The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนสังคมทั้งในชนบทและเมืองมาอย่างต่อเนื่องกว่าสองทศวรรษ ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง เป็นตัวอย่างต้นแบบการพัฒนา กระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศจ านวนมาก ประกอบกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ได้พัฒนาตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง และกำหนดนิยามความหมายนวัตกรรมชุมชนขึ้นและใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเองขององค์กรชุมชน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tewarat Thipaut, 2023-03-17 03:01:36

การถอดองค์ความรู้การพัฒนาตำบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชน ภาคอีสาน 10 ตำบล

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนสังคมทั้งในชนบทและเมืองมาอย่างต่อเนื่องกว่าสองทศวรรษ ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง เป็นตัวอย่างต้นแบบการพัฒนา กระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศจ านวนมาก ประกอบกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ได้พัฒนาตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง และกำหนดนิยามความหมายนวัตกรรมชุมชนขึ้นและใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเองขององค์กรชุมชน

48 ต่อเนื่องเพื่อยกระดับเป็น “หมู่บ้าน OTOP นวตัวิถี” และเป็น “ต าบล OTOP นวตัวิถี” เพื่อให้ ประชาชนตระหนักถึงคุณประโยชน์ของทุนเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ของตนเองในการน าทุนที่มีอยู่มาสร้าง ประโยชน์ สร้างชื่อเสียง สร้างรายได้และเล็งเห็นคุณค่าของทุนและท าการอนุรักษ์ไว้ท าให้ทุนนั้นคง อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนและต าบลมีความเข็มแข็ง พึ่งตนเองได้แม้ในยามที่ ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็จะสามารถด ารงอยู่ได้ด้วยทุนในชุมชนตนเอง 1.3 ก่อเกิดสภาองคกรชุมชนและ ์ การขับเคลื่อนงานพัฒนาต าบล สภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงถือเป็นกลไกหลักในการท างานเชื่อมโยงกับชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ ถือเป็น “สะพานเชื่อม” การท างานพัฒนาต าบลระหว่างภาคประชาชนและภาคราชการ ท้องถิ่น โดยเฉพาะเทศบาลต าบลบึงโขงหลง และส่วนราชการทั้งในระดับอ าเภอและระดับจังหวัด สภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงมีเป้าหมายการพัฒนาต าบลโดยมุ่งสู่การสร้างความ เข้มแข็งของต าบลและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนร่วมกัน โดยก าหนดวิสัยทัศน์การพัฒนา ต าบล คือ “เศรษฐกิจดีชีวีเข้มแขง ็ พฒันาแหล่งเรียนรู้เคียงค่วูฒันธรรมท้องถิ่นอย่างยงั่ยืน ชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาแบบบูรณาการ”ภายใต้เป้าหมายและวิสัยทัศน์ข้างต้น สภาองค์กรชุมชน ต าบลมีการวิเคราะห์ร่วมกันว่าการพัฒนาต้องเริ่มจากการท าแผนพัฒนาชุมชนหมู่บ้านและ แผนพัฒนาต าบล เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาซึ่งจะ น าไปสู่การพัฒนาที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยมีกระบวนการดังนี้ 1. วิเคราะห์ศกัยภาพชุมชนและต าบล เป็นกระบวนการหารือระหว่างกลุ่ม องค์กรชุมชน แกนน าสภาองค์กรชุมชนต าบล ผู้น าท้องถิ่นและผู้น าท้องที่ เพื่อสร้างความเข้าใจแนว ทางการด าเนินงานภายในต าบล แบ่งบทบาทหน้าที่ในการท างานและก าหนดวิธีการท าแผนพัฒนา ต าบล โดยวิเคราะห์ศักยภาพต าบลทุกมิติด้วยเครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค เพื่อให้มีระบบข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมใช้และน า ข้อมูลจากการวิเคราะห์สู่การจัดท าแผนพัฒนาต าบลต่อไป ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ศักยภาพต าบลบึงโขงหลง จุดแข็ง (Strength: S) จุดอ่อน (Weakness: W) มีปราชญ์ผู้รู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย มิติในหมู่บ้าน เช่น หมอพื้นบ้าน งานฝืมือ โหราศาสตร์ ฯลฯ ภาระหนี้สิ้นครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้านค่อนข้าง สูง ทั้งในภาคเกษตรและค่าใช้จ่ายภายใน ครัวเรือน ครัวเรือนมีหนี้สินนอกระบบและหนี้กับบริษัท ธุรกิจด้านการเงินในระดับสูง


49 จุดแข็ง (Strength: S) จุดอ่อน (Weakness: W) มีกลุ่ม/องค์กรชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน และกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งกระจายใน ทุกหมู่บ้าน มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ ละหมู่บ้าน โดยเฉพาะแหล่งน ้าที่เป็นทั้งบึงขนาด ใหญ่ และล าห้วยหรือพื้นที่กักเก็บน ้าท้องถิ่น มีแหล่งอาหารตามธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์จากการมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ สมบูรณ์ มีพื้นที่ชุ่มน ้าโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนระดับโลก เป็นพื้นที่เชิงศรัทธา (ปู่ อือลือ) รวมถึงศาสน สถานที่เป็นที่เคารพบูชาและเป็นศูนย์รวมของ ชุมชน ประชาชนยังขาดความรู้ความสามารถในการเพิ่ม มูลค่าวัตถุที่เป็นผลผลิตในท้องถิ่นและลดต้นทุน การผลิต เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ค่อนข้างสูง ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการ ท างานร่วมกันเป็นทีม งบประมาณช่วยเหลือพื้นที่ที่เดือดร้อนยังมีน้อย/ จ ากัด ไม่เพียงพอกับความต้องการ ประชาชนไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ โอกาส (Opportunity: O) อุปสรรค (Treat: T) ส่วนกลางมีการจัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่น เพิ่มขึ้น ประชาชนในพื้นที่มีความสนใจและกระตือลือร้น กับการบริหารงานท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ครัวเรือนส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้แก่ สมาชิกในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น มีโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การมีส่วนร่วมและความร่วมมือของประชาชนใน การประชาคมต่าง ๆ ไม่ถึงร้อยละ 50 ของคนใน ชุมชน มีการเลียนแบบวัฒนธรรมของสังคมตะวันตก ท า ให้วิถีชีวิตที่ดีของสังคมหมู่บ้านเปลี่ยนแปลง ประชาชนขาดองค์ความรู้เทคนิคในการเพิ่มมูลค่า การผลิตและลดต้นทุนการผลิต บางกลุ่มชุมชนไม่เข้มแข็งและไม่มีกิจกรรม ต่อเนื่อง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต ่า ที่มา: รายงานผลการด าเนินงานของสภาองค์กรชุมชนเทศบาลต าบลบึงโขงหลง อ าเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ (2564) 2. ส่งเสริมพื้นที่กลางเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉพาะประเด็น เป็นการ จัดเวทีในรูปแบบการประชุม สัมมนาหรือเสวนา เพื่อให้ตัวแทนชุมชนรวมถึงผู้น าชุมชนสะท้อน มุมมอง ทุนและศักยภาพของพื้นที่ตนเอง รวมทั้งระดมปัญหาและแนวทางการพัฒนาที่ต้องการเพื่อ ออกแบบแผนการพัฒนาร่วมกัน


50 3. ส ารวจข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาความต้องการของชุมชน และจัดท า ฐานข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน โดยเป็นกระบวนการท างานร่วมกับเทศบาลต าบลบึงโขงหลง มี วัตถุประสงค์เพื่อสรุปข้อมูลจากการวิเคราะห์ศักยภาพต าบลและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อ น ามาใช้เป็นข้อมูลของต าบลและน ามาประกอบในการจัดท าแผนพัฒนาต าบล เช่น ประวัติต าบล ข้อมูลสภาพทั่วไป จ านวนครัวเรือนและประชากร กลุ่มองค์กรชุมชนในต าบล ปัญหาและความ ต้องการพัฒนาของชุมชน รวมทั้งจัดท าฐานข้อมูลปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนและต าบลเพื่อ น ามาใช้ประกอบในการวิเคราะห์และพิจารณาร่วมกัน 4. จัดท าแผนยุทธศาสตร์พัฒนาต าบลร่วมกับภาคีการพัฒนาแบบมี ส่วนร่วม เป็นกระบวนการจัดเวทีในการจัดท าแผนพัฒนาต าบลอย่างมีส่วนร่วมของประชาชน โดย มีชาวบ้าน กลุ่ม องค์กรชุมชน หน่วยงานภาคีมาร่วมกันจัดท าแผนพัฒนาต าบลบึงโขงหลงทุกมิติ โดยน าข้อมูลจากการวิเคราะห์ทุน ศักยภาพในชุมชนและต าบล ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากแผนพัฒนา ชุมชนจากทุกหมู่บ้านที่ผ่านการประชาคมของผู้น าและชาวบ้านให้มีการเสนอปัญหาและแนว ทางแก้ไขที่มาจากความต้องการพัฒนาของทุกหมู่บ้าน 5. การจัดท าแผนพัฒนาต าบล โดยแนวทางที่ส าคัญในการจัดท า แผนพัฒนาต าบล คือ เพื่อให้เห็นถึงความส าคัญของการจัดท าแผนพัฒนาในระดับหมู่บ้าน ต าบล ที่ เกิดมาจากทุกคนในต าบลได้มีส่วนร่วม คือ ความต้องการของชาวบ้าน ชุมชนและหน่วยงานภาคี โดยมีการก าหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนและต าบล อย่างยั่งยืน จึงก าหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ขับเคลื่อนงานพัฒนาต าบลเฉพาะด้านและมีตัวชี้วัดใน แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561 - 2565) โดยถูกบรรจุในยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นด้าน การเกษตรและการพัฒนาคุณภาพชีวิต แผนงานที่ 2.4 งานสังคมสงเคราะห์ทั้งนี้ ความส าเร็จของ การจัดท าแผนพัฒนาต าบล คือ ความสามารถของสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงในการมีส่วน ร่วมและผลักดันประเด็นการพัฒนาอย่างน้อย 2 โครงการ คือ 1) โครงการบ้านมั่นคงชนบทเพื่อสร้าง ซ่อมบ้านผู้ด้อยโอกาส และ 2) โครงการท่องเที่ยวชุมชนและพัฒนากลุ่มอาชีพสินค้าการท่องเที่ยว 1.4 ภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพื้นที่ กระบวนการขับเคลื่อนงานพัฒนาต าบลไม่ได้ด าเนินการเพียงสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขง หลงเท่านั้น กล่าวคือ มีภาคีร่วมพัฒนาต าบลตั้งแต่กระบวนการจัดท าข้อมูล การวิเคราะห์ การจัดท า แผนพัฒนาต าบลบึงโขงหลง คณะท างานสภาองค์กรชุมชนเทศบาลต าบลบึงโขงมีการประสานภาคี การพัฒนาเข้าร่วมตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นตอนกระบวนการด าเนินงานและรับผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ส านักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนองค์กร


51 ชุมชนจังหวัดบึงกาฬ เทศบาลต าบลบึงโขงหลง ส านักงานพัฒนาชุมชนอ าเภอบึงโขงหลง ส านักงาน เกษตรอ าเภอบึงโขงหลง ส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบึงกาฬ ส านักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ภาคีการพัฒนา เหล่านี้มีส่วนในการออกแบบกระบวนการจัดท าแผนพัฒนาต าบลร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตาม บริบทของพื้นที่ และหนุนเสริมให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยใช้กลไกสภาองค์กรชุมชนต าบลเป็นกลไก กลางในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการท างานร่วมกัน และเชื่อมโยงคนในต าบล กลุ่มองค์กร ชุมชนต่าง ๆ และประสานงานหน่วยงานหรือองค์กรให้มีการบูรณาการการท างานร่วมกัน โดย ลักษณะความร่วมมือของภาคีเครือข่ายการพัฒนา ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ภาคีเครือข่าย ลักษณะความร่วมมือ 1. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สนับสนุนงบประมาณและการจัดการความรู้จากการ จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ สนับสนุนงบประมาณ ด าเนินงานโครงการบ้านพอเพียงชนบท เป็นต้น 2. ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบึงกาฬ สนับสนุนการท างานและการจัดกระบวนการเรียนรู้ 3. เทศบาลต าบลบึงโขงหลง สนับสนุนเรื่องอาคารสถานที่ในการประชุมและ ฝึกอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนบุคลากร เจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมหรืออ านวยความสะดวก 4. ส านักงานพัฒนาชุมชนอ าเภอบึงโขงหลง สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มในชุมชนและการอบรมให้ ความรู้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และส่งเสริมให้เกิด เป็ นสินค้า OTOP ของต าบล จัดหางบประมาณ สนับสนุนและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์กระบวนการ ฝึกอบรม 5. ส านักงานเกษตรอ าเภอบึงโขงหลง สนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอาชีพทางการ เกษตรทั้งการอบรมให้ความรู้และการเข้าถึง ทรัพยากรการผลิต 6. ส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดบึงกาฬ สนับสนุนโครงการเสริมทักษะชีวิต และโครงการให้ ความรู้ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การคุ้มครองเด็กและการคุ้มครองผู้ถูกกระท าความ รุนแรงในครอบครัว


52 ภาคีเครือข่าย ลักษณะความร่วมมือ 7. ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส านัก 3 ส านักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน) สนับสนุนข้อมูลงานวิจัยชุมชนในเขตเทศบาลต าบล บึงโขงหลงและสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 8. กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม สนับสนุนและส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ กองทุนสวัสดิการชุมชน การบริหารจัดการและการ จัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม ที่มา: รายงานผลการด าเนินงานของสภาองค์กรชุมชนเทศบาลต าบลบึงโขงหลง อ าเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ (2564) 2. การส่งเสริมและสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 2.1 ส่งเสริมแนวคิดและกระบวนการพัฒนาสู่การเป็นต าบลเข้มแข็ง จากการศึกษามิติ “การเรียนรู้ชุมชนผ่านการพัฒนาระบบข้อมูลโดยเครือข่ายร่วม สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่” ของคณะท างานสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงร่วมกับเทศบาล ต าบลบึงโขงหลง ภายใต้การสนับสนุนของส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส านัก 3 ส านักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ซึ่งประกอบด้วยชุดข้อมูล 4 ชุด ได้แก่ 1) ชุดข้อมูลพื้นฐาน 7 ด้าน 2) ชุดข้อมูลวิเคราะห์ 3) ชุดข้อมูลการจัดการ 4) ชุดข้อมูลผลลัพธ์ ข้อสรุปส าคัญ คือ ชุมชน ในเขตเทศบาลต าบลบึงโขงหลงมีทุนและศักยภาพหลายด้าน อาทิ กลุ่มอาชีพหลากหลายและ กระจายอยู่ทั่วทุกชุมชน หมู่บ้าน OTOP นวัตวิถีวัฒนธรรมพื้นถิ่น นอกจากนี้แผนงานการขับเคลื่อนงานของสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงยังให้ ความส าคัญต่อแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจของต าบลเพื่อให้เกิดอาชีพและเพิ่ม รายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่เดือดร้อน เช่น ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นต้น เพื่อจะได้ท าแผนในการแก้ไขปัญหาร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยกระบวนการท างานที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นเรื่องการเรียนรู้การสร้าง อาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในต าบลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยชุมชนที่มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้โดยก าหนดเป้าหมายคุณภาพที่ชีวิตที่ยั่งยืนของคนในต าบล คือ


53 กระบวนการด าเนินงานใช้วิธีการเชื่อมโยงแผนพัฒนาต าบลร่วมกับหน่วยงานภาคีและ ขยายจ านวนสมาชิกกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่งให้ครอบคลุมทั้งต าบล ขยายตลาดให้รองรับผลิตภัณฑ์ให้สมาชิกจ าหน่ายสินค้าได้มากขึ้น พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ของชุมชนให้สวยงามเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ส่งเสริมและขยายผลหมู่บ้าน ท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และขยายผลไปเป็ นต าบลท่องเที่ยวโดยชุมชนจากการแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายและน่าสนใจ ซึ่งสามารถที่จะผลักดันให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวชุมชน ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในต าบลบึงโขงหลงได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นแนวคิดเรื่อง “การพึ่งตนเอง” โดยการส่งเสริมและขยายผลให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง อย่างยั่งยืน เช่น การปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคภายในครัวเรือน ขยายผลผักปลอดสารเคมีเพื่อ การจ าหน่ายและส่งออกเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการรักษาวัฒนธรรมของท้องถิ่น เนื่องจากต าบลบึง โขงหลงยังด ารงไว้ซึ่งบุญวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นไว้ได้อย่างต่อเนื่อง มีวัดและศาสนา สถานส าคัญหลายแหล่ง ซึ่งแผนงานข้างต้นจะมีการด าเนินงานต่อเนื่องโดยสภาองค์กรชุมชนต าบล บึงโขงหลงร่วมกับเทศบาลต าบลบึงโขงหลงและหน่วยงานสนับสนุนที่จะขับเคลื่อนและขยายผลให้ เกิดรูปธรรมในระยะยาวจากโอกาสที่มีในพื้นที่ กล่าวโดยสรุป จากโอกาสและความเป็นไปได้ของการพัฒนาพื้นที่ต าบลบึงโขงหลง สภา องค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงจึงมีการจัดท าแผนชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยมุ่งเน้นขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจชุมชนด้วยต้นทุนดังกล่าว คือ แผนพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ชุมชนกับท้องถิ่นและหน่วยงานตามโครงการท่องเที่ยวชุมชนและพัฒนากลุ่มอาชีพสินค้าท่องเที่ยว เป้าหมายการพัฒนาที่ย่งัยนื ของสภาองค์กรชุมชนต าบล “คนในต าบลได้เห็นทิศทาง การ ขับเคลื่อนงานแบบมีส่วนร่วม และมี แผนในการดูแลและแก้ไขปัญหา ร่วมกันได้อย่างเป็ นระบบ โดยความ ร่วมมือของหน่วยงานภาคีหลายภาค ส่วนทรี่่วมกันสร้างคุณภาพชีวิตของ คนในต าบลให้ประสบความส าเร็จ มี อาชีพทมี่ ่ันคงย่ังยืน มีคุณภาพชีวิตทดี่ี อยู่อย่างมีความสุขได้อย่างย่ังยืน” เป้าหมายการพัฒนาของสภาองค์กรชุมชนตำบลบึงโขงหลง


54 ร่วมกับส านักงานพัฒนาชุมชนอ าเภอและจังหวัด ซึ่งมีรูปธรรมของกิจกรรมและผลลัพธ์การท างาน ร่วมกัน 2.2 จุดเปลี่ยนและปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง จากศักยภาพของต าบลบึงโขงหลงที่มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งตามธรรมชาติและการส่งเสริมโดย หน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่นและส่วนราชการ ท าให้ในช่วงที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวจากทุกทั่ว สารทิศเดินทางเข้าในพื้นที่จ านวนมาก โดยเฉพาะในช่วงก่อนการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด ไวรัสโควิด 19 ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาและยกระดับสู่การเป็นท่องเที่ยวชุมชนได้ นอกจากนี้ ยังมี กิจกรรมกลุ่มองค์กรชุมชนทั้งกลุ่มอาชีพ องค์กรการเงินหรือองค์กรความร่วมมือ ซึ่งน ามาสู่แนวคิด และแนวทางการพัฒนาต าบล คือ “ท่องเที่ยวชุมชน บึงโขงหลง บึงแห่งวิถีชีวิต” โดยหาก วิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อนที่ท าให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสามารถวิเคราะห์ปัจจัยได้ 2 ส่วน คือ 1) ปัจจัยขับเคลื่อนภายในต าบล และ 2) ปัจจัยขับเคลื่อนภายนอกต าบล ดังนี้ 2.2.1 ปัจจัยขับเคลื่อนภายในต าบล 1. ต้นทุนเดิมด้านการท่องเที่ยวชุมชน เอกสารรายงานข้อมูลพื้นที่ ปฏิบัติการ พบว่า ต าบลบึงโขงหลงมีกลุ่มให้บริการการท่องเที่ยวชุมชนเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนหน้านี้ แล้ว โดยมีเครือข่ายสมาชิกที่พักโฮมสเตย์และบริการจัดการแบบแพ็กเกจทัวร์ให้กับนักท่องเที่ยว จ านวน 20 ครัวเรือน ครัวเรือนสมาชิกมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 100,000 – 500,000 บาทต่อปีดังนั้น หากมีการขับเคลื่อนต่อเนื่องจะสามารถช่วยยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนได้ไม่ยากมากนัก คือ มุ่งเน้นการต่อยอดและขยายผลจากต้นทุนเดิมที่มีแล้ว 2. ทรพัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการพฒันาแหล่ง ท่องเที่ยว ดังกล่าวในตอนต้นว่าต าบลบึงโขงหลงมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดม สมบูรณ์ซึ่งเหมาะส าหรับการพัฒนาและยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้หลากหลายรูปแบบทั้งการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงนิเวศ เชิงเกษตรหรือเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นตัวเลือกให้กับท่องเที่ยวที่มี ความชอบแตกต่างกันออกไปได้ ดังนี้


55 อุทยานแห่งชาติภูลังกา ภูลังกาเป็นเทือกเขาที่มี ลักษณะสวยงาม เป็นแหล่งสมุนไพร มีวัดและส านัก สงฆ์อยู่ชั้นบนสุด มีเกจิสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลายรูปเคยธุดงค์มาพ านัก อาทิ หลวงปู่ เสาร์ หลวงปู่ มั่น หลวงปู่ วัง เป็นต้น ปัจจุบันมีวัดธรรม เจดีย์อยู่หลังภูเขาและก าลังก่อสร้างบันไดขึ้นยอดภู ลังกาประมาณ 4,000 ขั้น ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ส าหรับนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมที่ชอบ ความท้าทาย การผจญภัยนักท่องเที่ยวที่สามารถ เดินขึ้นจนถึงชั้นบนสุดของภูลังกาจะถือว่าเป็นผู้พิชิตยอดภูลังกา และสามารถมองลงสู่ด้านล่างที่ เห็นวิวทิวทัศน์ภูมิทัศน์ บ้านเรือน และเห็นอ่างเก็บน ้าบึงโขงหลงที่สวยงาม โดยทางเข้าภูลังกาจะ อยู่บริเวณบ้านดงชมภูหมู่ที่ 7 ต าบลโพธิ์ หมากแข้ง นอกจากนี้ ส่วนบนของภูลังกามี น ้าตกตามธรรมชาติ ได้แก่ น ้าตกกินรี น ้าตก วิมานต์ทิพย์อ่างมะโนรมย์ซึ่งปัจจุบันเป็น แหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่รู้จัก เฉพาะในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง เป็นอ่างเก็บน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 11,318 ไร่ 2 งาน 7 ตารางวา ในช่วงฤดูฝน น้ำจะไหลผ่านเขื่อนกั้นอ่างน้ำ ทำให้มีภูมิทัศน์ที่ สวยงามมาก ประชาชนจะใช้เส้นทางนี้เดินทางข้าม อ่างเก็บน้ำจากหมู่บ้านฝั่งอำเภอบึงโขงหลงไปหมู่บ้าน ฝั่งหาดคำสมบูรณ์อำเภอบึงโขงหลง โดยมีระยะทาง ประมาณ 2 กิโลเมตร อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลงเหมาะ สำหรับนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ต้องการสัมผัสวิถี ชีวิตของผู้คนแบบพึ่งพิงธรรมชาติ


56 หาดค าสมบูรณ์เป็นหาดน ้าจืดขนาดใหญ่ และยาวไปตามแนวของอ่างเก็บน ้าบึงโขง หลง อยู่ในพื้นที่บ้านค าสมบูรณ์ หมู่ที่ 3 ต าบลบึงโขงหลง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิง นิเวศที่น่าสนใจ มีร้านค้าหลากหลายประเภท อาทิ ร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหารลักษณะ ซุ้มไพหญ้าให้นั่งริมน ้า สามารถมองเห็นหาด ทรายขาว บรรยากาศดี สดชื่น ลมเย็นสบาย เมื่อนั่งบนซุ้มจะมองเห็นน ้าโขงใสสะอาด เห็น หมู่บ้านในเขตตัวอ าเภอบึงโขงหลง และเห็น ภูลังกาตั้งตระหง่านน่าเกรงขามจากศาสน สถานบนยอดภูลังกาทั้งเจดีย์และหลังคาวัด ป่าไม้ที่เขียวชะอุ่มไปด้วยต้นไม้และหินผาสวยสีน ้าตาล เสมือนภาพวาดจ าลองที่สวยงาม เขตอนุรักษ์สัตว์ป่ าบึงโขงหลง นักท่องเที่ยว สามารถเดินทางต่อเนื่องจากหาดค าสมบูรณ์สู่เขต อนุรักษ์สัตว์ป่ าบึงโขงหลงไปทางทิศเหนือ มี ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ซึ่งจะมีป้ายบอก ทางเข้าเป็นระยะ ภายในเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าบึงโขง หลงนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสอากาศที่เย็นสบายจาก ต้นไม้นานาพรรณ เมื่อเดินลึกเข้าไปตามเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติจะมองเห็นอ่างเก็บน ้าบึงโขงหลง ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น ้าต่าง ๆ มีนกและ แมลงตามธรรมชาติและพืชพรรณนานาชนิด ถือได้ ว่าเป็นป่าชุ่มน ้าที่อุดมสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาตินักท่องเที่ยว จะได้สัมผัสแหล่งอารยธรรมดอนแก้ว ดอนโพธิ์และดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตามต านานที่มีเรื่องราว เฉพาะของผู้คนในประวัติศาสตร์ ซึ่งเหมาะส าหรับนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และประวัติศาสตร์ ใน ด้านความปลอดภัยจะมีเจ้าหน้าที่เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าบึงโขงหลงเป็นผู้ดูแลตลอดเวลา


57 ถ ้านาคา เป็นถ ้าที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยาน แห่งชาติภูลังกาและตั้งอยู่ใกล้กับวัดถ ้าชัย มงคล ชาวบ้านเรียกขานว่า “เมืองผีบังบด” ความสวยงามแปลกตาของถ ้านาคา คือ รูปทรงของหินขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเหมือนงู ยักษ์หรือพญานาคท าให้ถ ้าแห่งนี้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวอีกแห่งส าหรับคนที่ชอบธรรมชาติ และเรื่องลึกลับ ตามต านวนและความเชื่อที่ สืบทอดต่อกันมาแบบปากต่อปากของ ชาวบ้านว่าบริวารของพญานาคหรืองูยักษ์ผู้ ครองเมืองบาดาลได้ไปมีสัมพันธ์สวาทกับมนุษย์ ซึ่งผิดจารีตของเมืองบาดาล พญานาคหรืองูยักษ์ที่ ท าผิดจารีตจึงถูกสาปให้กลายเป็นหิน ภายในถ ้าจึงจะพบกับหินที่มีรูปร่างคล้ายกับล าตัวของ พญานาคหรืองูยักษ์ ซึ่งหากมองผิวเผินจะคล้ายกับเกล็ดของงูสภาพพื้นที่ปกคลุมด้วยมอสสีเขียว ดู สวยงาม แต่ก็แฝงด้วยความน่าพิศวงเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการพบหินใหม่ที่มีลักษณะเหมือนเป็น ส่วนหัวของงูยักษ์ในบริเวณที่ไม่ไกลกันมากจากตัวถ ้าอีกด้วย 3. กลุ่มองค์กรชุมชนในพื้นที่ที่หลากหลาย กลุ่มองค์กรชุมชน ได้แก่ กลุ่ม ทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มผลิตไข่เค็ม กลุ่มธนาคารขยะ กลุ่มแปรรูปพลาสติก กลุ่มนาแปลงใหญ่ กลุ่มปลูก ผักปลอดสารภัย กลุ่มผลิตไม้กวาด กลุ่มหัตถกรรม กลุ่มแปรรูปอาหาร เป็นต้น เป็นจุดเชื่อมต่อที่ ส าคัญกับการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวที่จะเป็นจุดพักผ่อน จุดเรียนรู้หรือแหล่งจ าหน่าย ผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนเกิดรายได้จากการจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับ นักท่องเที่ยวและด ารงไว้ซึ่งคุณค่าและภูมิปัญญาของท้องถิ่นด้วย 4. ความสามารถในการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น ในประเด็นนี้ เป็นส่วนเสริมที่ช่วยเชื่อมโยงให้กระบวนการจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่มีความน่าสนใจและเข้มแข็ง มากขึ้น จากการท างานของสภาองค์กรชุมชนต าบลที่สามารถยกระดับการท างาน โดยการขยาย ความเชื่อมโยงงานเชิงพื้นที่และเครือข่ายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์เครือข่ายข้าว เครือข่ายก่อสร้าง เครือข่ายช่างชุมชน เครือข่ายประมง พื้นบ้าน เครือข่ายภูมินิเวศน์/วิถีวัฒนธรรม เครือข่ายร้านค้าชุมชน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นเครือข่ายหนุน เสริมกิจกรรมการการท่องเที่ยวชุมชนได้ดี


58 5. การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยด้านนี้นับเป็นจุด แข็งของสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงที่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหาและให้ ข้อเสนอแนะต่อความต้องการจัดการปัญหาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน จนกระทั่ง สามารถบรรจุโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากเทศบาลต าบลบึงโขงหลงได้ในแผนพัฒนา ท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561 - 2565) ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นด้านการเกษตรและการพัฒนา คุณภาพชีวิต แผนงานที่ 2.4 งานสังคมสงเคราะห์ 2 ประเด็น คือ เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนและ ที่อยู่อาศัยส าหรับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งจะมีความต่อเนื่องและยั่งยืนในระยะยาว 6. มีแผนงานพัฒนาและแนวทางการพัฒนาต าบลต่อเนื่อง แผนงาน พัฒนาต าบลที่สภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงจะด าเนินการต่อไป คือ การหนุนเสริมให้ชุมชน ของเทศบาลต าบลบึงโขงหลงทั้ง 12 หมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถีเนื่องจากการสืบค้นข้อมูล และการถอดบทเรียนจากงานพัฒนาที่ผ่านมาท าให้พบว่าในพื้นที่ชุมชนเทศบาลต าบลบึงโขงหลงมี ทุนและศักยภาพที่โดดเด่นทุกชุมชน จึงควรได้รับการพัฒนาที่ต่อเนื่องเพื่อยกระดับเป็น “หมู่บ้าน OTOP นวตัวิถี” และเป็น “ต าบล OTOP นวตัวิถี” ต่อไป และเพื่อให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงทุนที่ มีอยู่ในพื้นที่ของตนเอง เมื่อชุมชนรู้จักใช้ทุนที่มีอยู่ก็สามารถประยุกต์ทุนนั้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ สร้างรายได้ชุมชนจะเห็นคุณค่าของทุนและอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไปยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนเข็มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ แม้ในยามที่ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตจากเหตุการณ์ต่าง ๆ 2.2.2 ปัจจัยขับเคลื่อนภายนอกต าบล 1. นโยบายรฐัเอื้อต่อกิจกรรมการพฒันาต าบลเข้มแขง ็ ปี 2563-2565 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ก าหนดและประกาศให้ต าบลบึง โขงหลงเป็นพื้นที่ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโดยเฉพาะด้านธรรมชาติและวิถีวัฒนธรรม ชุมชน จากการค้นพบถ ้านาคาผนวกกับศาสนสถานและวิถีวัฒนธรรมเดิมที่มีเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศที่หลั่งไหลสู่ต าบลบึงโขงหลงมากขึ้น นอกจากนี้ การส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนและผลักดันสู่การเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถีตามนโยบาย ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ยิ่งเพิ่มพลังการขับเคลื่อนงานเรื่องกลุ่มอาชีพและ องค์กรชุมชนเพิ่มขึ้น ซึ่งนโยบายทั้ง 2 ส่วนเอื้ออ านวยระหว่างกันได้อย่างดี 2. ภาคีเครือข่ายและลักษณะการสนับสนุนที่หลากหลาย โอกาสส าคัญ ประการหนึ่งของต าบลบึงโขงหลง คือ สามารถเชื่อมประสานภาคีองค์กรและหน่วยงานภายนอกที่ หลากหลาย (ตารางที่ 4) ซึ่งรูปแบบความร่วมมือหรือการสนับสนุนทั้งในเชิงข้อมูล ความรู้ เทคนิค วิธีการ สถานที่ งบประมาณหรือบุคลากร เป็นต้น กระบวนการหนุนเสริมนี้เป็นพื้นฐานให้สภา


59 องค์กรชุมชนต าบลและเทศบาลต าบลสามารถออกแบบและเคลื่อนงานได้อย่างมั่นใจ ซึ่งมีแนวโน้มที่ จะน าไปสู่การเป็นต าบลและชุมชนเข้มแข็งในอนาคตได้ 3. นวัตกรรมและกระบวนการ กระบวนการประเมินการขับเคลื่อนแนวคิดการท่องเที่ยวชุมชนของต าบลบึงโขงหลง ภายใต้ แนวคิด “ท่องเที่ยวชุมชน บึงโขงหลง บึงแห่งวิถีชีวิต” ใช้กรอบการประเมิน 6 ด้าน มีข้อค้นพบ ดังนี้ ตารางที่ 5 กรอบการประเมินนวัตกรรมและกระบวนการต าบลเข้มแข็ง ด้าน ข้อคิดเหน ็ 1. สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ กระบวนการขับเคลื่อนงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนมีการ จัดตั้ง “ศูนย์บ่มเพาะสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง” ซึ่งเกิด จากความร่วมมือของเทศบาลต าบลและสภาองค์กรชุมชนต าบล โดยศูนย์บ่มเพาะฯ นี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนา ศักยภาพของกลไกคณะท างานสภาองค์กรชุมชนต าบลและแกนน า ชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชน อาทิ “ถ ้า นาคา” ซึ่งถือว่าเป็นกระแสและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ภายนอกทั่วประเทศและหลั่งไหลเข้าพื้นที่จ านวนมากกว่า 300 คน ต่อวัน จึงต้องมีการจัดระบบให้มีประสิทธิภาพ 2. กระบวนการมีส่วน ร่วม ชุมชนในฐานะเจ้าของพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อแนวคิด กระบวนการและแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ อาทิ บ้านดงสว่าง ซึ่งเป็น หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ทางขึ้นของถ ้านาคา ผู้น าและชาวบ้านในชุมชน มีการออกแบบกระบวนการและกิจกรรมท่องเที่ยวโดยตรง เช่น การ จัดรถและเรือรับส่งนักท่องเที่ยวทั้งการขึ้นภูเขาและการล่องเรือ การจ าหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและของที่ระลึก การจัดที่พัก ชุมชนแบบโฮมสเตย์ การพัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวแต่ละจุด พร้อมเรื่องราว ส่วนเทศบาลต าบลมีส่วนร่วมโดยการบรรจุเรื่องการ ท่องเที่ยวชุมชนในแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี และในปีงบประมาณ 2563 มีการอุดหนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จ านวน 120,000 บาท ส่วนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)


60 ด้าน ข้อคิดเหน ็ ให้การสนับสนุนงบประมาณผ่านนโยบายการสร้างนวัตกรรมชุมชน ต าบลเข้มแข็ง สนับสนุนการศึกษาดูงานและการเสริมสร้างองค์ ความรู้เฉพาะด้าน 3. ง่ายต่อความเข้าใจ ของคนในชุมชน การจัดการท่องเที่ยวชุมชนอาจเป็นเรื่องใหม่ของชาวบ้านในพื้นที่ที่ มีพื้นฐานสัมพันธ์กับภาคการเกษตรมากกว่า ทว่า ข้อจ ากัดนี้ถูก จัดการโดยการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรทั้ง ภายในและภายนอกต าบล ท าให้ชาวบ้านสามารถออกแบบ จัดการ และลุกขึ้นมาเป็น “นักน าเที่ยวชุมชน” ได้ จากการส่งเสริมและ สนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นอกจากนี้ ความความสามารถของผู้น าชุมชนที่พยายามสื่อสารให้ชาวบ้าน เข้าใจอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน เข้าใจบทบาทและเห็นประโยชน์ของ การจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่ทุกคนจะได้รับประโยชน์ อาทิ การ สร้างอาชีพและรายได้จากการจ าหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของ ชาวบ้านหรือกลุ่มอาชีพ การสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนและต าบล เป็นต้น กระทั่งได้รับการยอมรับและเกิดการให้ความร่วมมือจาก ชาวบ้านในชุมชน 4. ความสามารถน าไป ปฏิบัติได้ต่อเนื่อง การวิเคราะห์จุดเด่น ศักยภาพ ต้นทุนเดิมของพื้นที่และการได้รับ การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาคีต่าง ๆ ท าให้แนวคิดสู่การ ปฏิบัติการการจัดการท่องเที่ยวชุมชนได้จริง โดยเฉพาะในช่วงปี 2562 - 2563 ถือเป็นช่วงที่กระแสการท่องเที่ยวต าบลจากการ ค้นพบแหล่งท่องเที่ยวใหม่ คือ ถ ้านาคา ได้รับการตอบรับจากคน ภายนอกอย่างมาก ชุมชนมีการจัดการตามแผนที่วางไว้อย่างเป็น ระบบ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา สถานการณ์การแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการท่องเที่ยวชุมชน ท าให้ต้องหยุดชะงักการท่องเที่ยวลง แต่ทางชุมชนและต าบลยังคง มีการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ โดยเฉพาะการสร้างผลิตภัณฑ์ ชุมชนต่อเนื่อง หากสถานการณ์ผ่อนคลายและสามารถกลับมา ท่องเที่ยวได้ปกติ ก็จะไม่ติดขัดเรื่องระบบการจัดการและผลิตภัณฑ์ ชุมชน


61 ด้าน ข้อคิดเหน ็ 5. ประโยชน์ต่อส่วนรวม การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชนส่งผลให้เกิดประโยชน์ส่วนร่วม อย่างน้อย 4 ส่วน คือ 1) ชาวบ้านเกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจาก เทศบาลต าบลและผู้น าชุมชนกรณีที่จะมีกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาใน ชุมชน ได้เรียนรู้และเกิดทักษะจากการพบปะผู้คนภายนอก มีส่วน ร่วมในกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน เช่น การฟ้อนร า การต้อนรับ การ ท าบายศรี การผูกข้อต่อแขน 2) ชุมชนเกิดการตื่นตัวและตระหนัก ต่อความร่วมมือในกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน อาทิ การท าความ สะอาดและสภาพแวดล้อมของบ้านเรือน ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น ที่ดีขึ้น 3) วัดและศาสนสถานเป็นที่รู้จักของภายนอกและได้รับ ปัจจัยเพื่อการบ ารุงและพัฒนาศาสนสถาน 4) เทศบาลต าบลที่ท าให้ ต าบลและผู้บริหารเป็นที่รู้จัก บุคลากรมีส่วนร่วมในกิจกรรม อาทิ ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยว พิธีกรในงาน จัดอาหารและอาหารว่าง จัดท าบายศรี เป็นต้น 6 . ก า ร ป รับ เ ป ลี่ ย น ความสัมพันธ์ กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนช่วยคลี่คลายความไม่เข้าใจ 2 กรณี คือ 1) ผู้น าและชาวบ้าน โดยช่วงเริ่มต้นแนวคิดท่องเที่ยวชุมชนชาวบ้าน บางส่วนไม่เข้าใจแนวคิด แนวปฏิบัติและมองว่าไม่เกิดประโยชน์ต่อ ตนเอง จึงเกิดการต่อต้านและไม่ให้ความร่วมมือ แต่เมื่อมีการ สื่อสารระหว่างผู้น าและชาวบ้านให้เข้าใจจุดมุ่งหมายตรงกันท าให้ ความสัมพันธ์เป็นไปในทางที่ดีขึ้น 2) วัดและเขตอนุรักษ์ภูลังกา จากความไม่เข้าใจเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าชมและ ท่องเที่ยวในภูลังกาที่ไม่มีการจัดสรรให้กับทางวัด ท าให้เกิดกรณี พิพาท แต่เมื่อมีการเจรจาและท าความเข้าใจ ท าให้เขตอนุรักษ์ผ่อน ปรนและจัดสรรให้กับทางวัดร่วมด้วย 4. ผลลัพธ์ต าบลเข้มแข็ง ต าบลบึงโขงหลงมีการประเมินตนเองตามกรอบตัวชี้วัดต าบลเข้มแข็ง 4 มิติได้แก่ 1) คนมี คุณภาพ 2) องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง 3) คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น 4) ความสัมพันธ์กับ


62 หน่วยงานภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นต าบลต้นแบบเพื่อถอดองค์ความรู้ต าบล เข้มแข็ง ผลการประเมินดังตารางที่ 6 ตารางที่ 6 ตัวชี้วัดและผลการประเมินต าบลเข้มแข็ง 4 มิติกรณีต าบลบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ตัวชี้วัดต าบลเข้มแข็ง คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ มิติที่1 คนมีคุณภาพ 25 21 มิติที่2 องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง 30 26 มิติที่3 คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น 30 22 มิติที่4 ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น 15 14 ผลการประเมินภาพรวม 100 83 ที่มา: สภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงและหน่วยงานภาคีในท้องถิ่น (2564) การแปลผลจากการประเมินตามกรอบตัวชี้วัดต าบลเข้มแข็งจากคะแนนเต็ม 100 ประเมิน ได้ 83 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก (Very Good) (คะแนนระหว่าง 80 – 89 คะแนน) โดยหาก พิจารณาค่าคะแนนรายมิติที่ท าได้ดีพบว่า มิติที่ 4 การสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาคีท้องที่ และท้องถิ่น ถือว่าต าบลบึงโขงลงท าได้ดีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.0 รองลงมา คือ มิติที่2 องค์กร ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมิติที่1 คนมีคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 87.0 และ 84.0 ตามล าดับ ส่วนมิติ ที่3 คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น แม้ถือว่าจะท าได้ค่อนข้างดีและมีค่าคะแนนอยู่ในระดับสูง แต่มี ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 73.0 ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงเพิ่มเติมกระบวนการด้านการพัฒนา คุณภาพชีวิตให้กว้างขวางและเกิดผลกระทบด้านบวกต่อผู้คนเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยการแปลผลการประเมินตามกรอบตัวชี้วัดตำบลเข้มแข็ง 4 มิติกรณีตำบลบึงโขงหลง


63 การส่งเสริมแนวคิดและปฏิบัติการท่องเที่ยวชุมชนโดยการวิเคราะห์จุดเด่น ศักยภาพและ ต้นทุนเดิมของต าบล ท าให้เกิดประโยชน์และผลลัพธ์ต่อการพัฒนาอย่างน้อย 4 มิติ ดังนี้ 4.1 แนวคิดและศกัยภาพคน คนท างานหลักโดยเฉพาะแกนน าชุมชนที่ได้รับ การพัฒนาความรู้ความสามารถจากหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพแกนน าชุมชนสู่การเป็น “นักน า เที่ยวชุมชน” ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีแกนน าชุมชนที่ผ่านหลักสูตรแล้ว จ านวน 3 รุ่น กว่า 200 คนที่สามารถน าเที่ยวชุมชนตามจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้อย่างมีความรู้และ ทักษะ ส่วนชาวบ้านทั่วไปมีการปรับเปลี่ยนแนวความคิดช่วงต้นที่ไม่เห็นด้วยต่อแนวทางนี้ เนื่องจากความไม่เข้าใจวิถีปฏิบัติและมองว่าตนเองไม่ได้รับประโยชน์จากการจัดท่องเที่ยวชุมชน แต่ระยะหลังเกิดการยอมรับและให้ความร่วมมือกับผู้น าและนักน าเที่ยวชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้ ยัง เกิดทักษะการสื่อสารสาธารณะกับผู้อื่นในทางที่ดีขึ้น เช่น ความกล้าในการทักทายนักท่องเที่ยว การ มีค าลงท้ายสนทนา (ครับ/ค่ะ) การเล่าเรื่องในอดีตหรือต านานให้นักท่องเที่ยวฟังได้เป็นล าดับ 4.2 คุณภาพชีวิตคนในชุมชน นอกจากนักน าเที่ยวชุมชนได้รับการพัฒนา ศักยภาพเฉพาะตนและมีรายได้จากการน าเที่ยวในแต่ละรอบแล้ว ชาวบ้านในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับ แหล่งท่องเที่ยวที่กระจายอยู่ในต าบลก็มีอาชีพใหม่และรายได้เสริมนอกเหนือจากภาคเกษตร อาทิ เกิดอาชีพรถรับจ้างและเรือรับส่งนักท่องเที่ยว รายได้จากค่าเช่าจากลานจอดรถในสวนยางพารา การค้าขายสินค้าอุปโภคบริโภคและของที่ระลึก ส่วนครัวเรือนทั่วไปในชุมชนมีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมเรื่องความสะอาดและสภาพแวดล้อมครัวเรือน การให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุม และแสดงความคิดเห็นกรณีที่จะมีกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้าในชุมชน การเตรียมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การฟ้อนร า การต้อนรับ การท าบายศรี เป็นต้น และการตระหนักต่อประเด็นการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่อง กับการท่องเที่ยว เช่น ระบบสาธารณูปโภค เส้นทางแหล่งท่องเที่ยว จึงมีความพยายามเสนอ ข้อคิดเห็นให้เกิดการปรับปรุงต่อเทศบาลต าบลและรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมในช่วงที่มีการลง พื้นที่ด้วย 4.3 การปรบัเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างและนโยบาย การจัด ท่องเที่ยวชุมชนท าให้ต าบลมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยเฉพาะแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรม ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ของหน่วยงานและ องค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมหนุนเสริมการท างานในทางที่ดีขึ้น อาทิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดและ นายอ าเภอลงเยี่ยมชุมชนในต าบลและเปิดงานส าคัญ เทศบาลต าบลบรรจุแผนการพัฒนาท่องเที่ยว ในแผนพัฒนา 4 ปี เพื่อสนับสนุนงบประมาณรายปีส านักงานพัฒนาชุมชนอ าเภอ/จังหวัดและ ส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเข้ามาส่งเสริมความรู้พัฒนาและยกระดับ ผลิตภัณฑ์ของชุมชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดอบรมหลักสูตรนักน าเที่ยวชุมชน


64 และพัฒนามาตรฐานการจัดการโฮมสเตย์ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลในพื้นที่ ส านักงานพัฒนาฝีมือแรงงานเข้ามาส่งเสริมแนวทางการจัดสวัสดิการอาหารและอาหารว่างแก่ นักท่องเที่ยว ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีการก ากับ ควบคุม การขุดลอก รุกล ้า จัดการหรือการใช้ประโยชน์อ่างเก็บน ้าบึงโขงหลงให้มีความหลากหลาย และอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ 4.4 ความสามารถในการบริหารจดัการองค์กรชุมชน กระบวนการท างาน ท่องเที่ยวชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสภาองค์กรชุมชนต าบลเท่านั้น แต่มีผลกระเพื่อมที่ เชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์ต่อการท างานมิติอื่นขององค์กรชุมชนด้วย ทั้งการก าหนดโครงสร้าง คณะท างานด้านการท่องเที่ยวชุมชนแต่ละด้านที่ชัดเจน ความรู้เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ เกิดเครือข่ายความร่วมมือใหม่ของบุคคล หน่วยงานและองค์กรทั้งภายในและ ภายนอกต าบลเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการท างาน เชื่อมโยงและต่อยอดการท างานของ สภาองค์กรชุมชนต าบลร่วมกับเทศบาลต าบลกับกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ประสบปัญหาใน กรรมสิทธิ์ที่ดิน/ที่อยู่อาศัยทรุดโทรม ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน เป็นต้น การท างานของกลไกสภาองค์กร ชุมชนต าบลมีการประชุมและปฏิบัติการร่วมกันต่อเนื่อง จนน าไปสู่การเป็นจุดเรียนรู้ต้นแบบให้กับ คนในต าบลและภายนอก เช่น คณะดูงานจากอ าเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร อ าเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด อ าเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสามารถในการจัดการ องค์กรที่ดี กล่าวโดยสรุป กรอบการประเมินตัวชี้วัดต าบลเข้มแข็ง 4 มิติ 29 ตัวชี้วัด ถือว่ามีความ ครอบคลุมในแง่กรอบการประเมิน กล่าวคือ ผลจากการศึกษาเอกสารมือสอง (Secondary Data) และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) มีข้อมูลรายละเอียดที่อธิบายประกอบผล การประเมินตามตัวชี้วัดในเชิงสถิติได้ คือ เห็นทั้งความสอดคล้อง จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละมิติ ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าสังเกตเพื่อประโยชน์ในกระบวนการประเมิน คือ ผู้ประเมินมีความชัดเจนในเรื่อง เหล่านี้มากน้อยเพียงใด อย่างเช่น 1) ความเข้าใจต่อข้อค าถามและขอบเขตความหมายของค าถาม ในแต่ละตัวชี้วัด 2) กลุ่มเป้าหมายส าหรับการประเมินคือใครบ้าง (โดยตรงหรือโดยอ้อม) 3) การ วิเคราะห์และประมวลผลการประเมินใช้กระบวนการอย่างไร 4) มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงหรือ น่าเชื่อถือของผลการประเมินอย่างไร และ 5) การเขียนผลเพื่อการน าเสนอมีการเชื่อมโยงตัวเลข ในทางสถิติกับข้อมูลเชิงคุณภาพในพื้นที่อย่างไร ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกระบวนการประเมินได้ดีขึ้น


65 5. ข้อคิดเหน ็ และข้อเสนอแนะ กระบวนการถอดบทเรียนองค์ความรู้ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ประมวลข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยจ าแนกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อเสนอแนะต่อคนท างาน และ 2) ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงาน/ องค์กร ดังนี้ 5.1 ข้อเสนอแนะต่อคนท างาน 1. ความเข้มแข็งของคนท างาน กระบวนการขับเคลื่อนงานของกลไกสภา องค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลงยังยึดโยงคนท างาน กระบวนการท างานและการตัดสินใจไว้กับ เทศบาลต าบลเป็นหลัก ทั้งงานสภาสภาองค์กรชุมชนต าบลและงานกองทุนสวัสดิการชุมชน เนื่องจากบุคลากรขององค์กรท้องถิ่นมีภาวะผู้น าสูง ทั้งความสามารถในการเข้าถึงผู้บริหารท้องถิ่น การติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรหรือภาคีทั้งภายในต าบลและระดับจังหวัดโดยตรง การ สื่อสารแบบตรงไปตรงมาและง่ายต่อการเข้าถึงตัวบุคคล การลงพื้นที่ภาคสนามจริงหรืองานธุรการ เอกสาร ดังนั้น กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพแกนน าในเรื่องภาวะผู้น ามิติต่าง ๆ อาทิ ทักษะการ สื่อสาร การกล้าแสดงออก การเรียบเรียงเอกสารหรือเขียนรายงาน เป็นต้น จึงเป็นประเด็นส าคัญที่ สภาองค์กรชุมชนต าบลควรด าเนินการเพิ่มเติมในมิติการพัฒนาคุณภาพคนต่อเนื่อง 2. ช่องทางประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและสภาองค์กรชุมชนต าบล ในวงกว้าง การสื่อสารสังคมสาธารณะผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ เป็นเทคนิคและวิธีการที่ส าคัญในโลก ยุคปัจจุบันที่จะท าให้คนภายนอกรับรู้ต้นทุนของพื้นที่ที่มี ดังนั้น แกนน าคณะท างานควรต้อง วิเคราะห์ช่องทางการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้ทั้งที่มีอยู่ในพื้นที่และสังคมวงกว้างเพื่อ ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook Line Instagram Twitter เป็นต้น ที่จะช่วยให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มรุ่นใหม่หรือวัยท างานได้รวดเร็ว ลงทุนน้อย ทว่า มีประสิทธิภาพในการกระจายข่าวที่มีคุณภาพในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มจ านวนนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ สังคมสาธารณะยังจะได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของสภาองค์กรชุมชนต าบลร่วมด้วย 5.2 ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงาน/องค์กร 1. การยกระดบัคณุภาพชีวิตของผ้คูนในวงกว้าง การประเมินตามตัวชี้วัด ต าบลเข้มแข็งมิติที่3 คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น แม้จะมีคะแนนอยู่ในระดับสูง คือ 73 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับมิติอื่นอยู่ในระดับน้อยสุด ซึ่งสะท้อนว่าผู้ได้รับ ประโยชน์จากแนวคิดและกระบวนการขับเคลื่อนประเด็นท่องเที่ยวชุมชนยังอยู่ในวงจ ากัด ดังนั้น การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้เกิดการ


66 กระจายผลประโยชน์และมีส่วนยกระดับคุณภาพชีวิตจึงเป็นวาระเร่งด่วนของคณะท างานที่ต้อง ด าเนินการโดยเร็ว นอกจากนี้ มิติการยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางในชุมชน เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็ก ที่เชื่อมโยงงานกัน ควรประสานความร่วมมือกับส านักงานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์จังหวัดและหน่วยงานลูกข่ายเพื่อจัดสวัสดิการพื้นฐานให้บุคคลครบถ้วน 2. ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ประเด็นขับเคลื่อน ของต าบลบึงโขงหลงเป็นมิติเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าหลัก (Target Group) ต้องพึ่งนักท่องเที่ยวจากภายนอก ดังนั้น ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีการก าหนดมาตรการและแนวปฏิบัติโดยรัฐ เช่น ปิดสถานที่ท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ งดการ เดินทาง แนวปฏิบัติการเข้าพื้นที่จังหวัด เป็นต้น ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว ที่น้อยลงอย่างมาก แม้พื้นที่จะมีการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในช่วงสถานการณ์ดีขึ้น แต่ก็ยากแก่การคาดเดาในอนาคตได้ดังนั้น รัฐควรก าหนดมาตรการที่ผ่อนคลายสถานที่ท่องเที่ยว และก าหนดจ านวนนักท่องเที่ยวที่อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพื้นที่ได้ *********************************************** วิธีการและแหล่งที่มาของข้อมูล การถอดองค์ความรู้ต าบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชน ต าบลบึงโขงหลง อ าเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬในครั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อจ ากัดเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ที่ รุนแรง ภาครัฐขอความร่วมมืองดเว้นการเดินทางและการรวมกลุ่มท ากิจกรรมที่มีคนจ านวนมาก การเก็บข้อมูลเพื่อเขียนรายงานเบื้องต้น (Inception Report) จึงใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารมือสอง (Secondary Data) ผลการด าเนินงานขับเคลื่อนต าบลบึงโขงหลงเป็ นหลัก ซึ่งจัดท าโดย คณะกรรมการและเลขานุการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง เทศบาลต าบลบึงโขงหลงและ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพื้นที่จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ส านักงานภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังใช้ข้อมูลประกอบจากการค้นคว้าช่องทาง Internet ส่วนการเก็บ ข้อมูลภาคสนามเพื่อเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report) ได้ใช้ข้อมูล Inception Report แตก ประเด็นค าถามและลงพื้นที่จัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ร่วมกับผู้ให้ ข้อมูลส าคัญ (Key Informant) คือ ผู้เทนจากเทศบาลต าบลบึงโขงหลงและผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ต าบลบึงโขงหลง ดังนี้ 1. นางรัชนี ไตรพันธ์ ผู้อ านวยการกองสวัสดิการสังคม เทศบาลต าบลบึงโขงหลง 2. นางค้อม ตะดอนงีด กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง


67 3. นางนวลละออง สอนแหวน กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 4. นางนวลอนงค์ ดอนไกรแก้ว กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 5. นางพูลทรัพย์ แพงกันยา กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 6. นางร าไพ บุญจูง กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 7. นางสุพรรณ์ สีห์บุตร กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 8. นางอัมพร กุโพธิ์ กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 9. นางพูล แสงโพธิ์ กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 10. นางสาวจิรวดี ลาบัวใหญ่ กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง 11. นางสาวสมพร สุธี กรรมการสภาองค์กรชุมชนต าบลบึงโขงหลง


68 ถอดองค์ความรู้การพัฒนาต าบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชน ต าบลเย้ยปราสาท อ าเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดย วีระ นิจไตรรตัน์ ส่วนที่ 1 บริบทพื้นที่(Context) ต าบลเย้ยปราสาทตั้งอยู่ห่างจากอ าเภอหนองกี่ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ 91.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากถนนหมายเลข 24 (สีคิ้ว- โชคชัยเดชอุดม) ประมาณ 3 กิโลเมตร แบ่งเขตการปกครอง เป็น 10 หมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ส่วย มีภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง มี วัฒนธรรมความเป็นอยู่ผสมผสานกับกลุ่มชาติพันธุ์ เขมรและลาว จึงมีวันส าคัญในรอบปีเหมือนกับชุมชน ชาวอีสานทั่วไป ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ท านาปลูกข้าว และท าไร่ปลูกอ้อยและมัน ส าปะหลังเป็นอาชีพหลัก รับจ้างเป็นอาชีพรอง ชาวบ้านมีนิสัยรักความสงบ นับถือพุทธ ศาสนาและเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง มีรูปปั้นหลวงปู่ หมุน ฐิตสีโล พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ชาวบ้านเคารพ ศรัทธาตั้งอยู่ในวัดเย้ยปราสาท และมีพระครูสุตกิตติ สุนทร เจ้าคณะอ าเภอหนองกี่จ าพรรษาอยู่ที่วัดนี้ รวมทั้งมีร่องรอยการสร้างปราสาทหินโบราณ ซึ่งเป็น ที่มาของชื่อต าบล “เย้ยปราสาท” อยู่ในบริเวณวัดนี้ ด้วย


69 ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ จึงนับเป็นต้นทุนทางสังคม (Social Capital) ที่ส าคัญที่ท าให้ ชาวบ้านเย้ยปราสาทมีความรักสามัคคีเป็นน ้าหนึ่งใจเดียวกันมายาวนาน นอกจากนี้กลุ่มชาติพันธุ์ส่วยยังมีนิสัยเชื่อผู้น า จะเห็นได้จากนายวุฒินันท์ ประสงค์ทรัพย์ เป็นนายก อบต.ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2538 ถึงปัจจุบันเพียงคนเดียว และมีนายสุนทร อบอุ่น อดีต ก านันเกษียณอายุมาเป็นรองนายก อบต. ท าให้ฝ่ายท้องที่และท้องถิ่น ท างานร่วมกันได้อย่างเป็น เอกภาพ ต าบลเย้ยปราสาทมีกลุ่มกิจกรรมพัฒนาทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการกระจายอยู่ทุก หมู่บ้าน ประกอบรวมกันเป็น “สภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยปราสาท” ซึ่งจดแจ้งจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2556 กลุ่มองค์กรชุมชนที่ส าคัญ คือ กลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เกิดจากการสนับสนุนของ ส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมน (พอช.) ตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันมีสมาชิกกระจายอยู่ทั้ง 10 หมู่บ้านจ านวน 1,447 คน มีเงินออมอยู่ใน บัญชี 1,870,000 บาท สามารถจัดสวัสดิการ ช่วยเหลือชาวบ้านทั้งการคลอดบุตร การเจ็บป่วย การ ตาย มาอย่างต่อเนื่อง และมีกลุ่มเลี้ยงไหมอินทรีย์ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในปี 2564 จาก พอช. จ านวน 32,000 บาท เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มจัดท าแผนธุรกิจชุมชน นอกจากนี้ต าบลเย้ยปราสาทยังถูกก าหนดให้เป็นเมืองด่านหน้า รองรับการท่องเที่ยวตาม นโยบายจังหวัดบุรีรัมย์อีกด้วย เนื่องจากมีอ่างเก็บน ้าทุ่งกระเต็น เป็นอ่างเก็บน ้าขนาดใหญ่ อยู่ใกล้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ถนนสีคิ้ว-โชคชัย-เดชอุดม มีภูมิทัศน์สวยงาม เหมาะส าหรับเป็น แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนออกก าลังกาย


70 จากศักยภาพของต าบลเย้ยปราสาทดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ท าให้ต าบลเย้ยปราสาทเป็น พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาของหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับอ าเภอ และจังหวัด รวมทั้งเป็นพื้นที่ เป้าหมายสร้างความเข้มแข็งสภาองค์กรชุมชนของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย ส่วนที่ 2 การสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) (Input) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดสรรงบประมาณตามแผนงานโครงการให้ ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์เป็นประจ าทุกปี โดยแบ่งงบประมาณออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) งบเสริมสร้าง ใช้ส าหรับการพัฒนาความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชน 2) งบสมทบ ใช้ส าหรับ สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาในต าบล เช่น งบสมทบกองทุนสวัสดิการต าบล และงบสร้างบ้านพอเพียง เป็นต้น ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ สนับสนุนสภาองค์กรชุมผ่านข้อเสนอโครงการพัฒนา ความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชน โดยแบ่งงบประมาณออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) งบประมาณส าหรับ พัฒนาความเข้มแข็งสภาองค์กรชุมชนส่วนหนึ่ง และ 2) งบประมาณส าหรับส่งเสริมพัฒนากลุ่ม องค์กรชุมชนให้เข้มแข็งอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งในแต่ละปีสภาองค์กรชุมชนแต่ละต าบล จะได้รับงบประมาณ ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชนต าบล และมีงบประมาณสนับสนุนไม่ ครอบคลุมทุกต าบล เนื่องจากงบประมาณได้รับจัดสรรมีมากน้อย ในขณะที่จังหวัดบุรีรัมย์มีสภา องค์กรชุมชนต าบลมากถึง 208 ต าบล ปีงบประมาณ 2564 สภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยปราสาท ได้รับจัดสรรงบประมาณ 32,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยปราสาท สนับสนุนกลุ่มเลี้ยงไหมอินทรีย์ จัดท าแผนธุรกิจชุมชน สภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยประสาทเลือกสนับสนุนกลุ่มเลี้ยงไหมอินทรีย์ เนื่องจากมีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เลี้ยงไหมอุตสาหกรรมขายรัง ไหมสดให้บริษัท จุลไหมไทย จ ากัด กลุ่มมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสมาชิก 75 คนและ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากมีตลาดรับซื้อแน่นอนโดย สมาชิกมีรายได้จากการเลี้ยงไหมเป็น รายเดือน


71 ส่วนที่ 3 นวัตกรรมชุมชน (Community Innovation) และกระบวนการ (Process) กรณีกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ 3.1 จดุเริ่มต้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ต าบลเย้ยปราสาท เกิดจากนายอนุชา มีแก้ว ลูกหลาน คนในหมู่บ้าน เรียนจบ ปวส.สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ท างานรับจ้างอยู่ในโรงงาน ตัดสินใจกลับบ้าน และเพื่อให้ตัวเองอยู่บ้านให้ได้จึงคิดหาวิธีสร้างรายได้เป็นรายเดือน ได้ศึกษาวิธีการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม โดยค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต ไปศึกษาดูงานการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่บริษัท จุลไหมไทย จ ากัด และทดลองปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขายรังไหมสดให้บริษัทตั้งแต่ปี 2557 พบว่าการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมทอผ้ารุ่นพ่อแม่ มีหลายขั้นตอน ใช้เวลานาน กว่าจะได้เงิน 2-3 พันบาท แต่การประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาจากรุ่นพ่อแม่ที่เคยเลี้ยงไหมทอผ้าผสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถสร้างรายได้เป็น รายเดือน ท าให้ครอบครัวอยู่ได้อย่างมั่นคง 3.2 ต้นทุนและผลผลิต การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอินทรีย์ เกษตรกรต้องมีปัจจัยการผลิตของตัวเอง ที่ส าคัญได้แก่ 1) ต้องมีที่ดินส าหรับปลูกต้นหม่อนเลี้ยงตัวไหม ซึ่งต้องเป็นที่ดอนน ้าไม่ท่วม ที่นาปลูกหม่อนไม่ได้ ถ้า มีน ้าขังหม่อนจะรากเน่าตาย 2) ต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 200,000 บาท ส าหรับสร้างโรงเรือน เลี้ยงตัวไหมขนาด 8x12 เมตร และซื้ออุปกรณ์การเลี้ยงตัวไหม (ชั้นเลี้ยงตัวไหม)


72 นอกจากต้องมีปัจจัยการผลิตที่ส าคัญดังกล่าวแล้ว เกษตรกรยังต้องลงทุนซื้อไหมตัวอ่อน และสารเคมีประกอบการเลี้ยงไหมจากบริษัทด้วย ถ้าเลี้ยงไหมตัวอ่อน 1 กล่อง ใช้เวลา 22 วัน มี การลงทุนดังนี้ 1) ไหมตัวอ่อน 940 บาท 2) ปูนขาว 80 บาท 3) คลอรีน 80 บาท 4) ยาฆ่าเชื้อ 80 บาท 5) ค่าน ้าค่าไฟ 100 บาท รวมเป็นเงิน 1,280 บาท ขายรังไหมสดได้ราคาเฉลี่ย 12,000 บาท มี ก าไรประมาณ 10,000 บาทต่อการเลี้ยงตัวไหม 1 กล่อง ถ้าคิดค่าแรงงานวันละ 300 บาท จะเหลือ ก าไรจริงประมาณ 5,600 บาทต่อรุ่น (ยังไม่ได้คิดค่าเช่าที่โรงเรือน และที่ดินปลูกหม่อน) สมาชิก สั่งซื้อไหมตัวอ่อนจากบริษัทรุ่นละ 50 กล่อง จากจ านวนสมาชิก 75 คน จะเห็นว่าแต่ละคนเลี้ยงไหม ตัวอ่อนมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูกต้นหม่อน ถ้าเลี้ยงตัวไหมครึ่งกล่อง ต้องมีที่ดินปลูก ต้นหม่อนประมาณ 1 ไร่ 3.3 การขยายสมาชิกและขยายกิจการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม กลุ่มมีสมาชิกเริ่มต้น 7 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 75 คน กระจายอยู่ในพื้นที่ต าบลเย้ยปราสาท 4 หมู่บ้าน โดยมีชาวบ้านต าบลข้างเคียงเข้าร่วมด้วย สมาชิกทุกคนเพิ่มปริมาณการเลี้ยงมากขึ้น แต่ ก ลุ่ ม เ พิ่ม จ า น ว น ส ม า ชิก ไ ด้ช้า เนื่องจากเกษตรกรยังไม่สามารถยึด เป็นอาชีพหลักได้ เพราะเกษตรกรผู้ เลี้ยงตัวไหมต้องใช้ทุนเริ่มต้นสูง ต้อง มีที่ดินดอนที่เหมาะส าหรับปลูกต้น หม่อนซึ่งมีน้อย รวมทั้งเกษตรกรบาง รายขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่เปิดใจ รับความรู้ ท าให้ไม่กล้าลงทุนปลูก หม่อนเลี้ยงไหม ปัจจุบันนายอนุชา มีแก้ว หัวหน้ากลุ่มเลี้ยงไหม และนายสุริเยนทร์สมบูรณ์ ผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ได้เปลี่ยนสถานะจากผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขายรังไหมสดให้บริษัท มาเป็นตัวแทน บริษัทฟักไข่ขายไหมตัวอ่อนให้สมาชิกแทนบริษัทที่อยู่ห่างไกลพื้นที่ โดยบริษัทได้ถ่ายทอด เทคโนโลยีการฟักไข่ตัวไหม และก าหนดให้เป็นแหล่งผลิตไหมตัวอ่อนของบริษัท ส่งให้สมาชิกใน เขตอีสานล่าง (นครราชสีมา สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์) การฟักไข่ตัวไหมด าเนินการในนามบริษัท ไม่ใช่ในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บริษัทส่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริม (คุณพิสมัย) เข้ามาควบคุมอย่างใกล้ชิด


73 บริษัทไม่อนุญาตให้เกษตรกรท ากันเอง เนื่องจากต้องควบคุมคุณภาพ เกษตรกรจึงไม่สามารถฟัก ไข่ตัวไหมได้เอง 3.4 ข้อดีกิจการกิจกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอินทรีย์ ข้อดีของการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอินทรีย์ คือ ใช้พื้นที่น้อย ให้ผลตอบแทนสูงกว่า การท านา ท าไร่ ลงทุนครั้งเดียวสามารถด าเนินการได้ต่อเนื่อง 20 ปี ต่างจากการท านา ท าไร่ที่ต้องลงทุนใหม่ทุกปี ครอบครัวอบอุ่น สร้างงานสร้างรายได้ให้ทั้งเด็กและผู้สูงอายุ ปลอดสารเคมี ไม่ท าลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของสมาชิก เพราะใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ชีวภาพ ส าหรับใส่บ ารุงต้นหม่อนให้เติบโตแทนปุ๋ ยเคมี เช่นปุ๋ ยจากขี้ไก่ ขี้วัวขี้ควาย และปุ๋ ยน ้า หมักจากเศษอาหาร จึงเรียกกลุ่มเลี้ยงไหมนี้ว่า “กลุ่มเลี้ยงไหมอินทรีย์” 3.5 หน่วยงานสนับสนุน หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนได้แก่ 1) ศูนย์หม่อนไหมนางรอง และพุทไธสง สนับสนุนสาร โดโลไมค์ป้องการรากเน่าโคนเน่า และเทคนิคการปลูกหม่อน 2) อบต.เย้ยปราสาท สนับสนุน งบประมาณ 65,000 บาท ส าหรับซื้ออุปกรณ์ ปัจจัยการผลิตแจกสมาชิกทุกคน 3) พัฒนาชุมชน อ าเภอ สนับสนุนงบประมาณ 17,000 บาท ส าหรับอบรมให้ความรู้และซื้ออุปกรณ์การผลิตแจก สมาชิก 4) เกษตรอ าเภอ สนับสนุนความรู้เทคนิควิธีการท าปุ๋ ยสังเคราะห์แสงแก้ปัญหาต้นหม่อน รากเน่าโคนเน่า 5) สถาบันพัฒนาองค์ชุมชน (พอช.) สนับสนุนงบประมาณ 32,000 บาท จัดอบรม ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย 60 คน (ใช้เป็นค่าจ้างวิทยากร ค่าอาหาร และค่าเดินทางกลุ่มเป้าหมาย) นอกจากนี้ยังให้ความรู้เรื่องการวางแผนธุรกิจชุมชน (CBMC : Community Business Model Canvas 9 ช่อง 5 ข้อ) รวมทั้งการใช้ตัวชี้วัด 4 มิติประเมินความเข้มแข็งต าบลด้วย ซึ่งต าบลเย้ย ปราสาทได้คะแนนรวม 82 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มต าบลเข้มแข็งระดับดีมาก มิติด้านคุณภาพชีวิตมี คะแนนต ่า ผู้น าสะท้อนว่าชาวบ้านยังมีรายได้ต ่า รายจ่ายสูง ปี 2562 ฝนแล้งท านาไม่ได้พันธุ์ข้าว ปลูกคืน ประกอบการหน่วยงานจะเข้ามาด าเนินกิจกรรมพัฒนาตามงบประมาณ ไม่ต่อเนื่อง 3.6 สถานะความเป็ นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ นายอนุชา มีแก้ว หัวหน้ากลุ่มเลี้ยงไหม และผู้ช่วยสุริเยนทร์สมบูรณ์ มีฐานะเป็นผู้แทน บริษัทที่อยู่ในพื้นที่ มีบทบาทเป็นตัวกลางเชื่อมโยงสมาชิกกับบริษัท เช่นรวบรวมค าสั่งซื้อจาก สมาชิก รวบรวมเงินทุนซื้อปัจจัยการผลิตในแต่ละรุ่นส่งบริษัท และน าปัจจัยการผลิตจากบริษัทมา


74 กระจายให้กับสมาชิก โดยสมาชิกจะมารับปัจจัยการผลิตที่บ้านของอนุชาพร้อมกัน และน าไหมตัว อ่อนแยกย้ายกันไปเลี้ยงตามขั้นตอนที่บริษัทแนะน าส่งเสริม บ้านใครบ้านมัน และมีก าหนดนัดหมาย ส่งรังไหมสดขายให้บริษัทพร้อมกัน บริษัทจะเอารถมารับซื้อในชุมชน ปัจจัยการผลิตที่สมาชิกสั่งซื้อ มีทั้งจ่ายเงินสด และเงินแห้ง กรณีที่เป็นเงินแห้งเมื่อสมาชิกขายรังไหมให้บริษัทแล้ว บริษัทจะหัก เงินคืน โดยบริษัทเป็นผู้จัดท าบัญชีให้สมาชิกทุกคน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมจึงมีลักษณะรวมกันซื้อ (ซื้อพร้อมกัน) รวมกันขาย (ขายพร้อม กัน) ไม่ได้มีขั้นตอนกระบวนการด าเนินการในรูปแบบกลุ่ม การด าเนินงานมีลักษณะแต่ต่างคนต่าง ท า ขายได้ก็เป็นผลประโยชน์เฉพาะคน ไม่มีระบบกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มีอุปกรณ์กลางให้ สมาชิกใช้ประโยชน์ร่วมกัน 3.7 ความคาดหวังในอนาคต อนาคตกลุ่มต้องการงบประมาณส่งเสริมให้ความรู้ ขยายสมาชิกให้ทั่วทั้งต าบล อยาก เห็นชาวบ้านมีรายได้เป็นเดือน ไม่ต้องไปขายแรงในโรงงาน อยู่บ้านสร้างงาน สร้างรายได้เป็น รายเดือน อยากพัฒนาให้ต าบลเย้ยปราสาทเป็นแหล่งฟักไข่ตัวไหมขายในเขตอีสานล่าง พัฒนา หาดประสานทอง อ่างเก็บน ้าทุ่งกระเต็น ให้เป็นสถานที่รับซื้อรังไหม ซึ่งต้องมีโดมกว้างขวาง เพราะจะมีคนมารวมกันซื้อรวมกันขายเป็นจ านวนมาก และท้องถิ่นสามารถใช้เป็นโอกาส ส่งเสริมการเที่ยว สร้างรายได้ให้ชาวบ้านในรูปแบบอื่นพร้อมกันไปด้วย 3.8 พิจารณานวตักรรมชุมชน กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ ข้อพิจารณา ข้อคิดเหน ็ 1. สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น เป็ นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น ; เพราะมีการใช้ความรู้เทคโนโลยี สมัยใหม่ และด าเนินการเพาะเลี้ยงตัวไหมตามขั้นตอนที่บริษัท ส่งเสริมแนะน า แทนความรู้ภูมิปัญญาตามวิถีชีวิตชาวอีสาน แบบเดิม ผลิตเฉพาะรังไหมส่งขาย ไม่ต้องด าเนินการทุกขั้นตอน แบบเดิม (ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวเส้นไหม ทอผ้า ขาย) และ ได้รังไหมที่มีคุณภาพ ขายได้ราคาดีกว่าเดิม 2. เกิดจากการมีส่วนร่วม ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วม ; เพราะเป็นการรวมกลุ่มใน ลักษณะรวมกันซื้อ และรวมกันขาย แยกย้ายกันด าเนินการ


75 ข้อพิจารณา ข้อคิดเหน ็ ครัวเรือนใครครัวเรือนมัน โดยมีพนักงานส่งเสริมของ บริษัทเอกชนส่งเสริมแนะน าอย่างใกล้ชิด สมาชิกขาดการมีส่วน ร่วมในการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การด าเนินการ การติดตาม และการรับประโยชน์ในรูปกลุ่ม เกิดผลประโยชน์ตามทักษะ ความสามารถเฉพาะราย 3. ง่ายต่อการเข้าใจของคน ในชุมชน เข้าใจค่อนข้างยาก ; เพราะสมาชิกด าเนินการปลูกหม่อน เลี้ยง ไหมตามขั้นตอนที่บริษัทตามที่บริษัทให้ความรู้ให้ค าแนะน าได้ แต่ไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้เอง ต้องซื้อไหมตัวอ่อนจาก บริษัทเท่านั้น ประกอบกับผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มต้องมีทีดินที่ เหมาะสมในการปลูกหม่อน ต้องมีเงินทุนในการสร้างโรงเรือน ด าเนินการมาต่อเนื่อง 7 ปี ขยายสมาชิกได้เพียง 54 คน อยู่ใน 4 หมู่บ้านของต าบลเท่านั้น 4. สามารถน าไปปฏิบัติได้ อย่างต่อเนื่อง ความต่อเนื่องขึ้นอยู่ราคาพืชไร่ ; เพราะการปลูกหม่อนเลี้ยง ไหมให้ได้ผลผลิตดี ต้องมีปัจจัยหลายอย่างคล้ายกับการท านา ท าไร่ มีผู้ที่สามารถเลี้ยงตัวไหมได้ 6-12 รุ่นต่อปี และมี บริษัทเอกชน เป็นผู้ส่งเสริมและเป็นตลาดให้ ท าให้กิจการ ด าเนินการได้ต่อเนื่องมา 7 ปี อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ผู้ส่งเสริม สะท้อนว่า บางปีพืชไร่ราคาดี สมาชิกก็จะหยุดเลี้ยงไหม และหัน ไปปลูกพืชไร่แทน ปีหนึ่งๆจะมีสมาชิกเลิกเลี้ยงไหมประมาณ 30 % 5. เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เกิดประโยชน์เฉพาะรายแต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของตา บล โดยรวม ; ดังได้กล่าวแล้วในข้อ 2 แล้ว การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ไม่ใช่การรวมกลุ่มกิจกรรมพัฒนาเพื่อประโยชน์ของส่วนร่วม โดยตรง แต่ก็ส่งผลดีต่อส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม แต่เกิดผลประโยชน์เฉพาะรายมากกว่า 6. เกิดการเปลี่ยน ความสัมพันธ์ เกิดความสมัพนัธท์ ี่ดีแต่ยงัไม่เกิดการเปลี่ยนความสมัพนัธ์ เชิงโครงสร้าง ; เมื่อพิจารณาข้อดีที่สมาชิกกลุ่มสะท้อน โดยเฉพาะรายได้ที่ สมาชิกได้รับเป็นรายเดือน เมื่อหักค่าแรงออกแล้ว ก็ยังสูงกว่า


76 ข้อพิจารณา ข้อคิดเหน ็ การท านา ท าไร่ ท าให้หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรให้มีรายเพิ่มขึ้น ต่างให้ความสนใจเข้ามา สนับสนุนเป็นจ านวนมาก ท าให้ผู้น ากลุ่มมีบทบาทในการต่อรอง ขอรับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต และบริหารจัดการงบประมาณ ที่หน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุน ตามความต้องการของ ตัวเองได้มากขึ้น เช่นใช้งบประมาณพัฒนาแผนธุรกิจชุมชนที่ได้ จาก พอช. บางส่วนไปซื้ออุปกรณ์การเลี้ยงไหมแจกกันในหมู่ สมาชิก เป็นต้น จากข้อพิจารณานวัตกรรมชุมชน กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ข้างต้น ข้างต้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์จึงไม่ใช่นวัตกรรมชุมชน แต่มีลักษณะคล้ายเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) มากกว่า คือมีรูปการท าการเกษตรรูปแบบหนึ่งที่มีบริษัทเอกชนเป็นผู้ส่งเสริม แนะน าให้เกษตรกรเป็นผู้ลงทุนปัจจัยการผลิตต่าง ๆ และด าเนินการตามขั้นตอน กระบวนการ ความรู้ และเทคโนโลยีของบริษัท และบริษัทเป็นผู้รับซื้อผลผลิตคืนในราคาที่ตกลงกัน ส่วนที่ 4 ผลลัพธ์ต าบลเข้มแข็ง (Product) ต าบลเย้ยปราสาท มีการประเมินตนเองตามตัวชี้วัดความเข้มแข็ง 4 มิติ ก่อนที่จะได้รับการ คัดเลือกให้เป็นต าบลตัวอย่างต้นแบบถอดองค์ความรู้การพัฒนาต าบลเข้มแข็งและนวัตกรรมชุมชน โดยมีผลการประเมินดังนี้ ต าบลเข้มแข็ง 4 มิติ คะแนนเต็ม คะแนนที่ ได้ ร้อยละ มิติที่ 1 คนมีคุณภาพ 25 21 84 มิติที่ 2 องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง 30 26 87 มิติที่ 3 คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น 30 21 70 มิติที่ 4 ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น 15 14 93 ต าบลเย้ยปราสาทได้คะแนนรวม 82 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มต าบลต้นแบบเข้มแข็งระดับดี มาก


77 ที่มา ; ผลการประเมินต าบลเข้มแข็ง 4 มิติ ต าบลเย้ยปราสาท อ าเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสภาองค์กรชุมชนและหน่วยงานภาคีในท้องถิ่น จากข้อมูลต าบลเข้มแข็งเชิงปริมาณข้างต้น ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มแกน น าสภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยปราสาท แกนน ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนต าบลเย้ยปราสาท ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ และเจ้าหน้าที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่รับผิดชอบพื้นที่ พอจะสรุปข้อมูลต าบลเข้มแข็งเชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัด 4 มิติ ได้ดังนี้ มิติที่1 คนมีคุณภาพ ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ สนับสนุนการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยปราสาท ผ่านข้อเสนอแผนงานโครงการประจ าปี และมีกิจกรรมกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง รวมทั้ง มีกิจกรรมพัฒนากลุ่มอาชีพอื่น ๆ จากหน่วยงานในท้องถิ่นด้วย ซึ่งด าเนินการกันมาอย่างต่อเนื่อง กระบวนการพัฒนากลุ่มกิจกรรมดังกล่าว เป็นเสมือนแบบฝึกหัด เป็นเครื่องมือให้แกนน าและสมาชิก กลุ่ม ได้ฝึกทักษะความสามารถในการท างานพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยไม่ต้องเข้ารับการ อบรมหลักสูตรใด ๆ แกนน าและสมาชิกกลุ่มจึงมีทักษะ ความสามารถ ทั้งการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การ ขับเคลื่อนด าเนินงาน และการติดตามสรุปผลการด าเนินงาน รวมทั้งการแบ่งปันผลประโยชน์เพิ่ม มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการใช้ข้อมูลตัวเลขวิเคราะห์เปรียบเทียบการลงทุนของสมาชิกกลุ่มเลี้ยง ไหมอินทรีย์กับการท านา ท าไร่ สร้างการเรียนรู้ให้กับสมาชิกเข้าใจได้อย่างง่ายๆ นอกจากนี้ผู้น า ชุมชนยังมีทักษะ ความช านาญ ความสามารถ ถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม (เป็นวิทยากร) ให้กับผู้สนใจภายนอกได้รวมทั้งมีทักษะ ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลค้นคว้าหาความรู้และติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์ได้ ใช้ในการวางแผนพัฒนากลุ่ม กิจกรรมให้เข้มแข็งต่อเนื่องไปในระยะยาวได้ด้วย มิติที่2 องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง กลุ่มกิจกรรมพัฒนาในต าบลเย้ยปราสาทเริ่มต้นประมาณปี 2555 และมีพัฒนาการ เติบโต ก้าวหน้า เข้มแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเงินทุน และจ านวนสมาชิก ภายใต้กระบวนการท างานของแกน น าและสมาชิกกลุ่ม ซึ่งด าเนินการต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปีนั้น เป็นเครื่องยืนยันถึงความเข้มแข็งของ องค์กรชุมชนในต าบลเย้ยปราสาทได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชน มีสมาชิก


78 1,447 คน ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในต าบล มีเงินออมอยู่ในบัญชี 1,870,000 บาท และกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยสมาชิกเพียง 7 คน และขยายสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 75 คน ทุก คนมีรายได้ที่มั่นคง เป็นรายเดือน มิติที่3 คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น กิจกรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ ซี่งมีสมาชิกอยู่ 75 คน แกนน าสะท้อนคิด ตรงกันว่า ครอบครัวของสมาชิกมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หนี้สินที่เคยมีลดลง สิ้นเดือนไม่ต้องคิดว่าจะหา ค่าน ้าค่าไฟจากที่ไหน มีการซื้อปัจจัยการผลิตใหม่ มีการจับจ่ายใช้สอยคึกคัก เงินหมุนเวียน คล่องตัว แต่คุณภาพชีวิตดีขึ้นเฉพาะกลุ่มเฉพาะคนเท่านั้น โดยภาพรวมแล้ว ชาวบ้านต าบลเย้ย ปราสาทยังมีรายได้ต ่า รายจ่ายสูง ยังต้องส่งลูกหลานไปท างานต่างถิ่น การเลี้ยงไหมใช้แรงงาน เพียง 2 คน การท านา ท าไร่ยังเป็นอาชีพหลักแต่ต้องเผชิญกับภาวะฝนแล้งขาดทุน มีหนี้สินเพิ่มขึ้น มิติที่4 ความสมัพนัธก์บัหน่วยงานภาคีท้องที่ท้องถิ่น รองนายกองค์การบริหารส่วนต าบลเย้ยปราสาท (อบต.) สุนทร อบอุ่น อดีตก านันต าบลเย้ย ปราสาท และมีบทบาทเป็นประธานสภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยปราสาทด้วย เป็นบุคคลส าคัญที่มี บทบาทในการเชื่อมประสานการท างานระหว่างแกนน าสภาองค์กรชุมชน ผู้ใหญ่บ้านก านัน (ท้องที่) และ ผู้น าใน อบต.(ท้องถิ่น) ให้เกิดการร่วมมือกันด าเนินงานพัฒนาต าบลอย่างเป็นเอกภาพ กล่าว ได้ว่าต าบลเย้ยปราสาทผู้น าท้องที่ ท้องถิ่น และสภาองค์กรชุมชนมีความสามัคคีร่วมมือกัน ด าเนินงานพัฒนาต าบลอย่างเป็นเอกภาพ ความสัมพันธ์ที่ดีดังกล่าว มาจากต้นทุนทางสังคม (Social Capital) ที่ดีของต าบล เป็นความสัมพันธ์เชิงเครือญาติวิถีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ส่วย แต่ก็ ท าให้องค์กรชุมชนเข้าถึงทรัพยากรได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างหรือ นโยบายก็ตาม นอกจากนี้ความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรชุมชน โดยเฉพาะความเข้มแข็งของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ท าให้หลายหน่วยงาน ให้การสนับสนุนทั้งในรูปแบบให้ความรู้ และ ให้งบประมาณ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับหน่วยงานสนับสนุนยังเป็นเพียงความสัมพันธ์เป็น ครั้งคราว ตามงบประมาณ ไม่ต่อเนื่อง จะเห็นว่าข้อมูลเชิงคุณภาพสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ เพียงแต่เมื่อพิจารณาข้อมูล คุณภาพเชิงลึกในแต่ละมิติแล้ว พบว่ายังมีรายละเอียดที่ต้องน ามาประกอบการพิจารณาร่วมด้วย ประกอบกับแกนน าใช้ตัวชี้วัดวิเคราะห์ต าบลเข้มแข็ง 4 มิติกันตามล าพัง ขาดการอธิบาย ชี้แจง ความหมายตัวชี้วัดแต่ละมิติให้เข้าใจโดยละเอียด คะแนนจึงออกมาค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม


79 ตัวชี้วัดต าบลเข้มแข็ง 4 มิติ นับว่าเป็นเครื่องมือวัดประเมินการท างานพัฒนาต าบลของแกนน าด้วย ตัวเองที่ดีมาก ส่วนที่ 5 ข้อคิดเหน ็ และข้อเสนอแนะ 1) ต าบลเข้มแข็ง ; สภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยปราสาท ความเข้มแข็งต าบลมีมากถึง 4 มิติ สภาองค์กรชุมชนต าบลเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้ เกิดต าบลเข้มแข็ง ซึ่งในแต่ละมิติต้องการพัฒนาเพิ่มเติมให้ชัดเจน ดังนั้นขบวนองค์กรชุมชนจังหวัด บุรีรัมย์ และพอช. ต้องมีบทบาทในการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ยปราสาทให้เกิดความ เข้มแข็งตามตัวชี้วัดด้วย คือ 1) ต้องมีการวางแผนพัฒนาผ่านกิจกรรมโครงการพัฒนา 2) ต้องมี นักพัฒนาชุมชนเป็นพี่เลี้ยงให้ค าปรึกษา แนะน า 3) ต้องใช้เวลาต่อเนื่อง (อย่างน้อย 3 ปี) จึงจะเกิด ความเข้มแข็งตามตัวชี้วัดได้ 4) ต้องมีแนวคิด และเครื่องมือการพัฒนาใหม่ๆ ช่วยหนุนสริมให้เกิด การเรียนรู้ เช่นการเก็บข้อมูลท าแผนชุมชน การใช้ต้นไม้ปัญหาวิเคราะห์ปัญหา การใช้บันไดผลลัพธ์ ติตตามความก้าวหน้าในการท า การใช้ตัวชี้วัด 4 มิติประเมินความเข้มแข็งสภาองค์กรชุมชน เป็น ต้น 2) กลุ่มองค์กรชุมชนเข้มแข็ง ; กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ กลุ่มองค์กรชุมชน กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์ มีการพัฒนาทักษะ เทคนิค การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมโดยบริษัทเอกชน จนสมาชิกแต่ละคนมีความช านาญ เขี่ยวชาญการปลูก หม่อนเลี้ยงไหม สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนที่สนใจได้ และมีความโดดเด่นด้านเศรษฐกิจ ถ้าน า ตัวชี้วัดความเข้มแข็งชุมชน 4 มิติ มาวัดประเมินกลุ่มองค์กรชุมชน ก็จะเห็นว่ากลุ่มมีความเข้มแข็ง อยู่พอสมควร แต่ถ้าน าตัวชี้วัดนวัตกรรมชุมชนมาวัดประเมินจะเห็นว่ายังมีข้อที่ต้องพัฒนาปรับปรุง อีกมาก เพราะว่าบริษัทเอกชนมุ่งพัฒนาเทคนิคทักษะของสมาชิก เพื่อความเข้มแข็งของธุรกิจ บริษัทมากกว่าจะหนุนเสริมให้กลุ่มองค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง และสภาองค์กรชุมชนต าบล ขบวน องค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ และ พอช.เอง ก็ไม่ได้วางแผนการพัฒนาให้กลุ่มองค์กรให้มีความ เข้มแข็งในลักษณะกลุ่มกิจกรรมพัฒนา มีเพียงการสนับสนุนงบประมาณให้กลุ่มท าแผนธุรกิจชุมชน ซึ่งไม่สอดคล้องกับการด าเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไหมอินทรีย์


80 3) ขบวนองค์กรชุมชนบุรีรัมย์ ขบวนองค์กรชุมชนบุรีรัมย์มีภารกิจมาก โดยเฉพาะภาระในเชิงการจัดการ และมีพื้นที่ เป้าหมายสภาองค์กรชุมชนต าบลมากถึง 208 ต าบล แต่มีก าลังคนในการติดตามหนุนเสริมสร้าง ความเข้มแข็งสภาองค์กรชุมชนเพียง 3-4 คน ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดจึงต้องก าหนดกลยุทธ์การ ท างานให้ชัดเจน เช่น มุ่งเน้นพัฒนาสภาองค์กรชุมชนต าบลที่มีศักยภาพพัฒนา และใช้กลยุทธ์พี่ สอนน้อง ต าบลเข้มแข็งเป็นพี่เลี้ยงต าบลอ่อนแอ ยกเลิกการท างานแบบหารแบ่งงบประมาณ เฉลี่ย ให้ทั่วกัน ............................................................................. วิธีเกบ ็ ข้อมูล การถอดองค์ความรู้ต าบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชนต าบลเย้ยปราสาท อ าเภอหนองกี่ จังหวัด บุรีรัมย์นั้นเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 รุนแรง ภาครัฐขอความร่วมมืองดเว้น การเดินทาง และการรวมกลุ่มท ากิจกรรม การเก็บข้อมูลเพื่อเขียนรายงานเบื้องต้น (Inception Report) จึงใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบออนไลน์ ค้นคว้าจากช่องทาง Internet และศึกษาข้อมูลจาก เอกสารที่ได้รับจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และองค์การบริหารส่วนต าบลเย้ย ปราสาท ส่วนการเก็บข้อมูลเพื่อเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ได้ใช้ข้อมูล Inception Report แตกค าถาม และลงพื้นที่ด าเนินการสัมภาษณ์กลุ่มแกนน าต าบล (Focus Group)


81 ขอขอบคุณแกนน าชุมชน ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ และเจ้าหน้าที่ พอช.ที่ให้ข้อมูล เป็นอย่างดียิ่ง 1) นายสุนทร อบอุ่น รองนายก อบต.เย้ยปราสาท และประธานสภาองค์กรชุมชนต าบลเย้ย ปราสาท 2) นางกนกพร ดวงเดือน นักพัฒนาชุมชน อบต.เย้ยปราสาท และที่ปรึกษากองทุนสวัสดิการ ชุมชน 3) นายอนุชา มีแก้ว หัวหน้ากลุ่มเลี้ยงไหมอินทรีย์ 4) นางเย็นตา สมงาม สมาชิกกลุ่มเลี้ยงไหมอินทรีย์ 5) นายสุริเยนทร์ สมบูรณ์ผช.ผญ.หมู่ 5 และสมาชิกกลุ่มเลี้ยงไหมอินทรีย์ 6) นางจ ารัส นามโคตร สมาชิกกลุ่มเลี้ยงไหมอินทรีย์ 7) นายเลื่อน จันนอ เลชานุการสภาพองค์กรชุมชนต าบลเย้นปราสาท 8) นายวุฒิพงษ์ เหลืองอุดมชัย ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ .......................................................................


82 การถอดองค์ความรู้การพัฒนาต าบลต้นแบบ นวัตกรรมชุมชน ตา บลโพธ์ิตาก อา เภอโพธ์ิตาก จงัหวดัหนองคาย โดย อรรถพล ปาณศรี ส่วนที่ 1 ข้อมูลบริบทพื้นที่ 1. บริบทพื้นที่ ที่ตั้งและอาณาเขต ต าบลโพธิ์ตาก อ าเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย แยกออกมาจาก อ าเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายโดยรวมเอาพื้นที่ 3 ต าบล เข้าด้วยกัน จัดตั้งเป็นกิ่งอ าเภอโพธิ์ ตาก ได้แก่ ต าบลโพธิ์ตาก ต าบลด่านศรีสุข ต าบลโพนทอง ซึ่งปัจจุบันต าบลโพธิ์ตากมีจ านวน 7 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ราบลุ่ม อาชีพหลักของประชาชนต าบลโพธิ์ตาก คืออาชีพเกษตรกรรม คือ ท านา ท าสวน และเลี้ยงสัตว์ ทิศเหนือ ติดกับ บ้านกาหม ต าบลโพนทอง และบ้านศูนย์กลาง ต าบลด่านศรี สุขกิ่งอ าเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ทิศใต้ ติดกับ ล าห้วยทอน ต าบลค าด้วง อ าเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออก ติดกับล าห้วยโมง ตรงข้ามบ้านกรวด ต าบลนาข่า อ าเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ทิศตะวันตก ติดกับล าห้วยทอนตรงข้ามบ้านค าด้วง อ าเภอบ้านผือ จังหวัด อุดรธานี 2. ประวตัิความเป็ นมา ประวัติความเป็นมาของต าบลต าบลโพธิ์ตาก อ าเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เมื่อปี พ.ศ. 2339 เกิดสงครามจีนฮ่อมีการรุกรานและรบ พุ่งมาถึงมณฑลลาวพวนท าให้เกิดการอพยพ ไทย พวนต าบลโพธิ์ตากจะเป็นชนเผ่าหนึ่งที่เรียกตนเองว่า ไทยพวน ได้อพยพครอบครัวมาจากบ่อแตน แก่นท้าวประเทศลาว มาเรื่อยๆจนมาพบเห็นต้นโพธิ์ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขา แผ่ปกคลุมออกไปเป็น อาณาบริเวณที่กว้างขวางมากให้ร่มเงาเป็นท าเลที่ดี เล่ากันว่า กองเกวียนที่อพยพสามารถน า เกวียนมาจอดพักในร่มโพธิ์ตาก ได้ถึง 500 เล่ม จึงได้ตั้งถิ่นฐาน แล้วให้ชื่อว่า บ้านโพธิ์ตาก เมื่อปี พ.ศ. 2345 มีพ่อเฒ่าขันฤทธิ์ (หมื่นจันทร์) เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกในจ านวน 6 คน ได้แก่ พ่อเฒ่า สาย พ่อเฒ่าเซียงกลม พ่อเฒ่าหมื่นอินทร์ พ่อเฒ่าศรีจันทร์ พ่อเฒ่าขรรทฤทธิ์ พ่อเฒ่าขุนหลวง ประสิทธิ์ ซึ่งนับได้ว่าบ้านโพธิ์ตาก ได้ผ่านเวลามาถึงปัจจุบันนี้ ปี พ.ศ. 2562 ได้กว่า 217 ปี แล้ว


83 วิถีไทยพวน ภาษาพูดเป็นภาษาไทยพวนภาษาสระแอ การแต่งกายด้วยผ้าทอมือ อาหาร พิธีแห่ข้าวพันก้อน พิธีก าฟ้า ชมรมไทยพวนต าบลโพธิ์ตาก สภาองค์ชุมชนต าบลโพธิ์ตาก และภาคีเครือข่ายในต าบลโพธิ์ ตากได้ด าเนินการสืบสานวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชาวไทยพวนแก่ลูกหลานให้พึ่งประพฤติ ปฏิบัติ ตนตามครรลองครองธรรมตามฮีต 12 ครอง 14 ตลอดมาประกอบกับหน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชนในพื้นที่ได้ให้การสนับสนุนโครงการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสืบสานวัฒนธรรมไทย พวนอย่างต่อเนื่อง วิถีชีวิตไทยพวนต าบลโพธิ์ตาก ก็มีวิถีชีวิตเฉกเช่นชนเผ่าไทยพวนในประเทศโดยทั่วไปนั่น ก็คือมีความผูกพันกับธรรมชาติ โดยมีปัจจัย 3 อย่างเป็นตัวประกอบคือ ข้าว ฝ้าย ไม้ไผ่


84 3. สภาพทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม มีการท านาตั้งแต่บรรพบุรุษ และยังสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันทุกบ้านจะปลูกข้าว ยางพารา ปาล์ม มันส าปะหลัง กล้วย อ้อย ข้าวโพด สวนผัก สวนผลไม้ เพื่อขายผลผลิตตามฤดูกาลเป็นอาชีพและรายได้หลักของชาวน ต าบลโพธิ์ตาก ชาวบ้านต าบลโพธิ์ตากยังมีการแปรรูปผลผลิตจากการเกษตร แปลรูปข้าวฮางงอก/แปลรูป กล้วย และยังมีผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ/ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือทีเป็นรายได้เสริมให้กับคนใน ชุมชน ชาวบ้านต าบลโพธิ์ตากยังมีรายได้แหล่งท่องเที่ยววิถีไทพวนและรายได้จาก โฮมสเตย์และ การจัดงานตามประเพณีต่างๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ชนเผ่าไทยพวนโพธิ์ตาก นับว่าโชคดีที่ได้สืบสานวิถีชีวิตของชนเผ่าสืบต่อกันมาร่วมทั้งการอนุรักษ์ และเผยแพร่ภูมิปัญญา ไปสู่การศึกษาและการเรียนรู้ของนักเรียน ประชาชนในชุมชน รวมถึงบุคคลากรจากองค์กรอื่น ที่มา ศึกษาดูงานหรือการท่องเที่ยว ตลอดจนการวิจัยทางการศึกษา ท าให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ และ ปราชญ์ชาวบ้านกลายเป็นองค์ความรู้ของชุมชน และแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาของโรงเรียนใน ชุมชน


85 4. สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม วัฒนธรรมประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาประเพณีก าฟ้า พิธีก าฟ้า เผาข้าวหลามทิพย์ จี่ข้าวจี่ เป็นพิธีกรรมของชาวไทยพวนในพื้นที่อ าเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย จัดขึ้นเพื่อให้คนใน ชุมชนเกิดความสามัคคี และการแสดงความเคารพต่อะณณมชาติและสิ่งแวดล้อม “ก า” ใน ภาษาไทยพวน หมายถึงการนับถือและสักการบูชา “ก าฟ้า” จึงหมายถึงสักการบูชาฟ้า เนื่องจาก ชาวพวนมีอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะการท านาในสมัยดั้งเดิมต้องอาศัยน ้าฝนจากธรรมชาติ จึงการเกรงกลัวฟ้ามากจึงมีการเซ่นสรวงสักการบูชาฟ้าส านึกในบุญคุณของฟ้าที่ให้น ้าฝน อัน หมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตคน สัตว์และพืชพรรณต่างๆก่อให้เกิดความร่มเย็น เป็นสุข “พิธีก าฟ้า” ยังคงถือปฏิบัติอยู่ในหมู่ชาวพวนทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย แต่ละท้องที่จะ ก าหนด วัน เวลาคลาดเคลื่อนกันไปบ้างแต่พิธีก าฟ้า เผาข้าวหลามทิพย์ จี่ข้าวจี่ของชาวไทยพวน โพธิ์ตาก ได้ก าหนดในวันขึ้น 3 ค ่า เดือน 3 เป็นวันก าฟ้าประจ าทุกปี กิจกรรมที่ชาวไทยพวนถือ ปฏิบัติกันในระหว่างวันที่ท่านได้คุ้มครองให้มีอายุยืนยาวให้อยู่ดี มีฝนตกต้องตามฤดูกาล มีข้าว


86 ปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยจะเผาข้าวหลามทิพย์และจี่ข้าวจี่ ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์แห่งความอุดม สมบูรณ์ มอบให้แขกผู้มาเยือน และบริโภคในครัวเรือนเพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยังมีการแสดงของลูกหลานชาวไทยพวน และการละเล่นรื่นเริงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เล่นโยนหลุม เม็ดมะขามพาเพลิน จูมบาน (ลักษณะคล้ายกับม้าหมุน) (ที่มา: ข้อมูลจากท่องเที่ยววิถีไทยพวน) 5. สภาพการเมืองการปกครอง ในเขตองค์การบริหารส่วนต าบลโพธิ์ตาก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 48 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,000 ไร่ (อ้างตามหนังสือข้อสภาต าบลและองค์การบริหารส่วนต าบลประจ าปี 2542 หน้า 294 กองตาการส่วนต าบลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) อาณาเขต ต าบลโพธิ์ตากมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ จรด บ้านกาหม ต าบลโพนทองและบ้านศูนย์กลางต าบลด่าน ศรีสุข อ าเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ทิศใต้ จรด ล าห้วยทอน ตรงข้ามบ้านนางิ้ว ต าบลค าด้วง อ าเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


87 ทิศตะวันออก จรด ล าห้วยโมง ตรงข้ามบ้านกรวด ต าบลนาข่า อ าเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ทิศตะวันตก จรด ล าห้วยโมง ตรงข้ามต าบลค าด้วง อ าเภอบ้านผือ จังหวัด อุดรธานี เขตการปกครอง จ านวนหมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโพธิ์ตาก ก านันชื่อ นายสามารถ สุทธิดี หมู่ที่ 2 บ้านโพธิ์ตาก ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญชัย ค าภูแก้ว หมู่ที่ 3 บ้านโพธิ์ตาก ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายค าเมือง เข็มพรมมา หมู่ที่ 4 บ้านสาวแล ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายคิด จ าปาทอง หมู่ที่ 5 บ้านสาวแล ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นางกนกวรรณ ตีชนะ หมู่ที่ 6 บ้านสาวแล ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเมธา สิทธิราช หมู่ที่ 7 บ้านศรีวิไล ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสุทธิเกียรติ ห่อศรี ลกัษณะภมูิอากาศ มีสภาพร้อนชื้น หน้าแล้งขาดน ้าในการเกษตร ลกัษณะดิน ดินร่วน ปนทราย ลักษณะของแหล่งน ้า หน้าแล้งปริมาณน ้าไม่เพียงพอ ส่วนหน้าฝนมีน ้าเพียงพอต่อการเกษตร ลักษณะไม้และป่ าไม้ ป่าเบญจพรรณ ประชากร ประชากรทั้งสิ้น 4,013 คน แยกเป็น ชาย 2,057 คน หญิง 1,956 คน 1,246 ครัวเรือน มี ความหนาแน่นเฉลี่ย 85 คน/ตารางกิโลเมตร ตามสถิติบ้านจากทะเบียนบ้าน แยกรายพื้นที่ ระดับ ต าบล ของวันที่ 13 เดือนกันยายน 2559


88 การศีกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์ตาก 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสาวแล 1 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง สาธารณสุข โรงพยาบาลอ าเภอโพธิ์ตาก 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับต าบล 2 แห่ง ที่มา ; ข้อมูลทั่วไป องค์การบริหารส่วนต าบลต าบลโพธิ์ตาก อ าเภอโพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย 6. พัฒนาการ/ความเป็ นมา การขับเคลื่อนงานจนถึงปัจจุบัน ของขบวนองค์กร ชุมชน สภาองคก์รชุมชนตา บลโพธ์ิตาก ได้มีการจัดตั้งมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีการคัดเลือกคณะกรรมการขึ้นมาช่วยกันขับเคลื่อน งานพัฒนาชุมชนจากหมู่บ้านละ 2 คน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการขับเคลื่อนงานด้านสวัสดิการให้แก่ชุมชน ได้แก่การด าเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชน (กองทุนวันละ 1 บาท) ด้านการสืบสานประเพณี วัฒนธรรมไทยพวน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การปลูกป่า บูรณการแผนและการท างานร่วมกับภาคี เครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน 7. ประเด็นงาน/กิจกรรมเด่นในพื้นที่/พื้นที่เรียนรู้ (ด้านเศรษฐกิจและทุน สภาองค์กรชุมชน สวัสดิการชุมชน การแก้ไขปัญหาที่ดินท ากิน กองทุนที่ดิน บ้านมั่นคง เขตเศรษฐกิจพิเศษ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่ าชุมชนหรือ สิ่งแวดล้อม องค์กรการเงิน การท่องเที่ยวชุมชน เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมประเพณีฯลฯ) ประเด็นและ/กิจกรรม จุดเด่นในพื้นที่ กิจกรรมในการเรียนรู้ งานส าคัญ/กิจกรรม ส าคัญที่ด าเนินการ องกรค์ที่รับผิดชอบ (เช่น สภาสวก.กองทุนที่ดิน ฯลฯ) ชื่อผู้ประสานงาน/เบอร์ โทร


89 ที่ดินท ากินและที่อยู่ อาศัย โครงการบ้านพอเพียง สภาองค์กรชุมชนต าบล โพธิ์ตาก น.ส.สุภาพร บัวค าเกิด กองทุนสวัสดิการชุมชน จัดสวัสดิการ เกิด เจ็บ ตาย กองทุนวันละบาท กองทุนสวัสดิการชุมชน ต าบลโพธิ์ตาก นางสาธินี สมสาร์ การท่องเที่ยวนวัตวิถี ไทยพวน เรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีความเป็นอยู่ ชุมชน ที่พักโฮมสเตย์ คณะกรรมการไทยพวน นางกาวี ค าภูแก้ว ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ เรียนรู้เรื่องวิถีเศรษฐกิจ พอเพียง ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงต าบลโพธิ์ตาก นายเสมือน ยอยผาลา ส่งเสริมกลุ่มทอผ้า พื้นบ้าน เรียนรู้ขั้นตอนการทอผ้า พื้นเมือง กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองต าบล โพธิ์ตาก นางเวียง ค าภูแก้ 8. การสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การ มหาชน) 8.1 การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคี ระบุให้เห็นรายละเอียดชื่อภาคี กิจกรรมที่หนุนเสริมและงบประมาณ(องค์การบริหารส่วน ท้องถิ่น(อบต/อบจ./เทศบาล) พม. ส านักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส านักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ส านักงานส่งเสริมหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สภาพัฒนาการเมือง(สพม.) กรมพัฒนาชุมชน เกษตร ต าบล/อ าเภอ/จังหวัด หรือหน่วยงานอื่นๆ) ชื่อภาคีความ ร่วมมือ(ระบุชื่อ เต็ม) รายละเอียดกิจกรรม/โครงการที่ ได้รับการสนับสนุน งบประมาณ เอกสารแนบประกอบ/ หลักฐาน(ถ้ามีแล้วหาก ยังให้ระบุกระบวนการ ดา เนินการต่อ อบต.โพธิ์ตาก สนับสนุนที่ท าการกองทุนสวัสดิการ ชุมชนต าบลโพธิ์ตาก(ที่ศูนย์3วัยฯเดิม) ที่ตั้งม่องเบิ่งนวัตกรรม ไทยพวน สถาบันการพัฒนา ชุมชน (พอช.) โครงการบ้านพอเพียงชนบท(งบ ซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อน) 95,000 ตามรายงานปิดโครงการ บ้านพอเพียง


90 สถาบันพัฒนาชุมชน (พอช.) โครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนต าบล โพธิ์ตาก 1569,020 เอกสารแนบกองทุนฯ ส านักงานพัฒนาชุ ชนจังหวัดหนองคาย การท่องเที่ยวนวัตวิถีไทยพวน 500,000 ปรับปรุง เสริมสร้างวิถี ไทยพวน 8.2 แผนงานพัฒนาชุมชน อย่างน้อย 3 ด้าน (ด้านสังคม/ด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชน/ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ด้านพัฒนาองค์กร/ด้านอื่นๆ) แผนงานด้าน การพัฒนา กระบวนการ/ วิธีการ/กลไก การดา เนินงาน ระยะเวลา ระยะสั้น(ไม่ เกิน1ปี /ระยะ กลาง(1-3ปี ) ระยะยาว (มากกว่า3ปี ) เป้าหมายการ เปลี่ยนแปลงของ ตา บล(สิ่งที่อยากให้ เกิดขึ้นในตา บล) งบประมาณ (บาท) หน่วยงานที่ สนับสนุน จัดท าแผน ชุมชนด้าน ต่างๆ จัดท าแผน ชุมชน(แผน ยุทธศาสตร์) ระยะสั้น แผนพัฒนาต าบลที่ เกิดจากการมีส่วนร่วม ของชุมชน 10,000 พอช./อบต. ด าเนินตาม แผนครบทุกมิติ ด าเนินตามแผน ระยะกลาง ผลสัมฤทธิ์ที่เป็น ประโยชน์แก่ชุมชน 10,000 พอช. รายงานผลการ ด าเนินงานตาม แผน รายงานเป็น รูปเล่ม เป็นไฟล์ เอกสาร ระยะสั้น รายงานผลที่เป็น รูปธรรม 10,000 พอช. 8.3 ผลการด าเนินงานที่ผ่านมา (ได้รับงบ/ความร่วมมือ สนับสนุนจาก พอช.และ หน่วยงานภาคีอื่นๆในปี 2561) แผนงานที่ ดา เนินงาน เป้าหมายที่ ต้องบรรลุ กระบวนการ/ วิธีการ ผลการ ดา เนินงานที่ เกิดขึ้น(เชิง ปริมาณ/ คุณภาพ) งบประมาณ ที่ไดรับการ สนับสนุน หน่วยงานที่ สนับสนุน(พร้อม หลักฐาน)


91 ซ่อมแซมบ้าน บ้านผู้ เดือดร้อน 5 หลัง ช่วยกันสาม ฝ่าย ท้องถิ่น ท้องที่ และ ท้องทุ่ง ซ่อมแซมแล้ว 5หลัง 95,000 พอช. การจัด สวัสดิการให้ ครอบคลุม ชุมชนมี คุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น แก้ไขเพิ่มเติม สวัสดิการของ กองทุน สวัสดิการ ชุมชน ประชากรมี คุณภาพชีวิต ที่ดี พอช. การ ท่องเที่ยวนวัต วิถีไทยพวน มีนักท่องเที่ยว มาเที่ยวที่ ชุมชน ค้นหาแลน มาร์คจุดที่ น่าสนใจ มีนักท่องเที่ยว มาเที่ยว มี รายได้เพิ่ม 500,000 สนง.พัฒนาชุมชน 8.4 การติดตามสนับสนุน ปัจจุบันมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การอบรม การประชุมสร้างเสริมการ เรียนรู้จะใช้รูปแบบออนไลน์(Zoom) โดยขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดจะเป็นคนก าหนดวันเวลา จัด กลุ่มการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการช่วยสนับสนุนสร้าง link การประชุมให้ กิจกรรมลักษณะนี้จะมีทุกเดือน เพื่อติดตามความก้าวหน้าการด าเนินงาน ร่วมกัน ประเมินสถานการณ์ ให้ค าแนะน า และร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และถ้ามี เวลาพอเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจะลงพื้นที่สนับสนุนการท างานในระดับพื้นที่ต าบล 8.5 การพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชนและคนท างาน ในปี 2564 มีโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพคนท างานสภาองค์กรชุมชน แต่ไม่สามาร ด าเนินการได้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จึงเลื่อนออกไป แต่มีเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์Zoom มีการจัดกลุ่มต าบลเข้าร่วมเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเข้าร่วมให้ข้อมูล ให้ค าแนะน า เชิญวิทยากรเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเป็นระยะๆด้วย


92 ต าบลโพธิ์ตาก มีการประเมินตนเองตามตัวชี้วัดความเข้มแข็ง 4 มิติ ก่อนที่จะได้รับการ คัดเลือกให้เป็น ต าบลตัวอย่างต้นแบบถอดองค์ความรู้การพัฒนาต าบลเข้มแข็งและนวัตกรรมชุมชน โดยมีผลการประเมินดังนี้ ต าบลเข้มแข็ง 4 มิติ คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ ร้อยละ มิติที่ 1 คนมีคุณภาพ 25 25 100 มิติที่ 2 องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง 30 26 87 มิติที่ 3 คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น 30 25 83 มิติที่ 4 ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น 15 15 100 ที่มา ; ผลการประเมินต าบลเข้มแข็ง 4 มิติ ต าบลโพธิ์ อ าเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคายผลการ ประเมินต าบลโพธิ์ ได้คะแนนรวม 91 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มต าบลต้นแบบเข้มแข็ง ระดับดีเยี่ยม 8.6 การเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย สภาองค์กรชุมชนต าบลที่เข้มแข็ง จะใช้สถานภาพของสภาองค์กรชุมชน และงบประมาณที่ ได้จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เชื่อมโยงภาคีภาคส่วนอื่นๆ ให้มาสนับสนุน กิจกรรมการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนในต าบลตัวเองด้วย เช่น ไปเชื่อมกับองค์การบริหารส่วน ท้องถิ่น(อบต/อบจ./เทศบาล) พม. ส านักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส านักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ส านักงานส่งเสริมหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สภาพัฒนาการเมือง(สพม.) กรมพัฒนาชุมชน เกษตร ต าบล/อ าเภอ/จังหวัด หรือหน่วยงานอื่นๆ) เป็นต้น


93 ส่วนที่ 2 ถอดองค์ความรู้การพัฒนาต าบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชน 1. บริบทพื้นที่(Context) ต าบลโพธิ์ตากมี2 ชนเผ่า คือ คนพื้นเมืองจ านวน 4 หมู่บ้านและคนไทยพวนจ านวน 3 หมู่บ้านคือหมู่1,2,3, บ้านโพธิ์ตาก แต่ดั้งเดิมมาชาวไทยพวนในต าบลโพธิ์ตากก็มีการด ารงชีวิตวิถี เกษตรมีประเพณี วัฒนธรรมที่สืบกันมาแต่บรรพบุรุษ นอกจากนี้ก็มีอาชีพอื่นๆ ปัจจุบันชาวพวนยังคงสภาพเป็นสังคมเกษตร ยังมีความผูกพันกันแน่นแฟ้นในหมู่ชาวพวน และความสัมพันธ์อันดีกับชาวไทยกลุ่มอื่น ยังคงพยายามรักษาประเพณี วัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์อ บ่างดีแต่เดิมเช่น ภาษาพูด ประเพณีพื้นบ้านบางอย่างก็มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ต าบลโพธิ์ตากได้มีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งถือเป็นโอกาสใน การให้ข้อมูลสภาวัฒนธรรมระดับจังหวัด ผลัดดันให้เกิดลานวัฒนธรรมไทยพวนของต าบลโพธิ์ตาก ขณะเดียวกันได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นกรรมการสภาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย ได้น าแผนงานด้านวัฒนธรรมไทยพวนเสนอเพื่อเข้าบรรจุเป็นเส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมจังหวัด หนองคาย จนเกิดเป็นลานวัฒนธรรมไทยพวนขึ้นมาโดยรับการสนับสนุนงบประมาณฝ่ายแผนงาน ยุทธศาสตร์จังหวัดหนองคายและองค์การบริหารส่วนต าบลโพธิ์ตาก ต าบลโพธิ์ตากยังพัฒนาพื้นที่เพื่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวอย่างยังยื่นและได้มีนักศึกษา จากสถาบันต่างๆเข้ามาศึกษาดูงานและสังเกตการณ์ในลานวัฒนธรรมพร้อมทั้งมีนักท่องเที่ยวเข้า มาสัมผัสบรรยากาศวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยพวน ท าให้การหมุนเวียนของเศรษฐกิจชุมชน 2. การสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) (Input) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดสรรงบประมาณตามแผนงานโครงการให้ ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดหนองคายเป็นประจ าทุกปี โดยแบ่งงบประมาณออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) งบเสริมสร้าง ใช้ส าหรับการพัฒนาความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชน 2) งบสมทบ ใช้ส าหรับ สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาในต าบล เช่น งบสมทบกองทุนสวัสดิการต าบล และงบสร้างบ้านพอเพียง เป็นต้น


94 ปีงบประมาณ 2564 สภาองค์กรชุมชนต าบลโพธิ์ตาก ได้รับจัดสรรงบประมาณ 32,000 บาท โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้สภาองค์กรชุมชนต าบลโพธิ์ตาก สนับสนุนกลุ่มแปรรูปอาหารจัดท าแผน ธุรกิจชุมชน จัดการฝึกอบรมการขายออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ท าให้กลุ่มต้องการ พัฒนาทักษะการขายและเพิ่มช่องทางการขายให้กับกลุ่มเพื่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่องและเป็นการ ปรับตัวตามสถานการณ์ในปัจจุบัน 3. นวัตกรรมชุมชน (Community Innovation) และกระบวนการ (Process) กรณี กลุ่มศนูยก์ารเรียนร้วูฒันธรรมไทยพวนโพธ์ิตาก 3.1 จดุเริ่มต้น นายสฤษดิ์ ใจหาญ ประธานชมรม พร้อมสมาชิก ลูกหลานชาวไทยพวนได้บอกเล่าความรู้ ใจว่าสิ่งที่ท าให้ชุมชนไทยพวน ของต าบลโพธิ์ตากมีวันนี้ได้เพราะความรักความภาคมภูมิใจในชาติ พันธุ์ เป็นส านักในรากเหง้าของตนเองต้องการบอกเล่าให้ผู้คนได้รับรู้ ไม่อยากให้ประเพณีจารีต วัฒนธรรมที่ดีงามของชาวไทยเลือนหายไปตามกาลเวลา ต้องมีการสืบสานถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่นให้คง อยู่ การจัดงานสืบสานวัฒนธรรมไทยพวนและอยากเห็นความร่วมไม้ร่วมมือพี่น้องให้พื้นที่ เกิดการ แลกเปลี่ยนเชิงวัฒนาธรรมร่วมกับชาวไทยพวน วัฒนธรรมอื่นๆและเกิด มติทางด้านเศรษฐกิจสร้าง รายได้ให้กับคนในชุมชน เช่นการสร้างที่อยู่อาศัยให้มีศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยพวน การ ฟื้นฟู่อาชีพของบรรพบุรุษ เช่นการท าข้าวเม่า เครื่องจักสาน การทอผ้า ท าให้คนมาเที่ยวต าบลโพธิ์ ตากได้สัมผัสวิถีชีวิตกลิ่นอายเสน่ห์ของชาวไทยพวน


95 3.2 การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคม คนในชุมชนต าบลโพธิ์ตากมีพลังความสามัคคีร่วมไม้ร่วมมือในการท ากิจกรรม ประเพณี วัฒนธรรมถูกฟื้นฟู่ตีแผ่เกิดความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง วิถีการกิน การอยู่ อาหารพื้นถิ่น ถูกน ามาสร้างมูลค่ารายได้ให้กับคนในชุมชนและเกิดระบบเศรษฐกิจในชุมชนเกิดการขับเคลื่อนคน ในชุมชนมีรายได้จากการจัดงานลานวัฒนธรรม สร้างรายได้จากการจ าหน่วยสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ในกลุ่มต่างๆเกิดแนวทางในการพัฒนาชุมชน ต่อยอดจากทุนต้นทุนเดิมของชุมชนที่มีอยู่และเชื่อม ร้อยกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชนเข้าด้วยกัน 3.3 หน่วยงานสนับสนุน หน่วยงานที่สนับสนุนได้แก่ ส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ส านักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดหนองคาย องค์การบริหารส่วนต าบลโพธิ์ตาก การสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) 3.4 ผลลัพธ์ความส าเร็จ ชุมชนและครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนเช่น อาหาร ผ้า ทอ และเกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการน าอาหารพื้นถิ่นขึ้นมาเป็นสินค้า ของชุมชน ในลาน วัฒนธรรมไทยพวนคนในชุมชนมีส่วนร่วมเกิดความร่วมมือรู้บทบาทหน้าที่ เกิดการเชื่อมโยงกันมาก ขึ้นเชื่อมโยงพื้นที่ภายใต้การท่องเที่ยวในชุมชนข้างเคียง พืชพื้นที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู่ คิดค้นต่อ ยอดให้เกิดมูลค่า 3.5 แนวทาง/แผนที่จะดา เนินการต่อข้างหน้า พัฒนาจัดระบบศูนย์การเรียนรู้วิถีประเพณีวัฒนธรรมชาวไทยพวนให้มีความถาวร พัฒนา ต่อยอดการแปรรูปอาหารและสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัย เพื่อสุขภาพของคนในชุมชนและ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชุมชน เชื่อมโยงศูนย์การเรียนรู้ต่างๆของชุมชนอย่างเป็นระบบและ พัฒนาบุคคลกรของชุมชนให้มีทักษะมีความรู้ในด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชนและสืบสานอักขระภาษา เขียนที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยพวน


96 3.6 พิจารณานวตักรรมชุมชน กรณีกลุ่มศนูยก์ารเรียนร้วูฒันธรรมไทยพวนโพธ์ิตาก ข้อพิจารณา ข้อคิดเห็น อะไรที่ใหม่ – ใหม่ อย่างไร เป็ นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น ;เกิดลานวัฒนธรรมไทยพวนที่เป็นจุดเชื่อมคนใน ชุมชนและขับเคลื่อนมติต่างๆไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณี คนใน ชุมชนมีรายได้ เกิดการจัดตั้งกลุ่มองค์กรแบบมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีกระบวนการ ท างานสามารถต่อยอดขอรับสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานได้และ เกิดศูนย์การเรียนรู้ด้านต่างๆคนในชุมชนเกิดความช านาญทักษะต่างๆ มากขึ้นและเกิดการประสานงานทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคประชา สังคมอย่างต่อเนื่อง คนในต าบลมีส่วน ร่วม เกิดการมีส่วนร่วม; คนในชุมชนเป็นสมาชิก คณะกรรมการของกลุ่ม หรือองค์กรชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมจัดท า แผนพัฒนาชุมชนร่วมกันและท าให้คนในชุมชนมีพลังความสามัคคี ร่วมมือในกิจกรรมของชุมชนประเพณีวัฒนธรรมถูกฟื้นฟู่ตีแผ่เกิดความ ภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง เปลี่ยนแปลงไป อย่างไร เกิดประโยชน์ส่งผลต่อเศรษฐกิจของตา บลโดยรวม ;ชุมชนและ ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจ าหน่วยผลิตภัณฑ์สินค้าของชุมชน ท าให้ส่งผลมีต่อด้านความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจใน ต าบล องค์กรชุมชนมี ความสามารถใน การบริหารจดัการ เกิดความสมัพนัธท์ ี่ดีเชิงโครงสร้าง ;เกิดการพัฒนาด้านความคิด การ ท างานที่ดีขึ้นเชื่อโยงและบูรณการกับเครือข่ายมากขึ้นเกิดการบริหาร จัดการกลุ่ม องค์กรเช่น การท าบัญชี การจดบันทึกรายรับรายจ่าย น าองค์ความรู้ที่ได้จากการบริหารจัดการจากลุ่ม


97 จากข้อมูลต าบลเข้มแข็งเชิงปริมาณข้างต้น ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มแกน น าสภาองค์กรชุมชนต าบลโพธิ์ตาก แกนน ากลุ่มประธานชมรมไทพวน ประธานขบวนองค์กรชุมชน ต าบลโพธิ์ตากและเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่รับผิดชอบพื้นที่ พอจะสรุปข้อมูล ต าบลเข้มแข็งเชิงคุณภาพตามตัวชี้วัด 4 มิติ ได้ดังนี้ 4. ผลลัพธ์ต าบลเข้มแข็ง (Product) ต าบลโพธิ์ตาก มีการประเมินตนเองตามตัวชี้วัดความเข้มแข็ง 4 มิติ ก่อนที่จะได้รับการ คัดเลือกให้เป็นต าบลตัวอย่างต้นแบบถอดองค์ความรู้การพัฒนาต าบลเข้มแข็งและนวัตกรรมชุมชน โดยมีผลการประเมินดังนี้ ต าบลเข้มแข็ง 4 มิติ คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ ร้อยละ มิติที่ 1 คนมีคุณภาพ 25 25 100 มิติที่ 2 องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง 30 26 87 มิติที่ 3 คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น 30 25 83 มิติที่ 4 ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น 15 15 100 ต าบลโพธิ์ ได้คะแนนรวม 91 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มต าบลต้นแบบเข้มแข็ง ระดับดีเยี่ยม ที่มา ; ผลการประเมินต าบลเข้มแข็ง 4 มิติ ต าบลโพธิ์ อ าเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคายผลการ ประเมินต าบลโพธิ์ ได้คะแนนรวม 91 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มต าบลต้นแบบเข้มแข็ง ระดับดีเยี่ยม จากข้อมูลต าบลเข้มแข็งเชิงปริมาณข้างต้น ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มแกนน า สภาองค์กรชุมชนต าบลโพธิ์ตาก แกนน ากลุ่มชมรมไทยพวน พอจะสรุปข้อมูลต าบลเข้มแข็งเชิง คุณภาพตามตัวชี้วัด 4 มิติ ได้ดังนี้ มิติที่1 คณุภาพชีวิตคน ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดหนองคาย สนับสนุนการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนต าบลโพธิ์ตาก ผ่านข้อเสนอแผนงานโครงการประจ าปี และมีกิจกรรมกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง รวมทั้ง มีกิจกรรมพัฒนากลุ่มอาชีพอื่น ๆ จากหน่วยงานในท้องถิ่นด้วย ซึ่งด าเนินการกันมาอย่างต่อเนื่อง


Click to View FlipBook Version