัญญา โดยใช้คลิปวีดีโอประกอบการเรียนการสอน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) เด็กที่เข้าเรียน ศพด.บ้านโนนสำราญ มีพัฒนาการที่เจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย อารมณ์สังคม สติปัญญา ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เด็กใน ศพด. ได้รับโภชนาการที่เหมาะสมมีการเจริญเติบโตสมวัย อารมณ์แจ่มใส สนุกสนาน ในการอยู่กับเพื่อน เด็กมีความกล้าเล่น พูดคุย มีสติปัญญาพัฒนาเรียนรู้จากครูและเพื่อน ๒) ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ผู้ปกครอง เด็ก ๓) เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้มีความสามารถปฏิบัติในกิจกรรมง่ายๆเช่น ทาน อาหารเองได้ล้างหน้า แปรงฟัน สิ่งที่ทำในชีวิตประจำวัน ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม ได้แก่ (๑) ศพด.จัดกิจกรรมให้เด็กได้ไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อที่จะได้เรียนรู้วิถี ชีวิตในครอบครัว (๒) ผู้ปกครองสนับสนุนทุน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจเด็กในการร่วมกิจกรรมจ่างๆของ โรงเรียน เช่น วันเด็ก วันขึ้นปีใหม่ (๓) ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลบุตรหลาน ให้ปลอดภัย และ (๔) เป็น แบบอย่างทางด้านความประพฤติกริยามารยาท ความซื่อสัตย์ให้บุตรหลานปฏิบัติตาม
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๖ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยรู้จักการออม มีการอบรมอาชีพสำหรับผู้ปกครองเพื่อ เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการจัดพื้นที่สำหรับเด็กร่วมกิจกรรมที่เหมาะสม มีสนามเด็กเล่นที่ ปลอดภัย ๔) ด้านสุขภาพ เด็กปฐมวัยได้รับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม ผ่านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ มีคุณภาพและสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ได้รับความคุ้มครอง ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ (๑) พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสม (๒) กำหนดเวลารับส่งที่ชัดเจน และ (๓) จัดทำสมุดข้อมูลประจำตัวเด็ก
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๗ Key Actors โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพน งานเด่น การส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยในพื้นที่รับผิดชอบรพ.สต. คำโพน (Preschool Parenting Program; Triple-P) พื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูดานกอย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสว่างบ้านคำโพน และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหินเกิ้งธารศิลา วิทยากร นางสาวบัวเลียง สารีพงศ์ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ เบอร์โทรศัพท์๐๘๗-๙๘๕๔๐๒๑ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การดูแลเด็กปฐมวัยในตำบลคำโพน เน้นการพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพื ่อส ่งเสริม พัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ในพื้นที่ตำบลคำโพนซึ่งเป็นทุรกันดาร มีการนำโปรแกรมส่งเสริม พัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย (Preschool Parenting Program; Triple-P) มี จุดประสงค์เพื่อ ๑) ทำกิจกรรมกลุ่มฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ๒) ให้ เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นหลังพ่อแม่เข้ากลุ่มกิจกรรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็ก โดยไม่ต้องส่งต่อมา รับบริการในโรงพยาบาลชุมชน ๓) ให้ครอบคลุมการจัดการดูแลเด็กปฐมวัย ทั้งกลุ่มเด็กที่มีสุขภาพปกติกลุ่ม เด็กที่มีปัญหาสุขภาพ และมีความเสี่ยง กลุ่มเด็กที่มีปัญหาเรื่องโรคและการเจ็บป่วย กลุ่มเด็กที่มีความ เปราะบางและมีความต้องการพิเศษ ในการดำเนินการดังกล่าวได้มีการนำใช้ข้อมูลจากระบบข้อมูลสถานะ ตำบล (TCNAP) และข้อมูลการวิจัยชุมชน(RECAP) มาวิเคราะห์สถานการณ์เด็กปฐมวัยตำบลคำโพน ได้แก่ เด็ก ๐-๖ ปีจำนวน ๘๗๐ คน เพศชาย ๔๔๓ คน(ร้อยละ ๕๐.๙๑) เพศหญิง ๔๒๗ คน (ร้อยละ ๔๙.๐๑) เด็ก ๐- ๒ ปี๒๖๔ คน (ร้อยละ ๓๐.๓๔) เด็ก ๓-๖ ปี๖๐๖ คน (ร้อยละ ๖๙.๖๖) อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ๗๑๓ คน(ร้อยละ ๘๑.๙๕) อาศัยอยู่พ่อหรือแม่ ๕๙ คน(ร้อยละ ๖.๗๘) อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย ๙๖ คน (ร้อยละ ๑๑.๐๔) อาศัย อยู่กับบุคคลอื่น ๒ คน(ร้อยละ ๐.๒๓) มีเส้นทางการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก ปฐมวัยดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๔ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมี พระราชกระแสให้ทดลองใช้โปรแกรม Triple-P ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูดานกอย อำเภอ ปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ผลพบว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น จากร้อยละ ๗๕.๖ เป็น ร้อยละ ๘๗.๒ ความฉลาดทางอารมณ์ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๕๔.๕๕ เป็นร้อยละ ๘๖.๘๔ และได้มีพระ ราชกระแส “ให้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้ครอบคลุมในตำบลพื้นที่ทรงงานศูนย์พัฒนา เด็กเล็กในพื้นที่ห่างไกล นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาของเด็กแล้ว ยังจะเป็นตัวอย่างให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ใน ตำบลและอำเภอ” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพน จึงขับเคลื่อนกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กทั้ง ๓ แห่งภายใน ปี๒๕๖๙ โดยได้ดำเนินการในปี๒๕๖๔ เป็นการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ (learning curve) จำนวน ๑ แห่ง คือ ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูดานกอย พ.ศ. ๒๕๖๕ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลคำโพน ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่ม จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูดานกอย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสว่างบ้านคำโพน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านหินเกิ้งธารศิลาจะดำเนินการในปี๒๕๖๖ ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพน ได้ดำเนินการ กิจกรรม Triple-P ในศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูดานกอย ครบทั้ง ๔ ครั้งแล้ว และ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่าง ต่อเนื่องและครอบคลุมตามแผนที่กำหนด จึงชะลอการจัดกิจกรรมจนกว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อจะ ลดลง ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูด่านกอย จำนวน ๕๐ คน ๒.๒ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสว่างบ้านคำโพน จำนวน ๓๐ คน ๒.๓ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหินเกิ้งธารศิลา จำนวน ๑๘ คน ๒.๔ พ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก จำนวน ๙๘ คน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๘ ๒.๕ ครูศพด.จำนวน ๖ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ มีส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.คำโพน โดยใช้โปรแกรม Preschool Parenting Program: Triple-P Plus ซึ ่งประกอบด้วย ๑) Triple-P๑ “สร้าง สายใย” Plus อาหาร ผัก แสนวิเศษ ๒) Triple-P๒ “สร้างวินัย” Plus เล่นสร้างสูง ๓) Triple-P๓ “สร้างเด็กเก่ง ๑” Plus ใส่ใจดูแลฟัน และ ๔) Triple-P๔ “สร้างเด็กเก่ง ๒” Plus เล่นเสริม EF เพื ่อพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองให้มี ทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยและเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้เกิดความต่อเนื่องและครอบคลุม พื้นที่การเรียนรู้ทั้ง ๒ แห่ง ๓.๒ เพื่อพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑.ข้อมูลคณะทำงานทำงานหลัก ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพและครูอนามัยโรงเรียนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน มอบหมายภารกิจแต่ละ กิจกรรม ๔.๒. โปรแกรม Triple-P Plus ประกอบด้วย ๑) Triple-P๑ “สร้างสายใย” Plus อาหาร ผัก แสนวิเศษ ๒) Triple-P๒ “สร้างวินัย” Plus เล่นสร้างสูง ๓) Triple-P๓ “สร้างเด็กเก่ง ๑” Plus ใส่ใจดูแลฟัน และ ๔) Triple-P๔ “สร้างเด็กเก่ง ๒” Plus เล่นเสริม EF ๔.๓ ข้อมูลจาก รพ.สต เกี่ยวกับสุขภาพเด็กและพัฒนาการ และข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ ข้อมูล TCNAP เกี่ยวกับจำนวนเด็กปฐมวัย และข้อมูล RECAP เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ให้การดูแลเด็กปฐมวัย ๔.๔ งบประมาณจากคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอปทุมราช (คปสอ.) ซึ ่งเป็น งบประมาณดำเนินการส่งเสริมแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ๔.๕ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ การนำใช้นำข้อมูลในการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย โดยนำข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รพ.สต. อสม. ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำใช้ในการจัดประชุมเพื่อวางแผนในการทำงาน และจัดหางบประมาณ เพื่อ ดำเนินงานไปได้ทั้งระบบ และมีการแบ่งหน้าที่ดูแลเด็ก และเฝ้าระวังตามสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบ การดูแลเด็กปฐมวัย ๕.๒ การพัฒนาศักยภาพ ได้แก่ การจัดอบรมครูศพด. จัดอบรม อสม.เกี่ยวกับการดูแลเด็กปฐมวัย และอบรมผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลภาวะโภชนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง และฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอำนาจเจริญ (พมจ.) ๕.๓ สร้างกระบวนการเรียนรู้จากการร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม มีฐานการเรียนรู้ที่หลากหลายและ เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย เพื่อช่วยส่งเสริมระบบพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑.ประชุมคณะทำงานทำงานหลักเพื่อวางแผนการดำเนินงาน มอบหมายภารกิจแต่ละกิจกรรม ๖.๒.ดำเนินโครงการ/กิจกรรม ดังนี้กิจกรรมที ่ ๑ การประชุมแต่งตั้งคณะทำงานเพื ่อวางแผนการ ดำเนินงาน ชี้แจงการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมโดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๖ คน ดังนี้ ๑) นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบล จำนวน ๑ คน ๒) กำนัน /ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน ๕ คน ๓) ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน ๘ คน ๔) อสม. หมู่บ้านละ ๒ คน ๕ หมู่ จำนวน ๑๐ คน ๕) ครูผู้ดูแลเด็ก ๓ แห่ง แห่งละ ๒ คน จำนวน ๖ คน ๖) ผอ.กองการศึกษา อบต.คำโพน จำนวน ๑ คน และ ๗) จนท.รพ.สต.คำโพน จำนวน ๕ คน กิจกรรมที่ ๒ การจัดกิจกรรมการส่งเสริม พัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย (Preschool Parenting Program; Triple-P) ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กวัดศรีสว่างบ้านคำโพน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูดานกอย จำนวน ๔ ครั้ง กิจกรรมที่ ๓ ประชุมสรุปผลการ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๗๙ ดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย (Preschool Parenting Program; Triple-P) จำนวน ๔ ครั้ง ๖.๓.ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ๖.๔.สรุปผลการดำเนินโครงการและนำเสนอต่อคณะทำงาน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ มีการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ. สต.คำโพน โดยใช้โปรแกรม Triple-P Plus ให้เกิดความต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง ๒ แห่ง ๗.๒ พ่อแม่ผู้ปกครองเกิดทักษะการเลี้ยงดูบุตรหลาน สามารถนำประสบการณ์ไปดูแลพัฒนาบุตร หลาน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) การจัดโปรแกรม Triple-P Plus ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม อารมณ์ของเด็ก ได้รับการ ดูแลที่เหมาะสม ๒) พ่อแม่ ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูเด็ก การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม การสร้างการเรียนรู้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการจัดหลักสูตรภูมิปัญญา ท้องถิ่นเด็กปฐมวัย ๒) ด้านเศรษฐกิจ มีการสำรวจรายได้ของครัวเรือนที่มีเด็กปฐมวัย เพื่อนำมาใช้ในการจัดทำ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างครอบคลุม ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพัฒนาการเด็ก ๐-๕ ปีผ่านสนามเด็ก เล่น การละเล่นพื้นบ้าน ๔) ด้านสุขภาพ กลุ่มเด็ก ๐-๕ ปีได้รับการสอดส่องดูแลและประเมินพัฒนาการด้วยเครื่องมือ DSPM กระตุ้นให้เด็กได้มีการพัฒนาการเป็นไปตามวัย มีสติปัญญาที่เหมาะสม ฝึกให้ผู้ปกครองตรวจดู พัฒนาการของเด็กได้เอง ๕) ด้านการเมืองการปกครอง นำประเด็นเด็กปฐมวัยบรรจุในแผนพัฒนาตำบล และแผนงาน พัฒนาการศึกษา เพื่อจัดทำโครงการรับเงินสนับสนุนงบประมาณของอปท. การจัดทำหลักสูตรของเด็ก ปฐมวัย การจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๐ Key Actors นางสมัคร ปรือทอง งานเด่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโนนงามน่าอยู่ บ้านโนนงามหมู่ ๓ พื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโนนงาม หมู่ ๓ ตำบลโนนงาม อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางสมัคร ปรือทอง ตำแหน่งครูพี่เลี้ยง เบอร์โทรศัพท์๐๘๕-๐๑๖๒๖๑๔ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโนนงาม หมู่ที่ ๓ บ้านโนนงาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ โดยความร่วมมือ ของชุมชน และผู้นำชุมชน คือ นายโอภาส พิมพ์พารัตน์และนายสมาน บุตตะ นับเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่ง แรกของตำบลโนนงาม โดยเปิดรับนักเรียนรุ่นแรก จำนวน ๑๕ คน อายุ๒-๔ ปีโดยมีครูพี่เลี้ยง จำนวน ๒ คน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาน พ.ศ. ๒๕๖๑ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน ๗,๐๐๐ บาท จากชุมชน เพื่อใช้ในโครงการสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา พ.ศ. ๒๕๖๓ ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท จากกิจกรรมผ้าป่าของศิษย์เก่า เพื่อใช้ใน การจัดซื้ออุปกรณ์ของเล่นบางส่วนในสนามเด็กเล่นและสร้างรั้วรอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยความร่วมมือ ร่วมแรงกันของประชาชนในพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโนนงามมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และสร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคมให้กับเด็กอย่างรอบด้าน เป็น สถานที่ศึกษาดูงานของหน่วยงานภายนอก ด้านการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา จิตอาสาสูงวัย ชุมชนร่วมใจพัฒนาเด็กปฐมวัย ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เด็กปฐมวัย อายุ๒-๔ ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโนนงาม หมู่ที่ ๓ บ้านโนนงาม จำนวน ๒๑ คน ๒.๒ พ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก จำนวน ๒๖ คน ๒.๓ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโนนงาม จำนวน ๓ คน (ครู๑ คน ครูพี่เลี้ยง ๒ คน) ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เด็กปฐมวัย อายุ๒-๔ ปีมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย ๓.๒ สนามเด็กเล่นได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมมากขึ้น เช่น มีอุปกรณ์เครื่องเล่นหลากหลาย และมีมาตรฐาน เป็นต้น ๓.๓ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัยด้วยขบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและ ศพด. ส่งเสริม ให้เด็กเรียนรู้วิถีของชุมชนและทางใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาความรู้และทักษะในการดำเนินชีวิตของ คนในชุมชนให้เด็กได้เรียนรู้รอบด้านคือ ร่างกาย-จิตใจ-อารมณ์-สังคม-สติปัญญา ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลนะบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เช่น จำนวนเด็ก ๒-๔ ปีเป็นต้น และ ๔.๒ ข้อมูล JHCIS จาก รพ.สต. เช่น ภาวะสุขภาพของเด็ก การได้รับวัคซีน การเจริญเติบโต สุขภาพ ช่องปาก และการประเมินพัฒนาการเด็ก เป็นต้น ๔.๓ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาที่มีความปลอดภัย และเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ที่เกิดจาก ความร่วมมือ ร่วมใจกันของคนในชุมชน ๕.๒ กิจกรรมบ้านนิทาน (ยืมหนังสือนิทานกลับบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านการเล่านิทานโดย ผู้ปกครอง) ๕.๓ มุมอ่านหนังสือของผู้ปกครองและเด็ก
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๑ ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดตั้งคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโนนงาน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผอ.รพ.สต. สมาชิก อบต. ผู้อำนวนการกองการศึกษา อบต.โนนงาม ตัวแทนครูโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่ ตัวแทน ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย และ ตัวแทน อสม. เป็นต้น ๖.๒ คณะกรรมการดำเนินงานโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ ๑) กองช่างของ อบต. ดูแล ด้านความปลอดภัยของเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ๒) ผู้นำชุมชนดูแลความปลอดภัยในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนงาม ช่วงหลังเลิกเรียน และ ๓) อบต.สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการสร้างรั้ว รอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสนับสนุนงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันและนมสำหรับเด็ก ๖.๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้แก่ ๑) มีการจัดการเรียนการสอนโดย การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมเป็นครูสอนเรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ การสานแห และการเล่านิทานให้เด็กฟัง ๒) มีการจัดการเรียนรู้เรื่องการออมเพื่อให้เด็กได้นำความรู้เรื่องการ ออมไปใช้ในชีวิตประจำวัน และ ๓) มีการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาให้กับเด็กจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และพา เด็กเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญของท้องถิ่น ๖.๔ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการตามวัยของเด็ก ได้แก่ ๑) การดูแล สุขภาพของเด็กอย่างต่อเนื่อง โดยมีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็กทุกเดือน ตรวจสุขภาพช่องปากและ ฟันของเด็กทุกปีโดยได้รับความอนุเคราะห์จาก รพ.สต. ๒) ได้รับความอนุเคราะห์จาก รพ.สต. ในการคัด กรองพัฒนาการเด็กด้วย DSPM ทุกภาคการศึกษา ๓) การประชุมผู้ปกครองก่อนเปิดเรียนทุกภาคเรียน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และการดูแลสุขอนามัยเด็กที่บ้าน และ ๔) มีพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์เพื่อนำมา เป็นส่วนประกอบของอาหารกลางวันให้กับเด็ก และจัดมุมอ่านหนังสือของผู้ปกครองและเด็ก และมีกิจกรรม บ้านนิทานซึ่งผู้ปกครองสามารถยืมหนังสือนิทานกลับบ้านเพื่อใช้สำหรับเล่านิทานให้ลูกฟัง ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาที่มีความปลอดภัย และเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ที่เกิดจาก ความร่วมมือ ร่วมใจกันของคนในชุมชน แต่อย่างก็ตามยังมีความจำเป็นต้องมีการจัดหางบประมาณสนับสนุน เพิ่มเติมในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องเล่นให้มีเพิ่มขึ้น และมีงบประมาณสำหรับบำรุงรักษาซ่อมแซมอุปกรณ์ให้ อยู่ในสภาพพร้อมใช้และมีความปลอดภัย ๗.๒ เกิดสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวระหว่างผู้ปกครองกับเด็กผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน ภายในมุม อ่านหนังสือนิทานของศูนย์ฯ และกิจกรรมบ้านนิทาน ที่เปิดโอกาสให้สามารถยืมหนังสือนิทานกลับบ้านได้ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการสมวัยทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๒) พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กมีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการเด็ก ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาที่เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ๒) ด้านเศรษฐกิจ เด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจน เมื่อมาอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และได้ รับประทานอาหารกลางวันและนมจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงเป็นการช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารของผู้ปกครอง ลงได้ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย และน่าอยู่ สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ๔) ด้านสุขภาพ เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมวัย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีศักยภาพ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของชุมชนใกล้เคียง
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๒ ประเด็นที่ ๔ การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๓ Key Actors คณะกรรมการตำบลนาป่าแซง งานเด่น ถนนขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลแอลกอฮอล์ พื้นที่ เทศบาลตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายชินวัตร จันทร์หอม ตำแหน่ง กำนันตำบลนาป่าแซง เบอร์โทรศัพท์๐๙๕-๒๗๓๗๗๑๔ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาป่าแซง ดำเนินการภายใต้ ฐานคิดการมุ่งสู่ตำบลน่าอยู่ ควบคู่สุขภาวะที่ดีประชาชนมีส่วนร่วมในทุกด้าน ทุกภาคีเชื่อมประสานไร้รอยต่อ และเอื้ออาทรไม่ทอดทิ้งกัน จากสภาพปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเกิดอุบัติเหตุบนท้อง ถนนซึ ่งทำให้มีผู้ที ่ได้รับบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตส ่วนใหญ ่อยู ่ในวัยเด็กและเยาวชนและผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์รถยนต์มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย โดยมีอาการมึนเมาและประมาท คึกคะนองและไม่ เคารพกฎจราจร ประกอบกับสภาพของรถไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว เทศบาลตำบล นาป่าแซงมีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด จำนวน ๔,๗๙๒ คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน ๒,๓๕๘ คน (ร้อยละ ๔๙.๒๐) เพศหญิง จำนวน ๒,๔๓๔ คน (ร้อยละ ๕๐.๘๐) ครัวเรือนทั้งหมด จำนวน ๑,๖๗๖ ครัวเรือน สถิติผู้ที่ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด(อายุ๑๕ ปีขึ้นไป) จำนวน ๗ ราย (ร้อย ละ ๐.๑๗) ผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย จำนวน ๑๘ ราย (ร้อยละ ๐.๓๘) ผู้ที ่มีพฤติกรรมเสี ่ยงดื ่มสุราแล้วขับ ยานพาหนะ จำนวน ๒๖ ราย (ร้อยละ ๐.๖๓) ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพที่ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๑๖ ราย (ร้อยละ ๔.๑๓) โดยผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำแนกตามเพศ พบว่าเป็นเพศชาย จำนวน ๑๖๔ ราย (ร้อยละ ๔.๐๐) เพศหญิง จำนวน ๑๘ ราย (ร้อยละ ๐.๔๔) และจากข้อมูลภาวะฉุกเฉินที่ต้อง รักษาในรอบ ๖ เดือนจำแนกตามภาวะฉุกเฉินบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร แบ่งจำแนกตามเพศ ชาย มีจำนวน ๔๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๐.๘๔ หญิง จำนวน ๕๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๐๙ (ข้อมูล TCNAPข้อมูล ณ วันที่ ๘ ก.ค. ๖๕๖๓) ทุนทางสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ กลุ่มไทนาป่า แซงบ่ถิ่มกัน กองทุนงานบุญปลอดเหล้า (ข้อมูล RECAP) พ.ศ. ๒๕๖๓ เขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาป่าแซงได้ทำการวิเคราะห์และนำใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผน พัฒนาเทศบาลตำบลพบว่าปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนน ประกอบกับมีนโยบายของรัฐ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน(สำนัก ๓) ดำเนินงานเชิงประเด็นการควบคุม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คณะกรรมการตำบลร่วมกับเทศบาลตำบลนาป่าแซงจึงได้จัดรณรงค์การ ลด ละ เลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในหลากหลายกิจกรรม เช่น การ เดินรณรงค์การติดป้ายไวนิล เป็นต้น และยังมีแผนที่จะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๖๔-ปัจจุบัน เทศบาลนาป่าแซงได้ดำเนินการเชิงรุก สำหรับลดปัญหาการดื่มสุราและเน้น สกัดกั้นนักดื่มสุราหน้าใหม่ จึงได้จัดทำโครงการเลิกเหล้ามั่นคงประชาชนทำได้เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุซึ่งทำ ให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตโดยประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ คือเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ที่มีอายุไม่เกิน ๕๐ ปีบริบูรณ์โดยมีการประชาสัมพันธ์ป้องกันและรณรงค์ลดการดื่มสุรา และคณะทำงาน โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา(พชอ.) จึงได้ร่วมมือกับเทศบาลตำบลนาป่าแซงและหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินเทศบาลตำบลนาป่าแซง ในการจัดทำโครงการ เพื่อขยายผลการดำเนินงานมีบุคคลต้นแบบ ชุมชนต้นแบบเพิ่มขึ้นและเพื่อรณรงค์ส่งเสริมเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปลด ละ เลิกการดื่มสุรา ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ซึ่งไม่เฉพาะรางกายและจิตใจ ของตนเองเท่านั้น แต่ยังทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมเกิดความเข้มแข็ง ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนในพื้นที่ ตำบลนาป่าแซง จำนวน ๔,๗๙๒ คน ๒.๒ กลุ่มติดเหล้า จำนวน ๑๑๕ คน (ร้อยละ ๒.๖๐) งดดื่มช่วงเทศกาล จำนวน ๕๐ คน (ร้อยละ ๑.๐๔) เลิกได้จำนวน ๔๐ คน (ร้อยละ ๐.๘๓) ยังอยู่ระหว่างการบำบัด จำนวน ๓๕ คน (ร้อยละ ๐.๗๓)
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๔ ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ลดปัญหาอุบัติเหตุจราจร และการดื่มสุราและสกัดกั้นนักดื่มสุราหน้าใหม่ ๓.๒ ลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุและการทะเลาะวิวาท การบาดเจ็บ การตกเป็นเหยื่อความรุนแรง ทางเพศ เกิดความพิการและเสียชีวิตในพื้นที่ ๓.๓ ป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับข้อมูลประชากร จำนวนผู้ดื่มสุรา ข้อมูลการวิจัย ชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ดำเนินงานหลักและหนุนเสริมการดำเนินงาน ข้อมูลอุบัติเหตุจาก โรงพยาบาลปทุมราชวงศา ๔.๒ งบประมาณสนับสนุนจากโครงการ พชอ. งบประมาณสนับสนุนจาก ทต.นาป่าแซง ๔.๓ แผนพัฒนาตำบล ๔.๔ กฎหมาย พรบ.การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กฎ กติกา นโยบายสาธารณะของชุมชน ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ สร้างคนต้นแบบและครอบครัวเลิกเหล้าอย่างยั่งยืน ด้วยการค้นหาผู้ที่มีประสบความสำเร็จใน การเลิกดื่มสุรามาเป็นคนต้นแบบ ยกระดับสู่การเป็นครอบครัวปลอดเหล้าและชักชวนคนในครอบครัวเป็นจุด เริ่ม และเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันประสบการณ์ที่สามารถเลิกดื่มสุรา เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ สำหรับคนที่ต้องการเลิกดื่มสุรา ๕.๒ ให้ความรู้แก่ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของสุราและวิธีการเลิกดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายช่องทางได้แก่ การฝึกอบรมเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป การให้ความรู้ผ่านหอ กระจายข่าวของหมู่บ้าน เสียงตามสายในโรงเรียน และการให้คำปรึกษา เป็นต้น ๕.๓ สกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้าร่วมทำกิจกรรมของชุมชน เช่น กิจกรรมทาง ศาสนา บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ปลูกฝังศีลธรรมและสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน/หมู่บ้าน ๕.๔ จัดตั้งชมรมกีฬา ให้เด็กและเยาวชนมีอุปกรณ์การกีฬา ในการออกกำลังกายเพื่อใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์ ๕.๕ รณรงค์ให้เลิกเหล้า โดยให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปเลิกเหล้า สู่การเป็นคนต้นแบบ ด้วย การเดินรณรงค์จัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์และรณรงค์งดเหล้าตามเทศกาล เป็นต้น ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน และวางแผนการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ๖.๒ จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และรณรงค์เลิกเหล้าสู่การเป็นคนต้นแบบและยกระดับสู่การเป็น ครอบครัวปลอดเหล้า โดยการชักชวนคนในครอบครัวเลิกเหล้าและจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม ๖.๓ จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมกีฬา เปิดโอกาสให้เยาวชนมาทำกิจกรรมและสร้างสรรค์สร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน/หมู่บ้านเพื่อการใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ๖.๔ ค้นหาบุคคลเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นบุคคลต้นแบบและครอบครัวต้นแบบในการเลิกสุราอย่าง ยั่งยืน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาป่าแซงเลิกดื่มสุราอย่างยั่งยืนสู่การเป็นคนต้นแบบ จำนวน ๘๐ คน และยกระดับสู่การเป็นครอบครัวปลอดสุรา จำนวน ๘๐ ครอบครัว
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๕ ๗.๒ เด็กและเยาวชนได้รับการปกป้องจากภัยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ ๑๐๐ และเปิดโอกาสให้ เยาวชนมาทำกิจกรรมที่ดีมีศีลธรรมและสร้างสรรค์สร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชนหรือหมู่บ้าน ร้อยละ ๖๐ ๗.๓ ประชาชนแสดงออกความรู้สึกที่ดีต่อคนรอบข้าง เชื่อมความสัมพันธ์และให้เวลากับครอบครัว มากขึ้น ๗.๔ การงดดื่มเหล้าช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมีเงินเหลือเก็บออมมากขึ้น ๗.๕ การงดดื่มช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและการทะเลาะวิวาทกับคนรอบข้าง รวมทั้งลด พฤติกรรมรุนแรงทางเพศ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) มีการสร้างบุคคลต้นแบบ ครอบครัวต้นแบบ ยกระดับสู่ชุมชนต้นแบบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และ รณรงค์ส่งเสริมเด็ก เยาวชนในพื้นที่ ลด ละ เลิกเหล้า ๒) ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ บุคลิกภาพ สัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง ๓) สร้างให้สถาบันครอบครัวและสังคมเกิดความเข้มแข็ง ๔) เสริมสร้างให้เด็ก เยาวชน ประชาชนเลิกเหล้า ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม สกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่และเปิดโอกาสให้เยาวชนมาทำกิจกรรมที่ดีมีศีลธรรมและ สร้างสรรค์ความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน/หมู่บ้าน ๒) ด้านเศรษฐกิจ การงดการดื่มช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและเป็นการเก็บออมมากขึ้น ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม สร้างบุคคลต้นแบบ เชื่อมความสัมพันธ์และใหเวลากับครอบครัวมาก ขึ้น ลดการทะเลาะวิวาทกับคนรอบข้าง ลดพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง ๔) ด้านสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพที่ดื่มสุรา จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง มีกฎระเบียบ กติกาสังคม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัย
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๖ Key Actors เทศบาลตำบลห้วย งานเด่น ชุมชนร่วมใจ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พื้นที่ บ้านนาผาง หมู่ที่ ๒ และหมู่ ๖ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายธีรภัทร์รุมา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองการศึกษา เบอร์โทรศัพท์๐๘๑-๓๘๙๗๔๖๔ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเทศบาลตำบลห้วยดำเนินการภายใต้ปรัชญาและ แนวคิดของระบบสุขภาพตำบลห้วย “บ้านเฮือนสุขซุมเย็น หลีกเว้นอบายมุขถ้วนหน้า รักษาศีลคลองของเค่า หนุ่มหรือเฒ่ามีเวียกมีงาน สาธารณสุขมูลฐานวางไว้เป็นหมู่เหง่า ลูกเต้าได้เล่าเรียน ทุกเฮือนมีอยู่มีกิน ชาว ตำบลห้วยอยู่ดีมีแฮง”โดยใช้กลการมีส่วนร่วมของ ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานรัฐ และภาคประชาชน ขับเคลื่อนงานและกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมลด ละ เลิกเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์โดยมีข้อมูลบริบท ประชากรทั้งหมด จำนวน ๕,๒๔๘ คน ผู้มีพฤติกรรมดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๑๑๕ คน (ร้อยละ ๒๙.๔๑) ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง จำนวน ๘ คน (ร้อยละ ๑.๐๖) เกิดการทะเลาะวิวาท จำนวน ๒๐ ครั้ง/ปีซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดอันตรายที่กระทบต่อสังคม เศรษฐกิจและ สุขภาพ ก่อให้เกิดโรคร้าย เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น พ.ศ. ๒๕๖๓ ตำบลห้วยมีนโยบายการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เริ่มต้นด้วยเครือข่าย นำร่องบ้านนาผาง หมู่ที่ ๒ และ หมู่ ๖ ร่วมจัดกิจกรรมหมู่บ้านศีล ๕ ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการกำหนด มาตรการทางสังคม ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ถึงบ้าน เกี่ยวกับอันตรายของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีกิจกรรมลงนามปฏิญาณตน ลด ละ เลิก เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์กับพระอาจารย์สมควร สิริจันโท เจ้าอาวาสวัดศรีปุญญนิมิต ซึ่งมีผู้เข้าร่วมลงนามทั้งสิ้น จำนวน ๒๖๕ คน ได้แก่ คณะบริหารท้องถิ่น พนักงานเทศบาล พนักงานจ้างของเทศบาลตำบลห้วย และประชาชนใน หมู่บ้านนาผาง หมู่ ๒ และหมู่ ๖ จากการที่ประชาชนเข้าการปฏิญาณตน แสดงให้เห็นถึงพลังการมีความ พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้พฤติกรรมของคนในหมู่บ้าน เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น พ.ศ. ๒๕๖๔-ปัจจุบัน จากสภาพที่ตำบลห้วยยังมีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ เทศบาลตำบลห้วย จึงมีแผนลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน สร้างความเชื่อมั่นกับประชาชน โดยใช้หลัก ผู้นำต้องทำก่อน จึงมีการค้นหา คัดเลือกบุคคลที่เป็นต้นแบบเลิกเหล้า จากผู้นำฝ่ายปกครอง (ผู้ใหญ่บ้าน) คณะกรรมการหมู่บ้านที่เป็นแกนนำ และบรรจุเรื่องการลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในธรรมนูญสุขภาพ ตำบลห้วย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจกรรมการณรงค์ส่งเสริมการ ลด ละ เลิกการดื่มแอลกอฮอล์การให้ความรู้แบบเคาะประตูบ้านเกี่ยวกับอันตรายของการดื่มแอลกอฮอล์ การบำบัดผู้ติดสุราเรื้อรัง และการสร้างเครือข่ายการลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชากรทุกกลุ่มวัย ในเขตตำบลห้วย จำนวน ๕,๒๔๘ คน ทั้ง ๑๓ หมู่บ้าน ๒.๒ ผู้ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๑๑๕ คน ๒.๓ ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง จำนวน ๘ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ประชาชนในตำบลห้วย ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยลดนักดื่มหน้าใหม่ ละเว้นการดื่ม เลิกดื่มตลอดชีวิต ๓.๒ ทั้ง ๔ องค์กรหลักสนับสนุนการดำเนินงานตามธรรมนูญประชาชนตำบลห้วย สร้างเครือข่าย ลด ละ เลิก โดยมีบุคคลต้นแบบในการลด ละ เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๓.๓ ประชาชนมีส ่วนร ่วมแสดงพลังพร้อมปรับเปลี ่ยนพฤติกรรมในการ ลด ละ เลิก เครื ่องดื่ม แอลกอฮอล์
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๗ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับข้อมูลประชากร ข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงของสมาชิกใน ครัวเรือน ๔.๒ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ดำเนินงาน ได้แก่ เทศบาลตำบลห้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน หน่วยงานรัฐ เช่น รพ.สต.และ โรงเรียนทุกแห่ง เป็นต้น องค์กรภาคประชาชน เช่น อสม. และ อปพร. เป็นต้น ร้านค้าที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน ๓๐ ร้าน ๔.๓ แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาท้องถิ่น ธรรมนูญสุขภาพตำบล ๔.๕ งบประมาณสนับสนุนจาก เทศบาลตำบล และเครือข่ายภายนอก เช่น สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนัก ๓ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ การสร้างคนต้นแบบการเลิกบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยการค้นหาและคัดเลือกจากบุคคล ที่เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างถาวร เทศบาลตำบลห้วย มอบเกียรติบัตรยกย่องบุคคลต้นแบบ จำนวน ๒๐ คน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และเป็นแกนนำดำเนินการ ลด ละ เลิก แอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นผู้ที่ยังเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ให้สามารถเลิกดื่มได้ ๕.๒ การให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๕๐ คน ร่วมกันลงพื้นที่เคาะประตูบ้านพร้อมให้คำแนะนำในการ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีสติ๊กเกอร์ให้กับผู้ที่รับฟังคำแนะนำแล้ว ๕.๓ รณรงค์ประชาสัมพันธ์การลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยจัดขบวนรถรณรงค์พร้อม ประชาสัมพันธ์ในตำบลอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ติดป้ายและสติกเกอร์รณรงค์ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หน้าร้านค้าเพื่อเตือนสติผู้มาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมนำเสนอปัญหาการการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในตำบล แต่งตั้งคณะกรรมการจาก ๔ องค์กรหลักในชุมชน ประกอบด้วย เทศบาลตำบลห้วย ผู้นำชุมชน ๑๓ หมู่บ้าน โรงเรียน ๘ แห่ง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๒ แห่ง วางแผนการดำเนินงาน และชี้แจงโครงการการดำเนินงานโครงการ แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อการรับรู้ร่วมกัน ๖.๒ จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ๖.๓ ดำเนินงานตามโครงการ ดังนี้๑) จัดกิจกรรมร่วมลงนามปฏิญาณตนลด ละ เลิก เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์สำหรับคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานจ้างของเทศบาลตำบลห้วย และประชาชนในชุมชน/ หมู่บ้านนาผาง หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๖ กับพระอาจารย์สมควร สิริจันโท เจ้าอาวาสวัดศรีปุญญนิมิต ๒) จัด กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน โดยการทำความสะอาด วัด บ้าน โรงเรียน ๓) เทศบาลตำบลห้วยจัด กิจกรรมค้นหาครอบครัว/บุคคลเข้าร่วมลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมเชิดชูเกียรติครอบครัว/ บุคคลงดเหล้าเข้าพรรษา ตลอดปีหรือตลอดชีวิต โดยความสมัครใจ ๔) จัดกิจกรรมรณรงค์การลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์๕) สร้างเครือข่าย ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน ๑๐๐ คน และ ๖) กำหนด ข้อปฏิบัติกติกาของชุมชน ธรรมนูญตำบลห้วย เช่น เมาไม่ขับ งดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเป็นต้น ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ การดำเนินงานกิจกรรมลงนามปฏิญาณตน ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผู้เข้าร่วมลง นาม ได้แก่ คณะบริหารท้องถิ่น พนักงานเทศบาล พนักงานจ้างของเทศบาลตำบลห้วย และประชาชนใน หมู่บ้านนาผาง หมู่ ๒ และ หมู่ ๖ กับพระอาจารย์สมควร สิริจันโท เจ้าอาวาสวัดศรีปุญญนิมิต เข้าพิธีลงนาม ทั้งสิ้น ๒๕๓ คน ถือว่าประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จากการที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากเกินคาดในการ
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๘ ปฏิญาณตน แสดงให้เห็นถึงพลังการมีความพร้อมปรับเปลี ่ยนพฤติกรรมในการลด ละ เลิก เครื ่องดื่ม แอลกอฮอล์ ๗.๒ กิจกรรมการค้นหาครอบครัวและบุคคลต้นแบบในการ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งมี บุคคลต้นแบบ จำนวน ๒๐ คน และมีครอบครัวต้นแบบ จำนวน ๒๐ ครอบครัว ๗.๓ การดำเนินงานกิจกรรมสามารถสนับสนุนธรรมนูญประชาชนตำบลห้วยให้เกิดเครือข่ายและเป็น รูปธรรมมากยิ่งขึ้น ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนในเขตตำบลห้วย ทั้ง ๑๓ หมู่บ้าน สามารถลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ๒) สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลง โดยในปีพ.ศ. ๒๕๖๔ ไม่พบอุบัติเหตุบนท้องถนน จากการเมาแล้วขับ ๓) เกิดโรงเรียนสีขาว จำนวน ๘ แห่ง ๕) ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓๐ ร้าน ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม ลดปัญหาการทะเลาะวิวาทจากสาเหตุการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ และมีการติดสติ๊กเกอร์ห้ามจำหน่ายสุรา ให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีให้กับร้านค้า จำนวน ๓๐ แห่ง ๔) ด้านสุขภาพ สุขภาพดีขึ้น อัตราการเจ็บป่วยการจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง ๕) ด้านการเมืองการปกครอง สนับสนุนธรรมนูญสุขภาพตำบลห้วยให้เป็นรูปธรรม
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๘๙ Key Actors เทศบาลตำบลหนองข่า งานเด่น ชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พื้นที่ เทศบาลตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางสาวฐิตาชญา โสมรักษ์ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ สำนักปลัดเทศบาลตำบล หนองข่า เบอร์โทรศัพท์๐๘๔-๙๖๒๒๖๘๙ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน จังหวัดอำนาจเจริญมีนโยบายการลดการเกิดอุบัติเหตุจราจรและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรลง ให้เหลือน้อยที่สุด มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเข้มงวด เนื่องจากแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุจราจรและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรนั่นเอง จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปีพ.ศ. ๒๕๖๒ ของตำบลหนองข่า พบผู้ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๒๕๙ คน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดย ไม่สวมหมวกนิรภัย จำนวน ๙๙ คน ผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จำนวน ๘ คน ผู้ขับรถเร็ว ประมาท จำนวน ๘๘ คน ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง จำนวน ๗ คน ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ที่อายุน้อยที่สุด มีอายุ ๑๕ ปีผู้ที่ดื่ม แอลกอฮอล์อายุมากที่สุด มีอายุ๘๓ ปีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อายุ๑๕-๖๔ ปีร้อยละ ๐.๔๓ ประชาชนที่ สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ร้อยละ ๙๘.๕๗ และจำนวนการเกิดอุบัติเหตุจราจรมี๒ ครั้ง วิถีชีวิตและประเพณีของชาวภูไทหนองข่ามักเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ตัวอย่างเช่นในงานฌาปนกิจ ศพ จะขาดเหล้าหรือของมึนเมาสำหรับเลี้ยงแขกผู้มาร่วมงานไม่ได้ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ฝังแน่นของชาวภูไท ไปแล้ว เพิ่มภาระการสูญเสียเงินทองของญาติผู้เสียชีวิต ที่สิ้นเปลืองเงินทองในการจัดงานศพตามประเพณี และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่ดื่มเหล้าและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นความ จำเป็นอย่างเร่งด่วนในการผลักดันโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ลด ละ เลิก ดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะปัญหาที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความรุนแรง และส่งผลกระทบในทุกมิติ ของชุมชน และสังคม คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลหนองข่า โดยการนำของแกนนำชุมชน ทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงเรียนในพื้นที่ ประชาชนจากทุกครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไฮน้อย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองข่า ได้ร่วมระดม แนวคิดเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยกระบวนการแผนชุมชน และการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน ได้มีมติว่าจะ ร่วมมือร่วมใจ เป็นสัญญาประชาคมหมู่บ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้โครงการ “ชุมชนตำบลปลอดเหล้า สร้างชุมชนสุขภาพดี” โดยจะนำร่องงดเหล้าในงานศพ ซึ่งทุกฝ่าย มีความฝันและมีเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้ชุมชนตำบลหนองข่า เป็นชุมชนปลอดเหล้าและอบายมุขได้ในที่สุด ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชาชนในตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา ทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน จำนวน ๖,๙๐๑ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เกิดชุมชนปลอดเหล้างานศพ บุญประเพณีครบทั้ง ๙ หมู่บ้าน ๓.๒ เกิดชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า อย่างน้อย ๔ หมู่บ้าน ๓.๓ เกิดร้านค้าสีขาว อย่างน้อย ๑ แห่ง ๓.๔ เกิดโรงเรียนสีขาว อย่างน้อย ๓ แห่ง ๓.๕ ครอบครัวต้นแบบ จำนวน ๓๐ ครอบครัว ๓.๖ จุดอันตรายในชุมชนมีการติดป้ายหรือสัญญาณเตือนครบทุกจุด ๓.๗ ร้อยละการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนเป็นศูนย์ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ข้อมูลประชากรเทศบาลตำบลหนองข่า ๔.๒ ข้อมูลจุดเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในเขต เทศบาลของเทศบาลตำบลหนองข่า สถานีตำรวจ และ รพ.สต.ในพื้นที่
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๐ ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ ชุมชนตำบลปลอดเหล้า สร้างชุมชนสุขภาพดีจำนวน ๙ หมู่บ้าน ๕.๒ ร้านค้าสีขาว จำนวน ๓ แห่ง ๕.๓ เชิดชูครอบครัวต้นแบบปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ จำนวน ๑๘๔ ครัวเรือน ๕.๔ แกนนำพลังเครือข่าย หมู่บ้านปลอดเหล้า บุคคลต้นแบบเลิกเหล้า/แอลกอฮอล์ ๕.๕ ประกาศเกียรติคุณ เชิดชูบุคคลต้นแบบปลอดเหล้า จำนวน ๖ ราย ๕.๖ ถนนสีขาว ถนนปลอดภัย “๑ ท้องถิ่น ๑ ถนนปลอดภัย” ๕.๗ การทำความดีเพื่อพ่อ “เลิกดื่ม เลิกขับเร็ว ร่วมใจใส่หมวกนิรภัย” ๕.๘ นวัตกรรมการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและการพัฒนานวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยส่งเสริม สุขภาพพื้นที่ (วัสดุล้อยางรถยนต์เก่า) ๕.๙ โรงเรียนสีขาวปลอดเหล้า บุหรี่ จำนวน ๓ แห่ง ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดทีมอาสาสมัครชุมชนผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ออกสำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ และร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทั้งถนนสายหลัก ถนนสายรองในเขตพื้นที่ตำบลหนองข่า โดยพบจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจำนวน ๘ จุด มีดังนี้จุดที่ ๑ ทางเข้า บ้านหนองไฮน้อยหมู่ที่ ๙ จุดที่ ๒ หน้าโรงเรียนบ้านหนองไฮน้อย จุดที่ ๓ ทางเข้าบ้านหนองแมงดา หมู่ที่ ๓ ไป บ้านห้วยฆ้อง จุดที่ ๔ ป่าดงใหญ่ จุดที่ ๕ จุดตัดหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลหนองข่า จุดที่ ๖ หน้าโรงเรียน หนองข่า จุดที่ ๗ ทางโค้งบ้านหนองข่า หมู่ที่ ๑ ไปบ้านภูเขาขาม และจุดที่ ๘ ทางหมู่ที่ ๗ สงยางนาตากล้า ไป บ้านคำไหล ตำบลโนนงาม ๖.๒ ประชุมระดมความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุแต่ละจุด ๖.๓ จัดกิจกรรมรณรงค์๙ หมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์แนวทางลดอุบัติเหตุบนท้องถนน การขับขี่ ปลอดภัย คาดเข็มขัดนิรภัย ใส่หมวกนิรภัย งดเหล้าในงานบุญประเพณีในวัด ในโรงเรียน และสถานที่ ราชการ และงดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเป็นต้น ๖.๔ เชิญชวนร้านค้าในชุมชนเข้าร่วมโครงการร้านค้าสีขาว และเชิญชวนโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ โรงเรียนสีขาวปลอดเหล้า บุหรี่ ๖.๕ ติดตั้งป้ายจราจร ป้ายเตือน ป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ และล้อยางจราจรในพื้นที ่เสี ่ยงที ่จะเกิด อุบัติเหตุบนท้องถนนโดยวิธีการประดิษฐ์คิดค้นจากวัสดุที่มีใช้อยู่ทั่วไปและได้ผลสูงสุด (วัสดุล้อยางรถยนต์ เก่า) ๖.๖ สร้างทีมสร้างชุมชนสุขภาพดี แกนนำประกอบด้วย ๑) นายวริศ วงศ์จันทร์ผอ.รพ.สต.หนองไฮ น้อย ๒) นายอารี สว่างเนตร กำนันตำบลหนองข่า ๓) นายเพชร เอกศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่๙ ๔) นายประคอง วรลี๕) นายบุญเกิด ทาทอง ๖) นายพิทักษ์เนาวะพันธ์๗) นายพรชัย โพธารินทร์๘) นายเมธี สว่างเนตร และ ๙) นายสมจิตร ชาลีหอม ลงพื้นที ่เสริมพลังให้กำลังใจกลุ ่มเป้าหมายผู้ติดและผู้ดื ่มเครื ่องดื่ม แอลกอฮอล์และสร้างบุคคลต้นแบบเลิกเหล้า/แอลกอฮอร์ จำนวน ๓๐ คน ๖.๗ สร้างเครือข่ายลดเลิกเหล้า บุหรี่แอลกอฮอล์เทศบาลตำบลหนองข่า ประกอบด้วย รพ.สต. หนองไฮ รพ.สต.หนองข่า โดยการนำของแกนนำชุมชนทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงเรียนใน พื้นที่ ประชาชนทุกครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไฮน้อย และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองข่า จาก ๙ หมู่บ้าน และร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยกระบวนการแผนชุมชน และการจัดทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อหามติและสร้างกติการ่วมกัน ๖.๘ ฝึกอบรมให้ความรู้การรู้เท่าทันโทษและประโยชน์จากการเลิกแอลกอฮอล์ การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมลด ละ เลิกแอลกอฮอล์เพิ่มรายได้เพิ่มอาชีพ เยียวยาครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ ๒ ครั้ง/ปี ดำเนินการในโรงเรียน ๓ แห่ง จำนวน ๒ ครั้ง/ปี(สารวัตรนักเรียน ๑๕ คน จิตอาสาตาสับปะรด ๒๕ คน อสม. ๗๕ คน รพ.สต. จำนวน ๒ แห่ง ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลหนองข่า จำนวน ๑ แห่ง ศพค. จำนวน ๑ แห่ง) โดยวิทยากรประกอบด้วย ๑) นายวริศ วงศ์จันทร์ ผอ.รพ.สต.หนองไฮน้อย ๒) นางสาวฐิตาชญา โสมรักษ์
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๑ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ สำนักปลัดเทศบาลตำบลหนองข่า ๓) นางระดาพร วงศ์จันทร์ นักวิชาการ สาธารณสุข รพ.สต.หนองข่า และ ๔) นางเพ็ญศรี ลูกแก้ว จิตอาสา ๖.๙ นำปราชญ์หมอยาสมุนไพร (นายสุวรรณ ขจัดมลทิน) ปรุงยาสมุนไพรเพื่อช่วยลดการดื่มของนัก ดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ๙ หมู่บ้าน ๖.๑๐ เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบ ครอบครัวต้นแบบปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ร้านค้าสีขาว และ โรงเรียนสีขาวปลอดเหล้า บุหรี่ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ชุมชนตำบลปลอดเหล้า สร้างชุมชนสุขภาพดีจำนวน ๙ หมู่บ้าน ๗.๒ เกิดชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า ได้แก่ หมู่ที่ ๒ บ้านโคกค่าย หมู่ที่ ๓ บ้านหนองแมงดา หมู่ที่ ๖ บ้านหนองไฮน้อย และหมู่ที่ ๙ บ้านหนองไฮน้อย ๗.๓ ร้านค้าสีขาว จำนวน ๓ แห่ง ๗.๔ บุคคลต้นแบบปลอดเหล้า จำนวน ๖ ราย ๗.๕ ถนนสีขาว ถนนปลอดภัย “๑ ท้องถิ่น ๑ ถนนปลอดภัย” ๗.๖ นวัตกรรมการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและการพัฒนานวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยส่งเสริม สุขภาพพื้นที่ (วัสดุล้อยางรถยนต์เก่า) ๗.๗ โรงเรียนสีขาวปลอดเหล้า บุหรี่ จำนวน ๓ แห่ง ๗.๘ สถิติการเกิดอุบัติเหตุลดลง ปีพ.ศ. ๒๕๖๔ เป็น ๐ คน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย สถิติการเกิดอุบัติเหตุในตำบลหนองข่าที่รุนแรงในรอบปีพ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ผ่านมาลดเหลือเป็นศูนย์ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดการสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง และค่าใช้จ่ายของครอบครัวและรัฐสำหรับ การดูแลรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ถนนปลอดภัย การขับขี่ปลอดภัย ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนไม่เกิดการสูญเสียชีวิตและสุขภาพ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๒ Key Actors องค์การบริหารส่วนตำบลลือ งานเด่น การป้องกัน ลดอุบัติเหตุทางถนนและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายณัชพล ศิริปีตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข เบอร์โทรศัพท์๐๘๙-๙๔๑๕๙๕๐ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลลือ แบ่งออกเป็น ๑๔ หมู่บ้าน มีประชากร จำนวน ๘,๒๙๕ คน เป็นชาย จำนวน ๔,๑๒๓ คน หญิง ๔,๑๗๓ คน จำนวน ๒,๔๔๑ ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ รับจ้าง ทั่วไป ค้าขาย สำหรับข้อมูลผู้ดื่มสุรา พบว่า มีผู้ดื่มสุราทั้งสิ้น ๒๕๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๔๔ นักดื่มหน้าใหม่ แม้ไม่มีผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ดื่มแล้วขับขี่รถจักยานยนต์หรือรถยนต์ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ที่มีวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน เทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๕ (๗ วันอันตราย ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ – ๔ มกราคม ๒๕๖๕) อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จำนวน ๔ ครั้ง บาดเจ็บ ๕ ราย ไม่มีเสียชีวิต ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาและเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นผลทำให้เกิดการใช้ รถใช้ถนนสายต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์และมีการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิด อุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าช่วงวันหยุดปกติในแต่ละปีจะมีการบูรณางานร่วมผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อป พร. อสม. ในการตั้งด่านชุมชนเพื่อให้คำแนะนำในการใช้รถใช้ถนน ป้องกัน กำกับผู้ขับขี่ที่เมา และไม่ให้ออก นอกชุมชน ลดอุบัติเหตุจราจรได้ปีพ.ศ.๒๕๖๔ องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตตำบลลือ จัดกิจกรรมการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในช่วง เทศกาลปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๔ และเทศกาลสงกรานต์พ.ศ.๒๕๖๔ ซึ่งผลจากการดำเนินงานทำให้เกิดอุบัติเหตุ ลดลงจากปีพ.ศ. ๒๕๖๓ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชน จำนวน ๘,๒๙๕ คน ๒.๒ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ๒.๓ ผู้นำชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน อปพร. อสม. ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ สร้างความตระหนัก ในการขับขี่ปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์รถ ประชาสัมพันธ์ ๓.๒ เพื่อป้องกันและลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งถนนสายหลักและถนนสายรองในเขตพื้นที่ รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลลือ ๓.๓ เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ๓.๔ เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ล้อยางจราจร ทาสีขาว-แดง ติดสติกเกอร์ สะท้อนแสง ติดตั้งตามจุดเสี่ยง ทางโค้ง ทางแยก ป้ายจราจร ลดความเร็ว และทางโค้ง เป็นต้น เพิ่มปัจจัย ส่งเสริมพื้นที่ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ สำรวจพื้นที่และข้อมูลเพื่อออกแบบแนวทางการป้องกันเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนถนน โดยกอง สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ออก สำรวจพื้นที่จุดเสี่ยง ทางโค้งทางแยก ๔.๒ ดำเนินงานตามข้อมูลและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ปลอดภัยที่เกี่ยวกับสภาพถนน โดย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ๔.๓ ออกแบบการจัดการพื้นที่ในการลดการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยงานป้องกันงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชุมเตรียมการการตั้งด่านชุมชนร่วมกับ ผู้นำชุมชน อปพร.
บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๓ ๔.๔ รูปแบบกิจกรรม/นวัตกรรม ได้แก่ ๑) ล้อยางจราจร กิจกรรม ทาสีขาว-แดง ติดสติกเกอร์สะท้อน แสง ติดตั้งตามจุดเสี่ยง ทางโค้ง ทางแยก เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ร่วมผู้นำชุมชน และ ๒) ป้ายจราจร ป้ายเตือน ป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามจุดเสี่ยง/ทางโค้ง/ทางแยก ดังนี้จุดที่ ๑ ทางโค้งบ้านแสนสุข ไปบ้านนายูง จุดที่ ๒ ทางโค้งบ้านลือไปบ้านโสกใหญ่/บ้านนาป่าแซง จุดที่ ๓ ทางแยกบ้านโสกใหญ่ไปบ้าน วินัยดีจุดที่ ๔ ทางโค้งบ้านโสกใหญ่ (หน้าวัดสุทธาวาส) จุดที่ ๕ สะพานข้ามห้วยแสนสี(โสกใหญ่-เกษมสุข) จุดที่ ๖ ทางสามแยกบ้านแสนสุขไปบ้านหนองลุมพุก จุดที่ ๗ ทางโค้งบ้านลือ (หน้าวัดอุทาทิพย์)ไปบ้านนาป่า แซง จุดที่ ๘ ทางโค้งบ้านหนองลุมพุกไปบ้านหนองยาง จุดที่ ๙ ทางโค้งบ้านหนองยาง จุดที่ ๑๐ ทางโค้งบ้าน ฤกษ์อุดม และจุดที่ ๑๑ ทางโค้งบ้านลือไปบ้านนาป่าแซง (ก่อนข้ามสะพานห้วยพระเหลา) ๔.๕ การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย เมาไม่ขับ ฯลฯ กิจกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์รถประชาสัมพันธ์ โดยเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลลือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลลือ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. นักเรียน ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยทุก ทุกเทศกาล เช่น ปีใหม่ และสงกรานต์เป็นต้น ๕.๒ นวัตกรรม วงล้อจราจร/ป้ายเตือน/ปรับปรุงทางแยก จุดเสี่ยง ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมชี้แจง การดำเนินกิจกรรมให้เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลลือ เพื่อขอความร่วมมือ ในการดำเนินกิจกรรม โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ๖.๒ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมการตั้งด่านชุมชนร่วมกับ ผู้นำชุมชน อปพร. ๖.๓ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์รถประชาสัมพันธ์โดย เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลลือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลลือ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. นักเรียน ศพด. ๖.๔ การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการทางสังคม สายตรวจประจำตำบลลือ ร่วมกวดขันการขับขี่ การสวมหมวกกันน๊อค และการแต่งรถซิ่ง ๖.๕ การจัดการสภาพแวดล้อม เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ร่วมทำกิจกรรมทำความ สะอาดถนน ที่เสี่ยงต่อการขับขี่ จุดติดตั้งล้อยางจาราจร ติดป้ายเตือน ๖.๖ การตั้งด่านชุมชน โดยมีจุดตั้งด่านชุมชนกลางของ อบต.ลือ ไว้คอยบริการประชาชนผู้สัญจร และมีด่านชุมชนครบทุกหมู่บ้าน โดยผู้นำชุมชน อปพร. ชรบ. อสม. ของแต่ละหมู่บ้าน ๖.๗ ใช้งบประมาณในโครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุม ราชวงศา โครงการย่อยที่ ๓ การสนับสนุนการพัฒนารูปธรรมนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและการ พัฒนานวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยส่งเสริมสุขภาพพื้นที่ จำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) จากการดำเนินงานโครงการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ ในช่วง เทศกาลปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๔ และเทศกาลสงกรานต์พ.ศ. ๒๕๖๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลลือ สรุป รายงานข้อมูลอุบัติเหตุช่วง ๗ วันอันตราย ได้ดังรายละเอียด ๑) เทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๔ (๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ – ๒ มกราคม ๒๕๖๔) ดังนี้เกิดอุบัติเหตุ๒ ครั้ง บาดเจ็บ ๔ ราย เสียชีวิต ๑ ราย (คนตำบลนาป่าแซงที่เสียชีวิต) ๒) เทศกาลสงกรานต์๒๕๖๔ (๑๐ - ๑๖ เมษายน ๒๕๖๔) ดังนี้อุบัติเหตุ๐ ครั้ง บาดเจ็บ ๐ ราย และเสียชีวิต ๐ ราย ๓) เทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๕ (๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ – ๔ มกราคม ๒๕๖๕) ได้แก่ อุบัติเหตุ๔ ครั้ง บาดเจ็บ ๕ ราย และเสียชีวิต ๐ ราย