The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tipkua, 2022-11-26 03:32:26

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

สระแกว้
เมืองชายแดนแควน้ บรู พา

เอกสารประกอบการจดั การเรียนการสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียนอรัญประเทศ

สำนักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษามัธยมศึกษาสระแก้ว
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน
กระทรวงศึกษาธกิ าร

คำนำ

จังหวดั สระแก้ว เปน็ จังหวดั ชายแดน ภาคตะวันออก จงั หวัดท่ีมีศลิ ปวฒั นธรรม ประเพณี วิถชี วี ติ
ที่หลากหลายด้วย มกี ลุม่ คน ประชากรหลากหลายกล่มุ ชาติพนั ธ์ุ และมีธรรมชาติทน่ี ่าสนใจอีกจังหวัดหนงึ่
สระแก้ว เมืองชายแดน แควน้ บูรพา เป็นเอกสารประกอบการเรยี นการสอนในระดบั การศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน

ท่ไี ด้ถกู รวบรวมเรียบเรียง จดั ทำข้นึ เพอ่ื ให้ความรู้ ความเข้าใจ เสรมิ สร้าง ปลกู จิตสำนึกรักษ์บ้านเกดิ
ใหแ้ กเ่ ด็ก เยาวชน ในวัยเรยี นในจังหวัดสระแก้ว ซ่ึงจะกลา่ วถึงประวตั ิความเป็นมา ภมู ศิ าสตร์ ประเพณี
ศลิ ปวัฒนธรรม ภูมปิ ญั ญาท้องถิ่น และสถาบันพระมหากษัตรยิ ก์ บั ชาวสระแก้ว และประกอบกับนโยบาย
ของกระทรวงศึกษาธิการ มีความตอ้ งการให้โรงเรียนไดจ้ ดั การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถ่ินสำนัก
งานเขตพืน้ การศึกษามัธยมศึกษาสระแกว้ ร่วมกบั ศึกษาธิการจังหวดั สระแกว้ จึงกำหนดและไดม้ อบหมาย
ให้ดำเนนิ การจดั ทำเอกสารนี้ขนึ้

โดยคณะกรรมการจดั ทำเอกสารฉบับน้ีได้ศึกษา รวบรวมข้อมูล ค้นคว้า ตรวจสอบข้อมลู โดย
ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถ่นิ และลงพ้ืนที่จริง

คณะกรรมการจดั ทำเอกสารดังกลา่ วน้จี งึ หวงั เป็นอยา่ งย่ิงวา่ เอกสารฉบบั นจี้ ะสามารถนำไปใช้
ประกอบการจัดการเรียนการสอนประวตั ิศาสตร์ท้องถิ่น “ สระแกว้ เมืองชายแดน แควน้ บูรพา”ใหเ้ กดิ
ประโยชน์แกน่ กั เรียนและคุณครไู ด้เป็นอย่างดี และหากเอกสารฉบับน้ีมีความบกพร่องผดิ พลาดประการ
ใดคณะกรรมการจัดทำพร้อมน้อมรับคำติชม แก้ไข พฒั นาตอ่ ไปให้สมบรู ณ์ยง่ิ ขน้ึ และกราบขออภัยมา
ณ โอกาสนี้

คณะกรรมการดำเนินการจัดทำเอกสาร
สระแก้ว เมอื งชายแดน แควน้ บูรพา

1 พฤษภาคม 2565

สารบญั หน้า

เรอื่ ง ก

คำนำ ๑
บทที่ 1 สระแก้วเบ้ืองบูรพา 5
๑7
๑. สภาพภมู ศิ าสตร์ ๑7
๒. ทรัพยากรธรรมชาติ 24
บทที่ ๒ พฒั นาการทางประวัติศาสตร์ 26
๑. ลำดบั พฒั นาการทางประวตั ิศาสตร์ 26
๒. เหตุการณ์สำคัญทางประวัตศิ าสตร์ 39
บทที่ ๓ มรดกทางวฒั นธรรมนำศาสตร์ศลิ ป์ 93
๑. มรดกทางธรรมชาติ 93
๒. มรดกทางวัฒนธรรม 97
บทที่ ๔ ภูมิปัญญา เอกลักษณ์ คนรกั ษ์ถนิ่ 100
๑. การทำมาหากิน 104
2. เอกลักษณ์ของจังหวดั สระแก้ว 104
3. บคุ คลสำคญั ที่มีบทบาทต่อจงั หวัดสระแกว้ 112
บทท่ี ๕ แผ่นดินทองของพระราชา
๑. โครงการในพระราชดำริ 121
๒. พระราชกรณียกจิ ในจังหวดั สระแก้ว 122
123
บรรณานกุ รม
คณะผจู้ ดั ทำ
ผ้ทู รงคณุ วุฒิ

บทท่ี 1
สระแกว้ เบอ้ื งบูรพา

จังหวัดสระแกว้ เป็นจงั หวัดชายแดนมพี รมแดนติดตอ่ กับประเทศกัมพูชาทางด้านตะวันออกยาว
ประมาณ ๑๖๕ กโิ ลเมตร ตง้ั อยู่ในตอนบนของภาคตะวันออกของประเทศไทยซ่งึ ประกอบด้วยจังหวดั ต่างๆ
๗ จังหวดั ได้แก่ จังหวดั ปราจีนบุรี จงั หวัดฉะเชิงเทรา จังหวดั ชลบรุ ี จังหวัดระยอง จงั หวดั จันทบรุ ี
จงั หวัดตราดและ จังหวดั สระแก้ว
๑. สภาพภูมศิ าสตร์

๑.๑ ที่ตงั้ ขนาด และรูปรา่ ง
ทต่ี ้งั จงั หวัดสระแก้วสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๗๔ เมตร ตั้งอยู่ตอนบน
ของภาคตะวนั ออกของประเทศไทย มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
ทศิ เหนือ จดละติจดู ๑๔ องศา ๑๑ ลปิ ดาเหนือ
ทศิ ใต้ จดละตจิ ดู ๑๓ องศา ๑๔ ลิปดาเหนือ
ทิศตะวนั ออก จดลองติจูด ๑๐๒ องศา ๕๖ ลปิ ดาตะวันออก
ทศิ ตะวนั ตก จดลองตจิ ดู ๑๐๑ องศา ๕๑ ลปิ ดาตะวันออก
ขนาด เปน็ จงั หวัดที่มีขนาดใหญเ่ ป็นอันดับท่ี ๒๘ ของประเทศไทย มีเนอื้ ที่ประมาณ
๗,๑๙๕,๔๓๖ ตารางกโิ ลเมตร หรือประมาณ ๔,๔๙๖,๙๖๒ ไร่ เป็นจงั หวดั ทีม่ เี น้ือท่ีมากที่สุดมีขนาดใหญ่
อนั ดบั ๑ ของภาตะวนั ออก ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ระยะทางประมาณ ๒๓๖ กิโลเมตร
และเดินทางโดยรถไฟระยะทางประมาณ ๒๒๐ กิโลเมตร
รปู ร่าง จังหวัดสระแก้ว มลี ักษณะเหมอื นรูปสามเหลย่ี ม หรือรูปหัวใจมนษุ ย์
๑.๒ อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกบั อำเภอโนนดินแดง อำเภอละหานทราย จงั หวดั บรุ ีรัมย์

และ อำเภอครบรุ ี จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศกัมพชู า
ทิศใต้ ติดกับอำเภอสอยดาวจงั หวัดจนั ทบุรี
ทิศตะวันตก ติดกบั อำเภอกบินทรบ์ รุ ี อำเภอนาดี จงั หวัดปราจีนบรุ ี

และ อำเภอสนามชยั เขต จังหวดั ฉะเชิงเทรา

ภาพ : แผนท่ีจงั หวัดสระแกว้ แสดงอาณาเขต
ทีม่ า : http://www.sakaeo.go.th



๑.๓ ลกั ษณะภมู ิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสระแก้วตั้งอยู่ในเขตทางตอนเหนือของภาค
ตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดสระแก้วเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน ที่ราบลูกฟูก และ ที่ราบ
ลุ่มน้ำ สามารถแบง่ ออกเปน็ 2 ลักษณะ ดังน้ี

ภาพแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวนั ออก
ทีม่ า : https://www.google.co.th/search?q

๑.๓.๑ พื้นท่ที วิ เขาตอนเหนือ เปน็ ภเู ขาสูงสลบั ซบั ซ้อน เขตติดต่อระหว่าง
ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เขตทิวเขาตอนเหนือในภาคตะวันออก
แบ่งเปน็ ๓ แนว คือ



- แนวเขาสันกำแพง ตอนที่ ๑ ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304
ระหว่างจงั หวัดนครราชสีมา และ จังหวัดปราจนี บรุ ี

- แนวเขาสันกำแพงตอนที่ ๒ จะวางตัวลงมาใต้ จากอำเภอปักธงชัย
จงั หวัดนครราชสีมา และ อำเภอกบินทรบ์ ุรี จงั หวดั ปราจนี บุรี แล้วแนวเขาจะวางตวั ไปทางตะวันออก
ในเขตติดต่อระหว่างอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และ อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ลักษณะของภูเขาในส่วนนี้เป็นเขายอดป้าน ยอดเขามีลักษณะไม่สูงชันมากนัก แนวเขาสันกำแพง
ช่วงเขตอำเภอตาพระยามีแนวรอยตอ่ ไปถึง

- แนวเขาพนมดงรัก แนวพรมแดนธรรมชาติระหวา่ ง อำเภอตาพระยา จังหวดั
สระแก้ว และอำเภอละหานทราย อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์จนถึงพรมแดนไทย – กัมพูชา
บริเวณหลกั เขตที่ ๒๘ ลกั ษณะของเขาในช่วงนี้ จะมีขอบสงู ชนั ในอำเภอวฒั นานคร และอำเภอตาพระยา
เข้าไปในเขตจังหวัดบุรีรัมย์จะเป็นยอดเขาตัด เช่นอุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของผนื ป่าดงพญาเยน็ – เขาใหญ่

๑.๓.๒ พื้นที่เขตที่ราบลูกฟูกและที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนเหนือ เขตพื้นที่นี้
ได้แก่ บริเวณตอนใต้ของอำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภอตาพระยา บริเวณอำเภอ
คลองหาด อำเภอเขาฉกรรจ์และ อำเภอวังนำ้ เย็น แบ่งพืน้ ทีอ่ อกเป็น ๒ เขต คอื

- เขตพืน้ ทร่ี าบลกู ฟูก (Rolling Plain) ลกั ษณะภูมิประเทศในเขตนี้มี
ลกั ษณะเปน็ เนินเขาที่ราบเชิงเขาและที่ราบเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน บริเวณฉนวนไทย มีความ
ลาดชันน้อย มีความสูงจากระดบั น้ำทะเล ระหวา่ ง ๑๐ – ๙๐ เมตร ลกั ษณะพืน้ ที่ราบลูกฟกู จะอยู่
โดยรอบของแอ่งบางปะกง ซึ่งแบง่ การศกึ ษาออกเป็น ๒ สว่ น คอื

- เขตท่รี าบลกู ฟกู ตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำบางปะกง เขตนีม้ ีความสูงเฉลี่ย
๓๐ – ๕0 เมตร ได้แก่ บริเวณเขตติดตอ่ ตอนลา่ งของเทือกเขาสันกำแพงลงมาทางตอนเหนอื ของ
จังหวัดปราจนี บุรี และจังหวัดสระแก้ว จากสภาพภูมปิ ระเทศดังกลา่ วประชาชนมักใช้ที่ดินในการ
ปลูกพืชไร่ เชน่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ส่วนบริเวณแอ่งลุม่ ลักษณะพืน้ ที่ก็เป็นที่ราบ ในฤดูฝนมีน้ำ
ไหลมาท่วมขัง เช่น ในเขตอำเภอวฒั นานคร อำเภออรัญประเทศ ประชาชนจะใช้ที่ดินในการทำนา
พืน้ ทีน่ าในเขตนีม้ ิใช่ดินเหนยี ว ดินช้ันบนเปน็ ทรายแป้งสะสมตัวอยู่บาง ๆ ประมาณ ๒ – ๓ นวิ้
ส่วนดินชั้นล่าง เป็นพวกกรดของลกู รัง ขา้ วทีป่ ลกู ในเขตนจี้ งึ ไม่เจริญงอกงามเทา่ ที่ควร

- เขตทีร่ าบลูกฟูกตอนลา่ งของลมุ่ แม่นำ้ บางปะกง เขตนีม้ ีความสูง
เฉลี่ย ๒๐ – ๓๐ เมตร ลักษณะพืน้ ที่ราบลกู ฟกู ในจงั หวัดสระแก้ว จะเปน็ พืน้ ที่ตอ่ เนอ่ื งมาจากพืน้ ที่
ราบเชงิ เขาของเทือกเขาจนั ทบุรี ทางดา้ นเหนอื ประกอบด้วยพื้นทีข่ องอำเภอคลองหาด และ อำเภอ
วงั นำ้ เยน็ ระดับความสูงจะเพิม่ ขึน้ ๔๐ – ๓๐ เมตร ในเขตอำเภอเมืองสระแก้ว บริเวณเขตติดต่อ
ระหว่างตอนบนของอำเภอสนามชยั เขต จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอเมอื งสระแก้ว ลกั ษณะพื้นทีจ่ ะ



เป็นสันปันน้ำระดับตา่ ง ๆ สูงเฉลีย่ ๖๕ – ๑๒๐ เมตร ต่อเนื่องไปจากเขาสุบงในเขตอำเภอสนามชัย
เขต จงั หวัดฉะเชิงเทรา จนถึงทิวเขาตะกรุบ เขตติดตอ่ กบั อำเภอวงั น้ำเย็น ลำน้ำด้านหน่ึงจะไหลลง
สคู่ ลองท่าลาด อำเภอสนามชยั เขต ส่วนอีกด้านหน่งึ จะไหลลงส่คู ลองพระสะทึงอำเภอเขาฉกรรจ์
จงั หวัดสระแก้ว

- เขตพื้นท่รี าบลุ่มแม่น้ำตอนเหนือ ประกอบด้วยลุ่มแม่น้ำบางปะกงและ
สาขาลุ่มน้ำทะเลสาบเขมร โดยมีสันปันน้ำอยู่บริเวณตอนกลางของอำเภอวัฒนานคร
แม่น้ำบางปะกงเป็นแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออก เกิดจากการไหลรวมกันของแม่น้ำ
นครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี ในส่วนของแม่น้ำปราจีนบุรี ประกอบด้วยลำน้ำสาขา คือ
แม่นำ้ ประจนั ตคาม แม่นำ้ หนมุ าน แมน่ ำ้ พระปรง สำหรับแมน่ ำ้ พระปรง เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของ
ลำคลอง ๒ สาย คือ คลองพระปรงและ คลองพระสะทึง

ภาพ : สภาพภมู ปิ ระเทศ จงั หวัดสระแก้ว
ที่มา : http://pr.prd.go.th

๑.๔ ลักษณะภมู ิอากาศ
สระแก้วมีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบป่าฝนเมืองร้อนมีสภาพอากาศแห้งแล้งและชุ่ม
ชื้นสลับกันอย่างชดั เจนในฤดูมรสมุ ตะวันตกเฉียงใต้จะมีอากาศชุ่มชื้นและฝนที่ตกตลอดฤดูแต่ในฤดู
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาวจะมีอากาศแห้งแล้งสภาพภมู ิอากาศแบ่งออกได้เป็น ๓ ฤดู
ดงั น้ี
ฤดรู ้อน เริ่มตง้ั แตเ่ ดือนกุมภาพนั ธ์ - เดือนเมษายน
ฤดฝู น เริ่มตั้งแตเ่ ดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลีย่ ๑,๒๙๖ – ๑,๕๓๙ มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริม่ ต้ังแตเ่ ดือนพฤศจิกายน - เดือนมกราคม อากาศเยน็ และมีหมอกในตอนเชา้
อุณหภมู ิโดยเฉลี่ย ๒๗.๕ - ๒๘.๗๘ องศา



๒. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดสระแก้ว คือ ป่าไม้ ส่วนใหญ่จะเหลืออยู่บริเวณ

อุทยานแห่งชาติปางสีดา และบริเวณทิศตะวันออกในเขตอำเภอวังน้ำเย็น เขตรอยต่อ ๕ จังหวัด
สภาพเปน็ ป่าดงดิบ ไม้ทีส่ ำคญั ได้แก่ ไม้ตะเคียน ไม้มะคา่ โมง ไม้แดงและป่าเบญจพรรณ

๒.๑ แหลง่ น้ำ
แหล่งน้ำในจังหวัดสระแก้ว เป็นแหล่งน้ำที่เชื่อมโยงกันจากจันทบุรีและจังหวัด
ปราจีนบุรี จัดเป็นแหล่งน้ำส่วนหนึ่งของ “ลุ่มน้ำปราจีนบุรี” โดยมีอาณาเขตของแหล่งน้ำดังต่อไปนี้
ทิศเหนือติดลุ่มแม่น้ำมูล ทิศใต้และทิศตะวันตก ติดลุ่มน้ำบางประกง ทิศตะวันออกติดโตนเลสาป
ประเทศกัมพชู า
ลุ่มนำ้ ในจงั หวดั สระแก้ว ประกอบด้วยลำน้ำสาขา ๓ สาขา คอื ลำน้ำสาขา
คลองพระสะทึง ลำน้ำสาขาคลองพระปรง และลุม่ น้ำโตนเลสาป

ภาพ : พ้ืนที่แหลง่ นำ้ ตำบลวงั ใหม่ อำเภอวงั สมบรู ณ์ จงั หวัดสระแก้ว
ทีม่ า : http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/APA_Style.pdf

๒.๑.๑ ลุม่ น้ำสาขาคลองพระสะทงึ มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร
ครอบคลมุ ๕ อำเภอคือ อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอวังน้ำเย็น คลองหาด วงั สมบรู ณ์ คลองหาด มีพ้ืนที่
ทั้งหมด ๑,๖๔๙649,601 อาณาเขตทิศเหนอื ติดล่มุ น้ำสาขาคลองพระปรง ทิศตะวันออก ติดลุ่มน้ำ
สาขาโตนเลสาบตอนบนและ ประเทศกมั พูชา ทิศใต้ตดิ ลมุ น้ำหลกั ชายฝ่งั ทะเลตะวนั ออก ทิศตะวันตกติด
ลุ่มน้ำสาขาคลองท่าลาดและ ลุ่มน้ำสาขา แมน่ ำ้ ปราจนี บุรีสายหลักตอนบน ตน้ กำเนิดมาจาก
เทือกเขาลงึ ทึง เขาตะกวด และ เขาพลายในเขตจงั หวดั จนั ทบุรี ไหลผ่านเขตอำเภอ วงั สมบรู ณ์ อำเภอวงั
น้ำเยน็ เขตอำเภอเขาฉกรรจ์ และ เขตอำเภอเมืองสระแก้ว ไหลมาบรรจบกบั คลองพระปรงที่บ้านท่า
ช้าง แล้วจึงไหลไปบรรจบกบั แควหนุมานบริเวณตลาดเกา่ ทางตอนเหนอื ของอำเภอกบินทรบ์ รุ ี



ลำนำ้ ยอ่ ยที่สำคญั ได้แก่ คลองพอก คลองกะวดั คลองใหญ่ คลองกดั มะนาวใหญ่ คลองตาหลัง
คลองพระเพลิงใหญ่ และคลองวงั จิก เป็นต้น

ภาพ : คลองพระสะทงึ
ที่มา : www.77kaoded.com

๒.1.2 ลุ่มน้ำสาขาคลองพระปรง ความยาวประมาณ 131.5 กิโลเมตร
ครอบคลุม 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อาณาเขตทิศเหนือติดลุ่มน้ำหลัก
มลู ทิศตะวันออกติดลมุ่ นำ้ สาขาโตนเลสาบตอนบน ทิศใต้ติดล่มุ นำ้ สาขาคลองพระสะทึง ทิศตะวันตก
ติดลุ่มน้ำสาขาปราจีนบุรีสายหลกั ตอนบนและลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน มีต้นกำเนิดจากเขาห้วยชัน
เขาภูเขียว เขาขมิ้น เขาเขียว เขาอีด่าง และเขาเทียน ในเขตติดต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอวัฒนานคร
จังหวัดสระแก้ว อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
มีทิศทางการไหลจากทิศตะวันออกไปทางด้านตะวันตก จากอำเภอวัฒนานครสู่อำเภอเมือง
จังหวัดสระแก้ว มีสาขา คือ คลองยาง คลองมณโท คลองท่ากระบาก คลองยายเมือง
นอกจากนี้ มีห้วยเล็ก ๆ เช่น ห้วยพระปรงน้อย ห้วยละเลิงไผ่ ลำเสียวน้อย ลำเสียวใหญ่ ห้วยปะตง
หว้ ยชนั หว้ ยเหลือ หว้ ยทราย คลองอ้ายทอง และคลองท่ากะบาก และไหลไปบรรจบกับคลองพระสะทึง
ที่บ้านทุ่งช้าง นับว่าเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญมากเพราะประชาชนทั้งสองฝั่งได้อาศัยทำการ
เพาะปลูก และยงั เป็นแหลง่ นำ้ ดิบ ในการทำนำ้ ประปาของชาวอำเภอวัฒนานคร จงั หวดั สระแก้ว



๒.1.3 ลุ่มน้ำโตนเลสาบ เปน็ ลุม่ นำ้ ขนาดเล็กตั้งอยู่ทางตะวันออกของ
ประเทศไทยครอบคลุมจังหวัดสระแก้วและจังหวดั จันทบรุ ี ลุ่มน้ำนี้จะทอดตวั จากทิศเหนอื สู่ทิศใต้
ติดลุม่ นำ้ ปราจนี บุรี ทิศตะวันออกติดกมั พชู า ลักษณะของลมุ่ น้ำพืน้ ที่ตอนบนเปน็ แนวเทือกเขา
บรรทดั พืน้ ทีส่ ว่ นใหญเ่ ปน็ ภูเขาและมีที่ราบริมลำน้ำ ตอนกลางของลุม่ น้ำเป็นทีร่ าบสงู โดยลาดเทลง
จากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวนั ออก ทำให้ลำน้ำสายต่าง ๆ จึงไหลออกไปทางประเทศกมั พูชา
และลงทะเลสาบเขมร

ภาพแสดงพ้นื ที่ภาคตะวนั ออกแสดงเขตลมุ่ นำ้
ที่มา : http://pr.prd.go.th/sakaeo/ewt_news

๒.2 แรธ่ าตุ ในพืน้ ที่จังหวัดสระแก้วทีข่ ุดพบบริเวณที่มลี กั ษณะภูมปิ ระเทศเป็น
ภูเขา ได้แก่ แร่แมกนีไซด์ พบที่เขาถ้ำมะกอก ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังนำ้ เยน็ แร่
แมงกานีสพบที่ตำบลวฒั นานคร อำเภอวฒั นานคร และตำบลคลองหินปนู อำเภอวังนำ้ เย็น
แรโ่ ครไมต์พบทีต่ ำบลคลองหนิ ปูน อำเภอวงั น้ำเยน็ ทองคำพบที่บ้านบ่อนางชิง ตำบลท่า
เกวียน อำเภอวัฒนานคร หินออ่ นพบที่ตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด เหลก็ พบทีเ่ ขายาย
อินทร์ อำเภอวังน้ำเย็นพืน้ ที่บางส่วนของอำเภอเขาฉกรรจ์ ส่วนแคลไซด์ และ ฟลอู อไรดพ์ บที่
ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์

๒.2.1 หินปูน เพื่อการกอ่ สร้างแหลง่ หนิ ปนู บ้านเขาสารภี อยู่หา่ งไป
ทางดา้ นทิศเหนอื ของเขาชอ่ งแคบประมาณ 5 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเทือกเขายาวประมาณ 3
กิโลเมตร มเี นือ้ ที่ประมาณ 4.1 ตารางกิโลเมตร อยใู่ นเขตบ้านสารภี ตำบลคลองหาด
อำเภอคลองหาด มเี นือ้ ทีป่ ระมาณ 4.10 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณสำรอง 719.12 ลา้ น
เมตริกตัน แหลง่ หนิ ปนู เขาช่องแคบ - เขาตางอ๊ ก มลี ักษณะเป็นเทือกเขายาวขนานไปกับพรมแดน
ไทย-กัมพูชา ในแนวเหนอื - ใต้ อยู่บริเวณ ต.คลองไกเ่ ถื่อน ต.คลองหาด อ.คลองหาด ความยาว



รวมประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นเทือกเขาหินปูนที่มคี วามยาวมากที่สุดใน จ.สระแก้ว เนือ้ ที่
ประมาณ 18.88 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณสำรอง 5,328.48 ล้านเมตริกตัน

ภาพ : แหล่งหนิ ปูนเขาสารภี อ.คลองหาด
ทีม่ า http://www.nongmakfai.go.th

๒.2.2 หินบะซอลต์ เพือ่ การกอ่ สร้างแหล่งหินบะซอลตข์ องจังหวัด
สระแก้วมีท้ังสิ้น 6 แหล่ง อย่ใู นเขตอำเภอโคกสูง อำเภอวัฒนานคร และอำเภออรัญประเทศ
บริเวณด้านตะวนั ออกของตัวจงั หวัด บะซอลต์เนื้อละเอียด สีเทาดำ มีรพู รุน ประกอบด้วยผลึกโอลิวีน
แพลจโิ อเคลส (แอนดซี ีน) ไคลโนไพรอกซีน และแร่ทึบแสง หินผุจะให้ดินสีน้ำตาลแดง

ภาพ : แหล่งหนิ บะซอลต์ บา้ นโคกสามคั คี โคกสงู และบา้ นเขากาหลง อำเภอวังสมบรู ณ์
ที่มา : http://www.nongmakfai.go.th



๒.2.3 ทรายก่อสรา้ ง แหลง่ ทรายจังหวัดสระแก้วมีต้นกำเนิดมาจากหนิ
ทรายของกล่มุ หินโคราชโดยการพดั พามาของคลองพระปรง และจากหินแกรนิตโดยการพดั พามา
ของคลองพระสะทึง ลักษณะเป็นทรายละเอียดถึงปานกลาง การคดั ขนาดดี มีกรวดปนน้อย
เชน่ คลองพระปรง เป็นแม่น้ำสายหลกั ของจังหวดั สระแก้ว ไหลผ่านอำเภอวัฒนานคร และอำเภอเมอื ง
มีการผลิตทรายก่อสร้างบริเวณแนวลำน้ำคลองพระสะทึง เปน็ แมน่ ้ำสายหลกั รองจากคลองพระ
ปรง ไหลผ่านอำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเยน็ อำเภอเขาฉกรรจ์ และอำเภอเมืองสระแก้ว มี
ศักยภาพทรายก่อสร้างอยู่ช่วงเขตอำเภอเขาฉกรรจ์ และอำเภอเมืองสระแก้ว

ภาพ : แหลง่ แหลง่ ทรายก่อสร้าง อำเภอเมอื งสระแก้ว
ก ตำบลทา่ แยก ข ตำบลหนองบอน
ค.ตำบลบ้านแกง้ ง. ตำบลศาลาลำดวน

ที่มา : http://www.nongmakfai.go.th

๒.2.4 ทองคำ บริเวณเขาสามสิบ บ้านบอ่ นางชิง ตำบลห้วยโจด อำเภอ
วัฒนานคร มกี ารพบแร่ทองคำที่คาดว่ามีการเกิดสมั พันธก์ ับสายแรค่ วอตซท์ ี่แทรกตัดเข้ามาในหิน
ภเู ขาไฟปจั จบุ ันมกี ารขดุ หาแร่ทองคำโดยชาวบ้านอย่ทู ว่ั ไป วธิ ีการขุดจากช้ันดนิ ผุ แล้วนำไปฉีดด้วย
น้ำเพือ่ ทำการแยกแร่ทองคำออกมา

ก, ตำแหน่งของแหล่งแร่เขาสามสิบ
ข, การขดุ แร่ทองคำบริเวณเขาสามสิบโดย

ชาวบ้าน
ค. แร่ทองคำที่พบอยูใ่ นสายแร่ควอตซท์ ผ่ี ุ

อยู่กับทีซ่ างปดิ ทบั ด้วยดนิ เหนยี ว
ง. แรท่ องคำที่ขุดได้จากเขาสามสิบ

ภาพ : แสดงแหลง่ แร่ทองคำบริเวณเขาสามสิบ บ้านบอ่ นางชงิ ต.หว้ ยโจด อ.วัฒนานคร
ที่มา : จากหนงั สอื ธรณีวิทยาจงั หวดั สระแก้วและแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา

๑๐

แผนท่จี ังหวัดสระแกว้ แสดงแหล่งแรธ่ าตุ

ภาพที่ : แผนทแ่ี สดงแหล่งแรธ่ าตุ
ทีม่ า : http://www.nongmakfai.go.th

๒.๓ ดิน
จากการศึกษาการจำแนกดินทั่วประเทศไทย มาตราส่วน 1 : 50 ,000
ของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งจำแนกตามลักษณะ สมบัติ และศักยภาพในการเพาะปลูกของดิน รวมถึง
การจัดการดินที่คล้ายคลึงการรวมไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน พบว่า จำแนกดินได้ 62 กลุ่ม
ชุดดินโดยจังหวัดสระแก้ว จำแนกดินได้ 31 กลุ่มชุดดิน ดังภาคผนวก 2 ซึ่งต่อมากองสำรวจดิน
และวิจัยทรัพยากรดิน ได้ทำาการสำรวจจำแนกดิน และจัดทำแผนที่ทรัพยากรดิน
มาตราส่วน 1 : 25,000 โดยมีหน่วยแผนที่อยู่ในระดับชุดดิน จากการศึกษาแผนที่ชุดดิน
และรายงานการสำรวจทรัพยากรดินจังหวัดสระแก้ว ข้อมูลระดับชุดดิน พบว่า จังหวัดสระแก้ว
จำแนกดินได้ 42 ชุดดิน ได้แก่ หน่วยดินเชิงซ้อนของตะกอนนำพาชุดดินอรัญประเทศ ชุดดินบาง

๑๑

คล้า ชุดดินบุญฑริกชุดดินชุมพลบุรี ชุดดินโชคชัย ชุดดินดอนไร่ ชุดดินห้วยยอด ชุดดินแก่งคอย
ชุดดินกบินทร์บุรี ชุดดินคำบง ชุดดินกลางดง ชุดดินเขมราฐ ชุดดินโคกปรือ ชุดดินเขาพลอง
ชดุ ดินโคกสำโรง ชุดดินละหานทราย ชุดดินลำสนธิ ชดุ ดินลาดหญ้า ชุดดินมวกเหลก็ ชุดดินนครปฐม
ชุดดินนาทอนชุดดินพิชัย ชุดดินปางไร่ ชุดดินไพศาลี ชุดดินพิษณุโลก ชุดดินปักธงชัย ชุดดินภูพาน
หน่วยเชิงซ้อนของชุดดินภูพานและที่ดินหินพื้นโผล่ ชุดดินสมอทอด ชุดดินสระแก้ว ชุดดินตาคลี
ชุดดินทับพริก ชุดดินตาพระยา ชุดดินท่ายาง ชุดดินวังไฮ ชุดดินวังน้ำเขียว หน่วยเชิงซ้อนของ
ชุดดินวังน้ำเขียวและที่ดินหินพื้นโผล่ ชุดดินวังน้ำเย็น ชุดดินวังสะพุง ชุดดินวังทอง และที่ลาดชัน
เชิงซ้อน (รายงานโครงการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ดิน
จังหวดั สระแก้ว, 2562, น. 10)

๒.๓.๑ ชุดดินทส่ี ำคญั ของจงั หวดั สระแกว้
- ชุดดินปักธงชัย (Pakthongchai series: Ptc)เกิดจากการสลายตัวผุพัง
อยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินตะกอนที่มีเนื้อหยาบหรือพวกหินทราย
สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1 - 5 เปอร์เซ็นต์
การระบายน้ำดี
- ชุดดินกบินทร์บุรี(Kabin Buri series: Kb) กลุ่มชุดดินที่ 46 เกิดจาก
ตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กบั ที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้าย
มาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียดของพวกหินตะกอน หรือหินภูเขาไฟ เป็นดินตื้นมาก สภาพพื้นที่
เปน็ ลูกคลืน่ ลอนลาดถึงลูกคลืน่ ลอนชัน มีความลาดชนั 5 - 20 เปอรเ์ ซ็นต์ การระบายน้ำดี
- ที่ลาดชันเชิงซ้อน (Slope complex: SC) กลุ่มชุดดินที่ 62 ลักษณะ
พื้นที่บริเวณนี้ยังไม่มีการศึกษาสำรวจและจำแนกดิน เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง ควร
ปล่อยไว้ให้เปน็ ป่าตามธรรมชาติเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งต้นน้ำลำธาร ในกรณีที่จำเป็นต้อง
นำมาใช้ประโยชนท์ างการเกษตร จำเป็นต้องมีการศกึ ษาดินก่อน เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสมของ
ดินสำหรับการปลูกพืช โดยมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงอนุรักษ์หรือวนเกษตร ในบริเวณพื้นที่
ที่เป็นดินลึกและสามารถพัฒนาแหล่งน้ำได้มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน
ทำแนวรั้วหญ้าแฝก และขุดหลุมปลูกเฉพาะต้นโดยไม่มีการทำลายไม้พื้นล่าง สำหรับในพื้นที่
ที่ไม่มีศักยภาพทางการเกษตร ควรรักษาไว้ให้เป็นสวนป่า สร้างสวนป่า หรือใช้ปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
(รายงานโครงการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ดิน จังหวัดสระแก้ว,
2562, น. ๕๔)

๑๒

ภาพที่ : แผนที่สภาพการใช้ที่ดนิ จงั หวัดสระแก้ว ปี ๒๕๕๙
ทีม่ า : http://www.lddservice.org/services.

ภาพที่ : พืน้ ที่การขดุ ดิน ตำบลหนองบอน อำเภอเมอื ง จงั หวดั สระแก้ว
ทีม่ า : http://www.lddservice.org/services.

๑๓

ภาพ : พืน้ ที่เกษตรกรรม ตำบลช่องกมุ่ อำเภอวัฒนานคร จงั หวัดสระแก้ว
ที่มา : http://www.lddservice.org/services.

ภาพ : แผนท่แี สดงความลาดชนั ของพืน้ ที่จงั หวัดสระแก้ว
ทีม่ า : http://www.lddservice.org/services.

๑๔

2.4 ทรพั ยากรปา่ ไม้
จังหวดั สระแก้วมีเน้ือทีป่ ่าไม้ที่ประกาศเปน็ ปา่ สงวน แหง่ ชาติ
ประมาณ 3,630,341 ไร่ และเปน็ วนอุทยานแหง่ ชาติ 527,500 ไร่ ซึง่ มีเน้ือทีร่ วม
4,157,541 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 87 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พ้ืนทีป่ ่าสว่ นใหญ่ถกู บุกทาํ ลาย
ลงไปมาก คงเหลืออยู่เฉพาะบริเวณทางตอนเหนอื ของอาํ เภอเมืองสระแก้ว อําเภอวัฒนานคร
อาํ เภอตาพระยา ที่ทางราชการได้ประกาศให้เป็นเขตอุทยานแหง่ ชาติปางสีดา และบริเวณทิศ
ตะวนั ตกของอาํ เภอวงั น้ำเย็น ซึง่ ทางราชการได้ดําเนินการประกาศให้เปน็ เขตรักษาพันธ์ุสตั ว์ป่า
ส่วนไม้พ้นื ลา่ ง อนั มีค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เร่ว กระวาน สมนุ ไพรต่างๆ ส่วนบริเวณอําเภอตาพระ
ยา อําเภอวัฒนานครบางส่วน มสี ภาพเปน็ ปา่ เตง็ รัง มีพันธ์ไุ ม้ทีส่ าํ คญั ได้แก่ เตง็ รัง เพียง พลวง
ประดู่ พนั ธ์ุไม้พ้ืนล่าง ได้แก่ ปรง และทุ่งหญ้า สภาพดินเป็นดินลูกรัง การเจริญเตบิ โตของพืชพันธ์ุ
ค่อนข้างช้า ราษฎรในท้องถิ่นส่วนหนึง่ นิยมทําอาชีพเผาถ่านขาย ทาํ ให้สภาพปา่ ทรดุ โทรม สภาพพื้นที่
ป่าส่วนใหญ่ถกู บกุ ทาํ ลาย คงมสี ภาพป่าอย่บู ริเวณเทือกเขาสงู เทา่ น้ัน

ภาพ : เขตปา่ สงวน สำนกั สงฆเ์ ขามะกอ่ ง สระแก้ว
ที่มา : https://mgronline.com/local/detail/9630000044983

2.4.1 ประเภทของทรพั ยากรปา่ ไม้ จําแนกไดด้ ังนี้
- ปา่ ดงดิบ เปน็ ป่าทีข่ ้นึ อยู่ในบริเวณเขตอากาศทีม่ ีความชื้นสูง

พบไดบ้ ริเวณเทือกเขาทีเ่ ป็นรอยตะเข็บระหว่างจงั หวดั สระแก้วและจังหวดั จันทบรุ ี
- ป่าดบิ เขา สว่ นใหญ่จะพบตามเทือกเขา และทีร่ าบสูงบางแห่ง

บริเวณเทือกเขาสนั กาํ แพง
- ปา่ เบญจพรรณ พบตามพืน้ ทีท่ ีม่ คี วามชืน้ น้อย บริเวณ

อําเภอวังนำ้ เย็น

๑๕

ติดต่อกับอาํ เภอสนามชัยเขต จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา และบริเวณอาํ เภอตาพระยา ติดตอ่ กบั กัมพูชา
- ป่าแพะหรอื ปา่ โคกหรอื ปา่ แดง พบบริเวณทีม่ ลี กั ษณะ

ภูมปิ ระเทศ และภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกับภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บริเวณอาํ เภอตาพระยา
อาํ เภออรัญประเทศ

ภาพ : เขตรักษาพนั ธสุ์ ตั วป์ า่ เขาอ่างฤาไน
ที่มา : https://www.dnp.go.th/wildlife_it/n_web/menu_map/page_ALN.php

2.4.2 พืน้ ท่ปี า่ อนุรักษแ์ ละพื้นทป่ี า่ สงวนแห่งชาติ ปจั จุบันพืน้ ทีพ่ ืน้
ที่ป่าบริเวณป่าไม้ทั้งหมดของจังหวัดสระแก้ว ได้ดําเนินการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เขต
รักษา อุทยานแห่งชาติปางสีดา พันธส์ุ ัตวป์ ่า และป่าสงวนแหง่ ชาติ ดงั น้ี

- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง และเขตรักษา
พนั ธ์ุสตั ว์ป่า 1 แห่ง ได้แก่

1. อุทยานแห่งชาติปางสีดา ได้รับการประกาศเปน็ อุทยานแห่งชาติ เมื่อ
พ.ศ. 2524 มีพ้ืนที่ 527,500 ไร่

2. อุทยานแห่งชาติตาพระยา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
ใน พ.ศ. 2534 มีพ้ืนที่ 15,250 ไร่

- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ได้รับการประกาศเป็น อุทยาน
แห่งชาติในพ.ศ. 2535 มีพื้นที่ 67,562 ไร่ พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ประกอบด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
10 ป่า ดงั นี้

๑๖

1. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาฉกรรจ์ฝั่งเหนือ อยู่ในเขตอำเภอ
อรญั ประเทศ อำเภอตาพระยา และอำเภอวฒั นานคร มีเน้ือที่ 232,100 ไร่

2. ป่าสงวนแหง่ ชาติ ป่าสักทา่ ระพา อยูใ่ นเขตอำเภอเมอื งสระแก้ว
มีเน้ือที่ 34.45 ไร่

3. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโคกสงู อย่ใู นเขตอำเภอวัฒนานคร
อำเภอตาพระยา มีเน้ือที่ 416,554 ไร่

4. ป่าสงวนแหง่ ชาติ ป่าห้วยไคร้ อยู่ในเขตอำเภอเมืองสระแก้ว
มีเนื้อที่ 466,300 ไร่

5. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าตาพระยา อยู่ในเขตอำเภอวัฒนานคร อำเภอตาพระยา
มเี นือ้ ที่ 336,550 ไร่

6. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแก่งดินสอ - แก่งใหญ่ - เขาสะโตน อยู่ในเขตอำเภอ
เมืองสระแก้ว อำเภอวฒั นานคร มีเน้ือที่ 705,109 ไร่

7. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาฉกรรจ์ ป่าโนนสาวเอ้ ป่าปลายคลอง ห้วยไคร้ และ
ป่าพระสะทิ้ง อยู่ในเขตอำเภอเมืองเขาฉกรรจ์ อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอ วัฒนานคร อำเภออรัญ
ประเทศ และอำเภอคลองหาด มีเน้ือที่ ๑,๐๗๒,๕๐๐ ไร่

8. ป่าสงวนแหง่ ชาติ ป่าท่ากระบาก อยูใ่ นเขตอำเภอเมอื งสระแก้ว และอำเภอ
วฒั นานคร มีเน้ือที่ ๒๘๑,๔๓๐ ไร่

9. ป่าสงวนแห่งชาติท่าแยก อยใู่ นเขตอำเภอเมืองสระแก้ว มีเน้ือที่ ๓๗,๖๓๑ ไร่
10. ป่าสงวนแหง่ ชาติ ปา่ วฒั นานคร อยูใ่ นเขตอำเภอวัฒนานคร มีเน้ือที่ ๘๑,๔๓๗ ไร่
2.5 ทรัพยากรสตั วป์ า่
ปัจจุบันสัตว์ป่าในจังหวัดสระแก้วมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วมาก เนื่องจากพื้นที่ป่าถูก
ทำลายแต่ยังมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่บ้างตามบริเวณที่ยังคงสภาพเป็นป่าและตามป่าบริเวณแนวชายแดน
ไทยกัมพูชา สำหรับบริเวณที่มีพันธุ์สัตว์ป่าอาศัยอยู่มากจะเปน็ บริเวณเขตอทุ ยานแห่งชาติปางสีดา
อุทยานแห่งชาติตาพระยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดสระแก้วได้มีการเพาะเลี้ยง
และขยายพันธุ์สัตว์ป่าแผนที่แสดงพื้นที่ป่าสงวนที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ ที่สถานีเพาะเลี้ยง
และขยายพันธุ์สัตว์ป่าช่องกล่ำบน ได้ทำการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เก้ง
กวาง เนื้อทราย นกฮูก ไก่ฟ้า นกเงือก ที่สำคัญคือ นกเป็ดก่า ซึ่งกำลังจะสูญพันธุ์ นอกจากนี้
ทีอ่ ำเภอเขาฉกรรจ์สตั ว์ปา่ ทีพ่ บมาก คือ ลิงป่า และ ค้างคาว

บทที่ ๒

พัฒนาการทางประวตั ิศาสตรข์ องท้องถิ่น

ได้มีพระราชบัญญตั ิจดั ต้ังสระแก้วเป็นจังหวัด เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ โดยได้แยก
อําเภอสระแก้ว อําเภอคลองหาด อําเภอตาพระยา อําเภอวังน้ำเย็น อําเภอวัฒนานคร และ
อําเภออรัญประเทศ ออกจากการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี อนึ่งเมื่อได้พิจารณาพัฒนาการ
ทางประวัติศาสตร์แล้ว พบว่าจังหวัดสระแก้วมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า ๔,000
ปี ทั้งนี้ พิจารณาได้จากความเจริญเติบโต สถานการณ์ บทบาทของเมือง เหตุการณ์สําคัญ
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มาเปน็ ลาํ ดบั อาทิ การตงั้ ถิน่ ฐานของมนษุ ย์ เป็นต้น

๑. การตั้งถิ่นฐาน
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในจังหวัดสระแก้ว เริ่มต้นในยุคใด สมัยใด และวิวัฒนาการ
มาถึงปัจจุบันได้อย่างไร จะต้องใช้หลักฐานทางโบราณคดีมาประกอบการอธิบาย เพราะในเขต
พืน้ ที่ของจงั หวดั สระแก้วได้ค้นพบโบราณวตั ถุ เช่น โครงกระดูก เครื่องปั้นดนิ เผา ลูกปัดหิน ฯลฯ
ซึง่ มีอายรุ ว่ มสมยั กบั โบราณวัตถุที่บ้านเชียง จงั หวดั อดุ รธานี นอกจากนี้ ยงั ได้พบโบราณสถานใน
สมยั แรกเริ่มประวตั ิศาสตร์ สมัยเมอื งพระนคร สมัยทวารวดี อยา่ งตอ่ เนื่องจนถึงสมยั รัตนโกสินทร์
แบ่งชนเผา่ พืน้ เมืองออกเปน็ 4 ประเภท ดังน้ี

๑.๑. ชนเผ่าดงั้ เดิม ในเขตพ้ืนทข่ี องจังหวดั สระแก้วได้มีการขดุ ค้นพบโครงกระดกู มนษุ ย์
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทําด้วยเครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ฯลฯ ที่บ้านโคกมะกอก
หมู่ ๔ ตําบลเขาสามสิบ อําเภอเขาฉกรรจ์ และพบถ้ำที่มีร่องรอยการพักอาศยั ของมนษุ ย์ในสมยั
โบราณ คือ ถ้ำเขาสําพงุ ตําบลหนองหว้า อําเภอเขาฉกรรจ์ โบราณวัตถดุ ังกล่าว มีอายรุ ะหว่าง
๓,000 - ๒,000 ก่อนคริสตกาล

นอกจากนีย้ ังได้ค้นพบเครื่องมือเคร่อื งใชท้ ี่เป็นเครื่องปั้นดนิ เผาโลหะสำริดที่ชุมชนทา่ ไม้แดง
หมู่ที่ ๗ บ้านใหม่ไพรวัลย์ ตําบลสระขวัญ ชุมชนบ้านคลองขนุน หมู่ที่ ๑ บ้านหนองเตียน ตําบล
ท่าแยก และชุมชนบ้านโคกชายธง หมู่ที่ ๔ ตําบลโคกปี่ฆ้อง อําเภอเมืองสระแก้ว โบราณวัตถุ
ตามที่ต่างๆ นี้ แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในระยะเริ่มต้นโดยอยู่กันเป็นครอบครัว
อาศัยอยู่ในถ้ำ โดยเฉพาะถ้ำในเขาสําพุง ต่อมาเมื่อครอบครัวใหญ่ขึ้นก็ขยายถิ่นฐานออกมาที่
ตําบลสระขวัญ ตําบลทา่ แยก ตาํ บลโคกปี่ฆ้อง เขตอําเภอเมอื งสระแก้ว

๑.๒ ชนเผา่ ขอม มอญ ละวา้ ชนเผา่ ขอม จัดเป็นมนุษยท์ ีจ่ ัดอยู่ในกลุ่มภาษา
มอญ-เขมร ในตระกลู ออสโตร-เอเชียติค เชน่ เดียวกับมอญและละโว้

๑๘

๑.๓ ชนเผ่าไทยใช้วัฒนธรรมอีสานในเขตจังหวัดสระแก้วมีชาวลาวมาตั้งถิ่นฐาน
เป็นจํานวนมากประมาณ ๗๐% ของประชากรทั้งจังหวัด ชาวลาวดงั กลา่ วนน้ั ก่อนจะมาตั้งถิ่นฐาน
อยูใ่ นจังหวดั สระแก้วมีที่มาแตกต่างกัน

กลุม่ ไทยอีสาน เปน็ กลุ่มคนที่สบื เนื่องมาจากอาณาจกั รล้านช้าง โดย
ประมาณ พ .ศ. ๒๒๓๑ ท่านพระครูโพนเสม็ด ได้นําศิษยานุศษิ ย์จากอาณาจักรล้านช้างอพยพ
ข้ามลําน้ำโขง แผ่ขยายออกไปตาม ลําน้ำชี ลําน้ำมูล และลําน้ำอน่ื ๆ ในจังหวัดอบุ ลราชธานี
ยโสธร ร้อยเอ็ด ขอนแกน่

กลุ่มไทยญอ้ เปน็ กลุ่มไทยอีสานกลมุ่ หนึ่ง ถิน่ ฐานเดิมของชาวไทยย้ออยู่ใน
แคว้นสบิ สองปนั นาหรอื ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางส่วนได้อพยพลงมาตามลําน้ำโขง ต้ังรกรากอยทู่ ี่
เมืองหงสา แขวงไชยบุรีของลาวในปจั จุบนั พ.ศ.๒๓๗๓ ตรงกบั รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระ
น่งั เกล้าเจ้าอยหู่ วั รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศแ์ ห่ง เวียงจนั ทน์ได้กวาดต้อน
ชาวย้อไปตั้งถิน่ ฐานอยทู่ ีเ่ มืองบเุ ลง เมืองคาํ เกิด เมือง คํามว่ น ตอ่ มาได้ถกู กองทัพไทยกวาดตอ้ น
กลบั มาอยทู่ ี่เมอื งทา่ อเุ ทน จังหวัดนครพนม ภายหลงั ได้อพยพไปอยูท่ ี่จังหวดั กาฬสินธ์ุ จังหวดั
มหาสารคาม จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสกลนคร

กลุ่มไทยญวน กลมุ่ ไทยยวนเปน็ กลุ่มของชาวล้านนาเดิม หรอื ทีเ่ รยี กกนั วา่
กลุ่มไทยโยนกหรอื ลาวพงุ คํา เดิมอาศยั อยู่แถบเชยี งราย เชยี งใหม่ ลาํ พูน ลําปาง แพร่ นา่ น
และพะเยา จากเหตผุ ลทางสงครามจงึ ได้อพยพจากถิน่ เดิมมาต้ังหลักแหลง่ กระจดั กระจายตามที่ตา่ งๆ
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ พระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจฬุ า-โลกมหาราช ได้เคยนาํ ไทยยวนไปไว้ที่พทั ลงุ สงขลา นครศรีธรรมราช จันทบุรี อยธุ ยา
และราชบรุ ี ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๔๗ พระเจ้ากาวิละ เจ้าเมอื งเชียงใหม่ ได้ร่วมกับสมเด็จพระบวรราช
เจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสรุ สิงหนาท นําชาวไทยยวนจากเชียงแสนมาอยทู่ ี่ราชบรุ ีและสระบุรี

กลุม่ ผูไ้ ทย เป็นผู้มถี ิ่นฐานเดิมอยู่ในสิบสองจุไทยและสิบสองปันนา
โดยเฉพาะทีเมอื งแถงหรอื แถนของแคว้นสิบสองจไุ ทย คือ เดียนเบียนฟขู องเวียดนามใน ปัจจบุ ัน
ชาวผไู้ ทยบางกลมุ่ นิยมแต่งกายด้วยเสือ้ ผา้ สีดําหรอื สีคราม จงึ มีชื่อเรยี กต่างๆ กัน เช่น ลาวโซ่ง
ลาวทรงดํา กลมุ่ ผไู้ ทยได้เข้ามาอยู่ในไทยคร้ังแรกประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๒ ที่เพชรบรุ ี ต่อมา
พ.ศ. ๒๓๖๙ เมือ่ กองทัพไทยปราบเจ้าอนวุ งศ์แห่งเวียงจันทน์ราบคาบได้มกี ารอพยพชาวผไู้ ทยข้าม
แม่นำ้ โขงมาตั้งถิน่ ฐานอยู่ทางภาคอีสานมากทีส่ ดุ กลุ่มเผา่ ไทยทีใ่ ชว้ ฒั นธรรมอีสานในจงั หวัด
สระแก้วเป็นกล่มุ คนรุ่นหลาน เหลน เพราะบรรพบุรุษของตนเข้ามาตั้งถิน่ ฐานอยูใ่ นประเทศไทย
เมื่อ ๒๐๐ ปีลว่ งมาแล้ว และได้คลกุ คลีกบั วฒั นธรรมอีสาน จนถกู วฒั นธรรมอีสานกลืนไป
เช่นเดียวกบั พวกไทญวน ซึง่ ถึงแม้ว่าจะเป็นลาวโยนก แตก่ ็ใช้วัฒนธรรมอีสานในการดาํ เนิน
ชีวติ ประจาํ วัน ในจังหวดั สระแก้ว มีกล่มุ คนเหล่านมี้ าต้ังถิ่นฐานตามอําเภอ ดังนี้

อําเภออรัญประเทศ จะเปน็ กลุม่ ที่เรยี กตนเองวา่ ไทยญ้อ อําเภออรัญประเทศ

๑๙

มีชาวไทยญอ้ อาศยั อยเู่ ป็นจํานวนมากทีส่ ดุ ในจํานวนกลมุ่ คนท้ังอาํ เภอ
อาํ เภอวังน้ำเย็น มีกลุ่มคนทีเ่ รียกว่าไทยญวน บางส่วนอพยพมาจาก

จงั หวดั สระบุรีมาต้ังถิน่ ฐานอยทู่ ี่บ้านซับพลู และหมู่บ้านข้างเคียง นอกจากนั้นโดยมากจะอพยพ
มาจากภาคอีสานในเขตจังหวัดสระแก้วมีชนเผา่ ไทยที่ใชว้ ัฒนธรรมอีสานอพยพเข้ามาอยมู่ ากต้ังแต่
พ.ศ.๒๕๑๔ เปน็ ต้นมา สืบเนื่องจากในปีน้ันได้มกี ารตัดถนนสายสระแก้ว-จันทบุรี

๑.๔ ชาวจีน ชาวญวน ชาวจีนในจังหวัดสระแก้วอพยพมาจากถิ่นฐานเดิม ๒ แหล่ง
ด้วยกัน คือ

- กลมุ่ แรก อพยพมาจากพระตะบองก่อน พ.ศ. ๒๔๕๐ ชาวจีนกลุ่มนีถ้ ือว่าตนเองเป็น
คนไทย มีถิ่นฐานทํามาหากินอย่ทู ีพ่ ระตะบอง เพราะในขณะน้ันพระตะบองเปน็ สว่ นหน่งึ ของไทย
ตอ่ มาใน พ.ศ.๒๔๕๐ ไทยจําเป็นต้องยกพระตะบอง เสียมราฐ ศรโี สภณ ให้กมั พชู าโดย
สนธิสญั ญาที่ไทยทาํ ไว้กบั ฝรัง่ เศส ทําให้ชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิน่ ฐานในไทย โดยเฉพาะทีอ่ าํ เภอ
อรัญประเทศ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ กเ็ ปน็ กรณีเดียวกับชาวญวน ทีต่ อ้ งอพยพจากพระตะบองมาอยู่ที่
อําเภออรัญประเทศเชน่ กัน

- กลมุ่ ทีส่ อง อพยพมาจากชลบุรี กลุ่มน้ีเปน็ ชาวจีนที่มีบรรพบุรุษอพยพ มาจากจีน
เดินทางมาโดยเรอื สําเภา และเรอื กลไฟเข้ามาในไทยต้ังแต่ พ.ศ. ๒๓๗๓ เปน็ ต้นมาใน
พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้มกี ารสํารวจประชากรจีนตามมณฑลต่าง ๆ ของไทยพบวา่ มลฑลปราจนี บุรี
ได้แก่ เมืองปราจนี บุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมอื งนครนายกเมอื งชลบุรี มีชาวจีน อาศัย มีชาวจนี
อาศัยอยู่ ๓๕,๐๐๐ คนระยะตอ่ ๆ มาร่นุ ลูกหลานของชาวจีนเหล่านีไ้ ด้อพยพมาในเขตจังหวดั
สระแก้วและตั้งถิ่นฐานในชุมชนเมืองทุกอำเภอ

๒. สมัยรัตนโกสินทร์ การพัฒนาเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า

จุฬาโลก (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
มีเหตุการณ์ที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองสระแก้วที่สำคัญๆ อยู่ ๓ ประการด้วยกัน ประการแรก
ได้เลื่อนเจ้าพระยายมราชขึ้นเปน็ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ และส่งไปสําเร็จ ราชการมณฑลเขมรส่วน
ใน คือ เสียมราฐ พระตะบอง และให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ประการที่ ๒ ได้เลื่อนและแต่งตั้งนัก
องเอง โอรสของสมเด็จพระนารายณ์ราชา(อดีตกษัตริย์-กัมพูชา) เป็นสมเด็จพระนารายณ์
รามาธิบดีไปปกครองกัมพูชา ยกเว้นเสียมราฐ พระตะบอง ในฐานะประเทศราชของไทย และ
ประการที่ ๓ สนบั สนุนให้องเชียงสอื ไปปกครองเมอื งญวนทีไ่ ซง่อน ยุคนเี้ ป็นยคุ ปลอดสงครามทาง
ภาคตะวันออก และปราจีนบุรีก็ยังมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นใน เหมือนเมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาจึง
ทาํ ให้การพัฒนาบ้านเมืองเป็นไปอย่างสันติสขุ ตลอดรชั กาล

๒๐

การพฒั นาเมืองในรัชกาลพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.๒๓๕๒-๒๓๖๗)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อนักองจัน หรือพระอภัยราช(โอรสของ
พระองคเ์ อง)ขึน้ ครองราชย์เป็นกษตั รยิ ์กัมพูชา ก็เริม่ มีความ แตกแยกภายในกัมพูชา เพราะขุนนาง
แตกแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งนิยมไทย อีกฝ่าย หนึ่งนิยมญวน ขณะเดียวกันกัมพูชาได้ส่ง
กําลังมาตีพระตะบอง แตไ่ ทยยงั ป้องกันไว้ได้ทำให้แนวชายแดนไทยกมั พชู าเกิดความไมส่ งบขนึ้

การพัฒนาเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗-
๒๓๙๔) ในรัชกาลนี้พระองค์ได้ทรงจัดการบ้านเมืองโดยเฉพาะหัวเมือง มหาดไทย ซึ่งขนะนั้น
ดินแดนซึ่งเป็นจังหวดั สระแก้วยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปราจีนบุรี ได้รับ การยกฐานะขึ้นเป็นเมืองใน
พ.ศ.๒๓๙๓ ดังน้ี

ยกด่านหนุมาน ขึน้ เป็นเมืองกบินทร์บรุ ี
ยกบ้านหนิ แร่ ขึน้ เปน็ เมืองอรญั ประเทศ
ยกบ้านแขยก ขึน้ เปน็ เมืองวัฒนานคร
ยกบ้านสวาย ขึน้ เป็นเมืองศรโี สภณ
สำหรบั ดินแดนซึ่งเปน็ พื้นที่จังหวัดสระแก้วในยุคนที้ ีไ่ ด้รับการยกฐานะขึ้นเปน็ เมืองในรัชกาลนี้
คือ เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร ส่วนพื้นที่ซึ่งปัจจุบัน เมืองสระแก้ว ในรัชกาลนี้ยังคงใช้
ชื่อด่านพระปรงขึ้นอยู่กับเมืองกบินทร์บุรี ในรัชกาลนี้นักองด้วงราชโอรสของนักองเองอีกพระองค์
หนึ่ง ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของกัมพูชา ระยะนี้ความนิยมไทยญวนของกัมพูชามีมาก ทาบะรพเด็จพระนั่ง
เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โอนอ่อนให้นักองด้วงส่งเครื่องบรรณาการไปให้ญวนได้นอกจาก ต้องส่งให้กับ
ไทย ด้วยเหตุน้ีเองทีท่ ําให้ญวนอ้างสทิ ธิเหนือกมั พูชาในรัชกาลตอ่ มา
การพัฒนาเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑)
ในรชั กาลน้ีตรงกับยุคของพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ แหง่ ฝร่งั เศส และ ตรงกับสมัยของพระเจ้านโรดม
แห่งกัมพูชา ในยุคฝรั่งเศสอ้างสิทธิในการปกครองกัมพูชา แทนไทย โดยอ้างว่าเมื่อฝรั่งเศสมี
อำนาจการปกครองญวนก็ต้องมีอํานาจปกครองกัมพูชาด้วย เพราะญวนมีอํานาจปกครองกัมพูชา
เพราะเหตุนี้ กัมพูชาส่วนหนึ่งจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ยกเว้น พระตะบอง
เสียมราฐ ศรโี สภณ และเมืองปราจนี บุรียังคงเปน็ หัวเมอื งช้ันในตามเดิม
การพัฒนาเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๑๑-
๒๔๕๓
การพฒั นาเมืองในรัชกาลนี้ เขตพื้นทีข่ องจังหวดั สระแก้ว ซึ่งขนึ้ กับ มณฑลปราจนี บรุ ี
พัฒนาไป อย่างมาก เช่น พ.ศ.๒๔๑๒ ได้มกี ารระดมพลจากเมืองต่าง ๆ มาช่วยทำอิฐเพือ่
กอ่ สร้างป้อมปราการเมืองปราจนี โดยเฉพาะให้เกณฑค์ นจากเมอื งสุรนิ ทร์ ขขุ นั ธ์ สงั ขะ
ศรสี ะเกษ เดชอดุ ม ไปทาํ อิฐสร้างกําแพง นอกจากนี้ยังได้เกณฑม์ อญ บ้านสามโคก เมือง
ปทมุ ธานี มาตั้งทำเตาเผาอิฐและสามารถสร้างกําแพงเมอื งปราจนี บุรี เสร็จใน พ.ศ.๒๔๑๕

๒๑

พ.ศ.๒๔๓๕ มณฑลปราจีนบรุ ี ประกอบด้วย เมืองปราจนี บรุ ี เมืองนครนายก
เมืองพนมสารคาม เมืองฉะเชงิ เทรา ตั้งทีว่ ่าการมณฑล ณ เมืองปราจนี บรุ ี

พ.ศ.๒๔๓๖ ในช่วงทีเ่ กิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกบั ฝรั่งเศส เทศาภบิ าล มณฑลปราจีนบุรี
ได้จัดส่งกาํ ลังและเครื่องยุทธภัณฑ์ ไปยังมณฑลชายแดนตะวันออกได้อย่าง เข้มแข็ง รวดเร็วกว่า
คนท้ังหลายคาดการณ์

การพัฒนาเมืองในรชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยหู่ วั (พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๕๓)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ เปลี่ยนแปลงทางรถไฟเป็น
ทางกว้าง ๑ เมตร แล้วสร้างทางรถไฟต่อจากฉะเชิงเทราไป เชื่อมกับทางรถไฟกัมพูชาที่ด่าน
คลองลึก อำเภออรัญประเทศ การก่อสร้างได้รับความร่วมมือ จากหน่วยทหารช่างในการวางราง
จากฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรี ต่อจากนั้น กรมรถไฟได้ดําเนินการก่อสร้างเอง และได้เปิดการเดิน
รถจากฉะเชงิ เทราถึงกบินทรบ์ รุ ี ระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร เมือ่ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗
และเปิดการเดินรถ จากกบินทรบ์ รุ ีถึงสถานี อรัญประเทศ ระยะทาง ๙๔ กิโลเมตร ในวันที่ ๘
พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๖๙ในสมยั รัชกาล พระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั
การพัฒนาเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๕๓ - ๒๔๖๘)
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราช พ.ศ. ๒๔๗๖ กําหนดให้มีตําแหน่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดแทนข้าหลวงประจําจังหวัด เทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไป และฐานะ
ของเมืองปราจีนบุรีกลายเป็นตั้งแต่นั้นมา ในส่วนพื้นที่จังหวัดสระแก้ว อรัญประเทศได้รับการยก
ฐานะผู้ปกครองขุนเหี้ยมใจหาญ เป็นนายอําเภอ และยุบวัฒนานครเป็นกิ่งอําเภอขึ้นอยู่ ส่วน
สระแก้วยงั คงเปน็ กิ่งอําเภอขึน้ อยู่กบั อําเภอกบินทรบ์ รุ ี จังหวดั ปราจนี บรุ ี
การพัฒนาเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอานันทมหิดล (พ.ศ. ๒๔๗๗-
๒๔๘๙)
ใน พ.ศ.๒๔๘๔ ได้เกิดสงครามโลกคร้ังที่ ๒ หรอื ทีเ่ รยี ก มหาเอเชียบรู พา ในเขตพื้นที่

ซึ่งภายหลงั เป็นจังหวดั สระแก้ว ได้มสี ่วนเกี่ยวข้องกับสงครามครั้งน้ัน โดยในวันที่ ๗ ธนั วาคม พ.ศ.

๒๔๘๔ญีป่ นุ่ ได้ยกกองทัพ (กองทัพที่ ๑๕) เคลื่อนทัพ โดยรถยนตเ์ ข้าสู่ไทย ทางดา้ นอาํ เภอ

อรญั ประเทศ ใช้เส้นทาง ศรโี สภณ-อรัญประเทศ-วัฒนานคร-สระแก้ว-กบินทรบ์ รุ ี-เมือง

ปราจนี บุรีเข้าสู่กรงุ เทพฯ ในการยกทัพของญี่ปนุ่ ครั้งนี้ ได้ใชเ้ ครือ่ งบินขบั ไล่ ๑๑ เครือ่ ง

เครื่องบินทิ้งระเบิด ๒ เครื่อง เข้าโจมตีสนามบิน วัฒนานคร ซึ่งมีฝงู บินที่ ๔๓ ประจาํ อยู่ ทําให้

นกั บินไทยเสียชวี ิต ๓ คน คือ เรืออากาศเอกไชย สุนทรสิงห์ เรืออากาศเอกชิน จริ ะมณี และ

เรืออากาศตรสี นิท โพธิเวชกุล อนึง่ ในสงครามมหาเอเชยี บูรพา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ไทยได้

เรียกร้อง เอาดินแดนมณฑลบรู พา คือ เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ กลับคืนมาได้อกี คร้ัง

๒๒

เหตกุ ารณ์ ดังกล่าว นายควง อภยั วงศ์ เปน็ ประธานรับมอบแผ่นดินมณฑลบรู พาคืน ได้กล่าวคาํ

ปราศรัย อำลารัฐบาลเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ว่า เมื่อ ๓๔ ปีมาแล้ว ท่าน

บิดาของกระผม เจ้าพระยาอภยั ภูเบศร์ ได้เป็นผู้อญั เชิญธงไทยกลับสปู่ ระเทศไทยด้วยอาการนอง

น้ำตา และ ในวาระนีก้ ระผมผเู้ ปน็ บุตร ได้มโี อกาสเชิญธงไทยกลับไปสถู่ ิน่ เดิมแตอ่ ย่างไรก็ตาม

เมือ่ เสร็จสิ้นสงคราม ฝร่งั เศสเปน็ ผู้ชนะสงคราม ไทยจึงต้องคืนดินแดนมณฑลบูรพากลับไปให้

ฝรัง่ เศสอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๑๗ พฤศจกิ ายน พ .ศ.๒๔๘๙ และจังหวดั สระแก้วก็มีพ้ืนทีเ่ ป็น

จงั หวัดชายแดนอย่างถาวรต้ังแต่นน้ั มา

การพัฒนาเมืองสระแกว้ ในยคุ ปัจจุบนั ตามพระราชบัญญัติตง้ั จังหวดั สระแก้ว
พ.ศ.๒๕๓๖ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๒๕ หน้า ๑-๓ ลง
วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ในมาตรา ๓ ให้แยกออําเภอสระแก้ว อําเภอคลองหาด อําเภอ
ตาพระยา อําเภอวังน้ำเย็น อําเภอวัฒนานคร และอําเภออรัญประเทศ ออกจาก การปกครอง
ของจงั หวดั ปราจนี บรุ ี รวมตง้ั ข้ึนเป็นจงั หวัดสระแก้ว และมีเขตท้องทีต่ ามที่อำเภอ ดังกล่าวมีอยู่ใน
วันที่พระราชบญั ญัติน้ใี ช้บังคบั และตามมาตรา ๔ ให้เปลี่ยนชอ่ื อำเภอ สระแก้ว เป็นอำเภอเมือง
สระแก้ว จงั หวัดสระแก้วมีพ้ืนทีใ่ นเขตปกครองประมาณ ๗,๑๙๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
๔,๔๙๖,๙๖๑ ไร่ เป็นจังหวัดที่ประชาชนคนไทยและต่างประเทศควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
เพราะจังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งมีไม่มากนักใน ประเทศไทย คือ มีความ
อุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม เป็นเมืองที่มีการค้าชายแดน และเป็นประตูสู่อินโดจีนในภาค
ตะวนั ออก นอกจากนี้ยังเปน็ เมืองท่องเทีย่ วในด้านประวตั ิศาสตร์ และธรรมชาติสง่ิ แวดล้อม

สระแก้วเมืองเกษตรกรรม ผลิตผลทางเกษตรจากจังหวัดสระแก้ว มีทั้ง ประเภทพืชผกั
ผลไม้ และพืชเศรษฐกิจ ประเภทผลไม้ เช่น แคนตาลูปเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของอำเภออรัญประเทศ
และมีการจัดงานแคนตาลูปประจำปีทุกปี ชมพู่เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของอำเภอคลองหาดและมีการจัด
งานชมพหู่ วานประจำปีทกุ ปี ประเภทพืชเศรษฐกิจ เชน่ ข้าว ข้าวโพด มนั สำปะหลงั อ้อย ลำไย
ฝา้ ย ฯลฯ

สระแก้วประตูการค้าสู่อินโดจีน ปัจจุบันสระแก้วเป็นย่านการค้าชายแดน ระหว่างไทย
กบั กมั พชู า มีด่านถาวร คลองลึก-ปอยเปต ทีอ่ าํ เภออรัญประเทศ มีตลาด โรงเกลือ เป็นตลาด
การค้าชายแดนที่ใหญ่โตมโหฬารแห่งหนึ่งของประเทศ นอกจากนยี้ ังมี จดุ ผ่อนปรนบ้านหนองปรือ
บ้านมาลยั ที่อำเภออรญั ประเทศ จุดผอ่ นปรนบ้านเขาดนิ -บ้าน กิโล ๓ ทีอ่ ําเภอคลองหาด และ
จุดผ่อนปรนบ้านตาพระยา-บ้านบึงตากวน ที่อําเภอตาพระยา การค้าชายแดนที่จังหวัดสระแก้ว
เป็นการค้าที่ไทยได้ดุลการค้าประมาณปีละ ๔ พันล้านบาท นอกจากนี้ ศักยภาพของจังหวัดทั้ง
ด้านคมนาคม ท้ังสภาพที่ตง้ั ล้วนเอือ้ ต่อการเปิดประตู สูอ่ ินโดจีน โดยเฉพาะเส้นทางการค้า คือ

๒๓

อรัญประเทศ จังหวัดบันเตียเมียนเจยพนมเปญ ในกัมพูชา ไปจนถึงโฮจิมินห์ซิตี้ของเวียดนาม
สระแก้ว

สระแกว้ เมืองแหง่ วัฒนธรรม ประชากรของจังหวัดสระแก้วเปน็ คน สัญชาติไทย
แต่หลากหลาย เช้ือสาย เชน่ คนไทย คนไทยอีสาน คนไทยญ้อ คนไทยเชือ้ สาย เขมร คนไทย
เช้อื สายเวียดนาม คนไทยเชือ้ สายจีน ดังนน้ั วัฒนธรรมประเพณีในภาพรวม จึงหาดูได้ยาก
ถึงแม้วา่ จะมีหลายเชอื้ ชาติ หลายประเพณีวัฒนธรรม แต่คนสระแก้ว ในหมบู่ ้าน ตำบล อาํ เภอ
ก็อยู่ด้วยกนั อย่างสันติสขุ มีคุณภาพชีวติ ทีด่ ี

สระแกว้ เมืองชายแดน จังหวัดสระแก้วมีแนวชายแดนติดตอ่ กับกมั พชู า ได้มกี ารแบง่ เขต
แดนระหวา่ งไทยกบั กัมพูชา โดยใช้สัญญาว่าด้วยการปักปนั เขตแดนระหว่าง ไทยกับฝร่ังเศส ลง
วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๕) การประชุมเพื่อ ปกั ปันเขตแดนและปักหลกั เขต
เพื่อเป็นเครื่องหมายสำคัญระหว่างคณะกรรมการทั้งสองฝ่าย โดยหลกั เขตที่ ๑ ซึ่งตรงช่องสงำ
ด้านตรงขา้ มจงั หวดั ศรสี ะเกษ จนถึงหลักเขตที่ ๒๕ ใหถ้ ือ ตามสันปนั น้ำของทิวเขาพนมดงรักเป็น
เส้นเขตแดน จากหลกั เขตที่ ๒๘ แนวพรมแดนจะหัก ลงไปตามลําหว้ ยปะอาวและห้วยโอเซ
(คลองแผง) จนถึงหลกั เขตที่ ๓๓ รวมความยาว ๒๗ กิโลเมตร ซึ่งเนิน ๔๔ จะอยรู่ ะหว่าง
หลกั เขตที่ ๓๑ กับ ๓๒ ที่ตอ้ งใชห้ ว้ ยโอเซเปน็ เส้นเขตแดน(เนิน ๕๔ อยทู่ างทิศตะวนั ออกเฉียง
ใต้ บ้านแสง อำเภอตาพระยา จุดยทุ ธศาสตรอ์ ีกจุดหน่งึ คือ ยอดเขาพนมปะ (อยทู่ างทิศ
ตะวนั ออกบ้านแก้วเพชรพลอย อาํ เภอตาพระยา) เปน็ ทีต่ งั้ หลักเขตที่ ๓๔ และยอดเขาพนมฉัตร
เป็นหลกั เขตที่ ๔๐ ลากเส้นตรงจากหลักเขตที่ ๓๘ - ๔๐ แบง่ ครึ่งระยะทางจะเป็นหลักเขต
ที่ ๒๙ และถ้าลากจากหลักเขตในแนวมุมอาซิมุท ๒๙ องศา ระยะทาง ๒.๘ กิโลเมตร จะเปน็
หลักเขตที่ ๓๗ หลักเขตที่ ๓๘ อย่ใู นท้องทีก่ ิ่งอาํ เภอโคกสูง หลกั เขตที่ ๕๔, ๕๐, ๕๑ อย่ใู น
เขตอำเภออรญั ประเทศ ส่วนในเขตอําเภอคลองหาด แนวพรมแดนไปตามต้นน้ำคลองด่านแล้วตอ่
ขนึ้ ไปสันเขาและวกกลับข้ามเข้าไปลงซอง อีกด้านหน่ึงซึง่ เป็นต้นน้าํ ของคลองน้ำใสเนือ่ งจาก
สระแก้วเป็นจงั หวัดชายแดนจงึ ได้มกี ารจดั ระเบียบพืน้ ทีช่ ายแดน ดา้ นการจัดตั้งที่ตรวจการณ์ จุด
เฝา้ ตรวจ ด่านตรวจ จุดต้านทาน และเส้นทางยทุ ธศาสตร์ โดยกองกาํ ลังบูรพา (กกล.บูรพา) ได้
ต้ังจดุ ตรวจตามแนวชายแดน จํานวน ๑๑๓ จดุ จดั ต้ังด่าน ตรวจ ๓๓ ดา่ น และได้ดาํ เนินการ
ก่อสร้างเส้นทางเพือ่ ความม่ันคงในพื้นที่ ๔ เส้นทาง คือ

ถนนศรีเพญ็ เปน็ ถนนเลียบแนวชายแดน
ถนนสายบ้านทบั พริก – เขาตาง๊อก อำเภอคลองหาด
ถนนสายบ้านใหมป่ ากฮอ่ ง- ปลายแหลมหนองเอียน-บ้านโคกสะแบง อำเภออรัญประเทศ
ถนนบ้านสันลอชงัน- ชอ่ งเขาตากิ๋ว อำเภอตาพระยา
ทางด้านการพัฒนาความมั่นคง ได้ใช้แนวความคิดในการใช้ระบบการต่อสู้ เบ็ดเสร็จ
จงึ ได้ดำเนินการจัดต้ังหมูบ่ ้านป้องกันตนเองตามแนวชายแดน ต้ังแตด่ ้านเหนือสุด ของอาํ เภอ

๒๔

ตาพระยา จนถึงส่วนใต้สดุ ของอำเภอคลองหาด และโครงการทับทิมสยาม
2. เหตุการณส์ ำคญั ทางประวัตศิ าสตร์

จังหวัดสระแก้วเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยแต่โบราณกาล
เหตุการณ์ในแต่ละยุคก็เกิดขึ้นเสมอ ถ้าไม่นับโบราณวัตถุ โบราณสถานที่เป็นประจักษ์พยาน
ให้เห็นได้โดยรูปธรรม ก็ยงั มเี หตกุ ารณ์สำคญั ทีต่ อ้ งจารึกไว้ให้คนสระแก้วรุ่นหลังได้รับทราบ คือ

- ในสมัยอยุธยาจงั หวัดสระแก้วเปน็ เส้นทางเดินทัพผ่านของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- สระแก้ว-สระขวัญ กลายเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ สืบเนื่องจากที่พระบาทสมเด็จ
พระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครงั้ ทรงดำรงตำแหนง่ เป็นเจา้ พระยาจักรี พร้อมกบั บตุ รชาย
พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหล้านภาลยั ได้มาพักแรมและใช้น้ำสระแห่งน้ี ขณะที่ยกทพั ไปเสียมราฐ
ตอ่ มาภายหลังได้มีการนําน้ำจากสระแห่งนไี้ ปใช้ใน พระราชพิธีสาํ คัญของไทยตลอดมา
- เมือ่ วนั ที่ ๗ ธนั วาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ญี่ปนุ่ ทงิ้ ระเบิดที่สนามบินวัฒนานครทำให้ เรือ
อากาศเอกไชย สุนทรสิงห์ เรืออากาศเอกชน จริ ะมณี และเรืออากาศตรีสนทิ โพธิเวชกุล นกั บิน
แห่งกองทพั อากาศไทย เสียชีวติ
- เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ราษฎรชายแดนไทยที่บ้านน้อย ป่าไร่ กกดัด
หนองตอ อรัญประเทศ ถูกเขมรแดงเข้าโจมตี ต้องสังเวยชีวิต และบ้านเรือนถูก เผาผลาญ
เพราะสงครามกลางเมืองของกัมพูชา ต่อมาในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ปีเดียวกัน ทหารไทยต้อง
เสียชีวติ ขณะออกลาดตระเวนรกั ษาความสงบเรียบร้อยจากเขมรแดง ณ สถานทีเ่ ดียวกัน
- พ.ศ.๒๕๒๐ -๒๕๓๖ ได้มกี ารเปิดศนู ย์อพยพรับชาวเขมรอพยพตามแนว ชายแดน ๓

ศูนย์ คือศูนย์เอ ๔๒๖๔(ทับทิมสยาม03) บริเวณเชิงเขาบรรทัดด้านเหนืออำเภอตาพระยา ศูนย์

เอ ๔๘๒๖ เขาอดี า่ ง (ทบั ทิมสยาม0๘) บริเวณด้านใต้ของอําเภอตาพระยา และศนู ย์ ทีวี ๑๑๗๒

บริเวณ ปลายเขาตาง๊อก (ทับทิมสยาม0๕) ตำบลคลองไกเ่ ถื่อน อําเภอคลองหาด

- พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้จัดตั้งกองกําลังบูรพาขึ้น เพื่อปกปักษ์รักษาเอกราชไทยตาม แนว
ชายแดน โดยได้พฒั นามาจากชดุ ควบคมุ ที่ได้จดั ตง้ั ข้นึ เมอ่ื พ.ศ. ๒๕๒๑

- วันที่ ๑๒-๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑ ประชาชนชาวเขมร และทหารเขมร ๓ ฝ่าย
ได้เข้ามาตั้งกองกําลังรกั ชาติ (กรช ) โดยการนําของเจา้ นโรดมสีหนุ นายซอน ซาน และนาย
พอล มีผลทำใหพ้ ืน้ ทีใ่ นเขตหมูบ่ ้านน้อยป่าไร่ บ้านหนองเอียน บ้านคลองน้ำใส บ้านโนนสาวเอ้
บ้านสี่แยกทนั ใจ บ้านทับพริก ในเขตของจังหวัดสระแก้ว ประสบภยั จากกับระเบิด กระสุนปืน
ใหญ่ที่ฝา่ ยเวียดนามเฮงสัมรินยิงเข้ามา

กล่าวโดยสรุป การพัฒนาสังคมที่เหน็ ได้ชัดกค็ ือปรากฏการณท์ ีเ่ กิดจากชีวติ ประจำวนั
ของมนษุ ยเ์ ม่อื เดิมอย่กู นั เป็นครอบครวั ขยายเปน็ เผ่า เปน็ หม่บู ้าน เปน็ เมืองตามลําดบั บรรดา
สรรพสิ่งที่เกิดมาควบคู่กบั ชีวิตประจำวนั ของมนษุ ย์ เครอ่ื งมอื เครือ่ งใช้ในการหาอาหารเพื่อ

๒๕

ดํารงชีวติ ที่จังหวัดสระแก้วในพนื้ ที่เขตบ้านโคกมะกอก อาํ เภอเขาฉกรรจ์ ได้มกี าร ค้นพบ ขวาน
จอบ อาวธุ ปลายแหลม ขันตกั น้ำ ตอ่ มาเมือ่ สังคมขยายตัวขึ้นเป็นเผ่า เป็นหมบู่ ้าน กม็ ีการสร้าง
ทีอ่ ยู่อาศยั ดังได้มกี ารค้นพบร่องรอยการสร้างชมุ ชนเพื่อเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยหลายแหง่ ทั้งที่
อรญั ประเทศ ตาพระยา วัฒนานคร ฯลฯ ปรากฏการณธ์ รรมชาติ ต่อมา คือ ความเชือ่ ถือ เชื่อ
เพือ่ คุณภาพชีวติ มีต้ังแต่เชื่อผีสาง เช่อื เทวดา ต่อมาก็เช่อื ในศาสนา และเมอ่ื สังคมเติบโตมากขึ้น
มีการอยูร่ วมกันมากขึ้น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ จะออกมาในรูปของประเพณีวัฒนธรรม
โดยเฉพาะวฒั นธรรมการแต่งกาย ซึ่งได้มกี ารพบ ลูกปัดสีตา่ ง ๆ กำไล กระพรวน ที่อําเภอเขา
ฉกรรจ์ และอําเภอเมืองสระแก้ว เปน็ หลกั ฐานยนื ยัน อีกประการหน่ึงอนั เปน็ ผลมาจากวัฒนธรรม
เมือ่ คนมาอยู่ร่วมกันมากขึ้น อย่ไู ปนานๆกเ็ กิดความรกั ที่อยู่ ติดพ้ืนที่ รกั แผน่ ดิน รักญาติพ่นี ้อง
เผา่ พนั ธุ์ และต้องการความ ปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สิน ดงั น้ัน เมื่อยามเกิดศกึ สงคราม ก็จะ
มีกลุม่ ชนทีแ่ สดงออกถึง ความรักชาติ ซึง่ เราได้พบเห็นมาแล้วในอดีต เช่น ชาวบ้านบางระจัน
ท้าวเทพกษัตรยิ ์ตรี ท้าวศรีสุนทร และท้าวสรุ นารี ในจังหวดั สระแก้วได้เกิดชมรมชาวชายแดนขนึ้ ที่
อำเภออรัญประเทศ โดยภาคเอกชน เมือ่ พ.ศ. ๒๕๓๐ ชมรมน้ีเกิดขึน้ เพือ่ แก้ไขปญั หาภยั
คกุ คามจาก เขมรแดง เพื่อเปน็ พลังตอ่ สู้ศตั รูทั้งภายนอกภายใน เพือ่ ช่วยเหลอื ซึ่งกันและกัน และ
สร้างสรรค์ คุณภาพชีวติ คนชายแดน โดยมีอดุ มการณ์ สูเ้ พื่อชาติฉลาดเพื่อหมู่ อยู่เพือ่ ชีวติ คิด
เพือ่ ชายแดน

บทที่ 3
มรดกทางวัฒนธรรมนำศาสตร์ศิลป์

ความรุ่งเรืองของท้องถิ่นเริ่มต้นมาจากการที่บรรพบุรุษได้ร่วมกันบำรุงรักษา
และสร้างสรรค์มรดกทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรมไว้ให้เป็นสมบัติแก่คนรุ่นหลัง ธรรมชาติ
ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของท้องถิ่นที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ ส่วนวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่
สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการคิด การแก้ปัญหา เพื่อการดำรงอยู่ของคนในท้องถิ่น ท้องถิ่นแต่ละแห่ง
อาจมีสภาพทางธรรมชาติและการสร้างสมวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่ทั้งธรรมชาติ
และวฒั นธรรมต่างเปน็ สิ่งที่มอี ิทธิพลต่อวิถีชีวติ ความเปน็ อย่ขู องคนทกุ คนในท้องถิ่น

จังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดหน่ึงที่มีมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นอันทรงคุณค่า
เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวสระแก้วเกิดความภาคภูมิใจในจังหวัดของตน มรดกนี้มีหลากหลาย
และมีลกั ษณะเฉพาะแตกตา่ งจากท้องถิน่ จงั หวดั อื่น ดังน้ี
1. มรดกทางธรรมชาติ

ธรรมชาติถือเป็นมรดกล้ำค่าอย่างหนึ่งของท้องถิ่นที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ
ซึ่งแต่ละท้องถิ่นอาจมีสภาวะธรรมชาติ เช่น ป่าเขา ต้นน้ำลำธาร พืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ
ที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน มรดกทางธรรมชาติเหล่านี้เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยประโยชน์ในการ
ดำรงชีวิตของประชากรในแต่ละท้องถิ่น สำหรับจังหวัดสระแก้วมีมรดกทางธรรมชาติที่สำคัญ
อยหู่ ลายประการ ดงั น้ี

๑.๑ พื้นที่ป่า จังหวัดสระแก้วมีลักษณะภูมิประเทศทางตอนเหนือเป็นเนินเขาสูงจนถึงภเู ขา
ส่วนใหญ่ยงั คงมีสภาพเป็นป่า ทางตอนใต้มีลกั ษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขามีป่าไม้ปกคลุม
สภาพป่าไม้ในพ.ศ. 2538 พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดสระแก้ว เหลืออยู่ 752,512 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
16.73 ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด แบ่งเป็นป่าไม้ถาวรตามมติของคณะรัฐมนตรีป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าอนรุ กั ษต์ ามมตขิ องคณะรฐั มนตรปี า่ อนุรักษต์ ามกฎหมาย และพืน้ ที่ป่าอืน่ ๆ

๒๗

ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นพื้นที่ป่าไม้ส่วนที่มีสภาพสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำ
ลำธารที่สำคัญ ป่าไม้ประเภทนีม้ ีอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดสระแก้ว รวม 10 ปา่ ได้แก่ ป่าตาพระยา,
ป่าท่ากระบาก, ป่าห้วยไคร้, ป่าเขาฉกรรจ์-ป่าโนนสาวเอ้-ป่าปลายคลองห้อยไคร้-ป่าพระสะทึง,
ป่าแก่งดินสอ-แก่งใหญ่-เขาสะโตน, ป่าวัฒนานคร, ป่าเขาฉกรรจ์ฝั่งเหนือ, ป่าโคกสูง,
ป่าสกั ทา่ ระพา, ปา่ ทา่ แยก

ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย ในจังหวัดสระแก้วมีพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรกั ษ์ที่ได้รับการประกาศ
เปน็ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพนั ธส์ุ ัตว์ปา่ จำนวน 3 แห่ง คือ อุทยานแหง่ ชาติปางสีดา อทุ ยาน
แหง่ ชาติตาพระยา และเขตรักษาพนั ธ์สุ ตั วป์ า่ เขาอ่างฤาไน

1. อทุ ยานแหง่ ชาติปางสีดา เป็นอทุ ยานแหง่ แรกในจงั หวัดสระแก้ว มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่
อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวฒั นานคร จังหวัดสระแก้ว และอำเภอนาดีจังหวัดปราจนี บุรี มีที่ทำการ
อุทยานอยู่ที่ หมู่ 7 ตำบลทา่ แยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว อทุ ยานแห่งชาติปางสีดามี
พื้นที่ทั้งหมด 844 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 527,500 ไร่ ลักษณะทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง
สลับซับซ้อน กองอุทยานแหง่ ชาติได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่เพิ่มเตมิ และประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 24 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 นับเป็นอุทยาน
แหง่ ชาติแห่งที่ 41 ของประเทศไทย

ชนิดของป่าในอุทยานแห่งชาติปางสีดา ในเขตอุทยานแห่งชาติปางสีดา ครอบคลุม
ไปด้วยพื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 95.3 ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นผสมป่าดิบแล้ง ส่วนพื้นที่ที่เคย
ถูกบุกรุก ปัจจุบันพื้นที่ส่วนนี้ได้ปลูกป่าทดแทนไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ สรุปแล้วป่าในเขตอุทยาน
แห่งชาติปางสีดา แบง่ ได้เปน็ 2 ประเภทดงั น้ี

๑. ปา่ ประเภทท่ผี ลดั ใบ (Deciduous Forest) เป็นป่าที่ประกอบด้วยพรรณไม้ที่ผลัดใบ
ในฤดูแล้ง และผลใิ บใหม่ในฤดฝู น แบ่งยอ่ ยออกได้เปน็ 2 ชนิด

- ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ป่าชนิดน้ีมลี ักษณะเปน็ ป่าโปรง่

๒๘

มีไมช้ ั้นบนเปน็ ป่าโปร่ง มีไมช้ ้ันบนเป็นพรรณไม้ผลดั ใบหลายๆ ชนิดข้นึ ปะปนกนั เช่น มะค่าโมง ประดู่
ตะแบบใหญ่ ซ้อ ตีนนกแดง สมอพิเภก กว้าว พืชชั้นล่าง ได้แก่ ไผป่ ่า และหญา้ ต่างๆ

- ปา่ เต็งรัง (Dry Dipterocarp) สภาพโดยท่ัวไปเป็นป่าโปรง่ มีต้นไม้ข้นึ กระจัด
กระจายทั่วพื้นที่ และมักจะมีลำต้นเล็กและเตี้ย ไม้พื้นล่างเป็นพวกหญ้าเพ็กและหญ้าคา สภาพดิน
เป็นดินลกู รัง ซึ่งมีสแี ดงหรอื ดินปนทรายที่มสี ีแดงหรอื สีขาว มักขาดธาตอุ าหารหลายอย่าง และมักมี
ไฟไหม้ลุกลามทกุ ปี พนั ธุไ์ ม้ในป่าชนิดน้ี ได้แก่ ไม้เตง็ รัง เหียง พลวง มะขามป้อม รกฟ้า

๒. ป่าประเภทไม่ผลดั ใบ (Evergreen Forest) ป่าประเภทนี้ประกอบด้วยพรรณไม้ที่มี
ลักษณะไม่ผลัดใบ มีใบเขียวชอ่มุ ตลอดทั้งปีท้ังน้เี พราะไม่มีระยะเวลาผลดั ใบทีแ่ น่นอน หรอื เวลาผลัด
ใบก็จะมีใบใหม่ขึ้นมาแทนที่ทันทีในเวลาอันสั้น ป่าประเภทนี้มีอยู่โดยทั่วไปจากระดับต่ำจนถึงสูงสดุ
แบง่ ออกได้เปน็ 3 ชนิด ดังน้ี

- ป่าดงดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) ป่าไม้ชนิดนี้ขึ้นทั่ว ๆ ไปในเขต
อุทยานแห่งชาติปางสีดา จากระดับน้ำทะเล 4,000 – 1,000 เมตร ป่าดิบชื้นบนพื้นที่ระดับต่ำ ๆ
มีชนิดไม้คล้ายคลึงกับพรรณไม้ในป่าดิบแล้ง แต่จะมีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก
เช่น ยางกลอ่ ง ยางขน ยางเสยี้ น กระบาก

- ป่าดบิ แล้ง (Dry Evergreen Forest) ป่าชนิดน้พี บในพืน้ ที่ทีส่ งู จากระดบั น้ำทะเล
100 – 400 เมตร ไม้ชั้นบนที่พบทั่วไป ได้แก่ ยางนา ยางแดง สะเดาปัก เคี่ยมคะนอง พะยอม
ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบบใหญ่ สมพง มะค่าโมง ปออีเก้ง เป็นต้น ไม้ชั้นรองลงมา
ได้แก่กระเบากลัก ตาเสือ กระโดงแดง และยังมีปาล์มต้นสูงขึ้นกระจายทั่วไป ได้แก่ หมากนางลิง
และลาน พืชช้ันลา่ งสว่ นใหญเ่ ป็นไม้วงศก์ ระเจียว ซึ่งปะปนกบั กล้วยปา่ และเตย

- ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ป่าชนิดนี้ส่วนใหญ่เกิดอยู่บนที่สูงจาก
ระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ พญาไม้ มะขามป้อมดง ขนุนไม้
สนสามพันปี ก่อรัก ก่อเดือย พื้นที่ตามสันเขาจะพบกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจายทั่วไปไม้ชั้นรอง
ได้แก่ เก็ดส้าน สัมแปะ แกนมอ เพลาจังหัน หว้า เป็นต้น พืชชั้นลางเป็นพวกไม้พุ่ม เช่น ด้างผา
กาลัง – กาสาตัวผู้ ผักกูด และกล้วยไม้ดิน สำหรับที่ราบบนสันเขาที่เป็นที่ราบ มักมีแอ่งน้ำปกคลุม
ด้วยข้าวตอกฤาษี ตะไคร่น้ำ หญ้าข้าวก่ำ อ้าน้อย กุง สามร้อยยอด เป็นต้น ส่วนใหญ่ตามลำต้น
และกิ่งก้านของตน้ ไม้ในป่าดิบเขาจะปกคลมุ ไปด้วยพืชอาศยั เช่น กล้วยไม้ กดู และตะไคร่นำ้

๒๙

- สัตวป์ า่ จากการสำรวจสตั วป์ า่ ที่อาศัยอย่ใู นเขตอุทยานแห่งชาติปางสดี า
พบสัตวต์ า่ งๆ ดังน้ี

- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบทั้งหมดประมาณ 81 ชนิด จาก 58 สกุล 20
วงศ์ เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง เสือโคร่ง เก้ง กระจง นากเล็กเล็บสั้น เม่นแผงคดใหญ่ ลิงแสม และ
ค้างคาวปีกขน ซึ่งเป็นค้างคาวทีห่ ายาก พบคร้ังแรกในบริเวณป่าเขาสอยดาว จงั หวัดจนั ทบุรี

- สัตว์ปีก พบทั้งหมดประมาณ 143 ชนิด จาก 107 สกุล ใน 38 วงศ์
เชน่ ไกฟ่ ้าพญาลอ นกยางเขียว นกพญาปากกว้างอกสีเงิน นกแต้วแร้วธรรมดา นกหัวขวานสามนิ้ว
ลังทอง นกหัวขวานแคระจุดธูปหัวใจ นกกระรางหัวหงอก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนกอพยพย้ายถิ่น
เชน่ เหยีย่ วออสเปร นกเด้าดิน นกนางแอ่นบ้าน นกเด้าลมเหลือง นกอีเสือสีนำ้ ตาล

- สัตวเ์ ลื้อยคลาน เท่าทีพ่ บมี 19 ชนิด จาก 17 สกลุ ใน 5 วงศ์ เชน่ ตะกอง
กิ้งกา่ บิน ตะกวด

- สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เท่าที่พบมี 19 ชนิด จาก 7 สกุล ใน 3 วงศ์ พบอาศัย
ตามบริเวณพื้นดินใกล้แหล่งน้ำ เช่น ตามก้อนหิน ขอนไม้ หรือต้นไม้บริเวณลำห้วย สัตว์ที่พบ เช่น
เขียดตะปาดเขียวทราย อึง่ แมห่ นาว ฯลฯ

- ปลาน้ำจืด พบตามลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยน้ำเย็น ห้วยโสมง ห้วยพลับพลึง
ห้วยปะตง ชนิดปลาที่พบมี 19 ชนิด จาก 17 สกุล ใน 10 วงศ์ เช่น ปลาสร้าง นกเขา ปลาค้อ
ปลาชะโอน ปลากดเหลือง ปลาดกุ เนือ้ เลน ปลาก้าง ฯลฯ

นอกจากนี้ภายในอุทยานแห่งชาติปางสีดายังมีสถานที่ที่สามารถท่องเที่ยวพักผ่อน
หยอ่ นใจ และศกึ ษาหาความรเู้ กี่ยวกับธรรมชาติส่งิ แวดล้อมและระบบนิเวศอน่ื ๆ อีก ได้แก่

๓๐

นำ้ ตกปางสีดา อยหู่ ่างจากที่ทำการอทุ ยานแห่งชาติปางสดี า ประมาณ 800 เมตร
ลกั ษณะเปน็ น้ำตกทิง้ ตวั จากหน้าผาสูงประมาณ 8 เมตร เบือ้ งลา่ งมแี อ่งน้ำขนาดใหญ่ นับเป็นน้ำตก
ทีส่ วยมากแห่งหน่งึ ของจงั หวดั สระแก้ว

น้ำตกผาตะเคยี น เปน็ น้ำตกทีอ่ ยเู่ หนอื น้ำตกปางสีดาขึ้นไปเป็นหน้าผาสูงประมาณ
10 เมตร ลักษณะเป็นน้ำตกที่ทิ้งตัวจากหน้าผาสูง เบื้องล่างเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ และจะมีน้ำตก
มากในชว่ งฤดูฝน น้ำตกแห่งน้อี ย่หู า่ งจากทีท่ ำการอุทยานแหง่ ชาติ ประมาณ 5 กิโลเมตร

น้ำตกแควมะค่า เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดและงดงามที่สุดในอุทยานแห่งชาติแห่งนี้
ลักษณะเป็นน้ำตกสูงถึง 70 เมตร ที่ตั้งของน้ำตกแห่งนี้อยู่ลึกเข้าไป
ในผืนป่าต้องเดินทางไปตามเส้นทางจากที่ทำการของอุทยานถึงหลัก
กิโลเมตรที่ 40 และเดินเท้าจากปากทางเข้าน้ำตกไปอีกประมาณ
6 กิโลเมตร บริเวณใกล้เคียงกับน้ำตกแหง่ นี้ยังมีน้ำตกเกาะรวมกนั เป็น
กลุ่ม อีกหลายแห่ง รวมเรียกว่า กลุ่มน้ำตกแควมะค่า ต้องใช้เวลา
2 – 3 วัน จึงจะเข้าไปได้ทั่วถึงครบในกลุ่มน้ำตกแควมะค่า นอกจาก
น้ำตกแควมะค่าแล้ว ยังประกอบด้วยน้ำตกสวนมั่น-สวนทอง อยู่ห่าง
จากน้ำตกแควมะค่าประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถเดินชนน้ำตกแหง่ น้ี
และกลับมาพักที่น้ำตกแควมะค่าได้, น้ำตกรากไทรย้อย อยู่เหนือน้ำตกแควมะค่าขึ้นไป ประมาณ
500 เมตร, น้ำตกลานหินใหญ่ อยู่เหนือน้ำตกรากไทรย้อย ประมาณ 500 เมตร, น้ำตกม่านธารา
อยู่ห่างจากน้ำตกสวนมั่น-สวนทอง ประมาณ 500 เมตร ลักษณะเป็นน้ำตกที่ทิ้งตัวจากหน้าผาสงู
ประมาณ 10 เมตร มีความกว้างประมาณ 20 เมตร

๓๑

น้ำตกถ้ำค้างคาว เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงการเดินสู่น้ำตกแห่งนี้
ค่อนข้างลำบาก น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานที่กิโลเมตรที่ 22 แล้วเดินเท้าไปอีกระยะ
หนึ่ง ประมาณ 8 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกจะมีถ้ำขนาด 500 เมตร และมีน้ำตกทับเทวาซึ่งอยู่ห่าง
จากทีท่ ำการอทุ ยาน 6 กิโลเมตร และเดินทางอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร

น้ำตกลานแก้ว อยู่ห่างจากน้ำตกถ้ำค้างคาวประมาณ 300 เมตร เป็นน้ำตก
3 ชั้น มีความสวยงามมาก ไม่ว่าจะเป็นสายน้ำ หรือโขดหิน บริเวณรอบ ๆ เต็มไปด้วยเห็ดป่า
และกล้วยไม้ป่า

จุดชมวิว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติปางสีดา ไปตามถนนผ่านกลาง
อุทยานแห่งชาติปางสีดา 25 กิโลเมตร เป็นจุดที่สามารถชมพูมิประเทศ ทิวเขา และสภาพของ
ผนื ป่าที่สมบรู ณ์ได้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะเวลาดวงอาทิตยข์ ึน้ และตกในยามเย็น

2. อุทยานแห่งชาติตาพระยา เป็นอุทยานที่ตั้งขึ้นเป็นอันดับหลังสุดในจังหวัด
สระแก้วเมื่อพ.ศ. 2539 อุทยานแห่งชาติตาพระยาเป็นพื้นที่ป่าอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก
ซึ่งทอดยาวไปในแนวทิศตะวันออก กั้นเขตแดนระหว่างที่ราบสูงโคราชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กับที่ราบลุ่มภาคกลางและที่ราบลุ่มในกัมพูชา หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า เขมรต่ำ ครอบคลุมพื้นที่
ของไทย 2 จังหวัด คือ จังหวัดบุรีรัมย์ ในท้องที่ตำบลบึงเจริญ ตำบลจันทบเพชร ตำบลสายตะกู
ตำบลหนองไม้งาม และตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด ตำบลโนนดินแดง และตำบลลำนางรอง
อำเภอโนนดินแดง ตำบลสำโรงใหม่ ตำบลหนองแวง และตำบลตาจง อำเภอละหานทราย
และจังหวัดสระแก้ว ในท้องที่ตำบลทัพราช และตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา มีเนื้อที่ประมาณ
594 ตารางกิโลเมตร หรือ 371,250 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนในเทือกเขา
สันกำแพงตลอดแนวจนถึงเขาพนมดงรัก สูงจากระดับน้ำทะเล 206-579 เมตร ยอดสูงสุดของ
พืน้ ที่ คือ ยอดเขาพรานนชุ อยูท่ างทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพืน้ ที่ซึ่งหอ้ มล้อมด้วยพื้นที่ค่อนข้างราบ

๓๒

นอกจากอุทยานแห่งชาติตาพระยาจะมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าของกัมพูชาแล้ว
ยังติดต่อกับผืนป่าอนุรักษ์อีก 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน และ
อุทยานแห่งชาติปางสีดา รวมเป็นป่าอนุรักษ์ผืนใหญ่ทางทิศตะวันออกตอนบน (Upper Eastern
Forest Complex)

ทิศเหนือ จดอุทยานแห่งชาติทับลาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ เขตชุมชน
ตำบลโนนดินแดงและตำบลลำนางรอง กิ่งอำเภอโนนดินแดง ตำบลสำโรงใหม่ ตำบลหนองแวง และ
ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย ตำบลหนองไม้งาม ตำบลบึงเจริญ ตำบลปราสาท ตำบลจันทบ
เพชร และตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรมั ย์

ทศิ ใต้ จดชุมชนตำบลทัพราช และตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จงั หวดั สระแก้ว
ทิศตะวันออก จดแนวชายแดนที่ติดต่อกับกัมพูชา ตั้งแต่หลักเขตประเทศ
หลักที่ 24 ถึงหลกั ที่ 28
ทิศตะวันตก จดอุทยานแห่งชาติปางสีดา และเขตชุมชนในตำบลช่องกุ่ม
อำเภอวัฒนานคร จงั หวัดสระแก้ว
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนในเทือกเขาสันกำแพงตลอดแนว
จนถึงเทือกเขาพนมดงรัก สูงจากระดับน้ำทะเล 206-579 เมตร ยอดสูงสุดของพื้นที่ชื่อยอดเขา
พรานนุช มีความสูง 579 เมตร
ในเทือกเขาบรรทัดบริเวณเขาพรานนุชและเขาสะแกกรอง เป็นต้นกำเนิด
ลำห้วยขวาง ลำสะโตน ไหลลงสูด่ ้านทิศใต้ลงสู่อ่างเกบ็ น้ำหว้ ยยาง ในตำบลทพั ราช อำเภอตาพระยา
ส่วนเทือกเขาตามแนวตะวันออก เป็นต้นกำเนิดของลำนางรอง ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำลำนางรอง ลำ
จังหัน ไหลลงสู่อา่ งเก็บน้ำลำจังหัน ลำปะเทียะ ไหลลงสู่อ่างเกบ็ น้ำลำปะเทียะ ห้วยตะมะเมือง ห้วย
แห้ง ห้วยตากิ่ว ห้วยหิน ห้วยดินทราย ห้วยนาน้อย ห้วยสูบ ห้วยพลุ ห้วยโอบก ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ
หว้ ยโอบก และหว้ ยเมฆา ไหลลงสูอ่ ่างเก็บน้ำหว้ ยเมฆา จังหวัดบุรีรมั ย์
จุดเด่นของอุทยานแห่งชาติตาพระยา นอกจากจะมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น
ช้างป่า กระทิง วัวแดง เสือ เก้ง กวาง หมี เลียงผา กระจง และนกนานาชนิดแล้ว ยังมีแหล่งโบราณ
สถานที่ยังไม่ได้ทำการสำรวจหลายแห่ง มีปราสาทหินขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
แหลง่ ตัดหินเพือ่ นำไปทำปราสาทในบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนรอ่ งรอยของการเคยเป็นค่ายผู้อพยพ
ชาวกัมพชู าช่ือ กันแลงทม ซึ่งสะท้อนให้เหน็ ถึงความยากลำบากของชาวกัมพูชาที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น

๓๓

อันเป็นผลมาจากสงคราม ความแตกแยกภายในประเทศ นับว่าเป็นบทเรียนที่ดีแก่ผู้มาเยี่ยมชม
จุดเด่นที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ เพราะอุทยานแห่งชาติตาพระยา
มีสภาพเป็นป่าทีส่ วยงามและสมบรู ณ์ทีส่ ดุ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว

3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
มีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์หลากหลาย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาพนม
กระวาน อนั เปน็ เทือกเขาตงั้ อยทู่ างภาคตะวันตกของกมั พูชา และภาคตะวนั ออกของไทยแถบจังหวัด
ตราด จันทบุรี ระยอง สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยมีปลายสุดของเทือกเขาดังกล่าว
อยูใ่ นบริเวณเขาอ่างฤาไนของไทย

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนเป็นโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
อันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีพระราชประสงค์
ให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร
ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะราษฎรในชุมชนที่อพยพออกมาจากป่าและชุมชนที่อาศัยอยู่
ติดกับแนวป่าเขาอนุรักษ์ มีอาชีพที่เหมาะสมยั่งยืน อันจะนำให้ราษฎรไม่หวนกลับไปบุกรุกป่าอีกใน
พื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด ภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และสระแก้ว)
เพือ่ ได้ความสมบูรณส์ ำหรับแหล่งต้นน้ำลำธาร และรกั ษาสภาพแวดล้อมในสว่ นของจังหวัดสระแก้ว
คือ ในท้องที่อำเภอวังน้ำเย็น และกิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ โดยประกาศตามพระราชกฤษฎีกา
และประกาศตามราชกฤษฎีกา และประกาศตามราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.
2520 และวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เขตรักษาพันธุส์ ัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน มีเนื้อที่ 29,375
ไร่ เปน็ พืน้ ที่ราบด้านทิศเหนอื ของเทือกเขาจันทบุรี ซึ่งเปน็ สว่ นตะวนั ตกเฉียงเหนือของเทือกเขาพนม
กระวานในกัมพูชา มีเขาสอยดาวเหนือและสอยดาวใต้ เป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุด
ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,670 เมตร
สัตว์ป่าในเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ มีความหลากหลายคล้ายคลึงกับสัตว์ป่าที่ปรากฏ

๓๔

อยู่ในภูมิภาคอินโดจีน (โดยเฉพาะคล้ายคลึงกับสัตว์ป่าในกัมพูชา) บางส่วนมีความหลากหลาย
คล้ายคลึงกับสัตว์ป่าที่พบในบริเวณแหลมมลายู มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย ซึง่ ตามข้อสันนิษฐาน
ทางธรณีวิทยามีหลักฐานยืนยันว่าการที่ระหว่างพื้นที่บริเวณดังกล่าวเคยมีแนวแผ่นดินเชื่อม
ติดต่อกันมาแต่โบราณกาล ตลอดจนมีสภาพภูมิอากาศปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีใกล้เคียงกัน
ทำให้สตั ว์ป่าและพืชพรรณมีลกั ษณะคล้ายคลึงกัน

ความหลากหลายของพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ความหลากหลายของพันธุ์ป่า
(Species Diversity) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน มีประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นหลัก
จำแนกได้เป็น 4 จำพวก ได้แก่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians) สัตว์เลื้อยคลาน (Reptilians)
สัตว์ปีก (Avians) และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalians) ชนิดของพันธุ์สัตว์ป่าต่าง ๆ ปรากฏ
ดังตอ่ ไปนี้

- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalians) ในแผนแม่บทเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
เขาอ่างฤาไน พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมรวมทั้งหมด 64 ชนิด จาก 50 สกุล ใน 23 วงศ์ ชนิดสัตว์
เลี้ยงลกู ด้วยน้ำนมที่พบเหน็ โดยตรง ส่วนใหญ่เป็นสตั ว์ขนาดเล็กและขนาดกลาง อาทิ พญากระรอก
ดำ กระรอกหลากสี นอกจากนีย้ งั พบชะนีมงกฎุ เก้ง และสตั วข์ นาดใหญ่ เช่น ช้าง พบเป็นโขลงในป่า
และกระทิง

- สัตว์ปีก (Avians) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนมีจำพวกสัตว์ปีกที่สามารถ
พบเห็นได้ตลอดเวลา เนื่องจากในพื้นที่อุดมด้วยพืชอาหารของสัตว์ปีกนานาชนิด ตามการสำรวจ
ในแผนแม่บทเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พบสัตว์ปีก 246 ชนิด 160 สกุล ใน 64 วงศ์
ส่วนใหญ่เป็นชนิดนกที่มีถิ่นที่อาศยั ในปา่ และในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอื่น ๆ อาทิ ป่าดิบแล้ง
ป่าเบญจพรรณ ป่าเขาหินปูน และบริเวณแหล่งน้ำ หนองบึงต่าง ๆ สัตว์ปีกที่พบในพื้นที่ ได้แก่
นกกาฮังหรือนกเงือกใหญ่ ไก่ฟ้าพญาลอ นกแต้วแร้วธรรมดา และนกอีกกลุ่มหนึ่งเป็นชนิดที่ชอบ
อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่เกษตรกรรม ต่อเนื่องไปถึงหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้แนวเขตรักษา
พนั ธสุ์ ตั ว์ป่า ได้แก่ นกเขาใหญ่ นกเอยี้ งสาลกิ า นกปรอดสวน และนกกระติด๊ ข้หี มู เปน็ ต้น

- สัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles) ตามการสำรวจในแผนแม่บทเขตรักษาสัตว์ป่า
เขาอา่ งฤาไนพบในพืน้ ที่รวม 53 ชนิด 40 สกุล ใน 16 วงศ์ ตวั อย่างสตั ว์เลื้อยคลานที่พบ เช่น เต่า
ใบไม้ จิง้ จกหางหนาม ตะกองหรอื ล้ัง และงูจงอาง

- สตั ว์สะเทนิ น้ำสะเทนิ บก (Amphibians) แผนแมบ่ ทเขตรักษาสตั ว์ปา่ เขาอ่างฤาไน

๓๕

รายงานพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จำนวน 18 ชนิด 9 สกุล
ใน 5 วงศ์ ประกอบด้วยกบหนอง เขียดตะปาด คางคกบ้าน และอึง่ แม่หนาว เปน็ ต้น

ภาพ : พญากระรอ ภาพ: ชะนีมงกุฎ

ท่มี า : https://sites.google.com/site/animaldobby/ ท่มี า : https://th.wikipedia.org/wiki/

home/phya-krarxk-da

ภาพ : ช้างป่า ภาพ : กระทิงป่า

ท่มี า : https://www.lovethailand.org/travel/th/56 ท่มี า : https://www.onep.go.th/21

ภาพ :เก้งปา่ :
ท่มี า : https://www.google.com/search?q

๓๖

นอกจากนี้ จังหวัดสระแก้วยังมีมรดกธรรมชาติที่นา่ สนใจศกึ ษาอีก เช่น
เขาฉกรรจ์ เปน็ ภเู ขาหนิ ปูนดึกดำบรรพ์ นบั อายุได้ชว่ ง 2,000 – 4,000 ปีมาแล้ว
มีลักษณะเป็นภูเขาสามลูกเรียงกัน โดยมีเขาฉกรรจ์เป็นลูกที่ใหญ่สุดอยู่ตรงกลางมีเขาภูมิ่ง

และเขาผาละอยู่ด้านซ้ายและขวา ภูเขาทั้งสามลูกถูกจัดเป็นสวนรุกขชาติของกรมป่าไม้
มีพืชสมุนไพรและไม้มงคลหลากชนิดขึ้นตามซอกหิน เขาฉกรรจ์ประกอบด้วยถ้ำทั้งหมด 72 ถ้ำ
โดยมีถ้ำที่สำคัญคือ “ถ้ำทุละ” ซึ่งถ้าหากปีนขึ้นไป บนถ้ำซึ่งมีลักษณะเป็นช่องโหว่ทะลุไปอีกด้าน
หนึ่งของภูเขาและมองลงไปจะเห็นทัศนียภาพของอำเภอเขาฉกรรจ์ทั้งหมด ในบรรดาถ้ำเล็กถ้ำนอย
หลายสิบถ้ำนี้เป็นที่อาศัยของลิงป่าฝูงใหญ่และค้างคาวนับล้านตัว ซึ่งเมื่อถึงเวลาเย็น ประมาณ
18.00 นาฬิกา ฝงู ค้างคาวท้ังหมดจะบินออกไปหากิจจากถ้ำต่างๆ ของภูเขาจนมองเห็นเป็นสายดำ
มดื บนท้องฟ้านานนบั ชัว่ โมง

ละลุหรือโป่งยุบ ตั้งอยู่ที่อำเภอตาพระยา เลยทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติตาพระยา
ประมาณ 1 กิโลเมตร ทางด้านขวามือจะสังเกตเห็นละลุหรือโป่งยุบ ลักษณะเป็นเขาดินที่เกิดจาก
การกัดเซาะของน้ำมีลักษณะคล้าย ๆ แพะเมืองผี จังหวัดแพร่ แต่มีขนาดเล็กกว่า มีบริเวณกว้าง
ประมาณ 400 ตารางเมตร

๓๗

ถ้ำน้ำ ตั้งอยู่ที่บ้านเขาตาง๊อก หมู่ที่ 3 ตำบลคลองไก่เถือน อำเภอคลองหาด
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองหาดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3395
เป็นถ้ำที่มีธารน้ำใต้ดินไหลผา่ น จึงทำให้ภายในถ้ำไม่แห้งและไหลออกจากถ้ำตลอดปี น้ำใสและเยน็
ระดับน้ำจากปากถ้ำจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ บางช่วงสูงถึง 2 เมตร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด
ภายในถ้ำค่อนข้างมืด และยังมีหินย้อยบริเวณเพดานถ้ำนับว่าเป็นถ้ำที่มีธารน้ำและหินย้อยที่สวย
ทีส่ ุดแห่งหนึ่งของจงั หวดั สระแก้ว

๑.๑ พืชพรรณไม้ ในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสระแก้วเป็นสภาพป่าไม้
เนื้อแข็งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้ประดู่ ไม้ตะเคียนทอง
ไม้ชิงชัน ไม้ตะแบกใหญ่ รกฟ้า และป่าไผ่ แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีการทำสัมปทานป่าไม้ในบริเวณ
จังหวัดสระแก้ว ตลอดจนมีการตัดไม้อย่างต่อเนื่องเพื่อขยายพื้นที่อยู่อาศัยและขยายพื้นที่ทำกิน
ทำให้สภาพป่าไม้ตามธรรมชาติทีเ่ คยมีอยูอ่ ย่าง อุดมสมบูรณ์ถูกทำลายลงอย่างรวดเรว็ จึงได้มีการ
ยกเลิกการทำสัมปทานป่าไม้ในเขตจังหวัดสระแก้ว ปัจจุบันคงมีแต่โรงงานแปรรูปไม้ขนาดเล็กทำ
เฟอร์นิเจอร์ในเขตอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอคลองหาด และอำเภอวัฒนานคร แต่ในอนาคตหากป่าไม้
ถกู ทำลายมากขึ้นโรงงานเหล่านีก้ ค็ งไม่มีไมใ้ นการทำเฟอร์นิเจอรด์ งั กล่าว

๓๘

มะขามป้อม เป็นพรรณไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นไม้มงคลแก่จังหวัดสระแก้ว
มะขามป้อม มีชื่อพื้นเมือง คือ กันโตด (เขมร) กำหวด (ราชบุรี)
มั่งคู่ สันยาส่า ชื่อสามัญ Maiacer Tree ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllathus embrica linn ว ง ศ ์ EVPHORBIAGEAE ม ะ ข า ม ป ้ อ ม
เป็นไม้พื้นถิ่นที่พบมากในป่าเต็งรัง หรือป่าโปร่งของจังหวัด
สระแก้ว ลักษณะของมะขามป้อมเปน็ ไม้ยืนต้น ลำตน้ สูงประมาณ
8 – 12 เมตร ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลอ่อนสีเขียวอ่อน
ผลแก่สีเขียวอมเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ด มีรสฝาดเปรี้ยว ส่วนใหญ่
จะขึ้นอยู่ประปรายหรือเป็นหมู่ใหญ่ ๆ ในป่า เบญจพรรณ
และป่าแดงทั่วไป มีมากทางภาคตะวันออก และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ สว่ นจงั หวดั สระแก้วมีมากในพืน้ ที่ป่าแถบอำเภอตาพระยา

ประโยชน์ของมะขามป้อม ลำต้นสามารถใช้ทำเสาบ้านขนาดเล็ก แปรรูปเป็นไม้
กระดาน ใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ เปลือกและใบสีน้ำตามแกมเหลือง ใช้ย้อมผ้าได้ ผลดิบมีรส
ฝาด เปรี้ยว ขม หวาน รับประทานได้ทำให้ชุ่มคอแก้กระหายน้ำ หรือคั้นเอาน้ำกินแก้ท้องเสีย
ขบั ปัสสาวะ

1.๒ ต้นน้ำลำธารและแหล่งน้ำสำคัญ การที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสระแก้ว
เปน็ เนินสูง ที่ราบสงู ทำให้มตี ้นน้ำลำธารสำคญั หลายสาย ได้แก่

คลองพระสะทึง เป็นลำน้ำที่สำคัญไหลผ่านอำเภอวังน้ำเย็นและทางตอนใต้
ของอำเภอเมืองสระแก้ว จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ไปบรรจบกับแควหนุมานในเขต
อำเภอกบินทร์บรุ ี จังหวดั ปราจนี บุรี และนบั เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวจังหวดั สระแก้วเน่ืองจากมี
น้ำตลอดปี เปน็ แหล่งนำ้ ดิบทีใ่ ชผ้ ลติ น้ำประปาของจังหวดั สระแก้ว

คลองพระปรง เป็นลำน้ำธรรมชาติทีไ่ หลผา่ นตอนเหนอื ของอำเภอเมืองสระแก้ว
คลองพรหมโหด มีต้นกำเนิดในเขตพื้นที่อำเภอวัฒนานคร ไหลผ่านพื้นที่
ตอนกลางของอำเภออรัญประเทศไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่กัมพูชา ที่บ้านคลองลึก และยังถือเป็น
แนวเขตอนุรักษ์ของทั้งสองประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาบริการ
แก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลอรญั ประเทศอกี ด้วย

๓๙

คลองน้ำใส มีต้นกำเนินมาจากภูเขาในกัมพูชา รวมกับต้นน้ำที่กำเนิดในเขตพื้นที่
จังหวดั จนั ทบรุ ี

คลองตาหลังใน มีต้นกำเนินมาจากเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ขนานกับคลอง
พระสะทึง ผ่านอำเภอวังน้ำเย็นไปบรรจบกับคลองพระสะทึง ที่ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเยน็
สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดทั้งปี แหล่งน้ำที่สำคัญนอกจากต้นน้ำลำธารแล้วยังมีอ่างเก็บน้ำขนาด
กลางและขนาดเล็ก เช่น

อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก
อยู่ในเขตบ้านคลองทราย หมู่ที่ 8 ตำบล
หนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร โดย
เริม่ ตน้ จากถนนวัฒนานคร-แซร์ออร์ และห่าง
จากที่ว่าการอำเภอวัฒนานครเพียง 28
กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำที่จัดสร้างขึ้นตาม
แนวโครงการพระราชดำริบริเวณอ่างเก็บน้ำ
จะปลูกต้นไม้พันธุ์ต่าง ๆ ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ดอก
ไม้ประดบั ปจั จุบนั อยู่ในความดแู ลของกรมปา่ ไม้

นอกจากนีบ้ ริเวณอ่างเกบ็ น้ำท่ากระบากยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในยามเช้า
และเย็น ช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและตก ซึ่งมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก โดยเฉพาะในฤดูหนาว
ดังนั้น อ่างเก็บน้ำท่ากระบากจงึ เหมาะที่จะเป็นแหลง่ ทอ่ งเที่ยวทีส่ วยงามมากทีส่ ดุ ของจงั หวดั อีกแหง่ หนึ่ง

อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ เป็นอ่างเก็บ
น้ำขนาดใหญใ่ ช้สำหรับเก็บกักน้ำเพือ่ การเกษตรตามโครงการพระราชดำริพ้ืนทีร่ าบเชิงเขาตำบลเขา
สามสิบ ทำให้เกษตรกรในตำบลเขาสามสิบและตำบลใกล้เคียงได้รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ทำ
เกษตรกรรมได้ตลอดปี นอกจากนี้อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบยังมีทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นสถานที่
ท่องเทีย่ วพกั ผ่อนหย่อนใจของชาวอำเภอเขาฉกรรจแ์ ละชาวอำเภอใกล้เคียงอีกด้วย
๒. มรดกทางวฒั นธรรม

มรดกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์มาตั้งแต่อดีต
และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบนั มีท้ังสิง่ ทีเ่ ปน็ รปู ธรรม เชน่ เครือ่ งมือเคร่อื งใช้ งานศิลปกรรม งานฝีมือ
เป็นต้น รวมถึงโบราณสถาน หลกั ฐานการจารึกต่าง ๆ และสิ่งทีเ่ ป็นนามธรรม เชน่ ภาษา ความเชื่อ

๔๐

ขนบธรรมเนยี มประเพณี เป็นต้น สิง่ เหล่าน้แี สดงถึงพัฒนาการของสังคมอันเป็นรากฐานความเจริญ
ของท้องถิน่ ปจั จุบันมรดกทางวฒั นธรรมที่สำคญั ของจงั หวดั สระแก้ว มีดงั นี้

๒.๑ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บรรพบุรษุ ในท้องถิ่น
ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นเวลาที่ยาวนานและสืบทอดสูค่ นรุน่ หลัง เป็นสิ่งทีแ่ สดงให้เห็นถึงความเจริญ
ของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ในจังหวัดสระแก้ว มีมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นโบราณวัตถุ และ
โบราณสถานที่สำคญั ดังนี้

โบราณวัตถุ จากการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้มีการสำรวจขุดค้นในจังหวัด
สระแก้ว พบว่ามีหลักฐานทางโบราณวตั ถุที่สำคัญซึง่ สามารถจำแนกออกได้ ดังน้ี

โบราณวัตถุที่เก็บรักษาอยู่ที่วัดตาพระยา วัดตาพระยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านตาพระยา
ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นแหล่งสะสมโบราณวัตถุหลายชนิด
โดยพระครูประทีป ปัจจันตเขต เจ้าคณะอำเภอตาพระยา เจ้าอาวาส เป็นผู้ดูแลเกบ็ รักษาและได้จด
บนั ทึกรายละเอียดไว้ในบญั ชแี สดงศิลปวัตถุ และโบราณวัตถขุ องวัดตาพระยา ดังน้ี

พระพุทธรูปนาคปรกโบราณ สร้างดว้ ยหินหนา้ ตักกว้าง 19 นิว้ สงู จากฐานถึงหัวนาค
27 นิ้ว ประทับนั่งปางสมาธิ สภาพชำรุด หัวและหางนาคหักข้อมือขวาหัก พอกต่อด้วยปูนสวม
มงกุฎ เปน็ พระพทุ ธรปู ในศลิ ปะเขมร ซึง่ มีอายุอยใู่ นระหวา่ งพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 มีลักษณะเป็น
หินสีเขียว ขุดพบที่กรุบ้านโคกไพล เมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 พระอาจารย์บุญถึงเจ้าอาวาสวัดตา
พระยาสมยั น้ัน ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่ วดั ตาพระยา เรียกกนั ว่า หลวงพอ่ ทบั พระยา

พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง เป็นพระพุทธรูปหิน หน้าตักกว้าง 6 นิ้ว
สูงจากฐานถึงหวั นาค 13 น้ิว ประทบั น่งั ปางสมาธิ สภาพชำรุดนาคหลดุ จากตัวพอกตอ่ ด้วยปนู พระ
เกศคล้าย ๆ ใส่หมวกหูเป็นตุ่มหย่อนลงมาเหมือนใส่ตุ้มหู พระพุทธรูปองค์นี้เรียกกันว่า
หลวงพ่อพัฒนาการ พบใน พ.ศ. 2503 ขณะที่ประชาชนพร้อมใจกันพัฒนาการขุดสระใกล้คลอง
ทางทิศเหนอื ของกิ่งอำเภอตาพระยาสมัยน้ัน

พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปหิน หน้าตักกว้าง 5 นิ้ว สูงจากฐาน
ถึงพระเกศ 9 นวิ้ พระวรกายอ้วน พระพทุ ธรูปองคน์ ี้เรยี กกันวา่ หลวงพ่ออยุธยา

รปู พระนาราย์ 4 กร สร้างดว้ ยสำริดประทับยืน กรขวาบนถือจกั รชู กรขวาลา่ งถือ
ก้อนดิน กรซ้ายบนชูสงั ข์ กรซ้ายลา่ งถือกระบอง สูง 5 นิ้ว 5 หนุ ทรงเคร่ือง

๔๑

รปู พระนารายณ์ 4 กร สร้างดว้ ยสำริดประทับยืน กรขวาบนถือจกั รชู กรขวาล่างถือ
ก้อนดิน กรซ้ายบนถือสังข์ กรซ้ายลา่ งถือคฑา สูง 4 นิ้ว 1 หนุ ทรงเครือ่ ง

รูปเทวสตรี สร้างด้วยสำริด ประทับยืนมี 4 กร กรขวาถือดอกบัว กรซ้ายถือวิชนีสูง
6 นิว้ ทรงเครื่อง

พระพุทธรูปปางมารวิชยั สร้างดว้ ยสำริดหน้าตักกว้าง 2 นวิ้ 6 หุน ข้างลา่ งฐานเป็น
โพรง

ใบเสมา ทำด้วยหินทราย รูปกระจังใบโพธิ์ สูง 76 เซนติเมตร ตรงกลางกว้าง 84
เซนติเมตร หนา 7 เซนติเมตร

รปู สลักบุคคล อยู่ในท่ายืน มอื ขวาถือไม้กระบอง มอื ซ้ายเท้าสะเอว สลักบนหนิ ทราย
สีแดง เนือ้ หยาบ หนาประมาณ 5 เซนติเมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร

เศียรเทวรูป ทำด้วยหินทราย เนื้อละเอียดหันหน้าตรง คางกลมมน จมูกเป็นสันนูน
ปากกว้าง ดวงตาใหญ่ลืมตาเห็นตาดำ ขอบตาทำเป็น 2 ชั้น คิ้วเป็นสัน ศีรษะส่วนบนคล้ายโพกผ้า
มีมวยผมอยู่ด้านบนสูง 47 เซนติเมตร รูปลักษณ์ส่วนใบหน้าคล้ายภาพสลักนูนต่ำที่พบที่ปราสาท
เขานอ้ ย อำเภออรญั ประเทศ

เศียรพระนารายณ์ ทำด้วยหินทราย เนื้อละเอียด หน้าตรง ใบหน้ารูปไข่ ปากกว้าง
จมูกเป็นสันนูน หลับตา ศีรษะโพกผ้าเรียบทรงสูง หูยาว เหลือส่วนคอให้เห็นสูง 51 เซนติเมตร
ลักษณะใกล้เคียงกับพระนารายณ์ สวมหมวกทรงกระบอกในศิลปะเขมรแบบไพรกเม็ง-กำพงพระ
พุทธศตวรรษที่ 13 – 14

รูปนางอัปสร ทำด้วยหินทรายรปู ยืน นุ่งผ้าจบี เว้าต่ำ เปิดหน้าท้องยาวถึงขอ้ เท้า
คาดเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ ศีรษะเกล้าผมมวย มีเครื่องประดับสูง 69 เซนติเมตร ลักษณะของใบหน้า
นางอัปสรอาจจดั อยใู่ นศลิ ปะแบบบาปวนอายุราวพทุ ธศตวรรษที่ 16

เศียรเทวรูปขนาดต่างๆ ทำด้วยหินทรายเนื้อหยาบ เฉพาะส่วนใบหน้า
มีชาวบ้านนำมาขายและถวายให้พระครูประทีบ ปัจจันตเขตเกบ็ รักษาไว้ มีประมาณ 130 ชนิ้

เครื่องถ้วยเขมร มที ้ังชนิดเคลือบและชนิดไม่เคลือบ เนือ้ ละเอียดขนาดต่างๆชาวบ้าน
ขุดพบบริเวณปราสาทร้างเนินดิน ในเขตอำเภอตาพระยานำมาถวายวัดตาพระยา เก็บรักษามี
ท้ังหมด 11 ชิน้

๔๒

โบราณวัตถุที่เก็บรักษาไว้ที่วัดหนองแวง วัดหนองแวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านหนองแวง
ตำบลหนองแวง กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เป็นแหล่งสะสมโบราณวัตถุที่ขุดได้จากปราสาท
ตา่ ง ๆ ในเขตตำบลหนองแวง โดยประชาชนนำมาถวายเจา้ อาวาสเก็บรกั ษาไว้ ดังน้ี

- หินบดยา ทำด้วยหินทรายเนื้อหยาบ มีตัวแท่นซึ่งหักตรงกลาง 1 อัน
และตัวบดยา 2 อัน ลักษณะผา่ นการใชง้ านจนสกึ คอดตรงกลาง

- ชิ้นส่วนมือของรูปบุคคล ทำด้วยหินทรายเนื้อละเอียดสีขาย นายพรมมี
ชาวบ้านหนองสังข์ ได้มาจากเขมร นำมาถวายวัดหนองแวง ลักษณะคล้ายพระหัตถพ์ ระพุทธรูปปาง
แสดงธรรมใน ศลิ ปะทวารวดี

- ส่วนเท้าของประติมากรรมรูปบุคคล มีเดือยสำหรับเสียบลงในฐาน
สำหรับตั้งลักษณะการวางเท้าขนานกัน

- ส่วนของฐานปราสาท ทำด้วยหินทรายเนื้อหยาบ ย่อเหลี่ยมลดหลั่น
ระหวา่ งฐานล่างสุดกบั ฐานบนสุด มีเฉพาะส่วนมุม มมุ หนึ่งเท่าน้ัน จำนวน 1 ชนิ้

- ฐานรูปเคารพ ทำด้วยหินทรายเนื้อหยาบ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
กว้าง 80 x 80 เซนติเมตร สูง 42 เซนติเมตร อีกอันหนึ่งกว้าง 52 x 52 เซนติเมตร
สูง 50 เซนติเมตร ตรงกลางเจาะรู สำหรับใสเ่ ดือย มีท้ังหมด 3 ชิน้

- รปู ดอกจันทน์หรือดอกไมส้ ี่กลีบ ทำด้วยหินทรายเนื้อหยาบ ทรงกลมแบน
มีดอก สี่แฉก

- ศีรษะบุคคล ทำด้วยหนิ ทรายเน้ือละเอียด หน้าตรง รูปใบหน้ากลม จมูกโดง่
เป็นสันนูน ปากกว้าง ลืมตา คิ้วเปน็ สัน โพกผา้ บนศรี ษะ เหมอื นทีพ่ บทีว่ ดั ตาพระยา แตม่ วยผมสูงกวา่

- โบราณวัตถุที่เก็บรักษาไว้ที่วัดมะกอก วัดมะกอกตั้งอยู่ หมู่ที่ 1
บ้านโคกเพร็ก ตำบลทัพเสดจ็ อำเภอตาพระยา จังหวดั สระแก้ว มีโบราณวัตถุทีส่ ำคญั ดังน้ี

- พระพิฆเนศวร แกะสลักจากหินทราย มีลักษณะประทับนั่งราบ กรข้าง
หนึ่งโอบ จับปลายงวงสูงประมาณ 60 เซนติเมตร กรอีกข้างถือถ้วยขนม ลักษณะเศียร
พระพิฆเนศวรองค์นี้มีลักษระใกล้เคียงกับธรรมชาติมาก จึงน่าจะเป็นพระพิฆเนศวรที่มีอายุ
อยู่ในช่วงต้นๆ ของศิลปะเขมรสมัยก่อนเมือง พระนคร มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 14
ขุดพบทีบ่ ้านสนั ลอชะงนั เมื่อประมาณ พ.ศ. 2507 เคยถูกขโมยไปแตไ่ ด้กลับคืนมาได้

๔๓

- พระพุทธรูปนาคปรก ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อดำ แกะสลักจากหิน
ทราย หน้าตักกว้าง 42 เซนติเมตร ประทับนั่งสมาธิบนขดตัวพญานาค 3 ชั้น วัดความสูงถึงเศียร
นาคสูงสุด 68 เซนติเมตร องค์พระได้มาจากปราสาทบ้านโคกไพลตะวันออก เมื่อประมาณ
พ.ศ. 2490 เดิมไม่มีเศียร ต่อมาพระอาจารย์เตาะ พระชาวกัมพูชา เป็นผู้สร้างเศียรขึ้นใหม่
เศียรเดิมอยู่ที่วัดกุดเวียน ซึ่งค้นพบภายหลัง ชาวบ้านเคารพนับถือว่าเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบัน
พน่ สีดำทบั เพือ่ ให้ดูเป็นของใหม่

- พระพุทธรูปนาคปรกหรือพระไภสัชยคุรุ พบที่เนินโบราณสถาน
โคกสำโรง บ้านคลองแผง หมู่ที่ 10 ตำบลทัพเสด็จ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก
ประทับปางสมาธิ แกะสลักด้วยหินทรายหน้าตักกว้าง 30 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร
มีหม้อน้ำมนต์อยู่ในพระหัตถ์เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างกันมากมีรูปแบบเป็นศิลปะเขมรแบบบาน
สมยั พระเจ้าชยั วรมนั ที่ 7 กษตั รยิ แ์ ห่งอาณาจักรกัมพูชาในพุทธศตวรรษที่ 18

- พระพุทธรูปนาคปรกวัดกุดเวียน วัดกุดเวียน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว พระพุทธรูปองคน์ ี้ชาวบ้านโคกไพลขุดพลเศียรที่
เนินโบราณสถานบ้านโคกไพลแล้วได้นำมาสร้างตัวองค์พระใส่ ชาวบ้านเคา รพนับถือเป็น
พระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับตัวองค์พระเดิมนั้นถูกขุดพบและสร้างเศียรใส่ก่อนหน้านี้แล้ว
ประดิษฐานอย่ทู ี่วัดมะกอก

- รูปปั้นสิงห์โบราณ อยู่ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอตาพระยา
จังหวัดสระแก้ว ไม่ทราบประวัติและหลักฐานการค้นพบ ลักษณะของสิงห์เป็นธรรมชาติ มีแผงขน
คอม้วนเป็นระเบียบอยู่ทางด้านหน้าของลำตัว เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายกับเป็นเกราะกันหน้าอก
จัดเปน็ สิงหใ์ นศิลปะเขมร มีอายรุ ะหว่างพทุ ธศตวรรษที่ 14 – 15

- เครื่องบดยาสมัยโบราณ ทำด้วยหินทรายเนื้อละเอียด ไม่ปรากฏ
หลกั ฐานการได้มา ปัจจุบนั เก็บรกั ษาอยู่ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอตาพระยา จงั หวดั สระแก้ว

- ศิลาจารึกโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบเมื่อใด ใครเป็นผู้ค้นพบ เป็น
จารึกอักษาขอมโบราณ ภาษาเขมร จารึกทั้งสองด้านบนหินทราย รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอักษรชำรุด
เป็นชว่ ง ๆ นับจำนวนบรรทัดไมไ่ ด้ ขนาดกว้าง 45 เซนติเมตร สูง 85 เซนติเมตร หนา 7 เซนติเมตร

โบราณวัตถุที่เก็บรักษาที่วัดหนองติม วัดหนองติม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านหนองติม
ตำบลทพั ราช อำเภอตาพระยา จงั หวดั สระแก้ว มีโบราณวตั ถทุ ี่สำคญั ดังน้ี

๔๔

- เทวรูป ขุดพบในสวนของนายวัน สัตเลิศ บ้านตะลุมพุก ตำบลทัพราช
เมื่อ พ.ศ. 2515 บริเวณเนินโบราณสถานหนองไผ่ล้อม เป็นเทวรูปนูนต่ำบนหินทรายแดง
รูปใบเสมา ภายหลงั ได้ตกแตง่ ด้วยสีให้เกิดความสวยงามและดเู ปน็ ของใหม่เพื่อป้องกันการโจรกรรม

- ฐานรูปเคารพ จำนวน 4 ฐาน ลักษณะเป็นแท่นฐานโยนีสำหรับ
ประดิษฐาน ศวิ ลึงค์

โบราณวัตถุบริเวณชุมชนบ้านคลองขนุน เมื่อวันที่12 มกราคม พ.ศ. 2539
ได้ขุดพบเทวรูปพิฆเนศวร 2 องค์ ที่ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
มีอายุประมาณ 1,000 ปีเศษ องค์ใหญ่สูง 65 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 30 เซนติเมตร ฐานรอบ
แกะสลักเป็นรูปช้าง 3 เศียร พระหัตถ์ขวาวางที่หน้าตัก พระหัตถ์ซ้ายถือถ้วยขนม ลวดลายต่างๆ
สึกหรอไปมาก ส่วนองค์เล็กหน้าตักกว้าง 25 เซนติเมตร มีฐานรูปสี่เหลี่ยมรองรับฐานเทวรูป
อีกชั้นหนึ่ง ฐานรองรับไม่มีลวดลายแต่เป็นหินทรายขาว คล้ายหินทรายที่ใช้สร้างปราสาทหินพิมาย
ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดโคกเจริญสุข หมู่ที่ 4 ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
นอกจากนี้ที่บริเวณชุมชนบ้านคลองขนุนยงั พบโบราณวัตถุอืน่ ๆ อีก ได้แก่ หินบดยา เครื่องมือเหล็ก
โบราณและเครื่องป้ันดนิ เผาชนิดเคลือบ

โบราณวัตถุบริเวณสระแก้ว สระขวัญ บริเวณสระแก้ว สระขวัญ พบวัตถุ
โบราณจำนวนมาก ได้แก่ เงินเหรียญสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 เหรียญ
มีด 1 เล่ม ผาลไถเหล็ก 2 อัน มีดปอกหมาก 2 เล่ม เคียว 1 เล่ม โซ่ 5 อัน ลิ่มเหล็ก 2 อัน
ปลายหอก 1 อัน เสียม 1 อัน ด้ามพลั่ว 1 อัน ขอบขันโลหะ 1 ชิ้น เศษถ้วยชามกระเบื้องลายคราว
7 ชนิ้ เศษวสั ดุสำรดิ 2 ชิน้ เศษเครื่องปั้นดนิ เผา 14 ชนิ้

โบราณวัตถุบริเวณชุมชมท่าไม้แดง แหล่งโบราณคดีชุมชมท่าไม้แดง ตั้งอยู่ที่
หมู่ที่ 7 บ้านใหม่ไพรวัลย์ ตำบลสระขวัญ อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว สันนิษฐาน
ว่าเป็นชมุ ชนโบราณเก่าแก่แห่งหนง่ึ ของจังหวัดสระแก้ว เพราะขดุ พบร่องรอยการอย่อู าศัยของมนุษย์
ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน แต่ไม่มีอาคารสิ่งก่อสร้างหลงเหลืออยู่แต่ประการใด หลักฐานที่พบ
ได้แก่ เครือ่ งมือเครอ่ื งใชแ้ ละเครือ่ งประดบั ท้ังทีเ่ ปน็ เครื่องปั้นดนิ เผาและโลหะสำริด เช่น กำไลสำริด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 เซนติเมตร เต็มวง 1 อัน ครึ่งวง 1 อัน แท่งดีบุกวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง
4 เซนติเมตร หนา 1.5 เซนติเมตร 1 อัน แท่งดีบุก 1 แท่ง เงินราง ดีบุกเป็นร่อง ขี้เหล็กจากเตา
ถลุง เครื่องปั้นดินเผาสูง 16 เซนติเมตร รอบปากกว้าง 40 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางขอบปาก

๔๕

13 เซนติเมตร ก้นเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร ขันสำริด เส้นผ่าศูนย์กลาง11 เซนติเมตร
สูง 7 เซนติเมตร มีลายขอบใน

โบราณวัตถุบริเวณชุมชนบ้านโคกชายธง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลโคกปี่ฆ้อง
อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว บนที่ดินของนายสี ชาญธนู ราษฎรบ้านเลขที่ 71 หมู่ 4
ตำบลโคกปี่ฆ้อง ได้ไถนาบริเวณหมู่บ้าน พบวัตถุโบราณ เช่น กระปุกดิน (ไห) สูง 30 เซนติเมตร
ปากกว้าง 6 เซนติเมตร หนิ สีเขียวลักษณะคล้ายมือ 1 ชิน้ แหวนสำริดและภาชนะเครือ่ งปั้นดินเผา

โบราณวัตถุบริเวณชุมชนบ้านสระพระเนตร ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 11 ตำบลท่าเกษม
อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โบราณวัตถุที่ค้นพบ คือ พระพุทธรูปหินสีเขียว 3 องค์
ฝังอยู่ใต้พื้นศาสนสถาน เศษหม้อไห เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมาก
เศษกระดูกมนษุ ย์ กำไลสำริด พระพุทธรูปหินสีเขยี ว สงู 1 เมตร จำนวน 1 องค์

โบราณวัตถุที่แหล่งโบราณคดีที่เขาฉกรรจ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเขาฉกรรจ์
ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว โบราณวัตถุที่พบคือ ภาชนะดินเผา เนื้อหยาบ
เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ลายเชือกทาบและเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เผาด้วยอุณหภูมิสูงเคลือบสีน้ำตาล
แบบเครือ่ งถ้วยเขมร

โบราณวัตถุบริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านโคกมะกอก ตั้งอยู่ที่บ้านโคกมะกอก
หมู่ที่ 9 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จงั หวดั สระแก้ว โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ ลูกปัดสีต่าง ๆ
เช่น สีขาว สีฟ้า สีน้ำเงิน สีเหลือง สีส้ม สีเขียวอ่อน สีดำ ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วย
เครื่องปั้นดนิ เผา พบหมอ้ ดินปากกว้าง 6 นิว้ สูง 8 นวิ้ เนือ้ หยาบ เผาด้วยอณุ หภมู ิต่ำ บางลูกมีลาย
เชือกทาบ นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ เช่น ขวาน มีด จอบ อาวุธปลายแหลม
หนิ ลบั เครือ่ งประดบั เช่น กำไลสำริด กระพรวนสำริด ลูกปดั หิน

โบราณวัตถุที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง
ปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดค้นและสำรวจพบในแหล่งโบราณคดี
ในภูมิภาคตะวันออกในเขตจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา
และนครนายก สำหรับโบราณวัตถุที่สำคัญที่พบในจังหวัดสระแก้วซึ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถาน
แหง่ ชาติ ปราจนี บุรี อาจแบ่งตามแหล่งทีพ่ บต่างๆ ได้ดังนี้

๔๖

โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งปราสาทเขาน้อยหรือปราสาทเขาน้อ ยสี
ชมพู ปราสาทเขาน้อยหรือปราสาทเขาน้อยสีชมพู ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ
โบราณวัตถุซึ่งได้จากการขุดแต่งปราสาทเขาน้อยนั้น ส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุที่ทำจากหินทราย
มีโบราณวัตถทุ ีท่ ำจากโลหะ กระดูกสตั ว์ เปลือกหอย และดินเผาอยู่บ้าง

โบราณวัตถทุ ีท่ ำจากหิน โบราณวตั ถทุ ี่ทำจากหินที่พบนปี้ รากฏร่องรอยว่าถูกทุบ
ทำลายและถูกเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม โบราณวัตถุเหล่านี้อาจแยกย่อยออกเป็น ทับหลัง
ศวิ ลึงค์ ฐานรปู เคารพ และประเภทอืน่ ๆ

ทับหลัง ทับหลังที่พบจากการขุดแต่งพบอยู่บริเวณรอบปรางค์องค์ด้านทิศเหนือ
มี 4 ชิน้ ทบั หลงั ทีพ่ บบริเวณปรางค์องคก์ ลางมี 1 ชนิ้ รวม 5 ชนิ้

ศิวลึงค์ ศิวลึงค์หรือประติมากรรมรูปอวัยวะเพศชายนี้ ในศาสนาฮินดู
ลัทธิไศวนิกาย ถือว่าเป็นรูปเคารพสำคัญที่สุด ในศาสนสถานจะประดิษฐานเป็นประติมากรรม
ประธาน เนือ่ งจากถือว่าศวิ ลึงคเ์ ปน็ สญั ลกั ษณแ์ ทนองค์พระศิวะ ซึง่ เป็นผู้ให้กำเนิดมวลมนุษยชาติ

ในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครนั้น จะนิยมทำศิวลึงค์ติดเป็นชิ้นเดียวกับฐาน
โดยโผล่ออกมาให้เห็นเฉพาะรุทรภาคหรือปูชาภาคเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้ อาจได้รับอิทธิพลมาจาก
ศลิ ปะจาม

โบราณวัตถุประเภทโลหะ จากการขุดแต่งพบเป็นจำนวนน้อยส่วนใหญ่
อยู่ในสภาพแตกหักและมีสนิมกัดกร่อน โบราณวัตถุที่พบมีทั้งที่ทำด้วยเหล็ก สำริดและเงิน
แต่โบราณวัตถุที่ทำด้วยเงินเป็นพระพุทธรูปบุเงินที่ทำขึ้นในสมัยหลัง ส่วนโบราณวัตถุที่มีอายุสมัย
รว่ มกบั ตัวปราสาทจะเปน็ โบราณวัตถทุ ีท่ ำดว้ ยเหล็กและสำริด เชน่

ด้ามมีดทำด้วยเหล็ก เฉพาะส่วนด้ามตอนปลายหุ้มด้วยสำริด
ขนาด 9.3 เซนติเมตร เส้นผ่าศนู ยก์ ลางทีป่ ลายด้าม 1.8 เซนติเมตร ตัวด้ามโค้ง ปลายสดุ ด้ามสลัก
เป็นตัวอักษรกลับด้าน นักภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ศึกษาขั้นต้นแล้วพบว่า
เป็นอกั ษรขอมโบราษ ภาษาสนั กฤต ลักษณะตวั อกั ษรอยใู่ นชว่ งพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกคำว่า เกษ
แปลวา่ เพื่อผู้ปกครอง หรอื พึงฆ่า หรอื ควรฆา่

ห่วงเหลก็ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร
เชิงเทยี น ทำด้วยเหลก็ ขนาดสูง 9.2 เซนติเมตร
ขวานบ้อง ทำด้วยเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนยก์ ลาง 4 เซนติเมตร ยาว 13 เซนติเมตร


Click to View FlipBook Version