The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ณัฎฐา ศักดิ์ศิลาพร, 2023-06-10 03:39:08

คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2566

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 251 ~ 5.3.2 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม 5.3.3 การเชื่อมโยงวรรณกรรมที่ทบทวนกับหัวข้อการวิจัย 5.4 วิธีการดำเนินการวิจัย 5.4.1 ความเหมาะสมของของวิธีการวิจัยที่ใช้ 5.4.2 ความเหมาะสมของขั้นตอนการวิจัย การควบคุมตัวแปรและการวางแผนการทดสอบ 5.4.3 ความเหมาะสมของเครื่องมือวิจัย เทคนิควิจัย การเลือกประชากร และกลุ่มตัวอย่าง 5.4.4 ความถูกต้องของการอ้างอิงถึงวิธีการที่ใช้ในการวิจัย 5.4.5 ความเกี่ยวเนื่องของวิธีการดำเนินการวิจัยกับวัตถุประสงค์ 5.4.6 ความมีเหตุผลและความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล 5.5 ผลการวิจัย 5.5.1 ความเหมาะสมของลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิจัย 5.5.2 ความชัดเจนของผลการวิจัยหรือความรู้ที่ได้รับ 5.5.3 ความสามารถในการเสนอผลการวิจัย เช่น การใช้กราฟ ตาราง รูปภาพที่เหมาะสม 5.5.4 ความสอดคล้องของผลการวิจัยกับวัตถุประสงค์ 5.6 การวิเคราะห์ วิจารณ์ผลการวิจัย 5.6.1 ความเหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การเลือกใช้วิธีการทางสถิติที่เหมาะสม 5.6.2 ความสามารถในการบูรณาการความรู้ต่าง ๆ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผลการวิจัย มาใช้ในการตอบ ปัญหาตามวัตถุประสงค์ 5.6.3 ความสามารถในการสังเคราะห์ความรู้ใหม่จากหลักฐานการวิจัย 5.7 การสรุปและข้อเสนอแนะ 5.7.1 ความสามารถในการสรุปผลการวิจัยให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ 5.7.2 ความสมเหตุสมผลในการเสนอแนะถึงการนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ 5.7.3 ความรู้ที่ได้จากการวิจัย 5.7.4 ความสมเหตุสมผลในการเสนอแนะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ควรทำต่อไปในอนาคต 5.8 คุณภาพของการเขียนวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ 5.8.1 คุณภาพของบทคัดย่อ 5.8.2 ความเหมาะสมถูกต้องของการจัดโครงสร้างของเนื้อหา 5.8.3 ความถูกต้องของการอ้างอิง 5.8.4 ความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้ในการเขียน 5.9 การนำผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานสืบเนื่องจากการ ประชุมที่ได้มาตรฐาน ข้อ 6 แนวทางการประเมินความรู้ความสามารถของนักศึกษาในการนำเสนอผลงานและการตอบคำถาม โดยวิธีการ สอบปากเปล่า อาจประเมินจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 6.1 การนำเสนอผลงาน 6.1.1 ความเหมาะสมของวิธีการนำเสนอ 6.1.2 ความเหมาะสมของสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ 6.1.3 การนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอนที่เหมาะสม 6.1.4 การเสนอแนวความคิดมีความชัดเจนและต่อเนื่อง 6.1.5 บุคลิกภาพ การแสดงออก ความเชื่อมั่นของผู้นำเสนอ 6.1.6 ความสอดคล้องของเนื้อหาที่นำเสนอกับที่เขียนในวิทยานิพนธ์ หรือการศึกษาอิสระ 6.1.7 ความสามารถในการสรุปผล


ปีการศึกษา 2566 ~ 252 ~ 6.2 การตอบคำถาม 6.2.1 ความสามารถในการให้เหตุผลและอ้างหลักฐานสนับสนุน 6.2.2 ความสามารถในการตอบคำถามที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ปรากฏในงานวิจัย 6.2.3 ความเข้าใจในงานวิจัยที่ทำและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของผลจากการวิจัยต่อองค์ ความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ ข้อ 7 แนวทางตามข้อ 5 และ ข้อ 6 ในประกาศนี้กำหนดขึ้นเพื่อให้กรรมการสอบวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ ใช้ ประกอบการพิจารณาในการประเมินผลการสอบ คณะหรือภาควิชาหรือสาขาวิชาอาจกำหนดใช้เป็นบางส่วนหรือกำหนด เพิ่มเติมอีกก็ได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องกับลักษณะวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระในสาขาวิชานั้น ๆ ข้อ 8 การกำหนดระดับคะแนน และน้ำหนักการประเมิน ตามข้อ 5 และ ข้อ 6 ให้แต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนด โดย ความเห็นชอบของคณะที่สาขาวิชานั้น ๆสังกัด และจัดทำเป็นประกาศของคณะให้ชัดเจน หรืออาจใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ Excellent 80-100 % Good 70-79 % Pass 60-69 % Fail < 60 % ข้อ 9 การประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระของนักศึกษาแต่ละราย ต้องมีการบันทึกไว้เป็นลาย ลักษณ์อักษร โดยให้มีการบันทึกประเด็นหรือรายการที่ต้องแก้ไขตามมติของคณะกรรมการสอบและแจ้งผู้เข้าสอบรับทราบ ทั้งนี้เพื่อความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ข้อ 10 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ข้อ 11 ในกรณีที่มิได้กำหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 253 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 254 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 255 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 256 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 257 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 258 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 259 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 260 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 261 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 262 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 263 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 264 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 265 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 266 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 67/2559) เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต -------------------------- ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ข้อ 50.2 นักศึกษาใน หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตที่จะสำเร็จการศึกษาได้ จะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์มาตรฐาน นั้น เพื่อให้การ ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สำเร็จการศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 จึงได้กำหนดเกณฑ์ มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตไว้ดังนี้ ข้อ 1. ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 67/2559) เรื่อง เกณฑ์ มาตรฐานความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต” ข้อ 2. ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3. ให้ยกเลิกประกาศบัณฑิตวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ 3.1 ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 77/2548) เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความรู้ ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต 3.2 ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 7/2550) เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความรู้ ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต (แก้ไขครั้งที่1) 3.3 ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 4/2551) เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความรู้ ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต (แก้ไขครั้งที่ 2) ข้อ 4. เกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตให้ใช้เกณฑ์ ใดเกณฑ์หนึ่งดังต่อไปนี้ 4.1 ผลการทดสอบจากศูนย์ทดสอบทางภาษาที่มีผลการสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปีนับตั้งแต่วันสอบจากสถาบัน ที่มีการทดสอบดังนี้ TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 470 คะแนน หรือ TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำกว่า 150 คะแนน หรือ TOEFL (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า 52 คะแนน หรือ TOEFL (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 470 คะแนน หรือ IELTS (Academic Module) ไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน หรือ TU-GET (1000 คะแนน) ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน หรือ CU-TEP (120 คะแนน) ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน 4.2 ผลการทดสอบภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ Khon Kaen University Academic English Language Test (KKU – AELT) จัดสอบโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ผลการสอบดังนี้ ทักษะการอ่าน ระดับ 3ขึ้นไป ทักษะการเขียน ระดับ 3 ขึ้นไป


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 267 ~ 4.3 หากนักศึกษาได้ผลการสอบต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ตามข้อ 4.2 จะต้องเข้ารับการอบรมทักษะภาษาอังกฤษ จัดอบรมโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามระดับผลการสอบ ดังนี้ ทักษะการอ่าน ระดับ 1 และ 2 ต้องเข้ารับการอบรม Academic Reading for Master’s Students ทักษะการเขียน ระดับ 1 และ 2 ต้องเข้ารับการอบรม Academic Writing for Master’s Students และต้องสอบผ่านก่อนการสอบวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ ข้อ 5. ให้นักศึกษายื่นเอกสารแสดงผลการประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ตาม ข้อ4.1 หรือ 4.2 ต่อสาขาวิชาเพื่อให้บัณฑิตวิทยาลัย จัดทำประกาศและแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบต่อไป ข้อ 6. สำหรับนักศึกษาที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษที่เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2559 ให้ดำเนินการสอบวัด ความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ หรือ ลงทะเบียนรายวิชา 411 711 Reading in English for Graduate Student หรือการอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้ม จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 77/2548 ให้แล้วเสร็จภายในปีการศึกษา 2559 หากพ้นกำหนด นักศึกษาจะต้องดำเนินการ ยื่นผลการทดสอบตามที่ปรากฏในประกาศฉบับนี้ ข้อ 7. ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ข้อ 8. ในกรณีที่มิได้กำหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการ คำวินิจฉัยของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็นที่สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย


ปีการศึกษา 2566 ~ 268 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 21/2560) เรื่อง การลงทะเบียนวิชาเรียนน้อยหรือมากกว่าที่กำหนด -------------------------- เพื่อให้การลงทะเบียนวิชาเรียนน้อยหรือมากกว่าที่กำหนดของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 (3) แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย คณะกรรมการประจำคณะ/ วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย พ.ศ. 2558 และโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 จึงออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 21/2560) เรื่อง การ ลงทะเบียนวิชาเรียนน้อยหรือมากกว่าที่กำหนด” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 78/2550) เรื่อง การลงทะเบียนวิชา เรียนน้อยหรือมากกว่าที่กำหนด ข้อ 4 การลงทะเบียนวิชาเรียนน้อยหรือมากกว่าที่กำหนดสามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้ 4.1 จำนวนหน่วยกิตที่เหลือตามหลักสูตร มีจำนวนน้อยกว่าหรือมากกว่าที่กำหนดและ จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษานั้น ๆ ทั้งนี้ ในกรณีการลงทะเบียนมากกว่าที่กำหนด ต้องไม่มากกว่า 20 หน่วยกิต 4.2 ได้รับการเทียบโอนรายวิชาแล้ว เหลือจำนวนหน่วยกิตน้อยกว่าหรือมากกว่าที่กำหนด 4.3 ได้รับอนุมัติให้ปรับเปลี่ยนแผนการเรียน 4.4 กรณีอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยเห็นชอบ ข้อ 5 การขอลงทะเบียนวิชาเรียนน้อยหรือมากกว่าที่กำหนด ให้นักศึกษายื่นคำร้องโดยความ เห็นชอบของ อาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ข้อ 6 การลงทะเบียนวิชาเรียนน้อยหรือมากกว่าที่กำหนดตามข้อ 4.1และ4.2 ให้คณบดีของคณะที่หลักสูตร สังกัดเป็นผู้อนุมัติ ข้อ 7 การลงทะเบียนวิชาเรียนน้อยหรือมากกว่าที่กำหนดตามข้อ 4.3และ 4.4 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้อนุมัติ ข้อ 8 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ข้อ 9 ในกรณีที่มิได้กำหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 269 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 22/2560) เรื่อง การขอเพิ่มและการถอนวิชาเรียน ---------------------- เพื่อให้การด าเนินการเกี่ยวกับการขอเพิ่มและการถอนวิชาเรียนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามระเบียบ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ข้อ 27 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอ านาจตาม ความในข้อ 6 (3) แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย คณะกรรมการประจ าคณะ/วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เรียกชื่อ อย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย พ.ศ. 2558 และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจ าบัณฑิตวิทยาลัย ใน คราวประชุมครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 จึงออกประกาศเพื่อก าหนดหลักเกณฑ์การขอเพิ่มและการถอนวิชา เรียน ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 22/2560) เรื่อง การขอเพิ่ม และการถอนวิชาเรียน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 78/2548) เรื่อง การขอเพิ่มและการถอน วิชาเรียน ข้อ 4 การขอเพิ่มรายวิชาจะกระท าได้ภายใน 2 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษาปกติหรือภายใน 3 วันแรกของภาค การศึกษาพิเศษหรือภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยก าหนด และต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไป หรือ ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ข้อ 5 การถอนรายวิชามีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 5.1 ถ้าถอนรายวิชาภายในหนึ่งในสี่ของระยะเวลาการศึกษาวิชานั้นในภาคการศึกษานั้น นับจากวันเริ่มเรียน ตามปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือที่หลักสูตรก าหนด รายวิชาที่ถอนนั้น จะไม่ปรากฏในใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) การถอนตามนัยนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไป หรือประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตร 5.2 ถ้าถอนรายวิชา หลังจากเวลาที่ก าหนดไว้ในข้อ 5.1 แต่ไม่เกินหนึ่งในสองของระยะเวลาการศึกษาของ รายวิชาดังกล่าวในภาคการศึกษานั้น นับจากวันเริ่มเรียนตามปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัย หรือที่หลักสูตรก าหนด รายวิชา ที่ถอนนั้น จะได้สัญลักษณ์W และจะปรากฏในใบแสดงผลการศึกษา การถอนตามนัยนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณบดี คณะที่สังกัด ข้อ 6 การขอเพิ่มหรือถอนรายวิชานั้น เมื่อขอเพิ่มหรือถอนรายวิชาแล้ว จ านวนหน่วยกิตที่เรียนจะต้องไม่ขัดหรือแย้ง กับระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ข้อ 26.2 และ 26.3


ปีการศึกษา 2566 ~ 270 ~ ข้อ 7 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ข้อ 8 ในกรณีที่มิได้ก าหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอ านาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลั


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 271 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 23/2560) เรื่อง การเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาจากการศึกษาในระบบ -------------------------- เพื่อให้การเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นการให้โอกาสทางการ ศึกษาแก่นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกทั้งรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ข้อ 28 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 (3) แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย คณะกรรมการประจำคณะ/วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย พ.ศ. 2558 และโดย ความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 จึงออก ประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชา ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 23/2560) เรื่อง การเทียบ โอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาจากการศึกษาในระบบ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 22/2550) เรื่อง การเทียบโอนรายวิชา และค่าคะแนนของรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาจากการศึกษาในระบบ ข้อ 4 ในประกาศนี้ “มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น “คณะ” หมายความว่า คณะ วิทยาลัย หรือส่วนงานที่มีหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา “นักศึกษา” หมายความว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น “รายวิชา” หมายความว่า กระบวนวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนตามหลักสูตรในระดับ บัณฑิตศึกษา ข้อ 5 ผู้มีสิทธิ์ขอเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชา ได้แก่ นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อ 6 กำหนดเวลาการขอเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชา 6.1 นักศึกษาที่ประสงค์จะขอเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชาจะต้องยื่นคำร้อง ขอเทียบโอนรายวิชาภายใน 15 วัน นับถัดจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา และสามารถยื่นคำร้องได้เพียงครั้งเดียว เท่านั้น ที่งานบริการการศึกษาของคณะที่สาขาวิชาสังกัด โดยแนบใบแสดงผลการศึกษา รายละเอียดของรายวิชา และเค้า โครงรายวิชาเพื่อประกอบการพิจารณา ยกเว้นผู้ขอเทียบโอนที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเทียบโอนในหลักสูตร ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้แนบเฉพาะใบแสดงผลการเรียนเท่านั้น 6.2 ให้คณะที่สาขาวิชาสังกัด พิจารณาการเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชาตามคำร้องของ นักศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน นับถัดจากวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนด เป็นวันยื่นคำร้อง และแจ้งผลการอนุมัติ ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ


ปีการศึกษา 2566 ~ 272 ~ ข้อ 7. เกณฑ์การพิจารณาเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชา และขั้นตอนการตรวจสอบรายวิชาที่ขอเทียบโอน 7.1 เกณฑ์การพิจารณาการขอเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชา 7.1.1 เป็นรายวิชาที่สอบผ่านมาแล้วไม่เกิน 5 ปีการศึกษา นับจากวันลงทะเบียนรายวิชานั้น ถึงวันที่ มหาวิทยาลัยได้รับคำร้องขอเทียบโอน 7.1.2 เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาหรือเทียบเท่าที่สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง 7.1.3 เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชา ที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุม ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบ 7.1.4 เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับคะแนน ตัวอักษร B หรือแต้มระดับ คะแนน 3.00 หรือเทียบเท่า หรือระดับคะแนนตัวอักษร S ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตรของรายวิชานั้นกำหนด 7.1.5 รายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่เทียบโอนจากต่างสถาบันอุดมศึกษา จะไม่นำมาคำนวณ แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม 7.1.6 การเทียบโอนหน่วยกิตในรายวิชาวิทยานิพนธ์ให้เทียบโอนได้เฉพาะหลักสูตรที่เป็น วิทยานิพนธ์อย่างเดียว ทั้งนี้ การกำหนดสัดส่วนภาระงาน จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาวิทยานิพนธ์ที่เทียบโอนได้ ให้อยู่ใน ดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย 7.1.7 การเทียบรายวิชาเรียนและโอนหน่วยกิต สามารถเทียบโอนได้ไม่เกินหนึ่งในสาม ของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่รับโอน 7.1.8 นักศึกษาจะต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอย่างน้อยหนึ่งปีการศึกษา และ ลงทะเบียนเรียนรายวิชาหรือวิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรที่เข้าศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต 7.1.9 ในกรณีที่มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรใหม่จะเทียบโอนนักศึกษาเข้าศึกษาได้ไม่เกินกว่าชั้นปี และภาคการศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้มีนักศึกษาเรียนอยู่ตามหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว 7.2 ขั้นตอนการตรวจสอบรายวิชาที่เทียบโอน 7.2.1 คณะที่นักศึกษาสังกัดเป็นผู้ส่งรายวิชาไปยังคณะกรรมการบริหารหลักสูตร สาขาวิชาที่เข้าศึกษา เพื่อพิจารณาว่ารายวิชาใดที่สามารถเทียบโอนได้ 7.2.2 คณะกรรมการประจำคณะที่นักศึกษาสังกัด พิจารณาผล ตามข้อ 7.2.1 เพื่อพิจารณารับการ เทียบโอนทั้งนี้ให้เป็นไปตามเกณฑ์ ข้อ7.1 หากเห็นชอบให้นำเสนอขออนุมัติต่อคณบดีคณะที่สาขาวิชาสังกัด ข้อ 8 ค่าใช้จ่ายในการเทียบโอนรายวิชาและค่าคะแนนของรายวิชา ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย ข้อ 9 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ข้อ 10 ในกรณีที่มิได้กำหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 273 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 24/2560) เรื่อง การเปลี่ยนสาขาวิชา -------------------------- เพื่อให้การเปลี่ยนสาขาวิชา ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559ข้อ 29เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในข้อ6 (3) แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย คณะกรรมการ ประจำคณะ/วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย พ.ศ. 2558 และโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 จึงกำหนดแนวปฏิบัติใน การเปลี่ยนสาขาวิชา ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 24/2560) เรื่อง การเปลี่ยน สาขาวิชา” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 75/2548) เรื่อง การเปลี่ยนสาขาวิชา ข้อ 4 การเปลี่ยนสาขาวิชา ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาเดิมและ สาขาวิชาใหม่ โดยได้รับอนุมัติจากคณะที่สาขาวิชาใหม่สังกัด ข้อ 5 นักศึกษาผู้ขอเปลี่ยนสาขาวิชาต้อง 5.1 ศึกษารายวิชาในสาขาวิชาเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต 5.2 มีรายวิชาที่สามารถโอนเข้าสาขาวิชาใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และทุกวิชาที่จะโอนต้องได้ระดับ คะแนน B ขึ้นไป หรือ S แล้วแต่กรณีและได้ศึกษามาแล้วไม่เกิน 3 ปี 5.3 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 1 และหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1 นักศึกษาอาจขอเปลี่ยนสาขาวิชาได้หลังจากที่ได้ลงทะเบียนเรียนแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา และได้ศึกษามาแล้วไม่ เกิน 3 ปี โดยมีศักยภาพในการทำวิทยานิพนธ์ในสาขาวิชาใหม่ได้ ข้อ 6 รายวิชาวิทยานิพนธ์ ไม่สามารถเทียบโอนได้ ข้อ 7 ระยะเวลาการศึกษา นักศึกษาที่ขอเปลี่ยนสาขาวิชา ต้องเรียนตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร สาขาวิชาใหม่ โดยนับรวมเวลาตั้งแต่ลงทะเบียนครั้งแรกในหลักสูตรสาขาวิชาเดิม ข้อ 8 การปรับรหัสประจำตัวนักศึกษา ให้ปรับรหัสประจำตัวนักศึกษาใหม่ โดยให้ใช้รหัสตามปีการศึกษาที่ลงทะเบียน ครั้งแรกในหลักสูตรสาขาวิชาเดิมและปรับรหัสตามหลักสูตรสาขาวิชาใหม่ ข้อ 9 การดำเนินการ ให้นักศึกษาที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนสาขาวิชา ยื่นคำร้องต่อคณะที่หลักสูตรสาขา วิชาใหม่สังกัด โดย ความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเดิมไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ ก่อนเปิดภาคการศึกษา ข้อ 10 การพิจารณาให้เปลี่ยนสาขาวิชา ให้คณบดีคณะที่หลักสูตรสาขาวิชาใหม่สังกัดเป็นผู้อนุมัติ โดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาใหม่ และคณะกรรมการประจำคณะ ข้อ 11 ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนสาขาวิชาให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย ข้อ 12 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้


ปีการศึกษา 2566 ~ 274 ~ ข้อ 13 ในกรณีที่มิได้กำหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 275 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 25/2560) เรื่อง การเปลี่ยนแผนการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา -------------------------- เพื่อให้การเปลี่ยนแผนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นการให้โอกาสทางการ ศึกษาแก่นักศึกษา อีกทั้งรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 (3) แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย คณะกรรมการประจำคณะ/วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มี ฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย พ.ศ. 2558 และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 จึงออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแผนการศึกษา ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 25/2560) เรื่อง การเปลี่ยน แผนการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 67/2552) เรื่อง การเปลี่ยนแผนการ ศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ข้อ 4 ในประกาศนี้ “มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น “คณะ” หมายความว่า คณะ วิทยาลัย หรือส่วนงานที่มีหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา “นักศึกษา” หมายความว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น “รายวิชา” หมายความว่า กระบวนวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนตามหลักสูตรในระดับ บัณฑิตศึกษา “แผนการศึกษา” หมายความว่า แผนการศึกษาที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเลือกเข้าศึกษา หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต มี 2 แผน คือ แผน ก เป็นแผนการ ศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ดังนี้ แผน ก แบบ ก 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และหลักสูตรอาจกำหนดให้ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมหรือทำ กิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยไม่นับหน่วยกิตแต่จะต้อง มีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนด แผน ก แบบ ก 2 ทำ วิทยานิพนธ์ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และศึกษา รายวิชาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต แผน ข เป็นแผนการศึกษาที่ เน้นการศึกษางานรายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องมี การศึกษาอิสระไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต และไม่เกิน 6 หน่วยกิต หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต มี 2 แบบ คือ แบบ 1 เป็นแผนการ ศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดองค์ ความรู้ใหม่ หลักสูตรอาจกำหนดให้มีการศึกษารายวิชาเพิ่มเติม หรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นได้โดยไม่นับหน่วยกิต แต่


ปีการศึกษา 2566 ~ 276 ~ ต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนด ดังนี้ แบบ 1.1 ผู้เข้า ศึกษาที่สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อย กว่า 48 หน่วยกิต แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาบัณฑิต จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต แบบ 2 เป็น แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มี คุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และมีการศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม ดังนี้ แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษา ที่สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาบัณฑิต จะต้องทำ วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาไม่ น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ข้อ 5 การเปลี่ยนแผนการศึกษา หมายความว่า การเปลี่ยนแผนการศึกษาในหลักสูตรระดับเดียวกันและสาขาวิชา เดียวกัน ข้อ 6 ผู้มีสิทธิ์ขอเปลี่ยนแผนการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มีคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรของแผนการศึกษาที่ต้องการเปลี่ยนใหม่ ข้อ 7 หลักเกณฑ์และการดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแผนการศึกษา 7.1 การขอเปลี่ยนแผนการศึกษา ทำได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และต้องดำเนินการภายใน 1 ปี การศึกษา ในกรณีที่ขอเปลี่ยนแผนการศึกษาเกินกว่า 1 ปี ต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และให้นำเสนอคณะกรรมการประจำ บัณฑิตวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ 7.2 การโอนหน่วยกิตและค่าคะแนนของรายวิชา 7.2.1 รายวิชาที่ลงทะเบียนไปแล้ว ในแผนการศึกษาเดิมที่เป็นรายวิชาเดียวกับรายวิชาในแผนการ ศึกษาใหม่ ให้โอนหน่วยกิตได้ทุกรายวิชาที่มีระดับคะแนนไม่ต่ำกว่าค่าคะแนน ตัวอักษร B หรือระดับคะแนนตัวอักษร S และนำค่าคะแนนมาคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยสะสม ในกรณีที่มิได้เป็นรายวิชาในแผนการศึกษาใหม่ ไม่สามารถโอนหน่วยกิตได้ 7.2.2 รายวิชาวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ ตามแผนการศึกษาใหม่ต้องลงทะเบียนใหม่ สำหรับจำนวนหน่วยกิต รายวิชาวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ ที่ลงทะเบียนและประเมินผ่านแล้ว หากมีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกัน ให้เทียบโอนหน่วยกิตได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ และ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร เป็นผู้พิจารณา 7.3 นักศึกษาที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนแผนการศึกษา ให้ยื่นคำร้องต่อคณะที่สาขาวิชาสังกัดโดยความ เห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ก่อนเปิดภาคการศึกษา 7.4 ให้คณบดีคณะที่สาขาวิชาสังกัดเป็นผู้อนุมัติโดยพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 20 วันนับถัดจากวันยื่นคำ ร้อง และแจ้งผลการอนุมัติไปยังบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ข้อ 8ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแผนการศึกษา ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย ข้อ 9 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ข้อ 10 ในกรณีที่มิได้กำหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 277 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 26/2560) เรื่อง การลงทะเบียนเรียนรายวิชาในระดับที่ต่ำกว่าหลักสูตรที่เข้าศึกษา -------------------------- เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบังเกิดผลดีแก่นักศึกษา อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6(3) แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย คณะกรรมการประจำคณะ/วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย พ.ศ. 2558 และโดย ความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 จึง กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียนรายวิชาในระดับที่ต่ำกว่าหลักสูตรที่เข้าศึกษา ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 26/2560) เรื่อง การ ลงทะเบียนเรียนรายวิชาในระดับที่ต่ำกว่าหลักสูตรที่เข้าศึกษา” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 79/2548) เรื่อง การลงทะเบียนเรียนวิชา ในระดับที่ต่ำกว่าหลักสูตรที่เข้าศึกษา ข้อ 4 นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรระดับที่ต่ำกว่าหลักสูตรที่ตนเข้าศึกษาได้ ต้องได้รับ ความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และสาขาวิชา ข้อ 5 การลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีเงื่อนไขของรายวิชา (Prerequisite) อาจได้รับยกเว้น ไม่ต้อง ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่เป็นเงื่อนไขที่ต้องเรียนมาก่อน ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้อง ข้อ 6 ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนวิชาเรียน ให้เรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดในระเบียบและ/หรือประกาศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย ค่าธรรมเนียมการศึกษาตามระดับของหลักสูตรของรายวิชาที่ลงทะเบียนนั้น ในกรณีที่ไม่มีระเบียบ หรือประกาศรองรับ ให้เรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดสำหรับหลักสูตรที่นักศึกษานั้น ๆ เข้าศึกษา ข้อ 7 การนับจำนวนหน่วยกิต และการคิดค่าคะแนน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรที่นักศึกษาเข้าศึกษา รายวิชาใดที่ไม่ได้ระบุไว้ในหลักสูตร หรือไม่อยู่ในข้อกำหนดของหลักสูตรจะต้องลงทะเบียนโดยไม่นับหน่วยกิต (Audit) ข้อ 8 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ข้อ 9 ในกรณีที่มิได้กำหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอำนาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดบัณฑิตวิทยาลัย


ปีการศึกษา 2566 ~ 278 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 27/2560) เรื่อง การเปลี่ยนระดับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา -------------------------- เพื่อให้การเปลี่ยนระดับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ข้อ 30 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอ านาจตามความในข้อ 6 (3) แห่งข้อบังคับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย คณะกรรมการประจ าคณะ/วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย พ.ศ. 2558 และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจ าบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2559 เมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม 2559 จึงก าหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนระดับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 27/2560) เรื่อง การเปลี่ยน ระดับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 74/2548) เรื่อง การเปลี่ยนระดับ การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ข้อ 4 ในประกาศนี้ “มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น “คณะ” หมายความว่า คณะ วิทยาลัย หรือส่วนงานที่มีหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา “นักศึกษา” หมายความว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น “รายวิชา” หมายความว่า กระบวนวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนตามหลักสูตรในระดับ บัณฑิตศึกษา “หลักสูตรเดิม” หมายความว่า หลักสูตรที่นักศึกษาก าลังศึกษา “หลักสูตรใหม่” หมายความว่า หลักสูตรที่นักศึกษาต้องการเปลี่ยนระดับการศึกษา “การเปลี่ยนระดับการศึกษา” หมายความว่า การเปลี่ยนสถานภาพการเป็นนักศึกษาในหลักสูตร ที่ก าลังศึกษาให้เป็นนักศึกษาในหลักสูตรสาขาวิชา เดียวกันในระดับที่ต ่ากว่าหรือสูงกว่าหลักสูตรที่ก าลังศึกษานั้น ข้อ 5 ผู้มีสิทธิ์ขอเปลี่ยนระดับการศึกษา 5.1 นักศึกษาในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตขอเปลี่ยนระดับการศึกษาเป็นหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตใน สาขาวิชาเดียวกัน หรือ นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตขอเปลี่ยนระดับการศึกษาเป็นหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตใน สาขาวิชาเดียวกัน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในหลักสูตรสาขาวิชานั้น


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 279 ~ 5.2 กรณีขอเปลี่ยนระดับการศึกษาจากหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต เป็นหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต ผู้มี สิทธิ์ขอเปลี่ยนระดับการศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 5.2.1 เป็นนักศึกษาในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 ที่ได้ลงทะเบียนรายวิชาที่ ประเมินผลเป็น A B+ B C+ C D+ D F มาแล้วไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในภาคการศึกษา สุดท้ายก่อนการสอบวัดคุณสมบัติไม่ต ่ากว่า 3.50 หรือ นักศึกษา แผน ก แบบ ก 1 ที่มีผลงานวิจัยเพื่อท าวิทยานิพนธ์อันมี ศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ในระดับดุษฎีบัณฑิตได้ 5.2.2 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ที่จัดขึ้นส าหรับนักศึกษาในระดับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตในหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ 5.2.3 มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยก าหนด 5.3 นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตอาจขอเปลี่ยนระดับการศึกษาเป็นหลักสูตรปริญญา มหาบัณฑิตในสาขาวิชาเดียวกัน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในหลักสูตรสาขาวิชานั้น ในกรณีต่อไปนี้ 5.3.1 สอบวัดคุณสมบัติ ไม่ผ่าน 5.3.2 สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ไม่ผ่าน 5.3.3 สอบวิทยานิพนธ์ ไม่ผ่าน 5.3.4 คุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์การส าเร็จการศึกษาของการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ข้อ 6 หลักเกณฑ์และการด าเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนระดับการศึกษา 6.1 การขอเปลี่ยนระดับการศึกษาส าหรับนักศึกษาคนหนึ่ง ๆ สามารถกระท าได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น 6.2 การโอนหน่วยกิต และค่าคะแนนของรายวิชา 6.2.1 รายวิชาที่ได้ลงทะเบียนไปแล้วในหลักสูตรเดิมที่เป็นรายวิชาเดียวกับรายวิชาในหลักสูตรใหม่ ให้ โอนหน่วยกิตได้ทุกรายวิชา ที่มีค่าคะแนน B หรือ S และน าค่าคะแนนมาคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยสะสม 6.2.2 รายวิชาที่ได้ลงทะเบียนไปแล้วในหลักสูตรเดิม ที่มิได้เป็นรายวิชาเดียวกับรายวิชา ในหลักสูตรใหม่ แต่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องใกล้เคียงกับบางรายวิชาในหลักสูตรใหม่ ให้พิจารณาเทียบโอนได้ โดย คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นผู้พิจารณา 6.2.3 การโอนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ใหม่ ทั้งนี้ กรณีขอเปลี่ยนระดับการศึกษาสูงกว่าหลักสูตรที่ก าลังศึกษาต้องขออนุมัติเค้าโครงวิทยานิพนธ์ใหม่ให้แล้วเสร็จ ภายในภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนระดับการศึกษา 6.3 การนับระยะเวลาการศึกษา 6.3.1 การเปลี่ยนระดับการศึกษาจากหลักสูตรระดับต ่ากว่าไปหลักสูตรระดับสูงกว่า ให้นับระยะเวลา การศึกษาตามเกณฑ์ของหลักสูตรใหม่โดยนับรวมระยะเวลาตั้งแต่ลงทะเบียนครั้งแรกในหลักสูตรเดิม 6.3.2 การเปลี่ยนระดับการศึกษาจากหลักสูตรระดับสูงกว่าไปหลักสูตรระดับต ่ากว่าให้นับระยะเวลา การศึกษาตามเกณฑ์ของหลักสูตรเดิม ทั้งนี้ ระยะเวลาที่เหลือภายหลังการเปลี่ยนระดับการศึกษาต้องไม่มากกว่าระยะเวลา ตามเกณฑ์ของหลักสูตรใหม่ 6.4 การเปลี่ยนรหัสประจ าตัวนักศึกษาให้เปลี่ยนรหัสประจ าตัวนักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนระดับ การศึกษา โดยใช้รหัสตามปีการศึกษาที่ลงทะเบียนครั้งแรกในหลักสูตรเดิม และเปลี่ยนรหัสตามระดับการศึกษา และ สาขาวิชาของหลักสูตรใหม่


ปีการศึกษา 2566 ~ 280 ~ 6.5 การเปลี่ยนระดับการศึกษา ให้ด าเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคการศึกษาของหลักสูตรใหม่และแจ้ง ผลการอนุมัติไปยังส านักบริหารและพัฒนาวิชาการ ข้อ 7 ให้นักศึกษาที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนระดับการศึกษา ยื่นค าร้องขอเปลี่ยนระดับการศึกษา โดยความเห็นชอบ ของอาจารย์ที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเดิม คณะกรรมการบริหารหลักสูตรใหม่ และคณะกรรมการประจ าคณะ เพื่อเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการประจ าบัณฑิตวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ ก่อนเปิดภาคการศึกษา ข้อ 8 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้อนุมัติการเปลี่ยนระดับการศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ประจ าบัณฑิตวิทยาลัย ข้อ 9 ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนระดับการศึกษา ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย ข้อ 10 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ข้อ 11 ในกรณีที่มิได้ก าหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอ านาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 281 ~ ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 32/2560) เรื่อง เงื่อนไขและแนวปฏิบัติในการขอคืนสถานภาพเป็นนักศึกษา -------------------------- เพื่อให้การด าเนินการขอคืนสถานภาพการเป็นนักศึกษา ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 ข้อ 56 การขอกลับเข้าเป็นนักศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอ านาจตามความในข้อ 6 (3) แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย คณะกรรมการประจ าคณะ/วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มี ฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย พ.ศ. 2558 และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจ าบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 จึงก าหนดเงื่อนไขและแนวปฏิบัติในการขอคืนสถานภาพเป็นนักศึกษา ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 32/2560) เรื่อง เงื่อนไขและ แนวปฏิบัติในการขอคืนสถานภาพเป็นนักศึกษา” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 81/2548) เรื่อง เงื่อนไขและแนวปฏิบัติ ในการขอคืนสถานภาพเป็นนักศึกษา ข้อ 4 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอคืนสถานภาพเป็นนักศึกษา ต้องเป็นผู้ที่ 4.1 ได้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ตามระเบียบข้างต้น ข้อ 55.2 และ 55.4 4.2 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต ่ากว่า 3.00 ก่อนการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา 4.3 ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะที่สาขาวิชาสังกัด ข้อ 5 การขอคืนสถานภาพเป็นนักศึกษาสามารถกระท าได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น บุคคลที่ประสงค์จะขอคืนสถานภาพเป็น นักศึกษา ต้องยื่นค าร้องต่อคณะที่สาขาวิชาสังกัดไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ ก่อนเปิดภาคการศึกษา ข้อ 6 การนับระยะเวลาการศึกษา ให้นับระยะเวลาทั้งหมดคือ ก่อนพ้นสภาพ ช่วงที่ถูกให้พ้นสภาพและหลังการคืน สถานภาพเป็นนักศึกษา รวมแล้วไม่เกินระยะเวลาที่ก าหนดตามระเบียบข้างต้น ข้อ 14 ข้อ 7 การนับหน่วยกิต ให้นับหน่วยกิตของรายวิชาที่มีการประเมินผลแล้วทั้งหมด ส่วนรายวิชาที่ยังไม่มีการ ประเมินผล จะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ ข้อ 8 ค่าธรรมเนียมการขอคืนสถานภาพ ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้คืนสถานภาพเป็นนักศึกษาต้องช าระค่าธรรมเนียมการ ขอคืนสถานภาพเป็นนักศึกษา และค่าธรรมเนียมที่เก็บเป็นรายภาคการศึกษาตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อ 9 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้


ปีการศึกษา 2566 ~ 282 ~ ข้อ 10 ในกรณีที่มิได้ก าหนดหลักการหรือแนวปฏิบัติไว้ในประกาศนี้ หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ประกาศนี้ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมีอ านาจวินิจฉัยหรือสั่งการ การวินิจฉัยหรือสั่งการของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็น สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 (รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 283 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 284 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 285 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 286 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 287 ~


ปีการศึกษา 2566 ~ 288 ~


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 289 ~ การลงทะเบียน/รักษาสภาพ/ลาพักการศึกษา/ลาออกจากการเป็นนักศึกษา ที่ คำถาม คำตอบ 1. การลงทะเบียนปกติ จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ ดำเนินการผ่าน https://reg.kku.ac.th/ โดยนักศึกษาจะสามารถลงทะเบียนได้ 1-15 หน่วยกิต ▪ ยืนยันการลงทะเบียน และชำระเงินผ่านธนาคาร หรือ QR code ตามที่ระบุในใบแจ้ง ค่าธรรมเนียม ภายในวันและเวลาที่ปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยประกาศเป็นรายปี 2. ประเภทของการ ลงทะเบียน มีแบบไหนบ้าง ▪ หน้าจอการลงทะเบียนของนักศึกษาจะเป็นแบบปกติ นับหน่วยกิต ถ้าต้องการ ลงทะเบียนแบบไม่นับหน่วยกิต หรือรายวิชาวิทยานิพนธ์ จะต้องเลือกที่หน้าจอพิเศษ โดยแบ่งประเภทการลงทะเบียน ดังนี้ - การลงทะเบียนแบบนับหน่วยกิต คือ GD (เกรด A-F) - การลงทะเบียนแบบไม่นับหน่วยกิต คือ AU (เกรด S หรือ U) - การลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ คือ SU (เกรด S (..) ระบุหน่วยกิตที่ผ่าน) 3. การขอลงทะเบียนน้อยกว่า หรือเท่ากับ 3 หน่วยกิตสุด ท้าย และขอชำระค่าเทอม ครึ่งหนึ่ง จะต้องดำเนินการ อย่างไรบ้าง ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว 9 คำร้องขอลงทะเบียนน้อยกว่า/มากกว่าจำนวนหน่วยกิตที่ กำหนด ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ และแนบผลการเรียนลงในระบบ gs forms ▪ รอพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่จะปลดล็อกให้สามารถลงทะเบียนได้ ตามจำนวนหน่วยกิตที่เหลือ ให้ปริ้นท์แบบฟอร์ม บว 9 จาก ระบบ gs forms ▪ ลงทะเบียนผ่าน https://reg.kku.ac.th/ กดยืนยันการลงทะเบียน ▪ นำเอกสาร บว 9 และ ใบแสดงผลการเรียน ติดต่อที่กลุ่มภารกิจทะเบียนเรียน ตึกพิมล กลกิจ เจ้าหน้าที่จะตรวจเอกสาร แล้วปลดล็อกให้ค่าเทอมของเราเหลือครึ่งหนึ่ง ▪ เข้าสู่ระบบ https://reg.kku.ac.th/ เมนูภาระค่าใช้จ่าย จะเห็นค่าธรรมเนียมการศึกษา เหลือครึ่งหนึ่ง ชำระเงินผ่านธนาคาร 4. การรักษาสภาพนักศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.13 คำร้องขอรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ ▪ รอพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ติดต่อชำระค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพ จำนวน 2,500 บาท ในระบบ gs forms ที่สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ชั้น 1 อาคารพิมลกลกิจ 5. การรักษาสภาพนักศึกษา (กรณีรอการยอมรับให้ ตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์) จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.13-1 คำร้องขอรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา (กรณีรอการ ยอมรับให้ตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์) ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ พร้อมกับแนบเอกสารใบแสดงผลการเรียน ผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษ ผลการสอบ ผ่านวิทยานิพนธ์ หลักฐานการส่งเล่มฉบับสมบูรณ์ สำเนาบทความที่ส่งไปขอตีพิมพ์และ บทความที่ส่งไปขอตีพิมพ์และเอกสารรอการพิจารณาการตีพิมพ์ของวารสาร ▪ รอพิจารณาอนุมัติ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการในลำดับถัดไป คำถามที่พบบ่อย (FAQ)


ปีการศึกษา 2566 ~ 290 ~ ที่ คำถาม คำตอบ 6. การลาพักการศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.14 คำร้องขอลาพักการศึกษา ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ ▪ รอพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว สามารถชำระค่าธรรมเนียมลาพักการศึกษา จำนวน 2,500 บาท ในระบบ gs forms หรือ ที่สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ชั้น 1 อาคารพิมลกลกิจ 7. การลาออกจากการเป็น นักศึกษา จะต้อง ดำเนินการอย่างไรบ้าง ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.15 คำร้องขอลาออก ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ ▪ รอพิจารณาอนุมัติเจ้าหน้าที่จะดำเนินการในลำดับถัดไป 8. ลงทะเบียน/รักษาสภาพ/ ลาพัก ไม่ทันตามที่ มหาวิทยาลัยกำหนด ต้อง ดำเนินการอย่างไรบ้าง ▪ ดำเนินการผ่าน https://reg.kku.ac.th/ ตามช่วงการลงทะเบียนล่าช้าตามที่ มหาวิทยาลัย กำหนด โดยมีค่าปรับวันละ 50 บาท ▪ ในกรณีที่ดำเนินการไม่ทันช่วงล่าช้า นักศึกษาจะต้องมาเขียนคำร้องที่คณะฯ เสนอ อาจารย์ประจำวิชา ประธานหลักสูตร เจ้าหน้าที่ และคณบดี เพื่อพิจารณา โดยมี ค่าปรับวันละ 50 บาท เริ่มนับจากช่วงลงทะเบียนล่าช้า 9. การลงทะเบียนเรียน รายวิชาวิทยานิพนธ์ สามารถดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.21 คำร้องขอเสนอชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา/เปลี่ยนแปลงอาจารย์ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ โดยนักศึกษาต้องอัพ โหลดประวัติและหลักฐานผลงานทางวิชาการของอาจารย์ในระบบด้วย ▪ หน่วยบัณฑิตศึกษาดำเนินการในระบบ Back Office เพื่อให้นักศึกษาสามารถ ลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ ใน https://reg.kku.ac.th/ ได้ การส่งผลและผลการอบรมภาษาอังกฤษ ที่ คำถาม คำตอบ 1. การส่งผลการสอบและผล การอบรมภาษาอังกฤษ จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ นักศึกษาปริ้นท์ผลคะแนน หรือ ผลการอบรมที่ผ่านแล้ว นำส่งที่เจ้าหน้าที่หน่วย บัณฑิตศึกษา เพื่อส่งต่อให้บัณฑิตวิทยาลัยจัดทำเป็นประกาศต่อไป ▪ นักศึกษาระดับปริญญาโท จะต้องผ่านภาษาอังกฤษ ก่อนการขอสอบวิทยานิพนธ์ ▪ นักศึกษาระดับปริญญาเอก จะต้องผ่านภาษาอังกฤษ ก่อนการขอสอบดุษฎีนิพนธ์ การแต่งตั้ง/เปลี่ยนแปลงอาจารย์ที่ปรึกษา และการขอเปลี่ยนแปลงชื่อวิทยานิพนธ์ ที่ คำถาม คำตอบ 1. การแต่งตั้ง/เปลี่ยนแปลง อาจารย์ที่ปรึกษา จะต้อง ดำเนินการอย่างไรบ้าง ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.21 คำร้องขอเสนอชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา/เปลี่ยนแปลงอาจารย์ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ โดยนักศึกษาต้องอัพ โหลดประวัติและหลักฐานผลงานทางวิชาการของอาจารย์ในระบบด้วย ▪ รอพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว หน่วยบัณฑิตศึกษาจะจัดทำคำสั่งและอัพโหลด ในระบบ gs forms ต่อไป 2. การเปลี่ยนชื่อเรื่อง วิทยานิพนธ์ จะต้อง ดำเนินการอย่างไรบ้าง ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.24 คำร้องขอเปลี่ยนชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระ ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ กรอกข้อมูลรายละเอียดการขอเปลี่ยนแปลง รอ พิจารณาอนุมัติ เจ้าหน้าที่ดำเนินการในลำดับถัดไป


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 291 ~ การขอสอบวัดคุณสมบัติ และสอบประมวลความรู้ ที่ คำถาม คำตอบ 1. การขอสอบวัดคุณสมบัติ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง (เฉพาะนักศึกษาระดับ ปริญญาเอก) นักศึกษาสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์บว.30 คำร้องขอสอบประมวลความรู้/สอบวัดคุณสมบัติ ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ กำหนดช่วงวันและสถานที่ในการสอบ ก่อนวัน สอบ 20 วัน ▪ นักศึกษาเสนอรายชื่อคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ โดยพิมพ์แบบฟอร์ม วศ.6 ที่ https://kku.world/gsenforms เสนออาจารย์ปรึกษาและประธานหลักสูตรลงนาม ส่ง เอกสารที่หน่วยบัณฑิตศึกษา และชำระเงินค่าธรรมเนียมการสอบ จำนวน 500 บาท ที่หน่วยการเงิน ชั้น 8 ตึกเพียรวิจิตร ▪ หน่วยบัณฑิตศึกษาตรวจสอบความถูกต้องคำร้อง บว.30 ในระบบ gs forms และ แจ้งนักศึกษานำใบเสร็จค่าธรรมเนียมการสอบ Upload ลงในระบบ Gs forms ▪ หน่วยบัณฑิตศึกษาเสนอคำร้อง บว.30 ในระบบ gs forms จัดทำคำสั่งและหนังสือ เชิญคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ เพื่อเสนอผู้บริหารลงนาม ▪ นักศึกษาติดต่อรับคำสั่งและหนังสือเชิญคณะกรรมการสอบผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (ถ้า มี) และติดต่อสาขาวิชาเพื่อจองห้องที่ใช้ในการสอบ และทำเรื่องเดินทางไปราชการ ของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (ถ้ามี) 2. ขั้นตอนการแจ้งผลสอบวัด คุณสมบัติ จะต้อง ดำเนินการอย่างไรบ้าง ▪ พิมพ์ บว.32 ใบแจ้งผลการสอบประมวลความรู้/สอบวัดคุณสมบัติ จากระบบ gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ เตรียมให้คณะกรรมการในวันสอบ เมื่อกรรมการ บันทึกผลการสอบ เสนอประธานหลักสูตรลงนามและนำส่งเอกสารที่หน่วย บัณฑิตศึกษา ภายใน 15 วัน นับจากวันสอบ ▪ เจ้าหน้าที่อัพโหลดเอกสาร บว.32 ลงในระบบ รอพิจารณาอนุมัติ เจ้าหน้าที่ ดำเนินการในลำดับถัดไป 3. ขั้นตอนการขอสอบประมวล ความรู้ จะต้องดำเนินการ อย่างไรบ้าง (เฉพาะ นักศึกษาหลักสูตรพลังงาน แผน ข) นักศึกษาสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.30 คำร้องขอสอบประมวลความรู้/สอบวัดคุณสมบัติ ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ ก่อนวันสอบ 20 วัน โดยสามารถสอบเป็น ข้อเขียน หรือปากเปล่า ก็ได้ขึ้นอยู่กับการจัดการของแต่ละหลักสูตร ▪ นักศึกษาเสนอรายชื่อคณะกรรมการสอบประมวลความรู้ โดยพิมพ์แบบฟอร์ม วศ.6 ที่ https://kku.world/gsenforms เสนออาจารย์ปรึกษาและประธานหลักสูตรลงนาม ส่ง เอกสารที่หน่วยบัณฑิตศึกษา และชำระเงินค่าธรรมเนียมการสอบ จำนวน 2,000 บาท ที่หน่วยการเงิน ชั้น 8 ตึกเพียรวิจิตร ▪ หน่วยบัณฑิตศึกษาตรวจสอบความถูกต้องคำร้อง บว.30 ในระบบ gs forms และ แจ้งนักศึกษานำใบเสร็จค่าธรรมเนียมการสอบ Upload ลงในระบบ gs forms ▪ หน่วยบัณฑิตศึกษาเสนอคำร้อง บว.30 ในระบบ gs forms จัดทำคำสั่งและหนังสือ เชิญคณะกรรมการสอบประมวลความรู้ เพื่อเสนอผู้บริหารลงนาม หมายเหตุการสอบประมวลความรู้สามารถสอบได้ 2 ครั้ง หากสอบไม่ผ่านครั้งที่ 2 จะพ้น สภาพการเป็นนักศึกษา นักศึกษา แผน ข จะต้องสอบประมวลความรู้ผ่าน จึงจะขอสอบ การศึกษาอิสระได้


ปีการศึกษา 2566 ~ 292 ~ ที่ คำถาม คำตอบ 4 ขั้นตอนการแจ้งผลการสอบ ประมวลความรู้ จะต้อง ดำเนินการอย่างไรบ้าง ▪ พิมพ์ บว.32 ใบแจ้งผลการสอบประมวลความรู้/สอบวัดคุณสมบัติ จากระบบ gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ เตรียมให้คณะกรรมการในวันสอบ เมื่อกรรมการ บันทึกผลการสอบ เสนอประธานหลักสูตรลงนามและนำส่งเอกสารที่หน่วย บัณฑิตศึกษา ภายใน 15 วัน นับจากวันสอบ ▪ เจ้าหน้าที่อัพโหลดเอกสาร บว.32 ลงในระบบ รอพิจารณาอนุมัติ เจ้าหน้าที่ ดำเนินการในลำดับถัดไป การขอสอบและการขออนุมัติเค้าโครงวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ที่ คำถาม คำตอบ 1. การขอสอบเค้าโครง วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง นักศึกษาสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ▪ นักศึกษาเสนอรายชื่อคณะกรรมการสอบเค้าโครงฯ โดยพิมพ์แบบฟอร์ม วศ.6 ที่ https://kku.world/gsenforms เสนออาจารย์ปรึกษาและประธานหลักสูตรลงนาม ส่งเอกสารที่หน่วยบัณฑิตศึกษา ก่อนวันสอบ 15 วัน ▪ หน่วยบัณฑิตศึกษา จัดทำคำสั่งและหนังสือเชิญคณะกรรมการสอบเค้าโครง เพื่อเสนอ ผู้บริหารลงนาม นักศึกษาติดต่อรับคำสั่งและหนังสือเชิญคณะกรรมการสอบ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (ถ้ามี) และติดต่อสาขาวิชาเพื่อจองห้องที่ใช้ในการสอบ และทำ เรื่องเดินทางไปราชการของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (ถ้ามี) 2. ขั้นตอนการแจ้งผลการ สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์/ ดุษฎีนิพนธ์ จะต้อง ดำเนินการอย่างไรบ้าง ▪ พิมพ์แบบฟอร์ม วศ.วพ. 03 ที่ https://kku.world/gsenforms เตรียมให้คณะกรรมการใน วันสอบ เมื่อกรรมการบันทึกผลการสอบ เสนอประธานหลักสูตรลงนามและนำส่ง เอกสารที่หน่วยบัณฑิตศึกษา ภายใน 7 วัน นับจากวันสอบ 3. ขั้นตอนการขออนุมัติเค้า โครงวิทยานิพนธ์/ดุษฎี นิพนธ์ จะต้องดำเนินการ อย่างไรบ้าง นักศึกษาสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.23 แบบเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระ ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ โดยการอัพโหลดไฟล์เค้าโครงฯ และแนบไฟล์ผล การตรวจสอบ Turnitin ลงในระบบ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการในลำดับถัดไป และรอ พิจารณาอนุมัติ เมื่ออนุมัติครบแล้ว นักศึกษาสามารถติดต่อรับ สำเนา บว.23 ได้ที่ หน่วยบัณฑิตศึกษา เพื่อขอทุนอุดหนุนการทำวิจัยฯ ในลำดับถัดไป การขออนุมัติเค้าโครง มีช่วงเวลาในการดำเนินการ ดังนี้ ▪ กรณีสอบผ่านแบบไม่มีเงื่อนไข จะต้องขออนุมัติเค้าโครงภายใน 7 วัน นับจากวันสอบ ▪ กรณีสอบผ่านแบบมีเงื่อนไข จะต้องขออนุมัติเค้าโครงภายใน 20 วัน นับจากวันสอบ ▪ กรณีที่จำเป็นจะต้องขออนุมัติเค้าโครงฯ ในภาคการศึกษานั้น จะต้องดำเนินการให้แล้ว เสร็จตามปฏิทินที่หน่วยบัณฑิตศึกษาแจ้งประกาศเป็นรายภาคการศึกษา ถ้าดำเนินการ อนุมัติเค้าโครงไม่ทัน นักศึกษาจะได้รับผลการประเมินรายวิชาวิทยานิพนธ์S = 0 ใน ภาคการศึกษานั้น


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 293 ~ ที่ คำถาม คำตอบ 4. ขั้นตอนการขอทุนอุดหนุน การค้นคว้าและวิจัยในการ ทำวิทยานิพนธ์/ดุษฏี นิพนธ์ นักศึกษาสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ▪ นักศึกษายื่นหนังสือขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการค้นคว้าและวิจัยในการทำ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดย สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://kku.world/3a2-6 ▪ เสนออาจารย์ที่ปรึกษา และประธานหลักสูตรลงนาม ▪ นำส่งเอกสารการขอทุนฯพร้อมแนบไฟล์สำเนาแบบ บว.23 ที่ได้รับอนุมัติเค้าโครง วิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระแล้ว และไฟล์เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด ที่งานวิจัย นวัตกรรมและการต่างประเทศ การขอสอบวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และการศึกษาอิสระ และการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ ที่ คำถาม คำตอบ 1. การขอสอบวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษา อิสระ จะต้องดำเนินการ อย่างไรบ้าง นักศึกษาสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ▪ ยื่นคำร้องออนไลน์ บว.25 คำร้องขอสอบวิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระ ผ่าน gs forms ที่ https://forms.gs.kku.ac.th/ กำหนดช่วงวันและสถานที่ในการสอบ แนบไฟล์เล่ม วิทยานิพนธ์ แนบบทความผลงานทางวิชาการหรือตัวร่างบทความ แนบไฟล์ผลการ ตรวจสอบ Turnitin โดยผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา ประธานหลักสูตร ลงในระบบ gs forms (กรณีสอบกลางเทอม จะต้องติดต่อขอรับใบเกรด ที่หน่วยบัณฑิตศึกษา เพื่อ เสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษา) ก่อนวันสอบ 20 วัน ▪ นักศึกษาเสนอรายชื่อคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาอิสระ โดยพิมพ์แบบฟอร์ม วศ.6 ที่ https://kku.world/gsenforms เสนออาจารย์ปรึกษาและ ประธานหลักสูตรลงนาม ส่งเอกสารที่หน่วยบัณฑิตศึกษา ▪ นักศึกษาชำระเงินค่าธรรมเนียมการสอบ ที่หน่วยการเงิน ชั้น 8 ตึกเพียรวิจิตร โดยมี ค่าธรรมเนียมการสอบ ดังนี้ - ปริญญาโท ภาคปกติ 500 บาท (นศ.ต่างชาติ 1,500 บาท) - ปริญญาโท โครงการพิเศษ 5,000 บาท - ปริญญาโท แผน ข 3,000 บาท - ปริญญาเอก ภาคปกติ 1,500 บาท (นศ.ต่างชาติ 3,000 บาท) - ปริญญาเอก โครงการพิเศษ 5,000 บาท ▪ หน่วยบัณฑิตศึกษาตรวจสอบความถูกต้องคำร้อง บว.25 ในระบบ gs forms และแจ้ง นักศึกษานำใบเสร็จค่าธรรมเนียมการสอบ Upload ลงในระบบ gs forms ▪ หน่วยบัณฑิตศึกษาเสนอคำร้อง บว.25 ในระบบ gs forms จัดทำคำสั่งและหนังสือ เชิญคณะกรรมการสอบฯ เพื่อเสนอผู้บริหารลงนาม ▪ นักศึกษารับคำสั่งและหนังสือเชิญคณะกรรมการสอบผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ผ่าน kkumail และติดต่อสาขาวิชาเพื่อจองห้องที่ใช้ในการสอบ และทำเรื่องเดินทางไป ราชการของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (ถ้ามี) ▪ กรณีสอบออนไลน์ นักศึกษาดำเนินการสร้างห้องสอบออนไลน์ และจัดส่งลิ้งค์การสอบ ให้คณะกรรมการสอบด้วยตนเอง


ปีการศึกษา 2566 ~ 294 ~ ที่ คำถาม คำตอบ 2. ขั้นตอนการแจ้งผลการ สอบวิทยานิพนธ์ ดุษฎี นิพนธ์ การศึกษาอิสระ จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ นักศึกษาจัดเตรียมเอกสารที่ต้องเตรียมในวันสอบวิทยานิพนธ์ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งผ่าน kkumail ประกอบด้วย - วพ.กศ.01 ใบประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ เตรียมจำนวนเท่ากับกรรมการสอบ วิทยานิพนธ์ - วพ.กศ.02 แบบสรุปผลการประเมินการสอบวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด - บว.27 จำนวน 1 ชุด - บว.28 จำนวน 1 ชุด - เอกสารการเดินทางราชการและข้อมูลแบบแจ้งค่าตอบแทนของผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอก ▪ นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดเอกสารดังกล่าว ที่ https://kku.world/gsenforms เมื่อ กรรมการบันทึกผลการสอบ เสนอประธานหลักสูตรลงนามและนำส่งเอกสารที่หน่วย บัณฑิตศึกษา ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันสอบ เจ้าหน้าที่อัพโหลดเอกสาร บว.27 ลงในระบบ รอพิจารณาอนุมัติ เจ้าหน้าที่ดำเนินการในลำดับถัดไป ▪ กรณีสอบออนไลน์ นักศึกษาสามารถแจ้งผลการสอบออนไลน์ได้ที่ E-Mail ของเจ้าที่ คณะฯ 3. คำร้องที่ใช้ในการ ประกอบการส่งเล่ม วิทยานิพนธ์ฉบับแก้ไข ประกอบด้วยคำร้องและ เอกสารใดบ้าง ▪ เอกสารที่ใช้ในการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. การจัดทำเล่มแบบกระดาษ - เล่มวิทยานิพนธ์ฉบับแก้ไขเรียบร้อยแล้ว - ใบรับรองวิทยานิพนธ์ - ผลการตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์ (Turn it in) - บว.28 ใบแจ้งผลการแก้ไขวิทยานิพนธ์ - บว.16 แบบส่งและรับวิทยานิพนธ์ - บว.29 แบบฟอร์มตรวจสอบวิทยานิพนธ์ - บว.37 แบบฟอร์มการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ ยื่นในระบบ gsmis ปริ้นแนบบทความ วิทยานิพนธ์ที่เผยแพร่ 2. การจัดทำเล่มผ่านระบบ E-Thesis สำหรับนักศึกษารหัส 63 ขึ้นไป - เล่มวิทยานิพนธ์ฉบับแก้ไขเรียบร้อยแล้ว - ใบรับรองวิทยานิพนธ์และให้อ.ที่ปรึกษาลงนามดิจิทัล มข. - ผลการตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์ (Turn it in) - บว.28 ใบแจ้งผลการแก้ไขวิทยานิพนธ์ - บว.37 แบบฟอร์มการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ ยื่นในระบบ gsmis แนบไฟล์output จากระบบ ส่งไฟล์เข้าเมลล์[email protected], [email protected] หมายเหตุนักศึกษาจะต้องส่งเล่มให้ทันกำหนดภายใน 45 วัน ถ้านักศึกษาส่งเล่มไม่ทัน จะถือว่าผลการสอบเป็นโมฆะ และต้องดำเนินการสอบวิทยานิพนธ์ใหม่


คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ~ 295 ~ ที่ คำถาม คำตอบ 4. กรณีที่หลักสูตรใช้เกณฑ์ การสำเร็จการศึกษา จำนวนอย่างน้อย 2 บทความ นักศึกษาจะต้อง ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงาน จำนวนอย่างน้อย 2 บทความก่อนการขอสอบ วิทยานิพนธ์หรือไม่ ▪ นักศึกษาไม่จำเป็นต้องตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานที่ได้จากการทำวิทยานิพนธ์ครบทั้ง 2 บทความก่อนขอสอบ อย่างไรก็ตามนักศึกษาต้องมีบทความฉบับร่างที่ได้มาจากการทำ วิทยานิพนธ์ (Manuscript) หากในกรณีที่นักศึกษามีผลงานตีพิมพ์จำนวน 1 บทความ สามารถขอสอบวิทยานิพนธ์ได้ 5. หากจะสำเร็จการศึกษาใน ภาคการศึกษานั้นๆ จะ กำหนดกระบวนการสอบ วิทยานิพนธ์อย่างไรบ้าง ▪ การสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษานั้นๆ พิจารณาจากวันที่ของการส่งเล่ม วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งสำนักบริหารและพัฒนา วิชาการจะกำหนดในปฏิทินการศึกษาซึ่งกำหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการลงทะเบียน เรียนล่าช้าของภาคการศึกษาถัดไป จึงจะสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษานั้นๆ โดย สามารถกำหนดวันสอบได้ดังนี้ - คิดระยะเวลาวันสอบวิทยานิพนธ์จากการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ห่างกัน ประมาณ 60 วัน (ระยะเวลาการแก้ไขเนื้อหาหลังจากวันสอบ 45 วัน และ ระยะเวลาการจัดรูปแบบเล่มวิทยานิพนธ์ 15 วัน) - จัดเตรียมเล่มวิทยานิพนธ์และบทความทางวิชาการให้เรียบร้อย - สอบวิทยานิพนธ์ และแก้ไขเนื้อหาวิทยานิพนธ์ตามคำแนะนำของคณะกรรมการ สอบ (สอบวิทยานิพนธ์และแก้ไขเนื้อหา 45 วัน) - จัดรูปแบบของเล่มวิทยานิพนธ์และส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ให้ทันวันสุดท้าย ของการลงทะเบียนเรียนล่าช้าของภาคการศึกษาถัดไป - แจ้งความประสงค์ขอสำเร็จการศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ 6. หากประสงค์จะรับ พระราชทานปริญญาบัตร ให้ทันในปีการศึกษานั้นๆ จะกำหนดกระบวนการ สอบวิทยานิพนธ์อย่างไร ▪ นักศึกษาที่มีความประสงค์จะรับพระราชทานปริญญาบัตรให้ทันภายในปีการศึกษา นั้นๆพิจารณาจากวันที่การส่งเล่มวิทยานิพนธ์ ฉบับสมบูรณ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งสำนัก บริหารและพัฒนาวิชาการจะกำหนดในปฏิทินการศึกษาช่วงปลายเดือน กันยายน ของ ปีที่จะพระราชทานปริญญาบัตร สามารถกำหนดวันสอบได้ดังนี้ - คิดระยะเวลาวันสอบวิทยานิพนธ์จากการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ห่างกัน ประมาณ 60 วัน (ระยะเวลาการแก้ไขเนื้อหาหลังจากวันสอบ 45 วัน และ ระยะเวลาการจัดรูปแบบเล่มวิทยานิพนธ์ 15 วัน) - จัดเตรียมเล่มวิทยานิพนธ์และบทความทางวิชาการให้เรียบร้อย - สอบวิทยานิพนธ์ และแก้ไขเนื้อหาวิทยานิพนธ์ตามคำแนะนำของคณะกรรมการ สอบ (สอบวิทยานิพนธ์และแก้ไขเนื้อหา 45 วัน) - จัดรูปแบบของเล่มวิทยานิพนธ์และส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ให้ทันวันสุดท้าย ของกำหนดการส่งเล่มสำหรับนักศึกษาที่ประสงค์จะรับพระราชทานปริญญาบัตรใน ปฏิทินการศึกษาของสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ - แจ้งความประสงค์ขอสำเร็จการศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์


ปีการศึกษา 2566 ~ 296 ~ การขอสำเร็จการศึกษา ที่ คำถาม คำตอบ 1. การขอสำเร็จการศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ พิมพ์แบบฟอร์ม วศ.40 ที่ https://kku.world/gsenforms กรอกข้อมูลวิทยานิพนธ์ และ การเผยแพร่ผลงาน แนบบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ฉบับเต็ม พร้อมปกและสารบัญ ของวารสารที่ตีพิมพ์ (ถ้ายังไม่ตีพิมพ์ให้ใช้ปกและสารบัญของวารสาร ฉบับล่าสุด แทน) เสนออาจารย์ที่ปรึกษา และ ประธานหลักสูตรลงนาม ▪ นำส่งเอกสารทั้งหมดที่หน่วยบัณฑิตศึกษา จะดำเนินการปลดล็อกให้ ▪ เข้าสู่ระบบงานทะเบียนที่ https://reg.kku.ac.th/ คลิก "แจ้งสำเร็จการศึกษา" ▪ ระบบจะเชื่อมต่อไปยัง ระบบจัดการหนี้สินนักศึกษา กรอกข้อมูลส่วนตัว ตรวจสอบ หนี้สิน ถ้ามีหนี้สินให้ดำเนินการจ่ายให้เรียบร้อย จากนั้น คลิก "ขอสำเร็จการศึกษา" 2. หลังจากส่งเอกสารขอ สำเร็จการศึกษาเรียบร้อย แล้ว จะใช้เวลากี่วัน จึงจะ สามารถขอใบแสดงผลการ เรียนฉบับสมบูรณ์ได้ ▪ เจ้าหน้าที่และหลักสูตรจะดำเนินการตรวจสอบเอกสารที่นักศึกษานำส่งว่าเป็นไป ตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาหรือไม่ และตรวจสอบเอกสารการส่งเล่มจากบัณฑิต วิทยาลัย เมื่อเรียบร้อยแล้ว จะนำเรื่องสำเร็จการศึกษา เพื่อผ่านความเห็นชอบจาก กรรมการบัณฑิตศึกษา กรรมการประจำคณะฯ และสภามหาวิทยาลัย เพื่อเสนอขอ อนุมัติปริญญา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 60 วัน จึงจะสามารถขอใบแสดงผลการ เรียนฉบับสมบูรณ์ได้ 3. การขึ้นทะเบียนบัณฑิต จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนบัณฑิตได้ ต้องมีสถานะจบการศึกษาและรายชื่อผ่านสภา มหาวิทยาลัยแล้วเท่านั้น โดยสามารถขึ้นทะเบียนบัณฑิต ได้ที่ https://registrar.kku.ac.th/registerGraduate/ 4. ถ้าไม่ประสงค์จะเข้ารับ พระราชทานปริญญาบัตร จะสามารถขอรับใบ ปริญญาบัตรได้อย่างไร ▪ ขึ้นทะเบียนบัณฑิตที่ https://registrar.kku.ac.th/registerGraduate/ และเลือกไม่ ประสงค์เข้ารับปริญญา ชำระเงินที่ธนาคาร รอให้พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีเสร็จเรียบร้อย จากนั้นติดต่อขอรับปริญญาบัตรภายหลังเสร็จพิธีไปแล้ว อย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ ที่สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ชั้น 1 อาคาร พิมลกลกิจ 5. ถ้าจะขอเลื่อนการเข้ารับ พระราชทานปริญญาบัตร จะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง ▪ ขึ้นทะเบียนบัณฑิตให้เรียบร้อยที่ https://registrar.kku.ac.th/registerGraduate/ และติดต่อทำเรื่องเลื่อนรับปริญญาได้ที่หน่วยบัณฑิตศึกษา โดยเขียนคำร้องทั่วไป พร้อมแนบหลักฐานที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าร่วมงานพิธีฯได้ เช่น เจ็บป่วยต้อง เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ไปศึกษาต่อ ต่างประเทศ เป็นต้น ▪ จากนั้นหน่วยบัณฑิตศึกษา จะดำเนินการส่งเรื่องให้มหาวิทยาลัยพิจารณา ซึ่งการ ขอเลื่อนการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร สามารถทำได้เพียงครั้งเดียวโดยให้ เข้ารับในปีถัดไปเท่านั้น


การลงทะเบียนในภาคการศึกษาปกติ นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้จ านวน 1-15 หน่วยกิต กรณีลงทะเบียนน้อยกว่า หรือเท่ากับ 3 หน่วยกิตสุดท้าย สามารถขอช าระค่าธรรมเนียมการศึกษาได้ครึ่งหนึ่ง กรณีลงทะเบียน 15 - 20 หน่วยกิต ต้องยื่นค าร้องขอ ลงทะเบียนมากกว่าในระบบ Gsform บทเฉพาะกาลที่ใช้กับนักศึกษาทุกรหัส ระเบียบบัณฑิตศึกษา 2566 1 หน่วยบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ การประเมินความรู้ความสามารถ ทางภาษาต่างประเทศ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ยกเลิก ผลการประเมิน ความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศ ภายใน 2 ปีโดยปรับให้ให้ยื่นผลการประเมินฯ ก่อนสอบดุษฎีนิพนธ์ 2 การลาพักการศึกษา นักศึกษาสามารถลาพักการศึกษา ครั้งละ 1 ภาคการศึกษา การลาพักการศึกษา ไม่นับรวมอยู่ในระยะเวลาการศึกษา 3 ตลอดหลักสูตรฯ การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ยกเลิก การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา เนื่องจาก ไม่มีความก้าวหน้าในการท า 2 ภาคการศึกษาติดต่อกัน 4 โดยได้สัญลักษณ์S เป็น 0 ติดต่อกัน 2 ภาค 5 การค านวณคะแนนเฉลี่ยสะสม กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนซ้ า ให้ใช้ผลการศึกษาที่ดีที่สุดน ามาค านวณ


Click to View FlipBook Version