The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tipkua, 2022-11-26 03:32:26

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

ประวัติศาสตร์สระแก้ว เมืองชายแดน แคว้นบูรพา

๙๗

การตีเหล็กแบบอนุรักษ์ การทำกลองยาว
(การตีเหล็ก)

การทําเครื่องสีขา้ ว (สีมือ) การเผาถ่าย

เอกลกั ษณข์ องทอ้ งถน่ิ

คำขวัญของจังหวัดว่า “ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย มากด้วยรอยอารย
ธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย – เขมร” ซึ่งคำขวัญนี้ได้บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดสระแก้ว
ได้อย่างชดั เจน

ตราจังหวดั สระแก้ว
ตราสัญลักษณป์ ระจำจังหวดั สระแกว้ แต่ละส่วนมีความหมาย ดังน้ี

๙๘

สระน้ำมีพระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน ประทับยืนบนดอกบวั หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของ
แหลง่ น้ำและพืชพันธ์ุธญั ญาหารต่างๆ

ภาพโบราณสถาน หมายถึง ปราสาทเขาน้อยสีชมพู โบราณสถานสำคัญอยู่ในเขตพื้นที่
อำเภออรัญประเทศ จงั หวัดสระแก้ว

ภาพพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ หมายถึง การที่จังหวัดสระแก้วตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ
ประเทศไทย

ต้นไมป้ ระจำจงั หวดั ได้แก่ มะขามปอ้ ม ซึ่งเปน็ พนั ธุไ์ ม้มงคลทีไ่ ด้รับพระราชทานประจำจังหวดั

ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกแกว้
เอกลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวดั สระแก้วที่แสดงถึงสิ่งที่ดีงาม มีลักษณะพิเศษประจำจังหวดั
ทั้งในด้านธรรมชาติและวฒั นธรรม ดังน้ี
๑. เอกลักษณท์ างธรรมชาติ
๑.๑ สิง่ ที่มีอย่ตู ามสภาพภูมิศาสตร์

๑.๑.๑ พรมแดนพื้นที่ราบไทย - กัมพูชาและประตู่สู่อินโดจีน จังหวัดสระแก้ว
มีอาณาเขตที่ติดต่อกับชายแดนกัมพูชาตลอดแนวยาว 165 กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ ๔ อำเภอ
ได้แก่ อำเภอตาพระยา อำเภออรัญประเทศ อำเภอคลองหาด และอำเภอโคกสูง

สำหรับลักษณะเด่นของพรมแดนในเขตจังหวัดสระแก้วก็คือส่งผลให้เกิด
ความเคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนติดต่อค้าขายกันได้สะดวกตลอดตามแนว
ชายแดน

๑.๑.๒ เขาฉกรรจ์ เปน็ ภเู ขาหนิ ปูน ตั้งอยู่ที่อำเภอเขาฉกรรจ์ จงั หวัดสระแก้ว

๙๙

เขาฉกรรจ์ยังเป็นแหล่งโบราณคดี อยู่ในสมัยทวารวดี เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว โดยได้ขุดพบ
ภาชนะดินเน้ือหยาบ เศษกระดูก เศษเถ้าถ่าน ภายในเขาฉกรรจ์มีถ้ำเล็กถ้ำนอ้ ยอยู่ถึง 72 ถ้ำ

๑.๑.๓ น้ำตกปางสีดา เปน็ น้ำตกทีส่ วยงามมากแหง่ หนง่ึ ของจังหวดั สระแก้ว และเป็นแหลง่
ทอ่ งเที่ยวที่สำคญั ทีส่ ุดของอุทยานแหง่ ชาติปางสีดา
1.๒ พืชพรรณไม้ พืชพรรณไม้ทีส่ ำคัญและจัดถือเปน็ เอกลักษณข์ องจังหวดั สระแก้ว ได้แก่

1.๒.1 แตงแคนตาลูป เปน็ พืชที่ชาวอรัญประเทศปลูกกนั มาก
รองจากการทำนา และได้มีการจัดงานแตงแคนตาลูปขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะจัดงานในช่วง
ระหว่างเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคม แตงแคนตาลูปจัดว่าเป็นพืชที่ทำชื่อเสียงให้อำเภออรัญ
ประเทศอยา่ งมาก และเป็นทีน่ ิยมซื้อเปน็ ของฝากจากจังหวดั สระแก้วกนั ตลอดปี

1.๒.2 ตะบองเพชรยักษว์ ังสมบูรณ์ ตะบองเพชรทีส่ ูงทีส่ ดุ ในโลก
และได้รับการบันทึกสถิตลิ งในหนงั สอื หลายเล่ม
ต้นตะบองเพชรต้นนีอ้ ยทู่ ีร่ ิมถนนสายสระแก้ว – จนั ทบรุ ี
ณ บ้านเลขที่ 7/1 บ้านวังน้ำฝน ตำบลวงั ใหม่อำเภอวังสมบรู ณ์

๑๐๐

๒. เอกลักษณอ์ ื่น ๆ
ตลาดโรงเกลืออรัญประเทศ ตลาดชายแดน บ้านคลองลึก ตั้งอยู่ ณ บ้านคลอง

ลึก ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ ตลาดจำหน่ายสินค้า บริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก
- ปอยเปต ซึ่งรู้จกั กนั ในนามของ ตลาดโรงเกลือ เพราะแตเ่ ดิมเคยใช้เปน็ สถานทีพ่ กั เกลือ เพื่อหลบ
เลี่ยงภาษี ตลาดโรงเกลือได้ทำพิธีเปิดอย่างเปน็ ทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เป็น

สถานทีจ่ ำหนา่ ยสินค้าที่มาจากฝง่ั กัมพูชาและ
ไทย เข้าไปในกัมพูชา ไปยังตลาดปอยเปตใน
เขตกัมพชู าได้อกี ด้วย

บุคคลสาํ คญั ของทอ้ งถิ่น
๑. บุคคลสําคัญที่มีบทบาทต่อจังหวัดสระแก้วในอดีต ด้านการ ปกครอง การเมือง
การศาสนา

เจา้ พระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาบดินทรเดชา
(สิงห์ สิงหเสนี)เป็นนักรบผู้ความเก่งกล้าสามารถในสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ เป็นผู้ที่ก่อให้มีการ
เ ค ล ื ่ อ น ย ้ า ย ถ ิ ่ น ฐ า น อ พ ย พ ป ร ะ ช า ช น จ า ก เ ว ี ย ง จ ั น ท น์
และทา่ อเุ ทนมาตั้งถิน่ ฐานเป็นชุมชนในเขตอำเภออรญั ประเทศ

เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๕ เจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็น
แม่ทัพยกทัพไปทางเมืองเขมรเพื่อตีเมืองเขมร เมืองญวน ต่อมา
ได้กลายเป็น ที่มาของชื่ออําเภอตาพระยา และตําบลอีกหลาย
ตําบลในอาํ เภอตาพระยา

๑๐๑

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) เป็น บุตร
เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ ผู้สําเร็จราชการ เมืองพระ (เยีย)
ตะบอง อันเกิดแก่ท่านผู้หญิงทีม ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
เป็นพระอภัยพิทักษ์ ครั้นบิดาถึงแก่อสัญกรรม ผู้สําเร็จราชการ
เมืองพระตะบองแทน เมื่อฝรั่งเศสได้ออกล่าอาณานิคม เมือง
จันทบุรีของไทย ฝ่ายไทยได้เจรจากับฝรั่งเศส เพื่อขอแลกเมือง
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ต้องอพยพข้าทาสบริวาร และ อพยพผู้คน
จากพระตะบองกลับมาไทย ครั้งนั้นได้มีชาวเขมรส่วนหนึ่งอพยพ
ติดตามเข้ามา และได้มาต้ังถิน่ ฐานอยู่ในเขตของจังหวัดสระแก้ว

พระครูรัตนสราธิคุณ (ทอง รตนสาโร) หรือ หลวงพ่อทอง นามเดิม ทอง แก้วมะโน เป็น
ผทู้ รงพระปาติโมกข์อย่างแม่นยํา และเป็นพระธรรมกถูก ทำหนา้ ทีอ่ บรม เผยแพร่หลักธรรมคําสอน
ของพระศาสนา ด้านวิชาแพทย์แผนโบราณและใช้ความรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณช่วยเหลือบําบัด
รกั ษาประชาชนผู้เจ็บป่วยที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ และเป็นผู้ทรงวิทยาคณุ ด้าน ไสยศาสตร์ เป็นที่
เลือ่ มใสของประชาชนในท้องถิ่น ท้ังยังเป็นพระนกั พัฒนาได้ ก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ให้ม่ันคงถาวร
ใน พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รบั การแตง่ ต้ังให้ดำรงตาํ แหนง่ เจา้ อาวาสวัดสระแก้ว

พระครูอรัญประเทศคณาจารย์(ลี อินทโซโต) พระครู
อรัญประเทศคณาจารย์ นามเดิม ลี จันทร์ ตอ่ มาได้รบั การแต่งต้ังให้
ดำรงตําแหน่งพระครูอรัญประเทศ เจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ ใน
ระหว่างดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสได้ประกอบคุณงามความดี จน
ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเจ้าคณะอําเภออรัญประเทศเพิ่ม
อีกตําแหน่งหนึ่ง นับว่าท่านได้ทุ่มเทให้กับพระศาสนามา ตั้งแต่เป็น
สามเณรและเป็นกำลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระภิกษุ
สามเณร ตลอดจนพระเถระ

นายโกศล นงค์พรมมา ทําให้การคมนาคมสะดวกสบายขึ้น แนะนําให้ประชาชนชาวตา
พระยารู้จักรักป่าประชาชนชาวตาพระยามีความสํานึกในพระคุณจึงได้จัดสร้างศาลที่เชิงเขาปาก
ทางอาํ เภอพระยาขึน้ เพื่อเป็นการรําลึกถึงพระคุณ ของนายโกศล และศาลนีต้ ่อมามีชื่อเรียกว่า ศาล
เจ้าพอ่ ปลัดสน
๒. บุคคลสาํ คัญที่มีบทบาทตอ่ จงั หวดั สระแก้วในปัจจบุ ัน

๒.๑ บุคคลสาํ คัญด้านการศาสนา
พระพศิ าลปริยตั ยาภรณ์ (เส็ง ยโสธโร) นามเดิม เส็ง ธรรมวรางกรู
ด้านการศึกษา เปน็ ผู้รเิ ริ่มก่อตั้งสำนักเรียนบาลีข้ึนในวัดสระแก้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ งานเผย
แผพ่ ระศาสนา ได้จัดทาํ โครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุ สามเณรภาคฤดรู ้อนเป็นประจาํ ทุกปี

๑๐๒

งานด้านสาธารณูปการ ดําเนนิ การก่อสร้างอาคารเรยี นโรงเรยี นพระปริยตั ิธรรม
วดั สระแก้ว

งานด้านสาธารณสงเคราะห์ ทา่ นได้สนับสนนุ ชว่ ยเหลอื สาธารณประโยชน์ ต่าง ๆ
ผลงานที่ได้ปฏิบัติทำให้ได้รับประกาศเกียรติคุณดีเด่น กล่าวคือ พระราชทานรางวัลเกียรติ
คุณและรางวัลเสมาธรรมจักร สาขาการจัดการศึกษาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี พ.ศ. ๒๕๕๐ จากสมเด็จพระญาณสงั วร สมเดจ็ พระสงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปรินายก
๒ ๒.บคุ คลสาํ คัญด้านการเมือง การปกครอง
นายเสนาะ เทียนทอง นายเสนาะ เทียนทอง ผลงานที่
ภูมใิ จของนายเสนาะคือ ได้ของบประมาณสร้างเขือ่ นหว้ ยยาง ใน
เขตอําเภอตาพระยา และริเริ่มก่อตั้งสหกรณ์โคนม ในเขตอําเภอ
วังน้ําเย็นและอําเภอคลองหาด นอกจากนี้ยังได้ดําเนินการ
รณรงค์ต่อต้านยาเสพย์ติด ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อจากยาม้าเป็น
ยาบ้า ในสมยั ดํารงตาํ แหน่งรัฐมนตรวี ่าการกระทรวงสาธารณสุข
เมื่อดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มี
นโยบายในการปราบปรามยาเสพย์ติดและยาบ้าอย่างจริงจัง

นายวิทยา เทยี นทอง สนับสนนุ หน่วยงานทางการศกึ ษา
ตา่ ง ๆ และได้รบั การเสนอชื่อให้เป็นผู้ทรง คุณวุฒิใน
คณะกรรมการการประถมศกึ ษาของจังหวดั สระแก้ว

นายฐานิสร์ เทยี นทอง สนบั สนุนชว่ ยเหลอื การพัฒนาต่าง ๆ ของจังหวดั ทุกด้าน และได้รับ
การเสนอช่อื ให้เปน็ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ การประถมศกึ ษาจังหวัดสระแก้ว

นางสาวตรนี ุช เทยี นทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศกึ ษาธิการ สนับสนุนหน่วยงานทางการศกึ ษาตา่ ง ๆ ประวัติโดยย่อ เกิดวันท่ี ๑๒
กันยายน ๒๕๑๕ การศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ จบปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ Western Illinois
University จากสหรัฐอเมริกา การศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๘ จบปริญญาตรี สาขาการเงิน การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๕ จบปรญิ ญาตรี Assumption University

๒.3 บุคคลสำคัญด้านการพัฒนาสังคม
แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ นอกจากนั้นยังมีผลงานการในแต่งตํารา คือ จัดทํา
วงกลมตรวจ วิเคราะห์สุขภาพด้วยทฤษฎีการแพทย์แผนไทย พ.ศ.๒๕๓๓ คู่ มือเรื่องธรรมะ
สู้ ภัยเอดส์ สําหรับพระภิกษุ และแปลตราใบลานยาทั้งมวลของพ่อใหญ่อาจารย์เคน สาวงศ์

๑๐๓

ใน พ.ศ.๒๕๓๗ เปน็ ผู้รวบรวมตําราประมวลทฤษฎีการแพทยแ์ ผนไทย เลม่ ๑ แพทย์หญิงเพ็ญนภา
จัดทําโปรแกรมสําเร็จรูป การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์สุขภาพด้วยทฤษฎีการแพทย์
ทรพั ย์เจรญิ แผนไทย ใน พ.ศ.๒๕๓๗ และรวบรวมการบริหารแบบไทยในท่าฤษีดัดตน ซึ่งท้ังหมด
ล้วนเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ และประชาชนอย่างยิง่

นางสาวอําเผือ ทองเอี่ยม ผู้ที่รับพระราชทานรางวัลเกียรติยศสูงสุดในวิชาชีพพยาบาล
ทั่วโลก โดยได้รับพระราชทานเหรียญรางวัลฟลอเรนซไ์ นติงเกล

นางสาวอําเผือ ทองเอี่ยม จัดให้มีโครงการด้านบริการสาธารณสุขด้านต่าง ๆ
ด้านวิชาการ ให้การอบรมและเผยแพร่เกี่ยวกับหลกั การกาชาต สิทธิมนุษยชน อบรมให้ความร้เู รื่อง
การปฐมพยาบาล การดูแลเด็ก และงานสาธารณสขุ มลู ฐานของกระทรวงสาธารณสุข

ผลงานที่ได้รับการยกย่อง ได้แก่ การดําเนินงานตามโครงการต่าง ๆ จัดรายการ
วิทยุกระจายเสียงทีก่ องพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ รายการกาชาดเพื่อสุขภาพ รวมกับแผนก
จักษุแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และร่วมปฏิบัติงานกับแผนกโสต นาสิก ลาริงค์
ของโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์

บทที่ 5
แผน่ ดินทองของพระราชา

พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร

และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้ประกอบพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จเยี่ยมเยือนเหล่าพสกนิกรของ
พระองค์ท่านตลอดเวลา นับตั้งแต่พระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา
เพื่อรับทรงทราบปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของเหล่าพสกนิกร พร้อมทั้งได้
พระราชทานแนวพระราชดำริในการบำบดั ทกุ ขบ์ ำรุงสขุ แก่ทวยราษฎร์

1. การเสด็จพระราชดำเนินจงั หวัดสระแกว้

จังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งประสบปัญหา โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขารอยต่อ
3 จังหวัด (นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว) ที่เป็นบ่อนทำลายของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และ
บริเวณดังกล่าว ถูกแผ้วถางบุกรุกจนสภาพดินขาดความสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชน-
กาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงมีพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่
ดังกล่าว พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินมาตรวจเยี่ยม และให้พสกนิกรเข้าเฝ้าฯ อย่างใกล้ชิด
๓ ครั้ง ดังน้ี

1.1 ถวายผา้ กฐินสว่ นพระองค์ ณ วดั หลวงอรัญญ์ อำเภออรัญประเทศ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล-
อดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสดจ็ พระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่น่ังจากสวนจิตรลดา
พระราชวังดุสิต ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์
ณ วดั หลวงอรญั ญ์ อำเภออรัญประเทศ (ขณะนั้นอำเภออรญั ประเทศ ยังขึน้ อยู่กบั จังหวัดปราจนี บุรี)
เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ โดยมีพระครูอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี อินทโชโต)
และเหล่าพสกนิกรเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และร่วมบริจาคเงินสมทบสร้างศาลาวัด
ดังกล่าว รวม 240,000 บาท จากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปยัง
นิคมสร้างตนเองคลองน้ำใส ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ
กรงุ เทพฯ

๑๐๕

๑.2 เสด็จเยีย่ มโครงการชลประทานตามพระราชดำริ อำเภอวัฒนานคร และสระแก้ว
วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคมพ.ศ 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรม
ราชกุมารี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขตั ติยราชนารี เสดจ็ พระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอรพ์ ระที่น่ังจากสนาม
เฮลิคอปเตอร์สวนจิตรลดา พระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการชลประทานตามพระราชดำริ
และทรงเยี่ยมหน่วยทหารตลอดจนราษฎรในพื้นที่อำเภอวัฒนานคร และอำเภอสระแก้ว จังหวัด
ปราจนี บรุ ีขณะน้ัน

1.3 เสดจ็ เยีย่ มโครงการพัฒนาพื้นทร่ี าบเชิงเขาตามพระราชดำรอิ ำเภอวฒั นานคร
และอำเภอเมืองสระแก้ว วนั องั คารที่ 8 กรกฎาคมพ.ศ 2523
พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศรฯและสมเดจ็ พระนางเจา้ สิรกิ ิติ์
พระบรมราชินนี าถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงพร้อมดว้ ย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ า
และสมเด็จพระเจา้ น้องนางเธอเจา้ ฟ้าจุฬาภรณวลัยลกั ษณ์
อคั รราชกุมารี กรมพระศรีสวางควฒั น วรขตั ติยราชนารี
เสด็จพระราชดำเนนิ โดยเฮลิคอปเตอรพ์ ระทีน่ ั่งจากสวนจติ รลดา
สง่ เยี่ยมโครงการพฒั นาพืน้ ที่ลาดเชงิ เขาจังหวัดปราจนี บรุ ี
ตามพระราชดำริตลอดจนทรงเยีย่ มราษฎรในเขตพื้นที่
อำเภอวฒั นานครและอำเภอสระแก้วจังหวดั ปราจนี บุรี ขณะนั้น

ครั้นเสด็จพระราชดำเนนิ ถึงโรงเรียนร่มเกล้า บ้านคลองทราย ตำบลโนนหมากเคง็
อำเภอวฒั นานครพระบรมชนกาธเิ บศรฯ

๑๐๖

ได้พระราชทานถุงของขวัญ และอุปกรณ์การเรียน ตลอดจนเครื่องแบบนักเรียน แก่ผู้แทนครูและนักเรียน
จากนน้ั เสดจ็ ราชดำเนินไปยังพลบั พลาหนา้ อาคารเรียน

จากแนวพระราชดำริดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ได้พระราชทาน
แนวทางในการดำเนินงาน โดยมอบหมายให้หน่ายทหารพัฒนารับผิดชอบในการประสานงานตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นมาโดยใช้ชื่อว่า กองร้อยทหารราบที่ ๒๑๒๒ สังกัดกองพันทหารราบที่ ๒
กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยทหารพัฒนา ขึ้นตรงต่อกอง
อำนวยการรักษาความมน่ั คงภายใน กองทพั ภาคที่ ๑ มีกิจกรรมงานโครงการต่าง ๆ ดังน้ี

(๑) การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน เนือ่ งจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่
มีการแทรกซึมบอ่ นทำลายของคอมมิวนิสต์ ประกอบกับมีราษฎรเข้าไปบุกรุกจนกลายเป็นสภาพป่า
เสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรม กรม
ชลประทานเล็งเห็นว่าควรจะดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก จึงได้ดำเนินการก่อสร้าง
อ่างเก็บน้ำและฝายขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นมา ได้แก่ ๑. อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก, ๒. อ่างเก็บ
น้ำคลองสามสิบ, ๓. อา่ งเกบ็ น้ำคลองเกลือ, ๔. อ่างเก็บน้ำหว้ ยชั้น, ๕. อ่างเก็บคลองทราย, ๖. อ่าง
เก็บน้ำซ่องกล้ำตอนบน, ๗. อ่างเก็บน้ำซ่องกล้ำตอนล่าง, ๘. อ่างเก็บน้ำคลองหมากนัด, ๙. ฝาย
คลองน้ำเขียว, ๑๐. ฝายโปง่ ประทุน,๑๑. ฝายห้วยพยงุ , ๑๒. ฝายห้วยซับ, ๑๓. เขือ่ นกกั น้ำพระปรง

เขื่อนกกั น้ำพระปรง
นอกจากนี้ ยังมีระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค จากอ่างเก็บน้ำท่ากระบาก ช่อง
กล้ำบน ช่องกล่ำ คลองสามสิบ คลองเกลือ และหว้ ยชัน รวมพืน้ ที่ ๑๔,๐๔๑ ไร่
(๒) การพัฒนาที่ดิน เมื่อบริเวณพื้นที่ดังกล่าวถูกแผ้วถางทำลายจนสูญเสียสภาพดินที่
อุดมสมบูรณ์สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว จึงได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว เช่น จัดทำ
แปลงเกษตรสาธิต พฒั นาคนในพืน้ ที่ใหม้ ีความรเู้ กีย่ วกับการใช้ดินการอนุรกั ษ์ดินและน้ำ เป็นต้น ทำ
ให้เกษตรกรในพื้นที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และ
ขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอน่ื ๆ ได้อย่างย่งั ยืน

๑๐๗

(๓) การพัฒนาจิตใจและความรู้ความเข้าใจของชุมชน การพัฒนาถึงใจ และสร้าง
ความรู้ความเข้าใจเป็นภารกิจสำคัญประการที่หนึ่งของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชน
ได้รับข้อมูลข่าวสารอันจะก่อให้เกิดความร่วมมือ และมีทัศนะที่ดีต่อการทำงานของภาครัฐที่เข้าไป
สง่ เสริมชว่ ยเหลอื การประกอบอาชีพในท้องถิ่น โดยมีหนว่ ยงานที่เข้าไปดแู ล ได้แก่

สำนกั งานพัฒนาชมุ ชนจงั หวัด สนบั สนุนการจัดตงั้ และดำเนินการดูแลศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก
จำนวน ๑๐ ศูนย์ เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองและเตรียมความพร้อมของนักเรียน ระดับก่อน
การประถมศกึ ษา ให้มคี วามรทู้ ั้งรา่ งกายและจิตใจ

หน่วยทหารพัฒนา กอ. รมน. ภาค ๑ ได้จัดหน่วยสันตินิมิตที่ ๑๗ เป็นหน่วยประสาน
ความรับผิดชอบระหว่างหน่วยงานในพื้นที่เพื่อรับทราบสภาพปัญหาและสร้างความรู้สึกที่ดีของ
ราษฎรต่อรัฐ รวมทั้งจัดหาหนังสือ หนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเลก็ ให้
เพียงพอ และได้รว่ มประชมุ กับคณะกรรมการหมบู่ ้านเป็นประจำทุกเดือนอกี ด้วย

(๔) การพฒั นาการระบบสหกรณ์ ระบบสหกรณเ์ ป็นการรวมกลุ่มเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์
และความช่วยเหลือระหว่างกันในท้องถิ่น หน่วยทหารพัฒนาได้เข้าไปดำเนินการร่วมส่งเสริมและ
สนบั สนนุ ระบบดังกลา่ ว ดังน้ี

โครงการธนาคารข้าว ดำเนนิ การทีบ่ ้านคลองทราย บ้านทา่ กระบาก และบ้านภักดีแผ่นดิน
โดยให้ราษฎรที่มีความจำเป็นกู้ยืมข้าวเปลือกในยามขาดแคลน ติตตามการส่งคืนข้าวเปลือกของ
ราษฎรให้กับธนาคารข้าว และรับซื้อข้าวเปลือกในราคายุติธรรม พร้อมกับให้บริการรับฝาก
ข้าวเปลือกของราษฎร ได้แก่ โครงการธนาคารข้าวบ้านคลองทราย โครงการธนาคารข้าวท่า
กระบาก และโครงการธนาคารข้าวบ้านภักดีแผ่นดิน

โครงการสัจจะออมทรัพย์ ได้ร่วมกับราษฎรจัดตั้งกลุ่มสจั จะออมทรัพย์ที่บ้านคลองทราย
บ้านท่ากระบาก และบ้านแผ่นดินภักดี เพื่อให้ราษฎรได้กู้ยืมในกรณีจำเป็น และค้ำประกันในการ
กู้ยืมข้าวเปลือกของราษฎร โดยดำเนินการจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการรับฝากเงินและสมาชิกกู้ยืมเงิน
ประชุมชี้แจง กลุ่มสมาชิกเพื่อให้เห็นความสำคัญของการออมทรัพย์ และจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
ยอดเงนิ และติดตามหนีส้ ินของสมาชิก ได้แก่ กลมุ่ สัจจะออมทรัพยบ์ ้านคลองทราย กลุ่มสัจจะออม
ทรพั ย์บ้านท่ากระบาก และกลมุ่ สัจจะออมทรัพยบ์ ้านภักดีแผน่ ดิน

โครงการโรงสีข้าวพระราชทานบ้านคลองทรายได้ร่วมกับสมาชิกหุ้นโรงสีข้าว
พระราชทานและกรรมการดำเนินการเกี่ยวกบั การรับซื้อข้าวเปลือก รบั สีขา้ ว และรับส่งผลผลิตของ
ราษฎร โดยจัดเจ้าหน้าที่ประจำโรงสีข้าวพระราชทานร่วมกับกรรมการหมู่บ้าน นำยานพาหนะออก
บริการรับข้าวเปลือกจากราษฎร ในพืน้ ทีโ่ ครงการและหม่บู ้านใกล้เคียงที่รบั บริการสีขา้ ว

๑๐๘

โครงการพยุงราคาข้าวเปลือก โดยได้รบั ความช่วยเหลอื จากสำนกั งานสหกรณ์จังหวัด ใน
การสง่ เสริมและสนับสนุนเกีย่ วกับการระบบสหกรณ์ รวมท้ังคอยประสานงานและพฒั นาอาชีพและ
จดั หาแหลง่ เกษตร การจัดบริการแหล่งนำ้ เพือ่ การเกษตรแก่สมาชิก

(๕) การพัฒนาอาชีพ หน่วยทหารพัฒนาเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานงานการพัฒนา
และให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพ เป็นการเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน ให้สามารถ
ประกอบอาชีพและเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเหมาะสมตามฐานะและความสามารถ เช่น การปลูกพืช
การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งมีหน่วยงานของรฐั เข้าไปคอยให้ความชว่ ยเหลือในการเสริมอาชีพหลังจาก
การทำนา การส่งเสริมการเลีย้ งหมอ่ นไหม ตลอดจนการหาตลาดเพือ่ รองรับผลผลิตดงั กล่าว

(๖) การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและบริการชุมชน ความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนนั้น
ระบบสาธารณูปโภคถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะดึงดูดประชาชนไม่ให้ออกจากพื้นที่ ดังนั้น ในพื้นที่
ดังกลา่ วจงึ มหี นว่ ยงานหลายหน่วยงานเข้าไปดูแลรับผิดชอบ ได้แก่

สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระแก้ว จัดทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ให้กับทุกโรงเรียน โดยปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อนำผลิตผลมาสนับสนุนอาหารกลางวัน โครงการรักษา
ความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนสามารถทำความสะอาดเสือ้ ผ้าเคร่อื งใช้และร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
และเปิดสอนการศกึ ษาผใู้ หญ่ระดับประถม มธั ยมศกึ ษา โดยศูนยก์ ารศกึ ษานอกโรงเรยี นจังหวดั

โรงไฟฟ้าพลังน้ำคลองช่องกล่ำ ได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ หลังจากนั้นได้จัดสร้าง
โรงไฟฟ้าเซลล์พลังแสงอาทิตย์ ขนาด ๒๐ กิโลวัตต์ จ่ายร่วมกับพลังน้ำเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ปัจจุบัน
เข้าอยู่ในระบบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว และนอกจากนี้ยังได้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับราษฎรใน
หมูบ่ ้านโครงการพฒั นาตามพระราชดำริและโรงสีข้าวพระราชทานอีกด้วย

หน่วยทหารพัฒนา กอ.รมน. ภาค ๑ ได้เข้าไปดำเนินการจัดทำโครงการอาหารกลางวัน
ในโรงเรยี นประถมศึกษา ได้แก่

- โครงการเลี้ยงโค เพื่อเสริมอาหารกลางวัน ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังบูรพา และ
ยูเอ็นโบร์ (UNBRO) โดยจัดซื้อพันธุ์โคแจกจ่ายให้กับโรงเรียนจำนวน ๑๐ โรงเรียน โรงเรียน ละ
๔ ตัว และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน ๙ ศูนย์ เลี้ยงไว้เพื่อเป็นกองทุนอาหารกลางวัน โดยสะสม
รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตจนกว่าจะมีทรัพย์สินเพียงพอตอ่ การจัดทำโครงการอาหารกลางวัน
ของโรงเรียนด้วยตนเอง โดยมีหน่วยทหารพัฒนา ทำการสำรวจติดตาม ดูแล และให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับการเลีย้ งสตั ว์ การดแู ลรกั ษาและการขยายพนั ธ์ุอย่างสมำ่ เสมอ

๑๐๙

- โครงการเลี้ยงโค-กระบือพระราชทาน เพื่อเสริมอาหารกลางวันได้ดำเนินการแจกจ่าย
กระบือพระราชทานให้กับโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และติดตามดูแลให้คำแนะนำเกี่ยวกับการ
เลี้ยง การดแู ลรกั ษาและขยายพนั ธ์อุ ย่างใกล้ชิด

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดสระแก้ว ได้จัดการเรียนการสอนในลักษณะต่างๆ
เช่น การส่งเสริมการรู้หนังสือ (เบ็ดเสร็จ) โครงการจัดครูอาสา การจัดทางไกลประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้นขยายโอกายทางการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย และการจัดอาชีพระยะสั้น
และกลุ่มอาชีพสนใจ

อุทยานแห่งชาติปางสีดา ได้ดำเนินการดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ รวมทั้งได้
จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด ได้แก่ น้ำตกปางสีดา น้ำตกผาตะเพียน เป็นต้น ปัจจุบันมี
นักท่องเที่ยวชาวสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียงไปเที่ยวชมจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจัดตั้งเป็น
อุทยานแหง่ ชาติตงั้ แต่ พ.ศ. ๒๕๒๕

นอกจากนีย้ ังมีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคอยประสานและรายงานความก้าวหน้าเสนอ
คณะทำงานโครงการตามพระราชดำริ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมความเป็นอยู่ของชุมชน
ในท้องทีด่ งั กล่าว

(๗) การพัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เนื่องจากสภาพพื้นที่เดิมถูกบุกรุกจนทำให้พื้นที่ขาด
ความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรมในบริเวณดังกล่าวขึ้น ทั้งการ
สง่ เสริมการปลูกป่าทดแทน และการสาธิตระบบเกษตรในพืน้ ที่ป่าชมุ ชน นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการ
จดั กิจกรรมด้านวนเกษตรและปา่ ชมุ ชน รวมทั้งแจกกล้วยไม้เพื่อปลูกในวันสำคัญและโอกาสต่าง ๆ

(๘) การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า จังหวัดสระแก้วมีสถานีเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ที่
เรียกกันว่าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าซ่องกล้ำบน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์
สตั วป์ ่าหายากและใกล้สญู พันธ์ุ โดยพืน้ ทีด่ งั กลา่ วเป็นพื้นที่ที่มีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นอยู่
ตามธรรมชาติของสัตว์ ซึ่งได้แก่ นกเป็ดก่า นกขุนทอง สัตว์ปีกต่าง ๆ นกยูง นกตระกูลกาฮัง เป็น
ต้น นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยรวมทั้งเป็นแหลง่ พักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดสระแก้วอีก
ด้วย

(๙) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม ตามที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ มีพระ
ราชกระแสรับสั่งให้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงโคในพื้นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา
จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ โดยให้ดูสหกรณ์โคนมหนองโพ จังหวัดราชบุรี เป็น
ตัวอย่างนั้น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกองทัพภาคที่ ๑ ได้ร่วมกันดำเนินโครงการ

๑๑๐

สง่ เสริมการเลี้ยงโค และได้รบั ความรว่ มมือจากจงั หวัดสระแก้ว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตรและสหกรณ์โคนมวังนำ้ เยน็ จำกดั

(๑๐) การพัฒนาอาชีพเสริม เกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัด
สระแก้ว-ปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก แต่มักประสบ
ปัญหาภยั ธรรมชาติและราคาตกต่ำ จงึ ได้หนั มาประกอบอาชีพเสริมควบคู่กับการทำการเกษตรเพื่อ
เป็นเสริมรายได้ ปัจจุบันเกษตรกรได้จัดตั้งกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีสมาชิกจำนวน ๗๑ ราย แต่
เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการผลิตให้มีคุณภาพ
ดังนั้น คณะอนุกรรมการโดยผู้อำนวยการสถานีบำรุงสัตว์สระแก้ว ได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์
ศิลปาชีพ โครงการพื้นทีร่ าบเชิงเขาจังหวัดสระแก้ว-ปราจีนบุรีตามพระราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อพฒั นาและปรับปรุงอาชีพของเกษตรกรที่มีอยู่เดิม ให้มรี ายได้มั่นคงข้ึน มีตลาดรองรับที่แน่นอน
มีระบบการผลิตที่ครบวงจรได้ผลตอบแทนสูง เพื่อเป็นทางเลือกของราษฎรในการประกอบอาชีพที่
เหมาะสมกับความสามารถ และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่เกษตรกรอาศัยอยู่ และเพื่อเป็น
แนวทางให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจร่วมกับตัวแทนเกษตรกรในรูปสหกรณ์ ซึ่งโครงการตาม
พระราชดำริดังกล่าว ทำให้พื้นที่ที่เคยถูกบุกรุกแผ้วถาง รวมทั้งเป็นพื้นที่อันตรายของกลุ่มก่อการ
ร้ายคอมมิวนิสต์ มีความสงบร่มเย็น ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี มีความรู้สึกหวงแหนและสำนึกใน
พระมหากรณุ าธิคณุ ของพระองค์ทา่ นอยา่ งหาทีเ่ ปรียบมิได้

นอกจากนี้ ยังมีแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ที่ได้พระราชทาน
แก่พสกนิกรของทา่ นในโอกาสตา่ ง ๆ ซึ่งได้แก่

โครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคมนั้น เป็น
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หนึ่งในโครงการตามพระราชดำริที่มุ่งแก้ปัญหาการขาด
บุคลากรด้านการศึกษาในท้องที่ชนบทห่างไกลและทุรกันดาร ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสและ
ได้รับการศึกษาจากวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ ถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวัง
ไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมกันทั่วประเทศ โดยทำการถ่ายทอดการเรียน
การสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ ทั้งนี้
โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับอุปกรณ์ต่าง ๆครบถ้วน จังหวัดสระแก้ว มีโรงเรียนเข้าร่วม
โครงการจำนวนท้ังสิน้ ๙ โรงเรียน

แนวพระราชดำริดังกล่าวทำให้นักเรียนผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศ ได้รับการศึกษาจาก
อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ความสามารถ เป็นสร้างโอกาสความเท่าเทียมแก่นักเรียน
เยาวชน และประชาชนทวั่ ประเทศ นับเปน็ พระมหากรณุ าธิคณุ อนั ใหญห่ ลวงต่อคนไทยท้ังชาติ

๑๑๑

โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจของ
ประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ทำให้เกิดปัญหาภาวะการว่างงาน การถูกเลิกจ้างประชาชนมีหนี้สินล้น
พ้นตัว สง่ ผลต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศรฯ จงึ มพี ระราชดำริ
เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน นั่นคือการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ โดยจากการที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ ทรงพบว่าพืน้ ที่ที่ประสบปัญหา
หลักในการเกษตรของประเทศไทยคือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ พระองค์จึงได้ทดลองการทำ
การเกษตรเพื่อแก้ปัญหาฝนแล้ง ความยากจน และความเป็นหนี้สินของเกษตรกร ตามทฤษฎีใหม่
ของพระองค์ทา่ น ๓ ขั้นตอน คือ

(๑) การผลิตแบบพอเพียง พึง่ ตนเองได้ ค่อยเป็นค่อยไป
(๒) การเกษตรแบบรวมกลุ่มในรปู ของสหกรณ์ ท้ังการผลติ การตลาด สวัสดิการความ
เปน็ อยู่ เปน็ ต้น
(๓) การร่วมมือกับแหล่งเงินทุน แหล่งพลังงาน ตั้งโรงสี ร้านสหกรณ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพ
ชีวติ ให้สูงข้ึน
จังหวัดสระแก้วได้ประชาสัมพันธแ์ ละประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดบั โดยเฉพาะ
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว ได้คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น ๘๕ ราย
เข้าร่วมโครงการ โดยแยกเป็นแปลงสาธิตทดลอง ๘ ราย กลมุ่ เครือขา่ ยโครงการ ๔๔ ราย และกลุ่ม
ผรู้ ิเรม่ิ โครงการ ๓๓ ราย ทั้งนี้ สำนกั งานเกษตรจงั หวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ได้ไปให้ความรู้
ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่แกเ่ กษตรกรจังหวดั สระแก้ว และมีเกษตรกรที่ได้รบั การคัดเลือกเปน็ เกษตรกร
ดีเด่นระดบั ประเทศ รายแรกของจงั หวดั สระแก้ว ได้แก่ นายโสภล สขุ โขทยั เกษตรกร หมู่ ๑๐ ตำบล
สระขวัญ อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้วปัจจุบันโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนว
พระราชดำริได้เผยแพร่ไปสู่ชนบทในท้องถิ่น โรงเรียน / สถานศึกษา และมีการนำทฤษฎีดังกล่าวไป
ใช้อย่างจริงจงั

โครงการปลกู ป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เพื่อมุง่ เป็นพฒั นาพื้นที่ในแหลง่ เสอื่ มโทรมในเขต
พืน้ ทีป่ า่ อนรุ ักษ์และป่าสงวนแห่งชาติท้ังประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรเี มือ่ วันที่ ๑ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ.
๒๕๓๗ จังหวดั สระแก้ว จงึ รว่ มกบั ปา่ ไม้เขตปราจีนบุรี ดำเนนิ การสนองนโยบายดังกล่าว จำนวน
๘๖ แหล่งพื้นที่ ๑๐๙,๔๔๓ ไร่ ใช้กล้าไม้และพนั ธุไ์ ม้กว่า ๑๕๐,๐๐๐ ต้น ปลกู ปา่ ตามโครงการปลูก
ปา่ ตงั้ แต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมาจำนวน ๑๖ โครงการท่ัวทุกพืน้ ทีใ่ นจงั หวดั พรอ้ มกันนีท้ างจังหวัด
ยงั ได้ประชาสมั พันธใ์ หป้ ระชาชน ในทกุ อำเภอรว่ มปลูกป่า ในทีส่ าธารณประโยชน์ในวนั เฉลิมพระ
ชนมพรรษา ๕ ธันวาคมของทุกปี ตลอดจนการดแู ลรักษาป่า โดยเฉพาะป่าทีเ่ ปน็ ต้นนำ้ ลำธารต่างๆ
เชน่ โครงการปา่ รกั ษ์น้ำเปน็ ต้น รวมทั้งในโอกาสวนั สำคัญตา่ งๆ เพือ่ สร้างพื้นที่สีเขียวอันเปน็
สัญลกั ษณค์ วามอดุ มสมบรู ณ์

๑๑๒

พระราชกรณยี กิจในจงั หวัดสระแก้ว
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร

ครง้ั ท่ี ๑ วันศุกร์ท่ี 12 พฤษภาคม 2521
เสด็จพระราชดำเนินอ่างเก็บน้ำห้วยชัน และโรงเรียนบ้านคลองน้ำเขียว เวลา 10.55 น.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้า ฯ
พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง พร้อมดว้ ยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจฬุ าภรณวลัยลักษณ์ จากสนาม
เฮลิคอปเตอร์สวนจิตรลดา ไปทอดพระเนตรโครงการชลประทานตามพระราชดำริ และทรงเยี่ยม
หนว่ ยทหาร ตลอดจนราษฎรในพืน้ ที่อำเภอวัฒนานครและอำเภอสระแก้ว จังหวดั ปราจนี บุรี

ครงั้ ท่ี ๒วันเสาร์ท่ี 30 มิถุนายน 2522
เสด็จพระราชดำเนิน โครงการพัฒนาพืน้ ที่ราบ
เชงิ เขาบรรทดั อ่างเกบ็ น้ำทา่ กะบาก และ
โรงเรียนบ้านคลองน้ำเขียว

คร้งั ที่ ๓ วันองั คารท่ี 8 กรกฎาคม 2523
เสดจ็ พระราชดำเนินโรงเรียนร่มเกล้า อ่างเกบ็
น้ำคลองทราย และอ่างเกบ็ น้ำช่องกลำ่ บน

๑๑๓

คร้ังที่ ๔ วันพฤหัสบดีท่ี 2 กรกฎาคม 2524
เสดจ็ พระราชดำเนินอ่างเก็บน้ำท่ากระบาก
โรงเรียนรม่ เกล้า และอ่างเก็บน้ำหว้ ยชัน

ครั้งท่ี ๕ วนั เสารท์ ่ี 4 กรกฎาคม 2524
เสด็จพระราชดำเนินอ่างเก็บน้ำท่ากะบาก
อ่างเกบ็ น้ำช่องกล่ำบน และโรงเรียนรม่ เกล้า

ครง้ั ท่ี ๖วนั เสารท์ ่ี 3 กรกฎาคม 2525
เสดจ็ พระราชดำเนินศนู ย์ปรับปรงุ และแพรพ่ ันธุ์สตั ว์
ท่ากะบาก อ่างเกบ็ น้ำชอ่ งกลำ่ บนและโรงเรียนร่มเกล้า

สมเดจ็ พระเจา้ หวั มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร

สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้เสด็จมาทรงทำพิธีวางศลิ าฤกษ์เปน็
แหง่ แรก ซึง่ ในวนั ดงั กล่าวได้มปี ระชาชนในจงั หวดั ปราจนี บรุ ี ได้ร่วมกนั ทลู เกล้าถวายเงนิ สมทบทุน

มลู นิธิโรงพยาบาลสมเดจ็ พระยุพราชเปน็ เงิน จำนวน 447,829.75 บาท

๑๑๔

วนั จันทร์ท่ี 25 กันยายน 2521
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว

รายละเอียด >>

วนั ศุกร์ท่ี 8 กันยายน 2538
เสดจ็ พระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์
รัชกาลที่ 5 ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว

วนั พุธท่ี 8 สิงหาคม 2555
เสด็จพระราชดำเนินพระราชทาน
พระพุทธนวราชบพิตรประจำจงั หวัดสระแก้ว

สมเดจ็ พระนางเจา้ สิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปีหลวง

วนั พธุ ท่ี 15 ธันวาคม 2542
เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการพฒั นา
พืน้ ทีร่ าบเชงิ เขา จังหวัดสระแก้ว – ปราจนี บรุ ี
อนั เนื่องมาจากพระราชดำริ

๑๑๕

สมเดจ็ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรนิ ธรฯ
สยามบรมราชกุมารี

วันจันทร์ท่ี 28 มกราคม 2551
เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
โครงการโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

วันองั คารท่ี 10 มีนาคม 2552
สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ
สยามบรมราชกุมารี
เสดจ็ พระราชดำเนินทรงเปิด
โรงเรียนกาสรกสิวทิ ย์ ตำบลศาลาลำดวน
อำเภอเมือง จังหวดั สระแก้ว
เป็นการสว่ นพระองค์

วันอังคารท่ี 31 สิงหาคม 2553
เสดจ็ พระราชดำเนินปฏิบตั ิพระราชกรณียกิจ
ในพืน้ ที่จงั หวดั สระแก้ว

๑๑๖

วันพฤหสั บดีท่ี 20 มกราคม 2554
เสดจ็ พระราชดำเนินไปทรงติดตามการ
ดำเนนิ งานโครงการตามพระราชดำริและ
เยีย่ มราษฎรในพืน้ ที่จงั หวดั สระแก้ว

วนั อังคารท่ี 21 สิงหาคม 2555
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตาม
ผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ
และเยี่ยมราษฎร ในพนื้ ที่จังหวดั สระแก้ว

วนั พฤหสั บดีท่ี 2 มกราคม 2557
เสดจ็ พระราชดำเนินมายงั โรงเรียนกาสรกสิวิทย์
เพือ่ ทอดพระเนตรการดำเนินงาน

วนั พฤหสั บดีท่ี 20 มีนาคม 2557
เสด็จพระราชดำเนินไปยงั พื้นที่
การฝึกกองพลทหารราบที่ 2
รักษาพระองค์ บ้านภกั ดีแผ่นดิน

๑๑๗

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม 2557
เสด็จพระราชดำเนนิ ทรงนำคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ
มลู นิธิรางวลั สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถมั ภ์
ในพืน้ ที่จังหวดั สระแก้ว

วันศุกร์ท่ี 20 กมุ ภาพันธ์ 2558
ทรงตดิ ตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ
และเยีย่ มราษฎร ในพืน้ ทีจ่ ังหวัดสระแก้ว

วันพุธท่ี 13 มกราคม 2559
ทรงตดิ ตามผลการดำเนินงานโครงการตาม
พระราชดำริและเยี่ยมราษฎรในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว

วนั พฤหัสบดีท่ี 11 พฤษภาคม 2560
เสดจ็ พระราชดำเนินไปทรงติดตาม
การดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ
ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาสารภี

๑๑๘

เมื่อวันพธุ ท่ี 9 มกราคม 2562
เสดจ็ พระราชดำเนินติดตามการดำเนินงาน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดสระแก้ว

สมเดจ็ พระเจ้านอ้ งนางเธอ เจา้ ฟา้ จฬุ าภรณวลัยลกั ษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรสี วางควัฒนวรขัตติยราชนารี

เสดจ็ พระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพืน้ ที่โครงการทบั ทิบสยามจังหวดั สระแก้ว
วันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เสดจ็ ฯ ไปยงั โครงการทบั ทิมสยาม 05 ตำบลคลองไกเ่ ถือน
อำเภอคลองหาด จังหวดั สระแก้ว และโครงการทับทิมสยาม 03 หมทู่ ี่ 9 ตำบลทัพไทย อำเภอตา
พระยา จงั หวัดสระแก้ว ทอดพระเนตรกิจกรรมด้านอาชีพของราษฎรอาทิ กิจกรรมกล่มุ ปลูกและ
แปรรูปสมนุ ไพร และเสดจ็ ฯ ไปทรงเยี่ยมหน่วยแพทยพ์ ระราชทาน และราษฎรทีม่ าเฝา้ ฯ รับเสดจ็

๑๑๙

วนั องั คารท่ี 17 สิงหาคม 2553
เสด็จเยี่ยมหน่วยแพทย์ พอ.สว. จงั หวดั สระแก้ว
วนั พฤหสั บดีที่ 9 กมุ ภาพันธ์ 2555 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจา้ ฟ้าจุฬาภรณวลยั ลักษณ์ อคั รราช
กมุ ารี ประธานกิตติมศกั ดิ์มูลนิธิแพทย์อาสาสมเดจ็ พระศรนี ครินทราบรมราชชนนี เสด็จไปยัง
โรงเรียนบ้านซบั มะนาว อำเภอเขาฉกรรจ์ จงั หวดั สระแก้ว ทรงเยีย่ มราษฎร และทรงตดิ ตามการ
ดำเนนิ งานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านสขุ ภาพและการสาธารณสขุ ซึ่งหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระ
ศรนี ครินทราบรมราชชนนีได้ออกหน่วยใหบ้ ริการแก่ผทู้ ี่เจบ็ ป่วย บ้านซับมะนาว มรี าษฎร 178
หลงั คาเรือน รวม 716 คน สว่ นใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัญหาสขุ ภาพทีพ่ บ ได้แก่ โรคติด
เช้ือในระบบทางเดินหายใจ,ความดนั โลหติ สูง, และเบาหวาน ส่วนมากจะเข้ารบั การรักษาที่สถานี
อนามยั ซบั มะนาว และโรงพยาบาลเขาฉกรรจ์ โดยการออกหนว่ ยแพทยค์ รั้งนมี้ ีผเู้ ข้ารบั บริการตรวจ
รักษาโรคทว่ั ไป และทนั ตกรรม402 ราย ซึง่ ป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนือ้ และกระดูก มีผู้ป่วยถกู
สง่ ไปรกั ษาในโรงพยาบาลต่าง ๆ29 ราย พร้อมกันนี้ คณะสัตว์แพทยศาสตร์
มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ ได้จัดหนว่ ยสตั วแพทย์พระราชทาน ออกให้บริการตรวจรกั ษาโรค
รวมถึงให้ความรใู้ นการดูแลปศุสัตวแ์ ก่ประชาชนด้วย

วันพธุ ท่ี 5 มิถุนายน 2556
เสด็จทอดพระเนตรการทำงานของหนว่ ยแพทย์ พอ.สว. จงั หวัดสระแก้วเสด็จเยี่ยมหน่วยแพทย์
เคลื่อนที่ พอ.สว.จังหวดั สระแก้ว ณ โรงเรียนทพั ราชวิทยา หม่ทู ี่ 16 ต.ทัพราช อ.ตาพระยา
จ.สระแก้ว

๑๒๐

ทลู กระหมอ่ มหญิงอุบลรัตนราชกญั ญา สริ ิวฒั นาพรรณวดี

วนั อังคารท่ี 19 มีนาคม 2556
ทรงเปิดศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE โรงเรียนอรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
วนั จันทร์ท่ี 20 สิงหาคม 2561
ทรงเปิดชมรมและศูนย์เพื่อนใจทบู ี นมั เบอรว์ ัน โรงเรียนวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

วันพุธท่ี 18 กมุ ภาพนั ธ์ 2552
เสด็จทรงเปิดโรงงานผลิตเอทานอล
บริษัท อเี อส เพาเวอร์ จำกัด
และศนู ยพ์ ฒั นาการเกษตร
อตุ สาหกรรมย่ังยืนเฉลิมพระเกียรตฯิ

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2556
ทรงเททองหล่อพระพทุ ธมงคลวิมล
บูรพาโสภิต จังหวดั สระแก้ว

๑๒๑

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธกิ าร, พ.ศ. ๒๕๔๒.วฒั นธรรม พฒั นาการทางประวตั ศิ าสตร์ เอกลักษณ์และภูมปิ ัญญา
จังหวัดสระแก้ว,กรมศิลปากรจดั พิมพ์.

จังหวัดสระแก้ว, ๒๕๔๑. สานักงาน. บรรยายสรปุ จังหวัดสระแก้ว,สระแกว้ : า่ ยตดิ ตามข้อมูลและ
ตดิ ตามผล. สานกั งานจงั หวัดสระแกว้ .

การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย. เอกสารประชาสมั พนั ธก์ ารทอ่ งเที่ยว.สระแก้ว : สานักงานภาคกลาง
เขต ๘ สระแกว้ การท่องเที่ยวแหง่ ประเทศไทย, ม.ป.ป.

ชลประทานจังหวัดสระแก้ว, สานกั งาน. โครงการพัฒนาท่รี าบเชงิ เขาตามพระราชดาริ. ม.ป.ท.,๒๕๔๑
(เอกสารอัดสาเนา)

พิทยขจรวุฒิ พิชา, ๒๕๔๑. บรรณาธิการ.สัตวป์ า่ เขาอ่างฤาไน “โครงการอนรุ ักษท์ รัพยากรปา่ ไม้และ

สัตว์ปา่ อันเนือ่ งมาจากพระราชดาริในพืน้ ทีร่ อยต่อ ๕ จังหวดั ภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา,
ชลบุร,ี ระยอง, จันทบรุ ี, สระแกว้ )” กรุงเทพฯ : อมรนิ ทร์พร้นิ ตง้ิ แอนด์ พับลชิ ช่งิ .

ศึกษาธกิ ารจังหวัดสระแก้ว, ๒๕๔๑.สานักงาน. ขอ้ มูลมรดกศลิ ปวฒั นธรรมท้องถนิ่ และภมู ปิ ญั ญาไทย
จังหวัดสระแก้ว : า่ ยส่งเสริมศาสนาและวฒั นธรรม สานักงานศึกษาธิการจงั หวดั สระแก้ว

มูลนธิ ิสว่างเทีย่ งธรรมสถาน, อนสุ รณฉ์ ลองพิธีเปดสถาน “ จ้เี หยี่ยงไท้”. สระแก้ว : มูลนธิ ิสวา่ ง
เทีย่ งธรรมสถาน, ม.ป.ป.

ศิรกิ มล สายสรอ้ ย.๒๕๔๐.วถิ ชี ีวติ ชาวไทยญอ้ ในอาเภออรัญประเทศ, ม.ป.ท., (รายงานการวจิ ยั
ไดร้ ับการสนับสนุนทุนจากสานกั งานคณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ)

ศริ ิกมล สายสร้อย และคณะ. ๒๕๔๕.ประวตั ศิ าสตร์ท้องถน่ิ และกลมุ่ ชาติพนั ธ์ใุ นเขตจงั หวัดสระแก้ว
(กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุนสนบั สนุนการวิจยั ), หนา้ ๑๑-๒๐ และ ๒๕-๒๘

หนว่ ยทหารพัฒนา. ๒๕๔๐. โครงการพัฒนาเขตท่รี าบเชงิ เขาตามพระราชดาริ. จงั หวดั ปราจนี บุรี-
สระแก้ว . ม.ป.ท.

อทุ ยานแห่งชาติ, กอง.กรมปา่ ไม.้ อทุ ยานแหง่ ชาติปางสดี า, ม.ป.ท. : ม.ป.ป. (เอกสารอดั สาเนา)

บญุ รอด ศรีสมบัติ, พ.อ. และคณะ ศ.อ.ร.ส.ร.ว.135. เมอื งอรัญฯ คนอรัญฯ ,จังหวัดสระแกว้ ,
พิมพ์ครงั้ ที่ ๑

๑๒๒

คณะผู้จัดทำ

คณะผู้บริหารและคณะครูโรงเรยี นอรัญประเทศ

1. นายประสาน เลอื ดทหาร ผอู้ ำนวยการโรงเรียนอรญั ประเทศ
2. นายภทั รพงศ์ ถาวรพา รองผอู้ ำนวยการโรงเรียนอรัญประเทศ
3. นายกิตตชิ ัย พรบรรเจิดศกั ดิ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนอรญั ประเทศ
4. นางสาวพุทธชาด ยิ่งสบาย รองผู้อำนวยการโรงเรียนอรญั ประเทศ
5. นางรติรตั น์ บญุ นัยน์รัตน์ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรยี นอรัญประเทศ
6. นางธนนั พัชญ์ เครืออนันต์ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรยี นอรญั ประเทศ
7. นายศกั รินทร์ คงเจรญิ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรยี นอรญั ประเทศ
8. นางสาวรกั ชนก ประสารกก ครูชำนาญการพิเศษโรงเรยี นอรญั ประเทศ
๙. นางสาวรัชดา ผลเจรญิ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรยี นอรญั ประเทศ
1๐. นางทิพย์วรรณ เกือ้ กูล ครชู ำนาญการโรงเรียนอรญั ประเทศ
1๑. นางสาวรตั นกร ออกเอก ครูชำนาญการโรงเรียนอรญั ประเทศ
1๒. นางสาวรัชนารถ ทองอินทร์ ครูชำนาญการโรงเรียนอรัญประเทศ
1๓. นายวีรชาติ พันตน้ ครูชำนาญการโรงเรียนอรญั ประเทศ
1๔. นางสาวน้ำพลอย จิตวุธ ครู
1๕. นางสาวมธุรส อนทน ครู
๑๖.นางสาวเพญ็ พรรณ พูนบำนาญ ครู
17. นาวสาวณราวดี พอดีมีบญุ ครผู ู้ชว่ ย
18. นายภานุวัฒน์ เจญิ ทรัพย์ ครูผชู้ ว่ ย
19. นางสาวนงนภัส วัฒนา ครูผู้ชว่ ย
20. นายสถาพร แก้วขาว ครผู ู้ชว่ ย
21. นางสาวฑติ ณัชกานต์ บญุ ครอง ครผู ู้ชว่ ย
22. นางสวจารุวรรณ ศรจี ันทร์ ครูผชู้ ่วย
23. นางสาวอรยา ออ่ นเฉวียง ครผู ู้ชว่ ย
24. นางสาวนุชนารถ แสนมะฮงุ พนักงานราชการ
25. นางสาวชลาลัย เพ็งบญุ โสม ครูอัตราจ้าง
26. นายธนพฒั น์ แสงระยับ ครอู ัตราจ้าง
27. นายกนกพล ไทยประยรู นกั ศกึ ษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

๑๒๓

ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ

รายชือ่ ผ้ทู รงคุณวุฒิ ในการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์
ตามนโยบายของ นางสาวตรนี ชุ เทยี นทอง รัฐมนตรวี า่ การกระทรวงศึกษาธิการ

๑. นายสมาน เวียงปฏิ ศกึ ษาธิการจงั หวัดสระแก้ว

2. ดร.สท้าน วารี ผอู้ ํานวยการสํานกั งานเขตพืน้ ที่การศกึ ษามธั ยมศกึ ษาสระแก้ว

3. นายศกั ดิ์ชยั บรรณสาร ผอู้ ำนวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและ

บุคลากรทางการศกึ ษา จังหวดั สระแก้ว

4. ผศ.สุมานิการ์ จันทรบ์ รรเจดิ ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลธัญบรุ ี

5. นายศิระพจต์ จรยิ าวฒุ ิกุล ประธานอนกุ รรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศกึ ษา

จังหวดั สระแก้ว

6. ดร.โสภณ วิริยะพาณิชย์ ประธานกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน

7. นางสวุ ิภา ปุณณะเวส วัฒนธรรมจงั หวดั สระแก้ว

8. นางสาวธวัลรตั น์ ชยั นราพิพัฒน์ หัวหนา้ อทุ ยานประวตั ิศาสตรส์ ตก๊ กอ๊ กธม

9. นายวิโรจน์ ตนั ธิกลุ อดีตผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านใหม่หนองไทร

10. นายประสาน เลือดทหาร ผอู้ าํ นวยการโรงเรียนอรัญประเทศ

๑1. นางบุญเริง อทุ ยั มา รองผู้อํานวยการโรงเรียนซบั นกแก้ววิทยารักษา

ราชการแทนผอู้ าํ นวยการโรงเรียนซบั นกแก้ววิทยา

๑2. นางสุดใจ รงุ่ เรือง อดีตครูเช่ยี วชาญ โรงเรียนวังน้าํ เยน็ วิทยาคม

๑3. นางสาววิลาวรรณ เลิศมงคล ครูเชย่ี วชาญ โรงเรียนซบั นกแก้ววิทยา

๑4. นางสาวปรีเปรม เค้าอ้น ศกึ ษานิเทศก์ชาํ นาญการพิเศษ สพป.สระแก้ว เขต ๑

๑5. นายชยาทิศ กญั หา ศกึ ษานิเทศกช์ ํานาญการพิเศษ สพป.สระแก้ว เขต 2

๑6. นางระพีพรรณ ทินโชคชัย ศกึ ษานิเทศก์ชํานาญการพิเศษ สำนกั งานศกึ ษาธิการ
จังหวัดสระแก้ว

๑7. นางกษพอน ประภา ศกึ ษานิเทศก์ชํานาญการพิเศษ สํานักงานเขต

พืน้ ที่การศกึ ษามธั ยมศกึ ษาสระแก้ว

๑8. นางสาวสนธินี ผิวแก้ว ครชู ํานาญการพิเศษโรงเรยี นวังน้ําเย็นวิทยาคม

๑9. นางสาวสกุ ัญญา เพาะแป้น ครชู ํานาญการพิเศษโรงเรยี นสระแก้ว

20. สบิ เอกจักรพนั ธ์ พิมพา ๑๒๔
๒1. นางสาวทชั ชกร มะยะเฉียว
๒2. นายสุเมธ วรกุล ครชู ํานาญการพิเศษโรงเรยี นทัพพระยาพิทยา
๒3. นางสมหมาย ภทู่ บั ทิม ครูชํานาญพิเศษโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม
๒4. นางสพุ ัตรา ลอมไธสงค์ ครูชํานาญการพิเศษโรงเรยี นทัพราชวิทยา
ครูชํานาญการพิเศษโรงเรยี นอนุบาลเขาฉกรรจ์
ครูชํานาญการพิเศษโรงเรยี นบ้านพระเพลง

๑๒๕


Click to View FlipBook Version