The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภารกิจสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน_พช. เล่มมอบนโยบาย ๔ เม.ย. ๖๔ NEW EDITED

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kmcdd2564, 2021-05-08 03:10:02

ภารกิจสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน

ภารกิจสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน_พช. เล่มมอบนโยบาย ๔ เม.ย. ๖๔ NEW EDITED

Keywords: ภารกิจสำคัญ,กรมการพัฒนาชุมชน

๔๕

(2.5) โครงการจัดนิทรรศการการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชและภูมิปัญญา
ท้องถิ่นให้ม่ันคง ม่ังค่ัง และย่ังยืน ณ งานประชุมและนิทรรศการทรัพยากรไทย ครั้งที่ 10 ชาวบ้านไทย
ได้ประโยชน์ ปี 2562 ณ ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือตอนกลาง มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตำบลหนองระเวยี ง อำเภอเมืองนครราชสมี า จังหวัดนครราชสีมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563)

5. แผนการดำเนินงานโครงการ ปี 2564
ในปี 2564 กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดแผนในการดำเนินงานโครงการสนองพระราชดำริ

โครงการอนุรักษ์พันธกุ รรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
(อพ.สธ.) ในไตรมาสที่ 3 - 4 ซง่ึ ประกอบดว้ ย 2 กจิ กรรม ดงั น้ี

5.1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างการรับรู้และเข้าใจการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืชอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
หลักสูตร “รักษป์ ฐพี คนื ชีวที ี่หลากหลายในผืนดนิ ” โดยแบง่ เปน็ 2 กจิ กรรมยอ่ ย ดังนี้

(1) ประชมุ เชิงปฏบิ ัตกิ ารสร้างการรบั รแู้ ละเข้าใจการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พนั ธุกรรมพืช
อนั เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) หลักสูตร “รักษ์ปฐพี
คืนชีวีที่หลากหลายในผืนดิน” จำนวน 7 รุ่น ๆ ละ 34 คน รวมท้ังส้ิน 238 คน ระยะเวลา 3 วัน ดำเนินการโดย ศูนย์
ศึกษาและพฒั นาชุมชน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ศนู ย์ศกึ ษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช พิษณุโลก อุบลราชธานี
อดุ รธานี นครราชสีมา และศนู ย์ศึกษาและพฒั นาชมุ ชนเพชรบรุ ี

(2) สนับสนุนเชิงวิชาการระหว่างการอบรม โดยเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงิน
ระหว่างชมุ ชน จำนวน 3 คน 7 แห่ง

5.2 กิจกรรมท่ี 2 จัดทำสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแบ่งเป็น
2 กิจกรรมยอ่ ย ดงั น้ี

(1) จัดเก็บข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าท่ีพัฒนาชุมชนอำเภอ
จำนวน 8 อำเภอ ๆ ละ 1 คน รวม 56 คน ครัวเรือนพื้นท่ีเรียนรู้ชุมชนต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตและ
ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (CLM/HLM) ระดับตำบลและระดับครัวเรือน รวม 168 คน
รวมทั้งสน้ิ 224 คน ในพ้นื ท่ี 7 จังหวัด ไดแ้ ก่ จังหวัดกระบ่ี สโุ ขทัย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ สุรนิ ทร์
และจังหวดั กาญจนบุรี

(2) สนับสนุนเชิงวิชาการและการดำเนินงานเก็บข้อมูลในพ้ืนท่ี 7 จังหวัด โดยเจ้าหน้าท่ีศูนย์ศึกษาและ
พัฒนาชุมชน 6 แห่ง ได้แก่ ศูนยศ์ ึกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี พิษณุโลกนครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี
และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช แห่งละ 2 คน (ยกเว้นศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
จำนวน 4 คน)

ข้อเน้นย้ำผวู้ ่าราชการจงั หวดั
สนับสนุน ส่งเสริม ประสานงาน ความร่วมมือ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนงาน

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กรมการพัฒนาชุมชน (อพ.สธ.–พช.) ให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากร
ในทอ้ งถนิ่ ของตนเองและร่วมกนั อนุรักษ์ทรพั ยากรท้องถ่ิน

๔๖

โครงการ ๙ ; ๑๐ ปฏิบตั ิบูชา “สบื สาน รกั ษา ตอ่ ยอด” เพื่อพฒั นาชุมชน

1. ความเปน็ มา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวคิด

และทฤษฎีหลากหลาย ครอบคลุมและเกี่ยวพันกับกระบวนการพัฒนาหลายสาขาก่อคุณูปการอันยิ่งใหญ่แก่การ
สงเคราะห์ช่วยเหลือ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกร เป็นอเนกอนันต์มาโดยตลอด ระยะเวลาที่ทรง
ครองสิริราชสมบัติ อีกทั้งพระองค์ยังได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ” ข้นึ ตามภมู ภิ าคตา่ ง ๆ จำนวน ๖ ศนู ย์ ประกอบดว้ ย

1.1 ศนู ย์ศกึ ษาการพฒั นาเขาหนิ ซ้อนอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ จังหวดั ฉะเชิงเทรา
1.2 ศนู ย์ศึกษาการพฒั นาอา่ วคุ้งกระเบนอนั เนื่องมาจากพระราชดำริ จงั หวดั จันทบุรี
1.3 ศนู ยศ์ ึกษาการพัฒนาหว้ ยฮ่องไคร้อันเนอ่ื งมาจากพระราชดำริ จงั หวัดเชียงใหม่
1.4 ศูนย์ศึกษาการพฒั นาหว้ ยทรายอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริ จงั หวดั เพชรบุรี
1.5 ศูนยศ์ ึกษาการพฒั นาภูพานอนั เน่ืองมาจากพระราชดำริ จังหวดั สกลนคร
1.6 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพกิ ลุ ทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จงั หวัดนราธวิ าส
เพื่อเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีการศึกษา ทดลอง และสาธิต ด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเกษตร ปศุสัตว์
ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคม และงานศิลปาชีพ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษา ดูงาน ซึ่งศูนย์ศึกษา
การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปส่งเสริมให้แก่ประชาชน
ในพน้ื ทีร่ อบศนู ย์ เพอ่ื การพฒั นาคุณภาพชีวติ
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทย และสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช
สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพติ ร พระวชริ เกลา้ เจา้ อยู่หวั ในการสบื สาน รกั ษา ตอ่ ยอด แนวพระราชดำริฯ
กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ ๙ ; ๑๐ ปฏิบัติบูชา “สืบสาน รักษา ต่อยอด” เพื่อพัฒนาชุมชน ขึ้น
เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุนหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการ
น้อมนำแนวพระราชดำริฯ ไปใช้ และเปน็ ตวั อย่างในการขยายผลสำเร็จไปยังหมู่บา้ นอื่น ๆ ต่อไป
2. วตั ถปุ ระสงค์
2.1 เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทย และสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จ
พระวชริ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ในการสบื สาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริ
2.2 เพื่อปฏิบัติบูชา สืบสาน รักษา และต่อยอด แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สู่การปฏิบัติของประชาชน โดยการส่งเสริมสนับสนุนของ
กรมการพฒั นาชมุ ชน รว่ มกับ 7 ภาคเี ครือขา่ ย
2.3 เพอ่ื สง่ เสริมและยกย่องเชิดชเู กยี รติหมู่บ้านทไี่ ด้นำแนวพระราชดำรขิ องพระบาทสมเด็จพระบรม
ชนกาธิเบศร มหาภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปประยกุ ต์ใช้
3. ข้ันตอน/วิธกี ารดำเนินงาน
3.1 กำหนดเกณฑ์การประเมินและจดั ระดับหมู่บ้าน
กรมการพัฒนาชุมชนแต่งตัง้ คณะกรรมการสว่ นกลาง เพื่อจัดทำเกณฑ์การประเมินและจัดระดบั
หมู่บา้ นรอบศนู ย์ศกึ ษาการพฒั นาอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริ

๔๗

3.2 สร้างกลไกการประเมนิ ผล
จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 แห่ง

ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี นราธิวาส เชียงใหม่ และจังหวัดสกลนคร โดยแต่งต้ัง
คณะกรรมการระดับจังหวดั และคณะทำงานระดบั อำเภอ

3.3 ประเมินผลการดำเนนิ งานหมู่บ้าน
คณะกรรมการระดับจังหวัด และคณะทำงานระดับอำเภอ นำเกณฑ์การประเมินผลฯ ไปใช้

ในการประเมินผลหมู่บ้าน โดยคณะทำงานระดับอำเภอดำเนินการประเมินผลหมู่บ้านเบื้องต้น และส่งมอบ
ผลการประเมนิ ใหค้ ณะกรรมการระดับจงั หวดั

3.4 จดั ระดับหมู่บา้ นและคัดเลือกหมบู่ ้านตน้ แบบ
คณะกรรมการระดับจังหวัดนำผลการประเมินฯ โดยคณะทำงานระดับอำเภอมาใช้ประกอบ

การพิจารณาจัดระดับหมู่บ้านและคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ จำนวนจังหวัดละ 3 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 ด้าน ได้แก่
ด้านสงั คม ด้านเศรษฐกิจ และดา้ นส่ิงแวดลอ้ ม

3.5 ถอดบทเรียนหมู่บ้านต้นแบบ
นักวชิ าการพฒั นาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ดำเนินการถอดบทเรียนความสำเร็จของหมู่บ้านต้นแบบ

3.6 เผยแพร่ ยกย่องต้นแบบ
กรมการพัฒนาชุมชนจัดพิธีมอบรางวัล หมู่บ้านต้นแบบการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริฯ โดยมอบ

โล่รางวัลแก่หมู่บ้านต้นแบบ 3 ด้าน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ 6 แห่ง รวม 18 หมู่บ้าน และเงินรางวัล
หมบู่ ้านละ 15,000 บาท
4. ผลการดำเนินงาน

จัดทำร่างเกณฑ์การประเมินผลและจัดระดับหมู่บ้าน เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินผล
การดำเนินงาน และจัดระดับการพัฒนาหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ข้อมูล ณ วนั ท่ี 2 เมษายน 2564)
5. แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป

5.1 ประชมุ คณะทำงานจัดทำเกณฑ์ประเมนิ ผลและจดั ระดบั หมบู่ า้ นรอบศูนย์ศึกษาฯ
5.2 ประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด 6 จงั หวดั
5.3 จัดประชาคมหมบู่ า้ นรอบศนู ย์ศึกษาการพฒั นาอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ จำนวน 148 หมู่บ้าน
เพ่อื จัดเกบ็ ขอ้ มูลและสนบั สนุนการจดั ทำโครงการ
5.4 คณะกรรมการจังหวัดลงพื้นที่ประเมินผลหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ จำนวน 148 หมูบ่ า้ น

6. ประเด็นขอความร่วมมือ
6.1 ขอให้ 6 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี นราธิวาส เชียงใหม่ และ

จังหวัดสกลนคร ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาหมู่บ้าน รอบศูนย์ฯ ตามเกณฑ์ที่กรมการพัฒนาชุมชน
กำหนด และแตง่ ต้ังคณะทำงานระดบั อำเภอเพือ่ สนบั สนุนการดำเนนิ งาน

6.2 ขอให้จังหวัดมอบหมายคณะกรรมการฯ และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ
หมูบ่ ้านต้นแบบทไี่ ด้รับงบประมาณสนับสนนุ

การดำเนินงานภารกจิ สำคญั
ของกรมการพฒั นาชมุ ชน
ตามยทุ ธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ด้านการสร้างความสามารถ

ในการแข่งขัน

๔๘

โครงการชุมชนท่องเทยี่ ว OTOP นวตั วิถี

1. ท่ีมา
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการพัฒนา

คุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพ้ืนที่ตาม “โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” ตามภารกิจชุมชนอยู่ดีมีสุข
การพฒั นาความเป็นอยู่ การพัฒนาอาชีพและรายได้ เพ่อื พัฒนาแหล่งทอ่ งเทีย่ วใหม่ เน้นการท่องเทีย่ วโดยชมุ ชน

❖ หลกั การ
1) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

อยา่ งทวั่ ถึง กระตนุ้ เศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเขม้ แข็ง
2) เพอื่ พฒั นาและยกระดับคณุ ภาพสนิ คา้ ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีมาตรฐาน เพอื่ สร้างรายได้ให้กบั ชุมชน
3) เพ่ือสร้างและพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการ และผู้ท่ีเกี่ยวข้องในชุมชนท่องเที่ยว ให้มีขีดความสามารถ

ในการคดิ เชิงสรา้ งสรรค์ และสามารถนำมาตอ่ ยอดในการบรหิ ารจดั การชมุ ชนได้อย่างเหมาะสม
4) เพ่ือเช่ือมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว (เมืองหลัก เมืองรอง ชุมชน) ให้มีความโดดเด่น และมีความพร้อม

บนอัตลักษณ์ของชมุ ชนทอ่ งเท่ยี ว
การดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเท่ียว OTOP นวัตวิถี มีผลการดำเนินงาน ณ ส้ินปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

สามารถสรุปผลได้ ดงั นี้
(๑) กระบวนงานท่ี ๑ การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว (People)
- การจดั สรรงบประมาณ รวมทั้งสน้ิ 934.57 ล้านบาท
- การเบกิ จา่ ย รวมทง้ั สิ้น 872.24 ลา้ นบาท
- เหลือจ่าย/ส่งคนื /งบประมาณถกู พับไป จำนวน 62.33 ลา้ นบาท
(๒) กระบวนงานท่ี ๒ การพัฒนาแหลง่ ท่องเท่ยี วและสิง่ อำนวยความสะดวก (Place)
- การจดั สรรงบประมาณ รวมทง้ั ส้ิน 2,193.91 ล้านบาท
- การเบกิ จา่ ย รวมทง้ั สน้ิ 1,770.93 ล้านบาท
- เหลือจา่ ย/สง่ คนื /งบประมาณถกู พับไป จำนวน 422.98 ลา้ นบาท
(3) กระบวนงานที่ ๓ การพฒั นาสินคา้ และบรกิ ารด้านการทอ่ งเทย่ี ว (Product)
- การจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งสน้ิ 4,200.74 ลา้ นบาท
- การเบกิ จ่าย รวมท้ังสน้ิ 3,651.33 ลา้ นบาท
- เหลือจา่ ย/สง่ คนื /งบประมาณถูกพบั ไป จำนวน 549.41 ล้านบาท
(4) กระบวนงานท่ี ๔ การเชอื่ มโยงเสน้ ทางการทอ่ งเทย่ี วแต่ละท้องถิน่ (Preservation)
- การจัดสรรงบประมาณ รวมท้งั สน้ิ 459.05 ล้านบาท
- การเบกิ จ่าย รวมทง้ั สน้ิ 319.41 ลา้ นบาท
- เหลือจา่ ย/สง่ คืน/งบประมาณถูกพับไป จำนวน 139.64 ล้านบาท
(5) กระบวนงานที่ ๕ การส่งเสรมิ การตลาดชุมชนท่องเทีย่ ว (Public Relations/Promotion)
- การจัดสรรงบประมาณ รวมท้งั สน้ิ 1,539.85 ลา้ นบาท
- การเบิกจา่ ย รวมทัง้ สน้ิ 1,029.69 ล้านบาท
- เหลอื จา่ ย/ส่งคนื /งบประมาณถกู พบั ไป จำนวน 510.16 ลา้ นบาท

๔๙

สรุปการจดั สรร/การเบิกจ่ายงบประมาณ ตามโครงการชุมชนทอ่ งเที่ยว OTOP นวัตวิถี

- รวมจดั สรรงบประมาณ จำนวน 9,328.12 ลา้ นบาท

- รวมเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 7,643.60 ลา้ นบาท

- เหลือจา่ ย/ส่งคนื /งบประมาณถูกพบั ไป จำนวน 1,684.52 ลา้ นบาท

2. ผลสมั ฤทธิ์ที่เกิดขนึ้ (ข้อมลู ณ วันที่ 30 ธันวาคม ๒๕๖๓)
2.1 รายได้ (สะสม) จำนวน 6,000.430041 ล้านบาท
2.2 นักท่องเทย่ี ว (สะสม) จำนวน ๑๐,490,032 คน
2.3 ผู้ไดร้ ับประโยชน์ ดา้ นที่พกั ในชุมชนทอ่ งเที่ยว จำนวน 19,554 แหง่
2.4 ผ้ไู ดร้ ับประโยชน์ ดา้ นอาหาร/เครื่องด่มื ในชุมชนทอ่ งเท่ยี ว จำนวน 25,621 แหง่

3. ความคุ้มค่าของโครงการ
3.1 ด้านชอ่ งทางการตลาด มีความสำเร็จเชงิ นโยบายเรื่องใช้การท่องเท่ยี วสร้างรายได้เพ่ิม สร้างโอกาส/

ช่องทาง คนซ้ือ (นักท่องเท่ียว) มาพบคนขาย (ชาวบ้าน) ในหมู่บ้าน/ชุมชน 3,273 แห่ง ท่ีมีศักยภาพ และใช้การ
ท่องเท่ียวต่อยอด รวมถึงมีการจัดทำส่ือส่ิงพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อออนไลน์เพ่ือประชาสัมพันธ์ชุมชน
ทอ่ งเที่ยว OTOP นวัตวถิ ี

3.2 ด้านผู้ซื้อ สามารถเชื่อมโยง สร้างโอกาสให้ผู้ซื้อกลุ่มใหม่จำนวนมากกว่าเดิมหลายเท่า
เดินทางเข้ามาในหมบู่ ้าน/ชมุ ชน

3.3 ด้านผู้ขาย สามารถต่อยอดอาชีพเดิม เกิดผู้ขายใหม่เฉพาะในชุมชน 3,273 หมู่บ้าน/ชุมชน ที่เป็น
เจ้าของผลิตภัณฑ์ ที่พัก ร้านอาหาร บริการอื่น ๆ ท่ีต่อยอด และเจ้าของกิจการใหม่ ในพ้ืนท่ี โดยคนในชุมชน
มีสว่ นร่วมในการบรหิ ารจัดการทกุ กิจกรรม เกดิ การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง

3.4 ด้านการกระจายรายได้ เกิดรายได้กระจายอยู่ที่ผู้ประกอบการทั่วไปในชุมชน ท้ังจากกิจการเดิม
ที่ต่อยอดหรือใช้ต้นทุนต่ำในการประกอบกิจการรายย่อย เข้าถึงผู้ซื้อง่ายเน่ืองจากทุกคนสามารถเรียนรู้หรือ
เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างรายได้เช่ือมโยงกับการท่องเท่ยี วของชุมชนอย่างสะดวกได้ทันที

4. ผลกระทบจากการดำเนนิ โครงการ
คณ ะที่ปรึกษาจากสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้ดำเนินการประเมินผลโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยประเมินผลกระทบ 5 ด้าน จากการ
ดำเนินงานโครงการ ดังประเด็นต่อไปนี้

4.1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
โครงการฯ มีผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อชุมชนในระดับมาก ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เฉล่ีย

เพิ่มข้ึนร้อยละ 16.22 มีการจ้างงานเพ่ิมข้ึนร้อยละ 87.5 มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเฉล่ียต่อคน เท่ากับ
1,152 บาท ยังไม่สงู เนื่องจากเปน็ การท่องเที่ยวระยะสัน้ รายได้สว่ นใหญ่มาจากการขายอาหารและผลิตภัณฑ์
ของชุมชน การกระจายรายไดย้ ังไม่ทว่ั ถึงมากนัก โดยมีครวั เรอื นรอ้ ยละ 38.8 ได้รับประโยชน์จากโครงการ

4.2 ผลกระทบดา้ นสังคม
โครงการฯ มีผลกระทบด้านสังคมในระดับมาก โดยคนในชุมชนมีการช่วยเหลือซ่ึงกันและกันมากข้ึน

และมีความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชน ชาวบ้านในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการมากขึ้น จากการ
เข้าร่วมกิจกรรม ทำให้ชุมชนรู้จกั คิด รูจ้ ักทำและมีการแลกเปล่ยี นความคิดเห็นซ่ึงกันและกัน มสี ังคมและเพ่ือน
ร่วมกิจกรรมใหม่ ๆ มีความภาคภูมิใจในชุมชนเอง และรจู้ ักใช้ส่ือออนไลน์ในการประชาสัมพนั ธ์ชมุ ชนทอ่ งเทย่ี ว
OTOP นวัตวถิ ี

๕๐

4.3 ผลกระทบด้านวัฒนธรรม
โครงการฯ ส่งผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมต่อชุมชนในระดับมาก โดยมีผลกระทบทางด้าน

วฒั นธรรมเชิงบวกเกิดข้ึนภายในชุมชนอย่างชดั เจน เช่น กลุ่มคนในชุมชนหลายช่วงวัยและเพศ ให้ความสำคัญ
และเข้ารว่ มงานในการสบื สานประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นมากข้ึน เช่น คนหนุ่มสาวแต่งชุดด้วยผ้าไทย การขับร้อง
สรภัญญะ การเว้าผญาเก่ียวกับชุมชนท้องถิ่นของตนเอง การสอนเย็บขันหมากเบ็ง และการเย็บบายศรีสู่ขวัญ
ทำให้คนรุ่นใหม่รู้จักพื้นเพของหมู่บ้าน ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหรือชุมชน และเม่ือสังคมภายนอก
ได้รับรู้และเข้ามาศึกษามากข้ึน โดยการนำมาตีแผ่วัฒนธรรมให้นักท่องเที่ยวให้คนทั่วไปได้เห็นและ สัมผัส
ทกุ คนในชุมชนกจ็ ะเล็งเห็นและภาคภูมใิ จในวัฒนธรรมของตนเอง

4.4 ผลกระทบดา้ นสงิ่ แวดล้อม
โครงการฯ มีผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อมในระดับมาก ชุมชนมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชน

ให้สวยงาม รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการทำความสะอาดรอบ ๆ ชุมชน มีการเก็บขยะมูลฝอย
และมีการช่วยกันรณรงค์ต่อต้านโรคติดต่อ โรคระบาดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีการชักชวนให้คนในชุมชน
ปลูกสมุนไพรเพม่ิ ขนึ้ เพอ่ื ใชเ้ ปน็ หนึ่งในวัตถดุ ิบหลักในการผลติ และแปรรปู ผลิตภัณฑ์

4.5 ผลกระทบด้านจติ ใจ
โครงการฯ มีผลกระทบต่อชุมชนทางด้านจิตใจในระดับมาก คนในชุมชนมีความรัก ความผูกพันกัน

มากยิ่งข้ึน มีจิตใจท่ีดีต่อกัน มีความสุข ย้ิมแย้มแจ่มใส รู้จักสามัคคี เอื้อเฟ้ือเผ่ือแผ่ต่อกันมากข้ึน มีมนุษยสัมพันธ์
ท่ีดีเพิ่มข้ึนและพร้อมเป็นเจ้าบ้านท่ีดี นอกจากน้ีคนในชุมชนได้ออกไปเรียนรู้วิถีชีวิต และแลกเปล่ียน
ประสบการณก์ บั สงั คมภายนอกมากขึ้น อกี ทั้งคนในชมุ ชนรู้สกึ รักและภาคภมู ิใจในท้องถน่ิ มากข้ึน

5. ยุทธศาสตร์ส่งเสรมิ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวตั วถิ ี
กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เพื่อเป็นแนวทาง

สำหรับการส่งเสริม พัฒนา และต่อยอดการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยมีเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ กลา่ วคอื ชมุ ชนสามารถบริหารจัดการดา้ นการท่องเทยี่ วและสร้างรายไดอ้ ย่างย่ังยืน

๕๑

ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทำแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
รายละเอยี ด ดังน้ี

1) ชุมชนท่องเที่ยวดาวเด่น (Attractive) หมายถึง หมู่บ้าน/ชุมชนท่ีมีความพร้อมในการรองรับ
นักทอ่ งเทยี่ ว สนับสนนุ โดยการสร้างเครอื ข่าย เพิ่มการเช่อื มโยง เปน็ ห้นุ ส่วนกับภาคเอกชน เพอื่ กระตนุ้ การทอ่ งเท่ียว
ผ่านการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ และบูรณาการกับหน่วยงานภาคี เช่น สภาอุตสาหกรรมท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย
อตุ สาหกรรมไมซ์ การท่องเท่ียวแหง่ ประเทศไทย เปน็ ต้น

2) ชุมชนท่องเท่ียวดาวรุ่ง (Brighten Star) หมายถึง หมู่บ้าน/ชุมชน ท่ีมีแวว มีอนาคตในการพัฒนา
ต่อยอดเป็นชุมชนท่องเท่ียว สนับสนุนโดยการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเพื่อรองรับ
การท่องเท่ยี ว และการพัฒนาชมุ ชนทอ่ งเท่ยี วให้มีความสะอาด สะดวก และปลอดภยั แกน่ กั ทอ่ งเท่ยี ว

3) ชุมชนโดดเด่นเฉพาะด้าน (Case Study) หมายถึง หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีความโดดเด่น สามารถเป็น
แหล่งศึกษาดูงาน สนับสนุนโดยการเช่ือมโยงเครือข่ายประชารัฐ การสาธารณสุขและการเกษตร พร้อมทั้งการ
ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมรองรับการศึกษาดูงานเฉพาะด้าน เช่น แหล่งศึกษาดูงานการขยายผล
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประยกุ ต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” แหล่งศึกษาดูงาน
การบรหิ ารจดั การกองทนุ ชมุ ชน เปน็ ตน้

4) ชุมชนสนิ คา้ OTOP (Delivery Products) หมายถึง หมูบ่ ้าน/ชุมชนท่ีมีศักยภาพจำกัดในด้านการ
ท่องเที่ยว สนับสนุนโดยการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 1 - 3 ดาว กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา
(กลุ่ม D) และผลิตภัณฑ์ OTOP ท่ียังไม่ได้รับความนิยมและ/หรือจำหน่ายได้ในปริมาณที่ไม่มาก ให้เกิดการ
ประชาสมั พันธ์สรา้ งการรับรู้ เป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอก และสามารถจำหน่ายได้ตามแหลง่ ท่องเที่ยวภายใน
จงั หวดั ตลาดประชารัฐคนไทยย้ิมได้ หรือสถานท่อี ่นื ๆ ท่ีเหมาะสม

๖. การเผยแพรป่ ระชาสัมพันธ์ชุมชนท่องเทยี่ วในความรบั ผิดชอบของกรมการพัฒนาชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเท่ียวในความรับผิดชอบ

ของกรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่ ชุมชนท่องเท่ียว OTOP นวัตวิถี หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเท่ียว (OTOP Village)
และหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเท่ียวที่พัฒนาตามกลไกประชารัฐหรือพัฒนาโดยงบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
ซึ่งกรมการพฒั นาชุมชน ไดป้ ระชาสมั พนั ธห์ มบู่ ้าน/ชมุ ชนทอ่ งเทย่ี วผ่านช่องทางสอ่ื สงั คม (Social Media) อาทิ

6.1 เว็บไซต์หมูบ่ ้าน OTOP เพ่ือการทอ่ งเทย่ี ว (OTOP Village)
สบื คน้ ข้อมลู ได้จาก https://www.otop-village.com/th

๕๒

6.2 เว็บไซต์ชุมชนท่องเท่ยี ว OTOP นวัตวถิ ี (CBT NAWATWITHI) ตามรอยวิถไี ทย ไปแลว้ ปล้มื
สืบค้นข้อมลู ไดจ้ าก http://cbt.nawatwithi.com/index_app.php

๕๓

6.3 เว็บไซต์ TOUR FROM HOME
สืบคน้ ขอ้ มลู ไดจ้ าก https://www.cdd.go.th/tour-from-home

การระบุพิกัดชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีไทยโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information
System : GIS) Community Based Tourism – Google My Maps
สืบค้นขอ้ มลู ไดจ้ าก
https://www.google.com/maps/d/viewer?mid=1BbuOQcSyEskJPqEHYh_0OnZny4pcUfjd&ll=

13.523393777973249%2C101.09065164679544&z=5

๕๔

๕๕

๗. แนวทางการบรู ณาการเพ่อื การขบั เคลือ่ นงาน
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ประสานความร่วมมือไปยังองค์กรและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องกับการ

ท่องเท่ียว โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือการต่อยอดการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ให้สามารถบริหาร
จัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้า OTOP บริการด้านการท่องเที่ยว
และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์/อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อการรองรับนักท่องเที่ยว
โดยกรมการพัฒนาชมุ ชนดำเนินการ

๗.1 เพิม่ ประสทิ ธิภาพการบรหิ ารจดั การชุมชนท่องเท่ียว อาทิ
1) ประสานความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสมาคมสง่ เสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) เพ่ือส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว
OTOP นวัตวิถี สู่อุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งดำเนินการตามข้อส่ังการนายกรัฐมนตรีในคราวการประชุมระหว่าง
นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถ่ิน และผู้แทนเกษตรกร เพื่อขับเคล่ือน
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และ
แม่ฮ่องสอน) เมื่อวันท่ี 15 มกราคม 2562 โดยมีประเด็นสาระสำคัญและข้อส่ังการนายกรัฐมนตรีท่ีเก่ียวข้อง
กับกรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่ ข้อเสนอเพื่อสนับสนุน New S-Curve มอบหมายกระทรวงมหาดไทย
โดยกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสำนักงานส่งเสรมิ การจดั ประชมุ และนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พิจารณายกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยอัตลักษณ์ล้านนาเชิงสร้างสรรค์
เพื่อรองรับอุตสาหกรรมไมซ์ (Creative LANNA MICE Heritage) โดยพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP เชื่อมโยง
ชมุ ชนนวัตวถิ ีใหไ้ ดม้ าตรฐานไมซ์

2) ประสานความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่สำรวจ
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เพื่อพัฒนาเชื่อมโยงกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
และการตลาดภาคธรุ กจิ การทอ่ งเทีย่ ว

๓) ประสานความร่วมมือกับมูลนิธิสัมมาชีพ สนับสนุนให้เกิดการแลกเปล่ียนเรียนรู้ การบริหาร
จัดการท่องเที่ยวชุมชนแก่ผู้นำและผู้ประกอบการชุมชน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาชุมชน
ด้านภูมิทัศน์ และการพฒั นาสินค้าชมุ ชนใหส้ อดคลอ้ งกบั อตั ลักษณท์ ้องถิน่

๗.2 พฒั นาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑแ์ ละบรกิ ารในชุมชนทอ่ งเท่ยี ว อาทิ
1) สร้างคุณค่าและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนงานด้านการท่องเท่ียว

มาเป็นเคร่ืองมือในการพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดรายได้ กำหนดให้มีการสร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจ
ภายในควบคู่กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้สามารถยกระดับ
สู่การจำหน่ายได้ ตามแนวคิดการจัดนิทรรศการแบบกระจายที่ผู้ชมลงมือปฏิบัติ (Decentralized Hands – On
Program Exhibition : D – HOPE) ทีไ่ ด้รับมาจากประเทศญี่ปนุ่

2) สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ผ่านภูมิปัญญาการนวดแผนโบราณ
โดยกรมการพัฒนาชุมชนและโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
ได้ลงนามบันทึกขอ้ ตกลงความรว่ มมอื การส่งเสริมการนวดแผนไทยในชมุ ชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวถิ ี เม่อื วันท่ี
๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เพื่อสร้างความเข้มแข็งใหส้ ตรีไทย ใหม้ ีอาชพี มีทางเลือก มรี ายได้ สามารถทำงานอยู่ในหมู่บ้าน
รวมถึงเพื่อประชาสัมพันธ์และยกระดับชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ผ่านภูมิปัญญาการนวดแผนโบราณ
ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านช่องทางและเครอื ข่ายความรว่ มมือของท้ังสองฝ่าย โดยร่วมกันส่งเสริมการตลาดและกระตุ้น
การขายสินค้าและบริการ และการเข้าไปจัดกิจกรรมการนวดแผนโบราณในพ้ืนที่ชุมชนท่องเท่ียว OTOP นวัตวิถี
ที่เน้นสร้างความยั่งยืน และมุ่งให้ชุมชนพ่ึงพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการพัฒนา

๕๖

และให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการนวดแผนโบราณ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เน้นคุณภาพ มาตรฐาน
และความคิดสร้างสรรคบ์ นพน้ื ฐานอัตลกั ษณข์ องหมบู่ า้ น/ชุมชน

๗.3 สง่ เสรมิ การตลาดและเชือ่ มโยงธรุ กิจการทอ่ งเทยี่ ว อาทิ
1) จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด โดยพิจารณาคัดเลือกและประสานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

ประเภทชุมชนท่องเท่ียวดาวเด่น (Attractive) ชุมชนท่องเที่ยวดาวรุ่ง (Brighten Star) เพ่ือจัดแสดง
นิทรรศการ ประเพณี วัฒนธรรม สินค้า OTOP และกิจกรรมบริการ/โปรแกรมทัวร์ด้านการท่องเท่ียว ในวาระ
สำคัญต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเช่ือมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว การเจรจาทางธุรกิจ และส่งเสริมรายได้ให้แก่
ชุมชนทอ่ งเท่ียว OTOP นวัตวิถี

2) ส่งเสริมให้ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ประเภทชุมชนโดดเด่นเฉพาะด้าน (Case Study)
พฒั นาความเป็นเลิศดา้ นการเป็นแหลง่ ศกึ ษาดูงานเฉพาะด้าน เช่น แหล่งศึกษาดงู านหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
แหล่งศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัย เป็นต้น รวมถึงประสานงานกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี
วิสาหกิจเพ่ือสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ขับเคล่ือนโครงการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริม
สนับสนุนการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการ
พัฒนาชุมชนสนับสนุนให้ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพ่ือสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ประสานผู้ผลิต
ผู้ประกอบการในชุมชนท่องเท่ียว OTOP นวัตวิถี ประเภทชุมชนโดดเด่นเฉพาะด้าน (Case Study)
ทมี่ ีศักยภาพด้านการผลิตสินคา้ เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัย ในการรับซ้ือวัตถุดิบและสินค้าเกษตรอินทรีย์/
เกษตรปลอดภัย เพ่ือจัดส่งให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และขยายผลไปสู่สถาบันการศึกษา
และสถานประกอบการด้านทพี่ กั และรา้ นอาหารต่อไป

3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดผ่านโครงการ OTOP เคล่ือนท่ี (OTOP Mobile) โดยส่งเสริม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 1 – 3 ดาว กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) และผลิตภัณฑ์ OTOP
ในชุมชนท่องเท่ียว OTOP นวัตวิถี ประเภทชุมชนสินค้า OTOP (Delivery Product) ให้เกิดการประชาสัมพันธ์
สร้างการรับรู้ เป็นท่ีรู้จักของบุคคลภายนอก และสามารถจำหน่ายได้ตามแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัด
ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ หรือสถานท่ีอื่น ๆ ทเ่ี หมาะสม

4) ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและบริการในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ให้มีคุณภาพ
และมาตรฐาน ผ่านการตลาดออนไลน์เพ่ือเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเท่ียว

5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้จังหวัด/อำเภอ เป็นหน่วยงานในการแก้ไข ปรับปรุง ข้อมูลชุมชน
ท่องเท่ียวนวัตวิถีไทย ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้อมูลกิจกรรมบริการ ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic
Information System : GIS)

๘. ประเด็นขอความร่วมมือ
ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด ส่งเสริมการเช่ือมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ประชาสัมพันธ์/กระตุ้นการทอ่ งเที่ยว สง่ เสริมการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินคา้ และบรกิ าร รวมถึง
ส่งเสริม สนับสนุนให้จังหวัด/อำเภอ เป็นหน่วยงานในการแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลชุมชนท่ องเท่ียว
ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

การดำเนนิ งานภารกิจสำคญั
ของกรมการพฒั นาชมุ ชน
ตามยทุ ธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ดา้ นการสร้างโอกาสและ
ความเสมอภาคทางสงั คม

๕๗

โครงการหนึ่งตำบล หนง่ึ ผลติ ภณั ฑ์ (ONE TAMBON ONE PRODUCT)

1. แนวคิดและหลกั การ OTOP
แนวคิด “หน่ึงตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดท่ีเป็นขบวนการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละ

หมู่บ้าน หรือตำบล แนวคิดน้ีสนับสนุนและส่งเสริมให้ท้องถิ่น สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ (Product) โดยมี
กิจกรรมการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการตลาด การผลิต การบริหารจัดการ และการประยุกต์
ใช้เทคโนโลยีทางด้านการตลาดให้มีคุณภาพเป็นท่ียอมรับ และต้องการของตลาดสากล โดยมีพลังกาย
(Energy) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และความปรารถนา (Desire) ที่จะใช้ทรัพยากรท่ีหาพบในท้องถิ่น
เป็นหลัก เพ่ือท่ีจะเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ และนำไปสู่เป้าหมายของการกินดีอยู่ดี คุณภาพชีวิตที่ดีของ
ประชาชนแสวงหารากฐานที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ เป็นการสืบสานวัฒนธรรมท่ีดีงามของท้องถิ่น
ให้คงอยู่ต่อไป สรา้ งความภาคภูมใิ จใหก้ บั คนรุ่นต่อ ๆ ไป และวางรากฐานท่ีสำคญั ของประเทศและสงั คมไทย

นอกจากน้ี เป็นแนวคิดท่ีต้องการให้แต่ละหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์ (หลัก) 1 ประเภท เป็นผลิตภัณฑ์
ที่ใช้วัตถุดิบ ทรัพยากรท้องถ่ิน ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นไปสู่เมืองใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างเศรษฐกิจ
ชุมชนให้เกิดขึ้น เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นเคร่ืองมือท่ีกระตุ้นให้เกิด
กระบวนการเรียนรู้ของประชาชน เกิดการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกจิ อย่างต่อเน่ือง นบั เป็นกลยุทธการพัฒนา
ทอี่ าศยั หม่บู า้ นเป็นหน่วยพฒั นา (Unit of Development)

ผลติ ภัณฑ์ ไมไ่ ดห้ มายถึง ตัวสนิ คา้ เพยี งอยา่ งเดยี ว แตเ่ ป็นกระบวนการทางความคิด รวมถึงการบรกิ าร
ดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเท่ียว ศิลปวัฒนธรรม
ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถน่ิ การแลกเปล่ียนเรียนรู้ เพื่อใหก้ ลายเป็นผลิตภัณฑท์ ่ีมีคุณภาพ มีจุดเด่น
จดุ ขาย ทรี่ ูจ้ กั กนั แพร่หลายไปทัว่ ประเทศ และทัว่ โลก

หลักการพน้ื ฐาน
1. ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถ่ินสสู่ ากล (Local lead Global)

ผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการพัฒนาอย่างต่อเน่ือง สอดคล้องกับวัฒนธรรมและ
มีจุดเด่นเฉพาะ เป็นทย่ี อมรบั ของตลาดภายในประเทศ และตลาดโลก

2. พ่งึ ตนเองและคดิ อย่างสรา้ งสรรค์ (Self Reliance Creativity)
ต้องมีการระดมความคิด ในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพ่ือให้ได้สิ่งท่ีดีทีสุดเท่าท่ีจะช่วยกัน

ทำได้ โดยคำนึงถึงการร้ือฟ้ืนวัฒนธรรม ประเพณีในแต่ละท้องถ่ินให้สอดคล้อง เหมาะสมไม่ซ้ำแบบกัน
และเปน็ เอกลักษณเ์ ฉพาะของหมู่บ้าน หรอื ตำบล

3. การสรา้ งทรพั ยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
การสร้างบุคคลท่ีมีความคดิ กว้างไกลมีความรู้ ความสามารถให้เกดิ ขึ้นในสังคมมีการวางแผนการตลาด
มงุ่ เปน็ การผลติ และบรกิ ารโดยคำนงึ ถึงผู้บริโภคเปน็ หลกั

2. การส่งเสรมิ ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถิ่นและวสิ าหกจิ ชุมชน
2.1 การลงทะเบยี นผูผ้ ลติ /ผ้ปู ระกอบการ OTOP
1) ความเป็นมา
กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ

OTOP โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือตรวจสอบความถูกต้องและเพ่ิมเติมข้อมูลผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และ
ผู้ผลิต ผ้ปู ระกอบการรายใหม่ เพือ่ ให้ได้จอมลู ท่ีเปน็ ปัจจบุ ัน สามารถใชป้ ระโยชน์ในการดำเนินงานได้

๕๘

การลงทะเบียน หมายถึง การรับลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการสำหรับผู้ท่ีเคยลงทะเบียนและ

ยงั ไม่เคยลงทะเบยี นเป็นผปู้ ระกอบการ OTOP

2) วตั ถปุ ระสงค์

2.1) เพอ่ื จดั ทำฐานขอ้ มูลผู้ผลิต/ผูป้ ระกอบการ OTOP ให้เป็นปจั จบุ ัน

๒.2) เพือ่ ใชป้ ระโยชน์ในการกำหนดแผนการส่งเสรมิ และพฒั นาไดอ้ ย่างเหมาะสม

3) ประเภทผ้ผู ลิต ผปู้ ระกอบการ OTOP แบ่งดงั น้ี

3.1) กลุ่มผผู้ ลติ ชุมชน

3.2) ผผู้ ลติ ชมุ ชนที่เปน็ เจา้ ของรายเดยี ว

๓.3) ผ้ผู ลติ ที่เปน็ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม

4) ประเภทผลติ ภัณฑ์

4.1) ประเภทอาหาร

4.2) ประเภทเคร่อื งดมื่

4.3) ประเภทผ้า เครือ่ งแตง่ กาย

4.4) ประเภทของใช/้ ของตกแต่ง/ของทร่ี ะลึก

4.5) ประเภทสมุนไพรทไ่ี มใ่ ชอ่ าหาร

6) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ ท่ีผลิตสินค้า OTOP ที่เคยลงทะเบียนและยังไม่

เคยลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต/ผปู้ ระกอบการ OTOP

7) ผลการดำเนนิ งาน

การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพ่ือจัดทำฐานข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้เป็น

ปัจจุบัน และใช้ประโยชน์ในการกำหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม ได้ปรับเปล่ียน

ใหส้ ามารถลงทะเบียนทั้งปี และทุกปี โดยเร่ิมดำเนินการ ๑ ตลุ าคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป มีการเปิดรับลงทะเบียน

OTOP อย่างต่อเน่ือง ปัจจุบันยอดการลงทะเบียน ๙๐,๒๘๙ กลุ่ม/ราย ๑๙๘,๙๘๘ ผลิตภัณฑ์ ดังนี้

(ขอ้ มลู ณ วนั ท่ี ๒๐ ตลุ าคม ๒๕๖๓)

- ประเภทอาหาร จำนวน 74,774 ผลิตภณั ฑ์

- ประเภทเครื่องด่ืม จำนวน 9,811 ผลิตภณั ฑ์

- ประเภทผ้าและเครอื่ งแตง่ กาย จำนวน 38,304 ผลิตภัณฑ์

- ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของท่รี ะลกึ จำนวน 51,126 ผลิตภณั ฑ์

- ประเภทสมุนไพรท่ีไมใ่ ชอ่ าหาร จำนวน 24,973 ผลติ ภณั ฑ์

3.2 การคัดสรรสดุ ยอดหน่งึ ตำบล หนึง่ ผลิตภณั ฑไ์ ทย
1) ความเปน็ มา
การดำเนินงานการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจาก

การสำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP โดยให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ท่ีได้ลงทะเบียน
ได้มีโอกาสนำผลิตภัณฑ์ท่ีใช้ภูมิปัญญาของตนเองเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ และจัดระดับผลิตภัณฑ์ (๑ - ๕ ดาว)
ซ่ึงกรมการพัฒนาชุมชนและหน่วยงานที่เก่ียวข้องจะได้ใช้ประโยชน์ จากฐานข้อมูลการคัดสรรสุดยอดหน่ึงตำบล
หนงึ่ ผลิตภัณฑเ์ พ่อื การพฒั นาต่อไป

๕๙

2) หลักเกณฑ์การคัดสรรฯ การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย กำหนดหน่วยดำเนินการ
ใน ๒ ระดบั คือ

2.1) ระดับจังหวัด/กรุงเทพมหานคร โดยการแต่งต้ังคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรสุดยอด
หนึ่งตำบล หน่ึงผลิตภัณฑ์ไทยระดับจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบ กลั่นกรอง
ผลิตภัณฑ์ท่ีสมัครเข้าคัดสรรฯ และให้ค่าคะแนนในส่วน ก หลักเกณฑ์การพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์และความ
เข้มแขง็ ของชุมชน และ สว่ น ข หลักเกณฑก์ ารพิจารณาดา้ นความเป็นไปได้ทางการตลาด

2.2) ระดับประเทศ โดยการแต่งต้ังคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรสุดยอดหน่ึงตำบล
หน่ึงผลิตภัณฑ์ไทย ระดับประเทศ ตามกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ ดำเนินการพิจารณา ตรวจสอบ และให้คะแนน
ผลิตภณั ฑท์ ี่สมคั รเขา้ คัดสรรฯ ในสว่ น ค หลักเกณฑก์ ารพจิ ารณาดา้ นคณุ ภาพผลิตภณั ฑ์

3) วตั ถปุ ระสงค์
3.1) เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ท่ีจะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product

Development)
3.2) เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Profile) ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกฝ่าย

ทีเ่ กย่ี วข้อง
๓.3) เพ่ือเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จนสามารถใช้เป็น

แหลง่ สร้างรายได้และความเขม้ แข็งใหก้ ับชมุ ชน
3.4) เพ่ือกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชน

ในการพัฒนาผลิตภณั ฑ์
4) ผลการดำเนินงาน
การคัดสรรสดุ ยอดหนึ่งตำบล หนง่ึ ผลิตภณั ฑไ์ ทย ดำเนินการ ๒ ป/ี ครง้ั โดยการเปดิ โอกาสให้ผผู้ ลิต

ผปู้ ระกอบการ OTOP เข้าสู่การคัดสรรได้ในสดั ส่วนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ๑ ราย สามารถส่งผลิตภัณฑ์
คัดสรรได้ ๓ ผลิตภัณฑ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการจัดระดับดาว ๑๙,๕๖๐ ผลิตภัณฑ์ จากผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
OTOP ๑๑,๘๒๔ กลุ่ม/ราย (เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เดิม ผปู้ ระกอบการ ๑ คน คดั สรรได้ 1 ผลติ ภัณฑ์)

- ระดับ ๑ ดาว ๘๖๑ ผลติ ภัณฑ์
- ระดับ ๒ ดาว ๑,๖๘๘ ผลติ ภัณฑ์
- ระดับ ๓ ดาว ๕,๒๕๒ ผลิตภัณฑ์
- ระดบั ๔ ดาว ๘,๐๑๗ ผลิตภัณฑ์
- ระดบั ๕ ดาว ๓,๗๔๒ ผลติ ภัณฑ์

3.3 การเสริมสรา้ งความเข้มแข็งเครือขา่ ยองคค์ วามรู้ (Knowledge - Based OTOP : KBO)
1) ความเปน็ มา
การขับเคลื่อน OTOP รัฐบาลได้ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชน ให้มีส่วนสนับสนุนการสร้างความ

เข้มแข็งแก่ภาคประชาชน และการส่งเสริมบทบาทของสถาบันการศึกษาในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพ่ือผนึกกำลังของทุกภาคส่วนในชุมชนขับเคล่ือน OTOP สู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
ในรูปแบบของเครือข่ายองค์ความรู้ หรือ Knowledge – Based OTOP : KBO โดยในปี ๒๕๔๙ ดำเนินการในพื้นที่
นำร่อง ๔ ภาค ๆ ละ ๑ จงั หวัด คือ เชียงใหม่ อุดรธานี ราชบุรี และสงขลา โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้สนับสนุน
ให้มีเครือข่าย Knowledge - Based OTOP: KBO จำนวน ๗๕ เครือข่าย จัดทำทะเบียนเครือข่ายองค์ความรู้ KBO
สนับสนุนให้กลุ่มผู้ผลิตชุมชนมีการเรียนรู้จากเครือข่าย KBO จังหวัด พร้อมท้ังหาความต้องการกลุ่มผู้ผลิต/
ผปู้ ระกอบการ OTOP (Training Needs: TN)

๖๐

2) วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายองค์ความรู้ KBO เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือและการ

สนบั สนนุ ใหแ้ ก่กลุ่มผู้ผลติ ชมุ ชนเพือ่ พัฒนาศกั ยภาพในการประกอบการ และมีผลติ ภณั ฑ์ทไ่ี ด้รบั การพฒั นา
3) หลักสำคัญ คือ การเชื่อมโยงแหล่งความรู้ในท้องถิ่นและชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP

ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานด้านเทคนิคการผลิตท่ีเก่ียวข้อง มีการเสริมสร้าง
ความรู้ ทักษะและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีความโดดเด่น มีคุณภาพมาตรฐานพร้อมท่ีจะจำหน่าย
ท้ังในตลาดภายในและตลาดต่างประเทศได้ ที่สำคัญผลิตภัณฑ์นั้นยังคงรักษาไว้ซ่ึงเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์
ของชุมชนอย่างเด่นชดั

 ความหมายเครือข่ายองค์ความรูม้ งุ่ สกู่ ารเป็น Knowledge - based OTOP: KBO
“การเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นกับชุมชนโดยการจัดตั้งเครือข่ายเป็นศูนย์พี่เลี้ยง/

ฝกึ วิชาชพี OTOP ออกแบบหลกั สูตรใหส้ อดคลอ้ งกับภูมิปัญญา ในแตล่ ะทอ้ งถน่ิ ”
 เปา้ หมาย (Ultimate)
“ชุมชนพ่ึงตนเองไดอ้ ย่างย่ังยนื (Sustainability)”

5) รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP โดยเครือข่ายองค์ความรู้ KBO
จังหวดั ประกอบด้วย

(๑) การพฒั นาคุณภาพผลติ ภณั ฑ์
(๒) การพัฒนาบรรจภุ ณั ฑ์ใหเ้ หมาะสมกบั ผลติ ภัณฑ์
(๓) การพฒั นารูปแบบของผลิตภณั ฑ์ให้เหมาะสมกบั กลมุ่ เปา้ หมาย
(๔) การสร้างมลู คา่ เพิ่มให้กบั ผลิตภณั ฑ์
(๕) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการนำภูมิปัญญาท้องถ่ินมาประยุกต์ร่วมกับเทคโนโลยี
สมัยใหม่ มาใชใ้ นกระบวนการผลติ
(๖) การพัฒนาลกั ษณะของผลติ ภัณฑ์ เชน่ สี กล่ิน รสชาติ เน้ือสมั ผสั เปน็ ตน้

3.4 การพัฒนาผลติ ภณั ฑ์ OTOP ตามการจัดกลมุ่ Quadrant (A B C D)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP แลผู้ประกอบการ OTOP ให้สามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึง

มีความสามารถประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเน่ืองท่ามกลางการแ ข่งขันที่ทวี
ความรุ่นแรงมากขึ้น จึงเป็นภารกิจสำคัญที่ครอบคลุมงานหลากหลายด้าน และความเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
จำนวนมาก ท้ังน้ี นโยบายการดำเนินงานส่งเสรมิ โครงการ OTOP จำเป็นต้องขับเคลื่อนโดยการดำเนินงานของ
หน่วยงานต่าง ๆ อย่างเป็นกระบวนการและบูรณาการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน การส่งเสริมและพัฒนา
คำนึงถึงประเภทผลิตภัณฑ์ที่มคี วามหลากหลายและศักยภาพความสามารถการแข่งขันท่ีแตกต่างกันเป็นสำคัญ
โดยมกี ารกำหนดแนวทางกลยทุ ธ์การพัฒนาทีม่ คี วามชดั เจนเฉพาะกลุ่ม (Segmentation)

1) แนวทางการพัฒนา OTOP จะใหค้ วามสำคญั ใน ๓ ด้าน ดงั นี้
๑.1) ขับเคลื่อนการพัฒนาโดยเปล่ียนกระบวนทัศน์ในการพัฒนาจาก “ผลิตภัณฑ์” เป็นศูนย์กลาง

สู่การมุ่งเน้นที่ “เครือข่าย (Community Cluster)” เป็นศูนย์กลางเพ่ือเพ่ิมขีดคามสามารถในการแข่งขัน
ในระยะยาว

1.2) ขยายตลาด เชอ่ื มโยงการทอ่ งเท่ยี ว รวมทง้ั การขยายโอกาสสูต่ ลาดอาเซยี นและสากล
1.3) เสริมสร้างคุณค่าตราสินค้า OTOP (Branding Thailand) โดยการเสริมสร้างภาพลักษณ์
สินคา้ OTOP ที่สะท้อนถึงความมนี วตั กรรมการ ความทันสมยั และทรงคณุ คา่ ทางวฒั นธรรม

๖๑

2) การจัดกลุ่ม OTOP Segmentation
กลยุทธ์การส่งเสริมและแนวทางการพัฒนาเฉพาะกลุ่ม (Segmentation) โดยกำหนดแนวทาง

การพัฒนาท่มี ีความชัดเจนเฉพาะกลุ่ม (Segmentation) จำแนกได้ ๔ กลุ่ม ประกอบดว้ ย
กลมุ่ A ดาวเดน่ สู่สากล : สนิ คา้ มีคุณภาพ ราคาสงู และผลติ ได้ปรมิ าณมาก
กลมุ่ B อนรุ ักษ์สร้างคุณค่าในกลุ่มลูกค้าเฉพาะ : สินค้ามีคณุ ภาพ ราคาสูง และผลติ ในปรมิ าณนอ้ ย

เพอื่ ตอบสนองลกู ค้าเฉพาะราย
กลุ่ม C พัฒนาเข้าสู่ตลาดการแขง่ ขัน : สินค้ามีคุณภาพ ราคาตำ่ และผลิตไดป้ ริมาณมาก
กลุ่ม D ปรบั ตวั เข้าสู่การพฒั นา : สนิ ค้ามคี ณุ ภาพ ราคาต่ำ และผลิตได้ปรมิ าณน้อย

3) ข้อมูลผลติ ภัณฑ์ตามการจัดกลุ่ม Quadrant (ข้อมลู ณ วนั ที่ 20 ตุลาคม 2563)
- Quadrant A จำนวน 9,214 ผลติ ภัณฑ์
- Quadrant B จำนวน 9,864 ผลิตภณั ฑ์
- Quadrant C จำนวน 25,541 ผลิตภัณฑ์
- Quadrant D จำนวน 154,369 ผลติ ภัณฑ์

3. แนวทางการบูรณาการเพ่อื การขบั เคล่ือนงาน
3.1 เพ่ิมศกั ยภาพผผู้ ลติ ผ้ปู ระกอบการ OTOP
๑) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นสนับสนุนและส่งเสริมผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP โดยเฉพาะ

กลุ่มที่มีผลิตภัณฑ์ปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ
การพฒั นาผลติ ภณั ฑใ์ ห้มีคุณภาพ และมาตรฐาน

๒) ส่งเสริมกลุ่มอาชีพในชุมชน และสนับสนุนให้ลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
และเข้าสู่กระบวนการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย เพื่อยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
และสรา้ งช่องทางการตลาดให้กบั กลมุ่ ผู้ผลติ ผู้ประกอบการ

3.2 พัฒนาคณุ ภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
๑) การเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ต้องส่งเสริมสนับสนุนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP พัฒนาคุณภาพ

ของผลติ ภัณฑ์เพอื่ เข้าสมู่ าตรฐานผลติ ภณั ฑ์
๒) ร่วมมือกับกรมส่งเสรมิ สหกรณ์ จบั มือกันผลติ สินคา้

4. ประเดน็ ขอความรว่ มมอื
ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภาครัฐ ร่วมสนับสนุน/ส่งเสริม OTOP โดยใช้กลไก

คณะอนุกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ รวมถึงบูรณาการภาคีการพัฒนา
ภาคสว่ นต่าง ๆ รว่ มสนบั สนุนการดำเนินงาน

๖๒

โอทอป เทรดเดอร์ (OTOP TRADER)

1. ความเป็นมา
กระทรวงไทยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน พัฒนาสนิ ค้า OTOP ระดับ ๑ - ๓ ดาว ให้มีคณุ ภาพ

และมีตลาดจำหน่าย กรมการพฒั นาชุมชนจึงไดก้ ำหนดมาตรการส่งเสรมิ ยกระดบั ของมาตรฐานสนิ คา้ และการ
เพิ่มยอดจำหน่ายสินค้า OTOP โดยให้มีการคัดเลือกผู้ท่ีมีความสามารถด้านการตลาด เรียกชื่อว่า
“โอทอป เทรดเดอร์” เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการพัฒนาและจำหน่ายสินค้า OTOP ที่มีคุณภาพ
และมาตรฐาน ทั้งในระดับจงั หวดั และระดบั ประเทศ

2. วตั ถปุ ระสงค์
2.1 เป็นตัวกลางในการจำหน่ายสินค้า OTOP ท่ีมีคุณภาพ มาตรฐานและศักยภาพทางการตลาด

แตข่ าดโอกาสและช่องทางในการจำหน่าย
๒.2 ดำเนินการกระจายสินค้า OTOP จากผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ไปยังผู้ซ้ือทั้งที่อยู่ภายใน

จังหวัด ระหว่างจงั หวดั รวมถึงตา่ งประเทศ
2.3 พฒั นาคณุ ภาพและมาตรฐานสินค้า OTOP ใหต้ รงกบั ความตอ้ งการของลกู คา
2.4 จัดหาแหลง่ จำหน่ายสนิ ค้า OTOP ในทกุ รปู แบบ

3. การดำเนินงานของ Trader OTOP
กรมการพัฒนาชุมชน ประกาศระเบียบกรมการพัฒนาชุมชน ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานโอทอป

เทรดเดอร์ พ.ศ. ๒๕๖๑ เมื่อวนั ท่ี ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ โดยโอทอปเทรดเดอร์แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คอื
(๑) โอทอปเทรดเดอรร์ ะดับจังหวัด โดยผู้วา่ ราชการจังหวัดเป็นผมู้ ีอำนาจประกาศการเป็นโอทอปเทรดเดอร์

ระดับจงั หวดั
คุณสมบตั ิและลักษณะต้องห้ามของเทรดเดอรร์ ะดบั จงั หวัด
๑) เป็นนิติบุคคลท่ีมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่ตนประสงค์จะเป็นเทรดเดอร์ของจังหวัดน้ัน ไม่น้อยกว่า

สองปนี บั ถงึ วนั ทีไ่ ดร้ ับการคดั เลอื กเปน็ เทรดเดอรร์ ะดับจงั หวดั
๒) ดำเนินกิจกรรมภายในจังหวัดนั้น และต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุน

การดำเนินงานมาแสดง
๓) มีประสบการณใ์ นการจำหน่ายหรอื เปน็ ตัวกลางในการจำหน่ายสินค้า
๔) ไมเ่ คยเปน็ บุคคลล้มละลาย
การดำเนนิ กจิ กรรมของ OTOP Trader ระดบั จังหวัด
๑) แสวงหา รวบรวม และคัดเลือกสินค้า OTOP ที่มีคุณภาพ มาตรฐานแต่ขาดโอกาสและช่องทาง

ในการจำหน่าย
๒) พัฒนาสินค้า OTOP ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและพร้อมจำหน่าย อาทิ การจัดทำระบบคลังสินค้า

รหัสสินคา้ การพฒั นาบรรจภุ ณั ฑ์ เป็นตน้
๓) ส่ังซอื้ สินค้าในรูปแบบเงินสด หรือประสานให้ผู้ผลิต ผปู้ ระกอบการ OTOP นำสินคา้ มาฝากขาย

กบั ตนเอง
๔) นำสินค้า OTOP วางจำหน่ายในทุกช่องทาง อาทิ การจำหน่ายในร้านของโอทอปเทรดเดอร์

ระดับจังหวัด สง่ ไปจำหน่ายในหน้าร้านของโอทอปเทรดเดอรร์ ะดับจังหวัดอ่ืน ๆ การจำหนา่ ยในงานแสดงและ
จำหนา่ ยสินค้า การจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า การจำหน่ายออนไลน์ การจำหน่ายในรา้ นคา้ ของโอทอปเทรดเดอร์
ระดับประเทศ เป็นต้น

๖๓

๕) ให้คำแนะนำผ้ผู ลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการผลิตและพัฒนาสินค้าให้ตรงกบั ความต้องการ
ของตลาด

๖) ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมพัฒนา และเพิ่มช่องทางการ
จำหน่ายใหก้ ับสินคา้ OTOP โดยได้รบั ความเหน็ ชอบจากสำนกั งานพัฒนาชมุ ชนจังหวดั

(๒) โอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศ โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการ
โอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศ วาระดำรงตำแหน่ง ๔ ปี

โอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศมาจากโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัดคัดเลือกกันเองเป็นประธาน
1 คน และกรรมการอืน่ จำนวนไม่เกิน ๒๐ คน

การดำเนินกจิ กรรมของ OTOP Trader ระดบั ประเทศ
๑. แสวงหา รวบรวม และคัดเลือกสินค้า OTOP จากโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด เพ่ือเป็นตัวกลาง
ในการจำหนา่ ย
๒. พัฒนาสินค้าโอทอป ให้มีมูลค่าเพ่ิมขึ้นและพร้อมจำหน่าย อาทิ การจัดทำระบบคลังสินค้า
รหัสสินคา้ การพฒั นาบรรจุภณั ฑ์ เป็นตน้
๓. สั่งซื้อสนิ ค้าจากโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัดในรูปแบบเงินสด หรอื ประสานใหโ้ อทอปเทรดเดอร์
ระดบั จงั หวดั นำสินค้ามาฝากขายกับตนเอง
๔. นำสินค้า OTOP วางจำหน่ายในทุกช่องทาง อาทิ การจำหน่ายในร้านของโอทอปเทรดเดอร์
ระดับประเทศ ส่งไปจำหน่ายในหน้าร้านของโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด การจำหน่ายในงานแสดงและ
จำหน่ายสินค้า การจำหนา่ ยในหา้ งสรรพสนิ ค้า การจำหนา่ ยออนไลน์ เปน็ ต้น
๕. จัดทำรา้ นโอทอปเทรดเดอรร์ ะดับประเทศ และขยายสาขาไปยังจงั หวดั ตา่ ง ๆ
๖. ให้คำแนะนำโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด ในการผลิตและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความ
ต้องการของตลาด
๗. ดำเนนิ กจิ กรรมอ่ืน ๆ ทีเ่ ป็นไปเพ่ือประโยชนใ์ นการส่งเสริมพัฒนา และเพ่ิมช่องทางการจำหน่าย
ให้กบั สินคา้ OTOP โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานพฒั นาชุมชนจงั หวดั

4. ผลการดำเนินงาน
กรมการพัฒนาชุมชน ได้การสร้างตัวเช่ือมท่ีเรียกว่า “โอทอป เทรดเดอร์ (OTOP TRADER)”

ซ่ึงจะทำหน้าที่เป็นคนกลาง รวบรวมสินค้า มองตลาด บริหารจัดการ แล้วขายสินค้าให้กับผู้ผลิตสินค้าโอทอป
อย่างเป็นระบบ ซ่ึงจะช่วยให้ผู้ผลิตท่ีไม่ถนัดเร่ืองการตลาด สามารถเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากข้ึน
และยงั สามารถพฒั นาคณุ ภาพสนิ ค้าได้ดีข้ึน โดยจะเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ มกี ารจดทะเบยี นเป็นนติ ิบคุ คล
มีหน้าที่เป็นตัวเช่ือมระบบการขายทั่วประเทศนำสินค้าจากประชาชนเข้าไปขายในโมเดิร์นเทรด หรือ
ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ โดยจะถูกคัดเลือกมาจากผู้ผลิตสินค้าโอทอป หรือผู้ประกอบการศูนย์ขายสินคา้ โอทอป
หรือของฝากท่ีมีประสบการณ์สูง มีความกระตือรือร้น มองตลาดเก่ง วิเคราะห์เชิงธุรกิจเป็น มีความรู้ด้านการ
บริหารจัดการ โดยดำเนินการในรูปแบบ บริษัท โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ แต่ละจังหวัดจะใช้โลโก้และ
ชอ่ื เดยี วกนั หมด เปลีย่ นเฉพาะชื่อด้านหนา้ เท่าน้นั

เทรดเดอรท์ เ่ี ข้มแข็งนำรอ่ ง มีทั้งหมด 10 แห่ง ได้แก่ สระบุรี กาญจนบุรี พัทลุง สุราษฎร์ธานี ร้อยเอ็ด
ชุมพร ตาก เชียงใหม่ พระนครศรอี ยุธยา และกาฬสินธ์ุ โดยแต่ละแห่งจะมีการรวบรวมผลิตภัณฑ์ โอทอปของ
จังหวัดตนเองทั้งหมด ช่วยปรับปรุงคุณภาพสินค้าและแพ็กเกจให้ได้มาตรฐาน และทำการแลกเปล่ียนสินคา้ กับ
เทรดเดอร์ในจังหวัดต่าง ๆ ท่ีทยอยจัดตั้งข้ึนมาทั่วประเทศ ทำให้ผู้ผลิตมีช่องทางการจำหน่ายอย่างน้อย
77 สาขาในแต่ละจังหวัด และเกดิ เป็นร้านของตัวเองกระจายไปในชุมชน หมบู่ ้าน อำเภอ และรา้ นโชหว่ ย

๖๔

ยอดในการทำธุรกิจของ OTOP Trader
ปี 2560 จำนวน 81,893,157 บาท
ปี 2561 จำนวน 152,258,635 บาท
ปี 2562 จำนวน 49,204,790 บาท
ปี 2563 จำนวน 119,219,171 บาท

รวมทัง้ สน้ิ 402,575,753 บาท

5. แนวทางการบูรณาการเพอื่ การขับเคลือ่ นงาน
5.1 ประชาสมั พันธ์แนวคดิ และแนวทางในการดำเนินงานโอทอปเทรดเดอร์แก่สาธารณชน หน่วยงาน

และภาคที ีเ่ ก่ยี วข้อง
5.2 พัฒนาศกั ยภาพของโอทอปเทรดเดอร์ให้สามารถดำเนินกิจกรรมพฒั นาผลิตภณั ฑ์
5.3 สนบั สนุนให้มกี ารจัดประชมุ ระหว่างผู้ผลิต ผปู้ ระกอบการ OTOP เครอื ข่ายผูผ้ ลิต ผู้ประกอบการ

OTOP และโอทอปเทรดเดอร์ระดับจงั หวัด เพ่ือใหม้ ีการทำงานในลกั ษณะเชอ่ื มโยงและหนนุ เสริมซึ่งกนั และกนั
5.4 สนับสนุนข้อมลู เพ่ือประโยชน์ในการพฒั นาและจำหน่ายสนิ คา้ OTOP
5.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดหาช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งในรูปแบบของการจัดหา

ท่ีจำหน่ายถาวรทเี่ ป็นร้านค้า และการจัดงานจำหนา่ ยสินค้าเป็นครัง้ คราว

6. ประเด็นขอความร่วมมือ
ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภาครัฐ/เอกชนในจังหวัด ร่วมกับ OTOP Trader จังหวัด

พฒั นาศกั ยภาพผู้ผลติ ผูป้ ระกอบการ OTOP และ OTOP Trader เชื่อมต่อการตลาด

๖๕

โครงการตลาดประชารัฐ

1. ตลาดประชารฐั
1.1 ความเป็นมา
โครงการตลาดประชารัฐเป็นการบูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในรูปแบบประชารัฐ พัฒนา

ตลาดใหม่และขยายพ้ืนที่ตลาดท่ีมีอยู่เดิม ให้ผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มประเภทสินค้าในแต่ละระดับ
ท้ังเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการ หาบเร่ แผงลอยรวมทั้งผู้ประกอบการท่ีเดือดร้อนจากการไม่มี
สถานท่ีค้าขาย โดยภาครัฐและภาคเอกชนจะร่วมบูรณาการจัดสรรพื้นท่ีในการจำหน่ายสินค้าขายให้ประชาชน
สามารถดำรงชีวิตอยู่ไดโ้ ดยการดำเนินโครงการตลาดประชารัฐท้ัง 10 ประเภท รวม 6,610 แห่ง โดยมีกลไก
การขับเคลื่อนการดำเนินการทั้งในส่วนกลางโดยคณะกรรมการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน
การดำเนินงานโครงการตลาดประชารั ฐและส่วนภูมิภาคโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ
ตลาดประชารฐั ประจำจังหวดั

รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการตลาดนัดชุมชน
ไทยชว่ ยไทย คนไทยยิ้มได้ มาต้งั แต่ปี 255๗ แต่เมื่อคณะรัฐมนตรมี ีมติเม่ือวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เห็นชอบ
ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการตลาดประชารัฐ โดยการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทย
หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในรูปแบบประชารัฐ มแี นวคดิ การดำเนนิ งาน “พัฒนาตลาดใหม่ ขยายพน้ื ที่
ตลาดเดิม” วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการท่ีได้รับความเดือดร้อนจากการ
ไม่มีสถานท่ีค้าขาย ตลอดจนผู้ประกอบการรายใหม่ ทำให้ตลาดในภารกิจหลักของกรมการพัฒนาชุมชน
เปลยี่ นชื่อจาก “ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิม้ ได้” เป็น “ตลาดประชารฐั คนไทยย้ิมได้” ดำเนินการ
ครอบคลุม 76 จังหวัด ท่ัวประเทศ จำนวน ๒,๑๕๕ แห่ง ทั้งน้ี กระทรวงมหาดไทยยังมอบหมายให้กรมการ
พัฒนาชุมชนรับผิดชอบตลาดประชารัฐ 3 ประเภท ได้แก่ ตลาดประชารัฐคนไทยย้ิมได้ ตลาดประชารัฐของดี
จังหวัด และตลาดประชารัฐ Modern Trade

1.2 วัตถุประสงค์
๑) เพ่ือเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้แก่ ผู้ประกอบการอาชีพการเกษตรผู้ผลิตสินค้า

ชุมชน กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ใหม้ ีความรว่ มมือชว่ ยเหลือระหวา่ งชุมชนกับชุมชน ชุมชนกับโรงงาน
และชุมชนกบั ชุมชนในแหลง่ ท่องเท่ยี ว

๒) เพ่ือสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ในการจำหน่ายสินค้าให้กับสัมมาชีพชุมชน เกษตรกร และ
ผู้ผลติ ผ้ปู ระกอบการ OTOP

๓) เพื่อให้สัมมาชีพชุมชน เกษตรกร และผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้พัฒนาสินค้าให้ตรงกับ
ความต้องการของตลาด

1.3 การดำเนินงาน
กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนรบั ผิดชอบการดำเนินงานตลาดประชารัฐ จำนวน

๓ ตลาด ได้แก่ ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด และตลาดประชารัฐ Modern
Trade ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันท่ี ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ เพ่ือช่วยเหลือเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย
ผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขาย ตลอดจนผู้ประกอบการรายใหม่ท่ีประสงค์จะมา
จำหน่าย ในตลาดประชารัฐ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดสรรงบประมาณ
สนับสนุนการดำเนนิ งาน และกำหนดกลยทุ ธ์การขับเคลือ่ น จำนวน ๓ ด้าน ประกอบด้วย ดา้ นการพัฒนาตลาด
ดา้ นการพัฒนาผู้ประกอบการและเจา้ หน้าที่ และดา้ นการส่งเสริมการตลาด

๖๖

ท้ังนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำ
รวมถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดรอ้ นของประชาชนให้ได้รับโอกาสทางอาชีพ โดยเฉพาะอย่างย่ิงพ่ีน้องประชาชน
ทีไ่ ม่มีพ้ืนที่ค้าขาย จึงได้เกิดโครงการ “ตลาดประชารัฐ” ข้ึน เพ่ือสง่ เสริมให้มีพื้นที่ตลาดใหม่ ขยายพื้นที่ตลาดเดิม
ส่งเสริมผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มประเภทสินค้า เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาและแข่งขันในพื้นท่ี
กรงุ เทพฯ ปรมิ ณฑล และภมู ิภาคอย่างครอบคลมุ

จุดเด่นท่ีสำคัญของตลาดประชารัฐ คือ เป็นการบูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนท่ีเก่ียวข้อง
ในรปู แบบประชารัฐ เพ่ือให้เกิดพลังในการขบั เคลื่อนอยา่ งมีทศิ ทางเกิดประโยชน์สงู สุดกบั ประชาชน สรา้ งพ้ืนที่
ให้ผู้ซ้ือและผู้ขายมาพบกันอย่างเป็นธรรมชาติ ยกระดับสินค้าทุกประเภทให้มีคุณภาพมาตรฐานท่ีปลอดภัย
ช่วยลดต้นทุนการผลิตอย่างเหมาะสม โดยตลาดประชารัฐ ท้ัง 9 ประเภท ซ่ึงเป็นตลาดแห่งความสุขของคนไทย
ในรูปแบบต่าง ๆ คือ 1. ตลาดประชารัฐ Green Market 2. ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ 3. ตลาดประชารัฐ
ท้องถิ่นสุขใจ 4. ตลาดประชารัฐ กทม. คืนควมสุข 5. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด 6. ตลา ดประชารัฐ
Modern Trade 7. ตลาดประชารฐั ของดวี ิถชี ุมชน ธ.ก.ส. 8. ตลาดประชารัฐต้องชม 9. ตลาดประชารัฐตลาด
วัฒนธรรม ถนนสายวฒั นธรรม

1.4 ผลการดำเนินงาน สรุปไดด้ ังน้ี
1. ดำเนินการจัดจำหน่ายตลาดประชารัฐ จำนวน 3,103 แห่ง โดยมีรูปแบบการจัดตลาดทั้งรายวัน

รายสัปดาห์ รายเดอื น มีผู้ประกอบการเข้าร่วมจำหน่าย จำนวน 127,886 ราย จำนวน 80,125 ครั้ง มรี ายได้
จากการจำหน่ายปี ๒๕๖3 จำนวน 3,005,769,125 บาท

2. รายได้จากการจำหน่ายสะสม ตามโครงการตลาดประชารัฐ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖3
รวมจำนวน 6,682,841,569 บาท

1.5 ประโยชนท์ ี่ประชาชนไดร้ ับจากการดำเนนิ โครงการ
๑) เพิม่ ช่องทางการจำหนา่ ยสนิ คา้ หนึง่ ตำบล หนง่ึ ผลิตภณั ฑ์ (OTOP)
๒) กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าหน่ึงตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

เพิม่ ข้นึ
๓) เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย พ่อค้าแมค่ า้ หาบเรแ่ ผงลอย มีสถานทค่ี า้ ขาย ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ
๔) เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายไดใ้ ห้กับประชาชนทกุ ประเภท ทกุ สนิ ค้า
๕) กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากทั้งประเทศ ให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย เพ่ิมการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ

ในชุมชน

2. OTOP เคลอ่ื นที่ (OTOP Mobile)
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 1 - 3 ดาว กลุ่มปรับตัว

สกู่ ารพัฒนา (กลุ่ม D) ตลอดจนผลิตภัณฑ์ OTOP ในชุมชนท่องเท่ียว OTOP นวัตวิถี ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์เหล่าน้ี
ยังคงมีโอกาสน้อยท่ีจะได้รับการคัดเลือกไปจำหน่ายในตลาดระดับจังหวัด หรือระดับประเทศ ยังคงจำหน่าย
อยู่แต่ในชุมชน หรือตามความต้องการของ Trader บางแห่ง ประกอบกับสถานการณ์แพร่ระบาดแพร่ระบาดของ
โรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 (COVID – 19) ส่งผลให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ไดน้ ้อย ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
OTOP มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ เศรษฐกิจฐานรากชะลอตัวลง ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาปัญหา
ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ OTOP เคลื่อนที่ (OTOP Mobile) เพ่ือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP
ระดับ 1 - 3 ดาว กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) ตลอดจนผลิตภัณฑ์ OTOP ในชุมชนท่องเท่ียว OTOP นวัตวิถี
ทย่ี ังรอการระบายสินค้าจากชุมชนสู่ภายนอก เกิดการรับรเู้ ปน็ ทีร่ ู้จักจากคนภายนอกชมุ ชน และสามารถจำหน่าย
ได้ตามแหล่งทอ่ งเที่ยวภายในจังหวัด หรอื ดำเนินการจำหนา่ ยควบคูไ่ ปกับตลาดประชารฐั คนไทยยมิ้ ได้

๖๗

2.1 วัตถปุ ระสงค์
1) เพ่อื เผยแพรป่ ระชาสมั พนั ธ์ สรา้ งการรับรสู้ ำหรบั คนภายนอกชมุ ชน
2) เพอื่ สรา้ งโอกาสในการจำหนา่ ยผลติ ภณั ฑผ์ ่านชองทางการตลาดภายนอกชุมชน
3) เพื่อเพิ่มทักษะ ประสบการณ์แก่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และ

การตลาด
2.2 กลุม่ เปา้ หมาย
1) ผ้ผู ลิต ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มปรับตัวส่กู ารพัฒนา (Quadrant D) และเครือข่าย OTOP ระดับ

จังหวัด
2) ผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 1 - 3 ดาว

และผลิตภณั ฑ์ OTOP ในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
2.3 ขัน้ ตอนและวิธกี ารดำเนินงาน
โดยมีสำนักงานพฒั นาชุมชนจงั หวัด/อำเภอ เป็นหน่วยดำเนินการ ดังน้ี
1) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจัดประชุมกลไกการขับเคล่ือนการจัดแสดง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์

OTOP กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คณะกรรมการเครือข่าย OTOP คณะทำงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้
เจ้าหน้าท่ีพัฒนาชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจเก่ียวกับการดำเนินงานโครงการ OTOP เคล่ือนที่
(OTOP Mobile)

2) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ร่วมกับคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ในแต่ละระดับ
รวบรวมและตรวจสอบฐานข้อมูลผลิตภณั ฑ์ OTOP กล่มุ ปรับตวั ส่กู ารพัฒนา (Quadrant D) ผลิตภณั ฑ์ OTOP
ระดับ 1 - 3 ดาว และผลิตภัณฑ์ OTOP ในชุมชนท่องเทยี่ ว OTOP นวัตวิถี (จำหนา่ ยไดน้ ้อย/จำหนา่ ยไม่ได)้

3) สำนักงานพัฒนาชมุ ชนจังหวดั /อำเภอ รว่ มกบั คณะกรรมการเครือข่าย OTOP ในแต่ละระดับจัดทำ
แผนการนำผลิตภัณฑ์ OTOP ออกไปจัดแสดง และจำหน่ายในชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเท่ียว หรือดำเนินการ
ควบคู่ไปกับตลาดประชารฐั คนไทยยมิ้ ได้ โดยกำหนดอย่างน้อยเดือนละ 4 ครง้ั และดำเนินการตามแผน

4) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดร่วมกับคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับจังหวัด ติดตาม
สนับสนุนการขับเคลอ่ื นการจดั แสดง และจำหนา่ ยผลติ ภณั ฑ์ OTOP และประเมินผลการดำเนนิ งาน

5) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดรายงานผลการดำเนินงานให้กรมการพัฒนาชุมชนทราบเป็นประจำ
ทกุ วันที่ 30 ของเดอื น

3. ผลการดำเนินงาน
กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการจดั สรรงบประมาณลงพื้นที่ 76 จังหวัด เมื่อวนั ท่ี 3 กันยายน 2563

เพื่อดำเนินโครงการ OTOP เคล่ือนท่ี (OTOP Mobile) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) และเครือข่าย OTOP ระดับจังหวัดและผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การ
พัฒนา (Quadrant D) ผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 1 – 3 ดาว และผลิตภัณฑ์ OTOP ในชุมชนท่องเท่ียว OTOP
นวตั วถิ ี โดยดำเนินการในไตรมาส 4 (กนั ยายน 2563)

ผลการดำเนินงานจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ได้มีการจัดประชุมกลไกการขับเคล่ือนการจัดแสดงและ
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ทบทวนผลการดำเนินงานท่ีผ่านมาของการดำเนินโครงการ OTOP Mobile และ
ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ ของจังหวัด และให้พัฒนากรที่รับผิดชอบงาน OTOP และตลาดประชารัฐคนไทย
ย้ิมได้ และเครือข่าย OTOP ทุกอำเภอ นำเสนอตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ ตลาดนัดชุมชน เทศกาลงาน
ประจำปี และแหล่งท่องเท่ียวในพ้ืนท่ี และได้ร่วมกันจัดทำแผนการขับเคล่ือนกิจกรรม ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๓ - 2564 และส่งแผนการขับเคลื่อนกิจกรรม โดยมีการจัดแสดง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP

๖๘

กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 1 – 3 ดาว และผลิตภัณฑ์ OTOP ในชุมชน
ท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เดือนละไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง และผลดำเนินการตามแผนท่ีกำหนด ได้ไปร่วมจำหน่ายฯ
ในสถานที่ต่าง ๆ และมีการบรหิ ารจดั การในการนำวัสดุอปุ กรณ์ที่ได้รบั การสนบั สนนุ งบประมาณไปใชป้ ระโยชน์

4. แนวทางการบูรณาการเพอื่ การขบั เคล่อื นงาน
4.1 การเพิ่มช่องทางการตลาด ต้องหาช่องทางการตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชนควบคู่ไปกับการ

พัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP เพ่ือให้สินค้าที่ผลิตสามารถจำหน่ายได้มากขึ้น และเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชน
และประสานองคก์ ารตลาดในการชว่ ยจดั หาชอ่ งทางการตลาดเพ่ิม

4.2 ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP แสวงหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ จำหน่ายสินค้า
ในสมยั ปัจจบุ ัน สินค้าจะต้องไปหาลูกคา้ เช่น การจำหน่ายออนไลน์ และการจำหน่ายสินคา้ จะตอ้ งมีการบริหาร
จัดการท่มี ีประสทิ ธภิ าพ มกี ารใหบ้ ริการอยา่ งทนั ทว่ งที

4.3 บูรณาการการทำงานร่วมกัน เพ่ือเช่ือมโยงสินค้าร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กรมสง่ เสรมิ การเกษตร กระทรวงศึกษาธกิ าร และองค์การตลาด

4.4 สนบั สนุนให้ OTOP Trader มีบทบาทในการพัฒนาสินค้าให้สามารถเพ่ิมมูลคา่ เข้าสตู่ ลาดได้ และ
เปน็ ตวั กลางในการเชอ่ื มโยงสินค้า OTOP กับตลาดต่างประเทศ และในประเทศ และมีการขบั เคล่ือนดงั น้ี

1) จะต้องมกี ารกำหนดกฎ กติกา ท่ถี กู ต้องในการดำเนินงานรว่ มกนั
2) มีการกำหนดแนวคิดในการช่วยเหลือซึ่งกันและกนั
3) มกี ารบรหิ ารงานอย่างมธี รรมาภิบาล ไมม่ กี ารเอารัดเอาเปรียบ
4) มีแผนงานรายปี
4.5 ผลกั ดนั ให้ศนู ย์จำหน่ายสนิ คา้ OTOP มคี นมาใชบ้ รกิ ารและมีนกั ทอ่ งเที่ยว
4.6 ส่งเสริมสินค้า OTOP ในระดับ 1 - 3 ดาว ให้นำไปจัดจำหน่ายในร้านค้าชุมชน ตลาดประชารัฐ
และให้มกี ารพฒั นาควบคู่กนั ไป
4.7 ขอเชิญชวนทุกภาคส่วนราชการ และเอกชนเข้าร่วมงานจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP
ในทุกระดับ เพื่อสืบสานและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เรื่องราวของผลิตภัณฑ์
OTOP ที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ซ่ึงในได้รวบรวมผลิตภัณฑ์ 3 - 5 ดาว โอทอปชวนชิม OTOP
Brand name และชมุ ชนท่องเที่ยว และเชญิ ชวนองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ มาชมงาน เพ่ือนำไปปรับใช้ในการ
พฒั นาอาชพี ให้กับคนในชมุ ชน

5. ประเดน็ ขอความร่วมมือ
ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้า

OTOP ให้แก่ผู้ประกอบการอาชีพการเกษตร ผู้ผลิตสินค้าชุมชน กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และ
สร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ในการจำหน่ายสินค้าให้กับสัมมาชีพชุมชน เกษตรกร และ ผู้ผลิต
ผ้ปู ระกอบการ OTOP

๖๙

การพัฒนาเศรษฐกจิ ฐานรากและประชารฐั (Social Enterprise : SE)

1. ทม่ี า/มตคิ ณะรัฐมนตรี/ขอ้ สง่ั การรัฐมนตรวี า่ การกระทรวงมหาดไทย/สาเหตุของปญั หา
การขับเคล่ือนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลนโยบายหลัก

ข้อ 7 การพัฒนาสรา้ งความเขม้ แขง็ จากฐานราก ข้อที่ 7.3 ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน ในการช่วยพฒั นาสังคม
และเศรษฐกิจฐานราก เร่ิมดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยกระทรวงมหาดไทยได้รับมอบหมาย
ภารกิจการดำเนินงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซ่ึงคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
และประชารัฐ (E3) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ และนายฐาปน สิริวัฒนภักดี
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน มีเป้าหมาย
เดียวกัน คือ “สร้างรายไดใ้ ห้กับชุมชนเพื่อประชาชนมคี วามสุข” ดำเนินการ ๓ เร่ือง ประกอบด้วย การเกษตร
การแปรรูป (SMEs/OTOP) และการท่องเท่ียวโดยชุมชน ในรูปแบบประชารัฐ โดยขอความร่วมมือจาก 5 ภาคส่วน
ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน วิชาการ ประชาสังคม และประชาชน ซ่ึงมีบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจ
เพื่อสังคม) จำกัด เป็นเครื่องมือในการขับเคล่ือนงาน ภายใต้แนวคิด Social Enterprise (SE) มีเป้าหมายหลัก
เพ่ือสังคมไม่ใช่เพื่อกำไรสูงสุด รายได้หลักมาจากการขายสินค้าและบริการ ให้คำปรึกษาแก่ชุมชน ไม่ใช่เงินจากรัฐ
หรือเงินบริจาค กำไรต้องนำไปใช้ขยายผล ไม่ปันผล 100% มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
และมีการจดทะเบยี นเปน็ รูปแบบบริษัท

2. ข้ันตอนการดำเนนิ งาน
2.1 กำหนดแนวทางการขับเคล่ือนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ประจำปี 2564
2.2 ประชมุ เชิงปฏิบตั ิการพฒั นากลไกขบั เคล่อื นการพัฒนาเศรษฐกจิ ฐานรากระดับภาค เพื่อทบทวน

ผลการดำเนินงานและกำหนดแนวทางพฒั นาเศรษฐกจิ ฐานรากและประชารัฐ
2.3 สนับสนนุ งบประมาณเพอ่ื ขบั เคล่อื นกจิ กรรมการพฒั นาเศรษฐกจิ ฐานรากและประชารัฐเชงิ พื้นท่ี

ผ่านกิจกรรมประชุมกลไกขับเคล่ือนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดและกิจกรรมส่งเสริมการสร้าง
รายไดจ้ ากกจิ การอาหารปลอดภัย

2.4 การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานผ่านระบบรายงาน แบบ Online Real Time
การตดิ ตามลงพน้ื ที่ตรวจราชการ และชอ่ งทาง Page Facebook “ขับเคลือ่ นประชารฐั ”

2.5 สรปุ ผลการดำเนินงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารฐั และรายงานผลตอ่ ผ้บู รหิ าร

3. สรุปผลการดำเนนิ งานในปี 2563
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2563 มีการดำเนินงานโครงการภายใต้งบประมาณตามแผนงาน

บูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและแผนงานบูรณาการพัฒนาพ้ืนท่ีระดับภาค จำนวน 4 โครงการ
งบประมาณรวมท้งั ส้ิน 54,625,200 บาท โดยมรี ายละเอียด ดงั น้ี

3.1 โครงการส่งเสริมการพัฒนากลไกและโครงสร้างดูดซับมูลค่าทางเศรษฐกิจและการกระจาย
รายไดก้ ลบั ส่ทู ้องถนิ่

ผลลพั ธ์
1) กลไกประชารฐั จำนวน 76 จงั หวัดไดร้ บั การพฒั นาศักยภาพ สามารถขบั เคล่อื นงานได้
2) กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ จำนวน 836 กลุ่มเกิดรายได้
เพ่ิมข้นึ จากการสง่ เสรมิ ช่องทางการตลาดอาหารปลอดภัย 4 ร (โรงพยาบาล โรงเรยี น โรงแรม ร้านอาหาร)
3) ชุมชนเขม้ แขง็ มรี ายไดเ้ พม่ิ ขนึ้ ประชาชนมคี วามสุข

๗๐

3 .2 โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณ ฑ์ กลุ่มแปรรูปผ้าฝ้ายผ้าขาวม้าไทยสู่สากลภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลลัพธ์
1) กลมุ่ เป้าหมายท่ีดำเนินการแลว้ กอ่ ใหเ้ กดิ รายได้เพิ่ม 100 กลมุ่
2) เกิดการสร้างเครือข่ายผลิตภณั ฑผ์ ้าฝ้าย ผ้าขาวม้า จำนวน 20 เครอื ข่าย
3) สมาชกิ กลุม่ มีรายไดเ้ พ่ิมขึน้ ประชาชนมีความสขุ
3.3 โครงการส่งเสริมเกษตรปลอดภัย ส่งเสริมช่องทางการตลาดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
ตอนบนดว้ ยกลไกประชารัฐ
ผลลพั ธ์
1) เกิดเครือข่ายเกษตรปลอดภัยระดบั จงั หวดั ในพื้นท่ี 9 จังหวดั ภาคเหนือตอนล่าง ไดแ้ ก่ จังหวัด
พษิ ณโุ ลก ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทยั เพชรบรู ณ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พจิ ิตร และจังหวัดอทุ ยั ธานี
2) สมาชิกเครือข่ายเกษตรปลอดภัยจำนวน 92 กลุ่ม ได้รับการยกระดับสู่มาตรฐานเกษตร
ปลอดภยั และมชี ่องทางการตลาดอาหารปลอดภยั 4 ร (โรงพยาบาล โรงเรยี น โรงแรม ร้านอาหาร)
3) ประชาชนมีสุขภาพดี ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น มีความม่ันคง
ในอาชีพ เกิดการสร้างรายได้ใหช้ มุ ชน และลดการใช้สารเคมีส่งผลดตี ่อสภาพแวดลอ้ ม
3.4 โครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมช่องทางการตลาดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
ตอนบนดว้ ยกลไกประชารฐั
ผลลัพธ์
1. เกิดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัด จำนวน 8 เครือข่าย ในพื้นท่ี 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
เชยี งใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮอ่ งสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวดั นา่ น
2. สมาชิกเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดจำนวน 80 กลุ่มสมาชิก ได้รับการยกระดับสินค้า
สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมีช่องทางการตลาดอาหารปลอดภัย 4 ร (โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม
รา้ นอาหาร)
3. ประชาชนมีองค์ความรู้ในการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรให้เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น
เกิดการรับรู้ของผู้บริโภคในพื้นท่ีและส่งผลให้เกษตรมีชอ่ งทางการตลาดเพ่ิมขน้ึ มีความมน่ั คงในอาชพี เกิดการ
สร้างรายได้ใหช้ ุมชน

4. แผนการดำเนนิ งานในระยะตอ่ ไป
4.1 ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านกลไกประชารัฐอย่างต่อเน่ือง

เพอ่ื ให้บรรลเุ ปา้ หมายสำคญั คอื การสร้างรายไดใ้ ห้ชุมชน สร้างชมุ ชนเข้มแข็งและมีความสุขอย่างยั่งยนื
4.2 จัดทำระบบฐานข้อมูลการดำเนินงานให้ครอบคลุม สามารถเช่ือมโยงระบบงานได้ท้ังภาครัฐและ

ภาคเอกชน
4.3 การคน้ หาตน้ แบบการปฏบิ ตั ทิ ี่ดีในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารฐั
4.4 เสรมิ สรา้ งเครอื ข่ายการตลาดเชอ่ื มโยงเครอื ขา่ ยประชารฐั ในระดบั จงั หวดั และขา้ มจงั หวัด
4.5 ส่งเสรมิ กลมุ่ เป้าหมายโครงการเกษตรอนิ ทรีย์ภาคเหนอื ตอนบนและโครงการเกษตรปลอดภัยภาคเหนือ

ตอนล่างสตู่ ลาดอาหารปลอดภยั 4 ร (โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม และรา้ นอาหาร)
4.6 สนับสนุนการดำเนินงานของบริษัท ประชารัฐฯ ให้มั่นคงและเกิดธรรมาภิบาล โดยมีรายได้หลัก

จากการขายสินค้าและบรกิ าร รวมทง้ั เปน็ กลไกขับเคล่ือนการสร้างรายไดใ้ หช้ ุมชนอย่างมปี ระสิทธภิ าพ

๗๑

4.7 สร้างความเช่ือมโยงงานระดับพ้ืนที่ สู่ตลาดอาหารปลอดภัยโดยกลไกประชารัฐ ด้านเกษตร
พืชผัก ผลไม้ การเลี้ยงสัตว์ จากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง สัมมาชีพชุมชน ชุมชนท่องเท่ียว OTOP นวัตวิถี
และพืน้ ทตี่ น้ แบบการพฒั นาคณุ ภาพชวี ิตตามหลกั ทฤษฏใี หมป่ ระยุกตส์ ู่ “โคก หนอง นา”

4.8 จัดทำผลงานเด่นการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ และการขับเคล่ือน
กลุ่มเป้าหมายเน้นหนัก ในรูปแบบข่าวเพ่ือประชาสัมพันธ์ผลงานรอบเดือน โดยส่ือสารสร้างการรับรู้ผ่านช่องทาง
ส่ือต่าง ๆ ในจังหวดั และประชาสัมพันธผ์ ่านช่องทาง Page Facebook “ขบั เคลอื่ นประชารัฐ”

5. แนวทางการบูรณาการเพื่อการขบั เคลื่อนงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
5.1 การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารฐั ให้สอดคลอ้ งตามยุทธศาสตรก์ ารพัฒนา

เชิงพื้นที่ โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการ
ปฏบิ ัตงิ านให้บรรลเุ ป้าหมายอย่างมีประสทิ ธภิ าพ

5.2 ประสานภาคีเครือข่าย 5 ภาคส่วน และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
จำกัด ร่วมดำเนินการขับเคล่ือนกลุ่มเป้าหมายสะสม 3 กลุ่มงาน ได้แก่ ด้านเกษตร ด้านแปรรูป และด้านการ
ท่องเที่ยวโดยชุมชน ประจำปี 2560 - 2564 ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเน่ือง และสนับสนุนการขับเคลื่อน
กลุ่มเป้าหมายเน้นหนักการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ประจำปี 2564 โดยใช้เวทีการประชุม
คณะกรรมการประสานและขับเคล่ือนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) หรือคณะทำงาน
ท่ี คสป. จัดตัง้ ข้นึ

5.3 สร้างความเข้มแข็งและเพ่ิมขีดความสามารถให้กับบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจ
เพ่ือสังคม) จำกัด บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดยกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานสร้างรูปแบบธุรกิจ
(Business Model) จดั ทำแผนธรุ กจิ ท่เี ปน็ รปู ธรรม ทำงานคขู่ นานกบั ภาครัฐ

5.4 สนับสนุนการรวมกลุ่มท่ีมีผลิตภัณฑ์คล้ายกัน หรือเหมือนกัน เพ่ือง่ายต่อการช่วยเหลือ โดยมี
การประเมินความพร้อมและความต้องการพัฒนากลุ่มและวางแผน ตั้งเป้าหมายในการพัฒนากลุ่ม
เช่น ดา้ นส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาผลิตภัณฑท์ ่ีเป็นมิตรกับส่งิ แวดลอ้ ม เป็นตน้

5.5 สนับสนุนการขับเคล่ือนนโยบายสร้างความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรแบบอินทรีย์ หรือ
เกษตรที่มีความปลอดภัย และส่งเสริมให้ประชาชนมีแหล่งอาหารปลอดภัยในครัวเรือน ขยายสู่ระดับชุมชน
ตำบล อำเภอ เชื่อมโยงแหล่งอาหารปลอดภัยในชุมชนสู่ผู้บริโภค เช่น การขับเคลื่อนโครงการอาหารปลอดภัย
สู่ 4 ร (โรงพยาบาล โรงเรยี น โรงแรม ร้านอาหาร)

6. ประเด็นขอความรว่ มมือ
6.1 จดั ประชุมคณะกรรมการประสานและขบั เคล่ือนฯ อย่างตอ่ เนื่อง
6.2 ส่งเสรมิ สนับสนุนสรา้ งความเข้มแข็งให้กบั บรษิ ัท ประชารัฐรกั สามคั คจี งั หวดั (วสิ าหกจิ เพื่อสังคม) จำกดั
6.3 ส่งเสริมชอ่ งทางการตลาดอาหารปลอดภัย (โรงพยาบาล โรงเรยี น โรงแรม รา้ นอาหาร (4 ร))

๗๒

โครงการสืบสานอนรุ กั ษศ์ ิลป์ ผา้ ถ่นิ ไทย ดำรงไว้ในแผน่ ดิน

1. ความเปน็ มา
นับเปน็ ระยะเวลากวา่ ๖๐ ปี ทสี่ มเดจ็ พระนางเจ้าสิรกิ ิต์ิ พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของคนไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ได้ตามเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราชา บรมนาถบพิตร ในคราวเสดจ็ พระราชดำเนิน
ไปเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2498
ได้ทอดพระเนตรเห็นราษฎรนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่กันเปน็ ส่วนใหญ่ จึงได้มีพระราชดำริว่าควรจะมีการนำภูมิปัญญา
ของราษฎรที่ได้ทอผ้าไว้ใช้กันอยู่ มาพัฒนาเป็นอาชีพให้เกิดรายได้แก่ราษฎร ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้ทรงก่อตั้ง
มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เพื่อทำการฝึกอาชีพเสริมให้กับราษฎร อีกทั้งยังมีพระประสงค์เพื่อการอนุรักษ์
และสืบสานภูมิปัญญาของคนไทยให้คงอยู่สืบไป ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาขยายผลจัดทำ
เปน็ โครงการหนึ่งตำบล หนงึ่ ผลิตภณั ฑ์ หรือ One Tambon One Product (OTOP) ปัจจบุ นั มีผู้ประกอบการ
มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 90,289 ราย/กลุ่ม มีผลิตภัณฑ์ที่ลงทะเบียนทั้งหมด ๑98,988 ผลิตภัณฑ์ ในจำนวนน้ี
เป็นผลิตภัณฑ์ในประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน ๓8,304 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๑9.25
ของจำนวนผลิตภณั ฑ์ทมี่ ีท้ังหมด

ดังนั้น เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน ตลอดจนการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP ในประเภทผ้า
กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ริเริ่มดำเนินโครงการ “สืบสาน
อนรุ กั ษศ์ ิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าดว้ ยการประสานความร่วมมือ
เป็นปฐมบทของการดำเนินงานโครงการ และได้กระจายความร่วมมือไปสู่จังหวัดทุกจังหวัด และหน่วยงานอีก
3 แห่ง ไดแ้ ก่ กรุงเทพมหานคร การประปาสว่ นภูมิภาค และการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้มีแนวนโยบายสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไทย
เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
และผลักดันมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยเข้าสู่วาระการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อคราวการประชุมวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ เห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย
(กรมการพัฒนาชุมชน) เสนอเรื่อง มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้า และเพื่อให้การ
ขับเคลื่อนดำเนินงานทั้งระบบในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
ของจงั หวัด ท่ีเสนอผ่านกรมการพัฒนาชุมชน ไดม้ กี ารบูรณาการแผนงานโครงการกิจกรรมในระดับจังหวัดให้มี
ความสอดคล้องและรองรับกับมาตรการดังกล่าว จนกระทั่งโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน กิจกรรม
ส่งเสรมิ ผลิตภณั ฑ์ภมู ปิ ัญญาผ้าไทย (27 จังหวัด) ไดร้ บั การอนมุ ัติงบประมาณทงั้ สิน้ 40,656,700 บาท

2. มติคณะรฐั มนตรี เรือ่ ง มาตรการส่งเสริมและสนบั สนุนการใชแ้ ละสวมใส่ผ้าไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยตามที่

กระทรวงมหาดไทยเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงาน
เจ้าภาพหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนตามมาตรการดังกล่าวต่อไป โดยให้กระทรวงมหาดไทย
(กรมการพฒั นาชมุ ชน) รบั ความเหน็ ของหน่วยงานท่เี กย่ี วขอ้ งไปพจิ ารณาดำเนนิ การต่อไป สาระสำคญั ดงั นี้

๗๓

1. สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ร่วมกับ มท. โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทำโครงการ
สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์สืบสานพระราชปณิธานของ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต่อการอนุรักษ์และสืบสาน
ภูมิปัญญาของคนไทย โดยได้ร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดำเนินการตามโครงการสืบสาน
อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดินกับจังหวัด 76 จังหวัด และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในส่วนกลาง
ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า รากเหง้าจาก
ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สะท้อนให้เห็นบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ด้วยการส่งเสริมและ
เผยแพร่ผ้าพื้นถิ่นไทยอันให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ประกอบกับสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤติและ
กระทบในวงกว้างต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อรายได้ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
และผู้ประกอบการรายย่อยซึง่ เป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานราก ดังนั้น การรณรงค์กระตุ้นให้เกดิ
ค่านิยมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทยจะก่อให้เกิดรายได้กระจายสู่ชุมชน
อย่างรวดเรว็ และทวั่ ถงึ

2. นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นเจ้าภาพหลักและเร่งดำเนินการ
จัดทำและเสนอมาตรการส่งเสรมิ และสนบั สนุนการใช้และสวมใสผ่ ้าไทยต่อคณะรัฐมนตรี

3. กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ซ่งึ มีสาระสำคญั ดงั น้ี

3.1 ให้ถือว่ามาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยเป็นนโยบายของรัฐบาล
ในการส่งเสริมให้ข้าราชการ ประชาชน แต่งกายด้วยผ้าไทยตามความเหมาะสมของท้องถิ่นเพิ่มขึ้นหรืออย่างน้อย
สัปดาห์ละ 2 วัน

3.2 ให้ทุกกระทรวงพิจารณาจัดทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย
โดยมีแนวทางของการดำเนนิ การ ได้แก่

3.2.1 สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย เรื่อง การรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไทย
และผ้าพื้นเมืองแก่ส่วนราชการในสังกัด และในพื้นที่จังหวัดให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ หน่วยงาน/องค์กร
ภาครฐั ภาคเอกชน และภาคประชาชน

3.2.2 วิธสี ร้างการรบั รู้ผา่ นกจิ กรรม เช่น การประชมุ เสวนา เปน็ ตน้
3.2.3 วิธสี ร้างการรบั รผู้ ่านสอื่ เช่น แผน่ พบั ปา้ ยนทิ รรศการ สอื่ สังคมออนไลน์ เป็นต้น
3.3 จดั ทำแผนงาน/โครงการรณรงค์การใช้และสวมใสผ่ า้ ไทยและผา้ พน้ื เมอื งเพอื่ ให้เกดิ ความยั่งยนื
3.3.1 รวบรวมเน้อื หาสาระและขอ้ มูลเกีย่ วกับผ้าไทยและผ้าพนื้ เมืองในพ้ืนทจี่ ังหวดั
3.3.2 กำหนดรูปแบบการรณรงค์ ประเมินหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนที่มีศักยภาพในการ
รณรงค์ และสถานการณ์เก่ยี วกับการรณรงคก์ ารแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพืน้ เมือง
3.3.3 จดั ทำแผนปฏบิ ัตกิ ารรณรงค์การแตง่ กายดว้ ยผ้าไทยและผ้าพืน้ เมอื งของจังหวัด
3.3.4 จัดทำสื่อเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิธีการรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง
เพอ่ื สรา้ งค่านิยมและการตระหนักรบั รู้การรักษามรดกและอัตลักษณภ์ มู ปิ ัญญาของไทย เผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป
3.4 สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการรณรงค์ระหว่างภาครัฐ/เอกชน และประชาชน
รวมทั้งกำหนดบทบาทและหน้าทีใ่ นการดำเนนิ งานตามแผนปฏบิ ัตกิ ารของภาคีเครือขา่ ย เชน่ ให้การสนับสนุน
งบประมาณทรพั ยากร/บคุ ลากรช่วยทำงาน และนำไปรณรงคใ์ นหนว่ ยงานของตน

๗๔

3.5 จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองในจังหวัดตามห้วงระยะเวลา
ทเ่ี หมาะสม

3.6 จัดให้มีการอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแปรรูปผ้าไทยผลิตเป็นสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้
เกิดประโยชนใ์ นการส่งเสรมิ เศรษฐกจิ เชงิ สร้างสรรค์ และสร้างเศรษฐกิจฐานรากในระดับจังหวัดและชุมชนตา่ ง ๆ

3.7 ประกาศยกย่องหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต้นแบบของจังหวัด
ทร่ี ณรงคก์ ารแต่งกายด้วยผา้ ไทย และผ้าพนื้ เมอื งท่ีเกดิ ผลเปน็ รปู ธรรม

3.8 ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมการพัฒนาชุมชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ
ขับเคลื่อนมาตรการดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจุบัน
โดยคำนึงถึงมาตรฐาน การดูแลรักษา ราคาที่เหมาะสม และรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าไทย เพื่อให้ผ้าไทย
สามารถจำหนา่ ยและแข่งขนั ในตลาดได้อย่างยั่งยนื

3. การดำเนนิ งาน “ผ้าไทยใสใ่ ห้สนกุ ” ตามพระดำริของสมเดจ็ พระเจา้ ลูกเธอ เจา้ ฟ้าสิริวณั ณวรี
นารรี ัตนราชกญั ญา

3.1 ความเปน็ มา
กรมการพัฒนาชุมชนในฐานะหน่วยงานที่มีแนวนโยบายสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญา

ผ้าไทยโดยร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง ในการสรา้ งงาน สร้างอาชพี สรา้ งรายได้ ใหก้ บั ผ้ปู ระกอบการ
ผ้าไทยอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน มีการผลักดันรณรงค์การสวมใส่ผ้าไทย จนเป็นมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เรื่อง มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย และนับเป็น
พระมหากรุณาธิคุณต่อวงการผ้าไทยที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้มีพระดำริ
พระราชทานแก่วงการผ้าไทย ว่า “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้
รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริม กระตุ้น ผ้าไทยให้เป็นที่นิยม สู่สากล สามารถใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส
พร้อมทรงพระราชทานแบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” แก่พสกนิกรชาวไทย
เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ เป็นการสื่อความหมายถึงการส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน และ
ประทานพระอนุญาตให้เป็นลายต้นแบบในการรังสรรค์ ถักทอเรื่องราวไปตามแต่ละภูมิภาค ให้กลุ่มทอผ้าทุก
กลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ กรมการพัฒนาชุมชนจึงน้อมนำพระดำริของสมเด็จพระเจา้
ลูกเธอเจา้ ฟา้ สิริวัณณวรี นารีรตั นราชกัญญา มาดำเนินการขับคลอ่ื นงานโดยมีวตั ถุประสงค์ ดงั นี้

1) ประชาสัมพนั ธ์ “ผา้ ไทยใสใ่ ห้สนุก” ตามพระดำริ สมเด็จพระเจา้ ลกู เธอ เจ้าฟ้าสริ วิ ัณณวรี นารรี ัตนราชกญั ญา
๒) ประชาสมั พันธ์ แบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมีล่ ายขอเจา้ ฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ให้เป็นที่รู้จักเพือ่ นำไป
เป็นต้นแบบพัฒนาต่อยอดไปสู่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตามวิถีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ตามพระดำริ
“ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริม กระตุ้น
ผา้ ไทยใหท้ นั สมัยสู่สากล เป็นทนี่ ิยมในทุกเพศ ทกุ วัยและทุกโอกาส
๓) เพื่อรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าทอไทย โดยมีเป้าหมาย ช่วยเหลือ ผู้ผลิต
ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ในพื้นที่จังหวัด/อำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์
ผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผา้ และเครือ่ งแต่งกายใหเ้ ป็นที่รูจ้ ักและส่งเสริมใหป้ ระชาชนท่ัวไปหันมานิยมสวมใส่
และอนุรักษผ์ ้าไทยหรือผ้าในพ้นื ถ่นิ

๗๕

๗๖

3.2 การดำเนินการขับเคลอ่ื นงาน
3.2.1 การเผยแพรป่ ระชาสัมพนั ธ์ “ผ้าไทยใสใ่ ห้สนุก”
❖ การดำเนินงาน
กรมการพัฒนาชุมชน มีหนังสือถึงทุกจังหวดั ให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”

ตามพระดำรสิ มเดจ็ พระเจา้ ลูกเธอ เจา้ ฟ้าสริ วิ ณั ณวรี นารีรตั นราชกัญญา
❖ ผลการดำเนินงาน
จงั หวดั มกี ารจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริ สมเดจ็ พระเจ้าลูกเธอ

เจ้าฟา้ สิริวัณณวรี นารรี ตั นราชกัญญา เชญิ ชวนแตง่ กายดว้ ยผ้าไทย

ภาพประกอบการดำเนนิ งาน

๗๗

3.2.2 การเผยแพรป่ ระชาสมั พนั ธ์แบบลายผา้ ชือ่ ลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจา้ ฟ้าสิรวิ ัณณวรฯี ”
❖ การดำเนนิ งาน
กรมการพัฒนาชุมชน มีหนังสือถึงทุกจังหวัดให้ดำเนนิ การจัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน

แก่กลุ่มทอผ้าในแต่ละจังหวัด เพื่อนำไปเป็นต้นแบบพัฒนาต่อยอดไปสู่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ
ตามวถิ ีทเ่ี ป็นเอกลักษณ์ประจำถน่ิ

❖ ผลการดำเนินงาน
1) จงั หวดั จัดพธิ มี อบแบบลายผา้ พระราชทาน

ที่ ภาค จำนวนจงั หวัด จำนวนผ้รู ับมอบ
(กลุม่ /ราย)
(จังหวดั ) 708
306
1 ภาคเหนอื 17 1,856
263
2 ภาคกลาง 25 3,133

3 ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ 20

4 ภาคใต้ 14

รวม 76

หมายเหตุ : ขอ้ มูล ณ วันที่ 25 มนี าคม 2564

๗๘

2) มีการนำลายผ้าพระราชทาน ชอื่ ลาย “ผ้ามดั หม่ีลายขอเจ้าฟ้าสริ วิ ณั ณวรีฯ” ไปพัฒนาตอ่ ยอด

f,rururTouf,utvrd

@ do yd t fl :1.]n151,{0!u1 ljiltju

a fury1uvt1

J-i4udtdy en Lo01.J nI ilnliliud v\.fl. ledbd:vu'il{ axrLfieilivra'la!nr6o r{'rrilrfriiruru':5 ur5:-nu:'trri'ruOrQ!1

Ll.lo'tuvr

"q[vu^^Joruvtd'rtot6tfrvrBarufr'r floaru "frtl-orufiarutor6'tXra^ii'ruri]ii^'r" firriohTud'rurouurfruiun'ir"riIou"

,,isadaad n! fl13.rfl'r:1\ruu'rltj9rt]ulj9u lnu uruavBl,rrti oato:^ru oBudn:rnr:fi'olurtltu uarLfrl-n:il:vtrtu

tl1u14u{

en benod ooobd act < ff,ilrior tqrJ,lou#-ryryrf3iuo iun'j,r"riY,uuTs ou" 6ne.lruyfil

99
riul{ firi
vir ril
u
*'ruqqru r ri'r a o r r.l r u m n a s a'cu ru r

.. rilouiu:o{rav6ueyu'jrrjlour{Jur{'rtoratavrdmrlnXraillu{1r,rdlloluuzuunfrarJy

(,arofvrr fAloaru "..fvr'rf-invfrarstol{'rflTa3i'rucu?i^'1") nlilLoflfi1irrur.rfi'rufr'rururrrayhi'fiot.rfiuiiruuf' lrror

f-irury1a!!-1&.J

rer. tuillqourtnarlouatfrvrd{lurtrildo o. Frd0o0'rutrvirnr:6rn:o{.i1uo'1-Jfrfrrfrvrdntrnr.:.1.

f^rtfr-vrBd v'r.FL lodene./ ttavyArtu*ri-Lt!rfrlr^fru"qlreXulririfilouulrirfiurfr'rdu'l
!!

a- -ruruXri"l&virf,utdttluaotalv-l f4ivqionrrrrnnfry'orn:gYuu uyt

{d'ryryrli'ciruuuavrrirlo.?ion't1}r"tuahrUl

#Tor u rr a o n ufrr 6rt6'a r a r u fr o fl ot{uil u rir 6'ru ri ov tta un! a I <4 I, nuayuu< {alJv !
L?
euuqil1Fl1.iuftit0

(art6avr:v16'ranroo r (...........................fr10 u

r fr :^{ru ruri ur:'im u: r t riry ryr )

(uruqvrBlnmd aara3rU)
oBu 6 n : il rfi'$t 1.J 1 fl l.l lJ 1.J

/rl,)r Aa.ra
............ ll1 .'....1.4Y-... ........1,{ u.r u
f, o
... 1..{..:..'

(urrarraiofrt 6uyra:v)

r lsir rru ri f!rtir ut u n r : n iir II r u d I uaB nUl^ fl r-ut-Oru r fi'o t fi u

fuW /rrgemJl v!u1u

(ur uo-nr:try rrriro rn: ni)

a{to. -'*'^-"fi{&1,,:,u,1r
lUnA?yU tArAtfl:)

arfi0............W ? ...v,,rulu

(urr:o:a ninrprr':::ori)

d u, oa.,a .*t {9 m n:rJn1:fluslru'tsusuI

dada nX]il:U [n UlFl do yI::191

FIUUTltn'l:[fl

a f,umnru tEddo om::-flhym?rurYnpt'

yd-J

nUUttO{'l9IlUU Ltifl UA n?{ fl Ylti. oolsoro

t- u d l.edbd

FIr9n:.irl1?\U5

Go.r to{'ndornrur{r1onr:drarsr'itnr:u:'rtvnu "rirfirrufiarutor6"rflrf,3icurulBr" tilrflufi'uruuu

tunr:yra fr'uas n1:fi'euur sia uoer

ut4:t vl uv vu
rU,ri?'r:''r{n1:0{14?91fl nanfi?9

dv r.:<fr1 o. vtiusdfron::Jrt1ifi'ellulqutu oirufiqs, d l.ryr odod.mfi IE G(bls a{iud eno ffu:tnu todben

- y#arfdron:ilnlifiruuu1quru ri,rufiiqn fi i xu odod.enft bu asr--ufi b iln:lnil ledbd
tE.

en. vttvi4tfron:ilnrifi'e- lru1qil{u ffi }Jyt odod.snA odd at{ufi od ilflT1Ft}.t bdbd

a+ d-firla{il1ay ?u aoltulfiudu4aattan{n1:lta{yfloy ilagaT^ a^yfid

Fl'1il14U{A0ilO1nn{ fl:iln1Tvr9}ru1t3rtu iluUdd0d{{tyinun{{uinL149t'ttuunr:

rj:vtrd':*{ui5 "fr'rtmslziltiflu9n{-"-O-rOrlrJvi:sf{13 aur6orrr:sr6'ranLfio r{rf,rf;3{ruru:t uri:-rru:1sfi'ruru1
uastoilfraEd ,.loualutuillTvqufirm:v:rtmru fdr,ioaru "..fyfrfnv ufijaruror{'rIflrf,3{cuculir "urinriuuorirlud'qrairr

uavil:s:'tsvl'tu1\suoururnl#n{lvrafrrlnnriu qnrilnfin aT ur:nrjrtr.fl{vrorlr r.rf;nfirld'vrnfi 4nrvnfin

lprutriunr:'Ld'fi8:::Jt1fi naoqyre.ia1il1:nd{ilr{Ju6'uuruuavfi'nrursiauoqtilrir{nBoruri,:nrs rntoltj:vor'u
FnlJa?aniay; ruuLonaunuru6ut:uQ1"Jfiu Jq, ivletnaeiu4r qiltu n?l]Jastdd uouoequay r U
LTlo 114:'tu
lj-u

n5iln'l:lIv9}lu1qiltu vtlfvlv:ufl:ulJ141nIrulf,anilQ1nailt9lad v{:uLflI1anL00 y q aau d
t01fl1a5a6uru?5

urSduinu:rtriruurur sIounotfrqvrdBalur, i'rnrs:1tvrlu "..yfrlriugnaj fraluror{rflrf,3drucu':ir " ttnvl^r:ur1r?l1u

fl:coUrrLulpr"L#n::rnr:fi'ruu1qailtil rj-ra--ru--fr'rrr:v:'rtyrlu doa, u "rir:iprudaruc;ori'r?trrf,3{rururEr"

onf,tfivrdfin:luYntifiuvrxflrgrgT fl:vvr:'l{rnrirri r{JuvrtrBuuioeru#r rluauLduqnrudrfirirurd'ru

iUl{u4 n:iln1T?1lF}lu'ls:Jtu 10 6Ll vuva{il?upruoul4tJ'ruo6{1a un{rulu^rp}ru1l,iltuv{{uiupr \ yu y o eo
Lorg'ndorulirnrrur{r1o

rTun{ruu!frr.r6n frr.J:vnounr: oroP'Lunr:riraruriT u:s:rrynuhJrflu6'uuuutunl:il0fr1 r,rfimfr.rnrruifi

ia'vd,"Iso^ydy6u6*il6,^r'

frt[Jutonanr*nirJ:vsirfiu Tnulunr:ardnfr"raqryrrr'lririrtdlfftri'n-urunfinnr:dT fio (Handmade) rvirr7u
y
tttu ,e.lluq ni4lo ,.'vl'_ll.Jur-leu0:.1 144:0r,,r'ravitJvr {a1ud}4o1i1<ri0ryt rli&lu ron?l}.JIirtil{oilalqfinyQtrfr&'ttnvuiu:ioualuri.u'l
21u1m^ fl

il:u:1tvt''rudruuunrufrrtdlriT:rtrur.rfimtriTpru16prryro ufiotornrijuarurtrfivl:s:rrvrru"lrfiriunrit

qiltu rtjxvoriYruavrjIrwiorrIir (, n:idlrjrI wio,riy,urHan fIrrfarruldtaru rylrnvirrdI ou yS4 oryirfulnfdio) -! ^ ^. .:-

lvl^otfr:ru16'

uvr!U.
naut?,1atiltuFl0
Ei LU

44 [:uurJrrfr oTrJ:erfi m:rutpirrfi unr:

e{

u4
?,CI1t?{9t{Fl?1ilUUflO

6e{

(utuqvr8n.:ti
$raB{U)

ofiufl n5:J n15v{9}ru'rti }tt u

OV [6til aq V6 qq s$Jtu

fi ''lu n ?{{ qsJu ryru''lvlodnuttau?a1ufl

rraaqyJ
n qil { 1 ufi { La 5 et sil u fu 6u'tyt 8,i nu

Tu:. o bodor boer6n Tu:ar:. o bordm dc(oo - oro

dui

YrcruuuxJo{ara$?i a.4855
rirmud'r{ra4a rasd ggog t z

qr4t ura o r n tr ,ty {lay uII a adtdcvrBd

rafir ?i o u{,:

ee,i r
0efl [uty{0rt?{fl{?1

ft 5il fl .t3?{wBttittt gttfu

'l{L1d, uny'rryiorya o q dty, u 5a o
6r fr vrBlirio n:uuirr*tifrumr.r{cU eur

..,-."..","', oonlrfl':nr" {r:d g ufr au, r1:.rnrrt'ud u.fr. 25 64

d28/)

a{tdo.

(rua{1&uu?<e. rr m? a?:uy'luq)

ac{vda -
oEu fr n: uyr Yn dfi uvn rfl ry rgr

Eu il'l I r14 [O n ?{ 1 5 l_oltyst_ r n r r il A g lt a { o ?^{fi j
fi fr 1 6:-U : O lf, u
ta 1 6? E

๘๒

3.3 ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนนิ งาน
เนื่องจากช่วงเวลาในการดำเนินงานมีความกระชั้นชิดเกินไป ทำให้การวางแผน/วางกรอบแนวทาง

การดำเนินงาน การจดั เกบ็ ขอ้ มูลท่ีสำคญั ยังไมค่ รบถว้ นสมบรู ณ์
3.4 ข้อสงั เกตเชิงสรุป
การดำเนนิ งานนถ้ี ือวา่ เปน็ การประชาสัมพันธผ์ ลิตภณั ฑป์ ระเภทผ้าที่ประสบผลสำเร็จในการขับเคล่ือน

งานผา้ ไทยงานประเภทผ้าซึง่ เปน็ งานภาคทส่ี ำคัญท่ใี หญ่ของ OTOP

4. ผลการดำเนนิ งาน
4.1 จัดทำบันทึกขอ้ ตกลงความรว่ มมือ (MOU) กับหนว่ ยงานต่าง ๆ ดงั น้ี
1) MOU ระหวา่ ง สภาสตรีฯ กับ กรมการพัฒนาชมุ ชน จำนวน 1 หนว่ ยงาน
2) MOU ระหว่าง สภาสตรฯี กับ การไฟฟ้าสว่ นภูมภิ าค จำนวน 1 หนว่ ยงาน
3) MOU ระหวา่ ง สภาสตรฯี กับ การประปาส่วนภูมภิ าค จำนวน 1 หน่วยงาน
4) MOU ระหวา่ ง สภาสตรีฯ กับ จงั หวดั จำนวน 76 จงั หวัด และกรุงเทพมหานคร
รวมทัง้ ส้ิน จำนวน 3 หน่วยงาน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร
4.2 การส่งเสริมและสนับสนุนการสวมใส่ผ้าไทย และผ้าพื้นเมือง โดยทุกจังหวัดมีมาตรการส่งเสริม

และสนับสนุนการสวมใส่ผ้าไทย และผ้าพื้นเมือง ตามความเหมาะสมของท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่กำหนด
มาตรการส่งเสริมให้ข้าราชการ ประชาชน แต่งกายด้วยผ้าไทย และผ้าพื้นเมือง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน
จำนวน ๕๑ จังหวดั รองลงมา ๓ วัน จำนวน ๑๑ จังหวัด และทกุ วันจำนวน ๙ จังหวัด

4.3 การสร้างการรับรู้มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ในการรณรงค์การแต่งกาย
ด้วยผ้าไทย และผ้าพื้นเมืองแก่ส่วนราชการในสังกัด และพื้นที่จังหวัดให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ หน่วยงาน/
องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดงั ต่อไปนี้

4.3.1 จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านกิจกรรม พบว่า มีการรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไทย และ
ผ้าพื้นเมือง โดยการประชุม และสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อออนไลน์ และออฟไลน์ เป็นส่วนใหญ่ จำนวน ๕๘ จังหวัด
รองลงมามีการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์และออฟไลน์ จำนวน ๑๔ จังหวัด และผ่านสื่อออนไลน์อย่างเดียว
จำนวน ๔ จังหวัด

4.3.๒ การสร้างการรับรู้ผ่านสื่อ พบว่า มีการรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไทย และผ้าพื้นเมือง
ผ่านสื่อออฟไลน์ที่ใช้มากที่สุด คือ การจัดนิทรรศการ จำนวน ๓๗ จังหวัด ส่วนสื่อออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด
คอื Facebook จำนวน ๗๒ จงั หวัด

4.3 กิจกรรมตอ่ ยอด
1) การพัฒนาผ้าพื้นถิ่น ลวดลาย การสร้างสีผ้า เช่น หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี ศรีสะเกษ

ร้อยเอ็ด เป็นต้น
2) การขยายช่องทางการจำหน่าย เช่น จัดกิจกรรม Road Show ผ้าไทย โดยการจัดแสดง

และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า จากผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
ตามหน่วยงานสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดใช้และสวมใส่ผ้าไทยและช่วยเหลือผู้ประกอบการ
OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน ๘ หน่วยงาน มียอดการจำหน่ายรวม ๔,๓๖๕,๓๒๐ บาท
มีผ้ผู ลิต ผูป้ ระกอบการ OTOP ท่เี ขา้ ร่วม จำนวน ๒๕๒ ราย

3) การจัดกิจกรรมต่อยอดสร้างคุณค่าผ้าไทย เช่น จัดกิจกรรมประกวดนักออกแบบรุ่นใหม่
Young Designer Contest มีผู้สมคั รเขา้ รว่ มประกวดนกั ออกแบบรุ่นใหม่ จำนวน 75 จงั หวัด ท้งั ส้ิน 370 คน

๘๓

ผู้ชนะเลิศการประกวดนักออกแบบรุ่นใหม่ จำนวน 75 คน , จัดทำโครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์
OTOP ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง โดยกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
เป็นหน่วยดำเนินการ เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาคีหรือภาคเอกชน
ที่เป็นนักออกแบบหรือนักการตลาดอาชีพ ร่วมดำเนินการออกแบบพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขน้ึ
จำนวน ๓๐๐ ผลิตภัณฑ์ มีกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๗๕๐ กลุ่ม/ราย , จัดทำโครงการ “ประกวดผ้า
สืบสาน อนุรักษ์ศิลปผ์ ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดนิ ” โดยกรมการพัฒนาชุมชนดำเนนิ การประกวดแบ่งออกเป็น
๓ รางวัล คือรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ ๑ และรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ ๒ ประเภทผ้าที่เข้ารับ
การประกวดผ้า ประกอบด้วย (1) ผ้าเอกลักษณ์ (2) ผ้าที่จดทะเบียน GI (๓) ผ้าชาติพันธุ์ (๔) ผ้าอัตลักษณ์
(๕) ผ้าบาติก และ (๖) ผ้าอื่น ๆ ที่มีการผลิตในท้องถิ่น โดยมีจังหวัดส่งผ้าเข้าประกวด จำนวน 75 จังหวัด
และนำผ้าที่ชนะการประกวดเข้าจัดแสดงในงานศิลปาชีพประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประจำปี
พ.ศ. 2563 และร่วมออกบูทแสดงสินค้าภายในงานดังกล่าว ผู้ชนะเลิศได้รับโล่รางวัล จำนวน 75 รางวัล
และมอบประกาศนียบตั ร แกร่ างวัลรองชนะเลศิ

4) การจัดทำหนังสือ “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อสร้างการรับรู้
และความเข้าใจเก่ียวกับนโยบายเร่ืองการรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไทย และผา้ พ้ืนเมือง แก่หน่วยงานทุกภาคส่วน
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อยกย่องให้เกียรติแก่ผู้ผลิตงานผ้าที่มีคุณภาพและยังคงสืบสาน
รักษา และต่อยอดมรดกภูมิปัญญา งานทอผ้าไทยให้คงไว้คู่แผ่นดินไทยสืบไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ และสวมใสผ่ า้ ไทยแกส่ าธารณชนท่วั ไป

5) จัดทำหนังสือผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผ้าสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้
ในแผ่นดิน

๘๔

5. การจำหน่ายผลติ ภัณฑ์

อ้างอิงจากรายงานยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าจากการรณรงค์ให้ใช้และสวมใส่ผ้าไทย

ตามโครงการ “สืบสานอนุรักษ์ศลิ ป์ ผา้ ถิน่ ไทย ดำรงไวใ้ นแผน่ ดิน” ดงั นี้

- จำนวนผผู้ ลติ ผปู้ ระกอบการ ประเภทผ้า จำนวน 18,816 กลุม่ /ราย

- จำนวนผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่มีรายไดจ้ ากการจำหนา่ ยผ้า จำนวน 8,016 กลมุ่ /ราย

- จำนวนผไู้ ดร้ บั ประโยชน์ จำนวน 69,553 ราย

- ยอดจำหนา่ ย จำนวน 8,511,653,145 บาท

ข้อมูลจากรายงานยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าจากการรณรงค์ให้ใช้และสวมใส่ผ้าไทย

ตามโครงการ “สืบสานอนรุ กั ษ์ศลิ ป์ ผ้าถนิ่ ไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” Road Show ดังน้ี

- จำนวนผู้ผลติ ผูป้ ระกอบการ ประเภทผา้ จำนวน 252 ราย

- จำนวนผลติ ภณั ฑ์ ประเภทผ้า จำนวน 300 ผลิตภัณฑ์

- จำนวนผู้ผลติ ผ้ปู ระกอบการท่มี รี ายได้จากการจำหน่ายผ้า จำนวน 252 ราย

- จำนวนผไู้ ด้รับประโยชน์ จำนวน 3,780 ราย

- ยอดจำหน่าย จำนวน 4,365,320 บาท

๘๕

6. แนวทางการบรู ณาการเพ่อื การขับเคลอื่ นงาน
6.1 จัดกิจกรรม Road Show ผ้าไทย โดยการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า จากผู้ผลิต

ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเคร่ืองแต่งกาย ตามหน่วยงานสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกดิ
ใชแ้ ละสวมใส่ผา้ ไทยและชว่ ยเหลือผูป้ ระกอบการ OTOP ประเภทผา้ และเครือ่ งแตง่ กาย

6.2 สร้างการรบั ร้เู กีย่ วกับการรณรงค์การแต่งกายดว้ ยผ้าไทย และผา้ พืน้ เมืองแก่กลุ่มเป้าหมาย ให้แก่
หน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนการจำหน่ายผลิตภณั ฑ์

6.3 ส่งเสริม สนับสนุนการใชผ้ ้าไทย และผา้ พ้นื เมอื งในชีวติ ประจำวนั
6.4 สง่ เสริม สนบั สนุนการสวมใส่ผ้าไทย และผา้ พนื้ เมอื ง อย่างน้อยสปั ดาหล์ ะ 2 วัน
6.5 จัดกิจกรรมต่อยอดสร้างคุณค่าผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง ไดแ้ ก่ จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและ
เครอ่ื งแต่งกายให้เปน็ Premium OTOP โดยดำเนินการพฒั นาชมุ ชนต้นแบบบา้ นดอนกอย อำเภอพรรณานิคม

จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นตัวอย่างชุมชนทอผ้าที่มีเอกลักษณ์ระดับประเทศ พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้า

และเครื่องแต่งกายให้เป็นผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วประเทศ จำนวน 220 ผลิตภัณฑ์

และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรภู้ ูมิปัญญาผ้าและเครื่องแต่งกาย รวมทง้ั การออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย

ทส่ี ามารถนำไปออกแบบตัดเย็บให้ทันสมัย จำนวน 6 ครั้ง

6.6 ประชาสัมพนั ธ์และจัดประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” โดยจัดประกวด
ประเภทผ้าลายพระราชทาน 15 ประเภท ตามเทคนิค/เอกลักษณ์ของผ้าประจำถิ่นของจงั หวัดนัน้ ๆ ในระดับ
ภมู ภิ าค และระดบั ประเทศ

7. ประเด็นขอความร่วมมือ
7.1 เป็นผู้นำในการสวมใส่ผ้าไทย
7.2 สร้างความรว่ มมือกบั ภาคีเครอื ขา่ ย ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
7.3 จดั กิจกรรมเกีย่ วกบั การแต่งกายดว้ ยผา้ ไทย และผ้าพน้ื เมอื งในจงั หวัด
7.4 ส่งเสริมและสนบั สนนุ การใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตามมตคิ ณะรฐั มนตรี เมอ่ื วันที่ 9 มถิ นุ ายน 2563
7.5 มอบลายผ้าพระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ให้กับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

OTOP และช่างทอผา้ ในจังหวัดให้ครบทุกกลมุ่ /ราย
7.6 สนับสนุนในเรื่องรับสมัครประกวดผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ของจังหวัด เพื่อส่งเข้าประกวด

ระดับภาค และระดบั ประเทศต่อไป

๘๖

การบรหิ ารการจดั เกบ็ ขอ้ มลู จปฐ. และ กชช. ๒ค ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2530 อนุมัติให้จัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน

(กชช. 2ค) เป็นประจำทุก 2 ปี ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นไป และคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.)
มีมติเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2532 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน จัดเก็บข้อมูล
ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นไป นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ
เมอ่ื วนั ท่ี 21 กันยายน 2536 ให้ทุกหน่วยท่เี กี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทใชข้ ้อมลู พื้นฐานระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค)
และข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในการกำหนดนโยบาย และแนวทางปฏิบัติงานพัฒนาชนบท วางแผนพัฒนา
อนุมัติโครงการ และการติดตามการปฏิบัติงานโครงการการพัฒนาชนบท ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชน
ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยบริหารจัดเก็บ ซึ่งกรมการพัฒนาชมุ ชน ได้พัฒนาฐานข้อมูล จปฐ. และ กชช. 2ค
เพอ่ื การนำข้อมลู ไปใชใ้ หเ้ กิดประโยชน์สงู สดุ ต่อการพัฒนาคณุ ภาพชวี ิตของประชาชนมาโดยตลอด

ข้อมูล จปฐ. คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือน
ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่อง
อย่างไรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ สำหรับข้อมูล กชช. 2ค คือ ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านท่ีแสดงถึงระดับ
การพัฒนาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ ของหมู่บ้านในเขตชนบท สำหรับห้วงเวลาในการจัดเก็บ
ขอ้ มลู จปฐ. จดั เกบ็ ทุกปี และขอ้ มูล กชช. 2ค จัดเก็บทกุ 2 ปี

ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) คือ ข้อมูลหมู่บ้านที่แสดงให้เห็นสภาพทั่วไป และปัญหาของ
หมู่บ้านชนบทด้านต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สภาพแรงงาน สุขภาวะ และอนามัย ความรู้และ
การศกึ ษา การมีสว่ นร่วมและความเขม้ แขง็ ของชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ความปลอดภัยจาก
ภัยพิบัติและความเสี่ยงในชุมชน เพื่อใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนของ
แต่ละหมู่บ้าน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการ
ประเมนิ ผลการพัฒนาคณุ ภาพชีวติ ของประชาชนในแตล่ ะหมูบ่ ้าน

จงึ กลา่ วไดว้ า่ ขอ้ มูล จปฐ. และขอ้ มูล กชช. 2ค คอื ข้อมูลเพื่อพฒั นาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งใน
มิตขิ องครัวเรอื น มติ ขิ องสภาพแวดลอ้ ม และมิตดิ ้านบริบทของการเปลย่ี นแปลงในประเทศ

สำหรับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช. 2ค กรมการพัฒนาชุมชน ได้นำระบบ
สารสนเทศมาใช้ในการบันทกึ ประมวล และรายงานผลการจัดเก็บ โดยเริ่มให้บริการในลักษณะเว็บเซอร์วิส
(http://ebmn.cdd.go.th) มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กรมการพัฒนาชุมชน
ได้พฒั นารูปแบบการจดั เกบ็ ขอ้ มูลด้วยเคร่ืองมืออเิ ล็กทรอนกิ ส์ เพอื่ ขบั เคล่อื นแนวคดิ รฐั บาลด้าน Smart Government

ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดเก็บข้อมูล ในปีงบประมาณ 256๔ กรมการพัฒนาชุมชน
จึงได้ดำเนินการจัดเกบ็ ข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช. ๒ค ด้วยเครื่องมืออิเลก็ ทรอนิกส์ เพื่อสนองตอบนโยบาย
รัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกจิ และสงั คมของประเทศไปสู่ความม่นั คง ม่งั คั่ง และยงั่ ยืน ดว้ ยเทคโนโลยดี จิ ิทลั

2. วตั ถุประสงค์
๒.๑ เพื่อลดขั้นตอนในการจัดเก็บ สามารถประมวลผล และแสดงผลแบบ online real time ทั้งยัง

สามารถระบุพิกัด GPS ของครัวเรือน ส่งผลให้หน่วยงานรับผิดชอบตัวชี้วัด จปฐ. และภาคเอกชนสามารถให้
การชว่ ยเหลือกรณเี ร่งด่วนไดใ้ นทันท่วงที

๘๗

๒.๒ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช. 2ค ในการใช้เป็น
เป้าหมายในการวางแผนแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงใช้ในการบูรณาการแผนตาม
ระเบยี บกระทรวงมหาดไทย ว่าดว้ ยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพ้ืนท่ีในระดบั อำเภอและตำบล พ.ศ.
2562 ของทกุ ภาคส่วน

2.3 เพื่อเป็นข้อมูลชี้เป้าในการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกชว่ งวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพยี ง
3. ข้ันตอน/วิธีการ/กลไก

3.1 เพิม่ ประสทิ ธิภาพระบบบนั ทกึ ประมวลผล และโครงสร้างพืน้ ฐาน ดงั น้ี
1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้ Cloud Computing สำหรับรองรับการทำงานของระบบจัดเก็บ

ขอ้ มูล จปฐ.
2) เพิ่มประสทิ ธิภาพระบบการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และขอ้ มลู กชช. 2ค สำหรบั ใหบ้ รกิ ารทางเว็บเซอร์วิส

(http://ebmn.cdd.go.th) เพ่ือรองรับการจัดเก็บข้อมูลและออกรายงาน ปี 2564
3) พฒั นาระบบมบี ริการ Web Application สำหรับผบู้ ริหาร ผใู้ ช้งานทั่วไป
๔) มบี ริการ Application สำหรบั จัดเกบ็ ข้อมลู จปฐ.
๕) มบี รกิ ารสนบั สนนุ การแก้ไขปญั หาจากการใช้งาน (Call Desk Service)
6) การยา้ ยฐานข้อมูลจากระบบ Cloud Computing มาเก็บไว้ใน Server ของกรม

3.2 ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บขอ้ มูลความจำเป็นพ้ืนฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค)
ในประชาชนในพืน้ ท่ีรับทราบอย่างทั่วถงึ

3.3 จดั เตรยี มบคุ ลากร โดยจดั เตรียมอาสาสมัครจัดเกบ็ ข้อมูล จปฐ. ตำบลละ 20 คน รวม 1๕5,๕00 คน
3.4 จัดให้มีเวทรี ับรองคุณภาพข้อมูล จปฐ. ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน โดยมี ผู้นำชุมชน ผู้นำอาสา
พัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ผู้แทนภาคราชการจากหน่วยงานรับผิดชอบตัวชี้วัด จปฐ. (ระดับตำบลและอำเภอ)
เป็นกลไกรับรองคุณภาพข้อมูลร่วมกับคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับตำบล และผู้จัดเก็บ
ขอ้ มูล จปฐ.
๓.5 จัดใหม้ ีเวทรี ับรองคุณภาพข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) โดยมีคณะทำงานบริหารการจัดเก็บ
ขอ้ มูลฯ ระดบั ตำบล ผบู้ ริหารท้องท่ี และผนู้ ำชุมชน เป็นกลไกรับรองคุณภาพข้อมูลในท่ีประชุมระดบั ตำบล
3.6 นำข้อมูล จปฐ. วางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนแบบบูรณาการ กำหนดดำเนินการ 2 ระดับ
ได้แก่ ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด โดยจัดให้มีการประชุมคณะทำงานบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับอำเภอ
(นายอำเภอเป็นประธาน พัฒนาการอำเภอเป็นเลขานุการ) และระดบั จังหวัด (ผวู้ ่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
พัฒนาการจังหวัดเป็นเลขานุการ) โดยคณะทำงานบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ได้แก่ หัวหน้าหน่วยงานระดับ
อำเภอ/จงั หวัด ทร่ี บั ผิดชอบตัวชวี้ ัด จปฐ.
3.7 ประชาสมั พันธแ์ ละนำเสนอผลการพฒั นาคุณภาพชวี ิตระดับจงั หวดั
3.8 รายงานแผนและผลการพัฒนาคุณภาพชวี ิตทางเวบ็ ไซต์
๓.9 เผยแพร่ผลการจัดเก็บข้อมูลและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
และข้อมูลพ้ืนฐานระดบั หมู่บ้าน (กชช. 2ค) แกห่ น่วยงานตา่ ง ๆ

๘๘

4. ผลทค่ี าดว่าจะได้รับ
4.๑ กรมการพัฒนาชุมชนมีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีดจิ ิทัลที่สอดคล้องกบั

บริบทของประเทศ และรองรบั แนวคิด Smart Government
4.๒ หนว่ ยงานภาครัฐ เอกชน และผ้เู ก่ียวข้องกับการพฒั นาคุณภาพชวี ิตของประชาชน มีข้อมูลช้ีเป้าหมาย

การพฒั นาคณุ ภาพชีวิตได้อยา่ งแม่นยำ

5. ประเดน็ ขอความรว่ มมือ
๕.๑ กำกับดูแลการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับ

หมูบ่ ้าน (กชช. ๒ค) ใหม้ ีประสทิ ธิภาพ ข้อมลู มีความถกู ตอ้ ง สมบูรณ์ ไดร้ บั ความเช่ือถอื จากทกุ ภาคส่วน
5.2 ประสานงานสว่ นราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถน่ิ รว่ มเป็นคณะทำงานบริหารการจัดเก็บ

ข้อมลู จปฐ. ระดบั จงั หวัด อำเภอ และตำบล
5.3 ติดตามนิเทศตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล จปฐ. และนำข้อมูล จปฐ. รวมถึงข้อมูล

กชช. ๒ค ไปใช้วางแผนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามแนวทางการจัดทำแผนและ
ประสานแผนพฒั นาพื้นท่ี

๘๙

การพัฒนาสตรีและองคก์ รสตรี

1. ความเป็นมา
สตรีไทย เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาครอบครัว ชุมชน สังคม จะเห็นได้จากกิจกรรมต่าง ๆ

ท่ดี ำเนนิ การในทุกระดับ ต้ังแต่ระดับครอบครวั ชุมชน สังคม สตรจี ะเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม และเป็นแกนหลัก
สำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมในทุกกระบวนการขั้นตอน เป็นทั้งผู้ที่สำรวจจัดเก็บข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล
ผู้ดำเนินการ บริหารจัดการ ด้านการผลิต การตลาด การพัฒนาออกแบบ การประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ สตรีไทย
ยงั เปน็ ผูท้ ี่มจี ิตอาสาทำกจิ กรรมทัง้ ในภาครฐั และเอกชน

กรมการพฒั นาชมุ ชนดำเนินการพฒั นาสตรมี าต้ังแตป่ ี พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อพัฒนาคณุ ภาพชวี ติ ให้มีความพร้อม
เกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนตัว ชีวิตครอบครัว และการมีส่วนร่วมในสังคม โดยกระตุ้นให้สตรีมีความคิดริเริ่ม
ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถช่วยตนเองและครอบครัว ตลอดจนมีความรู้
ในการประกอบอาชพี และมสี ่วนรว่ มในการพัฒนาท้องถน่ิ

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้ส่งเสรมิ ให้มกี ารจัดตั้งและพัฒนาองค์กรสตรีแต่ละระดับ เพอ่ื เป็นแกนนำในการคิด
ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม ด้วยการเชื่อม
ประสาน และบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสตรี โดยดำเนินการ
กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการพัฒนาสตรี ภายใต้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย วา่ ดว้ ยคณะกรรมการพัฒนาสตรี
พ.ศ. ๒๕๓๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๕

2. ขั้นตอนการดำเนนิ งาน
ปัจจุบันกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการพัฒนาสตรี โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรสตรี

จำนวน 84,920 องค์กร 1,133,764 คน แยกเปน็ 5 ระดบั ดงั นี้
๒.๑ ระดับหมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) โดยจัดเวทีประชาคมสตรีในหมู่บ้าน/

ชุมชน เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการ กพสม. จำนวน ๙ - ๑๕ คน/คณะ ปัจจุบันมีจำนวน ๗๖,๗๗๓ องค์กร
968,115 คน

๒.๒ ระดับตำบล คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล (กพสต.) โดยจัดประชุมผู้แทน กพสม. ที่เลือกไว้
หมู่บ้านละ ๒ คน เพื่อคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร และตำแหน่งอื่นตามความเหมาะสม ปัจจุบัน
มีจำนวน 7,189 องค์กร 142,009 คน

๒.๓ ระดับอำเภอ คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ (กพสอ.) จัดประชมุ ผแู้ ทน กพสต. ท่เี ลอื กไว้ ตำบลละ
๒ คน และสรรหาสตรที ท่ี ำประโยชน์ 5 - 10 คน เพอ่ื คดั เลือกผู้ดำรงตำแหน่งทางการบรหิ าร และตำแหน่งอ่ืน
ตามความเหมาะสม ปัจจบุ นั มีจำนวน ๘๗๘ องค์กร 20,729 คน

๒.๔ ระดับจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพสจ.) จัดประชุมผู้แทน กพสอ. ที่เลือกไว้
ตำบลละ ๒ คน และสรรหาสตรีที่ทำประโยชน์ 5 - ๒0 คน เพื่อคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร และ
ตำแหน่งอืน่ ตามความเหมาะสม ปัจจบุ ันมจี ำนวน ๗๖ องค์กร 2,759 คน

๒.๕ ระดับภาค คณะกรรมการพัฒนาสตรีภาค (กพสภ.) จังหวัดที่ตั้งภาคจัดประชุมผู้แทน กพสจ.
ที่เลือกไว้ในภูมิภาคนั้น จังหวัดละ ๒ คน เพื่อคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร และตำแหน่งอื่น
ตามความเหมาะสม ปจั จบุ ันมจี ำนวน ๔ องค์กร ๑๕๒ คน

๙๐

บทบาทหนา้ ทีข่ ององคก์ รสตรีแต่ละระดับ โดยมหี นา้ ท่ี ดงั น้ี
๑) จดั ทำทะเบยี นข้อมลู เก่ียวกบั สตรี เดก็ และเยาวชน
๒) สำรวจ รวบรวมปัญหา ความตอ้ งการของสตรี เด็ก และเยาวชน
๓) วิเคราะห์ปญั หา สาเหตุ แนวทางการแก้ไขปัญหา และจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรม เพ่ือแก้ไข
ปัญหาและพฒั นาสตรี รวมทงั้ ปัญหาอื่น ๆ ของชมุ ชน
๔) ประสานการทำงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เพื่อขอรับการ
สนบั สนุนดา้ นวิชาการ งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์
๕) ดำเนนิ กจิ กรรมพัฒนาชมุ ชนในดา้ นตา่ ง ๆ รว่ มกับกลมุ่ องคก์ ร และเครอื ขา่ ยภาคกี ารพัฒนา
๖) จัดหาทนุ และบริหารจัดการกองทนุ เพื่อสนับสนนุ การดำเนนิ งานพัฒนาสตรี
๗) ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาสตรีสู่สาธารณชน
๘) ติดตาม ประเมนิ ผล และรายงานผลการดำเนินงาน
๙) จัดประชมุ คณะกรรมการพัฒนาสตรแี ต่ละระดบั อย่างน้อยเดอื นละ ๑ ครัง้
แนวทางการพัฒนาองค์กรสตรี โดยกรมการพัฒนาชุมชนมแี นวทางการดำเนินงาน ดงั น้ี
๑) สง่ เสรมิ สตรีอาสาให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพฒั นาสตรีและพัฒนาชุมชน
๒) สง่ เสริมกระบวนการเรียนรู้ การพฒั นาศกั ยภาพและขดี ความสามารถขององค์กรสตรีทกุ ระดับ
3) สนับสนุนให้องค์กรสตรีเป็นแกนหลักในการคิด ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา และพัฒนาสตรี เช่น
การพัฒนาครอบครัว การสง่ เสรมิ ความเสมอภาคหญิงชาย
4) ส่งเสริมองค์กรสตรีทุกระดับให้มีส่วนรว่ มในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดกิจกรรม
สาธารณประโยชน์ กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์คนในชุมชน การเสริมสร้างโอกาส
สตรใี นชุมชน เป็นต้น
5) ส่งเสริมให้องค์กรสตรีเป็นแกนหลักในการเสริมสร้างความม่ันคงทางเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริม
และพฒั นาอาชพี เปน็ ต้น
6) ส่งเสรมิ บทบาทผ้นู ำสตรแี ละองค์กรสตรีทกุ ระดบั ให้มีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครอง
7) สง่ เสริมและพฒั นาเครอื ข่ายองค์สตรีให้เข้มแขง็ โดยบูรณาการกับภาคีเครือข่ายการพฒั นา
๘) ยกย่องเชิดชูเกยี รตผิ ้นู ำสตรี และองค์กรสตรที ี่มีผลงานดีเด่น

3. แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป
๓.๑ คณะกรรมการพัฒนาสตรี ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาอาชีพของครัวเรือน

สัมมาชีพชุมชน ในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และเป็นแกนหลักในการคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตวั อย่าง ต้งั แต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับภาค
รวมทง้ั รว่ มกบั ทีมสนับสนุนฯในภารกจิ อืน่ ๆ

๓.๒ เชอ่ื มโยงการทำงานร่วมกับกองทุนพฒั นาบทบาทสตรีในการส่งเสริมบทบาทพัฒนาศักยภาพสตรี
และเครอื ขา่ ยสตรใี นการเฝ้าระวังดูแลและแก้ไขปญั หาของสตรี การส่งเสรมิ พัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรี รวมถึง
การเป็นแหลง่ ทุนในการสรา้ งงาน สรา้ งรายได้ใหก้ ับสตรแี ละเครอื ขา่ ยสตรี

๓.๓ ส่งเสริมให้สตรีเป็นแกนนำสำคัญในการเสริมสร้างให้ครัวเรือนในพื้นที่มีความมั่นคงทางอาหาร
เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ครอบครัว ฯลฯ สร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน เช่น
การบริหารจัดการขยะ ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัย ที่สาธารณประโยชน์ ฯลฯ และสร้าง
ภมู ิคมุ้ กนั ทางสงั คม เชน่ กิจกรรมสานสัมพันธ์ครอบครวั อบอุ่น ฯลฯ

๙๑

๓.๔ ส่งเสริมสตรีเป็นแกนหลักในการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม เชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าไทย
ตามโครงการสบื สานอนุรักษ์ศลิ ป์ ผา้ ถนิ่ ไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน

3.5 ส่งเสริม สนับสนนุ สตรีร่วมขับเคลอ่ื นกิจกรรมการพัฒนาพื้นท่ีต้นแบบการพัฒนาคณุ ภาพชีวิตตาม
หลกั ทฤษฎีใหม่ ประยกุ ต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”

3.6 ส่งเสริม สนับสนุนสตรีให้ความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการ
เลอื กตงั้ กับกรมการพฒั นาชุมชน การสร้างความรคู้ วามเขา้ ใจท่ีถกู ตอ้ งเกยี่ วกับการปกครองระบบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแก่ประชาชน และเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนา
ประชาธปิ ไตย (ศส.ปชต.)

๓.๗ เปน็ แกนนำหลกั ในการรว่ มรณรงค์ ให้ความรู้ สรา้ งความเข้าใจในการป้องกนั รกั ษา และเฝา้ ระวัง
การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)
4. แนวทางการบรู ณาการเพ่อื การขับเคลอื่ นงาน

ส่งเสริมสนับสนุนให้คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.), คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล
(กพสต.), คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ (กพสอ.), คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพสจ.) มีบทบาท
สำคัญในการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตรจ์ งั หวดั ไดแ้ ก่

4.1 ส่งเสริมให้สตรีเป็นแกนนำสำคัญในการเสริมสร้างให้ครัวเรือนในพื้นที่มีความมั่นคงทางอาหาร
สร้างสิง่ แวดลอ้ มใหย้ ั่งยนื และสรา้ งภูมคิ ุ้มกันทางสังคม

4.2 สง่ เสริมองคก์ รพฒั นาสตรแี ละสมาชกิ สตรีเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนตำบล มนั่ คง มัง่ คง่ั ย่งั ยืน

๙๒

4.3 ส่งเสริมให้สตรีเข้ามามีบทบาทส่งเสริมสตรีเป็นแกนหลักในการสืบสานพระราชปณิธาน
สมเด็จพระนางเจ้าสริ ิกิติ์ พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนีพันปหี ลวง ในการอนรุ ักษ์ ส่งเสรมิ เชิดชูอัตลักษณ์
คุณคา่ ผ้าไทย ตามมตคิ ณะรัฐมนตรี เมื่อวันท่ี ๙ มิถุนายน 2563

4.4 ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) และคณะกรรมการบริหารงาน
อำเภอ (กบอ.)

4.5 สนับสนุนงบประมาณให้องค์กรสตรีเป็นแกนหลักสำคัญในการแก้ไขปัญหาสตรี อาทิเช่น ปัญหา
ด้านอาชพี และรายไดส้ ตรี ดา้ นสขุ ภาพสตรี ปัญหาความรนุ แรงต่อเด็ก เยาวชน สตรี ฯลฯ

4.6 องค์กรสตรีเป็นแกนหลักสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมสตรี อาทิเช่น กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ
ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวแข็งแรง จัดกีฬา
สัมพันธส์ ตรี การจัดการสิง่ แวดล้อม ฯลฯ

4.7 สนับสนุนให้สตรีเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมวันสำคัญเกี่ยวกับสตรี อาทิเช่น วันแม่แห่งชาติ
วนั สตรสี ากล วันสตรีไทย เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงพลังของสตรใี นการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ

4.8 ส่งเสริม สนับสนุนสตรี ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตามหลกั ทฤษฎีใหม่ ประยกุ ต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”

4.9 ส่งเสรมิ สนับสนนุ สตรขี ับเคลือ่ นกิจกรรมปลูกผักสวนครวั จัดเกบ็ เมลด็ พันธ์ุ ปันผกั ปันรัก ปันสขุ
4.10 ส่งเสริม สนับสนุนสตรีให้ความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงระหว่างสำนักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้งกับกรมการพัฒนาชุมชน การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแก่ประชาชน และเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริม
พฒั นาประชาธปิ ไตย (ศส.ปชต.)
๔.๑๑ ส่งเสริม สนับสนุนให้สตรีเป็นแกนนำหลักในการร่วมรณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ
ในการป้องกัน รกั ษา และเฝา้ ระวังการแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

5. ประเดน็ ขอความร่วมมือ
๕.๑ ส่งเสริมสนับสนุนให้ กพสม., กพสต., กพสอ., กพสจ. มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงาน

ตามยทุ ธศาสตรจ์ ังหวดั
๕.๒ เสริมสร้างบทบาทสตรีในงานภารกิจสำคัญของจังหวัด ได้แก่ การจัดงานประจำปีจังหวัด

งานจิตอาสาช่วยเหลือสงั คม เป็นต้น


Click to View FlipBook Version