ก
รายงานวิจยั ในช้ันเรียน
การพฒั นาผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ภาษาองั กฤษ โดยใชก้ ารจดั การ
เรียนรแู้ บบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎคี อนสตรคั ตวิ ิสต์
ของนักเรยี นช้ันมัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรียนกำแพงวทิ ยา
นายอตวิ ชิ ญ์ ชาวสวน
ตำแหนง่ ครผู ้ชู ว่ ย
ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2564
กลุ่มสาระการเรียนร้ภู าษาต่างประเทศ
โรงเรยี นกำแพงวิทยา อำเภอละงู จงั หวดั สตลู
สำนักงานเขตพนื้ ที่การศึกษามธั ยมศกึ ษาสงขลา สตูล
ก
ชอื่ เร่ือง การพฒั นาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Grammatical) โดยใชก้ าร
จัดการเรยี นร้แู บบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคตวิ สิ ต์ ของนกั เรยี นชน้ั
ผ้วู ิจยั มัธยมศกึ ษาปที ่ี 3 โรงเรยี นกำแพงวทิ ยา
กลมุ่ สาระฯ นายอตวิ ชิ ญ์ ชาวสวน
ปีการศึกษา กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาต่างประเทศ
2564
บทคดั ยอ่
งานวิจัยนม้ี ีวตั ถปุ ระสงค์ ดังน้ี 1) เพือ่ เปรยี บเทียบผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี นไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของ
นักเรียนก่อนและหลังการใช้วิธีสอนแบบ PPP (3Ps) ที่มี 3 ขั้นตอนคือ P1 ขั้นเสนอเนื้อหา (Presentation)
P2 ขั้นการฝึกปฏิบัติ (Practice) P3 การปฏิบัติหรือขั้นการใช้ภาษา (Production) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อ การใช้วิธีสอนแบบ PPP เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งน้ี ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 4 โรงเรียน
กำแพงวิทยา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน โดยการเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Grammatical )
3) แบบสอบถามความพงึ พอใจ สถติ ิท่ีใช้ในการวิเคราะหข์ ้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลีย่ สว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบค่า t–test ผลการวิจยั พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณภ์ าษาอังกฤษของนักเรียนจาก
การทดสอบก่อน และหลังการใช้วธิ ีสอนแบบ PPP หลงั เรยี นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติท่ีระดับ
.05 ความพึงพอใจของนักเรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีที่ 5 หลงั การใชว้ ิธสี อนแบบ PPP มคี วามพงึ พอใจอยู่ในระดับ
มากที่สุด ซงึ่ มี คะแนนเฉลยี่ รวมเทา่ กบั 4.64
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์
ภาษาองั กฤษ ความพึงพอใจของนกั เรียน
ข
Abstract
The purposes of this research were: 1) To compare the English grammatical of students
before and after using PPP (3Ps) to English grammatical achievement. 2) To study the
satisfaction of student after using PPP (3Ps) which has 3 steps: P1 (Presentation) P2 (Practice)
P3 (Production) to develop English grammatical achievement. The sample group used in this
research were Mathayomsuksa 3 room 4 students studying in at Kampang Witthaya School,
La-ngu District, Satun Province in the second semester of the academic year 2021, consisted
of 38 people by purposive sampling. The research instruments are: 1) The achievement tests
2) English grammatical lesson plans and 3) a questionnaire. The statistics used to analyze the
data are percentage means, standard deviation, and t-test.
The research finding reveals that the post-test scores were significantly higher than the
pre-test scores at a statistics level at .05. The means of satisfaction of the students was very
high at 4.64.
Keywords: PPP Learning Management (3Ps), Constructivist Theory, Achievement in English
Grammatical, Students’ satisfaction
ค
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดีและได้รับการสนับสนุนจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หอ้ ง 4 โรงเรยี นกำแพงวิทยา อำเภอละงู จังหวดั สตลู
ผู้วิจัยขอขอบคุณอาจารย์ ดร. เสาวรส ยิ่งวรรณะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประเมินผลและวิจัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลาที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยเล่มนี้ ขอขอบคุณ
หัวหนา้ กล่มุ สาระการเรียนร้ภู าษาตา่ งประเทศ หัวหน้าระดับ และคุณครทู ่ีปรึกษานักเรียนช้นั มัธยมศึกษาปีที่ 3
หอ้ ง 4 ทใี่ หค้ วาม ชว่ ยเหลือและคำปรึกษาอย่างดีมาตลอด และขอขอบคุณนกั เรยี นช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 หอ้ ง
4 ท่ใี ห้ความรว่ มมือในการเป็นกลมุ่ ตัวอย่างในงานวจิ ยั ในชั้นเรยี นครงั้ นีด้ ำเนินลลุ ว่ งจนสำเรจ็ ไปดว้ ยดี
นายอตวิ ชิ ญ์ ชาวสวน
ง
สารบัญ
หน้า
บทคัดยอ่ ……………………………………………………………………………………………………………………………… ก
Abstract…………………………………………………………………………………………………………………………….. ข
กิตติกรรมประกาศ…………………………………………………………………………………………………………………. ค
สารบญั ………………………………………………………………………………………………………………………………… ง
สารบญั ตาราง………………………………………………………………………………………………………………………. ฉ
สารบญั รปู ภาพ……………………………………………………………………………………………………………………… ซ
บทท่ี 1 บทนำ……………………………………………………………….…………………………………………….……….. 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปญั หา…………….………………………………………………………………. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………..…………………………………………………………….. 4
สมมตฐิ านของงานวิจัย………………………………………..……………………………………………….………….. 4
ประโยชน์ท่ีคาดวา่ จะได้รับ………………………………..……………………………………………………………… 4
ขอบเขตของการวจิ ัย……………………………………………..………………………………………………………… 4
กรอบแนวคิดในการวจิ ัย………………………………..…………………………………………………………………. 5
นยิ ามศัพท์เฉพาะ………………………………..…………………………………………………………………………… 5
บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยทีเ่ กยี่ วข้อง……………….……………………………………………………………….… 7
หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 ระดบั ช้นั มัธยมศกึ ษาตอนต้น 7
(กลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาต่างประเทศ) ……………………………………………………………………………
เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับการสอนไวยากรณภ์ าษาอังกฤษ…………………………………………………………. 14
ทฤษฎคี อนสตรัคติวสิ ต์และการสอนทีเ่ ก่ียวข้อง…………………………………………………………………… 19
งานวิจยั ท่เี ก่ียวข้อง………………………………………………………………………………………………………….. 28
บทที่ 3 วิธีดำเนนิ การวิจยั ………………………….………………………………………………………..………………… 31
รปู แบบการวจิ ัย………………………………………………………………………………………………………………. 31
ประชากรและกล่มุ ตัวอยา่ ง……………………………………………………………………………………………….. 31
เครอ่ื งมอื ที่ใชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………………………………………………………. 32
ขน้ั ตอนการสรา้ งและพัฒนาเคร่ืองมือ………………………………………………………………………………… 32
การเก็บรวบรวมข้อมลู ……………………………………………………………………………………………………… 32
การวเิ คราะห์ข้อมลู ………………………………………………………………………………………………………….. 32
บทท่ี 4 ผลการวิเคราะหข์ ้อมูล………………………………………………………….……………………………………. 36
ผลการวเิ คราะหข์ ้อมูล……………………………………………………………………………………………………… 35
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ……………………..…………………………………………….………… 41
สรุปผลการวจิ ัย……………………………………………………………………………………………………………….. 41
อภปิ รายผล…………………………………………………………………………………………………………………….. 41
ขอ้ เสนอแนะ…………………………………………………………………………………………………………………… 44
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………………………………………………… 46
จ
หน้า
ภาคผนวก……………………………………………………………………………….…………………………………………… 49
ภาคผนวก ก แผนการจัดการเรยี นร.ู้ ..................................……………………………..……………………. 50
ภาคผนวก ข เครอื่ งมือท่ีใช้ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล…………………………………………………………… 83
ภาคผนวก ค การตรวจสอบเคร่ืองมือที่ใชใ้ นการวจิ ยั …………………………………………………………… 95
ฉ
สารบัญตาราง
ตารางท่ี หน้า
1 มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรอื่ งที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความ 8
คิดเห็นอยา่ งมีเหตุผล
2 มาตรฐาน ต 1.2 มที ักษะการสอ่ื สารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนขอ้ มูลข่าวสาร แสดง 9
ความร้สู ึกและความคิดเห็น อยา่ งมีประสิทธิภาพ
3 มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมลู ขา่ วสาร ความคดิ รวบยอด และความคิดเห็นในเรอ่ื งตา่ งๆ โดย 10
การพูดและการเขยี น
4 มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพนั ธ์ระหวา่ งภาษากับวฒั นธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ 10
ได้อยา่ งเหมาะกับกาลเทศะ
5 มาตรฐาน ต 2.2 เขา้ ใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของ 11
เจา้ ของภาษากบั ภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถกู ต้องและเหมาะสม
6 มาตรฐาน ต 3.1 ใชภ้ าษาต่างประเทศในการเช่ือมโยงความรู้กบั กลมุ่ สาระการเรียนรอู้ นื่ และ 11
เปน็ พน้ื ฐานในการพฒั นาแสวงหาความรู้ และเปิดโลกทศั น์ของตน
7 มาตรฐาน ต 4.1 ใชภ้ าษาต่างประเทศในสถานการณ์ตา่ ง ๆ ทง้ั ในสถานศึกษา ชมุ ชน และ 12
สังคม
8 มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพ้นื ฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ 12
และการแลกเปลย่ี นเรยี นรกู้ บั สังคมโลก
9 ตารางรปู แบบการวิจยั 31
10 ตารางแสดงเกณฑ์การประเมินผลความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประเมนิ คา่ 5 ระดับ 33
11 ผลการศกึ ษาผลสมั ฤทธขิ์ องนักเรยี นช้ันมัธยมศกึ ษาปีท่ี 3 หลังการจดั การเรียนรู้แบบ PPP 36
(3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎคี อนสตรัคติวิสต์ เพอ่ื พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์
ภาษาองั กฤษ
12 ตารางแสดงความคดิ เหน็ ของนกั เรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 3 ที่มตี ่อการจดั การเรยี นรู้แบบ PPP 37
(3Ps) ตามแนวคดิ ทฤษฎคี อนสตรัคตวิ สิ ต์ เพ่ือพฒั นาผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นไวยากรณ์
ภาษาองั กฤษ ด้านกจิ กรรมการเรยี นการสอน
13 แสดงความพึงพอใจของนักเรียนช้ันมธั ยมศึกษาปที ่ี 3 ท่มี ีต่อการจัดการเรียนรแู้ บบ PPP (3Ps) 38
ตามแนวคดิ ทฤษฎีคอนสตรคั ติวิสต์ เพอ่ื พัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนไวยากรณภ์ าษาอังกฤษ
ดา้ นเนอื้ หา
14 แสดงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 3 ท่มี ีต่อการจัดการเรยี นรแู้ บบ PPP (3Ps) 39
ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรคั ตวิ ิสต์ เพอ่ื พฒั นาผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
ด้านประโยชน์
15 แสดงผลการพจิ ารณาความสอดคล้องของแผนการจดั การเรยี นรกู้ ารสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ 96
โดยใช้การจัดการเรยี นรแู้ บบ PPP (3Ps) ตามแนวคดิ ทฤษฎคี อนสตรัคตวิ ิสต์ สำหรบั นกั เรยี นชน้ั
มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรยี นกำแพงวทิ ยา
ช
16 แสดงผลการพิจารณาความสอดคล้องของแบบทดสอบกอ่ นเรียน-หลงั เรยี น ของนกั เรียนช้นั 97
มัธยมศึกษาปีท่ี 3 ท่เี รียนไวยากรณ์ภาษาองั กฤษ โดยใช้การจดั การเรยี นรู้แบบ PPP (3Ps) ตาม 99
แนวคิดทฤษฎคี อนสตรัคตวิ สิ ต์ 100
17 แสดงผลการพิจารณาความสอดคล้องของแบบสอบถามความพึงพอใจทีม่ ี่ของนกั เรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปที ี่ 3 ที่มตี ่อการจดั การเรยี นรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎคี อนสตรัคตวิ สิ ต์
เพือ่ พัฒนาผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นไวยากรณภ์ าษาอังกฤษ
18 แสดงผลคะแนนแบบทดสอบก่อนเรยี น-หลังเรยี น ของนกั เรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 3 หลังการ
สอนไวยากรณ์ โดยใชก้ ารจัดการเรียนรแู้ บบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวสิ ต์
ตามแนวคิดคอนสตรคั ตวิ ิสต
สารบญั รปู ภาพ ซ
ภาพที่ หนา้
1 กรอบแนวคิดในการวิจัย 5
๑
บทที่ 1
บทนำ
ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา
ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคสงั คมแห่งการเรียนรู้ มีการใช้เคร่ืองมืออยา่ งหลากหลายในการแสวงหาความรู้
ภาษาอังกฤษถือว่าเป็นทักษะทีส่ ำคัญแห่งศตวรรษท่ี 21 และเป็นเครื่องมอื ที่สำคัญในยคุ สงั คมแห่งการเรยี นรู้
ในปัจจุบัน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดภาษาหนึ่ง โดยที่องค์ความรู้ที่
สำคัญของโลกส่วนใหญ่ถูกบันทึกและเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการเรียน
การ สอนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือเข้าถึงองค์
ความรู้ และก้าวทันโลก รวมถึงพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ไทย และ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนัก ถึงความสำคัญ ความจำเป็นท่ี
จะต้องเร่งรัด พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อให้คนไทยมีความรู้ความสามารถในการใช้
ภาษาอังกฤษใน ระดับมาตรฐาน ในหลักสูตรของการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้สาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศกลุ่มสาระท่ี 8 เป็นกิจกรรมมที่เสริมสร้างมนุษย์และศักยภาพพื้นฐานในการคิดและการ
ทำงานโดยมีเป้าหมายหรอื ผลท่ี คาดหวังใหน้ ักเรียนใชภ้ าษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณต์ ่าง ๆ แสวงหา
ความรู้ ประกอบอาชีพและศึกษา ต่อในระดับสูงข้นึ รวมทง้ั มคี วามรู้ความเข้าใจในเรื่องราว และวัฒนธรรมอัน
หลากหลายของประชาคมโลก และ สามารถถ่ายทอดความคิดวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้ อย่าง
สรา้ งสรรค์
สำหรับการศึกษาในประเทศไทย แนวทางในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542 ในมาตรา 42 ถือว่า “ผู้เรียนสำคัญที่สุด” กระบวนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้
เรียนรู้ด้วย สมอง ด้วยกาย และด้วยใจ สามารถสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองมีส่วนร่วมใน
การเรียนการสอน เน้นการปฏิบัติจริง สามารถทำงานเป็นทีมได้ (สมศักด์ิ, 2543) ซึ่งหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ท่ีมีความ
สมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็น พลโลก ยึดมั่นในการ
ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง
เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศกึ ษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคญั บน
พ้นื ฐานความเช่อื วา่ ทกุ คนสามารถเรยี นรแู้ ละพฒั นาตนเองได้เตม็ ตามศักยภาพ
นอกจากนนี้ กั เรยี นในยุคโลกาภวิ ัตนต์ ้องมคี วามสามารถในการใชภ้ าษาได้มากกวา่ 1 ภาษา คือ การใช้
ภาษาอังกฤษสื่อสารกับสากลได้ด้วย (กรมวิชาการ, 2545: 1-5) ถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษได้ถูกบรรจุไว้ใน
หลกั สตู รการศกึ ษาข้ันพืน้ ฐานต้ังแต่ระดบั ชั้น ประถมศกึ ษา มธั ยมศกึ ษา หรือแม้กระทง่ั ระดับอุดมศึกษาเป็นส่ิง
สะท้อนให้เห็นว่าอย่างน้อยผู้เรียนจะต้อง เรียนภาษาอังกฤษมากกว่า 10 ปี แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
เท่าที่ควร รวมทั้งนักเรียนโรงเรียนกำแพงวิทยา เนื่องมาจากผลสัมฤทธิ์ในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ทุก
ระดบั ชั้นของโรงเรยี นกำแพงวทิ ยาอย่ใู นระดบั ที่พอใช้ - ปานกลาง ดังเห็นได้จากผลสมั ฤทธใ์ิ นวชิ าภาษาองั กฤษ
๒
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการทดสอบมาตรฐานแห่งชาติทั่วประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
(O-NET) ในปีพุทธศักราช 2561-2563 พบว่า ผลการทดสอบ (O-NET) ในปีการศึกษา 2561 นักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 28.11 ซึ่งยังต่ำว่าระดับภาคท่ีค่าเฉลี่ย 28.52 และระดับประเทศท่ีค่าเฉลี่ย
29.45 ส่วนปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ย 32.78 ซึ่งสูงกว่าระดับภาคที่ค่าเฉลี่ย 32.06 และต่ำกว่า
ระดับประเทศที่ค่าเฉลี่ย 33.25 และปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ย 32.42 ซึ่งยังต่ำว่าระดับภาคท่ีค่าเฉล่ีย
34.85 และระดบั ประเทศมคี ่าเฉล่ยี 34.85
จากปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียน กำแพงวิทยาอยู่ในเกณฑ์ท่ี
พอใช้ - ปานกลาง ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนนักเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีความสนใจทจี่ ะนำรูปแบบการจดั การเรียนร้แู บบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรคั ติวสิ ต์ มาใช้พฒั นา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Grammatical) ให้สูงขึ้น โดยผู้สอนได้นำ แนวคิดทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) มาพัฒนาขึ้นและประยุกต์เป็นวิธีการสอนของ ตนเองซึ่งตามแนวคิดคอน
สตรัคติวิสต์ นั้นเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างมากกว่าการรับ ความรู้ กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
จะมงุ่ เนน้ การสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแตล่ ะบคุ คล และเชอ่ื ว่าส่งิ แวดล้อมมีความสำคัญในการสร้าง
ความหมายตามความเป็นจริง (Duffy & D. J. Cunningham, 1996) เด็กจะพัฒนาในกลุม่ ของสังคมที่จัดขึน้
การใช้กิจกรรมที่เหมาะสมควรจะเชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมากกว่าที่จะแยกผู้เรียนจากคนอื่น ๆ ครู
ตามแนวคิดกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ ควรสร้างบริบทสำหรับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถได้รับการส่งเสริมใน
กจิ กรรมทน่ี ่าสนใจซึ่งกระตุน้ และ เออ้ื อำนวยต่อการเรียนรู้แทนที่ครูผสู้ อนท่ีเข้ามาสู่กจิ กรรมการเรยี นร้รู ่วมกับ
ผ้เู รยี น ไมใ่ ช่เข้ามา ยืนมองเด็กสำรวจ และ คน้ พบเท่านน้ั แต่ครจู ะแนะนำเม่ือผู้เรียนประสบปญั หา กระตุ้นให้
ผู้เรียน ปฏิบัติงานในกลุ่มในการที่จะคิดพิจารณาประเด็นคำถาม และ สนับสนุนด้วยการกระตุ้น แนะนำ ให้
พวกเขาต่อสู้กับปัญหา และ นั่นเป็นรากฐานของสถานการณ์ในชีวิตจริง (Real life situation) ที่จะ ทำให้
ผูเ้ รียนเกิดความสนใจและได้รบั ความพึงพอใจในผลของงานทีพ่ วกเขาได้ลงมือกระทำ ดงั น้ัน เปา้ หมายของการ
จัดการเรียนการสอนจะสนับสนุนการสร้าง และ ผลิตภาษาออกมาจนส่ือสารได้ มากกว่าความพยายามในการ
ถ่ายทอดความรู้ ครูจะคอยช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดความเจริญทางด้าน สติปัญญา (Cognitive growth)
นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ประยุกต์วิธีสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เข้า กับการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบ
อุปนัยซึ่งเปน็ การสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหา กฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวม
หรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ โดยการ ให้นักศึกษาทำการศึกษา สังเกต เปรียบเทียบ แล้วพิจารณา
คน้ หาองคป์ ระกอบท่ีเหมอื นกนั หรือ คลา้ ยคลงึ กนั ของตวั อยา่ งประโยคจากแหลง่ ต่าง ๆ เพอื่ นำมาเป็นข้อสรปุ
ขั้นตอนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ของ แพรไหม คำดวง,
2562 ที่ผู้วิจัยได้นำมาใช้บูรณาการกับแผนการจดั การเรียนรู้ มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ
เป็นขั้นดึงดูดความสนใจผู้เรียนด้วยกิจกรรมที่นา่ สนใจ เตรียมพร้อมในการเข้าสู่บทเรียนโดยผู้วิจัยใช้กิจกรรม
เช่น เกม วิดีโอเพลงภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหา เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน ขั้นตอนนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจและ
กระตุ้นผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ สอดคล้องกับขั้นนำของ Driver and Bell (อ้างถึงใน ไพจิตร สะดวกการ,
2539) ที่กล่าวไว้ว่า ขั้นน้ี เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมาย และมีแรงจูงใจในการเรียนบทเรียน 2) ข้ัน
๓
ทบทวนความรู้เดิม ขั้นนี้จะทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนแล้วโยงความรู้เดิมนั้นเข้าสู่บทเรียนใหม่ที่
ผู้เรียนกำลังจะ เรียนซึ่งเป็นขัน้ ท่ีผูเ้ รียนแสดงออกถึงความรู้ความเขา้ ใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องทีจ่ ะเรียนซึ่งจะ
ทำให้ เกดิ ความขัดแย้งทางปญั ญา (Driver and Bell อา้ งถึงในไพจติ ร สะดวกการ. 2539) เป็นไปตามแนวคิด
ทฤษฎีคอนสตรัคตวิ ิสต์ 3) ข้นั สอนแบบอปุ นัยเพ่ือสร้างแนวความคิดใหม่หลังจากเกดิ ความ ขดั แย้งทางปัญญา
ในขั้นนี้ผู้สอนจะยกตัวอย่างประโยคของเรื่องที่สอนมาจำนวนหนึ่งเพื่อให้ผู้เรียน สร้างแนวความคิดเกี่ยวกับ
กฎเกณฑ์หรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ในเรือ่ งน้ันและชว่ ยกนั สรุปกฎเกณฑ์ หรือโครงสร้างทางไวยากรณ์น้ันอีก
ครั้งรวมไปถึงสอนความรู้หรือบริบททางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ไวยากรณ์นั้น ๆ ขั้นตอนนี้ผู้เรียนเริ่มสร้าง
องค์ความรูใ้ หม่ขึ้นมา จะทำให้ผเู้ รียนสามารถเข้าใจกฎได้ เปน็ วธิ กี ารเรียนรู้ภาษาดว้ ยการได้รับข้อมูลป้อนเข้า
กฎเกณฑ์ และรูปแบบของภาษา จะชัดเจน (Thornbury, 2001: 49-57) 4) ขั้นการฝึกฝนผ่านกิจกรรม
แลกเปลี่ยนความคิด เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียน ฝึกฝนการใช้ภาษาผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำร่วมกันหรือ
แลกเปลี่ยนความคิดกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียน ตกผลึกความรู้นั้นเนื่องจากผู้เรียนได้ทั้งฝึกภาษาและเรียนรู้บริบท
ของการใช้ไวยากรณ์เรื่องนั้น ๆ โดย ขั้นตอนนี้ได้มาจากแนวคิดของ Vygotsky ที่ว่า “ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมี
บทบาทสำคัญในการพัฒนา ด้านพุทธิปญั ญา” 5) ขั้นทบทวนความรู้ใหม่ หลังจากที่ผู้เรียนตกผลกึ ความร้แู ลว้
ผสู้ อนทบทวน บทเรียนเพื่อช่วยให้ผเู้ รยี นมีความแมน่ ยำในบทเรียนน้ันมากยิ่งขึ้นพร้อมจะนำไปใช้ขั้นนี้นับเป็น
หัวใจ สำคัญเพราะผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ชัดเจนขึ้นมา (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, 2540) 6) ขั้น
ประยุกตใ์ ช้ในข้นั น้ผี เู้ รยี นนำความร้ทู เ่ี รียนมาท้งั หมดมาใช้ กล่าวคอื ผู้เรยี นสามารถสรา้ งประโยค จากไวยากรณ์
เรอื่ งท่ีเรียนและใชส้ ่อื สารกับผู้อืน่ ได้ โดยใหผ้ ู้เรียนทำกิจกรรมทีไ่ ดใ้ ช้การส่ือสารเพ่ือให้ บรรลุเป้าหมายของการ
สอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ คือ ผู้เรียน สามารถใช้ไวยากรณ์ถูกต้องและ
เหมาะสมเป็นองค์ประกอบในการสื่อสารได้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมี โอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจท่ี
พฒั นาข้นึ มาใหมใ่ นสถานการณต์ ่าง ๆ (Driver & Bell, 1986)
ขั้นตอนเหล่านี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านไวยากรณ์เพื่อนำไปสู่การใช้ภาษาอังกฤษ สื่อสารได้
อย่างมีประสิทธิภาพ และ ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ผ่านแนวคิดทฤษฎีคอน
สตรคั ตวิ สิ ต์ สอดคล้องกับ มนต์ชยั พงศกรนฤวงษ์ (2552) ท่ีพฒั นารูปแบบ การเรยี นการสอนตามทฤษฎีการ
สร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้ของ นักเรียนช่างอุตสาหกรรมพบว่า คะแนน
ความสามารถในการสรา้ งความรู้ของนกั เรียนที่สอนด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสรา้ งความรู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้สูง กว่านักเรียนที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ี ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ จิราภรณ์ พิมใจใส (2553) ท่ี
พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของ
นักศึกษาพยาบาล โดยศึกษา ความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียน
การสอนตามทฤษฎี การสร้างความรู้กับรูปแบบการเรียนการสอน พบว่าคะแนนความสามารถในการเรียนรู้
ของนักศึกษาท่ี เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้กับรูปแบบการเรียนการสอน
ปกติแตกต่างกนั อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทิ ีร่ ะดับ.05 โดยคะแนนความสามารถในการเรียนรู้สูงกว่า นักศึกษา
พยาบาลท่เี รียนด้วยรปู แบบการเรยี นการสอนปกติ
๔
จากเหตุผล และความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการเรยี นการสอน
รายวิชาภาษาอังกฤษ (อ23102) สำหรับนกั ศึกษาชั้นปีท่ี 3 ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้นำรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มาใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Grammatical) และคิดว่าน่าจะส่งเสริมศักยภาพด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
ของนักเรียน โดยผลการทดลองจะได้ช่วยเป็นแนวทางในการแก้ไข ปรับเปลี่ยนและพัฒนาการเรียนการสอน
รายวิชาภาษาอังกฤษตอ่ ไป
วัตถุประสงคข์ องการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี
3 โรงเรียนกำแพงวิทยา ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอน
สตรัคติวิสต์
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกำแพงวิทยา ที่มีต่อการใช้
การจัดการเรยี นรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคดิ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ท่ผี ้วู จิ ัยสร้างขน้ึ
สมมติฐานของงานวิจยั
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
กำแพงวิทยา หลังการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
สงู กว่ากอ่ นเรยี น
ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะไดร้ บั
1. เป็นแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้น
2. เป็นแนวทางสำหรับครูในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ที่จะช่วยให้นักเรียนมีความ
เข้าใจในการเรยี นไวยากรณภ์ าษาอังกฤษมากข้นึ
3. เป็นแนวทางสำหรับสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนการสอน
ไวยากรณ์ภาษาองั กฤษใหแ้ ก่นกั เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนตน้
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกำแพงวิทยา อำเภอละงู
จงั หวดั สตลู ซ่งึ กำลงั ศกึ ษาภาคเรียนที่ 2 ประจำปกี ารศึกษา 2564 จำนวนห้องเรียน 1 หอ้ ง จำนวนนักเรียน
ท้ังหมด 38 คน ซ่ึงเป็นนกั เรยี นท่เี ป็นความรับผิดชอบของขา้ พเจ้าในการสอนระดับชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ 3
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนกำแพงวิทยา อำเภอ
ละงูจังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
เจาะจง (Purposive sampling)
๕
3. เนื้อหาที่ใช้ในการวจิ ัยครัง้ น้ี เป็นเนื้อหาในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ23102) ในแผนการ
จัดการเรียนรู้
- หนว่ ยการเรยี นรูท้ ่ี 2 Our Natural World Grammar: Must vs Have to
- หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 3 A Balanced Lifestyle Grammar: 1st Conditional sentence
- หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 4 Making Money Grammar: Wish
- หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 5 Grammar: Modals Verbs and Passive Voice
4. ระยะเวลาในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึง
วันที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ใช้เวลาในการทดลองในช่วงสัปดาห์ที่เป็นเนื้อหาสว่ นไวยากรณ์ในแต่
ละบท จำนวน 4 สัปดาห์ สัปดาหล์ ะ 3 คาบ คาบละ 50 นาที โดยไม่รวม Pre-test และ Post-test
5. ตัวแปรทใ่ี ชใ้ นการวิจัยครงั้ น้ี ประกอบด้วย
3.1 ตัวแปรตน้ ไดแ้ ก่ ผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนไวยากรณภ์ าษาอังกฤษ (Grammatical)
3.2 ตวั แปรตาม ไดแ้ ก่ ความคิดเหน็ ของนักเรยี นทมี่ ีต่อการจัดการเรยี นรแู้ บบ PPP (3Ps) ตาม
แนวคดิ ทฤษฎคี อนสตรัคตวิ สิ ต์
กรอบแนวคิดในการวจิ ัย
ในการวิจัยเรื่องผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
กำแพงวทิ ยา อำเภอละงู จงั หวัดสตูล ซง่ึ ผู้วจิ ยั ดำเนินการวจิ ัยตามกรอบแนวคดิ สรปุ ไดเ้ ป็นแผนภูมิดงั นี้
การจดั การเรยี นรูแ้ บบ PPP (3Ps) 1. ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
ตามแนวคดิ ทฤษฎคี อนสตรัคติวสิ ต์ Grammatical
2. ความพึงพอใจในการการจดั การเรียนรู้แบบ PPP
(3Ps) ตามแนวคดิ ทฤษฎคี อนสตรคั ตวิ ิสต์
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ
1. การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการ
สื่อสาร โดยมีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Presentation)
การฝึกฝน (Practice) การปฏบิ ัติหรือขัน้ การใช้ภาษา (Production)
2. ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หมายถึง ทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ของผู้เรียน ซึ่งถ้าพิจารณาจาก
รากศพั ท์ “Construct” แปลวา่ “สรา้ ง” โดยในทน่ี ีห้ มายถงึ การสรา้ งความรโู้ ดยผู้เรียนนัน่ เอง
๖
3. ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนด้านไวยากรณภ์ าษาองั กฤษ หมายถึง คะแนนความกา้ วหนา้ ของนักเรียน
ก่อนและหลงั การเรียนโดยใช้การจัดการเรยี นรูแ้ บบ PPP (3Ps) ซงึ่ วัดได้จากแบบทดสอบกอ่ นและหลังเรยี น
4. ความพึงพอใจของนักเรียน หมายถึงความพึงพอใจทมี่ ตี อ่ วธิ กี ารจัดการเรยี นรแู้ บบ PPP (3Ps) ซง่ึ
วดั ได้จากแบบสอบถาม (Questionnaire)
๗
บทท่ี 2
เอกสารและงานวิจัยท่เี กี่ยวขอ้ ง
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอน
สตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนสวัสด์ิกำแพงวิทยา อำเภอละงู จังหวัดสตูบ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้
นำเสนอตามหัวข้อดังต่อไปน้ี
1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
(กลุม่ สาระการเรยี นรู้ภาษาต่างประเทศ)
2. เอกสารที่เก่ยี วขอ้ งกบั การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
3. ทฤษฎีคอนสตรคั ติวสิ ตแ์ ละการสอนทเี่ ก่ยี วข้อง
4. งานวิจยั ท่ีเกยี่ วขอ้ ง
1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
(กลมุ่ สาระการเรียนร้ภู าษาตา่ งประเทศ)
สาระและมาตรฐานการเรยี นรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และ
ตวั ชี้วดั ในกลมุ่ สาระภาษาต่างประเทศ ระดับมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 ดังน้ี
สาระที่ 1 ภาษาเพือ่ การสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตคี วามเรอื่ งท่ฟี ังและอา่ นจากสือ่ ประเภทตา่ ง ๆ และแสดงความคิดเหน็ อย่างมี
เหตุผล
ตวั ชี้วัด
1. ปฏิบัติตามคำขอร้อง คำแนะนำ คำชแ้ี จง และคำอธบิ ายที่ฟังและอา่ น
2. อา่ นออกเสียงข้อความ ข่าว โฆษณา และบทร้อยกรองสั้น ๆ ถกู ตอ้ งตามหลกั การอ่าน
3. ระบุและเขียนสือ่ ทไ่ี ม่ใชค่ วามเรียงรปู แบบตา่ ง ๆ ใหส้ มั พันธ์กับประโยค และข้อความที่
ฟังหรืออา่ น
4. เลอื ก/ระบุหวั ข้อเรื่อง ใจความสำคัญ รายละเอยี ดสนับสนุน และแสดงความคดิ เห็น
เกี่ยวกับเร่อื งท่ฟี ังและอ่านจากสอื่ ประเภทต่าง ๆ พร้อมทัง้ ใหเ้ หตผุ ลและยกตัวอย่าง
ประกอบ
๘
มาตรฐาน ต 1.2 มที ักษะการส่ือสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สกึ และความ
คิดเหน็ อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชีว้ ดั
1. สนทนาและเขียนโตต้ อบข้อมูลเกย่ี วกบั ตนเอง เรอ่ื งตา่ ง ๆ ใกลต้ ัว สถานการณ์ ขา่ ว
เรอื่ งท่ีอยู่ในความสนใจของสังคม และสื่อสารอย่างตอ่ เนื่องและเหมาะสม
2. ใช้คำขอร้อง ให้คำแนะนำ คำชแ้ี จง และคำอธบิ ายอย่างเหมาะสม
3. พูดและเขยี นแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้
ความชว่ ยเหลอื ในสถานการณ์ต่าง ๆ อยา่ งเหมาะสม
4. พดู และเขยี นเพ่อื ขอและให้ข้อมลู อธบิ าย เปรยี บเทยี บ และแสดงความคดิ เห็นเกยี่ วกบั
เรอ่ื งท่ีฟงั หรืออ่านอย่างเหมาะสม
5. พดู และเขยี นบรรยายความรู้สกึ และความคิดเหน็ ของตนเองเกย่ี วกับเร่อื ง
ตา่ ง ๆ กจิ กรรม
ประสบการณ์ และข่าว/เหตุการณ์ พร้อมทง้ั ให้เหตุผลประกอบอย่างเหมาะสม
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมลู ข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคดิ เหน็ ในเรอื่ งต่าง ๆ โดยการพูด
และการเขยี น
ตวั ช้ีวดั
1. พดู และเขยี นบรรยายเกี่ยวกบั ตนเอง ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์/เร่ือง/ประเดน็
ตา่ ง ๆ ท่ีอย่ใู นความสนใจของสังคม
2. พูดและเขยี นสรุปใจความสำคัญ/แก่นสาระ หวั ข้อเร่ืองท่ีได้จากการวิเคราะหเ์ ร่ือง/ข่าว/
เหตกุ ารณ/์ สถานการณ์ ท่ีอย่ใู นความสนใจของสงั คม
3. พดู และเขยี นแสดงความคิดเห็นเกีย่ วกบั กจิ กรรม ประสบการณ์ และเหตกุ ารณ์ พร้อม
ทัง้ ให้เหตุผลประกอบ
สาระท่ี 2 ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใชไ้ ด้อยา่ ง
เหมาะสมกับกาลเทศะ
ตวั ช้วี ัด
1. เลอื กใชภ้ าษา นำ้ เสยี ง และกิรยิ าทา่ ทางเหมาะกบั บคุ คลและโอกาสตามมารยาทสงั คม
และวฒั นธรรมของเจ้าของภาษา
2. อธิบายเก่ียวกบั ชีวติ ความเปน็ อยู่ ขนบธรรมเนยี ม และประเพณขี องเจา้ ของภาษา
3. เข้าร่วม/จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ
๙
มาตรฐาน ต 2.2 เขา้ ใจความเหมือนและความแตกตา่ งระหว่างภาษาและวฒั นธรรมของเจา้ ของภาษากบั
ภาษาและวฒั นธรรมไทย และนำมาใช้อยา่ งถกู ต้องและเหมาะสม
ตวั ชี้วดั
1. เปรยี บเทียบและอธบิ ายความเหมอื นและความแตกตา่ งระหวา่ งการออกเสยี งประโยค
ชนดิ ต่าง ๆ และการลำดับคำตามโครงสรา้ งประโยคของภาษาต่างประเทศและ
ภาษาไทย
2. เปรียบเทยี บและอธิบายความเหมือนและความแตกตา่ งระหว่างชวี ิตความเป็นอยแู่ ละ
วฒั นธรรมของเจา้ ของภาษากับของไทย และนำไปใช้อยา่ งเหมาะสม
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กบั กลุ่มสาระการเรยี นรอู้ ื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชอ่ื มโยงความรกู้ ับกลุ่มสาระการเรยี นรูอ้ น่ื และเป็นพื้นฐาน
ในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
ตัวชว้ี ดั
1. ค้นควา้ รวบรวม และสรุปข้อมูล/ขอ้ เท็จจรงิ ท่ีเกีย่ วขอ้ งกบั กลมุ่ สาระการเรียนรอู้ ่นื จาก
แหล่งเรยี นรู้ และนำเสนอดว้ ยการพูดและการเขยี น
สาระท่ี 4 ภาษากับความสัมพันธก์ ับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ใชภ้ าษาต่างประเทศในสถานการณต์ า่ ง ๆ ท้ังในสถานศกึ ษา ชุมชน และสงั คม
ตัวชว้ี ดั
1. ใช้ใชภ้ าษาส่อื สารในสถานการณ์จรงิ /สถานการณจ์ ำลองท่เี กดิ ขนึ้ ใน
หอ้ งเรียน สถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต 4.2 ใชภ้ าษาต่างประเทศเป็นเครือ่ งมือพ้นื ฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชพี และ
การแลกเปลี่ยนเรยี นรู้กับสังคมโลก
ตัวชวี้ ัด
2. ใช้ภาษาตา่ งประเทศในการสืบคน้ /ค้นคว้า รวบรวม และสรุปความร/ู้ ข้อมูลต่าง ๆ จาก
สือ่ และ แหลง่ การเรยี นรู้ต่าง ๆ ในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ
3. เผยแพร/่ ประชาสมั พนั ธ์ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และทอ้ งถิน่ เป็น
ภาษาตา่ งประเทศ
๑๐
ตวั ชีว้ ัดและสาระการเรยี นรูแ้ กนกลาง กล่มุ สาระการเรียนรู้ภาษาตา่ งประเทศ
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับช้ันมธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3
สาระท่ี 1 ภาษาเพอ่ื การส่ือสาร
ตารางที่ 1 มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และ
แสดงความคิดเหน็ อยา่ งมีเหตุผล
ตัวชวี้ ัด สาระการเรียนร้แู กนกลาง
1. ปฏบิ ตั ติ ามคำสง่ั คำขอร้อง คำแนะนำ • คำส่งั คำขอรอ้ ง คำแนะนำ และคำชแ้ี จงในการทำอาหารและ
และคำชแี้ จงง่าย ๆ ท่ีฟังและอา่ น เครอื่ งดื่ม การประดษิ ฐ์ การใชย้ า/สลากยา การบอกทิศทาง ป้าย
ประกาศตา่ ง ๆ หรอื การใชอ้ ุปกรณ์
- คำสง่ั เช่น การใช้ must/mustn’t เช่น You mustn’t
2. อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบท take photos. You must turn right. I must go. หรอื การ
ร้อยกรอง (poem) สัน้ ๆ ถกู ต้องตาม ใชค้ ำกรยิ าเป็นประโยคคำส่ังเชน่ Return, please.
หลักการอ่าน - คำขอร้อง เชน่ Can/Could you help me, please? /
Excuse me, could you...? etc.
- คำแนะนำ เชน่ You should read every day. /Think
before you speak.
- คำสันธาน (conjunction) เช่น and/but/or/so
- ตัวเชอ่ื ม (connective words) เชน่ Next,... Then,...
• ขอ้ ความ นิทาน และบทรอ้ ยกรอง
• การใชพ้ จนานุกรม
• หลักการอา่ นออกเสียง เช่น
- การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะทา้ ยคำ
- การออกเสยี งเน้นหนัก-เบาในคำและกลุ่มคำ
- การออกเสยี งตามระดบั เสียงสูง-ต่ำในประโยค
- การแบ่งวรรคตอนในการอา่ น
3. เลือก/ระบุประโยคและข้อความให้ • ประโยคหรือข้อความ และความหมายเก่ียวกบั ตนเอง
สมั พนั ธก์ บั สอื่ ท่ไี ม่ใช่ความเรยี ง (non- ครอบครวั โรงเรยี น ส่งิ แวดล้อม อาหาร เครือ่ งดม่ื เวลา
text information) ท่ีอ่าน ว่างและนันทนาการ สขุ ภาพและสวสั ดกิ าร การซ้ือ-
ขาย ลมฟา้ อากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดินทาง
ทอ่ งเทยี่ ว การบริการ สถานท่ี ภาษา วทิ ยาศาสตร์
และเทคโนโลยี เป็นวงคำศัพท์สะสมประมาณ 1,400-
1,550 คำ (คำศพั ท์ทีเ่ ป็นรูปธรรมและนามธรรม)
• การตคี วาม/ถ่ายโอนข้อมลู ให้สมั พนั ธ์กบั สื่อทีไ่ ม่ใช่
ความเรียง เชน่ สัญลักษณ์ เคร่อื งหมาย กราฟ แผนภูมิ
๑๑
ตัวชี้วดั สาระการเรยี นร้แู กนกลาง
ตาราง ภาพ สัตว์ สงิ่ ของ บคุ คล สถานท่ตี า่ ง ๆ โดยใช้
Comparison of adjectives/adverbs/Contrast: but,
although/Quantity words เชน่ many/much/a lot of/lots
of/some/any/a few/few/a little/little etc.
4. ระบหุ ัวขอ้ เรือ่ ง (topic) ใจความสำคญั - Tenses: present simple/present continuous/past
(main idea) และตอบคำถามจากการฟัง simple/future simple etc.
และอา่ นบทสนทนา นทิ าน และเร่ืองส้ัน - Simple sentence/ Compound sentence
ตารางที่ 2 มาตรฐาน ต 1.2 มีทกั ษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลย่ี นข้อมลู ข่าวสาร แสดง
ความรู้สึกและความคดิ เหน็ อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ
ตัวชี้วัด สาระการเรยี นรู้แกนกลาง
1. สนทนาแลกเปลย่ี นข้อมลู เกีย่ วกับตนเอง • ภาษาทใ่ี ช้ในการสอ่ื สารระหวา่ งบคุ คล เชน่ การทักทาย กลา่ วลา
กิจกรรม และสถานการณ์ตา่ ง ๆ ใน ขอบคุณ ขอโทษ ชมเชย การพดู แทรกอย่างสภุ าพ การชักชวน
ชวี ติ ประจำวนั ประโยค/ข้อความที่ใช้แนะนำตนเอง เพื่อนและบุคคลใกล้ตัว และ
สำนวนการตอบรบั การแลกเปล่ียนขอ้ มลู เกีย่ วกบั ตนเอง กิจกรรม
สถานการณต์ ่าง ๆ ในชวี ติ
2. ใชค้ ำขอรอ้ ง ใหค้ ำแนะนำ และคำช้ีแจง • คำขอร้อง คำแนะนำ และคำชี้แจง
ตามสถานการณ์
3. พดู และเขยี นแสดงความต้องการ ขอ • ภาษาทใี่ ช้ในการแสดงความตอ้ งการ ขอความช่วยเหลอื ตอบรบั และ
ความชว่ ยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ ปฏเิ สธการใหค้ วาม
ความช่วยเหลอื
ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ชว่ ยเหลือ
เชน่ Please.../..., please./I’d like.../I need... May/Can/
Could...?/Yes,../Please do./Certainly./Yes, of course./
Sure./Go right ahead./Need some help?/What can I do
to help?/Would you like any help?/I’m afraid.../I’m
sorry, but.../Sorry, but... etc.
4. พูดและเขยี นเพอื่ ขอและใหข้ อ้ มูล และ • คำศพั ท์ สำนวนภาษา ประโยค และข้อความทใี่ ช้ในการขอและให้
แสดงความคดิ เหน็ เกยี่ วกับเรื่องท่ีฟงั หรอื ขอ้ มลู และแสดงความคดิ เห็นเกยี่ วกับเรื่องท่ีฟัง หรืออ่าน
อา่ นอยา่ งเหมาะสม
5. พูดและเขยี นแสดงความรู้สกึ และความ • ภาษาที่ใช้ในการแสดงความรู้สกึ ความคดิ เหน็ และให้เหตุผล
คดิ เห็นของตนเองเกี่ยวกับเรือ่ งตา่ ง ๆ ประกอบ เช่น ชอบ ไมช่ อบ ดีใจ เสยี ใจ มคี วามสุข เศร้า หวิ รสชาติ
๑๒
ตวั ชี้วดั สาระการเรยี นร้แู กนกลาง
ใกล้ตัว กิจกรรมต่าง ๆ พร้อมท้ังให้เหตผุ ล สวย นา่ เกลยี ด เสียงดงั ดี ไม่ดี จากข่าว เหตุการณ์ สถานการณใ์ น
สั้น ๆ ประกอบอยา่ งเหมาะสม ชีวิตประจำวัน
เช่น Nice/Very nice./Well done!/Congratulations./
I like... because.../I love...because.../I feel... because.../
I think.../I believe.../I agree/disagree.../I don’t
believe.../ I have no idea.../Oh no! etc.
สาระที่ 1 ภาษาเพอื่ การส่ือสาร
ตารางที่ 3 มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคดิ เห็นในเรื่อง
ต่างๆ โดยการพดู และการเขียน
ตวั ช้วี ดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. พดู และเขยี นบรรยายเกี่ยวกบั ตนเอง กจิ วัตร • ประโยคและข้อความทใี่ ชใ้ นการบรรยายเกย่ี วกับตนเอง
ประจำวันประสบการณ์ และส่งิ แวดลอ้ มใกลต้ ัว กจิ วตั รประจำวนั ประสบการณ์ ส่ิงแวดลอ้ มใกลต้ ัว เชน่
การเดนิ ทาง การรับประทานอาหาร การเรียน การเล่น
กฬี า การฟงั เพลง การอ่านหนังสือ การท่องเทยี่ ว
2. พดู /เขียนสรุปใจความสำคัญ/แกน่ สาระ (theme) ที่ • การจบั ใจความสำคญั /แกน่ สาระ การวิเคราะหค์ วาม/
ไดจ้ ากการวิเคราะห์เรื่อง/เหตุการณท์ ่ีอยู่ในความ เรือ่ ง/เหตุการณท์ ่ีอยูใ่ นความสนใจ เชน่ ประสบการณ์
สนใจของสังคม ภาพยนตร์ กฬี า เพลง
3. พดู /เขยี นแสดงความคดิ เห็นเก่ียวกับกิจกรรมหรือ • การแสดงความคดิ เหน็ และการให้เหตุผลประกอบ
เรื่อง เกี่ยวกบั กจิ กรรมหรือเร่ืองต่าง ๆ ใกลต้ วั
ตา่ ง ๆ ใกล้ตัว พร้อมทัง้ ใหเ้ หตุผลส้ัน ๆ ประกอบ
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
ตารางท่ี 4 มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสมั พันธร์ ะหวา่ งภาษากบั วฒั นธรรมของเจ้าของภาษา
และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะกับกาลเทศะ
ตัวชี้วัด สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง
1. ใช้ภาษา นำ้ เสยี ง และกิรยิ าท่าทางสุภาพ เหมาะสม • การใชภ้ าษา นำ้ เสยี ง และกิรยิ าท่าทางในการสนทนา
ตามมารยาทสงั คม และวฒั นธรรมของเจ้าของภาษา ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เช่น
การขอบคุณ ขอโทษ การ
ชมเชย การใชส้ หี น้าท่าทางประกอบการพูดขณะแนะนำ
ตนเอง การสัมผสั มือ การโบกมือ การแสดงความร้สู ึก
ชอบ/ไมช่ อบ การกลา่ วอวยพร การแสดงการตอบรบั
หรือปฏิเสธ
๑๓
ตัวชี้วดั สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง
2. บรรยายเกย่ี วกบั เทศกาล วันสำคัญ ชีวติ ความเป็นอยู่ • ความเป็นมาและความสำคัญของเทศกาล วนั สำคญั
และประเพณีของเจ้าของภาษา ชีวติ ความเป็นอยู่และประเพณีของเจา้ ของภาษา
3. เข้ารว่ ม/จัดกจิ กรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตาม • กจิ กรรมทางภาษาและวฒั นธรรม เช่น การเลน่ เกม
ความสนใจ การร้องเพลง การเลา่ นิทาน บทบาทสมมติ วนั ขอบคณุ
พระเจา้ วนั คริสตม์ าส วนั ขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์
สาระท่ี 2 ภาษาและวัฒนธรรม
ตารางท่ี 5 มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรม
ของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อยา่ งถูกต้องและเหมาะสม
ตัวช้วี ัด สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง
1. บอกความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการออก • ความเหมือน/ความแตกตา่ งระหว่างการออกเสยี ง
เสยี งประโยคชนดิ ต่าง ๆ การใชเ้ คร่อื งหมายวรรคตอน และ ประโยคชนิดตา่ ง ๆ ของเจา้ ของภาษากับของไทย
การลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาตา่ งประเทศ • การใช้เคร่ืองหมายวรรคตอนและการลำดับคำ ตาม
และภาษาไทย โครงสรา้ งประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
2. เปรยี บเทยี บความเหมอื นและความแตกตา่ งระหวา่ ง • การเปรียบเทยี บความเหมอื นและความแตกต่าง
เทศกาล งานฉลอง วนั สำคญั และชวี ิตความเป็นอยู่ของ ระหวา่ งเทศกาล งานฉลอง วันสำคัญ และชวี ติ ความ
เจ้าของภาษากับของไทย เปน็ อยู่ของเจ้าของภาษากับของไทย
สาระที่ 3 ภาษากับความสมั พนั ธก์ บั กลมุ่ สาระการเรียนรอู้ ่ืน
ตารางท่ี 6 มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาตา่ งประเทศในการเช่อื มโยงความร้กู ับกลุ่มสาระการเรียนรู้
อื่น และเปน็ พ้ืนฐานในการพัฒนาแสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรแู้ กนกลาง
1. ค้นคว้า รวบรวม และสรปุ ขอ้ มลู /ข้อเทจ็ จริงที่เกย่ี วขอ้ ง • การค้นคว้า การรวบรวม การสรปุ และการนำเสนอ
กบั กลมุ่ สาระการเรยี นรู้อน่ื จากแหลง่ การเรียนร้แู ละ ข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
นำเสนอด้วยการพูด/การเขยี น อ่ืน
๑๔
สาระที่ 4 ภาษากบั ความสัมพันธ์กับชมุ ชนและโลก
ตารางท่ี 7 มาตรฐาน ต 4.1 ใชภ้ าษาตา่ งประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ ทงั้ ในสถานศกึ ษา ชมุ ชน
และสังคม
ตัวชว้ี ดั สาระการเรยี นรู้แกนกลาง
1. ใชภ้ าษาสือ่ สารในสถานการณจ์ รงิ /สถานการณ์จำลองท่ี • การใชภ้ าษาสอ่ื สารในสถานการณจ์ รงิ /สถานการณ์
เกิดข้นึ ในห้องเรยี นและสถานศึกษา จำลองทเี่ กิดข้นึ ในห้องเรียนและสถานศึกษา
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
ตารางที่ 8 มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาตา่ งประเทศเป็นเครอ่ื งมือพนื้ ฐานในการศกึ ษาตอ่ การ
ประกอบอาชีพ และการแลกเปลยี่ นเรยี นรกู้ ับสังคมโลก
ตวั ชี้วดั สาระการเรยี นรู้แกนกลาง
1. ใชภ้ าษาตา่ งประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้าความร้/ู ขอ้ มูล • การใช้ภาษาตา่ งประเทศในการสืบค้น/ การคน้ ควา้
ต่าง ๆ จากส่ือและแหลง่ การเรียนรตู้ ่างๆในการศึกษาต่อ ความรู้/ข้อมลู ต่าง ๆ จากส่ือและแหล่งการเรยี นร้ตู ่าง
และประกอบอาชีพ ๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชพี
2. เอกสารท่เี กีย่ วขอ้ งกบั การสอนไวยากรณ์ภาษาองั กฤษ
2.1. ความหมายของไวยากรณ์ มผี ้เู ช่ียวชาญได้กลา่ วถึงความหมายของไวยากรณ์ดงั ต่อไปนี้
Thornbury (2001 : 1) กล่าววา่ ไวยากรณน์ ้ันเป็นส่วนหน่งึ ของการศกึ ษาวา่ โครงสรา้ งหรือ
รปู แบบใดทส่ี ามารถใช้ได้บ้างในภาษา โดยไวยากรณ์แบบเดิมจะมุ่งเน้นการวิเคราะห์ในระดับประโยค Dickins
et al. (1988: 623) กลา่ วว่าไวยากรณ์คือระบบของโครงสร้างภาษาซงึ่ มีหนา้ ทีว่ างลำดับและ รปู แบบของคำ
ทีเ่ รียงกนั เป็นประโยค ไวยากรณ์เปน็ สง่ิ สำคัญสำหรับการแสดงความหมายของข้อมูล ภาษา เพราะการสื่อสาร
ความหมายเกิดจากความสัมพนั ธ์ระหว่างคำต่าง ๆ ในประโยค (จินตนา สุจ จานันท์, 2551: 1) ได้ให้แนวคดิ
เกี่ยวกับความหมายของไวยากรณ์ว่า ไวยากรณ์(Grammar) หมายถึง สิ่งที่เราทำเมื่อเราเรียงคำต่าง ๆ เข้า
ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการพูด ของเราทุกวันหรือการเขียนอย่างมี แบบแผนที่เป็นทางการ ไวยากรณ์หมายถึง
โครงสร้างของประโยค (Sentence Structure) ซ่ึงรวมถึง การเรียงคำ (Word Order) และการสร้างคำใน
ประโยค(Morphology) ส่วนวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ (2528: 1) กล่าวว่าไวยากรณ์หมายถึง ระบบในภาษา
และเป็นระบบที่ผู้ใช้ภาษาได้เรียนรู้มาตั้งแต่ใน วัยเด็กโดยผู้เรียนไม่รู้ว่าระบบของภาษาที่เรียนมีลักษณะเป็น
อย่างไรและสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ จำเป็นว่าต้องเรียนจากตำรา ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน (2539) ได้ให้
แนวความคิดเกี่ยวกับความหมาย ของไวยากรณ์ว่าหมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งผู้เรียนต้องจำได้
ถึงแม้ว่าจะมขี ้อยกเว้นอยู่ จำนวนมากในกฎของไวยากรณ์ผู้เรียนจะต้องจำให้ได้เพื่อใหส้ ามารถเรียนภาษาไดด้ ี
และสดุ ทา้ ย ปรีชา ศรีวาลยั (ม.ป.ป.: 1) ให้ความหมายของไวยากรณ์วา่ หมายถึงการศึกษาว่าดว้ ยการใช้ภาษา
ให้ ถูกต้อง ไวยากรณภ์ าษาอังกฤษหมายถงึ การศึกษาวา่ ด้วยการใชภ้ าษาอังกฤษให้ถูกต้อง ผ้ทู จี่ ะได้ช่ือว่า เป็น
๑๕
ผู้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการพูด และการเขียนได้ดีต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือระเบียบภาษา เป็นเครื่อง
ชว่ ยเหลอื
ดงั น้ันไวยากรณจ์ ึงหมายถงึ ระเบยี บ กฎเกณฑ์ของภาษาหรอื โครงสร้างของประโยคทชี่ ่วย ใน
การสื่อความหมายของคำต่าง ๆ ในประโยค ไวยากรณ์เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้เพราะ ช่วยให้
สามารถส่ือสารได้เป็นไปตามความตอ้ งการของผู้สือ่ สาร
2.2 บทบาทไวยากรณ์
Krashen (อ้างถึงในธปู ทอง กว้างสวาสดิ์, 2549: 40-41) เหน็ วา่ การเรียนไวยากรณ์ไม่ได้มี
บทบาทอะไรมากนักในการเรียนรู้ภาษา แต่อย่างไรก็ตามไวยากรณ์ก็มีประโยชน์ในการตรวจแก้เพื่อให้ การใช้
ภาษาในการสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากทฤษฎีการปรับแก้จะเห็นว่ากลุ่มที่ใช้ไวยากรณ์ ในการปรับแก้
ในระดับพอดีเท่านั้น ที่จะใช้ประโยชน์จากไวยากรณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่เตือนผู้สอนว่าการ ปรับแก้ควรทำเฉพาะบาง
สถานการณ์เท่านั้น เช่น ในการเขียนหรือการพูดที่เป็นทางการที่ผู้พูดมีเวลา เตรียมตัว ส่วนการใช้ภาษาเพ่ือ
การสื่อสารทั่ว ๆ ไป ผู้สอนไม่ควรเข้าไปแก้ไขข้อผิดพลาด การใช้ ไวยากรณ์ควรให้ผู้เรียนสนทนาหรอื ใช้ภาษา
อย่างมีอิสระ การเรียนไวยากรณ์ก็เช่นเดียวกันผู้สอนไม่ ควรเน้นไวยากรณ์มากเกินไป อย่างไรก็ตามการสอน
ไวยากรณ์แบบเข้มข้นก็มีประโยชน์ในกรณีที่ ผู้เรียนบางคนอาจนำไปใช้ด้วยเหตุผลเฉพาะบุคคล หรือคนท่ี
สนใจด้านน้เี ปน็ พิเศษ เช่นผู้เรยี นที่มีความต้องการท่ีจะเป็นครสู อนภาษาหรือนักภาษาศาสตร์ไวยากรณ์จะเป็น
ส่งิ จำเปน็ ทผ่ี ู้เรยี นตอ้ งรู้ อยา่ งลกึ ซึง้ เพราะต้องใช้ในวชิ าชพี ของตนเอง
ส่าหรี กุลสิริสวัสดิ์ (2547: คำนำ) กล่าวว่า ไวยากรณ์เป็นส่วนหนึ่งของภาษาในประวัติอัน
ยาวนานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเปน็ ภาษาทส่ี อง เราจะเห็นบทบาทของไวยากรณ์อยู่เสมอ ตั้งแต่วิธีการ
สอนแบบไวยากรณ์และการแปล จนกระทั่งถึงวิธีการสอนเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมักจะกล่าว อ้างว่าวิธีการสอนน้ี
ม่งุ เนน้ การส่อื สารและให้ความสำคัญไวยากรณน์ ้อยกวา่ แต่เรากย็ งั คงเห็นบทบาท ของไวยากรณใ์ นวธิ ีการสอน
และบทบาทยิง่ เดน่ ชัดข้ึนในกรณีท่ผี ู้เรียนเรยี นภาษาดว้ ยตนเองด้วยการ เข้าไปอยใู่ นสถานการณ์จริง ๆ ผู้เรียน
จำเป็นตอ้ งมคี วามรู้ดา้ นไวยากรณ์เพอื่ ขดั เกลาประโยคและ เพ่ิมโครงสร้างของประโยค
2.3 ความสำคัญของการสอนไวยากรณ์ มีนักการศึกษาหลาย ๆ ท่านได้ให้ความสำคัญของ
ไวยากรณไ์ ว้ดังน้ี
Waddle (1951, อ้างถึงใน ปราณี วานิชเจริญธรรม, 2524: 13) กล่าวถึงความสำคัญของ
ไวยากรณ์ว่า รู้จักใช้ไวยากรณ์อย่างถูกต้องในการใช้ภาษา ถึงแม้จะใช้ศัพท์มาก ๆ แต่ไม่ถูกไวยากรณ์ ก็ไม่ได้
แสดงว่าเป็นภาษาที่จะสื่อความหมายได้ Harmer (1983: 25) ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าผู้เรียนสื่อสาร ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ผู้เรียนต้องรู้หลักไวยากรณ์(Major Grammatical Concepts) ซึ่งจำเป็นต่อ ผู้ใช้ภาษา ผู้ที่ใช้
ไวยากรณ์ได้อย่างเหมาะสมจำเป็นต้องทราบถึงข้อมูลหรือองค์ประกอบไวยากรณ์ Stoti (1990: 31-32) ได้
กล่าวว่า การเรียนไวยากรณ์นั้นไม่ได้เป็นการเสียเวลา นักเรียนควรได้รับ การเรียนรู้ถึงโครงสร้างของภาษาใน
ขณะที่พวกเขาเรียนรู้การใช้ภาษามิได้หมายความว่า ผู้เรียนจะทำ แบบฝึกหัดโดยไม่ผิด หรือเข้าใจถึง
กฎไวยากรณอ์ ยา่ งถ่องแท้แต่พวกเขาควรทราบวา่ พวกเขากำลงั พูด ภาษาอังกฤษไดอ้ ย่างถูกต้อง ทราบว่าพวก
เขาพดู ผิดและแก้ไขไดเ้ มื่อนำไปใช้ในสถานการณ์จริง Van Syoc (1963) ใหข้ ้อคดิ เหน็ ว่า การเรียนภาษาโดย
๑๖
ไม่เรียนไวยากรณ์ของภาษานั้นเป็นไปไม่ได้แต่การ เรียนรู้กฎเกณฑ์ไวยากรณ์เท่านั้น ก็ไม่มีประโยชน์นอกเสีย
จากว่านักเรียนจะสามารถใช้รูปไวยากรณ์เหล่านัน้ ได้ในสถานการณ์ที่ถูกต้อง Muhammed (2001 อ้างถึงใน
ฐิตินันท์ กล้ารบ) ให้แนวคิดว่า การสอนไวยากรณ์ในการเรียนภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศ สามารถ
พัฒนาความสามารถทาง ภาษาให้กับผู้เรียนได้และความรู้ด้านกฎเกณฑ์ไวยากรณ์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ
ความสามารถ ทางด้านการส่ือสารอีกด้วย ระววิ รรณ ศรคี รา้ มครนั (2539) กล่าวถึงความสำคัญของไวยากรณ์
วา่ ใน การสอนไวยากรณน์ นั้ มิไดม้ ุง่ เน้นให้ผู้เรียนจดจำกฎเกณฑห์ รือหลักของไวยากรณ์ได้อย่างข้ึนใจ แต่ เน้น
ที่จะให้ผู้เรียนจดจำรูปแบบ ลักษณะและโครงสร้างประโยค โดยการฝึกให้เกิดความเคยชิน ดังนั้น กฎเกณฑ์
ทางไวยากรณ์จะไม่มีความสำคัญเท่ากับการมุ่งให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจกฎเกณฑ์ของ ไวยากรณ์และสามารถ
นำไปใชใ้ นรูปของประโยคอย่างถูกตอ้ ง
สุภัทรา อักษรานุเคราะห์ (2532: 3-4) ให้แนวคิดว่า การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาตา่ งประเทศไม่ได้มุง่ เนน้ ให้ผูเ้ รียนเรียนรู้กฎไวยากรณเ์ พยี งอย่างเดียวแต่เน้นการใชภ้ าษาเพ่ือ การสื่อสาร
ในสถานการณ์จรงิ โดยผูเ้ รยี นจำเป็นต้องมีความสามารถทางการสื่อสารดา้ นต่าง ๆ ดงั น้ี
1. ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์หรือตามหลักไวยากรณ์
(Linguistic or Grammatical Competence) คือความรู้เกี่ยวกับระบบเสียง (Phonology) คำศัพท์
(Vocabulary) และไวยากรณ์ (Grammar) โดยรู้ว่าประโยคใดถูกประโยคใดผิดตามหลักไวยากรณ์ และ
สามารถใช้และแกไ้ ขประโยคน้นั ๆ ให้ถกู ต้องได้
2. ความสามารถทางสังคมภาษาศาสตรส์ ามารถใช้ภาษาอย่างถูกต้องตามระเบียบของ สังคม
(Sociolinguistic Competence) คือมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย
วัฒนธรรม สถานภาพทางสังคม และบทบาทของบุคคลในสังคมโดยสามารถ เลือกใช้ภาษาได้ถูกต้องและ
เหมาะสม
3. ความสามารถในการใช้ความสัมพันธ์ของข้อความ (Discourse Competence) หมายถึง
ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประโยค โดยใช้ความรู้ทางไวยากรณ์และความสามารถในการ เชื่อมโยง
ความหมายทางภาษาให้เข้ากนั ไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ ง
4. ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (Pragmatic Competence or
Strategic Competence) หมายถึงความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การใช้กิริยาท่าทาง สีหน้า
นำ้ เสยี งประกอบการสอ่ื ความหมาย
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าไวยากรณ์มีความสำคัญต่อการศึกษาเกี่ยวกับภาษา การที่ผู้เรียน
ทราบถึงหลักไวยากรณ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง สื่อสารได้ตรงประเด็นที่ ต้องการ มี
ความเข้าใจตรงกันทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร และความรู้ทางไวยากรณ์ช่วยให้ผู้เรียนสามารถ ตรวจสอบได้ว่า
ภาษาหรือรปู ประโยคทใี่ ชถ้ กู ต้องหรือผดิ และสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้
2.4 ความสำคญั ของการสอนไวยากรณ์
จนิ ตนา สจุ จานนั ท์ (2551: 3-7) สรปุ วา่ นักภาษาศาสตร์ได้แบง่ ชนดิ ของไวยากรณ์ออกเป็น
3 ประเภท คอื Traditional Grammar Structural Grammar และTransformational Grammar
๑๗
2.4.1 Traditional Grammar (ไวยากรณ์แบบเก่า) นักภาษาศาสตร์กลุ่มน้ี วิเคราะห์
ภาษาอังกฤษ โดยอาศยั แนวจากภาษากรกี และละตนิ ไดพ้ ยายามใชช้ ่อื และนยิ ามของคำโดยดู จากหนา้ ทีข่ องคำ
นกั ภาษาศาสตร์ไดแ้ บง่ ชนดิ ของคำ (Part of Speech) ในภาษาองั กฤษออกเป็น 8 ชนิดดว้ ยกนั คอื
1) คำนาม (Noun) เป็นคำเรียกชื่อคน สัตว์สิ่งของ หรือสภาวะหรือสถานการณ์ใด
สถานการณ์หน่งึ เชน่ Sister Telephone Dog Rat
2) คำสรรพนาม (Pronoun) เป็นคำใช้แทนคำนามเพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้น
ซ้ำ ๆ กัน เชน่ I You We They He She They We It
3) คำกริยา (Verb) เปน็ คำแสดงอาการต่าง ๆ เชน่ Kick Speak Think นอกจากน้ัน
คำกริยาอาจจะเป็นกลุ่มของคำก็ได้ซึ่งประกอบด้วยกริยาแท้และกริยาช่วย เช่น Have been traveling หรือ
Are talking เปน็ ตน้
4) คำคุณศัพท์ (Adjective) เป็นคำหรอื กลุ่มคำทขี่ ยายคำนาม เช่น High Ugly
5) คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เป็นคำขยายกริยา (Verb) ขยายคำคุณศัพท์
(Adjective) หรือขยายคำกรยิ าวเิ ศษณด์ ้วยกัน เช่น Run Quickly, Sleep tight, Extremely Beautiful
6) คำบุพบท (Preposition) เป็นคำที่บอกถึงความสัมพันธ์ของสถานที่ เวลา หรือ
ทิศทาง ระหว่างคำนามทีต่ ามหลงั คำบุพบทน้นั กับคำอน่ื ๆ ในประโยคเชน่ on the table หรอื in the box
7) คำสนั ธาน (Conjunction) เปน็ คำท่เี ชื่อมคำหรือเชื่อมประโยคกับประโยคซ่ึงจะมี
อยู่ 3 ประเภท คือ Coordinating conjunction เชน่ and, but, for, yet, so Subordinating conjunction
เช่น although, because, if Correlative conjunction เช่น either….or , neither.. nor, both …. And
8) คำอุทาน (Interjection) เป็นคำที่ไม่เกี่ยวข้องทางไวยากรณ์กับกลุ่มคำใน
ประโยค เชน่ Oops, Ough, Oh my god
2.4.2 Structural Grammar (ไวยากรณแ์ บบโครงสร้าง) ปลายศตวรรษท่ี 18 ถึง 19 มี
การศึกษาความหมายของคำและความสัมพันธ์ของโครงสร้างของประโยคในหลายภาษาเพื่อเปรียบเทียบกัน
นักภาษาศาสตร์พยายามอธิบาย จัดหมวดหมู่ และสร้างกฎตา่ ง ๆ จากข้อมลู ดบิ ทาง ภาษาทีไ่ ดไ้ ปศกึ ษาจริงกับ
ชุมชนที่ใช้ภาษานั้น นักภาษาศาสตร์กลุ่มนี้ได้พยายามเน้นโครงสร้างของ ประโยคมากกว่าความหมาย นั่นคือ
นกั ภาษาศาสตร์กลุ่มโครงสร้างวิเคราะห์ความหมายโดยอาศยั รปู แบบประโยค เช่น หนว่ ยของคำท่ีเกิดใกล้กัน
นอกจากหน่วยของคำ (Morphology) และ โครงสร้างของประโยค (Syntax) นักศึกษากลุ่มโครงสร้างยัง
พัฒนาเทคนิคในการวิเคราะห์ภาษา ออกเป็น 3 แบบ คือ 1) Test Frame 2) Immediate - Constituent
Analysis 3) Sentence Formulas
1) Test Frame คือ ช่องว่าง (Blank) ในประโยคซึ่งจะเติมด้วยตัวอย่างคำจำพวก
เดียวกนั เช่น นาม (Noun) หรือคำคณุ ศพั ท์ (Adjective) เปน็ ตน้
2) Immediate - Constituent Analysis เทคนิคอันนี้สามารถเรียกสั้น ๆ ว่า IC-
Analysis ความคิดหลักของการวิเคราะห์แบบนี้คือ ประโยคมาจากกลุ่มคำซึ่งมักจะเกิดเป็นคู่มากกว่าการวาง
คำ เดี่ยว ๆ เรียงต่อกันจนเป็นประโยค ตัวอย่างเช่น the girl looks at the bar on the corner of the
๑๘
street. นักภาษาศาสตร์พบว่า คำในภาษาอังกฤษที่วางใกล้กันนั้นมีความสัมพันธ์ต่อการให้ ความหมาย
ตำแหน่ง และลำดับการวางคำก่อนหลังจะมีความสัมพันธ์ต่อการให้ความหมายของ ประโยค เพราะจะช่วย
บอกวา่ ส่วนใดเป็นสว่ นหลกั และมีสว่ นใดเปน็ สว่ นขยายบา้ ง
3) Sentence Formulas จากการศึกษา IC- Analysis นักภาษาศาสตร์กลุ่ม
โครงสรา้ งได้ พัฒนาโครงสรา้ งขัน้ พ้ืนฐานของประโยคไว้4 แบบดว้ ยกัน
1. Type 1 N/P + V - The girl smiles.
2. Type 2 N/P + V + adj - The girl is lovely.
3. Type 3 N/P + V + N/P - The girl eats cake.
4. Type 4 N/P + V + N/P1 + N/P2 - The girl showed me her
necklace.
2.4.3 Transformational Grammar (ไวยากรณ์แบบปริวรรต) นักภาษาศาสตร์ กลุ่ม
ปริวรรตเชื่อว่า ทุกภาษามีโครงสร้างลึก (Deep Structure) เป็นส่วนที่บอกความหมายและ โครงสร้างพื้นผิว
(Surface Structure) ซ่ึงจะอยู่ในรปู ของการพดู หรอื การเขยี น โครงสรา้ งทง้ั 2 ตา่ งกัน เนือ่ งจากผ่านขบวนการ
Transformational Generative Process คือ การปริวรรต ขบวนการปริวรรตนี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
1. Phrase – Structure rules หรือ Tree Diagram และ 2. Transformational Model เพื่อประโยชน์ของ
การศึกษาการเรียนการสอน โครงสร้างไวยากรณภ์ าษาอังกฤษ ซ่ึงขบวนการปรวิ รรตเบื้องต้นมีวธิ ีการอยู่ 4 วิธี
ดังน้ี
1) Moment or Permutation คือ การย้ายท่เี พอื่ อธิบายวา่ ขบวนการนีเ้ ป็นอย่างไร
เช่น Jerry is a policeman. และเปรียบเทียบประโยคนี้กับประโยคคำถามซึ่งสร้างได้โดยการวางกริยา is ไว้
หนา้ คำนาม Jerry คือ Is Jerry a policeman? เพียงสลบั ทีเ่ ท่านน้ั ก็ทำให้ความหมายเปลย่ี นจาก ประโยคบอก
เล่าเปน็ ประโยคคำถาม
2) Substitution or replacement คือ การเอาส่วน ประกอบหนึ่งมาแทนที่อีก
ส่วนประกอบหนึ่ง เช่น ในประโยค Jerry is a policeman. เป็น He is a policeman. โดยใช้He วางแทนที่
Jerry
3) Deletion คือ การลดส่วนประกอบที่มีอยู่เนื่องจากเป็นที่เข้าใจกันแล้วว่า
หมายความถงึ อะไร เช่น ในประโยคคำถามว่า Is he a policeman? ประโยคคำตอบของประโยคคำถามน้ีคือ
Yes, he is . จะเห็นว่า a policeman ได้ถูกลดรูปไปจากคำตอบ การพูดซ้ำคำว่าa policeman นั้น ถือว่า
เปน็ การไม่จำเปน็ เพราะผพู้ ูดและผูฟ้ ัง (ค่สู นทนา) สามารถเขา้ ใจได้จากบรบิ ท (Context)
4) Addition คือการเพิ่มส่วนประกอบ เช่นในประโยค Jenny drinks lemonade.
คำกริยาท่ีใช้กบั บุรุษที่ 3 เอกพจนจ์ ำเป็นต้องเติม –s ลงไปทีท่ า้ ยคำกริยา เปน็ การสรา้ งรูปของกริยา ให้เข้ากับ
ประธานตามการสมยอมของคำซึ่งเป็นกฎทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ หรือในประโยค Does Jenny drink
lemonade? การใส่กริยาชว่ ย do เพิม่ เขา้ ไปในประโยคเมื่อเวลาสร้างประโยคคำถาม และคำกริยาช่วย do น้ี
๑๙
ต้องเติม - es เป็น does เพื่อให้เป็นไปตามกฎการสมยอมคำในภาษาอังกฤษ จากนั้นก็ย้ายที่ does มาวางไว้
หนา้ สุด กเ็ ป็นการสรา้ งรูปประโยคคำถามที่เป็นทีย่ อมรับกันตามกฎทางไวยากรณ์
3. ทฤษฎคี อนสตรัคติวสิ ต์และการสอนทเี่ ก่ยี วข้อง
3.1 สาระสำคัญของทฤษฎีคอนสตรัคตวิ สิ ต์ (Constructivist Theory)
ทฤษฎีที่นำมาเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ของผู้เรียน ซึ่งถ้า พิจารณาจากรากศัพท์
“Construct” แปลว่า “สร้าง” โดยในที่นี้หมายถึงการสร้างความรู้โดยผู้เรียน นั่นเอง ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เชื่อว่า การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเปน็ ผู้สร้าง
ความรู้ โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นใน สิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับ
ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็น ความเข้าใจของตนเอง หรือ เรียกว่า โครงสร้างทางปัญญา
(Cognitive structure) หรือที่เรียกว่า สกีมา (Schema) ซึ่งนั่นคือ ความรู้ นั่นเอง ซึ่งอาจมิใช่เป็นเพียงการ
จดจำสารสนเทศมาเท่านั้น แต่ละ บุคคลจะนำประสบการณ์เดิม หรือความรู้ความเขา้ ใจเดิมที่ตนเองมีมาก่อน
มาสร้างเป็นความรูค้ วาม เขา้ ใจท่ีมคี วามหมายของตนเองเกีย่ วกบั ส่งิ น้ัน ๆ ซงึ่ แตล่ ะบคุ คลอาจสรา้ งความหมาย
ทแ่ี ตกต่างกัน เพราะมีประสบการณ์ หรือ ความรู้ความเขา้ ใจเดมิ ท่แี ตกตา่ งกนั (อนุชา โสมาบุตร, 2556)
กล่าวโดยสรุปว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการสร้างความรู้ เกิดขึ้นจาก
กระบวนการภายในผู้เรียน โดยนำประสบการณ์เดิมมาเชื่อมโยงกับสิ่งที่พบเห็น หรือสิ่งแวดล้อม เกิดเป็น
ความรใู้ หมท่ ีเ่ ข้าใจอยภู่ ายในความคิดตนเอง ซึ่งความคดิ เหล่าน้อี าจแตกต่างกนั ในแต่ละบคุ คล
3.2 แนวคดิ พนื้ ฐานของทฤษฎีคอนสตรคั ติวสิ ต์
อนุชา โสมาบุตร ได้ศึกษาแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เป็นรากฐานสำคัญซึ่ง
ปรากฏจากรายงานของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา คือ Jean Piaget ชาวสวิส และ Lev Vygotsky ชาว
รัสเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Cognitive Constructivism และ Social Constructivism มีรายละเอียด
ดงั นี้
1. Cognitive Constructivism มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของ Piaget แนวคิดของทฤษฎีนี้
เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการลงมือกระทำ Piaget เชื่อว่าถ้าผู้เรียน ถูกกระตุ้น
ด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive conflict) หรือเรียกว่าเกิด การเสียสมดุลทาง
ปัญญา (Disequilibrium) ผู้เรียนต้องพยายามปรับโครงสร้างทางปญั ญา (Cognitive structuring) เพื่อให้เข้า
สู่ภาวะสมดุล (Equilibrium) ด้วยการดูดซึม (Assimilation) โดยรับข้อมูลที่ได้มาใหม่จากสิ่งแวดล้อมเอาเข้า
ไปไว้ในโครงสร้างทางปัญญา ซึ่งการปรับเปล่ียน โครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) คือ การเชื่อมโยง
ความรู้เดิมก่อนหน้านี้ที่มีเข้ากับข้อมูลใหม่ จนทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะปรับโครงสร้างทางปัญญาเข้าสู่สภาพ
สมดุล หรือสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เรียกว่าเกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนเอง 2. Social Constructivism มี
พื้นฐานมาจากแนวคิดของ Vygotsky ซึ่งมีแนวคิดสำคัญที่ว่า "ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีบทบาทสำคัญในการ
พัฒนาด้านพทุ ธิปญั ญา"รวมทัง้ แนวคดิ เกี่ยวกบั ศักยภาพ ในการพฒั นาด้านพทุ ธปิ ัญญาที่อาจมขี ้อจำกดั เกี่ยวกับ
ช่วงของการพัฒนาที่รียกว่า Zone of Proximal Development ถ้าผู้เรียนอยู่ต่ำกว่า Zone of Proximal
Development จำเปน็ ท่ี จะตอ้ งไดร้ บั การชว่ ยเหลอื ในการเรยี นรู้ ทีเ่ รยี กวา่ Scaffolding และ Vygotsky เช่ือ
๒๐
ว่าผู้เรียนสร้าง ความรู้โดยผ่านทางการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น ได้แก่ เด็ก กับ ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครูและ
เพื่อน ในขณะท่ีเด็กอยใู่ นบริบทของสงั คมและวัฒนธรรมน้ัน ๆ (Sociocultural context)
สามารถสรุปได้ว่าแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มาจากแนวคิดหลักของนักจิตวิทยา 2 ท่าน
คือ Piaget และ Vygotsky ซึ่งได้แก่ 1) Cognitive Constructivism ของ Piaget ซึ่งเชื่อว่าถ้าผู้เรียน ถูก
กระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา ผู้เรียนจะปรับโครงสร้างทางปัญญาสู่สภาวะ สมดุล 2)
Social Constructivism ของ Vygotsky มีแนวคิดว่าผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้จากการ มีปฏิสัมพันธ์ทาง
สังคมกับผูอ้ น่ื ภายใต้บริบททางสงั คมและวัฒนธรรมนนั้
3.3 แนวคิดสำคญั และองคป์ ระกอบการสร้างความรูข้ องทฤษฎีคอนสตรัคตวิ สิ ต์
3.3.1 แนวคดิ สำคัญของทฤษฎีการเรยี นรู้คอนสตรัคตวิ สิ ต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้าง
ความรู้ได้มี การเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็น สิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความ
เข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด กระบวนการคิด (Cognitive Processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ จากผล
การศึกษาพบว่า ปจั จยั ภายในมสี ่วนชว่ ยทำใหเ้ กดิ การเรียนรูอ้ ยา่ งมคี วามหมาย และความรู้เดมิ มสี ว่ น เกยี่ วขอ้ ง
และเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์(Constructivism) หรือ เรียกช่ือ
แตกตา่ งกนั ไป ไดแ้ ก่ สรา้ งสรรค์ความรนู้ ิยม หรือสรรสรา้ งความร้นู ิยม หรือ การสร้าง ความรู้
Cobb (อ้างถึงใน จิระ ดีช่วย, 2554: 53) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ตามแนวคิด คอน
สตรัคติวิสต์ ว่าเป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่งในการสร้าง รวบรวม ตกแต่งความรู้ ผู้เรียนมี โครงสร้างความรู้ที่
ใช้ในการตีความหมายและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว การเรียนรู้เป็น กระบวนการทางังคม บุคคลที่
แวดล้อมผู้เรียนจะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นผู้เรยี น ผู้ใหญร่ อบ ๆ ตัว ผเู้ รยี น วัฒนธรรมและภาษา เป็นปัจจัยที่
สำคัญมากต่อการเรียนรู้ ทิศนา แขมมณี (2554: 93) ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี คอน
สตรัคติวสต์ว่าเป็นกระบวนการ acting on ไม่ใช่ acting in นั่นคือ ผู้เรียนต้องจัดการกระทำกับ ข้อมูล ไม่ใช่
เพียงรับข้อมูลมา นอกจากกระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการ
ทางสังคมอกี ด้วย การสร้างความรจู้ ึงเปน็ กระบวนการทั้งทางด้านสตปิ ญั ญา และ สังคมควบคู่กัน
จิระ ดีช่วย (2554: 93) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ไว้ว่า เป็น
กระบวนการที่ ช่วยผู้เรียนให้สร้างความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและ
บุคคลอื่น ๆ โดยการเรยี นรทู้ ีอ่ าศยั ความรแู้ ละประสบการณ์เดมิ เปน็ ฐาน
ชนาธิป พรกุล (2554: 72) กล่าวว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กล่าวถึงการเรียนรู้ว่า
เกิดใน บริบทที่ผู้เรียนสร้างความรู้ ในขณะที่ได้รับประสบการณ์จากสถานการณ์ต่าง ๆ ทฤษฎีนี้เกิดจากการ
สงั เกตเรียนรู้ของเด็ก ทส่ี รา้ งความรูโ้ ดยมีการปฏิสัมพนั ธ์แบบต่าง ๆ เช่น ฟงั ชิม ดม สมั ผัส แสดงว่า เด็กสร้าง
ความรูด้ ้วยการมสี ่วนร่วมอย่างตืน่ ตวั กบั สถานการณ์ในชีวิตจริง และมปี ฏิสมั พันธก์ ับ ส่งิ แวดลอ้ ม
อนุชา โสมาบุตร (2556: website) ได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับคอนสตรัคติวิสต์มี
สาระสำคัญดังนี้
๒๑
1. ความรู้ของบุคคลใด คือ โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจาก
ประสบการณ์ ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรือ
อธิบาย สถานการณ์อื่น ๆ ได้ด้วยวิธีการที่ต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่
เดิม
2. นกั เรยี นเปน็ ผ้สู ร้างความรู้สนใจและแรงจงู ใจภายในตนเองเปน็ จดุ เริ่มต้น
3. ครูมีหน้าทีจ่ ดั การให้นักเรยี นได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเอง
ภายใต้ ขอ้ สมมตฐิ านตอ่ ไปนี้
3.1 สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้ง
ทางปัญญา
3.2 ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรอง
เพื่อ ขจัดความขัดแย้งนั้น Dewey ได้อธิบายเกี่ยวกับลักษณะการไตร่ตรอง (Reflection) เป็นการ พิจารณา
อย่างถี่ถ้วนการไตร่ตรองจะเริ่มต้นด้วยสถานการณ์ที่เป็นค่อนข้างจะเป็นปัญหา มีความ ซับซ้อนและยุ่งยาก
เรียกว่า สถานการณ์ก่อนไตร่ตรอง ซึ่งจะจบลงด้วยความชัดแจ้งและกระจ่างที่ สามารถอธิบายสถานการณ์
ดังกล่าวได้ ทำให้เกิดการเรยี นรแู้ ละความพงึ พอใจในผลลัพธท์ ีเ่ กดิ ข้นึ
3.3 การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่
เดิม ภายใตก้ ารมปี ฏิสมั พนั ธท์ างสงั คมกระตุ้นใหม้ ีการสรา้ งโครงสร้างใหมท่ างปญั ญา
3.3.2 แนวคิดสำคญั ของทฤษฎีการเรียนรูค้ อนสตรคั ติวสิ ต์
องค์ประกอบในการสร้างความรู้ของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์นั้น ชนาธิป พรกุล
(2544: 15-18) มีองคป์ ระกอบทส่ี ำคัญ ๆ ดงั น้ี
1). ความรู้เดิมของผู้เรียน ผู้เรียนทุกคนย่อมมีความรู้ติดตัวมา และความรู้นั้นมี
คณุ คา่ พอท่ีจะนำมาใชเ้ ป็นพน้ื ฐานเช่ือมโยงกบั สิง่ ที่จะศึกษาใหม่
2). จดุ มุง่ หมายของการเรยี นรู้ ผเู้ รียนควรมีเป้าหมายในการเรยี นรจู้ ึงจะทำให้มีความ
พยายามหาแนวทางไปสูเ่ ป้าหมายนัน้
3). ขอ้ มูลเฉพาะทเี่ ป็นเรอ่ื งใหม่ ไดแ้ ก่ ข้อเทจ็ จรงิ ประสบการณ์ และความรู้สึก
4). ประสบการณ์เพิ่มเติมที่สร้างความท้าทาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้เดิมและ
ความรู้ ใหมท่ ำการยืนยนั ปฏเิ สธ หรือขยายความส่ิงท่เี ขากำลงั คดิ อยู่
5). กระบวนการสร้างความเข้าใจ หรือกระบวนการทางสติปัญญา ที่ผู้เรียนใชค้ น้ หา
วิธีนำ ข้อมูลใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เดิม โดยที่ผู้เรียนต้องตั้งคำถามกับตัวเอง มีการไตร่ตรอง ได้ทำการ
อภิปรายกับผู้อื่น มีข้อโต้แย้งแล้วจึงลงข้อสรุป จากแนวคิดข้างต้นนี้จึงสรุปได้ว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็น
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ช่วยให้ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ จากประสบการณ์เดิม ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์
แลกเปลี่ยน ความคิด และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้เรียน จนเกิดเป็นความรู้และความเข้าใจ
สามารถ จัดการกับปญั หาได้ ซึ่งความรทู้ ่เี กดิ มาน้ีเปน็ ความรทู้ ยี่ ่ังยนื และนำไปใชไ้ ดใ้ นชีวิตจรงิ
๒๒
3.4 ส่ิงแวดล้อมทางการเรียนรูต้ ามแนวคดิ คอนสตรัคตวิ สิ ต์
อนุชา โสมาบุตร (2556) กล่าวว่าต่อไปนี้คือลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตาม
แนวคิดของทฤษฎคี อนสตรคั ติวสิ ตโ์ ดยเน้นเกีย่ วกบั
1) ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning are active) ความสำคัญของการเรียนตาม
แนวทฤษฎี คอนสตรัคตวิ สิ ซึม เปน็ กระบวนการ ท่ผี ้เู รยี นบรู ณาการข้อมลู ใหม่กับประสบการณท์ ี่มีมา กอ่ นหรือ
ความรเู้ ดิมของผู้เรียน และสง่ิ แวดล้อมทางการเรียนรู้แนวคิดท่หี ลากหลายเปน็ สงิ่ ทม่ี ีคา่ และ จำเป็น (Multiple
perspective are valued and necessary) ตามแนวทางทฤษฎคี อนสตรคั ตวิ สิ ต์ กล่าววา่ ผเู้ รียนจะตอ้ งสรา้ ง
แนวคิดของตนเอง แนวคิดนี้จำเป็นต้องประกอบด้วยแนวคิดที่หลากหลาย และ กว้างขวาง อาจมาจาก
แหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ เช่น ครู กลุ่มเพื่อน นักเขียน และหนังสือ เป็นต้น ทฤษฎีคอน
สตรัคติวิสต์ส่งเสริมให้ผู้เรียนรวบรวมแนวคิดที่หลากหลายและ สังเคราะห์สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดที่บูรณาการ
ขนึ้ มาใหม่
2) การเรียนรู้ควรสนับสนุนการร่วมมือกันไม่ใช่การแข่งขัน (Learning should support
collaboration, not competition) จากการแลกเปลี่ยนแนวคิดที่หลากหลายนั้นหมายถึงการ ร่วมมือ ใน
ระหว่างท่มี กี ารร่วมมือ ผูเ้ รียนตอ้ งมีการสนทนากบั คนอื่น ๆ เกย่ี วกับเรือ่ งที่กำลงั เรียนรู้ กระบวนการนีค้ อื การ
ร่วมมือและแลกเปลี่ยน หรือการแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ซึ่งเป็นการทำให้ผู้เรียน ตกผลึกและกลั่นกรองสิง่ ทีส่ รา้ งขึ้น
แทนความรู้ภายในสมอง มาเป็นคำพูดที่ใช้ในการสนทนา ที่แสดงออกมาภายนอกที่เป็นรูปธรรม และส่งเสริม
การสังเคราะห์ความรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และการสร้างความหมายในการเรียนรู้ของตนเอง ดังนั้น
สง่ิ แวดลอ้ มทางการเรยี นรูท้ จี่ ัดใหม้ ี การรว่ มมอื กนั จะเปน็ การส่งเสริมการสร้างความรู้ซ่งึ เป็นส่ิงที่มีความจำเป็น
จำเปน็ ต่อการเรยี นรู้
3) นำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้ทีต่ รงกับสภาพที่เป็นจริงหรือประสบการณ์การเรียนร้ใู น
ชีวิตจริง (Provides authentic, real-world learning experiences) ความรู้ที่ถูกแยกออกจาก บริบทใน
สภาพจริงในระหว่างการสอนสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สภาพจริงนั้น มักจะเป็น สิ่งที่ไม่มี ความหมายต่อผู้เรียน
มากนัก แต่สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎคี อนสตรัคติวิสต์ ที่จัด สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทอ่ี ยู่ในบริบทของสภาพจริง ดงั น้นั ประสบการณ์ การเรยี นรู้ทีป่ ระยุกต์ไปสู่ปัญหาในชีวิต
จริง (Real world problems)จะชว่ ยสรา้ งการเช่ือมโยงท่ี แขง็ แกรง่ และสง่ ผลใหผ้ เู้ รียนสามารถประยุกต์ส่ิงที่
ได้เรยี นไปสู่สถานการณใ์ หมใ่ นสภาพชีวติ จรงิ ได้
สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มี
ลักษณะสำคัญสามประการ ประการแรก ผู้เรียนต้องลงมือกระทำเอง ต้องสร้างแนวคิดของตัวเองซ่ึง ความรู้ที่
ผู้เรียนได้มาอาจมากจากการหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ครู เพื่อน สิ่งแวดล้อมรอบตัว ประการ ที่สอง การ
เรียนรู้ตอ้ งสนับสนุนการร่วมมือกันไมใ่ ช่แข่งขัน ผู้เรียนตอ้ งแลกเปล่ียนความเหน็ กับ คนรอบตัวเพื่อให้เกิดการ
ตกผลึกความรู้ และประการสุดท้าย ประสบการณ์ในการเรียนรู้ต้องมาจาก สิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงเพื่อให้
ผเู้ รียนสรา้ งองคค์ วามรู้ได้ชัดเจนสามารถประยุกตใ์ ช้ในชีวิตจรงิ ได้
๒๓
3.5 การจัดการเรยี นรู้ตามแนวคดิ คอนสตรัคติวิสต์
เทิดศักดิ์ เป็ดทอง (2561: 37) กล่าวว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ไม่ใช่ทฤษฎี หรือแนวคิด
เชิงการสอน แต่เป็นทฤษฎีที่อธิบายความหมายของการเรียนรู้ และกระบวนการความเป็นมาของ ความรู้
ดังนั้น การนำทฤษฎีนี้ไปใชจ้ ึงจำเป็นต้องพจิ ารณาตามแนวทางและการประยุกต์นำไปใช้อย่าง เหมาะสม ดังท่ี
Bednar (1991 อ้างถึงใน เทิดศักดิ์ เป็ดทอง. 2561)ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญ เบื้องต้นว่า การสร้างการ
เรียนรู้ (Constructed Learning) ความรู้จะถูกสร้างจากประสบการณ์ การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างสิ่ง
แทนความรู้ (Representation) ในสมอง การเรียนรูเ้ ปน็ การแปล ความหมายตามสภาพจริงของแตล่ ะคน การ
เรยี นรู้ได้มาจากผลลัพธข์ องการแปลความหมาย ตาม ประสบการณ์ของแต่ละคน การเรียนรู้เกดิ จากการลงมือ
กระทำ การเรยี นรเู้ ป็นการท่ผี ู้เรยี นไดล้ งมือ ทำโดยอาศัยพ้นื ฐานของประสบการณ์เดิม การพฒั นาความคดิ รวบ
ยอดของตนเอง ได้มาจากการ แบ่งปันความคิดภายในกลุ่ม ขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนการสร้างสิ่งที่แทน
ความรู้ในสมอง (Knowledge Representation) ที่สนองตอบต่อแนวคิดที่หลากหลายนั้น หรือกล่าวได้ว่า
ขณะที่มี การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้โดยการเสนอความคิดเห็นผู้เรียนจะมีการปรับเปลี่ยน
โครงสร้างความรู้ของตนด้วยและสร้างความหมายของตนเองขึ้นมาใหม่ Nick Selly (1999 อ้างถึงใน กรม
วชิ าการ และกระทรวงศกึ ษาธกิ าร, 2545: 156-157) ไดอ้ ธบิ ายแนวการสอนคอนสตรัติวิสต์ ว่า มีเป้าหมาย
รวม ระยะยาวมีการส่งเสริมความสามารถทางสมองของนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมด้าน ปฏิภาณ ความคิด
สร้างสรรค์และความคล่องแคล่ว การสอนที่ประสบความสำเร็จ ทำให้นักเรียนมี ความเข้าใจ มีวิสัยทัศน์
กว้างไกล สามารถสื่อสาร และเชื่อมโยงความรู้ได้ สอดคล้องกับทิศนา แขมมณี (2554 : 94-96) ที่ได้กล่าว
โดยสรปุ ว่า การจัดการเรียนรทู้ ่เี น้นให้ผเู้ รยี นปฏบิ ตั จิ ริง ครตู อ้ งเป็นตัวอยา่ ง และฝกึ ฝนการเรียนร้ใู ห้ผู้เรียนเห็น
ผู้เรียนต้องสร้างความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกิจกรรม การใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้คุ้นเคย กระทำกับความรู้
เกิดเป็นความเข้าใจ ครูต้องให้ความร่วมมือ ช่วยอำนวย ความสะดวก การประเมินผลต้องมีลักษณะที่
หลากหลาย เน่ืองมาจากความแตกต่างกันทางการสรา้ ง ความรู้ การวดั ผลตอ้ งใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริง
ด้วย เกณฑท์ ใี่ ชค้ วรเปน็ เกณฑใ์ นโลกของ ความเปน็ จริง
จิระ ดีช่วย (2554) ได้กล่าวเกี่ยวกับการนำทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ไปประยุกต์ใช้เพ่ือ
พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนว่า ผู้สอนต้องอำนวยความสะดวก ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้อง จัดบรรยากาศ
ทางกายภาพ และจิตวิทยาในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้ใช้ประสาทสัมผัส การเรียนรู้และทักษะการ
เรียนรู้ในการสัมผัสและสัมพันธ์กับข้อมูลที่ผ่านเข้ามา สร้างความเข้าใจจาก ความรู้เดิม เป็นองค์ความรู้ของ
ตนเอง
เทิดศักดิ์ เป็ดทอง (2561: 40) กล่าวว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี คอน
สตรัคติวิสต์นั้น ผู้สอนต้องจัดชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ในชั้น จัดกิจกรรม ที่ต้องตาม
ความต้องการผู้เรียน เน้นการสร้างความเข้าใจ ลงมือทำ ผ่านสถานการณ์ปัญหา ร่วมมือกัน แก้ปัญหาโดยให้
ความสำคัญกับกระบวนการคิด มากกว่าคำตอบ มีการนำความรู้ไปบูรณาการและ ปรับใช้ได้จริงของผู้เรียน
โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ให้คำปรึกษา และประเมินผลการเรียนรู้
อย่างหลากหลาย และยตุ ธิ รรม
๒๔
จากแนวคิดของนกั วชิ าการทางการศึกษา สามารถสรปุ แนวทางการจดั การเรยี นรู้ได้วา่ ผู้สอน
ต้องคอยดูแลและอำนวยความสะดวก โดยจัดชั้นเรียนที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จัก การคิด
อย่างเป็นระบบและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นโดยการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิด ไขข้อสงสัย เพ่ือ
นำไปสู่การสรา้ งองคค์ วามรู้ใหม่ และประเมนิ ผลในขั้นสุดทา้ ยให้สอดคลอ้ งกบั กิจกรรมทท่ี ำ
3.5 กระบวนการจดั การเรยี นรู้ตามทฤษฎคี อนสตรคั ตวิ สิ ต์
Driver and Bell (1986: 443-456) ได้เสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี
คอนสตรคั ตวิ ิสตด์ ังนี้
1. ขั้นนำ (Orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียน
บทเรยี น
2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Elicitation of Prior Knowledge) เป็นขั้นท่ีผู้เรียนแสดงออกถึง
ความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนขั้นนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive
Conflict)
3. ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิด (Turning Restructuring of Ideas) เป็นหัวใจที่สำคัญตาม
แนวคดิ ทฤษฎคี อนสตรคั ติวสิ ตซ์ ่งึ ประกอบด้วยข้นั ตอนย่อยดังน้ี
3.1 ทำความกระจา่ งและแลกเปลีย่ นเรียนรรู้ ะหว่างกนั และกนั
3.2 สร้างความคิดใหมจ่ ากการอภปิ รายเสนอความคิดเห็นผู้เรียนจะเห็นแนวทางหรอื
วิธกี ารท่หี ลากหลายในการแกไ้ ขสถานการณป์ ญั หาหรอื เหตุการณแ์ ลว้ กำหนดความคิดใหม่หรือความรู้ ใหม่
3.3 ประเมินความคิดใหม่เป็นการทดลองหรือการคิดอย่างลึกซึ้งซึง่ ผู้เรียนควรหาและ
สรุปเลอื กแนวทางท่ีดที ่ีสดุ ในการทดสอบความคิดหรอื ความรู้ใหมร่ ว่ มกนั ทงั้ กลุ่ม
4. ขั้นนำความคิดไปใช้ (Application of Ideas) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนจะได้ใช้แนวคิดหรือ
ความรู้ความเข้าใจทพ่ี ัฒนาข้ึนมาใหม่ในสถานการณป์ ัญหาตา่ ง ๆ ท่คี ุน้ เคยและไมค่ ุ้นเคย
5. ขั้นทบทวน (Review) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่าความคิดความเข้าใจ
ของเขาได้เปลี่ยนไปโดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของเขาเมื่อสิ้นสุด บทเรียน
ความรู้ที่ผู้เรียนสรา้ งด้วยตนเองนั้นจะทาให้เกิดโครงสร้างทางปัญญาปรากฏในชว่ งความจำ ระยะยาวและเป็น
การเรียนรู้อย่างมีความหมาย
นอกจากนี้ บญุ เชดิ ภญิ โญอนันตพงษ์ (2540) ไดส้ ังเคราะห์ข้ันตอนในการสอน คณติ ศาสตร์
ตามแนวคดิ ทฤษฎีคอนสตรคั ตวิ สิ ตด์ งั นี้
1. ขั้นปฐมนิเทศ ครูให้โอกาสนักเรียนสร้างจุดมุ่งหมายและแรงจูงใจการเรียนรู้ในเนื้อหาที่
กำหนด
2. ขั้นทำความเข้าใจ นักเรียนปรับแนวคิดปัจจุบัน ในหัวข้อของบทเรียนให้ชัดเจนซ่ึง
สามารถทำได้โดยทำให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่นการอภิปรายกลุ่มเล็กออกแบบแผ่นโปสเตอร์ และการ
เขยี นรายงาน
3. ขั้นจัดโครงสร้างแนวคิดใหม่ เป็นหัวใจสำคัญของการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ซึ่งมี
ขน้ั ตอนยอ่ ยดงั น้ี 1 ทำแนวคดิ ใหก้ ระจา่ งชดั เจนและแลกเปล่ียนกนั 2. สร้างแนวความคดิ ใหม่ 3. ประเมนิ
๒๕
4. การนำแนวความคิดไปใช้ขั้นนี้ครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนนำแนวความคิดของตนเองที่
สร้างขึน้ ไปใชใ้ นสถานการณต์ ่าง ๆ ทห่ี ลากหลายท้ังท่คี ุน้ เคยและแปลกใหม่
5. การทบทวนขั้นตอนสุดท้าย ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสะท้อนแนวความคิดของตนเองว่า
ได้เปลีย่ นแปลงไปอย่างไร โดยการวาดภาพเปรียบเทียบระหว่างความคดิ ของตน ตอนเร่มิ เรยี นใน บทเรียนน้ัน
กับตอนสนิ้ สดุ การเรียนในบทเรียนนั้นไดจ้ ริง
วราภรณ์ สีดำนิล (2550: 123-125) ได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของ
นักเรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 2 โรงเรียนวัดท่าไชย (ประชานุกูล) ด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎี
การสร้างความรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสร้างความสนใจ โดยใช้คำถามกระตุ้นให้มุ่งความสนใจไปสู่เรื่องที่กำลังจะเรียน
สถานการณ์ในขัน้ นี้เปน็ การเชอื่ มโยงความรูข้ องนักเรยี นที่มอี ย่โู ดยใหน้ ักเรียนได้ฝึกระดมความคิด
2. ขั้นอภิปราย เป็นขั้นตอนของการนำคำตอบที่นักเรียนนำเสนอมาฝึกคิดวิเคราะห์รู้จักใช้
เหตุผลและสามารถตง้ั สมมตฐิ านเพือ่ สง่ เสริมใหน้ ักเรยี นไดฝ้ กึ คิดแกป้ ัญหา
3. ขั้นสำรวจและค้นหา เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้แนวคิดที่มีอยู่แล้ว มาจัด
ความสัมพันธ์กับหัวข้อที่กำลังเรียนโดยฝึกการสืบค้นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนเป็น
ผดู้ ำเนินการภายในกลุม่ ของตนเองเพ่ือส่งเสรมิ ให้นักเรยี นร้จู ักตดั สินใจและแก้ปญั หา
4. ขั้นอธิบาย โดยให้นักเรียนได้นำเสนอข้อค้นพบ ที่ตนได้จากการดำเนินกิจกรรม โดยบอก
ว่าค้นพบอะไรบ้าง อธิบายแนวคิดของกลุ่มเพื่อฝึกทักษะการสื่อความหมาย ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น หรือ
ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมการทดลอง
5. ขั้นคิดค้นเพิ่มเติม เป็นขั้นที่ครูจัดสถานการณ์ใหม่โดยให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจ ใน
แนวคิดที่ได้ค้นพบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นการฝึกให้นักเรียนได้ปรับ เสริมและถ่ายโยงความคิดให้ มีความชัดเจน
ยิง่ ข้ึน
6. ขั้นสรุปและประเมิน โดยให้นักเรียนได้สะท้อนตนเอง ว่าแนวคิดของตนเปลี่ยน ไปจาก
เดิมก่อนเรียนรู้อย่างไรโดยนำเสนอความรู้ความเข้าใจจากเรือ่ งที่ได้เรียน และสรุปเป็นความคิด รวบยอดหรือ
มโนทัศนโ์ ดยครูเปิดโอกาสให้นักเรยี นได้ประเมนิ ตนเองและตรวจสอบความเขา้ ใจ ในภาพรวมดว้ ย
ทิศนา แขมมณี (2554: 282 - 284) ได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปา
(CIPPA Model) หรอื รูปแบบประสานห้าแนวคดิ โดยสังเคราะหแ์ นวคิดต่าง ๆ ในการจดั การเรียนรู้ ในลกั ษณะ
ทใ่ี หผ้ ูเ้ รียนเปน็ ผู้สรา้ งความรู้ดว้ ยตนเอง อันมฐี านคิดจากทฤษฎีการสร้างความรู้ ดังนี้
1. การทบทวนความรู้เดิม โดยขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียน ในเรื่องที่จะเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้ วิธีการต่าง ๆ ได้
อยา่ งหลากหลาย
2. การแสวงหาความรู้ใหม่ เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียน จากแหล่ง ข้อมูล
หรือแหล่งความรู้ตา่ ง ๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียน หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับ แหล่งข้อมูลตา่ ง ๆ เพื่อให้
ผู้เรยี นไปแสวงหากไ็ ด้
3. การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล หรือความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่ได้กับความรู้
เดมิ ขน้ั น้เี ป็นข้นั ท่ีผู้เรียน จะตอ้ งศกึ ษา และทำความเขา้ ใจกับข้อมูล หรือความร้ทู หี่ ามาไดผ้ ู้เรยี น จะต้องสร้าง
๒๖
ความหมายของข้อมูล ประ/สบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด
และกระบวนการกลุ่ม ในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการ
เชื่อมโยงกบั ความรู้เดมิ
4. การแลกเปลย่ี นความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นข้นั ท่ผี เู้ รยี นอาศัยกลมุ่ เปน็ เคร่ืองมือ ในการ
ตรวจสอบความรู้ความเขา้ ใจของตน รวมทัง้ ขยายความรู้ความเขา้ ใจของตนให้กวา้ งขน้ึ ซ่ึงจะช่วยให้ผู้เรียน ได้
แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผอู้ ่ืน และไดร้ ับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผอู้ ื่นไปพร้อม ๆ กนั
5. การสรุปและจัดระเบียบความรู้ เป็นขั้นตอนของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมดทั้งความรู้
เดมิ และความรู้ใหม่ และจัดสิง่ ทเี่ รยี นใหเ้ ปน็ ระบบระเบียบ เพอ่ื ชว่ ยให้ผู้เรียนจดจำสงิ่ ที่เรียนรไู้ ด้งา่ ย
6. การปฏิบัติ และ หรือการแสดงผลงาน หากสงิ่ ที่ได้เรียนไม่มีการปฏิบตั ิในความรู้ที่เรียนมา
ขน้ั นี้จะช่วยให้ผูเ้ รยี นได้แสดงผลงานของตวั เองสู่โลกภายนอก ทำให้ผู้เรยี นมีความคิดสร้างสรรค์และ เข้าใจสิ่ง
ทีเ่ รยี นมากข้ึน แตห่ ากต้องมีการปฏบิ ัตติ ามข้อความรู้ที่ได้ ขน้ั นีจ้ ะเป็นขัน้ ปฏบิ ัติ และ แสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติ
ด้วย
7. การประยุกตใ์ ช้ความรู้เป็นข้นั ของการสง่ เสรมิ ให้ผู้เรียนไดฝ้ ึกฝนการนำความรู้ ความเข้าใจ
ของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการ
แกป้ ญั หาและความจำในเรื่องนั้น ๆ
นอกเหนือจากนี้ เทิดศักดิ์ เป็ดทอง (2561: 50) ได้สร้างขั้นตอนการจัดการเรยี นรู้ตามแนว
ทฤษฎคี อนสตรคั ติวสิ ต์ ในการสอนหลักภาษาไทยเร่ืองประโยค เรยี กวา่ RM3S มีรายละเอยี ดดังน้ี
1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม เชื่อมโยงความรู้ใหม่ (Review and connect: R) เป็นขั้นท่ี
ตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียนโดยใช้คำถามหรือกิจกรรมกระตุ้นโครงสร้างทางปัญญาเดิมมาใช้ ให้เป็น
ประโยชน์ สร้างความสนใจ ความเขา้ ใจ ในการทบทวนความรูเ้ ดิม หรอื ความรพู้ ื้นฐาน ตามท่ี เรียนมาแล้ว
2. ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา (Making knot: M) เป็นขั้นที่เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่ การ
เรียนรู้ โดยกำหนดประเด็น แล้วใช้คำถามหรือกิจกรรม กระตุ้นความคิด เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความ ขัดแย้งทาง
ปญั ญาหรอื สรา้ งความรู้แล้วเกดิ การถ่ายโอนความรู้นำไปแยกประเภท เชน่ การหา ความหมายของคำ การเดา
ความหมายของคำการใช้วิธีอุปนัยในการสังเคราะห์กฎเกณฑ์ทางภาษา เป็นต้น แล้วตั้งสมมติฐาน
แนวความคิด สำหรับใช้ศึกษารวบรวม และเลือกข้อมูลต่อไป ผ่านกิจกรรม กลุ่ม เพื่อสร้างทักษะทางสังคม
และความรว่ มมือในการสร้างความรู้
3. ข้นั ศึกษาความรู้ใหม่ (Searching and Comprehend: S1) เป็นข้นั ที่ผเู้ รียนใช้สมมติฐาน
แนวความคิดทเี่ กดิ จากความขัดแยง้ ทางปญั ญา เพื่อตัง้ คำถาม และสืบคน้ ศกึ ษา รวบรวม แล้วบันทึก ข้อมูลจัด
กระทำสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยตนเอง เป็นข้อมูลหรือ ความรู้ใหม่ ด้วยแผนผังความคิด เช่น การพิสูจน์
สมมติฐานเกี่ยวกับความหมายของคำ หรือกฎเกณฑ์ทางภาษา ที่คาดเดาโดยใช้ กิจกรรมที่เน้นการสร้าง
ปฏิสัมพันธ์กบั สังคม
4. ขั้นนำเสนอความรู้ และอภิปราย (Show and Debate: S2) เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำเสนอ
ข้อมูลที่พบอย่างละเอียดแล้วสะท้อนความรู้ ความคิด และกระบวนการทางปัญญาที่เกิดขึ้นในสมอง ในขณะ
ศึกษาค้นคว้า ระบุขั้นตอนที่ใช้คิดทำงาน โดยร่วมกันอภิปราย เปรียบเทียบ สังเคราะห์ความรู้ ที่ถูกต้องตาม
หลักวิชาร่วมกัน เช่น การนำเสนอความรู้เกี่ยวกับหลักการสร้างคำหรือกฎเกณฑ์ทาง ภาษาที่นักเรียนสืบค้น
๒๗
จากสมมติฐาน แล้วอภิปราย วิเคราะห์ และสังเคราะห์ตามหลักวชิ าร่วมกัน ในชั้นเรียน 5. ขั้นประเมินตนเอง
(Self-assessment: S3) เปน็ ขัน้ ท่ี ผู้เรียนประเมินความรคู้ วามคดิ ของกลุม่ ตน แลว้ ปรบั ปรุงแกไ้ ข หรอื พัฒนา
เพ่ิมคณุ ค่าของความรู้ เพ่ือสร้างค่านิยมใหง้ าน ของตนเอง
จากการศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอน
แบบอุปนัย ผู้วิจัยได้นำวิธีการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์มาประยุกต์ขั้นตอนให้เหมาะสมกับ การสอน
ไวยากรณ์โดยนำกระบวนการเรียนรู้จากผู้วิจัยอื่นได้แก่ ขั้นตอนการสอนตามแนวคิด คอนสตรัคติวิสต์ของ
Driver และ Bell ขั้นตอนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ของ บุญเชิด ภิญโญอนันต
พงษ์ ขั้นตอนการสอนวิทยาศาสตรข์ องวราภรณ์ สดี ำนลิ โมเดลซปิ ปา หรือรูปแบบประสานห้าแนวคิด ของทิศ
นา แขมมณี และ ขั้นสอน RM3S ของเทิดศักดิ์ เป็ดทองมา ปรับให้เข้ากับขั้นตอนการสอนแบบ PPP สาม
ข้ันตอน คือ Presentation stage Practice stage และ Production stage ในข้นั ตอนแรกคอื Presentation
ผู้วิจัยแบ่งเป็นสามขั้นตอนย่อยคือ ขั้น กระตุ้นความสนใจ ขั้นทบทวนความรู้เดิม และขั้นสอนแบบอุปนัยเพ่ือ
สร้างแนวความคดิ ใหม่ สอง ขน้ั ตอนแรกเพื่อให้ผู้เรยี นมีความพร้อมท่ีจะเรียนและมีความรู้ทส่ี ามารถไปต่อยอด
ได้ ส่วนขั้นสอน แบบอุปนัยเพื่อสร้างแนวความคิดใหม่ ในขั้นนี้ผู้สอนเริ่มสอนไวยากรณ์แบบอุปนัย เพื่อให้
ผู้เรียนฝึก สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยมีผู้สอนคอยแนะนำหรือชี้แนวทางในการสร้างความรู้นั้น ขั้นตอนท่ี
สองคือ Practice ขั้นตอนย่อยในขั้นนี้คือขั้นการฝึกฝนผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิด ขั้นนี้ต้องการ ให้
ผู้เรียนฝึกภาษาผ่านกิจกรรมที่ต้องแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันโดยเน้นการทำงานกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิด
การเรียนรู้ผ่านโจทย์ภาษา (สถานการณ์ปัญหา) ที่ต้องทำร่วมกัน และขั้นทบทวนความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนมี
ความแม่นยำ เข้าใจย่งิ ขึน้ และพร้อมจะใชภ้ าษาได้ สว่ นข้นั สดุ ทา้ ย Production ขนั้ ตอนยอ่ ยคอื ข้ันประยุกต์ใช้
ผู้สอนใหผ้ ูเ้ รียนประยุกต์ความร้ทู ่เี รียนมาทั้งหมดมาใช้ในชีวติ จรงิ นน่ั คือ ใหผ้ ูเ้ รยี นสื่อสารโดยใช้ความรู้น้ัน ๆ ได้
ผ่านกิจกรรม communicative activity ที่เน้นการใช้ภาษาใน ห้องเรียนเพื่อนำไปต่อยอดใช้ในชีวิตประจำวนั
ได้ ขนั้ ตอนทง้ั หมดมีรายละเอียดดงั น้ี
Presentation Stage
1. ขัน้ กระตนุ้ ความสนใจ เป็นขัน้ ดงึ ดูดความสนใจผู้เรยี น ด้วยกิจกรรมทีน่ ่าสนใจเตรยี มพร้อม
ในการเขา้ สู่บทเรียนผสู้ อนจะใชว้ ดิ ีโอ หรือเกมในขั้นนี้เพื่อกระตุ้นความสนใจของผูเ้ รียนขนั้ ตอนน้ีจะ ช่วยดึงดูด
ความสนใจและกระตุ้นผู้เรยี นใหอ้ ยากเรยี นรู้ สอดคล้องกับขัน้ นำของ Driver และ Bell (1986) ที่กล่าวไวว้ า่
ขั้นน้เี ปน็ ขั้นทผี่ ู้เรียนจะรบั รูถ้ งึ จุดมงุ่ หมายและมีแรงจงู ใจในการเรียนบทเรยี น
2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม ขั้นนี้จะทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนแล้วโยงความรู้เดิม
นั้นเข้าสู่บทเรียนใหม่ที่ผู้เรียนกำลังจะเรียน ซึ่งเป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มี อยู่
เกย่ี วกบั เรอื่ งทจ่ี ะเรยี น ขัน้ ตอนน้จี ะทำให้เกิดความขัดแยง้ ทางปัญญา
3. ขั้นสอนแบบอุปนัยเพื่อสร้างแนวความคิดใหม่ ในขั้นนี้ผู้สอนจะยกตัวอย่างประโยคของ
เรื่องที่สอนมาจำนวนหนึ่งเพื่อให้ผู้เรียนสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือโครงสร้างทาง ไวยากรณ์ใน
เรื่องใหม่ที่สอนและช่วยกันสรุปกฎเกณฑ์หรือโครงสร้างทางไวยากรณ์นั้นอีกครั้งรวมไปถึ งความรู้ที่เกี่ยวข้อง
ข้ันตอนนีจ้ ะทำให้นักศกึ ษาสามารถเข้าใจกฎได้ เป็นวิธกี ารเรยี นรภู้ าษาด้วยการ ได้รับขอ้ มลู ปอ้ นเข้า กฎเกณฑ์
และรูปแบบของภาษาจะชดั เจน
๒๘
Practice Stage
4. ขั้นการฝึกฝนผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิด เป็นขั้นที่ให้ผู้เรยี นฝึกฝนการใชภ้ าษาผา่ น
กิจกรรมตา่ ง ๆ ที่ตอ้ งทำร่วมกันหรอื แลกเปล่ียนความคิดกนั เพ่ือให้ผ้เู รยี นตกผลึกความรูน้ นั้ เน่ืองจาก นักศึกษา
ไดท้ ง้ั ฝกึ ภาษาและเรียนรู้บริบทของการใช้ไวยากรณเ์ รื่องน้ัน ๆ โดยข้นั ตอนน้ไี ดม้ าจาก แนวคิดของ Vygotsky
ทีว่ า่ “ปฏสิ ัมพนั ธ์ทางสงั คม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านพุทธิปญั ญา”
5. ขั้นทบทวนความรู้ใหม่ หลังจากที่ผู้เรียนตกผลึกความรู้แล้วผู้สอนจึงทบทวนบทเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความแม่นยำในบทเรียนนั้นมากยิ่งขึ้นพร้อมจะนำไปใช้หลังจากที่ผู้เรียนตกผลึกความรู้ แล้ว
ผู้สอนจึงทบทวนบทเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความแม่นยำในบทเรียนนั้นมากยิ่งขึ้นพร้อมจะ นำไปใช้ ขั้นน้ี
นบั เป็นหวั ใจสำคญั เพราะผูเ้ รียนจะสร้างองคค์ วามรู้ใหมท่ ่ชี ดั เจนข้นึ มา
Production Stage
6. ขั้นประยุกต์ใช้ ในขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดมาใช้ กล่าวคือผู้เรียน
สามารถสร้างประโยคและใช้สื่อสารกับผู้อื่นได้ โดยผู้สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรมcommunicative activities
โดยผู้สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่ได้ใช้การสื่อสาร ผู้เรียนจะสามารถใช้ไวยากรณ์ถูกต้องและ เหมาะสมเป็น
องค์ประกอบในการสื่อสารได้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความ เข้าใจที่พัฒนาข้ึนมา
ใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เป็นความรู้ที่คงทน เพราะผู้เรียนได้ใช้ ความรู้ในสถานการณ์ที่
สอดคลอ้ งกับชวี ติ จรงิ
4. งานวิจัยท่เี กี่ยวข้อง
4.1 งานวิจยั ในประเทศ
ฐิตินันท์ กล้ารบ (2550) ได้ทำการวิจัยเปรียบเทียบผลการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี1โดยวิธีการสอนแบบอุปนัยและนิรนยั กลุ่มตัวอยา่ งเป็นนกั เรยี นชั้น มัธยมศึกษาปี
ท1ี่ โรงเรยี นบ้านนาคาน หักประชะนุสรณ์ โดยแบง่ นักเรยี นเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหน่งึ ได้รบั การสอนโดยวิธีอุปนัย
กลุ่มหนึ่งได้รับการสอนโดยวิธีนิรนัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการ จัดการเรียนรู้ไวยากรณ์โดยวิธี
อุปนยั จำนวน 6 แผน ๆ ละ 3 ช่วั โมง และแผนการจดั การเรียนรู้ไวยากรณ์ โดยวิธีนริ นยั จำนวน 6 แผน ๆ ละ
3 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและค่า t-test ซึ่งผลการวิจัย พบว่าการสอนโดยสองวิธีนี้ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนไม่แตกตา่ งกนั กล่าวคอื มีประสิทธิภาพทัง้ สองวิธี ทำให้นักเรยี นมีความรู้ความสามารถด้านภาษาองั กฤษดี
ขึน้
เอกรินทร์ สังข์ทอง (2541) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
โดยใช้ทัศนวัสดุ โรงเรียนสาธิตมหาวทิ ยาลยั สงขลานครนิ ทร์วิทยาเขตปัตตานีของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่
1 จำนวน 30 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนไวยากรณ์เพื่อการสื่อสารโดยใช้ ทัศนวัสดุเป็นส่ือ
ประกอบการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่า คะแนนก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิตทิ ่ีระดบั 0.01
๒๙
ฝนทิพย์ นัดทะยาย (2558) ได้ทำการวิจัยศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้
แนวคิด ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ตามเกณฑ์ 75/75 นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยส้มใต้จำนวน 25 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน 3)
แบบสังเกตชั้นเรียน 4) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบ สถานการณ์
จำลอง 5) แบบทดสอบด้านการฟังภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้โดยใช้
แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบสถานการณ์จำลอง มีความสามารถ ด้านการพูดและฟังภาษาอังกฤษ
หลังเรยี น สงู กว่ากอ่ นเรียนอยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถิติทรี่ ะดับ .05
พรศิริ อูปคำ และยุทธศักดิ์ ชื่นใจชน (2558) ศึกษาความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนลำปางพาณิชยการและ เทคโนโลยีในภาค
เรยี นที่ 1 ปีการศกึ ษา 2558 จำนวน 20 คน เคร่ืองมอื ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนท่ีใช้ทฤษฎี
คอนตรัคติวิสต์จำนวน 1 แผน แบบทดสอบความสามารถทางการพูด ภาษาอังกฤษและแบบสัมภาษณ์
ความคดิ เหน็ ของนักเรยี นต่อ การเรยี นภาษาองั กฤษตามแนวคดิ ทฤษฎีคอนตรัคตวิ สิ ต์ขอ้ มลู ได้รับการวิเคราะห์
เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าทดสอบทีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านักเรียนมี
ความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษสูงขน้ึ หลงั ได้รับการสอนตามทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์และนักเรียนมีความ
คดิ เหน็ เชงิ บวกตอ่ การเรยี น ภาษาองั กฤษตามทฤษฎีคอนตรคั ตวิ ิสต์
หทัยชนนั บ์ กานต์การันยกุล (2555) ไดท้ ำการวจิ ยั เร่ืองการพัฒนาชดุ กจิ กรรมการออกแบบ
ทางศิลปะด้วยสมุดร่างภาพ ตามแนวคิดทฤษฎคี อนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ สง่ เสรมิ ความคดิ สร้างสรรค์ใน นกั เรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่4 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพรหมา นุสรณ์ จังหวัด
เพชรบุรีจำนวน 42 คน เครื่องมือในการวิจัยคอื แบบสมั ภาษณ์ชุดกิจกรรรมการ ออกแบบทางศิลปะด้วยสมุด
ร่างภาพตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบประเมินความคิด สร้างสรรค์จากผลงานศิลปะและแบบ
ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังการทดลองวเิ คราะห์ ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่าความพงึ
พอใจของนักเรยี นที่มีต่อชุดกิจกรรมการออกแบบทาง ศิลปะดว้ ยสมุดร่างภาพตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิ
สต์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนในด้านความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนสามารถคิดได้อย่างหลากหลาย สามารถคิด
นอกกรอบ คิดวางแผนและแกป้ ัญหา ในการออกแบบได้ดี
4.2 งานวจิ ัยต่างประเทศ
Henry, Evelyn, and Terence (2012) ได้ทำการวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของการสอน
โดยใชว้ ิธอี ปุ นัยกับนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวนหกคน โดยผู้วจิ ัยไดส้ อนโดยวิธีอุปนัยกับ นักเรียนท้ัง
สามระดับคือนักเรียนที่มผี ลการเรยี นดีมาก นักเรียนที่มผี ลการเรยี นดีปานกลาง และ นักเรียนที่มีผลการเรยี น
พอใช้ ผลปรากฏวา่ นักเรียนท้งั สามระดบั มผี ลการเรยี นด้านไวยากรณ์ดีขนึ้ และ นักเรียนที่มีผลการเรียนดีมากมี
ผลการเรียนด้านไวยากรณ์ดีขึ้นมากที่สุดและนักเรียนทั้งหกคนแสดง ความคิดเห็นว่าพวกเขาชอบ การสอน
แบบอุปนัยและการสอนแบบอุปนัยมีประสิทธิภาพในการสอน ไวยากรณ์ Bickman (2008) ได้ศึกษาการจัด
กิจกรรมการเรยี นรู้โครงงาน เรอื่ งอัตราสว่ นและสดั สว่ น โดยการจัดสภาพแวดลอ้ มภายในหอ้ งเรียนแบบทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ผ่านกิจกรรมและเชื่อมโยงให้ เข้ากับชีวิตประจำวัน ผลจากการศึกษาพบว่า ผลการประเมิน
๓๐
หลังการจัดกิจกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.6 เมื่อเทียบกับก่อนเรียนเช่นเดียวกับพฤติกรรมของนักเรียน
และทศั นคตเิ ก่ยี วกับคณิตศาสตรด์ ีขน้ึ
Goodman (2004) ได้ศึกษาเกี่ยวกับมุมมองของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการศึกษา
คณิตศาสตร์ในระดับกลาง โดยการสอนแบบโครงงานคณิตศาสตร์ร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยนักเรียน
ในแต่ละกลุ่มที่ความรู้ความสามารถแตกต่างกันคือเก่งปานกลาง อ่อน จากการศึกษา พบว่าการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนโครงงานคณิตศาสตร์ร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สามารถ เพิ่มความชำนาญในการ
แกป้ ญั หาและความสามารถในทางคณิตศาสตร์มากข้ึน
Choi (2000) ได้ทำการสำรวจมุมมองของครูเกาหลีที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาเพื่อการ
สื่อสารในการสอนภาษาต่างประเทศ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ครูสอนภาษาอังกฤษ ระดับช้ัน
มัธยมศึกษาในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้เลือกการสุ่มจากประชากรจำนวน 110 คน โดยใช้ แบบสอบถาม
จำนวน 80 ข้อ ผลของการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าครูเกาหลีที่สอนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศ มี
ความเชื่อทางบวกเกีย่ วกบั มโนทศั นท์ างการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร แตม่ ีความ แตกตา่ งกนั ระหวา่ งความเช่ือ
เกี่ยวกับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการฝึกในการสอนแบบการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสารในห้องเรียน
ผลแสดงให้เห็นว่าครูเกาหลีที่สอนภาษาอังกฤษสนับสนุน มโนทัศน์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ได้แก่
(1) พัฒนาการสื่อสารในห้องเรียนที่แวดล้อมไปด้วย ทักษะการใช้ภาษา คือ การฟัง พูด อ่านและเขียน (2)
จดั หาความเหมาะสมในการสอ่ื ความหมายให้ ผูเ้ รียน (3) ใชก้ จิ กรรมการเคลอื่ นไหว เช่น เกมและการรอ้ งเพลง
(4) ใช้สื่อในห้องเรียนภาษา (5) ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการใช้กิจกรรม (6) สอนไวยากรณ์ในแนวการสื่อสาร
อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างรายงานว่าข้ันตอนการฝึกของพวกเขาในการสอนในห้องเรียนยังคงยึดครูเป็น
ศูนย์กลาง ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของครูภาษาอังกฤษที่มีประสบการณ์ท่องเที่ยวในต่างประเทศและมี
การ ใช้ภาษาอังกฤษ แสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับ การ
พัฒนาตนเองของครูสอนภาษาอังกฤษ ดังนั้นการยึดหลักการดังกล่าวจึงเป็นการพัฒนาครูและ พัฒนาวิธีการ
สอนของครูในการเรียนภาษาอังกฤษของคนเกาหลี
การศึกษางานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้นสามารถสรุปได้ว่างานวิจัยต่าง ๆ ที่
เกี่ยวกับการสอนไวยากรณ์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ซึ่งประกอบไปด้วยการสอนไวยากรณ์เพื่อ การสื่อสาร
และการสอนไวยากรณ์โดยวิธีอุปนัยตามช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี ขึ้นเพราะนักเรียน
สามารถสร้างองค์ความรูไ้ ด้ดว้ ยตนเองและเขา้ ใจในสิ่งทีเ่ รียนได้ง่ายเพราะวธิ สี อนที่ เน้นให้นักเรียนเรยี นรูด้ ้วย
ตนเอง แต่จากงานวิจัยพบว่าวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษยังมี
ช่องว่างเพราะมีผู้วิจัยจำนวนน้อยที่สอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ผู้วิจัยจึงมีความ
สนใจที่จะนำการสอนโดยวิธีอุปนัยมาประยุกต์รว่ มกนั กับแนวคิด ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการสอนไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษเพื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้วิจัยคาดว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาในการเรียนรู้
ไวยากรณ์และช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก รวมทั้งสร้างความ
คงทนในการเรยี นร้ขู องผู้เรียนเพิ่มขนึ้ อีกดว้ ย
๓๑
บทท่ี 3
วิธดี ำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกำแพงวิทยา อำเภอละงู
จังหวัดสตูล ผูว้ ิจัยได้ดำเนินการวจิ ยั ตามลำดับขั้นตอน ดงั นี้
1. รปู แบบการวิจยั
2. ประชากรและกลุ่มตวั อยา่ ง
3. เคร่ืองมือท่ีใช้วจิ ัย
4. ข้ันตอนการสรา้ งและพัฒนาเคร่อื งมอื
5. การเก็บรวบรวมขอ้ มูล
6. การวิเคราะห์ข้อมลู และสถิติที่ใช้ในการวิจยั
1. รปู แบบการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบการทดลองขั้นพื้นฐาน (Pre-Experimental Design)
แบบกลมุ่ เดยี ว สอบก่อนและสอบหลัง โดยมรี ูปแบบดงั ตารางท่ี 3 ต่อไปนี้
ตารางที่ 9 ตารางรูปแบบการวิจยั
1 2
สัญลักษณท์ ี่ใช้ในแบบแผนการทดลอง
1 แทน การทดสอบก่อนทำการทดลอง (Pre -test)
แทน การสอนด้วยวิธีการสอนตามแนวคิดทฤษฎคี อนสตรัคตวิ ิสต์
2 แทน การทดสอบหลงั การทำการทดลอง (Post-test)
2. ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง
2.1 ประชากร
ประชากรทใี่ ชใ้ นการวจิ ัย คอื นกั เรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นกำแพงวทิ ยา อำเภอละงู
จงั หวดั สตูล ซ่ึงกำลงั ศึกษาภาคเรยี นที่ 2 ประจำปกี ารศึกษา 2564 จำนวนหอ้ งเรียน 1 หอ้ ง จำนวนนักเรียน
ท้งั หมด 38 คน ซง่ึ เปน็ นักเรียนทเ่ี ป็นความรับผดิ ชอบของขา้ พเจ้าในการสอนระดับชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 3
2.2 กลุ่มตัวอยา่ ง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนกำแพงวิทยา
อำเภอละงูจังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง (Purposive sampling)
๓๒
3. เคร่อื งมือทใี่ ช้วจิ ัย
2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ท่ีใช้ขัน้ ตอนการจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอน
สตรคั ติวิสต์ จำนวน 4 แผน แผนละ 1-2 สัปดาห์ ชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ 3
2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนชนดิ เลอื กตอบ 4 ตวั เลอื ก จำนวน 40 ขอ้
2.3 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิด
ทฤษฎคี อนสตรัคตวิ สิ ต์ เปน็ แบบมาตราสว่ นประมาณค่า แบบลิเคิร์ท 5 ระดบั จำนวน 10 ขอ้
4. ขั้นตอนการสร้างและพฒั นาเคร่อื งมอื
ผวู้ ิจัยได้ดำเนินการสรา้ งและหาคณุ ภาพเครอ่ื งมือทใี่ ช้ในการวิจยั ตามข้ันตอน ดังน้ี
วิธีและขั้นตอนการวิจัยมีวิธีการดำเนินการวิจัยทั้งหมด 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ
ทดลอง ขั้นสร้างเคร่อื งมอื ขน้ั ดำเนนิ การทดลอง และขนั้ วเิ คราะห์ข้อมลู
1. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ตามหลักวิชาการท่ไี ดศ้ กึ ษา จำนวน 4 แผน เวลา 16 คาบ
2. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ ชนิดเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ
ใชเ้ วลาใน การทดสอบ 40 นาที
3. สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจมีต่อรูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps)
ตามแนวคดิ ทฤษฎคี อนสตรคั ตวิ สิ ต์ เปน็ แบบมาตราส่วนประมาณคา่ แบบลเิ คิร์ท 5 ระดบั จำนวน 10 ข้อ
การสร้างแบบสอบถามความคดิ เหน็ ของนักศึกษาท่ีมีต่อการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ตาม
แนวคิดทฤษฎคี อนสตรัคตวิ ิสต์มวี ธิ กี ารสร้าง ดงั นี้
3.1 ศึกษาการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นตามวิธีของลเิ คริ ์ท (Likert)
3.2 สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจที่มี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการ
จัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้มาตราส่วน ประเมินค่า (Rating Scale) จำนวน 13 ข้อ โดยสอบถามด้าน
กิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา และประโยชน์ โดยกำหนดความคิดเห็นเป็น 5 ช่วง คือ พึงพอใจมาก
ทส่ี ดุ พึงพอใจมาก พงึ พอใจปานกลาง พงึ พอใจนอ้ ย และพึงพอใจน้อยทสี่ ุด โดยใชเ้ กณฑด์ ังน้ี
พงึ พอใจมากทส่ี ุด 5 คะแนน
พงึ พอใจมาก 4 คะแนน
พงึ พอใจปานกลาง 3 คะแนน
พึงพอใจน้อย 2 คะแนน
พึงพอใจนอ้ ยทส่ี ดุ 1 คะแนน
ผู้ศึกษาใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยในการแปลผล ซึ่งผลจากการคำนวณโดยใช้สูตรความ
กว้างของอันตรภาคชั้น มีดังนี้ (พชั กานต์ โพธิเบญจกุล, 2550: 67)
๓๓
จากสูตร ความกว้างของอันตรภาคช้ัน = ข้อมลู ทีม่ ีค่าสูงสุด - ข้อมูลทมี่ คี า่ ตำ่ สดุ
จำนวนชัน้
= 5–1
5
= 0.80
ตารางท่ี 10 แสดงเกณฑ์การประเมนิ ผลความพึงพอใจแบบมาตราสว่ นประเมนิ คา่ 5 ระดบั
ค่าเฉลีย่ ระดบั ความพึงพอใจ
1.00 - 1.49 น้อยทีส่ ุด
1.50 – 2.49 น้อย
2.50 - 3.49 ปานกลาง
3.50 - 4.49 มาก
4.50 – 5.00 มากท่ีสดุ
5. การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
4.1 ปฐมนิเทศนักเรยี นเพือ่ ให้ทราบข้ันตอนของการวจิ ัย
4.2. ทดสอบกอ่ นเรยี น (Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นไวยากรณ์
4.3. ดำเนินการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องไวยากรณ์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ
PPP (3Ps) ตามแนวคดิ ทฤษฎีคอนสตรคั ติวิสต์
4.4. ทดสอบกอ่ นเรยี น (Post-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนไวยากรณ์
4.5. ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ทำแบบสอบถามความพึงพอใจมีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวสิ ต์ จำนวน 10 ข้อ
6. การวิเคราะห์ขอ้ มูลและสถิตทิ ใี่ ช้ในการวจิ ัย
5.1 สถติ ิท่ใี ช้วเิ คราะหห์ าคณุ ภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนความสามารถในการ
คิดวิเคราะห์ และ แบบทดสอบวดั ความสามารถในการใชไ้ วยากรณ์ภาษาองั กฤษ (Posttest)
5.1.1 หาค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้ไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษ (Posttest) และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PPP
(3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยการหาดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัด (IOC:
Index of Item Objective Congruence) คาํ นวณค่า IOC ดังน้ี (สมนกึ ภัททิยธน.ี 2551)
∑
=
๓๔
เมื่อ แทน ดชั นคี วามสอดคลอ้ งระหวา่ งข้อสอบกบั ตัวช้วี ดั
∑ แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
แทน จำนวนผูเ้ ชี่ยวชาญท้งั หมด
5.2 เปรยี บเทยี บผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี นไวยากรณภ์ าษาอังกฤษของนักเรียนก่อน และหลังการใช้
การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ̅) ส่วน
เบย่ี งเบนมาตรฐาน (S.D.) คา่ สถิติทดสอบที (t-test Dependent)
5.2.1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้สถิติ t-test แบบ
Dependent Sample เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังการ
สอนโดยใช้การจดั การเรียนร้แู บบ PPP (3Ps) ตามแนวคดิ ทฤษฎคี อนสตรัคติวิสต์ (สมนกึ ภทั ทยิ ธนี, 2551)
∑
= ; = − 1
√ ∑ 2 − (∑ )2
− 1
เมอ่ื แทน คา่ สถติ ิทีใ่ ชใ้ นการพิจารณาใน t – distribution
แทน ความแตกตา่ งของคะแนนแตล่ ะคู่
แทน จำนวนคขู่ องคะแนนหรอื จำนวนนกั เรยี น
∑ แทน ผลรวมท้ังหมดของผลต่างของคะแนนก่อนและหลังการ ทดลอง
(∑ )2 แทน ผลรวมของกำลงั สองของผลตา่ งของคะแนนก่อนและหลงั การทดลอง
5.3 วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ
PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
นำเสนอ โดยค่าสถติ ิท่ใี ช้วเิ คราะห์ขอ้ มลู ได้แก่ ค่าเฉลย่ี ( ̅) ส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน (S.D.)
คา่ เฉล่ียใชส้ ตู รดังน้ี (สมนึก ภทั ทยิ ธนี. 2551)
∑
̅ =
เมอ่ื แทน ตวั กลางเลขคณิตหรือค่าเฉล่ยี
∑ แทน ผลรวมทงั้ หมดของคะแนน
แทน จำนวนคนทง้ั หมด
๓๕
สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน ใช้สตู รดังน(้ี สมนกึ ภัททยิ ธนี. 2551)
. . = √ ∑ 2 − (∑ 2)
( − 1)
เม่อื . . แทน ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน
แทน คะแนนแตล่ ะตวั
∑ แทน ผลรวมทง้ั หมดของคะแนน
แทน จำนวนสมาชิกในกล่มุ น้ัน
๓๖
บทท่ี 4
ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอน
สตรัคติวิสต์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้การจัดการเรยี นรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิด
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 2
ตอน ดังตอ่ ไปน้ี
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ
PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎคี อนสตรคั ติวสิ ต์ เพื่อพฒั นาผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นไวยากรณ์ภาษาองั กฤษ
ตอนที่ 2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษ
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้
แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์
ภาษาองั กฤษ
ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์หลังการจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติ
วิสต์ เพื่อพัฒนาผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยนำ คะแนนความแตกต่างระหว่างคะแนน
กอ่ นและหลงั การศกึ ษามาเปรียบเทียบโดยใช้ t-test Dependent ปรากฏผลตามตารางดงั นี้
ตารางท่ี 11 แสดงการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ตามแนวคิดทฤษฎี หลังเรียนของ
นกั เรยี นชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3
การทดสอบ จำนวน คา่ เฉลี่ย สว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน
( ) ( ̅ ) ( . .)
ก่อนเรยี น 38 17.55 5.87 37 -13.72*
หลงั เรยี น 38 27.95 4.40
มีนัยสำคัญทางสถิตทิ ่ีระดบั .05 (P<.05)
จากตารางที่ 11 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการ
เรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรคั ติวิสต์ตามแนวคดิ ทฤษฎี ของนักเรียนชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี
3 พบว่าคะแนนหลังเรียนแตกต่างกับคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ผลการ เปรียบเทียบคะแนน
ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนา
๓๗
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาองั กฤษของนกั เรยี นชั้นมธั ยมศึกษาปที ี่ 3 กอ่ นการใชก้ ารจัดการเรียนรู้
แบบ PPP (3Ps) นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย ̅ = 17.55 และหลังการใช้วิธีสอนแบบ PPP นักเรียนได้คะแนน
เฉลี่ย ̅ = 27.95 นักเรียนได้คะแนนสูงขึ้นเฉลี่ย ̅ = 10.39 ซึ่งนักเรียนมีความก้าวหน้าและพัฒนา
ทางด้านความรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษดีขึ้นด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอน
สตรคั ตวิ ิสต์ อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิตทิ ่ีระดบั .05 สอดคล้องกบั สมมตฐิ านการวจิ ยั ขอ้ ที่ 1 ท่ีกำหนดไว้
ตอนที่ 12 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการ
เรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคตวิ ิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษ
ผลการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการ
เรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์
ภาษาองั กฤษ จำนวน 38 คน มีรายละเอยี ดดังน้ี
ตารางที่ 12 แสดงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ที่มีต่อการจดั การเรยี นรู้
แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษ ดา้ นกจิ กรรมการเรยี นการสอน
ลำดบั ขอ้ คำถาม ̅ . . ระดบั ความพึงพอใจ
ดา้ นกิจกรรมการเรียนการสอน 4.74 0.45 มากที่สดุ
1. กิจกรรมการเรยี นการสอนมคี วามน่าสนใจ 4.50 0.60 มากทส่ี ุด
2. ลำดบั กจิ กรรมการเรยี นการสอนมีความเหมาะสม มากทส่ี ุด
3. กจิ กรรมการเรียนการสอนชว่ ยให้นกั เรยี นสร้างความรู้ 4.53 0.51
ความเข้าใจด้วยตนเองได้ มากที่สดุ
4. กิจกรรมการเรยี นการสอนสง่ เสริมใหน้ กั เรียนไดฝ้ ึกการ 4.58 0.60
ทำงานรว่ มกนั กบั เพื่อนสมาชิกในกล่มุ และแกไ้ ข
ขอ้ ผิดพลาดรายการประเมินทางไวยากรณ์ได้ 4.55 0.60 มากท่สี ุด
5. กิจกรรมการเรยี นการสอนทำใหน้ กั ศึกษาเขา้ ใจเนื้อหา 4.82 0.46 มากท่ีสดุ
สามารถสรปุ โครงสรา้ งทางไวยากรณ์และนำไปใช้ได้ 4.62 0.54 มากทส่ี ดุ
6. กิจกรรมการเรยี นการสอนมคี วามสอดคล้องกับขั้นตอน
การสอน
รวมเฉล่ีย
๓๘
จากตารางที่ 12 พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการ
จัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ข้อคำถามที่มีค่าความพึงพอใจมากทีส่ ุดคือ ข้อคำถาม
ที่ 6 กิจกรรมการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับขั้นตอนการสอน โดยมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก
ที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.46 ข้อคำถามที่มีค่าความความพึง
พอใจรองลงมา คือ ข้อคำถามที่ 1 กิจกรรมการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74
และสว่ นเบ่ยี งเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 โดยมรี ะดบั ความพงึ พอใจในระดบั มากท่ีสุด ข้อคำถามที่ 4 กจิ กรรม
การเรียนการสอนส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกการทำงานร่วมกันกับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มและแก้ไขข้อผิดพลาด
รายการประเมินทางไวยากรณ์ได้ มีค่าความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.60 ข้อคำถามที่ 5 กิจกรรมการเรียนการสอนทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา
สามารถสรุปโครงสร้างทางไวยากรณ์และนำไปใช้ได้ มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉล่ีย
เท่ากบั 4.55 และสว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐานมีค่าเทา่ กับ 0.60 ข้อคำถามท่ี 3 กิจกรรมการเรยี นการสอนชว่ ยให้
นักเรียนสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง มีค่าความพึงพอใจในระดับมากที่สุดโดยมี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 และข้อคำถามที่ 2 ลำดับกิจกรรมการเรียนการสอนมีความ
เหมาะสม มีค่าความพึงพอใจในระดับมากท่ีสดุ โดยมีค่าเฉลยี่ เท่ากับ 4.50 และส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.60 ตามลำดับ
ตารางที่ 13 แสดงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ที่มีต่อการจัดการเรยี นรู้
แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์
ภาษาองั กฤษ ดา้ นเนื้อหา
ลำดับ ข้อคำถาม ̅ . . ระดบั ความพึงพอใจ
ดา้ นเนื้อหา
4.61 0.59 มากทสี่ ุด
7. เน้อื หามคี วามเหมาะสมกบั ระดับชัน้ ของนักเรียน 4.63 0.54 มากทสี่ ุด
8. เนอื้ หามีความนา่ สนใจและเข้าใจไดง้ า่ ย 4.66 0.63 มากที่สดุ
9. เนอ้ื หาท่ใี ช้สอนมปี ระโยชนต์ ่อนักเรยี น 4.63 0.59 มากที่สดุ
รวมเฉลย่ี
จากตารางที่ 13 พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการ
จัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ด้านเนื้อหา ข้อคำถามที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดคือ ข้อ คำถามที่ 9 เนื้อหาที่ใช้
สอนมีประโยชน์ต่อนักเรียน โดยมีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.63 ข้อคำถามที่มีค่าความพึงพอใจรองลงมา คือ ข้อคำถามที่ 8 เนื้อหามี
ความเหมาะสมกับระดบั ชัน้ นักเรียน มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลีย่ เท่ากับ 4.63 และ
๓๙
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 และข้อคำถามที่มีค่าความพึงพอใจลำดับสุดท้ายคือ ข้อคำถามที่ 7
เน้ือหามคี วามเหมาะสมกับระดับช้ันของนักเรยี น มรี ะดับความพงึ พอใจในระดบั มากทีส่ ดุ โดยมีคา่ เฉล่ียเทา่ กับ
4.61 และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเทา่ กบั 0.59
ตารางที่ 14 แสดงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ที่มีต่อการจัดการเรยี นรู้
แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษ ด้านประโยชน์
ลำดบั ขอ้ คำถาม ̅ . . ระดบั ความพึงพอใจ
ด้านประโยชน์ 4.55 0.69 มากทส่ี ดุ
10. การสอนไวยากรณร์ ูปแบบการจดั การเรยี นรู้แบบ PPP
4.79 0.53 มากทสี่ ดุ
(3Ps) ตามแนวคดิ ทฤษฎีคอนสตรัคตวิ ิสตช์ ่วยให้เรยี น
ไวยากรณ์ไดง้ า่ ยขึ้นและนักเรียนเกดิ การเรยี นรู้อย่างเปน็ 4.63 0.63 มากท่ีสุด
ข้นั ตอน
11. การสอนไวยากรณร์ ูปแบบการจดั การเรยี นรแู้ บบ PPP 4.68 0.66 มากที่สุด
(3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรคั ติวสิ ต์ทำให้นกั เรยี นมี 4.66 0.63 มากทีส่ ดุ
ความม่ันใจในการใชภ้ าษาอังกฤษ 4.64 0.58 มากทีส่ ุด
12. การสอนไวยากรณร์ ูปแบบการจดั การเรียนรูแ้ บบ PPP
(3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรคั ตวิ สิ ตท์ ำใหน้ ักเรียนมี
ความสนใจตอ่ การเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษมากขึ้น
13. นักเรยี นสามารถประยุกต์ใชส้ ิ่งท่ีเรียนได้ในชีวติ จรงิ
รวมเฉล่ยี
รวมเฉลีย่ ท้ังหมด
จากตารางที่ 14 พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการ
จัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ด้านประโยชน์ ข้อคำถามที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ ข้อคำถามที่ 11 การ
สอนไวยากรณ์รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ทำให้นักเรียนมี
ความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ มีค่าความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ข้อคำถามที่มีค่าความพึงพอใจรองลงมา คือ ข้อคำถามที่ 13 นักเรียน
สามารถประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนได้ในชีวิตจริง โดยมีค่าความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.66 ข้อคำถามที่ 12 การสอนไวยากรณ์รูปแบบการจัดการเรียนรู้
แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ทำให้นักเรียนมีความสนใจต่อการเรียนไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษมากขึ้น มีค่าความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วน เบี่ยงเบน
๔๐
มาตรฐานเท่ากับ 0.63 ข้อคำถามที่มีค่าความคิดเห็นลำดับสุดท้ายคือ ข้อคำถามที่ 10 การสอนไวยากรณ์
รูปแบบการจดั การเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ช่วยใหเ้ รียนไวยากรณ์ได้ง่ายข้นึ
และมีการสอนอย่างเป็นขั้นตอน มีค่าความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และส่วน
เบ่ียงเบนมาตรฐานเท่ากบั 0.69
จากตารางที่ 12 - 14 พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อ
การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไวยากรณภ์ าษาอังกฤษ โดยภาพรวมท้งั หมดมรี ะดับความคิดเห็นเหน็ ด้วยมากท่สี ุด โดยมคี า่ เฉลี่ยเทา่ กบั 4.64
และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานมคี า่ เท่ากับ 0.58
เมื่อพิจารณาความพึงพอใจรายด้าน พบว่า ด้านประโยชน์ มีค่าความพึงพอใจมากที่สุด มี
ระดับความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.63 รองลงมา คือ ดา้ นเนอื้ หา มีระดบั ความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากที่สุด มคี ่าความพึงพอใจมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และสุดท้ายคือ ด้านกิจกรรมการเรียนการ
สอน โดยมีระดับความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานมคี า่ เทา่ กบั 0.54 ซ่งึ สอดคล้องกบั สมมตฐิ านการวจิ ัยข้อท่ี 2 ที่ไดก้ ำหนดไว้
๔๑
บทที่ 5
สรุปผล อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ
สรปุ ผลการวจิ ัย
การวจิ ัยเรือ่ ง การสอนไวยากรณภ์ าษาอังกฤษ โดยการใช้การจัดการเรยี นรู้แบบ PPP (3Ps) ตาม
แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกำแพงวิทยา สามารถสรุป
ผลการวิจัยได้ดงั น้ี
1. ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักเรียนกอ่ นไดร้ ับการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดย
การใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.55 โดยมี
สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน 5.87 และผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นหลงั ได้รับการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.95
โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.40 เมื่อทำการทดสอบ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของ
นักเรยี นชั้นมัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 สงู กว่าก่อนเรยี นอยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถิติท่ีระดบั .05
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยการใช้การ
จัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 เมื่อพิจารณาความคิดเห็นรายด้านพบว่า ด้าน
ประโยชน์ มีค่าความพึงพอใจมากที่สุด มีระดับความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 รองลงมา คือ ด้านเนื้อหา มีระดับความพึงพอใจภาพรวมใน
ระดับมากท่สี ุด มีคา่ ความพงึ พอใจมากที่สดุ มีค่าเฉลยี่ เท่ากับ 4.63 และส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59
และสุดทา้ ยคือ ดา้ นกิจกรรมการเรยี นการสอน โดยมรี ะดับความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากที่สดุ มีค่าเฉลี่ย
เทา่ กับ 4.62 และสว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐานมคี ่าเทา่ กบั 0.54
อภิปรายผล
จากผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคดิ ทฤษฎีคอนสตรัคตวิ สิ ต์ ของนักเรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
กำแพงวทิ ยา สามารถอภปิ รายผลได้ ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิท์ างการเรยี นของนักเรยี นก่อนไดร้ บั การเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาองั กฤษ โดย
ใช้การจัดการเรียนรูแ้ บบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.55 โดยมีส่วน
เบีย่ งเบนมาตรฐาน 5.87 และผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นหลงั ไดร้ บั การเรยี นการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดย
การใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PPP (3Ps) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.95 โดยมี
สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐานเทา่ กับ 4.40 เมื่อทำการทดสอบ พบวา่ ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นหลังเรยี นของนักเรียน
ชน้ั มัธยมศกึ ษาปีท่ี 3 สงู กวา่ ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซ่งึ เปน็ ไปตามสมมติฐานการวิจัย
ข้อที่ 1 ว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมธั ยมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรียน