The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 110 วิภาดา ไชยโชค, 2024-01-29 07:06:38

นางสาววิภาดา ไชยโชค

แผนการจัดการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1

แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาจีน3 จ22201 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี ชื่อ-สกุล นางสาววิภาดา ไชยโชค รหัสประจำตัวนักศึกษา 62100106110 สาขาวิชาการสอนภาษาจีน การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 รหัสวิชา ED18501 (INTERNSHIP IN SCHOOL 1) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566


ก คำนำ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีน รหัสวิชา จ22201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ให้ครูผู้สอนได้มีการเตรียมการสอน ล่วงหน้า ก่อนที่ จะทำการสอนจริง โดยมีการเตรียมเนื้อหาเตรียมกิจกรรม เตรียมสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีการวัดผล ประเมินผลซึ่งการเตรียมการสอนจะช่วยให้ครูผู้สอนมีความพร้อมที่จะสอนให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของ หลักสูตร การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฉบับนี้ ผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์หลักสูตร จัดทำกำหนดการสอน โครงสร้างรายวิชา และหารูปแบบการทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ เรียนผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของผู้เรียน โรงเรียน และชุมชนเป็นหลัก แผนการจัดการเรียนรู้ฉบับนี้ประกอบด้วย เรื่อง คำศัพท์ บทสนทนา จัดทำไว้เพื่อสะดวกต่อการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกปีการศึกษา ผู้ที่จะนำไปใช้ควรอ่านคำชี้แจงการใช้ แผนการจัดการเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนนำไปใช้จริง ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนการจัดการเรียนรู้ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้และทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะกระบวนการและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตาม จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ต่อไป วิภาดา ไชยโชค


สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข สารบัญ (ต่อ) ค หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) 1 ความสำคัญของภาษาจีน 1 เรียนรู้อะไรในภาษาจีน 2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ความรู้ทางภาษา 3 ทักษะทางภาษา 4 ความรู้และเข้าใจทางวัฒนธรรม 4 สมรรถนะของผู้เรียน 4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 คำอธิบายรายวิชา 6 ตารางโครงสร้างหลักสูตร 7 เกณฑ์การเก็บคะแนนวิชาภาษาจีน 9 กำหนดการสอน 11 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 13 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 23 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 34 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 46 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 57 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 71 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 84 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 97 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 108 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 121 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 133 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 145


สารบัญ (ต่อ) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 156 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14 166 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15 180 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 192 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17 203 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 213 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 223 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 234 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21 244 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 254 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 263 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24 274


1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง) ความสำคัญของภาษาจีน จุดมุ่งหมายของการเรียนภาษาจีนคือ การสร้างศักยภาพในการใช้ภาษาจีนเพื่อสื่อสาร กับชาวจีนหรือ ผู้คนที่ใช้ภาษาจีน ด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ การศึกษา การท่องเที่ยว การร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชน การกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม แม้ต้นทางของการ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศคือการศึกษา แต่เมื่อเข้าสู่อาชีพ นั่นคือ การดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจ การมีงานทำ พร้อมมีรายได้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ถือเป็นการพัฒนา เศรษฐกิจส่วนตนให้มีความมั่นคง อันเป็นส่วนหนึ่ง ของการพัฒนาเศรษฐกิจชาติ ความรุ่งเรือง ทางเศรษฐกิจนำมาซึ่งความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน ในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต ทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศถือเป็นปัจจัยที่ สำคัญของการสื่อสาร แม้บุคคลจะมีศักยภาพโดดเด่นหลากหลายด้านในเชิงวิชาการหรือศาสตร์อื่นๆ แต่หาก ด้อยความสามารถ ด้านภาษาต่างประเทศ ศักยภาพที่มีอยู่ย่อมเสมือนลดทอนลง ภาษาต่างประเทศที่สำคัญๆ ล้วนเป็นภาษาของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งรัฐต่างประเทศต้องการร่วมทำการค้าด้วย อย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีเศรษฐกิจเติบโตก้าวหน้าในประชาคมโลกอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง ภาษาจีนจึงเป็น ภาษาต่างประเทศที่มีความสำคัญตามอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ซึ่งคนทั่วโลกนิยมเรียนรู้อีกทั้งยังเป็นภาษาหนึ่ง ขององค์การสหประชาชาติ การเรียนรู้ภาษาจีนของคนไทยจึงมีความจำเป็นในการเพิ่มศักยภาพการสื่อสารกับ ประชากรในประเทศจีนและในประชาคมโลก เพราะภาษาจีน มิใช่สื่อสารกันเพียงภายในประเทศจีนเท่านั้น หากมีผู้นิยมใช้กันทั่วโลก และมีผู้นิยมใช้มากที่สุดด้วย การส่งเสริมให้คนไทยสามารถใช้ภาษาจีนได้ จะส่งผลต่อ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีระหว่างประเทศ และการมีสัมพันธไมตรีอันดีกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศที่สองในประเทศไทยได้ ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เมื่อกระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ซึ่ง เปิด โอกาสให้ผู้เรียนได้เพิ่มการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมากขึ้น ทันการณ์กับการเปลี่ยนแปลง อันรวดเร็วของโลกา ภิวัตน์ซึ่งเกิดเสรีนิยมทางการค้า การพัฒนาเทคโนโลยี และการไหลเวียน สารสนเทศอย่างรวดเร็ว ทันทีที่ ประกาศใช้หลักสูตร โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐ และเอกชนจำ นวนมากจัดการเรียนการ สอนภาษาจีนเป็นวิชาเพิ่มเติม ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อสร้างสังคม ฐานเศรษฐกิจที่อาศัยภาษาจีนเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร แต่ทว่ายังไม่มีหลักสูตรภาษาจีนโดยเฉพาะ สถานศึกษาต่างจัดทำหลักสูตรของตนเอง ตามมาตรฐานสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จึงไม่เป็นมาตรฐาน เดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้เป็น มาตรฐานเดียวกัน และเป็นไปตามมาตรฐานสากลของเจ้าของภาษา รวมทั้งเพื่อให้การสื่อสารภาษาจีนของคน ไทยมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำามาตรฐานสาระการเรียนรู้ภาษาจีน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกรอบ


2 หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดย กำหนดตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ภาษาจีนเป็นชั้นปี เพื่อเป็นแนวทางสำาหรับสถานศึกษาในการนำไป ออกแบบบทเรียนและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสภาพการเรียนการสอน ใน โรงเรียน เรียนรู้อะไรในภาษาจีน จุดมุ่งหมายของการเรียนภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือ พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและสามารถสื่อสารภาษาจีนขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง การฟัง - พูด - อ่าน - เขียน - และแสดงออก สามารถใช้ภาษาจีนในการแสวงหาความรู้ ศึกษาต่อประกอบ อาชีพ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวและวัฒนธรรมจีน เพื่อเข้าถึงปรัชญา วิธีคิด และวิถีชีวิตของชาวจีน สามารถเปรียบเทียบและถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทย-จีนด้วยภาษาจีนอย่างสร้างสรรค์ และมีเจตคติที่ ดีต่อภาษาจีน ดังนั้นเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ดังกล่าว สาระสำคัญของการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงประกอบด้วย ❖ การใช้ภาษาจีนในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน-แสดงออก แลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นตีความ สรุปความนำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่อง ต่างๆ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม ❖ การใช้ภาษาจีนตามแบบแผนและวัฒนธรรมจีน รู้และเข้าใจความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของจีนกับของไทย และนำ ไปใช้อย่างเหมาะสม ❖ การใช้ภาษาจีนในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน ❖ การใช้ภาษาจีนในสถานการณ์ต่างๆทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และ สังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายการเรียนรู้ดังกล่าวกำหนดขึ้นตามมาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ดังนี้ มาตรฐาน 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดง ความคิดเห็น อย่างมีเหตุผล มาตรฐาน 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและ ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน 1.3 นำ เสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูด และการเขียน


3 มาตรฐาน 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้ อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ มาตรฐาน 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษา กับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำ ไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มาตรฐาน 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็น พื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน มาตรฐาน 4.1 ใช้ภาษาจีนในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม มาตรฐาน 4.2 ใช้ภาษาจีนเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ และการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก ความรู้ทางภาษา 1. รู้และเข้าใจการออกเสียง – รู้พยัญชนะและสระในรูปสัทอักษรพินอิน พร้อมเปรียบเทียบ กับ อักษรจีน สามารถประสมพยัญชนะกับสระได้ รู้และเข้าใจการออกเสียงต่อเนื่องและการเปลี่ยนเสียง การ แยกแยะเสียง สามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเสียง ตัวอักษร และความหมายได้ รู้ว่าภาษาจีนมีเสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง และเสียงเบา 1 เสียง เมื่อเข้าใจหลักการเบื้องต้นเช่นนี้จึงสามารถใช้เป็นฐานในการ พัฒนาการเรียนรู้ของตนในขั้นสูงขึ้นเป็นลำดับได้ จนสามารถออกเสียงได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติ รวมทั้งออกเสียงด้วยทำนองเสียงและน้ำหนักเสียงเพื่อสื่อสารความหมายพิเศษได้ 2. รู้ตัวอักษรและคำศัพท์ - รู้ตัวอักษรและคำศัพท์โดยเริ่มจากส่วนที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน สามารถจำและอ่านตัวอักษรจีนและคำศัพท์ สามารถแยกแยะเสียงอ่านรูป และความหมายของตัวอักษรจีน รู้เส้นขีดและลำดับขีดของตัวอักษรจีน รู้เส้นขีดพื้นฐานและเส้นขีดพิเศษที่ใช้บ่อยของตัวอักษรจีน เข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับคำศัพท์ รู้ตัวอักษรเดี่ยวและอักษรประสม รู้หมวดคำและส่วนประกอบของ ตัวอักษรจีน รู้วิธีประกอบตัวอักษรและโครงสร้างของตัวอักษร เข้าใจความหมายของคำศัพท์ในบริบทต่างๆ เรียนรู้และเพิ่มพูนคำศัพท์ใหม่ๆ จากเรื่องใกล้ตัวและเรื่องราวในชีวิตประจำวันจนถึงเรื่องในสังคมวงกว้างและ ข้ามสาระวิชาสามารถเลือกใช้คำศัพท์เพื่อสื่อสาร และสื่อความหมายในหัวข้อต่างๆ ในระดับประถมศึกษาควร รู้จักตัวอักษรประมาณ 200 ตัว คำศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องประมาณ 500-600 คำ ส่วนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น ควรรู้และใช้คำศัพท์ไม่ต่ำกว่า 1,000 คำ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรรู้และใช้คำศัพท์ไม่ต่ำ กว่า 1,500 คำ 3. รู้และสามารถใช้ไวยากรณ์ - รู้และเข้าใจหน้าที่ของคำที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน เพราะคำศัพท์แต่ ละคำจะสื่อความหมาย และทำหน้าที่ต่างกัน เมื่อนำมาเรียงกันตามหลักไวยากรณ์จึงจะสื่อความหมายได้ ครบถ้วนและกว้างขึ้น ผู้เรียนจึงต้องรู้และเข้าใจหน้าที่ของคำ ได้แก่ คำนาม ลักษณะนาม สรรพนาม บุพบท สันธาน คุณศัพท์ คำวิเศษณ์ คำกริยา กริยาช่วย การซ้ำคำกริยา และรู้ลำดับของคำ โครงสร้างและรูปประโยค ที่ใช้บ่อย ได้แก่ ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม ประโยคอุทาน ประโยคเปรียบเทียบ ประโยคความรวมประเภทต่างๆ ที่ซับซ้อนขึ้น เป็นลำดับในบริบทต่างๆ รวมทั้งไวยากรณ์อื่นๆ ที่เป็นแบบแผน


4 สำหรับการสื่อสารที่ถูกต้องตาม ระเบียบวิธีทางภาษา เพราะเมื่อผู้เรียนรู้คำศัพท์และความหมายของคำ เหล่านั้นแล้ว ไวยากรณ์จะเป็น ส่วนที่จัดเรียงคำลงในลำดับตามหน้าที่ที่ถูกต้องของคำนั้นๆ เพื่อสื่อความหมาย ทักษะทางภาษา 1. มีสมรรถนะทางภาษา - เข้าใจและสามารถใช้ทักษะการสื่อสารที่คล่องแคล่วขึ้นเป็นลำดับตามวัย และประสบการณ์ที่สั่งสม ได้แก่ การทักทาย อำลา ขอบคุณ ขอโทษ ชมเชย อวยพร เชื้อเชิญ แนะนำ สอบถาม เตือน เล่าเรื่อง อธิบาย บรรยาย แสดงอารมณ์ความรู้สึก ท่าทีความคิดเห็น สนทนาโต้ตอบพูดคุย เกี่ยวกับการใช้ชีวิต - การเรียน - สถานการณ์ - ประเด็นทาง สังคมและวัฒนธรรม 2. เข้าใจและสามารถใช้ประเด็นสนทนาจากเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน สู่เรื่องไกลตัว เช่น ข้อมูล ส่วนตัว งานอดิเรก ครอบครัว โรงเรียน ชีวิตการเรียน การดำเนินชีวิตในสังคม สภาพแวดล้อม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ประเด็นเกี่ยวกับสังคม ศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง ทั้งใน ระดับชาติและนานาชาติ เรื่องในอดีต - ปัจจุบัน - อนาคต 3. เข้าใจและสามารถสื่อความหมายตรงตัวและความหมายแฝง จับใจความสำคัญ ใช้ภาษากายหรือ สิ่งของเพื่อช่วยในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เขียนความเรียงและขัดเกลาภาษา ได้อย่างเหมาะสม ความรู้และเข้าใจทางวัฒนธรรม 1. รู้และเข้าใจวัฒนธรรมจีน และสามารถเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่าง กับ วัฒนธรรมไทย เช่น ชนชาติ บุคคลสำคัญ เทศกาล ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อศรัทธา มารยาท อาหาร การละเล่น สิ่งประดิษฐ์ วิถีชีวิตในอดีตและปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ระบอบการปกครอง และความ เป็นไปต่างๆ ที่สะท้อนถึงความเป็นชนชาติและวัฒนธรรมจีน สมรรถนะของผู้เรียน 1. ความสามารถในการสื่อสารหมายถึง ความสามารถในด้านการพูดภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้ในการ สื่อสาร เพื่อการศึกษาตามลําดับขั้นของการเรียนรู้การศึกษาข้อมูล แลกเปลี่ยนกับบุคคลทางสังคม และกับ เจ้าของภาษา การเลือกใช้ภาษาจีนเพื่องานอาชีพและการสื่อสารเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน เป็นการ เสริมสร้างศักยภาพทางด้านการสื่อสาร ฝึกทักษะการพูด ออกเสียง สําเนียงตามเจ้าของภาษา เพื่อให้ผู้เรียน เกิดสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาจีน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และ เป็นผู้ถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีไทยกับเจ้าของภาษาได้อย่างเหมาะสม 2. ความสามารถในการคิด หมายถึง ความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ ข้อมูล คําศัพท์ โครงสร้างทางประโยค และโครงสร้างทางภาษาจีน ได้อย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการคิด สร้างสรรค์จากการเรียนรู้ภาษาจีน เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อในระดับสูง และการประกอบอาชีพที่ สนใจ หรือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู๎หลักภาษา สร้างความคิดรวบยอดด้วยตนเองโดยผ่าน กระบวนการ องค์ประกอบของการคิดแต่ละด้าน ซึ่งมีเทคนิคการคิดที่หลากหลาย เมื่อได้รับข้อมูลต้องคิด ไตรํตรอง คิด


5 แยกแยะ และคิดหาคําตอบ ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะการคิดอันจะนําไปสู่การยกระดับ ความสามารถทางด้าน การคิดของตัวผู้เรียน เพื่อให้ตนเองเกิดศักยภาพสูงสุด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถในด้านการแก้ไขปัญหาจาก สถานการณ์ จริงหรือสถานการณ์จําลองที่เกิดขึ้น เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ไตรํตรอง หาเหตุผลได้อย่างถูกต้อง ผู้เรียน มีความสามารถในการคิดแก๎ปัญหา และสามารถตัดสินใจ แก้ไขได้ด้วยตนเอง เกิดการเรียนรู้และสร้างความ ตระหนักถึงการบริหารจัดการ เมื่อต้องคํานึงถึงสิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุดหลังจากการจัดการ กับปัญหา และ บูรณาการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตหมายถึง ความสามารถในการวางแผน กําหนดเป้าหมาย ทักษะชีวิตหลังจากเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ภาษาจีนในการศึกษาต่อระดับสูง หรือประกอบอาชีพ หรือหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาจีน ได้อย่างเหมาะสม และตรงกับบริบทที่ผู้เรียนสนใจ สร้างทักษะ ทางภาษาเพื่อต่อยอดความรู๎ในการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นผู้นําทางเศรษฐกิจ การตลาดระดับสากลตามสาย งานที่เหมาะกับสังคมนิยม พัฒนาทักษะทางภาษาได้ครบทั้ง 4 ด้าน และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันเกิด ความรู้ความสามารถอย่างเชี่ยวชาญ มีสมรรถนะอันจะส่งเสริมให้ตนเองเป็นผู้นํา ทางด้านการบริหารหรือ จัดการระบบตามวิถีชีวิตที่เหมาะสมในบริบทของตนเอง 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีหมายถึง ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ภาษาจีน กับเจ้าของภาษาสําหรับการเรียนรู้และการประกอบอาชีพได้อย่างเต็มศักยภาพ ฝึกทักษะการใช้ เทคโนโลยี สื่อ มัลติมีเดีย อุปกรณ์ทางการเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อประกอบการใช้งานเพื่อการศึกษา เรียนรู้และสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว อันนําไปสู่สมรรถนะทางด้านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มี ความสามารถในการเลือกใช้เพื่อประกอบอาชีพที่สุจริต และตระหนักถึงความสําคัญของการใช้งานที่ เหมาะสม มุ่งให้เกิดการพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพของการเรียนรู้และพัฒนางานในหน้าที่ให้เกิด องค์ ความรู้ใหม่ มีทัศนคติที่ดีต่อการนําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการสื่อสารภาษาจีน และคํานึงถึงประโยชน์สูงสุด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทํางาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณ


6 คำอธิบายรายวิชา รายวิชาภาษาจีน 3 จ 22201 สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต ศึกษา ภาษาเพื่อการสื่อสาร ภาษาและวัฒนธรรม ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก เกี่ยวกับ คำสั่ง คำแนะนำ คำขอร้อง คำอธิบาย หลักการอ่านในระบบ เสียงภาษาจีนกลาง คำศัพท์ กลุ่มคำ ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้พจนานุกรม คำ กลุ่มคำ และบทสนทนา สั้น ๆ ที่มีความหมายเกี่ยวกับเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน อาหาร เครื่องดื่ม ทิศทาง คำศัพท์สะสม 150- 200คำ บทสนทนาที่มีภาพประกอบ ประโยคคำถาม คำตอบ เส้นขีดพื้นฐานอักษรจีน ลำดับขีด อักษรจีน ตัวเลข ตัวอักษรง่าย ๆ ถ้อยคำ น้ำเสียง กิริยาท่าทาง ตามมารยาทสังคม วัฒนธรรมของจีน ข้อมูล ความสำคัญของ เทศกาล วันสำคัญ งานฉลอง ชีวิตความเป็นอยู่ของจีน กิจกรรมทางภาษา วัฒนธรรมของจีน ความแตกต่าง ระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ ของภาษาจีนกับภาษาไทย ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลอง วัน สำคัญ ชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของจีนกับวัฒนธรรมของไทย คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อื่น จากสื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ประโยคหรือบทสนทนาในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษา นำคำศัพท์ ประโยค บทสนทนาที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์จริง การใช้ภาษาจีนในการ สืบค้น และรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใกล้ตัวจากสื่อต่างๆ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางภาษาฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติ แนะนำ อธิบาย อ่านออก เสียง พูดและเขียน ใช้ภาษาสื่อสาร บรรยาย เข้าร่วม/จัดกิจกรรม บอกความเหมือนใช้เครื่องหมาย เปรียบเทียบ ค้นคว้า รวบรวม และนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางภาษาฟัง พูด อ่าน และเขียน ได้อย่างถูกต้อง และ สุภาพตามมารยาทสังคม วัฒนธรรมของจีน ตามความสนใจ เกิดความสามารถในการคิด ความสามารถใน การ สื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำ คำขอร้อง คำชี้แจง และคำอธิบายที่ฟังและอ่าน 2. อ่านออกเสียงตัวอักษร คำศัพท์ กลุ่มคำ ประโยค ตามหลักการอ่านในระบบเสียงภาษาจีนกลาง 3. ระบุภาพ หรือสัญลักษณ์ ตรงตามความหมายของคำ กลุ่มคำ และประโยคจากการฟัง หรือการอ่าน 4. พูดหรือเขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล 5. เขียนอักษรจีนตามหลักการเขียน คำศัพท์ 6. ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทางอย่างสุภาพตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของจีน 7. บอกข้อมูล และความสำคัญของเทศกาล วันสำคัญ งานฉลอง ชีวิตความเป็นอยู่ของจีน 8. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมของจีน ตามความสนใจ 9. ฟัง พูด อ่าน หรือเขียนประโยคหรือบทสนทนาในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน รวมผลการเรียนรู้ 9 ผลการเรียนรู้


7 ตารางโครงสร้างหลักสูตร รายวิชา ภาษาจีน3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรโรงเรียนโรงเรียนมัธยมเทศบาล6 นครอุดรธานี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 จำนวน 40 หน่วยกิต เวลา 40 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 สัทอักษรจีนพินอิน 汉语拼音 ต 1.1 ม.2/1 ต 1.1 ม.2/2 ต 1.2 ม.2/3 การเรียนการสอน ฝึกหลักการใช้ คำศัพท์เพื่อสื่อความหมายให้ ถูกต้องตามหลักการ สามารถ บอกและแปล ความหมายเป็น ภาษาจีนได้ จะช่วยให้เข้าใจ ความหมายและสามารถเรียน ภาษาจีนได้ง่ายขึ้น 8 15 2 รูปร่างของคุณสูงจริงๆ 你的个子真高! ต 1.1 ม.2/1 ต 1.1 ม.2/2 ต 1.1 ม.2/3 ต 1.2 ม.2/3 การเรียนรู้คำศัพท์ประจำ บทเรียน เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ การสนทนาภาษาจีนพื้นฐาน เป็น การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถ นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 7 15 3 นี่คือสุนัขของใคร? 这是谁的狗? ต 1.1 ม.2/1 ต 1.1 ม.2/2 ต 1.1 ม.2/3 ต 1.2 ม.2/1 ต 1.2 ม.2/3 -การเรียนรู้คำศัพท์ประจำ บทเรียน 这是谁的狗? เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการออก เสียงสัทอักษร ภาษาจีน การ สนทนาภาษาจีนพื้นฐาน ด้าน การสนทนากับชาวจีนเบื้องต้น เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถ นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน -ปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ หรือพูด โต้ตอบประโยคสั้นๆระหว่าง บุคคลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 7 15


8 หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 4 ฉันไปร้านค้า 我去商店。 ต 1.1 ม.2/1 ต 1.1 ม.2/2 ต 1.1 ม.2/3 ต 1.2 ม.2/1 ต 1.2 ม.2/3 การเรียนรู้คำศัพท์ประจำ บทเรียน เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ การออกเสียงคำศัพท์ สถานที่ ภาษาจีน การสนทนาภาษาจีน พื้นฐาน ด้านการสนทนากับชาว จีนเบื้องต้น เป็นการเรียนรู้ที่ ผู้เรียนสามารถ นำไปใช้ได้จริงใน ชีวิตประจำวัน 7 15 5 อารมณ์และความรู้สึก 情感 ต 1.1 ม.2/1 ต 1.1 ม.2/2 ต 1.1 ม.2/3 ต 1.2 ม.2/1 ต 1.2 ม.2/3 เนื่องจากแต่ละคนมีอารมณ์ที่ แตกต่างกัน เช่น อารมณ์ดี อารมณ์โกรธ อารมณ์เครียด ดังนั้นนักเรียนจึง ควรเรียนรู้เรื่อง อารมณ์ของบุคคล เพื่อที่จะ สามารถนำไปใช้ในการบอก อารมณ์ของบุคคลต่างๆ ได้อย่าง ถูกต้องตามความเป็นจริง 6 10 6 งานอดิเรก 爱好 ต 1.1 ม.2/1 ต 1.1 ม.2/2 ต 1.2 ม.2/1 ต 1.2 ม.2/3 การฝึกภาษาทางด้านการอ่าน ออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงาน อดิเรกของบุคคล เป็นการฝึกใช้ ภาษาใน ชีวิตประจำวัน นักเรียน จำเป็นต้องใช้คำศัพท์สำนวน ภาษา และโครงสร้างประโยคที่ ถูกต้องและเหมาะสม ตาม วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา 5 10 เก็บคะแนนระหว่างภาค 80 สอบวัดผลปลายภาค 20 รวม 40 100


9 เกณฑ์การเก็บคะแนนวิชาภาษาจีน (จ22201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายการประเมิน-คะแนน ก่อนกลางภาค กลางภาค หลังกลางภาค ปลายภาค K P A K K P A K บทที่1 汉语拼音 สัทอักษรจีนพินอิน 1.นักเรียนรู้คำศัพท์การทักทาย การบอกกเลิกชั้น เรียนนภาษาจีนได้ถูกต้อง 5 3 2 7 คะแนน - - - - 2. สามารถสนทนากับครูผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น เรียนเป็นภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง บทที่2 你的个子真高!รูปร่างของคุณสูงจริง 1.นักเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องร่างกายได้ 2.นักเรียนสามารถสนทนาตอบคำถามของบทเรียน 5 4 2 7 คะแนน - - - - เรื่องร่ายกายได้ บทที่3 这是谁的狗?นี่คือสุนัขของใคร 1.นักเรียนมีความรู้และจดจำคำศัพท์เกี่ยวกับเรื่อง สัตว์ 5 3 1 6 คะแนน - - - - 2.นักเรียนสามารอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนได้ ถูกต้อง บทที่4 我去商店。ฉันไปร้านค้า 1.นักเรียนมีความเข้าใจคำศัพท์ภาษาจีนหมวด สถานที่ - - - - 5 3 2 7 คะแนน 2.นักเรียนสามารถสนทนากับครูผู้สอนและเพื่อน ร่วมชั้นเป็นภาษาจีนได้ถูกต้อง บทที่5 情感 อารมณ์ความรู้สึก 1.นักเรียนสามารถจำแนกอารมณ์และความรู้สึก บุคคลบอกความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกได้ - - - - 5 4 2 7 คะแนน 2. นักเรียนเกิดทักษะการสื่อความรู้สึกเป็น ภาษาจีนได้


10 เกณฑ์การเก็บคะแนนวิชาภาษาจีน (จ22201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี(ต่อ) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายการประเมิน-คะแนน ก่อนกลางภาค กลางภาค หลังกลางภาค ปลายภาค K P A K K P A K บทที่6爱好 งานอดิเรก 1.บอกคำศัพท์ จดจำ และตอบคำถามคำศัพท์ เกี่ยวกับงานอดิเรกได้ - - - - 5 3 1 6 คะแนน 2.สามารถอ่านออกเสียงคำศัพท์และพูดประโยค สนทนาเรื่องงานอดิเรกได้ รวม 15 10 5 20 15 10 5 20 รวมทั้งหมด 100


11 กำหนดการสอน รายวิชา ภาษาจีน3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 จำนวน 1 หน่วยกิต เวลา 40 ชั่วโมง ชั่วโมงที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ / หน่วยย่อย จำนวนคาบ 1 เรื่องสัทอักษรจีนพินอิน -做准备 เตรียมความพร้อม 1 2-3 -พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ 2 4-5 -การอ่นออกเสียง 2 6-7 -การแยกคำของสัทอักษร 2 8 -แบบทดสอบ 1 9-10 เรื่อง 你的个子真高!รูปร่างของคุณสูงจริงๆ -生词 คำศัพท์ 2 11-12 -我的眼睛 2 13-14 -身体都位 2 15 -เกมทายคำศัพท์สนุก 1 16-17 เรื่อง 这是谁的狗? -生词 คำศัพท์ 2 18-19 -那是谁的狗? 2 20-21 -听歌 บทเพลง 2 22 -เกมคำศัพท์น่ารู้ 1 23-24 เรื่อง 我去商店。 -生词 คำศัพท์ 2 25-26 -你在哪儿? 2 27-28 -你们去哪儿? 2 29 -กิจกรรมท้ายบทเรียน 1 30-31 เรื่อง 情感 -生词 คำศัพท์ 2 32-33 -短文 บทความ 2 34 -感觉 ความรู้สึก 1


12 ชั่วโมงที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ / หน่วยย่อย จำนวนคาบ 35 -拍手哥 1 36 เรื่อง 爱好 -生词 คำศัพท์ 1 37-38 -การสื่อสาร 2 39-40 -กิจวัตรประจำวัน 2 รวม 40 ชั่วโมง/คาบ


13 แผนการจัดการเรียนรู้ 1 รายวิชาภาษาจีน 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน3) รหัสวิชา จ22201 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สัทอักษรจีนพินอิน เวลา 8 ชั่วโมง/หน่วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง 做准备 เตรียมความพร้อม เวลา 1 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ผู้สอน นางสาววิภาดา ไชยโชค 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และ แสดงความคิดเห็น อย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรูสึก และ ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด มาตรฐาน จ 1.1 ม.2/1 ปฏิบัติตามคำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายง่าย ๆ ที่ฟังและ อ่าน มาตรฐาน จ 1.1 ม.2/2 อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ และบทร้อยกรองสั้น ๆ ถูกต้องตาม หลักการอ่าน 2. สาระสำคัญ ภาษาจีนเป็นภาษาหลักสำคัญภาษาหนึ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความ พร้อมก่อนการเรียนการสอน ฝึกหลักการใช้คำศัพท์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้องตามหลักการ สามารถบอก และแปลความหมายเป็นภาษาจีนได้ จะช่วยให้เข้าใจความหมายและสามารถเรียนภาษาจีนได้ง่ายขึ้น และ ยัง เป็นประโยชน์ต่อตนเองในการดำเนินการอ่าน หรือ สื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสมและสามารถที่จะ นำไปใช้ได้ในการศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. สาระการเรียนรู้(K) 1.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง (ประจำแผนการจัดการเรียนรู้1) 1.2 นักเรียนรู้คำศัพท์การทักทาย การบอกกเลิกชั้นเรียนนภาษาจีนได้ถูกต้อง


14 2. ทักษะกระบวนการ (P) 2.1 สามารถสนทนากับครูผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) 3.1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1) 3.2 มีวินัย 3.3 ใฝ่เรียนรู้ 3.4 มุ่งมั่นในการทำงาน 4. สาระการเรียนรู้ ฝึกการแนะนำตัวเอง 你好! สวัสดี ครับ/ค่ะ 我叫…………. ฉันชื่อ.............. ฝึกการบอกเข้าชั้นเรียนและเลิกชั้น บอกเข้าชั้นเรียน หัวหน้าห้อง 起立/敬礼 พูดพร้อมกัน 老师好! บอกเลิกชั้นเรียน หัวหน้าห้อง 起立/敬礼 พูดพร้อมกัน 谢谢老师,老师再见! เวลาเจอกัน 你好,老师,同学们好。


15 5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. คุณครูแนะนำตนเองแล้วกล่าวทักทายนักเรียน (สวัสดีค่ะพร้อมแนะนำตัวเองว่าชื่ออะไร วันนี้เรา เรียนวิชาอะไร แล้วบอกนักเรียนไปว่า “สวัสดี” ในภาษาจีนพูดว่า 你好 แล้วให้นักเรียนออกเสียง ตาม ดังประโยคดังนี้ เช่น 同学们早上好! สวัสดีตอนเช้าค่ะ/ครับ นักเรียนทุกคน 同学们下午好! สวัสดีตอนบ่ายค่ะ/ครับ 大家好! สวัสดีครับ/ค่ะทุกคน 2. คุณครูทำการเช็คชื่อโดยกล่าวคำว่า 老师点名一下! 3. คุณครูบอกนักเรียนว่าวันนี้จะมีการเรียนการสอนเรื่องการบอกการเข้าชั้นเรียนและบอกเลิกชั้น เรียน ขั้นสอน 1. ครูทักทายนักเรียนและแนะนำตัว แนะนำรายวิชาและบอกเกณฑ์การประเมินคะแนน 2. นักเรียนรู้จักครูกันแล้วใช่ไหม แต่ครูยังไม่รู้จักนักเรียนเลย งั้นเรามาฝึกแนะนำตัวเป็นภาษาจีนกัน 3. ครูเขียนหลักการแนะนำตนเองง่ายๆ เป็นภาษาจีน ให้นักเรียนดู บนกระดาน 4. นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกัน โดยอ่านภาษาจีน แล้วแปลเป็นภาษาไทย 5. ครูให้นักเรียนออกมาแนะนำตัวเองหน้าห้องเรียนเป็นภาษาจีนทีละคน 6. จากนั้น ครูสอนการบอกเข้าชั้นเรียนและเลิกชั้นเรียน บอกเข้าชั้นเรียน หัวหน้าห้อง 起立/敬礼 พูดพร้อมกัน 老师好! บอกเลิกชั้นเรียน หัวหน้าห้อง 起立/敬礼 พูดพร้อมกัน 谢谢老师,老师再见! 7. ให้นักเรียนทำการฝึก บอกเข้าชั้นเรียนและเลิกชั้นเรียนจนคล่อง ขั้นสรุปบทเรียน 1. ครูถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนในคาบนี้ 2. ครูสำรวจความเข้าใจและถามว่ามีอะไรสงสัยไหม 你们有问题吗? 3. ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม ชั่วโมงที่ 1


16 4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ 5. เมื่อหมดคาบเรียนนักเรียนกล่าวลาคุณครู โดยใช้คำว่า 谢谢老师,老师 再见 6. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 6.1 สื่อการเรียนรู้ 1. รูปภาพ คลิปเสียง วีดีโอ 2. PPT 6.2 แหล่งการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียนภาษาจีน 2. YouTube 3. Google 7. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัด/เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน -นักเรียนรู้คำศัพท์การทักทาย การบอกกเลิกชั้นเรียน ภาษาจีนได้ถูกต้อง (K) -สังเกตจาก พฤติกรรมการเรียนรู้ นักเรียนสามารถผ่าน เกณฑ์การประเมินคะแนน ตั้งแต่ 70 % ขึ้นไป -สามารถสนทนากับครูผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็น ภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง (P) -สังเกตจาก แบบประเมินทักษะด้านการอ่าน นักเรียนสามารถผ่าน เกณฑ์การประเมินคะแนน ตั้งแต่ 70 % ขึ้นไป -มีวินัย ใฝ่เรียนรู้มุ่งมั่นในการ ทำงาน (A) -สังเกตจาก พฤติกรรมนักเรียน ผ่านเกณฑ์ในระดับดี เกณฑ์การประเมินผลใช้เกณฑ์ดังนี้ 80% ขึ้นไป หมายถึง ดีมาก 70-79% หมายถึง ดี 60-69% หมายถึง พอใช้ ต่ำกว่า 50% หมายถึง ปรับปรุง


17 เกณฑ์การประเมินการอ่าน เกณฑ์การ ประเมิน ดีมาก 4 ดี 3 พอใช้ 2 ควรปรับปรุง 1 อ่านออกเสียง คำศัพท์ภาษาจีน ได้ถูกต้อง อ่านออกเสียง คำศัพท์ได้ต่อเนื่อง ไม่ติดขัดและ ถูกต้อง อ่านออกเสียงได้ ถูกต้องแต่ออก เสียงผิดบางคำ อ่านออกเสียงได้ ถูกต้องแต่อ่านออก เสียงติดขัด อ่านออกเสียง คำศัพท์ไม่ได้เลย การอ่านออกเสียง คล่องแคล่ว มีความคล่องแคล่ว ในการอ่านออก เสียงได้ถูกต้องไม่ ติดขัด มีความ คล่องแคล่วใน การอ่านออก เสียงแต่มีติดขัด บางคำ ไม่มีความคล่องแคล่ว ในการอ่านออกเสียง ไม่มีความ คล่องแคล่วและ อ่านออกเสียงไม่ได้ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 8 ดีมาก 6-7 ดี 4-5 พอใช้ 1-3 ควรปรับปรุง เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพ “ดี” ขึ้นไป สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน


18 เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประเด็นการประเมิน ดีมาก 4 ดี 3 พอใช้ 2 ควรปรับปรุง 1 มีวินัย เข้าเรียนตรงเวลา และเคารพกฎกติกา ในห้องเรียน เข้าเรียนตรงเวลา เข้าเรียนไม่ตรงเวลา สาย1-2 ครั้ง นักเรียนมี พฤติกรรมที่ไม่ได้ ปฏิบัติ ใฝ่เรียนรู้ ผู้เรียนมีความตั้งใจใน การเรียนและมีส่วน ร่วมกับการเรียน ผู้เรียนตั้งใจเรียน บางครั้ง ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียน และไม่มีส่วนร่วมใน การเรียน ผู้เรียนไม่ให้ความ มือ และไม่ปฏิบัติ ในทำงาน มุ่งมั่นในการทำงาน ผู้เรียนส่งงานครบทุก ครั้ง และมีส่วนร่วม ในการทำงาน ผู้เรียนปฏิบัติงาน กับเพื่อนร่วมงาน บางครั้ง ผู้เรียนเข้าเรียนแต่ไม่ ตั้งใจทำงาน ผู้เรียนไม่เข้าเรียน และไม่ทำงานส่ง เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 9-12 ดีมาก 7-8 ดี 4-6 พอใช้ 1-3 ควรปรับปรุง เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพ “ดี” ขึ้นไป สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน


19 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ เลขที่ ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24


20 เลขที่ ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ 25 26 27 28 29 30 ลงชื่อ......................................................... (นางสาววิภาดา ไชยโชค) ครูผู้สอน วันที่........ เดือน............พ.ศ. ..........


21


22


23 แผนการจัดการเรียนรู้ 2 รายวิชาภาษาจีน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน3) รหัสวิชา จ22201 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สัทอักษรจีนพินอิน เวลา 8 ชั่วโมง/หน่วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เวลา 2 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ผู้สอน นางสาววิภาดา ไชยโชค 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และ แสดงความคิดเห็น อย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรูสึก และ ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด มาตรฐาน จ 1.1 ม.2/1 ปฏิบัติตามคำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายง่าย ๆ ที่ฟังและ อ่าน มาตรฐาน จ 1.1 ม.2/2 อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ และบทร้อยกรองสั้น ๆ ถูกต้องตาม หลักการอ่าน มาตรฐาน จ 1.2 ม.2/3 พูดและเขียนแสดงความต้องการ ขอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและ ปฏิเสธในสถานการณ์ต่างๆ 2. สาระสำคัญ ภาษาจีนเป็นภาษาหลักสำคัญภาษาหนึ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อม ก่อนการเรียนการสอน ฝึกหลักการใช้คำศัพท์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้องตามหลักการ สามารถบอก และแปลความหมายเป็นภาษาจีนได้ จะช่วยให้เข้าใจความหมายและสามารถเรียนภาษาจีนได้ง่ายขึ้น และยัง เป็นประโยชน์ต่อตนเองในการดำเนินการอ่าน หรือ สื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสมและ สามารถที่จะนำไปใช้ได้ในการศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น


24 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. สาระการเรียนรู้(K) 1.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง (ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ 2) 1.2 นักเรียนมีความรู้เรื่องพยัญชนะ สระภาษาจีนได้ถูกต้อง 1.3 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา) 2. ทักษะกระบวนการ (P) 2.1 นักเรียนสามารถอ่านพยัญชนะ สระภาษาจีนได้ถูกต้อง 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) 3.1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2) 3.2 มีวินัย 3.3 ใฝ่เรียนรู้ 3.4 มุ่งมั่นในการทำงาน 4. สาระการเรียนรู้ ภาษาจีนเป็นภาษาหลักสำคัญภาษาหนึ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อม ก่อนการเรียนการสอน ฝึกหลักการใช้คำศัพท์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้องตามหลักการ สามารถบอก และแปลความหมายเป็นภาษาจีนได้ จะช่วยให้เข้าใจความหมายและสามารถเรียนภาษาจีนได้ง่ายขึ้น และยัง เป็นประโยชน์ต่อตนเองในการดำเนินการอ่าน หรือ สื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสมและ สามารถที่จะนำไปใช้ได้ในการศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น 5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. คุณครูแนะนำตนเองแล้วกล่าวทักทายนักเรียน (สวัสดีค่ะพร้อมแนะนำตัวเองว่าชื่ออะไร วันนี้เรา เรียนวิชาอะไร แล้วบอกนักเรียนไปว่า “สวัสดี” ในภาษาจีนพูดว่า 你好 แล้วให้นักเรียนออกเสียง ตาม ดังประโยคดังนี้ เช่น 同学们早上好! สวัสดีตอนเช้าค่ะ/ครับ นักเรียนทุกคน 同学们下午好! สวัสดีตอนบ่ายค่ะ/ครับ ชั่วโมงที่ 1


25 大家好! สวัสดีครับ/ค่ะทุกคน 2. คุณครูทำการเช็คชื่อโดยกล่าวคำว่า 老师点名一下! 3.ครูเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียนและอธิบายเนื้อหาในบทเรียน เรื่องสัทอักษรจีน(พินอิน ) เพื่อเตรียมความ พร้อมทบทวนความรู้เกี่ยวกับภาษาจีนเพื่อเตรียมการตรวจสอบความพร้อมของนักเรียน ขั้นสอน 1. ครูเปิด PPT อธิบายและบอกความหมายของสัทอักษรจีน(พินอิน) พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ 2. ครูอธิบายหลักการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ 2. ครูอ่านออกเสียงพยัญชนะ หลังจากนั้นให้นักเรียนอ่านออกเสียงตามครู 3. อธิบายตัวพยัญชนะ แทนด้วยตัวอักษรอะไร เช่น b ปัว แทนตัวอักษร ป 4. ครูสุ่มนักเรียนให้ออกมาอ่านให้ฟังหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ 5. ครูให้นักเรียนเขียนพยัญชนะ ลงในสมุด ขั้นสรุปบทเรียน 1.ครูถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนในคาบนี้ 2. ครูสำรวจความเข้าใจและถามว่ามีอะไรสงสัยไหม 你们有问题吗? 3. ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม 4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ 5. เมื่อหมดคาบเรียนนักเรียนกล่าวลาคุณครู โดยใช้คำว่า 谢谢老师,老师 再见。 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. คุณครูแนะนำตนเองแล้วกล่าวทักทายนักเรียน (สวัสดีค่ะพร้อมแนะนำตัวเองว่าชื่ออะไร วันนี้เรา เรียนวิชาอะไร แล้วบอกนักเรียนไปว่า “สวัสดี” ในภาษาจีนพูดว่า 你好 แล้วให้นักเรียนออกเสียง ตาม ดังประโยคดังนี้ เช่น 同学们早上好! สวัสดีตอนเช้าค่ะ/ครับ นักเรียนทุกคน 同学们下午好! สวัสดีตอนบ่ายค่ะ/ครับ 大家好! สวัสดีครับ/ค่ะทุกคน 2. คุณครูทำการเช็คชื่อโดยกล่าวคำว่า 老师点名一下! ชั่วโมงที่ 2


26 3.ครูเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียนและอธิบายเนื้อหาในบทเรียน เรื่อง สัทอักษรจีน(พินอิน ) เพื่อเตรียมความ พร้อมทบทวนความรู้เกี่ยวกับภาษาจีนเพื่อเตรียมการตรวจสอบความพร้อมของนักเรียน ขั้นสอน 1. ครูและนักเรียนทบทวนพยัญชนะที่เรียนมาเพื่อทบทวนความเข้าใจ 2. ครูเปิด PPT สอนเกี่ยวกับสระเดี่ยวและสระผสม 3. ครูอ่านออกเสียงสระเดี่ยวและสระผสมให้นักเรียนฟัง 1 รอบ 4. อธิบายการอ่านออกเสียงสระผสมอ่านอย่างไร 5. ครูอ่านออกเสียงสระอีกครั้ง หลังจากนั้นให้นักเรียนอ่านออกเสียงตามครู 6. ครูยกตัวอย่างสระเดี่ยวและสระผสมขึ้นมา แล้วสุ่มให้นักเรียนอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง 7. ให้นักเรียนเขียนสระลงสมุด ขั้นสรุปบทเรียน 1. ครูถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนในคาบนี้ 2. ครูสำรวจความเข้าใจและถามว่ามีอะไรสงสัยไหม 你们有问题吗? 3. ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม 4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ 5. เมื่อหมดคาบเรียนนักเรียนกล่าวลาคุณครู โดยใช้คำว่า 谢谢老师,老师 再见。 6. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 6.1 สื่อการเรียนรู้ 1. รูปภาพ คลิปเสียง วีดีโอ 2. PPT 6.2 แหล่งการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียนภาษาจีน 2. YouTube 3. Google


27 7. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์ เครื่องมือ/วิธีการวัด เกณฑ์ความสำเร็จ -นักเรียนมีความรู้เรื่องพยัญชนะ สระภาษาจีนได้ถูกต้อง (K) -สังเกตจาก พฤติกรรมการเรียนรู้ นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ การประเมินคะแนน ตั้งแต่ 70 % ขึ้นไป -นักเรียนสามารถอ่านพยัญชนะ สระภาษาจีนได้(P) -สังเกตจาก แบบประเมินทักษะด้านการ อ่าน นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ การประเมินคะแนน ตั้งแต่ 70 % ขึ้นไป -มีสินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการ ทำงาน (A) -สังเกตจาก พฤติกรรมนักเรียน ผ่านเกณฑ์ในระดับดี เกณฑ์การประเมินผลใช้เกณฑ์ดังนี้ 80% ขึ้นไป หมายถึง ดีมาก 70-79% หมายถึง ดี 60-69% หมายถึง พอใช้ ต่ำกว่า 50% หมายถึง ปรับปรุง


28 เกณฑ์การประเมินการอ่าน เกณฑ์การ ประเมิน ดีมาก 4 ดี 3 พอใช้ 2 ควรปรับปรุง 1 อ่านออกเสียง คำศัพท์ภาษาจีน ได้ถูกต้อง อ่านออกเสียง คำศัพท์ได้ต่อเนื่อง ไม่ติดขัดและ ถูกต้อง อ่านออกเสียงได้ ถูกต้องแต่ออก เสียงผิดบางคำ อ่านออกเสียงได้ ถูกต้องแต่อ่านออก เสียงติดขัด อ่านออกเสียง คำศัพท์ไม่ได้เลย การอ่านออกเสียง คล่องแคล่ว มีความคล่องแคล่ว ในการอ่านออก เสียงได้ถูกต้องไม่ ติดขัด มีความ คล่องแคล่วใน การอ่านออก เสียงแต่มีติดขัด บางคำ ไม่มีความคล่องแคล่ว ในการอ่านออกเสียง ไม่มีความ คล่องแคล่วและ อ่านออกเสียงไม่ได้ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 8 ดีมาก 6-7 ดี 4-5 พอใช้ 1-3 ควรปรับปรุง เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพ “ดี” ขึ้นไป สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน


29 เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประเด็นการประเมิน ดีมาก 4 ดี 3 พอใช้ 2 ควรปรับปรุง 1 มีวินัย เข้าเรียนตรงเวลา และเคารพกฎกติกา ในห้องเรียน เข้าเรียนตรงเวลา เข้าเรียนไม่ตรงเวลา สาย1-2 ครั้ง นักเรียนมี พฤติกรรมที่ไม่ได้ ปฏิบัติ ใฝ่เรียนรู้ ผู้เรียนมีความตั้งใจใน การเรียนและมีส่วน ร่วมกับการเรียน ผู้เรียนตั้งใจเรียน บางครั้ง ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียน และไม่มีส่วนร่วมใน การเรียน ผู้เรียนไม่ให้ความ มือ และไม่ปฏิบัติ ในทำงาน มุ่งมั่นในการทำงาน ผู้เรียนส่งงานครบทุก ครั้ง และมีส่วนร่วม ในการทำงาน ผู้เรียนปฏิบัติงาน กับเพื่อนร่วมงาน บางครั้ง ผู้เรียนเข้าเรียนแต่ไม่ ตั้งใจทำงาน ผู้เรียนไม่เข้าเรียน และไม่ทำงานส่ง เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 9-12 ดีมาก 7-8 ดี 4-6 พอใช้ 1-3 ควรปรับปรุง เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพ “ดี” ขึ้นไป สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน


30 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ เลขที่ ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24


31 เลขที่ ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ 25 26 27 28 29 30 ลงชื่อ......................................................... (นางสาววิภาดา ไชยโชค) ครูผู้สอน วันที่........ เดือน............พ.ศ. ..........


32


33


34 แผนการจัดการเรียนรู้ 3 รายวิชาภาษาจีน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน3) รหัสวิชา จ22201 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สัทอักษรจีนพิน เวลา 8 ชั่วโมง/หน่วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การอ่านออกเสียง เวลา 2 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ผู้สอน นางสาววิภาดา ไชยโชค 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และ แสดงความคิดเห็น อย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรูสึก และ ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด มาตรฐาน จ 1.1 ม.2/2 อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ และบทร้อยกรองสั้น ๆ ถูกต้องตาม หลักการอ่าน มาตรฐาน จ 1.2 ม.2/3 พูดและเขียนแสดงความต้องการ ขอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและ ปฏิเสธในสถานการณ์ต่างๆ 2. สาระสำคัญ ภาษาจีนเป็นภาษาหลักสำคัญภาษาหนึ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อม ก่อนการเรียนการสอน ฝึกหลักการใช้คำศัพท์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้องตามหลักการ สามารถบอก และแปลความหมายเป็นภาษาจีนได้ จะช่วยให้เข้าใจความหมายและสามารถเรียนภาษาจีนได้ง่ายขึ้น และยัง เป็นประโยชน์ต่อตนเองในการดำเนินการอ่าน หรือ สื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสมและ สามารถที่จะนำไปใช้ได้ในการศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. สาระการเรียนรู้(K) 1.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง (ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ 3) 1.2 นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวรรณยุกต์และการผสมคำภาษาจีนได้ 1.3 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)


35 2. ทักษะกระบวนการ (P) 2.1 นักเรียนสามารอ่านคำที่นำมาผสมคำและอออกเสียงวรรณยุกต์ได้ถูกต้อง 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) 3.1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3) 3.2 มีวินัย 3.3 ใฝ่เรียนรู้ 3.4 มุ่งมั่นในการทำงาน 4. สาระการเรียนรู้ การอ่านออกเสียงวรรณยุกต์


36 5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. คุณครูแนะนำตนเองแล้วกล่าวทักทายนักเรียน (สวัสดีค่ะพร้อมแนะนำตัวเองว่าชื่ออะไร วันนี้เรา เรียนวิชาอะไร แล้วบอกนักเรียนไปว่า “สวัสดี” ในภาษาจีนพูดว่า 你好 แล้วให้นักเรียนออกเสียง ตาม ดังประโยคดังนี้ เช่น 同学们早上好! สวัสดีตอนเช้าค่ะ/ครับ นักเรียนทุกคน 同学们下午好! สวัสดีตอนบ่ายค่ะ/ครับ 大家好! สวัสดีครับ/ค่ะทุกคน 2. คุณครูทำการเช็คชื่อโดยกล่าวคำว่า 老师点名一下! 3.ครูเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียนและอธิบายเนื้อหาในบทเรียน เรื่อง สัทอักษรจีน(พินอิน ) เพื่อเตรียมความ พร้อมทบทวนความรู้เกี่ยวกับภาษาจีนเพื่อเตรียมการตรวจสอบความพร้อมของนักเรียน ขั้นสอน 1. ครูและนักเรียนทบทวนพยัญชนะ สระ ที่เรียนมาเพื่อทบทวนความเข้าใจ 2. ครูเปิด PPT สอนเกี่ยวกับวรรณยุกต์และอธิบายการวางตำแหน่งของวรรณยุกต์ 3. บอกวิธีการจำวรรณยุกต์ เช่น เสียง1 (เดินบนภูเขา) เสียง2 (เดินขึ้นภูเขา) เสียง3 (ตกภูเขา) เสียง4 (ตกภูเขา) เสียงที่1 เสียงสามัญ เสียงที่2 จัตวา เสียงที่3 ไม้เอก เสียงที่4 ไม้โท 3. ครูยกตัวอย่างคำและอ่านการผันเสียงของเสียงวรรณยุกต์ให้นักเรียนฟัง 1 รอบ 4. ให้นักเรียนอ่านการผันเสียงวรรณยุกต์คำที่ครูกำหนดให้ 5. ให้นักเรียนเขียนสระลงสมุด ชั่วโมงที่ 1


37 ขั้นสรุปบทเรียน 1. ครูถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนในคาบนี้ 2. ครูสำรวจความเข้าใจและถามว่ามีอะไรสงสัยไหม 你们有问题吗? 3. ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม 4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ 5. เมื่อหมดคาบเรียนนักเรียนกล่าวลาคุณครู โดยใช้คำว่า 谢谢老师,老师 再见。 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. คุณครูแนะนำตนเองแล้วกล่าวทักทายนักเรียน (สวัสดีค่ะพร้อมแนะนำตัวเองว่าชื่ออะไร วันนี้เรา เรียนวิชาอะไร แล้วบอกนักเรียนไปว่า “สวัสดี” ในภาษาจีนพูดว่า 你好 แล้วให้นักเรียนออกเสียง ตาม ดังประโยคดังนี้ เช่น 同学们早上好! สวัสดีตอนเช้าค่ะ/ครับ นักเรียนทุกคน 同学们下午好! สวัสดีตอนบ่ายค่ะ/ครับ 大家好! สวัสดีครับ/ค่ะทุกคน 2. คุณครูทำการเช็คชื่อโดยกล่าวคำว่า 老师点名一下! 3.ครูเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียนและอธิบายเนื้อหาในบทเรียน เรื่อง สัทอักษรจีน(พินอิน ) เพื่อเตรียมความ พร้อมทบทวนความรู้เกี่ยวกับภาษาจีนเพื่อเตรียมการตรวจสอบความพร้อมของนักเรียน ขั้นสอน 1. ครูและนักเรียนทบทวนพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ที่เรียนมาเพื่อทบทวนความเข้าใจ 2. ครูเปิด PPT สอนเกี่ยวกับพยัญชนะสระและวรรณยุกต์ 3. ครูอธิบายการนำมาพยัญชนะมาผสมกับสระว่าอ่านอย่างไร 4. ให้นักเรียนออกมาอ่านคำที่ครูผสมคำที่กำหนดให้ 5. ให้นักเรียนเขียนสระลงสมุด ชั่วโมงที่ 2


38 ขั้นสรุปบทเรียน 1. ครูถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนในคาบนี้ 2. ครูสำรวจความเข้าใจและถามว่ามีอะไรสงสัยไหม 你们有问题吗? 3. ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม 4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ 5. เมื่อหมดคาบเรียนนักเรียนกล่าวลาคุณครู โดยใช้คำว่า 谢谢老师,老师 再见。 6. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 6.1 สื่อการเรียนรู้ 1. รูปภาพ คลิปเสียง วีดีโอ 2. PPT 6.2 แหล่งการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียนภาษาจีน 2. YouTube 3. Google


39 7. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์ เครื่องมือ/วิธีการวัด เกณฑ์ความสำเร็จ -นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับ วรรณยุกต์และการผสมคำ ภาษาจีนได้ (K) -สังเกตจาก พฤติกรรมการเรียนรู้ นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ การประเมินคะแนน ตั้งแต่ 70 % ขึ้นไป -นักเรียนสามารถอ่านพยัญชนะ สระภาษาจีนได้(P) -สังเกตจาก แบบประเมินทักษะด้านการอ่าน นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ การประเมินคะแนน ตั้งแต่ 70 % ขึ้นไป -มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการ ทำงาน (A) -สังเกตจาก พฤติกรรมนักเรียน ผ่านเกณฑ์ในระดับดี เกณฑ์การประเมินผลใช้เกณฑ์ดังนี้ 80% ขึ้นไป หมายถึง ดีมาก 70-79% หมายถึง ดี 60-69% หมายถึง พอใช้ ต่ำกว่า 50% หมายถึง ปรับปรุง


40 เกณฑ์การประเมินการอ่าน เกณฑ์การ ประเมิน ดีมาก 4 ดี 3 พอใช้ 2 ควรปรับปรุง 1 อ่านออกเสียง คำศัพท์ภาษาจีน ได้ถูกต้อง อ่านออกเสียง คำศัพท์ได้ต่อเนื่อง ไม่ติดขัดและ ถูกต้อง อ่านออกเสียงได้ ถูกต้องแต่ออก เสียงผิดบางคำ อ่านออกเสียงได้ ถูกต้องแต่อ่านออก เสียงติดขัด อ่านออกเสียง คำศัพท์ไม่ได้เลย การอ่านออกเสียง คล่องแคล่ว มีความคล่องแคล่ว ในการอ่านออก เสียงได้ถูกต้องไม่ ติดขัด มีความ คล่องแคล่วใน การอ่านออก เสียงแต่มีติดขัด บางคำ ไม่มีความคล่องแคล่ว ในการอ่านออกเสียง ไม่มีความ คล่องแคล่วและ อ่านออกเสียงไม่ได้ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 8 ดีมาก 6-7 ดี 4-5 พอใช้ 1-3 ควรปรับปรุง เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพ “ดี” ขึ้นไป สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน


41 เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประเด็นการประเมิน ดีมาก 4 ดี 3 พอใช้ 2 ควรปรับปรุง 1 มีวินัย เข้าเรียนตรงเวลา และเคารพกฎกติกา ในห้องเรียน เข้าเรียนตรงเวลา เข้าเรียนไม่ตรงเวลา สาย1-2 ครั้ง นักเรียนมี พฤติกรรมที่ไม่ได้ ปฏิบัติ ใฝ่เรียนรู้ ผู้เรียนมีความตั้งใจใน การเรียนและมีส่วน ร่วมกับการเรียน ผู้เรียนตั้งใจเรียน บางครั้ง ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียน และไม่มีส่วนร่วมใน การเรียน ผู้เรียนไม่ให้ความ มือ และไม่ปฏิบัติ ในทำงาน มุ่งมั่นในการทำงาน ผู้เรียนส่งงานครบทุก ครั้ง และมีส่วนร่วม ในการทำงาน ผู้เรียนปฏิบัติงาน กับเพื่อนร่วมงาน บางครั้ง ผู้เรียนเข้าเรียนแต่ไม่ ตั้งใจทำงาน ผู้เรียนไม่เข้าเรียน และไม่ทำงานส่ง เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 9-12 ดีมาก 7-8 ดี 4-6 พอใช้ 1-3 ควรปรับปรุง เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพ “ดี” ขึ้นไป สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน


42 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ เลขที่ ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24


43 เลขที่ ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ คะแนน ผ่าน เกณฑ์ ไม่ผ่าน เกณฑ์ 25 26 27 28 29 30 ลงชื่อ......................................................... (นางสาววิภาดา ไชยโชค) ครูผู้สอน วันที่........ เดือน............พ.ศ. ..........


44


Click to View FlipBook Version