The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ในภาคเหนือของไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pailinthong, 2021-06-02 19:27:10

หนังสือปีใหม่เมือง

เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ในภาคเหนือของไทย

Keywords: สงกรานต์,ล้านนา,ประเพณี,ปีใหม

ภาพ : การขนทรายเขา้ วดั ของหน่มุ สาวเชยี งใหมใ่ นอดตี
ท่มี าของภาพ : เอกสารแฟ้มภาพของนายบญุ เสรมิ สาตราภยั

ทมี่ าของวนั เนา่

ว ันเนาว์ หรือที่คนเมืองเรียกว่า “วันเน่า” เป็นวันสุกดิบที่อยู่

ก่ึงกลางระหว่างวันสิ้นปีเก่ากับวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งบางปีอาจจะมี
๒ วัน คำ�ว่าวันเน่า อาจจะเพี้ยนมาจากวันเนา เพราะหมายถึงวันท่ี
ดวงอาทติ ยเ์ นาอยรู่ ะหวา่ งราศมี นี กบั ราศเี มษ คอื ออกมาจากราศมี นี แลว้
แตย่ งั เขา้ ไปไมถ่ ึงราศีเมษ ในแงโ่ หราศาสตร์ถอื วา่ เป็นวนั ไม่ดี ไมส่ ง่ เสรมิ
มงคล ในวันนี้ ถือว่าเป็นวันสำ�คัญ เราจะไม่ทำ�อะไรที่ไม่เป็นสิริมงคล
ไมด่ า่ ทอหรอื ทะเลาะววิ าทกนั คนโบราณถอื วา่ วนั นหี้ ากผใู้ ดดา่ ทอกนั แลว้
ปากของบคุ คลนัน้ จะเน่า เพราะวา่ เป็นวนั เนา่ และจะเคร่งครดั ในศีล ๕
หากกระท�ำ สิง่ ทไ่ี ม่ดี หรอื ไม่เป็นมงคลจะไมเ่ ปน็ มงคลเลยตลอดปีทเี ดยี ว
ในเอกสารใบลานเรอ่ื ง อานสิ งสส์ งั ขานต์ ฉบบั วดั ดอนชยั ต�ำ บลปอน
อ�ำ เภอทงุ่ ชา้ ง จงั หวดั นา่ น (ไพฑรู ย์ ดอกบวั แกว้ , ๒๕๔๖) ไดก้ ลา่ วถงึ ทมี่ า
ของวนั เนา่ วา่ ในสมยั พทุ ธกาล มพี ระยาองคห์ นงึ่ ชอ่ื สรุ ยิ ะครองเมอื งกลงิ
คะ ทรงบชู าเลย้ี งผปี ศี าจ ท�ำ ใหฝ้ นฟา้ ไมต่ กตอ้ งตามฤดกู าล เมอ่ื ตายแลว้ จงึ
ไปเกดิ เปน็ เปรตหวั ดว้ นอยนู่ อกขอบจกั รวาล ครนั้ มเหสที ง้ั สองสนิ้ ชวี ติ และ
ไดพ้ บกบั ซากของเปรตดงั กลา่ ว จงึ พากนั เอาน�ำ้ มาช�ำ ระลา้ ง ดงั ขอ้ ความวา่

“...ภควา ข้าแหง่ พระพุทธเจ้า ในเม่ือสงั ขานตไ์ ปแลว้ ในวันลูนนัน้ คน
ทังหลายเทียรย่อมกล่าวว่าวันเน่าว่าอ้ัน ซำ้�เถิงวันลูนนั้นคือว่าวันถ้วน ๓ น้ัน
ว่าเป็นวันพญาวันว่าอ้ันเล่า เหตุใดนั้นจก ขอพระพุทธเจ้าจุ่งจักเทศนาแก่ผู้ข้า
ทงั หลายแดเ่ ทอะ ว่าอนั้ เม่อื นัน้ พระพทุ ธเจา้ จักเทศนาก็จงิ่ กล่าววา่ มหาราชดรู า
มหาราชะ ยังมกี าลอนั ๑ นอกศาสนาพระตถาคตน้ี ยังมีพระยาตน ๑ ชือ่ วา่
สรุ ิยะ มนี าง ๒ คนอันเปน็ เมียรกั แหง่ พระยาตนน้นั ก็อยู่ในเมอื งกลิงคะทนี่ น้ั
ห้ันแล พระยาตนนัน้ เทยี รยอ่ มเลยี้ งผีปศี าจแล

๕๐ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ในกาลนั้นนำ้�ฟ้าฝนก่บ่ตก คนทังกลายก็ลวดตายไปด้วยอยากนำ้�ก้ัน
ข้าวมากนัก บ่นานเท่าใด พระยาตนน้ันก็ตายไปเป็นเปรตหัวด้วนอยู่ภายนอก
จกั รวาลพนู้ หน้ั แล สว่ นวา่ นางอคั รมเหสอี นั เปน็ เมยี รกั แหง่ พระยาตนนน้ั กร็ อ้ งไห้
ร�ำ่ ไรไปมา เหตวุ า่ รกั พระยามากนกั อยบู่ น่ านเทา่ ใดกเ็ ถงิ เซง่ิ อนั ตายไปเลา่ ดงั อน้ั
กล็ วดไปเกดิ เปน็ เปรตอยนู่ อกจกั รวาลพนู้ เลา่ สว่ นนางเปรตทงั้ สองกไ็ ปหนั พระยา
ตนเป็นผัวแห่งเขาอันตายไปในกาลเม่ือกอ่ นวันน้ัน นางเปรตผูเ้ ป็นเมยี เคา้ น้นั ก็
มาอมุ้ เอายงั พระยาอนั ตายไปเปน็ เปรตหวั ดว้ นอยทู่ น่ี นั้ หนั้ แล ในกาลเมอ่ื ปเี กา่ คอื
วา่ สงั ขานตไ์ ปแลว้ นน้ั ในวนั ลนู สงั ขานตไ์ ปนนั้ นางเปรตทงั สองตวั นน้ั กไ็ ปตกเอา
น�้ำ มาซว่ ยลา้ งยงั น�้ำ เนา่ น�ำ้ หนองแหง่ เปรตหวั ดว้ นนน้ั เสยี แลว้ นางเปรตผเู้ ปน็ เมยี
น้อยนนั้ กห็ อบอมุ้ อยแู่ ถมเลา่ เหตุดังอ้นั คนทังหลายจง่ิ กล่าวว่าวนั นเี้ ป็นวันเนา่
ว่าอนั้ เพือ่ อัน้ แล....”

ที่มาของวันเน่าดังกล่าวข้างสอดคล้องกับความเช่ือในพิธีกรรม
โบราณท่ีระบุว่าพระยาสุริยะ หรือสุริยะเป็นต้นกำ�เนิดของวันเน่า ซ่ึง
ปรากฏในค�ำ เวนทานปใี หม่ ดงั น้ี

“...อนั วา่ วนั สงั ขารล่องจกั บอกจี้ ก็คืออายแุ ห่งคนเรานแี้ กล่ ว่ งเลยไป
บ่เมนิ เตา่ ใดป๋ีนงึ่ กม็ าจอด ห้ือปากนั๋ รอดสร้างทางดี

กนั รอดวันพกู มีแถมเล่า เรยี กว่าวนั เนา่ อนั เล่าสืบๆ กนั๋ มา
ว่ายงั มพี ระยนต๋นน่งึ จื่อสุรยิ ะ มีภรยิ าอยูส่ องปา่ งซ้ายขวา
พระยาต๋นน้ันได้มรณาตา๋ ยเป็นเผด อยตู่ ใี่ นขอบเขตฟา้ จกั รวาล
สองนางนงคราญอนั เปน๋ เมยี นั้น กไ็ ดต้ ๋ายจากหัน้ เมืองคน

กเ็ อาตนไปเป็นเผดตเี่ ดยี วกนั๋ ก็ได้ไปหันพระยาเจา้
อันเปน็ ผัวแหง่ ต๋นเมื่อกอ่ น จ่งิ ปากั๋นสอนไปกอดกบ็ ไ่ ด้
เหตุว่าทา้ วไท้เปน๋ พระยาหวั ขาด เหตนุ ัน้ คนจิ่งโอกาสเล่าจ�ำ
ว่าวนั นเ้ี ป๋นวนั เนา่ ติดตอ่ กัน๋ มา มูลศรัทธาผูจ้ งุ่ พรำ่�รู้ต๋ามมี

ตา๋ มประเพณมี าแต่เก๊า...”


ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๕๑

อยา่ งไรกต็ าม ชาวล้านนายงั มีความเชื่อว่า หากผใู้ ดประสงคจ์ ะ
สร้างเรือนไม้ไผ่ ให้รีบตัดไม้ภายในวันนี้ เพราะเช่ือว่าไม้จะไม่เน่า และ
ไมม่ มี อดหรอื ปลวกมากนิ ไมด้ งั กลา่ ว (โฮงเฮยี นสบื สานภมู ปิ ญั ญาลา้ นนา,
๒๕๕๑: ๑๕)
กจิ กรรมส�ำ คญั ในวนั เนา่
วนั เนา่ นจี้ ะคกึ คกั เปน็ พเิ ศษ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ การไปจบั จา่ ยซอ้ื
ของตา่ งๆ ท่ีจ�ำ เป็นต้องใช้ในประเพณีปใี หมเ่ มอื ง ในอดตี สาวๆ คนเมือง
จะต้องตื่นแต่เช้ามาเตรียมข้าวแป้งสำ�หรับทำ�ขนมท่ีจะใช้รับประทาน
ในช่วงเทศกาล หนุ่มๆ ก็จะตื่นเช้าเป็นพิเศษเพื่อถือโอกาสไป
“อู้สาวตำ�ข้าว” หนุ่มใดชอบสาวคนใดก็จะไปยังผามมองที่สาวคนน้ัน
ตำ�ข้าวแป้ง ผามมองหรือโรงกระเดื่องนี้บางท้องถ่ินก็จะมีทุกบ้าน หรือ
สามสี่บ้านรวมกันใช้ผามมองแห่งเดียวกันก็มี การตำ�ข้าวน้ีเป็นการเปิด
โอกาสให้หนุ่มสาวได้ใกล้ชิดกัน สำ�รวจตรวจสอบซ่ึงกันและกันว่าควร
หรือไม่ควรเลือกเป็นคคู่ รองหรอื ไม่
กิจกรรมในวันน้ีส่วนใหญ่จะเป็นการเตรียมอาหารและขนมที่
นยิ มทำ�ในวันข้ึนปใี หม่ เชน่ ขนมจ๊อก ข้าวตม้ มัด หรอื ขนมอน่ื ๆ บ้างก็
เตรียมแกงฮังเล เตรียมเคร่ืองห่อนึ่งหรือเครื่องแกงอ่ืนๆ เพื่อจะทำ�เป็น
อาหารไปท�ำ บญุ ในวนั รงุ่ ขนึ้ สว่ นใหญน่ ยิ มท�ำ แกงฮงั เลเนอื่ งจากสามารถ
เก็บไว้ได้นาน และห่อนึ่งเมื่อเหลือก็จะสามารถดัดแปลงทำ�เป็นค่ัวโฮะ
รบั ประทานตอ่ ไปได้ นอกจากน้ีก็ยงั มตี ้มจดื วุ้นเส้น ตม้ ส้มไก่ (ต้มขา่ ไก)่
แกงเผ็ดแบบต่างๆ บางบ้านอาจเตรียมอาหารหลากหลายชนิดตาม
แต่ฐานะและศรัทธาของตนเอง

๕๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

สิ่งอื่นๆ ท่ีต้องจัดเตรียมใส่ในสำ�รับอาหารมักเป็นพวก
คลิ านปจั จัย คอื ของขบเคย้ี วตา่ งๆ เชน่ หมาก เม่ยี ง พลู บุหรี่ ทห่ี ่อด้วย
ใบตองอยา่ งสวยงาม จดั เปน็ ชดุ ๆ ลงในกระทงใบตอง รวมทง้ั ยงั มผี ลไมพ้ นื้
บา้ นตา่ งๆ ตามฤดกู าลซงึ่ มกั เปน็ ผลไมช้ ว่ งหนา้ รอ้ น เชน่ มะมว่ ง มะปราง
กลว้ ยน้ำ�ว้า และพวกขนมเชน่ ขา้ วเกรียบ ข้าวแตน๋ เป็นตน้
กิจกรรมท่ีสำ�คัญประจำ�วันเน่า ก็คือ การขนทรายเข้าวัด ใน
วนั นตี้ งั้ แตช่ ว่ งบา่ ยเปน็ ตน้ ไป จะมกี ารกอ่ เจดยี ท์ รายทวี่ ดั โดยไปขนเอามา
จากแมน่ �ำ้ ท่ใี กลว้ ดั แล้วนำ�ไปกองไว้ในวดั บางคนทำ�เปน็ เจดยี ใ์ หญ่แล้วมี
เจดยี ์เลก็ ๆ เปน็ บริวารล้อมรอบ โดยท�ำ เสวยี น (สงั เวยี น) สานด้วยไม้ไผ่
เพ่ือเป็นเจดีย์ทรายสำ�หรับผู้คนขนทรายมาใส่ ดังปรากฏในคำ�โอกาส
เวนทานส�ำ นวนหนึง่ วา่
“ครัน้ เถิงเวลาตกปใี หม่ ก็พากนั ขนทรายมาใสข่ ่วงอาราม

ตามขว่ งงามรม่ ไม้ ใตพ้ ้นื ไม่มหาโพธิง ทงั้ หญงิ ชายเฒ่าหนมุ่
กม็ ีใจชุ่มเชยบาน พ่องก็หาบคานหามลาก พอ่ งกห็ าบนำ�้ครกุ าละมัง
ไปตามน�ำ้ วังเขตบา้ น ตามทา่ นำ�ด้ อนทราย เดินเปน็ สายเรยี บร้อย
เดก็ อ่อนนอ้ ยนารี ฝงู อิตถีสาวบา่ ว ร้องเอนิ้ กลา่ วตามกัน
ยามตาวันบา่ ยหล้า พอ่ งก็ช้าพอ่ งก็ไว ตามนิสยั จติ เจตน์
ครน้ั มาเถิงเขตอาราม เขากท็ �ำ เปน็ รปู สถปู เจดีย์
พ่องกม็ บี รวิ ารล้อมแวด นับเจด็ แปดตามอายผุ ายผนั
รอบหนา้ หลังลายหลาก อนั มอี ายุมากเจ็ดสิบปลาย
ก็ยังยายพร้อมพรง่ั คร้ันวา่ แล้วกฟ็ ้ังแสวงหา ยังธชัคคะแลทงุ ช่อ
หากเปน็ ดีผอ่ ดีกอย พ่องก็หยิบปกั ถักสอย ฉัตรใบลอยปักยอด
ใต้เหนอื ออกนอกพระวหิ าร”

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๕๓

ทรายท่ีขนมานั้น บ้างก็ทำาเจดีย์ทรายเท่าอายุของตัวเอง เป็น
การเฉพาะ แต่ส่วนมากจะนำาทรายที่ขนมาเทใส่รวมกันในเสวียนที่ต้ังไว้
ในวัด บางวัดก็ตั้งไว้ที่ข่วงลานโล่งภายในวัด บางวัดก็ต้ังไว้หน้าวิหาร
บางวัดก็กำาหนดเอาข่วงไม้สะหรี หรือลานโพธ์ขิ ้นึ อย่กู ับความเหมาะสม
ของวัดแต่ละแห่ง ใครจะขนก่ีรอบก็ได้แล้วแต่กำาลังและความพอใจ
ของตนเอง คนส่วนใหญ่จะนิยมขนกันคนละ ๓ เท่ยี ว ตามคตยิ ึดถือใน
พระรัตนตรัยและจะอธิษฐานขอผลบุญกุศลจากการขนทรายเข้าวัดถือ
เป็นการทาำ บญุ อย่างหนึง่ ในชว่ งปใี หม่ ขณะขนทรายเขา้ วัดก็จะกล่าวคาำ
ขนทรายเขา้ วัดเป็นภาษาบาลวี า่ “อะโห วะตะ เม วาลกุ งั ตริ ะตะนานงั
สพั พะปาปงั วนิ สั สนั ต”ุ กลา่ วราำ พึงอย่างนว้ี นไปจนขนทรายเสรจ็

การขนทรายเข้าวัดน้ีก็ยังเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาว
ได้พบปะใกล้ชิดและทำาบุญร่วมกัน บรรยากาศในช่วงเย็นของวันเน่าใน
อดตี จงึ คกึ คกั สนกุ สนานรนื่ เรงิ โดยผขู้ นทรายตอ้ งเดนิ หวิ้ ภาชนะสาำ หรบั
ใสท่ รายจากท่าน้ำาใหม้ าถึงวดั อานสิ งส์ในการเดนิ ขนทรายนน้ั มีมากกวา่
การใช้ยานพาหนะมาช่วยขน

ภาพ : เจดยี ท์ ราย และการตกแตง่ ประดับประดาเพอื่ เป็นพุทธบชู า

๕๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ภาพ : การกอ่ เจดยี ท์ รายของชาวบ้าน

ประเพณขี นทรายเขา้ วดั

ประเพณีนี้มีมาแต่โบราณกาลของภาคเหนือ ส่วนใหญ่นิยม
ขนทรายกันในวันเน่า หรือวันเนา แต่บางจังหวัดเช่น จังหวัดน่านนิยม
ขนทรายในวันพญาวัน บางแห่งก็ขนทรายกันในวันสังขานต์ล่องด้วย
การขนทรายเข้าวัดตามความเชื่อของคนล้านนาเกี่ยวข้องกับแนวคิด
๓ ประการสำ�คญั (มณี พยอมยงค,์ ๒๕๔๘ ; สนัน่ ธรรมธิ, ๒๕๕๓)

ประการแรก คือ การได้อานิสงค์จากการถวายทานเจดยี ์ทราย
ทำ�ให้ได้ไปเกิดร่วมกับพระศรีอาริย์ซ่งึ จะมาตรัสร้อู นุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ หลังเกิดกลียุคแล้ว ซ่ึงอานิสงส์ของการทาน
เจดีย์ทรายมีอานุภาพส่งผลให้ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าได้เมื่อสั่งสมบุญ
บารมีมากพอ ดังปรากฏในธรรมเร่ือง “อานิสงส์เจดีย์ซาย” และใน
ต�ำ นานเมอื งหรภิ ญุ ชยั ไดก้ ลา่ วถงึ การทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ประทบั รอยพระบาท
ไว้บนหาดทรายเปน็ วาลุกเจดยี ์ ณ แม่น�ำ ้นัมนที

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๕๕

ความโดยยอ่ ในธรรมเร่ืองอานิสงสเ์ จดยี ท์ ราย


“ในสมัยท่พี ระพุทธเจา้ เปน็ ชายสามญั มีนามว่า ตสิ สะ เป็นคนเขญ็ ใจ
ยากไร้ หาเชา้ กินค�่ำ เล้ียงชวี ิตด้วยการรับจา้ งตัดฟืนขาย แตเ่ ปน็ ผูม้ ศี ีลธรรมดี
เป็นที่รกั ของประชาชนชาวบา้ นมาก
วนั หนง่ึ ตสิ สะกมุ ารเดนิ ทางออกจากบา้ นไปสกู่ ลางปา่ แหง่ หนง่ึ มลี �ำ ธาร
ไหลผา่ นมหี าดทรายขาวงดงามนกั มจี ดิ ปสาทะอยากจะท�ำ บญุ จงึ ไดเ้ อาทรายมา
กอ่ เป็นพระเจดีย์ ฉกี เส้ือที่ตนสวมอยู่นั้นเป็นยอดธงปักลงบนพระเจดยี ์ทรายน้นั
และตั้งจติ อธิษฐานว่า อมิ ินา ปญุ ฺญกมเฺ มนาหํ วาลกุ เจติยํ กตฺวา สขุ ี อตฺตานํ
ปรหิ รนโฺ ต นพิ พฺ านปจจฺ โยมหฺ ิ เม นจิ จฺ ํ ดว้ ยอ�ำ นาจบญุ กศุ ลการกอ่ พระเจดยี ท์ รายน้ี
ขอให้ข้าพเจ้าได้บริหารตนให้มีความสุขและเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพานเจ้าเถิด
และขอให้ข้าพเจ้าน้ันเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลก เมื่อพระโพธิสัตว์ติสสะ
บ�ำ เพญ็ บารมเี ตม็ ทเี่ ตม็ ถว้ นแลว้ กไ็ ด้มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าของเราท้ังหลาย”

การขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย ยังมีความเป็นมาอีก
ส�ำ นวนหน่งึ ว่า

“พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ทรง
ทอดพระเนตรเหน็ ทรายขาวสะอาดทชี่ ายหาด ดว้ ยพระราชศรทั ธาในพระรตั นตรยั
จึงทรงก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา
และสังฆบูชา เม่ือพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อ
เจดยี ท์ รายดงั กลา่ ว พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ การทม่ี จี ติ เลอ่ื มใสศรทั ธากอ่ เจดยี ท์ ราย
ถึง ๘๔,๐๐๐ องค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลาย
ร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวาร
และเกียรติยศชื่อเสียง หากตายไปก็ได้ข้ึนสวรรค์ พร่ังพร้อมด้วยสมบัติและ
นางฟ้าเปน็ บรวิ าร”

ดงั นนั้ การกอ่ เจดยี ท์ รายถงึ ถอื วา่ เปน็ อทุ เทสกิ เจดยี ป์ ระการหนง่ึ
หรอื เจดยี ท์ สี่ รา้ งขนึ้ เพอื่ เปน็ เครอื่ งเตอื นใหน้ อ้ มร�ำ ลกึ ถงึ พระพทุ ธคณุ เชน่
เดยี วกบั พระพทุ ธรปู ถอื วา่ ไดอ้ านสิ งสม์ าก จงึ เปน็ คตนิ ยิ มท�ำ สบื ตอ่ กนั มา
(โฮงเฮยี นสืบสานภูมปิ ญั ญาล้านนา, ๒๕๕๑ :๑๗)

๕๖ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ประการที่สอง คือ เป็นความเชื่อในระบบจักรวาลวิทยา ท่ีว่า
ดว้ ยจกั รวาลอนั ประกอบดว้ ย เขาพระสเุ มรุ นน้ั คอื ตวั เจดยี ์ ยอดสงู สดุ ของ
พระเจดยี ท์ เ่ี รยี วแหลมเหมอื นจะทะลฟุ า้ ขน้ึ ไปนน้ั คอื เปา้ หมายสงู สดุ ของ
สรรพสัตว์ทั้งหลายท่ีอาศัยอยู่ในมงคลจักรวาลนี้ คือ เมืองแก้วเนรพาน
หรือพระนิพพาน ทวีปทั้งสี่คือ โบสถ์หรือวิหาร และมหาสมุทรที่
ล้อมรอบ หรือทะเลสีทันดรนั้นจะใช้ทรายถมเป็นทะเลแทน ตามคติ
จกั รวาลดังกล่าว
ประการที่สาม คือ การขนทรายเข้าวัดเป็นการทดแทนทรายท่ี
เราเหยยี บย�ำ่ ตดิ เทา้ ออกไป การน�ำ เอาของวดั ออกไปท�ำ ใหเ้ ปน็ บาป ตอ้ ง
ทดแทนด้วยการขนทรายเข้าวัด เป็นการขอขมาต่อ “ข่วงแก้วท้ังสาม”
หรือลานพระรัตนตรัย เพราะในอดีตลานวดั จะปูด้วยทรายทัว่ ทั้งบริเวณ
โดยมคี ตเิ ชอ่ื มโยงกบั คตจิ กั รวาลทว่ี า่ ลานทรายเปรยี บเสมอื นทะเลสที นั ดร
น่ันเอง เมื่อก่อเจดีย์เสร็จแล้วจะมีการนำ�ทรายจากเจดีย์นั้นมาเกลี่ยลง
บนลานวัดต่อไป
การสร้างค่านิยมเร่อื งขนทรายเข้าวดั คนโบราณลา้ นนานั้นมไิ ด้
บอกโดยตรงเกยี่ วกบั ประโยชนข์ องทราย แตไ่ ดส้ รา้ งคา่ นยิ มไวใ้ หล้ กู หลาน
ประพฤตปิ ฏบิ ตั สิ ืบตอ่ กนั มา ตามหลักทางศาสนาวา่
(๑) การขนทรายเข้าวดั มบี ุญมหาศาล จะมีคา่ มาก
เหมอื นเมด็ หนิ เม็ดทราย
(๒) การขนทรายเข้าวดั จะเปน็ คนมปี ัญญากล้าแข็ง
ละเอยี ดเหมอื นทราย
(๓) การขนทรายเข้าวดั จะมบี ุญอานสิ งสไ์ ด้เกิดร่วม
กบั พระศรอี ารยิ ์
(๔) การขนทรายเขา้ วัดและน�ำ มาก่อเจดีย์ หากชาย
หญงิ ทำ�รว่ มกนั กจ็ ะเป็นคู่สร้างคสู่ มตลอดไป

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๕๗

การทำ�เจดีย์ทรายกองใหญ่ในวัดน้ัน ทุกวัดจะจัดทำ�เป็นส่วน
รวมให้ศรัทธาประชาชนนำ�ไปใส่ท่ีทางวัดจัดให้กองรวมกันเตรียมไว้เพ่ือ
ถวายเปน็ “วาลุกเจดีย”์ ในวันพญาวนั คอื วันเถลงิ ศกวันถัดไปซึง่ จะมี
การถวายชอ่ ตุงและเจดยี ์ทราย

ภาพ : ตงุ ไส้หมู และตงุ ปเี ปิง้ ท่ีปกั บนเจดียท์ รายในวดั

๕๘ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ตงุ และประเพณกี ารทานชอ่ ตงุ
ในวนั เนา่ หรอื วันดา (วนั สกุ ดิบ) น้ี เปน็ วนั ที่คนเมืองเราจะจัด
เตรียมข้าวของต่างๆ สำ�หรับการไปวัดในวันพญาวัน หน่ึงในน้ันก็คือ
การเตรียมช่อตงุ ตุงทใ่ี ชใ้ นปใี หม่ส่วนใหญจ่ ะเปน็ ตงุ เทวดา ตงุ ไส้หมหู รอื
ช่อพญายอ ตงุ รูปคน ชอ่ น�ำ ทาน และตุงปเี ป้ิงหรือตงุ สบิ สองราศี

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๕๙

หรอื ตุงสิบสองราศซี ่ึงจะมีสัตวต์ ามนกั ษตั รอยูใ่ นผนื ตงุ ทงั้ สิบสองตวั เพือ่
บูชาชะตาชีวิตของตน ส่วนคันตุงก็จะมีการเตรียมไว้ในวันน้ีซ่ึงอาจเป็น
กา้ นของตน้ เขอื ง หรอื กิ่งไผก่ ็ได้

ในล้านนาปรากฏเร่ืองราวเกี่ยวกับตุง ในฐานะเครื่องประกอบ
พธิ ีกรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณ ความหมายของตงุ หมายถงึ เคร่อื งใชใ้ น
การประดับและเคร่ืองใช้ในการประกอบพิธีกรรมชนิดหน่ึง มีลักษณะ
ตรงกับภาษาบาลวี ่า “ปฏากะ” หรอื ธง ปฏาก ซ่ึงทางภาคกลางเรียกว่า
ธงตะขาบ คือเป็นธงที่ทำ�ด้วยวัสดุต่างๆ ตามความเหมาะสม หรือ
ความยาวอยา่ งตวั ตะขาบ และแขวนประดับให้แขวนทหี่ วั ธง แล้วปลอ่ ย
ชายยาวลงมาเบ้อื งลา่ ง ธุงหรอื ตงุ มีบทบาทและความเป็นมาทยี่ าวนาน
ดงั ทีพ่ บในศิลาจารกึ วดั พระยนื อ�ำ เภอเมอื ง จังหวดั ล�ำ พูน มีความตอน
หนึ่งวา่

“....วันนั้นตนท่านพระยาธรรมิกราชบริพารด้วยฝูงราชโยธามหาชน

ลูกเจา้ ลกู ขุนมนตรที ั้งหลายยายกัน ใหถ้ อื ช่อธงเข้าตอกดอกไมไ้ ตเ้ ทียน ตีพาด
ดงั พิณฆอ้ งกลอง ปสี รไนพสิ เนญชยั ทะเทียดกาหล แตรสงั ขม์ านกังสดาล”

ซ่งึ หมายความว่าในปี พ.ศ.๑๙๑๓ น้นั “เจ้าท้าวสองแสนนา”
หรือพระยากือนาแห่งเมืองเชียงใหม่ และข้าราชบริพารไปต้อนรับ
พระสมุ นเถระซง่ึ มาจากสโุ ขทยั ในกลมุ่ ผทู้ ไี่ ปรอตอ้ นรบั พระสมุ นเถระนน้ั
กไ็ ดย้ นื เรยี งรายกนั ถอื เครอ่ื งสกั การะตา่ งๆ เชน่ ถอื ชอ่ คอื ธงสามเหลย่ี ม
ขนาดเลก็ และถอื ธง ซงึ่ ปจั จบุ นั เรยี กวา่ ธงุ หรอื ตงุ อยดู่ ว้ ย การถวายทาน
ตุงนี้ ถือว่าได้อานิสงส์มากคนล้านนาเชื่อว่าหากเราตกนรกไป ตุงท่ีเรา
ทำ�ถวายเป็นพุทธบูชานั้นจะไปกวัดแกว่งให้เราเกาะชายตุงให้รอดพ้น
จากนรกอเวจี ข้ึนสู่สวรรค์ชั้นฟ้า เร่ืองอานิสงส์ของการทานทุงหรือตุง
ปรากฏในคัมภีร์ใบลาน ช่ือ สังขยาโลก จารด้วยอักษรธรรมล้านนา

๖๐ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ความวา่
“มีภิกษุรูปหน่ึงได้ไปเห็นไม้ตายแห้งท่อนหนึ่งมีลักษณะยาวงามดีมาก

นึกที่จะเอาต้นไม้ไปทำ�เป็นเสาธุงบูชาไว้ในวัดที่ท่านจำ�พรรษาอยู่ แต่บังเอิญ
ท่านมีอันเป็นลมปัจจุบันถึงแก่มรณกรรมลงในทันที ก่อนท่ีวิญญาณของท่าน
จะออกจากร่าง ท่านมีจิตประหวัดถึงแต่ไม้ท่อนนั้นจึงทำ�ให้ต้องไปปฏิสนธิเป็น
ตุ๊กแกอาศัยอยู่ที่ท่อนไม้นั้น ได้รับทุกขเวทนาเป็นเวลานาน ท่านจึงดลใจให้
ชาวบา้ นทราบวา่ เวลานท้ี า่ นไดม้ าเกดิ เปน็ ตกุ๊ แกอาศยั อยทู่ ไ่ี มต้ น้ นน้ั หากชาวบา้ น
มีศรัทธาจะให้ท่านพ้นทุกข์ ก็ขอให้สร้างธุงเหล็ก ธุงทอง ถวายทานไว้ใน
พระศาสนา จึงจะช่วยบันดาลให้ท่านพ้นจากกองทุกข์น้ีได้ เมื่อชาวบ้านทราบ
ดงั นนั้ กส็ รา้ งธงุ เหลก็ ธงุ ทองถวาย พระภกิ ษรุ ปู นนั้ จงึ พน้ จากกองทกุ ขไ์ ปเกดิ เปน็
มนษุ ย์อกี คร้งั ”

อกี เรอ่ื งหนง่ึ มีความดังน้ี

“สงิ หค์ ตุ ตอ์ �ำ มาตยเ์ อาธงุ ไปบชู าพระประธานองคใ์ หญแ่ ละพระเจดยี ค์ รี ี
ครั้นสิ้นอายุไปจะตกนรก พระยายมราชก็แสดงธงน้ันให้เห็นแล้วกล่าวว่า
“เมอ่ื ทา่ นทำ�บุญวันนน้ั ทา่ นยังกรวดนำ้ �แผก่ ุศลถงึ เรา และบดั นที้ ่านจงข้นึ ไปบน
สวรรค์เทอญ”

อกี เรือ่ งหน่ึงเล่าวา่

“ยังมีนายพรานผู้หนึ่งล่าเน้ือมา ตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปี จนถึงอายุได้
๔๘ ปี วนั หนงึ่ เขา้ ปา่ ไปเพอื่ จะลา่ เนอ้ื บงั เอญิ ไปถงึ วดั ศรโี คมค�ำ (จงั หวดั พะเยา)
ได้เห็นพระปฏิมากรองค์ใหญ่ และมีการประดับธุงเป็นพุทธบูชา เมื่อยามลม
พัดต้องเกิดความสวยงามก็พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จัดแจง
หาผ้ามาทำ�ธุงแล้วเอาไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่น้ัน คร้ันพรานผู้น้ีตายไป
พระยายมราชมิทันได้พิจารณาก็เอาโยนลงนรก ในทันใดน้ัน ธุงท่ีนายพราน
ทำ�เพ่ือถวายพระประธานองค์ใหญ่น้ันก็พันเอาตัวนายพรานพ้นจากนรกเสีย
พระยมราชจงึ พจิ ารณาดูแล้วก็บอกใหน้ ายพรานไปอยู่บนสวรรค”์

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๖๑

ในพิธกี รรมตา่ งๆ มากมายในดนิ แดนลา้ นนามีการใชต้ ุง หรอื ทงุ
จ�ำ นวนมาก และหลากหลายรปู แบบ ในทน่ี จี้ ะขอกลา่ วถงึ เฉพาะตงุ ปใี หม่
ที่จะใช้ปักพระเจดีย์ทรายเพราะเช่ือกันว่าจะได้อานิสงส์แรงกล้า ได้แก่
ทงุ ทราย หรอื ตงุ เจดยี ท์ ราย ทงุ ไสช้ า้ ง หรอื ทงุ ไสห้ มู หรอื ชอ่ พญายอ และ
ตงุ สิบสองราศี
o ทุงทราย หรือตุงเจดีย์ทราย ทำ�ด้วยกระดาษสีต่างๆ
ส่วนมากท�ำ ดว้ ยกระดาษท�ำ วา่ ว กวา้ งประมาณ ๓ นว้ิ เศษ ยาวประมาณ
๑๒-๑๓ น้ิว การตัดนั้นบางคนทำ�รูปร่างคล้ายคน หรือรูปแบบ
แล้วแต่ผู้ตัดไม่มีรูปแบบโดยตรง เน้นความสวยงามพึงพอใจของ
ผู้ตัด ตรงกลางตัวตุงอาจจะปิดด้วยกระดาษที่ตัดเป็นลวดลายก็ได้
โอกาสที่จะปักตุงทรายเมื่อเทศกาลปีใหม่ล้านนา กล่าวคือ
พอถึงวันเนาว์พวกชาวบ้านหนุ่มสาวจะพากันขนทรายจากฝั่งแม่น้ำ�ใน
บริเวณท่ีไม่ไกลเป็นกอง หรือก่อเจดีย์ทราย พอถึงวันพญาวันก็จะเอา
แขนงไม้ไผ่ กิ่งเขอื ง มารอนเอาก่งิ ใบออกบางสว่ นแล้วเอาดา้ ยมาเย็บที่
หัวตุง นำ�เอาไปปักที่เจดีย์ทรายร่วมกันท่ีก่อไว้ จำ�นวนตุงทรายที่แขวน
กับไม้นั้น อาจจะจัดให้เท่ากับสมาชิกในครอบครัวหรือมากกว่าก็ได้
การปกั ตุงนี้นิยมปกั ร่วมกับชอ่ น้อย บางคร้งั ก็มสี วยดอกไม้ธูปเทียนด้วย
o ตุงไสช้ า้ ง ตงุ พญายอ หรอื ตงุ ไส้หมู ตุงที่มกี ารพับกระดาษ
สองสีทบกันไปมาเม่ือกลับด้านแล้วคล่ีออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็น
พวงยาว ลักษณะการใชง้ าน เยบ็ ด้วยดา้ ยตรงหัว คือ จุดก่งึ กลาง มัดตดิ
กับคันไม้ยาวประมาณ ๑ เมตร ใช้ถือในการเดินขบวนแห่ครัวทานของ
ชาวล้านนา ประดับครัวทานท่ีทำ�เป็นปราสาทโดยการผูกติดตามมุม
ของครัวทาน ปักท่เี จดีย์ทรายร่วมกบั ตุงอน่ื ในงานเทศกาลสงกรานต์

๖๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ภาพ : การจัดเตรยี มและตดั ตงุ ไสห้ มู หรอื ตงุ พญายอไวส้ �ำ หรบั ปกั ถวายในวนั พญาวนั

ภาพ : ตุงปีเปิ้ง และช่อนอ้ ยส�ำ หรับปักถวายบนเจดยี ท์ ราย

o ตุงสิบสองราศี ท�ำ ดว้ ยกระดาษ บางคนใช้กระดาษสา หรือ
กระดาษสีต่างๆ เพ่ือความสวยงาม มีความกว้างปราณ ๔-๖ น้ิว ยาว
ประมาณ ๑ เมตร ตรงกลางภายในท่วี า่ งมรี ปู นกั ษตั ร หรือ ๑๒ ราศี
ไดแ้ ก่ รปู หนู – ปชี วด, วัว – ปีฉล,ู เสือ-ปีขาล, กระต่าย-ปีเถาะ, งใู หญ่
– ปมี ะโรง (ในคติของชาวลา้ นนาหมายถงึ พญานาค) งูเล็ก – ปีมะเส็ง,
ม้า-ปมี ะเมีย, แพะ-ปมี ะแม, ลิง-ปีวอก, ไก-่ ปรี ะกา, หมา-ปีจอ, หม-ู ปีกนุ
(แต่ในคตินิยมของชาวล้านนาหมายถึง ช้าง) อันย่อมาจากคำ�ว่ากุญชร
โดยการเรยี งตัวแรก คอื หนูอย่บู นสุด – ช้าง อยดู่ า้ นล่างสดุ การประดบั
ตุงสิบสองราศี ร้อยดว้ ยดา้ นบนหวั ตุงติดกับไม้เรยี วอนั ละ ๑ ตัวน�ำ ไปปัก
บนกองเจดยี ท์ รายรว่ มกบั ตงุ ในวนั พญาวนั ของเทศกาลปใี หม่ มคี วามเชอ่ื
ว่าจักรราศีแม่ปี อันมี ๑๒ ตัวเป็นตัวนามประจำ�ปีตัวใดตัวหน่ึงให้พ้น
เคราะหโ์ รคภัยต่างๆ ในปนี น้ั ๆ

๖๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

o ชอ่ นอ้ ย ท�ำ ดว้ ยกระดาษสว่ นใหญจ่ ะเปน็ รปู สามเหลย่ี มกวา้ งประมาณ
๒ น้ิว ยาวประมาณ ๔ นิ้ว อาจจะตัดเจาะให้เป็นลวดลายก็ได้ ติดกับ
คันเลก็ ๆ เช่น กา้ นมะพรา้ ว ปลายส่วนบนจะตดิ พดู่ ้วยเพ่ือความสวยงาม
คนั ยาวประมาณไมเ่ กนิ ๘ นว้ิ สว่ นใหญจ่ ะมดั รวมกนั เปน็ มดั ๆ มดั ละ ๑๐ อนั
โอกาสท่ีจะปักช่อน้อย ปักเจดีย์ทรายกองเล็กๆ ปักร่วมกับตุงไชย โดย
ปักตรงโคนหรอื จะมัดติดกลางเสาตุงก็ได้ ปักเจดยี ท์ รายในวันสงกรานต์
ปักสะตวงในการทำ�พิธีกรรมต่างๆ เปน็ ตน้
นอกจากกจิ กรรมการเตรียมอาหาร และสิง่ ของทีจ่ ะนำ�ไปวดั ใน
วนั พญาวนั รวมทง้ั การขนทรายเขา้ วดั แลว้ คนเมอื งในบางทอ้ งถนิ่ ยงั มกี าร
ประกอบพธิ กี รรมบางอยา่ งในวนั เนา่ ดว้ ย นนั่ คอื พธิ ลี อยเคราะหว์ นั เนา่
ซ่ึงจะกล่าวถึงต่อไปในหัวข้อพิธีกรรมบางอย่างท่ีเกี่ยวข้องกับประเพณี
ปีใหมเ่ มอื ง

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๖๕

วนั พญาวนั

วนั ยอดมอ้ น หรอื วนั ดที ส่ี ดุ ในรอบปขี องคนเมอื ง

ภาพ : ศรทั ธาชาวบา้ นไปท�ำ บญุ ทานขนั ขา้ ว และปกั ตงุ เจดยี ท์ รายท่วี ดั ในวนั พญาวนั

วนั พญาวนั

ว ันพญาวันเป็นวันเถลงิ ศก หรือวันขนึ้ ปใี หม่ของชาวล้านนา ถอื

เปน็ วนั มงคลมคี วามหมายตอ่ คนเมอื งอยา่ งมาก เปน็ ชว่ งเวลาทม่ี ี
ความสขุ สนกุ สนาน แตใ่ นปจั จบุ นั ปใี หมเ่ มอื งถกู ท�ำ ใหก้ ลายเปน็ สงกรานต์
ในเมอื งเหนอื ทผ่ี ดิ เพยี้ นไปจากจารตี ปฏบิ ตั ดิ งั้ เดมิ อยา่ งมาก อยา่ งไรกต็ าม
วันพญาวนั ยงั คงมคี วามหมายตอ่ คนเมือง และวถิ ีคนเมืองลา้ นนา
วันพญาวนั หรอื วันพระญาวนั อย่ถู ัดจากวนั เน่า ปจั จุบันมกั ถือ
เอาวนั ท่ี ๑๕ เมษายนเปน็ วนั พญาวัน ทางราชการเรียกว่าวนั เถลงิ ศกซ่ึง
เปน็ วนั ทพี่ ระอาทติ ยเ์ ขา้ ไปสถติ อยใู่ นราศเี มษแลว้ วนั พญาวนั น้ี คนเมอื ง
ในอดีตเรยี กอกี อย่างวา่ “วันยอดม้อน” ดังค�ำ กล่าววา่

“เอวังโหนตดุ แี ล อชั ชะในวันน้ีก็เปน็ วันดี ศรีอนั ประเสริฐ ล้ำ�เลิศกว่าวนั
แลยามทงั หลาย บัดน้รี วสิ งั ขานต์ ป๋ีเก่าก็ล่วงพน้ ไปแลว้ ปีใ๋ หม่แก้วพญวนั ก็มารอด
มาเถิง มาเติงยังบรรดาลูกหลานทังหลาย ก็บ่ละเสียยังฮีต บ่รีดเสียยังป๋าเวณี
เจา้ ทงั หลายกย็ งั ไดน้ อ้ มน�ำ มา ยงั มธบุ ปุ ผาและสคุ นั โธทกะ สพั พะวตั ถนุ านาทงั หลาย
เพอ่ื จักมาขอสมาคารวะตนตัวผ้ขู ้า ว่าสันนแี้ ทด้ ีหลี...”

วันยอดม้อน คือวันที่ดีที่สุดในรอบปี ตามความเช่ือของผู้เฒ่า
ผแู้ กห่ รอื คนสมยั โบราณของลา้ นนามกั จะมกี จิ กรรมตา่ งๆ ตามความเชอื่
ในวิถีชีวิต ทั้งในด้านพิธีกรรม ไสยศาสตร์ เช่นการเล้ียงผีครู การเรียน
คาถาคณุ ไสยตา่ งๆ การนำ�เครอ่ื งรางของขลงั ออกมาท�ำ การสระสรงด้วย
นำ้�ขมิ้นส้มป่อยเพ่ือเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ หรือนำ�นำ้�ขมิ้นส้มป่อยมาอาบ
เพอ่ื ลา้ งสงิ่ ทไี่ มด่ อี อกไป บางคนมกี ารสกั คาถายนั ตต์ า่ งๆ ตามรา่ งกายถอื
เปน็ การเพิ่มความขลงั ใหแ้ ก่ยนั ต์ จงึ ถือวา่ วนั นเ้ี ปน็ วันทีด่ ีทีส่ ุด

๖๘ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ในวันน้ีตั้งแต่เช้าตรู่จะเป็นวันที่มีการทำ�บุญทางศาสนา ผู้คน
จะนำ�เอาสำ�รับอาหารคาวหวานขนมข้าวต้มต่างๆ ไปทำ�บุญถวายพระ
ตามวัดที่ตนเป็นศรัทธาอยู่ ซ่ึงการถวายภัตตาหารนี้ล้านนาเรียกว่า
“การทานขันข้าว” เป็นการทำ�ทานเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่
บรรพบรุ ษุ หรอื ญาตมิ ติ ร บดิ ามารดาทล่ี ว่ งลบั ไปแลว้ ในวนั นจี้ ะมกี ารถวาย
วาลุกเจดีย์ หรือเจดีย์ทรายและทานตุงหรือถวายตุงปักบนเจดีย์ทราย
มกี ารด�ำ หวั คารวะผอู้ าวโุ ส การสรงน�้ำ พระธาตุ พระสถปู เจดยี ์ พระพทุ ธรปู
สง่ิ ศกั ดสิ์ ทิ ธคิ์ บู่ า้ นคเู่ มอื ง ตลอดจนการทานไมค้ �ำ้ สะหลี หรอื ถวายไมค้ �ำ้ โพธิ์
กจิ กรรมส�ำ คญั ในวนั พญาวนั
ในวนั พญาวนั นี้ กจิ กรรมจะเรม่ิ แตเ่ ชา้ ตรู่ หลงั จากทที่ กุ ครวั เรอื น
เตรียมขา้ วของเคร่ืองใชข้ องทานตา่ งๆ หรอื “ดาครัว” ในวนั เนาว์ หรือ
วนั เนา่ แลว้ จะมกี ารทานขนั ขา้ วผพี อ่ หมอ่ นแมห่ มอ่ น คอื การน�ำ ขา้ วปลา
อาหารไปอทุ ศิ เปน็ ทานใหผ้ ปี ยู่ า่ ตายายทลี่ ว่ งลบั ไปแลว้ มกี ารทานขนั ขา้ ว
ผเี สอื้ บา้ นทเ่ี ปน็ อารกั ษป์ กปกั รกั ษาหมบู่ า้ นเปน็ ตน้ สว่ นคนเฒา่ คนแกก่ จ็ ะ
ไปวดั แตเ่ ชา้ ตรู่ กอ่ นไปวดั จะเตรยี มน�ำ ธปู เทยี น ดอกไม้ และส�ำ รบั กบั ขา้ ว
พระเจา้ (ขา้ วน�ำ้ โภชนาอาหารทถ่ี วายพระพทุ ธ) ใสใ่ นถว้ ยใบเลก็ ประกอบ
ดว้ ยขา้ วเหนยี วปน้ั ขา้ วแคบขา้ วแตน ขนมจอ๊ กหรอื ขนมเทยี นซง่ึ ถอื วา่ เปน็
ขนมสัญลักษณ์ปใี หมเ่ มอื งโดยแท้ พร้อมแกว้ ใสน่ ้ำ� ๑ ใบ แลว้ กราบพระ
สามคร้ังต่อหน้าห้ิงพระเจ้าบนเต๋ิน หรือโถงเรือน แล้วกล่าวคำ�บูชาพระ
ในการใส่ข้าวพระเจ้า ให้โยงหรือยอถ้วยข้าว (ขันข้าว) ขึ้นสูง
ไว้เหนือหว่างค้ิวแล้วกล่าวคำ�ใส่ข้าวพระเจ้าตามคำ�โบราณล้านนาท่ีว่า

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๖๙

“สาธุ สาธุ ลกุ เช้าใสข่ า้ วอ่อนไหล�ำ
พระพุทธพระธรรมพระสงั ฆราช พระธาตพุ ระบาทเจา้ เจดยี ์
ทงั เคา้ ไมส้ ะหลีมหาโพธ์ิ จุ่งมาฉันข้าวชตุ นชอุ งค์เทอะ”
คร้ันแล้วเสร็จ ก็จะนำ�เอาควักข้าว หรือกระทงทรงสี่เหลี่ยม
ผนื ผา้ ยาวประมาณ ๑ คบื ขา้ งในบรรจขุ า้ ว อาหาร บหุ รขี่ โี้ ย หมาก เมยี่ ง
พลู ขา้ วแคบขา้ วแตนแลว้ แตจ่ ะใสน่ �ำ ไปถวายทหี่ อเจา้ ที่ ทป่ี ระตหู นา้ บา้ น
๒ ข้าง ตรงบนั ได ๒ ขา้ ง เพ่อื บอกกล่าวยงั ผีเจา้ ท่ี ผบี า้ นผีเรอื นได้รับรู้วา่
วันนี้เป็นวันพญาวันเริ่มปีใหม่แล้ว ขอให้มาปกปักรักษาบ้านเรือน
ประตบู า้ นที่คนผ่านเข้าออกและบันไดบ้านทต่ี ้องเดนิ ขน้ึ ลง ใหล้ กู หลาน
ทั้งหลายที่อยู่บ้านนี้เรือนนี้แคล้วคลาดปลอดภัยอยู่ดีมีสุข บางบ้าน
อาจจะใส่ที่หม้อนง่ึ เรียกว่า เล้ียงผยี า่ หม้อนง่ึ ใส่ข้าวทกี่ ้อนเสา้ เรียกว่า
เล้ยี งผีเตาไฟ เพิ่มเตมิ ดว้ ย
ในวันน้ีคนเมืองจะแต่งกายด้วยเส้ือผ้าแบบพ้ืนเมืองสวยงาม
แตกต่างกันไปตามสมัยนิยม สตรีจะเกล้าผมและเหน็บดอกไม้ประดับ
ศรี ษะ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ดอกนามปี ซง่ึ เปน็ ดอกไมท้ ถ่ี อื วา่ เปน็ พญาดอก
ของแต่ละปี บางคนก็จะเหน็บดอกไม้ท่ีมีอยู่ตามละแวกบ้าน คนเมือง
ล้านนาจะไม่เหนบ็ ดอกไม้ทหี่ ู หรอื ทัดดอก แตจ่ ะเหนบ็ ทีเ่ กลา้ มวย ท้ังนี้
เพราะมีคติยึดถือว่าดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชาพระเจ้าพระธรรมและ
ส่ิงศักดิ์สิทธ์ิท่ีเคารพนับถือ จึงควรเหน็บดอกไม้หรือทัดไว้ท่ีศีรษะตาม
ความเชอ่ื สอดคลอ้ งกบั คำ�บาลที ่ีว่า “สิรสา นมามิ” แปลว่าการไหว้ด้วย
ศีรษะ จงึ เป็นทีม่ าของการทดั ดอกไมท้ ี่ศรี ษะของชาวลา้ นนา

ภาพ : การเหน็บดอกไม้ประดบั ศีรษะของสตรีลา้ นนา (บนซา้ ย)
ผูเ้ ฒา่ ผูแ้ ก่หาบคัวไปทานขนั ข้าวท่วี ัด (บนขวา)

ผ้เู ฒ่าผูแ้ ก่ คนหนุ่มคนสาวไปท�ำ บุญท่ีวดั ในวนั พญาวัน (ล่าง)

๗๐ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง



ภาพ : การทานขนั ข้าวแด่ผลู้ ่วงลับหรอื ขานขันขา้ วผตี าย ในวันพญาวัน

กิจกรรมถดั มาคือ การทานขันข้าวผีตาย เปน็ การท�ำ บญุ อุทิศ
สว่ นกุศลไปหาผู้ล่วงลบั และเพื่อถวายเป็นบุญสำ�หรบั ตนเอง คือ ทานไว้
ภายหนา้ ในการทานขนั ขา้ วผตี ายนี้ บางทอ้ งทเ่ี ชน่ ทอ่ี �ำ เภอแมแ่ จม่ จงั หวดั
เชยี งใหม่ หากจะทานไปหาผตี ายทต่ี ายธรรมดา กจ็ ะเขา้ ไปถวายในวดั แต่
หากผู้ลว่ งลับไปแลว้ เป็นผีตายโหง ผตี ายร้าย ผตี ายไม่ดี กจ็ ะทานขันข้าว
นอกวัด คอื นมิ นต์พระภิกษหุ รือสามเณรออกมารับทานท่ีนอกกำ�แพงวัด
เพราะถือว่าผีตายร้านผีตายโหงและตายไม่ดีอื่นๆ เข้าไปในเขตวัดไม่ได้
การทานขันข้าวน้ีไม่จำ�กัดว่าจะต้องทานเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น
บางคนอาจน�ำ ไปทาน หรอื ถวายทานใหแ้ กพ่ อ่ แม่ ปยู่ า่ ตายาย ผเู้ ฒา่ ผแู้ ก่
ท่ตี นเคารพนบั ถือ เรียกว่า “ทานขนั ข้าวคนเฒา่ คนแก”่ หรือบางพื้นที่
นบั ถอื ผปี ยู่ า่ ซง่ึ เปน็ ผบี รรพบรุ ษุ ผเี สอื้ บา้ น และสง่ิ ศกั ดสิ์ ทิ ธใิ์ นพน้ื ท่ี ผคู้ น
กจ็ ะน�ำ ขนั ขา้ วไปถวายดว้ ยเพอ่ื ขอใหป้ กปกั รกั ษาทกุ คนใหอ้ ยดู่ มี สี ขุ หลงั
จากทานขันข้าวในตอนเช้าแล้ว จะมีการถวายตุงปักเจดีย์ทรายในตอน
สาย

๗๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

การถวายวาลกุ เจดยี ์ (เจดยี ท์ ราย) และทานทงุ

ในการทำ�บุญอุทิศเจดีย์ทรายหรือทุงน้ัน “ปู่อาจารย์” จะเป็น
ผู้กล่าวนำ�ศรัทธาชาวบ้านให้ไหว้พระรับศีลและอาราธนาพระปริตร
พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์แบบย่อพอสมควรแก่เวลา ปู่อาจารย์ก็
จะทำ�พิธีโอกาสเวนทานถวายเจดีย์ทราย โดยมีคำ�กล่าวโอกาสเวนทาน
สำ�นวนหน่งึ (มณี พยอมยงค์, ๒๕๔๗: ๗๐-๗๑) ดังตอ่ ไปน้ี

“สาธุโอกาสะ ข้าแด่พระติไตรรัตนะผ่านแก้ว พระแก้วเจ้าสามประการ
รวสิ งั ขาโร อนั วา่ สงั ขานตป์ เี กา่ อตกิ กนั โตกข็ า้ มลว่ งพน้ ไปแลว้ บดั นมี้ าเถงิ ปใี หมแ่ กว้
พญาวนั ได้มาเถงิ ทนั หม่ขู ้า จ่งิ พากันบ่ายหนา้ สูอ่ าราม นบพระแก้วทง้ั สามบญุ เขต
มใี จนอ้ มเนตรตอ่ กุศล ไดก้ ระทำ�มงคงการใหญ่ สรา้ งวาลุกะเจดยี ไ์ วป้ ัจจยั เพ่ือบชู า
พระไตรดวงแกว้ ได้ กตาธกิ ารสรา้ งแล้วซง่ึ เจดีย์ มีธุงไชยไหวยะยาบ ปักไว้ซาบบน
ทราย สแี สงหลายเหลืองหลาก ขาวเขียวหากด�ำ แดง ผวิ ใสแสงวิภาค มที ังธงุ ปฏาก
และธุงชัย เอามาปกั ในเจตยิ ะ เปน็ วาลุกะกองใหญ่ อทุ สิ ะไว้ในศาสนา ในมหุตกา
พญาวัน ผู้ข้าทั้งหลายผันจุจอด หวังจักได้ลอดบ่วงสงสาร เข้าสู่เนรพานเวียงแก้ว
หื้อได้ผ่องแผ้วเกษมใจ ขอพระรัตนตรัยแก้วเจ้า จุ่งรับเอาทักขิณผ่านเผ้าวรทานา
ขอถวายดว้ ยมคธภาษว่า

“อมิ านิ มยํ ภนเฺ ต วาลกุ านิ สปรวิ ารานิ ตริ ตนสสฺ โอโณชยาม สาธโุ น ภนเฺ ต
ติรตนํ ปฏิคคฺ ณหฺ าตุ อมุหากํ ทฆี รตตฺ ํ หิตาย สขุ าขะ”

ขา้ แต่พระรนั ตรัยแกว้ เจ้า มูลศรทั ธาหน่มุ เฒ่าหญงิ ชาย
ขอถวายวาลกุ าเจตยิ ะวิเศษ ไวใ้ นเขตแกว้ พระอาราม
ขอห้อื ความปรารถนาแต่เค้า สมฤทธิร์ อ้ ยเท่าเกษมใส
นัน้ จงุ่ จกั มเี ทย่ี งแท้ดหี ล ี จรงิ ธุวัง...

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๗๓

การทานไมค้ �้ำ ศรี ไมค้ �้ำ โพธิ์

บางทจ่ี ะมกี ารทานไมค้ �้ำ ศรี (ออกเสยี งวา่ สะ-หร)ี หรอื ไมค้ �้ำ โพธิ์
ด้วย ไม้ค้ำ� หมายถึงไม้ท่ีมีง่าม หรือมีสองแฉกในส่วนปลาย ใช้สำ�หรับ
การค้ำ�ยนั ส่งิ ต่างๆ ท่อี ยู่เบือ้ งสงู ใหอ้ ยใู่ นสภาพที่ม่นั คง ประคองตวั อยู่ได้
ไมค้ �้ำ ศรี หรอื ไมค้ �ำ้ สะหรี จงึ หมายถงึ ไมท้ เี่ อาไวค้ �้ำ สว่ นของตน้ ศรมี หาโพธ์ิ
ตามวัดต่างๆ ในการทานไม้คำ้�สะหรีน้ีถือคติว่า เพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน
การค้ำ�ชูพระศาสนาให้ยาวนานต่อไป และเพ่ือเป็นการสืบชะตาตนเอง
ในวันข้ึนปีใหม่เป็นการคำ้�หนุนให้ชีวิตประสบความเจริญ ไม่ตกต่ำ�

๗๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ความเช่ือเก่ียวกับการทานไม้ค้ำ�สะหรีนั้นมีปรากฏในตำ�นานพระธาตุ
ดอยตุงว่า “หากผู้ใดนำ�ไม้ไปคำ้�ก่ิงต้นศรีมหาโพธิ์แล้วอธิษฐาน จะได้รับ
สงิ่ ทต่ี นปรารถนา แตต่ อ้ งค�้ำ ไมใ้ หถ้ กู ทศิ ทาง” กลา่ วคอื หากตอ้ งการมบี ตุ ร
ใหค้ �ำ้ กง่ิ ดา้ นทศิ ตะวนั ออก หากตอ้ งการทรพั ยส์ ฤงคารใหค้ �ำ้ ดา้ นทศิ เหนอื
ถ้าต้องการให้พ้นจากภยันตรายท้ังปวงให้คำ้�ทิศตะวันตก หากปรารถนา
โลกุตรธรรม มรรคผลและพระนพิ พานให้ค�ำ้ ดา้ นทิศใต้ และหากประสงค์
จะไดท้ ง้ั โลกยิ สมบตั แิ ละโลกตุ รสมบตั ใิ หน้ �ำ ไมไ้ ปค�ำ้ ตน้ ศรมี หาโพธทิ์ งั้ สดี่ า้ น

ภาพ : การถวายไม้ค้ำ�สะหลี หรอื ไมค้ �ำ้ โพธ์ิ

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๗๕

ภาพ : การถวายไมค้ �้ำ สะหลี โดยโฮงเฮยี นสืบสานภูมิปญั ญาล้านนา

นอกจากน้ี ไมค้ �้ำ ยงั ปรากฏควบคไู่ ปกบั พธิ กี รรมอนั เนอื่ งมาจาก
การสบื ชาตา คอื ภายหลงั จากเสรจ็ สนิ้ พธิ สี บื ชะตาแลว้ ไมค้ �้ำ ในพธิ จี ะถกู
น�ำ ไปพิงหรอื ค�ำ้ ตน้ ศรมี หาโพธ์ิ
ลักษณะท่ัวไปของไม้คำ้�สะหรี ประเภทแรกคือเป็นไม้คำ้�ขนาด
เล็กหรือใหญต่ ามก�ำ ลงั ศรัทธา ที่พบทั่วไปมักใชไ้ มเ้ นื้อแขง็ มีล�ำ ตรง และ
มีงา่ ม ๒ ง่ามพอสวยงาม ตอ้ งไปตัดไมก้ ่อนงานประมาณ ๓ สัปดาห์ จาก
นน้ั น�ำ ตดั มาแลว้ ท�ำ การเลอื่ ยล�ำ ตน้ ใหเ้ ปน็ เหลยี่ ม หรอื จะเกลาใหก้ ลมกไ็ ด้
ตามชอบ นำ�ไปแช่นำ�้ ประมาณ ๑ สัปดาห์ ครบกำ�หนดแล้วจึงไสตัวไมค้ ้�ำ
ใหเ้ รยี บเสมอทงั้ ๔ ดา้ น แลว้ ทาสขี าว บางหมบู่ า้ นจะมกี ารแกะสลกั ไมค้ �ำ้
โพธ์ิด้วยเพ่ือเพิ่มความสวยงาม อาจตกแต่งประดับประดาด้วยกระดาษ
เงนิ กระดาษทอง จากน้นั ผกู มัดด้วยกรวยดอกไมธ้ ูปเทยี น

๗๖ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ประเพณี แห่ ไม้ ค้ำ �สะหรี

สสี นั ปใี หมแ่ หง่ อ�ำ เภอจอมทอง

ประเพณีแห่ไม้ค้ำ�โพธิ์วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำ�เภอ
จอมทอง จังหวดั เชียงใหม่ จะมีการแหไ่ มค้ ้ำ�โพธิ์ที่แตกต่างจากท้องทีอ่ ื่น
ในภาคเหนอื คือมขี บวนแหท่ ่ีใหญโ่ ต และตวั ไมค้ ำ้�โพธจ์ิ ะใหญ่มาก

ประเพณีนี้จะจัดข้ึนในวันพญาวันของทุกปี โดยช่วงเช้าจะ
เป็นการประกวดขบวนแห่ไม้คำ้�โพธ์ิแบบโบราณ ส่วนช่วงบ่ายเป็นการ
แหข่ บวนไมค้ �้ำ โพธแ์ิ บบประยกุ ตข์ องกลมุ่ หนมุ่ สาว คอื มกี ารน�ำ วงดนตรี
สมัยใหม่เข้ามาเล่นประโคม การแห่ทั้งสองแบบนี้จะมีการตกแต่ง
ขบวนอยา่ งสวยงาม ในขบวนจะมพี อ่ บา้ นแมบ่ า้ นถอื ชอ่ (ธงสามเหลย่ี ม)
หมากสมุ่ หมากเบง็ ตน้ ผง้ึ ตน้ เทยี น หาบหรอื อมุ้ สลงุ บรรจนุ �ำ้ ขมน้ิ สม้ ปลอ่ ย
น้ำ�สุคันโธทกะ น้ำ�อบน้ำ�หอมซ่ึงเป็นเครื่องสักการะพระบรมธาตุ มีการ
แหเ่ ครอ่ื งประโคมตา่ งๆ ทง้ั วงดนตรสี ะลอ้ ซงึ กลองสะบดั ชยั กลองมองเซงิ
คนเฒ่าคนแก่ผู้ชายตบมะผาบ วาดลายเชิงอวดกัน บ้างก็ฟ้อนดาบ
แม่บ้านนุ่งซิ่นพื้นเมืองแต่งกายสวยงาม ควงคทานำ�หน้าท่าทางองอาจ
ผึ่งผาย สวยงามอย่างเชยๆ ก็ถือว่าเป็นสีสันบรรยากาศอีกแบบหน่ึง
ทสี่ ะทอ้ นถงึ การผสมผสานระหวา่ งของเกา่ และของใหมท่ ไี่ มค่ อ่ ยกลมกลนื
กนั สักเท่าใด

เม่ือขบวนถึงวัด จะนำ�ไม้ค้ำ�โพธิ์ขึ้นค้ำ�จะสังเกตเห็น มีหมอน
สีขาวหนุนไว้ท่ีง่าม เป็นความเช่ือว่าจะได้อุดหนุนคำ้�จุนพระศาสนาให้
ยนื ยาวตลอดหา้ พนั พระวสั สา เมอ่ื ค�ำ่ แลว้ กน็ มิ นตพ์ ระสงฆม์ ารบั การถวาย
ไมค้ �ำ้ โพธิ์ จะมกี ารรดน�ำ้ สม้ ปอ่ ยทตี่ วั ไมค้ �ำ้ เพอ่ื ขอขมาครวั ทานทเ่ี ราไดข้ นึ้
ต�่ำ ย�ำ่ สงู หรอื ขา้ มไปมาซง่ึ ถอื เปน็ การช�ำ ระสงิ่ ของทเ่ี ราจะท�ำ บญุ ใหส้ ะอาด
บริสุทธ์ิ กจ็ ะได้อานสิ งส์แรงกล้าย่งิ ข้ึน

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๗๗

การแกะสลกั ตกแตง่ ไมค้ ำ้�สะภหาลพโี ด:ยขศบลิ วปนินแพห้ืน่ไมบ้ค้าน�้ำ ส(ะขหวลาี)อแำ�ลเภะอกจาอรถมวทาอยงไมจ้คงั ำ�้หสวะดั หเชลยีีขงอใงหชมา่ว(บบ้านน)

ภายหลังจากการทานไม้คำ้�โพธิ์แล้ว จะมีการแสดง
พระธรรมเทศนาอานิสงส์ปีใหม่ ศรัทธาประชาชนจะนำ�นำ้�ขมิ้น
ส้มป่อยมาใส่ในสลุงท่ีบรรจุน้ำ�สะอาด กลายเป็นนำ้�สุคันโธทกะซ่ึง
สำ�หรับใช้สรงน้ำ�พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระธาตุ พระศรีมหาโพธ์ิที่
วัดพระธาตุศรีจอมทอง ซึ่งเป็นวัดที่เก่าสำ�คัญที่สุดของอำ�เภอจอมทอง
ในวนั นจ้ี ะมกี ารน�ำ พระบรมสารรี กิ ธาตขุ องพระพทุ ธเจา้ ออกมาสรงน�้ำ ใน
วนั พญาวัน จึงถอื ว่าวนั นเี้ ปน็ วนั ส�ำ คัญทศ่ี ักด์สิ ิทธ์ิอยา่ งยงิ่

๗๘ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

นอกจากน้ี ในบางท้องท่ีจะมีการทำ�บุญใจบ้าน ซ่ึงก็คือที่ตั้ง
ของเสาใจบ้าน หรือสะดือบ้าน จะมีการจัดทำ�ร้ัวราชวัตร ประดับด้วย
ตน้ กลว้ ย ตน้ ออ้ ยและอนื่ ๆ อยา่ งสวยงาม แลว้ เตรยี มอาสนสงฆไ์ วจ้ ากนน้ั
มกี ารโยงฝา้ ยลว้ ง หรอื ดา้ ยสายสญิ จนจ์ ากเสาใจบา้ นสง่ ตอ่ กนั ทกุ หลงั คา
เรือน และจะท�ำ แตะไมไ้ ผ่สานขนาด ๙๐x๙๐ เซนติเมตร จำ�นวน ๙ แผง
แลว้ ใช้ดนิ เหนยี ว หรอื แป้งข้าวปน้ั เป็นรปู สตั ว์ เช่น ช้าง มา้ หมู เป็ด ไก่
เป็นต้น อยา่ งละ ๑๐๐ ตวั วางบนแตะนน้ั พร้อมท้ังใส่เครือ่ งบูชาต่างๆ
ประกอบดว้ ย อาหารคาวหวาน ผลไม้ต่างๆ กลว้ ย อ้อย หมาก พลู เมีย่ ง
บหุ รี่ และใชไ้ มท้ �ำ หอบดาบ แหลนหลาว หนา้ ไม้ ปนื ธนู วางบนแตะทั้ง
๙ นน้ั เพ่ือเตรียมท�ำ พธิ ีส่งเคราะหบ์ า้ น หรอื พิธสี ่งนพเคราะหท์ ั้ง ๙

ภาพ : การท�ำ บญุ ใจบา้ นของหมู่บา้ นซง่ึ จะมีพิธสี ง่ เคราะห์บา้ น และสืบชะตาบ้าน
ทม่ี าของภาพ : ประเพณที อ้ งถน่ิ ในประเทศไทย ศูนย์มานษุ ยวทิ ยาสริ ินธร
https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=10

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๗๙

ประเพณี สรงนำ้ �พระ

ใ น ช่ ว ง บ่ า ย ข อ ง วั น พ ญ า วั น จ ะ เ ป็ น ช่ ว ง เว ล า
ของการไปดำ�หัวคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้อง
ผู้อาวุโส ผู้มีบุญคุณ หรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการ
ขอขมาลาโทษอันเนื่องจากท่ีได้ประพฤติในสิ่งที่ไม่สมควรแด่
ท่านเหล่าน้ัน การดำ�หัวอาจนับไปถึงการดำ�หัวพระเจ้า คือ
การไปแสดงความคารวะตอ่ พระพทุ ธรปู ทีส่ ำ�คัญประจ�ำ เมือง เช่น
พระเสตังคมณีหรือพระแก้วขาววัดเชียงมุ่น พระพุทธสิหิงส์และ
พระเจ้าทองทิพย์ที่วัดพระสิงห์ พระเจ้าเก้าตื้อที่วัดสวนดอก
เป็นต้น (โฮงเฮยี นสืบสานภูมิปญั ญาลา้ นนา, ๒๕๕๑: ๒๙)

และหน่วยงานรภาาชพกา:รกตา่ารงสๆรงจนะ้ำ�จพัดรใะหพ้มุทสี ธถราูปนใทนส่ีวัน�ำ หพรญบั าสวรนั งปนรำ�้ ะพชราะชในนชศว่รงัทปธีใาเชหามวเ่ บม้าอื นง

๘๐ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง



ประเพณดี �ำ หวั

การดำ�หัว น้ันคือการสระผมของล้านนา มีวิธีการดำ�หัว
๓ ประการ (มณี พยอมยงค,์ ๒๕๔๗: ๗๕)
(๑) การด�ำ หวั โดยการสลัดน้ำ�สม้ ปอ่ ย หรือนำ้�มนตใ์ สศ่ รี ษะเพ่ือ
ขับไลเ่ สนียดจัญไรส่งิ ชัว่ ร้ายในวันสังขานตล์ อ่ ง หรือวนั ท่ีท�ำ พธิ ี
สะเดาะเคราะห์เวลาเจ็บปว่ ย
(๒) การด�ำ หวั คอื การสระผมของคนเมอื งในอดตี กาล โดยเอาน�ำ้
ผสมกับมะกรูด และใบไม้สมุนไพร “ใบหมี่” ต้มน้ำ�สุกนำ�มา
สระผม
(๓) การดำ�หัว คอื การคารวะกราบไหวผ้ ู้อาวโุ ส คอื บดิ า มารดา
ครบู าอาจารย์ เจา้ เมอื ง ผปู้ กครองทอ้ งถนิ่ ซง่ึ ตนเคารพนบั ถอื และ
เป็นทีน่ ับถอื ของคนหมู่มาก
เครอื่ งพธิ สี �ำ หรบั ด�ำ หวั นนั้ ประกอบดว้ ยขา้ วตอกดอกไม้ ธปู เทยี น
น�้ำ ขมน้ิ สม้ ปอ่ ย และของบรวิ ารอน่ื ๆ เชน่ มะมว่ ง มะปราง แตงกวา กลว้ ย
ออ้ ย ขนม ขา้ วตม้ หมากพลู บหุ ร่ี หรอื เงนิ ทอง อาจมเี สอ้ื ผา้ กางเกง ผา้ ซน่ิ
ผา้ ขนหนหู รอื ของทรี่ ะลกึ จดั ตกแตง่ ใสพ่ านหรอื ภาชนะเรยี บรอ้ ยสวยงาม
การดำ�หัวน้ีมักไปช่วงเวลา ๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ซึ่งเป็นเวลาท่ีอากาศ
ไม่ร้อน เมื่อขบวนดำ�หัวไปถึงผู้นำ�ก็จะนำ�พานข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน
และน้ำ�ขม้ินส้มป่อยรวมท้ังของที่นำ�ไปดำ�หัวไปมอบให้ด้วยความเคารพ
และกลา่ วขอขมาลาโทษเป็นทำ�นองวา่


“วันนี้เป็นวันเดือนชีปีใหม่ หมู่ลูกหลานทังหลายได้มาขอขมาลาโทษ
พ่ออุ๊ย แมอ่ ยุ๊ (หรอื บอกชอ่ื ผู้รบั การด�ำ หวั ) แมน้ วา่ พวกข้าเจ้าทังหลานได้ปากลำ�้ ค�ำ
เหลอื ล่วงเกินด้วยประการใดๆ ก็ดีขอพ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย (หรอื บอกชื่อผูร้ ับการด�ำ หวั ) ได้
ห้อื ขมาลาโทษแกฝ่ งู ขา้ เจ้าทงั หลายด้วยเทอะ”

๘๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ภาพ : การด�ำ หวั ผู้อาวโุ สของคนเมอื งในช่วงปีใหม่เมือง

ผู้รับการดำ�หัวจะรับประเคนของแล้วให้พรด้วยคำ�ปันพรซ่ึงมี
หลายส�ำ นวน โดยจะนำ�เสนอในบทท่วี า่ ด้วยคำ�เวนทาน คำ�ปันพร คำ�มัด
มอื ในประเพณีปีใหมเ่ มืองตอ่ ไป
การด�ำ หวั ผมู้ พี ระคณุ ตอ่ คนในวงกวา้ งหรอื ผมู้ อี �ำ นาจบงั คบั บญั ชา
อาทิ พระสงฆ์ผู้ทรงคุณเป็นอเนก กษัตริย์และราชวงศ์ช้ันสูง ขุนนาง
ผูว้ า่ ราชการจังหวดั นายอ�ำ เภอ หรอื ผูบ้ รหิ ารของหนว่ ยงานองคก์ รตา่ งๆ
จะเป็นการดำ�หัวของคนจำ�นวนมาก จะมีการแต่งดาเคร่ืองสักการะที่มี
ความวจิ ิตรบรรจง และมปี ริมาณมากข้นึ มีขนาดใหญข่ ้นึ เช่น น้ำ�ส้มปอ่ ย
จะบรรจใุ นขนั หรอื สลงุ ขนาดใหญ่ ขนั หรอื พานดอกไมธ้ ปู เทยี นขนาดใหญ่
ดอกไมจ้ ดั เปน็ พุ่มขนาดใหญ่ เรียกโดยรวมว่า “เครือ่ งสักการะ”

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๘๓

ภาพ : เคร่ืองสกั การะและควั ด�ำ หวั ตามจารตี ปฏบิ ตั ขิ องชาวลา้ นนา

การแตง่ ดาควั ด�ำ หวั

ตอนบา่ ยของวนั พญาวนั น้ี บางทบ่ี างแหง่ กจ็ ะมกี ารไปด�ำ หวั หรอื
คารวะผเู้ ฒ่าผ้แู ก่ บิดามารดา ญาตพิ ่ีนอ้ ง ผูม้ ีอาวุโส ผมู้ ีบุญคุณ หรอื ผทู้ ่ี
มคี วามเคารพนบั ถอื เพอื่ เปน็ การขอขมาลาโทษหรอื ภาษาลา้ นนาเรยี กวา่
“ไปสุมา คราวะ” เน่ืองจากในปีทีผ่ า่ นมาอาจทำ�ใหท้ า่ นโกรธเคือง หรือ
ได้ล่วงลำ้�ดว้ ยกาย วาจา ใจ ก็ไปขอขมา และขอพรปใี หม่ เคร่ืองอุปโภค
บรโิ ภคทน่ี �ำ ไปด�ำ หวั ไดแ้ ก่ ขา้ วตอกดอกไม้ ธปู เมอื ง ผา้ นงุ่ เชน่ เสอ้ื ผา้ ซน่ิ
ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว มีขนมอาหารที่ทำ�ในช่วงปีใหม่ เช่น
ข้าวแตน ข้าวหนมจ็อก แหนม ห่อนึ่ง เป็นต้น ผลไม้ท่ีออกมากใน
ชว่ งปใี หมก่ จ็ ะมมี ะปรางซงึ่ จะใสใ่ นชะลอมสานไวอ้ ยา่ งงดงาม นอกจากนน้ั
กจ็ ะมหี มากพลู และปัจจยั ใสใ่ นซองจดหมายแลว้ แต่ความสมควร

๘๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง



ภาพ : ขนั ดอกน�ำ ขบวนแหไ่ มค้ ำ�สะหลี ถือเปน็ เครื่องสกั การะบชู าของคนเมอื ง

เครอ่ื งสกั ก�ระล�้ นน�

เคร่ืองสักการะและเครื่องประกอบพิธีในพุทธศาสนา
ถือเป็นของสูงและของศักด์ิสิทธิ์ซ่ึงถือคติท่ีสืบทอดมาตั้งแต่
สมัยพุทธกาล เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
พระธรรมและพระสงฆ์ อันเป็นส่งิ เคารพบูชาสูงสุดของชาวพุทธ
นอกจากจะมีคติความเชื่อทางพุทธศาสนาเป็นรากฐานแล้ว
ยังอาจจะมีความสัมพันธ์หรือผสมผสานกับคติแบบพราหมณ์
และคติของท้องถ่ิน จึงทำาให้เกิดการสร้างสรรค์รูปแบบของ
เคร่ืองสักการะและเคร่ืองประกอบพิธีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
(ฐิติพร สะสม, ๒๕๖๒) เครื่องสักการะล้านนาเป็นเคร่ืองหมาย
ของการเคารพสูงสุดของชาวล้านนาโดยท่ีเครื่องสักการะบูชา
ของชาวล้านนามีสิ่งของหลัก คือ ข้าวตอก ดอกไม้ และธูป
เทียน เครื่องสักการะดังกล่าวน้ีอาจใช้บูชาบุคคลที่ควรแก่
การบชู า รวมไปถงึ ผ ี เทวดา เทพเจา้ และสงิ่ ศกั ดสิ์ ทิ ธติ์ ามความเชอื่

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๘๗

ภาพ : สวยดอกไมบ้ ูชา ธปู เทียน และชอ่

การจัดเตรียมเครื่องสักการะของชาวล้านนา ซ่ึงแฝงไปด้วย
คติความเชื่อและศรัทธาของชาวล้านนาโดยสามารถตีความผ่านสิ่งท่ีนำ�
มาใช้ประดิษฐ์เครื่องสักการะ จากงานวิจัยของ ฐิติพร สะสม (๒๕๖๒)
พบว่า คติความเชื่อท่ีแฝงอยู่ในส่ิงท่ีนำ�มาทำ�เคร่ืองสังการะ ได้แก่
(๑) ข้าวตอก
ข้าวตอกหรือที่ภาษาบาลี เรียกว่า “ลาชา” ได้มาจากการนำ�
เอาข้าวเปลือกหรือข้าวโพดมาคั่วในหม้อดินด้วยไฟอ่อนๆ จนเมล็ดข้าว
น้ันแตกออกมาเป็นสีขาวบริสุทธิ์และมีกลิ่นหอมใช้เป็นเคร่ืองบูชาพระผู้
มีพระภาคเจ้าด้วยคุณสมบัติท่ีเปรียบประดุจได้กับคุณของพระพุทธเจ้า
สามประการกล่าวคือ ขณะค่ัวข้าวตอกมีลักษณะแตกกระจายออกเป็น
ดอกเปรียบเสมือนความแตกฉานของพระปัญญาธิคุณ สีของข้าวตอกมี
สขี าวบรสิ ทุ ธเิ์ ปรยี บดงั พระวสิ ทุ ธคิ ณุ และลกั ษณะเบง่ บานดจุ พระเมตตา
ทเี่ บง่ บานงดงามเปรยี บเสมือนพระมหากรุณาธคิ ณุ
(๒) เทยี น
เทยี นหรอื ทภ่ี าษาบาลวี า่ “อคั คธิ ปู ะ” โดยที่ อคั คิ หมายถงึ เทยี น
ข้ีผึ้งท่ีสามารถจุดให้เกิดแสงสว่าง ส่วนคำ�ว่า “ธูปะ”หมายถึงธูป ท่ีชาว
ล้านนาเรยี กว่า “เทยี นแส้” ซ่งึ เทยี นแสน้ ้ชี าวล้านนาไมน่ ยิ มน�ำ มาจุดแต่
มีไว้เพียงเพ่ือเป็นเคร่ืองสักการะบูชาเท่าน้ัน ชาวล้านนาจะทำ�เทียนแส้
จากดอกไม้แหง้ ทีม่ ีกลิน่ หรือเปลือกของต้นโชค ซ่งึ เชอื่ ว่าค�ำ วา่ โจค หรือ
โชค จะน�ำ มาซ่งึ ความโชคดี

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๘๙

(๓) ดอกไม้
ดอกไม้ เปน็ สงิ่ มชี วี ติ มคี วามสวยงาม มกี ลน่ิ หอม มคี วามบรสิ ทุ ธ์ิ
และควรค่าแก่การบูชา ดังนั้นคนในสมัยโบราณจึงนำ�เอาดอกไม้มาเป็น
ส่วนหนึ่งในเคร่ืองสักการะสูงสุดและที่สำ�คัญไปกว่าส่ิงอื่นใดเกี่ยวกับคติ
ความเช่ือของชาวล้านนาท่ีเชื่อว่าดอกไม้เป็นสิ่งท่ีมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์
ดงั น้ันจงึ พงึ ท่ีได้รบั อานิสงสจ์ ากการอทุ ศิ ตนถวายเปน็ พุทธบูชา ดอกไมท้ ี่
น�ำ มาบูชาพระ นั้น นยิ มจดั เปลย่ี นให้สดอยู่เสมอ อันเปน็ นมิ ิตหมายแหง่
ความสดช่ืนความรุ่งเรือง ไม่นิยมปล่อยให้เห่ียวแห้งเป็นนิมิตหมายแห่ง
ความหดหู่ใจ
(๔) หมาก
หมากเป็นไม้มีค่า และเป็นไม้เศรษฐกิจของชาวล้านนาสามารถ
นำ�ไปขายเป็นเงินรายได้ของผู้ครอบครอง หลักฐานเรื่องราวเกี่ยวกับ
หมากปรากฏในศลิ าจารึกวา่ เมอื่ ประมาณ ๕๐๐ ปีก่อน มีการร้องเรยี น
ไปยัง “โรงคำ�” หรือคุ้มหลวงของกษัตริย์ว่าได้มีปากท้าวคนหนึ่งถอน
หมากทเ่ี ปน็ สมบตั ขิ องพระเจา้ (พระพุทธรปู ) ออกไป กษัตรยิ ์จงึ รับสั่งวา่
“หมากพระเจ้าอันปากท้าวเอาออก ให้ไว้กับพระเจ้าดังเก่า”
หมากพระเจา้ นน้ั หมายถึง หมากที่จะถวายแดพ่ ระพุทธรูปซึง่ ถือวา่ เป็น
เครือ่ งบูชา ในศิลาจารึก ๑.๕.๑.๑ วดั ควาง พ.ศ.๒๐๓๓ ได้กลา่ วถึงของ
ทีจ่ ัดถวายบชู าแด่พระพทุ ธรูป มีช่ือ ขันหมากพระเจ้า ปรากฏอย่ดู ว้ ยว่า
“เครื่องบูชาพระเจา้ (มี) ขนั หมากเบงเครื่องพรอ้ ม” (ศรีเลา เกษพรหม,
๒๕๕๒)
ชาวล้านนาจึงนำ�เอาหมากซ่ึงเป็นส่ิงมีค่านำ�มาบูชาในรูปของ
เครือ่ งสักการะเพอื่ พทุ ธบชู า และบูชาบุคคลทีค่ วรคา่ แกก่ ารสักการะ

๙๐ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

ภาพ : แม่อยุ๊ ชาวแมแ่ จม่ กำ�ลังคว่ั ขา้ วตอกสำ�หรบั ใชใ้ สส่ วยดอก และขันดอก

เครอื่ งสักการะในล้านนา ๕ ประการ
เครื่องสักการะกราบไหว้บูชาเป็นท้ังเคร่ืองขมาและขอพร
ประกอบด้วย
o พานดอกไม้ หรอื ขนั ดอก
ใสด่ อกไม้ ๒ สว่ นมากน้อยแลว้ แต่ความเหมาะสม มีเทยี น ๑ คู่
ธปู ๑ คู่ ข้าวตอก เทียนธปู หรอื ธูปแบบโบราณ คอื การเอาผงหอม เช่น
ดอกสารภีแห้งเปน็ ต้นมาม้วนดว้ ยกระดาษสตี ่างๆ ใหม้ ขี นาดเทา่ เทยี น
เรยี กว่า “เทียนธูป” ใส่พานเปน็ เครอื่ งสักการะ

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๙๑

o ต้นดอก
เป็นต้นท่ใี ช้ไม้หรอื โลหะมาท�ำ พมุ่ ถาวร ลกั ษณะเปน็ สามเหล่ียม
มีโพรงอยู่ตรงกลาง สำ�หรับเอาดอกไม้สอดเข้าไป โดยมากจะนำ�เอา
ใบเล็บครุฑ ใบดอกใหม่ หรือชบามาอัดใส่จนเต็มแล้วตัดจนเรียบ
ท้ังสามด้าน ถ้าเป็นแบบชาวบ้านจะนำ�เอาดอกไม้หลากหลายชนิดมาใส่
รวมกนั ท�ำ เปน็ ต้นดอกกไ็ ด้
o หมากสมุ่
เป็นการทำ�ต้นพุ่มที่นำ�เอาผลหมากท่ีใช้เคี้ยวของชาวบ้านมาปัก
ใส่ไว้ที่โครงท่ีเตรียมไว้ หมากท่ีใช้เรียกว่า “หมากไหม” คือหมากที่ผ่า
เป็นซกี ๆ แล้วเสยี บรอ้ ยดว้ ยปอหรอื ด้ายผูกไว้เป็นพวง ตากแห้งเกบ็ ไวก้ ิน
ตลอดปี ซึ่งเป็นสิ่งท่ีใช้กันในล้านนามาช้านาน พวกไทใหญ่มักจะเรียก
ชาวล้านนาวา่ “โยนโหถากกินหมากไหมยาว” (ชาวยวนหรอื โยนกตดั ผม
เกรียนชอบกินหมากไหมยาว) เม่ือทำ�โครงแล้วเสร็จจึงนำ�หมากไหมมา
คลมุ โครงนัน้ เรยี กว่า “หมากสุ่ม”
o หมากเบง็
คือหมากท่ีใช้ไม้หรือทองเหลืองทำ�เป็นโครงร่างของพุ่มสูง
ประมาณ ๑ ศอกแล้วใชห้ มากดบิ หรอื หมากสกุ จำ�นวน ๒๔ ลกู มาผูก
ติดไว้กับโครง การผูกยึดโยงกันน้ันทางล้านนาเรียกว่า “เบ็ง” คือการ
ตรงึ หมากไวก้ บั โครงพมุ่ จึงเรียกว่า “หมากเบ็ง” บางรูปแบบจะมีการจะ
มกี ารสานใบมะพรา้ วเปน็ รปู หา้ เหลยี่ มตรงฐานของหมากแตล่ ะลกู เรยี กวา่
“หมงบะเด็ง” แล้วจึงนำ�มาประกอบโดยใช้ไม้เสียบปักลงบนแกน
โครงไมจ�ำ นวนหมาก ๒๔ ลกู นั้น มณี พยอมยงค์ (๒๕๔๗) ได้สัมภาษณ์
ครบู าค�ำ แสน อนิ ทจกั โก หรอื พระครคู นั ธศลี วดั สวนดอก จงั หวดั เชยี งใหม่
ทา่ นไดอ้ ธบิ ายว่า การกำ�หนดหมากเบง็ ใหม้ ีจ�ำ นวน ๒๔ ลกู นั้น หมายถงึ

๙๒ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

เคร่ืองหมายแห่งปัจจัย ๒๔ ท่ีปรากฏในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เรียกว่า
มหาปัฏฐาน คือ เหตุปัจจโย มีเหตุเป็นปัจจัย อารัมมณปัจจโย
อารมณ์เป็นปัจจัย เป็นต้น การนำ�เอาส่ิงเหล่าน้ีมาประกอบไว้ใน
เคร่ืองสักการะ ก็เพ่ือแสดงถึงความจริงท่ีปรากฏในรูปสภาวธรรม
o ต้นเทยี น
คือการนำ�เอาคามามัดเป็นต้นมีสามขา แล้วนำ�เทียนข้ีผ้ึงมาผูก
เป็นค่ๆู แขวนไว้บนปลายไม้ปกั ต้นคารวมแลว้ ให้ได้จำ�นวน ๑๐๘ เลม่
o ต้นผึ้ง
เป็นการนำ�เอาขี้ผ้ึง ป้ันเป็นรูปดอกไม้ นำ�ดอกไม้มาตกแต่ง
เสียบก้านทางมะพร้าว ปักลงบนต้นกล้วยหรือต้นคาสามขาเช่นเดียว
กับต้นเทียน โดยดอกข้ีผึ้งรวมกันแล้วมีจ�ำ นวน ๑๐๘ ดอก ในอดีตข้ีผ้ึง
เป็นส่ิงจำ�เป็นสำ�หรับพระภิกษุอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องนำ�มาทำ�เทียนจุด
อ่านหนังสือ จุดอ่านพระธรรมคัมภีร์และยังสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์
ในการอุดรูร่ัวของเคร่ืองถ้วย นัยยะทางพระพุทธศาสนา การถวายขี้ผึ้ง
เป็นการใหแ้ สงสว่าง ใหเ้ กิดสติปญั ญา ขีผ้ ง้ึ จึงเป็นเคร่ืองสักการะทส่ี �ำ คญั
อีกประการหน่งึ

o พลูสมุ่ และสวยหมากพลู
คอื ใบพลจู ดั เรยี งเยบ็
เขา้ กบั โครงไมแ้ ลว้ จดั เปน็ พมุ่
ใบพลูนั้นใช้ควบคู่กับหมาก
และปนู แดง ชาว ลา้ นนามัก
จะปลูกไว้บริเวณบ้าน หรือ

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๙๓

ฮ้านน�้ำ (ร้านน้ำ�) ทีเ่ รยี กวา่ ก้างพลู ถือเปน็ พืชที่ทุกบ้านต้องมี และใชใ้ น
พิธีกรรมความเชื่อ ส่วนสวยหมากพลู คือ การนำ�เอาหมากพลู ยาสูบ
หนังก่อ (เปลือกก่อ) มารวมกันห่อด้วยใบตอง (ใบพลวง) เป็นรูปกรวย
แหลมสำ�หรับตงั้ ไวใ้ นถาดหรือสลุง

๙๔ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง

การไปดำ�หัวเป็นหมู่คณะใหญ่ และไปดำ�หัวบุคคลสำ�คัญ เช่น
ต๊หุ ลวง (เจา้ อาวาส) พระเถระชั้นผใู้ หญ่ เจา้ เมืองหรอื ผูว้ ่าราชการจงั หวัด
จะมีการจัดเป็นขบวนแห่กันไปโดยข้าวของเคร่ืองสักการะท่ีหนัก จะใส่
แครห่ าม หรือ จองออ้ ย คือแคร่คานหามทมี่ ีกระบะและมีขาสงู ระดับเอว
มีคานหาม ภายในบรรจุเคร่ืองอุปโภคบริโภค เช่น ผ้าห่ม ผ้าขะม้า
ผา้ ขนหนู หัวหอม กระเทียม กล้วยทง้ั เครอื มะพร้าวท้งั ทะลาย มะมว่ ง
มะปราง ฟกั แฟง แตง และพืชผักตามฤดูกาล เปน็ ต้น สว่ นเครอื่ งทพ่ี อ
ยกไหวก็นำ�เอาใสถ่ าดหรอื สลุงแบกไป
หากเป็นขบวนแห่ใหญ่โตอย่างการไปดำ�หัวพระบาทสมเด็จ-
พระเจา้ อยู่หวั ก็จะมีการจัดรวิ้ ขบวนขนาดใหญ่ มีการละเลน่ ตา่ งๆ แสดง
ด้วย เช่น การฟ้อนรำ� การฟ้อนเชิงตบมะผาบ การฟ้อนดาบ เป็นต้น
มีเคร่อื งแหก่ ลองตง่ึ โนงฟอ้ นเลบ็ กลองมองเซงิ กลองสะบัดชยั กลองปูเ่ จ่
แน (แตร) เรียงรายกัน โดย มณี พยอมยงค์ (๒๕๔๗: ๗๙) ไดเ้ รียบเรยี ง
รูปแบบขบวนเบื้องตน้ ไว้ ดังน้ี
(๑) ขบวนชา่ งฟอ้ น
(๒) เคร่อื งสกั การะ
(๓) ข้าราชการผใู้ หญท่ เี่ ป็นหวั หนา้ ตามดว้ ยขา้ ราชการ
และประชาชน
(๔) เครื่องอุปโภคบริโภค
(๕) ดนตรีและการละเลน่ ต่างๆ
(๖) เครือ่ งแหก่ ลองมองเซิง และการเล่นผีโขน เป็นตน้

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๙๕

ความเปน็ มาของสม้ ปลอ่ ย
ส้มปล่อยเป็นส่วนประกอบสำ�คัญในการเตรียมนำ้�ในพิธีกรรม
อย่างการดำ�หัวและการรดน้ำ�เพ่ือสิริมงคล เป็นต้น ดังที่เรียกว่า
นำ้�เข้าหมิ้นส้มปล่อย คือนำ้�ที่เป็นสุคันโธทกะ คือน้ำ�อบน้ำ�หอมนั้นจะ
มีขม้ินละลายอยู่ให้มีสะเหลืองและใช้ฝักแห้งของส้มปล่อยป้ิงไฟให้หอม
แล้วหกั เป็นทอ่ น ๆ ใส่รวมลงไปในนำ้�ดว้ ย (ระยะหลังไมป่ รากฏการใช้
ขมิ้นละลายในน้ำ�) กล่าวกันว่าผู้ท่ีมีคาถาอาคมนั้นหากไปลอดส่ิงที่ทำ�ให้
อาคมเสือ่ ม เช่น ลอดราวผา้ ซ่นิ ลอดใตร้ า้ นบวบ ลอดเครอื กล้วย หาใช้
น้ำ�ส้มปล่อยลูบตามตัวหรืออาบนำ้�แช่ฝักส้มปล่อยแล้ว คาถาที่เส่ือมไป
นั้นจะกลบั คนื มาเหมือนเดิม
เรอ่ื งราวของสม้ ปลอ่ ยนมี้ ปี รากฏในพรหมจกั กชาดก ซง่ึ เปน็ เรอ่ื ง
แปลกจากรามเกยี รตม์ิ าเป็นชาดกลา้ นนา โดยกลา่ วว่า
ตอนทท่ี รพซี ง่ึ เปน็ ลกู ไดต้ อ่ สกู้ บั พอ่ คอื ควายทรพานน้ั ทรพเี พลย่ี ง
พลำ้�จนต้องถอย แตบ่ ังเอญิ ถอยไปชนตน้ สม้ ปลอ่ ยและฝกั ส้มปล่อยหลน่
ลงมากระทบหัวของทรพี ทำ�ให้เกิดกำ�ลังเพิ่มพูนข้ึน จึงขวิดโต้กลับจน
ควายผู้พ่อถอยไปชนต้นมะขามป้อม และผลมะขามป้อมหล่นลงบนหัว
ทำ�ให้กำ�ลังขอพ่อควายเส่ือมลง ฝ่ายลูกคือทรพีได้ทีจึงขวิดพ่อจนเลือด
โทรมและออ่ นก�ำ ลัลงจนถงึ แก่ความตายในทส่ี ุด
สว่ นในชาดกเรอื่ งปณุ ณนาคกมุ ารนน้ั ระบไุ วว้ า่ สม้ ปลอ่ ยทถ่ี อื วา่
เป็นอย่างพเิ ศษทใ่ี ช้ในพธิ ีส�ำ คญั หรือทตี่ ้องการเพมิ่ ความสำ�คัญแก่พธิ ีการ
แลว้ ใหค้ ดั เลอื กฝกั สม้ ปลอ่ ยทม่ี จี �ำ นวนขอ้ ถงึ เจด็ ขอ้ หรอื มเี มลด็ เจด็ เมลด็

๙๖ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง



วนั ปากปี ปากเดอื น ปากวนั และปากยาม
วนั เรมิ่ ตน้ ปใี หม่ และควนั หลงปใี หมเ่ มอื ง


Click to View FlipBook Version