The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chatchawan10082523, 2019-07-10 21:06:59

Binder1

Binder1

หลดุ พ้นจากบ่วงเงนิ :
ปฐมบทแห่งการปฏริ ปู การปล่อยช่ัวคราว
(Moving Beyond Money : A Primer on Bail Reform)

ศนู ย์ศกึ ษานโยบายในกระบวนการยตุ ิธรรมทางอาญา มหาวทิ ยาลยั ฮารว์ ารด์
Criminal Justice Policy Program, Harvard Law School
ตลุ าคม ๒๕๕๙

จัดพมิ พ์และเผยแพร่ฉบับแปลภาษาไทยโดย
สถาบนั วิจยั และพฒั นารพพี ัฒนศกั ดิ์
สานกั งานศาลยุตธิ รรม
กมุ ภาพันธ์ ๒๕๖๑



หลดุ พน้ จากบว่ งเงิน : ปฐมบทแหง่ การปฏิรปู การปลอ่ ยชั่วคราว
Moving Beyond Money : A Primer on Bail Reform

โดย ศูนย์ศึกษานโยบายในกระบวนการยตุ ิธรรมทางอาญา มหาวทิ ยาลยั ฮาร์วารด์
Criminal Justice Policy Program, Harvard Law School  ตุลาคม ๒๕๕๙

แปลโดย นางสาวธญั ญานชุ ตนั ติกลุ
ผู้พพิ ากษาศาลชนั้ ต้นประจาสานกั ประธานศาลฎกี า
ช่วยทางานช่วั คราวในตาแหนง่ ผพู้ ิพากษาศาลชนั้ ต้นประจากองผู้ชว่ ยผพู้ ิพากษาศาลอุทธรณ์

จดั พมิ พแ์ ละเผยแพร่ฉบับแปลภาษาไทยโดย สถาบนั วิจัยและพฒั นารพีพัฒนศักดิ์
สานกั งานศาลยุตธิ รรม  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

การแปลและจัดพมิ พเ์ ผยแพร่ฉบบั ภาษาไทย
ไดร้ บั อนุญาตจากศนู ยศ์ ึกษานโยบายในกระบวนการยุตธิ รรมทางอาญา มหาวิทยาลยั ฮาร์วาร์ดแล้ว

เกี่ยวกับศนู ย์ศึกษานโยบายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(The Criminal Justice Policy Program ‘CJPP’)
ศูนย์ศึกษานโยบายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (CJPP) เป็นศูนย์ศึกษาวิจัย
และดาเนินการรณรงค์เพื่อสนับสนุนการปฏริ ูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา CJPP ทาการวิเคราะห์กฎหมาย
และนโยบายเพือ่ สนับสนุนภารกิจของผู้กาหนดนโยบายและผู้ทาการรณรงค์ท่ัวประเทศ รวมทั้งจัดประชุมเพ่ือ
ระดมความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝุายเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและวางระบบการปฏิรูปท่ีเป็น
รูปธรรม ตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครฐั เพอ่ื นารอ่ งและนานโยบายไปปฏิบัติจริง



คานา

การปล่อยช่ัวคราวโดยเรียกเงินหรือทรัพย์หลักประกันเป็นทางปฏิบัติที่ทากันอยู่เป็นปกติในประเทศ
ไทย ซง่ึ แม้จะเกิดข้ึนเพราะความจาเป็นแตก่ ็สรา้ งปญั หามากมายตามมา เร่ิมจากความเหล่ือมล้าระหว่างบุคคล
ต่างฐานะ และการไม่มีหลักเกณฑ์อันเป็นภาวะวิสัยในการวินิจฉัยว่าบุคคลใดควรถูกขังหรือควรถูกปล่อย
ระหว่างพิจารณา ทั้งยังเป็นบ่อเกิดของธุรกิจผู้ประกันอาชีพซึ่งแสวงหากาไรจากกระบวนการยุติธรรม ซ่ึง
ปัญหาท้ังหมดน้ีประเทศสหรัฐอเมริกาก็ประสบเช่นกัน เน่ืองจากสหรัฐอเมริกามีทางปฏิบัติท่ีเรียกเงินหรือ
ทรัพย์หลักประกันในการปล่อยช่ัวคราวเป็นการทั่วไป แต่กระน้ัน ในขณะน้ีสหรัฐอเมริกากาลังอยู่ในช่วงแห่ง
การปฏิรูประบบการปล่อยชั่วคราวคร้ังใหญ่ โดยมีความพยายามจะลดการเรียกเงินหรือทรัพย์หลักประกันลง
และหันไปใช้ระบบการประเมินความเส่ียง ตลอดจนสร้างกระบวนการที่โปร่งใสและเป็นภาวะวิสัยในการ
พิจารณามากข้ึน ซ่ึงก็มีตัวอย่างที่ประสบความสาเร็จอย่างสูงจนกลายเป็นต้นแบบของการปฏิรูประบบการ
ปล่อยชั่วคราวในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยท่ีกาลังมีการนาร่องการปล่อยช่ัวคราวโดยใช้การประเมิน
ความเสยี่ งและกากบั ดูแลมาเปน็ ทางเลือกของการเรียกหลักประกันในบางศาลและในบางประเภทคดีในขณะน้ี
แต่เน่ืองจากระบบดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่มากสาหรับประเทศไทย การศึกษาและเผยแพร่แนวคิดรวมถึง
ประสบการณ์จากประเทศท่ีปฏิรูปมาก่อนอย่างสหรัฐอเมริกาจึงย่อมจะเป็นประโยชน์ท้ังในการสร้างความ
เข้าใจและการปรับปรุงระบบของไทยให้มีประสิทธภิ าพยิง่ ข้ึน

ในการนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักด์ิได้รับความอนุเคราะห์อย่างสูงจากศูนย์ศึกษานโยบาย
ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่อนุญาตให้แปลและจัดพิมพ์เผยแพร่ฉบับ
แปลภาษาไทยของ หลุดพ้นจากบ่วงเงิน : ปฐมบทแห่งการปฏิรูปการปล่อยชั่วคราว อันเป็นเอกสารทาง
วชิ าการที่อธบิ ายความจาเปน็ แนวคดิ แนวทางและขอ้ พิจารณาต่างๆท่ีพึงคานึงถึงในการปฏิรูปได้เป็นอย่างดี
เอกสารน้ีแม้จะเป็นงานเขียนจากประสบการณ์และบริบทในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ข้อพิจารณาหลาย
ประการก็นับว่าเป็นประโยชน์มากและอาจนามาใช้ได้ในประเทศไทยเช่นกัน สถาบันวิจัยและ
พัฒนารพีพัฒนศักดิ์ต้องขอขอบพระคุณท่านธัญญานุช ตันติกุล ท่ีอุทิศเวลาแปลคู่มือน้ีเป็นภาษาไทย ท้ังยัง
กรณุ าสรปุ ยอ่ เน้อื หาของค่มู อื เลม่ นไี้ วด้ ้วยในหน้าถดั ไป ซ่ึงทาให้คมู่ ือฉบบั แปลภาษาไทยเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์และ
จัดพิมพอ์ อกมาได้ทันต่อการนาร่องปฏิรูปของศาลยุติธรรมท่ีกาลงั เร่งดาเนินการอยู่ในขณะน้ี

สถาบนั วิจัยและพฒั นารพพี ัฒนศักด์ิหวังเป็นอย่างย่ิงว่า หลุดพ้นจากบ่วงเงิน : ปฐมบทแห่งการปฏิรูป
การปลอ่ ยชัว่ คราว นี้จะสามารถใช้เป็นคู่มือพ้ืนฐานในการศึกษาแนวทางในการปฏิรูประบบปล่อยชั่วคราวของ
ประเทศไทยเพ่ือปรับปรุงระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมยิ่งขึ้น และหวังว่าจะเป็น
ประโยชน์แกผ่ เู้ กยี่ วข้อง รวมท้งั ผู้สนใจโดยทวั่ ไป

สถาบันวจิ ยั และพฒั นารพีพัฒนศกั ดิ์

กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๖๑

หลุดพ้นจากบ่วงเงนิ ฯ โดยสังเขป

นางสาวธญั ญานุช ตนั ติกุล

ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ต้องหาหรือจาเลยหลายแสนคนที่ถูกขังระหว่างพิจารณาเพียงเพราะว่า
ไม่สามารถหาเงินมาประกันตัว ซึ่งการถูกขังระหว่างพิจารณานี้แม้เพียงระยะส้ันๆ ก็อาจทาลายชีวิตคนให้พัง
พินาศลงได้ มกี ารศึกษาพบว่าการถูกขังแม้เพียงไม่ก่ีวันทาให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยมีความเส่ียงสูงข้ึนที่จะถูกศาล
พิพากษาลงโทษ และมีโอกาสท่ีจะต้องโทษจาคุกยาวนานกว่าผู้ท่ีได้รับการปล่อยช่ัวคราวอีกด้วย การใช้เงิน
หรือทรพั ยส์ นิ เป็นปัจจัยหลกั ในการใหป้ ระกนั ตัวจงึ เป็นการส่งผลให้เกดิ ความเหลื่อมล้า ขัดหลักความเป็นธรรม
และหลักกฎหมายรัฐธรรมนญู ทงั้ น้ีเพราะ “เสรีภาพคือหลักการ” และการขังระหว่างพิจารณา “เป็นข้อยกเว้น
ที่ตอ้ งใช้อย่างจากัดและระมัดระวงั ” ทว่า ตราบใดท่ีการปลอ่ ยชว่ั คราวยังคงยึดโยงอยู่กับเงินหรือทรัพย์สินตาม
มูลค่าท่ีกาหนดโดยมิได้คานึงถึงพฤติการณ์เป็นรายคดี และโดยเฉพาะอย่างย่ิง ที่มิได้คานึงถึงฐานะทาง
เศรษฐกิจหรือความสามารถของผู้ต้องหาหรือจาเลยในการหาหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันแล้ว ตราบนั้น
แนวทางปฏบิ ตั ิดังกล่าวกย็ อ่ มจะขดั หลกั การในรัฐธรรมนูญว่าดว้ ยการอานวยความยุติธรรมอย่างเสมอภาคและ
เปน็ การเรยี กประกันท่เี กินสมควรอย่เู สมอไป

ทางเลือกทดแทนการปล่อยชั่วคราวโดยเรียกเงินประกันคือการเปล่ียนมาใช้การประเมินความ
เสี่ยงพร้อมด้วยการกากับดูแลหลังปล่อยช่ัวคราว ซ่ึงระบบที่อาศัยความเสี่ยงเป็นฐานคิดนี้ได้รับการพิสูจน์
แล้วว่าสามารถกาจัดเงินออกไปจากระบบได้ โดยไม่ทาให้มีอัตราผู้หลบหนีหรือก่อเหตุร้ายหลังปล่อยช่ัวคราว
มากขึ้นกว่าระบบเดิม และในหลายท้องที่ยังพบว่าระบบใหม่นี้ทาให้มีผู้มาศาลตามนัดเพ่ิมมากขึ้น และมีอัตรา
การกระทาผิดจนถูกจับใหม่ระหว่างปล่อยช่ัวคราวน้อยลงกว่าเดิมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลักท่ีจะทาให้
ระบบใหมน่ ี้ประสบความสาเรจ็ มดี ังตอ่ ไปนี้

(๑) มีการประเมินความเส่ียงที่แม่นยา ในแง่นี้ การอาศัยหลักการวิเคราะห์ทางสถิติมีประโยชน์มาก
เพราะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ทาให้เกณฑ์มีความเป็นภาวะวิสัย และไม่ต้องพึ่งพาสังหรณ์ของผู้พิพากษาท่ี
อาจปนเป้อื นด้วยอคตหิ รอื การคาดเดา ซง่ึ “ความแม่นยา” น้ี หมายความว่า ข้อมูลดิบเพื่อนามาวิเคราะห์สถิติ
น้ันต้องละเอียดและครอบคลุม สะท้อนความเฉพาะของประชากรในท้องท่ีน้ันๆ และต้องมีการปรับปรุงอยู่
สม่าเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมท่ีเปลี่ยนไป ท้ังยังต้องมีการทดสอบความแม่นยาอยู่เป็นระยะๆ

ประเด็นการนาสถิติมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาก่อให้เกิดข้อกังวลอยู่ว่า สถิติอาจเป็นการ
สะท้อนภาพหรือภาวะความเหล่ือมล้าทางเศรษฐกิจสังคมที่มีอยู่แล้ว เมื่อนาสถิติมาใช้ก็จะยิ่งทาให้ผลใน
กระบวนการยุติธรรมตอกย้าความเหล่ือมล้าท่ีมีมาแต่เดิมให้ลงลึกย่ิงข้ึน ประกอบกับสถิติท่ีดึงออกมาจากกลุ่ม
บุคคลที่มีลักษณะเหมือนคล้ายกัน แม้จะมีพลังในการพยากรณ์ความเส่ียงในระดับหน่ึง แต่เม่ือนามาใช้กับ
บุคคลเป็นรายคนท่ีอาจมีปัจจัยพิเศษแตกต่างออกไปจากกลุ่มบ้าง ก็อาจทาให้ผลการประเมินตามสถิติเกิด
ความคลาดเคล่ือนได้ ดังนั้น จาเป็นอย่างย่ิงท่ีการสร้างเครื่องมือประเมินความเส่ียงต้องคานึงถึงความไม่เท่าเทียม
ในสังคมทีป่ รากฏในสถติ ิ และต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝุายในขั้นตอนการขอปล่อยชั่วคราว รวมถึงผู้พิพากษา



อัยการ และทนายความ มีความเข้าใจในการใช้เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงทางสถิติ ตลอดจนการแปลผล
ข้อมูลทางสถิติ และเหนือส่ิงอื่นใดคือการตระหนักว่า เคร่ืองมือดังกล่าวมิได้จากัดดุลพินิจผู้พิพากษา หากแต่
เป็นเครื่องมือช่วยเสริมการตัดสินใจ โดยผู้พิพากษายังสามารถคานึงถึงพฤติการณ์หรือปัจจัยอ่ืนๆ
นอกเหนอื จากในสตู รการประเมินประกอบ นอกจากนี้ กระบวนการยังจาต้องเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาส
ให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยมีสิทธิในการโต้แย้งและนาเสนอพยานหลักฐานเพ่ือการขอปล่อยชั่วคราวได้อย่างเต็มท่ี
ด้วยการเปิดเผยรายละเอียดในการประเมินความเสี่ยงแก่ผู้ต้องหาหรือจาเลย ตลอดจนรายละเอียดเก่ียวกับ
ความน่าเชื่อถือของตวั เครือ่ งมอื ประเมินความเส่ยี งเอง

(๒) การมีมาตรการกากับดูแลหลังปล่อยชั่วคราวท่ีหลากหลาย ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพใน
การควบคุม กากับ และสร้างแรงจงู ใจใหผ้ ถู้ กู ปล่อยชัว่ คราวปฏบิ ัติตามเงอื่ นไขของศาล

มาตรการกากับดูแลเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของระบบใหม่ท่ีจะมาทดแทนการเรียกเงินประกัน
โดยมกี ารศึกษาพบว่า การกากับดูแลผู้ถูกปล่อยช่ัวคราวอย่างสม่าเสมอลดอัตราการหลบหนีหรือกระทาผิดซ้า
ลงได้อย่างมาก ซึ่งมาตรการในการกากับดูแลนั้นมีได้หลายอย่าง ตั้งแต่การแจ้งเตือนวันนัด ซึ่งมีผลการศึกษา
พบแล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงมากในการทาให้ผู้ถูกปล่อยช่ัวคราวมาศาล ไปจนถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่ไม่พึงใช้กับบุคคลที่มีความเส่ียงต่าถึงปานกลาง เพราะมีการศึกษาแล้วว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสร้างผลกระทบ
ในทางร้ายพอควรต่อผู้ต้องหาหรือจาเลยและเป็นการจากัดเสรีภาพอย่างย่ิง ในขณะที่ผู้ท่ีไม่มีความเสี่ยงสูง
ลาพังการใช้มาตรการอืน่ ที่ผ่อนคลายกว่าก็เพยี งพอแล้วต่อการปูองกันการหลบหนีหรือก่อเหตุร้าย ดังนั้น ก่อน
จะส่ังใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ศาลพึงพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายคดีและรายคนเสียก่อนว่าการใช้อุปกรณ์
ดงั กลา่ วจาเปน็ และเหมาะสมหรือไม่ และไมพ่ งึ กาหนดหลักเกณฑ์การใชเ้ พยี งดูตามฐานความผดิ เทา่ นัน้

ท่ีสาคัญ พึงหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการกากับดูแลจากผู้ต้องหา
หรือจาเลย เพราะมิเช่นนั้นย่อมเท่ากับเป็นการสร้างความเหลื่อมล้าในโฉมหน้าใหม่ท่ีเพียงแต่เปล่ียนจาก
เงินประกันมาเป็นค่าธรรมเนยี มหรอื คา่ ใช้จา่ ยในการกากับดูแลเสยี แทน

นอกจากน้ี เพ่ือให้การกากับดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความเส่ียงท่ีประเมินได้
แนวปฏิบัติที่ดีท่ีสุดคือการจัดต้ังหน่วยงานแยกต่างหากเพื่อมาปฏิบัติหน้าที่น้ีโดยเฉพาะ ร่วมกับการประเมิน
ความเสย่ี ง ซ่งึ ตอ้ งมตี ้นทุนงบประมาณสูง แต่ค่าใช้จ่ายจากการขังที่ลดลงย่อมจะหักกลบหรือถูกท่วมไปได้จาก
ประโยชนท์ เี่ กดิ ขึ้นจากระบบใหม่

(๓) การไต่สวนเหตุในการขังระหว่างพิจารณาโดยให้รัฐมีภาระการพิสูจน์ และเปิดโอกาสให้
ผตู้ ้องหาหรอื จาเลยตอ่ สู้โตแ้ ยง้ อยา่ งเต็มท่ี

เมื่อรัฐธรรมนูญสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยทุกคนเป็นผู้บริสุทธ์ิก่อนศาลพิพากษาว่ามีความผิด
การจากัดสิทธิเสรีภาพอย่างการขังระหว่างพิจารณา จึงต้องทาในพฤติการณ์ที่จากัดวงแคบและเพ่ือสนอง
ประโยชน์สาธารณะอนั จาเปน็ ย่งิ ยวดเทา่ นั้น ดังน้ัน รัฐซง่ึ ก็คอื พนักงานอยั การมีหน้าท่ีนาเสนอพยานหลักฐานที่
ชดั เจนและน่าเชอ่ื ให้ศาลซง่ึ เปน็ คนกลางว่า ไม่มีเง่ือนไขในการกากับดูแลใดท้ังสิ้นที่อาจพอรับประกันได้ว่าเม่ือ
ปล่อยไปแล้วผู้ต้องหาหรือจาเลยจะไม่ไปก่อเหตุร้ายหรืออันตรายข้ึน ซึ่งในการนาเสนอพยานหลักฐานน้ีก็
จาต้องทาในการไต่สวนเพ่ือให้สิทธิผู้ต้องหาหรือจาเลยในการต่อสู้ โต้แย้ง และนาเสนอพยานหลักฐานฝุายตน



โดยผู้ต้องหาหรือจาเลยมีสทิ ธทิ ่ีจะมที นายความตลอดการไตส่ วน ซึ่งในการพิจารณาว่ามีเหตุให้ขังผู้ต้องหาหรือ
จาเลยหรอื ไม่น้นั ผพู้ พิ ากษาก็จาต้องตระหนักว่า การขังระหว่างพิจารณาเป็นไปเพ่ือปูองกันเหตุร้ายท่ีผู้ต้องหา
หรือจาเลยอาจกอ่ ใหเ้ กดิ ขึ้นหลงั ปลอ่ ย มใิ ชก่ ารชงิ ลงโทษก่อน ข้อหาความผิดหรือน้าหนักของพยานหลักฐานที่
เกี่ยวกับการกระทาผิดจึงไม่ควรเป็นปัจจัยชี้ขาดหรือมีอิทธิพลมากนักในการพิจารณาว่ามีเหตุให้ขังหรือไม่
เพราะย่อมเท่ากับเป็นการมองข้ามพฤติการณ์อื่นๆของผู้ต้องหาหรือจาเลย และเป็นการค้นหาความจริงไป
ล่วงหน้าแล้วว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยมีความผิดหรือไม่ ซ่ึงเพ่ือจากัดขอบเขตการใช้อานาจขังระหว่างพิจารณา
เพ่ือปูองกันอันตรายไว้ก่อนนี้ อาจกาหนดให้การใช้อานาจน้ีของศาลจะกระทาได้เมื่อมีการประเมินความเส่ียง
แล้วพบว่ามคี วามเสยี่ งสงู และศาลตอ้ งไต่สวนก่อนสง่ั เสมอ

อยา่ งไรก็ตาม สาหรับทอ้ งท่ีที่ยงั คงมีความจาเป็นต้องเรียกเงินหรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน วิธีการที่
จะลดทอนความเสียหายจากการใช้เงินได้บ้างได้แก่ การกากับดูแลหรือห้ามการประกอบธุรกิจผู้ประกันอาชีพ
เพราะเปน็ ธุรกิจท่ดี งึ เอาอานาจการตดั สนิ ใจในความเป็นจริงว่าใครจะถกู ขงั หรือใครจะถูกปล่อยไปจากศาลด้วย
การตกลงว่าจะรับประกันให้หรือไม่ ซึ่งศาลอาจลดบทบาทของธุรกิจน้ีไปได้ด้วยการกาหนดให้ผู้ต้องหาหรือ
จาเลยเพียงแต่นาเงินประกันบางส่วนของราคาประกันท้ังหมดมาวางศาล ซ่ึงเงินจานวนน้ีสามารถรับคืนไปได้
หากไม่ผิดเงอ่ื นไข

นอกจากนี้ ศาลต้องไต่สวนเรื่องความสามารถของผู้ต้องหาหรือจาเลยในการหาเงินหรือทรัพย์สินมา
วางเปน็ หลกั ประกนั ตามราคาที่ศาลกาหนด และกาหนดราคาประกนั ใหส้ อดคล้องกบั ความสามารถทางการเงิน
เพื่อให้เห็นว่าเงินประกันนั้นอยู่ในระดับท่ีอาจจูงใจให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยทาตามเง่ือนไขของศาลได้จริง แต่ใน
ขณะเดียวกนั กไ็ มส่ ูงเกนิ ไปจนทาให้ผตู้ ้องหาหรือจาเลยตอ้ งถูกขัง ซึ่งการท่ีศาลต้องไต่สวนและดูพฤติการณ์ของ
ผู้ต้องหาหรือจาเลยเป็นรายกรณีไปน้ัน หมายความว่า ศาลต้องไม่ยึดถือตามบัญชีเกณฑ์มาตรฐาน
หลักประกันทกี่ าหนดราคาประกันไวต้ ายตัวโดยดูแต่เพียงขอ้ หาความผิดเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ ศาลพึง
ยกเลิกบัญชีดังกล่าวเสีย เพราะการกาหนดราคาประกันไว้ตายตัวโดยอิงแต่เพียงข้อหา ขัดขวางมิให้ศาล
พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี และไม่ใส่ใจว่าราคาประกันที่กาหนดจะจูงใจให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยทาตาม
เงื่อนไขไดจ้ ริงหรือไม่ ทัง้ ไมส่ นใจว่าผตู้ ้องหาหรือจาเลยจะหาเงินประกันได้หรือไม่ ซ่ึงระบบที่การปล่อยหรือขัง
ขึ้นอยู่กับเงินท่ีผู้ต้องหาหรือจาเลยมีเป็นหลักนั้น มีแนวบรรทัดฐานตามคาพิพากษาหลายฉบับแล้วท่ีวางหลัก
กฎหมายไวว้ ่า

“ผูต้ ้องหาหรอื จาเลยในคดีอาญาผู้ซ่ึงต้องได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ต้องไม่ถูกขังเพียงเพราะ
ความยากจน ความยุติธรรมที่มืดบอดต่อความยากจน และบีบบังคับให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยต้องชาระเงิน
แลกกับอิสรภาพของตนนนั้ หาใชค่ วามยุติธรรมไม่”

(Jones v. City of Clanton, 2015 WL 5387219, at *3 (M.D. Ala. 2015))



สารบัญ

๑. แนะนาระบบการปลอ่ ยช่ัวคราว ๙
ก. ความรู้เบือ้ งตน้ เก่ยี วกบั การปล่อยชว่ั คราว ๑๑
ข. สภาพปญั หาของการปลอ่ ยชวั่ คราวโดยเรยี กเงนิ ประกัน ๑๒
และความเคลอ่ื นไหวเพ่ือการปฏิรปู
ค. หลกั กฎหมายสาคญั ๑๕
(๑) หลกั กฎหมายรัฐธรรมนญู แหง่ สหรฐั อเมริกา ๑๕
(๒) ความรเู้ บอื้ งตน้ เกยี่ วกบั กฎหมายในระดบั มลรัฐ ๑๖

๒. มาตรการเพือ่ ป้องกันการขงั ที่ไม่สมควรในระบบการปล่อยชั่วคราวท่เี รียกเงินประกัน ๑๘
ก. การพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกัน ๑๘
ข. การพจิ ารณาราคาประกนั โดยดพู ฤติการณ์ของจาเลยเปน็ รายกรณี ๒๐
และการยกเลกิ บญั ชเี กณฑ์มาตรฐานหลักประกนั
ค. การกากบั ดูแลหรอื การห้ามประกอบธุรกจิ ผปู้ ระกนั อาชีพ ๒๑

๓. หลดุ พ้นจากบว่ งเงนิ : ข้อพจิ ารณาเชงิ นโยบาย กฎหมาย ๒๓
และทางปฏบิ ัติเกีย่ วกบั การปลอ่ ยชั่วคราวโดยพจิ ารณาความเสย่ี ง
ก. สานกั งานปลอ่ ยชัว่ คราวและการปลอ่ ยช่วั คราวโดยมีเง่ือนไข ๒๔
(๑) การแจ้งเตอื นวนั นดั ๒๖
(๒) การกากบั ดแู ลหลังปลอ่ ยชัว่ คราว ๒๖
(๓) การใช้อุปกรณ์อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๒๗
(๔) การตรวจหาสารเสพตดิ ๒๘
ข. การประเมนิ ความเสีย่ งโดยอาศยั การวิเคราะห์ทางสถิติ ๒๙
(๑) ขอ้ พจิ ารณาเชงิ นโยบาย ๓๓
(๒) ข้อพิจารณาเกย่ี วกับรฐั ธรรมนูญ ๓๗

๘ ๓๙
๔๑
ค. การขังเพอื่ ปูองกนั อนั ตรายตอ่ สังคม ๔๓
(๑) หลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนญู
(๒) กระบวนพิจารณาสาคญั เพ่ือคุ้มครองสทิ ธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ๔๗
๔๘
๔. กา้ วไปขา้ งหนา้ ๔๙
๕. กติ ตกิ รรมประกาศ
๖. เชิงอรรถ



------------------------- ๑ -------------------------
แนะนาระบบการปลอ่ ยชัว่ คราว

การปลอ่ ยชว่ั คราวของประเทศน้กี าลงั มาถงึ ทางแยก

การปฏิรูปการปล่อยชั่วคราวเป็นท้ังความท้าทายและโอกาส การปล่อยชั่วคราวเดิมเป็นเครื่องมือ
สาหรับศาลในการลดการจากดั เสรีภาพของผู้ตอ้ งหาหรอื จาเลยใหน้ อ้ ยทส่ี ดุ โดยยังคงรับประกันว่าผู้ต้องหาหรือ
จาเลยจะมาศาลได้ด้วย การปล่อยชั่วคราวจึงเป็นกลไกหนึ่งที่นามาใช้ได้ในชั้นก่อนและระหว่างการพิจารณา
ทว่า ความเป็นจริงในศาลท่ัวประเทศกลับปรากฏว่า ผู้พิพากษาใช้เคร่ืองมือหยาบๆอย่างการเรียกให้วางเงิน
หรือทรัพยส์ ินเป็นหลักประกันเพือ่ ทาให้ผู้ต้องหาหรอื จาเลยบางคนต้องถูกขังไว้ระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งการ
เรียกหลกั ประกนั ในการปล่อยชั่วคราวเปน็ เหตุให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ียากจนจานวนมากต้องอยู่ในเรือนจาท้ัง
ท่ีคดียังไม่ตัดสิน และนาไปสู่ภาวะท่ีไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มีคนจานวนมากที่ถูกขังโดยไม่จาเป็นและฐานะทาง
เศรษฐกิจของผู้ต้องหาหรือจาเลยก็มักเป็นปัจจัยในการช้ีชะตาของผู้ต้องหาหรือจาเลยว่าจะถูกขังหรือปล่อย
ชว่ั คราว

การกาหนดราคาประกันทบี่ อ่ ยครงั้ เป็นไปตามอาเภอใจทาให้ไม่มขี ้อแกต้ า่ งใดท่ฟี ังข้ึนสาหรับการส่งผล
ให้เกิดความเหล่ือมล้า และเม่ือการส่ังว่าจะขังระหว่างพิจารณาหรือไม่ข้ึนกับปัจจัยว่าผู้ต้องหาหรือจาเลย
สามารถวางหลักประกันได้หรือไม่ ผู้ต้องหาหรือจาเลย ๒ คน ที่มีพฤติการณ์คดีใกล้เคียงกันแต่มีฐานะหรือ
รายได้ตา่ งกันก็ย่อมจะลงเอยต่างกันได้ ความไม่เท่าเทียมน้ียังส่งผลกระทบต่อเน่ืองเป็นลูกโซ่ เพราะการถูกขัง
ระหว่างพิจารณาแม้จะเป็นเพียงระยะส้ันๆ ก็สามารถทาลายอาชีพการงาน ทาให้ต้องเสียที่อยู่อาศัย หรือเสีย
สิทธิในการปกครองบุตร การถูกขังระหว่างพิจารณายังบ่อนทาลายความสามารถในการต่อสู้คดี ซ่ึงหาก
ผลกระทบทางลบเหลา่ น้ีมกี ารสะสมมากเข้า การเรียกหลักประกันโดยไม่สมควรก็จะย่ิงเร่งอัตราการจาคุกโดย
ไม่จาเป็นให้พุ่งสูงข้ึน และทาให้ความไม่เท่าเทียมอันเน่ืองจากฐานะและสีผิวยิ่งร้าวลึก ย่ิงกว่านั้น การขัง
ผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ศาลยังมิได้พิพากษาว่ากระทาผิดเพียงเพราะไม่อาจหาหลักประกันมาวางได้ยังขัด
รัฐธรรมนูญอกี ดว้ ย

กระแสการสนับสนุนการปฏิรูประลอกล่าสุดได้สร้างความตื่นตัวระดับชาติให้ต้องมีการหันมาฉุกคิด
ใหมว่ า่ การพจิ ารณาเร่อื งขังหรือปล่อยชั่วคราวแท้จริงแล้วควรดาเนินการอย่างไร ผู้ฟูองคดีเรื่องความชอบด้วย
รัฐธรรมนูญไปท่ัวท้ังประเทศในขณะน้ีทาให้ระบบการปล่อยชั่วคราวในหลายท้องท่ีถูกศาลตัดสินว่าขัด
รัฐธรรมนูญ อันเป็นการส่ันคลอนแนวปฏิบัติที่ทากันมานานและทาให้ผู้กาหนดนโยบายต้องหันมาให้ความ
สนใจในปญั หาจากการปลอ่ ยช่ัวคราวโดยเรยี กเงนิ ประกนั ๑ ความสนใจจากส่อื มวลชนที่ทวีมากข้ึนในเร่ืองความ
เหล่ือมล้าอันเกิดจากการเรียกเงินประกันก็ยิ่งทาให้การตรวจสอบแนวปฏิบัติในปัจจุบันเข้มข้นมากขึ้นเร่ือยๆ๒
ซึ่งความก้าวหน้าท้ังหมดน้ีมีท่ีมาจากการรณรงค์ของกลุ่มผู้เช่ียวชาญและผู้สนับสนุนการปฏิรูปที่ติดตาม
สถานการณม์ าเป็นเวลานาน๓ และเนื่องจากผู้กาหนดนโยบายจากทุกข้ัวการเมืองต่างเห็นพ้องกันในการยุติยุค
สมยั แหง่ การจาคกุ มวลหมู่ประชาชน (Mass Incarceration)๔ การปฏิรูประบบการปล่อยชั่วคราวจึงกลายเป็น
ทางออกในการลดการขงั คนจานวนมากท่ีเขา้ มาส่กู ระบวนการยตุ ิธรรมทางอาญา

๑๐

คู่มือพ้ืนฐานในการปฏิรูปการปล่อยช่ัวคราวเล่มน้ี มุ่งเสนอแนวทางสาหรับผู้กาหนดนโยบายและ
ผู้สนับสนุนการปฏิรูปในการกาหนดข้ันตอนและกระบวนการสู่ความเปล่ียนแปลง ตลอดจนการประยุกต์ใช้
กระบวนการดังกล่าวให้เหมาะสมกับแต่ละท้องที่ บทนานี้จึงเป็นการวางโครงสร้างเบ้ืองต้นในกระบวนการ
พิจารณาการขังหรือปล่อยช่ัวคราว รวมถึงหลักการตามรัฐธรรมนูญที่ใช้เป็นกรอบคิดในกระบวนการดังกล่าว
บทที่ ๒ จะกล่าวถึงกลไกสาคัญท่ีควรจัดให้มีข้ึนในศาลท่ียังคงเรียกหลักประกันในการปล่อยช่ัวคราว โดยเมื่อ
การเรียกหลักประกันยังคงเป็นส่วนหนึ่งของระบบการปล่อยช่ัวคราว โครงสร้างของระบบดังกล่าวจึงควรต้อง
มงุ่ ลดการขงั ระหว่างพจิ ารณาใหน้ ้อยท่สี ดุ เทา่ ท่ีจะทาได้ และมุ่งปูองกันมิให้เกิดการขังเพียงเพราะผู้ต้องหาหรือ
จาเลยยากจนเกินกวา่ จะวางหลกั ประกนั รวมถึงมุ่งเปดิ ทางให้การสั่งขังหรือปล่อยชั่วคราวสามารถอิงกับปัจจัย
และพฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจาเลยเป็นรายกรณีไป ตลอดจนมุ่งกากับการประกอบธุรกิจผู้ประกันอาชีพ
อย่างมีประสิทธิภาพ

บทท่ี ๓ จะอภิปรายข้อพึงพิจารณาด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการเรียกทรัพย์
หลักประกันในการปล่อยชั่วคราว โดยจะกล่าวถึงยุทธศาสตร์การปฏิรูปท่ีโดดเด่น และช้ีให้เห็นประเด็นจาก
นโยบายท่ีขัดแย้งกนั ตลอดจนอธบิ ายหลักการตามรัฐธรรมนูญที่ควรนามาใช้เป็นกรอบในการเปลี่ยนแปลงเชิง
นโยบาย เนอ้ื หาส่วนน้จี ะมุ่งเนน้ ชดุ กระบวนการปฏิรปู ท่ผี ู้สนับสนุนใช้ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยชั่วคราว
โดยใช้การประเมินความเสี่ยงแทนท่ีหลักประกัน โดยเฉพาะอย่างย่ิงองค์ประกอบสาคัญ ๓ ประการของระบบ
ดังกล่าว ได้แก่ (๑) บทบาทของสานักงานปล่อยชั่วคราว (Pretrial Services Agencies) และเคร่ืองมือท่ี
สานักงานปล่อยชั่วคราวใช้ในการกากับดูแลผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ได้รับการปล่อยช่ัวคราว (๒) เครื่องมือ
ประเมนิ ความเสย่ี งทีใ่ ชห้ ลกั การวิเคราะหท์ างสถติ ิ (Actuarial Risk Assessment Instrument) ซ่ึงจะช่วยให้ผู้
พิพากษามีข้อมูลเพียงพอในการพยากรณ์ความเสี่ยงที่ผู้ต้องหาหรือจาเลยรายน้ันๆจะไม่มาศาลหรือก่อคดี
ร้ายแรงในระหว่างปล่อยชั่วคราว และ (๓) การมีเกณฑ์จากัดขอบเขตคดีท่ีศาลสามารถส่ังให้ขังระหว่าง
พิจารณาเพอ่ื ปอู งกนั อันตรายทอ่ี าจเกดิ จากผตู้ ้องหาหรือจาเลยไว้กอ่ น (Preventive Detention)

คู่มือเล่มน้ีมิได้มีแพ็คเกจการปฏิรูปท่ีสามารถนาไปปรับใช้ได้กับทุกศาลมานาเสนอ และแท้จริงแล้ว
การปฏริ ูปท่ีเป็นไปได้บางแนวทางก่อให้เกิดคาถามเชิงกฎหมายและนโยบายที่ยุ่งยากตามมา ซ่ึงการหาคาตอบ
สาหรับคาถามเหล่านี้ประกอบการกาหนดแนวทางปฏิรูปนั้น ศาลแต่ละแห่งจาต้องประเมินสถานการณ์และ
ความจาเปน็ ในท้องท่กี ่อนจะลงความเหน็ ครง้ั สาคัญวา่ ศาลนน้ั ๆจะยึดถือตามคุณค่าหรือเปูาหมายใดท่ามกลาง
นโยบายท่ีขดั กัน และแม้ว่าคมู่ อื นจ้ี ะมิไดเ้ สนอแนะแนวทางการปฏิรูปอันเป็นสากล แต่ข้อพิจารณาต่างๆที่หยิบ
ยกข้ึนมาในที่นี้ก็สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางสาหรับผู้กาหนดนโยบายและบรรดาผู้สนับสนุนในการกาหนด
ยุทธศาสตร์การปฏิรูปได้ แต่ที่สาคัญเหนือส่ิงอื่นใด คู่มือเล่มน้ีมุ่งหมายจะแปรเสียงสนับสนุนการปฏิรูปที่ทรง
พลังมากข้ึนเร่ือยๆให้กลายเป็นความเปล่ียนแปลงท่ีเป็นรูปธรรม ด้วยการเสนอแนะแก่ผู้กาหนดนโยบายและ
บรรดาผสู้ นับสนนุ ว่ามรี ะบบอนั เปน็ ทางเลอื กของระบบปัจจุบัน พร้อมทั้งแนะแนวทางและวิธีการวางระบบอัน
เปน็ ทางเลือกนัน้ ใหน้ าไปใช้ได้จรงิ

๑๑

ก. ความรู้เบ้ืองตน้ เก่ยี วกบั ระบบการปลอ่ ยชั่วคราว

เม่ือมีการจับกุมเกิดขึ้น ศาลมีหน้าที่พิจารณาว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยพึงได้รับการปล่อยตัวในระหว่าง
พจิ ารณาโดยไมม่ เี งือ่ นไข หรอื ปล่อยโดยมีเง่อื นไข (อยา่ งเดียวหรือหลายอย่าง) หรือควรถูกขังระหว่างพิจารณา
ซ่ึงหากศาลอนุญาตใหป้ ล่อยโดยมเี งือ่ นไขหรือไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแล้ว คาส่ังศาลต้องแสดงเหตุผลที่ทา
ให้ศาลเหน็ ว่าผตู้ ้องหาหรือจาเลยมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่มาศาลตามนัดหรือจะก่อคดีร้ายแรงภายหลังได้รับการ
ปล่อยตัว๕ โดยหากมีเหตุแสดงให้เห็นว่าไม่มีเง่ือนไขในการกากับดูแลหลังปล่อยอย่างใดที่อาจควบคุมความ
เส่ียงดังกล่าวได้ (ซ่ึงมีไม่บ่อยครั้งนัก) ผู้พิพากษาย่อมมีอานาจไม่อนุญาตให้ปล่อยช่ัวคราวอันส่งผลให้ผู้ต้องหา
หรือจาเลยต้องถูกขังระหวา่ งพิจารณา

อย่างไรกต็ าม หากผู้พิพากษาเห็นว่าสามารถปล่อยช่ัวคราวผู้ต้องหาหรือจาเลยได้ กฎหมายก็เปิดช่อง
ให้ปล่อยชั่วคราวได้หลายลักษณะ โดยผู้พิพากษาอาจอนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจาเลยโดยเพียงให้สาบาน
ตน กล่าวคอื ให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยให้คาม่ันว่าจะมาศาลตามนัด และผู้พิพากษาอาจอนุญาตให้ปล่อยช่ัวคราว
โดยมเี งื่อนไขซึง่ ไม่เก่ียวข้องกบั เงิน เชน่ การสงั่ ให้ผตู้ ้องหาหรอื จาเลยเข้ารบั การบาบัดการติดยาเสพติด

ศาลยังสามารถกาหนดเงื่อนไขในการปล่อยช่ัวคราวได้ด้วยการให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน หรือ
โดยมีประกันและหลักประกนั การปล่อยช่ัวคราวโดยมีประกันและหลักประกันคือการที่ผู้ต้องหาหรือจาเลยจะ
ได้รับการปล่อยชั่วคราวต่อเมื่อได้วางเงินหรือหลักทรัพย์ (เช่น บ้าน) ท่ีมีมูลค่าตามราคาประกันท่ีศาลกาหนด
แต่หากเป็นการปล่อยโดยมีประกัน (แต่ไม่มีหลักประกัน) ผู้ต้องหาหรือจาเลยหรือผู้ขอประกันจะต้องรับผิด
ชาระเงินตามราคาประกนั ต่อศาลเมื่อไม่มาศาลตามนดั

ในกรณีท่ศี าลใหป้ ล่อยชัว่ คราวโดยมปี ระกันและหลักประกัน เงินจานวนท่ีศาลกาหนดให้ผู้ต้องหาหรือ
จาเลยตอ้ งนามาวางตอ่ ศาลเพือ่ เป็นเงอื่ นไขในการปล่อยช่ัวคราวเรียกว่า เงินประกัน๖ และผู้ต้องหาหรือจาเลย
อาจได้รับการปล่อยชั่วคราวด้วยการวางหลักประกัน ต่อศาล ซ่ึงในบางกรณี ผู้ต้องหาหรือจาเลยสามารถ
วางเงินหรอื หลกั ประกันเพียงร้อยละ ๑๐ ของราคาประกันทั้งหมดต่อศาล โดยศาลก็จะคืนเงินหรือทรัพย์สินท่ี
เป็นหลักประกันให้หากผู้ต้องหาหรือจาเลยมาศาลตามนัดทุกนัด แต่หากผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่มีเงินหรือ
ทรพั ยส์ นิ พอจะวางเปน็ หลักประกนั ตอ่ ศาล ก็อาจตดิ ต่อให้ผปู้ ระกันอาชีพวางหลักประกันแทนให้ได้ผ่านการทา
สัญญารับจ้างประกันตัว และท้ังหมดท้ังสิ้นนี้ หากผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่อาจวางหลักประกันได้ไม่ว่าด้วย
ช่องทางใด ผู้ต้องหาหรือจาเลยย่อมจะถูกขังระหว่างพิจารณาเพียงเพราะว่าไม่สามารถหาเงินหรือทรัพย์สินมา
ประกนั ตนเองได้

๑๒

การจบั

ปลอ่ ยช่วั คราวได้ ปลอ่ ยชั่วคราวไม่ได้

ปลอ่ ยโดยใหส้ าบานตวั ปล่อยโดยมเี ง่อื นไข ปลอ่ ยโดยใหว้ างหลกั ประกนั
หรอื ขังเพราะไม่มี

หลกั ประกนั มาวางศาล

ข. สภาพปญั หาของการปลอ่ ยชั่วคราวโดยใชเ้ งนิ ประกันและความเคล่อื นไหวเพื่อการปฏิรูป

การขังอนั เกิดจากปัจจยั ทางเศรษฐกจิ ทีไ่ มเ่ ทา่ กันขัดหลกั
ความเปน็ ธรรมและหลักกฎหมายรฐั ธรรมนูญ

การปล่อยชั่วคราวโดยอิงเงินหรือทรัพย์สินสร้างความไม่เป็นธรรมต่อผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ียากจน
อย่างยิ่ง ท้ังยังบ่อนทาลายความปลอดภัยของสังคมอีกด้วย การใช้เงินเป็นเง่ือนไขในการปล่อยช่ัวคราวทาให้
ผู้ซ่ึงต้องได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์และผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ให้ปล่อยชั่วคราวได้ กลับต้องถูกขังเพียงเพราะไม่มี
เงินหรือทรัพย์สินพอจะวางเป็นหลักประกัน จากการตรวจสอบระบบเรือนจาของมหานครนิวยอร์กในปี
๒๕๕๖ พบว่า “มีผู้ต้องขังมากกว่าร้อยละ ๕๐ ท่ีถูกขังจนถึงวันที่ศาลมีคาพิพากษาเพียงเพราะไม่สามารถหา
หลักทรัพย์มูลค่า ๒,๕๐๐ เหรียญหรือน้อยกว่ามาวางศาล”๗ ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ท่ีไม่มีเงินประกันตัวเหล่านี้
ต้องคดีในข้อหาลหุโทษ๘ และในบรรดาผู้ต้องหาหรือจาเลยในคดีเล็กน้อยเหล่านี้ ร้อยละ ๓๑ ถูกขังเพราะไม่
อาจหาเงิน ๕๐๐ เหรยี ญหรือน้อยกว่ามาวางเป็นประกัน๙ และเม่ือทาการสารวจท่ัวประเทศก็พบว่ามีผู้ต้องหา
หรือจาเลยถงึ ร้อยละ ๓๔ ถกู ขงั เพราะไม่มีเงินประกันตัว ซ่ึงผู้ต้องหาหรือจาเลยเหล่านี้ส่วนใหญ่คือหน่ึงในสาม
ของกลุ่มผู้ที่ยากจนท่ีสุดในอเมริกา๑๐ ตัวเลขสถิติทั้งประเทศจากเรือนจาระดับท้องถิ่นในปี ๒๕๕๔ แสดงว่า
ร้อยละ ๖๐ ของผู้ต้องขังในเรือนจาคือผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา และร้อยละ ๗๕ ของผู้ต้องขังระหว่าง
พิจารณาต้องข้อหาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติด หรือความผิดท่ีไม่เก่ียวกับความรุนแรง๑๑ และเพียงใน
ปงี บประมาณ ๒๕๕๗ เรอื นจาระดบั ท้องถนิ่ ก็ต้องดูแลผตู้ อ้ งขงั มากถึง ๑๑.๔ ลา้ นคน โดยประชากรผู้ต้องขังทั่ว
ทัง้ ประเทศเฉลย่ี ต่อวนั น้นั ได้รวมผูต้ อ้ งขงั ระหว่างพิจารณาจานวน ๔๖๗,๕๐๐ คนเอาไว้ดว้ ย๑๒

๑๓

ข้อโจมตีหลักต่อการปล่อยช่ัวคราวโดยเรียกเงินประกันคือ ระบบดังกล่าวทาให้ผู้ต้องหาหรือจาเลย
ต้องถูกขังเพียงเพราะว่าไม่สามารถหาเงินมาวางประกันได้ การขังอันเกิดจากจากฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่
เทา่ กนั ขดั หลกั ความเป็นธรรมและหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ ท้ังยังทาให้รัฐต้องขังคนจานวนมากโดยไม่จาเป็น
ซง่ึ สง่ ผลกระทบในทางลบทร่ี ุนแรงตอ่ ตัวผตู้ ้องหาหรอื จาเลยเอง ตอ่ สังคม และตอ่ กระบวนการยุติธรรม

การขังระหว่างพิจารณาโดยไม่จาเป็นก่อต้นทุนต่อทรัพยากรมนุษย์ท่ีสูงมาก การถูกคุมขังระหว่าง
พิจารณาแม้เพียงระยะส้ันๆ อาจส่งผลร้ายถึงข้ันทาลายชีวิตคนได้ แม้ว่า “การดาเนินงานของเรือนจาแต่ละ
แห่งจะแตกต่างกันมาก ตั้งแต่สถานคุมขังท้องถิ่นในชนบทอเมริกาซ่ึงมีผู้ต้องขัง ๓ ถึง ๔ คน ไปจนถึงเรือนจา
ในชิคาโก ลอสแอนเจลิส หรือนิวยอร์ก ซ่ึงมีผู้ต้องขังกว่า ๒๐,๐๐๐ คน ... และไม่ว่าขนาดของสถานคุมขังจะ
เป็นอยา่ งไร ประเด็นหลักทสี่ ะท้อนออกมาตรงกนั ในงานศึกษาต่างๆก็คือเรือนจาประสบภาวะผู้ต้องขังแออัด มี
สถานท่ีและเคร่ืองไม้เคร่ืองมือจากัด ต้องตกเป็นเปูาแห่งการฟูองร้อง ท้ังยังมีผู้ต้องขังฆ่าตัวตายและมีความ
รุนแรงเกิดขึ้นภายใน”๑๓ และเรือนจายังเป็นสถานที่ซึ่ง “รวบรวมให้กลุ่มคนดังต่อไปน้ีอยู่ด้วยกัน ได้แก่ ผู้มี
ความเสี่ยงสูงที่จะก่อความรุนแรง ผู้ใช้สารเสพติด ผู้มีปัญหาทางจิต และผู้ปุวยเป็นโรคติดต่อ”๑๔ เรือนจายังมี
สภาพความเป็นอยู่ท่ีไม่ปลอดภัยและไม่ถูกสุขลักษณะ โดยอดีตผู้ต้องขังในบัลติมอร์รายหน่ึงบรรยายสภาพใน
เรือนจาว่ามี “กลุ่มคนท่ีเป็นโรคผิวหนังจากแบคทีเรีย...พวกเขาเป็นโรคหัด โรคหิด มีทั้งเห็บและเหา”๑๕
เรือนจาแต่เดิมนั้นออกแบบมาเพ่ือรองรับการถูกคุมขังเพียงระยะส้ันๆ ด้วยเหตุน้ันโปรแกรมการบาบัดฟ้ืนฟู
พฤติกรรม การจัดกิจกรรมและการดูแลสุขภาพจึงไม่เพียงพอ๑๖ ผู้ต้องขังในเรือนจามีอาการปุวยทางจิตอย่าง
รุนแรงในอัตราที่ “สงู กวา่ ประชากรท่ัวไป ๔ ถึง ๖ เท่า” ทว่า “ผู้ต้องขังที่ปุวยทางจิตร้อยละ ๘๓ ไม่ได้รับการ
ดูแลรักษาอาการทางจติ หลังมาอยู่ในเรอื นจาแลว้ ”๑๗ และจากสถติ ิทร่ี วบรวมโดยสานักงานสถิตใิ นกระบวนการ
ยุติธรรม (Bureau of Justice Statistics) พบว่า การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการเสียชีวิตใน
เรือนจาทุกปีตงั้ แตป่ ี ๒๕๔๓๑๘

การขังระหว่างพิจารณาส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ถูกขังในหลายแง่มุม ซึ่งรวมถึง
ผลคดีทถ่ี กู กลา่ วหาดว้ ย โดยการขังแม้เพยี งชว่ งเวลาสั้นๆกอ็ าจทาใหช้ ีวิตคนด่ิงเหวลงได้ เพราะการขังระหว่าง
พิจารณาอาจทาให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยต้องออกจากงาน ต้องเสียท่ีพักอาศัย เสียสิทธิในการปกครองบุตร และ
เสยี สทิ ธใิ นการเขา้ รบั การรักษาพยาบาล๑๙ ผลกระทบที่ทาลายเสถียรภาพในชีวิตเหล่านี้อาจนามาใช้อธิบายว่า
ทาไมผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ถูกขังระหว่างพิจารณาจึงมีโอกาสชนะคดีน้อยลง โดยผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีถูกขัง
ตลอดการพิจารณานั้น “มีโอกาสถูกลงโทษจาคุกในคดีไม่ร้ายแรงสูงกว่า ๔ เท่า และสูงกว่า ๓ เท่าในคดี
ร้ายแรง เมื่อเทียบกับผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ถูกปล่อยช่ัวคราว”๒๐ และนอกจากแนวโน้มในการถูกจาคุกที่
มากกว่า ผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีถูกขังระหว่างพิจารณา เม่ือศาลตัดสินว่ามีความผิดแล้ว ยังมีแนวโน้มต้องโทษ
จาคกุ นานกวา่ อกี ด้วย โดยโทษจาคุกท่ีผู้ต้องหาหรือจาเลยผู้ถูกขังระหว่างพิจารณาได้รับ “มีกาหนดนานกว่า
ผูถ้ กู ปล่อยช่วั คราวมาก คือเกือบ ๓ เท่าในคดีไม่ร้ายแรง และมากกว่า ๒ เท่าในคดีร้ายแรง”๒๑ การศึกษาวิจัย
หลายชน้ิ เมอ่ื ไม่นานน้ีพบความเชื่อมโยงทเ่ี ป็นเหตุผลระหวา่ งการขงั ระหว่างพิจารณาและผลแพ้ชนะในการต่อสู้
คดี๒๒ การศึกษาช้ินหน่ึงท่ีวิเคราะห์คดีลหุโทษกว่า ๓๗๕,๐๐๐ คดีที่ฟูองในระหว่างปี ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๖ ใน
เทศมณฑลแฮรร์ ิส รฐั เท็กซัส มขี ้อสรปุ ว่า “การขงั จาเลยในคดีลหุโทษระหว่างพิจารณาเป็นเหตุที่กระทบผลแพ้
ชนะในคดี”๒๓ การศึกษาช้ินนี้ใช้การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ซ่ึงควบคุม “ปัจจัยรบกวน
(Confounding Factors) จานวนมาก” อันรวมถึง ลักษณะประชากร ประวัติอาชญากรรม และฐานะทาง

๑๔

เศรษฐกิจ และสรุปว่า “จาเลยผู้ถูกขังระหว่างพิจารณามีแนวโน้มสูงกว่าจาเลยผู้ถูกปล่อยชั่วคราวถึงร้อยละ
๒๕ ที่จะใหก้ ารรบั สารภาพวา่ กระทาผิดตามฟอู ง”๒๔

การปล่อยชั่วคราวท่ีเรียกเงินประกันเป็นปกติในปัจจุบันน้ียังทาให้ความเหล่ือมล้าในกระบวนการ
ยตุ ิธรรมทางอาญาอันเกดิ จากสีผวิ รุนแรงมากขน้ึ เพราะการเรยี กเงินเป็นประกันโดยสภาพเป็นการเลือกปฏิบัติ
ต่อผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ยากจน ซ่ึงฐานะทางเศรษฐกิจกับสีผิวน้ันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน๒๕ การเรียกเงิน
ประกันจึงมักทาให้การขังผู้ต้องหาหรือจาเลยผิวดาหรือผู้มีเช้ือสายสเปนในระหว่างพิจารณามีอัตราที่สูงข้ึน
งานศึกษาหลายช้ินช้ีว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยผิวดาและผู้มีเชื้อสายสเปนหรือฮิสปานิกมีความเสี่ยงที่จะถูกขัง
ระหว่างพิจารณาสูงกว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยผิวขาว ตลอดจนมีโอกาสน้อยกว่าในการหาหลักทรัพย์มาประกัน
ตวั ๒๖ และเพราะการขงั ระหวา่ งพิจารณาเป็นปัจจัยที่กระทบผลแพ้ชนะในคดี ความเหลื่อมล้าทางสีผิวจากการ
เรียกเงินประกนั จงึ อาจทาให้อตั ราการตอ้ งโทษจาคุกที่ตา่ งกนั มากอยแู่ ล้วย่งิ ต่างกันมากขนึ้

การขังโดยไมจ่ าเป็นยงั คกุ คามความปลอดภัยของสงั คม การศกึ ษาทางสถิติพบว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ี
มีความเส่ียงต่าแต่กลับถูกขังไว้ระหว่างพิจารณาแม้จะเป็นช่วงส้ันๆ กลับมีแนวโน้มที่จะกระทาความผิดเมื่อ
ไดร้ ับการปลอ่ ยตัว๒๗ ความจรงิ ท่ชี ่างขดั ต่อสามัญสานกึ น้สี ะท้อนผลกระทบรนุ แรงท่ีการขังระหว่างพิจารณาแม้
เพียงไม่นานก่อให้เกิดข้ึน นอกจากนี้ การท่ีไม่สามารถวางเงินประกันได้อาจทาให้ผู้บริสุทธ์ิท่ีถูกกล่าวหาว่า
กระทาความผิดไม่ร้ายแรงต้องตัดสินใจรับสารภาพเพียงเพราะหวังจะได้รับการปล่อยตัว๒๘ ซ่ึงในบางฐาน
ความผิด สิ่งที่เกิดน้ีกลายเป็นภัยต่อสังคม เพราะคนร้ายท่ีแท้จริงยังลอยนวลอยู่ในขณะที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย
กลบั ยุติการสอบสวนเสียแล้ว๒๙ การขงั โดยไม่จาเป็นยงั ไมม่ ปี ระสิทธิภาพในการรับประกันการมาศาลอีกด้วย มี
การศกึ ษาหลายชิ้นช้วี า่ ผ้ตู อ้ งหาหรอื จาเลยท่ถี ูกขงั ระหว่างพิจารณานานกวา่ ๒๔ ช่ัวโมงก่อนจะถูกปล่อยตัวนั้น
มีแนวโนม้ ทจ่ี ะมาศาลตามนดั ตา่ กวา่ รายทถี่ ูกขงั น้อยกว่า ๒๔ ช่ัวโมง๓๐

ทั้งหมดน้ีจึงทาให้ผู้กาหนดนโยบายในหลายรัฐท่ัวประเทศต่างตอบรับเสียงเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูป
เช่น ในปี ๒๕๕๖ รัฐโคโลราโดแก้ไขกฎหมายเก่ียวกับการปล่อยชั่วคราวเพื่อลดการเรียกเงินประกันและ
ส่งเสริมให้ใช้ระบบประเมินความเส่ียงควบคู่ไปกับการกากับดูแลหลังปล่อยโดยสานักงานปล่อยช่ัวคราว๓๑ ใน
เดอื นสิงหาคม ๒๕๕๗ รัฐนวิ เจอรซ์ ียผ์ ่านรฐั บัญญัตซิ ่ึงเปลยี่ นระบบการปล่อยชั่วคราวจากการใช้เงินเป็นการใช้
ระบบประเมินความเส่ียง๓๒ และเม่ือไม่นานน้ีผู้ว่าการรัฐคอนเนกติกัตย่ืนข้อเสนอปฏิรูประบบการปล่อย
ช่วั คราวซ่งึ รวมการหา้ มเรียกเงนิ ประกันในคดีลหุโทษ๓๓

ในทอ้ งที่อื่นกม็ ีความเคลือ่ นไหวท่ีจะเปล่ียนแปลงระบบเช่นกัน หากแต่เป็นการเปลี่ยนโดยอาศัยคาพิพากษา
ของศาล โดยในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ ประชาชนในรัฐนิวเม็กซิโกจะออกเสียงลงมติในประเด็นการแก้ไข
รัฐธรรมนูญท่ีจะจากัดอานาจศาลในการส่ังขังเพื่อปูองกันอันตรายจากผู้ต้องหาหรือจาเลยไว้ก่อน และให้สิทธิ
ผ้ถู กู ขังเพราะไมม่ เี งนิ ประกันในการยื่นคารอ้ งตอ่ ศาลขอยกเว้นการวางเงินประกัน๓๔ ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ดังกลา่ วน้ีสบื เน่ืองจากคาพิพากษาศาลฎกี าแห่งรฐั นิวเม็กซโิ กในปี ๒๕๕๗ ทว่ี นิ จิ ฉยั วา่ ศาลชัน้ ต้นไม่มีอานาจใน
การต้ังราคาประกันไว้สูงเพียงเพื่อจะขังผู้ต้องหาหรือจาเลยในคดีฆาตกรรมไว้ระหว่างพิจารณา เพราะการ
ปล่อยชัว่ คราวโดยกาหนดเง่ือนไขท่ีผ่อนปรนกว่าก็สามารถปกปูองให้สังคมปลอดภัยได้๓๕ นอกจากนี้ การฟูอง
โต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของการเรียกเงินประกันในศาลสหพันธรัฐทั่วประเทศก็ทาให้รัฐบาลในระดับ

๑๕

ท้องถ่ินหลายแห่งเกิดความตื่นตัวท่ีจะปฏิรูปด้วยการยุติการเรียกเงินประกันในบางกรณีสาหรับผู้ต้องหาหรือ
จาเลยท่ไี มอ่ าจหาเงินมาประกันตัวได้๓๖

ค. หลักกฎหมายสาคัญ

ในการปฏริ ูประบบการปล่อยชัว่ คราวให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ จาเป็นอย่างย่ิงท่ีต้องเร่ิมด้วยความ
เข้าใจในระบบกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยช่ัวคราวในปัจจุบันเสียก่อน คู่มือในส่วนนี้จึงเป็นการอธิบาย
หลักเกณฑ์พ้ืนฐานเกี่ยวกับการปล่อยช่ัวคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยหลักกฎหมายของ
รัฐธรรมนูญและรฐั บญั ญัติแห่งมลรัฐตา่ งๆ ตลอดจนแนวทางเพื่อใช้ประเมินว่ารัฐบัญญัติต่างๆ วางระบบปล่อย
ชั่วคราวที่สอดคลอ้ งกบั แนวปฏบิ ัติที่ดที ีส่ ุด (Best Practices) แล้วหรือไม่

(๑) หลกั กฎหมายรัฐธรรมนูญแหง่ สหรัฐอเมริกา

มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาหลายมาตราคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพ้ืนฐานของ
ผตู้ ้องหาหรอื จาเลยไวต้ ั้งแตก่ ่อนการพิจารณาของศาล โดยบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับท่ี ๔ (The Fourth
Amendment) ซึ่งห้ามการจับโดยไม่มีเหตุอันควรน้ันเป็นเครื่องคุ้มครองว่า ผู้พิพากษาจะต้องพิจารณาเหตุ
สมควรภายใน ๔๘ ช่ัวโมงหลงั การจบั ๓๗

นอกจากน้ี บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับท่ี ๘ (The Eighth Amendment) ยังห้าม “การเรียก
ประกันท่ีเกินสมควร”๓๘ โดยแม้ตัวบทจะมิได้นิยามว่า “เกินสมควร” หมายความอย่างไรหรือกาหนด
หลักเกณฑ์โดยละเอียดว่าเมื่อใดควรอนุญาตให้ปล่อยช่ัวคราว๓๙ แต่ในคดี Stack v. Boyle ศาลฎีกาแห่ง
สหรัฐอเมริกาก็วางแนวทางในการพิจารณาไว้โดยเริ่มจากหลักทั่วไปว่า “สิทธิข้ันพื้นฐานในการให้จาเลยมี
อสิ รภาพกอ่ นศาลพพิ ากษานน้ั มีขึ้นเพื่อให้จาเลยสามารถต่อสู้คดีได้โดยไม่ติดขัด และปูองกันการลงโทษจาเลย
ก่อนศาลพิพากษา” ศาลฎีกานิยามคาว่า “เกินสมควร” ว่าเป็นกรณีท่ีราคาประกัน “มีจานวนสูงเกินปกติ”
เมอ่ื คานึงถึงวัตถุประสงค์ในการ “ประกันให้จาเลยมาศาล”๔๐ จะเห็นได้ว่าศาลฎีกาผูกโยงเรื่องเงินประกันเกิน
สมควรกับวัตถุประสงค์ของเงินประกัน ดังคาวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่าวัตถุประสงค์ของเงินประกันเป็นไปเพ่ือ
ประกันวา่ จาเลยจะมาศาลตามนดั ๔๑ “เงนิ ประกนั มีบทบาทเพยี งจากดั การกาหนดราคาประกันจึงต้องคานึงถึง
วัตถุประสงค์ในการประกันการมาศาลของจาเลย”๔๒ การวิเคราะห์บทบาทของเงินประกันเช่นน้ีจึงเท่ากับศาล
ฎีกาชี้แนะว่า บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับท่ี ๘ กาหนดให้มีการไล่เรียงลาดับความเข้มงวดของการปล่อย
ชั่วคราวตามราคาประกัน กล่าวคือมูลค่าหลักประกัน (หรือเงื่อนไขอ่ืนในการปล่อยชั่วคราว๔๓) ต้องมาก
เพยี งพอเป็นแรงจูงใจให้ผตู้ อ้ งหาหรือจาเลยรายนั้นๆมาศาลตามกาหนด อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว ศาล
มิได้นาแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้เพ่ือจากัดบทบาทของเงินประกันสักเท่าใด และศาลฎีกาเองก็มิได้วินิจฉัย
ประเด็นหลักเกยี่ วกับเงินประกนั อกี ตงั้ แต่คดี Stack v. Boyle ในปี ๒๔๙๔ เปน็ ตน้ มา

แม้วา่ บทบัญญตั ิแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบบั ที่ ๘ จะเปน็ บทบญั ญตั ิเดยี วในรฐั ธรรมนูญที่กล่าวถึงเงินประกัน
อย่างชัดเจน แต่ก็อาจนาหลักกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย (Due Process) และการคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพอย่างเสมอภาค (Equal Protection) มาใช้ในบริบทการขังระหว่างพิจารณาได้ โดยหลักกระบวนการ
อันชอบด้วยกฎหมายจะนามาใช้เม่ือมีการจากัดเสรีภาพของบุคคลใดๆ ซึ่งรวมถึงการขังระหว่างพิจารณา ท้ังนี้

๑๖

ศาลฎีกาเคยวางหลักไว้ว่า “ในสังคมเราน้ัน เสรีภาพคือหลักการ และการขังก่อนพิจารณาหรือการขังไว้โดย
ไม่มีการพิจารณาเป็นข้อยกเว้นท่ีต้องใช้อย่างจากัดและระมัดระวัง”๔๔ หลักกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมายนี้
มีองค์ประกอบที่เป็นทั้งหลักเกณฑ์ท่ัวไปและกระบวนการ หลักกฎหมายน้ีในส่วนที่เป็นเกณฑ์ทั่วไปน้ัน “ห้าม
รัฐละเมิดเสรีภาพบุคคล ‘ข้ันพ้ืนฐาน’ โดยเด็ดขาด ท้ังนี้ไม่ว่าจะมีกระบวนพิจารณาใดๆรองรับก็ตาม เว้นแต่
มาตรการที่เป็นการละเมิดนัน้ ถกู จากดั ขอบเขตใหแ้ คบเพียงเท่าท่ีจะตอบสนองต่อความจาเป็นอันย่ิงยวดของรัฐ
(Compelling State Interest) เทา่ นน้ั ”๔๕ ซ่ึงหมายความว่า ระบบใดๆที่อนุญาตให้มีการขังระหว่างพิจารณา
ได้จะต้องจากัดขอบเขตการขังให้แคบเพียงเท่าที่จะอานวยประโยชน์สาธารณะอันจาเป็นยิ่งยวดเท่าน้ัน
มิฉะนนั้ การขังย่อมไมช่ อบดว้ ยกฎหมาย และหลงั จากผา่ นการตรวจสอบด้านหลักเกณฑ์ทั่วไปแล้ว ข้ันต่อไปคือ
การตรวจสอบด้านกระบวนการเพื่อลดความเส่ียงที่จะเกิดความผิดพลาดและเสียหายขึ้นว่า กระบวนการ
เป็นไปโดยสมดุลระหว่างประโยชน์ของรัฐกับเสรีภาพส่วนบุคคลหรือไม่๔๖ รายละเอียดเกี่ยวกับหลัก
กระบวนการอนั ชอบด้วยกฎหมายน้จี ะไดร้ ับการอภปิ รายโดยละเอียดต่อไปในบทที่ ๓ ส่วน ค. ของค่มู อื นี้

การเรียกเงินประกันยังมีประเด็นเกี่ยวกับหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยเสมอภาคซึ่งห้ามศาลขัง
หรือกาหนดมาตรการที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดอันเน่ืองจากความยากจนของบุคคลน้ัน ศาลฎีกาเน้นย้าใน
คาพพิ ากษาหลายครั้งว่า “ไม่มีหนทางท่ีจะเกิดความยุติธรรมโดยเสมอภาคได้ตราบใดท่ีการพิจารณาคดีขึ้นอยู่
กับจานวนเงินท่ีบุคคลมีในกระเป๋า”๔๗ ในคดี Bearden v. Georgia ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติท่ีให้ศาล
ยกเลิกคาสั่งคุมความประพฤติได้ทันทีที่จาเลยไม่ชาระค่าปรับน้ันไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้เหตุผลว่า “การ
ยกเลิกอิสรภาพของผู้ถูกคุมความประพฤติเพียงเพราะการไร้ความสามารถที่จะชาระค่าปรับ ท้ังที่มิได้เกิดจาก
ความผดิ ของบุคคลน้ัน...ขดั ต่อหลกั ความเป็นธรรมข้นั พืน้ ฐานตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๔ (The
Fourteenth Amendment)”๔๘ โดยศาลช้ันต้นต่างก็รับหลักท่ีศาลฎีกาวางไว้ไปปรับใช้ในการปล่อยชั่วคราว
และการเรียกเงนิ ประกนั ดว้ ย๔๙

(๒) ความรู้เบ้ืองต้นเก่ียวกับกฎหมายในระดบั มลรฐั

ก. บทบัญญตั ิเก่ยี วกับการปล่อยชว่ั คราวตามรฐั ธรรมนูญของแต่ละรฐั

รัฐธรรมนูญของมลรัฐส่วนใหญ่มักมีบทบัญญัติเก่ียวกับการปล่อยชั่วคราวหน่ึงในสองลักษณะ
ดงั ต่อไปนี้

- สิทธิทจ่ี ะไดร้ ับการปล่อยช่ัวคราว: รัฐธรรมนูญของมลรัฐส่วนใหญ่รับรองสิทธิในการปล่อยชั่วคราว
ไว้ โดยมักบัญญัติถ้อยคาในทานองว่า “จาเลยมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราวเม่ือมีหลักประกันท่ีเพียงพอ เว้น
แต่ในข้อหาความผิดท่ีมีอัตราโทษถึงประหารชีวิต หรือเม่ือมีพยานหลักฐานแน่นหนาหรือเมื่อข้อสันนิษฐาน
หนักแน่น” ทว่า บทบัญญัติมาตรฐานเช่นน้ีกลับมีการตีความที่หลากหลาย๕๐ ศาลในหลายรัฐตีความว่า
รฐั ธรรมนญู ใหส้ ิทธเิ ดด็ ขาดแก่ผู้ตอ้ งหาหรือจาเลยทุกคน (ยกเว้นรายที่ต้องข้อหาซง่ึ มีอัตราโทษถึงประหารชีวิต)
ท่จี ะตอ้ งได้รับการปล่อยตัว ดงั น้นั ผตู้ ้องหาหรอื จาเลยท่ีถูกขังไว้ระหว่างพิจารณาก็เป็นเพียงเพราะไม่มีเงินหรือ
ทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเท่าน้ัน๕๑ ส่วนในอีกหลายรัฐซึ่งมีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันนี้ ศาลกลับ
ตีความคาว่า “สิทธิได้รับการปล่อยช่ัวคราว” และ “หลักประกันที่เพียงพอ” ต่างออกไปโดยเปิดกว้างให้ศาล
ยังคงมีดุลพินิจในการสั่งปล่อยช่ัวคราวและกาหนดราคาประกัน๕๒ ในมลรัฐเหล่านี้ ผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีมิได้

๑๗

ตอ้ งขอ้ หาความผิดท่ีมีอตั ราโทษถึงประหารชีวิตยังคงมีสทิ ธขิ อปล่อยชวั่ คราว แต่ศาลอาจไม่อนุญาตหากเห็นว่า
ไม่ว่าเงินประกันจะสูงสักเท่าใดก็ไม่อาจปูองกันการหลบหนีหรือก่ออันตรายต่อสังคมได้๕๓ และในบางรัฐได้
นาเอาการตีความในลักษณะนไ้ี ปบญั ญตั ิไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว๕๔ นอกจากนี้ ยังมีอย่างน้อย ๑ รัฐ ที่ศาลตีความ
รัฐธรรมนูญว่า ศาลมีอานาจยกเลิกสิทธิในการปล่อยช่ัวคราวได้หากผู้ต้องหาหรือจาเลยฝุาฝืนเงื่อนไขในการ
ปล่อยชวั่ คราว๕๕

- รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติรับรองสิทธิในการปล่อยช่ัวคราวไว้โดยตรง: มีรัฐธรรมนูญของ ๙ รัฐท่ีใช้
ถ้อยคาในทานองเดียวกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และเพียงแต่ห้ามศาลเรียกหลักประกันที่เกินสมควร
เทา่ นนั้ ๕๖

ข. บทบัญญตั ิในกฎหมายลายลกั ษณ์อกั ษรของแตล่ ะรัฐ

ในมลรัฐส่วนใหญ่ กฎหมายท่ีเก่ียวกับการปล่อยชั่วคราวจะอยู่ในประมวลกฎหมาย หรือกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา๕๗ หรือข้อกาหนดของศาล๕๘ ในบางรัฐ ผู้ตรากฎหมายถึงกับอุทิศประมวลกฎหมายท้ัง
ลักษณะสาหรับการปล่อยช่ัวคราว๕๙ ในขณะท่ีประมวลกฎหมายของรัฐอื่นๆ กลับบัญญัติหลักเกณฑ์ในการ
ปล่อยช่ัวคราวอย่างกระจัดกระจาย๖๐ เช่น มีบทมาตราว่าด้วยราคาประกันข้ันต่าสาหรับบางข้อหาความผิด
ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญา๖๑

บทบัญญัติบางลักษณะของกฎหมายเก่ียวกับการปล่อยชั่วคราวอาจสนับสนุนการปล่อยชั่วคราวโดย
เรยี กเงนิ ประกนั เปน็ หลักจนกลายเป็นอุปสรรคตอ่ การปฏิรปู ในขณะท่ีบทบัญญัตอิ กี หลายลักษณะก็อาจช่วยให้
การเปลี่ยนแปลงเกิดง่ายข้ึน กฎหมายที่ให้มีบัญชีเกณฑ์มาตรฐานกลางหลักประกันซึ่งใช้เกณฑ์ความหนักเบา
ของข้อหา หรือกฎหมายท่ีกาหนดราคาประกันขั้นต่าไว้ อาจเป็นอุปสรรคสาคัญต่อการปฏิรูปหรือการยกเลิก
การเรียกเงินประกัน๖๒ ในทางกลับกัน กฎหมายที่กาหนดโครงสร้างสานักงานปล่อยชั่วคราวที่เข้มแข็ง๖๓ หรือ
กฎหมายท่ีส่งผลในการลดปริมาณผู้ต้องขังด้วยการให้เจ้าหน้าที่สั่งให้ผู้ต้องหาไปศาล (citations) แทนการ
จบั ๖๔ อาจช่วยลดการพึง่ พงิ การเรียกเงินประกนั ได้

สาหรับผู้กาหนดนโยบายและผู้สนับสนุนการปฏิรูปที่ประสงค์ทราบโดยละเอียดเกี่ยวกับประเด็นท่ี
กฎหมายระดับรัฐควรบัญญัติเก่ียวกับการปล่อยช่ัวคราว มีงานเขียนหลายชิ้นที่เป็นประโยชน์ มาตรฐานการ
ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว โดยสมาคมเนติบัณฑิตแห่งอเมริกา
(The American Bar Association’s Standards for Criminal Justice: Pretrial Release “ABA
Standards”) นาเสนอหลักการสาคัญที่ควรนาไปวางเป็นโครงสร้างของกระบวนการยุติธรรมระดับรัฐในชั้น
ก่อนและระหว่างการพิจารณาคดี๖๕ สาหรับการวิเคราะห์ข้อกฎหมายและประวัติศาสตร์ว่าด้วยการขังและ
ปล่อยชัว่ คราวโดยละเอยี ด ผูส้ นใจสามารถอา่ นงานเขียนของ ทิโมธี อาร์ ชนัค (Timothy R. Schnacke) เรื่อง
“ความรู้พ้ืนฐานเก่ียวกับการประกันตัว: คู่มือสาหรับผู้ปฏิบัติงานและโครงสร้างการปฏิรูประบบการปล่อย
ชั่วคราว” (Fundamentals of Bail: A Guide for Pretrial Practitioners and a Framework for
American Pretrial Reform) ซ่ึงได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยกระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ในปี
๒๕๕๗๖๖

๑๘

------------------------- ๒ -------------------------

มาตรการสาคัญเพอื่ ป้องกนั การขังที่ไม่สมควรในระบบการปลอ่ ยชั่วคราวโดยเรยี กเงินประกัน

มาตรการลดทอนความเสียหายจากการเรียกเงินประกัน

รัฐสามารถจากัดความเสียหายจากการเรียกเงินประกันได้หลายวิธี หรือกระทั่งยกเลิกการเรียกเงิน
ประกนั โดยเดด็ ขาด คมู่ ือในสว่ นน้ีจะกล่าวถงึ มาตรการลดทอนความเสยี หายจากการเรียกเงินประกัน ในกรณีท่ี
ระบบยังคงเรียกเงินประกันอยู่ ซึ่งมีตัวอย่างได้แก่ การพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกัน การ
ยกเลิกบัญชีเกณฑ์มาตรฐานกลางหลักประกัน และการกากับดูแลธุรกิจผู้ประกันอาชีพ ซึ่งมาตรการต่างๆ
ดังกล่าวมานี้อาจแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาที่หนักหน่วงที่สุดจากการเรียกเงินประกันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งน้ัน การ
ปฏิรูประบบไม่ว่าด้วยวิธีการใดควรตั้งอยู่บนหลักการว่า การขังระหว่างพิจารณาพึงทาได้อย่างจากัดในเฉพาะ
กรณีทีจ่ าเป็นอยา่ งย่ิงเทา่ น้ัน

ก. การพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกนั

หากศาลในทอ้ งทีใ่ ดๆ ยังเหน็ ควรให้เรียกเงนิ ประกันเพื่อเป็นเง่ือนไขที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว ศาล
นนั้ ๆยอ่ มตอ้ งไตส่ วนเกี่ยวกับความสามารถของผตู้ ้องหาหรือจาเลยในการวางหลกั ประกนั ตามมูลค่าหรือราคาที่
กาหนดด้วย ทง้ั น้ี ศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกาเคยมีคาพิพากษาว่า ศาลไม่อาจขังบุคคลใดเพียงเพราะบุคคลน้ัน
ไมอ่ าจหาเงินมาวางตามทศี่ าลกาหนด เวน้ แต่ศาลได้ไต่สวนเกี่ยวกับความสามารถในการวางเงินแล้วพบว่าการ
ไม่วางหลักประกันเป็นไปโดยจงใจ หรือไม่มีมาตรการอ่ืนใดท่ีจะปกปูองประโยชน์สาธารณะอันชอบด้วย
กฎหมายไว้ไดอ้ ีก๖๗ กระน้ัน กลับพบว่าศาลหลายแห่งท่ัวประเทศฝุาฝืนหลักกฎหมายดังกล่าวทุกเม่ือเชื่อวัน๖๘
แต่แม้ว่าการกาหนดแนวทางในการส่ังขังหรือปล่อยชั่วคราวจะต้องเผชิญกับหลากคาถามยุ่งยากซับซ้อน หลัก
สาคัญประการแรกทีต่ ้องยึดถืออยเู่ สมอกค็ ือ ฐานะทางเศรษฐกจิ ไมค่ วรเป็นปัจจยั ในการพิจารณาว่าบุคคลใดจะ
ถูกขังหรอื ถกู ปลอ่ ยตัว

ศาลฎกี าแห่งสหรฐั อเมริกาเคยวางแนวทางเกี่ยวกับการพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกัน
ไว้ในคดี Turner v. Rogers ซึ่งเป็นคดีเก่ียวกับการไม่ชาระค่าเลี้ยงดูบุตร โดยศาลฎีกาในคดีน้ันพิพากษาว่า
การที่ศาลส่ังขังจาเลยโดยมิได้ไต่สวนเสียก่อนเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของจาเลย “ฝุาฝืนบทบัญญัติแห่ง
รัฐธรรมนูญว่าด้วยกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย (Due Process Clause)”๖๙ และศาลฎีกาได้กล่าวถึง
กระบวนการตา่ งๆท่ีหากมกี ารปฏบิ ัตติ ามทั้งหมดย่อมจะเปน็ “มาตรการปอู งกนั ” ทอ่ี าจ “ลดความเส่ียงโดยนัย
สาคญั จากการขังทไี่ ม่สมควร” เมอื่ ไม่มีการวางเงนิ ตามทีศ่ าลกาหนดได๗้ ๐ มาตรการปอู งกันดังกล่าวรวมถงึ :

(๑) มกี ารแจง้ เตือนถึงจาเลยว่า “ความสามารถในการวางเงิน” ของจาเลย เป็นประเด็นสาคัญในการ
พิจารณาว่ามกี ารละเมดิ อานาจศาลหรอื ไม่ (๒) การใชแ้ บบพมิ พ์ทก่ี าหนดไว้แล้วในการสอบถามข้อมูลการเงินท่ี
เก่ยี วข้อง (๓) การไต่สวนและให้โอกาสจาเลยชี้แจงเก่ียวกับฐานะการเงินของตน (เช่น ให้จาเลยชี้แจงข้อสงสัย
อันเกิดจากคาตอบในแบบสอบถามของจาเลย) และ (๔) มีการสรุปผลการไต่สวนที่ดาเนินการโดยเปิดเผยว่า
จาเลยมีความสามารถในการวางเงิน๗๑

๑๙

เมื่อนาแนวทางข้างต้นมาปรับใช้กับการปล่อยช่ัวคราวโดยเรียกเงินประกันแล้ว การให้ศาลต้อง
พิจารณาความสามารถในการวางหลักประกัน และการวางมาตรการปูองกันการขังที่ไม่สมควรในทานอง
เดียวกับกระบวนการข้างต้นย่อมจะช่วยปูองกันมิให้เกิดการขังเพียงเพราะผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่อาจหา
หลักประกันมาวางได้ และแม้ว่าศาลฎีกาจะมไิ ด้วนิ ิจฉยั โดยชัดแจง้ วา่ กระบวนการใดบ้างท่ีต้องมีข้ึนเพื่อปูองกัน
การขังท่ไี ม่สมควร แต่การพิจารณาความสามารถในการวางหลักประกนั ก็ควรประกอบด้วยขนั้ ตอนตอ่ ไปนี้ :

- มีการแจ้งให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยทราบว่าศาลจะกาหนดราคาประกันโดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ
เปน็ รายกรณี และผ้ตู ้องหาหรือจาเลยควรไดร้ ับแจ้งให้ทราบว่าความสามารถในการวางหลักประกันเป็นปัจจัย
สาคัญในการพจิ ารณาราคาประกนั

- การใช้แบบพิมพ์มาตรฐาน ศาลควรใช้แบบพิมพ์มาตรฐานในการสอบถามข้อมูลเก่ียวกับรายได้
ทรัพย์สิน หน้ีสิน สวัสดิการจากภาครัฐ หรือข้อมูลอื่นเกี่ยวกับการเงินของผู้ต้องหาหรือจาเลย เพ่ือนามาใช้
ประเมินความสามารถในการวางหลักประกนั ๗๒

- ข้อสันนิษฐานเกย่ี วกับความยากจนหรือการไร้ความสามารถในการวางหลักประกัน ในบางกรณีมี
เหตสุ มควรใหส้ ันนษิ ฐานไวก้ อ่ นวา่ ผู้ตอ้ งหาหรือจาเลยรายนัน้ ๆยากจนและไม่อาจวางหลักประกันเพื่อขอปล่อย
ชั่วคราวได้ การต้ังข้อสันนิษฐานดังกล่าวเหมาะสมหากรายได้ของผู้ต้องหาหรือจาเลยต่ากว่าระดับที่กาหนด
เชน่ รายได้น้อยกว่าหรอื เท่ากับรอ้ ยละ ๑๒๕ ของเส้นความยากจนในระดับชาติ๗๓

- มีมาตรฐานการพิจารณาและการนิยามคาสาคัญไว้โดยชัดแจ้ง ในกฎหมายหรือคาพิพากษาของ
ศาลพงึ นยิ ามถ้อยคาสาคัญเช่น “ความสามารถในการวางหลกั ประกัน” หรอื “ยากจน” ให้ชดั เจน

- สิทธิของผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีจะมีทนาย จาเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ต้องหาหรือจาเลยต้องมีทนายอยู่ด้วย
ขณะศาลพิจารณาว่าจะขังหรือปล่อยช่ัวคราว ท้ังนี้ก็เพื่อปูองกันการขังท่ีไม่จาเป็นระหว่างการพิจารณา๗๔ ซึ่ง
ในการสารวจระดับชาติในปี ๒๕๔๔ พบว่า “มีเพียง ๑๐ รัฐ เท่าน้ัน ที่จัดให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยมีทนายความ
ตั้งแตม่ าศาลครั้งแรกเมือ่ ศาลพิจารณาว่าจะขังหรือปล่อยช่ัวคราว”๗๕

- เก็บบันทกึ การไตส่ วน การบันทึกการไต่สวนเร่ืองการขังหรือปล่อยช่ัวคราวเป็นลายลักษณ์อักษรจะ
เป็นหลักประกันวา่ ศาลดาเนนิ กระบวนพจิ ารณาโดยชอบและเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยโต้แย้งคาสั่งศาล
ได๗้ ๖

- สทิ ธใิ นการขอให้ศาลทบทวนคาสง่ั ขงั ระหวา่ งพจิ ารณา การใหผ้ ้ตู ้องหาหรอื จาเลยมีสิทธิขอให้ศาล
ทบทวนคาสั่งขังจะช่วยปูองกันมิให้เกิดการขังที่ไม่จาเป็นสาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ไม่อาจวางหลักประกัน
ได๗้ ๗

ศาลอาจรวบรวมขอ้ มลู เกีย่ วกับฐานะทางการเงินของผู้ต้องหาหรือจาเลยได้มากต้ังแต่ช้ันการพิจารณา
ว่ามีเหตุสมควรต้ังทนายขอแรงให้หรือไม่ด้วยการสอบถามเพียงไม่กี่นาที ซ่ึงการให้การเท็จของผู้ต้องหาหรือ
จาเลยน้ันย่อมเป็นความผิดอาญา การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยทันท่วงทีน้ีจะช่วยให้การพิจารณาว่า
ผู้ตอ้ งหาหรอื จาเลยมีความสามารถในการวางหลักประกันหรือไม่ทาได้โดยเร็ว ท้ังน้ีการต้องดูความสามารถใน
การวางหลกั ประกันนน้ั ทาให้ผูพ้ พิ ากษาสามารถกาหนดราคาประกันในจานวนท่ีผู้ต้องหาหรือจาเลยพอมีกาลัง

๒๐

เสาะหามาวางได้ ท้ังยังทาให้ศาลจะเรียกเงินประกันต่อเม่ือมีเหตุให้เชื่อว่าเงินประกันจานวนน้ันเป็นแรงจูงใจ
ให้ผู้ต้องหาหรอื จาเลยมาศาลไดจ้ ริง

ข. การพิจารณาราคาประกันโดยดูจากพฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจาเลยแต่ละราย และการ
ยกเลิกบญั ชเี กณฑ์มาตรฐานหลกั ประกัน

บัญชีเกณฑ์มาตรฐานกลางหลักประกัน หรือ “ย่ีต๊อกประกัน” เป็นเคร่ืองมือที่ศาลหลายแห่งท่ัว
ประเทศใช้ในการกาหนดราคาประกันสาหรับบางฐานความผิด ตามปกติแล้ว ย่ีต๊อกประกันจะระบุฐาน
ความผิดเป็นการเฉพาะหรือระบุเป็นประเภทของความผิด (เช่น ระบุฐานความผิดตามชั้นความผิดต่างๆ) และ
กาหนดจานวนเงินประกันหรือช่วงของราคาประกันสาหรับแต่ละฐานความผิด ศาลต่างๆอาจมีย่ีต๊อกประกัน
เพ่ือความมีประสิทธิภาพหรือเพ่ือสร้างความเป็นเอกภาพในการสั่ง (กล่าวคือ ผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีต้องข้อหา
เดียวกันจะต้องวางหลักประกันซึ่งมีมูลค่าเท่ากันเพ่ือการปล่อยช่ัวคราว) ย่ีต๊อกประกันยังมีประโยชน์อีก
ประการคือ เน่ืองจากย่ีต๊อกกาหนดกรอบที่ตายตัวในการสั่งประกัน จึงเป็นการปูองกันการเลือกปฏิบัติอัน
เนื่องจากลักษณะส่วนตัวของจาเลย เช่น สีผิว แต่ทว่าการกาหนดตารางฐานความผิดและราคาประกันของ
ความผดิ นนั้ ๆ โดยตายตัวนี่เองท่ีไม่เปิดโอกาสให้ศาลพิจารณาพฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจาเลยเป็นรายกรณี
ได้ ซึ่งจากการท่ีในทางปฏิบัติพบว่าผู้พิพากษามักอาศัยยี่ต๊อกประกันกาหนดราคาประกันเสียตั้งแต่ก่อน
ผู้ต้องหาหรือจาเลยจะมาถึงศาล ทาให้ไม่มีโอกาสท่ีผู้พิพากษาจะได้พิจารณาความสามารถในการวาง
หลักประกันของผู้ต้องหาหรือจาเลย และไม่มีโอกาสปรับเพิ่มหรือลดราคาประกันให้สอดคล้องกับระดับความเส่ียง
ของผู้ตอ้ งหาหรอื จาเลยทีจ่ ะไมม่ าศาล๗๘

ย่ีต๊อกประกันน้ันอาจเป็นเพียงการแนะนาหรือกระท่ังเป็นข้อกาหนดท่ีต้องยึดถือ และอาจมีใช้กันท้ัง
ในระดับรัฐหรือระดับท้องถ่ิน๗๙ และเมื่อมีย่ีต๊อกประกันข้ึนมาแล้ว แม้จะไม่มีการบังคับว่าผู้พิพากษาต้องถือ
ตาม แต่โดยปกติย่ีต๊อกก็มักกลายเป็นกฎเหล็กที่ต้องยึดถือในความเป็นจริง ตัวอย่างเช่นในรัฐอลาบามา
กฎหมายเก่ียวกับการปล่อยชั่วคราวบัญญัติว่า “ผู้พิพากษาพึงกาหนดราคาประกันในจานวนเท่าที่เห็นว่า
เพียงพอต่อการรับประกันว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยจะมาศาล”๘๐ แต่ผู้พิพากษาในรัฐดังกล่าวก็อาจใช้ย่ีต๊อก
ประกันท่ีศาลฎีกาแห่งรัฐอลาบามาหรือที่ผู้พิพากษาท้องถ่ินจัดทาข้ึนได้๘๑ และแม้ว่ายี่ต๊อกประกันที่ศาลฎีกา
แห่งรัฐอลาบามาใช้อยู่จะเขียนว่า “ศาลมีอานาจใช้ดุลพินิจในการกาหนดราคาประกันสูงหรือต่ากว่าจานวนที่
กาหนดในบัญชี”๘๒ ในทางปฏิบัติ การใช้ดุลพินิจดังว่าน้ีมิได้เกิดข้ึนเป็นปกติ ในคดีที่มีผู้ฟูองโต้แย้งความชอบ
ด้วยกฎหมายของทางปฏิบัติในการปล่อยช่ัวคราวของเมืองแคลนตัน รัฐอลาบามานั้น ผู้พิพากษาแห่งศาล
สหพันธรัฐวินิจฉัยว่า ศาลแขวงแห่งเมืองแคลนตันไม่ใช้ดุลพินิจนอกเหนือจากยี่ต๊อกประกัน และทาให้จาเลย
ผู้ยากจนท่ีไม่อาจวางหลักประกันได้ต้องรอถึงหน่ึงสัปดาห์กว่าศาลจะยอมพิจารณาเรื่องเงินประกันโดยดูจาก
พฤตกิ ารณ์ของจาเลยรายนั้นเป็นการเฉพาะ๘๓

การกาหนดตารางฐานความผดิ และราคาประกันของความผิดนั้นๆ โดยตายตัวนีเ่ องท่ีไมเ่ ปิดโอกาสให้
ศาลพิจารณาพฤติการณข์ องผูต้ ้องหาหรอื จาเลยเป็นรายกรณไี ด้

๒๑

ในบางรัฐ แทนท่ีจะมีการจัดทายี่ต๊อกประกัน กลับใช้การกาหนดราคาประกันขั้นต่าสาหรับความผิด
บางฐานไว้ในกฎหมาย ซึ่งการกาหนดราคาประกันขั้นต่าไว้ในกฎหมายน้ีก็เป็นการปิดกั้นมิให้ผู้พิพากษาใช้
ดุลพินิจในการกาหนดราคาประกันให้เหมาะสมกับพฤติการณ์รายกรณีเช่นกัน เช่น ในรัฐอลาสกา ผู้พิพากษา
ตอ้ งกาหนดราคาประกันขน้ั ต่าไวท้ ่ี ๒๕๐,๐๐๐ เหรยี ญ สาหรับผู้ตอ้ งหาหรือจาเลยทต่ี ้องข้อหาเกีย่ วข้องกับเมท
แอมเฟตามีนและเป็นผู้ที่เคยมีความผิดฐานมีไว้ในครอบครอง ผลิต หรือจาหน่ายซ่ึงยาเสพติด๘๔ ผู้พิพากษา
อาจปรับลดจานวนเงินได้ต่อเม่ือผู้ต้องหาหรือจาเลยพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ได้รับประโยชน์ทางการเงินจากความ
เก่ียวพันกับเมทแอมเฟตามีนและเป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น๘๕ ซึ่งเกณฑ์ดังว่าน้ีมิได้สนใจว่าจานวนเงินที่
กาหนดจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่หลบหนีได้หรือไม่ และมิได้ใส่ใจว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยมี
ความสามารถในการวางหลกั ประกนั หรอื ไม่

ยี่ต๊อกประกันที่แข็งกระด้างเช่นที่กล่าวมาไม่สอดคล้องกับหลักที่ว่าศาลพึง พิจารณาส่ังคดีโดยต้องดู
พฤติการณ์เป็นรายกรณไี ป ทัง้ นีเ้ พราะเหตทุ ่ีทาให้การเรียกเงินประกันอาจมีความชอบธรรมขึ้นมาได้นั้นมีเพียง
ประการเดียว คอื การสรา้ งแรงจงู ใจให้ผตู้ ้องหาหรือจาเลยมาศาลตามท่กี าหนด๘๖ ซ่ึงการจะจูงใจได้ ก็จาเป็นที่
ราคาประกนั ตอ้ งสอดคล้องกบั พฤตกิ ารณข์ องผตู้ ้องหาหรอื จาเลยแต่ละราย ราคาประกันท่ีตายตัวในย่ีต๊อกอาจ
สูงเกินกาลังของผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ยากจน (และเป็นเหตุทาให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยผู้นั้นต้องถูกขังระหว่าง
พิจารณา) แต่ในทางกลับกันก็อาจน้อยนิดจนความเสี่ยงท่ีจะถูกยึดทรัพย์หลักประกันไม่สร้างแรงจูงใจที่
เพียงพอให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยผู้ม่ังค่ังมาศาล ด้วยเหตุนี้เอง มาตรฐานการปฏิบัติงานของสมาคมเนติบัณฑิต
แห่งอเมริกาจึงเน้นความสาคัญของการกาหนดราคาประกันที่ต้องพิจารณาปัจจัยและพฤติการณ์ของผู้ต้องหา
หรือจาเลยแยกเป็นรายกรณีไป ซ่ึงตามมาตรฐานดังกล่าว การเรียกเงินประกัน “จะทาได้ต่อเม่ือเง่ือนไขการ
ปล่อยช่ัวคราวอื่นท่ีสร้างภาระน้อยกว่าไม่อาจรับประกันตามสมควรได้ว่าจาเลยจะมาศาลตามนัด ”๘๗ และ
จานวนเงินประกัน “ไม่ควรถูกกาหนดด้วยวัตถุประสงค์เพ่ือปูองกันมิให้เกิดความผิดใหม่ท่ีอาจเกิดในระหว่าง
พจิ ารณาคด”ี ๘๘ ซง่ึ โดยสาระใจความนนั้ มาตรฐานการปฏบิ ตั ิงานของสมาคมเนติบณั ฑิตแห่งอเมริกามวี า่

“ในการกาหนดเง่ือนไขให้วางเงินหรือทรัพย์สิน ศาลควรพิจารณาเหตุปัจจัยและพฤติการณ์พิเศษ
ต่างๆของจาเลย ความสามารถของจาเลยในการวางเงินหรือทรัพย์สินตามที่กาหนด และความเส่ียงในการ
หลบหนีของจาเลย ทงั้ นี้ศาลไม่พึงกาหนดราคาประกันโดยอิงกับบัญชีเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนดราคาไว้ตายตัว
โดยดเู พยี งขอ้ หาของจาเลยเท่านั้น”๘๙

ดังน้ัน การให้ศาลตอ้ งพจิ ารณาเหตุปัจจัยของผตู้ ้องหาหรอื จาเลยเป็นรายกรณีก่อนจะเรียกเงินประกัน
ในการปล่อยชว่ั คราวได้ จึงพงึ เป็นหลกั พนื้ ฐานท่คี วรนาไปปรบั ใช้ ซ่ึงไม่เพียงแตจ่ ะเปน็ หลักการท่ีสอดคล้องกับ
แนวปฏิบตั ทิ ีด่ ีท่สี ดุ เท่านั้น แตย่ ังเปน็ การปฏบิ ตั ติ ามหลกั กฎหมายรฐั ธรรมนูญอกี ดว้ ย๙๐

ค. การกากับดูแลหรือห้ามประกอบธรุ กจิ ผู้ประกนั อาชีพ

ธุรกิจผู้ประกันอาชีพมีบทบาทสาคัญในการขังหรือปล่อยช่ัวคราวในหลายศาล โดยผู้ประกันอาชีพ
เสนอตัวเข้ารับประกันต่อศาลว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยจะมาศาลตามนัดด้วยการทาสัญญาว่าจะชดใช้เงินให้แก่
ศาลหากผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่ปรากฏตัว ซึ่งในการรับเสนอตัวให้น้ี ผู้ประกันอาชีพมักจะเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมท่ไี มอ่ าจขอคืนได้ ท้งั ยังมกั ใหต้ ัวผตู้ อ้ งหาหรือจาเลย หรือครอบครัว หรือเพ่ือนวางหลักประกันไว้

๒๒

อกี ด้วย ท้งั นรี้ ฐั มกั เปน็ ผใู้ ห้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกันอาชีพและบริษัทประกันภัยก็ค้าประกัน
สัญญารับจ้างประกนั ตวั อีกทอดหน่ึง และในแงข่ องผใู้ ช้บรกิ าร จากสถิตพิ บวา่ ในระหว่างปี ๒๕๓๗ และ ๒๕๔๗
อัตรารอ้ ยละของผู้ต้องหาหรอื จาเลยที่มีผู้ประกันอาชีพมาทาสัญญาประกันให้เพิ่มข้ึนจากร้อยละ ๒๔ เป็นร้อย
ละ ๔๒๙๑ ซึ่งในระบบท่ีศาลยังคงเรียกเงินประกัน ก็อาจพอมองได้ว่าธุรกิจผู้ประกันอาชีพเป็นช่องทางหน่ึงที่
ชว่ ยปูองกันการขงั ทไ่ี ม่จาเปน็ สาหรบั ผตู้ ้องหาหรอื จาเลยท่ไี ม่อาจหาหลักประกนั มาวางตามทศ่ี าลกาหนด

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจผู้ประกันอาชีพก็ตกเป็นเปูาของข้อโจมตีรุนแรงเช่นกันว่า ธุรกิจน้ีอาจทาให้
สถานการณ์ปัญหาของการเรียกเงินประกันเลวร้ายยิ่งขึ้นด้วยการเบี่ยงเบนการตัดสินใจว่าจะขังหรือปล่อยจาก
ศาลไปท่ีเอกชนผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งสาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยหลายคนแล้ว การจะถูกขังหรือปล่อยข้ึนอยู่กับ
วา่ ผู้ประกนั อาชีพจะยอมทาสัญญาประกนั ใหห้ รือไม่ และนับว่าเป็นตลกรา้ ยท่ีผู้ประกันอาชีพบางรายไม่ยอมทา
สัญญาประกันให้สาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีศาลกาหนดราคาประกันไว้ต่า เพียงเพราะว่าเป็นกรณีที่ได้กาไร
น้อยกว่ากรณีจาเลยที่ราคาประกันสูง๙๒ และผลของการตัดสินใจเชิงธุรกิจเช่นว่านี้ (ผู้ประกันอาชีพมองว่า
จาเลยทร่ี าคาประกันตา่ เป็นลกู คา้ ที่ไม่คมุ้ คา่ พอ) กท็ าให้ผูต้ ้องหาหรือจาเลยหลายคนที่ศาลกาหนดราคาประกัน
ไว้ต่า ด้ว ยเ ห็นว่า มีคว า มเส่ีย งท่ีจะ หลบห นีต่าก ลับต้อ งถูกขั งเพี ย งเพร าะไม่ สามา รถหา เงินป ระกัน ตัว ไ ด้
นอกจากนี้ ธุรกิจผู้ประกันอาชีพก็มักเผชิญกับข้อกล่าวหาที่ว่าเจ้าหน้าท่ีขาดการฝึกอบรมที่เพียงพอ ท้ังยัง
กาหนดอัตราค่าธรรมเนียมไว้หนักหน่วง๙๓ ธุรกิจดังกล่าวยังมีช่ือเสียงฉาวโฉ่ว่ามักใช้มาตรการข่มขู่บังคับ ใช้
กาลงั ทารา้ ย ติดสินบนและคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวกับการประกันตัว๙๔ และหากกวาดตามองไปยังประเทศอื่นท่ัวท้ัง
โลกแล้ว นอกจากสหรัฐอเมริกาก็มีเพียงประเทศฟิลิปปินส์เท่าน้ันท่ียังคงอนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจ
ผ้ปู ระกันอาชีพอยู่๙๕

ในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา เช่น เคนทักกีและอิลลินอยส์ มีการออกกฎหมายห้ามประกอบธุรกิจ
ดังกล่าวโดยเด็ดขาด๙๖ และยังมีวิธีลดอิทธิพลของผู้ประกันอาชีพได้อีกด้วยการอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจาเลย
วางหลักประกันบางส่วนต่อศาลโดยตรงได้ เช่น ในรัฐแมสซาชูเสตต์ กลายเป็นแนวปฏิบัติปกติไปแล้วท่ีผู้พิพากษา
กาหนดจานวนเงินท่ีต้องวางศาลเป็นประกันเป็นร้อยละของราคาประกันทั้งหมด ซ่ึงทาให้ผู้ต้องหาหรือจาเลย
สามารถวางเงินประกันบางส่วนเพียงร้อยละ ๑๐ ต่อศาล โดยไม่ต้องผ่านผู้ประกันอาชีพ และเงินที่วางไว้น้ีก็
สามารถรับคืนได้เม่ือคดีเสร็จสิ้นหากผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่ได้หลบหนี อันเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถขจัดธุรกิจ
ผู้ประกนั อาชีพไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ๙๗

๒๓

------------------------- ๓ -------------------------

หลุดพน้ จากบ่วงเงิน:

ข้อพจิ ารณาเชงิ นโยบาย กฎหมาย และทางปฏบิ ตั เิ กี่ยวกับการปลอ่ ยชั่วคราวโดยใช้การประเมินความเสยี่ ง

สารวจทางเลือกทดแทนการปล่อยชว่ั คราวโดยเรียกเงินประกัน

แนวทางการปฏริ ูปในบทท่ี ๒ เปน็ ข้อเสนอเพอ่ื การบรรเทาความเสียหายรุนแรงอันเกิดจากการที่ยังคง
เรียกเงินประกันในการปล่อยชั่วคราว แต่ทางเลือกท่ีนาเสนอในบทนี้คือการเปล่ียนแนวคิดของการขังหรือ
ปล่อยชั่วคราวให้ไม่ต้องพึ่งพิงเงินประกันอีกต่อไป ด้วยการใช้เคร่ืองมือที่ดีกว่าเพ่ือบรรลุวัตถุประสงค์ของการ
พิจารณาเรื่องขังหรือปล่อยช่ัวคราว หากเงินประกันสร้างแรงจูงใจให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยมาศาลได้ แล้วมี
มาตรการทางเลือกอื่นใดอีกหรือไม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและเป็นธรรมกว่าในการลดความเสี่ยงท่ีผู้ต้องหา
หรือจาเลยจะหลบหนี และจากการทีผ่ ู้พิพากษาบางท่านต้ังราคาประกันไวส้ งู ลบิ เกนิ กาลังที่ผู้ต้องหาหรือจาเลย
จะหาหลักประกันมาวางได้เพ่ือเป็นข้ออ้างใช้ขังบุคคลท่ีถูกมองว่าเป็นอันตรายนั้น จะมีมาตรการอื่นอีกหรือไม่
ทย่ี งั คงรกั ษาความปลอดภัยให้สังคมไดแ้ ตเ่ ป็นธรรมกว่าและโปร่งใสกว่า

ข้อเสนอหน่ึงในการขจัดบทบาทของเงินประกันคือการใช้การประเมินความเสี่ยงในการพิจารณาเรื่อง
ขังหรือปล่อยช่ัวคราว โดยข้อเสนอน้ีมาจากข้อสันนิษฐานที่ว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยทุกคนพึงได้รับการปล่อย
ช่ัวคราว และแม้เม่ือใดที่ข้อสันนิษฐานนี้ตกไปด้วยเหตุท่ีผู้ต้องหาหรือจาเลยมีความเส่ียงสูงจะหลบหนีหรือจะ
ไปก่อคดีร้ายแรง ศาลก็ยังพึงกาหนดเง่ือนไขท่ีจากัดเสรีภาพให้น้อยที่สุดเท่าท่ีจะเป็นไปได้เพื่อปูองกันการ
หลบหนีหรือก่ออันตราย๙๘ ทั้งนี้ผู้สนับสนุนการปฏิรูปโดยใช้ระบบประเมินความเส่ียงต่างเรียกร้องให้ระบบมี
องคป์ ระกอบ ๓ อย่างต่อไปนี้

๑) สานกั งานปล่อยช่ัวคราวทม่ี ีมาตรการกากับดแู ลหลงั ปลอ่ ยชั่วคราวหลากหลายเพ่ือให้ผู้ต้องหาหรือ
จาเลยมาศาลและไมก่ อ่ อนั ตรายหลงั ปลอ่ ย

๒) การประเมินความเสี่ยงตามสูตรคานวณ (Algorithms) ในการจัดลาดับช้ันความเสี่ยงเพื่อให้ผู้พิพากษา
ใชป้ ระกอบการพิจารณาขังหรอื ปลอ่ ยช่ัวคราว

๓) การจากดั การใช้มาตรการขังเพื่อปูองกันอันตรายต่อสงั คม (Preventive Detention)

บทน้ีจะเป็นการอภิปรายองค์ประกอบข้างต้นพร้อมข้อคาถามเชิงนโยบาย กฎหมายและทางปฏิบัติ
เป็นลาดับไป และแม้ว่าคู่มอื เล่มนี้จะมไิ ด้เสนอแนะวา่ ศาลต่างๆควรรับองค์ประกอบดงั กล่าวไปทาให้เกิดขึ้นจริง
หรือไม่ แต่เนื้อหาในน้ีจะเน้นย้าข้อพิจารณาสาคัญท่ีศาลต่างๆพึงนาไปประกอบการตัดสินใจในการเลือก
หนทางปฏิรูป โดยข้ออภปิ รายต่อไปน้ีจะหยบิ ยกประเดน็ พิจารณาทีเ่ กย่ี วข้องข้ึนมาใหเ้ ห็นชัดเจนย่งิ ขึ้น

๒๔

ก. สานกั งานปล่อยช่วั คราวและการปลอ่ ยชั่วคราวโดยมเี งื่อนไข

องค์ประกอบสาคัญของระบบประเมินความเสี่ยงคือการมีมาตรการหลังปล่อยชั่วคราวท่ีมีหลักฐาน
การศกึ ษาหรือการทดลองรองรับ มาตรการหลังปล่อยชัว่ คราวอาจมไี ดห้ ลายรูปแบบ แต่โดยมากมักเข้าใจกันว่า
คือมาตรการกากับดูแลผตู้ อ้ งหาหรือจาเลยหลังปล่อยช่ัวคราวเพื่อให้มาศาลตามนัดและไม่ถูกจับอีกในระหว่าง
ปล่อย มาตรการหลังปล่อยชั่วคราวจึงเป็นองค์ประกอบท่ีขาดไม่ได้ของระบบที่จะมาทดแทนเงินประกัน โดย
แทนท่ีจะพ่ึงพาเงินประกัน มาตรการหลังปล่อยช่ัวคราวจะเป็นหนทางที่จากัดสิทธิน้อยกว่าแต่น่าจะมี
ประสิทธิภาพมากกว่าสาหรับท้องท่ีศาลนั้นๆ ด้วยเหตุนี้การขยายหรือเพ่ิมมาตรการหลังปล่อยชั่วคราวจึงเป็น
สว่ นประกอบสาคัญในแนวทางการปฏริ ูประบบการปลอ่ ยชวั่ คราวในระดับมลรัฐ

ระบบการปลอ่ ยช่ัวคราวที่ไม่ใช้เงินประกันในกรุงวอชิงตนั ดซี ี

กรุงวอชิงตัน ดีซี เป็นตัวอย่างของศาลซึ่งต้องจัดการงานคดีท่ีวุ่นวายและซับซ้อน แต่กลับสามารถขจัดการ
เรียกเงินประกันไปได้ทั้งหมด โดยมีผลลัพธ์ที่ดีอีกด้วย มหานครแห่งน้ีมีสานักงานปล่อยชั่วคราวท่ีมี
ประสิทธิภาพสูงในการช่วยอานวยความสะดวกแก่ศาลในการพิจารณาเรื่องขังหรือปล่อยชั่วคราว ท้ังยังรับ
ดาเนินการกากับดูแลหลังปล่อยช่ัวคราวท่ีเหมาะสมโดยไม่มีการเรียกเงินประกัน๙๙ ผู้ต้องหาหรือจาเลยใน
วอชิงตัน ดีซี เกือบร้อยละ ๘๘ ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีการเรียกเงินประกัน๑๐๐ ระบบที่แทบไม่ใช้
เงินประกันน้ปี ระสบผลสาเร็จในการรักษาความปลอดภัยแก่สังคมและธารงไว้ซ่งึ ความศักดิ์สทิ ธิ์ของศาล โดย
ในระหว่างปี ๒๕๕๐ และ ๒๕๕๕ มผี ูต้ ้องหาหรือจาเลยทีไ่ ดร้ บั การปล่อยช่ัวคราวถึงร้อยละ ๙๐ มาศาลตาม
นดั ทุกนดั และกวา่ รอ้ ยละ ๙๑ ไมถ่ ูกจับอีกในระหว่างได้รับการปล่อยช่ัวคราว๑๐๑ ร้อยละ ๙๙ ของผู้ต้องหา
หรือจาเลยท่ีได้รับการปล่อยชั่วคราวไม่ถูกจับอีกในข้อหาเกี่ยวกับการใช้กาลังรุนแรง๑๐๒ ในขณะเดียวกัน
ระบบของวอชิงตัน ดีซี อนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวตลอดช่วงเวลาท่ีคดีอยู่
ระหวา่ งพจิ ารณา และผู้ตอ้ งหาหรือจาเลยรอ้ ยละ ๘๘ ไมถ่ ูกเพกิ ถอนการปลอ่ ยช่วั คราว๑๐๓ แน่นอนว่าระบบ
ของวอชิงตนั ดซี ี มีความเฉพาะตัวในแงท่ ่ผี พู้ ิพากษาทุกทา่ นปฏิบัตงิ านในศาลแห่งเดยี วซง่ึ อาจช่วยหนุนเสริม
วัฒนธรรมของการให้ปล่อยชั่วคราว และเฉพาะตัวในแง่ที่ภาครัฐมีระบบทนายจาเลยในสังกัดรัฐ (Public
Defender System) ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ซึ่งช่วยทาให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยได้รับความช่วยเหลือทาง
กฎหมายท่ีเหมาะสมตั้งแต่ช้ันการพิจารณาเร่ืองขังหรือปล่อยช่ัวคราว และสานักงานปล่อยชั่วคราวของที่น่ี
ได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯ กระนั้น ระบบของวอชิงตัน ดีซี ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อมี
มาตรการอนื่ ในการจดั การความเส่ียง เงินก็ถูกกาจัดออกจากระบบการปล่อยชั่วคราวได้โดยไม่กระทบอัตรา
ของจาเลยท่มี าศาล หรืออตั ราความปลอดภัยของสงั คมแต่อยา่ งใด

ในบางรัฐมีการจัดต้ังสานักงานปล่อยชั่วคราวข้ึนโดยให้มีอานาจหน้าท่ีในการ ประเมินความเส่ียงของ
จาเลย จัดทาข้อเสนอแนะเกยี่ วกบั การขงั หรือปล่อยชัว่ คราว และให้ความช่วยเหลือเช่นการรักษาผู้ปุวยทางจิต
หรอื ตดิ ยาเสพติด๑๐๔ ในไมก่ ป่ี ีท่ผี ่านมาน้ี มีถึงหกรัฐที่ผ่านกฎหมายจัดตั้งหรือเสริมประสิทธิภาพของสานักงาน
ปล่อยชั่วคราว ได้แก่ โคโลราโด ฮาวาย เนวาดา นิวเจอร์ซีย์ เวอร์มอนต์ และ เวสต์เวอร์จิเนีย๑๐๕ เช่น ใน
โคโลราโด กฎหมายระดับรัฐจัดตั้งสานักงานปล่อยช่ัวคราว แต่ให้ท้องถิ่นในระดับเทศมณฑลดาเนินการ๑๐๖
และการดาเนินการของเทศมณฑลเมซา รัฐโคโลราโด ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบในระดับชาติ โดย
สานักงานทน่ี ่นั ใช้เครือ่ งมอื ประเมนิ ความเสย่ี งเพอ่ื พิจารณาความเสยี่ งของผู้ต้องหาหรือจาเลยที่จะหลบหนีหรือ

๒๕

ทอี่ าจถูกจับอีก และเพื่อกากบั ดูแลผตู้ ้องหาหรอื จาเลยท่ีได้รับการปล่อยช่ัวคราวระหว่างพิจารณา๑๐๗ ผู้ต้องหา
หรือจาเลยที่ได้รับการปลอ่ ยช่วั คราวโดยมคี วามเส่ียงนอ้ ยจะเพยี งแต่ได้รบั การแจง้ เตอื นวันนัดศาลทางโทรศัพท์
ในขณะท่ีรายอ่ืนอาจต้องมาพบเจ้าหน้าท่ีปล่อยช่ัวคราวเช่นสัปดาห์ละครั้ง๑๐๘ โดยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
๒๕๕๖ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ เทศมณฑลเมซาสามารถลดการขังระหว่างพิจารณาลงได้มากถึงร้อยละ ๒๗
โดยไมก่ อ่ ให้เกดิ ผลร้ายตอ่ ความปลอดภัยของสังคม๑๐๙

แม้ว่าบางรัฐจะมอบภารกิจของการประเมินความเสี่ยงและกากับดูแลหลังปล่อยช่ัวคราวให้กรมคุมประพฤติ
หรือหนว่ ยงานอนื่ ท่ีมหี น้าที่กากบั ดูแลพฤติกรรมในลักษณะเดียวกนั หรือไม่ก็รวมให้เป็นหนึ่งในภารกิจของศาล
แต่แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดคือการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาแยกต่างหากเพ่ือทาภารกิจน้ีโดยเฉพาะ สมาคมสานักงาน
ปล่อยช่ัวคราวแห่งชาติ (The National Association of Pretrial Services Agencies หรือ NAPSA) เน้นย้า
ความสาคัญของการปฏิบัติงานโดยมีอิสระ โดยเฉพาะในบริบทของ “ภารกิจและบทบาทอันมีลักษณะเฉพาะ
ด้านของสานักงานปล่อยชั่วคราว ซึ่งในบางกรณีอาจไม่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานต้นสังกัด” หาก
สานกั งานปลอ่ ยชว่ั คราวเป็นหนว่ ยงานยอ่ ยในสงั กัดของหนว่ ยงานอ่ืน๑๑๐ มาตรฐานการปฏิบัติงานของ NAPSA
ยา้ อีกว่า “แม้หนว่ ยงานท่ที าหน้าทีป่ ระเมินความเสี่ยงและกากับดูแลหลังปล่อยชั่วคราวจะอยู่ใต้สังกัดของกรม
คุมประพฤติ สานักงานของเชอริฟ (Sheriff – ในสหรัฐอเมริกา เชอริฟเป็นเจ้าพนักงานของรัฐโดยมักมีหน้าท่ี
ในการดแู ลรกั ษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล ดูแลเรือนจาของท้องถิ่น ส่งหมายศาล และอาจรวมถึงการ
บังคับตามคาพิพากษาในคดีแพ่งของศาล – คาอธิบายโดยผู้แปล) หรือกรมราชทัณฑ์ก็ตาม แต่หน่วยงานน้ีก็
พงึ ปฏบิ ตั งิ านในทานองเดียวกบั หน่วยงานอสิ ระ”๑๑๑

รัฐใดกต็ ามท่ีวางแผนตั้งสานักงานปล่อยช่ัวคราวข้ึนจาต้องตระหนักถึงความจาเป็นในเชิงงบประมาณ
สาหรับการจัดตั้งหรือขยายหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ต้นทุนในการนี้แตกต่างกันไปตาม
ความจาเปน็ ของแตล่ ะทอ้ งที่ และแม้วา่ การคาดการณถ์ ึงต้นทุนของทุกท้องท่ีจะยงั ไม่อาจกระทาได้ แต่ในหลาย
กรณีก็พบว่าต้นทุนการสร้างองค์กรใหม่และต้นทุนในการบริหารจัดการอาจหักกลบลบกันกับค่าใช้จ่ายที่
ประหยัดได้จากการขงั ทลี่ ดลงและผลลพั ธท์ ี่ดีข้ึนซง่ึ รวมถึงอาชญากรรมเกดิ ใหม่ที่น้อยลงกว่าเดิม๑๑๒

สานักงานปล่อยช่ัวคราวอาจกาหนดมาตรการกากับดูแลหลังปล่อยที่หลากหลายเพ่ือประกันว่า
ผู้ต้องหาหรือจาเลยจะมาศาลและเพ่ือปกปูองให้สังคมปลอดภัย ซ่ึงมาตรการส่วนใหญ่น้ีเป็นการรุกล้าหรือ
จากัดเสรีภาพต้ังแต่ระดับต่าท่ีสุดเช่นการโทรศัพท์รายงานตัวกับเจ้าหน้าท่ีปล่อยชั่วคราวเป็นรายเดือน ไป
จนถึงระดบั สูงทีส่ ดุ เชน่ การใหส้ วมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring) หรือการจากัดให้อยู่แต่ใน
บริเวณบ้าน ดังท่ีจะได้อภิปรายต่อไป มาตรการที่จากัดหรือรุกล้าเสรีภาพมากขึ้นเร่ือยๆนั้นอาจมีประเด็นต้อง
พิจารณาเกี่ยวกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ๑๑๓ เงื่อนไขการกากับดูแลหลังปล่อยน้ันอาจมีประเด็นเก่ียวกับข้อห้าม
ตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการค้นโดยไม่มีเหตุสมควร การจากัดเสรีภาพโดยปราศจากกระบวนการอันชอบด้วย
กฎหมาย หรอื การเรียกประกันเกินสมควรแก่เหตุ ท้ังนี้ข้ึนกับว่ามีการส่ังใช้เงื่อนไขต่างๆอย่างไร๑๑๔ ดังน้ันเพ่ือ
ความชอบธรรมท้ังในแง่กฎหมายและแง่นโยบาย ศาลพึงกาหนดมาตรการกากับดูแลแทนการขังท่ีจากัดสิทธิ
หรือก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ต้องหาหรือจาเลยน้อยท่ีสุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพ่ือสนองรับความจาเป็นในการให้
ผตู้ ้องหาหรือจาเลยมาศาลหรอื ปอู งกันการกอ่ อนั ตรายในระหว่างพิจารณา

๒๖

ศาลต่างๆอาจมีมาตรการที่เป็นไปได้หลากหลายให้เลือกใช้ แต่คู่มือนี้จะไม่ไล่เรียงทุกเง่ือนไขหรือทุก
มาตรการท่ีศาลอาจนามาใช้ได้ หากแต่จะนาเสนอในข้อย่อยด้านล่างถึงมาตรการท่ีเป็นไปได้บางมาตรการ
พร้อมท้ังเน้นย้าข้อพึงพิจารณาเก่ียวกับแนวทางปฏิบัติและที่เก่ียวกับรัฐธรรมนูญ เพ่ือประกอบการพิจารณา
ของศาลวา่ ควรรับมาตรการดังกล่าวมาใช้หรอื ไม่

(๑) การแจง้ เตอื นวันนัดของศาล

การแจ้งเตือนวันนัดเป็นเครื่องมือท่ีประกันการมาศาลของผู้ต้องหาหรือจาเลยโดยรุกล้าเสรีภาพน้อย
ที่สุด ซึ่งปรากฏว่ามีประสิทธิภาพค่อนข้างดีด้วย การศึกษาในช่วงตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าเพียงการ
แจ้งเตือนวันนัดศาลแก่ผู้ต้องหาหรือจาเลยก็เพ่ิมอัตราการมาศาลได้แล้ว๑๑๕ การศึกษาเหล่าน้ีแสดงว่าการ
ติดต่อแจ้งเตือนในลักษณะท่ีต่างกันก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน โดยลักษณะการติดต่อแจ้งเตือนรวม
วิธี (๑) ให้เจ้าหน้าท่ีโทรศัพท์หาผู้ต้องหาหรือจาเลย (๒) ให้ระบบอัตโนมัติโทรศัพท์หาผู้ต้องหาหรือจาเลย
(๓) ส่งจดหมายเตือน และ (๔) การใช้มาตรการหลายอย่างข้างต้นรวมกัน แม้ว่าจะไม่อาจเปรียบเทียบ
ประสทิ ธิภาพของแตล่ ะวิธตี ิดต่อไดโ้ ดยตรง เพราะการศกึ ษาช้นิ ตา่ งๆดงั กล่าวใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ต่างกัน แต่ผล
ของการศกึ ษาทกุ ชนิ้ สรุปตรงกันวา่ การตดิ ต่อแจง้ เตือนไม่ว่าด้วยวิธีใดต่างลดอัตราการไม่มาศาลได้ท้ังสิ้น อย่าง
ในเทศมณฑลมัลท์โนมา รฐั โอเรกอน เพียงแคม่ กี ารแจ้งเตือนทางโทรศัพท์แก่ผู้ต้องหาหรือจาเลยก็ลดอัตราการ
ไมม่ าศาลลงไดอ้ ยา่ งมาก โดยเทศมณฑลดังกล่าวใช้ระบบการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ผ่านระบบอัตโนมัติท่ีเรียก
กันว่า “ระบบแจ้งเตือนวันนัดให้มาศาล – Court Appearance Notification System” ซึ่งส่งผลให้ผู้ต้องหา
หรอื จาเลยทไี่ ดร้ ับแจง้ เตือนผ่านระบบดังกล่าวมีอัตราการไม่มาศาลลดลงถึงร้อยละ ๔๑๑๑๖ ในทานองเดียวกัน
เทศมณฑลโคโคนิโน รฐั แคลิฟอร์เนีย๑๑๗ และเทศมณฑลเจฟเฟอร์สัน รัฐโคโลราโด๑๑๘ ต่างก็ลดอัตราผู้ต้องหา
หรือจาเลยท่ีไม่มาศาลไปได้มากดว้ ยระบบแจ้งเตอื นทางโทรศัพท์โดยอาสาสมคั ร๑๑๙

(๒) การกากับดแู ลหลงั ปลอ่ ยชวั่ คราว

การกากับดูแลหลังปล่อยช่ัวคราวหมายความถึงการรักษาการติดต่อกับผู้ต้องหาหรือจาเลยหลังได้รับ
การปล่อยช่ัวคราวเป็นประจา เพ่ืออานวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือ และกากับดูแลการปฏิบัติตาม
เงื่อนไขที่ศาลกาหนดไว้ ปัจจุบันยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าการกากับดูแลที่ว่านี้หมายถึงอะไรบ้าง และ
ข้อกาหนดกับแนวปฏิบัติที่ใช้กันก็ยังแตกต่างกันอย่างมาก๑๒๐ มาตรการเบ้ืองต้นในการกากับดูแลท่ีใช้กัน
รวมถึงการให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยมารายงานตัวต่อหน้าเจ้าหน้าท่ี การที่เจ้าหน้าท่ีไปหาผู้ต้องหาหรือจาเลยที่
บ้าน การโทรศัพท์รายงานตัว การติดต่อกับบุคคลท่ีทราบความเป็นไปของผู้ต้องหาหรือจาเลย การตรวจสอบ
ประวัตอิ าชญากรรมของผูต้ อ้ งหาหรอื จาเลยเปน็ ประจา และรวมถึงการแจ้งเตือนวันนัดของศาล๑๒๑ งานศึกษา
ชน้ิ ลา่ สดุ เก่ยี วกับการติดต่อกับผ้ตู ้องหาหรือจาเลยอย่างสม่าเสมอน้ีชี้ว่ามาตรการเช่นนี้อาจช่วยลดอัตราการไม่
มาศาลและการกระทาความผิดซ้าได้เมื่อเปรียบเทียบกับรายท่ีปล่อยไปโดยไม่มีการกากับดูแลใด การศึกษาใน
ปี ๒๕๔๙ ในเมืองฟิลาเดลเฟีย พบว่าการกากับดูแลอย่างสม่าเสมอลดอัตราการไม่มาศาลและการกระทา
ความผิดซ้าลงได้มาก๑๒๒ และการศึกษาโดยมูลนิธิลอราและจอห์น อาร์โนลด์ ก็พบเช่นกันว่า ผู้ต้องหาหรือ
จาเลยผู้มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูงท่ีอยู่ภายใต้มาตรการกากับดูแลน้ันมีแนวโน้มที่จะมาศาลสูงกว่า และมี
แนวโน้มที่จะกระทาความผิดซ้าต่ากว่า๑๒๓ เม่ือควบคุมตัวแปรท่ีเกี่ยวข้องแล้ว ผู้ต้องหาหรือจาเลยผู้มีความ
เส่ียงปานกลางท่ีถูกกากับดูแลไม่มาศาลตามนัดเพียงร้อยละ ๓๘ น้อยกว่ารายท่ีไม่มีการกากับดูแล ส่วน

๒๗

ผู้ต้องหาหรือจาเลยผู้มีความเสี่ยงสูงท่ีอยู่ภายใต้การกากับดูแลไม่มาศาลตามนัดน้อยกว่ากรณีไม่มีการกากับ
ดแู ลร้อยละ ๓๓๑๒๔ การศึกษาชิน้ น้ียังพบว่าการกากบั ดแู ลลดอัตราการกระทาความผิดซ้าสาหรับผู้ต้องหาหรือ
จาเลยผูม้ ีความเส่ียงปานกลางถึงสูงอีกดว้ ย๑๒๕

การส่ังใหใ้ ช้อุปกรณอ์ เิ ลก็ ทรอนกิ สค์ วรเปน็ ไปเพอ่ื เล่ยี งการขังเทา่ น้ัน
ไม่ควรสัง่ ใช้สาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยที่มคี วามเสีย่ งตา่ ถึงปานกลาง
ซงึ่ ตามปกตไิ ม่มเี หตุผลใดรองรับการขังบุคคลดังกลา่ วไว้ในระหว่างพจิ ารณา

(๓) การใช้อุปกรณ์อิเลก็ ทรอนิกส์

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเคร่ืองมือในการติดตามที่อยู่หรือความเคลื่อนไหวของผู้ต้องหาหรือจาเลย
เพื่อปูองปรามมิให้หลบหนีหรือกระทาความผิดร้ายแรง โดยมีการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวตลอด ๒๐ ปีที่ผ่านมา
พร้อมความนิยมในการใช้ที่พุ่งสูงข้ึนเรื่อยๆ๑๒๖ ทั้งนี้ต้ังแต่ปี ๒๕๔๓ ถึงปี ๒๕๕๗ อัตราการใช้อุปกรณ์
อิเลก็ ทรอนกิ สเ์ พ่ิมขึน้ ถึงร้อยละ ๓๒๑๒๗

งานวิจัยเกย่ี วกบั ประสิทธภิ าพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ขณะน้ีมีข้อสรุปที่ไม่ตรงกันนัก ซ่ึงอาจ
เป็นเพราะการกากับดูแลที่เข้มงวดขึ้นย่ิงเพิ่มโอกาสในการตรวจพบการฝุาฝืนเงื่อนไขที่เพิ่มข้ึนด้วย และอาจ
เป็นเพราะผู้ตอ้ งหาหรือจาเลยท่ีต้องติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ล้วนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง๑๒๘ ท่ีอาจพอสรุป
ได้คือการใชอ้ ุปกรณ์อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์เปน็ เงื่อนไขของการปลอ่ ยช่ัวคราวน้นั ไม่ปรากฏผลการศึกษาว่าช่วยลดอัตรา
การผิดเงื่อนไขของศาลแต่อย่างใด๑๒๙ อยา่ งไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวประสบข้อจากัดอยู่มากเพราะศึกษาแค่
ระบบท่ีสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีมีความเส่ียงสูง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่หากไม่มี
อปุ กรณอ์ เิ ลก็ ทรอนกิ ส์แล้วคงต้องถกู ขงั เปน็ แนแ่ ท้ แตไ่ มว่ า่ อยา่ งไร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็อาจมีประสิทธิภาพ
ในการลดการขังทไ่ี ม่จาเป็นสาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยผู้มีความเส่ียงสูงโดยมีอัตราความเสี่ยงที่พอรับไหว และ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็อาจเป็นเคร่ืองมือที่ทรงพลังในการประกันความสาเร็จในการปล่อยช่ัวคราวพร้อมท้ัง
ลดความจาเปน็ ในการขงั ระหวา่ งพิจารณาได้

การสั่งใหใ้ ชอ้ ุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกสค์ วรเปน็ ไปเพ่ือเล่ียงการขังเท่าน้ัน ไม่ควรส่ังใช้สาหรับผู้ต้องหาหรือ
จาเลยท่ีมีความเส่ียงต่าถึงปานกลาง ซ่ึงตามปกติไม่มีเหตุผลใดรองรับการขังบุคคลดังกล่าวไว้ในระหว่าง
พิจารณา๑๓๐ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มิใช่เครื่องมือท่ีไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางร้าย ด้วยเหตุที่การจากัด
เสรีภาพโดยเคร่ืองมือดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างลึกซ้ึงและในบางครั้งก็ละเอียดอ่อน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อาจท้ังรุกล้าและก่อผลร้ายต่อความสัมพันธ์ส่วนตัวและการงานของผู้ต้องหาหรือจาเลย๑๓๑ ในการสารวจ
ความเห็นของพนักงานคุมประพฤติและผู้ถูกคุมความประพฤติที่ถูกสั่งให้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรัฐ
ฟลอริดา ทั้งพนักงานคุมประพฤติและผู้ถูกคุมความประพฤติต่างกล่าวถึงผลเสียที่เกิดข้ึนกับความสัมพันธ์
ส่วนตัวและการงานจากการท่ีต้องติดอุปกรณ์ดังกล่าว๑๓๒ ผู้ที่ต้องติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตอบผู้วิจัยว่า
อปุ กรณ์ดังกลา่ วทาใหเ้ กิด “ความร้สู ึกอบั อาย” และความร้สู ึกวา่ “ถูกตีตราอย่างไม่เป็นธรรม”๑๓๓ ร้อยละ ๔๓
ของผตู้ ดิ อปุ กรณอ์ เิ ล็กทรอนกิ ส์เชื่อว่าอปุ กรณด์ งั กลา่ วสร้างผลกระทบท่ีไม่ดีต่อคู่ครองของตนเนื่องจากความไม่

๒๘

สะดวกทเี่ กิดจากอุปกรณด์ งั กล่าว๑๓๔ พนักงานคมุ ประพฤติและผู้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างเห็นพ้องกันเป็น
เอกฉนั ทว์ า่ การตดิ อุปกรณอ์ เิ ล็กทรอนิกสท์ าให้รกั ษาอาชีพการงานได้ยากข้นึ ๑๓๕

ศาลท่ีจะส่ังใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยังจาเป็นต้องกาหนดเง่ือนไขการใช้ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
ด้วย เช่น ศาลสหพันธรัฐหลายแห่งพิพากษาว่าการกาหนดให้การปล่อยช่ัวคราวในข้อหาความผิดบางฐานต้อง
ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการติดอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นการจากัดสิทธิ
เสรีภาพอย่างยิ่ง๑๓๖ โดยศาลวินิจฉัยว่า การกาหนดให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามข้อหาความผิดโดยมิได้
ตรวจสอบในรายละเอียดของแต่ละเรื่องว่าจาเป็นถึงขนาดต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อปูองกันการหลบหนีหรือ
กระทาความผิดซ้าหรือไม่น้ันอาจเป็นคาสั่งท่ีขัดรัฐธรรมนูญ๑๓๗ และด้วยความตระหนักรู้ที่มีมากข้ึนว่าการใช้
สัญญาณ GPS ติดตามตัวทาให้รัฐบาลมีช่องทางพิเศษในการล่วงล้าสิทธิตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยความเป็น
ส่วนตัวได้๑๓๘ ศาลจึงอาจกาหนดให้การส่ังใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องผ่านเกณฑ์ตรวจสอบความเหมาะสม
ตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับท่ี ๔ ด้วย (ซ่ึงว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในร่างกายและความเป็นส่วนตัว
จากมาตรการของรัฐ – คาอธิบายโดยผู้แปล) และในท่ีสุดแล้ว ไม่ว่าอย่างไร เน่ืองจากระดับการล่วงล้าสิทธิ
เสรภี าพโดยอปุ กรณ์อเิ ล็กทรอนกิ สย์ อ่ มรนุ แรงนอ้ ยกว่าการขัง ข้อพิจารณาเก่ียวกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญเหล่านี้
จงึ ไม่ควรทาใหเ้ กดิ การดว่ นสรุปวา่ ศาลไมอ่ าจใช้อปุ กรณอ์ เิ ลก็ ทรอนกิ ส์เพอ่ื เป็นทางเลือกทดแทนการขังระหว่าง
พิจารณา หากแต่ข้อเสนอแนะที่ได้จากการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญย่อมก็คือ ศาลพึงพิจารณา
พฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจาเลยเป็นรายคนไปว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับผู้ต้องหาหรือจาเลยราย
น้ันๆจะช่วยลดความเสยี่ งในการหลบหนีและกระทาความผดิ ซ้าไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพหรือไม่

การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อาจมีราคาแพงสาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีถูกบังคับให้ต้องชาระ
ค่าธรรมเนียมในการใช้อปุ กรณ์๑๓๙ มีรายงานข่าวเม่ือไม่นานน้ีชิ้นหนึ่งรายงานประสบการณ์ของชายคนหน่ึงใน
เทศมณฑลริชแลนด์ รัฐเซาท์แคโรไลนา ที่ต้องข้อหาขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่และต้องชาระค่าธรรมเนียม
ติดต้ังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันเป็นเง่ือนไขในการปล่อยชั่วคราว ๑๗๙.๕๐ เหรียญ และค่าธรรมเนียมราย
เดือนอีกเดือนละ ๓๐๐ เหรียญ และหากชายคนนี้ไม่ชาระค่าธรรมเนียมเมื่อใด เขาก็ย่อมจะถูกเอาตัวไปขังไว้
ก่อนศาลจะเร่มิ พิจารณา๑๔๐ การเรียกค่าธรรมเนียมที่แพงเกินจาเป็นอาจฉายภาพซ้าของผลเสียจากการปล่อย
โดยเรียกเงินประกัน ดังนั้นศาลพึงขจัดหรือลดค่าธรรมเนียมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกเก็บจาก
ผู้ต้องหาจาเลยให้น้อยที่สุดเท่าท่ีจะทาได้ และก่อนจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ ศาลควรไต่สวนให้ได้ความ
ก่อนว่าผูต้ ้องหาหรอื จาเลยมีความสามารถในการชาระค่าธรรมเนียมนนั้ หรอื ไม่

(๔) การตรวจหาสารเสพตดิ

การตรวจหาสารเสพติดเป็นเง่ือนไขการปล่อยช่ัวคราวที่ใช้กันมากแต่ไม่พบว่าประสิทธิภาพ ซ้ายัง
ก่อให้เกิดผลเสียในแง่การกากับดูแลอีกด้วย๑๔๑ การให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยต้องตรวจหาสารเสพติดในระหว่าง
ปล่อยช่ัวคราวเป็นเง่ือนไขท่ีนิยมใช้กันมากต้ังแต่มีการริเร่ิมในทศวรรษท่ีนับตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ แม้ว่าจะไม่มีผล
การศึกษาเชิงประจักษ์ท่ีพบหลักฐานอันหนักแน่นว่ามาตรการน้ีมีประสิ ทธิภาพในการลดอัตราการไม่มาศาล
หรอื กระทาความผดิ ซา้ โดยสานักงานปลอ่ ยช่ัวคราวที่ตรวจหาสารเสพติดในระหว่างปล่อยช่ัวคราวเพิ่มจานวน
ขึ้นจากร้อยละ ๗๕ ในปี ๒๕๔๔ เป็นร้อยละ ๙๐ ในปี ๒๕๕๒๑๔๒ กระน้ัน การศึกษาหลายช้ินเก่ียวกับ
ประสิทธิภาพของการตรวจหาสารเสพติดล้วนต่างพบว่ามาตรการน้ีมิได้ช่วยเพ่ิมอัตราการมาศาลหรือลดการ

๒๙

กระทาความผิดซ้า๑๔๓ และมาตรการน้ีก็ยังใช้ไม่ได้ผลแม้ว่าศาลจะกาหนดมาตรการที่เข้มงวดข้ึนเป็นการ
ลงโทษที่จาเลยฝุาฝืนแล้วกต็ าม๑๔๔ ยงิ่ ไปกว่านนั้ การกาหนดให้ผตู้ อ้ งหาหรือจาเลยตอ้ งตรวจหาสารเสพติดเป็น
เงอื่ นไขของการปล่อยช่ัวคราว นอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพในการบรรลุเปูาหมายของการปล่อยชั่วคราวแล้ว
ยังล่วงล้าสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจาเลยยิ่งข้ึนไปอีก การบังคับให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยต้องตรวจหาสาร
เสพติดยังมีประเด็นต้องพิจารณาว่าขัดบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๔ (ซึ่งว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิใน
ร่างกายและความเป็นส่วนตัวจากมาตรการของรัฐ – คาอธิบายโดยผู้แปล) หรือไม่๑๔๕ และการจะทาให้
มาตรการเช่นว่าน้ีผ่านเกณฑ์การตรวจสอบของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวน้ัน ศาลที่ส่ังให้ผู้ต้องหาหรือ
จาเลยตรวจหาสารเสพติดจะต้องพิสูจน์ว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ท่ีเพียงพอในการยืนยันว่ามาตรการดังกล่าว
ชว่ ยทาใหบ้ รรลเุ ปูาหมายอันชอบธรรมในการปล่อยชั่วคราวได้จริง๑๔๖ และเพราะว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยมักจะ
ไม่ไปตรวจหาสารเสพติดไม่ว่าศาลจะกาหนดมาตรการลงโทษไว้อย่างไร การยังคงกาหนดให้ผู้ต้องหาหรือ
จาเลยตอ้ งไปตรวจหาสารเสพตดิ โดยมบี ทลงโทษการฝุาฝืนไวก้ ็เท่ากบั เปน็ การขุดหลุมรอให้ผู้ต้องหาหรือจาเลย
เดินมาตกหลุมน่นั เอง

พึงหลกี เลี่ยงมาตรการกากับดูแลทีเ่ รยี กเกบ็ เงนิ จากผตู้ ้องหาหรอื จาเลย

การขยับเคล่ือนออกห่างจากการปล่อยชั่วคราวโดยเรียกเงินประกันเป็นเร่ืองดี แต่ผู้กาหนดนโยบายและ
นักปฏิรูปท้ังหลายพึงระวังความเหลื่อมล้าในโฉมหน้าใหม่ คือการกาหนดมาตรการกากับดูแลท่ียังคงมีการ
เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ต้องหาหรือจาเลย ตัวอย่างเช่น ในทุกรัฐ ยกเว้นรัฐฮาวาย และ ดิสทริกต์
ออฟ โคลัมเบีย ผู้ต้องหาหรือจาเลยต้องชาระค่าธรรมเนียมในการติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์๑๔๗ และ
ผู้ต้องหาหรือจาเลยยังอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกสาหรับการที่รัฐต้องมากากับดูแลหลังปล่อย
การเข้ารับการตรวจหาสารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ หรือการเข้ารับคาปรึกษาทางจิต หรือเข้าอบรมการ
จัดการความโกรธ๑๔๘ ในบางคดี ผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีศาลส่ังให้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อาจต้องถูกขังอยู่
จนกว่าจะสามารถชาระค่าธรรมเนียมในการติดตั้งอุปกรณ์ได้ หรือหากได้รับการปล่อยแล้วก็อาจถูกส่งกลับ
ไปขังอีกหากไมอ่ าจชาระคา่ ธรรมเนียมตอ่ เนื่อง

เง่ือนไขการปล่อยช่ัวคราวท่ีสร้างภาระเหล่าน้ีอาจสร้างผลเสียในลักษณะเดียวกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น
จากการเรียกเงินประกัน ศาลจึงพึงหลีกเล่ียงการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการกากับดูแลหลังปล่อย และ
หากจะยังเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ศาลก็ควรไต่สวนให้แน่ใจว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยรายนั้นๆ สามารถชาระ
ค่าธรรมเนียมได้หรือไม่ และควรยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่รายท่ีไม่อาจชาระได้ด้วย หากยังต้องเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจากผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีได้รับการปล่อยชั่วคราว เป็นเร่ืองสาคัญย่ิงท่ีผู้ต้องหาหรือจาเลย
จะตอ้ งไมถ่ กู ขังเพยี งเพราะไม่มีความสามารถในการชาระค่าธรรมเนียมในการกากบั ดูแล

ข. การประเมนิ ความเสย่ี งโดยอาศัยการวเิ คราะห์ทางสถิติ (Actuarial Risk Assessment)

“การประเมินความเส่ียง” เปน็ คาทมี่ คี วามหมายกว้างซ่ึงครอบคลมุ กระบวนพิจารณาต่างๆ ท่ีมีขึ้นเพื่อ
พยากรณ์ผลลัพธ์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และการประเมินความเส่ียงนี้ก็ใช้กันแพร่หลายนอกเหนือ
ชั้นการพิจารณาปล่อยช่วั คราว แต่สาหรบั ในชัน้ การปล่อยชั่วคราวนั้น เครื่องมือประเมินความเส่ียงมักนามาใช้

๓๐

วดั ความเสี่ยงของการไม่มาศาลหรือการถกู จบั เพราะกระทาผดิ อีกในระหว่างพจิ ารณา โดยการพิจารณาเร่ืองขัง
หรือปล่อยชั่วคราวโดยตัวเองก็เป็นกระบวนการของการประเมินความเสี่ยงอยู่แล้ว ทั้งน้ีไม่ว่าจะใช้เกณฑ์
ประเภทความผิด หรือให้ศาลใช้ดุลพินิจได้โดยเต็มท่ี หรือจะใช้บัญชีเกณฑ์มาตรฐานหลักประกันท่ีอิงกับข้อหา
ความผดิ การพิจารณาประเด็นวา่ ควรขังหรอื ปล่อยชัว่ คราวล้วนเป็นการมองไปข้างหน้าท้ังสิ้นว่า จาเป็นต้องใช้
มาตรการกากับดูแลใด (หากมี) เพ่ือปูองกันการไม่มาศาลหรือกระทาความผิดร้ายแรงในขณะที่คดีอยู่ระหว่าง
การพิจารณา ดังนั้นเม่ือใดที่นักปฏิรูปหรือนักวิชาการกล่าวถึง “เครื่องมือประเมินความเสี่ยง” ก็มักหมายถึง
การพจิ ารณาเร่ืองขังหรือปล่อยช่ัวคราวโดยรวมเอามุมมองการประเมินอนาคตในลักษณะดังกล่าวเข้ามาอย่าง
เป็นระบบดว้ ย

ตามความหมายอย่างกว้าง เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงในชั้นปล่อยชั่วคราวอาจแบ่งได้เป็นสอง
ประเภทย่อยๆ ได้แก่ (๑) เครอื่ งมอื ประเมนิ ความเสี่ยงโดยอาศยั ผูเ้ ชี่ยวชาญในศาล (โดยทั่วไปแล้วคือเจ้าหน้าท่ี
ปล่อยชั่วคราว) ในการใช้ดุลพินิจว่าควรขังหรือปล่อย และ (๒) เครื่องมือประเมินความเสี่ยงโดยอาศัยการ
วเิ คราะห์ทางสถติ มิ าสร้างตารางคะแนนความเสย่ี ง ซึง่ คูม่ อื นจ้ี ะอภิปรายถึงเฉพาะเครอ่ื งมอื ประเภทหลัง ที่มักมี
การกล่าวถึงในช่ือว่า เคร่ืองมือประเมินความเส่ียงในช้ันปล่อยชั่วคราวท่ีอาศัยหลักวิเคราะห์ทางสถิติ
(Actuarial Pretrial Risk Assessment Instruments หรือ APRAI – ซ่ึงในที่นี้ผู้แปลขอเรียกอย่างย่อว่า
เครอ่ื งมือประเมินความเสีย่ ง)๑๔๙

การสร้างเครื่องมือประเมินความเสี่ยงไม่เพียงแต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของนักสถิติเท่านั้น แต่ยัง
ต้องอาศัยความสามารถในการเข้าถึงและรักษาฐานข้อมูลคุณภาพสูงของผู้ต้องหาหรือจาเลยในช้ันปล่อย
ชว่ั คราวอีกดว้ ย เครื่องมอื ดังกล่าวจะประเมินความเส่ยี งของผู้ต้องหาหรือจาเลยจาก “ปจั จัยความเสี่ยง” ซึ่งถูก
นามารวมเข้าในสูตรทางสถิติบนฐานข้อมูลที่มีอยู่เพ่ือคาดการณ์ผลในอนาคต๑๕๐ บางปัจจัยอาจใช้ข้อมูลท่ี
ค้นหาได้ทันทีจากประวัติอาชญากรรมและข้อหาความผิดของผู้ต้องหาหรือจาเลย ส่วนปัจจัยอื่นเช่น การจ้าง
งาน ประวัติการใช้สารเสพติด และถิ่นท่ีอยู่ อาจจาเป็นต้องสอบถามผู้ต้องหาหรือจาเลยเพ่ือให้ได้มาซ่ึงข้อมูล
ความซับซ้อนของการประเมินความเสี่ยงตามปัจจัยต่างๆน้ีมีข้อดีข้อเสียท่ีต้องแลกกัน กล่าวคือ ย่ิงมีปัจจัย
ความเสี่ยงมากเท่าไร ความแม่นยาของการประเมินความเสี่ยงก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ทว่า การรวบรวมข้อมูลที่
มากขนึ้ อาจเพมิ่ ตน้ ทุนในการบรหิ ารจัดการหรือทาให้กระบวนการช้าลง ซ่ึงอาจส่งผลให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยยัง
ต้องถูกขังในระหว่างรวบรวมข้อมูล และเมื่อมีการปูอนข้อมูลตามปัจจัยความเสี่ยงเข้าไปในสูตรคานวณทาง
สถิติของเครื่องมือประเมินความเสี่ยงแล้ว ผู้พิพากษาก็จะพิจารณา “ระดับความเส่ียง” อันเป็นผลจากการ
คานวณในการกาหนดเง่อื นไขในการปลอ่ ยชั่วคราว

เพียงแค่มีเคร่ืองมือประเมินความเส่ียงทางสถิติน้ันไม่เพียงพอ เครื่องมือดังกล่าวจาเป็นต้องผ่านการ
ตรวจสอบความน่าเช่ือถือมาก่อนด้วย เครื่องมือที่น่าเช่ือถือคือเคร่ืองมือที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว (แ ละยัง
ตอ้ งผ่านการตรวจสอบอยา่ งสม่าเสมอ) วา่ สามารถพยากรณผ์ ลไดแ้ ม่นยา๑๕๑ โดยแมม้ ีการใช้เครื่องมือประเมิน
ความเสีย่ งแล้ว ก็ยงั จาเปน็ ตอ้ งตรวจสอบความแม่นยาของเครื่องมือเป็นระยะๆ เพ่ือให้มั่นใจว่าเคร่ืองมือยังคง
มีประสิทธิภาพในภาวะท่ีประชากรและเงื่อนไขอื่นๆในสังคมที่เปลี่ยนไป๑๕๒ กระบวนการตรวจสอบความ
แมน่ ยานี้ประกอบดว้ ยการปูอนข้อมลู ทีม่ ีอย่เู ขา้ ไปในระบบและเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงท่ีคานวณได้กับผล
ที่เกิดขึ้นจริง๑๕๓ การตรวจสอบความแม่นยาของเคร่ืองมือไม่เพียงแต่จะดูสถิติการไม่มาศาลหรืออัตราการถูก

๓๑

จบั ในระหวา่ งปล่อยชวั่ คราวเท่านั้น แต่ยังอาจรวมความไม่เท่าเทียมด้วยเหตุทางสีผิว หรือด้วยเหตุอ่ืนท่ีไม่อาจ
ยอมรับได้หากมีเหตุผลเพียงแค่มีระดับความเส่ียงท่ีต่างกัน๑๕๔ กระบวนการตรวจสอบความแม่นยานี้อาจมี
คา่ ใช้จา่ ยสงู และซับซ้อน และจรงิ ท่วี า่ เม่อื มีการใช้เคร่ืองมอื ประเมินความเส่ยี งแล้ว การตรวจสอบความแม่นยา
ของเครอื่ งมอื ดงั กลา่ วจะทาไดย้ ากเน่อื งจากไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างเช่น หากเครื่องมือจัดให้ผู้กระทา
ความผิดบางคนอย่ใู นระดบั “ความเสีย่ งสงู ” และผตู้ อ้ งหาหรอื จาเลยที่มี “ความเสี่ยงสูง” เกือบทุกคนถูกขัง ก็
ยอ่ มเป็นไปไมไ่ ด้ที่จะตรวจสอบว่าผ้ทู ถี่ ูกจดั ให้มีความเส่ยี งสงู นนั้ ท่ีแท้มีอัตราความเส่ียงที่จะหลบหนีหรือกระทา
ความผิดซ้าสูงจริงตามที่คานวณได้หรือไม่ (เพราะเกอื บทกุ คนถูกขังไปแลว้ – คาอธิบายเสรมิ โดยผู้แปล)

เครื่องมอื ประเมินความเสย่ี งทอ่ี าศัยหลกั วิเคราะห์ทางสถิตใิ นขณะน้ีมีการนาไปปรับใช้แล้วท่ัวประเทศ
โดยขณะน้ีรัฐท่ีนาเคร่ืองมือดังกล่าวไปใช้ท่ัวทั้งรัฐได้แก่ เวอร์จิเนีย เคนทักกี และโอไฮโอ และในหลายรัฐ
(แอริโซนา, อิลลินอยส์, มินเนโซตา, นิวยอร์ก, เพนน์ซิลเวเนีย และ เท็กซัส) ก็ใช้กันอย่างน้อยในหนึ่งเทศ
มณฑล รวมถึงกรุงวอชิงตัน ดีซี ตลอดจนผู้ต้องหาหรือจาเลยในบางกรณีในศาลสหพันธรัฐก็ต้องผ่านการ
ประเมนิ ดว้ ยเคร่ืองมือนเี้ ช่นกัน๑๕๕ และแมว้ า่ เครอื่ งมอื ประเมนิ ความเสยี่ งจะสามารถนามาใช้ได้ในระบบท่ีเรียก
เงินประกันด้วย แต่รฐั ที่มีแผนลดการพึ่งพิงเงินประกัน ซึ่งรวมถึงรัฐนิวเม็กซิโกและนิวเจอร์ซีย์ ต่างใช้เครื่องมือ
ประเมินความเส่ียงนี้เป็นฐานหลักในการปฏิรูป๑๕๖ เครื่องมือประเมินความเส่ียงน้ีอาจได้รับการพัฒนาข้ึนเพ่ือ
หน่วยงานของรฐั โดยองคก์ รทแ่ี สวงกาไรหรือไม่แสวงกาไรก็ได้๑๕๗

นกั ปฏิรปู ท้งั หลายตา่ งยินดรี บั เคร่อื งมือประเมินความเสี่ยงเป็นหนทางในการสร้างความเป็นธรรมและ
ประสิทธิภาพในกระบวนการช้ันขังหรือปล่อยชั่วคราว โดยแทนท่ีจะปล่อยให้การพิจารณาเรื่องขังหรือปล่อย
ชั่วคราวเป็นไปตามบัญชีเกณฑ์มาตรฐานหลักประกันที่อิงอยู่กับข้อหาความผิด หรือเป็นไปตามสังหรณ์ของ
ผู้พิพากษา เครื่องมือประเมินความเสี่ยงช่วยให้ผู้พิพากษามีกรอบการใช้ดุลพินิจท่ีอิงกับหลักฐานเชิงประจักษ์
ในการกาหนดเง่ือนไขการปล่อยช่ัวคราวที่เหมาะสม และลดความเสี่ยงที่ผู้ต้องหาหรือจาเลยจะไม่มาศาลหรือ
กอ่ อนั ตรายตอ่ สงั คมในขณะทไี่ ดร้ บั การปล่อยชั่วคราว และเม่อื มีการใช้อย่างเหมาะสม เคร่ืองมือประเมินความ
เสย่ี งทอ่ี าศยั หลกั การทางสถิตนิ ีย้ อ่ มมศี กั ยภาพสงู ที่จะทดแทนการเรียกเงินประกนั ได้

อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงในชั้นปล่อยช่ัวคราวก็ก่อให้เกิดประเด็นกังวลอย่าง
มากและตกเป็นเปูาของการวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน โดยแม้แต่ข้ออภิปรายสนับสนุนเครื่องมือดังกล่าวที่หนัก
แน่นที่สุดก็ยังรับว่าเคร่ืองมือดังกล่าวต้องปรับจูนอย่างเหมาะสมเพ่ือให้สอดคล้องกับประชากรของท้องที่นั้นๆ
โดยแท้ ซ่ึงหมายความว่าจะต้องมีการศึกษาวิจัยที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงว่าเคร่ืองมือแบบใดที่ควรนามาใช้
กับท้องทีน่ ้ันๆ๑๕๘ นอกจากน้ี กระทัง่ เครอื่ งมือประเมนิ ความเส่ียงท่ีดีที่สุดก็อาจก่อให้เกิดผลท่ีไม่เท่าเทียมอย่าง
รุนแรงระหว่างประชากรต่างสีผิวหรือลักษณะอ่ืนที่แตกต่างกัน อีกท้ังหากพิจารณาแต่ระดับความเส่ียงที่
คานวณอยา่ งคณติ ศาสตร์โดยลาพัง ข้อพิจารณาอื่นที่น่าจะเก่ียวข้องก็อาจถูกเบียดทับไปได้ ซึ่งจะส่งผลให้การ
ประเมินความเส่ียงเป็นไปอย่างแข็งกระด้าง ไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์และความจาเป็นของผู้ต้องหาหรือ
จาเลยแตล่ ะราย

ดังน้ันอาจกล่าวได้ว่าเคร่ืองมือประเมินความเส่ียงก่อให้เกิดประเด็นพิจารณาท่ีซับซ้อน คู่มือน้ีมิได้มุ่ง
หมายจะกาหนดมาตรฐานที่พึงยึดถือตามสาหรับศาลทุกแห่ง ตรงกันข้าม ข้ออภิปรายถัดจากนี้จะกล่าวถึง

๓๒

ขอ้ พิจารณาเชิงนโยบายและเชงิ กฎหมายบางข้อท่ีนา่ จะช่วยแนะแนวทางในการตัดสินใจว่าศาลในท้องท่ีใดควร
นาเคร่อื งมอื ประเมนิ ความเสี่ยงทอ่ี าศัยหลักการทางสถติ ิไปปรบั ใชห้ รือไม่

เครอ่ื งมือประเมินความเสย่ี งในระดับชาติ

ปัจจุบันน้ี ศาลหลายแห่งหรือกระท่ังหลายมลรัฐต่างรับเอาเครื่องมือประเมินความเส่ียงที่ใช้ได้ใน
ระดบั ประเทศมาปรบั ใช้มากข้ึนเร่ือยๆ๑๕๙ โดยความเปลี่ยนแปลงน้ีเป็นผลจากการพัฒนาเครื่องมือประเมิน
ความเส่ียงในระดับชาติโดยมูลนิธิลอราและจอห์น อาร์โนลด์๑๖๐ ซ่ึงได้รับการอธิบายว่าเป็น “เครื่องมือ
ประเมินความเส่ียงท่ีเป็นภาวะวิสัยโดยแท้” ด้วยเหตุท่ีปัจจัยความเส่ียงเป็นปัจจัยเก่ียวกับประวัติ
อาชญากรรม ข้อหาปัจจุบัน และอายุ๑๖๑ เคร่ืองมือดังกล่าวมีการนาร่องใช้ในรัฐเคนทักกี และการศึกษาที่
ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิลอราและจอห์น อาร์โนลด์ชิ้นหนึ่งพบว่า พลังในการพยากรณ์ของเคร่ืองมือ
ดงั กล่าวมไิ ดล้ ดทอนไปแมจ้ ะไมม่ ปี จั จยั เกีย่ วกับขอ้ มลู ทตี่ อ้ งสอบถามผู้ต้องหาหรือจาเลยก่อนก็ตาม ซึ่งการที่
ต้องสอบถามข้อมูลจากผู้ต้องหาหรือจาเลยน้ันทาให้การประเมินความเสี่ยงยุ่งยากในการจัดการ๑๖๒ และ
หลงั จากนาเครอื่ งมอื ดังกล่าวไปใช้แลว้ รัฐเคนทักกีก็สามารถลดอัตราการถูกจับใหม่ของผู้ต้องหาหรือจาเลย
ที่ได้รับการปล่อยช่ัวคราวลง ในขณะที่สามารถเพิ่มจานวนผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีได้รับการปล่อยระหว่าง
พิจารณาได้อีกด้วย๑๖๓ ผลการค้นพบเหล่าน้ีทาให้มูลนิธิเร่ิมโครงการในระยะสอง โดยทีมนักวิจัยรวบรวม
ฐานข้อมูลที่มีข้อมูลคดีมากกว่า ๑.๕ ล้านคดีจากศาลกว่า ๓๐๐ ศาล๑๖๔ ทีมนักวิจัยวิเคราะห์พลังในการ
พยากรณ์และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลายร้อยปัจจัย ทั้งที่ต้องอาศัยข้อมูลจากการสอบถามผู้ต้องหา
หรือจาเลยและที่ไม่ต้องอาศัยการสอบถาม จนได้ ๙ ปัจจัยที่ทรงพลังในการพยากรณ์มากที่สุด ซึ่งทุกปัจจัย
ลว้ นค้นหาได้จากขอ้ มูลคดีในปัจจุบนั และประวตั ิอาชญากรรมของผู้ต้องหาหรือจาเลย๑๖๕ และจากชุดข้อมูล
น้ีเอง ทีมนักวิจัยจึงได้สร้างเครื่องมือประเมินความเสี่ยงท่ีช่ือว่า การประเมินความเสี่ยงโดยศาลเพื่อความ
ปลอดภัยของสังคม (Public Safety Assessment-Court หรือ PSA-Court) ซ่ึงสร้างตารางความเส่ียงแยก
จากกนั ๓ ตารางสาหรบั ผู้ตอ้ งหาหรอื จาเลยแต่ละราย โดยมีคะแนนความเส่ยี งต้ังแต่ ๑ ถึง ๖๑๖๖ และความ
เส่ียง ๓ ประการท่ีมีการประเมินได้แก่ “ความเสี่ยงท่ีจะไม่มาศาล” “ความเสี่ยงท่ีจะกระทาความผิดใหม่”
และ “ความเสีย่ งท่ีจะกอ่ คดีใหม่จากการใช้กาลงั รุนแรง”๑๖๗

รายงานที่ตีพิมพ์ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๗ สรุปผลการใช้เคร่ืองมือ PSA-Court ในช่วงหกเดือนแรกของรัฐ
เคนทกั กวี ่า มีผูต้ ้องหาหรอื จาเลยรอ้ ยละ ๗๐ ทีไ่ ดร้ ับการปลอ่ ยช่วั คราว ซึ่งเปน็ จานวนท่ีเพ่ิมขึ้นเล็กน้อยจาก
เดิมท่ีมีอัตราเฉลี่ยของส่ีปีก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ ๖๘๑๖๘ อัตราการจับผู้ต้องหาหรือจาเลยจากการกระทาผิด
ในระหว่างปล่อยชั่วคราวลดลงอยู่ที่เฉียดร้อยละ ๑๕๑๖๙ และเมื่อมีการใช้กลุ่มควบคุมในการตรวจสอบ
ประสิทธิภาพของการวัดความเส่ียงประเภทท่ีสาม (ความเสี่ยงที่จะก่อคดีใหม่จากการใช้กาลังรุนแรง)
รายงานช้ินน้ีก็สรุปว่า เคร่ืองมือ PSA-Court ให้ผลพยากรณ์ที่มี “ระดับความแม่นยาสูง”๑๗๐ กล่าวโดย
เจาะจงคือ ผู้ตอ้ งหาหรือจาเลยท่ีได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะก่อเหตุใช้กาลังรุนแรงขึ้นอีกน้ันถูก
จบั ใหม่จากการใช้กาลังรุนแรงในอัตรา ๑๗ เท่าของรายที่ไม่ได้รับการประเมินว่ามีความเส่ียงดังกล่าว (ร้อย
ละ ๘.๖ เปรียบเทียบกับ ร้อยละ ๐.๕)๑๗๑ เครื่องมือ PSA-Court ในขณะน้ีมีการรับไปใช้ท่ัวประเทศแล้ว
รวมถงึ ทว่ั ท้งั รฐั แอรโิ ซนา รัฐนวิ เจอรซ์ ยี ์ และในมหานครอกี หลายแห่ง๑๗๒

๓๓

(๑) ข้อพจิ ารณาเชงิ นโยบาย

(ก) ประโยชน์ทพ่ี งึ ไดร้ บั จากการประเมนิ ความเส่ยี ง

ข้อพิจารณาเชิงนโยบายหลายประการเสนอแนะให้มีการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงเป็น
หนึ่งปัจจัยในการพิจารณาว่าจะขังหรือปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจาเลย เน่ืองจากเคร่ืองมือประเมินความ
เสี่ยงจะช่วยแก้ปัญหาที่เลวร้ายที่สุดของกระบวนการชั้นน้ีด้วยการทดแทนการพิจารณาที่เป็นไปตามอาเภอใจ
หรอื เลอื กปฏิบัติดว้ ยการใช้วิธกี ารท่ีเป็นระบบและมีหลักฐานเชิงประจักษ์อ้างอิง ดังท่ีได้อภิปรายแล้วข้างต้นว่า
มีเพียงสองเหตุเท่าน้ันที่ชอบธรรมพอจะจากัดเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจาเลยในระหว่างพิจารณาได้ น่ันคือ
การปูองกันการไม่มาศาล และปูองกันสังคมจากอาชญากรรมร้ายแรง ซ่ึงการพิจารณาว่ากรณีมีเหตุสอง
ประการหรือไม่นี้ไม่อาจเลี่ยงพ้นการประเมินความเสี่ยงไปได้ ข้อดีของเครื่องมือประเมินความเสี่ยงก็คือ
เครื่องมือน้ีเอื้อให้ผู้พิพากษาพิจารณาความเส่ียงจากการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักวิชาการ ตรงกันข้ามกับการ
ประเมินความเส่ียงโดยอาศัยสัญชาตญาณซ่ึงมีท่ีมาจากประสบการณ์หรือการวิเคราะห์ของผู้พิพากษาแต่ละ
ท่านไป๑๗๓ และแม้ว่าจะไม่มีเคร่ืองมือหรือสูตรในการประเมินความเส่ียงใดที่อาจพยากรณ์ผลลัพธ์สาหรับ
ผู้ต้องหาหรือจาเลยแต่ละคนได้แม่นยาร้อยละ ๑๐๐ แต่ผู้สนับสนุนเคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงก็อภิปรายว่า
การใช้เคร่ืองมอื ดังกลา่ วย่อมใหผ้ ลลพั ธ์ท่ีดีกวา่ การปลอ่ ยให้ผ้พู ิพากษาใช้ดุลพินิจโดยไม่มีทิศทาง ซ่ึงอาจตกเป็น
เหยอื่ ของอคติหรอื อาจมิได้พิจารณาความเส่ียงของผู้ต้องหาหรือจาเลยเป็นรายกรณี๑๗๔ และท่ีจริงแล้วนักวิจัย
หลายคนก็พบว่าการใช้เคร่อื งมือประเมินความเส่ียงท่ีอาศัยหลักวิเคราะห์ทางสถิติให้ผลพยากรณ์ท่ีแม่นยากว่า
การประเมินโดยผู้เช่ียวชาญในแง่ความเสี่ยงที่จะกระทาความผิดซ้า และความเส่ียงที่จะเป็นอันตรายต่อ
สงั คม๑๗๕

นอกจากขอ้ ดใี นการเพ่ิมประสิทธิภาพในการลดการไม่มาศาลและลดอันตรายจากการกระทาผิดซ้าได้
แล้ว เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงยังลดอัตราการขังระหว่างพิจารณาได้อีกด้วย การศึกษาในปี ๒๕๕๕ ซึ่ง
วเิ คราะห์ชดุ ข้อมลู ของผูต้ อ้ งหาหรือจาเลย ๑๑๖,๐๐๐ คน ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ ถึงปี ๒๕๔๙ พบว่าหากผู้พิพากษา
เลือกทจี่ ะปล่อยผูต้ อ้ งหาหรือจาเลยทกุ คนทมี่ โี อกาสถกู จับจากการกระทาผิดในระหว่างปล่อยชั่วคราวน้อยกว่า
ร้อยละ ๓๐ แล้ว ผู้ต้องหาหรือจาเลยร้อยละ ๘๕ ก็ย่อมจะได้รับการปล่อยตัว ซ่ึงมากกว่าจานวนที่ได้รับการ
ปล่อยจริงในช่วงเวลาดังกล่าว๑๗๖ เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงจึงอาจช่วยให้ศาลมีฐานคิดอ้างอิงท่ีเป็นภาวะ
วิสัยในการสั่งปล่อยผู้ต้องหาหรือจาเลยผู้มีความเส่ียงต่าโดยเพียงแค่ให้สาบานตัวหรือกาหนดเง่ือนไขเล็กน้อย
ทั้งนี้การลดประชากรในเรือนจานั้นมีประโยชน์สาคัญหลายประการ กล่าวคือ ผู้ต้องหาหรือจาเลยในระหว่าง
พิจารณาย่อมจะรอดจากการถูกละเมิดเสรีภาพอย่างร้ายแรง และรอดจากผลรุนแรงที่เกิดตามมาแม้จะถูกขัง
เพียงช่วงส้ันๆ (เช่น ตกเป็นเหยื่อของการใช้กาลังทาร้ายหรือตกงาน)๑๗๗ ท้ังยังช่วยให้ครอบครัวของผู้ต้องหา
หรือจาเลยรอดพ้นจากผลร้ายที่อาจตามมาจากการเสียรายได้ เสียที่พักอาศัย หรือเสียอานาจปกครองบุตร
การลดการขงั ได้จานวนมากยังลดช่วยลดตน้ ทนุ ทางการเงินในการบรหิ ารจัดการเรือนจาได้อกี ดว้ ย

เครอื่ งมือประเมินความเสี่ยงยังอาจช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้าที่เกิดขึ้นในระบบการปล่อยชั่วคราว
ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในด้านสีผิวและด้านเศรษฐกิจสังคม การใช้เครื่องมือทางสถิติในการพยากรณ์อาจช่วย
บรรเทาปัญหาน้ีได้ในหลายทาง ด้วยการมาแทนท่ีการเรียกเงินประกัน เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงอาจช่วย
แกป้ ญั หาความเหลือ่ มล้าทางสผี ิวและอนื่ ๆที่เกิดโดยไร้เหตุผลได้มาก เพราะความเช่ือมโยงเหนียวแน่นระหว่าง

๓๔

สีผิวกับฐานะทางเศรษฐกิจย่อมจะส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางสีผิวได้เมื่อนโยบายก่อผลอันเลือกปฏิบัติ
ให้เป็นผลร้ายต่อคนจน๑๗๘ เครื่องมือประเมินความเสี่ยงยังอาจช่วยลดความไม่เท่าเทียมทางสีผิวและทาง
เศรษฐกิจสงั คมไดด้ ว้ ยการหกั ทอนอคติของผู้พิพากษาท้ังท่ีชัดแจ้งหรือท่ีซ่อนเร้นอยู่ในจิตใต้สานึก๑๗๙ ด้วยการ
ใช้วิธีการซึ่งอ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้วยเหตุนี้ เครื่องมือประเมินความเส่ียงจึงอาจช่วยให้ศาลที่ใช้
เคร่อื งมือนี้สามารถบรรลผุ ลทเ่ี ปน็ ธรรมย่งิ กวา่ เดมิ อยา่ งมากได้

ประสบการณ์ในช่วงเริ่มแรกของศาลบางแห่งท่ีใช้เครื่องมือประเมินความเส่ียงบ่งช้ีว่า เคร่ืองมือ
ดังกล่าวอาจช่วยปรับปรุงผลอันพึงประสงค์ของการปล่อยช่ัวคราวได้ในหลายทางด้วยกัน โดยหลังจากรัฐ
เคนทักกีเร่ิมใช้เครื่องมือประเมินความเส่ียง ก็สามารถเพิ่มอัตราของผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ได้รับการปล่อย
ช่ัวคราวในขณะที่ก็ลดอัตราการถูกจับใหม่ในระหว่างปล่อยได้ด้วย๑๘๐ ส่วนรัฐเวอร์จิเนียหลังใช้เคร่ืองมือ
ประเมินความเส่ียงก็สามารถคงอัตราการผิดเงื่อนไขในระหว่างปล่อยชั่วคราวได้ในระดับต่า โดยใน
ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ผู้ต้องหาหรือจาเลยในรัฐเวอร์จิเนียท่ีได้รับการปล่อยชั่วคราวมีอัตราการมาศาลสูงถึง
ร้อยละ ๙๖.๓ และมีผู้ต้องหาหรือจาเลยน้อยรายเพียงร้อยละ ๔ เท่าน้ันท่ีถูกจับอีกในระหว่างปล่อย
ช่ัวคราว๑๘๑ เทศมณฑลเมคเล็นเบิร์ก รัฐนอร์ทคาโรไลนา สามารถลดจานวนผู้ต้องขังในระหว่างพิจารณาได้
นับตงั้ แตใ่ ช้เคร่อื งมือประเมินความเสี่ยง๑๘๒ และเพียงแค่หน่ึงเดือนนับแต่เทศมณฑลอัลลีเกนี (Allegheny) รัฐ
เพนน์ซิลเวเนีย ปฏิรูประบบการปล่อยช่ัวคราวของตนโดยรวมถึงการใช้เครื่องมือประเมินความเส่ียงด้วยน้ัน
จานวนผ้ตู อ้ งหาหรอื จาเลยท่ีถูกขงั ระหวา่ งพจิ ารณานบั ตงั้ แตว่ ันแรกท่มี าศาลก็ลดลงร้อยละ ๓๐๑๘๓

เครื่องมอื ประเมนิ ความเสย่ี งจะช่วยแก้ปญั หาทเี่ ลวร้ายท่ีสดุ ของกระบวนการชน้ั น้ี
ด้วยการทดแทนการพิจารณาทีเ่ ป็นไปตามอาเภอใจหรือเลือกปฏิบตั ิ
ด้วยการใช้วธิ กี ารท่ีเปน็ ระบบและมีหลกั ฐานเชิงประจักษ์อา้ งอิง

(ข) ข้อพิจารณาในการใช้เครื่องมอื ประเมนิ ความเส่ยี ง

ในการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด จาเป็นท่ีผู้ใช้ต้องให้ความใส่ใจใน
ข้อพิจารณาสาคัญในการนาเครื่องมือดังกล่าวไปปรับใช้หลายประการ ประการแรก ผู้กาหนดนโยบาย
จาเป็นต้องพจิ ารณาอยา่ งรอบคอบวา่ จะจาแนกอันดบั ความเสยี่ งอย่างไร เครอ่ื งมือประเมินความเสี่ยงโดยท่ัวไป
กาหนดอนั ดบั ความเสยี่ งบางชว่ งว่า “สูง” “ปานกลาง” หรอื “ตา่ ” แตก่ ารจาแนกในลกั ษณะนี้เป็นการกาหนด
ในเชิงนโยบาย มิใช่เป็นไปตามหลักสถิติ การจัดอันดับความเส่ียงว่า “สูง” ย่อมมีโอกาสมากกว่าท่ีจะกระทบ
ทัศนคตทิ ผ่ี ู้พพิ ากษาและสงั คมมีต่อผลทอ่ี าจเกิดขึ้น การตัดสินใจว่าจะต้ังต้นระดับ “ความเสี่ยงสูง” ท่ีใด (คือผู้
ทีม่ ีคะแนนความเสีย่ งทรี่ ้อยละ ๓๐ หรอื ควรมคี วามเสีย่ งท่รี อ้ ยละ ๕๐ หรอื ๗๕ ดีนั้น) ควรเป็นไปอย่างโปร่งใส
และควรให้ผู้เก่ียวข้องทุกฝุายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีส่วนร่วม ประการต่อมา ผู้พิพากษาและ
ผปู้ ฏิบัติงานทุกคนจาเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องว่าระดับความเสี่ยงคืออะไร
(คือการประมาณการทางสถิติของผลที่อาจเกิดข้ึนโดยอิงฐานจากการสังเกตผลที่เกิดขึ้นจริงในกลุ่มประชากรที่
มคี ุณลักษณะเดยี วกัน) โดยในหลายกรณี เครอื่ งมือทางสถิติอาจให้ผลพยากรณ์ที่แม่นยาสาหรับตัวกลุ่มแต่อาจ
ไม่แม่นยานักสาหรับสมาชิกของกลุ่มโดยเจาะจง๑๘๔ หากผู้พิพากษาอิงการตัดสินใจอยู่บนระดับความเส่ียงท่ี

๓๕

คานวณมาเพยี งเท่าน้ันโดยไม่คานึงถึงปัจจัยอื่นที่อาจเกี่ยวข้องในการพิจารณาเรื่องปล่อยชั่วคราว ระดับความ
เสย่ี งทคี่ านวณตามหลกั สถิติกอ็ าจมีน้าหนักมากเกินควรไปได้

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสาคัญท่ีการประเมินความเส่ียงต้องมีระบบรองรับเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการใช้
คะแนนความเส่ยี งกับการพิจารณาปจั จยั อืน่ ๆ โดยหากเปูาหมายของการใช้เคร่ืองมือประเมินความเส่ียงคือการ
แทนที่การตัดสินใจท่ีมีอคติและเป็นไปตามอาเภอใจแล้ว เปูาหมายนี้จะไม่บรรลุผลหากระบบไม่อานวยให้การ
พิจารณาส่ังมีแนวทางและเป็นไปในแนวเดียวกัน แต่ละศาลที่ใช้เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงจึงควรมีแนวทาง
สาหรับผู้พิพากษาในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความเสี่ยงของผู้ต้องหาหรือจาเลยกับปัจจัย
อ่ืนๆ ซ่ึงแนวทางน้ีอาจรวมปัจจัยท่ีอาจเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาส่ังต่างไปจากผลท่ีเครื่องมือประเมินความเส่ียง
คานวณได้ โดยแนวทางการพจิ ารณาของผู้พิพากษาน้ันพึงสะท้อนหลักการท่ีว่าการปล่อยช่ัวคราวต้องกาหนด
เงื่อนไขท่ีจากัดเสรีภาพให้น้อยที่สุดเท่าท่ีจะเป็นไปได้๑๘๕ แนวทางดังกล่าวอาจกาหนดเน้ือหาเช่น หากผู้พิพากษา
กาหนดเง่อื นไขในการปลอ่ ยช่ัวคราวเข้มงวดกว่าทค่ี วรเปน็ ตามระดับความเส่ียง จะต้องระบุเหตุผลในคาส่ังโดย
อ้างหลักเกณฑ์บางประการที่กาหนดไว้ ดังน้ัน ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ และผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ
จาเป็นต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับวิธีการแปลความและการใช้ระดับคะแนนความเส่ียงก่อนจะมีการนา
เครือ่ งมอื ประเมนิ ความเสย่ี งมาใชจ้ ริง ทนายจาเลยเองก็ควรมีบทบาทเมื่อมีการใช้เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยง
เช่นกัน โดยบทบาทน้ีอาจรวมถึงการที่ให้ทนายเข้าร่วมฟังการสอบถามข้อมูลจากผู้ต้องหาหรือจาเลยเพื่อ
ประเมินความเส่ียง และให้ได้รับสาเนาข้อมูลท่ีปูอนเข้าสู่ระบบการประเมิน ตลอดจนสาเนารายงานผลการ
ประเมินความเสี่ยง และท้ายสุด การใช้เครื่องมือประเมินความเส่ียงจาต้องมีระบบเก็บข้อมูลที่แข็งแกร่งเพื่อ
เอ้ือใหศ้ าลแห่งน้ันๆเอง รวมถงึ ผศู้ กึ ษาวจิ ัยจากภายนอกสามารถประเมินผลของเคร่ืองมือได้ ท้ังในแง่ของอัตรา
การขงั ในภาพรวม อัตราการผิดเงอ่ื นไขในระหว่างปล่อยชั่วคราว และความเหลื่อมลา้ ทางสผี ิว

ผลเสยี ทีอ่ าจเกิดข้ึนจากการใช้เคร่ืองมอื ประเมนิ ความเสี่ยง

แมว้ า่ เคร่อื งมอื ประเมินความเสี่ยงจะมีศักยภาพในการสร้างคุณประโยชน์เพียงใด ผู้กาหนดนโยบายก็
ควรพิจารณาจุดอ่อนสาคัญของเคร่ืองมือดังกล่าวด้วย โดยคุณประโยชน์ทั้งมวลของเครื่องมือประเมินควา ม
เส่ียงล้วนข้ึนอยู่กับการพยากรณ์ที่แม่นยาอย่างสม่าเสมอ ซึ่งย่อมต้องอาศัยวิธีการที่เชื่อถือได้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูลและปูอนข้อมูลดังกล่าวเข้าสูตรคานวณเพื่อประเมินความเส่ียง แต่ทว่า “คุณภาพข้อมูลใน
กระบวนการยตุ ิธรรมทางอาญานัน้ เปน็ ทร่ี ูก้ นั วา่ ย่าแย่”๑๘๖ และแมก้ ระบวนการประเมินผลจะเป็นวิทยาศาสตร์
แตห่ ากข้อมูลทีน่ ามาประเมินไม่ถกู ตอ้ งกย็ อ่ มทาให้ผลทอี่ อกมาผิดพลาด๑๘๗ ดังน้ันก่อนจะนาเครื่องมือประเมิน
ความเสี่ยงมาปรับใช้ ศาลหลายแห่งก็จาต้องปรับปรุงระบบเก็บรวบรวมข้อมูลด้านกระบวนการยุติธรรมทาง
อาญาเสียก่อน ซึ่งนีเ่ ป็นกระบวนการท่ีตอ้ งทาอย่เู รอ่ื ยไป อีกนยั หนึ่งคอื ศาลจาตอ้ งมีกระบวนการที่เช่ือถือได้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เก่ียวข้องของผู้ต้องหาหรือจาเลยเพ่ือปูอนเข้าสู่สูตรคานวณในการประเมินความเส่ียง
และยังอาจหมายรวมถึงการคอยตามเก็บข้อมูลเก่ียวกับกลุ่มประชากรผู้ต้องหาหรือจาเลยในระหว่างพิจารณา
ในภาพรวม ตลอดจนข้อมูลอื่นๆท่ีเกี่ยวข้องในระดับภาพรวมเช่นกัน เพื่อให้เครื่องมือประเมินความเส่ียง
สะท้อนผลจากการปล่อยช่ัวคราวของประชากรในปัจจุบันอย่างแท้จริง ซ่ึงสาหรับศาลหลายแห่งแล้ว ต้ นทุน
คา่ ใช้จา่ ยในการสรา้ งและบารุงรกั ษาระบบเก็บรวบรวมขอ้ มลู นี้อาจเป็นภาระงบประมาณอยา่ งมาก

๓๖

และนอกจากความเป็นไปได้ท่ีการพยากรณ์จะไม่แม่นยาอันเน่ืองจากข้อมูลท่ีปูอนไม่ถูกต้องแล้ว
เครอ่ื งมือประเมนิ ความเส่ยี งก็อาจบิดเบือนผลท่คี วรเปน็ อนั เนอื่ งจาก “ความเส่ียง” ท่ีพยากรณ์ได้นั้นคลุมเครือ
หรืออาจตีความได้หลายทาง โดยในหลายกรณี เคร่ืองมือดังกล่าวมิได้แยกแยะระหว่างความเส่ียงในการ
หลบหนีและความเสยี่ งทอ่ี าจถูกจับอกี ในระหว่างปล่อยชัว่ คราว และแม้มีการจาแนกความเสี่ยงสองประเภทไว้
ลาพงั การระบผุ ลวา่ “ความเส่ียงสงู ” กอ็ าจมไิ ด้ให้คาตอบวา่ เป็นความเสีย่ งสูงที่อาจถูกจับอกี ในคดีการใช้กาลัง
รุนแรงหรอื ไม่ การจับอกี นัน้ เกิดข้ึนในระหว่างพิจารณาคดีปัจจุบันหรือไม่ หรือมาตรการกากับดูแลใดท่ีน่าจะมี
ประสิทธภิ าพในการลดความเส่ียงดังกลา่ วได้๑๘๘

นอกจากนี้ ผลเสียที่อาจเกิดข้ึนจากการใช้เคร่ืองมือประเมินความเส่ียงอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อ
ผู้ต้องหาหรือจาเลยผิวดาและผู้ท่ีมีเชื้อสายสเปน หรือผู้ท่ีมาจากกลุ่มคนชายขอบอื่น โดยเฉพาะอย่างย่ิง มี
ผู้วิจารณ์ว่าการอาศัยข้อเท็จจริงท่ีเป็นผลจากการเลือกปฏิบัติทางสีผิวมาเป็นปัจจัยในการคานวณทางสถิติน้ัน
ยิ่งอาจทาให้ความไม่เท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญายิ่งร้าวลึกและหนักหน่วงมากขึ้น๑๘๙ และหาก
การเคยมีประวัติเก่ียวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นปัจจัยหน่ึงในการคานวณความเส่ียงด้ วยแล้ว
การที่คนอเมริกันเชื้อสายอัฟริกันและผู้มีเช้ือสายสเปนถูกจับดาเนินคดีในสัดส่วนที่สูงกว่าคนผิวขาวมาก ย่อม
ทาให้การประเมินความเส่ียงเกิดผลที่ลาเอียงข้ึน๑๙๐ ในทานองเดียวกัน การคานวณคะแนนความเสี่ยงจาก
ข้อมูลประวัติการศึกษา การมีท่ีอยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวพันกับสีผิว
กอ็ าจเป็นเหตุใหเ้ กิดความไม่เทา่ เทยี มทางสีผวิ ข้นึ ได้๑๙๑

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแห่งรัฐบาลกลางสหรัฐฯ นายเอริก โฮลเดอร์ เคยแสดงความ
กงั วลวา่ การใชเ้ คร่ืองมือประเมินความเส่ียงในข้ันตอนการพิจารณากาหนดโทษ “อาจบ่อนทาลายโดยไม่ต้ังใจ
ซ่ึงความพยายามของเราในการอานวยความยุติธรรมท่ีเสมอภาคและคานึง ถึงพฤติการณ์ของแต่ละบุคคลเป็น
รายกรณี”๑๙๒ ซึ่งในทัศนะของโฮลเดอร์น้ัน “การกาหนดโทษโดยอิงเคร่ืองมือประเมินความเส่ียงท่ีกาหนด
ปัจจัยจากข้อมลู ทไ่ี ม่เปลี่ยนแปลง เชน่ ประวัติการศกึ ษา ภูมหิ ลงั ทางเศรษฐกิจสงั คม หรือสภาพแวดล้อมของที่
อยูอ่ าศัยนนั้ อาจยิง่ ตอกย้าความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเกินไปในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและใน
สงั คมของเราให้หนักหน่วงย่ิงขึ้น”๑๙๓ และนี่อาจนาไปสู่วงจรท่ีเลวร้าย เน่ืองจากมีการศึกษาพบแล้วว่าการถูก
ขังระหวา่ งพจิ ารณาเป็นสาเหตุหนึ่งของการกระทาความผิดเมื่อได้รับการปล่อยตัวออกมา ผู้ต้องหาหรือจาเลย
ท่ีถูกขังเพราะไม่ผ่านการประเมินความเส่ียงจึงย่ิงมีแนวโน้มท่ีจะมีบุคลิกลักษ ณะอันชักนาไปสู่การกระทา
ความผิดหลังได้รับการปล่อยช่ัวคราว ซึ่งยิ่งเสริมให้ปัจจัยต่างๆในเคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงที่ดูประหนึ่งว่า
ทรงพลงั ในการพยากรณ์อยู่แล้วให้ยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น๑๙๔ และจะว่าไป เนื่องจากเคร่ืองมือประเมินความเสี่ยง
ทางสถิติอิงปัจจัยจากข้อมูลที่เกิดข้ึนจริง จึงเป็นไปได้ที่เครื่องมือจะย่ิงปกปูองและขยายผลความไม่เท่าเทียม
ทางสีผิวและเศรษฐกิจสังคมท่ีมีอยู่แล้ว ด้วยการให้ตราประทับรับรองผลการประเมินท่ีสะท้อนความไม่เสมอ
ภาคในสงั คมวา่ เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตรแ์ ล้ว

ผวู้ จิ ารณร์ ะบบการประเมินความเสี่ยงบางคนเสริมว่า แนวคิดการใช้สถิติจากข้อมูลรวมในการสั่งเรื่อง
ขังหรือปล่อยช่ัวคราวนั้นขัดหลักการพ้ืนฐานว่าด้วยความเป็นธรรม เพราะแม้ว่าบุคคลอาจควบคุมการกระทา
ของตน แต่เขาย่อมไม่สามารถควบคุมการกระทาในภาพรวมของกลุ่มประชากรท่ีมีบุคลิกลักษณะหรือภูมิหลัง
ทานองเดียวกนั ซงึ่ นามาใช้เป็นปัจจัยในการประเมินความเสี่ยงได้๑๙๕ และเมื่อผลการประเมินความเสี่ยงมีท่ีมา

๓๗

จากการใช้ข้อมูลรวมของประชากรท้ังกลุ่ม คาส่ังสาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยแต่ละคนจึงมีที่มา (อย่างน้อยก็ใน
บางส่วน) จากการกระทาโดยอิสระของบุคคลอืน่ ๑๙๖

----------------------------------------

ในการวางระบบการปล่อยช่ัวคราวใหม่ให้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพท่ีสุดนั้น ศาลแต่ละแห่งควร
คานึงถึงข้อพิจารณาทางนโยบายข้างต้นก่อนจะตัดสินใจว่าควร นาเครื่องมือ ประเมินความเส่ียงมา ปรับใช้
หรือไม่ ซึ่งการตัดสินใจเลือกใช้หรือไม่ใช้นี้เป็นเร่ืองที่ต้องพิจารณาโดยเปรียบเทียบ กล่าวคือ การจะดูว่า
เครื่องมือน้ีได้ผลดีหรือไม่ก็จาต้องเปรียบเทียบต้นทุนและผลประโยชน์ โดยดูที่อัตราการขังระหว่างพิจารณา
ประสิทธิภาพในการลดอัตราการไม่มาศาลและการกระทาผิดใหม่ ความเป็นธรรมที่ให้แก่ผู้ต้องหาหรือจาเลย
แต่ละคน และความไม่เท่าเทียมทางสีผิว ซ่ึงต้นทุนและประโยชน์ดังกล่าวต้องเทียบกับที่เป็นอยู่ในระบบ
ปจั จุบันหรือระบบทางเลือกอน่ื ทเ่ี ป็นไปได้ โดยผลเปรยี บเทยี บนี้สาคญั อย่างยิ่งในการใช้ตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม
ข้อดีข้อเสียจากการใช้ระบบประเมินความเส่ียงอาจแตกต่างไปขึ้นกับวิธีท่ีนาไปปรับใช้ คือ มีระบบท่ีเชื่อถือได้
ในการรวบรวมและเก็บรักษาข้อมูลหรือไม่ ผู้พิพากษาและผู้ปฏิบัติงานท่ีเก่ียวข้องได้รับการอบรมอย่าง
เหมาะสมหรือไม่ มีมาตรการปูองกันความเสียหายรองรับหรือไม่ และการประเมินความเส่ียงมีบทบาทในการ
พิจารณาการขังหรือปล่อยชั่วคราวอย่างไร ท้ังน้ี ผู้กาหนดนโยบายที่กาลังไตร่ตรองว่าควรใช้ระบบประเมิน
ความเสี่ยงหรือไม่จึงควรเร่ิมที่การตระหนักว่า ประสิทธิภาพและความเป็นธรรมของเคร่ืองมือประเมินความ
เสี่ยงไม่อาจวัดได้โดยไม่เปรียบเทียบ ตรงข้าม คุณค่าของเครื่องมือประเมินความเส่ียงนั้นพึงวัดด้วยการ
เทยี บเคียงประโยชน์กับความเสยี หายทีอ่ าจเกดิ ขึ้นตามที่อภปิ รายในส่วนนี้แลว้

(๒) ข้อพจิ ารณาเกย่ี วกับรัฐธรรมนูญ

มีคาพิพากษาหรือข้อวินิจฉัยของศาลน้อยมากในประเด็นตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับเครื่องมือประเมิน
ความเสี่ยง และประเด็นท่ขี น้ึ มาสู่ศาลเกย่ี วกับเครอ่ื งมอื ประเมินความเสย่ี งกไ็ ม่ไดเ้ กิดข้ึนในชั้นการขังหรือปล่อย
ชั่วคราว๑๙๗ แต่ด้วยลักษณะการใช้เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงก็อาจทาให้เกิดคาถามเกี่ยวกับสิทธิตาม
รัฐธรรมนูญหลายประเด็นท่ีแตกต่างไปข้ึนอยู่กับบริบทในการใช้เครื่องมือดังกล่าว เช่น ในการใช้เคร่ืองมือ
ประเมินความเสี่ยงเพื่อพจิ ารณาว่าควรกาหนดเงอื่ นไขใดในการปล่อยชวั่ คราวเพอ่ื ให้ผตู้ ้องหาหรือจาเลยมาศาล
นนั้ อาจมีประเดน็ ตามรัฐธรรมนูญเรื่องหน่ึง แต่ในการนาคะแนนและระดับความเสี่ยงมาประกอบการตัดสินใจ
ว่าควรขงั ผ้ตู ้องหาหรอื จาเลยท่ีเป็นบุคคลอันตรายไวก้ อ่ นหรือไม่ก็จะมีประเด็นตามรัฐธรรมนูญอีกเร่ือง อย่างไร
ก็ตาม คู่มอื นี้มไิ ด้มุ่งให้คาตอบที่ครอบคลุมและเจาะจงสาหรับศาลทก่ี าลังสารวจประเด็นต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ
หากแต่มุ่งให้เค้าโครงข้อพิจารณาหลักเก่ียวกับรัฐธรรมนูญท่ีน่าจะเกี่ยวพันกับการนาเคร่ืองมือประเมินความ
เสี่ยงมาใชใ้ นการขังหรอื ปล่อยช่วั คราว

เครื่องมือประเมินความเส่ียงใดๆท่ีใช้กาหนดว่าควรขังหรือปล่อยช่ัวคราวจาเป็นต้องสอดคล้องกับ
หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยเสมอภาค (Equal Protection Clause) ตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ฉบับท่ี ๑๔ หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยเสมอภาคนั้นห้ามรัฐบาลดาเนินมาตรการท่ีกระทบสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคลเพียงเพราะบุคคลน้ันมีลักษณะบางประการ โดยเฉพาะสีผิว เชื้อชาติและเพศ๑๙๘ โดยทั่วไปแล้ว
หลักการดงั กลา่ วปูองกันมใิ ห้รฐั บาลดาเนินมาตรการทมี่ ีพ้ืนฐานจากการแบ่งแยกทางสีผิว โดยมีข้อยกเว้นได้แต่

๓๘

เฉพาะในพฤติการณ์ท่ีต้องจากัดวงแคบอย่างย่ิงยวด ส่วนมาตรการท่ีแบ่งแยกทางเพศนั้นมีการผ่อนปรนลงมา
บ้าง แตก่ ็ยังตอ้ งผา่ นเกณฑ์การตรวจสอบอยา่ งเข้มงวดเสียกอ่ น๑๙๙ ซึ่งในเรื่องของการขังหรือปล่อยชั่วคราวน้ัน
“การแบ่งแยก” ดังว่าจะปรากฏในข้อมูลที่ปูอนเข้าสู่เคร่ืองมือประเมินความเส่ียงซึ่งใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ
ดังน้ันเพ่ือให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยเสมอภาค สีผิวหรือเพศจึงไม่ควรนามาใช้เป็นปัจจัย
ในการคานวณความเสย่ี ง๒๐๐ อย่างไรกต็ าม พึงตระหนกั วา่ หลักการค้มุ ครองสิทธิเสรีภาพโดยเสมอภาคเพียงแต่
ห้ามการแบ่งแยกทางสีผิวหรือเพศอย่างชัดแจ้งหรือการเลือกปฏิบัติโดยจงใจบนฐานความแตกต่างดังกล่าว
เท่านั้น แต่มิได้ห้ามการดาเนินนโยบายท่ีส่งผลแตกต่างต่อกลุ่มประชากรที่ต่างกันโดยไม่ต้ังใจ แม้อาจ
คาดหมายไดก้ ็ตาม๒๐๑ กระนน้ั ก็ดี แมค้ วามแตกตา่ งในผลจะไมข่ ัดรัฐธรรมนูญ แต่ก็อาจขัดแย้งกับนโยบายหลัก
ท่ีมุ่งเล่ียงผลท่ีไม่เสมอภาคกันทางสีผิวได้ ศาลต่างๆจึงควรพิจารณาประเด็นเชิงนโยบายอย่างระมัดระวังก่อน
จะนาเคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงไปปรับใช้ ซ่ึงข้อพิจารณาดังกล่าวได้อภิปรายถึงโดยละเอียดแล้วในคู่มือน้ีใน
บทที่ ๓ สว่ น ข. (๑)

การใชเ้ ครอื่ งมือประเมินความเสี่ยงในการพิจารณาเรื่องขงั หรือปล่อยช่ัวคราวยังอาจก่อให้เกิดประเด็น
เรื่องกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย และเช่นกันที่การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายจะเข้มงวดมาก
เพยี งใดยอ่ มข้ึนอยู่กบั วัตถปุ ระสงค์ในการใชเ้ คร่ืองมอื ดงั กล่าว กล่าวคอื การใช้เครื่องมือประเมินความเส่ียงเพ่ือ
พิจารณาว่าควรขังหรือปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจาเลยหรือไม่นั้นย่อมจะต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด
มากกว่าการพิจารณาว่าควรกาหนดเง่ือนไขใดในการปล่อยชั่วคราว (อย่างการมารายงานตัวหรือการติด
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) เพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยมาศาล แต่คาสั่งในเรื่องเหล่านี้ล้วนกระทบเสรีภาพของ
ผู้ต้องหาหรือจาเลยในระหว่างพิจารณา ซึ่งหมายความว่าเคร่ืองมือประเมินความเส่ียงไม่ว่าจะออกมาใน
รปู แบบใดก็จาต้องไม่ละเมิดสทิ ธขิ องผตู้ ้องหาหรือจาเลยในกระบวนการอนั ชอบดว้ ยกฎหมาย

บทบัญญัติว่าด้วยกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมายตามรัฐธรรมนูญน้ันกาหนดว่า ก่อนที่รัฐจะ
ดาเนินการให้บุคคลปราศจากเสรีภาพ จะต้องมีกระบวนวิธีพิจารณาเพ่ือ “ลดความผิดพลาดหรือผลอันไม่เป็น
ธรรมให้มากเท่าที่สุดเท่าท่ีจะทาได้”๒๐๒ หัวใจสาคัญของกระบวนการดังกล่าวได้แก่ การแจ้งให้ผู้ต้องหาหรือ
จาเลยทราบเก่ียวกับข้อกล่าวหาและกระบวนการ และการรับฟังข้อเท็จจริงและความเห็นของผู้ต้องหาหรือ
จาเลย๒๐๓ โดยในบริบทของการขังหรือปล่อยช่ัวคราวนั้น ศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกาเน้นย้าว่า อย่างน้อยใน
การพิจารณาว่าควรขังผู้ต้องหาหรือจาเลยเพื่อปูองกันอันตรายที่อาจเกิดต่อสังคมไว้ก่อนหรือไม่น้ัน กระบวน
พิจารณาจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่พึงดูว่า ผู้ต้องหาหรือจาเลยได้เข้าร่วมใน “กระบวนการที่ศาลประเมิน
แนวโน้มท่ีผู้ต้องหาหรือจาเลยจะก่ออันตรายในอนาคต ซึ่งมีขึ้นโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการประเมินความ
เสี่ยงอย่างแม่นยา”๒๐๔ แล้วหรือไม่ ซ่ึงการให้สิทธิผู้ต้องหาหรือจาเลยเข้าร่วมในทุกขั้นตอนของศาลเป็น
หลักการท่ีต้องปรากฏในการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ต้องหาหรือจาเลยจาต้องได้รับ
โอกาสในการโตแ้ ยง้ ความไม่ถูกต้องหรอื ความไมเ่ ปน็ ธรรมจากการใชร้ ะบบประเมินความเสีย่ ง

ขณะนยี้ งั ไมม่ ีบรรทดั ฐานคาพพิ ากษาท่ีวินิจฉัยโดยละเอียดว่ากระบวนการอันชอบด้วยกฎหมายในชั้น
การพิจารณาเร่ืองขังหรือปล่อยช่ัวคราวควรเป็นอย่างไร แต่บรรทัดฐานคาพิพากษาในเรื่องอื่นก็อาจนามาใช้
เทียบเคียงเป็นแนวทางให้ศาลยึดถือปฏิบัติเพื่อให้กระบวนการชอบด้วยกฎหมายได้ เมื่อไม่นานนี้มีคดีที่ศาล
ฎีกาแห่งรัฐวิสคอนซินรับรองการนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงมาใช้ในชั้นพิจารณากาหนดโทษ โดยศาล

๓๙

กาหนดหลักเกณฑ์หลายประการเพื่อให้กระบวนการชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาแห่งรัฐวิสคอนซินวินิจฉัยว่า
ศาลชั้นต้นอาจใช้เคร่ืองมือประเมินความเส่ียงเพื่อกาหนดว่าควรให้จาเลยรับโทษบางส่วนนอกเรือนจาโดยใช้
มาตรการในชมุ ชนแทนหรือไม่ก็ได้ แต่ศาลชัน้ ตน้ ไม่อาจใช้เครือ่ งมือดงั กลา่ วในการ “กาหนดความหนักเบาของ
โทษ หรอื การพจิ ารณาว่าจาเลยควรถูกจาคุกหรอื ไม่” และศาลฎีกาเห็นว่า “มีข้อจากัดการใช้เคร่ืองมือดังกล่าว
เพิ่มเติมคือ ระดับความเสี่ยงไม่พึงเป็นปัจจัยช้ีขาดว่าจาเลยอาจได้รับการคุมประพฤติในชุมชนอย่างมี
ประสิทธิภาพและปลอดภัยหรือไม่”๒๐๕ ศาลฎีกายังวินิจฉัยต่อไปว่า ในการกาหนดโทษ ผู้พิพากษาซ่ึงอ่าน
รายงานผลการประเมินความเสี่ยงจาต้องได้รับคาแนะนาประกอบเพื่อเตือนให้คานึงถึงข้อเท็จจริงสี่ประการ
ได้แก่ (๑) หน่วยงานท่ีสร้างเคร่ืองมือดังกล่าวอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของในการห้ามเปิดเผยว่าปัจจัยในการ
ประเมนิ ต่างๆมนี า้ หนักหรือคะแนนความเสยี่ งอยา่ งไร หรือคะแนนความเสีย่ งกาหนดอย่างไร (๒) คะแนนความ
เสี่ยงมที ม่ี าจากขอ้ มลู รวมของกลมุ่ ประชากร ซง่ึ อาจจาแนกได้ว่าเป็น กลุ่ม ผู้มีความเส่ียงสูง มิใช่ ตัว จาเลยผู้มี
ความเสี่ยงสงู (๓) ผลการศึกษาเครอื่ งมอื ประเมนิ ความเส่ยี งบางชิ้น “ต้ังคาถามว่า เครื่องมือดังกล่าวจัดให้กลุ่ม
ผู้กระทาผิดท่ีเป็นบุคคลชายขอบเป็นผู้มีความเส่ียงสูงท่ีจะกระทาผิดซ้าโดยมีจานวน ประชากรบุคคลชายขอบ
สูงเกินสัดส่วนเมื่อเทียบกับกลุ่มประชากรอ่ืนหรือไม่” และ (๔) เครื่องมือดังกล่าวมาจากการศึกษาข้อมูล
ประชากรกลุ่มตัวอย่างท้ังประเทศ โดยยังมิได้ผ่านการทดสอบว่าถูกต้องแม่นยาสาหรับประชากรของรัฐ
วิสคอนซินแล้วหรือไม่ ซึ่งด้วยเหตุของประชากรท่ีเปล่ียนไป จึงทาให้เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงนั้นจาต้อง
ผ่านการตรวจสอบและปรับแก้เพือ่ ความแมน่ ยาอยู่เสมอ๒๐๖

และเน่ืองด้วยข้อพิจารณาเก่ียวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญน่ีเอง ทาให้เม่ือมีการใช้
เคร่ืองมือประเมินความเส่ียงในการสั่งขังหรือปล่อยช่ัวคราวจึงต้องมีมาตรการหรือกระบวนการต่างๆ เพ่ือ
คมุ้ ครองสิทธิเสรีภาพรองรับ และท่ีมาตรการดังกล่าวต้องให้ความสาคัญมากแก่สิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือ
จาเลย เพราะการพิจารณาเร่ืองขังหรือปล่อยช่ัวคราวอาจทาให้จาเลยซ่ึงได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธ์ิ
กลบั ต้องสญู เสียอิสรภาพได้น่ันเอง๒๐๗ มาตรการหรือกระบวนการเพ่ือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าวควรมีการ
ชแ้ี จงให้ผู้ตอ้ งหาหรอื จาเลยเขา้ ใจวา่ เคร่ืองมือประเมินความเส่ียงทางานอย่างไรและควรให้โอกาสผู้ต้องหาหรือ
จาเลยโตแ้ ยง้ เก่ียวกับการใช้เคร่ืองมือดงั กลา่ วในคดี ซ่ึงหมายความว่า ต้องมีการเปิดเผยคะแนนรวมความเสี่ยง
ของผู้ต้องหาหรือจาเลย ปัจจัยที่นามาใช้ในการคานวณ น้าหนักหรือคะแนนท่ีให้แต่ละปัจจัย รายละเอียดว่า
เคร่อื งมอื ดังกล่าวผ่านการทดสอบความแม่นยาเมื่อไร ได้รับการปรับปรุงแล้วเม่ือไร อย่างไร รวมถึงข้อมูลกลุ่ม
ตัวอย่างประชากรท่ีใช้ในการทดสอบความแม่นยาของเครื่องมือดังกล่าว๒๐๘ และกระบวนการในชั้นขังหรือ
ปล่อยชั่วคราวยังควรให้เปิดเผยข้อมูลอ่ืนๆที่เกี่ยวกับความแม่นยาของเคร่ืองมือประเมินความเสี่ยง ซึ่งรวมถึง
การศึกษาท่แี สดงผลจากการใช้เคร่อื งมือวา่ เกิดความไมเ่ ทา่ เทียมทางสีผิวหรือความไม่แม่นยาในประเด็นอื่น ทั้ง
ยังควรกาหนดขอบเขตให้ชัดเจนว่าเครื่องมือประเมินความเสี่ยงมีบทบาทในการพิจารณาส่ังขังหรือปล่อย
ช่ัวคราวมากนอ้ ยเพียงใด

ค. การขังเพ่อื ป้องกนั อนั ตรายต่อสังคม

หนึ่งในปัญหาสาคัญของการปล่อยช่ัวคราวโดยเรียกเงินประกันคือการที่ระบบดังกล่าวถูกใช้เป็น
เครือ่ งมือเพอ่ื ขังผู้ต้องหาหรือจาเลยไว้ระหว่างพิจารณา กล่าวคือ เม่ือผู้พิพากษาเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยราย
นนั้ ๆมคี วามเสี่ยงสูงท่ีจะเป็นอันตรายต่อสังคมหากปล่อยตัวไป แต่กฎหมายกาหนดให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยต้อง

๔๐

ได้รับการปล่อยตัวเสมอหากมีเงินประกัน ท่านก็จะแก้ปัญหาด้วยการกาหนดราคาประกันไว้ในระดับที่สูงมาก
จนน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่อาจหาหลักประกันมาวางได้๒๐๙ ซึ่งแม้การใช้เงินเป็นเคร่ืองมือเพื่อขัง
ผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ีถูกมองว่าเป็นอันตรายนั้นโดยหลักการแล้วไม่อาจแก้ต่างให้เกิดความชอบธรรมได้ แต่
ความกงั วลท่ีผู้พิพากษาหลายท่านมีเกย่ี วกบั ภยั ทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ จากผตู้ อ้ งหาหรือจาเลยก็มีอยู่จรงิ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมี
ความคิดจะเปล่ียนระบบการปล่อยช่ัวคราวจากเดิมที่อิงเงินมาอิงการประเมินความเส่ียงแทน ก็มีข้อเสนอว่า
ควรใชก้ ารประเมินความเส่ยี งในการพิจารณาแนวโนม้ ของผู้ตอ้ งหาหรือจาเลยในการก่อเหตุร้ายหลังปล่อยด้วย
เพื่อใหผ้ ูพ้ ิพากษาใช้ประกอบการตัดสนิ ใจว่าควรขงั ผู้ต้องหาหรือจาเลยเพ่อื ปูองกันอันตรายท่ีอาจเกิดขึ้นไว้ก่อน
หรอื ไม่

ในขณะน้ีอย่างน้อยศาลใน ๒๒ รัฐ ดิสทริกต์ ออฟ โคลัมเบีย และศาลในระบบสหพันธรัฐมีอานาจใน
การสัง่ ขงั ระหวา่ งพจิ ารณาเพอ่ื ปูองกนั อนั ตรายต่อสังคมในบางกรณ๒ี ๑๐ และศาลในอีกหลายรัฐก็มีแนวโน้มท่ีจะ
ใช้หรือเพ่ิมการใช้มาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยง ทว่า ศาลท่ีเลือกให้มีการขัง
ระหว่างพิจารณาเพื่อปูองกันอันตรายนั้นจาต้องดาเนินการด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ซึ่งคู่มือส่วนนี้ขอ
นาเสนอเค้าโครงขอ้ พจิ ารณาพน้ื ฐานในเชิงนโยบายและกฎหมายท่ีพึงเปน็ หลักในการกาหนดนโยบายต่อไป

อย่างไรก็ตาม คู่มือน้ีมิได้ฟันธงว่าในแง่นโยบายแล้วการขังระหว่างพิจารณาเพ่ือปูองกันอันตรายไว้
ก่อนนั้นเป็นมาตรการที่เหมาะสมหรือไม่ และที่จริงแล้ว มีเสียงแสดงความห่วงกังวลอย่างหนักเกี่ยวกับการใช้
มาตรการดังกล่าว โดยหนึ่งในคาวิจารณ์คือการให้อานาจศาลส่ังขังเพ่ือปูองกันอันตรายน้ันไม่รับประกันว่าจะ
ลดจานวนผตู้ อ้ งขังระหว่างพจิ ารณาลงได้ ซึ่งหากเกณฑ์ในการขังเปิดกว้างเกินไปหรือมีการนิยามความเส่ียงใน
การก่ออันตรายหลังปล่อยไว้กว้างขวางเกินไป เคร่ืองมือหรือระบบที่ออกแบบมาเพื่อแก้ภาวะประชากรล้น
เรือนจาอาจทาใหเ้ กดิ ผลตรงกันข้าม นอกจากน้ี ยังมีผู้ต้ังคาถามในแง่หลักการว่าการขังเพ่ือปูองกันอันตรายไว้
กอ่ นมคี วามชอบธรรมหรือไม่๒๑๑ ท้ังนี้เนื่องจากผู้ต้องหาหรือจาเลยในระหว่างพิจารณาได้รับประโยชน์จากข้อ
สนั นิษฐานความเป็นผู้บริสุทธิ์ การใช้เหตุเพียงว่าเพราะผู้ต้องหาหรือจาเลยถูกจับมาจึงอาจพิจารณาขังไว้ก่อน
ไดจ้ งึ ดูขดั กับหลกั พื้นฐานของสังคมเสรี แต่ในทางกลับกัน ก็มีนักปฏิรูปจานวนมากสนับสนุนให้ใช้การประเมิน
ความเส่ียงในการพิจารณาเร่อื งขังเพอื่ ปอู งกันอนั ตราย เพราะการประเมินความเส่ียงจะช่วยแก้ปัญหาดุลพินิจที่
เป็นไปตามอาเภอใจและเลือกปฏิบัติซึ่งมักปรากฏในการเรียกเงินประกัน ท้ังยังเป็นการให้เครื่องมือแก่ผู้พิพากษา
เพ่อื ช่วยให้การตดั สินใจเป็นเหตุเป็นผลและโปร่งใสกว่าเดิม ผู้สนับสนนุ แนวคิดท่ีให้อานาจศาล (แม้เพียงจากัด)
สั่งขังเพ่ือปูองกันอันตรายไว้ก่อนเสริมว่า ศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกาเคยวินิจฉัยว่าการขังเพื่อวัตถุประสงค์
ดังกล่าวโดยใช้การประเมินความเสี่ยงสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และเหล่า
ผู้สนับสนุนข้างต้นยังยืนยันว่าคาพิพากษาต่างๆของศาลฎีกาจะช่วยวางแนวทางให้กระบวนการคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพเกิดข้ึนอย่างเข้มแข็งและกลายเป็นกระบวนการท่ีจาเป็นต้องมี ก่อนศาลจะใช้อานาจขังเพื่อปูองกัน
อันตรายต่อสงั คมได้

“ในสงั คมของเรา อิสรภาพถือเป็นหลัก ส่วนการขงั ก่อนมีการพจิ ารณาหรือโดยปราศจากการพจิ ารณา
เป็นข้อยกเว้นทีต่ ้องใช้อย่างระมัดระวงั และจากดั อยา่ งย่ิง”

๔๑

๑. หลกั เกณฑต์ ามรัฐธรรมนูญ

ในคาพิพากษาของศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกาในคดี United States v. Salerno มีข้อวินิจฉัยที่
อธิบายหลักการตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการขังระหว่างพิจารณาเพื่อปูองกันอันตรายต่อสังคมไว้ โดยในการ
รับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบัญญัติปฏิรูประบบปล่อยช่ัวคราวในระดับสหพันธรัฐน้ัน ศาลฎีกาใน
คดซี าเลอร์โน (Salerno) เนน้ วา่ เจตนารมณท์ ่ีกฎหมายให้อานาจศาลสงั่ ขังเพ่อื ปูองกันอันตรายมีความสาคัญยิ่ง
กล่าวคือ การขัง “เพ่ือรักษาความสงบเรียบร้อย โดยมิใช่เพื่อลงโทษ” น้ันไม่เป็น “การลงโทษก่อนการ
พิจารณาซง่ึ ต้องหา้ ม”๒๑๒ การตรวจสอบว่าการขังเพอ่ื ปูองกันอันตรายเป็นการขังเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
หรอื เป็นการขงั เพ่อื ลงโทษขึน้ อยวู่ า่ ประการแรก ผู้ออกกฎหมายมีเจตนารมณ์ชัดแจง้ ในการลงโทษหรือไม่ หาก
ไมม่ ีแลว้ นโยบายใหข้ ังไวก้ ่อนนัน้ มีเหตุผลอันสมควรที่มิใช่เพื่อการลงโทษรองรับหรือไม่ และท้ายสุด การขังได้
สัดส่วนกับความจาเป็นที่ทาให้ต้องขังไว้ก่อนหรือไม่๒๑๓ ซ่ึงในคดี Salerno ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การขังเพื่อ
ปูองกันอันตรายไว้ก่อนตามรัฐบัญญัติปฏิรูปการปล่อยช่ัวคราวของรัฐบาลกลางมิได้เป็นไปเพ่ือมุ่งลงโทษ และ
ในการตรวจสอบว่าการขังตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้สัดส่วนกับความจาเป็นเพ่ือปูองกันอันตรายท่ีอาจเกิด
ต่อสังคมหรือไม่นั้น ศาลฎีกาเน้นย้าเก่ียวกับอานาจท่ีกฎหมายให้ไว้อย่างจากัด ซึ่งมีมาคู่กับกระบวนการเพื่อ
ค้มุ ครองสิทธิเสรีภาพของผตู้ อ้ งหาหรอื จาเลยไวด้ งั นี้

“รัฐบัญญัติปฏิรูประบบปล่อยชั่วคราว (Bail Reform Act) จากัดลักษณะคดีที่ศาลอาจขังผู้ต้องหา
หรือจาเลยระหวา่ งพิจารณาโดยให้ศาลมีอานาจเฉพาะในคดีข้อหารุนแรงท่ีสุด ทั้งผู้ต้องหาหรือจาเลยยังมีสิทธิ
ได้รับการไต่สวนเรื่องขังหรือปล่อยช่ัวคราวในทันที และระยะเวลาที่อาจผู้ต้องหาหรือขังจาเลยระหว่าง
พิจารณาได้ก็ถูกจากัดโดยรัฐบัญญัติเร่งรัดการพิจารณาคดี (Speedy Trial Act) นอกจากนี้...เงื่อนไขของการ
ขังตามกฎหมายฉบบั ดงั กล่าวก็สะทอ้ นเจตนารมณ์ของรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อย...โดยกฎหมายท่ีเป็น
ประเด็นในคดีนี้กาหนดให้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาถูกควบคุมตัวในสถานที่แยกต่างหากจากจาเลยที่กาลัง อยู่
ในข้ันตอนรอพิพากษากาหนดโทษ หรือทกี่ าลังรบั โทษอยู่ หรอื ท่ถี กู ขังระหว่างอุทธรณฎ์ ีกา”๒๑๔

เมื่อได้วินิจฉัยว่าอานาจตามกฎหมายในการขังระหว่างพิจารณาเป็นไปเพ่ือรักษาความสงบเรียบร้อย
มิใช่เพ่ือลงโทษแลว้ ศาลฎกี ากไ็ ด้วินจิ ฉัยต่อไปวา่ การจากัดสิทธิเสรีภาพในระหว่างพิจารณาตามบทบัญญัติของ
กฎหมายดังกล่าวอาจกระทาได้เฉพาะเพ่ือประโยชน์ของรัฐอันจาเป็นยิ่งยวด ซ่ึงในการน้ี ศาลฎีกาเน้นถึง
“พฤติการณจ์ ากัดวงแคบ” ทศ่ี าลอาจสั่งขงั เพ่อื ปูองกนั อันตรายได้๒๑๕ และจากการที่ศาลฎีกาพิจารณาขั้นตอน
ตามรัฐบญั ญตั ิปฏิรูประบบการปลอ่ ยชั่วคราวโดยละเอยี ด กท็ าใหเ้ ห็นว่าประเด็นใดที่ศาลฎีกาให้ความสาคัญใน
การวเิ คราะหค์ วามชอบด้วยกฎหมายตามรัฐธรรมนญู

“รัฐบัญญัติปฏิรูประบบการปล่อยช่ัวคราว...มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะอย่างอันเฉียบพลันรุนแรงซ่ึงกระทบ
ประโยชน์สาธารณะอันท่วมท้น กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะเมื่อบุคคลถูกจับในข้อหาที่สภาพความผิด
รุนแรงอย่างยิ่ง ทั้งน้ีเพราะสภาคองเกรสพบว่าบุคคลในภาวะดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงกว่ามากที่จะก่ออันตราย
ในสงั คมหลังถูกจบั กฎหมายฉบบั นม้ี ิใช่การสุ่มขังเอากับผู้ท่ีเพียงแต่ต้องสงสัยว่ากระทาความผิดรุนแรง เพราะ
ประการแรก รัฐต้องแสดงว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกจับก่อคดีน้ันขึ้น แต่นั่นก็ยังไม่พอ เพราะในกระบวนการ
พิจารณาแบบกลา่ วหา รฐั ต้องนาเสนอพยานหลักฐานที่ชัดเจนและน่าเช่ือให้คนกลางผู้มีอานาจตัดสินใจเช่ือว่า

๔๒

ไม่มีเงื่อนไขในการกากับดูแลใดทั้งส้ินท่ีอาจพอรับประกันได้ว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยจะไม่ก่ออันตรายต่อสังคม
หรอื บคุ คลหนึง่ บุคคลใดหลงั ปลอ่ ยตวั ไปแลว้ ”๒๑๖

เมื่อได้วางเค้าโครงกระบวนการที่ละเอียดและมั่นคงเช่นน้ีแล้ว ศาลฎีกาก็วินิจฉัยต่อไปว่า “เมื่อรัฐ
แสดงหลกั ฐานท่ีชัดเจนน่าเชอื่ แลว้ วา่ ผตู้ ้องหาหรอื จาเลยมคี วามเสีย่ งที่อาจกอ่ อนั ตรายตอ่ สังคมหรือบุคคลใดได้
อย่างไร...ศาลอาจตดั ความสามารถผ้ตู อ้ งหาหรือจาเลยในการก่อเหตุนน้ั เสยี ก็ได้”๒๑๗

ศาลที่คิดจะให้มีการขังเพ่ือปูองกันอันตรายควรนาเค้าโครงกระบวนการท่ีศาลฎีกาวินิจฉัยถึงในคดีซา
เลอร์โนมาปรับใช้ให้มากท่ีสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าศาลฎีกาในคดีซาเลอร์โนจะมิได้ระบุว่ากระบวนการใด
จาต้องทาตามรัฐธรรมนญู แต่อย่างน้อยมี ๒ กระบวนการทเ่ี ป็นองคป์ ระกอบสาคญั ในการรับประกันความชอบ
ด้วยรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การไต่สวนเพื่อรับฟังคู่ความทุกฝุาย และสิทธิของผู้ต้องหาหรือจาเลยในการมี
ทนายความเข้าฟังการไต่สวน ดังที่จะได้อธิบายในรายละเอียดต่อไปด้านล่าง องค์ประกอบ ๒ ข้อดังกล่าวเป็น
รากฐานสาคัญของกระบวนการท่ีชอบด้วยกฎหมายตามคาพิพากษาของศาลฎีกา และนอกเหนือจาก
องค์ประกอบ ๒ ข้อนี้ คาพิพากษาของศาลฎีกายังได้วางแนวทางท่ีเป็นประโยชน์สาหรับรัฐต่างๆในการวาง
กรอบการใชอ้ านาจสงั่ ขงั เพ่ือปูองกันอันตรายต่อสังคมอีกด้วย แต่ท่ีสาคัญ หากมองในเชิงกฎหมายกับนโยบาย
แล้ว หลักที่ศาลฎีกาวางไว้ในคาพิพากษาคดีซาเลอร์โนควรมีการยึดถือให้เป็นหลักการสาคัญท่ีสุดคือหลักที่ว่า
““ในสังคมของเรา อิสรภาพถือเป็นหลัก ส่วนการขังก่อนมีการพิจารณาหรือโดยปราศจากการพิจารณาเป็น
ข้อยกเวน้ ที่ตอ้ งใชอ้ ย่างระมัดระวังและจากัดอยา่ งยิ่ง”๒๑๘

ก. การไตส่ วนเพ่อื รับฟงั คูค่ วามทกุ ฝา่ ย

ระบบที่อนุญาตให้มีการขังเพ่ือปูองกันอันตรายได้ควรจัดให้มีการไต่สวนเพ่ือรับฟังคู่ความทุกฝุาย ซ่ึง
ศาลฎีกาในคดีซาเลอร์โนพิพากษารับรองกระบวนการที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพอย่างเพียงพอ รวมถึงสิทธิของ
ผู้ต้องหาหรือจาเลยในการ “เบิกความเป็นพยานฝุายตนเอง นาเสนอพยานหลักฐาน และถามค้านพยานอีก
ฝุาย”๒๑๙ ซง่ึ จาเป็นในการพจิ ารณาในระบบกล่าวหา ในทานองเดียวกัน ศาลฎีกาก็เน้นย้าว่าในการไต่สวนเหตุ
ขังระหว่างพิจารณาภายใต้รัฐบัญญัติปฏิรูประบบการปล่อยช่ัวคราวนั้น รัฐมีภาระการพิสูจน์โดยต้องแสดง
พยานหลักฐานท่ีชัดเจนน่าเช่ือว่า เงื่อนไขหรือมาตรการใดท่ีผ่อนคลายกว่าน้ีไม่อาจรับมือกับความเสี่ยงท่ี
ผู้ต้องหาหรือจาเลยจะก่ออันตรายได้ ซ่ึงภาระการพิสูจน์ท่ีเข้มงวดเช่นน้ีเป็นไปตามหลักการพิจารณาในระบบ
กล่าวหาเพื่อตรวจสอบข้อกล่าวหาของรัฐ และแม้ว่าขั้นตอนการไต่สวนอาจต่างกันไปบ้างในแต่ละศาล แต่
หลักการในสาระสาคญั ยังคงเป็นไปตามคาพิพากษาของศาลฎีกาว่า การไต่สวนเพ่ือรับฟังและให้โอกาสคู่ความ
ไดต้ ่อสเู้ ป็นองคป์ ระกอบสาคัญในการคุม้ ครองสิทธิเสรภี าพตามรัฐธรรมนูญ

ข. สทิ ธใิ นการมที นายในการไตส่ วน

ในขณะท่ีการไต่สวนเพื่อรับฟังคู่ความทุกฝุายเป็นหลักการใหญ่ของกระบวนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ตามคาพิพากษาของศาลฎีกาในคดีซาเลอร์โน เพ่ือให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยได้รับประโยชน์จากกระบวนการ
คุ้มครองสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ ผู้ต้องหาหรือจาเลยก็จาต้องมีทนายความคอยช่วยเหลือ สิทธิในการมี
ทนายความจึงเป็นสิทธิที่ไม่อาจยกเว้นได้ คาพิพากษาของศาลฎีกาในคดีซาเลอร์โนเน้นย้าว่า ศาลควรให้สิทธิ
ผู้ต้องหาหรือจาเลยตลอดจนดาเนินตามกระบวนการคุ้มครองสิทธิที่ “ออกแบบมาโดยเฉพาะเพ่ือรับประกัน

๔๓

ความถูกต้องแม่นยา” ของการประเมินความเส่ียงที่ผู้ต้องหาหรือจาเลยจะก่ออันตราย๒๒๐ ซึ่งกระบวนการ
ดังกล่าวเป็นไปตามหลักรับฟังคู่ความทุกฝุายและได้แก่ การให้สิทธิอ้างตนเองเป็นพยานข้ึนเบิกความ ให้สิทธิ
นาเสนอพยานหลักฐาน และถามค้านพยานฝุายตรงข้ามหรือท่ีเป็นปรปักษ์ ซึ่งกระบวนการหรือสิทธิเหล่านี้จะ
ช่วยผู้ต้องหาหรือจาเลยได้จริงก็ต่อเม่ือมีทนายความให้ความช่วยเหลือ ศาลฎีกายังได้วินิจฉัยอีกว่า การ
พิจารณาว่าควรขังหรอื ปลอ่ ยชว่ั คราวหรอื ไมน่ ้ันต้องอาศยั ปัจจัยตามที่กฎหมายกาหนด๒๒๑ ซึ่งหลักที่ศาลวางไว้
ดังกล่าวเป็นโอกาสสาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยในการต่อสู้โต้แย้งคาส่ังศาล แต่โอกาสน้ีจะไม่มีความหมายหาก
ไม่มีทนายความผู้สามารถพอจะหยิบฉวยโอกาสท่ีเปิดให้๒๒๒ นอกจากนี้ เน่ืองจากในทางปฏิบัติพบว่าการท่ี
ผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่มีทนายความยังเป็นการบ่ันทอนมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐบัญญัติปฏิรูป
ระบบการปลอ่ ยชว่ั คราวอีกด้วย ดังนั้นหากจะให้อานาจศาลขังไว้ก่อนได้เมื่อเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยอาจก่อ
อนั ตรายต่อสังคมแลว้ ผูต้ ้องหาหรือจาเลยก็ควรต้องมีสิทธิท่ีจะมีทนายความและถือเป็นสิทธิพ้ืนฐานท่ีระบบน้ี
ต้องมี

๒. กระบวนพิจารณาสาคญั เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรฐั ธรรมนญู

คาพิพากษาของศาลฎีกาในคดีซาเลอร์โนมิได้กาหนดว่าต้องมีโครงร่างมาตรฐานสาหรับการออก
กฎหมายที่ให้อานาจศาลสั่งขงั เพื่อปอู งกนั อนั ตรายไวก้ ่อน แต่จากข้อวินิจฉัยในคดีดังกล่าวก็เห็นได้ว่าลาพังการ
จัดให้มีการไต่สวนและสิทธิของผู้ต้องหาหรือจาเลยในการมีทนายความยังไม่เพียงพอสาหรับการคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพ ดังนั้น เพ่ือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจาเลยและสนับสนุนให้การขังหรือปล่อยชั่วคราว
สอดคล้องกับหลักกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย มาตรการดังท่ีจะกล่าวถึงด้านล่างน้ีอาจนามาใช้ได้
เพิม่ เติม

ก. การเรง่ รัดพิจารณาคดี

เมือ่ สิทธิเสรีภาพของผตู้ ้องหาหรอื จาเลยในระหวา่ งพิจารณาตอ้ งเสยี ไปหรือถูกจากัดไว้ การพิจารณาก็
ควรมีระยะเวลาจากัด ซ่ึงแม้บทบัญญัติท่ีให้เร่งรัดการพิจารณาคดีในแต่ละรัฐอาจต่างไป แต่ก็ควรมีบทบัญญัติ
เร่งรัดการพิจารณาสาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยที่ต้องขังระหว่างการพิจารณาไว้ด้วยเป็นการเฉพาะ เช่นในบาง
ทอ้ งทตี่ อ่ ไปน้ี

ข. ดสิ ทริกต์ ออฟ โคลมั เบยี

ในกรณีท่ีผู้ต้องหาหรือจาเลยถูกขังระหว่างพิจารณาเพื่อปูองกันอันตรายภายใต้...บทบัญญัติแห่ง
มาตราน้ี การพิจารณาจะต้องถูกกาหนดไว้ในปฏิทินการพิจารณาที่ชัดเจน และเป็นไปตามการบริหารจัดการ
คดีทส่ี มเหตผุ ล โจทก์ต้องยน่ื ฟอู งภายใน ๙๐ วัน และศาลต้องเร่มิ พิจารณาคดภี ายใน ๑๐๐ วนั ๒๒๓

ค. เวอรม์ อนต์

(ก) เว้นแต่ในคดีท่ีผู้ต้องหาหรือจาเลยต้องข้อหาความผิดซ่ึงมีอัตราโทษประหารชีวิตหรือจาคุกตลอด
ชีวิต หากผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยช่ัวคราว การพิจารณาคดีต้องเริ่มโดยไม่ล่าช้ากว่า ๖๐
วนั ภายหลังศาลไมอ่ นญุ าตให้ปลอ่ ยช่ัวคราว

๔๔

(ข) หากการพิจารณาคดีมิได้เริ่มภายใน ๖๐ วัน และความล่าช้ามิได้เกิดจากฝุายผู้ต้องหาหรือจาเลย
ศาลต้องนัดไต่สวนเพื่อพิจารณาการปล่อยช่ัวคราวในทันที และต้องกาหนดราคาประกันเพ่ือให้ผู้ต้องหาหรือ
จาเลยได้รบั การปล่อยช่วั คราว๒๒๔

นอกจากนี้ รัฐต่างๆ พึงทบทวนกฎหมายว่าด้วยการเร่งรัดพิจารณาคดีของตน เพื่อตรวจสอบว่า
ข้อยกเวน้ หรอื ผ่อนปรนในการนับระยะเวลามไิ ด้ทาใหก้ ฎหมายขาดไรซ้ งึ่ ประสิทธิภาพ ตวั อย่างของข้อผ่อนปรน
เช่น “กฎว่าด้วยความพร้อม” ของรัฐนิวยอร์ก เป็นกฎท่ีอนุญาตให้ไม่ต้องนับระยะเวลาความล่าช้าท่ีเกิดจาก
ปริมาณคดีจานวนมากของศาล หรือกระทั่งจากการเลื่อนคดีเพราะอัยการมิได้นาพยานหลักฐานมาแสดง
รวมเข้าในระยะเวลาการพจิ ารณาคดี ตราบใดทอ่ี ยั การแถลงวา่ พรอ้ มดาเนินการพจิ ารณาคดีแล้ว๒๒๕

ง. ขอบเขตจากัดในการใช้มาตรการขงั เพอ่ื ป้องกันอันตรายไว้ก่อน

ในคดีซาเลอร์โน ศาลฎีกาเน้นย้าหลายคร้ังถึงขอบเขตจากัดที่ศาลสหพันธรัฐอาจใช้อานาจส่ังขัง
ระหว่างพิจารณาเพื่อปูองกันอันตรายได้ โดยช้ีว่ารัฐบัญญัติปฏิรูประบบการปล่อยชั่วคราว “กาหนดขอบเขต
กรณีที่ศาลอาจสั่งขังระหว่างพิจารณาเพียงเฉพาะในคดีข้อหาความผิดรุนแรงเท่าน้ัน”๒๒๖ และชี้ว่ากฎหมาย
ดังกลา่ ว “มงุ่ แกป้ ญั หาเฉพาะอย่างอันเฉียบพลันรุนแรงซึ่งกระทบประโยชน์สาธารณะอันท่วมท้น”๒๒๗ และว่า
กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะใน “พฤติการณ์ท่ีจากัดวงแคบเท่าน้ัน”๒๒๘ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ศาลฎีกา ให้
ความสาคญั อย่างยิง่ กบั การจากัดขอบเขตคดแี ละพฤติการณ์ที่ศาลอาจให้ขังเพื่อปูองกันอันตรายไว้ก่อนได้ ผู้กาหนด
นโยบายและผู้สนับสนุนมาตรการดังกล่าวจึงควรใช้ความระมัดระวังในการกาหนดขอบเขตประเภทคดีหรือ
พฤตกิ ารณท์ ่ีศาลอาจใช้อานาจขังไว้ก่อน โดยอาจพิจารณาเลือกใช้จาก ๓ มาตรการต่อไปน้ี ได้แก่ การจาแนก
จากคะแนนความเส่ียง การจาแนกจากข้อหาความผิด และการดูจากคาร้องของอัยการ ซึ่งจะได้อภิปรายโดย
ละเอียดดา้ นล่างนี้

หนง่ึ ในวิธที ี่อาจจากัดขอบเขตคดที ี่ศาลอาจสั่งขังไว้ก่อนเพ่ือปูองกันอันตรายได้คือการใช้คะแนนความ
เสี่ยงที่ประเมินได้เป็นฐานในการเรียกไต่สวนว่ามีเหตุให้ขังหรือไม่ เช่นน้ี รัฐจาต้องใช้เครื่องมือประเมินความ
เส่ียงที่ออกแบบมาเฉพาะในการวัดความเส่ียงที่จะถูกจับอีกเพราะก่อคดีเกี่ยวกับการใช้กาลังรุนแรงหรือ
ความผิดร้ายแรงเท่าน้ัน มิใช่ไปใช้เครื่องมือที่ไม่อาจแยกแยะความเส่ียงในการกระทาความผิดรุนแรงออกจาก
ความผิดทไี่ ม่รนุ แรง หรือเครื่องมือท่ีไม่อาจจาแนกความเส่ียงในการไม่มาตามนัดออกจากความเสี่ยงในการถูก
จับอีก โครงการนาร่องที่รัฐเคนทักกีเป็นตัวอย่างหน่ึงของการใช้วิธีท่ีเสนอแนะน้ีในการกรองคดี ระบบของรัฐ
เคนทกั กคี ือกรองผู้ต้องหาหรอื จาเลยทป่ี ระเมินแลว้ ว่ามีความเสี่ยงสงู ใหเ้ ข้ารบั การไตส่ วนซง่ึ ผตู้ อ้ งหาหรือจาเลย
จะไดร้ บั การคุ้มครองสิทธิเสรภี าพอย่างเขม้ ข้นย่ิงข้ึน ทั้งนี้ก็เพ่ือให้ศาลสามารถส่ังได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สาหรับแต่ละกรณี๒๒๙ และศาลอาจกรองคดีได้อีกโดยใช้การประเมินความเส่ียงเฉพาะผู้ต้องหาหรือจาเลยท่ี
ต้องขอ้ หาบางฐานความผิดเท่านัน้ ดงั เช่นที่ใชใ้ นรัฐนวิ เจอรซ์ ีย์๒๓๐

ในบางท้องที่หรือบางรัฐกาหนดให้ศาลต้องไต่สวนว่ามีเหตุให้ขังหรือไม่สาหรับผู้ต้องหาหรือจาเลยที่
ตอ้ งข้อหาในบางฐานความผิด ทงั้ ท่กี ารต้องข้อหาดังกล่าวไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงในการกระทาผิดอีก เช่น ใน
ระบบของดิสทริกต์ ออฟ โคลัมเบีย และระบบศาลสหพันธรัฐ การต้องข้อหาในบางฐานความผิดเป็นข้อ
สันนิษฐานไม่เด็ดขาดว่าไม่มีเงื่อนไขการกากับดูแลใดท่ีรับประกันได้ตามสมควรว่าสังคมจะปลอดภัยจาก

๔๕

ผู้ต้องหาหรือจาเลย๒๓๑ ข้อสันนิษฐานเช่นว่าน้ีทาให้ต้องมีการไต่สวนเหตุขังและส่งผลให้มีการขังผู้ต้องหาหรือ
จาเลยหลายคนทเี่ พยี งแตต่ อ้ งข้อหาซ่ึงใช้เปน็ ขอ้ สนั นิษฐาน การใชข้ อ้ หาความผิดเป็นเกณฑ์ให้ไต่สวนเหตุขังนั้น
เปน็ ปัญหา เพราะขอ้ หาความผิดไมไ่ ดส้ ะท้อนหรือเช่ือมโยงกบั พฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจาเลยแต่ละราย ท้ัง
ยังมีปัญหาเร่ืองการต้ังข้อหาท่ีค่อนข้างทาได้ง่าย แต่หากจาต้องใช้ข้อหาเป็นเกณฑ์ในการไต่สวนเหตุขังแล้ว
ข้อหาที่จะกาหนดเป็นเกณฑ์ต้องมีแต่น้อย และต้องไม่ใช่เกณฑ์ชี้ขาดในการตัดสินว่าควรขังหรือไม่ กล่าวคือ
ระบบต้องไม่ตัดดุลพินิจศาลในการพิจารณาพฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจาเลยเป็นรายกรณี ซึ่งเรื่องน้ีสาคัญ
มากในระบบท่ีอัยการสามารถใช้ดุลพินิจอย่างกว้างขวางในการตั้งข้อหา เพราะหากไม่มีการถ่วงดุลท่ีดี การต้ัง
ขอ้ หาทไี่ ม่เหมาะสมย่อมนาไปส่กู ารขงั ที่ไมจ่ าเป็นได้๒๓๒

อีกวิธใี นการจากัดคดีท่ีศาลอาจให้ขังระหว่างพิจารณาได้คือการให้อานาจอัยการในการร้องขอให้ศาล
สั่งขังระหว่างพิจารณา โดยในระบบศาลของดิสทริกต์ ออฟ โคลัมเบียและศาลสหพันธรัฐ อัยการมีอานาจใน
การร้องขอให้ศาลขังผู้ตอ้ งหาหรือจาเลยระหวา่ งพจิ ารณาไดภ้ ายใตห้ ลักเกณฑ์หลายประการ๒๓๓ การให้ดุลพินิจ
แก่อัยการนั้นอาจเหมาะสมในบางกรณี แต่ท้ังน้ีท้ังน้ันก็ควรมีกรอบในการใช้ดุลพินิจเพื่อให้อัยการร้องขอให้
ศาลขังระหวา่ งพจิ ารณาไดเ้ พยี งเม่ือคดีมพี ฤตกิ ารณ์ตามทก่ี าหนดไว้ชัดเจนแล้วเท่าน้ัน และเพราะผู้ต้องหาหรือ
จาเลยสมุ่ เสีย่ งอาจถกู ขังระหว่างพิจารณา อัยการจึงควรมีหน้าท่ีต้องแสดงหลักฐานในเบื้องต้นมากพอควรเพ่ือ
สนับสนนุ ขอ้ อา้ งในการขอใหข้ ังผตู้ ้องหาหรือจาเลยไว้ก่อน

จ. ปัจจยั ตามกฎหมายในการพจิ ารณาสง่ั ขังหรอื ปล่อยชั่วคราว

ศาลฎีกาในคดีซาเลอร์โนวินิจฉัยว่า ในระบบศาลสหพันธรัฐ ผู้พิพากษาต้องปฏิบัติตามแนวทางที่
กฎหมายกาหนด และศาลจะส่ังขังได้ต่อเม่ือมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนน่าเชื่อว่ามีเหตุสมควรตามกฎหมายให้
ขัง๒๓๔ ซ่ึงการกาหนดมาตรฐานของกระบวนการท่ีชัดเจนและเข้มงวดสาหรับการใช้อานาจสั่งขังเพื่อปูองกัน
อนั ตรายไวก้ อ่ นเชน่ นี้ ยอ่ มเป็นการรับรองว่ากระบวนการของศาลนนั้ ๆ ไมข่ ัดรฐั ธรรมนญู นนั่ เอง

นอกจากการสรา้ งมาตรฐานกระบวนการท่ีเข้มงวดแล้ว รัฐหรือท้องที่ต่างๆควรกาหนดเกณฑ์ท่ีชัดเจน
สาหรบั ศาลในการใช้ดุลพินิจช่ังน้าหนักเพ่ือตัดสินใจด้วย โดยกฎหมายของดิสทริกต์ ออฟ โคลัมเบีย ได้วางตัว
อย่างปัจจัยตา่ งๆทศ่ี าลควรนามาพิจารณาไดแ้ ก่

๑. สภาพและพฤติการณ์ของความผิดที่ถูกตั้งข้อหา ซ่ึงรวมถึงข้อเท็จจริงว่าความผิดนั้นเป็น
อาชญากรรมอันเป็นอันตรายหรือเป็นการใช้กาลังรุนแรงหรือไม่...หรือเก่ียวพันกับการขัดขวางกระบวนการ
ยตุ ิธรรมหรือไม่

๒. นา้ หนกั ของพยานหลักฐานท่ีปรากฏแล้ว

๓. ประวัติและบคุ ลิกลกั ษณะของผ้ตู อ้ งหาหรือจาเลย ซึ่งรวมถงึ

ก. อุปนสิ ยั ของผตู้ ้องหาหรอื จาเลย สภาพร่างกายและจิตใจ ความผูกพันกับครอบครัว อาชีพ
การงาน รายได้และทรัพย์สิน ระยะเวลาที่พานักอยู่ในชุมชนอันเป็นท่ีอยู่อาศัย ความผูกพันกับชุมชนอันเป็นท่ี
อย่อู าศัย พฤติกรรมในอดีต ประวัติการเสพสุราและยาเสพติด ประวัติอาชญากรรม และประวัติการมาหรือไม่
มาศาลตามนัด และ

๔๖

ข. ขอ้ เทจ็ จริงว่าในเวลาทีก่ ระทาผิดหรือถูกจบั ผูต้ อ้ งหาหรือจาเลยอยใู่ นระหวา่ งการคุมความ
ประพฤติ หรือพักการลงโทษ หรือปล่อยตัวภายใต้การกากับดูแล หรือภายใต้เง่ือนไขการปล่อยตัวอ่ืนตาม
กฎหมายในระหว่างพจิ ารณา ระหวา่ งรอการตดั สินโทษ ระหวา่ งอุทธรณฎ์ กี า หรอื ระหวา่ งรบั โทษ และ

๔. สภาพและความร้ายแรงของอันตรายท่ีอาจเกิดต่อบุคคลใดหรือชุมชนจากการปล่อยชั่วคราว
ผู้ต้องหาหรือจาเลย๒๓๕

ทั้งนี้ หลักการข้างต้นของดิสทริกต์ ออฟ โคลัมเบีย ได้รับการนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายของรัฐอ่ืนอีก
หลายรฐั แลว้ ๒๓๖

เม่ือพิจารณาว่าการขังเพ่ือปูองกันอันตรายไว้ก่อนเป็นการมองไปในอนาคตและเป็นไปเพื่อดูแลรักษา
ความสงบเรียบร้อยในสังคม รัฐต่างๆจึงไม่ควรวางเกณฑ์ให้ข้อหาความผิดหรือพยานหลักฐานท่ีปรากฏแล้วมี
น้าหนักชี้ขาดหรือมีอิทธิพลในการพิจารณาเรื่องการขังหรือปล่อยชั่วคราวมากเกินไป ข้อหาความผิดอาจมี
น้าหนักในแง่ท่ีข้อหารุนแรงย่อมมีอัตราโทษสูงข้ึน ซ่ึงอาจเป็นเหตุจูงใจให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยหลบหนี แต่
ข้อพิจารณาเหล่าน้ีต้องไม่กลบความสาคัญของการดูพฤติการณ์เป็นรายกรณี และการพิจารณาข้อหาความผิด
ต้องมิใช่การไต่สวนย่อมๆเพื่อค้นหาความผิดหรือความบริสุทธ์ิของผู้ต้องหาหรือจาเลย โดยความรุนแรงของ
ขอ้ หาควรเป็นเพียงปัจจัยหนงึ่ ซ่ึงอาจได้รับการหนุนเสริมหรือโต้แย้งโดยปัจจัยอ่ืนๆ ก็ได้ ผู้กาหนดนโยบายควร
เลี่ยงการบัญญัติกฎหมายให้ข้อหาความผิดเป็นปัจจัยเดียวหรือปัจจัยที่มีน้าหนักมากที่สุดในการพิจารณาการ
ขงั หรอื ปลอ่ ยชว่ั คราว

นอกจากนี้ แม้ว่าอาจมีการใช้เคร่ืองมือประเมินความเสี่ยงในการคัดกรองเบื้องต้น แต่เคร่ืองมือ
ดังกล่าวก็ไม่ควรแทนที่การพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบ โดยแม้ในกรณีท่ีมีการประเมินความเส่ียงแล้วพบว่า
ผู้ต้องหาหรือจาเลยมีความเส่ียงในการกระทาความผิดหลังปล่อยสูง ผู้พิพากษาก็ยังควรพิจารณาสภาพและ
ความรุนแรงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนควรอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยโต้แย้งการประเมินความ
เส่ียงโดยให้สทิ ธินาเสนอพยานหลกั ฐานในการไต่สวน พรอ้ มดว้ ยสทิ ธิที่จะมที นายความคอยชว่ ยเหลือ

ผ้กู าหนดนโยบายและผสู้ นบั สนนุ มาตรการขงั เพอื่ ป้องกันอันตรายไว้กอ่ นควรใชค้ วามระมัดระวงั ในการ
กาหนดขอบเขตประเภทคดีหรอื พฤตกิ ารณ์ทีศ่ าลอาจใช้อานาจดงั กล่าวได้

๔๗

------------------------- ๔ -------------------------
ก้าวไปข้างหน้า

คว้าโอกาสจากความตน่ื ตวั ในการปฏริ ูป

ระบบการปล่อยชั่วคราวของประเทศนก้ี าลังถูกตรวจสอบทบทวนอย่างเข้มข้น และอาจเป็นจุดเริ่มต้น
ของการเปลี่ยนแปลงคร้ังสาคัญ การเรียกเงินประกันตัวซ่ึงเป็นแนวปฏิบัติที่ทากันท่ัวทุกที่โดยไม่มีความ
เปล่ียนแปลงนานนับทศวรรษ บัดน้ีกาลังตกเป็นเปูาของการตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนในวง
กว้าง การฟูองร้องความไม่ชอบด้วยกฎหมายของทางปฏิบัติอันนาไปสู่การขังเพียงเพราะความยากจน
กลายเป็นประเด็นสนใจของสังคม และเปิดทางให้ระบบปล่อยชั่วคราวของศาลต่างๆทั่วประเทศมีการรื้อ
สร้างใหม่ โดยแนวทางการปฏิรูปอันเปี่ยมไปด้วยพลังการสนับสนุนขณะนี้นาเอาการประเมินความเสี่ยงมาใช้
เป็นสาระสาคัญ ซ่ึงแนวทางดังกล่าวก็มีหลายศาลรับไปปรับใช้แล้ว โดยมีศาลอื่นๆติดตามผลอย่างใกล้ชิด
กระแสความต่นื ตัวเช่นน้ีนับเป็นนมิ ิตหมายอนั ดใี นการกระตุ้นให้เกดิ ความก้าวหน้าต่อไป ในขณะเดียวกัน ผู้มี
ส่วนได้เสียทุกฝุายควรร่วมกากับให้กระแสการปฏิรูปคร้ังนี้ยังผลให้เกิดระบบใหม่ที่แก้ปัญหาเร้ือรังของระบบ
เกา่ ไดจ้ รงิ โดยทต่ี ้องไม่สร้างความอยุติธรรมรูปแบบใหม่ข้ึน การสร้างสมดุลเช่นว่าจาต้องอาศัยความใส่ใจและ
รอบคอบจากผู้เก่ียวข้องทุกฝุายในประเด็นทางกฎหมายและนโยบายท่ีได้หยิบยกขึ้นมาในคู่มือนี้ ซ่ึงด้วยข้อ
คานึงดังกล่าวประกอบกับการพิจารณาโอกาสและความจาเป็นในแต่ละท้องถ่ิน ผู้กาหนดนโยบายและ
ผู้สนับสนุนการปฏิรูปจึงพึงแผ้วถางหนทางใหม่ในระบบการขังและปล่อยช่ัวคราว ให้เกิดเป็นระบบที่สามารถ
ผดุงอุดมคติอันสูงส่งที่สุดของระบบกฎหมายของเราได้ และเป็นระบบที่เป็นธรรม สม่าเสมอสอดคล้อง และมี
ประสทิ ธิภาพในทส่ี ุด

๔๘

กติ ตกิ รรมประกาศ

หลุดพ้นจากบ่วงเงิน : ปฐมบทแห่งการปฏิรูปการปล่อยช่ัวคราว จัดทาข้ึนโดยศูนย์ศึกษานโยบายใน
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (CJPP) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยงานส่วนใหญ่ในการค้นคว้าและเรียบเรียง
ข้อมูลเป็นผลงานของนักศึกษากฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วิลเลียม เอฮี (William Ahee), มิเคลา
อัลวาเรซ (Micaela Alvarez), เจฟฮอน ริเวอร์ส (Jevhon Rivers) และเกรซ ซิญญอร์เรลลี (Grace
Signorelli) ผู้ซ่ึงเข้าเรียนในวิชาสัมมนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาปี ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ ร่างต้นฉบับของ
คู่มือน้ีได้รับการตรวจทานโดยผู้อานวยการบริหารของ CJPP แลร์รี ชวาร์ตสทอล (Larry Schwartztol)
ผู้อานวยการร่วมของคณะนิติศาสตร์ ศาสตราจารย์แครอล สไตเกอร์ (Carol Steiker) และศาสตราจารย์
อเล็กซ์ ไวทิง (Alex Whiting) และอาจารย์แอนนา แคสต์เนอร์ (Anna Kastner) CJPP ขอขอบคุณสาหรับ
มุมมองท่ีลุ่มลึกและความคิดเห็นจากเชอริส แฟนโน เบอร์ดีน (Cherise Fanno Burdeen), แบรนดอน บัสกี
(Brandon Buskey), พอล ฮีตัน (Paul Heaton), อเล็ค คาราคัตซานิส (Alec Karakatsanis), แซนดรา เมย์
สนั (Sandra Mayson) และ ทิโมธี อาร์ ชนคั (Timothy R. Schnacke)

๔๙

เชิงอรรถ

๑ โปรดดเู ชงิ อรรถที่ ๓๖, อ้างแลว้ , ระบรุ ายชือ่ คด.ี

๒ โปรดดตู ัวอย่างใน Nick Pinto, The Bail Trap, N.Y Times Magazine, ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๕; Leon Neyfakh, Is Bail
Unconstitutional?, Slate, June 30, 2015, ที่ http://www.slate.com/articles/news_and_
politics/crime/2015/06/is_bail_unconstitutional_our_broken_ system_keeps_the_poor_in_jail_and_lets.html;
Last Week Tonight with John Oliver, Bail (June 7, 2015), ที่ https:// www.youtube.com/watch?v=IS5mwymTIJU.

๓ โปรดดูตัวอยา่ งใน Ram Subramanian et al., Vera Inst. of Justice, Incarceration’s Front Door: The Misuse of Jails in
America, ๒๙ กรกฎาคม ๒๐๑๕, ที่ https://storage.googleapis.com/ vera-web-
assets/downloads/Publications/incarcerations-front-door-the-misuse-of-jails-in-america/legacy_downloads/
incarcerations-front-door-report_02.pdf; Timothy R. Schnacke, Nat’l Inst. of Corrs., Money as a Criminal Justice
Stakeholder: The Judge’s Decision to Detain or Release a Person Pretrial (กันยายน ๒๐๑๔), ท่ี
http://www.clebp.org/images/2014-11- 05_ final_nic_money_as_a_stakeholder_september_8,_2014_ii.pdf;
Christopher T. Lowenkamp et al., Laura & John Arnold Found., The Hidden Cost of Pretrial Detention (พฤศจิกายน
๒๐๑๓), ท่ี
http://www.pretrial.org/download/research/The%20Hidden%20Costs%20of%20Pretrial%20Detention%20 -
%20LJAF%202013. pdf; Michael R. Jones, Pretrial Justice Inst., Unsecured Bonds: The Most Effective and Most
Efficient Pretrial Release Option (ตลุ าคม ๒๐๑๓), ที่
http://www.pretrial.org/download/research/Unsecured%20Bonds,%20The%20As%20Effective%20and%20Most
%20Efficient%20Pretrial%20Release%20Option%20 -%20Jones%202013.pdf.

๔ โปรดดตู ัวอย่างใน Carl Hulse, Unlikely Cause Unites the Left and the Right: Justice Reform, N.Y. Times, ๑๘ กุมภาพันธ์
๒๐๑๕.

๕ โปรดดู Amer. Bar Ass’n, ABA Standards for Criminal Justice: Pretrial Release, Standard 10-1.4(a) (3d ed. 2007) (“พึง
กาหนดเงอ่ื นไขการปลอ่ ยชว่ั คราวเฉพาะเมอื่ ข้อเท็จจริงในกรณีน้ันๆแสดงให้เห็นความจาเป็นเพ่ือทาให้ผู้ต้องหาหรือจาเลยมาศาล
เพื่อคุ้มครองสังคม ผู้เสียหาย พยาน หรือบุคคลอ่ืน หรือเพื่อธารงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม”).

๖ Timothy R. Schnacke, U.S. Dept. of Justice, Nat’l Inst. of Corrs., Fundamentals of Bail: A Resource Guide for Pretrial
Practitioners and a Framework for American Pretrial Reform 2 (2014), ที่ http://static.nicic.gov/UserShared/2014-
11- 05_final_bail_ fundamentals_september_8,_2014.pdf (รับว่า “ขนึ้ กับแหล่งที่มา เราอาจเห็นนิยามของคาว่า “ประกัน” ว่าเป็น
เงิน เป็นบุคคล หรือเป็นทรัพยท์ ่ีวางเป็นหลักประกัน และเป็นกระบวนการในการปล่อยช่ัวคราว”) ส่วนในค่มู อื นี้ คาวา่ “เงินประกัน” หมายถึง การ
ปล่อยชั่วคราวโดยมปี ระกันและหลกั ประกนั .

๗ Subramanian et al., อา้ งแลว้ , เชิงอรรถที่ ๓, หน้า ๓๒.

๘ Id.
๙ Id.
๑๐ Prison Pol’y Inst., Detaining the Poor 2-3 (2016), ที่ http://www.prisonpolicy.org/reports/DetainingThePoor.pdf.

๑๑ โปรดดู Richard Williams, Bail or Jail: State Legislatures (พฤษภาคม ๒๐๑๒), ที่ http://www.ncsl.org/research/civil-and-
criminal- justice/bail-orjail.aspx.

๑๒ Todd Minton & Zhen Zeng, Bureau of Justice Statistics, Jail Inmates at Midyear 2014 1-3, 8 (2015), ที่ http://www.
bjs.gov/content/pub/pdf/jim14.pdf.


Click to View FlipBook Version