The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระมาลัยฉบับนายเส็ง-นางขำ-A5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

พระมาลัยฉบับนายเส็ง-นางขำ-A5

พระมาลัยฉบับนายเส็ง-นางขำ-A5

หนังสอื มาลัยสูตร พ.ศ. ๒๔๒๕
(ฉบบั นายเสง็ และนางขา ถวาย)

ปริวรรตโดย
นกั ศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย รหสั ๖๐ และรหสั ๖๑ กลมุ่ ๑-๒
คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภฏั พิบลู สงคราม

ตรวจสอบและอธบิ ายศัพทโ์ ดย
(สว่ นอกั ษรขอม-ไทย)

อาจารยภ์ ัครพล แสงเงนิ ศศ.ม.วรรณคดไี ทย
(ส่วนอักษรขอม-บาลี)

พระมหากวศี ักด์ิ ญาณกวิ (วาปีกลุ เศรษฐ)์ ป.ธ.๙
ศศ.ม.จารกึ ภาษาไทยและภาษาตะวนั ออก

หนงั สอื นเ้ี ปน็ ส่วนหนึง่ ของโครงการรักษล์ าน งบประมาณปี ๒๕๖๔
สานกั ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏพิบลู สงครามและ

บรู ณาการกับรายวชิ าวรรณกรรมท้องถนิ่ พิษณุโลก THAI246
หลักสตู รศลิ ปศาสตรบณั ฑติ สาขาวชิ าภาษาไทย
ประจาภาคการศึกษาท่ี ๑ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔

สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั พิบูลสงคราม



คานา

หนังสือมาลัยสูตรฉบับนี้เอกสารต้นฉบับสมุดไทยขาว บันทึกด้วย
หมึกดา อักษรขอมภาษาบาลีและภาษาไทย มีจานวนทั้งสิ้น ๑๘๖ หน้าสมุด
ไทย มีภาพจิตรกรรมเก่ียวเน่ืองกับเร่ืองราวพระมาลัยโดยตรง สร้างโดยนาย
เส็งและนางขา ถวายแด่พระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ โดยต้นฉบับเก็บ
รักษาไว้ที่ห้องสืบค้นภูมิปัญญา ส่วนนิทรรศการชั้น ๒ สานักศิลปะและ
วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชพิบูลสงคราม มีเนื้อหาว่าด้วยพระมาลัย พระ
อรหันต์ผู้มีฤทธ์ิสามารถเสด็จไปนรกและสวรรค์เพื่อนาข่าวสารมาบอกแก่
มนุษย์ในชมพูทวีป ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณสานักศิลปะและวัฒนธรรม
ท่ีมอบโอกาสสาคัญให้ข้าพเจ้าได้ศึกษาเอกสารโบราณน้ีอนั เปน็ มรดกทางภูมิ
ปัญญาสาคัญของชาวพิษณโุ ลกในอดีต ขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ภาพปกท้ังหน้าและหลัง ที่ท่านทัศนาการอยู่น้ีนามาจากในหนังสือ
มาลัยสูตรฉบับน้ี โดยภาพหน้าปกนั้นเป็นตอนท่ีพระศรีอาริยเมตไตรย
เทพบุตร (กลาง) ถวายวันทนาการแด่พระมาลัย (ซ้าย) โดยมีองค์อัมริน-
ทราธิราช (ขวา) เจ้าแห่งพิภพดาวดึงส์เป็นผู้วิสัชนาบุพกรรมเทวดาองค์ต่าง
ๆ ท่ีมากราบไหว้วันทาพระจุฬามณีเจดีย์ (เจดีย์ในภาพ) ระหว่างรอการเสด็จ
มาของพระศรีอาริยเมตไตรยเทพบุตร (สันดุสิตเทวราชองค์ปัจจุบัน) ส่วน
ภาพปกหลงั นั้นเป็นภาพชายยากจนเข็ญใจเก็บดอกบวั จานวน ๘ ดอก ถวาย
พระมาลัยแล้วอธิษฐานว่า ขอให้เกิดภพชาติใดก็ตาม คาว่า “ไม่มี” จงอย่า
ปรากฏแก่ตน เมื่อชายยากจนสิ้นชีพก็ได้ไปจุติยังสวรรค์ เป็นเทวดามีรัศมี
งดงามเปน็ อย่างย่งิ เน่อื งจากอานิสงส์ได้ถวายดอกไม้แด่พระอรหันต์



ด้วยรายวิชาวรรณกรรมท้องถ่ินพิษณุโลก หลักสูตรศิลปศาสตร
บัณฑิต (ภาษาไทย) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช
ภัฏพิบูลสงคราม มุ่งสอนให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ ตามปรัชญาของ
มหาวิทยาลัย โดยมีความมุ่งหวังที่จะนาวรรณกรรมท้องถิ่นของจังหวัด
พิษณุโลกปริวรรตและเผยแพร่องค์ความรู้ต่อผู้สนใจท่ัวไป อีกทั้งรายวิชายัง
บรู ณาการกับโครงการรกั ษ์ลาน โครงการในความรับผดิ ชอบของสานกั ศลิ ปะ
และวัฒนธรรม ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพ่ือเป็นการผสานองค์ความร้ทู ี่
สาคัญต่าง ๆ ท้ังการอนุรักษ์เอกสารโบราณและเผยแพร่องค์ความรู้จาก
เอกสารโบราณสู่สงั คมเพือ่ เปน็ การสบื สาน รกั ษาองคค์ วามรขู้ องบรรพชนไทย
มใิ ห้เส่ือมสูญไปตามกาลเวลา

หนังสือมาลัยสูตรฉบับน้ีเป็นหนังสือที่ข้าพเจ้าเป็นผู้สอนรายวิชา
วรรณกรรมท้องถิ่นพิษณุโลก ได้มอบหมายให้นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร
บณั ฑติ สาขาวิชาภาษาไทย ชัน้ ปีท่ี ๔ รหสั ๖๐ และรหัส ๖๑ กล่มุ ๑-๒ เป็น
งานประจารายวิชาโดยมุ่งให้นักศึกษาเน้นปริวรรตเอกสารโบราณประจา
ท้องถ่ินพิษณุโลกเป็นสาคัญ (ตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา) อีกท้ังยังได้รับ
ความร่วมมือสาคัญจากคุณเบญจพร บุญศิริรุ่งเรือง นักวิชาการศึกษาจาก
สานักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ท่ีคอยให้ความช่วยเหลือข้าพเจ้าผู้สอนท้ังการ
บรรยายความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์เอกสารโบราณแก่นักศึกษา ประสานงาน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ให้ความช่วยเหลือในเรื่องการจัดรูปแบบ
หนังสือ เอกสาร รูปภาพ หรืออื่นใดก็มิสามารถพรรณนาได้หมดส้ิน ข้าพเจ้า
ขอขอบพระคุณในมิตรไมตรขี องคุณเบญจพร ผู้เป็นกัลยาณมติ รของข้าพเจ้า
อยา่ งสมา่ เสมอมา ณ โอกาสนี้



หลังจากท่ีนักศึกษาได้ปริวรรตหนังสือมาลัยสูตรจากอักษรขอม
ภาษาบาลแี ละไทยในเบือ้ งต้นแลว้ ขา้ พเจา้ นาเนื้อหาดังกล่าวมาตรวจสอบอีก
ครั้ง โดยส่วนท่ีเป็นอักษรขอม-บาลี ข้าพเจ้ากราบนมัสการ พระมหากวีศักด์ิ
ญาณกวิ (วาปีกุลเศรษฐ์) ป.ธ.๙ ศศ.ม.จารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
นกั วชิ าการอสิ ระแหง่ วดั สามพระยา กรงุ เทพมหานคร เปน็ ผูต้ รวจสอบเนื้อหา
และจดั ทาคาอธบิ ายเพ่มิ เติม ขอกราบนมัสการขอบพระคณุ ยิ่งมา ณ โอกาสนี้
ในส่วนของอักษรขอม-ภาษาไทย ข้าพเจ้าเป็นผู้ตรวจสอบและจัดทา
คาอธิบายศัพท์เพ่ิมเติม โดยมุ่งหวังให้หนังสือน้ีเป็นหนังสืออ่านประกอบการ
เรียนทั้งรายวิชาวรรณกรรมท้องถ่ินพิษณุโลก THAI246 และวรรณกรรม
เอกของไทย THAI242 อันเป็นวิชาในความรับผิดชอบของข้าพเจ้าของการ
สอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบลู สงคราม ทั้งนี้ขา้ พเจ้านาภาพตน้ ฉบับ
แทรกไว้ท่ีภาคผนวก (จัดทาโดยคุณเบญจพร) เพ่ือให้ผู้สนใจได้ศึกษาที่
ตน้ ฉบบั ไดอ้ ีกด้วย โดยข้าพเจ้า “ตระหนัก” ถึงองค์ความร้ทู ้องถ่ินเป็นสาคัญ
เมื่อได้รับความรู้เหล่าน้ันต้องสนองคืนสู่ท้องถ่ินให้ได้ อันเป็นจุดมุ่งหมาย
สงู สดุ ในชีวติ การทางานของขา้ พเจา้

คาอธิบายศัพท์ต่าง ๆ ท่ีปรากฏในหนังสือเล่มน้ี ข้าพเจ้าใช้องค์
ความรู้ตา่ ง ๆ ทไี่ ด้สะสมมาแบบ “สะเลก็ สะน้อย” (เล็ก ๆ น้อย ๆ) ต้งั แต่เร่ิม
ทางาน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นฐานความร้สู าคญั ในการอธิบาย ดว้ ยผลงานวิชาการ
ที่ข้าพเจ้าพยายามเก็บเล็กผสมน้อยแล้วตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ซ่ึงข้าพเจ้า
เลือกบทความส่วนตัว ๒ บทความ คือ ๑. บทความนาเรื่องหนังสือมาลัย
สูตร เอกสารจากสานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล
สงคราม ตีพิมพ์คร้ังแรกในวารสารอักษราพิบูล คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีท่ี ๑ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-



มิถุนายน ๒๕๖๓) หน้า ๑-๖ และ ๒. จากอวสานถึงเริ่มใหม่: ยุคพระศรี

อาริยเมตไตรยในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ตีพิมพ์ครั้งแรกใน

วารสารไทยศกึ ษา สถาบนั ไทยศึกษา จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย ปีที่ ๑๒ ฉบับ

ท่ี ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๙) หน้า ๑-๑๕ ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า ทั้งสอง

บทความน้ีจะเป็นประโยชน์อยา่ งยิ่งต่อการอ่านหนังสือมาลัยสูตรให้เข้าใจได้

อยา่ งดี

ผลบุญหรือประโยชน์อันใดจักเกิดขึ้นจากหนังสือเล่มนี้ ขอผลบุญ

นั้นจงไปถึงแด่นายเส็งและนางขา ผู้เป็นเจ้าของหนังสือมาลัยสูตรฉบับนี้

ขอให้ท่านท้ังสองจงสาเร็จมโนรถปรารถนาตามที่ทา่ นประสงค์ (ดังปรากฏคา

อธิษฐานในหน้าแรก) และขอให้ข้าพเจ้า คณะนักศึกษาและผู้มีส่วนในการ

ป ริ วร ร ต ห นั งสือ ม าลั ยสู ต ร ฉบั บ นี้ ได้ พ บ แ ล ะฟั งธ รรม จาก พ ระศ รีอ าริย -

เมตไตรยที่จะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล จนสามารถ

ดบั เพลิงกิเลสไดห้ มดส้ินเข้าส่ดู ินแดนอนั เป็นนิจนริ ันดร์มหานครนิพพานด้วย

เทอญ

ท้ายสุดนีข้ ้าพเจ้าขอน้อมนาโคลงท้ายเร่ืองพระมาลัยคาหลวง พระ

นิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ บรมครูทางด้านวรรณคดีไทยที่ข้าพเจ้านับถือ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบด้วยเศียรเกล้ามาประดับในหนังสือเล่มน้ีเพื่อเป็น

มงคลแดช่ วี ติ ของผอู้ า่ นทุกทา่ น โดยปรบั เปลี่ยนความบ้างเล็กน้อยในเรอ่ื งของ

ปีพุทธศักราช ดังนี้

๏ จบเสร็จสาเร็จเหร้อื ง ในนิติ

พระมาลยั บพิตร ผา่ นเผ้า

เสดจ็ ดาวดึงสฤทธ์ิ เรอื งโรจน์

นาข่าวกลา่ วยศเจ้า ปิน่ เกลา้ จอมอารยิ ์...

จ สองพัน
เศษเหล้า
๏ เม่อื เสร็จศักราชได้ จนเสร็จ
หา้ ร้อยหกสบิ ส่ี*สรรค์ พบไทท้ รงธรรม ฯ
เดชะเพยี รเจียรกาล
เดชะบุญแต่งให้ ภัครพล แสงเงนิ
สงิ หาคม ๒๕๖๔

* ของเดิมคือ พ.ศ. ๒๒๘๐ ปที ี่พระองคท์ รงพระนิพนธพ์ ระมาลัยคาหลวง

สารบัญ หนา้

คานา ๑

บทความนาเรื่อง หนังสือมาลัยสูตร
เอกสารจากสานักศลิ ปะและวฒั นธรรม ๑๑๐
มหาวิทยาลยั ราชภฏั พิบูลสงคราม
๑๓๐
หนังสอื มาลัยสตู ร พ.ศ. ๒๔๒๕ ๑๓๓
ฉบับปรวิ รรต

บทความเร่ือง จากอวสานถึงเร่ิมใหม่ :
ยุคพระศรีอาริยเมตไตรยในไตรภูมิ
ฉบับหอสมดุ แหง่ ชาติกรุงปารีส

ประวัติและผลงานผู้ตรวจสอบการ
ป ริ ว ร ร ต แ ล ะ จั ด ท า ค า อ ธิ บ า ย ศั พ ท์
หนงั สอื มาลัยสูตร พ.ศ. ๒๔๒๕

ภาคผนวก

บทความนาเรื่อง
หนงั สอื มาลยั สตู ร เอกสารจากสานกั ศิลปะและวัฒนธรรม

มหาวทิ ยาลัยราชภัฏพบิ ูลสงคราม๒
ภคั รพล แสงเงิน

เอกสารต้นฉบบั มาลัยสตู ร พระมาลยั (ซ้าย) สนทนากับพระอินทร์ (ขวา)
หน้าพระจฬุ ามณเี จดยี ์ สวรรคช์ นั้ ดาวดงึ ส์

ทม่ี า: หนังสือมาลยั สตู รฉบบั นายเส็งและนางขา (๒๔๒๕)

๒ ตีพิมพ์คร้ังแรกในวารสารอักษราพิบูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภฏั พบิ ูลสงคราม ปที ี่ ๑ ฉบบั ท่ี ๑ (มกราคม-มถิ ุนายน ๒๕๖๓) หนา้ ๑-๖.



ทีม่ าของเอกสาร
ภาพทที่ ่านไดท้ ัศนาอยู่นีเ้ ป็นภาพจติ รกรรมเรื่องมาลัยสูตร เอกสาร

ท่ีจัดแสดงอยู่ในห้องสืบค้นภูมิปัญญา ส่วนนิทรรศการชั้น ๒ อาคารสานัก
ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
โดยจัดอยู่ในหมวดหมู่วรรณกรรมพุทธศาสนา เอกสารเลขที่ พส.ข.๐๒๐๑ ถือ
เป็นหนงั สือมาลยั สูตรที่มีความสมบูรณม์ ากท่ีสดุ ฉบับหนึง่ ในจานวนมาลัยสตู ร
หลายฉบับของเอกสารโบราณจากสานักศลิ ปะและวฒั นธรรมฯ โดยที่มาของ
เอกสารเหล่านต้ี ้องย้อนไปเมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖ โดยผชู้ ่วยศาสตราจารย์
สุพจน์ พฤกษะวัน ผู้อานวยการสานักศิลปะและวัฒนธรรมในสมัยน้ัน ท่ี
รังสรรค์โครงการอนั ลา้ ค่าย่งิ ต่อการอนุรกั ษ์เอกสารโบราณ ภูมปิ ัญญาท้องถิ่น
ของภมู ภิ าคภาคเหนือตอนลา่ ง คอื โครงการสารวจสมดุ ข่อยใบลาน จังหวัด
พษิ ณุโลก โดยโครงการน้ีมีจดุ ม่งุ หมายสาคัญ คือ

การนาเอกสารโบราณในแถบท้องถิ่นภาคเหนอื ตอนลา่ งมารวบรวม
ไว้และทาสาเนาไมโครฟิล์ม เพื่ออนุรักษ์ของเก่าแก่เหล่านี้ไว้ไม่ให้
สูญสลายไปตามกาลเวลา โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก คือ ต้องมีอายุ
อย่างต่า ๕๐ ปี เน้ือหาไม่ซ้าซ้อนกันและมีความสมบูรณ์พอที่จะ
นามาศึกษาได้ โดยคัดเลือกเอกสารโบราณจานวน ๙๖๑ ช้ินมาทา
สาเนาไมโครฟิล์ม โดยเอกสารเหล่านี้ แบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ
เช่น หมวดพุทธศาสนา นิทานพื้นบ้าน กฎ หมายโบ ราณ
จรยิ ศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์ โหราศาสตร์ เป็นต้น

(สพุ จน์ พฤกษะวัน, ๒๕๒๖ : น.๑-๒)
หนังสือมาลัยสูตรเล่มนี้ เป็นเอกสารโบราณท่ีบันทึกลงในสมุดไทย
ขาว บันทึกด้วยอักษรขอม ภาษาบาลีและไทย ปรากฏช่ือผู้แตง่ โดยคือ “นาย
เส็ง (สามี) และนางขา (ภรรยา)” เขียนถวายในพระศาสนา โดยระบุวันที่



เขียนสาเรจ็ เมือ่ “พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ ๒๔๒๕ เดือนล่วงได้ ๖ เดือน๓
ปนี ้ีเป็นอธกิ มาส วนั ล่วงได้ ๒๗ วัน ปีเป็นนักษัตรมะเมีย จัตวาศก เดือน ๑๒
ข้ึน ๑๔ ค่า วันศุกร”์ ซ่ึงตรงกบั วนั ศุกร์ท่ี ๒๔ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๒๕”

โ ด ย ท้ั ง ส อ ง ส า มี ภ ร ร ย า ป ร า ร ถ น า ส ร้ า ง ห นั ง สื อ เ ล่ ม นี้ ไ ว้ ใ น
พระพทุ ธศาสนาเพ่ือให้สาเร็จแกพ่ ระโพธิญาณในอนาคตกาล (ปรารถนาเพื่อ
เป็นพระพุทธเจ้า) โดยมีเน้ือหาเกี่ยวกับพระสัตปกรณาภิธรรม (พระธรรม ๗
คัมภีร์) บทสวดที่มักนิยมสวดในงานศพ โดยหมวดพระธรรมจะบันทึกด้วย
อักษรขอม ภาษาบาลี เนื่องจากในสมัย พ.ศ. ๒๔๒๕ ซ่ึงตรงกับสมัย
พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว การบันทึกภาษาบาลีนิยมใชอ้ ักษร
ขอมเนื่องจากคนไทยสมัยน้ันยังคุ้นชินกับอักษรขอม ซ่ึงถือว่าเป็นอักษร
ศักด์ิสิทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา ในส่วนเน้ือหาที่เป็นเร่ืองราวของพระมาลัย
ใช้อักษรขอม ภาษาไทย ในการบันทึกเนื้อหา โดยเรื่องพระมาลัยมักนิยมใช้
คาประพันธ์ประเภทกาพย์ชนดิ ต่างๆ คอื ยานี ๑๑ ฉบัง ๑๖ และสรุ างคนางค์
๒๘ เพ่ือใช้ในการสวด หรือเป็นที่รู้จักในช่ือว่า “กลอนสวด” โดยสมัยโบราณ
มกั สวดในงานแต่งงานเพื่อใหบ้ ่าวสาวมีความละอายและ เกรงกลวั ตอ่ บาป ต่อมา
นยิ มสวดในงานศพ ซงึ่ ประพฤติกันเป็นประเพณีทเ่ี ราเรยี กวา่ “สวดมาลยั ”

เน้ือหาหลักของมาลยั สูตร
เร่ืองพระมาลัยเป็นเร่ืองเก่ียวกับพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงประวตั ิ

ของพระมาลัย อันมีท่ีมาจากมาเลยยเถระวัตถุของอินเดีย พระมาลยั เป็นพระ
อรหันต์ทรงฤทธานุภาพประดุจพระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายของ
พระพทุ ธเจ้า พระมาลยั เปน็ ชาวลงั กาทวปี เปน็ พระอรหนั ตด์ า้ นฤทธิ์ สามารถ

๓ คนไทยพุทธเริ่มนับเดือนแรกตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในวัน
วสิ าขบูชา เพญ็ ขึ้น ๑๕ คา่ เดือน ๖



เหาะเหินไปยังนรกหรือสวรรค์เพ่ือนาข่าวสารกลับมาบอกแก่ญาติในเมือง
มนุษย์ เรื่องพระมาลัยมีความสัมพันธ์กับคติพระศรีอาริย เมตไตรย
พระพุทธเจ้าองค์ท่ี ๕ ท่ีจะมาตรัสรู้ต่อจากพระพุทธเจ้าโคดม เน่ืองจากเมื่อ
พระมาลัยรับดอกบัว ๘ ดอกจากชายยากจนแล้ว พระมาลัย ก็เสด็จไปยัง
สวรรค์ช้ันดาวดึงส์เพื่อนมัสการพระจุฬามณีเจดยี ์ (เจดีย์สาคัญบรรจุพระโมลี
(ผม) และพระเขี้ยวแกว้ เบื้องขวาของพระพุทธเจา้ ) และสนทนากับพระอนิ ทร์

พระมาลยั รบั ดอกบวั ๘ ดอกจากชายยากจนเขญ็ ใจ
ตัวอย่างของการทาบุญท่มี ีอานสิ งสแ์ รงโดยไมต่ อ้ งใชท้ รพั ยม์ าก

เพียงแตจ่ ิตต้งั ม่นั ในการถวาย
ท่มี า: หนังสอื มาลัยสตู รฉบับนายเส็งและนางขา (๒๔๒๕)



ก า ร ส น ท น ากั บ พ ร ะ อิ น ท ร์ นั้ น เป็ น ไป ใน รู ป แ บ บ ปุ จ ฉ า -วิ สั ช น า
ซักถามบุพกรรมของเทวดาต่างๆ ที่มานมัสการพระจุฬามณีเจดีย์จนกระท่ัง
สันดุสิตเทวราช คือ พระศรีอาริยเมตไตรยเสด็จมาพร้อมด้วยเทวดาบริวาร
จานวนมากมาย พระมาลัยจึงได้สนทนากับพระศรีอาริยเมตไตรยเทพบุตร
โดยบอกความประสงค์ของชาวชมพูทวีปที่ต้องการไปเกิดในยุคของพระองค์
โดยพระศรีอาริยเมตไตรยก็แจ้งความทุกประการถงึ วธิ ีทจ่ี ะทาให้ไปเกิดในยุค
ของพระองค์ได้ เช่น การรักษาศีล เจริญภาวนา หรือฟังคาถาพัน (เทศน์
มหาชาต)ิ จบภายในวันเดียว เป็นตน้

พระมาลยั สนทนากบั พระศรีอาริยเมตไตรยเทพบุตร
ที่มา: หนังสือมาลยั สูตรฉบับนายเส็งและนางขา (๒๔๒๕)



นอกจากน้ัน พระศรีอาริยเมตไตรยเทพบุตรยังไดก้ ล่าวว่า ตอ่ ไปใน
ภายหนา้ เมื่อศาสนาของพระพทุ ธเจ้าองค์ปัจจบุ นั คือ

ศาสนาของพระสมณโคดมมีอายุครบ ๕,๐๐๐ ปี จะเกิดเหตุการณ์
ที่เรียกว่า สัตถันตรกัลป์ ผู้คนอายุขัย ๑๐ ปี จะมิรู้จักบุญบาป ฆ่า
ฟันกันนองเลือดไปท่ัวท้ังแผ่นดินตลอด ๗ วัน ผู้คนท่ีรอดตายจาก
เหตุการณ์นี้จะพากันบาเพ็ญกุศล จนลูกหลานอายุขัยจาเริญข้ึนไป
ถงึ อสงไขย (นับไม่ได)้ และลดลงมาเหลอื ๘๐,๐๐๐ ปี ณ บดั น้นั จะ
ถึ งก า ล ข อ งพ ร ะ ศ รี อ า ริ ย เม ต ไต ร ย เท พ บุ ต ร ม า ต รั ส รู้ เป็ น พ ร ะ
สัมมาสัมพุทธเจา้ (ภคั รพล แสงเงิน, ๒๕๕๙ : น.๕)
โดยในยุคของพระศรีอาริยเมตไตรยจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ไปทั่ว
โลก เช่น ข้าวสาลีเพียงหนึ่งเมล็ดจะงอกออกเป็นแสนกอ สัตว์ต่างๆ ไม่เป็น
ศัตรูกัน ผู้คนตายไปแล้วไปบังเกิดในสวรรค์เสียส่วนมาก โดยหน่ึงในนั้นคือ
ตน้ กลั ปพฤกษ์ ตน้ ไม้วิเศษที่สามารถเนรมติ สิง่ ของให้แก่ผูท้ ป่ี รารถนาได้



ต้นกัลปพฤกษ์ยุคพระศรีอารยิ เมตไตรย
ผู้ใดปรารถนาสง่ิ ใดใหไ้ ปอธิษฐานใตต้ น้ ไมน้ จ้ี ักได้ดงั ใจปรารถนา

ที่มา: หนงั สือมาลยั สูตรฉบับนายเส็งและนางขา (๒๔๒๕)

คติพระศรอี าริยเมตไตรยยงั ถกู ถา่ ยทอดเรื่องราวลงในหนงั สือมาลัย
สูตร นบั ได้ว่าวรรณกรรมเรอ่ื งพระมาลยั ยงั เปน็ ทศี่ รทั ธาของคนในสมัยโบราณ
ในดินแดนภาคเหนือตอนล่างของไทย เรื่องพระมาลัยเป็นภาพสะท้อนแห่ง
กุศโลบายของคนโบราณท่ชี ี้ให้เห็นโทษของบาปท่ที าไว้ตอนเป็นมนุษย์ผ่านตัว
ละคร “สัตว์นรก” และผลแห่งกุศลท่ีสร้างไว้ตอนเป็นมนุษย์ก็จะได้ไปเสวย



บุญในฉกามาพจรสวรรค์ในรูปแบบของ “เทวดา” และหากผู้ใดปรารถนาท่ี
จะไปเกดิ ในยคุ ของพระศรีอารยิ เมตไตรยกใ็ ห้เร่งสร้างกุศล งดเวน้ จากบาปท้ัง
ปวงก็จะได้ไปนิพพานในยุคของพระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
จากคาอธิษฐานของนายเส็งและนางขาท่ีสร้าง “หนังสือมาลัยสตู ร” ถวายใน
พระศาสนาที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเพ่ือเข้าสู่กระแสพระนิพพาน
ดินแดนเป้าหมายสงู สุดของคตทิ างพระพุทธศาสนาน่ันเอง

เอกสารอา้ งองิ
ภัครพล แสงเงิน. (๒๕๕๙). จากอวสานถึงเริ่มใหม่: ยุคพระศรีอาริยเมตไตรย

ในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส. วารสารไทยศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับที่ ๒ ปีที่ ๑๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม
๒๕๕๙) หน้า ๑-๑๕.
สุพจน์ พฤกษะวัน. (๒๕๒๖). บัญชีรายช่ือสมดุ ขอ่ ยใบลานจังหวัดพษิ ณโุ ลกท่ี
ถ่ายทาไมโครฟิล์ม. พิษณุโลก : โครงการสารวจสมุดข่อยใบลาน
จังหวัดพิษณุโลก ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม
พษิ ณุโลก.
หนังสอื มาลยั สตู รฉบบั นายเส็งและนางขา. (๒๔๒๕). เอกสารจากสานกั ศิลปะ
และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.
๐๒๐๑. พิษณุโลก: มหาวทิ ยาลัยราชภฏั พิบลู สงคราม

หนังสอื มาลยั สูตร พ.ศ. ๒๔๒๕ ฉบบั ปรวิ รรต๑

หนังสือมาลัยสูตรเล่มนี้ ข้าพเจ้า เส็งผู้ผัว ขาผู้เมีย มีจิตศรัทธา
สร้างไว้ในพระพุทธศาสนา ขอให้ข้าพเจ้าได้สาเร็จแก่พระโพธิญาณ แม้น
ข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระโพธิญาณตราบใด ขอให้ข้าพเจ้ารุ่งเรืองสุกใสพร้อมไป
ดว้ ยโภคัยไอยสุริยสมบตั ิ ความทกุ ข์ขออยา่ ใหไ้ ดเ้ หน็ ความเขญ็ ขออยา่ ใหไ้ ด้มี
ขอให้ข้าพเจ้าได้ทันพระไมตรี นิพพาน ปจฺจโย โหตุ ฯฯ ๏ ฯ พระ
พทุ ธศกั ราชล่วงแลว้ ได้ ๒๔๒๕ เดือนลว่ งได้ ๖ เดือน ปนี เ้ี ป็นอธกิ มาส วันลว่ ง
ได้ ๒๗ วัน ปีเปน็ ปจั จบุ นั มะเมยี จัตวาศก เดือนสิบสอง ขนึ้ ๑๔ คา่ วันศุกร์๒
สาเรจ็ แลว้ นิพพาน ปจฺจโย โหตุ ฯ๛

๏ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมพฺ ทุ ฺธสสฺ ฯ
ยนฺเตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน ปถม
ปาราชกิ กตถฺ ปญฺญตฺตนฺติ ฯ เวสาลิย ปญฺญตฺตนฺติ ฯ ก อารพฺภาติ ฯ สุทนิ ฺน
กลนฺทปุตฺต อารพฺภาติ ฯ กิสฺมึ วตฺถุสมินฺติ ฯ สุทินฺโน กลนฺทปุตฺโต ปุราณ-
ทุติยิกาย เมถุน ธมฺม ปฏิเสวิ ตสฺมึ วตฺถุสมินฺติ ฯ๓ เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา
เวรญฺชาย วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล มหาภิกฺขุสเฆน สทฺธึ ปญฺจมตฺเตหิ
ภิกฺขุสเตหิ ฯ อสฺโสสิ โข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ สมโณ ขลุ โภ โคตโม สกฺยปุตโฺ ต
สกฺยกุลา ปพฺพชิโต เวรญฺชาย วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล มหตา ภิกฺขุสเฆน
สทธฺ ึ ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขสุ เตหิ ต โข ปน ภวนฺต โคตม เอวกลฺยาโณ กิตตฺ ิสทฺโท

๑ ส่วนที่เป็นอักษรขอม-ภาษาบาลี ตรวจทาน แก้ไขและจัดทาคาอธิบายเพิ่มเติมโดยพระมหา
กวีศักดิ์ ญาณกวิ (วาปกี ุลเศรษฐ์) ป.ธ.๙ วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร นักวิชาการอิสระ ศศ.ม.จารึก
ภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลยั ศิลปากร

๒ ตรงกบั วนั ศุกรท์ ี่ ๒๔ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๒๕
๓ ตง้ั แต่ “ยนฺเตน ภควตา ชานตา จนถงึ ปฏิเสวิ ตสฺมึ วตฺถสุ มินตฺ ิ” คัดมาจากปริวารในพระ
วนิ ยั ปฎิ ก

๑๐

อพฺภุคฺคโต อิติปิ โส ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต
โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสาน พุทฺโธ ภควาติ โส อิม
โลก สเทวก สมารก สมารก๔ สพฺรหฺมก สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปช สเทวมนุสฺส
สย อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทสิ โส ธมฺม เทเสสิ อาทิกลฺยาณ มชฺเฌกลฺยาณ
ปริโยสาน กลฺยาณ๕ สาตถ สพฺยญฺชน เกวลปริปุณฺณ ปริสุทฺธ พฺรหฺมจริย
ปกาเสติ สาธุ โข ปน ตถารปู าน อรหต ทสฺสน โหตีติ ฯ๖ วินยปิฏก นฏิ ฐฺ ติ ฯ

เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา อนฺตรา จ ราชคห อนฺตรา จ นาลนฺท
อทฺธานมคฺคปฏปิ นฺโน โหติ มหตา ภิกฺขุสเฆน สทฺธึ ปญฺจมตฺเตหิ ภิกขุสเตหิ ฯ
สุปฺ ปิ โยปิ โข ป ริพฺ พาชโก อนฺตรา จ ราชคห อนฺตรา จ นาฬ นฺท
อทฺธานมคคฺ ปฏิปนฺโน โหติ สทฺธึ อนฺเตวาสินา พฺรหมฺทตฺเตน มาณเวน ฯ ตตฺร
สุท สุปฺปิโย ปริพฺพาชโก อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส อวณณ̣ ภาสติ ธม̣มสส̣
อวณฺณ ภาสติ สฆสส̣ อวณณ̣ ภาสติ ฯ สุปป̣ ิยสส̣ ปน ปรพิ ̣ภาชกส̣ส๗ อนเ̣ ต-
วาสี พ̣รห̣มทต̣โต มานโว อเนกปรยิ าเยน พทุ ธ̣ ส̣ส วณ̣ณ ภาสติ ธม̣มส̣ส วณ̣ณ
ภาสติ สฆสส̣ วณณ̣ ภาสติ อิติห เต อุโภ อาจาริยน̣เตวาสี๘ อญฺญมญฺญส̣ส
อุชุวิปจจ̣ นิกวาทา ภควนต̣ ปิฎฐ̣ ิโต ปิฎฐ̣ ิโต อนุพนฺธา โหนติ ภิกฺขุสฆญฺจ ฯ๙
สตุ ตฺ นฺตปฏิ ก ฯ

๔ ต้นฉบบั เขียนซ้า
๕ ทถ่ี กู ตอ้ งควรเป็น ปริโยสานกลยฺ าณ
๖ ตั้งแต่ “เยน สมเยน พทุ โฺ ธ จนถึง อรหต ทสฺสน โหตตี ิ” คัดมาจากเวรัญชกัณฑ์ ในพระวินัย
ปฎิ ก มหาวภิ ังค์
๗ ที่ถกู ตอ้ งควรจะเป็น ปรพิ พฺ าชกสฺส
๘ ทีถ่ ูกต้องควรจะเป็น อาจรยิ นฺเตวาสี
๙ ตั้งแต่ “เอวมเฺ ม สุต จนถึง อนพุ นฺธา โหนติ ภกิ ขฺ ุสฆญจฺ ” คัดมาจากพรหมชาลสูตร ในพระ
สตุ ตนั ตปฎิ ก ทีฆนกิ าย สลี กั ขันธวรรค

๑๑

๏ กุสลา ธม̣มา อกสุ ลา ธมฺมา อพ̣ยากตา ธมม̣ า กตเม ธม̣มา กุสลา
ยส̣มึ สมเย กามาวจร กุสล จิตต̣ อุป̣ปน̣น โหติ โสมนสส̣ สหคต ญาณสม̣ปยตุ ต
รูปารม̣มณ วา สท̣ทารมม̣ ณ วา คน̣ธารมม̣ ณ วา รสารมม̣ ณ วา โผฎฐพ̣พา-
รมม̣ ณ วา ธมม̣ ารม̣มณ วา ย ย วา ปนารพภ̣ ตสม̣ ึ สมเย ผสฺโส โหติ
อวกิ ฺเขโป โหติ เย วา ปน ตสมฺ ึ สมเย อญฺเญปิ อตถ̣ ิ ปฏิจฺจสมุปปฺ น̣นา อรปู โิ น
ธมม̣ า อิเม ธมม̣ า กสุ ลา ฯ สงคฺ ิณปี กรณา นฏิ ฐฺ ิตา๑๐ ฯ

ปญฺจกฺขน̣โธ รูปกฺขนโ̣ ธ เวทนากฺขน̣โธ สญฺญากฺขนโ̣ ธ สขารกข̣ น̣โธ
วิญฺญาณก̣ขนโ̣ ธ ฯ ตตถ̣ กตโม รูปกฺขนโ̣ ธ ฯ ย กิญฺจิ รูปํ อตีตานาคต-
ปจ̣จปุ ฺปนฺน อชฌ̣ ต̣ต วา พหิท̣ธา วา โอฬาริก วา สุขุม วา หิน๑๑ วา ปณีต วา
ย ทุเร๑๒ วา สน̣ติเก วา ตเทกชฺฌ อภิสญฺญูหิต̣วา อภิสขิปิตว̣ า อย วุจฺจติ
รูปก̣ขน̣โธ ฯ วิภงคฺ ปการณา นฏิ ฺฐติ า๑๓ ฯ

สงฺคโห อสงฺคโห สงฺคหิเตน อสงฺคหิต อสงฺคหิเตน อสงฺคหิต
สงฺคหิเตน สงฺคหิต อสงฺคหิเตน อสงฺคหิต สมฺปโยโค วิปฺปโยโค สมฺปยุตฺเตน
วปิ ฺปยุตฺต วปิ ปฺ ยตุ ฺเตน สมฺปยตุ ตฺ อสงคฺ หติ ฯ ธาตกุ ถาปการนา นฏิ ฐิตา๑๔ ฯ

๑๐ คาวา่ “ปกรณ” (ส. ปฺรกรณ) แปลว่า “คมั ภรี ์” เปน็ นปุงสกลงิ ค์ เมอ่ื ผนั วิภัตติเพ่อื ทาหนา้ ที่
เป็นประธานของประโยคและเป็นรูปเอกพจน์ จะได้รูปคาว่า “ปกรณ” ดังนั้นรูปคาภาษาบาลีท่ีถูกต้องใน
ประโยคนี้จึงควรเป็น “สงคฺ ณิ ปี กรณ นฏิ ฺฐิต” แปลวา่ “คมั ภรี ส์ งั คิณีจบแล้ว”

๑๑ ท่ถี ูกต้องควรจะเปน็ หีน
๑๒ ทถี่ ูกตอ้ งควรจะเป็น ทเู ร
๑๓ รูปคาภาษาบาลีท่ีถูกต้องควรเป็น “วิภงฺคปกรณ นิฏฺฐิต” แปลว่า “คัมภีรว์ ิภังค์จบแล้ว”
ดูคาอธิบายในเชิงอรรถที่ ๑๐
๑๔ รูปคาภาษาบาลีที่ถูกต้องควรเป็น “ธาตุกถาปกรณ นิฏฺฐิต” แปลว่า “คัมภีร์ธาตุกถาจบ
แลว้ ” ดูคาอธบิ ายในเชิงอรรถที่ ๑๐

๑๒

๏ ฉ ปญฺญตฺติโย ขนฺธปญฺญตฺติ อายตนปญฺญตฺติ ธาตุปญฺญตฺติ
สจฺจปญฺญตฺติ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ ปุคฺคลปญฺญตฺติ กิตฺตาวตา ปุคฺคลปญฺญตฺติ
สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต กุปฺปธมฺโม อกุปฺปธมฺโม ปริหานธมฺโม อปริหาน-
ธมฺโม เจตนาภพฺโพ อนุรกฺขนาภพฺโพ ปุถุชฺชโน โคตฺรภู ภยูปรโต อภยูปรโต
ภพฺพาคมโน อภพฺพาคมโน นิยโต อนิยโต ปฏิปนฺนโก ผเลฏฺฐิโต อรหา
อรหตตฺ าย ปฏิปนฺโน ฯ ปคุ คฺ ลปญฺญตตฺ ปิ การณา นิฏฐติ า๑๕ ฯ

๏ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉกิ ตถฺ ปรมตฺเถนาติ อามนฺตา โย สจฉฺ ิกตฺโถ
ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคคฺ โล อปุ ลพภฺ ติ สจฉฺ กิ ตฺถปรมตฺเถนาติ ฯ น เหว วตตฺ พฺเพ
อาชานาหิ นคิ ฺคห หญจฺ ิ ฯ ปุคฺคโล อุปลพภฺ ติ สจฺฉกิ ตฺถปรมตฺเถน เตน วตฺต๑๖
เร วตฺ ตพฺ เพ โย สจฺฉิกตฺ โถ ป รม ตฺโถ ต โต โส ปุ คฺค โล อุป ลพฺ ภ ติ
สจฉฺ ิกตฺถปรมตเฺ ถนาติ มจิ ฉฺ า ฯ ๏ กถาวตฺถุปการณา นิฏฺฐติ า๑๗ ฯ

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูลา ฯ เย วา ปน กุสลามูลา
สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ฯ เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา
ฯ เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ฯ ๏ ยมกปการณา
นฏิ ฺฐิตา๑๘ ฯ

เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อนนฺตรปจฺจโย
สมนนฺตรปจฺจโย สหชาตปจฺจโย อญฺ ญ มญฺ ญ ปจฺจโย นิสฺสยปจฺจโย
อุปนิสฺสยปจฺจโย ปุเรชาตปจฺจโย ปจฺฉาชาตปจฺจโย อาเสวนปจฺจโย กมฺม-

๑๕ รูปคาภาษาบาลที ่ถี ูกต้องควรเปน็ “ปุคคฺ ลปญฺญตฺติปกรณ นฏิ ฺฐิต” แปลว่า “คมั ภีรป์ ุคคล
บัญญตั จิ บแลว้ ” ดูคาอธิบายในเชิงอรรถท่ี ๑๐

๑๖ ทีถ่ ูกต้องควรจะเป็น วต
๑๗ รูปคาภาษาบาลีท่ีถกู ต้องควรเป็น “กถาวตถฺ ุปกรณ นิฏฺฐิต” แปลว่า “คัมภีร์กถาวัตถุจบ
แลว้ ” ดคู าอธบิ ายในเชิงอรรถที่ ๑๐
๑๘ รูปคาภาษาบาลีท่ีถูกต้องควรเป็น “ยมกปกรณ นิฏฺฐิต” แปลวา่ “คัมภีร์ยมกจบแล้ว” ดู
คาอธบิ ายในเชิงอรรถที่ ๑๐

๑๓

ปจฺจโย วิปากปจฺจโย อาหารปจฺจโย อินทฺ ริยปจฺจโย ฌานปจฺจโย มคฺคปจจฺ โย

สมฺปยุตฺตปจฺจโย วิปฺปยุตฺตปจฺจโย อตฺถิปจฺจโย นตฺถิปจฺจโย วิคตปจฺจโย

อวคิ ตปจจฺ โย โหตุ ฯ ๏ มหาปฏฐฺ านปการณา นฏิ ฺฐิตา๑๙ ฯ๒๐

พฺรสุตฺตนฺตปิฏกสเขปกถา นิฏฺฐิตา๒๑ ฯ พฺรวินยปิฏกสเขปกถา

นิฏฺฐิตา๒๒ ฯ พฺรอภิธมมฺ ปิฏกสงเฺ ขปกถา นิฏฺฐิตา๒๓ ฯ นิพพฺ านปจฺจโย โหตุ เม

อนาคเต๒๔ ฯ ภวตุ เม สพฺพมงฺคล๒๕ ฯ

๏ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพุทธสสฺ ฯ

๏ ติโลกเสฏฐ ต พุทธฺ ธมฺม นวนยิ ยฺ านิก ฯ

๏ สฆ นิรกฺขณญเฺ จว อภิวาทิย๒๖ ภาสิสสฺ ฯ

ข้าไหว้พระเจ้า ผู้ประเสริฐล้าเลิศในไตรภพ ข้าพเจ้าจะขอนบ

พระนวโลกุตรธรรม ข้าพเจ้าจะขอถวาย ประนมพระสงฆ์ อันบวรส้ินกิเลส

ข้าพเจ้าจะขอแปล ตามคาอนั สั่งสอน พระเถรผูช้ ่ือวา่ มาลัย (ฉนั ท์)

๏ ในกาลอันลบั ลน้ พน้ ไปแลว้ แตค่ ร้ังกอ่ น

ภกิ ษุหนึง่ ได้พระพร ชอื่ มาลัยเทพเถร

๏ อาศัยบา้ นกมั โพช ชนบทโรหะเจน

อันเปน็ บรเิ วณ ในแว่นแคว้นแดนเมืองลงั กา

๑๙ รูปคาภาษาบาลีท่ีถูกต้องควรเป็น “มหาปฏฺฐานปกรณ นิฏฺฐิต” แปลว่า “คัมภีร์มหาปัฏ

ฐานจบแลว้ ” ดคู าอธิบายในเชิงอรรถที่ ๑๐
๒๐ สังคิณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก มหาปัฏฐาน คือ พระอภิธรรม ๗

คมั ภีร์ (สตั ตัปปกรณาภธิ รรม) มอี ยู่ในพระอภิธรรมปฎิ ก
๒๑ แปลวา่ “การกลา่ วถึงพระสตุ ตนั ตปิฎกโดยยอ่ จบแลว้ ”
๒๒ แปลว่า “การกล่าวถงึ พระวินัยปิฎกโดยย่อ จบแล้ว”
๒๓ แปลวา่ “การกลา่ วถงึ พระอภธิ รรมปิฎกโดยย่อ จบแล้ว”
๒๔ แปลว่า “ขอปัจจยั แหง่ พระนิพพานจงมแี ก่ขา้ พเจ้าในอนาคตกาลด้วยเถดิ ”
๒๕ แปลวา่ “ขอสงิ่ ทเ่ี ป็นมงคลทุกประการจงมแี กข่ ้าพระเจ้าด้วยเถิด”
๒๖ ที่ถกู ต้องควรเป็น อภิวนฺทยิ

๑๔

๏ พระเถรนน้ั เธอมีฤทธิ์ ประสทิ ธิด้วยปญั ญา

มศี ีลครองสกิ ขา ฌานสมาบัติเธอน้ันบริบรู ณ์

๏ สน้ิ กิเลสประเสรฐิ ศักด์ิ สันโดษนักใครจักปูน

รู้หลักศรทั ธาพูน ใจละเอยี ดทรงพระธรรม์

๏ ปรากฏดว้ ยรหู้ ลกั มีฤทธิน์ ักถึงอรหนั ต์

อุปมาเหมือนหนง่ึ พระจันทร์ อันปรากฏในเวหา

๏ เธอนน้ั เสด็จลงไป ในนรกด้วยกรณุ า

เพอ่ื จะให้เขาส่งั มา แล้วจะบอกญาติกาพลัน

๏ พระโมคคัลลา๒๗ผู้สาวก โปรดนรกทุก ๆ วนั

ครั้นแล้วโปรดชาวสวรรค์ ด้วยพระธรรมอ์ ันประเปรียว

๏ พระมาลัยเทพเถร บ่แปลกกันดจุ พิมพ์เดียว

รูธ้ รรมอันฉลาดเฉลียว อานุภาพนน้ั เหมือนกนั

๏ หญิงชายทงั้ หลายใด ใจโลภล้นพ้นคณนา

ย่อมเบียดเบยี นแลบีฑา ขม่ เหงท่านใหท้ รพล

๏ ผนู้ นั้ ครั้นไปลป่ ลดิ สนิ้ ชวี ติ จากเมืองคน

ตกนรกไฟเผาตน เจ็บปวดรอ้ นใช่สามานย์

๏ พระโมคคัลลาเสด็จลงไป ให้ฝนตกลงเป็นทอ่ ธาร

ให้ไฟดับบ่มทิ นั นาน สตั ว์ในนรกกเ็ ยน็ ใจ

๏ พระมาลยั เทพเถร ทา่ นจึงเสดจ็ เหาะลงไป

นริ มติ ฝนให้ดบั ไฟ โปรดนรกดุจเดยี วกัน

๏ ผใู้ ดเปน็ อปุ ถมั ภ์ ให้ข้าวนา้ แกเ่ จา้ ไทยพลัน

ครน้ั แล้วใช้เจา้ ไทยนน้ั ให้ทาเรือกสวนแลไรน่ า

๒๗ พระโมคคัลลานะ อคั รสาวกเบอื้ งซา้ ยของพระพทุ ธเจ้า ผู้เป็นเลศิ ด้านอิทธิฤทธ์ิ

๑๕

๏ เป็นกาลังแกเ่ จา้ ไทย๒๘ ให้เจา้ ไทยไปรง้ั พา

ลอ่ ลวงเอาทรัพยเ์ ขามา เอามากนิ เปน็ อาหาร

๏ ใหข้ ้าวน้าแก่เจ้าไทย ใช้เจา้ ไทยไปทาการ

ให้ทากุฎแี ลสถาน แลว้ ก็กลับใช้เจ้าไทย

๏ ใชช้ ีมจิ ฉาจติ ให้เสียกิจพระวินยั

ผใู้ ชน้ ัน้ คร้ันตายไป ตกนรกโลหะกมุ ภี๒๙

๏ หม้อเหลก็ เค่ียวตนอยู่ ยนื ไดถ้ ึงแปดหมน่ื ปี

บาปคนอันใชช้ ี ใหก้ นิ แลว้ แลใช้สงฆ์

๏ เจ้าไทยทาผดิ กิจ ตนช่วยคดิ เอาใจปลง

สิ้นชีวิตไปตกลง ในหมอ้ เหล็กแปดหม่ืนปี

๏ พระมาลยั เทพเถร จึงจะลงไปทุบตี

หม้อเหลก็ แหลกเป็นธุลี สัตว์ในนรกกช็ ืน่ บาน

๏ พระมาลัยไปโปรดสัตว์ ดุจดังองค์พระโมคคลั ลาญาณ

ใหน้ รกเย็นสาราญ พน้ จากยากเพียงปางตาย

๏ พระมาลยั เธอยงั อยู่ หม้อเหลก็ น้ันแตกย่อยหาย

ครั้นท่านขึน้ มาหม้อเหลก็ อันพลัดพราย อันแตกน้ันประมวลเข้ามา

๏ คุมเข้าเปน็ ดวงกลม ตม้ สตั วไ์ วร้ อ้ นนักหนา

เพราะบาปใชช้ ปี า ให้เสียกจิ พระวนิ ัย

๏ ให้ทานให้เป็นบญุ อยา่ ได้ใชส้ อยเจา้ ไทย

ผใู้ ชน้ นั้ จะตกไป ในหม้อเหล็กตม้ เปอ่ื ยพงั

๒๘ เจ้าไทย คาเรยี กพระสงฆ์ในศาสนาพุทธของคนโบราณ ในความเช่ือของคนโบราณ การส่ัง
ให้พระสงฆ์ทางานต่าง ๆ ที่เป็นกิจของฆราวาสนั้น ไม่ควรทาอย่างยิ่งเน่ืองจากผู้น้ันจะต้องไปตกนรกอย่าง
ยาวนาน

๒๙ นรกหมอ้ เหล็กแดงลกุ เปน็ ไฟ หนึ่งในยมโลกท้งั สิบในไตรภมู ิโลกวินิจฉยกถา

๑๖

๏ ผ้ใู ดเลยี้ งเจ้าไทย ให้ขา้ วนา้ เป็นกาลงั
ครั้นแล้วเมื่อภายหลัง ใช้เจ้าไทยใหก้ ระทาการ
๏ ว่ายอยู่ในหม้อเหลก็ อนั เดอื ดรอ้ นพลงุ่ ขนึ้ พล่าน
บาปใชช้ ีให้กระทาการ หม้อเหลก็ เคีย่ วเปอื่ ยท้งั ตน
๏ ร้อนแสบเจบ็ ปวดยาก ทนวบิ ากอดักอดน
นา้ เขา้ ปากจมูกตน ด้ินระดา่ วเพียงปางตาย
๏ ผใู้ ดตีพ่อแม่ ปยู่ ่าแกแลตายาย
ตดี า่ สงฆ์ทง้ั หลาย ตภี ิกษุแลเจา้ เณร
๏ ผู้นั้นครัน้ ตายไป ด้วยบาปกรรมนายเวร
บาปตีแม่ตีเจา้ เณร ให้ลม้ ลุกย่อมเปน็ กรรม
๏ กงจกั รผดั ๓๐หวั อยู่ ส้ินพทุ ธนั ดรกัลป์๓๑
เพราะบาปใจอาธรรม์ ตพี ่อแม่แลตีสงฆ์
๏ กงจกั รผดั หวั อยู่ เลือดไหลทราบอาบตนลง
บาปตีแม่แลตสี งฆ์ กงจกั รผัดร้องครางตาย
๏ เลอื ดไหลลงย้อยหยด กงจกั รกรดผัดบว่ าย
เร่งรอ้ งเรง่ ครางตาย กงจกั รกรดเร่งผัดผัน
๏ ตีนมอื สั่นสั่นระเรม่ิ ตัวสั่นเท้มิ อยงู่ กงนั
ยนื ตรงอยู่ทกุ วัน เหนอ่ื ยลาบากยากหนกั หนา
๏ พระมาลยั ผ้เู ป็นเจา้ ท่านจึงเสด็จลงไปหา
หกั กงจกั รด้วยฤทธา สัตวผ์ นู้ ัน้ สวา่ งทกุ ขท์ น
๏ ครนั้ ท่านเสดจ็ ขึน้ มา กงจักรเขา้ บัดเดย๋ี วดล
กงจักรผัดเป็นยนต์ บาปตแี ม่แลตสี งฆ์

๓๐ ผัด หมายถงึ เลื่อนหรือหมุน
๓๑ พทุ ธนั ดรกัลป์ หมายถึง ชว่ งระยะเวลาที่พระพทุ ธเจา้ แต่ละพระองค์เสดจ็ ลงมาตรสั รู้

๑๗

๏ ผู้ใดแลสับปลับ บังคบั ความบ่มเิ ทยี่ งตรง

ใจอาธรรม์บม่ ดิ ารง ท้ังสองข้างอันเขาผูกกนั

๏ ไดส้ นิ จา้ งใสถ่ งุ ไว้ ทมี่ ไิ ด้ใหก้ ็ตกตา่

บังคับความบ่มิเที่ยงธรรม กงจกั รผดั หัวคนเอง

๏ กงจกั รผัดหวั ไว้ อดมไิ ดร้ อ้ งครางเครง

บงั คับความลาเอยี งเอง กงจักรกรดผดั ในหัว

๏ บม่ ิแพ้จาให้แพ้ คกุ คารามขม่ ใหก้ ลัว

กงจกั รผัดในหวั เพราะบงั คับความบม่ ิเที่ยงธรรม์

๏ กงจกั รผดั ในหวั สิ้นพทุ ธันดรกัลป์

มตี วั ตีนมือสนั่ อยรู่ ะเร่มิ ยนื มอื ตรง

๏ เมื่อใดถึงกาเนดิ พระเจา้ เกดิ แตล่ ะองค์ ๆ

บงั คบั ความบ่มิเท่ียงตรง คราทีน้ันจึงจะหาย

๏ พระมาลยั เสดจ็ ไป หกั กงจักรกระจดั กระจาย

กงจกั รหกั พลดั พราย สัตวผ์ ู้น้นั กม็ ายินดี

๏ ครัน้ พระมาลัยเสดจ็ ขน้ึ ไป กงจกั รน้ันก็พนู มี

ครอบเขา้ รอบเกศี สัตว์ผ้นู ้นั กร็ ้องคราง

๏ ผู้ใดใครท้ังหลาย เป็นผชู้ ายอนั โสภา

มกั มากดว้ ยตัณหา ใจโลภล้นพน้ ประมาณ

๏ เมยี ท่านหนา้ แชม่ ช้อย หนา้ แน่งน้อยงามนงคราญ

ใจร้ายไปเบียนผลาญ ยุยงเอาดว้ ยเล่ห์กล

๏ ผนู้ ั้นครั้นไปล่ปลดิ ๓๒ สน้ิ ชีวติ จากเมืองคน

ไปข้ึนง้ิวบดั เด๋ยี วดล ในไม้งิ้วกวา่ พนั ปี

๓๒ ไปล่ปลิด คาโบราณหมายถงึ ตาย

๑๘

๏ หนามงิ้วคมยงิ่ กรด โดยโสฬส๓๓สิบหกองคุล๓ี ๔
มกั เมียทา่ นชมวา่ ดี หนามงวิ้ ยอก๓๕ทัว่ ท้ังตน
๏ หญิงใดใจมกั มาก มักเลน่ ราคด้วยกามกล
ทายาแฝดแลเรียนมนต์ ใหผ้ ัวตนเมาตณั หา
๏ พรางผวั มิใหร้ ู้ ลักเลน่ ชเู้ สพกามา
แตง่ แง่งามโสภา เพอื่ จะให้ชายอ่นื ดู
๏ ตอ่ หนา้ ผวั ทาเปน็ มติ ร ลับหลังคดิ เปน็ ศตั รู
แต่งแง่๓๖ให้ชายอืน่ ดู ลกั เล่นชู้ซอ่ นเงื่อนงา
๏ ทารกั แลว้ ทาโกรธกริ้ว ชกั หน้านวิ่ ใหผ้ วั ยา๓๗
แสร้ง๓๘ใหแ้ สร้งแกล้งทา ทากลหกมากมารยา
๏ หญงิ นั้นครน้ั วอดวาย หายชีวิตจากโลกา
ข้ึนงวิ้ ยมบาลมา รมุ เอาหอกไล่ทิ่มแทง
๏ ตอ่ หน้าผวั ดา่ ตดั พ้อ บม่ ยิ ่อท้อบม่ ยิ ากลัว
งอหมัดข้ึนเหนือหัว ยนื สงู ชะเงือ้ มพน้ เกศา
๏ ผูกแขวนเอาหัวลง เพราะหญิงนั้นมันใจแข็ง
ยมบาลเอาหอกแทง บาปใจแขง็ เล่นชู้เหนอื ผวั
๏ ทาเคียด๓๙อยูง่ นั งก ทากลหกมากมารยา
แปรปรวนผวนไปมา ให้ผัวลุอานาจตน

๓๓ โสฬส หมายถึง จานวนเท่ากบั ๑๖
๓๔ องคุลี หมายถงึ นวิ้ (จานวนนับโบราณ)
๓๕ ยอก หมายถงึ ตา ท่ิม
๓๖ แต่งตวั เพอ่ื ใหเ้ พศตรงข้ามสนใจ มักใชก้ ับเพศหญงิ
๓๗ ยา หมายถึง เกรงกลวั มกั เปน็ คาซ้อนคือ ยาเกรง
๓๘ แสร้ง หมายถึง ตงั้ ใจ บ้างใช้ แกล้ง ก็มี
๓๙ เคยี ด (คาโบราณ) หมายถงึ โกรธ พบคาน้ีในสุภาษิตพระรว่ งวา่ เจ้าเคยี ดอยา่ เคยี ดตอบ

๑๙

๏ ยมบาลเอาหอกแทง บาปใจแขง็ แลแสนกล
ทายาแฝดแลเรียนมนต์ เขาจงึ ผูกเอาหัวลง
๏ เขาเอาหอกมาร้อยปาก เพราะปากนน้ั บ่มิเที่ยงตรง
เอาหอกปักลงอก เพราะใจร้ายซ่อนใจหลายใจ
๏ พระมาลยั เทพเถร ท่านจงึ เสดจ็ เหาะลงไป
หกั ไม้งวิ้ ตระบัดใจ๔๐ สัตว์ผู้นั้นหายทกุ ทน
๏ ครั้นทา่ นเสด็จขนึ้ ไป ไมง้ ิว้ งอกบดั เด๋ียวดล
แต่ผ้ลู ักเล่นกามกล ขนึ้ งิว้ เลา่ ดจุ ก่อนว่า
๏ ผใู้ ดเป็นผใู้ หญ่ เป็นนายไร่และนายนา
ขม่ เหงฝงู ประชา ผบู้ ญุ น้อยใหอ้ ับเฉา
๏ วดั ไร่นาให้ล้าเหลือ เจา้ อาเภอเกาะกุมเอา
บ่เอาแต่ย่อมเยา ใหผ้ ิดระบอบพระบัญชา
๏ ผู้นนั้ ครน้ั ตายไป พิราลยั จากโลกา
บาปขม่ เหงฝงู ประชา แผน่ ดนิ นน้ั กลบั เป็นไฟ
๏ แผ่นดินเปน็ แผน่ เหล็ก ลุกววู่ ามรอ้ นเหลอื ใจ
ไหม้เข้าถึงตบั ไต ไสพ้ งุ ขาดเร่ียออกมา
๏ สตั วน์ ้นั นอนด้ินอยู่ ไฟไหม้วู่ร้อนนักหนา
บาปนายไร่และนายนา เอาทรัพยเ์ ขาใหล้ า้ เหลอื
๏ บาปตนขม่ เหงเขา ตนเปน็ เจา้ นายอาเภอ
เอาทรัพย์เขาให้ล้าเหลอื แผน่ เหลก็ ไหมร้ อ้ นอาดูร

๔๐ ตระบดั ใจ หมายถงึ ในทนั ทีทันใด

๒๐

๏ สัตวน์ ้นั รอ้ นเปน็ บา้ ลกุ บา่ ยหนา้ มาทิศฝา่ ยบูรพ์
ภูเขาหน่งึ เป็นไฟพูน ฝา่ ยขา้ งบรู พก์ ว็ างมา
๏ สตั ว์นั้นกลวั เขาไฟ กลบั หลงั ไปมนมิ นา๔๑
ภเู ขาหนงึ่ จึงเกิดมา ฝ่ายข้างทิศตะวันเยน็ ๔๒
๏ สตั วน์ น้ั ทอดตาไป เหลียวแตไ่ กลกแ็ ลเห็น
ภูเขาหนึง่ เกิดขน้ึ เป็น ถา่ นไฟรอ้ นเรอื งขจร
๏ สตั วน์ น้ั ร้อนผะผา่ ว ด้นิ ระด่าวในกลางไฟ
บาปนายนาแลนายไร่ วัดไร่นาใหล้ ้าเหลือ
๏ วา่ ตนเป็นผใู้ หญ่ เปน็ นายไร่เจา้ อาเภอ
เอาทรัพย์เขาให้ลา้ เหลือ ภูเขาไฟเผาเปน็ ธุลี
๏ ธรรมมะนี้ทา่ นผูป้ ราชญ์ อนั เฉลยี วฉลาดมีฤทธี
เอามาแตค่ มั ภรี ์ ช่อื ขทุ ทกนกิ าย๔๓
๏ บอกไว้ใหเ้ ปน็ ผล เปน็ กุศลแก่หญงิ ชาย
สปั ปุรษุ ๔๔ทา่ นท้ังหลาย ฟังจาไวส้ ง่ั สอนไว้ใจ
๏ เมื่อนัน้ มหาเถร อนั มนี ามช่ือว่ามาลยั
ท่านน้นั เสดจ็ ลงไป ดับไฟนรกดว้ ยฤทธาพล
๏ คร้นั ท่านเสดจ็ ขึน้ มา ภูเขาเกดิ บดั เดยี๋ วดล
สัตว์นนั้ ดน้ิ เสือกสน ทนลาบากในกลางไฟ

๔๑ อย่างรวดเร็ว
๔๒ ทศิ ตะวนั ตก
๔๓ ท่ีมาของเรื่องพระมาลัยปรากฏในพระไตรปิฎก สุตตันตปิฎก ขทุ ทกนกิ าย
๔๔ ผู้ท่มี สี ัมมาทฏิ ฐิ เห็นถกู ต้องตามหลกั พระพทุ ธศาสนา

๒๑

๏ สัตวน์ ั้นหนึ่งใจหฤโหด ใจเขลาโฉดกินแต่น้าเมา
บ่ไดจ้ ะจาเอา ธรรมอันพระเจา้ ส่ังสอนใจ
๏ ยมบาลเอาน้าแสบ อนั เค่ียวพลา่ นอยใู่ นไฟ
เทลงตระปัดใจ ในปากน้ันก็เปือ่ ยพงั
๏ นา้ แสบตกถึงคอ คอไหม้พงั พองเป็นน้ามันยัง
ถึงอกอกก็เปื่อยพงั เป็นรทู ะลุปรอุ อกมา
๏ บาปเมื่ออยเู่ ปน็ คน ได้กนิ เหล้าแลเมามายสรุ า
อกทะลุปรอุ อกมา บาปกินเหลา้ แลเมามาย
๏ น้าแสบตกถึงไส้ ไสน้ น้ั ขาดกระจดั กระจาย
ตบั พงุ เปื่อยทลาย เคราะหบ์ าปกรรมกนิ สรุ า
๏ เมอ่ื นัน้ พระมาลัย ท่านจึงเสดจ็ ลงไปหา
เข้าฌานแผลงฤทธา ใหน้ ้าแสบกลับเย็นหวาน
๏ สตั วน์ ้นั ได้กนิ น้า คือดังน้าอมฤตนฤพาน
นา้ แสบกลบั เย็นหวาน ด้วยใจบญุ คุณพระมาลัย
๏ คร้นั ทา่ นเสด็จข้ึนมา มิทันช้าบัดเดยี๋ วใจ
น้าเย็นอันหวานไซร้ กลับแสบร้อนดุจกอ่ นมา
๏ สตั วน์ รกสง่ั ฉันใด พระมาลัยนาเอามา
จึงบอกแก่ญาติกา อนั เขาอยู่ในเมืองคน
๏ ให้คนจาศลี สรา้ ง ให้ทานบ้างทากุศล
ฟังธรรมมอุทศิ แผ่ผล ไปถึงหมู่ญาตกิ า
๏ พระมาลัยผ้ปู รากฏ อนั ลอื ยศท่วั ทศิ า
ดุจดงั องคพ์ ระโมคคลั ลา ผู้ปรากฏท่วั แดนไตร

๒๒

๏ พระโมคคัลลานะญาณ เข้านฤพานแลว้ ลับไป
ยงั แตอ่ งค์พระมาลัย ยังอยูน่ ้นั ฉลององคม์ า
๏ พระมาลยั มีคณุ แกน่ รกแลเปตา
มคี ณุ แก่เทพา แลมนษุ ยท์ ั่วอนันต์
๏ เปรตนรกส่ังชื่อใด พระมาลัยนามาพลนั
บอกแกญ่ าตถิ ว้ นทกุ อัน ใหเ้ ขาทาบุญส่งมา ฯ ราบ ฯ
๏ ยงั มเี ปรตหน่งึ ลาบากนักหนา
เป็นเหย่ือแร้งกา ฝูงสตั วอ์ ยรู่ ุม
๏ สนุ ัขใหญน่ ้อย พลอยกบั กินกลุ้ม
แรง้ กานกตะกรมุ จิกสบั ทงึ้ เอา
๏ เน้ือนัน้ หมดส้นิ ยงั แต่โครงเปล่า
จกิ สบั เฉี่ยวเอา ร้องครางเสยี งแขง็
๏ แร้งกานกตะกรุม จิกสบั ด้วยแรง
จกิ ทงิ้ กวดั แกว่ง ยือ้ แยง่ ไปมา
๏ เปรตหมูน่ ี้ฤๅ เป็นคนหยาบช้า
ฆา่ เนอ้ื เบ่ือปลา บม่ ไิ ด้อดสู
๏ ฆา่ เนอื้ วัวควาย บม่ ไิ ด้คดิ ดู
แทงสัตว์ใหอ้ ยู่ ด้นิ ลม้ ดน้ิ ตาย
๏ ฆ่าทรายแลเน้ือ แลวัวแลควาย
ฆา่ สัตวท์ ั้งหลาย แต่ลว้ นสตี่ ีน
๏ บาปคนฆ่าเน้อื ววั ควายเปน็ อาจณิ
แรง้ กาจกิ กิน รุมกนั ย้ือเอา

๒๓

๏ บาปคนเชอื ดเนอ้ื ไวแ้ ตโ่ ครงเปลา่
แรง้ กาจิกเอา เนื้อคนนนั้ ไป
๏ บาปคนฆา่ เนอื้ เจบ็ ปวดฉนั ใด
แร้งกาเฉ่ียวไป เจ็บปวดคนเดยี ว
๏ เจบ็ ปวดเหลอื ทน แตค่ นอยูเ่ ปลี่ยว
ร้องครางคนเดียว ทนเวทนา
๏ บาปคนฆ่าสตั ว์ ใหม้ รณา
นกตะกรมุ แร้งกา สับท้งิ เนือ้ ตน
๏ ยงั มเี ปรตหนึง่ เจบ็ ปวดเหลือทน
เส้นขนทั้งตน เป็นดาบเชอื ดลง
๏ ขนนัน้ งอกออก มาเต็มทง้ั องค์
เป็นดาบเชอื ดลง ทัว่ ทง้ั สารพางค๔์ ๕
๏ ทนเจ็บมไิ ด้ รอ้ งไห้องึ คราง
แร้งกาจกิ พลาง พาไปเวหา
๏ รอ้ งครางอืด ๆ ทนเวทนา
เจบ็ ปวดนกั หนา เพยี งดงั จะสิน้ ชนม์
๏ ฝงู เปรตหมู่น้ี เมอื่ ยังเป็นคน
ใจรา้ ยอกุศล ย่อมฆ่าหมูขาย
๏ ขนเปน็ หอกดาบ เพราะบาปมอิ าย
บาปฆ่าหมูขาย เล้ยี งลกู เมยี ตน

๔๕ หมายถงึ รา่ งกาย

๏ จะตกนรก ๒๔
แลเสน้ ละหน
๏ ละทลี ะที นับเทา่ เส้นขน
บาปตนราวี นบั ชาตแิ ตล่ ะที
๏ ยังมีเปรตหนงึ่ ยง่ิ กวา่ พันปี
รูปนน้ั พกิ ล ฆา่ หมูขายเล้ียงตน
๏ ปนื นน้ั ยอกเขา้ ทง้ั ตัวย่อมขน
ทงั้ ตวั ย่อมปนื ขนน้ันเป็นปืน
๏ เจ็บแสบปวดนกั ทัว่ ตวั ไขว่ขืน
แร้งกาจิกตน ยอกเข้าเสอื กสน
๏ ปนื ยอกปากหู รอ้ งครางอดกั อดน
เลอื ดไหลออกมา พาไปเวหา
๏ เปรตหมนู่ ้ีฤๅ จมูกแลตา
ใจรา้ ยอกศุ ล โทรมท่ัวทงั้ ตน
๏ บาปตนยิงนก เมอ่ื อย่เู ป็นคน
เสน้ ขนเป็นปืนสิ้น ยอ่ มยิงนกกิน
๏ ยงั มเี ปรตหนง่ึ ในโลกแดนดิน
ทั่วสารพางคอ์ งค์ ยอกทัว่ ทง้ั ตน
๏ ขนเขม็ ยอกเข้า ขนยอกตนลง
ตลอดออกมา เจบ็ ปวดหนักหนา
๏ ขนเข็มยอกเข้า ไปในเกศา
ปลายเส้นเข็มขน โดยปากแห่งตน
๏ บาปมนั ส่อทา่ น มากนกั เหลอื ทน
ใหเ้ ขาเกาะกัน ยอกออกทอ้ งพลนั
จะเอารางวลั
เปน็ อันยากนกั หนา

๒๕

๏ เข็มแทงท้งั ตน คลานร่นไปมา
เพราะใจมันกล้า เหน็ แก่สนิ ไหม
๏ ยังมเี ปรตหนงึ่ สาบากเหลอื ใจ
มอี ัณฑะใหญ่ เดิมเท่าตุ่มหาม
๏ เล้อื ยลงถึงดิน ดจุ ดังถุงยา่ ม
เน่าเปือ่ ยลามปาม เหม็นโขลงพึงชัง
๏ เมอ่ื จะเดินไป แบกข้นึ บนหลงั
แล่นระเสดิ ระสัง โซเซไปมา
๏ ครั้นเมื่อจะน่ัง ปวดนักโกง้ โค้ง
จงึ คอยโขย่ง ลุกขนึ้ โอเ้ อ้
๏ ครั้นเม่ือจะน่งั ปวดนักโกง้ โคง้
จึงคอ่ ยโขย่ง ลกุ ดน้ิ โอ้เอ้
๏ จงึ แบกขน้ึ เลา่ พาแล่นโซเซ
นกั ๆ โอ้เอ้ สดุ สน้ิ ถอยแรง
๏ แรง้ กานกตะกรุม จกิ สบั ยอ้ื แย่ง
พาบินด้วยแรง ไปสู่เวหา
๏ รอ้ งครางอืด ๆ เจ็บปวดนักหนา
ทนเวทนา อดกั อดน
๏ ฝูงเปรตหมู่น้ี เม่อื ยงั เป็นคน
เป็นนายครองผา่ น เป็นเจา้ บา้ นเมอื ง
๏ ย่อมบงั คบั ความ ให้เขาแค้นเคอื ง
เปน็ เจ้าบ้านเมือง วา่ ความบม่ ติ รง
๏ ผ้ใู ดไร้ทรัพย์ เร่งข่มมนั ลง
บังคับความบม่ ิตรง เปน็ คนลาเอียง

๒๖

๏ เห็นแกส่ นิ จา้ ง วา่ ความรายเรยี ง
แต่งปากแตง่ เสียง งุบงบั ดับเสีย
๏ ผ้ใู ดไร้ทรัพย์ คิดอ่านไกล่เกลยี่
บรรดาจะเสีย ใหไ้ ด้สนิ ไหม
๏ เป็นปมเปน็ เปา เป็นคอพอกใหญ่
เป็นเหนียงเป็นไต เป็นหูดเป็นหดิ
๏ ยงั มเี ปรตหนึง่ เปน็ หญิงอปั รยี ์
ทงั้ ตนยอ่ มฝี เน่าเปอ่ื ยระสาย
๏ เล็บตีนเลบ็ มอื เนา่ บ่มิรู้หาย
ฝีหน่งึ หวั กลาย เหมน็ อยูอ่ าจณิ
๏ หญิงนน้ั จึงแกะ เกลด็ ฝนี ้นั กิน
ทกุ วนั ปฏิทิน คา่ เชา้ เพรางาย๔๖
๏ เรง่ แกะฝีกิน ฝนี นั้ เรง่ กลาย
เน่าเปอื่ ยบ่มริ หู้ าย หมองโทรมทัง้ ตน
๏ แรง้ กานกตะกรมุ จกิ สบั สลวน๔๗
พาบินข้นึ บน ไปในเวหา
๏ สับปากจมกู จิกหูตอดตา
นกตะกรุมแร้งกา ย้อื แยง่ เรียงราย
๏ บาปหญิงหมนู่ ี้ เมอ่ื ชาติกอ่ นไกล
เขาอญั เชญิ ไป ใหล้ งผีด๔ู ๘

๔๖ เพรางาย หมายถึง เวลาเชา้
๔๗ สลวน หมายถึง วุน่ วาย
๔๘ คือ สมมตติ นเองว่าเป็น “รา่ งทรง” แตแ่ ท้จรงิ แล้วทาเพอื่ หาลาภสนิ บนแกต่ นเอง

๒๗

๏ มันลงผเี ทจ็ มนั ย่อมวา่ กู
กพู อ่ แมส่ ๔ู ๙ กเู ปน็ ตายาย
๏ กนู ีเ้ ผ่าพันธุ์ แหง่ สทู ั้งหลาย
กูจะให้สหู าย สูอย่าไดร้ ้อนใจ
๏ สูเร่งบนหมู บนเปด็ บนไก่
วัวควายตัวใหญ่ ตบั ไตไสต้ นั
๏ เอาเงินผูกคอหม้อ ขวญั ข้าวเทยี นทอง
หมากพลใู ส่ทอง เหลา้ เขม้ บนบาน
๏ ขวัญข้าวเนือ้ ปลา มีหัวมหี าง
กจู ึงละวาง ให้สเู ปน็ คน
๏ แสร้งลงผีเทจ็ มนั ทาเลห่ ์กล
แสรง้ ลอ่ ลวงคน ใหเ้ ขาเชือ่ ใจ
๏ บาปบาปมด๕๐เทจ็ ใหฆ้ า่ เป็ดไก่
เลบ็ ตีนเนา่ ใน มอื เนา่ พกิ ล
๏ บาปบาปมดเทจ็ ตัวเป่ือยทงั้ ตน
ตาเน่ามดื มน ปากเนา่ เป็นฝี
๏ บาปบาปมดเทจ็ ให้เขาดูดี
ทง้ั ตวั ยอ่ มฝี แกะฝีกินเอง
๏ บาปบาปมดเท็จ เพ่อื นบนครื้นเครง
กินเนอ้ื เน่าเอง กินฝแี หง่ ตน

๔๙ สู (สรรพนาม) หมายถึง เจ้าหรือทา่ น
๕๐ มด ในทน่ี ้ีหมายถงึ แมม่ ด หมอผี

๏ บาปบาปมดเทจ็ ๒๘
กินเกล็ดฝีตน
๏ บาปบาปมดเทจ็ กล่าวเทจ็ ใหฉ้ งน
เปน็ เปรตยนื นาน กินหนอนทุกวนั
๏ บาปบาปมดเทจ็ ลวงให้เขาทาการ
เปน็ เปรตบม่ ดิ ี ยงิ่ กวา่ พนั ปี
๏ บาปบาปมดเท็จ ลวงใหเ้ ขาไหวผ้ ี
ตวั สั่นระรัว เปอ่ื ยพังทั้งตน
๏ บาปบาปมดเท็จ วา่ ให้เขากลวั
เป็นเปรตตวั มัน ระเริ่มงกงัน
๏ บาปบาปมดเท็จ วา่ เทจ็ ผิดธรรม
เป็นเปรตปวดตน ยง่ิ กวา่ ไฟลน
๏ บาปบาปมดเทจ็ ว่าให้กลัวขอบน
เปน็ เปรตอยูด่ ง ยง่ิ กวา่ แทงลง
๏ ผู้เช่อื แมม่ ด วา่ ให้เขาหลง
เปน็ เปรตบ่สเบย บ่มิพบพระเลย
๏ ผู้เชอ่ื แม่มด ไหวผ้ ีชมเชย
หวั เปน็ หัวควาย เปน็ อสุรกาย
๏ ผูเ้ ชอ่ื แมม่ ด เอาบาปเปน็ นาย
ตวั เปน็ ตวั ทราย ตวั เป็นตวั คน
๏ ผูเ้ ชอื่ แม่มด เอาผเี ปน็ นาย
ตัวเปน็ ตัวคน หวั เป็นหัวคน
๏ ผ้เู ช่อื แมม่ ด แลยอ่ มขอบน
ตัวเปน็ ตวั ทราย หัวเป็นหวั ทราย
ย่อมว่าถอยหาย
หัวเป็นหวั คน

๏ ผเู้ ชื่อแม่มด ๒๙
ตัวเปน็ ตัวคน
๏ ผูเ้ ช่อื แม่มด ย่อมว่าบานบน
ตวั เปน็ เปด็ หมัน หวั เปน็ เป็ดหมัน
๏ ผู้เชื่อแมม่ ด นอนมดเอาขวัญ
ตัวเปน็ ตัวคน หวั เปน็ หวั คน
๏ ผเู้ ชื่อแมม่ ด แลไหว้ อนบน
ตวั เป็นแร้งกา หัวเปน็ แร้งกา
๏ ผู้เชอ่ื แม่มด ย่อมเซ่นเหล้ายา
ตัวเปน็ ตัวคน หัวเปน็ หัวคน
๏ ผูเ้ ชือ่ แม่มด กลวั ตายขอบน
ตวั เป็นแรดกวาง หวั เป็นแรดกวาง
๏ ผู้เชอ่ื แมม่ ด ยอ่ มไหวผ้ ีสาง
เปน็ เปรตพกิ ล หัวเป็นหัวคน
๏ อสุรกายเหลา่ น้ี วา่ บ่มเิ ปน็ ผล
ฆา่ กนั ทกุ วัน หลาก ๆ หลายพรรณ
๏ ผู้โจทนา แต่ลว้ นอยู่พลา่ น
แตเ่ ซ่นเหล้าแกผ่ ี มากกว่าพันปี
๏ จาเลยรแู้ ท้ วา่ เหตดุ งั น้ี
ว่าผีนน้ี า แลบาปนกั บาปหนา
๏ ตายไปเป็นผี จึงแก้ปริศนา
บาปเม่อื เปน็ คน บม่ เิ ปน็ มงคล
๏ เป็นผลี าบาก เพราะวา่ ใจอกศุ ล
ช่อื ว่าเป็นผี จึงได้เป็นผี
อดยากแสนทวี
ลาบากเหลือใจ

๓๐

๏ แตบ่ าปบาปแลว้ เร่งเซ่นสง่ ไป

ฆ่าเปด็ ฆ่าไก่ สง่ ไปภายหลัง

๏ บรรดาบาปจะสน้ิ บาปนัน้ กลบั ยัง

ผูเ้ ซ่นภายหลงั เหมอื นเพิ่มบาปไป

๏ ทัง้ วา่ เซ่นเหลา้ บาปนกั เหลอื ใจ

เหมอื นเพิ่มบาปไป ให้ผีทั้งหลาย

๏ ผเู้ ชอื่ แมม่ ด เป็นอสรุ กาย

ไดด้ ุจอภปิ ราย กล่าวแล้วแตห่ ลัง ฯ ๏ ฉนั ท์ ๏ ฯ

๏ เมื่อน้นั วา่ ยงั มี เปรตผหู้ นึ่งเหน็ พึงกลวั

มแี ต่ตัวบ่มหี วั เปรตหัวดว้ นเห็นพิกล

๏ ยมบาลเอาเชอื กเหลก็ รอ้ นกวา่ ร้อนมดั ทัง้ ตน

ด้ินระดา่ วครางอดักอดน เขาเร่งคาดเร่งตรงึ ลง

๏ ยมบาลเอาเหลก็ แหลม รอ้ นเป็นไฟตรงึ ทัง้ องค์

เอาหอกแทงรุมลง ชูข้นึ ไปในเวหา

๏ เปรตนัน้ ดนิ้ อยู่ทน บนปลายหอกรอ้ นนกั หนา

ถา้ จะนับจะคณนา ยังยงิ่ มากกว่าพันปี

๏ เปรตหวั ด้วนรอ้ นปวดนัก เป็นอัปลกั ษณไ์ รอ้ ปั รยี ์

มีปากอยู่ทวารหนา้ บดั สี มีดวงตาอย่ใู นอกตน

๏ มีหัวอยู่ในทอ้ ง ส่วนจมกู อยู่เบอื้ งบน

มรี ปู นน้ั พกิ ล ทนวบิ ากยากนกั หนา

๏ แร้งปากเหล็กกาปากเหลก็ นกตะกรุมรุมกันมา

เดนิ เขา้ สบั จิกตา หจู มกู ขาดเรี่ยราย

๏ เปรตน้นั จะเป็นกม็ ิเปน็ ส่วนจะตายก็บ่มิตาย

ทนวบิ ากยากเหลอื หลาย ยังย่ิงมากว่าพันปี

๓๑

๏ เปรตนั้นเม่ือเปน็ คน อยแู่ วน่ แคว้นพระบรุ ี

ราชคฤห์เมืองมศี รี ชายผนู้ น้ั ใจอาธรรม์

๏ ชวนเพือ่ นไปรกุ รน ปล้นเอาทา่ นแทงฆ่าฟนั

เปน็ คนใจอาธรรม์ ฉกตีเอาคนเดนิ ทาง

๏ เลง็ เห็นส่ิงสิน๕๑เขา ลกั ลอบเอาบไ่ ว้วาง

บก่ ลวั บ่เกรงขาม ลกั ช้างม้าแลวัวควาย

๏ ปล้นเอาสิ่งสินเขา ใหเ้ จ้าของวงิ่ กระจัดกระจาย

บก่ ลัวบ่ละอาย ปล้นฟันเฆย่ี นเอาทรพั ยเ์ ขา

๏ บาปปล้นท่านใหเ้ จ้าทรัพย์ เปน็ ทรพล๕๒ไรอ้ บั เฉา

ยมบาลเขาจึงเอา เชือกเหลก็ แดงเรง่ คาดลง

๏ บาปปลน้ ท่านให้เจา้ บา้ น ใหห้ นไี ปซอกซอนทรง

เหล็กแหลมเขาเร่งตงึ ลง เพราะบาปตนแทงยิงเขา

๏ บาปฉก๕๓ท่านตีเอาทา่ น ผลาญเอาทา่ นทรัพยเ์ ปลา่ อกใจ

เปน็ เปรตพกิ ลไป มแี ต่ตัวหวั ไมม่ ี

๏ บาปปลน้ ทา่ นรอ้ งตวาด ให้เจา้ ทรพั ยต์ กใจกลัว

เปน็ เปรตไมม่ หี ัว มแี ตต่ ัวเหน็ พิกล

๏ บาปรกุ ร้นปล้นเอาท่าน ให้เจ้าทรพั ยเ์ ป็นทรพล

บรรดาปากจะอยเู่ บ้อื งบน ปากกลบั อยู่รทู วารเอง

๏ บาปฉวยฉกเอาของทา่ น คกุ คารามอยคู่ รืน้ เครง

เปน็ เปรตอยูว่ ังเวง มหี ัวอยใู่ นทอ้ งตน

๕๑ สิน คอื ทรัพย์สมบตั ิ มักเปน็ คาซ้อนคกู่ นั คือ ทรัพยส์ นิ
๕๒ มกี าลงั นอ้ ย
๕๓ ฉก หมายถึง ขโมย

๓๒

๏ บาปปลน้ ท่านตเี อาทา่ น ใหเ้ จา้ ของตกใจฉงน

รจู มูกอยูเ่ บ้ืองบน รปู ทง้ั นั้นก็เคลื่อนคลาย

๏ ตาขาดจมูกแหก หดู ้วนแฉกแตกเร่ียราย

เรง่ รอ้ งเร่งครางตาย บาปปลน้ ท่านมาถงึ ตัว ฯฯ เชิด ฯฯ

๏ เม่อื นน้ั บรรดาเปรตอสุรกาย นรกทงั้ หลาย

ต่าง ๆ ยกมือข้ึนไหวพ้ ระมาลยั

๏ ตขู า้ ลาบากเหลอื ใจ ขอพระมาลยั

เอาข่าวนีไ้ ปบอกแก่ญาติกา

๏ ขอพระเจ้าบอกจงนกั หนา ขอพระกรณุ า

ใหฝ้ ูงญาตกิ าเรง่ ขวนขวายทาบญุ

๏ ให้เจรญิ พทุ ธคุณ อทุ ศิ ส่วนบุญ

แผ่ผลอานิสงสม์ าถึงตขู ้าอย่าใหน้ าน

๏ ใหญ้ าติใหภ้ าชนะเปน็ ทาน ใหเ้ รง่ กระทาการ

จาศลี สร้างพระแล้วภาวนา

๏ ให้เขาอนโุ มทนา อทุ ิศบุญมา

ตขู า้ จะรบั เอาทนั ใจ

๏ ขา้ แตพ่ ระเถรมาลัย พระจงไป

ในเมืองนน้ั ญาตกิ าตเู ขาอยู่

๏ เมอื งนั้นแลนาฝูงญาตกิ าตูเขาอยู่ ขอพระเจา้ เอ็นดู

บอกแกญ่ าตกิ าท้งั หลาย

๏ เขาเปน็ ทกุ ข์ทุกวันคืน ใหส้ ะอ้นื โศกนกั หนา

ร้องไหพ้ ลางรอ้ งสงั่ มา ถงึ บดิ าแลมารดร

๏ บ่เห็นใครจะช่วยได้ เห็นแก่ญาตกิ ากอ่ น

ใหญ้ าตเิ ร่งสังวร จาศีลแล้วแลให้ทาน

๓๓

๏ เขาคานึงถงึ ลูกนัก อกี เมียรกั นางนงคราญ

ใหล้ กู เมียสงสาร เอน็ ดเู ราเรง่ ทาบญุ

๏ ขอลกู ผู้ใจทาน เมยี สงสารแมม่ คี ณุ

ใหเ้ รง่ กระทาบญุ สง่ บญุ นนั้ มาจงเรว็ พลัน ฯ๏ เชดิ ๏ฯ

๏ เม่ือน้นั บรรดาคน ทง้ั หลายได้ฟัง

อภปิ รายพระมาลยั เจา้ บอกพลัน

๏ เขาจึงแต่งกัปปยี ๕์ ๔จงั หัน๕๕ ใส่บาตรครามครัน

จึงสง่ บุญน้ันไปถึงญาติกาตน

๏ เมือ่ นั้นบรรดาเปรตทกุ คน เล็งเห็นกศุ ล

อันญาตกิ ระทามาน้นั กด็ ีใจ

๏ เขาจงึ พน้ ทกุ ข์นัน้ ไป เกดิ ในสุราลัย๕๖

วิมานแกว้ นางสวรรคเ์ ปน็ บรวิ ารไสว

๏ เท่ยี งแท้เป็นเหลอื ใจ พระเถรมาลยั

มฤี ทธศิ์ กั ดาเป็นนกั หนา

๏ เธอโปรดนรกแลเปตา ใหพ้ น้ ทุกขา

เป็นสขุ สาราญใจ

๏ เหตดุ ังนเ้ี ที่ยงแท้ พระเถรน้ีแล

มบี ญุ สมภาร๕๗

๕๔ หมายถงึ กบั ข้าวทถ่ี วายพระสงฆ์
๕๕ หมายถึง คาเรยี กอาหารทีพ่ ระสงฆฉ์ นั
๕๖ สุร หมายถึง เทวดา, อาลยั หมายถึง ทีอ่ ยู่ รวมกนั แลว้ หมายถงึ สวรรค์
๕๗ สมภาร หมายถึง บุญกุศลท่ีเคยสร้างไว้ทุกภพชาติ เมื่อรวมกันเข้ามากข้ึนเร่ือย ๆ เรียกว่า

สมภาร และนาไปสคู่ าท่เี รยี กวา่ บารมี อนั เปน็ การสะสมบญุ กศุ ลสงู สุด

๓๔

๏ เธอนาสัตวเ์ ข้าส่นู ฤพาน ดับชาตสิ งสาร

ใหพ้ ้นทุกขา ฯ๏ ราบ ๏ฯ

๏ อาตมาสาแดงพระคัมภีร์มาลัยเทพเถรไปโปรดนรกครั้งนั้น

บรรดาเปรตอสุรกายชาวนรก ต่างคนต่างก็ส่ังพระมาลัยขึ้นมา ให้

บอกแกญ่ าตกิ าทเี่ ขาอยูใ่ นเมอื งคนนนั้ เถดิ เจ้าค่ะ

๏ เมอ่ื เช้าวันหนง่ึ จงึ พระเถรมาลัย

เสด็จเข้าไป เอาภกิ ขาจร๕๘

๏ มมี ือถือบาตร คลมุ ผา้ จีวร

เดนิ ด้วยสงั วร ได้แล้วกเ็ ดนิ มา

๏ ยงั มีชายหนึง่ เปน็ คนเข็ญใจ

เก็บฟนื หกั ไม้ มาเลยี้ งพระมารดา

๏ ลงไปสูส่ ระ เพอ่ื จะเก็บผักมา

เล้ียงพระมารดา ตามยากทรพล

๏ ชายนัน้ อาบน้า ชาระเน้ือตน

เห็นดอกอุบล๕๙ แปดดอกงามโสภา

๏ ชายน้นั จงึ เกบ็ เอาดอกไมม้ า

ดว้ ยใจศรทั ธา ชนื่ ชมดใี จ

๏ ชายนั้นเลง็ เหน็ พระเถรมาลยั

อันมาแตไ่ กล สารวมอินทรยี ์

๕๘ การบิณฑบาต ขออาหารเพ่ือโปรดสัตว์โลก หน้าที่หน่ึงของพระสงฆ์ท่ีพระพุทธเจ้าทรง
บญั ญัติ

๕๙ หมายถงึ ดอกบัว

๓๕

๏ แลไปชว่ั แอก๖๐ เหน็ งามมีศรี
มีฤทธพ์ิ ธิ ี มีฌานผ่องใส
๏ ชายนนั้ ครนั้ เห็น พระเถรมาลยั
จงึ เดินเขา้ ไป ดว้ ยใจกุศล
๏ ชายนั้นจึงถวาย ดอกไมอ้ ุบล
ดว้ ยใจกศุ ล แก่พระมาลยั
๏ ชายนัน้ จึงตัง้ ปณธิ าน๖๑ นึกแตใ่ นใจ
ข้าขอปรารถนา
๏ จะเอาอันใด ชายน้ันจงึ จนิ ดา๖๒
จึงสวดพระคาถา ตัง้ ปณิธาน
๏ เดชะขา้ ถวาย ดอกไม้เป็นทาน
ขา้ เกดิ ในสถาน ที่ใดทใ่ี ด
๏ แมน้ ได้หม่ืนชาติ แสนชาติไปไกล
ชือ่ ว่าเข็ญใจ ขออยา่ ไดเ้ กดิ มี
๏ พระมาลยั จงึ รบั เอาด้วยดี
ดอกอบุ ลมีศรี จากชายนน้ั มา
๏ จงึ ทาอนโุ มทนา จงึ สวดคาถา
ไหว้เจรญิ บญุ ฯ๏ เชดิ ๏ฯ
๏ อันทานช่ัวดีฉนั ใด
บรสิ ทุ ธิ์ยนิ ดี ใครใหด้ ว้ ยใจอนั ใส

๖๐ เป็นการเปรียบเทียบเวลามองหรือดูส่ิงใดก็ตามด้วยความสารวมเคารพ เป็นอาการมองท่ี
สารวม ไมห่ ลกุ หลกิ แอกในทน่ี ้ี หมายถงึ แอกทีโ่ คใช้เทยี มเกวยี น

๖๑ ปณธิ าน คอื การกาหนดเปา้ หมายหรอื จดุ ประสงคข์ องการบาเพ็ญกศุ ลในครัง้ น้ัน
๖๒ จินดา หมายถงึ นึก คดิ

๓๖

๏ ทัง้ ศรัทธากม็ ี ดว้ ยบญุ อันช่ืนชมเปรมปรีด์ิ
จะเอาโลกอุดร๖๓ก็ดี
๏ ดอกไมด้ อกเดียวงามไสว ก็จะไดด้ จุ ใจจง
ได้นางฟ้าแปดสบิ โกฏ๖ิ ๔ครนั ผูใ้ ดถวายไป
๏ มรี ปู โฉมโนมพรรณ๖๕ จะได้ทรงพระธรรม์
วิเศษจบพระปฎิ กกัณฑไ์ ตร
๏ พระเถรเทศนายอผลไป จึงรบั เอาดอกอุบลไว้
แล้วพระมาลัยจึงจินดา ถวายพวงมาลา
๏ ควรจะเอาไปบชู า
ในมหาโพธริ ปู พระเจดยี ์บม่ นิ าน แตก่ ่อนมานาน
๏ ในสัตตมหาสถาน ท่ีใดมไิ ดไ้ ปบูชา
ทง้ั นก้ี กู ย็ ่อมไดไ้ ปบูชา
๏ คิดแลว้ คดิ เลา่ ถึงเจด็ ครา พระเกศเจดยี ์
ควรจะเอาดอกไมไ้ ปถงึ พระเจดยี ์
๏ อยา่ เลยดอกไม้งามมีศรี พระธาตุจุฬา-
ในกาลบดั นีค้ วรไปบูชา จงึ รับเอาดอกไม้ไป
๏ พลางกูจะไปไหวว้ ันทา
มณีทอ่ี ินทรารบั ไปประดิษฐานไว้
๏ เมื่อนน้ั พระเถรมาลัย
ทงั้ แปดดอกบานงามมีศรี

๖๓ โลกอดุ รหรอื โลกุตตร หมายถึง นิพพาน เปา้ หมายสูงสดุ ในทางพระพทุ ธศาสนา
๖๔ หน่งึ โกฏเิ ท่ากับจานวน ๑๐ ลา้ น
๖๕ โนมพรรณ หมายถงึ ลักษณะ

๓๗

๏ จงึ เหาะด้วยฤทธ์ิพิธี ถึงพระเกศเจดยี ๖์ ๖

ประมาณขณะลดั นวิ้ มอื ๖๗เดยี วบ่มนิ าน

๏ ดอกไมแ้ ปดดอกอันงาม เธอถวายในสถาน

ทัง้ แปดทิศ๖๘น้นั เปน็ พทุ ธบูชา

๏ พระมาลยั เจา้ จึงวนั ทา พระเกศจุฬา

แล้วก็น่ังข้างฝ่ายทศิ บูรพ๖์ ๙ ฯ๏ ฉันท์ ๏ฯ

๏ เมือ่ นน้ั บันอินทรา มีนางฟา้ เปน็ บริวาร

นางสวรรค์อนั นงคราญ จะแจม่ หนา้ หน้านวลศรี

๏ นางสวรรค์ไปละลบิ ๗๐ สะพรึบพร้อมล้อมกันมา

ไปไหว้พระเจดยี ์ ดว้ ยชาวแม่นางทง้ั ผอง

๏ อินทราจึงกราบไหว้ ถวายดอกไม้ธูปเทียนทอง

ด้วยชาวแม่นางทัง้ ผอง จึงถวายตามทา้ วอินทรา

๏ กราบไหว้ทั้งแปดทศิ แลว้ บพติ รเธอจึงวนั ทา

ทักษณิ า๗๑รอบจุฬา- มณีเวยี นเวยี นเปน็ สามวง

๏ อนิ ทราแลชาวสวรรค์ อนั มีพรรณงามยงิ่ ยง

ทกั ษณิ าแลว้ นง่ั ลง เขาแลเหน็ พระมาลัย

๖๖ หมายถึง พระจฬุ ามณีเจดีย์ ประดิษฐาน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทป่ี ระดษิ ฐานของพระเกศา
และพระเขย้ี วแกว้ เบ้อื งขวาของพระสมั มาสัมพทุ ธเจา้

๖๗ หมายถงึ ชว่ งเวลาพรบิ ตาเดยี ว
๖๘ การไหว้ท้ังแปดทิศ คือ การแสดงความเคารพสูงสุด โดยประกอบไปด้วย ๑. ทิศอุดร
(เหนือ) ๒. อีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนอื ) ๓. บูรพา (ตะวันออก) ๔. อาคเนย์ (ตะวนั ออกเฉียงใต้) ๕. ทกั ษิณ
(ใต้) ๖. หรดี (ตะวันตกเฉยี งใต้) ๗. ประจมิ (ตะวนั ตก) และ ๘. พายัพ (ตะวนั ตกเฉียงเหนอื )
๖๙ บรู พ์ หมายถึง บรู พา หมายถงึ ทศิ ตะวนั ออก
๗๐ ลิ่ว ไกล
๗๑ ตรงกับคาว่า ทักษิณาวรรต หมายถงึ การเวยี นขวา เป็นการเดินเวยี นขวา (ตามเขม็ นาฬิกา)
ใหส้ งั เกตว่าสง่ิ ท่จี ะบชู าอยขู่ วามือเราเป็นการแสดงถงึ ความเคารพในสง่ิ ทบี่ ชู าอย่างสูงสุด

๓๘

๏ อินทราแลชาวสวรรค์ ยกมอื ไหวง้ ามไสว
วนั ทาพระมาลยั แล้วห้อมล้อมอย่เู รยี งรนั
๏ อนิ ทราแลนางฟ้า เขา้ น่ังชดิ สะกิดกนั
พระเถรมาน่งั อยนู่ ้นั มาแตส่ วรรค์ฤๅมาแตไ่ หน
๏ อินทราผ้งู ามยง ถามพระองค์ไปทนั ใจ
จงึ ถามพระเถรไป ประสงคส์ ิ่งไรจึงข้ึนมา
๏ นางสวรรค์แลอนิ ทรา เห็นประหลาดยง่ิ นกั หนา
พระเถรเจ้ากูน้นี า มาเพอ่ื ว่าปรารถนาส่งิ อนั ใด
๏ อนิ ทราแลนางสวรรค์ นั่งรายเรยี งกนั ไป
วันทาพระมาลัย แลว้ นัง่ ลอ้ มมหาเถร ฯ ราบ ๏ ฯ
๏ เมือ่ นนั้ อินทรา จึงไหว้ถามไป
พระมาไหน มาถงึ เมอื งสวรรค์
๏ ขา้ ขอถามพระ บอกข้าจงพลัน
มาถึงเมอื งสวรรค์ เพอื่ จะเอาอนั ใด
๏ เม่ือนัน้ พระเถร จึงบอกทันใจ
ตามอธั ยาศัย อนั คนเทศข้นึ มา
๏ เราเอาดอกไม้ มาถวายบูชา
เพ่อื จะวันทา พระเกศเจดีย์
๏ พระเถรจึงถาม เจดยี ์ใครทา
อนิ ทรารบั คา ข้าพเจา้ รจนา
๏ ข้าพระทาไว้ เพ่อื จะไหวบ้ ูชา
แห่งเทพเทวา อันอยู่เมืองสวรรค์
๏ ขา้ พระทาดว้ ย แก้วอินทนลิ มีพรรณ
บรรจุพระเกศน้นั กับเขีย้ วแกว้ ทศพล

๓๙

๏ พระเถรจึงวา่ เทวาถว้ นตน
ได้ทากุศล แต่อยู่ในเมอื งดิน
๏ จึงได้เสวยสขุ เป็นพรหมเปน็ อินทร์
จะอยูน่ ง่ั กนิ เพราะบญุ แหง่ ตน
๏ ดังฤๅเปน็ อินทร์ แลว้ สรา้ งกศุ ล
จะสืบแผ่ผล ไปเลา่ ฉนั ใด
๏ จะอยนู่ ั่งกนิ ผลก่อนเป็นไร
ดังฤๅใจสรา้ งไป ให้ยากแก่ตน
๏ อินทร์ยกมอื ไหว้ พระเถรบดั ดล
จึงกล่าวยุบล๗๒ ให้แจ้งถอื ถาม
๏ ข้าแต่พระเถร เปน็ เจา้ ใจงาม
พระเจ้าไดถ้ าม ข้าขอแถลงถวาย
๏ เบ้ืองเป็นเทวา ดว้ ยกนั ทัง้ หลาย
ลางเทพหญิงชาย บญุ นอ้ ยเดยี วไป
๏ มาอยู่ในสวรรค์ บ่มิไดเ้ ท่าใด
จะกลับลงไป ในโลกโลกา
๏ ดุจดังคน อันทาไร่นา
ได้ข้าวเอกา ทะนานเดียวน้อยไป
๏ เร่งมีแลว้ เรง่ ทานาผลทรัพย์
อนนั ต์อเนกมากคราม อันนี้อปุ มา
ดจุ คนใจงาม ทาบญุ เกอื บขาม
จึงได้ไปสวรรค์

๗๒ เร่ืองราว

๔๐

๏ อยใู่ นสวรรค์แลว้ เรง่ ได้ฟังธรรม

เรง่ อยูใ่ นสวรรค์ เร่งได้บูชา

ได้ถวายธูปเทยี น ดอกไมม้ ณฑา

พระเกศจุฬา เจดียส์ ถาน

๏ ผู้น้นั จะอยู่ ในสวรรค์ยนื นาน

กศุ ลสมภาร จะค้าชตู น

ใหไ้ ดไ้ ปเกดิ ชั้นอนิ ทร์ช้ันพรหม

ตราบเทา่ ถึงบน อมตะนฤพาน ๚ ฉันท์ ๚

๏ เมือ่ น้ันพระมาลยั เธอได้ยนิ อนิ ทร์แจ้งแถลงถวาย

จึงถามอภิปราย ซ่ึงอนิ ทราใจกุศล

๏ ดกู รท้าวอินทรา เทพยดาในเบ้อื งบน

มาไหว้ธาตุถว้ นทกุ คน เปน็ สขุ ระรืน่ ชื่นชมใจ

๏ ไมตรีพระโพธสิ ตั ว๗์ ๓ ท่านเสด็จมาฤๅฉนั ใด

นมสั การธาตุนีไ้ ซร้ พระศรีอาริย์ยงั จะมาฤๅ

๏ พระศรีอาริย์ทา่ นใจสุทธ์ิ หนอ่ พระพุทธอนั เล่ืองลือ

ท่านนัน้ ยงั จะมาฤๅ ฤๅเสด็จอยู่ในวิมาน

๏ อนิ ทราจึงขานตอบ โดยระบอบชอบโวหาร

พระเจา้ พระศรีอาริย์ อย่าพักวา่ ฉันใดเลย

๏ ไมตรีทา่ นดีนกั หนา ย่อมเสดจ็ มานะหวั เอ๋ย

พระเถรอยา่ ถามเลย พระศรีอาริย์ท่านเสด็จมา

๏ พระมาลยั เจ้าจึงถาม ดว้ ยคาถามเผยวาจา

พระศรีอารยิ ์ท่านย่อมมา ย่อมเสดจ็ มาในวันใด

๗๓ พระโพธสิ ัตว์ หมายถึง ผู้กาลังบาเพ็ญบารมเี พอ่ื ตรสั รเู้ ปน็ พระพทุ ธเจา้ ในอนาคต


Click to View FlipBook Version