The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภารกิจสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน_พช. เล่มมอบนโยบาย ๔ เม.ย. ๖๔ NEW EDITED

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kmcdd2564, 2021-05-08 03:10:02

ภารกิจสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน

ภารกิจสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน_พช. เล่มมอบนโยบาย ๔ เม.ย. ๖๔ NEW EDITED

Keywords: ภารกิจสำคัญ,กรมการพัฒนาชุมชน

เม่ือวันที่ ๔ ก.ย. ๖๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน

ภาพวาดฝีพระหัตถ์ จานวน ๑ ภาพ พร้อมข้อความว่า “ความสดใส
สดชื่น ของโคกหนองนา ” และ “ความสุขและอบอุ่นในบ้าน
บนโคกหนองนา” ทรงลงพระปรมาภิไธย ๓ ก.ย. ๖๓ เพื่อเป็นกาลังใจ
ใหข้ า้ ราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และพสกนิกรชาวไทย



คำนำ

กรมการพัฒนาชุมชน เปน็ สว่ นราชการท่ีจัดต้ังข้ึนในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ สังกดั กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจสำคัญ
ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
ให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ เพ่ือให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง โดยมีผู้นำชุมชน อาสาสมัคร กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย
และประชารัฐ เป็นกลไกการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นระบบ
และมีประสิทธภิ าพ เพ่อื ให้บรรลุตามวสิ ัยทัศน์ คอื “เศรษฐกิจฐานรากมัน่ คง และชมุ ชนพง่ึ ตนเองไดภ้ ายในปี ๒๕๖๕”

การขับเคลื่อนงานของกรมการพัฒนาชุมชน มีพันธกิจหลักในการทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย
ของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ในการสร้างความม่ันคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท่ีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธาน
ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด โดยได้พระราชทานโครงการ “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” แก่ชาวไทย
ซ่ึงกรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าวมาขับเคลื่อนตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไข เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( COVID-19)
และเพ่ือสรา้ งงาน สร้างอาชพี และรายได้ให้แก่ประชาชน ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกจิ ฐานรากของประเทศอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ กรมการพัฒนาชุมชน ไดน้ อ้ มนำแนวพระราชดำริในพระบรมวงศานวุ งศ์มาปฏิบตั ิและขบั เคลื่อน
การดำเนนิ งานพัฒนาชุมชน เพ่อื “บำบดั ทุกข์ บำรุงสขุ ” ให้แกพ่ ่นี อ้ งประชาชน อาทิ โครงการขับเคลื่อนการพัฒนา
หมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จ
พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหาร
สปู่ ฏบิ ัตกิ าร ๙๐ วนั ปลูกผกั สวนครวั เพอื่ สรา้ งความมน่ั คงทางอาหาร รอบ ๒ การพัฒนาเดก็ ยากจนและด้อยโอกาส
ในชนบทผ่าน “กองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การขบั เคล่ือนหมบู่ ้านกองทนุ แม่ของแผ่นดิน การดำเนนิ งานกจิ กรรมประชาสัมพันธ์และตอ่ ยอดลายผ้าพระราชทาน
ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” รวมไปถึงการดำเนินงานโครงการอื่น ๆ อาทิ การดำเนินงาน
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ เรื่อง มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย
โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน โครงการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน
โครงการหน่ึงตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ การส่งเสริมการเข้าถึง
และใช้ประโยชน์จากกองทุนชุมชน (กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
กองทุนพัฒนาบทบาทสตร)ี เป็นตน้

กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำเอกสารน้ีขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูล ตลอดจนเป็นแนวทางในการกำกับ ดูแล
และติดตามการดำเนินงานของผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย จึงหวังว่าเอกสารน้ีจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้บริหาร
กระทรวงมหาดไทย และท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นำไปเป็นแนวทางและข้อมูล เพื่อกำกับ ดูแล ปรับปรุง พัฒนา
และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อให้สามารถขับเคล่ือนภารกิจทีส่ ำคัญ
ตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเรจ็ สรา้ งคุณภาพชวี ิตที่ดี
และสร้างความสขุ แกพ่ ่นี อ้ งประชาชนได้อยา่ งยัง่ ยืน

(นายสทุ ธิพงษ์ จลุ เจริญ)
อธบิ ดกี รมการพัฒนาชมุ ชน

๔ เมษายน ๒๕๖4

สารบญั หนา้

ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านความมน่ั คง ๑
• การขจดั ความยากจนและพฒั นาคนทกุ ช่วงวยั อยา่ งย่ังยืน
ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ๔
• โครงการพฒั นาพ้ืนทีต่ ้นแบบการพฒั นาคณุ ภาพชีวติ ตามหลักทฤษฎีใหม่
ประยกุ ต์สู่ “โคก หนอง นา” ๑๔
• โครงการพัฒนาหมบู่ า้ นเศรษฐกิจพอเพยี ง ๒๐
• โครงการสร้างความมั่นคงด้านอาชพี และรายได้
ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒๓
• การนอ้ มนำแนวพระราชดำรขิ องสมเดจ็ พระกนษิ ฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ๓๗
สูแ่ ผนปฏบิ ตั กิ าร 90 วนั ปลูกพชื ผักสวนครวั เพื่อสร้างความมน่ั คงทางอาหาร ๔๒
ระยะท่ี 2 สรา้ งวัฒนธรรมปลกู พชื ผกั ประจำครวั เรอื น
• กองทุนแม่ของแผน่ ดิน ๔๖
• โครงการอนรุ ักษ์พนั ธกุ รรมพืชอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ๔๘
• ๙ ; ๑๐ ปฏิบัติบูชา “สืบสาน รกั ษา ตอ่ ยอด” เพอ่ื พัฒนาชุมชน
๕๗
ยทุ ธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแขง่ ขัน ๖๒
• โครงการชมุ ชนทอ่ งเที่ยว OTOP นวัตวิถี ๖๕
๖๙
ยุทธศาสตรช์ าติ ๒๐ ปี ด้านการสรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ๗๒
• โครงการหนง่ึ ตำบล หนงึ่ ผลิตภณั ฑ์ (OTOP) ๘๖
• โอทอป เทรดเดอร์ (OTOP Trader) ๘๙
• โครงการตลาดประชารฐั ๙๓
• การพฒั นาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (SE) ๙๖
• โครงการสืบสานอนรุ ักษศ์ ลิ ป์ ผ้าถน่ิ ไทย ดำรงไว้ในแผน่ ดนิ ๑๐๐
• การบรหิ ารการจดั เก็บข้อมลู จปฐ. และ กชช. ๒ค ๑๐๔
• การพัฒนาสตรีและองคก์ รสตรี
• กลมุ่ ออมทรัพย์เพอ่ื การผลิต
• โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
• กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
• รางวลั เลิศรฐั ประจำปี ๒๕๖๔

การดำเนินงานภารกจิ สำคัญ
ของกรมการพฒั นาชุมชน
ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี

ดา้ นความมน่ั คง



การขับเคลื่อนนโยบายการขจดั ความยากจนและพฒั นาคนทุกชว่ งวยั อย่างยงั่ ยืน
ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

1. ความเปน็ มา

รัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ให้ทันการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างความเข้มแข็ง
และแก้ไขปัญหาที่ยังดํารงอยู่ของภาคส่วนต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกัน
และมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง และมีความเข้มแข็งในระยะยาว รวมถึงยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน
ทกุ ช่วงวัย การสรา้ งโอกาสและความเสมอภาค ทางสงั คมและลดความเหล่ือมล้ำ ด้วยการสรา้ งหลกั ประกันทางสังคม
และลงทนุ ทางสังคมแบบมุ่งเป้า เพอ่ื ชว่ ยเหลือและพัฒนากลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มยากจนและกลุ่มด้อยโอกาส
ให้มีความพร้อมและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างยั่งยืน โดยการดึงเอาพลัง
ของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน และมีภาครัฐที่นำนวัตกรรม
เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและการให้บริการ
ประชาชนอย่างมปี ระสิทธภิ าพ เนอ่ื งจากคนเปน็ ปจั จยั แห่งความแห่งความสำเรจ็ พน้ื ฐานทีส่ ำคัญของการพัฒนา
และขับเคล่ือนประเทศในทุกมิติและทุกด้าน ไปสู่วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดให้ “ประเทศไทย
มคี วามมัน่ คง ม่งั ค่งั ยง่ั ยืน เป็นประเทศทพ่ี ฒั นาแลว้ ดว้ ยการพัฒนาตามหลักปรัชาเศรษฐกิจของเศรษฐกิจ
พอเพียง” โดยไม่ทิ้งใครไวข้ า้ งหลัง

รัฐบาลมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 347/2563 เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน
และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรียกโดยย่อว่า “ศจพ.”
และแตง่ ตั้งคณะกรรมการขจัดความยากจนและพฒั นาคนทุกช่วงวัยอยา่ งย่ังยืน ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง (คจพ.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธาน และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสท่ีกระทรวงมหาดไทยจะได้ดำเนินการขับเคล่ือนนโยบาย
ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จึงให้กรมการพัฒนาชุมชน
พิจารณาบูรณาการความร่วมมือจากส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกัน
ขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย ภายใต้การน้อมนำหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาปฏบิ ัตใิ ห้เกดิ ความยง่ั ยนื

๒. ผลการดำเนินงาน
นายกรัฐมนตรี มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี

(พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน
คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคน
ทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง (คจพ.) โดยได้จัดการประชุมคณะกรรมการฯ
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ -
๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๓๐๑ ตึกบัญชาการ ๑
ทำเนยี บรฐั บาล ทัง้ น้ี ทีป่ ระชมุ มมี ติการประชุม ดังน้ี

๑. เห็นชอบกลไกการดำเนินการขจัด
ความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมอบหมาย
กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการจัดต้ั งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน
และพฒั นาคนทุกชว่ งวัยอย่างย่งั ยนื ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งจังหวัด (ศจพ.จ.) ศูนย์อำนวยการ



ขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.)
และทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างย่ังยืนตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในระดับพนื้ ที่ โดยมีองคป์ ระกอบ และหนา้ ทีแ่ ละอำนาจ ตามร่างคำส่ังจดั ตั้งศูนย์อำนวยการฯ ในระดับจังหวัด
และระดับต่าง ๆ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนองค์ประกอบและหน้าที่อำนาจ
ไดต้ ามความเหมาะสมของบรบิ ทพ้นื ที่

๒. มอบหมายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน
และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรุงเทพมหานคร (ศจพ.กทม.)
และศูนยอ์ ำนวยการขจดั ความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวยั อย่างย่ังยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเขต
(ศจพ.ข.) โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ตามร่างคำส่ังจัดต้ังศูนย์อำนวยการฯ ในระดับจังหวัด
และระดับต่าง ๆ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนองค์ประกอบและหน้าที่อำนาจ
ได้ตามความเหมาะสมของบริบทพืน้ ที่

๓. เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย
อยา่ งย่งั ยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ดว้ ยระบบ TPMAP ตามท่ีฝา่ ยเลขานกุ ารฯ เสนอ

๔. เร่งรัด ศจพ. ทุกระดับและทีมปฏิบัติการฯ ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ
รวมถึงประเด็นการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ตามแนวทางการขับเคลื่อนฯ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นำเขา้ ขอ้ มูลทม่ี กี ารเชื่อมโยงกบั เลขบตั รประชาชน ๑๓ หลกั โดยนำสง่ ใหแ้ กส่ ำนกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกิจ
และสังคมแหง่ ชาตแิ ละศนู ยเ์ ทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกสแ์ ละคอมพวิ เตอรแ์ ห่งชาติ

๕. มอบหมายให้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พัฒนาระบบ TPMAP ทั้งในส่วนของข้อมูลและการใช้งานของระบบ
ให้มีประสทิ ธิภาพและสมบรู ณม์ ากยง่ิ ข้ึน



๓. ประเด็นขอความร่วมมือจากผ้วู ่าราชการจงั หวัด
3.1 ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อน ได้แก่ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน
และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) ศูนย์อำนวยการ
ขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.)
และทมี ปฏบิ ัตกิ าร คือ

- ทีมเฉพาะกิจสำรวจข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายยากจนตามสภาพปัญหา โดยมีภารกิจตรวจสอบ
ข้อมูลครัวเรือน (X-ray) ทุกครัวเรือน ค้นหาคำตอบจาก ๓ ประเด็นคำถาม คือ (๑) คนจนอยู่ที่ไหน
(๒) สภาพปัญหาอะไร/สาเหตุความยากจนเกดิ จากอะไร และ (๓) จะกา้ วข้ามความยากจนได้อย่างไร

- ทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ (ทีมปฏิบัติการตำบล) โดยมีภารกิจวิเคราะห์ครัวเรือนเป้าหมาย
(ครัวเรือนพัฒนาได้/ครัวเรือนที่ต้องสงเคราะห์/ครัวเรือนที่ต้องพัฒนาตามสภาพปัญหา) และส่งต่อข้อมูล/
แนวทางความชว่ ยเหลือใหท้ มี พี่เลยี้ ง ดำเนินการตามแนวทางการใหค้ วามช่วยเหลอื ตอ่ ไป

- ทีมพี่เลี้ยง ประกอบด้วย ข้าราชการ ผู้นำชุมชน นักศึกษา และภาคี/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมี
ภารกจิ ใหค้ วามชว่ ยเหลือครวั เรือนเป้าหมายตามแนวทางท่ีกำหนด ทัง้ น้ี มอบหมายให้ทมี พี่เลย้ี ง ๑ ทีม ดูแล
ครัวเรอื นเป้าหมาย จำนวน ๑ - ๕ ครวั เรอื น

3.2 ดำเนินการแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจนให้สำเร็จในระดับพื้นที่ (ระดับอำเภอ) โดยให้
นายอำเภอบูรณาการกลไก/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนให้ประสบ
ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด กรณีนอกเหนือภารกิจ หน้าที่และอำนาจของศูนย์อำนวยการ
ขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ
(ศจพ.อ.) ให้ดำเนินการส่งข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายให้ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคน
ทกุ ชว่ งวยั อย่างย่งั ยืนตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) เพอ่ื ดำเนนิ การแก้ไขปัญหาตอ่ ไป

๓.3 บรรจุข้อมูลแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (แก้ไขปัญหาครัวเรือนเป้าหมาย
ทย่ี ากจน) ในแผนพฒั นาทุกระดับ



โครงการพัฒนาพืน้ ทตี่ ้นแบบการพฒั นาคุณภาพชวี ิตตามหลักทฤษฎใี หม่
ประยกุ ตส์ ู่ “โคก หนอง นา”

1. ความเป็นมา
สถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาด

ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการสาธารณสุข
ด้านการคมนาคมและอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางสังคมขนาดหนักไปทั่วท้ังโลก รัฐบาลภายใต้การนำ
ของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในระดับฐานราก
ของประเทศ จึงกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ
จากการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา 2019 เพ่ือช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ
ซ่ึงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รบั ผลกระทบจากการระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019

กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในการบำบดั ทกุ ข์บำรงุ สขุ พฒั นาคณุ ภาพชวี ิตของประชาชนใหม้ คี วามสุข
มีความมั่นคง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
และมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการส่งเสริม
กระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการพัฒนาคน
ให้พึ่งตนเอง มีความเป็นเจ้าของและบริหารจัดการโดยชุมชน พัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจ
พอเพียงและเป็นสังคม “อยู่เย็น เป็นสุข” ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ ทั้ง 7 ภาคี
น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ตามกลไกการขับเคลื่อนสืบสาน
ศาสตร์พระราชา เพื่อการปฏิรูปประเทศ โดยใช้หมู่บ้านเป็นฐานของการพัฒนา มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกครัวเรือน
และพัฒนาคนให้มีความรู้และปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีอาชีพ สร้างรายได้
ท่ามกลางวิกฤตโลกที่มีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยการจัดทำโครงการที่ประยุกต์การใช้ศาสตร์พระราชา
และน้อมนำเอาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 40 ทฤษฎี ที่ทรงพระราชทานไว้ให้
ในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และส่ิงแวดล้อมมาประยุกต์กับแนวคิดการพัฒนาพ้ืนที่และ
การออกแบบเชิงภูมิสังคมไทยเพื่อการพึ่งตนเองและรองรับภัยพิบัติในรูปแบบ “โคก หนอง นา”
สร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับหมู่บ้าน ในภูมิสังคมต่าง ๆ ผ่านการทำงานในรูปแบบการจ้างงาน
และการร่วมกันลงแรงด้วยการสนับสนุนวัสดุพื้นฐานและงบประมาณและบูรณาการการทำงานจากภาคี
ภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน ผ่านโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” งบประมาณ ๔,๗๘๗,๙๑๖,๔๐๐ บาท
ดำเนินการในพื้นที่ ๗๓ จังหวัด ๕๗5 อำเภอ ๓,๒๔๖ ตำบล ๒๕ ,๑๗๙ ครัวเรือน มีวัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติรูปแบบ โคก หนอง นา
ด้วยการพัฒนาพ้นื ทเี่ รยี นรชู้ ุมชนตน้ แบบ “โคก หนอง นา” ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งระดับตำบล
และระดับครัวเรือน และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
แรงงานและบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
ในชว่ งวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - 19)



2. ขนั้ ตอน/วธิ ีการดำเนินงาน
▪ กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ

โคก หนอง นา อบรมกลุ่มเป้าหมายในหลักสูตร “การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง”
หรอื “หลักสตู รการพัฒนาภูมสิ ังคมชมุ ชนอยา่ งยงั่ ยืน” หรือ “หลักสูตรการออกแบบพืน้ ท่ีและการจัดการพื้นที่
ตามภูมสิ งั คม”

▪ กิจกรรมที่ 2 สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบลและพัฒนาพื้นที่
ครัวเรือนต้นแบบการพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ระดับครวั เรอื น

1. สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for Quality
of life : CLM) ระดับตำบล จำนวน 337 แปลง ( 10 ไร่ 23 แปลง , 15 ไร่ 314 แปลง) และพัฒนา
พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for Quality of life : HLM)
ระดบั ครวั เรอื น จำนวน 25,179 แปลง (1 ไร่ 9,925 แปลง, 3 ไร่ 14,917 แปลง )

2. ส่วนกลางจดั สรรงบประมาณ และมอบอำนาจใหจ้ ังหวัด/อำเภอดำเนนิ การเป็นรายแปลง
▪ กิจกรรมท่ี 3 สรา้ งงานสร้างรายได้รายเดือน ใหแ้ กเ่ กษตรกร แรงงานและบัณฑิตจบใหม่ กลมุ่ แรงงาน
ทอี่ พยพกลับท้องถนิ่ และชุมชน จ้างงานเกษตรกร บัณฑติ จบใหม่ กล่มุ แรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน
ในพน้ื ท่ี CLM 337 ตำบล ๆ ละ 10 คน และในพืน้ ท่ี HLM 2,909 ตำบล ๆ ละ 2 คน รวมทง้ั ส้ิน 9,188 คน

▪ กิจกรรมที่ 4 กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชนผ่านกิจกรรมเอามื้อสามัคคี และสนับสนุน
พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ สำหรับฝึกปฏิบัติร่วมกัน
ในแปลงของครวั เรือน เพอ่ื การเรียนร้กู จิ กรรมโคก หนอง นา จำนวน 24,842 พืน้ ท่ี ๆ ละ 3 ครงั้ ๆ ละ 20 คน

▪ กจิ กรรมท่ี 5 บรู ณาการร่วมพัฒนาพื้นทร่ี ะดับตำบล บรู ณาการร่วมพฒั นาพน้ื ท่รี ะดับตำบลดว้ ยกลไก 3 5 7
1. 3 ระดับพนื้ ท่ี ไดแ้ ก่ ระดับชุมชน ระดบั จังหวัด ระดบั ประเทศ
2. ผ่าน 5 กลไก ได้แก่ การประสานงานภาคีเครือข่าย บูรณาการแผนงานและยุทธศาสตร์ ติดตาม

ประเมินผล จดั การความรูช้ มุ ชน และการสือ่ สารสงั คม
3. ร่วมกับ 7 ภาคีภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคเอกชน

ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน

▪ กจิ กรรมท่ี 6 พฒั นาการสร้างมาตรฐานผลผลิต การแปรรปู และการตลาด ตามมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย
ฝึกอบรมการสร้างมาตรฐานผลผลิต การแปรรูป และการตลาดมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย ร่วมกับภาคเอกชน
เชน่ มลู นิธิรักษ์ดนิ รกั ษน์ ้ำ (Earth Safe)

▪ กิจกรรมที่ 7 พัฒนาระบบ Digital รองรับ Local Economy ด้วยการสร้างระบบโปรแกรมและ
ระบบฐานข้อมูล

1. การจดั หาอปุ กรณ์ และเครือ่ งมือสำหรับการดำเนินโครงการ
2. การสำรวจเก็บข้อมูลและจัดทำแผนทภี่ าพถ่ายดาวเทยี มและถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขบั
3. พัฒนา Platform เทคโนโลยภี ูมิสารสนเทศ เพอ่ื วัดผลสมั ฤทธ์ิคณุ ภาพชวี ิต ในบริบท โคก หนอง นา
4. การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
5. การเพิ่มศกั ยภาพศูนยศ์ กึ ษาการพฒั นาตามศาสตร์พระราชา
6. การศกึ ษาและวเิ คราะหป์ จั จยั ข้อมูลดา้ นเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพ่อื วัดผลสัมฤทธ์ิคุณภาพชีวิต
ในบรบิ ทโคก หนอง นา โมเดล
7. การจดั ซือ้ /จดั หาภาพถา่ ยดาวเทยี มรายละเอียดสูง



3. การบรหิ ารการใชจ้ ่ายเงนิ
3.1 สำนักงบประมาณจัดสรรเงินให้เต็มจำนวน เป็นวงเงิน 4,787,916,400 บาท เมื่อวันท่ี

5 พฤศจิกายน 2563 ดังนี้
1) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด 73 จังหวัด จำนวน 4,227,885,200 สำหรับดำเนิน

กจิ กรรมที่ 1 - 5
2) กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 159,463,000 บาท สำหรับ

ดำเนินกิจกรรมที่ 2 ในพื้นที่ CLM จำนวน 157 แปลง รวม 15 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี
ชัยภูมิ เชียงใหม่ ตาก นครราชสีมา น่าน พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี แม่ฮ่องสอน สกลนคร สระแก้ว สุริ นทร์
อุดรธานี และจังหวัดอบุ ลราชธานี

3) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) กิจกรรมที่ 7 จำนวน
116,030,400 บาท

4) กรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 284,537,800 บาท สำหรับดำเนินกิจกรรมที่ 5 จำนวน
279,648,000 บาท และกจิ กรรมท่ี 6 งบประมาณ 4,889,800 บาท

3.2 ผลการใช้จ่ายเงนิ



4. ความกา้ วหนา้ การดำเนินกจิ กรรมตามโครงการฯ ณ เดือนมีนาคม 2564
4.1 กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

รปู แบบ โคก หนอง นา แบง่ การฝึกอบรม จำนวน 3 หลักสูตร ดงั นี้
1) หลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนา

ชุมชนอำเภอ จำนวน 648 คน ดำเนินการระหว่างวนั ที่ 29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2563 จำนวน 7 รุ่น
ดำเนินการ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน 7 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน
อดุ รธานี ศูนย์ศกึ ษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ศนู ยศ์ กึ ษาและพัฒนาชุมชนนครศรธี รรมราช และศูนย์ศึกษาและ
พัฒนาชุมชนนครราชสีมา โดยหลักสูตรเน้นกระบวนการเรียนรู้ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการขับเคลื่อน
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา
ในพ้นื ทเ่ี ปา้ หมายไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพ

2) หลักสูตรพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for
quality of life : CLM) ดำเนินการครบแล้ว จำนวน 4 รุ่น รวม 323 คน รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 14 – 18
ธนั วาคม 2563 รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 22 – 26 ธนั วาคม 2563 ร่นุ ท่ี 3 ระหว่างวันที่ 11 – 15 กุมภาพันธ์ 2564
และรุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 2 – 6 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชมุ ชนนครนายก หลักสูตรเน้นการวางแผน
บูรณาการในพื้นที่ และสร้างความเชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่เชิงภูมิสังคม โคก หนอง นา
เพื่อกลุ่มเป้าหมายสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับครัวเรือน พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิ ต
(Household Lab Model for quality of life : HLM) ได้



3) หลักสูตรครัวเรือนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab
Model for quality of life: HLM) และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (ผู้รับจ้างงานตามโครงการฯ) ดำเนินการ
ฝึกอบรมแล้วจำนวน 295 รุ่น จำนวน 27,263 คน ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน 11 ศูนย์ ศูนย์เรียนรู้
ต้นแบบกรมฯ/ศูนยภ์ าคเี ครือขา่ ย และพ้ืนทอ่ี บรมบูรณาการร่วมกับชมุ ชน/ภาคีเครือข่ายความร่วมมือตามหลัก
บวร หลักสตู รเนน้ การพ่ึงพาตนเอง และฝึกปฏิบตั ใิ นมติ ิตา่ ง ๆ

4.2 กิจกรรมที่ 2 สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab
Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล และ พัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
(Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครวั เรือน อยรู่ ะหว่างดำเนินการท้ัง 73 จงั หวัด
มกี ารเบกิ จ่าย และทำสัญญาแลว้ จำนวน 164 แปลง รวม 9 จงั หวัด ประกอบด้วย จังหวดั ขอนแก่น เพชรบุรี
มหาสารคาม อุบลราชธานี หนองคาย บรุ ีรัมย์ อา่ งทอง สตลู และจงั หวัดกระบี่



4.3 กิจกรรมที่ 3 สร้างงานสร้างรายได้รายเดือน ให้แก่ เกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงาน

ที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน ดำเนินการรับสมัครกลุ่มเป้าหมายเมื่อวันที่ 11 – 17 พฤศจิกายน 2563

ดำเนินการรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย และลงนามในข้อตกลงการจ้างเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 สามารถสรุป

ขอ้ มูลการคดั เลือกบุคคลเพ่ือจดั จา้ งเป็นลูกจา้ งเหมาบรกิ าร ปฏิบตั ิภารกจิ ตามโครงการฯ ดังนี้

1) จำนวนผู้ผ่านการคดั เลือกขึน้ บัญชลี ูกจา้ งเหมาบรกิ ารฯ จำนวน 21,582 ราย

2) จำนวนลูกจา้ งเหมาบริการฯ ท่ีดำเนนิ การจ้างได้ จำนวน 9,170 ราย

3) จำนวนลูกจา้ งเหมาบริการฯ ทด่ี ำเนนิ การจ้างได้ จำแนกตามกลมุ่ เปา้ หมาย

3.1) เกษตรกร จำนวน 1,962 ราย

3.2) บณั ฑิตจบใหม่ จำนวน 2,126 ราย

3.3) ผวู้ า่ งงาน จำนวน 4,205 ราย

3.4) แรงงานท่อี พยพกลับท้องถน่ิ และชมุ ชน จำนวน 827 ราย

3.5) ผพู้ ้นโทษ ตาม MOU กับกรมราชทัณฑ์ จำนวน 50 ราย

4) จำนวนอัตราจ้างลูกจ้างเหมาบริการฯ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดจ้าง จำนวน 18 ราย

(เน่ืองจากลกู จ้างเหมาบริการฯ สละสิทธ์ิในการจดั ทำแบบข้อตกลงการจ้าง อยู่ระหว่างดำเนินการเรียกตัวผู้ผ่าน

การคัดเลือกในลำดับถัดไป)

รว่ มพัฒนาพื้นที่ครัวเรอื นตน้ แบบ

เกบ็ คา่ ระดบั ดนิ เดมิ ในแปลงโคก หนอง นา โมเดล ลงพ้ืนท่เี กบ็ ขอ้ มลู ครัวเรือน จบั พิกดั แปลงท่ีดิน

สอื่ สารและประชาสัมพนั ธ์การ
ดำเนนิ งานโครงการ

๑๐

4.4 กิจกรรมที่ 4 กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนา
และสนับสนุนพน้ื ที่ครวั เรือนตน้ แบบการพัฒนาคุณภาพชีวติ (HLM) ระดับครวั เรือน สำนกั งานพัฒนาชุมชน
จังหวัด/อำเภอ อยู่ระหว่างเตรียมจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ สำหรับฝึกปฏิบัติร่วมกันในแปลง
ของครัวเรือน เพ่ือการเรียนรู้กิจกรรม โคก หนอง นา จำนวน 24,842 พื้นท่ี ๆ ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 20 คน
มจี ังหวดั ทเ่ี รมิ่ ดำเนนิ การจัดกิจกรรมเอาม้ือสามคั คีเพื่อพัฒนาแปลงแลว้ ไดแ้ ก่ จงั หวดั ขอนแก่น เปน็ ต้น

4.5 กิจกรรมที่ 5 บูรณาการร่วมพัฒนาพื้นที่ระดับตำบล กรมการพัฒนาชุมชน จัดทำแนวทาง
การประเมินความพร้อมการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for
quality of life: CLM) ระดับตำบล ก่อนรับการสนับสนุนวัสดุและครุภัณฑ์ โดยกรมฯ มีหนังสือแจ้งให้จังหวดั
31 จังหวัด เร่งดำเนินการตามแนวทางประเมินความพร้อมการพัฒนาพื้นท่ีต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
(Community Lab Model for quality of life : CLM) จำนวน 337 แห่ง ไปแล้วรวม 2 ฉบับ หนังสือกรมฯ
ดว่ นทีส่ ุด ท่ี มท 0409.2/ว405 ลงวันที่ 11 ก.พ. 64 และหนงั สอื กรมฯ ด่วนที่สดุ ท่ี มท 0409.2/ว 846
ลงวันที่ 30 มี.ค. 64 นำส่งผลการพิจารณาให้กรมฯ ภายในวันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
[email protected]

4.6 กิจกรรมที่ 6 พัฒนาการสร้างมาตรฐานผลผลิต การแปรรูปและการตลาดตามมาตรฐาน
อินทรีย์วิถีไทย กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมจากพื้นที่ CLM ตำบลละ 2 คน ประกอบด้วย เจ้าของแปลง CLM
จำนวน 1 คน และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) จำนวน 1 คน เป้าหมายดำเนินการ 6 รุ่น รวม 674 คน
ดำเนินการแล้ว 2 รุ่น จำนวน 256 คน ประกอบด้วย รุ่นที่ 1 จังหวัดกาฬสินธุ์ ยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด
ระหว่างวันท่ี 25 - 27 กุมภาพนั ธ์ 2564 รุ่นท่ี 2 จงั หวัดชยั ภมู ิ นครราชสมี า สกลนคร สรุ นิ ทร์ อุดรธานี และ
จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 14 – 16 มีนาคม 256 ณ ศูนย์การเรียนรู้ Earth Safe อินทรีย์วิถีไทย
วัดป่านาคำ ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธ์ุ และจะดำเนินการต่อในรุ่นที่ 3 – 6 ระหว่างวันที่ 16 – 30
เมษายน 2564

๑๑

4.7 กิจกรรมที่ 7 สร้างโปรแกรมและระบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบ Digital รองรับ Economy
ประกอบด้วย 7 กจิ กรรมย่อย แยกเป็น

1) การจัดซื้อ/จัดหาภาพถ่ายดาวเทียม ดำเนินการจัดหาภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง
ต้นฉบบั บนั ทึกภาพ ปี พ.ศ. 2560 – 2562 แลว้ อยูร่ ะหว่างดำเนินการจดั ทำข้อมูลแผนที่ฐาน (Base Map)
ปี พ.ศ. 2563 – 2564

2) การสำรวจเก็บข้อมูลและจัดทำแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ
ด้วยอากาศยานไร้คนขับ เป้าหมายดำเนินการ 9 จังหวัด 131 แปลง ดำเนินการเก็บภาพที่ถ่ายแล้ว
จำนวน 9 จังหวัด 79 แปลง ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี พิษณุโลก
ร้อยเอด็ สกลนคร อดุ รธานี และจังหวัดชัยภมู ิ

3) การจดั หา Infrastructure อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซือ้ จดั จา้ ง (e-bidding)
4) การจ้างบุคลากรประจำโครงการ ดำเนินการจ้างเหมาบุคลากรประจำโครงการ
จำนวน 33 คน แบง่ เปน็ ประจำศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน 22 คน ประจำสว่ นกลาง 11 คน
5) การศึกษา วิจัย ตัวช้วี ดั อยู่ระหวา่ งดำเนนิ การจดั จา้ ง
6) การพัฒนา Platform เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อวัดผลสัมฤทธ์ิคุณภาพชีวิต
ในบรบิ ทโคก หนอง นา อยรู่ ะหว่างกระบวนการจดั ซอ้ื จัดจา้ ง (e-bidding)
7) การส่งเสริม Co – Creation เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
ครวั เรอื น CLM และ HLM ในดา้ นภูมิสารสนเทศ เปา้ หมายดำเนนิ การ 35 รุ่น จำนวน 1,420 คน ดำเนนิ การ
จดั ฝกึ อบรมแลว้ จำนวน 5 รนุ่ รวม 400 คน

จดั หาภาพถ่ายดาวเทียม สำรวจเกบ็ ข้อมูลแผนทภ่ี าพถา่ ยทางอากาศ การจ้างเหมาบุคลากรประจำโครงการ

5. แผนการดำเนนิ งานในระยะต่อไป(Drone)

กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดเสนอประเด็นเพ่ือพิจารณาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

และเสนอต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี

ตามลำดบั ในประเดน็ ดงั น้ี

5.1 ขอปรับแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงิน เนื่องจากกรมการพัฒนาชุมชนได้รับ

การจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ เต็มจำนวน และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน

และแผนการใช้จ่ายเงินที่กำหนดไว้เดิม ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชนได้เสนอการขอปรับแผนต่อรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณา

๑๒

ให้ความเห็นชอบ และเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เพื่อพิจารณาดำเนินการ
ในส่วนท่เี กี่ยวขอ้ งแล้ว

5.2 การขออนุญาตใช้ที่ดินภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานท่ีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการยินยอม
ให้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน ประกอบด้วย 1) ที่ดินภายใต้การกำกับดูแลของกรมป่าไม้ จำนวน 1,640 แปลง
2) ที่ดินภายใต้การกำกับดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์ุพืช จำนวน 237 แปลง ทั้งนี้
กรมการพัฒนาชุมชนอยู่ระหว่างเสนอข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณา
ใหค้ วามเห็นชอบกอ่ นเสนอเร่ืองไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองการใชจ้ า่ ยเงินกู้ดำเนนิ การในสว่ นทเ่ี ก่ียวข้องต่อไป

๑๓

6. ประเด็นขอความร่วมมือ

ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวดั ดังนี้
1. ส่งเสริมการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ดีแก่ประชาชนต่อโครงการ (ประชาสัมพันธ์ผลด้านดี
และต้ังรับประเด็นด้านลบ)
2. การบริหารและการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้เร่งดำเนินโครงการโดยเร็ว และลงนามผูกพันสัญญา
ในกิจกรรม/โครงการที่ต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างและจัดทำแผนการใช้จ่ายในส่วนงบดำเนินงานที่ชัดเจนภายในวันท่ี
30 เมษายน 2564
3. กรมบัญชีกลาง แจ้งว่า การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการฯ กรมการพัฒนาชุมชนสามารถ
ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรายรุ่น รายแปลง รายครัวเรือน รายฐานการเรียนรู้ได้ เพ่ือให้เปน็ ไปตามวัตถุประสงค์
ของโครงการฯ เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน และแผนการใช้จ่ายเงิน ประกอบกับห้วงระยะเวลาดำเนินงาน
สภาพแปลงพ้นื ท่ีแตกต่างกันและต่างพ้ืนที่
4. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการบริหารโครงการให้เกดิ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่มีการทจุ ริต

๑๔

โครงการพัฒนาหมูบ่ ้านเศรษฐกิจพอเพยี ง

1. ความเป็นมา
การพัฒนาประเทศ ตามวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว

ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นการพัฒนาให้ประชาชนคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีความสุข สร้างพื้นฐานการพึ่งตนเอง ลดความเหลื่อมล้ำ ในระดับครัวเรือน ชุมชน และประเทศ มีความเข้มแข็ง
ในการใช้ความสามารถบริหารจัดการชีวิต และบริหารจัดการชุมชน ส่งเสริมการสร้างรายได้ พัฒนาเศรษฐกิจ
ฐานราก ส่งเสริมความเสมอภาคและเป็นธรรม

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการน้อมนำแนวพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลเป็นธรรมและ
มีภูมิคุ้มกันกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจากภายในชุมชน ภายในประเทศ และภายนอกประเทศจาก
สังคมโลกทจี่ ะส่งผลตอ่ ครอบครัว การเตรียมความพรอ้ มแตล่ ะครวั เรือนให้ได้รบั การพัฒนาอยา่ งบูรณาการตาม
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตรพ์ ระราชา โดยสอดคลอ้ งกบั ภูมสิ งั คมท่ีแตล่ ะพ้นื ท่ีมีความแตกต่างกันของ
ปัจจัยพื้นฐาน ดา้ นศักยภาพ วิถชี ีวติ วฒั นธรรมและอัตลกั ษณ์

การพฒั นาประชาชนให้เขา้ ใจ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเกิดการยอมรบั และนำไปปฏิบัติ จงึ เปน็ ส่งิ สำคัญ
ในการสร้างความสมดุล ระหว่างการมีปัจจัยในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน ฐานะทางเศรษฐกิจ กับการสร้าง
ภูมิคุ้มกันเพื่อรับมือกับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่าง ๆ และเพื่อให้ทุกครัวเรือน ในทุกพื้นที่
ไดม้ ีวิถปี ฏิบตั ติ นตามปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ขั้นพน้ื ฐาน สำหรบั การพออยู่ พอกนิ ในแต่ละครอบครวั

กรมการพัฒนาชุมชน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ของชุมชน รวมทั้งสร้างเศรษฐกิจ
ฐานรากให้มั่นคงภายในปี ๒๕๖๕ โดยเริ่มต้นจากการสร้างการพึ่งตนเองของครัวเรือน ทั้งการบริหารจัดการ
และระบบเศรษฐกิจในครัวเรือน รวมถึงการร่วมมือเกื้อหนุนเจือจานระหว่างกันในชุมชน สร้างการทำงาน
ในรูปแบบกลุม่ การผลติ สร้างงาน สรา้ งอาชพี สรา้ งรายได้ และสรา้ งภมู ิคุม้ กนั ทีเ่ ปน็ สวสั ดกิ ารของชมุ ชน

2. ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน
2.1 สรา้ งและพัฒนากลไกขบั เคลอ่ื นในระดับพน้ื ท่ี ดว้ ยกจิ กรรม ดังน้ี
1) อบรมผู้แทนครัวเรือนเป้าหมาย “โคก หนอง นา” ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน
ใหเ้ ปน็ แหล่งเรียนร้ตู ้นแบบร่วมกันของชมุ ชน

2.2 เสริมสร้างกระบวนการบรหิ ารจดั การชุมชน ด้วยกิจกรรม ดังนี้
1) สัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความเข้าใจ เกิดความตระหนัก

ในการปรบั เปลย่ี นการใชช้ วี ิต และการพฒั นาหมู่บา้ นทส่ี มดลุ สอดคล้องกับหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
2) การจัดทำแผนพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม

ในการพฒั นาตนเอง และชมุ ชนอยา่ งมีทศิ ทางทีส่ อดคล้องตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ศักยภาพและ
บริบทของชมุ ชน

3) การขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วม
ในการพฒั นาตนเอง และชุมชนอย่างมที ิศทางทีส่ อดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศักยภาพและ
บริบทของชมุ ชน

๑๕

4) พัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” เพื่อสร้าง/พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่ง
เรียนรู้ให้กับประชาชนในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ระดับหมู่บ้าน โดยดำเนินการปรับรูปแบบแปลง
พื้นที่ พัฒนาพื้นที่ให้เอื้อต่อการใช้งาน ด้วยการนำศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ
ทฤษฎีใหม่ ด้านการฟื้นฟูดิน ด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านการใช้ประโยชน์ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
เช่น การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของพื้นท่ี และดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอด
ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสาธิตการใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่แหล่งเรียนรู้ “โคก หนอง นา”
ใหเ้ ป็นศนู ย์เรยี นร้เู ศรษฐกจิ พอเพยี ง สามารถให้บริการประชาชนได้

2.3 ประเมินผลการพัฒนาหมู่บา้ นเศรษฐกจิ พอเพียง ด้วยกจิ กรรม ดังน้ี
1) การจัดการความรูแ้ ละประเมินผลการพัฒนาหมบู่ า้ นเศรษฐกจิ พอเพยี ง ประกอบดว้ ย
1.1) ประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนและประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

เพื่อประเมินผลการพัฒนา สรุปบทเรียนและค้นหาแนวทาง วิธีพัฒนาต่อยอดการส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้าน
เศรษฐกิจพอเพียง

1.2) คัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2564 เพื่อจัดการความรู้ สร้างเครือข่าย
การเรียนรู้ในกระบวนการบริหารจัดการชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
และเพื่อคดั สรรกิจกรรมพัฒนาชมุ ชนดเี ด่นระดับจงั หวัด สำหรับเข้ารบั พระราชทานโลร่ างวัลเพอ่ื เชดิ ชูเกียรติ

1.3) สัมมนาผู้นำองค์การเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น โดยเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้นำชุมชน
ดีเด่นทุกคนในการเข้าร่วมพิธีการเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับทราบแนวนโยบายการดำเนินงานที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน
รวมทั้งองค์ความรู้ เทคนิค ประสบการณ์การทำงานด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง
พัฒนากลุม่ องค์กร เครือข่าย และชุมชน เพอ่ื ให้การทำงานพัฒนาชมุ ชนมีประสิทธภิ าพมากยิง่ ขึ้น

1.4) มหกรรมรวมพลังคนดีแห่งแผ่นดิน โดยการยกย่องเชิดชูเกียรติ และการสร้างเครือข่าย
การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้นำชุมชนดีเด่นทุกคนได้เกิดความภาคภูมิใจ และได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี งเป็นแนวทางในการดำเนินชวี ิต

2) จัดทำสื่อเผยแพร่และขยายผลการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยการผลิตสื่อส่งเสริม
กระบวนการเรยี นรู้ และเผยแพรป่ ระชาสัมพันธผ์ ลสำเร็จของการดำเนนิ งานการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้บังเกิดผลอย่างเป็น
รูปธรรม

3. ผลท่ีคาดว่าจะได้รบั
3.1 ผลสัมฤทธ์ิ : ร้อยละของหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

และมคี วามสุขมวลรวมเพิม่ ข้ึน
3.2 ผลลพั ธ์
1) เชิงปรมิ าณ
- จำนวนหม่บู า้ นทไี่ ด้รบั การพฒั นาหมู่บา้ นเศรษฐกิจพอเพียง 11,414 หมบู่ า้ น
- จำนวนศนู ย์เรียนรเู้ ศรษฐกจิ พอเพยี ง 11,414 แห่ง
2) เชงิ คุณภาพ
- ร้อยละ 85 ของหมบู่ ้านที่ได้รับการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงมีความสุข

มวลรวมตามเกณฑ์ที่กำหนด
- ร้อยละ 80 ของศูนย์เรยี นรเู้ ศรษฐกจิ พอเพยี งสามารถให้บริการประชาชนได้

๑๖

3.3 ผลกระทบ
1) ครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา” มีความรู้ความเข้าใจหลักการแนวทาง

การพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ “โคก หนอง นา”
ในพ้ืนทีเ่ ป้าหมายได้

2) ครอบครัวพัฒนาเป้าหมายเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต สอดคล้อง
ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

3) หมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้น้อมนำหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการดำเนินชีวิต รู้กิน รู้อยู่ รู้ใช้ รวมถึงพึ่งตนเองได้ และมีความสุข
มวลรวมเพิม่ ขึ้น

4. แนวทางการดำเนนิ งานในระยะตอ่ ไป
กระทรวงมหาดไทยเห็นความสำคัญในการสร้างพลังการส่งเสริมปรับทัศนคติ และเพิ่มทักษะ

การดำเนินชีวิตและการสร้างภูมิคุ้มกัน ของประชาชนโดยการดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ทุกหมู่บ้าน
ใน 3 ระดับ คือขั้นต้น ระดับครัวเรือน เพื่อการพออยู่ พอกิน ขั้นก้าวหน้า ระดับกลุ่ม ส่งเสริมและพัฒนา
กลุ่มอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ให้อยู่ดี มีสุข และระดับชุมชน ส่งเสริมความร่วมมือพัฒนาชุมชนให้มีกิจกรรม
สร้างหลักประกัน สวัสดกิ าร ความสัมพนั ธใ์ นชุมชน สร้างคณุ ภาพชวี ติ ประชาชนทีห่ ลากหลายและย่ังยืน

ซงึ่ ในปี 2564 ประเทศไทยต้องผ่านวิกฤติการทง้ั ดา้ นภยั พบิ ัติ ฝนแล้ง น้ำทว่ ม และภยั จากโรคระบาด
โควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตคนในสังคมชุมชนต้องเปลี่ยนไป โรงงานส่วนหนึ่งปรับลดยกเลิก คุณภาพชีวิตและ
เส้นความสุขต่ำลง คนกลุ่มหนึ่งกลับภูมิลำเนา ประชาชนจำนวนหนึ่งต้องได้รับการเยียวยาเนื่องจากรายได้
ทั้งในภาพรวมประเทศและบุคคลลดลง สิ่งที่เห็นชัดเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหา รองรับคนที่กลับคืนถ่ิน
ได้จริง คือ เริ่มต้นด้วยการลดรายจ่าย ไม่หวังรายได้ในช่วงแรก จากการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยการพึ่งพา
ตนเอง ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ที่ต้องมีการจัดการเก็บรักษาน้ำ พัฒนาดิน เพื่อให้น้ำและดินไปเลี้ยงพืชและสัตว์
นำมาบริโภคเอง มีเหลือแจกจ่าย ทำบุญ มีเหลือมากก็แปรรูป พัฒนาไปขาย เพิ่มรายได้ รวมกันสร้างเครือข่าย
ชว่ ยเหลือกนั ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดเน้นให้นำวิธีการเรียนรู้ ในรูปแบบ โคก หนอง นา มาเป็นกิจกรรมย่อย
ในการจัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา ตาม เพิ่มเข้ามา เนื่องจากเป็นโมเดลการ
บรหิ ารจดั การทรพั ยากร/ชีวิต/ชมุ ชนในภาพรวม ดนิ นำ้ ลม ไฟ โดยเฉพาะ คนและอาชีพ ทปี่ ระสบความสำเร็จ
ในการใช้พัฒนาครัวเรือนและชุมชน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรม โดยได้มีเจ้าของ
ทด่ี ินสมัครใจเข้าร่วมเรียนรใู้ นโครงการ และยนิ ยอมให้ใชผ้ ืนที่ดินในการดำเนนิ กิจกรรมเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต
ที่ลงมือฝึกปฏิบัติจริง ร่วมกับครอบครัวพัฒนา 30 ครัวเรือน เป็นศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดวิธีการและองค์ความรู้
ให้กับคนในชุมชน

๑๗

5. แนวทางการบูรณาการเพอ่ื การขับเคลอื่ นงาน
5.1 ขอให้คณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างย่ังยนื

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงจงั หวัด (คจพ.จ.) และคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการปฏิบัติการ
ขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (คจพ.อ.)
ติดตามสนบั สนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บา้ นเศรษฐกิจพอเพยี ง เพื่อให้มีการขบั เคลื่อนและขยายผล
การดำเนินชวี ิตภายใตห้ ลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งสคู่ รัวเรอื นและหม่บู ้านอยา่ งต่อเน่ือง

5.2 ขอความร่วมมือจังหวัดร่วมกันบูรณาการในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่น
ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง เพ่อื ใหก้ ารดำเนนิ งานมีประสิทธิภาพสูงสุด

5.3 การบูรณาการหลักสูตรเนื้อหาความเข้าใจพื้นฐานที่จำเป็นและเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม
ของแตล่ ะพ้นื ท่ดี ำเนินงานโครงการฯ เชน่ หลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกจิ พอเพียง หลักสูตรการพัฒนา
ภูมิสังคมชุมชนอย่างยั่งยืน หลักสูตรการออกแบบพื้นที่และการจัดการพื้นที่ตามภูมิสังคม หรือหลักสูตรอื่น ๆ
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติ ทักษะความเข้าใจ ในการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ลง สู่
การปฏิบัติแบบเป็นขั้นเป็นตอน สามารถออกแบบและพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยของตนเองได้ สามารถเป็นแกนนำ
ในการพัฒนา สามารถเปน็ ครูกระบวนการ และเกดิ เครอื ข่ายการขบั เคล่ือนในรปู แบบจิตอาสาพฒั นาในทุกพ้ืนท่ี

5.4 การเรียนรู้ฝึกปฏิบัติผ่านกิจกรรมสาธิต ฝึกสาธิตอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความมั่นคง
ทางอาหาร ที่เน้นการพึ่งตนเอง หมู่บ้านสามารถดำเนินการได้เอง หรือประสานความร่วมมือจากหน่วยงาน
ภายนอก ดำเนนิ การร่วมกนั ในพนื้ ที่พฒั นาคุณภาพชวี ิต โดยบรู ณาการกิจกรรมกับพืน้ ท่ีการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ผู้นำชุมชน/องค์กรชุมชน/เครือข่ายองค์การชุมชน เครือข่ายในพื้นที่ทั้ง 7 ภาคี (ภาครัฐ ภาควิชาการ
ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคศาสนา และภาคสื่อมวลชน) และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันขับเคลื่อนโครงการฯ การปรับรูปแบบแปลงพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่
รูปแบบ “โคก หนอง นา” การฝึกปฏิบัติ การเอามื้อสามัคคี ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่สอดคล้อง
ตามความต้องการของหมบู่ ้าน เพ่ือแกไ้ ขปญั หาและพัฒนาคณุ ภาพชีวติ ให้ดขี ้ึนสคู่ วามย่ังยืน

๖. ประเดน็ ขอความร่วมมอื
6.1 ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้ ศจพ.จ./ศจพ.อ. ติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน

โครงการพฒั นาหมบู่ า้ นเศรษฐกิจพอเพยี งอยา่ งต่อเน่ือง เพ่ือให้มีการขบั เคลอื่ นและขยายผล
6.2 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสู่หลักสูตรการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติ ภูมิสังคมชุมชน

อยา่ งยั่งยืน ออกแบบพน้ื ท่ีและการจดั การพ้นื ทตี่ ามภมู สิ ังคม
6.3 ส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายในพื้นที่ทั้ง 7 ภาคี (ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน

ภาคประชาสังคม ภาคศาสนา และภาคสื่อมวลชน)
6.4 กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการบริหารและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงิน

ระเบียบทเ่ี กย่ี วข้องอย่างเครง่ ครัดและเกดิ ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทกุ ข้นั ตอน

๑๘

โครงการพัฒนาหมบู่ า้ นเศรษฐกิจพอเพยี ง
กิจกรรมการพฒั นาพ้นื ที่เรยี นรู้ “โคก หนอง นา”

1. ความเปน็ มา
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการน้อมนำแนวพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกัน
กับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายในชุมชน ประเทศ และภายนอกจากสังคมโลก ที่จะส่งผล
ต่อครอบครัว การเตรียมความพรอ้ มแต่ละครัวเรือนให้ไดร้ ับการพัฒนา อย่างบูรณาการตามแนวทางเศรษฐกจิ
พอเพียงและศาสตร์พระราชา โดยสอดคล้องกับภูมิสังคมที่แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันของปัจจัยพื้นฐาน
ด้านศักยภาพ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ ตัวอย่างเช่น การบริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตรด้วย
“โคก หนอง นา” ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นท่ี
การเกษตร ผสมผสานกบั ภมู ิปัญญาพืน้ บา้ นได้อย่างสอดคลอ้ งกัน

2. วัตถุประสงค์
เพอื่ สร้าง/พฒั นาพ้นื ทใ่ี ห้เป็นแหล่งเรยี นร้ใู ห้กบั ประชาชนในรปู แบบ “โคก หนอง นา” ระดบั หมบู่ ้าน

3. ข้นั ตอน/วธิ กี าร/กลไก
๑) ครัวเรือนเป้าหมาย “โคก หนอง นา ” วางแผนและออกแบบแปลนพื้นที่ของตัวเอง

ตามภูมิสงั คม ร่วมกบั ภาคีเครือขา่ ย ช่างผ้อู อกแบบในพ้ืนที่ และผู้ท่มี สี ว่ นเกี่ยวข้อง
๒) สนับสนุนงบประมาณสำหรับการปรับปรุงพื้นที่เรียนรู้ชุมชน ขนาด 1 ไร่ 8,780 แห่ง

และขนาด 3 ไร่ 2,364 แห่ง โดยดำเนินการปรับพ้นที่ตามรูปแบบที่กำหนดตามข้อ 1 และจัดหาพันธุ์พืช
พนั ธส์ุ ัตว์ ตามภูมิสงั คมหรอื ความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย

๓) ดำเนินการปรับรูปแบบแปลงพื้นที่เป้าหมายและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้
รูปแบบ “โคก หนอง นา” ตามจำนวนพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรร “โคก หนอง นา” (สามารถปรับเปลี่ยนได้
ตามความเหมาะสมและสอดคลอ้ งกับบรบิ ทในพนื้ ท)ี่

๔) พัฒนาพื้นที่ให้เอื้อต่อการใช้งาน ด้วยการนำศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงและทฤษฎีใหม่ ด้านการฟื้นฟูดิน ด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านการใช้ประโยชน์ป่า 3 อย่าง
ประโยชน์ 4 อยา่ ง เชน่ การปลูกพืช เลี้ยงสตั ว์ ให้เหมาะสมกับลกั ษณะทางกายภาพของพื้นที่

๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้แทนครอบครัวพัฒนา 30 ครัวเรือนหรือ
ครัวเรือนอื่นที่สนใจ กลุ่มองค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และหน่วยงานภาคีอื่น ๆ เชื่อมโยงกับพื้นที่ครัวเรือน
เป้าหมาย เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ “โคก หนอง นา” ด้วยการร่วมเรียนรู้สู่การปฏิบัติผ่านกิจกรรม
เอามื้อสามัคคี การถา่ ยทอดองค์ความรู้ การแลกเปล่ยี นเรียนรู้ และการสาธิตการใชช้ วี ิตเศรษฐกจิ พอเพยี ง

๖) สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

๔. เป้าหมายการดำเนนิ งาน
พน้ื ท่เี รียนรู้ชุมชนจำนวน 11,414 หมบู่ ้าน ประกอบด้วยพืน้ ท่ี 1 ไร่ จำนวน 8,780 แห่ง และพื้นที่

3 ไร่ จำนวน 2,634 แห่ง

๑๙

๕. ผลทค่ี าดว่าจะได้รับ
หมบู่ ้านเป้าหมายได้รับการพฒั นพ้ืนทีใ่ ห้เป็นแหลง่ เรียนรูร้ ่วมกันของคนในชมุ ชน

6. ประเด็นขอความความรว่ มมือ
6.1 กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการบริหารและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงิน

ระเบียบทเ่ี ก่ยี วข้องอย่างเคร่งครัดและเกดิ ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบไดท้ กุ ขน้ั ตอน
6.2 บูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทั้ง 7 ภาคี (ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน

ภาคประชาชน ภาคประชาสงั คม ภาคศาสนา และภาคสอ่ื มวลชน)
6.3 การเรง่ รัดการดำเนนิ กิจกรรมพัฒนาศนู ย์เรยี นรูท้ ฤษฎีใหมร่ ูปแบบ “โคก หนอง นา” โดยจังหวัด/

อำเภอสามารถดำเนินการได้ทันทีตามแบบมาตรฐาน “โคก หนอง นา” ที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด
และจดั ทำเป็นแบบ Catalog แจง้ ให้ทราบแล้วน้นั รวมทง้ั สามารถจดั ซ้ือจัดจ้างกจิ กรรมดังกลา่ วเป็นรายแปลงได้

๒๐

โครงการสร้างความม่ันคงดา้ นอาชพี และรายไดต้ ามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.ความเปน็ มา
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) มุ่งเน้นให้ประเทศไทย สามารถยกระดับการพัฒนา

ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความม่ันคง มั่งคั่ง ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และมีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ๖ ด้าน โดยมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้อง
และเก่ียวข้องกับภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ด้านความมั่นคง (ภายใต้แผนงานตำบล
ม่ันคง ม่ังค่ัง ย่ังยืน) ซึ่งได้กำหนดเป็นประเด็นการสร้างความม่ันคงด้านอาชีพและรายได้ และยุทธศาสตร์ที่ ๔
การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและภารกิจข้างตน้ รวมถึงเพ่ือเป็น
การเพิ่มศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ชุมชนพ่ึงตนเองได้ กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทำ
โครงการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖0 - พ.ศ. 2563 จำนวน 57,217 หมู่บ้าน รวมประชาชนท่ีได้รับการฝึกอบรมอาชีพตามแนวทางการ
สร้างสัมมาชีพชุมชน จำนวน 1,595,420 ครัวเรือน (คน) และได้ดำเนินการต่อเน่ืองในปีงบประมาณ พ.ศ.
2564 จำนวน 6,000 หมู่บ้าน รวมประชาชนท่ีได้รับการฝึกอบรมอาชีพตามแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน
จำนวน 120,000 ครัวเรือน (คน) ดังนั้น โครงการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ได้สร้างอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 63,217 หมู่บ้าน (จาก 74,655 หมู่บ้าน)
1,715,420 ครัวเรอื น (คน)

เป้าหมายสำคัญของโครงการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง เพ่ือยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คือ “รายได้” ทำให้ประชาชนในชุมชนมีรายได้เพ่ิมขึ้น ด้วยกระบวนการ
สร้างสัมมาชีพชุมชน ภายใต้แนวคิด “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” สอนอาชีพท่ีเขาต้องการอยากทำ โดยน้อมนำหลัก
ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางดำเนนิ งานในพน้ื ที่เป้าหมาย

2.ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
2.1 เตรียมความพรอ้ มการสรา้ งสัมมาชีพชุมชน โดยเจ้าหนา้ ทพ่ี ัฒนาชุมชน
๑) คน้ หาปราชญ์ชุมชนด้านอาชพี ที่มีความชำนาญด้านอาชีพน้ัน ๆ หม่บู ้านละ ๕ คน
2) คดั เลอื กครัวเรอื นเปา้ หมาย หมบู่ ้านละ ๒๐ ครัวเรือน (คน)
- ท่มี รี ายได้นอ้ ย (ตามข้อมลู จปฐ.)
- ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎี

ใหมป่ ระยกุ ตส์ ู่ "โคก หนอง นา โมเดล"
- ครัวเรือนที่มีความสนใจในการฝกึ อบรมอาชพี

๒.2 สรา้ งเครือข่ายทมี วิทยากรสัมมาชพี โดยเจ้าหนา้ ท่พี ัฒนาชมุ ชน
1) สร้างความรู้ ความเข้าใจ หลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งและการน้อมนำสู่การปฏบิ ัติอย่าง

เป็นรปู ธรรม ใน ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) การสรา้ งความมัน่ คงทางอาหาร โดยการปลูกผกั พืชสวนครวั เล้ยี งสตั วท์ ่ีเป็น
อาหารของครัวเรือน และแปรรูปผลผลิตในบ้านเพื่อถนอมอาหาร ๒) การสร้างส่ิงแวดล้อมให้ยั่งยืนโดยการ
บริหารจัดการขยะ จัดสุขลักษณะในบ้าน และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และ ๓) การสร้างภูมิคุ้มกันทาง
สังคม โดยการปฏิบัติตามศาสนกิจตามพิธีกรรมความเช่ือเป็นประจำ การร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
สาธารณะด้วยจติ อาสา และออกกำลงั กายเสริมสขุ ภาพ

2) สำรวจและวิเคราะห์อาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายต้องการฝึกอบรม (ปัจจัยความสำเร็จในการ
ประกอบอาชีพ โอกาสทางการตลาด การต่อยอดขยายผล หรืออ่ืน ๆ ที่เกี่ยวข้อง) เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมาย

๒๑

เข้าใจแนวโน้มความสำเร็จจากการประกอบอาชีพ โอกาสทางการตลาด และการพัฒนาต่อย่อ เพื่อให้ก าร
ประกอบอาชีพดงั กล่าวประสบความสำเร็จ เกดิ รายได้และยง่ั ยนื

2.3 สรา้ งและพฒั นาสมั มาชพี ชุมชนในระดบั หมบู่ ้าน โดยทมี วิทยากรสมั มาชพี ชมุ ชน
1) ส่งเสรมิ ให้ครัวเรอื นเป้าหมายน้อมนำหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏบิ ัติจนเปน็ วถิ ี

ชีวิตอยา่ งเป็นรูปธรรม ใน ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) การสรา้ งความมนั่ คงทางอาหาร โดยการปลูกผัก พืชสวนครัว เล้ยี ง
สัตว์ท่ีเป็นอาหารของครัวเรือน และแปรรูปผลผลิตในบ้านเพื่อถนอมอาหาร ๒) การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ย่ังยืน
โดยการบริหารจัดการขยะ จดั สุขลกั ษณะในบ้าน และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และ ๓) การสรา้ งภูมิคุ้มกัน
ทางสังคม โดยการปฏิบัติตามศาสนกิจตามพิธีตามความเช่ือเป็นประจำ การร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
สาธารณะด้วยจติ อาสา และออกกำลังกายเสริมสขุ ภาพ ปฏบิ ตั ิตามอยา่ งเปน็ รูปธรรม

2) สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพท่ีครัวเรือนเป้าหมายต้องการฝึกอบรม (๑) ความสำคัญ/
ความจำเป็น/ความเป็นมา (2)วิธีการ/ขั้นตอน/กระบวนการในการประกอบอาชีพ (3) คุณภาพมาตรฐาน (4)
ตลาด/ชอ่ งทางการตลาด (5) การพัฒนาต่อยอดขยายผล และอน่ื ๆ ที่จำเป็น) สาธิตวธิ ีการประกอบอาชีพให้ดู
เปน็ ตวั อย่าง เพ่อื ใหผ้ เู้ ข้ารับการฝึกอบรมเกดิ การเรยี นรูจ้ ากการสงั เกต การฟังการกระทำหรือการสาธติ ดงั กลา่ ว

3) ฝึกปฏิบัติอาชีพให้ครัวเรือนเป้าหมาย ณ สถานท่ีที่ครัวเรือนท่ีเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ
จัดเตรียมไว้ โดยทีมวิทยากรสมั มาชีพชุมชน และทีมสนบั สนุนการขับเคล่ือนสัมมาชพี ชมุ ชนในพ้ืนที่ติดตามเป็น
พ่เี ล้ียงในการฝึกปฏบิ ัติ

2.4 จดั ต้ังและพัฒนากลุ่มอาชีพ โดยเจา้ หน้าทีพ่ ัฒนาชมุ ชน
1) คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายการสร้างสัมมาชีพชุมชนในปี พ.ศ. 2564 ที่มีครัวเรือนท่ีผ่านการ

ฝกึ อบรมอาชพี และประกอบอาชีพตามที่ไดฝ้ กึ อาชีพอย่างต่อเนื่องเป็นอาชีพเดียวกันหรือประเภทเดยี วกนั และ
มคี วามสนใจตอ้ งการรวมเป็นกลุ่มอาชพี

2) ดำเนินการจัดต้ังกลุ่มอาชีพตามแนวทางการบริหารกลุ่มอาชีพ หลัก ๕ ก (ก ๑ คือ กลุ่ม/
สมาชกิ ก ๒ คือ กรรมการ ก ๓ คือ กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับ ก ๔ คือ กองทนุ และ ก ๕ คือ กจิ กรรม) และจัดทำ
แผนปฏิบัติการพฒั นากลมุ่ อาชีพ โดยพิจารณาดำเนินการตามความพรอ้ มของแตล่ ะกลุ่ม

3) ดำเนนิ การจดทะเบียนกลมุ่ อาชีพกบั สำนักงานพฒั นาชมุ ชนอำเภอหรอื หน่วยงานท่เี กีย่ วข้อง

3. ผลการดำเนนิ งาน
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพตามแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพ่ือให้

ประชาชนมีอาชีพและรายได้ ดำเนินการต้ังแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ - 2563 จำนวน 57,217 หมู่บ้าน
มีทีมสัมมาชีพชุมชน (ปราชญ์ชุมชน) จำนวน 316,085 คน มีครัวเรือนได้รับการฝึกอบรมอาชีพ จำนวน
1,595,420 ครัวเรือน (คน) และสามารถนำความรู้ท่ีได้รับนำไปประกอบอาชีพเพ่ือเพ่ิมรายได้ จำนวน
1,537,976 ครัวเรือน (คน) รายได้โดยร่วมที่ผ่านมา จำนวน 13,027,061,151 บาท (หน่ึงหม่ืนสามพัน
ย่ีสิบเจ็ดล้านหกหม่ืนหนึ่งพันหน่ึงร้อยห้าสิบเอ็ดล้านบาทถ้วน) มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน (คน)/เดือน จำนวน
950 บาท และมีกลุ่มอาชพี จำนวน 5,360 กลมุ่

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖4 กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพตามแนวทางการสร้าง
สัมมาชพี ชมุ ชน เพอ่ื ให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ จำนวน 6,000 หม่บู ้าน ดำเนินการแลว้ ในไตรมาส 1 – 2
จำนวน 3,000 หมู่บ้าน มีทีมวิทยากรสัมมาชพี ชุมชน (ปราชญ์ชุมชน) จำนวน 15,000 คน มีครัวเรือนได้รับ
การฝึกอบรมอาชีพ จำนวน 60,000 ครัวเรือน/คน และคาดว่าจะมีครัวเรือนที่นำความรู้ไปประกอบอาชีพ
เพื่อเพม่ิ รายได้ อย่างนอ้ ยร้อยละ 85 ของครวั เรอื น

๒๒

4. แนวทางการดำเนินงานในระยะตอ่ ไป
กรมการพัฒนาชุมชน จะดำเนินการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้ครบทุกหมู่บ้าน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ คงเหลือจำนวน 3,000 หมู่บ้าน ในพื้นท่ี 69 จงั หวัด และในของสว่ น 7 จงั หวัด
ที่ดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชนเต็มพื้นที่แล้ว ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสตูล จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดลำพูน และจังหวัดสุโขทัย ซ่ึงจะดำเนินการต่อยอด/ขยายผลกลุ่มอาชีพ
เพ่ือพัฒนายกระดับกลุ่มอาชีพสัมมาชีพชุมชนสู่การเป็นผู้ประกอบการชุมชน (Community Entrepreneur : CE)
หรอื ผู้ประกอบการ OTOP ตอ่ ไป

5. แนวทางการบูรณาการเพอ่ื การขบั เคล่ือนงาน
5.1 ประสานหน่วยงาน องค์กร เครือข่าย ที่มีความรู้ความเช่ียวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจ เช่น

บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนา
สถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือเครือข่ายองค์กรท่ีเก่ียวข้อง เพ่ือเป็นที่ปรึกษาหรือร่วมเป็น
ทีมสนับสนุนการขบั เคลือ่ นการพฒั นากลุ่มอาชพี สมั มาชพี ชมุ ชน ทง้ั ในระดบั จงั หวัดและอำเภอ

5.2 วางแผนการพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพตามความต้องการ โดยวิเคราะห์แนวทางการพัฒนา
ต้ังแต่กระบวนการผลิต เน้นการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามท่ีตลาดต้องการ
และการส่งเสริมการตลาดท่ีเชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ภาคธุรกิจ ผ่าน “กระดานสินค้าชุมชน” ต ลาดท้องถ่ิน
เชน่ ศนู ย์สาธติ การตลาด รา้ นค้าประชารฐั สขุ ใจ shop ตลาดนัดชุมชน โรงเรยี น โรงพยาบาล โรงงาน โรงแรม ฯลฯ

5.3 ประสานแหล่งทุนต่าง ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินกิจการของกลุ่มอาชีพ เช่น กองทุนพัฒนา
บทบาทสตรี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลติ กองทุนชุมชนต่าง ๆ หรือสถาบนั การเงินในพ้ืนที่

5.4 เช่ือมสินค้าชุมชนสู่ภาคธุรกิจ ผ่าน “กระดานสินค้าชุมชน” และตลาดท้องถ่ิน เช่น ศูนย์สาธิต
การตลาด รา้ นค้าประชารัฐสขุ ใจ shop ตลาดนัดชุมชน โรงเรยี น โรงพยาบาล โรงงาน และโรงแรม เป็นต้น

๒๓

การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเดจ็ พระกนษิ ฐาธิราชเจา้ กรมสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ
สยามบรมราชกมุ ารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วนั ปลกู พืชผกั สวนครัว
เพื่อสร้างความมนั่ คงทางอาหาร ของกรมการพัฒนาชมุ ชน

๒๔

การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเดจ็ พระกนษิ ฐาธิราชเจา้ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ
สยามบรมราชกมุ ารี สู่แผนปฏิบตั ิการ 90 วนั ปลกู พืชผักสวนครัว

เพ่อื สรา้ งความมน่ั คงทางอาหาร ระยะท่ี 2 สร้างวัฒนธรรมปลกู พชื ผักประจำครวั เรือน

๒๕

การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเดจ็ พระกนิษฐาธริ าชเจา้
กรมสมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี สร้างความมนั่ คงทางอาหารส่ปู ฏบิ ตั กิ าร 90 วัน

ปลูกผกั สวนครวั เพื่อสรา้ งความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2

๒๖

1. หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) กลายเป็นโรคระบาด

ครั้งใหญ่ของโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องชะงักงัน การท่องเที่ยวที่เป็น
เส้นเลือดสำคัญ ถูกกระทบ ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวต้องปิดตัวไป สินค้าอุปโภค บริโภค กระทบหนัก
หลายบริษัทต้องปิดตัวลงประกอบกับความตื่นตระหนกของผู้คนที่เกรงว่าสินค้าอุปโภคบริโภคจะขาดแคลน
ดังปรากฏการณ์ ประชาชนแยง่ กนั ซอ้ื ของในหา้ งสรรพสินคา้ เพ่ือไปกักตนุ

พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทาน
แนวทางการสร้างพื้นฐานความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชน เพื่อให้พึ่งตนเองได้ ซึ่งจะเป็นทางออก
สำหรับวิกฤตโรคระบาดและปัญหาภัยแล้งท่ีประเทศไทยกำลงั เผชญิ อยู่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม
เพ่อื ประโยชน์สุขแหง่ อาณาราษฎรตลอดไป”

กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน
พร้อมทั้งน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารีสู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยรณรงค์
ให้มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือนทั่วประเทศ เน้นการพึ่งตนเอง และความสามัคคีของคนในชุมชน
เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตในครั้งนี้ โดยครั้งที่ 1 เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563
และไดม้ กี ารขยายผลสร้างวัฒนธรรมปลูกพชื ผักประจำครัวเรือนเพ่ือตอบสนองต่อเปา้ หมายการพัฒนาหมู่บ้าน
ให้ยั่งยืน อีกทั้งสร้างรายได้และเสริมสร้างความรักความสามัคคีและความเก้ือกูลของคนในชุมชน มีเป้าหมาย
ดำเนินการทุกหมู่บา้ นทุกครวั เรือน ระหวา่ งวนั ที่ 1 กรกฎาคม ถงึ 5 ธนั วาคม 2563 และเพอ่ื เป็นการต่อยอด
และขยายผลการดำเนินงานโครงการปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
ให้มีความยั่งยืน "กรมการพัฒนาชุมชน" ได้บูรณาการความร่วมมือกับ "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"
ผ่านอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ในการขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริของ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทาง
อาหาร สู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยดำเนินการระหว่างวันท่ี
1 กมุ ภาพนั ธ์ – 31 พฤษภาคม 2564

2. วตั ถปุ ระสงค์
เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ ๒ ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคง

ทางอาหาร ยกระดับโภชนาการ ส่งเสริมการเกษตรกรรมที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ สร้างพลัง
ความตอ่ เนื่องในการสร้างความม่นั คงทางอาหาร และพฒั นาคุณภาพชวี ติ ของประชาชนในชนบทและพึ่งตนเอง
ไดอ้ ยา่ งย่งั ยืน อกี ท้งั สร้างรายได้ และสร้างเสรมิ ความรกั ความสามคั คี และการเกอ้ื กูลของคนในชมุ ชน/หมบู่ า้ น

3. เป้าหมาย
ดำเนินการทุกหมู่บ้าน ทุกครัวเรือน ในประเทศไทย ให้รับรู้และเกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างความ

ม่ันคงทางอาหาร

4. ระยะเวลาดำเนนิ การ
ระหวา่ งวันท่ี 1 เมษายน 2563 - 31 พฤษภาคม 2564

๒๗

5. การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
ของกรมการพัฒนาชุมชน

5.1 ขั้นตอนและวธิ กี ารดำเนนิ งาน
5.1.1 ผู้นำต้นแบบตัวอย่างท่เี หน็ จริง
5.1.2 ผู้นำตอ้ งทำกอ่ น
5.1.3 ผนึกกำลัง ตั้งระบบ ทำใหค้ รบวงจร
5.1.4 สง่ เสรมิ การปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถงึ ทกุ ครวั เรอื น
5.1.5 สร้างเครอื ขา่ ยขยายผล

5.2 ผลการดำเนนิ งาน (ขอ้ มูล ณ วนั ที่ 30 มิถุนายน 2563)

๒๘

6. การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
ระยะท่ี 2 สร้างวัฒนธรรมปลกู พชื ผกั ประจำครวั เรอื น

6.1 ขั้นตอนและวธิ ีการดำเนนิ งาน
การดำเนินงานในระยะที่ ๒ สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ยังคงยึดหลักการ

ดำเนินการ ในระยะที่ ๑ คือ ๑) จะพัฒนาใครเขาต้องเริ่มจากตัวเราก่อน ๒) ผู้นำต้องทำก่อน ๓) ผนึกกำลัง ตั้งระบบ
ทำให้ครบวงจร ๔) ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน ๕) สร้างเครือข่ายขยายผล
และมีขัน้ ตอนการดำเนินงาน ดังน้ี

6.1.1 ความตอ่ เนื่องคอื พลัง
ส่งเสริมการปลูกพืชผักที่ปลูกอยู่แล้วให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและปลูกพืชผักเพิ่มเติม
ด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน ในระยะที่ 1 โดยให้ชุดปฏิบัติการหมู่บ้าน (จัดตั้งไว้แล้วในระยะแรก) กระตุ้นให้
ครัวเรอื นในหมู่บา้ น ทีด่ ำเนินการในระยะที่ ๑ ดำเนินการ ดงั นี้
- จัดตั้งหรือมอบหมายทีมขับเคลื่อน/ชุดปฏิบัติการหมู่บ้านรวบรวม/จัดหาเมลด็ พันธุ์ ถ่ายทอด
ความรู้ทีเ่ กย่ี วข้องตามสมควร ทัง้ นใ้ี หเ้ ปน็ การพง่ึ ตนเองของครัวเรือนและชุมชน
- ปลูกพืชผักที่ตนเองเลือก อย่างน้อย ๑๐ ชนิด เน้นพืชผักที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กล้วย
มะนาว มะละกอ ขิง ขา่ เปน็ ต้น เลี้ยงปลาและเล้ียงสัตว์ตามสภาพพนื้ ที่ เพือ่ เป็นแหล่งอาหารโปรตนี
6.1.2 ทำเป็นบ้าน สานเป็นกลุ่ม
ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชผักประจำครัวเรือนเพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้มี
มูลค่าเพ่มิ โดยพัฒนากรรว่ มกับทีมปฏิบตั ิการดำเนินการให้ความรู้การดูแลพืชผัก และปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
เชญิ ชวนรวมกลมุ่ และปลูกพชื ผักร่วมกัน รวมผลผลิตประเภทเดียวกนั และนำไปจำหน่าย แปรรูปผลผลิตพืชผัก
ส่วนเกินให้เป็นสินค้า พัฒนากลุ่มสู่กลุ่มอาชีพหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงกับบริษัท ประชารัฐ
รกั สามัคคีจงั หวดั
6.1.3 ชุมชนสเี ขยี ว เป็นมิตรกบั สิ่งแวดลอ้ ม
การปลกู พืชผกั มุ่งเน้นใหป้ ระชาชนได้บรโิ ภคผักปลอดภยั ไรส้ ารเคมีและยากำจดั ศัตรพู ชื จงึ ต้อง
สร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อมและสร้างชุมชนสีเขียว โดยสนับสนุนให้อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) และผู้นำอาสา
พัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ประสานการทำงานกับอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) และเชื่อมโยงการทำงาน
ร่วมกันแบบเครือข่าย และเป็นกลไกในการขับเคลื่อน ดำเนินการ ดังนี้ จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน โดยใช้ขยะ
ในครัวเรือนทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริม “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่” ใช้วัสดุเหลือใช้ในบ้าน
เปน็ อุปกรณ์ปลูกผัก จดั ตงั้ ธนาคารขยะ คัดแยกและขาย ใหเ้ ป็นเงนิ ทนุ สำหรบั ดำเนนิ กิจกรรมพัฒนาต่าง ๆ
6.1.4 จากวัฒนธรรมสู่นวัตกรรม
เมื่อการปลูกผักและการบริโภคผักปลอดภัยเป็นวิถีชีวิต จึงต้องส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมท่ี
เกี่ยวข้องกับอาหาร ได้แก่ คิดค้นเมนูอาหารรักษ์สุขภาพ อาหารรักษ์โลก โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ ยวข้อง
สถาบันการศึกษาท้องถิ่น จัดตลาดนัดสีเขียวเพื่อจำหน่ายผักปลอดภัยไร้สารเคมี และผลิตภัณฑ์/เมนูอาหาร
รักษ์สุขภาพ อาหารรักษ์โลก โดยร่วมกับ OTOP Trader บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด สร้างนวัตกรรม
ทเี่ กยี่ วข้องกบั อาหารและของใชต้ ่าง ๆ เชน่ อาหารรักษ์สุขภาพ อาหารรกั ษ์โลก ผลติ ภัณฑจ์ ากสมุนไพรพ้นื บา้ น

๒๙

6.1.5 ชมุ ชนเกอ้ื กลู เพิ่มพนู สามัคคี วถิ พี อเพียง
เพ่ือให้ชมุ ชนสามารถดูแล ช่วยเหลอื และแบง่ ปัน เกิดเป็นชุมชนเก้ือกูล โดยจัดตัง้ ศูนยข์ ยายเมล็ดพันธ์ุ
รวบรวม คัดเลอื ก แลกเปลี่ยนและแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ระหว่างกนั ตลอดจนจัดตั้งเป็นศูนย์พันธุ์พืช และศูนย์สมุนไพร
ประจำหมู่บา้ น/ชมุ ชน ช่วยเหลอื แบ่งปันผลผลติ ให้ผ้ดู ้อยโอกาส คนชรา คนพกิ าร เด็ก สตรียากจน ผู้ประสบภัยพิบตั ิ
6.2 ผลการดำเนนิ งาน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ธนั วาคม 2563)
กระบวนงานที่ 1 ความต่อเนื่องคือพลัง โดยส่งเสริมการปลูกพืชผักอยู่แล้วให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และปลูกพืชผักเพิ่มเติมจากเดิม 5 ชนิด เป็นอย่างน้อยรวม 10 ชนิด ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ ร้อยละ 90
ของครวั เรือนในหมู่บา้ นปลูกพชื ผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด สง่ มอบความสำเร็จ วันท่ี 28 กรกฎาคม 2563
มีจำนวนครัวเรือนเป้าหมายทั่วประเทศทั้งสิ้น 12,659,678 ครัวเรือน ดำเนินการปลูกผักสวนครัว 10 ชนิดแล้ว
จำนวน 12,120,665 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 95.74 พื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานเป็นอันดับ 1 ได้แก่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการดำเนินการปลูกพืชผักสวนครัวแลว้ อย่างน้อย 10 ชนิด จำนวน 4,547,742
ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 97.00 และมีจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นปลูกพืชผักสวนครัวเต็มพื้นท่ี
คดิ เปน็ ร้อยละ 100 จำนวน 4 จังหวดั คือ จังหวัดบงึ กาฬ หนองคาย หนองบัวลำภู และจงั หวดั อุดรธานี

ผลความสำเร็จกระบวนงานที่ 1

ความตอ่ เนอ่ื งคอื พลัง คดิ เป็นรอ้ ยละ
95.74
ภาค จำนวนครัวเรอื น ดำเนินการแลว้ คิดเป็น
รอ้ ยละ
ระยะที่ 2 (ครวั เรือน) 94.37
95.35
ภาคกลาง 3,390,361 3,199,373 95.66
97.00
ภาคเหนอื 2,718,108 2,591,607 95.74

ภาคใต้ 1,862,881 1,781,943

ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื 4,688,328 4,547,742

12,659,678 12,094,044

หมายเหตุ : สง่ มอบความสำเรจ็ วันที่ 12 สงิ หาคม 2563

พันธุ์พืชผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมปลูกในพื้นท่ี ได้แก่ พืชผักสวนครัวที่ใช้บริโภคใน
ชีวิตประจำวัน พืชผักพื้นถิ่น และสมุนไพรพื้นบ้าน อาทิเช่น ตะไคร้ มะกรูด มะนาว ผักบุ้ง กะเพรา พริก
คะน้า ข่า โหระพา มะละกอ ถั่วฝักยาวมะเขือ กล้วย ผักกวางตุ้ง ผักชี ผักชีฝรั่ง มะเขือเปราะ แตงกวา
ต้นหอม บวบ ชะอม สะระแหน่ ผักกาดขาว แมงลัก ถั่วพู ฟักทอง มะเขือเทศ กระชาย ผักชีลาว น้ำเต้า
มะเขือพวง พริกไทย ผักสลัด กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบแดง ผักกูด ผักเหลียง ผักเชียงดา ผักหวาน ผักปรัง
ฟักแฟง ยีห่ ร่า กะหลำ่ ปลี ตน้ ยอ ฯลฯ

๓๐

พันธุ์พืชผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุด 10 ชนิด ได้แก่ 1) พริก 2) ตะไคร้ 3) ผักบุ้ง
4) กะเพรา 5) คะนา้ 6) โหระพา 7) ขา่ 8) มะนาว 9) มะละกอ และ 10) ถั่วฝักยาว

59
34

2
16

78
10

กระบวนงานที่ 2 ทำเป็นบ้าน สานเป็นกลุ่ม โดยส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชผักประจำ
ครัวเรือน เช่น มะนาว กล้วย มะละกอ เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้มีมูลค่าเพิ่ม ตัวชี้วัด
ความสำเร็จ คือ มีกลุ่มผลิต/แปรรูป หรือจำหน่ายพืชผักอย่างน้อยตำบลละ 1 กลุ่ม ส่งมอบความสำเร็จวันท่ี
12 สิงหาคม 2563 มีจำนวนตำบลเป้าหมายทั้งสิ้น 7,505 ตำบล ดำเนินการส่งเสริมการรวมกลุ่มผลิต
แปรรูป และจำหน่ายแล้ว 7,429 ตำบล คิดเป็นร้อยละ 98.99 แบ่งเป็นกลุ่มผลิต 9,674 กลุ่ม แปรรูป
5,785 กลุ่ม และจำหน่าย 6,977 กลุ่ม พื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานเป็นอันดับ 1 ได้แก่ ภาคเหนือ มีจำนวน
ตำบลเปา้ หมายทั้งส้ิน 1,581 ตำบล ดำเนนิ การแล้วทั้งส้นิ 1,569 ตำบล คิดเปน็ ร้อยละ 99.24

๓๑

ผลความสำเร็จกระบวนงานที่ 2

ทำเปน็ บา้ น สานเป็นกลมุ่ คิดเปน็ ร้อยละ
98.99
ภาค จำนวนตำบล ดำเนินการแล้ว คิดเป็น
รอ้ ยละ
ระยะที่ 2 (ตำบล)
99.10
ภาคกลาง 1,996 1,978 99.24
99.14
ภาคเหนอื 1,581 1,569 98.70
98.99
ภาคใต้ 1,164 1,154

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,764 2,728

7,505 7,429

หมายเหตุ : ส่งมอบความสำเรจ็ วันที่ 12 สงิ หาคม 2563

กระบวนงานที่ 3 ชุมชนสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อม และ
สร้างชุมชนสีเขียว ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ ร้อยละ 90 ของครัวเรือนในหมู่บ้านทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน
ส่งมอบความสำเร็จ วันที่ 20 กันยายน 2563 มีจำนวนครัวเรือนเป้าหมายทั้งสิ้น 12,659,678 ครัวเรือน
ดำเนนิ การจดั ทำถงั ขยะเปยี กลดโลกร้อนแลว้ 11,251,071 ครัวเรือน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 88.87 พืน้ ที่ทีม่ ีผลการ
ดำเนินงานเป็นอันดับ 1 ได้แก่ ภาคเหนือ มีจำนวนครัวเรือนเป้าหมายทั้งสิ้น 2,718,108 ครัวเรือน
ดำเนินการแล้วท้งั สิน้ 2,473,672 ครวั เรอื น คดิ เป็นร้อยละ 91.01 โดยมจี งั หวดั สุโขทยั ดำเนินการเต็มพื้นที่
คิดเปน็ รอ้ ยละ 100

ผลความสำเร็จกระบวนงานท่ี 3

ชมุ ชนสีเขียว เปน็ มติ รกบั ส่ิงแวดล้อม คิดเปน็ รอ้ ยละ
88.87
ภาค จำนวนครวั เรอื น ดำเนินการแล้ว คิดเป็น
รอ้ ยละ
ระยะท่ี 2 (ครวั เรือน) 85.84
91.01
ภาคกลาง 3,390,361 2,910,233 88.51
89.98
ภาคเหนอื 2,718,108 2,473,672 88.87

ภาคใต้ 1,862,881 1,648,765

ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 4,688,888 4,218,401

12,659,678 11,251,071

หมายเหตุ : ส่งมอบความสำเร็จ วันท่ี 20 กนั ยายน 2563

กระบวนงานท่ี 4 จากวัฒนธรรม สู่นวตั กรรม โดยสง่ เสรมิ ให้เกิดนวตั กรรมท่ีเกยี่ วข้องกบั อาหาร และ
ของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผัก อาหารรักษ์สุขภาพ อาหารรักษ์โลก ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้าน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ มีกิจกรรมเชิงนวัตกรรมอย่างน้อยตำบลละ 1 กิจกรรม ส่งมอบความสำเร็จ วันที่ 21 ตุลาคม
2563 มีจำนวนตำบลเป้าหมายทั้งสิ้น 7,505 ตำบล ดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมเชิงนวัตกรรมแล้ว 7,173
ตำบล คิดเป็นร้อยละ 95.58 มีเมนูอาหารรักษ์สุขภาพ 8,850 รายการ จัดตลาดนัดสีเขียว 6,491 แห่ง

๓๒

และมีผลิตภัณฑ์ จากสมุนไพรพื้นบ้าน 4,206 ผลิตภัณฑ์ พื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานเป็นอันดับ 1 ได้แก่
ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื ดำเนินการแลว้ ท้งั สิน้ 2,709 ตำบล คดิ เป็นร้อยละ 98.01

ผลความสำเร็จกระบวนงานท่ี 4

จากวัฒนธรรม ส่นู วัตกรรม คดิ เปน็ ร้อยละ
95.58
ภาค จำนวนตำบล ดำเนนิ การแลว้ คิดเปน็
รอ้ ยละ
ระยะที่ 2 (ตำบล) 91.23
96.77
ภาคกลาง 1,996 1,821 95.62
98.01
ภาคเหนอื 1,581 1,530
95.58
ภาคใต้ 1,164 1,113

ภาค 2,764 2,709

ตะวนั ออกเฉยี งเหนือ

7,505 7,173

หมายเหตุ : ส่งมอบความสำเรจ็ วนั ท่ี 21 ตลุ าคม 2563

กระบวนงานที่ 5 ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนสามัคคี วิถีพอเพียง เพื่อให้เกิดชุมชนเกื้อกูลสามารถ
ดูแล ช่วยเหลือ และแบ่งปัน จัดตั้งศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์ประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ
มีศูนย์ขยายเมลด็ พันธุ์อยา่ งน้อยตำบลละ 1 แห่ง ส่งมอบความสำเรจ็ วันท่ี 5 ธันวาคม 2563 มีจำนวนตำบล
เป้าหมายทั้งสิ้น 7,505 ตำบล ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์แล้ว 6,718 ตำบล คิดเป็นร้อยละ
89.51 มีศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์แล้ว จำนวน 7,871 แห่ง พื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานเป็นอันดับ 1 ได้แก่
ภาคเหนือ ดำเนินการแล้วท้งั ส้ิน 1,544 ตำบล คดิ เปน็ รอ้ ยละ 97.66

ผลความสำเรจ็ กระบวนงานท่ี 5

ชมุ ชนเกอ้ื กูล เพ่ิมพนู สามคั คี วิถีพอเพียง คิดเป็นร้อยละ
89.51
ภาค จำนวนตำบล ดำเนนิ การแลว้ คิดเป็น
ร้อยละ
ระยะท่ี 2 (ตำบล) 79.51
97.66
ภาคกลาง 1,996 1,587 86.77
93.23
ภาคเหนอื 1,581 1,544
89.51
ภาคใต้ 1,164 1,010

ภาค 2,764 2,577

ตะวนั ออกเฉียงเหนือ

7,505 6,718

หมายเหตุ : ส่งมอบความสำเรจ็ วนั ท่ี 5 ธันวาคม 2563

๓๓

7. การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคง
ทางอาหาร รอบ 2 จำนวน 6 กิจกรรม ประกอบด้วย

7.1 ข้ันตอนและวิธกี ารดำเนินงาน
7.1.1 จะพัฒนาใครเขา ต้องเรมิ่ จากตวั เราก่อน
1) ขอความอนุเคราะห์และรณรงค์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอ

หวั หน้าสว่ นราชการระดับอำเภอ และเจา้ หนา้ ท่ีสังกดั กรมการพฒั นาชุมชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค ปลูกผัก
สวนครัวอยา่ งน้อย คนละ 10 ชนดิ เป็นตวั อยา่ งแกป่ ระชาชน

2) สื่อสารสร้างการรับรู้ผ่านช่องทาง Social Media อย่างน้อยคนละ 1 ช่องทาง เป็นประจำ
ทุกเดือน ทั้งนี้ ให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ดำเนินการประชาสัมพันธ์การปลูกผักสวนครัว
ของผ้บู ริหารระดับสูง (ผวู้ ่าราชการจังหวัด รองผวู้ า่ ราชการจังหวดั นายอำเภอ) ด้วย

7.1.2 ผู้นำต้องทำก่อน รณรงค์เชิญชวนให้ผู้นำชุมชน (อถล. อช. กพสม. ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น ฯลฯ)
กลุ่ม องค์กร เครือข่าย และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) สร้างกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่อง
ในหลากหลายพื้นที่ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และสื่อสารสร้างการรับรู้การปลูกผักสวนครัวผ่านช่องทาง
Social Media อย่างนอ้ ย คนละ 1 ชอ่ งทาง เปน็ ประจำทกุ เดือน

7.1.3 นักพัฒนา 3 ประสาน กลไกการขับเคลื่อน การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จ
พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหาร
ส่ปู ฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผกั สวนครวั เพ่อื สร้างความม่นั คงทางอาหาร รอบ 2

1) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างทีมนักพัฒนา 3 ประสาน
ในระดบั ตำบล เพือ่ ขบั เคลอื่ นการปลกู ผักสวนครัวอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ได้แก่

- นกั พฒั นาชมุ ชนทอ้ งถน่ิ
- พัฒนากร และนกั พฒั นาพื้นทต่ี น้ แบบ (นพต.)
- นกั พัฒนาภาคประชาชน (อถล. อช. กพสม. ฯลฯ)
2) จัดทำแผนขับเคลื่อนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร”
รอบ 2
3) จังหวัด/อำเภอ ติดตาม สนับสนุน การดำเนินการขับเคลื่อนของนักพัฒนา 3 ประสาน
ในรูปแบบการนเิ ทศงานแบบกลุม่
4) เผยแพร่การดำเนินงานผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์และกระตุ้นการรับรู้การน้อมนำ
แนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความ
มั่นคงทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2 ทางระบบ
Online/Offline
5) รายงานผลการดำเนนิ การตามแนวทางทีก่ รมการพัฒนาชุมชนกำหนด
7.1.4 ทุกครวั เรือนคอื คลงั อาหาร ทกุ หมู่บา้ นคือศูนย์แบง่ ปนั
1) รณรงคใ์ ห้ทุกครวั เรือนปลกู ผกั สวนครวั รวมทั้งเลี้ยงสตั ว์/ประมง เพ่ือสร้างความมัน่ คงทางอาหาร
2) สง่ เสรมิ ใหค้ รวั เรือนในชุมชนเรยี นรู้จากพ้นื ท่ตี น้ แบบการพฒั นาคุณภาพชวี ิตฯ CLM และ HLM
3) รณรงค์คัดแยกขยะ ถังขยะเปียกลดโลกร้อนทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร
เพ่ือปรบั ปรงุ ดนิ และเพิ่มผลผลิต

๓๔

4) รณรงค์ให้ทุกหมู่บ้านสร้างคลังอาหารชุมชนโดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ (ทางนี้มีผล
ผ้คู นรักกนั /ถนนกินได้ ปลอดภยั ไร้สารพษิ /ปลกู ผักสวนครัวจากศาสนสถานสชู่ ุมชน)

5) แลกเปล่ียนผลผลติ และแบง่ ปันใหผ้ ยู้ ากไร้ในชมุ ชน
6) จัดตั้งศูนย์แบ่งปันเมล็ดพันธุ์และต้นกล้า/อพ.สธ./ต้นไม้ในพุทธประวัติหรอื วรรณคดี/ต้นไม้ที่ใช้
สำหรบั ยอ้ มสีผา้
7.1.5 ทักษะชีวติ วิถใี หม่ เยาวชนไทยสรา้ งอาหารเป็น
1) ถา่ ยทอดวถิ ีปฏิบตั สิ ลู่ กู หลานในครัวเรือน
2) ส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานศึกษา ศาสนสถาน เป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักสวนครัว
รวมท้ังเลี้ยงสตั ว์/ประมง เพอื่ สร้างความมั่นคงทางอาหาร
7.1.6 ถอดรหัสการพฒั นา : ชมุ ชนทอ้ งถ่ินจดั การตนเองในการสร้างความม่ันคงทางอาหารอย่างยงั่ ยนื
1) ประเมินผลความสำเร็จของโครงการและถอดบทเรียนการขับเคลื่อนในแต่ละตำบล/อำเภอ/
จงั หวัด
2) ประกวดคลิปวดิ ีโอรณรงค์การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน
ปลกู ผกั สวนครวั เพ่อื สร้างความมัน่ คงทางอาหาร รอบ 2

- ประเภทพฒั นากร : คนละ 1 คลปิ
- ประเภทผู้นำ/ผสู้ นใจท่ัวไป : คนละ 1 คลิป
- ประเภทบคุ ลากร อปท. : อปท. ละ 1 คลิป
- ประเภทศาสนสถานและสถานศึกษา : สถานที่ละ ๑ คลิป
3) มอบรางวลั เชิดชูเกยี รติ จำนวน 6 ประเภท ไดแ้ ก่ 1) ผวู้ า่ ราชการจงั หวัด 2) องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต้นแบบ (Best Practice) 3) หมู่บ้านที่มีความมั่นคงทางอาหารที่เกิดความเปลี่ยนแปลง
4) ผชู้ นะเลิศการประกวดคลิปวดิ ีโอฯ ประเภทต่าง ๆ 5) บา้ นพกั ข้าราชการกรมการพัฒนาชมุ ชน 6) ผ้นู ำทางศาสนา
7.2 ผลความกา้ วหนา้ การดำเนินงาน
ผลการดำเนนิ งาน “น้อมนำแนวพระราชดำรขิ องสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจา้ กรมสมเด็จพระเทพ
รตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี สู่แผนปฏบิ ัตกิ าร 90 วนั ปลูกผักสวนครวั เพื่อสรา้ งความม่นั คงทางอาหาร”
รอบ 2 จากระบบรายงาน Plant for Good โดยสรุปมีดังน้ี (ขอ้ มลู ณ วันที่ 1 เมษายน 2564)

1) กิจกรรมผนู้ ำตน้ แบบตวั อย่างทีเ่ ห็นจรงิ
ดำเนินการแล้ว 67 จังหวัด 381 อำเภอ 1,111 ตำบล 4,303 หมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 7,938 คน

จำแนกเป็น ระดับจังหวัด ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด 55 คน พัฒนาการจังหวัด 47 คน หัวหน้าส่วนราชการ
109 คน และเจ้าหน้าที่ 465 คน ระดับอำเภอ ได้แก่ นายอำเภอ 791 คน พัฒนาการอำเภอ 533 คน
หัวหน้าส่วน 34 คน และผู้นำอื่นๆ 5,480 คน กิจกรรมที่ผู้นำให้ความสำคัญและทำเป็นแบบอย่าง ได้แก่
กำหนดนโยบายและผลกั ดันกิจกรรมตามแผน และสรา้ งแรงจงู ใจให้เกดิ กระแสในการปลูกผกั

2) พืชผักท่ีปลูกมากท่สี ุด 10 อนั ดบั แรก จำแนกตามประเภทผักท่ีปลูกเรียงลำดับจากมากไปน้อย
ดังนี้ 1) พริก 2) ตะไคร้ 3) กะเพรา 4) โหระพา 5) มะเขือเปราะ 6) มะละกอ 7) ผักบุ้งจีน 8) ต้นหอม
9) สะระแหน่ 10) คะน้า

3) มีการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยมีครัวเรือนที่เพิ่มรายได้แล้ว 253,175
ครัวเรือน และครัวเรอื นที่ลดรายจา่ ย 328,297 ครวั เรอื น

๓๕

ทกุ ครัวเรอื น คือ คลังอาหาร ทกุ หมู่บา้ น คือ ศูนยแ์ บ่งปนั

4) มคี รวั เรือนท่ีปลูกผกั อยา่ งน้อย 10 ชนิด 550,242 ครัวเรอื น

5) จำนวนครัวเรอื นท้ังหมดทเ่ี ลย้ี งสตั ว์/ประมง 866,142 ครวั เรือน

6) การเรยี นรจู้ ากพืน้ ท่ีตน้ แบบการพัฒนาคุณภาพชวี ติ CLM และ HLM 170,136 แห่ง

7) การคดั แยกขยะ 465,092 ครัวเรือน

8) การทำถงั ขยะเปยี กลดโลกร้อน 295,327 ครัวเรอื น

9) การทำปยุ๋ หมกั /น้ำหมกั ชีวภาพ 237,742 ครัวเรอื น

10) ทางนม้ี ีผล ผู้คนรกั กัน 69,529 แห่ง

11) ถนนกนิ ได้ ปลอดภยั ไรส้ ารพิษ 54,006 แหง่

12) มีการปลูกผกั ร่วมกันในทส่ี าธารณประโยชน์ 50,558 แหง่

13) ปลูกผกั สวนครัวจากศาสนสถานสูช่ ุมชน 33,510 แห่ง

14) แลกเปลีย่ นผลผลติ และแบง่ ปนั ในชุมชน 97,188 ครั้ง

15) แลกเปลย่ี นผลติ และแบ่งปันระหว่างชุมชน 61,396 ครงั้

16) แหลง่ เรียนรู้ในการสร้างความมนั่ คงทางอาหาร ประกอบด้วย
- ศูนยพ์ ัฒนาเดก็ เล็ก 42,806 แห่ง
- โรงเรยี น 78,744 แห่ง
- วดั 102,202 แห่ง
- มสั ยดิ 6,802 แห่ง
- โบสถ์ 9,916 แหง่

ทั้งน้ี สามารถสแกน QR Code เพ่ือตดิ ตามความคบื หนา้ รายงานผลการดำเนินงานไดท้ ่ีนี่

8. ประเด็นขอความร่วมมือ
8.1 การบูรณาการภายในส่วนราชการ ขอให้คณะกรรมการและคณะทำงานขับเคลื่อน

“น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ระยะที่ 2 สร้างวัฒนธรรม
ปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย 1) ที่ปรึกษา 2) คณะกรรมการอำนวยการ 3) คณะทำงาน
ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร และสร้างการรับรู้ 4) คณะทำงานประเมินผลและเผยแพร่ผลกระทบโครงการ
5) คณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลและติดตามผล 6) คณะทำงานสร้างความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
และ 7) คณะทำงานสานพลังองค์กรเครือข่ายชุมชน ดำเนินการติดตามสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้
มกี ารขบั เคลือ่ นและขยายผลการดำเนนิ งานอยา่ งต่อเนื่อง

8.2 การบูรณาการระหว่างส่วนราชการ ขอความร่วมมือส่วนราชการที่มีภารกิจที่ใกล้เคียง
หรือต่อเนื่องกัน ร่วมบริหารราชการแบบบูรณาการในการขับเคลื่อน “น้อมนำแนวพระราชดำริ
ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัตกิ าร 90 วัน
ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ระยะที่ 2 สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน

๓๖

โดยมีการบริหารจัดการทั้งในด้านการวางแผน การใช้ทรัพยากร และการดำเนินงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นให้
เกิดผลสมั ฤทธ์ติ ่อภารกิจของรฐั และเพือ่ ใหก้ ารดำเนินงานมีประสิทธภิ าพสงู สุด

8.3 การบูรณาการในระดับจังหวัด มีการบริหารราชการแบบบูรณาในจังหวัด เห็นควรให้
ส่วนราชการทุกแห่งมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ฯลฯ
ในการขับเคลื่อน “น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี สแู่ ผนปฏบิ ตั ิการ 90 วนั ปลูกพชื ผกั สวนครัวเพ่ือสร้างความม่นั คงทางอาหาร” ระยะท่ี 2
สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน เพื่อให้การบริหารราชการเป็นผลสำเร็จ ทั้งในเรื่องการบริ หาร
บคุ ลากร การบรหิ ารงบประมาณ และการใชอ้ ำนาจหนา้ ท่ตี ามกฎหมาย

8.4 การบรู ณาการในระดบั พน้ื ที่ มีการบริหารจัดการด้วยการดำเนนิ การ ดงั น้ี
1) สร้างทีมทำงานของชุมชน ทั้งระดับตำบลและหมูบ่ ้าน ด้วยการคัดเลือกบคุ คลท่ีมาจากชุมชน

ทั้งที่มีหน้าที่บริหารชุมชน หรือผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน มีความพร้อมตั้งใจ สนใจเรียนรู้พัฒนาตนเอง และ
ประสานงานรว่ มทำงานกับทกุ หน่วยงาน

2) รวมพลังเพื่อเคลื่อนไหวต่อเนื่อง รวมพลัง “บวร” ผนึกพลังศรัทธาและความสามัคคี
จากจิตอาสา อาสาสมัครจากทุกหน่วยงาน ครูสถาบันการศึกษา พระ ผู้นำศาสนา หน่วยงานในพื้นที่ เพื่อการสร้าง
การเคล่ือนไหวงานทว่ั ทง้ั ชุมชนพรัอมกนั

3) ส่งเสริมการติดตาม นิเทศงาน ให้คำปรึกษาในการพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน อย่างใกล้ชิด และมี
ความชัดเจนในความรู้การพัฒนาชุมชน การจัดกิจกรรม การประสานงานระหว่างหน่วยงาน สร้างการมีส่วนร่วม
ระหว่างผู้ส่งเสริมกับชุมชน และประชาชนกับทีมทำงานของชุมชน ให้ยึดหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
กฎหมาย และสร้างกตกิ าของสังคม สร้างการมีส่วนรว่ มรับผิดชอบ

4) ส่งเสริมการร่วมมือในการสร้างกิจกรรมเพื่อบรรลเุ ป้าหมายการพึ่งตนเอง ในแนวทางกิจกรรม
“บ้านนม้ี รี ัก ปลกู ผักกนิ เอง” “ทางนมี้ ีผล ผคู้ นรกั กัน” “บรหิ ารจัดการขยะ” “ธนาคารน้ำใตด้ ิน” “สนามเด็กเล่น
สรา้ งปญั ญา” “สวัสดิการเพอื่ สงั คม” “ศนู ย์พันธ์พชื ชุมชน” เปน็ ตน้

๓๗

กองทุนแม่ของแผน่ ดิน

1. ความเปน็ มา
เมื่อปี พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน โดยจัดสรรเป็น “เงินขวัญถุงพระราชทาน” สำหรับจัดตั้งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
เร่ิมตน้ กองทุนละ 8,000 บาท และพระราชทานเงนิ กองทุนแม่ฯ คร้ังแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน
672 กองทุน เม่ือเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทย
ให้รับผดิ ชอบดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผน่ ดิน โดยมเี ป้าหมายในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืนด้วยพลังสามัคคีของชาวบ้านให้พึ่งพาตนเองบนพื้นฐานของทุนทา งสังคม
ทมี่ อี ยู่ และตอ่ ยอดไปสู่การแก้ไขปญั หาทย่ี ่ังยนื ดว้ ยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. องคป์ ระกอบของกองทุนแม่ของแผน่ ดนิ
ได้แก่ ส่วนที่ 1 เงินขวัญถุงพระราชทาน แห่งละ 8,000 บาท (เป็นเงินขวัญถุงในหมู่บ้าน/ชุมชน

โดยไม่ใช้จ่ายให้หมดไป) ส่วนที่ 2 ทุนศรัทธา เป็นเงินที่ราษฎรร่วมกันบริจาคอย่างต่อเนื่องด้วยพลังความ
ศรัทธา สมทบเข้ากองทุนแม่ฯ ส่วนที่ 3 ทุนปัญญา เป็นเงินที่ราษฎรในหมู่บ้านและชุมชนคิดค้นขึ้น
ดว้ ยภูมิปัญญาของตนเองในการระดมทุนเพื่อขยายกองทุน ให้กองทุนมีการงอกเงยข้ึน จนสามารถนำไปใช้จ่าย
เพ่ือการป้องกนั และแก้ไขปัญหายาเสพตดิ ของหมู่บ้านได้อย่างเพยี งพอต่อไป

3. กระบวนการขบั เคลื่อนกองทุนแมข่ องแผน่ ดิน
3.1 คดั เลือกตน้ กลา้ กองทุนแม่ของแผ่นดินชุมชนเป้าหมาย
1) คัดเลือกพื้นที่จากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเป็นลำดับแรก และหมู่บ้านที่มีคุณสมบัติ

ตามเกณฑ์ประเมนิ ตน้ กลา้ กองทุนแมข่ องแผ่นดนิ 12 ขอ้ ของสำนักงาน ป.ป.ส.
2) ขยายความคิด
2.1) ทำความเขา้ ใจโครงการทกุ ครัวเรือน
2.2) จัดตัง้ คณะกรรมการกองทนุ แม่ของแผ่นดิน
2.3) รบั สมคั รสมาชกิ เข้ารว่ มโครงการโดยสมคั รใจ
3) พิชิตปัญหายาเสพตดิ
3.1) จดั ต้ังกฎชมุ ชนเข้มแข็ง
3.2) ใหค้ วามรคู้ วามเข้าใจเร่อื งยาเสพติด
3.3) จัดตงั้ กองทนุ ยาเสพตดิ
3.4) ประชาคมคดั แยกด้วยสันติวธิ ี (กรณมี ีผู้คา้ ผูเ้ สพ ผตู้ ้องสงสัย)
4) รกั ษาชวี ติ ชุมชนเข้มแขง็
4.1) จดั กจิ กรรมปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหายาเสพตดิ รว่ มกัน
4.2) รบั รองครัวเรอื นปลอดภัย
4.3) รักษาสถานะชมุ ชนเข้มแขง็

3.2 ประเมนิ ต้นกล้าฯ เขา้ รับเงนิ พระราชทาน ประเมินตามเกณฑค์ ดั เลอื กหมบู่ า้ น (เกณฑ์ ป.ป.ส.) ดังนี้
1) ผู้นำหมบู่ า้ น/ชุมชนมคี วามเขม้ แข็ง มีกิจกรรมที่ไดด้ ำเนนิ การอย่างเป็นรูปธรรม
2) สมาชิกในหมูบ่ า้ น/ชมุ ชนให้ความรว่ มมอื ในการเขา้ ร่วมกจิ กรรมที่จดั ข้นึ ในหมู่บา้ น/ชุมชน
3) ประชุมหารอื ในหมบู่ ้าน/ชมุ ชนในเรอื่ งยาเสพตดิ อยา่ งสมำ่ เสมอ

๓๘

4) มีกิจกรรมในหมูบ่ า้ น/ชมุ ชน ดำเนนิ การโดยยึดหลกั การพ่ึงพาตนเอง
5) มีมาตรการทางสงั คมในเร่อื งยาเสพติด ประกาศเป็นสาธารณะและบงั คับใชอ้ ยา่ งจรงิ จงั
6) มีกลไกการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างเป็นระบบและมีการมอบหมายภารกจิ
ทชี่ ัดเจน โดยมีการบนั ทกึ ผลการเฝ้าระวังเปน็ ลายลกั ษณอ์ ักษร
7) มีการค้นหาปัญหายาเสพติดโดยชมุ ชนเองอย่เู สมอ ยอมรับผล/ไมป่ ดิ บัง
8) มีกจิ กรรมป้องกันและแกไ้ ขปญั หายาเสพตดิ ที่สอดคล้องกับสภาพปญั หาในพ้ืนท่ี
9) มปี ระชามตขิ องคนในหมบู่ ้าน/ชุมชน เหน็ ชอบตอ่ การเข้ารว่ มเป็นหม่บู ้านกองทุนแม่ของแผ่นดนิ
10) มกี ารจัดต้ังกองทนุ ยาเสพตดิ รองรบั กองทุนแม่ของแผน่ ดนิ
11) มกี ารบรู ณาการอย่างเข้มแขง็ ของกลุม่ /องค์กรชมุ ชนต่าง ๆ
12) มีกิจกรรมการแสดงออกถงึ ความจงรักภักดอี ย่างสม่ำเสมอ
*** หมบู่ า้ นท่ีไดร้ ับการคัดเลือกต้องผ่านเกณฑบ์ ังคบั 4 ขอ้ ไดแ้ ก่ ขอ้ 2.7 - 2.10 และขอ้ อ่ืน ๆ อีก 3 ข้อ
ขนึ้ ไป
*** เม่ือผา่ นและไดร้ ับพระราชทานเงินขวญั ถงุ แล้ว ต้นกลา้ กองทุนแมข่ องแผน่ ดนิ เปลย่ี นเป็น กองทุนแม่
ของแผน่ ดิน

4. การตรวจสุขภาพกองทุนแม่ฯ
 วัตถุประสงค์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

หมู่บ้านกองทุนแม่ฯ ในภาพรวม เพ่ือทราบสถานะของกองทุนแม่ฯ ว่าเข้มแข็งในระดับใด และเพื่อนำข้อมูล
มาประกอบการวางแผนพัฒนากองทุน ให้สามารถขบั เคล่ือนการดำเนนิ งานป้องกนั และแก้ไขปัญหายาเสพติด
ในชมุ ชนให้มปี ระสทิ ธภิ าพยงิ่ ข้ึน เปน็ การตรวจสขุ ภาพกองทนุ แมฯ่ ปลี ะ 1 ครง้ั

 แบบตรวจสุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดนิ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของ
หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ส่วนที่ 2 แบบประเมินสถานะเพื่อพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน ประกอบด้วย
4 ประเด็น คือ การบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดิน การบริหารเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน การดำเนินงาน
ด้านยาเสพติด การเสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน และ ส่วนที่ 3 ปัญหาอุปสรรค/ความคิดเห็น/
ข้อเสนอแนะ

 การจัดระดับสุขภาพกองทุนแม่ฯ จัดเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับ A : มีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน
เป็นศูนย์เรียนรู้ได้ ระดับ B : มีระบบเฝ้าระวัง หากได้รับการพัฒนาศักยภาพจะเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ และระดับ C :
ตอ้ งมีการปรับปรงุ

 ผลการตรวจสุขภาพกองทุนแม่ของแผน่ ดิน ปี พ.ศ. 2562 เพื่อจัดระดับความเข้มแข็งกองทุนแม่
ของแผ่นดิน จำนวน 22,009 กองทนุ แบ่งเป็น

ระดับ A = 4,508 กองทุน
ระดับ B = 15,304 กองทนุ
ระดับ C = 2,197 กองทนุ
(ข้อมลู ณ วันท่ี 21 ธันวาคม 2563)

๓๙

5. ข้อมูลกองทุนแม่ของแผ่นดนิ ต้ังแตป่ ี พ.ศ. 2547 - 2563 ประกอบด้วย
5.1 กองทนุ แม่ของแผ่นดิน (ปี 2547 - 2562) จำนวน 22,009 กองทุน
5.2 หมู่บ้านต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน (จัดตั้งเมื่อปี 2563 และยังไม่ได้รับเงินพระราชทานขวัญ

ถุงกองทุนแม่ของแผ่นดิน เน่ืองจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา 2019) และมีกำหนดรับเงินพระราชทานฯ ใน
วนั ท่ี ๔ เมษายน ๒๕๖๔

5.3 ศูนย์เรียนรูก้ องทุนแม่ของแผ่นดนิ จำนวน 2,750 แหง่
5.4 วิทยากรกระบวนการเสริมสร้างความเขม้ แขง็ กองทุนแม่ของแผน่ ดิน จำนวน 1,027 คน
 ยอดรวมเงินกองทุนแมข่ องแผ่นดิน 639,356,220 บาท (ข้อมูล ณ 21 ธ.ค. 2563)

1) เงนิ ที่ได้รับพระราชทาน + สมทบจากรฐั 299,762,077 บาท
2) เงินสมทบ (ทนุ ศรทั ธา + ทุนปญั ญา) 339,594,143 บาท
 จำนวนสมาชิก มคี รวั เรือนทส่ี มัครเป็นสมาชิกกองทุนแม่ของแผน่ ดนิ จำนวน 2,292,707 ครัวเรอื น

6. ผลการดำเนินงาน (ข้อมลู ณ วนั ท่ี 17 กมุ ภาพันธ์ 2564)
- ผลการดำเนนิ งานกองทุนแมข่ องแผ่นดนิ ปี พ.ศ. 2563 (ไตรมาส 1 - 4) งบประมาณ

27,435,000 บาท แบ่งเปน็
สว่ นภมู ภิ าคดำเนนิ การ งบประมาณ 26,627,000 บาท ผลการดำเนนิ งาน ดงั นี้
1) ตรวจสขุ ภาพกองทนุ แมข่ องแผน่ ดิน จำนวน 22,009 กองทนุ
2) ประชมุ เชิงปฏิบตั ิการคณะกรรมการกองทนุ แมข่ องแผน่ ดิน จำนวน 22,009 คน/หมบู่ า้ น
3) ประชมุ เชิงปฏบิ ตั กิ ารเครอื ข่ายกองทนุ แม่ของแผ่นดนิ จำนวน 7,024 คน
4) ประชมุ เชงิ ปฏิบัติการคณะกรรมการหมู่บ้านตน้ กล้ากองทุนแม่ของแผน่ ดิน อำเภอเป็นผู้ดำเนินการ

เปา้ หมาย 878 หมู่บา้ น งบประมาณ 7,814,200 บาท
5) สนับสนุนกิจกรรมต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน ดำเนินการไตรมาส 3 อำเภอเป็นผู้ดำเนินการ

เปา้ หมาย จำนวน 878 หมู่บ้าน งบประมาณ 7,199,600 บาท
ส่วนกลางดำเนินการ งบประมาณ 808,000 บาท (งบปกติ 153,400 บาท และงบที่สำนักงาน

ป.ป.ส. ตัดโอนเงินงบประมาณรายจ่าย แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดยาเสพติด จำนวน
654,600) มีผลการดำเนนิ งาน ดังนี้

1) จัดทำคูม่ อื การดำเนินงานกองทนุ แม่ของแผ่นดนิ 2,360 เล่ม งบประมาณ 153,400 บาท
2) พฒั นาศกั ยภาพผ้ปู ฏิบัติงานกองทุนแม่ของแผน่ ดิน จำนวน 52 คน งบประมาณ 486,600 บาท
3) จัดทำคู่มือและสื่อการสอน (วิทยากรกองทุนแม่ของแผ่นดิน) จำนวน 1,400 เล่ม งบประมาณ
168,000 บาท
- ผลการดำเนนิ งานกองทนุ แม่ของแผน่ ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรมการพัฒนาชุมชน
ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 23,499,900 บาท เป็นการโอนจัดสรรงบประมาณให้ส่วนภูมิภาค
ดำเนินการทงั้ หมด ประกอบดว้ ย 2 กิจกรรม ดังน้ี

1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งหมบู่ ้านกองทนุ แม่ของแผ่นดิน งบประมาณ 11,919,200 บาท
1.1) เพิ่มศักยภาพคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนแม่ของแผน่ ดินระดับอำเภอ เป้าหมาย 878 รุ่น

จำนวน 8,780 คน คณะกรรมการได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีการยกระดับการพัฒนาหมู่บ้านกองทุนแม่
ของแผ่นดิน จากระดับ C เป็นระดับ B จำนวนไม่น้อยกว่า 1,156 หมู่บ้าน หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของ

๔๐

หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินระดับ C (อยู่ระหว่างการบันทึกการตรวจสุขภาพ) และแก้ไขปัญหายาเสพติด
อยา่ งนอ้ ยหมูบ่ า้ นละ 5 กิจกรรม

1.2) เพิ่มศักยภาพคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินระดับจังหวัด เป้าหมาย 76 รุ่น
จำนวน 1,140 คน คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้มีองค์ความรู้ของศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินในการพัฒนาสู่
ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินต้นแบบทั้ง 76 แห่ง สามารถดูแลเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ผ่านการบำบัด และให้
การดูแลช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพ

- แผนการดำเนินงาน ไตรมาส 3 – 4/2564 (อยรู่ ะหว่างการจดั สรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ)
1.3) สนับสนุนกิจกรรมศูนย์เรียนรู้ต้นแบบหนุนเสริมสัมมาชีพชุมชนแก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ผ่าน

การบำบดั จำนวน 76 จงั หวดั ๆ ละ 15 คน รวมทัง้ ส้ิน 1,140 คน
2) การพัฒนาหมู่บ้านต้นกล้ากองทุนแม่ของแผน่ ดนิ งบประมาณ 11,580,700 บาท ท้ังนยี้ ังไม่ได้รับ

การโอนจัดสรรงบประมาณจากสำนกั งบประมาณ
2.1) ประชุมเชิงปฏบิ ตั กิ ารคณะกรรมการหม่บู ้านตน้ กล้ากองทนุ แม่ของแผ่นดนิ
2.2) สนบั สนุนกิจกรรมหม่บู ้านต้นกล้ากองทุนแมข่ องแผ่นดนิ

7. ปญั หา อุปสรรคในการดำเนินงาน
1. สมาชิกกองทนุ แมข่ องแผ่นดินยังขาดความร้คู วามเขา้ ใจเกยี่ วกบั การจัดตั้งกองทนุ แมข่ องแผน่ ดนิ วา่

มีความสำคัญอย่างไร
2. งบประมาณในการดำเนนิ กิจกรรมมนี ้อย
3. ขาดอุปกรณ์และสถานท่ใี นการดำเนนิ งานกองทนุ แม่ของแผ่นดนิ
4. สมาชกิ กองทุนแม่ของแผ่นดนิ สว่ นใหญ่เป็นผู้สงู อายุ
5. ขาดการประชาสมั พันธ์โครงการอย่างทวั่ ถงึ
6. หนว่ ยงานภาคีเครอื ข่ายยังเข้ามาให้ความช่วยเหลือค่อนขา้ งนอ้ ย
7. บางครัวเรือนไม่ยอมรับวา่ บตุ รหลานติดยาเสพติด ทำให้ไมไ่ ด้รบั ความรว่ มมือ

แนวทางแกไ้ ข
๑. ควรเพ่ิมการประชาสัมพนั ธ์สร้างความรู้ ความเขา้ ใจ และให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการและสมาชกิ

กองทุนแม่ของแผน่ ดินใหม้ ากขนึ้
2. ควรเพ่มิ งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมและงบประมาณในการสง่ เสริมอาชีพใหม้ ากขึ้น
3. ควรสง่ เสรมิ ให้ผู้สูงอายุมีอาชพี และมีงานทำลดการว่างงานและเปิดโอกาสใหค้ นรุ่นใหม่เข้ามาเป็น

สมาชกิ ใหม้ ากขน้ึ
4. ควรสนบั สนุนใหห้ น่วยงานภาคีเครอื ข่ายในพื้นทเี่ ข้ามามีส่วนร่วมในกจิ กรรมของกองทุนแมข่ อง

แผ่นดินใหม้ ากข้นึ
5. ควรมกี ารจดั กิจกรรมสรา้ งการมีส่วนรว่ มของสมาชิกกองทนุ แม่ของแผน่ ดนิ ให้มากขึน้ และให้

ความสำคญั กับครวั เรือนท่มี สี มาชิกตดิ ยาเสพตดิ และครวั เรอื นที่เป็นกลุ่มเส่ยี งใหม้ ากข้ึน

๔๑

8. แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป
กรมการพัฒนาชุมชน ขอรับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และ

บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน ๑๘,๒๘๗,๐๐๐ บาท เป็นการโอนจัดสรร
ให้สว่ นภมู ภิ าคดำเนินการทัง้ หมด ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดงั น้ี

1) การเสรมิ สรา้ งความเข้มแข็งหมูบ่ ้านกองทนุ แม่ของแผ่นดิน งบประมาณ ๑๑,๙๑๙,๒๐๐ บาท
1.1) เพิ่มศักยภาพคณะกรรมการศนู ย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินระดับอำเภอ
1.2) สนับสนุนกิจกรรมศูนย์เรียนรู้ต้นแบบหนุนเสริมสัมมาชีพชุมชนแก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงและ

ผ้ผู ่านการบำบัด
2) การพฒั นาหมู่บา้ นตน้ กล้ากองทนุ แม่ของแผน่ ดนิ งบประมาณ 11,๕๘๐,๗๐๐ บาท
2.1) ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการหมบู่ ้านตน้ กล้ากองทุนแม่ของแผน่ ดิน
2.2) สนบั สนนุ กิจกรรมหมู่บ้านตน้ กลา้ กองทุนแม่ของแผน่ ดิน

9. แนวทางการบูรณาการเพื่อการขบั เคล่อื นงาน
๙.1 ยึดการดำเนนิ การตามแนวทางสันตวิ ิธี
๙.2 มกี จิ กรรมสรา้ งพลงั ฝ่ายดี โดยกระบวนการรบั รองครวั เรอื น
๙.3 มีกระบวนการติดตาม ดแู ล ช่วยเหลอื ผูเ้ สพ/ผู้ตดิ ยาเสพตดิ อย่างต่อเนอ่ื ง
๙.4 สนบั สนนุ ชว่ ยเหลือผู้ผา่ นการบำบดั ยาเสพติดตามความสมัครใจ ตามศักยภาพของกองทนุ
๙.5 มีกิจกรรมส่งเสริมป้องกนั เด็ก/เยาวชนในหมู่บ้านกองทุนแมฯ่ ให้ปลอดภยั จากยาเสพตดิ
๙.6 จัดกิจกรรมในวันกองทุนแม่ของแผ่นดิน วันท่ี 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เช่น กิจกรรมป้องกัน

และแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรมระดมเงนิ ทนุ กองทุนแมข่ องแผน่ ดนิ เป็นตน้
๙.7 มีกิจกรรมในหมู่บ้าน/ชุมชนกองทุนแม่ฯ ที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีในโอกาสวันสำคัญ

เช่น 12 สิงหาคม และ 5 ธันวาคม
๙.8 กำหนดเดือนสิงหาคม เป็นเดือนที่มีการจัดมหกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

10. ประเด็นขอความร่วมมอื
สนับสนุน ส่งเสริม ประสานความร่วมมืออย่างบูรณาการ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค

ประชาชน ในการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพตดิ อย่างยง่ั ยนื

๔๒

การสนองพระราชดำรโิ ครงการอนุรักษพ์ ันธุกรรมพืช
อันเนือ่ งมาจากพระราชดำรสิ มเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

กรมการพฒั นาชมุ ชน

1. ความเป็นมา

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ
และตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมร่วมคิด
ร่วมปฏิบัติ ที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช
ให้แพร่หลาย สามารถสื่อถึงกนั ได้ทว่ั ประเทศ

ปี พ.ศ. 2560 กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้เข้าร่วมสนอง
พระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเน่ืองมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2564)
โดยทาง อพ.สธ. กำหนดแนวทางและแผนการดำเนินงานภายใต้ 3 กรอบการดำเนินงาน ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก ใน 8 กิจกรรม 3 ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรกายภาพ
ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งสอดรับกับภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน
ในการส่งเสริมการพัฒนาทุนชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ตามแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 3 ปี
(พ.ศ. 2563 - 2565) กรมการพัฒนาชมุ ชน ประเด็นการพัฒนาเร่ืองที่ 3 เสริมสร้างทุนชุมชนให้มีธรรมาภิบาล
(ทุนธรรมชาติ ทุนกายภาพ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม และทุนการเงิน) โดยมีเป้าหมาย ชุมชนสามารถจัดการทุนชุมชน
เพ่อื เป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คม

2. วตั ถุประสงค์
2.1 สร้างการเรียนรู้ให้ประชาชนได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช ภูมิปัญญาท้องถ่ิน

และทรัพยากร
2.2 ส่งเสริมให้ประชาชนได้ร่วมคิด ร่วมดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ภูมิปัญญาท้องถิ่น

และทรพั ยากร
2.3 จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรพ้ืนที่สนองพระราชดำริ กรมการพัฒนาชุมชน และสนับสนุนการจัดทำฐาน

ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น เพ่ือเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

๔๓

3. พืน้ ที่สนองพระราชดำริ
พื้นท่สี นองพระราชดำริ อพ.สธ. มีจำนวนท้ังสนิ้ 16 แหง่ ไดแ้ ก่
3.1 ศนู ยศ์ ึกษาและพฒั นาชุมชน จำนวน 11 แหง่ ดงั นี้
3.1.1 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชมุ ชนสระบรุ ี อำเภอแกง่ คอย จังหวัดสระบรุ ี
3.1.2 ศูนย์ศกึ ษาและพฒั นาชุมชนชลบุรี อำเภอเมอื งชลบรุ ี จังหวดั ชลบรุ ี
3.1.3 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี อำเภอเมอื งอุบลราชธานี จงั หวัดอบุ ลราชธานี
3.1.4 ศนู ย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอดุ รธานี อำเภอเพญ็ จงั หวัดอดุ รธานี
3.1.5 ศูนยศ์ ึกษาและพฒั นาชุมชนลำปาง อำเภอเมอื งลำปาง จงั หวดั ลำปาง
3.1.6 ศูนยศ์ กึ ษาและพัฒนาชุมชนพษิ ณโุ ลก อำเภอวงั ทอง จงั หวัดพษิ ณุโลก
3.1.7 ศูนย์ศกึ ษาและพฒั นาชุมชนเพชรบรุ ี อำเภอชะอำ จังหวดั เพชรบุรี
3.1.8 ศนู ย์ศกึ ษาและพฒั นาชมุ ชนนครศรธี รรมราช อำเภอทุ่งสง จงั หวัดนครศรีธรรมราช
3.1.9 ศูนย์ศึกษาและพฒั นาชมุ ชนยะลา อำเภอเมืองยะลา จงั หวัดยะลา
3.1.10 ศนู ย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก อำเภอเมอื งนครนายก จังหวัดนครนายก
3.1.11 ศนู ยศ์ กึ ษาและพฒั นาชุมชนนครราชสมี า อำเภอหนองบญุ มาก จังหวัดนครราชสีมา
3.2 ศูนยเ์ รยี นรทู้ นุ ชุมชน จำนวน 3 แหง่ ดังน้ี
3.2.1 ศูนยเ์ รยี นรทู้ นุ ชมุ ชนตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวดั อุบลราชธานี
3.2.2 ศูนย์เรยี นรู้ทุนชุมชนตำบลขวั มุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
3.2.3 ศูนยเ์ รยี นรู้ทุนชุมชนละงู อำเภอละงู จงั หวดั สตลู
3.3 วทิ ยาลยั การพฒั นาชุมชน อำเภอบางละมุง จังหวดั ชลบุรี
3.4 ส่วนงานพัฒ นาชุมชน ใน ศูน ย์การพัฒ น าเขาหิน ซ้อน อันเนื่องมาจากพ ระราชดำริ

อำเภอพนมสารคาม จังหวดั ฉะเชิงเทรา

4. ผลการดำเนนิ งาน
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยายบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ต้ังแต่ปี 2560 - 2564 ภายใต้
กรอบการดำเนนิ งาน 3 กรอบ 8 กจิ กรรม ตามแนวทางท่ี อพ.สธ. กำหนด ดังน้ี

4.1 กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กิจกรรมปลกู รักษาทรัพยากร
(1) โครงการเพ่ิมศักยภาพการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้พันธุกรรม

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน ตำบลขัวมุง
จังหวดั เชยี งใหม่ ศูนย์เรียนรทู้ ุนชุมชนตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล และศนู ย์เรยี นรู้ทนุ ชุมชนตำบลท่าชา้ ง
อำเภอสวา่ งวรี ะวงศ์ จังหวดั อบุ ลราชธานี (ปงี บประมาณ พ.ศ. 2560)

(2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ในศูนย์ศึกษาการพัฒนา
เขาหินซ้อนอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา กิจกรรมพัฒนา บ้านตัวอย่าง
เกษตรพอเพียงและส่งเสริมอาชีพฯ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์รวมทั้งพันธ์ุไม้พืชสมุนไพรพื้นถ่ิน และนิทรรศการ
แสดงผลงานองคค์ วามรู้โครงการอันเนอ่ื งมาจากพระราชดำริ (ปงี บประมาณ พ.ศ. 2560)

๔๔

(3) โครงการเสริมสร้างศักยภาพทุนชุมชนตามแนวพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
อันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยอบรมเพ่มิ ความรู้
แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน และประชาชนทั่วไป ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ และปลูกรักษา
พันธุกรรมพืชและสมุนไพรพื้นถิ่น ในพ้ืนที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน 4 แห่ง วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน และ
ศนู ยเ์ รียนรู้ทนุ ชมุ ชน ตำบลละงู จงั หวดั สตูล (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561)

4.2 กรอบการใชป้ ระโยชน์ กิจกรรมศนู ย์ข้อมลู ทรพั ยากร
โครงการจัดทำฐานข้อมลู พันธกุ รรมพชื และภูมิปัญญาท้องถนิ่ ในพื้นท่ีศูนยศ์ ึกษาและพัฒนา

ชุมชนอุดรธานี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ศูนย์ศึกษา
และพัฒนาชุมชนนครนายก ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนตำบลละงู จังหวัดสตูล และส่วนงานพัฒนาชุมชนในศูนย์
ศึกษา การพัฒนาเขาหินซ้อนอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
(ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562)

4.3 กรอบการสรา้ งจติ สำนกึ
(1) กิจกรรมสร้างจติ สำนกึ ในการอนุรักษท์ รพั ยากร
โ ค ร ง ก า ร พ ัฒ น า บุค ล า ก ร ด้า น ก า ร ขับ เ ค ลื่อ น ง า น โ ค ร ง ก า ร อ นุรัก ษ์พัน ธุก ร ร ม พืช

อันเน่ืองมาจากพระราชดำริฯ โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน
ซงึ่ ดำเนินการโดยศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอนั เน่ืองมาจากพระราชดำริฯ (ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562)

(2) กจิ กรรมพเิ ศษสนับสนนุ การอนุรักษ์ทรัพยากร
(2.1) โครงการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และจัดแสดงและ

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในโครงการ “พฤกษานุรักษ์ มเหสักข์ นวมินทรานุสร” ระหว่างวันท่ี
13 – 15 ตุลาคม 2560 ณ วัดหนองหมู และจัดทำเว็บไซต์ อพ.สธ. – กรมการพัฒนาชุมชน ไว้ตรงหน้า
เว็บเพจหลักของกรมการพัฒนาชุมชน (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561)

(2.2) โครงการจัดทำสื่อวิดิทัศน์ประชาสัมพันธ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชและ
ภูมิปัญญาท้องถ่ิน เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน และสร้างการรับรู้การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
อยา่ งย่ังยืน (ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562)

(2.3) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจ การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
จำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ศูนย์ศึกษา
และพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก และสนับสนุนด้านวิชาการในการ
ขับเคลอื่ นงาน อพ.สธ. กรมการพฒั นาชุมชน และพัฒนาชมุ ชนทเี่ ข้ารว่ มสนองพระราชดำริ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562)

(2.4) โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กรมการพัฒนาชุมชน จัดสรรงบประมาณให้ศนู ย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจำนวน 11 แห่ง วทิ ยาลัยการพัฒนาชุมชน
จำนวน 1 แห่ง จังหวัดท่ีมีศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ สตูล และจังหวัดอุบลราชธานีและส่วน
งานพัฒนาชุมชนในศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัด
ฉะเชิงเทรา รวมท้ังส้ิน 16 แห่ง สำหรับจัดทำป้ายโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
จำนวน 38 ปา้ ย (ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562)


Click to View FlipBook Version