The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by herbdoa, 2022-08-25 21:49:23

วารสารกีฎและสัตววิทยา ปีที่ 40 ฉบับที่่ 1

ฉบับที่่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 1

กีฏและสัตววิทยาวารสาร2 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE

เจ้าของ วตั ถุประสงค์

สมาคมกีฏและสตั ววทิ ยาแห่งประเทศไทย • เผยแพรข่ ่าวสารทางวชิ าการ
• เสนอความก้าวหน้าในงานวิจัย
ทปี่ รกึ ษา • สนบั สนุนใหน้ ักวชิ าการมคี วามต่ืนตวั ในการ

นายกสมาคมกีฏและสัตววทิ ยา ปฏบิ ตั ิงาน
• เปดิ โอกาสใหน้ ักวิชาการแสดงความคิดเห็นใน
ชวู ิทย์ ศขุ ปราการ
งานคน้ คว้าและวิจัย
อรนชุ กองกาญจนะ • เชอื่ มความสมั พันธ์ระหว่างนักวิชาการสาขาตา่ ง ๆ

ชมพนู ุท จรรยาเพศ ด้านกฏี และสตั ววิทยาทวั่ ประเทศ

บษุ รา จนั ทรแ์ ก้วมณี ข้อความหรือบทความในวารสารนี้
สามารถนำไปอ้างอิงหรือพิมพ์เผยแพร่ได้ โดย
บรรณาธกิ าร ต้องใส่ชื่อผู้เขียนด้วย ผู้ที่ต้องการรายละเอียด
เพิ่มเติมโปรดติดต่อโดยตรงกับผู้เขียน
ดร.มานติ า คงชนื่ สิน
จัดพิมพ์โดย
ผู้ชว่ ยบรรณาธิการ กรกต ดำรักษ์
สมาคมกฏี และสตั ววทิ ยาแห่งประเทศไทย
ดร.วนาพร วงษ์นิคง
สำนกั งาน
ณพชรกร ธไภษชั ย์
ตกึ สมาคมกีฏและสัตววิทยาแหง่ ประเทศไทย
กองบรรณาธกิ าร (ตั้งอยู่ภายในบริเวณกรมวิชาการเกษตร)

สวุ ฒั น์ รวยอารีย์ ถนนสุวรรณวาจกกสกิ ิจ เกษตรกลาง จตจุ กั ร
กรงุ เทพฯ 10900
ดร.เกรียงไกร จำเรญิ มา
โทร./โทรสาร 0 2940 5825
พุฒนา รุง่ ระวี http://www.ezathai.org
Email: [email protected]
รศ.ดร.วบิ ูลย์ จงรัตนเมธีกลุ
จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบบั มิถุนายน และธันวาคม
รศ.ดร.คำรณวิทย์ ทพิ ย์มณี ผ้ทู ปี่ ระสงค์จะสง่ ผลงานวิจัย บทความ หรือสาระน่ารู้
เก่ียวกบั กฏี วิทยาและสตั ววิทยา ลงตีพิมพ์ในวารสารฯ
รศ.ดร.นันทศักด์ิ ปิ่นแกว้ สามารถสง่ มาไดท้ าง Email: [email protected]

ดร.สภุ ราดา สุคนธาภริ มย์ ณ พทั ลงุ

ผศ.ดร.เยาวลกั ษณ์ จนั ทรบ์ าง

ศ.ดร.ธีรภาพ เจรญิ วริ ยิ ะภาพ

รศ.ดร.โสภณ อไุ รชืน่

ดร.รจนา ไวยเจริญ

สัญญาณี ศรีคชา

ดร.จารวุ ัตถ์ แต้กลุ

ดร.พฤทธชิ าติ ปุญวฒั โท

ดร.พลอยชมพู กรวภิ าสเรือง

ประชาสัมพันธ์

สัจจะ ประสงค์ทรัพย์

ภัทรพร สรรพนุเคราะห์

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 3

4 วารสารกีฏและสัตววิทยา ปีที่ 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

วารสารกีฏและสัตววิทยา Entomology and Zoology Gazette
ปที ี่ 40 ฉบับที่ 1 (2565) Volume 40 No. 1 (2022)

สารบัญ

บทบรรณาธิการ หนา้

ผลงานวจิ ัย 1
2
• ชนดิ แมลงวันหนอนชอนใบ (Diptera: Agromyzidae) พชื อาหาร และการแพรก่ ระจาย 17
ในประเทศไทย
ยวุ รินทร์ บญุ ทบ สุนดั ดา เชาวลิต ชมยั พร บัวมาศ สทิ ธิศโิ รดม แก้วสวัสด์ิ สริ ชิ ัย สาธุวจิ ารณ์ 50
65
• อนุกรมวิธานและความหลากชนิดของต๊ักแตนหนวดสนั้ (Orthoptera) ในพื้นทป่ี ลูกอ้อย
ของประเทศไทย 74
จารวุ ัตถ์ แต้กุล จีระศักดิ์ กอคูณกลาง ยวุ รนิ ทร์ บุญทบ สนุ ดั ดา เชาวลติ ชมัยพร บัวมาศ 79
อทิ ธพิ ล บรรณาการ เกศสุดา สนศิริ อาทิตย์ รกั กสิกร จอมสุรางค์ ดวงธสิ าร สทิ ธศิ โิ รดม แก้วสวสั ดิ์ 82

• ชีววิทยาและการเจรญิ เตบิ โตของเหาหนงั สือ Liposcelis spp. (Psocoptera: Liposcelidae)
ท่ีพบในเขตภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือของประเทศไทย
ศรตุ า สทิ ธไิ ชยากลุ รังสิมา เก่งการพานชิ ภาวนิ ี หนูชนะภัย ดวงสมร สุทธสิ ุทธ์ิ

• ประสิทธภิ าพของสารฆ่าแมลงในการปอ้ งกนั กำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถว่ั
Melanagromyza sojae Zehntner ในถั่วเหลอื ง
สิรกิ ญั ญา ขุนวิเศษ สุชาดา สุพรศิลป์ สรรชยั เพชรธรรมรส

บทความ

• มวนสกุล Nesidiocoris : มวนตัวหำ้ ท่ีนา่ สนใจ
จอมสุรางค์ ดวงธิสาร

• ชื่อแมลงวันผลไม้ ทำลายแต่ผลไม้เหมือนชื่อหรอื เปลา่ นะ?
สญั ญาณี ศรคี ชา

คำแนะนำในการเตรยี มเรื่องตพี ิมพใ์ น “วารสารกฏี และสัตววิทยา”

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 1

บทบรรณาธกิ าร

วารสารกีฏและสัตววิทยา ได้ตีพิมพ์มาจนถึงปีที่ 40 แล้ว ในฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2565) ของปีที่ 40
ผลงานวิจัยที่นำเสนอในฉบับนี้เป็นงานด้านอนุกรมวิธานและการจำแนกชนิดของแมลงศัตรูพืชที่ไม่ได้มีการทบทวนมา
เป็นเวลานาน เช่น การศึกษาชนิดของแมลงวันหนอนชอนใบในวงศ์ Agromyzidae และการศึกษาอนุกรมวิธานของ
ตั๊กแตนหนวดสั้นในพื้นท่ีปลูกอ้อยในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการอารักขาพืช และนำไป
จัดทำบัญชีรายชื่อศัตรูพืช (pest list) สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชนำเข้าและส่งออก สร้างความเชื่อม่ัน
ในการเจรจาต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้น ฉบับนี้ได้เสนอผลงานวิจัยที่น่าสนใจในเร่ืองชีววิทยาและ
การเจริญเติบโตของเหาหนังสือ Liposcelis spp. ซึ่งเป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บผลิตผลเกษตรที่เป็นปัญหาชนิดหน่ึง
ผู้เขียนนำเสนอลักษณะทางสัณฐานวิทยาเพื่อจำแนกชนิดเป็นภาพที่ชัดเจนจากกล้องจุลทรรศน์แบบ scanning
electron microscope และผลวิจัยด้านชีววิทยา วงจรชีวิต เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการศึกษาการป้องกันกำจดั
เหาหนังสือ ผลงานวิจัยเรื่องสุดท้ายในเล่ม คือ ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว
ในถั่วเหลือง ผลการทดลอง พบชนิดของสารฆ่าแมลงท่ีมีประสิทธิภาพ อัตราการใช้ พร้อมทั้งวิธีการพ่นที่เหมาะสม
เพื่อแนะนำให้เกษตรกรใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถ่ัวในถ่ัวเหลืองต่อไป สำหรับบทความในฉบับนี้
มี 2 เรื่อง ได้แก่ มวนตัวห้ำที่น่าสนใจในสกุล Nesidiocoris และเรื่องเกี่ยวกับแมลงวันผลไม้ที่ไม่ได้ทำลายเฉพาะผลไม้
เทา่ นัน้ แตส่ ามารถเข้าทำลายผลของพชื อื่น ๆ ทีเ่ ป็นพชื ผกั พืชปา่ และวชั พชื ดว้ ย

ผูส้ นใจสามารถสบื คน้ ข้อมลู ผลงานวจิ ัยและบทความในวารสารกฏี และสตั ววทิ ยาไดผ้ า่ นทาง www.ezathai.org

ดร.มานิตา คงช่นื สนิ
บรรณาธิการ

2 วารสารกีฏและสัตววิทยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

ผลงานวจิ ัย

ชนิดแมลงวันหนอนชอนใบ (Diptera: Agromyzidae) พืชอาหาร
และการแพรก่ ระจายในประเทศไทย

Leafminer Flies (Diptera: Agromyzidae), Their Host Plants
and Distribution in Thailand

ยวุ รนิ ทร์ บญุ ทบ1/ สุนัดดา เชาวลติ 1/ ชมยั พร บวั มาศ1/
สิทธศิ ิโรดม แกว้ สวสั ด์ิ1/ สิรชิ ยั สาธวุ จิ ารณ์2/

Yuvarin Boontop1/ Sunadda Chaovalit1/ Chamaiporn Buamas1/
Sitisirodom Kaewsawat1/ Sirichai Sathuwijarn2/
_________________________
Abstract

Leafminers in Family Agromyzidae comprise a pest group that causes both considerable
economic losses and serious quarantine problems. In this study, the host plants and the distribution
from various vegetable crops were evaluated. The leafminers were collected and identified, five
species of Liriomyza were found: Liriomyza brassicae (Riley, 1884), L. chinensis (Kato, 1949), L.
huidobrensis (Blanchard, 1926), L. sativae Blanchard, 1938 and L. trifolii (Burgess 1880). Host plants
and distribution data were compiled for each species. Liriomyza sativae has the most diverse range
of host plants, being recorded from 11 Families 21 vegetable crops. Moreover, L. brassicae (3 Families
6 species), L. chinensis (2 Families 4 species), L. trifolii (3 Families 3 species) and L. huidobrensis (1
Family 1 species). Liriomyza species are widely spread in Thailand, except L. huidobrensis which can
be found only the highlands in the northern part of Thailand.

Keywords : leafminer flies, host plants, distribution

______________________________________________________________________________________

1/ กลุม่ กฏี และสัตววทิ ยา สำนักวิจยั พัฒนาการอารกั ขาพชื กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
1/ Entomology and Zoology Group, Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900
2/ กลุ่มบริหารศตั รพู ชื สำนกั วิจัยพัฒนาการอารกั ขาพชื กรมวชิ าการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
2/ Plant Pest Management Research Group, Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok

10900

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 3

บทคัดย่อ
แมลงวันหนอนชอนใบวงศ์ Agromyzidae เป็นแมลงศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก
การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาชนิดของแมลงวันหนอนชอนใบในวงศ์ Agromyzidae พืชอาหารและการแพร่กระจาย
ในประเทศไทย โดยสำรวจจากแปลงปลูกผักต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคตั้งแต่ เดือนมีนาคม2561 - เดือนมีนาคม 2564 พบ
แมลงวันหนอนชอนใบจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ Liriomyza brassicae (Riley, 1884), L. chinensis (Kato, 1949), L.
huidobrensis (Blanchard, 1926), L. sativae Blanchard, 1938 และ L. trifolii (Burgess, 1880) และได้ทำการ
รวบรวมข้อมูลพืชอาหารและการแพร่กระจายของแมลงวันหนอนชอนใบแต่ละชนิด พบว่า Liriomyza sativae เข้า
ทำลายพืชได้มากถึง 11 วงศ์ 21 ชนิด แมลงวันหนอนชอนใบ L. brassicae (3 วงศ์ 6 ชนิด), L. chinensis (2 วงศ์ 4
ชนิด), L. trifolii (3 วงศ์ 3 ชนิด) และ L. huidobrensis (1 วงศ์ 1 ชนิด) และสำรวจพบแมลงวันหนอนชอนใบ L.
brassicae, L. chinensis, L. sativae และ L. trifolii ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่พบ L. huidobrensis ได้
เฉพาะแหล่งปลูกพืชบริเวณท่รี าบสงู ในภาคเหนือของประเทศไทย

คำหลัก : แมลงวันหนอนชอนใบ พชื อาหาร การแพร่กระจาย

คำนำ
ปัจจุบันแมลงวันหนอนชอนใบกลายเป็นหนึ่งในศัตรูพืชกักกันในหลาย ๆ ประเทศ และสำหรับประเทศไทยนั้น
มักพบแมลงวันหนอนชอนใบเข้าทำลายพืช ผัก ทางการเกษตร ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำ จัดเป็นศัตรูพืชที่สร้างความ
เสียหายต่อการทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง และจากความสามารถในการเข้าทำลายพืชได้มากมายหลากหลายชนิด โดย
มกั พบเข้าทำลายพชื ตระกูลผักและไม้ดอกไมป้ ระดบั (Parrella et al., 1984) จึงมักพบแมลงวันหนอนชอนใบติดไปกับ
พืช ผัก ที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ หากประเทศปลายทางตรวจพบจะก่อให้เกิดการกีดกันทางค้าตามมา จาก
รายงานที่ผ่านมาพบแมลงวันหนอนชอนใบเข้าทำลายพืชผักสง่ ออกมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะพืชในวงศ์ (Family)
Cucurbitaceae ได้แก่ แตงชนิดต่าง ๆ พืชในวงศ์ Leguminosae ได้แก่ ถั่วชนิดต่าง ๆ พืชในวงศ์ Solanaceae เช่น
มะเขือ และในวงศ์ Cruciferaceae เชน่ กะหลำ่ ปลี ผักกวางตุ้ง
จากความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรที่แมลงวันหนอนชอนใบเข้าทำลาย และจากข้อกำหนดทางการคา้
เกี่ยวกับแมลงวนั หนอนชอนใบในหลาย ๆ ประเทศนั้น จึงมีความจำเป็นทีจ่ ะต้องศึกษาชนิดของแมลงวันหนอนชอนใบ
พืชอาหาร และการแพร่กระจายของแมลงวันหนอนชอนใบที่พบในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเพื่อ
สนับสนุนการการจัดทำบัญชีรายชื่อศัตรูพืช (Pest list) และการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk Analysis:
PRA) นอกจากนี้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นฐานข้อมูลในการวางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการบรหิ ารจัดการ
แมลงวันหนอนชอนใบอยา่ งยัง่ ยนื ตอ่ ไปในอนาคต

อปุ กรณแ์ ละวธิ กี าร
อุปกรณ์

1. อปุ กรณแ์ ละสารเคมีทใี่ ช้เกบ็ ตัวอย่างแมลง ไดแ้ ก่ เครอ่ื งดดู แมลง (aspirators) ปากคีบ พู่กัน กล่องพลาสติก
กลอ่ งรักษาความเย็น ขวดดองแมลง สารเคมี เช่น alcohol 75 - 95%

4 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

2. อปุ กรณท์ ่ีใช้สำหรับจดั รปู รา่ งแมลงเพ่อื จำแนกชนดิ ได้แก่ ขวดฆา่ แมลง เข็มปกั แมลง ตู้อบแมลง อุปกรณ์ท่ีใช้
สำหรบั จัดเก็บและรกั ษาแมลงในพิพิธภณั ฑ์ ได้แก่ การบรู กลอ่ งกระดาษใส่ตวั อย่างแมลง และหบี ใสต่ วั อย่างแมลง

3. อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ทำสไลด์ถาวร ได้แก่ เข็มเขี่ย ปากคีบ สไลด์ กระจกปิดสไลด์ Canada balsam
น้ำยาโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) 10% น้ำกลั่น แอลกอฮอล์ (alcohol) 75 และ 95% กรดซิตริค (citric acid)
ตอู้ บแผน่ สไลด์แกว้ และกล่องใส่สไลด์ถาวร

4. อุปกรณ์ท่ีใช้ในการศึกษาชนิดและการถ่ายภาพแมลงวันหนอนชอนใบ ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ
(stereo microscope) Leica รนุ่ M 165C (Leica Microsystems Ltd, Switzerland)

5. เอกสารประกอบการจำแนกชนิดแมลงวันหนอนชอนใบ ได้แก่ เอกสารแนวทางการวินจิ ฉัยชนิดของแมลงวนั
หนอนชอนใบ Workshop on leafminers of vegetables in Southeast Asia. CABI-SEARC (Lim et al., 1999) และ
New records of Liriomyza Mik (Agromyzidae: Diptera) leafminers from Indonesia (Malipatil et al., 2004)
วธิ ีการ

1. การรวบรวมและจำแนกตวั อยา่ งแมลงวันหนอนชอนใบ
1.1 เกบ็ รวบรวมแมลงวันหนอนชอนใบจากการสำรวจแปลงเพาะปลูกพืชผักต่าง ๆ โดยเก็บรวบรวมตัวอย่าง

จากพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย (ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคใต้) เลือกจังหวัดท่ีเป็นตัวแทนของพื้นที่ทำการเกษตรของภูมิภาคนั้น ๆ โดยใช้เครื่องดูดแมลงเก็บตัวเต็มวัย
แมลงวันหนอนชอนใบ และเก็บรวบรวมพืชที่พบร่องรอยการทำลายจากแมลงวันหนอนชอนใบ ซึ่งมีลักษณะเป็น
ทางเดินคดเคี้ยว เกิดจากตัวหนอนแมลงวันหนอนชอนใบกัดกินเข้าทำลายเนื้อเยื่อใบพืช เก็บรวบรวมตัวอย่างพืชผักที่
ตัวหนอนแมลงวันหนอนชอนใบทำลายจากแปลงพืชผักสวนครัวต่าง ๆ เช่น แตงกวา ฟักทอง ถั่วฝักยาว บวบ ฟักและ
อื่น ๆ นำตัวอย่างพืชที่พบใส่ถุงหรือกล่องพลาสติกที่มีรูระบายอากาศ บันทึกวันที่ เดือน ปี และสถานที่เก็บ และนำ
กลบั มาเลยี้ งยงั หอ้ งปฏิบตั กิ ารจนเป็นตัวเต็มวยั เกบ็ รกั ษาไวใ้ นแอลกอฮอล์ 95 เปอรเ์ ซน็ ต์ มีป้ายขนาดเล็กบอก สถานท่ี
วนั เดือนปี ผูเ้ ก็บ และชือ่ พืชท่ีเกบ็

1.2 การจำแนกชนิดแมลงวันหนอนชอนใบ โดยการนำตัวอย่างแมลงวันหนอนชอนใบจำนวน 20
ตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษา ตรวจจำแนกวิเคราะห์ชนิดจากลักษณะภายนอกที่สำคัญภายใต้กล้องจุลทรรศน์
สเตอรโิ อ ใชเ้ อกสารประกอบแนวทางการวินจิ ฉัยการจำแนกชนดิ แมลงวันหนอนชอนใบ (Lim et al., 1999; Malipatil,
et al., 2004) และเปรียบเทียบกับตวั อยา่ งที่เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร บันทึกรายละเอียด
ของแมลงวันหนอนชอนใบแต่ละตัว ได้แก่ ชื่อวิทยาศาสตร์ที่จำแนกได้ วัน/เดือน/ปี สถานที่พบตัวอย่าง และชื่อผู้เก็บ
ตัวอย่าง

2. ศกึ ษาชนดิ พชื อาหารของแมลงวันหนอนชอนใบ
บันทึกข้อมูลพืชอาหาร ชื่อสามัญ (common name) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) วงศ์ (Family)

ของพชื อาหาร สถานที่เกบ็ และวนั ที่เก็บรวบรวม ที่พบแมลงวันหนอนชอนใบแตล่ ะชนิดเขา้ ทำลาย
3. ศึกษาการแพรก่ ระจายของแมลงวันหนอนชอนใบแตล่ ะชนดิ
โดยบันทึกข้อมูลการกระจายตัวของแมลงวันหนอนชอนใบแต่ละชนิด เช่น สถานทีเ่ ก็บ และวนั ท่ีเก็บรวบรวม

จากพืน้ ท่ีต่าง ๆ ท่ัวทุกภาคของประเทศไทย (ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวนั ออก ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ
และภาคใต)้

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 5

เวลาและสถานท่ี
ระยะเวลาการทดลอง: 3 ปี (มีนาคม 2561 - มีนาคม 2564)
สถานท:่ี 1) แหลง่ ปลูกพืชจงั หวัดต่าง ๆ ดังนี้
- ภาคกลาง: จังหวัดกรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ราชบรุ ี และ
เพชรบุรี
- ภาคตะวันตก: จังหวดั กาญจนบุรี ประจวบครี ีขนั ธ์ และตาก
- ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชยี งราย ลำพูน และน่าน
- ภาคตะวนั ออก: จังหวัดจนั ทบรุ ี และระยอง
- ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ: จังหวัดนครราชสมี า ชยั ภูมิ ขอนแกน่ อดุ รธานี อุบลราชธานี
หนองคาย และมหาสารคาม
- ภาคใต้: จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี ชมุ พร ระนอง ตรัง พทั ลุง สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่
พังงา และภเู กต็
2) ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการ
อารักขาพืช

ผลการทดลองและวิจารณ์
1. การสำรวจและเกบ็ รวบรวมตวั อย่างแมลงวนั หนอนชอนใบ

จากการสำรวจพบแมลงวันหนอนชอนใบ 5 ชนิด ได้แก่ Liriomyza brassicae (Riley, 1884), Liriomyza
chinensis (Kato, 1949), Liriomyza huidobrensis (Blanchard, 1926), Liriomyza sativae Blanchard, 1938
และ Liriomyza trifolii (Burges, 1880) (Figures 1 - 5)

Figure 1 Side view of the adult of Liriomyza brassicae (Riley, 1884)

(A) Typical male (B) Typical Female

6 วารสารกฏี และสตั ววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

Figure 2 Side view of the adult Liriomyza chinensis (Kato, 1949)

(A) Typical male (B) Typical female

Figure 3 Side view of the adult Liriomyza huidrobrensis (Blanchard, 1926)

(A) Typical male (B) Typical female

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 7

Figure 4 Side view of the adult Liriomyza sativae Blanchard, 1938

(A) Typical male (B) Typical female

Figure 5 Side view of the adult Liriomyza trifolii (Burgess, 1880) (side view of typical)

(A) Typical male (B) Typical female

8 วารสารกฏี และสตั ววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

2. การศึกษาชนิดพชื อาหารของแมลงวันหนอนชอนใบ
จากการสำรวจแมลงวันหนอนชอนใบที่เข้าทำลายพืชผัก พบแมลงวันหนอนชอนใบเข้าทำลายพืชมากมาย

หลากหลายชนดิ (Figure 6) ดงั น้ี
- แมลงวันหนอนชอนใบ L. brassicae เข้าทำลายพืชผักใน 3 วงศ์ ได้แก่ Brassicaceae, Cruciferae

และ Solanaceae ประกอบด้วยพชื อาหารจำนวน 6 ชนิด ไดแ้ ก่ กวางตุง้ กวางตุง้ ฮ่องเต้ คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว
และมะเขือเปราะ

- แมลงวันหนอนชอนใบ L. chinensis เข้าทำลายพืชผักใน 2 วงศ์ ได้แก่ Amaryllidaceae และ
Alliaceae ประกอบดว้ ยพืชอาหารจำนวน 4 ชนดิ ได้แก่ กระเทียม กยุ ชา่ ย หอมแดง และหอมใหญ่

- แมลงวันหนอนชอนใบ L. huidobrensis เข้าทำลายพชื ผักได้ 1 วงศ์ ได้แก่ Solanaceae คือ มนั ฝรั่ง
- แมลงวันหนอนชอนใบ L. sativae เข้าทำลายพืชผักได้ 11 วงศ์ ได้แก่ Poaceae, Cucurbitaceae,
Amaryllidaceae, Apiaceae, Asteraceae, Brassicaceae, Cruciferae, Fabaceae, Labiatae, Malvaceae แ ล ะ
Solanaceae ประกอบด้วยพชื อาหารจำนวน 21 ชนดิ ได้แก่ กระเจยี๊ บเขียว กะหลำ่ ดอก จงิ จฉู า่ ย แตงกวา แตงโม แตงไทย
ตำลึง ถั่วฝักยาว ถั่วหวาน ถั่วเหลือง บวบ บวบหอม บวบเหลี่ยม ผักชีฝรั่ง ฟักทอง ฟักทองญี่ปุ่น ฟักทองบัตเตอร์นัท
มะเขือม่วง มะเขอื เทศ มะเขือเทศสีดา และโหระพา
- แมลงวันหนอนชอนใบ L. trifolii เข้าทำลายพืชผักได้ 3 วงศ์ ได้แก่ Apiaceae, Labiatae และ
Solanaceae ประกอบด้วยพืชอาหาร 3 ชนิด ไดแ้ ก่ ขน้ึ ฉา่ ย มะเขอื เทศ และโหระพา
การศึกษาครั้งนี้พบแมลงวันหนอนชอนใบจำนวน 5 ชนิด เข้าทำลายพืชผักในวงศ์ต่าง ๆ หลากหลายชนิด
สอดคล้องกับ Spencer (1973) ที่รายงานว่าแมลงวนั หนอนชอนใบ L. huidobrensis, L. sativae และ L. trifolii นนั้
เข้าทำลายพืชได้มากมายหลากหลายชนิดเป็นศัตรูพืชที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชผัก และสอดคล้องกับ
กอบเกียรตแ์ิ ละอัมพร (2544) และ รัตนาและคณะ (2550) ท่ีรายงานวา่ แมลงวันหนอนชอนใบสกลุ Liriomyza จัดเปน็
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทยก่อให้เกิดปัญหาในพืชผักไม้ดอกและไม้ประดับมาตั้งแต่ปี 2529 พบการระบาด
และเขา้ ทำลายพืชเศรษฐกจิ จำพวกพืชผกั และไม้ดอกได้มากมาย เช่น พชื ผกั ตระกลู แตง ตระกูลกะหล่ำ พืชตระกูลถ่ัว
ไม้ดอก เชน่ เยอบรี า่ แอสเตอร์ กุหลาบ ดาวเรอื ง เบญจมาศ ในทั่วทกุ ภาคของประเทศไทย ซึ่งพืชในกล่มุ น้ีเป็นพืชผักท่ี
มีระยะการเพาะปลูกสั้น และสามารถปลูกได้ทั้งปี ดังนั้นแมลงวันหนอนชอนใบจึงจัดเป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหาย
ทางเศรษฐกจิ อยา่ งยงิ่
การศึกษาครง้ั นพ้ี บว่าแมลงวนั หนอนชอนใบ L. chinensis มีความจำเพาะเจาะจงกับพชื อาหาร (host specific)
โดยพบเข้าทำลายเฉพาะพืชในสกุล Allium spp. ซึ่งได้แก่ หอมและกระเทียม สอดคล้องกับ รัตนาและคณะ (2550)
และ Sasakawa (2013) ที่ทำการสำรวจพบแมลงวันหนอนชอนใบ L. chinensis จากพืชสกุล Allium spp. เท่าน้ัน
และ L. brassicae นั้น เข้าทำลายพืชผักในวงศ์ Brassicae และ Capparidaceae แต่พบว่า L. sativae เข้าทำลาย
พชื ผักสวนครวั หลากหลายมากทส่ี ดุ เชน่ เดยี วกับ Bhuiya et al. (2010) พบวา่ L. sativae ในประเทศบงั คลาเทศ เข้า
ทำลายพืชผักมากกว่า 45 ชนิด

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 9

Figure 6 Examples of damage to host plants in Thailand by agromyzid leafminers

(A) Allium ascalonicum (B) Aqium graveolens

(C) Brassica chinensis (D) Brassica oleracea

(E) Citrullus lanatus (F) Luffa acutangular

(G) Lycopersicon esculentum (H) Ocimum basilicum

(I) Sucumis sativus (J) Solanum tuberosum

(K) Solanum virginianum (L) Vigna unguiculata

10 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

3. ศึกษาการแพรก่ ระจายของแมลงวันหนอนชอนใบแตล่ ะชนิด
จากการศึกษาการแพร่กระจายของแมลงวนั หนอนชอนใบทั้ง 5 ชนิด พบแมลงวันหนอนชอนใบแพร่กระจายใน

พืน้ ท่ตี า่ ง ๆ ในประเทศไทย ดงั น้ี
- แมลงวันหนอนชอนใบ L. brassicae เข้าทำลายพืชผักในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร

กาญจนบุรี ชลบรุ ี เชียงใหม่ นนทบรุ ี พระนครศรีอยุธยา เพชรบรุ ี ยโสธร ศรสี ะเกษ และอา่ งทอง (Figures 7)
- แมลงวันหนอนชอนใบ L. chinensis เข้าทำลายพืชผักในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงใหม่

นครปฐม เพชรบูรณ์ ยโสธร และศรีสะเกษ (Figures 8)
- แมลงวันหนอนชอนใบ L. huidobrensis เขา้ ทำลายพชื ในพื้นที่ จงั หวัดเชียงใหม่ (Figures 9)
- แมลงวันหนอนชอนใบ L. sativae เขา้ ทำลายพืชในพ้ืนที่ 19 จงั หวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี

ขอนแก่น จันทบุรี ชุมพร เชียงใหม่ ตาก นครปฐม นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี แพร่ ราชบุรี ลำพูน
สระแก้ว สพุ รรณบรุ ี สุรนิ ทร์ ศรสี ะเกษ และอุบลราชธานี (Figures 10)

- แมลงวันหนอนชอนใบ L. trifolii เข้าทำลายพชื ในพ้ืนที่ 2 จงั หวดั เชียงใหม่ และนครปฐม (Figures 11)
จากการศึกษาการแพร่กระจายตัวของแมลงวันหนอนชอนใบทั้ง 5 ชนิด พบว่าแมลงวันหนอนชอนใบ L.
brassicae, L. chinensis, L. sativae และ L. trifolii นน้ั พบกระจายทว่ั ไปในพื้นท่ีราบ ในภูมภิ าคตา่ ง ๆ ของประเทศไทย
แต่พบว่า L. huidobrensis เป็นศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการทำการเกษตรในพื้นทีส่ ูงทางภาคเหนือเท่านน้ั
สอดคล้องกับ Rauf et al. (2000) ที่รายงานว่า L. huidobrensis เป็นศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับการทำ
การเกษตรในพืน้ ที่สงู ในประเทศอินโดนีเซยี

Figure 7 The distribution of Liriomyza brassicae in Thailand

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 11

Figure 8 The distribution of Liriomyza chiensis in Thailand
Figure 9 The distribution of Liriomyza huidobrensis in Thailand

12 วารสารกีฏและสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

Figure 10 The distribution of Liriomyza trifolli in Thailand
Figure 11 The distribution of Liriomyza sativae in Thailand

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 13

สรุปผลการทดลองและคำแนะนำ
จากการสำรวจแมลงวันหนอนชอนใบในพืน้ ทีป่ ลูกผักจากภูมภิ าคต่าง ๆ ในประเทศไทย พบแมลงวนั หนอนชอนใบ
ทำลายพืชผักท่ีมีความสำคัญทางเศรษฐกิจจำนวน 5 ชนิด ได้แก่แมลงวันหนอนชอนใบ L. brassicae, L. chinensis,
L. huidobrensis, L. sativae และ L. trifolii และจากการศึกษาชนิดพืชอาหารและการแพร่กระจายของแมลงวัน
หนอนชอนใบทั้ง 5 ชนิด พบว่าแมลงวันหนอนชอนใบ L. brassicae, L. chinensis, L. sativae และ L. trifolii น้ัน
เข้าทำลายพชื ผักในภมู ภิ าคต่าง ๆ ของไทย แมลงวันหนอนชอนใบ L. sativae เขา้ ทำลายพืชผักไดห้ ลากหลายท่ีสุด (11
วงศ์ 21 ชนิด) และแมลงวันหนอนชอนใบ L. chinensis นั้นมีความเจาะจงกับชนิดของพืชอาหาร เนื่องจากเข้าทำลาย
เฉพาะพืชในในสกุล Allium spp. (หอมและกระเทียม) และแมลงวันหนอนชอนใบ L. huidobrensis ก่อให้เกิดความ
เสยี หายกบั มนั ฝรัง่ ในพืน้ ท่ีสงู ทางภาคเหนือเท่าน้นั (Table 1)
แต่การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแมลงวันหนอนชอนใบที่เข้าทำลายพืชผักเศรษฐกิจเพียงเท่าน้ัน ดังนั้นจึงควร
มีการสำรวจเพ่ิมเติมชนิดแมลงวันหนอนชอนใบที่เข้าทำลายสร้างความเสียหายให้กับไม้ดอกและไม้ประดับในอนาคตอีกด้วย
และข้อมลู ชนดิ พืชอาหารและการแพร่กระจายของแลงวันหนอนชอนใบในคร้ังนี้ก่อให้เกดิ ประโยชน์อย่างย่ิงในงานด้าน
การอารักขาพืช และกักกันพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเขา้ และสง่ ออกผักของประเทศไทยเนื่องจากสามารถนำข้อมลู
เหล่าน้ีจัดทำบญั ชีรายช่ือศัตรูพืช (Pest list) เป็นการเพมิ่ ความเช่ือมั่นและสร้างความน่าเช่ือถือในการเจรจาต่อรองเพื่อ
การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของไทยไปสูต่ ลาดโลก เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่งผลในองคร์ วมต่อ
ความเปน็ อย่ทู ีด่ ีขึ้นของประชาชนชาวไทย

Table 1 Leafminer flies (Diptera: Agromyzidae), their host plants and distribution in different parts of
Thailand (collecting during March 2018 – March 2021)

Leafminers Host plants Family Distribution (Province) Quantity
(Scientific name) Common Name Scientific Name Brassicaceae Nong Prue,Bang Lamung, Chon Buri Male Female Total
L. brassicae Flowering cabbage Brassica chinensis L. Brassicaceae DOA, Lad yao, Chatuchak, Bangkok
Chinese cabbage Brassica chinensis L. Brassicaceae Lad yao, Chatuchak, Bangkok 505
Chinese cabbage Brassica chinensis L. Brassicaceae Lad yao, Chatuchak, Bangkok 101
Leaf mustard Brassica juncea (L.) Czern. Brassicaceae Lad yao, Chatuchak, Bangkok 17 19 36
Chinese broccoli Brassica oleracea L. Brassicaceae Mueang Ang Thong, Ang Thong 123
Chinese cabbage Brassica chinensis L. Brassicaceae Tha To, Maha Rat, Phra Nakhon Si Ayutthaya 15 12 27
Chinese cabbage Brassica chinensis L. Brassicaceae Khao Krapuk, Tha Yang, Phetchaburi 7 3 10
Chinese cabbage Brassica chinensis L. Brassicaceae Yang Chum Noi, Yang Chum Noi, Si Sa Ket 8 5 13
Chinese broccoli Brassica oleracea L. Solanaceae Yang Chum Noi, Yang Chum Noi, Si Sa Ket 235
Thai Eggplant Solanum virginianum L. Brassicaceae Mueang Noi, Kanthararom, Si Sa Ket 13 24 37
Chinese cabbage Brassica chinensis L. Cruciferae Kut Hae, Loeng Nok Tha, Yasothon 145
Chinese cabbage Brassica chinensis L. Brassicaceae Mueang, Nonthaburi 10 5 15
Chinese broccoli Brassica oleracea L. Brassicaceae Mae Win, Mae Wang, Chiang Mai 415
Chinese cabbage Brassica rapa L. Brassicaceae Tha Muang, Kanchanaburi 112
Chinese broccoli Brassica oleracea L. Brassicaceae Chang Khoeng, Mae Chaem, Chiang Mai 224
Chinese broccoli Brassica oleracea L. Brassicaceae Tha Yang, Tha Yang, Phetchaburi 011
Chinese broccoli Brassica oleracea L. Amaryllidaceae Tha Muang, Tha Muang, Kanchanaburi 101
L. chinensis Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Bu Sung, Wang Hin, Si Sa Ket 11 20 31
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Bu Sung, Wang Hin, Si Sa Ket 10 33 43
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae I Pat, Kanthararom, Si Sa Ket 8 8 16
Shallot Allium ascalonicum L. Alliaceae Ta Ket, Uthumphon Phisai, Si Sa Ket 235
Garlic Allium sativum L. Amaryllidaceae Mueang Noi, Kanthararom, Si Sa Ket 5 11 16
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Bueng Bon, Yang Chum Noi, Si Sa Ket 5 9 14
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Bueng Bon, Yang Chum Noi, Si Sa Ket 011
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Ta Ket, Uthumphon Phisai, Si Sa Ket 8 12 20
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Lathai, Kanthararom, Si Sa Ket 6 13 19
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Bueng Bon, Yang Chum Noi, Si Sa Ket 415
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Fa Huan, Kho Wang, Yasothon 235
Shallot Allium ascalonicum L. Alliaceae Kut Hae, Loeng Nok Tha, Yasothon 022
Garlic Allium sativum L. Amaryllidaceae Kut Hae, Loeng Nok Tha, Yasothon 256
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Tha Muang, Kanchanaburi 156
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Nong Phai, Phetchabun 235
Shallot Allium ascalonicum L. Alliaceae Mueang, Phetchabun 8 11 19
Garlic Allium sativum L. Amaryllidaceae Tha Muang, Kanchanaburi 6 9 15
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae San Sai, Chiang Mai 011
Shallot Allium ascalonicum L. 033
6 9 15

14 วารสารกฏี และสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

Table 1 (continued)

Leafminers Host plants Family Distribution (Province) Quantity
(Scientific name) Common Name Scientific Name Amaryllidaceae Phrao, Chiang Mai Male Female Total
Onion Allium cepa L. Alliaceae San Sai, Chiang Mai 11 11 22
Garlic Allium sativum L. Amaryllidaceae Phanom Thuan, Kanchanaburi
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 4 10 14
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Mueang, Nakhon Pathom 5 5 10
Chinese Chives Allium tuberosum Rottl. ex Spreng Amaryllidaceae Phanom Thuan, Kanchanaburi 022
Onion Allium cepa L. Amaryllidaceae Thung Thong, Tha Muang, Kanchanaburi 055
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Mae Chaem, Chiang Mai 10 3 13
Shallot Allium ascalonicum L. Amaryllidaceae Chang Khoeng, Mae Chaem, Chiang Mai 358
Shallot Allium ascalonicum L. Solanaceae Kong Khaek, Mae Chaem, Chiang Mai 022
L. huidobrensis Potato Solanum tuberosum L. Solanaceae San Sai, Chiang Mai 3 8 11
Potato Solanum tuberosum L. Solanaceae Phrao, Chiang Mai 17 6 23
Potato Solanum tuberosum L. Solanaceae Kong Khaek, Mae Chaem, Chiang Mai 112
Potato Solanum tuberosum L. Solanaceae Ban Luang, Chom Thong, Chiang Mai 279
Potato Solanum tuberosum L. Fabaceae Tha Muang, Tha Muang, Kanchanaburi 325
L. sativae Yardlong bean Vigna unguiculata Cucurbitaceae Thung Thongi, Tha Muang, Kanchanaburi 13 70 83
Cucumber Sucumis sativus L. Cucurbitaceae Chorakhe Sam Phan, U Thong, Suphan Buri 8 12 20
Pumpkin Cucurbita moschata Decne. Cucurbitaceae Takhram En, Tha Maka, Kanchanaburi 15 6 21
Cucumber Sucumis sativus L. Fabaceae Don Cha-em, Tha Maka, Kanchanaburi 156
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Fabaceae Takhram En, Tha Maka, Kanchanaburi 25 90 115
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Fabaceae Takhram En, Tha Maka, Kanchanaburi 16 0 16
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Fabaceae Thung Thongi, Tha Muang, Kanchanaburi 12 17 29
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Solanaceae Bo Luang, Hot, Chiang Mai (1) 72 89 161
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Bo Luang, Hot, Chiang Mai (2) 38 98 136
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Bo Luang, Hot, Chiang Mai (3) 156
L. sativae Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Bo Sali, Hot, Chiang Mai (4) 14 16 30
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Bo Sali, Hot, Chiang Mai (5) 235
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Bo Sali, Hot, Chiang Mai (6) 112
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Bo Sali, Hot, Chiang Mai (7) 415
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Chorakhe Sam Phan, U Thong, Suphan Buri 13 6 19
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Fabaceae Chorakhe Sam Phan, U Thong, Suphan Buri 14 0 14
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Fabaceae Huai Phlu, Nakhon Chai Si, Nakhon Pathom 235
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Cucurbitaceae Thap Sai, Pong Nam Ron, Chanthaburi 112
Cucumber Sucumis sativus L. Fabaceae Lad yao, Chatuchak, Bangkok 202
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Cucurbitaceae Sawai, Mueang Surin, Surin 20 32 52
Cucumber Sucumis sativus L. Cucurbitaceae Sawai, Mueang Surin, Surin 729
Angled Loofah Luffa acutangula (L.) Roxb. Solanaceae Sam Khwai Phueak, Mueang, Nakhon Pathom 53 60 113
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Fabaceae Sam Khwai Phueak, Mueang, Nakhon Pathom 209 200 409
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Fabaceae Nong Tak Ya, Tha Muang, Kanchanaburi 38 38 76
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Solanaceae DOA, Lad yao, Chatuchak, Bangkok 44 54 98
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Cucurbitaceae Wang Thong, Wang Sombun, Sa Kaeo 14 19 33
Pumpkin Cucurbita moschata Decne. Cucurbitaceae Rice Department, Lad yao, Chatuchak, Bangkok 12 13 25
Smooth loofah Luffa cylindrica (L.) M.Roem. Cucurbitaceae Tha Sae, Tha Sae, Chumphon 30 13 43
Cucumber Sucumis sativus L. Asteraceae Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 39 133 172
White mugwort Artemisia lactiflora Wall. Fabaceae Nong Ngu Lueam, Mueang, Nakhon Pathom 325
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Cucurbitaceae Lan Saka, Lan Saka, Nakhon Si Thammarat 7 5 12
Smooth loofah Luffa acutangula (L.) Roxb. Fabaceae Khao Krapuk, Tha Yang, Phetchaburi 362 405 767
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Cucurbitaceae Khao Krapuk, Tha Yang, Phetchaburi 7 10 17
Smooth loofah Luffa acutangula (L.) Roxb. Cucurbitaceae Sam Phraya, Cha-am, Phetchaburi 28 41 69
Smooth loofah Luffa acutangula (L.) Roxb. Fabaceae Sam Phraya, Cha-am, Phetchaburi 9 23 32
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Cucurbitaceae Tha Nat, Damnoen Saduak, Ratchaburi 123 124 247
Cucumber Sucumis sativus L. Cucurbitaceae Sam Khwai Phueak, Mueang, Nakhon Pathom 47 35 82
Smooth loofah Luffa acutangula (L.) Roxb. Fabaceae Ton Thong, Mueang, Lamphun 112
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Solanaceae Daen Chumphon, Song, Phrae 9 16 25
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Fabaceae Thung Khwang, Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 12 0 12
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Solanaceae Don Masang, Mueang, Suphan Buri 8 8 16
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Cucurbitaceae Khaem, Uthumphon Phisai, Si Sa Ket 268
Muskmelon Cucumis melo Solanaceae Yang Chum Noi, Yang Chum Noi, Si Sa Ket 9 13 22
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Fabaceae Samrong Ta Chen, Khukhan, Si Sa Ket 3 9 12
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Fabaceae Mueang Tai, Mueang, Si Sa Ket 145
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Fabaceae Nong Kaeo, Mueang, Si Sa Ket 12 21 33
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Cucurbitaceae Bueng Bon, Yang Chum Noi, Si Sa Ket 21 23 44
Pumpkin Cucurbita moschata Decne. Fabaceae Sam Phraya, Cha-am, Phetchaburi 415
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Cucurbitaceae Sam Phraya, Cha-am, Phetchaburi 224
Cucumber Sucumis sativus L. Cucurbitaceae Bangkok 37
Butternut squash Cucurbita moschata Fabaceae Khemarat, Khemarat, Ubon Ratchathani 202
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Solanaceae Khemarat, Khemarat, Ubon Ratchathani 9 9 18
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Nam Phong, Khon Kaen 235
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Mae Suek, Mae Chaem, Chiang Mai 437
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Ban Luang, Chom Thong, Chiang Mai 11 6 17
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Suthep, Mueang, Chiang Mai 9 7 16
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 13 10 23
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 145
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Tha Muang, Kanchanaburi 33 9 42
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Fabaceae Phrao, Chiang Mai 13 24 37
Soybean Glycine max (L.) Merr. Cucurbitaceae Phanom Thuan, Kanchanaburi 4 10 14
Cucumber Sucumis sativus L. Cucurbitaceae Wang Nam Yen, Sa Kaeo 10 15 25
Cucumber Sucumis sativus L. Apiaceae Wang Nam Yen, Sa Kaeo 3 21 24
Culantro Eryngium foetidum L. Labiatae Mueang, Nakhon Pathom 033
Sweet basil Ocimum basilicum L. Fabaceae Mueang, Nakhon Pathom 022
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Malvaceae Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 3 11 14
Okra Abelmochus esculentus L. Cucurbitaceae Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 268
Angled loofah Luffa acutangula (L.) Roxb. Cucurbitaceae Phanom Thuan, Kanchanaburi 358
Cucumber Sucumis sativus L. 101
257

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 15

Table 1 (continued)

Leafminers Host plants Family Distribution (Province) Quantity
(Scientific name) Common Name Scientific Name Cucurbitaceae Tha Muang, Kanchanaburi Male Female Total
Cucumber Sucumis sativus L. Cucurbitaceae Nong Ya Sai, Suphan Buri
Watermelon Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum. & Nakai Solanaceae U Thong, Suphan Buri 42 6
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Solanaceae Mae Sot, Tak 1 9 10
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Fabaceae Si Prachan, Suphan Buri 16 5 21
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Cucurbitaceae Huai Kaeo, Mae On, Chiang Mai 1 11 12
Ivy gourd Coccinia grandis L. Solanaceae Huai Kaeo, Mae On, Chiang Mai 13 4
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Fabaceae Huai Kaeo, Mae On, Chiang Mai 5 5 10
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Solanaceae Ban Luang, Chom Thong, Chiang Mai 6 5 11
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Cucurbitaceae Huai Kaeo, Mae On, Chiang Mai 13 8 21
Cucumber Sucumis sativus L. Cucurbitaceae Chang Khoeng, Mae Chaem, Chiang Mai 47 51 98
Ivy gourd Coccinia grandis L. Fabaceae Chang Khoeng, Mae Chaem, Chiang Mai 01 1
Yardlong bean Vigna unguiculata Cucurbitaceae Chang Khoeng, Mae Chaem, Chiang Mai 01 1
Japanese pumpkin Cucurbita moschata Fabaceae Kong Khaek, Mae Chaem, Chiang Mai 12 10 22
Sugar snap pea Pisum sativum L. Cucurbitaceae Tha Laeng, Tha Yang, Phetchaburi 5 7 12
Cucumber Sucumis sativus L. Solanaceae Khlong Wan, Mueang, Prachuap Khiri Khan 23 5
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. Brassicaceae Tha Yang, Tha Yang, Phetchaburi 12 22 34
Cauliflower Brassica oleracea L. Solanaceae Huai Sat Yai, Hua Hin, Prachuap Khiri Khan 10 12 22
Eggplant Solanum melongena L. Fabaceae Kui Buri, Kui Buri, Prachuap Khiri Khan 13 8 21
Yardlong bean Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis Labiatae Si Maha Pho, Nakhon Chai Si, Nakhon Pathom 10 1
L. trifolii Sweet Basil Ocimum basilicum L. Apiaceae Sam Khwai Phueak, Mueang, Nakhon Pathom 20 2
Celery Aqium graveolens L. Solanaceae Pang Hin Fon, Mae Chaem, Chiang Mai 16 16 32
Tomato Lycopersicon esculentum Mill. 12 3
0 18 18

คำขอบคุณ
ขอขอบคณุ คุณวิภาดา ปลอดครบุรี นักกฏี วิทยาชำนาญการ กลุ่มบรหิ ารศตั รพู ืช สำนกั วจิ ยั พฒั นาการอารักขาพืช
สำหรบั ภาพถ่ายพืชอาหารที่แมลงวนั หนอนชอนใบเข้าทำลาย และขอขอบคุณข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง ที่ช่วยในการเก็บรวบรวมตัวอย่างแมลงวันหนอนชอนใบจากพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้การศึกษา
ครัง้ นี้สำเร็จลลุ ่วงด้วยดี

เอกสารอา้ งอิง
กอบเกยี รติ์ บนั สิทธ์ิ และอมั พร วิโนทัย. 2544. การแกไ้ ขปัญหาการระบาดของหนอนชอนใบบนพ้ืนทส่ี ูงภาคเหนือ. โรง

พมิ พ์คุรสุ ภาลาดพร้าว กรุงเทพฯ. 42 หน้า.
รัตนา นชะพงษ ศิริณี พูนไชยศรี สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี พรรณเพ็ญ ชโยภาส ชลิดา อุณหวุฒิ และณัฐวัฒน์ แยมยิ้ม.

2550. อนุกรมวิธานแมลงวันหนอนชอนใบสกุล Liriomyza และ Chromatomyia. หน้า 1415-1430. ใน:
แบบรายงานเรื่องเต็ม ผลการวิจัยที่ส้ินสุดปงบประมาณ 2550. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการ
เกษตร กรุงเทพฯ.
Bhuiya, B.A.; S. Mazumdar; M.K. Pasha; W. Islam; M.I. Miah and M.S. Hossain. 2010. A preliminary report
on the agromyzid leaf miner pest attack on some agricultural crops and weeds in Bangladesh.
Journal of taxonomy & biodiversity research 4: 47-50.
Lim G.S.; S.S. Sastroutomo and W.H. Loke. 1999. Workshop on leafminers of vegetables in Southeast
Asia. CABI-SEARC. 59 p.
Malipatil, M.B.; P.M. Ridland; A. Rauf and D. Kandowangko. 2004. New records of Liriomyza Mik
(Agromyzidae: Diptera) leafminers from Indonesia. Formosan Entomologist 24: 287-292.

16 วารสารกีฏและสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

Parrella, M.P.; C.B. Keil and J.G. Morse. 1984. Insecticide resistance in Liriomyza trifolii. California
Agriculture 38: 22-33.

Rauf, A.; B.M. Shepard and M.W. Johnson. 2000. Leafminers in vegetables, ornamental plants and
weeds in Indonesia: surveys of host crops, species composition and parasitoids. International
Journal of Pest Management 46(4): 257-266.

Sasakawa, M. 2013. Thailand Agromyzidae (Diptera) - 2. Zootaxa 3746(4): 501-528.
Spencer, K.A. 1973. Agromyzidae (Diptera) of economic importance. Dr. W. Junk B.V. Publishers, The

Hague. 418 p.

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 17

อนกุ รมวธิ านและความหลากชนดิ ของตัก๊ แตนหนวดสั้น (Orthoptera)
ในพืน้ ทีป่ ลูกออ้ ยของประเทศไทย

Taxonomy and species richness of short horned grasshoppers (Orthoptera)
on the sugarcane crop in Thailand

จารวุ ัตถ์ แต้กุล1/ จรี ะศักดิ์ กอคณู กลาง2/ ยุวรินทร์ บญุ ทบ1/
สุนัดดา เชาวลิต1/ ชมยั พร บวั มาศ1/ อิทธพิ ล บรรณาการ1/
เกศสุดา สนศิริ1/ อาทติ ย์ รักกสกิ ร1/ จอมสุรางค์ ดวงธิสาร1/ สทิ ธิศิโรดม แก้วสวสั ดิ์1/
Charuwat Taekul1/ Jeerasak Korkoonklang2/ Yuvarin Boontop1/
Sunadda Chaowalit1/ Chamaiporn Buamas1/ Ittipon Bannakan1/
Kessuda Sonsiri1/ Artit Rukkasikorn1/Jomsurang Duangthisan 1/ Sittisirodom Kaewsawat1/

_________________________
Abstract

Grasshoppers are reviewed as one of the most important pest surveillances in Thailand. Despite
causing outbreak in several countries from Africa to South Asia as well as eastern part of Thailand,
taxonomic study of this insect has not yet been revised for more than 30 years. Taxonomic status of
grasshoppers especially on sugarcane crop, therefore, need to be validated. The objectives of this
study are to examined species richness as well as generate key to species of grasshoppers on the
sugarcane crop in Thailand. The research was implemented from September 2018 to October 2020.
Databasing via QR-code for each specimen was also generated in 2021. Field collecting and survey
were carried out on primary sugarcane crops, as well as on weeds and surrounding area. The results
revealed that 2 families, 5 subfamilies and 18 species of grasshoppers were found. They contained
Acrididae: Acrida willemsei Dirsh, 1954; Gonista bicolor (De Haan, 1842); Trilophidia annulata (Thunberg,
1815); Phlaeoba infumata Brunner, 1893; Phlaeoba antennata Brunner, 1893; Calephorus vitalisi
I. Bolivar, 1914; Oedaleus abruptus (Thunberg, 1815); Aiolopus thalassinus (Fabricius, 1781); Gesonula
mundata (Walker, 1870); Oxya japonica (Thunberg, 1824); Oxya hyla Serville, 1831; Pseudoxya diminuta
(Walker, 1871); Apalacris varicornis Walker, 1870; Hieroglyphus banian (Fabricius, 1798); Spathosternum
prasiniferum (Walker, 1871); Choroedocus violaceipes Miller, 1934 and Pyrgomorphidae: Atractomorpha
psittacina (De Haan, 1842); Atractomorpha crenulata (Fabricius, 1793). The key to species of short horn
______________________________________________________________________________________

1/ กลมุ่ กีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพฒั นาการอารักขาพชื กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
1/ Entomology and Zoology Group, Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900
2/ ภาควชิ ากฏี วทิ ยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140
2/ Department of Entomology, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakhon

Pathom 73140

18 วารสารกฏี และสัตววิทยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

grasshoppers was assembled. The species descriptions included taxonomic history, LSID number
which can link to World grasshopper database, general morphology, distribution, collected locality as
well as voucher specimens. The results of this research pose an impact on pest control research and
pest surveillance. The result also supports the research on valued - added biodiversity assessments
of national policy (BCG: Bio Circular and Green Economy).

Keywords : locust, grasshopper, Orthoptera, biological diversity, species richness, taxonomy, identification

บทคัดย่อ
ตั๊กแตนจัดเป็นแมลงศัตรูพืชเฝ้าระวังที่สำคัญของประเทศในปัจจบุ ัน เนื่องจากเกิดการระบาดในหลายประเทศ
เชน่ การระบาดของตัก๊ แตนไผ่ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และตัก๊ แตนทะเลทรายระบาดในทวีป
แอฟริกาและเอเชียใต้ รวมถึงเป็นศัตรูพืชท่ีกลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งได้แก่ต๊ักแตนขา้ วระบาดทีจ่ ังหวัดราชบุรี อย่างไรก็
ตามการศึกษาด้านอนุกรมวิธาน และชนิดของตั๊กแตนในอ้อยซึ่งถือเป็นพืชไร่ที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ได้
ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องศึกษาสถานภาพความเป็นปัจจุ บันของศัตรูพืชชนิดน้ี
วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้คือเพื่อทราบชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะความแตกต่างทางสัณฐานวิทยา และได้แนว
ทางการวินิจฉัยชนดิ ท่ีถูกต้องและเป็นปัจจบุ นั ดำเนินการสำรวจศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนตุลาคม
2563 โดยสำรวจและเก็บตัวอย่างตั๊กแตนในพื้นที่แปลงปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศ จัดทำระบบการเก็บรักษา และ
จดั การฐานขอ้ มูลในแต่ละตวั อยา่ งโดยใช้ QR-code ในปี พ.ศ. 2564 จากการศึกษาพบตกั๊ แตนทัง้ สิ้น 2 วงศ์ 5 วงศ์ยอ่ ย
18 ชนิด ได้แก่ วงศ์ Acrididae: Acrida willemsei Dirsh, 1954; Gonista bicolor (De Haan, 1842); Trilophidia
annulata (Thunberg, 1815); Phlaeoba infumata Brunner, 1893; Phlaeoba antennata Brunner, 1893;
Calephorus vitalisi I. Bolivar, 1914; Oedaleus abruptus (Thunberg, 1815); Aiolopus thalassinus
(Fabricius, 1781); Gesonula mundata (Walker, 1870); Oxya japonica (Thunberg, 1824); Oxya hyla
Serville, 1831; Pseudoxya diminuta (Walker, 1871); Apalacris varicornis Walker, 1870; Hieroglyphus
banian (Fabricius, 1798); Spathosternum prasiniferum (Walker, 1871) แ ล ะ Choroedocus violaceipes
Miller, 1934 วงศ์ Pyrgomorphidae: Atractomorpha psittacina (De Haan, 1842); Atractomorpha crenulata
(Fabricius, 1793) ดำเนินการจัดทำแนวทางการวินิจฉัยตั๊กแตนหนวดสั้นซึ่งเป็นตั๊กแตนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
บรรยายประวัติทางอนุกรมวิธาน รหัส LSID ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลตั๊กแตนโลก ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
เขตการแพร่กระจายรวมถึงตัวอย่างอ้างอิง (voucher specimens) ผลการทดลองครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อ
งานวิจัยด้านการปอ้ งกันกำจัดต๊ักแตนศัตรูพืช การศึกษาสถานภาพและเฝ้าระวังศัตรูพืชตา่ งถ่ินรุกราน รวมถึงการศึกษา
ความหลากหลายทางชวี ภาพของต๊กั แตนเพ่อื ใช้ประโยชนอ์ นรุ กั ษ์ เพม่ิ มลู ค่าของทรัพยากรชีวภาพ สนบั สนุนยทุ ธศาสตร์
ชาติวา่ ด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกจิ หมุนเวยี นและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG: Bio-Circular-Green Economy)

คำหลกั : ต๊ักแตน ตก๊ั แตนหนวดสั้น Orthoptera ความหลากหลายทางชวี ภาพ การวนิ จิ ฉยั ชนิด อนกุ รมวิธาน

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 19

คำนำ
ตั๊กแตนจัดอยู่ในอันดับ (Order) Orthoptera แบ่งออกเป็น 2 อันดับย่อย (Suborder) ตั๊กแตนหนวดสั้นและ
ตั๊กแตนแคระ จัดอยู่ในอันดับย่อย Caelifera ส่วนตั๊กแตนหนวดยาวอยู่ในอันดับย่อย Ensifera ในอันดับย่อยนี้ได้รวม
จิ้งหรีด จิ้งโกร่ง และแมลงกะชอนเข้าไว้ด้วย อย่างไรก็ตามตั๊กแตนในอันดับย่อย Caelifera จัดว่าเป็นกลุ่มที่มี
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 infraorder ได้แก่ Tridactylidea และ Acrididea สำหรับ infraorder
Tridactyleidea มีวงศ์ใหญ่ (superfamily) เพียงวงศ์ใหญ่เดียวได้แก่ Tridactyloidea ซึ่งประกอบด้วย 3 วงศ์ได้แก่
Cylindrachetidae, Ripipterygidae และ Tridactylidae ใน infraorder Acrididea ประกอบด้วย 7 วงศ์ใหญ่ได้แก่
กลุ่มวงศ์ใหญ่ Acridomorpha ประกอบด้วย 6 วงศ์ใหญ่ ได้แก่ Acridoidea, Eumastacoidea, Pneumoroidea,
Pyrgomirphoidea, Tanaoceroidea และ Trigonopterygoidea จัดว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และ
เป็นต๊ักแตนหนวดสั้นที่พบเห็นโดยทั่วไป กลุ่มน้ีมีความสัมพันธ์ในระบบอนุกรมวิธานเป็นแบบ monophyletic group
คือวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน วงศ์ใหญ่ที่เหลืออีกหนึ่งวงศ์ได้แก่ Tetrigoidea มีเพียงวงศ์เดียวได้แก่
Tetrigidae หรือตั๊กแตนแคระ วงศ์ใหญ่ที่มีความสำคัญและมีความหลากชนิดสูงที่สุดในอันดับ Orthoptera ได้แก่
Acridoidea ซึ่งประกอบด้วย 11 วงศ์ 7,680 ชนิด (Song, 2010) ตั๊กแตนวงศ์ที่มีความสำคัญ และระบาดเป็นศัตรูพชื
ทำใหเ้ กิดปญั หาทางเศรษฐกิจในปัจจุบนั ไดแ้ ก่วงศ์ Acrididae
ได้มีรายงานปัญหาการระบาดหรือกลับมาระบาดของตั๊กแตนทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่
การระบาดของตั๊กแตนไผ่ (Yellow-spined bamboo locust): Ceracris kiangsu Tsai ในสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ซึ่งได้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมาธิการอารักขาพืชระหว่างประเทศแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ครั้งที่ 29 เมื่อปี 2558 (The Asia and Pacific Plant Protection Commission: APPPC) ว่าเกิดการระบาดอย่าง
รุนแรง ทำลายพืชเศรษฐกิจหลายชนิด มีรายงานพบตั๊กแตนชนิดนี้ครั้งแรกในปี 2472 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนจีน ในพื้นที่มณฑลเสฉวน หูเป่ย เกียงสู หูหนาน เกียงสี ฝูเจียน และกวางตุ้ง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่าง
รนุ แรงหลายคร้ัง ในชว่ งปี 2478 – 2489 โดยพบทำความเสียหายอยา่ งรุนแรงในพืชไผ่ ข้าวโพด และขา้ ว (Centre for
overseas pest research, 1982) ปัจจุบันพบแพร่กระจายอย่างกว้างขวางบริเวณพื้นที่ป่าไผ่ ทางตอนใต้ของประเทศ
จีน ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลแจงสี บริเวณทางลาดเชิงเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 300 – 400 เมตร
บางครั้งพบในพื้นที่มีความสงู กว่าระดับน้ำทะเลถึง 780 เมตร ตั๊กแตนวางไข่จำนวนมากใต้ผิวดิน ไข่ของตั๊กแตนชนิดน้ี
จะฟักในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง โดยมีอุณหภูมิสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามตัวเต็มวัยชอบอาศัยอยู่ใน
พื้นที่ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีการแพร่กระจายเป็นกลุ่ม ตัวอ่อนในระยะสุดท้ายเริ่มมีการ
อพยพเคลอ่ื นย้ายเปน็ กลมุ่ ใหญซ่ ง่ึ เป็นระยะที่เร่มิ สร้างความเสยี หายให้กับพชื ได้ ระยะตวั เต็มวัยจะสรา้ งความเสยี หายได้
กว้างขวางและรุนแรงที่สุดนอกจากพืชกลุ่มไผ่แล้วแมลงชนิดนี้ยังเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของพืชในตระกูลหญ้า
(graminivorous) และยังพบว่าสามารถเข้าทำลายพืชตระกูลปาล์ม และพืชล้มลุกบางชนิด อย่างไรก็ตามไม่มีรายงาน
การระบาดของตั๊กแตนชนดิ นีใ้ นประเทศไทย แต่มรี ายงานวา่ เคยพบทีจ่ ังหวัดเชียงใหม่ และสพุ รรณบรุ ี (Roffey, 1979)
รวมทั้งมีตัวอย่างอ้างอิงในพิพิธภัณฑ์แมลงของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเก็บได้จากไผ่ และธัญพืช ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
(ปี 2506) เชียงใหม่ (ปี 2518) และสุรินทร์ (ปี 2518) ทั้งน้ีอาจเนื่องมาจากลักษณะอากาศที่ร้อนของประเทศไทยไม่
เหมาะสมกับแมลงชนดิ น้ี

20 วารสารกฏี และสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานการระบาดอย่างเร่งด่วนของตั๊กแตนข้าว Hieroglyphus banian Fabricius เข้า
ทำลายอ้อยในแปลงเกษตรกร อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านบึง จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ (กอง
ส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย, 2560) ตั๊กแตนไฮโดรไกลฟัสหรือตั๊กแตนข้าว เป็นศัตรูสำคัญอันดับสองรอง
มาจากตั๊กแตนปาทังกา มีพื้นที่การระบาดน้อยกว่าต๊ักแตนปาทังกา พบตั๊กแตนสกุล Hieroglyphus 4 ชนิดในประเทศ
ไทยได้แก่ H. banian Fabricius, H. annmulicornis Shiraki, H. concolor Walker และ H. tonknensis Boliver ตัก๊ แตน
ชนิดน้ีเปน็ ศตั รทู ่ีสำคัญของขา้ ว เคยระบาดอย่างรุนแรงในประเทศอินเดยี จากการสำรวจในประเทศไทย พบการระบาด
ในป่าหญ้าคา แฝก ต่อมาเมื่อมีการปลูกอ้อยและข้าวโพดในพื้นที่ดงั กล่าว ตั๊กแตนก็ระบาดในพื้นที่ที่ปลูกพืชนั้น และมี
การระบาดเรื้อรังเรื่อยมา ตั๊กแตนไม่วางไข่และฟักเป็นตัวอ่อนในแปลงปลูกพืช แต่จะวางไข่และฟักเป็นตัวอ่อนที่หัวไร่
หรือปลายนา แล้วเข้ามาระบาดในแปลงปลูกพืช (สมุทร, 2524) โดยทั่วไปแล้วลักษณะการระบาดของตั๊กแตนข้าวจะ
คลา้ ยกบั ต๊ักแตนปาทังกา คือจะกดั กินเน้ือใบอ้อยเหลือท้ิงไว้แค่ก้านใบอ้อย ไรอ่ ้อยท่ีถูกทำลายอย่างหนักจะเห็นแต่ก้านใบ
ทั้งแปลง ตั๊กแตนชนิดนี้เคยมีรายงานพบการระบาดในประเทศไทย โดยพบการระบาดในข้าวที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี
2492) สกลนคร (ปี 2499) และมีการระบาดในอ้อย ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปี 2504) และมีรายงานการระบาดเรื่อยมาใน
พื้นที่เขตภาคกลางตอนบน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยระบาดร่วมกับตั๊กแตนปาทังกาจนถึงปี 2522
และหลงั จากนั้นไมม่ ีรายงานการระบาดทรี่ นุ แรง (ณฐั กฤติ, 2547)

จากสถานการณ์ดังกล่าว เห็นได้ว่าตั๊กแตนศัตรูพืชมีแนวโน้มที่จะกลับมาระบาดอีกครั้ง วัตถุประสงค์ของการ
ทดลองนี้คือเพื่อทราบชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะความแตกต่างทางสัณฐานวิทยา และได้แนวทางการวินิจฉัยชนิด
รวมถึงทบทวนสถานะความเป็นปัจจุบันทางอนุกรมวิธาน (validation) ของตั๊กแตนในแปลงปลูกอ้อยที่สำคัญของ
ประเทศไทย

อปุ กรณ์และวธิ ีการ
อปุ กรณ์

1. กับดักแมลงประกอบไปด้วย กับดักแสงไฟ (Light trap) กับดักถ้วยสีเหลือง (Yellow pan trap) กับดักมุ้ง
(Malaise trap และ Slam trap) รวมทงั้ สวิงจบั แมลง

2. ขวดฆ่าแมลง (killing jar) ซง่ึ บรรจุนำ้ ยาเอทลิ อะซิเตท (ethyl acetate)
3. อุปกรณ์สำหรบั จดั รปู ร่างแมลงเชน่ เข็มสแตนเลส กระดาษลอกลาย setting board
4. ethanol ความเข้มข้น 95% เพอ่ื ใช้ในการจดั เกบ็ ตัวอย่างสดของแมลง
5. กระดาษคุณภาพสูง (acid free paper) เพื่อการเก็บรกั ษาตวั อย่างแหง้ ในระยะยาว
6. อปุ กรณบ์ นั ทกึ เขตการแพร่กระจายในระดบั ละเอยี ด (GPS)
7. Forceps ขนาดเลก็
8. ขวดแก้วขนาดเล็กสำหรบั ตัวอย่างสด
9. กลอ้ งจุลทรรศน์สเตอรโิ อกำลงั ขยายมากกว่า 50 เทา่ ขึ้นไป
10. สารเคมใี นการทำแหง้ ตัวอย่างแมลง
11. โรงเรอื นทดลองกรณจี ำเปน็ ตอ้ งเล้ียงตัก๊ แตน

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 21

12. กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอแบบกำลังขยายสูงสำหรับงานทางอนุกรมวิธานแมลง Leica M205 C พร้อม
เลนส์ Planapo Objective 1.0x สำหรับการถา่ ยภาพเพื่อตพี ิมพใ์ นเอกสารวชิ าการ

วิธกี าร
การเก็บและรักษาตวั อย่างต๊กั แตน (Acquisition of research material)
ดำเนินการเก็บตัวอย่างตั๊กแตนในพื้นที่ปลูกพืชของเกษตรกร ทั้งในฤดูและนอกฤดูเกษตรกรรม รวมทั้ง

พื้นที่ป่าหรือสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ในปี 2561 ดำเนินการเก็บตัวอย่าง พื้นที่ภาคกลางและภาคเหนอื ได้แก่ จังหวัด
กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบรุ ี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชยั นาท สิงห์บรุ ี อยธุ ยา อ่างทอง นครสวรรค์
อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น ดำเนินการเกบ็ ตัวอย่างต๊ักแตนด้วยวธิ กี ารหลกั 2 วิธี
ไดแ้ ก่ การเดนิ สำรวจใชส้ วงิ จบั แมลง และใช้มือเกบ็ ตัวอย่าง และการวางกับดักแมลง โดยกับดักทใี่ ช้ไดแ้ ก่ กับดักแสงไฟ
(Light trap) กับดักถ้วยสีเหลือง (Yellow pan trap) กับดักมุ้ง (Malaise trap และ Slam trap) หลังจากได้ตัวอย่าง
ตั๊กแตนแล้ว ดำเนินการฆ่าโดยใช้ขวดฆ่า (killing jar) ซึ่งบรรจุน้ำยาเอทิล อะซิเตท (ethyl acetate) หลังจากนั้นห่อ
ตวั อยา่ งต๊กั แตนท่ตี ายแลว้ ดว้ ยกระดาษลอกลาย บิดหวั ทา้ ยลกั ษณะคล้ายทอ็ ฟฟี่ เก็บตัวอย่างลงกล่องพลาสติกใส่แมลง
นำกล่องใส่ตัวอย่างใส่ไว้ในกล่องรักษาความเย็นอีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอย่างเน่าเสียหาย หลังจากนั้นเก็บรักษา
ตัวอย่างในตู้เยน็ ท่อี ุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส รอเพ่อื จดั รูปรา่ งและทำตวั อยา่ งแห้งตอ่ ไป

การจัดรูปร่างตั๊กแตนเพื่อศึกษาด้านอนุกรมวิธานแมลง นำตัวอย่างตั๊กแตนจัดรูปร่างบนไม้จัดรูปร่าง
(setting board) โดยจัดให้มีรูปร่างเหมือนลักษณะในธรรมชาติ การจัดวางขาและหนวดอยู่ในลักษณะสมมาตร
เหมอื นกันทงั้ สองขา้ ง หลงั จากนัน้ นำไปอบให้แห้งในตู้อบ (oven) ปรับอณุ หภูมิ 50 องศาเซลเซยี ส ใชเ้ วลา 15 - 30 วัน
ขึ้นกับขนาดตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้นอกจากตัวอย่างตั๊กแตนที่ได้จากการสำรวจแล้ว ยังใช้ตัวอย่างที่มีอยู่เดิมใน
พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวชิ าการเกษตรด้วย รวมถงึ ตัวอยา่ งที่ได้รับจากนักวิชาการ หรอื จากผ้มู าขอรบั บริการตรวจจำแนก
วิเคราะหช์ นิดจากหน่วยงานตา่ ง ๆ ภายในกรมวิชาการเกษตร

การจดั จำแนกโดยศึกษาจากลกั ษณะทางสณั ฐานวิทยา
การตรวจจำแนกวิเคราะห์ชนิด โดยดูลักษณะภายนอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Stereo

microscope แล้วบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ลักษณะโครงสร้างทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญเช่น สี ขนาดลำตัว ลักษณะ
และตำแหน่งของหนามแหลมบนลำตัว โดยตรวจสอบลักษณะท่ีสำคัญทางอนุกรมวิธานด้วยการใช้เอกสารแนวทางการ
วินิจฉัยชนิด ประกอบกับการเปรียบเทียบตัวอย่างแมลงที่ได้จำแนกแล้วในพิพิธภัณฑ์ ดำเนินการจัดจำแนกในระดับ
อันดับ (order) และวงศ์ (family) โดยใช้แนวทางการวินิจฉัยของ Triplehorn & Johnson (2005) นับจำนวนของ
แมลงในแต่ละอันดับในแต่ละคร้ังที่ทำการเก็บตวั อย่าง ทั้งนี้เพือ่ ศึกษาถึงศกั ยภาพของกับดัก วิธีการเก็บแมลง แมลงใน
กลุ่มเป้าหมาย Orthoptera การจัดหมวดหมู่ในระดบั สกุล และชนิดใช้แนวทางการวินจิ ฉยั ประกอบจาก Roffey (1979)
และ Centre for overseas pest research (1982) ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยด้านตั๊กแตนจากประเทศ
สหรัฐอเมริกา ช่วยในการตรวจวินจิ ฉยั ชนดิ หลงั จากนน้ั ดำเนนิ การถ่ายภาพใต้กล้อง stereo microscope ใชโ้ ปรแกรม
การถ่ายภาพ AutoMontage หรือ Cartograph extended-focus โดยใช้ JVC KY-F75U digital camera, Leica
Z16 APOA

22 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

การบันทกึ ขอ้ มูล
- บันทึกข้อมูลรายละเอียดแต่ละตัวอย่างที่เก็บได้ ประกอบด้วย แหล่งที่เก็บ พิกัดทางภูมิศาสตร์ พืช

อาศยั วนั เดอื น ปี ท่ีเก็บตวั อยา่ ง เทคนิคการเกบ็ ตัวอยา่ ง และชอื่ ผเู้ ก็บตวั อย่าง เป็นตน้
- การลงทะเบียนในระบบฐานข้อมูลตั๊กแตนในประเทศไทย โดยตัวอย่างแต่ละตัวอย่างมีรายละเอียด

แยกกันอย่างชัดเจน (specimen barcode) หากมีการค้นพบชื่อวิทยาศาสตร์ชนิดใหม่ ดำเนินการตีพิมพ์และข้ึน
ทะเบยี นกับ IZCN - Zoobank (Polaszek et al., 2005)

- รูปแบบการเขียนตีพิมพ์ผลงานวิจัย (taxonomic description) ดำเนินการตามแบบมาตรฐานของ
Pyle et al. (2008)

- เกบ็ รกั ษาตวั อยา่ งต๊ักแตน ณ พพิ ธิ ภณั ฑ์แมลง สำนกั วจิ ัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

เวลาและสถานท่ี
ดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่างตั๊กแตนในพื้นท่ีปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในฤดูและนอก

ฤดเู กษตรกรรม รวมทั้งพื้นที่ป่าหรอื สภาพแวดล้อมธรรมชาติ โดยมีแผนการดำเนินการดงั น้ี
ปี 2561 ดำเนินการเก็บตัวอย่าง พื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ ได้แก่จังหวัด กรุงเทพฯ อยุธยา
นนทบุรี ปทมุ ธานี อ่างทอง นครสวรรค์ อตุ รดิตถ์ แพร่ น่าน และเชยี งราย เป็นตน้
ปี 2562 ดำเนินการเก็บตัวอย่าง พื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ไดแ้ ก่ จังหวดั กาฬสนิ ธุ์ มหาสารคาม ระยอง จันทบรุ ี ตราด ขอนแก่น และชัยภมู ิ เป็นตน้
ปี 2563 ดำเนนิ การเก็บตวั อย่าง พนื้ ท่ภี าคตะวันตก ไดแ้ ก่ ราชบุรี กาญจนบุรี และเพชรบรุ ี เปน็ ตน้
ปี 2564 ตดิ ตงั้ QR code และจัดการฐานข้อมูลในตัวอย่างที่เก็บได้แต่ละตวั อย่าง

การตรวจวินิจฉัยจัดหมวดหมู่ของตั๊กแตน ดำเนินการ ณ พิพิธภัณฑ์แมลงและห้องปฏิบัติการ กลุ่มงาน
อนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกฏี และสตั ววทิ ยา สำนักวจิ ยั พฒั นาการอารักขาพืช กรมวชิ าการเกษตร

หมายเหตุ: ทกุ ขน้ั ตอนในการดำเนินการ วธิ กี ารทำการทดลองเหมือนกันในแตล่ ะปี

ผลการทดลองและวิจารณ์
แมลงในอนั ดับ Orthoptera ได้แก่ ต๊กั แตน จ้ิงหรดี และแมลงกระชอน แมลงในกล่มุ นี้มวี วิ ฒั นาการค่อนข้างช้า
หรืออยู่ทางตอนล่างของสายวิวัฒนาการใกล้เคียงกับกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ เช่น แมลงสาบ
โครงสร้างทางสัณฐานวิทยาลดรูปน้อยจึงนิยมนำมาศึกษาด้านสรีรวิทยาของแมลงเบื้องต้น แมลงกลุ่มนี้มี 4 ปีก ปีกคู่
หน้าส่วนใหญ่ขยายยาว มีเส้นปีกมาก และหนา หรือที่เรียกว่า tegmina ส่วนปีกคู่หลังกว้างมีเนื้อปีกใสหรือ
membranous ลำตัวยาว รยางค์รอบลำตัวพัฒนาอย่างสมบูรณ์ อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียหลายชนดิ ยาว เพื่อใช้วางไข่ใน
ดินทีล่ ึกประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร ส่วนของรยางค์บรเิ วณปลายขาหรอื tarsi มีประมาณ 3 – 4 ปล้อง
ตั๊กแตนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะโครงสร้างทางสัณฐานวิทยา คือ ตั๊กแตนหนวดสั้น และตั๊กแตนหนวดยาว
ตั๊กแตนหนวดสั้นอยู่ใน อันดับย่อย Caelifera จัดอยู่ในกลุ่มที่กระโดดค่อนข้างไกลหรือเรียกว่า jumping orthoptera
สว่ นของกลา้ มขาหลัง (hind femur) ใหญ่ และแข็งแรง หนวดสัน้ รยางคข์ า (tarsi) มี 3 ปลอ้ งหรอื น้อยกวา่ อวยั วะทำเสียง
(tympana) ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บรเิ วณดา้ นข้างของท้องปลอ้ งที่ 1 อวัยวะสืบพนั ธุ์ของแมลงกลุ่มนีส้ ้ันทั้งเพศผู้ และเพศเมยี

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 23

ตั๊กแตนหนวดสั้นเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเนื่องจากสามารถระบา ดเข้าทำลายผลผลิตทางการเกษตรได้
หลายชนิด มีการอพยพเป็นกลุ่ม (swamp) เรียกว่า Locust ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Acrididae ในการทดลองนี้
ดำเนินการศึกษาแนวทางการวินิจฉัยชนิด และศึกษาลักษณะทางอนุกรมวิธานเฉพาะตั๊กแตนหนวดสั้นเท่านั้น ส่วน
ตกั๊ แตนหนวดยาวจัดอยู่ในอันดับย่อย Ensifera ซ่ึงนอกเหนือจากตั๊กแตนแล้วยังมีแมลงกลุ่มจ้ิงหรีด แมลงกระชอน จิ้งโกร่ง
สะด้งิ จัดอย่ใู นอันดบั ย่อยนี้ หนวดของแมลงกลุ่มนี้ยาว ยาวคล้ายกับเส้นผม รยางคข์ องขา (tarsi) มปี ระมาณ 3 – 4 ปล้อง
อวยั วะทำเสียง (tympana) ตงั้ อยู่บริเวณปลายขาคู่หน้า (front tibia) อวัยวะสบื พนั ธ์ุยาว โดยเฉพาะเพศเมียมีลักษณะ
ยาวคล้ายดาบหรือหอก สำหรับการทดลองนี้ พบตั๊กแตนหนวดยาว 1 วงศ์ คือ Tettigoniidae ซึ่งมี 5 ชนิด ได้แก่
Pyrgocorypha subulate, Conocephalus longipennis, Holochlora nigrothympana, Orthelimaea
leeuwenii และ Hexacentrus unicolor ซง่ึ ไมไ่ ดส้ ร้างแนวทางการวนิ จิ ฉัยและบรรยายลกั ษณะทางอนกุ รมวธิ าน

แนวทางการวนิ ิจฉยั ชนิดของต๊กั แตนหนวดสน้ั ในพนื้ ท่ีปลกู อ้อยของประเทศไทย
Key to species of short horned grasshoppers on the sugarcane crop in Thailand

1) Hind tarsi with 3 - segmented, front and middle tarsi 2 – 3 segmented; ovipositor short; antennae
usually short, rarely more than half as long as body; auditory organs (tympana) on sides of first
abdominal segment………………………………………………………………….……………Pyrgomorphidae Acrididae 2.

– Usually all tarsi, 4 - segmented as least middle tarsi; ovipositor long sword-shaped; antennae
long, usually as long as body or longer; auditory organs (tympana), if present, at base of front
tibiae………………………………………………………………………………………………………………….……………..Tettigoniidae

2) Lower basal lobe of hind femur relatively longer than upper; deep thin furrow along mid-line of
fastigial furrow (Figs. 2, 3, 7, 8)…………………………………………………………………………….….Pyrgomorphidae 3.

– Lower basal lobe of hind femur shorter than or as long as upper; no deep furrow along mid - line
of fastigium (Figs. 2, 3, 5, 6)………………………………………………………………………………………....….….Acrididae 4.

3) Medium length, slender; head conical, face very strong oblique; fastigium of vertex well develop
but shorter than the length of the compound eye (Figs. 7, 25)……………………………………………………………….
……………………………………………………………….………..………….Atractomorpha crenulata (Fabricius, 1793)

– Exceptional slender; head lanceolate, face very strongly oblique; fastigium of vertex very long,
greater than length of compound eye (Fig. 8)……………Atractomorpha psittacina (De Haan, 1842)

4) Prosternal process or peg absent (Fig. 18)…………………………………………………………………………Acridinae 5.
– Prosternal process or peg present (Fig. 17)……………….…..Hemiacridinae Oxyninae Coptacridinae 12.
5) Antennae widened and flattened at base, sword-like (Figs. 23 – 26)………………………………………………..6.
– Antennae filiform (Figs. 1, 4, 27, 28 – 31)………………………………………………………………………………………….10.
6) Body elongate, straw-like; head present in front of eyes for longer than distance between eyes

(Figs. 23, 24)…………………………………………………………………………………………………………………………………………7.

24 วารสารกฏี และสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

– Body normal, not elongate; head only produced in front of eyes for a distance equal to distance
between eyes (Fig. 26, 27, 37)…………………………………………………………………………………………………………….8.

7) Lobes of hind knee elongate, pointed (Figs. 19, 23)…………………………….Acrida willemsei, Dirsh 1954
– Lobes of hind knee not elongate, rounded (Figs. 20, 24)……………..Gonista bicolor (De Haan, 1842)
8) Hind margin of pronotum acute; hind wing with crescent-shaped brown marking in middle of

basal half (Figs. 1, 11)…………………………………………………………………Calephorus vitalisi I. Bolivar, 1914
– Hind margin of pronotum obtuse; hind wing with brown coloration at apex and sometimes around

posterior margin (Figs. 1, 9, 10)………………………………………………………………………………………………………….9.
9) Antenna flattened basally, pale or white-tripped; Pronotum with distinct lateral carinae, medial

carina not distinctly interrupted by main transverse sulcus (Fig. 9)…………………….…………………………….
………………………………………………………………………………………………..Phlaeoba antennata Brunner, 1893
– Antenna flattened basally, unicolorous or dark apically, not pale or white-tripped; Pronotum with
medial carina distinctly interrupted by transverse sulcus (Fig. 10)……………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………….Phlaeoba infumata Brunner, 1893
10) Pronotum with two tooth-like projections on medial carina in front of posterior transverse furrow
(Fig. 12)……………………………………………………………………………….Trilophidia annulata (Thunberg, 1815)
– Pronotum in profile arched or straight in front of posterior transverse furrow…………………………….…11.
11) Hind wing with crescent-shaped black-brown band across middle; smaller species about 25 mm
long; hind tibia without bluish or red (Figs. 22, 30)……………..Oedaleus abruptus (Thunberg, 1815)
– Hind wing without black coloration across middle; smaller species about 35 mm long; hind tibia
with bluish or red (Figs. 21, 27)……………………………………………Aiolopus thalassinus (Fabricius, 1781)
12) Lower external lobe of hind femur not extended into spine-like apex (Figs. 4)………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….Oxyinae 13.
– Lower external lobe of hind femur extended into spine-like apex (Figs. 4)…………………………………..……
…………………………………………………………………………Hemiacridinae Coptacridinae Eyprepocnemidinae 16.
13) Tegmina with series of regular, parallel transverse stridulatory veinlets on radical area; female
ovipositor valves short (Fig. 35)…………………………………………………Gesonula mundata (Walker, 1870)
– Tegmina without series of regular, parallel transverse stridulatory veinlets on radical area; female
ovipositor valves long and slender (Figs. 32 – 34)……………………………………………………………………………14.
14) Head shorter than pronotum; face in profile oblique; vertex convex from above, fastigium
rounded; Elytra and wings short extending beyond the middle of hind femur (Figs. 14, 33)……………
………………………………………………………………………………………….………Pseudoxya diminuta (Walker, 1871)

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 25

– Head longer than pronotum; frontal ridge sulcate; fastigium of vertex short, without mid
longitudinal carina; Elytra and wings developed extending longer than the middle of hind femur
(Figs. 13, 34)……………………………………………………………………………………………………………………………………….15.

15) Supra-anal plate in male appear weakly trilobate; ovipositor valves in female with long teeth, the
apical ones curved (Fig. 13, 34)…………………………………………….……………………..Oxya hyla Serville, 1831

– Supra-anal plate in male with basal folds, size variable; ovipositor valves in female with short
teeth, lateral longitudinal ridges on subgenital plate with spines apically (Fig. 32)………………….…………
……………………………………………………………………………………………………….Oxya japonica (Thunberg, 1824)

16) Mesosternal lobes rectangular or acute (Fig. 4, 15, 16)……………………………………….….Hemiacridinae 17.
– Mesosternal lobes rounded or obtuse (Fig. 4)…………………..…..Coptacridinae Eyprepocnemidinae 18.
17) Robust species, medium to large, body length 28 – 65 mm; dorsal pronotum cylindrical without

lateral carina (Figs. 15, 28)……………………………………………………Hieroglyphus banian (Fabricius, 1798)
– Small to medium size, body length 12 – 23 mm; dorsal pronotum flat, lateral carina present (Figs.

16)…………………………………………………………………………..…Spathosternum prasiniferum (Walker, 1871)
18) Subgenital plate with transverse fold; supra anal plate with attenuate or trilobate apex; pronotum

without distinct lateral carina (Fig. 29)……………………………………..…Apalacris varicornis Walker, 1870
– Subgenital plate without transverse fold; supra-anal plate varialbe; pronotum with distinct lateral

carina (Figs. 4)……………………………………………………………………....Choroedocus violaceipes Miller, 1934

26 วารสารกฏี และสตั ววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

Figures 1 – 3 Grasshopper morphology; dorsal habitus of body and head, for wing venation
see Dirsh (1965) in terminological lists. Image modified from Dirsh (1965)

Figure 4 Grasshopper morphology; lateral habitus of body, Image modified from Dirsh (1965)

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 27

Figures 5 – 10 Head, dorsal view.
5. Acrida willemsei Dirsh
6. Gonista bicolor (De Haan)
7. Atractomorpha crenulata (Fabricius)
8. Atractomorpha psittacina (De Haan)
9. Phlaeoba antennata Brunner
10. Phlaeoba infumata Brunner
Scale bar in millimeters

28 วารสารกีฏและสตั ววิทยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

Figures 11 – 16 Head dorsal view.
11. Calephorus vitalisi I. Bolivar
12. Trilophidia annulata (Thunberg)
13. Oxya hyla Serville
14. Pseudoxya diminuta (Walker)
15. Hieroglyphus banian (Fabricius)
16. Spathosternum prasiniferum (Walker)
Scale bar in millimeters

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 29

Figures 17 – 22 Prosternal process or PEG 17. Hieroglyphus banian (Fabricius)
Hind knee, lateral view 18. Calephorus vitalisi I. Bolivar
Hind tibia 19. Acrida willemsei Dirsh
Scale bar in millimeters 20. Gonista bicolor (De Haan)
21. Aiolopus thalassinus (Fabricius)
22. Oedaleus abruptus (Thunberg)

30 วารสารกฏี และสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

Figures 23 – 27 Dorsal habitus
23. Acrida willemsei Dirsh
24. Gonista bicolor (De Haan)
25. Atractomorpha crenulata (Fabricius)
26. Phlaeoba infumata Brunner
27. Aiolopus thalassinus (Fabricius)
Scale bar in millimeters

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 31

Figures 28 – 31 Dorsal habitus 28. Hieroglyphus banian (Fabricius)
29. Apalacris varicornis Walker

Lateral habitus 30. Oedaleus abruptus (Thunberg)
31. Trilophidia annulata (Thunberg)

Scale bar in millimeters

32 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

Figures 32 – 37 Lateral habitus
32. Oxya japonica (Thunberg)
33. Pseudoxya diminuta (Walker)
34. Oxya hyla Serville
35. Gesonula mundata (Walker)
36. Spathosternum prasiniferum (Walker)
37. Phlaeoba antennata Brunner
Scale bar in millimeters

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 33

Family Acrididae
Subfamily Acridinae
Acrida willemsei Dirsh, 1954 (Figures 19, 23)
ประวตั ิทางอนกุ รมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:52451
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1111413
ชอื่ พ้อง (Synonym): -
ชื่อสามัญ (Common name): ต๊ักแตนหวั แหลม (Acrida Locust)
ตั๊กแตนหนวดสัน้ หัวยาว (Long-head short horn grasshopper)
ลักษณะทางสณั ฐานวิทยา (Description) มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โดยมขี นาดเฉล่ีย 36 – 40 เซนตเิ มตรโดยประมาณ
รปู รา่ งเรียวยาว หนวดมีลักษณะสั้น ฐานของหนวดแบนและเรียวยาวคล้ายดาบ สว่ นหวั เรียวยาว ส่วนหน้าโค้งมน มีลักษณะ
เรียวแหลมโดยเฉพาะในเพศเมีย สว่ นอกมีเส้นนูนตามขวาง (lateral carina) 1 เสน้ ปกี คู่หน้าและปกี คู่หลงั พฒั นาอย่าง
สมบรู ณ์ สว่ นของปกี คู่หน้าแผ่ขยายจนถึงข้อเขา่ (hind knee) ของขาคู่หลัง ปกี คู่หลงั ค่อนข้างส้นั กว่าปีกคู่หน้า ขาคู่หลัง
ในส่วนของ femur เรียวยาวส่วนขอบมีความแข็งและนูนออกมาเล็กน้อย ต๊ักแตนกลุ่มน้ีโดยท่ัวไปแล้วมีสีเขียวจนถึง
สีน้ำตาล ปีกคหู่ ลงั มีสีเหลอื งออ่ นจนถงึ สเี ขยี วส่วนขอบปีกเป็นสนี ำ้ ตาล
การวินจิ ฉยั (Diagnosis) ตัก๊ แตนชนิดนม้ี ลี กั ษณะทางสัณฐานวิทยาใกล้เคยี งกบั ตั๊กแตน Gonista bicolor แตส่ ามารถ
แยกความแตกตา่ งไดจ้ าก ข้อเขา่ (hind knee) ของขาคู่หลงั ซึง่ มลี กั ษณะเปน็ หนามแหลมเห็นได้อย่างชดั เจน
เขตการแพรก่ ระจาย (Distribution) เมยี นมาร์ จีน (ยนู าน กวางตุ้ง ฝเู จ้ยี น ซีเกียง และไหหนาน) ไตห้ วนั เวยี ดนาม
มาเลเซีย อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตราและเกาะชวา) และฟิลปิ ปนิ ส์
แหล่งที่เก็บตัวอย่าง (Collected locality) จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม นครปฐม อุดรธานี หนองบัวลำภู บุรีรัมย์
ราชบรุ ี กาญจนบรุ ี ตาก นครราชสมี า และสพุ รรณบรุ ี
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0003682, 0003689, 0003782, 0000468,
0003863 – 0003865, 0003943 – 0003944, 0003941, 0003970, 0003725, 0003723, 0001618 – 0001619,
0003964 – 0003966, 0001620 – 0001644, 0000885, 0003826, 0003967, 0003959 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจั ยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร)
http://bit.ly/3kex4mE

Gonista bicolor (De Haan, 1842) (Figures 20, 24)
ประวตั ทิ างอนกุ รมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:60542
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1106806
ชอ่ื พอ้ ง (Synonym): G. antennata Bolívar, 1898; G. esox (Burr, 1902); G. gracilis (Fritze, 1900);

G. lucius (Burr, 1902)
ช่อื สามัญ (Common name): ต๊ักแตนกอนนิสตา (Gonista locust)

34 วารสารกีฏและสัตววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

ตกั๊ แตนหนวดสน้ั เขยี วหวั ยาว (Green long-head grasshoppper)
ตัก๊ แตนข้าวหน้าเฉียงสองสี (Rice oblique-face grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) แมลงกลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Acrida มีขนาดกลาง ลำตัวเรียวยาว
ส่วนหัวสั้นกว่าส่วนอก ส่วนของหน้าผาก (Fastigium vertex) ยื่นออกไปข้างหน้าตรงๆ ส่วนของหน้าโค้งเล็กน้อย
ฐานของหนวดมีลักษณะแบนเชื่อมต่อกันเป็นรูปดาบ สว่ นของตาอยู่ตรงกลางของหัว มีระยะห่างจากส่วนของตารวมถึง
fastigium เท่ากับหรือมากกว่าความกว้างของหน้าผาก vertex และขนาดของตารวมรวมกัน ส่วนของอก (prozona
และ metazona) มีลักษณะแบนข้างๆเห็นในส่วนของเส้นนูน(keels) ตรงกลาง และข้าง ๆ อย่างชัดเจน พบส่วนของ
ร่องลึก (sulcus) 3 ร่องบนส่วนอก แต่มีเพียงร่องเดียวเท่านั้นที่ตรงขอบที่ลึกและชัดเจน ปีกคู่หน้าและปีกคู่หลังเรียวยาว
ปลายแหลม ส่วนขาหลังส่วนของ femur เรยี วยาว ข้อเขา่ ของขาคหู่ ลังกลมมน สขี องต๊ักแตนชนิดนี้มสี ีเหลืองถึงน้ำตาล
บางกลุ่มมีสีเขียวแต่พบน้อยมาก ตารวมมีสีน้ำตาลแดงและมีขอบสีเข้ม ขอบของหน้าผากและโหนกหัวมีสีน้ำตาลแดง
สว่ นของอกมสี นี ำ้ ตาลอยดู่ ้านบน
การวนิ จิ ฉัย (Diagnosis) ต๊กั แตนชนิดนมี้ ลี ักษณะทางสัณฐานวิทยาใกลเ้ คียงกับต๊กั แตน Acrida แต่สามารถแยกความ
แตกต่างได้จาก ข้อเขา่ (hind knee) ของขาคู่หลังซึง่ มลี กั ษณะมนไมเ่ ป็นหนามแหลมเหมือน Acrida
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) เกาหลี ญี่ปุ่น จีน (ทางตอนกลางและตอนใต้) ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
มาเลเซยี อนิ โดนเี ซยี (เกาะสุมาตรา) และไทย
แหล่งทเี่ ก็บตวั อยา่ ง (Collected locality) จงั หวัดอดุ รธานี มหาสารคาม ชัยภมู ิ และขอนแก่น
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0001645 – 0001649, 0003882 (เก็บ
รกั ษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุม่ งานอนุกรมวิธานแมลง กลมุ่ กฏี และสัตววิทยา สำนกั วิจยั พฒั นาการอารักขาพชื กรมวิชาการ
เกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Trilophidia annulata (Thunberg, 1815) (Figure 12)
ประวัตทิ างอนุกรมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:64660
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1104507
ชอ่ื พ้อง (Synonym): T. aspera (Walker, 1870); T. bidens (Thunberg, 1815); T. ceylonica Saussure, 1884

T. cristella (Stål, 1861); T. japonica Saussure, 1888; T. mongolica Saussure, 1888
T. nigricans (Walker, 1870); T. vulneratum (Haan, 1842)
ชื่อสามัญ (Common name): ต๊ักแตนหนวดสั้นอกสนั สงู (High-ridge chest short horn grasshopper)

ตั๊กแตนหนวดสั้นลายหิน (Stone printed short horn grasshopper)
ลกั ษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ตก๊ั แตนชนิดน้ีมขี นาดเล็กถึงขนาดกลาง ผนงั ลำตวั ค่อนข้างขรขุ ระ และมีขน
บริเวณผนังลำตัว หนวดมีลักษณะเป็นเส้นด้าย (filiform) หนวดมีความยาวเท่ากับหรือยาวกว่าส่วนหัว และส่วนอก
รวมกัน หัวมีลักษณะกลมมนเป็นรูปกรวย หน้าผาก (fastigium vertex) ทำมุมกันเห็นได้ชัดเจน ส่วนของหน้าค่อนขา้ ง
มนตรง ส่วนของอกส่วนหน้าหรือ pronotum ส่วนบนมีลักษณะแคบ อกร่องสุดท้ายมีลักษณะคมมีสันนูนขึ้นมาสันคม
เหน็ ชดั เจน อกปล้องสุดทา้ ย (metazona) ยาวกวา่ อกปล้องแรก (prozona) ส่วนขอบของอกมนไม่แหลมโค้ง ปกี ค่หู น้า

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 35

และปกี คหู่ ลงั พฒั นาอย่างสมบูรณ์ ขาหลังมีขนาดใหญโ่ ดยเฉพาะส่วน femur สขี องตัก๊ แตนชนดิ นมี้ ีสีน้ำตาลถึงสีเทาเข้ม
และมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ปีกคู่หน้าพบแถบสีน้ำตาลเข้มถึงดำ 2-3 แถบ ขาหลังส่วน femur สีน้ำตาลถึงสีเทาเข้ม
ส่วนบนเป็นสดี ำและสว่ นดา้ นในพบแถบสเี ทา ปกี คหู่ ลงั มีสเี หลอื ง เหลอื งเขยี ว หรอื บางครั้งพบเป็นสีใสทางตอนต้นของปีก
การวนิ ิจฉัย (Diagnosis) ต๊กั แตนชนิดนค้ี ล้ายคลึงกันกบั Phlaeoba แต่สามารถแยกออกมาได้จากลักษณะหนวดเป็น
เส้นด้าย นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่นบริเวณอกปลอ้ งแรก (prozona) คือพบแกนแข็งเหมือนฟัน 2 ซี่ ยื่นออกมาเห็นได้
อยา่ งชดั เจน
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) อัฟกานิสถาน ปากีสถาน แคชเมียร์ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เมียนมาร์
เวียดนาม จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวนั ฟลิ ปิ ปินส์ อินโดนเี ซยี (เกาะสมุ าตรา เกาะชวา และเกาะบอรเ์ นียว) และไทย
แหล่งที่เก็บตัวอย่าง (Collected locality) จังหวัดนครราชสีมา ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กำแพงเพชร นครสวรรค์
สุโขทยั กาญจนบรุ ี สุรินทร์ บรุ ีรมั ย์ ชัยภูมิ ขอนแกน่ กาฬสินธุ์ หนองบวั ลำภู อดุ รธานี และมหาสารคาม
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0000287 – 0000290, 0000300 – 0000302,
0000464, 0000478 – 0000487, 0000490 – 0000492, 0000495, 0000499, 0000500, 0000842 – 0000849,
0000021, 0000035, 0000038, 0000046, 0000051, 0000062, 0000066 – 0000068, 0000070, 0000075, 0000084
– 0000083, 0000109, 0000120 – 0000121, 0000123, 0001686, 0001691 – 0001701, 0000166, 0000013,
0000015, 0000096, 0000087 – 0000086, 0001706 - 0001710, 0000017, 0000094, 0003973 – 0003977, 0008014
– 0008016, 0001747 – 0001748, 0008018 – 0008020, 0008011 – 0008012, 0008005 – 0008008, 0003953,
0003948 – 0003951, 0003945 – 0003946, 0003929 – 0003930, 0003927, 0003923 – 0003925, 0003704,
0003734, 0003736 – 0003737, 0003740 – 0003741, 0003620, 0003744 – 0003745, 0008148 – 0008155,
0008065 - 0008066, 0003636, 0003800, 0003803 – 0003805, 0003747, 0003798 – 0003799, 0003610, 0003899,
0001752 – 0001769, 0008072, 0008061, 0008058 – 0008059, 0008076, 0008070, 0008055, 0008052 - 0008053,
0008079, 0003691 – 0003694, 0003696 – 0003690, 0003981, 0003794, 0008063, 0003791 – 0003792, 0003842
– 0003843, 0003992, 0003994, 0003995, 0003919, 0003916, 0001770 – 0001783 – 0001785, 0001787 –
0001788 (เกบ็ รักษาในพิพิธภณั ฑ์แมลง กลมุ่ งานอนุกรมวธิ านแมลง กลมุ่ กีฏและสัตววิทยา สำนกั วจิ ัยพัฒนาการอารักขาพืช
กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Phlaeoba antennata Brunner, 1893 (Figure 9)
ประวัติทางอนกุ รมวธิ าน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:52218
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1111536
ช่ือพ้อง (Synonym): -
ชื่อสามัญ (Common name): ต๊กั แตนหนวดสนั้ ปลายขาว (White-tip short horn grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ตั๊กแตนชนิดน้ีมีขนาดกลาง ส่วนหัวมีขนาดส้ันกว่าส่วนอก ส่วนของหน้า
มีลักษณะคอ่ นข้างมน หน้าผาก (fastigium vertex) ยาว สว่ นของฐานหนวดแบน ความยาวหนวดยาวไปจนถึงส่วนท้าย
ของอกปล้องสุดทา้ ย โดยเฉพาะอย่างย่ิงในเพศผู้ สว่ นของอก (prozona, metazona) เห็นเสน้ นนู ดา้ นขา้ งอย่างชัดเจน

36 วารสารกีฏและสตั ววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

ไมม่ รี ่องพาดตามขวาง เสน้ นนู ดา้ นบนอก ส่วนขอบของอกด้านหลงั มลี กั ษณะมนไมแ่ หลม ปกี คู่หน้าและปีกคู่หลังยาวไป
จนถึงส่วนของเข่า (hind knee) ของขาคูห่ ลงั แผ่นปิดอวัยวะสบื พันธุเ์ พศผู้ส้ัน ส่วนปลายป้านไม่แหลม ตั๊กแตนชนิดน้ีมี
สีค่อนข้างแดงจนถึงสีเขียวเข้มถึงน้ำตาล พบแถบสีซีดจากสว่ นของหนา้ ผากพาดไปจนถึงส่วนปกี คูห่ นา้ และสีจะจางลง
ในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย ส่วนหนวดมีสีน้ำตาลเข้มทฐ่ี าน สว่ นปลายของหนวดพบสีขาวหรือสีขาวอ่อนจนซีด โดยเฉพาะ
อย่างยง่ิ ในเพศผู้ ปีกคหู่ ลงั มสี นี ้ำเงนิ เข้มถงึ ดำทสี่ ่วนฐานปีก
การวินิจฉัย (Diagnosis) ตั๊กแตนชนิดนี้มลี ักษณะคล้ายคลงึ กับ Phlaeoba infumata แตกต่างกันตรงทีป่ ลายหนวด
มสี ขี าวหรือสซี ดี เห็นได้ชัดเจน
เขตการแพรก่ ระจาย (Distribution) อินเดยี บงั คลาเทศ เมียนมาร์ จนี (ไหหนาน กวางสี กวางตงุ้ ) ฮ่องกง เวียดนาม
มาเลเซยี สิงคโปร์ อนิ โดนีเซยี (เกาะสมุ าตรา และเกาะบอร์เนยี ว) และไทย
แหลง่ ทีเ่ ก็บตัวอย่าง (Collected locality) จงั หวดั ขอนแกน่ อดุ รธานี หนองบัวลำภู และมหาสารคาม
ตัวอย่างทใี่ ชศ้ กึ ษา (Material Examined) บารโ์ ค้ดตัวอยา่ ง EMBT ENT 0001790, 0003895, 0003822, 0003837,
0003731, 0003840, 0003740, 0003763 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและ
สัตววิทยา สำนักวจิ ัยพัฒนาการอารกั ขาพชื กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Phlaeoba infumata Brunner, 1893 (Figure 10)
ประวตั ทิ างอนุกรมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:52252
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1111516
ชอ่ื พอ้ ง (Synonym): -
ช่ือสามัญ (Common name): ต๊ักแตนหนวดสัน้ สีนำ้ ตาลจาง (Fade-brown short horn grasshopper)
ลักษณะทางสณั ฐานวิทยา (Description) มลี กั ษณะคลา้ ยกบั Phlaeoba antennata แตกตา่ งกันทีห่ นวดจะมสี ีเดียว
และเป็นสีเข้มทางตอนปลายหนวดไม่พบสีเทาหรือสีขาวทางตอนปลาย ส่วนของอก (prozona) จะพบเส้นนูนอยู่ตรง
กลางอกด้านบนซึ่งจะมีร่อง (sulcus) พาดตามขวางเห็นอย่างชัดเจน ปีกคู่หลังมีลักษณะใสขุ่น ส่วนปลายจะมีลักษณะ
ใสส่วนฐานปีกไม่มีลักษณะเป็นสีเข้มถึงน้ำเงิน เพศผู้มีแผ่นท่ีปิดอวัยวะสืบพันธุ์แหลม อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้เรียวยาว
โดยมีความยาว 4 ถึง 5 เท่าของฐาน
การวินิจฉัย (Diagnosis) มลี ักษณะคลา้ ยกบั Phlaeoba antennata แต่ปลายหนวดไม่เป็นสขี าวซดี
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) จีน (กวางตุ้ง กวางสี หูเป่ย ยูนาน และไหหนาน) ไต้หวัน กัมพูชา อินเดีย บังคลาเทศ
เมียนมาร์ มาเลเซีย และไทย
แหล่งที่เก็บตัวอย่าง (Collected locality) จังหวัดหนองบัวลำภู สุพรรณบุรี นครสวรรค์ นครปฐม กำแพงเพชร สุโขทัย
นครราชสีมา กาฬสนิ ธุ์ ราชบุรี อุดรธานี บรุ รี มั ย์ อุทยั ธานี ชัยภมู ิ มหาสารคาม และขอนแก่น
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บารโ์ คด้ ตัวอยา่ ง EMBT ENT 0003990, 0003972, 0000880, 0000882,
0000496 – 0000497, 0000886 – 0000887, 0003921, 0000868, 0001711 – 0001712, 0000508, 0008073 –
0008074, 0000869, 0001713 – 0001732, 0000867, 0000871 – 0000872, 0000874 – 0000876, 0001733 –
0001744, 0000879, 0000884, 0001745, 0003906 – 0003907, 0003684, 0003903 - 0003904, 0000873,

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 37

0000877, 0000504, 0003909 - 0003912, 0003904, 0003685, 0000890 – 0000896, 0000881, 0000888 –
0000889, 0001789, 0003633, 0003638, 0000860 – 0000866, 0008050, 0008048, 0008082 – 0008089,
0000471 – 0000474, 000855 – 0000859 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและ
สตั ววทิ ยา สำนกั วจิ ยั พฒั นาการอารกั ขาพชื กรมวชิ าการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Calephorus vitalisi I. Bolivar, 1914 (Figure 11)
ประวัติทางอนกุ รมวธิ าน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:52369
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1111457
ชอื่ พอ้ ง (Synonym): -
ชื่อสามัญ (Common name): -
ลกั ษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ลำตวั มีขนาดเล็ก รูปรา่ งเพรยี ว ผนังลำตัวค่อนขา้ งหยาบขรุขระ จนถึงเรียบ
ลกั ษณะของหนวดแบนและกว้างมีขนาดสน้ั กว่าสว่ นหวั และส่วนอกรวมกนั ส่วนหวั มีรูปกรวยยาวกว่าส่วนตา ความยาว
ของสว่ นหวั เท่ากบั ระยะความยาวของตารวม ส่วนหนา้ มีลกั ษณะป้าน และคอ่ นข้างมน ส่วนอกมีลกั ษณะคล้ายบ้านหน้าจ่ัว
หา้ เหล่ียม สันนูนทางตอนบนแหลมคม สันอกด้านข้างแข็ง และหนา อกส่วนท้ายมีลักษณะยาวกว่าอกส่วนหน้า อกส่วนหลัง
ตรงขอบมีลักษณะแหลมคมเห็นชัดเจน ปีกคู่หน้าและปีกคู่หลังพัฒนาสมบูรณ์ ปีกคู่หลังมีสีน้ำตาลตอนกลางจนถึง
ฐานปีก สีของลำตัวมีสเี ขยี วถงึ สเี หลืองเขม้ ส่วนท้องตอนตน้ มีสีแดง สว่ นอนื่ ๆ คอ่ นข้างเปน็ สีใสหรอื สีหมน่
การวนิ จิ ฉยั (Diagnosis) ต๊ักแตนชนดิ นี้วินิจฉยั จากขอบอกปล้องสดุ ท้าย (metazona) แหลมและคมอย่างชดั เจน
เขตการแพรก่ ระจาย (Distribution) ประเทศในคาบสมุทรอนิ โดจนี โดยเฉพาะเวียดนาม และไทย
แหล่งทเี่ กบ็ ตวั อยา่ ง (Collected locality) จงั หวดั มหาสารคาม และสุโขทัย
ตวั อยา่ งทีใ่ ช้ศกึ ษา (Material Examined) บารโ์ ค้ดตวั อยา่ ง EMBT ENT 0003754, 0003765, 0003767, 0003820,
0003825, 0003814, 0003819, 0003789, 0000900 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนกั วิจยั พัฒนาการอารกั ขาพืช กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Oedaleus abruptus (Thunberg, 1815) (Figures 22, 30)
ประวตั ิทางอนุกรมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:68045
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1103191
ชอื่ พอ้ ง (Synonym): -
ช่ือสามญั (Common name): ตก๊ั แตนหนวดสัน้ หัวตัด (Cut-head short horn grasshopper)

ตัก๊ แตนหนวดกากบาท (Cross-mark grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ตั๊กแตนชนิดนี้มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผนังลำตัวพบรอยหลุมของขน
ละเอยี ดไม่ลกึ มาก หนวดมีลกั ษณะเป็นเสน้ ดา้ ย (filiform) มีขนาดยาวกว่าส่วนหวั และสว่ นอกรวมกันเล็กน้อย สว่ นหน้า
ค่อนข้างตรง สว่ นของหนา้ ผาก (fastigium of vertex) ทำมุมกับสว่ นหน้าอย่างชัดเจน สว่ นของอกค่อนข้างสั้นด้านข้าง

38 วารสารกีฏและสัตววิทยา ปีที่ 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

ขนานกัน และขยายไปถึงอกปล้องสุดท้าย ส่วนขอบอกทางตอนบนค่อนข้างเป็นเส้นตรงแตกต่างกันกับส่วนขอบทาง
ตอนท้าย และทำมุมเห็นได้อย่างชัดเจน พบร่องขวาง (sulcus) ตัดผ่านเส้นนูนทางด้านกลาง (medial carina) ของอก
ปกี คู่หน้า และปีกคหู่ ลังพัฒนาสมบรู ณข์ ยายยาวไปถงึ สว่ นเขา่ ของขาคู่หลัง (hind knee) ปกี คู่หลังพบแถบสีเขยี วเข้มถึง
เหลืองแพร่ขยายกว้างในส่วนฐาน ในส่วนของ femur ขาคู่หลังนั้นเรยี วยาว ตั๊กแตนชนิดนี้มีสีค่อนข้างหลากหลายทั้งสี
เขียวและสีน้ำตาล บางครั้งพบสีเขยี วและสีนำ้ ตาลอยู่ในตัวเดียวกัน ด้านบนของหัวเป็นสีเทาเข้ม และบางครั้งพบสีเทา
ตามแนวยาวเปน็ แถบในแตล่ ะข้างของส่วนอก สว่ นของ hind tibia ไมพ่ บสแี ดงทางตอนปลายของขา
การวินิจฉัย (Diagnosis) ตั๊กแตนชนิดนี้มีลักษณะคลา้ ยคลึงกันกับ Aiolopus thalassinus แตกต่างกันที่ปลาย tibia
ของขาคูห่ ลังท่ีไม่พบสีแดงทางตอนปลายของขา ปีกคหู่ ลงั มแี ถบสนี ำ้ ตาลดำพาดขวางกลางปีก
เขตการแพรก่ ระจาย (Distribution) ปากสี ถาน อนิ เดยี ศรีลงั กา บังคลาเทศ เมยี นมาร์ และจนี
แหล่งที่เก็บตัวอย่าง (Collected locality) จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี ชัยภูมิ
กำแพงเพชร กาฬสินธ์ุ ราชบรุ ี กาญจนบรุ ี สุโขทัย บรุ ีรมั ย์ อทุ ัยธานี และนครราชสมี า
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0008120 – 0008121, 0008124 – 0008129,
0003751, 0003753, 0003755, 0003758, 0003781, 0003784, 0003787, 0003916, 0003701 – 0003702, 0003705,
0003850 – 0003852, 0003858, 0003790, 0008130 – 0008141, 0003680, 0003649, 0003900, 0003902, 0003801,
0003806 – 0003807, 0003809, 0003861 – 0003862, 0003832 – 0003835, 0003652, 0003760, 0003764,
0003770, – 0003773, 0003810, 0003812, 0003816, 0003957, 0000331, 0003721, 0008118 – 0008119, 0000327,
0000898 – 0000899, 0008022, 0003937, 0000262, 0000122, 0000901, 0003748, 0000164, 0003893, 0003841,
0003847 – 0003849, 0003823, 0003827, 0003739, 0001791, 0008078 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงาน
อนุกรมวิธานแมลง กลมุ่ กีฏและสตั ววทิ ยา สำนกั วิจัยพัฒนาการอารกั ขาพืช กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Aiolopus thalassinus (Fabricius, 1781) (Figures 21, 27)
ประวตั ทิ างอนุกรมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:67700
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1103315
ช่อื พ้อง (Synonym): -
ชอ่ื สามญั (Common name): ตก๊ั แตนโม (Moe grasshopper)

ตก๊ั แตนโมเขียว (Olive-green grasshopper)
ตั๊กแตนหนวดส้ันแข้งฟา้ แดง (Red-blue-leg short horn grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ลำตัวมีขนาดกลาง ผนังลำตัวเป็นจุดละเอียด หนวดมีลักษณะเป็นเส้นด้าย
(filiform) ความยาวหนวดเท่ากับส่วนหวั และส่วนอกรวมกัน ส่วนของหน้าผาก (fatigium vertex) เป็นรูปห้าเหลีย่ มมี
ความยาว ยาวกว่าความกว้างเล็กน้อย ส่วนของหน้ามนแคบขยายไปถึงทางด้านลา่ ง สว่ นอกมลี ักษณะคล้ายบ้านหน้าจั่ว
รูปห้าเหลี่ยม อกตอนต้น (prozona) มีลักษณะแคบ เส้นนูนตอนกลางของอกเป็นเส้นตรงโดยมีร่องลึก (sulcus) พาดผ่าน
ขวางตอนต้นเท่านั้น อกปล้องสุดท้ายยาวกว่าอกปล้องแรก ส่วนขอบของอกมีลักษณะมนทำมุมอย่างชัดเจน ปีกคู่หน้า

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 39

และปีกคู่หลังพัฒนาอย่างสมบูรณ์ femur ของขาหลังมีลักษณะเรียวยาว ตั๊กแตนชนิดนี้มีสีที่หลากหลายแต่โดยส่วน
ใหญ่แลว้ พบสีน้ำตาลถงึ สีนำ้ ตาลเข้ม บางครัง้ กจ็ ะพบวา่ มีสเี ขียวเกอื บทัง้ ตวั
การวินิจฉัย (Diagnosis) ตั๊กแตนชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Oedaleus abruptus แต่สามารถวินิจฉัยความ
แตกต่างได้จากปีกคู่หลัง ไม่มแี ถบสดี ำพาดขวางกลางปีก มขี นาดกลางถึงขนาดเล็กประมาณ 3.5 เซนตเิ มตร ส่วนปลาย
ของขาหลงั บริเวณ tibia มสี แี ดงหรือสีนำ้ เงนิ เข้ม
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ หมู่เกาะแถบทะเลอันดามัน เมียนมาร์ จีน ฮ่องกง
ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย (หมู่เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว) ปาปัวนิวกินี
ออสเตรเลยี ทางฝ่ังตะวนั ออก และไทย
แหล่งที่เก็บตัวอย่าง (Collected locality) จงั หวัดมหาสารคาม หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแกน่ และกาฬสนิ ธ์ุ
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0003785 – 0003786, 0003730, 0003711 –
0003712, 0003717, 0003719, 0003750, 0003722, 0003778, 0003971, 0003749, 0003821, 0001792 – 0001799,
0008071, 0004000, 0008067 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนกั วจิ ัยพฒั นาการอารักขาพชื กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Subfamily Oxyinae
Gesonula mundata (Walker, 1870) (Figure 35)
ประวตั ทิ างอนุกรมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:47262
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1114238
ชื่อพอ้ ง (Synonym): -
ชือ่ สามัญ (Common name): ตัก๊ แตนขา้ วเลก็ ลาว (Small Lao Rice Grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ตั๊กแตนชนิดนี้มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง รูปร่างเพรียว ผนังลำตัวมีลักษณะ
ขรุขระ และเป็นปุ่มเล็กน้อย ผนังมีลักษณะคล้ายตาข่ายร่างแหบางๆ หนวดมีลักษณะเป็นเส้นด้าย (filiform) มีความยาว
มากกว่าหัวและอกรวมกัน ลักษณะของหน้ากลมมนมาทางด้านล่าง ส่วนอกมีความยาวเป็นรูปกรวยขยายมาทาง
ตอนล่างเล็กน้อย พบเส้นพาดผ่านบริเวณสันหลังอกไปจนถึงอกปล้องสุดท้าย มีร่อง (sulcus) 3 ร่องพาดผ่านทาง
ตอนกลางเส้นที่ 3 เด่นชัดที่สุด ส่วนของแผ่นแข็งด้านข้างของอก มีลักษณะเป็นร่องลึกใกล้ ๆ กับขอบส่วนหน้า
prosternal tubicle สนั้ มลี ักษณะรูปกรวยเอนไปทางดา้ นหลัง ปีกคู่หน้าและปีกคหู่ ลังพฒั นาอย่างสมบูรณ์มีความยาว
ไปจนถึงเข่าของขาคู่หลัง (hind knee) ส่วนของ tibia บริเวณขาหลังมีหนามแหลม 7 - 9 หนาม ลักษณะสีโดยทั่วไป
มีทั้งสีเหลืองเขียวและน้ำตาล พบแถบสีน้ำตาลเข้มแผ่ขยายส่วนด้านข้างของหน้าผากหลังตารวมพาดผ่านส่วนบนของ
แผ่นแข็งบริเวณอกและรวมถึงส่วนหน้าของปีกคู่หน้า ปีกคู่หลังมีลักษณะเป็นสีใสขุ่น ขาหลังส่วน femur มีสีเหลือง
นำ้ ตาลจนสเี ขียวเข้ม ขาหลงั มสี ีน้ำตาลเขม้ จนถึงเหลืองเขม้
การวนิ จิ ฉยั (Diagnosis) อวัยวะสืบพันธ์ุเพศเมยี สนั้ ปีกคู่หนา้ พบกลมุ่ เสน้ ปีกขนานกนั ในสว่ น radical
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) เมียนมาร์ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะ
บอร์เนยี ว) และไทย

40 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

แหลง่ ที่เก็บตัวอย่าง (Collected locality) จงั หวัดหนองบัวลำภู อดุ รธานี และชัยภมู ิ
ตวั อยา่ งทใ่ี ช้ศกึ ษา (Material Examined) บารโ์ ค้ดตวั อยา่ ง EMBT ENT 0003978 – 0003979, 0001800, 0003980,
0008049, 0008156, 0008157 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวจิ ยั พฒั นาการอารกั ขาพืช กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Oxya japonica (Thunberg, 1824) (Figure 32)
ประวตั ิทางอนุกรมวธิ าน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:47046
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1114334
ชอื่ พ้อง (Synonym): O. asinensis Willemse, 1925; O. rufostriata Willemse, 1925; O. simplex (Walker, 1870);

O. sinense (Walker, 1870); O. straminea (Walker, 1870)
ชื่อสามญั (Common name): ต๊กั แตนขา้ วเล็ก (Long winged rice grasshopper)

ต๊กั แตนขา้ วเล็กญีป่ ุ่น (Japanese grasshopper).
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) มีลักษณะคล้าย Oxy hyla แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า ความยาวของปีกคู่หน้า
ซึง่ ยาวกวา่ และลักษณะของอวยั วะสืบพันธุ์ที่แตกตา่ งกนั เพศผู้มลี ักษณะที่แตกต่างจากชนิดอื่นโดยสงั เกตได้จากบริเวณ
ฐานของแผ่นปิดอวัยวะสืบพันธุ์มีลักษณะพับเป็นครีบ ส่วนในเพศเมียนั้น แผ่นฟันด้านในสั้นจนไม่สามารถเห็นฟันยื่น
ยาวออกมาจากอวัยวะสืบพันธุ์ได้ บริเวณฐานของอวัยวะสืบพันธ์ุเพศเมียเป็นหนามตัง้ อยู่บรเิ วณด้านใน นอกจากนี้แลว้
สว่ นแคบของด้านขา้ งของแผ่นท่ปี ิดอวยั วะสืบพันธุ์ไม่มหี นามแหลมเห็นได้เฉพาะแผน่ แข็งทม่ี ซี ่ีฟันอยู่ทางตอนปลายแผ่น
ซง่ึ ไม่เหมือนกับชนิดอน่ื ๆ ในสกลุ นี้
การวินิจฉัย (Diagnosis) ตั๊กแตนชนิดนี้แตกต่างจากชนิดอื่นในสกุลนี้จากส่วนของอวัยวะสืบพันธ์ุเพศผู้พบฐานของ
แผ่นปิดอวัยวะสืบพันธุ์มีลักษณะพับเป็นครีบ ส่วนเพศเมียแผ่นฟันสั้นไม่สามารถเห็นยื่นออกมาจากอวัยวะสืบพันธุ์ได้
ด้านขา้ งของแผน่ ปิดอวัยวะสืบพันธ์พุ บแนวซีฟ่ ันขนาดเล็กอย่ทู างตอนปลายของแผน่
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) ศรีลังกา อินเดีย บังคลาเทศ เมียนมาร์ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์
อนิ โดนีเซยี (เกาะสมุ าตรา และเกาะบาหลี) ฟิลิปปินส์ และไทย
แหล่งทเี่ กบ็ ตวั อยา่ ง (Collected locality) จังหวดั หนองบัวลำภู
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0003942 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร)
http://bit.ly/3kex4mE

Oxya hyla Serville, 1831 (Figures 13, 34)
ประวัตทิ างอนกุ รมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:47135
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1114307
ช่อื พอ้ ง (Synonym): O. acuminata Willemse, 1925; O. ebneri Willemse, 1925;

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 41

O. multidentata Willemse, 1925; O. viridivitta (Walker, 1870)
ชื่อสามญั (Common name): ตก๊ั แตนหญ้า (Grass grasshopper)

ตั๊กแตนขา้ ว (Rice grasshopper)
ตัก๊ แตนอ๊อกยา่ (Oxya grasshopper)
ตก๊ั แตนไฮล่า (Hyla grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ลำตัวมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง รูปร่างค่อนข้างปราดเปรียว ผนังลำตัวมี
ลักษณะเป็นจุดประปรายแต่ไม่ลึกมาก หน้าผากสั้นเห็นค่อนข้างชัดเจน และส่วนปลายมีลักษณะเป็นวงรีหนวดมี
ลักษณะเป็นเส้นด้าย (filiform) หนวดมีความยาวมากกว่าส่วนหัวและส่วนอกรวมกัน พบส่วนมากในเพศผู้ เพศเมีย
หนวดมีความยาวสั้นกว่าส่วนหัวและอกรวมกัน ส่วนของหน้ามนเล็กนอ้ ย ตามีขนาดใหญ่ส่วนของอกมีลักษณะเป็นครงึ่
วงรี พบเส้นนูนตรงกลางอก (medial carina) ส่วนบนมองเห็นไม่ชัดเจน ส่วนของเส้นนูนข้าง ๆ ไม่ปรากฏ ส่วนบนของอก
พาดผ่านด้วยร่อง (sulcus) 3 ร่อง อยู่ทางด้านขอบของส่วนอก ส่วนของ prosternal process หรือ PEG ใหญ่ มีลักษณะ
เป็นรูปกรวยส่วนปลายมนและชี้ออก ปีกคู่หน้าสมบูรณ์ ส่วนของ tibia ในขาคู่สุดท้าย ส่วนปลายพบหนามแหลมคม
ส่วนของแผ่นแข็งที่ปิดอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้มีลักษณะเป็นกรวยเรียวแหลม ส่วนในอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียเห็นเป็นฟัน
ยาวยื่นออกมาส่วนปลายโค้งเล็กน้อย สสี ว่ นใหญ่ของต๊ักแตนชนิดนี้ประกอบดว้ ย 2 สี ไดแ้ ก่ สเี ขียวออ่ น และสีน้ำตาลอ่อน
นอกจากนแี้ ล้วยังพบสีเขยี วเหลืองเป็นแถบพาดผา่ นตรงกลางดา้ นบนของหวั และของปีกคหู่ นา้
การวินิจฉัย (Diagnosis) ส่วนฐานของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้มีลักษณะเป็นรอยครีบละเอียด ในเพศเมียพบฟันยาวย่ืน
ออกมาจากอวัยวะสบื พันธุ์
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) เมียนมาร์ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซยี
(เกาะสุมาตรา และเกาะชวา) ฟลิ ิปปนิ ส์ และไทย
แหล่งทเ่ี กบ็ ตวั อยา่ ง (Collected locality) จังหวดั หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ อุดรธานี ขอนแก่น และชัยภมู ิ
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0003955, 0008017, 0008001, 0008003,
0003896 – 0003898, 0008159, 0008160 – 0008161 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง
กล่มุ กีฏและสัตววทิ ยา สำนักวิจัยพฒั นาการอารักขาพชื กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Pseudoxya diminuta (Walker, 1871) (Figures 14, 33)
ประวตั ทิ างอนุกรมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:46981
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1114397
ชอ่ื พอ้ ง (Synonym): P. rufipes (Brunner von Wattenwyl, 1893)
ชื่อสามญั (Common name): ตั๊กแตนข้าวเลก็ (Small rice grasshopper)

ต๊ักแตนข้าวปกี สนั้ (Rice short-wing grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ตั๊กแตนชนิดนี้มีขนาดเล็ก ส่วนหัวมีขนาดสั้นกว่าส่วนอก หนวดมีลักษณะ
เป็นเส้นด้าย (filiform) ส่วนของหน้ามีลักษณะโค้งมน ส่วนของหน้าผากจากด้านบนมีลักษณะโค้ง ส่วนร่องด้านข้าง
(sulcus) ไม่ปรากฏ ส่วนตรงกลางหน้าเห็นเป็นร่องและมีเส้นนนู ข้าง ๆ ขนานกัน ตารวมเป็นรูปถ้วย ส่วนอกมีลักษณะ

42 วารสารกีฏและสัตววิทยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

เป็นรูปกรวยและแบนทางตอนท้าย อกปล้องสุดท้ายมีลักษณะโค้งนูนออกมามองเห็นเส้นนูนตรงกลาง อกไม่มีเส้นนูน
(lateral carina) ด้านข้าง prostenal process หรือ PEG มีลักษณะเป็นรูปกรวยและมนบริเวณตอนปลาย แผ่นแข็ง
บรเิ วณดา้ นขา้ งของอกมีความกว้างมากกว่าความยาว ปกี คหู่ นา้ และปกี คหู่ ลังสมบูรณ์
การวินิจฉัย (Diagnosis) เป็นตั๊กแตนที่มีขนาดเล็กและมีลักษณะเหมือนกับ Oxya hyla และ Oxya japonica
แตกตา่ งกนั ตรงท่ปี ีกคู่หน้ามีความยาวแคเ่ พยี งส่วนกลางของท้อง
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) อนิ โดนีเซีย เวยี ดนาม ฟิลปิ ปนิ ส์ และไทย
แหลง่ ทเี่ ก็บตวั อย่าง (Collected locality) จังหวัดอุดรธานี นครปฐม สพุ รรณบุรี หนองบัวลำภู สโุ ขทยั นครราชสมี า
ขอนแกน่ ราชบรุ ี กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ ชัยภมู ิ บรุ ีรมั ย์ และอตุ รดิตถ์
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0003884, 0000498, 0000501, 0008075,
0008077, 0008062, 0008069, 0000534 – 0000539, 0000319, 0008090 – 0008099, 0000291, 0000295,
0000297, 0000299, 0008004, 0008009, 0000185 – 0000186, 0000042, 0000323, 0000834 – 0000839,
0008032, 0008037 – 0008040, 0008045, 0003936, 0008100 – 0008109, 0003695, 0008010, 0008110 –
0008114, 0008116 – 0008117, 0000091 – 0000095, 0000540, 008080, 0000121, 0000177, 0000214 –
0000218, 0000304 – 0000305, 0000224, 0000272 – 0000273, 0008051, 0000840 – 0000841, 0000475
(เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
กรมวชิ าการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Apalacris varicornis Walker, 1870 (Figures 29)
ประวัตทิ างอนกุ รมวธิ าน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:57685
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1108624
ช่ือพ้อง (Synonym): A. hyalina Willemse, 1957
ชื่อสามัญ (Common name): ต๊กั แตนหนวดสนั้ ไหล่ขาว (White shoulder short-horn grasshopper)

ตกั๊ แตนอะปาลาคริส (Apalacris grasshopper)
ลกั ษณะทางสณั ฐานวิทยา (Description) ตวั เต็มวัยมีขนาดกลาง ค่อนข้างปราดเปรียว ผนังลำตัวขรขุ ระ ส่วนหัวมีลักษณะ
โคง้ ลง สว่ นสนั หนา้ มลี ักษณะแบนราบ ส่วนหน้าผากแคบ ความกว้างระหวา่ งตารวมเกอื บเทา่ กับความกว้างของสันหน้า
(frontal ridge) ระหว่างหนวด หนวดของเพศผู้มีสีดำเรียวยาว มีความยาวประมาณ 3 เท่าของความยาวหัวและอก
รวมกัน มีสีซีดบริเวณปลายหนวด ตารวมมีลักษณะเป็นรูปไข่เห็นได้อย่างชัดเจน หน้าอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย
อกส่วนท้าย (metazona) มีขนาดกว้างขึ้นจนถึงขอบ เส้นนูนตรงกลางอก (medial carina) เห็นชัดเจนและมีร่อง
(sulcus) 3 ร่องตดั ผา่ น ร่องแรกเหน็ ไดอ้ ยา่ งชดั เจน ส่วนอีก 2 รอ่ งจะตนื้ และบาง ปีกค่หู นา้ และคูห่ ลังสมบรู ณ์ยาวจนถึง
ส่วนกลางของขาในส่วน femur ปีกคู่หน้าทั้งด้านบนและด้านล่างค่อนข้างขนานกันปลายปีกมีลักษณะโค้งมน สีของลำตัว
สว่ นใหญเ่ ปน็ สเี ขียวมะกอก ส่วนท้องมีลักษณะเปน็ สีซดี กวา่ เล็กน้อย ขาส่วน femur มลี กั ษณะเป็นสเี ขยี วเข้ม ปีกคู่หน้า
สีนำ้ ตาลเขม้ ปกี คูห่ ลังมีลักษณะเปน็ สีนำ้ เงินออ่ นโดยทีป่ ลายปกี และส่วนของขอบปกี มีลักษณะสีเขม้ ข้ึน

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 43

การวินิจฉัย (Diagnosis) ตั๊กแตนชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับชนิด Choroedocus violaceipes แต่แตกต่างกันที่
ลักษณะอก โดยทด่ี า้ นขา้ งของอกไมม่ ีเสน้ นูน (lateral carina) ให้เห็นชดั เจน
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) อนิ เดีย บงั คลาเทศ เมียนมาร์ จนี ฮ่องกง ญปี่ ุ่น เวียดนาม มาเลเซยี อินโดนีเซีย
(เกาะสมุ าตรา เกาะชวา และเกาะบอร์เนยี ว) และไทย
แหล่งท่ีเก็บตัวอยา่ ง (Collected locality) จังหวัดเชยี งใหม่
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โคด้ ตัวอย่าง EMBT ENT 0000041 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงาน
อนกุ รมวธิ านแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจยั พัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Subfamily Hemiacridinae
Hieroglyphus banian (Fabricius, 1798) (Figures 15, 28)
ประวตั ทิ างอนกุ รมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:49415
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1113004
ช่ือพอ้ ง (Synonym): H. elongata Uvarov, 1922; H. furcifer (Serville, 1838)
ช่อื สามัญ (Common name): ต๊ักแตนขา้ วหัวโต (Rice big-head grasshopper)

ตั๊กแตนไฮโดรไกลฟสั (Hieroglyphus grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ต๊กั แตนชนิดนลี้ ำตัวมีขนาดกลาง ผนังลำตัวมีลกั ษณะขรุขระเล็กน้อย และมี
จุดที่ตื้น ๆ หนวดมีลักษณะเป็นเส้นด้าย (filiform) มีขนาดยาวกว่าส่วนหัวและส่วนอกรวมกัน หน้าผาก (fatigium
vertex) ของตั๊กแตนชนิดนี้มีความยาวและส่วนกลางหน้าผากมีรอยบุ๋มอยู่ตรงกลาง ส่วนอกจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย
เส้นนูนบางๆ ตรงกลางส่วนอก และมีหลุมสีดำ (sulcus) เป็นร่องพาดผ่านส่วนอกประมาณ 3 - 4 ร่อง เห็นได้อย่าง
ชัดเจน ร่องที่ 1 อยู่ด้านหน้า ส่วนร่องที่ 2 – 3 เห็นไม่ชัดเจนมากนัก อกปล้องสุดท้าย (metazona) มีลักษณะเหมือน
บ้านหน้าจั่วรูปห้าเหลี่ยม ส่วนของ prostenal process หรือ PEG มีลักษณะเป็นกรวย ปีกคู่หน้าและปีกคู่หลังยาวไป
จนสุดของส่วนท้อง femur บนขาคสู่ ุดท้ายมีลักษณะเรียวยาว
การวินิจฉัย (Diagnosis) Hieroglyphus banian มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Spathosternum prasiniferum แต่สามารถ
แยกออกมาได้โดยลกั ษณะของเสน้ นูนดา้ นข้าง (lateral carina) บนสว่ นอก ไมพ่ บในตัก๊ แตนชนิดน้ี
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) ปากีสถาน อัฟกานิสถาน อินเดีย เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา เมียนมาร์ เวียดนาม
จนี และไทย
แหล่งทเ่ี ก็บตวั อย่าง (Collected locality) จงั หวัดอุดรธานี และหนองบัวลำภู
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0003870, 0001685, 0003997 (เก็บรักษาใน
พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร)
http://bit.ly/3kex4mE

44 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

Spathosternum prasiniferum (Walker, 1871) (Figure 16)
ประวัติทางอนุกรมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:48364
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1113638
ช่อื พ้อง (Synonym): S. caliginosus (Walker, 1871); S. rectus (Walker, 1871); S. simplex (Walker, 1871)

S. strigulatus (Walker, 1871)
ช่อื สามญั (Common name): ต๊กั แตนสปาโตสเตอนมั (Spathosternum grasshopper)

ต๊ักแตนหนวดสัน้ แถบยาว (Long strip short-horn grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) ตั๊กแตนชนิดนี้มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผนังลำตัวค่อนข้างเรียบ หนวดมี
ลักษณะเป็นเส้นด้าย สั้นกว่าส่วนหัวและส่วนอกรวมกัน ตารวมมีขนาดใหญ่ หน้าผากสั้น หน้ามีลักษณะแคบป้าน
อกทางด้านบนแบนเรียบและมีร่องลึก (sulcus) 3 ร่องพาดผ่าน มีเส้นนูนทางด้านข้างของอกอย่างละ 1 เส้น อกปล้อง
สุดท้าย (metazona) ส้ันกว่าอกปลอ้ งแรก (prozona) ลักษณะ prostenal process หรือ PEG มีขนาดใหญ่ ปีกคหู่ น้า
และปีกคหู่ ลงั พฒั นาอยา่ งสมบรู ณห์ รอื ในบางชนิดจะส้ัน ขาคู่หลงั ในสว่ นของ femur ไมไ่ ดแ้ บนมขี นาดใหญ่ tibia ค่หู ลัง
ไม่ได้กว้างแผ่ออก ตั๊กแตนชนิดนี้มีหลายสีส่วนใหญแ่ ลว้ จะมีสีเขียวและสีน้ำตาล ส่วนใบหน้าจะมีสีเขียวซีดและมีแถบสี
เขียวเข้มพาดผ่านจากใต้ตารวมไปจนถึงขาคู่กลาง ปีกคู่หน้ามีสีเขียวเข้มถึงน้ำตาลเข้ม ทางด้านกลางปีกคู่หลังมีสีใส
femur ในขาค่หู ลังมสี ีดำหรือสเี ขียวเขม้ พาดผา่ นทางสว่ นนอก
การวินิจฉัย (Diagnosis) Spathosternum prasiniferum มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Hieroglyphus banian แต่สามารถ
แยกออกมาไดโ้ ดยลกั ษณะของเส้นนูนด้านขา้ ง (lateral carina) ของส่วนอกเหน็ ได้ชดั เจน
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา เนปาล บังคลาเทศ เมียนมาร์ จีน เวียดนาม และ
มาเลเซยี
แหล่งที่เกบ็ ตวั อย่าง (Collected locality) จงั หวดั หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ และมหาสารคาม
ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0003923, 0003926, 0003928, 0008158,
0003931, 0008041, 0008030, 0008023, 0008029, 0003793, 0003795 – 0003797, 0003982, 0003892,
0003996 (เกบ็ รกั ษาในพพิ ิธภณั ฑแ์ มลง กลมุ่ งานอนุกรมวธิ านแมลง กลุ่มกฏี และสตั ววิทยา สำนกั วจิ ยั พฒั นาการอารักขาพืช
กรมวชิ าการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Subfamily Eyprepocnemidinae
Choroedocus violaceipes Miller, 1934 (Figure 4)
ประวัติทางอนกุ รมวธิ าน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:57144
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1108950
ช่อื พ้อง (Synonym): -
ชอ่ื สามญั (Common name): ตก๊ั แตนโคโรโดกสั (Choroedocus grasshopper)

ตัก๊ แตนมันสำปะหลงั (Cassava grasshopper)

ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 45

ลกั ษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) มขี นาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผิวบรเิ วณด้านขา้ งลำตัวมลี ักษณะขรขุ ระเล็กน้อย
และมจี ดุ บาง ๆ ประปราย หนวดมีลกั ษณะเป็นเสน้ ด้าย (filiform) ในเพศผูค้ วามยาวหนวดยาวถงึ ด้านหลังของอกปล้อง
สุดท้าย ในเพศเมียยาวไม่น้อยกว่าอกปล้องสุดท้าย ส่วนหัวแคบ ส่วนของหน้าผากไม่ได้ขยายไปจนถึงฐานหนวด
หนา้ ผากมีลกั ษณะกลมมน ส่วนของอกดา้ นข้างมีลักษณะพบเส้นนูน (lateral carina) เห็นชัดเจน มรี อ่ ง 3 ร่องพาดผา่ น
แต่มองเห็นเฉพาะส่วนบนเท่านั้น ส่วนของปีกคู่หนา้ ไม่มีแถบสีดำ บริเวณส่วน tibia ของขาหลังเป็นสีซดี และต่อมาเป็น
สนี ้ำตาลตรงสว่ นฐาน ส่วนหนามแหลมมลี กั ษณะเป็นสีขาวและมแี ถบสดี ำเหน็ ไดอ้ ย่างชดั เจน
การวินิจฉัย (Diagnosis) Choroedocus violaceipes มีลักษณะคล้ายคลึงกันกบั Apalacris varicornis แต่สามารถ
แยกออกมาไดจ้ ากลกั ษณะทีเ่ หน็ ชัดเจนของ lateral carina บริเวณดา้ นข้างของอก
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) ศรีลังกา อินเดยี เมยี นมาร์ เวยี ดนาม และกัมพูชา
แหล่งทเี่ กบ็ ตวั อยา่ ง (Collected locality) จังหวัดหนองบวั ลำภู อดุ รธานี ชยั ภูมิ และมหาสารคาม
ตัวอยา่ งที่ใช้ศกึ ษา (Material Examined) บารโ์ คด้ ตัวอย่าง EMBT ENT 0003922 (เก็บรักษาในพพิ ธิ ภัณฑ์แมลง กลมุ่ งาน
อนกุ รมวิธานแมลง กลมุ่ กฏี และสัตววิทยา สำนกั วิจยั พฒั นาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Familiy Pyrgomorphidae
Subfamily Pyrgomorphinae
Atractomorpha psittacina (De Haan, 1842) (Figure 8)
ประวัตทิ างอนกุ รมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:38793
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1120410
ช่ือพอ้ ง (Synonym): A. contracta (Walker, 1870); A. dohrni Bolívar, 1905; A. parabolica (Walker, 1870)
A. hilippina Bolívar, 1905
ช่ือสามญั (Common name): ตก๊ั แตนขา้ วปกี ยาว (Rice long-wing grasshopper)
ลกั ษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) เปน็ ตก๊ั แตนขนาดกลาง มรี ปู ร่างปราดเปรียว ความยาวลำตัวในเพศผู้ 2.1 –
2.4 เซนติเมตร ส่วนในเพศเมีย 3.0 – 3.6 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับตั๊กแตน Atractomorpha crenulata แลว้
มีลกั ษณะลำตัวเรียวยาวกว่ามาก สว่ นหวั มีลกั ษณะคลา้ ยหัวหอก (lanceolate) เหน็ ไดอ้ ย่างชัดเจน ส่วนหน้ามีลักษณะ
ยาวปลายมน โดยทั่วไปแลว้ ตกั๊ แตนชนิดนมี้ ีสีเขียวถึงสนี ้ำตาลทงั้ สองเพศ ปีกค่หู ลงั จะมลี ักษณะเป็นสีชมพหู รอื ชมพูอ่อน
ส่วนในส่วนฐานปกี พบเปน็ สซี ดี หรอื บางคร้ังเป็นสีใสถงึ ข่นุ ในส่วนปลายปีก
การวินิจฉัย (Diagnosis) ตั๊กแตนชนิดนี้มีลักษณะคล้าย Atractomorpha crenulate มาก แต่สามารถแยกได้โดย
ลกั ษณะลำตัวเรยี วยาวคลา้ ยกระสวย
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) บังคลาเทศ อินเดีย เมียนมาร์ ประเทศจีนทางตอนใต้ คาบสมุทรอินโดจีน
มาเลเซีย ฟลิ ปิ ปินส์ อินโดนีเซยี และไทย
แหล่งที่เก็บตัวอย่าง (Collected locality) จังหวัดราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ตาก กาญจนบุรี
สพุ รรณบุรี และบรุ ีรมั ย์

46 วารสารกีฏและสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565

ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา (Material Examined) บาร์โค้ดตัวอย่าง EMBT ENT 0001664 – 0001668, 0003952, 0003631,
0001669 – 0001684 (เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัย
พฒั นาการอารักขาพชื กรมวชิ าการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

Atractomorpha crenulata (Fabricius, 1793) (Figures 7, 25)
ประวตั ิทางอนกุ รมวิธาน
urn:lsid:Orthoptera.speciesfile.org:TaxonName:38740
http://orthoptera.speciesfile.org/Common/basic/Taxa.aspx?TaxonNameID=1120429
ชื่อพอ้ ง (Synonym): A. consobrina Saussure, 1862; A. obscura Bolívar, 1917;

A. porrecta (Walker, 1859); A. scaber (Thunberg, 1815)
ชือ่ สามญั (Common name): ตก๊ั แตนหัวแหลมโคนปกี แดง (Sharp-head grasshopper)
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Description) เป็นตั๊กแตนขนาดกลาง รูปร่างเพรียว หัวมีลักษณะเป็นรูปกรวย หน้ามี
ลักษณะมนส่วนปลายโค้ง หน้าผากลักษณะสมบูรณ์แต่จะสั้นกว่าความยาวของตารวม ส่วนอกขยายไปถึงทางตอนล่าง
ส่วนของเส้นนูนบริเวณกลางอก (medial carina) มองจากด้านบนชัดเจน เส้นนูนด้านข้าง (lateral carina) ชัดเจน
น้อยกว่า และมีเส้นพาดขวางถึง 2 เส้น ปีกคู่หน้ายาวแต่โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ยาวไปจนถึงขาหลัง หรือมีความยาว
มากกวา่ 1 ใน 3 ของลำตัว ปกี คู่หลงั สมบูรณ์ สว่ นของ femur บนขาคู่หลงั มลี ักษณะยาวเรียวและข้อเข่า (hind knee)
มี 2 lobes โดยทั่วไปตั๊กแตนชนิดนี้มีสีเขียวหรือสีเขียวเข้มจนถึงสีน้ำตาลในทั้งสองเพศ สีเขียวมีอยู่ทั่วไปในประเทศ
อินเดียและประเทศไทย ลักษณะของตารวมเป็นสีเขียวอ่อน ฐานของปีกคู่หลังเป็นสีชมพูอ่อนจนถึงสีมว่ งอ่อนหรอื ไม่ก็
เป็นสชี มพอู อ่ นจนถึงสชี มพูซีด
การวินิจฉัย (Diagnosis) ตั๊กแตนชนิดนี้มีลักษณะคล้าย Atractomorpha psittacina มากแต่สามารถแยกได้โดย
ลกั ษณะลำตวั หนากวา่ ไมเ่ รียวเปน็ กระสวยมากนกั
เขตการแพร่กระจาย (Distribution) ปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา หมู่เกาะบริเวณทะเลอันดามัน เมียนมาร์
กัมพูชา เวยี ดนาม มาเลเซีย อนิ โดนเี ซีย (ตอนเหนอื และตะวนั ตกของเกาะสมุ าตรา) และไทย
แหลง่ ท่เี กบ็ ตวั อยา่ ง (Collected locality) จงั หวดั ราชบุรี กาญจนบรุ ี สุพรรณบุรี บรุ ีรมั ย์ ตาก อุดรธานี นครราชสมี า
ขอนแกน่ มหาสารคาม และอดุ รธานี
ตวั อย่างทใี่ ชศ้ กึ ษา (Material Examined) บาร์โคด้ ตวั อยา่ ง EMBT ENT 0001651, 0001653 – 0001663, 0001687 –
0001690, 0003706 (เก็บรักษาในพิพิธภณั ฑ์แมลง กล่มุ งานอนกุ รมวิธานแมลง กลุม่ กฏี และสัตววิทยา สำนักวิจัยพฒั นาการ
อารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร) http://bit.ly/3kex4mE

ข้อสังเกตและวจิ ารณผ์ ลการทดลอง (Comments and Discussions)
จากการสำรวจความหลากชนิดและศึกษาอนุกรมวิธานของตั๊กแตนในแปลงปลูกอ้อยที่สำคัญทางเศรษฐกิจ

ในครั้งนี้ ไม่พบศัตรูพืชเฝ้าระวังที่สำคัญ ได้แก่ ตั๊กแตนไผ่ (Yellow-spined bamboo locust): Ceracris kiangsu Tsai
ท่ีระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเปน็ ประเทศเพ่ือนบา้ นอย่ตู ิดชายแดนของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม
ควรมีงานวิจัยเพื่อศึกษาสถานภาพของตั๊กแตนชนิดนี้อย่างจริงจัง โดยดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่าง อย่างเป็นระบบ


Click to View FlipBook Version