The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔ โดยอำเภอปทุมราชวงศาเป็น ๑ ใน ๗ อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วย ๘ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน ๒) เทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน ๓) เทศบาลตำบลหนองข่า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๔) องค์การบริหารส่วนตำบลลือ จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ๕) พชต.ปทุมราชวงศา จำนวน ๖ ชุมชน ๕) พชต.นาหว้า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๗) พชต.คำโพน จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน และ ๘) พชต.โนนงาม จำนวน ๘ หมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางการทำงานเพื่อคนปทุมราชวงศาอยู่ดีมีสุข (ธรรมนูญคนปทุมราชวงศา)และศูนย์จัดการเครือข่ายตำบลนาป่าแซงเลือกประเด็นเพื่อหนุนเสริมการทำงานได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานที่เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละตำบลโดยทุกภาคส่วนต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จนได้ประเด็นการขับเคลื่อนงาน ๖ ประเด็นในพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้๑) การพัฒนาระบบอาหารชุมชน ๒) การจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อน ๓) การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย ๔) การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ๕) การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดฯ และ ๖) การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tewarat Thipaut, 2023-02-16 04:17:51

การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ ภายใต้ โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา

โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔ โดยอำเภอปทุมราชวงศาเป็น ๑ ใน ๗ อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วย ๘ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน ๒) เทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน ๓) เทศบาลตำบลหนองข่า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๔) องค์การบริหารส่วนตำบลลือ จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน ๕) พชต.ปทุมราชวงศา จำนวน ๖ ชุมชน ๕) พชต.นาหว้า จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๗) พชต.คำโพน จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน และ ๘) พชต.โนนงาม จำนวน ๘ หมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา ได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางการทำงานเพื่อคนปทุมราชวงศาอยู่ดีมีสุข (ธรรมนูญคนปทุมราชวงศา)และศูนย์จัดการเครือข่ายตำบลนาป่าแซงเลือกประเด็นเพื่อหนุนเสริมการทำงานได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานที่เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละตำบลโดยทุกภาคส่วนต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จนได้ประเด็นการขับเคลื่อนงาน ๖ ประเด็นในพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา ดังนี้๑) การพัฒนาระบบอาหารชุมชน ๒) การจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อน ๓) การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย ๔) การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ๕) การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดฯ และ ๖) การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๔ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) มีการสร้างบุคคลต้นแบบชุมชนต้นแบบเพิ่มขึ้นและเพื่อรณรงค์ส่งเสริมเด็ก เยาวชนในพื้นที่ ลดละ เลิกการดื่มสุรา ๒) ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสร้างให้สถาบันครอบครัวและสังคมเกิดความเข้มแข็ง ๓) เสริมสร้างให้เด็ก เยาวชน ประชาชนเลิกเหล้า ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ๔) อุบัติเหตุทางท้องถนนในช่วงเทศกาล และในช่วงเวลาปกติลดลง ไม่มีการสูญเสียชีวิต ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม สกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่และเปิดโอกาสให้เยาวชนมาทำกิจกรรมที่ดีมีศีลธรรม และสร้างสรรค์สร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน/หมู่บ้าน ๒) ด้านเศรษฐกิจ การงดการดื่มช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและเป็นการเก็บออมมากขึ้น ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ในพื้นที่มีการ่วมมือกันในการปรับปรุงถนน สภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงจุด อันตรายให้เอื้อต่อการใช้รถใช้ถนน องค์การบริหารส่วนตำบลลือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ติดตั้งไฟส่อง สว่าง ๔) ด้านสุขภาพ สุขภาพของประชาชนดีขึ้น ลดนักดื่มหน้าใหม่ ลดอุบัติเหตุลดการเสียชีวิต ๕) ด้านการเมืองการปกครอง เกิด กฎ กติกา ข้อตกลงชุมชนและกำหนดนโยบาย หรือแผนงาน สาธารณะเกี่ยวข้องกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุการเมาไม่ขับ การตั้งด่านชุมชน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๕ Key Actors นายสมร ไชโยธา งานเด่น ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลแอลกอฮอล์ พื้นที่ เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายสมร ไชโยธา ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์๐๘๑-๕๔๘๗๕๖๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน เขตเทศบาลตำบลปทุมราชวงศาพบปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนน ซึ ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตส ่วนใหญ ่อยู ่ในวัยเด็กและเยาวชน ผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์รถยนต์มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย โดยมีอาการมึนเมาและประมาท คึกคะนองจนไม่ เคารพกฎจราจร ประกอบกับสภาพรถไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว โดยในเขตพื้นที่ เทศบาลตำบลปทุมราชวงศามีพื้นที่รับผิดชอบ ๕ หมู่บ้าน ๗ ชุมชน มีประชากรทั้งหมด จำนวน ๓,๓๕๘ แบ่งเป็นชาย จำนวน ๑,๖๗๙ คน และหญิง จำนวน ๑,๖๗๙ คน จำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๑,๔๐๔ (ข้อมูลจาก ระบบการเก็บข้อมูลตำบล TCNAP) จากข้อมูลของสถานีตำรวจภูธรอำเภอปทุมราชวงศา ในช่วง ๑๐ วัน อันตรายของเทศกาลปีใหม่ ปีพ.ศ. ๒๕๖๕ พบว่าสถิติผู้ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด (อายุ๑๕ ปีขึ้นไป) จำนวน ๓๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๐.๘๙๓ ไม ่สวมหมวกนิรภัย จำนวน ๖๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๙๔ ผู้ที ่มี พฤติกรรมเสี่ยง ดื่มสุราแล้วขับยานพาหนะ จำนวน ๕๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๗๐ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้าน สุขภาพ ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๑๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๐.๔๘ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์จำแนกตามเพศชาย จำนวน ๑๘๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕.๕๑ หญิง ๔๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๔๐ เทศบาลตำบลปทุมราวงศาจึงมีนโยบายในการลดปัญหาการดื่มสุราและสกัดกั้นนักดื่มสุราหน้าใหม่ โดย จัดทำโครงการเลิกเหล้าเท่ากับลดอุบัติเหตุ เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุซึ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ พิการ และ เสียชีวิต โดยประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ คือ เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่มีอายุไม่เกิน ๕๐ ปีบริบูรณ์ โดยมีการประชาสัมพันธ์ป้องกันและรณรงค์ลดการดื่มสุรา และคณะทำงานโครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเองน่าอยู่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปทุมราชวงศา (พชอ.) จึงได้ร่วมมือกับเทศบาล ตำบลปทุมราชวงศาและหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินโรงพยาบาลปทุมราชวงศา ในการจัดทำโครงการเพื่อขยายผลการ ดำเนินงานมีบุคคลต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ เพิ่มขึ้นและรณรงค์ส่งเสริมเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป ลด ละ เลิกดื่มสุราซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ซึ่งไม่เฉพาะร่างกายและจิตใจของตนเองเท่านั้น แต่ยังทำให้ สถาบันครอบครัวและสังคมเกิดความเข้มแข็ง ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เด็กและเยาวชนที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๒.๒ ประชาชนทั่วไปอายุไม่เกิน ๕๐ ปีที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจ และเลิกดื่มสุรา ๓.๒ เพื่อสกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่ ผ่านการทำกิจกรรมที่ดีมีศีลธรรมและสร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน และชุมชน ๓.๓ เพื่อสร้างบุคคลต้นแบบ/หมู่บ้านต้นแบบในการเลิกดื่มสุรา ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ได้แก่ สถิติผู้ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด (อายุ๑๕ ปี ขึ้นไป) ไม่สวมหมวกนิรภัยจำนวน ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ดื่มสุราแล้วขับยานพาหนะ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้าน สุขภาพ และที่ดื่มสุราเป็นประจำ เป็นต้น ๔.๒ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคม เช่น ทีมอาสาสมัครชุมชน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ เป็นต้น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๖ ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ แนวทางการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลปทุม ราชวงศา ทั้ง ๗ ชุมชน สุ ่มตรวจร้านค้าที ่จำหน ่ายเครื ่องดื่มแอลกอฮอล์ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติกำหนดจุดให้บริการเฝ้าระวัง ด่านชุมชน ในทุกเทศกาล ๕.๒ บุคคลต้นแบบในการเลิกดื่มสุราคนแรก ในปีพ.ศ.๒๕๕๐ คือ นายบัญชา ศรีอ้วน จากนั้นมีการ ประกาศ/ให้รางวัลบุคคลต้นแบบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันมีบุคคลต้นแบบในเขตเทศบาลตำบลปทุม ราชวงศา จำนวน ๑๑ ราย ได้แก่ ๑) นายบัญชา ศรีอ้วน หมู่ ๑ ชุมชนรุ่งอรุณ ๒) นายวิชัย ชูรัตน์ หมู่ ๑ ชุมชน ตั้งใจพัฒนา ๓) นายประยงค์ผ่องใส หมู่ ๔ ชุมชนสหกรณ์๔) นายเศรษฐา บ่อแก้ว หมู่ ๔ ชุมชนสหกรณ์๕) นายอูด สมภพ หมู่ ๓ ชุมชนแก้วมงคล ๖) นายสมสลิช พลศรีหมู่ ๓ ชุมชนแก้วมงคล ๗) นายอาราม มูลแก้ว หมู่ ๒ ชุมชนหลานเจ้าปู่ ๘) นายธวัช ปัญญาวร หมู่ ๒ ชุมชนหลานเจ้าปู่ ๙) นายเที่ยง ยิ่งยง หมู่ ๒ ชุมชน หลานเจ้าปู่ ๑๐) นายล้อม แสงราม หมู่ ๒ ชุมชนหลานเจ้าปู่ และ ๑๑) นายส่วง วงศ์วาน หมู่ ๒ ชุมชนหลาน เจ้าปู่ ๕.๓ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของสุราและสารเสพติด ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ มีการจัดทำแผ่นพับ และประชาสัมพันธ์เรื่องการเลิกเหล้า รวมถึงการขับขี่ปลอดภัย มีกิจกรรม การเดินรณรงค์เชิญชวนประชาชนให้เลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีการจัดทีมอาสาสมัครชุมชน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ออกสำรวจพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ และร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุทั้งถนนสายหลัก ถนนสายรองในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา มีการอบรมให้ความรู้และรณรงค์เลิกเหล้าสู่การเป็นคนต้นแบบ และยกระดับสู่การเป็นครอบครัวปลอดเหล้า โดยการชักชวนคนในครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้น ๖.๒ สกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่และเปิดโอกาสให้เยาวชนมาทำกิจกรรมที่ดีมีศีลธรรมและสร้างสรรค์ ความสมัครสมานสามัคคีในหมู่บ้าน และชุมชน เช่น การเข้าร่วมทำกิจกรรมกับชมรม TO BE NUMBER ONE ๖.๓ สร้างบุคคลและครอบครัวต้นแบบในการเลิกสุราอย่างยั่งยืน โดยการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับ ทราบถึงโทษของสุราและสารเสพติด มีการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ในการควบคุมการบริโภคเครื ่องดื่ม แอลกอฮอล์ร่วมกับชุมชนในพื้นที่เทศบาลปทุมราชวงศา ทั้ง ๗ ชุมชน สุ่มตรวจร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกำหนดจุดให้บริการเฝ้าระวัง ด่านชุมชน ในทุก เทศกาล ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปทุมราชวงศามีการเลิกดื่มสุราที่มั่นคงสู่การเป็นคนต้นแบบ และยกระดับสู่การเป็นครอบครัวปลอดสุรา ๗.๒ เด็กและเยาวชนมีความรู้จากการลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเปิดโอกาสให้เยาวชนทำ กิจกรรมที่ดีมีศีลธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน และชุมชน ๗.๓ มีบุคคลต้นแบบในการเลิกสุราอย่างยั่งยืน ๗.๔ การงดดื่มสุราสร้างความรู้สึกที่ดีต่อคนรอบข้าง เชื่อมความสัมพันธ์และเวลาให้กับครอบครัว มากขี้น ๗.๕ การงดดื่มช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และช่วยให้มีเงินเหลือออมในครัวเรือนมากขึ้น ๗.๖ การงดดื่มช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและการทะเลาะวิวาทในครอบครัว และสังคม ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย บุคคลต้นแบบ จำนวน ๑๑ คน เป็นแบบอย่างให้คนในชุมชน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๗ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม การมีบุคคลต้นแบบลดละเลิกการดื่มสุรา มีการร ่วมมือกันเพื่อลด ละเลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๒) ด้านเศรษฐกิจ การเลิกดื่มสุราช่วยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและมีเงินออมเพิ่มขึ้น ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม เกิดถนนปลอดภัยจากการติดตั้งไฟสาธารณะตามจุดแยกต่าง ๆ ใน ชุมชน การติดตั้งป้ายแจ้งถนนจุดเสี่ยงจุดอันตราย และลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ ๔) ด้านสุขภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการลด อุบัติเหตุจราจรการช่วยเหลือผู้ประสบภัย การบริการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง การบำบัดฟื้นฟู ส่งเสริมการออกกำลังกาย และการบริการให้คำปรึกษา ๕) ด้านการเมืองการปกครอง กำหนดกฎ กติกา ข้อตกลง ธรรมนูญตำบล การพัฒนานโยบาย สาธารณะการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการลด อุบัติเหตุจราจร การตั้งด่านชุมชน และร้านค้าไม่จำหน่ายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๘ Key Actors คณะกรรมการหมู่บ้านหมู่ ๙ งานเด่น ชุมชนต้นแบบ ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พื้นที่ บ้านหินกอง หมู่ ๙ ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายสมัย ชูวงศ์ตำแหน่ง กำนันตำบลนาหว้า เบอร์โทรศัพท์๐๖๒-๓๑๗๙๕๗๗ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เขตพื้นที่ตำบลหว้า อาศัยฐานคิดการมีสร้างการมีส่วน ร่วมของ ๔ ภาคส่วน ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานรัฐ และภาคประชาชน จุดประสงค์เพื่อลด ละ เลิกการ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ซึ่งในตำบลนาหว้ามีประชากรทั้งหมด จำนวน ๕,๒๗๔ คน เป็นเพศชาย จำนวน ๒,๖๖๒ คน (ร้อยละ ๕๐.๔๗) เพศหญิง จำนวน ๒,๖๑๒ ครัวเรือน สถิติผู้ที่ ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด(อายุ๑๕ ปีขึ้นไป) จำนวน ๒๓ คน (ร้อยละ ๐.๕๘) พบผู้ที่ไม่สวมหมวก นิรภัย จำนวน ๔๕ คน (ร้อยละ ๑.๑๓) ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงดื่มสุราแล้วขับยานพาหนะ จำนวน ๖๕ คน (ร้อย ละ ๑.๖๓) ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพที่ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๒๔ คน (ร้อยละ ๐.๖๐) โดยผู้ที่มี พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำแนกเป็นเพศชาย จำนวน ๑๗๔ คน (ร้อยละ ๔.๔๑) เพศหญิง จำนวน ๓๔ คน (ร้อยละ ๐.๘๖) มีเส้นทางการพัฒนา ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตำบลนาหว้าพบปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเกิดอุบัติเหตุบนท้อง ถนนซึ่งทำให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน และผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์รถยนต์มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย โดยมีอาการมึนเมาและประมาท คึกคะนองและ ไม่เคารพกฎจราจร ประกอบกับสภาพของรถไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ตำบลนาหว้า จึงมีนโยบายในการลดปัญหาการดื่มสุราและสกัดกั้นนักดื่มสุราหน้าใหม่ เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุซึ่งทำให้มีผู้ที่ ได้รับบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิต โดยประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ คือเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่มีอายุ ไม่เกิน ๕๐ ปีขึ้นไป โดยมีการประชาสัมพันธ์ป้องกันและรณรงค์ลดการดื่มสุรา จึงได้ร่วมประชุมภายในพื้นที่ ตำบลนาหว้า ในการจัดทำโครงการเพื่อขยายผลการดำเนินงานมีบุคคลต้นแบบ ชุมชนต้นแบบเพิ่มขึ้นและ เพื่อรณรงค์ส่งเสริมเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปลด ละ เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ พ.ศ. ๒๕๖๔-ปัจจุบัน ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านได้เล็งเห็นสำคัญในโครงการงดเหล้าพรรษา งานบุญ ปลอดเหล้า และงานศพปลอดเหล้า จึงมีการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวทุกหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการ ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง จนเกิดความเข้มแข็งในชุมชนอย่างจริงจัง ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชากรในหมู่บ้านหินกองหมู่ ๙ จำนวน ๑๒๕ ครัวเรือน ประชากร จำนวน ๓๗๒ คน เพื่อ ส่งเสริมการลด ละ เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน งานบุญปลอดเหล้า สร้างบุคคลต้นแบบ ขยายผล ต่อเนื่องสู่หมู่บ้านอื่น ๆ ๒.๒ ประชากรที่ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๕๓ คน ๒.๓ ผู้ที่ต้องการเลิกดื่ม จำนวน ๒๒ คน ๒.๔ เยาวชน จำนวน ๑๕๓ คน ๒.๕ ผู้สูงอายุจำนวน ๑๖๑ คน ๒.๖ วัยทำงาน จำนวน ๗๖๗ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ๓.๒ ประชาชนมีสุขภาพดีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ๓.๓ ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีสาเหตุจากการเมาแล้วขับ


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๙๙ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับข้อมูลประชากร ข้อมูลพฤติกรรมการดื่ม ข้อมูล สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน (คน รถ ถนน) และข้อมูลการวิจัยในคน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคม ที่ดำเนินการ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ผู้นำชุมชน วัดในพื้นที่ช่วยหนุนเสริมการใช้ศาสนา อสม. สภาเด็ก และเยาวชนตำบลนาหว้า ๔.๒ สื่อ ป้ายรณรงค์ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๔.๓ แผนพัฒนาตำบล และแผนพัฒนาท้องถิ่น ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ คัดเลือก บุคคล หมู่บ้าน ร้านค้าต้นแบบ ได้แก่ ๑) ค้นหาบุคคลต้นแบบ โดยค้นหาจากผู้ที่เลิกดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน ๒) คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบจากหมู่บ้านที่มี รูปธรรมการดำเนินงานควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนในหมู่บ้านได้ดีและ ๓) ร้านค้าต้นแบบ คัดเลือกจากร้านค้าที่ปฏิบัติตามกฎ กติกาสังคม เช่น ไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับผู้ที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี เป็นต้น ๕.๒ ส่งเสริมงานบุญปลอดเหล้า เพื่อปรับพฤติกรรมของคนในชุมชนให้ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในชุมชน และขยายผลต่อเนื่องสู่หมู่บ้านอื่น ๕.๓ รณรงค์การลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกกลุ่มวัยและร่วมกันดำเนินการทั้ง ๔ องค์กรหลัก เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการบริหารจัดการชุมชน ให้สามารถจัดการตนเอง โดย มีสภาชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนและวางแนวทางในการปฏิบัติงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้แก่ (๑) องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า สนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานและด้านบุคลากร (๒) ผู้นำชุมชนเป็น ผู้เชื่อมประสานงานกับชุมชนในพื้นที่ (๓) วัดในพื้นที่ช่วยหนุนเสริมการใช้ศาสนา กล่อมเกลาจิตใจให้เข้มแข็ง อดทนต่อกิเลสเพื่อครอบครัว (๔) อสม. ดำเนินการสำรวจข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ และ (๕) สภาเด็กและเยาวชนตำบลนาหว้า รณรงค์ร่วมกับกลุ่มวัยอื่นในชุมชน ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดประชุมประชาคมในหมู่บ้านเพื่อนำเสนอโครงการลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการในหมู่ ๙ ๖.๒ วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรม ได้แก่ ๑) การสำรวจข้อมูลผู้ดื่มสุรา/แอลกอฮอล์ใน หมู่บ้าน ๒) กำหนดพื้นที่ปลอดแอลกอฮอล์ในงานบุญ งานศพ ทั้งแบบเจ้าภาพเดี่ยวและเจ้าภาพกลุ่ม ๓) กำหนดมาตรการทางสังคมเป็นกติกาของหมู่บ้าน เช่น งดจำหน่ายแอลกอฮอล์ในวันพระ งด จำหน่าย แอลกอฮอล์ในเด็กเยาวชน กำหนดให้งานศพเป็นงานปลอดเหล้า และ ส่งเสริมกีฬาเยาวชนในหมู่บ้าน เป็นต้น ๔) รับสมัครครัวเรือนปลอดเหล้า และรับสมัครผู้เข้าร่วมต้นแบบการเลิกเหล้า และ ๕) มอบเกียรติบัตรแก่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้า ๖.๓ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและการปฏิบัติตามกฎ กติกาชุมชนทั้งในระดับครัวเรือน และระดับคุ้มอย่างต่อเนื่องเดือนละ ๑ ครั้ง ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชาชนในเขตพื้นที่บ้านหินกองหมู่ ๙ จำนวน ๑๒๕ ครัวเรือน ประชากร จำนวน ๓๗๒ คนมีการ เลิกดื่มสุราและพัฒนาเป็นคนต้นแบบ จำนวน ๑๐ คน ยกระดับสู่การเป็นครอบครัวปลอดเหล้า จำนวน ๑๐ ครัวเรือน หมู่ ๙ กลายเป็น หมู่บ้านต้นแบบการเลิกดื่มสุรา และมีร้านค้าต้นแบบ จำนวน ๓ ร้าน ที่ปฏิบัติตาม กฎ กติกาชุมชน ๗.๒ เด็กและเยาวชนได้รับการปกป้องจากภัยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการงดดื่มช่วยลดโอกาสใน การเกิดอุบัติเหตุและการทะเลาะวิวาทกับคนรอบข้าง ๗.๓ การงดดื่มเหล้าเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกที่มีต่อคนรอบข้าง เชื่อมความสัมพันธ์และให้ เวลากับครอบครัวมากขึ้น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๐ ๗.๔ การงดดื่มช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเป็นการเก็บรักษาให้มีเงินเหลือออมมากขึ้น ๗.๕ มีการขยายผลกิจกรรม การลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องไปสู่หมู่บ้านอื่น ๆ ๗.๖ ส่งเสริมให้เกิดกลไกลการบริหารจัดการชุมชนให้สามารถจัดการตนเองได้อย่างเข้มแข็งโดยมีสภา ชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนและวางแนวทางในการปฏิบัติงาน ๗.๗ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนให้ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) วัยรุ่น ลดเกิดการทะเลาะวิวาทในกลุ่มเพื่อน ลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ ซึ่งอาจ ทำให้ผู้อื่นพิการหรือเสียชีวิตได้ ๒) วัยทำงาน วัยสูงอายุลดปัจจัยทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม เช่น ความจำเสื่อมสูญเสียการทรงตัว มีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท เป็นต้น ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีการรณรงณ์ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล งานบุญต่าง ๆ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน มีสติสมาธิในการประกอบอาชีพ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการติดตั้งไฟสาธารณะตามจุดเสี่ยงจุดอันตราย และติดป้ายงานบุญ ปลอดเหล้า งานศพปลอดเหล้า พื้นที่ราชการ และวัด เป็นเขตปลอดเหล้า ๔) ด้านสุขภาพ ส่งเสริมการออกกำลังกาย การบำบัดฟื้นฟูให้คำแนะนำ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการ ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการลดอุบัติเหตุทางจราจร ๕) ด้านการเมืองการปกครอง เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เกิด กฎ กติกาชุมชน สำหรับ ควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๑ Key Actors โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพน งานเด่น ปลอดเหล้าทั้งตำบล สร้างชุมชนสุขภาพดี พื้นที่ ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายไพบูลย์ เจริญวงค์ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพน เบอร์โทรศัพท์๐๘๔-๔๑๐๙๙๕๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพนมีแนวคิดในการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพ สร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการป้องกันโรค เพื่อเอื้อให้ประชาชนมีขีดความสามารถในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่จะ ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พัฒนาให้สุขภาพที่ดีทั้งกาย ใจ และสังคม เพื่อใช้ความมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนในการ ดำเนินชีวิต ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพนได้ใช้การมีส่วนร่วม ของ ๔ องค์กรหลักในพื้นที่ ในการดำเนินโครงการปลอดเหล้าทั้งตำบล สร้างชุมชนสุขภาพดีขึ้น สถานการณ์ตำบลคำโพนมี๑๐ หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด จำนวน ๔,๑๔๒ คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน ๒,๐๗๒ คน(ร้อยละ ๕๐.๐๒ ของประชากรทั้งหมด) เพศหญิง จำนวน ๒,๐๗๐ คน (ร้อยละ ๔๙.๙๘ ของ ประชากรทั้งหมด) ครัวเรือนทั้งหมด ๑,๓๓๖ ครัวเรือน เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีจำนวน ๔๙๔ คน (ร้อยละ๑๑.๙๓) อายุ๑๕-๖๐ ปีจำนวน ๓,๐๑๔ คน (ร้อยละ ๗๒.๗๖) ผู้สูงอายุจำนวน ๖๓๔ คน (ร้อยละ ๑๕.๓๑) ข้อมูลสถิติ การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ด้วยเมาสุราปีพ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๐ ครั้ง ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงดื่มสุราแล้วขับ ยานพาหนะ จำนวน ๑๗ คน (ร้อยละ ๐.๔๗) ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพที่ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๙๕ คน (ร้อยละ ๒.๖๐) เป็นเพศชาย จำนวน ๘๓ คน (ร้อยละ ๒.๒๗) เพศหญิง จำนวน ๑๒ คน (ร้อยละ ๐.๓๓) ผู้สูงอายุที่ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๖ คน (ร้อยละ ๐.๑๖) ผู้ที่เข้ารับการบำบัดสุรา ๕๙ คน (ร้อยละ ๖๒.๑๐) ครัวเรือนที่มีผู้ดื่มสุรา จำนวน ๙๐ ครัวเรือน จากข้อมูลภาวะฉุกเฉินที่ต้องรักษาในรอบ ๖ เดือน (ข้อมูลจาก ระบบการเก็บข้อมูลตำบล TCNAP) ทุนทางสังคมที่ดำเนินงานควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน พื้นที่รพ.สต.สามแยก รพ.สต.คำโพน องค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน สภาเด็กและเยาวชนตำบลคำโพน อส ม. ชรบ. อปพร. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และโรงเรียน จากแนวคิด และข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นเส้นทางการ ดำเนินงานโครงการปลอดเหล้าทั้งตำบล ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๖๒ สืบเนื่องจากงานฌาปนกิจศพแต่ละงานที่ผ่านมา มีการนำเหล้าหรือของมึนเมา อย่างอื่น มาเลี้ยงแขกผู้มาร่วมงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณีของชาวภูไท ซึ่งเพิ่มภาระความสูญเสียทรัพย์สิน และการสูญเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก นอกจากสิ้นเปลืองเงินทองในการจัดงานศพตามประเพณีแล้ว ยัง สิ้นเปลืองเงินที่นำมาซื้อเหล้าหรือของมึนเมาอย่างอื่นมาจัดเลี้ยงแขกผู้มาร่วมงานอีกด้วย นับเป็นความ จำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับของสังคมไทย ในการผลักดันโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ รณรงค์ลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะปัญหาที่เกิดจากเครื่องดื่มประเภทนี้มีความรุนแรงและ ส่งผลกระทบในทุกมิติของสังคม โดยมีเหล้าเป็นต้นเหตุแห่งปัญหา สร้างความทุกข์รุกรานความอยู่ดีมีสุขของ ผู้คนตลอดมา คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลคำโพน โดยการนำของแกนนำชุมชนทุกภาค ส่วน ทั้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงเรียนในพื้นที่ ประชาชนทุกครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยกและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำโพน ได้ระดมความคิด เพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าวด้วยกระบวนการจัดทำแผนชุมชน และการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน ได้มีมติว่าจะร่วมมือร่วมใจ เป็น สัญญาประชาคมหมู่บ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายใต้โครงการ “ปลอดเหล้าทั้งตำบล สร้างชุมชนสุขภาพดี” โดยจะนำร่องงดเหล้าในงานศพ ซึ ่งทุกคนมีความฝันและมี เป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้เป็นชุมชนปลอดเหล้าและอบายมุข เพื่อให้เกิดเป็นประเพณีและ วัฒนธรรม ที่ดีงาม ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอดต่อกันไป พ.ศ. ๒๕๖๓-ปัจจุบัน จากการดำเนินงานโครงการปลอดเหล้าทั้งตำบลพบว่างานศพมีการดื่มเหล้า ลดลงอย่างมาก แต่ยังพบว่าประชาชนในตำบลยังมีผู้ดื่มเหล้าเป็นประจำที่บ้าน ดื่มในยามพบปะสังสรรค์กัน ดื่มตามงานบุญต่าง ๆ รพ.สต.คำโพนและคณะทำงาน จึงได้มีแผนงานที่จะจัดกิจกรรมที่จะทำให้ประชาชน ลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้หลากหลายขึ้น ทั้งรณรงค์และบำบัดรักษา ประกอบกับอบต.คำ โพนได้รับการสนับสนุนจากสสส. ทั้งงบประมาณ วิชาการ ข้อมูล กิจกรรมในการดำเนินงาน จึงมีการขยายผล


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๒ การดำเนินงานชุมชนต้นแบบ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดกิจกรรมสำหรับผู้ต้องการเลิกเหล้า รณรงค์ในกลุ่มเยาวชน และทำข้อตกลง กติกา ของชุมชนและดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชากรในเขตตำบลคำโพน จำนวน ๑,๓๓๗ ครัวเรือน ๒.๒ ประชากรที่ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๙๕ คน ๒.๓ ผู้ที่ต้องการเลิกดื่ม จำนวน ๕๙ คน ๒.๔ เยาวชน จำนวน ๔๘๐ คน ๒.๕ ผู้สูงอายุจำนวน ๖๓๔ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ พัฒนาเป็นตำบลต้นแบบปลอดเหล้าและปลอดอบายมุขในงานศพ ๓.๒ ผู้ที่ดื่มเหล้าประจำเลิกเหล้า ๓.๓ เยาวชนไม่เริ่มริลองดื่มเหล้า ๓.๔ ผู้ที่ดื่มเหล้าเมาไม่ขับขี่รถ ไม่เกิดอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากการเมาแล้วขับ ๓.๕ ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงโทษของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ การประชาคมหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการ ลด ละ เลิก เหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอบายมุข อย่างถาวร ๔.๒ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี ่ยวกับข้อมูลพฤติกรรมการดื ่มเครื ่องดื ่มแอลกอฮอล์ ร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมเพื่อนำใช้ข้อมูลในการวางแผนดำเนินการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๔.๓ การสื่อสาร เช่น หอกระจายข่าว ปากต่อปาก สื่อออนไลน์ไลน์Facebook ปิดประกาศ และรถ ประชาสัมพันธ์เป็นต้น เพื่อใช้ส่งข่าวสาร รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และรับสมัครประชาชนขึ้นทะเบียน ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ “ปลอดเหล้าทั้งตำบล สร้างชุมชนสุขภาพดี” ๔.๔ งบประมาณ โดยการระดมทุนในชุมชนและการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใน กิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่จำเป็น ๔.๕ จัดทำสัญญาประชาคมหมู่บ้าน โดยประกาศเป็นวาระหมู่บ้าน ๔.๖ ชุมชนต้นแบบการปลอดเหล้าและอบายมุขในงานศพ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่น ๆ ๔.๗ แผนพัฒนาตำบล เป็นเครื่องมือในการหนุนเสริมขับเคลื่อนกิจกรรมการลด ละ เลิก เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ให้บรรลุเป้าหมาย ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดหาผู้รับผิดชอบหลัก โดยการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการชุมชนปลอดเหล้า จาก แกนนำชุมชน อาสาสมัครที่สนใจและเห็นความสำคัญของกิจกรรม ๕.๒ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทางและครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำโพน เช่น การจัดการ นำใช้ระบบข้อมูล การสร้างเครือข่ายนักรณรงค์การสร้างค่านิยมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จัดกิจกรรมรณรงค์ช่วงเทศกาล ๕.๓ กำหนดมาตรการทางสังคม ทำสัญญาประชาคมหมู่บ้าน เช่น การงดเหล้าในงานศพ และห้าม ขายเหล้าให้กับเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเป็นต้น ๕.๔ ค้นหาคนต้นแบบในการเลิกเหล้า มีการคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกเหล้าได้จัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การเลิกเหล้า เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่คนในชุมชน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๓ ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชาคมหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการ ลด ละ เลิก เหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ อบายมุข อย่างถาวร ๖.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการปลอดเหล้าจาก คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล คำโพน แกนนำชุมชนทุกภาคส่วน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงเรียนในพื้นที่ ประชาชนทุกครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยกและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำ โพน กำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินโครงการ ๖.๓ ประชาสัมพันธ์และรับสมัครขึ้นทะเบียนครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการลด ละ เลิกการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๖.๔ ระดมทุนในชุมชน และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่จำเป็นทำ พิธีสัญญาประชาคมหมู่บ้าน ประกาศเป็นวาระหมู่บ้าน ๖.๕ รณรงค์และดำเนินกิจกรรมชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า และอบายมุขในงานศพ ๖.๖ จัดการประชุมประชาคม สรุปผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรม และขยายผลการ ดำเนินงาน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมปลอดเหล้าและอบายมุขทั้งงานบุญและ งานศพ โดยในปี๒๕๖๔ ไม่มีเครื่องดื่มที่เป็นของมึนเมาในงานศพ ร้อยละ ๑๐๐ ๗.๒ ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการปลอดเหล้าทั้งตำบล สร้างชุมชนสุขภาพและร่วมลงทะเบียน จำนวน ๙๖๕ ครัวเรือน ๗.๓ ประชาชนในพื้นที่ตำบลคำโพน ทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ได้รับรู้ถึงโทษ ภัยของการดื่มเหล้าและสามารถ สอนลูกหลานไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับของมึนเมาและในพื้นที่ ส่วนสถานที่มีการจัดงาน ไม่มีการดื่มเหล้าหรือของมึน เมาในงาน ๗.๔ ผู้นำชุมชนทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลคำโพน ติดตั้งป้าย งานบุญปลอดเหล้า งานศพปลอด เหล้า ในพื้นที่ที่มีการจัดงาน ๗.๕ ลดการเกิดอุบัติเหตุการทะเลาะวิวาท ลดค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ในงานบุญ และงานศพ ๗.๖ ประชาชนที่เลิกเหล้าได้จำนวน ๓๖ คน ๗.๗ ตำบลคำโพนมีชุมชนต้นแบบการลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน ปีพ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ชุมชน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ผู้ที่ตั้งใจลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีผู้ที่มีโรคภัย ไข้เจ็บจะได้เบาบางลง มีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น มีสติในการดำรงชีวิต ๒) ผู้ที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผิวพรรณสดใส เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนทั่วไป และต้องการมี ปฏิสัมพันธ์ด้วย ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม ลดการเกิดปัญหาลูกโซ่ที่เกี่ยวโยงกันไปหมดแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความ ฟุ้งเฟ้อ ครอบครัวแตกแยก การสูญเสียทรัพยากรบุคคล ลดความเชื ่อผิดๆ คิดว ่าการดื ่มเครื ่องดื่ม แอลกอฮอล์เป็นวัฒนธรรมการดื่ม แอลกอฮอล์เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่แทรก ซึมเข้าไปในทัศนคติของคน จนคิดว่าการดื่มเป็นเรื่องปกติลดการกระทำรุนแรง ลดการมั่วสุมของเยาวชน ลด การทะเลาะวิวาท ลดการเกิดอุบัติเหตุทางจราจรซึ่งเป็นปัญหาสังคม รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนได้ ตระหนักถึงโทษการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ๒) ด้านเศรษฐกิจ การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในครอบครัว รวมถึงประหยัด ค่าใช้จ่ายในการจัดงานที่ไม่จำเป็นลงได้


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๔ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ไม่มีสถานที่มั่วสุมในชุมชน เป็นชุมชนที่ปลอดภัย ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนมีสุขภาพกาย จิตใจ ที่สมบูรณ์แข็งแรง ลดปัจจัยด้านสุขภาพลงได้ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ลดการกระทำที่ผิดกฎหมายที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความเป็นพลเมือง สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เช่น ลดการข่มขืน ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๕ Key Actors คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลโนนงาม งานเด่น งานบุญปลอดเหล้าสร้างชุมชนสุขภาพดี พื้นที่ ตำบลโนนงาม อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายสมบัติพยัคฆทา ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑ เบอร์โทรศัพท์๐๘๕๗๖๓๖๗๖๙ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลโนนงาม มี๘ หมู่บ้าน ปีพ.ศ. ๒๕๖๕ มีประชากรทั้งหมด จำนวน ๔,๐๐๒ คน แบ่งเป็นชาย จำนวน ๑,๙๙๕ คน(ร้อยละ ๕๐.๐๒) หญิง จำนวน ๒,๐๐๗ คน (ร้อยละ ๔๙.๙๘) จำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๑,๒๕๔ ครัวเรือน เด็กต่ำกว่า ๑๕ ปีจำนวน ๔๙๔ คน(ร้อยละ๑๑.๙๓) อายุ๑๕-๖๐ ปีจำนวน ๓,๐๑๔ คน (ร้อย ละ ๗๒.๗๖) ผู้สูงอายุ จำนวน ๖๓๔ คน (ร้อยละ ๑๕.๓๑) ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงดื่มสุราแล้วขับยานพาหนะ จำนวน ๑๗ คน (ร้อยละ ๐.๔๗ ) ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพที่ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๙๕ คน (ร้อย ละ ๒.๖๐ จำแนกตามเพศ ชาย ๘๓ คน (ร้อยละ ๒.๒๗) หญิง ๑๒ คน (ร้อยละ ๐.๓๓) เด็กต่ำกว่า ๑๕ ปี ผู้สูงอายุที่ดื่มสุราเป็นประจำ ๖ คน(ร้อยละ ๐.๑๖) ผู้ที่เข้ารับการบำบัดสุรา จำนวน ๕๙ คน (ร้อยละ ๖๒.๑๐) และครัวเรือนที่มีผู้ดื่มสุรา จำนวน ๙๐ ครัวเรือน จากข้อมูลภาวะฉุกเฉินที่ต้องรักษาในรอบ ๖ เดือน พ.ศ. ๒๕๕๓ เริ่มต้นโครงการปลอดเหล้า สืบเนื่องจากงานฌาปนกิจศพแต่ละงานที่ผ่านมา จะขาด เสียมิได้คือการนำเหล้าหรือของมึนเมาอย่างอื่น มาเลี้ยงแขกผู้มาร่วมงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณีของชาวภู ไทไปแล้ว เพิ่มภาระความสูญเสียเงินทองกับญาติของผู้เสียชีวิต ที่สิ้นเปลืองเงินทองในการจัดงานศพตาม ประเพณีแล้ว ยังมาสิ้นเปลืองในการนำเงินมาซื้อเหล้าหรือของมึนเมาอย่างอื่นมาจัดเลี้ยงแขกผู้มาร่วมงานอีก ด้วย นับเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับของสังคมไทยในปัจจุบัน ในการผลักดันโครงการและกิจกรรม ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะปัญหาที่เกิดจากเครื่องดื่ม ประเภทนี้มีความรุนแรงและส่งผลกระทบในทุกมิติของสังคม โดยมีเหล้าเป็นต้นเหตุแห่งปัญหา สร้างความ ทุกข์รุกรานความอยู่ดีมีสุขของผู้คนตลอดมา คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลโนนงาม โดยการ นำของแกนนำชุมชนทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำชุมชน โรงเรียนในพื้นที่ ประชาชนทุกครอบครัว อาสาสมัคร สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนงาม ได้ร่วมระดมแนวคิด เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย กระบวนการแผนชุมชน และการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน ได้มีมติว่าจะร่วมมือร่วมใจ เป็นสัญญาประชาคม หมู่บ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายใต้โครงการงานบุญปลอดเหล้า สร้างชุมชนสุขภาพดีโดยจะนำร่องงดเหล้าในงานศพ ซึ่งทุกคนมีความฝันและมีเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้เป็น ชุมชนปลอดเหล้าและอบายมุข เพื่อให้เกิดเป็นประเพณีและ วัฒนธรรม ที่ดีงามให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอด ต่อกันไป ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ๑๕-๑๘ ปีจำนวน ๑๒๐ คน ๒.๒ ประชาชนทั่วไป จำนวน ๔,๐๐๒ คน ๒.๓ ผู้ดื่มสุรา จำนวน ๙๕ คน (ร้อยละ ๒.๖๐) ๒.๔ ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง จำนวน ๖ คน (ร้อยละ๐.๑๖) ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เพื่อลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการจัดงานบุญ งานศพ ๓.๒ เพื่อลดจำนวนนักดื่มหน้าใหม่ ๓.๓ เพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ข้อมูล ณ ปี๒๕๖๕ จำนวนประชากรใน ตำบลโนนงาม ๔,๐๐๒ คน เพศ ชาย ๑,๙๙๕ คน (ร้อยละ๕๐.๐๒) เพศหญิง ๒,๐๐๗ คน(ร้อยละ ๔๙.๙๘) และจำนวนผู้ดื่มสุรา จำนวน ๙๕ คน (ร้อยละ ๒.๖๐)


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๖ ๔.๒ ข้อมูลจาก รพ.สต. ได้แก่ ๑) ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง จำนวน ๖ คน(ร้อยละ๐.๑๖) ๒) ผู้ที่เข้ารับการ บำบัดสุรา ๕๙ คน(ร้อยละ ๖๒.๑๐) และ ๓) ครัวเรือนที่มีผู้ดื่มสุรา ๙๐ ครัวเรือน จากข้อมูลภาวะฉุกเฉินที่ ต้องการรักษาในรอบ ๖ เดือน ๔.๓ ข้อมูลวิจัยชุมชน คือทุนทางสังคม ได้แก่ ๑) ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านร่วมกับผู้นำชุมชน ลด ละ เลิก เหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุขอย่างถาวร ๒)ทุกภาคส่วนภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน ต้นแบบปลอดเหล้าและอบายมุขในงานบุญและงานบวช ระดับกลุ่มคน เช่น อสม. อพปร. ฝ่ายปกครอง และ กลุ่มชุมนุม / เครือข่ายต่าง ๆ เป็นต้น ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ การจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการชุมชนปลอดเหล้า ๕.๒ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เช่น การจัดการนำใช้ระบบข้อมูล การสร้างเครือข่ายนักรณรงค์ การสร้างค่านิยมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดกิจกรรมรณรงค์ช่วงเทศกาล ๕.๓ กฎกติกา ในชุมชน มีการกำหนดมาตรการทางสังคมปลอดเหล้าในงานศพ งานไหนที่มีเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ปรับ งานละ ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาทต่องาน มีคนต้นแบบในการเลิกเหล้า ๕.๔ ตำบลต้นแบบปลอดเหล้าและปลอดอบายมุขในงานศพ ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นร่วมมือกันประชุมหารือการจัดตั้งคณะกรรมการ ประกอบไปด้วย กอง สาธารณสุข อบต.โนนงามผู้นำฝ่ายปกครองประกอบไปด้วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านในตำบลโนนงาม ๖.๒ คณะกรรมการจัดประชาคมหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทางร่วมกัน กำหนดกติกาของชุมชน แอลกอฮอล์และอบายมุข ในการ ลด ละ เลิก เหล้า เครื่องดื่มอย่างถาวร ประกอบไปด้วย หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องได้แก่รพ.สต.โนนงามโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งและกองทุนร้านค้าในชุมชนตำบลโนนงาม ๖.๓ ประชาสัมพันธ์และรับสมัครขึ้นทะเบียนครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และระดมทุนในชุมชน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ที่จำเป็น ๖.๔ ดำเนินกิจกรรม ประกอบไปด้วย ๑)ทำพิธีสัญญาประชาคมหมู่บ้าน ประกาศเป็นวาระหมู่บ้าน ๒) รณรงค์และดำเนินกิจกรรมชุมชนต้นแบบ ด้านปลอดเหล้า และอบายมุขในงานศพ ๓) มอบป้ายงานบุญ ปลอดอบายมุขหมู่บ้าน ๖.๕ ลงสำรวจและสังเกตการณ์การจัดงานบุญในพื้นที่ตำบลโนนงาม โดยหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย ประกอบไปด้วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กองสาธารณสุข โรงเรียน รพ.สต. อสม./ผู้นำชุมชน ร่วมมือกัน ๖.๖ การกำกับติดตาม โดยจัดการประชุมประชาคม สรุปผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนารูปแบบ กิจกรรม และขยายผลการดำเนินงานมีการประชุมคณะทำงานร่วมกับชุมชนและผู้นำชุมชนตำบลโนนงาม เดือนละ ๑ ครั้ง / ขออนุญาตจัดงานบุญปลอดเหล้าทุกครั้ง เป็นต้น ๖.๗ อสม. สำรวจข้อมูลนักดื่ม หน้าใหม่ และผู้ที่ดื่มสุรา ๖.๘ สำรวจครัวเรือนที่จัดงานบุญ งานศพ เรื่องค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๖.๙ สำรวจยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านค้าตามชุมชน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑.ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมปลอดเหล้าและอบายมุขในการจัดงาน ทั้งงานบุญและงานศพ ไม่มีเครื่องดื่มทีเป็นของมึนเมาในงาน ๗.๒ มีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการปลอดเหล้าทั้งตำบล สร้างชุมชนสุขภาพและร่วมลงทะเบียน จำนวน ๙๖๕ ครัวเรือน ๗.๓ ประชาชนในพื้นที่ตำบลโนนงาม ทั้ง ๘ หมู่บ้าน ได้รับรู้ถึงโทษ ภัยของการดื่มเหล้าและสามารถ สอนลูกหลานไม่ให้ยุ้งเกี่ยวกับของมึนเมาและในพื้นที่ ที่มีการจัดงาน ไม่มีการดื่มเหล้าหรือของมึนเมาในงาน ๗.๔ ผู้นำชุมชนทั้ง ๘ หมู่ ในพื้นที่ตำบลโนนงาม ติดตั้งป้าย งานบุญปลอดเหล้า งานศพปลอดเหล้า ในพื้นที่ที่มีการจัดงาน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๗ ๗.๕ ลดการเกิดอุบัติเหตุในปีพ.ศ๒๕๖๓-๒๕๖๕ การเกิดอุบัติเหตุลดได้(ร้อยละ ๙๕) การทะเลาะ วิวาทลดได้(ร้อยละ๙๐) ลดค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ในงานบุญ งานศพ (ร้อยละ ๕๐) ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานที่ไม่จำเป็นลงได้ ๒) ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางการจราจร ๓) ลดเหตุทะเลาะวิวาท ๔) เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนได้ตระหนักถึงโทษการดื่มเหล้าหรือของมึนเมา ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม ลดการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน ลดเหตุทะเลาะวิวาท ๒) ด้านเศรษฐกิจ การสร้างรายได้ลดรายจ่าย ในครัวเรือน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีการจัดพื้นที่ให้ลดการเกิดอุบัติเหตุจราจร ๔) ด้านสุขภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการลด อุบัติเหตุจราจรการช่วยเหลือผู้ประสบภัย การบริการช่วยเหลือผุ้ประสบภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง การบำบัดฟื้นฟู ส่งเสริมการออกกำลังกาย และ การบริการให้คำปรึกษา ๕) ด้านการเมืองการปกครอง การกำหนดกฎ กติกา ข้อตกลง ธรรมนูญตำบล การพัฒนา นโยบายสาธารณะการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการลดอุบัติเหตุจราจร การตั้งด่านชุมชน ลดเมา เพิ่มสุข ควบคุมเมาไม่ขับ องค์กร หน่วยงานราชการ ปลอดเหล้า ๑๐๐% ร้านค้าไม่จำหน่ายเหล้าให้กับเด็ก


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๘ ประเด็นที่ ๕ การควบคุมการบริโภคยาสูบ และสารเสพติด


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๐๙ Key Actors คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ ๘ งานเด่น ชุมชนเข้มแข็งหมู่บ้านปลอดสารเสพติด พื้นที่ บ้านคำย่านาง หมู่ที่ ๘ ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายจำมอญ สืบศรีตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘ บ้านคำย่านาง เบอร์โทรศัพท์๐๖๔-๒๘๓๘๔๒ , ๐๙๓-๖๔๑๖๘๑๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด ภายใต้ฐานคิดชุมชนเข้มแข็ง สนับสนุนการทำงาน แบบมีส่วนร่วมกันของ ๔ องค์กรหลักในชุมชน จัดการปัญหาตามบริบทวัฒนธรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพโดยใช้หลากหลายวิธีในการบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อส่งต่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ อย่างแท้จริง ลักษณะการบริหารงานได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์หมู่บ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การพัฒนาหมู่บ้านอาศัยกลไกลของคณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกันประชุมประชาคมเพื่อค้นปัญหา/จัดทำ แผนงาน/โครงการ นำไปสู่การแก้ไขปัญหา/พัฒนาชุมชนทุกครั้ง หากเกินขีดความสามารถของหมู่บ้าน ปัญหา ความต้องการจะถูกเสนอเพื่อขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป ส่วนการ ควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดมีการดำเนินการ ดังนี้๑) ประชาชนร่วมลงมือปรับปรุงภูมิทัศน์จัด โซนสูบบุหรี่ และปรับปรุงสถานที่แหล่งมั่วสุม ๒) ติดตั้งป้ายคำขวัญ ป้ายรณรงค์กระจายเต็มพื้นที่ ๓) จัด กระบวนการให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อการบริโภคยาสูบ โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ด้านอาชีพ แนวทางการ ดำเนินการเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข โดยการนำลูกหลานกลุ่มเสี่ยงมาร่วมกิจกรรม ครอบครัวบำบัดและแนวทางการให้อภัยทางสังคม ๔) จัดชุดรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์การ ป้องกันปัญหาอาชญากรรม การป้องกันปัญหายาเสพติด วินัยจราจร โดยมีการฝึกชุดอาสาสมัครตำรวจบ้าน มีการจัดหน้าที่เวรยามตั้งจุดสกัดภายในชุมชน และ ๕) จัดตั้งจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือชุมชนและกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ในและนอกชุมชน เพื่อให้ชุมชนอยู่อย่างผาสุก จากการนำใช้ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัย ชุมชน (RECAP) วิเคราะห์สถานการณ์ในหมู่บ้านพบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบและยาเสพติด ดังนี้ สถานการณ์บ้านคำย่านาง หมู่ที่ ๘ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา เป็นทางผ่านไปยังบ้านหนองไฮ น้อย ตำบลหนองข่า และเพื่อเป็นการสะดวกและง่ายต่อการดูแลประชาชนในหมู่บ้าน จึงมีการแบ่งคุ้มบ้าน ทั้งหมด ๔ คุ้มบ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ชุมชนมีอาชีพทำนา ทำไร่ และรับจ้าง กรีดยางหรือหาของป่าในเวลา กลางคืนเพื่อนำมาขาย บ้านคำย่านางมีจำนวนครัวเรือน จำนวน ๑๙๐ ครัวเรือน ประชากร จำนวน ๖๕๖ คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน ๓๔๓ คน (ร้อยละ ๕๒.๒๘) เพศหญิง จำนวน ๓๑๓ คน (ร้อยละ ๔๗.๗๒) มีประชากร ต่ำกว่า ๑๕ ปีจำนวน ๖๘ คน (ร้อยละ ๑๔.๐๕ ) อายุ๑๕-๖๐ ปีจำนวน ๓๓๗ คน (ร้อยละ ๗๓.๙๖) ผู้สูงอายุ จำนวน ๗๙ คน (ร้อยละ ๑๑.๙๙) ผู้ติดสารเสพติด จำนวน ๓ คน (ร้อยละ ๐.๖๒) ผู้ติดสารเสพติดที่หยุดเสพ ต่อเนื่อง ๓ คน (ร้อยละ ๑๐๐) ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ จำนวน ๑๑ คน (ร้อยละ ๒.๖๔ ของประชากรทั้งหมด) เป็น เพศชายทั้งหมดและอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๑ คน (ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้สูบบุหรี่) ไม่ได้ออกกำลังกาย จำนวน ๑๑ คน (ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้สูบบุหรี่) ผู้ที่สูบบุหรี่อายุน้อยที่สุด จำนวน ๑ คน (อายุ๓๓ ปี) ผู้ที่สูบบุหรี่ อายุมากที่สุด จำนวน ๑ คน (อายุ ๗๔ ปี) ครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่อาศัยอยู่ จำนวน ๘ ครัวเรือน สัดส่วน ครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่ ๑: ๒๓ ครัวเรือน อัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ ๔.๑๒ ทุนทางสังคมที่ดำเนินการควบคุมการ บริโภคยาสูบ ได้แก่ สภาเด็กและเยาวชน รพ.สต.นาป่าแซง เทศบาลตำบลนาป่าแซง จากการนำใช้ข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์การบริโภคยาสูบเห็นเส้นทางการพัฒนา ดังนี้ พ.ศ ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ คนในชุมชนมีปัญหาสุขภาพการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และปัญหาครอบครัว จากการใช้สารเสพติดค่อนข้างมาก โดยเยาวชน วัยกลางคนในชุมชนมีการมั่วสุมเสพยาในชุมชนร้อยละ ๗๐ ของจำนวนบุคคลที่สูบบุหรี่และเสพยาเสพติด ในปี๒๕๖๑ คณะทำงาน ๔ องค์กรหลักของตำบลนาป่าแซง ซึ่งประกอบด้วย ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานราชการ และผู้นำชุมชน ได้นำเรื่องการควบคุมการบริโภคยาสูบและ สารเสพติดเข้าวาระการประชุมคณะทำงาน “ไทนาป่าแซงบ่ถิ่มกัน” เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของตำบล และมีมติประกาศเป็นนโยบายหลักเพื ่อขับเคลื ่อนให้เกิดตำบลที ่มีความสุขโดยการดูแลทุกกลุ ่มวัย นายกเทศมนตรีตำบลนาป่าแซงและกำนันตำบลนาป่าแซงได้นำเรื่องนี้เข้าปรึกษาสถานีตำรวจภูธรปทุมราช วงศา (สภ.ปทุมราชวงศา) เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกัน และได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับท้องถิ่น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๐ ท้องที่รพ.สต.และโรงพยาบาลปทุมราชวงศา โดยใช้พื้นที่ตำบลนาป่าแซงเป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ปัญหายา เสพติด โดยเริ่มต้นที่หมู่ ๓ บ้านโคกพระ และปี๒๕๖๒ ขยายการดำเนินงานไปที่หมู่ ๑๐ บ้านโคกพระ ซึ่งมี กิจกรรมปฏิบัติต่อกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ดังนี้๑) สภ.ปทุมราชวงศา ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่พื้นที่เป็นเวลา ๓ เดือน โดยใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มเสี่ยง กิน นอน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเสี่ยง และ ๒) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุม ราชวงศา อบรมให้ความรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาและแนวทางการบำบัดโดยไม่มีการดำเนินคดีกับกลุ่ม เสี่ยงซึ่งแรก ๆ กลุ่มเสี่ยงไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนแต่หลังจากที่เจ้าหน้าที่เข้ามาให้ คำแนะนำช่วยเหลือกลุ่มเหล่านี้เริ่มมีการปรับตัวและร่วมทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนมากขึ้นและช่วยเหลือชุมชน ได้ด้วย พ.ศ ๒๕๖๓ - ปัจจุบัน จากผลการดำเนินการที่ดีในปีที่ผ่านมา คณะทำงานจึงเห็นว่าควรมีการขยาย พื้นที่ดำเนินการต่อยอดการแก้ไขปัญหายาเสพติดไปที่หมู่ ๘ บ้านคำย่านาง เพราะชุมชนบ้านคำย่านางเป็น ทางผ่านของแม่น้ำโขงไปประเทศลาว ห่างจากตัวอำเภอปทุมราชวงศา ๑๒ กิโลเมตร หน่วยงานราชการยังเข้า ไม่ถึงและพื้นที่เป็นภูเขา ส่วนใหญ่ชุมชนมีอาชีพทำนา ทำไร่และรับจ้าง เช่น รับจ้างกรีดยาง ต้องทำงาน และ หาของป่าขาย เป็นต้น เนื่องจากต้องออกไปหาของป่าในเวลากลางคืนจึงได้พึ่งพาสารเสพติด เพื่อกระตุ้นให้ไม่ ง่วงตามความเชื่อและยังช่วยเป็นยาขยัน พอเสพแล้วก็ต้องดื่มเหล้าเพื่อไม่ให้สารเสพติดระเหยง่าย และคนใน ชุมชนยังขาดความเข้าใจ หรือแรงจูงใจทำให้เยาวชน หรือวัยกลางคนได้หลงทางใช้ยาเสพติด เหล้าและบุหรี่ เป็นที่พึ่ง เพราะเข้าใจว่าการเสพแล้วจะทำให้มีพลังสามารถทำงานได้มาก สูบแล้วจะหายเครียด ทำให้มี ปัญหาเกิดการขาดยาไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวและเกิดปัญหาในชุมชน ดังนั้นภาคีเครือข่าย จึงได้เข้ามาร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยได้จัดโครงการหมู่บ้านชุมชนเข้มแข้ง ปลอดยาเสพติดโดยมีระยะเวลา การดำเนินงาน ๓ เดือนในพื้นที่ ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ สภ.ปทุมราชวงศา รพ.สต.นาป่าแซง รพ. สต.วินัยดีโรงเรียนในตำบลนาป่าแซง ๕ แห่ง โรงพยาบาลปทุมราชวงศา และแกนนำภาคประชาชนในตำบล นาป่าแซง ต้องอยู่กับชุมชนในพื้นที่เพื่อหาสาเหตุและหาแนวทางแก้ปัญหา ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนในพื้นที่ ตำบลนาป่าแซง จำนวน ๔,๗๙๒ คน ๒.๒ กลุ่มสูบบุหรี่ จำนวน ๕๙๔ คน (ร้อยละ ๑๒.๓๙) เลิกสูบบุหรี่ จำนวน ๒๐๒ คน (ร้อยละ ๔.๒๑) ยังอยู่ระหว่างการบำบัด จำนวน ๓๙๒ คน (ร้อยละ ๘.๑๘) ๒.๓ กลุ่มที่ใช้สารเสพติด จำนวน ๔๙ คน (ร้อยละ ๑.๐๒) อยู่ระหว่างการบำบัด จำนวน ๒ ๐ ค น (ร้อยละ ๐.๔๑) เลิกได้จำนวน ๒๙ คน (ร้อยละ ๐.๖๑) ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ มีการฝึกอาชีพให้กับกลุ่มเข้ารับการบำบัด หากิจกรรมเสริมให้กลุ่มเสี่ยงทำในเวลาว่างเพื่อไม่ให้ หมกหมุ่นกับยาเสพติดหรือหันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน และเมื่อเข้า ร่วมโครงการบำบัดแล้ว กลุ่มเสี่ยงจะมีอาชีพติดตัวและมีรายได้ประจำไม่เดือดร้อนครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่ม ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้สามารถไปทำงานต่างถิ่นได้ ๓.๒ ชุมชนมีกลุ่มอาชีพต่าง ๆ รองรับ เพื่อให้โอกาสให้กลุ่มเสี่ยสร้างรายได้เช่น การทำไม้กวาดจาก ขวดพลาสติก ซึ่งวัสดุที่นำมาทำเป็นขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วนำมาทำ เป็นการลดขยะในชุมชนอีกด้วย การ ทำน้ำยาล้างจานใช้เองในครัวเรือน การทำดอกไม้จากเศษผ้า การทำตะกร้าจากไม้ไผ่ซึ่งสิ่งของเหล่านี้เป็น วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน และใช้งบประมาณไม่สูง ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ สนับสนุน ๓.๓ การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ได้แก่ โรงเรียนธัญยาธรวิทยาคมเขต ๒ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อ การผลิต กลุ่มสตรีเกษตรอำเภอ และหน่วยงานพลังงานจังหวัดเข้ามาสอนการทำเตาพลังงานเพื่อใช้ในการ เผาถ่าน ซึ่งในหมู่บ้านมีป่าชุมชนขนาดใหญ่ สามารถนำต้นไม้แห้งหรือต้นไม้ที่ตายแล้วมาเผาเป็นถ่านเพื่อ สร้างรายได้ให้กับตนเองได้


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๑ ๓.๔ มีการจ้างงานกับผู้เข้ารับการบำบัด โดยกลุ่มพอเพียงสู่พาณิชย์จ้างขยายพันธุ์พืช กลุ่มหมอดิน อาสาจ้างงานการขยายพันธุ์หญ้าแฝก และนำหญ้าแฝกมาแปรรูปขาย หน่วยงานเอกชน โดยร้านซีดีไซด์เป็น ร้านออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า ได้เข้าร่วมในการจ้างงานสำหรับกลุ่มเสี่ยงด้วย ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ แหล่งเงินทุนและงบประมาณ ประกอบด้วย ๑) การสนับสนุนจากภาคเอกชน และชุมชน ได้แก่ การระดมทุนจากเครือข่าย ผลกำไรจากกลุ่มทุนทางสังคมต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชน เป็นการใช้เงินทุนทางสังคมมี การทำงานร่วมกับอสม.และกลุ่มที่ไม่เคยเสพเป็นแรงบันดาลใจที่เคยเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยมีตำรวจมาช่วย การเข้ารับการบำบัดและค้นหากลุ่มเสี่ยงร่วมกัน ๒) การสนับสนุนจากหน่วยงาน ได้แก่ (๑) เทศบาลตำบลนา ป่าแซงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สนับสนุนงบประมาณ ในการบูรณา การสร้างศูนย์เรียนรู้การทำกระถางต้นไม้การทำป้ายคติสอนใจในจุดต่าง ๆ ของหมู่บ้าน เป็นโอกาสให้กลุ่ม เสี่ยงเหล่านี้มีความกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นและสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ฝึกผู้ป่วยให้มีส่วนร ่วมกับชุมชนอย่างมั่นใจโดยไม่ต้องหวาดระแวง (๒) โรงเรียนธันยธรวิทยา ๒ ให้การ สนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรมและให้เด็กได้รับการอนุเคราะห์อยู่โรงเรียนประจำและนำบุคลากรใน โรงเรียนมาฝึกอาชีพให้คนในชุมชน เช่น การฝึกทำไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติก การทำน้ำยาล้างจาน การทำ กระดอกไม้จากเศษผ้า ๔.๒ แนวทางการดำเนินงาน โดยโรงพยาบาลปทุมราชวงศา (หมอจิตเวช) มีการคัดกรองสุขภาพและ สร้างความมั่นใจและสามารถอยู่ด้วยกันได้เมื่อเลิกสารเสพติดแล้ว และแนวทางการฝึกอาชีพเพื่อสร้างอาชีพ ให้ติดตัวผู้ที่เข้ารับการบำบัดที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ ๔.๓ ภาคีเครือข่ายในการทำงาน ได้แก่ สถานีตำรวจอำเภอปทุมราชวงศาเข้ามาดูแลและให้คำแนะนำ การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยและฝึกอาชีพตามความถนัดและยังสามารถสร้างอาชีพได้และต่อยอดจากงบประมาณที่ มีอยู่หรือสามารถที่จะไปทำงานต่างถิ่นได้ด้วยความมั่นใจ ๔.๔ ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับข้อมูลประชากร พฤติกรรมการบริโภคยาสูบและสารเสพ ติด และการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ดำเนินการหลักและทุนทางสังคมที่หนุนเสริมการ ดำเนินงาน โดยนำใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหา ๔.๕ แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาหมู่บ้าน ๕.รูปธรรมงาน ๕.๑ การบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดบุหรี่และสารเสพติด โดยจัดกิจกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่ต้องบำบัด ระยะเวลา ๓ เดือน มีการให้คำแนะนำ การบำบัด การฟื้นฟูสุขภาพกาย ใจ ๕.๒ การฝึกอาชีพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เข้าบำบัดและฟื้นฟูสภาพเพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้เวลาว่างใน การทำกิจกรรม ไม่ไปหมกหมุ่นกับยาเสพติด เช่น การทำไม้กวาดจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว การทำน้ำยาล้าง จานใช้เองในครัวเรือน การทำดอกไม้จากเศษผ้า และการทำตะกร้าจากไม้ไผ่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งของเหล่านี้เป็นวัสดุ ที่มีอยู่ในชุมชน ต้นทุนต่ำ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาให้การสนับสนุน กิจกรรมของชุมชน ได้แก่ โรงเรียนธัญยาธรวิทยาคมเขต ๒ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มสตรีเกษตร อำเภอ และหน่วยงานพลังงานจังหวัดอบรมการทำเตาพลังงานเพื่อใช้ในการเผาถ่าน ๕.๓ จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาบ้านเกิด โดยส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมของชุมชนมากขึ้น โดยคนที่ไม่เคยเสพและคนที่เสพจะมาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเปิดโอกาสให้พูดคุย และให้ข้อคิดร่วมกับผู้เสพกลับตัว กลับใจ ลด ละ เลิก ออกจากสารเสพติดได้เพื่อให้สังคมยอมรับ ครอบครัว มีความสุข ไม่หวาดระแวง และเพื่อสร้างให้เยาวชนในพื้นที่มีจิตอาสาในการพัฒนาบ้านเกิด และไม่กลับไปยุ่ง เกี่ยวกับสารเสพติดอีก ๖.วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดตั้งคณะกรรมการดูแลผู้ติดบุหรี่หรือสารเสพติดในหมู่บ้าน เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง ดำเนินการ โดยตำรวจภูธรปทุมราชวงศาร่วมกับผู้นำชุมชน และอสม.ประจำหมู่บ้าน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๒ ๖.๒ จัดทำและอธิบายแผนการช่วยเหลือ ได้แก่ การฝึกอาชีพเพื่อสร้างอาชีพให้ชุมชนและผู้ที่เข้ารับ การบำบัดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เช่น การทำไม้กวาดจากขวดพลาสติก การทำน้ำยาล้างจาน และ การทำกระดอกไม้จากเศษผ้า เป็นต้น การให้ความรู้คำแนะนำการลด ละ เลิกบุหรี่และสารเสพติด ๖.๓ ออกแบบกิจกรรมการบำบัด โดยตำรวจภูธรปทุมราชวงศาเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมที่จะดำเนินได้ มีการตกลงเปิดใจกับกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเสพติดที่จะเข้ารับการบำบัดในชุมชนและมีกลุ่มเสี่ยงบางคนที่ไม่เข้ารับ การบำบัดเพราะกลัวคนในชุมชนรู้และถูกตำรวจจับจึงไม่กล้าที่จะแสดงตัวว่าตนเป็นคนเสพและไม่กล้าที่จะเข้า รับการบำบัด จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๒๑ ๖.๔ พัฒนาศักยภาพชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการฝึกให้ประชาชน เยาวชน ในชุมชนเป็นราษฎรอาสาในพื้น ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรชุดรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน (ชรบ.) ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดให้โทษในชุมชนลดน้อยลงอย่างชัดเจน ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อย จากคนที่ว่างงานเพราะมีอาชีพเสริมที่ชัดเจน ๗.๒ เกิดการเอื้อเฟื้อแบ่งปัน โดยมีรั้วปันสุขในชุมชน เกิดความร่วมมือและให้โอกาสทุกฝ่าย ๗.๓ ผู้บำบัดมีอาชีพ มีรายได้อย่างเห็นได้ชัดเจน ๗.๔ สร้างการเปลี่ยนแปลง จากชุมชนอ่อนแอที่ไม่ให้ความร่วมมือกับชุมชน ปัจจุบันได้ออกมาสร้าง ประโยชน์ให้กับชุมชนและได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเวทีประชาคม จึงทำให้แก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น และถูกต้องตามเป้าหมายของผู้เข้ารับการบำบัด ๗.๕ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้การประสานงานสัมพันธ์ระหว่างท้องที่ ท้องถิ่น ตำรวจ รพ. สต. โรงพยาบาลปทุมราชวงศา (หมอจิตเวช) ภาคประชาชน ร่วมกันทำงานหรือแก้ไขปัญหาทุกจุด รู้ปัญหา รู้ แนวทางการแก้ไข ผู้ติดบุหรี่ สารเสพติดให้ความร่วมมือ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เยาวชนในพื้นที่บ้านคำย่านาง หมู่ที่ ๘ ตำบลนาป่าแซง มีการปรับตัวและเข้าร่วมกิจกรรมใน ชุมชนมากขึ้นละเปิดโอกาสให้ข้อคิดร่วมกับผู้เสพตัว กลับใจ ลดละเลิกออกจากสารเสพติดได้เพื่อให้สังคม ยอมรับ ครอบครัวมีความสุข ไม่มีความหวาดระแวง ๒) เยาวชนในพื้นที่บ้านคำย่านาง หมู่ที่ ๘ ตำบลนาป่าแซง หันมาร่วมกิจกรรมสร้างให้เยาวชนใน พื้นที่มีจิตอาสาในการพัฒนาบ้านเกิด และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เยาวชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้น ไม่หันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ๒) ด้านเศรษฐกิจ เยาวชนมีรายได้และลดค่าใช้จ่ายจากการ ทำไม้กวาดจากขวดพลาสติก การ ทำตะกร้าไม้ไผ่ การทำน้ำยาล้างจานและการทำดอกไม้จากเศษผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนและจำหน่ายให้กับเพื่อน บ้าน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ลดปัญหาการก่ออาชญากรรมในพื้นที่ ลดปัญหาการทะเลาะวิวาทใน ครอบครัว ๔) ด้านสุขภาพ มีสุขร่างกายที่แข็ง รู้สึกเป็นสุขไม่ต้องหวาดระแวง ร่างกายและจิตใจให้เกิด ควากระชุ่มกระชวย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ในชุมชนมีการตั้งกฎ กติกาชุมชน พร้อมทั้งการจัดตั้ง คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง สร้างความมั่นใจให้สามารถอยู่ร่วมกันได้และสร้างอาชีพให้ติดตัวผู้ ที่เข้าร่วมบำบัด


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๓ Key Actors เทศบาลตำบลห้วย งานเด่น ชุมชนร่วมใจ ลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด พื้นที่ บ้านนาผาง หมู่ที่ ๒ และหมู่ ๖ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายธีรภัทร์รุมา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองการศึกษา เบอร์โทรศัพท์๐๘๑-๓๘๙๗๔๖๔ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน เทศบาลตำบลห้วยดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบภายใต้ปรัชญาและแนวคิดของระบบสุขภาพ ตำบลห้วย“บ้านเฮือนสุขซุมเย็น หลีกเว้นอบายมุขถ้วนหน้า รักษาศีลคลองของเค่า หนุ่มหรือเฒ่ามีเวียกมีงาน สาธารณสุขมูลฐานวางไว้เป็นหมู่เหง่า ลูกเต้าได้เล่าเรียน ทุกเฮือนมีอยู่มีกิน ชาวตำบลห้วยอยู่ดีมีแฮง” ดำเนินการโดย ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน และภาคประชาชน เป็นกลไกขับเคลื่อนงาน และกิจกรรมชุมชนร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่และสารเสพติด ซึ่งข้อมูลบริบทพื้นที่เทศบาลตำบลห้วย ประกอบด้วยประชากรทั้งหมด จำนวน ๕,๒๔๘ คน ผู้ที่สูบบุหรี่และสารเสพติด จำนวน ๑๒๘คน (ร้อยละ ๓๒.๗๔) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก่อให้เกิดอันตรายที่กระทบต่อสังคม เศรษฐกิจและสุขภาพ ก่อให้เกิดโรค ร้าย เกิดการใช้สารเสพติด (สารระเหย กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน) จำนวน ๑ คน (ร้อยละ ๐.๒๖) ผู้สูบบุหรี่หรือมี โอกาสได้รับควันบุหรี่เป็นประจำในทุกวัน จำนวน ๔๓ คน (ร้อยละ ๑๑.๐๐) และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การ ดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดมีการพัฒนา ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๔ ตำบลห้วยมีผู้สูบบุหรี่จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ดังนั้น คณะทำงานจาก ๔ องค์กรหลักจึงมีโนยบายดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด โดย ดำเนินการควบคู่กับการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งเริ่มต้นจากเครือข่ายนำร่องบ้านนาผาง หมู่ ๒ และหมู่ ๖ เป็นหมู่บ้านศีล ๕ ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการกำหนดมาตรการทางสังคม การลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และสารเสพติด ทำให้พฤติกรรมของคนในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีบุคคลที่เป็น ต้นแบบเลิกสูบบุหรี่และสารเสพติด ที่เป็นผู้นำฝ่ายปกครอง (ผู้ใหญ่บ้าน) พร้อมคณะกรรมการหมู่บ้านที่เป็น แกนนำ ทำตัวเป็นแบบอย่างสร้างความตระหนักให้ประชาชนได้เห็นอันตรายของการสูบบุหรี่และสารเสพติด เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีตามธรรมนูญประชาชนคนตำบลห้วย พ.ศ. ๒๕๖๕ เนื่องจากการควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดเป็นนโยบายที่ต้องดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง เทศบาลตำบลห้วยร่วมกับ ๔ องค์กรหลัก จึงมีแผนขยายการดำเนินไปครอบคลุมทั่วทั้งตำบล งานและกิจกรรมประกอบด้วย การรณรงค์สร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนให้ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่และสาร เสพติด สร้างเครือข่ายการลด ละ เลิกการสูบหรี่และสารเสพติด กำหนด กฎ กติกา ชุมชน เช่น สถานที่ห้าม สูบบุหรี่ร้านค้าห้ามขายบุหรี่ให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีการลงนามปฏิญาณตนการเลิกสูบหรี่และ สารเสพติด เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงจากการสูบบุหรี่และสาร เสพติดต่อไป ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชากรทุกกลุ่มวัย ในเขตตำบลห้วย ทั้งหมด ๑๓ หมู่บ้าน ๒.๒ ประชากรทั้งหมด จำนวน ๕,๒๔๘ คน ๒.๓ ผู้สูบบุหรี่และสารเสพติด จำนวน ๑๒๘ คน ๒.๔ ผู้ใช้สารเสพติด (สารระเหย กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน) จำนวน ๑ คน ๒.๕ ผู้อยู่ในสถานที่มีผู้สูบบุหรี่หรือมีโอกาสได้รับควันบุหรี่เป็นประจำในทุกวัน จำนวน ๔๓ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ประชาชน ลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด ๓.๒ สนับสนุนการดำเนินงานตามธรรมนูญประชาชนตำบลห้วย สร้างเครือข่าย ลด ละ เลิก บุหรี่และ สารเสพติด


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๔ ๓.๓ ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงพลังพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการ ลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพ ติด ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ระบบข้อมูลตำบล (TCNAPและการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับข้อมูล ประชากร ข้อมูล พฤติกรรมเสี่ยงของสมาชิกในครัวเรือน ผู้สูบบุหรี่และสารเสพติด ครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่และสารเสพติด ร้าน ที่ขายบุหรี่ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ดำเนินการ เช่น เทศบาลตำบลห้วย จำนวน ๕๐ คน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. อปพร. รพ.สต. เป็นต้น ๔.๒ แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาท้องถิ่น ธรรมนูญสุขภาพตำบลห้วย ๔.๓ งบประมาณสนับสนุน จากเทศบาลตำบลห้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพชุมชน (สสส.) สำนัก ๓ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อขับเคลื่อนให้ประชาชนเห็นอันตรายบุหรี ่และสารเสพติด ผลกระทบและความสูญเสียทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม นำไปสู่การลด ละ เลิก สูบบุหรี่และสารเสพติด สร้างจิตสำนึกให้เกิดบ้านปลอดภัยจากบุหรี่และสารเสพติด ๕.๒ แนวทางการสร้างบุคคลต้นแบบการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่และสารเสพติด โดยการค้นหา คัดเลือกจากบุคคลที่เลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร เป็นตัวอย่างสร้างแรงบัลดาลใจให้กับประชาชนในพื้นที่ และ ยกระดับสู่ครอบครัวต้นแบบการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ๕.๓ การจัดกิจกรรมร่วมลงนามปฏิญาณตนลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด สำหรับคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานจ้างของเทศบาลตำบลห้วย และประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านนาผาง หมู่ ๒ และหมู่ ๖ กับ พระอาจารย์สมควร สิริจันโท เจ้าอาวาสวัดศรีปุญญนิมิต ๕.๔ กำหนด กฎ กติกา สังคม ได้แก่ การกำหนดสถานที่งดสูบบุหรี่ ห้ามขายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีบรรจุนโยบายการควบคุมการบริโภคบุหรี่และสารเสพติดในธรรมนูญสุขภาพตำบล ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อการรับรู้ร่วมกัน ๖.๒ จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ๖.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด ประกอบด้วย เทศบาลตำบลห้วย ผู้นำชุมชน โรงเรียน รพ.สต. กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ วางแผนดำเนินงาน ๖.๔ ดำเนินงานตามโครงการ ดังนี้ ๑) จัดกิจกรรมร่วมลงนามปฏิญาณตนลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด ๒) จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน เช่น ทำความสะอาด วัด บ้าน และโรงเรียน เป็นต้น ๓) จัดกิจกรรมค้นหาครอบครัว/บุคคลเข้าร่วมลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด พร้อมเชิดชู เกียรติครอบครัว/บุคคลงดบุหรี่และสารเสพติด ตลอดปีหรือตลอดชีวิต โดยความสมัครใจ ๔) จัดกิจกรรมรณรงค์การลด ละ เลิกบุหรี่และสารเสพติด ๕) สร้างเครือข่าย ลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด จำนวน ๑๐๐ คน ๖) กำหนดข้อปฏิบัติกติกาของชุมชน ธรรมนูญตำบลห้วย ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงนามปฏิญาณตน ลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด จำนวน ๒๕๓ คน ถือว่า ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จากการที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากเกินคาดในการปฏิญาณตน แสดงให้ เห็นถึงพลังการมีความพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๕ ๗.๒ บุคคลต้นแบบในการ ลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติด จำนวน ๓๐ คน และมีครอบครัวต้นแบบ จำนวน ๓๐ ครอบครัว ๗.๓ การดำเนินกิจกรรมสามารถสนับสนุนธรรมนูญประชาชนตำบลห้วยให้เกิดเครือข่ายและเป็น รูปธรรมมากยิ่งขึ้น ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนในเขตตำบลห้วย ทั้งหมด ๑๓ หมู่บ้าน สามารถลด ละ เลิก บุหรี่และสารเสพติดได้ ๒) ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓๐ แห่ง มีรายได้จากการจำหน่ายบุหรี่ลดลง ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดบุคคลต้นแบบการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่และสารเสพติด ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่และสารเสพติด ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม เกิดสิ่งแวดล้อมดีขึ้นเมื่อมีการกำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่ ๔) ด้านสุขภาพ สุขภาพดีขึ้น อัตราการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่และสารเสพติดลดลง ๕) ด้านการเมืองการปกครอง สนับสนุนธรรมนูญตำบลห้วยให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๖ Key Actors นายเพชร เอกศรีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๙ งานเด่น ชุมชนปลอดบุหรี่ พื้นที่ เทศบาลตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายเพชร เอกศรีตำแหน่งผู้ใหญ่หมู่บ้านที่ ๙ เบอร์โทรศัพท์๐๘๐-๑๔๙๕๑๓๔ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลหนองข่า ประกอบไปด้วย ๙ หมู่บ้าน ในปีพ.ศ.๒๕๖๕ มีประชากร ๕,๑๑๓ คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน ๒,๕๕๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๙ เพศหญิง จำนวน ๒,๕๕๗ คน คิดเป็น ร้อยละ ๕๐.๑ การขับเคลื่อน ชุมชนปลอดบุหรี่ของตำบลหนองข่าเริ่มมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕๖ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่นายเพชร เอกศรี ได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่น ได้จัดทำโครงการหมู่บ้านสมุนไพร “หน้าบ้านสวย หลังบ้านสวน” จากการ สังเกตของนายเพชร เอกศรีในเวทีการประชุมการวางแผนดำเนินโครงการทุกครั้งพบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมัก สูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ ควันบุหรี่ได้ก่อความรำคาญและเป็นอันตรายต่อ ผู้สัมผัสควันบุหรี่โดยเฉพาะเด็ก ปฐมวัย จึงเกิดแนวความคิดการพัฒนาตำบลต้นแบบ ลด ละ เลิก บุหรี่ ตำบลหนองข่า การรณรงค์ไม่สูบ บุหรี่ในที่สาธารณะและในชุมชน โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยจากการสูบ บุหรี่ และกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่มีเด็กเล็กในครอบครัว สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ตำบลหนองข่า ปีพ.ศ.๒๕๖๕ พบจำนวนผู้สูบบุหรี่เพศชาย ๒๔๐ คน เพศหญิง ๑๙ คน ผู้สูบบุหรี่อายุต่ำสุดคือ ๑๕ ปีอายุสูงสุดคือ ๘๐ ปีมีเด็กอายุ๐-๕ ปีในครัวเรือนที่ สัมผัสควันบุหรี่ จำนวน ๒๘๖ คน มีผู้สูงอายุในครัวเรือนที่สัมผัสควันบุหรี่ จำนวน ๘๙๔ คน มีผู้ป่วยด้วยโรค อันเนื่องมากจากการสูบบุหรี่ ได้แก่ โรคมะเร็ง จำนวน ๘ คน โรคหลอดลมอักเสบ จำนวน ๖ คน และผู้ที่ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง จำนวน ๘ คน โดยผู้ใหญ่บ้านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และตระหนักถึงอันตรายและ โทษของการสูบบุหรี่ จึงค้นหาบุคคลต้นแบบคือ ตัวแทนหัวหน้าคุ้ม ของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นตัวแทนใน การถ่ายทอดความรู้และเป็นตัวอย่างที่ดีในการเลิกบุหรี่ให้กับคนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ร่วมกัน ระหว่างเครือข่ายในพื้นที่ ประกอบไป เทศบาลตำบลหนองข่า รพ.สต. กลุ่มครูและผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน/ กำนัน รณรงค์ให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดการสูบบุหรี่ “โรงเรียนสีขาว” ห้ามจำหน่ายบุหรี่ให้กับเด็กเยาวชน ติดป้ายห้ามสูบหรี่ในร้านค้าและพื้นที่ชุมชน มีการใช้สมุนไพรในการลด ละ เลิกการสูบหรี ่และเครื ่องดื่ม แอลกอฮอล์ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในทุนทางสังคมที่สำคัญ โดยการดำเนินงานมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมผ่านกลไก เครือข่ายทั้งรัฐและภาคประชาชน ผู้ปกครอง ครูและวัด จากกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้จำนวนผู้บุหรี่ในชุมชน ลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีการกำกับติดตามเพื่อควบคุมและลดจำนวน นักสูบหน้าใหม่ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนในตำบลหนองข่า ๙ หมู่บ้าน จำนวน ๕,๑๑๓ คน ๒.๒ บุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ จำนวน ๔๕ คน หมู่บ้านละ ๕ คน (ตัวแทนหัวหน้าคุ้มแต่ละหมู่บ้าน) ๒.๓ โรงเรียน จำนวน ๓ แห่ง ๒.๔ วัด จำนวน ๔ แห่ง ๒.๕ ร้านค้าชุมชน จำนวน ๙ ร้าน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน โดยแกนนำบุคคลต้นแบบ ๓.๒ ไม่มีการสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ ๓.๓ ลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ โรงเรียนปลอดบุหรี่ โรงเรียนสีขาว


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๗ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ฐานข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ได้แก่ จำนวนประชากร แยกตามรายหมู่บ้าน จำนวนผู้ สูบบุหรี่ทั้งหมด จำนวนผู้สูบบุหรี่ในครัวเรือน อายุและอายุเฉลี่ยของผู้สูบบุหรี่ ๔.๒ ฐานข้อมูลจาก รพ.สต. การคัดกรองผู้สูบบุหรี่ และจำนวนผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ๔.๓ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) ได้แก่ ทุนทางสังคม ในตำบลหนองข่า เช่น นายเพชร เอกศรี ได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่น นายสุวรรณ ขจัดมลทิน ประธานอสม. และปราชญ์ชุมชนเชี่ยวชาญสมุนไพร กลุ่มจิตอาสาในหมู่บ้าน ประกอบไปด้วย อสม. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และกลุ่มครู เป็นต้น ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ บุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ ๕.๒ โรงเรียนสีขาว ปลอดบุหรี่ ๕.๓ กติกา/ข้อตกลง กำหนดให้ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ ชุมชน ร้านค้า และสถานที่ราชการ ๕.๔ เครือข่ายจัดการควบคุมการสูบหรี่ในตำบลหนองข่า ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดตั้งคณะกรรมการจัดการควบคุมการสูบบุหรี่โดย นายเพชร เอกศรีในปี๒๕๕๖ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ที่ ๙ ตำบลหน่องขา คณะกรรมการประกอบไปด้วย เทศบาลตำบลหนองข่า รพ.สต. กลุ่มครูและผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน ๖.๒ ประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติประกอบไปด้วยคณะกรรมการจัดการควบคุมการสูบบุหรี่ ร่วมกับเครือข่ายทั้งรัฐและภาคประชาชน ผู้ปกครอง ครูกลุ่มสมุนไพรอินทรีย์และวัด โดยได้มีการกำหนด กิจกรรมบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ ค้นหาตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน ๖.๓ จัดกิจกรรมารณรงค์ให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดการสูบบุหรี่“โรงเรียนสีขาว” ห้ามจำหน่ายบุหรี่ ให้กับเด็กเยาวชน ติดป้ายห้ามสูบหรี่ในร้านค้าและพื้นที่ชุมชน มีการใช้สมุนไพรในการลด ละ เลิกการสูบหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๖.๔ การประเมินและกำกับติดตาม คณะกรรมการจัดการควบคุมการสูบบุหรี่ออกสำรวจร้านค้า และ พื้นที่ควบคุมการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะ เขตพื้นที่โรงเรียน ร้านค้า และสถานที่ราชการ ทุก ๆ ๑ เดือน กิจกรรม มอบป้ายห้ามสูบบุหรี่ และเขตปลอดภัยบุหรี่ให้กับพื้นที่ที่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้อย่างครบถ้วนและ ต่อเนื่อง ประเมินผลกระทบจากการจัดกิจกรรม เฝ้าระวังพฤติกรรม ควบคุมและลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ เกิดบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ จำนวน ๔๕ คน จากหมู่บ้านละ ๕ คน (ตัวแทนหัวหน้าคุ้มแต่ละ หมู่บ้าน) มีอาสาสมัครในการนำสมุนไพรลด ละ เลิก บุหรี่ จำนวน ๓ คน ในปี๒๕๖๔-๒๕๖๕ ๗.๒ มีพื้นที่เป้าหมายปลอดบุหรี่ในวัด โรงเรียน และโรงพยาบาล ร้อยละ ๑๐๐ มีร้านค้าเข้าร่วม กิจกรรม ร้านค้าปลอดการสูบบุหรี่ร้อยละ ๑๐๐ ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนทั่วไป มีความตระหนักถึงโทษและอันตรายของบุหรี่ จำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลง ๒) ไม่พบการสูบบุหรี่ในพื้นที่เป้าหมาย และพื้นที่สาธารณะ ลดปัญหาควันบุหรี่มือสอง และปัจจัย เสี่ยงเรื่องการสูบบุหรี่ในครอบครัว ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดเครือข่ายชุมชนควบคุมการสูบบุหรี่ ที่เป็นแกนนำบุคคลต้นแบบให้การ รณรงค์เพื่อลด ละ เลิกบุหรี่ และป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ มีการนำสมุนไพรภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อ ใช้ในการลด ละ เลิก บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยกลุ่มสมุนไพรอินทรีย์ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในครอบครัวในการซื้อบุหรี่


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๘ ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีพื้นที่เป้าหมายปลอดการสูบบุหรี่ร้อยละ ๑๐๐ โดยมีการมอบ ป้ายพื้นที่ปลอดภัยบุหรี่ และเขตห้ามสูบบุหรี่ ๔) ด้านสุขภาพ ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ ทำให้จำนวนผู้ป่วยอื่นเนื่องจาการสูบบุหรี่ลดลง ปัญหาความเครียดและเลาะวิวาทในครอบครัวลดลง ๕) ด้านการเมืองการปกครอง มีข้อกำหนด กติกา ในชุมชน การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในที่ สาธารณะและในชุมชน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๑๙ Key Actors กำนันตำบลลือ งานเด่น ชุมชนปลอดบุหรี่ พื้นที่ ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายไสว นิมมา ตำแหน่ง กำนันตำบลลือ เบอร์โทรศัพท์๐๖๑-๐๙๐๕๙๖๕ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลลือ ประกอบด้วย ๑๔ หมู่บ้าน มีประชากรจำนวน ๘,๒๙๕ คน เป็นชาย จำนวน ๔,๑๒๓ คน หญิง จำนวน ๔,๑๗๓ คน มีครัวเรือน จำนวน ๒,๔๔๑ ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำ สวน ทำไร่ รับจ้างทั่วไปและค้าขาย สำหรับข้อมูลผู้สูบบุหรี่ในพื้นที่ตำบลลือ พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ จำนวน ๒๙๓ คน คิดเป็นร้อย ๔.๖๑ ของจำนวนประชากรที่มีอายุ๑๕ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔๕ ของผู้อยู่ในสถานที่ที่มี ผู้สูบบุหรี่ หรือมีโอกาสได้รับควันบุหรี่เป็นประจำทุกวัน ผู้สูบบุหรี่อายุน้อยที่สุด ๙ ปีอายุมากที่สุด ๙๔ ปี ครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่ จำนวน ๒๔๐ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๖๓ บ้านฤกษ์อุดม หมู่ ๗ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ ทำการเกษตร (ทำนา เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชผักสวนครัว) จำนวนประชากร ๔๗๘ คน (ชาย ๒๖๐ คน,หญิง ๒๑๘ คน) มีครัวเรือน จำนวน ๑๔๘ ครัวเรือน ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๖๐ จังหวัดอำนาจเจริญได้ขับเคลื่อนจังหวัดปลอด เหล้า บุหรี่ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ครอบครัว อุบัติเหตุและอาชญากรรม ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจของประเทศ ชุมชน/หมู่บ้านถือว่าเป็นรากฐานสำคัญ หากทุกชุมชน ทุกหมู่บ้านปลอดเหล้า บุหรี่ จะ ลดผลกระทบทำให้ประชาชนสุขภาพที่ดีทั้งจังหวัดและประเทศ ลดนักดื่ม นักสูบหน้าใหม่ และคุ้มครอง สุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ผลกระทบจากเหล้า บุหรี่มือสอง ปัญหาอุบัติเหตุและอาชญากรรมลดลง โดยมีแนว ทางการดำเนินงานของหมู่บ้านโดยการประชุมประชาคมคัดเลือกคณะทำงาน เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการ หมู่บ้านปลอดบุหรี่ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยผ่านเวทีประชุมประชาคม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อปี๒๕๖๓ ก่อนที่จะมีการควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด คนในชุมชนมีปัญหาเรื่อง สุขภาพ และปัญหาครอบครัว เพราะมีการใช้สิ่งเสพติด ประกอบด้วย เยาวชน วัยกลางคนในชุมชนมีการมั่วสุม สิ่งเสพติดในชุมชน คณะทำงาน ๔ องค์กรหลักของตำบลลือ ซึ่งประกอบด้วย ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน ราชการ และผู้นำชุมชนของบ้านฤกษ์อุดม หมู่ ๗ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้ดำเนินงานชุมชน ปลอดเหล้า บุหรี่ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชากรตำบลลือ จำนวน ๘,๒๙๐ คน ๒.๒ สร้างแกนนำเยาวชน วัยรุ่นอนาคตใหม่ สดใส ไม่ดื่มไม่สูบ จำนวน ๑๐ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ สร้างแกนนำเยาวชน วัยรุ่นอนาคตใหม่ สดใส ไม่ดื่มไม่สูบ ที่เป็นแบบอย่างในการ ลด ละ เลิก บุหรี่ และครัวเรือนต้นแบบ ๓.๒ ขยายเครือข่ายด้านการขับเคลื่อนการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง /ครัว ๓.๓ ป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ โดยใช้โรงเรียน เยาวชน และสถาบันครอบครัวคอยขับเคลื่อน เฝ้าระวัง ประกอบกับการสนับสนุนจากร้านค้าในชุมชนที่ไม่จำหน่ายบุหรี่ให้แก่เยาวชน และไม่วางขายบุหรี่ อย่างสะดุดตา ๓.๔ ป้องกันบุหรี่มือสองในชุมชน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๐ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เช่น พฤติกรรมเสี่ยง จำนวนคนสูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้สูบบุหรี่ อายุน้อยที่สุด ผู้สูบบุหรี่อายุมากที่สุด และผู้สูบบุหรี่วัยรุ่น เป็นต้น ๔.๒ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เช่น บุคคลต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบ และกลุ่มจิตอาสา เป็นต้น ๔.๓ ข้อมูล JHCIS จาก รพ.สต. เช่น จำนวนคนสูบบุหรี่ และจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอด เป็นต้น ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ สร้างแกนนำเยาวชน วัยรุ่นอนาคตใหม่ สดใส ไม่ดื่มไม่สูบ จำนวน ๑๐ คน เพื่อค้นหาคนสมัครใจ ลด ละเลิก ค้นหาครัวเรือนต้นแบบในการไม่สูบบุหรี่ ๕.๒ จัดกิจกรรมรณรงค์ลด ละเลิก บุหรี่ ประชาสัมพันธ์กำหนดสถานที่ห้ามสูบ / สถานที่สูบบุหรี่ การบังคับใช้กฎหมาย/ควบคุมการจำหน่ายของร้านค้า ๕.๓ บูรณาการร่วม รพ.สต./อปท.ผู้นำชุมชน/อสม./แกนนำเยาวชน โดยมีคณะกรรมการชุมชนปลอด บุหรี่ กำกับติดตาม ๕.๔ ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ราชการ ๕.๕ โรงเรียนปลอดบุหรี่ จำนวน ๑๕ แห่ง ๕.๖ วัดปลอดบุหรี่ ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน “ชุมชนปลอดบุหรี่” ประกอบด้วยคณะกรรมการ ๓ ระดับ ได้แก่ ๑) คณะกรรมการระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลือ ปลัดองค์การ บริหารส่วนตำบลลือ หัวหน้าสำนักปลัด นิติกร นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ๒) คณะกรรมการระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย ผู้ช่วยพนักงาน เจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้แก่ อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน ๑๑ คน และ ๓) คณะกรรมการระดับหมู่บ้าน ประกอบด้วย คณะกรรมการ ดำเนินงานชุมชนปลอดบุหรี่ ได้แก่ กำนัน สรวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาสวัด สอบต. ผอ.รพ.สต. ผอ.กองสาธารณสุข อบต.ลือ ผู้อำนวยการโรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน และผู้รับผิดชอบงานเหล้า บุหรี่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๖.๒ ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานชุมชนปลอดบุหรี่ จัดทำแผนปฏิบัติการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ๖.๓ จัดทำข้อมูลสถานที่เขตปลอดบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๖๐ และจัดทำป้ายเพื่อสื่อสารรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่โดยการทำสติกเกอร์ป้ายประชาสัมพันธ์เช่น วัด โรงเรียน รพ.สต. อบต. และสถานที่ราชการ เป็นต้น ๖.๔ รณรงค์ประชาสัมพันธ์และกำหนดมาตรการชุมชน งานบุญปลอดบุหรี ่ ชุมชนปลอดบุหรี่ หลากหลายช่องทาง เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์หอกระจายข่าว และการเดินรณรงค์เป็นต้น ๖.๕ รพ.สต.ลือ และ รพ.สต.แสนสุข คัดกรองผู้สูบบุหรี่อายุ๑๕ ปีขึ้นไปในชุมชนทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน และ ค้นหาผู้ที่สมัครใจเลิกบุหรี่ และเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดย รพ.สต.และส่งต่อเพื่อเข้าสู่การบำบัดรักษา ๖.๖ สร้างแกนนำเยาวชน วัยรุ่นอนาคตใหม่ สดใส ไม่ดื่มไม่สูบ จำนวน ๑๐ คน ๖.๗ กำกับติดตาม ประเมินผลกิจกรรมร่วมคณะกรรมการทุก ๓ เดือน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ เกิดการขับเคลื่อน “ชุมชนปลอดบุหรี่ จำนวน ๓ ระดับ (อปท. รพ.สต. และคณะทำงานระดับ หมู่บ้าน) ๗.๒ เกิดแกนนำเยาวชน วัยรุ่นอนาคตใหม่ สดใส ไม่ดื่มไม่สูบ จำนวน ๑๐ คน ๗.๓ เกิดครัวเรือนต้นแบบสมัครใจไม่สูบบุหรี่ จำนวน ๑๐ ครัวเรือน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๑ ๗.๔ มีร้านค้าเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓๑ ร้าน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) เยาวชน มีการปรับตัวและเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนมากขึ้นละเปิดโอกาสให้ข้อคิดร่วมกับ ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ ลดละเลิกออกจากสารเสพติดได้เพื่อให้สังคมยอมรับ ครอบครัวมีความสุข ไม่มีความ หวาดระแวง ๒) เยาวชน หันมาร่วมกิจกรรมสร้างให้เยาวชนในพื้นที่มีจิตอาสาในการพัฒนาบ้านเกิด และไม่ยุ้ง เกี่ยวกับบุหรี่/ยาเสพติด ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดเครือข่ายเด็กและเยาวชนเลิกบุหรี่ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนระดับอำเภอและ ระดับจังหวัด ในพื้นที่มีลานกีฬา สนามกีฬาของแต่ละหมู่บ้านเพื่อให้เยาวชนใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีป้ายเตือนสถนที่ราชการห้ามสูบบุหรี่ มีป้ายเตือนห้ามสูบบุหรี่ใน โรงเรียนทุกโรงเรียนในพื้นที่ตำบลลือ ร้านค้า ร้านอาหารติดป้ายเตือน ห้ามสูบบุหรี่ และห้ามขายบุหรี่ให้เด็ก อายุไม่ถึง ๒๐ ปีสถานที่ราชการจัดให้บริเวณสูบหรี่ ๔) ด้านสุขภาพ มีสุขร่างกายที่แข็งแรง รู้สึกเป็นสุขไม่ต้องหวาดระแวงที่จะต้องรับผลจากควัน บุหรี่มือสอง ร่างกายและจิตใจให้เกิดควากระชุ่มกระชวย ครอบครัวมีความเข้าอกเข้าใจ ลูกๆใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ไม่ก่อปัญหาให้พ่อแม่ที่ต้องขอเงิน ไปซื้อบุหรี่ เยาวชนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีโดยการเล่นกีฬา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ หรือยาเสพติด ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ในชุมชนมีการตั้งกฎกติกาชุมชน พร้อมทั้งการแนวทางปฏิบัติ ร่วมกันในการจัดงาน โดยเจ้าภาพสมัครใจ งานบุญปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ มีป้ายไฟให้เจ้าภาพยืม ตั้งไว้หน้า งานศพ


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๒ Key Actors สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ งานเด่น ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนปทุมราชวงศา ต้นแบบระดับประเทศ พื้นที่ เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายสมร ไชโยธา ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๕๔๘๗๕๖๓ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน พื้นที่เทศบาลตำบลปทุมราชวงศาพบปัญหาเยาวชนเสี่ยงต่อยาสูบและสารเสพติด นำไปสู่การเป็น โรคมะเร็งและถุงลมโป่งพอง รวมถึงอาจจะนำไปสู่การอาชญากรรมในอนาคต โดยเยาวชนที่มีสารเสพติดจะ เกิดภาพหลอน และหวาดกลัวซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถก่อให้เกิดการอาชญากรรมได้โดยเขตพื้นที่ของเทศบาล ตำบลปทุมราชวงศา มีพื้นที่รับผิดชอบ ๕ หมู่บ้าน ๗ ชุมชน มีประชากร ๓,๒๙๔ คน แบ่งเป็นชาย ๑,๖๓๒ คน หญิง ๑,๖๖๒ คน กลุ่มเสี่ยงยาสูบที่ตรวจพบยาสูบที่เข้ายุ่งเกี่ยวกับบุคคลที่ตรวจพบสารเสพติด(อายุ๑๓ ปี ขึ้นไป) ปัจจุบันไม่พบผู้ที่มีสารเสพติด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ จากข้อมูลการบำบัด และสถิติการจับกุมของฝ่าย ปกครองที่มีการสุ่มตรวจปีละ ๑ ครั้ง พบว่าไม่มีเยาวชนและประชาชนที่มีสารเสพติด ชมรม TO BE NUMBER ONE อำเภอปทุมราชวงศา ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีนายอำเภอปทุม ราชวงศา เป็นประธานคณะกรรมการระดับอำเภอ มีสาธารณสุขอำเภอปทุมราวงศาเป็นเลขานุการ มีหัวหน้า ส่วนราชการ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่ง และมีการ สนับสนุนชมรมเข้าประกวดระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ ทุกชมรม และโรงเรียนปทุมราชวงศา ได้ เป็นชมรมดีเด่น และเป็นชมรมต้นแบบระดับประเทศ ในปีพ.ศ.๒๕๕๙ มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มี การส่งสมาชิกชมรมเข้าร่วมประกวด เยาวชนต้นแบบเก่งและดีTO BE NUMBER ONE มีการพัฒนาศักยภาพ ให้สมาชิกชมรม โดยส่งเข้าค่ายพัฒนาสมาชิกทุกปีได้มีการขยายเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE ไปยัง ชมรมอื่นในชุมชนเพื่อรณรงค์เกี่ยวกับปัญหายาสูบและยาเสพติดสืบต่อไป และในปีพ.ศ. ๒๕๖๔ เทศบาล ตำบลปทุมราชวงศา ได้ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข อาสาสมัครรักษาดินแดน และผู้นำฝ่ายปกครอง สถานีตำรวจภูธรปทุมราชวงศา ได้สุ่มตรวจปัสสาวะของเยาวชนและผู้นำชุมชนทั้ง ๕ หมู่บ้าน ไม่พบผู้ที่มีสาร เสพติด ในช่วงต้นเดือน มกราคม ปีพ.ศ. ๒๕๖๕ หน่วยงานสาธารณสุขอำเภอปทุมราชวงศาจึงได้จัดทำ โครงการรณรงค์ติดป้ายตามชุมชน และอบรมเยาวชน และประชาชนในหมู่บ้านทั้ง ๕ หมู่ ๗ ชุมชน โดยผู้ที่เข้า ร่วมโครงการคือ เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่อายุไม่เกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์สามารถเข้าร่วม มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อเล่าถึงโทษและพิษภัยของยาสูบและสารเสพติดสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ทางหน่วยงานสาธารณสุข ได้จัดทำ โครงการขึ้นเพื่อขยายผลการดำเนินงานเพื่อเป็นชุมชนปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน เพื ่อทำให้สถาบัน ครอบครัวและสังคมเกิดความเข้มแข็ง ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เยาวชนอายุ๑๓-๑๘ ปีที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ๒.๒ เยาวชนอายุ๑๓-๑๘ ปีที่ศึกษานอกระบบ ๒.๓ เยาวชนอายุ๑๓-๑๘ ปีที่ไม่ได้รับการศึกษา ๒.๔ เยาวชนอายุ๑๙ ปีขึ้นไปและประชาชนอายุไม่เกิน ๖๐ ปี ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ปัญหาสารเสพติดของเยาวชนในชุมชนลดลง ๓.๒ เยาวชนที่สูบยาและติดสารเสพติดลดลง ๓.๓ เยาวชนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาสูบและสารเสพติดไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาสูบและสารเสพติด ๓.๔ ประชาชนทั่วไปตระหนักและให้ความใส่ใจในการดูแลเยาวชนเพื่อลดปัญหายาสูบและสารเสพติด


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๓ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลจากการสุ่มตรวจแล้วพบผู้ที่มีสารเสพติดที่เป็นเยาวชนโดยความร่วมมือของหน่วยงาน สาธารณสุขอำเภอปทุมราชวงศา ผู้นำฝ่ายปกครองสถานีตำรวจภูธรปทุมราชวงศา และ อสม. ในหมู่บ้าน ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับยาสูบและสารและสารเสพติดอย่างต่อเนื่อง ๕.๒ เยาวชนและประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด ๕.๓ มีการสุ่มตรวจปัสสาวะของเยาวชนอย่างน้อยปีละ ๓ ครั้ง ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ การอบรมให้ความรู้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอปทุมราช วงศา ๖.๒ คณะกรรมการชมรม TO BE NUMBER ONE ทุกชมรมทั้งในสถานศึกษา ชุมชน นำเยาวชนเข้า ร่วมเป็นสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ๖.๓ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำฝ่ายปกครอง ตรวจปัสสาวะกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเยาวชน และเมื่อพบผู้ ที่มีสารเสพติด หน่วยงานสาธารณสุขอำเภอปทุมราชวงศา ได้นำเยาวชนที่ตรวจพบสารเสพติดให้ได้เข้ารับ การบำบัดที่โรงพยาบาลปทุมราชวงศา ๖.๔ ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่หาอาชีพให้แก่ผู้ที่ผ่านการบำบัด ให้มีอาชีพที่สุจริต เช่น ตำแหน่งพนักงาน จ้างเหมาที่เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา เป็นต้น ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด คือ มีผู้ที่เลิกสารเสพติดได้ทั้งหมด ๑๗ คน และได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลต้นแบบ ๑ คน คือ นายวาทีโสระเวช หมู่ ๓ บ้านแก้วมงคล ต.นาหว้า อ.ปทุม ราชวงศา จ.อำนาจเจริญ ๗.๒ สร้างบุคคล ครอบครัว และมีแนวโน้มเป็นชุมชนปลอดสารเสพติดอย่างยั่งยืน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) คนในสังคมยอมรับ และอยู่ร่วมกันกับผู้ที่ได้รับการบำบัดได้ตามปกติ ๒) เมื่อผ่านการบำบัดจากโรงพยาบาลปทุมราชวงศา จะได้รับการประกอบอาชีพอย่างสุจริต ซึ่ง เป็นงานทั่วไปในอำเภอ เช่น เป็นพนักงานจ้างเหมาเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา และได้เข้าทำงานที่ร้านซ่อม รถเป็นต้น ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ การสร้างงานให้กับเยาวชนที่ได้รับการบำบัด นำไปสู่การประกอบอาชีพที่ มั่นคง ๓) ด้านสุขภาพ ทำให้สมาชิกในครอบครัว และผู้ใกล้ชิด มีสุขภาพที่ดีและรู้สึกปลอดภัย


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๔ Key Actors อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน งานเด่น ส่งเสริมอาชีพกลุ่มผู้บำบัดยาสูบและสารเสพติด พื้นที่ หมู่ ๙ บ้านหินกอง ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายสมพร ป้อมหิน ตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า เบอร์โทรศัพท์๐๙๓-๕๒๘๓๒๙๙ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบและ สารเสพติด โดยการขับเคลื่อนทัศนคติของสังคมที่เคยยอมรับว่าการบริโภคยาสูบเป็นวัฒนธรรมปกติที่สืบต่อ กันมาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและจัดทำโครงการลดละเลิกบุหรี่ใน ชุมชน ซึ่งตำบลนาหว้าแบ่งเขตการปกครองเป็น ๙ หมู่บ้าน มีจำนวน ๑,๐๘๒ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวน ๒,๖๒๗ คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน ๑๓๐๘ คน (ร้อยละ ๔๙.๗๙) เพศหญิง จำนวน ๑,๓๑๙ คน (ร้อย ละ ๕๐.๒๑) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีประชากรต่ำกว่า ๑๕ ปีจำนวน ๒๒๗ คน (ร้อยละ ๘.๖๔) อายุ ๑๕-๖๐ ปีจำนวน ๙๒๐ คน (ร้อยละ ๓๕.๐๒) ผู้สูงอายุจำนวน ๑๖๑ คน (ร้อยละ ๖.๑๒) ประชาชนที่ติดสาร เสพติด จำนวน ๒ คน (ร้อยละ ๐.๕๕) ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ จำนวน ๑๐๕ คน (ร้อยละ ๒๘.๖๙) แบ่งเป็นเพศ ชาย จำนวน ๙๗ คน (ร้อยละ ๒๖.๕๐) เพศหญิง จำนวน ๘ คน (ร้อยละ ๒.๑๙) ทุนทางสังคมที่ดำเนินการ ควบคุมการบริโภคยาสูบ ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน กลุ่มจิตอาสา โดยมีเส้นทางการ พัฒนา ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตำบลนาหว้าประสบปัญหาประชาชนสูบบุหรี่และติดสารเสพติดเป็นปัญหาเรื้อรังมา นาน และมีแนวโน้มรุนแรงและขยายวงกว้างเพิ่มมากขึ้น โดยมีจำนวนผู้สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นทุกปีส่งผลให้เกิดปัญหา ด้านต่างๆซึ่งหากมองในแง่เศรษฐกิจแล้วเป็นเรื่องของการเสียโอกาสเพราะเด็กและเยาวชนผู้ที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลัง สำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคตและหากมองในแง่สังคมครอบครัวแล้วหากครอบครัวใดที่มีสมาชิกเข้าไปเกี่ยวข้อง กับยาเสพติด ส่งผลที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด โรคหัวใจ และ หลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งเป็นโรค เรื้อรังที่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา จนกระทั่งเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของสมาชิกในครอบครัวนอกจากนี้บุหรี่ และสารเสพติดไม ่เพียงแต่ส ่งผลต ่อผู้สูบและเสพโดยตรงเท ่านั้น ยังส ่งผลกระทบต ่อสุขภาพของผู้ที ่อยู่รอบข้าง เช่นเดียวกับผู้สูบบุหรี่อีกด้วยโดยเฉพาะเด็ก รวมทั้งนำเยาวชน กลุ่มวัยรุ่นไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงเช่น ดื่มเหล้าเล่นการ พนัน ใช้ยาเสพติด และเที่ยวกลางคืนเป็นต้นก่อให้เกิดปัญหาตามมา ดังนั้นแกนนำชุมชนจึงได้เล็งเห็นถึงอันตราย ของการสูบบุหรี่และสารเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ประชาชน ให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และสารเสพติด ด้วยการเริ่มจากโครงการบุคคลต้นแบบเลิกสูบบุหรี่ ดังนี้๑) ค้นหาบุคคลต้นแบบจากอสม.และครอบครัวของอสม.เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับบุคคลและชุมชน และ ขยายผลเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ๒) การดูแลเสริมสร้างสุขภาพ การแนะนำให้มาบำบัด และ ๓) จัดระบบการเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพซ้ำโดยการสร้างแรงจูงใจให้ตระหนักในปัญหา บริการให้ คำปรึกษา ติดตาม ดูแล และการให้ความรู้แก่ประชาชนสามารถนำไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการป้องกันที่ดีโดย การสร้างความตระหนักจูงใจประชาชนเลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพดีของตนเองและบุคคลรอบข้าง การดำเนินงานได้อาศัย ความร่วมมือจากผู้นำชุมชนอาสาสมัครผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา พ.ศ๒๕๖๔-ปัจจุบัน คณะกรรมการดำเนินงานเห็นว่าปัญหาการสูบบุหรี่และสารเสพติดยังเหลืออยู่ จึงมีแนวคิดขยายโครงการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และสารเสพติดให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ตำบล จึงมีแนว ทางการดำเนินงานโดยใช้กลไก ๔ องค์กรหลักทำงานร่วมกัน ดังนี้๑) อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านที่ทำงาน ด้านสุขภาพในหมู่บ้านได้ทำงานโครงการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่และสารเสพติดควบคู่ไปด้วย ๒) โรงพยาบาล ปทุมราชวงศา รับผู้ที่ติดบุหรี่และสารเสพติดเข้าบำบัดจนสามารถลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ได้๓) สร้าง เครือข่ายประชาชนในการเฝ้าระวังการสูบบุหรี่ในหมู่บ้าน และ ๔) เปิดโอกาสให้เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อ สังคม และรณรงค์การลด ละ เลิกสูบหรี่และสารเสพติดในกลุ่มเยาวชน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๕ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ เด็ก เยาวชน ช่วงอายุ๑๓ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๗๑ คน ๒.๒ นักสูบหน้าเดิม จำนวน ๑๔๓ คน ๒.๓ วัยทำงาน จำนวน ๑๒๘ คน ๒.๔ วัยผู้สูงอายุจำนวน ๑๕ คน ๒.๕ ครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่ จำนวน ๑๔๓ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ฝึกอาชีพให้กลุ่มที่เข้ารับการบำบัด หากิจกรรมเสริมให้กลุ่มเสี่ยงทำในเวลาว่าง ไม่ให้หมกมุ่นกับ ยาเสพติด เป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน กลุ่มเสี่ยงจะมีอาชีพติดตัว มีรายได้ไม่เดือดร้อน ครอบครัว ๓.๒ ประชาชน วัยรุ่นที่บริโภคยาสูบและสารเสพติด สามารถ ลด ละ เลิก ในการสูบบุหรี่ได้ ๓.๓ เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ ชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเฝ้าระวังเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับข้อมูลประชากร พฤติกรรมการบริโภคบุหรี่และสาร เสพติด ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับข้อมูลทุนทางสังคมที่ดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบและ สารเสพติด ข้อมูลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลปทุมราชวงศา ข้อมูลผู้ติดสารเสพติดจากสถานีตำรวจ ๔.๒ แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาหมู่บ้าน ๔.๓ สื่อ ป้ายรณรงค์ลด ละ เลิกการสูบหรี่และสารเสพติด ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ การอบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายของบุหรี่และสารเสพติด ด้วยการจัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชน ในโรงเรียน และบุคคลทั่วไปในชุมชน ๕.๒ การรณรงค์ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่และสารเสพติด โดยการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ถึง อันตรายการสูบบุหรี่และสารเสพติด มีการติดป้ายวัด โรงเรียน ชุมชน เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่และสารเสพ ติด ๕.๓ การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่ติดบุหรี่และสารเสพติด มีกิจกรรม ดังนี้๑) โรงพยาบาลปทุมราชวงศา (หมอจิตเวช) มีการคัดกรอง บำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่าเมื่อเลิกสารเสพติด แล้วสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้และ ๒) สถานีตำรวจอำเภอปทุมราชวงศา ดูแลให้คำแนะนำการบำบัดฟื้นฟู ผู้ป่วยและฝึกอาชีพตามความถนัด สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ๕.๔ แนวทางการสร้างคนต้นแบบการเลิกสูบบุหรี่ โดยคัดเลือกจากผู้ที่เลิกสูบบุหรี่สำเร็จและ ยกระดับสู่การเป็นครัวเรือนปลอดบุหรี่โดยการชักชวนคนในครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้น ๕.๕ จัดทำฐานข้อมูล โดยการสำรวจข้อมูลผู้สูบบุหรี่ ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูคนต้นแบบ ร้านค้าที่ จำหน่ายบุหรี่ เพื่อนำใช้วางแผนจัดการควบคุมการบริโภคยาสูบ ๕.๖ กำหนดกฎ กติกาชุมชน โดย ๔ องค์กรหลักในชุมชนร่วมกันกำหนดกติกาเพื่อให้คนในชุมชนถือ ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ การห้ามขายบุหรี่ให้กับเยาวชนที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีกำหนดเขตปลอดบุหรี่ ในวัด โรงเรียน เป็นต้น ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมประชาคมตามหมู่บ้านเพื่อนำเสนอปัญหาการบริโภคยาสูบและสารเสพติด ด้วยการสร้าง การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ๖.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการจาก ๔ องค์กรหลัก กำหนดบทบาทหน้าที่การดำเนินงาน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๖ ๖.๓ วางแผนการดำเนินงาน ดังนี้๑) กำหนดเขตปลอดบุหรี่และร่วมกันตั้งกติกากำหนดพื้นที่ปลอด บุหรี่และห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่เด็ก เยาวชนต่ำกว่า ๑๘ ปี๒) สำรวจข้อมูลสถานประกอบการร้านค้าที่จำหน่าย บุหรี่ และสารเสพติด ในชุมชน ๓) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ตามโรงเรียน และชุมชน ติดป้ายวัด โรงเรียน ชุมชน เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ และสารเสพติด ๔) เดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามหมู่บ้าน ๕) รับสมัครให้ ผู้ติดบุหรี่และสารเสพติดเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู๖) จัดอบรมฝึกอาชีพสำหรับผู้เข้ารับการบำบัด เมื่อเลิกสาร เสพติดได้แล้วจะได้มีอาชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และ ๗) สร้างคนต้นแบบ และครอบครัวต้นแบบการ เลิกบุหรี่ ๖.๔ สรุปผลการดำเนินงานและขยายการดำเนินงานไปยังหมู่บ้านอื่น ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ลดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสารเสพติดในชุมชนลดน้อยลง ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อย ๗.๒ ทำให้การประสานงานระหว่างท้องที่ ท้องถิ่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาล(หมอจิตเวช) ร่วมกับ ชุมชนดีขึ้นจากการทำงานควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติดที่สามารถแก้ไขปัญหาทุกจุด รู้ปัญหา รู้ แนวทางแก้ไข ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการบำบัดได้ตามเป้าหมาย ๗.๓ กลุ่มผู้เข้ารับการบำบัด จำนวน ๑๔๓ คน ได้รับการฝึกอาชีพ ๗.๔ ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้จำนวน ๑๕ คน ๗.๕ คนต้นแบบ จำนวน ๑๕ คน ๗.๖ ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน ๑๕ ครัวเรือน ๗.๗ ร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ จำนวน ๒๑ ร้าน ปฏิบัติตามกฎ กติกาสังคม ไม ่ขายบุหรี ่ให้กับเด็ก เยาวชนอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟูและมีการฝึกอาชีพ ๒) ครอบครัวให้ความรักกำลังใจให้โอกาสในการ ลด ละเลิก ๓) ป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม มีการรณรงค์ลด เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ในที่ชุมชน ที่สาธารณะ ๒) ด้านเศรษฐกิจ การลด ละ เลิก บุหรี่ช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม การสูบบุหรี่ มีผลกระทบมลพิษต่อบุคคลที่อยู่รอบข้าง บุคคลใน ครัวเรือน และมีการกำหนดสถานที่เขตปลอดบุหรี่ ๔) ด้านสุขภาพ โรงพยาบาล อสม. ให้ความรู้ความเข้าใจแนะนำ ถึงอันตรายของบุหรี่ให้แก่ผู้สูบ ทำให้เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิต โรคหัวใจ และหลอดเลือด ๕) ด้านการเมืองการปกครอง หน่วยงานราชการปลอดบุหรี่ร้านค้าไม่จำหน่ายบุหรี่ให้เด็ก


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๗ Key Actors คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลคำโพน งานเด่น บุคคลต้นแบบ ชุมชนปลอดบุหรี่ พื้นที่ ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายบุญมาก ศรีราฤทธิ์ตำแหน่ง กำนันตำบลคำโพน เบอร์โทรศัพท์๐๖๔-๘๖๗๖๒๘๘ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ตำบลเป็นองค์กรบริหารระดับพื้นที่ ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน ผู้นำชุมชนมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุง สุขให้ประชาชนในตำบล การขับเคลื่อนการพัฒนาตำบลให้เกิดความเข้มแข็งต้องอาศัยผู้นำที่ทำตนแบบอย่าง ที่ดีในทุกด้าน ดังจะเห็นได้จากผู้นำของตำบลคำโพนมีแนวทางการพัฒนาโดยการทำตัวเป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการงดสูบบรี่และพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่ทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ที่มีประชากรทั้งหมด ๔,๑๔๒ คน แบ่งเป็นชาย จำนวน ๒,๐๗๒ คน (ร้อยละ๕๐.๐๒) หญิง จำนวน ๒,๐๗๐ คน (ร้อยละ ๔๙.๙๘) จำนวนครัวเรือนทั้งหมด จำนวน ๑,๓๓๖ ครัวเรือน เด็กต่ำกว่า ๑๕ ปีจำนวน ๔๙๔ คน (ร้อยละ๑๑.๙๓) อายุ ๑๕-๖๐ ปีจำนวน ๓,๐๑๔ คน (ร้อยละ ๗๒.๗๖) ผู้สูงอายุจำนวน ๖๓๔ คน (ร้อยละ ๑๕.๓๑) ประชาชนส่วน ใหญ่ในชุมชนมีอาชีพเกษตรกร และใช้การสูบบุหรี่เป็นวิธีผ่อนคลายจากการทำงาน และคลายเครียด จำนวนผู้ สูบหรี่ได้เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นปัญหาทั้งระดับครอบครัวและชุมชน ดังนั้นองค์กรท้องที่ร่วมกับ ๔ องค์กรหลัก จึงได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานพัฒนาตำบล โดยการประชุมประชาคม ค้น ปัญหา จัดทำแผนงาน/โครงการ นำไปสู่การแก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชนโดยผ่านเวทีประชุมประชาคมทุกครั้ง รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายนอกพื้นที่ สำหรับการจัดการปัญหาการควบคุมการ บริโภคยาสูบและสารเสพติด จากการนำใช้ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ที่สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนใน พื้นที่มีปัญหาด้านสุขภาพจากการสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๗๑ ของผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพทั้งหมด มี ครอบครัวผู้สูบบุหรี่ จำนวน ๗๐ ครัวเรือน (ร้อยละ ๕.๒๔ ของจำนวนทั้งหมด) มีผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไปมีจำนวน ๘๕ คน (ร้อยละ ๒.๓๓) แบ่งเป็นเพศชายร้อยละ ๒.๑๖ เพศหญิงร้อยละ ๐.๑๖ ประชาชนที่ติด สารเสพติด จำนวน ๓ คน (ร้อยละ ๐.๐๗) ผู้ติดสารเสพติดที่หยุดเสพต่อเนื่อง จำนวน ๓ คน (ร้อยละ ๑๐๐) ทุนทางสังคมที่ดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบ ได้แก่ สภาเด็กและเยาวชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์การปกกครองส่วนท้องที่ โดยมีเส้นทางการดำเนินงานดังนี้ พ.ศ ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ เยาวชนในพื้นที่ตำบลคำโพนมีแนวโน้มสูบบุหรี่มากขึ้น โดยเฉพาะนักสูบหน้า ใหม่ที่อายุน้อยลง ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่าง กว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องที่ได้ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล ได้ประชุมประชาคมเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ นำเสนอปัญหาการสูบบุหรี่และสารเสพติดในชุมชน รวมทั้งหาวิธีการแก้ไข โดยมีแนวคิดให้มีการออก มาตรการกำหนดเขตปลอดบุหรี่ เช่น ศาลาวัด งานบุญต่างๆ และรณรงค์งดสูบบุหรี่ เป็นต้น ผลที ่ได้มี ประชาชนส่วนหนึ่งที่สามารถลดบุหรี่ได้ พ.ศ ๒๕๖๓ - ปัจจุบัน สืบเนื่องจากประชาชนยังมีผู้สูบบุหรี่ประจำ และยังมีนักสูบหน้าใหม่ และมีการ เจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรค ประกอบกับ สสส.ได้เข้ามาหนุนเสริมการจัดทำ ฐานข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) ทำให้เห็นได้ชัดว่ามีประชาชนในพื้นที่มี การสูบบุหรี่ และ สสส.ยังได้สนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนวิชาการ การจัดกิจกรรมกาควบคุมการบริโภค ยาสูบและสารเสพติด ทำให้๔ องค์กรหลักร่วมกันทำงานควบคุมการบริโภคยาสูบ เช่น การรณรงค์การงดสูบ บุหรี่ การสร้างคนต้นแบบงดสูบบุหรี่ชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่และขยายผลทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน เป็นต้น ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ ประชากรกลุ่มอายุ๑๕ ปีขึ้นไป ในเขตตำบลคำโพน จำนวน ๓,๖๔๘ คน ๒.๒ ประชากร ๑๕ ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จำนวน ๘๖ คน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๘ ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ชุมชนปลอดบุหรี่เต็มพื้นที่ ๓.๒ บุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ในชุมชน ๓.๓ มาตรการตรวจแนะนำงดบุหรี่ เขตปลอดบุหรี่ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓.๔ เยาวชน ประชาชนทั่วไปไม่ริลองสูบบุหรี่ สารเสพติด ไม่มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้น ๓.๕ ผู้เลิกสูบบุหรี่จำนวนเพิ่มขึ้น ผู้ที่สูบบุหรี่เข้ารับการบำบัดเพิ่มขึ้น ๓.๖ ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ แบบคัดกรองผู้สูบบุหรี่ในชุมชน ทะเบียนรายชื่อผู้สูบบุหรี่ในหมู่บ้าน ๔.๒ ทะเบียนรายงานผู้สูบบุหรี่ ในระบบ HosXP ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระบบข้อมูล ตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับสถานะการสูบบุหรี่ และการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับข้อมูลทุนทางสังคม โดย นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ๔.๓ พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๔.๔ กฎ กติกาหมู่บ้านเกี่ยวกับเขตปลอดบุหรี่ ๔.๕ แผนพัฒนาตำบล แผนงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานชุมชนปลอดบุหรี่ ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ จัดหาผู้รับผิดชอบหลัก ด้วยมีการตั้งคณะทำงานและเป็นแกนนำ“ชุมชนปลอดบุหรี่” โดยเลือก จากผู้นำหมู่บ้าน แกนนำกลุ่มเยาวชน แกนนำอาสาสมัคร และประชาชนอาสาสมัคร ๕.๒ กำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่ โดยคณะทำงานประชุมร่วมกันกำหนดพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ มีการเฝ้า ระวังไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณห้ามสูบ และห้ามดื่มสุราในสถานที่ห้ามดื่ม เช่น เขตพื้นที่ศาลาวัด เป็นต้น ๕.๓ จัดการประชุมประชาคมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมนำเสนอปัญหาการสูบบุหรี่และหาวิธีการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน ๕.๔ รณรงค์และประสัมพันธ์การงดสูบบุหรี่ โดยมีการสื่อสารทุกช่องได้ได้แก่ หอกระจายข่าวของ หมู่บ้าน เสียงตามสายในวัดและโรงเรียน การจัดอบรมให้ความรู้โทษของบุหรี่ จัดทำสื่อ เช่นป้าย แผ่นพับ และ หุ่นจำลองงดสูบบุหรี่ เป็นต้น ดำเนินการควบคู่ไปกับการรณรงค์ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๕.๗ ค้นหาคนต้นแบบเลิกสูบบุหรี่ โดยค้นหาผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้อย่างถาวรมาเป็นคนต้นแบบ ร่วมเวที แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลิกสูบบุหรี่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจอยากเลิกสูบบุหรี่ของคนในชุมชน ๕.๘ จัดบริการบำบัดผู้ต้องการเลิกสูบบุหรี่ โดยมีบริการให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่ของ รพ.สต. สมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่ เป็นต้น ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ จัดตั้งคณะทำงานหรือแกนนำ“ชุมชนปลอดบุหรี่” ได้แก่ สภาเด็กและเยาวชน โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์การปกกครองส่วนท้องที่ และกำหนดบทบาท หน้าที่ในการทำงาน ๖.๒ ประชาคมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อกำหนดมาตรการทางสังคม ได้แก่ เลือกพื้นที่เขต ปลอดบุหรี่ และการเฝ้าระวังการสูบบุหรี่ในเขตห้ามสูบ ๖.๓ ประชาสัมพันธ์ได้แก่ การติดป้ายชุมชนปลอดบุหรี่ การประกาศตามหอกระจายข่าวหมู่บ้าน การ ประชาสัมพันธ์ตามงานบุญต่าง ๆ เพื่อประชาชนในชุมชน รับทราบว่าเป็นหมู่บ้านปลอดบุหรี่ ปลอดเหล้า ๖.๔ ทำการคัดกรองผู้สูบบุหรี่ในชุมชน มีทะเบียนรายชื่อผู้สูบบุหรี่ ติดตามการเลิกบุหรี่โดย โดยอสม. หรือผู้นำชุมชน ๖.๕ กำหนด กฎ กติกาชุมชนให้ทุกคนในชุมชนปฏิบัติตาม


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๒๙ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ เกิดกติกาชุมชน ได้แก่ ๑) ไม่ขายบุหรี่แก่เด็กอายุน้อยกว่า ๒๐ ปีฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๒) ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีขายบุหรี่ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๓) ห้ามผู้ขายปลีกขายบุหรี่โดยเครื่อง ขาย ๔) ห้ามลด แลก แจก แถม ห้ามแสดงราคา ณ จุด ขายฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท ๕) ห้ามขายในวัด โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท ๖) ห้ามขายในวัด โรงเรียน สถานบริการ สาธารณสุข หอพัก สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สวนสาธารณะ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๗) ไม่ขายสุราแก่เด็กอายุน้อยกว่า ๒๐ ปีฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน ๑ ปีหรือปรับไม่ เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๘) ไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครอง สติไม่ได้ฝ่าฝืน จำคุกไม่เกิน ๑ ปีหรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๙) ไม่ขายเครื ่องดื่ม แอลกอฮอล์วันห้ามขาย วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ฝ่าฝืน จำคุก ไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ และ ๑๐) ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน เวลาขายเท่านั้น คือ ๑๑.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. และ ๑๗.๐๐ – ๒๔.๐๐ น. เท่านั้น ฝ่าฝืน จำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือ ปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ๗.๒ ชุมชนปลอดบุหรี่ จำนวน ๕ ชุมชน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนเลิกสูบบุหรี่มีสุขภาพดีและครอบครัวของผู้เลิกสูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับควัน บุหรี่ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ๑ ราย งดสูบบุหรี่ ควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ๒) มีชุมชนต้นแบบลด ละ เลิก บุหรี่ ประชาชนมีความรู้เรื่องโทษของการสูบบุหรี่ทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชน รับทราบสถานที่ห้ามสูบบุหรี่และห้ามขายสุรา ได้แก่ ในวัด ศาลาประชาคม โรงเรียน หน่วยงานราชการ สถานที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ๒) ด้านเศรษฐกิจ ร้านค้า ร้านอาหารในชุมชนรับทราบกฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมาย ทำ การค้าแบบรับผิดชอบต่อสังคม โดยปฏิบัติตามกฎ กติกาชุมชน ได้แก่ ๑) ไม่ขายบุหรี่แก่เด็กอายุน้อยกว่า ๒๐ ปีฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๒) ไม่ให้เด็กอายุต่ำว่า ๑๘ ปีขายบุหรี่ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๓) ห้ามผู้ขายปลีกขายบุหรี่โดยเครื่องขาย ๔) ห้ามลด แลก แจก แถม ห้ามแสดงราคา ณ จุด ขายฝ่าฝืนปรับไม่ เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท และ ๕) ห้ามขายในวัด โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ลดปัญหาการก่ออาชญากรรมในพื้นที่ ลดปัญหาการทะเลาะวิวาทใน ครอบครัว ๔) ด้านสุขภาพ มีสุขร่างกายที่แข็ง รู้สึกเป็นสุขไม่ต้องหวาดระแวง ร่างกายและจิตใจให้เกิดความ กระชุ่มกระชวย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ในชุมชนมีการตั้งกฎกติกาชุมชนพร้อมทั้งการจัดตั้ง คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงพร้อมทั้งสร้างความมั่นใจให้สามารถอยู่ร่วมกันได้และสร้างอาชีพ ให้ติดตัวผู้ที่เข้าร่วมบำบัด


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๐ Key Actors นายธนทรัพย์ปรือทอง งานเด่น หมู่บ้านปลอดบุหรี่ พื้นที่ ตำบลโนนงาม อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นายธนทรัพย์ปรือทอง ตำแหน่งกำนันตำบลโนนงาม เบอร์โทรศัพท์๐๙๐-๙๘๖๙๘๐๐ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน หมู่บ้าน ๘ ตำบลโนนงาม ปี๒๕๕๗ นายบดินทร์โสมรักษ์เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาเรื่องการ สูบบุหรี่ จึงได้มีแนวคิดในการจัดโครงการหมู่บ้านปลอดบุหรี่ ร่วมกับ นายกุมพล คอแก้ว ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และประธานอสม.ตำบล และยังเป็นตัวแทนบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ ในหมู่บ้าน หมู่ ๘ สนามชัย ซึ่งได้รับ การอบรมให้ความรู้โดยหน่วยงานจากจังหวัดอำนาจเจริญ บุคคลต้นแบบมีบทบาทหน้าที่ในการชักชวน และ ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามให้ชาวบ้านในหมู่ที่ ๘ เรื่องการ ลด ละ เลิก บุหรี่ นอกจากนี้ยังมีจัดประชุม ประชาคมในการสื่อสารให้กับคนในพื้นที่ในโครงการหมู่บ้านปลอดบุหรี่ โดยมีการรวมกลุ่มเยาวชนเลิกบุหรี่ จัด กิจกรรมเดินรณรงค์ในหมู่บ้าน และโรงเรียนปลอดบุหรี่ กำหนดข้อตกลง กติกาชุมชนระหว ่างร้านค้าไม่ จำหน่ายบุหรี่ให้กับเยาวชน และติดป้ายรณรงค์ชุมชนปลอดบุหรี่โดยได้รับการสนับสนุนจาก อบต.โนนงาม กิจกรรมส่งเสริมเรื่องการจัดการบุหรี่จากหน่วยงานจากภาครัฐร่วมกับเครือข่ายของประชาชน ส่งผล ประชาชนในพื้นที่ตำบลโนนงาม มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ สร้างความตะหนักถึงโทษและอันตรายจากาการสูบ บุหรี่ มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น ส่งผลการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเป็นเรื่องที่น่าอาย และไม่เป็นที่ ยอมรับในสังคมอีกต่อไป ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ นักสูบหน้าใหม่ จำนวน ๓๕ คน ๒.๒ นักสูบหน้าเดิม จำนวน ๘๕ คน ๒.๓ นักสูบวัยรุ่น จำนวน ๒๐ คน ๒.๔ นักสูบผู้สูงอายุจำนวน ๘๐ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ลดค่าใช้จ่ายการในการซื้อบุหรี่ในครัวเรือน ๓.๒ ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ และลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ ในพื้นที่หมู่ ๘ ๓.๓ มีบุคคลต้นแบบ ลด ละ เลิก บุหรี่ ๓.๔ เกิดกติกาชุมชน ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ และไม่ขายบุหรี่ให้กับเยาวชน ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ดังนี้นักสูบหน้าใหม่ จำนวน ๓๕ คน นักสูบหน้าเดิม จำนวน ๘๕ คน นักสูบวัยรุ่น จำนวน ๒๐ คน และนักสูบผู้สูงอายุจำนวน ๘๐ คน ๔.๒ ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคม ได้แก่ ๑)นายบดินทร์โสมรักษ์ผอ.รพ. สต. ตำบลโนนงาม ๒) นายกุมพล คอแก้วผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และประธานอสม.ตำบล และกลุ่มผู้เลิกบุหรี่ สำเร็จในหมู่ที่ ๘ ๕. รูปธรรมงาน ๕.๑ กลุ่มเยาวชน เดินรณรงค์ในหมู่บ้าน โรงเรียนปลอดบุหรี่ ๕.๒ ข้อตกลง กติกาชุมชน ระหว่างร้านค้า ไม่จำหน่ายบุหรี่ให้กับเยาวชน ๕.๓ บุคคลต้นแบบ ลด ละ เลิก บุหรี่ และกลุ่มผู้เลิกบุหรี่ถาวร


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๑ ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ปี๒๕๕๗ นายบดินทร์โสมรักษ์ผอ.รพ.สต. ตำบลโนนงาม มีแนวคิดในการจัดโครงการ หมู่บ้าน ปลอดบุหรี่ วิธีการคือ การค้นหาบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ ในหมู่บ้าน หมู่ ๘ สนามชัย ได้แก่ผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้าน และประธานอสม.ตำบล นายกุมพล คอแก้ว ๖.๒ จัดตั้งคณะกรรมหมู่บ้านต้นแบบ ประกอบด้วย กลุ่มนำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่ หมู่ ๘ นายทึง แสนเริง / สารวัตรกำนัน กรรมการหมู่บ้าน อบต.ตำบลโนนงาม ส่งเข้าประกวด จัดให้มีกลุ่มเยาวชน เลิกบุหรี่ โดยนายบดินทร์โสมรักษ์ผอ.รพ.สต. ร่วมกับผู้นำชุมชน ๖.๓ จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ให้กับทางร้านค้าห้ามจำหน่ายบุหรี่ให้กับ เยาวชน จัดทำเสื้อปลอดบุหรี่ ให้กลุ่มเยาวชนเลิกบุหรี่ โดยมีการติดตั้งป้ายรณรงค์เลิกบุหรี่ ได้รับงบประมาณ สนับสนุนจาก อบต.โนนงาม ๖.๔ ประเมินผลการดำเนินงาน ได้แก่ ๑) ออกสำรวจบุคคล เรื่องการสูบหรี่ครัวเรือนในหมู่ ๘ เดือน ละ ๑ ครั้ง โดย ผู้นำชุมชน และอสม. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโทษและอันตรายของการสูบบุหรี่ และส่งผลกระทบ ต่อคนในครอบครัว และ ๒) ออกสำรวจร้านค้า สอบถามเรื่อง การจำหน่ายบุหรี่ให้กับเยาวชน เดือนละ ๑ ครั้ง โดย ผู้นำชุมชน และอสม. ๖.๕ กำกับติดตาม โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เป็นข้อตกลงชุมชน เรื่องการจัดการบุหรี่ในแผนงานหมู่บ้าน จัดการประชุมกำกับติดตามการดำเนิน โดยคณะกรรมหมู ่บ้านต้นแบบปลอดบุหรี ่ เดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อ รับทราบปัญหา ร่วมหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และขยายผลการดำเนินงานไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ต่อไป ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ มีบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ จำนวน ๑ คน ๗.๒ ลดค่าใช้ในการซื้อบุหรี่ในครัวเรือน และลดปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่มือสองในครัวเรือน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) บุคคลที่สูบบุหรี่ลดลงทั้งรายเก่าและรายใหม่ ๒) มีร้านค้าเข้าร่วมโครงการ งดจำหน่ายบุหรี่ให้กับเยาวชน ๓) ชุมชนมีความตะหนักถึงปัญหาของการสูบบุหรี่ และบุคคลผู้สูบมีความรับผิดชอบต่อสังคม มากยิ่งขึ้น ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม กลุ่มเยาวชนเลิกบุหรี่ คัดเลือกบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ และจัดตั้งคณะกรรม หมู่บ้านต้นแบบปลอดบุหรี่ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ลดรายจ่ายในครัวเรือน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม การติดตั้งป้ายรณรงค์เลิกบุหรี่ในชุมชนหมู่ ๘ และปลอดการสูบบุหรี่ ในพื้นที่สาธารณะ หรือในกิจกรรมที่มีการร่วมกลุ่มของคนในหมู่บ้าน ๔) ด้านสุขภาพ สำรวจผู้สูบบุหรี่ของคนในครัวเรือน ให้คำแนะนำในการลด ละ เลิกบุหรี่ และลด ปัญหาจากบุหรี่มือสองซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในครัวเรือน ๕) ด้านการเมืองการปกครอง การกำหนดกฎ กติกา ข้อตกลง บรรจุในแผนหมู่บ้าน และพัฒนา เป็นธรรมนูญตำบล การพัฒนานโยบายสาธารณะการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการ สูบบุหรี่


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๒ ประเด็นที่ ๖ การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๓ Key Actors โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซงและเทศบาลตำบลนาป่าแซง งานเด่น การเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชน พื้นที่ เทศบาลตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางสุนันทา มานะพิมพ์ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.นาป่าแซง เบอร์โทรศัพท์๐๘๐-๔๕๓๙๔๕๕ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน เทศบาลตำบลนาป่าแซงมีหลักการดำเนินงาน ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งสู่ตำบลน่าอยู่ ควบคู่สุขภาวะที่ดี ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกด้าน ทุกภาคีเชื่อมประสานอย่างไร้รอยต่อ และเอื้ออาทรไม่ทอดทิ้งกัน” โดยการ สร้างการมีส่วนร่วมของ ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน/องค์กร และประชาชน นำใช้ระบบ ข้อมูลตำบล (TCNAP) ในการวิเคราะห์สถานการณ์และข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) วิเคราะห์ศักยภาพ ชุมชนในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้สถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเทศบาลตำบลนาป่าแซง พบ ๑) กลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัวสังเกต อาการ จำนวน ๕๐ คน (๒) กลุ่มคนที่เดินทางมาจากจังหวัดที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวง กว้าง จำนวน ๗๐๔ คน และ ๒) กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ เด็ก ๐-๕ ปีจำนวน ๑๒๕ คน (ร้อย ละ ๒.๐๘ ของประชากรทั้งหมด) ผู้สูงอายุจำนวน ๔๘๘ คน (ร้อยละ ๘.๑๔ ของประชากรทั้งหมด) ผู้ที่มีภาวะ เจ็บป่วยเรื้อรังหรือพิการ จำนวน ๒๗๕ คน เบาหวาน จำนวน ๑๐๐ คน (ร้อยละ ๓๖.๓๖ ของการเจ็บป่วย เรื้อรังหรือพิการ) ความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๐๖ คน (ร้อยละ ๓.๔๓ ของการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือพิการ) ทุน ทางสังคมที่มีศักยภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้๑) เทศบาลตำบลนาป่าแซง ๒) หน่วยบริการสุขภาพ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซงและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวินัยดี๓) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ๔) สารวัตรกำนัน ๕) แพทย์ประจำตำบล ๖) อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน ๑๘๕ คน อัตราส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขต่อจำนวนครัวเรือน (๑ คน: ๑๐ ครัวเรือน) ๗) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ๓๐ คน (๓ คน: ๑ หมู่บ้าน) ๗) ชุดรักษาความ สงบประจำหมู่บ้าน (ชรบ.) จำนวน ๖๐ คน (๖ คน: ๑ หมู่บ้าน) ๘) กองทุนหมู่บ้าน มีทุกหมู่ ) สภาเด็กและ เยาวชน จำนวน ๑,๒๘๔ คน และ ๑๐) วัดในเทศบาลตำบลนาป่าแซง ๑๓ มีเส้นทางการดำเนินงาน ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ตามที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ ๓ และกำลังเข้าสู่ ระลอกที่ ๔ ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลได้ออกมาตรการและแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงดังความที่ท่านทราบ แล้ว เพื่อเป็นการรับมือของชุมชนท้องถิ่นในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) พิจารณาเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 โดยการปรับแผนปฏิบัติการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ให้ใช้ทุนทางสังคมในชุมชน ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ในชุมชนท้องถิ่นของตนเองนั้น สำนัก ๓ ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายภาค (ศวภ.) จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับแผนปฏิบัติ การและงบประมาณโครงการเพื่อรับมือการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงมีข้อตกลงในการปรับแผนปฏิบัติการและงบประมาณในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนัก ๓ (แผนสุขภาวะชุมชน) โดยเทศบาลตำบลนาป่าแซง ศูนย์จัดการเครือข่าย ภายใต้โครงการโครงการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ จึงขอปรับปรุงแผนการดำเนินงานและงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-ปัจจุบัน เทศบาลตำบลนาป่าแซงพบกลุ่มเสี่ยงที่ต้องแยกกักตัวเพื่อสังเกตอาการ จึง จัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) จำนวน ๑ แห่ง ที่มีความสามารถในการรองรับผู้ถูกกักกันได้จำนวน ๒๐ คน เพื่อช่วยเหลือประชาชนตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๔ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ คณะทำงาน ได้แก่ นายกเทศมนตรีตำบลนาป่าแซง กำนันตำบล ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกแห่ง ปลัดเทศบาลตำบลนาป่าแซง รองปลัดเทศบาลตำบล หัวหน้ากองคลัง หัวหน้ากองช่าง หัวหน้ากอง สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หัวหน้างานควบคุมโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ใหญ่บ้านจำนวน ๑๐ หมู่บ้าน อสม. จำนวน ๑๘๕ คน อปพร ๓๐ คน และ ชรบ. ๖๐ คน ๒.๒ ประชากรทั้งหมด จำนวน ๕,๙๙๐ คน เด็ก จำนวน ๐-๕ ปีจำนวน ๒๑๙ คน ผู้สูงอายุ จำนวน ๔๘๘ คน ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน ๒๗๕ คน ผู้พิการ จำนวน ๕๓ คน ผู้ด้อยโอกาส จำนวน ๑๕๐ คน ๒.๓ กลุ่มเสี่ยงที่ต้องแยกกักในสถานที่กักตัว จำนวน ๓๕ คน กลุ่มเสี่ยงที่กักตัวที่บ้านของตัวเอง ๑๕ หลังคาเรือน รวม ๑๕ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ เทศบาลตำบลนาป่าแซงมีสถานที่กักกันประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อสังเกตการเริ่ม ป่วย (Local Quarantine) ๓.๒ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ในด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรค ๓.๓ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือนดร้อนในสถานการณ์การแพร่ระบาด ๓.๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกันได้รับสวัสดิการในการปฏิบัติงาน ๓.๕ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่เข้ารับวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใน พื้นที่ตำบลนาป่าแซงมีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีน จำนวน ๒,๒๐๒ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์๒๕๖๕) ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุน สุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) ๔.๒ งบประมาณของเทศบาลตำบลนาป่าแซง ผู้นำท้องถิ่นและรพ.สต.ร่วมกันวางแผนในการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ๔.๓ คณะทำงานไทนาป่าแซงบ่ถิ่มกัน กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาป่าแซง ผู้นำท้องที่ ผู้นำ ท้องถิ่น อสม. ร่วมกันพัฒนาและมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ๔.๕ นำใช้ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ในการวิเคราะห์สถานการณ์และการวิจัยชุมชน (RECAP) วิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๕. รูปธรรมงาน ๔.๑ จัดตั้งคณะทำงาน โดยมีการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคในพื้นที่ร่วมกับชุดปฏิบัติการร่วม ของ รพ.สต. ท้องที่ อสม.เพื่อในการลงปฏิบัติการตรวจประเมินกลุ่มกักตัวเยี่ยมเสริมพลังใจสัปดาห์ละครั้ง รวม ๒ ครั้งเดือน รวม ๘ ครั้ง ๔.๒ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิดในพื้นที่ ที่เทศบาลตำบล นาป่าแซง ๑ แห่ง เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการวางแผนงานปฏิบัติการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่าง มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์สร้างความมั่นใจในชุมชนทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ๔.๓ จัดสถานที่กักตัวที่ชุมชนจัดให้๗ แห่ง รวม ๓๕ คน ในตำบลนาป่าแซง กักตัวที่บ้านของตัวเอง ๑๕ หลังคาเรือน รวม ๑๕ คน ในตำบลนาป่าแซง ๔.๔ จัดตั้งศูนย์พักคอยไว้รองรับสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสียงสำหรับการกักตัวโดยเทศบาลตำบลนาป่า แซงเป็นผู้ดำเนินการ ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน ติดตามการดำเนินงาน ๖.๒เตรียมสถานที ่ควบคุมเพื ่อสังเกตการเริ ่มป ่วยในระดับองค์กรปกครองส ่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) ตามรายละเอียดดังนี้


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๕ ๑) สถานที่ ใช้วัดและบ้านที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยที่อยู่ห่างไกลชุมชนเพื่อใช้เป็นเป็นสถานที่กักตัว ๒) จัดหา วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ เวชภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งอาหารและน้ำดื่ม เพื่อนำมาใช้ในการ ปฏิบัติงานของศูนย์กักกันฯ และวัสดุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ถูกกักกันฯ โดยปฏิบัติตาม หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยและหนังสือวิธีการปฏิบัติจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๖.๓ จัดแบ่งภารกิจเพื่อบริหารจัดการในบริเวณสถานที่ควบคุม (Quarantine Area) ดังนี้ ๑) ภารกิจด้านอำนวยการ รับผิดชอบการลงทะเบียนและงานธุรการ การสื่อสารภายในพื้นที่ ควบคุม ดูแลองค์ประกอบการใช้ชีวิตต่าง ๆ การบังคับใช้กฎหมาย การดูแลด้านอาหาร อุปโภคและบริโภค รวมถึงการพัสดุและการบัญชี ๒) ภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของศูนย์กักกัน ตลอดจนการเข้าออกสถานที่กักกัน ๓) ภารกิจด้านการควบคุมและป้องกันโรค รับผิดชอบการ ป้องกันและควบคุมโรค ๔) ภารกิจด้านการรักษาพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รับผิดชอบการดูแลรักษาพยาบาล การเจ็บป่วยทั่วไป การคัดกรอง การตรวจสอบอาการประจำวัน พร้อมทั้งการจัดหาอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ใช้ ประกอบในการรักษาพยาบาล การประสานโรงพยาบาลในการเคลื่อนย้ายนำส่งผู้ป่วย ๕) ภารกิจด้านการจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบด้านสุขาภิบาลและ อนามัยสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด การจัดการขยะ การจัดการแมลงนำโรค ๖) ภารกิจด้านการให้คำปรึกษา เพื ่อให้คำปรึกษาทั ่วไปกับผู้ถูกกักกันในระหว่างการพักอยู่ สถานที่กักกันซึ่งอาจจะเกิดความเครียด ความกังวล หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ๖.๔ จัดองค์ประกอบทางกายภาพของสถานที่ควบคุม (Quarantine area) ควรต้องคำนึงถึงดังนี้ ๑) ห้องนอน ให้มีทางเลือกที่หลากหลาย แบบเดี่ยว แบบรวม ๒) ห้องน้ำ ทั้งแบบห้องน้ำแยกในห้องนอน หรือห้องน้ำรวม ๓) ครัว หรือ พื้นที่ประกอบอาหารหรือแจกจ่ายอาหาร ๔) พื้นที่ในการจัดการขยะ ๕) พื้นที่ เหมาะสมกับการรักษาความปลอดภัย ๖) พื้นที่ปฐมพยาบาล ๗) พื้นที่ธุรการและ การประชุม และ๘) พื้นที่ใน การจัดกิจกรรมอเนกประสงค์ ๖.๕ กำหนดระเบียบปฏิบัติการอยู่ในสถานที่กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Quarantine) ดังนี้๑) ห้ามออกนอกสถานที่ที่กำหนดไว้หากมีความจำเป็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงาน ๒) ห้ามบ้วนน้ำลาย เสมหะ สั่งน้ำมูก ลงบนพื้น ๓) ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ณ จุดที่กำหนดไว้ทุกวัน ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบมือถือ ๔) เมื่อมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ไข้ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขที่ดูแลในพื้นที่ทันที่ล้างมือฟอกสบู่หรือ Alcohol gel ทุกครั้งหลังไอจาม ก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ ๕) ซักล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าเองทุกวัน หรือนำเสื้อผ้ามาใส่ถังที่จัดไว้หน้าห้องเพื่อส่ง ให้เจ้าหน้าที่ซักล้างต่อไป (แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่แยกกักในการบริหารจัดการ ๖) ทิ้งขยะมูลฝอยใน ถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ให้หน้าห้อง ๗) ถ้ามีความประสงค์ให้ญาติมาเยี่ยมโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงาน และ ๘) ทำความสะอาดภายในห้องพักด้วยตนเอง และนำขยะมูลฝอยทิ้งในถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ให้ (ควรมี ผู้ทำความสะอาดให้เป็นส่วนรวมตามวงรอบ เช่น ๒-๓ วันครั้ง เป็นต้น) จัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการ เริ่มป่วยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) จำนวน ๑ แห่ง ที่มีความสามารถในการ รองรับผู้ถูกกักกันได้จำนวน ๒๐ คน ๖.๓ ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๖.๔ ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนในการสร้างเกาะป้องกัน “ไวรัสโคโรนา” ด้วยการล้างมือ ๗ขั้นตอน เป็นตัวอย่าง ดังนี้ขั้นตอนที่ ๑ ล้างมือด้วยสบู่ถูฝ่ามือให้ทั่ว ขั้นตอนที่ ๒ ถูหลังมือ - ซอกนิ้ว ขั้นตอนที่ ๓ ฝ่า มือถูฝ่ามือ และถูซอกนิ้วมือ ขั้นตอนที่ ๔ หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ ขั้นตอนที่ ๕ ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ ขั้นตอนที่ ๖ ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ ขั้นตอนที่ ๗ ถูรอบข้อมือ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ก็สามารถป้องกัน ตนเองจากเชื้อ“ไวรัสโคโรนา 2019” ๖.๕ ประชาสัมพันธ์การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด เพื่อป้องกันตนเอง


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๖ ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๖.๑ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๖.๒ มีสถานที ่ควบค ุมเพื ่อสังเกตการเริ่มป ่วยในร ะดับองค์กรปกครองส ่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) เทศบาลตำบลนาป่าแซง สำหรับการเฝ้าสังเกตอาการผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน ๓๕ คน และกักตัวที่บ้านจำนวน ๑๕ ครัวเรือน ๑๕ คน ๖.๓ จัดหา วัสดุ อุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา วัสดุทางการแพทย์และวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการ จัดสถานที่ ตลอดจนสาธารณูปโภค ที่ใช้ในการดำเนินการภายในสถานที่กักกันตัว ๖.๔ มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีน จำนวน ๒,๒๐๒ คน ปฏิเสธการฉีดวัคซีน จำนวน ๓๙ คน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาป่าแซงทุกครัวเรือนได้รับความรู้ในการป้องกันโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๒) สร้างความตระหนักให้กับประชาชนในชุมชนมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และปลอดภัยห่างไกลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๓) ช่วงระยะเวลาดำเนินโครงการ ได้มีประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาป่าแซง เดินทางกลับ ภูมิลำเนาซึ่งมาจากจังหวัดกลุ่มเสี่ยง เช่น จังหวัดภูเก็ต ได้รับการดูแล ดังนี้ (๑) กักตัวในบ้าน ๑๔ วัน (๒) เว้น ระยะห่างจากทุกคน ๑-๒ เมตร (ป้องกันละอองฝอยที่อาจมาจากลมหายใจ หรือติดอยู่ตามเสื้อผ้า ไม่ให้สัมผัส กัน (๓) อสม.เข้าวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน (๔) แนะนำดูแลสุขอนามัยตัวเอง ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ทั้ง การล้างมือ ปิดปากด้วยหน้ากากผ้าหากไม่ป่วยล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล แยกการใช้ช้อนส้อม ก็ช่วยลดการ แพร่เชื้อได้มีผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าของตัวเอง ซักและตากแดดจัดๆ เพื่อฆ่าเชื้อ (๕) แนะนำแยกห้องนอนเมื่อ อยู่กับผู้อื่นในบ้านก็ควรแยกห้องนอนเป็นสัดส่วน รวมถึงแยกกันเก็บเสื้อผ้า และของใช้ส่วนตัว ไม่ให้ปะปนกัน รวมไปถึงควรแยกใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม หลอดดูดน้ำ แก้วน้ำ และแยกฟองน้ำที่ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ ต่าง ๆ และ (๖) แยกขยะของตัวเองทุกขยะที่มาจากการใช้งานส่วนตัว ให้แยกทิ้งคนละถุงซึ่งขยะที่สามารถติด เชื้อได้เช่น กระดาษชำระ และกระดาษซับมัน เป็นต้น ที่ผ่านการสัมผัสน้ำมูกน้ำลายให้แยกทิ้งไว้อีกถุงหนึ่ง ส่วนขวดหรือถุงพลาสติกทั่วไปแยกทิ้งไว้อีกถุง และทำความสะอาดถังขยะด้วยการราดน้ำยาฟอกขาวเพื่อฆ่า เชื้อ (อสม.จะแจ้งให้โรงพยาบาลรับขยะติดเชื้อเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธี) ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม สถานศึกษาเตรียมด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 เตรียมด้านสภาวะแวดล้อม เตรียมการปรับพฤติกรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันในโรงเรียน เตรียมการเรียนการสอนตามมาตรฐานและสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เตรียมการกีฬาและการเล่นวิถี ใหม่ เตรียมสวัสดิการและการคุ้มครองเด็ก มีการกำหนดมาตรการและการบริหารจัดการในโรงเรียนที ่มี ประสิทธิภาพ เทศบาลตำบลได้เตรียมด้านการจัดการอาหารปลอดภัยให้เพียงพอกับประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่ การผลิต การกระจายอาหารให้เพียงพอ และการบริโภคอย่างปลอดภัย ๒) ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนได้รับผลกระทบจากโรคระบาดทำให้โดนบีบให้ออกจากงานต้อง กลับมาอยู ่ที ่ภูมิลำเนา มีผลกระทบต่อได้รายลดลง พื้นที ่เตรียมสร้างอาชีพ การให้ความรู้การรวมกลุ่ม ช่วยเหลือกันด้านการสร้างอาชีพสร้างรายได้สำหรับคนตกงาน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ประชาชนมีการป้องกันตนเองมากขึ้นสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ก่อนออกจากบ้าน เว้นระยะห่าง ไม่รวมกลุ่มสังสรรค์มีการระมัดระวังตนมากขึ้น ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาป่าแซง ได้รับวัคซีนแล้ว จำนวน ๒,๒๐๒ คน เพื่อ ป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีมาตรการในการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่อย่างเข้มงวด


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๗ Key Actors เทศบาลตำบลห้วย งานเด่น สานพลังเครือข่าย ต้านภัยโควิด-19 พื้นที่ เทศบาลตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร จ่าเอกธนภัทร ปะตะสังค์ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักปลัด เบอร์โทรศัพท์๐๘๑-๓๘๙๗๔๖๔ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน เทศบาลตำบลห้วยมีหลักการดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อโดยชุมชนท้องถิ่น ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็น องค์กรพัฒนาคุณภาพชีวิต แหล่งผลิตข้าวพันธุ์ดีสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของ ๔ องค์กรหลัก ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน/องค์กร และประชาชน นำใช้ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ในการ วิเคราะห์สถานการณ์และข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) วิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ในเทศบาลตำบลห้วย มีจำนวน ๑๓ หมู่บ้าน จำนวน ๑,๙๐๘ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวน ๖,๙๖๑ คน ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน ๑๓ คน ผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูง(คนที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ) จำนวน ๔๕ คน ผู้ที่สัมผัสเสี่ยงต่ำ (คนที่ใกล้ชิดผู้เสี่ยงสูง) จำนวน ๑๙๕ คน ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง จำนวน ๑๗ คน ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน ๑๘ คน ผู้ที่ต้องกักตัว ๑๔ วัน จำนวน ๕๐ วัน ผู้สูงอายุ๖๐ ปีขึ้น ไป จำนวน ๑,๒๐๔ คน ผู้ป่วยเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ฯลฯ) จำนวน ๑,๐๖๘ คน ทุนทาง สังคมที่มีศักยภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ เทศบาล ตำบลห้วย อสม. จำนวน ๑๖๐ คน คณะกรรมการควบคุมโรคในพื้นที่ จำนวน ๕๐ คน รพ.สต. ๒ แห่ง ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) จำนวน ๗ แห่ง มีเส้นทางการดำเนินงาน ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เทศบาลตำบล ห้วย ได้วางแผนการดำเนินงานร่วมกับ ท้องที่ และหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อหางบประมาณมาดำเนินการ ประกอบด้วย งบประมาณของเทศบาล กองทุน สปสช. และจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งงบประมาณที่มียังไม่ เพียงพอต่อการป้องกันและควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ จึงได้ขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. ในช่วง เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ มาดำเนินงาน จึงขออนุมัติปรับปรุงแผนเตรียมการและขอ งบประมาณดำเนินการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. ๒๕๖๔-ปัจจุบัน เทศบาลตำบลห้วยพบกลุ่มเสี่ยงที่ต้องแยกกักตัวเพื่อสังเกตอาการ จึงจัดตั้ง สถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) จำนวน ๑ แห่ง ที่มีความสามารถในการรองรับผู้ถูกกักกันได้เพื่อช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่า ด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ประชากรทั้ง ๑๓ หมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลห้วย ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ ลดการติดเชื้อและการแพร่ระบาดในพื้นที่ ๓.๒ ลดความซ้ำซ้อน ทุกหน่วยงานในพื้นที่บูรณาการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ๓.๓ ลดความเหลื่อมล้ำ ดูแลทุกกลุ่มวัย ๓.๔ ลดความขัดแย้งของคนในชุมชน กรณีมีผู้ติดเชื้อเดินทางเข้ามาในพื้นที่ ๓.๕ สร้างความสามัคคีในชุมชน ในการสานพลังความร่วมมือของคนทุกกลุ่มวัย ๓.๖ สร้างความเชื่อมั่นในตัวผู้นำในการนำพาชุมชนให้ผ่านพ้นสถานการณ์ต่าง ๆ ๓.๗ สร้างชุมชนจัดการตนเองสนับสนุนให้คนในชมชนออกมาร่วมกันจัดการสถานการณ์ ๓.๘ สร้างชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูล ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มวัยสานพลัง สร้างธารน้ำใจช่วยเหลือกัน


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๘ ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) เกี่ยวกับข้อมูลประชากร กลุ่มเสี่ยงในชุมชน ข้อมูลการวิจัย ชุมชน (RECAP) เกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ดำเนินการ ๔.๒ ข้อมูลผู้ติดเชื้อ และกลุ่มเสี่ยง สถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ ๔.๓ แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาตำบล ๔.๔ งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนัก ๓ ๕. รูปธรรมงาน บริหารจัดการโควิดภายใต้แนวคิด ๔ ลด ๔ สร้าง ๕.๑ รูปธรรมงาน ๔ ลด ประกอบด้วย ๑) ลดการแพร่ระบาด มีการประชาคมทำความเข้าใจกับคนในชุมชนเพื่อลดอัตราการแพร่ระบาด และให้ทุกหมู่บ้านเน้นย้ำมาตรการ DHMTTA สื่อสารผ่านช่องทางหอกระจายข่าว อีกทั้งลงพื้นที่เคาะประตู บ้านบอกมาตรการ สร้างเกราะป้องกันตนเอง สร้างความมั่นใจให้ทุกกลุ่มวัย เข้ารับการฉีดวัคซีน และสวม หน้ากากอนามัย ใส่ใจล้างมือบ่อย ๆ รวมถึงการจัดการขยะติดเชื้อ จัดหาถังขยะให้พร้อมทั้งติดตั้งเตาเผาขยะ ติดเชื้อและถังรักษ์โลกสำหรับใส่เศษอาหารกลุ่มเสี่ยงที่เข้ากักตัว ๒) ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ประสานงานกับทุกองค์กรในพื้นที่ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการ ทำงาน บูรณาการในทุกด้าน จัดสรรงบประมาณจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด ได้แก่ งบประมาณจากเทศบาล งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล งบประมาณจากหมู่บ้าน งบประมาณจาก รพ.สต. มา ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ จัดหาวัสดุอุปกรณ์สร้างสถานที่กักตัว และพักรักษาตัว จัดการระดมทุน และ ระดมแรง ในการเบิ่งแงงดูแลกัน ๓) ลดความขัดแย้งในชุมชน ในช่วงที่มีการเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง กลับมายังภูมิลำเนาช่วงแรก ประชาชนในพื้นที่มีความวิตก กังวลใจ กลัวติดเชื้อจากคนที่เดินทางกลับเข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้เกิดกระแส ต่อต้าน ไม่ให้คนที่เดินทางกลับมาภูมิลำเนา เข้ามาในหมู่บ้านตนเอง คณะทำงานได้ร่วมกันลงพื้นที่ชี้แจง สร้างความเข้าใจ เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับคนที่เดินทางกลับภูมิลำเนามา และสร้างความปลอดภัยให้กับคน ในชุมชน ลดความขัดแย้ง สร้างการยอมรับ และลดกระแสต่อต้านได้อย่างรวดเร็ว ๔) ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ ในการเดินทางเข้ามาภูมิลำเนาของกลุ่มเสี่ยง จะต้อง เข้ากักตัว ๑๔ วัน คณะทำงานได้มีมติร่วมกันในการดูแลจัดหาอาหาร น้ำดื่ม สถานที่กักตัวให้กับทุกคน แม้ว่า บุคคลนั้นจะไม่มีชื่ออาศัยในพื้นที่ตำบลห้วยก็ตาม อีกทั้งประสานชุด CCRT ออกหน่วยเคลื่อนที่ค้นหาผู้สัมผัส เสี่ยงสูงในชุมชน ลดความแออัด และทุกคนสามารถเข้าถึงบริการ ๕.๒ รูปธรรม ๔ สร้าง ประกอบด้วย ๑) สร้างความสามัคคีในชุมชน เมื่อทุกคนมีความเข้าใจในการป้องกันและการปฏิบัติตัวได้อย่าง ปลอดภัย เกิดความร่วมแรง ร่วมใจ ของคนในชุมชน เข้ามาร่วมจัดการสถานการณ์โควิดเพิ่มขึ้น อสม. มีความ กล้าและมั่นใจในการเข้าไปสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเสี่ยง และเป็นแกนนำ อาสาลงแรงร่วมกับผู้นำและ หน่วยงาน สร้างสถานที่พักรักษาตัวระดับชุมชน หรือ CI จิตอาสา เข้าเวรบริการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ตลอดระยะเวลาที่มีผู้เข้ามาพักรักษาตัว จนส่งตัวกลับสู่ชุมชน ๒) สร้างความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ โดยนำหลักผู้นำต้องมาก่อน เริ่มจากการเข้ารับวัคซีนครบ 2 เข็ม ซึ่งผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ส่วนราชการ รวมถึงข้าราชการ หน่วยงานในภาครัฐ ได้รับวัคซีนครบทุกคน และ โรงเรียนได้คัดกรอง ATK ให้กับบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเป็นประจำทุกเดือน เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้ปกครอง แสดงออกถึงความห่วงใย อีกทั้งได้ลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน เชิญชวน ถามไถ่ ให้กำลังใจ และ ฉีดวัคซีนให้กับทุกคน ทุกพื้นที่


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๓๙ ๓) สร้างชุมชนจัดการตนเอง ในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิดในพื้นที่ทุกฝ่ายได้ออกแบบ ร่วมกันเชื่อมประสานการทำงานในทุกด้าน สร้างกระบวนการให้ประชาชน และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามี ส่วนร่วมในการดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ตั้งแต่การระดมแรง สร้างศูนย์พักคอย ระดม เงินจัดหาอาหาร และน้ำดื่มให้กับผู้กักตัวและพักรักษาตัว ร่วมกันตรวจตราเข้าเวรยามอย่างเข้มแข็ง ช่วยกัน ดูแล เบิ่งแงง คนในชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน ๔) สร้างชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูล ทุกหมู่บ้านได้วางแผนเตรียมการ โดยหลัก บวร ผู้นำของ หมู่บ้าน ร่วมประสานกับ อสม. เพื่อสานต่อ วัด บ้าน โรงเรียน ในการจัดหาระดมทุน จัดหาอาหาร น้ำดื่ม ส่ง มอบให้กับผู้กักตัว ตลอดระยะเวลาที่เข้าพักทุกหมู่บ้าน ร่วมกับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด หนุน เสริมวัสดุอุปกรณ์ป้องกันฯ ต่อบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินงาน ๖.๒ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิดในพื้นที่ ที่เทศบาลตำบล ห้วย ๑ แห่ง เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการวางแผนงานปฏิบัติการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมี ประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์สร้างความมั่นใจในชุมชนทั้ง ๑๓ หมู่บ้าน ๖.๓ จัดเตรียมสถานที่ศูนย์พักคอยประจำตำบล และดำเนินการในศูนย์พักคอย ๖.๔ ติดตั้งเตาขยะติดเชื้อ จำนวน ๑๑ ชุด กระจายทั่วทั้งตำบลห้วย พร้อมจัดหาถังรักษ์โลกสำหรับใส่ เศษอาหารผู้กักตัว จำนวน ๒๐ ถัง ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ ผู้ติดเชื้อในชุมชนลดลง สามารถควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้ ๗.๒ เกิดความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันดูแลตนเองอย่างถูกวิธี ๗.๓ เกิดความตื่นตัว แต่ไม่ตื่นตระหนก ๗.๔ เกิดความรัก ความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของโรค ๒) สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ ๓) กลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ติดเชื้อและประชาชนมีความรู้และสามารถวิธีป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการแบ่งปันอาหารภายในชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ สนับสนุนการสร้างอาชีพ การให้ความรู้การรวมกลุ่มช่วยเหลือกันสร้างอาชีพ สร้างรายได้สำหรับคนตกงาน ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม มีสถานที่กักกันเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วย และมีการกำจัดขยะติดเชื้อ ถูกวิธี ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ตำบลห้วย ต้องเข้ารับวัคซีนแล้ว เพื่อป้องกันและสร้างภูมิ ให้กับร่างกาย ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตวิถีใหม่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๕) ด้านการเมืองการปกครอง การมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานกับชุมชน และกำหนดกติกา ข้อตกลงของชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๐ Key Actors เทศบาลตำบลหนองข่า งานเด่น การสร้างเครือข่าย การช่วยเหลือเกื้อกูล หนองข่าฮักแพงแบ่งปัน พื้นที่ เทศบาลตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิทยากร นางสาวฐิตาชญา โสมรักษ์ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ สำนักปลัดเทศบาลตำบล หนองข่า เบอร์โทรศัพท์๐๘๔-๙๖๒๒๖๘๙ ๑. ที่มาหรือฐานคิดของการดำเนินงาน ในปีพ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ตำบลหนองข่าได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เดินทาง กลับมาจากทำงานต่างจังหวัดและไม่มีสถานที่กักตัว คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวติระดับตำบลหนองข่า จึงได้มีการประชุมและปรึกษาหารือร่วมกันในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนัก สนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) พิจารณาเห็นถึงความจำเป็นที ่จะต้องเตรียมการรับมืออย ่างมี ประสิทธิภาพต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการปรับแผนปฏิบัติการของโครงการที่ได้รับ การสนับสนุนจาก สสส. ให้ใช้ทุนทางสังคมในชุมชนท้องถิ ่นเข้ามามีส ่วนร ่วมในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง อาศัยอำนาจตามมาตรา ๕๐ (๔) แห่ง พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๕๔๖ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๙ (๑๖) แห่งพระราชบัญญัติกำหนด แผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ศ.๒๕๖๕ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รุนแรงขึ้น คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลหนองข่าจัดให้มีการณรณรงค์ให้ประชาชนในตำบลหนองข่าได้รับวัคซีน ให้ได้ เป้าหมาย ร้อยละ ๑๐๐ ๒. กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๒.๑ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวน ๘ คน ๒.๒ จำนวนผู้สัมผัส จำนวน ๔๒๐ คน ๒.๓ จำนวนผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน ๖๑๐ คน ๒.๔ จำนวนผู้ที่กักตัว Home Isolation จำนวน ๑๗๐ คน ๒.๕ จำนวนกลุ่มที่กักตัวใน Community Isolation จำนวน ๒๔๐ คน ๓. ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ๓.๑ สร้างพลังเครือข่ายตำบลหนองข่าช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ๓.๒ จัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) จำนวน ๑ แห่ง ที่มีความสามารถในการรองรับผู้ถูกกักกันได้จำนวน ๒๐ คน ๓.๓ มีการจัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(Local Quarantine) เทศบาลตำบลหนองข่า สำหรับการเฝ้าสังเกตอาการผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ๓.๔ มีการจัดหา วัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา วัสดุทางการแพทย์และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการ จัดสถานที่ ตลอดจนสาธารณูปโภค ที่ใช้ในการดำเนินการภายในสถานที่กักกันตัว ๓.๕ ช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตาม อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๓.๖ จัดสวัสดิการสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกัน ๔. ข้อมูลและเครื่องมือในการดำเนินงาน ๔.๑ ข้อมูล สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย โดยข้อมูล จากการรายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ๔.๒ ฐานข้อมูลระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP)


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๑ ๔.๓ ข้อมูล จปฐ. กชช.๒ค และทะเบียนราษฎร์ ๕. รูปธรรมงาน ๔.๑ สนับสนุนการจัดการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคของพื้นที่ จำนวน ๖๐ คน ๔.๒ สนับสนุนการลงพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยง/ความพร้อมในการรับมือโรคติดต่อ จำนวน ๗๕ คน ๔.๓ จัดทำข้อมูลคนเข้าออกในพื้นที่อำเภอ จังหวัด (สีแดงเข้ม สีแดง สีน้ำตาล และสีเหลือง) (รพ.สต./ เทศบาล) ๔.๔ ดำเนินงานตามข้อมูลและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์กลุ่มเสี่ยง ผู้สัมผัส และผู้ เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง ๔.๕ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปราชญ์สมุนไพรเพื่อขยับยั้งการติดเชื้อ (ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรชุมชน) ชุมชน ๙ หมู่บ้าน เทศบาล รพ.สต.หนองข่า และรพ.สต.หนองไฮ ได้แก่ ๑) นายสุวรรณ ขจัดมลทิน ปราชญ์หมอยา สมุนไพร และ ๒) นางทัศนีย์ วงศ์จันทร์นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.หนองไฮน้อย ๔.๖ พลังเครือข่าย เทศบาลตำบลหนองข่า ชุมชน จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๖. วิธีการดำเนินงาน ๖.๑ ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน ติดตามการดำเนินงาน ๖.๒ จัดเตรียมสถานที่ ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตำบลหนองข่าและศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริม อาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองข่า จำนวน ๒ อาคาร แยกชาย-หญิง ๖.๓ จัดหา วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ เวชภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งอาหารและน้ำดื่ม เพื่อนำมาใช้ในการ ปฏิบัติงานของศูนย์กักกันฯ และวัสดุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ถูกกักกันฯ โดยปฏิบัติตาม หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยและหนังสือวิธีการปฏิบัติจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๖.๔ จัดแบ่งภารกิจเพื่อบริหารจัดการในบริเวณสถานที่ควบคุม (Quarantine Area) ๑) ภารกิจด้านอำนวยการ รับผิดชอบการลงทะเบียนและงานธุรการ การสื่อสารภายในพื้นที่ ควบคุม ดูแลองค์ประกอบการใช้ชีวิตต่าง ๆ การบังคับใช้กฎหมาย การดูแลด้านอาหาร อุปโภคและบริโภค รวมถึงการพัสดุและการบัญชี ๒) ภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของศูนย์กักกัน ตลอดจนการเข้าออกสถานที่กักกัน ๓) ภารกิจด้านการควบคุมและป้องกันโรค รับผิดชอบการป้องกันและควบคุมโรค ๔) ภารกิจด้านการรักษาพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รับผิดชอบการดูแลรักษาพยาบาล การเจ็บป่วยทั่วไป การคัดกรอง การตรวจสอบอาการประจำวัน พร้อมทั้งการจัดหาอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ใช้ ประกอบในการรักษาพยาบาล การประสานโรงพยาบาลในการเคลื่อนย้ายนำส่งผู้ป่วย ๕) ภารกิจด้านการจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบด้านสุขาภิบาลและ อนามัยสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด การจัดการขยะ การจัดการแมลงนำโรค . ๖) ภารกิจด้านการให้คำปรึกษา เพื่อให้คำปรึกษาทั่วไปกับผู้ถูกกักกันในระหว่างการพักอยู่สถานที่ กักกันซึ่งอาจจะเกิดความเครียด ความกังวล หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ๖.๕ องค์ประกอบทางกายภาพของสถานที่ควบคุม (Quarantine area) ควรต้องคำนึงถึง ดังนี้๑) ห้องนอน ให้มีทางเลือกที่หลากหลาย แบบเดี่ยว แบบรวม ๒) ห้องน้ำ ทั้งแบบห้องน้ำแยกในห้องนอน หรือ ห้องน้ำรวม ๓) ครัว หรือ พื้นที่ประกอบอาหารหรือแจกจ่ายอาหาร ๔) พื้นที่ในการจัดการขยะ ๕)พื้นที่ เหมาะสมกับการรักษาความปลอดภัย ๖) พื้นที่ปฐมพยาบาล ๗) พื้นที่ธุรการและ การประชุม และ ๘) พื้นที่ใน การจัดกิจกรรมอเนกประสงค์ ๖.๖ กำหนดระเบียบปฏิบัติการอยู่ในสถานที่กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Quarantine) ๑) ห้ามออกนอกสถานที่ที่กำหนดไว้หากมีความจำเป็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงาน ๒) ห้ามบ้วนน้ำลาย สมหะ สั่งน้ำมูก ลงบนพื้น ๓) ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ณ จุดที่กำหนดไว้ทุกวัน ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบมือถือ


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๒ ๔) เมื่อมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ไข้ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอให้โทร แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลในพื้นที่ทันที่ล้างมือฟอกสบู่หรือ Alcohol gel ทุกครั้งหลังไอจาม ก่อน รับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ๕) ซักล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าเองทุกวัน หรือนำเสื้อผ้ามาใส่ถังที่จัดไว้หน้าห้องเพื่อส่งให้ เจ้าหน้าที่ซักล้างต่อไป (แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่แยกกักในการบริหารจัดการ) ๖) ทิ้งขยะมูลฝอยในถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ให้หน้าห้อง ๗) ถ้ามีความประสงค์ให้ญาติมาเยี่ยมโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงาน ๘) ทำความสะอาดภายในห้องพักด้วยตนเอง และนำขยะมูลฝอยทิ้งในถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ให้ ๖.๗ กำหนดข้อปฏิบัติ / กติกาของชุมชน /ธรรมนูญตำบล ๖.๘ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนทุกคน ๗. ผลที่เกิดขึ้น (ผลผลิต ผลลัพธ์) ๗.๑ เทศบาลตำบลหนองข่ามีสถานที่กักกันประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อสังเกตการเริ่ม ป่วย (Local Quarantine) ๗.๒ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ในด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรค ๗.๓ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในสถานการณ์การแพร่ระบาด ๗.๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกันได้รับสวัสดิการในการปฏิบัติงาน ๗.๕ ผู้ติดเชื้อ จำนวน ๘ คน ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ๗.๖ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำนวน ๔๒๐ คน ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังควบคุมโรค ๘. ผลกระทบที่เกิดขึ้น ๘.๑ ผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑) ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองข่าทุกครัวเรือนได้รับความรู้ในการป้องกัน โรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 และเข้ารับวัคซีนเข็มที่ ๑ และ ๒ ร้อยละ ๑๐๐ ๒) สร้างความตระหนักให้กับประชาชนในชุมชนมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และปลอดภัยห่างไกลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ๓) ช่วงระยะเวลาดำเนินโครงการ ได้มีประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองข่า กลับภูมิลำเนาซึ่ง มาจากจังหวัดกลุ่มเสี่ยง ได้รับการดูแล ดังนี้๑) กักตัวในบ้าน ๑๔ วัน ๒) เว้นระยะห่างจากทุกคน ๑-๒ เมตร (ป้องกันละอองฝอยที่อาจมาจากลมหายใจ หรือติดอยู่ตามเสื้อผ้า ไม่ให้สัมผัสกัน) ๓) อสม.เข้าวัดอุณหภูมิ ร่างกายทุกวัน ๔) แนะนำดูแลสุขอนามัยตัวเอง ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ทั้งการล้างมือ ปิดปากด้วย หน้ากากผ้าหากไม่ป่วยล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล แยกการใช้ช้อนส้อม ก็ช่วยลดการแพร่เชื้อได้มีผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าของตัวเอง ซักและตากแดดจัดๆ เพื่อฆ่าเชื้อ ๕) แนะนำแยกห้องนอนเมื่ออยู่กับผู้อื่นในบ้านก็ควร แยกห้องนอนเป็นสัดส่วน รวมถึงแยกกันเก็บเสื้อผ้า และของใช้ส่วนตัว ไม่ให้ปะปนกัน รวมไปถึงควรแยกใช้ จาน ชาม ช้อน ส้อม หลอดดูดน้ำ แก้วน้ำ และแยกฟองน้ำที่ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ และ ๖) แยก ขยะของตัวเองทุกขยะที่มาจากการใช้งานส่วนตัว ให้แยกทิ้งคนละถุง ซึ่งขยะที่สามารถติดเชื้อได้เช่น กระดาษ ชำระ กระดาษซับมัน ที่ผ่านการสัมผัสน้ำมูกน้ำลายให้แยกทิ้งไว้อีกถุงหนึ่ง ส่วนขวดหรือถุงพลาสติกทั่วไป แยกทิ้งไว้อีกถุง และทำความสะอาดถังขยะด้วยการราดน้ำยาฟอกขาวเพื่อฆ่าเชื้อ (อสม. จะแจ้งให้ โรงพยาบาลรับขยะติดเชื้อเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธี)


บทเรียนนวัตกรรมลดปัจจัยเสี่ยง...และการจัดการความรู้ ๑๔๓ ๘.๒ ผลกระทบต่อโครงสร้าง ๕ ด้าน ๑) ด้านสังคม การสร้างเครือข่าย การช่วยเหลือเกื้อกูล หนองข่าฮักแพงแบ่งปัน จำนวน ๙ หมู่บ้าน ๒) ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ชุมชนมีการเยียวยาและการสร้าง อาชีพสร้างรายได้ในรูปแบบตลาดออนไลน์ยกระดับการจัดการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบ เศรษฐกิจชุมชน(ศูนย์เรียนรู้กลุ่มผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย) ๓) ด้านสภาวะแวดล้อม ส่งเสริมในรูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะ ปรับปรุงภูมิ ทัศน์ศพด. จำนวน ๔ แห่ง โรงเรียน จำนวน ๓ แห่ง วัดในเขตพื้นที่ตำบลหนองข่า ๔) ด้านสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองข่า มีความตื่นตัวเข้ารับบริการฉีดวัคซีน เพื่อ ป้องกันและสร้างภูมิให้กับร่างกาย อาสาสมัครในการพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการปรับตัวและตั้งรับ ๕) ด้านการเมืองการปกครอง ผู้นำชุมชน มีการกำหนดมาตราการในการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่อย่างเข้มงวด


Click to View FlipBook Version