จากวิกฤตพลังงานโลก: ทราบแล้วเปลี่ยน สู่การบริโภคที่ยั่งยืน
ปัจจุบัน ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแหล่งพลังงานประกอบกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นวิกฤตการณ์ด้านพลังงานโลก (Global Energy Crisis) ที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญหน้าทั้งในฝั่งอุปทานและฝั่งอุปสงค์ เหตุการณ์ดังกล่าวผลักดันให้ประเทศต้องเร่งเดินหน้าไปสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน <br>(Energy Transition) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการพลังงานในระยะยาว หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel-based Energy) ไปเป็นพลังงานสะอาด (Clean Energy) ผ่านการใช้หลากหลายกลยุทธ์ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพิ่มในพลังงานทดแทน (Increasing Renewable Energy Investments) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Increasing Energy Efficiency) การปรับใช้กฎหมายหรือนโยบายด้านพลังงานให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น (Implementing Supportive Policy) หรือแม้แต่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) การดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization, and Storage: CCUS) รวมไปถึงการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EVs) เป็นต้น
-
Follow
-
0
-
Embed
-
Share
-
Upload