The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jaras atiwitthayaporn, 2020-05-25 20:18:02

Learning

Learning

Keywords: Learning

ครู พื่อศิษย


http://learning.thaissf.org/document/media/media_396.pdf

วิถสี ร้างการเรียนร้


เพื่อศิษย


ในศตวรรษท่ี ๒๑







วจิ ารณ์ พานิช


1ภาค ๕ เรอื่ งเล่าตามบริบท : จับความจากยอดครูมาฝากครเู พื่อศิษย


วถิ สี รา้ งการเรยี นรเู้ พอ่ื ศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑


วิจารณ์ พานิช



ขอ้ มูลทางบรรณานกุ รมของสำนกั หอสมดุ แหง่ ชาติ
Data


National Library of Thailand Cataloging in Publication

วจิ ารณ์ พานิช.


วถิ ีสรา้ งการเรียนรู้เพื่อศษิ ยใ์ นศตวรรษท่ี ๒๑.-- กรงุ เทพฯ : มูลนิธิสดศร-ี สฤษดวิ์ งศ์,


๒๕๕๕.

๔๑๖ หนา้ .


๑. การเรยี นรู้. I. ชื่อเร่ือง.


๓๗๐.๑๕๒๓


ISBN 978-616-90410-8-5


พิมพค์ ร้งั ที่ ๑ จำนวน ๓,๐๐๐ เลม่

บรรณาธิการ วรรณา เลิศวจิ ติ รจรสั   สงวนศรี ตรเี ทพประติมา

พสิ จู น์อกั ษร สงวนศรี ตรเี ทพประตมิ า

ออกแบบรูปเล่ม สคุ ลี ชา่ งกลงึ กูล



จดั พิมพ์โดย มลู นธิ ิสดศร-ี สฤษดว์ิ งศ

๑๑๖๘ ซอยพหลโยธิน ๒๒ ถ. พหลโยธิน

แขวงจอมพล เขตจตจุ ักร กรงุ เทพฯ ๑๐๙๐๐

โทรศัพท์ : ๐ ๒๕๑๑ ๕๘๕๕๙

โทรสาร : ๐ ๒๙๓๙ ๒๑๒๒

Email : [email protected]



พมิ พ์ท่ี ฝ่ายโรงพิมพ์ บรษิ ัท ตถาตา พบั ลเิ คช่นั จำกัด

๒๑๔ ซอยพระรามที่ ๒ ซอย ๓๘

แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐

โทรศัพท์ ๐ ๒๔๑๖ ๓๒๙๔


2 วิถสี ร้างการเรียนรูเ้ พือ่ ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พอื่ ศษิ ย


คำนยิ ม
















การศกึ ษาของไทยถงึ ทางตนั แลว้ เมอ่ื ถงึ ทางตนั ไมเ่ พยี งแตไ่ ปตอ่ ไมไ่ ด้
ลำพงั การหยดุ นงิ่ อยกู่ บั ทแี่ ปลวา่ กา้ วถอยหลงั นานาประเทศจะแซงหนา้ เรา
ข้ึนไป แล้วเยาวชนของเราก็จะอยู่ข้างหลัง ในโลกไร้พรมแดนท่ีวัดกันด้วย
ความสามารถในการทำงาน มิใช่ความสามารถในการทอ่ งจำ กพ็ อทำนาย
ได้วา่ เยาวชนของเรากจ็ ะไดง้ านทใ่ี ชค้ วามสามารถตำ่ กวา่ นานาประเทศ


ความสามารถในการทำงานมิได้ข้ึนกับรู้มากหรือรู้น้อย แต่ข้ึนกับ
ทักษะการเรียนรู้ พร้อมเรียนรู้ ใฝ่เรียนรู้ อยากเรียนรู้ สนุกกับการเรียนรู้
เรียนรู้ได้ตลอดเวลาจากทุกสถานท่ี มีทักษะชีวิตที่ดีปรับตัวได้ทุกคร้ังเม่ือ
พบอุปสรรค ยดื หยนุ่ ตัวเองไดท้ ุกรปู แบบเม่ือพบปัญหาชวี ิต นอกจากนี้ยังมี
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซ่ึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่แห่ง
ศตวรรษที่ ๒๑


เด็กและเยาวชนในศตวรรษท่ี ๒๑ ต้องการทกั ษะแหง่ ศตวรรษท่ี ๒๑
เพ่อื จะดำรงชีวติ ไดใ้ นศตวรรษที่ ๒๑ ซ่งึ การศกึ ษาไทยปัจจุบนั ไม่ได้ให้และ
ใหไ้ มไ่ ด้ แล้วจะทำอย่างไร


3ภาค ๕ เรือ่ งเล่าตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครูเพ่อื ศษิ ย์

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช หรือท่ีลูกศิษย์ท้ังท่ีเป็นทางการและไม่เป็น
ทางการเรียกว่าอาจารย์วิจารณ์เขียนหนังสือเล่มนี้ให้อ่านด้วยความอัศจรรย์
ท่านอา่ นหนงั สอื จำนวนมาก เข้าร่วมประชมุ จำนวนมาก ทส่ี ำคญั ย่ิงกวา่ คือ
ทำงานจริงด้วยตนเองจำนวนมาก ต้นทุนเหล่าน้ีทำให้ท่านอ่าน เก็บ และ
เขียนอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อให้สาธารณชนรู้ว่าเรามีวิธีผ่าทางตันทาง

การศึกษา แตท่ ำได้เมือ่ คนสว่ นใหญ่เหน็ ปัญหาดว้ ยกันและชว่ ยกัน

ข้อเขียนที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้มีแต่เนื้อหาล้วนๆ บรรณาธิการ
เก็บทุกอย่างมาให้นักอ่านได้อ่านอย่างจุใจ อาจารย์กรุณาคัดสรรหนังสือ
คดั สรรเนอื้ หา และเขยี นใหค้ นไทยทกุ คน ไมจ่ ำเพาะแตผ่ อู้ ยใู่ นวงการศกึ ษา
ให้ได้อ่าน ทำความเข้าใจ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ เปล่ียนวิธีคิด เปลี่ยนวิธี
ทำงาน เปลี่ยนวิธีสอน เปล่ียนวิธีเรียน ที่จริงแล้วอาจจะพูดใหม่ได้ว่าให้
เลิกสอนและเลิกเรียน การศึกษาในยคุ ใหมไ่ มม่ ใี ครสอนไมม่ ใี ครเรียนแตค่ รู
และนักเรียนเรียนรู้ไปด้วยกัน ครูและครูเรียนรู้ไปด้วยกัน เกิดเป็นชุมชน
การเรยี นรู้ทว่ั ประเทศ ซ่ึงอาจารย์ใหช้ ื่อวา่ “ชมุ ชนการเรียนรูค้ รูเพื่อศษิ ย”์

รายละเอยี ดของเรอ่ื งนีม้ ีมากมายและพิสดาร แตไ่ ม่ยากเกินทำความ
เข้าใจ ขอให้หยิบหนังสือเล่มนี้ข้ึนมาแล้วค่อยๆ อ่านไป ทุกท่านจะพบว่า

การปฏิรูปการศึกษาเปน็ เรือ่ งสนกุ และอย่ใู นมอื ของเราทุกคน




นายแพทย์ประเสรฐิ ผลิตผลการพิมพ

เลขาธิการมลู นธิ สิ ดศรี-สฤษด์ิวงศ


๑ ธันวาคม ๒๕๕๔




4 วิถสี ร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พื่อศิษย






คำนิยม










เม่ือองค์ความรู้ของโลกขยายขอบเขตเพิ่มพูนข้ึนแบบเท่าทวีคูณ
กอปรกับประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงความรู้
เหลา่ นนั้ ไดใ้ นเวลาเพยี งลดั มอื เดยี ว ทำใหใ้ ครหลายคนเชอื่ วา่ “คร”ู กลายเปน็

อาชีพที่อาจจะหมดความจำเป็นลงในอนาคตอันใกล้นี้  แต่ผมกลับไม่เช่ือ
อยา่ งนน้ั   ยง่ิ ทง้ั สองปจั จยั ขา้ งตน้ กา้ วลว่ งไปมากเทา่ ใด ความจำเปน็ ทต่ี อ้ งมี
ครูย่ิงมากขึ้น  อย่างน้อยก็ด้วยสองเหตุผลนี้  อย่างแรก ความรู้ที่มีอยู่อัน
มากมายน้ันจะไม่สามารถนำมาใช้ตามความจำเป็นหรือความต้องการได้
ทั้งหมด ท้ังนี้เพราะเหตุปัจจัยและบริบทของเหตุการณ์ก็เปล่ียนแปลงไป
อย่างรวดเร็วเช่นกัน  ความรู้สำหรับแก้ปัญหาของวันพรุ่งน้ีจะไม่ใช่ชุด
ความรู้ท่ีมีอยู่  เราจึงจำเป็นต้องมีครูที่เก่งในการจัดสรรองค์ประกอบให

ผู้เรียนได้กลายเป็นนักเรียนรู้คือ มีเครื่องมือหรือทักษะจำเป็นต่อการเรียนรู้
อย่างครบถ้วน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาหรือสร้างองค์ความรู้สดใหม่
ข้ึนมาใช้ได้ทันท่วงที  อย่างท่ีสอง เราจะเห็นชัดว่าช่วงสองร้อยปีหลังมานี้
โลกเรามอี ตั ราการเพ่มิ ประชากรสงู ขึน้ อยา่ งกา้ วกระโดดจนขณะน้ปี ระชากร


5ภาค ๕ เรอ่ื งเล่าตามบรบิ ท : จับความจากยอดครมู าฝากครเู พ่อื ศิษย์

ของโลกเกิน ๗,๐๐๐ ล้านคนแล้ว และไม่มีสิ่งรับประกันว่าอัตราการเพ่ิม
ของประชากรโลกจะหยุดลง  เมื่อเทียบเคียงจำนวนประชากรกับทรัพยากร
ที่มีอยู่ นี่เป็นข้อจำกัด แต่ถ้ามองท่ีประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
ขึน้ เร่ือย ๆ น่อี าจจะเป็นข้อได้เปรยี บ แต่ก็มีคำถามที่น่าใครค่ รวญ  สังคม
โลกจะจัดการกับประชากรโลกจำนวนมหาศาลอย่างไร เพอ่ื ให้การแจกจา่ ย
ทรัพยากรอย่างทั่วถึง  จะจับทุกคนไว้ในระบบสายพานกระน้ันหรือ ความ
จำเป็นในการสร้างอารยธรรมมนุษย์ยุคต่อไปจึงตกอยู่ท่ีมือครู นั่นเพราะ
“มนุษย์เท่านั้นท่ีจะสอนความเป็นมนุษย์ได้” แต่ท้ังหมดน้ันครูเองจำเป็น
ตอ้ งเรยี นรแู้ ละทำความเขา้ ใจใหเ้ ทา่ ทนั การเปลย่ี นแปลงทงั้ หมด และเปลยี่ น
กระบวนทัศน์ท่เี ป็นอยู่อย่างสิน้ เชงิ

หนังสือชุดครูเพ่ือศิษย์ “วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ

ที่ ๒๑”  เล่มน้ีได้ประมวลกระบวนทัศน์  ความคิด หลักการ และวิธีการ
อันจำเป็นสำหรบั ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ไว้พรอ้ มมูล นี่เป็นทงั้ ส่งิ ทีจ่ ะให้การ
เรียนรู้กับครู และเป็นเคร่ืองเชิดชูให้พลังใจกับครู ขอชื่นชมในความพยาม

ทงั้ มวลของคณะผทู้ ี่เกี่ยวขอ้ งกับ “ครเู พ่ือศษิ ย์” ทุกคน




ดว้ ยจิตคารวะ

วิเชียร ไชยบงั

ครูใหญโ่ รงเรยี นนอกกะลา


6 วถิ สี รา้ งการเรยี นรเู้ พือ่ ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอ่ื ศิษย


คำน












โครงการสร้างชุมชนการเรยี นรูค้ รเู พอื่ ศษิ ย์ ภายใตก้ ารสนับสนุนของ
มูลนิธิสดศรี-สฤษด์ิวงศ์ ซึ่งก่อต้ังข้ึนตามเจตนารมณ์ของพลตรีนายแพทย์
สฤษด์ิวงศ์ และคุณหญิงสดศรี วงศ์ถ้วยทอง ที่จะสนับสนุนการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ
นวตั กรรมทางการศกึ ษา ดว้ ยเชอ่ื มน่ั วา่ การแกไ้ ขปญั หาในสงั คมจกั ตอ้ งอาศยั

วิธคี ดิ ทีม่ ลี กั ษณะสร้างสรรค์ (innovative) และมีจนิ ตนาการ (imaginative)
นบั แตก่ อ่ ตง้ั ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มลู นธิ มิ แี นวทางการดำเนนิ งานคือ กระตุ้น
ประสาน และสง่ เสรมิ ใหส้ งั คมไทยไดต้ ระหนกั ถงึ ความสำคญั ของการคดิ คน้
สร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์อย่าง
เต็มศักยภาพ เพ่ือให้บรรลุปัญญา ความดี ความงาม มิตรภาพและ
สันตภิ าพ โครงการสรา้ งชุมชนการเรยี นรคู้ รูเพ่ือศษิ ย์จงึ เป็นหน่ึงในภารกจิ ท่ี
จะทำให้บรรลเุ ปา้ หมายดังกลา่ ว

ดงั ท่ี มารก์ าเรต็ มดี (Margaret Maed) นกั มานษุ ยวทิ ยาชาวอเมรกิ นั
กล่าวไว้ว่า “จงเชื่อมน่ั ว่า คนเลก็  ๆ จะพลิกโลกได้ เพราะเท่าทผ่ี ่านมายัง


7ภาค ๕ เร่อื งเล่าตามบริบท : จับความจากยอดครมู าฝากครูเพอื่ ศษิ ย


ไมม่ กี ารเปลยี่ นแปลงใด ๆ เกดิ ขน้ึ ไดน้ อกจากวธิ นี ”้ี โครงการฯ เองกเ็ ชอื่ มน่ั
วา่ “ครดู ี ครูเพือ่ ศษิ ย”์ มีอยู่มากมาย ถา้ ครูดี ๆ มารวมตวั กันได้ เกิดเป็น
เครือข่าย “ชุมชนการเรียนรู้ครูเพืิ่อศิษย์” (Professional Learning
Communities) แลว้ กย็ ง่ิ มน่ั ใจไดว้ า่ เรอ่ื งใหญ่ เรอื่ งยากจะเปลย่ี นแปลงได้
และกำลงั จะเกิดข้นึ แลว้ ด้วยมอื ของคนเล็ก ๆ เหล่าน้ี คอื ครเู พอื่ ศิษยไ์ ทย
ทก่ี ระจายอยทู่ วั่ ทงั้ สงั คม

ดงั นน้ั โครงการฯ จงึ ขอปาวรณาตนเปน็ ผเู้ ชอื่ มรอ้ ยให้พลังเล็กได้มา
พบปะกัน ได้แลกเปล่ียนเรียนรู้ร่วมกัน โดยเร่ิมต้นจุดประกายและขุมพลัง
จากหนงั สอื เล็ก ๆ เล่มน
้ี
การจัดทําหนังสือเล่มนี้ต้ังใจอย่างยิ่งให้เป็นส่ือสร้างสรรค์ท่ีจะ

ช่วยเป็นแรงบันดาลใจ ปลุกความคิด ความมั่นใจ และพลังศรัทธาใน

การทำงานในฐานะ “ครูเพื่อศิษย์” เพ่ือช่วยกันหาหนทาง เปล่ียนแปลง
สนับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน ให้ศิษย์เติบโตได้อย่างดีท่ามกลางโลกที่
เปลี่ยนแปลงเร็วอย่างทุกวันน้ี ท้ังครูและศิษย์จะเรียนรู้ท่ีจะมีทักษะเพ่ือ

การดำรงชวี ติ ในศตวรรษท่ี ๒๑ ไปพรอ้ มกนั

โครงการ ฯ ขอขอบพระคณุ “ครูเพอื่ ศิษย์” ทกุ คน โรงเรียน สถาบัน
องคก์ รตา่ ง ๆ ทม่ี สี ว่ นชว่ ยสนบั สนนุ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ มลู นธิ สิ ยามกมั มาจล
ท่ีเอ้ือเฟื้อกำลังทุนสนับสนุนงานอย่างต่อเน่ือง ขอขอบพระคุณ อาจารย์
วิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และครูวิมลศรี
ศุษิลวรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการความรู้ โรงเรียนเพลินพัฒนา

ทอ่ี นญุ าตใหน้ ำบทความสว่ นหนงึ่ มาประกอบในหนงั สอื เลม่ น้ี และทจี่ ะขาด
เสยี ไมไ่ ด้ คอื ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ ซง่ึ เปรยี บเสมอื น ‘คร’ู ของ ครเู พอื่ ศษิ ย์
ท่านได้อุทิศเวลาทุกวันอย่างต่อเนื่อง อ่าน คิด เขียน จนเป็นที่มาของ

การจัดทำหนงั สือเลม่ น้ี เพอื่ นำมาใหเ้ ราทกุ คนไดเ้ รียนรู้


8 วิถสี ร้างการเรียนรู้เพือ่ ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พื่อศิษย์


ท่านได้กล่าวไว่้ในบทความหนึ่งว่า “ผมขอร่วมบูชาคุณค่าของความ
เปน็ ครู และครูเพอ่ื ศิษย์ ด้วยการถอดความหนงั สอื เลม่ น้ี ทีจ่ ะพากเพยี รทำ
เพื่อบูชาครู เป็นการลงเงิน ลงแรง (สมอง) และเวลาเพื่อร่วมสร้าง
“บันเทิงชีวิตครู” โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตัว หวังผลต่ออนาคตของ
บา้ นเมอื งเป็นหลกั ”

คณะผจู้ ดั ทำเองกต็ งั้ ใจทำหนงั สอื เลม่ นี้ เพอ่ื บชู าคณุ “คร”ู ทพี่ วกเรา
มกั เรยี กทา่ นวา่ อาจารยว์ จิ ารณ์ มากกวา่ ตำแหนง่ อน่ื ใดของทา่ น รวมถงึ บชู า
คุณครูทุกท่านในชีวิตของพวกเรา รวมถึง “ครูเพ่ือศิษย์” ทุกท่านท่ีกำลงั
ทำงานเพ่ือศิษย์ พวกเราในฐานะคนทำงานและในฐานะที่เคยเป็นศิษย์ต่าง
ตระหนักดีว่า การท่ีเราทุกคนสามารถเตบิ โต มีความรู้ ประสบความสำเรจ็
จนถึงทุกวันนไี้ ดก้ ็เพราะ “คร”ู ทีท่ มุ่ เทเสียสละ “เพ่ือศิษย”์ น่นั เอง




โครงการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์



















9ภาค ๕ เรอื่ งเล่าตามบรบิ ท : จับความจากยอดครมู าฝากครเู พอื่ ศิษย


คำนำผเู้ ขยี น










หนังสือเล่มนี้รวบรวมและคัดสรรมาจากข้อเขียนของผมท่ีลงใน
บลอ็ ก Gotoknow ซึง่ เขยี นตคี วามสาระในหนงั สอื หลากหลายเล่มเก่ียวกบั
การเรียนรู้ในยุคใหม่ โดยผมตั้งใจทำงานอ่านหนังสือและตีความลงเป็น
บันทึกใน บลอ็ ก อย่างต่อเนือ่ ง เพื่อประโยชน์ของ “ครเู พือ่ ศษิ ย์” ทัง้ หลาย

มาต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และมีการนำข้อเขียนมารวมเล่มเป็นหนังสือ

“การศึกษาไทย ๒๕๕๒ - ๒๕๕๓ บนเส้นทางแห่งอาจาริยบูชา ‘ครูเพื่อ
ศษิ ย’์ ” พมิ พค์ รง้ั แรกปลายปี ๒๕๕๒ โดย สถาบนั สง่ เสรมิ การจดั การความรู้
เพ่ือสังคม (สคส.) และได้พิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง โดยสำนักงานส่งเสริม
สังคมแหง่ การเรียนรูแ้ ละพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) และมหาวิทยาลยั
พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) รวมท้ัง สสค. ได้จัดทำเป็นหนังสือเสียงด้วย
สามารถดาวนโ์ หลดหนงั สอื เลม่ นไ้ี ดท้ ่ี http://www.kmi.or.th/attachments/
TFSBook2553_Final.pdf มกี ารนำไปกลา่ วถงึ ในทตี่ า่ ง ๆ รวมทง้ั ในอนิ เทอรเ์ นต็
อย่างมากมาย อาจกล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้มีส่วนปลุกจิตสำนึก “ครูเพื่อ
ศิษย์” ข้ึนในสังคมไทย


10 วถิ สี รา้ งการเรยี นรเู้ พื่อศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอื่ ศษิ ย


ตอนปลายปี ๒๕๕๓ ศนู ย์จิตตปญั ญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหดิ ล ได้
เลอื กรวบรวมบนั ทกึ ดา้ นการเรยี นรสู้ ำหรบั “ครเู พอ่ื ศษิ ย”์ ใน บลอ็ ก ของผม
และของคุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร จัดพิมพ์เป็นหนังสือ “ครูเพื่อศิษย

เตมิ หวั ใจใหก้ ารศกึ ษา” สำหรบั ใชใ้ นการประชมุ ประจำปี จติ ตปญั ญาศกึ ษา
คร้งั ที่ ๓ และเพอื่ เผยแพร่ในวงกว้าง อ่านคำนำหนงั สอื เลม่ นีไ้ ด้ที่ http://
www.gotoknow.org/blog/council/402221

ถึงปลายปี ๒๕๕๔ มูลนิธิสดศรี-สฤษด์ิวงศ์ ดำเนินการรวบรวม

ข้อเขียนด้านการเรียนรู้ท่ีมีความหลากหลายย่ิงข้ึน ใน บล็อก ของผม

จัดพมิ พ์เป็นหนงั สอื “วถิ สี รา้ งการเรียนรเู้ พอื่ ศษิ ยใ์ นศตวรรษท่ี ๒๑” เลม่ นี้
หวังจะออกเผยแพร่ก่อนปีใหม่ แต่ด้วยปัญหาน้ำท่วมใหญ่ จึงทำให้การ

จดั พิมพ์ตอ้ งลา่ ช้า

ยง่ิ นบั วนั กย็ ง่ิ ชดั เจนขน้ึ เรอ่ื ย ๆ วา่ การศกึ ษาทดี่ สี ำหรบั คนยคุ ใหม่
นน้ั ไม่เหมือนการศึกษาเม่ือสิบหรือย่ีสิบปีท่ีแล้ว การศึกษาท่ีมีคุณภาพจะ
ต้องเปล่ียนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง และบทบาทของครู
อาจารยก์ ต็ อ้ งเปล่ยี นไปอย่างสนิ้ เชงิ ครทู ร่ี กั ศิษย์ เอาใจใส่ศิษย์ แตย่ งั ใชว้ ิธี
สอนแบบเดมิ  ๆ จะไมใ่ ชค่ รทู ท่ี ำประโยชนแ์ กศ่ ษิ ยอ์ ยา่ งแทจ้ รงิ กลา่ วคอื ครทู ี่
มใี จแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการ
สอน ไปเปน็ เนน้ ท่กี ารเรยี น (ทงั้ ของศษิ ย์ และของตนเอง) ต้องเรยี นรแู้ ละ
ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพ่ือศิษย์ต้องเปล่ียน
บทบาทของตนเองจาก “ครูสอน” (teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (coach)
หรอื “ผ้อู ำนวยความสะดวกในการเรยี นรู้” (learning facilitator) และต้อง
เรียนรู้ทักษะในการทำหน้าท่ีนี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพ่ือเรียนรู้ร่วมกัน
อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning
Community) ซง่ึ ผมเรียกในภาคไทยว่า ชร. คศ. (ชุมชนเรยี นรู้ครเู พอ่ื ศิษย์)

11ภาค ๕ เร่ืองเล่าตามบริบท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครูเพือ่ ศษิ ย์

ท่ีมูลนิธิสดศรี-สฤษด์ิวงศ์ (มสส.) สสค. และภาคี กำลังขมักเขม้นขับ
เคลือ่ นอยูใ่ นขณะน
้ี
ครูเพื่อศิษย์ต้องเปล่ียนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียน
วิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะท่ีสำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่
ยำ้ ว่า การเรยี นรู้ยุคใหมต่ อ้ งเรียนใหเ้ กดิ ทักษะเพอ่ื การดำรงชวี ิตในศตวรรษ
ท่ี ๒๑ หน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปล่ียนจากเน้น “สอน” หรือสั่งสอน
ไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียน
จากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อ
การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ นี้จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วม
กับเพือ่ นนกั เรียน เน้นการงอกงามทักษะในการเรยี นรู้ และค้นควา้ หาความ
รู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพ่ือศิษย์ต้องเปล่ียนแนวทางการทำงานจากทำโดด
เด่ยี วคนเดียว เปน็ ทำงานและเรียนรู้จากการทำหนา้ ทีค่ รเู ปน็ ทีมคอื รวมตัว
กันเป็น ชร. คศ. น่นั เอง

บุคคลสำคัญสองท่านที่ทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสือเล่มนี้คือ

คณุ วรรณา เลศิ วจิ ติ รจรสั แหง่ มลู นธิ สิ ดศรฯี และคณุ สงวนศรี ตรเี ทพประตมิ า
ผมขอแสดงความขอบคุณมา ณ โอกาสน
้ี
หวังว่า หนังสือเล่มน้ีจะช่วยเป็นพลังหนุนให้ “ครูเพื่อศิษย์” และ

ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้ปกครอง และผู้นำในสังคมและชุมชนที่เห็น
ความสำคัญของการศึกษา ได้ร่วมกันปฏิรูปการเรียนรู้ในสังคมไทย จาก
“การศึกษาแหง่ ศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐” สู่ “การศกึ ษาแหง่ ศตวรรษท่ี ๒๑”




วิจารณ์ พานิช

๑๗ มกราคม ๒๕๕๕


12 วถิ สี รา้ งการเรยี นรูเ้ พอื่ ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พ่ือศษิ ย


สารบญั















คำนยิ ม


คำนิยม


คำนำโครงการ ครเู พ่ือศิษย ์


คำนำผู้เขยี น


บทนำ ศษิ ยใ์ นศตวรรษท่ี ๒๑ ๑


ภาค ๑ ทักษะเพื่อการดำรงชวี ติ ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skils) ๙


ความเขา้ ใจบทบาทของการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ๑๑


ทักษะครูเพอ่ื ศษิ ยไ์ ทยในศตวรรษท่ี ๒๑ ๑๕


ศาสตราใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์ ๑๘


พัฒนาสมองหา้ ดา้ น ๒๒


ทกั ษะการเรยี นรแู้ ละนวตั กรรม ๒๘


13ภาค ๕ เร่อื งเล่าตามบริบท : จับความจากยอดครูมาฝากครเู พือ่ ศิษย


ทกั ษะการคดิ อยา่ งมีวจิ ารณญาณ ๓๗

ทักษะเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร ๔๐

ทักษะความเปน็ นานาชาติ ๔๕

ทกั ษะอาชีพและทกั ษะชีวิต ๔๘


ภาค ๒ แนวคดิ การเรยี นร้สู ำหรับครเู พอื่ ศิษย ์ ๕๙

สมดุลใหม่ในการทำหน้าทค่ี รเู พ่อื ศิษย์ ๖๑

สอนนอ้ ย เรยี นมาก ๖๔

การเรียนรแู้ ละการสอนในศตวรรษท่ี ๒๑ ๖๗

การเรยี นร้อู ยา่ งมพี ลัง (๑) ๗๑

การเรียนรอู้ ย่างมีพลงั (๒) ๗๖

ครเู พื่อศษิ ยช์ ้ีทางแห่งหายนะทีร่ ออยู่เบือ้ งหน้า ๘๑


ภาค ๓ จติ วทิ ยาการเรยี นรสู้ ำหรับครเู พอื่ ศษิ ย์ ๘๓

สมดลุ ระหวา่ งความง่ายกับความยาก ๘๕

ความคิดกับความรู้เป็นสิง่ เดยี วกัน ๘๙

เพราะคิดจึงจำ ๙๓

ความเข้าใจคอื ความจำจำแลง สกู่ ารฝกึ ตนฝนปญั ญา ๙๘


14 วถิ ีสรา้ งการเรียนร้เู พอ่ื ศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอ่ื ศษิ ย


ฝึกฝนจนเหมอื นตัวจรงิ ๑๐๓

สอนใหเ้ หมาะตอ่ ความแตกตา่ งของศษิ ย์ ๑๐๗

ชว่ ยศษิ ยท์ ีเ่ รียนออ่ น ๑๑๕

ฝกึ ฝนตนเอง ๑๑๘

เปลย่ี นมุมความเชื่อเดิมเร่อื งการเรียนร ู้ ๑๒๖


ภาค ๔ บันเทงิ ชวี ิตครูส่ชู มุ ชนการเรยี นร้ ู ๑๓๑

กำเนดิ และอานิสงสข์ อง PLC ๑๓๓

หักดบิ ความคดิ ๑๓๗

ความมงุ่ ม่ันท่ชี ัดเจนและทรงคุณค่า ๑๔๒

มุ่งเป้าหมายท่ีการเรียนรู้ (ไมใ่ ช่การสอน) ๑๕๑

เม่ือนกั เรียนบางคนเรียนไมท่ ัน ๑๕๖

มุง่ ท่ีผลลพั ธ์ ไม่ใชแ่ ผนยทุ ธศาสตร ์ ๑๖๑

พลงั ของข้อมูลและสารสนเทศ ๑๖๕

ประยุกต์ใช้ PLC ท่วั ทง้ั เขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษา ๑๗๒

วิธจี ัดการความเห็นพอ้ งและความขดั แย้ง ๑๘๓

ชุมชนแห่งผนู้ ำ ๑๘๖


15ภาค ๕ เร่ืองเล่าตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครเู พื่อศิษย์

PLC เป็นเครือ่ งมอื ของการเปล่ยี นชวี ิตครู ๑๙๒

เวทีครูเพ่อื ศิษยไ์ ทยคร้ังแรก ๑๙๔

โจทยข์ องครธู นติ ย ์ ๑๙๙


ภาค ๕ เรอื่ งเล่าตามบริบท ๒๐๓

เรอ่ื งเลา่ ของครูฝรงั่ ๒๐๕
 เตรียมทำการบา้ นเพ่ือการเปน็ คร ู ๒๐๖

 ใหไ้ ดค้ วามไว้วางใจจากศษิ ย ์ ๒๑๐

 สอนศษิ ยก์ บั สอนหลักสูตร แตกตา่ งกัน ๒๑๘

 ถอ้ ยคำที่ก้องอยูใ่ นหเู ดก็ ๒๒๒

 เตรยี มตัว เตรียมตัว และเตรียมตัว ๒๒๕

 จดั เอกสารและเตรยี มตนเอง ๒๓๒

 ทำสปั ดาห์แรกใหเ้ ป็นสปั ดาหแ์ ห่งความประทับใจ ๒๔๒

 เตรียมพรอ้ มรับ “การทดสอบครู” ๒๔๗

และสร้างความพงึ ใจแก่ศิษย

 วินยั ไมใ่ ชส่ ่งิ นา่ รงั เกียจ ๒๕๒

 สรา้ งนิสัยรกั เรยี น ๒๕๘


16 วถิ ีสรา้ งการเรียนรเู้ พอ่ื ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอ่ื ศษิ ย์


 การอ่าน ๒๗๑

 ศริ าณีตอบปญั หาครู และนักเรยี น ๒๗๕

 ประหยดั เวลาและพลังงาน ๒๗๘

 ยส่ี ิบปีจากน้ไี ป ๒๘๙


เรอ่ื งเล่าโรงเรยี นลำปลายมาศพฒั นา ๒๙๑

วีธกี ารเรยี นรแู้ หง่ ศตวรรษที่ ๒๑ ๒๙๒

เคาะกระโหลกด้วยกะลา ๒๙๗


เรอื่ งเลา่ ของโรงเรยี นนอกกระลา ๓๐๐

 ความสำเร็จทางการศกึ ษา ๓๐๐

 ความฉลาดทางดา้ นร่างกาย ๓๐๓

 ความฉลาดทางดา้ นสติปญั ญา ๓๐๖

 ทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์ ๓๑๐


เร่อื งเล่าครทู ่ีเพลินกบั การพัฒนา ๓๑๕

กระบวนการสรา้ งครทู ่ีเพลินกบั การพฒั นา ๓๑๖


เร่อื งเลา่ ของโรงเรียนเพลินพฒั นา ๓๑๗


17ภาค ๕ เร่ืองเล่าตามบริบท : จับความจากยอดครูมาฝากครเู พือ่ ศษิ ย์

 การยกคณุ ภาพช้นั เรยี น ๑ ๓๑๗

 การยกคณุ ภาพชนั้ เรียน ๒ ๓๒๔

 เรียนรจู้ ากจำนวนและตัวเลข ๓๓๔

 การ “เผยตน” ของฟลุค๊ ๓๓๗


ภาค ๖ มองอนาคต...ปฏิรปู การศกึ ษาไทย ๓๔๑

เรยี นรู้จาก Malcolm Gladwel ๓๔๓

Inquiry-Based Learning ๓๔๙

ทกั ษะการจัดการสอบ ๓๕๓

PLC สู่ TTLC หรือ ชมุ ชนครเู พ่ือศษิ ย ์ ๓๕๖

แรงตา้ นท่อี าจตอ้ งเผชิญ ๓๖๐

สิง่ ท่ปี ระเทศไทยตอ้ งทำ

เพอื่ ยกระดับผลสัมฤทธิท์ างการศกึ ษา ๓๖๒


ภาคผนวก ๓๖๕

ดชั นคี น้ คำเรยี งลำดับตามตัวอักษร ๓๖๗

หนงั สอื นา่ อ่าน ๓๙๓


18 วิถีสร้างการเรียนรเู้ พอื่ ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พอ่ื ศษิ ย


บทนำ

ศษิ ย

ในศตวรรษที่ ๒๑





1ภาค ๕ เรอื่ งเล่าตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครูมาฝากครูเพื่อศิษย


การเรียนรู้ทีแ่ ท้จรงิ

อยใู่ นโลกจริงหรอื ชีวิตจรงิ

การเรยี นวิชาในหอ้ งเรียน

ยังเปน็ การเรยี นแบบสมมติ

“ดังนน้ั ครูเพอ่ื ศิษย์จงึ ต้องออกแบบ

การเรยี นร้ใู หศ้ ิษย์” ได้เรยี นในสภาพที่

ใกล้เคียงชีวิตจริงท่สี ดุ


2 วถิ ีสร้างการเรียนรู้เพ่ือศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พ่ือศษิ ย


ศิษย

ในศตวรรษท่ี ๒๑


คำถามสำคัญท่ีกำลังอยู่ในใจครูทุกคนคือ เรากำลังจะพบกับศิษย์
แบบไหนในอนาคต ศษิ ยข์ องเราในวนั นเี้ ปน็ อยา่ งไร ศษิ ยท์ เ่ี ปน็ เดก็ สมยั ใหม่
หรือเป็นคนของศตวรรษที่ ๒๑ จะมีลักษณะอย่างไรนั้น ครูในศตวรรษที่
๒๑ เองก็จำเป็นอยา่ งยิ่งทีต่ ้องรู้จักศษิ ยใ์ นศตวรรษที่ ๒๑ นี้ด้วย

หนังสอื 21st Century Skils : Learning for Life in Our Times ระบุ
ลกั ษณะ ๘ ประการของเด็กสมยั ใหม่ไว้ดังน้

• มอี สิ ระทจ่ี ะเลอื กสงิ่ ทต่ี นพอใจ แสดงความเหน็ และลกั ษณะเฉพาะ

ของตน

• ตอ้ งการดดั แปลงสง่ิ ตา่ ง ๆ ใหต้ รงตามความพอใจและความตอ้ งการ

ของตน (customization & personalization)

• ตรวจสอบหาความจริงเบอ้ื งหลงั (scrutiny)

• เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืน เพื่อรวมตัวกัน

เปน็ องค์กร เชน่ ธรุ กจิ รฐั บาล และสถาบนั การศึกษา

• ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนร
ู้
และชีวิตทางสงั คม


3ภาค ๕ เรื่องเลา่ ตามบรบิ ท : จับความจากยอดครมู าฝากครูเพ่ือศิษย


• การรว่ มมือ และความสัมพนั ธ์เปน็ สว่ นหนงึ่ ของทุกกิจกรรม

• ตอ้ งการความเรว็ ในการสอ่ื สาร การหาขอ้ มลู และตอบคำถาม

• สร้างนวตั กรรมต่อทกุ ส่ิงทุกอยา่ งในชีวิต

เราไม่จำเป็นต้องเชื่อหนังสือฝร่ัง เราอาจช่วยกันหาข้อมูลอย่างเป็น
รูปธรรมว่าเด็กไทยสมัยใหม่เป็นอย่างไร นี่คือโจทย์หนึ่งสำหรับให้ชุมชน
การเรียนรูค้ รูเพือ่ ศษิ ย์ (ชร. คศ.) ชว่ ยกันรวบรวม

นอกจากนนั้ ยงั มผี ใู้ หค้ วามเหน็ ไวว้ า่ เดก็ ยคุ ใหมเ่ ปน็ คนยคุ เจนเนอเรชนั
(Generation Z) เปน็ พวกทชี่ อบใชอ้ นิ เทอรเ์ นต หรอื ทเ่ี รยี กกนั วา่ เปน็ ชาวเนต็
(netizen) ซ่ึงเป็นการศึกษาลักษณะนิสัยเพ่ือประโยชน์ทางการตลาด

ครเู พอ่ื ศิษย์อาจช่วยกันศึกษารวบรวมลกั ษณะของเด็กไทยยคุ ใหม่ เอาไวใ้ ช้
ในการออกแบบการเรียนรู้ ลักษณะอย่างหน่ึงของศิษย์ไทยคือ เกือบ

คร่ึงหนึ่งเป็นคนที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ต้องออกไปทำงาน

นอกหมบู่ า้ นเปน็ เวลานาน ๆ ทง้ิ ลกู ไว้กับปู่ย่า หรอื ตายาย เดก็ บางคนไมม่ ี
พ่อแม่เพราะพ่อแม่ตายไปแล้ว หรือพ่อแม่หย่าร้าง ต้องอยู่กับฝ่ายใด

ฝ่ายหน่ึง หรือบางคนเป็นลูกติดแม่โดยที่แม่แต่งงานใหม่และมีลูกกับ

สามใี หม่ เป็นความท้าทายต่อครูเพือ่ ศษิ ยท์ จ่ี ะชว่ ยให้ความอบอุน่ ความรัก
แกเ่ ด็กท่ีขาดแคลนเหล่าน
้ี
หนังสือเล่มนี้ ยังได้ระบุหลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ใน
ศตวรรษท่ี ๒๑ ไว้ ๕ ประการคือ

• Authentic learning

• Mental model building

• Internal motivation

• Multiple inteligence

• Social learning


4 วถิ สี ร้างการเรยี นรู้เพอื่ ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พื่อศษิ ย


Authentic learning


การเรยี นรทู้ แี่ ทจ้ รงิ อยใู่ นโลกจรงิ หรอื ชวี ติ จรงิ การเรยี นวชิ าในหอ้ งเรยี น
ยงั ไม่ใชก่ ารเรียนรทู้ ่แี ท้จรงิ ยงั เปน็ การเรียนแบบสมมติ ดังนัน้ ครเู พื่อศิษย์
จึงต้องออกแบบการเรยี นรใู้ หศ้ ษิ ยไ์ ดเ้ รยี นในสภาพที่ใกล้เคียงชวี ิตจริงทสี่ ุด

กลา่ วในเชงิ ทฤษฎไี ดว้ า่ การเรยี นรขู้ น้ึ อยกู่ บั บรบิ ทหรอื สภาพแวดลอ้ ม
ในขณะเรียนรู้ ห้องเรียนไม่ใช่บริบทที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึก 
เพราะห้องเรียนไม่เหมือนสภาพในชีวิตจริง การสมมติโจทย์ท่ีคล้ายจะเกิด
ในชวี ิตจริงก็ไดค้ วามสมจริงเพยี งบางสว่ น แต่หากไปเรียนในสภาพจริงกจ็ ะ
ไดก้ ารเรียนรู้ในมติ ทิ ล่ี ึกและกวา้ งขวางกวา่ สภาพสมมติ

การออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์เกิด “การเรียนรู้ท่ีแท้” (authentic
learning) เป็นความทา้ ทายต่อครเู พอ่ื ศษิ ย์ ในสภาพทีม่ ขี ้อจำกัดดา้ นเวลา
และทรพั ยากรอนื่  ๆ รวมทงั้ จากความเปน็ จรงิ วา่ เดก็ นกั เรยี นในเมอื งกบั ใน
ชนบทมสี ภาพแวดลอ้ มและชวี ติ จริงที่แตกต่างกนั มาก


Mental Model Building


การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์อาจมองอีกมุมหน่ึงว่า เป็น
authentic learning แนวหนึ่ง ผมมองว่าน่ีคือ การอบรมบ่มนิสัย หรือ

การปลูกฝังความเชื่อหรือค่านิยมในถ้อยคำเดิมของเรา  แต่ในความหมาย
ข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสมจนเกิดเป็นกระบวน
ทศั น์ (หรอื ความเชอ่ื คา่ นยิ ม) และที่สำคัญกว่านั้นคอื สง่ั สมประสบการณ์
ใหม่ เอามาโต้แย้งความเชื่อหรือค่านิยมเดิม  ทำให้ละจากความเชื่อเดิม
หันมายดึ ถือความเชอื่ หรอื กระบวนทัศนใ์ หม




5ภาค ๕ เรื่องเลา่ ตามบริบท : จบั ความจบาทกนยำอดศคิษรยูม์ใานฝศาตกวครรรเู พษื่อทศี่ ๒ษิ ๑ย


น่ันคือ เปน็ การเรียนรู้ (how to learn, how to unlearn/ delearn,
how to relean) ไปพรอ้ ม ๆ กนั ทำใหเ้ ปน็ คนทมี่ คี วามคดิ เชงิ กระบวนทศั น์
ชัดเจน และเกิดการเรียนรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้ แต่การจะมีทักษะหรือ
ความสามารถขนาดน้ี จำต้องมีความสามารถรับรู้ข้อมูลหลักฐานใหม่ ๆ 
และนำมาสังเคราะห์เปน็ ความร้เู ชิงกระบวนทัศนใ์ หมไ่ ด


Internal Motivation


การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซ่ึงเป็นส่ิงท่ีอยู่ภายในตัวคน
ไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครูหรือพ่อแม่ เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจ
ครูหรอื พอ่ แมจ่ ะเรียนได้ไมด่ ีเท่าเด็กทีเ่ รียนเพราะอยากเรยี น

เมื่อเด็กมีฉันทะและได้รับการส่งเสริมท่ีถูกต้องจากครู วิริยะ จิตตะ
และวิมังสา (อิทธิบาทสี่) ก็จะตามมา  ทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกซึ้ง
และเชื่อมโยง


Multiple Intelligence


เวลานี้เป็นที่เช่ือกันทั่วไปแล้วว่า มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple
Intelligence) และเด็กแต่ละคนมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัว

มาแต่กำเนิดต่างกัน รวมท้ังสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังน้ัน จึงเป็น

ความท้าทายต่อครูเพ่ือศิษย์ในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่าง
ของเด็กแต่ละคน และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว
(personalized learning) เรื่องนี้มีการวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้ได้
มากมาย ดังตวั อยา่ ง Universal Design for Learning ซึ่งก็คอื เครือ่ งมือ
สร้างความยืดหยุ่นหลากหลายในการออกแบบการเรยี นรู้นั่นเอง (ดเู พิ่มเติม
ท ่ี http://www.cast.org/udl/index.html และ http://www.washington.

edu/doit/CUDE/)


6 วิถีสร้างการเรยี นร้เู พื่อศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอื่ ศิษย


Social Learning


การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการน้ี ครูเพื่อศิษย์ก็
จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิด
นิสัยรักการเรียน  เพราะการเรียนจะไม่ใช่กิจกรรมส่วนบุคคลท่ีหงอยเหงา
น่าเบ่อื  

ขออนญุ าตยำ้ นะครบั วา่ อยา่ ตดิ ทฤษฎหี รอื เชอื่ ตามหนงั สอื จนเกนิ ไป
จนไม่กล้าทดลองวิธีคิดใหม่ ๆ ท่ีอาจจะเหมาะสมต่อศิษย์ของเรามากกว่า
แนวคิดแบบฝรั่ง เราอาจคิดหลักการเรียนรู้ตามแบบของเราที่เหมาะสมต่อ
บรบิ ทสงั คมไทยขึ้นมาใช้เองกไ็ ด

ท่านที่สนใจ โปรดดูวิดีโอเล่าผลการวิจัยจากชีวิตจริงที่ http://
blog.ted.com/2010/09/07/the-child-driven-education-sugata-
mitra-on-ted-com ซึ่งจะเห็นว่า เด็ก ๆ มีความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียน

เป็นทุน  และเด็ก ๆ มีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองหากส่ิงแวดล้อม
เอื้ออำนวย แต่ผมก็ยังเช่ือว่าครูท่ีดีจะช่วยเพิ่มพลังและคุณค่าของการ

เรยี นรไู้ ด้อีกมาก ในขณะเดียวกัน การศึกษาตามแนวทางปจั จบุ ันก็ทำลาย
ความริเร่ิมสร้างสรรค์ของเด็ก ดังในวิดีโอ http://www.youtube.com/
watch?v=iG9CE55wbtY




๕ ธนั วาคม ๒๕๕๓

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/424022

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/425392

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/428313


7ภาค ๕ เรื่องเลา่ ตามบริบท : จับความจบาทกนยำอดศคษิ รยมู ใ์ านฝศาตกวครรรูเพษ่อืทศ่ี ๒ษิ ๑ย์



๑ ครู พื่อศษิ ย์


ทักษะเพอื่ การดำรงชีวิต

ในศตวรรษที่ ๒๑


(21st Century Skills)


9ภาค ๕ เร่อื งเลา่ ตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครูมาฝากครเู พ่อื ศษิ ย์

ครูตอ้ งไม่สอน แต่ตอ้ งออกแบบการเรียนรู้
และอำนวยความสะดวก (facilitate)

การเรียนรู้ ใหน้ กั เรยี นเรยี นรจู้ าก

การเรยี นแบบลงมอื ทำ หรอื ปฏบิ ตั ิ

แล้วการเรยี นรู้กจ็ ะเกิดจากภายในใจและ
สมองของตนเอง การเรียนร้แู บบนเี้ รยี กว่า
PBL (Project-Based Learning)


10 วิถีสร้างการเรียนรเู้ พ่อื ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พ่อื ศษิ ย์


ความเข้าใจบทบาทของการศกึ ษา

ในศตวรรษท่ี ๒๑


หนังสอื 21st Century Skils : Learning for Life in Our Times ระบุ
บทบาทของการศึกษา เปรยี บเทียบยคุ เกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และ
ยุคปัจจุบันท่ีเรียกว่ายุคความรู้ ไว้ใน ๔ บทบาท อันได้แก่ (๑) เพื่อการ
ทำงานและเพ่ือสงั คม  (๒) เพ่อื ฝึกฝนสติปญั ญาของตน (๓) เพือ่ ทำหนา้ ที่
พลเมือง และ (๔) เพื่อสบื ทอดจารีตและคุณคา่  ดังน้ี


เปา้ หมายของ
ยคุ เกษตรกรรม
ยุคอตุ สาหกรรม
ยคุ ความรู้

การศึกษา


เพอื่ การทำงาน
ปลกู พืชเลยี้ งสตั ว์ รบั ใช้สังคมผา่ นงาน มีบทบาทตอ่

และเพือ่ สงั คม
ผลิตอาหารเลี้ยง
ท่ตี อ้ งการความ สารสนเทศของโลก

ครอบครวั และคนอนื่
ชำนาญพเิ ศษ
และ


สรา้ งเคร่อื งมือ
ประยุกตใ์ ช้ สร้างนวัตกรรมแก่
เคร่อื งใช้
วิทยาศาสตรแ์ ละ บริการใหม่ๆ เพอื่

วิศวกรรมศาสตร์
สนองความตอ้ งการ
เพอ่ื ความกา้ วหนา้ และแกป้ ญั หา

ของอุตสาหกรรม



11ภาค ๕ เร่ืองเล่าตามบริบท : จับความจากยอดครมู าฝากครเู พ่ือศิษย


เป้าหมายของ
ยคุ เกษตรกรรม
ยคุ อตุ สาหกรรม
ยุคความรู

การศกึ ษา



มีบทบาทใน มบี ทบาทตอ่ ชิน้ สว่ น มีบทบาทใน

เศรษฐกิจครัวเรือน
หน่ึงของหว่ งโซ่การ เศรษฐกจิ โลก



ผลิตและการ


กระจายสินคา้ ทย่ี าว



เพอื่ ฝึกฝนสติ เรียนวชิ าพน้ื ฐาน 3R เรยี นรู้ “อ่านออก พัฒนาตนเองด้วย
ปัญญาของตน
(Reading, ‘riting, เขียนได”้ และ
ความรผู้ า่ นเทคโนโลยี

‘rithmetic) หากได้ คดิ เลขเป็น” (เนน้ และเครือ่ งมอื เพม่ิ

เรยี น
จำนวนคนมากทสี่ ดุ ศักยภาพ



เท่าที่จะทำได




เรยี นการเกษตรกรรม เรยี นรู้ทักษะสำหรับ ได้รับผลประโยชน์

และทกั ษะทางชา่ ง
โรงงาน การคา้ และ จากการทีง่ านบน


งานในอุตสาหกรรม ฐานความรแู้ ละผู้


(สำหรบั คนสว่ นใหญ)่
ประกอบการขยาย



ตัวและเชือ่ มโยงไป



ทั่วโลก




เรยี นรทู้ กั ษะดา้ นการ
ใช้เทคโนโลยเี ป็น



จดั การ วศิ วกรรม เครอ่ื งมอื อำนวย



และวทิ ยาศาสตร
์ ความสะดวกในการ



(สำหรบั คนชนั้ สงู
เรยี นรู้ตลอดชวี ิต



สว่ นนอ้ ย)


เพอ่ื ทำหน้าท่ี ช่วยเหลอื เพือ่ นบ้าน
เขา้ รว่ มกจิ กรรมของ
เข้ารว่ มในการ
พลเมอื ง
องคก์ รทางสงั คมเพอื่ ตัดสินใจของชุมชน

ประโยชนข์ องชมุ ชน
และการตดั สนิ ใจ
ทางการเมอื ง ทงั้ โดย


12 วถิ สี ร้างการเรยี นรเู้ พ่อื ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พือ่ ศิษย


เปา้ หมายของ
ยุคเกษตรกรรม
ยุคอุตสาหกรรม
ยุคความร้

การศกึ ษา


เพื่อทำหน้าท่ี

ตนเองและผ่านทาง
พลเมอื ง (ต่อ)


กิจกรรมออนไลน


มสี ่วนร่วมใน เขา้ รว่ มกจิ กรรมดา้ น
เขา้ รว่ มกิจกรรมของ
กจิ กรรมของ แรงงานและการเมอื ง
โลกผ่านทางชุมชน
หมูบ่ ้าน

ออนไลน์ และ


social network


สนบั สนนุ บริการใน เขา้ รว่ มกจิ กรรมอาสา รับใชช้ มุ ชนทอ้ งถนิ่

ทอ้ งถิ่นและงาน สมคั รและบรจิ าคเพอื่ ไปจนถงึ ระดับโลก

ฉลองต่างๆ
การพฒั นาบา้ นเมอื ง
ในประเดน็ สำคญั ๆ


ดว้ ยเวลาและ
ทรัพยากรผา่ น
ทางการสอ่ื สารและ

social network


เพือ่ สืบทอดจารตี
ถา่ ยทอดความร้
ู เรียนรคู้ วามรูด้ ้าน
เรียนรูค้ วามรใู้ น
และคณุ คา่
และวัฒนธรรม การคา้ ชา่ ง และ
สาขาอย่างรวดเร็ว

เกษตรกรรมไปยัง วิชาชพี และ และประยุกตใ์ ช้หลัก
คนร่นุ หลงั
ถา่ ยทอดส่คู น
วชิ านนั้ ขา้ มสาขา

รนุ่ หลัง
เพอ่ื สร้างความรู้


ใหม่และนวัตกรรม


อบรมเลีย้ งดูลกู ธำรงคณุ ค่าและ
สร้างเอกลักษณข์ อง

หลานตามจารีต
วัฒธรรมของตน
คนจากจารตี

ประเพณีของชนเผ่า
ในท่ามกลาง
วฒั นธรรมทแี่ ตกตา่ ง

ศาสนาและความ ความแตกต่าง
หลากหลาย และ
เชอ่ื ของพ่อ แม่ ป
ู่ หลากหลาย ของ เคารพจารตี และ

ย่า ตา ยาย
ชวี ติ คนเมือง
วฒั นธรรมอืน่


13ภาค ๑๕ ทเรกั ่อื ษงะเลเพา่ อื่ตกามารบดรำิบรทงช:ีวจิตบั ใคนวศาตมวจรารกษยทอด่ี ๒ค๑รมู (า2ฝ1าstกCคenรtuูเพryือ่ Sศkษิillsย)


เป้าหมายของ
ยคุ เกษตรกรรม
ยุคอุตสาหกรรม
ยุคความร
ู้
การศกึ ษา


เพื่อสืบทอดจารตี

เช่ือมโยงกับคนใน
เข้าร่วมกจิ กรรม
และคณุ ค่า (ตอ่ )
วัฒนธรรมอื่นและ
ข้ามวัฒนธรรม

ภมู ภิ าคอื่น ตาม ผสมผสานจารีตท
่ี
การขยายตัวของ แตกต่างหลาก
การคมนาคมและ
หลายและความเปน็
การสอ่ื สาร
พลเมืองโลก สู่

จารตี ใหม่ และ
สบื ทอดสู่คนรุน่

ตอ่ ๆ ไป


โปรดสังเกตนะครับว่า การศกึ ษาสำหรบั โลก ๓ ยคุ แตกต่างกันมาก  
หากเราต้องการให้สังคมไทยดำรงศักด์ิศรี และคนไทยสามารถอยู่ในสังคม
โลกได้อย่างมีความสุข การศึกษาไทยต้องก้าวไปสู่เป้าหมายในยุคความร ู้
ไม่ใช่ย่ำเท้าอยู่กับเป้าหมายในยุคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม น่ีจึงเป็น
จุดท้าทายครูเพื่อศิษย์ และเป็นเข็มทิศนำทางครูเพ่ือศิษย์ให้ได้สนุกสนาน
และมีความสุขในการทำงานอย่างมีเป้าหมายเพื่อชีวิตที่ดีของศิษย์ในโลก
ยุคความร
ู้




๔ ธันวาคม ๒๕๕๓

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/416248







14 วิถีสรา้ งการเรียนรู้เพอื่ ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พ่อื ศิษย์


ทักษะครเู พอื่ ศษิ ยไ์ ทย

ในศตวรรษท่ี ๒๑


ครเู พอ่ื ศษิ ยต์ อ้ งไมใ่ ชแ่ ค่มใี จ เอาใจใสศ่ ษิ ยเ์ ท่านนั้  ยังตอ้ งมีทักษะใน
การ “จุดไฟ” ในใจศิษย์ ใหร้ ักการเรยี นรู้ ให้สนุกกับการเรียนรู้ หรอื ใหก้ าร
เรยี นรู้สนุกและกระตนุ้ ใหอ้ ยากเรียนรตู้ อ่ ไปตลอดชวี ิต

ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” คือ ในการจัดกิจกรรม

ต่าง ๆ ของเด็ก ครูต้องตอบได้ว่า ศิษย์ได้เรียนอะไร  และเพ่ือให้ศิษย์ได้
เรียนส่ิงเหล่านน้ั ครตู ้องทำอะไร ไมท่ ำอะไร ในสภาพเชน่ น้ี ครยู ง่ิ มคี วาม
สำคัญมากข้ึน และท้าทายครูทุกคนอย่างที่สุดที่จะไม่ทำหน้าท่ีครูผิดทาง
คือ ทำให้ศิษยเ์ รียนไม่สนกุ หรอื เรียนแบบขาดทักษะสำคญั

การเรยี นรใู้ นศตวรรษที่ ๒๑ ตอ้ ง “กา้ วขา้ มสาระวชิ า” ไปสกู่ ารเรยี นรู้
“ทกั ษะเพอ่ื การดำรงชีวติ ในศตวรรษท่ี ๒๑” ( 21st Century Skils) ที่ครูสอน
ไม่ได้ นกั เรียนต้องเรียนเอง หรือพดู ใหม่วา่ ครูต้องไมส่ อน แต่ต้องออกแบบ
การเรยี นรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ใหน้ ักเรยี น
เรียนรจู้ ากการเรยี นแบบลงมอื ทำ แล้วการเรยี นรู้กจ็ ะเกิดจากภายในใจและ
สมองของตนเอง การเรียนรู้แบบน้ีเรียกว่า PBL (Project-Based Learning)


15ภาค ๑๕ ทเรกั ื่อษงะเลเพ่าื่อตกามารบดรำบิ รทงช:วี จิตบั ใคนวศาตมวจรารกษยทอดี่ ๒ค๑รมู (า2ฝ1าstกCคenรtuเู พry่ือSศkิษillsย)



ครูเพ่อื ศษิ ยต์ ้องเรยี นรู้ทกั ษะในการออกแบบการเรียนรแู้ บบ PBL ให้
เหมาะแกว่ ยั หรอื พัฒนาการของศิษย์

สาระวิชาก็มีความสำคญั แตไ่ มเ่ พยี งพอสำหรบั การเรยี นรเู้ พอื่ มีชีวิต
ในโลกยุคศตวรรษท่ี ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ
subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครู
ช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถ
ประเมินความกา้ วหนา้ ของการเรียนรขู้ องตนเองได้

ทักษะเพอ่ื การดำรงชีวติ ในศตวรรษท่ี ๒๑ ได้แก่


สาระวิชาหลัก


• ภาษาแม่ และภาษาโลก

• ศิลปะ

• คณิตศาสตร์

• เศรษฐศาสตร

• วิทยาศาสตร

• ภมู ิศาสตร

• ประวัติศาสตร

• รัฐ และความเปน็ พลเมืองด


หัวข้อสำหรบั ศตวรรษท่ี ๒๑


• ความรู้เกยี่ วกับโลก

• ความรดู้ า้ นการเงนิ เศรษฐศาสตร์ ธรุ กจิ และการเปน็ ผปู้ ระกอบการ

• ความรู้ดา้ นการเปน็ พลเมืองดี

• ความรู้ด้านสุขภาพ

• ความรู้ดา้ นสิ่งแวดลอ้ ม


16 วิถีสร้างการเรยี นรเู้ พ่อื ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พ่ือศษิ ย


ทักษะดา้ นการเรียนรู้และนวตั กรรม


• ความรเิ ริ่มสรา้ งสรรคแ์ ละนวตั กรรม

• การคิดอยา่ งมีวจิ ารณญาณและการแก้ปญั หา

• การส่ือสารและการรว่ มมอื


ทักษะด้านสารสนเทศ สอื่ และเทคโนโลยี


• ความรู้ดา้ นสารสนเทศ

• ความรู้เก่ียวกบั สอื่

• ความรู้ด้านเทคโนโลย


ทักษะชีวิตและอาชพี


• ความยดื หยุ่นและปรับตวั

• การรเิ ริม่ สร้างสรรค์และเป็นตวั ของตัวเอง

• ทักษะสังคมและสงั คมขา้ มวัฒนธรรม

• การเป็นผู้สรา้ งหรอื ผลิต (productivity) และความรบั ผิดรับชอบ

เชอ่ื ถือได้ (accountability)

• ภาวะผู้นำและความรับผดิ ชอบ (responsibility)

นอกจากนั้นโรงเรยี นและครูต้องจดั ระบบสนบั สนุนการเรียนรู้ต่อไปน้

• มาตรฐานและการประเมนิ ในยุคศตวรรษที่ ๒๑

• หลักสตู รและการเรยี นการสอนสำหรับศตวรรษท่ี ๒๑

• การพฒั นาครูในศตวรรษท่ี ๒๑

• สภาพแวดลอ้ มที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑




๒๖ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๓

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/414362


17ภาค ๑๕ ทเรักอื่ ษงะเลเพา่ อื่ตกามารบดรำิบรทงช:ีวจติ ับใคนวศาตมวจรารกษยทอดี่ ๒ค๑รมู (า2ฝ1าstกCคenรtuเู พryอื่ Sศkิษillsย)



ศาสตราใหม่

สำหรับครเู พ่อื ศษิ ย์


ครเู พอ่ื ศษิ ยต์ อ้ งเปลยี่ นแปลงตวั เองโดยสนิ้ เชงิ เพอื่ ใหเ้ ปน็ “ครเู พอื่ ศษิ ย์
ในศตวรรษท่ี ๒๑” ไม่ใชค่ รูเพือ่ ศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๐ หรอื ศตวรรษท่ี ๑๙
ทเี่ ตรยี มคนออกไปทำงานในสายพานการผลติ ในยคุ อตุ สาหกรรม การศกึ ษา
ในศตวรรษท่ี ๒๑ ตอ้ งเตรยี มคนออกไปเปน็ คนทำงานทใี่ ชค้ วามรู้ (knowledge

worker) และเปน็ บุคคลพรอ้ มเรยี นรู้ (learning person) ไม่วา่ จะประกอบ
สัมมาชีพใด มนษุ ย์ในศตวรรษท่ี ๒๑ ตอ้ งเปน็ บคุ คลพร้อมเรยี นรู้ และเปน็
คนทำงานท่ีใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อม
เรยี นรู้ และเปน็ คนทำงานทใ่ี ชค้ วามรู้ ดงั นนั้ ทกั ษะสำคญั ทส่ี ดุ ของศตวรรษ

ท่ี ๒๑ จงึ เป็นทกั ษะของการเรียนรู้ (learning skils)

การศึกษาในศตวรรษท่ี ๒๑ จำต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องเตรียมคน
ไปเผชญิ การเปลยี่ นแปลงทร่ี วดเรว็ รนุ แรง พลกิ ผนั และคาดไมถ่ งึ คนยคุ ใหม่
จงึ ต้องมีทกั ษะสงู ในการเรยี นรแู้ ละปรับตัว

ครเู พอื่ ศษิ ยจ์ งึ ตอ้ งพฒั นาตนเองใหม้ ที กั ษะของการเรยี นรดู้ ว้ ย และใน
ขณะเดยี วกนั กต็ อ้ งมที กั ษะในการทำหนา้ ทค่ี รใู นศตวรรษที่ ๒๑ ซง่ึ ไมเ่ หมอื น
การทำหน้าทีค่ รูในศตวรรษท่ี ๒๐ หรอื ๑๙


18 วถิ ีสรา้ งการเรยี นร้เู พื่อศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พ่ือศษิ ย


ทกั ษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ทคี่ นทกุ คนตอ้ งเรยี นรตู้ ง้ั แตช่ น้ั อนบุ าล
ไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวติ คือ 3R x 7C

3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ
(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)

7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะดา้ นการคิด
อยา่ งมวี ิจารณญาณ และทักษะในการแกป้ ญั หา)

Creativity & innovation (ทกั ษะดา้ นการสรา้ งสรรค์ และนวตั กรรม)

Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่าง
วัฒนธรรม ตา่ งกระบวนทัศน)์

Colaboration, teamwork & leadership (ทักษะดา้ นความร่วมมือ
การทำงานเปน็ ทีม และภาวะผูน้ ำ)

Communications, information & media literacy (ทักษะด้าน
การสอ่ื สาร สารสนเทศ และรเู้ ท่าทนั สอ่ื )

Computing & ICT literacy (ทกั ษะดา้ นคอมพวิ เตอร์ และเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสือ่ สาร)

Career & learning skils (ทักษะอาชพี และทกั ษะการเรยี นรู้)


การเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี ๒๑ คอื การเรียนรู้ 3R x 7C


ครเู พอื่ ศิษย์เองตอ้ งเรียนรู้ 3R x 7C และตอ้ งเรยี นร้ตู ลอดชวี ิต แม้
เกษียณอายุจากการเปน็ ครูประจำการไปแลว้ เพราะเปน็ การเรยี นรเู้ พ่ือชวี ิต
ของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และ
เพ่อื การดำรงชวี ติ ของตนเอง


19ภาค ๑๕ ทเรักื่อษงะเลเพ่าอ่ืตกามารบดรำิบรทงช:ีวจติ บั ใคนวศาตมวจรารกษยทอด่ี ๒ค๑รมู (า2ฝ1าstกCคenรtuเู พry่อื Sศkษิillsย)


21st Century Learning Framework

21st Century Knowledge-and-Skil s Rainbow

(http://www.school ibrarymonthly.com/articles/img/Tril ing-Figure1.jpg)




ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น
“คุณอำนวย” (facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based
Learning) ของศิษย์ ซ่งึ ผมจะเขียนรายละเอยี ดเร่อื ง PBL ในบทต่อ ๆ ไป

ขอย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ “คุณ
อำนวย” ของการเรียนของศิษย์ท่ีส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL น่ันหมายถึง
โรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเนน้ สอน หนั มาเน้นเรียน ซง่ึ ต้องเน้นทั้ง
การเรียนของศิษยแ์ ละของครู

ครูจะต้องปรับตัวมากซึ่งเป็นเร่ืองยาก  จึงต้องมีตัวช่วย คือ
Professional Learning Communities (PLC) ซ่ึงกค็ อื การรวมตวั กนั ของ
ครูประจำการเพ่ือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำหน้าท่ีครูนั่นเอง

20 วถิ สี ร้างการเรยี นรเู้ พ่ือศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พื่อศษิ ย


ขณะนม้ี ลู นธิ สิ ดศร-ี สฤษดว์ิ งศ์ (มสส.) กำลงั จะจดั PLC ไทย เรยี กวา่ ชมุ ชน
เรียนร้คู รเู พื่อศษิ ย์ (ชร. คศ.) หรอื ในภาษาการจดั การความรู้ (Knowledge
managements หรอื KM) เรยี กวา่ CoP (Community of Practice) ของ
ครเู พอื่ ศิษย์นั่นเอง

ชมุ ชนเรยี นรคู้ รเู พอ่ื ศษิ ย์ (ชร. คศ.) คอื ตวั ชว่ ยการเรยี นรขู้ องครู เพอ่ื

ใหก้ ารปรบั ตวั ของครู และการเปลี่ยนชุดความร้แู ละชดุ ทักษะของครูไมเ่ ปน็
เร่อื งยาก แต่จะสนกุ เสียด้วยซ้ำ




๑๕ ธนั วาคม ๒๕๕๓

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/415058

























21ภาค ๑๕ ทเรัก่อื ษงะเลเพ่า่อืตกามารบดรำบิ รทงช:ีวจติ ับใคนวศาตมวจรารกษยทอด่ี ๒ค๑รูม(า2ฝ1าstกCคenรtuูเพryอื่ Sศkษิillsย)


พัฒนาสมองหา้ ด้าน


ครูเพ่ือศิษย์เป็นคนท่ีโชคดีที่สุดในโลก เพราะเป็นคนที่มุ่งสร้างสรรค์
ศิษย์สู่โลกยุคใหม่ มุ่งหวังให้ศิษย์มีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษ

ที่ ๒๑ ซึ่งจะทำไดด้ ี ครเู พื่อศษิ ยเ์ องต้องต้ังหนา้ เรียนร้ทู ักษะเหลา่ น้ัน โดยมี
ความจรงิ วา่ ไมม่ ใี ครรจู้ รงิ ไมม่ ใี ครเปน็ ผกู้ ำหนดทกั ษะเหลา่ นน้ั ไวอ้ ยา่ งตายตวั  
ไม่มีใครรู้วิธีการและต้ังตนเป็น “กูรู” ในเรื่องนี้ได ้ เป็นได้เพียง “กูไม่รู้”
อยา่ งผม

โลกยุคใหม่ให้โอกาสประชาธปิ ไตยแกเ่ ราแลว้  เราต้องฉวยโอกาสนัน้

การพัฒนาสมองที่สำคัญ ซ่ึงผมได้อ่านและสังเคราะห์มาฝากนั้น

มาจากหนังสอื 21st Century Skils : Rethinking How Students Learn 
บทที่ 1 Five Minds for the Future เขียนโดย ศาสตราจารย์ผู้ย่ิงใหญ่

แห่งทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) คือ โฮวาร์ด การ์ดเนอร์
(Howard Gardner)

น่ีคือ พลงั สมอง ๕ ด้าน หรอื จรติ ๕ แบบท่คี นในอนาคตจะต้องม ี
และครูเพ่ือศิษย์จะต้องหาทางออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้พัฒนาสมอง


22 วิถสี รา้ งการเรียนรเู้ พอ่ื ศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พ่ือศิษย


ทั้ง ๕ ด้านนี้  ท่ีจริงครูสอนไม่ได้ แต่ศิษย์เรียนได้และเรียนได้ดี หากคร

ใช้วิธีการทด่ี ีในการจดั การเรียนรูใ้ ห้แกศ่ ิษย

พลงั สมอง ๓ ใน ๕ ดา้ นนเ้ี ปน็ พลงั เชงิ ทฤษฎี หรอื ทเี่ รยี ก cognitive
mind ได้แก่ สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) สมองด้าน
สังเคราะห์ (synthesizing mind) และสมองด้านสร้างสรรค์ (creating
mind) อีก ๒ ดา้ นเป็นพลังดา้ นมนุษย์สมั ผสั มนษุ ย์ไดแ้ ก่ สมองดา้ นเคารพ
ใหเ้ กยี รติ (respectful mind)  และสมองด้านจรยิ ธรรม (ethical mind)

การเรียนรู้เพ่ือพัฒนาสมอง ๕ ด้าน ไม่ดำเนินการแบบแยกส่วน

แต่เรียนรทู้ กุ ดา้ นไปพร้อม ๆ กัน หรอื ทเี่ รียกว่าเรียนรแู้ บบบรู ณาการ และ
ไม่ใช่เรียนจากการสอน แต่ให้เด็กเรียนจากการลงมือทำเองซ่ึงครูมี

ความสำคัญมาก เพราะเด็กจะเรียนได้อย่างมีพลัง ครูต้องทำหน้าท่ี
ออกแบบการเรียนรู้ และช่วยเปน็ “คณุ อำนวย” หรอื เปน็ โคช้ ให้  ครูท่เี ก่ง
และเอาใจใส่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ลึกและเชื่อมโยง น่ีคือ มิติ

ทางปัญญา


สมองด้านวิชาและวนิ ัย (disciplined mind)


คำว่า disciplined มีได้ ๒ ความหมาย คือหมายถึง มีวิชาเป็น
รายวิชาก็ได้ และหมายถึงเป็นคนมีระเบียบวินัยบังคับตัวเองให้เรียนรู้เพื่อ
อยู่ในพรมแดนความรู้ก็ได้  ในที่น้ี หมายถึงมีความรู้และทักษะในวิชาใน
ระดับที่เรียกว่าเชยี่ วชาญ (master) และสามารถพฒั นาตนเองในการเรียนรู้
อยตู่ ลอดเวลา

หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ บอกเราว่า คำว่า เชี่ยวชาญ ใน
โรงเรียน หรอื ในการเรียนรู้ของเด็ก ตอ้ งคำนึงถงึ บรบิ ท โดยเฉพาะอย่างย่ิง
บริบทของการเจรญิ เตบิ โตทางสมองของเดก็   คำว่า เชย่ี วชาญ ในวชิ า


23ภาค ๑๕ ทเรักือ่ ษงะเลเพ่า่ือตกามารบดรำิบรทงช:ีวจติ ับใคนวศาตมวจรารกษยทอด่ี ๒ค๑รูม(า2ฝ1าstกCคenรtuูเพryื่อSศkษิillsย)



คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ๖ ขวบ กับเด็ก ๑๒ ขวบต่างกันมาก  และต้อง

ไม่ลืมว่าเด็กบางคนอายุ ๑๐ ขวบ แต่ความเช่ียวชาญด้านคณิตศาสตร

ของเขาเท่ากับเด็กอายุ ๑๓ ขวบ  หรือในทางตรงกันข้าม เด็กบางคน

อายุ ๑๐ ขวบ แต่ความเช่ยี วชาญทางคณติ ศาสตรท์ ่เี ขาสามารถมีได้เทา่ กับ

เดก็ อายุ ๗ ขวบ

คำว่า เชี่ยวชาญ หมายความว่า ไม่เพียงรู้สาระของวิชานั้น แต่ยัง
คดิ แบบผทู้ เ่ี ขา้ ถงึ จติ วญิ ญาณของวชิ านนั้ คนทเี่ ชย่ี วชาญดา้ นประวตั ศิ าสตร์
ไมเ่ พยี งรเู้ รือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์ แตย่ ังคิดแบบนักประวตั ศิ าสตร์ดว้ ย

เป้าหมายคอื การเรียนรแู้ กน่ วชิ า ไมใ่ ชจ่ ดจำสาระแบบผิวเผิน แต่รู้
แก่นวิชาจนสามารถเอาไปเช่ือมโยงกับวิชาอื่นได้ และสนุกกับมันจนหม่ัน
ติดตามความก้าวหน้าของวิชาไมห่ ยุดยัง้

สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind)

นี่คือ ความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่าง ๆ ที่
เก่ยี วข้อง นำมากลน่ั กรองคัดเลอื กเอามาเฉพาะสว่ นทีส่ ำคัญ และจัดระบบ
นำเสนอใหมอ่ ยา่ งมคี วามหมาย คนทมี่ คี วามสามารถสงั เคราะหเ์ รอ่ื งตา่ ง ๆ
ได้ดีเหมาะทจ่ี ะเป็นครู นกั สื่อสาร และผนู้ ำ

ครตู อ้ งจดั ใหศ้ ษิ ยไ์ ดเ้ รยี นเพอ่ื พฒั นาสมองดา้ นสงั เคราะห์ ซงึ่ ตอ้ งเรยี น
จากการฝกึ เปน็ สำคญั และครตู อ้ งเสาะหาทฤษฎเี กยี่ วกบั การสงั เคราะห์มาใช้
ในขั้นตอนของการเรียนร้จู ากการทบทวนไตร่ตรอง (reflection) หรอื AAR
หลงั การทำกจิ กรรมเพอ่ื ฝกึ หดั เพราะผมเชอื่ วา่ การฝกึ สมองดา้ นสงั เคราะห์
ต้องออกแบบการเรียนร้ใู ห้ ปฏบิ ตั ินำ ทฤษฎีตาม

และการสังเคราะห์กับการนำเสนอเป็นคู่แฝดกัน การนำเสนอมีได้

24 วถิ สี ร้างการเรียนรู้เพอ่ื ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พ่ือศิษย


หลากหลายรปู แบบ ทง้ั นำเสนอเปน็ เรยี งความ การนำเสนอดว้ ยสอ่ื มลั ตมิ เี ดยี
(multimedia presentation) เปน็ ภาพยนตร์สนั้ เปน็ ละคร ฯลฯ


สมองดา้ นสรา้ งสรรค์ (creating mind)


น่ีคือ ทักษะท่ีคนไทยขาดที่สุด โดยคุณสมบัติสำคัญที่สุดของสมอง
สร้างสรรค์คือ คิดนอกกรอบ  แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งได้ต้องเก่ง
ความร้ใู นกรอบเสยี ก่อน แลว้ จงึ คิดออกไปนอกกรอบนน้ั ถ้าคิดนอกกรอบ
โดยไม่มคี วามรู้ในกรอบเรียกว่า คดิ เลือ่ นลอย

คนที่มีความรู้และทักษะอย่างดีเรียกว่า ผู้เชี่ยวชาญ ต่างจาก

ผสู้ ร้างสรรค์ตรงท่ผี ู้สรา้ งสรรคท์ ำสงิ่ ใหม ่ ๆ ออกไปนอกขอบเขตหรือวิธกี าร
เดิม ๆ โดยมีจินตนาการแหวกแนวไป และการสรา้ งสรรค์ต้องใช้สมองหรอื
ทักษะอ่ืน ๆ ทกุ ด้านมาประกอบกนั   

การสร้างสรรค์ท่ียิ่งใหญ่มักเป็นผลงานของคนอายุน้อย  เพราะ

คนอายุน้อยมีธรรมชาติติดกรอบน้อยกว่าคนอายุมาก เป็นเคร่ืองบ่งชี้ว่า

การมีความรู้เชิงวิชาและวินัย รวมถึงความรู้เชิงสังเคราะห์มากเกินไปอาจ
ลดทอนความสรา้ งสรรค์กไ็ ด้ และเปน็ ที่เชื่อกันว่าความสรา้ งสรรค์นัน้ เรยี นรู้
หรอื ฝึกได้  ครูเพื่อศิษยจ์ งึ ตอ้ งหาวธิ ีฝกึ ฝนความสรา้ งสรรคใ์ หแ้ ก่ศษิ ย ์

สมองท่ีสร้างสรรค์คือ สมองท่ีไม่เชื่อว่าวิธีการหรือสภาพซึ่งถือว่าดี
ทส่ี ุดท่มี อี ยู่นน้ั ถอื เป็นที่สดุ แลว้ เป็นสมองทเี่ ชือ่ วา่ ยงั มีวธิ ีการหรอื สภาพที่ดี
กว่าอย่างมากมายซ่อนอยู่ หรือรอปรากฏตัวอยู่ แต่สภาพหรือวิธีการเช่น
น้ันจะเกดิ ได้ ตอ้ งละจากกรอบวธิ คี ิดหรอื วธิ ีดำเนินการแบบเดิม ๆ

ศัตรูสำคัญทส่ี ดุ ของความคดิ สร้างสรรค์ คือ การเรียนแบบท่องจำ

เปรยี บเทียบสมอง ๓ แบบข้างตน้ ไดว้ ่า สมองดา้ นวชิ าและวนิ ยั เนน้


25ภาค ๑๕ ทเรักอ่ื ษงะเลเพ่าอื่ตกามารบดรำิบรทงช:ีวจิตับใคนวศาตมวจรารกษยทอด่ี ๒ค๑รมู (า2ฝ1าstกCคenรtuเู พryื่อSศkษิillsย)



ความลกึ (depth) สมองด้านการสงั เคราะห์เนน้ ความกวา้ ง (breath) และ
สมองดา้ นสรา้ งสรรค์เนน้ การขยายหรือฝนื (stretch)


สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind)


คุณสมบัติด้านเคารพให้เกียรติผู้อื่นมีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ท่ี
ผู้คนเคลื่อนไหวเดินทางและส่ือสารได้ง่าย   คนเราจึงต้องพบปะผู้อ่ืน
จำนวนมากขึ้นอย่างมากมาย  และเป็นผู้อ่ืนที่มีความแตกต่างหลากหลาย
ทั้งด้านกายภาพ นิสัยใจคอ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ความเช่ือ ศาสนา  
มนุษย์ในศตวรรษท่ี ๒๑ จึงต้องเปน็ คนทส่ี ามารถคุ้นเคยและใหเ้ กยี รตคิ นที่
มีความแตกต่างจากท่ตี นเคยพบปะได

ท่ีสำคัญ คือ ต้องไม่มีอคติ ท้ังด้านลบและด้านบวกต่อคนต่าง

เชื้อชาติ ต่างศาสนา ตา่ งความเช่ือ

ครเู พอ่ื ศษิ ยจ์ ะฝึกฝนสมองด้านนี้ของศษิ ยอ์ ยา่ งไร หากศษิ ย์ของท่าน
เปน็ เดก็ มุสลิม  เปน็ เดก็ ในเมอื ง  เป็นเด็กชนเผา่ นค่ี อื ความทา้ ทาย หาก
โรงเรยี นของทา่ นมเี ดก็ นกั เรยี นจากหลากหลายวฒั นธรรม การจดั การเรยี นรู้
นา่ จะงา่ ยขนึ้ แตใ่ นกรณที นี่ กั เรยี นในโรงเรยี นทท่ี า่ นสอนเปน็ เดก็ จากวฒั นธรรม
และชนชั้นเดียวกัน ครูจะจัดให้เด็กเรียนรู้เพ่ือพัฒนาสมองด้านน้ีอย่างไร
นับเป็นความท้าทายอยา่ งยงิ่


สมองด้านจริยธรรม (ethical mind)


นค่ี อื ทักษะเชงิ นามธรรม เรียนร้ซู มึ ซับไดโ้ ดยการชวนกันสมมติและ
แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันว่าตัวเองเป็นอย่างไรในเรื่องใดเร่ืองหน่ึง และหาก
คนท้ังโลกเป็นอย่างน้ีหมด โลกจะเป็นอย่างไร รวมทั้งอาจเอาข่าวเรื่องใด
เร่ืองหนึ่งขึ้นมาคุยกัน ผลัดกันออกความเห็นว่าพฤติกรรมในข่าวก่อผลดี
หรือผลเสียต่อการอย่รู วมกนั เป็นสังคมที่มสี ันติสุขอยา่ งไร


26 วิถีสร้างการเรยี นรเู้ พ่อื ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอ่ื ศิษย์


ตัวอย่างท่ีเอามาเป็นกรณีศึกษา ควรมีความแตกต่างหลากหลาย
รวมหลาย ๆ กรณีศึกษา แลว้ เป็นภาพจริงของสงั คมที่มีทงั้ คนดีคนเลว  

แนน่ อนวา่ สมองดา้ นจรยิ ธรรมไดร้ ับการปลกู ฝังกล่อมเกลามาตัง้ แต่
อยู่ในท้องแม่ เรื่อยมาจนโต และผมเชื่อว่าเรียนรู้พัฒนาได้จนสูงวัยและ
ตลอดอายขุ ยั ข้อสงั เกตส่วนตัวของผมกค็ ือ แนวความคิดเร่อื ง ๕ ฉลาดนี้
ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการพัฒนาทฤษฎี ครูเพ่ือศิษย์ทุกคนมีสิทธ์ิที่จะพัฒนา
ทฤษฎีข้ึนใช้เอง ทฤษฎีไม่ใช่สิ่งตายตัว หรือมีสิทธ์ิสร้างเฉพาะนักวิชาการ
ยิ่งใหญ่เท่านั้น  คนที่มุ่งม่ันทำงานด้านใดด้านหน่ึงมีสิทธิ์พัฒนาทฤษฎีขึ้น
ใชเ้ ป็นแนวทางในการทำงานสรา้ งสรรคข์ องตน

ดังนั้น ครูเพ่ือศิษย์ทกุ คนควรสรา้ งทฤษฎใี นการทำงานของตน  แล้ว
ลงมือปฏิบัติและหาทางเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีของ
ตนถกู ตอ้ งหรือมีข้อบกพร่องท่ีจะตอ้ งปรับปรงุ อย่างไร การทำงานแบบนคี้ ือ
การทำงานบนฐานการวิจัยนั่นเอง ผลงานวิจัยบางส่วนจะสามารถนำมา
เปน็ ผลงานเพ่อื การเลือ่ นตำแหน่งได้ดีกว่าการทำ “ผลงาน” ปลอม ๆ ทท่ี ำ
กนั ในปัจจบุ ันอย่างมากมาย





๔ ธันวาคม ๒๕๕๓

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/418836











27ภาค ๑๕ ทเรกั อ่ื ษงะเลเพ่าือ่ตกามารบดรำบิ รทงช:วี จิตบั ใคนวศาตมวจรารกษยทอดี่ ๒ค๑รูม(า2ฝ1าstกCคenรtuูเพry่อื Sศkษิillsย)



ทกั ษะการเรยี นรู้และนวตั กรรม


ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation
Skills) นี้คือ ทักษะพื้นฐานท่ีมนุษย์ในศตวรรษท่ี ๒๑ ทุกคนต้องเรียน 
เพราะโลกจะย่ิงเปล่ียนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน
มากขึ้น คนที่อ่อนแอในทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่
ตามโลกไม่ทัน เปน็ คนอ่อนแอ ชีวิตก็จะยากลำบาก

ครูเพื่อศิษย์จึงต้องเอาใจใส่ พัฒนาขีดความสามารถของตนเองใน
ด้านนี้ ให้สามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะ
ของตนเองในด้านการเรียนรแู้ ละนวัตกรรมได้ตลอดชวี ติ  

วิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะน้ี ใช้หลักการว่า ต้องมีการ
เรยี นรแู้ บบทเี่ ดก็ รว่ มกนั สรา้ งความรเู้ องคอื เรยี นรู้โดยการสรา้ งความรู้ และ
เรยี นร้เู ปน็ ทีม

ทกั ษะดา้ นการเรยี นรแู้ ละนวตั กรรมนอี้ ยทู่ ย่ี อดของ Knowledge-and-
Skils Rainbow ซ่ึงเปน็ หัวใจของทกั ษะเพ่ือการดำรงชวี ติ ในศตวรรษท่ี ๒๑

การเรยี นรทู้ กั ษะในการเรยี นรู้ (learning how to learn หรอื learning

28 วถิ สี รา้ งการเรียนรู้เพ่อื ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พือ่ ศิษย


skils) และเรยี นรทู้ กั ษะในการสรา้ งการเปลย่ี นแปลงไปในทางดขี นึ้ (นวตั กรรม)
ประกอบดว้ ยทักษะยอ่ ย ๆ ดังต่อไปนี

๑. การคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณ (critical thinking) และการแกป้ ญั หา
(problem solving) ซงึ่ หมายถงึ การคดิ อยา่ งผเู้ ชย่ี วชาญ (expert thinking)

๒. การสอ่ื สาร (communication) และความรว่ มมอื (colaboration)
ซงึ่ หมายถึง การสอ่ื สารอย่างซบั ซ้อน (complex communicating)

๓. ความริเรม่ิ สรา้ งสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation) 
ซง่ึ หมายถึง การประยกุ ตใ์ ชจ้ นิ ตนาการและการประดษิ ฐ

ศิษย์ของทา่ นจะต้องใชท้ กั ษะเหลา่ น้ใี นการดำรงชีวติ เพอ่ื การเรยี นรู้
ตลอดชวี ิตของตนเอง และเพื่อการทำงานสร้างสรรคท์ ี่มีคณุ ค่าตอ่ การดำรง
ชีวติ ในโลกของการงานที่เนน้ ความรู้ เปน็ การท้าทายครูเพ่อื ศิษยว์ า่ ทา่ นจะ
ออกแบบการเรียนร้ใู หแ้ ก่ศษิ ยข์ องทา่ นอย่างไร ให้ศษิ ยไ์ ดเ้ รยี นรู้ทักษะเหล่า
นต้ี ดิ ตัวไป  ทกั ษะเหลา่ นส้ี อนโดยตรงไมไ่ ด้ แตจ่ ัดกระบวนการให้เรียนรู้ได้

เคลด็ ลบั อยา่ งหนง่ึ ของการบม่ เพาะทกั ษะทงั้ ๓ คอื การฝกึ ตงั้ คำถาม
การตั้งคำถามที่ถูกต้องสำคัญกว่าการหาคำตอบ ครูเพ่ือศิษย์จึงต้องชวน
ศิษย์หรือเปิดโอกาสให้ศิษย์ตั้งคำถามแปลก ๆ และชวนกันหาทางทดลอง
หรอื คน้ ควา้ เพอ่ื ตอบคำถามนั้น

ทกุ โอกาสของทกุ กจิ กรรมเพอ่ื การเรยี นรคู้ วรชวนกนั ตงั้ คำถาม ศษิ ยค์ วร
ได้เรียนรู้ว่าคำถามที่ถูกต้องเป็นอย่างไร และนำไปสู่การสร้างสรรค์ส่ิงใหม่
อย่างไร  ท่ีจริงเร่ืองน้ีไม่ยากหากครูฝืนใจตัวเอง ไม่ยึดถูกผิดตามทฤษฎี
แต่ชักชวนเดก็ รว่ มกันหาคำตอบท่นี ำไปสู่การเรียนรู้หรอื สร้างสรรคส์ ิง่ ใหม่

หัวใจของเรอ่ื งน้ีคอื จติ วิญญาณของความไมร่ ู้ หรอื ไม่รูจ้ รงิ  หรือ


29ภาค ๑๕ ทเรักอ่ื ษงะเลเพา่ อื่ตกามารบดรำิบรทงช:วี จิตับใคนวศาตมวจรารกษยทอด่ี ๒ค๑รูม(า2ฝ1าstกCคenรtuูเพryอื่ Sศkิษillsย)


ไม่เชื่อง่าย แล้วหาทางพิสูจน์เพื่อท้าทายความรู้เดิม ๆ ท้ังของตนเองและ
ของโลก 

มีความเข้าใจผิดที่เชื่อกันแพร่หลายในวงการศึกษาว่า นักเรียนต้อง
เรยี นความร้รู ายวชิ าจนเข้าใจคลอ่ งแคลว่ กอ่ น  แลว้ จึงจะสามารถนำความรู้
นั้นไปใช้งานได้  ผลการวิจัยสมัยใหม่บอกว่า การเรียนโดยประยุกต์ใช

ความรู้เพื่อเรียนรู้ทักษะ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา
และความริเร่ิมสร้างสรรค์ไปพร้อม ๆ กับเรียนเนื้อหา  ให้ผลสัมฤทธ์ิด้าน
การเรยี นรู้สงู กว่า เพราะเด็กมีความต้งั ใจเรียนมากกวา่

ทฤษฎใี หมค่ ัดค้านทฤษฎีเก่าโดยสนิ้ เชงิ ว่า การเรยี นรู้ไม่ไดม้ ีลักษณะ
เรียงเป็นแถว จากเรียนรู้ทักษะหรือความรู้พื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ทักษะที่

ซับซ้อน (จากความรู้ (knowledge) ไปสู่ความเข้าใจ (comprehension)
การประยุกต์ใช้ (application) การวิเคราะห์ (analysis) การสังเคราะห์
(synthesis) และการประเมนิ (evaluation) ตามลำดบั ) แตใ่ นความเปน็ จรงิ
การเรียนรู้เปน็ กระบวนการท่ซี บั ซอ้ น และการเรยี นรจู้ ริงตอ้ งเลย (beyond)
การรู้เนื้อหาไปสู่ความเข้าใจแท้จริงในระดับที่เอาไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง
การเรียนรู้เน้ือหาไปพร้อม ๆ กับการใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริง  หรือ
เรียนทุกข้ันตอนในวงเล็บข้างบนไปพร้อม ๆ กันในสถานการณ์จริง จึงให้
ผลการเรียนรูท้ ีล่ ึกและเชือ่ มโยงกวา่ คอื รู้จริง

ขนั้ ตอนการเรยี นรจู้ ากผลการวจิ ยั ในยคุ ปจั จบุ นั คอื จำได้ (remember)
เขา้ ใจ (understand) ประยุกต์ใช้ (apply) วเิ คราะห์ (analyze) ประเมิน
(evaluate) และสร้างสรรค์ (create) โดยที่ขั้นตอนเหล่านี้เกิดพร้อม ๆ
กันได้ หรืออะไรเกิดก่อนเกิดหลังได้ท้ังส้ิน รวมทั้งเกิดเรียงลำดับจากหลัง
ไปหนา้ ก็ได้


30 วิถีสรา้ งการเรียนรู้เพอื่ ศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอื่ ศิษย


๑. การออกแบบการเรยี นรทู้ กั ษะการคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณ

และการแกป้ ัญหา


การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการ

แก้ปัญหา ควรมเี ป้าหมายและวธิ ีการดังตอ่ ไปนี้

เปา้ หมาย : นักเรียนสามารถใช้เหตผุ ล

 คดิ ได้อยา่ งเปน็ เหตุเปน็ ผลหลากหลายแบบ ได้แก่ คิดแบบ

อปุ นยั (inductive) คิดแบบอนมุ าน (deductive) เปน็ ต้น

แลว้ แต่สถานการณ

เป้าหมาย : นกั เรยี นสามารถใช้การคดิ กระบวนระบบ (systems thinking) 

 วิเคราะห์ได้ว่าปัจจัยย่อยมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร จนเกิด

ผลในภาพรวม

เปา้ หมาย : นักเรียนสามารถใชว้ ิจารณญาณและตดั สินใจ

 วเิ คราะหแ์ ละประเมนิ ขอ้ มลู หลกั ฐาน การโตแ้ ยง้ การกลา่ วอา้ ง

และความเชอื่

 วเิ คราะหเ์ ปรียบเทียบและประเมนิ ความเห็นหลัก ๆ

 สงั เคราะหแ์ ละเชือ่ มโยงระหว่างสารสนเทศกบั ข้อโตแ้ ย้ง

 แปลความหมายของสารสนเทศและสรุปบนฐานของการ

วเิ คราะห์

 ตีความและทบทวนอย่างจริงจัง (critical reflection) ใน

ดา้ นการเรียนรู้ และกระบวนการ 


31ภาค ๑๕ ทเรกั อื่ ษงะเลเพา่ ือ่ตกามารบดรำบิ รทงช:ีวจิตบั ใคนวศาตมวจรารกษยทอดี่ ๒ค๑รมู (า2ฝ1าstกCคenรtuเู พryื่อSศkิษillsย)


Click to View FlipBook Version