The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ในภาคเหนือของไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pailinthong, 2021-06-02 19:27:10

หนังสือปีใหม่เมือง

เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ในภาคเหนือของไทย

Keywords: สงกรานต์,ล้านนา,ประเพณี,ปีใหม

ประเพณีปี๋ใหมเ่ มอื ง

โครงการจัดทำข้อมลู องคค์ วามร้มู รดกภมู ิปญั ญาทางวฒั นธรรมจังหวดั เชียงใหม่

สนับสนนุ โดย สำนกั งานปลัดกระทรวงวฒั นธรรม
ดำเนินงานโดย สำนกั งานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

ประเพณปี ๋ีใหม่เมือง

โครงการจดั ทำขอ้ มลู องคค์ วามรู้มรดกภมู ปิ ัญญาทางวัฒนธรรมจงั หวดั เชยี งใหม่

รวสิ งั ขารปเี กา่ อตกิ นั โตก็ขา้ มลว่ งไปแลว้
ปีใหมแ่ กว้ กม็ าเถิงเตงิ ทัน ขอหื้อท่านท้ังหลายหายทุกขโ์ ศกเศรา้
แลว้ ได้อยสู่ ขุ กายสบายใจ คดิ อันใดห้อื สมฤทธ์ิ
ชุเยือ่ งชุประการน่ันจุง่ จกั ม ี จตั ตาโร ธมั มา วฑั ฒันติ
อายุ วณั โณ สุขงั พลงั

ประเพณปี ๋ใี หมเ่ มอื ง

โครงการจัดท�ำ ขอ้ มูลองคค์ วามรมู้ รดกภมู ปิ ัญญาทางวัฒนธรรมจังหวดั เชยี งใหม่

จัดพมิ พ์ เดือนมนี าคม พทุ ธศักราช ๒๕๖๔ จำ�นวน ๑๐๐ เล่ม

ทป่ี รึกษา ผู้ว่าราชการจงั หวดั เชยี งใหม่
นายเจรญิ ฤทธ์ิ สงวนสัตย ์ รองผวู้ ่าราชการจังหวดั เชียงใหม่
นายวรี ะพันธ์ ดอี อ่ น ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชยี งใหม่
นายตริ วฒั น ์ สุจริตกุล รองประธานสภาวฒั นธรรมจงั หวดั เชยี งใหม่
นายธานนิ ทร์ สุภาแสน

คณะท�ำ งาน วฒั นธรรมจงั หวัดเชียงใหม่
นายเสนห่ ์ สายเยน็ ใจ ผู้อำ�นวยการกลมุ่ กจิ การพิเศษ
นายณรงค์ เหล็กสมบรู ณ ์ ผอู้ �ำ นวยการกลมุ่ ยทุ ธศาสตร์ และเฝา้ ระวงั
นายพิชิตชัย เกลอดู ทางวฒั นธรรม
ผอู้ ำ�นวยการกลมุ่ สง่ เสริมศาสนา
นางสาวอบุ ลวรรณ ทะพงิ ค์แก ศลิ ปะและวัฒนธรรม
หวั หนา้ บริหารงานทั่วไป
นางหฤทยั พลารกั ษ ์ นกั วิชาการวัฒนธรรมช�ำ นาญการ
นางสาวนฤมล ลภะวงศ์ นักวชิ าการวฒั นธรรมชำ�นาญการ
นางเสาวลักษณ ์ พงึ ธรรม

รวบรวม และเรียบเรียงโดย ประสงค์ แสงงาม

๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ค�ำ น�ำ

กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
ได้เล็งเห็นความสำ�คัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาว
เชียงใหม่ ควรทีจ่ ะไดร้ บั การอนุรกั ษ์ รกั ษา ตลอดจนสืบสาน ตอ่ ยอดให้
แกเ่ ยาวชนรนุ่ ลกู หลาน ไดม้ สี ว่ นรว่ มในการรกั ษาวฒั นธรรม ประเพณขี อง
ชาวล้านนา ประเพณีที่สำ�คัญของชาวเชยี งใหม่ ทีเ่ รียกกันวา่ “ประเพณี
ปใี๋ หมเ่ มอื ง” ซง่ึ ถอื เอาเดอื นเมษายน หรอื เดอื น ๗ เหนอื ตรงกบั เดอื น ๕ ใต้
เปน็ วนั เปลย่ี นแปลงทางสงั คมอยา่ งหนงึ่ คอื ถอื เปน็ เดอื นเปลยี่ นศกั ราชใหม่
เรยี กกนั “ปใ๋ี หม”่ ประเพณี วนั ขน้ึ ปใี หมข่ องชาวลา้ นนา มคี วามแตกตา่ ง
จากสงกรานต์ของชาวไทยภาคกลาง ทั้งระยะเวลา กิจกรรม ความเช่ือ
ดังนั้น ปีใหม่ของชาวล้านนา จึงมีวันและกิจกรรมต่าง ๆ ท่ีปฏิบัติกัน
มากกวา่ สงกรานต์ของชาวไทยภาคกลาง ประกอบด้วย วันสงั ขานตล์ ่อง
วันเน่า วันพญาวัน วันปากปี วนั ปากเดอื น เป็นต้น
สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ดำ�เนินงานโครงการ
จัดทำ�ข้อมูลองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่
“ประเพณีปี๋ใหม่เมือง” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พุทธศักราช ๒๕๕๙ การจัดเก็บข้อมูล
องค์ความรู้ “ประเพณีปี๋ใหม่เมือง” เพ่ือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เป็น
ประโยชน์ต่อผู้ศึกษางานวัฒนธรรม ประเพณีของจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

ส�ำ นกั งานวัฒนธรรมจงั หวดั เชยี งใหม่
มนี าคม ๒๕๖๔

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๓

สารบญั

ค�ำ นำ� ๓
วันข้นึ ปีใหม่เดิม และระบบการนับปฏทิ นิ ๘
๑๒
ความเป็นมาของวนั ขน้ึ ปีใหมด่ ง้ั เดิมในอุษาคเนย์
๑๖
ปีใหม่ล้านนา/ ปีใหมเ่ มือง
: ความเป็นมา ความหมายและความสำ�คญั

ต�ำ นานปีใหม่เมือง ๑๙
และต�ำ นานสงกรานตใ์ นวรรณกรรมของคนไท-ไทย

ความเช่อื เรือ่ งขนุ สงั ขานต์ ๒๖

ช่วงเวลา และกิจกรรมของคนเมอื งในประเพณปี ีใหมเ่ มอื ง
: วันสังขานต์ลอ่ ง ๓๔
ประเพณไี ลส่ งั ขานต์ ๓๖
พธิ ลี อยแพสังขานต์ (ประเพณไี ลส่ งั ขานตแ์ บบแม่แจม่ ) ๓๘
กิจกรรมท่สี ำ�คญั วนั สงั ขานต์ลอ่ ง ๓๙
วันสังขานตล์ อ่ งในอดตี ๔๑
การละเลน่ สาดนำ้�สงกรานต ์ ๔๓
: วนั เน่า หรือวันเนาว์
ท่มี าของวันเนา่ ๕๐
กจิ กรรมทีส่ ำ�คญั ของวันเนา่ ๕๒
ประเพณขี นทรายเขา้ วัด ๕๕
ตงุ และประเพณกี ารทานช่อตงุ ๕๙

๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

: วนั พญาวนั
กกปจิารระกทเรพารณนมสไสี ม�ำ ร้คคง้�ำัญนศำ้�ใรพนี วไรมนัะค พ้�ำ ญโพาวธ ันิ์ ๖๙
๗๔
๘๐
ประเพณกี ารด�ำ หัว ๘๒
เคร่อื งสกั การะลา้ นนา ๘๗
ความเป็นมาของส้มปล่อย ๙๖
: วันปากปี ๙๙
พธิ ีบูชาขา้ วลดเคราะห์ ๙๙
พธิ ีสง่ เคราะหบ์ ้าน ๑๐๒
ประเพณีสืบชะตาบ้าน ๑๐๔
: วันปากเดือน ปากวนั และปากยาม ๑๐๘
๑๑๑
อาหารและขนมบางชนดิ ทีน่ ิยมท�ำ ในเทศกาลปีใหมเ่ มอื ง ๑๒๐

ค�ำ เวนทาน คำ�ปนั พร ค�ำ มัดมอื ในประเพณีปใี หมเ่ มือง ๑๒๘
๑๒๙
ความเชอ่ื และพธิ ีกรรมบางประการทีเ่ กีย่ วข้องกับปใี หม่เมือง ๑๓๑
ความเชอ่ื เกีย่ วกับวันสงั ขารลอ่ ง (สังขานต์ลอ่ ง) ๑๓๓
ทัดดอกไม้นามปี และนุ่งผ้าใหม ่ ๑๓๘
ความเชอื่ เกีย่ วกบั วนั พญาวนั

การปรบั การประกาศสงกรานต์ในทางราชการ

รวมบทคา่ ว "ประเพณีปใี๋ หม่เมอื ง"

บรรณานุกรม ๑๔๙

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๕

วนั ขน้ึ ปใี หมเ่ ดมิ และระบบการนบั ปฏทิ นิ

ภาพ : ขบวนแห่สรงนำ�้ พระพทุ ธสิหิงส์ จังหวัดเชียงใหม่
ที่มา: เอกสารแฟ้มภาพของนายบญุ เสรมิ ศาสตราภัย

ภาพ : ปักกะตนื ล้านนา
ท่มี า: Facebook คัมภีรใ์ บลาน พับสา และสมดุ ข่อย

วนั ขนึ้ ปใี หมเ่ ดมิ และระบบการนบั ปฏทิ นิ

ม นุษย์เรียนรู้กาลเวลาผ่านการสังเกตความเปล่ียนแปลงของ

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการที่
พระอาทติ ยข์ นึ้ และตก กลางวนั กลางคนื ตลอดจนความเปลย่ี นแปลงของ
ดวงจันทร์ และฤดูกาล ท�ำ ใหม้ นุษย์เรียนรเู้ กีย่ วกบั กาลเวลาจนสามารถ
คิดค้นระบบการนับวันเวลา เพ่ือให้สามารถหาจุดอ้างอิงและตำ�แหน่ง
แห่งท่ีของตนเองในห้วงเวลาหนึ่งๆ ต่อมาเกิดการพัฒนาประดิษฐกรรม
ระบบการนับเวลาเป็น “ปฏิทิน” ซึ่งสามารถใช้บันทึกวัน เวลา เป็น
ลายลักษณ์อักษร และสามารถกำ�หนดวนั ท่มี คี วามส�ำ คัญต่างๆ ในแต่ละ
สังคมวัฒนธรรมได้ โดยเฉพาะอย่างย่งิ การก�ำ หนดวนั ปีใหม่
การนบั เวลาตามปฏทิ นิ จะเรยี กวา่ “การนบั ศกั ราช” ศกั ราช หมายถงึ
ปที ก่ี �ำ หนดเอาเหตกุ ารณท์ ส่ี �ำ คญั มากส�ำ หรบั จดจารกึ ไว้ ในประวตั ศิ าสตรไ์ ทย
มีการนับเวลาหลายรูปแบบที่อ้างอิงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่
สนน่ั ธรรมธิ (2553) ไดส้ รปุ การนบั เวลาแบบไทย ไดแ้ ก่

๘ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

พุทธศกั ราช (พ.ศ.)
เปน็ การนบั เวลาทางศกั ราชในกลมุ่ ผนู้ บั ถอื พทุ ธศาสนา โดยเรม่ิ นบั
ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้นับเป็นพุทธศักราชที่ ๑
ซ่ึงประเทศไทยนิยมใช้การนับเวลาแบบนี้ โดยเร่ิมใช้ต้ังแต่รัชสมัยของ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนแพร่หลายและใช้อย่างเป็นทางการ
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ในปีพทุ ธศกั ราช ๒๔๕๕
มหาศกั ราช (ม.ศ.)
การนบั ศกั ราชนพี้ บในหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรใ์ นสมยั สโุ ขทยั
และอยุธยาตอนต้น ริเริ่มจากพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ของอินเดียแห่ง
ศากวงศ์ขึ้นครองราชย์ซ่ึงพ่อค้าอินเดียและพราหมณ์นำ�เข้ามาเผยแพร่
ในเวลาที่ติดต่อการค้ากับไทยสมัยโบราณ วิธีการนับวันเดือนปีจะเป็น
ไปตามสุริยคติ โดยวันข้ึนปีใหม่จะเร่ิมในวันที่ ๑ เมษายนของทุกปี
ปีมหาศกั ราชที่ ๑ จะตรงกับปพี ุทธศักราช ๖๒๑
จลุ ศกั ราช (จ.ศ.)
ต้ังข้ึนโดยพระเจ้าบุพพะโสระหัน แห่งอาณาจักรพุกาม
เมื่อปีพุทธศักราช ๑๑๘๑ ไทยรับเอาวิธีการนับเวลานี้มาใช้ในสมัย
อยุธยา เพ่ือการคำ�นวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกเวลาในจารึก ตำ�นาน
พงศาวดาร จดหมายเหตุต่างๆ แต่ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว รัชกาลที่ ๕
รตั นโกสนิ ทรศ์ ก (ร.ศ.)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้ังข้ึนใน
ปีพุทธศักราช ๒๔๓๒ โดยกำ�หนดให้นับปีที่พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
เม่ือปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ ๑ และเริ่มใช้ใน
ทางราชการต้งั แตว่ นั ที่ ๑ เมษายน ร.ศ.๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) เปน็ ตน้ มา

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๙

ความเปน็ มาของวนั ขน้ึ ปใี หมด่ งั้ เดมิ ในอษุ าคเนย์

ภาพ : การขนทรายเข้าวดั
ทีม่ า: เอกสารแฟม้ ภาพของนายบญุ เสริม ศาสตราภยั

ความเปน็ มาของวนั ขน้ึ ปใี หมด่ งั้ เดมิ ในอษุ าคเนย์

ใ นอุษาคเนย์ตั้งแต่ยุคบรรพกาลก่อนการรับพุทธศาสนา และ

พราหมณ์จากอินเดียถือเอาช่วงเดือนอ้าย (เดือน ๑) ของ
ภาคกลางตามระบบปฏิทินจันทรคติเป็นวันข้ึนปีใหม่มาแต่เดิม
(สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๕๙) ภายหลังเมื่อรับเอาคติพราหมณ์ของอินเดีย
และพุทธศาสนาเข้ามาจึงมีการปรับเปล่ียนรับเอาจารีตของพราหมณ์ใน
ศาสนาฮนิ ดู คอื การโคจรขา้ มของดวงอาทติ ยจ์ ากราศหี นง่ึ ไปสอู่ กี ราศหี นง่ึ
หรือ “สงกรานต์ (สฺงกฺรานฺติ)” ซ่ึงจะมีการย้ายราศีทุกเดือนเรียกว่า
สงกรานต์เดือน เม่ือดวงอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีมีน (มีนาคม) ข้ึนสู่
ราศีเมษ (เมษายน) ถือว่าเป็นสงกรานต์ปี หรอื “มหาสงกรานต์” ถอื ว่า
เป็นวันข้ึนปใี หมจ่ ากคติฮนิ ดู (พเิ ชษฐ สายพนั ธแ์ุ ละคณะ, ๒๕๔๔; ปรานี
วงษเ์ ทศ, ๒๕๔๘)
แต่เดิมราชสำ�นักของไทยถือเอาวันมหาสงกรานต์ของอินเดีย
เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนช้ันนำ� ซ่ึงตรงกับวันข้ึน ๑ คำ่� เดือน ๕ ใน
ขณะท่ีท้องถ่ินยังคงถือเอาเดือนอ้าย หลังลอยกระทงเป็นปีใหม่
เพราะถือว่าฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปีตามคติทางพระพุทธศาสนา
(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๘; สน่ัน ธรรมธิ,
๒๕๕๓) ต่อมาในรัชสมยั ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว
รัชกาลท่ี ๕ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันท่ี ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๒
จึงกำ�หนดให้ใช้วันท่ี ๑ เมษายน เป็นวันข้ึนปีใหม่ของไทยจนถึง
วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ในสมัยรชั กาลที่ ๘ จงึ ไดม้ กี ารประกาศให้
ใชว้ นั ที่ ๑ มกราคม เปน็ วนั ขนึ้ ปใี หมต่ ามแบบสากลในระบบปฏทิ นิ สรุ ยิ คติ
(สจุ ติ ต์ วงษ์เทศ, ๒๕๕๙)
การสาดน�ำ้ รดน�ำ้ และถอื เอาวนั สงกรานตเ์ ปน็ วนั เรม่ิ ตน้ ศกั ราชใหม่
ไมไ่ ดม้ เี ฉพาะในประเทศไทยเทา่ นน้ั แตย่ งั ปฏบิ ตั กิ นั ในกมั พชู า พมา่ ลาว
และบางกลุ่มชนในเขตจีนตอนใต้ (ทรงศักด์ิ ปรางวัฒนากุล, ๒๕๓๙;
ปรานี วงษ์เทศ, ๒๕๔๘)

๑๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ภาพ : จิตรกรรมฝาผนงั แสดงถึงเทศกาลสงกรานตข์ องสยามในอดตี
ทม่ี า: http://www.culture.go.th/ สบื ค้นเม่ือวนั ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔

การรดนำ�้ ขอขมา เป็นประเพณีด้งั เดิมยุคบุพกาลของอุษาคเนย์
ก่อนการรับคติสงกรานต์จากพราหมณ์อินเดีย น้ำ�เป็นส่ิงศักดิ์สิทธิ์
ที่นำ�ไปใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อถือผีแต่ด้ังเดิมที่นิยมในช่วงเดือน ๕
หน้าแล้ง หลังช่วงเก็บเก่ียวผลผลิต โดยเฉพาะอย่างย่ิงในพิธีเล้ียงผีท่ีมี
การใช้นำ�้ ทำ�ความสะอาดบ้านเรือนและเคร่อื งมือทำ�มาหากินในพิธีเล้ยี งผี
รวมท้ังกระดูกของบรรพบุรุษ ตลอดจนอาบให้ผู้เฒ่าผู้แก่ ปู่ย่าตายาย
พอ่ แม่ และผอู้ าวโุ สของชุมชนนนั้ ๆ เมอ่ื เสร็จพธิ แี ล้วจึงสาดนำ้�ท่เี หลือขึน้
หลงั คาบา้ นเรอื น และตน้ ไมใ้ บหญา้ ทอี่ ยโู่ ดยรอบ (สจุ ติ ต์ วงษเ์ ทศ, ๒๕๕๙)
จึงทำ�ให้น้ำ�เป็นส่วนสำ�คัญของพิธีกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของการขอขมา
และชำ�ระล้างขบั ไลส่ ่ิงไม่ดี ซง่ึ ยงั คงเป็นธรรมเนียมปฏบิ ตั ใิ นปจั จุบัน

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๑๓

จะเห็นได้ว่า ช่วงเวลาของประเพณีหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตสอดคล้องกับ
ช่วงสงกรานต์ของอินเดียจึงทำ�ให้ประเพณีรดนำ้�ไหว้ผีบรรพบุรุษและ
ไหวผ้ อู้ าวโุ สทจ่ี ดั ขนึ้ หลงั ฤดเู กบ็ เกยี่ วอนั เปน็ วถิ ดี ง้ั เดมิ กอ่ นการรบั อทิ ธพิ ล
อินเดีย ผนวกเข้ากับคติปีใหม่สงกรานต์ตามแบบพราหมณ์ฮินดูซ่ึงแพร่
หลายไปทั่วดินแดนที่รับอิทธิพลของอินเดีย โดยเฉพาะแถบอุษาคเนย์
เนื่องจากดินแดนเหล่าน้ันรับเอาวิธีการคำ�นวณทางดาราศาสตร์จาก
ชมพูทวปี (รงุ่ โรจน์ ภิรมย์อนุกูล, ๒๕๕๙) อีกท้งั อนิ เดยี ยังเปน็ ศูนยก์ ลาง
ความเจริญทางอารยธรรมท่ีเป็นต้นแบบด้านพิธีกรรมและความรู้ต่างๆ
ใหก้ บั ราชส�ำ นกั ในอุษาคเนย์
จงึ ท�ำ ใหต้ อ้ งอา้ งองิ การนบั ปใี หมต่ ามอยา่ งของอนิ เดยี นอกจากน้ี
ยังมีการใช้ปีนักษัตรของจีนซ่ึงเป็นมหาอำ�นาจด้านการเมืองและ
การค้าของโลก การใช้ปีนักษัตรจีนจึงเพื่อให้ทราบถึงการเปล่ียนปีของ
จีนไปพร้อมกัน ในขณะที่การนับปีใหม่แบบด้ังเดิมสะท้อนให้เห็นความ
สัมพนั ธก์ ับฤดกู าลการเกษตรและชวี ติ ทางสงั คมของภมู ิภาคน้นั ๆ
(พิพฒั น์ กระแจะจนั ทร์,๒๕๕๙)

๑๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ปใี หมล่ า้ นนา/ ปใี หมเ่ มอื ง

: ความเปน็ มา ความหมายและความส�ำ คญั

ปใี หมล่ า้ นนา/ ปใี หมเ่ มอื ง

: ความเปน็ มา ความหมายและความส�ำ คญั

ป ระเพณีสงกรานต์ในล้านนา เรียกว่า ปี๋ใหม่เมืองซ่ึงหมายถึง

ปีใหม่ของคนเมือง ในท่ีน้ีคนเมือง หมายถึง คนพ้ืนเมือง หรือ
คนไทถิ่นล้านนาในเขตแปดจังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
ซง่ึ เปน็ ค�ำ ประดษิ ฐใ์ หมใ่ นชว่ งหลงั การปฏริ ปู การปกครองสมยั รชั กาลท่ี ๕
(สรสั วดี ออ๋ งสกุล, ๒๕๒๙) เพือ่ แสดงออกถงึ ความมอี ารยะ เปน็ คนที่อยู่
ในเมือง มีวฒั นธรรม (สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๑๖)

ปใี หมเ่ มอื ง ปใี หมข่ องคนเมอื ง

ปีใหม่เมืองได้กำ�หนดเอาจุดที่ดวงอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีมีน
เขา้ สู่ราศเี มษเปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของปี ซ่งึ สะท้อนใหเ้ หน็ ถงึ การรบั เอาคตทิ าง
พุทธศาสนาและระบบการนับเวลาของพราหมณ์ฮินดูมาใช้ในล้านนา
สันนิษฐานว่าปีใหม่เมืองน่าจะเกิดข้ึนเม่ือพระพุทธศาสนาได้หย่ังรากลึก
ในสังคมพ้ืนเมืองล้านนาแล้ว เพราะความรู้เก่ียวกับเร่ืองจักรราศีและ
การเคลื่อนท่ีของดวงอาทิตยน์ ้นั ไม่ใชค่ วามรู้เดิมของคนพื้นเมือง แต่เป็น
องค์ความรู้ที่ติดมากับพุทธศาสนา (โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา,
๒๕๕๑ : ๒) ทเ่ี ดนิ ทางมายงั ดนิ แดนแถบนไ้ี มเ่ กา่ ไปกวา่ พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒
หรือเมื่อคราวท่ีพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ขึ้นมาครองเมืองหริ
ภญุ ชยั พร้อมกบั ขา้ ราชบรพิ าร ขนุ นาง นักบวช ชา่ งฝีมือต่างๆ เมื่อราว
พทุ ธศกั ราช ๑๑๐๐

ความส�ำ คญั ของปใี หมเ่ มอื ง

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา (๒๕๕๑) ได้กล่าวถึง
ความสำ�คัญของปีใหม่เมืองที่มีต่อคนเมือง สามารถสรุปได้ ดังนี้

(๑) เป็นการเปล่ยี นปี
คนเมืองจะนับปีตามปีใหม่เมืองซ่ึงระบบปีของคนเมืองจะคล้ายกับใน
กลมุ่ คนไทอน่ื ๆ ซงึ่ เปน็ ระบบการนบั เวลาแบบหนไทที่ไดร้ บั อิทธิพลจาก

๑๖ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ระบบ “กานจือ” ของจีนทีก่ ำ�หนด ๖๐ ปีหรือ ๖๐ วันเป็น ๑ รอบ
(เจยี แยนจอง, ๒๕๔๘: ๔๐๗) โดยคนเมืองลา้ นนาจะมีการประกาศ
สงกรานต์ หรอื “ปกั ขะทืน๑” ซึง่ เปน็ การประกาศการเปลยี่ นปขี อง
ล้านนา และอายุของคนเราก็จะเพิ่มขนึ้ อกี หน่ึงปี
(๒) เป็นการเตอื นตน ส�ำ รวจตรวจสอบตนเอง
การเปลย่ี นปที �ำ ใหอ้ ายเุ พม่ิ ขน้ึ ซงึ่ จะน�ำ พาใหเ้ กดิ การตระหนกั และย�้ำ เตอื น
ตนเองใหร้ ับร้ถู ึงความเปล่ยี นแปลงของวัยและสังขาร วัยเด็กจะรวู้ า่ พวก
เขาเตบิ โตขน้ึ หนมุ่ สาวจะรสู้ กึ วา่ เปน็ ผใู้ หญข่ นึ้ ในขณะทผี่ ใู้ หญไ่ ดก้ า้ วลว่ ง
เขา้ สวู่ ยั ทถ่ี ดถอยและเรม่ิ ปลงตอ่ ความไมเ่ ทย่ี งของชวี ติ และผเู้ ฒา่ ผแู้ กก่ จ็ ะ
เตรียมกายใจสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ตระหนักถึงความจริงสูงสุดของชีวิต
คอื อนิจจัง ทุกขัง อนตั ตา
(๓) เปน็ การช�ำ ระสะสางส่ิงที่ไม่ดี
ชว่ งเวลาดงั กลา่ ว คนเมอื งมกั ส�ำ รวจตรวจสอบสงิ่ ตา่ งๆ ทลี่ ว่ งไปแลว้ ไมว่ า่
จะเปน็ การกระท�ำ ความประพฤติ การปฏบิ ตั ติ นตา่ งๆ เมอ่ื พบขอ้ บกพรอ่ ง
กม็ ักจะตั้งจติ ตง้ั ใจช�ำ ระสะสางสงิ่ ทไี่ มด่ อี อกไป ดังวลี “ขอให้ดบั ไปกบั ไฟ
ใหไ้ หลไปกบั น�ำ้ ใหล้ อ่ งไปกับสังขาร”
(๔) เปน็ การเริ่มตน้ ชวี ิตใหม่อกี ครัง้
ปีใหม่เมืองเป็นช่วงเวลาของการเร่ิมต้นส่ิงใหม่ๆ หรือมีสิ่งใหม่ๆ ท้ังใน
รปู ของวัตถุและความเคล่อื นไหว เช่น เสอื้ ผา้ ใหม่ ขา้ วของเครอื่ งใชใ้ หม่
มีความคึกคักเคลื่อนไหวต้อนรับปีใหม่ ส่ิงเหล่าน้ีจะช่วยเสริมสร้างและ
กระตนุ้ จติ ใจทป่ี ว่ ยไขห้ รอื ซมึ เศรา้ ใหม้ แี รง พละก�ำ ลงั ขน้ึ เพอ่ื ใหเ้ กดิ ก�ำ ลงั ใจ
ความหวังใหม่ ความพยายามใหม่อันเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ช่วยให้เกิด
การเร่ิมต้นชวี ติ ใหม่อีกครัง้

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๑๗

ต�ำ นานปใี หมเ่ มอื ง

และต�ำ นานสงกรานตใ์ นวรรณกรรมของคนไท-ไทย

ต�ำ นานปใี หมเ่ มอื ง

และต�ำ นานสงกรานตใ์ นวรรณกรรมของคนไท-ไทย

ต �ำ นานทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั สงกรานตท์ มี่ ชี อ่ื เรยี กแตกตา่ งกนั ไปในแตล่ ะ

ภมู ภิ าค ในลา้ นนาจะเรยี กวา่ ต�ำ นานปใี หมเ่ มอื ง (อภลิ กั ษณ์ เกษมผลกลู ,
๒๕๕๙) ตำ�นานเก่ียวกับการกำ�เนิดปีใหม่เมืองปรากฏในธรรมพ้ืนเมือง
เร่อื ง “อานิสงสป์ ีใหมเ่ มือง ” ซึ่งมีหลายสำ�นวน มเี นอื้ หาดงั น้ี

ทีน่ ีจ่ กั กลา่ วยังต�ำ นานปีใหม่ก่อนแล ผู้มีผญาพงึ จกั รู้ดงั น้ีเทอะ
อตเี ต กาเล ในอตตี าล่วงแล้วมาก่อนนั้น ยงั มเี ศรษฐสี องผวั เมืองมีขา้ วของ
สมั ปัตตมิ ากนกั เทา่ ว่าบ่มีลกู เต้าบุตตาบตุ รีไว้สบื ตระกูลแล ที่ใกลบ้ า้ นเศรษฐนี น้ั ยังมีผวั เมีย
แถมคู่หนงึ่ ทกุ ขย์ ากไรอ้ นาถาหาเช้ากินค�่ำ อันวา่ สองผวั เมยี นี้เลา่ ยงั มีลกู เต้าไว้สองคน
พ่ีนอ้ ง ชายผูเ้ ปน็ พอ่ นนั้ จักถงเหล้าบข่ าดท้งั วันก็มแี ล ยังมใี นวนั หน่ึงชายผูน้ น้ั มนั ไดถ้ งเหลา้
มากนัก มนั กก็ ล่าวซ่ึงเศรษฐนี น้ั ว่า

ดูราท่านเศรษฐีเหย ท่านน้ีนามั่งมีข้าวของเงินคำ�สัมปัตติมากเท้า หากว่าบ่มี
ประโยชนเ์ ล่าอนั ใด สว่ นวา่ ตวั เราน้นี า ถึงจักทกุ ข์ไรก้ ็ยงั ดีกว่าท่านมากนกั เหตวุ า่ เรานี้มีลกู
ไว้สืบแทนตระกูลแล สว่ นอนั ว่าเศรษฐีนั้นกลา่ ววา่ ถงึ เราบ่มีลูกเตา้ หญิงชาย เรากม็ ีขา้ วของ
หลายไว้จา่ ยใช้ บ่หนั วา่ จักไดเ้ คอื งขแี ลนาทา่ นเฮย

สว่ นชายขเ้ี หลา้ นน้ั มนั กจ็ าค�ำ ไปวา่ ดรู าทา่ นเศรษฐี หากวา่ ทา่ นไดต้ ายหนไี ปหนา้
อันว่าขา้ วของเงินค�ำ ทง้ั หลาย กจ็ กั เป็นของสาธารณด์ ายปางเปล่าแลนาท่านเฮย

เม่ือนั้นชายเศรษฐีได้ยินคำ�ชายผู้น้ันกล่าวด่ังน้ัน ก็มีใจใคร่ได้ยังลูกไว้สืบแทน
ตระกลู กพ็ ากนั ไปกระท�ำ ยังพลกี รรมกราบไหว้ ใต้ตน้ โพธไ์ิ ทร วงิ วนิ ขอลูกเต้า ตอ่ รกุ ขเทวดา
เจ้าก็มแี ล ส่วนวา่ รกุ ขเทวดาอนั รักษาอยู่ต้นไม้ รวู้ า่ เศรษฐีมศี ีลธรรมบข่ าดด่ังอัน้ ก็ไปจาบอก
เลา่ ตอ่ ตนอนิ ทราเจา้ ไดร้ ชู้ ปุ ระการ สว่ นวา่ พญาอนิ ทรารแู้ ลว้ กบ็ ช่ า้ รบี เสดจ็ ไปกราบไหวข้ อเทวบตุ ร
เจ้าตนมีบุญลงมาเกิด เอากำ�เนิดในท้องนาเศรษฐี ครั้นว่าสืบเดือนมีมารอดแล้วเล่า นางก็
ประสตู ิลกู เต้าเปน็ ชาย พอ่ แมจ่ งึ ใสช่ ื่อหมายไว้วา่ ธรรมปาละ อาจารยเ์ จ้าทงั้ หลายกลา่ วไว้
วา่ นามน้ีเป็นผ้รู กั ษาธรรมกเ็ พื่ออั้นแล

ตทา ในกาลน้ันเล่า ยังมีมหาพรหมเจ้าช่ือกปิลตนองอาจ รู้ว่าเจ้าน้อยนาฏ
ธรรมปาลกมุ าร มผี ญาเชยี งคราญจบฉลาด ทา้ วตนองอาจกม็ าอิจฉาขอยมากนัก กร็ ีบเสด็จ
มาสู่ยงั ทธี่ รรมปาลบาชา้ แล้วก็เอย่ ถามยงั ปริศนา ว่า

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๑๙

ดูรากุมารเหยหนุ่มเหน้า เรารู้ว่าเจ้าน้ีมีผญาฉลาด เหตุน้ันเราใคร่ถามยังปริศนา
ครน้ั ว่าเจ้านเ้ี ลา่ สมตั ถะแกไ้ ด้ เรานไี้ ซร้จกั คัดหัวเราห้อื ขาด ครั้นว่าเจ้านบี้ ่อาจแก้ได้ยงั ปรศิ นา
รอดเจ็ดวันมาครบไควแ่ ลว้ ดังอ้นั คอแห่งเจ้านั้นเทยี่ งวา่ จักขาดตานเปน็ ผี อนั วา่ ปรศิ นามีดังนี้
เลา่ คอื ยามเชา้ สริ หิ รอื ราศคี นเราอยทู่ ไ่ี หน บทถดั ไปวา่ ยามกลางวนั สริ หิ รอื ราศคี นเราอยทู่ ไี่ หน
บทถ้วนสามถัดไป ว่ายามคำ่�นั่นเล่า สิรหิ รอื ราศแี หง่ คนหนุม่ เฒ่าน้ันอยู่ที่ไหนนัน้ ชา
คร้ันว่าท้าวกปิลมหาพรหมกล่าวแล้ว ก็รีบคลาดแคล้วหายไปก็มีแลนา ที่นั้น
ธรรมปาลกุมารน้ันเล่า ได้ฟังปริศนาแห่งพรหมเจ้าไขปัน ก็มีใจตันกีดช้อม เหตุบ่อาจแก้ยัง
ปริศนานั้นได้ ตราบจ่อเท่ารอดเจ็ดวันไคว่เทิงมา ธรรมปาลนั้นนาคิดฉันใดก็บ่ออก เป็นดั่ง
มีหนามมายอกหัวใจ เจ้ารีบคลาไคลไปย้ังอยู่ท่ีใต้ต้นไม้โพธิ์ไทรคู่ใหญ่กว้างอันเป็นที่อยู่สร้าง
แห่งสกณุ าท้งั หลายก็มแี ล
ท่นี ้นั ยังมีนกหัสดีลิงค์สองตัวผ้แู ม่ ตัวใหญ่แท้มีงวงงาดังช้าง ก็มาอย่สู ร้างในรังมัน
ที่นัน้ นกตัวแมก่ จ็ าคำ�ไปว่า “ดรู าสูเหย วันพรกู น้กี ็หากเป็นวันศีล เราจกั ไปหากินทีใ่ ดกนั นีช้ า”
ที่น้ันนานกตัวผู้ ก็กล่าวอู้ว่าวันพรูกน้ีมา รอด สองเราน้ีบ่ต้องจักไปสอดแดนไกล
อนั ทา้ วกปิลมหาพรหมพันธนนั ไวแ้ ตห่ ัวทีนน้ั แล
ท่นี น่ั นกตวั แมน่ ้ันกย็ อ้ นถามนกตัวผวู้ ่า ปริศนาน้นั มอี ยู่ฉนั ใดชา จงกลา่ วจาบอกช้ี
หอ้ื ได้รู้แจ้งถเี่ ทอะราแดเ่ ทอะ สว่ นนกตัวผ้กู ็กลา่ วว่า ปริศนานนั้ มสี ามขอ้ จกั ยอ่ ๆ พอเขา้ ใจ
บทแรกเค้าหวั ท่วี ่า ยามเชา้ สริ หิ รอื ราศคี นเราอยูท่ ี่ไหน มีคำ�แกไ้ ขไวว้ ่า ยามเมอื่ เช้าสริ ิหรือราศี
คนเรานั้นอยทู่ ี่หน้าเหตนุ ้ันคนโลกหล้าหญงิ ชาย ครน้ั ต่นื เชา้ มาจึงเอาน�ำ้ ลา้ งหน้าเพอื่ อัน้ แล
ปริศนาบทถ้วนสองนั้นเล่า ว่ายามเม่ือกลางวัน สิริหรือราศีคนเราอยู่ไหน หากมี
ค�ำ ไขกลา่ วแกว้ า่ สริ หิ รอื ราศที แ่ี ทห้ ากอยทู่ ห่ี นา้ อก เหตนุ น้ั เลา่ คนหนมุ่ เฒา่ หญงิ ชาย ครน้ั กาลยาม
สายเทยี่ งแล้วดงั อน้ั จงึ เอานำ�้ เย็นใสสะอาด มาลูบลาดยงั อกตน ก็เพ่ืออั้นแลนา อันวา่ ปรศิ นา
บทถว้ นสามนั้นเลา่ ถามวา่ ยามแลงคำ่�น้ันสิริหรอื ราศคี นเราอยทู่ ไ่ี หน มีคำ�ไขวา่ เวลาค�ำ่ น้นั สริ ิ
หรือราศีของคนเรานั้นอยู่ที่ตีน เหตุน้ันคนหญิงชายทังหลายนั้นเล่า คร้ันจักเข้านอนพักผ่อน
กายา จึงเอานำ�้ มาซ่วยลา้ งตีนกเ็ พอ่ื อั้นแล
นกหสั ดลี งิ คส์ องตวั แมผ่ ู้ อนั จากลา่ วอยบู่ นตน้ ไม้ อนั วา่ เจา้ หนอ่ ไทธ้ รรมปาลนนั้ เลา่
อันนอนอยู่พน้ื เคา้ โพธิ์ไทร ครัน้ ไดย้ ินค�ำ ไขกลา่ วอแู้ ห่งนกสองตัวผแู้ ม่ ก็รแู้ จ้งแก่ยังปริศนานนั้
ชอุ ันๆ กม็ แี ล

๒๐ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

คร้ันว่าวันถ้วนเจ็ดมารอดแล้ว ท้าวต้นแก้วกปิลมหาพรหมก็เสด็จมาสู่ ไปที่อยู่
ธรรมปาลกมุ ารเพอื่ จกั ขอฟงั ยงั ค�ำ กลา่ วแกป้ รศิ นา อนั ไดส้ ญั ญาวา่ ไว้ สว่ นเจา้ หนอ่ ไทธ้ รรมปาล
กุมารก็ไขปริศนานัน้ ได้ชุประการ
ยามนนั้ ทา้ วกปลิ มหาพรหมตนองอาจ รวู้ า่ หวั ตนจกั ขาดไปจากบา่ กเ็ รยี กยงั ลกู หลา้
ทัง้ เจ็ดนางมาหา แล้วก็ส่ังวาจาวา่ ไว้ หื้อรูเ้ สย้ี งไคว่ตามมี ว่าคร้นั หวั พอ่ นี้ขาดแลว้ หือ้ ลกู แกว้
เอาขนั มาใส่ไว้ อยา่ ห้อื ไดต้ กลงไปภายใด ครั้นวา่ หัวพอ่ นีต้ กลงใส่ปฐวี จกั เปน็ อคั คีไฟลุกไหม้
ครัน้ วา่ ตกใส่สาคร นำ�้ จกั แห้งเขนิ เปน็ เกาะดอนบช่ ้า ครัน้ วา่ เอาโยนขึน้ ฟ้าภายบน ฟา้ ฝนจัก
บต่ กแถ้ง บ้านเมอื งจกั แห้งแล้งบม่ ปี ระมาณ เหตดุ ่ังอั้นห้อื นงคราญลูกพ่อไท้ ห้อื ผลัดเปลี่ยน
กันเอาขันใสไ่ ปไวท้ ่ีในถ�ำ้ ใหญเ่ ขาไกรลาส อยา่ หื้อขาดชุปแี ดเ่ ทอะ
คร้ันว่าท้าวกปิลมหาพรหมบอกเล่าลูกท้ังเจ็ดนางแล้ว ก็เอาดาบแก้วตัดยังคอตน
บ่ช้า แลว้ ย่ืนยงั หัวหื้อนางหน่อหลา้ ธิดา อันมนี ามาชื่อสรอ้ ย ว่านางอ่อนน้อยทงุ สเทวี อันทรง
รูปงามดผี ู้เค้า เอาขนั ใสย่ งั หัวพอ่ เจ้าแหแ่ หนกนั ไป สดู่ งไพรเขาไกรลาส บไ่ ดข้ าดชวุ ันปีใหมก่ ็
มหี ้ันแล
อันว่าราชธิดาแห่งท้าวกปิลมหาพรหมทั้งเจ็ดน้ันเล่า นางผู้เป็นเค้าชื่องทุงสเทวี
นางผถู้ ว้ นสองชอื่ นามมวี า่ โคราสสั สา นางผถู้ ว้ นสามนน้ั นาชอ่ื ราคะสสั สะ นางผถู้ ว้ นสชี่ อื่ มณฑา
หน่อเหน้า นางผถู้ ว้ นหา้ นน้ั เลา่ ชอ่ื สริ ณิ ยี อดสรอ้ ย นางผถู้ ว้ ยหกชอ่ื นางออ่ นนอ้ ยกมิ นิ ทาหนอ่ ไท้
นางผู้ถ้วนเจ็ดน้ันไซร้ช่ือมโหตระบุญหนา ครั้นว่าสังขารมาไคว่รอด นางแก้วยอดท้ังหลาย
กผ็ ลดั เปลยี่ นกนั เอาขนั ใส่ยงั หัวพรหมพ่อไทแ้ ลว้ แห่แหนกันไปบข่ าดชปุ ี กม็ แี ลนา

จากคัมภีรเ์ ทศนาธรรมเรอื่ งอานิสงส์ปีใหม่เมือง และคำ�เวนทาน
ปใี หม่ ไดก้ ล่าวสรุปถงึ ตำ�นานปใี หมเ่ มอื งไว้ว่า ธรรมบาลกุมาร บตุ รของ
มหาเศรษฐี อายุเพยี ง ๗ ขวบ เป็นผฉู้ ลาดหลกั แหลม เรยี นรู้ภาษาสรรพ
สัตว์ จนเปน็ ทเ่ี ร่อื งลอื ไปทว่ั ทา้ วกบลิ พรหมผู้อยบู่ นสรวงสวรรคจ์ ึงลงมา
ถามปัญหา ๓ ขอ้ วา่ “ตอนเช้า กลางวัน และกลางคนื ศรขี องคนอยู่
ท่ีไหน” โดยให้เวลา ๗ วัน ทา้ วกบิลพรหมจะลงมาเอาค�ำ ตอบ ถ้าหาก
ธรรมบาลกมุ ารตอบปญั หาไมไ่ ดจ้ ะตอ้ งถกู ตดั หวั และถา้ หากตอบถกู ทา้ ว
กบลิ พรหมจะยอมถูกตดั เศยี ร

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๒๑

เวลาล่วงมาไดเ้ กอื บ ๗ วัน ธรรมบาลกุมารยังไม่ได้คำ�ตอบ แต่
เผอิญไปนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งได้ยินเสียงนกคุยกันว่า “ตอนเช้าศรีอยู่
ที่ใบหน้า กลางวันอยู่ที่หน้าอก และกลางคืนอยู่ที่เท้า” ครบวันที่ ๗
จึงนำ�คำ�ตอบน้ีตอบแก่ท้าวกบิลพรหม และเป็นคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ท้าวกบิลพรหมจึงยอมถูกตัดเศียร แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมน้ันมี
อานภุ าพร้ายนกั หากตกใส่แผน่ ดินก็จะเกิดอคั คีไหมท้ ัว่ ทง้ั แผ่นดิน หาก
ตกลงในน�้ำ น�้ำ กจ็ ะแหง้ ขอด หากตกในอากาศ ฟา้ ฝนกจ็ ะไมต่ กเกดิ ความ
แห้งแล้ง ท้าวกบิลพรหมจึงให้ลูกสาวท้ัง ๗ นางนำ�เศียรใส่พานไปไว้ใน
ถ้�ำ คัณธธุลใี นเขาไกรลาศ และเมอื่ ครบปใี ห้ธดิ า ๗ นาง ผ้เู ปน็ ลกู ผลดั กัน
อญั เชิญออกมาแห่ในชว่ งสงกรานต์ เพอื่ ให้ผคู้ นในโลกมนุษย์รับรู้ถงึ การ
เปลี่ยนผ่านเข้าสูป่ ใี หม่
ตำ�นานปีใหม่เมืองดังกล่าวข้างต้น มีความคล้ายคลึงตำ�นาน
สงกรานต์ของคนไทยท่ีอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำ�เจ้าพระยาซึ่งปรากฏหลัก
ฐานเก่าแก่ที่สุดในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ซ่ึงกล่าวถึงการทาย
ปรศิ นาระหวา่ งธรรมบาลกมุ าร กบั ทา้ วกบลิ พรหมทท่ี �ำ ใหท้ า้ วกบลิ พรหม
ตัดศีรษะตนเองเม่ือธรรมบาลกุมารสามารถไขปริศนาทั้งสามได้ โดย
ลกู สาวทงั้ เจด็ คนของทา้ วกบลิ พรหมตอ้ งผลดั กนั น�ำ ศรี ษะของบดิ าวนรอบ
เขาพระสเุ มรเุ ปน็ เวลา ๖๐ นาที ต�ำ นานสงกรานตข์ า้ งตน้ ไมเ่ พยี งแตพ่ บใน
เขตลุ่มนำ้�เจ้าพระยาเท่าน้ัน หากยังแพร่หลายในคติความเชื่อของเขมร
อีกด้วย กล่าวได้ว่าความเชื่อเร่ืองกบิลพรหมตัดศีรษะดังกล่าว น่าจะ
แพร่หลายในกลุ่มชนชาติมอญ-เขมรเป็นเวลาช้านานก่อนท่ีจะแพร่
หลายสู่กลุ่มคนไทยในเวลาต่อมา (ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว, ๒๕๔๖: ๔-๕)
ประเพณีสงกรานต์ไม่ใช่พิธีกรรมของ “คนไท” มาแต่ดั้งเดิม ดังนั้นคติ
เรอ่ื งสงกรานตแ์ ละต�ำ นานนางสงกรานตจ์ ะพบเฉพาะในกลมุ่ คนไท ทรี่ บั
พทุ ธศาสนา สว่ นคนไททไ่ี ม่ไดน้ บั ถือพุทธศาสนา เชน่ ชาวจ้าง ชาวไทดำ�
จะไม่มปี ระเพณสี งกรานต์ (อภลิ กั ษณ์ เกษมผลกลู , ๒๕๕๙)

๒๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

นอกจากตำ�นานปีใหม่เมืองของล้านนา และตำ�นานสงกรานต์
ของภาคกลางแล้ว ยังมีตำ�นานท่ีคล้ายกันน้ีแพร่กระจายอยู่ในกลุ่มคน
ท่ีพูดภาษาตระกูลไทด้วยอีก ๒ ตำ�นานท่ีน่าสนใจได้แก่ ตำ�นานขุนสาง
และต�ำ นานการสรา้ งโลก โดยตำ�นานขนุ สางเปน็ ตำ�นานของคนไทใต้คง
(ไทใหญใ่ นจนี ) เล่าวา่ ขนุ สางไดถ้ กู ภรรยาคนท่ีเจ็ดตัดหวั โดยเมือ่ หัวของ
ขนุ สางตกลงบนพน้ื ดนิ กจ็ ะเกดิ ไฟลกุ ไหม้ ท�ำ ใหภ้ รรยาทงั้ เจด็ ตอ้ งผลดั กนั
ยกหวั ขนุ สางคนละปี ในจงั หวะทผี่ ลดั กนั ยกนนั้ จะมเี ลอื ดไหลออกจากหวั
ตอ้ งใหค้ นน�ำ น�ำ้ มารดใหส้ ะอาดเพอ่ื ไมใ่ หไ้ ฟไหม้ ตงั้ แตน่ นั้ มาคนไทจงึ เลน่
รดนำ้�กันทุกปี
ส่วนอีกตำ�นาน คือ ตำ�นานการสร้างโลกของชาวไทลื้อสิบสอง
ปันนา เรอ่ื งโดยยอ่ คือเดิมบนโลกแผ่นดินเปน็ ท่งุ หญ้า “หนุ่ ซีเจี่ย” (เทพ)
ไดเ้ อาเมลด็ พนั ธพุ์ ชื มาปลกู และเมอ่ื เกบ็ เอาออกมาแลว้ จะเกดิ ไฟไหมใ้ หญ่
และเกิดนำ้�ท่วมตามมา หุ่นซีเจ่ียก็ลงมาหว่านเมล็ดบัว เมื่อดอกบัวบาน
ก็ได้เนรมิตให้กลายเป็นทวีป พร้อมท้ังมีเทพยดาชายหญิงไปประจำ�และ
มลี ูกออกมามากมาย ปรากฎว่ามีเทพอย่อู งค์หน่งึ ชอื่ ว่า “หนุ้ สง่ ” ขัดแยง้
กับเทพองค์อ่ืนอีกสามทวีป ขัดแย้งกันในเร่ืองว่าเดือนหน่ึงควรมีจำ�นวน
วันก่ีวัน พรอ้ มทั้งบอกว่าอกี ๑๐ ปใี ห้มาไขค�ำ ตอบ “ถา้ ฉันผดิ พวกนาย
ตัดหัวฉันไดแ้ ตถ่ า้ พวกนายผิดฉันจะตัดหัวพวกนายเอง” เม่ือครบ ๑๐ ปี
วันเดือนปีและฤดูกาลแปรปรวน เม่ือเหตุการณ์เป็นเช่นน้ี เทพทั้งสาม
ทวปี และหนุ่ ซเี จย่ี จงึ ปรกึ ษากนั วา่ จะจดั การกบั หนุ้ สง่ อยา่ งไรดี สดุ ทา้ ยเมยี
ของหนุ้ สง่ คนหนง่ึ ทแ่ี อบชอบพอหนุ่ ซเี จย่ี อาสาลอบฆา่ ดว้ ยการเอาเสน้ ผม
ของห้นุ ส่งตัดคอจนตาย แตพ่ อหวั ของหนุ้ ส่งตกถึงพ้นื ไฟก็ลุกไหม้ ท�ำ ให้
บรรดาเมยี ของหนุ้ สง่ จงึ ตอ้ งผลดั กนั อมุ้ หวั ของหนุ้ สง่ เอาไว้ และเอาน�้ำ เยน็
ราดลา้ งกนั หลงั จากนน้ั หนุ่ ซเี จย่ี กบั เทพทงั้ สามกพ็ ากนั ก�ำ หนดแบง่ ฤดกู าล
โลกใหม่ และท�ำ ให้พืชพนั ธอ์ุ ดุ มสมบูรณ์ (พิพฒั น์ กระแจะจันทร,์ ๒๕๕๙
: ๑๗-๑๘)

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๒๓

จากข้างต้น ตำ�นานปีใหม่เมืองมีความคล้ายคลึงกับตำ�นาน
สงกรานตข์ องภาคกลางคอ่ นขา้ งชดั เจน สบื เนอ่ื งมาจากโหราศาสตรไ์ ทย
และลา้ นนาตา่ งอาศยั คมั ภรี ส์ รุ ยิ าตรห์ รอื สรุ ยิ าตราเปน็ หลกั ท�ำ ใหป้ ระกาศ
สงกรานต์ของไทยกลางเปน็ ท่รี ้จู กั อย่างแพรห่ ลายในแถบภาคเหนอื เชน่
บันทึกสมุดข่อยเร่ืองหนังสือปีใหม่ใต้ ฉบับวัดเสาหิน จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ.๒๓๖๒ หรอื ธรรมพนื้ เมอื งเรอ่ื ง “อานสิ งสป์ ใี หมเ่ มอื ง” ส�ำ นวนรา้ น
ภิญโญ ตลาดหนองดอก อำ�เภอเมอื งลำ�พนู จังหวัดลำ�พูน สะทอ้ นถงึ การ
ผสมผสานของประกาศสงกรานตข์ องไทย และลา้ นนาอนั เปน็ การเลอ่ื นไหล
ไปมาของวัฒนธรรมระหว่างกัน อย่างไรก็ตามในตำ�นานสงกรานต์ของ
ลา้ นนาจะไมป่ รากฏเรอ่ื งกบลิ พรหมถกู ตดั เศยี ร รวมทงั้ ความแตกตา่ งเรอ่ื ง
นางสงกรานต์ซ่ึงในล้านนามีการกล่าวถึงนางท้ัง ๗ ท่ีมีชื่อคล้ายกับนาง
สงกรานต์ของชาวไทลอ้ื และไทเขนิ ในขบวนแหส่ งกรานต์ปัจจบุ นั บาง
ครงั้ พบเศยี รพรหมปรากฏดว้ ยนน้ั แสดงใหเ้ หน็ ถงึ การรบั อทิ ธพิ ลของไทย
ภาคกลางเข้ามา แต่ในตำ�นานสงกรานตล์ า้ นนาจะปรากฏแตเ่ พียงความ
เชือ่ เร่ือง “ขุนสงั ขานต์” อันเป็นสรุ ยิ เทพแหง่ สงกรานต์ล้านนา (ไพฑูรย์
ดอกบัวแกว้ , ๒๕๔๖; สนัน่ ธรรมธ,ิ ๒๕๕๓)

๒๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ความเชอ่ื เรอื่ งขุนสงั ขานต์

ความเชอื่ เรอื่ งขุนสงั ขานต์

ค วามเชื่อเกี่ยวกับตำ�นานสงกรานต์ของล้านนาไม่ปรากฏความ

เชอื่ อน่ื ใดนอกจากการกลา่ วถงึ “ขนุ สงั ขานต”์ ซงึ่ ลา้ นนาใหค้ วาม
ส�ำ คญั มากโดยเฉพาะดา้ นบคุ ลกิ ลกั ษณะทม่ี คี วามองอาจ และสงา่ งามไป
ดว้ ยเคร่อื งประดบั สตั วพ์ าหนะและลกั ษณะของความเปน็ เทพท่ยี ่ิงใหญ่
(สนัน่ ธรรมธ,ิ ๒๕๕๓: ๕๘)

ขุนสงั ขานต์

คำ�ว่า “สังขานต์” มาจากรากศัพท์เดิมในภาษาสันสกฤต คือ
“สงกฺ ราฺ นตฺ ”ิ แปลว่า เคล่อื นไป ผ่านไป การเคล่ือนย้ายของพระอาทติ ย์
จากราศหี นึง่ เข้าสอู่ ีกราศีหนงึ่ เรยี กว่า “สงกฺ รฺานตฺ ิ” ไทยใช้ “สงกรานต์”
สว่ นลา้ นนานยิ มออกเสยี ง“กร”เคลอ่ื นไปเปน็ “ข”เชน่ โกรธเปน็ โขด, กรง
เปน็ ขง, มะกรดู เปน็ มะขดู เปน็ ตน้ สงกรานตจ์ งึ เปน็ “สงั ขานต”์ ในทสี่ ดุ
ขนุ สงั ขานต์ เปน็ ความเชอ่ื ของชาวลา้ นนาทเี่ ปน็ อตั ลกั ษณเ์ ฉพาะ
ของกลุ่มชนชาติไทบางกลุ่มในแถบอุษาคเนย์ ซ่ึงไม่ปรากฏตำ�นานหรือ
เรื่องเล่าดังที่ภาคกลางมี ทำ�ให้ความเชื่อเร่ืองขุนสังขานต์เป็นความเชื่อ
ของชาวลา้ นนามาแตโ่ บราณทรี่ บั อทิ ธพิ ลของพระพทุ ธศาสนาผสมผสาน
กบั ความเช่ือในศาสนาพราหมณ์-ฮนิ ดู เน่ืองจากศาสนาดังกลา่ วกน็ ับถือ
เทพต่างๆ ที่คอยดลบันดาลให้มนุษย์เป็นไปตามอำ�นาจศักด์ิสิทธ์ิที่อยู่
เหนอื ธรรมชาติ ซง่ึ มนษุ ยต์ อ้ งปรบั ตวั รบั กบั สภาวการณน์ น้ั ๆ เมอ่ื ชาวลา้ นนา
รับมาแลว้ จงึ มีการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมทอ้ งถน่ิ เชน่ การพยากรณ์

๒๖ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ภาพ : ขนุ สังขานต์
ทมี่ า: http://www.culture.go.th/ สืบคน้ เม่อื วันท่ี ๕ มนี าคม ๒๕๖๔

โดยลกั ษณาการมาของขนุ สงั ขานตเ์ พอ่ื ใหท้ ราบลว่ งหนา้ วา่ ในปนี นี้ �ำ้ ในการ
ทำ�เกษตรกรรมจะอุดมสมบูรณเ์ พียงพอหรอื ไม่ ตอ้ งระมดั ระวงั สตั วเ์ ลีย้ ง
ในการเกษตรหรือไม่ หรอื กระทัง่ เรื่องเก่ียวกับตน้ ไม้ ดอกไม้ทค่ี นโบราณ
มกี ศุ โลบายทก่ี ลา่ วถงึ ไมท้ เี่ ปน็ ใหญก่ วา่ ไมอ้ น่ื ๆ ท�ำ ใหค้ นลา้ นนาเลอื กใชใ้ น
สิ่งท่ถี ูกต้องตรงกนั และไม่กอ่ ให้เกดิ ปญั หาส่งิ แวดลอ้ ม เป็นต้น

ขุนสังขานต์มีบทบาทอย่างมากต่อการพยากรณ์ด้านชีวิต
ของมนุษย์ที่จะดำ�เนินต่อไปในปีใหม่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๒๗

ในวันมหาสงกรานต์ หรือท่ีชาวล้านนาเรียกว่า “วันสังขานต์ล่อง”
ในตำ�ราหรือคัมภีร์โบราณ กล่าวถึงพระอาทิตย์ในภาพของสุริยเทพ
โดยเรียกชื่อหรือขานนามว่า “ขุนสังขานต์” เม่ือพระอาทิตย์เคลื่อนไป
เรยี กว่า “สังขานต์ไป” และในลกั ษณาการไปน้ัน ต�ำ ราไดก้ ลา่ วถึงบคุ ลกิ
ของขนุ สงั ขานต์ ทงั้ สขี องเครอื่ งนงุ่ หม่ เครอ่ื งประดบั สง่ิ ทถี่ อื อากปั กริ ยิ า
แห่งการไป ตลอดจนสัตวท์ ่ขี ุนสังขานต์ใช้เปน็ พาหนะ ซ่งึ จะเป็นไปตาม
วันท่ีเป็นวันมหาสงกรานต์ (สน่ัน ธรรมธิ, ๒๕๖๑) การมาและไปของ
ขุนสงั ขานต์ ในภาษาของชาวบา้ นจะเรียกว่า “สงั ขานต์ล่อง”

o สังขานต์ล่องวันอาทติ ย์
ขนุ สังขานตท์ รงเครื่องนุง่ หม่ สแี ดง มที ับทิมเป็นเครอื่ งประดบั
มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายถือโล่ เสด็จยืนมาเหนือหลังม้าขาว
มีนางเทวดาชื่อ “ธังสี” (แพงสี) มายืนคอยท่ารับเสด็จ
o สังขานตล์ อ่ งวันจนั ทร์
ขุนสังขานตท์ รงเคร่ืองนุ่งห่มสขี าวมีไพฑรู ย์เป็นเคร่อื งประดบั
ทดั ดอกอุบลขาว มือทง้ั สองถือดอกอบุ ลขาว เสด็จนอนตะแคง
มาบนหลงั ช้างเผือก มีนางเทวดาชื่อ “มโนรา” มารับเสด็จ
โดยลกั ษณะอาการนอนรับ
o สงั ขานตล์ อ่ งวนั องั คาร
ขนุ สังขานต์ทรงเครอื่ งนุ่งห่มสีแก้วประพาฬ (สีแดงออ่ น) มีแกว้
ประพาฬเปน็ เครอ่ื งประดบั มอื ขวาถอื จกั ร มอื ซา้ ยถอื ลกู ประค�ำ
เสด็จยืนก้มพระพักตร์มาบนหลังราชสีห์ มีนางเทวดาชื่อ
“มัณฑะ” มาคอยท่ารบั เสด็จ

๒๘ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

o สังขานตล์ ่องวนั พธุ
ขุนสังขานต์ทรงเคร่ืองน่งุ ห่มสดี ำ� มีแก้วอนิ ทนลิ (สีน�ำ้ เงิน) เป็น
เครื่องประทับ มือขวาถือลูกศร มือซ้ายถือคนโท เสด็จนั่งขัด
สมาธิมาบนหลังนกยูงทอง มีนางเทวดาชื่อ “สุรินทะ” มายืน
คอยทา่ รบั เสดจ็
o สงั ขานตล์ ่องวันพฤหสั บดี
ขนุ สงั ขานตท์ รงเครอื่ งนงุ่ หม่ สเี หลอื ง มไี พฑรู ยน์ �้ำ ทองเปน็ เครอ่ื ง
ประดับ มือขวาถอื ลูกประคำ� มอื ซา้ ยวางพาดตัก ประทับยืนมา
บนหลังมา้ สีเหลอื ง มีนางเทวดาชอื่ “กญั ญา” มานัง่ คุกเข่ารบั
เสด็จ
o สังขานตล์ ่องวนั ศกุ ร์
ขนุ สงั ขานต์ทรงเครอ่ื งนุ่งห่มสขี าว มไี พฑูรย์เป็นเครื่องประดบั
มอื ขวาถอื แว่น (กระจก) มอื ซา้ ยถอื โล่ เสด็จน่งั ยองมาบนหลงั
กระบือ มนี างเทวดาชอ่ื “ลิตา” (รินทะ) มาน่ังคอยท่ารับเสดจ็
o สงั ขานต์ลอ่ งวนั เสาร์
ขุนสังขานตท์ รงเครอื่ งน่งุ ห่มสีเขียว มีมรกตเป็นเครือ่ งประดับ
มอื ขวาถอื ลูกศร มือซ้ายถือธนู เสด็จนอนตะแคงมาบนหลัง
แรด มีนางเทวดาชือ่ “มายา” มายืนคอยท่ารบั เสดจ็
ค ว า ม เช่ื อ เรื่ อ ง ขุ น สั ง ข า น ต์ ข อ ง ล้ า น น า ไ ม่ ไ ด้ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ
ท้าวกบิลพรหมและธรรมบาลกุมาร แต่เป็นการกล่าวถึงขุนสังขานต์
ในลักษณะบุคลาธิษฐานว่าหมายถึงพระอาทิตย์ ท้ังยังไม่ได้ระบุถึงช่ือ
ของขุนสังขานต์

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๒๙

คงปรากฏเฉพาะช่ือของนางเทวดาท่ีมาคอยรับขุนสังขานต์ ชาวล้านนา
โบราณรับรู้เกี่ยวกับขุนสังขานต์ดังเช่นที่ปรากฏในหนังสือค่าวกลอนซอ
เชียงตงุ (อนาโตล โรเจอร์ เปล็ ติเยร,์ ๒๕๓๗) มีความตอนหน่ึงว่า

เดอื นวิสาขา สิบสี่ค�ำ่ นั้น วันแกวนตอ่ ยตอ้ ง กลองไชย
สิบหา้ ค�ำ่ นบั เดือนเพง็ ผิวใส มกี ารสง่ ไป ล่องกับฝ่ายหนา้
ยังขนุ สงั ขานต ์ มือก�ำ ดาบกล้า กบั ทงึ มาลา ยกย้าย
จกั มแี ห่แหน มคั คาเขตค้าย ตราบแผวแม่กว้าง ขืนค�ำ

ความคิดเรื่องนางสงกรานต์แบบภาคกลางเพ่ิงมาปรากฏใน
ภายหลัง จนเกิดการผสมผสานปนเปกันไประหว่างนางสงกรานต์ของ
ภาคกลาง คือ ธิดาท้ังเจ็ดของท้าวกบิลพรหมที่มีหน้าท่ีผลัดเปลี่ยนกัน
แห่พระเศยี รของบดิ ารอบจักรวาล ซ่ึงเปน็ ที่มาของการแหน่ างสงกรานต์
แบบภาคกลาง แตใ่ นลา้ นนานางเทวดาทัง้ ๗ ไมไ่ ด้แห่พระเศยี ร แตม่ า
รอรับขุนสังขานต์ และไม่ได้อุ้มพานบรรจุเศียรพระพรหมและไม่ใช่ธิดา
ท้าวกบลิ พรหมแต่อยา่ งใด (โฮงเฮยี นสืบสานภมู ิปัญญาล้านนา, ๒๕๕๑:
๑๐) ขุนสังขานต์จึงเป็นสัญลักษณ์ทางความคิดความเชื่ออย่างหน่ึงของ
ชาวล้านนาที่เก่ียวกับประเพณีสงกรานต์โดยเฉพาะอันจะเชื่อมไปสู่
การพยากรณ์ชีวิตและความเป็นไปในปีท่ีเริ่มต้นข้ึนใหม่ ส่งผลให้คน
ล้านนายึดถือปฏิบัติตามท่ีตำ�ราได้ชี้แนะไว้ ซึ่งเช่ือว่าจะส่งผลดีต่อการ
ดำ�เนินชีวิต ให้รู้เท่าทันและเตรียมตัวตั้งรับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดข้ึนใน
อนาคต

๓๐ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ภาพ : ขบวนแหข่ นุ สงั ขานต์ ณ โฮงเฮยี นสบื สานภูมิปญั ญาลา้ นนา
ท่มี า: ประสงค์ แสงงาม (เจ้าของภาพ)

วนั สงั ขานตล์ อ่ ง

วนั แหง่ การช�ำ ระลา้ งสงิ่ เกา่ สงิ่ ไมด่ ี เพอ่ื ตอ้ นรบั ปใี หม่

ภาพ : พธิ ลี อยแพสงั ขานต์ ในวนั สังขานต์ล่อง
ทม่ี า: ประสงค์ แสงงาม (เจ้าของภาพ)

ชว่ งเวลา และกจิ กรรมของคนเมอื ง
ในประเพณปี ใี หมเ่ มอื ง

ประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนากินเวลายาวนานกว่าประเพณี
สงกรานต์ของภาคอื่นๆ โดยช่วงเวลาของปีใหม่เมืองจะเร่ิมต้นต้ังแต่
วนั สงั ขานตล์ อ่ ง หรอื วนั มหาสงกรานตเ์ ปน็ ตน้ ไปจนจบทว่ี นั ปากปี บางทอ้ ง
ทีอ่ าจสน้ิ สุดที่วนั ปากเดอื น หรือวันปากวนั ซง่ึ จะกนิ เวลานานประมาณ
๔-๗ วันเลยทีเดียว วนั สำ�คัญในชว่ งประเพณีปใี หมเ่ มือง มวี นั ต่างๆ ดงั นี้

วนั สงั ขานตล์ อ่ ง

ว นั สังขารล่อง หรือวันสังกรานต์ล่อง ตรงกับวันมหาสงกรานต์

ตามคติประเพณีสงกรานต์ของไทยภาคกลาง มักจะตรงกับ
วันท่ี ๑๓ เมษายน หรอื ๑๔ เมษายน ความหมายของวนั สงั กรานต์ลอ่ ง
คือ วันที่ดวงอาทิตย์โคจรไปย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ สังกรานต์
มาจากภาษาสันสกฤตวา่ สงฺกรานตฺ ิ แปลว่า วนั เดอื นปีทีล่ ว่ งไป บางครงั้
อาจเขยี นเปน็ สขํ าน สงั ขาน สกํ ราน สกํ รานต์ แตเ่ มอ่ื ออกเสยี งจะออกวา่
“สังขาน” เหมือนกันหมด ซึ่งมีความหมายพ้องกับความหมายที่
คนล้านนาคุ้นเคย นั่นคือ “สังขาร” ซ่ึงหมายถึงสภาพปรุงแต่งตาม
นัยแห่งพุทธศาสนา ชาวล้านนาจึงผูกโยงเข้ากับความคิด
ความเช่ือเร่ืองสังขารท่ีว่าสภาพแห่งวัยหรือร่างกายได้ล่วงผ่านไปแล้ว
(มณี พยอมยงค,์ ๒๕๔๗: ๕๔) ในทนี่ จ้ี ะใชค้ �ำ วา่ “สงั ขานต”์ ตามเอกสาร
ประเพณสี บิ สองเดือนล้านนาไทย ของมณี พยอมยงค์ (๒๕๔๘)

วนั สังขานต์ลอ่ ง
เปน็ วนั แรกของประเพณปี ใี หมเ่ มอื งทค่ี �ำ นวณตามหลกั ของคมั ภรี ์
สรุ ยิ ยาตร์ และต�ำ ราเพทางคศาสตร์ (สนน่ั ธรรมธ,ิ ๒๕๕๓: ๒๕) ซง่ึ เปน็ การ

๓๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

คำ�นวณโดยนักปราชญ์หรือผู้รู้ เมื่อคำ�นวณตามตำ�ราท่ียึดถือแล้วจึง
ประกาศหรือสื่อสารออกไปให้ชาวบ้านชาวเมืองได้ทราบว่าปีน้ีสังขานต์
จะล่องข้ึนแรมกี่ค่ำ� จะมีวันเน่ากี่วัน โดยการเขียนปักขทืนปีใหม่ คำ�ว่า
“ปกั ขทนื ” นม้ี าจากค�ำ วา่ ปกั ขทนิ ซง่ึ เปน็ การผสมค�ำ ระหวา่ ง “ปกั ขะ”
แปลวา่ ปกี หมายเอาวา่ หนงึ่ เดอื นมสี องปกี หรอื สองปกั ขะ ซง่ึ กค็ อื ขา้ งขนึ้
กับข้างแรม สว่ นคำ�ว่า ทนิ ะ หรอื ทนิ แปลว่าวนั
ในวันสังขานตล์ ่องนี้ คนเมืองจะตนื่ แต่เช้ามืดเพ่ือรอตอ้ นรบั วนั
ขน้ึ ปใี หม่ แตเ่ ชา้ ตรแู่ มบ่ า้ นจะนงึ่ ขา้ วเปา่ ไฟ พอ่ บา้ นและลกู หลานจะชว่ ย
กนั เกบ็ กวาดท�ำ ความสะอาดลานบ้าน และหยากไยส่ ิ่งสกปรกตา่ งๆ จะ
มีการจดุ ประทดั หรอื ยิงปืนไล่สังขานต์ เสนียดจญั ไรต่างๆ ท่ถี อื กนั มาแต่
โบราณ คติการขับไล่สังขานต์น้ี เช่ือมโยงกับแนวคิดเร่ืองอนิจจังในกฎ
ไตรลักษณ์ซ่ึงเป็นแนวคิดสำ�คัญของพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึง
การเตอื นตนถงึ วัยอนั ร่วงโรยลงไปอกี ปี
ในวันนี้ถือว่าเป็นการส่งท้ายปี เด็กๆ จะต่ืนเต้นและตื่นแต่เช้า
เพื่อรอดูปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์ที่เล่ากันว่าจะหาบข้าวของพะรุงพะรัง
มุง่ หนา้ ไปทางทิศใต้ หรือบางทกี ล็ ่องเรือไปตามลำ�น�ำ้ ชาวลา้ นนาเชอ่ื วา่
ในตอนเช้ามืดของวันน้ี ปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์ จะนุ่งเส้ือผ้าสีแดง
สูบกล้องยาเสน้ สยายผม สะพายย่ามใบใหญ่ถอ่ แพไปตามลำ�น�ำ้ เด็กๆ
สมัยน้ันอยากรู้อยากเห็นจึงมักพากันไปรอดูตามริมน้ำ�บ้าง ท่านำ้�บ้าง
แตก่ ไ็ มม่ ใี ครเคยพบเหน็ (มณีพยอมยงค,์ ๒๕๔๘)ในชว่ งเวลานค้ี นเมอื งจะมี
ประเพณไี ลส่ งั ขานตซ์ ง่ึ เปน็ ความเชอ่ื ในชว่ งเวลาทจ่ี ะเปลยี่ นศกั ราชใหม่
ของชาวล้านนา

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๓๕

ประเพณไี ลส่ งั ขานต์
มณี พยอมยงค์ (๒๕๔๗) กลา่ ววา่ คนโบราณเชอ่ื วา่ ปยู่ า่ สงั ขานต์
เมอ่ื ลอ่ งไปจะพาเอาสง่ิ ไมพ่ งึ ปรารถนาตามตวั มาดว้ ย หากสง่ิ ชว่ั รา้ ยเหลา่ นน้ั
ตกค้างอยู่ในบ้านของตนอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่างๆ ได้ จึงมีการ
ยงิ ปนื จดุ ประทดั สง่ เสยี งไลเ่ ปน็ การใหญ่ ท�ำ ใหใ้ นวนั สงั ขานตล์ อ่ งจะไดย้ นิ
เสยี งอกึ ทกึ ครกึ โครม เสียงปนื เสียงประทัดดงั ไมข่ าดสาย
การไล่สังขานต์หรือสังขารเป็นประเพณีท่ีนิยมปฏิบัติสืบต่อกัน
มาของชาวลา้ นนาซง่ึ เปน็ วถิ ปี ฏบิ ตั ทิ ส่ี อดคลอ้ งกบั ความคดิ ความเชอื่ ตาม
หลกั ธรรมทางพทุ ธศาสนาตามความเขา้ ใจของคนเมอื ง นน่ั คอื การลนื่ ไหล
ของภาษาจากเดมิ ทคี่ �ำ วา่ สงกรานต์ หรอื สงขรานต์ หรอื สงั ขานต์ ทห่ี มายถงึ
การเคลื่อนย้ายจักรราศีของดวงอาทิตย์จากราศีมีนไปสู่ราศีเมษ
ชาวล้านนากลับออกเสียงเป็น “สัง-ขาน” เน่ืองจากไม่นิยมอักษรควบ
กล�้ำ และกลายเสียง ก เปน็ เสียง ข ผนวกกับความเช่ือทางพุทธศาสนา
เกี่ยวกับสังขารร่างกายของมนุษย์และสัตว์ที่จะล่วงไปตามกาลเวลา คือ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย และอายุที่ล่วงเลยไป จึงกลายเป็น “สังขารล่อง”
ตามความเช่ือทางพุทธศาสนาวิถีชาวบ้าน และปู่-ย่าสังขานต์เป็น
เทพเจ้าแห่งกาลเวลาผู้นำ�เอาส่ิงช่ัวร้ายไปจากมนุษย์ การล่องไปของ
ปูย่ ่าสังขานต์ คือการนำ�เอาสิง่ ไมด่ ีท้ังหลายตามไปด้วย ชาวบ้านจึงนิยม
ท�ำ ความสะอาดตนเอง บา้ นชอ่ งหอ้ งหอใหส้ ะอาดหมดจดซงึ่ เปน็ กจิ กรรม
สำ�คัญในวนั สงั ขานตล์ ่อง

๓๖ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ภาพ : พิธลี อยแพสงั ขานต์ในวันสงั ขานต์ล่อง
ทม่ี า: ประสงค์ แสงงาม (เจา้ ของภาพ)

พธิ ลี อยแพสงั ขานต์ (ลอ่ งสงั ขานตแ์ บบอ�ำ เภอแมแ่ จม่ )
ทอ่ี �ำ เภอแม่แจม่ จังหวัดเชยี งใหม่ จะมพี ธิ ลี ่องสังขานตใ์ นลำ�น้�ำ
แมแ่ จม่ ปจั จบุ นั เหลอื เพยี งหมบู่ า้ นยางหลวงทย่ี งั คงยดึ ถอื ปฏบิ ตั พิ ธิ นี อ้ี ยู่
พิธีนี้จะกระทำ�ในช่วงบ่าย เริ่มจากช่วยกันทำ�แพต้นกล้วย และทำ�
สะตวงใหญ่วางบนแพ ตรงกลางจะใช้ต้นกล้วยตั้งข้ึนเสียบตกแต่ง
ด้วยดอกไม้ ช่อหลากหลายสี ในสะตวงจะวางเคร่ืองพลีกรรม ได้แก่
ขา้ วหนม อาหาร ผลไม้ มะพรา้ ว กลว้ ย ออ้ ย ใสค่ วกั (กระทง) และขา้ วแปง้
ส�ำ หรบั ไวป้ นั้ เป็นรปู สัตวป์ ระจ�ำ ปเี กดิ
เมื่อทำ�สะตวงเสร็จแล้ว ทุกคนจะพากันเป็นขบวนแห่หาม
แพสังขานต์ แห่ด้วยฆ้องกลองเป็นขบวนไปสู่ลำ�นำ้�แม่แจ่ม วางแพไว้
ริมฝั่งนำ้� พ่ออาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะทำ�การเสกข้าวแป้ง ด้วยคาถา
“ยะถาวารีวาโห ปุโรสัพพะการงั ยักขียันติ เอวะเมตัง ยักขีโต หูมหงั
หูมเห เถถะเมหัง ขปิ งั ” จากนน้ั ใหท้ ุกคนปน้ั แป้งเปน็ ก้อนเอาเชด็ ตาม
หนา้ ตา เนอ้ื ตวั แขนขา โดยเชอื่ กนั วา่ เปน็ การเชด็ เอาเสนยี ดจญั ไร เคราะห์
ภยั ต่างๆ ทมี่ อี ยู่ในเนือ้ ตวั ออกไป เสรจ็ แล้วปนั้ แป้งเปน็ สตั ว์ประจ�ำ ปเี กดิ
นำ�ไปใส่ในสะตวง พ่ออาจารยผ์ ปู้ ระกอบพิธกี จ็ ะกล่าวคำ�โอกาส ดงั นี้

“โภนโต ดรู าปสู่ งั ขานต์ ยา่ สงั ขานต์ วนั นกี้ เ็ ปนวนั ดี ตามวาระปใี หมม่ า
คก็เรปบนรอวับนปสัีงตขาามนปตร์ละ่อเวงณผมี ู้ขา้าแทต้ังก่ หอ่ ลนาเยพก่อื ็ไบดห่้ตอ้ื กสแ่อตน่งหเคารย่ือสงูญสักถกงึ าวรันบทูชี่ ๑า๓มเีนมำ้�ษขามย้ินน
สส่ิม้งทปี่บล่ดอ่ ีบยง่แาลมะโภไดชก้นระะอทา�ำหไาวร้บถ่มกูาถกวาข็ ยอเหพ้ืออ่ื ตสกง่ สไปังขตาานมตแม์ป่นเี ก้ำ�า่ ทเาปงนหเลควรงาะเคหร์แาละะหนพ์ านัม
พวงกข็ อห้ือไปตามปูส่ ังขานต์ยา่ สังขานตเ์ สียในวันน้ี ปใี หมว่ ันใหม่เดือนใหม่ ท่ี
จกั มาภายหนา้ ขอหอ้ื ผขู้ า้ ทงั้ หลายจงุ่ จ�ำ เรญิ อายวุ ณั ณะ สขุ ะ พละ และโชคชยั
ลาภะ ริมาค้าขึ้น กระท�ำ สวนไร่นาก็ขอหอ้ื ไดข้ า้ ว มลี กู มเี ต้าหลานเหลนก็ขอหอื้
สอนงา่ ยดงั่ ใจ ขอหอื้ ฟา้ ฝนตกมาตามฤดกู าล ยตุ า่ งกนิ ทานอยา่ ไดข้ าดจม่ิ เทอะ”

จากนนั้ กท็ กุ คนกจ็ ะน�ำ น�้ำ ขมนิ้ สม้ ปอ่ ยมาสระเกลา้ ด�ำ หวั ลงในแพสงั ขานต์
และน�ำ ไปลอยลงนำ้�แมแ่ จม่ เพ่อื ให้เคราะห์ภยั ต่างๆ ลอยไปกบั สายน้ำ�

๓๘ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

กจิ กรรมส�ำ คญั ในวนั สงั ขานตล์ อ่ ง
กจิ กรรมทช่ี าวลา้ นนานยิ มปฏบิ ตั ใิ นวนั น้ี คอื การปดั กวาดท�ำ ความสะอาดบา้ น
ตลอดจนการซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน มุ้ง ผ้าห่ม และนำ�เครื่องนอน
ออกตากเสมือนเป็นการทำ�ความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ บางทีก็หาบ
เครือ่ งนอนไปซกั ตามแม่นำ้�ใหญ่ เพราะถอื ว่าเปน็ การช�ำ ระสงิ่ สกปรกและ
ช�ำ ระลา้ งเสนยี ดจญั ไรให้ไหลล่องกนั ตามลำ�น้�ำ
ทอ่ี �ำ เภอแมแ่ จม่ จงั หวดั เชยี งใหม่ จะมพี ธิ ลี อ่ งสงั ขานต์ โดยทกุ บา้ น
จะทำ�สะตวงใส่เคร่ืองเหมือนสะตวงทั่วไป มีข้าวแป้งปั้นเป็นก้อนแล้วเอา
เชด็ ตามหนา้ ตา เนอ้ื ตวั แขนขา โดยเชอ่ื วา่ เปน็ การเชด็ เอาเคราะหภ์ ยั ตา่ งๆ
หรือสิ่งช่วั รา้ ยทมี่ อี ยใู่ นตัวใสล่ งในสะตวงแลว้ ทำ�พิธีลอยน้ำ�แม่แจม่ เพือ่ ให้
เคราะห์ภัยตา่ งๆ ลอยไปกับสายน้ำ�พร้อมกับปีเก่าทีล่ ว่ งเลยไป นอกจากน้ี
จะมกี ารชำ�ระลา้ งร่างกายให้สะอาด การสระเกล้าด�ำ หัว และแตง่ กายดว้ ย
เสอื้ ผา้ ใหม่ สตรชี าวลา้ นนามกั จะน�ำ ดอกไมอ้ นั เปน็ นามปี หรอื พญาดอกไม้
ของปนี ้ันประดบั มวยผม เชน่ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ดอกบวั เป็นพญาดอกไม้
ของปี ควรทัดดอกบัว ในปีพ.ศ.๒๕๔๘ ดอกลิลา เป็นพญาดอกไม้ของปี
ควรทดั ดอกลลิ า เป็นตน้
กิจกรรมที่สำ�คัญอีกอย่างคือ การดำ�หัวหรือสระผมใน
วนั สงั ขานตล์ อ่ ง ซงึ่ จะไมเ่ หมอื นกบั การสระผมปกตทิ ว่ั ไป แตจ่ ะตอ้ งหนั หนา้
ให้ถกู ตอ้ งตามทิศทางท่ยี ดึ ถือกนั มา และตอ้ งสระดว้ ยนำ้�ขมิน้ สม้ ปลอ่ ย ซง่ึ
ถือว่าเป็นนำ้�บริสุทธ์ิสะอาด และเป็นมงคล หลักปฏิบัติในการหันหน้าใน
ทศิ ทางใดเมื่อท�ำ การด�ำ หวั มคี วามแตกต่างกันไปในบางทอ้ งท่ี

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๓๙

สารานกุ รมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนอื เลม่ ท่ี ๑๒ ระบุวา่ ทิศที่
ควรหันหน้าไปในการดำ�หวั ในวนั สงั ขานต์ลอ่ ง ได้แก่
o วันอาทติ ย์ ชนะขา้ ศกึ ศัตรู จะได้ลาภดังพญาให้หนั หนา้
ไปทางทศิ ตะวนั ออก
o วันจนั ทร์ หนั หนา้ ไปทางทศิ ใต้ จะได้ลาภเหมือนดัง
เจา้ สทุ ธนไู ด้นางจิระประภาวดี
o วนั อังคาร หนั หนา้ ไปทางทศิ ใต้ จะได้ลกู ผ้หู ญงิ เหมอื น
ดังนางอบุ ลวรรณา
o วนั พุธ หนั หน้าไปทางทิศใต้ จะไดล้ าภแลว้ จะ
ฉบิ หายเหมอื นดงั นางสภุ ทั ราไดง้ าชา้ งฉทั ทนั ต์
o วันพฤหสั บด ี หนั หน้าไปทางเหนอื จะได้แกว้ กับผู้หญงิ
เหมอื นดังพญากสุ ราชไดน้ างประภาวดี
o วนั ศุกร์ หันหน้าไปทางทศิ ตะวนั ออก จะได้เมยี กบั
ขมุ ทรัพยเ์ หมือนดังเจ้าชนก
o วันเสาร์ หนั หน้าไปทางทิศใต้ จะได้ลาภและหาย
เคราะหเ์ หมือนดงั นางโคมมณี
นอกจากนใ้ี นโครงการช�ำ ระปฏทิ นิ และหนงั สอื ปใี หมเ่ มอื งลา้ นนา
(๒๕๔๖) ได้กล่าวถึงทิศที่ควรหันหน้าในการดำ�หัววันสังขานต์ล่องไว้อีก
แบบ ดงั นี้
- สังขานต์ล่องวันอาทิตย์ ด�ำ หวั ไปทศิ ตะวนั ตกเฉียงเหนือ
- สงั ขานตล์ ่องวันจันทร ์ ดำ�หัวอวา่ ยหนา้ ไปทิศตะวนั ตก
- สงั ขานต์ล่องวนั อังคาร ดำ�หัวอวา่ ยหนา้ ไปทิศใต้
- สงั ขานตล์ อ่ งวนั พธุ ด�ำ หวั อว่ายหนา้ ไปทิศใต้

๔๐ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

- สงั ขานตล์ อ่ งวันพฤหสั บด ี ดำ�หวั ไปทศิ ตะวันออกเฉยี งเหนือ
- สงั ขานตล์ ่องวนั ศกุ ร์ ด�ำ หวั อว่ายหน้าไปทศิ ตะวันออก
- สงั ขานต์ลอ่ งวันเสาร ์ ดำ�หัวไปทิศตะวันตกเฉยี งใต้

วนั สงั ขานตล์ อ่ งในอดตี
ตามประเพณโี บราณนนั้ วนั นเี้ จา้ นาย หรอื ผเู้ ปน็ กษตั รยิ ป์ กครอง
ดินแดนล้านนาจะตอ้ งสรงน้ำ�ตามทศิ ทีโ่ หรหลวงค�ำ นวณไว้ และจะลงไป
ทำ�พิธีลอยเคราะห์ในแม่น้ำ� ผู้เฒ่าผู้แก่ในบางบ้านจะเรียกลูกหลานมา
พร้อมหน้ากันแล้วให้หันหน้าไปทางทิศท่ีโหรหลวงกำ�หนดไว้เพ่ือความ
สวสั ดี แล้วกลา่ วคำ�วา่ “สพั พะเคราะห์ สพั พะอบุ าทว์ สพั พะพยาธิโรคา
ทงั มวลจุ่งตกไปกับสงั กรานต์ในวนั นี้ยามนี้เน้อ”

ในวันสังขานต์ล่องน้ี เป็นวันที่ลูกหลานทุกคนได้อยู่พร้อม
หน้ากัน บางคนกลับมาจากต่างจังหวัด หรือออกบ้านไปหลายปีก็จะได้
กลบั มาเยย่ี มบา้ น จงึ ถอื โอกาสนก้ี ระท�ำ สง่ิ ทเ่ี ปน็ มงคลเพอ่ื จะไดเ้ ปน็ ฤกษด์ ี
ของการทำ�งานในศักราชใหม่ และการมีความสุขภายในครอบครัวที่
ทุกคนต่างรอคอยเพ่ือที่จะได้เจอลูกหลาน พ่อแม่และญาติพี่น้องของ
ตนเอง ในวันนี้จะยังไม่มีพิธีกรรมทางศาสนา แต่จะมีกิจกรรม คือ
การท�ำ ความสะอาดบา้ นเรอื น และการด�ำ หวั (สระผม) เปน็ หลกั อยา่ งไร
กต็ ามเมอื่ เสรจ็ สน้ิ พธิ กี รรมด�ำ หวั ตนเองแลว้ นนั้ ยงั มกี ารด�ำ หวั ในบา้ นอกี
โดยการจดั น�้ำ ขมิน้ ส้มปอ่ ยที่แบ่งออกเปน็ สองสว่ น สว่ นแรกเสกเป่าดว้ ย
มงคลคาถา แล้วเรียกภรรยาหรือบุตรธิดาสมาชิกในครอบครัวมาดำ�หัว
โดยที่หัวหน้าครอบครัวอาจใช้นำ้�ขม้ินส้มป่อยประพรมหรือลูบศีรษะ
ทุกคนพร้อมกล่าวคำ�อวยชัยให้พร และอีกส่วนหนึ่งจะเอาสระสรง
วัตถมุ งคล เชน่ พระพุทธรปู

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๔๑

ภาพ : การสระเกล้าดำ�หัวด้วยน้ำ�ขม้ินสม้ ปล่อย ในวนั สังขานต์ลอ่ ง
ทีม่ าของภาพ : ศูนย์สารสนเทศภาคเหนอื ส�ำ นักหอสมดุ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่

รูปเคารพ พระเคร่ือง ตลอดจนเคร่อื งรางต่างๆ เปน็ การช�ำ ระลา้ งจญั ไร
และคงไวแ้ ตส่ งิ่ ดงี าม (สนน่ั ธรรมธ,ิ ๒๕๕๓: ๓๓) บางหลงั คาเรอื นมผี เู้ ฒา่
ผู้แก่ ก็ให้เตรียมนำ้�ส้มป่อยอีกส่วนหน่ึงให้ท่านได้อาบ พร้อมผลัดผ้านุ่ง
ผืนใหมใ่ ห้ท่านด้วย สงิ่ เหลา่ นีเ้ ปน็ กิจกรรมเฉพาะท่เี ป็นการปฏบิ ตั กิ ับส่ิง
ใกลต้ วั และกระท�ำ ในวนั สงั ขานตล์ อ่ งซง่ึ ถอื วา่ เปน็ ชว่ งเรมิ่ ตน้ ของเทศกาล

๔๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ก�รละเลน่ ส�ดน�ำ้ สงกร�นต์

และก�รละเลน่ ทนี่ ยิ มในชว่ งเทศก�ลปใ� หมเ่ มอื ง

การเล่นสาดน้ำาในเทศกาลสงกรานต์ในอดีต มณี พยอมยงค์
(๒๕๔๗) ได้เล่าไวอ้ ย่างน่าสนใจว่า เมือ่ เขา้ ฤดรู ้อนวันสงกรานตช์ าวบา้ น
ทใ่ี จบญุ จะจดั หมอ้ ตะนนหรอื โอง่ มงั กรบรรจนุ าำ้ เยน็ ตง้ั ไวบ้ นรา้ นนาำ้ ทห่ี นา้ บา้ น
เพ่ือผู้ท่ีผ่านไปมาหิวกระหายจะได้ตักน้ำาดื่มกิน ท่ีทำาเช่นน้ีเพราะในอดีต
ยงั ไมม่ นี า้ำ ประปา และรา้ นขายเครอ่ื งดม่ื ไมไ่ ดม้ จี าำ นวนมากดงั เชน่ ปจั จบุ นั
เม่ือตกบ่ายแดดอ่อนวันสงกรานต์ คนหนุ่มสาว และละอ่อนเด็กน้อยก็
จะเล่นสาดนำ้ากัน โดยมักจะเริ่มเล่นเมื่อสรงน้ำาพระแล้ว การเล่นน้ำาใน
วันสงกรานต์เป็นการละเล่นที่จะเกิดขึ้นนานทีปีหน ไม่ได้เล่นอย่าง
พร่ำาเพรื่อ และสาดน้ำากันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย การเล่นน้ำาปีใหม่นั้น
จะเป็นการรดนำ้าจริงๆ ไม่ใช่การสาดน้ำาอย่างรุนแรงเหมือนในปัจจุบัน
บางคนจะมกี ลอ้ งฉดี ทท่ี าำ มาจากไมไ้ ผใ่ ชฉ้ ดี ใหน้ าำ้ พงุ่ เปน็ เสน้ ตอ่ มาอปุ กรณ์
การรดนำา้ เปลยี่ นแปลงไป มีปนื ฉีดนำ้ากาำ ลังอัดฉีดรนุ แรงเพม่ิ เข้ามา
นอกจากน ้ี ยงั มกี ารละเลน่ ทเี่ ปน็ ทน่ี ยิ มกนั ของเดก็ ๆ ในอดตี ไดแ้ ก ่
ม้าจกคอก การเลน่ หมากกอน และการเล่นสะบา้ เปน็ ต้น

ม�้ จกคอก
การเล่นมา้ จกคอก เปน็ การละเลน่ ท่ใี ชไ้ มไ้ ผ่ทำาเป็นคอก และผ้ทู ี่
เล่นจะเป็นมา้ เต้นอยู่ในคอกไมไ้ ผ ่ จะต้องไมใ่ ห้ไมห้ นบี ขา ดงั น้ันจะถอื วา่
แพ ้ การเลน่ มา้ จกคอกนยิ มเลน่ กนั ในหมเู่ ดก็ ๆ หนมุ่ สาว ในชว่ งปใี หมเ่ มอื ง
เป็นการยอกล้อและเก้ียวพาราสีไปในตัว นิยมให้มีผู้เล่นจำานวน ๓ คน
ขึ้นไป
อุปกรณ์และวิธีการเล่น ได้แก่ ไม้ไผ่กลมขนาดกำารอบ ยาว
ประมาณ ๕ ศอก จาำ นวน ๒ ทอ่ น และ ขอนไมส้ ูงประมาณ ๑ คืบ ยาว
ประมาณ ๑-๒ ศอก จำานวน ๒ ท่อน

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๔๓

ภาพ : การเล่นม้าจกคอก การละเล่นทีน่ ิยมในชว่ งปีใหมเ่ มอื ง
ท่ีมาของภาพ : ส�ำ นกั หอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วธิ ีการเลน่
(๑) แบ่งผเู้ ล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝา่ ยแรกมี ๒ คน ส�ำ หรบั ถอื ท่อนไมท้ ีว่ าง
ขนานบนขอนไม้ แลว้ กระทบกันเป็นจังหวะ สว่ นฝา่ ยที่ ๒ มี ๒ คนขึน้ ไป
ส�ำ หรบั เปน็ ผูเ้ ตน้
(๒) ใหผ้ เู้ ล่นเข้าไปอย่รู ะหวา่ งคาน ผู้ถือไมค้ านท้งั คกู่ ท็ �ำ สญั ญาณ โดยยก
คานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่างท่ีเคาะจังหวะอยู่น้ันผู้เล่น
ต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว คร้ังท่ี ๔ ผู้ถือจะเอา
คานท้ังสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าคร้ังแรกของจังหวะ
และแยกขาออกให้พน้ ไม้ ถา้ ถูกหนีบเรียกว่า มา้ ข�ำ คอก หรอื ม้าติดคอก
คู่ท่ีถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปล่ียนให้ผู้ท่ีถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้นใน
ระหวา่ งคานน้ันบ้าง

๔๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

หมากกอน
การเลน่ หมากกอน จะใชผ้ า้ เยบ็ เปน็ ถงุ ขนาด ๖x๖นว้ิ แลว้ ยดั ดว้ ย
ลูกมะขามข้างใน หรืออาจจะใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่หรือเศษหญ้าแห้งมา
ผกู ปมเป็นลกู กลมๆ แบง่ ผเู้ ลน่ เปน็ ๒ ฝ่าย เท่ากัน เริ่มเล่นด้วยการโยน
ลูกหมากกอนให้อีกฝ่ายหน่ึงรับ ถ้าฝ่ายตรงข้ามรับได้ก็จะต้องเอา
ลูกหมากกอนนั้นปากลับ มายังฝ่ายที่โยนมา ถ้าปาถูกตัวผู้เล่นคนใด
คนหนง่ึ ฝา่ ยท่ีโยนมากจ็ ะไดค้ ะแนน ความสนกุ จะอยทู่ ล่ี ลี าในการหลอกลอ่
ชิงไหวชงิ พริบ ของการหลบและการปาลูกหมากกอน ซึ่งอาจจะทำ�ให้อกี
ฝ่ายหน่ึงสับสน ถ้าฝ่ายหน่ึงฝ่ายใดแพ้ก็จะต้องยอมให้ฝ่ายท่ีชนะ รดนำ้�
ปีใหม่ การเล่นหมากกอน หรือภาคกลางเรียกว่า “ลูกช่วง” จึงเป็น
การละเล่นทสี่ นกุ สนานในช่วงประเพณีปใี หมเ่ มอื ง
การเลน่ สะบา้
การเล่นสะบ้าเป็นการละเล่นอีกอย่างหนึ่งท่ีนิยมเล่นในช่วงปีใหม่เมือง
โดยจะเก็บลูกสะบ้าท่ีอยู่ในป่าลูกสีแดงมีความแข็งมาก ซึ่งจะอยู่ในฝัก
สะบ้าหรือบางฝักที่แก่จัดจะแตกออกลูกสะบ้าก็จะล่นลงมา ไหลมาตาม
นำ�้ บา้ ง
วิธีการเล่นจะทำ�ไม้แป้นทอย คือตัดไม้เป็นรูปคร่ึงวงกลม
ประมาณ ๔-๕ แผ่น วางตามแนวขวาง หรืออาจใชล้ กู สะบ้าวางกไ็ ด้ และ
ผู้เล่นจะอยู่ห่างจากแนวไม้ประมาณ ๓-๔ เมตร โยนลูกสะบ้าให้ชนกับ
ไมแ้ ปน้ ทอยจนลม้ หมดถอื วา่ เปน็ ผชู้ นะ วธิ เี ลน่ อกี วธิ หี นง่ึ จะน�ำ สะบา้ วางไว้
บนหลงั เทา้ แลว้ เขยง่ เขา้ ทอยแปน้ ทอนจนลม้ หมด เปน็ ผชู้ นะ วธิ เี ลน่ แบบนี้
เรยี กวา่ บางแหง่ เรยี กวา่ “สะบา้ ขาเดยี ว” และมกี ารเลน่ แบบอนื่ ๆอกี เชน่
ใช้หัวแม่เท้าคีบโยนลูกสะบ้า หรือจะมีกล่องไม้เจาะรูสามรู และโยนลูก
สะบ้าเขา้ ในรูนัน้ เรยี กว่า “สะบา้ เข้าถ้ำ�”

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๔๕

การแห่พระพุ ทธสิหิงค์

วันน้ีในเมืองเชียงใหม่ จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์
พระพทุ ธรปู ส�ำ คญั คบู่ า้ นคเู่ มอื งเชยี งใหม่ ประดษิ ฐาน ณ วหิ ารลายค�ำ
วัดพระสิงค์วรมหาวหิ าร เสด็จขนึ้ บษุ บกในช่วงเชา้ และชว่ งบ่าย
อญั เชญิ แหร่ อบเมอื งเชยี งใหม่ ใหป้ ระชาชนไดท้ �ำ การสรงน�ำ้ ขมนิ้ สม้
ปลอ่ ย ขบวนแหป่ ระกอบดว้ ย ขบวนชอ่ ชา้ ง ขนั น�ำ ทาน ชา่ งฟอ้ นเลบ็
กลองตึ่งโนง เครื่องสักการะล้านนา หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผ้ึง
ต้นเทียน ต้นดอก และมีขบวนพระพุทธรูปสำ�คัญต่างๆ อาทิ
พระพทุ ธรปู วดั ดบั ภยั วดั ดวงดี วดั ศรเี กดิ ฯลฯ เขา้ รว่ มแหใ่ นขบวน
การสรงน้ำ�พระพุทธสิหิงค์และพระพุทธรูปสำ�คัญเมืองเชียงใหม่
ในชว่ งประเพณปี ใี หมเ่ มอื ง จะท�ำ ใหเ้ กดิ ความเปน็ ศริ มิ งคลแกช่ วี ติ
และครอบครัว

ภาพ : การแหข่ บวนสรงน�้ำ พระพุทธสิหงิ ค์

๔๖ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง



วนั เนา่

วนั ดาครวั ขนทรายเขา้ วดั และหา้ มกระท�ำ สง่ิ ไมด่ ี


Click to View FlipBook Version