The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วารสารวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ces.dpu, 2020-03-14 11:49:49

CES Journal Vol.5 No.8

วารสารวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ปที ่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 0

วารสารวิทยาลยั ครศุ าสตร์

ปที ่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562)

วิกฤติสภาพวิชาชพี ครูไทย: แกไ้ ขได้ หรือไร้ความหวัง
พิมพศ์ ิริ ดา่ นพษิ ณพุ ันธุ์

ความทา้ ทายของวิชาชีพครูในสังคมไทย

ภาคิน นิมมานนรวงศ์

การพฒั นาวชิ าชีพครสู โู่ ลกของการเปล่ยี นแปลง

อาจรีย์ ธริ าช

หลักสูตรการศกึ ษาไทย 4.0 การบม่ เพาะนวตั กรสรา้ งสรรค์นวตั กรรม นาสอู่ รรถประโยชน์

วีรอร อ่มิ ใจ

การขับเคลื่อนชาติไทย : ก้าวผ่านกบั ดักสูย่ ุคเปล่ียนแปลง ความพร้อมและความดงี าม
ประเทศไทย 4.0

สกล วารินทราพร

The Effectiveness of Images in Accelerating Vocabulary Acquisition and the
Development of Critical and Creative Thinking Skills for Gifted Students

Jane Kanjanaphoomin

ปีท่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ ุนายน 2562) ก

เจา้ ของ
วิทยาลัยครศุ าสตร์
มหาวทิ ยาลยั ธุรกจิ บณั ฑติ ย์
110/1-4 ถนนประชาช่นื
เขตหลักส่ี กรงุ เทพ 10210

คณะท่ปี รกึ ษา
ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑรู ย์ สนิ ลารตั น์
รองศาสตราจารย์ ดร.อทุ ยั บญุ ประเสรฐิ
รองศาสตราจารย์ ดร.กล้า ทองขาว
ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พิณสุดา สริ ธิ รงั ศรี

บรรณาธิการ กองจัดการ
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธนั ยากร ชว่ ยทุกข์เพอื่ น นางสาวนิรดา บรรจงเปลีย่ น

ผูช้ ว่ ยบรรณาธกิ าร ออกแบบรูปเล่ม-จัดหน้า
อาจารย์ ดร.วาสนา วสิ ฤตาภา นายธรรมรตั น์ สบื ประยงค์
กองบรรณาธิการ
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สินธะวา คามดิษฐ์ กาหนดออก
อาจารย์ ดร.พงษภ์ ิญโญ แมน้ โกศล ราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบบั )
อาจารย์ ดร.นักรบ หมี้แสน พิมพ์ท่ี
โรงพมิ พม์ หาวิทยาลัยธรุ กจิ บณั ฑติ ย์

ทศั นะข้อคิดใดๆท่ปี รากฏใน CES journal วารสารวชิ าการวิทยาลยั ครศุ าสตร์
มหาวิทยาลัยธรุ กิจบณั ฑติ ย์ เป็นทศั นะวิจารณ์อิสระ ทางคณะผจู้ ดั ทา

ไม่จาเปน็ ต้องเห็นด้วยกบั ทศั นะขอ้ คดิ เหน็ เหลา่ นนั้ แต่ประการใด ลขิ สิทธบ์ิ ทความเปน็ ของ
ผ้เู ขียนและวารสารและไดร้ บั การสงวนลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย

ปีที่ 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถนุ ายน 2562) ข

รายชื่อผทู้ รงคุณวฒุ กิ ล่นั กรองบทความ (Peer Review)

รองศาสตราจารย์ ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร นกั วชิ าการ
รองศาสตราจารย์ ดร.สนานจติ ร สุคนธทรัพย์ นกั วชิ าการ
รองศาสตราจารย์ ดร.อุทยั บญุ ประเสรฐิ มหาวทิ ยาลยั ธุรกิจบณั ฑิตย์
รองศาสตราจารย์ ดร.กล้า ทองขาว มหาวิทยาลยั ธรุ กจิ บัณฑติ ย์
ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พิณสุดา สิรธิ รงั ศรี มหาวิทยาลยั ธุรกจิ บณั ฑิตย์
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ ลิม้ มหาวทิ ยาลยั ธรุ กจิ บัณฑิตย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปองสนิ วเิ ศษศริ ิ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.นฤนันท์ สรุ ิยมณี มหาวิทยาลยั มหดิ ล
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.นกั รบ ระวังการณ์ มหาวิทยาลยั มหิดล
รองศาสตราจารย์ ดร.พรอ้ มพิไล บวั สวุ รรณ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วสิ ทุ ธิ์ วิจติ รพัชราภรณ์ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.เอือ้ จิต พฒั นจกั ร มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักด์ิ จนิ ดานรุ กั ษ์ มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สนิ ธะวา คามดษิ ฐ์ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม
อาจารย์ ดร.วทิ ยา วรพนั ธ์ มหาวิทยาลยั มหาสารคาม

ปที ่ี 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถนุ ายน 2562) ค

สารบัญ

รายการ หนา้

วัตถุประสงค์ของวารสารวิทยาลยั ครศุ าสตร์ ................................................................................................... ก
รายช่อื ผทู้ รงคณุ วฒุ ิกลนั่ กรองบทความ (Peer Review) ................................................................................. ข
บทบรรณาธิการ .............................................................................................................................................. 1
วิกฤตสิ ภาพวชิ าชพี ครูไทย: แก้ไขได้ หรือไร้ความหวงั ..................................................................................... 2
ความทา้ ทายของวิชาชีพครใู นสงั คมไทย........................................................................................................ 14
การพฒั นาวิชาชีพครูสู่โลกของการเปลี่ยนแปลง ............................................................................................ 28
หลกั สตู รการศกึ ษาไทย 4.0 การบ่มเพาะนวตั กรสร้างสรรค์นวัตกรรม นาส่อู รรถประโยชน์ ........................... 41
การขบั เคลื่อนชาตไิ ทย : กา้ วผ่านกบั ดักสูย่ ุคเปลี่ยนแปลง ความพร้อมและความดีงามประเทศไทย 4.0........ 49
The Effectiveness of Images in Accelerating Vocabulary Acquisition and the Development of
Critical and Creative Thinking Skills for Gifted Students .................................................................. 65

ปีท่ี 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 1

บทบรรณาธกิ าร

วารสารวิทยาลัยครุศาสตร์ (CES Journal) ได้เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านการศึกษา ด้าน
สังคมศาสตร์ หรอื สาขาท่เี กี่ยวข้องกบั การศึกษา โดยในปีที่ 5 ฉบับที่ 8 มกราคม –มิถุนายน พ.ศ. 2562 เราได้
ตีพิมพ์บทความรวมท้ังส้ิน 6 บทความ ประกอบบทความวิจัย 1 บทความและ บทความวิชาการ 5 บทความ
ซง่ึ นาเสนอองคค์ วามร้เู กี่ยวกับ วิกฤตสิ ภาพวชิ าชพี ครไู ทย ความท้าทายของวิชาชีพครู การพฒั นาวชิ าชีพครู
หลักสูตรการศกึ ษาไทย 4.0 และ การขับเคลอ่ื นชาติไทย

กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ส่งบทความเข้ามาเผยแพร่ยังวารสารวิทยาลัยครุศาสตร์
(CES Journal) และขอกราบขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านท่ีให้ความกรุณาพิจารณาประเมินผลงานทาง
วิชาการ และให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงบทความให้มีความสมบูรณ์ และถูกต้องตามหลัก
วชิ าการ

กองบรรณาธิการหวังเปน็ อยา่ งย่งิ ว่าด้วยความรว่ มมือของทกุ ท่านจะช่วยให้วารสารวิทยาลัยครุศาสตร์
(CES Journal) ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานในระดับสากล เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ทาง
การศกึ ษาสสู่ ังคมไทยต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนั ยากร ช่วยทกุ ขเ์ พื่อน
Email : [email protected]
บรรณาธกิ าร

ปที ี่ 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 2

วกิ ฤติสภาพวิชาชพี ครไู ทย: แกไ้ ขได้ หรือไร้ความหวัง

พมิ พ์ศริ ิ ดา่ นพษิ ณุพนั ธุ์*

หากลองสอบถามนักเรียนระดับช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 6 ของประเทศไทยที่อยู่ในกลุ่มผู้มีคะแนนสูงช่วง
10% บนของแต่ละสถานศึกษาถึงอาชีพที่ใฝุฝัน คงมีน้อยคนท่ีจะตอบว่าอนาคตอยากเป็น “ครู” ส่วนใหญ่
นกั เรียนกลุม่ ที่มคี ะแนนสงู มักจะเลอื กคณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือคณะที่เก่ียวข้องกับ
สายสาธารณสุข มีเพียงส่วนน้อยที่สมัครใจอยากเรียนครู และกลุ่มของนักเรียนท่ีมีคะแนนปานกลางถึงน้อย
มักจะเป็นกลุ่มที่เลือกเรียนครู ท้ังท่ีทุกคนตระหนักว่าคุณภาพของครูจะส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน ซึ่งถือ
เป็นผลผลิตทางการศึกษา แต่ทิศทางการผลิตครู หรือกลุ่มของผู้เรียนครู กลับมีทิศทางท่ีสวนทางกัน เรา
ต้องการนักเรยี นที่มีคุณภาพ แต่ในขณะท่ีคะแนนของกลุ่มผู้เลือกเรียนครูกลับเป็นกลุ่มที่ได้คะแนนน้อย นั่นจึง
ปฏเิ สธไม่ได้วา่ เพราะเหตุใดคณุ ภาพของนักเรยี นไทยในภาพรวมจงึ ด้อยลง

ต้องยอมรับว่าวิชาชีพครูแม้เดิมจะอยู่ในกลุ่มอาชีพที่ได้รับการยกย่อง หากแต่ปัจจุบันความน่าเช่ือถือ
ของวิชาชพี ครกู ลบั ได้รับการสัน่ คลอนและตกตา่ ลงจากอดีต ท้ังน้ีอาจเน่ืองมาจากเดิมระบบการผลิตครูไทยน้ัน
ยังคงมโี รงเรียนฝกึ หัดครู ที่ผลติ ครูจานวนไม่มาก และมีอาจารย์ใหญ่เป็นชาวอังกฤษเป็นผู้ควบคุมดูแลโดยตรง
(พ.ศ. 2435) ครูเป็นท่ีนับถือของชาวบ้านท่ัวไป ต่อมาได้มีการขยายขนาดโรงเรียนฝึกหัดครู รวมท้ังยกระดับ
โรงเรียนฝึกหัดครูมาสู่สถาบันวิชาชีพระดับสูง คือวิทยาลัยวิชาการศึกษา และคณะครุศาสตร์ ซึ่งเป็นการ
เปล่ียนแปลงอย่างกา้ วกระโดดภายในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2496-2500) ให้กลายเป็นระบบของอุดมศึกษาและ
วิชาชีพ ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูที่สอนถึงช้ันประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาข้ันสูงก็ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู
การเปล่ียนแปลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและพัฒนาในอาชีพครู แต่หากเม่ือมองในด้านของ
บทบาทหน้าท่ีความรับผิดชอบ คุณภาพ และผลผลิตในแง่ของบุคลากรทางการศึกษานั้น ยังไม่มีใครสามารถ
ระบุได้แน่ชัดว่าการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเช่นน้ีส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษามากน้อย
เพยี งใด หากแตม่ ีการถกกันวา่ การครุศึกษาของไทยเรายงั มีลักษณะวชิ าชีพไมเ่ ตม็ รปู แบบและไม่เต็มท่ีนัก ทั้งใน
ด้านของสมาคมทางวิชาชีพยังไม่เข้มแข็ง และชัดเจนพอ การดาเนินงานหลายคร้ังยังไม่มีทฤษฎีมารองรับ
ชัดเจน มาตรฐานในการรับเข้าสู่อาชีพยังไม่ชัดเจนเท่าท่ีควร รวมท้ังความมุ่งหวังในการรับใช้สังคมยังมีไม่มาก
นัก (ไพฑรู ย,์ 2557) ในอดีตเสยี งสะท้อนของผ้ปู ระกอบวชิ าชีพครู อาจจะยังไม่ได้รับการตีแผ่มากนัก แต่ในโลก
ยุคปัจจุบัน การพฒั นาทางด้านเทคโนโลยีทาให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้สะดวกรวดเร็ว ทาให้เราได้
เข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้นทั้งในเนื้อหาที่เป็นบทความวิชาการ การเสวนาแลกเปล่ียนความคิดเห็นที่
แพรห่ ลายบนอินเตอร์เนต รวมไปถึงโซเชยี ลเน็ตเวริ ค์ อาทิเช่น Facebook Instagram Tweeter กระทู้พันทิป
ที่เป็นที่นิยมในการพูดคุย และแสดงออกทางความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ทาให้มีการตีแผ่ชีวิตครูไทย กันอย่าง

*ครูโรงเรียนกาเนดิ วทิ ย์

ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562) 3

แพร่หลาย ท้ังในเรื่องของภาระงาน การสนับสนุนจากรัฐบาล การคอรัปชั่นในวงการการศึกษา เปรียบเทียบ
วิธีการสอนและค่าตอบแทนครูในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในแง่มุมต่างๆ จึงทาให้ท้ังผู้ที่ประกอบอาชีพครู และ
ผู้คนในวงการอาชีพอ่ืนได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิชาชีพครูมากย่ิงข้ึน จึงทาให้เกิดการวิจารณ์กันในหลากหลาย
แง่มุม และรวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาไทย และหาเหตุผลว่าเพราะเหตุใดผู้เรียนจึงมีคุณภาพ
ด้อยลงโดยดจู ากคะแนนทดสอบระดบั ประเทศ

ในบทความน้ีจะลองวิเคราะห์ประเด็นด้านสภาพวิชาชีพครู และปัญหาท้าทายของวิชาชีพครูใน
ปจั จบุ นั ความแตกต่างในแง่การผลติ ครไู ทยและการผลิตครูในตา่ งประเทศ ทิศทางการเตรียมพร้อมของครูไทย
ต่อการเปล่ียนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลกท่ีจะเกร่ินยาวไปถึงการผลิตนักเรียนซ่ึงเป็นผลลัพธ์
ทางการศึกษา และข้อเสนอในการดาเนินงานของครูและวิชาชีพครูในมุมมองของผู้เขียน โดยจะกล่าวถึง
แนวทางการปฏิรูปครูไทยเพ่ือให้ได้นักเรียนในยุค 4.0 ท่ีมีความสามารถในการแข่งขันกับประชาคมโลกใน
ยุคศตวรรษที่ 21 ว่าจะยังสามารถเกิดข้ึนได้ หรือเราจะต้องพายเรือในอ่างแบบนี้ต่อไปเร่ือยๆ และได้รับ
ข่าวสารว่าคะแนนการศกึ ษาของเดก็ ไทยนัน้ เทยี บอยู่ลาดับท้ายๆ ของอาเซยี นตลอดไป

สภาพวชิ าชพี ครู และปัญหาท้าทายของวิชาชีพครใู นปัจจบุ ัน
“สัดส่วนของครตู ่อเดก็ ไมเ่ พยี งพอ”
“คา่ ตอบแทนสาหรับครตู ่า”
“ครูตอ้ งทางานเอกสารอน่ื ๆ จนทาใหไ้ ม่มีเวลาเพียงพอในการสอนนกั เรยี น” ฯลฯ
ประโยคเหล่าน้ีเรามกั จะได้ยนิ บอ่ ยๆ จากทั้งทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โลกโซเชียล และอ่ืนๆ ท่ีได้
พูดถึงสถานการณ์ของวิชาชีพครูไทยเมื่อคะแนนสอบวัดระดับได้แสดงให้เห็นถึงความตกต่าทางการศึกษาของ
นักเรียนไทยในปัจจุบันท่ีสะท้อนกลับไปถึงวิธีการสอนของ “ครู” จึงเกิดเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารย์กันถึง
สาเหตุที่ครูเตรียมการสอนได้ไม่ดีเท่าท่ีควร จึงเป็นฝุายของครูที่ออกมาเปิดเผยถึงสาเหตุ และชี้แจงความ
เป็นมาเป็นไป ท้ังนี้ สานกั งานสง่ เสรมิ สงั คมแหง่ การเรยี นรแู้ ละคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้สารวจความเห็นของ
ครูสอนดี จานวน 210 คน กลุ่มตัวอย่างกระจายใน 4 ภูมิภาคของประเทศ เพ่ือสอบถามถึงปัจจัยท่ีเป็น
อุปสรรคของการทาหนา้ ทคี่ รูและแนวทางการสง่ เสริมครใู ห้สามารถปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ีได้ดียิ่งขึ้น ผลการสารวจพบ 6
ปัญหาสาคญั ทเี่ ป็นอปุ สรรค ประกอบดว้ ย
1) ภาระหนกั นอกเหนอื จากการสอน 22.93%
2) จานวนครูไม่เพยี งพอ สอนไมต่ รงกบั วฒุ ิ 18.57%
3) ขาดทกั ษะด้านไอซที ี 16.8%
4) ครูรุ่นใหม่ขาดจติ วิญญาณ ขณะที่ครูรนุ่ เกา่ ไมป่ รบั ตวั 16.49%
5) ครูสอนหนัก ส่งผลใหเ้ ด็กเรียนมากขึน้ 14.33%
6) ขาดอสิ ระในการจัดการเรยี นการสอน 10.88
จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าส่วนหน่ึงมาจากปัญหาด้านกาลังคนไม่เพียงพอ เร่ืองของการ
พัฒนาบุคลากร และอีกส่วนเป็นในด้านของโครงสร้างเชิงระบบ (ผู้จัดการรายวัน, 2558) ท้ังน้ีทางสานักงาน

ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 4

คณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ได้มีความพยายามในการสอบบรรจุครูผู้ช่วย โดยเปิด 25
สาขาวิชาใหส้ ามารถสอบครูโดยไม่มีใบวิชาชพี ได้ ดังรูปท่ี 1

โดยจะเห็นได้ว่ากลุ่มสาขาวิชาที่ขาดแคลนเร้ือรังส่วนหน่ึงคือ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ
ภาษาอังกฤษ ท้ังๆ ท่ีในการสอบเข้าเรียนคณะศึกษาศาสตร์แต่ละปี มีผู้สนใจสมัครสอบเป็นจานวนมาก และ
ประเทศไทยก็มีสถาบันท่ีเปิดสอนคณะศึกษาศาสตร์จานวนมาก หากแต่ทาไมการผลิตบุคลากรทางการศึกษา
จงึ ยังไมเ่ พยี งพอ หรือเพียงพอแลว้ แต่ไม่ได้คุณภาพ หรือแนวโน้มของบัณฑิตสายครุศึกษา และศึกษาศาสตร์ ที่
จบแล้วมีความต้องการเป็นครูในสถาบันการศึกษาของรัฐ มีน้อยลง และหันไปเป็นติวเตอร์แทน ด้วยภาระท่ี
นอ้ ยกว่าครูในโรงเรยี น และค่าตอบแทนทีม่ ากกว่า

หากวิเคราะห์ต่ออีกว่าการขาดแคลนครูส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุอะไร ความพยายามในการกระจาย
สถาบันผลติ ครู เพ่ิมความเข้มข้นของหลักสูตรยังถือเป็นความหวังในการยกระดับครูผู้สอน และลดปัญหาด้าน
การขาดแคลนครู รวมทงั้ เคยมกี ารเสนอให้ปรับเกณฑ์ใบอนญุ าตช่ัวคราว เพื่อเอ้ือให้บัณฑิตในทุกสาขาสามารถ
ได้ใบประกอบวิชาชีพครู เพ่ือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูหากแต่การรับรอง และใบวิชาชีพครูนั้นทาได้ยาก
แม้กระท่ังบางสถาบันการศึกษาที่ผลิตครู กลับยังไม่ได้รับการรับรองจากคุรุสภาทาให้แลดูว่าปัญหาการขาด
แคลนครอู าจไม่ใช่ปัญหา

รปู ที่ 1 แสดงภาพรวมของการเปดิ สอบบรรจุครูผ้ชู ว่ ยในปี 2560
ที่มา: มตชิ นออนไลน์ วันที่ 29 มนี าคม 2560 https://www.matichon.co.th/news/511852
ทจี่ ะแกไ้ ขให้ผ่านไดโ้ ดยง่าย หากทางสว่ นกลางยงั ไมส่ ามารถแก้ไขที่ต้นทางได้ เก่ียวกับประเด็นน้ี นาย
มารตุ ครอู าสาทา่ นหน่งึ ไดแ้ สดงความคดิ เห็นไว้อยา่ งนา่ ฟังวา่

ปีท่ี 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 5

“ท้ังๆ ที่เมืองไทยขาดแคลนครู แต่การรับรองและออกใบวิชาชีพครูกลับเป็นสิ่งท่ีทาได้
ยากเยน็ มีครอู าสาบางส่วน และรวมทั้งตัวผมเองด้วยที่ต้องกลายเป็น “ครูเถ่ือน” เพราะไม่มีใบ
ประกอบวิชาชีพครู ท่ีจริงแล้วคาว่าครูย่ิงใหญ่มาก ผมเป็นอีกคนท่ีไม่ได้จบสายครู และไม่มีใบ
ประกอบวิชาชีพครู แต่เป็นครูเพราะใจรัก เพราะเคยฝันว่าอยากจะเป็น ผมละอายใจเวลาท่ีใคร
ต่อใครเรียกว่าผมครู เพราะมนั เป็นคาทมี่ คี วามหมายและการรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง แต่ผมยังไม่มี
คุณสมบัติเพียงพอท่จี ะเรียกว่าครูได้ ไม่อยากรบั คาน้นั ด้วยซ้า แตด่ ้วยสถานนะการทางาน จงึ
ตอ้ งสวมหน้ากาก ใสห่ วั โขน และจิตวญิ ญาณความเปน็ ครูลงไป”

“ปัญหาที่มาทั้งหลายเกิดจากการท่ีระบบราชการครู ที่ต้องให้ครูทาผลงานวิชาการ เพ่ือเล่ือน
ข้ันเงินเดือน ให้ได้ค่านั่น ค่าน่ี เข้ามาในเงินเดือน ทาให้ครูท้ังหลายลืมบทบาท และหน้าท่ีความ
เปน็ ครขู องตนเองไป ครูอาสาฯ หรือครูดอยที่สงั กดั กศน.ไม่ได้เป็นข้าราชการ เป็นเพียงพนักงาน
ของรัฐ ตา่ งก็พยายามที่จะสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู เพราะสวัสดิการต่าง ๆ ดีกว่า ครูดอยที่มี
ใบประกอบวิชาชีพครูส่วนใหญ่ จึงทางานสอนเพื่อรอสอบบรรจุ เป็นข้าราชการครูสังกัด สพฐ,
สพท.หากในความเปน็ จริงแล้วครเู หล่าน้กี ลบั มจี ิตวญิ ญาณความเป็นครมู ากกวา่ ครูที่มี
ใบประกอบวิชาชพี หลายๆคนด้วยซ้า”

ท้ังน้ีจากการสารวจความคิดเห็น เรื่อง “ภาพสะท้อนครูไทยในสายตาศิษย์” ของศูนย์วิจัยกรุงเทพ
โพลล์ มหาวิทยาลยั กรงุ เทพ ไดช้ ี้ใหเ้ ห็นว่า สงิ่ ทีศ่ ิษยเ์ ห็นว่าครูในปัจจุบันควรปรับปรุงแก้ไขมากท่ีสุดอันดับแรก
คือ เร่ืองเทคนิคการสอน จากผลสารวจดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาท่ีทาให้เด็กในปัจจุบันต้องเรียน
เสริมนอกเวลากันอย่างหนักหน่วง การเรียนในระบบเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอแล้วในปัจจุบัน หรือครูผู้สอน
ทาหน้าท่ีได้ไม่ดีพอ คาถามต่างๆ เหล่านี้ อาจทาให้ต้องมีการทบทวนในเรื่องเทคนิควิธีการสอน และการ
ถา่ ยทอดวิชาความรู้ของครู (ผูจ้ ดั การรายวัน, 2558)

นอกจากจะมองในแง่ของภาระงานแล้ว ก็มักจะมีประเด็นในเรื่องของค่าตอบแทนท่ีไม่สัมพันธ์กับ
ภาระงานเป็นประเด็นท่ีควบคู่ข้ึนมาเสมอ ในสมัยก่อนมีการถกเถียงในเร่ืองของค่าตอบแทนครูค่อนข้างมาก
และต้ังแต่ปี 2547-2552 ได้มีการปรับเพิ่มเงินเดือนครูถึง 5 ครั้ง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรทาง
การศกึ ษา และคาดหวังว่าเมื่อเงินเดือนของครูเพ่ิมมากขึ้น จะส่งผลต่อการเพ่ิมคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น และ
เป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่ท่ีมีศักยภาพสูงยังเห็นคุณค่าของอาชีพครู จากการเป รียบเทียบ
ผลประโยชน์ระหว่างครูและอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว ในปี 2555 ที่ผ่านมาคณะวิจัยทีดีอาร์ไอซ่ึงนาโดย ดร.
สมเกียรติ ต้ังกิจวานิชย์ ยังประเมินว่าเงินเดือนครูข้ึนมาก รายได้ต่อเดือนของครูท่ีมีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี
และสอนในโรงเรยี นรัฐก็เพ่ิมสูงข้นึ จากประมาณ 15,000 บาท ในปี 2544 เป็นประมาณ 24,000-25,000 บาท
ในปี 2553 นอกจากน้ี แนวโน้มเงินเดือนของครูท่ีผ่านมานั้นเพิ่มมากขึ้นถึง 2 เท่า จนปัจจุบันเงินเดือนครูสูง
กว่าเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัย ดังน้ัน หากระบบยังเป็นเช่นนี้อยู่ เงินเดือนครูจะสูงกว่าแทบทุกอาชีพ
นอกจากนค้ี า่ ตอบแทนของครยู ังต้องควบรวมกบั ค่าวทิ ยฐานะอีกด้วย ทาใหเ้ งินเดอื นครไู มไ่ ดต้ า่ แต่อย่างใด

ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 6

เมื่อสถานการณ์ด้านค่าตอบแทนในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเม่ือเทียบกับค่าตอบแทนครูในยุคก่อน และ
เม่ือเทียบเคียงสัดส่วนการดูแลนักเรียนของครู 1 คน จัดอยู่ในสัดส่วนใกล้เคียงมาตรฐานประเทศในกลุ่ม
องค์การเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD โดยท่ีครู 1 คนดูแลนักเรียน 16 คน แต่
ของไทยอยู่ท่ี 1:18 (รูปที่ 2) (อภิชัย, 2558) แต่เมื่อมองถึงผลลัพธ์ทางการศึกษา กลับพบว่า ผลคะแนนการ
ทดสอบมาตรฐานของนกั เรยี นไทยทงั้ ในระดับประเทศและระดับนานาชาติกลับมีแนวโน้มลดต่าลง จึงเป็นท่ีน่า
สงสยั วา่ จริงๆ แล้วประเด็นเรื่องคา่ ตอบแทนเป็นประเดน็ หลกั ที่ถกู ใช้เป็นข้ออา้ งในด้านการจูงใจผู้มีศักยภาพสูง
ให้มาเปน็ ครจู รงิ หรือไม่ ทัง้ นี้จึงมกี ารเสนอให้มีการ

รูปท่ี 2 แสดงสถานการณแ์ ละปัญหาของครไู ทยในปัจจบุ ันในรูปแบบอินโฟกราฟฟกิ
ภาพจาก: http://knowledgefarm.in.th/wp-content/uploads/2016/10/09_teacher-

situation-and-problem-840x473.jpg
กาหนดเปูาหมายคะแนนการทดสอบมาตรฐานของแต่ละโรงเรียน และจัดสรรเงินอุดหนุนจานวน
มากกวา่ ใหแ้ กโ่ รงเรียนในเขตพนื้ ทดี่ ้อยโอกาสเพ่ือลดความเหลื่อมล้าในด้านทรัพยากร และเน่ืองจากในอนาคต
ค่าตอบแทนของอาชีพครู อาจไมใ่ ชส่ าเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่าเราควรทาอย่างไรที่จะดึงดูดคนเก่งๆ ให้อยาก
เป็นครู แต่ควรต้องตั้งคาถามว่า “ระบบการคัดเลือก และพัฒนาครูของไทย ควรมีการปรับปรุงอย่างไร”
เพ่อื ให้เราได้ครูเก่ง ครูดี อย่างท่ีต้ังวัตถุประสงค์ไว้เพื่อให้ผลลัพธ์ของศักยภาพนักเรียนไทยสูงข้ึนสอดคล้องกับ
เงินเดอื นครทู ส่ี งู ข้ึน
ความแตกต่างในแงก่ ารผลติ ครไู ทยและการผลิตครูในตา่ งประเทศ
ในปัจจุบันรูปแบบของการผลิตครูไทยจะใช้การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในสาขาท่ีผู้สมัครสอบต้องการ
โดยคณะศึกษาศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้พัฒนาบัณฑิตตามแต่ละภาคของประเทศไทยท้ังใน

ปที ่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 7

สถาบันผลิตของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี กลุ่มสถาบันพัฒน
ศิลป์ กลุ่มคณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันผลิตภาคเอกชน ซึ่ง
เป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยเอกชน (หอสมุดคุรุสภา, 2556) นอกจากนี้ครูอีกส่วนหน่ึงมาจากผู้ท่ีไม่ได้จบจาก
คณะศึกษาศาสตร์ แต่ต้องการเป็นครูหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ท้ังสองกลุ่มจะต้องผ่านการ
เข้าฝึกอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู และได้รับใบรับรองในการจบหลักสูตร จึงจะสามารถ
ประกอบอาชีพครใู นประเทศไทยได้ ในบางโรงเรียนอาจจะอนุโลมให้สาหรับผู้ที่ยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูให้
ทางานได้ในช่วงแรก มักจะพบในโรงเรียนเอกชน แต่หลังจาก 2 ปี ท่ีประกอบอาชีพครู ก็จาเป็นต้องไปเข้า
เรยี นเพ่ือให้ไดใ้ บประกอบวชิ าชพี ครู โดยสถาบันที่จัดการเรียนการสอนหลกั สูตรประกาศนียบตั รบัณฑิตวิชาชีพ
ครูในปีการศึกษา 2561 ท่ีคุรุสภามีมติให้การรับรองหลักสูตร เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 สาหรับ มีจานวน
35 แห่ง 35 หลกั สตู ร (ตาราง 1) เพอื่ พฒั นาผปู้ ระกอบวิชาชีพทางการศึกษาในสังกัดต่างๆ ที่ยังไม่มีใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยกาหนดเงื่อนไขการเปิดหลักสูตร ดังน้ี 1) การรับนักศึกษา ต้องไม่เกิน
จานวนที่ได้รับอนุญาต และ 2) คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามเง่ือนไขที่แต่ละสถาบันกาหนด
(สานักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2561) แม้ในเชิงหลักการประเทศไทยมีการรับรองหลักสูตรทั้ง 35 หลักสูตร แต่
คงปฏิเสธได้ยากว่าแต่ละสถาบันที่มีหน้าที่ในการฝึกหัดครูยังมีมาตรฐานที่ไม่เท่าเทียมกัน อาจเน่ืองมาจากมี
สถาบันที่ผลิตบณั ฑติ หลายแหล่งทาใหค้ ณุ ภาพบัณฑติ ที่จบการศึกษามานั้น มีคุณภาพท่ีเหลื่อมล้ากันตามความ
ชานาญของผู้สอนของแต่ละสถาบัน ซ่ึงต่างจากประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว เช่นในประเทศฟินแลนด์ ฮ่องกง
หรือสิงคโปร์ ที่ส่วนใหญ่จะมีสถาบันฝึกหัดครูน้อยแห่ง และมีการควบคุมคุณภาพการเรียนการสอนให้มีความ
ใกล้เคียงกันมากท่ีสุด ดังนั้นคุณภาพของครูที่จบจากสถาบันเหล่าน้ีจึงไม่ต่างกันมากนัก ทาให้นักเรียนไม่ต้อง
กงั วลในการเลือกทเี่ รยี น หรอื กระจกุ ตัวกนั มาเรยี นเฉพาะในเมอื งใหญๆ่ อย่างเช่นที่ประเทศไทยได้ประสบอยู่

และนอกจากท่ีเราจะพูดถึงคุณภาพของสถาบันทางการศึกษาที่ควรมีการควบคุมคุณภาพให้ใกล้เคียง
กัน ต้นทุนท่ีจะรับเข้าสู่ระบบก็เป็นสิ่งสาคัญ ณ ท่ีน้ีพูดถึง ความรู้ความสามารถของผู้สมัครเข้าเรียนครู โดย
ประเทศในกลุ่มท่ีเป็นผู้นาทางการศึกษา เช่น ฟินแลนด์ ที่กลุ่มผู้มีผลสัมฤทธ์ิทางการศึกษาดีที่สุดเพียง 10%
บนเทา่ นั้น ทจ่ี ะสามารถสมัครเข้าเรียนคณะศึกษาศาสตร์ และมีเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ท่ีจะผ่านเข้ารับการฝึกฝน
และได้รับใบประกอบวิชาชีพครูได้ (OECD, 2013) ส่วนสิงคโปร์ จะคัดเลือกครูจากกลุ่มผู้มีผลสัมฤทธ์ิทาง
การศึกษาดีที่สุดประมาณ 20-30% (การศึกษาสิงคโปร์ ปั้นคนสู่ศตวรรษที่ 21, 2560) (ตารางท่ี 2) จึงไม่น่า
แปลกใจทีป่ ระเทศเหลา่ น้ีสามารถผลติ นักเรียนทม่ี ีคุณภาพสงู เป็นกาลงั สาคญั ในการพัฒนาประเทศ เพราะพวก
เขามุ่งเน้นคุณภาพของครูมาก่อนสิ่งอื่นใด หากเม่ือมามองกลุ่มของผู้สมัครเข้าเรียนครูของประเทศไทยช่างทา
ใหเ้ หน็ ความแตกต่างอยา่ งชดั เจนกับทศิ ทางของกล่มุ ประเทศท่ีกลา่ วมาเบือ้ งตน้

ปที ี่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 8

ตาราง 1 รายช่อื 35 สถาบนั ท่ีไดร้ บั การรับรองหลักสูตรประกาศนียบตั รวชิ าชีพครแู ละจานวนการรบั นกั ศึกษา
ของ แต่ละสถาบนั ประจาปี 2561

รายช่อื สถาบันที่ไดร้ บั การรบั รองหลกั สูตรประกาศนยี บัตรวชิ าชพี ครู ประจาปี 2561

1. มหาวทิ ยาลัยทกั ษิณ วิทยาเขต 12. มหาวทิ ยาลัยราชภัฏ 26. มหาวทิ ยาลยั การจดั การ

สงขลา (90 คน) นครราชสีมา (180 คน) และเทคโนโลยอี ีสเทิร์น (120

2. มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคล 13. มหาวิทยาลยั ราชภัฏ คน)

ธญั บุรี (180 คน) นครสวรรค์ (180 คน) 27. มหาวิทยาลยั ธุรกิจ

3. มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคล 14. มหาวทิ ยาลัยราชภัฏบุรีรมั ย์ (180 บณั ฑิตย์ (150 คน)

พระนคร (180 คน) คน) 28. มหาวทิ ยาลยั นอร์ทกรุง

4. มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 15. มหาวิทยาลยั ราชภฏั เทพ (120 คน)

สุวรรณภมู ิ ศูนยส์ ุพรรณบรุ ี (60 คน) พระนครศรีอยุธยา (120 คน) 29. มหาวิทยาลยั ฟาฏอนี (120

5. มหาวทิ ยาลยั นราธิวาสราช 16. มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั คน)

นครินทร์ (60 คน) มหาสารคาม (180 คน) 30. มหาวทิ ยาลัยภาค

6. มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราช 17. มหาวิทยาลยั ราชภฏั ร้อยเอด็ (180 ตะวันออกเฉยี งเหนอื (180

วทิ ยาลยั (180 คน) คน) คน)

7. มหาวทิ ยาลยั สงขลานครินทร์ 18. มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏราช 31. มหาวิทยาลยั

วิทยาเขตปัตตานี (180 คน) นครนิ ทร์ (150 คน) หาดใหญ่ (180 คน)

8. 19. มหาวิทยาลัยราชภฏั ลาปาง 32. วิทยาลยั เชยี งราย (180

มหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช (180 (180 คน) คน)

คน) 20. มหาวิทยาลยั ราชภัฏวไลย 33. วทิ ยาลัยเทคโนโลยี

9. มหาวทิ ยาลัยราชภัฏชัยภมู ิ (180 อลงกรณ์ฯ (180 คน) ภาคใต้ (120 คน)

คน) 21. มหาวิทยาลยั ราชภัฏสงขลา 34. วทิ ยาลยั บัณฑติ

10. มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั (180 คน) เอเซยี (180 คน) และ

เชียงใหม่ (180 คน) 22. มหาวิทยาลยั ราชภัฏสวนสนุ นั ทา 35. วิทยาลัยสนั ตพล

11. มหาวิทยาลยั ราชภัฏเทพ (90 คน) (180 คน)

สตรี (180 คน) 23. มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสุรนิ ทร์

(180 คน)

24. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อบุ ลราชธานี (180 คน)

25. มหาวทิ ยาลัยเจ้าพระยา (60 คน)

ปีท่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562) 9

ตารางท่ี 2 เปรียบเทียบรูปแบบการผลิตครูของประเทศในกลุ่มท่ีมีผลการประเมิน (PISA) สูง เปรียบเทียบกับ
กลมุ่ ทีม่ ีผลการประเมินตา่

ทม่ี า:
https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/industries/social%20sector/our%20insights/how%20the%2
0worlds%20best%20performing%20school%20systems%20come%20out%20on%20top/how_the_world_s
_best-performing_school_systems_come_out_on_top.ashx

ต้องยอมรับว่าค่านิยมของนักเรียนไทยผู้มีความสามารถสูงมักจะไม่ใช่กลุ่มที่จะเลือกเรียนคณะ
ศึกษาศาสตร์ หากแต่จะมุ่งไปในทางคณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ และนักเรียนที่เลือก
เรยี นคณะศึกษาศาสตรม์ กั เปน็ กล่มุ ท่ีรองลงมา และค่อนไปทางกลุ่มล่าง เม่ือต้นทนุ ที่วงการการศึกษาไทยได้รับ
สวนทางกับผลลัพธ์ท่ีเราคาดหวัง ว่าต้องการครูท่ีมีความสามารถสูง ก็ดูเหมือนจะสวนทางกับความเป็นไปได้
ค่อนข้างสูง แม้เงินค่าตอบแทนของอาชีพครูได้ปรับสูงข้ึนกว่าแต่ก่อน หากแต่เม่ือเทียบมุมมองของคนท่ีมอง
อาชีพครูเทียบกับอาชีพแพทย์ หรือวิศวะ ก็ไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มผู้มีความสามารถสูงจะเทไปทาอาชีพในกลุ่ม
เหล่านัน้ มากกวา่ อาชีพครู จากค่าสถติ ิพื้นฐานของคะแนนการสอบ PAT5 หรือวิชาวัดความถนัดทางวิชาชีพครู
ในช่วงปี 2557-2560 ท่ีผ่านมา จะเห็นว่าแนวโน้มผู้สมัครเข้าเรียนคณะในกลุ่มศึกษาศาสตร์ลดลง เมื่อเทียบ
สัดส่วนกับจานวนผู้สมัครสอบทั้งหมด และเม่ือดูในส่วนของคะแนน PAT5 ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก (ตาราง
1) นอกจากน้เี ม่ือดูคะแนนสงู สุดตา่ สุดของผู้สอบเข้าคณะศึกษาศาสตร์ ก็ยังคงไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่สูงมาก หากแต่
จากจานวนท้งั หมดน้ัน กลุ่มผ้มู คี ะแนนสูงมกั จะกระจุกตวั เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยท่ีมีชื่อเสียงเป็นอันดับต้นๆ
ของไทย แต่ส่วนท่ีได้คะแนนน้อยจะกระจายอยู่ตามมหาวิทยาลัยในกลุ่มราชภัฏ รวมท้ังเอกชน และหาก

ปที ่ี 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 10

เหตุการณ์เช่นน้ยี ังเกดิ ข้นึ เรื่อยๆ สดั สว่ นของผ้เู รยี นในกลุ่มราชภัฏนั้นก็จะมีมากกว่ากลุ่มมหาวิทยาลัยใหญ่และ
มีช่ือเสียง นั่นหมายถึงครูท่ีได้รับการผลิตออกมาเป็นส่วนมากก็จะเป็นกลุ่มท่ีได้รับการพัฒนามาจากกลุ่มที่มี
คะแนนน้อย เราก็อาจจะยังวนอยู่เช่นเดิมเนื่องจากว่าต้นทุนของผู้เรียน ทั้งน้ีความน่าเชื่อถือของสถาบันผลิต
บัณฑิตน้ันแตกต่างกันมากเกินไป แล้วเราจะแก้ไขปัญหาน้ีได้อย่างไรท่ีจะทาให้อาชีพครู ได้รับการพัฒนาให้ดี
ขน้ึ กว่าเดิม

ตาราง 1 ค่าสถิติพ้ืนฐานของคะแนนการสอบ PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู ต้ังแต่ปี 2557-2560
(คะแนนเต็ม 300 คะแนน)

ครั้งท่ี ผสู้ มคั รสอบ ผู้เขา้ สอบ คะแนนเฉล่ยี สว่ นเบยี่ งเบน คะแนนต่าสุด คะแนนสูงสดุ
ทงั้ หมด PAT5 (N) (Mean) มาตรฐาน (Min) (Max)
1/2557 (S.D.)
2/2557 335,960 112,562 157.01 20.00 262.50
1/2558 114,279 30,510 182.02 30.43 37.50 267.50
2/2558 335,950 170,022 140.56 30.31 12.50 252.50
1/2559 184,092 54,857 154.96 30.59 27.50 257.50
2/2559 345,056 175,183 107.01 32.82 22.50 247.50
1/2560 ไมร่ ะบุ 43,955 146.45 25.23 0.00 250.00
2/2560 310,160 154,915 116.63 30.63 2.50 247.50
ไมร่ ะบุ 29,104 140.97 28.25 40.00 260.00
32.22

ที่มา: รวบรวมขอ้ มลู จากสถาบนั ทดสอบการศกึ ษาแหง่ ชาติ (สทศ.)

ทิศทางการเตรียมพรอ้ มของครไู ทยต่อการเปล่ยี นแปลงของสงั คมไทยและสังคมโลก

การเตรียมความพร้อมของนักเรียนเพื่อให้มีทักษะเพียงพอในการประกอบอาชีพในยุคศตวรรษท่ี 21
จัดว่าเป็นเรื่องนาสมัยท่ีทุกสถาบันการศึกษาของไทยได้ตื่นตัวมาในระยะหนึ่ง รวมท้ังในแง่ของการศึกษา 4.0
สถานศึกษาจาเป็นตอ้ งสร้างผู้เรียนที่ “มีความชาญฉลาดในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้วยศาสตร์หลายแขนง”
ทาให้เราจาเปน็ ต้อง “พฒั นาเครือ่ งมือและชอ่ งทางในการจดั การเรียนการสอนใหม่ๆ เพ่ือเกื้อหนุนให้ผู้เรียน ใช้
แนวทางการศึกษาแบบพหสุ าขาวิชา (multidisciplinary)” กนั มากขึ้น (Biot, 2017) เมื่อเป็นเช่นน้ี การศึกษา
รูปแบบเดิมที่เน้นการเรียนในห้องเรียน มีผู้สอนเป็นศูนย์กลางของความรู้ และไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้
แกไ้ ขปญั หาและลงมอื ทางานจริงจึงยากท่ีจะผลิตผู้เรียนที่มีทักษะที่จาเป็นต่อโลกยุคปัจจุบัน โดยในศตวรรษที่
21 นกั เรียนควรมี 16 ทกั ษะ ดงั ระบุในรปู ท่ี 3

ปที ี่ 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 11

รูปที่ 3 ทักษะแหง่ ศตวรรษที่ 21
ทีม่ า: World Economic Forum, New Vision for Education: Unlocking the Potential of Technology
(Geneva: WEF, 2015)

เมื่อลองมามองรูปแบบขอ้ สอบของ PISA ซ่ึงเปน็ ขอ้ สอบทีป่ ระเมินทักษะและความรู้ของเด็กวัย 15 ปี
จากนานาชาติ เน้นท่ีการนาทักษะและความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง โดยวัดจากข้อสอบ 3 วิชาหลัก คือ
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน คะแนน PISA เฉล่ียของแต่ละประเทศบ่งช้ีถึงคุณภาพการศึกษาของ
ประเทศน้ัน รูปแบบข้อสอบจะไม่ใช่ในทางความรู้ความจา แต่จะเน้นในการนาไปใช้ และประยุกต์ (ตัวอย่าง
ข้อสอบดังรูปที่ 4)ทาให้ประเทศไทยได้คะแนนค่อนข้างต่าในปีที่ผ่านมา หากการเรียนการสอนยังคงรูปแบบ
เน้นเนอ้ื หา แต่ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้คิด ครูไทยควรกลับมามองตัวเองว่าทาอย่างไรจะพัฒนาตัวเอง และลูก
ศษิ ย์อย่างไรจึงจะทันการเปล่ยี นแปลง

รปู ท่ี 4 ตัวอยา่ งขอ้ สอบ PISA

ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 12

เม่ือเราต้องการนักเรียนยุค 4.0 ผู้สอนก็ควรจะพัฒนาตัวเองให้เป็นครูในยุค 3.9 หาใช่ให้ครูยุค 1.0
มาพัฒนานักเรียนให้เป็นยุค 4.0 ซ่ึงก็คงจะยากเกินไปที่จะผลิตนักเรียนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ที่สามารถตอบ
โจทย์สงั คมในศตวรรษที่ 21 ได้

จากมุมมองของผู้เขียน อาชีพครูก็ยังเป็นอาชีพท่ีเป็นความหวังของการศึกษาไทย หากแต่จะทา
อย่างไรให้คุณภาพครูน้ันสูงขึ้น และมีทิศทางไปในทางเดียวกันในทุกสถาบันที่มีหน้าท่ีผลิตบัณฑิตเพ่ือให้
ออกมาเป็นบุคลากรทางการศึกษา แน่นอนว่าทัศนคติของสังคมโดยรวมนั้นมีผลอย่างยิ่งต่อนักเรียนในการ
เลือกคณะในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หากแต่เราจาเป็นต้องตั้งหลักเกณฑ์ให้แน่ชัดว่าเราจะพัฒนาคน
ของประเทศเราไปในทิศทางใด และในอนาคตเม่ือโลกเปิดหากันมากข้ึนผู้ที่มีทักษะสูงเท่านั้นท่ีจะได้งานท่ีดี
ดังน้ันหากการผลิตครูยังไม่ได้คุณภาพ ผลลัพธ์คือลูกศิษย์ก็คุณภาพต่าลงเร่ือยๆ ก็คงจะได้แต่ภาวนา ว่ารุ่นลูก
รุ่นหลานของเราจะมีช่องว่างส่วนใดให้ได้รับโอกาสกลายเป็นประชากรที่มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น จาก
ค่าตอบแทนทสี่ มเหตุสมผลกบั ความสามารถ หรือต้องเปน็ พลเมืองกลุม่ รองๆ ถึงกลุ่มลา่ ง ในประเทศของตัวเอง
ตอ่ ไป จะเปน็ ไปไดห้ รอื ไมท่ ่เี ราจะเปลยี่ นแนวคดิ ของคนรนุ่ ใหมท่ ม่ี ีศกั ยภาพสูงใหม้ าเป็นครู แต่ท้ังน้ีตัวระบบเอง
ก็ควรจะต้องพฒั นาเพอื่ รองรับคนเก่ง ไมใ่ ชย่ ังคงระบบอาวโุ สอย่างเหนียวแน่นเช่นปัจจุบัน ให้สิทธิและเสียงคน
รุ่นใหม่เข้ามาพัฒนากาลังคนรุน่ ใหม่บา้ ง จากท่ีไดเ้ ข้าร่วมอบรมพร้อมกับเพ่ือนครูจากหลากหลายพื้นที่ ต่างพูด
เป็นเสยี งเดยี วกนั วา่ พวกเราอยากเปล่ียน แตค่ รูรนุ่ เก่าทม่ี อี านาจในสายงานไม่ยอมใหเ้ ปลยี่ นแปลง จึงเป็นเรื่อง
ยากท่ีจะทาอะไรให้เปล่ียนแปลงได้ ดังน้ันคาถามจากผู้เขียนคือ “เราต้องรออีกนานแค่ไหน หรือต้องรอให้คน
เกง่ มีความสามารถ มจี ติ วญิ ญาณความเปน็ ครู และพร้อมท่จี ะเปลย่ี นแปลง ถูกกลืนไปกับสังคมและวัฒนธรรม
เก่าๆ จนพวกเขาหมดไฟ หรอื ตอ้ งออกจากระบบไป และสุดท้ายทุกอย่างก็วนเวียนอยู่ในกรอบเดิมๆ แบบนี้ไป
เรอื่ ยๆ”
เอกสารอา้ งองิ
Biot, J. (2017, May 27). We must prepare our students for the fourth industrial revolution.
Retrieved from Times Higher Education:
https://www.timeshighereducation.com/blog/jacques-biot-we-must-prepare-our-students-
fourth-industrial-revolution#survey

OECD. (2013). Education Policy Outlook: Finland . Paris: OECD publishing.

ไพฑูรย์, สินลารัตน.์ (2557). เพือ่ ความเปน็ ผู้นาของการครศุ ึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์แหง่ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

การศึกษาสิงคโปร์ ปั้นคนสูศ่ ตวรรษท่ี 21. (2560, เมษายน 7). Retrieved from Opinion:
http://forum21st.co/index.php/2017/04/07/7april2017

ผูจ้ ัดการรายวัน. (2558, สงิ หาคม 3). ปญั หาครไู ทย เม่ือไหร่จะสะสาง. Retrieved from ผจู้ ัดการออนไลน:์
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000087601

ปที ี่ 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 13

สานักงานเลขาธิการครุ สุ ภา. (2561, พฤษภาคม 1). Retrieved from
http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=92&did=1428&tid=

หอสมุดคุรุสภา. (2556). Retrieved from คณะครุศาสตร์ / ศกึ ษาศาสตร์ในประเทศไทย:
http://news.ksp.or.th/ksplibrary/index.php/aboutme/9-aboutme/85-education-factory

อภิชัย, พ. (2558). “การสังเคราะหง์ านวิจยั ว่าดว้ ยปญั หาและขอ้ เสนอแนะในกระบวนการจดั การศกึ ษาไทย:
ประเดน็ ปัญหาคณุ ภาพการศึกษา (2535-2558).

ปีท่ี 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 14

ความท้าทายของวิชาชีพครูในสังคมไทย

ภาคิน นมิ มานนรวงศ์*

หลายทศวรรษท่ผี า่ นมา กระแสการปฏริ ปู ระบบการศกึ ษาในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก องค์ความรู้
เรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขยายสู่การติดตาม แลกเปล่ียน และศึกษาแนวทางการเรียนการสอน การ
ออกแบบหลกั สูตร รวมถงึ การวัดประเมนิ ผลของประเทศอนื่ ๆ อยา่ งแขง็ ขนั แรงผลักดันดังกล่าวมีสาเหตุสาคัญ
มาจากสภาพสงั คมและเศรษฐกิจทเี่ ปลยี่ นแปลงไปอยา่ งมากอันเป็นผลจากความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี จนทาใหบ้ างคนเชอื่ วา่ เรากาลังเข้าส่ยู คุ ของการปฏวิ ตั ิทจี่ ะเปล่ียนแปลงรากฐานทางสังคม การเมือง
และเศรษฐกจิ ของโลกไปอยา่ งรวดเรว็ และหยั่งรากลกึ ย่ิง (ชวาบ, 2561)

เคน โรบินสัน นกั การศกึ ษาช่อื ดงั ชาวอังกฤษตงั้ ขอ้ สงั เกตว่า การศึกษากลายเป็นประเด็นทางการเมือง
ในระดับโลกในปัจจุบันด้วยเหตุปัจจัยอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ หน่ึง เหตุผลทางเศรษฐกิจ เพราะเราเชื่อว่า
การศึกษาส่งผลต่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ สอง เหตุผลทางวัฒนธรรม เพราะการศึกษาเป็นวิถีทางสาคัญใน
การถ่ายทอดและเรียนรู้ถึงความสาคัญและความแตกต่างหลากหลายในแต่ละชุมชน สาม เหตุผลทางสังคม
เพราะการศึกษามีส่วนสร้างพลเมืองที่มีความตื่นตัวทางสังคมและช่วยสร้างทัศนคติหรือค่านิยมที่รัฐเห็นว่า
จาเป็นตอ่ การสรา้ งเสถียรภาพทางสงั คม และส่ี เหตุผลระดับปัจเจกบุคคล เพราะการศึกษาน้ันดูจะมีเปูาหมาย
อยูท่ กี่ ารพฒั นาคนให้บรรลศุ กั ยภาพสูงสุดของตัวเองและอาจช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเราแต่ละคนได้ (โร
บินสันและอโรนิกา, 2559, 50-51) ด้วยเหตุนี้ การศึกษาจึงสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับมิติต่างๆ ในชีวิตมนุษย์
เมอื่ สังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยน จึงไมแ่ ปลกทีก่ ารศกึ ษาจะถกู คาดหวังให้เปลี่ยนตาม

ประเทศไทยตระหนักถึงความสาคัญของการปฏิรูปการศึกษามาอย่างต่อเน่ืองดังเห็นได้จาก
งบประมาณท่ีจัดสรรให้กับกระทรวงศึกษาธิการเพ่ิมขึ้นจาก 3 แสนล้านบาทในปี 2551 มาเป็น 5 แสนล้าน
บาทในปี 2561 ทาให้กระทรวงศึกษาธิการกลายเป็นหน่วยงานรัฐที่ได้รับงบประมาณมากท่ีสุดในปัจจุบัน คิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ของงบประมาณทั้งหมด (ThaiPublica, 2560) ขณะเดียวกัน ในแผนการศึกษา
แหง่ ชาตฉิ บับล่าสดุ (พ.ศ. 2560-2579) สานกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการยังช้ีให้เห็นถึง
ความจาเป็นท่ีประเทศไทยจะต้องปฏิรูปการศึกษาอย่างเร่งด่วน เพ่ือให้สอดคล้องกับความท้าทายใหม่ๆ ใน
ระดับภูมิภาคและระดับโลก อาทิ การปฏิวัติดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 การเป็นประชาคม
อาเซียน การเข้าสู่สังคมสูงวัย การติดกับดักรายได้ปานกลาง เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ทาให้ประเทศไทยกาหนด
ยุทธศาสตร์ใหม่ในการปฏิรปู การศึกษา 6 ประการ หน่ึงในนั้นคือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซ่ึงมีหัวใจอยู่ที่
การยกระดับระบบการผลิตครูและพัฒนาสมรรถนะของครูให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล (สานักงาน
เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา, 2560) เพราะเม่ือตอ้ งการใหก้ ารศึกษาเปลี่ยนแปลง คนกลุ่มแรกๆ ท่ีต้องเปลี่ยนก่อน
คอื ครู ดงั นัน้ การเปล่ยี นทางสังคมและเศรษฐกจิ จึงกระทบต่อบทบาทและวชิ าชีพครอู ย่างหลีกเลยี่ งไมไ่ ด้

*ครูโรงเรยี นกาเนดิ วิทย์

ปที ่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562) 15

ที่ผ่านมา มีการเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ และกาหนดมาตรฐานทางการศึกษาใหม่ๆ
ด้วยคาดหวงั ว่าเราจะไดค้ รูทีม่ ที ักษะสอดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการในศตวรรษปัจจุบันและส่งเสริมให้สังคมก้าวไป
ข้างหน้าและสามารถแข่งขนั กับนานาชาติได้ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และสมพงศ์ วิทยศักด์ิพันธ์ุ, 2559) ครูเริ่มถูก
เรยี กรอ้ งใหล้ ดบทบาทของความเป็นผู้สอนทีค่ รอบครองและถ่ายทอดความรู้อยู่ถ่ายเดียว และเพิ่มบทบาทของ
การเป็นผู้ร่วมเรียนรู้และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดอย่างสร้างสรรค์ ทางานร่วมกับผู้อ่ืน เรียนรู้วิธีการในการ
แสวงหาคาตอบท่ีหลากหลาย และลงมือปฏิบัติจริง ขณะเดียวกัน หน้าตาของห้องเรียนท่ีเปล่ียนไปอัน
เน่ืองมาจากบทบาทของเทคโนโลยี ทาให้ครูถูกคาดหวังให้มีความทันสมัย ติดตามความก้าวหน้าของโลก มี
ทกั ษะทางดิจทิ ลั และสามารถใชป้ ระโยชน์จากโลกดจิ ทิ ลั เพอ่ื เปน็ สว่ นหนง่ึ ในการจดั ประสบการณ์การเรียนรู้อีก
ด้วย (BECTA, 2010) (ดูภาพที่ 1)

อยา่ งไรก็ตาม ท่ามกลางกระแสของการปฏิรปู การศึกษาและการพลิกผนั ทางสังคมและเศรษฐกิจแบบ
ดิจิทัล วิชาชีพครูไทยกาลังเผชิญกับความท้าทายท่ีเก่ียวเนื่องกันอย่างน้อย 4 ประการซึ่งอาจกระทบต่อการ
สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ความท้าทายเหล่าน้ัน ได้แก่ หนึ่ง ความท้าทายในแง่โครงสร้างของวิชาชีพครู สอง
ความท้าทายจากเทคโนโลยีดิจิทัล สาม ความท้าทายของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และส่ี ความท้าทายในแง่
ความ(ไม่)เป็นการเมืองของการศึกษา แม้กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาท่ีมีอยู่ในปัจจุบันอาจรับมือกับ
ความท้าทายบางประการได้ แต่ยงั มีความท้าทายบางประการท่ียากจะเปลี่ยนแปลง หากตัววิชาครุศาสตร์และ
ผู้เก่ียวข้องกับวิชาชีพครูยังมองไม่เห็นความจาเป็นในการเช่ือมโยงเน้ือหาสาระเก่ียวกับวิชาชีพครูเข้ากับ
ประเด็นสังคม การเมือง และเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น และสนับสนุนให้บุคลากรครูมีความรู้เชิงลึกเก่ียวกับ
ประเด็นอื่นๆ นอกเหนอื สาขาวชิ าของตัวเอง

หนึ่ง: ความท้าทายในแงโ่ ครงสร้างวิชาชพี ครู

ความท้าทายสาคัญต่อการพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้เท่าทันความต้องการของโลกยุคใหม่มีที่มา
จากโครงสรา้ งวิชาชพี ครูเองทั้งในระดับของการเรียนการสอนและการทางาน ในแง่การเรียนการสอน รายงาน
ของ OECD และ UNESCO เร่ือง Education in Thailand ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยผลิตครูท่ัวๆ ไปได้เกิน
ความต้องการ แต่กลับขาดแคลนครูในบางสาขา ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ
ภาษาไทย ศิลปะ และสังคมศกึ ษา รวมทง้ั ยังมคี วามขาดแคลนครูในโรงเรียนระดบั เล็กในต่างจังหวัด ข้อมูลในปี
2556-7 แสดงให้เห็นว่าไทยขาดแคลนกาลังครูด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รวมกันถึง 12,000 คน ครู
ภาษาต่างประเทศและภาษาไทยอีกอย่างละราว 5,000 คน ท้ังที่มีบุคลากรครูในระบบกว่า 700,000 คน
(OECD and UNESCO, 2016, 191-228)

ปีท่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562) 16

ตารางที่ 1 จานวนครทู ่ขี าดแคลนในปกี ารศึกษา 2556-2557 จาแนกตามรายวชิ า

วชิ า จานวนครู (คน)
คณิตศาสตร์ 6,173
วิทยาศาสตร์ 6,031
ภาษาต่างประเทศ 5,809
ภาษาไทย 4,764
4,493
ศลิ ปะ 3,420
อาชีวะและเทคโนโลยี 3,105
สังคมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม

ทม่ี า OECD and UNESCO (2016, 228)

สิ่งน้ีสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างร่วมกัน 2-3 ประการ หน่ึงคือปริมาณครูท่ีมากเกินไปใน
สถาบันการศึกษาหลายแห่งส่งผลให้นักศึกษาครูมีจานวนมากเกินกว่าทรัพยากรที่ต้องใช้ในการพัฒนาครูให้มี
คณุ ภาพทงั้ ในแงว่ ิชาการและทกั ษะการสอน ทาให้โอกาสที่จะสร้างครูท่ีสอนดี มีคุณภาพอย่างต้ังใจไว้เป็นไปได้
ยากขึน้ สอง ปรมิ าณครทู เี่ กนิ ความต้องการยังสะท้อนว่าระบบผลิตครูกับการบรรจุครูยังไม่สัมพันธ์กัน อันเป็น
ปญั หาเร้ือรังมาหลายสบิ ปี มกี ารประเมนิ วา่ อตั ราการผลิตครใู นปจั จุบนั จะทาให้ภายในปี 2570 ไทยจะมีครูเกิน
ความต้องการราว 4.5 แสนคน (กุณฑิกา พัชรชานนท์ และบัลลังก์ โรหิตเสถียร, 2556) สาม ในทางกลับกัน
การขาดแคลนครูเฉพาะทางและครูในโรงเรียนขนาดเล็กในพ้ืนที่ห่างไกลเป็นต้นตอสาคัญของความเหลื่อมล้า
ทางการศึกษา เน่ืองจากบางโรงเรียนต้องให้ครูที่ไม่มีความเชี่ยวชาญมาสอนในสาระวิชาที่ขาดแคลน ทาให้
ผู้เรียนไม่ได้ความรู้อย่างเต็มท่ีและยากท่ีจะทาให้การเรียนการสอนมีลักษณะ ‘เชิงรุกที่มีความหมาย’ คือไม่ใช่
เพียงการจดั การเรียนรูผ้ ่านกจิ กรรมหรือการเลน่ เกมเพ่ือความสนุกสนาน แต่เปน็ การจัดการเรยี นรู้ที่มีเปูาหมาย
ในแง่เน้ือหาท่ีชัดเจน ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์วิพากษ์ ให้นักเรียนได้มีโอกาสแก้ไขโจทย์หรือปัญหาท่ีเช่ือมโยง
กับสงั คมและไดร้ ับการออกแบบไวเ้ ป็นอยา่ งดี

หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยพยายามดึงดูดคนเข้าสู่วิชาชีพครูมากขึ้นผ่านการเพ่ิมฐานเงินเดือนและ
สร้างระบบวทิ ยฐานะให้กับครู ซ่ึงก็ประสบความสาเร็จพอสมควรหากพิจารณาจากจานวนผู้เลือกเข้าศึกษาต่อ
ในคณะครศุ าสตร์/ศึกษาศาสตร์ท่ีเพิ่มข้ึนทุกปี (ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์, 2558) ทว่าปริมาณไม่ได้การันตีคุณภาพ
เสมอไป ล่าสุด การเปิดรับครูท่ียังไม่มีใบประกอบวิชาชีพ โดยมีเง่ือนไขว่าต้องพัฒนาตนเองจนได้ใบประกอบ
วิชาชีพในช่วงเวลาท่ีกาหนด น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูเฉพาะทางได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม
ส่ิงสาคัญทจี่ าเปน็ ตอ้ งเรง่ ดาเนนิ การ คือ การผลิตครใู นสาขาวชิ าท่ขี าดแคลนอย่างเร่งด่วน โดยอาจจัดโครงการ
พเิ ศษเพอ่ื ดงึ ดูดคนที่ศกั ยภาพให้เข้ามาเป็นครูในสาขาวิชาหรือพ้ืนที่ที่ขาดแคลน พร้อมให้สวัสดิการต่างๆ เป็น
แรงจูงใจ เช่น เรียนฟรีและให้เงินเดือนระหว่างเรียนหรือระหว่างส่งไปฝึกสอน โดยมีข้อผูกมัดว่าต้องทางาน
เป็นครูตามสาขา พื้นที่ และระยะเวลาท่ีกาหนด โมเดลการผลิตครูน้ีใช้อยู่ในประเทศช้ันนาทางการศึกษาบาง
ประเทศ เช่น สงิ คโปร์ (Low and Tan, 2017)

ปีท่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 17

ขณะเดียวกัน สถาบันการศึกษาจาเป็นต้องส่งเสริมให้ครู ไม่ว่าจะจบการศึกษาทางครุศาสตร์/
ศึกษาศาสตรห์ รอื สาขาอ่ืนๆ มโี อกาสเช่ือมโยงเนือ้ หาความรใู้ นวิชาเอกของตนเองเข้ากับวิชาการสอนให้มากขึ้น
แทนท่ีจะสอนเนื้อหาวิชาแยกกับวิธีการสอน ในวงสนทนานอกรอบระหว่างการสัมมนาวิชาการแห่งหนึ่ง ครู
ท่านหน่ึงต้ังข้อสังเกตเร่ืองน้ีไว้อย่างน่าสนใจ เธอกล่าวกับผู้เขียนว่า “น้องไม่ได้จบครุฯ เนอะ เน้ือหาถึงแน่น
พวกพี่เรียนครฯุ มา จะถนดั ว่าจะสอนยังไงให้เด็กสนุกสนาน ใช้วิธีการหลายอย่าง แต่เน้ือหาจะไม่เข้มข้นเท่า”
หากคากล่าวของครูท่านนั้นเป็นจริง และหากเป็นที่ยอมรับกันโดยท่ัวไปด้วยว่าปัญหาของครูที่จบด้านครุ
ศาสตร์มาโดยตรงเป็นเช่นน้ีแล้ว นี้เองคือความท้าทายหลักของการพัฒนาวิชาชีพครูและการศึกษาโดยรวม
เพราะเรามุ่งผลิตครูให้สนใจรูปแบบวิธีการการเรียนการสอน (pedagogy) จนอาจไม่ต้องสนใจเนื้อหาความรู้
ทางวิชาการ (content) ในวชิ าทสี่ อนมากก็ได้ ทง้ั ทีท่ ้ังสองอยา่ งควรไปดว้ ยกันและมคี วามเข้มข้นพอๆ กนั 1

การผสมผสานเนื้อหาทางวิชาการกับวิธีการสอนที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจความรู้เหล่าน้ันเป็นส่ิงจาเป็น
มากในโลกยุคใหม่ท่ีต้องการให้นักเรียนมีบทบาทเชิงรุกในการเรียนรู้และครูเป็นผู้ให้คาแนะนา ซ่ึงหมายความ
ว่าครูต้องเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ท้ังหมดอย่างดีเสียก่อนจึงจะสร้างประสบการณ์ของการเรียนรู้เชิงรุกที่มี
ความหมายให้แก่นักเรียนได้ หากครูไม่แน่นในเน้ือหาเพียงพอก็มีแนวโน้มว่าการเรียนรู้จะมีแต่ ‘เชิงรุก’ แต่ไร้
ความหมาย เพราะไม่มีสิ่งใดจะส่ือสารให้กับนักเรียนได้รู้ นอกจากความสนุกสนานและเน้ือหาตามตาราเรียน
ซง่ึ อาจขาดความวพิ ากษว์ จิ ารณแ์ ละขดั ต่อความคิดสร้างสรรค์

มาตรการข้ันต้นที่ควรส่งเสริมอย่างเร่งด่วนคือการเพ่ิมน้าหนักของกลุ่มวิชาที่เรียกว่า ‘ความรู้และ
ทักษะด้านเนื้อหาวิชาสาหรับการจัดการเรียนรู้’ หรือ ‘ความรู้ในเน้ือหาผนวกวิธีการสอน’ (Pedagogical
Content Knowledge: PCK)’ ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ให้มากข้ึน แทนท่ีจะให้เรียนวิชาเก่ียวกับการ
สอนแยกจากวิชาเชิงเน้ือหาอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มวิชาเหล่าน้ีเป็นประโยชน์มากเน่ืองจากจะช่วยให้ครู
“เข้าใจเนื้อหาจากมุมมองและฐานความรู้ของนักเรียน แปลงเนื้อหาสู่โจทย์และกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียน
เรียนรู้เน้ือหาดังกล่าว และสามารถวิเคราะห์และแก้ไขความเข้าใจผิดในเนื้อหาของนักเรียนได้” งานวิจัยจาก
สถาบนั วิจัยเพอ่ื การพฒั นาประเทศไทย (TDRI) ชใี้ หเ้ หน็ วา่ โครงสร้างหลักสตู รของประเทศไทยยังคงขาดแคลน
กลุ่มวิชาด้านนี้ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศช้ันนาทางการศึกษาท่ีมีสัดส่วนวิชาด้าน PCK ราวร้อยละ
20-40 ของการจัดการเรียนการสอนด้านครุศึกษาท้ังหมด (ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ 2558; และดูเพ่ิมเติมใน
Green 2560)

1 มิตรสหายทา่ นหนึ่งเคยตัง้ ข้อสังเกตว่าปัญหาดังกล่าวเกดิ จากการเรยี นการสอนครศุ าสตรบ์ ้านเราเรม่ิ ต้นจากการคิดถงึ
‘วิธกี ารสอน’ ทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพ และไม่ค่อยให้ความสาคญั นกั กบั ‘วธิ ีการเรียนร’ู้ ของผูเ้ รียน สถานการณ์ทีค่ ลา้ ยคลึงกนั เกิดข้นึ
เช่นกนั ในประเทศสหรัฐอเมรกิ า ในหนังสือ Building a Better Teacher (2014) อลซิ าเบธ กรนี ตง้ั ขอ้ สงั เกตว่า วธิ คี ิดของ
การศกึ ษาแบบอเมรกิ นั ต่างกันแบบญป่ี นุ เพราะในขณะท่ีครใู นอเมรกิ าจะเรมิ่ ต้นจากการอธบิ าย (I) ชวนอภิปรายและ
ยกตวั อยา่ ง (We) และใหน้ ักเรียนลงมอื ทา (You) ครใู นญป่ี ุนเริม่ ต้นจากการคานงึ ถงึ วธิ ที ีน่ ักเรยี นใช้ในการเรยี นรู้และคาถามท่ี
อาจเกดิ ขึ้นได้ ใหน้ กั เรยี นลองลงมอื ทาหรอื ตอบคาถามบางอยา่ งกอ่ น (You) จากนัน้ ครูจึงชวนใหน้ ักเรยี นรว่ มกันอภปิ ราย
(We) โดยครมู บี ทบาทชวนคิดและขมวดปมที่สง่ิ เรยี นรู้ในตอนท้ายมากกวา่ (I) (Green, 2014)

ปที ี่ 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 18

ดา้ นโครงสร้างของการทางาน ครไู ทยในปัจจบุ ันตอ้ งเผชญิ กบั ปัญหาด้านภาระงานลน้ ตัว ส่งผลกระทบ
ตอ่ การจดั การเรยี นการสอนและการแสวงหาความรู้เพ่มิ เติม ซง่ึ เปน็ หัวใจสาคญั ของการเปน็ ครูในศตวรรษท่ี 21
ซ่ึงต้อง ‘ก้าวหน้า ทันสมัย และย่ังยืน’ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และสมพงศ์ วิทยศักด์ิพันธุ์, 2559, 4-8) รายงาน
ของ OECD (2016) ช้วี ่า ครไู ทยตอ้ งรบั ภาระงานสอนและที่ไม่เก่ียวกับการสอนมากกว่าที่ควรจะเป็น งานส่วน
หนึ่งเป็นภาระงานด้านการพานักเรียนไปแข่งขัน ติวสอบ ติวแข่งขัน การประกวดต่างๆ ซึ่งสะท้อนว่าระบบ
การศึกษาไทยผูกพันโยงกับระบบเศรษฐกิจท่ีให้ความสาคัญกับการแข่งขันอย่างเกินพอดี คะแนนและเหรียญ
รางวัลจึงไม่ได้เป็นเกียรติประวัติส่วนตัวของนักเรียน แต่ยังถูกใช้เป็นคะแนนประเมินคุณภาพของครูและ
โรงเรยี น แมผ้ ลการแขง่ ขนั อาจไม่ได้สะท้อนคุณภาพท่ีแท้จริงของการศึกษาเลยก็ตาม งานอีกส่วนหน่ึงเป็นงาน
เอกสาร ภาระงานประเมินต่างๆ การประชมุ ภายในโรงเรียน รวมถึงภาระงานในหน่วยงานย่อยๆ ของโรงเรียน
อันเป็นผลจากการขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณในการจ้างบุคลากรในตาแหน่งนั้นๆ ด้วยเหตุน้ี หลาย
ครั้งเราจึงมักเห็นครูคณิตศาสตร์ถูกจับไปทางานบัญชีหรืออยู่ฝุายเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูภาษาไทยและ
ภาษาอังกฤษมักต้องรับหน้าท่ีเป็นครูบรรณารักษ์ ขณะท่ีครูสาขาอ่ืนๆ กระจายกันไปทางานธุรการและงาน
พัสดุ เป็นตน้

แมช้ ว่ งสองสามปีทผ่ี ่านมา กระทรวงศึกษาธกิ ารจะพยายามผลักดันนโยบาย ‘คืนครูใหแ้ ก่หอ้ งเรยี น’ โดยลด

ภาระงานท่ีไมจ่ าเปน็ ให้กับครู แต่ดูเหมือนสภาพชีวติ การทางานของครทู ั่วไปยังคงไม่ต่างจากเดมิ มากนัก ภาระ

งานที่มากเกนิ พอดี

เป็นความท้าทายสาคัญของการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 เพราะถึงท่ีสุด ครูทุกคนมีเวลาจากัด และ
เปูาหมายในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพจาเป็นต้องอาศัยเวลาลงแรงเพ่ือเตรียมและพัฒนาการสอนอย่าง
สมา่ เสมอ การดึงเวลาการทางานของครูออกไปทาภารกจิ ทอ่ี าจไม่เป็นประโยชนใ์ ดๆ เช่น งานเอกสารท่ีซ้าซ้อน
และมากเกินจาเป็นจึงเป็นผลร้ายต่อระบบการศึกษาในภาพรวม การจัดสรรงบประมาณเพ่ิมเติมและจัดหา
บุคลากรสายสนับสนุนให้เพียงพอในแต่ละโรงเรียนจึงมีความสามารถมาก ขณะเดียวกัน การลดความสาคัญ
ของการแข่งขนั และการสอบตา่ งๆ ในการวดั ประเมินคุณภาพของผูส้ อนและโรงเรียน และหันมาให้ความสาคัญ
กับการทาวิจัยในช้ันเรียน การทาวิจัยร่วมกับนักเรียน การเขียนบทความวิชาการ และการพัฒนาทักษะและ
ความรู้ของครูให้มากข้ึน อาจช่วยให้ภาระงานนอกเหนือการสอนเป็นประโยชน์ต่อตัวนักเรียน ครู โรงเรียน
และการศึกษาของประเทศมากกว่า

ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถุนายน 2562) 19

สอง: ความทา้ ทายจากเทคโนโลยีดจิ ิทลั

พัฒนาการของเทคโนโลยีใหม่ๆ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษท่ี 21 ไม่เพียงจะ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบของงานและการผลิต แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการเรียนรู้ในทุกระดับ ทักษะ
ทางสารสนเทศ การคดิ แก้ไขปญั หา ความคดิ สร้างสรรค์ การใชส้ ่ือและเทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณกลายเป็น
เงื่อนไขทางการเรียนรู้ท่ีจาเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้บรรจุวิชาที่เกี่ยวข้องกับ
โลกดิจิทัล เช่น วิทยาการคานวณ (computational science) เข้าไปในหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานตั้งแต่
ระดบั ประถมศกึ ษา หลายมหาวิทยาลยั ทยอยเปดิ คอรส์ การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (MOOC) เพ่ือให้เข้าถึง
กล่มุ ประชากรนกั เรยี นทีห่ ลากหลายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น มากไปกว่าน้ัน มีการประเมินกันว่าหน้าตาของ
ห้องเรียนในศตวรรษใหม่จะเปล่ียนจากเดิมอย่างมาก (ภาพที่ 1) ความรู้ท่ีแต่เดิมจากัดอยู่ในตาราและหนังสือ
ในหอ้ งสมดุ ปจั จบุ นั ถกู ทยอยอพั โหลดอยใู่ นรูปแบบของไฟล์ดิจิทัล เวบ็ ไซต์และสื่อนานาชนิดซ่ึงขยายโอกาสใน
การเรียนรู้ของนักเรียนท่ีสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ขณะเดียวกันนักเรียนไม่ได้เข้าเรียนตัวเปล่าหรือมาพร้อม
ปากกาและกระดาษ แตแ่ ทบทกุ คนมโี ทรศพั ท์มอื ถือหรือคอมพวิ เตอร์โน้ตบ๊กุ ท่ีพร้อมใช้งาน

อิทธพิ ลท่ีเพม่ิ มากขนึ้ ของเทคโนโลยีกลายเปน็ ความท้าทายสาคัญต่อครูเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันไม่เพียง
เรยี กร้องใหค้ รตู อ้ งทาความเข้าใจถงึ ทกั ษะใหมๆ่ ทจ่ี าเป็นซ่ึงหลายคนอาจตามไม่ทัน แต่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ในชน้ั เรยี นยังบีบให้ครูต้องปรับตัว ปรับเปล่ียนวิธีการสอน และหาทางในการรับมือกับผู้เรียนซ่ึงเป็นมนุษย์ยุค
ใหม่ที่มาร์ค เปรนสกี นักการศึกษาชาวอเมริกันเรียกว่า ‘ชนพ้ืนเมืองทางดิจิทัล’ (Prensky, 2001) เปรนสกี
เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นมีพื้นฐานแตกต่างจากบรรดาครูบาอาจารย์ยุคก่อนซึ่งเข้า
มาสู่โลกดิจิทัลในภายหลัง หรือที่เขาเรียกว่า ‘คนอพยพทางดิจิทัล’ คนสองกลุ่มน้ีมีวัฒนธรรมและวิธีคิด
เกี่ยวกับโลกแตกต่างกันอย่างส้ินเชิงจึงทาให้มองเห็นโลกดิจิทัลแตกต่างกันไปด้วย ในขณะท่ีนักเรียนเห็น
ความหมายของการเรียนรทู้ ่ีกวา้ งและหลากหลายมาก (แมว้ า่ พวกเขาอาจไม่ตระหนักว่าส่ิงที่กาลังทาอยู่คือส่วน
หน่งึ ของการศกึ ษาเรียนรูก้ ต็ าม) แตค่ รูยุคก่อนมักมองเห็นเทคโนโลยเี ปน็ ภัยมากกวา่ จะเป็นประโยชน์และความ
เปน็ ไปได้ในการเรยี นรู้ ส่งิ นีป้ รากฏจากการพยายามควบคุมการใช้โทรศัพท์มือถือในชั้นเรียนอย่างเข้มงวด โดย
มองว่าเกมเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในทุกกรณีและมีสมมติฐานล่วงหน้าไปก่อนว่านักเรียนจะต้องเล่นเกมทุ ก
ครั้งท่ีหยิบโทรศัพท์ แทบเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ข้ึนมาใช้ในช้ันเรียน แม้หลายคร้ังผู้เรียนจะไม่ใช้เทคโนโลยีให้
เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในวิชาน้ันๆ จริง แต่ทัศนะเชิงลบเช่นนี้กลายเป็นอุปสรรคสาหรับตัวผู้สอนเอง
เน่ืองจากมองข้ามประโยชน์บางประการของเทคโนโลยี ท่ีอาจทาให้การเรียนรู้สนุกสนานและมีประสิทธิภาพ
มากข้ึน รวมทง้ั ยังสอดคลอ้ งกบั วถิ ชี ีวติ จรงิ ๆ ของผเู้ รยี นยคุ ใหมท่ ี่มเี ครือ่ งมือเหลา่ นี้เปน็ สว่ นหนึง่ ในชีวติ

ปีท่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562) 20

ภาพท่ี 1 ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21
ทีม่ า: Open Colleges (n.d.)

การมองโลกดิจทิ ลั ในแง่ลบเพยี งอย่างเดยี วมีค่าเสียโอกาสที่คอ่ นข้างแพงมาก เม่ือเทียบกับประโยชน์ที่
ครูและนกั เรียนจะได้จากการเรยี นรู้ ‘ผา่ น’ และ ‘ร่วมกับ’ เทคโนโลยีท่ีเปรียบเสมือนเป็นอวัยวะชิ้นสาคัญของ
นักเรียนเม่ือพวกเขาเติบโตข้ึนในอนาคต การวางแผนรับมือกับโลกที่กาลังเปล่ียนไปให้มีประสิทธิภาพที่สุดจึง
จาเป็นทค่ี รูจะตอ้ งยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ยอมรับในความไม่รู้ และกล้าท้าทายตัวเองด้วยการเข้าไปเรียนรู้ใน
โลกของคนรุ่นใหม่ การปะทะสังสรรค์กับโลกท่ีตัวเองไม่คุ้นเป็นความท้าทายสาคัญของครูจานวนมาก
โดยเฉพาะครูอาวุโสที่กาลังจะเกษียณภายใน 10-20 ปีข้างหน้า การท้าทายตัวเองของครูอาจเป็นประโยชน์
อย่างย่ิงต่อทั้งครูและนักเรียน เพราะนอกจากจะเปิดโอกาสให้การส่ือสารระหว่างคนสอง ‘เผ่า’ เกิดข้ึนได้ง่าย
และเป็นกันเองมากขึ้นแล้ว ครูยังจะสามารถอยู่ร่วมและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่าน้ีได้ในหลายหล าก
ลักษณะ ตัวอย่างเช่น การปรบั การเรียนรู้การสอนเป็นแบบห้องเรียนกลับด้าน (flipped classroom) ซ่ึงกาลัง
เป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ การใช้ google classroom เป็นพ้ืนที่ในการส่ือสาร ต้ังกระทู้ถาม สั่งงาน
ส่งงาน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ การใช้แอพลิเคชั่นหรือเกมเพื่อเป็นส่วนหน่ึงในการจัด
ประสบการณ์เรยี นรู้ทีส่ นกุ นานและมสี าระ รวมถึงการเปดิ โอกาสใหผ้ ู้เรียนสามารถใช้มอื ถอื และคอมพิวเตอร์ใน
หอ้ งสอบได้ ซึ่งมีประโยชนใ์ นแง่ของการฝึกทักษะค้นคว้าข้อมูล และบีบให้ครูต้องออกข้อสอบในระดับของการ

ปที ่ี 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 21

วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือประเมินค่า ไม่ใช่ข้อสอบแนวท่องจาหรือข้อสอบท่ีสามารถหาคาตอบจาก
อินเตอร์เน็ตไดง้ ่ายๆ2

อย่างไรก็ตาม ข้อพึงระวังคือเรายังไม่มีหลักฐานท่ียืนยันได้แน่นอนว่าการใช้เทคโนโลยีเพ่ือจัดการ
เรียนรจู้ ะนาไปสผู่ ลลัพธ์ทางการศกึ ษาที่ดขี นึ้ เสมอไป ครูจานวนหน่งึ ยังกงั วลวา่ การใชเ้ ทคโนโลยีในช้ันเรียนอาจ
เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ แต่อาจก่อผลเสียต่อสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักเรียนในระยะยาว
(Busteed and Dugan, 2018) งานวจิ ยั บางช้ินยังชใี้ ห้เหน็ ด้วยวา่ นักเรียนทีจ่ ดส่งิ ท่ีเรยี นดว้ ยมอื มีผลสอบดีกว่า
นักเรียนท่ีใช้คอมพิวเตอร์หรือแทบเล็ตในชั้นเรียน (Adams, 2016) น่ีจึงเป็นความท้าทายที่สาคัญมากว่าครู
ควรจะรบั มือกับเทคโนโลยีดิจิทัลอยา่ งไรหรอื ภายใต้เงอื่ นไขแบบใดจงึ จะเปน็ ประโยชน์ต่อการเรยี นรู้มากท่สี ดุ

สาม: ความทา้ ทายของการจดั การเรยี นรูเ้ ชงิ รกุ

ในปัจจุบันการเรียนรู้ภาคปฏิบัติผ่านกิจกรรม งานกลุ่ม หรือการทาโครงงานได้รับการสนับสนุนจาก
โรงเรยี นและมหาวิทยาลยั หลายแห่งมากกวา่ การเรยี นรแู้ บบเดิมทเ่ี น้นการสอนแบบบรรยายซ่ึงมักมีภาพครูเป็น
ผู้สอนและนักเรียนคอยแต่จดตาม จากประสบการณ์ของผู้เขียน สถาบันการศึกษาบางแห่งในประเทศไทยให้
คะแนนภาระงานสาหรบั วิชาที่สอนผา่ นการปฏบิ ตั มิ ากกวา่ การสอนเลคเชอรอ์ ย่างมนี ยั สาคัญ ขณะเดียวกันการ
เรียนการสอนอย่างสนุกสนานผ่านเกม (gamification) เริ่มกลายเป็นต้นแบบของการศึกษาที่ควรจะเป็นมาก
ข้ึน เนื่องจากหลายฝุายเห็นว่ามันสอดคล้องกับหลักการของการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่เชื่อว่าเราเรียนรู้
ได้ดีที่สุดผ่านการลงมือทา (ดูภาพท่ี 2) ทั้งยังสอดรับกับเปูาหมายของการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 ท่ีเน้นให้
ผู้เรียนมีบทบาทเชิงรุกในการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดวิพากษ์ และทางานเป็นทีม มากกว่าจะ
เปน็ ผ้คู อยเรยี นรจู้ ากสงิ่ ทม่ี ีอยู่แลว้ ในตาราหรอื ตามท่คี รผู ู้สอนถา่ ยทอดให้

การเรียนรเู้ ชงิ รกุ มปี ระโยชนม์ ากหลายประการและน้อยคนจะคัดค้านการเรียนรู้ในแนวทางน้ี กระน้ัน
กระแสการเติบโตของการเรียนร้เู ชงิ รุกอาจสร้างความท้าทายต่อการเรียนรู้ในภาพรวมได้เช่นกันหากผู้สอนขาด
ความเข้าใจถึงเปูาหมายท่ีแท้จริงของการเรียนการสอนเชิงรุก แม้งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ผ่านเกม
หลายชิ้นแสดงให้เห็นวา่ ประโยชนส์ าคญั ของวิธีการดงั กลา่ วคอื การกระตนุ้ ใหผ้ ู้เรียนมแี รงจูงใจและมีส่วนร่วมใน
กระบวนการเรียนรู้มากข้ึน (Nah et al., 2014, 401-405) แต่ลาพังความสนุกสนานและบทบาทเชิงรุกทาง
กายภาพของผู้เรียนไม่ใช่เปูาหมายหลักของการเรียนรู้เชิงรุกท่ีมีความหมายแต่อย่างใด การให้น้าหนักมาก
เกินไปกับความสนุกและความตื่นตัวของผู้เรียนท่ีแสดงออกผ่านการเคล่ือนไหวของร่ างกายส่งผลให้ครูบางคน
เข้าใจผิดวา่ การเรียนรู้เชิงรุกคือการให้นักเรียนเล่นเกมและทากิจกรรมท่ีมีโอกาสได้ขยับร่างกายมากกว่าจะน่ัง
เฉยๆ อยใู่ นห้องเรยี นเท่านัน้ การเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าวอาจไม่ใช่การเรียนรู้เชิงรุกท่ีพึงปรารถนา เพราะแม้

2 หมวดสังคมศึกษาฯ โรงเรยี นกาเนดิ วทิ ย์ทดลองใหน้ ักเรยี นเลคเชอรแ์ ละโน้ตบุ๊กเขา้ ไปในห้องสอบได้ เปิดโอกาสให้สามารถ
ออกข้อสอบที่มีความซบั ซ้อน ท้าทาย และสนกุ สนานมากยงิ่ ขึ้น อย่างไรกต็ าม เราพบว่าอุปสรรคสาคญั ของการสอบรูปแบบน้ี
คอื เวลาในการสอบ หากนกั เรียนมีเวลาในสอบน้อยเกนิ ไป โอกาสทจี่ ะใชป้ ระโยชนจ์ ากเทคโนโลยเี หลา่ น้กี น็ ้อยลงไปดว้ ย; ดู
ตวั อยา่ งการสอบลกั ษณะน้ีในท่อี ่นื ไดใ้ น Chris Harvegal (2017)

ปที ี่ 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 22

ผู้เรียนจะมีบทบาทเชิงรุก (active students) แต่เป็นไปได้ท่ีสารหรือเน้ือหาของการเรียนรู้อาจเป็นเพียง
เนือ้ หาเชงิ รับ (passive content) คือเปน็ เนื้อหาทอ่ี าจไมไ่ ดล้ กึ ซึ้ง ไม่เปิดกว้างตอ่ การคิดและตั้งคาถาม รวมท้ัง
ยังมีบทสรุปที่ตายตัวอยแู่ ลว้ เพยี งแตส่ อดแทรกคาตอบนั้นผ่านเกมหรือกิจกรรมที่ช่วยให้การจากลายเป็นเร่ือง
สนุกสนานยิ่งขน้ึ เท่าน้ัน

ภาพที่ 2 พรี ะมดิ แห่งการเรียนรู้
ทม่ี า: Aksorn (2017)
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2560, 63-65) นักวิชาการด้านการศึกษาคนสาคัญของไทย ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าการ
ผลกั ดนั การเรียนรูเ้ ชงิ รุกในศตวรรษท่ี 21 จาเป็นตอ้ งม่งุ การจดั การเรยี นการสอนเชิงสร้างสรรค์และมุ่งเพิ่มผลิต
ภาพ ซึง่ หวั ใจสาคัญของการจัดการเรียนรู้ลักษณะดังกล่าวต้องอาศัยท้ังการชักชวนให้สงสัย กระตุ้นให้เกิดการ
คิด สนับสนุนการแลกเปล่ียนเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริง ด้วยเหตุนี้ การมุ่งสร้างการเรียนรู้เชิงจึงไม่อาจ
กระทาอย่างผิวเผิน โดยเชื่อไปว่าความสนุกสนานและการเคล่ือนไหวร่างกายคือสาระสาคัญของการเรียนรู้
เพราะแนวคิดดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ผู้เขียนเคยพูดคุยกับครูบางท่านท่ียอมรับว่า
ตนเองถูกบังคับให้สอนในวิชาท่ีไม่ถนัด ทาให้ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้อย่างลึกซึ้ง ครูท่านน้ันจึงแก้ปัญหา
ดว้ ยการใช้เกมเปน็ ส่อื ในการเรียนการสอนเพราะเกมช่วยให้เวลาในคาบเรียนดาเนินไปอย่างเร็ว ขณะเดียวกัน
การสอนด้วยเกมยังได้รับความชื่นชมอย่างมากในสายตาของผู้บริหารและคนภายนอกที่เห็นว่าโรงเรียนกาลัง
จัดการศึกษารูปแบบใหม่ แต่หากพิจารณาจริงๆ เราย่อมเห็นว่าการเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าวอาจไม่ได้

ปที ่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 23

ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายจริงๆ เลยเพราะผู้เรียนไม่ได้มีบทบาทในการคิด วิเคราะห์ วิพากษ์ และ
สรา้ งความรไู้ ดด้ ว้ ยตัวเอง ขณะเดียวกันเนื้อหาที่ผู้เรียนได้รับระหว่างการเรียนรู้ก็อาจเป็นเพียงความรู้ท่ีผิวเผิน
เท่านั้น เพราะผู้สอนไม่ได้เตรียมตัวและไม่ไดม้ ีความเขา้ ใจในเนื้อหารายวชิ านนั้ ๆ ดพี อ

การเรียนร้เู ชิงทม่ี ีความหมายกวา่ จงึ ตอ้ งเป็นการเรียนรู้ท่ี ‘เชิงรุก’ ท้ังตัวผู้เรียนและตัวเน้ือหา (active
content) กลา่ วคอื ผเู้ รียนไมค่ วรมบี ทบาทเฉพาะนั่งฟังและจดตามท่ีผู้สอนบอก แต่ต้องเป็นผู้ท่ีร่วมกันอ่าน คิด
วิเคราะห์ วพิ ากษ์ และแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกันเนื้อหาในห้องเรียนก็จาเป็นต้องเป็นเน้ือหาท่ีชวนคิด กระตุ้น
ใหค้ ิด เปดิ กว้างตอ่ การถกเถียงและตั้งคาถาม เอื้อต่อการผลิตความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ หากพิจารณาในแง่น้ี การ
สอนแบบบรรยายจึงอาจไม่จาเป็นต้องเป็นการเรียนรู้เชิงรับเสมอไป หากการบรรยายไม่ได้เป็นเพียงการ
บรรยายเพื่อให้ฟังและจดตาม การบรรยายท่ีมีเน้ือหาเชิงรุกอาจช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เชิงรุกได้มากข้ึน
หากระหว่างกระบวนการเรียนรู้นั้น ผู้สอนทาหน้าที่ชี้ประเด็น โยนคาถาม ชวนนักเรียนคิด ต้ังคาถามต่อ
คาตอบของนักเรียน และเสนอคาตอบใหม่ให้กับนักเรียนอยู่เสมอ โดยอาจผสมผสานกิจกรรมอ่ืนๆ ในเข้าไป
บทเรียนเพือ่ ส่งเสริมใหผ้ ูเ้ รยี นสามารถคดิ และตอบคาถามตา่ งๆ ไดด้ แี ละมีประสทิ ธิภาพมากย่ิงขึ้น การบรรยาย
ทีเ่ ต็มไปดว้ ยคาถามและนาไปสู่ข้อสรุปปลายเปิดที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเก็บประเด็นกลับไปขบคิดพิจารณาต่อ
ยงั น่าจะเปน็ การเรียนรทู้ ่ีมคี วามหมายกวา่ ดว้ ย เมื่อเทียบกับการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมท่ีให้น้าหนักกับตัวกิจกรรม
มากกว่าตัวเนื้อหา (Tokumitsu, 2017) ย่ิงไปกว่าน้ัน การเรียนรู้ผ่านการอ่าน ฟัง และมองเห็นยังไม่
จาเป็นต้องเปน็ การเรียนรเู้ ชิงรับเสมอไปด้วย หากเราอ่านอย่างมีเปูาหมาย ฟังแล้วคิดตาม ชมแล้วเชื่อมโยงสิ่ง
ที่เหน็ กบั คาถามท่มี อี ยูใ่ นใจ ซงึ่ อาจจาเป็นต้องอาศัยบทบาทของผู้สอนในการนาทางและแปรเปล่ียนกิจกรรมท่ี
ดเู ป็นเชิงรบั ใหก้ ลายเปน็ เชิงรกุ ทงั้ ในแงเ่ นือ้ หาและตวั ผเู้ รียนรู้

การปฏิรูปการศึกษาโดยส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกจึงจาเป็นต้องตระหนักและเน้นย้าให้ชัดเจนถึง
ความสาคัญของบทบาทเชิงรุกเน้ือหาไม่น้อยกว่าตัวกิจกรรม ผู้สอนท่ีจะจัดการศึกษาเชิงรุกได้อย่างมี
ความหมายจงึ จาเป็นต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ชัดเจนว่าตนต้องการสื่อ ‘สาร’ ใดให้กับผู้เรียนผ่านกิจกรรม
การเรียนรู้ และต้องตระหนักจริงๆ ว่าเปูาหมายของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไม่ใช่เพ่ือให้ได้ ‘จัดการเรียนรู้เชิง
รุก’ ประเด็นของการศึกษาไม่ได้อยู่ที่เชิงรุกหรือเชิงรับ แต่เพราะเราต้องการสร้างพลเมืองในศตวรรษใหม่ที่มี
ทกั ษะการคิด วิเคราะห์ ต้ังคาถาม วิพากษ์วิจารณ์ และทางานเป็นทีม ทักษะแบบน้ีจึงเกิดไม่ได้เลยหากผู้สอน
ไม่เป็นผู้เปิดกว้างและเน้ือหาของการเรียนรู้ยังคงเป็นเนื้อหาเชิงรับที่ไม่เอ้ือต่อการกระตุ้นความคิด เปิดโลก
ทศั นแ์ หง่ การเรียนรู้ และ “พิชิตปัญหาด้วยปญั ญาของตน” (ไพฑรู ย์ สนิ ลารตั น์, 2560, 64)

ส่ี: ความท้าทายในแงค่ วาม(ไม)่ เป็นการเมอื งของการศึกษา

ความท้าทายประการสดุ ทา้ ยคอื ส่งิ ท่ผี ู้เขยี นเห็นว่ายากที่จะเปลี่ยนแปลงที่สุดในแวดวงวิชาการด้านครุ
ศาสตร์ในประเทศไทย นั่นคือการท่ีครูมองไม่เห็นและไม่ตระหนักถึงความเป็นการเมืองของการศึกษา หรืออีก
นัยหนึ่งคือเข้าใจไปว่าความร้ทู กุ อย่างทีต่ นเองร่าเรยี นมาเป็นความรู้ท่ีเป็นกลางและเป็นอิสระของตัวตนของผู้ที่
ศึกษาหาความรู้น้ันอย่างส้ินเชิง ความเช่ือดังกล่าวเป็นอุปสรรคท่ีทาให้เราไม่สามารถต้ังคาถามกับชุดความรู้

ปีท่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 24

องค์ความรู้ และวิธีการแสวงหาความรู้ของสาขาตัวเองได้ ขณะเดียวกันก็มองข้ามการเมืองของการประกอบ
สรา้ งความร้แู ตล่ ะชุด ซึ่งสัมพนั ธ์อยา่ งยิง่ กับอานาจทางการเมอื งและเศรษฐกิจ รวมถึงบริบททางสังคมในแต่ละ
ช่วงเวลา ตัวอย่างสาคัญย่ิงคือความรู้ด้านสังคมศึกษาและความรู้ประวัติศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออก
กบั อานาจ

อุปสรรคสาคัญที่ทาให้ครูมองไม่เห็นความเป็นการเมืองของความรู้ คือการปลูกฝังใช้เข้าใจคาว่า
‘การเมอื ง’ ในความหมายจากดั คือนกึ ออกเพียงภาพของนักการเมอื ง การเลอื กตงั้ การถกเถียงกันในสภา และ
มองคาคานี้ในแง่ลบโดยทนั ที ทงั้ ท่ีจริงๆ แลว้ การเมือง (the political) หมายถงึ ทกุ ๆ เรอ่ื งที่เกี่ยวกับบ้านเมือง
และเกย่ี วข้องกับอานาจ เป็นการตอ่ สู้ต่อรองระหว่างคนท่ีมอี านาจไม่เท่ากัน เป็นเรอ่ื งของการจัดสรรทรัพยากร
ที่มีอยู่อย่างจากัดให้กับผู้คนกลุ่มต่างๆ เร่ืองของการสร้างสังคมที่เราอาศัยอยู่ในดีข้ึนหรือเป็นไปในทิศทางท่ี
อยากให้เป็น การเมืองจึงเกี่ยวข้องกับทุกมิติในชีวิต ไม่ใช่เพียงในสภา ความรู้ในแต่ละวิชาที่เราร่าเรียนและ
สอนแก่นักเรียนจึงมีความเป็นการเมืองอย่างยิ่ง เพราะเราไม่ได้เรียนทุกอย่างในประวัติศาสตร์ ไม่ได้ศึกษาทุก
ด้านของสังคม ไม่ได้สนใจทุกแง่มุมในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือกระท่ังภาษา มีเร่ืองบางเรื่องท่ีเป็น
หวั ข้อหลกั ของการเรียนรู้ มีอีกหลายเรื่องซ่ึงไม่ถูกพูดถึงในหลักสูตรการศึกษาเสมอ การเลือกให้เรียนอะไร ไม่
ต้องเรียนอะไร และเรียนอะไรไม่ได้ล้วนแต่เป็นการต่อสู้ต่อรอง ไม่ใช่ความเป็นกลาง ความรู้บางอย่างอาจเป็น
ปรนัยกวา่ ความรู้บางอยา่ ง แตผ่ สู้ อนทีไ่ มเ่ คยกระท่งั สงสยั ว่า “ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น” ทาไมจึงต้องเรียนบางเรื่อง
ไมเ่ รียนบางเร่ือง ผู้สอนที่ไม่สนใจการเมืองและมองว่าความรู้ที่เราถ่ายทอดให้นักเรียนอยู่ ค่านิยมต่างๆ ท่ีเห็น
ว่าเป็นหลักการที่ดีในตัวเองโดยไม่จาเป็นต้องตั้งคาถาม จึงตกเป็นเคร่ืองมือทางการเมืองอย่างถึงที่สุด เพราะ
ครูท่คี ิดเชน่ นัน้ จะกลายเปน็ เครอื่ งมือของอานาจอย่างสมบูรณ์แบบขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่เข้าใจว่าตนเองกาลังทา
อะไรอยู่และเปาู หมายของการศกึ ษาคอื อะไรกนั แน่ เม่ือครูไม่ตระหนักถึงการเมืองของการศึกษา การเรียนการ
สอนจึงยากจะมีความคิดเชิงวิพากษ์ได้จริง เพราะครูไม่เคยคิดอย่างวิพากษ์กับองค์ความรู้ของตนเอง และเห็น
วา่ สงิ่ ที่ตนเองสอนกค็ อื ขอ้ เทจ็ จริงท่ไี มเ่ กี่ยวข้องกบั การเมือง อานาจ และผลประโยชน์ใดๆ

เพื่อนของผู้เขียนซ่ึงจบการศึกษาด้านครุศาสตร์มาโดยตรงและทางานเป็นครูในโรงเรียนรัฐบาลแห่ง
หน่ึงต้ังข้อสังเกตในประเด็นนี้ว่า สาเหตุประการหนึ่งอาจเนื่องมาจากกลุ่มวิชาหลักของครุศาสตร์ในประเทศ
ไทยขาดการศึกษาวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการเมืองของการศึกษา ความคิดของนักการศึกษาท่ีเห็น
การศึกษาเป็นส่วนหน่ึงของกิจกรรมทางการเมืองดูจะไม่ค่อยได้รับความนิยมนักในหมู่นักการศึกษาชาวไทย
ปรัชญาของการศึกษาท่ีปรากฏในไทยจึงมักไม่ค่อยพูดถึงการศึกษาเพื่อการปลดปล่อย การต่อสู้เพื่อความเท่า
เทียมและความเป็นธรรม การศึกษาในฐานะเครื่องมือในการสร้างโลกท่ีน่าอยู่และดีกว่าเดิม แต่มักมุ่งสอนให้
ผูเ้ รยี นเช่อื สยมยอม ว่านอนสอนง่าย เล่นตามกติกาท่มี อี ยแู่ ล้ว เช่น เรียนให้หนัก สอบให้ดี แข่งขนั ให้ชนะ โดย
ไม่ตั้งคาถามมากนักกับกติกาที่มีอยู่ การศึกษาในลักษณะนี้จึงหมกมุ่นกับการผลิตนักเรียนให้เป็นตัวแสดงทาง
เศรษฐกจิ (แรงงาน/ผู้ประกอบการ) มากกวา่ จะสนใจให้แต่ละทาในส่ิงที่ตนถนัด เป็นการศึกษาท่ีมุ่งการแข่งขัน
โดยละเลยหรือมืดบอดต่อความเหลือ่ มลา้ ทางสังคม

ปที ่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562) 25

ในระบบการศึกษาเช่นนี้ วชิ าทีด่ ูมีประโยชน์จึงมักเป็นวิชาท่ีสามารถให้ดอกผลได้ในระยะส้ันและตอบ
โจทย์ความต้องการทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันการศึกษาที่มองไม่เห็นความเป็นการเมืองของความรู้ก็มักเน้น
‘เชิดชูคุณธรรม’ อย่างผิวเผิน กล่าวคือเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติตามหลักการ หลักธรรม เน้นการทากิจกรรมจิต
อาสา กิจกรรมบาเพ็ญประโยชน์ และสอนธรรมะ แต่ไม่เปิดโอกาสให้คิดใคร่ครวญถึงรากฐานของปัญหาทาง
สังคมและถกเถยี งถึงมติ ิทางจรยิ ศาสตร์ของปรัชญา ศาสนา และคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งซับซ้อนกว่าที่ปรากฏใน
โรงเรียนมาก ในทางกลับกัน เมื่อนักเรียนบางกลุ่มเริ่มต้ังคาถาม รวมถึงลุกข้ึนมาต่อสู้กับเพ่ือความเป็นธรรม
ระบบการศึกษาที่มองไม่เห็นการเมืองของความรู้ก็ย่ิงรู้สึกเดือดร้อนและเห็นว่าเป็นหน้าท่ีของตนที่จะต้อง
จัดการนกั เรียนให้วา่ นอนสอนง่ายและเคารพในกฎเกณฑ์โดยไม่จาเป็นต้องคิดและสงสัยว่าทาไปเพ่ืออะไร ดีไม่
ดอี ยา่ งไร ดไี ม่ดตี ่อใคร และสงั คมทีด่ ีกว่านีจ้ ะเกดิ ขึน้ ไดอ้ ยา่ งไร

การหลุดพ้นจากปัญหานี้ ครุศาสตร์อาจจาเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องทบทวนถึงความสาคัญของวิชา
เก่ียวกับปรัชญาและประวัติศาสตร์ของครุศาสตร์และการเมืองของความรู้ซึ่งเติบโตไปมากแล้วในแวดวง
การศึกษานานาชาติ (Weiler, n.d.; Pascale, 2011; Rata, 2011) ผู้เขียนเห็นว่าปรัชญาการศึกษาควรต้อง
เปน็ วิชาที่สาคัญลาดับต้นๆ ของคณะครุศาสตร์ การศึกษาวิชาปรัชญาการศึกษาต้องไม่เน้นท่องจาแนวคิดของ
นกั คิดแต่ละคน ทวา่ ต้องใหผ้ เู้ รยี นไดใ้ ช้แนวคดิ เพื่อวิเคราะห์สังคมและทาความเข้าใจเปูาหมายของการศึกษาที่
ไม่แยกขาดจากประเด็นทางสังคม รวมทั้งยังต้องเข้าใจว่าเปูาหมายท่ีแท้จริงของครุศาสตร์คืออะไรกันแน่
อยา่ งไรกต็ ามเรายังต้องการบุคลากรด้านปรัชญาการศึกษาท่ีมีคุณภาพอีกมาก เช่นเดียวกับที่ต้องพยายามต่อสู้
อีกมากเพ่ือให้นักเรียนครุศาสตร์มองเห็นว่าความรู้ในสาขาของตนมิใช่ความรู้บริสุทธ์ิ หากแต่สัมพันธ์กับสังคม
อยา่ งแยกไมอ่ อก

ในเบ้ืองต้น การสนับสนุนการวิจัยเชิงคุณภาพให้มากข้ึนกว่าน้ีโดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา การ
ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูให้มีความรู้เชิงลึกในด้านที่ตนเองสอนนอกเหนือจากในแง่มุมของเทคนิคการ
สอน การวัดประเมิน การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างคณะครุศาสตร์กับคณาจารย์ท่ีมีความรู้ความ
เข้าใจในประเดน็ ขา้ งต้น และการพานักเรียนครุศาสตร์เข้าไปเรียนรู้และเผชิญหน้ากับสภาพความเป็นของของ
สังคมทีเ่ ตม็ ไปดว้ ยปญั หาและความไม่เปน็ ธรรม อาจเป็นช่องทางหน่ึงในการรับมือกับความท้าทายดังกล่าว ซึ่ง
อาจคงอย่กู บั สงั คมไทยต่อไปต่อใหผ้ า่ นการปฏวิ ตั ิดจิ ิทัลไปแล้วหลายคร้งั .

บรรณานกุ รม

กุณฑิกา พชั รชานนท์ และบลั ลงั ก์ โรหิตเสถียร. (2556). ‘แนวทางผลติ ครู’. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นได้
จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34918&Key=news_act.

ชวาบ, เคลาส์. (2561). การปฏวิ ัตอิ ตุ สาหกรรมครง้ั ทีส่ ี่. แปลโดย ศรรวริศา เมฆไพบลู ย์. กรงุ เทพฯ: อมรินทร์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศกึ ษาไทย 4.0: ปรชั ญาการศกึ ษาเชงิ สรา้ งสรรค์และผลิตภาพ. พมิ พ์คร้ังที่ 5.

กรงุ เทพฯ: จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย.

ปีที่ 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 26

ไพฑรู ย์ สินลารตั น์ และสมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธ์ุ (บ.ก.). 2559. บทบาทครูในการส่งเสรมิ ผู้เรยี นให้สามารถ
แข่งขันไดใ้ นโลกแห่งศตวรรษท่ี 21. กรุงเทพฯ: วิทยาลยั ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกจิ บณั ฑิตย์.

โรบนิ สัน, เคน และอโรนิกา, ลู. (2559). โรงเรียนบันดาลใจ. แปลโดย วชิ ยา ปดิ ชามุก. กรุงเทพฯ: โอเพน่ เวิลดส์ .
ศภุ ณัฏฐ์ ศศวิ ุฒิวฒั น์. (2558). “สรา้ ง “คนเกง่ ” ใหเ้ ป็น “ครูสอนดี””. TDRI. สบื คน้ ไดจ้ าก

https://tdri.or.th/2015/08/highly-competent-teachers-training-needed-2/.
สานักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.

สืบคน้ ได้จาก http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1540.
ThaiPublica. (2560). “งบประมาณป’ี 61 ห่ันงบกลาง-ศกึ ษา โปะมหาดไทย-คลัง-กลาโหม ชีต้ ั้งวงเงนิ ใชห้ น้ี

ขาดเกอื บ 3 หม่นื ล้าน. สืบคน้ ได้จาก https://thaipublica.org/2017/06/budgeting-prayuth-
government-2561/
Adams, Richard. (2016). “Students who use digital devices in class 'perform worse in exams”.
The Guardian. Available from
https://www.theguardian.com/education/2016/may/11/students-who-use-digital-
devices-in-class-perform-worse-in-exams.
BECTA. (2010). “21st Century Teacher: Are You Ready to Meet the Challenge?”. BECTA.
Available from
https://www.erte.dge.mec.pt/sites/default/files/Recursos/Estudos/21st_century_
teacher.pdf.
Busteed, Brandon and Dugan, Andrew. (2018). “U.S. Teachers See Digital Devices as Net Plus
for Education”. Gallup. Available from http://news.gallup.com/poll/232154/teachers-
digital-devices-net-plus-education.aspx.
Green, Elizabeth. (2014). Building a Better Teacher: How Teaching Works (and How to Teach
It to Everyone). New York: Norton.
Harvegal, Chris. (2017). “Let students take phones into exams, says Harvard professor”. Time
Higher Education. Available from https://www.timeshighereducation.com/news/let-
students-take-phones-exams-says-harvard-professor.
Low, Ee-Ling and Tan, Oon-Seng. (2017). “Teacher Education Policy: Recruitment, Preparation
and Progression”. in Teacher Education in the 21st Century: Singapore’s Evolution
and innovation. Edited by Oon-Seng Tan, Woon-Chia Liu and Ee-Ling Low. Singapore:
Springer.
Nah, F.F.-H. et al. (2014). “Gamification of Education: A Review of Literature”. In HCI in

Business: Lecture Notes in Computer Science. Vol. 8527. Springer: Cham.
OECD and UNESCO. (2016). Education in Thailand: An OECD-UNESCO Perspectives. Paris:

ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถุนายน 2562) 27

OECD Publishing.
Open Colleges. (n.d.). “Components of a 21st Century Classroom”. Open Colleges. Available

from https://www.opencolleges.edu.au/infographic/21st_century_classroom.html.
Pascale, Celine‐Marie Pascale. (2011). “Epistemology and the politics of knowledge”. Special

Issue: Sociological Review Monograph Series: Sociological routes and political roots.
Vol. 58, 2: 154-165.
Prensky, Marc. (2001). “Digital Natives, Digital Immigrants”. On the Horizon, Vol. 9, 5: 1-6.
Rata, Elizabeth. (2011). The Politics of Knowledge in Education. Oxford: Routledge.
Tokumitsu, Miya. (2017). “In Defense of the Lecture”. Jacobin. Available from
https://www.jacobinmag.com/2017/02/lectures-learning-school-academia-universities-
pedagogy/.
Weiler, Hans, N. (n.d.). “Whose Knowledge Matters? Development and the Politics of
Knowledge”. Available https://web.stanford.edu/~weiler/Texts09/Weiler_Molt_09.pdf.

ปที ี่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 28

การพัฒนาวชิ าชีพครูสโู่ ลกของการเปลีย่ นแปลง

อาจรีย์ ธิราช*

อาชีพครู เป็นอาชพี ที่มเี กยี รติ มหี น้าท่ีในการสอนนกั เรียนดา้ นวชิ าความรู้ หลกั การคิด แนวทางการใช้
ชีวิต สอนให้เป็นคนเก่ง คนดี เป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม โดยรวมๆ แล้วเป็นอาชีพที่สร้างคนให้กับ
สังคม ช้ีนาสังคมไปในทางที่เหมาะสม นอกจากน้ี ครูยังเป็นผู้ท่ีสามารถกาหนดคุณภาพประชากรสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และส่ิงแวดล้อม ดังน้ันวิชาชีพครูจึงมี
ความสาคญั ยง่ิ ตอ่ การแกป้ ญั หาเพอื่ ความอย่รู อดของสังคมมนุษย์ ครูจะต้องทาหน้าท่ีด้วยจิตวิญญาณความเป็น
ครูอย่างแท้จริง เพ่ือให้การปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพบรรลุผลสาเร็จได้ตามเปูาหมาย ครูจะต้องมีหลักในการ
ประพฤติปฏิบตั ทิ ช่ี ดั เจนในแงส่ ว่ นตัวแตส่ ว่ นรวม สามารถอทุ ศิ ตนและชีวติ เพื่องานในวิชาชีพอยา่ งเต็มท่ี [1]

บทบาทของครแู ละวิชาชีพครู

บทบาทของครูมีหลายรูปแบบ คือ ครูอาจจะทางานเป็นผู้บริหาร ผู้สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนา
เยาวชน ผู้นาด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ผู้พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การ
ปกครอง ผู้ท่ีช่วยส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละบทบาท ครูก็ทาหน้าที่ที่ย่ิงใหญ่สาหรับสังคม
ประเทศชาติ

บทบาทของครูในการเป็นผู้บริหาร ครูเป็นผู้นาสถาบันที่ควรต้องเป็นกลไกใหม่ในการจัดการศึกษา
จัดบุคคลจัดสถานท่ี จัดบรกิ ารต่าง ๆ เพ่อื ให้การเรยี นการสอนดาเนนิ ไปส่เู ปูาหมายของหลกั สูตรที่วางไว้ ดังนั้น
ครูตอ้ งเป็นผบู้ ริหารทเ่ี ป็นหวั หนา้ ทีด่ ี มีประสิทธภิ าพใช้ผรู้ ่วมงานใหไ้ ดป้ ระโยชน์มาก ต้องเป็นผู้วางมาตรการใน
การทางาน การผลิตได้สูง ทางานโดยคานึงถึงความสาเร็จของงานรวมกับสัมพันธภาพ ผู้ร่วมงานดีเป็น
แบบอยา่ งทดี่ ีทาให้ทกุ คนร่วมงานกนั ร่วมมอื กันทางานที่ได้รับมอบหมาย มีความรับผิดชอบสูงและมีวิธีย่ัวยุใน
การทางาน มคี วามสามารถในการสร้างแนวความคิดและความสมเหตุสมผล กล้าตัดสินใจ มองทะลุได้ และไม่
หว่ันต่ออุปสรรค มีความสุขุมรอบคอบละเอียดลึกซึ้ง สนใจและยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ รวมทั้งความ
คิดเห็นที่ไม่เหมือนกับของผู้อื่น มีความสามารถในการชักจูงผู้อ่ืนให้เห็นพ้องต้องกัน วิธีที่ดีท่ีสุดให้ผู้เก่ียวข้อง
เข้ามามสี ่วนรว่ มอย่างแท้จรงิ ในรูปแบบแผนทเี่ หมาะสม [2]

บทบาทของครูในการเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาเยาวชน ครูจัดการเรียนการสอนท่ีมี
คุณภาพแก่นักเรยี น ให้ความรทู้ ้งั วิชาสามัญและวิชาชพี ตามหลักสูตร ครูต้องมีการวางแผนและเตรียมการสอน
เป็นอย่างดี ไม่ละท้ิงเด็ก และมีการจัดกิจกรรมเสริม เพื่อให้เด็กเข้าใจในบทเรียนย่ิงขึ้น นอกจากการสอนวิชา
ความรู้แล้ว ครูยังมีบทบาทในการสอนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เพ่ือให้สามารถ
ดารงชีวิตอยูใ่ นสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างเหมาะสม [2]

*ครโู รงเรยี นกาเนิดวิทย์

ปีท่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 29

บทบาทของครใู นการเป็นผู้นาด้านศีลธรรม คุณธรรม จรยิ ธรรม และคา่ นิยม ครูจะต้องประพฤติ
ตนให้เปน็ แบบอย่างทด่ี ีแก่ศิษย์ มศี ีลธรรม สขุ ภาพ มีความเมตตากรุณา เอื้ออาทรต่อความเป็นอย่ขู องศิษย์
คอยช่วยเหลือเม่ือศิษยม์ ปี ัญหา มคี วามอดทนและเสยี สละ [2]

บทบาทของครูในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การปกครอง ครูมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาโดยให้ความรู้แก่นักเรียน และเน้นทักษะในการทางานต่าง ๆ เพ่ือนักเรียนจะได้มีความรู้ท่ีได้มาตรฐาน
และสามารถทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากน้ันครูควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมเชิงอาชีพให้มากข้ึน
ส่งเสริมให้เด็กรู้จักออมทรัพย์ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ชุมชน เพื่อให้เด็กนักเรียนและคนใน
ชุมชนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ รู้จักหลักโภชนาการที่ถูกต้อง รู้จักการรักษาความสะอาดและรู้จัก
การวางแผนครอบครวั แนะนาอาชีพใหม่ ๆ ให้แก่ชุมชน พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมอาชีพดังกล่าว และส่งเสริมให้มี
การผลิตและนาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการประกอบอาชีพของชุมชน เพ่ือทาให้ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว มี
ประสิทธิภาพ และมีผลผลิตเพ่ิมข้ึน นอกจากนี้ครูมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม โดยการให้ความรู้แก่คนใน
ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความรู้วิชาสามัญหรือวิชาชีพก็ตาม เพราะจะทาให้คนในชุมชนมีพื้นฐานการศึกษาอันจะ
นาไปสู่ความรู้และความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวได้ง่ายข้ึน ด้านการเมืองการปกครอง ครูต้องจัดการ
เรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและระบบการเมืองการปกครองของประเทศ และมีส่วนช่วยใน
การพัฒนาการเมืองการปกครอง ให้มีความมั่นคง โดยการให้ความรู้ในเร่ืองระบบการปกครองของประเทศ
โดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยแก่เด็กและคนในชุมชน สนับสนุนและฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักรูปแบบการ
ปกครองประเทศ รจู้ กั ใช้สิทธิของตวั เองได้อย่างถูกต้อง [2]

บทบาทของครูในการช่วยส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม ครูช่วยส่งเสริมและพัฒนาศาสนา และ
วฒั นธรรมของชาตใิ ห้มน่ั คง ถ่ายทอดวฒั นธรรมอนั ดงี ามให้แกเ่ ดก็ โดยการจัดกจิ กรรมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม [2]

ครูจึงเปน็ ผมู้ บี ทบาทสาคญั ยง่ิ ในการพัฒนาท้องถ่ินตามบทบาทหน้าท่ีของโรงเรียนเน่ืองจากครูเป็นผู้ท่ี
เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาติดต่อสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองโดยตรง ครูจึงเป็นปัจจัยสาคัญท่ีจะ
ก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงในตัวผู้เรียนและเกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในทิศทางที่พึงประสงค์แก่ท้องถิ่นที่
โรงเรียนตั้งอยู่ ครูเป็นผู้นาชนบทที่สาคัญ เป็นผู้ท่ีมีความรู้ แจ้งข่าวสารต่าง ๆ แก่ชาวบ้านได้ สามารถจัด
หลักสูตรการเรียนการสอน พยายามเน้นหนกั ในด้านแกป้ ญั หาและสนองความต้องการของท้องถิ่น การพัฒนา
ทอ้ งถน่ิ ดา้ นการศึกษาถอื วา่ เป็นบทบาทโดยตรงของครู เพราะการให้การศึกษา เป็นหน้าท่ีโดยตรงสาหรับคนท่ี
มวี ชิ าชพี ครจู ะกระทาได้ โดยการพยายามใช้ความรู้ความสามารถและใช้ประโยชน์จากวัสดุและอุปกรณ์ที่มีอยู่
ในโรงเรียนและชุมชน เมื่อครูที่กระจายอยู่ตามท้องถิ่นปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ในภาพรวมนั้นก็เป็นการ
พัฒนาท้องถ่ินและขยายสู่การพัฒนาประเทศ สู่การเปล่ียนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมและความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยี [2]

นอกจากครูที่มีความสาคัญในการพัฒนาประเทศชาติแล้ว วิชาชีพครูย่ิงมีความสาคัญนัก เพราะ
วิชาชีพครูเป็นกลุ่มวิชาท่ีผู้บริหารสถาบันครุศึกษาทุกแห่งจะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนเป็นวิชาบังคับ ซ่ึง
เป็นวิชาที่มีความสาคัญต่อการทางานในวิชาชีพอย่างมาก ซ่ึงเป็นที่เห็นพ้องต้องกันในหลาย ๆ แหล่งข้อมูลว่า
การทใ่ี ห้ความสาคัญกับกลุ่มวิชาชีพครู จะทาให้มีการผลิตครูที่ดีมีคุณภาพ เน่ืองจากมีการกาหนดทิศทาง การ

ปที ี่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 30

พฒั นาความเปน็ เลศิ ของครู กลุ่มผู้สอนได้ร่วมกาหนดทิศทางใหม่ ๆ ของการศึกษาและทางวิชาชีพร่วมกันแล้ว
ยอ่ มทาใหเ้ กดิ การผลติ ครูที่มีลกั ษณะเดน่ และเป็นสง่า อีกทั้งการพัฒนาวิชาชีพ ควรมีการวิจัยในเชิงการศึกษา
มากขน้ึ เพอ่ื เพ่มิ คณุ ภาพ ประสทิ ธภิ าพ และความกา้ วหน้าของการศึกษาไทย [3]

สภาพวชิ าชีพครูและปัญหาท้าทายของวิชาชีพครใู นปัจจบุ นั

ในปัจจุบันวิชาชีพครูถูกคนท่ัวไปดูหมิ่นดูแคลน เป็นอาชีพที่รายได้น้อย คนเก่งไม่อยากมาเป็นครู
เนื่องจากเป็นครูมีรายได้น้อย คนที่มีผลการเรียนไม่ดี สอบเรียนวิชาชีพอ่ืนไม่ได้แล้ว จึงมาเรียนครู และ
ประกอบวชิ าชีพครู โดยภาพรวม สามารถแบง่ ปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพครูได้ 3 กลุ่ม คือ ปัญหาเก่ียวกับการผลิต
ครู ปญั หาเก่ียวกบั การใช้ครู และปัญหาเก่ียวกับการบริหารจัดการ [4]

ในกระบวนการผลิตครู สถาบันผลิตครูไม่สามารถผลิตครูให้มีคุณลักษณะตามท่ีสังคมต้องการได้
เน่อื งจากเหตุผลหลายประการ คือ คนเก่งไม่เรียนครู ผู้สมัครสอบเข้าเรียนมักมีผลการเรียนระดับปานกลางถึง
ค่อนข้างต่า และถึงแม้เลือกมาเรียนครูแล้ว นักศึกษาก็ไม่เลือกเรียนสามารถท่ีใช้ความพยายามในการเรียนสูง
เช่น สาขาวิทยาศาสตร์ นอกจากน้ีการลงทุนในการผลิตครูจากภาครัฐ ก็มีผลกับการพัฒนาครู ขาด
งบดาเนินการในการพัฒนาคณาจารย์ และพัฒนาการเรียนการสอน อีกทั้งกระบวนการเรียนการสอนวิชาชีพ
ครู ก็มักเน้นเร่ืองทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติจริง ซ่ึงกระบวนการสอนของครูท่ีจะผลิตครู เป็นการสอนแบบเน้น
ครูเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้มากกว่าการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วม และยังขาดความสัมพันธ์กับสภาพวิถีชีวิต ส่ิงแวดล้อมในท้องถิ่นและชุมชน ทาให้ครูท่ีถูก
ผลิตไม่สามารถเรยี นรู้ หรอื พัฒนาวชิ าชพี ของตวั เองได้อยา่ งแท้จริง ครูจึงวนติดกับกรอบความคิด และแนวทาง
การเรียนการสอนแบบเดิม ๆ นอกจากน้ีหลักสูตรการผลิตครูไม่ได้สร้างมาเพ่ือรองรับการผลิตครูรุ่นใหม่ ท่ี
พร้อมปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย ให้ครูมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความพร้อมในเน้ือหาวิชาการ ชี้นาความรู้
รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีในวิชาชีพได้ อีกท้ังระบบการประกันคุณภาพบัณฑิตครู และสถาบันผลิตครู ฝุาย
ผลิตครูเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพการผลิตครูแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีหน่วยงานกลางในการควบคุมมาตรฐาน ไม่มี
การดาเนินการประกันคุณภาพการผลิตครูและสถาบันผลิตครูอย่างชัดเจน คุณภาพครูจึงข้ึนอยู่กับเกณฑ์การ
วัดผลและประเมินผลของแต่ละสถาบนั ซงึ่ อาจจะไมไ่ ด้เป็นแนวทาง หรอื เกณฑ์เดยี วกัน [4]

ในกระบวนใช้ครู ครูใช้เวลากับการเรียนการสอน และกิจกรรมภายนอกช้ันเรียนท่ีไม่เกี่ยวกับการ
เรยี นการสอนคอ่ นข้างมาก คา่ ตอบแทนของครูต่า เม่ือเปรียบเทียบกับวิชาชีพอื่น ๆ ที่รับผิดชอบต่อสังคม
และชาติบ้านเมือง ซ่ึงจากการสารวจพบว่า ครูมีภาวะหนี้สินทั้งธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
และหนี้นอกระบบ รวมถึง 1.2 ล้านล้านบาท [1] ส่งผลให้ครูขาดขวัญกาลังใจในการปฏิบัติงานและมี
ผลกระทบต่อการเรียนการสอน รวมท้ังการที่รัฐบาลไม่ปรับเงินเดือนข้าราชการครูให้เหมาะสมกับสภาพ
เศรษฐกิจและสังคมท่ีเปลี่ยนแปลง ทาให้ครูส่วนใหญ่มีปัญหาทางเศรษฐกิจอันเน่ืองมาจากรายได้น้อยแต่
ค่าครองชพี สูง จึงเป็นผลให้ครเู บยี ดบงั เวลางานไปหาอาชพี เสรมิ และบางโรงเรยี นครยู งั ต้องเสียสละทรัพย์
ส่วนตัวบางส่วนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนในการซ้ืออุปกรณ์การเรียนการสอนด้วย [4] นอกจากนี้การ
ประเมินผลการทางานท่ีมีผลต่อการปรับขึ้นเงินเดือนของครู ก็มีเกณฑ์ในการพิจารณาที่อ้างอิง ระยะเวลา

ปีท่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 31

การทางาน ประสบการณ์การสอน วุฒิการศึกษา หรือความสัมพันธ์กับผู้ประเมินเป็นหลัก แต่ไม่สามารถบ่ง
บอกถึงทักษะการสอนที่แท้จริง ผลงานที่เกิดขึ้น หรือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้ ซ่ึงเมื่อใช้เกณฑ์การประเมินใน
รูปแบบนี้ ครูก็ต้องใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน ถึงจะได้เล่ือนข้ัน ถึงแม้ว่าครูจะมีคุณภาพ เก่ง พัฒนาตนเองได้ดี
แต่กไ็ ม่สามารถได้รบั ค่าตอบแทนตามความสามารถของตนเองได้ จากผลที่เกิดขึ้นในรูปแบบนี้ ครูจึงมีแนวโน้ม
ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการสอน หมดกาลังใจ และสุดท้ายอยากลาออก คนไม่เก่งมีแนวโน้มที่จะ
เลือกเข้าสู่อาชีพครูมากกว่าคนเก่ง และครูเก่งมีแนวโน้มท่ีจะย้ายออกจากสายอาชีพครูมากกว่าครูไม่เก่ง ซึ่ง
เป็นผลให้ระดับคุณภาพสอนของครูโดยรวมลดลง ในบางกรณี ระบบการประเมินครูมีผลบิดเบือนจูงใจให้ครู
ออกนอกห้องเรียน ซ่ึงส่ิงนี้ก็ส่งผลกระทบถึงนักเรียน และคุณภาพการศึกษา [5] ค่าตอบแทนครูในโรงเรียน
เอกชนกย็ ังเป็นปัญหาท่ีส่งผลต่อขวัญและกาลังใจของผู้ที่จะเข้ามาเป็นครู เนื่องจากครูเอกชนไม่ได้มีสวัสดิการ
หรือความม่ันคงในการทางานเหมือนกับครูของรัฐบาล รายได้ต่าแต่ภาระงานสูง จึงมีอัตราการลาออกของครู
เอกชน เพ่ือสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูมากขึ้น [6] ในเร่ืองการพัฒนางานและการพัฒนาตนเองของครูก็
เป็นส่วนหน่ึงที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ข้าราชการครูท่ีมีสถานภาพม่ันคง ไม่เห็นความสาคัญของการพัฒนา
ตนเอง ระบบราชการกั้นอิสระทางการทางานและความก้าวหน้าทางวิชาการ ขาดบรรยากาศของชุมชน
วิชาการที่เอ้ือต่อการพัฒนาตนเองของรู และไม่กระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของครู ระบบงบประมาณใน
ปัจจุบันไมเ่ ปิดโอกาสให้ครแู ละโรงเรียนมีสว่ นกาหนดระบบบริหารไมย่ ืดหยนุ่ ให้ครู [4]

ในการบริหารจัดการ ผู้บริหารโรงเรียนไม่มีความรู้ และความสามารถทางการบริหาร ยึด
ความเห็นของตัวเองเป็นหลกั ให้ครูมีส่วนรว่ มในการบริหารโรงเรียนน้า ไม่ให้ความสาคัญในการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครองและชุมชน ไม่แสวงหาทางแก้ปัญหา ไม่มีการพัฒนาตัวเอง แบ่งพรรค แบ่งพวก ใส่ใจกับ
การดารงตาแหน่ง หลงใหลในอานาจตัวเอง ขาดการใส่ใจผู้ใต้บังคับบัญชา ทาให้ไม่ได้สร้างขวัญและ
กาลังใจให้แก่ครูเท่าที่ควร อีกทั้งระบบการดารงตาแหน่งของผู้บริหาร การบริหารงาน ไม่ได้ถูกประเมิน
อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับเพ่ือการปรับปรุงและพัฒนางานในด้านการบริหาร
นอกจากนก้ี ารบรหิ ารงานของโรงเรียน ไมม่ ีการกระจายการมสี ่วนร่วมกบั ชุมชน และท้องถ่ิน บางแห่ง ก็ไม่
มีงบประมาณในการบริหารจัดการ ทาให้ครูไม่พัฒนา ขาดสิ่งอานวยความสะดวก ทาให้โรงเรียนไม่
สามารถก้าวทันกบั เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ นอกจากผู้บริหารไม่พัฒนาตนเองแล้ว ในประเทศไทย
ยังขาดสถาบันพัฒนาผู้บรหิ ารโรงเรยี นระดบั มอื อาชพี ทม่ี ีหลักสตู รทีเ่ ข้มข้นและทันกบั ยคุ สมัย [4]

จากปญั หาที่กลา่ วมาทง้ั หมด จะเห็นไดว้ ่า ปัญหาการศึกษาเปน็ ปญั หาทล่ี ะเอียดอ่อน เกิดข้ึนทั้งระบบ
จากหนว่ ยงานเล็ก ๆ ไปจนถึงระบบทั้งหมดในระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกครู คุณสมบัติของตัวครู
หรือผู้บริหารเอง หลักสูตรท่ีใช้เรียน ระบบการจัดการหลักสูตร การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร การบริหาร
สถานศึกษา งบประมาณในการบริหาร หน่วยงานดูแลควบคุมคุณภาพบัณฑิต และอ่ืน ๆ อีกมากมาย ซ่ึง
ประเดน็ ปัญหาเหลา่ นี้ เปน็ ประเดน็ ทที่ า้ ทายในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาใหม่ท้ังระบบในระดับประเทศ
โดยให้เหมาะสมสาหรับคนรุ่นใหม่ให้ก้าวทันยุคสมัยมากขึ้น เหมาะสมกับชุมชนและท้องถิ่น และเข้ากันกับ
บริบทของประเทศไทย นอกจากนี้ การพลกิ โฉมวงการศึกษา สร้างคา่ นยิ มใหม่ ให้สังคมเห็นความสาคัญของครู
และยกยอ่ งครใู หเ้ ทียบเท่ากบั วชิ าชีพอน่ื ๆ ก็เป็นประเด็นทา้ ทายทตี่ ้องทุกฝาุ ยตอ้ งรว่ มดว้ ยช่วยกนั

ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 32

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลกในอนาคต

สงั คมมนุษยม์ ีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในยุคแรกเป็นต้นมา มีทิศทางของการเปล่ียนแปลงจาก
สังคม เกษตรกรรม ไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ซึ่งสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมแบบง่าย ประชาชนดารงชีพด้วย
การลา่ สตั ว์ เกบ็ หาของปาุ และทาการเกษตร อยู่ในชนบท มีชีวิตท่ีเรียบง่าย ไปสู่สังคมอุตสาหกรรมที่ซับซ้อน
มากกว่า เร่ิมต้ังแต่ ศตวรรษที่ 19 ทาให้เกิดการเปล่ียนแปลงธรรมชาติของชีวิต สังคม และ สถาบันทางสังคม
ทั้งคุณภาพ และปริมาณ สังคมต้องการความชานาญเฉพาะอยา่ ง ความสามารถในการปรับตัว และ การพัฒนา
มากข้ึน ทาให้มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพ ความสัมพันธ์ โครงสร้างของสังคม สังคมส่วน
บุคคล และธรรมชาติของความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล กับระบบสังคม ประเทศไทยได้มีเปล่ียนแปลงจาก
ประเทศเกษตรกรรมสกู่ ารเปน็ อตุ สาหกรรมใหม่ สังคมชนบทกลายเป็นสังคมเมืองมากข้ึน เกษตรกรอพยพย้าย
ถน่ิ ฐานไปอยู่ในเมือง เพื่อประกอบอาชีพในโรงงาน ภาคบริการมากขึ้น จนทาให้จานวนเกษตรกรลดลง ส่งผล
ต่อการพฒั นาดา้ นเศรษฐกจิ บนพ้ืนฐานอตุ สาหกรรม ในด้านสังคมครอบครัว คนก็ให้ความสนใจกับงานมากข้ึน
ทาให้สังคมครอบครัวล่มสลาย อีกทั้งสภาพแวดล้อม น้า อากาศ ดิน เป็นมลพิษมากข้ึน การตัดไม้ทาลายปุา
มากข้ึน การเปลีย่ นแปลงในการเปน็ อุตสาหกรรมมากข้ึนน้ัน สง่ ผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี ความทันสมัยของ
วิชาชีพ วิชาการ และบุคลากรด้านการบริหารจัดการ ความชานาญเฉพาะด้านการผลิตและการบริหารท่ี
ทันสมัย ในสังคมไทยปัจจุบัน มีระบบเศรษฐกิจท่ีมีรายได้จากอุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมก่อสร้าง และ
การบริการ มากกว่ารายได้จากภาคเกษตรกรรม สถานศึกษาก็มีการเปลี่ยนแปลงที่จะพัฒนากาลังคนระดับ
ฝีมือมากขึ้น เพ่ือให้มีทักษะในการประกอบอาชีพ และเข้าสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรม และภาคบริการ เช่น
การโรงแรม การท่องเท่ียว [7] ในปัจจุบัน ยุคข่าวสารหรือโลกสังคมยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบข้อมูล
สารสนเทศไดห้ ลงั่ ไหลเข้าสู่ประเทศไทยอยา่ งรวดเร็วและต่อเนอ่ื ง จงึ ก่อใหเ้ กิดผลกระทบตอ่ การพัฒนาประเทศ
ข้นึ ทุกดา้ น ผลกระทบดังกล่าว ทาใหเ้ กดิ การเปล่ียนแปลง ต่อ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เทคโนโลยี และ
การศึกษา และที่สาคญั ที่สดุ คอื สง่ ผลกระทบอยา่ งรุนแรงต่อวิถชี ีวิต ของคนในสังคมท่ัวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การศึกษา ท่ีต้องมีการเปล่ียนแปลงให้ทันต่อยุคสารสนเทศ การศึกษา มีบทบาทและความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง
ต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม โดยเฉพาะการเตรียมคนเข้าสู่ โลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นภารกิจของ
การศึกษาโดยตรง ดังนั้น การจัดการศึกษาท่ีดีนั้น จะต้องสอดคล้องกับการเปล่ียนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ
วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ทาให้นักการศึกษาต้องกลับมาทบทวนระบบการศึกษา ซ่ึงในระบบการศึกษาต้อง
เปล่ียนไปจากระบบเดิม มุ่งเน้นไปที่ความสาคัญของผู้เรียน และกระบวนการการเรียนรู้ ปัญหาที่เกิด
โดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษา นับว่ามีผลกระทบต่อการจัดการและการบริหารพัฒนาประเทศเป็นอย่าง
มาก ปัญหาการจัดการศึกษาท่ีสาคัญคือการปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับยุคสังคมเทคโนโลยี
สารสนเทศ อยา่ งไรกต็ ามทางรฐั บาลเลง็ เห็นถงึ ความสาคัญของการศกึ ษา และปัญหาทีเ่ กิดข้นึ ซึ่งจะเห็นได้จาก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 8 ได้ให้ความสาคัญกับการพัฒนาคนซ่ึงถือเป็นหัวใจในการ
พัฒนาประเทศ ในฐานะท่ีอุดมศึกษาไทยมีบทบาทสาคัญในการสนองนโยบายการพัฒนาประเทศโดยตลอด
การเรยี นการสอนในรปู แบบใหม่น้ีตอ้ งมกี ารเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ท้ังการเปล่ียนแปลงในรูปแบบของการ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 33

ปรับกระบวนการการเรียนรู้ของผู้เรียน การปรับกระบวนการสอนของครู การปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก การปรับปรุงบทบาทของผู้เรียนและผู้สอน โดยมีจุดมุ่งหมายสาคัญเพื่อพัฒนา
กาลังคน ในการเขา้ ส่สู งั คมในอนาคต ในยุคโลกาภิวัตน์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ทักษะสาหรับศตวรรษที่ 21 (ภาพ
ท่ี 1) มีความจาเป็นต่อคน โดยโรงเรียนจะต้องสอนเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างสินค้าใหม่ได้ มีความหลายหลาย มี
หลายรูปแบบ คนท่ีสามารถจะทาได้จึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์ โรงเรียนเช่นนี้จึงเป็นลักษณะของโรงเรียน
4.0 คือเป็นโรงเรียนของผลผลิต มีนวัตกรรมของความคิดใหม่ เมื่อคิดได้ ก็นาไปทาจนเป็นผล ซ่ึงสุดท้ายแล้ว
เม่ือผู้เรียนจบออกมา ก็จะมีผลในการเปล่ียนแปลงสังคมกับการเปลี่ยนโลกแบบใหม่ [1] และแนวโน้มต่อไปใน
อนาคต ก็มีความเป็นไปได้ท่ีสุดท้ายแล้ว ทุกคนสามารถเรียนรู้ทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง โดยใช้เทคโนโลยีช่วยใน
การค้นหา การเพ่ิมพนู ความร้ตู า่ ง ๆ ดว้ ยตัวเอง บทบาทของโรงเรยี น ของครู ก็จะเปล่ียนไป ซึ่งก็มีผลต่อระบบ
เศรษฐกิจและสงั คมในรูปแบบใหม่ทไ่ี มเ่ หมือนเดิมอกี ต่อไป

ภาพท่ี 1 กระบวนการเรยี นรู้ที่จาเปน็ ในศตวรรษท่ี 21

ทศิ ทางการเปล่ยี นแปลงท่คี วรจะเปน็ ของสังคมไทย
เพ่อื รองรับบรบิ ทโลกในยุค 4.0 ทซี่ บั ซ้อน ไม่แน่นอน ผันผวนและคาดเดาได้ยาก การปรับโครงสร้าง
และแนวทางการบรหิ ารเศรษฐกจิ ทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานหลักคิด
และองคค์ วามรู้ด้านการพฒั นา ซ่ึงยงั สามารถนามาประยุกต์ใช้เพ่ือรองรับการเปล่ียนผ่านระบบเศรฐกิจไปสู่ยุค
4.0 ได้ดี ซ่งึ ในหลักการนั้นเป็นการเน้นการพัฒนาที่คานึงถึงการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ ให้มีการสร้าง
ตวั สร้างฐานะอย่างคอ่ ยเปน็ ค่อยไป ไม่เร่งรีบ เพ่ือรองรับความผันผวนท่ีคาดเดาได้ยาก นอกจากนี้ต้องคานึงถึง
การกระจายผลประโยชน์อย่างทัว่ ถงึ ให้ทกุ คนมคี วามปลอดภยั ความเจริญ และมีความสขุ นัน่ คือ การกระจาย
โอกาสทางการศึกษาและการเขา้ ถงึ เทคโนโลยี การมสี ว่ นร่วมของภาคประชาสังคม การเยียวยาดูแลคนที่ได้รับ
ผลกระทบและต้องปรับตัว การพัฒนาภาคเกษตรและชนบทที่คนกลุ่มใหญ่อาศัยอยู่ ตลอดจนการกระจาย

ปีที่ 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562) 34

อานาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นตัดสินใจได้มากข้ึน ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากขน้ึ อกี ทงั้ ต้องคานงึ ถงึ การยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยให้สูงข้ึน โดยเร่งเพิ่มผลิตภาพ
ในทุกเร่ือง และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ระบบโครงสร้างเศรษฐกิจ
จะต้องมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจท่ีเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว เอื้อให้ประชาชน
และธรุ กจิ ปรับตัวไดเ้ รว็ การโอนยา้ ยทรัพยากรระหวา่ งภาคเศรษฐกจิ เป็นไปไดโ้ ดยง่าย ธุรกิจท่ีมีปัญหาสามารถ
พลิกฟ้ืนได้อย่างรวดเร็ว และธุรกิจใหญ่และเล็กสามารถแข่งขันกันได้อย่างเท่าเทียมกันมากข้ึน สิ่งเหล่าน้ีจะมี
ความเกี่ยวเนอื่ งกบั การปรับระบบกลไกการทางานและบทบาทของภาครัฐ ท่ีเป็นด้านสาคัญกลุ่มท่ีสองของแนว
ทางการขบั เคลอ่ื นเศรษฐกจิ ไทยในยคุ 4.0 [8]

นอกจากนี้การปรับกลไกการทางานและบทบาทของหน่วยงานในภาครัฐก็มีความสาคัญ ท่ีจะช่วยให้
เศรษฐกิจเดินหน้าได้อย่างราบรื่น โดยเน้นเร่ืองการปรับปรุงกฎหมายและกฎเกณฑ์กติกาให้สอดคล้องกับ
พัฒนาการของกฎระเบียบและกติกาที่กาลังเป็นมาตรฐานของโลกใหม่ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย
เช่น กฎหมายที่จะรองรับเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน กฎหมายที่จะกากับดูแลบริการข้ามพรมแดนผ่านเทคโนโลยี
สมัยใหม่ กฎหมายเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลท่ีต้องมีความสมดุลระหว่างการรักษาสิทธิส่วนบุคคลกับการใช้
ประโยชน์จากข้อมูลธุรกรรมเพ่ือประโยชน์ของระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ในการปรับกลไกการทางาน
ของภาครัฐให้โปร่งใสและเปดิ กวา้ ง รฐั บาลควรให้โอกาสประชาชนท่ีจะตรวจสอบ สร้างความไว้เน้ือเช่ือใจ เพื่อ
เป็นเกราะปูองกันเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกแทรกแซงด้วยอานาจที่ไม่ชอบธรรม บทบาทของภาครัฐท่ีไม่จาเป็น
อาจจะถูกตดั ทอน ลดลงได้ [8]

สิ่งที่สาคัญอีกประการในการพัฒนาประเทศ คือ การพัฒนาศักยภาพของคนไทยในเรื่องความรู้และ
ทักษะสาคัญของชีวิต คนไทยต้องมีผลิตภาพสูงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเช่ือมโยงความรู้ ข้อมูล และข่าวสารได้
อย่างกวา้ งขวางและรวดเร็ว ท้ังนคี้ วามทันสมยั ก็อาจจะลา้ สมยั ในเวลาไม่นาน จึงจาเป็นอย่างมากที่ต้องปลูกฝัง
ให้ คนไทยเหน็ ถงึ ความสาคัญของการเรยี นรแู้ ละสามารถท่จี ะเรียนร้เู ร่อื งใหม่ ๆ ได้ต่อเน่ืองตลอดชีวิต และ
ปลูกฝังทักษะที่จาเป็นในการท่ีจะอยู่ในโลกยุค 4.0 เช่น ความพร้อมและความสามารถด้านเทคโนโลยี
ความคิดริเรม่ิ สร้างสรรค์ การส่อื สารทม่ี ีประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการเงิน เป็นต้น นอกจากน้ี คุณธรรม
และทศั นคตเิ ป็นส่งิ สาคญั เพราะเป็นตวั กาหนดพฤติกรรมของคนในสังคม ให้รู้จักพอประมาณ มีเหตุมีผล สร้าง
ภูมิคุ้มกันในตน ให้เห็นความสาคัญของการเป็นคนดี สามารถทางานร่วมกับผู้อ่ืนได้อย่างเมตตา ยอมรับความ
แตกต่าง และเป็นพลเมืองท่ีดี เป็นทัศนคติข้ันพื้นฐานท่ีควรได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดไปยังคนรุ่นต่อไป
เพราะทัศนคติที่ถูกต้องจะเป็นพ้ืนฐานของการดาเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ที่จะยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นในระยะยาว
ดังน้ันองค์กรที่มีความสาคัญในการพัฒนาศักยภาพของคนไทย ก็คือ สถาบันการศึกษา ที่จะต้องเล็งเห็น
ความสาคัญกับการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกใหม่ [8] ครูจึงมีความสาคัญค่อนข้างมาก
ต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ระบบโรงเรียนของประเทศท่ีประสบความสาเร็จทางด้านการศึกษาวัดได้จากคะแนน
PISA เน้นการยึดหลักปฏิบัติเกี่ยวกับครู คือ เลือกคนท่ีดีท่ีสุดมาเป็นครู เรื่องน้ีอาจท้าทาย ให้ระดับนโยบาย
ต้องทางานหนกั ขนึ้ ในการสร้างกลยุทธ์ท่ีจะดึงดูดคนเก่งเข้ามาสู่อาชีพครูให้มากข้ึน รักษาครูท่ีดีไว้และเอาส่ิงที่
ดีท่ีสดุ ออกมาจากครู และทาให้ครกู ้าวเข้าไปทันทีที่เห็นว่านักเรียนกาลังมีปัญหาหรือจะล้าหลังเพื่อน (ตารางท่ี

ปที ่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 35

1) ครูคือผู้ที่ได้สัมผัสกับนักเรียนทุกวันและเป็นผู้ท่ีทาให้นักเรียนได้รับความรู้ตามท่ีคาดหวังว่าจะต้องรู้
อะไรบ้างเม่ืออยู่ในโรงเรียน จึงเห็นได้ว่าในระบบเหล่าน้ี เร่ิมคัดคุณภาพของครูต้ังแต่ก้าวแรกของการเข้ามาสู่
อาชพี ครู สง่ิ ทรี่ ะบบโรงเรียนของไทยควรต้องทาควบคู่กันไปคือ การปรับปรุงยกระดับคุณภาพครูประจาการที่
มีอยู่แล้วในระบบ ทั้งการฝึกอบรมตามภารกิจเฉพาะหน้า การพัฒนาวิชาชีพควบคู่กับผลิตครูใหม่ที่มี
คุณภาพสูง [9]

ตารางที่ 1 การดาเนนิ การคัดเลือกครใู นหลายประเทศ [9]

นอกจากนี้ในด้านการพัฒนาระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศมุ่งปรับปรุงโครงสร้างพ้ืนฐานทาง
การเงินให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมทางการเงินพร้อมกับผลักดัน พ.ร.บ. ระบบการชาระเงินฉบับใหม่ ที่
สอดคลอ้ งกับกฎเกณฑด์ ้านการชาระเงนิ ตามมาตรฐานสากลและ สอดคลอ้ งกบั ยุทธศาสตรก์ ารพฒั นาระบบการ
ชาระเงินของประเทศ เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพการทางานของระบบการเงิน สร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจ และเพิ่ม
โอกาสการเขา้ ถงึ บริการทางการเงินท่ีมีราคาถูกและเป็นธรรมให้แก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างท่ัวถึง และ
มงุ่ ให้ความสาคัญกบั การก้าวใหท้ นั กับเทคโนโลยี เพือ่ ดูแลความเส่ียงจากนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปพร้อมกนั โดยการ
ดาเนินการทีพ่ ฒั นาขึ้นอย่างรวดเร็ว ไดแ้ ก่ การขับเคลอื่ นโครงการระบบการชาระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ท่ี
จะพัฒนาระบบรับและโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (PromptPay) ตลอดจนการกระจายอุปกรณ์รับชาระเงิน
อิเลก็ ทรอนกิ สท์ ว่ั ประเทศ อีกด้านที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสาคัญ คือ การมุ่งยกระดับความร่วมมือ
เม่ือโลกเปล่ียนแปลงเร็วและซับซ้อนมากขึ้น เราจาเป็นต้องทางานร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในภาครัฐ
และเอกชน รวมถึงหน่วยงานกากับดูแลระหว่างประเทศ เพ่ือแลกเปล่ียนความรู้ความเข้าใจให้ก้าวทันการ
เปลีย่ นแปลง และมุ่งพฒั นาบุคลากรใหม้ ีความหลากหลายสอดคล้องกับการทางานของธนาคารกลางสมัยใหม่

ปที ี่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 36

สร้างทศั นคติท่ีพรอ้ มปรบั ตวั รบั การเปล่ียนแปลง มีความมุง่ ม่นั ในการพฒั นาเพอื่ สร้างองค์กรของเราเป็นองค์กร
แหง่ การเรียนรู้ และมีความเป็นเลศิ ด้านการวิจัย ให้สามารถเปน็ องค์กร ที่มองไกล มีหลักการ และร่วมมือ เพื่อ
ความเป็นอยู่ที่ดอี ย่างยัง่ ยนื ของไทย [8]

การปรับตวั ครง้ั ใหญ่ และข้อเสนอใหม่ ๆ ในการดาเนินงานของครูและวิชาชพี ครู

การเรยี นการสอนในวชิ าชีพครูควรมีการปรับตัวใหม้ ีความทันสมัย โดยอาศยั แนวคดิ หลัก [2] ดังนี้
1. การเรียนการสอนในวิชาชีพครู ต้องผลิตครูท่ีรู้เท่าทันบริบทของโลกท่ีเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

เน่อื งจากในโลกอนาคตมีการเปลีย่ นแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว บริบทของสังคมไทยและสังคมโลก
จึงเปล่ียนแปลงไปในทุกมิติทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การเรียนการสอนวิชาชีพครูจึง
จาเป็นทจี่ ะผลิตครใู ห้รูเ้ ท่าทันกับการเปลีย่ นแปลง หลกั สูตรในการผลิตครูมีความสอดคล้องกับสภาวะ
การเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และส่ิงแวดล้อมรอบตัวให้มากข้ึน สิ่งหน่ึงที่ต้องอยู่ในการสอน
ครู คือ ความรู้ทิศทางการพัฒนาประเทศแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ โดยเน้ือหาแผนพัฒนาประเทศนี้จะยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา น้อมนาแนวคิดด้าน
เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศที่มี
รายได้สูง มีความม่ันคง ม่ังค่ัง และยั่งยืนอย่างมีความสุขในสังคม รวมถึงมีการพัฒนาครูให้เป็นครูมือ
อาชพี ท่ีมีสมรรถนะเป็นเลิศในระดับสากล เหมาะสมกับบริบทของไทย ขณะที่ผู้เรียนก็มีแนวทางท่ีจะ
พัฒนาให้คดิ เป็น วิเคราะหเ์ ปน็ ใชเ้ หตุผลเปน็ ควบค่กู บั การนาเทคโนโลยมี าใชใ้ นการเรียนการสอน
2. การเรียนการสอนวิชาชีพครู ต้องพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอนให้ครูรู้เท่าทันผู้เรียนในยุคเจเนอเร
ชันแอลฟา ซ่ึงหมายถึงผู้เรยี นที่เกดิ ในช่วง พศ. 2553 – 2568 ทจี่ ะเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีอย่าง
แท้จริง โดยท่ีผู้เรียนจะมีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างทันการณ์ ยึดติดกับวัตถุนิยม มี
การเรียนรู้ที่เร็ว สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในทุกท่ี และทุกเวลาผ่านเทคโนโลยี และอยู่ในระบบ
การศึกษาที่ยาวนานมากข้ึน ซ่ึงพฤติกรรมเหล่านี้ ทาให้รูปแบบการเรียนการสอนควรเปล่ียนแปลง
โดยครูผู้สอนจะสามารถปรับวิธีการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับเจเนอเรชันของผู้เรียนท่ีเปล่ียนแปลงไป
ทั้งในดา้ นวัตถปุ ระสงค์ การจดั การศึกษา เนื้อหา หลักสตู ร วิธกี ารสอน การวดั และประเมินผล โดยทุก
ข้ันตอนของการเรียนการสอน ครูต้องนาเอาเทคโนโลยีมาเป็นส่วนสาคัญในการสอน และมุ่งเน้นให้
ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้ ด้านหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนการสอนในวิชาชีพครู
ควรเน้นเนื้อหาหรือแนวทางการผลิตครูให้มีความทันสมัย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีเข้า
กับการดารงชีวิตประจาวันได้ ให้ความสาคัญกับทักษะการใช้ชีวิตในโลกใหม่ เน้นฝึกวิชาชีพ เทคนิค
การสอนเหล่านคี้ วรมกี ารสร้างองค์ความรู้ และทกั ษะใหก้ บั ครู ทั้งในเรื่องเทคนิคการสอน รูปแบบการ
สอน และเทคโนโลยีท่เี ป็นเคร่ืองมือท่ีทันสมัยท่ีใช้ในการสอน ซึ่งจะทาให้ครูรู้และเข้าใจธรรมชาติของ
ผู้เรยี น สามารถจัดรปู แบบการเรียนการสอน ประยกุ ตใ์ ชเ้ ทคโนโลยใี นการกระตุ้นผู้เรียน เน้นการสอน
แบบลงมอื ทาได้มากขึน้

ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 37

3. การเรียนการสอนในวิชาชีพครู ต้องเช่ือมโยงกับปัญหาของประเทศ เพ่ือผลิตครูท่ีทันสมัย รู้เท่าทัน
ปัญหาของประเทศ และสร้างประชากรรุ่นใหม่ท่ีสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศผ่านระบบการศึกษา โดยประเทศไทยมีปัญหามากมาย เช่น การขาดจริยธรรม ความขัดแย้ง
ของคนในสังคม ความเหล่ือมล้าในสังคม การทุจริตคอร์รัปชัน เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ก็คือ การเน้นผลิตกาลังคนให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน สร้างนวัตกรรม การเรียนการ
สอนวิชาชีพครูที่ทันสมัย การออกแบบหลักสูตรวิชาชีพครู วิธีการสอน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่
สอดคล้องกับปัญหาดังกล่าว จะช่วยให้ครูรู้เท่าทันปัญหาของประเทศ สร้างประชากรรุ่นใหม่ท่ี
สามารถตอบโจทย์ต่อการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น ครูต้องคิดและอภิปรายถึงแนว
ทางการสามารถพฒั นาผเู้ รยี น หาแนวทางจดั การ ปูองกนั และแกไ้ ขปญั หารว่ มกนั
การพัฒนาและปฏิรูปวิชาชพี ครูในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรฐั อเมริกาได้มกี ารกาหนดแนว

ทางการพฒั นาครูเพื่อให้สอดรับกับแนวทางการปฏิรปู การศึกษาของประเทศ [10] ดังน้ี
1. ปฏิรูปในเชิงโครงสร้างของการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู โดยเริ่มทดลองใช้ต้ังแต่การพัฒนาวิชาชีพ
ครูก่อนประจาการหรือการเริ่มต้นวิชาชีพครู ไปจนถึงการพัฒนาครูระดับปฏิบัติการหรือครูมืออาชีพ
เฉพาะทาง
2. รัฐให้การสนับสนุนส่งเสริมเพ่ือให้เกิดความต่อเน่ืองในเชิงระบบของการพัฒนาวิชาชีพครู ระหว่าง
องค์การภาครฐั กบั องคก์ ารอสิ ระ หรอื องค์การรฐั วสิ าหกิจดา้ นการพฒั นาครู
3. มีการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบการประเมินครูในการประกอบวิชาชีพตามสมรรถนะหรือมาตรฐาน
รายวิชาที่รบั ผดิ ชอบ
4. ให้ความสาคัญ หรือมีการจัดทาเกณฑ์ช้ีวัดสาหรับการประเมินและการเตรียมการด้านวิชาชีพครูท่ีมี
ความชดั เจนตอ่ การปฏบิ ตั ิ
5. จัดต้ังเตรียมการระบบการทางานเพื่อพัฒนาวิชาชีพในรูปแบบของคณะกรรมการมาตรฐานทาง
วชิ าชพี ครู เพ่อื ควบคมุ ดูแลให้เป็นระบบหรอื เป็นมาตรฐานเดียวกนั
6. มีการกาหนดมาตรการจูงใจหรือการกาหนดรูปแบบของค่าตอบแทนทางวิชาชีพให้มีความเหมาะสม
ตอ่ วชิ าชีพ
7. ให้ความสาคัญต่อการสร้างระบบเพ่ือเช่ือมโยงกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูของภาครัฐกับสถาบัน
ด้านครศุ ึกษาแห่งชาติ

นอกจากนี้ จากการวจิ ยั ทศ่ี กึ ษาแนวทางการพัฒนาครูของตา่ งประเทศ [11] โดยพบประเด็นท่นี า่ สนใจโดยสรปุ
ดงั น้ี

1. มีกระบวนการสรรหาผู้มีความสามารถเป็นเลิศเพื่อมาเรียนครูหรือประกอบวิชาชีพครู และปฏิรูป
หลักสตู รการผลติ ครใู หท้ ันสมัย

2. มีการประเมินและต่ออายุใบประกอบวิชาชีพครูเป็นระยะ ๆ รวมท้ังการตรวจสอบคุณภาพของครู
อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง

ปที ่ี 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถุนายน 2562) 38

3. มกี ารแบ่งเขตพื้นทใี่ นการพัฒนาครู โดยมอบหมายใหอ้ ยู่ภายใต้การดูแลของแต่ละมลรัฐ ซ่ึงมีกฎหมาย
บงั คับใช้กับครูในพื้นทีข่ องตน และเน้นการพัฒนาครโู ดยใช้โรงเรียนเปน็ ฐาน

4. มงี บประมาณค่อนข้างสงู ในการจัดโครงการพฒั นาครู
5. มีการพัฒนาแบบเครอื ขา่ ยความรว่ มมือที่มีความเข้มแข็ง
6. มกี ารพัฒนาผู้บรหิ าร เพ่อื ให้สามารถบรหิ ารจัดการพฒั นาครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. มีระบบการรกั ษาและยกย่องครูที่มีผลงานดีเด่นให้คงอยู่ในวิชาชีพครูตลอดชีวิต โดยพัฒนาระบบการ

ให้รางวัลหรอื คา่ ตอบแทนทง้ั แบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม
8. กาหนดแนวทางการพัฒนาครูทั้งแบบระดับชาติ ระดับโรงเรียนและระดับบุคคลตามสมรรถนะที่

จาเป็นต้องพัฒนา
การพัฒนาและปฏิรูปวิชาชีพครูของต่างประเทศน้ัน เป็นลักษณะของกระบวนการในเชิงระบบท่ีเน้น
การพัฒนาท้ังกลุ่มครูก่อนประจาการ ครูประจาการ รวมทั้งการรักษาคุณภาพมาตรฐานทางวิชาชีพโดยการ
ประเมินสมรรถนะอย่างต่อเนอื่ งและการสร้างขวัญกาลงั ใจในวิชาชีพ ซ่ึงในบางยุทธศาสตร์นั้นก็นามาปรับใช้ได้
ในประเทศไทยในปจั จุบนั

จากการศึกษาวจิ ัยโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยแี ห่งมลรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย [12] พบ
ประเดน็ สาคญั ท่ีครูไทยมีความตอ้ งการทจี่ ะไดร้ บั การพัฒนาเชงิ สมรรถนะทางวชิ าชพี ในด้านต่าง ๆ ดงั ต่อไปน้ี

1. รูปแบบขององค์ความรู้แนวใหม่ ครูต้องได้รับทักษะความรู้ท่ีเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆที่จะนาไปจัด
กระบวนการเรียนการสอน และในขณะเดียวกันครูต้องมีความสามารถท่ีจะจาแนกองค์ความรู้ใหม่ ๆ
เหล่านนั้ เพือ่ นาไปใช้ไดอ้ ย่างเหมาะสมกับการเรยี นการสอนได้อกี ด้วย

2. กลยุทธ์การสอนแบบใหม่ เช่น การสอนแบบสะท้อนคิดเชิงวิเคราะห์ หรือการสอนแบบถ่ายโยงองค์
ความรู้

3. การวัดและประเมินผล ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและรูปแบบขององค์ความรู้ที่สอน
สามารถนาไปสู่การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลต่อการวัดและ
ประเมนิ ผลท่เี หมาะสมได้

4. การสอนในเชิงบูรณาการ ครูต้องการเพ่ิมเติมและขยายขอบข่ายแนวคิดในการบูรณาการการจัดการ
เรยี นรใู้ ห้มคี วามลึกซ้งึ มากย่ิงข้ึนมากกว่าท่ีเป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งในลักษณะการบูรณาการแบบรายวิชา
หรอื แบบสหวิชา

5. สมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูต้องการเพิ่มสมรรถนะทางการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยี
สารสนเทศเปน็ ฐานในกระบวนการเรียนรู้ เพอ่ื พัฒนาการเรียนการสอนโดยผเู้ รยี นเปน็ สาคัญ

6. ระบบการนิเทศตดิ ตามช่วยเหลือ ครตู อ้ งการทกั ษะการสรา้ งระบบการนเิ ทศติดตามและช่วยเหลือเพื่อ
สร้างสัมพันธภาพท่ีดีระหว่างครูกับนักเรียน รวมทั้งบทบาทใหม่ของครูในลักษณะของผู้อานวยความ
สะดวก (Facilitators ) ต่อนักเรียนในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นส่ิงท่ีครูต้องสร้างให้เกิดขึ้นคือ
สมรรถนะในเชิงผนู้ เิ ทศและช่วยเหลอื ทีท่ รงประสิทธิภาพ

ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 39

7. การวิจยั ปฏิบตั ิการ ครตู ้องมสี มรรถนะของการเป็นนักวิจัยเพื่อนาไปสู่การพัฒนาท้ังครูและนักเรียนให้
เกิดขนึ้ อยา่ งมปี ระสิทธิภาพทงั้ ในระยะสน้ั และระยะยาว

ทั้งน้ีการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา จะดาเนินการไปได้อย่างราบรื่น จะต้องมีผู้ท่ีเสียสละ ทุ่มเท กับ
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา พร้อมกับสามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเปลี่ยนแปลงการศึกษา และ
เห็นความสาคัญของการศึกษาที่มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มท่ีทั้ง
ภาครัฐและเอกชน จึงจะสามารถพัฒนาระบบการศึกษาทั้งระบบ และส่งผลการเปลี่ยนแปลง การเตรียมการ
รับมอื และการพัฒนาประเทศไทยสสู่ งั คมผู้ผลติ ในอนาคต

เอกสารอา้ งองิ

[1] ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หม้ีแสน, 2560 ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ สานักพิมพ์แห่ง
จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย

[2] บทบาทของครู [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : wwweduc105.wordpress.com/บทบาทของครู (2
พฤษภาคม 2561).

[3] ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน, 2560 ครุศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู สานักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย

[4] สภาพปจั จุบนั และปัญหาวิชาชพี คร.ู [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : wwweduc105.wordpress.com/สภาพ
ปัจจบุ ันและปญั หาวชิ าชพี ครู (2 พฤษภาคม 2561).

[5] สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ คณะ, 2555, ระบบการบริหารและการเงินเพื่อสร้างความรับผิดชอบในการ
จัดการศกึ ษา, เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจาปี 2554 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ
ไทย

[6] ศ.ดร.เกรยี งศักด์ิ เจริญวงศ์ศักดิ์ กฎหมายครูเอกชน วิกฤตท่ีต้องสะสาง หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ เผยแพร่เมื่อ
24 มนี าคม 2552

[7] รองศาสตราจารย์ บาเพ็ญ เขียวหวาน การเปลยี่ นแปลงทางสงั คมไทย และสงั คมโลก ประมวลสาระชุดวิชา
สังคม ไทยกบั การสง่ เสริมการเกษตร

ปีท่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 40

[8] การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยคุ 4.0 ไมใ่ ชท่ างเลือก แต่เป็นทางท่เี ลี่ยงไมไ่ ด้ [ออนไลน์ .]
เขา้ ถงึ ไดจ้ าก : https://medium.com/@waruth/การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลย่ี นแปลงในยคุ 4.0
ไม่ใช่ทางเลือก แตเ่ ป็นทางทเ่ี ลยี่ งไม่ได้ บนั ทกึ สนุ ทรพจนข์ อง ดร.วิรไท สนั ตปิ ระภพ( 3 พฤษภาคม 2561)
[9] ป ระ เ ทศ ท่ี ปร ะ สบ ค ว า มส า เร็ จ เข า ดูแ ล ครู อย่ า งไ ร [ อ อน ไ ลน์ ]. เข้ า ถึง ไ ด้จ า ก

http://km.srk.ac.th/article/a4 (3 พฤษภาคม 2561)
[10] Dilworth, M.E. and Imig , D.G., 1995 Professional Teacher Development and the Reform
Agenda (online) Retrieved from http://www.erigdigest.org/1996-1/reform.htm (May 3, 2017)
[11] พมิ พันธ์ เดชะคปุ ต์ และ พรทิพย์ แขง็ ขัน, 2551 สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครใู นสังคมที่
เปล่ียนแปลง กระทรวงศึกษาธกิ าร, สานกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก
[12] Queensland University of Technology, 2002 The Thailand Education Reform Project.
(online) Retrieved from http://www.edthai.com/publication/0005/fulltext.pdf. (May 3, 2017)

ปีท่ี 5 ฉบับที่ 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 41

หลกั สูตรการศกึ ษาไทย 4.0 การบม่ เพาะนวัตกรสรา้ งสรรค์นวัตกรรม

นาสูอ่ รรถประโยชน์

วรี อร อิม่ ใจ*

บทนา

ในอดีตท่ีผ่านมาการศึกษาไทยมีการปรับเปลี่ยนมาโดยตลอด และทุกครั้งที่สังคมโลกเกิดการ
เปล่ียนแปลงระลอกใหญ่ก็มักเกิดคาถามเก่ียวกับทิศทางการศึกษาไทยเสมอมา ในปัจจุบันนี้ท่ีโลกก้าวเข้าสู่
ศตวรรษท่ี 21 แล้ว กเ็ กิดแนวคิดทางการศึกษาอย่างมากมายเพื่อการเตรียมความพร้อมพลเมืองโลกสู่อนาคต
โดยเฉพาะยุคสมัยที่เราเรียกกันว่า 4.0 ยิ่งส่งผลต่อการกระบวนทัศน์และยุทธศาสตร์ในการสร้างพลเมืองและ
การสร้างชาติในทกุ ๆ ประเทศ ประเทศไทยเองท่ีเป็นสว่ นหนง่ึ ของสงั คมโลกก็เกิดการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง
เพ่อื กา้ วใหท้ นั นานาประเทศ ไม่เพียงเพ่ือให้อยู่รอดแต่เพื่อให้ประเทศไทยเราน้ันแข่งขันและดารงอยู่ท่ามกลาง
สังคมโลกได้อย่างสง่างามและย่ังยืน ปรากฏการณ์ 4.0 ส่งผลให้ทุกแวดวงสาขาต้องปรับตัวเพ่ือให้อยู่รอดและ
แขง่ ขนั กบั นานาชาติได้ และแนน่ อนวา่ กระบวนทัศนใ์ นการออกแบบหลักสูตรในยุคปัจจุบันจึงมุ่งให้ความสนใจ
ไปท่หี ลักสูตร 4.0 ด้วย เพื่อจะไดส้ รา้ งคนให้ตรงกบั ความต้องการของสงั คมและตลาดโลก

ในบทความนี้ ผู้เขยี นไดแ้ บ่งประเดน็ นาเสนอเกย่ี วกับหลกั สตู รการศึกษาของไทยในยุค 4.0 ออกเป็น 3
หัวขอ้ ใหญ่ ได้แก่

1. หลกั สูตรการศกึ ษากบั สังคม 4.0 สัมพันธก์ ันอยา่ งไร
2. แนวคดิ 4.0 ในหลกั สูตรการศกึ ษาของไทย
3. การใช้แนวคิด 4.0 ใหเ้ กิดอรรถประโยชนใ์ นวงการศกึ ษาไทย
ทัง้ สามหัวขอ้ น้ีจะทาใหผ้ อู้ า่ นเหน็ ภาพปรากฏการณ์ 4.0 กบั หลักสตู รการศึกษาของไทย และจะได้เห็น
ภาพวา่ หากนาแนวคิด 4.0 มาใช้ จะเกดิ ประโยชน์ในแงม่ มุ ใดในการจัดการเรยี นรู้และการพฒั นาประเทศ

1. หลักสูตรการศึกษากับสงั คม สัมพันธ์กนั อย่างไร

หลกั สตู ร หมายถงึ ประมวลวชิ าและกจิ กรรมต่าง ๆ ทก่ี าหนดไว้ในการศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด
อยา่ งหนึง่ (ราชบณั ฑติ ยสถาน. ออนไลน์. 2554) และอาจให้คานยิ ามได้ว่า “เปน็ แผนการปฏิบัติ หรือเอกสารท่ี
เขียนขึ้นโดยมียุทธวิธีเพ่ือบรรลุเปูาหมายปลายทางท่ีพึงประสงค์” (สุนทร โคตรบรรเทา. 2553. น.4)
นอกจากนี้ ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา ปี พ.ศ. 2556 ได้กล่าวว่าหลักสูตร คือ
ข้อกาหนดว่าด้วยจุดมุ่งหมาย แนวทาง วธิ กี าร และเนื้อหาสาระในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้
ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทัศนคติและพฤติกรรมตามท่ีกาหนดในจุดมุ่งหมายของการศึกษา โดยมี
เปูาหมายท่ีจะพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการ ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จะ

*ครโู รงเรียนกาเนดิ วทิ ย์

ปีท่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 42

เห็นได้ว่าหลักสูตรนั้นมีความสาคัญอย่างย่ิงต่อการดาเนินงานจัดการศึกษาเพราะเป็นเครื่องมือซึ่งเป็น
ข้อกาหนด แนวทาง วิธีการ และเน้ือหาสาระ ท่ีครูหรือผู้ที่เก่ียวข้องกับการจัดการศึกษาจะได้มีความเข้าใจ
ตรงกันเกีย่ วกบั แนวคิดในการวางแผนการจัดการศกึ ษาใหก้ ับผเู้ รยี นของตน

ส่วน ยุค 4.0 ท่ีปัจจุบันน้ีสังคมโลกและประเทศไทยกาลังกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย และเป็นคา
สาคัญในการพัฒนาของทุกแวดวงในสังคมไทยน้ัน มีความหมายถึงยุคสมัยของสังคมท่ีมีโครงสร้างทาง
เศรษฐกิจแบบ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เพื่อที่จะได้เข้าใจ
การเปลย่ี นผา่ นยุคสมยั ทางสงั คมของประเทศไทยมากย่ิงข้ึนต้องย้อนกลับไปพิจารณายุคสมัยที่ผ่านมาของไทย
โดยเร่ิมตั้งแต่ยุคประเทศไทย 1.0 หรือยุคสังคมเกษตรกรรม และยุคประเทศไทย 2.0 หรือยุคท่ีเน้น
อุตสาหกรรมเบา และเข้าสู่ยุคประเทศไทย 3.0 หรือยุคท่ีเน้นอุตสาหกรรมหนัก กระทั่งเข้าสู่ศตวรรษท่ี 21 ท่ี
โลกเปลี่ยนผ่านจากสังคมอุตสาหกรรมสู่สังคมแห่งนวัตกรรม พลเมืองโลกก็เร่ิมให้ความสาคัญกับการพัฒนา
ปรบั ตวั และเปลยี่ นแปลงเพือ่ ใหก้ ้าวทนั สง่ิ ใหมท่ ีก่ าลงั จะต้องเผชญิ นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่า
การกระทรวงพาณชิ ย์ เป็นผหู้ นง่ึ ทม่ี ีความเชย่ี วชาญในกรอบแนวคิดประเทศไทย 4.0 ได้กล่าวถึงการขับเคล่ือน
ประเทศไทยไว้ว่า ภารกิจสาคัญของรัฐบาลคือ การขับเคล่ือนการปฏิรูป เพื่อให้ประเทศไทยรับมือกับโอกาส
และภัยคกุ คามชุดใหมใ่ นศตวรรษท่ี 21 ได้ และไดย้ กตัวอยา่ งโมเดลเศรษฐกิจรปู แบบใหมท่ ี่หลายประเทศจัดตั้ง
ข้ึนเพ่ือสร้างความม่ังคั่งในศตวรรษท่ี 21 อาทิ สหรัฐอเมริกาที่กาลังขับเคล่ือนโมเดล A Nation of Makers
องั กฤษทก่ี าลงั ผลกั ดัน Design of Innovation ขณะทีท่ างฝง่ั ประเทศเอเชีย เชน่ จนี ได้ประกาศแผน Made in
China 2025 อินเดียกาลังขับเคลื่อน Made in India และเกาหลีใต้ได้วางโมเดลเศรษฐกิจเป็นแบบ Creative
Economy เป็นต้น ขณะทปี่ ระเทศไทยกาลงั ติดอยู่กับ “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” “กับดักความเหลื่อม
ล้าของความม่ังคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” อันเป็นผลจากการพัฒนาในยุค 3.0 หรือยุคที่
เน้นอุตสาหกรรมหนัก การจะก้าวไปสู่ประเทศไทยยุค 4.0 ได้อย่างสง่างามน้ันจึงนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
และจาเป็นอย่างย่ิงท่ีเราจะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ เพราะประเทศไทย 4.0 ไม่เพียงแต่หมายถึงประเทศท่ีมี
นวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ยังสะท้อนถึงสังคมท่ีมีฐานการศึกษาและความรู้ท่ีพึ่งพาตนเองและสามารถแข่งขันกับ
นานาชาติไดอ้ ยา่ งยั่งยนื ด้วย

การขบั เคล่ือนให้เกดิ การเปล่ยี นแปลงสปู่ ระเทศไทย 4.0 นั้น นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ อดีตรัฐมนตรีช่วย
ว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไดก้ ลา่ วสรุปถงึ องคป์ ระกอบสาคัญในการเปล่ยี นแปลง 4 ประการ ได้แก่

1) การเปลีย่ นจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่
ทเ่ี น้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ารวยข้ึน และเป็นเกษตรกรแบบ
ผ้ปู ระกอบการ (Entrepreneur)

2) การเปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ซ่ึงรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา
ไปสู่การเปน็ Smart Enterprises และ Startups ท่มี ศี กั ยภาพสงู

3) การเปล่ียนจาก Traditional Services ซ่ึงมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่า ไปสู่ High Value
Services

ปที ี่ 5 ฉบบั ท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ ุนายน 2562) 43

4) การเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่าไปสูแ่ รงงานทีม่ ีความรู้ ความเชยี่ วชาญ และทกั ษะสูง

การเปล่ียนแปลงองค์ประกอบสาคัญ 4 ประการข้างต้น ต้องเกิดจากการสร้างเสริมวิทยาการความรู้
ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มเทคโนโลยีและ
อุตสาหกรรมเปาู หมาย ซึ่งประกอบไปดว้ ย 5 กลุ่ม ได้แก่

1) กลมุ่ อาหาร เกษตร และเทคโนโลยชี ีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)
2) กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยที างการแพทย์ (Health, Wellness&Bio-Med)
3) กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลท่ีใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
(Smart Devices, Robotics & Mechatronics)
4) กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และ
เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, IoT, Artificial Intelligence & Embedded Technology)
5) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High
Value Services)

การขับเคล่ือนและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 ดังที่กล่าวไปนั้น
ต้องเกิดจากหลายฝุายร่วมมือกัน ประกอบด้วยภาคเอกชน การเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และ
สถาบันวิจัยต่างๆ โดยเน้นตามความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร และมีภาครัฐเป็นฝุายสนับสนุน
นอกเหนือจากฝุายต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว รากฐานสาคัญที่ผลิตความรู้และสร้างกาลังคนก็คือฝุายที่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษาโดยตรง เพราะเป็นฟันเฟืองสาคัญในกระบวนการบ่มเพาะพลเมืองและสร้างกาลังคนให้มีทักษะ
ปญั ญาพร้อมเข้าส่สู งั คม 4.0 ในแต่ละกลุม่ สาขาอาชพี ไดอ้ ยา่ งย่งั ยืน

ในหนังสือ Finnish Lesson 2.0: ปฏิรูปการศึกษาให้สาเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์ ได้
กล่าวถึงความสาคญั และความสัมพนั ธข์ องการศึกษากบั การลงทนุ ดา้ นนวตั กรรมไวว้ ่า

“ความเช่ือมั่นและการลงทุนด้านนวัตกรรมท่ีเพ่ิมขึ้นส่งผลให้เกิดนโยบายการศึกษาใน
ทศวรรษ 1990 ที่เน้นการสร้างความรู้และทักษะขั้นสูงข้ึนควบคู่ไปกับความคิดสร้างสรรค์และการ
แก้ไขปัญหา การเน้นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างเข้มข้น มีส่วนอย่างย่ิงต่อการ
เติบโตของบริษัทโนเกียในฐานะผู้นาโลกด้านเคร่ืองมือสื่อสารแบบพกพารวมทั้งบริษัทสตูรา เอนโซ
(Stora Enso) ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ มหาวิทยาลัยจานวนหน่ึงของฟินแลนด์มี
ความสัมพันธ์ด้านการวิจัยและพัฒนาที่แนบแน่นกับบริษัททั้งสองแห่งนี้ อันท่ีจริงแล้วหน่วยงานรัฐท่ี
ดแู ลดา้ นการสรา้ งนวัตกรรมก็มีบทบาทแข็งขันในการอานวยความสะดวกเพ่ือให้เกิดนวัตกรรม ซึ่งถือ
เป็นองค์ประกอบที่สามของสามเหลี่ยมแห่งองค์ความรู้และนวัตกรรมของประเทศฟินด์แลนด์
(สามเหลี่ยมนี้ประกอบด้วยการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรม)

(วิชยา ปิดชามุก, 2560, น.304)

ปที ่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 44

จากเนือ้ ความดังกล่าว แสดงให้เห็นตัวอย่างการประสบความสาเร็จของประเทศฟินแลนด์ท่ีมุ่งพัฒนา
และผลักดนั การศกึ ษา การวจิ ัย และนวตั กรรม จนทาให้ประเทศก้าวสู่ความสาเร็จมาได้ และส่งผลให้การศึกษา
ของประเทศข้ึนสู่อันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาของไทยซ่ึงเป็นแนวการปฏิบัติของ
องค์ประกอบต่าง ๆ ในการจัดการศกึ ษาจงึ ตอ้ งสอดคล้องและส่งเสริมกับสังคมยุค 4.0 ดว้ ย กล่าวได้ว่าต้องเป็น
หลักสูตร 4.0 เพอื่ สร้างเดก็ ไทยให้เตบิ โตเปน็ พลเมืองทม่ี ีทักษะและความรู้พร้อมรบั มือกับความเปล่ยี นแปลง

2. แนวคิด 4.0 ในหลักสตู รการศึกษาของไทย
แนวคิดหรือวิธีการในการบ่มเพาะคนเข้าสู่สังคม 4.0 ท่ีปรากฏในหลักสูตรการศึกษาไทยนั้น มัก

ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นลายลักษณ์ในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรระยะส้ันท่ีเปิดอบรมคนใน
สาขาหรือทกั ษะเฉพาะทางตา่ ง ๆ ทเี่ อ้ือต่อการประกอบอาชีพหรือพัฒนาทักษะที่เหมาะกับยุค 4.0 กล่าวคือ มี
การสร้างและเปิดหลักสูตรท่ีกล่าวโดยตรงเก่ียวกับสังคม 4.0 ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากในโครงการความ
ร่วมมือระหว่างสานักงานนวัตกรรมแห่งชาติกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมกันสร้าง
หลักสูตรเพอ่ื ผลิตบัณฑิตทีม่ ีทกั ษะและความสามารถทางดา้ นการสรา้ งสรรคน์ วตั กรรม

หากวิเคราะห์ลงมาในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ลักษณะท่ีเกี่ยวเนื่องกับ 4.0 อัน
ได้แก่ทักษะสาคัญต่าง ๆ นั้นมีปรากฏอยู่บางประการในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 แต่กระน้ันไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าเป็นการสนองตอบต่อสังคม 4.0 แม้ว่ารัฐบาลจะมีการออก
เอกสารและแถลงการณ์เกี่ยวกับการสร้างสังคม 4.0 แต่กระนั้นในเอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ัน
พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 กย็ งั ไม่ไดม้ กี ารกล่าวถงึ เน้อื หาท่เี นน้ หลกั สตู รเชิงผลิตภาพ หรอื หลักสูตร 4.0 อย่าง
เด่นชัดนัก ดังจะเห็นได้จากในตารางซึ่งผู้เขียนได้ถอดสาระสาคัญในเอกสารหลักสูตร ที่แสดงการบ่มเพาะ
นักเรียน 4.0 แต่ก็ไม่ได้ปรากฏอย่างชัดแจ้ง หากแต่เป็นทักษะท่ีอยู่ในแนวคิดการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 อยู่
แลว้ ดงั นี้

หัวข้อเน้ือหาสาระในเอกสารหลักสูตร สาระสาคัญท่แี สดงความเปน็ 4.0

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช (การบม่ เพาะความเป็นนวัตกร

2551 และการส่งเสรมิ การสรา้ งสรรคน์ วัตกรรม)

ข้อ 1. วสิ ัยทัศน์ “....มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญบนพื้นฐานความเช่ือว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้

และพัฒนาตนเองได้เตม็ ตามศักยภาพ”

ข้อ 2. จุดมุ่งหมาย “ขอ้ 1. ...เห็นคุณคา่ ตนเอง มีวนิ ยั ...

ข้อ 2. มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้

เทคโนโลย.ี ..”

ขอ้ 3. สมรรถนะสาคญั ของผเู้ รียน ข้อ 1 ความสามารถในการส่อื สาร

ข้อ 2 ความสามารถในการคิด

ขอ้ 3 ความสามารถในการแกป้ ญั หา

ข้อ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (....การปรับตัวให้ทันกับการ

เปลย่ี นแปลงของสงั คมและสภาพแวดลอ้ ม...)

ปีท่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดือน มกราคม-มถิ นุ ายน 2562) 45

หัวข้อเน้ือหาสาระในเอกสารหลักสูตร สาระสาคัญที่แสดงความเปน็ 4.0

แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช (การบม่ เพาะความเป็นนวัตกร

2551 และการสง่ เสรมิ การสรา้ งสรรคน์ วัตกรรม)

ข้อ 5 ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยี

ข้อ 4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ขอ้ 3 มวี ินัย

ขอ้ 6 มุ่งม่ันในการทางาน

ข้อ 5. มาตรฐานการเรยี นรู้ 8 มาตรฐานการเรียนรู้

1. ภาษาไทย

2. คณิตศาสตร์

3. วทิ ยาศาสตร์

4. สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5. สุขศกึ ษาและพลศึกษา

6. ศิลปะ

7. การงานอาชพี และเทคโนโลยี

8. ภาษาต่างประเทศ

ส่วนหลักสูตรหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนกรณีตัวอย่างท่ีนามาศึกษา ได้แก่ โรงเรียนดรุณ

สิกขาลัยโรงเรียนลาปลายมาศพัฒนา โรงเรียนกาเนิดวิทย์ และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลกั สตู รของโรงเรยี นเหล่าน้นี บั วา่ สนองตอบต่อสังคม 4.0 เป็นอย่างมาก อันจะเห็นได้จากลักษณะการจัดการ

เรียนรแู้ ละสาระสาคัญบางประการในหลักสตู รทมี่ งุ่ เน้นให้นกั เรียนมุ่งไปสนู่ กั คิดคน้ และนักนวตั กรรม

ในบทความน้ผี ู้เขยี นขอเสนอตารางวัดประเมินความเปน็ หลกั สตู ร 4.0 ซงึ่ ผู้เขียนไดน้ าแนวคิดสาคัญมา

จากเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด 4.0 ของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ และศาตราจารย์ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เพื่อนา

สาระสาคัญมาสร้างเป็นกรอบการประเมินหลักสูตร 4.0 ผลปรากฏว่าหลักสูตรของโรงเรียนกรณีศึกษา 4

โรงเรียน มีเน้ือหาสาระท่ีแสดงความเป็นหลักสูตร 4.0 เกินร้อยละ 80 ท้ังด้านแนวคิดพื้นฐานของหลักสูตร

การมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนเพ่ือนาไปสู่การแก้ปัญหาบริโภคนิยม วิธีการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการวัดประเมินผล

ผูเ้ รยี น ดังในตาราง

ตารางวเิ คราะหห์ ลกั สตู รท่บี ม่ เพาะนักเรยี น 4.0

รายการ 1* 2** 3*** 4****

1. แนวคดิ พื้นฐานของหลักสูตร

1.1 แสดงออกถึงความเข้าใจในความแตกต่างและความหลากหลายทาง    
ศักยภาพของผู้เรยี น และสง่ เสริมให้ผ้เู รยี นเตบิ โตตามศักยภาพ

1.2 แสดงออกถงึ ความยดื หยุ่นในการจดั การศึกษาแก่ผเู้ รยี น   
 
1.3 แสดงออกถงึ การสรา้ งแรงจูงใจและความมุ่งมน่ั ใหเ้ กดิ แกผ่ ูเ้ รียน 
 
1.4 แสดงออกถึงบทบาทของครูท่ีมีความสาคัญในการกระตุ้น ส่งเสริมและ  
พัฒนานักเรยี น

ปที ่ี 5 ฉบับท่ี 8 (ประจาเดอื น มกราคม-มิถนุ ายน 2562) 46

รายการ 1* 2** 3*** 4****

2. แนวคิดของหลกั สตู รเพื่อเสรมิ ทกั ษะในการแกป้ ญั หาบริโภคนยิ ม

2.1 เสรมิ สร้างการคิดวเิ คราะห์ (Critical Mind)   
2.2 เสริมสรา้ งการคดิ สร้างสรรค์ (Creative Mind)   
2.3 เสริมสร้างการคิดผลติ ภาพ (Productive Mind)   
2.4 เสริมสรา้ งความรับผิดชอบ (Responsible Mind)   
3. วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างผลผลิต (Product) และนวัตกรรม

(Innovation)

3.1 มีกระบวนการสร้างนักเรียนให้เป็นผู้สร้างผลงาน (Producer) โดยการ    
ผลติ ผลงานหรอื นวตั กรรม

3.2 มีกระบวนการส่งเสรมิ ใหน้ กั เรยี นใช้เทคโนโลยี   
 
3.3. มีกระบวนการส่งเสรมิ ให้นักเรียนทางานเป็นทมี   

3.4 มีกระบวนการส่งเสริมให้นักเรยี นแสวงหาความรูด้ ้วยตนเอง   

3.5 มีกระบวนการส่งเสริมให้นักเรียนเผยแพร่ความรู้ ผลงาน หรือนวัตกรรม  
สชู่ มุ ชนและสังคม เพอื่ นามาปรับปรงุ แก้ไข

3.6 มกี ระบวนการสง่ เสรมิ การฝึกทักษะของนักเรยี นอย่างสมา่ เสมอ   
4. การวดั ประเมินผลผู้เรียน

4.1 มีการวดั ประเมินผลผูเ้ รยี นตามศักยภาพ   
4.2 มีการวดั ประเมินผลทักษะและผลงานของผู้เรยี น   
4.3 มกี ารวัดประเมินผลความก้าวหนา้ ของผเู้ รียน   

1*โรงเรียนดรุณสกิ ขาลยั
2**โรงเรยี นลาปลายมาศพฒั นา
3***โรงเรียนกาเนดิ วิทย์
4****โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากผลการศึกษาดังกล่าว นาไปสู่ข้อสังเกตหลายประการ ได้แก่ ประการแรก ลักษณะ 4.0 เป็น
ปรากฏการณ์ของสังคมและโลก ประเทศไทยและประเทศท่ีมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจให้ความสนใจเป็น
อย่างมาก และกาหนดเป็นจุดยุทธศาสตร์ของประเทศ ส่งผลการแวดวงการศึกษาเพราะเล็งเห็นว่าจะเป็นตัว
ช่วยขบั เคล่ือนให้ชาตกิ ้าวหนา้ แต่น่าสนใจวา่ การจะกา้ วส่คู วามสาเร็จท่ีกลา่ วมานั้น ตอ้ งมอี งคป์ ระกอบอ่ืนเสริม
ทพั ด้วยหรอื ไม่ เพราะลาพังความเป็น 4.0 อาจไมท่ ่ัวถงึ และครอบคลมุ ให้ทุกฝุายเลือกเส้นทางบนปรากฏการณ์
นเ้ี พ่ือขับเคล่อื นตวั เองและประเทศ

ประการตอ่ มา โรงเรียนที่มีองค์ประกอบ 4.0 อยู่มักเป็นโรงเรียนเกิดใหม่ กล่าวคือ มีอายุการก่อตั้งไม่
ถึง 10 ปี หรืออาจเป็นโรงเรียนทางเลือก ที่พยายามสร้างอัตลักษณ์และมุ่งพัฒนานักเรียนให้เกิดความ
เชี่ยวชาญตามศักยภาพ แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนลักษณะน้ีมีอิสระในการปรับตัวและสร้างสรรค์หลักสูตรของ


Click to View FlipBook Version