ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 47
ตามมาตรฐานสากลหรือ ISPM (International Standards for Phytosanitary Measures) นอกจากน้ีจากการสำรวจ
ยังไม่พบต๊กั แตนทะเลทราย Schistocerca gregaria (Forskal, 1775) (Orthoptera: Acrididae) ซ่งึ ถือวา่ เป็นศัตรูพืช
เฝ้าระวังที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง มีความร้ายแรงในระดับโลก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เตือน
ภัยตั๊กแตนทะเลทราย ระบาดร้ายแรงท่ีสุดในรอบ 25 ปี ซึ่งการระบาดเกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ทาง
ตะวันตก และตอนใต้ของประเทศอินเดีย และยังมีตั๊กแตนที่เป็นศัตรพู ืชไร่ที่สำคัญในอดีตแต่ไม่พบในการทดลองครั้งน้ี
ได้แก่ ตั๊กแตนปาทังก้าสีน้ำตาล Patanga succincta (Johannson, 1763) ตั๊กแตนโลกัสตาหรือตั๊กแตนโลกัสตา ไม
เกรตอเรีย Locusta migratoria migratoria (Linnaeus, 1758) ต๊ักแตนผี Aularches miliaris miliaris (Linnaeus, 1758)
ต๊กั แตนไซตาแคนตาคริส Cyrtacanthacris tatarica tatarica (Linnaeus, 1758) ต๊กั แตนคอนดราครสิ Chondracris
rosea brunneri Uvarov, 1924 และต๊ักแตนหัวแหลม Chlorizeina unicolor unicolor Brunner von Wattenwyl,
1893 (สมทุ ร, 2524) จากการทดลองในครั้งน้ีพบเฉพาะตั๊กแตนข้าว Hieroglyphus banian (Fabricius, 1798) ซึ่งได้
มีรายงานการระบาดในปี 2560 เข้าทำลายอ้อยในแปลงเกษตรกร อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านบึง จังหวัดราชบุรี
(กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย, 2560) การไม่กลับมาระบาดของตั๊กแตนหลายชนิด ทั้งนี้อาจ
เน่อื งมาจากหลายปจั จัย เช่น อุณหภมู แิ ละสภาพแวดล้อมยงั ไม่เหมาะสมแกก่ ารขยายพันธ์ุ พชื อาหารมีไม่เพียงพอ หรือ
ในขณะศึกษาสำรวจไม่ตรงกบั ฤดกู ารระบาดของตั๊กแตนชนิดนั้น ๆ
สรปุ ผลการทดลองและคำแนะนำ
จากการศึกษาชนิดของตั๊กแตนหนวดสั้นในแปลงปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศไทยพบตั๊กแตนทั้งสิ้น 2 วงศ์
5 วงศ์ยอ่ ย 18 ชนดิ ได้แก่วงศ์ Acrididae วงศย์ ่อย Acridinae พบ 8 ชนิด ได้แก่ Acrida willemsei, Gonista bicolor,
Trilophidia annulata, Phlaeoba infumata, Phlaeoba antennata , Calephorus vitalisi, Oedaleus abruptus
และ Aiolopus thalassinus วงศย์ ่อย Oxynae พบตัก๊ แตน 5 ชนิดไดแ้ ก่ Gesonula mundata, Oxya japonica, Oxya
hyla, Pseudoxya diminuta และ Apalacris varicornis วงศ์ยอ่ ย Hemiacridinae พบ 2 ชนิดไดแ้ ก่ Hieroglyphus
banian และ Spathosternum prasiniferum และวงศ์ย่อย Eyprepocnemidinae พบ 1 ชนิด Choroedocus
violaceipes วงศ์ Pyrgomorphidae พบ 1 วงศ์ย่อย Pyrgomorphinae 2 ชนิด ได้แก่ Atractomorpha psittacine และ
Atractomorpha crenulata อยา่ งไรก็ตาม จากการทดลองได้สำรวจตั๊กแตนหนวดยาว พบ 1 วงศ์ ไดแ้ ก่ Tettigoniidae ซ่ึง
มี 5 ชนิด ได้แก่ Pyrgocorypha subulate, Conocephalus longipennis, Holochlora nigrothympana, Orthelimaea
leeuwenii และ Hexacentrus unicolor ดำเนินการจัดทำแนวทางการวินิจฉัยตั๊กแตนหนวดสั้นซึ่งเป็นตั๊กแตนที่มี
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ บรรยายประวัติทางอนุกรมวิธาน รหัส LSID ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลตั๊กแตนโลก
บรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยา เขตการแพร่กระจายรวมถึงตัวอย่างอ้างอิง (voucher specimens) และสามารถ
เข้าถึงระบบฐานข้อมูลแหล่งที่สำรวจและเก็บตัวอย่างได้ ผลการทดลองครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการป้องกัน
กำจัดตั๊กแตนศัตรพู ืช สามารถปอ้ งกนั กำจดั ต๊ักแตนศตั รูพืชได้อยา่ งรวดเรว็ และมปี ระสิทธิภาพ และการศกึ ษาสถานภาพ
เฝ้าระวังศัตรูพืชต่างถิ่นรุกราน เป็นข้อมูลวิชาการที่สำคัญด้านการกักกันพืช และสนับสนุนการเจรจาการค้าระหว่าง
ประเทศ รวมถึงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของตั๊กแตนเพื่ออนุรักษ์ ใช้ประโยชน์เพิ่มมูลค่าของทรัพยากร
ชีวภาพ สนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG: Bio-
48 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
Circular-Green Economy) เช่น การศึกษาชนิดของตั๊กแตนที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่องานวิจัยด้านแมลงกินได้
อาหารนวตั กรรมใหม่ (novel food) โปรตนี ทางเลอื ก รวมถงึ การผลิตขยายในระดับอุตสาหกรรม
คำขอบคุณ
งานวิจัยศึกษาอนุกรมวิธานและความหลากชนิดของตั๊กแตนหนวดสั้นในพื้นที่ปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศไทยนี้
ไม่สามารถสำเร็จลุลว่ งไปได้ หากขาดความร่วมมือ และสนับสนุนจากนักอนุกรมวิธานท่ีมีความเช่ียวชาญเฉพาะด้านใน
กลุ่มนั้น ๆ ขอขอบคุณ Dr. Ingrisch Sigfrid ผู้เชี่ยวชาญด้านตั๊กแตนจากพิพิธภัณฑ์แมลง ประเทศเยอรมนี และ
ขอขอบคณุ เจา้ หน้าท่ี บุคลากร จากกลมุ่ งานอนุกรมวิธานแมลง กลุม่ กีฏและสัตววิทยา ชว่ ยสำรวจเกบ็ รวบรวมตัวอย่าง
ตกั๊ แตนในแหลง่ ปลูกออ้ ยทีส่ ำคัญในประเทศไทย
เอกสารอ้างอิง
กองสง่ เสรมิ การอารกั ขาพืชและจดั การดนิ ป๋ยุ . 2560. ต๊ักแตนไฮโรไกลฟัส (Larger Rice Grasshopper). ข่าวเตือนการ
ระบาดศตั รพู ชื ประจำสปั ดาห์ 15(92): 1-2.
ณัฐกฤติ พิทักษ์. 2547. แมลงศัตรูอ้อยและการป้องกันกำจัด. หน้า 57-117. ใน: เอกสารวิชาการอ้อย. กรมวิชาการ
เกษตร.
สมุทร มงคลกิติ. 2524. ตั๊กแตนที่สำคัญและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการประกอบการอบรมหลักสูตร แมลง –
สัตว์ศัตรพู ชื และการป้องกันกำจดั คร้งั ที่ 22 กองกีฏและสัตววิทยา กรมวชิ าการเกษตร กรุงเทพฯ. 72 หน้า.
Centre for overseas pest research. 1982. The Locust and Grasshopper Agricultural Manual. Hobbs the
printers of Southampton, Great Britain. 690 p.
Dirsh V.M. 1965. The African genera of Acridoidea. Anti-Locust research centre, The Cambridge
university press, London. 559 p.
Polaszek, A.; D. Agosti; M. Alonso-Zarazaga; G. Beccaloni; P. de Place Bjørn; P. Bouchet; D.J. Brothers
Earl of Cranbrook; N.L. Evenhuis; H.C.J. Godfray; N.F. Johnson; F-K Krell; D. Lipscomb; C.H.C. Lyal;
G.M. Mace; S. Mawatari; S.E. Miller; A. Minelli; S. Morris; P.K.L. Ng; D.J. Patterson; R.L. Pyle; N.
Robinson; L. Rogo; J. Taverne; F.C. Thompson; J. van Tol; Q.D. Wheeler and E.O. Wilson. 2005.
A universal register for animal names. Nature 437: 477.
Pyle, R.L.; J.L. Earle and B.D. Greene. 2008. Five new species of the damselfish genus Chromis
(Perciform es: Labroidei: Pomacentridae) from deep coral reefs in the tropical western Pacific.
Zootaxa 1671: 3-31.
Roffey, J. 1979. Locusts and grasshoppers of economic importance in Thailand. Anti-Locust Memoir 14:
1-200.
Song, H. 2010. Grasshopper systematic: past present and future. Journal of Orthoptera Research 19(1):
57-68.
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 49
Triplehorn, C.A. and N.F. Johnson. 2005. Borror and Delong’s Introduction of the Study of Insects 7th
edition. Thompson Brooks/Cole, U.S.A. 864 p.
50 วารสารกฏี และสตั ววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
ชวี วิทยาและการเจริญเตบิ โตของเหาหนังสอื Liposcelis spp. (Psocoptera: Liposcelidae)
ที่พบในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Biology and Development of Liposcelis spp. (Psocoptera: Liposcelidae)
in Northeast of Thailand
ศรุตา สทิ ธไิ ชยากุล1/ รงั สมิ า เก่งการพานชิ 1/ ภาวนิ ี หนชู นะภัย1/ ดวงสมร สุทธิสุทธ์ิ1/
Saruta Sitthichaiyakul1/ Rungsima Kengkanpanich1/ Pavinee Noochanapai1/ Duangsamorn Suthisut1/
_________________________
Abstract
The psocids, Liposcelis spp. ( Psocoptera: Liposcelidae) are serious insect pests of stored
product insect. Survey on distribution of psocids was done on 96 postharvest storages in 16 provinces
of Northeastern part of Thailand. It was found that there were psocids in 89 postharvest storages. The
identification of psocids has never been done in Thailand. Thus, the morphology and biology of
psocids i.e. characteristic of egg and adult psocids, life cycle, developmental time and longevity were
determined in this study. The characteristic of psocids was investigated by Scanning Electron
Microscope ( SEM) . The morphological identification of egg and adult psocids was Liposcelis
bostrychophila Badonnel. The characteristic of this psocids was described: wings and ocelli of psocids
was absent, had compound eye with 7 ommatidia, antenna 15 segments, broad femur of hind leg
and subgenital plate with a T shaped sclerite. The developmental time of egg, nymph and adult were
7.7±1.2, 17.6±3.4 and 8.4±3.2 days, respectively. Longevity experiment, psocids developed on food
and unfed were significantly different to compare means via t- test. The result showed that psocids
were fed with food had longevity of 94.1±32.2 days while unfed psocids had longevity of 66.8±36.3
days.
Keywords : psocids, stored product insect pests, biology, morphology
บทคดั ยอ่
เหาหนังสือ Liposcelis spp. (Psocoptera: Liposcelidae) เป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บผลิตผลเกษตรที่เป็น
ปัญหาสำคัญ จากการสำรวจการแพรร่ ะบาดของเหาหนังสือในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ในพื้นท่ี 16 จงั หวดั จากโรงเก็บ
ผลิตผลเกษตร จำนวนทั้งหมด 96 แห่ง พบเหาหนังสือในโรงเก็บผลิตผลเกษตร จำนวน 89 แห่ง ในประเทศไทย
______________________________________________________________________________________
1/ กลมุ่ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยหี ลงั การเก็บเกีย่ วพชื ไร่ กองวิจยั และพัฒนาวิทยาการหลงั การเก็บเกยี่ วและแปรรูปผลติ ผลเกษตร กรมวชิ าการเกษตร
กรุงเทพฯ 10900
1/ Postharvest Technology Research and Development Group, Postharvest and Processing Research and Development Division,
Department of Agriculture, Bangkok 10900
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 51
ไม่เคยมกี ารจำแนกชนิดเหาหนังสือ จงึ ทำการศกึ ษาการจำแนกชนิดทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ ลักษณะสำคัญทางสัณฐาน
วิทยาของระยะไข่ และตัวเต็มวัย และศึกษาชีววิทยาของเหาหนังสือ ได้แก่ วงจรชีวิต ระยะเวลาการเจริญเติบโต และ
อายุขัยของเหาหนังสือ จากการศึกษาลักษณะสำคัญทางสัณฐานวิทยาของเหาหนังสือ โดยใช้วิธี Scanning Electron
Microscope (SEM) ในการจำแนกชนิด พบเหาหนังสือ 1 ชนิด คือ Liposcelis bostrychophila Badonnel มี
ลักษณะสำคัญ คือ ลำตัวไม่มีปีก ไม่มีตาเดี่ยว ตารวม มี 7 ommatidia มีปล้องหนวด 15 ปล้อง femur ของขาคู่หลัง
ขยายใหญ่ และส่วนปลายปล้องท้องมีแผ่นแข็ง sclerite เป็นรูป T ผลการทดลองชีววิทยาของเหาหนังสือพบว่า การ
เจริญเติบโตของเหาหนังสือตั้งแต่ระยะไข่ถึงตัวเต็มวัย เป็นดังนี้ ระยะไข่ ใช้เวลา 7.7±1.2 วัน ระยะตัวอ่อน ใช้เวลา
17.6±3.4 วัน และระยะตัวเต็มวัย ใช้เวลา 8.4±3.2 วัน การทดลองเปรียบเทียบอายุขัยของเหาหนังสือด้วยวิธีการ
เปรียบเทียบค่าเฉลยี่ แบบ t-test ในการทดลองให้อาหารกับเหาหนงั สอื และไมใ่ ห้อาหาร พบวา่ มคี วามแตกต่างกันอย่าง
มีนยั สำคัญทางสถิติ เหาหนงั สอื ที่ได้รบั อาหารจะมีอายุขัยยาวนานกว่าเหาหนังสือที่ไม่ได้รับอาหารคือ 94.1±32.2 และ
66.8±36.3 วัน ตามลำดับ
คำหลัก : เหาหนงั สือ แมลงศัตรโู รงเก็บ ชวี วทิ ยา สัณฐานวทิ ยา
คำนำ
ผลผลิตเกษตรหลงั การเก็บเกี่ยว มกั พบการเข้าทำลายของแมลงศัตรูซึง่ เป็นปัญหาสำคญั ที่ทำให้เกิดความเสียหาย
แก่ผลผลิตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ เหาหนังสือ Liposcelis spp. (Psocoptera: Liposcelidae) เป็นแมลงศัตรู
ผลิตผลเกษตรชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ลำตัวบอบบาง และเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว (รังสิมา และคณะ, 2561; Chin et al.,
2010) มีการสืบพันธุ์แบบ parthenogenesis คือ ตัวเต็มวัยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์ (Retief
et al., 1995) การเจริญเติบโตแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัย ลักษณะทั่วไปของ
เหาหนงั สอื สกุล Liposcelis ระยะไข่ มรี ปู ทรงยาวรี ผิวเรียบ และไม่มี micropyle ระยะตัวอ่อนและระยะตัวเต็มวัยไม่
มปี กี ลำตวั อ่อนน่ิม ขนาดลำตัวยาว 1-2 มิลลเิ มตร มหี นวดเป็นแบบเสน้ ดา้ ย (filiform) (Mockford, 1991; Baz, 2008;
Clemons and Taylor, 2016) การจำแนกชนิดของเหาหนังสือ สกุล Liposcelis พบว่ามีความหลากหลายชนิด เช่น
Liposcelis entomophila (Enderlein), Liposcelis decolor (Pearman), Liposcelis yunnaniensis Li and Li และ
Liposcelis paeta Pearman (Opit et al., 2009; Hassan et al., 2011; Kučerová et al., 2014) Nayak (2014)
รายงานวา่ เหาหนังสอื สกุล Liposcelis ทีส่ ามารถพบได้บอ่ ย มี 4 ชนิด ไดแ้ ก่ Liposcelis bostrychophila Badonnel,
Liposcelis decolor (Pearman), Liposcelis entomophila (Enderlein) และ Liposcelis paeta Pearman
แหล่งที่พบหรือเขตการกระจายตัวของเหาหนังสือ พบได้ทั่วไปในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส และจีน
(Gautam et al., 2010; Kučerová et al., 2006; Yang et al., 2012) เหาหนังสือเป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บที่มี
ผลกระทบด้านความมั่นคงทางอาหาร หรือ food safety and security (Ahmedani et al., 2010) Obr (1978) กล่าวว่า
เหาหนังสือเป็นปัญหาสำคัญต่อคุณภาพของผลผลิตเกษตร และเป็นปัญหาในด้านสุขภาพต่อประชากรบางกลุ่ม โดยพบว่า
การปนเปื้อนของเหาหนังสือในผลิตผลเกษตรเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งของสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแ พ้ (Rees, 2004;
Clemmons and Taylor, 2016) ในการศึกษาของ Nayak (2006) ได้รายงานว่า เหาหนังสือเป็นแมลงศัตรูโรงเก็บที่
มีความสำคัญชนิดหนี่ง แม้อาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตในเชิงปริมาณ แต่อย่างไรก็ตาม
52 วารสารกฏี และสตั ววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
ผบู้ ริโภคกไ็ ม่อาจยอมรับผลผลติ ท่ีมีการปนเป้ือนด้วยเหาหนังสือซ่ึงสามารถขยายพนั ธ์ุ และเพ่ิมปริมาณไดเ้ ปน็ จำนวนมาก
ในระยะเวลาอันสัน้ นับเป็นความเสยี หายในเชิงเศรษฐกิจต่อการค้าภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ในช่วงปี
ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ในหลายประเทศในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เริ่มมีความตื่นตระหนกต่อการ
แพร่ระบาดของเหาหนังสือมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการป้องกันกำจัดเหาหนังสืออย่างต่อเนื่อง
อิทธิพลของปัจจยั ทางชีวภาพ เช่น อุณหภูมิ และความชน้ื สัมพัทธ์ มผี ลกระทบต่อเหาหนงั สือโดยเป็นปัจจัยท่ีเอ้ืออำนวย
ตอ่ การเพิ่มหรอื ลดปรมิ าณของเหาหนังสือ (Nayak, 2006) จากการศึกษาของ Wang et al. (2009) รายงานวา่ วงจรชีวติ
ของเหาหนังสือ L. paeta พบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 22.5-37.5 องศาเซลเซียส เหาหนังสือสามารถ
ดำรงชีวิตได้ตั้งแต่ช่วงอุณหภูมิต่ำ (18.1-21.9 องศาเซลเซียส) จนถึงช่วงอุณหภูมสิ ูง (40.4-42.0 องศาเซลเซียส) ขณะท่ี
Fredericks (2021) รายงานวา่ การควบคุมประชากรเหาหนงั สอื โดยการลดความชืน้ สัมพัทธ์ให้ตำ่ กว่า 50% จะสามารถ
ช่วยลดปริมาณเหาหนังสือ เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ลดลงถึงข้ันวิกฤติ เหาหนังสือจะอพยพไปยังบริเวณท่ีมีความชื้นสัมพัทธ์
ทส่ี งู กวา่ ถา้ หากเหาหนังสือไม่มีการอพยพเคล่ือนย้ายในระยะเวลานาน 16 วนั ก็อาจส่งผลทำให้เหาหนังสือตายได้ทุกระยะ
การเจริญเตบิ โตทัง้ ระยะไข่ ตวั ออ่ น และตัวเตม็ วัย
เหาหนังสือหรือโซคิด (psocids) ที่พบในประเทศไทยเป็น สกุล Liposcelis (กุสุมา, 2544) พบเข้าทำลาย
เมล็ดพืชและมักพบในโรงสี และโรงเก็บผลิตผลเกษตรชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง แป้ง มันสำปะหลัง และเห็ด
หลินจือ เป็นต้น นอกจากนี้ เหาหนังสือบางชนิดกินเศษซากสัตว์ได้ การเข้าทำลายของเหาหนังสือ ชอบกัดกินบริเวณ
ด้านข้างใกล้จุดงอกของเมล็ดพืช และมักชอบอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูง และในปัจจุบันยังไม่เคยมีการจำแนกชนิด
ของเหาหนังสือที่พบในประเทศไทย การศึกษาทางด้านชีววิทยา และการจำแนกชนิดของเหาหนังสือ เป็นข้อมูล
เบื้องต้นที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการหาวิธีการป้องกันและกำจัดเหาหนังสือ โดยการใช้สารรม สารเคมี รวมถึงการ
ปอ้ งกนั และกำจดั เหาหนังสอื โดยไม่ใชส้ ารเคมี เชน่ การใชอ้ ณุ หภมู ิ เพอื่ เปน็ แนวทางในการจดั การและป้องกันกำจัดเหา
หนังสอื โดยวธิ ีแบบผสมผสานต่อไป
อุปกรณแ์ ละวิธีการ
1. สำรวจสุ่มเกบ็ ตวั อย่าง
1.1 สำรวจ และสุ่มเก็บตัวอยา่ งเหาหนงั สอื ในโรงเก็บผลิตผลเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ใน 16 จังหวดั
ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร มหาสารคาม ยโสธร ศรีสะเกษ สกลนคร
สุรินทร์ หนองคาย อำนาจเจริญ อุดรธานี และ อุบลราชธานี ระหว่างปี 2559 - 2561 สุ่มเก็บผลผลิตเกษตรให้ทั่ว
บริเวณรอบกองผลผลิตเกษตรหรือกระสอบจัมโบ้ จำนวน 1 กิโลกรัมต่อตัวอย่าง บรรจุในกล่องพลาสติก ขนาด 18 x
25 x 8.5 เซนติเมตร และปิดด้วยฝากล่อง (1 - 2 ตัวอย่างต่อโรงเก็บผลิตผลเกษตร) นำตัวอย่างผลผลิตเกษตรที่ได้มา
คัดแยกและเพาะเลี้ยงขยายพนั ธุ์ในห้องปฏบิ ัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลงั การเก็บเกี่ยวพืชไร่ กองวิจัยและ
พัฒนาเทคโนโลยีหลงั การเกบ็ เก่ยี วและแปรรปู ผลติ ผลเกษตร กรมวชิ าการเกษตร
1.2 คัดเลือกระยะตัวเต็มวัยของเหาหนังสือ นำมาเลี้ยงบนอาหารด้วยสูตรอาหารดัดแปลงของ Gautam et al.
(2010) ประกอบด้วย ข้าวสาลีหัก 92% จมูกข้าว 5% ข้าวพองซีเรียล 2% และผงยีสต์ 1% ใส่ในขวดแก้ว ขนาดเส้น
ผา่ นศูนยก์ ลาง 5.8 เซนตเิ มตร สงู 15 เซนติเมตร และปดิ ดว้ ยกระดาษซับ
2. การจำแนกชนิด
คัดเลือกเหาหนังสือจาก 3 แหล่ง นำมาจำแนกชนิด ได้แก่ 1) เหาหนังสือท่ีเก็บจากโรงเก็บผลิตผลเกษตรใน
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 53
จ.อุดรธานี 2) เหาหนังสือที่เก็บจากโรงเก็บผลิตผลเกษตรใน จ.มุกดาหาร และ 3) เหาหนังสือในห้องปฏิบัติการ กลุ่มวิจัย
และพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ ศึกษาลักษณะสำคัญทางสัณฐานวิทยาของเหาหนังสือ ด้วยกล้อง
จุลทรรศน์สเตอริโอไมโครสโคป (Olympus BH-2 BHS Research Microscope; Olympus Corp; Tokyo, Japan และ
OlympusSZ61; Olympus Corp; Tokyo, Japan) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM; Scanning
Electron Microscopy) (FEI QUANTA 450; Hillsboro, OR, USA และ Hitachi SU 8020; Hitachi High-Technologies
Corp; Tokyo, Japan) การจำแนกชนิดเหาหนังสือใช้ระยะไข่ และตัวเต็มวัยเท่าน้ัน เน่ืองจากตัวอ่อนของเหาหนังสือ
เปน็ ระยะทมี่ ีอวัยวะบางสว่ นยงั ไม่พัฒนาหรือยังไมเ่ จรญิ เตม็ ท่ี จงึ ไมเ่ หมาะสมท่ีจะนำมาใช้ในการศึกษาเพื่อการจำแนกชนิดได้
การจำแนกชนิดของเหาหนังสือในระยะตัวเต็มวัยใช้การจำแนกชนิดตาม Mockford (1991) ส่วนระยะไข่ใช้การจำแนกชนิด
ตาม Kučerová (2002)
3. ชีววิทยาของเหาหนังสอื Liposcelis spp.
การศกึ ษาชีววิทยา ใชเ้ หาหนังสือทีเ่ ก็บจากโรงเก็บผลติ ผลเกษตรใน จ.อดุ รธานี
3.1 วงจรชีวติ ของเหาหนงั สอื (Life cycle)
ใส่ตัวเต็มวัยเหาหนังสือ อายุ 1 - 2 สัปดาห์ ลงในกล่องพลาสติก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
3 เซนติเมตร สูง 2 เซนติเมตร ที่บรรจุอาหารปริมาณ 0.5 กรัม ด้วยสูตรอาหารดัดแปลงของ Gautam et al. (2010)
จำนวน 1 ตัวต่อกล่อง ทำ 50 ซำ้ ปดิ ฝา และพนั รอบฝากล่องพลาสติกด้วยพาราฟิล์ม ปล่อยให้เหาหนงั สือวางไข่ เป็นเวลา
24 ชั่วโมง จึงนำตัวเต็มวัยออก วางไว้ในห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิห้อง (29.0±2.0 องศาเซลเซียส) ตรวจสอบการ
เจริญเติบโตของเหาหนังสือทุกวันภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอไมโครสโคป จดบันทึกทุกครั้งที่เหาหนังสือมีการ
เปลี่ยนแปลงระยะการเจริญเติบโต นับจำนวนวันของแต่ละระยะ ตั้งแต่ระยะไข่จนเป็นตัวเต็มวัย คำนวณค่าเฉลี่ย
(คา่ เฉลยี่ ±SD) ของทุกระยะ
3.2 อายุขัยของเหาหนงั สอื (Longevity)
ศกึ ษาเปรียบเทยี บอายุขัยของเหาหนังสือที่ไดก้ ินอาหารและไมไ่ ด้กินอาหาร โดยคดั ตวั เต็มวัยเหา
หนังสือ อายุ 1 วัน ลงในกล่องพลาสติก จำนวน 1 ตัวต่อกล่อง ทำ 100 ซ้ำ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอายุขัยใน 2 กรรมวิธี
(แบบ t-test) ได้แก่
กรรมวิธีที่ 1 เหาหนงั สอื ทีไ่ ด้กินอาหาร
กรรมวิธีที่ 2 เหาหนงั สือทไี่ ม่ไดก้ ินอาหาร
วางไวใ้ นหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารที่อุณหภูมิหอ้ ง (29.0±2.0 องศาเซลเซียส) บันทึกผล และนับจำนวนวนั ท่ี
เหาหนงั สือมีชวี ิตจนกระท่งั เหาหนังสอื ตาย วเิ คราะหผ์ ลทางสถติ ิ
ผลการทดลองและวิจารณ์
1. สำรวจสมุ่ เกบ็ ตวั อย่าง
ผลจากการสำรวจเหาหนังสือในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากโรงเก็บผลิตผลเกษตร จำนวนทั้งหมด 96 แห่ง
พบเหาหนังสือในโรงเก็บ จำนวน 89 แห่ง ใน 16 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธ์ุ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา
บุรีรัมย์ มุกดาหาร มหาสารคาม ยโสธร ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย อำนาจเจริญ อุดรธานี และ
54 วารสารกีฏและสัตววิทยา ปีท่ี 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
อบุ ลราชธานี จากจำนวนโรงเกบ็ ผลิตผลเกษตรที่สุ่มเก็บตวั อย่างเหาหนังสอื จะเห็นไดว้ า่ เหาหนงั สือมีการแพร่ระบาดใน
โรงเกบ็ เป็นจำนวนมาก
2. การจำแนกชนิด
ในการศึกษาการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตตามระบบ hierarchical system โดย Linnaeus (Buck and Hull,
1966) สามารถจัดจำแนกเหาหนงั สือตามระบบอนกุ รมวิธานดังนี้
Phylum (ไฟลัม) Arthopoda
Class (ชั้น) Insecta
Order (อันดับ) Psocoptera
Suborder (อันดบั ย่อย) Proctomorpha
Family (วงศ)์ Liposcelididae
Genus (สกลุ ) Liposcelis
2.1. การจำแนกชนิดโดยใช้ระยะไข่
การศึกษาลักษณะสำคัญของระยะไข่ ด้วยวิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอไมโครสโคป พบว่าไข่ มี
ลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายกาวเหนียว จึงทำให้ผนังเปลือกไข่ติดกับวัตถุหรือสามารถจับกับพื้นผิวของวัตถุอื่น ๆ ได้
(Figure 1) สอดคล้องกับการศึกษาของ Clemons and Taylor (2016) ได้กล่าวว่า ผนังเปลือกไข่เหาหนังสือ จะถูกปก
คลุมดว้ ยเสน้ ใยทเ่ี ป็นกาวเหนียว
การจำแนกชนดิ โดยใชร้ ะยะไข่ ลักษณะสำคัญทใี่ ช้ในการจำแนก ได้แก่ รปู รา่ งโครงสร้างของไข่ ลวดลาย
ท่ีผิวผนงั ไข่ Kučerová (2002) และ Kučerová et al. (2006) รายงานว่า ไขเ่ หาหนงั สือเปน็ รูปทรงรี พ้นื ผิวของผนังไข่
มีลักษณะเป็นรูปวงกลมขนาดเล็ก ๆ โดยในการจำแนกชนิด (species) ต้องทำการวัดขนาดของลวดลายรูปทรงกลมท่ี
อย่บู นผวิ ไข่ (Figure 2)
A. B.
Figure 1 Egg shape of psocid (x63)
A. piece of wheat grain and sticky on egg surface
B. oval shape of egg
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 55
จากการศึกษาลักษณะสำคัญของระยะไข่ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด Scanning Electron
Microscope (SEM) ของไข่เหาหนังสือ จาก 3 แหล่ง ได้แก่ เหาหนังสือท่ีเก็บจากโรงเก็บผลิตผลเกษตรใน จ.อุดรธานี
เหาหนังสือที่เก็บจากโรงเก็บผลิตผลเกษตรใน จ.มุกดาหาร และเหาหนังสือในห้องปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนา
เทคโนโลยหี ลงั การเกบ็ เก่ียวพืชไร่ พบว่า ไข่มลี ักษณะเป็นรูปทรงรี ลักษณะผวิ ของผนังไขเ่ ป็นพ้ืนผิวเรียบ และมีลวดลาย
เป็นรูปวงกลมเล็ก ๆ (granulate) พบว่าเหาหนังสือจากทั้ง 3 แหล่ง มีลักษณะที่เหมือนกันและจัดอยู่ในสกุล
Liposcelis (Figure 3) เมื่อใช้กำลังขยายภาพสูงข้ึนจะเห็นพื้นผิวผนังไข่ได้ชัดเจนมากขึ้น เหาหนังสือจาก จ.อุดรธานี
(Figure 3A) และเหาหนังสอื จากหอ้ งปฏิบัติการ กล่มุ วจิ ัยและพฒั นาเทคโนโลยีหลังการเก็บเก่ยี วพืชไร่ (Figure 3B)
A. B. C. D.
Figure 2 Egg shape and sculpture of genus Liposcelis
A. Liposcelis paeta B. Liposcelis brunnea
C. Liposcelis paeta D. Liposcelis corrodens (Kučerová, 2002)
A. B.
Figure 3 External egg morphology and smooth surface structure of genus Liposcelis
A. psocid was from Udon thani province
B. psocid was infesting in food from laboratory
56 วารสารกีฏและสตั ววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
2.2. การจำแนกชนดิ โดยใช้ระยะตวั เต็มวัย
จากการจำแนกชนิดโดยใช้ตวั เต็มวัยเหาหนังสือจาก 3 แหลง่ ไดแ้ ก่ โรงเก็บผลิตผลเกษตรใน จ.อุดรธานี
โรงเก็บผลิตผลเกษตรใน จ.มุกดาหาร และหอ้ งปฏบิ ัติการ กลมุ่ วิจัยและพฒั นาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ พบว่า
เหาหนังสือจากทั้ง 3 แหล่งเป็นชนิดเดียวกัน และจัดอยู่ในสกุล Liposcelis มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Liposcelis
bostrychophila Badonnel
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญของเหาหนังสือ L. bostrychophila เป็นแมลงขนาดเล็กมาก ลำตัวยาว
1-2 มิลลิเมตร มีสีขุ่น (Figure 4) ไม่มีปีก ไม่มีตาเดี่ยว (Figure 5) ตารวม ประกอบด้วย 7 ommatidia (Figure 6 - 7)
หนวดแบบเส้นด้าย มีปล้องหนวด 15 ปล้อง (Figure 8) แต่ละข้อปล้องมีลักษณะคล้ายวงแหวน (Figure 9) ขาคู่หลังของ
femur ขยายใหญ่ (Figure 10) และสว่ นปลายปล้องท้องมีแผน่ แข็ง sclerite เปน็ รปู T (Figure 11) (Mockford, 1991)
Figure 4 Liposcelis bostrychophila adult (x45)
A.
B.
Figure 5 Morphological comparison of genus Liposcelis found in Northeast (dorsal view)
A. psocid found in Mukdahan province B. psocid found in Udon thani province
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 57
Figure 6 Position of compound eye was on structural of head (arrow)
Figure 7 Compound eye of Liposcelis spp. consist of seven ommatidia
Figure 8 Antennal segments of Liposcelis spp., S = Scape, P = Pedicel, F = Flagellum (F1 - F13)
58 วารสารกฏี และสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
Figure 9 Antenna of Liposcelis spp. with secondarily annulated on flagellar segments
Figure 10 Legs of Liposcelis bostrychophila, femur III are very broad
A. B.
Figure 11 The morphological characteristic for identifying species to Liposcelis bostrychophila
A. subgenital plate with a T-shape sclerite (ventral)
B. broad femur of hind leg
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 59
นอกจากนี้ ยังมีส่วนอื่นท่ีใช้ประกอบในการจำแนกเพิ่มเติม ได้แก่ เส้นขนบริเวณด้านล่างอกปล้องแรก
(Figure 12) เส้นขนบริเวณสันด้านข้างอกปล้องแรก (Figure 13 - 14) เส้นขนบนปล้องหนวด (Figure 15 - 16) และ
สว่ นปาก (Figure 17) (Mockford, 1991; Kučerová et al., 2012; Retief et al., 1995)
Figure 12 Prosternum of Liposcelis bostrychophila adult (x45)
Figure 13 Humeral seta was on lateral pronotal lobe of pronotum
Figure 14 The lateral pronotal lobe revealed humeral seta was length the same as other
setae on pronotal lobe
60 วารสารกีฏและสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
Figure 15 Antennal flagellum segment of Liposcelis bostrychophila, A = anellus was on
flagellomere, SB= basiconic sensilla, SM = microtrichai sensilla
Figure 16 Antennal sensilla detail of scape and pedicel segments, BB = Böhm bristles,
SC = chaetal sensilla
Figure 17 Mouthpart of Liposcelis spp., rod-like larciniae structure (arrow)
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 61
3. ชวี วิทยาของเหาหนังสอื L. bostrychophila
3.1. วงจรชีวิตของเหาหนงั สือ (Life cycle)
จากการศึกษา พบว่า เหาหนังสือ L. bostrychophila มีการเจริญเติบโตแบบ Incomplete
metamorphosis วงจรชีวิตของเหาหนังสือ มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ ระยะตวั ออ่ น (nymph) และระยะตัวเตม็ วัย ใน
แตล่ ะระยะการเจรญิ เตบิ โต จะใชเ้ วลาแตกตา่ งกนั โดยทร่ี ะยะไข่ ใช้เวลา 7.7±1.2 วนั ตวั ออ่ นมกี ารลอกคราบ 3-5 ครง้ั
ระยะตัวอ่อน ใช้เวลา 17.6±3.4 วัน และระยะตัวเต็มวัย ใช้เวลา 8.4±3.2 วัน ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเหา
หนงั สอื ตงั้ แต่ระยะไขถ่ ึงระยะตวั เต็มวัย ใชเ้ วลา เฉลยี่ 33.7±1.2 วนั (Table 1)
Table 1 Life cycle of Liposcelis bostrychophila developed in laboratory ambient condition
Stage and reproductive of Developmental time (days) (mean±SD)
L. bostrychophila
Egg 7.7±1.2
Nymph 17.6±3.4
Adult 8.4±3.2
33.7±1.2
Total duration of egg to adult
3.2. อายขุ ยั ของเหาหนังสือ (Longevity)
เมื่อปล่อยตัวเต็มวัยเหาหนังสือ L. bostrychophila ให้อยู่ในสภาพมีอาหาร และไม่มีอาหาร ภายใน
ห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิห้อง (29.0±2.0 องศาเซลเซียส) พบว่า เหาหนังสือมีอายุขัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ (t-test) (Table 2) เหาหนังสือที่ได้กินอาหารจะมีอายุขัย (ค่าเฉลี่ย±SD) 94.1±32.2 วัน และเมื่ออยู่ในสภาพท่ี
ไม่ได้กินอาหาร พบว่า เหาหนังสือมีอายุขยั ได้นาน (ค่าเฉลี่ย±SD) 66.8±36.3 วัน สอดคล้องกับการศึกษาของ Turner
and Maude-Roxby (1989) ได้รายงานว่า เหาหนังสือสามารถมีชีวิตอยู่ได้หรือดำรงชีพได้แม้ในสภาวะที่ขาดแคลน
อาหาร และ Rajendran (1994) กล่าวว่า เหาหนังสือ เป็นแมลงที่มีความทนทานต่อการอดอาหาร รวมทั้งยังทนทาน
ต่อสภาพแวดล้อมทแี่ ปรปรวนไดอ้ ีกดว้ ย
Table 2 Longevity of Liposcelis bostrychophila adult fed with food and unfed
Longevity of L. bostrychophila N Mean S.D. t P
Fed 130 94.08 32.16
Unfed 115 66.77 36.25 6.21* 0.00
P<0.05
62 วารสารกีฏและสตั ววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
สรุปผลการทดลอง
จากการสำรวจโรงเกบ็ ผลิตผลเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (16 จงั หวัด) ท้ังหมด 96 แห่ง พบเหาหนังสือ
ถึง 89 แห่ง ในการจำแนกชนิดเหาหนังสือ จาก 3 แหล่ง ได้แก่ เหาหนังสือที่เก็บจากโรงเก็บผลิตผลเกษตรใน
จ.อุดรธานี เหาหนังสอื ที่เก็บจากโรงเก็บผลิตผลเกษตรใน จ.มุกดาหาร และเหาหนังสือในห้องปฏบิ ัติการ กลุ่มวิจยั และ
พัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ พบว่าเป็นเหาหนังสือชนิดเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Liposcelis
bostrychophila Badonnel วงจรชีวิตเหาหนังสือ L. bostrychophila เป็นดังนี้ ระยะไข่ 7.7±1.2 วัน ระยะตัวอ่อน
17.6±3.4 วนั และระยะตวั เตม็ วัย 8.4±3.2 วนั โดยเหาหนงั สือสามารถเจรญิ เตบิ โตได้แมใ้ นสภาพทไี่ ม่มีอาหาร
เอกสารอ้างอิง
กสุ ุมา นวลวฒั น.์ 2544. แมลงศัตรูผลติ ผลเกษตร. หนา้ 1-41. ใน: เอกสารประกอบการบรรยาย การฝึกอบรมหลักสูตร
แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรและการป้องกนั กำจดั . กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร.
รังสิมา เก่งการพานิช กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม ใจทิพย์ อุไรชื่น ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ ภาวินี หนูชนะภัย ศรุตา สิทธิไชยากุล
พณัญญา พบสขุ และ รตั นาพร พงษม์ .ี 2561. แมลงทพ่ี บในผลติ ผลเกษตรและการป้องกนั กำจดั . พมิ พ์ครงั้ ท่ี 3
ฉบับปรบั ปรงุ เพ่มิ เตมิ . โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำกัด นนทบรุ ี. 224 หน้า.
Ahmedani, M.S.; N. Shagufta; M. Aslam and S.A. Hussanin. 2010. Psocid: A new risk for global food
security and safety. Applied Entomology Zoology 45(1): 89-100.
Baz, A. 2008. Bark- Lice, Book- Lice or Psocids ( Psocoptera) . Pages 381- 399. In: Encyclopedia of
Entomology. 2nd Edition. Springer, Nertherlands.
Buck, R.C. and D.L. Hull. 1966. The Logical Structure of the Linnaean Hierarchy. Systematic Zoology
15(2): 97-111.
Chin, H.C.; J. Jeffery; N.W. Ahmad; H.S. Kiang; B. Omar; H. Othman and L.H. Lim. 2010. First report of
Liposcelis bostrychophila Badonnel (Psocoptera: Liposcelidae) as a museum insect pest in
Malaysia. Sains Malaysiana 39(2): 329-331.
Clemmons, E.A. and D.K. Taylor. 2016. Booklice (Liposcelis spp.), Grain Mites (Acarus siro), and Flour
Beetles ( Tribolium spp. ) : “other Pests” Occasionally Found in Laboratory Animal Facilities.
Journal of the American Association for Laboratory Animal Science 55(6): 737-743.
Fredericks, J. 2021. How humidity levels impact the most common pest no one knows they have.
NPMA Pestology. Available at: https://npmapestology.com/2021/06/23/how-humidity-levels-
impact-the-most-common-pest-no-one-knows-they-have/. Accessed: June 23, 2021.
Gautam, S. G.; G. P. Poit and K. L. Giles. 2010. Population Growth and Development of the Psocid
Liposcelis rufa ( Psocoptera: Loposcelididae) at Constant Temperatures and Relative
Humidities. Journal of Economic Entomology 103(5): 1920-1928.
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 63
Hassan, M.W.; W. Dou; L. Chen; H.B. Jiang and J.J. Wang. 2011. Development, survival, and reproduction
of the psocid Liposcelis yunnaniensis ( Psocoptera: Liposcelididae) at constant temperature.
Journal of Economic Entomology 104(4): 1436-1444.
Kučerová, Z. 2002. Stored product psocids ( Psocoptera) : External morphology of eggs. European
Journal of Entomology 99(4): 491-503.
Kučerová, Z.; M.O. Carvalho and V. Stejskal. 2006. Faunistic records of new stored product psocids
( Psocoptera: Liposcelididae) for Portugal. Pages 1104- 1107. In: Proceedings of the 9th
International Working Conference on Stored Product Protection. October 15-18, 2006.
Campinas, São Paulo.
Kučerová Z. ; Z. H. Li; I. Kalinović; Q. Q. Yang; J. Hromádková and C. Lienhard. 2012. The external
morphology of females, males and eggs of a Liposcelis silvarum ( Insecta: Psocodea:
Liposcelididae) strain with unusually developed compound eyes, visualized with scanning
electron microscopy. Italian Journal of Zoology 79(3): 402-409.
Kučerová, Z.; W. Wakil; M. Yasin; Q. Yang; Z.H. Li; J. Hromádková; I. Kalinović; G. Opit and C. Lienhard.
2014. Morphological and molecular characterizarion of a Pakistan strain of the stored-product
pest Liposcelis paeta (Insecta: Psocodea: Liposcelididae) with observations on the variability
of the head surface sculpture in liposcelidids; Journal of Stored Products Research 57: 12-23.
Mockford, E.L. 1991. Psocids: Psocoptera. Department of Biological Science, Illinois State University.
Pages 371-402. In: Insect and Mite Pests in Food: An IIustrated Key. U.S. Government Printing
Office, Washington, D.C.
Nayak, M. K. 2006. Psocid and mite pests of stored commodities: small but formidaable enemies.
Pages 1061- 1073. In: Proceedings of the 9th International Working Conference on Stored
Product Protection. October 15-18, 2006. Campinas, São Paulo.
Nayak, M.K. 2014. Psocids as a global problem. Pages 45-49. In: Proceedings of the 11th International
Working Conference on Stored Product Protection. November 24-28, 2014. Chiangmai.
Obr, S. 1978. Psocoptera of food-processing plants and storages, dwellings and collections of natural
objects in Czecholslovakia. Acta Entomologica Bohemoslovca 75: 266-242.
Opit, G.P.; J.E. Throne and P.W. Flinn. 2009. Sampling Plans for the Psocids Liposcelis entomophila
and Liposcelis decolor (Psocoptera: Liposcelididae) in Steel Bins Containing Wheat. Journal of
Economic Entomology 102(4): 1714-1722.
Rajendran, S. 1994. Psocids in stored food commodities and their control. Pestology 28: 14-19.
Rees, D. 2004. Insects of stored products. CSIRO PUBLISHING, Collingwood. 181 p.
Retief, E.; A. Nicholas and H. Baijnath. 1995. The psocid Liposcelis bostrychophilus Badonnel
(Psocoptera: Liposcelidae): an occasional herbarium pest. Bothalia 25(2): 247-253.
64 วารสารกีฏและสัตววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
Turner, B.D. and H. Maude-Roxby. 1989. The prevalence of the booklouse Liposcelis bostrychophilus
Badonnel (Psocoptera: Liposcelidae) in British domestic kitchens. International Pest Control
31: 93-97.
Wang, J.J.; Y. Ren; X.Q. Wei and W. Dou. 2009. Development, Survival, and Reproductive of the Psocid
Liposcelis paeta ( Psocoptera: Liposcelididae) as a Function of Temperature. Journal of
Economic Entomology 102(4): 1705-1713.
Yang, Q.; Z. Kučerová; Z. Li; I. Kalinović; V. Stejskal; G. Opit and Y. Cao. 2012. Diagnosis of Liposcelis
entomophila (Insecta: Psocodea: Liposcelididae) based on morphological characteristic and
DNA barcodes. Journal of Stored Products Research 48: 120-125.
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 65
ประสทิ ธภิ าพของสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะตน้ ถวั่
Melanagromyza sojae Zehntner ในถวั่ เหลือง
Efficacy of Insecticides for Controlling Bean Fly
Melanagromyza sojae Zehntner in Soybean
สริ ิกัญญา ขุนวเิ ศษ1/ สชุ าดา สุพรศลิ ป์1/ สรรชยั เพชรธรรมรส1/
Sirikanya Khunwiset1/ Suchada Supornsin1/ Sunchai Phetthammaros1/
_________________________
Abstract
Soybean, Glycine max (L.) Merrill is a nutritious seed plant. Can be used in many forms and is
a plant grown in agriculture systems to increase soil fertility and reduce the spread of pests. Bean fly,
Melanagromyza sojae Zehntner is important insect pests of soybean planting. The insecticides listed
for controlling bean fly in the standard 2010 Insect and pest Control Guidebook are triazophos, fipronil
and chlorpyrifos. These, insecticides have been in use many years and raise concerns regarding
effectiveness, safety and environmental impacts. This paper describes field trials to identify new
insecticides which are effective and have short-term residual toxicity. The experiment was conducted
at the farmer’s field, Banmoh District, Saraburi Province during November - December 2020 and Phra
Phutthabat District, Saraburi Province during June-July 2021. A randomized complete block
experimental design was employed with 7 treatments and 4 replications. The treatment were
abamectin 1.8% EC at the rate of 40 ml per 20 liters of water, emamectin benzoate 1.92% EC at the
rate 20 ml per 20 liters of water, dichlorvos 50% EC at the rate 40 ml per 20 liters of water, profenofos
50% EC at the rate 40 ml per 20 liters of water, fipronil 5% SC rate 20 ml per 20 liters of water,
triazophos 40% EC at the rate of 50 ml per 20 liters of water and the untreated. Insecticides were
sprayed every 7 days with a motorized knapsack high pressure sprayer. The experiments showed
consistent results. The most effective treatments for bean fly control in soybean were fipronil 5% SC
at the rate of 20 ml per 20 liters of water, triazophos 50% EC at the rate of 50 ml per water 20 liters
and profenofos 50% EC at the rate of 40 ml per 20 liters of water with the cost of spraying 40, 76 and
60.80 baht per time per rai respectively.
Keywords : bean fly, soybean, insecticides
______________________________________________________________________________________
1/ กลุ่มกฏี และสัตววิทยา สำนกั วิจัยพฒั นาการอารักขาพชื กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ 10900
1/ Entomology and Zoology Group, Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900
66 วารสารกฏี และสตั ววิทยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
บทคดั ย่อ
ถั่วเหลือง Glycine max (L.) Merrill. เป็นพืชที่เมล็ดมีคุณค่าทางโภชนาการ ใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ
เป็นพืชที่ใช้ปลูกในระบบเกษตรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และลดการระบาดของศัตรูพืช หนอนแมลงวันเจาะต้นถ่ัว
Melanagromyza sojae Zehntner เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต้นกล้าของถั่วเหลืองและพืชตระกูลถั่วอีกหลายชนิด
คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2553 แนะนำให้ใช้สาร triazophos, fipronil และ
chlorpyrifos ในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว ซึ่งเป็นสารที่ใช้มานาน จึงควรทดสอบประสิทธิภาพของ
สารดงั กลา่ ววา่ ยงั มีประสิทธภิ าพดีอยหู่ รือไม่ เพ่ือแนะนำให้แก่เกษตรกรผู้ปลกู ถั่วเหลือง ดำเนินการทดลองในแปลงของ
เกษตรกร 2 แห่ง คือ แปลงทดลองที่ 1 ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2563
และแปลงทดลองที่ 2 ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 วางแผนการ
ทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ 1) พ่นสาร abamectin 1.8% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
2) พ่นสาร emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 3) พ่นสาร dichlorvos 50% EC
อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 4) พ่นสาร profenofos 50% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 5) พ่นสาร
fipronil 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ 6) พ่นสาร triazophos 40% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ
20 ลติ ร เปรียบเทียบกับกรรมวิธไี ม่พ่นสาร พบว่า สาร fipronil 5% SC อัตรา 20 มลิ ลลิ ิตรตอ่ นำ้ 20 ลติ ร มปี ระสิทธิภาพ
ในการปอ้ งกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะตน้ ถั่วได้ดีทีส่ ุด รองลงมา คือ สาร triazophos 40% EC อตั รา 50 มิลลิลิตรต่อ
น้ำ 20 ลิตร และสาร profenofos 50% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยมีต้นทุนการพ่นสาร 40, 76 และ
60.80 บาทตอ่ ครงั้ ตอ่ ไร่ ตามลำดบั
คำหลัก : หนอนแมลงวันเจาะตน้ ถั่ว ถ่วั เหลอื ง สารฆ่าแมลง
คำนำ
ถวั่ เหลอื ง Glycine max (L.) Merrill. เป็นพืชทีเ่ มลด็ มีคณุ ค่าทางโภชนาการ ใชป้ ระโยชนไ์ ดห้ ลายรูปแบบและ
เป็นพืชที่ปลูกในระบบเกษตร เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และลดการระบาดของศตั รูพืช (สถาบันวิจัยพืชไร,่ 2546)
ต้ังแตป่ ี พ.ศ. 2541 เปน็ ต้นมา พ้ืนที่ปลูกถัว่ เหลอื งมีประมาณ 1.1 - 1.4 ลา้ นไร่ ผลผลิตเฉล่ียประมาณ 230 กโิ ลกรัมต่อ
ไร่ มูลค่าการผลิตปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ มีการนำเข้าถั่วเหลืองในรูปของกาก เมล็ด และน้ำมัน ปีละ
ประมาณ 20,000 ล้านบาท และเพม่ิ เปน็ 30,000 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2545 อยา่ งไรก็ตาม เรม่ิ มีการส่งออกน้ำมันและ
ซอสถั่วเหลืองปีละประมาณ 500 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร, 2547) เมล็ดถั่วเหลือง
สามารถใชป้ ระโยชนไ์ ด้หลายรูปแบบ เช่น การสกดั น้ำมนั ได้ทง้ั นำ้ มนั พืชและกากถ่วั เหลอื ง ซ่งึ เปน็ แหล่งโปรตนี ที่สำคัญ
ทำเป็นอาหารสตั ว์ และทางด้านอตุ สาหกรรม ถัว่ เหลืองสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย
หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว Melanagromyza sojae Zehntner เป็นแมลงศัตรูสำคัญของถั่วเหลือง ตัวเต็มวัย
เป็นแมลงวนั ขนาดเล็ก สีเทาดำ ขนาดประมาณ 2 มิลลเิ มตร ปกี ใส วางไขเ่ ป็นฟองเดีย่ วในเน้อื เย่อื ใตใ้ บอ่อน หนอนเจาะ
ไชชอนเข้าไปกัดกินไส้กลางของลำต้นและใต้ผิวเปลือกบริเวณโคนต้น แล้วเข้าดักแด้ ทำให้ต้นถั่วเหลืองแคระแกร็น
ผลผลติ ลดลง ถ้าระบาดมากทำใหต้ ้นถัว่ เหลอื งตาย มกั พบระบาดรนุ แรงในระยะกลา้ (กรมวชิ าการเกษตร, 2545)
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 67
ในคำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2553 (กลุ่มกีฏและสัตววิทยา, 2553) มีสารแนะนำ
ให้ใช้ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว 3 ชนิด คือ triazophos, fipronil และ chlorpyrifos ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงที่ใช้
มานานและบางชนิดห้ามใช้ จึงควรทดสอบว่าสารที่แนะนำยังมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ และมีความจำเป็นที่จะต้องหา
สารฆ่าแมลงชนิดใหม่ ใชท้ ดแทนสารชนดิ เดิม เพ่อื แนะนำให้แก่เกษตรกรผปู้ ลูกถว่ั เหลืองและชว่ ยลดตน้ ทุนในการพน่ สาร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาชนิดและอัตราของสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด
หนอนแมลงวันเจาะต้นถ่วั ในถ่ัวเหลอื งและต้นทุนการใช้สาร
อุปกรณ์และวิธกี าร
การเตรยี มแปลง วางแผนการทดลอง และการพ่นสารฆา่ แมลง
ดำเนินการทดลองในแปลงปลูกถัว่ เหลืองของเกษตรกร 2 แปลง แปลงทดลองที่ 1 อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เดือน
พฤศจิกายน – ธันวาคม 2563 เริ่มพ่นสารเมื่อถ่ัวเหลืองอายุ 21 วันหลังปลูก และแปลงที่ 2 อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 เริ่มพ่นสารเมื่อถั่วเหลืองมีอายุ 16 วันหลังปลูก ทั้ง 2 แปลงทดลอง มีขนาดแปลง
ย่อย 5x6 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 50 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร วางแผนการทดลอง
แบบ Randomized Complete Block (RCB) มี 4 ซำ้ 7 กรรมวิธี ดังนี้
กรรมวธิ ที ี่ 1 พน่ สาร abamectin 1.8% EC (กลมุ่ 6) อตั รา 40 มิลลลิ ิตรต่อนำ้ 20 ลิตร
กรรมวธิ ที ่ี 2 พน่ สาร emamectin benzoate 1.92% EC (กลมุ่ 6) อตั รา 20 มลิ ลิลติ รต่อนำ้ 20 ลิตร
กรรมวิธีท่ี 3 พน่ สาร dichlorvos 50% EC (กล่มุ 1B) อตั รา 40 มิลลิลิตรต่อนำ้ 20 ลติ ร
กรรมวธิ ที ่ี 4 พน่ สาร profenofos 50% EC (กลุ่ม 1B ) อตั รา 40 มลิ ลลิ ิตรต่อนำ้ 20 ลิตร
กรรมวิธีท่ี 5 พ่นสาร fipronil 5% SC (กลมุ่ 2B ) อตั รา 20 มลิ ลลิ ิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
กรรมวิธที ่ี 6 พน่ สาร triazophos 40% EC (กลมุ่ 1B) อตั รา 50 มลิ ลลิ ติ รต่อนำ้ 20 ลิตร
กรรมวธิ ีที่ 7 ไม่พ่นสารฆา่ แมลง
สำรวจการระบาดของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว ในช่วงถั่วเหลืองอายุไม่เกิน 1 เดือน และสุ่มตรวจนับ
การทำลายแถวละ 5 ต้น จาก 4 แถวกลาง รวม 20 ต้นต่อแปลงย่อย ผ่าดูการทำลาย พ่นสารเมื่อพบจำนวนต้นที่
ถูกทำลาย 10 เปอร์เซ็นต์ ในถั่วเหลืองอายุไม่เกิน 1 เดือน ใช้น้ำ 40 ลิตรต่อไร่ ถั่วเหลือง อายุเกิน 1 เดือน ใช้น้ำ 80 ลิตร
ตอ่ ไร่ โดยใช้เครื่องยนตพ์ ่นสารชนิดแรงดันนำ้ สงู ทง้ั สองแปลงพ่นสารฆา่ แมลง 3 คร้งั
การบันทกึ ข้อมลู และการวิเคราะหผ์ ลการทดลอง
- บันทึกจำนวนต้นทถี่ กู ทำลายและวดั ความยาวรอยทำลาย กอ่ นพน่ สาร 1 วนั และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน
- นำข้อมูลท่ีได้ไปคำนวณเปอรเ์ ซน็ ต์ต้นท่ีถูกทำลาย วิเคราะหแ์ ละเปรยี บเทียบทางสถิติโดยใช้โปรแกรม IRRISTAT
- บนั ทกึ ผลกระทบต่อพืช (phytotoxicity) และเปรยี บเทยี บตน้ ทุนการใช้สาร
ผลการทดลองและวิจารณ์
แปลงทดลองท่ี 1 อ.บา้ นหมอ จ.สระบุรี (ตลุ าคม – พฤศจิกายน 2563) (Table 1 และ 2)
ก่อนพ่นสาร พบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 21.25 - 42.50 เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างทาง
สถิติระหว่างกรรมวิธี จึงวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหลังพ่นสารดว้ ยวิธี Analysis of Covariance และพบความยาวรอยทำลาย
68 วารสารกีฏและสัตววิทยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
เฉลี่ย 1.20 - 2.13 เซนติเมตร ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างกรรมวิธี จึงวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหลังพ่นสารด้วย
วธิ ี Analysis of Variance
หลงั พ่นสารคร้ังท่ี 1 แลว้ 3, 5 และ 7 วัน พบว่า ทุกกรรมวธิ ีที่พน่ สารพบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว
ลดลงเฉลี่ย 17.50 - 27.50, 16.25 - 27.50 และ 23.75 - 27.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบความยาวรอยทำลาย
เฉล่ยี 1.26 - 1.80, 0.75 - 1.23 และ 1.27 - 1.71 เซนตเิ มตร ตามลำดบั นอ้ ยกวา่ และแตกต่างทางสถติ ิกับกรรมวธิ ีไม่พ่นสาร
ที่พบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 48.75, 55.00 และ 57.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบความยาว
รอยทำลายเฉลี่ย 3.28, 4.18 และ 4.38 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีที่พ่นสาร พบว่า
กรรมวิธีที่พ่นสาร fipronil 5% SC มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วดีที่สุด โดยพบการ
ทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถ่วั เฉลีย่ 16.25 - 26.25 เปอร์เซน็ ต์ และพบความยาวรอยทำลายนอ้ ยที่สุดเฉลี่ย 0.75
- 1.27 เซนติเมตร รองลงมา คือ กรรมวิธีพ่นสาร emamectin benzoate 1.92% EC และ dichlorvos 50% EC ซึ่ง
พบการทำลายของหนอนแมลงวนั เจาะต้นถั่วเฉลี่ย 17.50 - 26.25 และ 22.50 - 27.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบ
ความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 0.93 - 1.77 และ 1.00 - 1.70 เซนติเมตร ตามลำดบั
หลังพน่ สารครั้งท่ี 2 แลว้ 3, 5 และ 7 วนั พบว่า ทุกกรรมวธิ ที ี่พ่นสารพบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถ่ัว
เฉลี่ย 25.00 - 32.50, 27.50 - 40.00 และ 18.75 - 30.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย
1.38 - 1.97, 1.20 - 2.38 และ 0.96 - 2.68 เซนตเิ มตร ตามลำดบั น้อยกวา่ และแตกตา่ งทางสถิตกิ บั กรรมวิธไี มพ่ ่นสาร
ที่พบการทำลายของหนอนแมลงวนั เจาะต้นถั่วเพ่ิมสูงขึ้นเฉลี่ย 63.75, 66.24 และ 57.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบ
ความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 2.99, 4.76 และ 2.99 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีที่พ่นสาร
พบว่า กรรมวิธีที่พ่นสาร fipronil 5% SC มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วดีที่สุด โดยพบ
การทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 18.75 - 27.50 เปอร์เซ็นต์ และพบความยาวรอยทำลายน้อยท่ีสดุ เฉลี่ย
0.96 - 1.38 เซนตเิ มตร รองลงมา คือ กรรมวธิ พี น่ สาร abamectin 1.8% EC, triazophos 40% EC และ dichlorvos
50% EC ซึ่งการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 22.50 - 30.00, 22.50 - 30.00 และ 22.50 - 31.25
เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 1.12 - 1.64, 1.52 - 1.77 และ 1.44 - 1.97 เซนติเมตร
ตามลำดับ
หลังพ่นสารครั้งที่ 3 แล้ว 3, 5 และ 7 วัน พบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารพบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถ่ัว
เฉลี่ย 20.00 - 28.75, 16.25 - 36.25 และ 15.00 - 35.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย
1.46 - 2.63, 1.10 - 2.64 และ 0.70 - 2.42 เซนตเิ มตร ตามลำดบั น้อยกว่าและแตกตา่ งทางสถิติกบั กรรมวธิ ีไม่พ่นสาร
ท่พี บการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถัว่ เฉลย่ี 52.50, 61.25 และ 71.25 เปอร์เซน็ ต์ ตามลำดับ และพบความยาว
รอยทำลายเฉลี่ย 3.18, 3.28 และ 3.98 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีที่พ่นสาร พบว่า
กรรมวิธีที่พ่นสาร fipronil 5% SC มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วดีที่สุด โดยพบการ
ทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถัว่ เฉลย่ี 15.00 - 23.75 เปอร์เซ็นต์ และพบความยาวรอยทำลายนอ้ ยทส่ี ดุ เฉล่ยี 0.70
- 1.46 เซนตเิ มตร รองลงมา คือ กรรมวธิ ีพ่นสาร triazophos 40% EC, profenofos 50% EC และ dichlorvos 50%
EC ซึ่งพบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 16.25 - 25.00, 21.00 - 30.00 และ 23.75 - 30.00
เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 1.10 - 1.88, 1.56 - 1.96 และ 1.66 - 2.10 เซนติเมตร
ตามลำดบั
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 69
Table 1 Comparison of damaged plants by bean flies in soybeans in different insecticide application
at Banmoh District, Saraburi Province, October – November 2020
Rate of Damaged plant (%)1/
Treatment application Before After app. 1st (days) After app. 2nd (days) After app. 3rd (days)
(g, ml/20 l app. 357
of water) 35 7 35 7
1. abamectin 1.8% EC 40 33.75ab 25.00a 23.75a 26.25a 27.50a 30.00ab 22.50ab 27.50a 22.50a 35.00b
2. emamectin benzoate 20 30.00ab 25.00a 17.50a 26.25a 31.25a 40.00b 30.00b 28.75a 36.25b 32.50b
1.92% EC
3. dichlorvos 50% EC 40 35.00ab 23.75a 22.50a 27.50a 31.25a 31.25ab 22.50ab 23.75a 28.75ab 30.00b
4. profenofos 50% EC 40 40.00b 27.50a 25.00a 27.50a 32.50a 32.50ab 26.25ab 21.00a 22.50a 30.00b
5. fipronil 5% SC 20 42.50b 17.50a 16.25a 26.25a 25.00a 27.50a 18.75a 20.00a 23.75ab 15.00a
6. triazophos 40% EC 50 21.25a 25.00a 27.50a 23.75a 30.00a 27.50a 22.50a 25.00a 16.25a 25.00ab
7. untreated - 41.25b 48.75b 55.00b 57.50b 63.75b 66.24c 57.50c 52.50b 61.25c 71.25c
C.V. (%) 31.4 26.0 28.0 28.2 16.4 19.5 24.0 24.8 27.0 26.4
R.E. (%) 33.75ab 25.00a 23.75a 26.25a 27.50a 30.00ab 22.50ab 27.50a 22.50a 35.00b
1/ In a column, means followed by a common letter are not significantly different at the 5% level by DMRT
Table 2 Comparison of damaged length by bean flies in soybeans in different insecticide application
at Banmoh District, Saraburi Province, October – November 2020
Rate of Damaged length (cm)1/
Treatment application Before After app. 1st (days) After app. 2nd (days) After app. 3rd (days)
(g, ml/20 l app. 357
of water) 35 7 35 7
1. abamectin 1.8% EC 40 1.90 1.76a 1.04a 1.51a 1.64a 1.37a 1.12a 1.90a 1.61a 2.42b
2. emamectin benzoate 20 1.91 1.77a 0.93a 1.67a 1.96a 2.38a 2.68a 2.63ab 2.64bc 1.96b
1.92% EC
3. dichlorvos 50% EC 40 2.13 1.70a 1.00a 1.68a 1.97a 1.79a 1.44a 1.66a 1.95ab 2.10b
1.64a 1.56a 1.96b
4. profenofos 50% EC 40 2.03 1.54a 1.16a 1.71a 1.96a 1.84a 1.68a 1.46a 1.42a 0.70a
1.88a 1.10a 1.49ab
5. fipronil 5% SC 20 2.00 1.26a 0.75a 1.27a 1.38a 1.20a 0.96a 3.18b 3.28c 3.98c
6. triazophos 40% EC 50 1.20 1.80a 1.23a 1.36a 1.77a 1.52a 1.61a 36.1 29.7 32.1
7. untreated - 1.78 3.28b 4.18b 4.38b 2.99b 4.76b 2.99b 78.6 80.5 80.5
C.V. (%) 30.9 22.3 30.6 23.0 21.7 38.1 27.3
R.E. (%) - - - - 41.1 91.2 70.6
1/ In a column, means followed by a common letter are not significantly different at the 5% level by DMRT
แปลงทดลองที่ 2 อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี (มิถุนายน – กรกฎาคม 2564) (Table 3 และ 4)
ก่อนพ่นสาร พบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 15.00 - 21.25 เปอร์เซ็นต์ และพบความยาว
รอยทำลายเฉลยี่ 0.41 - 0.59 เซนติเมตร ไมม่ คี วามแตกต่างทางสถิตริ ะหว่างกรรมวิธจี ึงวิเคราะหข์ ้อมูลหลังพน่ สารด้วย
วิธี Analysis of Variance
หลังพ่นสารคร้ังที่ 1 แล้ว 3 และ 5 วัน พบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารพบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถวั่
เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 23.75 - 26.25 และ 25.00 - 35.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร ที่พบ
70 วารสารกฏี และสัตววิทยา ปีท่ี 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
การทำลายของหนอนแมลงวนั เจาะตน้ ถ่ัวเฉลีย่ 36.25 และ 31.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดบั ในขณะทีท่ กุ กรรมวธิ ีท่ีพน่ สารพบ
ความยาวรอยทำลายเฉลย่ี 0.90 - 1.27 และ 0.92 - 1.63 เซนติเมตร ตามลำดบั นอ้ ยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติกบั กรรมวิธไี มพ่ ่นสาร ซึ่งพบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 2.96 และ 2.98 เซนตเิ มตร ตามลำดบั
หลังพ่นสารครั้งที่ 1 แล้ว 7 วัน พบว่า กรรมวิธีที่พ่นสาร fipronil 5% SC และ triazophos 40% EC พบการ
ทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถัว่ ลดลงเฉลย่ี 18.75 และ 25.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดบั นอ้ ยกวา่ และแตกต่างอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารและกรรมวิธีที่พ่นสาร dichlorvos 50% EC ซึ่งพบการทำลายของหนอน
แมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 37.50 และ 38.75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่กรรมวิธีที่พ่นสาร fipronil 5% SC และ
triazophos 40% EC พบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 0.83 และ 1.94 เซนตเิ มตร ตามลำดับ น้อยกวา่ และแตกตา่ งอย่าง
มีนัยสำคญั ทางสถติ กิ บั กรรมวิธไี มพ่ ่นสาร ซงึ่ พบความยาวรอยทำลายเฉลย่ี 3.58 เซนติเมตร
หลังพ่นสารคร้ังที่ 2 แล้ว 3 และ 5 วัน พบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารพบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะตน้ ถัว่
เฉลี่ย 11.17 - 22.24 และ 10.38 - 15.35 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ น้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ
กรรมวิธีไม่พ่นสาร ที่พบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 33.63 และ 41.20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ในขณะทท่ี ุกกรรมวิธีที่พ่นสารพบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 0.30 - 0.81 และ 0.29 - 0.59 เซนติเมตร ตามลำดบั นอ้ ย
กว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร ซึ่งพบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 2.85 และ 2.75
เซนตเิ มตร ตามลำดับ
หลังพน่ สารครงั้ ท่ี 2 แล้ว 7 วนั พบวา่ กรรมวธิ ที ่ีพน่ สาร fipronil 5% SC, triazophos 40% EC และ profenofos
50% EC พบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 12.39, 16.94 และ 17.24 เปอร์เซน็ ต์ ตามลำดับ น้อยกว่า
และแตกตา่ งอย่างมนี ัยสำคญั ทางสถิติกบั กรรมวิธีไม่พ่นสารและกรรมวธิ ีที่พ่นสาร emamectin benzoate 1.92% EC
ซึ่งพบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลีย่ 39.97 และ 30.85 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่กรรมวิธีท่พี น่
สาร fipronil 5% SC, triazophos 40% EC และ profenofos 50% EC พบความยาวรอยทำลายเฉลี่ย 0.39, 0.47
และ 0.63 เซนติเมตร ตามลำดบั น้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกบั กรรมวิธีไม่พ่นสาร ซ่ึงพบความยาว
รอยทำลายเฉล่ยี 3.25 เซนติเมตร
หลังพ่นสารครั้งที่ 3 แล้ว 3 และ 5 วัน พบว่า กรรมวิธีที่พ่นสาร fipronil 5% SC, triazophos 40% EC และ
profenofos 50% EC พบการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถ่ัวเฉล่ีย 4.07 - 10.14 และ 9.70 - 21.09 เปอร์เซ็นต์
ตามลำดับ และมีความยาวรอยทำลาย 0.29 - 0.43 และ 0.22 - 0.58 เซนติเมตร ตามลำดับ น้อยกว่าและแตกต่าง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร ที่พบการทำลายของหนอนแมลงวนั เจาะต้นถัว่ เฉลีย่ 28.66 และ 36.20
เปอรเ์ ซ็นต์ และพบความยาวรอยทำลายเฉล่ยี 2.03 และ 1.79 เซนติเมตร ตามลำดับ
หลงั พ่นสารครั้งท่ี 3 แลว้ 7 วนั พบวา่ กรรมวธิ ที พ่ี น่ สาร profenofos 50% EC และ triazophos 40% EC พบ
การทำลายของหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเฉลี่ย 6.10 และ 7.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบความยาวรอยทำลาย
0.17 และ 0.26 เซนตเิ มตร ตามลำดบั น้อยกวา่ และแตกต่างอยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถิติกับกรรมวธิ ีไม่พ่นสาร ซ่ึงพบการ
ทำลายของหนอนแมลงวันเจาะตน้ ถ่วั เฉล่ยี 27.22 เปอรเ์ ซ็นต์ และพบความยาวรอยทำลายเฉล่ยี 2.03 เซนตเิ มตร
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 71
Table 3 Comparison of damaged plants by bean flies in soybeans in different insecticide application
at Phra Phutthabat District, Saraburi Province, June – July 2021
Rate of Damaged plant (%)1/
Treatment application Before After app. 1st (days) After app. 2nd (days) After app. 3rd (days)
(g, ml/20 l app. 357
of water) 35 7 35 7
1. abamectin 1.8% EC 40 21.25 26.25 28.75 27.50abc 16.01ab 13.15a 26.16bc 13.50b 23.50bc 17.11ab
2. emamectin benzoate 20 20.00 23.75 26.25 30.00abc 19.56ab 14.01a 30.85cd 19.49bc 31.23cd 20.69ab
1.92% EC
3. dichlorvos 50% EC 40 20.00 26.25 35.00 38.75c 20.27ab 10.38a 23.36bc 19.88bc 22.94bc 19.37ab
4. profenofos 50% EC 40 18.75 23.75 25.00 26.25ab 22.24b 14.54a 17.24ab 8.60ab 21.09b 6.10a
5. fipronil 5% SC 20 15.00 23.75 26.25 18.75a 11.17a 11.90a 12.39a 4.07a 9.70a 10.70ab
6. triazophos 40% EC 50 18.75 25.00 25.03 25.00a 13.67ab 15.35a 16.94ab 10.14ab 9.69a 7.58a
7. untreated - 16.25 36.25 31.25 37.50bc 33.63c 41.20b 39.97d 28.66c 36.20d 27.22b
C.V. (%) 44.9 36.5 28.9 25.4 32.9 33.5 29.8 38.7 24.6 54.6
R.E. (%) - - - - 93.5 79.2 80.7 69.0 71.2 69.8
1/ In a column, means followed by a common letter are not significantly different at the 5% level by DMRT
Table 4 Comparison of damaged length by bean flies in soybeans in different insecticide application
at Phra Phutthabat District, Saraburi Province, June – July 2021
Rate of Damaged length (cm)1/
Treatment application Before After app. 1st (days) After app. 2nd (days) After app. 3rd (days)
(g, ml/20 l app. 357
of water) 35 7 35 7
1. abamectin 1.8% EC 40 0.49 1.16a 1.62b 1.74ab 0.53ab 0.40a 1.41c 0.47ab 0.73bc 0.63bc
2. emamectin benzoate 20 0.57 1.05a 1.02a 2.03ab 0.64b 0.49a 1.50c 0.78b 1.02c 0.66bc
1.92% EC
3. dichlorvos 50% EC 40 0.41 0.99a 1.63b 2.51bc 0.75b 0.51a 0.95bc 0.69ab 0.72bc 0.83c
0.33ab 0.58abc 0.17a
4. profenofos 50% EC 40 0.59 0.90a 1.02a 1.69ab 0.81b 0.59a 0.63ab 0.29a 0.22a 0.44abc
0.43ab 0.31ab 0.26ab
5. fipronil 5% SC 20 0.43 1.11a 0.92a 0.83a 0.30a 0.29a 0.39a 2.03c 1.79d 2.03d
6. triazophos 40% EC 50 0.57 1.27a 1.24ab 1.94ab 0.49ab 0.53a 0.47ab 41.3 42.2 48.3
7. untreated - 0.42 2.96b 2.98c 3.58c 2.85c 2.75b 3.25d 41.6 42.3 41.9
C.V. (%) 44.0 37.8 25.0 37.9 24.6 51.2 32.5
R.E. (%) - - - - 80.6 75.4 73.6
1/ In a column, means followed by a common letter are not significantly different at the 5% level by DMRT
จากผลการทดลองทั้ง 2 แปลงทดลอง พบวา่ สารฆา่ แมลงที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวัน
เจาะต้นถั่วในถั่วเหลือง คือ สาร fipronil 5% SC (กลุ่ม 2B) รองลงมา คือ สาร triazophos 40% EC (กลุ่ม 1B) และ
สาร profenofos 50% EC (กลุ่ม 1B) โดยสามารถลดเปอร์เซ็นต์การทำลายและลดความยาวรอยทำลายจากหนอน
แมลงวันเจาะตน้ ถัว่ ได้ดี สอดคล้องกบั คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ปี 2553 ทไี่ ด้แนะนำสารฆา่ แมลงในการป้องกัน
กำจัด คือ สาร fipronil 5% SC (กลุ่ม 2B) และสาร triazophos 40% EC (กลุ่ม 1B) แสดงว่าสาร fipronil 5% SC (กลุ่ม
2B) และสาร triazophos 40% EC (กลุ่ม 1B) ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วได้ดี
72 วารสารกีฏและสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
แมจ้ ะใชม้ าเป็นระยะเวลายาวนาน เนื่องจากการปลูกถ่วั เหลืองมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงไม่บ่อยคร้ัง จึง
ไม่ทำให้แมลงเกิดความต้านทาน นอกจากนี้ พบว่า สาร profenofos 50% EC (กลุ่ม 1B) สามารถนำมาใช้ในการ
ป้องกันกำจัดหนอนแมลงวนั เจาะต้นถ่ัวในถั่วเหลืองได้เพิ่มเติมจากคำแนะนำเดิม จึงเป็นทางเลือกให้เกษตรกรผู้ปลกู
ถว่ั เหลอื งเลอื กใช้
สำหรับความเปน็ พษิ ตอ่ พชื พบวา่ สารฆา่ แมลงทุกชนิดทน่ี ำมาทดสอบไมพ่ บความเป็นพิษต่อพชื
ตน้ ทนุ การพน่ สาร (Table 5)
สารที่มีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วในถั่วเหลือง คือ สาร fipronil 5% SC
อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร รองลงมา คือ สาร triazophos 40% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ
profenofos 50% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีต้นทุนการพ่นสาร 40, 76 และ 60.80 บาทต่อครั้งต่อไร่
ตามลำดับ
Table 5 Average cost of insecticides per rai for controlling bean fly in soybean
Insecticide Rate of Package Cost/unit1/ Cost Cost
application (g, ml) (Baht) (Baht/20 ml) (Baht/rai2/)
1. abamectin 1.8% EC (g, ml/20 l 1,000
2. emamectin benzoate 1.92% EC of water) 250 400 16.00 48.00
3. dichlorvos 50% EC 1,000 350 28.00 112.00
4. profenofos 50% EC 40 1,000 150 6.00 24.00
5. fipronil 5% SC 20 1,000 380 15.20 60.80
6. triazophos 40% EC 40 1,000 500 10.00 40.00
40 380 19.00 76.00
1/ price in December 2020 20
2/ spray volume 80 liters per rai 50
สรปุ ผลการทดลอง
การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วในถั่วเหลือง ทั้ง 2 การ
ทดลองให้ผลสอดคล้องกัน พบว่า สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วในถั่ว
เหลือง คือ สาร fipronil 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, triazophos 40% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ
20 ลติ ร และ profenofos 50% EC อัตรา 40 มลิ ลิลติ รต่อน้ำ 20 ลติ ร โดยมตี น้ ทนุ การพ่นสาร 40, 76 และ 60.80 บาท
ต่อครง้ั ต่อไร่ ตามลำดบั
เนื่องจากหนอนแมลงวันเจาะต้นถ่วั เร่ิมทำลายถ่ัวเหลืองในระยะ 7 - 10 วนั หลงั เมล็ดงอก เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ
ตน้ ถว่ั เหลืองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกดิ การระบาดของหนอนแมลงวันเจาะต้นถ่ัว และควรพน่ สารฆ่าแมลงที่มี
ประสิทธิภาพทุก 7 วัน อย่างน้อย 1 - 3 ครั้ง จะช่วยลดความเสียหายของต้นถั่วเหลืองจากการเข้าทำลายของหนอน
แมลงวนั เจาะต้นถัว่ ลงได้
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 73
คำขอบคณุ
ขอขอบคุณ คุณศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ ที่ให้คำแนะนำในเรื่องการวางแผนการ
ทดลองและแนะนำสารฆ่าแมลงที่นำมาใช้ในการทดลอง คุณสรรชัย เพชรธรรมรส เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน
คุณยุวดี ตันติวิวัทน์ พนักงานจ้างเหมา ที่ช่วยดำเนินการพ่นสารตามแผนการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
ทำใหง้ านวจิ ยั นส้ี ำเรจ็ ลุล่วงไปได้ดว้ ยดี
เอกสารอ้างองิ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ปี 2553. กลุ่มกีฏและสัตววิทยา
สำนักวจิ ัยพัฒนาการอารกั ขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรงุ เทพฯ. 302 หน้า.
กรมวชิ าการเกษตร. 2545. เกษตรดที ่ีเหมาะสม ลำดับที่ 16 เกษตรดีท่ีเหมาะสม สำหรบั ถว่ั เหลือง. กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. 26 หน้า.
กรมวิชาการเกษตร. 2547. เอกสารวิชาการถ่ัวเหลอื ง. กรมวิชาการเกษตร กรงุ เทพฯ. 171 หนา้ .
สถาบนั วจิ ัยพืชไร.่ 2546. สรุปรายงานผลงานวจิ ัยพืชไร่ 2546. สถาบนั วจิ ยั พชื ไร่ กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ. 271 หนา้ .
74 วารสารกฏี และสัตววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
บทความ
มวนสกุล Nesidiocoris : มวนตวั หำ้ ทีน่ ่าสนใจ
จอมสุรางค์ ดวงธิสาร1/
-------------------------------------------
มวนตัวห้ำสกุล (Genus) Nesidiocoris; Nesidiocoris tenuis (Reuter, 1895) อยู่ในกลุ่มมวนหญ้า (plant bugs)
จัดอยู่ในอันดับ (Order) Hemiptera อันดับย่อย (Suborder) Heteroptera วงศ์ (Family) Miridae พบแพร่กระจาย
เป็นวงกว้างในแถบเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาตอนเหนือ (Kerzhner and Josifov, 1999; Sanchez et al., 2008)
มวนกลุ่มนี้เป็นทั้งศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ (ตัวห้ำ) โดยกินทั้งพืชและสัตว์ (omnivorous) (Wheeler, 2000a) ทั้งน้ี
เป็นศัตรูพืชที่สามารถทำลายพืชได้หลายชนิดทั้งในแปลงปลูกพืชตามสภาพธรรมชาติและพืชที่ปลูกในเรือนกระจก
(Sanchez et al., 2008) พืชท่ีพบถูกทำลายเกดิ ความเสียหาย เชน่ มะเขอื เทศ พรกิ ไทย เป็นตน้ (Schuh and Slater,
1995; Yasunaga, 2000; Wheeler, 2001; Arno´ et al., 2009; Wheeler, 2000a) โดยมวนจะดูดกินน้ำเลี้ยงในเนื้อเย่ือ
ใบพชื กา้ นใบ ดอก ผล ทำให้เกดิ จุดบนผล (Calvo, et al., 2009; Raman and Sanjayan, 1984; Sanchez, 2008)
ในหลายประเทศ มวนตัวห้ำ N. tenuis ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีทั้งในระบบ
นิเวศเกษตรและในสภาพเรือนกระจก เป็นต้นว่าใช้ควบคุมแมลงหวี่ขาว Bemisia tabaci (Gennadius, 1889) เพลี้ยไฟ
Frankliniella occidentalis (Pergande, 1895) ผเี สื้อหนอนกระท้หู อม Spodoptera exigua (Hübner, 1808) (Wheeler,
2001; Scanchez et al., 2008; Wheeler, 2000b; Bueno and van Lenteren, 2012; Urbaneja et al., 2012;
Lins et al., 2014 ) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ควบคุมเพลี้ยอ่อน ผีเสื้อหนอนชอนใบ ไร และไข่ของผีเสื้อศัตรูพืช (Perdikis
and Lykouressis, 2002; Calvo and Urbaneja, 2003; Urbaneja et al., 2005) มวน N. tenuis จึงมคี วามนา่ สนใจ
ในศกั ยภาพของการเปน็ มวนตัวห้ำ
รปู ร่างลกั ษณะ
ตัวเต็มวยั มวนตัวหำ้ N. tenuis ลำตวั มขี นาดเล็ก ยาวรี รูปไข่ มคี วามยาวเฉลี่ย 3 – 3.3 มิลลิเมตร มีสีเขียว
อมน้ำตาลค่อนข้างซีด หัวมีลักษณะกลมรี สีน้ำตาลอมเขียว และมีแถบสีดำตัดขวางตรงส่วนฐานกะโหลก หนวดมี
ลักษณะเป็นเส้นด้ายค่อนข้างยาว โดยรวมเป็นสีน้ำตาลซีด บรเิ วณตรงกลางหนวดปล้องที่ 1 มสี ีนำ้ ตาลดำ บริเวณโคนหนวด
และปลายหนวดปล้องที่ 2 มสี นี ้ำตาลดำ และบรเิ วณโคนหนวดปล้องที่ 3 มีสีนำ้ ตาลดำ ปีกโดยท่วั ไปมสี ีเขียวอมน้ำตาล
ปีกคู่หน้าบริเวณขอบท้ายของปีกส่วน corium มีจุดสีน้ำตาลดำและบริเวณท้ายสุดของปีกส่วน cuneus มีจุดสีน้ำตาลดำ
(Fariba and Hosselni, 2015) ขาโดยรวมมสี ีนำ้ ตาลซีดส่วนของต้นขา (femur) และส่วนขาแข้ง (tibia) มสี ีคอ่ นขา้ งเหลือง
______________________________________________________________________________________
1/ กล่มุ กีฏและสตั ววทิ ยา สำนกั วิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ 10900
1/ Entomology and Zoology Group, Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 75
บริเวณโคนขาส่วนขาแข้งมีจุดสีน้ำตาลดำ และบริเวณปลายเท้า (tarsi) ปล้องท่ี 3 มีสีน้ำตาลดำ เห็นได้ชัดเจน (Sylla
et al., 2016) (Figure 1 - 2)
วงจรชวี ิต
ตัวเต็มวัยมวนตัวหำ้ N. tenuis เพศเมียวางไข่ได้เฉลี่ย 5.96 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอุณหภูมิ ไข่ลักษณะ
ยาวรี มสี ขี าว วางไขใ่ ตใ้ บอ่อนของพืช ไข่จะฟกั เปน็ ตวั ออ่ น ระยะไขใ่ ชเ้ วลาเฉล่ีย 3.98 – 4.58 วัน ตัวอ่อนมี 5 วยั ลำตัว
สเี ขยี วอ่อนมีขนาดเลก็ มีการลอกคราบเปลีย่ นแปลงขนาดลำตวั และพฒั นาอวัยวะในแต่ละวยั โดยตวั อ่อนวัยท่ี 1 และ 2
ไม่มีปีก ตัวอ่อนวัยที่ 3, 4 และ 5 มีตุ่มปีก (wing pads) ตัวอ่อนวัยที่ 1 เปลี่ยนเป็นวัยที่ 2 ใช้เวลาเฉลี่ย 3.38 – 4.79 วัน
ตัวอ่อนวัยท่ี 2 เปลี่ยนเป็นวัยที่ 3 ใช้เวลาเฉล่ีย 3.11 – 4.91 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 3 เปลี่ยนเป็นวยั ท่ี 4 ใช้เวลาเฉลีย่ 3.5 –
4.68 วนั ตวั ออ่ นวยั ท่ี 4 เปลี่ยนเป็นวยั ที่ 5 ใชเ้ วลาเฉล่ีย 3.12 – 4.56 วัน ตัวออ่ นวัยที่ 5 เปลี่ยนเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลาเฉลี่ย
2.66 – 4.12 วัน (Patel and Patel, 1977) รวมระยะเวลาตั้งแต่ระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาเฉลี่ย 31 – 48.44 วัน
(El-Dessouki et al., 1976)
พืชอาศยั
พืชอาศัยของมวนตัวห้ำ N. tenuis เป็นพืชในวงศ์แตง cucurbitaceae เช่น แตงกวา ฟักทอง ตำลึง
บวบ นำ้ เต้า เป็นต้น และพืชในวงศ์มะเขือ Solanaceae เชน่ มะเขือยาว มันฝรง่ั พรกิ มะเขือเทศ ยาสบู เปน็ ต้น
เขตการแพร่กระจาย
มวนตัวห้ำ N. tenuis พบแพร่กระจายแถบทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ
แอฟริกาเขตรอ้ น หม่เู กาะแปซฟิ ิก และแถบอินเดยี ตะวนั ตก (Kerzhner and Josifov, 1999)
พฤติกรรมการกินอาหาร
มวนตวั ห้ำ N. tenuis ท้งั ตวั อ่อนและตวั เต็มวยั กนิ เหยื่อ (แมลงศัตรพู ชื ) ทอ่ี าศยั อยบู่ นพืชตามลำต้นและ
ดอกของพืช ซึ่งไม่ได้ดูดกินเฉพาะแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เป็นต้น เท่านั้น แต่ยัง
สามารถดดู กินแมลงศัตรูพืชขนาดใหญ่ เช่น หนอนผีเสอ้ื วยั ที่ 4 ไดอ้ ีกด้วย ในกรณีทีไ่ ม่มีเหยื่อ (แมลงศัตรูพืช) ให้ดูดกิน
N. tenuis กจ็ ะดดู กนิ สารอาหาร น้ำเลยี้ งจากต้นพชื เพ่ือความอยรู่ อด ซงึ่ เป็นการบง่ ชว้ี า่ N. tenuis มีความหลากหลาย
ในการกิน โดยสามารถกินไดท้ ั้งศัตรูพชื ต้นพืช (ลำตน้ ดอก ใบ) และผลผลติ จากพืช (ผล) (zoophytophagous)
อนึง่ มวนในกลุ่มมวนหญ้า (mirid bugs) สนั นษิ ฐานว่า มคี วามเดน่ ในการเปน็ ตวั ห้ำ แต่กส็ ามารถทำลาย
และสรา้ งความเสียหายให้กบั พืชได้ หากประชากรของเหย่ือ (แมลงศตั รูพืช) มคี วามหนาแนน่ ลดลง (Kim et al., 2016)
ในประเทศไทยสำรวจพบ N. tenuis บนต้นมะเขือเทศ และยาสูบ แต่ข้อมูลมวนชนิดนี้ยังมีการศึกษา
น้อยมาก ซึ่งหากมีการศกึ ษาข้อมลู เพิ่มเตมิ ท้ังในด้านอนกุ รมวิธาน ชวี วิทยาและนเิ วศวทิ ยา อาจมีการพัฒนานำไปสู่การ
ใชป้ ระโยชน์ในการควบคมุ แมลงศตั รพู ืชโดยชีววธิ ไี ดต้ ่อไป ซง่ึ เป็นทางเลอื กทน่ี า่ สนใจในอนาคต
76 วารสารกฏี และสตั ววิทยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถนุ ายน 2565
Wing form: Hemelytra
(Hemiptera: Miridae)
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/e8/Heter-hemielytron.gif
Figure 1 Wing of plant bugs (Hemiptera: Miridae)
Figure 2 Adult of Nesidiocoris tenuis (Reuter, 1895)
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 77
เอกสารอา้ งอิง
Arno´, J.; C. Castañé; J. Riudavets and R. Gabarra. 2009. Risk of damage to tomato crops by the
generalist zoophytophagous predator Nesidiocoris tenuis (Reuter) (Hemiptera: Miridae). Bulletin
of Entomological Research 100(1): 105-115.
Bueno, V.H.P. and J.C. van Lenteren. 2012. Predatory bugs ( Heteroptera) . Pages 539-569. In: Insect
bioecology and nutrition for integrated pest management. CRC Press, Boca Raton.
Calvo, J. and A. Urbaneja. 2003. Nesidiocoris tenuis (Het: Miridae) en tomate: Amigo o Enemigo. Almeria
En Verde 4: 21-23.
Calvo, J.; K. Bolckmans; P.A. Stansly and A. Urbaneja. 2009. Predation by Nesidiocoris tenuis on Bemisia
tabaci and injury to tomoto. Biocontrol 54(2): 237-246.
El-Dessouki. S.A.; A.H. El-Kifl and H.A. Helal. 1976. Life cycle, host plants and symptoms of damage of
the tomoto bug, Nesidiocoris tenuis Reut. ( Hemiptera: Miridae) in Egypt. Zeitschrifi fur
Pflanzenkrankheiten und Pflanzenschutz 83(4): 204-220.
Fariba, S. and R. Hosseini. 2015. Nesidiocoris tenuis (Reuter) (Hemiptera: Miridae), a predatory species
of the tomoto leafminer, Tuta absoluta ( Meyrick) ( Lepidoptera: Gelechiidae) in Iran. Journal
of Plant Protection Research 55(3): 322-323.
Kerzhner, I.M. and M. Josifov. 1999. Cimicomorpha II. Miridae. Catalogue of the heteroptera of the
Palaearctic region. Vol. 3. Netherlands Entomological Society, Amsterdam. 577 p.
Kim, J.G.; W.H. Lee; Y.M. Yu; C. Yasunuga-Aoki and S.H. Jung. 2016. Lifecycle, Biology, and Descriptions
of Greenhouse Biological Control Agent, Nesidiocoris tenuis (Reuter, 1895) (Hemiptera: Miridae).
Journal of the Faculty of Agriculture, Kyushu University 61(2): 313-318.
Lins, J.C. Jr.; J.J.A. Loon; V H.P. Bueno; D. Barbosa; M. Dick and J.C. Lenteren. 2014. Response of the
zoophytophagous predators Macrolophus pygmaeus and Nesidiocoris tenuis to volatiles of
uninfested plants and to plants infested by prey or conspecifics. Biocontrol 59(6): 707-718.
Patel, N.G.; H.K. Patel. 1977. Bionomics of tobacco bug Nesidiocoris tenuis Reuter. Gujarat Agricultural
University Research Journal 3(1): 40-42.
Perdikis, D.C. and D.P. Lykouressis. 2002. Life table and biological characteristics of Macrolophus
pygmaeus when feeding on Myzus persicae and Trialeurodes vaporariorum. Entomologia
Experimentalis et Applicata 102(3): 261-272.
Ramam, K. and K.P. Sanjayan. 1984. Histology and histopathology of the feeding lesions by Cyrtopeltis
tenuis Rent. (Hemiptera: Miridae) on Lycopersicon esculentum Mill. (Solanaceae) Proceedings
of the Indian Academy of Sciences Animal Sciences 93: 543-547.
Sanchez, J.A. 2008. Zoophytophagy in the plantbug Nesidiocoris tenuis. Agricultural and Forest
Entomology 10: 75-80.
78 วารสารกฏี และสัตววิทยา ปีที่ 40 ฉบบั ท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
Sanchez, J.A.; A. Lacasa; J. Arno´; C. Castañé and O. Alomar. 2008. Life history parameters for
Nesidiocoris tenuis (Reuter) (Het. Miridae) under different temperature regimes. Journal of
Applied Entomology 133(2): 125-132.
Schuh, R.T. and J.A. Slater. 1995. True bugs of the world (Hemiptera: Heteroptera): Classification and
Natural History. Cornell University Press, Ithaca and London. 336 p.
Slylla, S.; T. Brẽvault; J.-C. Streito and K. Diarra. 2016. First Record of Nesidiocoris tenuis (Reuter)
(Hemiptera: Miridae) , as a Predator of the Tomoto Leaf Miner, Tuta absoluta (Meyrick)
(Lepidoptera: Gelechiidae), in Senegal. Egyptian Journal of Biological Pest Control 26(4): 851-
853.
Urbaneja, A.; G. Tapia and P. Stansly. 2005. Influence of host plant and prey availability on
developmental time and survivorship of Nesidiocoris tenuis (Het. Miridae) . Biocontrol Science
and Technology 15(5): 513-518.
Urbaneja, A.J.; J.G. Cabrera; J. Arno´ and R. Gabarra. 2012. Prospects for the biological control of Tula
absoluta in tomatoes of the Mediterranean basin. Pest Management Science 68(9): 1215-1222.
Wheeler, A.G. Jr. 2000a. Plant bugs (Miridae) as plants pests. Pages 37-83. In: Heteroptrea of Economic
importance. CRC Press, Boca Raton, Florida.
Wheeler, A.G. Jr. 2000b. Predacious plants bugs (Miridae). Pages 657-693. In: Heteroptrea of Economic
importance. CRC Press, Orlando, Florida.
Wheeler, A.G. Jr. 2001. Biology of the Plants bug (Hemiptera: Miridae): pests, predators, opportunists.
Cornell University Press, Ithaca, New York. 507 p.
Yasunaga, T. 2000. An annotated list and descriptions of new taxa of the plant bug subfamily
Bryocorinae in Japan (Heteroptera: Miridae). Biogeography 2: 93-102.
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 79
ช่อื แมลงวันผลไม้ ทำลายแตผ่ ลไม้เหมอื นช่อื หรือเปลา่ นะ?
สญั ญาณี ศรีคชา1/
-------------------------------------------
หลายทา่ นคงเคยต้ังข้อสงสยั ว่า “ชอื่ แมลงวันผลไม้ต้องทำลายแต่ผลไม้แน่เลย” แมลงวนั ผลไม้หรอื แมลงวันทอง
ที่เราเรียกกันติดปากนัน้ ลกั ษณะท่ัวไปทีส่ ังเกตุไดด้ ว้ ยตาเปล่า คือ ตวั เต็มวยั มีลักษณะคล้ายแมลงวัน ลำตัวมีสีน้ำตาลดำ
สลับเหลือง มีปีกบางใสสะท้องแสง 1 คู่ ส่วนปีกอีกคู่ลดรูปเปลี่ยนเป็นตุ่มปีกเล็ก ๆ สำหรับช่วยพยุงตัวเวลาบิน ทำให้
แมลงวันผลไม้หรือแมลงวันทองหากินได้ไกลมากขึ้น และส่วนใหญ่มักชอบลงทำลายที่ผล และเม่อื มันเขา้ ทำลายก็จะทำ
ให้ผลเน่าและร่วงหล่น ถ้าลองนำผลทีเ่ น่านั้นมาผ่าดูภายใน ก็จะพบตัวหนอนสขี าว ลักษณะหัวแหลม ท้ายป้าน ไม่มีขา
ไม่มตี า สว่ นหวั ท่ีแหลมและมสี ีดำ คอื สว่ นปาก ปากมลี ักษณะคล้ายกับตะขอใช้ตะกุยเน้ือเยื่อพชื ใหเ้ ละ และดูดกินเข้าไป
ในปาก ภายในปากของตัวหนอนมีเชื้อแบคทีเรียที่ค่อยช่วยย่อยเนื้อเยื่อพืช และเชื้อแบคทีเรียนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิด
การเน่าของผลตามมา ดังนน้ั เมื่อมแี มลงวันผลไมเ้ ขา้ ทำลายผลผลติ ผลผลติ จึงเน่าและรว่ งหลน่
ตัวเตม็ วยั แมลงวนั ผลไม้/แมลงวันทอง หนอนแมลงวนั ผลไม้/แมลงวนั ทอง
แมลงวันผลไม้จัดอยู่ในอันดับ: ดิพเทร่า (Order: Diptera) ในวงศ์: เทฟริติดี้ (Family: Tephritidae)
แมลงวันผลไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 4,000 ชนิด (species) พบกระจายตัวอยู่ทั่วโลก ทั้งในเขตหนาว เขตอบอุ่น และ
เขตร้อน เป็นศัตรูพืชท่ีสำคัญในพืชผักและผลไม้ ในประเทศไทยพบแมลงวันผลไม้ 50 ชนิด แต่แมลงวันผลไม้ที่เป็น
แมลงศัตรูพืชท่ีสำคัญทางเศรษฐกิจมี 8 ชนิด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการเข้าทำลาย ดังนี้
1. กลมุ่ ท่ที ำลายไม้ผล มี 5 ชนดิ ไดแ้ ก่ แมลงวันทอง Bactrocera dorsalis (Hendel) แมลงวันทองเงาะ
Bactrocera carambolae Drew and Hancock แมลงวันทองฝรั่ง Bactrocera correcta (Bezzi) แมลงวันทองขนุน
Bactrocera umbrosa (Fabricius) และแมลงวันทองพีช Bactrocera zonata (Saunders) โดยแมลงวันผลไม้ท่ีอยู่
______________________________________________________________________________________
1/ กลุ่มบรหิ ารศตั รพู ืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพชื กรมวชิ าการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
1/ Plant Pest Management Research Group, Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok
10900
80 วารสารกีฏและสตั ววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบบั ที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
ในกลุ่มนี้มักเข้าทำลายไม้ผลเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะไม้ผลที่มีลักษณะเปลือกบาง เนื้ออ่อนนุ่ม เช่น ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง
มะเฟือง พทุ รา น้อยหน่า ละมดุ เปน็ ต้น แมลงวนั ผลไมใ้ นกลุ่มน้ีมลี ักษณะสำคัญ คือ ตัวเต็มวัย บรเิ วณส่วนอกด้านหลัง
จะมีแถบสีเหลือง 2 แถบ ส่วนท้องจะปรากฏ T shape ชัดเจน และตัวเต็มวัยเพศเมียมักวางไข่ในผลที่เร่ิมสุกแก่ใกล้
เก็บเกี่ยว
2. กลมุ่ ท่ีทำลายพืชตระกลแู ตง มี 2 ชนดิ ไดแ้ ก่ แมลงวันแตง Zeugodacus cucurbitae (Coquillett)
และแมลงวันฟัก Zeugodacus tau (Walker) แมลงวันผลไม้ในกลุ่มนี้มกั ชอบเขา้ ทำลายพืชผักตระกลูแตง เช่น มะระ
จีน ฟักข้าว บวบ แตงโม แตงกวา เมล่อน ฟักทอง เป็นต้น แมลงวันผลไม้ในกลุ่มน้ีมีลักษณะสำคัญ คือ ตัวเต็มวัย
บริเวณส่วนอกด้านหลังจะมีแถบสีเหลือง 3 แถบ ส่วนท้องจะปรากฏ T shape และตัวเต็มวัยเพศเมียมักจะเริ่มเข้า
ทำลายในระยะพืชออกดอกและติดผลอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดอกฟักทองมักจะพบเข้าทำลายอยู่เปน็ ประจำ ทำให้
ดอกเหยี่ วและไมต่ ิดผล เกษตรกรมกั เข้าใจผิด เพราะเห็นดอกฟักทองบานเต็มไร่ แตก่ ลบั ไม่ตดิ ผลเลยจงึ คิดเอาว่าดอกไม่
ผสม ดังนั้นเมื่อดอกฟักทองเริ่มบาน ควรหมั่นสำรวจแปลง ถ้าพบดอกเหี่ยวเฉาให้ลองฉีกดอกดูบริเวณฐานดอก ว่าพบ
หนอนแมลงวันผลไม้ตามภาพหรอื ไม่ ถา้ พบตอ้ งทำการป้องกนั กำจดั
หนอนแมลงวนั แตงลงทำลายผลบวบ ตวั เตม็ วัยแมลงวนั ฟัก
หนอนแมลงวันแตงลงทำลายดอก
ฟกั ทอง
3. แมลงวันผลไม้ที่ทำลายพริก พบ 1 ชนิด คือ แมลงวันทองพริก Bactrocera latifrons (Hendel)
แมลงวันทองพริก ตวั เตม็ วัย บรเิ วณสว่ นอกดา้ นหลังจะมแี ถบสเี หลอื ง 2 แถบ ส่วนทอ้ งไมป่ รากฏ T shape และจะเร่ิม
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 81
เขา้ ทำลายพริกในระยะพริกเริ่มเปลี่ยนสี คอื เปล่ียนจากสีเขียวเป็นสีแดงหรือที่เกษตรกรมักเรียกสีมันปู นอกจากทำลายพริก
ยังลงทำลายมะเขือเปราะ มะเขือพวง มะแว้ง เป็นต้น
ตวั เต็มวัยแมลงวันทองพรกิ ลกั ษณะการทำลายของหนอนแมลงวนั ทองพริก
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแมลงวันผลไม้ชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจในบ้านเราไม่ได้ทำลายเฉพาะผลไม้ แต่สามารถ
ทำลายพชื ทกุ ชนิดท่ีออกผล ไม่ว่าจะเปน็ ไมผ้ ล พชื ผกั พืชป่า หรอื วชั พืช ก็สามารถเปน็ พืชอาหารของแมลงวนั ผลไม้ได้
ซง่ึ ก็มรี ายงานว่าแมลงวนั ผลไม้มีพืชอาหารมากกวา่ 150 ชนดิ ประกอบกบั ประเทศไทยอยูใ่ นเขตอบอ่นุ และมีพืชอาหาร
ของแมลงวันผลไม้หลายชนิด จึงทำให้แมลงวันผลไม้สามารถขยายพันธุ์และเพิ่มปริมาณจากพืชอาหารในแต่ละท้องถน่ิ
ของประเทศไทยได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่มผี ลไม้ออกชุกชุม จะพบปริมาณแมลงวันผลไม้มากและการระบาด
จะรุนแรง ส่วนการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ให้ได้ผลต้องใชว้ ธิ ีการผสมผสาน โดยนำวิธปี ้องกันกำจัดศัตรูพืชหลาย ๆ วิธี
มาใชร้ ว่ มกนั และวิธกี ารที่นำมาใชร้ ว่ มกันต้องไม่หักลา้ งซึ่งกนั และกัน ถึงจะป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ได้ผลดี ส่วนการใช้
สารเคมีแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีตจะเห็นว่าเริ่มไม่ค่อยได้ผลแล้ว ในโอกาสหน้าผู้เขียนจะมาแนะนำถึงวิธีการ
ป้องกันกำจัดแมลงวนั ผลไมแ้ บบผสมผสานทีไ่ ด้ผลใหผ้ อู้ า่ นได้ทราบต่อไป
เอกสารประกอบการเรยี บเรียง
กลุ่มบริหารศัตรูพืช. 2557. แมลงศัตรูไม้ผล. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
กรุงเทพฯ. 151 หน้า.
สัญญาณี ศรีคชา. 2555. คู่มือแมลงวันผลไม้และการป้องกันกำจัด. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
กรมวิชาการเกษตร กรงุ เทพฯ. 50 หน้า.
82 วารสารกฏี และสตั ววทิ ยา ปีที่ 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
คำแนะนำในการเตรียมเรื่องตพี มิ พใ์ น “วารสารกฏี และสัตววทิ ยา”
1. เรื่องที่จะลงพิมพ์อาจเป็นรายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ ข่าวสาร เรื่องแปล สาระน่ารู้ ข้อคิดเห็น หรือ
ประสบการณท์ เ่ี กย่ี วข้องทางด้านกีฏวทิ ยา สัตววทิ ยา หรอื ทีเ่ ป็นประโยชน์ต่อวงการเกษตร ซง่ึ ยังไมเ่ คยตีพมิ พท์ ี่ใดมาก่อน
2. ต้นฉบบั ต้องมีเนื้อเรื่องสมบูรณ์ในฉบับ พิมพห์ นา้ เดียวบนกระดาษพิมพ์สั้น (A4) ควรมคี วามยาวไมเ่ กิน 12 หน้า
(รายงานการวจิ ยั ) 6 หน้า (บทความ) และ 2 หนา้ (สาระนา่ ร)ู้
3. เร่อื งท่ีรายงานการวจิ ยั จะมีหัวข้อเรยี งตามลำดับ ดงั นี้
3.1 ชื่อเรื่อง ทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
3.2 ช่ือ และทอี่ ยูผ่ ูเ้ ขยี น ทง้ั ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
3.3 Abstract ความยาวไมเ่ กิน 5 เปอรเ์ ซ็นต์ของเน้อื เร่อื ง ให้ระบุ “Keywords” ทา้ ย Abstract
3.4 บทคัดย่อ ความยาวไม่เกนิ 5 เปอรเ์ ซ็นตข์ องเนอ้ื เรอ่ื ง ใหร้ ะบุ “คำหลัก” ท้าย บทคดั ยอ่
3.5 คำนำ แสดงความสำคญั ของปญั หา การตรวจเอกสาร และวัตถุประสงค์ของการวิจยั
3.6 อุปกรณ์และวิธกี าร ควรเขยี นให้กระชบั และเปน็ ลำดับข้นั ตอนการดำเนินงาน ไมต่ ้องแบง่ เป็นข้อ
3.7 ผลการทดลองและวจิ ารณ์
ผลการทดลอง บรรยายสรุปผลที่ได้จากการวจิ ัย/ทดลองอย่างกระชับ หลีกเลยี่ งการซำ้ ซ้อนกับข้อความ
ในตารางหรือรูปประกอบ (ถ้ามี) ตารางหรอื รูปประกอบให้ใชภ้ าษาอังกฤษท้งั หมด
วิจารณ์ ควรประกอบด้วยหลักการที่ออกมาจากการวิจัย เปรียบเทียบกับผลการวิจัยและการ
ตีความหมายของผู้อื่น ปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต และแนวทางท่ี จะ
นำไปใช้ประโยชน์
3.8 สรุปผลการทดลอง/สรุปผลการทดลองและคำแนะนำ ไม่ควรซ้ำซ้อนกับผลการศึกษา แต่สรุปให้
สอดคล้องกบั วัตถปุ ระสงค์ คำแนะนำ อาจแยกหวั ขอ้ ใหมไ่ ดเ้ พ่อื ความกระชับ
3.9 คำขอบคุณ (ถ้าม)ี สำหรบั ผชู้ ว่ ยเหลืองานวิจยั แตม่ ิไดเ้ ป็นผูร้ ว่ มงานวจิ ัย
3.10 เอกสารอา้ งองิ เขยี นตามรปู แบบในข้อ 8
4. การเขียนควรใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจของบุคคลทัว่ ไป หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทีเ่ ข้าใจยาก หรือการเขียนศัพท์
ภาษาตา่ งประเทศที่ไมจ่ ำเป็น และใชว้ รรคตอนให้ถกู ต้องเหมาะสม
การเขียนชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ ใหเ้ ขียน ดังนี้
- ชือ่ สามญั ภาษาไทย (ชอ่ื สามญั ภาษาอังกฤษ) ชอื่ วิทยาศาสตร์ หรือ ชือ่ สามัญภาษาไทย ชอื่ วทิ ยาศาสตร์
ตัวอยา่ ง เชน่
เพล้ยี อ่อนฝ้าย (cotton aphid) Aphis gossypii Glover หรือ เพลย้ี ออ่ นฝา้ ย Aphis gossypii Glover
หรือ เพลยี้ อ่อนฝา้ ย (cotton aphid) Aphis gossypii Glover (Hemiptera: Aphididae)
- ชื่อสามญั ภาษาองั กฤษ, ชอื่ วิทยาศาสตร์ ตวั อยา่ ง เชน่
cotton aphid, Aphis gossypii Glover หรือ
cotton aphid, Aphis gossypii Glover (Hemiptera: Aphididae)
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 83
- หากมชี อื่ วทิ ยาศาสตร์หลายชนิดเขยี นต่อกันในเนอ้ื หาภาษาไทย ให้เว้นวรรคและตามด้วยชอื่ วิทยาศาสตร์ชนิด
ถดั ไป ตวั อย่าง เช่น
เพลี้ยอ่อนฝ้าย Aphis gossypii Glover หนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura (Fabricius) เพลี้ยไฟพริก
Scirtothrips dorsalis Hood และหนอนกระทขู้ ้าวโพดลายจุด Spodoptera frugiperda J.E. Smith
5. การอ้างอิงในเนื้อเรื่องให้ใช้ระบบ ชื่อ-ปี ตัวอย่างเช่น เกรียงไกรและศรุต (2549) รายงานว่า....หรือ.....(เกรียงไกร
และศรุต, 2549) กรณีผู้เขียน 3 คนขึ้นไป ให้ใช้ชื่อคนแรก ตามด้วย “ และคณะ ” หรือ “ et al. ” สำหรับชื่อคนไทย
จากเอกสารภาษาไทยให้ใชช้ ือ่ ตวั แทนช่ือสกุล
6. หากมีตารางหรือรูปภาพ ให้จัดพิมพ์แยกไว้ท้ายเรื่อง อาจแทรกในเนื้อเรื่องตามความเหมาะสม ใส่หมายเลข
และคำอธบิ ายทุกครั้ง โดยท่ีหมายเหตุ (footnote) ของตาราง ให้ใชต้ ัวเลขแสดงคำอธบิ าย เพม่ิ เตมิ เชน่ 1/, 2/ เปน็ ต้น
7. รูปถ่ายควรเป็นรูปที่มีความชัดเจนและสื่อตรงกับเรื่อง เขียนหมายเลขกำกับไว้หลังรูป (ถ้าแยกส่ง) รูปลายเส้น
ควรพิมพ์หรือเขยี นด้วยหมึกบนหนา้ กระดาษสีขาว
8. การเขียนเอกสารอ้างอิง
8.1 การตรวจเอกสาร ในเร่ืองของคำนำหรืออปุ กรณ์และวธิ ีการหรือผลการทดลอง
- ตัวอย่างการเขยี น
ผ้เู ขียน 1 คน
โกศล (2523) หรือ (โกศล, 2523)
Krebs (1978) หรือ (Krebs, 1978)
ผเู้ ขียน 2 คน
อิ่มจติ และมานะ (2535) หรือ (อ่มิ จิตและมานะ, 2535)
Imchit and Mana (1992) หรือ (Imchit and Mana, 1992)
กรณีผ้เู ขียน 3 คนขึ้นไป
สะอาดและคณะ (2523) หรือ (สะอาดและคณะ, 2523)
Lekakul et al. (1977) หรอื (Lekakul et al., 1977)
- ถา้ เปน็ เอกสารไมป่ รากฏชอ่ื ผเู้ ขียนใหใ้ ช้
นิรนาม (2529) หรือ (นิรนาม, 2529)
8.2 เอกสารอา้ งองิ หรือบรรณานุกรม ในบญั ชเี อกสารอา้ งองิ ท้ายเรื่อง
8.2.1 การเรยี งลำดับเอกสาร
- ใหเ้ อกสารภาษาไทยอยู่ในส่วนแรกและเอกสารภาษาต่างประเทศอยู่ในสว่ นทส่ี อง
- ใหเ้ รยี งช่อื ผแู้ ตง่ ตามอกั ษรแต่ละภาษา
- ผแู้ ต่งชอ่ื เดยี วกัน มเี อกสารมากกวา่ 1 ฉบับ
- ถ้าตพี ิมพ์ในปีตา่ ง ๆ กัน ใหเ้ รียงปีทพ่ี ิมพจ์ ากนอ้ ยไปหามาก
- ถ้าตีพิมพ์ในปีเดียว ให้ใส่อักษร ก, ข, ค หรือ a, b, c กำกับในเนื้อเรื่องที่อ้างถึงก่อนและหลัง
ตามลำดบั
84 วารสารกฏี และสตั ววิทยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
8.2.2 ประเภทเอกสาร
- ตำรา
ชือ่ ผูแ้ ตง่ . ป.ี ชือ่ หนังสือ. ช่ือสำนกั พิมพ์ จงั หวัด. จำนวนหน้า.
ตวั อย่างการเขยี น
โกศล เจริญสม. 2523. แตนเบียนคาชิดอยด์. เอกสารพิเศษ ฉบับที่ 3 ศูนย์วิจัยและควบคุม
ศัตรูพืช โดยชีวินทรีย์แห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการ
วิจยั แหง่ ชาติ กรงุ เทพฯ. 301 หนา้ .
สะอาด บุญเกิด จเร สดากร และทิพย์พรรณ สดากร. 2523. ชื่อพรรณไม้ในเมืองไทย. กองทุน
จัดพมิ พต์ ำราปา่ ไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 657 หนา้ .
Holm, G.L.; D.L. Plucknett; J.V. Pancho and J.P. Herberger. 1997. Imperata cylindrical
(L.) Beauv. Pages 62-71. In: The World’ s Worst Weeds, Distribution and Biology.
University Press of Hawaii, Honolulu.
Krebs, C.J. 1978. Ecology: The Experimental Analysis, Distribution and Abundance.
2nd Ed. H.A. Harper and C.B. Row, (eds.) N.Y. 678 p.
- วารสาร Newsletter และ Bulletin
ชื่อผู้แต่ง. ปี. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสารหรอื ชื่อ Newsletter หรือชื่อ Bulletin พิมพ์ในแบบชื่อเต็มและ
เป็นตวั เอน ปีท:่ี หน้า-หน้า.
ตวั อย่างการเขียน
ไพศาล เหล่าสุวรรณ. 2524. วิธีการเขียนบทความทางวิชาการวิทยาศาสตร์. วารสารสงขลา
นครนิ ทร์ 3: 27-43.
Sharwa, A.D. and C.I. Jandalk. 1986. Studies on Recycling of Pleurotus Waste.
Mushroom Newsletter for the Tropics 6: 13-15.
Yano, K. 1979. Effect of Vegetable Juice and Milk on Alkylating Activity of n-methyl-
n-nitrou-rea. Journal of Agricultural and Food Chemistry 27: 2456-2458.
- รายงานประจำปี
ชื่อผู้แตง่ . ป.ี ชอื่ เรอื่ ง. หน้า-หน้า. ใน : ช่ือรายงานประจำปี พ.ศ. หน่วยงาน.
ตัวอยา่ งการเขียน
กรองทอง จันทร อำนวย ทองดี และบรรจง สิกขะมณฑล. 2522. การศึกษาหาวิธีการปลูก
หอมแดงในภาคเหนือ. หน้า 5-20. ใน: รายงานสรุปผลการทดลองพืชสวน 2522. กองพืช
สวน กรมวชิ าการเกษตร.
Lewanich, A. 1974. A Taxonomic Study on the Lipidopterous Pests of Sugar Cane.
Pages 511-513. In: Annual Research Report 1974. Division of Entomology and
Zoology, Department of Agriculture, Bangkok.
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 85
- รายงานการประชุม
ชื่อผู้แต่ง. ปี. ชื่อเร่ือง. หน้า-หน้า. ใน: ชื่อรายงานการประชุมพิมพ์ในแบบชื่อเต็มและเป็นตัวเอน
ครงั้ ท่ี (ถ้าม)ี . วัน เดือน ปีท่ีมกี ารประชุม. สถานท่ปี ระชุม.
ตวั อยา่ งการเขียน
พสิ ิษฐ์ เสพสวสั ด์ิ ศรสี มร พทิ กั ษ์ เตือนจติ ต์ สตั ยาวิรทุ ธิ์ และสาทร สริ สิ งิ ห.์ 2523. ประสิทธิภาพ
ของสารฆ่าแมลงบางชนิดกับหนอนเจาะฝักถั่วเหลือง. หน้า 492-523. ใน: รายงานการ
ประชุมวิชาการแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ครั้งที่ 2. กองกีฏและสัตววิทยา 24 - 27 มิถุนายน
2532 ณ ศูนย์วจิ ัยการอารักขาข้าว กรงุ เทพฯ.
Bliss, C.I. 1958. The Analysis of Insect Counts as Negative Binomial Distribution.
Pages 1015-1032. In: Proceedings of the 10th International Congress of
Entomology 2.
Magee, P.N. 1992. The Future of Research on Chemical Carcinogenesis. Page 11. In: The
2nd The 2nd Princess Chulabhorn International Science Congress November 2 -
6, 1992. Bangkok.
- เอกสารไมป่ รากฏชือ่ ผู้เขยี น
ให้ใช้คำว่า นิรนาม หรือ Anonymous แทนชื่อ ตามด้วยปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ตีพิมพ์และใช้วิธีการ
เขียนตามประเภทของเอกสารน้นั ๆ ดังที่กลา่ วมาแลว้ ขา้ งต้น
ตัวอย่างการเขียน
นิรนาม. 2520. สัตว์ศตั รอู อ้ ย. วารสารกสิกรรม ไร่ออ้ ย 1: 445-449.
Anonymous. 1989. Krung Thai Bank Annual Report 1989. Bangkok. 80 p.
- สอ่ื วชิ าการทาง website
ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์ (กรณีไม่ปรากฏให้ใช้ n.d. หรือ ม.ป.ป). ชื่อเรื่องของเอกสาร. แหล่งข้อมูล:
(ระบุ URL). สบื ค้นเมือ่ (วนั เดือน ป)ี
ตัวอย่างการเขียน
นิรนาม. 2556. ชาน้ำมัน (Camellia oleifera Abel). ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน
มูลนิธิชัยพัฒนา. แหล่งข้อมูล: http://www.teaoilcenter.org/index.php/2013-12-01-
03-05-52/2013-12-01-03-12-54/entry/camellia-oleifera-abel. สืบค้น: 20 พฤษภาคม
2559.
FSANZ. 2007. Final assessment report. Application A565. Use of nisin in processed meat
products. Food Standards Australia New Zealand. Available at: http://www.
foodstandards.gov.au/code/applicatios/documents/A565_FAR_Nissin_Final.pdf.
Accessed: March 22, 2015.
86 วารสารกีฏและสตั ววทิ ยา ปีท่ี 40 ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
การส่งเรือ่ ง
ต้นฉบับพิมพ์ด้วย Microsoft Word ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาดอักษร 16 พิมพ์บรรทัดห่าง 1 บรรทัด
กระดาษขนาด A4 ต้องมีชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนที่ติดต่อได้ทางไปรษณีย์ โทรศัพท์ และ E-mail โดยส่งต้นฉบับไปท่ี
ดร.มานิตา คงชื่นสิน ([email protected]) และสำเนาถงึ (cc:) กองบรรณาธกิ าร ([email protected])
การตรวจแก้
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่ส่งไปลงพิมพ์ทุกเรื่องตามที่เห็นสมควร โ ดยผ่าน
ผู้ทรงคุณวฒุ ิ ในกรณีท่จี ำเป็นจะสง่ ต้นฉบับท่ีแกไ้ ขแล้วคืนผูเ้ ขียน เพอ่ื ความเห็นชอบอีกครัง้ กอ่ นพิมพ์
คำแนะนำสำหรับผเู้ ขียน
เร่อื งท่จี ะลงพมิ พ์ ต้องเป็นเรอ่ื งที่ยังไมเ่ คยตพี มิ พใ์ นวารสารฉบับอ่นื มี 3 ประเภท คอื
1. ผลงานวิจัย เป็นผลงานการวิจัยทดลองที่เกี่ยวข้องทางด้านกีฏวิทยา สัตววิทยา หรือที่เป็นประโยช น์
ต่อวงการเกษตร
2. บทความ เป็นเรื่องที่เขียนจากการรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และประสบการณ์ ของงานที่เกี่ยวข้อง
ทางด้านกีฏวิทยา สตั ววิทยา หรือทเ่ี ปน็ ประโยชนต์ ่อวงการเกษตร
3. สาระน่ารู้ เป็นเรื่องแปล ข่าวสารที่สำคัญ ข้อคิดเห็น หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องทางด้านกีฏวิทยา สัตววิทยา
หรอื ทเ่ี ป็นประโยชนต์ อ่ วงการเกษตร
ENTOMOLOGY AND ZOOLOGY GAZETTE Volume 40 No. 1, January - June 2022 87
แบบฟอร์มการเขยี นผลงานวจิ ยั
ชอ่ื เรื่อง (ภาษาไทย)
ชอ่ื เร่อื ง (ภาษาอังกฤษ)
(ภาษาไทย) ชื่อ สกลุ 1/ (ผูแ้ ตง่ คนท่ี 1) ช่ือ สกลุ 2/ (ผู้แต่งคนที่ 2)
(ภาษาองั กฤษ) ชื่อ สกุล 1/ (ผ้แู ต่งคนท่ี 1) ชอื่ สกุล 2/ (ผู้แต่งคนท่ี 2)
Abstract
สรุปวัตถุประสงค์ สถานที่ เวลาทำการทดลอง ที่เป็นสาระสำคัญของการทดลองเป็นภาษาอังกฤษ ใช้สำนวนรัดกุมและให้รายละเอียด ที่ชัดเจน มีความยาว
150 - 250 คำ หรือ 5 เปอร์เซน็ ต์ของเนือ้ เรื่อง
Keywords :
บทคดั ยอ่
มีเน้อื หาสาระเชน่ เดยี วกบั บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ควรจะอยูใ่ นหน้าเดยี วกนั กบั Abstract (ถา้ เปน็ ได)้
คำหลกั :
คำนำ
อธบิ ายถงึ เหตผุ ล แสดงความสำคญั ของปัญหา การตรวจเอกสาร และวัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย
__________________________________________________________________________________________________
1/ ท่ีอยู่ของหนว่ ยงาน ของผูแ้ ต่งคนท่ี 1 (ภาษาไทย)
1/ ที่อยขู่ องหนว่ ยงาน ของผูแ้ ต่งคนที่ 1 (ภาษาองั กฤษ)
2/ ทอ่ี ย่ขู องหนว่ ยงาน ของผแู้ ตง่ คนท่ี 2 (ภาษาไทย)
2/ ที่อย่ขู องหนว่ ยงาน ของผ้แู ต่งคนท่ี 2 (ภาษาองั กฤษ)
อปุ กรณ์และวิธีการ
ควรเขียนให้กระชับ และเป็นลำดบั ขนั้ ตอนท่ีชัดเจน ในการดำเนนิ งานทดลอง
ผลการทดลองและวจิ ารณ์
บรรยายสรุปผลท่ีได้จากการวิจัย/ทดลองอย่างกระชับ หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนกับข้อความในตาราง (ถ้ามี) หรือรูปประกอบ (ถ้ามี) วิจารณ์หลักการ
ที่ออกมาจากการวิจยั เปรียบเทยี บกับผลการวจิ ัยและการตีความหมายของผอู้ ื่น ปัญหาหรือขอ้ โต้แย้งในสาระสำคัญ ขอ้ เสนอแนะเพอื่ การวจิ ัยในอนาคต และ
แนวทางทจี่ ะนำไปใชป้ ระโยชน์
สรปุ ผลการทดลอง/ สรุปผลการทดลองและคำแนะนำ
ไมค่ วรซ้ำซ้อนกบั ผลการศึกษา แต่สรุปใหส้ อดคลอ้ งกับวัตถุประสงค์ และสำหรับคำแนะนำอาจแยกหวั ขอ้ ใหม่ไดเ้ พ่ือความกระชบั และชัดเจน
คำขอบคณุ
กล่าวถึงบุคคลผูช้ ่วยเหลอื งานวิจัย แต่มิไดเ้ ป็นผ้รู ว่ มงานวิจยั
เอกสารอ้างอิง
ตามแบบที่ได้กำหนดหลกั เกณฑ์การเขยี นไวใ้ นคำแนะนำในการเตรยี มเรือ่ งตีพิมพใ์ น “วารสารกีฏและสตั ววทิ ยา” ข้อท่ี 8
ตาราง
ชื่อตารางและรายละเอยี ดเป็นภาษาองั กฤษ เรยี งตง้ั แต่ Table 1 เป็นตน้ ไป
ภาพประกอบ
ภาพขาวดำ หรือภาพสี หรือภาพลายเส้น (กราฟ) เป็นต้นฉบับที่ชัดเจน สะอาด และสวยงาม พร้อมคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ เรียงตั้งแต่ Figure 1
เป็นตน้ ไป
2 วารสารกฏี และสัตววิทยา ปีท่ี 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565
Email: [email protected]