The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tipkua, 2022-11-26 03:32:26

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

๔๗

แหวนทำดว้ ยสำรดิ หมุ้ ด้วยทอง แต่ทองหลดุ ร่อนไปเกือบหมด
ขนาดเส้นผา่ ศูนยก์ ลาง 2 เซนติเมตร

โบราณวตั ถปุ ระเภทเครื่องปัน้ ดนิ เผา
ภาชนะดินเผา โบราณวัตถุประเภทนี้พบมีทั้งที่เป็นภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน
9Earthen ware) ประเภทเนื้อหิน (Stone ware) และประเภทเนื้อโปร่งแสง หรือเนื้อกระเบื้อง
(Porcelain)
นอกจากนีย้ ังได้พบเครือ่ งป้ันดนิ เผาอื่นๆ ได้แก่
ตะคันดินเผา ทำด้วยดินหยาบ ปั้นเป็นรูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
5.3 เซนติเมตร สงู 2.8 เซนติเมตร เน้ือหนา 0.8 เซนติเมตร
สังข์ดินเผา ทำด้วยเนื้อดินสีแดง มีร่องรอยว่าเดิมสังข์อันนี้มีการเคลือบด้วยน้ำ
เคลือบสีเขียว ภายในทำเลียนแบบหอยธรรมชาติ ส่วนก้นหอยตัดตรงแล้วทำรูเอาไว้สำหรับเป่า
มีเส้นผา่ ศูนย์กลาง 1.6 เซนติเมตร ขนาดกว้าง 8.5 เซนติเมตร ยาว 16.5 เซนติเมตร
ส่วนฐานของพาน ทำด้วยดินเผา มีลายขูดขีด ขนาดกว้าง 11 เซนติเมตร
สูง 12.5 เซนติเมตร
ไหสี่หู ทำด้วยเนื้อดินสีเทาอ่อน น้ำเคลือบสีเขียวเข้ม เคลือบไม่ตลอดใบ น้ำเคลือบ
ย้อยเปน็ ทรง บริเวณบา่ เขียนเป็นสญั ลักษณ์คล้ายตัวอักษรด้านละตัว
โบราณวตั ถทุ ี่พบท่อี ำเภออรัญประเทศ มีดังนี้

ศิวลึงค์ เป็นศิลปะเขมร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่
15 – 16 ทำด้วยหินสงู 90 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ ไม่มี
ฐาน ได้มาจากอำเภออรัญประเทศ ประติมากรรมรปู อวัยวะ
เพศชายนี้ ในไศวนิกายถือว่าเป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุด
ภายใน ศาสนสถานจะประดิษฐาน ศิวลึงค์เป็ประติมากรรม
ประธาน เพราะนับถือวา่ เปน็ สัญลกั ษณแ์ ทนองคศ์ ิวะ ซึง่ เปน็
พระผู้เป็นเจ้าให้กำเนิดแก่มวลมนุษยชาติ องค์ประกอบของ
ประติมากรรมนี้จะเคารพในกฎแห่งการจัดวางส่วนสำคัญ
ทั้งสาม คือ ตอนล่างสุด พรหมภาคเป็น

๔๘

แทง่ สีเ่ หลี่ยม ตอนกลาง วิษณภุ าคเปน็ แท่งแปดเหลี่ยม และตอนบนรุทรภาคหรอื ปูชาภาค เปน็ แท่ง
กระบอก ความสูงของสว่ นทั้งสามจะเทา่ กัน

โบราณวตั ถุทีพ่ บทอ่ี ำเภอตาพระยา มีดงั นี้
• ประติมากรรมรูปโยคี เป็นศลิ ปะเขมรแบบนครวดั ทำด้วยหินสงู 30 เซนติเมตร
มีสภาพชำรุด มีเฉพาะส่วนศีรษะ พบทีอ่ ำเภอตาพระยา
ประติมากรรมชิ้นนี้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสภาพชำรุด แต่จากลักษณะทรงผมและเครา
ชว่ ยใหส้ นั นิษฐานได้วา่ เป็นศีรษะของประติมากรรมรูปนกั บวชในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งอาจเป็นนกั บวช
ในไศวนิกาย
โบราณสถาน จงั หวัดสระแก้ว มีโบราณสถานทีส่ ำคัญ ดงั น้ี
• ปราสาทเขาน้อยหรือปราสาทเขาน้อยสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาน้อยสีชมพู
ในเขตตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ห่างจากพรมแดน ไทย-กัมพูชา
ประมาณ 1 กิโลเมตร

• ปราสาทช่องสระแจง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
การเดินทางไปยงั ปราสาทสระแจงเริม่ ตน้ จากตัวจังหวดั ไปยังวัดกะสังอตั ตะนันทป์ ระมาณ 110
กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อเข้าถนนลูกรังเข้าบ้านรัตนะ 3 กิโลเมตร เลยไปตามสันอ่างเก็บน้ำรัตนะ
จนถึงเชิงเขาบรรทัดประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วต้องเดินเท้าต่อไปอีก 2 กิโลเมตร ตัวปราสาท

๔๙

ช่องสระแจงตั้งอยู่บนยอดสูงของทิวเขาบรรทัด และใกล้หน้าผาที่เชิงเขาบรรทัดมีสระน้ำใหญ่
ลักษณะเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร เป็นสระน้ำโบราณ ตัวปราสาทสร้างขึ้น
ด้วยหินทรายและศิลาแลง มีประตูทางเข้า 2 ด้าน สภาพของโบราณสถานปรักหักพังมากทำให้
กำหนดอายไุ ด้ว่าปราสาทหลังน้ีนา่ จะมีอายใุ นราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 17

• ปราสาทบ้านน้อยห้วยพะใย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
เป็นโบราณสถานที่ไม่มีถนนผ่าน การเดินทางไปชมจะต้องใช้ถนนสายวัฒนานคร-อรัญประเทศ
ทางหลวงหมายเลข 33 ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ถึงบ้านน้อย หมู่ที่ 4 จากนั้นเดินไปตามคัน
นาอีกประมาณ 3 กิโลเมตร แต่ถ้าเป็นฤดูแล้ง ก็สามารถเอารถยนต์แล่นเข้าไป แต่ต้องตัดคันนาไป
ตามรอยรถข้าวซึง่ ได้ตัดข้ามคนั นาไว้แล้ว ด้วยเหตุผลดังกลา่ วจงึ ทำให้ไมม่ นี กั ท่องเทีย่ วเดินทางไปชม
ปราสาทบ้านน้อย มีเฉพาะนักศึกษาทีเ่ ดินทางไปเพื่อศกึ ษาเทา่ น้ัน

๕๐

• ปราสาทสด๊กก๊อกธมหรือปราสาทเมืองพร้าว ตั้งอยู่ที่กิ่งอำเภอโคกสูง
จังหวัดสระแก้ว ห่างจากจังหวัดสระแก้ว ประมาณ 85 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานตั้งอยู่กลางป่า
ตามแนวชายแดนไทย - กมั พูชา

มีผู้ให้ความหมายปราสาทสดก๊ ก๊อกธม ดงั น้ี
สด๊ก แปลวา่ รกรุงรงั
ก๊อก แปลวา่ ต้นกก
ธม แปลวา่ ใหญ่
เมื่อแปลแล้วคือปราสาทใหญ่ที่มตี ้นกกขึ้นรกรงุ รงั
ลักษณะของปราสาทสด๊กก๊อกธม เป็นปราสาทก่อด้วยหินและศิลาแลงหันหน้า
ไปทางทิศตะวนั ออก ประกอบด้วยสว่ นสำคัญ 2 ส่วน คือ ตัวปราสาทและบาราย
ตัวปราสาท ด้านนอกเป็นกำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลง กว้าง 120 เมตร ยาว
127 เมตร มีทางเข้าออกสองทางคือ โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก ตัวซุ้มประตู
สร้างด้วยหินทราย ประตูกลางสามารถผ่านเข้าไปได้ ทางเข้าอีกด้านหนึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก
เป็นทางเข้าเล็กๆ พอตัวคนผ่านเข้าไปได้ ส่วนประตูด้านข้างอีกสองประตูเป็นประตูหลอก ถัดเข้าไป
เป็นคนู ้ำรูปตัวยลู ้อมด้วยปราสาท เว้นเส้นทางเข้าออก ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกไว้สองด้าน
ตัวคูกว้างประมาณ 20 เมตร

๕๑

• ปราสาทเขาโล้น ต้ังอย่ทู ี่อำเภอตาพระยา จงั หวดั สระแก้ว เดินทางจากอำเภอ
ตาพระยา ไปตามทางหลวงหมายเลข 3068 (ตาพระยา - บุรีรัมย์) ระยะทางประมาณ
20 กิโลเมตร เลีย้ วซ้ายเข้าหม่บู ้านเจรญิ สขุ จนถึงเชงิ เขาทีต่ งั้ ปราสาทเขาโล้น

ลักษณะเป็นปราสาทแบบเขมร ตั้งอยู่บนยอดเขาโล้น ซึ่งเป็นเขาเตี้ยๆ
ประกอบด้วย ปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลาง มีปราสาทบริวารประกอบอยู่ที่ด้านหน้า 2 องค์
ด้านหลัง 1 องค์ ปราสาททั้งหมดหันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก ตัวปราสาทก่อสร้างด้วยอิฐ ลักษณะ
ของปราสาทอยูใ่ นผงั ยอ่ เกจ็ ก่อเป็นหอ้ งส่เี หลี่ยมที่เรียกว่า ครรภคฤหะ สำหรบั ประดิษฐานรปู เคารพ
ซึ่งอาจเป็นรูปศิวลึงค์ เพราะพบว่ามีการทำทับหลังเหนือประตูเป็นรูปใบไม้ม้วน ตรงกลางมีพระ
อิศวรประทบั เหนอื เกียรตมิ ขุ

• ปราสาทตาใบ ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกสูง กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
เป็นโบราณสถานประกอบด้วย ปราสาท 1 องค์ ก่อด้วยศิลาแลงเหลือเพียงส่วนฐานและบางส่วน
ของผนังอาคาร มีคูน้ำล้อมรอบ พบประติมากรรมรูปบุคคลยืน สูง 50 เซนติเมตร มี 2 มือ
มือข้างหนึ่งถือดอกบัวยกขึ้นระดับอก อาจเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นอกจากนี้ยังพบหิน
ทรายซึ่งอาจเป็นชิ้นส่วนของทับหลังและธรณีประตู สันนิษฐานว่าปราสาทตาใบมีอายุอยู่ในระหว่าง
พทุ ธศตวรรษที่ 16 – 18

๕๒

• ปราสาททัพเซียม ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองแวง อำเภอโคกสูง (เดิมอยู่ในเขต
อำเภอตาพระยา) จังหวัดสระแก้ว ลกั ษณะเปน็ ปราสาทกอ่ ด้วยศิลาแลงและหนิ ทราย หันหน้าไปทาง
ทิศตะวันออก รอบปราสาทมีมูลดินทับถมตัวปราสาทเป็นเนินสูง มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง
ล้อมรอบที่ปราสาทแห่งนี้พบศิลาจารึก 2 หลัก เป็นจารึกเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย
เพราะมีการกลา่ วถึงศวิ ลึงค์และพระศิวะ มีอายอุ ยูใ่ นราวพทุ ธศตวรรษที่ 17

๕๓

• ปราสาทพูนผลหรือปราสาทหนองตาบุน
ต้ังอยู่ในเขตตำบลโคกสงู อำเภอโคกสงู จงั หวัดสระแก้ว เป็นโบราณสถานตั้งอยู่ในแวดล้อมของทุ่ง
นาและพืชไร่ โบราณสถานเหลือเพียงรากฐานของปราสาทแบบเขมรกอ่ ด้วยศิลาแลงในผังรูป
สี่เหลี่ยมผืนผา้ ยาวในแนวตะวันออก - ตะวันตก หา่ งจากปราสาทไปทางตะวนั ออก ประมาณ 150
เมตร มีบารายขนาดใหญ่และมีคันดินล้อมรอบ พบหลักฐานส่วนประกอบของปราสาท เชน่ ทบั หลงั
และเครือ่ งยอดทรงอมาลกะ สนั นษิ ฐานวา่ ปราสาทแห่งน้มี อี ายอุ ย่ใู นระหว่างพทุ ธศตวรรษที่ 16 –
18

• ปราสาทหนองบอน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
อย่หู ่างจากทีท่ ำการอำเภอวัฒนานครประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานอยูบ่ นเนินดินขนาดเล็ก
ในผงั รปู สี่เหลีย่ มผืนผา้ ขนาดเล็ก ประกอบด้วยปราสาทประธาน กำแพงแก้ว และบาราย

ลักษณะของปราสาทประธาน ก่อด้วยศิลาแลง สร้างอยู่ในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้
สิบสอง สันนิษฐานว่าเป็นโบราณสถานเขมร แบบที่เรียกว่า อโรคยศาล สมัยพระเจ้าชัยว รมัน
ที่ 7 ในพุทธศตวรรษที่ 18

• ปราสาทหนองผักบุ้งใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตบ้านน้อยละลมติม ตำบลโคกสูง
กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เป็นปราสาทแบบเขมร เหลือเพียงส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงทาง
ตะวันออกของปราสาทห่างออกไป ประมาณ 50 เมตร มีบารายขนาด 100 x 140 เมตร และด้านเหนอื
ของปราสาทมีคันดิน สันนิษฐานว่าเป็นถนนโบราณที่ทอดผ่า นไปยังกัมพูชาปรากฎอยู่
ปราสาทหนองผักบุ้งใหญ่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงทางแพร่กระจายของอารยธรรมเขมรโบราณ
ในดินแดนประเทศไทย ปัจจบุ ันมอี ายุสมยั พุทธศตวรรษที่ 16 – 18

๕๔

๒.๑.๓ แหล่งโบราณคดี แหล่งโบราณคดีทีพ่ บในจงั หวดั สระแก้ว มีดงั นี้
• แหล่งโบราณคดีเมืองไผ่ อยู่ที่บ้านเมืองไผ่ หมู่ที่ 8 ตำบลเมืองไผ่

อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ห่างจากที่ว่าการอำเภออรัญประเทศ ไปตามถนนรัชตวิถี เมื่อ
ถึงตำบลเมืองไผ่แล้วต้องแยกลงตามทางเดินจนถึงปราสาทเมืองไผ่ รวมระยะทางประมาณ 15
กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเมืองโบราณที่มีคูเมืองกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น ผังเมืองเป็นรูปไข่ขนาด
1,000 x 13,000 เมตร ตัวเมืองแบ่งเป็นสองส่วน คล้ายสองเมืองติดกัน สันนิษฐานว่าส่วนแรก
เป็นที่ตั้งเมือง และอีกส่วนหนึ่งมีห้วยไผ่ไหลผ่านกลาง เชื่อว่าเป็นที่ทำการเกษตรกรรม
หว้ ยไผท่ ี่ไหลผ่านนจี้ ะนำน้ำไปส่คู ลองลึกอนั เปน็ คลองทีก่ ั้นเขตแดนระหว่างไทยและกมั พูชา

• แหล่งโบราณคดีเขาฉกรรจ์ อยู่ในเขตเขาฉกรรจ์ ตำบลเขาฉกรรจ์
อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองสระแก้ว ไปตามทางหลวงหมายเลข
371 (สระแก้ว - จนั ทบุรี) เป็นระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร เขาฉกรรจเ์ ปน็ เขาหินปูน มีถ้ำอยู่
ประมาณ 32 แห่ง ลักษณะเป็นคูหาสามารถหลบแดด หลบฝน และภัยจากสัตว์ป่าได้ เขาฉกรรจ์
มีความสำคญั ในด้านโบราณคดี เปน็ แหลง่ ที่อยู่อาศัยของคนสมยั ก่อนประวัติศาสตร์ จากการสำรวจ
พบว่ามีหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยทวารวดี หลักฐานที่พบ
อาทิ เช่น ลูกปดั แก้ว ลูกปัดดินเผา ขวานหิน และเบ้าหลอมโลหะ เปน็ ต้น

2.1.4 แหล่งประวัติศาสตร์ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์
อาจเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์หรือที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
แหล่งประวัติศาสตร์จึงอาจเป็นได้ทั้งสถานที่ที่มีและไม่มีสิ่งก่อสร้าง แหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
ในจงั หวดั สระแก้ว มีดงั นี้

๕๕

• สระแก้ว - สระขวัญ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ตำบลสระแก้ว
อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง สระแก้ว – สระขวัญ
มีความสำคัญในฐานะแหล่งประวัติศาสตร์ โดยในสมัยกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จฬุ าโลกมหาราช เมือ่ ครงั้ ยงั ดำรงตำแหนง่ เป็นเจา้ พระยาจักรี
ได้เปน็ แม่ทพั ยกทพั ไปตีกัมพชู า แวะมาพกั ทพั อยูบ่ ริเวณสระ
ทั้งสองน้ี กองทัพได้อาศยั น้ำในสระท้ังสองน้บี ริโภคและใช้สอย
จงึ ได้พระราชทานนามสระทั้งสองน้ีว่า สระแก้ว และ สระขวญั
หลงั จากนั้นได้มีการนำน้ำจากสระทั้งสองมาใช้ในพระราชพิธี
ถือน้ำพระพพิ ัฒน์สัตยาและในพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก

ต่อมาภายหลังได้นำไปใช้งานพระราชพิธีอีกหลายครั้ง และเปน็ ที่มาของชื่อจงั หวัดสระแก้ว และคร้ัง
หลงั สดุ เม่อื วนั ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ได้มพี ิธีกรรมตักน้ำศักดิส์ ิทธิ์จากสระแก้ว – สระ
ขวัญ เพื่อทำพธิ ีเสกน้ำพระพุทธมนตศ์ ักดิส์ ิทธิข์ องจังหวัด และนำไปรวมกับน้ำศกั ดิ์สิทธิท์ ่วั ประเทศ
เพือ่ ทำพิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนตศ์ กั ดิ์สิทธิ์ทลู เกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ในวนั ที่ 5
ธนั วาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นวันมหามงคลทีท่ รงพระเจรญิ พระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา

• จารึกพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตั้งอยู่บ้านช่องตะโก ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว คำจารึกนั้นได้จารึกลงบน
ก้อนหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของศาลเพียงตา คำจารึกมีอยู่ว่า ให้ข้าราชการสร้างเส้นทาง
เชื่อมระหว่างจังหวัดปราจีนบุรีกับทางภาคอีกสาน ซึ่งจังหวัดปราจีนบุรีในที่นี้ก็คือจังหวัดสระแก้ว
ในปัจจุบัน จากแนวพระราชดำริดังกล่าว ชาวจังหวัดสระแก้วจึงได้ดำเนินตามพระราชปรสงค์และ
สร้างเส้นทางเชอ่ื มจากเขตจังหวัดสระแก้ว – เขตจงั หวดั บุรีรัมย์

▪ สถานีรถไฟอรญั ประเทศ เปน็ สถานีรถไฟที่มคี วามสำคญั
ในทางประวัติศาสตร์ คอื เมอ่ื พ.ศ. 2473
พระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั เสดจ็ นิวัติ
พระนครหลงั จากเสดจ็ ประพาสไซง่ ่อน เวียดนาม และ
อินโดนีเซียของฝรั่งเศส โดยรถยนต์พระทีน่ ัง่ ถึง

อำเภออรญั ประเทศ ได้ประทบั บนสถานีรถไฟอรัญประเทศ ประมาณ 30 นาที แล้วจึงเสด็จขึ้น
ประทบั รถไฟขบวนพิเศษจากอรญั ประเทศเข้ากรุงเทพฯ ในครั้งน้ันยงั เป็นการปกครองในระบอบ

๕๖

สมบรู ณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนทีม่ าเฝ้ารับเสด็จจึงมีเฉพาะชาวบ้านอรัญเท่าน้ัน เนื่องจากการ
คมนาคมยังไม่สะดวก การติดต่อขา่ วสารยงั ล่าช้า
วดั หลวงอรญั ญ์ เป็นสถานที่ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั เสด็จพระราชดำเนินมาจงั หวัด
ปราจนี บรุ ีครั้งแรก เมอ่ื วันที่ 6 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2512
เพือ่ บำเพญ็ พระราชกุศลถวายพระกฐินตน้ ได้มี
ข้าราชการและประชาชนชาวอรญั ประเทศและ
อำเภอใกล้เคียงประมาณหนึง่ หม่นื เศษ มารอรบั
เสด็จบริเวณหนา้ พระอุโบสถวดั หลวงอรัญญ์ทุกคน
พากนั มาเฝา้ คอยที่จะได้รบั เสด็จและเฝา้ ชม
พระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน องค์ประมขุ สูงสุด
ของชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนนิ โดยรถยนต์พระที่น่ังถึงหน้าพระ
อโุ บสถ ทรงถวายผา้ พระกฐิน พระอรญั ประเทศคณจารย์ (ลี จันทรช์ )ู เจ้าอาวาสออกไปครองผ้า
แล้วกลับมานัง่ ทีเ่ ดิม พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัวทรงถวายเครื่องไทยทานแดพ่ ระสงฆ์จนท่ัวถึง
แล้ว เสดจ็ ออกจากพระอโุ บสถ มผี ทู้ ลู เกล้าฯ ถวายเงนิ โดยเสดจ็ พระราชกุศลในครั้งนอี้ ีกเป็นจำนวน
มาก รวมยอดเงนิ สว่ นพระองคแ์ ละที่มีผู้ร่วมทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสดจ็ พระราชกุศลคร้ังนีท้ ้ังสิน้ สอง
แสนบาทเศษ

ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐิน
ต้น ณ วัดหลวงอรัญญ์ครั้งนี้ นับว่าเป็นนิมิตและเป็นศุภมงคลอันประเสริฐ เป็นโชคดีของชาวอรัญ
ประเทศ และชาวอำเภอใกล้เคียงอย่างล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้ ประชาชนจำนวนนับหมื่นเศษได้ชม
พระบารมีอย่างทั่วถึง นับเป็นพระมหากรณุ าธิคณุ อย่างใหญห่ ลวงแกช่ าวอรัญประเทศ

• ที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อ
ครั้งทรงร่วมรบในยทุ ธการโนนหมากมุ่น
ตั้งอย่ทู ี่บ้านโคกไม้งาม ตำบลโคกสงู
อำเภอโคกสูง จังหวดั สระแก้ว
เปน็ ที่ประทับขององคส์ มเดจ็ พระบรม
โอรสาธิราชฯ สยามมกฎุ ราชกมุ าร
เมือ่ เสดจ็ ประทับในสนามรบรว่ มกับกองพันที่ 1

๕๗

กรมทหารราบที่ 11 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2523 ซึ่งทรงบัญชาการรบระหว่างไทยกับกัมพูชา ณ
บ้านโนนหมากมุ่น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 บริเวณทีเ่ สด็จประทับในปัจจุบันใช้เปน็ ที่ทำ
การของ อำเภอโคกสงู และสถานีตำรวจ อำเภอโคกสงู

• ถนนเจ้าพระยาบดินทรเดชา มีถนนโบราณสายหนึ่งผ่านจากทิศ
ตะวันออกไปทิศตะวันตก ทางทิศเหนือหมู่บ้านอรัญ ห่างจากบ้านอรัญ ประมาณ 400 เมตร
มีคนพูดกันต่อๆ มาว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้นำสร้างไว้ ต่อมาจึงมีผู้ตั้งชื่อ
ว่า ถนนเจ้าพระยาบดินทรเดชา สันนิษฐานว่าถนนสายนี้ เจ้าพระยาบดินทรเดชาคงสร้างขึ้นเมื่อ
คราวยกทัพกลับจากไปตีเขมร ญวณ คงใช้แรงงานเชยที่กวาดต้อนมา รวมทั้งทหารไทยในกองทัพ
ชว่ ยกันสร้าง เพือ่ ความสะดวกในการเดินทัพคร้ังตอ่ ๆ ไป

2.1.5 แหล่งอุตสาหกรรมโบราณ แหล่งอุตสาหกรรมโบราณที่พบในจังหวัด
สระแก้วสว่ นใหญเ่ ป็นการการนำสินแร่มาถลุง แล้วนำมาหลอมเปน็ รปู แบบตา่ งๆ ได้แก่ แหล่งตัดหิน
โบราณ ที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา มีการพบแหล่งตัดหิน เพื่อนำไปทำปราสาทหินในบริเวณ
ใกล้เคียง และประกอบกับบริเวณนั้นมีปราสาทหินขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีแหล่ง
แร่ทองคำ ที่บ้านบ่อนางชิง อำเภอวัฒนานคร เป็นแหล่งสายแร่ทองคำขนาดเล็กที่มีมาแต่โบราณ
ปัจจุบันมีการขุดหาทองคำแบบดั้งเดิม ไม่เปิดให้ทำเหมืองขนาดใหญ่ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
ประเภทอืน่ ๆ และรักษาสภาพแวดล้อม ประกอบกบั อาจมปี ริมาณ ไมม่ ากพอ

2.1.6 สถาปัตยกรรมดีเด่น เป็นสิ่งก่อสร้างที่ทรงคุณค่าในทางศิลปะ
สถาปัตยกรรมที่สืบทอดมาจนเป็นเอกลักษณ์และคงใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิม หรือกลุ่ม
อาคารที่มีการออกแบบที่สมบูรณ์มาแต่อดีต แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามประโยชน์ใช้สอยเดิม
รวมถึงสง่ิ ก่อสร้างทีใ่ ช้ในชีวติ ประจำวัน เช่น บ้านพกั อาศยั อาคารร้านค้า สถานทีร่ าชการ ตลอดจน

อาคารร่วมสมัยที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม ซึ่งมีการออกแบบงดงามลงตัวใน
รูปแบบสถาปตั ยกรรมและประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมดเี ด่นในจังหวดั สระแก้ว ได้แก่

• วดั อนุบรรพต (วัดเขาน้อย)
ตั้งอยู่หม่ทู ี่ 2 ตำบลบ้านใหม่หนองไทร อำเภออรัญประเทศ
โดยแยกจากถนนสวุ รรณศรเลยี้ วซ้ายไปตามถนนธนะวิถี
ไปยงั อำเภอตาพระยา ระยะทางประมาณ1 กิโลเมตร
วัดอนุบรรพตสร้างข้ึนเมอ่ื พ.ศ. 2468 ในสมัย

๕๘

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยรัฐบาลไทยได้มีโครงการจัดสร้างทางรถไฟสาย
ตะวันออกติดต่อเส้นทางสายแปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) ผ่านจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี และ
อำเภอเมืองสระแก้ว ไปจนถึงอำเภออรัญประเทศ และไปจดพรมแดนไทยที่คลองลึก เพื่อเป็นการ
เช่อื มสัมพันธไมตรกี บั กัมพชู า (เขมร) ซึง่ ขณะนั้นเขมรอย่ใู นความปกครองของฝรั่งเศส

• วดั สนั ติธรรม (ไทยสามารถ) วดั สนั ติธรรมหรอื วัดไทยสามารถต้ังอยู่หมู่ที่
3 บ้านไทยสามารถ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ
เป็นวดั ทีม่ สี ถาปัตยกรรมหลากหลาย
โดยได้เอารปู แบบสถาปัตยกรรมไทย จนี
และเขมรมาประยุกต์ผสมผสานเป็นสิ่งก่อสร้าง
อยา่ งได้สัดสว่ น ทำได้สวยงามแปลกกว่าวดั อื่น
ในจังหวัดสระแก้วไม่ว่าจะเปน็ หอไตร หอระฆัง เมรุ ซุ้มประตู หรอื กำแพงวดั โดยมีพระอาตารย์สาริ
นทรธ์ มฺมปาโล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อดำ เจ้าอาวาสวัดสันติธรรม เป็นผู้ออกแบบและ
ควบคุมการกอ่ สร้างเองทั้งหมด นับวา่ ท่านเป็นช่างท้องถิ่นที่มคี วามสามารถอีกทา่ นหนง่ึ ของจังหวัด
สระแก้ว ดว้ ยรปู แบบสถาปัตยกรรมทีง่ ดงามทำให้วัดสันติธรรมเปน็ ที่ภาคภมู ใิ จของชาวอรัญ
ประเทศ และชาวสระแก้วเป็นอยา่ งมาก

▪ อุโบสถวัดพรหมสุวรรณ วัดพรหมสุวรรณเดิมคือสำนัก
ปฏิบตั ิธรรมพรหมคีรีศรี บรรพต ต้ังอยทู่ ี่เชิงเขาคันนา อำเภอ
ตาพระยา พระครูพรหมวิรยิ ะคณุ อดีตเจา้ คณะอำเภอ
ตาพระยา ได้ขออนญุ าตกรมศาสนาต้ังเปน็ วัดใน
พ.ศ. 2529 ตอ่ มาในพ.ศ. 2540

พระมหาสุภาพ เงินสมบตั ิ แห่งวดั สทุ ศั นเทพวราราม ซึง่ เป็นชาวตาพระยาได้ดำเนินการจดั หาวสั ดุ
ก่อสร้างทีเ่ หลือจากการบูรณะวิหารหลวงวดั สทุ ศั นเทพวราราม ด้วยความกรุณาของพระผใู้ หญ่
ภายในวัดโดยพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสวัดสุทศั นเทพวราราม เป็นผู้วางแนวทางในการก่อสร้าง มี
แนวคิดในการสร้างตามรูปแบบศลิ ปะในสมยั พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ตามที่ปรากฏอยู่
ที่วดั สุทศั นเทพวราราม ภายในอโุ บสถเปน็ ทีป่ ระดิษฐานพระพุทธเมตตาจาตรุ นตร์ ัศมี เปน็
พระพุทธรูปนาคปรก

• อุโบสถวัดป่าเขาแก้ว วัดป่าเขาแก้วตั้งอยู่ที่ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำ
เยน็ มีอุโบสถอยูบ่ นเขา ซึ่งสมเด็จพระอรยิ วงศาคตญาณ สมเดจ็ พระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก

๕๙

(วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้เสด็จเป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์อุโบสถ เมื่อ
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 โดยมีนายพล จุลเสวก ผู้อำนวยการกองแบบแผนกรมโยธาธิการ
กระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นผู้ออกแบบ มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์งดงามตาม
คติความเช่อื ของพุทธศาสนา

• อุโบสถเก่าวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองสระแก้ว ลักษณะของอุโบสถ
เป็นไม้มีฐานเป็นปูน เป็นอุโบสถเก่าของวัดสระแก้ว สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2476 เป็น
สถาปัตยกรรมเก่าแก่ตามคติความเชื่อของชาวพุทธ มีรูปทรงและสัดส่วนที่งดงามแบบดั้งเดิม
สมควรทีจ่ ะได้รับการอนุรกั ษไ์ ว้ตอ่ ไป

• อุโบสถวัดชนะไชยศรี วดั ชนะไชยศรี เป็นวดั เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง

อรญั ประเทศ เดิมชาวบ้านเรียก วดั เกาะ เชือ่ กนั ว่าสร้างขึน้ หลงั จากที่บรรพบรุ ุษของชาวไทยย้อ
อพยพเข้ามาอยใู่ นบริเวณอำเภออรญั ประเทศ อุโบสถของวัดชนะไชยศรี เปน็ อโุ บสถทีส่ รา้ งตามคติ
ความเชื่อแบบไทยลาวดั้งเดิม มขี นาดและสัดส่วนที่งดงาม อุโบสถแห่งน้ชี าวอรญั ประเทศได้ดูแล
รกั ษาเป็นอยา่ งดี

• เทวสถานจ๋ี เหยี่ยง ไท้ ตั้งอยทู่ ี่
อำเภออรญั ประเทศ เทวสถาน จ๋ี เหยีย่ ง ไท้ สร้างข้นึ ใน
พ.ศ. 2518 แทนอาคารเดิม ซึ่งเปน็ อาคารไม้ท้ังหลงั
โดยนายเซียจอื แซ่เตีย ประธานมูลนธิ ิสวา่ งเที่ยงธรรมสถาน
หรอื โรงเจในเวลานั้น เปน็ ผู้รเิ ริ่มจัดประชมุ ชาวอรัญ

๖๐

ทุกหมู่เหล่าเพื่อหารือเรื่องการก่อสร้าง เทวสถานแห่งใหม่ และได้มีมติให้นายเซี้ยไล้ แซ่ติ้ง เป็น
ประธานในการก่อสร้าง โดยชน้ั บนเป็นเทวสถานช้ันล่างเป็นที่สมาคมของชาวไทยเชื้อสายจีน และใช้
เป็นอาคารเอนกประสงค์หลังคาและผนังจะแสดงให้เห็นถึงประติมากรรมและจิตรกรรม ตามความ
เช่อื ของชาวจีนท่ัวไป

• บษุ บกพระสยามเทวาธิราช (จำลอง)
เป็นทีป่ ระดิษฐานของพระสยามเทวาธิราช (จำลอง)
ตั้งอยู่บริเวณหนา้ สถานีตำรวจภธู รอำเภออรญั ประเทศ
เริ่มสรา้ งข้ึนเม่อื วันที่ 20 ธนั วาคม พ.ศ. 2528
เป็นสถาปตั ยกรรมไทย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
มีขนาดสงู 17.19 เมตร ดา้ นล่างมีบันไดทางข้นึ 8 ทาง ด้านบนรวมมีบนั ไดทางข้ึน 4 ทาง ฐานของ
บษุ บกมีขนาดใหญ่

• ศนู ย์ราชการจังหวดั สระแกว้ เป็นลกั ษณะศนู ยร์ าชการแบบใหม่
ที่ได้รบั อนมุ ัติให้ก่อสร้างครงั้ แรก 3 จงั หวัด คือจงั หวดั ที่ได้รบั การประกาศให้เปน็ จงั หวัดใหม่
ในพ.ศ. 2536 ได้แก่ จงั หวัดสระแก้ว
จังหวดั อำนาจเจรญิ และจงั หวัดหนองบวั ลำภู
เปน็ สถาปตั ยกรรมกลุ่มทรงไทยประยุกต์ประกอบ
ด้วยตัวอาคารทีเ่ ป็นหนว่ ยงานราชการหลาย
หลังตัวอาคารศาลากลางเปน็ อาคารทรงไทย 4 ช้ัน

• อาคารเรียนโรงเรยี นอรญั ประเทศ โรงเรียนอรญั ประเทศ
อำเภออรญั ประเทศ มีอาคารเรยี นเดิม 2 อาคาร
คือ อาคาร 1 และอาคาร 2 สรา้ งข้นึ เม่อื พ.ศ. 2500
โดยพนั ตรวี ิเชยี ร สีมนั ตร สมาชิกสภาผแู้ ทนราษฎร
ในสมยั นั้นเห็นวา่ อำเภออรัญประเทศ เป็นเมืองชายแดน
มีชาวตา่ งชาติผ่านเข้าออก จงึ ควรทีจ่ ะสร้างอาคาร
เรียนใหเ้ ป็นทีส่ วยงาม

• อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลอรัญประเทศ เป็นอาคารที่มีลักษณะ
สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงามแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นในพ.ศ. 2493 ลักษณะตัว

๖๑

อาคารเป็นทรงยุโรป แต่หลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์มีสัดส่วนที่งดงามปัจจุบันใช้เป็นสำนักงาน
เทศบาลตำบลอรัญประเทศ นับเปน็ สถานที่ทีน่ า่ ภาคภมู ใิ จของชาวสระแก้วอีกแห่งหนึง่

• โดมเฉลิมพระเกียรตเิ นื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เปน็ โดมต้ังอยู่
ด้านหน้าบริเวณสวนกาญจนาภเิ ษก อำเภออรัญประเทศ
ด้านบนของโดมเป็นตราสัญลกั ษณ์พระราชพิธีกาญจนาภเิ ษก
ตรงกลางเป็นโดมสีฟ้า แบง่ เป็น 10 สว่ น อันหมายถึง
ทศพิธราชธรรม หลกั ธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั
องค์ปัจจบุ ันทรงใชป้ กครองราษฎร ด้านล่างของโดม
เปน็ พระราโชบายในการปกครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยหู่ วั ทีว่ า่ เราจะครองแผน่ ดินโดยธรรมเพื่อประโยชนส์ ุขแหง่ มหาชนชาวสยาม ที่ฐานแบง่ เป็น 10
ส่วน เปน็ หลักทศพิธราชธรรมแต่ละสว่ น เช่น ทาน ปิยวาจา อวหิ ิงสา ฯลฯ เหนอื พื้นดินมีบันได 9
ช้ัน หมายถึง รชั กาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นสถาปตั ยกรรมที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของ
จงั หวดั สระแก้ว

2.1.7 รูปปั้นอนุสาวรีย์ ในจังหวัดสระแก้ว มีรูปปั้นและอนุสาวรีย์ที่สำคัญ
หลายแหง่ ดงั น้ี

• พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตั้งอยู่ ณ หน้าศาลากลาง จังหวัดสระแก้ว มีลักษณะเป็นพระบรมรูปประทับยืน หล่อด้วยโลหะ
ทองเหลอื งรมดำ ฉลองพระองคเ์ ตม็ ยศ ทรงพระภูษาโจงพระหัตถ์ขวาทรงถือพระคทา พระหัตถ์ซ้าย
ทรงกุมพระแสงกระบี่ ขนาดสองเท่าของพระองค์จริง กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้ปั้นหล่อ
พระบรมรูป

๖๒

• พระบรมราชานุสาวรยี ์สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
ตั้งอยู่ที่ริมถนนสายสระแก้ว – อรัญประเทศ ก่อนถึงตัวที่ว่าการอำเภอวัฒนานครเล็กน้อย
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีลักษณะเป็นพระบรมรูปประทับยืนบนแท่นสูง
มีขนาดใหญ่ พระหัตถข์ วาชูพระขรรค์ ที่แท่นสลักพระราชประวัติว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรง
เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระองค์ได้เสร็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากพระ
ราชบิดาเมือ่ ทรงพระชนมายไุ ด้ 35 พรรษา ครองราชยอ์ ยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2120 ถึง ปีพ.ศ. 2135
พระองค์มีพระปรีชาสามารถในการทำศึกสงครามเพื่อปกป้องราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งยังดำรง
ตำแหน่งพระยศเป็นสมเด็จพระมหาอุปราชในการปกป้องพระราชอาณาจักรทางด้านตะวันออก
พระองค์ได้ยกทัพมาปราบปรามอริราชศัตรู ซึ่งลักลอบเข้ามาโจมตีกวาดต้อนผู้คนบริเวณชายแดน
อยู่เนืองๆ โดยใน ปี พ.ศ. 2124 ได้ทรงยกทัพมาปราบปรามครั้งแรก ต่อมาในปี 2125 จึงได้
โปรดให้ตั้งค่ายคูเมือง ปลูกยุ้งฉางข้าวลำเลียงไว้ที่ค่ายพระทำนบ และในปี 2125 จึงได้ยกทัพ
ปราบปรามอรริ าชศัตรอู ย่างราบคาบ

• อนุสาวรีย์เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ตั้งอยู่ทีก่ องกำกับการ
ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 อำเภออรัญประเทศ ซึ่งเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.
2529 ต่อมากองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนพิจารณาเห็นว่าเพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่
จัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการได้มีชื่อค่ายเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของหน่วย เพื่อ
สร้างความสามัคคี และความผูกพันทางด้านจิตใจ กองกับการตำรวจชะเวนชายแดนที่ 12 ได้รับ
อนุมัติจากกรมตำรวจเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ให้ใช้ชื่อว่า ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี
(สิงห์ สิงหเสนี)

• ประตชู ยั อรัญประเทศ ตั้งอยูพ่ รมแดนไทย - กมั พูชา ที่บ้านคลองลึก
ตำบลทา่ ข้าม อำเภออรญั ประเทศ ประตชู ัยอรัญประเทศเปน็ ประตทู างผ่านเข้าออกที่พรมแดนด้าน
อำเภออรญั ประเทศของไทยกบั ปอยเปตของกัมพูชา โดยมีสะพานเหล็กเชื่อมคลองลกึ นบั เปน็
สิง่ ก่อสร้างที่มีประวตั ิอันควรแกค่ วามทรงจำและน่าสนใจ
เป็นอยา่ งยิ่งประตชู ยั ได้รับการบรู ณะซ่อมแซมใหม่
เมื่อพ.ศ. 2501 หลงั จากที่ถูกปลอ่ ยใหเ้ ป็นซากปรกั หกั พงั
มานานถึง 18 ปี ประตูชยั ทีซ่ อ่ มแซมใหม่น้ยี ังคงรกั ษารปู
เดิมไว้เฉพาะด้านซ้ายเพื่อเปน็ อนุสรณ์แห่งความกล้าหาญ

๖๓

และเสียสละของ ร้อยโทสุรินทร์ ปั้นดี กบั พวกซึง่ ได้พลีชีพเพื่อชาติไว้ ณ ทีน่ น้ั ด้านขวามือได้ก่อสร้าง

เป็นเสมาขนาดใหญ่หันหน้าออกไปทางกัมพูชา ทำด้วยหินอ่อนสลักรูปครุฑพ่าห์ไว้ด้านบน ด้านล่าง

ใต้ตัวครุฑจารึกคำว่า ประเทศไทย บรรทัดถัดลงมาได้อัญเชิญบทพระราชนิพนธ์สยามานุสติ ใน

พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยหู่ วั มาจารึกไว้ ความว่า

หากสยามยังอยูย่ ั้ง ยืนยง

เราก็เหมือนอยคู่ ง ชีพด้วย

หากสยามพินาศลง ไทยอย่ไู ด้ฤา

เราก็เหมอื นมอดมว้ ย หมดส้ินสกุลไทย

2.1.8 สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง คือสิ่งที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่เคารพนับถือ

ร่วมกันของคนหมู่มาก ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดไปจนถึงระดับชาติ ถาวรวัตถุดังกล่าวอาจ

เป็นรูปเคารพทางศาสนา เป็นอาคารสิง่ กอ่ สร้าง หรือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของ

ชาวจังหวัดสระแก้ว มีดงั นี้

พระสยามเทวาธิราช (จำลอง) เปน็ ทีป่ ระดิษฐานของพระสยามเทวาธิราช (จำลอง)

ตั้งอยูบ่ ริเวณหนา้ สถานีตำรวจภูธรอำเภออรัญประเทศ

เริ่มสรา้ งข้ึนเม่อื วนั ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2528

หลวงพอ่ ขาว เป็นพระพทุ ธรปู ป้ันปางสมาธิ
ปจั จบุ นั ประดิษฐานที่วัดนครธรรม ตำบลวัฒนานคร
อำเภอวัฒนานคร หลวงพ่อขาวเป็นทีเ่ คารพบูชา
ของชาววัฒนานคร และชาวอำเภอใกล้เคียง
เป็นอยา่ งมาก ในเดือนมกราคมของทุกปี
จะมีงานเทศกาลปิดทอง

๖๔

หลวงพอ่ ทอง หลวงพอ่ ทอง
คือชือ่ ของพระครรู ัตนสราธคณุ (ทอง รตฺนสาโร)
อดีตเจา้ อาวาสวดั สระแก้ว ได้รบั แต่งต้ังเป็น
เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว เมื่อพ.ศ. 2491
หลวงพ่อทองเปน็ พระภิกษทุ ีม่ คี วามเมตตาสูง
เปน็ ทีเ่ คารพรกั ของประชาชนท่ัวไป ท่านอบรม
เผยแพรห่ ลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนา และ
มีความรคู้ วามสามารถด้านวิชาแพทย์แผนโบราณ
ช่วยเหลอื บำบัดรกั ษาผปู้ า่ วยโดยไม่เลือกชนั้ วรรณะ

ศาลหลักเมืองสระแก้ว เนือ่ งจากจังหวัดสระแก้วเป็นจงั หวดั ต้ังใหม่
เมื่อวนั ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ณ ชายแดนราชอาณาจกั รไทย ด้านทิศตะวันออกติดต่อกบั
กัมพูชา เพือ่ เปน็ ศูนย์รวมจิตใจของประชาชน จึงมีมตเิ หน็ พ้องต้องกันใหจ้ ดั สร้างศาลหลกั เมอื งแบบ
ปรางค์ ในปริมณฑลสวนกาญนาภิเษก ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว พรอ้ มทั้งจัดทำเสาหลัก
เมืองจากต้นชยั พฤกษ์ทีม่ คี ุณลกั ษณ์ต้องตามโบราณประเพณีความสูง 3.50 เมตร และได้กราบ
บังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ได้ทรง พระสุหรา่ ย ทรงเจมิ ยอดเสาหลักเมือง และแผ่น
ทองดวงเมอื งของจังหวดั สระแก้ว เพือ่ ความเปน็ สิรมิ งคล ในวนั พฤหสั บดีที่ 12 กันยายน
พ.ศ. 2539 เวลา 17.30 นาฬิกา ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอรัญประเทศ ต้ังอยู่ทีบ่ ้านอรัญในเขตเทศบาลตำบลอรญั
ประเทศ ตามประวตั วิ ่า ได้มีชาวไทยย้ออพยพมาอยใู่ นบริเวณอรญั ทุ่งแคและต้ังรกรากอยู่ทีน่ ่โี ดย
การนำของพระสาระบตุ ร (พระเห้ียม ใจหาญ) ตอ่ มาในพ.ศ. 2527 ได้มกี ารกอ่ ตั้งศาลหลักเมอื ง
เพื่อเปน็ ที่ยึดเหนีย่ วจิตใจของประชาชน พธิ ีการต้ังศาลได้มกี ารขดุ หลุมลึกแคค่ น กว้าง 1 เมตร
เวียนสายสิญจน์ 9 รอบ 4 ทิศ เมื่อได้ฤกษ์ก็บวงสรวงสิง่ ศกั ดิส์ ิทธิ์จากเกจิอาจารยส์ มยั น้ัน และได้
กลา่ วอญั เชิญขอให้สิ่งศกั ดิ์สิทธิ์ บันดาลใหม้ ี ผมู้ าเป็นเจ้าพอ่ หลกั เมือง

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและศาลพ่อปู่เขาฉกรรจ์ ศาลสมเด็จพระ
นเรศวรมหาราชและศาลพ่อปู่เขาฉกรรจ์ ออกแบบก่อสร้างโดยดร.ประเวษลิมปรังษี บุคคลดีเด่น
แห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2539 สาขาการพัฒนาสังคมด้านสถาปัตยกรรมไทยผู้มีจิตศรัทธาได้
ร่วมกันสร้างไว้เป็นที่สักการะของชาวเขาฉกรรจ์และนักท่องเที่ยวทั่วไป โดยเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์
เป็นสิรมิ งคลแก่ผมู้ ากราบไหว้

๖๕

เจ้าพ่อพระปรง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดใกล้เคียงให้
ความเคารพนับถือสกั การะกราบไว้บูชา เจ้าพ่อพระปรงมศี าลเป็นทีส่ ิงสถิต ตั้งอยูร่ ิมถนนสุวรรณศร
(หมายเลข 33 ) สุดเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ต่อกับเขตจังหวัดสระแก้ว และริวแคว
พระปรง ซึ่งเป็นลำน้ำกั้นเขตแดนสองจังหวัด ในแต่ละวันประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา จะแวะ
สักการะกราบไหว้หรือไม่ก็บีบแตรยานพาหนะเป็นการคารวะ หากไม่ปฏิบัติเช่นนั้น เชื่อว่าการ
เดินทางต่อไปข้างหน้ามกั ประสบอุบตั ิเหตุซึ่งมีตวั อยา่ งมากมาย

เจ้าแม่ย่าซอม มีศาลตั้งอยู่ที่หน้าตลาดสดหมู่ที่ 5 ตำบลคลองหาด อำเภอ
คลองหาด เมื่อประมาณ พ.ศ. 2517 ได้มีประชาชนจากจังหวัดต่างๆ จำนวนมากอพยพเข้ามา
บุกเบิกพืน้ ที่ปา่ ในอำเภอคลองหาด เพื่อทำมาหากิน โดยปลูกพืชไร่พืชสวนชนดิ ต่าง ๆ

ศาลเจ้าพ่อปลัดสน ตั้งอยู่ที่เทือกเขาคันนา หมู่ที่ 1 ตำบลตาพระยา สร้างขึ้นเพื่อ
เป็นอนุสรณ์แก่นายโกศล นงค์พรมมาปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอตาพระยาคนแรก
ในขณะที่ นายโกศล นงคพ์ รมมา ดำรงตำแหน่งได้พัฒนาสร้างความเจรญิ ใหแ้ ก่ประชาชนชาวตาพระ
ยาเป็นอย่างมาก บรรดาโจรผู้ร้ายก็ถูกปราบปราม ประชาชนชาวตาพระยาจึงเคารพนับถือนาย
โกศลมากนายโกศลเสียชีวิตด้วยการถูกคนร้ายลอบยิง ประชาชนชาวตาพระยาซึ่งสำนึกในพระคุณ
จงึ ได้ร่วมกันจัดสร้างศาลที่เชิงเขาปากทางเข้าอำเภอตาพระยา เพือ่ เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัด
สระแก้วและจงั หวัดใกล้เคียง

๒.๒. ศิลปะหตั ถกรรมและงานชา่ งทอ้ งถิ่น
๒.๒.๑ ประติมากรรม จังหวัดสระแก้วมีงานประติมากรรมของช่างรุ่นใหม่ที่โดด

เด่นสวยงามประติมากรรมพระพุทธรูป ประติมากรรมพระพุทธรูปตามวัดต่างๆในจังหวัดสระแก้ว
ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิ ส่วนในเทวสถานของพุทธมหายานมี
พระพุทธรูปแบบมหายาน เช่น ในเทวสถาน จี้ เหยี่ยง ไท้ ของอำเภออรัญประเทศ ซึ่งเป็นที่เคารพ
สกั การะของชาวไทยเชือ้ สายจนี

๖๖

• พระพทุ ธรปู เมตตาจาตุรนตร์ ัศมี เปน็ พระประธานในอโุ บสถ
วัดพรหมสุวรรณ อำเภอตาพระยา เป็นพระพุทธรูปที่มีความเมตตาต่อประชาชน พระรัศมีฉายแสง
ไปทัว่ ไม่มีส้ินสดุ

• เทวรปู พระนารายณ์ รปู เคารพพระนารายณ์เป็นประติมากรรลอยตวั
ต้ังอย่ภู ายในเทวสถาน จี๋ เหยีย่ ง ไท้ อ.อรญั ประเทศ

• ประติมากรรมบนบานประตูอุโบสถวดั อนุบรรพต
เป็นประตมิ ากรรมไม้บนบาน ประตอู โุ บสถวดั อนบุ รรพต อำเภออรญั ประเทศ ซึ่งสร้างข้ึนใน
สมัยพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยหู่ วั (รชั กาลที่ 6) เป็นการแกะสลกั ไม้ เรื่องทศชาติ
ชาดก ในภาคพระเวสสนั ดร

• ประติมากรรมภาพปูนปัน้ ประดบั หอไตรและกำแพงวัดสันติธรรม
ต้ังอยบู่ ้านไทยสามารถ ตำบลบ้านใหมห่ นองไทร อำเภออรัญประเทศ เปน็ วัดที่นำเอาศลิ ปกรรม
แบบเขมรผสมผสานกับศิลปกรรมไทยได้อย่างงดงาม

• ประติมากรรมยักษ์ เปน็ รูปยักษย์ ืนถอื กระบอง ตั้งอย่หู น้าศาลา
วัดสนั ติธรรม

• ประติมากรรมหงส์และสิงโต เป็นความเชื่อของชาวจีน ที่
ศรัทธาและภาคภมู ใิ จตั้งอยู่บนหลังคาของเทวสถาน จ๋ีเหยี่ยง ไท้ อำเภออรัญประเทศ

• ประติมากรรมกินรี เปน็ ประตมิ ากรรมเกา่ แกส่ ร้างพรอ้ มกับอโุ บสถ
วดั หลวงอรัญ อำเภออรญั ประเทศ เป็นรปู กินรียืนพนมมอื หนา้ ประตูเข้าอโุ บสถ เปน็ ฝีมอื ชา่ งใน
อำเภออรญั ประเทศ

• น้ำพุแคนตาลูป ต้ังอย่ตู รงข้ามกบั บุษบกพระสยามเทวาธิราช (จำลอง)
อำเภออรัญประเทศ เปน็ ประตมิ ากรรมรปู ผลแตงแคนตาลปู ด้านบนเปน็ น้ำพุ แตงแคนตาลปู
เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของอำเภออรัญประเทศ ในแต่ละปีจะมีจัดงานประจำปีเพื่อแสดง ผลงาน
ด้านการเกษตร โดยเฉพาะแตงแคนตาลปู ซึ่งมีรสหวาน กรอบ กวา่ แหลง่ อ่นื ๆ

๒.๒.๒ จติ รกรรม จังหวดั สระแก้ว มีจิตรกรรมทีส่ วยงาม ได้แก่
จติ รกรรมทศชาติชาดกที่ วัดอนุบรรพต ต้ังอยู่ตำบลบ้านใหม่หนองไทร อำเภออรัญประเทศ
เป็นจติ รกรรมฝาผนงั แบบดั้งเดิม เขยี นเรอ่ื งทศชาติและพุทธประวัติ

• จติ รกรรมฝาผนงั อุโบสถวดั วังน้ำเย็น ต้ังอยู่ในเขตอำเภอวงั น้ำเย็น

๖๗

ภายในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพวาดที่งดงามชัดเจน โดย จิตรกรคือ นายบัญชา เอื้อกนก
พนั ธ์ุ เปน็ ชา่ งพ้ืนบ้านจากจังหวัดปทมุ ธานี เปน็ ภาพวาดเกี่ยวกบั ทศชาติและพุทธประวตั ิ เริม่ วาดเม่ือ
พ.ศ. ๒๕๓๗ ภายใต้การควบคุมดูแลของพระครูธรรมยานประยุต ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอวังน้ำเย็น
และเจ้าอาวาสวดั วงั นำ้ เย็น

• จติ รกรรมพืน้ บ้านแบบจนี ท่เี ทวสถาน จ๋ี เหยี่ยง ไท้
เปน็ ภาพวาดบนผนังอาคาร ตามความเชื่อของลัทธิเต๋า

๒.๒.๓ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่เป็นวัตถุมงคล เช่น
โบสถ์ วิหารหอไตร เจดีย์ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน
สถาปัตยกรรม บางแห่งมีลักษณะโดดเด่นจนหลายจังหวัดใช้สถาปัตยกรรมชั้นเอกเป็นตราประจำ
จงั หวดั เชน่ ปราสาทเขานอ้ ยสีชมพู ใช้เปน็ ตราสญั ลกั ษณจ์ ังหวัดสระแก้ว

• ปราสาทเขาน้อย หรอื ที่ชาวบ้านเรียกกนั ว่า ปราสาทเขานอ้ ยสีชมพู
ตั้งอยู่บนยอดเขาน้อย ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นโบราณสถานใน
เขตรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ ๕ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ โดยประกาศในราช
กิจจานุเบกษา เลม่ ที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วนั ที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๗๘ มีเน้ือที่ ๕๐ ไร่

• หอพระไตรปิฎกวัดสันติธรรม มีสถาปตั ยกรรมที่มคี วามหลากหลาย
เนื่องจากเจ้าอาวาสเป็นภิกษุที่มีความสามารถในด้านสถาปัตยกรรม และประติมากรรมเป็นอย่าง
มาก โดยเฉพาะประติมากรรมทีไ่ ด้รับอิทธิพลจากเขมร แต่หอพระไตรปิฎกนี้เปน็ สถาปัตยกรรมแบบ
จนี ผสมผสานกบั สถาปตั ยกรรมแบบไทยที่มสี ัดส่วนสวยงาม

• สถานีตรวจคนเขา้ เมืองอรัญประเทศ เปน็ สถาปตั ยกรรมท้องถิน่
โดดเด่นตรงที่มีบันไดคู่ด้านหน้าเป็นอาคารสถานที่ราชการเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่ยังคงอยู่ในจังหวัด
สระแก้ว

• สถานีตำรวจภธู รคลองลึก อรญั ประเทศ เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิน่
มีบนั ไดขึน้ ทั้ง ๒ ด้าน ด้านเปน็ มุขยื่นออกมาเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น สร้างโดยช่างท้องถิน่ นับเป็นอาคาร
สถานที่ราชการเกา่ แกท่ ีย่ ังคงอยู่อีกแหง่ หนง่ึ ในจังหวัดสระแก้ว

๒.๓ ภาษาและวรรณกรรม
ภาษาและวรรณกรรมเป็นสิ่งสำคญั ในการสบื ทอดวฒั นธรรม ขนบธรรมเนยี มประเพณี และ

๖๘

ความเจริญด้านต่างๆของชนแต่ละกลุ่มการสืบทอดทางวิทยาการในปัจจุบันอาศัยภาษาและ
วรรณกรรมเป็นเครื่องมือถ่ายทอดและอนุรักษ์ไว้ ภาษาและวรรณกรรมของทุกชาติย่อม ให้ทั้ง
ความรู้ ความบันเทิง และยังเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนสภาพสังคม วัฒนธรรม ความ
เจริญรงุ่ เรืองในครั้งอดีตด้วย

จังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดในภาคตะวันออก ที่มีความรุ่งเรืองทางประวัติศาสตร์และ
วัฒนธรรมในสมัยโบราณ ลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเหมาะแกก่ ารเกษตรกรรม
ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆอพยพมาอยู่เป็นจำนวนมาก ประชากรในจังหวัดสระแก้วจึงมีหลาย
กลมุ่ อยู่กระจัดกระจายในตำบลและหมบู่ ้านต่าง ๆ

๒.๓.๑ ภาษา จากการศึกษาภาษาของชนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดสระแก้ว พบว่ามี
การใชภ้ าษา ดังน้ี

• ภาษาไทยกลาง ภาษาไทยกลางซึ่งเรียกว่าภาษาไทยถิน่ กรงุ เทพฯหรอื
ภาษาราชการ หรอื ภาษามาตรฐาน เป็นภาษาที่ประชากรทีอ่ ยูใ่ นเขตเมืองใช้มากที่สุด เป็นภาษาที่มา
จากข้าราชการที่ย้ายเข้ามาทำงานในจงั หวัดสระแก้ว ภาษาไทยกลางเปน็ ภาษาประจำชาติ ใช้ในการ
ติดตอ่ ส่อื สารได้ท่ัวทุกภาคทั่วประเทศ

• ภาษาไทยลาว เป็นภาษาที่ใชพ้ ดู กันมากในเขตชนบทของ
จงั หวัดสระแก้วเพราะมีชาวไทยลาวหรอื ไทยอีสาน อพยพมาต้ังถิน่ ฐานทำมาหากินในจงั หวดั
สระแก้วเปน็ จำนวนมาก ซึง่ ประชาชนสว่ นหน่งึ อพยพมาจากเวียงจันทน์และหวั เมืองอีสานสมัย
สงครามไทย-ลาวเมือ่ ครั้งกรุงธนบรุ ีและอพยพมาสบื เนื่องจากกรณีกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมอ่ื คร้ังรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจา้ อยู่หวั หลงั จากนั้นกอ็ พยพมาเรือ่ ย ๆ เพราะจงั หวัดสระแก้วมีความ
อดุ มสมบูรณ์ มีทีร่ กร้างว่างเปล่าอยู่มากภาษาไทยลาว จะแตกต่างจากภาษาไทยกลางตรงที่ไมม่ ี
เสียง ฉ,ช,ร และใช้ ซ แทน ช

• ภาษาญอ้ ไทยญอ้ คือ ชนชาติไทยกลมุ่ หน่ึงในจงั หวดั สระแก้ว
อพยพมาจากเมอื งเวียงจนั ทนห์ รอื ท่าอเุ ทน เมอ่ื ครั้งที่เจา้ พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่ง
ภายหลังได้รบั พระราชทานยศและราชทินนาม เป็น เจา้ พระยาบดินทรเดชา ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์
ในสมยั พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยหู่ ัว เมื่อปราบกบฏแลว้ กไ็ ด้ยกทัพไป กวาดต้อนผู้คนลงมา
ด้วยเดิมชาวไทยญอ้ ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านดงอรัญ เขตอําเภอศรีโสภณ กมั พูชา ตอ่ มาได้อพยพเข้ามา

๖๙

อยใู่ นไทยทางดา้ นตะวันออกของจงั หวดั สระแก้ว ในเขตอาํ เภออรัญประเทศ มีกลุ่มชาวไทยญอ้ มาก
ทีส่ ุด ปัจจบุ ันชาวไทยญ้อกลมุ่ น้ีได้กลายเปน็ คนไทยโดย สมบรู ณ์

• ภาษาไทยเบิ้ง คือ ภาษาไทยโคราช คําว่า เบิ้ง เปน็ คาํ ที่ชาวอีสาน
กลุ่มอน่ื ใช้เรยี กชาวไทยโคราช เมื่อชาวไทยโคราชอพยพมาอย่ถู ิ่นอื่น ยังคงใช้ภาษาไทยโคราช ภาษา
ที่ใช้จึงเรียกว่าภาษาไทยเบิ้ง ที่สําคัญคือมีเสียงลงท้ายประโยค โดยเฉพาะ ได้แก่ ด๊อก (ดอก) แหล่ว
(แล้ว) เบิง้ (บ้าง) เหวย่ (หวา่ ) นี้ (เหรอ)

ภาษาไทยเบิง้ จะใช้กนั มากในบ้านช่องกุม่ บ้านแซรอ์ อ อาํ เภอวัฒนานคร และ
บ้านโคกมะกอก บ้านหนองปรือ อําเภอตาพระยา และบางตําบลในอําเภอ คลองหาด อําเภอวัง
สมบรู ณ์ และอาํ เภอวังนำ้ เย็น จงั หวดั สระแก้ว

• ภาษาเขมร เปน็ ภาษาที่ใชส้ ื่อสารกันบริเวณพรมแดนที่มีเขต
ติดต่อกับกมั พูชา ในอําเภอตาพระยา กิ่งอําเภอโคกสูง บ้านตุ่น ตาํ บลบ้านด่าน อําเภออรัญประเทศ
และบ้านหนองบวั ใต้ ตำบลหนั ทราย อำเภออรญั ประเทศ บางตาํ บลของอาํ เภอคลองหาด กลมุ่ คนที่
พูดภาษาเขมรในจังหวัดสระแก้วเป็นชนเชื้อชาติเดียวกับชาวกัมพูชาในปัจจุบัน ตั้งถิ่นฐานในไทยมา
นาน จนกระทงั่ มคี วามรสู้ ึกเป็นคนไทย ภาษาเขมรที่ใชพ้ ูดในสระแก้วจะไมแ่ ตกตา่ งภาษาเขมรที่ใช้พูด
ในกัมพูชามากนัก

• ภาษาสว่ ย ภาษาส่วยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ประชากรในจังหวดั สระแก้ว
บ้านคลองฝกั มีด ตาํ บลคลองหินปนู อําเภอวงั น้ำเย็น หมทู่ ี่ 5 และหมู่ที่ ๑๐ ตาํ บลเขาส เขาฉกรรจ์
และบ้านน้อยละลมติม ตาํ บลโคกสงู กิง่ อาํ เภอโคกสูง บ้านกุดเตย ตาํ บลตาพระยา อาํ เภอตาพระยา
ใช้ส่อื สารกนั คําวา่ ส่วย เป็นคําที่คนไทยใช้เรยี กคนพืน้ เมืองภาคอีสานตอนล่าง ทีอ่ ยใู่ กล้เคียงกันกับ
ชาวไทยที่พูดภาษาเขมร เช่น จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และ จังหวัดบุรีรัมย์ มาตั้งแต่สมัย
กรงุ รัตนโกสินทรต์ อนต้น ทั้งนี้ มีขอ้ สนั นิษฐานว่าเปน็ เพราะ ชนกลุม่ นี้ต้องส่งสว่ ยให้แก่ทางกรุงเทพฯ
เป็นประจาํ ทุกปี ชนพวกนีแ้ ต่เดิมอาศัยอยู่ในจงั หวัดสรุ ินทร์แล้วอพยพเข้ามาอย่ใู นจังหวัดสระแก้ว
คําส่วนมากจะเป็นคําพยางค์ คำ ๒ พยางค์ บางคำอาจประกอบจากคำพยางค์เดียวนำมาเรียงกัน
อาจมคี วามหมายหรือไมม่ คี วามหมายก็ได้

• ภาษาจนี ภาษาจนี เปน็ ภาษาเฉพาะกล่มุ ทีใ่ ช้พูดกันเฉพาะชาวไทย
เชื้อสายจีนที่ทําการค้าอยูใ่ นตัวเมือง ในอําเภอต่างๆ และมีคําบางคําที่เป็นคําที่ได้รบั ความนิยมและ
ใช้กันแพร่หลายในจังหวดั สระแก้ว

๗๐

• ภาษาเวียดนาม ภาษาเวียดนามเปน็ ภาษาเฉพาะชาวไทย
เชื้อสายเวียดนาม ในตลาดอรัญประเทศ ไม่แพร่หลายนัก และปัจจุบันจะพูดภาษาไทยกลาง เป็น
สว่ นใหญค่ วามเจริญของสังคมปจั จุบันส่งผลให้วัฒนธรรมการใช้ภาษา เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมเคย
ใช้ภาษาถิ่น ก็เริม่ ใช้ภาษากลางในการสื่อสารมากขึ้น

๒.๓.๒ จารกึ จารึกเป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษรลงบนวัสดุ เชน่ ศลิ า
แผน่ โลหะ แผน่ อิฐ ฯลฯ นับเป็นหลกั ฐานทีท่ รงคุณคา่ ทางประวตั ศิ าสตรแ์ ละวฒั นธรรม ซึ่งได้สะท้อน
ให้เห็นวิถีชีวติ สงั คม ประเพณี ความเจรญิ ทางอารยธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ จงั หวัดสระแก้วมีจารึก
สําคัญหลายหลัก เนื้อความในจารึกเหล่านั้น เป็นหลักฐานที่บ่งบอก ให้ทราบว่า ในอดีตจังหวัด
สระแก้วเป็นบริเวณที่มีความเจริญ มีชุมชนอยู่อาศัย มีอารยธรรมเป็นของตนเอง มีกษัตริย์หรือ
ผปู้ กครองนับถือศาสนาฮินดู ลทั ธิไศวนิกาย และชาวพื้นเมอื งนับถือพระพุทธศาสนา มีภาษาที่ใช้สื่อ
ความหมายกันในชุมชนนี้ ๓ ภาษา คือ ภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และภาษาเขมร อนึง่ น่าสังเกตว่า
ภาษาสันสกฤตเปน็ ภาษาที่ใช้ใน กลุ่มของผู้นับถือศาสนาฮินดู ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในกลุ่มของผู้
นับถือศาสนาพุทธ และภาษาเขมรเป็นภาษาที่ชาวพื้นเมืองใช้โดยทั่วไป ในส่วนรูปอักษรนั้นใช้
รูปอักษรแบบเดียวกัน คือรูปแบบอักษรที่ได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบอักษรในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ
ประเทศอินเดียตอนใต้ และมีวิวัฒนาการไปตามสภาพธรรมชาติของตนในภูมิภาคนี้ตามกาลโดย
ลาํ ดบั กรมศิลปากรได้รวบรวมจารึกทั้งหมดพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือตา่ ง ๆ ดงั น้ี

• จารกึ เขานอ้ ย จารึกบนหนิ ทราย พบที่วดั เขานอ้ ย คลองน้ำใส
อาํ เภออรญั ประเทศ(ขณะทีพ่ บจารึก อาํ เภออรญั ประเทศ ขึน้ กบั จังหวัด ปราจนี บรุ ี) จารึกด้วยอักษร
ปัลลวะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัด
เขานอ้ ยสีชมพู หมูท่ ี่ ๖ ตําบลคลองน้ำใส อําเภออรัญประเท

• จารกึ เขารงั จารึกบนหนิ ทราย เนือ้ หยาบ พบที่เขารงั
ตําบลอรัญประเทศ อําเภออรัญประเทศ (ขณะที่พบจารึก อําเภอ อรัญประเทศ ขึ้นกับจังหวัด
ปราจนี บุรี จารึกด้วยอักษรปลั ลวะ อายปุ ระมาณพทุ ธ ศตวรรษที่ ๑๒ เป็นภาษาสนั สกฤตและ เขมร
ปัจจบุ นั เกบ็ รักษาไว้ทีห่ อพระสมุดวชริ ญาณ หอสมดุ แหง่ ชาติ กรุงเทพฯ

• จารกึ ช่องสระแจง จารึกบนหนิ ทรายสีเทา ลักษณะคล้ายใบเสมา

๗๑

พบที่บ้านช่องสระแจง ตําบลตาพระยา อําเภอตาพระยา (ขณะที่พบจารึก อําเภอตาพระยา ขึ้นกับ
จังหวัดปราจีนบุรี) จารึกด้วยอักษร ปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็น
ภาษาสนั สกฤต ปจั จุบันเก็บรกั ษาไว้ที่พิพิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร

• จารกึ สด็อกก็อกธม ๑ จารึกบนหนิ ทรายสีแดง ลกั ษณะคล้าย
ใบ เสมา พบที่บ้านสระแจง ตําบลโคกสงู อาํ เภออรญั ประเทศ (ขณะที่พบจารกึ อาํ เภออรัญประเทศ
ขึ้นกับจังหวัดปราจีนบุรี) จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ เป็นภาษาเขมร ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ทีพ่ ิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ พระนคร

• จารกึ บ้านพังพวย จารึกบนหนิ ทรายสีแดง รูปใบเสมา พบที่
บ้านพังพวย อําเภออรัญประเทศ (ขณะที่พบจารึก อําเภออรัญประเทศ ขึ้นกับจังหวัด ปราจีนบุรี)
จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ปัจจุบัน เก็บรักษาไว้ที่
พิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาติพระนคร

• จารกึ ทวลระลมทิม จารึกบนหนิ ทรายเนื้อละเอียด รูปแท่งสีเ่ หลีย่ ม
พบที่ตําบลโคกสงู อาํ เภอตาพระยา (ขณะทีพ่ บจารกึ อําเภอตาพระยา ขึ้นกับจงั หวัดปราจนี บรุ ี)
จารึกด้วยอกั ษรขอมโบราณ ประมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๑๕ เป็นภาษาเขมร ปจั จบุ นั เกบ็ รักษาไว้ที่ หอ
พระสมดุ วชิรญาณ หอสมดุ แหง่ ชาติกรุงเทพฯ

• จารกึ วัดตาพระยา จารึก บนหนิ ทราย รปู ใบเสมา พบที่
วัดตาพระยา ตําบลตาพระยา อําเภอตาพระยา (ขณะที่พบจารึก อําเภอ ตาพระยา ขึ้นกับจังหวัด
ปราจนี บรุ ี) จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร อายปุ ระมาณ พ.ศ. ๑๕๒๐ ปจั จบุ นั เก็บรักษาไว้
ที่ วดั ตาพระยา ตําบลตาพระยา อาํ เภอตาพระยา

• จารกึ พระเจา้ สุริยวรมนั ที่ ๑ จารึกบนหนิ รูปใบเสมา พบในเขต
จังหวัดสระแก้ว จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นภาษาสันสกฤต และ
ภาษาเขมร

• จารกึ ปราสาททัพเซียม ๑ จารึกบนศลิ ามีลักษณะเป็นหลบื ประตู
รปู สี่เหล่ยี ม ด้านทิศเหนอื ของปราสาท พบที่ปราสาททัพเซียม อําเภออรญั ประเทศ (ขณะที่พบจารึก
อําเภออรญั ประเทศ ขึน้ กบั จงั หวดั ปราจนี บุรี) จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๗ เปน็ ภาษาเขมร ปัจจบุ ัน เกบ็ รกั ษาไว้ทีห่ อพระสมดุ วชริ ญาณ หอสมดุ แห่งชาติ กรงุ เทพฯ

๗๒

• จารกึ ปราสาททัพเซียม ๒ จารึกบนศลิ ามีลักษณะเป็นประตู
รูปสี่เหลี่ยม ด้านทิศใต้ของปราสาท พบที่ปราสาท ทัพเซียม อําเภออรัญประเทศ (ขณะที่พบจารึก
อําเภออรญั ประเทศ ขึน้ กบั จังหวัดปราจนี บุรี) จารึกด้วยอกั ษรขอมโบราณ ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๗ เป็นภาษาสันสกฤต เก็บรักษาไว้ทีห่ อพระสมดุ วชริ ญาณ หอสมุดแหง่ ชาติ กรงุ เทพฯ

๒.๓.๓ ตาํ นาน เป็นเรื่องเล่าสืบตอ่ กนั มาช้านาน มักมีเน้ือหาเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์
ปาฏิหาริย์วีรกรรมของบรรพบุรษุ อนั เป็นทีม่ าของวัตถุหรือสถานที่สําคญั ของแต่ละท้องถิน่ เช่น *
ตาํ นานเขาทะลุ (ถ้ำทะล)ุ ตามตํานานเล่าว่า เจ้าชายแห่งเขา ฉกรรจไ์ ปหลงรกั ลูกสาวยกั ษเ์ มืองพระ
สระเนตร และได้แปลงกายซอ่ นอยใู่ นสระ ลูกสาวยักษ์ ลงไปอาบน้ำจึงได้พบรกั กันและพากันหนไี ป
อย่ทู ีเ่ ขาฉกรรจ์ พ่อยกั ษท์ ราบเรื่องยกทพั มา ตามจบั แตต่ ามไม่ทัน จงึ ได้ใช้ธนยู ิงไปถูกภูเขาทะลุ
กลายเป็นตํานานของเขาทะลุหรอื ถ้ำทะลุ อําเภอเขาฉกรรจ์ ตั้งแต่นั้นมา

• ตาํ นานทบั องคด์ ําและเขาฉกรรจ์ ตามตํานานมอี ยวู่ า่ ในสมัย
ที่สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น ได้มีสัมพันธไมตรีกับเขมร แต่เขมร ไม่
ซื่อตรง คราวใดที่ไทยติดศึกสงครามกับพมา่ เขมรมักจะยกกองทัพเข้ามารับทรัพย์ และ กวาดต้อน
ชาวไทยไปเป็นเซลยเสมอ แต่เมื่อใดทีไ่ ทยสุขสงบดี เขมรก็จะทําตวั เปน็ มิตรที่ดี เมื่อเป็นเชน่ นี้บ่อยเข้า
สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงไม่พอพระทยั คร้ันว่างจากศึกสงครามกย็ ก กองทัพเล็ก ๆ จะไปปราบเขมร
ให้สํานึก แต่เมื่อยกกองทัพมาถึงบริเวณชายแดนก็เห็นว่าเขมร มีกําลังอยูม่ าก ดังนั้น พระองค์จึงให้
ทหารในกองทัพที่เดินทางมากับพระองค์ไปฝึกปรือ ชาวบ้านในหมู่บ้านต่าง ๆ ในบริเวณจังหวัด
สระแก้ว ให้ใช้อาวุธปืนเพื่อจะได้เป็นกําลังไปรบ กับเขมร และเป็นกําลังในการต่อสู้กับเขมรต่อไป
ภายหน้า เมื่อฝึกเสร็จในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง เช้าวันรุ่งขึ้นก็ให้แม่ทัพ นายกองเหล่านั้น
นําชาวบ้านที่ตนไปฝึกมาพบกันที่ภูเขารูปร่างประหลาด ส่วนพระองค์ ประทับอยู่ที่เส้นทางระหว่าง
ภูเขารูปร่างประหลาดกับชายแดนไทย-เขมร ซึ่งต่อมาภายหลัง เรียกที่นั่นว่า ทับองค์ดํา เมื่อถึงวัน
นัดแม่ทัพนายกองต่างก็พาทหารที่ตนไปฝึกและนำอาวุธมา พร้อมกันอยู่ที่ลานแห่งนั้น ทหาร
เหลา่ นนั้ ล้วนเปน็ ชายหนุม่ ทีอ่ ย่ใู นวัยกาํ ยาํ หรอื วยั ฉกรรจ์ จงึ เรียกเขาน้ันว่า เขาฉกรรจ์ ต้ังแตน่ ้ันมา

๒.๓.๔ ตําราตา่ ง ๆ ตาํ ราสมุดข่อย และตาํ ราใบลานที่สาํ รวจพบ มีดงั นี้

• ตําราท่ไี ดจ้ ากวัดเนินผาสุก วดั เนินผาสุกต้ังอยู่ที่ตําบลสระขวัญ
อําเภอเมืองสระแก้วจังหวัดสระแก้ว เป็นตําราสมุดข่อยที่เขียนด้วยภาษาไทยสมัยโบราณ ผสมกับ
ภาษาเขมร เป็นตําราว่าด้วยการรักษาโรคต่างๆ ด้วยสมุนไพร เช่น ยาหอม ยาแก้ไข้ ชนิดต่าง ๆ ยา

๗๓

แก้สารพดั โรค ยาเขียวใหญ่ ยาแก้สะอกึ ยาแก้ขดั เบา ยาแก้ไข้เน้ือขาด ยาแก้เจบ็ คอ ยาแก้หอบ ยา
กําลังราชสีห์ ยาแก้ไอ ยาขับเลือด ยาเขียว ยาเหลอื ง ฯลฯ ตำรารักษาฝี ๑๐๘ ชนิด ตําราดูฤกษ์ยาม
การเดินทาง ตําราดูนาคสมพงษ์ ตําราดูยามสามตา ตําราดูที่ดินปลูกบ้าน ตําราดูฤกษ์ยามทําการ
มงคล เชน่ ปลูกบ้าน ตาํ ราทําบันไดขึ้นบ้าน ตาํ ราทาํ ไร่นา ตาํ ราปลกู ข้าว ตําราเอาขา้ วขึน้ ยุ้ง ยันต์กัน
หนกู ดั ข้าว ยนั ตป์ ลูกข้าวงาม ยันตก์ ัน ปกู ัดข้าว ยันตใ์ ส่ใต้ตน้ ไม้เป็นลูกดก ฯลฯ

• ตําราทไ่ี ดจ้ ากวัดกะสังอัตตะนนั ท์
วัดกะสังอัตตะนันท์ ตั้งอยู่ ตําบลทัพไทย อําเภอตาพระยา ตําราที่พบเป็นตําราประเภทใบลานและ
สมุดขอ่ ย ตํารา ใบลานมีทั้งที่เขียนเป็นภาษาเขมรและเขียนด้วยภาษาไทยโบราณผสมกับภาษาเขมร
พอแปล ความได้ว่า เป็นตําราหมอดู ตําราจับยามสามตา คาถามหาเสน่ห์ ตําราตั้งชื่อลูก ตํารา
คลอดลูก ฝงั รก ตํารายาสมนุ ไพร ฯลฯ

• ตําราทไ่ี ดจ้ ากวดั หนองติม วัดหนองตมิ อยูท่ ีต่ าํ บลตาพระยา
อําเภอตาพระยา เป็นตําราประเภทสมุดข่อย เขียนด้วยภาษาไทยโบราณผสมผสานกับภาษาเขมร
พอแปลความได้ว่าเปน็ ตํารายาสมุนไพรแก้โรคต่าง ๆ เช่น ฝดี าษ แก้สะอึก ยาขับเสมหะ ยาแก้เลือด
ยาขับพิษ ยารักษาฝีชนิดต่างๆ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีตํารายันต์จารึกเป็นภาษาขอม ใช้ลงตะกรุด สัก
ลายตามร่างกาย เป็นมหาจังงัง ป้องกันอาวุธ ทุกชนิด เอกสารโบราณเหล่านี้เก็บ รักษาอยู่ที่ศูนย์
วฒั นธรรมจังหวัดสระแก้ว โรงเรียนสระแก้ว อําเภอเมืองสระแก้ว จงั หวดั สระแก้ว

๒.๓.๕ วรรณกรรมพื้นบ้าน วรรณกรรมสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
วรรณกรรมลายลกั ษณ์ และวรรณกรรมมขุ ปาฐะ

• วรรณกรรมลายลักษณ์ คือ วรรณกรรมทีม่ กี ารจารึกลงบน
แผน่ หนิ โลหะจารึกลงบนใบลาน เขียนในสมดุ ขอ่ ย พืน้ ขาวอักษรดําบ้าง เขียนในสมดุ ไทยดํา อักษร
เหลืองบ้าง มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ แต่สามารถใช้เปน็
หลักฐานทางภาษาและวรรณกรรมได้ ตัวอย่าง เช่น จารึก สําหรับวรรณกรรมพื้นบ้านของจังหวัด
สระแก้วนั้น แม้จะไม่ค่อยมี ปรากฏในรูปแบบของวรรณกรรมลายลักษณ์ชัดเจนนัก แต่มีที่น่าสนใจ
อยู่เรื่องหนึ่ง คือ ประวัติเมืองอรัญ (ตอนที่ ๑) ค้นคว้าและรวบรวมโดยนายจํารูญ พัฒนศร ใช้เวลา
รวบรวมอยู่ นานถึง ๓๐ ปีเศษ วิธีการค้นคว้าและรวบรวม ใช้การสัมภาษณ์จากผู้เฒ่าผู้แก่ และ
ศึกษา ค้นคว้าหนังสือตําราจากหอสมุดแห่งชาติเพื่อตรวจสอบกับคําบอกเล่าที่ได้ทําการสัมภาษณ์
เนือ้ หาของประวตั เิ มืองอรญั กล่าวถึงบรรพบุรุษของชาวอรญั ประเทศ คือ ชาวไทยญอ้

๗๔

ซึ่งเป็นคนกลมุ่ แรกทีอ่ พยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยทู่ ี่เมอื งอรญั การบุกเบิกสร้าง บ้านสร้างเมอื ง สถานที่
สําคญั ต่างๆ ในเมืองอรัญ การตดิ ตอ่ สัมพันธก์ บั กัมพชู า การอพยพ เข้ามาของกลมุ่ ชนต่าง ๆ
เหตุการณ์สําคัญ ๆ ที่เกีย่ วข้องกับเมืองอรญั ต้ังแตส่ มัยพระบาท สมเด็จพระน่งั เกล้าเจ้าอยู่หัว
จนถึงหลังสงครามโลกคร้ังที่ ๒ จากหนังสอื ประวตั ิเมืองอรญั น้ี ทําให้ลกู หลานชาวอรญั เกิดความ
รกั ความภาคภมู ใิ จในถิ่นกาํ เนิด และความเปน็ มาของ บรรพบรุ ษุ ที่ได้ชว่ ยกนั สร้างความเจริญความ
สงบรม่ เย็นไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง

• หนงั สือผูก นิยมอา่ นในงานศพและงานเกีย่ วกับพทุ ธศาสนา ตา่ งๆ
ในจังหวัดสระแก้วคือที่ตําบลคลองน้ำใส อําเภออรัญประเทศ พบหนังสือผูก ซึ่งจารึก ลงบนใบลาน
เปน็ อกั ษรไทยน้อย เรื่องจาํ ปาสีต่ น้ ซึง่ เปน็ นิทานเลียนแบบชาดก

• วรรณกรรมมุขปาฐะ คือ วรรณกรรมทีไ่ ด้สืบทอดจากคน ยคุ หน่งึ ไปสู่
คนอีกยุคหนึ่ง ด้วยการเล่า ท่อง หรือจดจํากันสืบต่อมา โดยไม่มีการบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร
วรรณกรรมมุขปาฐะนี้ผู้เล่ามักจะต้องใช้ทั้งความจําปฏิภาณ และความสามารถในการเลือกสรร
ถ้อยคําด้วยตนเองส่วนใหญ่ จะมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับภูมินามสถานที่ต่าง ๆ อาจสัมพันธ์กับความ
เป็นอยู่ สภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ พงศาวดาร ตํานาน และวรรณกรรมนิยาย หรือนิทาน
พืน้ บ้านเรอ่ื งต่างๆ

๒.๓.๖ นิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้านของจังหวัดสระแก้ว ส่วนใหญ่ จะเป็นนิทาน
ลาว มีหลายเรือ่ ง เชน่ เรือ่ งนางผมหอม เรือ่ งสงั ข์ศลิ ปช์ ัยหรือสนิ ไซ เรือ่ งท้าวขลู ูนางอว้ั
เรื่องพระลักษณ์ พระราม
๒.๔ การละเลน่ พ้นื บา้ นและนาฏศิลป์
การละเล่นพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรม ของกลุ่มชนเช่นเดียวกับวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ที่มนุษย์
สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองและสังคม ทั้งในฐานะที่เป็นเครื่องบันเทิงใจ
การประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาและพิธีกรรมทีเ่ กิดขึ้นในแต่ละช่วงชีวิต การละเล่นพื้นบ้านทั้งของ
เด็กและของผู้ใหญ่จึงมีความสัมพันธ์กับสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยมและความเชื่อของสังคม
นั้นๆ การละเล่นพื้นบ้านแตล่ ะท้องถิ่นมีความแตกต่างกนั ไปตามสภาพภมู ิศาสตร์ การประกอบอาชีพ
ค่านิยม และความเชื่อของสังคม นอกจากนี้การแลกเปลี่ยน หรือรับวัฒนธรรมจากภายนอกก็มีผล
ให้การละเล่นพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นมีเอกลักษณ์มีความหลากหลายและคลี่คลายไปตามความ
เจริญและพัฒนาการของสังคมจากอดีตจนถึงปจั จบุ นั

๗๕

๒.๔.๑ การละเล่นของเด็ก เด็กโดยทั่วไปรักการเล่นเป็นชีวิตจิตใจ เล่น ได้ทั้งวัน
โดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ของเล่นที่นํามาใช้เล่นส่วนใหญ่ไม่ต้องซื้อหา เด็กจะหาหรือทำขึ้นเองเป็นส่วน
ใหญ่ จากวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ การประดิษฐ์เสริมแต่งของเล่นได้ฝึกให้เด็กใช้ความคิด
สร้างสรรค์ นําสิง่ ที่ไร้คา่ มาทําใหม้ ีคุณค่า สะท้อนความเปน็ ไปทางสงั คม และวัฒนธรรมของท้องถิ่น
การละเล่นของเด็กในจังหวัดสระแก้ว มีการเล่นทั้งกลางแจ้งและ ในร่ม คล้ายคลึงกับการเล่นของ
เด็กในภาคกลางโดยทว่ั ๆ ไป แตช่ ือ่ ของการละเล่น วิธีการ อปุ กรณ์ และบทร้องอาจผิดแผกแตกต่าง
กันไปตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น หมุน นาฬิกา ปลาหมอตกกระทะ กาฟักไข่ เสือตกถัง
แย้ลงรู ไม้หง่ึ ขี่มา้ หลงั โปก ตาเขยง่ ไม้โบละ ขาโดกเดก เดินกะลา หมากเก็บ เปา่ กบ ตบแผละ อีตัก
จี้จี้ จีจ่อเจี๊ยบ ปิดตาตีปีบ ปิดตาต่อหาง เก้าอี้ดนตรี ขายแตงโม ลิงชิงบอล ขี่ม้าก้านกล้วย แมงมุม
วิ่งกระสอบ วิ่งสามขา วิ่งเบี้ยว ขี่ม้าส่งเมือง กระโดดเชือก ที่จับ เตย แตะหุ่น ลูกข่าง ลูกดิ่ง ลูกแก้ว
หยอดหลุม ลอ้ ตอ๊ ก มะลือกก๊อกแกก มอญซอ่ นผ้า งูกินหาง รีรีขา้ วสาร เป็นต้น ตวั อยา่ ง การละเล่น
ทีน่ ยิ มในจังหวัดสระแก้ว

๒.๔.๒ การละเล่นของผใู้ หญ่ เป็นภาพสะท้อนถึงวิถีชีวติ ทีแ่ สดงออก
ถึง ความสัมพันธ์ของผู้คนสร้างความสมัครสมานสามัคคีและเป็นกีฬาเพื่อความเพลิดเพลิน
การละเล่นของผใู้ หญ่ในจังหวัดสระแก้ว มีลักษณะที่หลากหลายผสมผสาน เนื่องจากผู้คนในจังหวัด
สระแก้ว นอกจากจะมีผคู้ นในท้องถิ่นแล้ว ยังมผี คู้ นทีอ่ พยพมาจากภูมิภาคต่างๆเปน็ จำนวนมาก จึง
มีการนําเอาการละเล่นดั้งเดิมมาปรับปรุงให้เข้ากับถิ่นใหม่ จนกลายเป็นการละเล่นที่มี
ลักษณะเฉพาะท้องถิ่น และลักษณะร่วมกับภูมิภาคต่าง ๆ จัดแบ่งประเภท อย่างกว้างๆได้แก่ กีฬา
ดนตรี มหรสพ เพลงพื้นบ้าน ซึ่งยกตัวอยา่ งให้เหน็ พอสงั เขป ดังน้ี

กีฬาพื้นบ้าน เป็นกิจกรรมหรอื การละเล่นของชาวบ้านเพื่อ
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทําให้รา่ งกายแข็งแรง หรือเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด แต่มีลักษณะ
ที่เป็นระบบ มีกฎกติกา กีฬาพื้นบ้านเกือบทุกชนิดมีการแข่งขันกันเพื่อประลองความสามารถ และ
ตัดสินผลแพ้ชนะหรือเสมอกัน ด้วยเหตุ ดังกล่าวกีฬาพื้นบ้านบางประเภท จึงมีการพนันร่วมอย่ดู ้วย
อย่างไรก็ตาม กีฬาพื้นบ้านมีส่วนในการสร้างระบบความสัมพันธ์ของชาวบ้าน สร้างความสามัคคี
ปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา การละเล่นบางชนิดต้องอาศัยพลังความร่วมมือร่วมใจกัน กีฬา
พืน้ บ้านของจังหวัดสระแก้วทีร่ ู้จักกนั ดี ได้แก่ ตะกร้อ ชกั คะเย่อ วิ่งกระสอบ แย้ลงรู หมากรุก ชนไก่
ฯลฯ

๗๖

. ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดสระแก้วมีหลายประเภท เพราะ
ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากชาวสระแก้วส่วนใน อพยพมาจากท้องถิ่น
ต่าง ๆ เมื่อเข้ามาอยู่ในจังหวัดสระแก้ว ก็ได้นําเอาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเข้ามาด้วย กลุ่ม
วัฒนธรรมที่สําคัญ ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมทาง ภาคกลาง เช่น วงปี่พาทย์ วงเครื่องสายไทย วง
กลองยาว วงดุริยางค์ แตรวง กลุ่มวัฒนธรรมหมอลํา เช่น พิณ แคน วงพิณแคนประยุกต์ หมอลํา
หมอลาํ ซิง กลุม่ วฒั นธรรมเจรียงกันตรมึ เชน่ อายัย กนั ตรึม และกลุม่ เพลงโคราช เช่น การรอ้ งเพลง
โคราช ในทีน่ ้ีจะขอ

งว้ิ หรืออปุ รากรจีน เปน็ การแสดงทีผ่ สมผสานการขับร้อง และการเจรจา
ประกอบกับลีลาทา่ ทางของนักแสดงให้ออกเปน็ เรือ่ งเป้นราว คนชาติพนั ธจ์ุ ีนในอรัญประเทศ จงั หวัด
สระแก้ว นิยมจัดการแสดงงิ้ว ในงานแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่เขาน้อย ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึง
ธันวาคม ของทกุ ปี

๒.๕ ศาสนา พิธีกรรม และความเชือ่
ศาสนาและความเชื่อเป็นสิ่งทีม่ ีอยู่กับสงั คมมนุษย์มาตั้งแต่สมยั โบราณ เนื่องจากเป็นเครื่อง
บํารงุ ขวัญและสร้างกาํ ลังใจให้ สามารถฟนั ฝ่าอุปสรรค และภยนั ตรายนานาชนิด ทั้งทีเ่ กิดจากน้ำมือ
มนุษย์ด้วยกันเอง และ ภัยธรรมชาติ คนในสังคมเดียวกันย่อมรับนับถือในความเชื่อ สัทธิ และ
ศาสนาเดียวกนั เพราะมี แนวความคิด กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ และศีลธรรมจรรยาเดียวกัน ซึ่งเปน็
เครื่องกําหนด ให้คนไทยในท้องถิ่นอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต
ความ เจริญงอกงามของสงั คมแตล่ ะสงั คม และเป็นพืน้ ฐานในการกําหนดกฎเกณฑ์ตา่ ง ๆ ของสงั คม

๒.๕.๑ ศาสนาในจังหวัดสระแก้ว ศาสนา ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับ
ราชบณั ฑติ สถานได้ใหค้ วามหมายไว้ว่า หมายถึง ลัทธิความเชอ่ื ของมนุษย์อนั มีหลกั แสดงถึงกําเนิด
และความสิ้นสุดของโลก แสดงหลักธรรมและพิธีกรรมที่กระทําตามความเห็น หรือความเชื่อนั้น ๆ
สามารถแบง่ ศาสนาออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มศาสนาที่มลี ักษณะ เป็นสากลเป็นทีย่ อมรับกนั ท่ัว
ๆ ไป ทั้งในระดับสังคม และระดับโลก ศาสนาในกลุ่มนี้ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนา
คริสต์ ศาสนาฮนิ ดู

- ศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ในจังหวัดสระแก้ว ในสมัย โบราณเขตจังหวัด
สระแก้วเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้อํานาจการปกครองของเขมร ซึ่งเขมรเป็น ศูนย์กลางของศาสนา
ฮินดูในแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่ราวศตวรรษที่ ๗-๘ ทั้งนี้ สันนิษฐานว่า เขมรได้รับอิทธิพลมาจาก
อินเดียอีกทอดหนง่ึ ดังจะเหน็ ได้จากโบราณวัตถุ โบราณสถาน ในเขตอาํ เภอตาพระยา อรัญประเทศ

๗๗

วัฒนานคร กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีทั้งลัทธิ ไวษณพนิกาย และไศวนิกาย นอกจากนี้จะเห็นได้
วา่ มีความเช่อื ตามคติพราหมณ์สอดแทรก อยูใ่ นวิถีชีวติ ของชาวบ้านอยูม่ าก เชน่ การต้ังศาลพระภูมิ
เจ้าที่ การทําขวัญนาค การถือฤกษ์พานาที ต่อมาเมื่อเขมรเริ่มเสื่อมอํานาจลง อิทธิพลของศาสนา
พุทธเริ่มเข้า มาแทนที่ ศาสนาพราหมณ์ได้ถูกปรับผสมผสานกลมกลืนไปกับพุทธศาสนา หลอม
รวมกัน กลายเป็นความเชื่อแบบไทย ๆ ขึ้น คือคนไทยไหว้พระ ขณะเดียวกันกก็ ราบไหว้ศาล เทวรูป
ต่าง ๆ ด้วย พิธีกรรมต่าง ๆ จงึ มที ั้งพุทธและพิธีพราหมณ์ ฮินด)ู ผสมกันไป

- พุทธศาสนาในจังหวัดสระแก้ว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าพุทธ
ศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาในพืน้ ที่ซึ่งเป็นจังหวัดสระแก้วต้ังแต่ยุคอาณาจักรทวารวดี และลพบุรีต้ังแต่
ศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา เช่น ได้มีการขุดพบเศียรพระพิมพ์ซึ่งมีรูปแบบ ศิลปะลพบุรี บริเวณ
เขตอําเภอเขาฉกรรจ์ พระพุทธรูปปางนาคปรกรูปแบบศิลปะลพบุรีและ ทวารวดี ในเขตอําเภอตา
พระยา เป็นต้น

- ศาสนาคริสต์ในจังหวัดสระแก้ว ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ศาสนาคริสต์เข้า
เผยแพรใ่ นจงั หวดั สระแก้วเมือ่ ใด แตต่ ามหลกั ฐานทางประวัติศาสตร์ ศาสนาครสิ ต์เผยแพร่เข้ามาใน
ดินแดนแถบนี้พร้อมกับการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก หลังจากที่ไทยต้องเสียเขมรส่วนใน
คือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศส ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว แต่ต่อมาเกิดความวุ่นวายภายในกัมพูชาขึ้น เป็นเวลานานหลายสิบปี ทําให้การเผยแผ่
ศาสนาคริสต์ชะงักลง นิกายของศาสนาคริสต์ ที่สําคัญในจังหวัดสระแก้ว คือ นิกายคาทอลิค และ
โปรเตสแตนต์ โดยนิกายคาทอลิคจะได้รับ ความเชื่อถือมากกว่า ในปัจจุบันจะสามารถพบโบสถ์
คริสต์ได้หลายแห่งในจังหวัดสระแก้ว เช่น ที่อําเภอเมืองสระแก้ว อําเภอวังน้ำเย็น อําเภออรัญ
ประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในเขตที่มีผู้อพยพตามแนวชายแดน
การเผยแพร่ศาสนาคริสต์อาจ เข้ามาพร้อมรูปแบบการจัดการศึกษาในรูปโรงเรียนเอกชนตาม
หมูบ่ ้านต่าง ๆ มีการประกอบ ศาสนกิจให้เห็นอยบู่ ้าง เช่น สวดมนตว์ ันอาทิตย์ วนั คริสตม์ าส เปน็ ต้น

- ศาสนาอิสลามในจังหวดั สระแกว้ จากข้อมูลของจงั หวดั สระแก้วพบ
วา่ ในจังหวดั สระแก้วมีชาวมุสลิมอาศัยอยูบ่ ้างแต่ไมป่ รากฏศาสนสถานที่ใช้ใน การประกอบพิธีกรรม
มีการพบซากมัสยิด อยู่ในเขตตําบลคลองน้ำใส อําเภออรัญประเทศ ถูกทิ้งให้รกร้าง สันนิษฐานว่า
การเข้ามาของศาสนาอิสลามในจังหวัดสระแก้ว น่าจะเข้ามา พร้อมกับการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
ของพวกแขกปาทาน ซึง่ ประกอบอาชีพเลี้ยงววั ตามเขต อําเภอวฒั นานคร วังนำ้ เยน็ ซึ่งมีลกั ษณะภูมิ

๗๘

ประเทศและพืชพรรณธรรมชาติ เหมาะแก่การ ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ นิกายที่พบส่วนใหญ่เป็น
นิกายสุหน่ี เหมอื นกบั มุสลิมในไทยทวั่ ๆ ไป

๒.๕.๒ ความเชือ่ ความเชื่อของคนแต่ละท้องถิน่ เกิดจากปญั หาในการดาํ รงชีวติ
ประจําวัน เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เกิดภัยธรรมชาติ ปัญหาเหล่านั้นเกินขีดความ สามารถที่ คน
ธรรมดาจะแก้ไขได้ คนจึงเกิดความเชื่อว่าน่าจะมีอํานาจลึกลับเหนือธรรมชาติ บันดาลให้เป็นไป
เช่นนั้น อํานาจนั้นอาจจะมาจากเทพเจ้า ภูติผีปีศาจ วิญญาณ สัตว์ป่า พระอาทิตย์ พระจันทร์
ดวงดาว ตลอดจนดิน น้ำ ลม ไฟ ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภัยพิบัติ จึงได้มีการวิงวอนขอความ
ช่วยเหลือจากอํานาจลึกลับโดยเชื่อว่าถ้าบอกกล่าวหรือทําให้พอใจ อาจจะช่วยให้ปลอดภัย เมื่อพ้น
ภัยก็จะแสดงความรู้คุณด้วยการเซ่นสรวงบูชา หรือประกอบ พิธีกรรมต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วชาว
สระแก้วมีความเชื่อและมีพิธีกรรมในเรื่องต่างๆ หลากหลาย ตามคติของแต่ละกลุ่มชน แต่โดย
ส่วนใหญ่จะมีความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมและความเชื่อ ในเรื่องโชคลาง ความฝัน ปรากฏการณ์
ธรรมชาติ ลักษณะของบุคคล ภตู ผิ ปี ีศาจ รวมจนถึง เครื่องรางของขลัง เช่น

• ความเชื่อเร่อื งเครอ่ื งรางของขลัง
- หวาย หวายทีถ่ กั รอบลกู นิมิตโบสถ์เมื่อได้รบั การปลุกเสก หลงั จาก
ตดั ลูกนิมิตแล้ว นํามาตดั เป็น ทอ่ น ๆ ประมาณ ๑ นิว้ ถือวา่ เปน็ ของศกั ดิ์สิทธิ์ให้คุณแก่ เป็นเจ้าของ
ถ้าเป็นท่อนที่ไมข่ งั ขอ้ ให้คุณด้านเมตตามหานิยม ถ้าเป็นท่อนทีม่ ีขอ้ ให้คณุ แก่ ผเู้ ปน็ เจ้าของด้านอยู่ยง
คงกระพัน กนั ผีสาง ป้องกันเหตุรา้ ยตา่ ง ๆ
- เขีย้ วหมูตันและนอแรด เขี้ยวหมูตันและนอแรดที่ผ่าน พิธีปลุกเสก
แล้ว จะให้คุณแกเ่ จ้าของในทางคงกระพนั ชาตรี
- เหล็กไหลและว่าน เมื่ออมไว้ก่อนที่จะมีการตอ่ สู้ หรอื ฝังไว้ ในร่างกาย
จะเพิม่ ความคงกระพนั อาวุธชนิดใด ๆ กไ็ ม่สามารถทําอนั ตรายได้
• ความเชือ่ ของชาวไทยญอ้ , ไทยลาว, ไทยเขมร
- ความเชือ่ และความศรัทธาในพุทธศาสนา ชาวไทยญ้อ มีความเชอ่ื
และความศรัทธาในพุทธศาสนาค่อนข้างสูง เพราะสังเกตได้จากการสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการ
เปรียญขนาดใหญ่ อาณาบริเวณวัดกว้างขวาง สะอาด อุปกรณ์ข้าวของ เครื่องใช้ในวัดมีครบ
สมบูรณ์ ได้รับการดูแลจากชาวบ้านเป็นอย่างดี พระสงฆ์ได้รับการยกย่องเคารพบูชาจากชาวบ้าน
จะมีการจัดสรรกันว่าในแต่ละครัวเรือนมีหน้าที่ที่จะต้องนํา อาหารมาถวายพระที่วัด ทั้งในเวลาเช้า

๗๙

และเพลเป็นประจํา และในวันพระจะมีผู้คนมาทําบุญ รักษาศีล ฟังธรรมที่วัดเป็นจํานวนมาก วัดจึง
เป็นที่พบปะสมาคมกันระหวา่ งคนในหมบู่ ้าน กับคนตา่ งท้องถิ่นในเทศกาลตา่ ง ๆ ที่เกี่ยวกับศาสนา

- ความเชื่อเกี่ยวกบั ผี แมใ้ นปัจจบุ ันชาวไทยญอ้ จะหันมา นบั ถือพทุ ธ
ศาสนาและประพฤติปฏิบัติเช่นเดียวกับชาวพุทธโดยทั่วไปแล้ว แต่ชาวไทยย้อก็ยัง คงมั่นคงในการ
นับถือผี ยังประกอบพิธีกรรมปะปนกันทั้งทางผีและทางพุทธ จนเรียกได้ ว่าเป็นพุทธปนผีหรือพุทธ
แบบผี พิธีกรรมต่าง ๆ ในวิถีชีวิตของชุมชนจะเกี่ยวข้องกับการไหว้ผี มากที่สุด และผีสําคัญที่สุดที่
ชาวบ้านในหมบู่ ้านคอื ผปี ระจําหมู่บ้าน

• ความเชือ่ ของชาวไทยเขมร
การรำแม่มด หรอื เรอื มมม๊วด เป็นพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายเขมร โดย
มีความเชื่อว่า บรรพบุรุษที่ตายไปแล้ววิญญาณยังคงวนเวียนอยู่ เพื่อคอยช่วยเหลือลูกหลาน และ
หากลูกหลานคนใดประพฤติผิดจารีตประเพณี หรือทำไม่ดี ก็จะได้รับการลงโทษจากบรรพบุรุษให้
ได้รับความเดือดร้อน เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น เมื่อลูกหลานเจ็บป่วยจะบนบาน และหากหายก็จะแก้
บนด้วย การเลน่ รำแมม่ ด โดยจะประกอบพิธีชว่ งเดือน ๓ -๔ หลงั จากฤดเู ก็บเกี่ยวแล้ว ในพิธี
จะเชญิ แขกมาร่วม หรอื ญาตพิ ีน่ อ้ ง
เครื่องดนตรีทีใ่ ชใ้ นการเลน่ จะมี 2 ลักษณะตามฐานะ
ของเจา้ ภาพหากเจา้ ภาพเป็นผู้มฐี านะดี จะใช้เคร่ืองดนตรี
วงใหญ่ประกอบไปด้วย
กลองโทน 3 ใบ ซอด้วง 1 สาย ฆ้อง 24 นวิ้ 1 ใบ
กรบั 1 คู่ ขลุ่ยเพียงออ 1 เหลา คนเจรียง(คนร้อง) 2 คน เครื่องดนตรีสำหรับเจ้าภาพที่ฐานะไม่ค่อย
ดี ประกอบด้วย กลองยาว 1 ใบ ซอด้วงหรอื ซออู้ 1สาย กรบั 1 คู่ คนเจรียง 1-2 คน
อำเภอตาพระยา บ้านตนุ่ ตำบลบ้านดา่ น บ้านหนองบวั ใต้ ตำบลหันทราย อำเภออรัญประเทศ
จะประกอบพิธีกรรมนี้
๒.๕.๓ พิธีกรรม

• พิธีเลี้ยงผีเทวดาของชาวไทยญอ้ ในจงั หวดั สระแก้ว จุดประสงค์ ของการทํา
พิธีเลี้ยงผีเทวดา เพื่อมิให้พวกผีตามมารังควาน จะได้อยู่เป็นสุขภายในหมู่บ้านและ ถือโอกาสเป็น
การเสี่ยงทายทํานายอนาคตของคนในหมู่บ้านที่ต้องการจะตรวจดวงชะตาด้วย ระยะเวลาในการทํา
พิธีจะต้องเป็นเดือน ๔ ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อม ของผู้กระทําว่าจะว่างในยาม

๘๐

ใดด้วย แต่ต้องเป็นภายในเดือน ๔ เวลาที่เริ่มทําพิธีจะเป็น ช่วงเย็น คือ ประมาณ ๑๖.00-๑๙.๐๐
นาฬิกา ถ้าผีที่เข้าทรงมีจํานวนมากก็ต้องใช้เวลานาน กว่านี้ และอาจจะใช้เวลาในตอนเช้าของ
วนั รุ่งข้ึนอกี คร้ัง คือประมาณ 5.00 - ๔.00 นาฬิกา

การทําพิธี ผกู้ ระทาํ พิธีหรือรา่ งทรงจะจดุ ธูปเทียน หยิบข้าวสาร โปรย น่ังพนมมือ
ในขณะทําพิธีจะมี ผเู้ ป่าแคนอยู่ตลอดเวลา เมื่อผีเข้าแล้วจะมีผู้เข้ามาชว่ ย แต่งกายให้ จากนั้นผู้ทรง
ก็จะเลือกพวงมาลัยดอกไม้มาสวมหัวแล้วจึงร่ายรํา การหยิบ พวงมาลัยชอบพวงไหนก็หยิบพวงนั้น
ขึ้นมา แล้วร้องเป็นคําทํานายว่าเจ้าของพวงมาลัยจะมี เนื้อคู่อย่างไร จะผิดหวังหรือสมหวัง
นอกจากนี้ถ้าต้องการให้ทํานายโชคชะตาก็ได้ โดยคนที่จะให้ทํานายต้องใส่เงินค่ายกครู หรืออาจใช้
เหล้าแทนกไ็ ด้

พิธีกรรมอันเกีย่ วเนือ่ งกับความเชือ่ เร่อื งขวัญ ความหมายทีใ่ ชก้ นั หมายถึง
ผมทีข่ ้ึนเวียนเป็นก้นหอยบนศีรษะ นอกจากนีย้ ังกินความไปถึง วิญญาณหรือสิ่งที่ไม่มีตัวตนประจํา
กายคนและสัตวม์ าตั้งแต่แรกเกิดชาวอีสานนิยมเรียกสิ่งที่ตนรักมากว่า ขวัญ เช่น ลูกขวัญ เมียขวัญ
ของขวัญ เสาขวัญ นาขวญั ข้าวขวญั พิธีทําขวัญวา่ หมอขวัญ หรอื พราหมณ์ พิธีเรียกขวญั ให้มาอยู่
กับตนเรียกวา่ สู่ขวัญ คำสขู่ วญั เรียก สูตรขวัญ

พิธีสขู่ วัญทาํ ขึน้ เพื่อความเป็นมงคลในชวี ิต ท้ังในยามประสบโชคและ
ประสบเคราะห์ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ย้ายที่อยู่ ไปค้าขายได้เงินทองมาก ประกอบการงานเป็น
ผลสําเร็จได้ลาภ ยศ เกียรติ หรอื เสื่อมลาภ ยศ เกียรติ

๒.๖ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง การประพฤติ
ปฏิบัติของคนกลุ่มใดกลุ่มหนง่ึ โดยกําหนดเปน็ แบบแผนสืบเนื่องกนั มาจนเปน็ ลักษณะเฉพาะของคน
กลุ่มนั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี จึงเป็นสิ่งที่คนไทย
ยึดถือปฏิบัติต่อๆ กันมาจนเป็นที่ยอมรับในสังคมจังหวัดสระแก้วมีขนบธรรมเนียมประเพณีของ
ท้องถิ่น ซึ่งลักษณะทางสังคม วัฒนธรรมของสระแก้ว ระยะแรกได้รับอิทธิพลจากเขมรที่นับถือ
ศาสนาพราหมณ-์ ฮินดู และ การบชู าเทพเจ้า เทวรปู ตา่ งๆ

๒.๖.๑ ขนบธรรมเนียม
การแตง่ กาย การแตง่ กายของผู้คนในจังหวัดสระแก้ว ใน ระยะแรก ได้รบั

อิทธิพลจากเขมร ผชู้ ายจะนุ่งผ้าเป็นแบบถกเขมร ไมส่ วมเสือ้ ผหู้ ญิง สีคล้ายผ้าซิน่ ไม่เย็บข้าง เวลา
น่ังจะตวัดชายท้ังสองไว้ด้านข้างแล้วคาดเข็มขัดทบั ใช้ผ้ารงั แทนเสือ้ ม่นั ผม ตอ่ มาเริ่มปล่อยผมยาว

๘๑

ปะบ่า เมื่อรับวัฒนธรรมสมัยอยุธยา ผู้ชายจะ โจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมแขนสามส่วน ผมทรง
หลักแจว ผู้หญิงนุ่งผ้าจีบและผ้ายกห่มสไบ และห่มผ้าแถบเวลาอยู่บ้าน ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม ใน
ปัจจุบันการแต่งกายของชาวสระแก้ว เป็นการแต่งกายแบบสากล ตามปกติจะแต่งตัวตามสบาย ไม่
พิถีพิถันมากนัก แต่สุภาพทั้งแบบและสีของเสื้อผ้า ผู้ชายใส่ชุดสากลหรือ ชุดพระราชทาน ส่วน
ผหู้ ญิงจะนิยมนุ่ง ผา้ ถุง ประเภท ผา้ ซิน่ ผา้ ทอ กางเกง กระโปรง สวมเสื้อสําเร็จรปู เสื้อยดื หรอื สวม
เป็นชุดทํางานตามสมยั นิยม

นอกจากนี้ ชาวสระแก้วยังมีการแตง่ กาย ของกลุม่ ชนตา่ งๆ เชน่ การแตง่ กายของชาวไทยญ้อ
ชาวไทยเชอื้ สายจีน ชาวไทยเช้ือสายเวียดนาม ชาวไทยเชือ้ สายเขมร ซึง่ มีเอกลักษณ์เฉพาะ
การแตง่ กาย
การแต่งกายของชาวไทยญอ้

ชาย สวมกางเกงขากว๊ ย ทาํ ด้วยผ้าฝ้ายย้อมดว้ ยสีครามหรอื สีดํา ทว่ั ไปของ ชาวสระแก้ว
ผสู้ งู อายอุ าจนงุ่ โสร่ง ผ้าฝ้าย หรอื ผ้าไหม สําหรับผมู้ ีฐานะดี ในเวลาทํางานในหมบู่ ้าน ไปไรไ่ ปนา จะ
นงุ่ กางเกงขาสั้น มีความยาวเลยเข่าเล็กน้อย อาจใช้สคี ราม สีขาว หรอื นุง่ โจงกระเบน ชาวญ้อ
เรียกว่า ผ้ายาว หรอื ผ้าเขิน ทาํ ดว้ ยไหม จะนุ่งในโอกาสพิเศษ เสื้อใชท้ ั้งไหมและฝ่ายตามฐานะทาง
สงั คม และโอกาสในการใชง้ าน

๘๒

หญิงนุ่งผ้าถุง เรียกว่า ซิ่นคั่น มีทั้งชิ้นคั่นฝ้ายและชิ้นคั่นไหม เรียกตามวัสดุที่ทอ จะต่อ
หัวตอ่ ตนี ด้วยผ้าฝ้ายสีดํา ผมู้ ีฐานะจะใช้ชิน้ คั่นไหม นุ่งไปงานบุญ หรอื ในโอกาสพิเศษ เสื้อจะตัดเย็บ
ด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ตัดเป็นเสื้อแขนกะ ผ่าอกติดกระดุมหน้า เสื้อยาวลงมาคลุมสะโพก ไม่มี
กระเป๋า นิยมสีนวล สีครีม เวลาอยู่บ้านจะใส่เสื้อห้อย เป็นเสื้อที่จับจีบบริเวณด้านหน้าอก และ
ด้านหลัง แขนเสื้อเป็นเส้นเล็กๆขนาดเท่าสายเสื้อชั้นใน สวมหัว ความยาวของตัวเสื้อเลยเอวลงมา
เล็กน้อย ปล่อยชายเสื้อเวลาออกนอกบ้านจะสวมเสื้อที่มีแขนทับภายนอก เวลาทําบุญจะพาดผ้า
เบี่ยงที่ไหล่ซ้าย ทิง้ ชายลงมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพือ่ ประกอบชุดใหส้ วยงามในโอกาสพิเศษ ถ้า
เปน็ งานบญุ ใช้ผ้าเบีย่ งสีขาว

เครือ่ งประดบั นิยมใชเ้ ขม็ ขัดเงินหรือนาก โดยเฉพาะผสู้ ูงอายุ มักใช้ตมุ้ หเู พชรซีก รปู ตุ้มหู
เปน็ ก้านย้อยห้อยลงมาที่ตง่ิ หู ทาํ เป็นรปู ดอกไม้ลายดอกพิกุล

การแตง่ กายของชาวไทยเชื้อสายจีน
ชาย สวมกางเกงแพรขาก๊วย (บึงลิน้ ) สีเข้ม เวลานงั่ ใชเ้ หนบ็ ปมผ้า ทีบ่ ้ันเอว
หรอื คาดเขม็ ขัดทับ สวมเสื้อกุยเฮงสีขาว ในโอกาสพิเศษจะสวมเสือ้ คอต้ัง
แขนสั้น สีขาว สีแดง ตามแต่โอกาส (คล้ายเสื้อพระราชทาน) สวมกางเกง
ขายาวสีขาว

หญิง น่งุ กางเกงขากว๊ ยสีเข้ม สวมเสื้อคอจนี ตดั เย็บด้วยผา้ แพร ติดกระดุม
เฉียงจากคอลงมาด้านข้าง ชายเสื้อคลุมสะโพก ผ่าด้านข้างซ้ายขวามา
จนถึงเอวแขนเสื้อยาวปลายบานเล็กน้อย สีของเสื้อจะใช้สีอ่อน เช่น ชมพู
ฟ้า ขาว ในบางโอกาส จะสวมกางเกงขาก๊วย และเสื้อตามสมัยนิยมที่ตัด
เยบ็ จากผ้าชิน้ เดียวกัน หรอื ในโอกาสพิเศษ จะสวมชุดกี่เพ้า
เครื่องประดบั แล้วแตฐ่ านะของบคุ คล แต่ทีผ่ ู้หญิงนยิ มมากคือ
เครือ่ งประดับทีท่ าํ จากหยก

การแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
ชาย สวมกางเกงแพรขาก๊วย (บึงลิ้น) สีดํา สวมเสื้อคอตั้ง

ชิด (คล้ายกับเสื้อคอจีนหรือคอพระราชทาน) ติดกระดุมเสื้อเฉียง
จากคอมาใต้รกั แร้ ตวั เสื้อ ยาวคลมุ เข่า ชายเสือ้ ข้างซ้ายและขวา

๘๓

ผา่ ข้างจนถึงเอวนิยมสวมเสือ้ สีเข้ม เชน่ ดาํ น้ำตาล เทาเข้ม และใช้ผ้าโพกศีรษะ สีเดียวกับเสื้อ สวม
รองเท้าสานรดั ส้น เครื่องแตง่ ของชาย เรียกว่า คังด๊งอ๊าวแท จะสวมในโอกาสพิเศษ เวลาอยูบ่ ้านจะ
สวมเสื้อยืดคอกลมสีขาว นุง่ กางเกงแพรขากว๊ ยสีดํา
หญิง นุ่งกางเกงขาก๊วยสีขาว ตัดเย็บด้วยผ้าแพร สวมเสื้อคล้าย เสื้อของซายแต่ตีเกล็ดให้โค้งเข้า
บริเวณเอว ใช้สีสดใส เวลาออกนอกบ้านจะสวมหมวกทรง กรวยเรียกว่า หมวกญวน (หมวกล้า)
หรือใช้ผ้าแพรสีอ่อนโพกศีรษะ จะแต่งกายชุดนี้ใน โอกาสพิเศษ เรียกว่า อ้าวหญ่าย เวลาปกติ นุ่ง
กางเกงขากว๊ ยสีเข้ม สวมเสื้อคอกลมผ่าหนา้ ติดกระดุม แขนยาวในตัว เรียกวา่ อ้าวบ่าบา
การแต่งกายของชาวไทยเชือ้ สายเขมร

ชาย นุ่งโสร่งตาหมากรุก โสร่งไหม แล้วแต่ฐานะและ
โอกาส สวมเสื้อคอกลมสีขาว ผา่ หนา้ ติดกระดุม แขนสนั้ มี
กระเป๋าด้านหน้าบริเวณชายเสื้อ ๒ กระเป๋า ชายเสื้อทั้ง
ซ้ายและขวาผ่าข้างเล็กน้อย นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า ทรง
ผมนิยม ตดั ผมส้ัน

หญิง นุ่งผ้าถุงโสร่งลายดอกไม้ ยาวกรอมเท้า แขนกระบอก ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายสีอ่อน เวลาอยู่บ้าน
จะใส่เสื้อคอกระเช้า กนั แตดเวลาออกนอกบ้าน
การแตง่ กายของชาวไทยเชือ้ สายลาว

การแตง่ กายของคนชาติพันธล์ุ าว ในบ้านหนทรายนิยมทอผ้าเพือ่ สวมใส่เองโดยเสื้อทอด้วย
ผา้ ฝา้ ย หรอื ผา้ ไหม ย้อมด้วยครามจนกลายเปน็ สีดำแต่งดว้ ยผ้ากุ๊นบริเวณชายผ้าและแขน กระดุม
เสื้อ ในอดีตใช้เงนิ มาทำ ผัจจบุ ันได้ดดั แปลงนำเหรยี ญบาทมาเจาะรเู พื่อเปน็ กระดมุ ทบั ด้วยสไบหรอื
ผา้ เบีย่ งมราทอด้วยผ้าฝ้ายหรอื ผ้าไหม นิยมทอเปน็ ลวดลายตา่ งๆทีเ่ กีย่ วข้องกับวิถีชีวติ และความเชื่อ
ปัจจุบนั ลวดลายที่พบเห็น คือ ลายนกสองตีน ลายนาคน้อย ลายนาคขอ ลายเยวเยี้ยวควาย เป็นต้น
นอกจากนีย้ งั นิยมสวมเครือ่ งประดบั เงิน

๘๔

• อาหารการกิน อาหารการกินโดยทั่วไปของคนในจังหวัดสระแก้ว มีความหลากหลาย
เนื่องจากการอพยพเข้ามาอยอู่ าศยั ของผคู้ นหลายภาคและหลายกลุ่มด้วยกัน ซึง่ จำแนกประเภทของ
อาหารได้
อาหารของชาวไทยเชือ้ สายจีน
หมีซ่ ั่ว เปน็ อาหารคาว ที่กลุ่มคนไทยเชือ้ สายจนี
เชอ่ื ว่าเส้นหมี่จะเปน็ ตวั แทนของความย่งั ยนื เส้นที่
นำมาผดั จะไมม่ ีตดั เส้นกลมุ่ ชาติพันธ์จุ ีนถือว่าเปน็
อาหารมงคลเปน็ การอวยพรใหแ้ กผ่ รู้ ับใหม้ ีอายมุ น่ั ขวญั ยืน
เหมอื นดงั่ ความยาวของเส้นหมี่
ก๋วยเตี๋ยวหลอด “ซาโหฝ่ัน” ที่มลี กั ษณะเปน็ การนำแป้ง
ข้าวจ้าวมานึ่งจนกระท่ังเปน็ แผน่ แป้ง
มีการตดั เปน็ เส้นและนำเส้นเหล่านมี้ าผดั พร้อมปรุงรส
จนกลายเป้นเส้นก๋วยเตี๋ยวแหง้ ทีร่ บั ประทานกนั ในเฉพาะ
มณฑลกกวางตุ๋ง
บ๊ะจาง หรอื “ขนมจ้าง” คือขา้ วหอ่ ด้วยใบไม้
เป็นอาหารจนี ทำด้วยข้าวเหนียวใส่หมหู รอื หมแู ดง
กับถว่ั หรอื เม้ดบัวและเครื่องปรุงต่างๆผัดแล้วหอ่ ดว้ ย
ใบไผ่มดั เป็นทรงสามเหลีย่ ม ใช้เชือกมดั แลว้ นึง่ ให้สกุ
ซึ่งแตล่ ะท้องถิ่นกจ็ ะทำไส้แตกต่างกนั ไป

ซาลาเปา อาหารเชา้ ของชาติพนั ธจ์ุ ีน ทำมาจากแป้ง
สาลแี ละยีสต์ ผ่านกระบวนการน่งึ รอ้ นๆออกมา
เป็นแป้งนุ่มๆเชื่อกนั วา่ มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศซ์ ้อง
ต้นกำเนิดของซาลาเปามาจากก้อนแป้งนึ่งทีเ่ รยี กว่า
“หมา่ นโถว”

๘๕

อาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
อาหารเวียดนาม แสดงออกถึงอตั ลกั ษณข์ องคนชาติพันธุ์
เวียดนามได้เป็นอยา่ งดี สำหรบั ร้านอาหารเวีนดนาม จะมี
กระจายอยู่ในเขตเทศบาลเมืองอรญั ประเทส หากมา
ท่องเที่ยวทีอ่ รัญประเทศ อาหารที่ต้องลองรับประทาน
คือ“จา้ วหล่อง” เป็นข้าวต้มเลือดหมู เวลารบั ประทาน
จะใส่ถั่วงอก เครื่องในหมูหั่นเป็นชิ้นเล็กๆต้นหอม ผักชีหั่นฝอยเลือดหมูหั่นเป็นชิ้นพอคำแล้วปรุงรส
ตามใจชอบ

คนชาติพันธเ์ุ วียดนามชอบรบั ประทานผกั สด รสชาติไมจ่ ัดมากแตส่ ิ่งที่ขาดไม่ได้คือผกั สด
เชน่ ผักกาดหอม แตงกวา ถ่ัวงอก ผักพราว ใบโหระพา และผกั ต่างๆ

ในท้องถิ่นเปน็ เครื่องเคียงเสมอ คนชาติพันธ์ุ
เวียดนามที่อาศัยในจังหวัดสระแก้ว ส่วน
ใหญ ใหญ่ประกอบอาชพค้าขายโดยเฉพาะร้าน
อาหาร ดังนั้นเพื่อรองรับลูกค้าคล้ายๆกับ
ร้าน ร้านอาหารเวียดนามทั่วไปในประเทศไทยเช่น
บั่นหอย แหนมสด กาจา๋ ฯลฯ

อาห ส่วนอาหารหวานคนไทยเชือ้ สายเวียดนามนิยม
รับประทาน คือ บัวลอยน้ำขิง
เนือ่ งจากทำให้รา่ งกายอบอุน่ ขิงเปน็ ยาแก้หวัด
และท้องอืดได้ดี

อาหารของชาวไทยเชือ้ สายญ้อ
อาหารของคนไทยเชือ้ สายญ้อ อำเภออรัญประเทศ
รบั ประทานข้าวเจ้า เป็นอาหารหลกั ตา่ งจาก
คนไทยเชือ้ สายญ้อในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื อาหาร

๘๖

คล้ายคนไทยเชือ้ สายลาว จะนำสิ่งทีห่ าได้ตามธรรมชาติ เช่น ต้นกล้วย ขนนุ มาประกอบอาหาร
เชน่ แกงหยวกกล้วย แกงขนุน
อาหารหวานของคนไทยเชื้อสายญ้อ อรัญประเทศมขี นมประจำถิน่ คือ ขนมแนบหรอื ขนมขา้ วโพด

อาหารของชาวไทยเชือ้ สายลาว
อาหารกลุ่มคนไทยเชือ้ สายลาว โดยทั่วไปนั้น มีการปรับปรุงแต่งอาหารน้อยทีส่ ุด เน้นความเรียบ
ง่ายแบบธรรมชาติ รสชาติไม่ค่อยจัดจ้าน รสชาติเค็มนำตามด้วยรสเปรี้ยว วิธีการทำไม่ซับซ้อน
อาหารของคนไทยเชื้อสายลาวเน้นความเรียบง่ายอาหารที่นิยมรับประทานเป็นประจำของกลุ่มคน
คนไทยเชือ้ สายลาวในสระแก้ว คือ

แจว่ ปลาร้า เครือ่ งปรุงประกอบด้วย หอมแดง
กระเทียม พริก ข่า ตะไคร้ ใบกรดู นำไปคั่ว
สับรวมกันใหล้ ะเอียดปรงุ รสด้วยน้ำมะขามเปียก
แจว่ ปลาร้าเปน็ อาหารหลกั ของทุกครวั เรือน นิยม
หอ่ ใส่ใบตองไปรบั ประทานเวลาเดินทางเน่อื งจากเป็นอาหารที่สะดวกในการพกพา

ซุปหน่อไม้ อาหารคนไทยเชือ้ สายลาวบ้านหนั ทราย
ทีน่ ำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรงุ อาหารได้แก่ หนอ่ ไม้เปน็ วตั ถุ
ดิบหลกั ใส่ใบยา่ นางเพื่อปรบั สมดุล
อาหารหวานของชาวไทยเชือ้ สายลาว

ข้าวตม้ มัด เป็นอาหารหวาน และเป็นอาหารที่นิยมทำในงานมงคล
ชาวบ้านเช่อื วา่ “ข้าวต้มมดั ” จะสะท้อนถึงความสามคั คีกลมเกลียว
ให้รักกัน ไม่มีวันจะพรากจากกันงานไหนที่มีการจัดทำบายศรีต้อง
ใสข่ ้าวต้มมดั ไว้ด้วยเสมอ

๘๗

อาหารของชาวไทยเชื้อสายเขมร
อาหารของชาวไทยเชือ้ สายเขมร ชาวไทยเชือ้ สายเขมร
นิยมบริโภคอาหารที่ทำจากวัตถุดิบหลกั ในท้องถิน่
โดยเฉพาะข้าว และปลานำ้ จดื เนือ่ งจากสภาพภูมปิ ระเทศ
มีแหล่งนำ้ อุดมสมบูรณ์อาทิ เชน่ แกงเลียง แกงข้าวคั่ว

อาหารหวานของชาวไทยเชื้อสายเขมร
ขนมเบอื้ ง และขนมกระบกุ

ประเพณีที่คนในทอ้ งถิ่นยึดถือปฏิบตั ิ สงั คมแต่ละแหง่ ได้สรา้ งสมประเพณีทีค่ นใน
ท้องถิ่นต่างยึดถือปฏิบัติร่วมกัน อันเป็นส่วนที่ทําให้คนในสังคมเกิด ความรักใคร่ สามัคคี มีน้ำใจ
ช่วยเหลอื เกอื้ กลู ซึ่งกนั และกนั กอ่ ใหเ้ กิดขนบธรรมเนยี ม ประเพณีท้องถิน่
ประเพณีหรอื พิธีกรรมสำคญั ของคนไทยเชื้อสายจีน

เทศกาลตรุษจนี วนั ตรุษจีน ถือเป็นวนั ขึน้ ปีใหม่ของชาวจีนทวั่ โลก ตามปฏิทินจนั ทรคติ
ประเพณีวนั ตรุษจนี สืบทอดกันมาหลายพนั ปี คนไทยเชือ้ สายจนี ในอำเภออรัญประเทศจะจดั งาน
ทกุ ปีทกุ บ้าน

๘๘

ประเพณีหรอื พิธีกรรมสำคญั ของคนไทยเชือ้ สายเวียดนาม
ระบำงอบ เปน็ ศลิ ปะการแสดงพืน้ บ้านประจำชาติ

ของชาวไทยเชอื้ สายเวียดนามในอรัญประเทศ
การแสดงมีลักษณะทา่ ทางการรำที่ออ่ นช้อยสวยงาม
นกั แสดงจะสวมชุดอา้ วหญ่าย และงอบ
ประกอบทา่ ร่ายรำ ซึ่งประยกุ ต์จากวิถีชีวติ ชาวเวียดนาม

มหกรรมอาหาร ๕ ชาติพนั ธ์ ซึ่งจะจัดขนึ้
ในชว่ งเดือนกุมภาพนั ธข์ องทกุ ปี ที่อำเภออรญั ประเทศ
จากหอนาฬิกาถึง สุดซอยมิตรสัมพนั ธ์

ประเพณีหรอื พิธีกรรมสำคัญของคนไทยเชื้อสายญอ้
แห่ปราสาทผึง้ เปน็ ประเพณีเกา่ แก่ของคนไทยเชือ้ สายญ้อ ซึง่ จะทำในวันออกพรรษาคอื

วนั ขนึ้ ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ คนไทยเชือ้ สายญ้อ จะชว่ ยกันสร้างและตกแต่งปราสาทผ้งึ ให้สวยงามโดย
ใช้ไม้ไผ่เปน็ โครง และรปู ร่างปราสาท แล้วนำต้นกล้วยหรอื กาบกล้วยทำเป็นหลงั คาแกะสลกั เปน็
ลวดลายไทยแล้วนำขีผ้ ้ึงมาละลายหลอมเป็นรปู ดอกไม้โดยใช้แม่พิมพ์จากมะละกอสลักเปน็ ลวดลาย
ที่ตอ้ งจ่มุ ลงในขีผ้ ้งึ เหลว แล้วแชล่ งนำ้ ให้ขผี้ ้งึ แข็งตวั นำไปเสียบบนปราสาทผ้งึ

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นการเฉลิมฉลองปราสาทผึ้ง เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าของ
ปราสาทผ้ึงและคนท่วั ไป จากนั้นจะถวายปราสาทผ้ึงเป็นพุทธบูชาในวันรุ่งข้นึ คอื วนั ขนึ้ ๑๕ คำ่
เดือน ๑๑

๘๙

ศิลปะการแสดงของชาวไทยเชื้อสายญอ้ คือ ฟ้อนไทยญ้อ โดยจะพบในชว่ งเทศกาล
สงกรานตเ์ ดือน เมษายน และเทศกาลสำคัญๆเทา่ นั้น ในชว่ งสงกรานตช์ าวไทยเชือ้ สายญ้อ จะมี
การสรงน้ำพระในตอนกลางวัน โดยมีการตงั้ ขบวนแหจ่ ากคุ้มเหนือไปยงั คุ้มใต้ตามลำดบั ตั้งแตว่ ันข้ึน
๑ ค่ำเดือน ๕ เป็นต้นไปจนถึงวันเพญ็ ๑๕ คำ่ เดือน ๕

ประเพณีหรอื พิธีกรรมสำคัญของคนไทยเชือ้ สายลาว
ประเพณีการเลี้ยงปู่ตา การเลี้ยงปู่ตาเป็นการทําบุญอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้บรรพ

บุรุษที่ล่วงลับไป เพราะเมื่อปู่ตามีชีวิตอยู่นั้นได้สร้างคุณงามความดีไว้กับลูกหลานและสังคม
มากมายหลายประการสังคมมากมายหลายประการ เช่น ให้การเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน ให้เป็นคนดี
สะสมสาธารณสมบตั ิไว้เพือ่ ลูกหลาน ดงั นนั้ เพื่อแสดงถึงความกตญั ญกู ตเวที จงึ มกี ารเลีย้ ง ปตู่ าสืบ
ต่อเปน็ ประเพณี

ประเพณีการลงแขก เป็นประเพณีที่แสดงถึงความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ต่อกันฉันญาติมิตรของ
ชาวชนบท เพราะการลงแขกในภาษาอีสานหมายถึงการไปบอกกล่าว ขอแรงญาติสนิทมิตรสหายให้
มาช่วยทํางาน งานที่จะต้องลงแขกนั้นมีทั้งงานส่วนตัวและ ส่วนรวม งานส่วนตัวที่อาศัยการลงแขก

๙๐

นั้นมักจะเป็นงานใหญ่ที่เหลือบ่ากว่าแรง หรือ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นงานที่จําเป็นต้องทําให้เสร็จภายใน
วันเดียว จึงต้องบอกให้ญาติพี่น้อง มาช่วยเหลือ งานส่วนตัวที่ต้องลงแขกในชนบทนั้นมีอยู่ ๓ อย่าง
ได้แก่ ลงแขกสร้างบ้าน ลงแขกทาํ นา และลงแขกหาอาหาร

ประเพณีบญุ ขา้ วเปลือก ของคนไทยเชือ้ สายลาว บ้านหันทราย ม.๑,๒,๕,๖เป็นประเพณีที่
ทุกบ้านจะนำข้าวเปลือกหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยว และนำข้าวเข้ายุ้งฉางเสร็จเรียบร้อย ชาวบ้านจะ
นำข้าวเปลือกมาบริจาคเพื่อร่วมทำบุญ โดยบริจาคให้กับโรงเรียนบ้านหันทราย ข้าวที่ได้จากการ
บริจาคจะนำมากองรวมกันและทำพิธีบายศรีสู่ขวญั บุญข้าวเปลือก จากนั้นนำข้าวไปขายเพื่อนำเงิน
มาพฒั นา ปรบั ปรงุ โรงเรยี นต่อไป

ประเพณีหรอื พิธีกรรมสำคัญของคนไทยเชื้อสายเขมร
ประเพณีไหว้ศาลตาปู่ ชาวบ้านตนุ่ และบ้านหนองบัวใต้ มีความเช่อื ว่าเปน็ ดวงวิญญาณ

ของบรรพบุรุษประจำหมู่บ้านทีท่ ำหนา้ ทีป่ กป้องคุ้มครองใหค้ นในหมบู่ ้าน อยู่อยา่ งรม่ เยน็ เปน็ สุข
ปราศจากอันตราย จงึ ได้ประกอบพิธีกรรมต่างๆในวันสำคญั ของคนไทยเชือ้ สายเขมรบ้านต่นุ และ
บ้านหนองบัวใต้ คือการบชู าตาปู่ เป็นพิธีกรรมกระทำเป็นประจำทกุ ปี โดยจะกำหนดขา้ งข้ึน ๓ ค่ำ
เดือน ๓ กอ่ นฤดกู ารทำนา เครือ่ งเซน่ ไหว้ มีอาหารคาวหวาน เช่น ไก่ ขา้ วสุก เหล้า น้ำหวาน ไป
ถวายศาลตาป่พู ร้อมๆกัน

๙๑

ประเพณีแซนโฎนตา แซนโฎนตาเป็นภาษาเขมร คำว่า “แซน” ภาษาไทยตรงกับคำว่า “เซ่น”
หมายถึงการเซ่นไหว้ ส่วนคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ยายตา ใกล้เคียงกับคำว่าบรรพบุรุษ ญาติ
โกโหติกา เป็นประเพณีของคนไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสระแก้ว ความหมายของแซนโฎนตา ก็
คือการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะบรรพบุรษุ หรือญาติทีใ่ กลช้ ิด
และหมายรวมทั้งผทู้ ี่ล่วงลับไปแล้วโดยไมเ่ จาะจงว่าเป็นใครด้วย ประเพณีแซนโฎนตา ในวันแรม
๑๕ คำ่ เดือน ๑๐ เปน็ วนั สารทใหญ่

การทำบุญศีล ๑ หรอื ศีลแรก หลังจากการเข้าพรรษาได้ ๑๕ วนั กลุ่มคนไทยเชือ้ สายเขมร
บ้านตุ่น บ้านหนองบวั ใต้ มีความเชอ่ื ว่าเปน็ วนั ทีว่ ญิ ญาณพรรพบุรุษทีล่ ว่ งลับไปแล้วจะมารับส่วนบุญ
สว่ นกศุ ล โดยชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะห่อข้าวต้มมัดเพื่อไปทำบุญที่วัด ถ้าใครไม่ไปทำบุญมีความ
เช่อื วา่ จะถูกบรรพบุรุษสาปแช่งไม่ให้มคี วามสขุ ดงั นน้ั จงึ ถือวา่ มีความสำคัญยิ่งวันหน่งึ
ประเพณีงานวันแคนตาลปู และของดีเมืองอรญั
ประเพณีงานวนั แคนตาลปู และของดเี มืองอรัญเป็นประเพณีที่ชาวอําเภออรญั ประเทศร่วมกันจัด
ขึน้ เพือ่ ส่งเสริมผลติ ผลทางการเกษตรในท้องถิ่น
โดยเฉพาะแตงแคนตาลปู ซึ่งจะจัดที่สนาม
หนา้ สถานีรถไฟอรัญประเทศ
ใน ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
เพราะเปน็ ช่วงที่แตงแคนตาลปู ออกสูต่ ลาด
ในงานมีการประกวดรถขบวนแหเ่ ทพีแคนตาลปู
มีการประกวดแคนตาลูปและผลผลติ ทางการ
งานวันแคนตาลูปและของดี เกษตรในท้องถิน่ ต่าง ๆ
มีการประกวดธิดาแคนตาลูป การประกวดนางงาม
มิตรภาพ การแขง่ ขนั เมืองอรัญ วิง่ มินมิ าราธอน

๙๒

งานสืบสานวฒั นธรรมเบือ้ งบรู พาและงานกาชาดจังหวัดสระแกว้
เป็นงานที่จัดขึน้ โดยชาวสระแก้ว
เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีของ
จังหวัดในงานสบื สานวฒั นธรรมฯ
สระแก้วให้ประชาชนและเยาวชนได้รู้จกั
และรักษา สืบทอดวฒั นธรรมประเพณีทีด่ ี
ไว้งานดงั กลา่ วน้ีจะจัดในชว่ งเดือนกุมภาพนั ธ์
ของทุกปี ในงานจะมีการประกวดขบวนแห่
ที่แสดงถึง ศลิ ปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ซึง่ มี
เอกลักษณเ์ ฉพาะของชาวจงั หวดั สระแก้ว
การแสดง นิทรรศการผลงานของภาครัฐและเอกชน การแสดงและจําหน่ายสินค้าทางการเกษตร
และ อุตสาหกรรมที่ผลิตขึ้นภายในจังหวัดสระแก้ว นอกจากนี้ ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและ
มหรสพต่างๆ ตลอดงาน ถือเป็นงานประเพณีที่ชาวจังหวัดสระแก้ว ร่วมใจกันจัดขึ้นเพื่อส่งเสริม
ศลิ ปวัฒนธรรมของจังหวดั ให้สืบตอ่ ไป

บทที่ ๔
ภมู ิปัญญา เอกลักษณ์ คนรกั ษท์ ้องถ่นิ

ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่นจงั หวัดสระแก้วมีการสั่งสม ถ่ายทอด และพัฒนา
ในแนวทางทีส่ อดคล้องกับสภาพทางภมู ิศาสตร์ของท้องถิน่ ซึ่งสามารถแบง่ เปน็ ด้านต่าง ๆ ได้ดงั นี้
๑. การทำมาหากิน

ชาวท้องถิ่นสระแก้วจะเป็นผู้มีภูมิรู้ทางภูมิอากาศ สามารถรู้ช่วง
หรือฤดูกาลของการเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิต
โดยการสังเกตจากสภาพของลมฟ้าอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ
รอบตวั

๑.๑ การทำนาปลูกข้าว ฤดูทำนาของชาวท้องถิ่นสระแก้ว
โดยทั่วไปจะทำในฤดูฝน เรียกว่า การทำนาปี ส่วนการทำนาในฤดูแล้ง
นอกฤดูทำนาที่เรียกว่า การทำนาปรัง ซึ่งต้อง อาศัยระบบการชลประทาน มีคูคลองส่งน้ำเข้าถึง
และต้องมีน้ำมากพอ จะทำในบางพื้นที่เท่าน้ัน

ในการปลูกข้าว ชาวบ้านจะพิจารณาดูลักษณะของพื้นที่ ปริมาณน้ำว่าเหมาะ ที่จะปลูกขา้ ว
ด้วยวิธีการใด จงึ จะได้ผลผลติ ตอบแทนสูง ซึ่งมีท้ังการทำนาดำ นาหวา่ น และ การทาํ ไรข่ ้าว

ประเภทของการทำนาปลกู ข้าว
๑. การทำนาดำ

๒. การทาํ นาหว่าน
๓. การทาํ ไรข่ า้ ว (การหยอดขา้ วไร่)

๙๔

เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการเกษตรกรรมและใช้สอยในครวั เรอื น มีหลายประเภทสําหรับใช้งาน
ตา่ ง ๆ ดงั น้ี

จอบ ใช้ขุดดนิ ถากหญ้า ปรับหน้าดิน ขุดร่องทำแปลง ในคนั นา ฯลฯ
เสียม ใชข้ ุดแซะตนิ ปลกู พืช ชดุ หาอาหาร
อีปิก เครื่องมือสําหรับชดุ ของแข็ง หรอื หนิ
มีดโต้ (อีโต้) ใชฟ้ ันตัดไม้ มสี ันทนา ปลายหรอื หวั โต
มีดขอ (ขอ) ใชฟ้ ัน หวด ถาง มีดา้ มยาว ปลายโค้งงอไมม่ ากนกั
มีดจักตอก ใช้เหลาไม้ไผ่ จกั เส้นดอก มีใบมีดสั้นปลายบางคม มีดา้ มยาวงอน
ขวานหมู ใช้ตดั ถาก พืน้ ไม้ มีสันหนา มีบ้องยาวตามสัน ด้ามสั้น
ขวานโยน ใช้ตัด ขดุ ถาดไม้ บ้องที่หัวบิดได้ มีดา้ มยาว
ขวานผา่ ฟัน ใช้ฟัน ผ่าตดั โคน่ ต้นไม้ ใบขวานใหญ่ มีดา้ มยาว

ขวานและมีดชนิดต่าง ๆ

๙๕

คันไถและคราดไถ

การเลี้ยงสตั ว์
๑.2 การเลี้ยงสตั ว์ แต่เดิมการเลี้ยงสัตวจ์ ะเลี้ยงเพือ่ เป็นอาหารและเพื่อใช้แรงงาน ถ้าเหลือ
กินเหลือใช้จึงจะนำไปขายหรือแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ต้องการ การเลี้ยงสัตว์แบบพื้นบ้านจะเป็นไปใน
ลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและลงทุนน้อย ในการเลี้ยงสัตว์แต่ละประเภทจะ
สะท้อนถึงภูมิปญั ญาของชาวบ้าน อันเกิดจากทกั ษะและประสบการณท์ ี่ส่ังสมกันมานานแล้ว สัตว์ที่
เลี้ยงได้แก่ เป็ด ไก่ หมู วัว ควาย และขุดบอ่ เลี้ยง ปลา เป็นต้น
๑.3 การดักจับสัตว์ การกินการอยู่นอกจากจะได้อาหารจากพืชที่ปลูก และสัตว์ที่เลี้ยงไว้
แล้ว ชาวบ้านยังออกหาเก็บของป่าและดักจับสัตว์น้ำ ออกล่าหาสัตว์บกที่มีอยู่ตามธรรมชาตินำมา
เป็นอาหารเลี้ยงชีพในชวี ิตประจําวันอีกด้วย

๙๖

สําหรับการดักสัตว์ จับสัตว์นั้น ชาวบ้าน
จะประดิษฐ์ เครื่องมือ ใช้เองอย่างง่ายๆ โดยใช้
วัสดทุ ีม่ ใี นท้องถิน่ และมีความชำนาญรู้ข้ันตอนวิธี
ในการ หาสัตว์ แต่ละชนิด เช่น การจับสัตว์น้ำ
การดักจบั การล่าสัตวบ์ ก

๑.4 การขุดทอง นอกจากการทำการเกษตรแล้วชาวบ้านในท้องถิ่นจังหวัดสระแก้วยงั ออก
หาแร่ทองคำ ซึ่งมแี หล่งอยู่ทีบ่ ้านโนน บ้านบอ่ นางชิง ในอำเภอวัฒนานคร และทีเ่ ขาสามสิบในอำเภอ
เขาฉกรรจ์ การขุดทองในท้องทีจ่ ังหวัดสระแก้วมีมาต้ังแต่สมยั โบราณแล้ว ดังมปี รากฏร่องรอย
ของการขดุ พ้ืนที่เปน็ บ่อลึก และรอ่ งรอยของการหลอมทองอยู่ ตามแนวเส้นทางรถไฟ ปัจจบุ ันนี้
ชาวบ้านยังคงมีการไปขุดหาแรท่ องคำกันอยเู่ นือง ๆ

๑.5 การเดินทางและการค้าขาย พื้นที่จังหวัดสระแก้วแต่โบราณเป็นด่าน ตรวจคนและ
สินค้าเข้าออก มีเส้นทางตดิ ต่อค้าขายระหวา่ งดินแดนต่าง ๆ

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการใช้รถไฟเดินทาง มีเส้นทาง
รถไฟสายตะวนั ออกจากกรงุ เทพฯ-อรญั ประเทศ ผ่านสระแก้วเช่อื มต่อไปยงั กัมพชู า

๑.6 งานหัตถกรรม งานหัตถกรรมของชาวบ้านเป็นงานฝีมือที่ใช้วัสดุในท้องถิ่น ทําขึ้นใช้
สอยยามว่างจากงานในไร่นา ผลงานที่สร้างสรรค์มีความงามอย่างเรียบง่ายแฝงไว้ด้วยความฉลาด
ของผู้สรา้ งงาน เชน่ เชอื กไนลอ่ น เปน็ ต้น

การทำกรงนกด้วยศิลปะลายไทย การผลิตผา้ ไหมไทยบา้ นหนั ทราย
(การทำกรงนก) (การทอผ้าไหม)


Click to View FlipBook Version