The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ane Cha, 2023-02-26 22:39:01

แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม

แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม

110 1.4 เร่งพัฒนาบทบาทและภารกิจของหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ในทุกหน่วยงานในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการให้ดำเนินการอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม มีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความมั่นคง ในชีวิตของผู้เรียนในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะเด็กนักเรียนและเยาวชน จากภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆยาเสพติด ภัยจากธรรมชาติ อุบัติเหตุและอุบัติภัย เป็นต้น และเร่ง ดำเนินการดำเนินงานสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียนและเยาวชนจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องร่วมกันหาแนวทางที่เป็นรูปธรรม ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนรู้ และรู้วิธีป้องกันจัดการกรณี เมื่อเกิดเหตุ ให้เป็นไปตามหลักสูตร มีทักษะชีวิตที่จะดูแลตนเองให้ปลอดภัยท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม อุบัติเหตุและอุบัติภัยที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาได้ ดังนั้น สำนักนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงจัดทำโครงการนครปฐม สร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรสถานในศึกษามีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม ในรูปแบบใหม่ ภัยอาชญากรรมและความรุนแรง อุบัติเหตุและอุบัติภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งมีรูปแบบ/ แนวทาง/คู่มือการดำเนินการความปลอดภัยในสถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษาเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำ อีกและสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ การฝึกปฏิบัติแผนเผชิญเหตุจากสถานการณ์จำลอง ด้านความ ปลอดภัยในสถานศึกษาให้กับครู นักเรียนแกนนำในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในจังหวัดนครปฐม 2.2 เพื่อให้ครู นักเรียนแกนนำสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ วิธีการ การป้องกันตนเองจากสถานการณ์ ไปประยุกต์ใช้และขยายผลในสถานศึกษา 2.3 เพื่อให้สถานศึกษามีรูปแบบ/แนวทาง/คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาตามบริบท ของสถานศึกษาในการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 3. เป้าหมายโครงการ 3.1 ผลผลิต (Output 1) ได้ครู นักเรียนแกนนำ จำนวน 400 คน ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา วิธีการปฏิบัติตน การป้องกันตนเองจากสถานการณ์จำลองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ 2) สถานศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม จำนวน 42 แห่ง มีรูปแบบ/แนวทาง/คู่มือ การดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษาในการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับ ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 3.2 ผลลัพธ์ (Outcome) 1) ครู นักเรียนแกนนำนำความรู้ความเข้าใจและการฝึกปฏิบัติแผนเผชิญเหตุจากสถานการณ์จำลอง ด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาไปประยุกต์ใช้และนำไปขยายผลในสถานศึกษา 2) สถานศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม มีรูปแบบ/แนวทาง/คู่มือการดำเนินงานความ ปลอดภัยสถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษาในการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง


111 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด นักเรียน ครูและบุคลากรในสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยจากภัยคุกคาม ทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในสถานศึกษาสามารถป้องกันตนเอง และช่วยผู้อื่นได้ 5. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ 5.1 เชิงปริมาณ 1) ครู นักเรียนแกนนำร้อยละ 80 ของสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจวิธีการปฏิบัติตน ตามสถานการณ์จำลองไปขยายผลในสถานศึกษาได้ 2) สถานศึกษามัธยมศึกษาร้อยละ 80 มีรูปแบบ/แนวทาง/คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัย ในสถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษา 5.2 เชิงคุณภาพ 1) ครู นักเรียนแกนนำมีความรู้ความเข้าใจวิธีการปฏิบัติตนตามสถานการณ์จำลองสามารถนำไป ประยุกต์ใช้และนำไปขยายผลในสถานศึกษาได้ 2) สถานศึกษามัธยมศึกษามีรูปแบบ/แนวทาง/คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา ตามบริบทของสถานศึกษาในการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ 6.1 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนครปฐม (สพม.) จำนวน 29 แห่ง 6.2 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 13 แห่ง 6.3 ตัวแทนครู นักเรียนแกนนำระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนละ 5 - 15 คน รวมจำนวน 400 คน โดยแบ่งตามขนาดของสถานศึกษา 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) กิจกรรมที่ 1 การสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา กิจกรรมย่อยที่ 1.1 : ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ ปฐมพยาบาลที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิต ด้วยวิธี CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation กิจกรรมย่อยที่ 1.2 : ความรู้เกี่ยวกับวิธีการการ ป้องกันตนเองเมื่อเกิดการละเมิด/ภัยคุกคามทางเพศ กิจกรรมย่อยที่ 1.3 : การใช้รถ ใช้ถนนการขับขี่ อย่างปลอดภัย กิจกรรมย่อยที่ 1.4 : การป้องกันภัยจาก ยาเสพติด


112 กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) กิจกรรมย่อยที่ 1.5 : การฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ จากสถานการณ์จำลองเหตุของจังหวัดหนองบัวลำภู กิจกรรมที่ 2 : การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล กิจกรรมที่ 3 : สรุป/รายงานผลการดำเนินงาน รวมวงเงิน (บาท) 29,000 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) 1 ธันวาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566 9. สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 10. งบประมาณ 29,000 บาท (สองหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) พร้อมระบุรายละเอียดงบประมาณ หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) งบดำเนินงาน : • ค่าตอบแทน •ค่าตอบแทนวิทยากร (10 คน X 600 บาท X 1 ชม.) 6,000 • ค่าใช้สอย - ค่าอาหารกลางวัน (50 คน X 100 บาท X 1 มื้อ) 5,000 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (500 คน X 35 บาท X 1มื้อ) 17,500 • ค่าวัสดุ - ไวนิล 500 •เกียรติบัตร นักเรียนแกนนำและวิทยากร - รวมทั้งสิ้น 29,000 หมายเหตุ ขอถัวจ่ายทุกรายการ 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเสี่ยง : ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่น จำนวนนักเรียนแกนนำ ที่เข้าร่วมโครงการ การบริหารจัดการเวลาของการจัดกิจกรรมแต่ละฐานการเรียนรู้ การนำไปขยายผล การบริหารความเสี่ยง : ศึกษาทำความเข้าใจในการดำเนินงานให้เข้าใจตรงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงาน การติดต่อประสานงานบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงและชัดเจน วางแผนควบคุมการจัดการบริหาร เวลาของแต่ละฐานการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


113 4.3.9 โครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. ประจำปี 2566 แผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์งบดำเนินงาน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้าน 4. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (1) เป้าหมาย.......................สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ..................................... (2) ประเด็น.....สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส.......... แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (17)....ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม.... (1) เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (Y2) คนไทยทุกคนได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมเพิ่มขึ้น (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ...มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม... (3) เป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) มีระบบกลไกในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นพิเศษได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) : 02 เครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือ (2) ชื่อปัจจัย (F) : 0201 การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570) หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (2566-2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่............................................................-............................................................ นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (Goals) เป้าหมายย่อยที่ (Target).............................................................-................................................................... นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 4. การสร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การเข้าถึงบริการทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต


114 1. หลักการและเหตุผลความจำเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนิน “โครงการ ทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๒ ต่อมาในปี ๒๕๕๓ ทรงพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิทนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.)” ทรงให้นำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และมีทรัพย์จากผู้บริจาค บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล มาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างความรู้ สร้างโอกาสแก่เยาวชนไทยที่มีฐานะยากจน ยากลำบากแต่ประพฤติดี มีคุณธรรม มีความสามารถในการศึกษา ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มั่นคงต่อเนื่อง ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ตามความสามารถของแต่ละคน โดยการ ดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาฯ ม.ท.ศ. มีกลไกคณะกรรมการระดับจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในจังหวัดร่วมเป็นกรรมการ และศึกษาธิการจังหวัดทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด เพื่อร่วมดำเนินกระบวนการคัดเลือก คัดสรร ผู้มีคุณสมบัติเข้ารับทุนพระราชทานพร้อมทั้งร่วมกัน ติดตามดูแลอย่างเป็นระบบ อนึ่ง การดำเนินการคัดเลือก คัดสรร ผู้รับทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. ในแต่ละรุ่นต้องได้รับการพิจารณา รับรองจากคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด/ระดับภาค อย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ โดยมีกระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงาน เช่น การจัดประชุมคณะกรรมการ การสัมภาษณ์นักเรียน/ครูที่ปรึกษา/ครูแนะแนว การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสภาพจริงและเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุนฯ การติดตามผลการเรียน ความประพฤติ รวมทั้งการใช้จ่ายเงินทุนพระราชทานของนักเรียนทุนฯ ในทุกภาคเรียนและทุกปีการศึกษาตลอด ระยะเวลารับทุนฯ และเมื่อจบการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคล มีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงจัดทำโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. ประจำปี2566 ขึ้น 2. วัตถุประสงค์ 2.๑ เพื่อดำเนินการคัดเลือก คัดสรร นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีความประสงค์ ขอเข้ารับทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. จากสถานศึกษาทุกแห่งและทุกสังกัดในจังหวัดนครปฐม 2.๒ เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง ดีงาม ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ บ่มเพาะ ความมีวินัย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพความสามารถในการเรียนรู้ ให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ อันจะช่วยสร้างพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็งแก่เด็กและเยาวชนไทยผู้ได้รับทุนพระราชทาน เป็นนักเรียนทุน ในพระองค์ฯ สามารถเติบโตเป็นคนดี มีคุณภาพ นำความรู้กลับไปทำงานพัฒนาท้องถิ่นชุมชนมีสัมมาชีพมั่นคง เป็นพลเมืองที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ 3. เป้าหมายโครงการ • ผลผลิต (Output) 1. นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกสังกัดในจังหวัดนครปฐม ที่สมัครขอเข้ารับพระราชทุนการศึกษา ม.ท.ศ. 2. นักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. รุ่นที่ 12-14 จำนวน 6 คน


115 3. คณะกรรมการคัดเลือก คัดสรรผู้รับพระราชทานทุนและประสานงานระดับจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน • ผลลัพธ์ (Outcome) 1. คณะกรรมการระดับจังหวัด สามารถคัดเลือก คัดสรร ตามกระบวนการ เช่น เยี่ยมบ้านักเรียนเพื่อประเมิน สภาพจริง สัมภาษณ์จากนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกสังกัดในจังหวัดนครปฐม ที่สมัครขอเข้ารับพระราช ทุนการศึกษา ม.ท.ศ. ให้เหลือจำนวน 5 คน เพื่อเสนอสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 2. คณะกรรมการระดับจังหวัดฯ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนทุนพระราชทานรุ่นที่ 12 – 14 จำนวน 6 คน เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุนฯ การติดตามผลการเรียน ความประพฤติ ใช้จ่ายเงินทุน 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด 4.1 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สามารถคัดเลือก คัดสรร นักเรียนที่สมัครขอรับทุนการศึกษา พระราชทาน ม.ท.ศ. ได้ 4.2 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมและคณะกรรมการระดับจังหวัดฯ สามารถดำเนินการดูแลนักเรียน ที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ.รุ่นที่ 12-14 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกคน 5. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ 5.1 เชิงปริมาณ 5.1.1 นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีผลการเรียนดี มีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าระดับ ๓.๐๐ ประพฤติดี และพร้อมที่จะเข้ารับการฝึกและพัฒนาศักยภาพ สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนโครงการ ทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. จำนวน 20 คน 5.1.2 นักเรียนทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ.รุ่นที่ 12-14 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 6 คน 5.1.3 คณะกรรมการคัดเลือก คัดสรรผู้รับพระราชทานทุนและประสานงานระดับจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน 5.๒ เชิงคุณภาพ 5.2.1 สามารถคัดเลือกนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีคุณสมบัติ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เสนอสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ได้ตามเวลาที่กำหนด 5.2.2 ติดตามลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนทุนศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ.ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ครบทุกคน 5.2.3 คณะกรรมการคัดเลือก คัดสรรผู้รับพระราชทานทุนและประสานงานระดับจังหวัด ดำเนินการคัดเลือกคัดสรรได้โดยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ขอรับทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ.ทุกสังกัดในจังหวัดนครปฐม


116 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมย่อยที่ 1.1 : คณะกรรมการระดับจังหวัดฯ จำนวน 15 คน เยี่ยมบ้านนักเรียนทุน ม.ท.ศ.รุ่นที่ 12 - 14 จำนวน 6 คน จำนวน 2 วัน 3,600 กิจกรรมย่อยที่ 1.2 :คณะกรรมการระดับจังหวัดฯ จำนวน 15 คน เยี่ยมบ้านนักเรียนที่เสนอขอรับทุน ม.ท.ศ. จำนวน 20 คน จำนวน 5 วัน 9,000 กิจกรรมที่ 2 : การดำเนินการคัดเลือก คัดสรร นักเรียน ทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. กิจกรรมย่อยที่ 2.1 :ประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อรับฟังการชี้แจงโครงการฯ จำนวน 15 คน 750 กิจกรรมย่อยที่ 2.2 :คณะกรรมการระดับจังหวัด คัดเลือก คัดสรร นักเรียนที่เสนอขอรับทุน จำนวน 15 คน จำนวน 1 วัน 3,300 กิจกรรมที่ 3 : สรุป/รายงานผลการดำเนินงาน รวมวงเงิน (บาท) 3,600 13,050 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) พฤศจิกายน 2565 – เมษายน 2566 9. สถานที่ดำเนินการ 1. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2. บ้านนักเรียนทุน ม.ท.ศ.รุ่นที่ 12-14 3. บ้านนักเรียนที่สมัครขอรับทุนการศึกษา 10. งบประมาณ 16,650 บาท พร้อมระบุรายละเอียดงบประมาณ (จำแนกรายละเอียดตัวคูณ)


117 หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) กิจกรรมที่ 1 : ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมย่อยที่ 1.1 : คณะกรรมการระดับจังหวัดฯ จำนวน 15 คน เยี่ยมบ้าน นักเรียนทุน ม.ท.ศ. รุ่นที่ 12-14 จำนวน 6 คน จำนวน 2 วัน ค่าใช้สอย - ค่าเบี้ยเลี้ยง (15 คน x 120 บาท x 2 วัน) 3,600 กิจกรรมย่อยที่ 1.2 :คณะกรรมการระดับจังหวัดฯ จำนวน 15 คน เยี่ยมบ้าน นักเรียนที่เสนอขอรับทุน ม.ท.ศ. จำนวน 20 คน จำนวน 5 วัน ค่าใช้สอย - ค่าเบี้ยเลี้ยง (15 คน x 120 บาท x 5 วัน) 9,000 กิจกรรมที่ 2 : :การดำเนินการคัดเลือก คัดสรร นักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. กิจกรรมย่อยที่ 2.1 :ประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อรับฟังการชี้แจง โครงการฯ จำนวน 15 คน ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 15 คน x 1 มื้อ) 750 กิจกรรมย่อยที่ 2.2 : คณะกรรมการระดับจังหวัด คัดเลือก คัดสรร นักเรียนที่ขอรับ ทุน จำนวน 15 คน จำนวน 1 วัน ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 15 คน x 2 มื้อ) 1,500 - ค่าอาหารกลางวัน (120 บาท x 15 คน x 1 มื้อ) 1,800 รวมทั้งสิ้น 16,650 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง 11.1 ความเสี่ยง : 11.1.1 ขาดความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑๑.๑.๒ ข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการดำเนินโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. ทำให้สถานศึกษาคัดเลือกนักเรียนไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด 11.2 การบริหารความเสี่ยง 11.2.1 จัดประชุมคณะกรรมการฯระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อชี้แจง ความเป็นมาของโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. ในการช่วยกันขับเคลื่อนประสาน ความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมดำเนินกระบวนการคัดเลือก คัดสรร ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม เข้ารับทุนพระราชทาน พร้อมทั้ง ร่วมกันติดตามดูแลอย่างเป็นระบบ ๑๑.๒.๒ ขยายระยะเวลาในการดำเนินการคัดเลือก คัดสรร ผู้ขอรับพระราชทานทุนการศึกษา ม.ท.ศ. 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


118 4.3.10 โครงการการพัฒนาและจัดการเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์งบดำเนินงาน ............................................................................................................................. ............................................. ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (1) เป้าหมาย ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนองความ ต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส (2) ประเด็น ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (Y2) การบริการของรัฐมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ แผนย่อยของแผนแม่บทฯ การพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ เป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) ภาครัฐมีขีดสมรรถนะสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากลและมีความคล่องตัว ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ⁄ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) : V01 ศักยภาพบุคลากร (2) ชื่อปัจจัย (F) : F0101 ทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) (1) หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ 11 การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้อ 6 การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม 1. หลักการและเหตุผล เว็บไซต์เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลและใช้ในการสื่อสารของหน่วยงานกับบุคคลทั้งในและนอกองค์กร โดยในปัจจุบันการพัฒนาเว็บไซต์ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือที่ใช้พัฒนาและจัดการเว็บไซต์ ทำให้การพัฒนา เว็บไซต์มีความง่ายและรวดเร็วในการสร้างและการจัดการ การดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม ที่ผ่านมาจะเป็นลักษณะที่ให้บุคลากรแต่ละกลุ่มงานส่งข้อมูลต่าง ๆ มายังผู้ดูแลเว็บไซต์หลัก ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เพื่อให้อัพเดทและอัพโหลดข้อมูลเพราะการดำเนินการดังกล่าว ต้องอาศัยความรู้ความสามารถในการสร้างเว็บไซต์ ตลอดทั้งความรู้ด้านการเขียนโค้ด HTML ทำให้ยากในการ


119 พัฒนา จึงทำให้การทำงานมีความล่าช้าและข้อมูลไม่ทันสมัยและหลายกลุ่มงานส่งข้อมูลมาพร้อมกัน จึงมีข้อมูล ปริมาณมาก อีกทั้งหากมีการแก้ไขข้อมูลทำให้ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลกลับไปมาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เครื่องมือที่สามารถพัฒนาและจัดการเว็บไซต์ได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและมีความสวยงาม ซึ่งมีลักษณะการจัดการ โครงสร้างและเนื้อหาที่ง่าย รูปแบบการดีไซน์และการออกแบบที่สวยงาม สามารถสร้างเว็บไซต์ได้โดยผู้พัฒนา ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด HTML ให้ยุ่งยากเพราะโปรแกรม มีลักษณะเน้นไปทางระบบการจัดการเนื้อหา CMS (Content Management System) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสร้างและบริหารเว็บไซต์สำเร็จรูป โดยไม่ต้องมีความรู้ ในการเขียนโปรแกรมก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ ทำให้การจัดทำเว็บไซต์มีลักษณะของการดำเนินงานแบบเป็นระบบ สอดคล้องกับแนวนโยบายของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ที่จะกำลังดำเนินการปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและการจัดการเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สามารถ ดำเนินการได้ด้วยความรวดเร็วและสามารถสร้างและจัดการเว็บไซต์ของหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการจัด ฝึกอบรมการพัฒนาและจัดการเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เพื่อให้ผู้ดูแลเว็บไซต์แต่ละกลุ่ม งานสามารถพัฒนา และจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์ของหน่วยงานภายในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และสามารถที่จะพัฒนาและจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์ของหน่วยงานได้ โดยไม่จำเป็นที่จะส่ง ข้อมูลไปให้ผู้ดูแล เว็บไซต์หลักของหน่วยงานแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้การนำเสนอเนื้อหาและข้อมูลของหน่วยงานมีความ ล่าช้าในการดำเนินการ โดยหากผู้ดูแลเว็บไซต์แต่ละกลุ่มงานได้รับการฝึกอบรมในส่วน ของการพัฒนาและการ จัดการเว็บไซต์เกิดความรู้ ความเข้าใจ แล้วจะทำให้ข้อมูลของเว็บไซต์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้รับ การอัพเดท การอัพโหลดข้อมูลและแก้ไขเนื้อหาในเว็บไซต์ได้อย่างทันท่วงที 2. วัตถุประสงค์ 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้ 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถแก้ไข ปรับปรุงและจัดการเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด นครปฐมได้ 3. เป้าหมายโครงการ • ผลผลิต (Output) 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจสามารถสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจสามารถแก้ไข ปรับปรุงและจัดการเว็บไซต์ของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้ • ผลลัพธ์ (Outcome) - เว็บไซต์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม มีข้อมูลนำเสนอข้อมูลแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้เข้าเยี่ยมชมได้รับความสะดวก สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างสะดวก (Accessibility) และมีความน่าเชื่อถือ (Credibility) ของข้อมูล 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด - ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ รวมทั้งสามารถแก้ไข ปรับปรุงและจัดการเว็บไซต์ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


120 5. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (Output) เชิงปริมาณ - เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ของแต่ละกลุ่มงาน และบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ที่สนใจรับเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 12 คน เชิงคุณภาพ - เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ของแต่ละกลุ่มงาน และบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ที่สนใจได้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจสามารถสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ - เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ของแต่ละกลุ่มงาน และบุคลากรที่สนใจในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค.-ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค.-มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย.-มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค.-ก.ย.) กิจกรรมที่ 1 : การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ ของแต่ละกลุ่มงาน และบุคลากรที่สนใจในสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม - 6,750 - - รวมวงเงิน (บาท) - 6,750 - - 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) วันที่ 20 มกราคม 2566 9. สถานที่ดำเนินการ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 10. งบประมาณ จำนวนเงิน 6,750 บาท พร้อมระบุรายละเอียดงบประมาณ (จำแนกรายละเอียดตัวคูณ) หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) งบดำเนินงาน : • ค่าตอบแทน - ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมง x 600 บาท 3,600 • ค่าใช้สอย - ค่าอาหารกลางวัน 15 คน x 110 บาท 1,650 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (15 คน x 50 บาท x 2 มื้อ) 1,500 รวมทั้งสิ้น 6,750 หมายเหตุ : ขอถัวจ่ายทุกรายการ 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเสี่ยง : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมยังไม่มีความรู้ทางด้านการจัดทำและพัฒนาเว็บไซต์เท่าที่ควร การบริหารความเสี่ยง : พัฒนาและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำเว็บไซต์ การจัดการเนื้อหา และแก้ไขข้อมูลให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


121 4.3.11 โครงการประเมินและพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ และด้านการคิดคำนวณ แผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ งบดำเนินงาน …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้าน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (1) เป้าหมาย คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 (2) ประเด็น ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 12. การพัฒนาการเรียนรู้ (1) เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (Y2) คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น มีทักษะ ที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล เพิ่มขึ้น มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ (3) เป้าหมายแผนแม่บทย่อย คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็น ของโลกศตวรรษที่ 21 ในทุกระดับและสามารถเข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) : V02 ผู้สอน (ครู/อาจารย์) (2) ชื่อปัจจัย (F) : F0201 ผู้สอนยุคใหม่มีทักษะการจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ตอบสนองต่อความต้องการ ของประเทศ (ปริมาณ/คุณภาพ) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570) หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (2566-2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ - นโยบายรัฐบาล (1) นโยบายหลักที่ 8 การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทย (2) นโยบายเร่งด่วนที่ 7 การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (Goals) เป้าหมายย่อยที่ 4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนสูง สามารถอ่านออกเขียน ได้ และคำนวณได้ ภายในปี พ.ศ. 2573 นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้มีความรู้ มีทักษะมีสมรรถนะ และความสามารถในการแข่งขัน


122 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 1. หลักการและเหตุผลความจำเป็น สถานการณ์โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับ ระบบการศึกษาต้องมีการพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริง แนวคิดเรื่อง “ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ที่มุ่งเน้นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3Rs 4Cs ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ 3Rs ได้แก่ การอ่าน (Reading) การ เขียน (Writing) และคณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 4Cs ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) การสื่อสาร (Communication) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และการร่วมมือ (Collaboration) โดยเฉพาะผู้เรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องมีทักษะอื่นอีกหลายด้าน เช่น ทักษะการสื่อสาร และทักษะการคิดคำนวณ เป็นต้น เพื่อให้อยู่ในโลกแห่งการแข่งขันได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดนโยบายและจุดเน้น เพื่อให้การบริหารจัดการศึกษา มีความสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ชาติเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ วัตถุประสงค์ของแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา และนโยบายของรัฐบาล เรื่องการเตรียมคนในศตวรรษที่ 21 ในระดับประถมศึกษามุ่งคำนึงถึง พหุปัญญาของผู้เรียนรายบุคคลที่หลากหลาย ตามศักยภาพ โดยเฉพาะการเรียนภาษาไทย เน้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการเรียนรู้วิชาอื่น รวมถึงนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนระดับประถมศึกษาคิดเลขเป็น พร้อมกับ สร้างเด็กให้เกิดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ รวมถึงการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้แก้ปัญหาได้ สอดคล้องกับนโยบาย ปีการศึกษา 2558 เด็กที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องอ่านออกเขียนได้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วน “เด็กจบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องอ่านออกเขียนได้ และต้องมีระบบการประเมินที่เป็นรูปธรรม” โดย สำนักทดสอบ ทางการศึกษา จัดบริการเครื่องมือมาตรฐานเพื่อใช้วินิจฉัยความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสามารถพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านการอ่าน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ครูผู้สอนมีข้อมูลความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน สำหรับนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล นำข้อมูลไปสู่ การปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนในปีการศึกษาถัดไป นอกจากนั้น สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีโครงการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2526 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์ ของการประเมิน เพื่อตรวจสอบความสามารถพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งในด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ครูผู้สอนมีข้อมูล ความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน สำหรับนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้เรียน เป็นรายบุคคล และทราบถึงสาระการเรียนรู้ที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา นำข้อมูลไปสู่การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ในปีการศึกษาถัดไป อีกทั้ง ทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รู้จุดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาผู้เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 รวมถึงนโยบายการยกระดับคุณภาพการศึกษา ข้อ 9 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการนำ ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติไปใช้วางแผนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ ของการประเมินผลคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด และขับเคลื่อนการนำผลการประเมิน RT, NT


123 ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ เพื่อดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเอกชนที่สมัครใจเข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือมาตรฐาน ระดับชาติ และนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องต่อไป 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 2.2 เพื่อประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 2.3 เพื่อจัดทำสารสนเทศผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 2.4 เพื่อพัฒนาครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาภาวะการเรียนถดถอย (Loss Learning) 3. เป้าหมายโครงการ 3.1 ผลผลิต (Output) 3.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม ได้รับการประเมินคุณภาพผู้เรียน ด้วยเครื่องมือมาตรฐานระดับชาติ 3.1.2 เอกสารสารสนเทศผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3.1.3 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3 มีความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาภาวะการเรียนถดถอย (Loss Learning) 3.2 ผลลัพธ์ (Outcome) 3.2.1 สถานศึกษาได้ข้อมูลผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนา ผู้เรียนเป็นรายบุคคล 3.2.2 ครูนำสารสนเทศผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน 3.2.3 ครูสามารถใช้เครื่องมือมาตรฐานที่เน้นการเขียนตอบในการประเมินคุณภาพผู้เรียน เป็นตัวอย่างในการพัฒนาเครื่องมือในชั้นเรียนให้มีความน่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับแนวทางการประเมินคุณภาพ ผู้เรียนระดับชาติและระดับนานาชาติ 3.2.4 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้(Learning Loss Recovery) 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด 4.1 สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม สามารถพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพผู้เรียนและมีการตรวจให้คะแนนที่ได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือและสอดคล้อง กับแนวทาง การประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติและระดับนานาชาติ


124 4.2 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผลการประเมิน คุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของสถานศึกษาสูงขึ้น 5. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม ที่สมัครใจได้รับการประเมินด้วย เครื่องมือมาตรฐานระดับชาติ 2. มีเอกสารสารสนเทศผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ฉบับ 3. ร้อยละ 80 ของครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาภาวะการเรียนถดถอย (Loss Learning) เชิงคุณภาพ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม ได้รับการประเมินคุณภาพผู้เรียนด้วย เครื่องมือมาตรฐานระดับชาติ 2. เอกสารสารสนเทศผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผล การประเมินคุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความครบถ้วนถูกต้อง 3. มีการนำผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 4. ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถ จัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้(Learning Loss Recovery) 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ 6.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม 6.2 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม 6.3 สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) 7.1 ประชุมคณะกรรมการศูนย์สอบและสนามสอบ 6,500 7.2 ตรวจเยี่ยมสนามสอบ ในการประเมินคุณภาพ ผู้เรียน ชั้น ป.1 และ ชั้น ป.3 5,000


125 กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) 7.3 จัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ปี การศึกษา 2565 2,000 7.4 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูภาษาไทย และครู คณิตศาสตร์ให้มีความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อ ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้(Learning Loss Recovery) 37,950 7.5 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนรู้เพื่อ ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้(Learning Loss Recovery) 15,000 7.6 สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน 8,550 รวมวงเงิน (บาท) 13,500 37,950 23,550 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) มกราคม ถึง กันยายน ๒๕๖6 9. สถานที่ดำเนินการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม ที่สมัครใจเข้ารับการประเมิน 10. งบประมาณ 75,000 บาท พร้อมระบุรายละเอียดงบประมาณ (จำแนกรายละเอียดตัวคูณ) หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) กิจกรรมที่ ๑ ประชุมคณะกรรมการศูนย์สอบและสนามสอบ 6,500 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน x 50 บาท x ๑ มื้อ 3,000 - ค่าห้องประชุม 1,500 - ค่าวัสดุ 2,000 กิจกรรมที่ ๒ ตรวจเยี่ยมสนามสอบ ในการประเมินคุณภาพผู้เรียน ชั้น ป.1 และ ชั้น ป.3 5,000 - ค่าพาหนะเดินทางไปราชการ จำนวน 5 คน 5,000 กิจกรรมที่ 3 จัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 2,000 - ค่าจัดทำเอกสารรายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 20 เล่ม x 100 บาท 2,000 กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูภาษาไทย และครู คณิตศาสตร์ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา ภาวะการเรียนถดถอย (Loss Learning) 37,950 - ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง 7,200


126 หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) - ค่าอาหารกลางวัน 115 คน x 110 บาท x 1 มื้อ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 115 คน x 50 บาท x 2 มื้อ - ค่าห้องประชุม - ค่าวัสดุ - ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ 12,650 11,500 1,500 2,800 2,300 กิจกรรมที่ 5 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนรู้เพื่อ แก้ปัญหาภาวะการเรียนถดถอย (Loss Learning) 15,000 - ค่าพาหนะเดินทางไปราชการ จำนวน 6 คน 15,000 กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผล 8,550 - ค่าอาหารกลางวัน 10 คน x 110 บาท x 1 มื้อ 1,100 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 คน x 50 บาท x 2 มื้อ 1,000 - ค่าห้องประชุม 1,500 - ค่าวัสดุ 1,450 - ค่าจัดจ้างพิมพ์เอกสารรายงานผล 100 หน้า x 15 บาท 1,500 - ค่าจัดทำเอกสารรายงานผล 20 เล่ม x 100 บาท 2,000 รวมทั้งสิ้น 75,000 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเสี่ยง : ความถูกต้องของการจัดสอบระดับสนามสอบ การบริหารความเสี่ยง : 1. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินการสอบ 2. ตรวจเยี่ยมสนามสอบ 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


127 4.3.12 โครงการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ งบรายจ่ายอื่น ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (1) เป้าหมาย ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส (2) ประเด็น ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนา ในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (1) เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (Y2) บริการของภาครัฐมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ การบริหารจัดการการเงินการคลัง (3) เป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) หน่วยงานภาครัฐบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) : V01 แผนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (2) ชื่อปัจจัย (F) : F0104 แผนที่ยืดหยุ่น ปรับตัวได้ทันสถานการณ์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570) หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (2566-2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่.................................................-...................................................................... นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ 11 การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (Goals) เป้าหมายย่อยที่ (Target)................................................................................................................................ นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 6. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม


128 1. หลักการและเหตุผลความจำเป็น ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 3 มาตรา 9 (1) , (2) ที่กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า และแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว ต้องมีรายละเอียดขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมาย ของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดของภารกิจของหน่วยงาน และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 7 กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจ ของตน โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (แผนระดับ 1) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 นโยบายระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (แผนระดับ 2) นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่น ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำลังเงินงบประมาณของประเทศความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน กอปร กับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐปรับปรุงแผนระดับ 3 ให้สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อ 11 ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด รับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายในแผนระดับ 1 และระดับ 2 รวมทั้งสอดรับ กับมติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 นโยบายและจุดเน้น กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงจัดทำโครงการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด นครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการ (แผน ระดับ 3) ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนระดับ 1 แผนระดับ 2 และบริบทที่เกี่ยวข้อง เป็นกรอบแนวทางในการ พัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ให้กับหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดนครปฐม อีกทั้งเป็นเครื่องมือบริหารงานและ ปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน พร้อมสำหรับเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ตลอดจนเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม 2. เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 3. เพื่อจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 3. เป้าหมายโครงการ 3.1 ผลผลิต (Output) 3.1.1 ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ 3.1.2 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1 ฉบับ 3.1.3 แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับสมบูรณ์


129 3.1.4 แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 1 ฉบับ 3.2 ผลลัพธ์ (Outcome) 3.2.1 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน พร้อมสำหรับการนำไปใช้ในการบริหารงานหรือวางแผนในการปฏิบัติงาน 3.2.2 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นเครื่องมือบริหารงานและปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 3.2.3 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ที่สอดคล้อง กับประเด็นยุทธศาสตร์ต่าง ๆ นโยบายรัฐบาล นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ และบริบท ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ให้กับหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดนครปฐม 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน พร้อมสำหรับนำมาใช้ในการบริหารจัดการ จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการ บริหารงานและปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 6. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ 5.1 ตัวชี้วัดผลผลิต (Outputs) 5.1.1 ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ 5.1.2 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จำนวน 1 ฉบับ 5.1.3 แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 ฉบับ 5.1.4 แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 1 ฉบับ 5.2 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes) 5.2.1 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พร้อมสำหรับเป็นข้อมูล ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5.2.2 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 5.2.3 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ให้กับหน่วยงาน การศึกษาในจังหวัดนครปฐม 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ หน่วยงานการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครปฐม และบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม


130 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) กิจกรรมที่ 1 : ประชุมคณะกรรมการบริหารข้อมูล สารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดนครปฐม 2,000 - - - กิจกรรมที่ 2 : ประชุมคณะทำงานจัดทำ แผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 4,750 - - 1,450 กิจกรรมที่ 3 : ประชุมวิพากษ์แผนพัฒนา การศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) 8,300 - - - กิจกรรมที่ 4 : ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำ แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ฉบับ ทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - - 13,900 รวมวงเงิน (บาท) 15,050 - 13,900 1,450 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) ตุลาคม 2565 – กันยายน 2566 9. สถานที่ดำเนินการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม/สถานที่เอกชน 10. งบประมาณ 30,400 บาท (*ถัวจ่ายทุกรายการ) พร้อมระบุรายละเอียดงบประมาณ หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) กิจกรรมที่ 1 : ประชุมคณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้าน การศึกษาจังหวัดนครปฐม 2,000 ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 20 คน x 1 มื้อ) 1,000 - ค่าสถานที่ 1,000 กิจกรรมที่ 2 : ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 6,200 ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 25 คน x 1 มื้อ) 1,250 - ค่าถ่ายเอกสาร/จัดทำรูปเล่ม/อื่นๆ 3,950 ค่าวัสดุ - ค่าวัสดุสำนักงานและวัสดุคอมพิวเตอร์ 1,000


131 หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) กิจกรรมที่ 3 : ประชุมวิพากษ์แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) 8,300 ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 30 คน x 2 มื้อ) 3,000 - ค่าอาหารกลางวัน (110 บาท x 30 คน x 1 มื้อ) 3,300 - ค่าถ่ายเอกสาร/จัดทำรูปเล่ม/อื่น ๆ 1,000 - ค่าสถานที่ 1,000 กิจกรรมที่ 4 : ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐม ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 13,900 ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 40 คน x 2 มื้อ) 4,000 - ค่าอาหารกลางวัน (110 บาท x 40 คน x 1 มื้อ) 4,400 - ค่าสถานที่ 1,500 - ค่าถ่ายเอกสาร/จัดทำรูปเล่ม/อื่น ๆ 2,000 - ค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก และพาหนะ 2,000 รวมทั้งสิ้น 30,400 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเสี่ยง : มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ทิศทางหรือแนวทางการปฏิบัติงานในการปฏิรูปการศึกษาอาจทำ ให้ผู้จัดทำแผนไม่เข้าใจ และจัดทำแผนได้ไม่สอดคล้องกับนโยบายที่เปลี่ยนแปลง การบริหารความเสี่ยง : ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ทำความเข้าใจ และประสานงานรับฟังคำชี้แจงนโยบาย ยุทธศาสตร์ทิศทางการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการก่อนการจัดประชุม พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อธิบายชี้แจงในที่ประชุม 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


132 4.3.13 โครงการการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาจังหวัดนครปฐม โดยผ่านกลไกของ กศจ. แผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ งบดำเนินงาน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (1) เป้าหมาย ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส (2) ประเด็น ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนา ในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (1) เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (Y2) บริการของรัฐมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ การบริหารจัดการการเงินการคลัง เป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) หน่วยงานภาครัฐบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) : V02 การขับเคลื่อนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (2) ชื่อปัจจัย (F) : F0201 กลไกและช่องทางที่เอื้อให้การบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการนำแผนหรือนโยบาย ไปปฏิบัติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570) หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน กลยุทธ์ที่ 2 ปรับเปลี่ยนการบริหาร จัดการและโครงสร้างของภาครัฐให้ยืดหยุ่น เชื่อมโยง เปิดกว้างและมีประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการ พัฒนาประเทศ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (2566-2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่.................................................-...................................................................... นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ 11 การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (Goals) เป้าหมายย่อยที่ (Target)................................................................................................................................ นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 6. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม


133 1. หลักการและเหตุผลความจำเป็น ยุทธศาสตร์ชาติ(พ.ศ. 2561-2580) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม หัวข้อ การลด ความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติในส่วนของการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และการศึกษาโดยเฉพาะสำหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ได้กำหนดให้ด้านการศึกษาเน้นการสร้างโอกาส ในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเสมอกัน โดยเฉพาะในด้านที่ห่างไกล ทุรกันดารและยากจน และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การจัดให้มีมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การสนับสนุน กลไกความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆเพื่อพัฒนาการศึกษาในระดับจังหวัด คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 กำหนดให้ในแต่ละจังหวัดให้มีคณะกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) มีอำนาจหน้าที่ในส่วนของการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียมและทั่วถึงในพื้นที่จังหวัด โดยการกำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการจัดการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุน การจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคลครอบครัวองค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย ให้ความเห็นชอบกรอบการ ประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการ หรือหน่วยงาน และสถานศึกษา และกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือหน่วยงาน และสถานศึกษา โดยมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการศึกษาธิการ จังหวัด ตามยุทธศาสตร์ชาติและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เน้นให้มีประสานและ การบูรณาการดำเนินงานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานที่มีภารกิจจัดการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้ององค์กรภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดให้ตอบสนองความต้องการเชิงพื้นที่ ซึ่งจะต้องดำเนินการโดยมีแนวทางที่ผ่านการร่วมกันกำหนด ร่วมกันขับเคลื่อน ร่วมกันประเมิน และร่วมกันนำเสนอและปรับปรุงเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากเหตุผลและความจำเป็นข้างต้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีโครงการบูรณาการขับเคลื่อน การยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดโดยผ่านกลไกของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) 2. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง ตามบริบทของจังหวัด มีเครือข่ายในการจัดการศึกษา โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของส่วนราชการ หน่วยงาน สถานศึกษา ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาบันประกอบการ และสถาบันที่จัดการศึกษาอื่น 2) เพื่อจัดทำกลไกการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ 3) เพื่อให้มีตัวชี้วัดการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษา ในจังหวัดที่สอดคล้องกับแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียมและทั่วถึง ตามบริบทของจังหวัด 4) เพื่อให้มีการกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มี คุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึงของจังหวัดตามตัวชี้วัดการดำเนินงาน 5) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่ายการจัดการศึกษา


134 3. เป้าหมายโครงการ 3.1 ผลผลิต (Output) 3.1.1 มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง ตามบริบทของจังหวัดนครปฐม 3.1.2 มีกลไกการยกระดับคุณภาพการศึกษาแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ 3.1.3 มีตัวชี้วัดผลการดำเนินงานขับเคลื่อนแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและ การเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียม และทั่วถึงตามบริบทของจังหวัดนครปฐม 3.1.4 มีปฏิทินการกำกับติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโดยผ่านกลไก ของ กศจ. เป็นรายไตรมาส 3.2 ผลลัพธ์ (Outcome) 3.2.1 คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ส่วนราชการ หน่วยงาน สถานศึกษา ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาบันประกอบการและสถาบันที่จัดการศึกษาอื่น มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียมและทั่วถึง ตามบริบทของจังหวัดนครปฐม กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผล 3.2.2 จังหวัดมีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึงของจังหวัดนครปฐมให้มีคุณภาพและความเท่าเทียมตามบริบทของจังหวัด ซึ่งกำหนดขึ้นอย่างมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วนของจังหวัดที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา รวมทั้งมีการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ที่เป็นตัวชี้วัดกลางสำหรับให้ส่วนราชการ หน่วยงานและสถานศึกษาใช้ขับเคลื่อนแนวทางการยกระดับคุณภาพ การศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึงตามบริบทของจังหวัดและมีการติดตามความก้าวหน้า อย่างต่อเนื่อง 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเสมอกันอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง 7. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ 5.1 ตัวชี้วัดผลผลิต (Outputs) 5.1.1 มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง ตามบริบทของจังหวัดที่กำหนดขึ้นอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 5.1.2 มีตัวชี้วัดผลการดำเนินงานขับเคลื่อนแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและ การเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง ตามบริบทของจังหวัด ที่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดมีส่วนร่วม ในการดำเนินการ 5.1.3 มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด 5.2 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สามารถบริหารจัดการศึกษาและปฏิบัติงานภายใต้กลไก ขององค์คณะบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาในจังหวัดได้ 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ หน่วยงานการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครปฐม และบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม


135 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ 7.1 วิธีดำเนินการ (Activity) 7.1.1 ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง 7.1.2 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน และเตรียมดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง 7.1.3 ประสานการดำเนินงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 7.1.4 ดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด 7.1.5 กำกับ ติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียม และทั่วถึงของจังหวัดนครปฐม ทุกไตรมาส 7.1.6 สรุป รายงานผลการดำเนินงาน 7.2 กิจกรรมดำเนินการ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) กิจกรรมที่ 1 : ประชุมคณะทำงานเตรียมการจัด ประชุมการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการ พัฒนาการศึกษาตามพระบรมราโชบายใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรม หาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” จำนวน 2 วัน 26,500 - - - กิจกรรมที่ 2 : ดำเนินการจัดประชุมการบรรยาย พิเศษในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาการศึกษาตาม พระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” 61,400 - - - กิจกรรมที่ 3 : การกำกับ ติดตาม และประเมินผล การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึงตามบริบท ของจังหวัดนครปฐม ทุกไตรมาส กิจกรรมที่ 4 : สรุป รายงานผลการดำเนินงานการ ขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและ ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาฯ - - - 3,000 รวมวงเงิน (บาท) 87,900 - - 3,000 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) ตุลาคม 2565 – กันยายน 2566 9. สถานที่ดำเนินการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม/สถานที่เอกชน/หน่วยงานทางการศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 10. งบประมาณ 90,900 บาท (เก้าหมื่นเก้าร้อยบาทถ้วน) (*ถัวจ่ายทุกรายการ) พร้อมระบุรายละเอียดงบประมาณ


136 หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) กิจกรรมที่ 1 : ประชุมคณะทำงานเตรียมการจัดประชุมการบรรยาย พิเศษในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาการศึกษาตามพระบรมราโชบาย ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” จำนวน 2 วัน 26,500 ค่าใช้สอย - ค่าอาหารกลางวัน (110 บาท x 2 มื้อ x 30 คน) 6,600 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 4 มื้อ x 30 คน) 6,000 - ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อวีดิทัศน์นำเสนอผลงานฯ 10,000 - ค่าถ่ายเอกสาร (30 ชุด X 15 บาท X 2 ครั้ง) 900 ค่าวัสดุ - ค่าวัสดุสำนักงาน 3,000 กิจกรรมที่ 2 : ดำเนินการจัดประชุมการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาการศึกษาตามพระบรมราโชบายในพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” พร้อมด้วยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดทั้ง 3 คณะ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลาการทางการศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 61,400 ค่าตอบแทน - ค่าตอบแทนวิทยากร (ภายนอก 2 คน x 3 ชม.x 1,200 บาท) 7,200 ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 1 มื้อ x 450 คน) 22,500 - ค่าสถานที่ 10,000 - ค่าถ่ายเอกสาร 450 ชุด ๆ ละ 20 บาท 9,000 - ค่าพาหนะ 3,000 ค่าวัสดุ - ค่าวัสดุสำนักงานและวัสดุคอมพิวเตอร์ 9,700 กิจกรรมที่ 3 : การกำกับ ติดตาม และประเมินผลการยกระดับ คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง ตามบริบทของจังหวัดนครปฐม ทุกไตรมาส - กิจกรรมที่ 4 : สรุป รายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาฯ 3,000 ค่าใช้สอย - ค่าถ่ายเอกสาร 5 ชุด ๆ ละ 100 บาท 500 - ค่าจ้างทำเล่มเอกสาร 5 เล่มๆละ 100 บาท 500 ค่าวัสดุ 2,000 - ค่าวัสดุสำนักงาน 2,000 รวมทั้งสิ้น 90,900


137 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเสี่ยง : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2) ส่วนราชการ หน่วยงาน สถานศึกษา อาจไม่นำแนวทางไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การบริหารความเสี่ยง : 1) ประสานงานการเข้าร่วมกิจกรรมก่อนดำเนินการ 2) กำหนดแนวทางให้ตอบโจทย์ความต้องการเชิงพื้นที่และมีความแตกต่างไปจากภาระงานปกติ 3) มีการชี้แจงสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนและทั่วถึง 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


138 4.3.14 โครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์งบรายจ่ายอื่น ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้าน ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (1) เป้าหมาย ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนอง ความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส (2) ประเด็นยุทธศาสตร์ ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Y) ประเด็น (20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (1) เป้าหมายระดับประเด็น (Y2) การพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ (2) แผนย่อยของแผนแม่บท การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (3) เป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) 200401 ภาครัฐมีขีดสมรรถนะสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากลและมีความคล่องตัว ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) 01 ศักยภาพบุคคลากร (2) ชื่อปัจจัย (F) 0101 ทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑3 (พ.ศ. 2566 – 2570) (1) หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (2566 – 2570) นโยบายและแผนความมั่นคงแห่งชาติที่ - นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ 8 การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (Goals) เป้าหมายย่อยที่ (Target) - นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้อ 5 การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม


139 1. หลักการและเหตุผลความจำเป็น ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่งและ ยั่งยืนในระยะ ยาวตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) และแนวคิด ประเทศไทย 4.0 : โมเดลขับเคลื่อนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้มีการกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้นวัตกรรม การปฏิรูปกระบวนการ ทางธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการ การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารราชการ แผ่นดิน และการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 มีมติเห็นชอบในหลักการ แนวทาง การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาครัฐมีกำลังคนที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสมที่จะเป็นกลไกขับ เคลื่อนที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล และเพื่อให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถ ปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทและพฤติกรรม ที่คาดหวังในบริบทของการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลและสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุดได้ ปัจจุบันการพัฒนาบุคลากร เป็นหัวใจสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร บุคลากรจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับ การพัฒนาตลอดเวลาเพื่อให้มีความคิดสร้างสรรค์ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นการ นำศักยภาพของแต่ละบุคคลมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาความรู้ความสามารถที่มีอยู่ รวมทั้ง กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ และสมรรถนะเพื่อให้การปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างให้แต่ละบุคคล เกิดทัศนคติที่ต่อการปฏิบัติงานและองค์กร ตลอดจนเกิดความตระหนักในคุณค่า ของตนเองและเพื่อนร่วมงาน อย่างไรก็ตามการพัฒนาองค์กร ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ การพัฒนาระบบในการทำงาน ซึ่งเมื่อมีการปรับเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการปฏิบัติงานไปตามระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร จะต้องมีการพัฒนาและปรับให้มีความเหมาะสม ให้กับ ยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงความรู้ในด้านต่าง ๆ ของบุคลากร เป็นเรื่องที่จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากเป็นการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ได้อย่างดีแล้ว ยังจำเป็นจะต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดขวัญกำลังในการทำงาน ที่นับว่าเป็น สวัสดิการอันดีให้กับบุคลากรในองค์กร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านการศึกษา ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉะนั้นบุคลากรภายในสำนักงานจะต้องได้รับการพัฒนา คุณภาพด้านวิชาการ ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีใหม่ ๆ ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการพัฒนา อยู่เป็นประจำและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงจัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรของศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น สามารถพัฒนางานในหน้าที่ ความรับผิดชอบให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด


140 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมให้มีแรงจูงใจและ เจตคติที่ดีต่อการพัฒนาตนเองและองค์กร 2.2 เพื่อให้บุคลากรสามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความพร้อมที่ ปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลและสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ 3. เป้าหมายโครงการ 3.1 ผลผลิต (Output) 1) บุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมทุกคน ได้รับการพัฒนา สมรรถนะหลัก ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) บุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมทุกคน ได้รับการพัฒนาด้านดิจิทัลสำหรับ ข้าราชการภาครัฐ 3.2 ผลลัพธ์ (Outcome) 1) บุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายและพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลประโยชน์ต่อผู้รับบริการ 2) บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรมีทักษะด้านดิจิทัล และสามารถนำมาปฏิบัติงาน เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด 4.1 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม มีบุคลากรที่มีศักยภาพสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างผลงานที่มีความโดดเด่นส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นที่ยอมรับของประชาชน 4.2 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม มีบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม และเป็นกำลังคน ที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามนโยบาย Thailand 4.0 5. ดัชนีตัวชี้วัดความสำเร็จ 5.1 เชิงปริมาณ 1) ร้อยละ 80 ของบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนา เสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงาน 2) ร้อยละ 80 ของบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล 5.2 เชิงคุณคุณภาพ 1) ร้อยละ 80 ของบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรนำความรู้ไปใช้ในการ ปฏิบัติงาน 2) ร้อยละ 80 ของบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนา มีทักษะในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมา ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ บุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน


141 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) กิจกรรมที่ 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนา ศักยภาพด้านดิจิทัล สำหรับข้าราชการภาครัฐ 40,000 รวมวงเงิน (บาท) 40,000 9. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2566 10. สถานที่ดำเนินการ สถานที่เอกชน 11. งบประมาณ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจาก สป.ศธ. จำนวน 40,000 บาท *ถัวจ่ายทุกรายการ หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) งบดำเนินงาน : • ค่าตอบแทน - ค่าตอบแทนวิทยากร (600 บาท X 6 ชม. X 2 คน) 7,200 • ค่าใช้สอย - ค่าอาหารกลางวัน (300 บาท x 40 คน x 1 มื้อ) 12,000 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 40 คน x 2 มื้อ) 4,000 - ค่าอาหารเย็น (350 บาท x 40 คน x 1 มื้อ) 14,000 - ค่าถ่ายเอกสาร 800 - ค่าสถานที่ 1,000 • ค่าวัสดุ - วัสดุสำนักงานและค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ 1,000 รวมทั้งสิ้น 40,000 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ ความเสี่ยง : - ความพร้อมของบุคลากร เนื่องจากบุคลากรมีการเปลี่ยนแปลง โยกย้าย และมาจากหลากหลายกลุ่ม งาน ทำให้มีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน - การบริหารจัดการในองค์กรยังขาดความเป็นระบบและต่อเนื่อง - การติดตามประเมินผล การทบทวนและปรับปรุงไม่สม่ำเสมอ การบริหารความเสี่ยง : - ความพร้อมขององค์กรในการบริหารจัดการ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบการทำงาน หรือการ ออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ - การบริหารจัดการในองค์กร ต้องเป็นระบบและมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน เพื่อให้บุคลากรสามารถ ประสานความเชื่อมโยงได้อย่างเป็นระบบ - ให้มีการติดตาม และประเมินผลการทำงาน ทบทวนและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


142 4.3.15 โครงการตรวจติดตามประเมินผลและนิเทศการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ แผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ งบรายจ่ายอื่น ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้าน การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (1) เป้าหมาย ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส (2) ประเด็น ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมาย และเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (20) ด้านการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (1) เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (Y2) บริการของรัฐมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ การบริหารจัดการการเงินการคลัง (3) เป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) หน่วยงานภาครัฐบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) : V03 การติดตามผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ (2) ชื่อปัจจัย (F) : F0302 การเชื่อมโยงข้อมูลการติดตามและประเมินผลระหว่างหน่วยงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570) หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (2566-2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ - นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริต และ ประพฤติมิชอบในภาครัฐ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (Goals) เป้าหมายย่อยที่ 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชนความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความ หลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573 นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 6. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ


143 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม 1. หลักการและเหตุผลความจำเป็น ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นหน่วยงานตัวแทน กระทรวงศึกษาธิการในระดับจังหวัด ข้อ ๑๑ (๓) มีหน้าที่ในการสั่งการ กำกับ ดูแล เร่งรัดติดตามและประเมินผล การปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๐ ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด กำหนดแนวทาง ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในจังหวัด วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดและสํานักงานศึกษาธิการภาค เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของคำสั่งและระเบียบดังกล่าวก็เพื่อให้หน่วยงานการศึกษาทุกสังกัด จัดการศึกษาสนองตอบแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยอาศัยการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาเป็นกลไกสำคัญอันจะส่งผลให้หน่วยงานการศึกษา บริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาจะกอใหเกิดการ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทํางานขององคกรและเปนการรองรับการเปลี่ยนแปลงและสถานการณที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ เกิดการบูรณาการงานระดับพื้นที่ สนองตอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ กระทรวงศึกษาธิการและพื้นที่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมจึงจัดทำโครงการตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ขึ้น 2. วัตถุประสงค์ 2.๑ เพื่อรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการดำเนินงานตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานระดับจังหวัด 2.๒ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการ หรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับจังหวัด 3. เป้าหมายโครงการ 3.1 ผลผลิต (Output) 3.1.1 ส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครปฐม ได้รับการติดตาม ประเมินผล และนิเทศการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ 3.1.2 รายงานผลการติดตาม ประเมินผล และนิเทศการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ


144 3.2 ผลลัพธ์ (Outcome 3.2.1 ส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครปฐม ได้รับการติดตาม ประเมินผล และนิเทศให้มีคุณภาพตามตัวชี้วัดในการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม 3.2.2 การรายงานผลเป็นระยะ (๖ เดือน, ๑๒ เดือน) ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานให้ทันตาม ปฏิทินการทำงานที่กำหนดไว้ 3.2.3 ผลการรายงานสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลแนวทางการปรับแผนในปีต่อไปได้ 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลระบบบริหาร และการจัดการศึกษา รายงานผลการนิเทศการศึกษา และรายงานผลการตรวจราชการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทาง ปรับปรุง และพัฒนา การศึกษาในพื้นที่ 5. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ 5.1 เชิงปริมาณ 5.1.1 มีรายงานผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและสนับสนุนการตรวจราชการ จำนวน 1 ฉบับ 5.1.2 มีรายงานผลการติดตามประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ 5.1.3 มีรายงานการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 1 ฉบับ 5.2 เชิงคุณภาพ 5.2.1 มีการนำข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมมาวางแผนปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ให้มีคุณภาพตามเป้าหมายการจัดการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 5.2.2 รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ ของกระทรวงศึกษาธิการในระดับจังหวัด มีความถูกต้องครบถ้วน บ่งชี้สภาพแท้ของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับจังหวัด 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ ส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครปฐม จำนวน ๓๓4 แห่ง 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) 7.1 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลเพื่อสนับสนุนการ ตรวจราชการ ครั้งที่ ๑ 12,000


145 กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) 7.2 ประชุมปฏิบัติการคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา 2,750 7.3 ติดตามประเมินผลระบบบริหารและ การจัดการศึกษาภาคสนาม 35,000 7.4 ประชุมรับการตรวจราชการและมอบ นโยบายจากผู้ตรวจราชการกระทรวง ศึกษาธิการ 2,200 7.5 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลเพื่อสนับสนุนการ ตรวจราชการ ครั้งที่ ๒ 12,000 7.6 กิจกรรมอื่น ๆ 1,350 รวมวงเงิน (บาท) 49,750 14,200 1,350 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) ตุลาคม ๒๕๖5 ถึง กันยายน ๒๕๖6 9. สถานที่ดำเนินการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวง ศึกษาธิการในจังหวัดนครปฐมจำนวน ๓๓4 แห่ง 10. งบประมาณ 65,300 บาท พร้อมระบุรายละเอียดงบประมาณ (จำแนกรายละเอียดตัวคูณ) หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) กิจกรรมที่ ๑ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลเพื่อสนับสนุน การตรวจราชการ ครั้งที่ ๑ 12,000 - ค่าพาหนะเดินทางไปราชการ จำนวน 5 คน 12,000 กิจกรรมที่ ๒ ประชุมปฏิบัติการคณะกรรมการติดตามประเมินผล ระบบบริหารและการจัดการศึกษา 2,750 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 คน x 50 บาท x ๑ มื้อ 1,750 - ค่าเอกสารประกอบการประชุม 1,000 กิจกรรมที่ ๓ ติดตามประเมินผลสถานศึกษาภาคสนาม 35,000 - ค่าพาหนะเดินทางไปราชการ จำนวน 35 คน 35,000 กิจกรรมที่ 4 ประชุมรับการตรวจราชการและมอบนโยบาย จากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2,200 - ค่าอาหารกลางวัน 20 คน x 110 บาท x 1 มื้อ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คน x 50 บาท x ๑ มื้อ 2,200 1,000


146 หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) กิจกรรมที่ 5 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลเพื่อสนับสนุน การตรวจราชการ ครั้งที่ ๒ 12,000 - ค่าพาหนะเดินทางไปราชการ จำนวน 5 คน 12,000 กิจกรรมที่ ๖ กิจกรรมอื่น ๆ 1,350 - ค่าพาหนะเดินทางไปราชการกรณีต่าง ๆ (นิเทศ ประชุม อบรม ของศึกษานิเทศก์) 1,350 รวมทั้งสิ้น 65,300 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเสี่ยง : การติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา อาจดำเนินการ ได้ไม่ครบทุกโรงเรียน การบริหารความเสี่ยง : กำหนดแผนการติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา และประชุมคณะกรรมการ เพื่อกำหนดปฏิทินการปฏิบัติการติดตาม ตรวจสอบฯ ที่ชัดเจน 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


147 4.3.16 โครงการพัฒนาครูโรงเรียนเอกชน แผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์งบรายจ่ายอื่น ..................................................................................................................................................................................... ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้าน 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (1) เป้าหมาย คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 (2) ประเด็น 4.1 ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 4.3.3 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (12) การพัฒนาการเรียนรู้ (1) เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (Y2) คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น มีทักษะ ที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ประสิทธิผลเพิ่มขึ้น มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (3) เป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 ในทุกระดับและสามารถเข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) : V01 หลักสูตรการจัดการศึกษา (2) ชื่อปัจจัย (F) : F0102 การประกันคุณภาพการจัดการศึกษาและการติดตามผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570) (1) หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (2566-2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ .........................................................-....................................................................... นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ 8 การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (Goals) เป้าหมายย่อยที่ (Target) ............................................................-........................................................................... นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะมีสมรรถนะ และความสามารถในการแข่งขัน แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม


148 1. หลักการและเหตุผลความจำเป็น ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 4.3 ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีเป้าหมายเพื่อให้ คนไทยเป็นคนดี คนเก่งมีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่ 12 ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น มีทักษะความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น มีนิสัย ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมีแนวทางการพัฒนาตามแผนย่อย คือ เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหาร จัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท มุ่งหวังให้คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะ การเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถเข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตดีขึ้น การพัฒนาผู้เรียนในทุกช่วงวัยให้เป็นคนไทยที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นหน่วยจัดการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญและเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา ผู้เรียนของประเทศ จึงต้องมีการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและอยู่บนหลักความรับผิดชอบ ต่อผู้เรียนและประชาชน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อการให้บริการทางการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเอกชนถือเป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่จะ ทำให้บรรลุ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ จากผลการดำเนินงานติดตามเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการของโรงเรียนเอกชนที่ผ่านมา พบว่า โรงเรียนเอกชนต้องการให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส่งเสริมงานด้านวิชาการ การฝึกอบรม การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ให้แก่ครูโรงเรียนเอกชนให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็น ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาประสิทธิภาพของสถานศึกษาสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละพื้นที่ และเกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการทางการศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนตามบริบทของพื้นที่ เพื่อส่งเสริมด้านวิชาการ การฝึกอบรม การพัฒนาการจัดการเรียนสอนให้แก่ครูโรงเรียนเอกชน โดยจัดสรร งบประมาณให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด ร่วมกันดำเนินโครงการ กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษา ของโรงเรียนเอกชนให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้แก่คณะผู้บริหาร และครูโรงเรียนเอกชนให้มี ประสิทธิภาพ 2.2 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนให้มีคุณภาพ 3. เป้าหมายโครงการ 3.1 ผลผลิต (Output) 3.1.1 ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนในระบบ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการ สอนให้มีประสิทธิภาพ จำนวน 90 คน 3.1.2 โรงเรียนเอกชนในระบบ ร้อยละ 80 มีประสิทธิภาพ สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐาน ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมารฐานที่กำหนด


149 3.2 ผลลัพธ์(Outcome) 3.2.1 ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพ 3.2.2 โรงเรียนเอกชน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด 4.1 ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพ 4.2 โรงเรียนเอกชนในระบบ ร้อยละ 80 มีประสิทธิภาพ สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐาน ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมารฐานที่กำหนด 5. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เชิงปริมาณ 1. ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ จำนวน 90 คน เชิงคุณภาพ 1. ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2. โรงเรียนเอกชนในระบบในสังกัด สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ส่งผลให้ ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมารฐานที่กำหนด 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ 6.1 ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนในสังกัด ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน จำนวน 44 คน 6.2 คณะทำงาน จำนวน 10 คน 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. – ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. – มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. – มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. – ก.ย.) 7.1 อบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมและ พ ั ฒ น า ก า ร จ ั ด ก า ร เ ร ี ย น กา ร ส อ น ให้มี ประสิทธิภาพ - - 39,950 - 7.2 สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน - - - 50 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) : เมษายน - กันยายน 2566 9. สถานที่ดำเนินการ/พื้นที่ดำเนินการ : โรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม


150 10. งบประมาณ 40,000.- บาท (ถัวจ่ายทุกรายการ) ได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากแผนงาน : ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต : โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน กิจกรรม : ส่งเสริมและพัฒนาการ เรียนรู้ในสถานศึกษาเอกชน งบรายจ่ายอื่น รายการ : ค่าใช้จ่ายโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพการศึกษา เพื่อเบิกจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนตามบริบทของพื้นที่ งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 40,000.- บาท หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) งบรายจ่ายอื่น : 40,000.- กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ มีประสิทธิภาพ (39,950.-) • ค่าตอบแทน - ค่าวิทยากร 1,000.- • ค่าใช้สอย - ค่าห้องประชุม 1,000.- - ค่าอาหารกลางวัน 13,500.- (จำนวน 54 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 250 บาท) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 5,400.- (จำนวน 54 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 50 บาท) - ค่าอาหารเย็น (จำนวน 54 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 250 บาท) 13,500.- - ค่าที่พัก 4,700.- - ค่าจัดจ้างทำเอกสาร 350.- • ค่าวัสดุ - วัสดุสำนักงานและวัสดุคอมพิวเตอร์ 500.- กิจกรรมที่ 2 สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน (50.-) • ค่าใช้สอย - วัสดุสำนักงาน 50.- รวมทั้งสิ้น 40,000.- *ขอถัวจ่ายทุกรายการ


151 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเสี่ยง คณะผู้เข้าร่วมประชุมฯ ไม่ให้ความสำคัญกับการประชุมส่งผลให้ไม่เข้าร่วมประชุมตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด การบริหารความเสี่ยง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และติดต่อประสานงานให้คณะผู้เข้าประชุมรับรู้ รับทราบถึงประโยชน์ในการ ดำเนินการครั้งนี้ 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ : กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


152 4.3.17 โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาของจังหวัดนครปฐม ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงาน บูรณาการการป้องกัน ปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด งบรายจ่ายอื่น ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้านความมั่นคง (1) เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคง ในทุกมิติและทุกระดับ (2) ประเด็น การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (1) ความมั่นคง (1) เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (Y2) ประเทศชาติมีความ มั่นคงในทุกมิติ และทุกระดับเพิ่มขึ้น (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง (3) เป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบันได้รับการแก้ไขดีขึ้น จนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและการพัฒนาประเทศ ความสอดคล้องห่วงโซ่คุณค่าฯ (Value Chains) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (1) ชื่อองค์ประกอบ (V) : V01 กลไกการบริหารจัดการ (2) ชื่อปัจจัย (F) : F0105 การเฝ้าระวังและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570) (1) หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (2566-2570) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ 2. การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ และความสงบสุขของประเทศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (Goals) เป้าหมายย่อยที่ (Target)..............................................................-.................................................................. นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย แผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและเป็นพลเมืองดีมีจิตอาสาน้อมนำศาสตร์ พระราชา


153 1. หลักการและเหตุผลความจำเป็น ยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะส่งผล กระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทางด้านการเมืองและความมั่นคงของ ประเทศ ประกอบกับกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง จึงถูกชักจูงให้ใช้สิ่งเสพติดได้ง่าย จากปัญหา ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทำให้คนเกิดอารมณ์เครียด มีปัญหาทางด้านจิตใจ จึงหัน ไปใช้สิ่งเสพติดเพื่อลดความเครียดของจิตใจลง สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากให้ความรู้ใน ด้านต่าง ๆ แก่นักเรียน นักศึกษา แล้วยังต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพพลานามัยให้สมบูรณ์อยู่เสมอ แต่ใน สภาพปัจจุบันปัญหายาเสพติดซึ่งมาในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ แพร่หลายเข้าไปสู่เด็ก เยาวชนและสถานศึกษา ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานการศึกษา สถานศึกษา นักเรียน นักศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดนครปฐม ได้ร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงให้สถานศึกษาในจังหวัดนครปฐมเป็นสถานศึกษาสีขาว ปลอด ยาเสพติดและอบายมุข กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมจึงจัดทำโครงการเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาของจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม มีแผนงาน/กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 2. เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการ ดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 เพิ่มขึ้น 3. เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจใน การรายงานผลการ ดำเนินงานด้านยาเสพติดจังหวัด (ระบบ Nispa) การรายงานสภาพการใช้สารเสพติดและยาเสพติดในสถานศึกษา ผ่านระบบดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา (ระบบ Catas) และระบบทะเบียนกำลังพลผู้ปฏิบัติงาน ด้านยาเสพติด เพิ่มขึ้น 3. เป้าหมายโครงการ • ผลผลิต (Output) 3.1 สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สังกัด สพฐ.สช.กศน.อาชีวศึกษา เข้าร่วมโครงการสถานศึกษา สีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 จำนวน 100 แห่ง 3.2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด เข้าร่วมประชุมการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินงานด้านยาเสพติดจังหวัด (ระบบ Nispa) การรายงานสภาพการใช้สารเสพติดและยาเสพติดในสถานศึกษาผ่านระบบดูแลและติดตามการใช้ สารเสพติดในสถานศึกษา (ระบบ Catas) และระบบทะเบียนกำลังพลผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด จำนวน 100 คน • ผลลัพธ์ (Outcome) 3.1 ผลสำเร็จของสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยา เสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566


154 3.2 ผลสำเร็จของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงาน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 3.3 ผลสำเร็จการรายงานผลการดำเนินงานด้านยาเสพติดจังหวัด (ระบบ Nispa) การรายงานสภาพ การใช้สารเสพติดและยาเสพติดในสถานศึกษาผ่านระบบดูแลและติดตามการใช้สารเสพ ติด ในสถานศึกษา (ระบบ Catas) และระบบทะเบียนกำลังพลผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด 4. ผลที่คาดว่าจะเกิด 4.1 สถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม มีแผนงาน/กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 4.2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนการดำเนินงาน โครงการ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 เพิ่มขึ้น 4.3. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจในการรายงานผลการดำเนินงาน ด้านยาเสพติดจังหวัด (ระบบ Nispa) การรายงานสภาพการใช้สารเสพติดและยาเสพติดในสถานศึกษาผ่านระบบ ดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา (ระบบ Catas) และระบบทะเบียนกำลังพลผู้ปฏิบัติงาน ด้านยาเสพติดเพิ่มขึ้น 5. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ 5.๑ เชิงปริมาณ 5.1.1 สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม 5.1.2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดจากสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม 5.2 เชิงคุณภาพ 5.2.1 สถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ปีการศึกษา 2566 5.2.2 สถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ปีการศึกษา 2566 5.2.3 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานโครงการ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข เพิ่มขึ้น รวมทั้งการรายงานผลในระบบ Nispa ระบบ Catas และระบบทะเบียนกำลังพล 6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครปฐม 7. วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) กิจกรรมที่ 1 การประชุมผู้ทำหน้าที่เพื่อเป็น คณะกรรมการประเมินสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ปีการศึกษา 2566 จำนวน 55 คน 8,800


155 กิจกรรม ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ไตรมาสที่ 2 (ม.ค. - มี.ค.) ไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย.) ไตรมาสที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.) กิจกรรมที่ 2 : การดำเนินกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด โลก 26 มิถุนายน เดินรณรงค์ บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมต่อต้านยาเสพติด 11,200 กิจกรรมที่ 3 : ติดตาม ตรวจสอบ การรายงานผลการ ดำเนินงานในระบบ Nispa ระบบ Catas และระบบ ทะเบียนกำลังพล - - - รวมวงเงิน (บาท) 20,000 8. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี) เมษายน – กันยายน 2566 9. สถานที่ดำเนินการ/พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนครปฐม 10. งบประมาณ 20,000 บาท (ถัวจ่ายทุกรายการ) พร้อมระบุรายละเอียดงบประมาณ หมวดงบรายจ่าย งบประมาณ (บาท) กิจกรรมที่ 1 : การประชุมผู้ทำหน้าที่เพื่อเป็นคณะกรรมการประเมินสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 จำนวน 55 คน ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 55 คน x 1 มื้อ) 2,750 - ค่าอาหารกลางวัน (120 บาท x 55 คน x 1 มื้อ) 6,050 กิจกรรมที่ 2 : :การดำเนินกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน เดินรณรงค์ บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมต่อต้านยาเสพติด ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 บาท x 50 คน x 1 มื้อ) 2,500 ค่าวัสดุ - ค่าป้ายไวนิลเดินรณรงค์ ขนาด2*1*1.50 ม. จำนวน 2 ป้าย 2,000 - ค่าธงชาติ จำนวน 20 อัน 3,000 - ค่าดำเนินการในพิธีเปิดงาน 3,700 กิจกรรมที่ 3 : ติดตาม ตรวจสอบ การรายงานผลการดำเนินงานในระบบ Nispa ระบบ Catas และระบบทะเบียนกำลังพล รวมทั้งสิ้น 20,000 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเสี่ยง : การให้ความร่วมมือจากหน่วยงานการศึกษา สถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) การบริหารความเสี่ยง : การประสานงานและขอความร่วมมือจากหน่วยงานการศึกษา สถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม ทุกสังกัดเป็นการล่วงหน้า 12. กลุ่มงานรับผิดชอบ กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


ส่วนที่ 5 การติดตาม ประเมินผล และรายงานผลแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม การติดตาม ประเมินผล และรายงานผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม กำหนดให้หน่วยงานดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ 1. การติดตามและรายงาน เป็นการติดตามและรายงานผลความก้าวหน้า/ผลการดำเนินงาน/ ผลสัมฤทธิ์ของแผน/งาน/โครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติราชการฯ ซึ่งกำหนดให้มีการรายงาน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.1 การรายงานตามเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยใช้แบบรายงาน สงป.301, 302 เป็นการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและการใช้จ่ายงบประมาณตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรายงานผลการดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) 1.2 การรายงานตามแบบรายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ภายใต้แผนปฏิบัติราชการฯ พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยให้มีการรายงานผลการดำเนินงานเป็น รายไตรมาส ตามกำหนดระยะเวลา ดังนี้ ไตรมาสที่ 1 ผลการดำเนินงานเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 รายงานภายในวันที่ 10 มกราคม 2566 ไตรมาสที่ 2 ผลการดำเนินงานเดือนมกราคม - มีนาคม 2566 รายงานภายในวันที่ 10 เมษายน 2566 ไตรมาสที่ 3 ผลการดำเนินงานเดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 รายงานภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ไตรมาสที่ 4 ผลการดำเนินงานเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566 รายงานภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2566 1.3 การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เมื่อสิ้นสุดแผนปฏิบัติราชการฯ โดยดำเนินการจัดทำ รายงานประจำปีของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2. การประเมินผลแผนปฏิบัติราชการฯ การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการฯ โดยเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง กับเป้าหมายของโครงการ ที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการฯ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 2.1 ศึกษาและวิเคราะห์เป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการฯ เพื่อใช้เป็น กรอบในการประเมินผล 2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย - เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินที่จัดทำขึ้น หรือจากการรายงานผลการดำเนินงาน ตามไตรมาสของผู้ปฏิบัติงาน เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานในแต่ละไตรมาส และสิ้นสุดปีงบประมาณ - รวบรวมข้อมูลจากการรายงานผลการดำเนินงานตามไตรมาสของหน่วยงาน


157 2.3 การจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการฯ โดยดำเนินการ จัดทำรายงานการประเมินความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการฯ -----------------------------------------------


ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version