The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Surin Palichan, 2019-04-03 05:29:58

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

Keywords: พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระมหาพชิ ยั มงกฎุ

พระมหาพิชัยมงกุฎ รวมพระจอนสูง ๖๖ เซนติเมตร หนัก ๗.๓ กิโลกรัม
พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราชโปรดใหส้ รา้ งขนึ้ ทา� ดว้ ยทองลงยาประดบั เพชร
คร้ันถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ซ้ือเพชรเม็ดใหญ่
จากเมอื งกลั กตั ตา ประเทศอนิ เดยี พระราชทานนามวา่ “พระมหาวเิ ชยี รมณ”ี แลว้ ทรงพระกรณุ า
โปรดเกลา้ ฯ ใหป้ ระดับไว้บนยอดพระมหาพชิ ยั มงกฎุ แทนยอดพุ่มขา้ วบณิ ฑ์
ในสมยั โบราณถอื ว่า มงกฎุ มคี ่าส�าคญั เท่ากับราชกกธุ ภณั ฑ์อืน่ ๆ และพระมหา
เศวตฉัตรเป็นสิ่งที่ส�าคัญสูงสุด เม่ือพระมหากษัตริย์ทรงรับมงกุฎมาแล้วก็เพียงทรงวางไว้ข้าง
พระองค ์ แตต่ อ่ มาเมอ่ื ประเทศไทยตดิ ตอ่ กบั ประเทศในทวปี ยโุ รปมากขน้ึ จงึ นยิ มตามราชสา� นกั
ยุโรปท่ีถือว่า ภาวะแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ท่ีเวลาได้สวมมงกุฎ ในพระราชพิธีบรม
ราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชิญทูตานุทูตในประเทศไทยร่วมใน
พระราชพธิ แี ละทรงรบั พระมหาพชิ ยั มงกฎุ มาทรงสวม แตน่ นั้ มากถ็ อื วา่ พระมหาพชิ ยั มงกฎุ เปน็
สิ่งส�าคัญในบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และพระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ
ในพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก

147

พระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก

พระแสงขรรค์ชยั ศรี

เป็นพระแสงทเ่ี จ้าพระยาอภยั ภูเบศร์ (แบน) ใหข้ ้าราชการจากเมอื งพระตะบอง
น�ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท�าด้ามและฝักขึ้นด้วยทองลงยาประดับมณีใช้เป็น
เครือ่ งราชกกุธภัณฑใ์ นการพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก เมือ่ พ.ศ. ๒๓๒๘
พระแสงขรรค์ชัยศรีน้ี เฉพาะส่วนท่ีเป็นองค์พระขรรค์ยาว ๖๔.๕ เซนติเมตร
ประกอบดา้ มแล้วยาว ๘๙.๘ เซนติเมตร หนกั ๑.๓ กิโลกรมั สวมฝกั แล้วยาว ๑๐๑ เซนติเมตร
หนกั ๑.๙ กิโลกรมั

148

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

ธารพระกร

ของเดมิ สรา้ งขน้ึ มาแตค่ รง้ั รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช ทา� ดว้ ย
ไมช้ ัยพฤกษป์ ิดทอง หัวและส้นเป็นเหลก็ คร่�าลายทอง ท่สี ดุ สน้ เปน็ ซอ่ มสามงา่ ม เรยี กธารพระกร ของเดิม
นัน้ วา่ ธารพระกรชัยพฤกษ ์ ครัน้ ถึงรัชกาลท่ ี ๔ ทรงสร้างธารพระกรขึน้ ใหมอ่ งค์หนึ่งด้วยทองคา� ภายในมี
พระแสงเสนา่ ยอดมรี ปู เทวดา จงึ เรยี กว่า ธารพระกรเทวรูป มลี ักษณะเปน็ พระแสงดาบมากกว่าเป็นธาร
พระกรจึงทรงใชแ้ ทนธารพระกรชยั พฤกษ์ คร้นั ถงึ รชั กาลท ่ี ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใหน้ �าธารพระกร
ชยั พฤกษ์ออกใชอ้ ีก ยกเลิกธารพระกรเทวรูป เพราะทรงพอพระราชหฤทยั ในของเก่า ๆ จึงคงใชธ้ ารพระกร
ชัยพฤกษ์ในพระราชพิธบี รมราชาภเิ ษกในรัชกาลตอ่ มา

149

พระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก

วาลวชิ นี (พัดและแส้)

สร้างข้ึนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะเป็น
พัดใบตาล ท่ีใบตาลปิดทองทั้ง ๒ ด้าน ขอบขลิบทองค�า ด้ามท�าด้วยทองลงยา เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชด�าริว่า ตามพระบาลีที่เรียกว่า “วาลวิชนี”
ไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเคร่ืองโบกปัดที่ท�าด้วยขนจามรี เพราะวาลแปลว่า ขนโคชนิดหนึ่ง
ตรงกับท่ีไทยเรียกจามรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแส้ขนจามรีข้ึนเป็นเคร่ืองราชกกุธภัณฑ ์
ภายหลังใช้ขนหางช้างเผือก เรียกว่า พระแส้หางช้างเผือก แต่ก็ไม่อาจที่จะเลิกใช้พัดใบตาลของเดิมได ้
จงึ โปรดใหใ้ ชพ้ ัดตาลและพระแส้จามรีควบคกู่ ัน โดยเรยี กวา่ “วาลวิชนี”

150

พระราชพธิ บี รมราชาภิเษก

ฉลองพระบาทเชงิ งอน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างข้ึน
เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามแบบอินเดียโบราณ ท�าด้วยทองค�าลงยาราชาวดีฝังเพชร ในการพระราชพิธี
บรมราชาภิเษก ประธานพระครูพราหมณเ์ ปน็ ผสู้ วมถวาย

151

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชลญั จกรประจ�าแผน่ ดิน

พระราชลัญจกรประจ�าแผ่นดิน หรือ พระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล เป็นเคร่ืองมงคลท่ี
แสดงถึงพระราชอิสริยยศ และพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ ใช้เป็นดวงตราประทับก�ากับ
พระปรมาภิไธย และเอกสารราชการแผ่นดิน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชก�าหนด
พระราชกฤษฎีกา และเอกสารสา� คญั สว่ นพระองคท์ ่ีเก่ยี วกับราชการแผน่ ดนิ ท่ีออกในพระปรมาภไิ ธย เปน็ ตน้
พระราชลัญจกรประจ�าแผ่นดินจะเชิญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมกับเคร่ืองมงคล
อื่น ๆ (พระสุพรรณบัฏ เครื่องราชกกธุ ภัณฑ์)

พระราชลญั จกรประจา� แผน่ ดนิ เรม่ิ สรา้ งขน้ึ ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั
เมอ่ื มีการผลัดเปลีย่ นแผน่ ดิน
ต่อมา พุทธศักราช ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
พระราชทานพระบรมราชานญุ าตใหส้ า� นกั เลขาธกิ ารคณะรฐั มนตรสี รา้ งพระราชลญั จกรพระครฑุ พา่ หด์ ว้ ยทองคา�
ข้ึนอีกองค์หนึ่ง เพ่ิมจากองค์เดิมซึ่งสร้างด้วยงาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓ ซึ่งมีสภาพช�ารุดเนื่องจากใช้มานาน
กว่า ๔๕ ปี

152

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

ด้านหน้า

ด้านข้าง องคพ์ ระราชลัญจกร

พระราชลญั จกรพระครฑุ พ่าห์ประจ�าแผน่ ดนิ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อยหู่ ัว
ทีข่ อบรอบพระราชลญั จกรจารึกพระปรมาภไิ ธย “พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกลา้ เจา้ อย่หู วั ”

เป็นตรางา มลี ักษณะกลม ขนาดเส้นผ่าศนู ยก์ ลาง ๘.๑ เซนตเิ มตร สงู ๑๒.๗ เซนตเิ มตร

153

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

ด้านหน้า

ด้านขา้ ง องค์พระราชลัญจกร

พระราชลญั จกรพระครฑุ พา่ ห์ประจา� แผน่ ดนิ รัชกาลท่ี ๙ ทขี่ อบรอบพระราชลญั จกรจารึกพระปรมาภิไธย
“พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช สยามนิ ทราธิราช”

เปน็ ตรางา มลี กั ษณะกลม ขนาดเส้นผ่าศนู ย์กลาง ๘.๔ เซนติเมตร สงู ๑๓.๔ เซนติเมตร

154

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

ด้านหนา้

ด้านขา้ ง องคพ์ ระราชลญั จกร

พระราชลญั จกรพระครุฑพ่าหท์ องคา� ประจา� รชั กาล
ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ งดว้ ยทองคา� ทั้งองค์
มรี ปู ลกั ษณะเช่นเดยี วกนั กับพระราชลัญจกรพระครฑุ พา่ ห์ประจ�ารชั กาลตรางา
ด้านบนองค์พระราชพระราชลัญจกรตดิ ตราสญั ลกั ษณ์พระราชพธิ ีกาญจนาภิเษก

155

พระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก

พระสพุ รรณบัฏ

หมายถึง แผ่นทองค�าจารึกพระปรมาภิไธย ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนา ๐.๑ เซนติเมตร
ขนาดความกว้างและความยาวขนึ้ อยกู่ บั อักษรหรอื ขอ้ ความทีจ่ ะจารึก

156

พระราชพธิ บี รมราชาภิเษก

พระทีน่ ง่ั พดุ ตานกาญจนสงิ หาสน์

เป็นพระราชบัลลังก์ทองขนาดย่อม ท�าด้วยไม้แกะสลักปิดทอง มีรูปครุฑและเทพนม แกะสลักประดับเรียงราย
โดยรอบฐานทั้ง ๒ ช้ัน เม่ือมีพระราชพิธีจะเชิญมาทอดบนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตรอีกชั้นหน่ึง
เรยี กวา่ “พระทีน่ ่งั พุดตานกาญจนสิงหาสน”์ พระมหากษตั ริย์จะเสดจ็ ข้ึนประทบั บนพระราชบัลลังกน์ ้ใี นพระราชพธิ สี �าคญั เชน่
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเพ่ือรับการถวายพระพรชัยมงคล เมื่อใช้เป็นพระราชยาน เรียกว่า
“พระราชยานพดุ ตานทอง” ใช้ในการเสด็จพระราชดา� เนินโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

157

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

พระท่ีน่งั ภัทรบิฐ

ลักษณะคล้ายเก้าอ้ี มีกงท้าวแขนด้านหลังพนักพิง แต่เดิมรัชกาลท ี่
๑ – รชั กาลท ี่ ๗ ปกั สปั ตปฎลเศวตฉตั รกางกนั้ ครน้ั ในการพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร ไดแ้ กไ้ ขเปลยี่ นเปน็
กางกน้ั นพปฎลมหาเศวตฉตั ร ฉตั ร ๙ ชน้ั ทพ่ี น้ื พระทน่ี งั่ ภทั รบฐิ บแุ ผน่ ทองแดงกาไหลท่ อง
ลายกระหนกกลางเปน็ รปู ราชสหี ์ ทข่ี อบและสว่ นทเ่ี ปน็ ขาเปน็ ลายถมทอง มฐี านเขยี ง
ไมส้ ลกั ปดิ ทอง ประดบั กระจกรองรบั พรอ้ มกบั ตงั้ โตะ๊ เคยี งสลกั ปดิ ทองประดบั กระจก
ขาเปน็ รปู พญานาคราช ๒ ขา้ ง สา� หรบั ทอดเครอื่ งราชกกธุ ภณั ฑแ์ ละเครอื่ งราชปู โภค
ประดิษฐาน ณ พระท่นี ั่งไพศาลทักษิณ ด้านมุขตะวันตก ในพระบรมมหาราชวงั เป็น
พระท่ีนั่งส�าหรับพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับเพื่อทรงรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์
เครอ่ื งขตั ติยราชวราภรณแ์ ละเครอ่ื งราชปู โภคในพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก

158

พระราชพธิ ีบรมราชาภิเษก

พระทีน่ ่งั อัฐทิศอทุ มุ พรราชอาสน์

เป็นพระแท่น หรือพระท่ีน่ัง หรือพระราชอาสน์ท�าจากไม้อุทุมพร
หรือ “มะเดื่อ” ทรงแปดเหลี่ยมจึงเรียกว่า “พระท่ีนั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์”
สลักปิดทองประดับกระจก กางก้ันด้วยพระบวรเศวตฉัตร หรือสัปตปฎล
เศวตฉัตร หรือฉัตรขาว ๗ ช้ัน ประดิษฐาน ณ พระท่ีน่ังไพศาลทักษิณ ด้านมุข
ตะวันออก ในพระบรมมหาราชวัง ส�าหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จข้ึนประทับรับน�้า
สรงพระมุรธาภิเษกในพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก

159

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

๏ หอศาสตราคม ๏ พระท่ีนั่งราชฤดี ๏ หอพระสุลาลยั พิมาน ๏ หอนอ้ ย
๏ พระทน่ี งั่ อมรินทร ๏ พเพ๏ทรรพะะสปทถน่ีรัศา่งั นวข์พวิลาาส
วินจิ ฉยั ฯ พระแท่นเ๏ศวต ัฉตร ๏ พระที่ ่ันงไพศาล ัทกษิณ ๏ พระอทง่นี คง่ั ต์ จะกั วรนั พอรอรกดพิ ิมาน
พระ ่ทีน่ังบุษบกมาลาฯ ๏ ท้องพระโรงหลัง
๏ พระท่นี งั่ ๏ ทอ้ งพระโรง ๏ พระท่ีนอ่ังงจคกัก์ รลพางรรดพิ มิ าน
ดสุ ิดาภริ มย์ หน้า ๏พเพทรรพะะอทปาน่ีรสัศ่ังนว์ซพ์ ้าิไยล
๏ หอนอ้ ย
พระ ่ที ่นังส๏นาม ัจนท ์ร ๏ พระทองนี่ ค่ังต์จักะวรนัพตรรกดิพิมาน

๏ หอพระธาตุ
มณเฑียร

๏ ประตสู นามราชกิจ

160

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

หมพู่ ระมหามณเฑยี ร

หมายถึงกลุ่มเรือนหลวง หลังคาทรงจั่ว มีช่อฟ้า หน้าบัน ปลูกเช่ือมต่อกัน ในสมัยต่อมารูปแบบหลังคาของ
พระมหามณเฑยี รเปลย่ี นแปลงไปตามพระราชนยิ ม เชน่ ในรชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลพระบาทสมเดจ็
พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั
หมพู่ ระมหามณเฑยี รตง้ั อยทู่ างดา้ นทศิ ตะวนั ออกของพระราชฐานชน้ั กลาง ณ ตา� แหนง่ เดมิ ของพระราชมณเฑยี ร
ชวั่ คราว ซงึ่ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราชโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ งขนึ้ เมอื่ ครงั้ ปราบดาภเิ ษกเปน็ ปฐมกษตั รยิ แ์ หง่
พระบรมราชจกั รวี งศ ์ เมอื่ พ.ศ. ๒๓๒๕
พระมหามณเฑยี รน ี้ สรา้ งเมอื่ พ.ศ. ๒๓๒๘ หลงั จากพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราชทรงประกอบ
พระราชพธิ ปี ราบดาภเิ ษก โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ งขน้ึ ณ ตา� แหนง่ เดมิ ของพระราชมณเฑยี รชวั่ คราว ประกอบดว้ ยพระทน่ี ง่ั ๓ องค์
พระปรศั วซ์ า้ ย พระปรศั วข์ วา และหอ ๒ หอ คอื หอพระเจา้ และหอพระธาตมุ ณเฑยี ร เดมิ พระทน่ี ง่ั ทงั้ ๓ องคม์ นี ามรวมกนั วา่
พระท่ีน่ังจักรพรรดิพิมาน ต่อมารัชกาลท่ี ๓ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามแยกเป็นองค์ๆ ได้แก่ พระที่น่ังจักรพรรดิพิมาน
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระท่ีนั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน และรัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามพระปรัศว์ขวา และ
พระปรัศว์ซ้ายว่า “พระท่ีนั่งเทพสถานพิลาส” และ “พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล” ส่วนหอพระเจ้า ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น
หอพระสลุ าลยั พมิ าน
ในอดตี หมพู่ ระมหามณเฑยี รนี้ มคี วามสา� คญั ยงิ่ เพราะเปน็ พระวมิ านทบ่ี รรทมของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั
เปน็ ทเ่ี สดจ็ ออกขนุ นางเพอื่ การบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ และเปน็ มณฑลพธิ ปี ระกอบพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษกและเฉลมิ พระราช
มณเฑยี รตง้ั แตส่ มยั รชั กาลท ี่ ๒ จนถงึ รชั กาลท ี่ ๙

161

พระราชพิธบี รมราชาภิเษก

พระแทน่ บรรทม

162

พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก

พระท่ีนั่งจกั รพรรดพิ มิ าน

พระที่น่ังประธานในหมู่พระมหามณเฑียร เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ และเป็นมณฑล
พระราชพิธเี ฉลมิ พระราชมณเฑยี รในพระราชพิธพี ระบรมราชาภิเษก
พระทีน่ งั่ จกั รพรรดิพิมานมีลกั ษณะสี่เหลยี่ มผืนผา้ ยกพืน้ สูง มีเฉลยี งรอบและมเี สานางเรียง (นางจรลั ) รับชายคา
โดยรอบทง้ั ๔ ดา้ น ปจั จบุ นั เปน็ ทป่ี ระดษิ ฐานเคร่อื งราชกกธุ ภัณฑ ์ และพระแสงสา� คญั

163

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

พระทีน่ งั่ ไพศาลทักษิณ ประดษิ ฐาน
พระสยามเทวาธิราช พรอ้ มเครือ่ งบชู าแบบจีน

164

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระที่น่งั ไพศาลทักษิณ

ต้ังอยู่กลางระหว่างท้องพระโรงหน้าของพระท่ีนั่งจักรพรรดิพิมานกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มีลักษณะเป็น
พระทนี่ ่งั โถงยาว ยกพ้นื สงู ทอดยาวไปตามทศิ ตะวนั ออก – ตะวนั ตก
ผนงั ทิศตะวนั ออกของพระท่นี ่งั มพี ระทวารสา� หรับเสด็จพระราชดา� เนินไปยงั หอพระสุลาลยั พิมาน หน้าพระทวาร
ประดิษฐานพระท่ีนั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร ส่วนผนังด้านทิศตะวันตกมีพระทวารส�าหรับเสด็จ
พระราชดา� เนินไปยงั หอพระธาตุมณเฑยี ร หน้าพระทวารประดิษฐานพระที่นัง่ ภทั รบฐิ ภายใตน้ พปฎลมหาเศวตฉัตร
ผนังด้านทิศเหนอื ของพระทีน่ ่งั เป็นผนังทึบและมีชอ่ งพระทวาร ๑๑ บาน ส่วนกลางของผนงั ด้านนเ้ี ปน็ พระวมิ าน
ที่ประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช ด้านหลังพระวิมานเป็นพระทวารเทวราชมเหศวร ซ่ึงเป็นทางเสด็จพระราชด�าเนินของ
พระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เมื่อเสด็จออกพระที่น่ังอมรินทรวินิจฉัย ผนังด้านทิศใต้ ช่วงกลางเป็นอัฒจันทร์ลดพ้ืนลงไปยัง
ท้องพระโรงหน้าของพระท่ีนงั่ จักรพรรดิพิมาน

165

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ภายในท้องพระโรงพระทน่ี ่งั อมรินทรวนิ ิจฉยั ฯ

166

พระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก

พระทีน่ ่งั อมรนิ ทรวนิ ิจฉยั มไหสูรยพิมาน

ต้ังอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระท่ีน่ังไพศาลทักษิณ เป็นท้องพระโรงส�าคัญที่พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม
ราชจักรีวงศ์ทรงใช้เป็นท่ีประกอบพระราชกรณียกิจส�าคัญของบ้านเมือง เช่น เสด็จออกขุนนาง ท่ีเสด็จออกมหาสมาคม
ในพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก พระราชพธิ เี ฉลมิ พระชนมพรรษา ตลอดจนเสดจ็ ออกรบั ทตู ตา่ งประเทศทเ่ี ขา้ มาเจรญิ พระราชไมตรี
ในสมยั ตน้ รัตนโกสินทร์
พระที่น่ังอมรินทรวินิจฉัยเป็นท้องพระโรงโถง ยกพ้ืนสูง มีมุขสองข้างทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีฝา
โดยรอบ ท่ีปลายสุดของท้องพระโรงเป็นท่ีประดิษฐานพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมานต่อจากอัฒจันทร์พระทวาร
เทวราชมเหศวร ซง่ึ เปน็ ทางเสดจ็ พระราชดา� เนนิ สพู่ ระทนี่ งั่ บษุ บกมาลาองคน์ ี้ โดยเฉพาะจากพระทน่ี ง่ั ไพศาลทกั ษณิ และดา้ นหนา้
พระที่น่งั บษุ บกมาลามหาจักรพรรดิพมิ านเปน็ ท่ีประดิษฐานพระทน่ี ่งั พุดตานกาญจนสงิ หาสนภ์ ายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร

167

พระราชพิธบี รมราชาภิเษก

168

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

พระทนี่ ั่งดสุ ิตมหาปราสาท

ต้ังอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางทางฝั่งตะวันตก ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา
โลกมหาราชโปรดใหส้ รา้ งขนึ้ เพอื่ ใชเ้ ปน็ ทเี่ สดจ็ ออกวา่ ราชการ ตอ่ มาเมอื่ พระบรมวงศฝ์ า่ ยในชนั้ สงู สน้ิ พระชนมจ์ งึ ทรงพระกรณุ า
โปรดเกล้าฯ ให้น�าพระศพมาตั้งประดิษฐานไว้บนพระที่น่ังดุสิตมหาปราสาทเพื่อบ�าเพ็ญพระราชกุศล คร้ันเม่ือพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต ได้เชิญพระบรมศพมาประดิษฐานบนพระมหาปราสาทแห่งน้ี ภายหลังจึงเป็น
ธรรมเนียมในการประดิษฐานพระบรมศพพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมา รวมทั้งพระอัครมเหสี และพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง
บางพระองค์ดว้ ย
พระที่น่ังดุสิตมหาปราสาทเป็นพระท่ีนั่งก่ออิฐถือปูน ยกพ้ืนสูงรูปจัตุรมุข หลังคาทรงปราสาท มีมุขลด ๔ ช้ัน
ทงั้ ๔ ดา้ น ยกเวน้ ดา้ นหนา้ มมี ขุ เดจ็ เปน็ มขุ ลดอกี ชนั้ รวมดา้ นหนา้ เปน็ ๕ ชนั้ มขุ เดจ็ ดา้ นหนา้ พระทน่ี งั่ ดสุ ติ มหาปราสาทเปน็ มขุ โถง
มีพระทนี่ ง่ั บุษบกมาลาตั้งอย่กู ลางมขุ เปน็ ทสี่ �าหรับเสดจ็ ออกมหาสมาคม หรอื เสด็จออกให้ประชาชนเฝา้ ทูลละอองธุลพี ระบาท
มขุ ดา้ นทิศใต้ของพระทนี่ ั่งดุสิตมหาปราสาท มีมขุ กระสันเช่อื มต่อกับพระที่น่งั พิมานรตั ยา สว่ นมขุ ดา้ นทศิ ตะวนั
ออกมีทางเดินเชื่อมกับพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท และมุขทางด้านทิศตะวันตกมีทางเดินเช่ือมกับศาลาเปล้ืองเคร่ือง
มีอัฒจันทร์ทางขึ้นพระที่น่ังสองข้างมุขเด็จ และทางขึ้นด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกด้านละ ๑ แห่ง ซึ่งสร้างเพ่ิมเติม
ในรชั สมัยพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว

169

พระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก

170

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

วัดพระศรรี ัตนศาสดาราม

ตัง้ อยทู่ างดา้ นตะวันออกเฉียงเหนือภายในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบแผนการสรา้ ง
พระบรมมหาราชวังแต่คร้ังโบราณ มีเฉพาะเขตพุทธาวาส เป็นสถานท่ีประกอบพระราชพิธีส�าคัญของ
บา้ นเมอื ง เป็นสถานทีป่ ระดษิ ฐาน พระพุทธมหามณีรตั นปฏิมากร หรอื พระแก้วมรกต เรียกโดยทั่วไป
วา่ วัดพระแก้ว สร้างขนึ้ พรอ้ มพระบรมมหาราชวงั ใน พ.ศ. ๒๓๒๖ มกี �าแพงแก้วล้อมรอบ ภายในพ้ืนที่
ของพระอารามประกอบด้วย ศาสนสถาน และศาสนวัตถุส�าคัญ เช่น พระอุโบสถ หอพระราชพงศานุสร
หอพระราชกรมานสุ ร หอพระมณเฑียรธรรม ปราสาทพระเทพบดิ ร พระศรรี ตั นเจดยี ์ เปน็ ต้น

171

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระมหาเจดยี สถาน
สถานท่ีตงั้ พธิ เี สกทา� น�้าพระพุทธมนต์ ๗ แหง่

๑. พระพุทธบาท จังหวดั สระบุร ี ตกั นา้� จากแมน่ �า้ ป่าสกั ณ ต�าบลท่าราบ รวมทง้ั ใชน้ ้�าสรง
รอยพระพทุ ธบาทดว้ ย
๒. พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก น้�าตกจากทะเล
แก้ว สระแกว้ และน�้าจากสระสองหอ้ ง
๓. วัดพระมหาธาตุ เมอื งสวรรคโลก ตกั น้า� จาก ตระพงั ทอง ตระพงั เงิน ตระพงั ช้างเผือก
ตระพงั โพยส ี โซกชมพ่ ู น้�าบอ่ แก้วนา้� บอ่ ทอง แขวงเมืองสวรรคโลก
๔. พระปฐมเจดยี ์ จงั หวดั นครปฐม ตกั นา้� ในแมน่ ้า� นครชัยศร ี ตา� บลบางแกว้ นา�้ กลางหาว
บนองคพ์ ระปฐมเจดยี ์ นา้� สระพระปฐมเจดยี ์ น�้าสระน�า้ จนั ทร์
๕. วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช น�้าท่ีบ่อวัดหน้าพระลาน บ่อวัดเสมาไชย
บอ่ วดั เสมาเมอื ง บ่อวดั ประตขู าว หว้ ยเขามหาชยั และบอ่ ปากนาคราช
๖. วดั พระธาตหุ รภิ ญุ ไชย จังหวดั ล�าพนู ตักน้า� ที่ บอ่ ทิพย ์ เมอื งนครล�าพูน
๗. พระธาตุพนม เมอื งนครพนม ในมณฑลอดุ ร อนั เปน็ มหาเจดียสถาน อย่ใู นประเทศทีต่ ัง้
โบราณราชธานีโคตรบูรณห์ ลวง

พระพุทธบาท จังหวดั สระบรุ ี

172

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

พระวหิ ารพระพทุ ธชนิ ราช วัดพระศรีรตั นมหาธาตุ จงั หวัดพษิ ณโุ ลก วดั พระมหาธาตุ เมอื งสวรรคโลก จงั หวดั สโุ ขทยั

173

พระราชพธิ บี รมราชาภิเษก

พระปฐมเจดยี ์ จงั หวดั นครปฐม วัดพระมหาธาตุ จังหวดั นครศรธี รรมราช

174

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

วดั พระธาตหุ รภิ ญุ ไชย จงั หวัดล�าพนู พระธาตุพนม เมอื งนครพนม

175

พระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก

พธิ เี สกนา�้ ๑๐ มณฑลในสมยั รัชกาลท่ี ๗

๑. มณฑลนครสวรรค ์ ทา� พธิ เี สกนา�้ ณ วดั พระบรมธาต ุ เมอื งชยั นาท วดั กลาง เมืองนครราชสมี า
๒. มณฑลเพชรบรู ณ์ ท�าพิธีเสกนา้� ณ วดั มหาธาตุ เมอื งเพชรบูรณ์
๓. มณฑลนครราชสมี า ทา� พธิ เี สกนา�้ ณ วดั กลาง เมอื งนครราชสมี า
ตักน้า� จากสระแก้ว สระขวญั ธารปราสาท สระปักธงชัย
๔. มณฑลอีสาน ท�าพิธีเสกน้�า ณ วัดสีทอง เมืองอุบลราชธานี
ตกั นา�้ จากทา่ หอชยั นา�้ กดุ ศรมี งั คละ นา�้ กดุ พระฤๅชยั
๕. มณฑลปราจีนบุรี ท�าพิธีเสกน้�า ณ วัดโสธร เมืองฉะเชิงเทรา
ตกั นา�้ จากสระมหาชยั สระหนิ ดาษ
๖. มณฑลจันทบุร ี ทา� พธิ ีเสกน้�า ณ วดั พลับ เมอื งจันทบรุ ี ตกั น�า้ จาก
สระแก้ว และธารนารายณ์
๗. มณฑลปัตตานี ท�าพิธีเสกน�้า ณ วัดตานีนรสโมสร เมืองตาน ี
ตักน้�าจากสระวงั พลายบวั น�้าบ่อทอง น�า้ บอ่ ไชย นา�้ บ่อฤๅษี น�้าสระแก้ว
๘. มณฑลภูเก็ต ท�าพิธีเสกน�้า ณ วัดพระทอง เมืองถลาง
ตักน�้าจากเขาโตะ๊ แซะ และนา�้ จากเขาต้นไทร
๙. มณฑลชุมพร ท�าพิธีเสกน้�า ณ วัดพระมหาธาตุ เมืองไชยา
ตักน้�าจากแหลง่ นา�้ ส�าคญั ทีอ่ า� เภอต่างๆ
๑๐. มณฑลราชบรุ ี ทา� พธิ เี สกนา้� ณ วดั พระมหาธาต ุ เมืองเพชรบุรี

176

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วดั มหาธาตุ เมอื งเพชรบรู ณ์ วัดพระบรมธาตุ เมอื งชยั นาท

177

พระราชพิธบี รมราชาภิเษก

วัดสีทอง เมอื งอบุ ลราชธานี วดั พลับ เมอื งจันทบรุ ี

178

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วดั พระมหาธาตุ เมืองไชยา วัดพระมหาธาตุ เมอื งเพชรบรุ ี

179

พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก

พระสยามเทวาธริ าช หุ่นพระบรมรูปรัชกาลท่ี ๑ เทวสถานพระอศิ วร
ในพระท่นี งั่ ไพศาลทักษณิ

ปูชนยี สถานและสง่ิ ส�าคัญ ๑๓ แหง่

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร มกี ารจัดเครอื่ งบชู าปูชนียสถานและสง่ิ ส�าคญั ๑๓ แห่ง ในพระนคร ไดแ้ ก่

๑. พระสยามเทวาธริ าช ๗. พระหลกั เมือง
ในพระทีน่ ง่ั ไพศาลทกั ษณิ ๘. พระเสื้อเมอื ง
๒. ห่นุ พระบรมรูปรัชกาลท ่ี ๑ ๙. พระกาฬชัยศรี
๓. เทวสถานพระอศิ วร ๑๐. พระเพลิง
๔. เทวสถานพระนารายณ์ ๑๑. พระเจตคุปต์
๕. เทวสถานพระคเณศ ๑๒. เทวรปู ณ หอแกว้ พระภูมิ
๖. เทวรปู ณ หอเชือก ๑๓. เทวรูป ณ ตึกดิน

180

พระราชพธิ บี รมราชาภิเษก

เทวสถานพระนารายณ์ เทวสถานพระคเณศ

เทวรปู ณ หอเชอื ก พระหลักเมือง พระเสือ้ เมอื ง พระกาฬชยั ศรี

181

พระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก

บรรณานุกรม

กา� หนดการพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษกพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช สยามนิ ทราธริ าช และพระราชพธิ เี ฉลมิ
พระราชมณเฑียร พ.ศ. ๒๔๙๓. ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๖๗ ตอนที่ ๒๗ (๙ พฤษภาคม ๒๔๙๓).

คา� ให้การชาวกรุงเก่า. กรงุ เทพฯ : ส�านกั พิมพค์ ลังวทิ ยา. ๒๕๑๕.
จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๖. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หอพระสมุดพระนครรวบรวม
พมิ พพ์ ระราชทานในงารเฉลิมพระชนม์พรรษา ปกี ญุ พ.ศ. ๒๔๖๖).
ประชมุ จารกึ ภาคท่ี ๘ จารกึ สโุ ขทัย. กรงุ เทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๔๘. (คณะกรรมการอ�านวยการจดั งานเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสท่ีวันพระราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันท่ี ๑๘
ตลุ าคม พทุ ธศักราช ๒๕๔๗).
ณัฏฐภัทร จันทวิช. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๐. (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เน่ืองในมหาวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๓๐).
ด�ารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๒. พิมพ์ครั้งท่ี ๙.
กรุงเทพฯ : กรมศลิ ปากร, ๒๕๔๖.
ดา� รงราชานุภาพ, สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสินทร ์ รชั กาลท ี่ ๕. พิมพค์ ร้ังที ่ ๕.
กรงุ เทพฯ : สา� นกั วรรณกรรมและประวตั ศิ าสตร ์ กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๖. (จดั พมิ พเ์ พอื่ เทดิ พระเกยี รตสิ มเดจ็ พระเจา้
บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดา� รงราชานภุ าพ เนอ่ื งในโอกาส ๑๕๐ ปวี นั ประสตู ิและครบ ๕๐ ปี บุคคลส�าคัญของโลก
๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕).
นภาพร เลา้ สินวัฒนา. การเสด็จขึน้ ครองราชย์ พระราชพิธ ี คต ิ ความหมาย และสัญลักษณ์แหง่ “สมมติเทวราช”. พิมพ์
ครงั้ ท ่ี ๒. กรงุ เทพฯ : อมรินทร์พริ้นตง้ิ แอนด์พบั ลชิ ช่ิง จ�ากัด (มหาชน), ๒๕๔๙.
นรศิ รานุวัดตวิ งศ์, สมเด็จเจา้ ฟา้ กรมพระยา. สาสน์ สมเดจ็ . กรงุ เทพฯ: องคก์ ารคา้ คุรุสภา, ๒๕๑๓.
ประกาศอกั ษรกจิ (เสงยี่ ม รามนนั ทน)์ , พระยา. จดหมายเหตบุ รมราชาภเิ ษกพระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั . สมเดจ็
พระนางเจา้ รา� ไพพรรณฯี โปรดเกลา้ ฯ ใหพ้ มิ พเ์ ปน็ ทร่ี ะลกึ ในการเชญิ พระบรมอฐั เิ สดจ็ คนื เขา้ สพู่ ระนคร พทุ ธศกั ราช
๒๔๙๒. พระนคร : โรงพมิ พ์ไทยเขษม. ๒๔๙๒.
พระราชพงศาวกรงุ รตั นโกสนิ ทร ์ รชั กาลท ี่ ๑ เจา้ พระยาทพิ ากรวงศ ์ (ขา� บนุ นาค) เรยี บเรยี ง สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ
กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ทรงตรวจช�าระและทรงพระนิพนธ์ค�าอธิบาย. พิมพ์ครั้งท่ี ๗. กรุงเทพฯ :
กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๕.

182

พระราชพธิ บี รมราชาภิเษก

พระราชพธิ รี าชาภเิ ษกสมรส พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก และพระราชพธิ เี ฉลมิ พระราชมณเทยี รพระบาทสมเดจ็ พระ
ปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช สยามนิ ทราธริ าช พ.ศ. ๒๔๙๓ และเร่อื ง บรมราชาภเิ ษก พระนพิ นธ์ของ
พระวรวงศเ์ ธอ กรมหมนื่ พทิ ยลาภพฤฒยิ ากร พระนคร: โรงพมิ พก์ รมสรรพสามติ , ๒๕๑๔. (สา� นกั งานทรพั ยส์ นิ
สว่ นพระมหากษตั รยิ พ์ มิ พเ์ ปน็ อนสุ รณใ์ นงานพระราชทานเพลงิ ศพพลตร ี หมอ่ มทววี งศถ์ วลั ยศกั ด ์ิ (หมอ่ มราชวงศ์
เฉลิมลาภ ทววี งศ์) ป.จ. , ม.ป.ช. , ม.ว.ม. ณ เมรหุ นา้ พลับพลาอิสริยาภรณ์ วดั เทพศริ นิ ทราวาส วนั องั คารท ่ี ๒๓
กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๑๔).

พระราชวงั , ส�านกั . พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๔๙๓. กรงุ เทพฯ : บริษัท อมรนิ ทร์ พร้ินติง้ กรพุ๊ จ�ากัด, ๒๕๓๓. (สา� นกั
พระราชวังรวบรวมและจัดพิมพ์สนองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
พทุ ธศกั ราช ๒๕๓๓).

พิทยลาภพฤฒิยากร, พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหม่ืน. เร่ืองบรมราชาภิเษก. พระนคร : ๒๕๐๙. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน
พระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าประสบประสงค์ ชุมพล ท.จ., ต.ช. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันจันทร์ที่ ๒๙
สิงหาคม ๒๕๐๙).

มหาดไทย, กระทรวง. ประวัติน้�าพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถ่ิน กรมการปกครอง, ๒๕๓๐.
(กระทรวงมหาดไทยจดั พมิ พเ์ นอื่ งในวโรกาสรฐั พธิ เี สกทา� นา�้ พระพทุ ธมนตศ์ กั ดส์ิ ทิ ธเิ์ พอื่ ทลู เกลา้ ฯ ถวายสรงอภเิ ษก
ในมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๕ รอบ ณ พระวิหารหลวงวัดสุทศั นเทพวราราม กรงุ เทพมหานคร วันพธุ ที่ ๒
ธนั วาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐).

รายการละเอียดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร และเสด็จเลียบพระนครในพระบาทสมเด็จฯ
พระปกเกล้าเจา้ อย่หู วั พทุ ธศกั ราช ๒๔๖๘. พระนคร: กรมศลิ ปากร, ๒๔๙๖. (สมเด็จพระนางเจ้ารา� ไพพรรณ ี
พระบรมราชนิ ใี นรชั กาลท ่ี ๗ โปรดให้พมิ พ์ในงานพระศพพระวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้ามนศั สวาสด ์ิ วันที ่ ๓ มีนาคม
พ.ศ. ๒๔๙๖).

ศิลปากร, กรม. ส�านักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัย
รัตนโกสินทร.์ กรุงเทพฯ : บริษทั รงุ่ ศิลปก์ ารพมิ พ ์ ( ๑๙๗๗) จ�ากัด, ๒๕๕๐.

แสงสูรย์ ลดาวัลย์, ม.ร.ว.. พระราชพิธีบรมราชภิเษกสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์. กรุงเทพฯ : ส�านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.
๒๔๒๗. (คณะอนกุ รรมการจดั ท�าเอกสารภาษาไทยในคณะกรรมการเอกลกั ษณ์ของชาติ ส�านักเลขาธิการนายก
รฐั มนตรี จัดพิมพเ์ ผยแพรพ่ ุทธศักราช ๒๕๒๖).

183

พระราชพธิ บี รมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

กระทรวงวฒั นธรรม จัดพิมพ์ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐
พมิ พ์ครัง้ ที่ ๑ จา� นวน ๑,๐๐๐ เลม่
ISBN : 978-616-543-457-7

ท่ปี รกึ ษา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวฒั นธรรม
นายวรี ะ โรจนพ์ จนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
นายกฤษศญพงษ์ ศริ ิ

คณะท�างานและบรรณาธกิ าร
นางสายไหม จบกลศึก
นางสาวเพลินพิศ กา� ราญ
นางสาวพิมพพ์ รรณ ไพบูลยห์ วังเจรญิ
นางจฑุ าทพิ ย์ โคตรประทมุ
นางเบญจมาส แพทอง
นางสาวอรสรา สายบวั
นายบัณฑิต ล่ิวชัยชาญ
นางสาววัชนี พุ่มโมรี
ว่าทีร่ อ้ ยตรีธรรมนูญ กลนิ่ คุ้ม

ออกแบบและจัดพมิ พ์

บรษิ ัท รุ่งศลิ ปก์ ารพมิ พ์ (1977) จ�ากัด
เลขท่ี ๕๕๕ หมู่ ๑๒ ถนนพทุ ธมณฑลสาย ๕
ตา� บลไรข่ ิง อ�าเภอสามพราน จงั หวดั นครปฐม
โทรศัพท์ ๐ ๒๑๑๘ ๓๕๕๕
www.rungsilp.com







กระทรวงวัฒนธรรม
เลขท่ี ๑๐ ถนนเทยี มร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรงุ เทพมหานคร ๑๐๓๑๐
www.m - culture.go.th


Click to View FlipBook Version