The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Computer science Demonstration school of Suan Sunandha Rajaphat University

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by DS_SSRU, 2024-05-12 07:13:22

วิทยาการคำนวณ ป.4

Computer science Demonstration school of Suan Sunandha Rajaphat University

Keywords: Computer science

สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 1. ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการ แก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน การคาดการณ์ผลลัพธ์ จากปัญหาอย่างง่าย ➢ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนำกฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไข ที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณาในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน หรือการคาดการณ์ผลลัพธ์ ➢ สถานะเริ่มต้นของการทำงานที่แตกต่างกันจะให้ผลลัพธ์ ที่แตกต่างกัน ➢ ตัวอย่างปัญหา เช่น เกม OX โปรแกรมที่มีการคำนวณ โปรแกรมที่มีตัวละครหลายตัวและมีการสั่งงานที่แตกต่าง หรือมีการสื่อสารระหว่างกัน การเดินทางไปโรงเรียน โดยวิธีการต่าง ๆ 2. ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหา ข้อผิดพลาดและแก้ไข ➢ การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย เช่น การออกแบบโดยใช้ storyboard หรือการออกแบบอัลกอริทึม ➢ การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลำดับของคำสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่า จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ➢ ตัวอย่างโปรแกรมที่มีเรื่องราว เช่น นิทานที่มีการโต้ตอบ กับผู้ใช้ การ์ตูนสั้น เล่ากิจวัตรประจำวัน ภาพเคลื่อนไหว ➢ การฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของผู้อื่นจะช่วย พัฒนาทักษะการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น ➢ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น Scratch, logo ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้


ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 3. ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ ➢ การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ ➢ การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น พิจารณา ประเภทของเว็บไซต์ (หน่วยงานราชการ สำนักข่าว องค์กร) ผู้เขียนวันที่เผยแพร่ข้อมูล การอ้างอิง ➢ เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องนำเนื้อหา มาพิจารณา เปรียบเทียบ แล้วเลือกข้อมูลที่มีความ สอดคล้องและสัมพันธ์กัน ➢ การทำรายงานหรือการนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูล มาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเองที่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ (บูรณาการกับวิชา ภาษาไทย) 4. รวบรวม ประเมิน นำเสนอข้อมูล และสารสนเทศ โดยใช้ซอฟต์แวร์ ที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหา ในชีวิตประจำวัน ➢ การรวบรวมข้อมูล ทำได้โดยกำหนดหัวข้อที่ต้องการ เตรียมอุปกรณ์ในการจดบันทึก ➢ การประมวลผลอย่างง่าย เช่น เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เรียงลำดับการหาผลรวม ➢ วิเคราะห์ผลและสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ ประเมิน ทางเลือก(เปรียบเทียบ ตัดสิน) ➢ การนำเสนอข้อมูลทำได้หลายลักษณะตามความเหมาะสม เช่น การบอกเล่า เอกสารรายงาน โปสเตอร์ โปรแกรม นำเสนอ ➢ การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่นการ สำรวจเมนูอาหารกลางวันโดยใช้ซอฟต์แวร์สร้าง แบบสอบถามและเก็บข้อมูล ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูล รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าทาง โภชนาการและสร้างรายการอาหารสำหรับ 5 วัน ใช้ ซอฟต์แวร์ นำเสนอผลการสำรวจรายการอาหารที่เป็น ทางเลือกและข้อมูลด้านโภชนาการ


ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 5. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพ ในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้อง เมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม ➢ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและ หน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่สร้างข้อความ เท็จและส่งให้ผู้อื่น ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่นโดยการ ส่งสแปม ข้อความลูกโซ่ ส่งต่อโพสต์ที่มีข้อมูลส่วนตัวของ ผู้อื่น ส่งคำเชิญเล่นเกม ไม่เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือการบ้าน ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์/ ชื่อบัญชีของผู้อื่น ➢ การสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้กาลเทศะ ➢ การปกป้องข้อมูลส่วนตัว เช่น การออกจากระบบ เมื่อเลิกใช้งานไม่บอกรหัสผ่าน ไม่บอกเลขประจำตัว ประชาชน ➢ การทำรายงานหรือการนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูล มาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเองที่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ (บูรณาการกับวิชา ภาษาไทย)


เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 40 ชั่วโมง / ปี คำอธิบายรายวิชา ตัวชี้วัด ว. 4.2 เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) 1. ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน การคาดการณ์ผลลัพธ์ จากปัญหาอย่างง่าย 2. ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข 3. ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 4. รวบรวม ประเมิน นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหา ในชีวิตประจำวัน 5. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม รวม 5 ตัวชี้วัด ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับการใช้อัลกอริทึมเป็นขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหา การแสดงอัลกอริทึม ทำได้โดยการเขียน บอกเล่า วาดภาพหรือใช้สัญลักษณ์ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงานหรือการคาดการผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย การออกแบบและเขียนโปรแกรม อย่างง่าย การตรวจหาข้อผิดพลาดในโปรแกรม การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและการใช้คำค้น การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การประมวลผลอย่างง่าย การวิเคราะห์ผล และสร้างทางเลือก การนำเสนอข้อมูล การสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้กาลเทศะ การปกป้องข้อมูลส่วนตัว


เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 40 ชั่วโมง / ปี ลำดับที่ หน่วยการเรียนรู้/เรื่อง มาตรฐาน การเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) คะแนน 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างปลอดภัย ว 4.2 ป.4/5 - การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิ และหน้าที่ของตน เคารพ ในสิทธิของผู้อื่น - การสื่อสารอย่างมีมารยาท และรู้กาลเทศะ - การปกป้องข้อมูลส่วนตัว - การนำเสนอข้อมูลจะต้อง นำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเอง ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และวิธีการนำเสนอ 4 10 2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต ว 4.2 ป.4/3 - การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ ที่รวดเร็วและตรงตาม ความต้องการ - การประเมินความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล - เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการ จะต้องนำเนื้อหามาพิจารณา เปรียบเทียบ แล้วเลือกข้อมูล ที่มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กัน - การนำเสนอข้อมูลจะต้อง นำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเอง ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และวิธีการนำเสนอ 6 10 โครงสร้างรายวิชา


ลำดับที่ หน่วยการเรียนรู้/เรื่อง มาตรฐาน การเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) คะแนน 3 การนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ ว 4.2 ป.4/4 - การรวบรวมข้อมูล ทำได้โดย กำหนดหัวข้อที่ต้องการ เตรียมอุปกรณ์ในการจดบันทึก - การประมวลผลอย่างง่าย เช่น เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เรียงลำดับการหาผลรวม - วิเคราะห์ผลและสร้าง ทางเลือกที่เป็นไปได้ ประเมิน ทางเลือก (เปรียบเทียบ ตัดสิน) - การนำเสนอข้อมูลทำได้หลาย ลักษณะตามความเหมาะสม เช่น การบอกเล่า รายงาน โปสเตอร์ โปรแกรมนำเสนอ - การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน 10 10 4 อัลกอริทึมและการแก้ปัญหา เชิงตรรกะ ว 4.2 ป.4/1 - การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็น การนำกฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไข ที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้ พิจารณาในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน หรือการ คาดการณ์ผลลัพธ์ - สถานะเริ่มต้นของการทำงาน ที่แตกต่างกันจะให้ผลลัพธ์ ที่แตกต่างกัน 10 10


ลำดับที่ หน่วยการเรียนรู้/เรื่อง มาตรฐาน การเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) คะแนน 5 การเขียนโปรแกรม เพื่อช่วยแก้ปัญหา ในชีวิตประจำวัน ว 4.2 ป.4/2 - การออกแบบโปรแกรม อย่างง่าย เช่น การออกแบบ โดยใช้storyboard หรือการ ออกแบบอัลกอริทึม - การเขียนโปรแกรมเป็นการ สร้างลำดับของคำสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบ การทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่า จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง 10 20 สอบปลายภาค 40 รวม 40 100


หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการ เรียนรู้ วิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ทักษะที่ได้ การประเมิน เวลา (ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศอย่าง ปลอดภัย แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 1 ลิขสิทธ์ 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. การเรียนแบบสืบ เสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 1.ใบงานที่ 1.1 2 แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 2 การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศอย่าง ปลอดภัย 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. การเรียนแบบสืบ เสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการใช้ กระบวนการ ทางเทคโนโลยี 1.ใบงานที่ 1.2 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ต และข้อควปฏิบัติ ในการใช้งาน 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนโดยการ ลงมือปฏิบัติ (Practice) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการใช้ กระบวนการ ทางเทคโนโลยี 1.ใบงานที่ 2.1 โรคออนไลน์ 2.แบบประเมิน รายบุคคล 2 โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้


หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการ เรียนรู้ วิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ทักษะที่ได้ การประเมิน เวลา (ชั่วโมง) แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 4 การใช้ประโยชน์ จากอินเทอร์เน็ต 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. วิธีการสอนโดยการ ลงมือปฏิบัติ (Practice) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการใช้ กระบวนการ ทางเทคโนโลยี 1.ใบงานที่ 2.2 Google Map 2.แบบประเมิน รายบุคคล 2 แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 5 การสืบค้นข้อมูล บนอินเทอร์เน็ต 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนโดยการ ลงมือปฏิบัติ (Practice) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการใช้ กระบวนการ ทางเทคโนโลยี 1.ใบงานที่ 2.3 ประเทศที่ อยากไป 2.แบบประเมิน รายบุคคล 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การนำเสนอข้อมูลให้ น่าสนใจ แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 6 ขั้นตอนการ นำเสนอข้อมูลให้ น่าสนใจ 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนโดยการ ลงมือปฏิบัติ (Practice) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิดอย่าง เป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการแก้ปัญหา 6.ทักษะการทำงาน ร่วมกัน 1.แบบประเมิน พฤติกรมมกลุ่ม 2


หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการ เรียนรู้ วิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ทักษะที่ได้ การประเมิน เวลา (ชั่วโมง) แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 7 การเลือกใช้ ซอฟต์แวร์เพื่อการ นำเสนอข้อมูล 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนโดยการ ลงมือปฏิบัติ (Practice) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิดอย่าง เป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการ แก้ปัญหา 1.แบประเมิน ผลงาน 2.แบบประเมิน พฤติกรรมกลุ่ม 2 แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 8 Infographic 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนโดยการ ลงมือปฏิบัติ (Practice) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิดอย่าง เป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการ แก้ปัญหา 6.ทักษะการใช้ กระบวนการ ทางเทคโนโลยี 1.แบประเมิน ผลงาน 2.แบบประเมิน รายบุคคล 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 อัลกอริทึม และการแก้ปัญหา เชิงตรรกะ แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 9 การใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหา เชิงตรรกะ 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนแบบใช้ เกม (Game) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการทำงาน ร่วมกัน 6.ทักษะการ แก้ปัญหา 1.ใบงานที่ 4.1 2.ใบงานที่ 4.2 3.แบบประเมิน พฤติกรรมกลุ่ม 2


หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการ เรียนรู้ วิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ทักษะที่ได้ การประเมิน เวลา (ชั่วโมง) แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 10 อัลกอริทึมแบบ บรรยาย 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนแบบใช้ เกม (Game) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการทำงาน ร่วมกัน 6.ทักษะการ แก้ปัญหา 1.ใบงานที่ 4.4 2.แบบประเมิน พฤติกรรมกลุ่ม 2 แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 11 อัลกอริทึม แบบผังงาน (Flowchart) 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนแบบใช้ เกม (Game) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการทำงาน ร่วมกัน 6.ทักษะการ แก้ปัญหา 1.ใบงานที่ 4.5 2.แบบประเมิน พฤติกรรมกลุ่ม 4 แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 12 อัลกอริทึม แบบซูโดโค้ด (Pseudo Code) 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนแบบใช้ เกม (Game) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิด อย่างเป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการทำงาน ร่วมกัน 6.ทักษะการ แก้ปัญหา 1.ใบงานที่ 4.2 2.แบบประเมิน พฤติกรรมกลุ่ม 2


หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการ เรียนรู้ วิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ทักษะที่ได้ การประเมิน เวลา (ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเขียนโปรแกรม เพื่อช่วยแก้ปัญหา ในชีวิตประจำวัน แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 13 โปรแกรม Scratch 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนโดยการ ลงมือปฏิบัติ (Practice) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิดอย่าง เป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการ แก้ปัญหา 1.ใบงานที่ 5.1 2 แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ 14 การเขียน โปรแกรมตาม ขั้นตอนการ แก้ปัญหา 1.วิธีการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2.วิธีการสอนโดยการ ลงมือปฏิบัติ (Practice) 1.ทักษะความคิด สร้างสรรค์ 2.ทักษะการสื่อสาร 3.ทักษะการคิดอย่าง เป็นระบบ 4.ทักษะการคิด วิเคราะห์ 5.ทักษะการใช้ กระบวนการ ทางเทคโนโลยี 6.ทักษะการ แก้ปัญหา 1.แบประเมิน ผลงาน 2.แบบประเมิน รายบุคคล 8


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย จำนวน 4 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ลิขสิทธิ์ เวลาเรียน 2 ชั่วโมง 1. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น การสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้กาลเทศะการปกป้องข้อมูลส่วนตัว การนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเองที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ 3. ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด ว 4.2 ป.4/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น จุดประสงค์ 1. อธิบายได้ว่าลิขสิทธิ์คืออะไร (K) 2. สามารถติดตั้งโปรแกรมประเภท Freeware ได้ (P) 3. ปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น (P) 4. เห็นความสำคัญของลิขสิทธิ์(A) 4. สาระการเรียนรู้ 1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่สร้างข้อความเท็จและส่งให้ผู้อื่น ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่นโดยการส่งสแปม ข้อความลูกโซ่ ส่งต่อโพสต์ที่มี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1


ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น ส่งคำเชิญเล่นเกม ไม่เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือการบ้านของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์/ชื่อบัญชีของผู้อื่น 2. การสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้กาลเทศะ 3. การปกป้องข้อมูลส่วนตัว เช่น การออกจากระบบ เมื่อเลิกใช้งานไม่บอกรหัสผ่าน ไม่บอกเลขประจำตัว ประชาชน 4. การทำรายงานหรือการนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเองที่ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ (บูรณาการกับวิชาภาษาไทย) 5. สมรรถนะสำคัญ 1. ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. ความสามารถในใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี 6. สมรรถนะทาง ICT 1. ICA 1 การเข้าถึงประเมิน และจัดการข้อมูลและสารสนเทศ 2. ICA 5 การใช้ ICT อย่างเหมาะสม (appropriate use of ICT) 7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 8. ภาระงาน ใบงานที่ 1.1 ลิขสิทธิ์ 9. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. วิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning)


1. ผู้สอนทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนด้วยการสอบถามคำถามชวนคิดง่ายๆ เพื่อเป็นการประเมินความรู้ เดิมของผู้เรียน และเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ เช่น “ถ้าเด็กๆวาดภาพมา 1 ภาพ และอยากให้เป็นภาพ เดียวที่มีในโลก ไม่อยากให้ใครมาทำซ้ำ หรือลอกเลียนแบบ เด็กๆคิดว่าควรทำอย่างไรดี?” 2. ผู้สอนเปิดคลิป รู้ทันลิขสิทธิ์ Copyright_Information] by_punpun จากลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=XPRrvR69Iyc 3. เมื่อจบคลิป ผู้สอนถามผู้เรียนว่า “ลิขสิทธิ์คืออะไร?” 4. ผู้สอนแจกใบความรู้ที่ 1 สิขสิทธิ์ให้กับผู้เรียน พร้อมอธิบายใบความรู้ ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้ สร้างสรรค์ได้ริเริ่ม โดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเอง ในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมาย ลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์ งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งาน ศิลปะประยุกต์ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบ เรียงเสียงประสานแล้ว งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึง เสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น งานโสตทัศนวัสดุเช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับ ของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก งานภาพยนตร์เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์ ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน


การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้ เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรอง ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง 5. ผู้สอนแจกใบงาน 1.1 ลิขสิทธิ์ พร้อมอธิบายวิธีการทำใบงาน คือ ให้ผู้เรียน ทำเครื่องหมาย / หน้าข้อที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และ ทำเครื่องหมาย x หน้าข้อที่ไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์ 6. ผู้สอนสุ่มผู้เรียนออกมาอธิบายใบงาน พร้อมเฉลยใบงาน 1. ผู้สอนแจกใบความรู้ที่ 2 คือ Shareware และ Freeware ผู้สอนอธิบายใบความรู้ว่า Shareware คือ โปรแกรมประเภทให้ทดลองใช้ ซึ่งจะถูกจำกัดความสามารถบางอย่างไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้โปรแกรม โดยหากสนใจใช้โปรแกรมอย่างครบทุกความสามารถ ก็ต้องจ่ายเงิน เพื่อซื้อโปรแกรมเวอร์ชั่นสมบูรณ์จากบริษัทผู้พัฒนา ข้อดีของโปรแกรมประเภท Shareware คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินก็สามารถใช้โปรแกรมได้ เมื่อพอใจจึงตัดสินใจซื้อ ส่วนด้านเจ้าของโปรแกรมก็ถือเป็นการแนะนำสินค้าที่ดีวิธีหนึ่ง ลักษณะของโปรแกรมประเภท Shareware คือ 1. มักจะให้ใช้งานได้แค่ 30 วัน ซึ่งเป็นเวอร์ชั่น Trial ที่ให้ดาวน์โหลดมาทดลองใช้ได้ฟรี 2. ไม่มีความสามารถเสริมบางประการ ต่างกับ โปรแกมเวอร์ชั่นสมบูรณ์ 3. ในการใช้งานโปรแกรมไปสักระยะหนึ่ง มักจะมีข้อความถามหา license Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่ สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า 2. ผู้สอนให้ผู้เรียน เปิดคอมพิวเตอร์และทดลองดาวน์โหลดโปรแกรม Scratch โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ดาวน์โหลดโปรแกรมแบบออฟไลน์ โดยเข้าไปที่https://scratch.mit.edu/download 2. เมื่อเข้าเว็บตามลิงก์แล้ว ให้เลื่อนลงมาจะเจอปุ่มดาวน์โหลด ให้กดปุ่ม ดาวน์โหลด เพื่อดาวน์ โหลดตัวติดตั้ง Scratch Desktop 3. หลังจากดาวน์โหลดเสร็จแล้วให้เปิดไฟล์ติดตั้งขึ้นมา จากนั้นจะแสดงหน้าจอกำลังติดตั้ง ชั่วโมงที่ 2 ขั้นสอน (ต่อ)


ให้รอสักครู่ 4. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว โปรแกรมจะถูกเปิดขึ้นมา จากนั้นจะแสดงหน้าจอ ให้กดปุ่ม No, thanks 5. โปรแกรม Scratch Desktop พร้อมใช้งานแล้ว… และไอคอนโปรแกรมก็จะแสดง อยู่บนหน้าจอ เพื่อเข้าใช้งานในครั้งถัดไป 3. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุป โดย ผู้สอนถามนำผู้เรียนว่า ลิขสิทธิ์คืออะไร? แนวคำตอบ ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่ม ถ้าต้องการไปแจ้งความเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ต้องไปที่ไหน? แนวคำตอบ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ฟรีแวร์กับ ซอฟต์แวร์ เหมือน หรือ ต่างกัน อย่างไร? แนวคำตอบ ฟรีแวร์คล้ายกับแชร์แวร์ คือสามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์เหมือนกัน แต่แชร์แวร์อาจมีระยะเวลาทดลองใช้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อต่ออายุ 9. สื่อการเรียนรู้ 1. https://www.youtube.com/watch?v=XPRrvR69Iyc 2. ใบงานที่ 1.1 ลิขสิทธิ์ 3. ใบความรู้ที่ 1 ลิขสิทธิ์ 4. ใบความรู้ที่ 2 Shareware Freeware 10. การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจ ใบงานที่ 1.1 ลิขสิทธิ์ แบบประเมินผลงาน คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่าน เกณฑ์ ประเมินพฤติกรรมรายบุคคล แบบประเมินพฤติกรรม รายบุคคล คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่าน เกณฑ์ ขั้นสรุป


แบบบันทึกหลังแผนการสอน เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย จำนวน 4 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ลิขสิทธิ์ เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหาอุปสรรค ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………….…………….ผู้สอน (ศิริลักษณ์ เลิศหิรัญทรัพย์) ตำแหน่งอาจารย์ชำนาญการ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………………………………………………. (…………………..…………………………) ตำแหน่ง……………………………………… ………………/…………....../……………


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย จำนวน 4 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การปกป้องข้อมูลส่วนตัว เวลาเรียน 2 ชั่วโมง 1. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น การสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้กาลเทศะการปกป้องข้อมูลส่วนตัว การนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเองที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ 3. ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด ว 4.2 ป.4/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น จุดประสงค์ 1. อธิบายวิธีการปกป้องสิทธิส่วนตัวของข้อมูลส่วนตัวได้(K) 2. ปฏิบัติตามระเบียบการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศได้(P) 3. เห็นความสำคัญของการอ้างอิงแหล่งข้อมูล (A) 4. เปรียบเทียบได้ว่าอะไรคือข่าวจริง ข่าวปลอม (K) 4. สาระการเรียนรู้ 1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่สร้างข้อความเท็จและส่งให้ผู้อื่น ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่นโดยการส่งสแปม ข้อความลูกโซ่ ส่งต่อโพสต์ที่มี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2


ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น ส่งคำเชิญเล่นเกม ไม่เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือการบ้านของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์/ชื่อบัญชีของผู้อื่น 2. การสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้กาลเทศะ 3. การปกป้องข้อมูลส่วนตัว เช่น การออกจากระบบ เมื่อเลิกใช้งานไม่บอกรหัสผ่าน ไม่บอกเลขประจำตัว ประชาชน 4. การทำรายงานหรือการนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเองที่ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ (บูรณาการกับวิชาภาษาไทย) 5. สมรรถนะสำคัญ 1. ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. ความสามารถในใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี 6. สมรรถนะทาง ICT 1. ICA 1 การเข้าถึงประเมิน และจัดการข้อมูลและสารสนเทศ 2. ICA 5 การใช้ ICT อย่างเหมาะสม (appropriate use of ICT) 7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 8. ภาระงาน ใบงานที่ 1.2 Crack the Code ใบงานที่ 1.3 ชัวร์ก่อนแชร์ 9. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. วิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning)


1. ผู้สอนทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนด้วยการสอบถามคำถามชวนคิดง่ายๆ เพื่อเป็นการประเมินความรู้ เดิมของผู้เรียน และเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ เช่น “นักเรียนจำได้ไหม ว่า ทำบัตรประจำตัวประชาชน ครั้งแรกตอนอายุเท่าไหร่? แล้วนักเรียนคิดว่าทำไมเราถึงต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน?” 2. ผู้สอนอธิบายว่า ในการเข้าใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ จำเป็นต้องได้รับการยืนยัน ตัวตนของผู้ใช้งานเปรียบเสมือนกุญแจในการเข้าสู่ระบบบริการต่างๆ ผู้สอนสอบถามผู้เรียนเพื่อเป็นการกระตุ้น ความรู้ว่า “นักเรียนคิดว่า ทำไมจะต้องมีการยืนยันตัวตนด้วยวิธรต่างๆ” แนวคำตอบ เพื่อป้องกันการแอบอ้าง เพื่อยืนยันตัวตน เพื่อความปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงในความผิดพลาด การแอบอ้างตัวมาทำธุรกรรมการเงิน 3. ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปการยืนยันตัวตนผู้มีสิทธิ์เข้าใช้งานระบบต่าง ๆ มักจะใช้เป็น “รหัสผ่าน” หรือ “ชื่อผู้ใช้งาน + รหัสผ่าน” หรือ “อุปกรณ์ + รหัสผ่าน” เช่นการกดรหัสผ่านเพื่อเปิดประตู ห้องพัก การป้อนชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานอีเมลล์ การกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มซึ่งใช้บัตรเอทีเอ็มและกด รหัสผ่านเป็นตัวเลขสี่หลัก ซึ่งการยืนยันตัวตนผู้มีสิทธิ์แบบทั่วไปที่ยกตัวอย่างมานี้ จะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ผู้อื่นอาจล่วงรู้ รหัสแล้วนำไปใช้งานได้ หรือมีผู้นำบัตรเอทีเอ็มและรหัสกดเงินของผู้อื่นไปใช้งานได้เช่นกัน 4. ปัจจุบันมีการยืนยันตัวตนที่มีความปลอดมากขึ้นในอีกระดับหนึ่ง คือ การยืนยันตัวตนผู้มีสิทธิ์ด้วยไบโอ เมตริก จะมีความปลอดภัยที่สูงมากขึ้น คือ ผู้ใช้งานจะต้องยืนยันด้วยตนเองโดยใช้ลักษณะทางชีวภาพของแต่ละ บุคคล ซึ่งวิธีนี้จะทำให้มีความแม่นยำสูงมากเพราะบุคคลอื่นจะไม่สามารถเอาลักษณะทางชีวภาพของผู้อื่นไปใช้งาน ได้มีการยืนยันตัวตนในรูปแบบต่างๆ เช่น ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ เสียง ใบหน้า ม่านตา เราจะเห็นว่าสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันของเรา เริ่มมีการนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกเข้ามาใช้ในการยืนยัน ตัวตน เช่น ในเครื่องโทรศัพท์มือถือบางยี่ห้อในบางรุ่นมีการใช้การสแกนลายนิ้วมือเพื่อปลดล็อคหน้าจอ เมื่อยืนยัน ตัวตนผ่านจึงจะสามารถใช้งานเครื่องโทรศัพท์มือถือได้ 5. ผู้สอนแจกใบงาน 1.2 Crack the Code พร้อมอธิบายวิธีการทำใบงาน คือ ให้ผู้เรียนลองตั้งรหัสผ่าน ตามระดับความยากที่กำหนด และให้นักเรียน ทดลอง ปลดรหัสจากกิจกรรม Crack the Code ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน


6. ผู้สอนเฉลยกิจกรรม Crack the Code และอธิบายการตั้งรหัสผ่านที่มีความคาดเดายาก แต่ต้องจำง่าย เพื่อเป็นรหัสผ่านที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง 7. ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID - NDID) เป็ฯเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการยืนยันตัวบุคคลแบบดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ลดการกรอก ข้อมูลซ้ำซ้อน ปลอดภัยในการยืนยันตัวตนเพื่อรับบริการต่างๆ จากทางภาครัฐและเอกชน เช่น เปิดบัญชีเงินฝาก บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ บัญชีกองทุน ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยและขอข้อมูลเครดิตจาก NCB ผ่านช่องทางเว็บไซต์ หรือโมบายแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการที่ร่วมโครงการบริการ NDID โดยผู้ใช้บริการไม่ต้องเดินทางไปแสดงตัวตน ณ สถานที่ทำการนั้นๆ 1. ผู้สอนอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจ ว่า นอกจากอันตรายจากการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวที่ต้องมีการป้องกัน ด้วยการยืนยันตัวตนในรูปแบบต่างๆแล้ว ยังมีอันตรายการใข้เทคโนโลยี คือ การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความ จริง สร้างความเข้าใจผิด ทำให้ผู้รับข่าวสารเข้าใจคลาดเคลื่อน สร้างความเสียหายแก่สังคมได้ นั่นคือ Fake News หรือที่เขียนทับศัพท์ว่า เฟคนิวส์ คือ ข่าวปลอม และการกระจายข่าวปลอมมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสามารถ กระจายไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก จนเกิดเป็นผลกระทบที่ตามมามากมาย 2. ผู้สอนแจกใบความรู้ 3 ชัวร์ก่อนแชร์คือ 9 วิธีในการสังเกตข่าวให้ชัวร์ก่อนแชร์ พร้อมมาลองสังเกต พฤติกรรมว่าเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมหรือ Fake News มากน้อยแค่ไหน พร้อมอธิบายใบความรู้ คือ 1. ที่มา / แหล่งอ้างอิง ใครเขียน ใครเผยแพร่ น่าเชื่อถือหรือไม่? สิ่งที่ที่เราต้องดู ก็คือ ข่าวนี้คนเขียนคือใคร เผยแพร่ทางไหน มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือความเกี่ยวข้องในด้านนั้นจริงหรือไม่ เนื้อหาข่าวมีการอ้างอิงจากเว็บหรือแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะมีเว็บไซต์ที่ข้อมูลไม่น่าเชื่อถืออยู่มากมาย โดยเราสามารถดูข่าวจากหลายๆ ช่องทางประกอบกันได้ หากเป็นเรื่องที่มาจากองค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ควรตรวจสอบเพื่อความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง 2. หัวข้อข่าว / คำที่ใช้ ใส่อารมณ์เกินจริงเน้น "เรียกร้องความสนใจ" ข่าวปลอมมักมีการพาดหัวที่สะดุดตา อ่านแล้วให้ความรู้สึกใส่อารมณ์เวอร์เกินจริง เน้นใช้ตัวหนา และเครื่องหมายตกใจ! (อัศเจรีย์) เพื่อเรียกร้องความสนใจ เน้นกระตุ้นให้คนอยากกดเข้าไปดูหรือแชร์ไป หากข้อความพาดหัวมีความหวือหวาจนเกินไป ที่ทำให้เรารู้สึกว่าไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นอาจจะเป็น ข่าวปลอม ให้ลองพิจรณาให้ดีว่า ข่าวที่เรากำลังจะแชร์นั้น เราอยากแชร์ไปเพื่ออะไร 3. สังเกตชื่อ Link และ URL จะผิดแปลก จงใจเลียนแบบให้เข้าใจผิด ลิงก์ของข่าวที่แชร์มาอาจจะมี URL คล้ายกับ URL ของสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ โดยมีเว็บไซต์ ชั่วโมงที่ 2 ขั้นสอน (ต่อ)


ข่าวปลอมจำนวนมากที่เปลี่ยนแปลง URL เพียงเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง ต้องเข้าไปอ่าน เนื้อหาและชื่อให้แน่ชัด 4. รูปภาพประกอบไม่ตรงกับเนื้อหาข่าว เป็นวิธีตรวจสอบที่ง่ายๆ ด้วยสมมติฐานที่ว่า เมื่อเนื้อหาข่าวมันปลอม รูปภาพประกอบข่าว ก็ต้องปลอมและไม่ตรงกับเรื่องจริงในข่าวเช่นเดียวกัน เราสามารถตรวจที่มาของ "รูปภาพประกอบ" ได้ จาก Google เพียงคลิกขวาที่รูปภาพในข่าว จะมีหัวข้อให้เลือกว่าค้นหารูปภาพจาก Google ซึ่ง Google จะบอกได้หมดว่ารูปภาพนี้เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตเมื่อไหร่ 5. การเขียนและสะกดคำ "ผิด" ผู้สื่อข่าวที่ดีหรือสำนักข่าวออนไลน์ที่มีตัวตนและมีคุณภาพจะไม่ผิดพลาดเรื่องตัวสะกดของคำ หรือประโยคต่างๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะมีการพิสูจน์อักษรก่อนการเผยแพร่ทุกครั้ง เพื่อความถูกต้อง และความไม่คลาดเคลื่อนของข้อความ (Message) ที่จะส่งออกไป 6. ตรวจสอบจากแหล่งข่าวอื่นเปรียบเทียบ สังเกตหรือตรวจสอบอีกครั้งจากแหล่งอื่นๆ หรือตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยัน ว่าถูกต้อง หากไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าว เป็นข่าวปลอม 7. การจัดวางภาพและกราฟิก สังเกตสิ่งผิดปกติในเนื้อหาข่าวหรือเว็บไซต์ เช่น วันที่ลำดับเหตุการณ์ การจัดวางภาพกราฟิก โดยข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ เกิดขึ้นจริง รวมทั้งมีการจัดวางกราฟิกหรือเลย์เอาต์ที่ไม่เป็นมืออาชีพ 8. มีโฆษณาสิ่งผิดกฎหมาย บนหน้าเว็บไซต์ สังเกตสิ่งผิดปกติในเนื้อหาข่าวหรือเว็บไซต์ เช่น เมื่อคลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์อาจมีโฆษณาของสิ่ง ผิดกฎหมายปรากฏอยู่เต็มหน้าเว็บ 9. ดูจุดประสงค์ในการเผยแพร่ข่าว ทำไมเราอยากแชร์? อ่านข่าวนี้แล้วเรารู้สึกอย่างไร ผู้เขียนต้องการอะไร หรือมีเป้าหมายยังไง เช่น ต้องการสร้างความตื่นตระหนก? หรือ ให้ข่าวทำลายชื่อเสียง หรือมีจุดประสงค์อื่นๆ แอบแฝงจากการให้ข่าวนี้ 3. ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมว่า จากข้อสังเกตทั้งหมดอาจจะบอกไม่ได้ 100% ว่าข่าวนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ดังนั้น ผู้เรียนจึงควรมีภูมิคุ้มกันตนเองในการรับข่าวสารข้อมูล ตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกใช้ เลือกแชร์ พัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง ข้อมูลเท็จ หรือผู้อยู่เบื้องหลังที่ต้องการ แสวงหาประโยชน์จากความตื่นรับข้อมูลข่าวสารของเราเอง และทางที่ดีคือไม่แชร์ในสิ่งที่ไม่มั่นใจ เพื่อป้องกัน ผลกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้แชร์โดยไม่รู้ตัว


4. ผู้สอนแจกใบงาน 1.3 ชัวร์ก่อนแชร์พร้อมอธิบายการทำใบงาน คือ ให้ผู้เรียนช่วยฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกัน ให้กับผู้ปกครองที่บ้าน ด้วยการนำใบงานซึ่งเป็นแบบสอบถาม ว่า ข่าวที่ผู้ปกครองเคยแชร์ หรือ กำลังจะแชร์ เป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม ซึ่ง ถ้าจากการพิจารณาแต่ละข้อ ทั้ง 9 ข้อ เข้าข่าย 5 ข้อ ใน 9 ข้อ ให้ผู้เรียนอธิบาย ให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าอาจจะเป็นข้าวปลอม ให้ผู้เรียนแนะนำผู้ปกครอง หากจะแชร์ข่าวอะไรในครั้ง ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกใช้ เลือกแชร์ 5. ผู้สอนสรุปให้ผู้เรียนเข้าใจว่า การเข้าใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ จำเป็นต้องได้รับ การยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานเปรียบเสมือนกุญแจในการเข้าสู่ระบบบริการต่างๆ จำเป็นต้องตั้งรหัสผ่านให้คาดเดา ยากแต่จำง่าย และนอกจากการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตัวเองแล้ว จะต้องเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ไม่สร้าง ข้อความเท็จและส่งให้ผู้อื่น ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่นโดยการส่งสแปม ข้อความลูกโซ่ ส่งต่อโพสต์ที่มีข้อมูล ส่วนตัวของผู้อื่น ส่งคำเชิญเล่นเกม ไม่เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือการบ้านของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์/ชื่อบัญชีของผู้อื่น รวมถึงในการนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้จะต้องอ้างอิงถึงแหล่งที่มา และการเกิดขึ้นของทุกข้อมูลหรือข่าวในสังคมออนไลน์มีผลกระทบต่อสังคมของคนจริงๆอย่างมาก จึง จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อและวิเคราะห์ให้ดีก่อนแชร์หรือส่งต่อ เพราะข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งในรูปแบบ ข้อความ ภาพ เสียงหรือวิดีโอก็สามารถเป็นข้อมูลที่ถูกปลอม ตัดต่อ หรือสร้างขึ้นมาได้ 6. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสอบถามเพิ่มเติม 9. สื่อการเรียนรู้ 1. ใบความรู้ ที่ 3 ชัวร์ก่อนแชร์ 2. ใบงานที่ 1.2 Crack the Code 3. ใบงานที่ 1.3 ชัวร์ก่อนแชร์ 10. การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจใบงานที่ 1.2 Crack the Code แบบประเมินผลงาน คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ ตรวจใบงานที่ 1.3 ชัวร์ก่อนแชร์ แบบประเมินผลงาน คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ ขั้นสรุป


แบบบันทึกหลังแผนการสอน เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย จำนวน 4 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การปกป้องข้อมูลส่วนตัว เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหาอุปสรรค ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………….…………….ผู้สอน (ศิริลักษณ์ เลิศหิรัญทรัพย์) ตำแหน่งอาจารย์ชำนาญการ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………………….ผู้บริหารสถานศึกษา (…………………..…………………………) ตำแหน่ง……………………………………… ………………/…………....../……………


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต จำนวน 6 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและข้อควปฏิบัติในการใช้งาน เวลาเรียน 2 ชั่วโมง 1. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ การประเมิน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจะต้องนำเนื้อหามาพิจารณาเปรียบเทียบ แล้วเลือกข้อมูล ที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน การนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเอง ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ 3. ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด ว 4.2 ป.4/3 ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล จุดประสงค์ 1. อธิบายได้ว่าอินเทอร์เน็ตคืออะไร (K) 2. ปฏิบัติตามระเบียบการใช้งานอินเทอร์เน็ต (P) 3. เห็นประโยชน์และโทษของการใช้งานอินเทอร์เน็ต (A) 4. สาระการเรียนรู้ 1. การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ 2. การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น พิจารณาประเภทของเว็บไซต์ (หน่วยงานราชการ สำนัก ข่าว องค์กร) ผู้เขียนวันที่เผยแพร่ข้อมูล การอ้างอิง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3


3. เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องนำเนื้อหามาพิจารณา เปรียบเทียบ แล้วเลือกข้อมูลที่ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน 4. การทำรายงานหรือการนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเอง ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ (บูรณาการกับวิชาภาษาไทย) 5. สมรรถนะสำคัญ 1. ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี 4. ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการแก้ปัญหา 6. สมรรถนะทาง ICT 1. ICA 1 การเข้าถึงประเมิน และจัดการข้อมูลและสารสนเทศ 2. ICA 5 การใช้ ICT อย่างเหมาะสม (appropriate use of ICT) 7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 8. ภาระงาน 1. ใบงานที่ 2.1 โรคออนไลน์ 2. โปสเตอร์ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานอินเทอร์เน็ต 9. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. วิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ (Practice)


1. ผู้สอนสอบถามผู้เรียนเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ และประเมินความรู้เดิมของผู้เรียน เช่น “นักเรียนเคย ใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือไม่ นักเรียนเรียนใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อจุดประสงค์อะไรบ้าง” 2. ผู้สอนถามผู้เรียนว่า ถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ต นักเรียนจะยังสามารถดูยูทูปได้อยู่หรือไม่? 3. ผู้สอนแจกใบความรู้ที่ 4 อินเทอร์เน็ต พร้อมอธิบายใบความรู้ อินเทอร์เน็ต (Internet) ย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถ ติดต่อถึงกันได้ การที่มีระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่าย โทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์ หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้อง เดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ในการใช้อินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อดีและข้อเสียหลายด้านด้วยกัน ข้อดีของการใช้อินเทอร์เน็ต ด้านการศึกษา 1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชา หรืออ่านหนังสือออนไลน์ 2. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดออนไลน์ 3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อ ค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น 4. สามารถทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ด้านการพาณิชย์ 1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน


2. สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3. ทำการตลาดการโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 4. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น ด้านการบันเทิง 1. การพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ 2. การเล่นเกมออนไลน์ 3. สามารถฟังวิทยุหรือดูการถ่ายทอดสดผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ 4. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้ ข้อเสียของอินเตอร์เน็ต โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้องแหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฎหมาย ,ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัส คอมพิวเตอร์ต่างๆ 1. อินเตอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก 2. มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก 3. ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร 4. ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน 5. ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้ 6. ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ 4. ผู้สอนแจกใบงานที่ 2.1 โรคออนไลน์ พร้อมอธิบายวิธีการทำใบงาน คือ ให้ผู้เรียนลองสังเกต พฤติกรรมของตนเอง เพื่อน และผู้ปกครอง ว่ามีแนวโน้มเป็นโรคออนไลน์หรือไม่ โดยใส่ เครื่องหมาย / หน้าข้อ ที่มีอาการ และใส่เครื่องหมาย x หน้าข้อที่ไม่มีอาการ 5. ผู้สอนแนะนำวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นโรคออนไลน์ คือ วิธีป้องกันโรคออนไลน์ 1. ควรหยุดพัก 5-10 นาที ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง โดยการลุกขึ้นยืน หลับตา หรือมองไปที่ไกลๆ มองต้นไม้สีเขียว บริหารดวงตาด้วยการกลอกตาเป็นวงกลม 5-6 รอบ


2. ตั้งจอคอมพิวเตอร์ห่างจากสายตา 20-24 นิ้ว ขึ้นอยู่กับขนาดของจอ จอขนาดใหญ่ก็ต้องยิ่งตั้ง ห่างจากสายตา และขอบบนของจอตั้งระดับต่ำกว่าสายตาประมาณ 4 นิ้ว 3. จัดท่านั่งให้ถูกต้อง เช่น เวลาพิมพ์ข้อศอกกับคีย์บอร์ดอยู่ในระดับเดียวกัน ขาสองข้างวางเรียบ กับพื้น นั่งตัวตรง อย่าให้ข้อมือโก่ง โค้งผิดปกติ ใช้ตัวอักษรสีดำ บนพื้นสีขาวเป็นหลัก หลีกเลี่ยงพื้นสีเข้ม 4. ควรออกกำลังกาย เช่น กำมือ คลายมือ นวดไหล่ ต้นคอ ยืดแขน ลุกขึ้นยืนขยับตัวเป็นระยะ ๆ 5. หมั่นทำความสะอาดปัดฝุ่น เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ 1. ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียน ออกแบบโปสเตอร์ ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เพื่อนำมาติดไว้ในห้องเรียนคอมพิวเตอร์ 2. ผู้สอนแจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนและออกแบบอย่างสร้างสรรค์ โดยมีกฎเพียง 1 ข้อคือ ในโปสเตอร์ จะต้องมีข้อควรปฏิบัติ 6 ข้อในการใช้งานอินเทอร์เน็ต คือ 1. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและข่าวสารต่างๆก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง 2. เผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูล ข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น 3. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตร ประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ 4. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ 5. ไม่บันทึกยูเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ 6. อย่าส่งต่อภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย 3. ผู้สอนสุ่มผู้เรียนออกมาอธิบายโปสเตอร์ และ ถามผู้เรียนคนอื่นๆ ว่า คิดว่านอกจาก 6 ใน โปสเตอร์ ผู้เรียนมีข้อเสนอแนะอื่นๆอีกหรือไม่ 4. ผู้สอนแนะนำเพิ่มเติมว่า นอกจาก 6 ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมี ข้อแนะนำ เพิ่มเติมในการใช้งานอินเทอร์ในการใช้งานเครือข่ายร่วมกับผู้อื่นเกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ จึงควรมีมารยาท และข้อควรปฏิบัติในการใช้งาน ดังนี้ 1. ใช้ภาษาถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ ปัจจุบันมีการใช้ภาษาบนอินเทอร์เน็ตเป็น ภาษาสะกดแบบย่อและซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับคู่สนทนา 2. ใช้คำสุภาพ ไม่ใช้คำหยาบ ไม่สื่อความหมายที่สร้างความไม่พอใจแก่คูสนทนา 3. เคารพในสิทธิ์และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น เช่น ไม่แอบอ่านอีเมลผู้อื่น ไม่แอบใช้ ฃ ชื่อผู้ใช้ คนอื่น ไม่เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวผู้อื่น ชั่วโมงที่ 2 ขั้นสอน (ต่อ)


4. ปฏิบัติตามข้อตกลงการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับครู หรือผู้ปกครอง เช่น จำนวน ชั่วโมงต่อวันที่ใช้งาน ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียน 5. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนและครอบครัว ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ให้กับบุคคลอื่น ที่ไม่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต 6. ไม่นัดหมายกับบุคคลแปลกหน้าที่สนทนาทางอินเทอร์เน็ตไม่เปิดอีเมลหรือรับไฟล์ ที่ส่งจากบุคคลที่ไม่รู้จัก 7. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อตรวจสอบไฟล์และปรับปรุงโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ 8. ตรวจสอบเว็บไซต์ก่อนการทำธุรกรรมใดๆเพื่อป้องกันเว็บไซต์ปลอมที่จะขโมยข้อมูล 5. ผู้สอนสรุปให้ผู้เรียนเข้าใจว่า อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน มีข้อดี และ ข้อเสีย ควรใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างพ่อดี เพื่อป้องกันการเกิด อันตรายต่อสุขภาพ และควรใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างมีสติ เช็คก่อนแชร์ และมีมารยาทในการใช้งาน การใช้อินเตอร์เน็ตมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี การใช้งานอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานที่ดี จะต้องใช้อินเตอร์เน็ตให้ เกิดประโยชน์ได้สูงที่สุด 9. สื่อการเรียนรู้ 1. ใบความรู้ ที่ 4 Internet 2. ใบงานที่ 2.1 โรคออนไลน์ 10. การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจใบงานที่ 2.1 โรคออนไลน์ แบบประเมินผลงาน คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ สังเกตฤติกรรมของผู้เรียนจาก กิจกรรม การออกแบบโปสเตอร์ข้อ ควรปฏิบัติในการใช้งาน อินเทอร์เน็ต แบบประเมินรายบุคคล คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ โปสเตอร์ข้อควรปฏิบัติในการใช้ งานอินเทอร์เน็ต แบบประเมินผลงาน คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ ขั้นสรุป


แบบบันทึกหลังแผนการสอน เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต จำนวน 6 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและข้อควปฏิบัติในการใช้งาน เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหาอุปสรรค ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………….…………….ผู้สอน (ศิริลักษณ์ เลิศหิรัญทรัพย์) ตำแหน่งอาจารย์ชำนาญการ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………………….ผู้บริหารสถานศึกษา (…………………..…………………………) ตำแหน่ง……………………………………… ………………/…………....../……………


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต จำนวน 6 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต เวลาเรียน 2 ชั่วโมง 1. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจะต้องนำเนื้อหามาพิจารณาเปรียบเทียบ แล้วเลือกข้อมูล ที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน การนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเองที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ 3. ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด ว 4.2 ป.4/3 ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล จุดประสงค์ 1. สามารถใช้งาน Google Map ในการบอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ได้ (P) 2. ใช้คำค้นที่ตรงประเด็นในการค้นหาข้อมูล (P) 3. เห็นประโยชน์ของการใช้งานอินเทอร์เน็ต (A) 4. อธิบายวิธีการใช้งาน Google Map ได้ (K) 4. สาระการเรียนรู้ 1. การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ แผนการจัดการเรียนรู้ที่4


2. การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น พิจารณาประเภทของเว็บไซต์ (หน่วยงานราชการ สำนักข่าว องค์กร) ผู้เขียนวันที่เผยแพร่ข้อมูล การอ้างอิง 3. เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องนำเนื้อหามาพิจารณา เปรียบเทียบ แล้วเลือก ข้อมูลที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน 4. การทำรายงานหรือการนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเอง ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ (บูรณาการกับวิชาภาษาไทย) 5. สมรรถนะสำคัญ 1. ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี 6. สมรรถนะ ICT ICA2 การแชร์ข้อมูลและการสื่อสาร (sharing information and communicating 7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 8. ภาระงาน 1. ใบงานที่ 2.2 Google Map 9. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. วิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ (Practice)


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. ผู้สอน เปิดคลิป Google Map จับภาพเหตุฆาตกรรม ได้ในปี 2009 / พิกัดลึกลับ จากลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=bVQTph-yDs4 (ความยาวประมาณ 4 นาที) 2. จบคลิปผู้สอนถามผู้เรียนว่า “นักเรียนคิดว่าเป็นภาพอะไร” 3. ผู้สอน เปิดคลิป คนหาย 22 ปี หาเจอเพราะภาพจาก Google Map /พิกัดลึกลับ จากลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=pf478-3_e3s (ความยาวประมาณ 4 นาที) 4. ผู้สอนสอบถามผู้เรียนว่า “นักเรียนเคยใช้ Google Map หรือไม่ และ Google Map มีประโยชน์ ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง” แนวคำตอบ : 1. สามารถค้นหาสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 2. สามารถค้นหาชื่อถนนและสี่แยกได้ 3. สามารถค้าหาร้านอาหารในพื ้นที่ที่ต้องการได้ 4. สามารถที่จะประชาสัมพันธ์สถานประกอบการทางธุรกิจ 5. สามารถย่อหรือขยายแผนที่ทั่วโลกให้เล็กลงได้ 6. สามารถวางแผนเส้นทางการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆได้ 7. สามารถใช้งานด้านระบาดวิทยาในการค้นหาแหล่งแพร่เชื ้อ 8. สามารถทำแผนที่หรือเส้นทางไปบ้านของตนเองได้ 9. สามารถดูและมองเห็นแผนที่ต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 5. ผู้สอนอธิบายว่า Google Map คือ บริการของ Google ที่ให้บริการเทคโนโลยีด้านแผนที่ ประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย และให้ข้อมูลของธุรกิจในท้องถิ่น ได้แก่ ที่ตั้งของธุรกิจ รายละเอียดการติดต่อ และเส้นทางการขับขี่ โดยบริการแผนที่นี้เริ่มต้นให้บริการตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2005 เป็นบริการฟรี จัดให้แก่ผู้ใช้ ทั่วโลก ส่วนประกอบที่สำคัญที่ดึงดูดผู้ใช้งานเป็นอย่างมากคือแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียมคุณภาพดี ซึ่งครองคลุม พื้นผิวโลกในมาตราส่วนต่างๆ ตามความเหมาะสม 6. ผู้สอนเปิดคลิป Tech Time : แนะนำการใช้งาน Google Maps แบบมือโปร จากลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=SdcxaLSj6-g 7. ผู้สอนให้ผู้เรียนเปิดคอมพิวเตอร์ และเข้าเว็บไซต์ https://www.google.co.th/maps ชั่วโมงที่ 1 ขั้นสอน


8.ไปที่เมนูช่องค้นหา เลือกสัญลักษณ์เส้นทาง จะขึ้นหน้าต่างให้กำหนดจุดเริ่มต้นเป็นบ้านของผู้เรียน และจุดหมายปลายทางคือ โรงเรียน 9. ผู้สอนให้ผู้เรียนลองคลิกที่ไอคอนต่างๆ 10. ผู้สอนให้ผู้เรียนเลือกไอคอน และคลิกดูรายละเอียด วิธีการเดินทางจากบ้านมาโรงเรียน 11. ผู้สอนให้ผู้เรียนคลิก ไอคอนดาวเทียม ที่อยู่มุมซ้ายมือด้านล่าง จะปรากฎภาพแผนที่เป็นแบบดาวเทียมขึ้นมา ให้ผู้เรียนลองซูมเข้า ซูมออก เพื่อดูภูมิทัศน์โดยรอบๆ


12. ผู้สอนให้ผู้เรียน คลิกไอคอน ที่อยู่มุมขวามือด้านล่าง จะปรากฎเป็นภาพเหมือนเราลงไปเดินจริงๆ ให้ผู้เรียนลองเลื่อนลูกศรไปตามทางจากบ้านมาจนถึงโรงเรียน 1. ผู้สอนให้ผู้เรียนเปิดคอมพิวเตอร์ และเข้าเว็บไซต์ https://www.google.co.th/maps 2. ผู้สอนแจกใบงานที่ 2.2 Google Map โดยอธิบายการทำใบงาน คือให้ผู้เรียน ตอบคำถามตาม ใบงาน โดยคำตอบอยู่ใน Google map ตัวอย่างคำถาม 1. จากบ้านมาถึงโรงเรียนวิธีใดเป็นวิธีการเดินทางที่เร็วที่สุด 2. ถ้าเดินจากบ้านมาถึงโรงเรียนใช้เวลาเดินทางกี่นาที 3. เขียนรายละเอียดวิธีการเดินทางจากบ้านมาโรงเรียนด้วยรถยนต์ 4. จากบ้านมาโรงเรียนใช้ถนนเส้นใดบ้าง 5. จากบ้านมาถึงโรงเรียน ผ่าน 7-ELEVEN กี่สาขา 6. ถ้าเดินทางจากโรงเรียนไปถึงวัดที่อยู่ใกล้โรงเรียนที่สุดคือวัดอะไร 7. จากโรงเรียนไปถึงวัดที่อยู่ใกล้โรงเรียนที่สุด ด้วยวิธีที่เร็วที่สุดใช้เวลากี่นาที 8. บอกชื่อร้านอาหารที่อยู่ใกล้โรงเรียนมา 3 ร้าน 9. บอกสถานที่สำคัญรอบๆโรงเรียนมาอย่างน้อย 3 แห่ง 3. ผู้สอนให้เวลาผู้เรียน 30 นาที ใครสามารถตอบคำถามได้จำนวนข้อมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ 4. ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนออกมาอธิบายวิธีการหาคำตอบ 5. ผู้สอนลองให้ผู้เรียนคิด Keyword คำค้นหาสถานที่ ที่ต้องการจะไปให้ได้ไปถึงจุดหมายที่ถูกต้องที่สุดจะใช้คำว่าอะไรได้บ้าง เช่น ถ้าต้องการไป ห้างสรรพสินค้า แต่ห้างสรรพสินค้ามีหลายสาขา ถ้าต้องการไปสถานที่ที่เราจะไป อาจจะต้องระบุชื่อสาขาเข้าไปนำค้นหา 6. ผู้สอนให้ผู้เรียนร่วมกันตอบคำถามว่า Google Map มีประโยชน์อื่นๆในชีวิตประจำวันอะไรอีกบ้าง ชั่วโมงที่ 2 ขั้นสอน (ต่อ)


แนวคำตอบ : กะเวลาการเดินทางได้ถูกต้อง สำรวจแผนที่ประเทศอื่นๆ ใช้ดูสถานที่ที่เราอยากไป สำรวจภูมิประเทศอื่นๆ 7. ผู้สอนสรุปให้ผู้เรียนเข้าใจว่า Google คือเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล ซึ่ง Google Map คือ บริการของ Google ที่ให้บริการเทคโนโลยีด้านแผนที่ประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย และยังมีบริการของ Google อื่นๆที่ มีประโยชน์อีกมากมาย เช่น Google แปลภาษา , Google Scholar, Google Earth , Google Form , Google Drive และอื่นๆอีกมากมาย 8. แต่ในการใช้งาน การดูแหล่งข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญ และการให้แหล่งที่มาของข้อมูล ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เหมือนที่ผู้เรียนได้รับทราบข้อปฏิบัติในการใช้งานอินเทอร์เน็ตไปแล้วนั่นเอง 9. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสอบถามเพิ่มเติม 9. สื่อการเรียนรู้ 1. https://www.youtube.com/watch?v=bVQTph-yDs4 2. https://www.youtube.com/watch?v=pf478-3_e3s 3. https://www.youtube.com/watch?v=SdcxaLSj6-g 4. Google Map 5. ใบงานที่ 2.2 Google Map 10. การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจใบงานที่ 2.2 Google Map แบบประเมินผลงาน คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ สังเกตฤติกรรมของผู้เรียนจากกิจก รรม Google Map แบบประเมินรายบุคคล คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ ขั้นสรุป


แบบบันทึกหลังแผนการสอน เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต จำนวน 6 ชั่วโมงแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหาอุปสรรค ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………….…………….ผู้สอน (ศิริลักษณ์ เลิศหิรัญทรัพย์) ตำแหน่งอาจารย์ชำนาญการ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………………….ผู้บริหารสถานศึกษา (…………………..…………………………) ตำแหน่ง……………………………………… ………………/…………....../……………


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต จำนวน 6 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เวลาเรียน 2 ชั่วโมง 1. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ การประเมิน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจะต้องนำเนื้อหามาพิจารณาเปรียบเทียบ แล้วเลือกข้อมูล ที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน การนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเอง ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ 3. ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด ว 4.2 ป.4/3 ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล จุดประสงค์ 1. สามารถใช้งานเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลได้(P) 2. อธิบายขั้นตอนการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้ (K) 3. เห็นความสำคัญของการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล (A) 4. สาระการเรียนรู้ 1. การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ 2. การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น พิจารณาประเภทของเว็บไซต์ (หน่วยงานราชการ สำนัก ข่าว องค์กร) ผู้เขียนวันที่เผยแพร่ข้อมูล การอ้างอิง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5


3. เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องนำเนื้อหามาพิจารณา เปรียบเทียบ แล้วเลือกข้อมูลที่ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน 4. การทำรายงานหรือการนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเอง ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ (บูรณาการกับวิชาภาษาไทย) 5. สมรรถนะสำคัญ 1. ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี 6. สมรรถนะ ICT ICA2 การแชร์ข้อมูลและการสื่อสาร (sharing information and communicating 7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 8. ภาระงาน 1. ใบงานที่ 2.3 ประเทศที่อยากไป 9. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. วิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ (Practice) 1. ผู้สอน ถามผู้เรียน ถ้าผู้เรียนอยากรู้จักประเทศๆหนึ่งเพิ่มมากขึ้น นักเรียนมีวิธีการอบ่างไรบ้าง แนวคำตอบ : 1. เข้าห้องสมุดค้นหาหนังสือที่เกี่ยวกับประเทศนั้นๆ 2. ถามคนที่เคยไปประเทศนั้นๆมาแล้ว 3. ดูรายการสารคดีที่ถ่ายทำเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน


4. Google Map 2. ผู้สอนอธิบายว่า ไม่ว่าเราอยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไร แค่เรามีอินเทอร์เน็ต เราก็จะสามารถรู้ได้ทุกอย่าง อย่างที่เราอยากรู้ โดยมีวิธีการง่ายๆ แค่ 3 ขั้นตอนคือ คิด ค้น คลิก 3. ขั้นตอนที่ 1 คิด คือ คิด เรื่องที่เราอยากรู้ และวางแผนว่าเราอยากรู้เรื่องนั้นๆ เกี่ยวกับอะไรบ้าง เช่น อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับประเทศไทย อยากรู้ว่าประเทศไทยมีกี่จังหวัด มีภูมิประเทศอย่างไร ตั้งอยู่ในทวีปอะไร สถานที่ เที่ยวที่น่าสนใจในประเทศไทย วัฒนธรรมประเพณีในประเทศไทย และอื่นๆมากมายที่เราอยากรู้ 4. ขั้นตอนที่ 2 ค้น ค้น คือ เมื่อเรารู้แล้วว่าเราอยากรู้เรื่องอะไร เกี่ยวกับอะไรบ้าง ให้เราทำการค้นหาข้อมูล บนอินเทอร์เน็ต คือ ข้อมูลจำนวนมากที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีทั้ง ภาพ เสียง ตัวหนังสือ ซึ่งกระจัด กระจายอยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เรา ต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine (เสิร์ชเอนจิน) ซึ่งจะทำหน้าที่ ค้นหาข้อมูลตามคำที่เราค้นหา จากเว็บไซต์ต่างๆมาแสดงให้เราเห็น ตัวอย่างเว็บไซต์ Web search engine 1. http://www.google.co.th/ 2. http://www.youtube.com/ 3. http://dict.longdo.com เมื่อเราเข้าไป Web search engine แล้ว ตัวอย่าง เว็บไซต์ http://www.google.co.th/ ให้เราพิมพ์ คำที่เราต้องการค้นหาลงไป เช่น ประชากรในประเทศไทย ลงไปในช่อง text box ซึ่งนอกจากการค้นหาด้วยการพิมพ์แล้ว ยังสามารถค้นหาข้อมูลที่เราต้องด้วยเสียงได้อีกด้วย โดย คลิกที่ ไอคอนรูปไมค์ 5. ขั้นตอนที่ 3 คลิก เมื่อเราใส่คำค้นหาลงไปในช่อง text box แล้ว ให้เราคลิกที่ ไอคอนแว่นขยาย หรือ กด Enter บนแป้นพิมพ์ ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิงค์ พร้อมคำอธิบายประกอบ ขั้นสอน


6. เพื่อเท่านี้เราก็ได้ข้อมูลที่เราต้องการจะรู้แล้ว 7. ผู้สอนย้ำผู้เรียนเรื่อง ข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต คือ เราต้องประเมินว่าข้อมูลไหนน่าเชื่อถือ โดย ดูจากแหล่งที่มา และเมื่อเรานำข้อมูลไปใช้ เราต้องให้เครดิต หรือ แหล่งอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลด้วย 8. ผู้สอนให้ผู้เรียนเปิดคอมพิวเตอร์ และเริ่มทำตามขั้นตอน คิด ค้น คลิก โดยให้ผู้เรียน ทำเรื่อง เกี่ยวกับ ประเทศที่ผู้เรียนอยากไป และหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่อยากไป ตามหัวข้อที่กำหนดในใบงานที่ 2.3 ประเทศที่ฉ อยากไป แล้วนำข้อมูลมาเขียนลงในใบงาน 9. ผู้สอนอธิบายวิธีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล คือ ให้ผู้เรียน เขียนแหล่งที่มาของข้อมูล รูปแบบการเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์คือ ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความ. สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี จาก URL ตัวอย่าง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. การเว้นวรรค. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2559 จาก http://www.royin.go.th/?page_id=629TruePlookpanya Channel. ความเป็นมาของเพลงสรรเสริญพระบารมี. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=mn8qgJJBYnc 10. ผู้สอนแจกใบงาน 2.3 ประเทศที่อยากไป แล้วให้ผู้เรียนเริ่มทำการค้นหาข้อมูล 1. ผู้สอนให้ผู้เรียนเปิดคอมพิวเตอร์ และทำการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่อยากไปให้ครบถ้วน โดยให้เวลาในการค้นหาข้อมูลต่ออีก 20 นาที 2. ผู้สอนแนะนำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม วิธีการสืบค้นรูปภาพ 1. ทำการเปิดเว็บไซต์http://www.google.co.th/ 2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “ค้นรูป” 3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box 4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา” 5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ วิธีการสืบค้นวิดีโอ 1. ทำการเปิดเว็บไซต์http://www.google.co.th/ 2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “วิดีโอ” 3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box 4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา” 5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ ขั้นสอน (ต่อ) ชั่วโมงที่ 2


3. เมื่อครบ 20 นาที ผู้สอนสุ่มผู้เรียนออกมาอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลของประเทศที่ผู้เรียนอยากไป และอธิบายวิธีการค้นหาข้อมูล รวมถึงการเลือกใช้คำที่ใช้ในการค้นหา 4. ผู้สอนให้ผู้เรียน ช่วยกันตรวจรูปแบบการเขียนแหล่งอ้างอิง และประเมินความน่าเชื่อถือ ของแหล่งอ้างอิง ว่าสามารถเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน 5. ผู้สอนสรุปให้ผู้เรียนเข้าใจว่า การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ สามารถทำได้ง่ายๆ แค่ 3 ขั้นตอน คือ คิด ค้น คลิก แต่การจะได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะต้องประเมินเนื้อหา และแหล่งที่มาของข้อมูล จากนั้น ผู้เรียนจะต้องนำมาสรุปให้เป็นภาษาของตนเอง เพื่อนำเสนอให้น่าสนใจ โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย คำค้นหาจะต้องตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ การประเมิน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจะต้องนำเนื้อหามาพิจารณาเปรียบเทียบ แล้วเลือกข้อมูล ที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน การนำเสนอข้อมูลจะต้องนำข้อมูลมาเรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของตนเอง ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอ 6. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสอบถามเพิ่มเติม 9. สื่อการเรียนรู้ 1. http://www.google.co.th/ 2. ใบงานที่ 2.3 ประเทศที่อยากไป 10. การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจใบงานที่ 2.3 ประเทศ ที่อยากไป แบบประเมินผลงาน คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ สังเกตฤติกรรมของผู้เรียน จากกิจกรรมการค้นหาข้อมูล บนอินเทอร์เน็ต เรื่องประเทศ ที่อยากไป แบบประเมินรายบุคคล คุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผ่านเกณฑ์ ขั้นสรุป


แบบบันทึกหลังแผนการสอน เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต จำนวน 6 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหาอุปสรรค ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………….…………….ผู้สอน (ศิริลักษณ์ เลิศหิรัญทรัพย์) ตำแหน่งอาจารย์ชำนาญการ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ…………………………….ผู้บริหารสถานศึกษา (…………………..…………………………) ตำแหน่ง……………………………………… ………………/…………....../……………


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ จำนวน 10 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ขั้นตอนการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ เวลาเรียน 2 ชั่วโมง 1. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การรวบรวมข้อมูล ทำได้โดยกำหนดหัวข้อที่ต้องการ การประมวลผลอย่างง่าย เช่น เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เรียงลำดับการหาผลรวม วิเคราะห์ผลและสร้างทางเลือก ที่เป็นไปได้ ประเมินทางเลือก การนำเสนอข้อมูลทำได้หลายลักษณะตามความเหมาะสม 3. ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด ว 4.2 ป.4/4 รวบรวม ประเมิน นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน จุดประสงค์ 1. สามารถเลือกใช้สีที่เหมาะสมกับการออกแบบเพื่อการนำเสนอข้อมูลได้(P) 2. อธิบายขั้นตอนการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจได้ (K) 3. เห็นความสำคัญของการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ (A) 4. สาระการเรียนรู้ 1. การรวบรวมข้อมูล ทำได้โดยกำหนดหัวข้อที่ต้องการ 2. การประมวลผลอย่างง่าย เช่น เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เรียงลำดับการหาผลรวม 3. วิเคราะห์ผลและสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ ประเมินทางเลือก (เปรียบเทียบ ตัดสิน) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6


4. การนำเสนอข้อมูลทำได้หลายลักษณะตามความเหมาะสมเช่น การบอกเล่า เอกสารรายงาน โปสเตอร์ โปรแกรมนำเสนอ 5. การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน 5. สมรรถนะสำคัญ 1. ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการแก้ปัญหา สมรรถนะICT ICA1 การเข้าถึง ประเมิน และจัดการข้อมูลและสารสนเทศ (accessing, evaluating, and managing information and data 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. ภาระงาน 1. กิจกรรมกลุ่ม จดหมายลับ 2. ใบงานที่ 3.1 หลักการออกแบบข้อมูลให้น่าสนใจ 8. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. วิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) 2. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ (Practice) 1. ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนรับทราบว่า จากกิจกรรมที่ผ่านมา ใบงานที่ 2.3 ประเทศที่ อยากไป ที่ผู้สอนได้ให้ผู้เรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่อยากไป ซึ่งมีหลายหน้ากระดาษ และไม่ค่อยน่าสนใจ ผู้สอนให้ผู้เรียน ช่วยกันตอบว่า มีวิธีอย่างไรทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่อยากไปน่าสนใจบ้าง? ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน


แนวคำตอบ : สรุปให้เข้าใจง่าย นำเสนอเป็นวีดีโอ มีภาพประกอบ 2. ผู้สอนอธิบายว่า การนำเสนอเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนแก่ผู้ฟัง โดยการพูดประกอบสื่อในระยะเวลาสั้น ๆ องค์ประกอบของการนำเสนอประกอบด้วย ผู้นำเสนอ (Presenter) เนื้อหา (Content) ผู้ฟัง (Audience) ผู้นำเสนอ จะต้องมีบุคลิกภาพ ความเชื่อมั่น ประสบการณ์ การเตรียมตัว ความรู้ ความสามารถ สไตล์การนำเสนอ เนื้อหาการนำเสนอ เนื้อหาการนำเสนอจะต้องประกอบด้วย วัตถุประสงค์ รูปแบบ ขั้นตอน ความยากง่าย ความน่าสนใจ ผู้ฟัง จะต้องมีความสนใจ ความรู้ ความเข้าใจ ความเกี่ยวข้อง ทัศนคติ การยอมรับ การเรียนรู้ การนำเสนอที่ดีจะต้องเรียนรู้จากข้อเท็จจริง เรียนรู้จากจำนวนตัวเลข เรียนรู้จากรูปภาพ และวีดีโอ เรียนรู้จากคำอธิบาย เรียนรู้จากการแสดงการสาธิต เรียนรู้จากตัวอย่างหรือแบบจำลอง เรียนรู้จากการอภิปราย ซักถาม เรียนรู้จากการวิเคราะห์ด้วยตนเอง 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรม จดหมายลับ ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม ละ 6 - 7 คน จำนวนสมาชิกเท่ากันทุกกลุ่ม 4. ผู้สอนให้สมาชิกแต่ละกลุ่มยืนเรียงต่อแถวเป็นรูปแบบแถวตอน จากนั้นให้เอามือแตะไหล่ เว้นระยะห่าง ประมาณ 1 ช่วงแขน 5. ผู้สอน ส่งจดหมายลับ ให้กับสมาชิกกลุ่มที่อยู่แถวหน้าสุดอ่าน โดยให้ระยะเวลาอ่าน และจำ 3 นาที โดย เนื้อหาในจดหมาย มีข้อความว่า นายกรัฐมนตรีสก็อต มอร์ริสันของออสเตรเลียประกาศเมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า จะจำกัด ขั้นสอน


การใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าสำหรับชาวออสเตรเลีย โดยผู้ใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีควรหลีกเลี่ยง การใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าตามคำแนะนำของ TGA ด้านนายพอล เคลลี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ได้ออกมาเรียกร้องในช่วงเช้าวันศุกร์ให้ชาว ออสเตรเลียเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยระบุว่า วัคซีนมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง เมื่อครบเวลา 3 นาที ผู้สอนเก็บจดหมายลับคืน 6. ผู้สอนให้สมาชิกกลุ่มคนที่ 1 กระซิบข้อความในจดหมายให้กับสมาชิกคนที่ 2 ฟัง โดยให้เวลา 1 นาที ให้สมาชิกคนที่ 2 บอกข้อความในจดหมายลับให้คนที่ 3 คนที่ 3 บอกคนที่ 4 กระซิบข้อความต่อไปเรื่อย ๆ จนถึง สมาชิกคนสุดท้าย 7. ผู้สอนให้สมาชิกคนสุดท้ายของแต่ละกลุ่มออกไปรอนอกห้อง จากนั้น ผู้สอนเฉลยข้อความ ในจดหมายลับ 8. ผู้สอนให้สมาชิกคนสุดท้ายของแต่ละกลุ่มเข้ามาบอกข้อความในจดหมายลับทีละคน โดยให้ผู้เรียน ช่วยกันตัดสินว่า เนื้อหาในจดหมายของกลุ่มใด ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด 9. ผู้สอนให้รางวัลกลุ่มที่มีเนื้อหาใกล้เคียงความจริงมากที่สุด 10. ผู้สอนสรุปว่าจากกิจกรรมจดหมายลับ ผู้เรียนจะเห็นว่าในการส่งข้อมูล เนื้อหา ข้อความ ถึงกัน มี หลายปัจจัยที่จะทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนๆ ให้ผู้เรียนช่วยกัน ตอบว่า มีปัจจัยอะไรบ้าง แนวคำตอบ : ระยะเวลา ความยากของข้อมูล ภาษาที่ไม่คุ้นเคย ผู้รับสารส่งต่อสารคลาดเคลื่อน 10. ผู้สอนสรุปให้ผู้เรียนเข้าใจว่า มีหลายปัจจัยที่จะทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะในยุคคสมัยที่ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตมนุษย์ การรับข้อมูลข่าวสารต่างๆทำได้อย่างสะดวกสบายเพียงแค่คลิกผ่าน อินเทอร์เน็ต ในบทเรียนที่ผ่านมา ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการเป็นผู้รับสารที่ดีจากการใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลไปแล้ว การเป็นผู้ส่งสารที่ดีก็เป็นเรื่องที่ผู้เรียนควรเรียนรู้เพื่อการใช้งาน เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นกัน และองค์ประกอบของการนำเสนอข้อมูลประกอบด้วย ผู้นำเสนอ (Presenter) เนื้อหา (Content) ผู้ฟัง (Audience) การนำเสนอที่ดีจะต้องประกอบไปด้วย 1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม 3. เนื้อหาสาระดีมีประโยชน์ ขั้นสรุป


Click to View FlipBook Version