The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phop Ktp, 2024-01-28 22:41:50

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์(Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นายกิตติภพ สนมศรี วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566


การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นายกิตติภพ สนมศรี วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566


หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัย นายกิตติภพ สนมศรี สาขาวิชา สังคมศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ภารเวช อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุธยา หมื่นสาย ครูพี่เลี้ยง นางอนันท์ ศรีโคตร อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีอนุมัติให้นับวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตาม หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา .................................................................. หัวหน้าสาขาวิชา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ภารเวช) วันที่.......…เดือน…….…………พ.ศ…………… คณะกรรมการผู้ประเมินรายงานวิจัยในชั้นเรียน .................................................................................. ประธานคณะกรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ภารเวช) .................................................................................. กรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุธยา หมื่นสาย) .................................................................................. กรรมการ (นางอนันท์ ศรีโคตร) .................................................................................. กรรมการ (นางรัชนี กุลสิทธาวิเวท)


ก ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทา ง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัย นายกิตติภพ สนมศรี อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ภารเวช อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุธยา หมื่นสาย ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติวิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้ได้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 จำนวน 37 คน ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ซึ่งได้มาจากการสุ่ม แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติวิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 โดยมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ ระหว่าง 0.23 - 0.87 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.27 – 0.82 และค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบ ทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t-test for Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดทำแผนการ จัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) พบว่ามีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์มาตรฐาน 84.21/86.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่า งก่อน และหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์5 ก่อนเรียนและหลังเรียน


ข นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 15.86 คิดเป็นร้อยละ 52.88 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.97 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.58 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย คะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05


ค กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยฉบับบนี้ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งรายงานวิจัยนี้สำเร็จลงได้ด้วยความกรุณาและควา มช่วยเหลือจา ก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ภารเวช อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุธยา หมื่นสาย อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม และอาจารย์ไกรวุฒิ ชูวิลัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา ซึ่งได้กรุณาให้ คำแนะนำและตรวจสอบแก้ไขข้อบกพรองต่าง ๆ จนงานวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้มีความสมบูรณ์ ผู้วิจัย ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ คณาจารย์สาขาวิชาสังคมศึกษา และคณาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานีทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ ให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการทำ วิจัยในชั้นเรียนแกผู้วิจัยในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการสถานศึกษา และคณะครูโรงเรียนท่าบ่อทุกท่าน ที่อำนวยความ สะดวกให้ความร่วมมือช่วยเหลือและเป็นกำลังใจโดยตลอด ขอขอบพระคุณ คุณครูรัชนี กุลสิทธาวิเวท หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม คุณครูอนันท์ ศรีโคตร ครูพี่เลี้ยง และคุณครูนิศากรณ์ ไชยรัตน์ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ได้กรุณาให้คำชี้แนะในการสร้างเครื่องมือที่ใชในการวิจัย ขอขอบพระคุณคุณครูนิศารัตน์ โคตรักษา ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม โรงเรียนท่าบ่อ ที่คอยให้การช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาในการทำวิจัยในครั้งนี้และเป็นรุ่นพี่ที่ คอยดูแลนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างดีเสมอมา ขอขอบใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 โรงเรียนท่าบ่อ ปีการศึกษา 2566 ทุกคนที่ให้ ความร่วมมือในการทดลองเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ขอขอบคุณเพื่อนนักศึกษา สาขาวิชาสังคมศึกษาและเพื่อนร่วมรุ่นครุศาสตรบัณฑิตทุกท่านที่ ให้ความช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้ตลอดมา ขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา สมาชิกทุกคนในครอบครัวผู้วิจัย ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแห่ง ความสำเร็จครั้งนี้ คอยช่วยเหลือและให้กำลังใจ เพื่อรอคอยผลสำเร็จของผู้วิจัย สุดท้ายนี้ขอให้คุณค่าที่ได้รับจากงานวิจัยฉบับนี้ ขอให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาในครั้งต่อ ๆ ไป เพื่อใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการศึกษาชาติไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป กิตติภพ สนมศรี


ง สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ง สารบัญตาราง ฉ สารบัญภาพ ช บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4 1.3 สมมติฐานของการวิจัย 4 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 4 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 5 1.6 ประโยชน์ที่จะได้รับ 6 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 หลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 7 พุทธศักราช 2551 2.2 หลักสูตรหลักสูตรสถานศึกษา 10 2.3 แนวคิดทฤษฎีของกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ 14 (Geographic Inquiry Process) 2.4 แผนการจัดการเรียนรู้ 17 2.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 28 2.6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 29 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 34 2.8 กรอบแนวคิดการวิจัย 39 3 วิธีดำเนินการวิจัย 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 41


จ สารบัญ (ต่อ) หน้า 3.2 แบบแผนการวิจัย 41 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 42 3.4 การดำเนินการและการเก็บรวบรวมข้อมูล 49 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 50 3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ 51 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช่ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 55 4.2 ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 56 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 56 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการวิจัย 64 5.2 อภิปรายผล 64 5.3 ข้อเสนอแนะ 67 บรรณานุกรม 69 ภาคผนวก 73 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ รายชื่อผู้ช่วยผู้วิจัย 74 ภาคผนวก ข แผนการจัดการเรียนรู้ 76 ภาคผนวก ค แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 92 ภาคผนวก ง ผลการหาประสิทธิภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 100 ภาคผนวก จ ภาพประกอบการวิจัย 132 ประวัติย่อของผู้วิจัย 138


ฉ สารบัญตาราง ตาราง หน้า 2.1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์มาตรฐาน ส 5.1 12 2.2 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์มาตรฐาน ส 5.2 13 3.1 แบบแผนการวิจัย 41 4.1 ผลรวมของคะแนนก่อนเรียน ระหว่างเรียนและคะแนนหลังเรียน 57 ของการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 4.2 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ 59 เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 4.3 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 60 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 4.4 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน 62 ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ง.1 การพิจารณาความสอดคล้องระหว่างแผนการจัดการเรียนรู้กับ 119 จุดประสงค์การเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ ง.2 การพิจารณาความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 123 กับเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ ง.3 คะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ฉบับทดลองใช้ 125 เพื่อหาค่าความยากง่าย (p) และอำนาจจำแนก (r) และคัดเลือกข้อสอบ ที่อยู่ในเกณฑ์จำนวน 30 ข้อ (จำนวน 39 คน) ง.4 การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) หลังจากคัดเลือกข้อสอบ 127 ที่อยู่ในเกณฑ์จำนวน 30 ข้อ


ช สารบัญภาพ ภาพ หน้า 2.1 กรอบแนวคิดการวิจัย 40 3.1 สรุปขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 45 3.2 สรุปขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 48 ง.1 รายชื่อนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 131 จ.1 การทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน 133 จ.2 การทำกิจกรรมในชั้นเรียน 134 จ.3 การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน 135 จ.4 ตัวอย่างผลงานนักเรียน 136 จ.5 การทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน 137


บทที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญ สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร ทั้งในฐานะปัจเจก บุคคลและการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่า ง จำกัด นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลาตามเหตุ ปัจจัยต่างๆทำให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และสังคมโลก (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551 : 3) ภูมิศาสตร์ (Geography) มาจากภาษากรีก (geographia) หมายถึง การบรรยายเกี่ยวกับโลก เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับ สิ่งแวดล้อม มุ่งอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิด บนพื้นผิวโลก ทั้งที่เป็นลักษณะทางกายภาพที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ มหาสมุทร ฯลฯ และศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเกษตรกรรม การขนส่ง การวางผังเมือง ฯลฯ ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการศึกษาพื้นผิวโลก และพยายาม อธิบายความซับซ้อนของมนุษย์และความซับซ้อนของธรรมชาติ (วรวิทย์ ศุภวิมุติ. 2565) การจัดการศึกษาเพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่สามารถช่วยพัฒนา นักเรียนให้เข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกที่มีความสัมพันธ์กับที่ตั้ง เข้าใจระบบธรรมชาติและการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถ ในการคิดอย่างเป็นระบบและการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในฐานะพลเมืองโลก สอดคล้องกับ Edelson (2011) ที่อธิบายว่า การรู้เรื่องภูมิศาสตร์มีส่วนสำคัญในการเตรียมพลเมืองใน ศตวรรษที่ 21 เพราะการรู้เรื่องภูมิศาสตร์จะช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในชีวิตประจำ วัน โดยคำนึงถึงบริบทโดยรอบ สำหรับในการทำงาน การรู้เรื่องภูมิศาสตร์จะช่วยให้เกิดการวางแผนและ การสร้างกลยุทธ์ที่ลดต้นทุนสิ่งแวดล้อมและสังคม สำหรับการเป็นพลเมือง การรู้เรื่องภูมิศาสตร์จะ ช่วยให้เป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ ยั่งยืนได้ การรู้เรื่องภูมิศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของชุมชน ลดความขัดแย้งและความรุนแรง พัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน รอบโลก (กนก จันทรา. 2561 : 1) ภูมิศาสตร์จัดเป็นสาระการเรียนรู้หนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม มีขอบข่ายการเรียนรู้ที่มีสาระหลักเป็นความคิดรวบยอดที่เกี่ยวข้องกับศา สตร์ต่าง ๆ


2 หลายศาสตร์คือ ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นต้น ที่มุ่งให้มี ความเข้าใจในเรื่อง มิติสัมพันธ์ ทางภูมิศาสตร์กับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลก ความสัมพันธ์ต่อกันและกัน และต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ การจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ซึ่งเป็น เนื้อหาที่ยาก และสลับซับซ้อน ต้องใช้เทคนิคและวิธีการ เทคโนโลยี สื่อการเรียนรู้ นวัตกรรม แหล่ง เรียนรู้ต่างๆในท้องถิ่น ในการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง แสวงหาความรู้และประสบการณ์ ในการศึกษา ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ในเชิงมิติสัมพันธ์ทั้งในส่วนของประเทศไทย กับ โลกที่เราอาศัยอยู่ มีความสามารถที่จะอธิบายลักษณะ ที่ตั้ง ตำแหน่ง แบบแผน และกระบวนการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ปรากฏการณ์ของสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และวัฒนธรรม คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ ผลประโยชน์ของชาติและผลกระทบต่อโลก (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546: 6) ซึ่งเนื้อหาที่จะเรียนใน สาระภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย ลักษณะทางกายภาพของโลก แหล่งทรัพยากร และภูมิอากาศของ ประเทศไทย และภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กัน ของสิ่งต่าง ๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้น การนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อกา รพัฒนา ที่ยั่งยืน (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551 : 4) โรงเรียนท่าบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีสภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 มี ผลทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยร้อยละ 50 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ผู้วิจัยตั้งไว้ คือร้อยละ 60 ซึ่ง อาจมีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น ประการที่หนึ่ง ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาภูมิศาสตร์เป็นเนื้อหา ที่ค่อนข้างยาก และซับซ้อน เมื่อนักเรียนเรียนแล้วไม่เข้าใจจึงทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่สนใจ บทเรียน ประการที่สอง ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ไม่เอื้ออำนวย ในการจัดการเรียนการสอน ประการที่สาม ปัญหาจากครูผู้สอน ได้แก่ ครูขาดความถนัด ขาด ประสบการณ์ มีเวลาเตรียมการสอนน้อย เนื่องจากมีภาระงานในหน้าที่อื่น ๆ ทำให้จัดการเรียนการ สอนได้ไม่เต็มที่ และครูมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้เทคนิคการสอนที่ไม่หลากหลาย ส่วนมากเน้นการสอนแบบบรรยายทำให้บรรยากาศในการเรียนน่าเบื่อ ส่งผลทำให้นักเรียนไม่มีควา ม กระตือรือร้นและไม่มีแรงจูงใจในการเรียน จึงทำให้นักเรียนไม่ได้รับประสบการณ์ตรง เพราะไม่ได้ ศึกษาค้นคว้าและลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งมันอาจส่งผลทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่ำลง เนื่องจากว่าเนื้อหาวิชาภูมิศาสตร์ค่อนข้างยากและมีความซับซ้อน ประกอบกับครูจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ ที่เน้นการสอนแบบบรรยายบางครั้ง ไม่กระตุ้นหรือดึงดูดให้นักเรียนกระตือรือร้นและตั้งใจ เรียน ฉะนั้นต้องพัฒนาการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry


3 Process) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจ และมีความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน ผู้สอนอาจจะใช้วิธีการแบบแก้ปัญหา (problem solving method) หรือวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(inquiry method) เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียน โดยผ่าน กระบวนการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ เป็น การระบุประเด็นต่าง ๆ ที่นักเรียนนำมาพิจารณาประกอบการหาคำตอบ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของ การศึกษาในรูปแบบประโยคคำถาม ที่กระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น 2) การค้นคว้าและรวบรวม ข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริง และข้อมูลที่เป็นประโยชน์และควาดว่าจะนำไปใช้ประกอบ การศึกษา 3) การจัดการข้อมูล เป็นการจัดระเบียบข้อมูลโดยตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเพื่อประกอบการศึกษา 4) การวิเคราะห์และนำเสนอความรู้ เป็นการ อธิบาย วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลที่ศึกษา และ 5) การสรุปเพื่อตอบคำถามเป็นการสรุปเนื้อหาให้ ตรงคำถามของการศึกษาตามที่ระบุไว้ในขั้นต้น (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2560 : 5) จากสภาพปัญหาของการเรียนการสอนที่พบดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบกระบวนจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าบ่อ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอน ที่เหมาะสมกับบริบทของนักเรียนที่จะใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติได้ดีเนื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกระบวนจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ทำให้นักเรียนเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจและมีความรู้อย่าง ถูกต้อง ชัดเจน โดยใช้วิธีการแบบแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนกระบวนจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เป็นเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยถ่ายทอด เนื้อหาที่สลับซับซ้อน ช่วยเร้าความสนใจของนักเรียน ต่อสิ่งที่กำลังเรียน นักเรียนได้มีส่วนร่วมและได้ ดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้ในการเรียน ได้แสดงความคิดเห็นและมีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเอง ซึ่ง ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ค่อนข้า งดี และจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการ เรียนการสอนและเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป


4 1.2 วัตถุประสงค์การดำเนินการวิจัย 1.2.1 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้ได้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ 1.3 สมมุติฐานของการวิจัย 1.3.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 1.3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ ที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 1.4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย 1.4.1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 13 ห้องเรียน มีจำนวน 368 คน 1.4.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 โรงเรียนท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย มีนักเรียนจำนวน 37 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1.4.2 ตัวแปรที่ศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ตัวแปร 2 ตัวแปร ดังนี้ 1.4.2.1 ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 1.4.2.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภูมิศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ


5 1.4.3 เนื้อหาที่ใช้ในการทำวิจัย เนื้อหาที่ใช้ในการทำวิจัยในครั้งนี้ได้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาภูมิศาสตร์ รหัสวิชา ส32101 สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) รวม 10 ชั่วโมง มีรายละเอียดดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 2 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค 2 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค 2 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง การวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง 1.4.4 ระยะเวลาในการทำวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการทดลองตลอดปีการศึกษา 2566 ซึ่งใช้เวลาในการทดลองจำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง โดยรวมการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนแล้ว 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ผู้วิจัยได้กำหนดนิยามศัพท์ของการวิจัย ดังนี้ 1.5.1 การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ให้นักเรียนเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจ และมีความรู้อย่างถูกต้อง ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ 2) การค้นคว้าและ รวบรวมข้อมูล 3) การจัดการข้อมูล 4) การวิเคราะห์และนำเสนอความรู้ และ 5) การสรุปเพื่อตอบ คำถาม 1.5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการตอบแบบทดสอบหลังการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) โดยใช้แบบทดสอบ


6 ชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) 1.5.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดผลการเรียนรู้ตาม จุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา ส32101 ภูมิศาสตร์ มีลักษณะเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 1.5.4 นักเรียน หมายถึง ผู้เรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 จำนวน 37 คน โรงเรียนท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 1.6 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1.6.1 ทราบประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชา ภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 1.6.2 ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์


บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ผู้วิจัย ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้ 2.1 หลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม พุทธศักราช 2551 2.2 หลักสูตรหลักสูตรสถานศึกษา 2.3 แนวคิดทฤษฎีของกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 2.4 แผนการจัดการเรียนรู้ 2.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.8 กรอบแนวคิดการวิจัย 2.1 หลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พุทธศักราช 2551 มีสาระสำคัญ ดังนี้ 2.1.1 ทำไมต้องเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไรทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำ กัด นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัย ต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมี คุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคม โลก (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา 2551 : 1) 2.1.2 เรียนรู้อะไรในสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีควา ม เชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเอง


8 กับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยม ที่เหมาะสมโดยได้กำหนดสาระต่าง ๆ ไว้ ดังนี้ 1. ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนา ตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม 2. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ระบบการเมืองการปกครองในสังคม ปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและ ความสำคัญ การเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ปลูกฝังค่านิยมด้านประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการ ดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทยและสังคมโลก 3. เศรษฐศาสตร์ การผลิต การแจกจ่าย และการบริโภคสินค้าและบริการ การบริหาร จัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ การดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนำ หลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4. ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในอดีต บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอดีต ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก 5. ภูมิศาสตร์ ลักษณะของโลกทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่างๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภา พแวดล้อมทาง ธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา 2551 : 1-2) 2.1.3 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มา ตรฐา น ส 1.1 รู้และเข้า ใจประวัติควา มสำ คัญ ศา สดา หลักธรรมของ พระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตา ม หลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส1.2 เข้าใจตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีและธำรงรักษา พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ


9 สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่าง สันติสุข มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันในด้าน ความสัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น มาตรฐาน ส4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่ง มีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ส5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา 2551 : 2-3) 2.1.4 คุณภาพผู้เรียน จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุธศักราช 2551 ผู้เรียนมี ความรู้ความสามารถดังนี้


10 มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นพลเมืองที่ดี มี คุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ มีค่านิยมอัน พึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมี ศักยภาพเพื่อ การศึกษาต่อในชั้นสูงตามความประสงค์ได้ มีความรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ความภูมิใจในความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ของชาติไทย ยึดมั่นใน วิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีนิสัยที่ดีในการบริโภค เลือกและตัดสินใจบริโภคได้อย่างเหมาะสม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วม ใน การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม มีความรักท้องถิ่น และประเทศชา ติมุ่งทำ ประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ชี้นำตนเองได้ และสามารถแสวงหา ความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในสังคมได้ตลอดชีวิต ดังนั้น สรุปได้ว่า คุณภาพผู้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต้องมีความรู้เกี่ยวกับของเป็นไปของ โลกด้านกายภาพและชีวภาพ เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม เคารพกฎหมายและกฎความแตกต่า งทาง สังคม สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขปรองดองสมานฉันท์ มีความรู้ความเข้าใจประเพณีไทย ประเพณี ประจำถิ่น และวัฒนธรรมสังคมโลก มีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ และสามารถนำ ความรู้ไปใช้ต่อยอดในการเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 เข้าใจถ่องแท้ และต่อยอดการศึกษาใน ระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างสุจริตเมื่อสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย 2.2 หลักสูตรหลักสูตรสถานศึกษา 2.2.1 วิสัยทัศน์หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรโรงเรียนท่าบ่อ เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สู่มาตรฐานสากล และเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ มีความรู้คู่คุณธรรม มีความเป็นผู้นํา ของสังคมมีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลโลก โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมุ่งเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ 2.2.2 วิสัยทัศน์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนท่าบ่อ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและ เป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข


11 มีความรู้พื้นฐาน สมรรถนะสำคัญ ด้านการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะกระบวนการ และทักษะชีวิต และใช้เทคโนโลยีรวมทั้งมีคุณลักษณะ ด้านความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่น ในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญบนพื้นฐานความเชื่อ ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ 2.2.3 พันธกิจ 1) จัดสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสม จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมอย่างมีคุณภา พ มีสื่ออุปกรณ์อย่างเพียงพอ ทั่วถึง และทันสมัย โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) เสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทุกด้าน มีคุณธรรม มีคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ตามที่โรงเรียนคาดหวัง และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสาธารณสมบัติ 3) พัฒนาระบบการบริหารจัดการกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมาย 4) พัฒนาบุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ให้เป็นผู้ที่มี ความรู้คู่คุณธรรม เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่ออุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 5) พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ให้มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และเป็นแหล่งเรียนรู้ 2.2.4 เป้าหมาย 1) ผู้เรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นที่ยอมรับ และต้องการ ของสังคม อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข 2) ผู้เรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก 3) ผู้เรียนมีทักษะทางสังคม มีทักษะในการคิดแบบองค์รวม การจัดการในการดำเนิน ชีวิตอย่างเป็นระบบ 4) ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สามารถพึ่งพา ตนเอง ได้และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้แก่ตนเอง ท้องถิ่น และประเทศชาติ 5) ผู้เรียนรักการอ่าน การเขียน การค้นคว้า สามารถใช้ภาษาไทย และภาษา ต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


12 6) ผู้เรียนมีความรัก ภาคภูมิใจในความเป็นไทย อนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปวัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาไทย ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทย 7) ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาตนเองและสังคม 2.2.5 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลก และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันใช้ แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ และสรุปข้อมูลตามกระบวนการ ทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ ตารางที่ 2.1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์มาตรฐาน ส 5.1 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4 – ม.6 1. วิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพของพื้นที่ในประเทศไทยและ ภูมิภาคต่างๆ ของโลก ซึ่งได้รับ อิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งได้รับ อิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ในประเทศไทยและทวีปต่างๆ เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก 2. วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพซึ่งทำ ให้เกิดปัญหาหรือภัยพิบัติทาธรรมชาติ ในประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆ ของโลก ปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติทาง ธรรมชาติในประเทศไทยและภูมิภาค ต่าง ๆ ของโลก การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ในส่วนต่าง ๆ ของ โลก การเกิดภูมิสังคมใหม่ของโลก การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติในโลก เช่น ภาวะโลกร้อน ความแห้งแล้ง สภาพอากาศแปรปรวน


13 ตารางที่ 2.1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์มาตรฐาน ส 5.1 (ต่อ) ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4 – ม.6 3. ใช้ แผนที่ และเครื่องมือทางภูมิ ศาสตร์ ในการค้นหา วิเคราะห์ และสรุป ข้อมูล ตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ และนำภูมิสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ให้ข้อมูล และข่าวสารภูมิลักษณ์ ภูมิอากาศ และภูมิสังคมของไทยและภูมิภาค ต่างๆทั่วโลก สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิด การสร้างสรรค์ วิถีการดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตารางที่ 2.2 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์มาตรฐาน ส 5.2 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4 –ม.6 1. วิเคราะห์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวด ล้อมทางกายภาพกับกิจกรรมของมนุษย์ ในการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิต ของ ท้องถิ่น ทั้งในประเทศไทยและ ภูมิภาคต่างๆ ของโลกและเห็น ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อ การดำรงชีวิตของมนุษย์ การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมใน การสร้างสรรค์วัฒนธรรม อันเป็น เอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในประเทศ ไทยและโลก 2. วิเคราะห์สถานการณ์ สาเหตุ และ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆ ของโลก การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ในส่วนต่าง ๆ ของ โลก การเกิดภูมิสังคมใหม่ ๆ ในโลก วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและ โลก


14 ตารางที่ 2.2 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์มาตรฐาน ส 5.2 (ต่อ) ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4 - ม.6 3. ระบุมาตรการป้องกันและแก้ไข ปัญหา กฎหมายและนโยบายด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บทบาทขององค์การที่เกี่ยวข้อง และ การประสานความร่วมมือทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา บทบาทขององค์การและการประสาน ความร่วมมือทั้งในประเทศและนอก ประเทศ กฎหมายสิ่งแวดล้อม การ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก 4. วิเคราะห์แนวทางและมีส่วนร่วมใน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิตตาม แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.3 แนวคิดทฤษฎีของกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 2.3.1 ความหมายของกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2560 : 5) กล่าวไว้ว่า กระบวนการทางภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ให้ผู้เรียนเกิดการคิด อย่างเป็นระบบ เข้าใจ และมีความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน ผู้สอนอาจจะใช้วิธีการแบบแก้ปัญหา (problem solving method) หรือวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(inquiry method) เป็น ตัวกระตุ้นผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ เป็นการระบุประเด็นต่าง ๆ ที่นักเรียนนำมาพิจารณา ประกอบการหาคำตอบ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาในรูปแบบประโยคคำถาม ที่กระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น 2) การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริง และข้อมูลที่เป็น ประโยชน์และควาดว่าจะนำไปใช้ประกอบการศึกษา 3) การจัดการข้อมูล เป็นการจัดระเบียบข้อมูลโดยตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน ของข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเพื่อประกอบการศึกษา 4) การวิเคราะห์และนำเสนอความรู้ เป็นการอธิบาย วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลที่ ศึกษา


15 5) การสรุปเพื่อตอบคำถาม เป็นการสรุปเนื้อหาให้ตรงคำถามของการศึกษาตามที่ระบุ ไว้ในขั้นต้น กิตติกวินท์ (2564)กล่าวว่ากระบวนการทางภูมิศาสตร์ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนภูมิศาสตร์ทำให้นักเรียนเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจและมีความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน โดยใช้ วิธีการแบบแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ เป็นการระบุประเด็นต่าง ๆ ที่ครูน ำมาพิจารณา ประกอบการหาคำตอบ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา โดยจะต้องอยู่ในรูปแบบประโยค คำถามที่กระชับชัดเจน และตรงประเด็น 2)การรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริง และข้อมูลที่เป็นประโยชน์และคาดว่า จะนำไปใช้ประกอบการศึกษา การรวบรวมข้อมูลจะต้องอาศัยความรู้และเทคนิคต่าง ๆ 3) การจัดการข้อมูล เป็นการจัดระเบียบข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบ การศึกษา นอกจากนี้ ยังเป็นการตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้อง เพื่อความสะดวกในการ วิเคราะห์ข้อมูล 4)การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เป็นการอธิบาย วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลดังกล่าว ด้วยสถิติขั้นพื้นฐาน 5) การสรุปเพื่อตอบคำถาม เป็นการสรุปเนื้อหาให้ตรงกับคำถามของการศึกษา ตามที่ ระบุไว้ในขั้นต้น นอกจากนี้ นักเรียนต้องวิจารณ์ผลลัพธ์ที่ได้เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดย นักเรียนจะต้องรายงานผลที่ได้ในแต่ละกระบวนการอย่างละเอียด ถูกต้อง และชัดเจน ตามวิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้กำหนด รักษณาลี นาครักษา (2562) ให้ความหมายว่า กระบวนการสืบสอบ (Geographic inquiry Process) หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบทางภูมิศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิด การคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจและมีความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การจัดการข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล 5) การสรุปเพื่อตอบคำถาม จึงสรุปได้ว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ทำให้นักเรียนเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจ


16 และมีความรู้อย่างถูกต้อง ชัดเจน โดยใช้วิธีการแบบแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียน ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ 2) การรวบรวมข้อมูล3) การจัดการ ข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล 5) การสรุปเพื่อตอบคำถาม 2.3.2 ขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographic Inquiry Process) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2560 : 5) กล่าวไว้ว่า กระบวนการทางภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) มีกระบวนการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ เป็นการระบุประเด็นต่าง ๆ ที่นักเรียนนำมาพิจารณา ประกอบการหาคำตอบ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาในรูปแบบประโยคคำถาม ที่กระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น 2) การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริง และข้อมูลที่เป็น ประโยชน์และควาดว่าจะนำไปใช้ประกอบการศึกษา 3) การจัดการข้อมูล เป็นการจัดระเบียบข้อมูลโดยตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน ของข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเพื่อประกอบการศึกษา 4) การวิเคราะห์และนำเสนอความรู้ เป็นการอธิบาย วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลที่ ศึกษา 5) การสรุปเพื่อตอบคำถาม เป็นการสรุปเนื้อหาให้ตรงคำถามของการศึกษาตามที่ระบุ ไว้ในขั้นต้น กนก จันทรา (2561) ได้ระบุถึงกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1)การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ การตั้งคำถามนั้นจะต้องเป็นคำถามที่มีความเป็นไปได้ใน การหาคำตอบ นำมาสู่การตั้งสมมติฐานของคำตอบและสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในกา รรวบรวม ข้อมูลเพื่อหาคำตอบด้วย 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องรวบรวมข้อมูลจากการอ่านและแปลความหมา ยจาก แผนที่ ภาพถ่าย ข้อมูลสถิติ ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสอบถาม การออกภาคสนามและการอ้างอิงจากเอกสาร 3) การจัดการข้อมูล เมื่อนักเรียนได้ข้อมูลแล้ว ก็ต้องจัดการและนำเสนอออกไปด้วย วิธีการต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะข้อมูลที่ได้อาจจะกระจัดกระจาย และไม่ เพียงพอ นักเรียนจะต้องนำข้อมูลมาจำแนก และจัดกลุ่มให้อยู่ในรูปแบบแผนภาพ แผนผัง แผนที่ และกราฟ ทำให้เห็นภาพสรุปที่ชัดเจน ในการจัดการข้อมูลนั้น นักเรียนต้องมีความคิดสร้า งสรรค์ใน การออกแบบและมีวิธีการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ


17 4)การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการศึกษาแบบรูป ความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้น ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ตลอดจนศึกษาแนวโน้ม ความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของ ปรากฏการณ์หาความสัมพันธ์สอดคล้องกันและลักษณะที่คล้ายกันระหว่างพื้นที่ เปรียบเทียบกับ ข้อมูลจากแผนที่ กราฟ แผนภาพ ตาราง และอื่นๆ ด้วยการใช้สถิติอย่างง่ายๆ เพื่อให้ได้คำตอบ สำหรับคำถาม 5) การสรุปข้อมูลเพื่อหาคำตอบ การสรุปคำตอบบนจากข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวม จัดการ และการวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน โดยอ้างอิงข้อมูลด้วยการนำเสนอด้วยวาจาและข้อเขียน แสดง คำตอบที่แสดงออกถึงความสามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการสื่อสารที่ชัดเจน จึงสรุปได้ว่า ขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ คือการระบุประเด็นต่าง ๆ นำมาสู่การตั้งสมมติฐานของคำตอบ 2) การรวบรวมข้อมูล คือการรวบรวมข้อเท็จจริง 3) การ จัดการข้อมูล คือ การจัดระเบียบข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การอธิบาย วิเคราะห์ และแปลผล ข้อมูลที่ศึกษา 5) การสรุปเพื่อตอบคำถาม คือ การสรุปเนื้อหาให้ตรงคำถามของการศึกษาตามที่ระบุ ไว้ในขั้นต้น 2.4 แผนการจัดการเรียนรู้ 2.4.1 แนวคิดเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับ แนวคิดของแผนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะต่อ การจัดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 2.4.1.1 การจัดทำแผนการเรียนรู้ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นประโยชน์ ต่อ ผู้วิจัยเป็นอย่างมาก ที่จะนำไปสร้างเครื่องมือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัย พิบัติทางธรรมชาติ 1) ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่จะต้องทำแผนการ จัดการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อ อุปกรณ์การจัดการ เรียนรู้และการวัดผลประเมินผล โดยจัดเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนย่อย ๆ ให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพของผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และตรงกับชีวิตจริงในห้องเรียน


18 ชนาธิป พรกุล (2552) ได้ให้ความหมายไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็น แนวทางการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เขียนไว้ล่วงหน้า ทำให้ผู้สอนมีความพร้อม และมั่นใจว่า สามารถสอน ได้บรรลุจุดประสงค์ที่กำาหนดไว้และดำเนินการสอนได้ราบรื่น เอกรินทร์ ลี่มหาศาล (2552) ได้ให้ความหมายไว้ว่า วัสดุหลักสูตรที่ควร พัฒนามา จากหน่วยการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุป้าหมายตาม มาตรฐานการ เรียนรู้ของหลักสูตร เป็นส่วนที่แสดงการจัดการเรียนการสอนตามบทเรียน และ ประสบการณ์การ เรียนรู้เป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ ขวลิต ชูกำแพง (2553) ได้อธิบายไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง เอกสารที่ เป็นลายลักษณ์อักษรของครูผู้สอน ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละ ครั้ง โดยใช้สื่อ และอุปกรณ์การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เนื้อหา เวลา เพื่อพัฒนาการ เรียนรู้ของผู้เรียนใหเป็นไปอย่างเต็มศักยภาพ วิมลรัตน์ สุนทรวิโรจน์ (2553) ได้อธิบายไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ เป็น แผนการ จัดกิจกรรมการเรียน การจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลให้ สอดคล้อง กับเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ก าหนดไว้ในหลักสูตร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า แผนการ จัดการเรียนรู้เป็นแผนที่จัดทำขึ้นจากคู่มือครู หรือแนวทางการจัดการเรียนรู้ของกรมวิชาการ ทำให้ ผู้จัดการเรียนรู้ ทราบว่าจะจัดการเรียนรู้เนื้อหาใด เพื่อจุดประสงค์ใด จัดการเรียนรู้อย่างไร ใช้สื่อ อะไร และวัดผล ประเมินผลโดยวิธีใด อาภรณ์ ใจเที่ยง (2553) ได้อธิบายไว้ว่า แผนการสอนมีความหมาย เช่นเดียวกันกับ แผนการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ เป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อการ เรียนรู้ และการ วัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด ทิศนา แขมมณี (2560) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณา การ หมายถึง การนำเนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกันและจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แนวการจัดการเรียน การสอน ของครู ภายใต้กรอบเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยกำหนดจุดประสงค์ วิธีการ ดำเนินการหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่นำมาช่วย ในการ ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสอนได้อย่างเต็มที่ และวิธีวัดผล ประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้พร้อมทั้งมีใบงานหรือแบบทดสอบเพื่อวัดควา มรู้ ความคิด ความเข้าใจ และทักษะการวิเคราะห์ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมในแต่ละเรื่องด้วย


19 2) ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ประสบ ความสำเร็จ หรือล้มเหลวนั้น จำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์และออกแบบหลายประการ จากการศึกษา รวบรวมข้อมูลทัศนะของนักวิชาการได้อธิบายความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย (2558) ได้อธิบายไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้มี รายละเอียดสำคัญ ดังนี้ (1) แผนการจัดการเรียนรู้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นครูมือ อาชีพ มีการเตรียม ล่วงหน้าแผนการจัดการเรียนรู้จะสะท้อนให้เห็นถึงการใช้เทคนิคการสอน สื่อ นวัตกรรม และจิตวิทยา การเรียนรู้มาผสมผสานกันหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียน ที่ตนเองสอนอยู่ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมให้ผู้สอนได้ศึกษาค้นคว้า หา ความรู้เกี่ยวกับ หลักสูตรเทคนิคการสอน สื่อนวัตกรรม และวิธีการวัดและประเมินผล (3) แผนการจัดการเรียนรู้ทำให้ครูผู้สอนและครูที่จะปฏิบัติการ สอนแทน สามารถปฏิบัติการสอนแทนได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ (4) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นหลักฐานที่แสดงข้อมูลด้านการ เรียนการสอน การวัด และประเมินผลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป (5) แผนการจัดการเรียนรู้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเชียวชาญใน วิชาชีพครูซึ่งสามารถนำไปเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะหรือตำแหน่งได้ อาภรณ์ ใจเที่ยง (2553) ได้อธิบายไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้มี ความสำคัญหาย ประการดังนี้ (1) ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจ เมื่อเกิดความมั่นใจในการสอน ย่อมจะสอนด้วย ความคล่องแคล่ว เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด การสอนจะดำเนิน ไปสู่จุดหมาย ปลายทางอย่างสมบูรณ์ (2) ทำให้เป็นการสอนที่มีคุณค่าคุ้มกับเวลาที่ผ่านไป เพราะผู้สอน อย่างมีแผนมีเป้าหมาย และมีทิศทางในการสอน มิใช่สอนอย่างเลื่อนลอย ผู้เรียนจะได้รับควา มรู้ ความคิด เกิดเจต คติ เกิดทักษะเกิดประสบการณ์ใหม่ตามที่ผู้สอนวางแผนไว้ ทำให้เป็นการจัดการ เรียนการสอนที่มีคุณค่า (3) ทำให้เป็นการสอนที่ตรงตามหลักสูตร ทั้งนี้เพราะในการวาง แผนการจัดการ เรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรทั้งด้านจุดประสงค์ เนื้อหาสารที่จะสอน การจัด กิจกรรมการเรียน การสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลและประเมินผล แล้วจัดทำออกมาเป็น แผนการจัดการ เรียนรู้หลักสูตร


20 (4) ทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิ เนื่องจากผู้สอนต้องวาง แผนการจัดการ เรียนรู้อย่างรอบคอบในทุกองค์ประกอบของการ รวมทั้งการจัดเวลาเวลา สถานที่ และสิ่งอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่รอบคอบ และปฏิบัติ ตามแผนการจัดการ เรียนรู้ที่วางไว้ ผลของการสอนย่อมสำเร็จได้ดีกว่าการไม่ได้วางแผนการจัดการ เรียนรู้ (5) ทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำสามารถนำไปใช้เป็น แนวทางในการสอนต่อไป ทำให้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนและเป็นแนวทางในการทบทวนหรือการออก ข้อสอบเพื่อวัดผลและประเมินผลผู้เรียนได้ นอกจากนี้ทำให้ผู้สอนมีเอกสารไว้เป็นแนวทางแก่ผู้ที่เข้า สอนในกรณีจำเป็น เมื่อ ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนเองได้ ผู้เรียนจะได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ ต่อเนื่องกัน (6) ทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและต่อวิชาที่เรียน ทั้งนี้ เพราะผู้สอนสอนด้วย ความพร้อม เป็นความพร้อมทั้งทางด้านจิตใจคือ ความมั่นใจในการสอน และ ความพร้อมทางด้านวัตถุ คือการที่ผู้สอนได้เตรียมเอกสาร หรือสิ่งการสอนไว้อย่างพร้อมเพรียง เมื่อ ผู้สอนมีความพร้อมในการ สอนย่อมสอนด้วยความกระจ่างแจ้ง ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้า ใจอย่าง ชัดเจนในบทเรียน อันจะส่งให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและต่อวิชาที่เรียน ศศิธร เวียงวะลัย (2556) ได้อธิบายไว้ว่า ผลดีของการจัดทำแผนการ จัดการเรียนรู้มีดังนี้ (1) ทำให้เกิดการวางแผนวิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีเรียนที่มี ความหมายมากขึ้น เพราะเป็นการจัดทำอย่างมีหลักการที่ถูกต้อง (2) ช่วยให้ครูมีสื่อการจัดการเรียนรู้ที่ทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดคาม สะดวกในการจัดการเรียนรู้ทำให้การจัดการเรียนรู้ครบถ้วนตรงตามหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ได้ ทันเวลา (3) เป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถเผยแพร่เป็นตัวอย่างได้ (4) ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ครูผู้จัดการเรียนรู้แทน ในกรณีที่ ผู้จัดการเรียนรู้ไม่ สามารถจัดการเรียนรู้ได้เอง ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การวางแผนการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก คือ ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจ ทำให้เป็น การสอนที่มีคุณค่าคุ้มกับเวลาที่ผ่านไปทำให้เป็นการสอนที่ตรงตามหลักสูตร ทำให้การสอนบรรลุผล อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ และทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอน และต่อวิชาที่เรียน


21 3) ลักษณะของแผนจัดการเรียนรู้ที่ดี แผนการจัดการเรียนรู้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้สอนที่จะช่วยส่งเสริมให้ ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีได้ จากการศึกษานักวิชาการได้อธิบายลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ดังนี้ นาตยา ปิลันธนานนท์ (2545) ได้อธิบายไว้ว่า ลักษณะของแผนการจัดการ เรียนรู้ที่ดีต้องประกอบไปด้วย (1) เจตคติที่ดี ผู้สอนควรมีความรู้สึกที่ดีต่อการเขียนแผนการ จัดการเรียนรู้ ไม่ควร มองว่างานเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการสร้างภาระ ความยุ่งยาก เพราะ แผนการจัดการเรียนรู้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้สอน ผู้เรียน ผู้บริหาร สถานศึกษาและต่อสังคม ที่จะ จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ หากผู้สอนมีความรู้สึก มีเจตคติที่ดีต่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ก็จะ ทำให้แผนการ จัดการเรียนรู้มีคุณภาพและนำไปใช้ได้จริง (2) นักวางแผน นักคิด การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ก็ เช่นเดียวกับประมวลการ สอนหรือแนวการสอน หรือกำหนดการสอน คุณภาพของแผนการจัดการ เรียนรู้สามารถสะท้อนความ เป็นนักวางแผน นักคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนได้ (3) เครื่องมือสื่อสาร แผนการจัดการเรียนรู้ก็เช่นเดียวกับประมวล การสอนที่ใช้เป็น เครื่องมือสื่อสารความเข้าใจสำหรับตัวผู้สอน ผู้บริหาร พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับทราบว่า โรงเรียนจัดการศึกษาอย่างไร ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างไร (4) เฉพาะเจาะจง ครอบคลุม พอเพียง การเขียนแผนการจัดการ เรียนรู้ควรต้องระบุ สิ่งที่จะเรียนจะสอนให้ชัดเจน ครอบคลุมและพอเพียงที่จะทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ด้วย การ กำหนดจุดประสงค์ที่กว้างมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และต้องเป็นประโยชน์กับผู้เรียน (5) ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ แผนการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ได้ เตรียมการล่วงหน้าก่อน จะมีการเรียนการสอนจริง ๆ การกำหนดข้อมูลใด ๆ ไว้ในแผนการจัดการ เรียนรู้ ควรมีความยืดหยุ่นที่ จะสามารถปรับเปลี่ยนแก้ปัญหาได้ ในกรณีที่มีปัญหาเมื่อมีการนำไปใช้ หรือไม่สามารถดำเนินการ ตามแผนการจัดการเรียนรู้นั้น สามารถปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ โดยไม่ กระทบกระเทือนต่อการ เรียนการสอนและผลการเรียนรู้ อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550) ได้อธิบายไว้ว่า แผนการสอนที่ดีจะช่วยในการ เรียนการ สอนประสบผลสำเร็จได้ดี ดังนั้น ผู้สอนจึงควรทราบลักษณะของแผนการสอนที่ดี ซึ่งมีดังนี้ (1) สอดคล้องกับหลักสูตรและแนวทางการสอนของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ


22 (2) นำไปใช้สอนได้จริงและมีประสิทธิภาพ (3) เขียนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และเหมาะสมกับผู้เรียน และเวลาที่กำหนด (4) มีความกระจ่างและชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน (5) มีความละเอียดมากพอที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้สอนได้ (6) ทุกหัวข้อในแผนการสอนมีความสอนคล้องและความสัมพันธ์กัน สมนึก ภัททิยธนี (2546) ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแผนต้องมีขั้นตอน ดังนี้ (1) เนื้อหาต้องเขียนเป็นรายคาบ หรือรายชั่วโมงตารางสอน โดย เขียนให้สอดคล้อง กับชื่อเรื่องให้อยู่ในโครงการสอน และเขียนเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญพอสังเขป ไม่ ควรบันทึกแผนการ สอนอย่างละเอียดมาก ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย (2)ความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการสำคัญ ต้องเขียนให้ ตรงกับเนื้อหาที่ จะสอนส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่องครูต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนจน สามารถเขียน ความคิดรวบยอดได้อย่างมีคุณภาพ (3) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ต้องเขียนให้สอดคล้อง กลมกลืนกับ ความคิดรวบยอด มิใช่เขียนตามอำเภอใจไม่ใช่เขียนสอดคล้องเฉพาะเนื้อหาที่จะสอนเท่านั้นเพรา ะจะ ได้เฉพาะ พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ความจำ สมองหรือการพัฒนาของนักเรียนจะไม่ได้รับการพัฒนา เท่าที่ควร (4) กิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดเทคนิคการสอนต่าง ๆ ที่จะ ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ (5) สื่อที่ใช้ควรเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหา สื่อดังกล่าวต้องช่วยให้ นักเรียนเกิดความ เข้าใจในหลักการได้ง่าย (6) วัดผลโดยคำนึงถึงเนื้อหา ความคิดรวบยอด จุดประสงค์เชิง พฤติกรรมและช่วงที่ ทำการวัด ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน เพื่อตรวจสอบว่าการสอนของครู บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ลักษณะของแผนจัดการเรียนรู้ที่ดีจะต้องมี ความละเอียด ชัดเจน มีหัวข้อและส่วนประกอบต่าง ๆ ครอบคลุมตามหลักการของการสอน เป็น แผนการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเหมาะสมต่อเนื้อหาที่ทำการเรียนการสอน และช่วง อายุของผู้เรียน และต้องมีส่วนประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องสัมพันธ์ เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เช่น จุดประสงค์การเรียนรู้ครอบคลุมสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ สื่อ


23 และแหล่งการเรียนรู้ สอดคล้องสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้รวมไปถึง การวัดผลและประเมินผล ควรสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่ทำการเรียนการสอนด้วย 4) องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรตระหนักถึงเป็นอย่า งยิ่ง เนื่องจากการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้จำเป็นต้อเขียนตามลำดับองค์ประกอบและหากขาด องค์ประกอบใด ก็มิอาจทำให้แผนการจัดการเรียนรู้นั้นสมบูรณ์ เมื่อพิจารณาแล้วการศึกษา วิเคราะห์ องค์ประกอบของแผนโดยทั่วไปจะมี 7 องค์ประกอบดังนี้ (เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ, 2552) (1) สาระสำคัญ เป็นการเขียนในลักษณะเป็นความคิดรวบยอด หรือ Concept (2) จุดประสงค์การเรียนรู้ เขียนในลักษณะจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่ง เมื่อผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทุกพฤติกรรมในแต่ละแผนการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ แล้วบรรลุผล ตามวัตถุประสงค์ตัวชี้วัด และมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วย (3) สาระการเรียนรู้ เป็นการเขียนเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นประเด็น สำคัญสั้น ๆ สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ (4) กิจกรรมการเรียนรู้ ระบุวิธีสอน กระบวนการจัดกิจกรรมกา รเรียนรู้ เทคนิคการ สอนที่หลากหลาย เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครบถ้วนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ เมื่อเรียนครบ ทุกแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะได้รับความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ ครบถ้วนตามเป้าหมายการเรียนรู้ของตัวชี้วัด และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ โดย ออกแบบการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติในแต่ละรายชั่วโมงอย่างชัดเจน (5) สื่อ แหล่งการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ จะกำหนดสื่อการ เรียนรู้ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจน มีใบความรู้ ใบงาน แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เอกสาร เพิ่มเติมสำหรับผู้สอนตามความเหมาะสมและบอกแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่จะช่วยให้การจัด กิจกรรมการ เรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด (6) การวัดและประเมินผล ทุกแผนการจัดการเรียนรู้ จะระบุรายละเอียด เกี่ยวกับ เรื่อง การวัดและประเมินผล ทุกแผนการการจัดการเรียนรู้จะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ เรื่อง การวัดและประเมินผล คือ หลักฐานการเรียนรู้ ร่องรอยการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือใน การวัดและประเมินผล (7) บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ เป็นการบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล บันทึกผลหลังสอน


24 5) หลักในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ควรคำนึงถึงหลักในการเขียนว่า จะต้องเขียน อะไร เขียนอย่างไร และเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายในการนำไปใช้ศึกษา หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตาม แนวทางในการสอนผู้เรียน ควรคำนึงถึงรายละเอียดดังนี้ (1)ควรเขียนให้ชัดเจน แจ่มแจ้งในทุกหัวข้อ เพื่อให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่าน มีรายละเอียดพอสมควร ไม่ย่นย่อและไม่ละเอียดเกินไป (2) ใช้ภาษาเขียนที่สื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกัน เป็นประโยคที่ได้ ใจความ ไม่ใช่ความค้างไม่ยืดยาว เยิ่นเย้อ (3) เขียนทุกหัวข้อเรื่องให้สอดคล้องกัน (4) สาระสำคัญต้องสอดคล้องกับเนื้อหา (5) จุดประสงค์ต้องสอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรมและการวัดผล (6) สื่อการสอนต้องสอดคล้องกับกิจกรรมและการวัดผล (7) เขียนให้เป็นลำดับขั้นตอนก่อนหลังในทุกหัวข้อ (8) เขียนหัวข้อให้ถูกต้องชัดเจน เช่น จุดประสงค์ต้องเขียนให้เป็น จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (9) จัดเนื้อหา กิจกรรม ให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด (10) คิดกิจกรรมที่น่าสนใจอยู่เสมอ (11) เขียนให้เป็นระเบียบ ง่ายแก่การอ่าน และสะอาดชวนอ่าน (12) เขียนในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสอนตามแผนที่วางไว้ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า หลักในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้เขียนจะต้อง วางแผน ล่วงหน้าก่อนการเรียนการสอน โดยศึกษาเนื้อหาที่จะเขียนให้ละเอียดและตามลำดับขั้นตอน แบ่งหน่วยเนื้อหาย่อยแบ่งเวลาที่ใช้การสอนทุกหัวข้อมีความสอดคล้องกัน ใช้ภาษาที่เข้า ใจง่าย รวมทั้ง ต้องมีการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ 6) รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่แผนจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยนักวิชาการที่ได้ศึกษา วิเคราะห์ไว้ว่า ลักษณะของแผนนั้นสถานศึกษาให้อิสระในการออกแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีหลายรูปแบบสามารถเขียนได้ทั้งแบบความเรียงและแบบตาราง โดยรายละเอียดมีดังนี้


25 ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วยรายละเอียดทั่วไป ประกอบด้วย สาขาวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต จำนวนคาบต่อสัปดาห์ มาตรฐานรายวิชา คำอธิบายรายวิชา และตาราง วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา ส่วนที่ 2 โครงการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย การกำหนดหน่วยการ เรียนรู้และเวลา ที่ใช้ การกำหนดภาระหน้าที่ งานที่มอบหมาย และการกำหนดเกณฑ์กา รวัดและ ประเมินผล ส่วนที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ที่ เกี่ยวข้อง สาระสำคัญ ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้สื่อ อุปกรณ์ แหล่งการ เรียนรู้ การวัดและประเมินผล และบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ไม่มีความตายตัวของ เครื่องมือ จะขึ้นอยู่กับผู้ที่ผลิตแผนการสอนออกมา ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่เทคนิคการ สอน รูปแบบการสอน และกิจกรรมการเรียนเรียนรู้ของแต่ละคน ซึ่งจะประกบไปด้วย มาตรฐาน ตัวชี้วัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อวัสดุอุปกรณ์ และการวัดประเมินผล ซึ่งแต่ละ แผนก็ตะมีความต่างกันขึ้นอยู่กับครูผู้สอนแต่ละคน 7) ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรเขียนเป็นขั้นตอนโดยนำมาตรฐาน หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานมาจัดการเรียนรู้ ดังนี้(วิมลรัตน์ สุนทรวิโรจน์, 2553) (1) ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่ม สาระการ เรียนรู้ที่จัดทำหลักสูตรเพื่อให้เข้าใจเป้าหมายและทิศทางของการจัดการเรียนรู้ (2) วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น เพื่อกำหนดสาระการเรียนรู้ช่วง ชั้น และ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี รายภาค (เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกำหนด สาระการ เรียนรู้เป็นรายภาคเรียน) สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นการกำหนดเนื้อหาที่จะต้องเรียนโดย คำนึงถึง จุดเน้นของหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน จำนวน เวลาที่ จัดการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ วัยและระดับชั้น ส่วนการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี ราย ภาคเรียนนั้นเป็นการระบุถึงความรู้ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียนซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการ เรียนรู้ในแต่ละปี/ภาค (3) วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ รายภาคเรียน เพื่อกำหนดเป็นสาระการเรียนรู้รายปี รายภาค กล่าวคือเป็นเนื้อหาที่จะต้องเรียนให้ สอดคล้องกับ สภาพและความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน


26 (4) นำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี รายภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ รายภาค มาพิจารณาเพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา (5) นำคำอธิบายรายวิชามากำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจอธิบายได้ ว่าเป็น หน่วยการเรียนรู้เปรียบเสมือนบทเรียนหนึ่ง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหายเรื่องที่มี ความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้การจัดทำหน่วยอาจใช้หลักการบูรณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้เข้า ด้วยกัน โดยใช้วิชา ใดวิชาหนึ่ง เช่น สังคมศึกษา แล้วนำลักษณะเนื้อหาของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นที่ มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน (6) นำหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยมาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เป็น รายหน่วย (7) นำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยมาจัดทำแผนการเรียนรู้รายชั่วโมง อาภรณ์ ใจเที่ยง (2553) ได้อธิบายไว้ว่า ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถจัดทำได้ตามขั้นตอนดังนี้ (1) วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำโครงสร้าง รายวิชาที่ ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลาเรียน และน้ำหนักคะแนนในแต่ละหน่วย ซึ่งจะเห็นในภาพรวมในระดับรายวิชาว่าผู้สอนจะต้อง จัดการ เรียนรู้ในแต่ละปีการศึกษา หรือภาคการศึกษาทั้งหมดกี่หน่วยการเรียนรู้ ใช้เวลาเรียนเท่าใด (2) วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชา และมาตรฐานรายวิชา โดยพิจารณาจาก มาตรฐาน การเรียนรู้ และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ เพื่อนำมาเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยให้ ครอบคลุม พฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ เจตคติและค่านิยม (3) วิเคราะห์สาระการเรียนรู้โดยวิเคราะห์จากตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ที่ กำหนดไว้ในแต่ละรายวิชา เพื่อนำมาใช้ในการเลือกและขยายสาระที่เรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชน และ ท้องถิ่นรวมทั้งวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน (4) วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ตลอดจนสาระการเรียนรู้ โดยเลือกรูปแบบการจัดการ เรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติจริง มีความน่าสนใจ สอดคล้องกับ วัยและ ธรรมชาติของผู้เรียน สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและชีวิตจริงได้ (5) วิเคราะห์กระบวนการประเมินผล โดยเลือกใช้วิธีการวัดและ ประเมินผลที่หลากหลายใช้เครื่องมือวัดที่มีความน่าเชื่อถือ และเกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกับ จุดประสงค์การเรียนรู้ (6) วิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ โดยคัดเลือกสื่อการเรียนรู้และแหล่งการ เรียนรู้ทั้งใน และนอกห้องเรียนให้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้


27 ดังนั้น สรุปได้ว่า ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ต้องเริ่มจากการศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษามาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิเคราะห์มาตรฐาน การเรียนรู้ช่วงชั้นสาระการเรียนรู้ตัวชี้วัดรายปี รายภาค แล้วกำหนดเป็นสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้อง กับสภาพบริบทและความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน หลังจากนั้นจึงนำตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการ เรียนรู้รายปีมาพิจารณาจัดทำคำอธิบายรายวิชา แล้วจึงกำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้และจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้การจัดการเรียนรู้ต่อไป 2.4.2 การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การนําแผนการจัดการเรียนรู้ไป ทดลองใช้ ตามขั้นตอนที่กาหนดไว้แล้วนําไปปรับปรุงเพื่อนําไปสอนจริง ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ชวลิต ชูกาแพง (2553) ได้อธิบายไว้ว่า การวิจัยทางหลักสูตรและการสอนนักวิจัยจะใช้ การจัดการเรียนรู้เป็นนวัตกรรม เป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งต้องหาคุณภาพของนวัตกรรมที่ใช้ นิยม หาค่าประสิทธิภาพซึ่งไม่ใช่ค่าสถิติ เป็นขั้นตอนทำการทดลองจริงกับกลุ่มตัวอย่างที่กำ หนดไว้แล้ว สามารถหาประสิทธิภาพของสื่อ E1 /E2 ในขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้กับ นักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างด้วยรายละเอียดดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของกระบวนการ E1 เป็นค่าที่บ่งบอกวาการจัดการเรียนรู้นั้น สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ภายในกิจกรรมที่กำหนดให้ โดยมีการเก็บ ข้อมูลของผลการเรียนรู้ซึ่งสามารสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการและความงอกงามของผู้เรียนได้ โดยทั่วไปมักจะคํานวณจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบย่อย หรือคะแนนจากพฤติกรรมการ เรียนหรือคะแนนจากกิจกรรมการเข้ากลุ่ม ที่ไม่ใช่คะแนนจากการทำแบบฝึกหัดหรือแบบฝึกทักษะ ซึ่ง คํานวณได้จากสูตร E1 = ∑X N A × 100 เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ Σx แทน ผลรวมของคะแนนทุกส่วน N แทน จำนวนผู้เรียน A แทน คะแนนเต็มของทั้งหมด 2) ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E2 ค่าที่บ่งบอกวาการจัดการเรียนรู้นั้นส่งผลให้ ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผลได้หรือไม่ บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในการจัดการ เรียนรู้ มากน้อย เพียงใดซึ่งคํานวณจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบสดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การ ทดสอบหลัง เรียนของผู้เรียนทุกคน ซึ่งคํานวณได้จากสูตร


28 E2 = ∑F N B × 100 เมื่อ E2 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ ΣF แทน ผลรวมของคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน N แทน จำนวนผู้เรียน B แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การหาค่าประสิทธิภาพจะต้องมีการณ์กำหนดเกณฑ์เพื่อใช้ในการพิจารณา โดยเกณฑ์ดังกล่าว นิยมใช้หลักการเรียนแบบรอบรู้คือตั้งเกณฑ์ไว้ที่ร้อยละ 80 และยอมรับความผิดพลาด ได้ไม่เกินร้อย ละ 2.5 ดังนั้น ต้องมีประสิทธิภาพไม่ตํ่ากว่า 80-2.5 = 77.5 ส่วนการกำหนดเกณฑ์ความผิดพลา ดที่ ยอมรับได้คือไม่ควรเกินร้อยละ 5 นอกจากนั้นยังพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ประเภท ของสื่อ นวัตกรรมสติปัญญาของกลุ่มผู้เรียน และวุฒิภาวะของกลุ่มผู้เรียน เป็นต้น โดยทั่วไปนวัตกรรม การ สอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะมักจะกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพตํ่ากว่าการพัฒนา การเรียนรู้ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาทักษะต้องใช้เวลามากกว่า ยกตัวอย่าง เช่น นวัตกรรมที่เน้นการพัฒนาควา มรู้ อาจกำหนดเท่ากับ 80/80 ส่วนนวัตกรรมที่เน้นการพัฒนาทักษะต่าง ๆ อาจกำหนด E1 /E2 ที่ 75/75 เป็นต้น ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เกณฑ์ในการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ 80/80 โดย 80 ตัวแรกคือ E1 ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคน ที่ได้จากคะแนน ประเมิน พฤติกรรม ผลงานระหว่างเรียน และแบบทดสอบย่อย ซึ่งต้องได้ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ถือเป็นประสิทธิภาพของกระบวนการ 80 ตัวหลัง E2 คือนักเรียนทั้งหมดที่ทำแบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป ถือว่าเป็นประสิทธิภาพของผลลัพธ์ 2.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับ ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มี ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ ความหมายไว้ดังนี้ Good (1973, อ้างถึงใน ฉวีวรรณ เศวตมาลย์, 2545) ได้อธิบายไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง การทำให้สำเร็จ (Accomplishment) หรือประสิทธิภาพของการปฏิบัติในลักษณะที่


29 กำหนดให้หรือด้านความรู้ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Attained) ที่กำหนดให้หรือคะแนนที่ได้จากการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายหรือทั้งสองอย่าง อารีย์ วชิรวรากร (2542) ได้อธิบายไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลของ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางสมองและสติปัญญาของนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากที่ ได้เรียนไปแล้ว สามารถวัดได้โดยใช้แบบทดสอบ เยาวดี วิบูลย์ศรี (2549) ได้อธิบายไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลจากการ เรียนรู้ที่แต่ละคนได้ศึกษาเรียนรู้มาแล้วในอดีตหรือในปัจจุบัน โดยเป็นผลจากการประเมินควา มรู้ ทางด้านเนื้อหาวิชาการเป็นหลัก เน้นความตรงเชิงเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ การศึกษาเป็นสำคัญ นิ่มน้อย แพงปัสสา (2551) ได้อธิบายไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะความรู้ ความสามารถ และมวลประสบการณ์ของบุคคล อันเป็นผลมาจากการจัดการ เรียนรู้และเป็นผลให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ซึ่งตรวจสอบได้จากการวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลจากการเรียนรู้ที่แต่ละ คนได้ศึกษาเรียนรู้มาแล้วในอดีตหรือในปัจจุบัน โดยเป็นผลจากการประเมินคุณลักษณะควา มรู้ ความสามารถ และมวลประสบการณ์ของนักเรียน หลังจากที่ได้เรียนไปแล้ว ซึ่งตรวจสอบได้จากการ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.6.1 ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมนึก ภัททิยธนี (2556) ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบวัดสมรรถภาพทางสมองต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ผ่านมาแล้ว ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบทดสอบที่ครูสร้างกับแบบทดสอบมาตรฐาน แต่เนื่องจากครูต้องท ำหน้า ที่วัดผล นักเรียน คือ เขียนข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ตนได้สอน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงแบบทดสอบที่ครู สร้างและมี หลายแบบ วิไลลักษณ์ สีประโคน (2565) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่สร้างขึ้นเพื่อวัดความรู้ความสามารถทางการเรียนด้านเนื้อหา ด้านวิชาการ และทักษะต่าง ๆ ของวิชาที่ได้เรียนมาว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด มีคุณภาพ บรรลุตาม วัตถุประสงค์หรือไม่ จึงสรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบวัดสมรรถภาพทาง สมองต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ผ่านมาแล้ว เพื่อวัดความรู้ความสามารถทางการเรียนด้าน


30 เนื้อหา ด้านวิชาการและทักษะต่าง ๆ ของวิชาที่ได้เรียนมาว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด มีคุณภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 2.6.2 ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญที่ครูผู้สอนใช้วัดพฤติกรรมการ เรียนรู้ของนักเรียนด้านความรู้ ทักษะ และกระบวนการ รวมไปถึงสมรรถภาพทางสมองด้านต่าง ๆ ซึ่ง มีนักการศึกษาได้กล่าวถึงประเภทแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้ สมนึก ภัททิยธนี (2556) ได้ระบุไว้ว่าประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนแบบทดสอบที่ครูสร้าง มีหลายแบบแต่ที่นิยม ใช้มี 6 แบบ ดังนี้ 1) ข้อสอบแบบอัตนัยหรือความเรียง ลักษณะทั่วไปเป็นข้อสอบที่มีเฉพาะคำถา ม แล้วให้นักเรียนเขียนตอบอย่างเสรี เขียนบรรยายตามความรู้ และข้อคิดเห็นแต่ละคน 2) ข้อสอบแบบกาถูก-ผิด ลักษณะทั่วไปถือได้ว่าข้อสอบแบบกาถูก-ผิด คือ ข้อสอบ แบบเลือกตอบที่มีตัวเลือกแต่ตัวเลือกดังกล่าวเป็นแบบคงที่และมีความหมายตรงกันข้าม เช่น ถูก-ผิด ไม่ใช่ – ใช่ไม่ จริง-ไม่จริง เหมือนกันต่างกัน เป็นต้น 3) ข้อสอบแบบเติมคำลักษณะทั่วไปเป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยประโยคหรือ ข้อความที่ยังไม่ สมบูรณ์ให้ผู้ตอบเติมคำ หรือประโยค หรือข้อความลงในช่องว่างที่เว้นนั้นเพื่อให้มี ความสมบูรณ์และถูกต้อง 4) ข้อสอบแบบตอบสั้น ๆ ลักษณะทั่วไปข้อสอบประเภทนี้คล้ายกับข้อสอบแบบ เติม คำแต่แตกต่างกันที่ข้อสอบแบบตอบสั้น ๆ เขียนเป็นประโยคคำถามสมบูรณ์ (ข้อสอบเติมคำเป็น ประโยคที่ยังไม่สมบูรณ์) แล้วให้ผู้ตอบเป็นคนเขียนตอบ คำตอบที่ต้องการจะสั้นและกะทัดรัดได้ ใจความสมบูรณ์ไม่ใช่เป็นการบรรยายแบบข้อสอบอัตนัยหรือความเรียง 5) ข้อสอบแบบจับคู่ ลักษณะทั่วไปเป็นข้อสอบเลือกตอบชนิดหนึ่งโดยมีคำ หรือ ข้อความแยกจากกันเป็น 2 ชุด ถ้าให้ผู้คอบเลือกจับคู่ว่าแต่ละข้อความในชุดหนึ่ง (ด้วยยืน) จะคู่ กับ คำ หรือข้อความใดในอีกชุดหนึ่ง (ตัวเลือก) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งตา มที่ผู้ ออก ข้อสอบกำหนดไว้ 6) ข้อสอบแบบเลือกตอบ ลักษณะทั่วไปข้อสอบแบบเลือกตอบนี้จะประกอบด้วย 3 ตอน ตอนนำ หรือคำถามกับตอนเลือก ในตอนเลือกที่จะประกอบด้วยตัวเลือกที่เป็นคำตอบถูกและ ตัวเลือกที่เป็นตัวลวงปกติจะมีคำถามที่กำหนดให้นักเรียนพิจารณาแล้วหาตัวเลือกที่ถูกต้องมากที่สุด เพียงตัวเลือกเดียวจากตัวเลือกอื่น ๆ และคำถามแบบเลือกตอบที่ดีนิยมใช้ตัวเลือกที่ใกล้เคียงกัน ดู เผิน ๆ จะเห็นว่าทุกตัวเลือกถูกหมดแต่ความจริงมีน้ำหนักถูกมากน้อยต่างกัน


31 สิริพร ทิพย์คง (2545) ได้อธิบายไว้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมี2 ประเภท สามารถสรุปแบบทดสอบแต่ละประเภทได้ ดังนี้ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์มาตรฐาน มีการดำเนินการสอบและการแปล คะแนน แบบมาตรฐาน สร้างโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา และยอมรับในคุณภาพที่สามารถขยาย อิงสู่ ประชากรได้ การดำเนินการในการใช้แบบทดสอบมาตรฐานต้องทำตามคู่มือทุกอย่าง ไม่ว่าจะ เป็นการ แจก การอธิบาย การใช้เวลา การตรวจและการแปลคะแนนของข้อสอบ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ครูสร้างขึ้น โดยสร้างตามจุดประสงค์ของครูผู้สอน เป็นคำถามที่เกี่ยวกับความรู้ที่นักเรียนได้เรียนในห้องเรียน ซึ่งเป็นการทดสอบว่านักเรียนมีความรู้มาก แค่ไหนบกพร่องในส่วนใด เพื่อจะได้สอนซ่อมเสริมหรือเป็นการวัดเพื่อดูความพร้อมที่จะเรียนใน เนื้อหาใหม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของครูผู้สอน บางฉบับอาจจะไม่ได้ทดลองสอบมาก่อน กลุ่ม ตัวอย่างไม่คลุมประชากร สามารถแก้ไขได้ทุกระยะ และครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการ สร้างข้อสอบ แบบทดสอบที่ครูสร้างนี้จึงเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบทดสอบมาตรฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศา สตร์และเทคโนโลยี (2555) ได้อธิบายไว้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ครูสร้างขึ้น จำแนกออกเป็น 8 ประเภท โดยสามารถสรุปแต่ ละประเภทได้ ดังนี้ 1) แบบทดสอบแบบเลือกตอบ ใช้วัดผลได้ทั้งด้านความรู้ ความคิด ทฤษฎี หลักการ การ ตัดสินใจ ตลอดจนความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 2) แบบทดสอบแบบถูกผิด โดยมีการนำเสนอข้อความเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ ใน หลักการ ทฤษฎี การแปลความหมายหรือการกำหนดตัวแปร 3) แบบทดสอบแบบจับคู่ เป็นแบบทดสอบที่มีลักษณะการนำเสนอข้อความ 2 ส่วน ให้เลือกเพื่อจับคู่กัน ซึ่งโดยทั่วไปจำนวนข้อของคำตอบจะมีมากกว่าคำถาม 4) แบบทดสอบแบบเปรียบเทียบ เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อควา มที่ ต้องการให้ ผู้เรียนพิจารณาในรูปของ มากกว่า เท่ากับ น้อยกว่า หรือสรุปไม่ได้ 5) แบบทดสอบแบบเติมคำ โดยผู้ตอบต้องแสดงความรู้ความสามารถด้วยการ เขียน ตอบที่เป็นผลลัพธ์ของปัญหา ซึ่งแบบทดสอบแบบเติมคำยังใช้ในการคิดเลขในใจได้ 6) แบบทดสอบแบบเขียนตอบ โดยให้ผู้สอบแสดงความรู้ความสามารถด้วยการ เขียนตอบแสดงวิธีทำหรือสรุปผลจากวิธีทำโดยแสดงเหตุผลประกอบ 7) แบบทดสอบแบบต่อเนื่อง เป็นการผสมผสานแบบทดสอบหลายรูปแบบไว้ ด้วยกัน เช่น แบบทดสอบแบบเลือกตอบกับแบบถูกผิด แบบทดสอบแบบเลือกตอบกับแบบเขียนตอบ 8) แบบทดสอบแบบแสดงวิธีทา เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้เรียนแสดงวิธีการ แก้ปัญหา ใช้ประเมินได้ครอบคลุมทั้งมโนทัศน์และวิธีการคิด การว่างแผน รวมทั้งความสามารถของ


32 ทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านต่าง ๆ จากประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ มีนักการศึกษาได้จำแนกแต่ละประเภทไว้ดังกล่าวข้างต้น จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงสรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็น เครื่องมือสำคัญที่ครูผู้สอนใช้วัดพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนด้านความรู้ ทักษะ และกระบวนการ รวมไปถึงสมรรถภาพทางสมองด้านต่าง ๆ แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะที่สามารถนำ ไปใช้เพื่อ ประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียนได้แตกต่างกัน ครูผู้สอนจึงต้องตระหนักถึงจุดประสงค์การ เรียนรู้ที่ต้องการวัดและประเมิน ครูจะต้องเลือกแบบทดสอบที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่เรียน และมี ความเหมาะสมกับผู้เรียน รวมทั้งเลือกใช้แบบทดสอบที่ได้มาตรฐาน เพื่อนำผลการประเมินไปใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ต่อไป 2.6.3 แนวความคิดและทฤษฎีที่เป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแนวความคิดที่สำคัญ ได้แก่ การ เขียน ข้อสอบวัดตามการจัดประเภทจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive) ของบลูม (สำนัก วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2546) ซึ่งจำแนกเป็น 6 ประเภท คือ 1) ความรู้ (Knowledge) เป็นเรื่องที่ต้องการรู้ว่า ผู้เรียนระลึกได้ จำข้อมูลที่เป็น ข้อเท็จจริงได้เพราะขอเท็จจริงบางอย่างมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ 2) ความเข้าใจ (Comprehension) แสดงถึงระดับความสามารถ การแปลความ การ ตีความ และขยายความ ในเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เช่น การจับใจความได้ อธิบาย ความหมาย และขยายเนื้อหาได้ 3) การนำไปใช้ (Application) ต้องอาศัยความเข้าใจเป็นพื้นฐานในการตีความของ ข้อมูล เมื่อต้องการทราบว่าข้อมูลนั้นมีประเด็นสำคัญอะไรบ้างต้องอาศัย และรู้จักเปรียบเทียบ แยกแยะ ความแตกต่าง พิจารณานำข้อมูลไปใช้โดยให้เหตุผลได้ 4) การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นทักษะทางปัญญาในระดับสูง จะเน้นการแยกแยะ ข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ และพยายามมองหาส่วนประกอบว่ามีความสัมพันธ์และการจัดรวบรวม บลูม (Bloom) ได้แยกจุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ คือ การพิจารณาหรือการจัด ประเภทองค์ประกอบต่าง ๆ การสร้างความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นและ การคำนึงถึงหลักการที่ได้จัดรวบรวมไว้แล้ว 5) การสังเคราะห์ (Synthesis) การนำเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แยกแยะกันอยู่มา รวมเข้ากันในรูปแบบใหม่ ถ้าสามารถสังเคราะห์ได้ก็สามารถประเมินได้ด้วย 6) การประเมินค่า (Evaluation) เป็นการใช้เกณฑ์ และมาตรฐานเพื่อพิจารณาว่า จุดมุ่งหมายที่ต้องการนั้นบรรลุผลหรือไม่ การที่ให้นักเรียนสามารถประเมินค่าได้ต้องอาศัยเกณฑ์หรือ


33 มาตรฐานเป็นแนวทางในการตัดสินคุณค่าการตัดสินใด ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยเกณฑ์น่าจะเป็น ลักษณะ ความคิดมากกว่าเป็นการประเมินค่า 2.6.3.1 คุณลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำเป็นต้องคำ นึงถึง คุณลักษณะ ของ แบบทดสอบที่ดี ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงคุณลักษณะของแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้ สิริพร ทิพย์คง (2545) ได้อธิบายไว้ว่า คุณลักษณะของแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ดีพิจารณาได้ดังนี้ 1) ความตรง แบบทดสอบที่มีความตรงเป็นแบบทดสอบที่สามารถ นำไปวัดในสิ่งที่ ต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด ครอบคลุมเนื้อหาที่มีใน หลักสูตร 2) ความเชื่อมั่น แบบทดสอบที่มีความเชื่อมั่นเป็นแบบทดสอบที่ สามารถให้ผลการ วัดได้คงที่ ไม่ว่าจะนำแบบทดสอบนั้นไปวัดกี่ครั้ง 3) ความเป็นปรนัย แบบทดสอบที่มีควา มเป็นปรนั ยเ ป็น แบบทดสอบที่มีคำถาม ชัดเจน สามารถตรวจให้คะแนนและแปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน 4) การถามลึก หมายถึง ถามให้ครอบคลุมพฤติกรรมขั้นควา มรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำ ไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า 5)ความยุติธรรม คำถามของแบบทดสอบต้องไม่มีช่องทางชี้แนะให้ เดาได้ถูกต้อง และต้องเป็นข้อสอบที่ไม่มีความลำเอียงต่อกลุ่มนักเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ 6) อำนาจจำแนก แบบทดสอบนี้สามารถแยกกันเรียนได้ว่าใครเก่ง ใครอ่อนโดย สามารถจำแนกนักเรียนออกเป็นประเภท ๆ ได้ทุกระดับอย่างละเอียดตั้งแต่อ่อนสุดจนถึง เก่งสุด 7)ความยากง่ายพอเหมาะ แบบทดสอบนี้จะต้องไม่ยากเกินไปและ ไม่ง่ายเกินไป 8) ความยั่วยุ หมายถึง แบบทดสอบที่นักเรียนทำด้วยความสนุก เพลิดเพลิน โดยไม่ รู้สึกเบื่อหน่ายในการทำแบบทดสอบ 9) ประสิทธิภาพ เป็นแบบทดสอบที่มีจำนวนข้อสอบพอประมาณ จัดทำแบบทดสอบ ด้วยความประณีต ตรวจให้คะแนนได้รวดเร็ว รวมถึงสิ่งแวดล้อมในการสอบที่ดี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2555) ได้อธิบายไว้ ว่า การเลือกใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรพิจา รณา คุณลักษณะที่ สำคัญในด้านความเที่ยงตรงในการวัดเนื้อหาหรือประสบการณ์การเรียนรู้ การวัด


34 พฤติกรรม การวัด สภาพที่แท้จริง คุณลักษณะหรือความสามารถของนักเรียน นอกจากนี้ข้อทดสอบ ในแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ควรมีอัตราส่วนของความยากอยู่ในช่วง 0.20 - 0.80 ถ้าข้อ ทดสอบใดอยู่ นอกขอบเขตนี้ถือว่ายากหรือง่ายเกินไป ครูผู้สอนไม่ควรนำมาใช้จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงสรุปได้ว่า การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำเป็นต้อง คำนึงถึงคุณลักษณะของแบบทดสอบที่ดี สามารถนำไปวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง ตรงตาม จุดประสงค์ที่ต้องการวัด ครอบคลุมเนื้อหาที่มีในหลักสูตร และแบบทดสอบจะต้องไม่ยาก เกินไปและ ไม่ง่ายเกินไป 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.7.1 งานวิจัยในประเทศ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องถือเป็นส่วนสำคัญของการเรียบเรียงข้อมูลที่จะสามารถนำไปสรุปในแต่ละ ประเด็น เนื่องจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะมีข้อเสนอแนะหรือแนวทางการวิจัยที่สามารถส่งผลให้ผู้วิจัยมี ความเข้าใจในงานวิจัยของตนเองและสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาประยุกต์ใช้ในการวิจัย ใน การศึกษา การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยงานวิจัยมีแบบแผนการวิจัยที่เกี่ยวข้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ศุภชาติ จันทึก (2565) ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทาง ภูมิศาสตร์ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพทวีปยุโรป รายวิชาภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผล การจัดการเรียนรู้และพัฒนาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพทวีปยุโรป รายวิชา ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ และแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่องลักษณะทางกายภาพ ทวีปยุโรป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมา ตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลการจัดการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีคะแนนพัฒนาการ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 69.44 ซึ่งมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง และการพัฒนา ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องลักษณะทางกายภาพทวีปยุโรปดีขึ้น โดยก่อนเรียนมีคะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 40.00 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.67 ณัฐริณีย์ ประจิตร (2565) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ


35 กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้กระบวนการทาง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทา งการเรียน เรื่อง ทวีป อเมริกาเหนือ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดย ใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมิน คุณภาพรายแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมที่ค่าคะแนนเฉลี่ย (x̅)= 4.40 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.35 แผนการจัดการ เรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากและ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทวีปอเมริกา เหนือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่า งมี นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ธีรวุฒิ เชื้อพระชอง (2563) ได้ทำการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้กระบวนการภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแบบองค์รวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสารภีพิทยาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการคิดแบบองค์รวมจากการจัดเรียนรู้ กระบวนการภูมิศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสารภีพิทยาคม เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างการ วิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2562 จำนวน 19 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการภูมิศาสตร์ แบบวัดทักษะการคิดแบบ องค์รวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการคิดแบบองค์รวมเรื่องสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการภูมิศาสตร์ สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน โดยมีประเด็นการคิด แบบองค์รวมพัฒนามากที่สุดอันดับ ที่ 1 คือ มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและดำเนินชีวิตตามแนวการ จัดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาขึ้นร้อยละ 33.5 อันดับที่ 2 คือหัวข้อวิเคราะห์สา เหตุของ วิกฤตการณ์ พัฒนาขึ้นร้อยละ 30 และลำดับที่ 5 หัวข้อส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชา ติและ สิ่งแวดล้อมกับหัวข้อมีแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนเพื่อช่วยแก้ปัญหา สถานการณ์ดังกล่าว พัฒนาขึ้นร้อยละ 25.2 นักเรียนมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมี คะแนนการคิดแบบองค์รวมก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.15 และคะแนนการคิดแบบองค์รวมหลัง เรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21 อีกทั้งการวิเคราะห์คะแนนการพัฒนาการของนักเรียน พบว่า นักเรียนมี พัฒนาการอยู่ระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.3 สรุปได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบ กระบวนการภูมิศาสตร์ ช่วยพัฒนาทักษะการคิดแบบองค์รวมรายวิชาภูมิศาสตร์ได้


36 เกียรติศักดิ์ ชัยยาณะ (2563) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้วิชา ภูมิศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษาโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ การวิจัยมี วัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติการและความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอน สาระภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรูปแบบ CIPP 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ตามวัตถุประสงค์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ระยะที่ 1 คือ ผู้บริหาร 2 คน ครูผู้สอน 3 คน นักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 452 คน ระยะที่ 2 คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6จำนวน 46 คน สำหรับ ทดลองใช้รูปแบบ และระยะที่ 3 คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 47 คน โดยใช้เครื่องมือการ วิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนแบบวัดการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และแบบสอบถามความพึง พอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified การทดสอบ ค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนสาระภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยรวมอยู่ในระดับมากและมีความต้องการจำเป็นในด้านบริบทมากที่สุด 2. รูปแบบการเรียนการ สอนมี5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรู้เรื่องภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมี นัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 มีความคงทนในการเรียนรู้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมี ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในภาพรวมระดับมาก คณัฏพัส บุตรแสน (2561) ได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถ ทางภูมิศาสตร์เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการ จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการ เรียนรู้สังคมศึกษา เรื่อง เรียนรู้ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ 2) ศึกษาพัฒนาการด้าน ความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการ จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ ทางภูมิศาสตร์และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เรียนรู้ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม แบบวัดความสามารถทางภูมิศาสตร์เรื่อง เรียนรู้ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม และแบบสอบถามความ คิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนกา รทา งภูมิศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วย


37 กระบวนการทางภูมิศาสตร์ หน่วยที่ 4 เรื่อง เรียนรู้ร่วมคิด แก้วิกฤต สิ่งแวดล้อมจำนวน 3 แผนการ จัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเรียนรู้ และทดสอบค่าทีแบบ ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเรียนรู้เรื่อง เรียนรู้ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์สูงกว่าก่อนการ จัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2. ความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์มีพัฒนา การสูงขึ้น 3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนกา รทา ง ภูมิศาสตร์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด นายพีรพงศ์ จ้อยชารัตน์(2564) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถทาง ภูมิศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา สังคมศึกษาฯ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทาง ภูมิศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์กลุ่มตัวอย่า งที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนกสิณธรเซนต์ปีเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์ จำนวน 4 แผนการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถ ทางภูมิศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาฯ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้(M = 29.13, SD = 3.46) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้(M= 16.83, SD = 3.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถทางภูมิศาสตร์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับ กระบวนการทางภูมิศาสตร์มีพัฒนาการสูงขึ้น 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มี ต่อการจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.51, SD = 0.16) ณัฐณิชา ม่วงสนธิ์ (2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ ทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อทักษะกา รหา ควา มสัมพันธ์ของ สเปสกับสเปสและสเปสกับเ วลา


38 ในเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ ทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ในเด็กปฐมวัย กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดพระพุทธฉาย จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ จำนวน 24 แผน แบบบันทึกพฤติกรรมทักษะการหาความสัมพันธ์ ของสเปสกับสเปสและสเปสกับ เวลาในเด็กปฐมวัย และแบบประเมินทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา ในเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเครา ะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ มีคะแนนทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปส กับสเปสและสเปสกับเวลาหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง โดยพบว่า หลังการทดลองเด็ก สามารถบอกตำแหน่งที่อยู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้คำศัพท์ ซ้าย ขวา ด้านหน้า ด้านหลัง และระหว่าง สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งของ สถานที่กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมได้ สามารถอธิบาย และวาดภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ 2 มิติ กับ 3 มิติ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของการ เปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ หรือลักษณะของสิ่งของและสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาได้ 2.7.2 งานวิจัยต่างประเทศ W S Utami, I M Zain, & and Sumarmi. (2018) ได้ศึกษาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สามารถพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้หรือไม่ ซึ่งเป็น งานวิจัยเพื่อศึกษาและแก้ปัญหาทักษะทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย ผลการวิจัยพบว่า การรู้เรื่องภูมิศาสตร์สามารถพัฒนาทักษะทา งภูมิศาสตร์ได้ ทักษะนี้มีความเกี่ยวข้องกับทักษะในศตวรราที่ 21 ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา การให้ เหตุผล การวิเคราะห์ตีความ และการสังเคราะห์ข้อมูล ความสามารถทางเทคโนโลยี การใช้ คอมพิวเตอร์ สามารถตีความและทักษะที่จะนำไปสู่การสอบสวนทางภูมิศาสตร์ คือ 1) การถาม คำถามทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการแจกแจงและการกระจายเชิงพื้นที่ 2) หาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 3) จัด ระเบียบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 4) วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ และ 5) ตอบคำถามทางภูมิศาสตร์ Eyüp Artvinli. (2012) ได้ทำการศึกษารวบรวมทักษะทางภูมิศาสตร์เข้ากับการเรียนรู้ อย่างกระตือรือร้นภูมิศาสตร์ :กรณีของตุรกี โดยศึกษาการใช้การเรียนรู้เชิงรุกและทักษะทาง ภูมิศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียน ภายใต้กรอบหลักสูตรภูมิศาสตร์เพื่อให้เข้าถึงการศึกษา ทา ง ภูมิสาสตรี่ดีขึ้นในโรงเรียน หลังจากปรับปรุงหลักสูตรภูมิสศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมในตุรกีในปี 2005 เกิดมุมมองใหม่ของการเรียนรู้และการสอนภูมิศาสตร์ในโรงเรียนมัธยม คือการให่ความรู้แก่โรงเรียน


39 ใน 8 ทักษะทางภูมิศาสตร์ คือ ทักษะการทำแผนที่ ทักษะการสังเกต ทักษะการทำงานภา คสนาม ทักษะการสอบถามทางภูมิศาสตร์ ทักษะการเตรียมและอธิบายตารางกราฟิกและไดอาแกรม ทักษะ ลำดับเหตุการณ์ ทักษะการใช้หลักฐาน ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและควา มต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถสร้างเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนได้พัฒนาตนเองผ่านปรสบ การณ์ผลการศึกษาพบว่า หลักสูตรภูมิศาสตร์ประเทศตุรกีมีโครงสร้างของทักษะที่ดี แต่ทักษะทาง ภูมิศาสตร์ไม่ได้เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ที่ใช้งานอยู่ภายในเนื้อหาของหลักสูตร Sugiyanto, S., Maryani E., & and Ruhimat M. (2018) ได้ทำการศึกษาการเบื้องต้น เกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ทางภูมิศาสตร์ตามรูปแบบการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะของครูใน ศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้ศึกษาแนวคิดทางภูมิศาสตร์ในการในการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในเรื่องความหมาย แนงวคิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งช่วยให้เข้าใจ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในระดับโลก จึงมี ความสำคัญให้นักเรียนแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความเข้า ใจของครู เกี่ยวกับการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในการสอนสังคมศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะของครูในศตวรรษที่ 21 ได้ทำ การสำรวจในสุรากาตาร์ พ.ศ. 2560 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 13 โรงเรียน และสำรวจครูสังคม ศึกษาในสุรากาตาร์ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 92 ไม่เข้าใจความรู้ทางภูมิศาสตร์ และร้อยละ 70 แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่เข้าทักษะในศตวรรษที่ 21 ความถี่ในการใช้สื่อแล็ปท็อปในการสอน ร้อยละ 54 และอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จำกัด ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนากระบวนการ เรียนรู้ณุปแบบการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 2.8 กรอบแนวคิดการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแนวคิด เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งวิธีการสอนแบบ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ในการจัดกิจกรรมการเรียนกา รสอน ภูมิศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจ และมีความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน ผู้สอน ใช้วิธีการแบบแก้ปัญหา (problem solving method) หรือวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (inquiry method) เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ เป็นการระบุประเด็นต่าง ๆ ที่นักเรียนนำมาพิจารณา ประกอบการหาคำตอบ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาในรูปแบบประโยคคำถาม ที่กระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น 2) การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริง และข้อมูลที่ เป็นประโยชน์และควาดว่าจะนำไปใช้ประกอบการศึกษา 3) การจัดการข้อมูล เป็นการจัดระเบียบ ข้อมูลโดยตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเพื่อประกอบการศึกษา


40 4) การวิเคราะห์และนำเสนอความรู้ เป็นการอธิบาย วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลที่ศึกษา และ 5) การ สรุปเพื่อตอบคำถามเป็นการสรุปเนื้อหาให้ตรงคำถามของการศึกษาตามที่ระบุไว้ในขั้นต้น เมื่อพัฒนา รูปแบบกา รสอน โดยใช้วิธีกา รสอนข้า งต้นจะทำ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทา งกา รเรียน รู้ ที่ดีขึ้นในเนื้อหาการศึกษาที่กำหนดไว้ โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัย ดังภาพที่2.1 มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ภาพที่ 2.1 กรอบแนวคิดการวิจัย การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ จัดกา รเรียนรู้ทา งภูมิศา ส ต ร์ (Geographic Inquiry Process) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ภูมิศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภัยพิบัติทา งธรรมชา ติของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


Click to View FlipBook Version