142
กิจกรรม บทที่ 5 หลกั การใชภ าษา
กจิ กรรมท่ี 1 ใหผูเ รียนแยกคาํ ตอ ไปน้อี อกเปน 3 ประเภท ตามตาราง
ผลไม รัฐบาล อคั คภี ัย พลเรือน ศิลปกรรม
รปู ธรรม วทิ ยาลยั มหาชน พระเนตร พุทธกาล
นพเกา คหกรรม สัญญาณ นโยบาย ภมู ิศาสตร
คาํ ประสม คําสมาส คาํ สนธิ
กจิ กรรมที่ 2 ใหผ ูเรยี นพิจารณาประโยคตอไปนว้ี าเปนประโยคชนดิ ใด
1. วนั นี้อากาศรอ นมาก
2. ฉนั ดใี จทเ่ี ธอมคี วามสขุ
3. พอ ซ้ือนาฬิกาเรือนใหมใ หฉนั
4. พชี่ อบสีเขียวแตนองสาวชอบสฟี า
5. รายการราตรสี โมสรใหค วามบันเทิงแกผูช ม
กจิ กรรมที่ 3 ใหผูเ รยี นฝก เขียนอกั ษรยอ ประเภทตา ง ๆ นอกเหนอื จากตวั อยา งทีย่ กมา
กิจกรรมท่ี 4 ใหผเู รยี นศกึ ษาและรวบรวมคําสภุ าพ และคาํ ราชาศพั ทท ่ใี ชแ ละพบเหน็ ในชีวิตประจําวัน
กิจกรรมท่ี 5 ใหผูเรยี นจับคสู าํ นวนใหตรงกบั ความหมาย
1. เกีย่ วโยงกันเปนทอด ๆ ก. ผกั ชโี รยหนา
2. หมดหนทางทจ่ี ะหนีได ข. จับปลาสองมือ
3. ทาํ ดที ี่สุดเปน ครงั้ สุดทาย ค. ขมิน้ กับปูน
4. รนหาเร่ืองเดอื ดรอน ง. แกวงเทาหาเสยี้ น
5. ทาํ ดแี ตเพียงผวิ เผิน ฉ. จนตรอก
6. ไมดําเนนิ การตอ ไป ช. หญาปากคอก
7. นิง่ เฉยไมเ ดือดรอ น ซ. ทิง้ ทวน
8. ทาํ อยา งลวก ๆ ใหพ อเสรจ็ ฌ. แขวนนวม
9. รอู ะไรแลวพดู ไมได ญ. มวยลม
143
10. อยากไดส องอยา งพรอม ๆ กัน ฎ. ลอยแพ
11. ถกู ไลออก ปลดออก ฏ. หอกขา งแคร
12. เรอ่ื งงา ย ๆ ทีค่ ิดไมถ ึง ฐ. พระอิฐพระปูน
ฑ. สกุ เอาเผากิน
ฒ. งกู ินหาง
ณ. นาํ้ ทวมปาก
กิจกรรมท่ี 6 ใหผ ูเรยี นเขยี นคําพงั เพยใหตรงกับความหมายทก่ี ําหนดให
1. ชอบโทษผูอน่ื โดยไมดตู ัวเอง
2. ไมชวยแลวยงั กดี ขวางผูอ ืน่
3. การลงทุนไมค มุ คา กับผลท่ไี ดร ับ
4. ชอบร้อื ฟน เร่อื งเกา ๆ
5. เปน คนชอบสุรุยสุราย
กจิ กรรมท่ี 7 ตอบคาํ ถามตอ ไปนี้สนั้ ๆ แตไดใ จความ
1. การแตงคําประพันธตามหลกั ฉันทลักษณม ีกี่ประเภท อะไรบาง
2. บทประพนั ธตอไปนีเ้ ปนคาํ ประพันธป ระเภทใด
2.1 ถึงกลางวันสรุ ิยนั แจม ประจักษ ไมเห็นหนานงลกั ษณย่ิงมดื ใหญ
ถึงราตรมี จี นั ทรอ นั อาํ ไพ ไมเ ห็นโฉมประโลมใจใหมดื มน
วิวาหพระสมทุ ร
2.2 ขึ้นกกตกทุกขย าก แสนลาํ บากจากเวยี งชยั
ผักเผอื กเลอื กเผาไฟ กนิ ผลไมไ ดเปน แรง
พระสุริยงเย็นยอแสง
รอนรอนออนอสั ดง แฝงเมฆเขาเงาเมธธุ ร
ชว งด่ังนํา้ กร่ิงแดง
กิจกรรมท่ี 8 ผูเรียนเขยี นประโยคภาษาท่เี ปน ทางการ และภาษาไมเปนทางการ อยางละ 3 ประโยค
ภาษาท่เี ปนทางการ 1...................................................................................
2..................................................................................
3...................................................................................
ภาษาไมเ ปน ทางการ 1...................................................................................
2..................................................................................
3...................................................................................
144
บทที่ 6
วรรณคดี และวรรณกรรม
สาระสําคญั
การเรียนภาษาไทย ตองเรียนรูในฐานะเปนวัฒนธรรมทางภาษาใหเกิดความชื่นชม ซาบซึ้ง
และภูมิใจในภาษาไทย โดยเฉพาะคุณคาของวรรณคดี และภูมิปญญาทางภาษาของบรรพบุรุษที่ได
สรางสรรคไวอันเปนสวนเสริมความงดงามในชีวิต นอกจากนั้น วรรณคดีและวรรณกรรม ตลอดจน
บทรองเลนของเด็ก เพลงกลอมเด็ก ปริศนาคาํ ทาย เพลงพื้นบาน วรรณกรรมพื้นบาน เปนสวนหนึ่ง
ของวัฒนธรรมซ่ึงมีคุณคา การเรียนภาษาไทยจึงตองเรียนวรรณคดี วรรณกรรม ภูมิปญญาทางภาษา
ที่ถายทอดความรูสึกนึกคิดทั้งรอยแกวและรอยกรองประเภทตาง ๆ เพ่ือใหเกิดความซาบซึ้งและ
ความภมู ใิ จในส่ิงที่บรรพบุรษุ ไดส ่ังสมและสบื ทอดมาจนถงึ ปจ จุบนั
ผลการเรยี นรูท่คี าดหวงั ผูเรยี นสามารถ
1. อธบิ ายความแตกตา งและคุณคาของวรรณคดี วรรณกรรมปจ จบุ ันและวรรณกรรมทอ งถิ่น
2. ใชห ลักการพนิ ิจวรรณคดแี ละวรรณกรรม หลกั การพิจารณาวรรณคดีและวรรณกรรม
ใหเ หน็ คุณคา และนําไปใชใ นชวี ติ ประจําวัน
3. รองเลนหรอื ถา ยทอดเพลงพ้นื บา นและบทกลอมเด็กในทอ งถ่ิน
ขอบขา ยเนอ้ื หา
เร่อื งที่ 1 หลกั การพจิ ารณาวรรณคดแี ละหลกั การพนิ จิ วรรณกรรม
เร่อื งท่ี 2 หลักการพินิจวรรณคดีดา นวรรณศิลปแ ละดานสังคม
เรือ่ งท่ี 3 เพลงพ้นื บา น เพลงกลอ มเด็ก
145
เรื่องที่ 1 หลกั การพิจารณาวรรณคดีและหลกั การพนิ จิ วรรณกรรม
กอนที่จะศึกษาถึงเร่ืองการพิจารณาวรรณคดีและการพินิจวรรณกรรม ตองทําความเขาใจ
กับความหมายของคาํ วา วรรณคดีและวรรณกรรม เพื่อใหผูเรียนสามารถเขาใจในความหมายของคํา
ท้ังสองนี้ ไดอยางชัดเจนโดย ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2514 : 58 - 133) ไดกลาวถึงความสัมพันธ
และความแตกตา งระหวา งวรรณคดีและวรรณกรรมไว ดงั นี้
วรรณคดี ใชในความหมายวา วรรณกรรมหรอื หนงั สอื ทไี่ ดร บั การยกยองวาแตง ดี มวี รรณกรรมศลิ ป
กลาวคือ มีลักษณะเดนในการใชถอยคําภาษาและเดนในการประพันธ ใหคุณคาทางอารมณและ
ความรูสึกแกผูอานสามารถใชเปน แบบฉบบั อางอิงได
หนงั สือที่เปน วรรณคดสี ามารถบงบอกลักษณะได ดังน้ี
1. มีเน้อื หาดี มปี ระโยชนแ ละเปนสภุ าษติ
2. มีศิลปะการแตงท่ียอดเย่ียมท้ังดานศิลปะการใชคํา การใชโวหารและถูกตองตามหลัก
ไวยากรณ
3. เปนหนังสอื ทีไ่ ดร บั ความนิยมและสืบทอดกันมายาวนานกวา 100 ป
วรรณกรรม ใชในความหมายวา งานหนงั สอื งานนิพนธท่ที ําข้ึนทุกชนดิ ไมวาแสดงออกมาโดย
วิธีหรือในรูปอยางใด เชน หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน ส่ิงพิมพ ปาฐกถา เทศนา คําปราศรัย สุนทรพจน
สงิ่ บันทกึ เสียง ภาพ เปน ตน
วรรณกรรมแบงออกเปน 2 ประเภท
1. สารคดี หมายถึง หนังสือท่ีแตงขึ้นเพ่ือใหความรู ความคิด ประสบการณแกผูอาน
ซ่ึงอาจใชร ปู แบบรอ ยแกว หรอื รอ ยกรองก็ได
2. บันเทิงคดี คือ วรรณกรรมท่ีแตงข้ึนเพ่ือมุงใหความเพลิดเพลิน สนุกสนาน บันเทิง
แกผ อู าน จงึ มักเปน เรอ่ื งที่มเี หตกุ ารณและตวั ละคร
การพินิจหรือการพิจารณาคุณคาของวรรณคดีหรือวรรณกรรม ไมวาจะเปนรอยแกวหรือ
รอ ยกรองมีหลักการพิจารณากวา ง ๆ คลายกันคอื เราอาจจะตงั้ คาํ ถามงา ย ๆ วางานประพันธชนิ้ นนั้
หรือเรื่องนัน้ ใหอ ะไรแกคนอานบาง
ความหมาย
การพินิจ คือ การพิจารณาตรวจตรา พรอมท้ังวิเคราะหแยกแยะและประเมินคาได ท้ังนี้
นอกจากจะไดประโยชนตอตนเองแลว ยังมีจุดประสงคเพื่อนาํ ไปแสดงความคิดเห็นและขอเท็จจริง
ใหผูอื่นไดทราบดวย เชน การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อเปนการแนะนําใหบุคคลท่ัวไปท่ีเปน
ผูอานไดรูจักและไดทราบรายละเอียดที่เปนประโยชนในดานตาง ๆ เชน ใครเปนผูแตง เปนเรื่อง
เกี่ยวกับอะไร มีประโยชนตอใครบาง ทางใดบาง ผูพินิจมีความเห็นวาอยางไรคุณคาในแตละดาน
สามารถนาํ ไปประยุกตใ หเ กิดประโยชนอ ยางไรในชวี ติ ประจําวนั
146
แนวทางในการพินิจวรรณคดแี ละวรรณกรรม
การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมมีแนวใหปฏิบัติอยางกวาง ๆ เพื่อใหครอบคลุมงานเขียน
ทุกชนิดซึ่งผูพินิจจะตองดูวาจะพินิจหนังสือชนิดใด มีลักษณะเฉพาะอยางไรซึ่งจะมีแนวในการพินิจ
ทจี่ ะตอ งประยุกตห รอื ปรับใชใหเหมาะสมกับงานเขยี นนัน้ ๆ
หลักเกณฑก วาง ๆ ในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม มดี งั นี้
1. ความเปน มาหรอื ประวัติของหนังสือและผแู ตง เพ่ือชวยใหว ิเคราะหใ นสว นอ่นื ๆ ไดดขี นึ้
2. ลักษณะคาํ ประพนั ธ
3. เรอื่ งยอ
4. เน้ือเรื่อง ใหวิเคราะหเรื่องตามหัวขอตามลําดับ โดยบางหัวขออาจจะมีหรือไมมีก็ได
ตามความจาํ เปน เชน โครงเรอ่ื ง ตัวละคร ฉาก วธิ กี ารแตง ลกั ษณะการเดินเรอื่ ง การใชถอ ยคาํ สาํ นวน
ในเร่ือง การแตง วิธีคิดท่ีสรางสรรค ทัศนะหรอื มุมมองของผเู ขยี น เปน ตน
5. แนวคิด จดุ มงุ หมาย เจตนาของผเู ขียนท่ีฝากไวใ นเร่อื งซ่งึ จะตองวิเคราะหออกมา
6. คณุ คา ของวรรณคดีและวรรณกรรม ซึง่ โดยปกติแลว จะแบง ออกเปน 4 ดา นใหญ ๆ
และกวาง ๆ เพื่อความครอบคลุมในทุกประเด็น ซ่ึงผูพินิจจะตองไปแยกแยะหัวขอยอยใหสอดคลอง
กับลกั ษณะหนังสอื ท่จี ะพนิ จิ นน้ั ๆ ตามความเหมาะสมตอไป
การอานวรรณคดีมรดกตองอานอยางพินิจจึงจะเห็นคุณคาของหนังสือ การอานอยางพินิจ
หมายความวาอยา งไร
การพินิจวรรณคดี คือ การอานวรรณคดีอยางใชความคิด ไตรตรอง กลั่นกรอง แยกแยะ
หาเหตผุ ล หาสว นดี สว นบกพรอ งของหนังสือ เพอ่ื จะไดประเมินคาของหนังสือนั้น ๆ อยางถูกตองและ
มเี หตผุ ล การอา นหนงั สืออยางพินจิ พเิ คราะหม ีประโยชนต อชวี ติ มาก เพราะผพู ินิจวรรณคดี จะรจู กั เลอื ก
รับประโยชนจ ากหนงั สอื และนาํ ประโยชนไ ปใชในชวี ติ ของตนไดและความสามารถในการประเมนิ คา ของ
ผูพินิจวรรณคดีจะชวยใหผูพินิจเปนผูมีเหตุผล มีความยุติธรรม มีวิจารณญาณ การพินิจวรรณคดี
ผพู นิ จิ ไมควรเอาความรสู กึ หรอื ประสบการณส ว นตนมาเปนหลกั สาํ คัญในการตดั สนิ วรรณคดี เพราะแตล ะคน
ยอมมีความรสู ึกและประสบการณต า งกนั
หลกั การพินิจวรรณคดี
การพินิจวรรณคดี เปนการแนะนาํ หนังสือในลักษณะของการวิเคราะหวิจารณหนังสือ
อยางงาย ๆ โดยบอกเรื่องยอ ๆ แนะนําขอดีขอบกพรองของวรรณคดี บอกชื่อผูแตง ประเภทของ
หนังสือ ลักษณะการแตง เนื้อเรื่องโดยยอ ๆ คุณสมบัติของหนังสือ ดวยการวิจารณเกี่ยวกับเนื้อหา
แนวคิด ภาษา คุณคา และขอคิดตาง ๆ ประกอบทัศนะของผูพินิจ ซึ่งเปนลักษณะของการชักชวน
ใหผูอานสนใจหนังสือเลมนั้น การพินิจวรรณคดีเปนการศึกษาและวิเคราะหลักษณะของวรรณคดี
เพื่อนํามาแนะนําใหเกดิ ความเขา ใจซาบซ้งึ อยางแจม แจง
147
การพนิ จิ วรรณคดีมหี ลักการพนิ ิจกวาง ๆ 3 ดาน คอื
1. โครงสรา งของวรรณคดี
2. ความงดงามทางวรรณคดี
3. คุณคาของวรรณคดี
ดานที่ 1 โครงสรางของวรรณคดี
การที่เราจะพนิ ิจวรรณคดีเรอื่ งใด เราจะตอ งพิจารณาวา เรื่องน้ันแตงดวยคําประพันธชนิดใด
โครงเรอื่ งเนือ้ เรื่องเปน อยา งไร มแี นวคดิ หรอื สาระสําคญั อยา งไร ตวั ละครมรี ปู ราง ลักษณะนิสัยอยางไร
ฉากมคี วามหมายเหมาะสมกับเรื่องหรอื ไม และมวี ิธีดาํ เนนิ เรอ่ื งอยางไร
ดานที่ 2 ความงดงามทางวรรณคดี
วรรณคดีเปนงานที่สรางขึ้นอยางมีศิลปะ โดยเฉพาะการใชถอยคําเพื่อใหเกิดความไพเราะ
ในอรรถรส ซึ่งเราจะพิจารณาไดจากการใชคํา มีท้ังการเลนคํา เลนอักษร พิจารณาไดจากการใช
สํานวนโวหาร กวโี วหาร ซ่ึงจะดูจากการสรา งจนั ตภาพ ภาพพจน และพิจารณาจากการสรางอารมณ
ในวรรณคดีส่งิ เหลา นีเ้ ปนความงดงามทางวรรณคดที ้ังนั้น
ดา นท่ี 3 คุณคาของวรรณคดี
มคี ณุ คาทางศีลธรรม ปญญา อารมณ วัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร และวรรณศิลป เปน ตน
โวหารภาพพจน
การใชโ วหารภาพพจน คือ การใชถอยคําใหเกิดภาพโดยวิธกี ารเปรียบเทียบอยางมศี ลิ ปะ
ภาพพจนมีหลายลกั ษณะ เชน อปุ มา อปุ ลกั ษณ อธพิ จน บคุ ลาธิษฐาน สทั พจน หรือการใชส ญั ลักษณ
เปนตน
อุปมา คือ การเปรียบเทียบเพื่อทําใหเห็นภาพหรือเกิดความรูสึกชัดเจน จึงตองนําสิ่งอื่นท่ีมี
ลักษณะคลา ยคลงึ กนั มาชวยอธิบาย หรือเช่ือมโยงความคิดโดยมีคํามาเช่ือม ไดแก เหมือน เสมือน ดุจ
เลห เฉก ดัง กล เพยี ง ราว ปนู ฯลฯ
อปุ ลักษณ เปน การเปรียบเทยี บทล่ี กึ ซึ้งกวาอปุ มา เพราะเปน การเปรียบส่ิงหน่งึ เปน สงิ่ หนึง่ มาก
จนเหมอื นกบั เปนสง่ิ เดยี วกนั โดยใชคาํ วา “ เปน กับ คือ ” มาเช่อื มโยง
ตัวอยาง “แมเ ปนโสมสอ งหลา” “สุจรติ คอื เกราะบังศาสตรพอง”
โวหารอธิพจน เปน โวหารทกี่ วกี ลาวเกนิ จริง เพื่อตอ งการท่ีจะเนนใหความสําคัญและอารมณ
ความรสู กึ ทีร่ นุ แรง เชน
ถงึ ตอ งงาวหลาวแหลนสกั แสนเลม ใหต ิดเตม็ ตัวฉุดพอหลุดถอน
แตต องตาพาใจอาลยั วอน สุดจะถอนทง้ิ ขวางเสยี กลางคัน
(นริ าศวดั เจา ฟา สนุ ทรภู)
148
บุคลาธษิ ฐาน เปน โวหารทน่ี ําส่ิงไมมีชีวิต หรือส่ิงท่ีเปนนามธรรม มากลาวเหมือนเปนบุคคล
ที่มชี ีวติ เชน
เพชรนาํ้ คางหลนบนพรมหญา เย็นหยาดฟา พาฝนหลงวนั ใหม
เคลาเคลียหยอกดอกหญา อยางอาลยั เมอ่ื แฉกดาวใบไผไหวตะวัน
โวหารสัทพจน หมายถงึ โวหารทเี่ ลยี นเสียงธรรมชาติ เชน
ทง้ั กบเขยี ดเกรยี ดกรดี จ้งิ หรีดเรอื่ ย พระพายเฉือ่ ยฉวิ ฉวิ วะหววิ หวาม
การสรางอารมณ
ความงามดานอารมณ เม่อื เราอานวรรณคดี จะเห็นวาเรามีความรูสึกหรืออารมณรวมไปกับ
เร่ืองตอนนั้น ๆ ดวย เชน สงสาร โกรธ ชงิ ชัง น่นั แสดงวากวีไดส รางอารมณใ หเ รามีความรูสึกคลอยตาม
ซงึ่ เปน ความงามอยา งหน่ึงในวรรณคดี กวจี ะสอดแทรกความคิดออกมาในรูปของความรัก ความภาคภูมิใจ
ความเศราสลดใจ และมีการเลือกสรรคําประพันธใหเหมาะสมกับเน้ือเรื่อง การที่กวีใชถอยคําใหเกิด
ความงามเกดิ อารมณท ําใหเราไดรับรสวรรณคดีตาง ๆ
รสวรรณคดี
รสวรรณคดีของไทยเปนลีลาของบทประพันธอยางหน่ึง คือ การใชภาษาไทยใหเหมาะสม
แกเนอ้ื ความของเรือ่ ง กลาวคือ แตงบทประพันธต ามรสบทประพันธไทยหรือรสวรรณคดไี ทยซึ่งมี 4 รส คอื
1. เสาวรจนี เปนบทพรรณนาความงามของสถานท่ี ธรรมชาติ ชมนาง เชน
“ตาเหมอื นตามฤคมาศพิศควิ้ พระลอราช
ประดุจแกวเกาทัณฑ กงนา
พิศกรรณงามเพริศแพรวกลกลิน่ บงกชแกว
อกี แกมปรางทอง เปรียบนา”
2. นารปี ราโมทย เปน บทเกีย้ วพาราสี แสดงความรักใคร เชน
“เจา งามปลอดยอดรักของพลายแกว ไดม าแลวแมอ ยา ขับใหก ลบั หนี
พส่ี ตู ายไมเสยี ดายแกชีวี แกวพี่อยา ไดพ ร่าํ รําพนั ความ
พผี่ ดิ พ่ีกม็ าลุแกโ ทษ จงคลายโกรธแมอ ยาถือวา หยาบหยาม
พช่ี มโฉมโลมลูบดว ยใจงาม ทรามสวาทด้นิ ไปไมไ ยดี”
3. พโิ รธวาทงั เปน บทโกรธ บทตัดพอ ตอวา เหน็บแนม เสียดสี หรอื แสดงความเคยี ดแคน เชน
ผันพระกายกระทบื พระบาทและอึง พระศพั ทส ีหนาทพงึ สยองภัย
เอออเุ หมนะมึงชชิ างกระไร ทุทาสสถุลฉะน้ไี ฉนกม็ าเปน
4. สลั ลาปงคพสิ ัย เปน บทแสดงความโศกเศรา ครํา่ ครวญ อาลัยอาวรณ เชน
เคยหมอบใกลไ ดก ลิ่นสุคนธต ลบ ละอองอบรสรื่นชนื่ นาสา
สนิ้ แผน ดินสิ้นรสสคุ นธา วาสนาเรากส็ ้ินเหมอื นกลนิ่ สคุ นธ
(สุนทรภู)
149
หลักการและแนวทางการพจิ ารณาวรรณคดี
การพิจารณาวรรณคดี คือ การแสดงขอคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีเลมใดเลมหน่ึงอยางส้ัน ๆ
โดยมีเจตนาจะแนะนําวรรณคดีน้ันใหผูอานรูจักวามีเนื้อเรื่องอยางไร มีประโยชนมีคุณคาอยางไร
ผูพิจารณามีความคิดเห็นอยางไรตอวรรณคดีเรื่องน้ัน ๆ ชอบหรือไมชอบ เพราะเหตุใด มีลักษณะ
การวจิ ารณวรรณกรรม
หลกั การพิจารณาวรรณคดี
1. แยกองคประกอบของหนังสือหรือวรรณคดีทีจ่ ะวิจารณใหได
2. ทําความเขาใจองคประกอบทแ่ี ยกออกมาใหแ จมแจง ชดั เจน
3. พิจารณาหรอื วิเคราะหหนงั สือหรือวรรณคดี ตามหวั ขอ ตอ ไปนี้
3.1 ประวัตคิ วามเปนมาและประวตั ิผูแตง
3.2 ลกั ษณะการประพันธ
3.3 เรือ่ งยอ
3.4 การวิเคราะหเรือ่ ง
3.5 แนวคิดและจดุ มงุ หมายในการแตง
3.6 คุณคา ดา นตา ง ๆ
การพินจิ คุณคา วรรณคดแี ละวรรณกรรมมี 4 ประเดน็ ดงั น้ี
1. คุณคาดานวรรณศิลป คือ ความไพเราะของบทประพันธซึ่งอาจจะเกิดจากรสของคํา
ที่ผูแตงเลอื กใชและรสความไพเราะท่ีใหความหมายกระทบใจผูอา น
2. คุณคาดานเนื้อหา คือ การใหความรูสึกในดานตาง ๆ ใหคุณคาทางปญญาและความคิด
แกผูอ าน
3. คุณคาดานสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมสะทอนใหเห็นภาพของสังคมในอดีต
และวรรณกรรมที่ดสี ามารถจรรโลงสงั คมไดอีกดว ย
4. การนาํ ไปประยุกตใชในชีวิตประจาํ วัน เพ่ือใหผูอานไดประจักษในคุณคาของชีวิต
ไดความคิดและประสบการณจ ากเรอื่ งทอ่ี าน และนําไปใชในการดําเนินชวี ติ นําไปเปนแนวปฏิบตั หิ รือ
แกป ญหารอบ ๆ ตวั
เรอื่ งท่ี 2 หลักการพนิ ิจวรรณคดีดา นวรรณศลิ ปแ ละดานสังคม
ความหมายของวรรณคดีมรดก
วรรณคดีมรดก หมายถึง วรรณคดีที่บรรพบุรุษสรางไวและเปนท่ีนิยมตกทอดเรื่อยมาจนถึง
ปจจุบนั วรรณคดมี รดกของไทยน้นั มักจะแสดงภาพชีวิตของสังคมในสมัยที่เกิดวรรณคดี ขณะเดียวกัน
150
กจ็ ะแทรกแนวคิด ปรชั ญาชวี ิตดว ยวธิ ีอันแยบยลจนทําใหผูอานเกิดอารมณสะเทือนใจ มีความรูสึกรวม
ไปกบั กวีดวย
คุณคาของวรรณคดมี รดก
วรรณคดมี รดกน้ันมคี ณุ คามาก ทงั้ ทางดานประวัตศิ าสตร สงั คม อารมณ คติสอนใจและคุณคา
ทางวรรณศลิ ปหรอื จะพดู วา วรรณคดีมรดกเปน ทรพั ยสนิ ทางปญญาทตี่ กทอดเปนสมบัติทางวัฒนธรรม
ของชาติซ่ึงบรรพบุรุษไดอุตสาหะสรางสรรคข้ึนดวยอัจฉริยภาพ เพราะการอานวรรณคดีมรดกทําให
ทราบเหตกุ ารณตา ง ๆ ทป่ี ระทับใจบรรพบรุ ษุ สงั คม สภาพชีวติ ความเปนอยูของคนไทยในชุมชนน้ัน ๆ
วามีลกั ษณะอยางไรเหมือนหรือแตกตางจากสงั คมปจ จุบนั อยา งไร มกี ลวธิ ีในการใชถอ ยคําโวหารอยา งไร
จึงทาํ ใหเ รารว มรับรอู ารมณนน้ั ๆ ของกวี
นอกจากนี้วรรณคดีมรดกมีคุณคาเปนเคร่ืองเชิดชูความเปนอัจฉริยะของชาติ ชวยสะทอนถึง
บุคลิกลักษณะประจําชาติ และชวยทําใหคนในชาติรูเร่ืองราวในอดีตและคุณคาที่สําคัญก็คือ คุณคา
ทางดา นอารมณและดานความงาม ความไพเราะ เพราะเกิดการอานวรรณคดีมรดกจะทําใหเราไดรับ
ความเพลิดเพลินในเนื้อหาและรสศิลปะแหงความงาม ความไพเราะดานอักษรศิลปไปพรอมกัน
ชวยสงเสริมจติ ใจผอู านใหรักสวยรกั งาม เขา ใจหลกั ความจริงในโลกมนษุ ยย ิ่งขน้ึ
วรรณคดมี ีคณุ คาแกผูอานหลายประการ คือ
1. ทําใหผอู านเกิดอารมณคลอ ยตามกวี เชน สนุก เพลดิ เพลิน ดีใจ เศราใจ ขบขัน เปน ตน
2. ทําใหผูอา นเกดิ สติปญ ญา เราจะไดข อคดิ คติ หลกั การดาํ เนินชวี ติ ในวรรณคดีชว ยยกระดบั
จิตใจใหส งู ขึน้ การอานวรรณคดที ําใหเ กดิ ความเฉลียวฉลาดและเกิดปญ ญา
3. ทําใหไดรบั ความรใู นดา นตาง ๆ เชน ประวตั ศิ าสตร ตาํ นาน ภูมศิ าสตร ภาษา ประเพณี
ความเชอ่ื ในสมยั ท่ีแตงวรรณคดีนนั้ ๆ
4. ทาํ ใหเ ขา ใจสภาพสังคมวัฒนธรรมของบรรพบุรุษท่ีกวีไดนํามาเขียนสอดแทรกไวทําใหเรา
เขาใจและสามารถเปรยี บเทยี บสงั คมในวรรณคดีกบั ปจ จุบนั ได
ลกั ษณะเดนของวรรณคดีไทย จาํ แนกเปน ขอ ๆ ดังน้ี
1. นิยมแตง หนงั สอื หรอื การแตง วรรณคดดี วยคาํ ประพนั ธร อยกรองมากกวา รอยแกว เปน บทกลอน
ลกั ษณะภาษากาพยกลอนทีม่ ีสมั ผสั คลองจองสอดคลองกบั ลักษณะนสิ ัยของคนไทย แมภาษาพูดก็มีลีลา
เปนรอยกรองแบบงาย ๆ เชน หมอ ขาวหมอแกง ขาวยากหมากแพง ขนมนมเนย ในนํา้ มปี ลาในนามีขา ว
ชกั น้ําเขาลึก ชกั ศึกเขาบาน เปน ตน
2. เนนความประณีตของคําและสํานวนโวหาร ภาษาท่ีใชวรรณคดีไมเหมือนภาษาพูดทั่วไป
คอื เปน ภาษาท่ีมีการเลือกใชถอ ยคาํ ตกแตงถอ ยคาํ ใหห รหู รา มกี ารสรางคาํ ท่มี คี วามหมายอยางเดยี วกนั
ทเี่ รยี กวา คําไวพจน โดยใชร ปู ศัพทต าง ๆ กนั เพื่อมใิ หเ กดิ ความเบ่อื หนา ยจาํ เจ เชน
ใชคําวา ปกษา ปก ษี สกุณา สกณุ ี ทวชิ แทนคาํ วา “นก”
ใชคําวา กญุ ชร คช ไอยรา หัตถี กรี แทนคําวา “ชาง”
151
นอกจากนั้นยังมีการใชภาษาสัญลักษณ เชน ใชคํา ดวงจันทร บุปผา มาลี เยาวมาลย
แทน คาํ วา “ผหู ญงิ ”
3. เนนการแสดงความรสู ึกสะเทอื นอารมณจากการรําพันความรสู กึ ตัวละครในเร่ืองจะรําพัน
ความรสู กึ ตา ง ๆ เชน รกั เศรา โกรธ ฯลฯ เปน คํากลอนยาวหลายคํากลอน
ตัวอยางอเิ หนาคร่ําครวญถงึ นางบษุ บาทถ่ี ูกลมหอบไป ดงั นี้
เมอื่ นน้ั พระสุรยิ วงศอ สญั แดหวา
ฟน องคแลวทรงโศกา โอแ กว แววตาของเรยี มเอย
ปา นฉะนีจ้ ะอยูแหงใด ทาํ ไฉนจงึ จะรูน ะอกเอย
ฤาเทวาพานอ งไปชมเชย ใครเลยจะบอกเหตุรายดี
สองกรพระคอ นอรุ าร่าํ ชะรอยเวรกรรมของพ่ี
ไดส มนองแตสองราตรี ฤามิ่งมารศรมี าจากไป
พระยิ่งเศรา สรอ ยละหอยหา จะทรงเสวยโภชนากห็ าไม
แตครวญครํา่ กาํ สรดระทดใจ สะอนื้ ไหโศกาจาบลั ย
(อเิ หนา สาํ นวนรชั กาลท่ี 2)
4. มีขนบการแตง คือ มีวิธีแตงท่ีนิยมปฏิบัติแนวเดียวกันมาแตโบราณ ไดแก ข้ึนตนเร่ือง
ดวยการกลา วคําไหวครู คือ ไหวเ ทวดา ไหวพ ระรัตนตรยั ไหวครูบาอาจารย สรรเสริญพระเกยี รตคิ ณุ ของ
พระมหากษัตริย หรือกลาวชมบานชมเมือง
5. วรรณคดไี ทยมเี นอื้ หาเกย่ี วกบั ชนช้นั สูงมากกวาคนสามัญ ตัวละครเอกมักเปนกษัตริยและ
ชนช้นั สงู
6. แนวคิดสําคญั ที่พบในวรรณคดีไทยโดยทั่วไปเปนแนวคดิ แบบพุทธปรัชญางาย ๆ เชน แนวคิด
เรอื่ งทําดไี ดด ี ทําช่วั ไดชั่ว ความไมเทีย่ งตรงของสรรพส่ิง อนจิ จัง ความกตญั ู ความจงรักภักดี ความรัก
และการพลดั พราก เปน ตน
7. เน้ือเรือ่ งท่รี บั มาจากวรรณกรรมตางชาตจิ ะไดรบั การดดั แปลงใหเ ขากับวฒั นธรรมไทย
8. ในวรรณคดีไทยมลี กั ษณะเปนวรรณคดีสําหรับอาน เนื่องจากมีการพรรณนาความยืดยาว
ใหรายละเอยี ดตาง ๆ เพื่อใหผูอานไดภาพชัดเจน เนนความไพเราะของคํา ดังน้ัน เมื่อจะนําไปใชเปน
บทแสดงจะตอ งปรับเปลีย่ นเสียใหมเพือ่ ใหก ระชับขึน้
9. ในวรรณคดีไทยมีบทอัศจรรยแทรกอยูดวย เร่ืองของความรักและเพศสัมพันธ
เปนธรรมชาตอิ ยางหนึ่งของมนุษย กวีไทยไมนิยมกลา วตรงไปตรงมา แตจ ะกลา วถึงโดยใชก ลวิธีการ
เปรียบเทียบหรอื ใชส ญั ลักษณแทน เพ่ือใหเ ปน งานทางศลิ ปะมใิ ชอนาจาร
10. วรรณคดีไทยมักแทรกความเชื่อ คานิยมของไทยไวเสมอ
ลักษณะตาง ๆดังกลาวมาขางตน นับเปนลักษณะเดนของวรรณคดีไทยซ่ึงผูเรียน
ควรเรียนรแู ละเขา ใจเพื่อจะอานวรรณคดไี ทยไดอยา งซาบซ้ึงตอ ไป
152
การอา นวรรณคดีเพือ่ พิจารณาคุณคา ดานวรรณศลิ ป
วรรณศิลป มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 วา ศิลปะ
ในการแตงหนังสือ ศิลปะทางวรรณกรรม วรรณกรรมท่ถี งึ ข้ันวรรณคดี หนงั สอื ทไ่ี ดร บั การยกยองวา แตง ดี
จากความหมายนี้ การพิจารณาคุณคาดานวรรณศิลปตองศึกษาตั้งแตการเลือกชนิด
คาํ ประพันธใหเหมาะสมกับประเภทงานเขียน ถูกตองตรงความหมาย เหมาะกับบุคคลหรือตัวละคร
ในเรื่องและรสวรรณคดี การรูจักตกแตงถอยคําใหไพเราะสละสลวยอันเปนลักษณะเฉพาะภาษากวี
และทําใหผ ูอา นเกดิ ความสะเทอื นอารมณ
ภาษากวเี พอื่ สรา งความงดงามไพเราะแกบ ทรอ ยแกวรอยกรองนั้น มีหลักสําคัญท่ีเกี่ยวของกัน
3 ดา น ดงั นี้
1. การสรรคาํ
2. การเรยี บเรยี งคํา
3. การใชโ วหาร
การสรรคํา คือ การเลือกใชคําใหส่ือความคิด ความเขาใจ ความรูสึกและอารมณไดอยาง
งดงามโดยคาํ นงึ ถึงความงามดานเสียง โวหาร และรูปแบบคําประพันธ การสรรคาํ ทําได ดังนี้
การเลือกคําใหเหมาะแกเ น้ือเรอื่ งและฐานะของบคุ คลในเรือ่ ง
การใชคาํ ใหถ กู ตองตรงตามความหมาย
การเลือกใชค าํ พองเสยี ง คําซา้ํ
การเลือกใชค ําโดยคํานึงถงึ เสียงสมั ผัส
การเลือกใชค าํ เลยี นเสียงธรรมชาติ
การเลือกใชคําไวพจนไดถูกตอ งตรงตามความหมาย
การเรยี บเรยี งคํา คือ การจัดวางคําท่ีเลือกสรรแลว ใหม าเรยี บเรยี งกนั อยางตอ เนื่องตามจงั หวะ
ตามโครงสรา งภาษาหรือตามฉนั ทลักษณ ซ่ึงมหี ลายวธิ ี เชน
จัดลาํ ดับความคดิ หรอื ถอยคาํ จากส่ิงสาํ คญั จากนอ ยไปหามาก จนถงึ สิ่งสาํ คัญสงู สุด
จดั ลําดับความคดิ หรือถอ ยคําจากสิ่งสําคญั นอ ยไปหามาก แตก ลับหักมมุ ความคิดผูอา น เม่อื ถึงจดุ สุด
จดั ลําดับคําใหเปนคาํ ถามแตไมตอ งการคําตอบหรอื มีคําตอบอยใู นตวั คําถามแลว
เรียงถอ ยคํา เพอ่ื ใหผ ูอานแปลความหมายไปในทางตรงขา มเพื่อเจตนาเยาะเยย ถากถาง
เรียงคาํ วลี ประโยคท่มี คี วามสําคญั เทา ๆ กัน เคียงขนานกันไป
การใชโ วหาร คือ การใชถ อ ยคําเพ่ือใหผอู า นเกิดจนิ ตภาพ เรยี กวา “ภาพพจน” ซ่ึงมีหลายวิธี
ท่ีควรรจู กั ไดแ ก
อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งวาเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยมีคําเปรียบปรากฏอยู
ดวยคาํ เปรียบเทยี บเหลาน้ไี ดแก เหมอื น ดุจ เลห เฉก ดัง กล เพียง ราว ปูน
อุปลักษณ คือ การเนนความหมายวา สิ่งหนึ่งเหมือนกับส่ิงหน่ึงมากจนเหมือนกับ
เปนส่ิงเดยี วกนั โดยใชค าํ วา เปน กบั คอื เชน “แมเปน โสมสองหลา ” “สจุ รติ คอื เกราะบงั ศาสตรพ อง”
153
การพิจารณาวรรณคดีดานสังคม
สังคม คือ ชนชาติและชุมชนที่อยูรวมกันภายใตการปกครองในกรอบวัฒนธรรมเดียวกัน
วรรณคดีเปนเหมือนกระจกเงาท่ีสะทอนใหผูอานสามารถมองเห็นชีวิตความเปนอยู คานิยมและ
จริยธรรมของคนในสังคมที่วรรณคดีไดสะทอนภาพไวทาํ ใหเขาใจชีวิต เห็นใจความทุกขยากของ
เพ่อื นมนุษยดวยกนั ชัดเจนขึน้
ดังนั้นการพิจารณาวรรณคดีดานสังคมจะตองมีเนื้อหา ภูมิปญญาที่เก่ียวกับวัฒนธรรมหรือ
จริยธรรมของสังคมใหมีสวนกระตุนจิตใจของผูอานใหเขามามีสวนชวยเหลือในการจรรโลงโลกหรือ
พัฒนาสงั คมไทยรวมกนั โดยพิจารณาตามหวั ขอ ดังน้ี
1. การแสดงออกถึงภูมปิ ญ ญาและวัฒนธรรมของชาติ
2. สะทอ นภาพความเปนอยู ความเชือ่ คา นยิ มในสังคม
3. ไดค วามรู ความบันเทงิ เพลิดเพลนิ อารมณไปพรอ มกนั
4. เนือ้ เรอื่ งและสาระใหแงค ิดทง้ั คุณธรรมและจริยธรรมในดา นการจรรโลงสงั คม ยกระดับ
จติ ใจเหน็ แบบอยางการกระทําของตัวละครท้งั ขอดีและขอ ควรแกไ ข
จากการพิจารณาตามหัวขอขางตนน้ีแลว การพิจารณาคุณคาวรรณคดีดานสังคมใหพิจารณา
โดยแบง ออกได 2 ลกั ษณะใหญ ๆ ดงั น้ี
ดานนามธรรม ไดแ ก ความดี ความชัว่ คานิยม จรยิ ธรรมของคนในสังคม เปนตน
ดานรูปธรรม ไดแก สภาพความเปน อยู วถิ ชี วี ติ การแตงกายและการกอสรางทางวัตถุ เปนตน
กิจกรรม บทท่ี 6 วรรณคดีและวรรณกรรม
1. ใหผเู รียนตอบคําถามตอ ไปน้ี
1.1 บอกความหมายของการพินิจได
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
1.2 บอกหลกั เกณฑใ นการพินิจวรรณคดีได
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
2. ใหผูเรียนอานหนังสือวรรณคดีที่กําหนดใหศึกษาแลวพิจารณาวรรณคดีแตละเร่ือง
ในดา นวรรณกรรมศลิ ป และดา นสงั คม แตละเรอื่ งใหส าระขอ คิดในการดาํ เนนิ ชีวิตอยางไรบา ง ไดแกเรอ่ื ง
1.1 สามกก
1.2 ราชาธริ าช
154
1.3 กลอนเสภาขนุ ชา งขุนแผน
1.4 กลอนบทละครเรื่องรามเกยี รต์ิ
คณุ คาทไ่ี ดรับจากเร่อื ง..............................................
ดานวรรณศลิ ป
1. การสรรคาํ
....................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
2. การเลน ซํ้าคาํ
....................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
3. การหลากคาํ หรอื คาํ ไวพจน
....................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
ดานสงั คม
1. วฒั นธรรมและประเพณี
....................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
2. การแสดงสภาพชวี ติ ความเปนอยูและคานยิ มของบรรพบุรษุ
....................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
3. การเขา ใจธรรมชาตขิ องมนษุ ย
....................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
4. เปน หลักฐานทางประวัตศิ าสตร
....................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
5. การสอดแทรกมุมมองของกวี
....................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
155
เร่อื งที่ 3 เพลงพ้นื บาน เพลงกลอมเด็ก
ความหมายของเพลงพน้ื บาน
เพลงพ้ืนบาน คือ บทเพลงที่เกิดจากคนในทองถ่ินตาง ๆ คิดรูปแบบการรอง การเลนข้ึน
เปน บทเพลงท่มี ีทวงทาํ นอง ภาษาเรียบงา ยไมซบั ซอ น มุง ความสนุกสนานรนื่ เรงิ ใชเลนกนั ในโอกาสตาง ๆ
เชน สงกรานต ตรุษจีน ลอยกระทง ไหวพระประจําป หรือแมกระท่ังในโอกาสท่ีไดมาชวยกันทํางาน
รว มมอื รว มใจเพ่ือทํางานอยา งหนึง่ อยา งใด เชน เก่ยี วขาว นวดขาว เปนตน
ประวัติความเปน มาของเพลงพนื้ บาน
เพลงพื้นบานในประเทศไทยมีมาแตโ บราณไมปรากฏหลกั ฐานแนช ดั วา มีข้ึนในสมัยใด เปน สง่ิ ท่ี
เกิดข้นึ เปนปกติวสิ ัยของคนในสงั คมจึงมีผูเรียกวา เพลงพ้ืนบาน เปนเพลงนอกศตวรรษ เปนเพลงนอก
ทําเนียบบาง เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร วรรณคดี และความรูทุกแขนงในประเทศไทยไมได
อา งถงึ หลกั ฐานเกี่ยวกบั การเลนเพลงพืน้ บา นมีปรากฏในสมยั อยธุ ยา ซง่ึ ท่ีพบคอื เพลงเรือ เพลงเทพทอง
สวนในสมัยรัตนโกสินทร มีช่ือเพลงพ้ืนบานปรากฏอยูในจารึกวัดโพธิ์และในวรรณคดีตาง ๆ สมัยตน
รัตนโกสินทรท่ีปรากฏชื่อคือ เพลงปรบไก เพลงเรือ เพลงสักวา แอวลาว ไกปา เกี่ยวขาว ตั้งแตสมัย
รชั กาลท่ี 5 เปน ตนมา ปรากฏหลักฐานแนชัดวามีการเลนเพลงเรือสักวา เพลงพ้ืนบานของไทยเราน้ัน
มมี าแตชา นานแลว ถายทอดกนั โดยทางมุขปาฐะ จาํ ตอ ๆ กนั มาหลายช่วั อายคุ น เช่อื กันวา มีกําเนิดกอน
ศลิ าจารกึ พอขุนรามคาํ แหงมหาราชเสียอีก ตอมาคอยมีชื่อเสียง มีแบบสัมผัสคลองจองทวงทํานองไป
ตามภาษาถ่ินน้ัน ๆ ในการขับรองเพื่อความบันเทิงตาง ๆ จะมีจังหวะดนตรีทองถิ่นเขามาและมี
การรอ งรําทาํ เพลงไปดวย จึงเกิดเปนระบําชาวบาน เพลงพ้ืนบานใชรองรําในงานบันเทิงตาง ๆ มีงาน
ลงแขก เกีย่ วขา ว ตรษุ สงกรานต
ตอ มาในสมัยกรงุ รัตนโกสินทร เปนสมยั ทม่ี หี ลกั ฐานเกยี่ วกบั เพลงพื้นบานชนิดตาง ๆ มากท่ีสุด
ต้งั แตสมัยรชั กาลท่ี 1 ถึงรชั กาลที่ 5 เปน ยุคทองของเพลงพื้นบานท่ีเปนเพลงปฏิพากย รองโตตอบกัน
เชน เพลงฉอย เพลงอีแซว เพลงสงเครื่อง หรือเพลงทรงเคร่ือง หลังรัชกาลที่ 5 อิทธิพลวัฒนธรรม
ตะวันตกทําใหเกิดเพลงไทยสากลข้ึน เพลงพ้ืนบานจึงเร่ิมหมดความนิยมลงทีละนอย ๆ ปจจุบัน
เพลงพื้นบานไดรับการฟนฟูบางจากหนวยงานท่ีเห็นคุณคาแตก็เปนในรูปของการอนุรักษไวเทาน้ัน
ปญ หาเนอ่ื งมาจากขาดผสู นใจสืบทอดเพลงพืน้ บานจึงเส่อื มสูญไปพรอม ๆ กับผูเลน
ลกั ษณะของเพลงพ้นื บา น
โดยท่วั ไปแลว เพลงพื้นบา นจะมลี กั ษณะเดน ๆ เปน ทส่ี ังเกตไดค อื
1. สํานวนภาษาใชคําธรรมดาพื้น ๆ ไมมีบาลีสันสกฤตปน ฟงเขาใจงาย แตถอยคําคมคาย
อยูในตัวทําใหเกดิ ความสนุกสนาน บางครั้งแฝงไวดวยการใชสัญลักษณแทนคําหยาบตาง ๆ เปนตนวา
156
ยาเสน ใบพลู ท่นี า หัวหมู อุปกรณไถนา เปนตน และเรียบงายทางดานโอกาสและสถานท่ีเลนไมตอง
ยกพ้ืนเวที
2. มคี วามสนุกสนานเพลิดเพลิน มคี วามคมคายในการใชภ าษา กระทบกระเทียบเปรียบเปรย
ชวนใหค ดิ จากประสบการณท พี่ บเหน็ อยูใ นวิถีชวี ติ ทองถิ่น
3. มีภาษาถ่นิ ปะปนอยูทําใหสะทอนใหเห็นถึงวิถีการดําเนินชีวิต ประเพณีความเช่ือ ตลอดจน
คา นยิ มตาง ๆ ทแี่ ฝงอยู
4. มีลักษณะภาษาตองคลองจองกัน ท่ีเปนกลอนหัวเดียว คือ กลอนที่ลงทายดวยสระชนิด
เดียวกัน เชน กลอนใส ลงเสียงขางทายดวยสระไอตลอด กลอนลี ลงเสียงขางทายดวยสระอีตลอด
เปน ตน ตวั อยา งเชน ในเพลงไซเอย ไซ ลามะลลิ า ซงึ่ งา ยตอการเลนมุงใหทุกคนมีสวนรองไดสนุกสนาน
รวมกัน
5. มกั จะมีการรอ งซา้ํ บางทซี ้าํ ที่ตนเพลง หรอื บางทีซํา้ ทท่ี อนทา ยของเพลง เชน เพลงพิษฐาน
เพลงพวงมาลยั เพลงฉอ ย เปนตน ผลดีของการรองซํา้ ๆ กัน กค็ อื เพิ่มความสนกุ สนานใหผูอยูรอบขาง
ไดมีสวนรวมในเพลง ทําใหบรรยากาศครึกคร้ืน และเนื่องจากเปนการปะทะคารมกันสด ๆ ซ่ึงชวง
การรองซํ้านี้จะชวยใหไดมีโอกาสคิดคําและพอเพลง แมเพลงจะไดพักเหนื่อย และสามารถใช
ปฏิภาณพลิกแพลง ยว่ั ลอกนั อีกดวย
นอกจากน้ีเพลงพ้ืนบานยังมีลักษณะพิเศษอีก คือ เปนวรรณกรรมมุขปาฐะที่เลาสืบตอกันมา
ปากตอ ปากไมส ามารถจะสบื คนหาตวั ผแู ตง ทีแ่ นน อนไดและมลี กั ษณะของความเปน พ้ืนบานพื้นเมือง
ประเภทของเพลงพนื้ บาน
เพลงพ้ืนบานโดยท่ัวไปน้ัน มีอยูดวยกันหลายชนิด พอจะแยกประเภทโดยแบงตามผูเลน
ได 2 ประเภทใหญ ๆ คือ
1. เพลงเด็ก จาํ แนกยอ ย ๆ ได 4 ประเภท ดังน้ี
1.1 เพลงรองเลน เชน โยกเยกเอย ฝนตกแดดออก นกกระจอกเขารงั เปน ตน
1.2 เพลงหยอกลอ เชน ผมจกุ ผมมา ผมเปย ผมแกละ เปนตน
1.3 เพลงขู ปลอบ เชน แมใ ครมา น้ําตาใครไหล จนั ทรเ จาขา แตช าแต เขาแหย ายมา
เปนตน
1.4 เพลงประกอบการเลน เชน จ้ําจม้ี ะเขอื เปราะ รี รี ขาวสาร มอญซอ นผา เปนตน
2. เพลงผใู หญ แบง 6 ประเภท คอื
2.1 เพลงกลอมเดก็ เชน กาเหวาเอย พอ เน้ือเย็น เปน ตน
2.2 เพลงปฏพิ ากย เชน เพลงฉอย เพลงรําวง ซ่ึงเพลงปฏิพากยน้ีตอมาวิวัฒนาการ
มาเปน เพลงลกู ทุงนนั่ เอง
2.3 เพลงประกอบการเลน เชน ราํ โทน ตอ มาคือ รําวง ลูกชวง เขาผี มอญซอนผา
เปนตน
2.4 เพลงประกอบพิธี เชน ทาํ ขวญั นาค ทําขวัญจุก แหน างแมว เปน ตน
157
2.5 เพลงเกย่ี วกบั อาชีพ เชน เตนกําราํ เคยี ว
2.6 เพลงแขง ขัน สวนใหญคอื ปฏิพากย
เพลงเด็ก การเลน เปนการแสดงออกอยางหน่ึงในกลุมชน จะแตกตางกันไปตามวัฒนธรรม
และเมอ่ื มีการเลนเกิดข้นึ กม็ กั มีบทเพลงประกอบการเลนดว ย เพลงทีร่ องงา ย ๆ ส้ัน ๆ สนุกสนาน เชน
รีรี ขา วสาร มอญซอนผา จาํ้ จ้ีมะเขือเปราะ แมงมุมขยมุ หลงั คา
เพลงผูใหญ เพลงผูใหญมีหลายประเภท นอกจากจะใหความสนุกสนานบันเทิงใจแลว
ยงั สะทอ นใหเหน็ ถึงความสามคั ครี วมใจกันทาํ สงิ่ ตา ง ๆ ของสังคมไทย สภาพวถิ ชี ีวิตวัฒนธรรมประเพณี
ตาง ๆ ไวอยางนาศึกษาอกี ดวย ดานเพลงกลอ มเดก็ จะเห็นความรักความผูกผันในครอบครัว ธรรมชาติ
ส่งิ แวดลอ ม ตํานาน นิทาน ประวัติศาสตร ตลอดจนจินตนาการความรูสึกนึกคิดของมนุษย เนื่องจาก
ความหลากหลายในเพลงกลอมเดก็ จงึ เปน เพลงทีม่ ีคณุ คา แกก ารรักษาไวเปนอยางยงิ่
คุณคา ของเพลงพื้นบาน
เพลงพ้ืนบานมีคุณคาอยางมากมายที่สําคัญคือ ใหความบันเทิงสนุกสนาน มีนํ้าใจ สามัคคี
ในการทํางานชว ยเหลือกนั สะทอนวัฒนธรรมประเพณี วถิ ีชีวติ การแตงกาย ฯลฯ และเปน การปลกู ฝง
เดก็ ใหครบองค 4 คอื
1. สง เสรมิ ใหเด็กมกี าํ ลงั กายแข็งแรง
2. สงเสริมใหเด็กมีสตปิ ญญาเฉลยี วฉลาด มีไหวพรบิ ปฏภิ าณดใี นการแกปญหา
3. สง เสริมใหเดก็ มจี ิตใจงาม มีคุณธรรมประจําใจ
4. รจู ักปฏิบตั ติ นตอ สว นรวมในสงั คม
การปลูกฝงใหประชาชนพลเมืองของประเทศ เปนผูถึงพรอมดวยคุณสมบัติท้ัง 4 ประการนี้
ตองปูพื้นรากฐานกันตั้งแตเยาววัย และคอยเปนคอยไปทีละนอย จึงจะซึมซาบจนกลายเปนนิสัย
สมัยน้ีวิทยาศาสตรมีมากเพียงไร วัตถุนิยมก็ตามมา วัตถุนิยมเจริญขึ้น ความเจริญทางจิตใจก็นอยลง
เปน ผลใหค วามมน่ั คงของประเทศไดรับความกระทบกระเทือนไปดวยอยางแนนอน ดังน้ัน เราจึงควร
ชว ยกันปลูกฝง อนุรกั ษสบื สานใหดํารงอยูอ ยา งย่ังยนื สบื สานไป
เพลงพ้ืนบานเกิดจากชาวบา นเปน ผูส รา งบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากตอปาก โดยการ
จดจาํ บทเพลงเปนคํารองงาย ๆ ที่เปนเร่ืองราวใกลตัวในทองถิ่นน้ัน ๆ จึงทําใหเพลงพ้ืนบานของไทย
ในภาคตาง ๆ มคี วามแตกตา งกนั ออกไป ดังนี้
เพลงพื้นบานภาคกลาง มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดลอมทางธรรมชาติ การประกอบอาชีพ
วถิ กี ารดําเนินชวี ติ พธิ กี รรมและเทศกาลตา ง ๆ โดยสามารถแยกประเภทได ดงั น้ี
- เพลงท่ีรอ งเลน ในฤดนู า้ํ มาก ไดแก เพลงเรือ เพลงรอยพรรษา เพลงรําภาขา วสาร เพลงหนาใย
เพลงคร่ึงทอน เปน ตน
- เพลงท่ีรองเลนในฤดูเกี่ยวขาวและนวดขาว ไดแก เพลงเก่ียวขาว เพลงเตนกํารําเคียว
เพลงซึง่ ใชรองเลนระหวางเกี่ยวขาว สําหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟาง เพลงโอก เพลงสงคอลําพวน
เพลงเตะขาว และเพลงชักกระดาน ใชร องเลนระหวา งนวดขาว
158
เพลงทใี่ ชรอ งเลน ในชวงตรุษสงกรานต ไดแก เพลงสงกรานต เพลงหยอย เพลงระบําบานไร
เพลงชาเจาหงส เพลงพวงมาลยั เพลงสันนิษฐาน เพลงคลองชา ง และเพลงใจหวัง
เพลงที่รองเลน ไดทกุ โอกาส เพอ่ื ความเพลดิ เพลินสนุกสนาน เกิดความสามัคคีในหมูคณะ มกั จะ
รอ งเลนกนั ในโอกาสทํางานรวมกนั หรือมงี านบุญและงานรื่นเริงตาง ๆ โดยเปนเพลงในลักษณะพอเพลง
แมเพลงอาชีพ ท่ีใชโตตอบกัน ไดแก เพลงเทพทอง เพลงปรบไก เพลงอีแวว เพลงฉอย เพลงลําตัด
เพลงทรงเคร่อื ง เปนตน
เพลงพ้ืนบานภาคเหนือ สามารถใชรองเลนไดทุกโอกาสโดยไมจํากัดเทศกาลหรือฤดูใด ๆ
ซึง่ ใชร อ งเพลงเพอ่ื ผอ นคลายอารมณและการพักผอนหยอ นใจ โดยลกั ษณะการขับรองและทวงทํานอง
จะออนโยน ฟงดเู นบิ นาบนมุ นวล สอดคลอ งกบั เครื่องดนตรีหลกั ไดแ ก ป ซงึ สะลอ เปน ตน นอกจากน้ี
ยงั สามารถจดั ประเภทของเพลงพื้นบานของภาคเหนอื ได 3 ประเภท คือ
1. เพลงซอ ใชรอ งโตตอบกนั โดยมีการบรรเลงป สะลอ และซึงคลอไปดว ย
2. เพลงจอย เปนการนําบทประพันธของภาคเหนือมาขับรองเปนทํานองสั้น ๆ โดยเนื้อหา
ของคาํ รอ งจะเปน การระบายความในใจ แสดงอารมณค วามรัก ความเงียบเหงา มีนักรองเพียงคนเดียว
และจะใชดนตรีบรรเลงในโอกาสตา ง ๆ หรือจอ ยอาํ ลา
3. เพลงเดก็ มลี ักษณะคลา ยกับเพลงเดก็ ของภาคอ่ืน ๆ คือ เพลงกลอ มเดก็ และเพลงที่เดก็ ใช
รอ งเลน กนั เพลงอ่อื ลกู และเพลงสกิ จุงจา
เพลงพน้ื บา นภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ เพลงพื้นบานของภาคอีสาน ใชรองเพ่ือความสนุกสนาน
ในงานรนื่ เรงิ ตา งๆ สามารถแตงไดต ามวฒั นธรรม 3 กลุม ใหญ ๆ คอื กลุม วฒั นธรรมหมอลํา กลมุ วฒั นธรรม-
เพลงโคราช และกลมุ วฒั นธรรมเจรยี งกันตรึม ดงั น้ี
1. เพลงพื้นบานกลุมวัฒนธรรมหมอลาํ ประกอบดวยหมอลาํ และเซ้งิ โดยหมอลําแบงการลํา
นําและการรองออกเปน 5 ประเภท คือ ลําเรื่อง ลํากลอน ลําหมู ลําเพลิน และลําผีฟา สวนเซ้ิงหรือ
คํารองจะใชคํารองรื่นเริง เชน การแหบ้ังไฟ การแหนางแมว การแหนางดัง โดยเน้ือเร่ืองในการรอง
ซ่งึ อาจเปนการขอบรจิ าคเงนิ ในงานบุญ การเซง้ิ อวยชัยใหพร หรือเซิ้งเลานิทานชาดกตามโอกาส
2. เพลงพื้นบานกลุมวัฒนธรรมเพลงโคราช เปนเพลงพ้ืนบานท่ีเลนกันมานานในจังหวัด
นครราชสีมา หรือโคราช ซ่ึงเนื้อเพลงมีลักษณะเดน มีการเลนสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทําใหเสียง
นา ฟง ย่งิ ขึ้นและยงั มเี สียง ไช ชะ ชะ ชิ ชาย พรอ มมีท้ังการรําประกอบแบบเหยาะตัวตามจังหวะขึ้นลง
ซง่ึ เพลงโคราชน้ี นยิ มเลนทกุ โอกาสตามความเหมาะสม
3. เพลงพื้นบานกลมุ วฒั นธรรมเจรยี งกนั ตรมึ ที่นยิ มรอ งเลนกนั ในแถบจังหวดั ทม่ี เี ขตตดิ ตอ กับ
เขมร ไดแก จังหวัดบุรีรัมย สุรินทร และศรีสะเกษ โดยคําวากันตรึม น้ัน หมายถึง กลองกันตรึม
ซึ่งเปนเครื่องดนตรีหลักเวลาตีจะใชจังหวะเสียงดัง โจะกันตรึม ๆ และเจรียง หมายถึง การขับหรือ
การรองเพลงมี 2 แบบ คือ เจรียงใชประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับรองไปทอนหนึ่ง
ดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว อีกแบบคือ เจรียงดนตรี ใชรองในงานโดยจะขับรองไปเร่ือย ๆ
159
และมดี นตรบี รรเลงคลอไปเบา ๆ ซ่ึงในการรอ งเพลงเจรียงนน้ั สามารถรองเลน ไดทุกโอกาสโดยไมจํากัด
ฤดูหรือเทศกาล
เพลงพนื้ บานภาคใต มอี ยปู ระมาณ 8 ชนิดมที ั้งการรองเด่ียว และการรองเปน หมู โดยสามารถ
แบงเปน 2 กลุมใหญ ๆ คือ
1. เพลงทร่ี องเฉพาะโอกาสหรือฤดู ไดแก เพลงเรอื เพลงบอก เพลงนาคาํ ตัด เพลงกลอมนาค
หรอื เพลงแหนาค เปน ตน
2. เพลงที่รองไมจํากัดโอกาส ไดแก เพลงตันหยง ซ่ึงนิยมรองในงานบวช งานขึ้นปใหม
และงานมงคลตาง ๆ เพลงเด็กท่ีรองกลอมใหเด็กหลับ และเพลงฮูลูหรือลิเกฮูลูท่ีเปนการรองคลาย ๆ
ลําตัด โดยมีรํามะนาเปนเคร่ืองดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับรองภาษาทองถิ่นคือภาษามลายู
เปน กลอนโตตอบกนั
กิจกรรมเพลงพน้ื บา น
1. ผเู รยี นคดิ วา คําวา “เพลงพื้นบาน” ความหมายวา อยา งไร
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
2. ผูเรียนคิดวา “เพลงพ้ืนบาน” มีอะไรบาง และในทองถิ่นของผูเรียนมีการละเลน
พ้นื บา นอะไรบาง
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
160
3. ผเู รียนคิดวา “ เพลงพนื้ บาน” ในชุมชนหรือทอ งถนิ่ แตล ะภาคมีความเหมอื นกนั
หรือแตกตา งอยา งไรบาง ยกตัวอยา งประกอบ
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
4. คาํ ชี้แจง ใหผูเรียนตอบคําถามตอ ไปนใ้ี หถ ูกตอง
1. ความหมายของเพลงพื้นบาน ขอ ใดกลา วถูกตอ งท่สี ุด
ก. เพลงที่ชาวบานรอง
ข. เพลงท่ีชาวบา นประพนั ธ
ค. เพลงทช่ี าวบานรว มกนั รืน่ เริง
ง. เพลงทช่ี าวบา นรวมกนั แสดง
2. ขอ ใดเปน คณุ สมบตั ิของเพลงพืน้ บานเดนชดั ทส่ี ุด
ก. แสดงเอกลกั ษณข องคนในหมบู า น
ข. ทุกคนรอ งได
ค. มีสมั ผสั คลอ งจอง
ง. ใหค วามบันเทงิ
3. โดยท่วั ไปแลว เพลงพ้นื บานจะมลี ักษณะเดน คอื
ก. มีความสนุกสนาน ใชภ าษาคมคาย มีภาษาบาลสี นั สกฤต
ข. มีความเรยี บงา ยทง้ั ดานแตง กายและการเลน
ค. เปน วรรณกรรมอมุขปาฐะ มีความเปนพื้นบานพ้ืนเมือง
ง. มีภาษาถนิ่ ปะปนอยู จังหวะเราใจ ใชศัพทส งู ชวนฟง
4. เพลงพื้นบา นท่ปี ระกอบการทํางาน คอื เพลงอะไร
ก. เพลงเตนกําราํ เคียว
ข. หมอลํา
ค. เพลงเรอื
ง. เพลงฉอย
161
5. เพลงแหน างแมวจดั เปน เพลงชนดิ ใด
ก. เพลงปฏิพากย
ข. เพลงประกอบการเลน
ค. เพลงประกอบพิธี
ง. เพลงเขาผเี ชิญผี
6. เพลงทใ่ี ชรอ งเกี้ยวพาราสี หลงั จากทําบญุ ตักบาตรแลวมาน่ังรอบโบสถ เรยี กวา เพลงอะไร
ก. เพลงพวงมาลัย
ข. เพลงลําตัด
ค. เพลงรําวง
ง. เพลงพิษฐาน
7. จะน่ังแตหอทอแตห ูก น่ังเล้ยี งแตกนั แตไร จากบทเพลงน้ีทําใหเ ราไดร ับความรู เก่ยี วกับสิง่ ใดบาง
ก. การทํางาน การเลี้ยงดูบุตร
ข. การเล้ยี งลูกในสมัยโบราณ การใชเวลาวา งใหเ ปน ประโยชน
ค. การทอผา การแตง กาย
ง. การปลกู เรือน การเลย้ี งดบู ุตร
8. “วดั เอยวัดโบสถ ปลกู ขา วโพดสาลี เจาลกู เขยตกยาก แมย ายก็พรากลูกสาวหนี ตนขาวโพด
สาลีต้งั แตน้จี ะโรยรา” เพลงกลอ มเด็กนม้ี จี ดุ มุงหมายเพื่ออะไร
ก. สอนใหรจู กั มสี ัมมาอาชพี
ข. สอนใหมคี วามประพฤติดี
ค. สอนเก่ียวกับความรัก การทํามาหากิน
ง. สอนใหเปนผมู ีคุณธรรม
9. เพลงกลอมเด็กมจี ดุ มงุ หมายเพ่ืออะไร
ก. อบรมส่งั สอน
ข. แสดงความในใจของแมท ีม่ ตี อลูก
ค. ตองการใหเด็กนอนหลับ
ง. ถูกทุกขอ
10. ขอ ใดเปนประโยชนและคุณคาของเพลงพืน้ บา น
ก. ทราบเกรด็ ยอยความรูในดานตาง ๆ
ข. ไดค วามรูเกี่ยวกบั วฒั นธรรมในยุคสมัยน้ัน
ค. ทาํ ใหทราบลกั ษณะของวรรณกรรมลายลักษณทองถ่ิน
ง. ขอ ก. และ ข. ถูก
162
เพลงกลอมเดก็
เพลงกลอมเดก็ คือ เพลงทรี่ อ งเพอ่ื กลอ มเดก็ ใหเ ด็กนอย ๆ เกิดความเพลิดเพลินและอบอุนใจ
จะไดหลับงายและหลับสบาย เปน เพลงท่ีมเี นอื้ ความส้ัน ๆ รอ งงา ย ชาวบานในอดีตรองกันได เนื่องจาก
ไดยินไดฟงมาตั้งแตเกิด คือ ไดฟงพอแมรองกลอมตนเอง นอง หลาน ฯลฯ เม่ือมีลูกก็มักรองกลอมลูก
จึงเปนเพลงท่ีรองกันไดเปนสวนมากเราจึงพบวาเพลงกลอมเด็กมีอยูทุกภูมิภาคของไทยและเปน
วฒั นธรรมทเ่ี ก่ียวขอ งกับการเลยี้ งดขู องเด็กในสังคมไทย ซ่งึ หากศกึ ษาจะพบวา
1. เพลงกลอมเด็กมีหนาที่กลอมใหเด็กหลับโดยตรง ดังน้ัน จึงเปนเพลงท่ีมีทํานองฟงสบาย
แสดงความรักใครหวงใยของผูใ หญท ีม่ ตี อเด็ก
2. เพลงกลอ มเด็กมีหนาทแี่ อบแฝงหลายประการ
การสอนภาษา เพ่ือใหเด็กออกเสียงตาง ๆ ไดโดยการหัดเลียนเสียง และออกเสียงตาง ๆ
ไดเ รว็ ขึน้
ถายทอดความรตู าง ๆ ไดแ ก เรือ่ งราวเกี่ยวกับธรรมชาติ การดําเนินชีวิต การทํามาหากิน
ของสังคมตนเอง การสรางคา นยิ มตา ง ๆ รวมท้ังการระบายอารมณและความในใจของผูรอ ง นอกจากน้ี
พบวา สว นมากแลว เพลงกลอ มเด็กมักมีใจความแสดงถงึ ความรักใครหวงใยลกู ซ่ึงความรกั ความหวงใยนี้
แสดงออกมาในรูปของการทะนุถนอมกลอมเกล้ยี งเก็บเดก็ ไวใ กลตวั บทเพลงกลอมเด็กจึงเปนบทเพลง
ทแี่ สดงอารมณค วามรกั ความผกู พันระหวางแม ลกู ซง่ึ แตละบทมกั แสดงความรกั ความอาทร นาทะนุถนอม
ทแ่ี มมีตอ ลกู อยา งซาบซ้ึง
เพลงกลอมเด็ก เปนวัฒนธรรมทองถิ่นอยางหน่ึงที่สะทอนใหเห็นความเชื่อ คานิยมของ
คนในทองถิ่นตาง ๆ คนทุกชาติทุกภาษาในโลกมีบทเพลงกลอมเด็กดวยกันทั้งนั้น สันนิษฐานวา
เพลงกลอ มเด็กมวี ิวัฒนาการจากการเลา นทิ าน ใหเดก็ ฟง กอ นนอน ดังนน้ั เพลงกลอมเด็กบางเพลงจึงมี
ลักษณะเนื้อรองท่ีเปนเร่ืองเปนราว เชน จันทโครพ ไชยเชษฐ พระรถเสน เปนตน การที่ตองมี
เพลงกลอมเดก็ ก็เพื่อใหเ ด็กเกิดความเพลิดเพลนิ หลบั งาย เกิดความอบอุน ใจ
ลกั ษณะของเพลงกลอมเด็ก
ลกั ษณะกลอนของเพลงกลอ มเดก็ จะเปนกลอนชาวบา น ไมมีแบบแผนแนน อน เพยี งแตม ีสัมผัส
คลองจองกันบาง ถอยคําที่ใชในบางคร้ังอาจไมมีความหมาย เนื้อเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติส่ิงแวดลอม
เรื่องราวตาง ๆ ท่ีเก่ียวกับชีวิต ความเปนอยู สะทอนใหเห็นความรักความหวงใยของแมที่มีตอลูก
สงั่ สอน เสยี ดสสี ังคม เปน ตน สามารถแยกเปน ขอ ๆ ไดด งั น้ี
เปน บทรอ ยกรองสน้ั ๆ มคี าํ คลองจองตอ เนือ่ งกัน
มฉี นั ทลกั ษณไ มแนน อน
ใชค าํ งา ย ๆ สนั้ หรอื ยาวกไ็ ด
มีจังหวะในการรองและทํานองท่เี รยี บงาย สนกุ สนานจดจําไดง าย
163
จดุ มงุ หมายของเพลงกลอมเด็ก
1. ชักชวนใหเด็กนอนหลับ
2. เน้ือความแสดงถึงความรกั ความหวงใย ความหวงแหนของแมทม่ี ีตอลกู
ประเภทของเนือ้ เพลงกลอมเด็ก
แสดงความรักความหวงใย
กลา วถงึ สงิ่ แวดลอม
เลาเปนนทิ านและวรรณคดี
เปนการเลาประสบการณ
ลอ เลียนและเสียดสสี ังคม
ความรเู กี่ยวกับการดูแลเดก็
เปน คตคิ ําสอน
ตัวอยา งเพลงกลอมเด็ก
นกเขาขัน
นกเขาเอย ขนั แตเชาไปจนเย็น ขนั ไปใหดังแมจ ะฟง เสียงเลน เนือ้ เย็นเจาคนเดยี วเอย
กาเหวา
กาเหวา เอย ไขใ หแมก าฟก แมก าหลงรัก คิดวา ลูกในอทุ ร
คาบขา วมาเผ่ือ คาบเหยอ่ื มาปอน ปกหางเจายงั ออน สอนรอ นสอนบนิ
แมกาพาไปกิน ทปี่ ากนํ้าแมคงคา ตีนเหยียบสาหรา ย ปากกไ็ ซห าปลา
กินกงุ กินกัง้ กนิ หอยกระพังแมงดา กินแลวบนิ มา จับตวั หวา โพธ์ทิ อง
นายพรานเหน็ เขา เย่ียมเยีย่ มมองมอง ยกปนขน้ึ สอ ง หมายจองแมกาดํา
ตวั หนง่ึ วา จะตม ตัวหน่ึงวาจะยาํ แมกาตาดาํ แสนระกาํ ใจเอย
วัดโบสถ
วดั เอย วดั โบสถ ปลกู ขาวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก แมยายกพ็ รากลกู สาวหนี
ตนขาวโพดสาลี ต้ังแตนจ้ี ะโรยรา
นอนไปเถดิ
นอนไปเถิดแมจ ะกลอ ม นวลละมอมแมจะไกว
ทองคาํ แมอยา ร่ําไห สายสุดใจเจา แมเอย
เจา เนอื้ ละมุน
เจาเน้อื ละมนุ เอย เจา เนื้ออนุ เหมอื นสาํ ลี
แมม ใิ หผ ูใดตอง เน้ือเจาจะหมองศรี
ทองดเี จาคนเดียวเอย
164
เจาเน้ือออ น
เจา เนอื้ ออ นเอย ออ นแมจะกนิ นม
แมจ ะอุม เจา ออกชม กนิ นมแลว นอนเปลเอย
เพลงกลอ มเดก็ ในแตละภาค
ในประเทศไทยเราน้ันมเี พลงกลอ มเดก็ อยูท วั่ ทกุ ภาค เน้ือรอ งและทํานองจะตา งกันไป มชี อ่ื เรียก
หลายอยา ง เชน ภาคเหนือเรยี ก “เพลงนอนสาหลา” “นอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกลอมเด็ก”
“เพลงกลอมลูก” สวนภาคใตเรียก “เพลงชานอง” เพลงนองนอน” และ “เพลงรองเรือ” โดยเพลง
กลอมเด็กเปนคติชาวบานประเภทใชภาษาเปนส่ือที่ถายทอดจากปากตอปากแตโบราณ เรียกวา
“มขุ ปาฐะ” มลี กั ษณะเปนวัฒนธรรมพน้ื บา นทีม่ ีบทบาทและหนา ทีแ่ สดงเอกลกั ษณข องแตล ะชุมชน
เพลงกลอมเด็กภาคกลาง
เพลงกลอมเด็กภาคกลางเปนที่รูจักแพรหลายและมีการบันทึกไวเปนหลักฐานมากกวา
เพลงกลอ มเดก็ ภาคอ่ืน ซ่งึ จะสะดวกแกก ารศึกษาคนควา การฟน ฟูและการอนุรกั ษ โดยไมมีช่ือเฉพาะ
สาํ หรับเรียกเพลงกลอมเด็กภาคกลาง เนื่องจากข้ึนตนบทรองดวยคําหลากหลายชนิดตามแตเนื้อหา
ของเพลง ไดมีการศึกษาแบง ประเภทเนื้อหาของเพลงกลอมเด็กภาคกลางไวค ลา ยกัน คอื
1. ประเภทสะทอนใหเห็นความรักความผูกพันระหวางแมกับลูก ดังจะเห็นไดจากถอยคํา
ที่ใหเ รยี กลกู วา เจา เนอ้ื ละเอยี ด เจา เนอ้ื อนุ เจา เน้ือเย็น สดุ ท่รี กั สดุ สายใจ เปน ตน
2. ประเภทสะทอนใหเห็นความเปนอยูของไทยภาคกลางในดานตาง ๆ เชน ความเจริญ
ทางวัตถุประเพณี วัฒนธรรมตาง ๆ ความศรัทธา ความเช่ือ คุณธรรมประจําใจ อารมณขันและ
การทาํ มาหากินของประชาชน
3. ประเภทใหความรูดานตาง ๆ เชน ความรูทางภาษา ธรรมชาติวิทยา วรรณคดี นิทาน
ภูมิศาสตร ประวตั ิศาสตร แบบแผนการปกครองและครอบครวั
ลักษณะทํานองและลีลาของเพลงกลอมเด็กภาคกลาง จะเปนการขับกลอมอยางชา ๆ
เชนเดียวกับภาคอ่ืน ๆ กลุมเสียงก็จะซ้ํา ๆ เชนกัน แตจะเนนการใชเสียงทุมเย็น และยึดคําแตละคํา
ใหเชื่อมกลืนกันไปอยา งไพเราะ ออนหวาน ไมใหม เี สียงสะดดุ ทัง้ นี้ เพือ่ มุง ใหเดก็ ฟง จนหลับสนิทในทีส่ ดุ
ตัวอยา งเพลงกลอมเด็กภาคกลาง แมจะเหใหนอนวัน
โอละเหเอย นอนวนั เถดิ แมค ุณ
ตนื่ ข้นึ มาจะอาบนาํ้ ทาํ ขวญั แมมิใหเ จาไปเลน ทท่ี า
พอเน้ือเยน็ เอย มันจะคาบเจา เขา ถาํ้
จระเขหรา
เจา ทองคาํ พอ คุณ
165
เพลงกลอ มเดก็ ภาคเหนือ
สําหรับภาคเหนือมีเพลงกลอมลูกสืบทอดเปนลักษณะแบบแผนเฉพาะของตนเองมาชานาน
อาจารยส งิ ฆะ วรรณไสย แหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม เรียกฉันทลักษณของเพลงกลอมเด็กภาคเหนือวา
“คําร่ํา” ซึง่ จดั เปนลํานาํ ชนดิ หนงึ่ หมายถึง การร่าํ พรรณนามเี สียงไพเราะสงู ตา่ํ ตามเสยี งวรรณยุกตของ
สําเนียงภาคเหนอื นยิ มใชแตง ในการร่าํ บอกไฟข้ึน รา่ํ สรา งวหิ าร รา่ํ สรางเจดยี ร่าํ สรา งถนนขึ้นดอยสุเทพ
และแตงเปนคํากลอมเดก็
คํากลอมเด็กน้ีพอแม ปูยา ตายาย ในภาคเหนือสมัยกอนมักจะใชขับกลอมสอนลูกหลาน
ขณะอุมเด็กน่ังชิงชาแกวงไกวชา ๆ จนเด็กงวงนอนจึงอุมไปวางบนท่ีนอนหรือในเปลแลวเหกลอมตอ
จนเดก็ หลับสนิท คํากลอ มเด็กนี้จึงเรยี กวา “สิกจุงจาโหน” ตามคาํ ทใี่ ชขน้ึ ตนเพลง
ลักษณะเดนของเพลงกลอมเด็กภาคเหนือ นอกจากจะข้ึนตนดวยคําวา สิกจุงจาโหนแลว
ยังมักจะข้ึนตนดวยคําวา “อ่ือจา” เปนสวนใหญ จึงเรียกเพลงกลอมเด็กนี้วา เพลงอ่ือลูก ทํานอง
และลลี าอ่ือลกู จะเปนไปชา ๆ ดวยนา้ํ เสยี งทมุ เยน็ ตามถอยคาํ ที่สรรมา เพ่ือส่ังสอนพรรณนาถึงความรัก
ความหว งใยลูกนอ ย จนถงึ คาํ ปลอบ คาํ ขู ขณะยังไมย อมหลับถอยคาํ ตาง ๆ ในเพลงกลอ มเด็กภาคเหนือ
จะสะทอนใหเห็นสภาพความเปนอยู สิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมตาง ๆ ของคนในภาคเหนือในอดีต
จนปจจุบันไดเปนอยางดี นับวาเปนประโยชนทางออมท่ีไดรับนอกเหนือจากความอบอุนใจของลูก
ท่ีจะเปน ประโยชนโ ดยตรงของเพลงกลอมเดก็
ตัวอยางเพลงกลอ มเด็กภาคเหนอื
ออื่ อ่อื อือ จา ปอนายแดง สา
แมน ายไปนานอกบา น เก็บบา สานใสโ ถง
เกบ็ ลกู กง ใสว า เกบ็ บา หา ใสป ก
หนวยหนึง่ เก็บไวก ินเมือ่ แลง หนว ยหน่ึงเอาไวข ายแลกขาว
หนว ยหน่ึงเอาไวเปนเปอนเจา ออ่ื อือ จา
เพลงกลอมเดก็ ภาคอสี าน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เปนดินแดนที่กวางขวางและมีประชากรมากท่ีสุด
ในบรรดา 4 ภาคของไทย เพลงกลอมลูกจึงมีหลายสําเนียงถาเปนอีสานตอนเหนือจะมีสําเนียงคลายลาว
ถา เปน อสี านตอนใตจ ะมสี าํ เนียงคลา ยเขมร แตเ พลงกลอ มลูกท่แี พรห ลายและยอมรับวาเปนเอกลักษณ
ของอสี านจะเปน สาํ เนียงของอสี านตอนเหนือ และมกั จะข้ึนตนดว ยคาํ วา “นอนสาหลา ” หรอื “นอนสาเดอ”
หรือ “นอนสาแมเยอ” มีทํานองลีลาเรียบงายชา ๆ และมีสุมเสียงซ้ํา ๆ กันท้ังเพลงเชนเดียวกับ
ภาคเหนือ การใชถ อ ยคาํ มเี สยี งสมั ผสั คลายกลอนสุภาพทั่วไปและมีคําพื้นบานท่ีมีความหมายในเชิงส่ัน
สอนลกู หลานดว ยความรักความผูกพัน ซึ่งมักประกอบดวย 4 สวนเสมอ คือ สวนที่เปนการปลอบโยน
การขูและการขอโดยมุงใหเด็กหลับเร็ว ๆ นอกจากน้ีก็จะเปนคําที่แสดงสภาพสังคมดานตาง ๆ เชน
166
ความเปน อยู บรรยากาศในหมบู าน คานิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เปน ตน คุณคา ของเพลงกลอ มเดก็
อสี านจงึ มีพรอมทงั้ ทางดา นจิตใจ และดา นการศกึ ษาของชาติ
ตวั อยาง เพลงกลอมเดก็ ของภาคอีสาน
นอนสาหลา หลบั ตาสามเิ ยอ
แมไปไฮ หมกไข มาหา
แมไปนา จี่ปา มาปอน
แมเล้ยี งมอน ในปา สวนมอ น
เพลงกลอมเดก็ ภาคใต
ในบรรดาภาษาถ่ิน ภาคใตเปนภาษาท่ีคนไทยสวนใหญรูจักมากที่สุด เพราะมีสําเนียงท่ีเปน
เอกลักษณชัดเจนท่ีสุด เชนเดียวกับเพลงกลอมเด็กภาคใตท่ีมีทํานองและลีลาเดนเปนของตนเอง
เพลงกลอ มเด็กภาคใตมีชื่อเรยี ก 4 อยา ง คอื เพลงรอ งเรือ เพลงชานองหรือเพลงชา นอง เพลงเสภาและ
เพลงนองนอน ท่ีเรียกเพลงรองเรือ สันนิษฐานวานาจะเปนลักษณะของเปลท่ีใชผาผูกมีรูปราง
คลา ยเรือ เพลงชานองหรอื ชานอง คาํ วา ชา มาจากคําวา บูชา ซ่ึงแปลวาสดุดีหรือกลอมขวัญชานองหรือ
ชานอง จึงหมายถึงการสดุดีแมซื้อ ซึ่งเชื่อกันวาเปนเทวดาหรือผีประจําทารก เพลงเสภาเปนเพลงที่ใช
โตคารมกันเปนบทปฏิพากยแสดงปฏิภาณไหวพริบ นํามาใชเปนเพลงกลอมลูกนองนอน เปนการมุง
กลอมนองหรือกลอมลูกโดยตรง ลักษณะเดนของเพลงกลอมลูกภาคใตไมวาจะเปนเพลงประเภทใด
มักจะขน้ึ ตนดวยคําวา “ฮา เออ” หรือคาํ วา “เหอ” แทรกอยูเสมอในวรรคแรกของบทเพลง แลวจึง
ขบั กลอ มไปชา ๆ เหมือนภาคอ่ืน ๆ จากหลักฐานการคนควาเพลงกลอมเด็กภาคใต ของศาสตราจารย
สทุ ธิวงศ พงศไ พบูลย ระบุไวว าเพลงกลอ มเด็กภาคใตมจี ดุ ประสงคและโอกาสการใชกวา งขวาง จํานวน
เพลงจงึ มมี ากถงึ 4,300 เพลง นับวา มากกวา ทุกภาคในประเทศ
ตวั อยางเพลงกลอมเดก็ ภาคใต
...รอ งเรอื เหอ รองโรก ันทัง้ บา น
ไมใชเ รื่องของทา น ทา นเหอ อยา เกบ็ ไปใสใจ
รอ งเรือชาหลาย ไมเ กย่ี วไมพ านไปหาใคร
ทา นอยาเกบ็ มาใสใจ รองเรอื ชาหลาน...เอง
...โผกเปลเหอ โผกไวใตต น ชมพู
ใหแ หวนชายไปทัง้ คู บอกพอบอกแมว าหาย
พอวาไมรับรูบ ญุ แมว าไมรบั รดู าย
บอกพอ บอกแมวา แหวนหาย ติดมือพช่ี ายไป
....................................
167
กจิ กรรมเพลงกลอมเดก็
1. ใหผูเรียนคนควาบทเพลงกลอมเด็กท่ีมีอยูในทองถ่ินของตน บันทึกไวพรอมท้ังแปล
ความหมายหรืออธิบายคาํ ภาษาถ่นิ น้นั ๆ
บทเพลงกลอ มเดก็
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
168
บทท่ี 7
ภาษาไทยกับชอ งทางการประกอบอาชพี
สาระสาํ คญั
ภาษาไทยเปน ภาษาประจําชาติ เปนภาษาท่ใี ชส ่ือสารในชีวติ ประจําวัน อีกท้งั ยงั เปน ชอ งทาง
ทสี่ ามารถนาํ ความรภู าษาไทยไปใชในการประกอบอาชพี ตา ง ๆ ได โดยใชศ ลิ ปะทางภาษาเปน ส่ือนํา
ผลการเรียนรทู ค่ี าดหวงั
เม่อื ศกึ ษาจบบทที่ 7 แลวคาดหวังวาผเู รยี นจะสามารถ
1. มีความรู ความเขาใจ สามารถวิเคราะหศ กั ยภาพตนเอง ถงึ ความถนัดในการใชภาษาไทย
ดานตา ง ๆ ได
2. เห็นชอ งทางในการนาํ ความรูภาษาไทยไปใชในการประกอบอาชพี
3. เห็นคุณคาของการใชภ าษาไทยในการประกอบอาชพี
ขอบขา ยเน้อื หา
เรื่องที่ 1 คุณคา ของภาษาไทย
เร่อื งที่ 2 ภาษาไทยกบั ชอ งทางการประกอบอาชีพ
เรอื่ งที่ 3 การเพิม่ พนู ความรแู ละประสบการณทางดานภาษาไทยเพอื่ การประกอบอาชพี
169
เร่ืองที่ 1 คณุ คา ของภาษาไทย
ภาษาไทยเปนภาษาประจําชาติ เปนภาษาท่ีใชในการส่ือสารในชีวิตประจําวัน เปนเคร่ืองมือ
ในการเรยี นรู และการนําไปใชในการประกอบกจิ การงาน ทงั้ สวนตน ครอบครวั กจิ กรรมทางสังคมและ
ประเทศชาติ อีกทั้งยังเปนสวนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ดังน้ัน การเรียนรูภาษาไทย จึงตองมุงใหเกิด
การเรียนรูเพ่ือพัฒนาทักษะดานตาง ๆ อยางถูกตองและเหมาะสม ทั้งทักษะการอาน การดู การฟง
การพูดและการเขียน โดยเฉพาะทักษะการพูดและการเขียน เมื่อศึกษาใหลึกลงไปและฝกทักษะ
ใน 2 ดานนี้อยางจริงจงั สามารถนาํ ไปสูการประกอบอาชีพได ซึง่ การที่คนไทยจะตระหนักถึงประโยชน
ที่จะไดจ ากการมพี น้ื ฐานภาษาไทยท่ีดี ตอ งรูและเขาใจคณุ คาของภาษาไทยอยา งถองแท
คุณคาของภาษาไทย
เมือ่ กลา วถงึ คุณคา ของภาษาไทย จะพบวา ภาษาไทยมีคุณคา ในดา นตาง ๆ ดงั น้ี
1. คุณคาทางวัฒนธรรม ภาษาของแตละชาติ ยอมแสดงใหเห็นวัฒนธรรมของชาตินั้น ชาติท่ี
สามารถประดิษฐภาษาและตัวอักษรเปนของตนเองไดแสดงวาเปนชาติท่ีมีความเจริญทางวัฒนธรรม
คนไทย ก็เชนกนั เราสามารถประดิษฐต วั อกั ษรเพือ่ ใชใ นภาษาของตนเอง เพือ่ เปน การส่ือสารที่สามารถ
จดจําจารึกเร่ืองราวตาง ๆ ใหคนรุนหลังไดทราบ เปนภูมิรูทางประวัติศาสตรและวัฒนธรรมมาต้ังแต
ครัง้ กรงุ สโุ ขทยั ในสมยั พอ ขนุ รามคาํ แหงมหาราช
การท่ีคนรุนใหมไดทราบถึงวิถีชีวิตและความเปนอยูของคนรุนกอน ไดมีโอกาสอานวรรณคดี
วรรณกรรมโบราณ จนสามารถสรางสรรคพัฒนางานวรรณกรรมท้ังรอยแกวและรอยกรองใหม ๆ ได
โดยอาศัยศึกษาพนื้ ฐานมาจากวรรณคดี วรรณกรรมโบราณ ซงึ่ มีการสรา งสรรคจากตวั อกั ษรไทยนนั่ เอง
และไดถ ายทอดเปนมรดกทางวัฒนธรรมมาจนทุกวนั นี้
2. เปนเคร่ืองมือในการติดตอส่ือสาร ในการดําเนินชีวิตประจําวันและการประกอบอาชีพ
เครื่องมือท่ีจะกอใหเกิดความเขาใจในการติดตอสื่อสารกัน คือ ภาษาเพื่อสื่อสารความตองการ
ความรูส กึ นึกคดิ ใหอกี ฝายทราบตรงกัน โดยมกี ระบวนการสอื่ สาร คอื
ผสู งสาร สาร ชอ งทาง ผรู บั สาร
3. เปนเครื่องมือในการเรียนรูและแสวงหาความรู ภาษาไทยจัดเปนวิชาพื้นฐาน
เพอ่ื การแสวงหาความรใู นวิชาอนื่ ๆ ตอ ไป หากผูเรียนมีความรูพ้ืนฐานทางภาษาไทยท่ีดีพอ ก็จะทําให
การเรียนรูในวิชาอ่ืน ๆ มีประสิทธิภาพท่ีดีตอไปดวย การมีความรูพ้ืนฐานภาษาไทยที่ดี คือ
การมีความสามารถในการเขียน สะกดคําไดถูกตอง อานและออกเสียงไดถูกตองตามอักขรวิธีไทย
รวมทงั้ พูดและใชค ําไดถกู ตอ งตรงกับความหมายของคํา
4. เปนเครือ่ งมือในการสรางความเขาใจอันดีตอกัน ประเทศไทยแบงเปน 5 ภาค แตละภาค
ลวนมีภาษาของตนเองท่ีเรียกวา “ภาษาถิ่น” โดยมีภาษาไทยภาคกลางเปนภาษาของทางราชการ
170
ทําใหก ารสอ่ื สารทําความเขาใจในเร่ืองตาง ๆ ทั้งเรื่องการศึกษา เร่ืองราชการ และการส่ือสารมวลชน
มคี วามเขาใจท่ีตรงกัน เพราะใชภาษาไทยภาคกลางเปน ภาษาสือ่ สาร
5. เปนเคร่ืองมือสรางเอกภาพของชาติ ภาษาไทยเปนภาษาของชาติไทยที่เปนเอกลักษณ
ของความเปนชาติไทย แสดงถึงความเปนชาติที่มีอารยธรรม มีความเจริญรุงเรืองทางวัฒนธรรม
จึงมีภาษาและตัวอักษรเปนของตนเอง และการที่ภาษาไทยภาคกลางเปนภาษาของทางราชการ
จงึ เปนสอ่ื รวมใจใหคนไทยในแตล ะภาคไดต ิดตอ ส่อื สารแลกเปลย่ี นวัฒนธรรม ความรู และขาวสารขอมลู
ถงึ กนั ได มีความระลกึ อยใู นใจถงึ ความเปนคนไทย เปน เช้ือชาติเผาพันธุเดยี วกัน
6. เปนเครื่องจรรโลงใจ ภาษาไทยเปนภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต 5 เสียง เม่ือนําไปประสม
เปนคํา จะทําใหเกดิ เปนเสียงสูงต่ําไดถ ึง 5 เสยี ง กอใหเกิดความไพเราะของเสียงคํา เม่ือนําไปแตงเปน
บทประพันธประเภทตางๆ ไมวาจะเปนเพลง โคลง ฉันท กาพย กลอน นิยาย นิทาน กอใหเกิด
ความจรรโลงใจแกผ ูฟง และผอู า นไดอ ยางดี
จากคุณคาทัง้ 6 ประการของภาษาไทย จะเหน็ ไดว าภาษาไทยไมเ พียงเปนภาษาเพื่อนําไปใชใน
การแตงคาํ ประพันธประเภทตาง ๆ หรือเปนเพียงภาษาเพื่อการอาน การดูและการฟง แตยังเปน
ภาษาเพ่ือการพูดและการเขียน หากคนไทยทุกคนไดศึกษาภาษาไทยใหถองแท มีความรูความเขาใจ
ทางภาษาไทยอยางถูกตองลึกซึ้ง สามารถใชภาษาไดดีทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน จะทําใหสามารถ
สรา งสรรคสง่ิ ใหม ๆ ทางภาษาอันจะนําไปสูก ารประกอบอาชีพตา ง ๆ โดยใชภ าษาเปนพนื้ ฐานของอาชพี
ไดอยางดี และมีโอกาสประสบความสําเรจ็ ในอาชพี นน้ั ๆ ได
เร่อื งท่ี 2 ภาษาไทยกบั ชองทางการประกอบอาชพี
ในปจจุบันมีอาชีพมากมายท่ีคนในรุนกอน ๆ อาจมองขามความสําคัญไป แตกลับเปนอาชีพ
ท่ีทํารายไดอยางงามแกผูประกอบอาชีพนั้น และกลายเปนอาชีพที่เปนที่นิยมของคนไทยในปจจุบัน
เปน อาชีพทใี่ ชภาษาไทยเปนพน้ื ฐาน โดยเฉพาะใชท ักษะการพูด และการเขยี นเปนพ้ืนฐาน ดงั น้ี
1. อาชีพทีใ่ ชทักษะการพูดเปน ชอ งทางในการประกอบอาชีพ
การพูดเปนทักษะสําคัญอีกทักษะหนึ่งที่ตองอาศัยวรรณศิลป คือ ศิลปะการใชภาษา
ที่จะสามารถโนมนาวใจ กอใหเกิดความนาเช่ือถือ เห็นคลอยตาม สรางสัมพันธภาพท่ีดีระหวางผูพูด
และผูฟง หรือผูฟงตอสวนรวม หรือโนมนาวใจใหใชบริการหรือซ้ือส่ิงอุปโภคบริโภคในทางธุรกิจได
การพดู จึงเปน ชอ งทางนําไปสูอ าชพี ตา ง ๆ ได ดังน้ี
1.1 อาชพี ดา นส่ือสารมวลชนทุกรปู แบบ ทง้ั ในวงราชการ เอกชน และวงการธรุ กจิ ไดแ ก
1.1.1 อาชีพนักโฆษณาประชาสัมพันธ ท้ังการโฆษณาสินคาและบริการ โฆษณา
การจัดงานตาง ๆ ของชุมชน หนวยงานราชการ โดยใชรถประชาสัมพันธ โดยการประชาสัมพันธ
ผา นเสียงตามสาย โดยการพบปะตดิ ตอ ตอบคาํ ถามตาง ๆ เปนข้ันตน และในข้ันที่สูงขึ้นไป คือ การใช
ทักษะการพดู และเขียนประกอบกันเพอื่ คดิ หาถอยคําในเชิงสรา งสรรคในการโฆษณาประชาสมั พันธ
171
ผานส่ือตาง ๆ ที่เรยี กวา การโฆษณาสนิ คา และบริการ
1.1.2 อาชีพนักจัดรายการวิทยุ เปนอีกอาชีพหน่ึงที่ตองใชทักษะในการพูด การมี
โวหาร และวาจาคารมท่ีคมคาย ลึกซ้ึงกินใจ เพ่ือใหผูฟงติดตามรายการอยางตอเนื่องดวยความนิยม
มที ง้ั นกั จัดรายการวิทยชุ มุ ชน วิทยเุ อกชน และรายการวิทยุของทางราชการ ตลอดจนการใชภาษาพูด
เพอื่ สรางความเปน นา้ํ หนง่ึ ใจเดียวกนั ของผฟู ง เชน นักจดั รายการวทิ ยขุ องทางราชการ
1.1.3 อาชีพพิธีกร ในปจจุบันอาชีพพิธีกรเปนอีกอาชีพหนึ่งท่ีสามารถทํารายได
อยา งงามใหแกผูป ระกอบอาชพี ไมว า จะเปนพิธีกรในชุมชนที่ทําหนาที่ในงานของราชการและงานของ
เอกชน เชน พิธีกรงานประจําปต าง ๆ พธิ ีกรการประกวดนางงามของทอ งถนิ่ พิธกี รงานประเพณสี ําคญั ทาง
ศาสนา พธิ กี รงานมงคลสมรส พิธีกรงานอุปสมบท พิธีกรงานศพหรืองานพระราชทานเพลิงศพ และ
พิธีกรงานพเิ ศษในโอกาสตาง ๆ ของทางราชการ
2. อาชีพที่ใชทกั ษะการเขยี นเปนชองทางในการประกอบอาชีพ
การเขียนเปนทักษะสําคัญอีกทักษะหน่ึงท่ีเปนชองทางในการนําภาษาไทยไปใชประโยชน
ในการประกอบอาชีพตาง ๆ ได การจะใชภาษาเขียนเพื่อประโยชนในการประกอบอาชีพก็เชนเดียวกับ
การพูด คือ ตองมีวรรณศิลปของภาษา เพื่อใหสิ่งที่เขียนสามารถดึงดูดความสนใจดึงอารมณ
ความรูสึกรวมของผูอาน โนมนาวใจใหผูอานเห็นคลอยตาม และเพ่ือสรางความบันเทิงใจ รวมทั้ง
สรางความรูความเขาใจแกผูอาน ตลอดถึงความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของสวนรวม อาชีพ
ท่ีสามารถนําทักษะการเขียนภาษาไทยไปใชเพ่ือการประกอบอาชีพไดโดยตรง ไดแก อาชีพ ดังน้ี
2.1 อาชพี ดา นสื่อสารมวลชนทกุ รูปแบบ ทง้ั ในวงราชการ เอกชน และวงการธุรกิจ ไดแก
อาชพี ดงั น้ี
2.1.1 อาชีพผูสื่อขาว ผูเขียนขาว เปนอาชีพท่ีตองใชศิลปะการเขียนและการใชภาษา
ทด่ี ึงดดู ความสนใจของผอู าน
2.1.2 อาชีพผูพิสูจนอักษรและบรรณาธิการ เปนอาชีพท่ีตองมีความรูในการเขียน
การสะกดคํา การใชถ อ ยคําสาํ นวนภาษา สุภาษิต คาํ พังเพยและหลกั ภาษาไทยเปนอยางดี จัดไดวาเปน
อาชพี ท่ชี วยธํารงรกั ษาภาษาไทยไดอาชีพหน่ึง
2.2 อาชีพดานการสรางสรรคงานศิลปะรูปแบบตางๆ ท้ังในวงราชการ เอกชน
และวงการธรุ กิจ ไดแก อาชพี ดังนี้
2.2.1 อาชีพกวี นักเขียน ทั้งการเขียนสารคดี นิยาย เรื่องสั้น การเขียนบทละครเวที
บทละครโทรทัศน บทภาพยนต ผูประกอบอาชีพเหลาน้ี นอกจากมีศิลปะการเขียน และการเลือกใช
ถอยคําภาษามาใชเปนอยางดีตองเปนคนท่ีอานมาก ฟงมาก เพ่ือนําขอมูลที่ไดรับไปใชประโยชน
ในการเขยี นสอ่ื สารสรางความสนุกสนาน บันเทิงใจ จรรโลงใจแกผูอานและควรเปนผูมีความคิดริเริ่ม
สรา งสรรค และจนิ ตนาการเปนองคป ระกอบ จึงจะทาํ ใหอาชพี ทป่ี ระกอบประสบความสาํ เร็จดว ยดี
172
นอกเหนือจากอาชีพท่ีใชภาษาไทยเปนชองทางในการประกอบอาชีพโดยตรงแลว ยังมี
การประกอบอาชีพอื่น ๆ อีก ที่ใชภาษาไทยเปนชองทางโดยออม เพื่อนําไปสูความสําเร็จในอาชีพ
ของตนเอง เชน อาชีพลาม มคั คเุ ทศก เลขานกุ าร นกั แปล และนักฝกอบรม ครู อาจารย เปน ตน
เรื่องท่ี 3 การเพิม่ พนู ความรูแ ละประสบการณท างดา นภาษาไทย
เพอื่ การประกอบอาชพี
ในการนําความรูทางภาษาไทย ทั้งทักษะการพูดและการเขียนไปใชในการประกอบอาชีพนั้น
เพียงการศึกษาในชั้นเรียนและตําราอาจจะยังไมเพียงพอ ผูประกอบอาชีพตองเพ่ิมพูนความรู
และประสบการณดานภาษาและดานตาง ๆ เพอื่ ใหก ารประกอบอาชีพประสบความสาํ เร็จ ดังจะยกตัวอยา ง
อาชีพทใ่ี ชภาษาไทย เปนชอ งทางในการประกอบอาชีพโดยตรง เพอ่ื เปนตวั อยา ง ดงั นี้
1. อาชีพนกั โฆษณา - ประชาสัมพนั ธ
เปนอาชีพที่ผูประกอบการ ตองเพ่ิมพูนความรูในเร่ืองการเขียน และการพูดแบบสรางสรรค
รวมทั้งฝกประสบการณ โดยการฝกเขียนบอย ๆ ตลอดจนการศึกษาดูงานของหนวยงาน หรือบริษัเอกชน
ที่ประสบความสําเรจ็ ในเร่ืองของการโฆษณาและประชาสัมพนั ธ
องคความรทู ่คี วรศกึ ษาเพิ่มเตมิ
ในการเพ่ิมพูนองคความรูในดานการเขียนและการพูด ผูประกอบอาชีพดานน้ี ควรศึกษา
เนื้อหาความรทู จี่ ะนําไปใชใ นการพัฒนาอาชพี ในเรอ่ื งตอไปนี้
1) ศลิ ปะการพูดและศลิ ปะการเขียน เพราะอาชพี นักโฆษณาประชาสัมพันธเปน อาชีพที่ตอง
อาศัยศาสตรทั้งสองดานประกอบกัน ในการพูดนํ้าเสียงตองนุมนวลหรือเราใจข้ึนอยูกับสถานการณ
ของเร่ืองที่จะโฆษณาหรือประชาสัมพันธ รูจักเลือกใชถอยคําที่เปนการใหเกียรติแกผูฟง หรือเคารพ
ขอ มูลท่เี จา ของงานใหมา
2) ระดบั ของภาษา ซ่งึ เปน เรอ่ื งของการศกึ ษาถงึ ความลดหลน่ั ของถอ ยคาํ และการเรยี บเรยี ง
ถอยคําที่ใชตามโอกาส กาลเทศะและความสัมพันธระหวางบุคคลท่ีเปนผูสื่อสารและผูรับสาร ซ่ึงกลุม
บุคคลในสังคมแบงออกเปน หลายกลุม หลายชนชนั้ ตามสภาพอาชพี ถิ่นท่ีอยอู าศัย ฯลฯ ภาษาจึงมีความ
แตกตา งกนั เปนระดับตามกลุมคนทใี่ ชภาษา เชน ถอยคําท่ีใชกับพระภิกษุสงฆและพระราชวงศ อาจใช
ถอยคําอยางหนึ่ง ภาษาของนักเขียนหรือกวีที่ส่ือสารถึงผูอาน ก็อาจจะใชภาษาอีกอยางหน่ึง เปนตน
ดงั น้นั ผใู ชภาษาจงึ ตอ งคาํ นงึ ถงึ ความเหมาะสมและเลอื กใชใ หถ ูกตองเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
ในภาษาไทย จะแบงระดบั ของภาษาเปน 5 ระดบั คอื
2.1) ภาษาระดับพธิ ีการ เปนภาษาทใ่ี ชในงานพระราชพธิ ีหรอื งานพิธขี องรฐั
2.2) ภาษาระดบั ทางการ เปน ภาษาท่ใี ชใ นทป่ี ระชุมทมี่ ีแบบแผนการบรรยาย
การอภปิ รายที่เปนทางการ เปนตน
173
2.3) ภาษาระดับกง่ึ ทางการ เปนภาษาทใ่ี ชใ นการอภิปราย ประชมุ กลุมในหอ งเรียน
การพูดทางวิทยุและโทรทัศน ขา ว และบทความในหนงั สือพมิ พ
2.4) ภาษาระดบั สนทนาท่วั ไป เปน ภาษาทใี่ ชสนทนาท่ัว ๆ ไป กับคนท่ีไมค ุนเคย
มากนกั เชน ครพู ูดกบั ผูเรียน เปนตน
2.5) ภาษาระดับกันเอง เปนภาษาระดบั ท่เี รียกวาระดับภาษาปาก เปนภาษาสนทนา
ของครอบครวั ในหมเู พือ่ นสนทิ หรือญาตพิ ีน่ อง พดู อยใู นวงจาํ กัด
3) เรอ่ื งของน้ําเสยี งในภาษา ซึ่งเปน เรอ่ื งที่เกี่ยวกับอารมณความรูสึกของผูสงสารท่ีปรากฏ
ใหรูสึกหรือเปนรองรอยในภาษาหรือเนื้อหาที่ผูสงสารตองการจะสื่อออกมาเปนความรูสึกแฝง
ที่ปรากฎในการสื่อสาร ซึ่งนักโฆษณาประชาสัมพันธตองระมัดระวังมิใหมีน้ําเสียงของภาษาออกมา
ในทางทไ่ี มพ ึงประสงค หรือสรางความรสู กึ ที่ไมด ีแกผฟู ง
4) ดานการพัฒนาบุคลิกภาพ ในบางคร้ังนักโฆษณา - ประชาสัมพันธตองปรากฎตัวตอ
บุคคลทวั่ ไปในงานตาง ๆ จึงควรตองแตงกายใหสุภาพเรียบรอย เหมาะกับกาลเทศะของสถานท่ีและ
งานท่วั ไป ซึง่ จะชวยสรางความนา เช่ือถือแกผ พู บเหน็ ไดส ว นหน่ึง
5) การพัฒนาองคความรูในตนเอง นักโฆษณา - ประชาสัมพันธ ตองหม่ันแสวงหาความรู
ติดตามขาวสารขอมูลทุกดานอยางสมํา่ เสมอ เพื่อนํามาใชเปนขอมูลในการพัฒนาการโฆษณา -
ประชาสัมพันธใหนาสนใจอยูตลอดเวลา รวมท้ังตองแสวงหาความรูในดานการประเมินผล เพ่ือใช
ประโยชนในการประเมินผลการปฏิบัติหนาที่ของตนเองดวยรูปแบบวิธีการตาง ๆ ท่ีจะกอใหเกิด
การพฒั นาอาชพี ใหดยี ่งิ ขนึ้
แหลงทค่ี วรศกึ ษาเพมิ่ เติม
แหลงท่คี วรศึกษาเพมิ่ เตมิ เพ่ือเพ่ิมพูนความรใู นอาชพี นี้ ไดแก
1) สถาบันฝกอบรมของเอกชน ซึ่งผเู รียนสามารถหาขอมลู รายชอื่ ไดจากอินเตอรเ นต็
2) หนว ยงานของทางราชการ ไดแก กรมประชาสมั พันธ สถาบันสงเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศกึ ษาตามอธั ยาศยั ภาคตาง ๆ
3) สถานศกึ ษาตาง ๆ ของรฐั บาล เชน ผูที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตน ตองศึกษา
ตอในระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย และเขาศกึ ษาตอในระดับอดุ มศกึ ษา คณะนเิ ทศศาสตร คณะวารสาร-
ศาสตร คณะศิลปะศาสตร คณะอักษรศาสตร ถาศึกษาตอใน 2 คณะหลัง ตองฝกอบรมทางอาชีพ
เพิ่มเติมจากสถาบนั ฝก อบรมตา ง ๆ
2. อาชีพนักจดั รายการวทิ ยุ
เปนอาชีพที่ผูประกอบการตองเปนคนที่ตรงตอเวลา มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเปนกลาง
ในการนําเสนอขาวสารขอมูล รูจักแกปญหาเฉพาะหนาและตองเพ่ิมพูนความรูในเร่ืองการเขียนและ
การพดู เพราะการเปน นักจัดรายการวทิ ยุ ผูจัดตองเขียนสคริปทที่จะใชในการดําเนินรายการไดเองและ
พูดตามสครปิ ทไดอยางเปนธรรมชาติ รวมท้ังตองอานมาก ฟงมาก เพื่อเก็บรวบรวมขอมูลไวใช ในการ
174
จัดทํารายการวิทยุ ซึ่งมีสถานท่ีท่ีผูประกอบการสามารถฝกอบรมและศึกษาดูงานไดท้ังของภาครัฐและ
เอกชน
องคความรทู ี่ควรศึกษาเพิ่มเติม
ในการเพ่ิมพูนความรูเพ่ือการเปนนักจัดรายการวิทยุที่ดี ผูประกอบอาชีพดานนี้ควรศึกษา
เนือ้ หาความรทู ี่จะนํามาใชในการพฒั นาอาชพี ในเรือ่ งตอไปนี้
1) ศิลปะการพดู และศลิ ปะการเขียน เพราะเปนอาชพี ทต่ี องอาศยั ศาสตรท งั้ สองดา นประกอบกนั
2) ระดบั ของภาษา ซง่ึ เปนเรอ่ื งของการศกึ ษาถึงความลดหลั่นของถอยคํา และการเรียบเรียง
ถอยคําท่ีใชตามโอกาส กาลเทศะ และความสัมพันธระหวางบุคคลที่เปนผูสงสารและผูรับสาร
ซึ่งกลุมบุคคลในสังคมแบงออกเปน หลายกลุม หลายชนชั้น ตามสภาพอาชีพ ถิ่นที่อยูอาศัย ฯลฯ
ภาษาจึงมีความแตกตางกันเปนระดับตามกลุมคนที่ใชภาษา เชน ถอยคําที่ใชกับพระภิกษุสงฆและ
พระราชวงศ อาจใชถอยคําภาษาอยางหนึ่ง ภาษาของนักเขียนหรือกวีท่ีส่ือสารถึงผูอาน ก็จะใชภาษา
อีกอยา งหนึง่ เปนตน ดงั นนั้ ผูใ ชภาษาจึงตองคํานึงถงึ ความเหมาะสม และเลอื กใชใ หถกู ตองเหมาะสมกบั
กาลเทศะและบคุ คล
ในภาษาไทยจะแบงระดบั ของภาษาเปน 5 ระดบั คอื
2.1 ภาษาระดบั พธิ กี าร เปนภาษาที่ใชในงานพระราชพิธี หรืองานพิธขี องรัฐ
2.2 ภาษาระดับทางการ เปนภาษาที่ใชในท่ปี ระชุมท่ีมีแบบแผน ในการบรรยาย
การอภิปรายท่เี ปนทางการ เปน ตน
2.3 ภาษาระดับกึ่งทางการ เปนภาษาทใ่ี ชในการอภิปราย ประชมุ กลมุ ในหองเรียน การพูด
ทางวิทยแุ ละโทรทศั น ขาว และบทความในหนงั สอื พิมพ เปน ตน
2.4 ภาษาระดับสนทนาท่ัวไป เปน ภาษาท่ใี ชส นทนาทว่ั ๆ ไปกบั คนทไี่ มคุนเคยมากนัก เชน
ครูพดู กบั ผเู รยี น เปนตน
2.5 ภาษาระดับกนั เอง เปน ภาษาระดับท่ีเรียกวาระดับปาก เปนภาษาสนทนาของครอบครัว
ในหมเู พื่อนสนทิ หรือญาตพิ น่ี อ ง พดู อยใู นวงจํากดั
3) เร่ืองของนํ้าเสียงในภาษา ซึ่งเปนเร่ืองที่เก่ียวกับอารมณความรูสึกของผูสงสารที่ปรากฏ
ใหรูสึกหรือเปนรองรอยในภาษาหรือเนื้อหาที่ผูสงสารตองการจะสื่อออกมาเปนความรูสึกแฝง
ท่ีปรากฎในการส่ือสาร ซึ่งนักจัดรายการวิทยุตองระมัดระวังมิใหมีน้ําเสียงของภาษาออกมาในทาง
ทไ่ี มพ งึ ประสงค หรือสรางความรสู กึ ทไ่ี มดีแกผ ูฟง
4) เรื่องของหลักการใชภาษา เชน เร่ืองของคําสรรพนามท่ีเก่ียวกับบุคคล คําลักษณะนาม
คําราชาศพั ท การออกเสยี ง ร ล และการออกเสยี งคาํ ควบกลาํ้
5) ดานการพัฒนาบุคลิกภาพ ในบางครั้งนักจัดรายการวิทยุตองปรากฏตัวตอบุคคลท่ัวไป
ในงานตาง ๆ จึงควรตองแตงกายใหสุภาพเรียบรอย เหมาะกับกาลเทศะของสถานที่และงานท่ีไป
ซง่ึ จะชว ยสรา งความนาเชื่อถือแกผพู บเห็นไดส วนหนง่ึ
175
6) การพัฒนาองคความรูในตนเอง นักจัดรายการวิทยุ ตองหม่ันแสวงหาความรูติดตาม
ขาวสารขอมูลทุกดานอยางสมํ่าเสมอ เพื่อนํามาใชเปนขอมูลในการพัฒนาการจัดรายการวิทยุ
ใหนาสนใจอยูตลอดเวลา รวมทั้งตองแสวงหาความรูในดานการประเมินผล เพื่อใชประโยชน
ในการประเมินผลการปฏบิ ัตหิ นาท่ีของตนเองดว ยรูปแบบวธิ กี ารตา ง ๆ ท่ีจะกอใหเกิดการพัฒนาอาชีพ
ใหดยี ่ิงขึ้น
แหลง ที่ควรศึกษาเพม่ิ เติม
แหลงทคี่ วรศึกษาเพิ่มเติม เพอ่ื เพิ่มพนู ความรูในอาชพี นี้ ไดแก
1. สถาบนั ฝก อบรมของเอกชน ซงึ่ ผเู รยี นสามารถหาขอ มูลรายช่ือไดจ ากอนิ เตอรเน็ต
2. หนว ยงานของทางราชการ ไดแก กรมประชาสมั พันธ สถาบันสงเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศกึ ษาตามอธั ยาศัยภาคตาง ๆ
3. สถานศึกษาตา ง ๆ ของรฐั บาล เชน ผูท่ีจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตน ตองศึกษา
ตอในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเขาศึกษาตอในคณะนิเทศศาสตร คณะวารสารศาสตร
คณะศิลปะศาสตร คณะอักษรศาสตร ถาเขาศึกษาในคณะศิลปะศาสตร หรืออักษรศาสตรตองอบรม
เพม่ิ เติมในเรอื่ งเทคนิคการจัดรายการวิทยเุ พ่มิ เติม
3. อาชีพพิธกี ร
เปนอาชีพที่ผูประกอบอาชีพตองมีพ้ืนฐานความรูในเร่ืองการพูดเปนอยางดี เพราะเปนอาชีพ
ท่ตี องใชการพูดเปนเครื่องมือในการสอื่ สารกบั ผอู ่นื การใชคําพูดและถอ ยคําภาษาจึงเปนเรื่องสําคัญตอ
การสรางความรูส กึ ทดี่ ีหรอื ไมดตี อผฟู ง นอกจากนบี้ ุคลิกภาพและการแตง กายของผูท าํ หนาท่พี ธิ ีกรก็เปน
อีกเร่ืองหนึ่งท่ีจะดึงดูดความสนใจของผูฟง รวมทั้งควรเปนผูท่ีตรงตอเวลา เพื่อเปนความเช่ือถือ
ในวิชาชีพไดส วนหนึ่ง
องคความรูท ี่ควรศกึ ษาเพิ่มเตมิ
ในการเพม่ิ พนู องคค วามรใู นการประกอบอาชีพพิธีกร ควรศึกษาเน้ือหาความรูที่จะนําไปใชใน
การพฒั นาอาชีพ ในเรื่องตอ ไปนี้
1. ศิลปะการพูดหรือศิลปะการใชภาษา เพราะอาชีพพิธีกร เปนอาชีพที่ตองอาศัยศาสตร
(ความรู) และศิลปข องการพูดเปน อยา งมาก ซงึ่ ตอ งอาศยั การฝก ฝนบอ ย ๆ
2. ระดับของภาษา ซ่ึงเปนเรือ่ งของการศึกษาถึงความลดหล่ันของถอยคํา และการเรียบเรียง
ถอยคําที่ใชตามโอกาส กาลเทศะ และความสัมพันธระหวางบุคคลที่เปนผูสงสารและผูรับสาร
ซ่ึงกลุมบคุ คลในสังคมแบง ออกเปนหลายกลมุ หลายชนชั้นตามสภาพอาชีพถน่ิ ทอ่ี ยูอาศยั ฯลฯ ภาษาจึงมี
ความแตกตางกันเปนระดับตามกลุมคนท่ีใชภาษา เชน ถอยคําท่ีใชกับพระภิกษุสงฆและพระราชวงศ
อาจใชถอยคําภาษาอยางหน่ึง ภาษาของนักเขียนหรือกวีที่ส่ือสารถึงผูอาน ก็จะใชภาษาอีกอยางหน่ึง
เปนตน ดงั น้ัน ผูใชภาษาจงึ ตอ งคํานึงถงึ ความเหมาะสม และเลือกใชใหถูกตองเหมาะสม กับกาลเทศะ
และบุคคล
176
ในภาษาไทยจะแบง ระดบั ของภาษาเปน 5 ระดบั คอื
2.1 ภาษาระดบั พิธีการ เปนภาษาที่ใชในงานพระราชพิธี หรอื งานพิธขี องรัฐ
2.2 ภาษาระดบั ทางการ เปนภาษท่ีใชในท่ปี ระชุมท่ีมแี บบแผน ในการบรรยาย
การอภปิ รายทเ่ี ปนทางการ เปนตน
2.3 ภาษาระดบั กง่ึ ทางการ เปน ภาษาทใ่ี ชในการอภิปราย ประชุมกลุมในหองเรียน
การพูดทางวิทยุและโทรทศั น ขาว และบทความในหนังสอื พมิ พ เปนตน
2.4 ภาษาระดบั สนทนาทวั่ ไป เปนภาษาที่ใชส นทนาทั่ว ๆ ไปกับคนท่ีไมคนุ เคยมากนัก เชน
ครูพดู กับผเู รยี น เปน ตน
2.5 ภาษาระดบั กันเอง เปน ภาษาระดบั ท่ีเรียกวา ระดบั ปากเปนภาษาสนทนาของครอบครัว
ในหมูเ พื่อนสนทิ หรอื ญาติพ่นี องพูดอยใู นวงจาํ กดั
3. เรอ่ื งของน้ําเสียงในภาษา ซ่ึงเปนเร่ืองท่ีเก่ียวกับอารมณ ความรูสึกของผูสงสารที่ปรากฏ
ใหรูสึก หรือเปนรองรอยในภาษา หรือเนื้อหาท่ีผูสงสารตองการจะส่ือออกมา เปนความรูสึกแฝง
ทปี่ รากฎในการสือ่ สาร
4. เรื่องของหลักการใชภาษา เชน เรื่องของคําสรรพนามที่เกื่ยวกับบุคคล คําลักษณะนาม
คําราชาศัพท การออกเสียง ร ล และการออกเสยี งคาํ ควบกลํา้
5. เรอ่ื งของการพัฒนาบคุ ลิกภาพและการแตงกาย ผูทําหนาที่พิธีกร เปนผูที่ตองปรากฏกาย
ตอหนาคนจํานวนมาก บุคลิกภาพและการแตงกายจึงเปนเรื่องสําคัญท่ีจะปรากฏเปนสิ่งแรกใหผูท่ี
พบเห็นเกดิ ความประทับใจหรอื ไม ถา ประทับใจผูคนจะจดจอรอฟงการพูดเปนประการตอมา ถาผูพูด
สามารถพดู ไดป ระทบั ใจ จะกอ เกดิ เปน ความนิยมชมชอบตามมาและจะกอใหเกิดเปนความสําเร็จของ
อาชพี ในท่ีสดุ
6. ดานการพัฒนาองคความรูในตนเอง พิธีกรตองหมั่นแสวงหาความรูท่ีเกี่ยวของกับ
การประกอบอาชีพ เพ่ือนําไปสูการพัฒนาอาชีพของตนเอง เชน เรื่องของการวัดผลประเมินผล
การทําหนา ทข่ี องตนเองดวยรูปแบบวิธีการตา ง ๆ ซ่งึ จะกอ ใหเ กดิ การพัฒนาอาชพี ใหด ยี ่งิ ข้นึ
แหลงทคี่ วรศึกษาพ่มิ เตมิ
แหลง ท่ีควรศึกษาเพม่ิ เตมิ เพอ่ื เพิ่มพนู ความรูใ นอาชีพน้ี ไดแ ก
1. สถาบันฝก อบรมของเอกชน ซึง่ ผูเรยี นสามารถหาขอ มลู รายช่อื ไดจากอนิ เตอรเนต็
2. หนว ยงานของทางราชการ ไดแ ก กรมประชาสมั พนั ธ สถาบนั สงเสริมการศกึ ษานอกระบบ
และการศกึ ษาตามอธั ยาศัยภาคตา ง ๆ
3. สถานศกึ ษาตาง ๆ ของรัฐบาล เชน ผูที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตน ตองศึกษา
ตอในระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย และเขาศึกษาตอในระดับอุดมศึกษา คณะนิเทศศาสตร คณะวารสาร-
ศาสตร คณะศลิ ปศาสตร คณะอักษรศาสตร ถาเขาศึกษาในคณะศิลปศาสตรหรืออักษรศาสตรตองอบรม
เพิ่มเติมในเร่ืองเทคนคิ การจัดรายการวิทยเุ พิม่ เติม
177
กิจกรรมทายบท
กจิ กรรมที่ 1 ใหผ เู รียนสรปุ คุณคาของภาษาไทยมาพอสงั เขป
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
กจิ กรรมท่ี 2 ใหผ เู รียนตอบคําถามตอไปน้สี น้ั ๆ ใหไดใ จความ
1. ภาษาไทยเปน มรดกทางวฒั นธรรมอยา งไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. ภาษาไทยกอ ใหเ กดิ ความจรรโลงใจไดอ ยา งไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
3. อาชพี ใดตอ งอาศยั การพดู เปนชอ งทางในการประกอบอาชีพ
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
4. อาชพี ใดตองอาศยั การเขียนเปนชอ งทางการประกอบอาชีพ
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
5. ความรูแ ละทักษะเรือ่ งใดบางท่ีผปู ระกอบอาชพี พิธกี รตองเรยี นรแู ละฝก ฝนเพม่ิ เตมิ
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
178
กจิ กรรมที่ 3 จงวงกลมลอมรอบขอท่ถี ูกตอ งทสี่ ดุ
1. อาชพี ใดทจ่ี ัดเปนอาชีพทใี่ ชภ าษาไทยในทางสรา งสรรคแ ละเปน ศลิ ปะรปู แบบหนึ่ง
ก. กวี
ข. พธิ ีกร
ค. นกั จัดรายการวทิ ยุ
ง. นกั ประชาสมั พันธ
2. อาชพี ใดที่ตอ งใชค วามสามารถท้ังการพูดและการเขียน
ก. บรรณาธกิ าร
ข. นกั เขยี นสารคดี
ค. นกั พสิ จู นอ กั ษร
ง. นกั จดั รายการวทิ ยุ
3. อาชีพใดท่ีตอ งอาศัยความสามารถในการพูดและตอ งมบี คุ ลกิ ภาพท่ีดี
ก. พิธกี ร
ข. นักเขียนบทโทรทศั น
ค. ผสู อ่ื ขา วหนงั สือพิมพ
ง. นกั โฆษณา - ประชาสัมพนั ธ
4. อาชีพใดทต่ี องมคี วามสามารถในการเขียนเปนพเิ ศษ
ก. พธิ กี ร
ข. นกั เขยี น
ค. บรรณาธิการ
ง. นกั จดั รายการวทิ ยุ
5. การศึกษาในสาขาใดทําใหส ามารถประกอบอาชพี ท่ใี ชภาษาเพ่อื การสอ่ื สารมวลชนได
ก. ครุศาสตร
ข. ศลิ ปะศาสตร
ค. นเิ ทศศาสตร
ง. อกั ษรศาสตร
179
เฉลยแบบฝกหัด
บทท่ี 1 เรอ่ื งการฟง การดู
กิจกรรมที่ 1 ใหผ เู รียนตอบคาํ ถามตอ ไปนี้
1.1 การฟงและการดู หมายถงึ การที่มนษุ ยร ับรเู รอ่ื งราวตาง ๆ จากแหลง ของเสียงหรือภาพ
หรือเหตุการณซึ่งเปนการฟงจากผูพูดโดยตรง หรือฟงและดูผานอุปกรณหรือส่ิงตาง ๆ แลวเกิด
การรบั รูและนําไปใชประโยชนไ ดโ ดยตอ งศึกษาจนเกดิ ความถูกตอง วองไว ไดป ระสทิ ธิภาพ
1.2 จดุ มงุ หมายของการฟง และการดู
1. ฟง เพื่อจับใจความสําคัญไดวาเรื่องท่ีฟงนั้นเปนเรื่องเกี่ยวกับอะไร เกิดข้ึนท่ีไหน
เมื่อไร หรอื ใครทาํ อะไรทีไ่ หน เม่อื ไร
2. ฟง เพ่ือจับใจความโดยละเอียด ผูฟงตองมีสมาธิในการฟง มีการบันทึกยอ เพ่ือชวย
ความจํา
3. ฟงและดู เพ่ือความเพลิดเพลิน ไดแก การฟงเพลง ฟงดนตรี ดูภาพยนตร ดูภาพ
สวยงาม ฟง นทิ าน เปนตน
กจิ กรรมที่ 3 เลอื กคาํ ตอบทีถ่ ูกตองทส่ี ุดเพียงคําตอบเดยี ว
1. ก 2. ง 3. ค 4. ข 5. ก
เฉลย
บทท่ี 2 การพดู
กจิ กรรมที่ 1 ใหผูเรยี นเลือกคาํ ตอบทถี่ ูกทส่ี ดุ เพียงขอเดียว
1. ง 2. ข 3. ข 4. ค 5. ค
กิจกรรมท่ี 2 ใหผ เู รยี นยกตัวอยา งการกระทําทไี่ มม ีมารยาทในการพูดมา 5 ตัวอยา ง
1. พดู ใหรา ยผอู ื่น
2. พดู หยาบคาย
3. พูดยกตนขม ทา น
4. พูดดดุ นั พดู เสียงดัง
5. พูดไมถกู กาลเทศะ
180
เฉลย
บทที่ 3 การอาน
กิจกรรมท่ี 1
1. การอา นในใจมจี ุดมุง หมาย คือ
1) จบั ใจความไดถ ูกตอ งรวดเร็ว
2) เกิดความรู ความเขา ใจ และความคดิ
3) ใชเวลาวางใหเ ปนประโยชน
4) ถา ยทอดความรใู หผ ูอ นื่ ได
2. การอานออกเสียงมีหลกั การ
1) ออกเสยี งถูกตอ งชัดเจน
2) เสยี งดังใหผ ูฟ ง ไดยนิ
3) เปน เสยี งพดู โดยธรรมชาติ
4) เขาถงึ ลักษณะของเนือ้ เรอ่ื ง
5) รูจกั ทอดจงั หวะและหยดุ หายใจ
3. จงยกตวั อยา งการอา นออกเสียงท่ีเปน ทางการ คือ
การอานในชน้ั เรียน อานในที่ประชมุ อา นรายงาน อา นคําปราศรัย อานสารในโอกาสทสี่ ําคญั ตาง ๆ
กิจกรรมท่ี 2 การนําขอความหรอื ประโยคที่เปน หวั ใจของเร่ืองออกมา
กิจกรรมท่ี 3 วิทยุ โทรทศั น เทปเสียง วีดทิ ศั น ซีดี คอมพวิ เตอร อนิ เทอรเนต็
กิจกรรมที่ 4 การอานเพอ่ื การวิเคราะหวจิ ารณ เปน การอธบิ ายลกั ษณะของงานเขียน โดยแยกแยะ
รายละเอียดสิง่ ทสี่ าํ คัญของงานเขียนนั้นออกมาใหเ ดนชดั เพือ่ ชีใ้ หเหน็ สว นทง่ี ดงาม หรอื จดุ บกพรอง
ทแ่ี ฝงอยเู พอ่ื ใหเห็นคณุ คา ของหนังสือเลม นัน้
การวจิ ารณห นงั สือ เปน การหาความรปู ระเภท และลกั ษณะของงานเขียนเรือ่ งน้นั ๆ ใหเ ขาใจ
กอนวิจารณ มีการแยกประเด็นขอดี ขอบกพรองที่ควรนํามากลาวถึงไวตางหากใหชัดเจน
และเปรียบเทียบกบั ผลงานของนักเขียนทีเ่ ขียนเรือ่ งในแนวเดยี วกนั
กจิ กรรมท่ี 5 มารยาทในการอา น มดี ังน้ี
1. ไมอา นออกเสียงดังในทที่ ีต่ อ งการความสงบ
2. ไมท าํ ลายหนังสือ โดยขูด ขดี พบั หรอื ฉกี สวนท่ตี องการ
3. ไมควรอา นเรอื่ งทเ่ี ปนสว นตวั ของผอู นื่
4. อา นอยางตัง้ ใจ มีสมาธิ และไมทาํ ลายสมาธิผูอ่นื
5. เม่ืออา นหนงั สือเสรจ็ แลวควรเก็บหนังสอื ไวท ี่เดิม
181
เฉลย
บทท่ี 5 หลักการใชภ าษา
กิจกรรมท่ี 1 แยกคําตอไปน้ตี ามตาราง
คาํ ประสม ผลไม พลเรือน นพเกา
คาํ สมาส รฐั บาล ศลิ ปกรรม รูปธรรม มหาชน อคั คีภยั พระเนตร พทุ ธกาล
คหกรรม ภมู ิศาสตร
คําสนธิ วิทยาลัย สญั ญาณ นโยบาย
กิจกรรมที่ 2 ใหผูเ รยี นพิจารณาประโยคตอ ไปน้ีวาเปน ประโยคชนิดใด
1. ประโยคความเดยี ว
2. ประโยคความซอ น
3. ประโยคความเดยี ว
4. ประโยคความรวม
5. ประโยคความเดียว
กิจกรรมที่ 5 จบั คูสํานวนใหตรงกบั ความหมาย 5. ก 6. ญ
1. ฒ 2. ฉ 3. ซ 4. จ 11. ฎ 12. ช
7. ฐ 8. ฑ 9. ณ 10. ข
กิจกรรมที่ 6 เขียนคาํ พงั เพยใหตรงกับความหมาย
1. ราํ ไมดโี ทษปโ ทษกลอง
2. มือไมพายเอาเทา ราน้ํา
3. ขี่ชา งจับตกั๊ แตน
4. ฟนฝอยหาตะเข็บ
5. กระเชอกนั รวั่
กจิ กรรมท่ี 7
1. กลอนสุภาพ
2. กาพยย านี 11
182
เฉลย
บทที่ 6 วรรณคดีและวรรณกรรม
1. การพนิ ิจ หมายถงึ การพจิ ารณาตรวจสอบ พรอมทัง้ วเิ คราะหแ ยกแยะและประเมินคาได
2. หลกั เกณฑใ นการพนิ ิจวรรณคดีและวรรณกรรม
1) ความเปนมาหรือประวัตหิ นังสอื และผแู ตง
2) ลกั ษณะคําประพันธ
3) เรอื่ งยอ
4) เนอ้ื เร่ือง
5) แนวคดิ จดุ มุง หมาย
6) คุณคาของวรรณคดแี ละวรรณกรรม
3. เพลงพื้นบาน หมายถงึ เพลงทีเ่ กดิ จากคนทอ งถน่ิ ตา ง ๆ ท่คี ิดรปู แบบการเลน
ทว งทาํ นอง ภาษาเรียบงายไมซ ับซอ น
4. เพลงพื้นบาน จะแบงเปนภาคตามภูมิศาสตร คือ เพลงพ้ืนบานภาคกลาง เพลงพ้ืนบาน
ภาคเหนอื เพลงพื้นบานภาคใต และเพลงพื้นบานภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ
5. –
6. 1. ข 2. ก 3. ข 4. ก 5. ค
6. ค 7. ค 8. ค 9. ง 10. ง
เฉลย
บทท่ี 7 ภาษาไทยกับชอ งทางการประกอบอาชีพ
กิจกรรมท่ี 1 ใหผูเ รียนสรปุ คุณคา ของภาษาไทยมาพอสงั เขป
คณุ คาของภาษาไทยมีหลายประการ ดงั นี้
1. คณุ คา ทางวฒั นธรรม ภาษาไทยเปน ภาษาทมี่ ีทง้ั ภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งเขียนโดยใช
ตัวอักษรของไทยที่ประดิษฐข้ึนใชเองโดยพอขุนรามคําแหงมหาราชในสมัยสุโขทัย ซึ่งการที่ชาติใด
ก็ตามมีอักษรในภาษาใชเองได แสดงวาชาติน้ันเปนชาติที่มีวัฒนธรรมสูง มีความเจริญ จึงมีอักษร
ในภาษาใชเ อง และถอื เปน มรดกทางวัฒนธรรมที่ใชสบื ทอดมาจนทุกวันน้ี
2. เปนเครื่องมือในการติดตอสื่อสารของคนในชาติ เพราะประเทศไทยมีวัฒนธรรมและ
ภาษาถิ่นแตกตางกันใน 5 ภูมิภาค โดยมีภาษาไทยภาคกลางเปนภาษาเพื่อการสื่อสารของคน
ทั้ง 5 ภูมิภาค เปน ภาษาราชการ
183
3. เปนเครอ่ื งมือในการเรียนรแู ละแสวงหาความรู ในการเรยี นรวู ชิ าอื่น ๆ หรอื เรื่องราวตา ง ๆ
ตองอาศยั ภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งบางครง้ั เรียกภาษามาตรฐาน เปน ภาษาในการเรยี นรูว ชิ าอ่ืน ๆ ทั้งการ
อานและการเขยี น
4. เปน เครอื่ งมอื ในการสรางความเขาใจอันดีตอ กันของคนในทกุ ภมู ภิ าค
5. เปนเคร่ืองมือในการสรางเอกภาพของชาติ เพราะภาษาไทยภาคกลางเปนภาษาที่ใช
ในการสื่อสารความเขาใจของคนในภูมิภาคตาง ๆ ซึ่งเปนสื่อรวมใจใหคนไทยในแตละภาค
ไดติดตอ สือ่ สารแลกเปล่ียนความรู ขาวสาร ขอมูล และการแลกเปล่ยี นวฒั นธรรม ทําใหตระหนักระลึก
ถึงความเปน เช้อื ชาตเิ ผาพนั ธุเดยี วกัน
6. เปน เคร่อื งจรรโลงใจ ภาษาไทยเปนภาษาดนตรี มเี สยี งวรรณยกุ ต 5 เสยี ง ทําใหภาษาไทย
มเี สยี งสูง ตา่ํ ไพเราะ เม่ือนํามาแตงเปนคําประพนั ธ ไมวาจะเปน โคลง ฉันท กาพย กลอน จึงกอใหเกิด
ความจรรโลงใจ ความบันเทิงใจ
กิจกรรมที่ 2 ใหผ ูเรยี นตอบคาํ ถามตอไปนีส้ ้ัน ๆ ใหไ ดใจความ
1. ภาษาไทยเปนมรดกทางวัฒนธรรมอยางไร
ภาษาไทยเปนภาษาทีม่ อี กั ษรเปนของตนเอง ท้ังภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งชาติที่สามารถ
ประดิษฐอักษรในภาษาใชเองได มีแตชาติที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมเทานั้น จึงจะมีอักษรในภาษา
เปนของตนเองและคนไทยไดใชสบื ทอดมาจนทุกวันน้ี
2. ภาษาไทยกอใหเกิดความจรรโลงใจไดอยางไร
ภาษาไทยเปนภาษาทมี่ วี รรณยุกตเ พอ่ื ผันใหคําในภาษามเี สยี งสูง ตา่ํ ไดถ ึง 5 เสยี ง ทําให
ภาษาไทยเปน ภาษาดนตรี เมอ่ื นํามาแตงเปนคําประพนั ธทง้ั รอ ยแกว และรอ ยกรอง ทําใหไดอ รรถรส
ของภาษา กอใหเ กดิ ความสนกุ สนาน เพลดิ เพลินจรรโลงใจแกผ ูอาน
3. อาชพี ใดตองอาศัยการพูดเปน ชองทางในการประกอบอาชพี
อาชพี พิธกี ร อาชพี นักโฆษณา - ประชาสมั พันธ อาชีพนกั รายการวทิ ยุ - โทรทศั น
4. อาชพี ใดตองอาศัยการเขยี นเปน ชองทางในการประกอบอาชพี
อาชีพกวี นักเขยี น ท้งั เขียนนวนยิ าย เรือ่ งสั้น บทละคร นกั เขียนสารคดี
5. ความรแู ละทักษะเร่อื งใดบา งทีผ่ ปู ระกอบอาชพี พิธีกรตองเรียนรูและฝก ฝนเพมิ่ เติม
1. ศิลปะการพดู และศลิ ปะการเขยี น
2. ระดับของภาษา
3. เร่ืองของนาํ้ เสยี งในภาษา
4. เร่ืองของหลักการใชภาษา
5. เร่อื งของการพฒั นาบุคลกิ ภาพและการแตง กาย
6. การพฒั นาองคค วามรูในตนเอง
กจิ กรรมที่ 3 1. ก 2. ง 3. ก 4. ข 5.ค
184
บรรณานุกรม
การศกึ ษานอกโรงเรยี น, กระทรวงศกึ ษาธิการ, หมวดวชิ าภาษาไทย (สองระดบั ) ชุดท่ี 1
การรบั สารดว ย การอา น และการฟง ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน หลักสูตร
การศกึ ษานอกโรงเรยี น กรงุ เทพฯ โรงพมิ พครุ ุสภา 2541
การศึกษานอกโรงเรยี น กทม : ชุดการเรยี นทางไกล หมวดวิชาภาษาไทย ระดบั
มัธยมศึกษาตอนตน โรงพมิ พคุรสุ ภา, 2546
กรมการศกึ ษานอกโรงเรียน, กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. แบบเรยี นวิชาภาษาไทย (วชิ าบงั คับ)
ตอนท่ี 2 ภาษาไทยเพ่ือพัฒนาการสง สารตามหลกั สตู รการศกึ ษานอกโรงเรยี น
ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน พุทธศักราช 2530
กรมการศกึ ษานอกโรงเรยี น, กระทรวงศึกษาธกิ าร. หนังสืออา นเพิ่มเติม วชิ าภาษาไทย
(วิชาบงั คับ) ตอนท่ี 1 ภาษาไทยเพอื่ พัฒนาการรับสาร หลกั สตู รการศกึ ษา
นอกโรงเรยี น ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน พทุ ธศกั ราช 2530
กรมการศกึ ษานอกโรงเรียน, กระทรวงศึกษาธกิ าร. แบบเรียนภาษาไทย (วิชาเลือก)
ตอนท่ี 2 ศลิ ปศกึ ษาตามหลักสตู รการศกึ ษานอกโรงเรยี น ระดบั มธั ยมศกึ ษา
ตอนตน พุทธศักราช 2530 โรงพมิ พค รุ สุ ภาลาดพราว 2540
กรมการศกึ ษานอกโรงเรยี น, กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. หมวดวชิ าภาษาไทย (วิชาบงั คับ)
ชุดท่ี 3 การพูด ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน หลักสตู รการศึกษานอกโรงเรยี น
พิมพครัง้ ท่ี 2 พ.ศ.2539.
กรมการศึกษานอกโรงเรยี น, กระทรวงศึกษาธกิ าร. ชดุ วชิ าภาษาไทย หมวดวชิ าภาษาไทย
ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน โรงพมิ พครุ สุ ภาลาดพรา ว 2546
ณัฐยา อาจมงั กร, ภาษาไทย ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน หลกั สูตรการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน
พุทธศักราช 2544 สามเจรญิ พาณิชย การพิมพ (กรงุ เทพฯ) จํากดั 2548
ประพันธ เรืองณรงค กลมุ สาระการเรียนรู ภาษาไทยชวงช้ันท่ี 3 ม.1 - 3 (เลม 1) กรุงเทพฯ :
ประสานมติ ร 2545.
ประพนธ เรอื งณรงค รศ. และคณะ ชุดปฏริ ูปการเรยี นรู กลุมสาระการเรียนรูภ าษาไทย
ชว งชน้ั ท่ี 3 ม.1 - ม.3
วราภรณ บํารงุ กลุ อานถูก - สะกดถูก - คํา - ความหมาย - ประโยค.กรงุ เทพฯ : ตนออ
2536.252 หนา .
ศกึ ษาธิการ, กระทรวง. หมวดวชิ าภาษาไทย (วิชาบงั คับ) ชุดที่ 5 ภาษาพาสนกุ ระดบั
มัธยมศึกษาตอนตน หลักสูตรการศกึ ษานอกโรงเรียน กรุงเทพฯ คุรุสภา 2538.
สํานักงาน กศน. จังหวัดปราจนี บุรี.ชุดวชิ าภาษาไทย.ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน โรงพิมพครุ สุ ภา 2546
อมั รา บญุ าทิพย และบุปผา บุญาทิพย, ภาษาไทย 1 กรงุ เทพ : ประสานมิตร, 2540
185
หลกั สูตรการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน
พุทธศักราช 2551
รายชื่อผเู ขารว มประชุมปฏบิ ตั ิการพฒั นาหนังสือเรยี นวิชาภาษาไทย
ระหวางวันที่ 10 – 13 กมุ ภาพันธ 2552 ณ บา นทะเลสีครีมรีสอรท จังหวดั สมุทรสงคราม
1. นางสาวพมิ พใจ สทิ ธสิ รุ ศกั ด์ิ ขา ราชการบํานาญ
2. นางพมิ พาพร อนิ ทจักร สถาบนั กศน. ภาคเหนือ
3. นางกานดา ธวิ งศ สถาบนั กศน. ภาคเหนือ
4. นายเริง กองแกว สาํ นักงาน กศน. จงั หวดั นนทบุรี
รายช่อื ผูเขา รว มประชุมบรรณาธิการหนังสอื เรียนวิชาภาษาไทย
คร้ังท่ี 1 ระหวา งวนั ที่ 7 – 10 กนั ยายน 2552 ณ โรงแรมอทู องอนิ น จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา
1. นางสาวพิมพใจ สทิ ธิสุรศกั ดิ์ ขา ราชการบาํ นาญ
สํานกั งาน กศน. จงั หวัดนนทบุรี
2. นายเรงิ กองแกว กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน
3. นางนพรตั น เวโรจนเสรวี งศ
คร้งั ที่ 2 ระหวางวันท่ี 12 – 15 มกราคม 2553 ณ โรงแรมอทู องอนิ น จงั หวดั พระนครศรีอยุธยา
1. นางสาวพมิ พใจ สทิ ธิสุรศักดิ์ ขา ราชการบาํ นาญ
สํานักงาน กศน. จงั หวดั นนทบุรี
2. นายเริง กองแกว กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
3. นางนพรตั น เวโรจนเสรีวงศ
186
คณะผจู ดั ทาํ
ท่ปี รกึ ษา จรี วฒุ ิ เลขาธิการ กศน.
อม่ิ สุวรรณ รองเลขาธกิ าร กศน.
1. นายอภิชาติ จําป รองเลขาธกิ าร กศน.
2. ดร.ชัยยศ แกว ไทรฮะ ทปี่ รกึ ษาดานการพฒั นาหลักสูตร กศน.
3. นายวัชรินทร ตณั ฑวฑุ โฒ ผูอํานวยการกลมุ พัฒนาการศึกษานอกโรงเรยี น
4. ดร.ทองอยู
5. นางรักขณา
คณะทํางาน กลุมพฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน
กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
1. นายสรุ พงษ ม่นั มะโน กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
2. นายศุภโชค ศรรี ตั นศิลป กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน
3. นางสาววรรณพร ปท มานนท กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน
4. นางสาวศริญญา กลุ ประดษิ ฐ
5. นางสาวเพชรินทร เหลอื งจติ วัฒนา
ผพู มิ พต น ฉบับ
1. นางปยวดี คะเนสม กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน
2. นางสาวเพชรนิ ทร เหลืองจติ วัฒนา กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน
กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
3. นางสาวกรวรรณ กววี งษพพิ ฒั น กลุม พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน
4. นางสาวชาลีนี ธรรมธษิ า
5. นางสาวอรศิ รา บานชี
ผอู อกแบบปก ศรรี ัตนศลิ ป กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรยี น
นายศุภโชค
187
รายช่ือผเู ขา รวมประชุมปฏิบตั กิ ารปรบั ปรุงเอกสารประกอบการใชห ลกั สตู ร
และสื่อประกอบการเรียนหลกั สูตรการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน
พุทธศกั ราช 2551
ระหวางวันท่ี 4 – 10 พฤศจกิ ายน 2554 ณ โรงแรมมริ ามา กรงุ เทพมหานคร
สาระความรูพ้ืนฐาน (รายวิชาภาษาไทย)
ผูพ ัฒนาและปรับปรงุ หนว ยศึกษานิเทศก ประธาน
1. นางอัชราภรณ โควคชาภรณ หนวยศกึ ษานเิ ทศก
2. นางเกลด็ แกว เจริญศกั ดิ์ กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน เลขานุการ
3. นางนพรตั น เวโรจนเ สรวี งศ ผูชวยเลขานุการ
กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน
4. นางสาวสมถวลิ ศรจี นั ทรวโิ รจน
กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
5. นางสาววันวสิ าข ทองเปรม
188
คณะผปู รบั ปรงุ ขอ มูลเก่ียวกบั สถาบนั พระมหากษตั ริย ป พ.ศ. 2560
ที่ปรึกษา จาํ จด เลขาธิการ กศน.
หอมดี ผตู รวจราชการกระทรวงศึกษาธกิ าร
1. นายสรุ พงษ ปฏิบัตหิ นา ทีร่ องเลขาธกิ าร กศน.
2. นายประเสริฐ สุขสเุ ดช ผอู าํ นวยการกลมุ พฒั นาการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอธั ยาศยั
3. นางตรีนุช
ผปู รบั ปรุงขอมูล
นางสาวสุลาง เพ็ชรสวา ง กลุม พฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
คณะทาํ งาน
1. นายสรุ พงษ ม่นั มะโน กลุมพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย
กลุมพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั
2. นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั
กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั
3. นางสาวเบญ็ จวรรณ อําไพศรี กลุม พัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั
กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย
4. นางเยาวรัตน ปนมณีวงศ กลุมพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กลุมพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย
5. นางสาวสุลาง เพช็ รสวาง
6. นางสาวทิพวรรณ วงคเรือน
7. นางสาวนภาพร อมรเดชาวฒั น
8. นางสาวชมพนู ท สังขพชิ ัย