The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phop Ktp, 2024-01-28 22:41:50

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้ได้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 และเพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ผู้วิจัยได้นำเสนอวิธีการดำเนินการศึกษาตามหัวข้อต่อไปนี้ คือ ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง แบบแผนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการ วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 แบบแผนการวิจัย 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 13 ห้องเรียน มีจำนวน 368 คน 3.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 โรงเรียนท่าบ่อ อำเภอ ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนจำนวน 37 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3.2 แบบแผนการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีแบบแผนการทดลอง (Experimental Design) กลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง One Group Pre-test /Post-test Design ตารางที่ 3.1 แบบแผนการวิจัย กลุ่ม สอบก่อน ทดลอง สอบหลัง E T1 X T2


42 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการวิจัย E แทน กลุ่มทดลอง (Experimental Group) T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) X แทน กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) T2 แทน การทดสอบหลังเรียน (Post-test) 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.3.1 ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัย พิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้ได้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 และเพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชา ภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 3.3.2 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้ 3.3.2.1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 1) ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการเรียนรู้ และ ตัวชี้วัดในเนื้อหา จากกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระภูมิศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย


43 2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระภูมิศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (2561 : 5) ศึกษาความหมาย องค์ประกอบของ กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อนำมาสังเคราะห์องค์ประกอบ แล้วนำมาพิจารณาถึง ความสัมพันธ์กับกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ 3) ศึกษาเนื้อหาสาระภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค ภัยพิบัติ ธรรมชาติทางบรรยากาศภาค ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค และภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค ที่จะ นำมาใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ในหน่วยที่ 5 เรื่อง ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ 4) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) โดยจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นเรื่อง เรื่องละ 1 ชั่วโมง ทำการเรียนการสอน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 10 ชั่วโมง ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้ การวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 2 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค 1 จำนวน 1ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค 2 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค 2 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง การวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ (รายชั่วโมง) สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระสำคัญ สาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล พร้อมทั้งการบันทึก หลังการสอน 5) นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ที่สร้างขึ้นเสนอต่อ ครูพี่เลี้ยง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 3 คน


44 เพื่อประเมินมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ (รายชั่วโมง) สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านพิจารณาลงความเห็นแล้วให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนน +1 หมายถึง แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ (รายชั่วโมง) สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผล ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ มาตรฐานการ เรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้(รายชั่วโมง) สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ สาระสำคัญ สาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผล ให้คะแนน -1 หมายถึง แน่ใจว่าไม่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ มาตรฐานการ เรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ (รายชั่วโมง) สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผล แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนกา รจัดการ เรียนรู้(Index of Item objective Congruence : IOC) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50- 1.00 ถือว่า เครื่องมือนั้นมีประสิทธิภาพและความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 6) ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชา ภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 7) นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไปทดลองใช้ (Tryout) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/13 โรงเรียนท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จำนวน 37 คน ที่เรียนรายวิชา ภูมิศาสตร์ และกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อปรับปรุง แผนการจัดการเรียนรู้ 8) นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 ซึ่งเป็นกลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัย มีรายละเอียดดังแผนภาพที่ 3.1


45 ขั้นที่ 1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนท่าบ่อ เพื่อวิเคราะห์ในส่วนของหลักการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 ศึกษาหลักการ วิธีการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ จาก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ศึกษาเนื้อหาสาระภูมิศาสตร์ ที่จะนำมาใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ ในหน่วยที่ 5 เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จากเอกสาร และแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ขั้นที่ 4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ จำนวน 8 แผน จากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ที่สร้างขึ้นเสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ตรวจสอบและเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงแก้ไข ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นที่ 7 นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไปทดลองใช้ (Tryout) กับนักเรียนที่ ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ 8. นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยทดลอง กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ภาพที่ 3.1 สรุปขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้


46 3.3.2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographic Inquiry Process) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ใช้ทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน (Pre-test / Post-test) โดยกำหนดการให้คะแนน คือ ตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิด หรือไม่ตอบให้ 0 คะแนน จำนวน 30 ข้อ ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนท่าบ่อ เพื่อวิเคราะห์ในส่วนของการวัดและ ประเมินผล และสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) วิเคราะห์หลักสูตรตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด วิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์การ เรียนรู้ และสร้างตารางวิเคราะห์ข้อสอบ โดยวัดทักษะพุทธิพิสัย 6 ด้าน ของ Bloom (1996 : 48-50) คือ ด้านความรู้/ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้ ด้านวิเคราะห์ ด้านการประเมินค่า และ ด้านการสร้างสรรค์ 3) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ วิธีการสร้างเครื่องมือและการ ประเมินผล 4) สร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อสร้างแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จำนวน 1 ฉบับ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 42 ข้อ ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วย 1) ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 2) ภัยพิบัติ ธรรมชาติทางบรรยากาศภาค 3) ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค และ 4) ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีว ภาค ให้ครอบคลุมเนื้อหาตามทักษะด้านพุทธิพิสัย 6 ด้าน ของ Bloom (1996 : 48-50) คือ ด้าน ความรู้/ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้ ด้านวิเคราะห์ ด้านการประเมินค่า และด้านการ สร้างสรรค์ 5) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรม ชา ติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) ที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นางรัชนี กุลสิทธาวิเวท


47 นางอนันต์ ศรีโคตร และนางสาวนิศากรณ์ ไชยรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความตรงเชิง เนื้อหา (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านพิจารณาลงความเห็นแล้วให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนน +1 หมายถึง แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ (รายชั่วโมง) สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับมา ตรฐาน การ เรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ (รายชั่วโมง) สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระสำคัญ สาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ให้คะแนน -1 หมายถึง แน่ใจว่าไม่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับมา ตรฐาน การ เรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ (รายชั่วโมง) สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ (Index of Item objective Congruence : IOC) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50-1.00 ถือว่า เครื่องมือนั้นมีประสิทธิภาพและความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 6) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้ตรวจสอบ มาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีข้อคำถาม ตัวเลือก และการใช้ภาษาที่เหมาะสม สร้างเป็นแบบทดสอบที่สมบูรณ์ 7) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไปทดลองใช้ (Tryout) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 โรงเรียนท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จำนวน 39 คน ที่เคย เรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ผ่านมาแล้ว ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีความเหมาะสมมีประสิทธิภาพ และ นำผลการทดลองมาหาคุณภาพ โดยคำนวณหาค่าระดับความยากง่าย (p) ซึ่งต้องอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80 และอำนาจจำแนก (r) ซึ่งจะต้องมีค่า 0.20 ขึ้นไป เพื่อคัดเลือกข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์จำนวน 30 ข้อ 8) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่คัดเลือกไว้ จำนวน 30 ข้อ มาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) 9) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่คัดเลือกไว้ จำนวน 30 ข้อ นำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย มีรายละเอียดดังแผนภาพที่ 3.2


48 ขั้นที่ 1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระภูมิศาสตร์ ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนท่าบ่อ เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ขั้นที่ 2 วิเคราะห์หลักสูตรตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด วิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ และสร้างตารางวิเคราะห์ข้อสอบ ขั้นที่ 3 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ วิธีการสร้างเครื่องมือและการประเมินผล ขั้นที่ 4 สร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จำนวน 1 ฉบับ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยต้องการใช้จริง 30 ข้อ ขั้นที่ 5 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้อง และความตรงเชิงเนื้อหา โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างข้อ คำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ขั้นที่ 6 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้ตรวจสอบมา ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างเป็นแบบทดสอบที่สมบูรณ์ ขั้นที่ 7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อ ปรับปรุงแบบทดสอบ และนำผลการทดลองมาหาคุณภาพ โดยคำนวณหาความยากง่าย (p) และ อำนาจจำแนก (r) เพื่อคัดเลือกข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์จำนวน 30 ข้อ ขั้นที่ 8 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่คัดเลือกไว้จำนวน 30 ข้อ มาหาค่าความ เชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) ขั้นที่ 9 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่คัดเลือกไว้จำนวน 30 ข้อ นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ภาพที่ 3.2 สรุปขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


49 3.4 การดำเนินการและการเก็บรวบรวมข้อมูล การดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลอง และเก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จำนวน 39 คน จำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง มีการดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 3.4.1 ขั้นเตรียมก่อนการทดลอง 1) ดำเนินการสร้างเครื่องมือ คือ แผนหน่วยการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดกา รเรียนรู้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 2) จัดเตรียมสื่อการสอน ภาพ ข่าว และวีดีทัศน์เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ในประเทศไทย และที่เกิดขึ้นในโลก โดยจัดกลุ่มภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในพื้นที่ต่าง ๆ ออกเป็น 4 ด้าน คือ ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศ ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค และภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค เพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.4.2 ขั้นดำเนินการทดลอง 1) ผู้วิจัยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ก่อนเรียน (Pre-test) เพื่อวัดความรู้พื้นฐานและเก็บผลการทดสอบไป เปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน 2) ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ได้สร้างไว้ทั้ง 10 แผน และเริ่มทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง 3) ผู้วิจัยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หลังเรียน (Post-test) 3.4.3 ขั้นหลังการทดลอง หลังจากผู้วิจัยได้ดำเนินการสอนครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลมา เปรียบเทียบผลการทดสอบ เพื่อตรวจสอบว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระทวนการทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) สามารถทำให้นักเรียนมีผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่ หลังจากการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ


50 ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของแผนกา รจัดการ เรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้ตามเกณฑ์ ประสิทธิภาพ 80/80 หรือไม่ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปผลและอภิปรา ยผลการวิจัย ตามลำดับ 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.5.1 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือสำหรับการวิจัย 1) ตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ด้วยการตรวจสอบความตรงเขิงเนื้อหา (Content Validity) โดยการหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง (Index of Item objective Congruence : IOC) 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) 2.1) ตรวจสอบความเที่ยวตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยการหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง (Index of Item objective Congruence : IOC) 2.2) ตรวจสอบความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.3) ตรวจสอบอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.4) ตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richadson) 3.5.2 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย 1) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดกา รเรียนรู้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้ได้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 โดยใช้สูตร E1 /E2 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลัง เรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ จากแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบ ค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)


51 3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ 3.6.1 สถิติพื้นฐาน 3.6.1.1 ร้อยละ (Percentage) คำนวณจากสูตร ดังนี้ P = f N x 100 เมื่อ P แทน ร้อยละ F แทน ความถี่ที่ต้องแปลงให้เป็นร้อยละ N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด 3.6.1.2 ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) คำนวณจากสูตร ดังนี้ x̅ = ∑x N เมื่อ x̅แทน ค่าเฉลี่ย ∑x แทน ผลรวมคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนข้อคำถามทั้งหมด 3.6.1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณจากสูตร ดังนี้ S.D. = √nΣx 2−(Σx) 2 n(n−1) เมื่อ S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน X แทน คะแนนแต่ละตัว N แทน จำนวนทั้งหมด ∑ แทน ผลรวม


52 3.6.2 สถิติที่ใช้วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ 3.6.2.1 ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item objective Congruence : IOC) ด้วย การพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ IOC = Σ เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้อง R แทน คะแนนพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ∑R แทน ผลรวมคะแนนของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3.6.2.2 ค่าความยากง่าย (P) ตามสัดส่วนของผู้ตอบถูกโดยใช้เทคนิค 27 % มีสูตร การคำนวณดังนี้ P = Ph+ Pl 2N เมื่อ P แทน ดัชนีค่าความยากง่าย Ph แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มสูง Pl แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ N แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 3.6.2.3 ค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบอิงกลุ่มโดยใช้เทคนิค 27 % มีสูตรการ คำนวณ ดังนี้ r = Ph− Pl n เมื่อ r แทน ดัชนีอำนาจจำแนก Ph แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มสูง Pl แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ N แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด


53 3.6.2.4 การหาค่าความแปรปรวน มีสูตรการคำนวณ ดังนี้ 2 = Σ 2 − (Σ) 2 2 เมื่อ 2 แทน ค่าความแปรปรวนของคะแนนสอบทั้งฉบับ N แทน จำนวนทั้งหมด X แทน จำนวนข้อที่แต่ละคนทำถูก ∑ แทน ผลรวม 3.6.2.5 การหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทา งการ เรียนโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) ดังนี้ rtt = −1 [1 − Σ 2 ] เมื่อ rtt แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ n แทน จำนวนข้อของแบบทดสอบ p แทน สัดส่วนของผู้เรียนที่ทำข้อสอบข้อนั้นถูกกับผู้เรียนทั้งหมด q แทน สัดส่วนของผู้เรียนที่ทำข้อสอบข้อนั้นผิดกับผู้เรียนทั้งหมด St 2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนสอบทั้งฉบับ 3.6.2.6 การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดกา รเรียนรู้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้ได้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 โดยใช้สูตร E1 /E2 E1 = Σx N A x 100 E2 = ΣF N B x 100


54 เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธิ์ ∑X แทน คะแนนรวมของแบบฝึกหัดปฏิบัติ หรืองานที่ทำระหว่างเรียน ∑F แทน คะแนนรวมของผลลัพธ์ของการประเมินหลังเรียน A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกปฏิบัติทุกชิ้นรวมกัน B แทน คะแนนเต็มของการประเมินหลังเรียน (การสอบหลังเรียน) N แทน จำนวนผู้เรียน 3.6.2.7 การหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดกา รเรียนรู้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) โดยวิเคราะห์จากคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน เมื่อ เทียบกับคะแนนเต็มตามวิธีของ Goodman and Schnider ใช้สูตร ดังนี้ ดัชนีประสิทธิพล = ผลรวมของคะแนนหลังเรียนทุกคน − ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน (จำนวนนักเรียน × คะแนนเต็ม) − ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน 3.6.3 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน 3.6.3.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน เรื่อง ภัย พิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) โดยใช้สถิติ T – test (Dependent Samples) t = ΣD √ NΣD2−(ΣD)2 N−1 เมื่อ t แทน สถิติทดสอบที่ใช้กับค่าวิกฤตจากการแจกแจงแบบ t เพื่อทราบความมีนัยสำคัญ D แทน ค่าผลต่างระหว่างคู่คะแนน N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนคู่คะแนน


บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 คน ที่เรียน รายวิชาสังคมศึกษา 3 (ส32101) หน่วยที่ 5 เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัย พิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลัง เรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน และขอนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช่ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.2 ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช่ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ไว้ดังนี้ N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง x̅แทน คะแนนเฉลี่ย (Arithmetic Mean) S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการที่สอน E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E.I แทน ดัชนีประสิทธิผล t แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤตในการแจกแจงแบบ t D แทน ผลตารางคะแนนก่อนสอบกับหลังสอบ


56 4.2 ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้าเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จึงทำการตรวจสอบความถูกต้องและควา ม สมลบูรณ์ของข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์การพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัย พิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์การพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัย พิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผู้วิจัยได้นำแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographic Inquiry Process) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ทำการทดลองกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระจำนวน 4 เรื่อง ดังนี้1) ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 2) ภัยพิบัติ ธรรมชาติทางบรรยากาศภาค 3) ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค 4) ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค มา ใช้สอนจนครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้และทำการประเมินผู้เรียนจากแผนผังความคิดและการ นำเสนอหน้าชั้นเรียน และให้ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน จำนวน 30 ข้อ จากนั้นผู้วิจัยได้ นำผลการทดสอบของนักเรียนรายบุคคลมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดดังตารางที่ 4.1


57 ตารางที่ 4.1 ผลรวมของคะแนนก่อนเรียน ระหว่างเรียนและคะแนนหลังเรียน ของการพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) คนที่ ผลการวัด ก่อนเรียน (30) ผลการวัดระหว่างเรียน ผลการวัด หลังเรียน (30) เรื่องที่ 1 (20) เรื่องที่ 2 (20) เรื่องที่ 3 (20) เรื่องที่ 4 (20) รวม (80) 1 21 14 15 17 19 65 28 2 23 16 17 17 19 69 27 3 13 15 15 17 19 66 25 4 19 16 17 17 18 68 26 5 10 16 17 17 18 68 25 6 20 15 17 18 19 69 28 7 17 15 17 18 18 68 25 8 20 13 15 17 19 64 28 9 12 14 16 17 19 66 26 10 19 14 16 17 19 66 26 11 15 15 16 18 19 68 25 12 16 15 19 20 19 73 24 13 19 16 17 20 20 73 29 14 13 15 17 18 19 69 24 15 15 16 17 19 20 72 25 16 17 14 16 17 19 66 27 17 12 14 16 18 19 67 21 18 19 14 16 17 19 66 26 19 18 12 15 17 19 63 29 20 18 16 19 17 20 72 26 21 18 16 17 18 18 69 27 22 13 18 18 17 19 72 25 23 13 17 19 19 20 75 26 24 12 14 17 18 18 67 25


58 ตารางที่ 4.1 ผลรวมของคะแนนก่อนเรียน ระหว่างเรียนและคะแนนหลังเรียน ของการพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) (ต่อ) จากตารางที่ 4.1 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้คะแนนเฉลี่ยจากกา รทำ แผนผัง ความคิดและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนระหว่างการเรียนรู้ทั้ง 8 แผน คะแนนเต็ม 80 คะแนน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติเท่ากับ 68.65 คิดเป็นร้อยละ 85.81 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.71 และทำคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 25.97 คิด เป็นร้อยละ 86.58 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.76 ดังนั้น แผนการจัดการเรียนรู้ คนที่ ผลการวัด ก่อนเรียน (30) ผลการวัดระหว่างเรียน ผลการวัด หลังเรียน (30) เรื่องที่ 1 (20) เรื่องที่ 2 (20) เรื่องที่ 3 (20) เรื่องที่ 4 (20) รวม (80) 25 19 16 17 17 19 69 24 26 16 17 17 18 19 71 28 27 20 15 18 19 18 70 29 28 12 16 17 18 19 70 25 29 14 15 16 18 18 67 24 30 12 15 18 17 20 70 24 31 18 16 17 19 20 72 28 32 13 16 17 17 18 68 25 33 19 15 17 18 20 70 27 34 14 15 17 17 18 67 26 35 14 16 17 17 18 68 28 36 10 16 17 19 19 71 25 37 14 15 15 17 19 66 25 รวม (∑) 587 563 621 656 700 2540 961 ค่าเฉลี่ย (̅) 15.86 15.22 16.78 17.73 18.92 68.65 25.97 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) 3.37 1.16 1.06 0.90 0.68 2.71 1.76 ร้อยละ (%) 52.88 76.08 83.92 88.65 94.59 85.81 86.58 ประสิทธิภาพ (E1) = 85.81 (E2) = 86.58


59 เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เนื่องจาก ก่อนการใช้แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 52.88 และ หลังจากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.58 แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.21/86.58 ตารางที่ 4.2 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) จำนวน นักเรียน (n) คะแนนประเมินระหว่างเรียน (E1 ) คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (E2 ) คะแนน เต็ม คะแนน เฉลี่ย (x̅) ร้อย ละ (%) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) คะแนน เต็ม คะแนน เฉลี่ย (x̅) ร้อย ละ (%) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) 37 80 68.65 85.81 2.71 30 25.97 86.58 1.76 จากตารางที่ 4.2 แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographic Inquiry Process) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.21/86.58 แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน แล้วนำ


60 คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีรายละเอียด ดังตารางที่ 4.3 ตารางที่ 4.3 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) คนที่ คะแนนก่อนเรียน (30) คะแนนหลังเรียน (30) D D 2 1 21 28 7 49 2 23 27 4 16 3 13 25 12 144 4 19 26 7 49 5 10 25 15 225 6 20 28 8 64 7 17 25 8 64 8 20 28 8 64 9 12 26 14 196 10 19 26 7 49 11 15 25 10 100 12 16 24 8 64 13 19 29 10 100 14 13 24 11 121 15 15 25 10 100 16 17 27 10 100 17 12 21 9 81 18 19 26 7 49 19 18 29 11 121 20 18 26 8 64 21 18 27 9 81 22 13 25 12 144 23 13 26 13 169


61 ตารางที่ 4.3 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) (ต่อ) คนที่ คะแนนก่อนเรียน (30) คะแนนหลังเรียน (30) D D 2 24 12 25 13 169 25 19 24 5 25 26 16 28 12 144 27 20 29 9 81 28 12 25 13 169 29 14 24 10 100 30 12 24 12 144 31 18 28 10 100 32 13 25 12 144 33 19 27 8 64 34 14 26 12 144 35 14 28 14 196 36 10 25 15 225 37 14 25 11 121 ∑ 587 961 374 4040 ̅ 15.86 25.97 - - S.D. 3.37 1.76 - - ร้อยละ 52.88 86.58 - - จากตารางที่ 4.3 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ก่อนเรียนผลรวมคะแนนเท่ากับ 587 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.86 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 3.37 คิดเป็นร้อยละ 52.88 หลังเรียนผลรวมคะแนนเท่ากับ 961ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.97 ส่วนเบี่ยงเบนมสตรฐานเท่ากับ 1.76 คิดเป็นร้อยละ 86.58 มีความแตกต่างของคะแนนก่อน เรียนและหลังเรียนเท่ากับ 374 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าหลังเรียน


62 ตารางที่ 4.4 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันของ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographic Inquiry Process) การทดลอง N ̅ S.D. df t sig ก่อนเรียน 37 15.86 3.37 35 22.903* 1.186 หลังเรียน 37 25.97 1.76 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตารางที่ 4.4 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 15.86 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 3.37 และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.97 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 1.76 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชา ติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีแบบแผนการทดลอง (Experimental Design) กลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง One Group Pre-test / Post-test Design โดย มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติวิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ให้ได้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 คน ที่เรียนในรายวิชาสังคมศึกษา 3 (ส32101) หน่วยที่ 5 เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้ง ฉบับเท่ากับ 0.92 มีระดับความเชื่อมั่นสูง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย (̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) เพื่อเป็นการตอบวัตถุประสงค์ การวิจัย โดยมีขั้นตอนการวิจัยและสรุปผลการวิจัย ดังนี้ 5.1 สรุปผลการวิจัย 5.2 อภิปรายผล 5.3 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย


64 5.1 สรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยไว้ดังนี้ 5.1.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติวิชาภูมิศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 84.21/86.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 5.1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ 5 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่า งมี นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 5.2 อภิปรายผล ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สามารถอภิปรายผลการวิจัย ดังนี้ 1.การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 84.21/86.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติวิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการ เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ขึ้นตาม ขั้นตอนของการทำแผนอย่างจริงจังและเป็นระบบ นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านตรวจสอบและ ประเมินก่อนที่จะนำไปทดลองจริง แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ก่อนนำไป ทดลองกับกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา นอกจากนี้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทา งภูมิศา สตร์ (Geographic Inquiry Process) ซึ่งเป็นวิธีการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่าง เป็นระบบ เข้าใจ และมีความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน ใช้วิธีการแบบแก้ปัญหา (problem solving method) หรือวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (inquiry method) เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียน โดยผ่าน กระบวนการจัดกิจกรรมที่สำคัญ เมื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้วิธีการสอนข้างต้นจะทำให้เกิดผล


65 สัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้นในเนื้อหาการศึกษาที่กำหนดไว้ ซึ่งจากเหตุผลที่กล่าวมาทำ ให้แผนการ จัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มีประสิทธิภาพสูงกว่า เกณฑ์ 80/80 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของณัฐริณีย์ ประจิตร (2565 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมิน คุณภาพรายแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมที่ค่าคะแนนเฉลี่ย (x̅)= 4.40 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.35 แผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก และสอดคล้องกับธีรวุฒิ เชื้อพระชอง (2563 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้กระบวนการภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแบบ องค์รวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสารภีพิทยาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ทักษะการคิดแบบองค์รวมจากการจัดเรียนรู้ กระบวนการภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย โรงเรียนสารภีพิทยาคมผลการวิจัยพบว่า ทักษะการคิดแบบองค์รวมเรื่องสถา นกา รณ์ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการภูมิศาสตร์ สูงขึ้น กว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนการคิดแบบองค์รวมก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.15 และคะแนนการคิด แบบองค์รวมหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21 อีกทั้งการวิเคราะห์คะแนนการพัฒนาการของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการอยู่ระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.3 สรุปได้ว่าแผนการจัดการ เรียนรู้แบบกระบวนการภูมิศาสตร์ ช่วยพัฒนาทักษะการคิดแบบองค์รวมรายวิชาภูมิศาสตร์ได้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่า กับ 15.86 คิดเป็นร้อยละ 52.88 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.37 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.97 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.58 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.76 เมื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย คะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของการ วิจัยข้อที่ 2 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติวิชาภูมิศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry


66 Process) นั้นเป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนเกิดการคิด อย่างเป็นระบบ เข้าใจและมีความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน โดยใช้วิธีการแบบแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็น ตัวกระตุ้นผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ ซึ่งนำมา สู่การตั้งสมมติฐานของคำตอบและสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบ การ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ ภาพถ่าย ข้อมูลสถิติ ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสอบถาม การออกภาคสนามและการอ้างอิงจากเอกสาร การจัดการข้อมูล ที่นักเรียนได้ข้อมูลแล้ว ก็ต้องจัดการและนำเสนอออกไปด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนักเรียนนำข้อมูลมาจำแนก และจัดกลุ่มให้อยู่ในรูปแบบ แผนผัง ความคิด ทำให้เห็นภาพสรุปที่ชัดเจนในการจัดการข้อมูลนั้น ทำให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ใน การออกแบบและมีวิธีการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ และการสรุปข้อมูลเพื่อหาคำตอบจา กข้อมูล ที่ถูกเก็บรวบรวม การวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน โดยอ้างอิงข้อมูลด้วยการนำเสนอด้วยวาจา และ ข้อเขียน นักเรียนมีโอกาสแสดงคำตอบที่แสดงออกถึงความสามารถในการให้เหตุผล และ ความสามารถในการสื่อสารที่ชัดเจน จากที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลให้ผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ ศุภชาติ จันทึก (2565 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ลักษณะทาง กายภาพทวีปยุโรป รายวิชาภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลการจัดการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน และมีคะแนนพัฒนาการทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 69.44 ซึ่งมีพัฒนาการ อยู่ในระดับสูง และการพัฒนาผลการจัดการเรียนรู้เรื่องลักษณะทางกายภาพทวีปยุโรปดีขึ้น โดยก่อน เรียนมีคะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 40.00 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.67 สอดคล้องกับ งานวิจัยของ คณัฏพัส บุตรแสน (2561 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาผลการเรียนรู้และ ความสามารถทางภูมิศาสตร์เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ ทางภูมิศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และสอดคล้องกับ งานวิจัยของนายพีรพงศ์ จ้อยชารัตน์(2564) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถทาง ภูมิศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา สังคม ศึกษาฯ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการ ทางภูมิศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาฯ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์หลัง


67 การจัดการเรียนรู้(M = 29.13, SD = 3.46) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ (M= 16.83, SD = 3.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นการสนับสนุนว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เป็นวิธีสอนที่เหมาะสมกับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อน เรียน อีกทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนในหลายด้าน เป็นกระบวนการจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจและมีความรู้ อย่างถูกต้องชัดเจน โดยใช้วิธีการแบบแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนกล้าที่ จะแสดงออกมากขึ้น โดยผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ดังนั้นควรที่จะนำการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) นี้ไปใช้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภูมิศาสตร์ต่อไป 5.3 ข้อเสนอแนะ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยมี ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรมีการสร้างเงื่อนไขและข้อตกลงต่าง ๆ ให้ชัดเจนในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจกิจกรรมเนื้อหาและขั้นตอนการปฏิบัติ กิจกรรมเป็นอย่างดีปรับเวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนได้ฝึก ความสามารถด้านการเรียนอย่างเต็มที่ 1.2) ในการจัดการนำข้อมูลมาสร้างเป็นชิ้นงานเพื่อนำเสนอความรู้ เนื่องจาก นักเรียนเป็นช่วงวัยที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างสวยงาม แต่ยังขาดการจัดการ ข้อมูลที่เป็นระบบ ครูจึงควรแนะนำนักเรียนในการรวบรวมข้อมูล เพื่อนักเรียนจะจัดกา รข้อมูลได้ อย่างเป็นระบบ ชัดเจน และตรงประเด็น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาตนเองและการทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ


68 2) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1) ควรนำการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับรูปแบบการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการ สอนต่าง ๆ เช่น การศึกษาอิงสถานที่ (Place-Based Education) การใช้ชุมชนเป็นฐา น (Community Based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นต้น 2.2) ควรนำการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ไปใช้ในการส่งเสริมความสาสมรถ ทักษะ และคุณลักษณะที่สัมพันธ์ กับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) เช่น การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) ทักษะทางภูมิศาสตร์ มโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ เจตคติต่อการ เรียนรู้ภูมิศาสตร์ เป็นต้น


69 บรรณานุกรม เกียรติศักดิ์ ชัยยาณะ. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ ค่านิยมร่วมในการเตรียมเยาวชนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ. ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2549). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. (2552). กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์. กนก จันทรา. (2561). การจัดการเรียนรู้เพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในวิชาสังคมศึกษา Learning management for Geo-literacy in social studies. สืบค้นออนไลน์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566. จากhttps://academic.obec.go.th/images/mission/1524627007_d_1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตาม หลักสูต รการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธ ศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กรมวิชากา ร กระทรวงศึกษาธิการ. กิตติกวินท์ (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. คณัฏพัส บุตรแสน. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการทางภูมิศาสตร์. ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ชนาธิป พรกุล. (2552). การออกแบบการสอน การบูรณาการการอ่าน การคิดวิเคราะห์และ การเขียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. ณัฐณิชา ม่วงสนธิ์. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทาง ภูมิศาสตร์ที่มีต่อทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลาในเด็ก ปฐมวัย. 13(2) : 289-301.


70 ณัฐริณีย์ ประจิตร (2565, มกราคม-มีนาคม). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาสังคม ศึกษา สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการ ทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. 6(1) : 33-45. ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรวุฒิ เชื้อพระชอง. (2563, มกราคม). การจัดการเรียนรู้กระบวนการภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะ การคิดแบบองค์รวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสารภีพิทยาคม. 6(1) : 412-424. นาตยา ปิลันธนานนท์. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. นิ่มน้อย แพงปัสสา. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT และการ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง การบวกและการลบ จํานวนที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่ เกิน 100 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พีรพงศ์ จ้อยชารัตน์. (2564).การพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญา มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. รักษณาลี นาครักษา. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับ กระบวนการสืบสอบและแผนที่แบบ 3 มิติทางภูมิศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างก ารรู้ เรื่องภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรวิทย์ ศุภวิมุติ. (2565). ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์. สืบค้นออนไลน์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566. จาก https://geo.cmru.ac.th/?p=1511. วิมลรัตน์ สุนทรวิโรจน์. (2553). การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). วิธีสอนทั่วไป. นครปฐม. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร.


71 ศุภชาติ จันทึก (2565, กันยายน-ธันวาคม). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพทวีปยุโรปรายวิชาภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. 2(3) : 81-98. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์ สมนึก ภัททิยธนี. (2556). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2546) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระ ภูมิศาสตร์ (ฉบับบปรับปรุง พ.ศ. 2560 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และแนวทาง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ. อาภรณ์ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. อารีย์ วชิรวราการ. (2542). การวัดและการประเมินผลการเรียน. สถาบันราชภัฏธนบุรี. Edelson. (2011). Geo-literacy: Preparation for reaching decisions. สืบค้นออนไลน์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566. จาก www.nationalgeographic.org/news/geo- literacyprepation-far-reaching-decisions2page1. Eyüp Artvinli. (2012). “Integrate geographic skills with active learning in geography: a case of Turkey.” Research and Didactics in Geography (J-READING), 0 (1). Good C.V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill.


72 Sugiyanto, S., Maryani E., & and Ruhimat M. (2018). A Preliminary Study on Developing Geography Literacy Based on Social Studies Learning Model to Improve Teachers 2 1st Century Skills. Paper presented at the IOP Conference Series : Earth and Environmental Science, Volume 145, conference 1. W S Utami, I M Zain, & and Sumarmi. (2018). Geography literacy can develop Geography skills for high school students: is it true. Paper presented at the Conference Series: Materials Science and Engineering.


ภาคผนวก


74 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ


75 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1.นางรัชนี กุลสิทธาวิเวท วุฒิการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2.นางอนันท์ ศรีโคตร วุฒิการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3.นางสาวนิศากรณ์ ไชยรัตน์ วุฒิการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม


76 ภาคผนวก ข แผนการจัดการเรียนรู้


77 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ส32101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เวลา 8 ชั่วโมง เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 1 เวลา 1 ชั่วโมง โรงเรียนท่าบ่อ นายกิตติภพ สนมศรีผู้สอน 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด 1.1 มาตรฐาน ส 5.1 เขาใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลตอกันและกันใน ระบบของธรรมชาติ ใชแผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการคนหา วิเคราะห์สรุป และใชขอมูล ภูมิสารสนเทศอยางมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการ ดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.2 ตัวชี้วัด ส 5.1 ม.4-6/2 วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาและภัยพิบัติทางธรรมชาติใน ประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ส 5.2 ม.4-6/2 วิเคราะห์สถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 2.1 นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะของภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาคแต่ละประเภทได้ (K) 2.2 นักเรียนสามารถนำเสนอภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาคแต่ละประเภทผ่านแผนผัง ความคิดได้(P) 2.3 นักเรียนกระตือรือร้นในการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค (A) 3.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3.1 ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน 3.2 มุ่งมั่นในการทำงาน 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 4.2 ความสามารถในการคิด


78 4.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5.สาระสำคัญ ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จาก พลังงานภายในโลกที่ต่อการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ และเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ประสบภัย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 6. สาระการเรียนรู้ 6.1 แผ่นดินไหว 6.2 ภูเขาไฟปะทุ 6.3 สึนามิ 6.4 แผ่นดินถล่ม 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1.1 ครูทบทวนเนื้อหาจากชั่วโมงที่ผ่านมา 1.2 นักเรียนรับฟังการชี้แจงการสอนด้วยกระบวนจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) 1.3 นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นตามประเด็นคำถามจากสถานการณ์ตัวอย่างที่ เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค เรื่อง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ สึนามิ และดินถล่ม ขั้นที่2 ขั้นสอน ด้วยกระบวนจัดการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ขั้นที่2.1 การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ 1. นักเรียนดูภาพหรือคลิปวิดีโอ รวมถึงแผนที่ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค แล้วร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น 2. นักเรียนช่วยกันตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 2.2 การรวบรวมข้อมูล 1. นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติทา งธรณีภา คตา ม ประเด็นที่กำหนด ได้แก่ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ สึนามิ แผ่นดินถล่ม 2. ครูแนะนำแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อถือได้ให้กับนักเรียนเพิ่มเติม ขั้นที่ 2.3 การจัดการข้อมูล 1. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มนำข้อมูลที่ตนได้จากการรวบรวมมาอธิบายแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างกัน


79 2. จากนั้นสมาชิกในกลุ่มช่วยกันคัดเลือกข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ขั้นที่ 2.4 การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล 1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลจากการสืบค้นมาจัดทำแผนผังความคิด เรื่อง ภัยพิบัติ ธรรมชาติทางธรณีภาค ตามประเด็นที่กำหนด ได้แก่ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุสึนามิและดินถล่ม 2. สมาชิกแต่ละกลุ่มวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาคประเภทต่า ง ๆ รวมถึงนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาทำการวิเคราะห์ และร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ครูช่วยชี้แนะเพิ่มเติม 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อ -PPT เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค -อุปกณณ์การทำแผนผังความคิด -หนังสือเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ ม.4-6 (อจท.) 8.2 แหล่งการเรียนรู้ -สื่อการสอน ชุด หลักศิลาจารึกภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 9. การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีการวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1. นักเรียนสามารถอธิบาย ลักษณะข อ งภ ัย พ ิ บ ั ติ ธรรมชาติทางธรณีภาคแต่ ละประเภทได้ (K) แบบประเมิน พฤติกรรมการ นำเสนอกิจกรรม กลุ่ม ตรวจแบบ ประเมิน พฤติกรรมการ นำเสนอกิจกรรม กลุ่ม ผลการประเมินได้ระดับ ดี ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ 2. นักเรียนสามารถนำเสนอ ภัยพิบัติธรรมชาติทา งธรณี ภา คแต่ละประเภทผ่าน แผนผังความคิดได้(P) แบบประเมินการ ทำแผนผัง ความคิด ตรวจแบบ ประเมินการการ ทำแผนผัง ความคิด ผลการประเมินได้ระดับ ดี ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ 3.นักเรียนกระตือรือร้นใน กา รเรียนเรื่องภัยพิบัติ ธรรมชาติทางธรณีภาค (A) แบบสังเกตความ สนใจ ตรวจแบบสังเกต ความสนใจ ผลการประเมินได้ระดับ ดี ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์


80 บันทึกผลหลังจากจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 1 จำนวน 1 ชั่วโมง 1. จำนวนนักเรียนที่ใช้สอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ......... จำนวน ………. คน ผลการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ ปัญหา/อุปสรรค แนวทางการแก้ไข (ลงชื่อ)..................................................ผู้สอน (นายกิตติภพ สนมศรี) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ......./................./.......


81 ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง ได้ทำการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ นายกิตติภพ สนมศรีแล้วมีความคิดเห็นดังนี้ 1. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ครบถ้วนและถูกต้อง ยังไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ควรปรับปรุงพัฒนา………………….......................... 2. ความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้กับหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้อง ยังไม่สอดคล้อง ควรปรับปรุงพัฒนา..................................................................... 3. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนา.................................................... 4. สื่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ยังไม่เหมาะสม ควรปรับปรุงพัฒนา...................................................................... 5. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ยังไม่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ควรปรับปรุงพัฒนา.................................. 6. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ นำไปใช้ได้จริง ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 7. ระดับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง 8. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ.............................................. (นางอนันท์ ศรีโคตร) ครูพี่เลี้ยง วันที่..........เดือน.................พ.ศ. 2566


82 ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้ทำการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ นายกิตติภพ สนมศรีแล้วมีความคิดเห็นดังนี้ 1. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ครบถ้วนและถูกต้อง ยังไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ควรปรับปรุงพัฒนา………………………...................... 2. ความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้กับหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้อง ยังไม่สอดคล้อง ควรปรับปรุงพัฒนา..................................................................... 3. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนา.................................................... 4. สื่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ยังไม่เหมาะสม ควรปรับปรุงพัฒนา...................................................................... 5. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ยังไม่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ควรปรับปรุงพัฒนา.................................. 6. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ นำไปใช้ได้จริง ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 7. ระดับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง 8. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ.............................................. (นางรัชนี กุลสิทธาวิเวท) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วันที่..........เดือน.................พ.ศ. 2566


83 ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ได้ทำการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ นายกิตติภพ สนมศรีแล้วมีความคิดเห็นดังนี้ 1. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ครบถ้วนและถูกต้อง ยังไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ควรปรับปรุงพัฒนา……………………......................... 2. ความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้กับหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้อง ยังไม่สอดคล้อง ควรปรับปรุงพัฒนา..................................................................... 3. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนา.................................................. 4. สื่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ยังไม่เหมาะสม ควรปรับปรุงพัฒนา...................................................................... 5. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ยังไม่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ควรปรับปรุงพัฒนา.................................. 6. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ นำไปใช้ได้จริง ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 7. ระดับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง 8. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ............................................. (นายจีระพัฒน์ ศรีน้อย) รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ วันที่..........เดือน......................พ.ศ. 2566


84 แบบประเมินพฤติกรรมการนำเสนอกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มที่ คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินให้คะแนนลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็น พฤติกรรม ชื่อ-สกุล บุกคลิก การแต่ง กาย มารยาท ในการพูด การใช้ ภาษา วิธีการ นำเสนอ เนื้อหาที่ นำเสนอ รวม 4 4 4 4 4 20 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ พฤติกรรมที่ใช้ในการสังเกต บุกคลิก การแต่งกาย : มีความเชื่อมั่นในตนเอง แต่งกายสะอาด ถูกระเบียบ มารยาทในการพูด : มองหน้าและสบตาผู้ฟัง ไม่พูดเสียดสีผู้อื่น การใช้ภาษา : ชัดเจนตามหลักภาษา ใช้คำพูดที่สุภาพ วิธีการนำเสนอ : ใช้สื่อที่น่าสนใจ มีคำถามและคำตอบ ใช้เวลาตามที่กำหนด เนื้อหาที่นำเสนอ : มีสาระสำคัญตรงกับหัวเรื่อง เรียงลำดับความยากง่าย ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 15 - 20 10 - 14 5 - 9 0 - 4 ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง


85 แบบประเมินการทำแผนผังความคิด รายวิชา ภูมิศาสตร์แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 1 คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน ประเมินการตอบคำถามของนักเรียนตามรายการที่กำหนด แล้วให้ขีด เครื่องหมายถูกลงในช่องตางรางตามผลการประเมิน ลำดับ ที่ ชื่อ – สกุล มีความตั้งใจ ในการ ทำงาน มีความ รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ความสะอาด เรียบร้อย ผลสำเร็จ ของงาน รวม 20 คะแนน 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 เกณฑ์การให้คะแนน ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ = ดีมาก ให้ 4 คะแนน ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง = ดี ให้ 3 คะแนน ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง = พอใช้ ให้ 2 คะแนน ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครั้ง = ปรับปรุง ให้ 1 คะแนน เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 17 - 20 13 - 16 9 - 12 5 - 8 ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง


86 แบบสังเกตความสนใจ และความตั้งใจในการทำกิจกรรมของนักเรียน รายวิชา ภูมิศาสตร์แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค 1 คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน ประเมินการตอบคำถามของนักเรียนตามรายการที่กำหนด แล้วให้ขีด เครื่องหมายถูกลงในช่องตางรางตามผลการประเมิน รายการประเมิน ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ 1. เริ่มต้นทำงานที่ได้รับมอบหมายทันที 2. ทำงานเสร็จเรียบร้อยตามเวลาที่กำหนด 4. ขอคำแนะนำจากครู หรือเพื่อนเมื่อไม่เข้าใจ 5. ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน และเต็มใจ 6. มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสม่ำเสมอ 7. ช่วยเหลือ แนะนำเพื่อในการทำกิจกรรมตามสมควร 8. สนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง รวมคะแนน ลงชื่อ...................................................... (นายกิตติภพ สนมศรี) ผู้ประเมิน …………/…………../……….. เกณฑ์การให้คะแนน 1. ข้อใดที่นักเรียน ปฏิบัติ ได้คะแนน 1 คะแนน ไม่ปฏิบัติ ได้คะแนน 0 คะแนน เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 7-8 5-6 3-4 0-2 ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง


87 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ชื่อ-สกุล......................................................................................................ชั้น...........เลขที่................... คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ✓ ลงในช่อง ที่ตรงกับระดับคะแนน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ด้าน รายการประเมิน ระดับคะแนน 3 2 1 1. รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ 1.1 ยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ ร้องเพลงชาติได้ และบอก ความหมายของเพลงชาติ 1.2 ปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ 1.3 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและปฏิบัติตน เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างความสามัคคี ปรองดองในหมู่ เพื่อน 1.4 เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตนตามหลัก ของ ศาสนาอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัวอย่างที่ดีของศาสนิกชน 1.5 เข้าร่วมกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่โรงเรียนและชุมชนจัดขึ้น 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2.1 ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นจริง 2.2 ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ละอาย และเกรงกลัวที่จะทำความผิด ทำตาม สัญญาที่ตนให้ไว้กับพ่อแม่หรือผู้ปกครองและครู 2.3 ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง 3. มีวินัย รับผิดชอบ 3.1 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของ ครอบครัวและโรงเรียน มีความตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม ต่างๆในชีวิตประจำวัน 4. ใฝ่เรียนรู้ 4.1 รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และนำไปปฏิบัติได้ 4.2 จัดสรรเวลาให้เหมาะสม 4.3 เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา มารดา โดยไม่โต้แย้ง 4.4 ตั้งใจเรียน


88 คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ด้าน รายการประเมิน ระดับคะแนน 3 2 1 4.5 ปรับปรุงตนเองในข้อผิดพลาด 4.6 มัธยัสถ์ และเก็บออม 4.7 อดทน กล้าแสดงสิ่งที่ถูกต้อง รักษากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของชุมชน 5.อยู่อย่าง พอเพียง 5.1 ใช้ทรัพย์สินและสิ่งของของโรงเรียนอย่างประหยัด 5.2 ใช้อุปกรณ์การเรียนอย่างประหยัดและรู้คุณค่า 5.3 ใช้จ่ายอย่างประหยัดและมีการเก็บออมเงิน 6.มุ่งมั่นในการ ทำงาน 6.1 มีความตั้งใจและพยายามในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย 6.2 มีความอดทนและไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรคเพื่อให้งานสำเร็จ 7.รักความ เป็นไทย 7.1 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย 7.2 เห็นคุณค่าและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย 8.มีจิตสาธารณะ 8.1 รู้จักช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูทำงาน 8.2 อาสาทำงาน และแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น 8.3 ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติและสิ่งแวดล้อมของห้องเรียน โรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน ลงชื่อ.................................................... ผู้ประเมิน ................ /................ /................


89 เกณฑ์การให้คะแนน ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง ให้ 1 คะแนน เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 59 - 78 ดี 39 - 58 พอใช้ ต่ำกว่า 39 ปรับปรุง


90 แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน ชื่อ-สกุล......................................................................................................ชั้น...........เลขที่................... คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ✓ ลงในช่อง ที่ตรงกับระดับคะแนน สมรรถนะที่ประเมิน ระดับ คะแนน 1 2 3 1. ความสามารถในการสื่อสาร 1.1 มีความสามารถในการรับ –ส่งสาร 1.2 มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจของตนเอง โดย ใช้ภาษา อย่างเหมาะสม 1.3 ใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม 2. ความสามารถในการคิด 2.1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพื่อการสร้างองค์ความรู้ 2.2 มีความสามารถในการคิดเป็นระบบ เพื่อการสร้างองค์ความรู้ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 3.1 แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล 3.2 แสวงหาความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา 3.3 ตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 4.1 ท างานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสัมพันธ์อันด 4.2 มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งอย่างเหมาะสม 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 5.1 เลือกใช้ข้อมูลในการพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม 5.2 เลือกใช้ข้อมูลในการท างานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม ลงชื่อ.................................................... ผู้ประเมิน ................ /................ /................


Click to View FlipBook Version