The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jaras atiwitthayaporn, 2020-05-25 20:18:02

Learning

Learning

Keywords: Learning

ส่วนนักเรยี นจะไดป้ ระโยชนค์ ือ ฝึกความรับผดิ ชอบและฝกึ ทำงานให้สำเรจ็
ตามเงือ่ นไขและเงื่อนเวลา


ตัวอยา่ งสัญญาส่งงาน


ขอ้ กำหนด : กรอกขอ้ ความ เซน็ ชอ่ื แลว้ สง่ ครู


ขา้ พเจา้ เขา้ ใจวา่ ตนเองเปน็ ผรู้ บั ผดิ ชอบตอ่ การทำโจทยข์ องขา้ พเจา้ เอง ถา้ ขา้ พเจา้ เลอื ก
เพอื่ นรว่ มงานและเพอ่ื นรว่ มงานสว่ นของตนไมเ่ สรจ็ ขา้ พเจา้ กย็ งั ตอ้ งรบั ผดิ ชอบทำโจทย์ โดย
จะทำสญั ญาสง่ งานใหม่


โครงการของขา้ พเจา้ คอื (ระบรุ ายละเอยี ด)


...........................................................................................................................................................


...........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................


เลอื ก ๑ ขอ้ และกรอกขอ้ ความ หากนกั เรยี นเลอื กทจ่ี ะทำโครงการรว่ มกนั เพอื่ น ๑ หรอื ๒ คน

อ ขา้ พเจา้ เลอื กทำงานคนเดยี ว

อ เพอ่ื นรว่ มงาน ๑ คน ของขา้ พเจา้ คอื .....................................................................

อ เพอ่ื นรว่ มงาน ๒ คน ของขา้ พเจา้ คอื .....................................................................


และ...........................................................................................................................


ขา้ พเจา้ เขา้ ใจวา่ ตอ้ งสง่ รา่ งรายงานหรอื รายงานความกา้ วหนา้ ภายในวนั ท.่ี .........................


ขา้ พเจา้ เขา้ ใจวา่ วนั สง่ รายงานฉบบั สมบรู ณค์ อื วนั ท.่ี .........................


ถา้ ขา้ พเจา้ เขา้ ใจวา่ หากขา้ พเจา้ ไมส่ ง่ รายงานฉบบั สมบรู ณภ์ ายในกำหนด หรอื ไมพ่ รอ้ มที่


จะนำเสนอผลงานตอ่ ชน้ั ขา้ พเจา้ จะไดร้ บั คะแนนศนู ยจ์ ากงานน้





..................................................... ....................................................


ลายเซน็ ของนกั เรยี น วนั เดอื น ปี


282 วถิ สี ร้างการเรยี นรเู้ พอ่ื ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พื่อศษิ ย์


ตวั อยา่ งโจทยแ์ บบฝกึ หดั เรอื่ งการวเิ คราะหเ์ ร่อื งส้ัน


ภาพรวม : ทมี งานจะตอ้ งอา่ นเรอ่ื งสน้ั ๕ เรอื่ งตามทร่ี ะบไุ วท้ กี่ ระดาน
ประกาศ เรอ่ื งสน้ั ๓ เรอื่ งมาจากหนงั สอื เรยี น อกี ๒ เรอื่ งมาจากวารสาร
วชิ าการ (กรณุ าอยา่ เขยี นบนเอกสาร เพราะจะตอ้ งนำไปใชใ้ นชน้ั เรยี นอนื่ )
นกั เรยี นแตล่ ะคนตอ้ งอา่ นทง้ั ๕ เรอื่ ง โดยอาจอา่ นคนเดยี วเงยี บ ๆ หรอื
อา่ นดงั  ๆ รว่ มกนั ในกลมุ่ ถา้ อา่ นดงั  ๆ ในกลมุ่ จะผลดั กนั อา่ นออกเสยี ง
คนละเรอ่ื ง หรอื ใหค้ นเดยี วอา่ นทกุ เรอื่ งกไ็ ด้

กำหนดงานเสรจ็ : งานนต้ี อ้ งเสรจ็ สง่ ครภู ายในวนั ท.่ี..............................

นกั เรยี นทกุ คนตอ้ งเตรยี มนำบนั ทกึ สว่ นตวั ของการทำโครงการใหค้ รดู ู และ
เตรยี มพดู คยุ กบั ครู เรอื่ งการทำโครงการ ในวนั ท.ี่.......................

ขอ้ กำหนด

๑. งานกลมุ่ : อา่ นเรอ่ื งแรก

๒. งานสำหรบั นกั เรยี นแตล่ ะคน : บนั ทกึ ลงบนกระดานบนั ทกึ วา่ ตนม

ความรสู้ กึ อยา่ งไรชอบ/ไมช่ อบ อะไร ระบปุ ระโยคหรอื วลที ตี่ นชอบ/

ไมช่ อบ  ลอกประโยคเหลา่ นเ้ี กบ็ ไวใ้ ชใ้ นโอกาสตอ่ ไป (อยา่ ขา้ มตอนน้ี

เพราะจะตอ้ งนำไปใชใ้ นตอนตอ่ ไป)

๓. งานกลมุ่ : หลงั จากนกั เรยี นแตล่ ะคนเขยี นบนั ทกึ ของตนแลว้ รว่ มกนั

อภปิ ราย เรอ่ื งราวในเรอ่ื งสน้ั เรอ่ื งแรก ทำความชดั เจนวา่ ตนเองเหน็ ดว้ ย

หรอื ไมเ่ หน็ ดว้ ยกบั สว่ นไหนทพี่ ดู กนั เพราะอะไร  นคี่ อื การฝกึ คดิ

ดว้ ยตนเอง อยา่ ลอกกนั

๔. งานกลมุ่ และงานสำหรบั นกั เรยี นแตล่ ะคน : ทำซำ้ ตามขอ้ ๑-๓ ให

ครบ ๕ เรอ่ื ง เพอ่ื วเิ คราะหเ์ ปรยี บเทยี บเรอ่ื งสน้ั ทง้ั ๕ เรอ่ื ง


283ภาค ๕ เรื่องเลา่ ตามบริบท : จบั ความจากยอดครูมาฝากครเู พ่อื ศษิ ย์

๕. งานกลมุ่ : อภปิ รายเรอื่ งสน้ั ทงั้ ๕ เรอ่ื ง ทำความเขา้ ใจวา่ เรอ่ื งสน้ั ทดี่

เปน็ อยา่ งไร เรอ่ื งสน้ั ทดี่ ตี อ้ งมอี งคป์ ระกอบอะไรบา้ ง ทำรายงาน

องคป์ ระกอบและอธบิ าย กลมุ่ ควรสามารถหาได้ ๓-๕ องคป์ ระกอบ

(อยา่ กงั วล คำถามแบบนไ้ี มม่ คี ำตอบถกู ผดิ สง่ิ ทต่ี อ้ งการคอื ให

นกั เรยี นฝกึ คดิ อภปิ รายแสดงเหตผุ ล)

๖. งานกลมุ่ : วเิ คราะหเ์ ปรยี บเทยี บเรอื่ งสนั้ ทงั้ ๕ และจดั ลำดบั เรอื่ งสน้ั

ทด่ี ตี ามเกณฑใ์ นขอ้ ๕ ทก่ี ลมุ่ รว่ มกนั กำหนด

๗. งานกลมุ่ : ออกแบบโปสเตอรห์ รอื รายงานโดยใช้ ICT เพอ่ื นำเสนอ

องคป์ ระกอบสำคญั ของเรอื่ งสน้ั ตามทร่ี ว่ มกนั คดิ ในกลมุ่ เกณฑก์ าร

จดั ลำดบั ระบเุ รอื่ งสน้ั และผลการจดั ลำดบั โดยกลมุ่

๘. งานกลมุ่ : เลอื กสมาชกิ กลมุ่ ๑ หรอื ๒ คน สำหรบั ทำหนา้ ทเ่ี สนอ

ผลงานกลมุ่ ตอ่ ชน้ั โดยใหเ้ ลอื กตวั สำรองไวด้ ว้ ย เผอื่ ในวนั นำเสนอ

สมาชกิ ทเ่ี ลอื กไวไ้ มม่ าเรยี น

๙. งานสำหรบั นกั เรยี นแตล่ ะคน : เขยี นคำวจิ ารณส์ น้ั ๆ วา่ สมาชกิ กลมุ่

แต่ละคนมีบทบาทอย่างไรต่อผลงานกลุ่ม (โปรดวิจารณ์อย่าง

สร้างสรรค์) ให้คะแนนการมีส่วนร่วมของแต่ละคนตามเกณฑ์

๐ - ๑๐ อยา่ ลมื วจิ ารณแ์ ละใหค้ ะแนนตนเอง (โปรดซอ่ื สตั ย)์

๑๐. งานสำหรบั นกั เรยี นแตล่ ะคน : ตบไหลต่ นเอง หรอื ปรบมอื ใหต้ นเอง

ทท่ี ำงานสำคญั สำเรจ็ (ขอแทรกวธิ ใี หร้ างวลั ตนเองของผมสมยั เรยี น

หนังสือช้ันมัธยม ผมซ้ือขนมทองหยิบของชอบให้รางวัลตนเอง

๒ บาท)

โปรดสังเกตว่า ในการมอบหมายงานให้นักเรียนทำเพ่ือเรียนรู้ด้วย
ตนเองนน้ั   ครตู อ้ งมเี ปา้ หมายชดั เจนวา่ ในแตล่ ะงานมเี ปา้ หมายใหน้ กั เรยี น
ได้เรยี นรอู้ ะไรบา้ ง  รวมทง้ั ตอ้ งมเี อกสารแนะนำขน้ั ตอนการทำงาน เพ่อื ให้

284 วิถีสรา้ งการเรียนร้เู พอื่ ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พื่อศษิ ย


บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ตามท่ีกำหนด  และครูต้องประเมินในภาย
หลังด้วยว่า นักเรียนได้เรียนรู้ตามเป้าหมายหรือไม่  จะปรับปรุงโจทย์และ
ข้นั ตอนการเรียนรู้อย่างไรบา้ งสำหรบั ชนั้ เรยี นต่อ ๆ ไป

ผมขอเพมิ่ เตมิ ความเหน็ สว่ นตวั ของผมวา่ ครคู วรชวนนกั เรยี นรว่ มกนั
ทบทวนไตร่ตรอง (ทำ reflection หรือ AAR)  ว่ากิจกรรมนี้ได้ช่วยให้
นักเรียนได้ฝึกฝนและเรียนรู้อะไรบ้าง  เท่ากับเป็นการตอกย้ำคุณค่าของบท
เรียนต่อชีวิตในอนาคตของนักเรียน  ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจต่อ
การเรยี นร้อู กี ทางหนงึ่

หลังจากนักเรียนคุ้นกับการทำงานเพ่ือเรียนรู้ด้วยตนเองจากโจทย์

สนั้  ๆ และใช้เวลาสน้ั  ๆ  ขน้ั ต่อไปคือ การทำโครงงาน

โครงงานสว่ นบุคคล (Individual Portfolio)

โครงงานเป็นโจทยร์ ะยะยาวและยากข้ึนท่ีนกั เรยี นทำเพือ่ เรียนรู้ และ
ฝกึ ฝนการรบั ผิดชอบการทำงานและส่งผลงานตามเวลา  ควรเร่ิมดว้ ยโจทย์
งานระยะสัน้ ๑ - ๒ สัปดาหท์ ี่ไม่มชี ่วงปดิ ยาว หรอื กิจกรรมพิเศษท่ีรบกวน
สมาธิหรือความสนใจต่องานค่ัน  และควรเริ่มด้วยงานท่ีเกี่ยวข้องกับสาระ
ในหลกั สตู รเปน็ ทนี่ า่ สนใจ ใหค้ วามรสู้ กึ ทา้ ทายกบั นกั เรยี น  และเปดิ ชอ่ งใหม้ ี
การคน้ ควา้ รวมถงึ ผลติ ผลงานสรา้ งสรรคไ์ ดม้ ากในระดบั ความรคู้ วามสามารถ
ของนักเรียน

ในถ้อยคำของผม น่ีคือการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based
Learning) ทค่ี วรเปน็ วธิ กี ารเรยี นรหู้ ลกั ของนกั เรยี นตงั้ แต่ ป. ๑ ถงึ ม. ๖ ขนึ้ ไป
จนถึงระดับอุดมศึกษา  เพราะวิธีเรียนรู้แบบนี้จะให้ผลลัพธ์ของการเรียนรู้
(Learning Outcome) ทล่ี กึ และเชอ่ื มโยง  เปน็ การเรยี นรแู้ หง่ ศตวรรษท่ี ๒๑
ทีใ่ หท้ ักษะเพ่ือการดำรงชีวติ ในศตวรรษท่ี ๒๑ อยา่ งแทจ้ ริง


285ภาค ๕ เรือ่ งเล่าตามบรบิ ท : จับความจากยอดครมู าฝากครูเพอ่ื ศษิ ย


จริง ๆ แล้วครทู ่ใี ช้การเรยี นรู้แบบทำโครงงาน ตอ้ งฝึกทักษะการเป็น
ครูแบบใหม่ ทไ่ี ม่ใชค่ รูสอนแต่เปน็ ครฝู ึก (โค้ช) หรอื ครูผอู้ ำนวยการเรียนรู้
(facilitator)  

ตวั อยา่ งของโครงงานตอ่ ไปนซ้ี ง่ึ มคี วามซบั ซอ้ นสงู ตอ้ งการทกั ษะการคดิ
ระดบั สูง ได้แก่ การวิเคราะห์ สงั เคราะห์ และประเมิน สำหรบั นักเรียนชั้น
ม. ๕  เป็นตวั อย่างทีผ่ มแปลถอดความมาจากหนังสือ Teaching Outside
the Box  เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนพ้ืนเมืองอเมริกันและคนท่ีเคร่งครัดในหลัก

ศลี ธรรม (Native Americans & Puritans)  


โครงงานเรอ่ื ง : The American Experience

ช่อื .......................................... ช่วงเวลาเรียน...............................

ข้อกำหนด : นักเรียนตอ้ งทำงานทกุ ชนิ้ ทร่ี ะบขุ า้ งลา่ ง แต่จะทำตามลำดบั กอ่ น
หลังอย่างไรก็ได้ เม่ือทำงานจบแต่ละช้ิน นำมาให้ครูเซ็นชื่อท่ีช่องว่างด้านหน้า
ชิน้ งานในเอกสารนี้ เพ่อื รบั ทราบว่านักเรยี นทำงานสว่ นน้ีแลว้

โครงงานนมี้ ีนำ้ หนกั คะแนนเท่าครึง่ หน่งึ ของคะแนนในภาคการศึกษาน้

..........๑. อ่าน “The Historical Setting” ที่หนา้ ๒-๓ ของหนังสือเรยี น และ

เตรียมสรุปสาระสำคญั ด้วยวาจาต่อคร

..........๒. ไปคน้ ควา้ จากหอ้ งสมดุ โรงเรยี น มหาวทิ ยาลยั หรอื หอ้ งสมดุ สาธารณะ

หาเอกสารที่มีสาระเร่ืองราวเกี่ยวกับชนเผ่าด้ังเดิมในอเมริกา ในช่วง

ค.ศ. ๑๕๐๐-๑๗๐๐ ให้ได้เอกสารที่เขียนอย่างดี และน่าสนใจ

เนอื่ งจากนกั เรยี นจะตอ้ งใชเ้ อกสารนใ้ี นการทำงานชว่ งตอ่ ไป ระบเุ อกสาร

ที่ได้ข้างล่าง

ชอื่ เอกสารหรอื เวบ็ ไซต.์ ..........................................................................


ผู้เขียน(หรือบรรณาธิการ หรือผู้ออกแบบ)..........................................


286 วิถสี ร้างการเรยี นรเู้ พอ่ื ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอื่ ศิษย์


..........๓. จงทำกจิ กรรมต่อไปน้ี อยา่ งนอ้ ย ๑ อยา่ ง

ก. เขียนบทสรปุ เปรยี บเทียบ ๒ เผา่ ระบุความเหมือนและความตา่ ง

ของการจัดรูปแบบสังคม, วัฒนธรรม, บ้านเรือน, การแต่งกาย,

ศลิ ปะ และอ่ืนๆ

ข. วาดภาพ ๒ เผ่า แสดงลักษณะการแต่งกาย, วัฒนธรรม,

บ้านเรือน, ศิลปะ และอื่นๆ

ค. เตรยี มนำเสนอสั้นๆ (๓-๕ นาที) ด้วยวาจา เกยี่ วกบั ๒ เผ่า หรอื

มากกว่า ๒ ในเรื่องวิถีชีวิต, วัฒนธรรม, เสื้อผ้าเคร่ืองแต่งกาย,

ศิลปะ, ดนตร,ี การเตน้ รำ และอนื่ ๆ

..........๔. จงอ่านเร่ือง“American Events/World Events” time lines ใน

หนังสือเรียนหน้า ๔-๗ เลือก ปีท่ีมีเหตุการณ์สำคัญ ๓ ปี (เช่น

ค.ศ. ๑๖๐๙ กาลเิ ลโอ สร้างกลอ้ งโทรทัศน์เครอ่ื งแรก) แลว้ คน้ คว้าหา

เรอ่ื งราวรายละเอยี ดเพม่ิ ข้นึ จากหอ้ งสมุดหรือแหลง่ คน้ ควา้ อืน่ ๆ บอก

รายการของแหลง่ คน้ ควา้ ดังน้

- ช่อื สิง่ พิมพ์ หรอื Web page URL : ...............................................

ชอ่ื ผเู้ ขียนหรือ site sponsor : .........................................................

- ชื่อส่งิ พมิ พ์ หรอื Web page URL : ...............................................

ชอ่ื ผเู้ ขียนหรือ site sponsor : .........................................................

หมายเหตุ ที่จริงรายละเอียดของโครงงานยังมีต่อ แต่ในหนังสือฉบับ Kindle
Edition ที่ผมมีอยู่ ส่วนต่อจากนี้ขาดหายไป จึงไม่สามารถถอดความมาใส

ไวไ้ ด้ แต่เทา่ ทม่ี กี ็คงพอจะช่วยใหเ้ หน็ แนวทางการออกแบบโครงงาน


287ภาค ๕ เร่ืองเล่าตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครเู พือ่ ศิษย


เนอ่ื งจากโครงงานนเี้ ปน็ กจิ กรรมทคี่ าดหวงั ใหเ้ กดิ การเรยี นรบู้ รู ณาการ
และลกึ   รวมทง้ั มนี ำ้ หนกั คะแนนสงู มาก  วธิ กี ารใหค้ ะแนนจงึ เปน็ เรอื่ งสำคญั
มาก  ครูต้องวางแผนและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนไว้ล่วงหน้า  และให้
คะแนนเป็นระยะ ๆ ตามข้อกำหนด เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระมากตอนให้
คะแนนสุดทา้ ย 

เมื่อนักเรียนส่งงานแต่ละช่วง  ครูเลาแอนน์จะเซ็นช่ือย่อพร้อมโค้ด
ระดบั คะแนนกำกบั ไว้  โดยใชส้ หี มกึ ทน่ี กั เรยี นไปลบเขยี นใหมไ่ มไ่ ด้  เมอื่ ถงึ
ตอนสุดท้ายครูก็เพียงแต่บวกคะแนนแล้วเฉลี่ย ก็จะได้คะแนน  โดยจะมี
การปรับคะแนนตามการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่อง การทำงานเพ่ิม และ
ความพยายามของนักเรียน

ผลงานจากการทำโครงงานนี้ อาจให้คะแนนในอีกวิชาหน่ึงด้วยก็ได้  
เช่น ในโครงงานมีการเขียนเรียงความ  นอกจากให้คะแนนโครงงานแล้ว
อาจใหค้ ะแนนในวชิ าไวยากรณด์ ว้ ย  โดยมหี ลกั การทส่ี ำคญั คอื คนทข่ี ยนั เรยี น
และแสดงความกา้ วหนา้ ในการเรียนรู้ จะไดค้ ะแนนสงู   นักเรยี นท่ีลอยชาย
ไปมา เอาแต่เย้าแหย่เพื่อน ไมเ่ รียน จะไดค้ ะแนนตำ่   

บทน้ีว่าด้วยเร่ืองเคล็ดลับในการประหยัดพลังงานและเวลาของครู  
แต่จะเห็นว่าสาระจริง ๆ คือ การจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนรู้ทักษะเพื่อ
การดำรงชวี ิตในศตวรรษท่ี ๒๑ โดยท่คี รไู มเ่ หน่อื ยเกนิ ไปจะหมดไฟ


 


๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/449856








288 วถิ ีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พ่อื ศษิ ย


ยส่ี บิ ปจี ากนไี้ ป


ย่ีสิบปีหรือส่ีสิบปีให้หลัง ครูอาจจำนักเรียนไม่ได้  แต่นักเรียนจะจำ
ครไู ด ้ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ เหตกุ ารณท์ ปี่ ระทบั ใจศษิ ยไ์ มร่ ลู้ มื   โดยทคี่ รไู มค่ ดิ
ว่าสิ่งท่ีตนทำจะมีความหมายถึงขนาดนั้นต่อนักเรียน  ในสหรัฐอเมริกา
บรกิ ารของนกั สบื ที่มีคนว่าจา้ งมากทสี่ ุดไม่ใช่เรื่องสามภี รรยานอกใจกัน แต่
เป็นการว่าจ้างให้หาตัวหรือที่อยู่ของครูเก่า  เพื่อจะได้ติดต่อหาทางขอบคุณ
ในส่ิงทีศ่ ิษยป์ ระทับใจและรูส้ ึกในบญุ คุณไมร่ ้ลู ืม

สิ่งที่นักเรียนประทับใจและขอบคุณไม่จำเป็นต้องเป็นการท่ีครู

เอาอกเอาใจหรือแสดงความรักนักเรียน  อาจเป็นความเคร่งครัดของครู
ก็ได้  และในตอนเป็นเด็กศิษย์ผู้นั้นอาจรู้สึกไม่ชอบครูก็ได้  แต่เม่ือโตขึ้นก็
ประจักษ์ว่าที่ครูทำไปนั้นเพราะความเอาใจใส่หวังดีต่ออนาคตของศิษย์  
ดงั เรอื่ งเลา่ ของครเู ลาแอนนท์ ไี่ ปชมพนกั งานธนาคารวา่ ลายมอื สวย  พนกั งาน
ผู้นั้นจึงเล่าว่าเพราะครู ป. ๒ กวดขัน โดนตีมือบ่อย ๆ เพราะลายมือไม่
เรียบร้อย  ตนเองอยากให้ครูรักจึงหมั่นคัดลายมือ  แต่ก็ไม่เคยได้รับคำชม 
ตอนนอ้ี ยากขอบคณุ ครคู นนั้นแต่ก็หาตัวไม่พบเสียแล้ว 


289ภาค ๕ เร่ืองเล่าตามบรบิ ท : จับความจากยอดครูมาฝากครูเพอ่ื ศิษย


ครูเลาแอนน์เล่าว่า ได้รับจดหมายเล่าความประทับใจครูประมาณ
๑๐ เทา่ ของจดหมายบน่ ไมพ่ อใจครู แสดงวา่ แมห้ ลายสงิ่ หลายอยา่ งในสงั คม
จะเปล่ียนแปลงไป  แต่คุณค่าของความเป็นครูที่เอาใจใส่และปรารถนาดี
ต่อศิษย์น้ันไมเ่ คยเปลย่ี น

การเป็นครูเพื่อศิษย์ให้คุณค่าและการตอบแทนต่อชีวิตมากกว่า

สง่ิ ตอบแทนทเ่ี ปน็ วตั ถหุ ลายเทา่   อาจเปน็ สบิ เทา่   ความอม่ิ ใจทเี่ หน็ ศษิ ยไ์ ดด้  ี
และการตอบแทนทางใจเมอ่ื ๒๐ หรอื ๔๐ ปใี หห้ ลงั เมอื่ ศษิ ยม์ าแสดงความ
ขอบคุณ





๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/450169












290 วถิ สี รา้ งการเรียนรู้เพ่อื ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พื่อศิษย






เรอื่ งเลา่ โรงเรียนลำปลายมาศพฒั นา


 วิธีการเรียนรู้แหง่ ศตวรรษที่ ๒๑

 เคาะกระโหลกด้วยกะลา


(AAR จากการเปิดรบั tacit และ explicit knowledge

จากโรงเรยี นนอกกะลา)




เรือ่ งเล่าของโรงเรยี นนอกกระลา


บางส่วนจากบันทกึ ของ ครใู หญ่วเิ ชยี ร  ไชยบัง

โรงเรยี นลำปลายมาศพัฒนา


 ความสำเร็จทางการศึกษา

 ความฉลาดทางด้านร่างกาย (Physical Quotient)

 ความฉลาดทางดา้ นสตปิ ญั ญา

 ทำไมตอ้ งเรียนคณิตศาสตร์


291ภาค ๕ เรื่องเลา่ ตามบริบท : จับความจากยอดครมู าฝากครเู พ่อื ศษิ ย์

วธิ กี ารเรยี นรแู้ หง่ ศตวรรษท่ี ๒๑


ผมติดตาม ดร. เจือจันทร์ จงสถิตย์อยู่ ผู้ประสานงานโครงการ
LLEN ของ สกว. ไปเย่ียมช่ืนชมโรงเรยี นลำปลายมาศพัฒนา เมอ่ื เย็นวนั ท่ี
๒๕ - เทยี่ งวนั ท่ี ๒๖ กนั ยายน ๒๕๕๔  ไปแลว้ จงึ รวู้ า่ โรงเรยี นนไี้ ดค้ ดิ คน้ วธิ ี
การเรยี นรแู้ หง่ ศตวรรษใหม่ (21st Century Learning) ข้ึนในบรบิ ทไทยโดย
ไมไ่ ดล้ อกเลียนของใครมา  น่าทง่ึ จริง ๆ  เราไปเห็นทง้ั PBL และ PLC ใน
บริบทไทยและบริบทของโรงเรียนที่ไม่เลือกนักเรียนเก่ง แต่ใช้วิธีคัดเลือก
โดยจับฉลากเพ่ือให้เด็กได้เรียนรู้ตามความเป็นจริงในสังคม  เราไปเห็น
โรงเรียนท่ไี มบ่ ้าอวดความ “เก่งวิชา” ของนกั เรยี นทัง้  ๆ ที่จรงิ แล้วเขาเก่ง

หัวใจสำคัญคือ เน้น “สอนคน” ไม่ใช่ “สอนวิชา” และในการ
“สอนคน” นัน้ เน้น “สอนแบบไมส่ อน” คือ เน้นที่การเรียนรขู้ องผูเ้ รยี นเอง
จงึ จดั บรรยากาศสถานทแ่ี ละความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งครกู บั นกั เรยี นและระหวา่ ง
นักเรียนด้วยกันเองให้กระตุ้นการเรียนรู้ และการเรียนรู้นั้นเลยจากเรียนรู้
วิชาการเพ่ือสติปัญญาไปสู่การเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจด้านสุนทรียภาพและ
ด้านการคดิ และจินตนาการ




292 วิถีสร้างการเรยี นรู้เพ่อื ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พ่ือศิษย์


นักเรยี นทุกช้นั จะใช้เวลา ๒๐ นาทขี องทกุ เช้าระหวา่ งเวลา ๘.๒๐ -
๘.๔๐ น. เรียน “จิตศกึ ษา” ถือเป็นการเตรยี มพรอ้ มจิตใจหรือสมองต่อการ
เรยี นในวนั นนั้ เปน็ การฝกึ เพอ่ื เพม่ิ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ - Emotional
Quotient) และความฉลาดทางจิตวิญญาณ (SQ - Spiritual Quotient)

และผมตีความว่าเป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนา EF (Executive Functions)
ของสมอง และผมตีความว่า การกล่าวคำขอบคุณพ่อแม่ ชาวนา ฯลฯ
ก่อนรับประทานอาหารเที่ยงท่ีนักเรียนกล่าวดัง ๆ พร้อมกัน รวมถึงพิธีชัก
ธงชาตแิ ละสวดมนต์ท่หี น้าเสาธง ก็เป็นการฝกึ ฝนด้าน “จิตศึกษา” ดว้ ย

วิธีเรียน “จิตศึกษา” ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีความ

หลากหลาย  ทผี่ มไปเหน็ มกี ารเดนิ จงกรม การนงั่ สมาธิ การใชจ้ นิ ตนาการ
ต่อ Lego เชน่ ชัน้ ป. ๑ เอาคลปิ หนีบกระดาษ ๔ อนั มาต่อเลข ๗   

เพอื่ ใหเ้ กดิ การเรยี นรจู้ ากตนเองจากการคดิ ไมใ่ ชจ่ ากการเชอ่ื   โรงเรยี น
ลำปลายมาศพัฒนาจึงไม่มีการสอบอย่างที่ใช้กันในกระทรวงศึกษาธิการ 
คอื ไมจ่ ดั การสอบ แบบรวบยอด Summative Evaluation เลย แตผ่ มกลบั
เหน็ วา่ นกั เรยี นถกู “สอบ” แบบไมร่ ตู้ วั ตลอดเวลา แตเ่ ปน็ การสอบแบบไมส่ อบ
หรอื สอบแบบพฒั นา (Formative Evaluation)  คอื สอบเพอ่ื ทำความเขา้ ใจ
ความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนแต่ละคน ไม่ใช่สอบเพ่ือเอาคะแนน
ผมคดิ ว่า น่ีคือจุดแตกต่างทีส่ ำคัญและกล้าหาญยง่ิ

ครูของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงมีทักษะด้านการทดสอบ
นักเรียนท่ีล้ำลึกมาก และในการตีความของผม แทนท่ีครูจะเน้น “สอน”
แบบบอกข้อความรู้แก่เด็ก  ครูกลับเน้นชักชวนให้เด็กคิดและแสวงหา
ความรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ นานาและคอยสังเกตเด็กว่ามีการเรียนรู้
กา้ วหนา้ ไปอย่างไรสำหรับนำมาใชป้ รับบทบาทของครูเองและสำหรบั นำมา


293ภาค ๕ เรื่องเล่าตามบริบท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครเู พอ่ื ศษิ ย์

ใช้จัดกระบวนการเพ่ือช่วยเด็กท่ีเรียนบางด้านได้ช้า  ข้อความในย่อหน้าน้ี
ผมตีความเอาเองจากการไปเหน็ เพียงครงึ่ วันจึงต้องย้ำวา่ ไมท่ ราบว่าตคี วาม
ถกู ตอ้ งหรือไม่

แทนทคี่ รจู ะเนน้ “บอก” เดก็ ครกู ลบั เนน้ “ถาม”  ตง้ั คำถามงา่ ย ๆ
เพื่อชวนเด็กคิดเองแล้วตามมาด้วยคำถามท่ียากข้ึน หรือค่อย ๆ นำไปสู่
กระบวนการคดิ หาคำตอบหรอื ข้อความรู้ดว้ ยตนเอง

คำตอบของนักเรียนเท่ากับเป็น “ผลการสอบ” ทางอ้อมท่ีครูใช

ประเมนิ ผลการเรยี นรขู้ องนกั เรยี นเปน็ รายคน  นอกจากนนั้ นกั เรยี นแตล่ ะคน
ต้องเขียนรายงานว่าตนเรียนรู้อะไรโดยเน้นเขียนเป็นผังความคิด (mind
mapping) เขยี นดว้ ยลายมอื ของตนเองตอ่ เตมิ ศลิ ปะเขา้ ไปตามจนิ ตนาการ
ของตน  ดงั นน้ั ทหี่ นา้ หอ้ งและในหอ้ งเรยี นจงึ มรี ายงานของนกั เรยี นสำหรบั
แต่ละบทเรียนติดอยู่อย่างเป็นระเบียบ เต็มไปหมดนักเรียนจะได้เรียนรู้ว่า
ในเร่ืองนั้น ๆ เพ่ือนคนอื่น ๆ เข้าใจว่าอย่างไร และครูก็ได้ตรวจสอบว่า
นักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจหัวข้อน้ันและมีความก้าวหน้าของการเรียนรู้
อย่างไร  น่คี ืออีกกจิ กรรมหนึง่ ของ formative evaluation หรือการ “สอบ
แบบไม่สอบ” หรอื “สอบเพือ่ พัฒนา” 

จึงเท่ากับนักเรียนได้เรียนรู้แบบทำโครงการ (project) ท่ีเป็นการ
ทำงานเป็นทีม (team learning) แล้วเขียนรายงานเป็นรายคน  เพ่ือสรุป
วา่ ตนเรียนรู้อะไร  ขณะทีเ่ รียน และทำงานเป็นทมี ก็ได้ฝึกทกั ษะด้านความ
ร่วมมือ (collaboration skills) หลากหลายด้าน  รวมท้ังทักษะด้านความ
แตกต่างหลากหลาย  และทักษะอ่ืน ๆ ใน ทักษะเพ่ือการดำรงชีวิตใน

ศตวรรษที่ ๒๑  แล้วได้สะท้อนการเรียนรู้ของตนออกมาเป็นรายงาน โดย
การเขียนด้วยลายมือ ตกแต่งด้วยศิลปะตามจินตนาการของตน  ย้ำว่า

294 วิถีสรา้ งการเรียนรู้เพ่อื ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พื่อศษิ ย์


รายงานต้องเขียนด้วยลายมือ ห้ามพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์  เพ่ือป้องกันการ
คัดลอกกัน  นักเรียนจะได้รับการอบรมให้ซื่อสัตย์ ทำงานด้วยตนเอง ไม่
คัดลอกกนั   และเนือ่ งจากไม่มีคะแนน ไม่มดี าว เด็กจงึ ไม่ลอกกัน

การ “สอบแบบไม่สอบ” คร้ังใหญ่มีข้ึนในสัปดาห์สุดท้ายของภาค
เรียนที่จัดแบบจตุภาค (quarter) โดยนักเรียนจะจัดการรายงานผลการ
เรียนรู้ในภาคเรียนนั้นของตนต่อทั้งโรงเรียน  และผู้ปกครองก็ได้รับเชิญมา
ฟังด้วย  การรายงานนี้อาจจัดเป็นละครหรือเป็นหนังสั้น  จึงเท่ากับทั้ง
โรงเรียน (และผู้ปกครอง) ได้มีส่วนประเมินการเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นของ
นกั เรียนแต่ละช้นั ดว้ ยวิธีการ “สอบแบบไมส่ อบ”

การเรียนแบบนี้ นักเรียนจะค่อย ๆ บ่มเพาะตัวตนของตน จนเกิด
ความมั่นใจตนเองไปพร้อม ๆ กันกับความเคารพผู้อื่น  และเห็นข้อจำกัด
ของตนเอง  ครูจะแสดงตัวอย่างการเคารพตัวตนของนักเรียนโดยไม่มีการ
ดดุ า่ วา่ กลา่ ว ไมม่ กี ารขนึ้ เสยี ง  ไมม่ กี ารลงโทษ  เมอ่ื เดก็ ทำผดิ วนิ ยั ครกู จ็ ะ
ถามว่า ทำไมจึงทำเช่นนั้น  คำถามท่ีถามต่อ ๆ กันจะทำให้เด็กได้เรียนรู้
และหาทางแก้ไขตนเอง  ดังนั้น การทำผิดวินัยจึงเป็นส่วนหนึ่งของการ
เรยี นร้

การเรียนรู้ที่นี่มีผู้ปกครองมาร่วมด้วย  มีโครงการผู้ปกครองอาสา  
ในวันที่ผมไปชม ในชั้นอนุบาล ๑ มีคุณตาและคุณแม่ของเด็กเข้าไปนั่ง
สังเกตการณ์ในห้องด้วย  รวมทั้งจะมีคนหรือองค์กรในชุมชนเข้ามาร่วม

ในบางโครงการ ตรงกบั หลกั การทรี่ ะบใุ น พระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษาแหง่ ชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ทรี่ ะบใุ หใ้ ชท้ รพั ยากรการเรยี นรจู้ ากหลากหลายแหลง่ ในสงั คม

นักเรยี นได้รบั การฝกึ ใหเ้ ปน็ คนตรงต่อเวลา (ซง่ึ เปน็ ทักษะสำคัญของ
ชวี ิตในศตวรรษที่ ๒๑) ผ่านกติกาตา่ ง ๆ  คนทีม่ าโรงเรยี นสาย ไมท่ ันเวลา


295ภาค ๕ เรือ่ งเล่าตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครูมาฝากครูเพื่อศษิ ย์

เคารพธงชาติและสวดมนต์จะต้องมาทำกระบวนการดังกล่าวเอง ตาม
กตกิ าวา่ ทุกคนต้องเคารพธงชาตแิ ละสวดมนต์ก่อนเข้าห้องเรยี นทกุ วนั   

ผมสรุปว่า โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการเรียนรู้แบบเน้น
“เรียนความรู้มือหนึ่ง” ไม่ใช่เน้นเรียนแบบคัดลอกหรือแบบจดจำ “ความรู้
มือสอง” จากครหู รือตำรา 





๓๐ กนั ยายน ๒๕๕๔

http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/463231



























296 วิถสี ร้างการเรยี นรู้เพือ่ ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พ่ือศษิ ย


เคาะกระโหลกดว้ ยกะลา


จะวา่ โชคดีหรอื โชครา้ ยกไ็ ม่ทราบ ผมเขียนบันทกึ ตอนที่แล้วจากการ
ไปเย่ียมชนื่ ชมโรงเรยี นลำปลายมาศพัฒนาโดยยังไมไ่ ด้อ่านหนงั สือ ๒ เล่ม
ที่ผมซ้ือติดมือมา คือ โรงเรียนนอกกะลา กับ คนบนต้นไม้ ท้ังสองเล่ม
เขียนโดย ผอ. วิเชยี ร ไชยบงั

ท่ีว่าโชคดีก็เพราะทำให้ผมเขียนจากการตีความกระท่อนกระแท่น
ของผมเองจากการไปเห็น และฟังจากครู บันทึกนั้นจึงถือว่าเป็นความคิด
แรกเรม่ิ (original idea) หรือการตคี วามของผมล้วน ๆ

ทว่ี า่ โชครา้ ยกค็ อื ทผี่ มตคี วามนน้ั มอี ยแู่ ลว้ ทงั้ หมดในหนงั สอื ๒ เลม่ น้ี
มีมากกว่าท่ีผมตีความได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างย่ิง ในส่วนของ
“ทำอยา่ งไร” (how) และ “ทำไมจึงทำอย่างนนั้ ” (why)

บันทึกน้ีจึงได้จากการตีความและใคร่ครวญจากความรู้ ๒ แหล่ง
คือ จากการไปเย่ียมช่ืนชม กับการอ่านหนังสือ และเข้าเว็บ เข้าบล็อก
(lamplaimatpattanaschool.blogspot.com) รวมทั้งดู YouTube (ค้น
ดว้ ยคำว่า LPMP และคำวา่ โรงเรียนลำปลายมาศพฒั นา)


297ภาค ๕ เรือ่ งเลา่ ตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครูมาฝากครูเพ่อื ศษิ ย์

ผมตีความว่า ที่โรงเรียนนี้ นักเรียนและครูใช้ (ฝึก) KM อยู่ตลอด
เวลา โดยไม่ร้สู ึกตวั และสง่ิ ที่ ลปรร. (แลกเปลย่ี นเรียนรู้) กันน้นั สว่ นใหญ่
เปน็ tacit knowledge คอื ความรู้ทีไ่ ดจ้ ากการปฏบิ ตั ิ

ผมได้ร้จู กั Pygmalion Effect หรอื Rosenthal Effect เปน็ ทฤษฎีที่
บอกว่า พฤติกรรมของครูมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน  หากครูคิดว่า
เด็กบางคนไม่เก่ง ท่าทีแบบไร้สำนึกของครูจะไปลดความเช่ือถือตัวตนของ
เดก็ ทำให้เดก็ ขาดแรงจูงใจในการพฒั นาตนเอง ไมก่ ล้าจนิ ตนาการ  การ
ที่ครูจำแนกเด็กเก่งไม่เก่งจึงก่อผลร้ายต่อการเรียนรู้ พัฒนาการ และ
อนาคตของเด็กส่วนใหญ่  ตรงกันข้าม ถ้าครูยกย่องชมเชยให้กำลังใจและ
แสดงความคาดหวังทีส่ งู จากเดก็ เดก็ จะเรียนรูไ้ ด้ดีขึ้น

ลองอ่าน Wikipedia หัวข้อ Pygmalion Effect ดนู ะครับ วา่ ท่ีจรงิ
แล้วท่าทีและความคาดหวังของนักเรียนจากครูที่เป็นด้านบวก จะให้ผล
ทำนองเดียวกันคือ ทำให้เป็นครูท่ีดีขึ้น  ทำให้ผมคิดต่อว่า ที่จริงในชีวิต
ประจำวันของผู้คน หากเราสัมพนั ธก์ นั ดว้ ยจิตวิทยาเชงิ บวก ความคาดหวัง
จากกันเชิงบวก จะเกิดการเสริมพลัง (synergy) ระหว่างกัน และกระตุ้น
ซ่งึ กันและกนั ให้ทำงานประสบความสำเรจ็ ได้ดีข้ึน  ทจ่ี รงิ น่ีคอื บรรยากาศ
ท่ีเราสรา้ งสำหรบั ใช้เครอ่ื งมอื KM ในการทำงาน

น่ีคือ ทฤษฎีหรือวิชาการว่าด้วยโลกแห่งมิตรไมตรีท่ีผู้คนใช้จิตวิทยา
เชงิ บวกตอ่ กนั กระตนุ้ ความมานะพยายามต่อกนั และกัน โลกจะกา้ วหน้า
และงดงามขึ้น

โรงเรยี นลำปลายมาศพฒั นาตคี วามไอควิ (IQ) ใหม่ เปน็ สติปญั ญา
(Intelectual Qutient) ไมใ่ ช่ เชาวนป์ ญั ญา (Inteligent Quotient) เพราะ
เชาวนป์ ัญญา เป็นส่ิงทีต่ ดิ ตัวมาแตก่ ำเนิด เปลีย่ นแปลงยาก แต่สตปิ ญั ญา

298 วถิ ีสร้างการเรียนร้เู พื่อศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พื่อศิษย์


พัฒนาได้อย่างมากมายและหลากหลายวิธี ซึ่งเป็นสิ่งที่โรงเรียนควรเน้น
หรือเอาใจใส่พัฒนาเดก็

ผมชอบบทสรุปในหนังสอื คนบนต้นไม้ หนา้ ๘๘ “ความฉลาดทาง
วิชาการ และความฉลาดทางสังคม (พฤติกรรม) ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ
ไอคิว (IQ) ในท่นี ห้ี มายถึง เชาวน์ปญั ญา (Inteligent Quotient) ของเด็ก
แต่สัมพันธ์กับความคาดหวังของครูต่อเด็ก” และชอบข้อความในหน้า
๑๔๑ “ความรู้เป็นเร่ืองของอดีต แต่จินตนาการเป็นเร่ืองอนาคต ท่ีไม่มี
ขอบเขตสนิ้ สดุ ”

จะเขา้ ใจวธิ คี ดิ ออกแบบการดำเนนิ การโรงเรยี นลำปลายมาศพฒั นาไดด้ ี
ต้องเข้าไปอ่านบันทึกของ ผอ. วิเชียร ใน Lamplaimatpattanaschool.

blogspot.com  ดู YouTube และค้น Google โดยค้นด้วยคำว่า lpmp
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  สารคดีแผ่นดินไท ๓ ตอน ใน YouTube
น่าเขา้ ไปดเู พ่ือทำความเขา้ ใจมาก และจะเข้าใจได้ดีจริง ๆ ต้องไปฝึกงาน
คือต้องเรียนรู้จากการลงมือทำ แล้วตีความจากสัมผัสของตนเอง อ่าน
หนังสือ  และดูวิดีโอประกอบจึงจะเข้าใจได้ลึกจริง ๆ เพราะโรงเรียนนี้ได้
สร้างวธิ กี ารเรียนรแู้ หง่ ศตวรรษที่ ๒๑ แบบของตนเองมายาวนานถงึ ๘ ปี
ผ่านการเรียนรแู้ ละปรับตวั มากมาย และยงั เรียนร้แู ละปรบั ตวั ตอ่ เนื่อง
ผมตีความว่า นี่คอื องค์กรเรียนรู้ (Learning Organization) และ
ดำเนนิ การแบบ “เคออรด์ คิ ” อยา่ งแทจ้ รงิ โดยทคี่ รทู กุ คนเปน็ “ครเู พอ่ื ศษิ ย”์





๕ ตลุ าคม ๒๕๕๔

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/465409





299ภาค ๕ เร่ืองเล่าตามบรบิ ท : จับความจากยอดครมู าฝากครูเพื่อศิษย์

เร่อื งเล่าของโรงเรยี นนอกกระลา


บางสว่ นจากบนั ทึกของ ครูใหญ่วิเชียร  ไชยบงั

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา







ความสำเร็จทางการศึกษา


เราควรตีค่าความสำเร็จทางการศึกษาจากส่ิงใด เป็นคำถามที่
ทุกคนต้องใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อให้แน่ชัดว่าเป้าหมายนั้นไม่ได้
เป็นไปเพียงเพื่อสนองความต้องการของผู้ใหญ่เท่าน้ัน หรือไม่ได้ทำไป
เพื่อเด็กคนใดคนหนึ่งอย่างโดด ๆ  เราต้องมองเป้าหมายท่ีเป็นความ
จำเป็นจริง ๆ ต่อเด็กและต่อโลกในอนาคตและยังต้องคำนึงถึงความ
เป็นองค์รวมของเป้าหมายทั้งหมดเพ่ือให้แต่ละคนได้สมบูรณ์พร้อม
ตามศักยภาพแห่งตน  ดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีคุณค่าและปีติสุข  ที่
ผ่านมาความกระหายใคร่รู้ทำให้เราเข้าใจส่ิงต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม
และนามธรรมมากข้ึน  จนกลายเป็นส่วนหน่ึงในการหล่อหลอมเป็น
ความเชื่อใหญ่ของผู้คนให้เข้าใจว่า การศึกษาคือการส่ังสมความรู้ จึง
ส่งผลใหเ้ ราใหค้ วามสำคญั กับการสอนความร ู้ วัดผลจากความรู้ และ
ตีค่าความสำเร็จโดยนัยจากความรู้  ท้ังท่ีทุกคนรู้ดีว่าแท้ท่ีจริงเรา
ต้องการให้ผู้คนดีงาม อยู่กันอย่างสงบ สันติ เกื้อกูลซ่ึงกันและกัน
ดำเนินชวี ติ อยา่ งมีคณุ ค่าและมคี วามสขุ


300 วิถีสรา้ งการเรยี นร้เู พอ่ื ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอ่ื ศษิ ย์


ผมเชื่อว่าเราส่วนใหญ่รู้ดีว่ากำลังเผชิญความท้าทายอะไรบ้าง
และรู้ดีว่าการท่ีจะปรับปรุงการศึกษาให้ดีย่ิงข้ึนควรทำอย่างไร  แต่เรา
ยงั ไมไ่ ดท้ ำกนั อยา่ งเตม็ กำลงั   การศโิ รราบหรอื การยอมจำนนนนั้ งา่ ยกวา่
มันเป็นการปรับตัวแบบหนึ่งเพื่อให้เราได้กลับมามีสมดุลอีกครั้ง  แต่
สมดุลในระดับต่ำเป็นการปรับตัวเชิงถดถอย  ที่คนส่วนใหญ่เลือกวิธีนี้
เพราะสมองสว่ น อะมกิ ดาลา กระโจนเขา้ มาทำงานกอ่ นสมองสว่ นกลาง
หรอื สว่ นหน้า  มนั ง่ายและสามารถหาเหตุผลได้มากมาย มากล่าวอา้ ง
ได้อย่างสมเหตุสมผล  ทั้งท่ีธรรมชาติลึก ๆ ที่ทำให้มนุษย์ก้าวหน้ามา
ได้ขนาดนี้เพราะเราปรับตัวอีกแบบคือ การตะลุยฝ่าอุปสรรคนานา

มาตลอดช่วงวิวัฒนาการมนุษย์ล้วนแต่ผลักดันเพ่ือเอาชนะขีดจำกัด
ศกั ยภาพของเราเองเสมอ

ท่ามกลางการเปล่ียนแปลงท่ีรวดเร็วและรุนแรงรอบด้านนี้

การศึกษาปัจจุบันจะตอบสนองต่อการเปล่ียนแปลงนั้นได้อย่างไร  เรา
ต้องมองไกลกว่าเป้าหมายอันต้ืนเขิน มองมากกว่าความรู้  มากกว่า
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ มากกว่าการมีงานทำ ฯลฯ แต่ดูเหมือน
การศกึ ษาซ่งึ เปน็ “ตัวจัดกระทำ” จะมี “ตัวแปรแทรกซอ้ น” มากมาย
ซ่อนอยู่  การควบคุมผลสูงสุดจึงอยากแสนเข็ญ  การศึกษาอาจจะ
ช่วยให้เราตระหนักว่าจะต้องแปรงฟันทุกวัน หรือ ระวังอย่าให้ตัวเอง
พลัดตกจากท่ีสูง หรือ เราหาประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ  อย่างไรได้บ้าง
แต่ก็ไม่ได้สร้างผลอย่างชัดเจนท่ีจะให้คนตระหนักว่าชีวิตของเราน้ันสั้น
แคไ่ หน​   เราทกุ คนทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การใหก้ ารศกึ ษาทงั้ ทางตรงและทางออ้ ม
จงึ ตอ้ งทำใหไ้ ดด้ ที ส่ี ดุ เหมอื นกบั ชาวสวนทเี่ ฝา้ ดแู ลเอาใจใสต่ น้ ไมใ้ นสวน
ทกุ ดา้ นอยา่ งพรอ้ มพรงั่ ทงั้ รดนำ้ ใสป่ ยุ๋ ตดั แตง่ กง่ิ หรอื กำจดั ศตั รพู ชื ให้


301ภาค ๕ เรอื่ งเลา่ ตามบริบท : จับความจากยอดครมู าฝากครูเพ่อื ศิษย


โดยหวงั วา่ ปจั จยั ทที่ ำลงไปจะเออ้ื ใหป้ จั จยั ทางธรรมชาตขิ องตน้ ไมอ้ อกผล
ของมนั อยา่ งสมบรู ณ์ ชาวสวนทำไดเ้ พยี งเฝา้ มองเฝา้ รอผลผลติ หลงั จาก
ทไี่ ดท้ ำทกุ อยา่ งแลว้   โรงเรยี นลำปลายมาศพฒั นา หรอื โรงเรยี นนอกกะลา
มองเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวมซึ่งประกอบด้วย
ปญั ญาภายนอก และปญั ญาภายใน และทำทกุ วธิ ใี นฐานะของคนสวนทดี่ ี

ปัญญาภายนอก ได้แก่ ความฉลาดทางด้านร่างกาย ซึ่ง

หมายถึง การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถดูแลและใช้กายอย่างมีคุณภาพ
มคี วามแขง็ แรง อดทน อวยั วะทกุ สว่ นทำงานอยา่ งสอดประสานกนั   และ
อกี อยา่ งของปัญญาภายนอก คือ  ความฉลาดทางด้านสติปัญญา ซ่ึง
หมายถึงการเรยี นรศู้ าสตรต์ า่ ง ๆ เพอ่ื ใหเ้ ขา้ ใจตอ่ โลกและปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้น  จะประกอบด้วยความรู้มากมายหลายแขนงท่ีจะใช้ในการ
ดำเนนิ ชวี ติ หรือการประกอบอาชพี ปญั ญาภายใน ได้แก่ ความฉลาด
ทางด้านจิตวิญญาณ และความฉลาดทางด้านอารมณ์  ซ่ึงหมายถึง
ความสามารถในการรบั รอู้ ารมณค์ วามรสู้ กึ ของตนเอง (รตู้ วั ) และผอู้ นื่
จนสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้อย่างดี การเห็นคุณค่าในตัวเอง
และผู้อน่ื หรอื สงิ่ ตา่ ง ๆ เพอ่ื การดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย การเห็น
ความสัมพันธ์เช่ือมโยงระหวา่ งตนเองกบั สงิ่ ตา่ ง ๆ  นอบนอ้ มตอ่ สรรพสง่ิ
ทเี่ กอื้ กลู กนั อยู่ การอยู่ดว้ ยกนั อยา่ งภารดรภาพยอมรบั ในความแตกตา่ ง
เคารพและใหเ้ กยี รตกิ นั อยอู่ ยา่ งพอดแี ละพอใจไดง้ า่ ย การมสี ตอิ ยเู่ สมอ

รู้เท่าทันอารมณ์เพ่ือให้รู้ว่าต้องหยุด หรือ ไปต่อกับส่ิงท่ีกำลังเป็นอย
ู่
การมสี มั มาสมาธเิ พอ่ื กำกบั ความเพยี รใหก้ ารเรยี นรหู้ รอื การทำภาระงาน
ใหล้ ลุ ว่ ง และการมจี ติ ใหญ่มคี วามรกั ความเมตตามหาศาล


(กรงุ เทพธรุ กจิ ๗ สงิ หาคม ๒๕๕๔)


302 วถิ สี ร้างการเรยี นรเู้ พ่อื ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พอ่ื ศิษย์


ความฉลาดทางดา้ นร่างกาย (Physical Quotient)


ผมได้กล่าวถึงว่า อะไรคือความสำเร็จของการจัดการศึกษาซ่ึง
แยกหยาบ ๆ ได้เป็นสองอย่างคือ ปัญญาภายนอกและปัญญาภายใน
ต่อไปจะขอกล่าวถึงความฉลาดด้านร่างกาย ซ่ึงเป็นส่วนหนึ่งของ
ปัญญาภายนอกท่ีหมายถึงเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถดูแลและใช้
กายอยา่ งมคี ณุ ภาพ  มคี วามแขง็ แรง อดทน อวยั วะทกุ สว่ นทำงานอยา่ ง
สอดประสานกนั   นบั ยอ้ นจากอดตี   มนษุ ยต์ อ้ งมรี า่ งกายแขง็ แรงกำยำ
ถงึ จะอยรู่ อดได ้ มนษุ ยเ์ ราใชศ้ กั ยภาพทางรา่ งกายเพอื่ หาอาหาร สรา้ ง

ทอ่ี ยอู่ าศยั หนภี ยั หรอื ปกปอ้ งตวั เอง  ปจั จบุ นั คนสว่ นใหญม่ พี ฤตกิ รรม
การใช้ร่างกายต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับคนในอดีต  ตื่นเช้ามาก็ไม่จำเป็น
ต้องดิ้นรนหาอาหาร  หรือหนีภัย  การเดินทางหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ
ก็มีเครื่องมือช่วยให้เบาแรง  ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของวันหมดไปกับการ
นง่ั ทำงาน  เราใชส้ มองกบั นวิ้ มอื ไมก่ นี่ ว้ิ แนล่ ะ่ วา่ ศกั ยภาพทางรา่ งกาย
หลายอย่างท่ีไม่ได้ถูกใช้จะลดทอนลง เช่น ความแข็งแรงของกระดูก
ความยืดหยุ่นของเสน้ เอน็ กลา้ มเน้ือลีบเลก็ สว่ นสายตาท่ใี ช้จบั จ้องอยู่
กบั หนา้ คอมพิวเตอรม์ ากขึน้ ก็จะสูญเสยี ได้ง่ายข้ึน พฤตกิ รรมชีวติ ทม่ี ี
การเคลอ่ื นไหวนอ้ ยลงและการกนิ อาหารทใ่ี หพ้ ลงั งานสงู ทำใหจ้ ำนวนคน
เป็นโรคอ้วนมากขึ้น  โรคภัยท่ีรุมเร้าก็เป็นภาระที่ประเทศต้องระดม
สรรพกำลังเขา้ แก้ไข








303ภาค ๕ เรอ่ื งเล่าตามบรบิ ท : จับความจากยอดครมู าฝากครเู พื่อศิษย์

บทบาทของโรงเรียนกบั การสรา้ งความฉลาดทางดา้ นรา่ งกาย ไดแ้ ก่

๑. การออกแบบการเรียนรู้ท่ีให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติให้ได้ใช้
อวัยวะทุกสว่ นในรา่ งกาย  ทง้ั ในแง่ของความแข็งแรงอดทน และในแง่
ของการทำงานทส่ี อดประสานกัน ท้ังในรม่ และกลางแจง้

๒. ออกแบบวถิ ชี วี ติ ในโรงเรยี นใหเ้ ดก็  ๆ มชี ว่ งเวลาไดเ้ ลน่ หลาย ๆ
ช่วงเวลา  เช่น ภาคเชา้ ชว่ งพักภาคเช้า กลางวัน และหลงั เลกิ เรียน
๓. ออกแบบการสอนวชิ าพละศกึ ษาหรอื กจิ กรรมใหส้ อดคลอ้ งกบั
ความตอ้ งการการพัฒนาด้านร่างกายของเด็กใหเ้ หมาะสมตามวยั เช่น
 วัยอนุบาลควรให้เด็กได้ออกกำลังกายเพ่ือพัฒนา

กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ได้แก่ ความสมดุล การทรงตัว

ความแข็งแรง ความอดทน และพฒั นากล้ามเนื้อมดั เลก็

เพื่อการทำงานที่สอดประสานกันของอวัยวะต่าง ๆ

กิจกรรมที่เหมาะสมได้แก่ การว่ายน้ำ กิจกรรม

ประกอบจังหวะ กายบริหาร เกม การวิ่งเล่น การเล่น

เคร่ืองเล่นสนามที่ประกอบด้วยกระบะทรายเปียก

ทรายแหง้ กระดานทรงตัว ราวโหนหรอื เชือกโหน ชิงช้า

และอุโมงค์มดุ ซ่อน เปน็ ตน้

 ระดับประถมศึกษาตอนต้น ควรให้เด็กได้ออกกำลังกาย

ทุกส่วนของร่างกายเพ่ือให้เกิดความคล่องแคล่ว ควรให

เล่นกีฬาทีไ่ มม่ ีความซับซอ้ นมาก




304 วิถีสร้างการเรียนร้เู พ่ือศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พอ่ื ศษิ ย


 ระดบั ประถมศึกษาตอนปลายถึงระดบั มธั ยม ควรใหเ้ ด็ก

ได้ออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกายเพ่ือให้เกิดความ

คล่องแคล่ว เพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย และพัฒนา

ทักษะทางกลไกให้ทำงานสัมพันธ์กัน ให้เด็กได้เล่นกีฬา

ไดแ้ ทบทกุ ประเภท


ผมมีบทเรียนให้ต้องกลับมาใคร่ครวญในเร่ืองการสอนกีฬาใน
โรงเรียน  สมัยผมเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ครูที่จบพลศึกษา
โดยตรงไดส้ อนเราในวชิ าตะกรอ้ ไทย  ในหนงึ่ ชวั่ โมงตอ่ สปั ดาหท์ เ่ี ราตอ้ ง
เรยี นวิชาน้ี ครูวางขนั้ ตอนของกจิ กรรมไว้ตามแบบแผนคอื ขนั้ ของการ
อบอนุ่ รา่ งกายหรอื warm up ๑๕ นาที ขั้นสอนหรือสาธิต ๑๕ นาที
ขนั้ ลงมือปฏิบัติ ๑๕ นาท่ ี ข้ันสรปุ หรอื warm down อกี ๑๕ นาที
ในช่ัวโมงหนึ่ง ๆ ของวิชาตะกร้อผมแทบนับได้ว่าเท้าของผมโดนลูกก่ี
ครั้ง ผ่านไป ๒๐ สัปดาห์เม่ือผมเรียนจบวิชาน้ี ผมไม่ได้มีทักษะการ
เล่นตะกร้อเพิ่มขึ้น ไม่ได้มีเจตคติท่ีดีต่อการเล่นตะกร้อเพิ่มขึ้น และ
ผมได้มาเพยี งเกรด ๑


ในโรงเรียนนอกกะลา  เราไม่นำกีฬามาแค่สอนเพ่ือให้เกรด

แต่เราใช้กีฬาเป็นเคร่ืองมือให้เด็ก ๆ ได้เล่นเพื่อความสนุกสนาน
เพลิดเพลิน เพื่อสร้างสัมพันธภาพท่ีดีระหว่างกัน เพ่ือเพ่ิมพูนกลไก

การคิดการวางแผน และเพ่ือเพ่ิมพูนความแข็งแรงความอดทนของ
ร่างกาย  ท่ีสำคัญคือ ให้เด็กทุกคนได้รักในการออกกำลังกายเพ่ือ
ความมสี ุขภาพดี


(กรุงเทพธรุ กจิ กายใจ ฉบบั ท่ี ๖๕๒๑- ๒๗ สงิ หาคม ๒๕๕๔)


305ภาค ๕ เรื่องเล่าตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครูมาฝากครเู พอ่ื ศิษย


ความฉลาดทางด้านสติปญั ญา

ความฉลาดภายนอกอกี อยา่ งคอื   ความฉลาดทางดา้ นสตปิ ญั ญา
(Intelectuals Quotient)

ความฉลาดดา้ นนเี้ ปน็ การเรียนรูศ้ าสตร์ตา่ ง ๆ เพ่อื ให้เข้าใจโลก
และปรากฏการณท์ เี่ กดิ ขนึ้ ซง่ึ ประกอบดว้ ยความรมู้ ากมายหลายแขนง

ท่ีจะใช้ในการดำเนินชีวิตหรือการประกอบอาชีพ  ความฉลาดด้าน

สติปัญญามักมองในมุมของความรู้ว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่การ

มองมุมเฉพาะด้านความรู้อย่างเดียวน้ันไม่เพียงพอ  ความรู้เป็นสิ่งที่
เปล่ียนแปลงได้ ขยายขอบเขตได้  ความฉลาดทางด้านน้ีต้องไปไกล
กว่าความรูค้ อื ไปถึงความเขา้ ใจ เพราะเมอ่ื ไปถงึ ความเข้าใจแลว้ เรา
ก็จะเห็นถึงความเช่ือมโยงของสิ่งต่างที่โยงใยกันอยู่ โดยท่ีเมื่อกระทำ
กับส่ิงหน่ึงก็สะเทือนถึงอีกสิ่งหน่ึง  แล้วตอนนั้นเราจะมองเห็นคุณค่า
ของสิ่งต่าง ๆ  เหล่าน้ัน ในที่สุดก็จะเกิดความยินดีและความพอใจ
กับความเป็นไปซ่ึงจะทำให้เป็นผู้ที่มีความสุขได้ง่าย  นอกจากความ
เข้าใจโลกและปรากฏการณ์แล้ว  ความฉลาดด้านสติปัญญายังรวมถึง
การได้เคร่ืองมือท้ังท่ีเป็นทักษะชีวิตและทักษะสำหรับอนาคต เช่น
ทักษะการเรียนรู้  ทักษะการคิดหลาย ๆ ระดับ ทักษะทางไอซีที
ทักษะการจัดการ ทักษะการส่ือสาร  และทักษะการเป็นผู้ผลิตปัจจัย
ในการดำรงชวี ติ เป็นตน้








306 วิถสี ร้างการเรยี นรเู้ พื่อศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอ่ื ศิษย


บทบาทของโรงเรยี นตอ่ การสร้างความฉลาดด้านสติปญั ญา

การออกแบบหลักสูตรและการสอนจะต้องเป็นไปเพื่อให้ผู้เรียน
ไดเ้ รยี นรมู้ ากกวา่ แคก่ ารรบั รู้  ออกแบบหนว่ ยการเรยี นรอู้ ยา่ งบรู ณาการ
ทั้งบูรณาการสหวิชา (เชื่อมกลุ่มสาระ) และบูรณาการในกลุ่มสาระจะ
ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้เข้มแข็ง  ถ้าถามว่า “ทำไมต้องบูรณาการ”
เหตุผลสำคัญคือ เมื่อเราแยกส่วนของสิ่งต่าง ๆ  เราจะพบว่าส่ิงน้ัน
พร่องไป  ขาดความสมบูรณ์  แมแ้ ต่รา่ งกายเราก็เช่นกัน เชน่ เมอื่ เรา
ไปตรวจวัดสายตา เราจะพบว่าตาแต่ละข้างส้ันยาวไม่เท่ากัน  แต่พอ
ประกอบกนั ทงั้ สองขา้ งกท็ ำใหก้ ารเหน็ สมบรู ณข์ นึ้ หรอื ถา้ เราวง่ิ ขาเดยี ว
เฉพาะข้างที่ถนัดก็จะพบว่าเราว่ิงได้ช้ามากเมื่อเทียบกับการว่ิงสองขาท่ี
รวมเอาขา้ งทไ่ี มถ่ นดั เขา้ ไปดว้ ย  ในปา่ ทม่ี คี วามหลากหลายของพนั ธพ์ุ ชื
จะพบว่า มีความหลากหลายของพันธุ์สัตว์อยู่ด้วย ดิน น้ำ อากาศ
บริเวณนั้นก็สมบูรณ์ไปด้วย ซ่ึงจะต่างอย่างชัดเจนกับแปลงปลูก

ยูคาลิปตัส หรือแปลงปลูกพืชเชิงเด่ียวอื่น ๆ  วิชาความรู้ก็เช่นกัน

เราไม่สามารถใช้อย่างโดด ๆ ได้ เพือ่ แกป้ ัญหาเรอื่ งหน่งึ จำเปน็ จะต้อง
ใช้ศาสตร์ศิลป์หลาย ๆ อย่าง  การออกแบบหน่วยบรู ณาการจะชว่ ยให้

ผู้เรยี นไดเ้ ห็นและใชช้ ุดความรู้ไดอ้ ยา่ งแทจ้ รงิ ตง้ั แต่ตน้

กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Problembased learning (PBL) เป็นวิธีหน่ึงท่ีทำให้ผู้เรียนเข้าใจต่อ
ปรากฏการณต์ า่ ง ๆ และไดเ้ ครอ่ื งมอื ทเ่ี ปน็ ทกั ษะไปพรอ้ มกนั   นกั เรยี น
จะเป็นผู้ระบุปัญหาที่ประสบอยู่ แล้วแสวงหานวัตกรรมเพื่อลงมือใน
การแกป้ ัญหานั้นดว้ ยตนเอง




307ภาค ๕ เรื่องเล่าตามบรบิ ท : จับความจากยอดครมู าฝากครเู พอ่ื ศิษย


ข้นั ตอนการเรยี นรู้


๑. การเผชญิ ปัญหาจากสภาพจริง (ขอ้ มลู ปฐมภมู ิ เป็นปัญหาที่
เผชญิ อยใู่ นตัวคนในชมุ ชน ในสงั คม ทจ่ี ะสง่ ผลสู่อนาคต) หรอื สภาพ
เสมอื นจริง (ขอ้ มูลทุติยภูม)ิ


๒. การแก้ปัญหาดว้ ยกระบวนการเรียนรู้ โดยอำนวยการใหเ้ กดิ
การเรียนรู้ภายในของแต่ละคน และการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการ
เปล่ียนแปลงในทางท่ีดีขึ้น สูงข้ึน อย่างเป็นองค์รวม ท้ังองค์รวม
ภายในคนคนหน่ึง และองค์รวมท่ีเชื่อมสัมพันธ์กันอยู่ในระบบใหญ่
ขน้ั ตอนของกระบวนการเรียนรู้มดี งั นี้

(๑) ข้ันชง  เป็นข้ันของกระตุ้นให้เกิดการปะทะจริงทาง

ประสาทสมั ผัส ทางความคดิ หรอื ความรสู้ กึ โดยการ

สืบค้น ทดลอง ปฏิบัติ เกิดความรู้ความเข้าใจระดับ

บุคคลจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ  ขั้นตอนน้ีคร

ตอ้ งตงั้ คำถามเกง่ เพอ่ื จะปลกุ เรา้ ความใครร่ ใู้ นตวั ผเู้ รยี น


(๒) ข้ันเช่ือม  เป็นข้ันของการแลกเปล่ียน และตรวจสอบ

เป็นการเช่ือมโยงส่ิงที่ตนเองรู้กับส่ิงท่ีคนอื่นร ู้ ทั้งยังได

ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงท่ีแต่ละคนพบเพื่อการ

มองเห็นรอบดา้ นของข้อเท็จจริง ขน้ั ตอนนี้ยงั ลดความ

อหังการในตัวรู้  ขณะเดียวกันโครงสร้างองค์ความร
ู้
และความเข้าใจก็จะก่อขึ้นในสมอง ในที่สุดก็จะพบ

คำตอบดว้ ยตวั เอง  ขน้ั ตอนนค้ี รตู อ้ งเปน็ นกั อำนวยการ

ที่จะสร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันอย่าง


308 วิถสี รา้ งการเรยี นรเู้ พอ่ื ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พือ่ ศิษย์


แทจ้ รงิ ไมผ่ ลผี ลามสรุปเสียเอง เพราะการทำอยา่ งนั้น

จะเป็นการลดทอนศกั ยภาพการเรียนรใู้ นตวั ผู้เรียน

(๓) ขนั้ ใช ้ เปน็ กระบวนการทจี่ ะทำใหโ้ ครงสรา้ งความเขา้ ใจ

ในสมองคมชดั ขนึ้ โดยใหผ้ เู้ รยี นตอบสนองตอ่ โจทยใ์ หม

ทันทีหลังจากข้ันเช่ือม เช่น การทำภาระงานหรือ

ชน้ิ งานใหม่ การทำการบา้ น หรอื การปรบั ใชใ้ นชวี ติ จรงิ

เปน็ ตน้   ขน้ั ตอนนคี้ รตู อ้ งเปน็ นกั สงั เกตการณท์ ส่ี ามารถ

มองเหน็ ความกา้ วหนา้ หรอื ความขดั ขอ้ งของเดก็ แตล่ ะคน


(กรงุ เทพธรุ กจิ ฉบับท่ี ๖๗ ๔-๑๐ กันยายน ๒๕๕๔)
























309ภาค ๕ เรอื่ งเลา่ ตามบริบท : จับความจากยอดครูมาฝากครูเพอื่ ศษิ ย์

ทำไมตอ้ งเรียนคณิตศาสตร


เราใช้เน้ือหาหรือความรู้ทางคณิตศาสตร์ไม่ถึงห้าเปอร์เซ็นของ
เนอ้ื หาทงั้ หมดทเี่ ราเรยี นมาตง้ั แตช่ นั้ อนบุ าลจนจบปรญิ ญาตร ี ทำไมเรา
ต้องเรียนคณิตศาสตร์มากมายขนาดนั้น  ท้ังนี้เพราะคณิตศาสตร์เป็น
เคร่ืองมอื ท่ใี ช้ศกึ ษาวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อ่นื  ๆ และมี
บทบาทสำคญั ยงิ่ ตอ่ การพฒั นาความคดิ ของคน ทงั้ ความคดิ ในเชงิ ตรรกะ
และความคดิ สรา้ งสรรค์ รวมทง้ั ชว่ ยในการวางแผน การคาดการณ์ และ
การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ  กรอบเดิมของการสอนคณิตศาสตร์
คอื ครมู กั สอนใหเ้ ดก็ จำสตู รหรอื วธิ ที ำโดยไมต่ อ้ งเขา้ ใจ จนเราไมเ่ ขา้ ใจ
วา่ ทำไมการหารยาวจงึ ตอ้ งหารจากขา้ งหนา้ มาขา้ งหลงั ไมเ่ ขา้ ใจวา่ ทำไม
การหารเศษสว่ นตอ้ งเอาตวั หารมากลบั เศษเปน็ สว่ นแลว้ เอาไปคณู ตวั ตง้ั
ไม่เข้าใจว่าทำไม่การหาพ้ืนท่ีวงกลมจึงไม่ใช่ด้านคูณด้านเหมือนกับ
สเี่ หลย่ี ม และไมเ่ ขา้ ใจวา่ ทำไมตอ้ งทอ่ งสตู รการหาพนื้ ทส่ี เี่ หลยี่ มคางหมู
ในเมือ่ เรารูว้ ิธกี ารหาพนื้ ที่ส่เี หลี่ยมและสามเหลย่ี ม

กรอบเดิมครูมักสอนให้คิดตัวเลขยาก ๆ เพราะเชื่อว่าการคิด
คำนวณตัวเลขจำนวนเยอะได้ คอื เกง่ ทางคณิตศาสตร์ ทัง้ ที่จริงแคฝ่ ึก
ใหเ้ ราเขา้ ใจ รวู้ ธิ จี ากจำนวนนอ้ ย ๆ แลว้ เราจะหาคำตอบจากตวั เลขยาก ๆ
ไดเ้ อง เราตอ้ งเสยี เวลาไปนานกวา่ ทค่ี รจู ะเคย่ี วเขญ็ ใหเ้ ราทอ่ งสตู รคณู ได้
ทั้งที่ตอนน้ีเราแทบไม่ได้ใช้มันเพราะเครื่องมือคิดเลขมีอยู่ทั่วไปแม้แต่
ในโทรศพั ทม์ ือถอื

กรอบเดมิ จะเรม่ิ จากการบอกวธิ ซี ง่ึ แทบไมม่ โี อกาสทจ่ี ะใหผ้ เู้ รยี น
คน้ พบวิธีใหม่ได้ด้วยตัวเอง  ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เรียนรู้แบบต่างคน

310 วถิ สี รา้ งการเรยี นรูเ้ พือ่ ศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอ่ื ศิษย์


ตา่ งคดิ   การปรึกษากนั หรือลอกกันเปน็ ความผิด  ผ้เู รยี นมโี อกาสนอ้ ย
ที่จะร่วมมือกันคิดแล้วค้นพบวิธีหาคำตอบอย่างหลากหลาย  ครูให้
ความสำคญั กบั คำตอบถกู และวธิ ที ำโดยแคค่ าดหวงั ลกึ  ๆ วา่ เมอ่ื ผเู้ รยี น
แกโ้ จทยเ์ ยอะกจ็ ะเกดิ ความเขา้ ใจไดเ้ อง  และความจรงิ ทเ่ี จบ็ ปวดคอื ทเ่ี รา
เรยี นคณติ ศาสตรม์ าทง้ั หมดเราไดม้ าเพยี งทกั ษะพน้ื  ๆ ทางคณติ ศาสตร์
นน่ั คอื ทกั ษะการคดิ เลข  กรอบใหมก่ บั การสอนคณติ ศาสตรท์ โ่ี รงเรยี น
ลำปลายมาศพฒั นาจึงเป็น การสอนคณิตศาสตรเ์ พอื่ มุ่งใหเ้ กิดทกั ษะที่
สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) ทักษะการมอง
เห็นภาพหรือรูปแบบท่ีซ่อนอยู่ (Patterning) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และ ทกั ษะ
การสอื่ สาร (Communication) เพ่อื ใหเ้ กิดความร่วมมือและพบวิธีหรือ
คำตอบเอง (Meta cognition)

การสอนจึงให้ความสำคัญท่ีเข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และ
ค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการท่ีได้จึงเป็นคำตอบท่ีสำคัญกว่า
คำตอบจรงิ  ๆ โดยใชข้ น้ั ของการสอนดังน้ี

(๑) ชง หมายถงึ ขัน้ ทีค่ รูตั้งคำถาม ต้งั โจทย์ หรอื โยนปญั หา
ให้ผู้เรียนได้เผชิญ ผู้เรียนจะได้คิดและการลงมือปฏิบัติเพ่ือแก้ปัญหา
นนั้ ดว้ ยตนเอง โดยเริ่มจากสอื่ ทเ่ี ปน็ รูปธรรมจนนำไปสู่สัญลกั ษณ์ดงั น้ี

รปู ธรรม ขนั้ นผ้ี เู้ รยี นจะไดเ้ รยี นรผู้ า่ นประสาทสมั ผสั ทงั้ หา้ (Sensory)
คือ การได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสและได้คิดจากสื่อจริง เช่น
กอ้ นหิน แผน่ รอ้ ย ไมต้ ะเกียบ ลกู บาศกโ์ ซมา ฯลฯ




311ภาค ๕ เรือ่ งเลา่ ตามบริบท : จับความจากยอดครูมาฝากครเู พอ่ื ศิษย


กึ่งรูปธรรม  หลังจากที่ผ่านการใช้สื่อจริงมาแล้ว ข้ันนี้นักเรียน
จะได้เรียนรู้การแก้ปัญหาผ่านการวาดภาพเพื่อจะช่วยให้สมองของ
นักเรียนพัฒนาทักษะการสร้างภาพในสมอง (Visual) ซ่ึงเป็นทักษะท่ี
สำคญั สำหรับการแก้ปญั หาต่อไป

สัญลักษณ์ เป็นข้ันของการแปลภาพมาสู่สัญลักษณ์ เพื่อ

แกป้ ัญหาโดยใช้ตรรกะหรือกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์

(๒) เชื่อม หมายถึง การนำเสนอเพื่อแลกเปล่ียนวิธีแก้โจทย์
ปญั หาของแตล่ ะคน  ครไู มจ่ ำเปน็ ตอ้ งตดั สนิ วา่ วธิ ใี ดถกู หรอื ผดิ เพราะ
สดุ ทา้ ยเมอื่ มกี ารแลกเปลยี่ นกนั มากขน้ึ นกั เรยี นแตล่ ะคนจะเหน็ มมุ มองท่ี
หลากหลาย เหน็ ชอ่ งโหวข่ องบางวธิ ี ไดต้ รวจสอบวิธีแต่ละวธิ ี ในที่สดุ
จะรู้คำตอบเอง และสามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเองเข้าใจไป
ใชไ้ ด ้ นเี่ ปน็ ทกั ษะของการรตู้ วั   รวู้ า่ ตวั เองรหู้ รอื ไมร่ ู้ (Meta cognition)
เปน็ ทกั ษะทจี่ ะนำไปสกู่ ารพฒั นาตนเองตอ่ ไป  ในขนั้ นคี้ รแู คต่ งั้ คำถาม
“ใครได้คำตอบแล้ว”  “มีวิธีคิดอย่างไร”  “ใครมีวิธีอื่นบ้าง” “คุยกับ
เพื่อนว่าเห็นอะไรที่คล้ายกันหรือแตกต่างกันบ้าง”  ครูท่ีเก่งจะไม่
ผลีผลามบอกคำตอบแต่จะเอ้ืออำนวยให้ผู้เรียนพบคำตอบ  คำตอบท่ี
เราต้องการจริงคือ วิธีการ ในขั้นตอนน้ี  ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะ
ทงั้ หมด ทง้ั ทกั ษะการแกป้ ญั หา (Problem Solving) ทกั ษะการมองเหน็
ภาพหรือรูปแบบท่ีซ่อนอยู่ (Look for the Pattern) ทักษะการคิด
สร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning)
และ ทักษะการส่ือสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือ
และพบวิธหี รือคำตอบเอง (Meta cognition)




312 วถิ ีสร้างการเรียนรูเ้ พอื่ ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พอื่ ศษิ ย


(๓) ใช้  หมายถงึ ขั้นของการใหโ้ จทยใ์ หม่ท่คี ลา้ ยกนั หรอื ยาก
ข้ึน หลังจากท่ีผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาจากข้ันตอนที่ ๒ แล้ว เพ่ือให้
นักเรียนแต่ละคนได้ประลองเอง จะได้สร้างความเข้าใจให้คมชัดข้ึน
ครจู ะได้ตรวจสอบอีกรอบว่าเด็กแตล่ ะคนเขา้ ใจมากน้อยเพยี งใด


(กรงุ เทพธุรกิจ ฉบับที่ ๖๙ ๑๘- ๒๔ กนั ยายน ๒๕๕๔)








{ }

ตดิ ตามรายละเอยี ดเรือ่ งราวต่อไดท้ ี

http://lamplaimatpattanaschool.blogspot.com
























313ภาค ๕ เรอ่ื งเลา่ ตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครเู พอื่ ศษิ ย์

314 วิถีสรา้ งการเรียนรู้เพ่อื ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พ่ือศษิ ย์






เรอื่ งเล่าครทู ่ีเพลินกับการพัฒนา


 กระบวนการสรา้ งครูทเ่ี พลนิ กับการพฒั นา


PBL + PLC ฉบับญ่ปี นุ่





เร่ืองเล่าของโรงเรียนเพลนิ พัฒนา


บางส่วนจาก ครูวิมลศรี ศุษิลวรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้าน
การจดั การเรียนรู้ โรงเรียนเพลนิ พัฒนา


 การยกคณุ ภาพชนั้ เรยี น ๑

 การยกคณุ ภาพชนั้ เรยี น ๒

 เรยี นรจู้ ากจำนวน และ ตวั เลข

 การ “เผยตน” ของฟล๊คุ


315ภาค ๕ เร่อื งเลา่ ตามบริบท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครูเพอ่ื ศิษย์

กระบวนการสร้างคร

ทเ่ี พลนิ กับการพฒั นา PBL + PLC ฉบบั ญป่ี นุ่


กระบวนการสร้างครูท่ีเพลินกับการพัฒนา เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้

ในแนวทางทเี่ รยี กวา่ lesson study + open approach ซงึ่ อา่ นไดจ้ ากบนั ทกึ
ของครใู หม่ ครวู มิ ลศรี ศษุ ิลวรณ์  ท่ี http://www.gotoknow.org/blog/
krumaimai/450085 และ http://www.gotoknow.org/blog/krumaimai/
450245 และเดาว่าจะมีบันทึกต่อ ๆ ไปอีก  เป็นบันทึกท่ีน่าอ่านมาก  ผม
จึงขอแนะนำให้ครูเพื่อศิษย์เข้าไปอ่าน  เพื่อทำความเข้าใจหลักการและ

วธิ ีการของ PBL และ PLC จากอกี แนวทางหนึง่   ท่ีนา่ สนใจคือ ทางญ่ปี ่นุ
บอกว่าใชม้ า ๑๐๐ ปแี ลว้




๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/450409





316 วิถสี ร้างการเรียนร้เู พื่อศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พือ่ ศิษย์




เรอ่ื งเลา่ ของโรงเรยี นเพลินพัฒนา


บางสว่ นจาก ครวู มิ ลศรี ศุษลิ วรณ


ผู้ชว่ ยผู้อำนวยการด้านการจดั การเรียนร
ู้


โรงเรียนเพลนิ พฒั นา





การยกคณุ ภาพชน้ั เรียน ๑ 


เมอ่ื วนั ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔  ดฉิ ันและคุณครจู ากโรงเรียน

เพลนิ พฒั นารวม ๙ คน มโี อกาสไดไ้ ปฟงั ศาสตราจารยม์ าซามิ อโิ ซดะ
(Prof. Masami Isoda) จาก มหาวิทยาลัยทสึกุบะ (University of
Tsukuba) ประเทศญี่ปุ่น บรรยายเรื่อง “หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ท่ี
เน้นกระบวนการแก้ปัญหา (Mathematics Textbook focus on
Problem Solving) เพ่ือพัฒนาการฝึกหัดครูและวิชาชีพครู” ท่ี
มหาวทิ ยาลัยธรุ กจิ บณั ฑิต


กิจกรรมครั้งนีจ้ ัดโดย ศูนย์วิจัยคณติ ศาสตร์ คณะศกึ ษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจที่มี
ตอ่ การจดั การเรยี นการสอนคณติ ศาสตร์


ผศ. ดร. ไมตรี อนิ ทรป์ ระสทิ ธ ์ิ ผอู้ ำนวยการศนู ยว์ จิ ยั คณติ ศาสตร์
กลา่ วในชว่ งแรกกอ่ นการบรรยายของศาสตราจารยอ์ โิ ซดะวา่ กระบวน

การพัฒนาครดู ้วย Lesson Study และการจัดกระบวนการเรียนร้แู บบ


317ภาค ๕ เร่ืองเล่าตามบริบท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครูเพือ่ ศิษย


Open Approach น้ีเป็นการยกคณุ ภาพชน้ั เรียนไดร้ วดเรว็ ที่สดุ ด้วย
การนำเอาผลของการปฏิบัติมาแลกเปล่ียนเรียนรู้ และมีนวัตกรรมคือ
ตัวหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ท่ีเน้นกระบวนการแก้ปัญหามาช่วยพัฒนา

การปฏิบตั ทิ ี่ชดั เจน

การทำงานในรูปแบบนี้เป็นการทำงานท่ีแตกต่างไปจากเดิมโดย
สิ้นเชิง เพราะเป็นการใช้งานภาคปฏิบัติปฏิวัติสถาบันผลิตครู  ไม่ได้
พัฒนาจากโครงสรา้ ง 

  แต่เดิมงานท่ีทำในสถาบันผลิตครูไม่สอดคล้องกับกระบวนการ
เรียนรู้ท่ีเกิดขึ้นในช้ันเรียนเลย ตัวหลักสูตรสถานศึกษาที่ทำกันอยู่ก็
เป็นการเขียนข้ึนมาโดยไม่มีประสบการณ์จากห้องเรียนมารองรับ 
ทำให้หลักสูตรท่ีเขียนข้ึนไม่สามารถนำลงสู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียน
ไดจ้ ริง

  การพัฒนาครูต้องมีนวัตกรรมท่ีชัดเจน Lesson Study และ
Open Approach เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ครูได้เรียนรู้ตลอดชีวิต
และสร้างให้ผูเ้ รียนมคี วามสามารถทจี่ ะเรียนรูต้ ลอดชวี ิต

  นวัตกรรมจากการปฏิบัติ หรือการพัฒนางานจากภาคปฏิบัติ
รายวันด้วยกระบวนการ Lesson Study เป็นงานง่ายท่ีต้องอาศัยเวลา
แต่จะส่งผลกระทบไปยังองคาพยพทั้งหมด โดยอาศัยการเรียนรู้ร่วม
กนั อย่างจรงิ จังของกลมุ่ ครูที่มคี วามเอาใจใส่ในงานอย่างสม่ำเสมอ ซ่ึง
ญ่ีป่นุ ทำมารอ้ ยกว่าปีแลว้

  การสร้างครูต้องทำทั้งในมุมของการให้ความรู้ครู (Teacher
Education) การพัฒนาครู (Teacher Development) และการสรา้ ง

318 วิถีสรา้ งการเรยี นรู้เพ่ือศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พื่อศษิ ย์


ครูให้เป็นนักวิจัย (Teacher as a researcher)  ที่ญ่ีปุ่นจึงเรียก
แผนการเรียนวา่ แผนวจิ ยั

ครจู ะเปลย่ี นมุมมองของตวั เองได้อย่างไร และอะไรคอื เครอ่ื งมอื  

  การผลิตครูร่นุ ใหมท่ ี่มคี วามสามารถในการเรียนร้เู ปน็ กลุ่ม และ
มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Open Approach
ให้มาเป็นคู่เรียนรู้กับครูรุ่นเก่า เป็นแนวคิดท่ีทางศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์
ใช้อยู่ โดยการสง่ นกั ศึกษาครู (intern) ไปทำงานกับโรงเรียนทเี่ ขา้ รว่ ม
โครงการ โดยท่ีตัวนกั ศึกษาเองต้องรจู้ ักกับ Lesson Study และ Open
Approach ตั้งแตเ่ รยี นอยชู่ ัน้ ปที ี่ ๑

  การทำงานในระบบน้ีเร่ิมตั้งแต่การวางแผนการเรียนร้ ู สังเกต
ชนั้ เรยี น และการสะท้อนผล เพื่อให้เกดิ การพฒั นางานภาคปฏิบตั ริ าย
วันท่เี ป็นไปอยา่ งสม่ำเสมอ

รูจ้ ักหอ้ งเรียนของตวั เอง

  การทค่ี รจู ะตระหนกั ชดั วา่ นกั เรยี นแตล่ ะคนคดิ อะไรได้ วฒั นธรรม
ในห้องเรียนต้องเปลี่ยนไป  ทุกวันนี้ครูไม่เคยเห็นต้นทุนวิธีคิดของเด็ก
และไมไ่ ดเ้ ช่อื มโยงสิง่ ท่เี ด็กคดิ เข้าไปในแผนการเรยี นร
ู้
ในการจัดการเรียนรู้แบบ Open Approach ครูจะใช้เวลา
จำนวนมากนอกห้องเรียน เวลาในชั้นเรียนจะเป็นเวลาของเด็ก ไม่ใช่
เวลาของครู  แต่ครูจะใช้ช่วงเวลานี้สร้างการเรียนรู้ที่เด็กไม่ต้องพ่ึงครู
และทำให้พวกเขาเรียนรูเ้ องได้ ทง้ั จากการทำงานแกโ้ จทยส์ ถานการณ์
ปัญหา  การทำงานกับค่ ู การแลกเปล่ียนเรียนรู้กับคนที่คิดอะไรแปลก
ไปจากท่ีตนเองคดิ


319ภาค ๕ เรอ่ื งเล่าตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครเู พื่อศิษย์

  ถ้าครูทำได้เช่นนี้ หมายถึงครูกำลังสอนวิธีคิดให้กับนักเรียน
กำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับชั้นเรียน และกำลังสร้างบรรยากาศ
การเรยี นรู้ใหม่ ซง่ึ เปน็ เรือ่ งท่ีครคู วรทำมากกวา่ การสอนเนื้อหาใหค้ รบ

ศาสตราจารย์มาซามิ อิโซดะ (Prof. Masami Isoda) จาก

มหาวทิ ยาลัยทสกึ บุ ะ ประเทศญี่ปนุ่ เล่าถึงแนวคดิ ที่จะทำความเข้าใจ
หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ระดับ ป. ๑ - ป. ๖ ชุดใหม่ล่าสุด Study
with Your Friends MATHEMATICS for Elementary School (new
edition), Gakko Tosho Textbook ทีญ่ ปี่ นุ่ เรม่ิ ใชเ้ มอื่ ปกี ารศกึ ษานีว้ า่
พฒั นามาจาก

แนวคิดเดิมของญี่ปนุ่

แนวคิดทอ่ี าจารย์ไมตรกี ลา่ วถึง

แนวคิดทไ่ี ดม้ าจากประสบการณจ์ ากการปฏิบัตขิ องคร

อาจารย์อิโซดะเน้นว่า คณิตศาสตร์ คือ การสื่อสารความคิด
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความยากของคณิตศาสตร์อยู่ท่ีการอธิบาย
วธิ คี ดิ ออกมาใหช้ ดั เจนวา่ ใครคดิ อยา่ งไร สว่ นความยงุ่ ยากของครผู สู้ อน
คณติ ศาสตรอ์ ยทู่ ีไ่ มร่ ู้ว่าจะพัฒนาตัวเองไปทางไหน

  ครูคณิตศาสตร์จะเปล่ียนแปลงได้ ต้องเปลี่ยนแนวทางการ
จัดการเรยี นการสอน (teaching approach)

  เดก็ จะเปลย่ี นแปลงได้ ครตู อ้ งสรา้ งชมุ ชนของการเรยี นรู้ (learning
community) และเปดิ พน้ื ทเี่ รยี นรขู้ น้ึ ในชนั้ เรยี น ดว้ ยทำใหก้ ระบวนการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยยกระดับความรู้ให้กับผู้เรียน โดยมีหนังสือเรียน
ทอี่ อกแบบไว้อย่างดีเป็นบนั ได


320 วิถสี รา้ งการเรียนร้เู พอื่ ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอื่ ศิษย


  หนงั สอื เรยี นญป่ี ุน่ เป็นหนังสอื เรียนที่มโี ครงสรา้ ง และความคงท่ี
ของเน้ือหามากที่สุด และออกแบบมาเพ่ือให้ครูคิดได้ชัดเจนเก่ียวกับ
การวางแผนการเรยี นรู้

  จากผลการวิจยั พบว่า เม่อื ใช้กระบวนการ Lesson Study ร่วม
กบั การใชห้ นงั สอื ทอี่ อกแบบมาเพอื่ สรา้ งกระบวนการเรยี นรแู้ บบ Open
Approach ผลสมั ฤทธข์ิ องผเู้ รยี นจะปรากฏชดั เจนกวา่ การใชก้ ระบวนการ
Lesson Study เพียงอย่างเดียว หรือใช้กระบวนการเรียนรู้แบบเดิม
(lecture Style) เพียงอย่างเดียว

  นวัตกรรม Lesson Study และ Open Approach ในวิชา

คณิตศาสตร์เป็นกระบวนการที่จะก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงในการ
เรียนร้ใู นวชิ าอื่นดว้ ย เพราะการเรยี นรใู้ นรูปแบบนีจ้ ะชว่ ยใหผ้ เู้ รียน

เรยี นรวู้ ิธที ่จี ะเรียนร
ู้
มีวิธีท่จี ะเรียนรู้ด้วยตนเอง

  ทส่ี ำคญั คอื การเรยี นรดู้ ว้ ยวธิ นี จี้ ะชว่ ยใหผ้ เู้ รยี นเกดิ การเปลย่ี นแปลง
ได้จากการที่ครูเปลี่ยนแปลง teaching approach และเนื้อหา
(content) ทเ่ี ปน็ ปัจจัยในการพัฒนาการเรียนรู้ให้เปน็ ไปในทิศทางของ
Open Approach


คำอธิบายสำคญั เหนอื กวา่ คำตอบ


  ครูต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ในการเรียนรู้ที่เปิดพื้นที่ให้นักเรียน
เรยี นรวู้ ธิ ที จ่ี ะเรยี นรู้ และมวี ธิ ที จ่ี ะเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง  การสรา้ งคำอธบิ าย
สำคญั เหนอื กวา่ คำตอบ เพราะคำอธบิ ายของนกั เรยี นนน่ั เอง ทจี่ ะทำให้


321ภาค ๕ เรอื่ งเลา่ ตามบรบิ ท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครูเพอ่ื ศษิ ย


ครไู ดร้ ู้วา่ เขาเข้าใจในแนวคิดของเร่อื งท่ีเรียนจรงิ หรอื ไม่ เชน่ ในการ
เรียนเรื่องเศษส่วน ผู้เรียนตอบจากความเข้าใจในแนวคิดของเศษส่วน
จริง ๆ หรอื ไดค้ ำตอบมาจากการนับ

  การพัฒนาแนวคิดของนักเรียนคือ เรื่องที่สำคัญท่ีสุด เขา
ต้องการการเตรียมวิธีคิดอย่างเป็นลำดับข้ัน เพ่ือเข้าถึงการเรียนรู้
แนวคิดของเร่ืองนัน้  ๆ อยา่ งกระจา่ ง ตวั อย่างเชน่ ถา้ จะให้เรยี นรู้เร่อื ง
proportional line ในชน้ั ป. ๖  ครตู อ้ งเตรยี มนกั เรยี นมาอยา่ งไรตงั้ แต่
ชั้น ป. ๑ - ป. ๕ เพื่อให้ผู้เรียนค่อย ๆ เกิดความเข้าใจที่จำเป็นต่อ
แนวคิดของเร่อื งนีม้ าทีละน้อย

  เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนสามารถเรียนได้รู้ด้วยตัวเอง  ในหนังสือ
ของชั้น ป. ๖ จะมคี ำถามใหน้ กั เรยี นตอบว่า

สงิ่ ทีร่ ูแ้ ลว้ คอื อะไร

ส่ิงทต่ี อ้ งการรคู้ อื อะไร

เขยี นสิ่งทรี่ แู้ ลว้ ลงในช่องวา่ ง และคำนวณหาคำตอบ

การเรยี นรใู้ นลักษณะน้ี เป็นการเรียนรเู้ พ่อื ทำความเขา้ ใจ ท่ีเน้น
กระบวนการคดิ ไมใ่ ชค่ ำตอบ


สิง่ ทีค่ รคู วรทำความเข้าใจ


๑. ทำความเข้าใจเบื้องหลงั การออกแบบบทเรยี นในหนังสือ

๒. เขา้ ใจหนงั สือเรยี น และ กิจกรรม ตลอดจนจำนวนตวั เลขที่

นำมาสรา้ งโจทย์ปญั หา


322 วถิ สี ร้างการเรียนรเู้ พอ่ื ศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พื่อศษิ ย์


๓. ในการเรียนรู้แบบนี้ผู้เรียนจะสนุกมาก และจะเปลี่ยนแปลง

ได้เรว็ กว่าครทู ีม่ กั สอนวธิ ีทำเป็นส่วนใหญ่

๔. การเรียนรู้จะเกิดข้ึนมากในช่วงของการสะท้อนคิด หรือ

ทบทวนไตรต่ รอง (reflection)

๕. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยให้เกิดการปะติดปะต่อความ

เขา้ ใจ

การ “รจู้ ักเดก็ ” สำคญั ทีส่ ดุ เพราะถา้ เราไม่รจู้ กั เขา เราจะแก้
ข้อตดิ ขัดในการเรยี นร้ขู องเขาไม่ได้




http://www.gotoknow.org/blogs/posts/450085

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/450245





















323ภาค ๕ เรือ่ งเล่าตามบริบท : จับความจากยอดครมู าฝากครูเพือ่ ศิษย์

การยกคณุ ภาพชั้นเรยี น ๒


ก่อนหน้าการเข้าฟังการบรรยายในครั้งน้ี ดิฉันได้ไปเข้าร่วมงาน
สัมมนา APEC-Chiang Mai International Symposium 2010 :
Innovation of Mathematics Teaching and Learning through
Lesson Study - Connection between Assessment and Subject
Matter ที่จัดขึ้นระหว่างวันท่ี ๑ - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ท่ี
มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่ 

  ในคร้ังน้ันศาสตราจารย์ชิซูมิ  ชิมิสุ (Prof. Shizumi SHIMIZU)

ประธานของสมาคมการศึกษาคณิตศาสตร์ของญ่ีปุ่น (President of
the Japan Society of Mathematical Education (JSME), Japan)
ท่านได้ใหข้ อ้ คิดเกยี่ วกับเร่ืองการใชห้ นงั สอื เรยี นไวด้ ังนี

  “หนังสือเรียนแบบใหม่ท่ีกำลังจะใช้ในเดือนเมษายนนี้ มีราย
ละเอียดที่ช่วยให้ครูดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้ดี หนังสือเรียนควรจะ
เข้าใจง่าย ประกอบด้วยสาระต่าง ๆ และมีพ้ืนที่ให้อิสระ ให้ครูได้
พัฒนาวิชาชีพ อายุงานครูโดยเฉลยี่ จะประมาณ ๓๕ ปี ทกุ ๑๐ ปจี ะมี
เร่ืองใหม่ ๆ มาให้ครูทำความเข้าใจ และจะมีรอยต่อของความเข้าใจ
ในครูตา่ งรนุ่ เกิดขน้ึ เสมอ

  ทำอย่างไรที่ครูจะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพให้ครูท่ีม

อายุงานน้อยกว่าได้ เพราะหน่ึงในสามของครูจะเกษียณออกไปโดยมี
ครรู นุ่ ใหมเ่ ขา้ มาทดแทน  ความรเู้ รอื่ งปญั หาการเรยี นการสอนทม่ี อี ยจู่ รงิ
จะถ่ายทอดอย่างไร


324 วถิ สี ร้างการเรยี นรเู้ พ่ือศษิ ย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พือ่ ศษิ ย์


  ครูทมี่ คี วามเข้าใจซึ่งมีอยู่น้อยจะใชห้ นงั สือเรยี นไดด้ ี อกี จำนวน
มากยงั มีปญั หาในการใช้ สง่ิ ที่ต้องทำคอื การทำให้ขัน้ ตอนตา่ ง ๆ ใน
การสรา้ งกระบวนการเรยี นรทู้ สี่ ำคญั และจำเปน็ ปรากฏอยใู่ นหนงั สอื เรยี น
แล้วครูสามารถนำไปใช้โดยมีปัญหาน้อยที่สุด” (หมายถึง การใช้
หนังสือเรียนเป็น explicit knowledge ท่ีก่อการเรียนรู้แบบ active
learning - ผเู้ รียบเรียง)

คณิตศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับภาษามาก เด็กต้องเข้าใจทั้ง
คณิตศาสตร์และภาษาเพ่ือการอยู่ในสังคม สามารถอ่านกราฟ  ชาร์จ
และขอ้ มลู และส่ือสารระบบความคดิ ของตนเองสู่ผ้อู ืน่ ได

  ครูคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า
คณติ ศาสตรค์ อื เรอื่ งของการบวก ลบ คณู หาร เช่นเดยี วกับคนทั่วไป
ในประเทศญ่ปี ุ่น ทำอย่างไรจงึ จะเปลี่ยนวธิ ีคดิ นี้ได้

วิธีคิดท่ีน่าจะได้ผลคือ การเปลีย่ นคนรนุ่ ใหม่ทไ่ี ด้ใช้หนังสอื เรียน
ชุดใหม่นี้ ไมต่ อ้ งคดิ ท่จี ะไปเปลีย่ นผใู้ หญ่ นี่เป็นปญั หาของทุกประเทศ 
อะไรคือสิ่งที่ครูต้องสอน ทำไมจึงต้องสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน

คนเราเรียนอะไรจากคณิตศาสตร์  ปัญหาเหล่านี้ต้องทำวิจัยเพื่อท่ีจะรู้
ปญั หาจากภาคปฏบิ ตั ิ

  ความพยายามที่จะอธิบายเป็นเรื่องสำคัญมาก การจัดระบบ
ความคดิ และการแกป้ ญั หาในสถานการณต์ า่ ง ๆ คอื การเพม่ิ ศกั ยภาพ
ของคน  Open Approach เป็นกระบวนการแก้ปัญหา เม่ือเจอ
สถานการณป์ ญั หา เกดิ ปัญหาขนึ้ แล้วตอ้ งหาวิธีแกด้ ้วยตนเอง ชว่ ยกนั
แกป้ ัญหาเปน็ กลุ่ม แลกเปลีย่ นความคิดกนั เกิดการทำใหด้ ีข้นึ มีการ


325ภาค ๕ เรอื่ งเลา่ ตามบริบท : จบั ความจากยอดครูมาฝากครูเพือ่ ศษิ ย


จัดระบบของสิ่งที่ได้มา แล้วนำไปสู่การแก้ปัญหาใหม่ การเรียน
คณิตศาสตร์แบบน้ีจึงเป็นการ approach เข้าสู่ปัญหา ซึ่งเป็น
กระบวนการเรยี นรู้ท่สี ำคญั

  คณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนเป็นพื้นท่ีสำคัญ เราต้องมีความ

รับผิดชอบต่องานที่สำคัญนี้  ท่ีญี่ปุ่นเด็กในช้ันเรียนมีจำนวนลดลง
เรื่อย ๆ  เพราะเด็กเกิดน้อยลง สมัยก่อนเด็กญี่ปุ่นมักสนใจท่ีจะหา
หนงั สอื ประเภทความร้เู บื้องตน้ (introduction to) ในวิชาต่าง ๆ มา
อ่านเพ่ิมความรู้เอง เพราะการแข่งขันสูง  แต่ตอนน้ีไม่มีแล้ว เพราะ
มองกนั ว่าคณติ ศาสตรเ์ ปน็ เรื่องทีเ่ รยี นกนั ในห้องเรียนเทา่ นั้น

  อาจารย์อยากให้มีคนมาเก่ียวข้องกับคณิตศาสตร์มาก ๆ เพื่อ
ปลกุ ชวี ติ ของคณติ ศาสตรใ์ หต้ น่ื ขน้ึ มา จงึ ไดพ้ ยายามสง่ ตอ่ ประสบการณ์
ในชีวติ ใหค้ นหนุม่ สาวไปแกป้ ัญหา และสงั่ สมเป็นสมบัตทิ ้งิ ไวใ้ หก้ บั คน
รุน่ หลังต่อไป”

การพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการเปล่ียนแปลงห้องเรียนเป็นหลัก
เปน็ แนวคิดที่ ศาสตราจารย์ชซิ ูมิ ชมิ ิสเุ สนอไว้ คำถามทน่ี า่ สนใจคือ

การเรยี นรู้คืออะไร 

  การเรยี นรเู้ กดิ ขน้ึ ทโ่ี รงเรยี นเทา่ นนั้ หรอื   หากสง่ิ ทเ่ี รยี นรใู้ นโรงเรยี น
ไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างประสบความสำเร็จ ก็จะไม่เกิดการ
เรยี นรูท้ ีจ่ ะนำไปสกู่ ารแก้ไขปญั หาในอนาคตได






326 วิถสี ร้างการเรียนร้เู พือ่ ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พื่อศษิ ย์


บทบาทหนา้ ทข่ี องโรงเรียนคืออะไร   

การทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเป็นเร่ืองสำคัญ  เรียนรู้
มาจากหอ้ งเรยี นแลว้ จะนำไปใชอ้ ยา่ งไร เลขคณติ ในระดบั ประถม และ
คณิตศาสตร์พ้ืนฐานในระดับมัธยมคือ วิธีการที่นักเรียนจะนำไปใช้
พัฒนาสติปัญญาผ่านคณิตศาสตร์  คณิตศาสตร์ผูกติดกับภาษา 
(ภาษาผกู ตดิ กบั สตปิ ัญญา - ผู้เรยี บเรียง)

เรียนคณิตศาสตรไ์ ปทำไม

  กอ่ นหนา้ นี้ เรยี นคณติ ศาสตรไ์ ปเพอื่ ใหม้ คี วามรู้ และมที กั ษะทาง
คณิตศาสตร์ และปล่อยให้การแก้ปัญหาเป็นเรื่องท่ีผู้เรียนต้องเผชิญ
เม่ือกา้ วพ้นโรงเรยี นออกไปสู่สังคม

  เด๋ียวนี้เรียนคณิตศาสตรเ์ พอ่ื ให้รวู้ ่าทำไมตอ้ งคำนวณ ทำไมตอ้ ง
มีความหมายแบบนั้น เพราะเม่ือนักเรียนพบปัญหาในชีวิตประจำวัน
จะได้นำเอาหลักการที่ได้เรียนรู้มาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได ้
นอกจากน้ียังมีการนำเอาเร่ืองท่ีเป็นปัญหาของสังคมมาเรียนใน
โรงเรยี นดว้ ย

หน้าท่ีของครู 

  สอนสิ่งสำคัญ  ส่ิงที่นักเรียนต้องนำไปใช้ภายในเวลาที่มีอย่ ู
การพัฒนาสื่อสนับสนุน (material development) ขั้นตอนในการ
จดั การเรียนการสอน (flow of lesson)  โครงสร้างของหลกั สตู ร ลว้ น
เป็นเรือ่ งท่ีตอ้ งใช้เวลาและพละกำลงั ทงั้ หมดมาจดั การ




327ภาค ๕ เร่อื งเลา่ ตามบริบท : จบั ความจากยอดครมู าฝากครูเพอื่ ศษิ ย


  ปัญหาทมี่ อี ยคู่ อื ในปัจจุบนั นคี้ วามรู้ ทักษะ และการนำไปใช้ใน
ชวี ติ ไมค่ อ่ ยสมั พนั ธก์ นั เราจะทำอยา่ งไรจงึ จะเนน้ การพฒั นาสตปิ ญั ญา
และศกั ยภาพในภาพรวมได้ เพราะการคดิ การตดั สนิ ใจ ความสามารถ
ในการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้และทักษะข้ันพ้ืนฐานจะช่วยบ่มเพาะ
ทัศนคตใิ นการเรยี นรทู้ ี่จะกลายเป็นพื้นฐานของการเรยี นรู้ตลอดชีวิต


เรื่องทีต่ ้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนอื่ ง 


ทักษะ/ความร้ ู

ศกั ยภาพในภาพการคดิ  

ศกั ยภาพในการต้ดสินใจ

ความสามารถในการนำเสนอวิธคี ิด 

ครูตอ้ งทำใหน้ ักเรยี นมีความรู้ มที กั ษะ และเขา้ สูป่ ัญหาด้วยวธิ ี
การทางคณิตศาสตร์ท่สี นุก เพราะมคี วามสนุก ความน่าสนใจ เขาจึง
อยากเรียน

จุดเนน้

  ๑) สอนผา่ นกิจกรรม เพอ่ื ใหน้ กั เรียนเขา้ ไปสมั ผัสและเกย่ี วขอ้ ง
กับกจิ กรรมทางคณติ ศาสตรด์ ้วยตัวนักเรียนเอง โดยให้กจิ กรรมเป็นทง้ั
ตวั เปา้ หมายและวธิ กี าร เพอ่ื บงั คบั ใหห้ อ้ งเรยี นตอ้ งเปลย่ี น และประสบ
ความสำเร็จ ดังนัน้ หลกั สตู รของญ่ปี ุน่ จงึ มกี ารระบใุ ห้ตวั กิจกรรมเป็น
สาระ (เรม่ิ ใช้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔)

  เปา้ หมาย วิธีการ และสาระเป็นเรอื่ งทแี่ ยกจากกนั ไมไ่ ด้ ครจู งึ
ต้องหยบิ เอาข้ึนมาเน้นทกุ องค์ประกอบ


328 วิถีสรา้ งการเรียนรู้เพือ่ ศิษย์ ในศตวรรษท่ี ๒๑

ครู พอื่ ศิษย


  ๒) การพัฒนาศักยภาพในการคิด และแสดงออกถึงความคิด
หมายถงึ การทผี่ เู้ รยี นคดิ กบั สถานการณป์ ญั หาดว้ ยความเชอ่ื มนั่   สามารถ
จดั ระบบความคดิ ดว้ ยตนเอง นำเสนอความคดิ ของตวั เอง จดบนั ทกึ เพอื่
เกบ็ ไวเ้ ปน็ รอ่ งรอยใหค้ ดิ ทบทวน เพอื่ ทจ่ี ะพฒั นาความคดิ ไปขา้ งหนา้ ได ้

“คิดคนเดียวคิดได้น้อย ถ้ามีสองคนจะคิดได้มากขึ้น สามคน
จะคิดได้มากยิ่งกว่า แต่ทุกคนต้องสื่อสารความคิดของตนเองออกมา
ให้ผ้อู ่ืนรบั ร้ไู ด้ และทำความเข้าใจในแนวคดิ ของคนอื่นดว้ ย”

  ๓) การกระตุ้นทัศนคติให้ไปถึงการสร้างความเข้าใจทาง
คณติ ศาสตร์ และความสามารถในการคดิ การตดั สิน (judging)

การดำเนินการในหอ้ งเรยี นต้องทำอยา่ งไร

  การจัดช้ันเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา ต้องดูพ้ืนฐานท่ีเรียนมา

ก่อนหนา้   ดู flow of lesson นักเรยี นต้องรู้ว่าห้องเรียนจะเป็นไปแบบ
นี้แล้วร่วมมือกับครู  ถึงแม้ว่าครูจะไม่อยู่ นักเรียนก็จะรู้ข้ันตอนว่าตน
จะต้องทำอย่างไร และทำได้เอง  เกิดความสามารถเรียนรู้ในการเรยี น
ร้ดู ว้ ยตนเอง (self-learning)

นกั เรยี นตอ้ งนำเสนอไดอ้ ยา่ งหลากหลายวา่ ตนเองกำลงั คดิ อะไร
ทั้งการนำเสนอด้วยกิจกรรม การลงมือปฏิบัต ิ นำเสนอด้วยสมการ 
ประโยคสัญลักษณ์  แผนภาพ ฯลฯ สามารถอธิบายได้ทั้งหลักคิด
และวิธกี ารท่ีตนนำมาใช้คดิ

  สำหรับนักเรียนในระดับประถมต้น การคิดผ่านกิจกรรมสำคัญ
ทสี่ ดุ คำทนี่ กั เรยี นใชก้ บั กจิ กรรมทน่ี กั เรยี นทำมคี วามสำคญั มาก เพราะ


329ภาค ๕ เรื่องเลา่ ตามบริบท : จบั ความจากยอดครูมาฝากครูเพอ่ื ศษิ ย์

สมั พนั ธแ์ ละเชื่อมโยงกนั ครูควรสังเกตว่ามคี วามสอดคล้องกนั อย่างไร 
เช่น การที่นกั เรียนพดู ว่า ๑๒ คอื ๑๐ กับ ๒ นน้ั แสดงวา่ เขาเขา้ ใจ
ความหมายของ ๑๒ ได้อย่างถกู ตอ้ ง  

  ขณะท่ีนักเรียนกำลังอธิบายความคิดของตนเอง  ครูจะเห็นการ
ใช้คำท่ีเขานำมาแสดงความรู้ความเข้าใจที่มีความสำคัญ และเห็น
ศกั ยภาพในการอธิบายอยา่ งเปน็ ลำดับข้นั ครจู ึงตอ้ งให้เด็กเขยี นแสดง
ความเข้าใจ และตีความความเข้าใจของเขาออกมาให้เห็นได้อย่าง
ชดั เจน (mathematical communication)

การเลือกใชเ้ ครื่องมือมาประกอบวธิ ีคิดของตนเอง ใหเ้ หตผุ ลเอง
อธิบายในแบบของตนเอง เป็นต้นทุนท่ีสำคัญสำหรับการอธิบายการ
พสิ จู น์ตา่ ง ๆ ในชั้นมธั ยมต่อไป


การสอนแบบเปิด (Open Approach) ใหค้ ุณค่ากบั


วิธกี ารเข้าสูป่ ัญหา

วิธีการอธิบายทแี่ ตกต่างกันไปตามความสนใจของเดก็ แตล่ ะคน

การเปดิ ใหเ้ พอื่ นได้เรียนรู้วธิ คี ิดของเพ่ือนอยา่ งหลากหลาย

ขนั้ ตอนในการจดั การเรยี นการสอน

  ๑. นำเสนอสถานการณ์ปัญหา 

นกั เรยี นจะรวู้ า่ เขาจะตอ้ งแกป้ ญั หาอะไรอยา่ งชดั เจน  รวู้ า่ ปญั หา
คืออะไร รูว้ า่ ก่อนหนา้ นร้ี อู้ ะไร (met before) ยกตวั อยา่ งเช่น มรี ถอยู่
๘ คนั ถา้ มรี ถมาอกี ๓ คนั จะเปน็ กค่ี นั  นกั เรยี นจะยกนว้ิ ขนึ้ มานบั ไมไ่ ด้

330 วถิ ีสรา้ งการเรียนร้เู พือ่ ศษิ ย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ครู พอื่ ศษิ ย


เพราะนั่นเป็นวิธีของเด็กอนุบาล ไม่ใช่ของช้ัน ป. ๑  คำถามคือ
นักเรียนจะหาวิธีการคำนวณอยา่ งไร เพ่อื ให้ได้ผลลพั ธ์ทถี่ กู ต้อง

  ๒. คิดด้วยตนเอง

  นักเรียนจะต้องใช้ความรู้ที่เรียนมาก่อนหน้านี้มาอธิบาย และ
สามารถแสดงวธิ กี ารคดิ ของตนเองใหค้ นอนื่ เขา้ ใจวา่ คดิ ไดอ้ ยา่ งไร การจะ
ทำเชน่ นไี้ ดน้ กั เรยี นตอ้ งสามารถจดั ระบบคดิ และเลอื กเครอื่ งมอื มาอธบิ าย
ความคิดไดอ้ ย่างเหมาะสม และมเี หตผุ ลประกอบการอธิบายที่ชดั เจน

กอ่ นหนา้ นน้ี กั เรยี นรจู้ กั การบวกทไี่ ดผ้ ลลพั ธไ์ มเ่ กนิ ๑๐ สถานการณ์
ปัญหาท่ีครูสร้างข้ึนทำให้นักเรียนต้องใช้ความรู้ท่ีตนเองมีทั้งหมดมา
จัดการกับปัญหา  ครูต้องคอยสังเกตดูว่านักเรียนจะเลือกทำอย่างไร
และตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะนำเอาอะไรท่ีได้รู้มาก่อนหน้าน้ีมาใช้ใน
การแกป้ ญั หา

ครูต้องเห็นสิ่งท่ีจะเกิดขึ้นกับนักเรียนล่วงหน้าว่า นักเรียนจะ
สามารถนำความรเู้ รอื่ งใดมาใชไ้ ดบ้ า้ ง และคาดการณว์ า่ ใครจะแกป้ ญั หา
อย่างไร ท้ังจากการทำความรู้จักนักเรียนแต่ละคนท่ีครูมีก่อนหน้านี้
และจากการสังเกตวิธีคิดของนักเรียนท่ีเกิดข้ึนในสมุด ดังนั้นครูต้อง
เดนิ สังเกตการทำงานของนักเรียนอยา่ งทวั่ ถงึ

๓. คิดดว้ ยกัน 

  นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีการคิดของตนท่ีแตกต่างออกไป
จากของเพื่อน เปรียบเทียบความคิดของแต่ละคนว่าเหมือนหรือแตก
ตา่ งกันอย่างไร


331ภาค ๕ เรอ่ื งเล่าตามบริบท : จับความจากยอดครูมาฝากครูเพอื่ ศิษย์


Click to View FlipBook Version